สังคมและวัฒนธรรมอีสาน

Page 1



๑ ภูมิศาสตร์กายภาพและวัฒนธรรม

1

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มีชื่อเรียกกันตามลักษณะของภูมิประเทศว่าที่ ราบสูงโคราช (Khorat Plateau) เพราะมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทีราบสูงโดยเริ่มจากบริเวณที่สูง และ ภูเขาทางทิศใต้และทิศตะวันตก ไปจนจรดแม่นํ้าโขงทางตอนเหนือและตะวันออกโดยมีเทือกเขาภู พานเป็นแนวคั่นตามธรรมชาติ ทำ�ให้ภูมิประเทศของภูมิภาคนี้แบ่งออกเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ ๒ แอ่ง ที่ราบตอนบนมีชื่อเรียกว่า “แอ่งสกลนคร” และที่ราบตอนล่างเรียกว่า “แอ่งโคราช” ได้ มีการค้นพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีแม่นํ้าโขง แม่นํ้ามูล แม่นํ้าชี เป็นเส้นทางติดต่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในภูมิภาคและชุมชนภายนอก ดังปรากฏหลัก ฐานการดำ�รงชีพและการตั้งถิ่นฐานของคนโบราณ มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ดังปรากฏหลัก ฐานเช่น ภาพเขียนตามผนังถํ้าและเพิงผา เครื่องมือหินกะเทาะ รวมทั้งชุมชนโบราณที่กระจายอยู่ ตามเขตลุ่มนํ้าต่างๆ ทั้งแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช ลักษณะทางกายภาพ ภาคอีสานเป็นที่ราบสูงแบบแอ่งแผ่นดินตื้น (Shallow Basin) เรียกกันโดยรวมว่า ที่ราบสูงโคราช (Khorat Plateau) มีรูปร่างคล้ายถ้วยเป็นแอ่งอยู่ตรงกลาง ลาดเอียงจากทาง ตะวันตกไปทางตะวันออก บริเวณชายขอบเป็นภูเขาสูง พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหิน มีชั้นหิน กรวดมน หินดินดาน และเกลือหิน แทรกอยู่เป็นตอนๆ จากลักษณะทางธรณีวิทยาและอายุของ หิน ทำ�ให้ทราบว่าแผ่นดินอีสานอยู่ในช่วงตอนปลายของมหายุคเมโสโซอิก ที่ราบสูงแห่งนี้เป็น ที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเป็นแอ่งทีมีการทับถมของตะกอน บางช่วงได้ยุบจมลง เป็นทะเลตื้น ๆ และเมื่อนํ้าทะเลระเหย จึงตกตะกอนเป็นชั้นของเกลือหินแทรกอยู่ทั่วทั้งบริเวณที่ราบ ต่อมาในมหายุคซีโนโซอิก เกิดการบีบตัวของเปลือกโลกทำ�ให้เกิดรอยเลื่อนของเปลือก โลกขึ้นทางด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค เป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น สันกำ�แพง และพนมดงรัก ขณะเดียวกันตอนกลางของที่ราบก็เกิดการโค้งตัวขึ้นเป็นสัน จากทิศตะวันตกเฉียง เหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเทือกเขาภูพานแบ่งแอ่งที่ราบตํ่าตอนกลางของภาคออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่อยู่ตอนเหนือเรียกว่า “แอ่งสกลนคร” ส่วนที่อยู่ทางใต้เรียกว่า “แอ่งโคราช” 1 ๑. แอ่งโคราช พื้นที่ราบเป็นแอ่งแผ่นดินขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ ใน ๔ ส่วนของภาคอีสาน ทั้งหมด ถือว่าเป็นที่ราบกว้างที่สุดของประเทศไทยมีความสูงโดยเฉลี่ย ๑๒๐ – ๑๗๐ เมตร จาก 1 อภิศักดิ์ โสมอินทร์. ภูมิศาสตร์อีสาน. หน้า ๓.


2

ระดับนํ้าทะเลปานกลาง พื้นที่ตรงกลางแอ่งเป็นที่ราบลุ่มตํ่า มีแม่นํ้ามูล แม่นํ้าชี เป็นแม่นํ้าสาย หลักที่ระบายนํ้าออกจากขอบที่ราบของแอ่งและมีลำ�นํ้าอื่น ๆ ที่เป็นสาขาอีกมากมาย ลักษณะ ภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ อยู่ตรงกลาง ขนาบด้วยที่ลาดสูงทั้งด้านเหนือและด้านใต้ ตามบริเวณ ขอบแอ่งกระทะที่เป็นที่ลาดลงมาจากทางด้านเหนือและใต้นั้น จะมีลำ�นํ้าที่เป็นสาขาของแม่นํ้า มูลและแม่นํ้าชีไหลผ่าน ทำ�ให้บริเวณที่ลำ�นํ้าเหล่านั้นผ่านไปมีสภาพเป็นที่ราบลุ่ม เช่นเดียวกับ บริเวณตอนต้นนํ้าของแอ่งสกลนคร เห็นได้ว่าที่ราบแอ่งโคราชนี้ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อำ�นาจเจริญ ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานีทางด้านตะวันออก ล้อมรอบด้วย เทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น สันกำ�แพง พนมดงรัก และเทือกเขาภูพาน 2 ๒. แอ่งสกลนคร พื้นที่เป็นแอ่งที่ราบที่อยู่ทางตอนเหนือของภาค มีเทือกเขาภูพานกันออกจากแอ่งโคราช และมีแม่นํ้าโขงเป็นขอบแยกออกจากอาณาเขตประเทศลาวทางด้านเหนือ มีขนาดเล็กกว่าแอ่ง โคราชมาก โดยมีความสูงเฉลี่ยอยู่ในระดับ ๑๔๐ – ๑๘๐ เมตรจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง แม่นํ้าที่สำ�คัญที่สุดคือ แม่นํ้าสงคราม ที่ราบแอ่งสกลนครนี้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนครนครพนม ลักษณะภูมิประเทศที่สำ�คัญของแอ่งสกลนคร คือ มีหลุมแอ่งที่มี ลักษณะเป็นทะเลสาบนํ้าจืดขนาดใหญ่ เช่น หนองหานหลวง สกลนคร และหนองหาน กุมภวาปี อุดรธานี เป็นต้น 3 ภูมิประเทศของแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช 4 ๑. ภูมิประเทศแบบโคกสูงสลับแอ่ง ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะมีเนินเขาเตี้ย ๆซึ่ง ในภาษาถิ่นเรียกว่า โคก หรือ โพน สลับกับแอ่งที่ลุ่มซึ่งอาจมีนํ้าขังอยู่เป็นหนอง บึง ขนาดต่าง ๆ กันไปลักษณะเช่นนี้เกิดจาก การพังทลายของหินอันเนื่องมาจากลมฟ้าอากาศ การกระทำ�ของนํ้า และเกิดจากการละลายของเกลือหินใต้ดินโดยการกระทำ�ของนํ้าใต้ดิน ทำ�ให้พื้นดินยุบตัวเป็นแอ่ง ใต้ดินของภาคอีสานมีชั้นของเกลือหินอยู่ถึง ๓ ชั้น ตั้งแต่ระดับตื้น ๓๐ – ๔๐ เมตรจนถึงระดับ ลึก ๘๐๐ เมตรขึ้นไป ในบางแห้งมีชั้นหินเกลือไปอัดแน่นทำ�ให้พื้นผิวดินปูดสูงขึ้นกลายเป็นเนิน ดิน จากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นโคกสลับแอ่งนั้น ทำ�ให้เกิดผลสำ�คัญ ๒ ประการต่อ 2 ศรีศักร วัลลิโภดม. อีสาน : ความสัมพันธ์ของชุมชนที่มีคูน้ำ�คันดินกับการเกิดของรัฐในประเทศไทย. หน้า ๓๓. 3 เรื่องเดียวกัน. หน้าเดียวกัน. 4 ศรีศักร วัลลิโภดม. อีสาน : ความสัมพันธ์ของชุมชนที่มีคูน้ำ�คันดินกับการเกิดของรัฐในประเทศไทย. หน้า ๓๘.


3

ภาคอีสาน คือจะมีแหล่งนํ้าตามธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไปจำ�นวนมากแต่ในขณะเดียวกันการมี ชั้นของหินเกลือจำ�นวนมากทำ�ให้เกิดปัญหาภาวะดินเค็มก่อให้เกิดผลเสียทางการเกษตรและเป็น อุปสรรคต่อการใช้นํ้าทั้งบนดินและนํ้าใต้ดิน ๒. ภูมิประเทศแบบที่ราบลุ่มนํ้า เป็นลักษณะภูมิประเทศซึ่งเกิดจาก การกระทำ�ของ ลำ�นํ้าที่กัดเซาะทางด้าน ข้างและเกิดการทับถมในแนวดิ่งจนทำ�ให้ที่ราบในแอ่งทั้งสองมีลักษณะ ราบเรียบมากแทบไม่มีความลาดชันจึงเกิดอุทกภัยในพื้นที่เขตนี้เสมอ บริเวณที่ราบลุ่มนํ้าในแอ่งโคราชประกอบด้วยที่ราบลุ่มแม่นํ้าชี ในเขตจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และยโสธร กับที่ราบลุ่มแม่นํ้ามูล ในเขตจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และ อุบลราชธานี เป็นที่ราบลุ่ม แบบนํ้าท่วมถึงและแบบลานตะพักนํ้า ที่ราบลุ่มแม่นํ้ามูล - ชี จะเป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ เป็นแอ่งกระทะ มีเนื้อที่กว้างขวาง ลักษณะ แม่นํ้าจะไหลโค้งตวัดไปมาและมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแม่นํ้าลัดทางเดินเกิดเป็นทะเลสาบ ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปในเขตที่ราบลุ่ม และในฤดูฝนจะมีนํ้าท่วมทั่วทั้งบริเวณที่ราบ สำ�หรับ ที่ราบลุ่มนํ้าในแอ่งสกลนครเป็นที่ราบลุ่มนํ้าเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไปตามลำ�นํ้าต่าง ๆ เช่น ที่ราบ แม่นํ้าสงคราม ซึ่งเป็นที่ราบที่สุดในเขตแอ่งสกลนคร เป็นต้น เขตแอ่งสกลนครนี้มีลักษณะ ภูมิประเทศพิเศษ คือ เป็นที่ราบลุ่มแม่นํ้าท่วมถึง ซึ่งมีทางระบายนํ้าติดต่อกับทะเลสาบเล็ก ๆ มากมาย ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณแอ่งสกลนคร ในช่วงฤดูแล้งและจะกลายเป็นทะเลสาบ ขนาดใหญ่ ในช่วงฤดูฝนกลายเป็นแหล่งการประมงที่สำ�คัญอย่างยิ่งในเขตภาคตะวันออกเฉียง เหนือ แร่ประเภทต่าง ๆ ที่พบในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ๑. แร่พลวง (Antimony) พบแหล่งแร่นี้แห่งเดียวที่บ้านสะอาด ตำ�บลนํ้าลาย อำ�เภอ เมือง จังหวัดเลย ประโยชน์ของพลวง คือ ใช้ในการทำ�โลหะผสม ผสมตะกั่ว ทำ�แผ่นแบตเตอรี่ผสม ตะกั่วและดีบุกในการทำ�ตะกั่วตัวพิมพ์และโลหะบัดกรีบางชนิด ใช้ในส่วนประกอบของกระสุนปืน ใช้ในอุตสาหกรรมไม้ขีดไฟ อุตสาหกรรมทำ�ยาง ทำ�ผ้า ทำ�ผ้าทนไฟ และอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ ๒. แร่แบไรต์ (Barite) จากการสำ�รวจของกรมทรัพยากรธรณีปรากฏว่า พบแหล่งแร่ แบไรต์ในท้องที่ ๒ จังหวัด คือ จังหวัดเลยและอุดรธานี ในจังหวัดเลยพบที่บ้านหินขาว อำ�เภอ เชียงคาน บ้านนาค้อ อำ�เภอปากชม บ้านห้วยพอด และบ้านตีนผา ในจังหวัดอุดรธานี พบที่ บ้านนาดีอำ�เภอนากลาง แต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณแร่ที่ค้นพบ ประโยชน์ของเเร่แบไรต์ ส่วนมากนำ�มาทำ�โคลนผง (Drilling mud) ซึ่งใช้ในการเจาะ สำ�รวจ นํ้ามันหรือนํ้าบาดาล ใช้ในอุตสาหกรรมทำ�แม่สีและเนื้อสี อุตสาหกรรมแก้วและยาง ผ้านํ้า มัน กระดาษนํ้ามันและพลาสติก ใช้บดทำ�ยาสำ�หรับรับประทานก่อนทีจะทำ�การเอ็กซเรย์ตรวจ กระเพาะและลำ�ใส้ ใช้เป็นตัวเติม (Filler) ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังทำ� 5 ประสิทธิ์ คุณุรัตน์. ภูมิศาสตร์กายภาพภาคอีสาน. หน้า ๓๔๙. 6 ประสิทธิ์ คุณุรัตน์. ภูมิศาสตร์กายภาพภาคอีสาน. หน้า ๓๕๒.


4

แป้งผัดหน้าเป็นต้น ๓. แร่ทองแดง (Copper) แหล่งแร่ทองแดงในภาคนี้มีอยู่หลายแหล่งด้วยกัน คือ แหล่ง “ช่องเขาประตูตีหมา” อำ�เภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น แหล่งจันทึก อำ�เภอปากช่อง จ.นครราชสีมา แหล่งภูหินเหล็กไหล และแหล่งภูอ่าง ซี่งอยู่ทางใต้ของภูหินเหล็กไฟอีกด้วย นอกจาก ๓ บริเวณใหญ่ข้างต้นแล้ว กรมทรัพยากรธรณีเคยสำ�รวจพบแหล่งแร่ทองแดงที่อำ�เภอ สังคม จังหวัดหนองคาย เช่นกัน ประโยชน์ของแร่ทองแดง นำ�มาถลุงเอาโลหะทองแดงเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ต่าง ๆ เช่น ในการทำ�อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องวิทยุ โทรทัศน์ โทรเลข โทรศัพท์ เครื่องกลจักร เครื่องยนต์ ตลอดจนเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ใช้ทำ� โลหะผสมหลายหลายชนิด เช่น ทองบรอนซ์ ทองเหลือง เป็นต้น ๔. แร่รัตนชาติ 6 (Gemstone) ส่วนใหญ่ที่พบเป็นพลอยตระกูลโครันดัม หรือกาก กะรุน แหล่งพลอย ในจังหวัดศรีสะเกษ พบที่อำ�เภอกันทรลักษณ์เป็นพลอยสีนํ้าเงินและพลอยสี เขียว นอกจากพลอยที่พบแล้วยังมีแร่ที่เกิดอยู่ร่วมกัน ได้แก่ โกเมน นิลตะโก และเพทาย แหล่ง พลอยในเขตอำ�เภอนํ้ายืน จังหวัดอุบลราชธานี พบบริเวณห้วยตะแอก บ้านด่าน บ้านโดนยาง บ้านโคกสะอาด บ้านตาโกย บ้านตากเกา บ้านดอนโมก และบ้านหนองคุม บริเวณดังกล่าวอยู่ ติดกับแหล่งอำ�เภอกันทรลักษณ์ พลอยที่ขุดได้ส่วนใหญ่เป็นเพทายนอกจากนี้ยังมีรายงานการพบ แร่รัตนชาติที่ ห้วงภูผาลำ�ดวน อำ�เภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย ประโยชน์ของแร่รัตนชาติ นอกจากจะใช้เป็นเครื่องประดับทีมีค่าแล้ว ยังนำ�ไปใช้ ประโยชน์อื่น ๆ อีก เช่น พลอยนํ้าเงินใช้ในอุตสาหกรรมทำ�นาฬิกา ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังใช้ใน การเป็นกากติดใบมีดสำ�หรับลับของแข็งมาก และทำ�กระดาษทราย ผ้าขัดเพทายทีป่นเป็นผงใช้ ในการทำ�เครื่องถ้วย ชาม ทำ�ทรายแบบ ทำ�อิฐทนไฟ สำ�หรับเตาถลุงอลูมิเนียม และทำ�แก้ว โลหะ ใช้ในเครื่องปฎิกรณ์ปรมาณู และในโลหะผสมหลายชนิด ๕. แร่ยิปซัม (Gypsum) พบที่บ้านโนนแจง อำ�เภอขามสะแกแสง นครราชสีมา และ ที่อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย แร่ยิปซัมหรือที่เรียกกันว่า เกลือจืดมักมีสีขาว สีเทา สีเหลือง สี แดงปนนํ้าตาล เนื่องจากมีมลทินอาจมีรูปร่างเป็นผลึก เป็นเสี้ยนหรือเป็นเม็ดคล้ายเม็ดทรายเนื้อ แร่อ่อนขูดเป็นรอยได้ง่าย ลักษณะของแหล่งแร่มักเกิดเป็นชั้น ๆ ประโยชน์ของแร่ยิปซัมใช้ในการทำ�ปูนซีเมนต์ ปูนพลาสเตอร์ แผ่นยิปซั่มบอร์ด ทำ�แป้ง นวล ชอล์ก ทำ�ปุ๋ย กระดาษ ดินสอสี ยาง ๖. แร่ตะกั่ว-สังกะสี (Lead-Zinc) แร่ตะกั่วและสังกะสี ในภาคอีสานพบในบริเวณภูขุม อำ�เภอเชียงคาน จังหวัดเลย ประโยชน์ของตะกั่ว-สังกะสีใช้ผสมโลหะได้มากมาย หลายชนิด ตะกั่ว ใช้ในการตะกั่วบัดกรี กระดาษตะกั่วห่ออาหาร บุหรี่ ท่อน้ำ� แผ่นตะกั่ว ตัวพิมพ์ กระสุนปืน ฟิวส์ 6 ประสิทธิ์ คุณุรัตน์. ภูมิศาสตร์กายภาพภาคอีสาน. หน้า ๓๕๒.


5

ไฟฟ้า แผ่นกั้นรังสีในเครื่องปรมาณู และทำ�สี ส่วนสังกะสีนั้น ส่วนใหญ่ใช้ในการเคลือบแผ่นเหล็ก ทำ�สังกะสีมุงหลังคา กระป๋องบุเปลือกในของถ่านไฟฉาย ใช้หล่อส่วนต่าง ๆ ของชิ้นส่วนในรถยนต์ เช่น คาร์บูเรเตอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังใช้ในการทำ�ยารักษาโรค และใช้ประโยชน์ทางด้านเคมี ๗. ถ่านหินลิกไนต์ (Lignite) ที่สำ�รวจพบมีอยู่ที่อำ�เภอสหัสขันธ์ และกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำ�เภอคำ�ชะอี จังหวัดนครพนม ที่เขาละมั่ง อำ�เภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และอำ�เภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ประโยชน์ของถ่านหินที่สำ�คัญที่สุด คือ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ แทนถ่านไม้และ นํ้ามัน ใช้แทนถ่าน อัดเพื่อนำ�ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำ�แก๊สใน การหุงต้ม นอกจากนี้ยังใช้ในการทำ�ปุ๋ยเคมี ชนิดแอมโมเนียมซัลเฟต และปุ๋ยยูเรีย ๘. แร่แมงกานีส (Manganese) พบที่บริเวณห้วยพาง ห้วยกกห้า ห้วยม่วง ห้วยซวก และปากชม อำ�เภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นแมงกานีสชนิดที่ใช้ทำ�แบตเตอรี่ จึงได้เริ่มการทำ� เหมืองแร่แมงกานีส ขึ้นเป็นแหล่งแรกของประเทศ ผลิตแร่เพื่อนำ�ไปใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ๙. แร่ฟอสเฟต (Phosphate) แหล่งที่พบคือตำ�บลหนองงิ้ว อำ�เภอวังสะพุง จังหวัด เลย ประโยชน์ของแร่ฟอสเฟตส่วนใหญ่ประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ใช้ในการทำ�ปุ๋ย นอกจากนั้น ก็เอามาใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น ทำ�อาหารสัตว์ผงซักฟอก วัสดุไฟฟ้า อุปกรณ์การขัดถู ยาฆ่าแมลง ยาสีฟัน ยารักษาโรค ไม้ขีดไฟ อุปกรณ์การขัดถู ยาฆ่าแมลง ยาสีฟัน ยารักษาโรค ไม้ขีดไฟและใช้ ในการทำ�วัตถุระเบิด ๑๐. แร่เอมเมอรี่และแร่ซิลลิมาไนต์ (Emery and Silimanite) พบครั้งแรกใน ประเทศไทย ที่บริเวณบ้านโนนสาวเอ้และบ้านบุบอีปูน ตำ�บลตะขบ อำ�เภอปักธงชัย จังหวัด นครราชสีมา ประโยชน์ของแร่เอมเมอรี่ที่สำ�คัญคือใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องขัดถู เช่น อุตสาหกรรมทำ� เครื่องโม่ เครื่องสีข้าว หินเจียรนัย หินลับมีด หินขัดพื้นคอนกรีต กระดาษทรายผสมนํ้ายาเคมีเพื่อ นำ�มาใช้ทำ�เป็นนํ้ายาขัดเงาต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วเอมเมอรี่ชนิดละลายยังนำ�มาใช้ในการขัดกระจก ให้เป็นกระจกฝ้าและชนิดที่ละเอียดเป็นผงแป้งและมีความบริสุทธิ์สูงใช้ในการขัดแนตาขัดเลนส์ ได้อีกด้วย มีผู้นิยมนำ�เอมเมอรี่ที่บดแล้วผสมในคอนกรีตทำ�พื้นเฉลียงบันไดและถนนที่ลาดชันเพื่อ ป้องกันการลื่น ประโยชน์ของแร่ซิลลิมาไนต์ใช้ในอุตสาหกรรมทำ�อิฐทนไฟชนิดทนความร้อนสูง และ เนื่องจากคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงถึง ๑๘๑๐ องศาเซลเซียส จึงใช้ประโยชน์ในการทำ�เครื่อง มือเครื่องใช้ที่ทนความร้อนสูงอื่น ๆ ด้วย เช่นทำ�เครื่องปั้นดินเผาชนิดพิเศษ เครื่องถ้วยชาม เครื่อง เคลือบต่าง ๆ อุปกรณ์เคมีและไฟฟ้า


6

๑๑. แร่ยูเรเนียม (Uranium) แหล่งแร่ยูเรเนียมในหินทราย สำ�รวจพบเป็นแหล่งแรก ในชั้นหินทรายชุดพระวิหารยุคจูแรสสิค ในบริเวณประตูตีหมาและได้ตั้งชื่อตามสถานที่ที่พบว่า “แหล่งยูเรเนียมประตูตีหมา” แหล่งแร่ดังกล่าวอยู่ในบริเวณแอ่งภูเวียง ด้านทิศตะวันตก ใกล้ ๆ กับขอบด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบโคราชในเขตบ้านหนองขาม ตำ�บลเขาน้อย อ. ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ๑๒. ปิโตรเลียม (Petroleum) กรมทรัพยากรธรณีได้ร่วมสำ�รวจกับผู้เชี่ยวชาญทา ด้านปิโตรเลียมหลายครั้งพบว่าภาคอีสานบางบริเวณเคยเป็นแหล่งสะสมอินทรียสารตัวต้นกำ�เนิด ของปิโตรเลียมมาก่อนประกอบกับผลการวิเคราะห์ตัวอย่างยืนยัน่าจำ�นวนอิทรียสารดังกล่าว มีคุณสมบัติต่อการกลั่นให้เกิดนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ ชั้นหินส่วนบนที่ปิดทับหินตัวต้นกำ�เนิด ปิโตรเลียมประกอบด้วยหินทรายที่มีความพรุนมากปิดทับด้วยหินดินดาน ยุคจูแรสสิกซึ่งสามารถ เป็นหินกักเก็บและหินปิดกั้นปิโตรเลียมตามลำ�ดับ บางส่วนของชั้นหินยุคเพอร์เมียนและชั้นหิน ยุคไทรแอสสิกกล่าวมาแล้วมีหินทรายและหินดินดานลักษณะกักเก็บและปิดกั้นปิโตรเลียมเช่นกัน นอกจากนี้ความหนาของชั้นหินจากหินตัวต้นกำ�เนิดจนถึงผิวดินมีความหนามากที่สุดถึง ๕,๐๐๐ เมตร แสดงถึงการสะสมตัวทับถมอันยาวนานทำ�ให้เกิดความร้อนและความดันในธรรมชาติรวม กับความร้อนภายในโลก ประกอบกับแบคทีเรียและตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีแปรสภาพอินทรีย์สารให้ เป็นนํ้ามันหรือก๊าซธรรมชาติแล้วเคลื่อนตัวไปกักเก็บในชั้นหินที่มีความพรุนในโครงสร้างเหมาะ สมตามแรงการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ๑. ชั้นหินทรายและหินปูนยุคเพอร์เมียน มีปิโตรเลียมที่เกิดจากหินปูนอายุเดียวกัน ๒. ชั้นหินทรายยุคจูแรสสิกหรือไทรแอสสิก กักเก็บปิโตรเลียมที่เกิดจากหินชั้น ยุคไทรแอสสิก หรือยุคเพอร์เมียน สำ�หรับโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการกักเก็บปิโตรเลียมที่แปลความหมายจากข้อมูลที่ได้ จากการบินสำ�รวจความเข้มสนามแม่เหล็กในชั้นหินและจากการวัดความไหวสะเทือนของชั้นหิน แล้ว ได้แก่โครงสร้างกุฉินารายน์ซึ่งมีแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้อยู่ทาง เหนือ ของอำ�เภกุฉินารายณ์จังหวัดกาฬสินธุ์มีแนวแกนทิศทางเดียวกับโครงสร้างแรกอยู่ระหว่าง อำ�เภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์และอำ�เภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนี้ยังมีโครงสร้าง อื่น ๆ อีกไปทางเหนือของเทือกเขาภูพานและโครงสร้างใหญ่อีกอย่างน้อย ๓ โครงสร้างในพื้นที่ สัมปทานของบริษัทเอสโซ่ปัจจุบัน ๑๓. แร่ทองคำ� (Gold) ทองคำ�ที่พบเกิดจากการสะสมตัวตามดินโดยการพัดพามาของ นํ้าคล้ายกับการเกิดแบบลานแร่ แหล่งที่สำ�รวจพบมีอยู่ที่บริเวณภูถํ้าพระ อำ�เภอเมือง จังหวัดเลย และที่บ้านคำ�ด้วง อำ�เภอบ้านผืน จังหวัดอุดรธานีเป็นแร่ทองคำ�ที่เกิดร่วมกับแร่ทองคำ�ขาวแต่ไม่ ทราบปริมาณที่แน่นอน


7

ประโยชน์ของทองคำ�ใช้เป็นหลักประกันค่าของธนบัตร ทำ�เหรียญกษาปณ์ ทำ�เครื่อง ประดับใช้ผสมโลหะอื่น ๆ เป็นโลหะผสมใช้ในการทันตกรรม เครื่องมือวิทยาศาสตร์และวงจร ไฟฟ้า เป็นต้น ๑๔. แร่เหล็ก (Iron, Ferrous) แหล่งแร่เหล็กในจังหวัดเลย ตัวอย่างเช่น ที่ ภูอ่าง ภูโคก ภูขุนทอง และภูหินเหล็กไฟ แหล่งแร่เหล็กในอำ�เภอเชียงคานที่ภูยาง ภูซาง ภูเฮียะ ภูแก้วใหญ่และ ภูเหล็กบ้านธาตุนอกจากนี้ยังมีที่อำ�เภอวังสะพุง ที่บ่ออีเลิดและป่าเป้า ๑๕. เกลือหิน (Rock-salt) แหล่งเกลือหินที่พบในภาคอีสานส่วนมากเป็นผลจาก การเจาะบ่อนํ้าบาดาลในหินกลุ่มโคราชมีบริเวณกว้างขวางมาก ครอบคลุมพื้นที่ในแอ่งสกลนคร ประมาณ ๑๙,๕๐๐ ตารางกิโลเมตรและในแอ่งโคราช ๓๗,๓๐๐ ตารางกิโลเมตรปริมาณเกลือหิน สำ�รองที่ได้จากการเจาะหลุมทดลองต่าง ๆ ในภาคนี้คาดว่ามีประมาณ ๔,๗๐๐ ล้านตัน และคาด ว่า ปริมาณของเกลือหินในภาคนี้จะมีปริมาณมหาศาลถึง ๒ ล้านล้านตัน ซึ่งจะได้จากแหล่งใหญ่ ๆ ๗ แหล่งด้วยกัน คือ แหล่งชัยภูมิ แหล่งตลาดแก แหล่งมหาสารคาม แหล่งบำ�เหน็จณรงค์ แหล่ง อุบล แหล่งกุลาร้องไห้ แหล่งอุดร - หนองคาย ประโยชน์ของเกลือหินที่เกี่ยวข้องกับการอุตสาหกรรมคือใช้เป็นวัตถุดิบสำ�คัญในการ ผลิตเคมีภัณฑ์และกรดต่าง ๆ ที่ใช้ในงานหัตถกรรม ใช้เป็นส่วนประกอบในการแยก หลอมและ ถลุงแร่ในกิจการโลหะกรรม ใช้ในกิจการอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ เช่น ทำ�สบู่ ย้อมสี ฟอกหนังทำ�ยา ป้องกันฟันผุ ซีเมนต์ ทำ�ระเบิด เครื่องเคลือบ ฟอกผ้า และกระดาษ อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา อุตสาหกรรมแก้วอุตสาหกรรมเครื่องทำ�ความเย็นและตู้เย็น นอกจากนี้ยังใช้เป็นอาหาร ทำ�ปุ๋ย ยา กำ�จัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ใช้ในการประกอบยารักษาโรคและทางทันตกรรม เป็นต้น ๑๖. เกลือโพแตช (Topash) การสำ�รวจแร่โพแตชในภาคนี้ได้เริ่มสำ�รวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ และพบแร่โพแตชที่อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จากการสำ�รวจของกรมทรัพยากรธรณี พบวาภาคนี้มีชั้นเกลือหินและแร่โพแตชอยู่มากมาย ซึ่งจะทำ�รายได้ให้แก่บริเวณนี้มากกว่าแร่ชนิด อื่น ๆ ดังนั้นรัฐบาลจึงนโยบายที่จะสนับสนุนการสำ�รวจแร่เกลือหินและแร่โปแตชในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือเป็นอันดับแรก ผลจากการเจาะสำ�รวจแร่โพแตชและเกลือหินที่ได้ดำ�เนินตลอดมาจากหลุมเจาะทั้งหมด ๑๓๑ หลุม รวมความลึก ๑๓๐,๓๗๘ ฟุต ทั้งในแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร แร่โพแตชที่พบมากทั้ง ๒ แอ่ง คือ แร่คาร์นัลไลท์ส่วนแร่ซิลไวท์นั้นพบเป็นหย่อม ๆ ประโยชน์ ข องแร่ โ พแตชที่ สำ�คั ญ คื อ ทำ�ปุ๋ ย อุ ต สาหกรรมเคมี ต่ า งๆอุ ต สาหกรรม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องแก้ว ย้อมสี ฟอกหนัง ทำ�สบู่ ไม้อัด อุปกรณ์ถ่ายภาพ


8

สรุป แร่ประเภทต่าง ๆ ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด

แหล่งที่พบ

๑. กาฬสินธุ์

- เกลือหิน พบที่อำ�เภอยางตลาด - โพแตช พบที่อำ�เภอยางตลาด - ลิกไนท์ พบที่อำ�เภอหัสขันธ์ และอำ�เภอกุฉินารายณ์ - ปิโตรเลียม อำ�เภอหัสขันธ์

๒. ขอนแก่น

- เกลือหิน อำ�เภอเมือง อำ�เภอบ้านไผ่ - ยูเรเนียม อำ�เภอภูเวียง (พบปี พ.ศ. ๒๕๒๓) - ฟอสเฟต อำ�เภอชุมแพ (มูลค้างคาว) - ทองแดง – แร่กัมมันตรังสี (ยูเรเนียม) ที่อำ�เภอภูเวียง

๓. ชัยภูมิ

- เกลือหิน อำ�เภอเมือง อำ�เภอบำ�เหน็จณรงค์ อำ�เภอจตุรัส อำ�เภอบัวใหญ่

๔. นครพนม

- เกลือหิน อำ�เภอเมือง - ลิกไนท์ ที่อำ�เภอคำ�ชะอี

๕. นครราชสีมา

- เกลือหิน อำ�เภอเมือง อำ�เภอโนนไทย อำ�เภอโนนสูง อำ�เภอด่านขุนทด อำ�เภอพิมาย อำ�เภอประทาย - โพแตช อำ�เภอเมือง อำ�เภอโนนสูง อำ�เภอพิมาย - ทองแดง ที่จันทึก ขนงพระ บ่อหินเรียง อำ�เภอปากช่อง - ยิปซัม ที่บ้านโนนแจง อำ�เภอขามสะแกแสง - ศิลาแลง - ดินมาร์ล - ลิกไนท์ ที่เขาละมั่ง อำ�เภอครบุรี - ดินอุตสาหกรรม (Red – Clay – ดินเหนียวแดง) ที่บ้านด่านเกวียน อำ�เภอโชคชัย - เอมเมอรี่และซิลลิมาไนต์ บ้านโนนสาวเอ้ บ้านบุบอีปูน ตำ�บลตะขบ อำ�เภอปักธงชัย

๖. บุรีรัมย์

- เกลือหิน อำ�เภอพุทไธสง

๗. มหาสารคาม

- เกลือหิน อำ�เภอเมือง อำ�เภอกันทรวิชัย อำ�เภอบรบือ อำ�เภอวาปีปทุม - โพแตช อำ�เภอเชียงยืน

๘. ยโสธร

- เกลือหิน อำ�เภอเมือง อำ�เภอคำ�เขื่อนแก้ว - โพแตส อำ�เภอเมือง อำ�เภอคำ�เขื่อนแก้ว

๙. ร้อยเอ็ด

- เกลือหิน อำ�เภอธวัชบุรี อำ�เภอตุรพัตรพิมาน อำ�เภอเกษตรสมบูรณ์ - ปิโตรเลียม อำ�เภอโพนทอง

7 อภิศักดิ์ โสมอินทร์. ภูมิศาสตร์อีสาน. หน้า ๑๓๑.


9 ๑๐. เลย

- แมงกานีส ที่ห้วยพาง ห้วยกกห้า ห้วยม่วง ห้วยซวก และปากชม อำ�เภอเชียงคาน - ยิปซัม ที่อำ�เภอวังสะพุง - พลวง ที่บ้านสะอาด ตำ�บลนํ้าลาย อำ�เภอเมือง (ที่ภูวังเชิม) ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของแหล่ง ได้สกัดหิน (Silicifsed – siltone ทำ�หินลับมีด) - ทองแดง ที่ภูอ่าง ภูโคก ภูขุนทอง ภูหินเหล็กไฟ ที่อำ�เภอเมือง ที่ภูยางภูหาน ภูซาง ภู เฮี๊ย ภูแก้วใหญ่ อำ�เภอเชียงคาน, ที่ภูเหล็กบ้านธาตุ อำ�เภอบ้านธาตุ ที่บ่ออีเลิด และบ้าน ป่าเป้า อำ�เภอวังสะพุง - ตะกั่ว – สังกะสี ที่ภูขุม อำ�เภอเมือง และที่อำ�เภอเชียงคาน - แบไรท์ ที่บ้านหินขาว บ้านธาตุ อำ�เภอเชียงคาน บ้านนาค้อ อำ�เภอปากชม บ้านห้วย พอด และบ้านตีนผา - ฟอสเฟต ที่บ้านหนองงิ้ว อำ�เภอวังสะพุง - ทองคำ� ที่ภูถํ้าพระ อำ�เภอเมือง - เหล็ก ภูอ่าง ภูโคก ภูขุนทอง และภูหินเหล็กไฟ ส่วนที่อำ�เภอเชียงคาน ได้แก่ ภูยาง ภู ซาง ภูเฮียะ ภูแก้วใหญ่ และภูเหล็กบ้านธาตุ นอกจากนี้ยังพบที่อำ�เภอวังสะพุง ที่บ่ออีเลิด และป่าเป้า

๑๑. ศรีสะเกษ

- เกลือหิน อำ�เภอเมือง - รัตนชาติ อำ�เภอกันทรลักษณ์

๑๒. สกลนคร

- เกลือหิน อำ�เภอสว่างแดนดิน อำ�เภอพังโคน อำ�เภอวาริชภูมิ - โพแตช อำ�เภอสว่างแดนดิน - ลิกไนท์ อำ�เภอสว่างแดนดิน

๑๓. หนองคาย

- เกลือหิน อำ�เภอเมือง อำ�เภอศรีเชียงใหม่ - โพแตช อำ�เภอเมือง อำ�เภอศรีเชียงใหม่ - ทองแดง อำ�เภอสังคม อำ�เภอศรีเชียงใหม่

๑๔. อุดรธานี

- เกลือหิน อำ�เภอเมือง อำ�เภอหนองหาร อำ�เภอกุมภวาปี อำ�เภอบ้านดุง - โพแตช อำ�เภอเมือง อำ�เภอหนองหาร - ทองคำ� – ทองขาว ที่บ้านคำ�ด้วง อำ�เภอบ้านผือ - ศิลาแลง กม. ๔ ถนนสายอุดร – หนองบัวลำ�ภู อำ�เภอเมือง

๑๕. อุบลราชธานี - เกลือหิน อำ�เภอเมือง อำ�เภอตระการพืชผล - รัตนชาติ อำ�เภอนํ้ายืน อำ�เภอเดชอุดม ห้วยตะแอก บ้านด่าน บ้านโดนยาง บ้านโคก สะอาด บ้านตาโกย บ้านตากเกา บ้านดอนโมก และบ้านหนองคุม


10

โขง สงคราม ชี มูล แม่นํ้าแห่งวิถีชีวิต 8 แม่นํ้า เป็นเส้นทางแห่งวิถีชีวิตและบ่อเกิดแห่งอารยธรรม อีสานมีลำ�นํ้าและแม่นํ้าสาย สำ�คัญ อันเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตและเป็นต้นกำ�เนิดแห่งวัฒนธรรม อันสืบเนื่องมายาวนานใน ภูมิภาคนี้ โดยมีแม่นํ้าสายสำ�คัญอันประกอบไปด้วย แม่นํ้าสงคราม แม่นํ้าชี แม่นํ้ามูล และแม่นํ้า โขง ลักษณะทางอุทกวิทยาของภูมิภาคอีสาน สัมพันธ์กับแม่นํ้าโขง เนื่องจากระบบการระ บายนํ้าออกจากพื้นที่ เป็นลำ�ห้วยและแม่นํ้าที่สัมพันธ์กับแม่นํ้าสาขาของแม่นํ้าโขง จากลุ่มแม่นํ้า ภายในไหลลงสู่แม่นํ้าโขง มีแม่นํ้ามูลเป็นสาขาสำ�คัญที่สุด และมีแม่นํ้าชีเป็นสาขาสมทบของแม่นํ้ ามูล ส่วนทางตอนบนมีแม่นํ้าสงครามเป็นสาขาที่สำ�คัญ พื้นที่ต้นนํ้าของภาคอีสานมีอยู่ด้วยกัน ๓ เขต คือ ๑. เขตสันปันนํ้าของเทือกเขาด้านตะวันตก เป็นต้นกำ�เนิดสำ�คัญของแม่นํ้ามูลและชี ๒. เขตสันปันนํ้าของเทือกเขาทางด้านใต้ เป็นต้นกำ�เนิดของลำ�นํ้าสาขาย่อยของแม่นํ้า มูล ๓. เทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นนํ้าของทั้งแอ่งสกลนครทางตอนบนและแอ่งโคราชทาง ตอนล่าง โดยลำ�นํ้าในแอ่งโคราชไหลลงสู่แม่นํ้าชี ส่วนนํ้าในตอนบนแอ่งสกลนครไหลลงสู่แม่นํ้า สงครามและแม่นํ้าโขงโดยตรง แม่นํ้าในภาคอีสาน ๑. แม่นํ้าโขง เป็นแม่นํ้านานาชาติที่มีความยาวถึง ๔,๕๙๐ กิโลเมตร นับเป็นอันดับ ๑๐ ของโลก และมีปริมารนํ้ามากเป็นอันดับ ๖ ของโลก ไหลผ่านดินแดนของประเทศต่าง ๆ เป็นเส้น กั้นพรมแดนตามธรรมชาติ ระหว่างจีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แม่นํ้าโขงแบ่งออก เป็น ๒ ตอน คือ แม่นํ้าโขงตอนบนในเขตประเทศจีน พม่า และลาว และแมนํ้าโขงตอนล่างในเขต ประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม นอกจากความสำ�คัญทางด้านภูมิศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจแล้ว แม่นํ้าโขงยังมีความสำ�คัญต่อ คุณค่าทางจิตใจของชุมชนตลอดทั้งสองฝั่งโขง เป็นบ่อเกิดอารยธรรมของคนหลายเชื้อชาติในแถบ ลุ่มนํ้าแห่งนี้ แนวความคิด ปรัชญา โลกทัศน์ คติความเชื่อ ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่คลาย คลึงกันสะท้อนออกมาในรูปกรให้ความเคารพนับถือแม่นํ้า เช่น ความเชื่อในเรื่องของพญานาค และพิธีกรรมในการจับปลาบึก ที่คล้ายคลึงกันตั้งแต่สิบสองปันนา พม่า ล้านนา จนถึงไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แม่นํ้าโขงตอนบนมีต้นกำ�เนิดจากเทือกเขาในเขตที่ราบสูงทิเบต บริเวณเทือกเขาทังกลา บนยอดเขาทังกลาที่ระดับความสูงกว่า ๑๖,๗๐๐ ฟุตจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง เรียกเป็นภาษา 8 ประสิทธิ์ คุณุรัตน์. ภูมิศาสตร์กายภาพภาคอีสาน. หน้า ๑๔๒.


11

พื้นเมืองว่า ดเซซู แม่นํ้าโขงช่วงนี้มีลักษณะแคบและตื้นไหลเชี่ยว ผ่านโกรกเขาและซอกหินที่สูง ชัน กว้างเพียงแค่ ๑๐๐ เมตร ไหลลงมาขนานกับแม่นํ้าสาละวินและแม่นํ้าแยงซีเกียง สู่เขตมณฑล เสฉวน และแคว้นสิบสองปันนา จากนั้นจึงเริ่มค่อย ๆ กว้างออกและมีชื่อว่าแม่นํ้าลานฉางหรือเก๋า ลุง ในช่วงนี้แม่นํ้าจะค่อย ๆ ลดระดับลงเรื่อย ๆ ทุก ๔๐๐ ฟุตต่อ ๑ องศาละจิจูด ซึ่งลักษณะพิเศษ ของแม่นํ้าโขง แต่ยังคงมีกระแสนํ้าเชี่ยวและแคบอยู่จึงไม่ได้ใช้สำ�หรับการคมนาคมมากนัก จากนั้น ไหลลงสู่ทางใต้ เป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างพม่าและลา และลงมาถึงสามเหลี่ยมทองคำ� (สบรวก) ที่อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายและเข้าสู่บริเวณแม่นํ้าโขงตอนล่าง แม่นํ้าโขงตอนล่างจะค่อย ๆ กว้างออกเพราะมีแม่นํ้าสาขาจำ�นวนมากทั้งในเขตไทยและ ลาวไหลลงสู่แม่นํ้าโขงในบริเวณนี้จึงมีความกว้างและกระแสนํ้าที่เหมาะสมกับการคมนาคมแต่มี อุปสรรคสำ�คัญคือ เกาะแก่งต่าง ๆ ที่ขวางอยู่กลางลำ�นํ้าจำ�นวนมาก จากนั้นจะไหลเข้าสู่ลาวที่ อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายและวกกลับออกมาเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทย-ลาวอีกครั้งที่อำ�เภอ เชียงคานจังหวัดเลย ผ่านหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำ�เภออำ�นาจเจริญไปจนถึงอำ�เภอ โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ซึ่งยาวมากกว่า ๘๕๐ กม. รวมระยะทางที่เป็นเส้นกั้นพรมแดนไทยลาวทั้งสิ้นประมาณ ๙๕ กิโลเมตร แม่นํ้าโขงช่วงนี้มีความกว้างขวางมากอยู่ในช่วงประมาณ ๘๐๐ -๑,๒๐๐ เมตร กว้างที่สุดที่จังหวัดอำ�นาจเจริญและในเขตจังหวัดมุกดาหารประมาณ ๒,๓๐๐ – ๒๖,๐๐๐ เมตร และไหลค่อนข้างเอื่อย ในช่วงหน้าแล้งจะมีปริมาณนํ้าน้อยลงแห้งจนกระทั่งเป็น ดอนหรือหาดทรายกลางลำ�นํ้าและบางแห่งสามารถเดินข้ามได้ดอนและชายหาดเหล่านี้เป็นแหล่ง เพาะปลูกที่สำ�คัญของเขตริมแม่นํ้าโขงเพราะเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์จากการตกตะกอนของแม่นํ้า และผลผลิตที่ได้จากบริเวณดอนเหล่านี้จะมีราคาสูงมากกว่าที่อื่น ๆ จากนั้นแม่นํ้าโขงจะไหลลงสู่ ทะเลจีนใต้บริเวณปลายแหลมญวนห่างจากเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ประมาณ ๘๕ กิโลเมตร แม่นํ้าสายสั้น ๆ ที่ไหลลงสู่ระบบแม่นํ้าโขงโดยตรงซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตอนบนของภาค ได้แก่ -แม่นํ้าเลย มีต้นกำ�เนิดที่ภูกระดึง จ.เลย ไหลลงแม่น้ำ�โขงที่ อ.ปากชม -แม่นํ้าเหือง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดน ไทย - ลาว ในเขตจังหวัดเลย -ห้วยหลวง ในเขตจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย -แม่นํ้ากํ่า ซึ่งมีต้นกำ�เนิดจากหนองหาน จังหวัดสกลนคร ไหลลงสู่แม่นํ้าโขงที่จังหวัด มุกดาหาร ๒. แม่นํ้ามูล เป็นสาขาที่สำ�คัญที่สุดของแม่นํ้าโขง มีต้นกำ�เนิดอยู่ระหว่างเขาวงกับ เขาละมั่งในเขตเทือกเขาสันกำ�แพงในเขตจังหวัดนครราชสีมา เป็นแม่นํ้าที่มีความยาวมากที่สุด ในเขตภาคนี้คือ ยาว ๖๔๑ กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มนํ้าประมาณ ๗๐,๑๐๐ ตร.กม. วางตัวขนานกับ แนวเขาพนมดงรักแม่นํ้ามูลเป็นแม่นํ้า ที่มีความลาดชันน้อยมาก คือตลอดระยะความยาวของ


12

แม่นํ้าจะลดระดับลงเฉลี่ย ๕๒ เมตร หรือ ๑๖ เซนติเมตร ต่อระยะทาง ๑ กิโลเมตรเท่านั้นทำ�ให้ ที่ราบลุ่มในเขตแม่นํ้ามูลถูกนํ้าท่วมอยู่เป็นประจำ�ทุกปี เนื่องจากไม่สามารถระบายนํ้าออกได้ทัน กับปริมาณความจุของนํ้า อีกทั้งบริเวณที่ลุ่มนํ้ายังมีชั้นหินดินดินลูกรังอยู่ทำ�ให้นํ้าไม่สามารถซึมได้ อีกด้วย สาขาของแม่นํ้ามูลที่สำ�คัญได้แก่ ลำ�ตะคอง ลำ�จักราช ลำ�แซะ ลำ�พระเพลิง ในเขตจังหวัด นครราชสีมา ลำ�ปลายมาศในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ลำ�ชีและลำ�นํ้าเสียวในจังหวัดสุรินทร์ ห้วยทับทัน ห้วยสำ�ราญ ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ลำ�เซบก ลำ�เซบาย ลำ�โดมใหญ่ และลำ�โดมน้อยในเขตจังหวัด อุบลราชธานี รวมทั้งแม่นํ้าที่ไหลลงสู่แม่นํ้ามูลในเขตจังหวัดยโสธรด้วยแม่นํ้ามูลไหลลงสู่แม่นํ้าโขง ในเขตอำ�เภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ๓. แม่นํ้าชี เป็นแม่นํ้าที่มีความยาวเป็นอันดับที่สองของภาคมีพื้นที่ลุ่มนํ้าประมาณ ๕๕,๑๐๐ ตร.กม. มีต้นกำ�เนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ปริมาณของ นํ้าในแม่นํ้าชีจึงมีไม่มากนัก ได้นํ้าจากสาขาสำ�คัญทางเหนือเป็นส่วนใหญ่ คือ ลำ�นํ้าพอง กับลำ�นํ้า ปาว ลำ�นํ้าพองเป็นสาขาที่สำ�คัญที่สุดของแม่นํ้าชี มีความยาว ๒๗๕ กิโลเมตร มีความสำ�คัญ ทางด้านเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะหลังจากการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ ส่วนลำ�นํ้าปาวนั้นแม่นํ้าสาขา ที่สำ�คัญเป็นอันดับสองของแม่นํ้าชีมีความยาว ๒๓๖ กิโลเมตร มีต้นนํ้าอยู่บริเวณเทือกเขาภูพาน และหนองหานกุมภาปี ส่วนสาขาสำ�คัญอื่น ๆ ของแม่นํ้าชี ได้แก่ ลำ�นํ้าพรมในเขตชัยภูมิ ลำ�นํ้ายัง ในเขตกาฬสินธุ์ ๔. แม่นํ้าสงคราม เป็นแม่นํ้าที่มีความสำ�คัญที่สุดของภาคอีสานตอนบนมีต้นนํ้าในเขต เทือกเขาภูพานมีพื้นที่ลุ่มนํ้าประมาณ ๒๐,๔๑๑ ตร.กม. มีความยาว ๔๒๐ กิโลเมตร ตลอดสอง ฝั่งของแม่นํ้า โดยเฉพาะในเขตสกลนครและนครพนมจะมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าและเป็นที่ราบนํ้า ท่วมถึงทันทีที่มีฝนตกและมีระดับนํ้าสูงขึ้นกลายเป็นทะเลสาบเล็ก ๆ จำ�นวนมากเป็นแหล่งทำ�การ ประมง ที่สำ�คัญมากที่สุดของภาคอีสาน ลำ�นํ้าสาขาที่สำ�คัญได้แก่ ลำ�นํ้าอูน ซึ่งมีกำ�เนิดอยู่บน เทือกเขาภูพาน ความยาวประมาณ ๒๗๐ กิโลเมตร แหล่งนํ้าอื่นๆในภาคอีสาน 9 แหล่งนํ้าผิวดิน แหล่งนํ้าผิวดินของภาคอีสานมีค่อนข้างมาก เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ ที่เป็นโคก สลับกับแอ่งและปริมาณนํ้าฝนที่ตกอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงมาก จึงมีแหล่งนํ้าผิวดินปรากฎอยู่ ทั่วไปในภาคอีสานแต่ปริมาณนํ้าที่ไหลบ่าและท่วมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มตลอด จนคุณภาพของดินที่กักเก็บนํ้าได้ตํ่า มีอัตราการสูญเสียนํ้าสูง ทำ�ให้นํ้าผิวดินในเขตภาคตะวันออก เฉียงเหนือมักแห้งขอดในช่วงฤดูแล้ง ประกอบกับการที่ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งต้นนํ้าลำ�ธารถูกทำ�ลาย 9 รัตนา รุจิรกุล. ภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. หน้า ๑๔๗.


13

ลงไปมาก จึงทำ�ให้ภาคอีสานต้องประสบปัญหาภัยแล้งมากกว่าภูมิภาคอื่นของประเทศ แหล่งนํ้าใต้ดิน มีความสำ�คัญอย่างมากในปัจจุบันเพราะเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องการขาด แคลนนํ้าในฤดูแล้งของภาคอีสาน การสำ�รวจแหล่งนํ้าใต้ดินทำ�อยู่ ๒ ชั้นด้วยกันคือ ๑. ชั้นนํ้าใต้ดินระดับพื้นเป็นชั้นที่ได้รับนํ้าจากการแทรกซึมของนํ้าในช่วงต้นฤดูฝน สามารถขุดพบได้โดยการขุดบ่อแบบธรรมดาของชาวบ้าน ซึ่งนํ้าใต้ดินชั้นนี้จะไวต่อความแห้งแล้ง สูง เมื่อฝนหยุดตกนํ้าก็จะค่อย ๆ แห้งไปด้วย ๒. ชั้นนํ้าใต้ดินระดับลึก หรือนํ้าบาดาลอยู่ในชั้นหินระดับลึก การเปลี่ยนแปลงของระ ดับนํ้าน้อย แม้ว่าจะอยู่ในฤดูแล้งก็ตามแต่ทว่าแหล่งนํ้าใต้ดินประเภทนี้ต้องขุดลึกมากและต้อง อาศัยผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งต้องสำ�รวจกันอย่างละเอียดถึงปริมาณนํ้าและชั้นหิน เกลือใต้แผ่นดินด้วยเพราะการสูบนํ้าอาจทำ�ให้ดินทรุดและไปละลายชั้นเกลือหินทำ�ให้คุณภาพนํ้า ไม่ดีกลายเป็นนํ้าเค็ม และอาจทำ�ให้ดินมีความเค็มสูงมากขึ้นกว่าเดิม

ลักษณะป่าไม้โดยทั่วไป 10 ป่าไม้ในภาคอีสานมีอยู่หลายประเภทปนกัน ขึ้นเป็นแนวต่อเนื่องกันไป มีไม้ชนิดต่าง ๆ ขึ้นสลับกันไปไม่แน่นอน มีลักษณะของการผสมผสานลักษณะสำ�คัญของดินในภาคนี้เป็นดินปน ทรายจึงขาดความอุดมสมบูรณ์และไม่กักเก็บนํ้า มีอัตราการชะล้างพังทะลายของดินสูง ทำ�ให้ป่า ที่ถูกทำ�ลายไปไม่สามารถคืนสภาพดั้งเดิมได้ทันและกลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมกระจัดกระจาย อยู่ทั่วทั้งภาค ส่งผลต่อปัญหาเรื่องนํ้าและระบบอุทกวิทยาเป็นอย่างมาก ประเภทของป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑. ป่าแดง (Dry Dipterocrap Forest) เป็นป่าที่พบมากที่สุดในเขตภาคอีสาน คือ มากกว่าร้อยละ ๕๐ ของป่าในภาคนี้ป่าแดงอาจเรียกว่า ป่าโคก ป่าแคระหรือป่าเต็งรัง ซึ่งสามารถ เจริญเติบโตได้ดีในเขตนี้ เนื่องจากดินสามารถระบายนํ้าดี และมีการผุพังของศิลาแลงสูง มีกรวด เป็นดินลูกรัง มีความชื้นในดินน้อย ลักษณะป่าจะโปร่ง มีแสงแดดส่งลงมาถึงพื้นดิน ข้างล่างและมี หญ้าคา ไม้ไผ่ ไม้พุ่มหนา พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ ยางแดง พลวง เหียง รัง มะค่า แต้ รกฟ้า เต็งตานี ฯลฯ มีความสำ�คัญทางเศรษฐกิจ และชีวิตประจำ�วันของชาวบ้านค่อนข้างสูง ประโยชน์ ป่าแดงหรือป่าโคกแม้จะมีไม้ขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่ ให้ปริมาณเนื้อไม้ไม่ มากเท่าป่าดงชนิดต่าง ๆ เนื่องจากมีอยู่ทั่วไปและหาง่าย จึงมีประโยชน์วิถีชีวิตประจำ�วันของชาว บ้านที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่าเหล่านี้ ตั้งแต่ฟืน ถ่าน ไม้ก่อสร้าง เพราะเข้าถึงง่าย และอาหารต่าง ๆ จากป่าเหล่านี้ เช่นหน่อไม้ หน่อเลา หน่อโจด เห็ดโคน เห็ดระโงก เห็ดถ่าน เห็ดนํ้าหมาก เห็ดก่อ 10 ประสิทธิ์ คุณุรัตน์. ภูมิศาสตร์กายภาพภาคอีสาน. หน้า ๒๙๖.


14

เห็ดขอน เห็ดกระด้าง เห็ดผึ่ง เช่นเดียวกับป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบ แต่มีจำ�นวนน้อยกว่า รวมทั้ง แมลงกินได้ เช่น จิ้งหรีด เรไร แมงอี แมงง้วง จักจั่น จีนูน กิ่งก่า ตุ๊กแก แย้ งู นก และสัตว์ป่าตลอด ทั้งผักต่าง ๆ เช่นผักหวาน ฯลฯ ชาวบ้านต้องอาศัยป่าโคกเป็นแหล่งอาหารทรัพย์ถาวรควบคู่กับ ป่าดงที่อาจอยู่ห่างไกลจากชุมชนแล้วยังให้ป่าโคกที่โปร่งมีป่าหน้าสลับอยู่ใช้เป็นที่เลี้ยงปศุสัตว์ ของชุมชน ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะของหมู่บ้าน เพราะมีหญ้าและใบไม้ที่สัตว์เลี้ยงบริโภคได้ เช่นใบ กะบก ผลกะบก และไม้อื่น ๆ เป็นต้น ๒. ป่าเบญจพรรณ 11 (Mixed Deciduoust Forest) พบได้บริเวณเทือกเขาของภาค จะมี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับป่าดิบแล้ง ซึ่งมักพบอยู่ร่วมกันเสมอ ป่าเบญจพรรณเป็นป่าไม้ผลัดใบแบ่ง ออกเป็นป่าเบญจพรรณชื้นและป่าเบญจพรรณแล้ง ซึ่งจำ�แนกตามปริมาณนํ้าฝนรายปี ถ้าสูงใน ระดับ ๑,๒๗๐ – ๒,๐๓๐ มม. ต่อปี จะเป็นป่าเบญจพรรณชื้น ถ้าอยู่ในระดับตํ่ากว่า ๑,๒๗๐ มม. ต่อปีจะเป็นป่าเบญจพรรณแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบจะมีลำ�ต้นสูงใหญ่กว่าป่าแดง เช่น สีเสียด ตะเคียน ราชพฤกษ์ รกฟ้า ประดู่ อ้อยช้าง มะเกลือ ยางเสี้ยน ตะแบกใหญ่ ตะแบกเกรียบ เป็นต้น มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำ�วันของชาวบ้านสูงเช่นเดียวกัน ประโยชน์ เป็นป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง ชาวบ้านมักเรียกว่า ไปดง เช่นเดียวกับ ป่าดิบ ได้ประโยชน์จากเนื้อไม้ต่าง ๆ ของป่า หน่อไม้ ผักอีรอก หน่อหวาย นํ้าผึ้ง ผลไม้ป่า หวาย เห็ด มัน กลอย สมุนไพร นํ้ามันยางและสัตว์ป่าต่าง ๆ ปัจจุบันพื้นที่ป่าถูกทำ�ลายมาก เพราะดิน ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์สูงจึงเหลือปรากฏอยู่น้อย ๓. ป่าทุ่ง (Savanna Forest) เป็นป่าเสื่อมโทรมที่เกิดจากการเผา ทำ�ลายป่า และจะ มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันเนื่องจากการทำ�ไร่เลื่อนลอย ป่าชนิดนี้จะมีทุ่งหญ้าสลับกับไม้เตี้ย ๆ กระจายไปทั่ว ดินเป็นลูกรังปนทรายไม่อุดมสมบูรณ์ ทุ่งกุลาร้องไห้ ก็คือป่าทุ่งที่หมดสภาพกลาย เป็นทุ่งหญ้าไปแล้วนั่นเอง ๔. ป่าดิบชื้น (Tropical Evergreen Forest) มีอยู่ในเขตเทือกเขาทางตะวันตก ตอน กลางและตอนใต้ของเทือกเขาภูพาน ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่ มีไผ่ขึ้นแทรก อยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ที่สำ�คัญได้แก่ ยาง ตะเคียน-ทอง สยา มะค่าโมง พยุง ตะแบก เป็นต้น อาจพบว่า อยู่ผสมกับป่าดิบ-แล้ง และมีไม้ผลผลัดใบ ขึ้นแทรกซึ่งเป็นลักษณะป่าดิบชื้น ที่แตกต่างจากป่าดิบ ชื้นในภาคอื่น ๆ ประโยชน์ ป่าดิบชื้นนอกจากจะให้คุณค่าของเนื้อไม้หลายชนิดแล้วยังได้ของป่ามากมาย มากกว่าป่าชนิดอื่น ๆ เช่น นํ้าผึ้ง ชั่น (ขี้ซี้) นํ้ามันยาง หน่อไม้ หวาย หน่อหวาย ไม้หอม ไม้จันนร์ 11 คำ�ว่า “ป่าเบญจพรรณ” ถ้าจะแปลตามตัวอักษรจะหมายถึง ป่าที่มีไม้ 5 ชนิด เรียกรวม ๆ เรียกว่า ป่าเบญจพรรณ แต่ตามที่เข้าใจตรง

กันโดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงป่าที่มีไม้ชนิดต่าง ๆ เว้นไม้สัก เพราะคำ�ว่าไม้เบญจพรรณหรือไม้กระยาเลยเท่าที่ใช้กันอยู่หมายถึงไม้อื่น ๆ ที่ ไม่ใช่ไม้สัก.


สีเสียด กระวาน อบเชย ผลไม้ป่า เช่น มะไฟ ลำ�ไยป่า คอแลน (บักแงว) กระท้อน (บักต้อง,หมาก ต้อง) และสัตว์ป่านานาชนิด ๕. ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าแบบมรสุมชื้นพบได้ในเขตนครพนม เทือกเขาภูพาน มีปริมาณไม่มากนักอาจพบตาม หุบเขาเตี้ย ๆ จนถึงบริเวณที่สูงราว ๑,๐๐๐ เมตร อยู่ใกล้กับธารนํ้ามีความเขียวชะอุ่มตลอดปี ทั้งที่อาจมีปริมาณนํ้าฝนแค่ ๑,๕๐๐ – ๒,๐๐๐ มม. ต่อปี เท่านั้น พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอย่างหนาแน่น เช่น ยาง ยางหลวง ตะเคียนหิน ตะเคียนน่อง หว้า ข่อย ไทร มะกอก งิ้ว แต้ว กะเบา และมีไม้เลื้อยและเถาวัลย์ขึ้นมากในระดับล่าง ประโยชน์ ป่าดิบแล้งให้คุณค่าเช่นเดียวกับป่าดงดิบชื้น โดยเฉพาะพื้นที่บางแห่งที่ต่อ เนื่องกันระหว่างป่าดิบชื้นกับป่าดิบแล้งและป่าโคกหรือป่าเต็งรังในที่ตํ่าจะพบไม้เศรษฐกิจระดับ สูงหรือไม้พยุง ไม้ชิงชัน และมะค่าแต้ ให้ผลผลิตของป่ามากมายเช่นเดียวกับป่าดิบชื้น ๖. ป่าดิบเขา (Hill Forest, Lower montane Forest) เขาพบบนภูเขาสูง ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้เป็นตระกูลก่อเช่น เดือย ก่อขาว ก่อนํ้า พญาไม้ จำ�ปีป่า ก่อเลือด ก่อแป้น ก่อสี เสียด หว้า กำ�ยาน เป็นต้น มีไม้สนเขาขึ้นปะปน มีเฟิร์น มอส และพืชเล็กขึ้นระดับล่าง พบในเทือก เขาทางตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ประโยชน์ ป่าดิบเขามีประโยชน์ทั้งทางตรง เรื่องเนื้อไม้โดยเฉพาะไม้กึ่งเขตร้อนที่หาได้ ลำ�บาก ผลผลิตจากป่า และโดยเฉพาะป่าดิบเขาเป็นสิ่งที่เราจะต้องอนุรักษ์เพราะเป็นป่าต้นนํ้า ลำ�ธาร ๗. ป่าสนเขา (Coniferous Forest) ในประเทศไทยจะพบอยู่สองชนิด คือ สนสองใบ และสนสามใบ เป็นสนนํ้ามัน พบในเขตค่อนข้างแห้งแล้งและเทือกเขาสูงในระดับ ๗๐๐ – ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป จะขึ้นปะปนกับป่าแดง หรือป่าอื่น ๆ บ้าง แต่โดยทั่วไปจะพบว่าอยู่โดด ๆ ไม่มีพันธุ์มี อื่นปะปน มีคุณค่าทางเศรษฐกิจในแง่ของการทำ�นํ้ามันสนและชันสน ประโยชน์ ป่าสนเขาเป็นเขตที่ไม่เหมาะในการกสิกรรม เพราะแห้งแล้งและดินเป็นกรด อยู่ในที่สูงจึงต้องอนุรักษ์เป็นแหล่งของต้นนํ้าลำ�ธาร แต่ไม้สนหรือที่ชาวบ้านเรียกไม้ไต้ เพราะเวลา เดินป่าตอนกลางคืนหรือตอนมืดคํ่า บนภูเขาจะใช้กิ่งสนจุดแทนไต้ให้แสงสว่างได้อย่างดี ไม้สน มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสูงมาก ใช้ในการก่อสร้างตกแต่งภายในทำ�เครื่องเรือน เพราะมีลวดลาย สวยงามอันเกิดจากวงรอบปีและท่อนํ้ามันสนในส่วนที่เป็นกระพี้ แต่แก่นมักเป็นสีตาลแกมชมพู นํ้าหนักเบา เลื่อยหรือตัดตกแต่งชักเงาได้ดี นอกจากนี้ยังให้นํ้ามัน ชันนํ้ามัน อีกด้วย เป็นต้น

15


16

๒ ยุคดึกดำ�บรรพ์ถึงสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง

ภูมิภาคอีสาน เป็นดินแดนที่ปรากฏหลักฐานและร่องรอยที่มีความสำ�คัญในอดีต อันมี ความเนื่องมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน นับตั้งแต่หลักฐานทางโบราณชีววิทยา ดังเช่นซากฟอสซิล ไดโนเสาร์และฟอสซิลซากพืช ซากสัตว์โบราณหลากหลายชนิด ส่วนร่องรอยหลักฐานอารยธรรม ก็ได้มีการค้นพบหลักฐานของมนุษย์โบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์อารยธรรมโบราณสมัย ประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของชุมชนจนถึงยุคปัจจุบัน 12 หลักฐานโบราณชีววิทยา (Paleontology Evidence) 13 ไดโนเสาร์ (Dinosaur) ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประเภทสัตว์เลื้อยคลาน มีชีวิตอยู่ในมหายุคมีโสโซ อิก เมื่อประมาณ ๒๒๕ ล้านถึง ๖๕ ล้านปีมาแล้วมีขนาดรูปร่างต่างกันตั้งแต่ขนาดใหญ่มาก นํ้า หนักกว่า ๑๐๐ ตัน สูงกว่า ๑๐๐ ฟุต จนถึงพวกที่มีขนาดเล็กกว่าไก่ในปัจจุบัน ไดโนเสาร์บาง ประเภทเดินสี่ขาในขณะที่บางประเภทวิ่งบนขาหลัง ๒ ขา ไดโนเสาร์พวกแรกมีอายุมากกว่า ๒๐๕ ล้านปี มีชีวิตและวิวัฒนาการแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๑๔๐ ล้านปีก ระจัดกระจายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และได้สูญพันธุ์ไปหมดเมื่อประมาณ ๖๕ ล้านปีที่แล้ว ปัจจุบันพบซากไดโนเสาร์ชนิดต่าง ๆ แล้วถึง ๓๔๐ สกุล การค้นพบซากไดโนเสาร์ครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ ศาสตราจารย์ริชาร์ด โอเวน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นผู้ ตั้งชื่อซากของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๓ และ ๒๓๖๓ ว่า “ไดโนเสาร์” ซึ่งเป็นคำ�มาจากภาษากรีก “ไดโน (Deinos)” แปลว่า น่ากลัวมาก และ “เซา รอส(Sauros)” หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อที่จะทำ�ให้คนสมัยนั้นสามารถจดจำ�สัตว์เลื้อยคลาน ขนาดยักษ์ที่น่ากลัวนี้ได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นทุกคนเริ่มให้ความสนใจในกรค้นหาซากไดโนเสาร์และ ได้ค้นพบซากไดโนเสาร์ตามชั้นหินต่าง ๆ ทั่วโลกทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นจำ�นวนมาก แหล่งที่พบไดโนเสาร์ในภาคอีสาน 14 ฟอสซิสไดโนเสาร์ของไทยพบจากแหล่งขุดค้นหลายแห่งกระจายอยู่เกือบทั่วภาคอีสาน บริเวณที่เป็นแนวเทือกเขา ซึ่งประกอบขึ้นจากหินตะกอนที่ทับถมกัน ในสภาพชั้นหินที่ประกอบ ด้วยหินดินดาน หินทรายแป้ง หินทรายและหินกรวดมนสีนํ้าตาลแดงเป็นส่วนใหญ่ หินตะกอน 12 ประสิทธิ์ คุณุรัตน์. ภูมิศาสตร์กายภาพภาคอีสาน. หน้า ๑๐. 13 วราวุธ สุธีธร. ไดโนเสาร์ของไทย. หน้า ๑๐. 14 วราวุธ สุธีธร. ไดโนเสาร์ของไทย. หน้า ๒๖.


แดงนี้มีชื่อเรียกว่า กลุ่มหินโคราชสะสมตัวบนแผ่นดินในช่วงมหายุคมีโสโซอิกอันเป็นช่วงเวลาที่ ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่บนโลก ชิ้นส่วนไดโนเสาร์ที่ฝังปนอยู่ในชั้นหินฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในยุคไทร แอสสิกตอนปลาย (๒๐๐ ล้านปี) และที่มีอายุน้อยที่สุด อยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลางราว ๑๐๐ ล้านปีมาแล้ว ๑. จังหวัดกาฬสินธุ์ อำ�เภอกุฉินารายณ์ พบซากกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอด (Sauropod) และคาร์โนซอร์ (Carnosaur) ที่วัด บ้านนาไคร้ บ้านโคกโก่งและบ้านหนองเม็กในหมวดหินเสาขัว ยุคครีเตเชียสตอนต้น (ประมาณ ๑๓๐ ล้านปีมาแล้ว) ภูกุ้มข้าว วัดป่าสักกะวัน อ.สหัสขันธ์ ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๗ คณะสำ�รวจโบราณชีววิทยาไทย-ฝรั่งเศส ได้สำ�รวจพบกระดูก ไดโนเสาร์จำ�นวนมากที่บริเวณวัดสักกะวัน ภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ โดยพบกระดูก มากกว่า ๖๐๐ ชิ้น ในชั้นดินทรายหมวดหินเสาขัว ยุคครีเตเชียส กระดูกไดโนเสาร์ที่พบเป็นกระ ดูกของไดโนเสาร์กินพืชพวกซอโรพอดมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ ๑๓๐ ล้านปีแล้ว ซากกระดูกที่พบ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เกือบทุกส่วนของโครงร่างรวมทั้งฟัน และบางส่วนของกะโหลกทำ�ให้บอก ได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งคือภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี่ อีกชนิดหนึ่งยังต้องรอ ผลการวิจัย และยังมีฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ พวกคาร์โนซอร์อีก ๒ ชนิด คือ สยามโม ซอรัสและสยามโมไทรันนัส ปัจจุบันพบซากไดโนเสาร์ซอโรพอดในหลุมเดียวกันเป็นจำ�นวนเดียว อย่างน้อย ๖ ตัว ภูแฝก กิ่งอำ�เภอนาคู พบรอยเท้าบนลานหินทรายชุดพระวิหาร อายุประมาณ ๑๑๕ – ๑๔๐ ล้านปี เป็นรอย เท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์ จำ�นวน ๑๒ รอยมีขนาดกว้าง ๔๐ ซม. ยาว ๔๕ ซม. ๒. จังหวัดขอนแก่น ภูประตูตีหมา อ.ภูเวียง พบซากกระดูกไดโนเสาร์เป็นหมวดหินเสาขัวอายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ไดโนเสาร์ซอโร พอด (Sauropod) ไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่ ซากกระดูกค่อนข้างสมบูรณ์ได้ขอพระราชทานพระ นามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีตั้งชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) ไดโนเสาร์คาร์โนซอร์ (Carnosaur) พบฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อหลายชนิด เป็นชนิด

17


18

ใหม่ ๒ ชนิด ชื่อ สยามโมซอรัส สุธีธรนี่ และสยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส ไดโนเสาร์ซีลูโรซอร์ (Coelurosaur) พบซากกระดูกขาหลังท่อนล่างและขาหน้าท่อน บนของไดโนเสาร์ ซีลูโรซอร์ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก ตัวเท่าไก่มีชื่อสกุล คอมซอกนาธัส (Compsongnathus sp.) ลาดหินลาดป่าชาด ภูเวียง พบรอยเท้าไดโนเสาร์ในหินหมวดพระวิหาร อายุประมาณ ๑๔๐ ล้านปีมาแล้วเป็นรอย เท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กจำ�นวนมากกว่า ๖๐ รอย มีนิ้ว ๓ นิ้วคล้ายรอยเท้านก ขนาด รอยเท้ายาวประมาณ ๑๐ ซม. ผาเตลิ่น ภูหลวง ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ พบรอยเท้าบนหินทรายอยู่ในชั้นหินหมวดภูพาน กลุ่มหินโคราช ยุคครี เตเชียสตอนต้น (ประมาณ ๑๑๐ – ๑๔๐ ล้านปีมาแล้ว) เป็นรอยแรกที่พบในเขตเอเชียอาคเนย์ มีร่องรอยปรากฎอยู่ถึง ๑๕ รอย เป็นรอยเท้าไดโนเสาร์คาร์โนซอร์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาด ใหญ่ ๓. จังหวัดชัยภูมิ อำ�เภอคอนสวรรค์ พบกรามล่างและส่วนของกะโหลกด้านบนซ้ายของไดโนเสาร์ปากนกแก้ว วงศ์ซิตตาโก ซอรตี ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กอายุประมาณ ๑๐๐ ล้านปี ชื่อ ซิตตาโกซอรัส สัตยารักษ์กี้ (Psittacosaurus sattayaraki) บ้านโนนสะอาด อำ�เภอหนองบัวแดง พบกระดูกไดโนเสาร์ที่บ้านโนนสะอาด ในชั้นหินกรวดมน สีนํ้าตาลแดงของหมวดหิน นํ้าพอง อายุอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ประมาณ ๒๑๐ ล้านปี พบกระดูกคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกขา กระดูกหาง จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าเป็นกระดูกของไดโนเสาร์ ซอโรพอดอาจเป็นชิ้นส่วนกระดูกของไดโนเสาร์ อิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ ซึ่งจะทำ�การสำ�รวจ ศึกษาขั้นละเอียดต่อไป ๔. จังหวัดเลย ภูหินแท่น อำ�เภอภูกระดึง พบกระดูกขา กระดูกคอ ซี่โครง ในชั้นหินหมวดหินนํ้าพอง ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ประมาณ ๒๑๐ – ๒๐๐ ล้านปี สันนิษฐานว่าเป็นกระดูกไดโนเสาร์ อิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืชเก่าแก่ที่สุด


19

ท่าสองขอน บ้านทุ่งใหญ่ อำ�เภอภูกระดึง พบรอยตีนไดโนเสาร์ บนลานหินกลางลำ�นํ้าพอง หมวดหินนํ้าพอง ยุคไทรแอสซิกตอน ปลาย ประมาณ ๒๑๐ – ๒๐๐ ล้านปี เป็นการพบรอยตีนไดโนเสาร์ในหมวดหินนํ้าพองครั้งแรกใน ประเทศไทย รอยตีนที่ชัดเจนมี ๖ รอย แนวทางเดินที่แสดงเป็นทางชัดเจน มีลักษณะ ๓ นิ้ว เป็น รอยตีนของไดโนเสาร์คาร์โนเซอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำ�การสำ�รวจศึกษาขั้นละเอียดต่อไป

๕. จังหวัดหนองบัวลำ�ภู บ้านโนนทัน พบกระดูกไดโนเสาร์กินพืช ในชั้นหินหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเซียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี คาดว่าน่าจะเป็นกระดูกของไดโนเสาร์กินพืช ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ชนิดของไดโนเสาร์ที่พบ ภาคอีสานมีอายุทางธรณีวิทยาเก่าแก่นับแต่ยุคครีเตเชียส บริเวณนี้สันนิษฐานว่าเป็น แหล่งที่สมบูรณ์ด้วยสรรพชีวิตนานา รวมทั้งไดโนเสาร์เป็นเวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ไดโนเสาร์ที่พบมี หลายชนิดและห่างกันตามยุคสมัยต่าง ๆ คือ ไทรแอสสิก ตอนปลายเป็นยุคแรกสุดของไดโนเสาร์ ในเมืองไทยเป็นเวลากว่า ๒๐๐ ล้านปีมาแล้ว ยุคจูแรสสิกประมาณ ๑๕๐ ล้านปี และยุคครีเตเชีย สประมาณ ๑๕๐ – ๖๕ ล้านปี ฟอสซิลโครงกระดูกและรอยเท้าไดโนเสาร์ที่พบในภาคอีสาน แบ่ง เป็น ๔ อันดับย่อยคือ เทอโรโพดา ซอโรโพโดมอร์พา ออนิโธโพดาและเซอรา -ทอปเซีย รวมทั้งสิ้น ๗ ชนิด และเมื่อรวมชนิดที่พบที่เพชรบูรณ์ในอันดับแยกย่อย คือ โปรโซโรพอด รวมเป็น ๘ ชนิด15 คือ ๑. โปรซอโรพอด (Prosauropods) เป็นไดโนเสาร์รุ่นก่อนซอโรพอด อันดับแยกย่อยคือ โปรซอโรโพดา อันดับย่อยคือ ซอโร พอโดมอร์พา อันดับซอริสเซียอยู่ในยุคไทรแอสสิกและต้นยุคจูแรสสิกเป็นไดโนเสาร์กินพืชรุ่นแรก เดิน ๒ เท้าและ ๔ เท้า คอยาว หางยาว หัวเล็ก ลำ�ตัวใหญ่ ขาใหญ่เทอะทะมีนิ้ว ๕ นิ้วและมือมี นิ้ว ๕ นิ้วหัวแม่มือโค้งใหญ่มีฟันรูปร่างคล้ายช้อนติด ชิดกันเป็นแนวมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ยาว กว่าคนเพียงเล็กน้อย จนถึงยาวกว่าส่วนกว้างของสนามเทนนิส พวกที่มีน้ำ�หนักเบาจะยกส่วนหน้า ขณะที่วิ่ง หรือหาอาหารและใช้ก้อนกรวดในกระเพาะช่วยในการย่อยอาหาร โปรซอโรพอดที่พบ เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่เก่าแก่ที่สุดของไทยในชั้นหินหมวดนํ้าพอง (๒๐๐ ล้านปี) ส่วนปลายของ กระดูกอีเลียม (กระดูกสะโพกส่วนหน้า) ซึ่งเป็นของไดโนเสาร์โปรซอโรพอดถูกขุดค้นพบ ในชั้นหิน หมวดนํ้าพองยุคไทรแอสสิกตอนปลาย (๒๐๐ ล้านปี) ในเขตอำ�เภอนํ้าหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ใน ปี ๒๕๓๕ กระดูกของพวกโปรซอโรพอดจากชั้นหินทรายสีแดงชิ้นนี้นับว่าเป็นกระดูกไดโนเสาร์เก่า 15 วราวุธ สุธีธร. ไดโนเสาร์ของไทย. หน้า ๗๔.


20

แก่ที่สุดที่พบในเอเชียอาคเนย์ และเป็นการพบพวกโปรซอโรพอดครั้งแรกในบริเวณพื้นที่แถบนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสซิลโปรซอโรพอดที่พบจากแหล่งอื่น ๆ ทั่วโลกพบว่าโปรซอโรพอดของไทย มีขนาดใหญ่แข็งแรง อาจยาวถึง ๘ เมตร โปรซอโรพอดเป็นไดโนเสาร์กินพืช ฟันมีรอยหยัก แบบ เลื่อยอย่างยาว คอยาว เท้าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลัง นิ้วมีเล็บแหลมคม ๒. ซอโรพอด (Sauropod) อันดับแยกย่อยคือ ซอโรโพดา อันดับย่อยซอโรโพโดมอร์พา อันดับซอริสเซีย ซอโรพอด เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดมหึมาเดิน ๔ ขา หัวเล็ก ลำ�ตัวใหญ่ หางยาว ขาใหญ่เทอะทะมีนิ้ว ๕ นิ้ว แขนเล็กมีนิ้ว ๕ นิ้ว มีฟันคล้ายซ้อนติดชิดกันเป็นแนว บางตัวมีลำ�ตัวยาวเท่ากับรถโดยสารหลาย คันต่อกัน นํ้าหนักเท่ากับช้างหลายตัว สมองเท่ากับสมองแมว หัวเท่าหัวม้า คอยาวประกอบด้วย กระดูกนํ้าหนักเบาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน กระดูกหลังเบาและกลวงหางยาวสัมพันธ์กับความยาว ของคอซอโรพอด มีชีวิตอยู่ในต้นยุคจูแรสสิกจนถึงปลายยุคครีเตเชียส ซอโรพอดในประเทศไทย เช่นภูเวียงโกซอรัสไดโนเสาร์ ที่พบทั้งตัวโตเต็มวัยและพวกวัยเยาว์ ซากดึกดำ�บรรพ์ของไดโนเสาร์ ที่พบในประเทศไทย จากชั้นหินยุคครีเตเชียสตอนต้น (๑๓๐ ล้านปี) ส่วนใหญ่เป็นซอโรพอดซึ่ง เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ เดินสี่ขา คอยาว หางยาว พบมากในแหล่งภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดกาฬสินธุ์ การศึกษาวิจัยชิ้นส่วนฟอสซิลที่พบชี้ให้เห็นว่าเป็นฟอสซิลของซอโรพอด ที่ต่างจากชนิดที่เคยพบมาแล้วทั้งในประเทศจีน ทวีปอเมริกา และทวีปแอฟริกา จึงตั้งชื่อซอโร พอดชนิดใหม่นี้ว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี่(Puwiangosaurus Sirindhornae) เรียกตามสถาน ที่พบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกคือ ภูเวียง ชื่อชนิดตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน ที่ทรงสนพระทัยติดตามการค้นพบทาง โบราณชีววิทยาในประเทศไทย บริเวณภูเวียงมีการค้นพบกระดูกบางส่วนของซอโรพอดที่อยู่ในวัยเยาว์ปะปนอยู่กับ กระดูกของไดโนเสาร์ที่เจริญเต็มวัยแล้ว ลักษณะทางกายวิภาคชี้ให้เห็นว่าทั้งหมดน่าจะเป็นสัตว์ ชนิดเดียวกันแต่วัยต่างกัน ลักฐานเหล่านี้ให้ข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของไดโนเสาร์ซอ โรพอดเนื่องจากส่วนกระดูกของพวกวัยเยาว์นี้พบน้อยมาก จากการศึกษาชิ้นกระดูกที่มีขนาดเล็กที่สุดพบว่าซอโรพอดวัยเยาว์นี้มีความสูงประมาณ ๕๐ ซม. และมีความยาวไม่ถึง ๒ ม. ในขณะที่พวกเติบโตเต็มวัยแล้วมีขนาดยาวประมาณ ๑๕ – ๑๘ ซม. ๓. สยามโมซอรัส สุธีธรนี่ (Siamosaurus Suteethorni) ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ฟันคล้ายจระเข้ฟันที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยปลายแหลม มีแนวร่องและสันเรียวสลับตลอดครอบฟันถูกพบในชั้นหินยุคครีเตเซียสตอนต้น (๑๒๐ – ๑๓๐ ล้านปี) หลายแหล่ง เช่น ภูเวียง ภูกุ้มข้าว ภูผาโรง ภูนาขาม เป็นต้น ฟันเหล่านี้เป็นของไดโนเสาร์


21

ขนาดใหญ่ คือสยามโมซอรัส สุธีธรนี่ (Siamosaurus suteethorni) ลักษณะของฟันที่ผิดแปลก ไปจากปกติชี้ให้เห็นว่าอาหารของสยามโมซอรัสต่างจากพวกเทอโรพอดทั่วไป เพราะลักษณะของ ฟันที่เกือบจะกลมและไม่มีรอยหยักไม่อาจเฉือนเนื้อได้เลย น่าจะใช้ในลักษณะอื่นเคยมีผู้วินิจฉัย ว่าพวกสไปโนซอริดส์มีปากแคบยาว และเป็นพวกกินปลาเป็นอาหารคล้ายกับพวกจระเข้ แต่ ลักษณะทางร่างกายของเทอโรพอดโดยทั่วไปดูเหมือนว่ายากที่จะปรับให้เป็นลักษณะของพวก ล่าปลาและถ้าพวกสไปโนซอริดส์ (รวมทั้งสยามโมซอรัส) เป็นพวกที่กินปลาเป็นอาหาร รูปร่าง หน้าตาของกลุ่มนี้จะต้องมีลักษณะสำ�คัญบางอย่างที่แตกต่างไปจากเทอโรพอดทั่วไป แต่เนื่องจาก ยังไม่พบโครงกระดูกของสยามโมซอรัส ดังนั้นการวาดรูปโครงร่าง ต้น แบบของสยามโมซอรัส จึง เป็นลักษณะของไดโนเสาร์ที่เดินด้วยสองขาหลังเหมือนกับพวกคาร์โนซอร์ในอนาคตถ้าหากมีการ พบฟอสซิลจากหินหมวด เสาขัวเพิ่มเติมมากขึ้นข้อมูลเกี่ยวกับสยามโมซอรัสก็คงจะสมบูรณ์ขึ้น และอาจจะบอกถึงลักษณะนิสัยบางอย่างของไดโนเสาร์ในกลุ่มนี้ซึ่งอาจจะมีอะไรพิเศษมากไปกว่า ที่พบอยู่นี้ก็เป็นได้ ๔. สยามโมไทรันนัส อิสานแอนซิส (Siamtyrannus Isanensis) บรรพบุรุษที่เก่าแก่ที่สุดของทีแร็กซ์กระดูกของเทอโรพอดขนาดใหญ่บางส่วนของโครง ร่างประกอบด้วยกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกและกระดูกหาง เป็นซากดึกดำ�บรรพ์ที่สมบูรณ์ฝัง ตัวแน่นอยู่ในชั้นหินทรายยุคครีเตเชียสตอนต้น (๑๓๐ ล้านปี) ยากแก่การสกัดออกมาเพื่อศึกษา วิจัยแต่จากการทำ�งานอย่างหนักหลายเดือน นักวิจัยสรุปได้ว่าเป็นของไดโนเสาร์สกุลใหม่ และ ชนิดใหม่ สยามโมไทรันนัสอิสานแอนซิส ลักษณะกระดูกจากภูเวียง เป็นกระดูกที่เก่าแก่และมี ลักษณะโบราณที่สุดของพวกในวงศ์ไทรันโนซอริเด ไดโนเสาร์ที่พบใหม่ในไทยนี้เก่าแก่ชนิดที่เคย พบมาก่อน ทำ�ให้เราสันนิษฐานได้ว่าพวกกลุ่มไทรันโนซอริดเริ่มวิวัฒนาการขึ้นครั้งแรกในเอเชีย แล้วจึงแพร่หลายออกไปทางเอเชียเหนือในช่วงสุดท้ายของยุคครีเตเชียส สยามโมไทรันนัสเป็นได โนเสาร์เทอโรพอดมีขนาดยาวประมาณ ๖.๕ เมตร ยาวเป็นครึ่งหนึ่งของไทรันโนซอรัสเร็กซ์ เป็น รุ่นหลังสุดของสายพันธุ์นี้และมีชีวิตอยู่ในทวีปแอฟริกาเหนือเมื่อปลายยุคครีเตเชียส ๕. กินรีไมมัส (Kinnareeminus) ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศชนิดใหม่ในแหล่งขุดค้นพบแหล่งหนึ่งซึ่งพบซากดึกดำ�บรรพ์ ของซอโรพอดวัยเยาว์จำ�นวนมาก ได้พบกระดูกตีนของเทอโรพอดตัวหนึ่งปนอยู่ด้วย กระดูกตีน ยาวเรียวทำ�ให้ไดโนเสาร์นี้วิ่งได้เร็วจัดเข้าได้ในวงศ์เดียวกับพวกออร์นิโธไมโมซอร์หรือไดโนเสาร์ เทอโรพอด ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากเทอโรพอดทั่วไป ไดโนเสาร์ที่ขึ้นชื่ว่าปราดเปรียว และวิ่งเร็วชนิดนี้คงจะกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ฟอสซิลกระดูกเหล่านี้กำ�ลังอยู่ในระหว่างการ ศึกษาวิจัยรายละเอียด


22

๖. คอมพ์ซอกนาธัส (Comsognathus) ไดโนเสาร์ขนาดจิ๋วชิ้นส่วนกระดูกขนาดเล็กจำ�นวนหนึ่งประกอบด้วยหน้าและกระดูก หน้าแข้ง ค้นพบที่ภูเวียงเป็นหลักฐานยืนยันว่าเคยมีเทอโรพอดขนาดเล็กซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ คอมพ์ซอกนาธัส อาศัยอยู่ในเขตของประเทศไทยในยุคครีเตเชียสตอนต้น (๑๒๐ – ๑๓๐ ล้านปีมา แล้ว) ๗. อีกัวโนดอนทิดส์ (Iguanodon) อยู่ในวงศ์อีกัวโนดอนทิเตอันดับย่อยออนิโธโพดา อันดับออนิธิสเชีย เป็นไดโนเสาร์กิน พืชขนาดกลางจนถึงใหญ่โครงร่างหนักอุ้ยอ้ายเดิน ๒ เท้าหรือ ๔ เท้า กระดูกต้นขาเป็นแนวตรง จมูกยาว มีจงอยปาก ไม่มีฟัน ฟันกรามชิดติดเรียงเป็นกลุ่ม อาจจะมีลิ้นยาว ใช้งานได้ ขาหลัง ขนาดใหญ่มีพลังมหาศาลมีนิ้วเท้า ๓ นิ้ว เดิน ๔ ขา ทั้งไหล่ แขน นิ้วมือแข็งแรงคล้ายตะขอรับนํ้า หนักได้ เดือย แหลม ตรงนิ้วหัวแม่มือขนาดใหญ่ สามารถทำ�ร้ายคู่ปรับ หรือเทอโรพอดขนาดใหญ่ ที่ร้ายกาจได้ความยา ๑๓ ฟุต ๖ นิ้ว – ๒๙ ฟุต ๖ นิ้ว (๔ – ๙ เมตร) นํ้าหนัก ๔.๕ ตัน อยู่ในช่วง ต้นยุคถึงปลายยุคครีเตเชียส ถิ่นกำ�เนิดอยู่ในแอฟริกาเหนือ ยุโรป เอเชียและอาฟริกา อีกัวโนดอนทิดส์ที่พบในภาคอีสานเมื่อต้นปี ๒๕๔๐ เป็นฟอสซิลไดโนเสาร์จากชั้นหิน หมวด โคกกรวดที่โคกผาส้วม จังหวัดอุบลราชธานีเป็นแหล่งล่าสุดที่คณะสำ�รวจไทย - ฝรั่งเศสได้ ไปสำ�รวจพบฟันของไดโนเสาร์คล้ายกับสยามโมซอรัสสุธีธรนี่ ซึ่งเคยพบจากหลายแหล่งในหินชุด เสาขัว และอีกส่วนหนึ่งเป็นฟันของไดโนเสาร์ออนิโธพอด พวกอิกัวโนคอนทิดส์ฟันหลายซี่ที่พบ ไม่สามารถบอกถึงชนิดได้ แต่ก็จำ�แนกวงศ์ได้และเป็นหลักฐานแรกที่บอกว่ามีพวกออนิโธพอดใน ประเทศไทย ออนิโธพอดเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มีสะโพกแบบนก ขาหลังทั้งสองมีขนาด ใหญ่ ขาหน้ามีขนาดเล็กกว่ามากสามารถเดินได้ด้วยสองขาหลัง หรือเดินสี่ขาโดยใช้ขาหน้าช่วย พยุงตัวเป็นไดโนเสาร์ที่มีมาก ในช่วงปลายยุคไดโนเสาร์ ๘. ซิทคาโกซอรัส (Psittacosaurus) อยู่ในวงศ์ซิทตาโกซอริเค อันดับย่อย เซอราทอปเซีย อันดับออนิธิสเซียเป็นไดโนเสาร์ กินพืช เดิน ๒ ขา ความยาว ๒ เมตร ขายาว หางยาว แขนสั้น ติดกับมือสำ�หรับก้าวตะครุบ สัน จมูกคล้ายนกแก้วรูจมูกและตาอยู่สูงตรงด้านบนของศรีษะ มีเขาแข็ง เป็นกระดูกตรงช่วงแก้ม เป็น เซอราทอปเชียรุ่นเก่าแก่ที่รู้จักกันมาก มีชีวิตอยู่ในต้นยุคครีเตเชียสซิทตาโกซอรัส เป็นไดโนเสาร์ ขนาดเล็กปากเหมือนนกแก้ว ที่พบในอีสานเป็นพวกเซอราทอปเชียน ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก มีความยาวเพียงเมตรเดียว เคยพบอยู่ในไซบีเรีย จีน มองโกเลีย เพิ่งมาพบในไทยเมื่อไม่นานมานี้ โดยพบชิ้นส่วนกรามจากจังหวัดชัยภูมิ ในชั้นหินยุคครีเตเชียส (๑๐๐ ล้านปี) เมื่อวิจัยเปรียบเทียบ พบว่าคล้ายกับที่พบอยู่ก่อนแล้ว แต่มีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างออกไปจัดว่าเป็นชนิดใหม่ จึง ได้ตั้งชื่อว่าซิทตาโกซอรัส สัตยารักษ์กี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่นายนเรศ สัตยารักษ์ นักธรณีวิทยากรม ทรัพยากรธรณี ผู้ค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่นี้


สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Period) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไม่มีผู้ใดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอนว่าเกิดขึ้นเมื่อไร และสิ้นสุดลงเมื่อไร ดังนั้นจึงจำ�เป็นต้องใช้วิธีการกำ�หนดอายุโดยทางวิทยาศาสตร์ เช่น จาก ตัวอย่างถ่านและจากเศษภาชนะดินเผาอย่างไรก็ตามเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในอีสานจากการ สำ�รวจขุดค้นของโครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๔ และ จากผลงานของนักโบราณคดี แนวคามคิดและเชื่อถือแต่เดิมมองสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในอีสานออกเป็น ๔ สมัย โดย ใช้วิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีอย่างเดียวเป็นหลักในการแบ่ง คือ ๑. สมัยหินเก่า (Palaeolithic) ๒. สมัยหินกลาง (Mesolithic) ๓. สมัยหินใหม่ (Neolithic) ๔. สมัยโลหะ (Metal age) ความคิดและความเชื่อในลำ�ดับสมัยต่างๆ เป็นความเชื่อของชาวยุโรปซึ่งเข้ามาทำ�งาน ทางด้านโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็ยังมีนักโบราณคดียึดถือมาจนถึงปัจจุบันโดย ไม่ได้คำ�นึงถึงอายุ เทคโนโลยี การดำ�รงชีวิต การตั้งถิ่นฐานและสภาพแวดล้อมเครื่องช่วยพิจารณา ลำ�ดับสมัยต่างๆ ในประเทศไทยรวมทั้งอีสานทางโบราณคดีแบ่งลำ�ดับสมัยประวัติศาสตร์ในอีสาน ออกได้เป็น ๒ สมัย คือ สังคมล่าสัตว์ และสังคมกสิกรรม โดยอาศัยความเจริญวัฒนธรรมในการ แบ่ง ๑. สังคมล่าสัตว์ ในสมัยยุคหินเก่าและสมัยหินกลาง หรือเป็นที่รู้จักเป็นวัฒนธรรมโห บิเนียน สมัยหินเก่าและหินกลางมีสภาพความเป็นคล้ายคลึงกัน แต่ลักษณะของเครื่องมือต่าง กันเล็กน้อย จากหลักฐานที่พบในประเทศไทยและภาคอีสานนั้นพบเครื่องมือสับตัดในสมัยหิน เก่าและเครื่องมือกะเทาะหน้าเดียวของวัฒนธรรมโหบิเนียนในสมัยหินกลาง เครื่องทั้งสองแบบมี ลักษณะที่คล้ายคลึงกันต่อเครื่องมือในวัฒนธรรมโหบิเนียนประณีตกว่าเล็กน้อย เมื่ออาศัยความ เจริญทางวัฒนธรรมเป็นหลักในการแบ่งลำ�ดับสมัยเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในอีสาน จึงรวมสมัย หินหินเก่าและหินกลางเข้าด้วยกัน นักโบราณคดีไม่สามารถค้นหาที่อยู่อาศัยของชุมชนในสังคม ล่าสัตว์ได้ นอกจากพบเครื่องมือเครื่องใช้เท่านั้น เครื่องมือเครื่องใช้ส่วนมากที่พบทำ�จากหินกรวด แม่นํ้ากะเทาะหน้าเดียว พบที่ริมแม่นํ้าโขง อำ�เภอเชียงคาน จังหวัดเลย และที่แหล่งนายกองศูน (ติดกับริมแม่น้ำ�โขง) ตำ�บลดอนตาล อำ�เภอดอนตาล จังหวัดนครพนม แหล่งโบราณคดีทั้งนี้ สัน นิฐานว่าเป็นแหล่งทำ�เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ใช้แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งที่อยู่อาศัยของสังคมล่าสัตว์อยู่ ในบริเวณที่สูง เช่น บริเวณถ้ำ�หรือเพิงผาหรือบริเวณริมนํ้ามากว่าจะเร่ร่อนไปเรื่อยๆเพราะเครื่อง มือเครื่องใช้ในสังคมล่าสัตว์ไม่สามารถที่จะป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ จึงจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะหาที่อยู่

23


24

อาศัยอย่างถาวรไม่สามารถที่จะหาที่อยู่อาศัยของชุมชนในสมัยนั้นนั่นเอง นักโบราณคดีค้นพบวัฒนธรรมโหบิเนียนตามบริเวณแหล่งโบราณคดีที่เป็นถํ้าต่างๆ แต่ทำ�การขุดค้นเฉพาะเพิงหินเล็กๆ เพียงแห่งเดียวคือ ถํ้าผี ซึ่งอยู่เลยขึ้นไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ผลการขุดค้นพบว่ามีการทับถมของชั้นดินเป็นจำ�นวน ๕ ชั้น และนัก โบราณคดีได้จัดชั้นดินทั้งสิ้น ออกเป็น ๒ ระดับ ชั้นดินที่ ๑ เป็นชั้นที่อยู่อาศัยล่าสุดมีอายุประมาณ ๖,๐๐๐ ปีก่อนคริสตสักราช และชั้นดินที่ ๔ เป็นชั้นที่อยู่อาศัยในระยะแรก มีอายุประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีก่อนคริสตราช และอยู่ในสมัยยุคไพลสโตซีนตอนปลาย ในการหาอายุแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมโหบิเนียนได้มีการหาอายุควบคู่ไปกับที่ พบที่ พาดาห์ – ลิน ในประเทศพม่า โยใช้วิธี เรดิโอคาร์บอน ได้อายุประมาณ ๒๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช ที่ถ้ำ�องบะ ในประเทศไทยอายุ ๑๖๐ ปี ก่อนคริสตศักราช ซึ่งสนับสนุนของการตั้งถิ่นฐานในระยะ แรกของวัฒนธรรมโหบิเนียน ที่แหล่งโบราณคดีถํ้าผี นักโบราณคดีได้พบลักษณะวัฒนธรรมโหบิเนียน เช่น เครื่อง มือหินทำ�จากสะเก็ดหินและเครื่องมือแกนหินกะเทาะหน้าเดียว จากการวิเคราะห์เครื่องมือหิน โดยเฉพาะเครื่องมือสะเก็ดหิน โดยเฉพาะด้านประโยชน์ของการใช้สอยและร่องรอยที่ปรากฏบน เครื่องมือที่ทำ�จากสะเก็ดหิน นักโบราณคดีได้เสนอความคิดเห็นว่าเครื่องมือสะเก็ดหินที่พบนั้น อาจจะใช้เป็นอาวุธติดกับวัสดุที่เน่าเปื่อยง่าย เช่น ไม้ แต่ก็ไม่ได้ขุกค้นพบหัวธนูและใบหอก ซึ่งอาจ ใช้ติดกับไม้ไผ่เป็นอาวุธไม้ไผ่ ในปัจจุบันมีชนกลุ่มหนึ่งในอินโดนิเซียยังมีการใช้ไม้ไผ่เป็นอาวุธ แต่ ก็ได้มีการขุดค้นพบถ่านที่ทำ�จากไม้ไผ่ที่ใช้กับเครื่องมือหินเป็นอาวุธใช้ในการล่าสัตว์ นักโบราณคดี เชื่อว่าวัฒนธรรมโหบิเนียน อาจแตกต่างในประการต่างๆ กัน เช่นในด้านเครื่องมือ ซึ่งอาจไม่ใช่มี แต่เครื่องหินอย่างเดียวแต่อาจมีเครื่องมือหินอย่างเดียวแต่อาจมีเครื่องมือที่ทำ�จากไม้แต่ได้สลาย ตัวไปตามกาลเวลาจึงไม่พบหลักฐานที่ทำ�ด้วยไม้ได้มีการพบหลักฐานใหม่ที่แหล่งโบราณคดีถำ�้ ผี อายุประมาณ ๗,๐๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช คือได้พบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ เครื่องมือ หินที่มีการขัดที่ขอบและมีดที่ทำ�จากหินชนวน ซึ่งพบอยู่บนพื้นผิวของชั้นดินที่ ๒ หลักฐานยังเป็น ที่สงสัย เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะท้องถิ่นของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งแพร่ไปยังบริเวณหนึ่งหรือเป็น เทคโนโลยีของกลุ่มชนที่เจริญกว่าแพร่เข้ามา หรืออาจเป็นอิทธิพลที่แพร่มาจากกลุ่มชนหนึ่งไปสู่ อีกกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากกลุ่มวัฒนธรรมโหบิเนียน ได้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางในเอเชียอาคเนย์ เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งบริเวณบางแห่งของหมู่เกาะต่างๆ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีก่อ นคริสตศักราช อายุของการตั้งถิ่นฐานในระยะแรกและระยะหลังมีความแตกต่าง จากการให้คำ� จำ�กัดความของกอร์แมนและคลาร์ก ให้ความจำ�กัดความ ของ “เทคโนคอมเพลกซ์” ว่า “กลุ่ม วัฒนธรรมโหบิเนียนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน แต่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไปของแต่ละ


กลุ่ม” กอร์แมน ยืนยันว่า เมื่อประมาณ ๑๔,๐๐๐ – ๑๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช กลุ่มชนกลุ่ม หนึ่งได้แพร่กระจายวัฒนธรรมโหบิเนียนไปทั่วเอเชียอาคเนย์ เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตศักราช กลุ่มชนเหล่านี้จะมีการทำ�เครื่องมือเครื่องใช้อย่างใหม่ๆ ขึ้น และแพร่กระจาย ไปยังบริเวณอื่นๆ บริเวณใดเป็นแหล่งกำ�เนิดของวัฒนธรรมอย่าง เช่น แหล่งโบราณคดีถํ้าผี และที่แหล่ง โบราณคดีถํ้าปุงฮุง นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบเศษภาชนะดินเผาที่มีเทคนิคแบบใหม่และได้ วิเคราะห์ว่าเศษภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีถํ้าปุงฮุงมีอายุน้อยกว่าเศษภาชนะดินเผาที่ แหล่งโบราณคดีถํ้าผี ที่แหล่งโบราณคดีถํ้าปุงฮุงเป็นบริเวณที่รับการแพร่กระจายของวัฒนธรรมมา จากบริเวณอื่น การวิเคราะห์หลักฐานใหม่ นักโบราณส่วนมากไม่ให้ได้ความสนใจกับกระดูกสัตว์ ซึ่งพบในบริเวณถํ้าจํ้าจากแหล่ง โบราณคดีต่างๆ ของวัฒนธรรมโหบิเนียน จึงเป็นการยากลำ�บากที่จะทราบถึงเศรษฐกิจในการ ศึกษาลักษณะของกระดูกสัตว์ มีแหล่งโบราณคดีโหบิเนียนไม่กี่แหล่งที่ได้รับการสนใจและทำ�การศึกษามีการล่าสัตว์ ต่างๆ ในบริเวณแถบที่อยู่อาศัย เช่น กวาง ลิงและหมู ซึ่งสัตว์มีชีวิตความเป็นอยู่ในป่าโปร่ง นอกจากนี้ยังพบวัว ซึ่งอาศัยตามทุ่งหญ้าค้างคาวอาศัยในถํ้า ปลาและพวกหอยซึ่งอาศัยอยู่ใน ลำ�นํ้าใกล้แหล่งโบราณคดี ที่แหล่งโบราณคดีแลงเสปียน และที่แหล่งโบราณคดีถ้ำ�ปุงฮุง ได้พบกระดูกสัตว์ ซึ่ง เหมือนกับสัตว์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีถํ้าผี นักโบรารคดีได้ทำ�การตรวจสอบรูปแบบการดำ�รง ชีพและกล่าวว่าชุมชนวัฒนธรรมโหบิเนียนมีการรู้จักใช้พืชและสัตว์ให้เป็นประโยชน์โดยสรุป ว่าการดำ�รงชีพของชุมชนกลุ่มนี้อยู่บนพื้นฐานของการล่าสัตว์ จับปลาและเก็บสะสมอาหาร คำ� สรุปของนักโบราณคดีหมายความว่า ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ได้ถูกนำ�มาใช้ให้เป็นประโยชน์ใน แต่ละฤดูกาล คือฤดูแล้งจะมีการล่าสัตว์ ฤดูฝนจะมีการจับปลาและเก็บพืชพันธุ์นานาชนิดมาเป็น อาหาร จะเห็นได้จากชุมชนในวัฒนธรรมโหบิเนียนมีการดำ�รงชีวิตที่อาศัยทรัพยากรธรรมชาติรอบ ตัว กอร์แมนได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของวัฒนธรมมโหบิเนียนแบ่งออก ได้สองแบบใหญ่ๆ คือ ๑. บริเวณที่เป็นเพิงหินที่เกิดจากก่อตัวของหิวปูน ซึ่งอยู่ใกล้กับลำ�ธารเล็กๆหรือบริเวณ ที่มีป่าปกคลุมและลักษณะภูมิประเทศแบบกึ่งภูเขาซึ่งโดยทั่วไปอยู่ใกล้กับแม่นํ้าลำ�ธาร ๒. บริเวณที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเล อาจเป็นได้ว่า กลุ่มชนโหบิเนียนอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมทั้งสองแบบมาแต่สมัยแรกๆ อาจเป็นได้ว่าอาศัยจำ�กัดบริเวณอยู่แต่เพียงในถํ้าหรือเพิงหินเท่านั้นทำ�ให้สามารถสรุปสังคมล่า

25


26

สัตว์ในภาคอีสานดังต่อไปนี้ ๑. เครื่องมือทำ�จากหินกรวดแม่นํ้ากะเทาะหน้าเดียว เครื่องมือสะเก็ดหินและเครื่องมือ ไม้ซึ่งสลายตัวเน่าเปื่อยไปตามกาลเวลา ๒. ชุมชนในสังคมล่าสัตว์จะอยู่อยู่ในสภาพแวดล้อม ๒ แบบ ก. บริเวณถํ้าหรือเพิงผาแถบเทือกเขาเพชรบูรณ์ ข. บริเวณที่อยู่ใกล้ริมนํ้า เช่น แม่นํ้าโขง ๓. ความเป็นอยู่ของสังคมล่าสัตว์จะมีความเป็นอยู่ที่ง่ายๆ การดำ�รงชีวิตของชุมชนอยู่ บนพื้นฐานของการล่าสัตว์จับปลาและเก็บสะสมอาหารโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติรอบตัวใน แต่ละฤดูให้เป็นประโยชน์ นอกจากจะมีการดำ�รงชีวิตแล้วชุมชนในสังคมล่าสัตว์บางกลุ่มอาจจะมี ความรู้ในการเพาะปลูก เช่น เผือก มัน เพราะเป็นที่ปลูกง่ายและไม่ต้องดูแลมาก อีกประการหนึ่ง คนเราต้องการพืชจำ�พวกคาร์โบไฮเดรทจะเอาโปรตีนจากสัตว์ที่ล่ามาย่อมไม่เพียงพอ จึงจำ�เป็นที่ จะต้องอาศัยหารอื่นมาทดแทน ๔. อายุของสังคมล่าสัตว์ในภาคอีสานต้องพิจารณาเครื่องมือที่ได้จากการสำ�รวจและ ขุดค้นจากแหล่งโบราณคดีบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ�โขง ที่อำ�เภอเชียงคาน จังหวัดเลยและที่แหล่ง โบราณคดีนายกองศูน ตำ�บลดอนตาล อำ�เภอดอนตาล จังหวัดนครพนม จะเห็นได้จากเครื่องมือ ต่างๆ คล้ายกับเครื่องหินที่ได้จากแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมโหบิเนียนทั่วประเทศไทย ดังนั้นอายุ เริ่มแรกของสังคมล่าสัตว์ไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัด แต่สามรถที่จะประมาณได้ว่าสิ้นสุดลงเมื่อ ไหร่ประมาณ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่พบหลักฐานของสังคมกสิกรรมแหล่งโบราณคดีโนนนกทาและ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ๒. สังคมกสิกรรม สังคมเป็นสังคมที่ซับซ้อนตรงกับความเดิมว่าอยู่ในสมัยหินใหม่และ ยุคโลหะ การที่เรียกสังคมกสิกรรมเพราะตั้งแต่มีการทำ�งานทางด้านแหล่งโบราณคดีในภาคอีสาน ทั้งการสำ�รวจและขุดค้นเป็นเวลานานแต่ก็ไม่สามารถที่จะค้นหาแหล่งโบราณคดีสมัยหินใหม่ซึ่ง มีเครื่องมือขวานหินขัดโดยไม่มีโลหะเช่นสำ�ริด แหล่งโบราณคดีสังคมกสิกรรมในภาคอีสานจาก การสำ�รวจของนักโบราณคดี ส่วนมากจะพบเครื่องมือขวานหินขัดและโลหะหรือพบขวานหินขัด และพบสำ�ริดและเหล็กปะปนกัน แหล่งโบราณคดีบางแห่งได้พบมีการใช้สำ�ริดและเหล็กแยกจาก กัน เช่นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตำ�บลบ้านเชียง อำ�เภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และที่แหล่ง โบราณคดีบ้านนาดี ตำ�บลพังงู อำ�เภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ชุมชนในสังคมกสิกรรมพบจำ�นวนมากในภาคอีสาน ชุมชนมีความเป็นอยู่โดยการเพาะ ปลูกเลี้ยงสัตว์และการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า นอกจากนี้ยังมีการจำ�แนกแรงงานเป็นสัดส่วน ทำ�ให้เกิดงานอาชีพเฉพาะอย่าง เช่น ช่างทำ�ภาชนะดินเผา ช่างทอผ้า ช่างทำ�เครื่องมือเครื่องใช้ จากโลหะ ชาวนาและพวกเลี้ยงสัตว์ซึ่งต้องใช้เวลาเต็มที่


27

การตั้งบ้านเรือนของชุมชนในสังคมจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่และต้องมีระเบียบของ สังคมเป็นเครื่องกำ�หนดความประพฤติ มีพิธีกรรมเป็นแบบแผน เช่นมีประเพณีการฝังศพและมีผู้ ปกครองดูแลและยอมรับกันในชุมชน จากหลักฐานสิ่งของต่างๆที่พบฝั่งไว้กับศพซึ่งมีคุณค่าและ จำ�นวนที่ต่างกัน เช่นบางหลุมศพจะพบมีสิ่งของใส่ลงไปมาก เช่น ภาชนะดินเผา สำ�ริดหรือเหล็ก แต่บางหลุมศพแทบจะไม่พบสิ่งของเพราะอาจจะมาจากฐานะความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว ประเพณีการฝังศพโดยการใส่สิ่งของลงไปในหลุมศพนั้นนอกจากจะแสดงฐานะของ บุคคลและครอบครัวแล้วยังแสดงให้เห็นถึงระบบสังคม อาจจะมีความหมายไปในทางเป็นเครื่อง เซ่นสังเวย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะคนในสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีความเชื่อว่าเมื่อญาติพี่น้อง ตายไปแล้ว ยังมีการต้องการอาหารและสิ่งของอื่นๆ เช่น คนเป็นถ้าไม่นำ�สิ่งของไปเซ่นสังเวยอาจ ทำ�ให้บรรพบุรุษไม่พอใจ และดลบันดาลให้ประสพทุกข์ยาก เช่น ฝนแล้งหรือนํ้าท่วมได้ ซึ่งแสดง ให้เห็น ระบบความเชื่อก็เกี่ยวพันกับปัญหาเศรษฐกิจและการกินดีอยู่ดีของคนในสังคม การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ของสังคมกสิกรรมในภาคอีสานได้เริ่มต้นมาแล้วเป็นพัน ๆ ปี โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากภายนอก หลักฐานที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์มาจากหลายที่ ด้วยกันและจะเริ่มขึ้น เมื่อ ๕,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว การเพาะปลูก พืชที่ใช้ปลูกคือข้าวส่วนใหญ่ มีพืช อย่างอื่นแต่ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับพืชอย่างอื่น หลักฐานที่พบเกี่ยวกับการเพาะปลูกข้าวได้มาจาก แหล่งโบราณคดีโนนนกทาและแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เพราะที่แหล่งโบราณคดีมีการวิเคราะห์ วิจัยหลักฐานที่พบมากกว่าแหล่งโบราณคดีแห่งอื่นๆ ในภาคอีสาน ชุมชนในสังคมกสิกรรมเมื่อ ๕,๐๐๐ ปี ชุมชนในสังคมกสิกรรมมีการเพาะปลูกข้าวแบบเลื่อนลอย (swidden rice cultivation) ชุมชนสังคมกสิกรรมจะปลูกข้าวโดยอาศัยนํ้าจากธรรมชาติและความอุดรสมบูรณ์ของดินที่ เหมาะสม ในการเพาะปลูกส่วนใหญ่ จะใช้เมล็ดข้าวหว่านลงไป โดยไม่มีการไถพรวนดินหรือพรวน ดินก็ได้ ดังนั้นการปลูกข้าวหลังจาก ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว จึงได้เปลี่ยนมาเป็นระบบทดนํ้า การปลูก ข้าวระบบให้ผลผลิตที่สูงกว่าแบบแรกไม่ต้องย้ายที่เพาะปลูกบ่อยๆ แต่มีปัญหา คือ ต้องใช้แรงงาน มาก ส่วนการเลี้ยงสัตว์โดยมีการวิเคราะห์จากแหล่งโบราณคดีโนนนกทาโดยขุดพบกระดูก วัวที่ฝังรวมกับโครงกระดูก และมีสภาพสมบรูณ์ เมื่อ ๕,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ชุมชนสังคมกสิกรรม ในอีสานมีการเลี้ยงวัวและหมูแต่ไม่ทราบว่าสืบเชื้อสายมากจากพันธุ์อะไร แต่มีถิ่นกำ�เนิดใน ประเทศไทยนอกจากมีการเลี้ยงหมูแล้วยังพบว่ามีการเยงหมา โดยมีการขุดพบกระดูกหมาที่แหล่ง โบราณคดีบ้านเชียง หมาที่เลี้ยงสืบเชื้อสายมาจากหมาป่าที่พบในอินเดียหรือจีน นับได้ว่าหมาเป็น สัตว์เลี้ยงชนิดเดียวที่ถูกนำ�เข้ามาเลี้ยงจากที่อื่น เมื่อ๒,๕๐๐ – ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีสัตว์อีกชนิด หนึ่งที่ถูกทำ�มาเลี้ยง คือ ควาย ไม่พบหลักฐาน นอกจากจะมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์เป็นเวลานาน ในสังคมกสิกรรมการทำ�


28

โลหกรรม เริ่มทำ� เช่น สำ�ริด เมื่อ ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปี และเหล็กเมื่อ ๒,๕๐๐ – ๓,๖๐๐ ปี ซึ่ง นับว่าเป็นโลหกรรมสำ�ริดที่เกิดขึ้นก่อนแหล่งโบราณคดี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนโลหกรรม เหล็ก นับได้ว่าเกิดขึ้นก่อนแหล่งโบราณคดี ในประเทศไทย 16 อีสานยุคสังคมเมือง ในพุทธศตวรรษที่ ๕ หรือประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนในสังคมกสิกรรมบางแห่งได้ เกิดจากการพัฒนาตนเองขึ้นมาจนมีขนาดใหญ่มากกว่าแหล่งชุมชนอื่นๆ ในสมัยนี้มีการก่อสร้าง คันดินและคูนํ้าล้อมรอบแหล่งที่อยู่อาศัยของตนนับว่าเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ยุคสังคมเมืองของดิน แดนแถบนี้สาเหตุของการพัฒนาเกิดจาก การเพิ่มจำ�นวนประชากร ความเจริญทางเทคโนโลยี ซึ่งมีมากขึ้น และการที่ได้ติดต่อกับอารยธรรม ที่สูงกว่าภายนอก เช่น อารยธรรมอินเดีย การได้ รับอารยธรรมนี้เป็นไปในหลายๆ ด้าน เช่น การติดต่อค้าขาย การรับรู้ทางวิทยาการ และการ รับคติความเชื่อทางศาสนาได้แก่ศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้ามาแทนคติการนับถือ๓ตผีและ บรรพบุรุษตามแบบเดิม อนึ่งมีผู้ให้ข้อสังเกตว่าในระหว่างระยะเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๑๕ บริเวณแถบภาคอีสานโดยเฉพาะแถบที่ราบลุ่มแม่นํ้ามูลอาจตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่สำ�คัญ ระหว่างจีนและอินเดียส่วนบริเวณทางตอนใต้คือบริเวณแอ่งโคราชชุมชนขนาดใหญ่ก่อตั้งขึ้นหลัง พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ชุมชนแถบนี้ได้รับเอาวัฒนธรรมอินเดียเข้ามานั้นต้องเข้าใจเสียก่อนว่าเป็นการรับเอา เข้ามาโดยที่ชุมชนเหล่านี้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีออย่างสูง จะ เห็นได้จากความรู้ทางเกษตรกรรม โลหกรรม และเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ซึ่งชุมชนอีสานมีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยสังคมกสิกรรม เมื่อก่อน ๒,๐๐๐ ปี การรับเอาแบบแผนทางวัฒนธรรมอย่างเข้ามาจึงอยู่ ในรูปที่เป็นการเลือกสรรซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์นำ�มาประยุกต์ใช้ มิใช่เป็นการรับเอาวัฒนธรรมเหล่า นั้นเข้ามาในสภาพที่ตนเป็นป่าเถื่อนไร้อารยธรรมดังที่เคยเชื่อกันอย่างแพร่หลายตามแนวความคิด ของนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ตะวันตก การก่อตั้งเมืองต่างๆ ในอีสานเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนมีจำ�นวนเมืองโบราณแพร่กระจาย กันอยู่มากมาย เท่าที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องเมืองโบราณในอีสานในขณะนี้นั้นพบว่าบริเวณ แถบนี้มีเมืองโบราณอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นมากกว่า ๒๐๐ เมือง และพบข้อสังเกตว่าเมืองโบราณเหล่านี้ มีจำ�นวนหนาแน่นมากในเขตลุ่มแม่น้ำ�ชีและมูลในอีสานตอนใต้ ส่วนอีสานตอนเหนือนั้นมีจำ�นวน เมืองโบราณอยู่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบเทียบ ชุมชนโบราณในสมัยนี้มีการทำ�นาเกลือ รู้จักเครื่องมือเหล็กและสำ�ริด แต่พื้นฐานทาง เศรษฐกิจที่สำ�คัญที่สุดคือ การปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ การตั้งเมืองคงมีผู้อยู่ในสภาพที่เป็นการตั้ง ศูนย์กลางการปกครองอยู่ท่ามกลางชุมชนเกษตรกรรม ในตัวเมืองยังมีผู้อาศัยเฉพาะกลุ่มชนชั้น ปกครอง ขุนนาง พ่อค้าและช่างฝีมือบางประเภทเท่านั้น ประชากรส่วนมากคงกระจายออกไปทำ� 16 เอกสารวิชาการกองโบราณคดีหมายเลข ๑๑. อดีตอีสาน. หน้า ๑๒.


29

เกษตรตามหมู่บ้านโดยรอบแล้วส่งผลผลิตเข้าไปในเมือง สภาพทางสังคมของชุมชนในสมัยนี้เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นกันอย่างแน่นอนคือกลุ่ม ผู้ปกครอง นักบวช พ่อค้า เกษตรกร ช่างฝีมือ ฯลฯ ตามสังคมเมืองในยุคแรกๆ นั้นแม้ความ เหลื่อมลํ้าทางอำ�นาจและฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ก็คงไม่เป็นอย่างรุนแรงเด่นชัดมากนักในฐานะ ของหัวหน้ากลุ่มชนอยู่ในสภาพชาวบ้านมากกว่าจะเป็นกษัตริย์อย่างในสมัยศักดินาทางสังคม เหล่านี้จะเห็นได้จากยุคหลังๆของสมัยสังคมเมือง คือ เมื่อในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งมี วัฒนธรรมมอญและเขมรแพร่หลายเข้ามาในดินแดนแถบนี้ กลุ่มชนที่ใช้ภาษมอญหรือที่รู้จัก “กลุ่มวัฒนธรรมทวารวดี” ได้เริ่มแผ่อิทธิพลทาง วัฒนธรรมของตนจนเข้ามาเจริญรุ่งเรื่องในดินแดนแถบนี้ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ โดยเข้า มารุ่งเรืองในบริเวณภาคเหนือตอนล่างแถบเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จากนั้นเข้ามาเจริญ ที่ราบสูงโคราช จนในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ก็รุ่งเรืองในแถบลุ่มแม่นํ้าชี หลักฐานที่แสดงให้เห็น อิทธิพลทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนนี้ได้แพร่ขยายเข้ามาจนเป็นส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้เราทราบถึงเรื่อง ราวและสมัยได้ดีที่สุด ได้แก่ จารึกต่างๆ ซึ่งปรากฏว่ามีการพบจารึกภาษามอญในภคอีสานจำ�นวน ไม่น้อย เขตวัฒนธรรมมอญเข้ามาเจริญรุ่งเรืองในอีสานเป็นอย่างมาก มี ๒ แห่งใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ บริเวณตอนกลางของลุ่มนํ้ามูล ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และนครราชสีมาซึ่งพบว่าบริเวณชุมชน อีสานโบราณได้มีการนับถือศาสนาพุทธและรับวัฒนธรรมมอญมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ และในบริเวณลุ่มแม่นํ้าชี ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และยโสธร โดยเฉพาะในเขตหลังพบสิ่งที่น่าสนใจเป็นเขตที่ปลอดจากวัฒนธรรมเขมรจน กระทั้งถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ กลุ่มชนที่ได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเมืองของตนมาสู่บริเวณนี้ อีกพวกหนึ่ง กลุ่มชนเขมร ซึ่งมีเชื่อกันว่ามีเมืองหลายแห่งในบริเวณภาคอีสานได้รับอิทธิพลจากกลุ่มชนเขมร มาในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖ และยังพบหลักฐานด้วยในบริเวณลุ่มแม่นํ้าโขงและลุ่มแม่นํ้ามูล ในเขตจังหวัด อุบลราชธานี นครพนม ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ได้รับอิทธิพลทาง วัฒนธรรมของชนเขมรในอาณาจักรเจนละตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ ในช่วงประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ ดินแดนในแถบภาคอีสานได้พัฒนาจากสังคม เข้าสู่สังคมรับ ซึ่งอยู่ในสภาพที่ว่าเมืองต่างๆ ที่มีจำ�นวนมากได้มีความเจริญมีการขยายตัวขึ้น จน เกิดสงครามรบพุ่งระหว่างกัน ทำ�ให้ลดจำ�นวนเมืองอิสระเหลือน้อย เกิดเป็นรัฐใหญ่มาแทน หลัก ฐานที่ทำ�ให้เรากล่าวได้เช่นนี้คือจารึกและจดหมายเหตุจีน ต่างๆ ที่กล่าวถึงรัฐขนาดใหญ่ในบริเวณ ภาคอีสานในช่วงเวลา “มูลเทสะ” ในจารึกเกาะแกร์ ประเทศเขมร เชื่อได้ว่าได้แก่บริเวณลุ่มแม่นํ้า มูล “ภีมปุระ” ในจารึกออกแก้วประเทสเขมรได้แก่เมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา


30

“ศรีจนาศะ” “จานสปุระ” ในจารึกบ่ออีกาพบที่นครราชสีมา เชื่อว่าอยู่บริเวณในบริเวณอีสานใต้ ฯลฯ ในศตวรรษที่ ๑๔ อาณาจักรเขมรได้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสมัยพระเจ้าชัยว รมันที่ ๒ มีการสถาปนานครหลวง ขึ้นเป็นราชธานี ได้ตั้งลัทธิเทวราชและแพร่ขยายอิทธิพลทาง วัฒนธรรมและการเมืองของตนสู่ดินแดนโดยรอบในช่วงเวลานี้ที่กระแสวัฒนธรรมของเขมรได้เข้า มายังอีสานทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่และการดำ�รงชีวิตของ ชุมชนโบราณในท้องถิ่น และนำ�เอาความเจริญทางเทคโนโลยีเข้ามา จะเห็นได้จากเทคนิคการ ก่อสร้างผังเมือง ถนน การชลประทาน ฯลฯ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ดินแดนในภาคอีสานโดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่นํ้ามูลก็ถูกผนวก เข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมรโดยเชื่อว่าเมืองพิมายถูกสร้างขึ้นในฐานะศูนย์กลาง ของอาณาจักรเขมรในดินแดนแถบนี้ การที่อาณาจักรเขมรก่อตั้งศูนย์กลางทางการเมืองและ วัฒนธรรมของตนนอกอาณาจักรเขมรอีกแห่งหนึ่งในฐานะอาณาจักรรองคงเป็นเพราะต้องการ ควบคุมพื้นที่ในการเพาะปลูกข้างและผลิตเกลือ ตั้งแด่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ บริเวณพื้นที่ภาคอีสานเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ�โขงทางตอนเหนือของภาคอยู่ภายใต้อาณาจักรล้านช้างซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นมา ใหม่ ส่วนดินแดนนอกจากนั้นปรากฏว่าชุมชนต่างๆ สลายตัวไป เมืองเกือบทั้งสิ้นถูกทิ้งร้างตกอยู่ ในสมัยอยุธยา ดินแดนในแถบนี้ยังคงกลายเป็นที่รกร้างเสียเป็นส่วนมาก จำ�นวนประชากรมีไม่ มากนัก และหมดสิ้นความเจริญ ประวัติศาสตร์ในยุคใหม่ของอีสาน เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ อันเกิดจากกระแส การอพยพของประชาชนชาวลาวและเขมร ซึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาจับจองที่อยู่อาศัยจนเกิดเป็น ชุมชนย่อยๆ ขึ้นมาใหม่ กลุ่มผุ้อพยพเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะกล่าวได้ว่าประชาชนอีสาน ปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มผู้อพยพในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๓ 17 การพบหลักฐานการดำ�รงชีวิตและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์โบราณในภูมิภาคนี้ อยู่ใน ช่วงระยะไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา แต่จากสภาพแวดล้อมและลักษณะทางสภาพภูมิศาสตร์ ที่ มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพระยาเย็นเป็นแนวเขตด้านทิศตะวันตก เทือกเขาพนมดงรักเป็น แนวด้านทิศใต้ และมีแม่นํ้าโขงไหลกั้นทิศเหนือและทิศตะวันออกทำ�ให้อีสานเสมือนอยู่ในกรอบ สี่เหลี่ยมรวมทั้งการที่มีเทือกเขาภูพานตัดผ่านทำ�ให้เกิดเป็นแอ่ง 2 แอ่ง คือ แอ่งสกลนคร ซึ่งมี ลำ�นํ้าสงครามและแอ่งโคราชมีแม่นํ้ามูล แม่นํ้าชี เป็นแม่นํ้าสำ�คัญ ซึ่งทั้งหมดไหลลงสู่แม่นํ้าโขง เช่นเดียวกัน ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ในอดีต ภาคอีสานจึงเหมาะสมสำ�หรับการ ตั้งหลักแหล่งที่อยู่อาศัยและการสร้างบ้านแปลงเมืองมาโดยตลอด การมีทรัพยากรธรรมชาติทั้งแร่ ธาตุ ป่าไม้ แหล่งนํ้า ฯลฯ ทำ�ให้มีมนุษย์เข้ามาดำ�รงชีพและตั้งถิ่นฐาน รวมทั้งมีผลผลิตที่เป็นการ 17 เอกสารวิชาการกองโบราณคดีหมายเลข ๑๑. อดีตอีสาน. หน้า ๔๕.


31

ผลิตในระดับอุตสาหกรรมเช่น การผลิตสำ�ริดขึ้นใช้ในแถบลุ่มแม่นํ้าสงคราม การผลิตโลหะเหล็ก และการผลิตเกลือในแถบลุ่มแม่นํ้าชี แม่นํ้ามูลตอนล่าง นอกจากนี้ยังมีการสะสมอาหารและแลก เปลี่ยนผลผลิตกันระหว่างชุมชน ตั้งแต่ขนาดเล็กจนกระทั่งเข้าสู่การเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่ใน ระยะต่อมา โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมาโดยตลอด

กลุ่มล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชผล (Hunting and Food Gathering Groups) กลุ่มสังคมล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชผล มักจะมีการเคลื่อนย้ายที่พักอาศัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อหาแหล่งอาหารตามฤดูกาลและความสมบูรณ์ของแหล่งอาหารในภูมิประเทศต่าง ๆ ความ ต้องการพื้นฐานของสังคมล่าสัตว์ซึ่งได้แก่แหล่งนํ้า แหล่งอาหารและเพิงพัก ซึ่งเป็นผลทำ�ให้ไม่ สามารถพบหลักฐานการอยู่อาศัยที่ถาวรของกลุ่มสังคมล่าสัตว์ได้อย่างชัดเจน พบเพียงเครื่องมือ กะเทาะ ที่มนุษย์ในยุคนี้ใช้เป็นเครื่องมือในการล่าสัตว์และหาของป่า กระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ใกล้ กับแหล่งนํ้า ถํ้า และเพิงผา นอกจากนี้ยังพบหลักฐานศิลปะถํ้าหรือภาพเขียนบนผนังถํ้ากระจาย อยู่ในหลายพื้นที่ หลักฐานกลุ่มล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชผล ๑. ศิลปะถํ้า จากการศึกษาทางโบราณคดีมาจนถึงปัจจุบัน ได้พบศิลปะถํ้าในอีสานถึง ๑๓๑ แหล่งใน ๙ จังหวัด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัย ที่ยังไม่มีตัวอักษรใช้ ซึ่งเราอาจจะศึกษาสื่อความหมาย อธิบายความเชื่อทางศาสนา ขนบประเพณี และแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันผ่านทางสัญลักษณ์ที่ภาพปรากฎอยู่ตามหน้าผาและเพิงเผาได้ ภาพที่ปรากฏส่วนมากเป็นภาพเลียนแบบธรรมชาติอันได้แก่ ภาพคน สัตว์ ภาพมือและเท้า วัตถุ สิ่งของ เช่น มีด ลูกศร รวมทั้งภาพ เกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม เช่น ภาพคล้ายต้นข้าว การล่าสัตว์ เป็นต้น ภาพเหล่านี้มีเทคนิคในการทำ� ๒ วิธี คือ การลงสี ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าน่าจะใช้ ดินเทศ คือดินที่เกิดจากการสลายตัวของแร่เหล็กมีสีแดงนำ�มาบดเป็นผงผสมกับของเหลวบาง ชนิด เช่น เลือด นํ้าผึ้ง ไข่ขาว หรือนํ้าคั้นจากพืชบางชนิด ไขสัตว์ เป็นต้น เทคนิคอีกประการหนึ่ง คือการทำ�รูปรอยลงในหิน ด้วยการฝน จาร ขูดขีดและแกะตอกลงบนเนื้อหิน ศิลปะถ้ำ�ในภาคอีสานสามารถแบ่งได้ตามสภาพภูมิศาสตร์ของอีสานเป็น ๓ พื้นที่ใหญ่ ๆ คือ ๑. พื้นที่ตามเทือกเขาเพชรบูรณ์ ได้แก่ ศิลปะถํ้ากลุ่มบ้านผือ จ.อุดรธานี กลุ่มภูเก้า จ.หนองบัวลำ�ภู จ.ขอนแก่น กลุ่มภูกระดึง จ.เลย เป็นต้น ๒. พื้นที่ตามแนวเทือกเขาภูพานใหญ่สกลนคร ได้แก่ กลุ่มภูพาน จ.สกลนคร กลุ่มผา แต้ม จ.อุบลราชธานีและกลุ่มมุกดาหาร


32

๓. พื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้หรืออีสานล่าง ได้แก่ เขาจันทร์งาม จ.นครราชสีมา ภาพเขียนสีในภาคอีสานสันนิษฐานตามเรื่องราวที่ปรากฎและเทคนิคการสร้างน่าจะอยู่ในสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสังคมล่าสัตว์และสังคมเกษตรกรรมกล่าวคือ น่าจะมีอายุ ๕,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ปี จนถึงราว ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้ตามแหล่งที่พบดังกล่าวแสดงให้เห็น ว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในกลุ่มสังคมล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชผลมีการเคลื่อนย้ายหลัก แหล่งตามแนวพื้นที่สูง การเรียกชื่อหรือตั้งชื่อแหล่งที่พบศิลปะถํ้านั้นมีที่มาต่างกันคือ ๑. เรียกหรือตั้งชื่อตามตำ�นานหรือนิทานพื้นบ้านประวัติหรือชื่อบุคคลที่เคยมีถิ่นฐานที่ อยู่ในสถานที่นั้นๆ เช่น โนนสาวเอ้ หอนางอุษา คอกม้าท้าวบารส (อุดรธานี) ถํ้าพระพระด่านแร้ง (สกลนคร) ถํ้าผาปู่ (เลย) ถํ้าเซ่งเม่ง(กาฬสินธุ์) ถํ้าเสือตก (อุดรธานี) ฯลฯ ๒. เรียกหรือตั้งชื่อตามนามสถานที่ตั้งที่มีอยู่แล้ว เช่น ภูเขา ชื่อหน้าผา ชื่อวัด ชื่อบ้าน ถํ้า ผาฆ้อง (เลย) ผาขาม (อุบลราชธานี) ถํ้าผาลายภูผายนต์ (สกลนคร) ผาคันธง (ขอนแก่น) ถํ้าพระ นาหลวง (อุดรธานี) เพิงหินข้างวัดพระพุทธบาทบัวบาน (อุดรธานี) เขาจันทร์งาม (นครราชสีมา) ฯลฯ ๓. เรียกหรือตั้งชื่อตามลักษณะและสภาพของแหล่งหรือสิ่งที่เป็นลักษณะเด่นของแหล่ง ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในหมู่ชาวท้องถิ่น เช่น ถํ้าม่วง (สกลนคร) ถํ้าผักหนาม (อุบลราชธานี) ถํ้าหินลาด หัวเมย (ขอนแก่น) ฯลฯ ๔. เรียกหรือตั้งชื่อตามภาพสิลปะที่พบในแหล่งนั้นมองเห็นว่าเป็นอย่างไรตามสายตา และความเข้าใจของชาวท้องถิ่น เช่น ถํ้าฝ่ามือ (ขอนแก่น) ถํ้าลายมือ (ขอนแก่น,กาฬสินธุ์,อุบลฯ) ถํ้าตีนแดง (มุกดาหาร) ถํ้าลายแทง (เลย) ถํ้าไก่ (อุดรธานี) ถํ้าเต่า (อุดรธานี) ถํ้าเกิ้งหรือถํ้ากวาง (อุดรธานี) ผาฝ่ามือ (อุบลราชธานี) ถํ้าแต้ม (อุบลราชธานี) ๕. เรียกหรือตั้งชื่อตามนามผุ้พบเพื่อเป็นเกียรติเพราะไม่มีชื่อเรียกหรือตั้งชื่อมาก่อน เช่น ถํ้านายอัมพร (อุดรธานี) ถํ้านายอุทัย (อุดรธานี) และ ถํ้าอาจารย์สิม (อุดรธานี) 18 ๒. เครื่องมือหิน หลักฐานทางโบราณคดีที่สำ�คัญของกลุ่มสังคม ล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว พืชผล ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำ�จากหินกรวดแม่นํ้า สำ�หรับในภาคอีสานมีการพบเครื่อง มือหินกะเทาะในพื้นที่บริเวณริมแม่นํ้าโขง ในเขต อำ�เภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเขตอำ�เภอ ดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ อ.เชียงคาน พบเครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งทำ�จากหินแอนดิไซด์คล้ายกับเครื่องมือหินแบบวัฒนธรรมฮัวบิเนียนและคล้ายคลึงกับเครื่องมือ หินที่พบในเขตภาคเหนือของประเทศไทยนอกจากนี้ยังได้มีการสำ�รวจพบเครื่องมือหินกะเทาะใน พื้นที่ราบเชิงเขาตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาภูพานคำ� ชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรม (Village Farming Communities) 18 เอกสารโบราณคดีหมายเลข ๑๗. ศิลปะถ้ำ�ในอีสาน. หน้า ๒๔.


33

สังคมเกษตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผู้คนดำ�รงชีพด้วยการเพาะปลูกข้าวและ ติดต่อแลกเปลี่ยนผลิตผลกับสังคมภายนอก นอกจากนี้ยังมีการผลิตงานหัตถกรรมต่าง ๆ เช่น การ ทำ�เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า และการทำ�เครื่องมือ เครื่องใช้จากโลหะ มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน อยู่เป็นกลุ่มอย่างถาวร พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ทั่วไปทั้งในบริเวณแอ่งสกลนครและ แอ่งโคราช ชุมชนในแอ่งสกลนครนั้นกระจายตัวอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มนํ้า เช่น ลุ่มนํ้าสงครามตอน บน ชุมชนอยู่กันอย่างหนาแน่นในเขตต้นนํ้า มากกว่าบริเวณที่เป็นที่ราบน้ำ�ท่วมถึงทางตอนล่าง ส่วนชุมชนในแอ่งโคราชมีอาศัยอยู่ทั้งในที่ราบลุ่มของลำ�นํ้า และที่ราบลุ่มนํ้าท่วมถึง โดยเฉพาะ ที่ราบลุ่มนํ้าท่วมถึงของลุ่มนํ้ามูลและชี ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน การตั้งถิ่นฐานของชุมชนเกษตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของอีสานแบ่งออกได้เป็น ๔ กลุ่ม โดยพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน รูปแบบทางวัฒนธรรม ลักษณะการทำ� ภาชนะดินเผา ตลอดจนประเพณีการฝังศพ ได้แก่ กลุ่มชุมชนลุ่มนํ้าสงครามตอนบนหรือกลุ่ม วัฒนธรรมบ้านเชียง กลุ่มชุมชนแม่นํ้าชีตอนบน กลุ่มชุมชนแม่นํ้าชีตอนล่างและแม่นํ้ามูลตอนล่าง หรือกลุ่มทุ่งกุลาร้องได้และกลุ่มชุมชนแม่นํ้ามูลตอนบนหรือกลุ่มพิมายหรือกลุ่มทุ่งสัมฤทธิ์ ๑. กลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่นํ้าสงครามและลำ�ห้วย สาขา ซึ่งมีลำ�นํ้าหลัก ๓ สาย ไหลลงสู่แม่นํ้าโขง คือ แม่นํ้าสงคราม ห้วยหลวง และลำ�นํ้าสวย ชุมชนได้กระจายตัวอยู่บริเวณที่ราบลุ่มของลำ�นํ้าในบริเวณแอ่งสกลนครมากถึง ๑๒๗ แห่ง ที่ สำ�คัญได้แก่ บ้านอ้อมแก้ว บ้านธาตุ บ้านต้อง โนนขี้กลิ้ง บ้านนาดี โนนเก่าน้อย บ้านสะงวย บ้าน เมืองพรึก บ้านผักตบ บ้านโนนนาสร้าง บ้านสร้างดู่และบ้านเชียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดค้นที่ บ้านเชียง ทำ�ให้เข้าใจถึงพัฒนาการของชุมชนในกลุ่มวัฒนธรรมนี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะรูปแบบ เฉพาะของภาชนะลายเขียน สีที่เป็นเอกลักษณ์และพัฒนาการด้านโลหะกรรมวิทยาของชุมชน โดยมีการใช้เทคโนโลยีการทำ�สำ�ริด เมื่อ ๓,๖๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว รวมทั้งรู้จักการถลุงเหล็กมา ทำ�เป็นเครื่องมือใช้ จากการศึกษาพบว่ากลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงเป็นชุมชนเกษตรกรรมเพาะปลูก ข้าวในที่กลุ่มนํ้าขังมีสภาพแวดล้อมในอดีตเป็นป่าเต็งรัง มีลำ�ห้วยใกล้ ๆ มีการล่าสัตว์ เก้ง กวาง หมูป่า วัวป่า บริโภคสัตว์นํ้า มีการนำ�โลหะ เหล็กและสำ�ริดมาใช้ รวมทั้งมีประเพณีการฝังศพ ใน ลักษณะนอนหงาย เหยียดยาว กลุ่มชุมชนที่อยู่ในบริเวณนี้หลายแหล่งได้มีพัฒนาการอย่างต่อ เนื่องเป็นบ้านเมืองและเข้าสู่สมัยวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมทวาราวดี วัฒนธรรมเขมรโบราณและ วัฒนธรรมล้านช้าง ในเวลาต่อมา ๒. กลุ่มแม่นํ้าชีตอนบน ชุมชนกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่ตามที่ราบลุ่มบันไดขั้นตํ่า ทางตอน บนของแม่นํ้าชีและแอ่งโคราช โดยเฉพาะบริเวณลุ่มห้วยทรายขาว ลำ�นํ้าพอง ลำ�นํ้าพรม ลำ�นํ้า เซินและแม่นํ้าชีจากแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางตะวันตกไหลมาถึงทางตะวันออกของพื้นที่การตั้ง


34

ถิ่นฐานของชุมชน กระจายอยู่ตามพื้นที่ทั้ง ๓ ระดับ คือบริเวณที่ราบเชิงเขา ที่ราบลุ่ม และพื้นที่ ราบลุ่มนํ้าท่วมถึง แหล่งโบราณคดีที่สำ�คัญได้แก่ บ้านโนนนกทาจังหวัดขอนแก่น จากการขุดค้น พบว่าเป็นชุมชนเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกข้าว ล่าสัตว์ รวมทั้งมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู วัว และ สุนัขมีการใช้ภารชนะดินเผาลายเชือก ทาบและได้พบร่องรอยการผลิตโลหะสำ�ริดจากการกำ�หนด อายุของชุมชนโนนนกทาโดยวิธีคาร์บอน ๑๔ โดยใช้ตัวอย่างถ่านพบว่ามีอายุกว่า ๓,๐๐๐ ปีมา แล้ว นอกจากนี้การขุดค้นที่บ้านโนนเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่าเป็นชุมชนเกษตรกรรม มีการ เพาะปลูกข้าวและหาของป่า รู้จักทำ�เครื่องมือเครื่องใช้จากสำ�ริด และยังพบว่าชุมชนกลุ่มนี้มีการ ติดต่อกับสังคมภายนอก โดยพบเศษวัสดุจากทะเล เช่น ลูกปัดจากหอยมือเสือและหอยเบี้ย ผล จากการหาอายุทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีอายุประมาณ ๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ๓. กลุ่มแม่นํ้าชีตอนล่างและแม่นํ้ามูลตอนล่าง ชุมชนกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบ ลุ่มนํ้าท่วมถึงและขยายตัวตามพื้นที่ราบลุ่มในเขตจังหวัดมหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษและอุบลราชธานี โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ จากการสำ�รวจโดยภาค วิชามานุษยวิทยามหาวิทยาลัยศิลปากรพบว่าชุมชนโบราณกระจายอยู่ตามเขตลุ่มแม่นํ้าชี ตอน ล่างลุ่มแม่นํ้ามูลและลำ�ห้วยสาขา เช่น ลำ�นํ้าเสียว ลำ�นํ้าเตา ลำ�พังฉลู ลำ�พลับพลา ลำ�เซบาย และ ลำ�เซบก ตามเขตลุ่มนํ้าเหล่านี้มีชุมชนโบราณประมาณ ๑๙๐ แห่ง มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพบร่องรอยของการถลุงเหล็กกว่า ๓๐ แห่งและร่องรอยการผลิตเกลืออีกหลายแห่ง แหล่งโบราณคดีมีการขุดค้น เช่น ที่โนนยาง บ้านเขาโค้ง อำ�เภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ พบว่า มีการตั้งถิ่นฐานและร่องรอยของกิจกรรมในช่วงระยะแรกประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ลักษณะ เฉพาะคือการทำ�ภาชนะดินเผาเนื้อดินสีขาวซึ่งนักโบราณคดีบางท่านเรียกว่า ภาชนะดินเผาแบบ ร้อยเอ็ดและบางท่านเรียกว่าแบบทุ่งกุลาร้องไห้ พบร่องรอยการฝังศพครั้งที่สองโดยทั่วไปในเขต ลุ่มแม่นํ้ามูลตอนล่างและชุมชน พื้นเมืองแถบชายฝั่งทะเล จากการสำ�รวจพบร่องรอยการถลุง เหล็กอย่างเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อประมาณ ๒,๒๐๐ ปีมาแล้ว ที่ บริเวณบ้านดงพลองพบเตาถลุงเหล็กโบราณถึง ๑๗ เตา ๔. กลุ่มชุมชนลุ่มแม่นํ้ามูลตอนบน ชุมชนกลุ่มนี้กระจายอยู่บริเวณต้นแม่นํ้ามูลในเขต อำ�เภอพิมาย อำ�เภอสูงเนิน อำ�เภอโนนสูง ไปจนถึงอำ�เภอชุมพวงและบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตลำ�ห้วยสาขาแม่นํ้ามูล เช่น ลำ�ธารปราสาทและอื่น ๆ โดยเฉพาะบริเวณรอบตัว เมืองพิมาย ลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมคือการทำ�ภาชนะดินเผาปากแตร รวมทั้งรูปแบบพิมาย ดำ� ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยหลังแหล่งโบราณคดีที่สำ�คัญ ได้แก่ บ้านสัมฤทธิ์ บ้านสันเที้ย บ้านตำ�แย บ้าน โตนด บ้านปราสาท จังหวัดนครราชสีมา มีอายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกข้าวและอาศัยแหล่งอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมามีการถลุงเหล็กและผลิต เกลือ ทำ�ให้มีการติดต่อเส้นทางแม่นํ้าและลำ�ห้วยหลายสาย จึงมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างหนา


35

แน่น และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องทำ�ให้ชุมชนมีการขยายตัวออกไปกลายเป็นชุมชนหลักและ เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน

สมัยประวัติศาสตร์ (Historic Period) จากการศึกษาหลักฐานการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้พบว่า ก่อนที่จะเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ได้มีการกระจายตัวของชุมชนโบราณอย่างกว้างขวาง เกิดขึ้น ในช่วงตั้งแต่ประมาณ ๒,๕๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงระยะนี้ปรากฎชุมชนที่มีการถลุงเหล็ก ในระดับอุตสาหกรรมเป็นจำ�นวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณลุ่มแม่นํ้าชี-มูลในแอ่งโคราช ชุมชนหลายแห่งเป็นชุมชนถลุงเหล็กโดยตรง ทั้งที่เป็นชุมชนที่มีคูนํ้า คันดินล้อมรอบและเป็นเนิน ดินที่ไม่มีคูนํ้าคันดิน ผลจากการศึกษาชุมชนที่มีการถลุงเหล็กพบว่ามีการทำ�ในระดับอุตสาหกรรม ตั้งแต่เมื่อประมาณ ๒,๒๐๐ ปีที่ผ่านมา การเรียนรู้เทคโนโลยีการถลุงแร่เหล็กตลอดจนการมี ทรัพยากรเหล็กทำ�ให้เกิดการขยายตัวของชุมชนโบราณและการเข้าไปตั้งถิ่นฐานเกิดการติดต่อ แลกเปลี่ยนทำ�ให้เกิดระบบชุมชนที่มีศูนย์กลางและมีพัฒนาการเป็นบ้านเมืองในระยะต่อมา นอกจากนี้การผลิตเกลือในหลายพื้นที่ของภาคอีสาน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีการผลิตข้าวเป็นการเพาะปลูกข้าวในระบบนาลุ่มทำ�ให้มีการสะสมอาหารและมีระบบ การผลิตเฉพาะเพื่อการแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการพัฒนาเป็นสังคมเมืองอีกประการหนึ่งด้วย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ อิทธิพลวัฒนธรรมจากกลุ่มภายนอกได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ดินแดนแถบ นี้ โดยกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมทวาราวดี อีกกลุ่มหนึ่งเป็นวัฒนธรรมเขมรโบราณซึ่งในขณะนั้น เรียกว่าอาณาจักรเจนละและเรื่อยมาจนถึงวัฒนธรรมเขมรโบราณสมัยพระนครและวัฒนธรรมไทลาวหรือวัฒนธรรมล้านช้างในสมัยต่อมา หลักฐานทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมเจนละ19 (Chenla Culture) พุทธศตวรรษที่ ๑๑ อาณาจักรฟูนันอ่อนแอลงและล่มสลาย พระเจ้าภววรมันที่ ๑ ซึ่ง เป็นเชื้อพระวงศ์องค์หนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ก็ได้ประกาศตนเป็นอิสระ แยกตัวออกมาจากอาณา จักรฟูนัน รวบรวมกำ�ลังมาตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นเรียกว่า อาณาจักรเจนละ คำ�ว่าเจนละมาจาก ภาษาเขมรว่า “ชานลี” ออกเสียงตามภาษาเขมรว่า เจือนเลอ หมายถึง ข้างบน ชั้นบน ที่ข้างบน ด้านเหนือ อันหมายถึงดินแดนที่อยู่เหนือทะเลสาบเขมรในปัจจุบันขึ้นไป 19 เจนละ เป็นชื่อรัฐ มีพัฒนาการขึ้นหลัง พ.ศ. ๑๐๐๐ เจนละเป็นคำ�ที่จีนใช้เรียกรัฐนี้ อาจเพี้ยนจากคำ�ว่า กัมพุช, กัมลุช, คะแมร์ ซึ่งเป็นชื่อที่รู้จัก

ในหมู่นักเดินเรืออาหรับยุคนั้นพันกว่าปีก่อนจะเป็นรัฐอันเป็นต้นประวัติศาสตร์กัมพูชาอาณาจักรเมืองพระนคร (ที่โตนเลสาบ หรือทะเลสาบ) บรรดานักวิชาการรุ่นใหม่ทั้งไทยและเทศ เห็นสอดคล้องกันว่าเจนละมีพัฒนาการขึ้นจากบ้านเมืองและรัฐขนาดเล็กบริเวณโขง-ชี-มูล เขตอุบล ต่อเนื่องถึงอำ�นาจเจริญ, ยโสธร, ร้อยเอ็ด หลังจากนั้นขยายเครือข่ายกว้างขวางออกไปถึงจัมปาสักในลาว จนเข้าสู่โตนเลสาบ (ทะเลสาบ) ใน กัมพูชา.


36

ในปัจจุบันเขตแดนของอาณาจักรเจนละไม่เป็นที่แน่ชัดและไม่มีอาณาเขตที่แน่นอน แต่ ในยุครุ่งเรืองของอาณาจักรแห่งนี้ อาณาจักเจนละกินอาณาเขตจากหุบเขาเมนัมตอนล่างและ หุบเขามันในประเทศไทยในปัจจุบัน (ภาคอีสาน) อีกทั้งขยายอาณาบริเวณไปถึงทางตอนใต้ของ ลาวในปัจจุบันนี้และยังรวมถึงดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาในปัจจุบัน และในบาง ช่วงเวลายังอาจมีอาณาเขตไปจนถึงชายฝั่งญวน (ปัจจุบันคือประเทศเวียดนาม) อีกด้วย เจนละเป็นอาณาจักรของชนชาติเขมรที่แตกต่างจากชนเผ่าจามและฟูนัน ชาวเจนละ เป็นต้นตระกูลของอาณาจักรเขมร ชาวเขมรมาจากหุบเขาเมนัมตอนบน และจากนั้นจึงลงมายัง หุบเขามัน และต่อมายังแม่โขงเพื่อแทนที่ชาวจาม ในกระบวนการดังกล่าว ชาวเขมรได้ซึมซับ ศาสนาและวัฒนธรรมฮินดูนิกายไศวะ ซึ่งชาวจามให้การเคารพบูชาต่อมา เช่น เขาวัดภู แคว้น จำ�ปาสัก ซึ่งในปัจจุบันนี้คือดินแดนที่อยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวเขมรในยุคแรกอาจเป็นพวกนับถือผี แต่กษัตริย์ของเจนละได้รับศาสนาฮินดูไศ วนิกายมาปฏิบัติใช้ ซึ่งเป็นศาสนาที่ใช้ควบคุมอำ�นาจทางการเมืองการปกครองและจิตใจของ ประชาชน ศาสนาฮินดูไศวนิกายเชื่อมโยงถึงตำ�นานของคู่สามีภรรยากัมพูกับมีร่าและราชวงศ์ สุริยะซึ่งสืบทอดมาจากพระราม ซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระวิษณุ แม้กระทั่งทุกวันนี้ในคริสต์ศตวรรษ ที่ ๒๑ ในภูมิภาคแถบนี้เราจะเห็นว่ายังคงยึดถือแนวความคิดดังกล่าวอยู่ โดยกษัตริย์ยังได้รับ ความเคารพนับถือ ถึงแม้ระบบกษัตริย์จะถูกสลับสับเปลี่ยนกับระบบสาธารณรัฐกลับไปกลับมา แล้วหลายครั้งก็ตาม และเช่นเดียวกับรูปแบบทางการเมือง ผู้ เชี่ ย วชาญทางโบราณคดี ไ ด้ นำ�เอาจดหมายเหตุ ข องชาวจี น ที่ บั น ทึ ก ไว้ ใ นราวพุ ท ธ ศตวรรษที่ ๖ ไปตรวจสอบพร้อมทั้งพิจารณาหลักฐานที่ได้จากศิลาจารึกและโบราณวัตถุต่างๆที่ ค้นพบ ต่างมีความเห็นตรงกันว่าอาณาจักรเจนละนั้น จุดเริ่มต้นน่าจะมีถิ่นที่อยู่แถบเมืองเศรษฐ ปุระ ในบริเวณแถวปราสาทหินวัดภู ริมฝั่งแม่นํ้าโขง แคว้นจำ�ปาสัก ในประเทศลาวปัจจุบันนั่นเอง ต่อมาก็ได้ขยายอาณาเขตลงมาสู่ตอนล่างในถิ่นที่เคยเป็นอาณาเขตแว่นแคว้นของอาณาจักรฟูนัน มาก่อน และได้สถาปนาศูนย์กลางอาณาจักรในบริเวณแถบเมืองภวปุระ (เหนือกำ�ปงธม) เหนือ ทะเลสาบใหญ่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ต่อมาภายหลังในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ อาณาจักรเจนละแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือเจนละบกและเจนละนํ้า เจนละบกอยู่ทางตอนเหนือในเขตประเทศลาว และภาคอีสาน ของไทยในปัจจุบัน ส่วนเจนละนํ้าอยู่ทางตอนใต้มีอาณาเขตจรดทะเล นักวิชาการได้สันนิษฐาน จากหลักฐานทางโบราณคดีว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ ศูนย์กลางของอาณาจักรเจนละบก คงอยู่ในเขตลุ่มแม่นํ้ามูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 20 หลักฐานทางโบราณคดีที่สำ�คัญ ๑. จารึกดอนเมืองเตย พบที่บ้านสงเปือย อำ�เภอคำ�เขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ตัวโบราณ 20 ธิดา สาระยา. อาณาจักรเจนละ ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ. หน้า ๕.


37

สถานเป็นอาคารก่อด้วยอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมหินทรายสลักเป็นภาพ หน้าบุคคลผมหยิก สวมตุ้มหูโผล่อกมาจากวงโค้ง (กุทุ) รูปเกือกม้า (หน้าบัน) อายุราวพระพุทธ ศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ จารึกบนชิ้นส่วนของวงกบประตู ด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสฤตราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ กล่าวถึง พระศรีมานประวรเสนะ ผู้เป็นใหญ่ในเมืองสังขะปุระ และบุตรีได้ สร้างลึงคโลกที่เคารพบูชาไว้ ณ ที่นี้ จารึกดอนเมืองเตยคือหลักฐานที่สำ�คัญซึ่งใช้อักษรปัลลวะภาษาสันสฤต ข้อความ กล่าวถึงกษัตริย์แห่งสกุลเสนะในสมัยเจนละ นักวิชาการสันนิษฐานว่าเมืองเตย ซึ่งอยู่ในเขต อ.คำ�เขื่อนแก้ว จ.ยโสธร เป็นศูนย์กลางของกลุ่มเมืองในลุ่มนํ้าเซบก เซบาย นอกจากจารึกแล้วยัง พบว่า ชุมชนบ้านเมืองเตยมีคติความเชื่อในการปักเสมาแบบท้องถิ่นปะปนกับการนับถือลัทธิฮินดู และรับพุทธศาสนาสมัยทวารวดี นอกจากนี้ยังได้พบฐานอาคารสลัก ลวดลายดอกไม้ที่มิใช่ศิลปะ ทวารวดีและขอมสมัยเมืองพระนคร ลักษณะอิฐและขนาดอิฐก็แปลกแตกต่างออกไป ความเก่าแก่ ของเมืองเตยสอดคล้องกับจารึกซึ่งกำ�หนดได้ว่าอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ ๒. จารึกอักษรปัลลวะ จารึกปากนํ้ามูล ๑ และจารึกปากนํ้ามูล ๒ ได้กล่าวถึงประวัติ ของพระเจ้าจิตรเสน จารึกวัดศรีเมืองแอม ในเขตจังหวัดขอนแก่น ได้กล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสนว่าได้ รับการอภิเษกเป็นพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระองค์รบชนะคนพื้นเมืองและสถาปนาศิวลึงค์ ไว้เป็น เครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ จากหลักฐานแสดงให้เห็นกลุ่มเมืองโบราณในบริเวณจังหวัด ยโสธร อุบลราชธานี และใกล้เคียง อันเป็นศูนย์กลางหนึ่งของเจนละ ๓. ทับหลัง ที่ อ.พิบูลมังสาหาร เป็นทับหลังแบบสมโบร์ไพรกุก ทับหลังจัดอยู่ในแบบ ศิลปะเขมรแบบไพรกเมง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ พบในเขตอำ�เภอพิบูมลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ๔. ศิลาจารึกภายในเพิงถํ้าภูหมาไน บนฝั่งขวาแม่นํ้ามูล ๒ หลัก ศิลาจารึกทั้ง ๔ หลัก ใช้ อักษรปัลลวะภาษาสันสฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ข้อความจะคล้ายกันกล่าวถึง พระเจ้าจิตร เสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงได้รับชัยชนะเหนือกัมพูชาประเทศและเฉลิมพระนามว่าศรีมเหนทรว รมัน ได้โปรดให้สร้างศิวะลึงค์ อันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะไว้บนภูเขาแห่งนี้ หลักฐานจากศิลา จารึกดังกล่าว นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์รุ่นแรกสุดที่พบและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างชุมชนโบราณแถบนี้กับอาณาจักรเจนละ ทั้งในด้านการปกครองและศาสนา โดยเฉพาะ การเข้ามาของศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นที่นับถือของชนชั้นปกครอง ๕. ศิลาจารึกปากโดมน้อย ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่นํ้ามูลบริเวณที่ลำ�โดมน้อยไหลลงมา บรรจบกับแม่นํ้ามูล ลักษณะโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าสู่แม่นํ้ามูล มีบันไดลงสู่แม่นํ้า ใช้หินธรรมชาติก่อสร้าง บนโบราณสถานมีศิลาจารึกแท่งสี่เหลี่ยม ยอดคล้ายใบเสมา จารึกด้วย อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษ ๑๒ เนื้อความกล่าวถึงเจ้าชายจิตรเสนหรือ


38

พระเจ้าศรีมเหนทรวรมันได้สร้างศิวะลึงค์อันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะไว้บนภูเขา และพบเพิ่ม ที่ถํ้าปราสาทหรือถํ้าหมาไน ตั้งอยู่บนหน้าผาชันของเทือกเขาหินทรายบนฝั่งขวาของแม่นํ้ามูล ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ลักษณะเป็นเพิงผาธรรมชาติไม่ลึกมากนัก ได้พบว่าศิลาจารึก พระเจ้าจิตรเสนข้อความคล้ายกับศิลาจารึกปากโดมน้อย เพียงแต่ข้อความในตอนท้ายให้สร้างรูป โคอุสภะอันเป็นเสมือนหนึ่งข้อความมีชัยชนะของพระองค์นอกจากศิลาจารึกพระเจ้าจิตรเสนแล้ว ยังพบฐานโยนี หน้าบันศิลาโบราณวัตถุที่พบ กำ�หนดอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ 21

วัฒนธรรมทวาราวดี (Dvaravati Culture) หลักฐานวัฒนธรรมทวาราวดี เชื่อกันว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่ภาคกลางของประเทศไทย มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖ และได้แพร่เข้าสู่ภาคอีสานกระจายทั่วไปถึงแอ่ง สกลนครและแอ่งโคราชตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ศิลปกรรมสมัยทวารวดีเป็นศิลปกรรมอัน เกี่ยวเนื่องด้วยพุทธศาสนาผสมกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานทำ�ให้เกิดการสร้างเสมาหิน ตามเนินดิน เพื่อเป็นพุทธบูชาและกำ�หนดเขตพิธีกรรมทางพุทธศาสนา แพร่กระจายโดยทั่วไป ประมาณกันว่าในราวต้นพุทธศวรรษที่ ๑๓ วัฒนธรรมทวาราวดีนี้ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นไปบริเวณภาค เหนือตอนล่างแถบเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และสุโขทัย จากนั้นได้แพร่ขยายเข้าสู่บริเวณ ที่ราบสูงโคราช จนถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เขตใหญ่ ๆ คือบริเวณตอนกลางของลุ่มแม่นํ้ามูล ได้แก่ เขตจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดนครราชสีมาและบริเวณลุ่มแม่นํ้าชี ได้แก่บริเวณเขตจังหวัด ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และยโสธร หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการแพร่กระจายของวัฒนธรรมทวารวดีจากภาค กลางที่สำ�คัญ ได้แก่ จารึกที่ใช้ภาษามอญเป็นหลัก เช่น จารึกภาษามอญปนเขมร พบที่จังหวัด นครราชสีมา ซึ่งได้รับการกำ�หนดอายุว่าอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ จารึกภาษามอญ ซึ่ง ทางโครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่ดอนแก้ว อำ�เภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และจารึกภาษามอญหลักพระพิม์พบจากการขุดแต่งโบราณสถานที่เมืองนครจำ�ปาศรี อำ�เภอ นาดูน จังหวัดมหาสารคาม หลักฐานทางโบราณคดีที่สำ�คัญ ๑. ธรรมจักรที่บ้านเสมา เมืองโบราณที่พบหลักฐานทางโบราณคดีทำ�ให้สันนิษฐานว่า เป็นเมืองในสมัยทวารวดีที่ได้รับพุทธศาสนาที่ได้แพร่มาจากทางภาคกลางของประเทศไทยใน ระยะแรกๆ เมืองเสมาในเขต อ.สูงเนิน ซึ่งเป็นเมืองโบราณในลุ่มแม่นํ้ามูล ได้พบหลักฐานศาสน สถานพระนอนหินทรายเสมาหินอันเป็นศิลปกรรมสมัยทวารวดี ๒. เสมาฟ้าแดดสงยาง เมืองโบราณทวาราวดีในเขตลุ่มนํ้าชีที่สำ�คัญคือ เมืองโบราณฟ้า แดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ โดยพบโบราณสถานสมัยทวารวดี และเสมาหินจำ�หลักนูนตํ่า 21 ธิดา สาระยา. ทวารวดี : ต้นประวัติศาสตร์ไทย. หน้า ๑๐.


39

ภาพพระพุทธเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์และภาพพระนางพิมพาสยามพระเกศาเช็ดพระบาท ๓. พระพิมพ์นาดูน เมืองนาดูนหรือนครจำ�ปาศรี อ.นาดูน จ.มหาสารคาม พบพระพิมพ์ ดินเผา ปรากฎจารึกด้านหลัง นอกจากนี้ยังพบหลักฐานสมัยทวารวดีอีกหลายพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำ�มูล ตอนบน และลุ่มนํ้าชีตอนบน ๔. ใบเสมาหินทราย พบที่บ้านตาดทอง อ.เมืองยโสธร เป็นเนินดินขนาดใหญ่มีคูนํ้าล้อม รอบมีใบเสมาหินทรายปักอยู่เป็นจำ�นวนมากอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ และพบใบเสมา หินทราย ที่บ้านบึงแก อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีคูนํ้าดินล้อมรอบ มีกลุ่มใบเสมาหินทราย มีศิลาจารึก ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๕. พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ พบที่บ้านทุ่งใหญ่ ต.บ้านไทย อ.เขื่องใน ลักษณะ เป็นเนินดินขนาดใหญ่มีร่องรอยคูนํ้าคันดินล้อมรอบพบพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ อายุราว ศตวรรษที่ ๑๓ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ส่วนที่บ้านไผ่ใหญ่ ต.ยาง โยภาพ อ.ม่วงสามสิบ ลักษณะดินเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีแนวคูนํ้าอยู่โดยรอบ นอกจากใบเสมา แล้วได้พบพระพุทธรูปยืนปางประธานธรรมหินทราย อายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ เป็น หลักฐานแสดงถึงวัฒนธรรมทวารวดีระยะต้น ๖. พระพุทธรูปหินทรายและใบเสมาหินทราย พบที่วัดเฒ่าเก่า ต.นาหมอม้า อ.เมือง จ.อำ�นาจเจริญ สลักลวดลายที่ขอบฐานและแกนกลางอายุราวพุทธศตวรรษ ๑๓ – ๑๔ พบเพิ่ม ที่บ้านเปือยหัวดง ต.เปือย กิ่ง อ.ลืออำ�นาจ จ.อำ�นาจเจริญ ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีกลุ่ม ใบเสมาปักอยู่บนเนินดินกลุ่มใบเสมาหินทรายที่วัดโพธิศิลา ทรงใบหอกขนาดใหญ่ สลักลวดลาย อย่างปราณีต ประกอบด้วยลายกลีบบัว สายใบไม้ สายหม้อนํ้าและยอดสถูปอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๓ บริเวณวัดป่าเรไรร้าง มีกลุ่มใบเสมาทั้งทรงใบหอก ทรงสี่เหลี่ยมหลบมุมและเป็นแบบแท่ง หินแปดเหลี่ยม วัฒนธรรมเขมรสมัยพระนคร 22 (Khmer Culture) วัฒนธรรมเขมรโบราณรุ่งเรืองมากในภาคอีสานระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘ ทำ�ให้ เกิดศาสนสถานในลัทธิพราหมณ์หลายแห่ง เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาท เมืองตํ่า เป็นต้น อิทธิพลเหนือลุ่มแม่นํ้ามูลนี้คงเริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕ – ๑๕๙๒) เทียบจากหลักฐานที่ค้นพบจารึกที่บานประตูปราสาท หินพิมาย จ.นคราชสีมาและ จารึกที่วัดสุปัฏนารามวิหาร จ.อุบลราชธานี มีข้อความกล่าวถึงนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ และระบุปีศักราชไว้ว่า พ.ศ. ๑๕๘๐ ขยายอิทธิพลไปถึงเขตลพบุรี การกระจายของวัฒนธรรมเขมร 22 อิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร สมัยเมืองพระนครสิ้นสุดลงในปลายพุทธปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือภายหลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการต่างๆ เริ่มลดน้อยลงและขาดหายไปในที่สุด จึงเริ่มปรากฏหลักฐานการเคลื่อนย้ายของกลุ่ม ชนไทย - ลาว เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่พร้อมกับการเริ่มต้นของวัฒนธรรมไทย - ลาว ที่ดำ�รงสืบมาจนทุกวันนี้.


40

เป็นไปอย่างกว้างขวางในเขตลุ่มแม่นํ้ามูล โดยเฉพาะภายหลังสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – ๑๖๙๓) อิทธิพลทางวัฒนธรรมได้แผ่ขยายไปยังจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิและยังเข้าไป ถึงเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จนกระทั่งถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๒) ซึ่ง นับถือพุทธศานานิกายมหายานได้ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมพุทธศาสนามหายานและพราหมณ์ เข้ามายังรัฐต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์โดยการส่งรูปแทนพระองค์ รวมทั้งเครื่อง ไทยทานไปยังรัฐเหล่านั้นด้วย ในรัฐเหล่านี้ปรากฎว่ากล่าวถึง “วิมายะ” ซึ่งเชื่อกันว่าคือเมือง พิมาย จ.นครราชสีมา ในปัจจุบัน นอกจากโบราณวัตถุสถานที่ได้มีการค้นพบแล้ว ยังไม่พบร่องรอยคันดินที่มีลักษณะเป็น ถนนโบราณเชื่อมระหว่างเมืองกับตัวเมืองอื่นหรือเชื่อมกับที่ตั้งชุมชนที่อยู่นอกเมือง แต่พบร่อง รอยคันดินที่เป็นถนนที่ทำ�หน้าที่เป็นคันชักนํ้าเข้าไปยังบริเวณที่ทำ�การเพาะปลูกหรืออ่างนํ้า ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าในสมัยนี้มีการทำ�นาแบบที่ลุ่มนํ้าขัง นอกจากนี้ตามแหล่งชุมชนใหญ่และศาสน สถานที่สำ�คัญได้มีการขุด “บาราย” หรือสระนํ้าขนาดใหญ่เพื่อเก็บนํ้าสำ�หรับใช้อุปโภคบริโภค แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางเทคโนโลยีว่ารู้จักวิธีการควบคุมการเก็บกักนํ้าให้ดีขึ้นกว่าสมัยก่อน หลักฐานทางโบราณคดีที่สำ�คัญ ๑. ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ปราสาทแห่งนี้เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูมาตั้งแต่ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๗ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยสร้างเป็น เทวาลัยแห่งพระศิวะ ประดิษฐานรูปเคารพแทนองค์พระศิวะและรูปเคารพเทพเจ้าวงศ์อื่น ๆ ใน ตำ�แหน่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเทพชั้นรอง ๒. ปราสาทหินพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานฝ่าย มหายานที่ตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย หรือวิมายปุระซึ่งเป็นเมืองสำ�คัญที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของอาณาจักรกัมพูชา ปรากฎชื่อเป็นหลักฐานในศิลาจารึกที่พบในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒ (จารึกของพระเจ้าอีศานวรมันเรียก ภีมปุระ) และในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ในจารึก ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เรียกว่าวิมายปุระ) ๓. ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก สร้างขึ้น ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ มีโคปุระและบันไดศิลา เดินขึ้นไปยังศาสนสถานหลังกลาง ซึ่ง สร้างเป็นเทวาลัยถวายพระอิศวร ๔. จารึกโนนสัง บ้านบึงแก อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ลักษณะขอมโบราณภาษาสันสกฤต กล่าวถึงพระเจ้าโสมาทิตยะ สร้างรูปเคารพในศาสนาพรหมณ์ เมื่อ พ.ศ. ๑๔๓๒ ตรงกับสมัยพระ เจ้ายโศวรมัน และพบจารึกบ้านตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษา สันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๕. ปราสาทบ้านเบ็ญจ์ ต.หนองอ้ม อ.ทุ่งศรีอุดม จ.อุบลราชธานี ลักษณะปราสาทก่อ


41

ด้วยอิฐ ๓ หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำ�แพงศิลาแลงล้อมรอบ มีซุ้มประตูทางเข้าทางด้านหน้าด้านเดียว มีคูนํ้าล้อมรอบกำ�แพงศิลาแลง ได้ค้นพบกับหลังรูป พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และภาพจำ�หลักเทพนพเคราะห์ กำ�หนดอายุในราวต้นพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖ และพบปราสาททองหลาง ต.ท่าโพธิ์ศรี อ.เดชอุดม ลักษณะเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐ ๓ หลัง บนฐานศิลาแลงเดียวกันหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีคูนํ้าล้อมรอบ โดยเว้นเป็นช่องทาง เข้าด้านตะวันออกด้านเดียว ถัดไปทางทิศตะวันออกกมีอ่างเก็บนํ้าโบราณ (บาราย) ขนาดใหญ่ซึ่ง ยังเห็นขอบคันดินได้ชัดจากลักษณะแผนผังและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสันนิษฐานได้ว่ามีอายุ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ร่วมสมัยกับปราสาทบ้านเบ็ญจ์ ส่วนปราสาทธาตุนางพญา ต.หนอง สะโน อ.บุณฑริก ลักษณะโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย เป็นปราสาทหลังเดียวส่วน ยอดหรือหลังคาหักพังลงหมดแล้วเหลือเฉพาะฐาน มีกำ�แพงศิลาแลงล้อมรอบ ด้านหน้าทำ�เป็น ซุ้มประตู (โคปุระ) ก่อด้วยศิลาแลงและหอนทราย ถัดจากตัวปราสาทไปทางทิศเหนือมีอ่างเก็บน้ำ� (บาราย) ขนาดใหญ่ โบราณสถานแห่งนี้ น่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างแบบเขมรสมัยบายน ประมาณต้น พุทธศตวรรษที่ ๑๘ วัฒนธรรมกลุ่มไท - ลาวหรือวัฒนธรรมล้านช้าง วัฒนธรรมกลุ่มไท-ลาวหรือวัฒนธรรมล้านช้าง มีการตั้งถิ่นฐานในเขตทางตอนบน บริเวณลุ่มแม่นํ้าโขงมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว โดยได้แพร่เข้าสู่ภาคอีสานตอนใน หลังจาก อิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของเขมรได้เสื่อมลงในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และการแพร่ หลายของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งส่งผ่านมาจากบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย รวมทั้ง การก่อตัวของกลุ่มลาวในพื้นที่ลุ่มแม่นํ้าโขง ส่วนชุมชนโบราณขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเมืองต่าง ๆ ก็ ปรากฎว่าค่อย ๆ เสื่อมสูญไป โดยถูกทิ้งร้างเหลือเพียงชุมชนเล็ก ๆ กระจัดกระจายการที่กลุ่ม วัฒนธรรมไท - ลาวเข้ามามีอำ�นาจเหนือแอ่งสกลนคร ในสมัยเริ่มต้นของอาณาจักรล้านช้าง เป็น ปัจจัยสำ�คัญให้วัฒนธรรมไท - ลาวเข้ามาแทนวัฒนธรรมเขมรโบราณสมัยพระนคร ชนพื้นเมือง เริ่มรับวัฒนธรรมไท-ลาวและก่อตัวเป็นสังคมเมืองสืบทอดวัฒนธรรมหลังจากนั้นจึงได้มีการก ระจายอิทธิพลเข้าสู่ดินแดนแอ่งโคราชแม่นํ้าโขงและแม่นํ้ามูล ในเขตจังหวัดยโสธรและจังหวัด อุบลราชธานี การขยายตัวของชุมชนหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ทำ�ให้เกิดประชาคมกลุ่มต่างๆ กระจาย อยู่ทั่วไปในภูมิภาค ได้แก่ ๑. กลุ่มประชาคมลุ่มแม่นํ้าโขง มีความสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มวัฒนธรรมล้านช้าง มี พัฒนาการและการก่อตัวเป็นบ้านเมืองโบราณเช่น เวียงจันทน์ จำ�ปาสัก โคตรบูร ๒. กลุ่มประชาคมลุ่มแม่นํ้าชี ศูนย์กลางอยู่ในเขตสุวรรณภูมิ มีการขยายตัวในเขตตอน


42

กลางของภูมิภาค ๓. กลุ่มประชาคมลุ่มแม่นํ้ามูล จากลุ่มแม่นํ้ามูลจนถึงลุ่มแม่นํ้ามูลทางตอนล่างของ ภูมิภาค หลักฐานทางโบราณคดีที่สำ�คัญ ๑. พระธาตุพนม อ.เมือง จ.นครพนม เป็นพระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูก อก) ขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้า สร้างโดยพระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ และกษัตริย์จาก ๓ แคว้น ๒ เมือง ซึ่งได้แก่ พญาจุฬามณี พรหมทัตแห่งแคว้นจุฬามณี พญา นันทเสนแห่งแคว้นศรีโคตรบูร พญาอินทปัตแห่งแคว้นอินทปัตนตร พญาสุวรรณมังคารแห่ง เมือง หนองหานหลวงและพญาคำ�แดงแห่งเมืองหนองหานน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างพระ ธาตุพนมจนเสร็จและบรรจุอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ ภายในเป็นจำ�นวนมาก ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร” ต่อมาในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจาก ความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม และประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลาย วัน ประชาชนทั้ง ประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตาม แบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จ สิ้นเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒ นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุ ในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามาก มายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำ�บนยอดพระธาตุ มี นํ้าหนักถึง ๑๑๐ กิโลกรัม ปัจจุบันองค์พระธาตุ มีฐานกว้างด้านละ ๑๒.๓๓ เมตร สูง ๕๓.๖๐ เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม 23 ๒. พระธาตุเรณูนคร อ.เรณูนคร จ.นครพนม สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นธาตุกลุ่ม ฐานสูง โดยจำ�ลองมาจากพระธาตุพนม แต่มีขนาดเล็กกว่า สร้างเมื่อปี พ. ศ. ๒๔๖๑ โดยพระ อุปัชฌาย์อินภูมิโย สูง ๓๕ เมตร กว้าง ๘.๓๗ เมตร มีซุ้มประตู ๔ ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระ ไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ� พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้า เมือง นอกจากนี้ภายในโบสถ์ยังประดิษฐานพระองค์แสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำ�ศิลปะแบบ ลาว ปางสมาธิ พระคู่บ้านของอำ�เภอเรณูนคร มีพุทธลักษณะสวยงามมาก บริเวณนี้แต่เดิมเป็นเรณูนคร ถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหาร แบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำ�ผู้ไทย นอกจากนี้ยังมีร้านจำ�หน่ายสินค้าพื้นเมือง และของ ที่ระลึกต่างๆ ไว้บริการนัก ท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย โดยเฉพาะ บริเวณวัดพระธาตุเรณูนคร และตลาดอำ�เภอเรณูนคร การฟ้อนผู้ไทยนับเป็นการแสดงศิลปะ และวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาว 23 ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๒๗.


43

ผู้ไทยที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน จากบรรพบุรุษของชาวเผ่าผู้ไทย ในสมัยก่อน เรียกการฟ้อนรำ�แบบนี้ว่า “ฟ้อนละครไทย” เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะ เดียวกัน โดยการจับกลุ่มเล่นฟ้อนกัน ๓. พระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร สร้างโดยพระยาสวรรษภิงคาระ ภายหลังจะได้ ฟังเทศน์จากพระพุทธองค์เกิดความเสื่อมใสมาก จึงทรงบำ�รุงรอยพระพุทธบาท โดยถอดมงกุฎที่ มีนํ้าหนักถึงแสนตำ�ลึงไว้แล้วสร้างพระธาตุครอบ ตามอุรังคนิทาน กล่าวว่า พระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรด ชาวเมืองหนองหารหลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ขอพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับ ขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรีอาริยเมตตรัย องค์ที่ ๕ ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงถือกันว่า วัดพระธาตุเชิงชุม จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสวรรษภิงคาระ พระนางนารายณ์เจงเวง และเจ้าคำ�แดง อนุชาพระยา สุวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี จากบริเวณซ่งนํ้าพุและท่านางอายฝั่ง ตรงข้ามหนองหาร เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระทำ�ของ “พญานาค” อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐาน แท่นบูชารูปเคารพ ตลอดจนศิลาจารึกตัวอักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ ซึ่งอยู่ ติดผนัง ทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นใน) ซึ่งก่อเป็นพระธาตุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐาน เหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณ วัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึก ที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง ๔๙ ซ.ม. ยาว ๕๒ ซ.ม. เขียน เป็น ตัวอักษรขอมโบราณ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำ�นวน หนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่โขลญพล หัวหน้า หมู่บ้าน พระนุรพิเนาตามคำ�แนะนำ� ของกำ�แสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะนุรนิเนามอบให้ โบลูญพลนี้มี ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้น กับหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา นอกจาก เรื่องการมอบที่ดินแล้ว ข้อความตอนท้ายของ จารึกได้กล่าวถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้ อุทิศ ตน สิ่งของที่นา แด่เทวสถานและสงกรานต์ กล่าวโดยสรุปในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมคงถูกปกครอง โดยคนกลุ่มขอม ที่พากันสร้างวัด โดยอุทิศ ที่ดิน บริวาร ข้าทาส ให้ดูแลวัด หรือศาสนสถานแห่งนี้ ซึ่งอาจเป็นศาสนสถาน ตาม คติพราหมณ์หรือพุทธมหายานก็ได้ ๔. พระธาตุบ้านแก่ง (พระธาตุหนองสามหมื่น) อ.ภูเวียง จ.ชัยภูมิ ตามประวัติพระ ธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองนํ้า ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏเกิดจากการผสมผสานกันระหว่าง


44

ศิลปล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ หรือ ช่วง พ.ศ. ๒๐๙๓ – ๒๑๑๕ ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ ๔๕ เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวควํ่าบัวหงาย รองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำ�พึง และปางลีลา ภายในองค์ พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระ ธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัด หนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ ปรากฏร่องรอยของคูนํ้า คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลาย แห่ง โบราณวัตถุสำ�คัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำ�มาเก็บรักษาไว้ที่วัด เช่น กลุ่ม ใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ และมีแผ่นหนึ่งนำ�ไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำ�อำ�เภอภูเขียวด้วย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูป เคารพอีก ๒ ชิ้น สภาพชำ�รุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอมแบบบายน อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ๕. พระธาตุขามแก่น จ.ขอนแก่น พระธาตุขามแก่นเป็นเจดีย์ที่สำ�คัญและเก่าแก่ที่สุด ในประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น องค์พระธาตุขามแก่น ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม ต.บ้านขาม อ.นํ้าพอง จ.ขอนแก่น ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นไปตามถนนขอนแก่น – ยางตลาด เลี้ยวซ้ายบ้านพรหมนิมิตร อ.เมืองขอนแก่นประมาณ ๑๕ กม. เป็นเจดีย์ที่รู้จักกันดีในภาคอีสาน ไม่ปรากฏอายุการสร้างที่แน่นอน พระธาตุขามแก่นมีประวัติความเป็นมาเป็นเรื่องเล่าสืบขานกันมาช้านาน ว่ามีกษัตริย์ แห่งโมริยวงศ์ได้ทรงทราบข่าวการสร้างเจดีย์ที่เมืองนครพนม ซึ่งพระอรหันต์ พระเถระ และชาว เมืองนครพนม พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๙ องค์ ในระหว่างเดินทางได้พากันค้างคืน ณ สถานที่แห่ง หนึ่งซึ่งมีตอมะขามใหญ่ตายซากตอหนึ่งผุเหลือแต่แก่น และได้อันเชิญพระอังคารธาตุวางไว้ที่บน ตามะขามผุนั้น เมื่อรุ่งเช้าจึงออกเดินทางต่อไปยังเมืองนครพนม ครั้นเมื่อถึงเมืองนครพนมกลับ ปรากฏว่าพระธาตุได้เสร็จสมบูรณ์และได้บรรลุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์พระธาตุเรียบร้อย จะ นำ�สิ่งใดบรรจุภายในมิได้อีกแล้ว ดังนั้นโมริกษัตริย์และคณะจึงได้ออกเดินทางกลับตามเส้นทาง เดิมด้วยความผิดหวัง เมื่อเดินผ่านตอมะขามใหญ่ซึ่งเคยพักค้างแรมต่างก็ประหลาดใจเมื่อปรากฏ ว่าตอมะขามผุนั้นได้เจริญงอกงามตอเขียวขจี โมริกษัตริย์เห็นเป็นอัศจรรย์ในบุญญาธิการแห่ง พระอังคารธาตุประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนั้น และได้บรรจุพระธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้าไว้ ๙ บท ไว้ในเจดีย์องค์เล็กทางด้านทิศตะวันตกของพระธาตุ เรียกว่า “พระเจ้าเก้าองค์”


45

ต่อมาบริเวณนั้นได้มีชาวบ้านมาอยู่อาศัยมากขึ้นกลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อว่า “บ้านขาม” ตามชื่อตอ มะขามอันเป็นที่ประดิษฐานพระอังคารธาตุ ต่อมาได้ย้ายเมืองต่อ ๆ มาหลายแห่ง จนลุมา พ.ศ. ๒๓๔๐ ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เพี้ยเมืองแพน พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเจ้าเมืองแพน ยกบ้านบึงบอนเป็น “เมืองขอนแก่น” จึงนับเอา ปี พ.ศ. ๒๓๔๐ เป็นปีแห่งการตั้งเมืองขอนก่น การบูรณองค์พระธาตุขามแก่น จังหวัดได้จัดทำ�ยอดฉัตรทองคำ�ประดิษฐ์ฐานบนองค์ พระธาตุขามแก่นและอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานเพื่อบรรจุที่ยอดองค์พระธาตุขามแก่นจำ�ลอง ยอดฉัตรทองคำ�ที่จัดสร้างขึ้นพร้อม ยอดฉัตรเดิม และยอดฉัตรพระธาตุอรหันต์ การบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุขามแก่น มีการเรียบเรียงในคราสมโภชการตั้งฉัตร พ.ศ. ๒๔๙๙ ว่า - ครั้งแรก ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๙ – ๒๔๖๘ ในสมัยพระครูแพง พุทธสโร เจ้าอาวาสวัด เจติยภูมิ - ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๔๙๙ พระสารธรรมมุณี เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น ได้ มีดำ�ริจัดทำ�ฉัตรพระธาตุขึ้น และได้มีการซ่อมแซมบูรณะยอดพระธาตุ องค์พระธาตุใหม่ด้วยโครง เหล็ก และปูนซีเมนต์ พร้อมทั้งจัดงานตั้งฉัตรพระธาตุขามแก่นในวันอาทิตย์ที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ - ครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๕ ได้บูรณะพระวิหารอีกครั้ง โดย งบประมาณจากกรมศิลปากร มูลนิธิพระธาตุขามแก่น และศรัทธาของพุทธศาสนิกชน มีการเสริม ความมั่นคงแข็งแรง ความสวยงาม รวมถึงการเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กและอาคาร สถานที่โดย รอบ - ครั้งที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๖ เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ สมัยนายเสริม ศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ด้วยวัสดุหมักตามกรรมวิธีโบราณ งานลงรักปิดทอง งานซ่อมแซมฉัตร ๕ ชั้น องค์พระธาตุอรหันต์ แนวกำ�แพง งานปรับปรุงภูมิทัศน์ ก่อสร้างศาลารายทั้ง ๔ ทิศใหม่ และได้เปลี่ยนยอดฉัตรองค์พระธาตุขามแก่นจากโลหะที่ลงรักปิด ทองมาเป็นยอดฉัตรทองคำ� (นํ้าหนักทอง ๓,๕๔๔.๑๐ กรัม มูลค่า ๑,๕๓๖,๗๓๑ บาท) นอกจากนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก ทรงประทานพระบรมสารีริกธาตุ ๙ องค์ ให้มาบรรจุไว้ที่องค์พระธาตุขามแก่นด้วย ต่อมา เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรม ราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และทรงยกยอดฉัตรทองคำ�องค์พระ ธาตุขามแก่น ซึ่งตรงกับสมัยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย และนาย เจตน์ ธนวัฒน์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น


46

พระธาตุขามแก่น นับเป็นปูชนียสถานที่สำ�คัญคู่เมืองขอนแก่น เป็นจุดยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และมี ความศักดิ์สิทธิ์คู่กับอีสานอีกแห่งหนึ่ง โดยทุกวันเพ็ญเดือน ๖ จะมีงานฉลองพระธาตุขามแก่นเป็น ประจำ�ทุกปี 24 ๖. พระธาตุก่องข้าวน้อยที่บ้านตาดทอง จ.ยโสธร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยของ ท้าวหน้า, ท้าวคำ�สิงห์, ท้าวคำ�ผงและพระวรวงศา (พระวอ) ที่อพยพมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เป็นธาตุทรงสี่เหลี่ยม ก่ออิฐถือปูนได้อิทธิพลการออกแบบจากธาตุพระอานนท์ พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๕ ตรงกับ สมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำ�บล ตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมี ลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๒ เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ ๑ เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำ�เป็นซุ้มประตูทั้งสี่ ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุ ก่องข้าวน้อยมีกำ�แพงอิฐล้อมรอบขนาด ๕x๕ เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธ รูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงนํ้า พระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำ�เช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น พบใบเสมาจำ�นวนมาก ทำ�ให้ทราบว่าบริเวณลุ่มนํ้าชีตอนปลายต่อเนื่องกับอำ�นาจเจริญ และอุบลราชธานีมีการผสมผสานของวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเจนละในราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๑ - ๑๒ ดังพบจากโบราณสถานที่ดงเมืองเตยซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลนัก ต่อมาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมล้านช้างมีการสร้างธาตุซึ่งมีเรือนธาตุเป็นรูป ทรงสี่เหลี่ยม มีซุ้มจระนำ�อยู่ทั้งสี่ทิศและมีรูปทรงคอดที่กลางเรือนธาตุทำ�ให้คล้ายกับรูปร่างของ ก่องข้าว ซึ่งเป็นทรงสูงแบบก่องใส่ข้าวที่พบในท้องถิ่น ในตำ�นานของบ้านตาดทองซึ่งผูกพันกับ พระธาตุพนมในวัฒนธรรมในเขตลุ่มน้ำ�โขง เล่ากันว่า ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้นำ�เอาของมีค่าต่างๆ รวบรวมใส่ถาดทองคำ�เพื่อจะนำ�ไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม แต่องค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จเสีย ก่อน ชาวบ้านจึงได้สร้างธาตุตาดทองและนำ�ของมีค่ามาบรรจุไว้ในนี้แทน ส่วน “ธาตุลูกฆ่าแม่” ที่ เชื่อว่าสร้างตามตำ�นานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่นั้น เป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำ�นา ตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลายอารมณ์ชั่ววูบทำ�ให้เขากระทำ�มาตุฆาตด้วยเหตุเพียงข้าวที่ เอามาส่งดูจะน้อยไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำ�นึกผิดที่ตนกระทำ� มาตุฆาตสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ที่ “วัดทุ่งสะเดา” ห่างไปราว ๒ กิโลเมตร เป็นสถูป ๒ องค์ ตั้งอยู่ ใกล้กัน องค์หนึ่งเหลือแต่ฐานอีกองค์หนึ่งมีฐานและเรือนธาตุเป็นรูปแปดเหลี่ยมมียอดเรียวแหลม พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ 24 ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๒๔.


47

ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่อง ของหนุ่มชาวนาที่ทำ�นาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบ ทำ�ให้เขากระทำ�มาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าว อิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำ�นึกผิดที่กระทำ�รุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ ตนกระทำ�มาตุฆาต25 ๗. พระธาตุศรีสองรัก อ.ด่านซ้าย จ.เลย พระธาตุศรีสองรักเป็นปูชนียสถานที่สำ�คัญ ที่สุดของจังหวัดเลย เป็นพระธาตุแห่ง “สัจจะและไมตรี” ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิผู้ครอง กรุงศรีอยุธยาแห่งราชอาณาจักรสยาม และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) แห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๓ เพื่อเป็นสักขีพยานว่าจะไม่มีการสู้รบให้ เลือดตกต้องแผ่นดินกันอีกต่อไป และด้วยเจตนารมณ์ของกษัตริย์สองแผ่นดินในครั้งนั้น จึงมีผลให้ มีการขอร้องและห้ามมิให้ใช้สีแดง ซึ่งถือว่าเป็นสีเลือด ในพื้นที่บริเวณพระธาตุศรีสองรัก ไม่ว่าจะ เป็นดอกไม้ เครื่องประดับ ของใช้ หรือแม้แต่เครื่องแต่งกาย พระธาตุศรีสองรักนี้ตั้งอยู่บริเวณจุดกึ่งกลาง ระหว่างแม่นํ้าโขงและแม่นํ้าน่าน ในอำ�เภอ ด่านซ้าย จังหวัดเลย อยู่ห่างจากอำ�เภอด่านซ้าย ๑ กิโลเมตร ลักษณะของพระธาตุศรีสองรัก เป็น เจดีย์คล้ายพระธาตุพนม สีขาว ก่ออิฐถือปูน มีฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๘ เมตร สูง ประมาณ ๓๒ เมตร บนยอดพระธาตุมีแก้วครอบเป็นโดมและมีกระดิ่งลูกเล็กๆ แขวนอยู่เหนือโดม ตามประวัติ “พระธาตุศรีสองรัก” เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๓ ตรงกับปีวอก โทศก จุลศักราช ๙๒๒ และเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๖ ตรงกับปีกุล เบญจศก จุลศักราช ๙๒๕ ในวันพุธขึ้น ๑๔ คํ่า เดือน ๖ และได้ทำ�พิธีฉลองสมโภชในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๖ สร้างขึ้นเพื่อเป็น ตัวแทนแห่งความรัก และความเป็นไมตรีของกษัตริย์ทั้งสองแคว้น จนเป็นที่มาของนาม “พระธาตุ ศรีสองรัก” การสร้างพระธาตุศรีสองรัก นับเป็นสักขีพยานในความรักใคร่ของชนชาติเผ่าลาวในดิน แดนล้านช้างสมัยนั้น มาตั้งแต่โบราณการเป็นอย่างดี และพระธาตุศรีสองรักนี้ ประชาชนใน ท้องที่จังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ นอกจากนั้นพระธาตุศรีสองรักยังเป็น ปูชนียสถานที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดเคารพนับถือมาบนบานศาลกล่าวแล้วจะได้ตาม ความประสงค์ทุกประการ หรือหากนำ�ดินธาตุจากองค์พระธาตุเจดีย์ไปบูชาแล้วจะแคล้วคลาด จากภัยอันตรายต่างๆ ได้ ที่มาของชื่อ “พระธาตุศรีสองรัก” นี้มาจากชื่อของเมืองทั้ง ๒ คือ ศรีอยุธยา และศรีสัต นาคนหุต โดยทั้งสองแผ่นดินตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “จะไม่มีการสู้รบกันอีกต่อไป จะมีแต่ความรัก ใคร่ผูกพันกัน” จึงเกิดเป็นชื่อ “ศรีสองรัก” ในดินแดนแห่งสัจจะและไมตรี ที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย26 25 ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๓๕. 26 ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๑๙.


48

๘. พระธาตุบังพวน อ.เมือง จ.หนองคาย สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่ง กรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์สัตตมหาเจดียสถานแห่งกรุงล้านช้าง พระธาตุบังพวน เป็นพระธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่และสำ�คัญยิ่งของจังหวัดหนองคาย และ เป็นพระธาตุที่สำ�คัญองค์หนึ่งของภาคอีสาน ประดิษฐานอยู่ ณ บ้านพระธาตุบังพวน ตำ�บลพระ ธาตุบังพวน อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองคาย ตามตำ�นานอุรังคธาตุกล่าวว่า พระยาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร พระยาคำ�แดง เจ้าเมืองหนองหารน้อย อุดรธานี พระยาจุลณี พรหมทัต เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ) พระยาอินทปัตนคร เจ้าเมืองอินทปัตนนนคร (เขมร) และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์ หลวง (ตรงข้ามนครพนม) ได้ร่วมกันอุปถัมภ์ พระมหากัสสเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ อีก ๕๐๐ องค์ ทำ�การก่อสร้างพระธาตุพนม แล้วเสร็จ และได้บรรลุพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด ต่อมาได้ เดินทางไปสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อไปอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ๔๕ พระองค์ นำ� มาประดิษฐานไว้ ณ สถานที่ ๔ แห่ง คือ บริเวณเมืองหนองคาย และเมืองเวียงจันทน์ หนึ่งใน สี่แห่งนั้น คือพระธาตุบังพวน ซึ่งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาพักที่ร่มไม้ปาแป้ง (ไม้โพธิ) ณ ภูเขาหลวง อันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ พระธาตุบังพวนปัจจุบัน จากการสำ�รวจทางโบราณคดีพบว่า พระธาตุบังพวนได้มีการก่อสร้างสืบเนื่องกันมา สามสมัย คือ ฐานเดิมสร้างด้วยศิลาแลง ชั้นที่สองสร้างด้วยอิฐครอบชั้นแรก และต่อมาได้มี การก่อสร้างให้มีขนาดสูงใหญ่ขึ้น จากจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่ขุดได้ ๔ องค์ ในจำ�นวนทั้งหมด ๖ องค์ ระบุศักราชที่สร้างไว้ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๑๑๘ พ.ศ. ๒๑๕๐ พ.ศ. ๒๑๕๘ และ พ.ศ. ๒๑๖๗ และข้อความในจารึกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๗ มีประวัติในการสร้าง โดยได้กล่าวถึงพระเจ้าโพธิ สาลราช ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง มีราชธานีอยู่ที่นครเชียงทอง ซึ่งก็ตรงกับรูปแบบ การก่อสร้างโบราณสถานในบริเวณวัดพระธาตุบังพวน ที่แสดงถึงอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง พระธาตุบังพวนเป็นพระสถูปเจดีย์ ทรงเรือนปราสาทสี่เหลี่ยม เป็นองค์ประธานซึ่ง มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกว่า พระธาตุบังพวนพระเจดีย์ศรีสัตตมหาทาน ภายในวัดมีกลุ่มพระธาตุขนาด ต่าง ๆ อีก ๑๕ องค์ สันนิษฐานว่า คงจะสร้างในสมัยใกล้เคียงกันกับพระธาตุบังพวน มีวิหาร ๓ หลัง อุโบสถ ๑ หลัง สระนํ้า และบ่อนํ้าโบราณ นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานอีกกลุ่มหนึ่ง ภายในบริเวณเดียวกัน เรียกว่า สัตตมหาสถาน อันเป็นสถานที่ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธประวัติ เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย สัตตมหาสถานที่ สร้างขึ้นมาภายหลัง มีอยู่ ๓ แห่งอยู่ ที่ประเทศพม่าหนึ่งแห่ง และที่ประเทศไทยสองแห่ง คือที่วัด เจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ และที่วัดพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคายแห่งนี้


๓ กลุ่มชาติพันธุ์ในอีสาน

49

ภูมิภาคอีสาน เป็นดินแดนที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศ ในกลุ่มประชาคมลุ่มนํ้าโขง ประชากรในภูมิภาคนี้มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยมีกลุ่มวัฒนธรรม ไท - ลาวเป็นหลักและกลุ่ม วัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างตามสภาพท้องถิ่นฐานเดิม กลุ่มชาติพันธุ์ใน ภูมิภาคนี้จำ�แนกตามตระกูลภาษาได้ ๒ ตระกูล คือ กลุ่มไต-กะได ที่ประกอบด้วยกลุ่มวัฒนธรรม ไท - ลาว ไทโคราช และกลุ่มออสโตรเอเชียติค สาขามอญ - เขมร ที่ประกอบด้วยกลุ่มเขมรถิ่นไทย กูย บรู อีสานนอกจากการเป็นดินแดนอันกว้างขวาง ที่มีวัฒนาการทางสังคมอย่างต่อเนื่องมา ตั้งแต่อดีต การเดินทางติดต่อระหว่างกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ที่ทำ�ให้อีสานไม่ใช่ดินแดนที่อยู่โดดเดี่ยว พื้นที่สูง ที่ราบบนผืนแผ่นดินใหญ่และแนวชายฝั่งทะเล เป็นองค์ประกอบที่ทำ�ให้มีการติดต่อไปมา หาสู่กันอย่างกว้างขวาง กลุ่มชนไต -กะไดเป็นกลุ่มชนหลักในภูมิภาค ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มชน อื่น ๆ เช่น กลุ่มออสโตร - เอเชียติค สาขามอญเขมรกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคนี้การผสมผสาน ทางวัฒนธรรมและพัฒนาการทางสังคมที่สั่งสมมาอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้กลุ่มชนต่าง ๆ สร้างสรรค์ อารยธรรมขึ้นมาอย่างมีเอกลักษณ์จนกลายเป็นวัฒนธรรมของภูมิภาค ชาวอี ส านหรื อ คนอี ส านไม่ ใช่ ชื่ อ ชนชาติ ห รื อ เชื้ อ ชาติ เ ฉพาะของอี ส านแต่ เ ป็ น ชื่ อ ทางวัฒนธรรม มีที่มาจากภูมิศาสตร์บริเวณที่เรียกอีสานหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย(อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่(สุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์โบราณ) เลยสมมุมติ เรียกคนกลุ่มนี้อย่างรวมๆ กว้างๆ ว่าชาวอีสาน หรือคนอีสาน ขาวอีสานหรือคนอีสาน มีบรรพชนมาจากการประสมประสานของผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลาย ชาติพันธุ์ ทั้งภายในและภายนอก ทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ตํ่ากว่า ๕,๐๐๐ ปีหรืออาจถึง ๑๐,๐๐๐ ปี และยังมีต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันหรืออาจมีต่อถึงอนาคต ผู้คนขนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ที่ประสมประสานกันเป็นชาวอีสาน มีบรรพชนอย่าง น้อย ๒ พวก คือคนพื้นเมืองดั้งเดิมอยู่ในสุวรรภูมิ กับคนภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาภายหลังจาก ทิศทางต่างๆ มีร่องรอยและหลักฐาน คนพื้นเมืองดั้งเดิม ๕,๐๐๐ ปี ชาวอีสานดั้งเดิมมีชีวิตร่อนเร่อยู่ในดินแดนอีสานมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี เพราะหลังจากนั้น มีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่าคนนี้ปลูกเรือนอยู่เป็นที่ (ปัจจุบันคือบริเวณอำ�เภอภูเวียง จังหวัด ขอนแก่น) รู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เช่นหมูและวัว รู้จักทำ�ภาชนะดินเผาทำ�สัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือ


50

เครื่องใช้ และมีประเพณีฝั่งศพ ฯลฯ ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าคนอีสานพวกแรกเหล่านี้เป็นชนกลุ่มไหน เผ่าพันธุ์ใด แต่แบ่งคน เป็น ๒ พวก คือพวกที่สูงกับพวกที่ราบดังนี้ พวกที่สูง พวกนี้อาศัยอยู่บริเวณป่าเขาลำ�เนาไพร มีแหล่งเพาะปลูกน้อย มีแหล่งนํ้าหล่อเลี้ยงไม่ เพียงพอ เพาะปลูกด้วยระบบที่เรียกว่าเฮ็ดไฮ่ (ทำ�ไร) หรือแบบล้าหลังคือเอาไฟเผาป่าให้ราบลง เป็นแปลงเท่าที่ต้องการ ไม่ต้องพรวนไม่ต้องไถและเอาจอบเกลี่ยหน้าดินแล้วเอาไม้ปลายแหลม แทงดินให้เป็นรู เอาเมล็ดพันธุ์พืชหยอดลงทีละรูแล้วก็ปล่อนทิ้งไว้ตามยถากรรม แล้วแต่ดิน ฝน และแดด แต่พันธุ์พืชหรือพันธุ์ข้าวชนิดที่ปลูกเป็นพันธุ์ป่าชนิดที่ไม่ต้องขวนขวายทดนํ้ามาหล่อ เลี้ยงพอพืชโตได้ได้ที่มีดอกออกผลก็เก็บเก็บเกี่ยว แล้วก็ทิ้งดินแปลงนั้นให้หญ้าและต้นไม้ขึ้น รกชัฏไปตามเรื่อง ใช้ได้ครั้งเดียว ปีรุ่งขึ้นก็ขยับไปเผาป่าในที่ถัดออกไปใหม่ ขยับเวียนไปรอบทิศ ตามสะดวก ไม่มีใครหวงห้ามหรือจับจอง ที ๒ – ๓ ปีผ่านไปก็หันกลับมาเผาที่ตรงแปลงเดิมใหม่ แต่ถ้าหากดินจืด ใช้ไม่ได้ผล ก็ย้ายหมู่บ้านกันใหม่ ไปเลือกทำ�เลใหม่ การเพาะปลูกแบบนี้ผลิตอาหารได้น้อย เพราะมีพื้นที่น้อยและทำ�ได้ไม่สมํ่าเสมอ ฉะนั้น นอกจากจะมีอาหารเลี้ยงคนได้น้อยแล้วยังเป็นเหตุให้ชุมชนต้องเคลื่อนย้ายไปตามแหล่งเพาะปลูก แห่งใหม่อยู่เสมอ พวกนี้จึงมีลักษณะทางสังคมเป็นแบบชนเผ่าที่อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้ง หลักแหล่งถาวรไม่ได้ ขยายตัวเป็นบ้านเมืองไม่ได้ พวกที่ราบสูง พวกนี้อาศัยบริเวณที่ราบลุ่มในหุบเขา ที่ราบลุ่มแม่นํ้า และที่ราบตามชายฝั่งทะเล ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกกว้างขวางกว่าเขตที่สูงมีนํ้าท่วมถึง หรือมีการชักนํ้าเข้ามาหล่อเลี้ยง พืชพันธุ์ที่เพาะปลูกได้ ทำ�ให้มีโคลนหรือตะกอนจากที่อื่นๆ เข้ามาทับถมกลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ที่ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์เสมอๆ ทุกๆปีจนไม่ต้องโยกย้ายไปหาที่เพาะปลูกใหม่ และสามารถ เก็บเกี่ยวพืชผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยพอเลี้ยงคนได้จำ�นวนมาก ทั้งมีส่วนเกินพอที่จะนำ�ไปแลก เปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนอื่นๆ ทำ�ให้ท้องถิ่นมีผู้คนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ เขตที่พัฒนาการจากหมู่บ้าน เป็น เมือง แล้วก้าวหน้าเป็นรัฐ และ อาณาจักร ได้ แต่ก็ ไม่ได้หมายความว่าทุกหนทุกแห่งในเขตที่ราบจะมีโอกาสก้าวหน้าได้เหมือนกันหมด เพราะยังมีข้อ แตกต่างกันด้านอื่นๆ ที่อาจเป็นสิ่งเอื้ออำ�นวยและข้อจำ�กัด พวกที่ราบสูง – ที่ราบ ผสมกลมกลืนกันเป็น “ชาวสยาม” พวกที่สูงมีความรู้และชำ�นาญในการถลุงโลหะ ส่วนพวกที่ราบมีความรู้และชำ�นาญใน การทำ�นาปลูกข้าวในที่ลุ่ม ทั้งสองพวกนี้มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันตลอดเวลา จนถึงระยะเวลา หนึ่งพวกที่สูงก็ลงมาอยู่ที่ราบแล้วผสมกลมกลืนกันทางสังคมและวัฒนธรรม มีร่องรอยอยู่ในนิทาน


51

ปรัมปราหลายเรื่อง คนที่สูงกับที่ราบผสมกลมกลืนกันทางเผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม เมื่อนานเข้าก็เป็นพวก เดียวกัน ตั้งหลัก แหล่งอยู่ร่วมกันในดินแดนที่คนภายนอกเรียกสยาม คนพวกนี้เลยถูกเรียกอย่าง รวมๆเป็นชาวสยาม 27 กลุ่มชาติพันธุ์ในอีสานแบ่งตามตระกูลภาษา ๒ กลุ่ม ภาษาพูดในชีวิตประจำ�วันของชาวอีสานคือ ภาษาลาว อยู่ในตระกูลภาษาไทย – ลาว เป็น ๑ ใน ๕ ของตระกูลภาษาใหญ่ของสุวรรณภูมิ (หรือภูมิภาอุษาคเนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ทั้งยังเป็นเค้าภาษาไทยและฉันทลักษณ์ในวรรณคดีไทย ตลอดจนทำ�นองร้องรับขับลำ� เช่น ร่าย – โคลงโองการแช่งน้ำ� สวด – เทศน์มหาชาติ เจรจาโขน ขับเสภา ฯลฯ ชาวอีสานก็เหมือนคนทั้งหลายในโลก มีภาษาพูดก่อน หลังจากนั้นอีกนานมาถึงมีภาษา เขียนด้วยตัวอักษร ฉะนั้นภาษาลาวจึงเป็นตระกูลภาษาเก่าแก่ตระกูลหนึ่งในสุวรรณภูมิ มีอายุไม่ น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานชัดเจนอยู่ในกลุ่มชนดั้งเดิมบริเวณมณฑลกวางสีที่เมืองจีน คนที่พูดภาษาลาวมีหลายกลุ่ม ล้วนตั้งหลักแหล่งกระจัดกระจายปะปนอยู่กับคนที่พูด ภาษาตระกูลอื่นๆ เช่น ตระกูลม้ง – เย้า, จีน – ทิเบต, ทิเบต – พม่า, มอญ – เขมร, มาเลย์ – จาม, รวมทั้งภาษาจีนฮั่น ถ้อยคำ�สำ�นวนภาษาของตระกูลอื่นๆจึงมีคละเคล้าปะปนอยู่ในภาษาลาว การผสมกลมกลืนทางภาษามีมาแต่ยุคดึกดำ�บรรพ์ บางทีจะตั้งแต่ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว และต่อเนื่องถึงสมัยหลังๆ ลงมาจนถึงปัจจุบันแล้วจะยังมีต่อไปในอนาคต ไม่มีวันจบสิ้น มีแต่จะ ผสมกับตระกูลภาษาอื่นๆหลายภาษามากขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นเหตุให้ภาษามีความเจริญงอกงาม ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่จะเคลื่อนไหวไปตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม – วัฒนธรรม ๑. ออสโตรเอเชียติค (Astroasiatic) ๒. ไต-กะได (Tai-Kadai) กลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติค (สาขามอญ-เขมร) ๑. เขมรถิ่นไทย 28 ชาวเขมรถิ่นไทย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติคสาขามอญ-เขมร ที่ เรียกตนเองว่า “คแมร์-ลือ” ซึ่งแปรว่าเขมรสูงแต่เรียกเขมรในประเทศกัมพูชาว่า “คแมร์-กรอม” 27 สุจิตต์ วงษ์เทศ. “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน?. หน้า ๔๔. 28 เขมรถิ่นไทยเป็นชื่อทางวิชาการ ได้กำ�หนดขึ้นเพื่อเรียกผู้ที่พูดภาษาเขมรซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยทั่วไปชาวเขมรถิ่นไทยเรียกตัวเองว่า

“คแมร” หรือ “คแมร - ลือ” แปลว่าเขมรสูง เรียกภาษาเขมร และชาวเขมรในกัมพูชา ว่า “คแมร-กรอม” แปลว่า เขมรต่ำ� และเรียกคนไทยว่า “ซีม” ซึ่งตรงกับคำ�ว่า “สยาม” ใน ภาษาไทย เมื่อพิจารณาเขตการปกครอง ได้แบ่งภาษาเขมรเป็น ๓ กลุ่ม คือ ๑) ภาษาเขมรเหนือหรือเขมร สูง (เขมรถิ่นไทย) ๒) ภาษาเขมรกลางเป็นภาษาของผู้ที่ อยู่ในกัมพูชา ๓) ภาษาเขมรใต้เป็น ภาษาของคนเวียดนามเชื้อสายเขมร ปัจจุบันพบชาว เขมรถิ่นไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว.


52

แปลว่าเขมรตํ่า มีภูมิลำ�เนากระจายทั่วไปในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบางอำ�เภอในจังหวัด บุรีรัมย์ เช่น อำ�เภอประโคนชัย อำ�เภอสตึก อำ�เภอกะสัง และอำ�เภอสุวรรณภูมิ ในจังหวัดร้อยเอ็ด ชาวเขมรถิ่นไทยนับถือศาสนาพุทธ และมีความเชื่อในเรื่องผีตายายมาก มีการเซ่นผีตายายที่เรียก ว่าพิธี “แซนโดนตา” นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องของยายสั่งมีการละเล่นพื้นเมืองที่สำ�คัญ เช่น กันตรึม การขับเจรียง และรำ�สาก เป็นต้น การแต่งกาย การแต่งกายของผู้ชายมีทั้งนุ่งโสร่ง โจงกระเบน และกางเกงขาจกกบ สวม เสื้อคอกลมผ่าอก มีผ้าขาวม้า ซึ่งเรียกตามภาษาเขมรว่า “สไบ” คาดเอว สำ�หรับผ้านุ่งโจงกระเบน นั้นนิยมผ้าหางกระรอก ซึ่งชาวเขมรมีฝีมือในการทอผ้าไหมหางกระรอกมาก ผู้ชายนิยมตัดผมสั้น ส่วนผู้หญิงจะนุ่มซิ่นไหมและฝ้าย เรียกว่า “ซัมป๊อด” มีหลายแบบหลายลาย เช่น โฮล อันลุยซึมอันปรม (พื้นแดงเข้ม มีขีดดำ�ขาวตัดกัน) ซะมอ ละเบิก หมี่คั่น ผู้หญิงเขมร ถิ่นไทยจะใส่ เสื้อแขนกระบอกคอกลมผ่าอกติดกระดุม พาดผ้าสไบ ในโอกาสสำ�คัญ ๆ สตรีนิยมปล่อยผมยาวไม่ เกล้ามวย ๒. กูย 29 คนไทยทั่วไปเรียกชาวกูยหรือกวยว่า “ส่วย” ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ในกลุ่มตระกูลภาษาออส โตร-เอเชียติค สาขามอญ-เขมร ชาวกูยมีความสามารถในการคล้องช้าง เลี้ยงช้างและฝึกช้างเพื่อ ใช้งาน จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อหลายอย่างที่เกี่ยวกับช้าง เช่น การเซ่นผีปะกำ� ซึ่งต้องกระทำ� ก่อนที่จะออกล่าช้างป่าเพื่อเป็นศิริมงคล และเป็นการเสี่ยงทาย ปัจจุบันชาวกูยตั้งถิ่นฐานอยู่ใน เขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บางอำ�เภอในจังหวัดบุรีรัมย์ เช่น อำ�เภอสตึก อำ�เภอกะสัง อำ�เภอ หนองกี่ ในเขตบ้านสะเดาหวาน อำ�เภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และบางส่วนในเขต อำ�เภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี การแต่งกาย แต่เดิมชาวกูยนิยมนุ่งโสร่งหางกระรอกหรือนุ่งโจงกระเบน คล้องผ้าสไบ คาด “ถุงไถ้” ซึ่งทำ�ด้วยผ้าขิดสำ�หรับใส่เครื่องรางเวลาเข้าป่า ส่วนผู้หญิงชาวกูย นิยมนุ่มผ้าซิ่นมีทั้งทอเป็นลายขิดคล้ายไทลาวหรือตีนซิ่นลายผ้ามัด หมี่ คล้ายชาวเขมรถิ่นไทยสวมเสื้อคอกระเช้า หญิงสูงอายุมักใส่สร้อยคอลูกปัดที่ทำ�จากพลาสติก หรือเงินและมักใส่ดอกไม้หอมแทนต่างหู

29 กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ เรียกตนเองว่า กูย กุย โกย หรือ กวย ซึงแตกต่างกันไปตามลักษณะการ ออกเสียงของแต่ละถิ่น ถึงแม้ชนพื้นเมืองจะออก

เสียงสระแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น ชนพื้นเมืองต่างก็ให้ความหมายของคำ�ว่า กูย กุย โกย หรือ โกย ไว้อย่างมีเอกภาพ คือมีความหมายว่า “คน” ทั้งสิ้น ส่วนคำ�ว่า ส่วย นั้น เป็นคำ�ที่บัญญัติขึ้นมานอกเหนือบริบทของวัฒนธรรมกูย ซึ่งชาวกูย ไม่ยอมรับชื่อนี้นัก.


53

๓. กลุ่มชาติพันธุ์โซ่, กะโส้ 30 ชาวโซ่หรือกะโส้อยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติคสาขามอญ-เขมร จากการ ศึกษาสันนิษฐานว่าชาวโซ่ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณเมืองแถน แล้วย้ายมาเมืองมหาชังก่องแก้ว เมืองบก เมืองวัว ก่อนที่จะเข้ามาตั้งถิ่นฐานถาวรในภาคอีสาน ปัจจุบันชาวโซ่นับถือศาสนาพุทธพร้อมทั้ง นับถือผีควบคู่กันไป โดยเฉพาะผีบรรพบุรุษ มีพิธี “โส้ทั่งบั้ง” หรือพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษประจำ�ปีที่ สำ�คัญนอกนี้ยังมีพิธีซางกะมูด เพื่อเป็นการส่งวิญญาณของผู้ตายอีกด้วย การแต่งกาย ชาวโซ่มีการแต่งกายเช่นเดียวกับชาวไทอีสานโดยทั่วไป แต่ในอดีตผู้ชาย นิยมนุ่มผ้าเตี่ยวส่วนชาวโซ่ที่ได้รํ่าเรียนวิชาอาคมไสยศาสตร์มักมีลูกประคำ�คล้องคอ นอกจากนี้ยัง นิยมสักขาลายจากเหนือหัวเข่าขึ้นไปถึงขาอ่อน ส่วนผู้หญิงนิยมใส่เสื้อแขนกระบอกสีดำ�ขลิบแดง ผ่าอกติดกระดุมเงินกลม ชายเสื้อด้ายข้างแหวกชายทั้งสองข้าง ใช้ด้ายแดงตกแต่งขอบนุ่งผ้ามัดหมี่ ฝ้ายหรือไหมห่มสไบทับ แต่เดิมหญิงนิยมสักลวดลายแบบรวงข้าวหรือลายดอกไม้ไว้ที่ห้องและเอว ด้วย ในอดีต “โส้ทั่งบั้ง” เป็นพิธีกรรมไหว้วิญญาณบรรพบุรุษประจำ�ปี แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมา เป็นการละเล่นประเภทหนึ่งในพิธีจะมีการทรงเจ้า การขับร้องเพลงร่วมกัน ทั่งบั้ง คือ การกระทุ้ง ไม้ไผ่ให้เป็นจังหวะ มีผู้หญิงฟ้อนตามจังหวะ ภายหลังได้มีการเพิ่มเครื่องดนตรี เช่น กลองเส็ง ฉาบ ฉิ่ง แคน เข้าไปด้วย ๔. บรู 31 ชาวบลู หรือ บรู เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษากลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติค สาขา มอญ-เขมร อาศัยอยู่ตามป่าเขาแนวริมฝั่งแม่นํ้าโขงทั้งในลาวและไทย เมื่อครั้งที่ฝรั่งเศสได้ปกครอง ดินแดนฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นต้นมาชาวพื้นเมืองเหล่านี้ถูกกดขี่ข่มเหงจึงอพยพ ข้าแม่นํ้าโขงมาอยู่แนวริมฝั่งโขงทางฝั่งไทย เช่น ที่บ้านเวินบึก บ้านทาล้งและบ้านหินคก อำ�เภอ โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ชาวบรูเชื่อในการนับถือวิญญาณมากเห็นได้จากประเพณีเลี้ยงผี บ้าน และประเพณีเลี้ยงผีดงที่ทำ�อย่างเคร่งครัดทุกปี การแต่งกาย ปัจจุบันชาวบรูไม่มีการทอผ้าใช้เอง แต่ซื้อจากกลุ่มชนอื่นดังนั้นการแต่ง กายจึงคล้ายกับชาวอีสานทั่ว ๆ ไป 30 กลุ่มชาวไทยกะโซ่ บางท้องที่ก็เรียกว่าพวก “โซ่” แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน เขียนว่า “กะโซ่” ซึ่งยังมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวก

เดียวกับลาวโซ่งในจังหวัดเพชบุรี, นครปฐมและสุพรรณบุรี สำ�หรับลาวโซ่งคือพวกไทดำ�ที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองจุ ไทยในสมัยกรุงธนบุรี ส่วน “ข่าโซ่” ซึ่งถือว่าเป็นข่าพวกหนึ่งอยู่ในตระกูลมอญเขมรกะโซ่ตาม ลักษณ์และชาติพันธุ์ถือว่าอยู่ในกลุ่มมองโกลอยด์ กะโซ่มีภาษาและ ขนมธรรมเนียมประเพณี แตกต่างไปจากพวกข่าทั่วไป แต่ภาษาของกะโซ่ก็ยังถือว่าอยู่ในตระกูล “ออสโตรอาเซียติค” สาขามอญเขมรหรือ กะตู 31 กลุ่มชาวบรู มีถิ่นฐานกำ�เนิดอยู่ลาวฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง บริเวณแขวงสะหวันเขต สาละวัน และอัตตะปือ เมื่อราว ๑๑๕ ปี ดินแดนบริเวณนี้ เคยเป็นของชาวบรูมาก่อน แล้วจึงได้อพยพข้ามแม่น้ำ�โขงมาฝั่งไทย ชาวบรูตามคำ�เรียกของนักมานุษยวิทยา เรียก ชาวบรูเป็นชาวข่า กลุ่ม ชนดั้งเดิมในแถบลุ่มแม่นํ้าโขง สืบเชื้อสายมาจากลุ่มชาวขอม ซึ่งกลุ่มชนขอมเคยอยู่ในบริเวณอาณาจักรเจนละมาก่อน และชาวข่า จะเรียก กลุ่มของตนเองว่า “บรู”


54

๕. ญัฮกูรหรือชาวบน 32 ชาวญัฮกูร หรือชาวบนหรือคนดงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติค ตั้งถิ่นฐานตามไหล่เขาหรือเนินเข้าเตี้ย ๆ ในเขตจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และเพชรบูรณ์ แต่ เดิมชาวบนอยู่แต่เฉพาะในกลุ่มของตนไม่ชอบคบค้ากับชนกลุ่มอื่น บ้านเรือนมักปลูกคล้านเรือน ผูกของชาวอีสานทั่วไป แต่มีเอกลักษณ์ในส่วนที่เรียกว่า “กะต๊อบเมียว” ที่เป็นฟ่อนหญ้าคาแห้ง มัดเป็นเป็นห่วง ๓ ห่วง ผูกติดกันเป็นหัวกลม ปล่อยหาง เป็นปอยยาว คล้องไว้บนขื่อหน้าจั่วบ้าน ปัจจุบันชาวณัฮกูร นับถือพุทธศาสนาควบคู่กับการนับถือผี การแต่งกาย สมัยก่อนผู้ชายชาวบนมักนุ่งกางเกง แบบไทย หรือไม่ก็โจงกระเบนแบบ เขมรไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้า ผืนสีสด เช่น สีแดง แดงเข้ม หรือนํ้าเงินเข้ม เป็นผ้าสี่เหลี่ยมผืน ผ้า พันอ้อมร่างแล้วทำ�เป็นหัวพกโต ๆ เหน็บชายไว้ด้านข้าง สวมเสื้อที่เรียกว่า เสื้อเก๊าะ สีนํ้าเงิน เข้ม หรือสีดำ� แขนกุด ปักกุ๊นรอบแขนและรอบคอเสื้อด้วยสีแดง หรือสีอื่น คอเสื้อด้านหลังมักเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้วปล่อยเศษด้ายเส้นยาวๆ ทิ้งไว้ประมาณ ๓ - ๔ เส้น ซึ่งจะใส่เฉพาะในงานพิธี ปัจจุบันมีแต่ชาวบนที่เป็นผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไปเท่านั้นที่ยังแต่งกายด้วยผ้าผืนและเสื้อเก๊าะอยู่ เครื่องประดับนิยมเครื่องเงินแต่ก่อนหญิงชายชาวบนนิยมเจาะใบหูเป็นรูกว้าง ๆ ใช้ใบ ลานกลม ๆ ใส่รูหูไว้แล้วเอากระจกอุดรูใบลาน เพื่อให้มีแสงแวววาว การแต่งกายแบบนี้มักจะใช้ แต่งในงานบุญ ในยามค่ำ�คืนชายหญิงจะนั่งล้อมวงเพื่อขับเพลงโต้ตอบกันที่เรียกว่า ป้ะ เร่ เร่ หรือ เรียกเป็นภาษาไทยว่ากระแจ้ะ ใช้กลองโทนหรือ “ตะโพน” ให้จังหวะในยามเทศกาลจะมีการขับ เพลงกันทุกบ้าน เนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่เกี่ยวกับความเหงา ว้าเหว่ แม่ม่ายหรือเป็นไปทำ�นอง ชมธรรมชาติ กลุ่มตระกูลภาษาไต-กะได (สาขาไต) ๖. ไทโคราช 33 ชาวโคราชจัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มตระกูลภาษาไต-กะได สาขาไตพบว่ามีการตั้ง ถิ่นฐานในเขตจังหวัดนครราชสีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ก็ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมไทยภาคกลางเป็นสำ�คัญและยังได้รับวัฒนธรรมเขมร และวัฒนธรรมไทยลาวเข้ามาผสมผสานอีกด้วยทำ�ให้กลุ่มชาติพันธุ์ ไทโคราชมีเอกลักษณ์เฉพาะ 32 ชาวบนเรียกตัวเองและภาษาของตนว่าญัฮกูร) คำ�ว่า “ญัฮกูร” แปลว่า คนภูเขา “ญัฮ” แปลว่า คน “กุร” แปลว่าภูเขา ชาวไทยเรียก ชาวบน

หรือ คนดง ให้เรียกว่าชาวบนแต่จะเรียก ตนเองเป็นภาษาไทยว่าคนดงและพูดภาษาคงภาษา ญัฮกูรจัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยมอญ-เขมร สาขามอญ ในปัจจุบัน มีความ คล้ายคลึงกับภาษามอญโบราณที่ปรากฎในจารึกสมัยทวารวดีที่ค้นพบในประเทศไทย ถิ่นอาศัยของชาวบน ในประเทศไทย พบที่จังหวัดนครราชสีมา เขตอำ�เภอ ปักธงชัย ได้แก่ หมู่บ้านกลาง จังหวัดชัยภูมิ. 33 ไทยโคราช ชื่อ ไทยโคราช ความเป็นมา จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย แต่ไทยโคราชเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่ม ใหญ่ ที่มีวัฒนธรรมโคราช ได้แก่ มีเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า “เพลงโคราช” ใช้ดนตรีพื้นบ้าน คือ มโหรีโคราช และที่เป็น เอกลักษณ์สำ�คัญคือ ใช้ภาษาโคราชในชีวิตประจำ�วัน ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์นี้ อยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาแล้วยังมีอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ และบางส่วนของจังหวัด ลพบุรี บาง ครั้งอาจเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า ไทยเบิ้ง.


55

ทั้งภาษาพูด อาหาร รวมทั้งการละเล่น โดยเฉพาะเพลงโคราช ชาวไทโคราชตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น อำ�เภอปักธงชัย อำ�เภอห้วยแถลง อำ�เภอครบุรี อำ�เภอหนองบุนนาก อำ�เภอ ด่านขุนทด ในจังหวัดบุรีรัมย์ เช่นที่อำ�เภอนางรอง อำ�เภอละหานทราย อำ�เภอหนองกี่ อำ�เภอเมือง อำ�เภอลำ�ปลายมาศ และจังหวัดชัยภูมิ ในเขตอำ�เภอจตุรัส อำ�เภอบำ�เหน็จณรงค์ การแต่งกาย ชาวไทโคราชนิยมแต่งกายแบบไทยภาคกลาง คือ ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม ไม่ผ่าอก หญิงนิยมนุ่มผ้าโจงกระเบนเช่นเดียวกัน ไม่นิยมนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขน กระบอก ห่มสไบทับเสื้อถ้าอยู่บ้านมักใช้ผ้าคาดอก การละเล่นที่สำ�คัญคือ “เพลงโคราช” ซึ่งมี ลักษณะเป็นเพลง “ปฏิพากย์” คือหรือการร้องเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ไม่มีเครื่องดนตรี ประกอบ คนร้องจึงต้องตบมือให้จังหวะ ส่วนดนตรีนั้นชาวโคราชนิยมวงปี่พาทย์ ไม่นิยมวงแคน การแสดงที่สำ�คัญของชาวไทโคราชคือลิเก

๗. ไทลาว 34 ชาวอีสานหรือคนอีสานไม่ใช่ชื่อชนชาติหรือชาติเฉพาะของอีสาน แต่เป็นชื่อ ทางวั ฒ นธรรมมี ที่ ม าจากภู มิ ศ าสตร์ บ ริ เวณที่ เรี ย กอี ส านหรื อ ทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของ ประเทศไทย(อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่สุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์โบราณ)เลยสมมุติเรียก คนกลุ่มนี้อย่างรวมๆกว้างๆว่าชาวอีสานหรือคนอีสาน ชาวอีสานหรือคนอีสาน มีบรรพชนมาจากการประสมประสานของผู้คนชนเผ่าเหล่ากอ หลายชนชาติ ทั้งภายในและภายนอก ทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ตํ่ากว่า ๕,๐๐๐ ปีมา แล้ว(อาจถึง1๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้วก็ได้) แล้วยังมีต่อเนื่องถึงทุกวันนี้ และอาจจะมีต่อไปในอนาคตอีก ไม่รู้จบ ผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ที่ประสมประสานกันเป็นชาวอีสาน มีบรรพชนอย่าง น้อย ๒ พวก คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมอยู่ภายในสุวรรณภูมิ กับคนภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาภาย หลังจากทิศทางต่างๆมีร่องรอยและหลักฐานสรุปย่อๆได้ดังต่อไปนี้ 1.คนพื้นเมืองดั้งเดิม ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชาวอีสานดั้งเดิมมีชีวิตร่อนเร่อยู่ในดินแดนอีสานมานานมากกว่า ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว เพราะหลังจากนั้นมีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่าคนพวกนี้ปลูกเรือนอยู่เป็นที่(ปัจจุบันคือ บริเวณอำ�เภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น) รู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เช่นหมูและวัว รู้จักทำ�ภาชนะ ดินเผา ทำ�สัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และมีประเพณีฝังศพ ฯลฯ(สุรพล นาถะพินธุ อ้างถึง 34 ไทยลาว (ไทยอีสาน) ตระกูลภาษาไท-กะได) กลุ่มไทยลาว เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด มีประชากรมากที่สุดในอีสาน ซึ่งชาวภาคกลาง มักจะเรียก

ชนกลุ่มนี้ว่า “ลาว” เพราะว่า มีภาษาพูดเป็นภาษาเดียวกับคนลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ความจริงแล้วเป็นภาษา ไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งมีวัฒนธรรมเหนือกว่ากลุ่มอื่นๆ เป็นกลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมลุ่มน้ำ�โขงแต่โบราณ ตัวอักษรที่ใช้มี ๒ แบบ คือ อักษรไทย น้อย และอักษรไทยธรรม.


56

ผลการขุดค้นทางโบราณของศาสตราจารย์วิลเฮล์ม จี โซลไฮม์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยฮาไว สหรัฐ,บ้างเชียง กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัด อุดรธานี ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๐) ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าคนอีสานพวกแรกเหล่านี้เป็นชนกลุ่มไหน เผ่าพันธุ์ใด แต่อย่างน้อยเป็นคน ๒ พวก คือ พวงที่สูงกับพวกที่ราบ ชาวอีสาน มีกำ�เนิดจากนํ้าเต้าปุง ไม่มีหลักฐานจะบอกได้แน่นอนว่าบรรพชนคนอีสานเป็นใคร? มาจากไหน? และไม่มีวัน จะพบหลักฐานเป็นรูปธรรมได้เลย นอกจากมีเป็นนามธรรมในจิตนาการของคนแต่ก่อน ว่าบรรพ ชนคนสองฝั่งโขงทั้งพวกที่สูงและพวกที่ราบมีกำ�เนิดจากนํ้าเต้าปุง ถือเป็นคำ�บอกเล่าที่มีเค้าเก่าแก่ มากและอยู่ในความทรงจำ�ของกลุ่มชนตระกูลไทยลาวที่มีหลักแหล่งบริเวณสองฝั่งโขง ว่าด้วยแถน และกำ�เนิดคนจากนํ้าเต้าปุง ต่อมาภายหลังอีกนานมีผู้จดบันทึกความทรงจำ�คำ�บอกเล่านั้นไว้ แล้ว จัดรวมอยู่ต้นเรื่องพงศาวดารล้านช้าง 35 ชาวไทยลาว หรือ ชาวอีสานจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต-กะไดเป็นชนกลุ่มใหญ่ และ มีวัฒนธรรมสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ พูดภาษาไทยลาว (ภาษาอีสาน) มีตัวอักษรไทยน้อยและอักษรตัว ธรรม ชาวไทย-ลาวรับวัฒนธรรมลุ่มนํ้าโขง อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มผู้นำ�ทางวัฒนธรรมอีสาน ภูมิปัญญาสังคม เช่น ฮีตคอง ตำ�นานอักษรศาสตร์ จารีตประเพณีและเป็นผู้สืบทอดและถ่ายทอด ให้ชาวบ้านกลุ่มอื่น ๆ ด้วย การแต่งกาย การแต่งกายชาวไทลาวเหมือนกลุ่มชาวไทย-อีสานทั่วไป เมื่ออยู่กับบ้าน ผู้ชายจะนุ่งโสร่งพาดผ้าขาวม้าคล้องคอและไม่สวมเสื้อ เมื่อออกไปนอกบ้านจะนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้าตาตาราง ส่วนผู้หญิงจะนุงซิ่นมัดหมี่ไหมหรือฝ้าย ใส่เสื้อกระบอก แขนยาวและนิยมห่มสไบ ผ้าขาวม้าหรือผ้าขิด ลายดอกจันเมื่อไปร่วมงานบุญต่าง ๆ การละเล่นและการแสดงของชาวไท-ลาวมี พัฒนาการทางรูปแบบมากมาย เช่น หมอลำ� เซิ้ง โดยมีเครื่องดนตรีประกอบที่สำ�คัญคือ แคน และ เครื่องดนตรีประกอบอื่น เช่น ซึง พิณ ฉิ่ง ฉาบ ปัจจุบันมีโปงลาง ซึ่งนิยมนำ�มาประกอบกับเครื่อง ดนตรีชนิดอื่นเช่นกัน ๘. ไทโย้ย 36 ชาวไทโย้ยจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต-กะได ส่วนใหญ่อพยพมาจากเมืองฮ่อมท้าว แขวงจำ�ปาศักดิ์ประเทศลาว ราว พ.ศ. ๒๓๗๓ ได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในเขตอำ�เภออากาศอำ�นวย 35 สุจิตต์ วงษ์เทศ. “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน?. หน้า ๗๐ 36 กลุ่มชนเผ่าของพวกโย้ยจะมีอยู่ในบริเวณอำ�เภออากาศอำ�นวย อำ�เภอวานรนิวาส และอำ�เภอสว่างดินแดน จังหวัดสกลนครแต่ยังไม่มีข้อมูล

ว่าอยู่ที่บ้านใดบ้างและยังไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ถิ่นเดิมของพวกโย้ยอยู่ที่ใด.


57

และวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร และพื้นที่ใกล้เคียง ชาวไทโย้ยมีคติความเชื่อเกี่ยวกับประเพณี ชาวบ้านที่เรียกว่า ฮีตสิบสอง ซึ่งเป็นหลักของประเพณีทั่วไปในถิ่นอีสาน (ไท-ลาว) นอกจากนี้ยัง มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีบ้าน (ผีเฮือน) ว่าเป็นผีที่คอยดูแลรักษาลูกหลานให้อยู่รอดปลอดภัยจาก ภยันตรายต่างๆ การแต่งกาย ชาวไทโย้ยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทย้อและไทลาว ทำ�ให้ วัฒนธรรมการแต่งกายโดยทั่วไปของชาวไทโย้ยกลมกลืนกับชาวไทลาวและใช้ผ้าฝ้ายย้อมสีคราม ในการแต่งกายเป็นหลัก ๙. ไทย้อ 37 ชาวไทย้อ จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต-กะไดสาขาไต ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวเมือง จังหวัดสกลนครและนครพนม พูดคล้ายกับชาวพื้นเมือง (ชาวไท-อีสานทั่วไป) แต่บางคำ�ออกเสียง แปร่ง มีผิวสีเหลืองขาวมากกว่าผิวดำ� แต่เดิมผู้ชายไว้ผมโหยง (ทรงผมมหาดไทย) ส่วนผู้หญิงไว้ ผมยาวเกล้าตรงกลางศรีษะ อาชีพหลักคือการทำ�นา ทำ�สวนไม้ผล ค้าขายบ้าง มีฝีมือในการเย็บ ปักถักร้อย ทอเสื่อโดยใช้ต้นกก ต้นผืน ชาวไทย้อยเคร่งครัดในพุทธศาสนา ส่วนความเชื่อเรื่องภูติ ผีมีบ้างแต่ไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้จึงมีบทบาทในงานบุญปราสาทผึ้ง ซึ่งจัดในช่วงออกพรรษาและ ถือเป็นประเพณีที่สำ�คัญของจังหวัดสกลนครและงานประเพณีเซิ้งผีโขน บันไฮหย่องอำ�เภอเมือง จังหวัดสกลนคร การแต่งกาย ชายมีฐานะดี นิยมเครื่องตกแต่งที่ส่งมาจากญวนใช้ผ้าฝ้ายและไหมตัดเสื้อ คล้ายเสื้อญวน เป็นเสื้อผ่าอก แขนยาวและกว้าง นุ่งผ้าโจงกระเบน ส่วนชายฐานธรรมดานิยมใส่ เสื้อทอด้วยผ้าสีดำ�เรียกว่า “เสื้อปีก” คล้ายเสื้อใส่ทำ�นา นุ่งโจงกระเบน ผู้หญิงนิยมนุ่มซิ่นหมี่ มีเชิง แบบ “ตันเต๊าะ” ของชาวผู้ไทแต่แถบเล็กกว่า ไม่นิยมสีครามเข้ม สวมเสื้อปีกแบบญวนและนิยม สวมเสื้อคอกระเช้า หรือเสื้อหมากกะแหล่งอีกด้วย ๑๐. กะเลิง 38 ชาวกะเลิงหรือข่าเลิง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มตระกูลไต-กะได มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่แขวง สุวรรณเขต แขวงคำ�ม่วนประเทศลาว อพยพมาอยู่อีสานระยะเดียวกันกับชาวสกลนครกลุ่มอื่น ๆ ที่มีความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับผี การเลี้ยงผี ปัจจุบันชาวกะเลิงส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่อำ�เภอ กุดบาก จังหวัดสกลนครและมีบางส่วนอยู่ในจังหวัดนครพนม มุกดาหารและใกล้เคียง 37 ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ ย้อ ไทย้อ ญ้อ เป็นประชากรกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งในจังหวัดสกลนคร และนครพนม มีภาษาพูดเหมือนภาษาไทยลาวต่าง

สำ�เนียงเล็กน้อย คือ น้ำ�เสียงสูงอ่อน หวาน ไม่ห้วนสั้นเหมือนไทยลาว ชาวย้อถือว่ากลุ่มตนเป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมแข็งกว่าไทยลาว.

38 เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในหลาย ๆ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร มีประวัติความเป็นมา การเลือกหลักแหล่งทำ�มาหากิน วัฒนธรรม ความ

เชื่อ ตลอดจนภาษาพูดที่มีสำ�เนียงหรือถ้อยคำ�ที่นิยมใช้กันเฉพาะในกลุ่มของตน ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มที่ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบสูง ตาม ไหล่เขาและเมื่อกลุ่มกะเลิงลงมาอยู่พื้นที่ราบปะปนกับโย้ย ญ้อ ทำ�ให้เกิดการรับวัฒนธรรมภาษาพูดในกลุ่มไทย-ลาวชนเผ่ากะเลิง ก่อนจะ อพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ�โขง.


58

การแต่งกาย ในอดีตผู้ชายนิยมนุ่งผ้าโสร่งทิ้งชายให้สั้นครึ่งแข้ง สวมเสื้อแขนกระบอกไม่ ผ่าอก หวีผมเสย ทัดดอกจานสีแดงและสักรูปนกที่แก้ม ปัจจุบันการแต่งกายของชาวกะเลิงคล้าย กับชาวไทอีสานทั่วไป ๑๑. ไทพวน39 ชาวพวนเป็นชาวเมืองเชียงของอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทั้งภาคกลางและภาคอีสาน ของไทย เป็นกลุ่มที่มีรูปร่างหน้าตาหมดจด กิริยาละเมียดละไม ขยันทำ�งาน มีภาษาพูด วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง ชาวไทพวนนับถือศาสนาพุทธ จึงมักจะสร้างวัดไว้ใกล้ชุมชน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับผีผสมผสานในพิธีกรรม โดยเฉพาะประเพณีกำ�ฟ้าที่จัดขึ้นในวัน ขึ้น ๓ คํ่า เดือน ๓ ของทุกปี ชาวพวนจะทำ�ข้าวจี่ไปถวายพระที่วัดและมีข้อปฏิบัติคือจะไม่ด่าทอ หรือทะเลาะวิวาทกัน ถ้าไม่ปฏิบัติจะถูกฟ้าดินลงโทษ การแต่งกาย ผู้หญิงนิยมนุ่งซิ่น สวมเสื้อตามสมัยนิยม หญิงสูงวัยมักนิยมเสื้อ “คอกระ ทะ” หรือเสื้อ “อีเป้า” (เสื้อคอกระเช้า) การแต่งกายในรูปแบบเดิม หญิงมักไว้ผมยาวมุ่นเกล้าไว้ ด้านหลัง ใช้ผ้าพันรอบอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจกหรือสีพื้น แทรกลายขวาง บางถิ่นนิยมนุ่ง ซิ่นมัดหมี่ ชายมักนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำ�และใส่เสื้อสีดำ� การแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวพวนคือ การลำ�พวน ผู้ลำ�จะนั่งกับพื้น ดนตรีที่ประกอบลำ�คือ แคน หมอแคนจะนั่งหน้าไปหาคนลำ� ทำ�นอง การลำ�ของหมอลำ�พวนจะร้องเป็นท่อน ๆ คล้ายบทสวด แต่ละวรรคจะประกอบด้วยทำ�นองขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นแบบแผน พอสิ้นวรรคหนึ่ง ๆ ทั้งเสียงแคนและเสียงลำ�จะหยุดเป็นห้วง ๆ เนื้อหาของบท ลำ�มีตั้งแต่คำ�สอนจนถึงบทเกี้ยวพาราสี ๑๒. กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ไท 40 ผู้ไท จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต-กะได สาขาไตในปัจจุบันตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่ม ปะปนอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ในเขตจังหวัดนครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร และบาง ส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี บ้านป่าหนาดจังหวัดเลย เป็นกลุ่มหนึ่งที่รักษาวัฒนธรรม ของตนไว้ได้อย่างดี โดยเฉพาะที่อำ�เภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ที่มีการฟ้อนผู้ไทเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการนับถือพุทธศาสนา โดยปรับให้เข้ากับจารีตประเพณีของตน รวมทั้งมีการนับถือ ภูตผีควบคู่กันไปด้วย 39 ชาวพวนนับถือและยึดมั่นในศาสนาพุทธแล้ว ชาวพวนยังมีขนบธรรมเนียมและประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของตนมาแต่โบราณ ชาวพวกนั้น

เคร่งครัดต่อขนบธรรมเนียมและประเพรีของตนมากซึ่งได้ถือปฏิบัติมาตามแบบอย่าง บรรพบุรุษในรอบปีหนึ่งประเพณีของชาวพวนยังยึดถือ และปฏิบัติกันมีดังนี้คือ ๑.เดือนอ้ายบุญข้าวจี่ ๒.เดือนยี่บุญข้าวหลาม. 40 ของชาวผู้ไทนั้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ดั้งเดิมมีภูมิลำ�เนาอยู่ที่แค้วนสิบสองจุไท ประเทศเวียดนาม มีเมืองแถน หรือ เมืองแถงเป็นศูนย์ กลางทางการ เมือง การปกครอง ต่อมาได้มีการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศลาวและสู่ประเทศไทยตามลำ�ดับ การอพยพเข้ามาในไทยโดยการ ชักชวน ครั้งแรกเข้ามา ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ เป็นชาวผู้ไทเมืองทัน ลาวพวน และลาวเวียง.


59

การแต่งกาย ผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงขาสั้นครึ่งน่อง (ขาก๊วย) สีดำ�หรือโสร่งตาหมากรุกเสื้อ ใช้ตาสีดำ�เดียวกับกางเกงคอกลมแคบชิดคอ ผ่าอกตลอดชายเสื้อซ้ายขวาผ่าเหมือนเสื้อกุยเฮงแขน ยาวจรดข้อมือหรือสั้นครึ่งแขนมีผ้าคาดเอวและโพกศรีษะ ผู้ชายโบราณมักนิยมสักแขนขาลายด้วย หมึกสีดำ� แดงถือเป็นความสวยงามและเพื่ออยู่ยงคงกระพัน ส่วนผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าถุงที่ทำ�จากผ้าฝ้าย ย้อมใบครามหรือมะเกลือสีดำ�ล้วน เย็บต่อด้วย เชิงเป็นริ้วตามยาว สวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอก คอตั้ง เครื่องประดับใช้กำ�ไลข้อมือ ข้อเท้า คอ สวม ลูกประคำ� สร้อยเฉียง ไหล่สังวาลย์ ปิ่นปักมวยผม ต่างหู พวกเต่ารั้ง กระดุมเสื้อล้วนเป็น เครื่องทำ�ด้วยทองทิ้งสิ้น ทรงผม สตรีผู้ไททุกคนไม่ว่ารุ่นสาวหรือผู้แก่เฒ่าไว้ผมขมวดเกล้ามุ่นทรง สูงเอียง ซ้ายหรือขวานิดหน่อยตามถนัด เสียบด้วยปิ่นหรือลูกประคำ�ประดับที่ขมวดมวย ๑๓. ไทแสก 41 ชาวไทแสกจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต-กะได สาขาไต มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองแสก เขตเมืองประคำ� ประเทศลาว ติดกับชายแดนเวียดนามอพยพ ข้ามแม่นํ้าโขงเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน ประเทศไทยโดยเฉพาะที่บ้านอาจสามารถ จังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง ในสมัยอยุธยา ลักษณะทั่วไปคล้ายกลุ่มลาว นับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อในเรื่องภูติผีวิญญาณ มีประเพณี การเล่น “แสกต้นสาก” เพื่อบวงสรวงวิญญาณพระเจ้าองค์หมู นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่ยึดหลัก ฮีตสิบสอง เช่น ชาวอีสานทั่วไปแล้ว การแต่งกาย ชายชาวแสกนิยมนุ่งกางเกง สวมเสื้อแขนสั้น เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีดำ� มี ผ้าโพกหัวกันแดดส่วนผู้หญิงส่วนใหญ่นุ่งผ้าซิ่น ใส่เสื้อ ผ้าฝ้าย ย้อมคราม สีคราม สีขาว สีดำ� แขน ยาวทรงกระบอก ในปัจจุบันการแต่งกายของชาวไทแสกคล้ายชาวไทอีสานทั่วไป

41 แสก หมายความว่า แจ้ง , สว่าง เป็นชนชาติหนึ่งในตระกูลมอญ - เขมร ชาวไทแสกเป็นชนกลุ่มน้อยตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียง

เหนือของประเทศไทย ในท้องที่จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร ชาวไทแสกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เป็นชาติพันธุ์เดิมมีภูมิลำ�เนาอาศัยอยู่ ในตอนกลางของสาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อาศัยอยู่ในแถบเมืองรอง เมืองเว้.


60

๔ สถาปัตยกรรมอีสาน สถาปัตยกรรมอีสานมีรูปแบบที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของ ประชาชนในภูมิภาค ทั้งที่เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเรือน สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเช่น สิม หอแจก และธาตุเป็นต้น สถาปัตยกรรมอีสานมีรูปแบบที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของ ประชาชนในภูมิภาค ทั้งที่เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยเช่น บ้านเรือน สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเช่น สิม หอแจกและธาตุเป็นต้น ภาคอีสานอยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่นํ้าโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออก ทางใต้ จรดชายแดนเขมรตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์เป็นแนวกั้นจากภาคเหนือและภาคกลาง อาชีพ หลักของชาวอีสานจะมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยมากกว่าภาคเหนือและภาคกลางแต่ซึมและระเหยไป อย่างรวดเร็วและยังเป็นฝนที่มากับพายุดีเปรสชั่นจากทะเลจีนใต้มากกว่าฝนตามฤดูกาล หากปีใด พายุมาน้อยปีนั้นก็จะแห้งแล้งจัด ภาษาที่ใช้กันคือภาษาอีสาน ภาษาไทยกลางภาษาเขมร ภาษา ผู้ไท ฯลฯ จากหลักฐานทางโบราณคดี เราทราบว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในอีสานนานมาตั้งแต่ยุคก่อน ประวัติศาสตร์แล้วต่อมาเกิดชุมชนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ต่อมาเกิดชุมชนเขมรราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘ ต่อมาคือการเคลื่อนย้ายอพยพลงมาของคนไทลาวซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาว อีสานปัจจุบันอาณาจักรล้านช้างหลายครั้ง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒ เกิดชุมชนไทอีสาน แม้ ตั้งถิ่นฐานแล้วก็ยังมีการเคลื่อนย้ายตั้งถิ่นฐานใหม่อีกหลายครั้งเพราะความแห้งแล้ง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน (แบบประเพณี) สามารถจำ�แนกตามรูปแบบหรือลักษณะได้ เป็น ๒ กลุ่มคือ ๑. แบบรากวัฒนธรรมอินเดีย - สายสกุลช่างแบบอารยธรรมเขมร - สายสกุลช่างแบบวัฒนธรรมทวารวดี - สายสกุลช่างแบบไทอีสาน ๒. แบบพื้นเมือง - เรือนพักอาศัย - เรือนร้านค้า - อาคารทางศาสนา ที่พักอาศัย


61

รูปแบบที่พักอาศัยของชาวอีสานเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เกิดจากการสั่งสมและ ถ่ายทอดรูปแบบการก่อสร้างที่พักอาศัยให้เหมาะกับสภาพทางภูมิศาสตร์และการใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำ�วันจนเกิดเป็นแบบแผนและมีคติยึดถือจนกลายเป็นความเชื่อจารีตประเพณีที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในชีวิตหากจะจำ�แนกประเภทของที่พักอาศัยของชาวอีสานโดยใช้เกณฑ์อายุ การใช้งาน (ชั่วคราวกึ่งถาวรและถาวร) ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะและการใช้วัสดุที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องบ่งชี้อายุการใช้งานอาจจำ�แนกได้๓ประเภทคือ ๑. ที่พักอาศัยประเภทชั่วคราว ที่พักอาศัยประเภทนี้จะใช้เฉพาะบางฤดูกาลเช่นเถียงนา หรือเถียงไร่ที่พักอาศัยประเภทนี้จะยกพื้นสูงเสาทำ�จากไม้จริงหรือไม้ไผ่โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้า พื้นไม้ไผ่สับฟากฝาเปิดโล่ง ๒. ที่พักอาศัยประเภทกึ่งถาวร ที่พักอาศัยประเภทกึ่งถาวรอาจจำ�แนกออกได้ เป็น๒ประเภทคือ ๒.๑ เฮือนเหย้า (เฮือนภาษาอีสานหมายถึงบ้าน) หรือเหย้าเป็นเฮือนขนาด ๒ ห้องเสาสำ�หรับคู่สามี-ภรรยาที่แยกเฮือนออกจากครอบครัวพ่อแม่เนื่องจากธรรมเนียมไม่นิยม อยู่ร่วมกันหลายครอบครัวในเฮือนหลังเดียวกัน เฮือนเหย้ามักสร้างอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเฮือน พ่อแม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่ระหว่างที่กำ�ลังสร้างฐานะส่วนประกอบของเฮือนมีเพียง ๒ ห้องคือห้องนอน และห้องเอนกประสงค์ ๒.๒ ตูบต่อเล้า เป็นการสร้างเกยหรือเทิน (เพิง) ต่อมาจากเล้าข้าว (ยุ้งข้าว) มีขนาดตามความยาวของเล้าข้าวประมาณ ๒-๓ ช่วงเสาวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุประเภทเดียวกับใช้สร้าง เฮือนเหย้าตูบต่อเล้าเป็นที่อยู่อาศัยชั่วระยะเวลาหนึ่งของสามีภรรยาเพิ่งออกเฮือนแต่ยังไม่พร้อม ที่จะสร้างเรือนเหย้าหรือเฮือนใหญ่ได้เมื่อสามารถสร้างเฮือนเหย้าหรือเฮือนใหญ่ได้ตูบต่อเล้าก็จะ กลายเป็นสถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรหรือเป็นที่นั่งเล่นพักผ่อนต่อไป ๓. ที่พักอาศัยประเภทถาวร ที่พักอาศัยประเภทถาวรจะมีโครงสร้างเป็นไม้จริง (เฮือน เครื่องสับ) รูปทรงสี่เหลี่ยมใต้ถุนสูงหลังคาทรงจั่วเสาเป็นเสากลมหรือเสาเหลี่ยมฝาเป็นฝา ไม้ไผ่สานลายคุปหรือฝาไม้กระดาน (ฝาแอ้มแป้น) ที่พักอาศัยประเภทถาวรนี้อาจจำ�แนกได้ เป็น๓ประเภทคือ ๓.๑ เฮือนใหญ่ เป็นเฮือนขนาด๓ช่วงเสาหันด้านข้างไปทางทิศตะวันออก-ตะวันตก (ปลูกเฮือนล่องตะวัน) ตีฝากั้นปิดทึบทั้ง ๔ ด้านฝาเฮือนทางด้านหลังเจาะช่องขนาดกว้าง ๑ ศอก ยาว ๑ ศอกเพื่อให้ลมและแสงสว่างเข้าสู่เฮือนเรียกว่า “ป่องเอี้ยม” เจาะประตู ๒ หรือ ๓ ประตู ตามช่วงเสาด้านตรงข้ามแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ในตัวเฮือนออกเป็น ๓ ส่วนคือ - ห้องเปิงตั้งอยู่ริมด้านหัวเฮือนของเฮือนใหญ่เป็นส่วนที่วางหิ้งสักการะบูชาผี บรรพบุรุษ


62

ผีเฮือนและหิ้งพระหรือบางครั้งอาจใช้เป็นห้องนอนของลูกชายห้องเปิงอาจเรียกชื่อว่าห้องผีหรือ ห้องพระก็ได้ - ห้องกลางเป็นห้องที่อยู่ในช่วงเสาส่วนกลางเฮือนใช้เป็นห้องนอนของพ่อแม่และ เก็บสิ่ง ของที่มีค่า - ห้องส่วมตั้งอยู่ริมด้านท้ายเรือของเฮือนใหญ่ตรงข้ามกับห้องเปิงใช้เป็นห้องนอน ของ ลูกสาวหรือห้องนอนของลูกสาวกับลูกเขยหลังแต่งงาน ๓.๑.๒ เกยหรือบ้านโล่ง เป็นชานที่มีหลังคาคลุมมีลักษณะเป็นการต่อชาน ออกมาทางด้านหน้าของเฮือนมีหลังคาคลุมพื้นเป็นไม้กระดานด้านข้างเปิดโล่งหรือกั้นฝาและพื้น เกยจะมีระดับตํ่ากว่าพื้นเฮือนใหญ่ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่สำ�หรับกิจกรรมต่างๆในครอบครัวเช่นรับ ประทานอาหารรับรองแขกพักผ่อนอิริยาบถทำ�บุญเลี้ยงพระทำ�พิธีสู่ขวัญฯลฯ ๓.๑.๓ ชานแดด เป็นการต่อชานออกมาจากเกยทางด้านหน้าเปิดโล่งทั้ง ด้านบนและด้านข้างพื้นชานแดดจะลดระดับลงมาจากเกยใช้เป็นสถานที่พักผ่อนยามเย็นใช้เป็น ที่รับประทานอาหารหรือวางผลิตผลทางการเกษตรพื้นที่ส่วนหนึ่งมักสร้างเป็นร้านเพื่อตั้งโอ่งนํ้า สำ�หรับดื่มเรียกว่า “ร้านแอ่งนํ้า” ๓.๑.๔ เฮือนไฟ หรือเฮือนครัวเป็นส่วนที่ประกอบอาหารเป็นตัวเฮือนขนาด ๒ ช่วงเสาต่อออกมาจากชานแดดด้านข้างทิศท้ายเฮือนฝาเรือนไฟนิยมทำ�เป็นฝาโปร่งเพื่อระบาย อากาศเฮือนไฟอาจมีชานมนเป็นที่ตั้งโอ่งนํ้าสำ�หรับประกอบอาหารและล้างภาชนะ ๓.๒ เฮือนโข่ง ลักษณะของเฮือนประเภทนี้ประกอบด้วยเฮือนใหญ่และเฮือนโข่ง (เฮือน น้อย) ตั้งอยู่ข้ามอาจตั้งชิดติดกันเป็นเฮือนจั่วแฝดเชื่อมติดกันด้วยฮางริน (รางนํ้า) ระหว่างหลังคา เฮือนทั้งสองหลังหรือตั้งอยู่ห่างกันแต่เชื่อมด้วยชานก็ได้เฮือนโข่งมีขนาดเล็กและหลังคาตํ่ากว่า เฮือนใหญ่เล็กน้อยมีห้อง ๒-๓ ห้องมักกั้นฝาเพียง ๓ ด้านเปิดโล่งด้านที่หันเข้าหาเฮือนใหญ่เฮือน โข่งจะมีโครงสร้างเป็นเอกเทศจากเฮือนใหญ่สามารถรื้อไปปลูกใหม่ได้ทันทีใช้ประโยชน์เช่นเดียว กับเกยอาจมีชานแดดหรือเฮือนไฟต่ออกทางด้านข้างของเฮือน ๓.๓ เฮือนแฝด เฮือนแฝดจะประกอบด้วยเฮือนใหญ่และเฮือนอีกหลังหนึ่งที่เรียกว่า เฮือนแฝดมีรูปร่างและประโยชน์ใช้สอยเหมือนกับเฮือนโข่งต่างกันตรงที่ลักษณะโครงสร้างของ เฮือนแฝดคือทั้งขื่นและคานจะฝากไว้กับเฮือนใหญ่พื้นเฮือนอาจเสมอกันหรือลดระดับลงจาก เฮือนใหญ่ก็ได้ฝาของเฮือนแฝดจะทำ�ให้มีขนาดใหญ่หรือลำ�ลองกว่าฝาเฮือนใหญ่ฝาด้านที่หัน เข้าหาเฮือนใหญ่จะเปิดโล่งเชื่อมติดกับชานแดดออกสู่เฮือนไฟเฮือนชนิดนี้มักจะเป็นเรือนของผู้ที่มี ฐานะทางเศรษฐกิจดี


63

สิมอีสาน Sim I-san (Northeast Buddhist Holy Temple) “สิม” มีความหมาย เช่นเดียวกับ “โบสถ์” หรือ “อุโบสถ” กร่อนเสียงมาจากคำ�ว่า “สีมา” ซึ่งหมายถึงขอบเขตหรืออาณาเขตที่กำ�หนดขึ้นเพื่อใช้ในกิจกรรมของสงฆ์ ซึ่งต้องทำ�ในสิม ทำ�นอกสิมไม่ได้ สิมมี ๓ ชนิด สิมที่ทำ�ในบ้านเรียก “คามสีมา” สิมที่ทำ�ในป่าเรียก “อัพภันตรสีมา” สิม ที่ทำ�ในนํ้าเรียก “อุทกกเขปสีมา” สิมทั้ง ๓ ประเภทนี้ ถ้าสงฆ์ยังไม่ได้ผูกเรียก “อพัทธสีมา” ถ้าผูก แล้วเรียก “พัทธสีมา” ส่วน “วิสุงคามสีมา” นั้นก็ คือ “คามสีมา” ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงยกที่ดินที่ จะสร้างสิมให้ แต่สีมาจะเป็นชนิดใดก็ตามหากยังไม่ได้ผูกก็ยังไม่มั่นคงถาวรเพราะผู้ให้อาจจะเพิก ถอนเมื่อใดก็ได้ท่านว่าถ้าได้ผูกแล้วรากสิมจะหยั่งลงไปถึงนํ้าหนุนแผ่นดิน ดังนั้นเมื่อมีการสร้างสิม แล้วจึงนิยมผูกสีมาทุกคราไป รูปแบบของสิมในภาคอีสานนั้นปรากฎส่วนใหญ่ให้เห็นอยู่ ๒ ชนิด คือ “คามสีมา” หรือ ที่ชาวอีสานมักเรียกว่า “สิมบก” และ “อุทกกเขปสีมา” ที่เรียกว่า “สิมนํ้า” ๑. สิมนํ้าหรืออุกทกกเขปสีมา ในอีสานมีน้อยมากสร้างขึ้นเพราะความจำ�เป็นเร่งด่วนใน การประกอบสังฆกรรมซึ่งไม่มีวัดหรือมีก็เพียงสำ�นักสงฆ์ที่ยังขาด “สิม” อันได้ผูกพัทธสีมาถูกต้อง ตามพรวินัย รากฐานของสิมนํ้าในระยะแรกมักใช้เรือ หรือแพผูกมัดเข้าหากัน แล้วปูพื้นกระดานทำ� เป็นโรงเรือนแบบง่าย ๆ มิได้คำ�นึงถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อความสวยงามแต่ประการใด สิมนํ้านิยมแพร่หลายในช่วงเผยแพร่พุทธศาสนาธรรมยุภติกในสมัยของท่านพระอาจารย์มั่นภูริทัน โต ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ๒. สิมบกหรือคามสีมา เป็นผลงานของสถาปนิกพื้นบ้านอีสานอย่างแท้จริง บ่งบอกถึง ภูมิปัญญา ช่างพื้นบ้านตั้งแต่ดั้งเดิมที่สั่งสอน แก้ไข ดัดแปลง สืบต่อกันมาแม้ขนาดจะไม่ใหญ่โต อลังการเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น แต่ก็เป็นสัจธรรมที่สะท้อนถึงชีวิต ของผู้คนบนถิ่นที่ราบสูงได้เป็น อย่างดี สิมบกหรือคามสีมาสามารถจำ�แนกรูปแบบออกได้หลากหลายกว่าสิมนํ้า สิมบก จนก่อ ให้เกิดรูปแบบของสิมบก เป็น ๔ ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้ - สิมอีสานพื้นบ้านบริสุทธิ์ - สิมอีสานพื้นบ้านประยุกต์โดยช่างพื้นบ้าน (รุ่นหลัง) - สิมอีสานพื้นบ้านผสมเมืองหลวง - สิมอีสานที่ลอกเลียนเมืองหลวง หากจะแบ่งตามลักษณะในทางสถาปัตยกรมของสิมบกสามารถแบ่งได้ ๒ ชนิด คือ


64

๑. ชนิดโปร่งหรือสิมโถง ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็นสิมโปร่งพื้นบ้านบริสุทธิ์มีทั้งแบบไม่มีเสารับ ปีกนก และแบบมีเสารับปีกนก เช่น วัดศรีมหาโพธิ์ อำ�เภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ประวัติความเป็นมา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นสิมที่ผนัง ๓ ด้าน ภายในผนังจะมีฮูปแต้ม หรือจิตกรรมฝา ผนังเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก และภาพเหตุการณ์การณ์สมเด็จกรมพระยาดำ�รงเดชานุภาพ เสด็จตรวจหัวเมืองในมณฑลอีสานประทับทั่งอยู่บนเกวียน ภายในวัดยังมีกุฏิเก่าแก่ซึ่งปัจจุบันทำ� เป็นห้องสมุดประชาชน สร้างโดยช่างชาวเวียดนาม เป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส ซึ่งมีซุ้มประตู และหน้าต่างเป็นรูปโค้ง สวยงามแปลกตา แตกต่างจากศาลาการเปรียญทั่วไปของพุทธศาสนา วัดศรีมหาโพธิ์เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ชาวอำ�เภอหว้านใหญ่ เป็นสถานที่ประกอบ ศาสนพิธีสำ�คัญและประเพณีต่างๆของชาวอำ�เภอหว้านใหญ่ บริเวณโดยรอบวัดศรีมหาโพธิ์ มอง เห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของแมนํ้าโขงซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย และ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ในฤดูแล้งนํ้าโขงบริเวณอำ�เภอหว้านใหญ่แห้งขอดและจะเกิดเกาะ แก่งเล็กน้อยขึ้นตามกลางลำ�แม่นํ้าโขง ประชาชนทั้งสองฝั่งโขงทำ�ไปทำ�การเกษตรตามเกาะแก่ง นั้นเพราะ อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ปุ๋ย ทำ�ให้พืชผักเจริญเติบโตเร็วและสวยงาม นอกจากนี้ยังลำ�นํ้าโขง ยังเป็นแหล่งทำ�การประมงของชาวอำ�เภอหว้านใหญ่อีกด้วย ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านหว้านใหญ่ ตำ�บลหว้านใหญ่ ภายในวัดจะมีโบราณสถานคือ สิมอีสาน(โบสถ์) ที่เก่าแก่


65

รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง เป็นลักษณะสิมทึบขนาดเล็กผสมกึ่งสิมโปร่ง มีขนาดความยาว ๔ ช่วงเสา หลังคาตรงจั่ว ลดชั้นต่อปีกทั้ง ๔ ด้านแบบปั้นหยา ด้านหน้าเป็นมุขโล่ง ๒ ตอน ตอนแรกอยู่ใต้หลังคาปั้นหยา ตอนที่ ๒ คลุมด้วยหลังคา ทรงเกย (กะเติ๊บ = ไท ผู้ไท) หน้าบันทั้ง ๒ ด้าน แกะสลักลวดลายบนเนื้อไม้ตัวโครงสร้าง เช่นเดียวกับขื่อและอะเสภายใน ซึ่งนับว่าเป็นการออกแบบพิเศษของสิมหลังนี้ ลวดลายเป็นแบบ พื้นบ้านไท-อีสานแท้ มีลักษณะลายก้านดกและลายขัดแบบลายจักสาน ช่างได้เจาะหน้าต่างใส่ ลูกกรงกลึง (คล้ายเลียนลูกมะหวดขอม) และช่องเล็ก ๆ ๔ เหลี่ยมอีกข้างละ ๑ ช่อง องค์พระ ประธานปั้นปูนปางมารผจญขัดสมาธิราบ พุทธศิลป์สวยงามมาก ประดิษฐานองค์พระลูกเข้าไป ในผนังประมาณ ๑ ใน ๓ และปั้นปูนด้านข้างเป็นกรอบรอบองค์พระ เป็นที่น่าสังเกตว่า ฐาน ชุกชี ได้รับการออกแบบพิเศษเฉพาะมีสัดส่วนเสริมสงองค์พระให้สง่างามมากทีเดียว ที่สำ�คัญ สุดยอดของสิมพิเศษหลังนี้คือ ภาพจิตรกรรม ผนัง (ฮูปแต้ม) เบื้องหลังพระประธานอ้อมมาทาง ซ้าย ขวา จนถึงหน้าต่างทั้ง ๒ ด้าน เป็นฝีมือช่างพื้นบ้านที่สูงส่งมากทีเดียว หน้าจะมีอิทธิพลช่าง หลวงอยู่ด้วย) เนื้อหาของฮูปแต้มเป็นเรื่องเวสสันดรชาดก กล่าวว่า วาดโดยช่างแต้มชาวบ้านนํ้ากํ่า อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ส่วนด้านนอกกวาดเป็นรูปราหูบนฝาผนังด้านเหนือ รูปนกบนผนังด้านใต้ ฐานก่ออิฐฉาบปูนความกว้างภายใน ๔.๑๐ ม. ความยาว (ไม่รวมมุขหน้าคาเกย) ๕.๖๐ ม. ความสูงพื้นดินถึงเชิงชาย ๒.๙๐ ม. ยาวทั้งสิ้นที่ฐานแอวขัน ๙.๙๐ ม. เสาที่รับหลังคาเกยสูง เพียง ๑.๙๐ ม. เสาก่อเป็น ๔ เหลี่ยม แต่งบัวหัวเสาเป็นปูนปั้นรูปกลีบบัว หลังคาทรงจั่วสูง เดิมมุง แป้นเกล็ด มาเปลี่ยนเป็นสังกะสีภายหลัง เครื่องบนหลังคาเป็นโครงไม้ทั้งหมด ขนาดของขื่อและ เสาแข็งแรงมากคือ ขนาด ๓๐ ซม. x๓๐ ซม. คันทวยรูปนาคประดับเสาทรง ๔ เหลี่ยม ดูเหมาะ เจาะแข็งแรงบึกบึน ส่วนเพิงหน้าเป็นของต่อเติมในภายหลัง แก้ไขจากบันไดขึ้น ๒ ทางเป็นขึ้นด้าน หน้าทางเดียว และเสาเหลี่ยมรับเพิงทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้านั้นทำ�เลียนแบบเสาภายใน แต่มีขนาด เตี้ยมาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของสิมหลังนี้ 42

ด้านหน้าและด้านหลัง 42 วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. หน้า ๒๖๗.


66

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

หน้าบัน แขนนาง และซุ้มประตู

ลายสลักไม้และปูนปั้นประดับ

พระประธานภายใน


67

สิมวัดศรีชัยราช บ.โนนผึ้ง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ประวัติ : สร้าง พ.ศ. ๒๓๖o โดยเจ้าอาวาสในสมัยนั้น คือ หลวงพ่อสุวรรณ กิตติญาโณ เมื่อท่านอายุได้ ๘o ปี ได้ย้ายไปอยู่บ้านโนนสว่าง (อยู่แถวเขื่อนอุบลรัตน์) เกาะคา จ.ขอนแก่น จากนั้นก็มีเจ้า อาวาสองค์ต่อๆ มาคือ หลวงพ่อโสภา = ย้ายไปอยู่บ้านต้นตาล จ.ปราจีนบุรี หลวงพ่อผาย กิตติญาโณ = อยู่จนมรณภาพ หลวงพ่อชา = สึกไปก่อน หลวงพ่อหมี ฉันโน = อายุ ๔๒ พรรษา มรณภาพ หลวงพ่อพระครูวิจิตรธรรมาจารย์ (ประสาน อรหปฺจโย) เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๖ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ จนถึงปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่าชุมชน บ้านโนนผึ้ง และ บ้านโนนคูณ นี้ ปรากฏว่าเป็นชาวไท-เยอ ทั้งหมด มีการนับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับชุนชนไท-เขมร,ไท-ส่วย และไท-โส้ พระประธาน นั้นทั้งหมด มีการนับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับชุมชนไท - เขมร, ไท - ส่วย และไท - โส้ พระ ประธานนั้นปั้นโดยหลวงพ่ออ้วน โสภโณ อยู่บ้านโนนค้อใหญ่ ส่วนโหง่นั้นเป็นฝีมือช่างสมัยหลวง พ่อผาย กิตติญาโณ รูปแบบ,วัสดุและโครงสร้าง : เป็นสิมโปร่งขนาดเล็ก ๒ ช่วงเวลา มีพื้นที่ภายในกว้าง ๔.๘o เมตร ยาว ๕.๘o เมตรบันไดขึ้นด้านหน้าด้านเดียวไม่มีกรอบประตูฐานก่ออิฐพื้นเมือง แอว ขันก่อสูง ๒ เมตรเศษ ทำ�ให้ดูหนักแน่นมีพลัง แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกหลุดหลอยเบา โหวงประดุจอยู่เหนือโลกธรรมทั้งปวง เพราะเมื่อจิตหมดสิ้นจากสิ่งรึงรัดทั้งหลายแล้ว เวไนยสัตว์ก็ จะอยู่เหนือโลกได้แม้ว่าจะอยู่ในโลกก็ตาม เพราะช่างได้ออกแบบให้สิมอีสานหลังนี้มีหลังคาปีกนก ยื่นลอยออกมาจากผนังโดยรอบอย่างได้ผลในทางทรวดทรงและสัดส่วน รับกับหลังคาทรงจั่วชั้น เดียวที่มีแป้นลมไม้แอ่นลงมาอย่างพองาม น่าเสียดายบัดนี้ชำ�รุดหมดจนเหลือโหง่อยู่เพียงด้าน เดียว แต่เดิมก็คงมุงด้วยแป้นเกล็ด ภายหลังชำ�รุดจึงเปลี่ยนเป็นสังกะสี ส่วนโครงสร้างหลังคาที่ เป็นไม้นั้นเห็นควรเปลี่ยนชิ้นใหม่ตามขนาดเก่าแล้วพยายามหาแป้นเกล็ดมามุงให้กลับคืนสู่สภาพ เดิม จะเป็นการอนุรักษ์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด สภาพฐานก่ออิฐและผนังบางส่วนนั้นยังมั่นคงแข็งแรง พอควร หากได้รับการบูรณะอย่างถูกวิธีและโดยทันท่วงทีจะเป็นตัวอย่างสิมอีสานที่สวยงามที่สุด พอจะอวดคนภาคอื่นได้โดยไม่อายใคร เป็นสิมโสร่งพื้นบ้านที่แสดงนัยทางคติธรรม หลังคาปีกนกยื่นลอยออกจากผนังโดยรอบ อย่างได้ผลในทางทรวดทรง และสัดส่วนให้ความรู้สึกเบาและหลุดลอยเหนือโลกธรรมทั้งปวงใน ขณะเดียวกันยงคงความเรียบง่าย สมถะ ตามแบบสิมพื้นบ้านบริสุทธิ์ของชาวอีสาน 43 43 วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. หน้า ๑๑๖.


68

สิมวัดราษไศล บ.ฟ้าเลื่อม อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๕๒ เป็นวัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ คงจะสร้างสิมหลังนี้ขึ้นในคราวเดียวกัน เป็นสิมโปร่งประเภทมีเสารับปีกนก หลังเล็กสุด พื้นที่ภายในยาว ๔.๑๔ เมตร กว้าง ๓.๒๕ เมตร ความยาวแนวเสารับปีกนก ๗.๙o เมตร กว้าง ๗.๑๖ เมตร ก่ออิฐฉาบปูนชะทาย ฐานผุกร่อนจนไม่เห็นรูปทรงของแอวขัน เสาปีกนกรวม ๑๔ ต้น, หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว มีชามจั่วทั้ง ๒ ด้าน มุงสังกะสี มีโหง่ และช่อฟ้า พร้อมบราลีทำ�ด้วยไม้ แบบศิลปะพื้นบ้านอีสานโดยแท้ แท่นพระประธานก่ออิฐเป็นแท่น ๔ เหลื่อม ๒ ชั้น มีเพียงพระ ไม้องค์เล็กแต่สวยซึ้งอยู่เพียง ๒ องค์เท่านั่น สภาพโดยทั่วไปน่าเป็นห่วงมาก เพราะทรุดโทรมตาม สภาพของวัสดุ ประกอบกับทางวัดได้เอาดินมาถมบริเวณรอบๆ เพื่อปรับพื้นที่วัดจนทำ�ให้สิมหลัง นี้ดูจมหายลงไปในผืนดิน หน้าฝนน้ำ�ท่วมขังจนกลัวจะทรุดและทำ�ลายไปในที่สุด สิมเก่าวัดทุ่งสว่างปะโค บ.ประโค อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ประวัติ : สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พระครูพิทักษ์คณานุการ (จันทรา) เจ้าสาวเป็นผู้นำ� สร้างและเป็นผู้ตั้งวัดนี้ด้วย เดิมทีไม่มีสิมหลังนี้ ใช้ทำ�สังฆกรรมใน “สิมนํ้า” ส่วนช่างใช้ชาวบ้านใน หมู่บ้านซึ่งเป็นชาวไท-อีสานบ้านปะโคนั่นเอง ขณะนี้ได้เลิกใช้ไปร่วม ๑๐ ปีแล้ว เนื่องจากได้สร้าง สิมใหม่แบบภาคกลางแทน รูปแบบ,วัสดุและโครงสร้าง : เป็นสิมโปร่งอีกรูปแบบหนึ่งที่หาได้ยาก มีอยู่เพียงหลัง เดียวเท่านั้นลักษณะพิเศษคือ เล่นระดับชาวบ้าน อุบาสก-อุบาสิกา ชั้นในยกสูงเป็นระดับของ พระสงฆ์และสามเณร (มีพื้นที่กว้าง ๕.๘o เมตร ยาว ๑o เมตร) มีระเบียงเตี้ยๆ แยกพื้นที่การใช้ งาน,ไม่ใช้ผนังสูงเลย แม้แต่ด้านหลังพระประธานก็ให้สูงเพียงระดับพระศอพระพุทธรูปเท่านั้น ให้ ความรู้สึกที่เชื่อมต่อของความว่างภายในสิมได้ดีเยี่ยม หลังคาทรงจั่วสูง ๓ ชั้น ดูเบาและหลุดลอย หลังคาปีกนกคลุมกันฝนสาดตลอดมุงด้วยสังกะสีแทนแป้นเกล็ด ส่วนประดับมี โหง่, ช่อฟ้า, บราลี ครบถ้วน แต่สีหน้ามิได้ตกแต่งแต่อย่างใดโครงสร้างหลังคายังทนทานใช้งานได้ดีแต่ที่น่าเป็นห่วงก็ คือ ส่วนกำ�แพงก่ออิฐวัสดุได้เปื่อยยุ่ยเพราะสภาพความเค็มของดินและความชื้น ทางวัดมิได้บูรณะ เพราะไปใช้สอยสิมใหม่แบบภาคกลางมาหลายปีแล้ว 44 สิมวัดโพธิ์พิพัฒนาราม บ.สูงเนิน อ.คำ�ม่วง จ.กาฬสินธุ์ เป็นสิมโปร่งแปลนรูป ๔ เหลี่ยมผืนผ้า ยาว ๒ ช่วงเสา สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๒o เป็น ชุมชนไท-ลาวอพยพมาจากเมืองอุบลฯ เริ่มตั้งบ้านแปงวัดราว พ.ศ. ๒๓๓๐ สิมหลังนี้ใช้ฝีมือช่าง พื้นบ้านล้วนเป็นสิมขนาดเล็กสุด กว้าง ๓.๘๔ เมตร ยาว ๔.๘๗ เมตรเท่านั้น ฐานก่ออิฐใช้ยางบง ผสมนํ้าแทนปูนสอ (ไม่สอดิน) แล้วฉาบด้วย ชะทาย (ปูนฉาบพื้นเมือง) เดิมมีฮูปแต้ม (จิตรกรรม ผนัง) อยู่ด้านหลังพระประธานเป็นรูปมารผจญ ถูกซ่อนลบหายไปเมื่อ ๖o กว่าปีก่อน เดิมพระ 44 วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. หน้า ๑๔๔.


69

ประธานเป็นไม้แก่นจันทร์หน้าตักกว้าง ๒๐ ซม. ปัจจุบัน พระครูโสภณปัญญาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาสและเป็นเจ้าคณะอำ�เภอคำ�ม่วง ท่าน เป็นพระอนุรักษ์ที่เข้าใจถึงคุณค่าศิลปสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอย่างดีเยี่ยม ควรได้รับการสรรเสริญ เป็นอย่างยิ่งเหราะเหตุว่าท่านมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงคุณค่าที่ ณ บ้านหนองกุงใหญ่ เป็นไม้ใน โคกป่าช้าของหมู่บ้านเพียงเพื่อจะได้รักษารูปแบบให้เหมือนเดิม จึงเห็นสมควรประกาศเกียรติคุณ ให้ปรากฏไว้ในแผ่นดินทางคณะกรรมาธิการสถาปนิกอีสานของสมาคมสถาปนิกอีสานของสมาคม สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้พิจารณามอบโล่เป็นเกียรติประวัติไว้ให้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ ๒. ชนิดสิมทึบ ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น ๒.๑ สิมทึบพื้นบ้านบริสุทธิ์สร้างด้วยไม้และอิฐถือปูนซึ่งแบบอิฐถือปูนมีทั้ง แบบมีและไม่มีเสาปีกนกเช่น สิมวัดศรีฐาน บ.บ้านหนาด อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ประวัติ : ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ เป็นวัดมหานิกาย ส่วนสิมหลังนี้จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้น ไม่ปรากฏประวัติ รูปแบบ : เป็นสิมทึบอีสานบริสุทธิ์งานสุดยอดอีกหลังหนึ่งของอีสาน แปลนรูป ๔ เหลี่ยมผืนผ้า กว้างรวมผนัง ๔.๖o เมตร ยาว ๖.๔o เมตร สูงระดับแอวขัน ๒ เมตร สูงระดับพื้นสิม ๑.๕o เมตร มีบันไดทอดยาวด้านหน้า ๗ ขั้น เพียงด้านเดียว หลังคาตับเดียวลด ๓ ชั้น ระหว่างช่วง ลดทิ้งโล่งเป็นการระบายอากาศอันร้อนแล้งของอีสานได้ดีมาก เดิมมุงแป้นเกล็ด ปัจจุบันเปลี่ยน เป็นสังกะสี ฐานแอวขันก่ออิฐฉาบปูนชะทายปั้นบัวลดหลั่นแบบปากพานดูแข็งแรงบึกบึนได้พละ กำ�ลังมากมาย ด้านข้างเจาะช่องแสงใส่ลูกกรงไม่มีบานหน้าต่าง เพียงด้านละช่องเท่านั้น ไม่มีฐาน ชุกชี ช่างเพียงแต่ก่อแท่นยาวตลอดความกว้างของสิม เพื่อจัดวางพระพุทธรูปได้หลายองค์ ซึ่งส่วน ใหญ่แกะสลักด้วยไม้ที่มีพุทธศิลป์แบบพื้นบ้านทั้งสิ้น การตกแต่ง : ส่วนเครื่องบนหลังคาทำ�เป็นยอดปั้นลมแทนโหง่ ไม่มีช่อฟ้า ลำ�ยอง เป็น ไม้เรียบแบบปั้นลมบ้านธรรมดา หางหงส์เป็นกนกหัวม้วน สีหน้าลายตาเวน ฐานห่างลงมา เป็น ฮังผึ้ง ซ่งส่วนนี้วิจิตรพิสดารมาก เป็นการแกะสลักไม้แผ่นเดียวยาวเท่าความกว้างของสิมมี ลวดลายกนกเครือวัลย์ มีพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มีอมนุษย์จับหางนาคมาพันที่คอ ซ้ายสุดด้าน ล่างแกะเป็นหัวล้านชนกัน ด้านขวาสุดแกะเป็นหาบช้างซาแมว ขยับมาอีกหน่อยเป็นรูปหงส์หาม เต่า ซึ่งเป็นภาพปริศนาธรรมที่ช่างแกะนิยมทำ�ประดับสิมในแถบอีสานส่วนกลาง (ส่วนฮังผึ้งนี้ถือ เป็นงานสุดยอดของสิมวัดศรีฐานหลังนี้) บานประตูทั้ง ๒ บานมีอกเลาแกะเป็นลายเครือวัลย์ พื้นเมือง มีรูปบุคคลอยู่ด้านล่างทั้ง ๒ ข้าง กำ�ลังต่อสู้ อีกฝ่ายด้านขวามือกำ�ลังแผลงศร (พระราม)


70

ด้านซ้ายกำ�ลังถือสามง่ามคล้ายตรีด้านยาว (ยักษ์) มีรูปสัตว์ประกอบให้รู้ว่าเป็นป่าเขาลำ�เนาไพร ดูได้อารมณ์เรียบง่ายจริงใจและสัตย์ซื่อ ส่วนคันทวยนั้นแกะเป็นรูปพญานาคตัวค่อนข้างอ้วนใหญ่ บึกบึนอีกเช่นกัน อกนาคส่วนล่างตั้งอยู่บนแอวขันพอดี หางม้วนขึ้นไปยันเต้าไม้รับเชิงชาย หงอน นาคบางตัวทำ�เป็นรูปผู้หญิงยืนจับปอยผมซึ่งยาวลงมาจรดกับหงอนที่คอนาค ดูแปลกตาเป็น พิเศษไม่เหมือนที่ใด ยังมีพิเศษอีกแห่งหนึ่งก็คือบนพื้นดินหน้าบันได แทนที่จะเป็นรูปสัตว์ปูนปั้น กลับกลายเป็นรูปสลักด้วยไม้ทั้ง ๒ ข้าง เป็นรูปบุคคลยืนมีเด็กขี่หลังอยู่ด้านหนึ่ง และรูปยืนเดี่ยว อีกด้านหนึ่ง ยัดนี้ไม้ภูกแกกฝนชะจนสึกร่อนเลือนลางดูแล้วมีกาลเวลาช่วยให้นึกถึงอดีตได้เป็น อย่างดี วัสดุและโครงสร้าง : ฐานและผนังใช้ก่ออิฐซึ่งชาวบ้านทำ�ขึ้นเองจากดินเหนียวในบริเวณ หมู่บ้าน แล้วฉาบปูนด้วยชะทาย คือปูนเขาผสมยางบงและนํ้าหนังดังกล่าวแล้ว เครื่องบนหลังคา เป็นไม้เนื้อแข็งขนาด ๒” x ๖” ทำ�เป็นขื่อ, อะเส, ดั้งและจันทัน ตั้งลดหลั่นขึ้นไปสูง ๓ ชั้น มีช่อง ระบายอากาศแต่ละชั้นได้รูปทรงที่สวยงามพร้อมไปกับประโยชน์ใช้สอยที่ถูกต้องเสาใช้ไม้หน้า๖ ” ข้างละ ๔ ต้น ฝังอยู่ในผนังซึ่งหนา ๕o ซม. สภาพของวัสดุโดยทั่วๆ ไปยังแข็งแรงมั่นคงดีมาก มี เพียงลวดลายด้านหน้าเท่านั้นที่ถูกแดดฝนทำ�ลายอยู่ทุกฤดูกาล เห็นควรทำ�เพิงยื่นออกปิดบังซึ่ง แม่จะทำ�ให้ดูเกะกะไปบ้างแต่ก็จะสามารถรักษาลายแกะสลักชิ้นนี้ไว้ได้ยืนนานและหากเป็นไป ควรเปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีกลับไปเป็นแป้นเกล็ดเหมือนเดิม ก็จะดูขลังขึ้นอีกอย่างทีเดียวสิม หลังนี้มีคุญค่ามหาศาลในแง่ของความงามแบบพื้นถิ่นอีสาน มีความพอดีในสัดส่วนและมีความ อลังการ (ที่เหมาะเจาะ) ในการตกแต่งสิมวัดศรีฐาน เป็นสิมทึบพื้นบ้านบริสุทธิ์ สะท้อนรูปแบบ และคติในการสร้าง แสดงถึงภูมิปัญญาผสานกับพุทธศิลปแบบพื้นบ้านเป็นความงามที่เรียบง่าย บริสุทธิ์และตรงตามคติธรรมสิมวัดกุดชุมใน บ.กุดชุมใน อ.กุมชุม จ.ยโสธร เป็นสิมทึบสร้างด้วยไม้ ยาวขนาด ๓ ห้อง หลังคา ๓ ตับลดมุขหน้าหลัง แกะไม้เป็น โหง่และลำ�ยองนาคกับหางหงส์อยู่ในแผ่นเดียวกัน ฝีมือไท-อีสานพื้นบ้านแท้ๆ ทรวดทรงค่อนข้าง ชะลูด ผนังตีไม้ทางตั้ง มีหน้าต่าง ๓ บาน เข้าด้านหน้าประตูเดียว สีหน้าตีไม้ทางนอนไม่มีลวดลาย ตกแต่ง แต่ช่างได้ฉลุไม้เป็นลายเครือเลื้อยเกี่ยวพันกันไปตลอดในแนวระดับใต้ฝ้าเพดาน เป็นการ ระบายอากาศที่ได้ผลไปพร้อมกับความสวยงามแปลกตากว่าสิมหลังอื่น ฐานแอวขันก่อนอิฐฉาบ ปูนแต่งโบกควํ่าโบกหงายแต่ดูแข็งกระด้าง มีระเบียงแก้วโดยรอบ เป็นสิมไม้อึกหลังหนึ่งที่หาดูได้ ยาก ควรมีการอนุรักษ์ไว้ให้ได้นานที่สุด 45 สิมเก่าวัดโพธิ์ศรี บ.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น สิมหลังนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ปฏิสังขรณ์ใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นลักษณะสิมทึบ 45 วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. หน้า ๑๘๒.


71

พื้นบ้านบริสุทธิ์ประเภทข.๑.๒.๒ แบบมีเสารับปีกนก เป็นสิมขนาด ๓ ห้องมีมุขหน้า พื้นที่ใช้สอย ภายในกว้าง ๕ เมตร ยาว ๖ เมตร หลังคาซ้อน ๓ ชั้น มีปีกนกคลุมโดยรอบมีเสานางเรียงเป็นตัว รับ เครื่องบนตกแต่งหลังคาดูค่อนข้างอลังการ อาทิเช่น ช่อฟ้า ไม้แกะสลักสูงเยี่ยม โหง่ไม้แกะรูป เศรียรนาดทั้ง ๓ ชั้นลำ�ยองเป็นนาคเกี้ยว ๕ ตัวพันหางเลื้อยลงมาพอขยับขึ้นหลังคาชั้นที่ ๒ และ ๓ ช่างจะลดนาคลงเหลือ ๔ ตัว น่าเสียดายว่าหัวนาคได้หยุดหาย เพราะเป็นการเข้าไม้คนละชิ้น กับตัวลำ�ยอง หางหงส์เป็นเศียรนาคเศียรเดียว นับเป็นงานพื้นบ้านที่อุดมด้วยคุณค่าอันวิเศษอีก ชิ้นหนึ่งที่หาดูไม่ได้ง่ายนักส่วนสีหน้าทำ�เรียบไม่ประดับแต่อย่างใด ฮังผึ้ง เป็นไม้แกะสลักตามสกุลช่างไท - อีสานที่ยอดเยี่ยมสุดยอดอีกชิ้นหนึ่งของสิมหลัง นี้ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ตอน ตอนกลางแกะเป็นรูปเทวดาจับก้านเถาวัลย์โค้งออกไปทั้ง ๒ ข้าง แตกเป็น เครือนกเถาด้านซ้ายเป็นรูปพญาครุฑกางขาแขนเกี่ยวกระหวัดลายเครือกนกอย่างทะมัดทะแมง ส่วนด้านขวาตรงกลางเป็นกระจังใบเทศแตกเป็นลายก้านขด นับเป็นผลงานของช่างพื้นบ้านที่ วิเศษสุดยอดจริงๆ บานประตู : เป็นบานไม้แกะสลักลวดลายประณีตสุดยอดของพื้นบ้านไท-อีสานอีกชิ้น หนึ่งบานขวามือแกะเป็นรูปอดีตพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์อยู่กลางกนกเครือวัลย์ บานซ้ายมือแกะ รูปมารผจญอยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างปางสมาธิพิจารณาสังขารมีนางฟ้าปรนนิบัติพระพุทธองค์อยู่ ๓ องค์ ล่างลงไปเป็นผู้หญิงแก่ ๓ คน ถือไม้เท้าเดินหลังคู้ค่อมและมีถันอันยาน ฐานแอวขัน : ก่ออิฐเป็นโบกควํ่า ท้องกระดานก่อสลับอิฐเป็นคล้ายช่องระบายลม ส่วน บนของแอวขันทำ�สูงเป็นท้องกระดานชั้นที่ ๒ แบบฐานปัทม์ ก่อเป็นช่อง ๔ เหลี่ยมด้านเท่าเว้น แนวต่อเนื่องกันไปตลอดความยาวทั้ง ๔ ด้านของสิม แอวขันรูปแบบนี้มักเป็นที่นิยมสร้างกันมาก ในแถบนี้ อย่าเดียวกับสิมหลังอื่นๆ อาทิเช่น สิมวัดชัยศรี บ.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น สิมวัดศรีบุญเรือง บ.ชาด อ.พล จ.ขอนแก่น สิมวัดบึงแก้ว อ.ชนบท จ.ขอนแก่น สิมวัดสระทอง บ.บัว อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น โครงสร้างเครื่องบนหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังจากได้ปฏิสังขรณ์ใหญ่แล้ว ทางวัดได้ เปลี่ยนหลังคาเดิมมุงแป้นเกล็ดมาเป็นมุงส้งกะสี สภาพฐานก่ออิฐยังมั่นคงแข็งแรง เป็นที่น่ายินดี ว่าวัดได้สร้างโบสถ์ใหม่แบบภาคกลางเสร็จมาหลายปีแล้ว สิมเก่าหลังนี้จึงได้เก็บอนุรักษ์ไว้มิได้คิด รื้อแต่ประการใดให้พระเณรใช้สอยภายในเพื่อการพักผ่อนอ่านหนังสือในเวลากลางวัน46

สิมวัดประทุมธรรมชาติ บ.แกใหญ่ อ.เมือง จ.สุรินทร์ ประวัติ : สร้างปี พ.ศ. ๒๔๖o เสร็จแล้วผูกพัทธสีมาเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๔๖๒ โดยพระครู 46 วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. หน้า ๒๖๗.


72

ธรรมธัชพิมล อดีตเจ้าอาวาส ช่างเป็นชาวเขมรมาได้ภรรยาอยู่บ้านแกใหญ่ วัสดุที่เป็นไม้หาได้จาก บริเวณป่าใกล้บ้านพระประธานสร้างมา ๒-๓ รุ่นเป็นพระทองสำ�ริดอยู่วัดจำ�ปา,วัดปทุมเมฆ องค์ ปัจจุบันสร้างโดยช่างตาเหล่ เดิมมุงกระเบื้องซีเมนต์ปลายแหลม รูปแบบ,วัสดุและโครงสร้าง : เป็นชนิดสิมทึบบ้านบริสุทธิ์ ชนิดสร้างด้วยไม้ ซึ่งค่อน ข้างหายากในอีสานส่วนอื่น หลังคาจั่วลดมุขหน้าหลัง หน้าบันมีชามจั่วแกะสลักลวดลายสวยงาม ตลอดทั้งโหง่,ลำ�ยอง,นาคสดุ้ง และหงส์ก็ยังคงสภาพให้เห็นอยู่แม้จะหลุดชำ�รุดร่วงลงไปบ้าง หลังคาชั้นลดแบบปั้นหยาคลุมตลอด ๔ ด้าน ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมุงสังกะสีทั้งหลัง หน้าต่างและ แระตูเป็นแบบลูกพักเหมือนใช้กับบ้านเรือนทั่วๆไป สภาพโครงสร้างทั่วๆไปขาดการเอาใจใส่ดูแล ปฏิสังขรณ์ จึงดูทรุดโทรมลงไปเกินกว่าจริง เนื่องด้วยทางวัดได้สร้างสิมโลมแบบภาคกลางจน เสร็จเรียบร้อยเป็นสิมหลังใหญ่มหึมาอยู่ใกล้ๆ กับสิมเก่าหลังนี้ เป็นการข่มกันระหว่างของใหญ่ที่ไร้ คุณค่ากับของเล็กที่เปลี่ยมล้นด้วยเอกลักษณ์พื้นถิ่น47 สิมวัดแจ้ง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประวัติ : วัดแจ้งเป็นวัดเก่าแก่สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๑ โดยดำ�ริของเจ้าราชบุตร (หนู ดำ�) หนึ่งในอาญา ๔ ผู้ปกครองเมืองอุบลในสมัยนั้นในการสร้างสิมหลังนี้นั้น พระใบฎีกาทา กมโล ได้บันทึกไว้ว่า ภายหลังสร้างพระประธานแล้วจึงได้สร้างสิมขึ้น (ในราว พ.ศ. ๒๔๕๕) พระครู โอภาสศาสนกิจ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้กรุณาให้ข้อมูลว่าผู้อำ�นวยการก่อสร้างสิม คือ ญาท่าน เพ็ง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของญาท่านหอ อยู่ ณ วัดหลวง ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าคำ�ผง เจ้าเมืองอุบลคนแรกเป็น ผู้สร้าง รูปแบบ,วัสดุโครงสร้าง : เป็นสิม ทึบก่ออิฐฉาบปูน ขนาด ๓ ห้องมีมุขหน้าประตูเข้า ด้านเดียวและประตูเดียว หน้าต่างด้านละ ๓ บาน กรอบบนห้าต่างแกะไม้เป็นฮังผึ้งย้อยห้อยลง มา ส่วนกรอบล่างเป็นลูกกรงสลักลายเช่นกัน โครงสร้างมุขหน้าใช้เสาไม้กลม ๔ ต้น รับแผงสีห น้ามีฮังผึ้งย้อยรวงแหลมลงระหว่างช่วงเสาทั้ง ๓ ช่วง กระจังรวนแกะเป็นไม้ขึ้นไปติดจึงดูลอยโดด เด่นออกมาจากพื้นหลังมากกว่าสลักลงไปในเนื้อไม้ยอดแหลมส่วนบนเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้าง เอราวัณ (แต่วันนี้พระอินทร์เหาะหายไปเสียแล้ว) ส่วนล่างลงมาก็แกะเป็นดอกพุดตาน โดยทำ�เป็น ชิ้นๆ เอามาปะไว้เช่นกัน หลังคาทรงจั่วสูงมีปีกนกทั้ง ๒ ข้าง เดินทีมุงด้วยแป้นเกล็ด ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินขอและในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ก็ได้มีการซ่อมแซมหลังคาที่ชำ�รุดให้ คงทนขึ้น คงจะมีการบูรณะเครื่องไม้ตกแต่งด้านบนไปพร้อมกันด้วย อาทิ โหง่, รวยระกา,หางหงส์ และทวยนาคไปพร้อม ๆ กัน ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๗ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถาน ที่ควรอนุรักษ์ 48 47 วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. หน้า ๑๖๔. 48 วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. หน้า ๒๔๒.


73

สิมเก่าวัดโพธิ์ชัยเสมาราม บ.เสมา ต.หนองแปน อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เป็นสิมอีสานอีกหลังหนึ่งที่มีความงามอย่างเรียบง่ายทั้งทรวดทรงและโครงสร้าง ตั้งอยู่ ในเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง มีแปลนรูป ๔ เหลี่ยมผืนผ้า ความยาว ๓ ช่างเสา มีบันไดขึ้นเฉพาะ ด้านหน้าด้านเดียว ฐานแอวขันก่อด้วยอิฐดิบฉาบปูนพื้นเมือง (ชะทาย) มีความสูง ๒ เมตรเศษ หลังคาทรงจั่วชั้นเดียวมีชามจั่วทั้งหน้าและหลังลดชั้นเปอดช่องลมทำ�ปีกนกคลุมตลอด เดินคง มุงด้วยแป้นเกล็ด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสังกะสี จึงสามารถทำ�ให้โครงสร้างหลังคาให้ยื่นส่วนปีกนก คลุมมากกว่าหลังใดๆ ท่าที่เคยเห็นมา เพราะต้องการให้หลังคาส่วนปีกนกนี้สามารถป้องกันฝน สาดฐานแอวขันของสิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องด้วยฐานสิมหลังนี้ก่อด้วยอิฐดิบดังกล่าวแล้ว นั่นเอง จึงทำ�ให้สิมดูเบาลอย ให้ความรู้สึกถึงการปกป้องให้เกิดความร่มเย็น พิจารณาจากฐานอัน สูงทึบและหนักแน่นประดุจหลักแห่งพระสัทธรรมอันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ซึ่งสามารถ ยังผลอันชุ่มเย็นและปกป้องหมู่มวลเวไนยสัตว์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบไปสู่การทำ�ลายเสียซึ่ง อวิชชาทั้งหลายนั้นแล เป็นที่น่าเสียดายจริงอย่างยิ่งว่า ทางวัดได้รื้อถอนทำ�ลายลงจนหมดสิ้น โดยสร้างสิมใหม่ แบบกรุงเทพฯ แบบโหลๆ ขึ้นทับไว้ ณ ที่เดิม ซึ่งเป็นการไม่ให้ความสำ�คัญของสถาปัตยกรรมพื้น ถิ่นอีสานอย่างน้อยใจที่สุด ก่อให้เกิดทัศนศิลป์ที่ขัดแย้งกับวิธีชีวิตผู้คนและสภาพแวดล้อมซึ่งมี แขนมาเยี่ยมเยือนอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี ที่มีหลักฐานในใบเสมา หินที่ทรงคุณค่าเก็บรักษาอยู่ในวัดแห่งนี้ 49

สิมวัดกุดชุมใน บ.กุดชุมใน อ.กุมชุม จ.ยโสธร เป็นสิมทึบสร้างด้วยไม้ ยาวขนาด ๓ ห้อง หลังคา ๓ ตับลดมุขหน้าหลัง แกะไม้เป็น โหง่และลำ�ยองนาคกับหางหงส์อยู่ในแผ่นเดียวกัน ฝีมือไท-อีสานพื้นบ้านแท้ๆ ทรวดทรงค่อนข้าง ชะลูด ผนังตีไม้ทางตั้ง มีหน้าต่าง ๓ บาน เข้าด้านหน้าประตูเดียว สีหน้าตีไม้ทางนอนไม่มีลวดลาย ตกแต่ง แต่ช่างได้ฉลุไม้เป็นลายเครือเลื้อยเกี่ยวพันกันไปตลอดในแนวระดับใต้ฝ้าเพดาน เป็นการ ระบายอากาศที่ได้ผลไปพร้อมกับความสวยงามแปลกตากว่าสิมหลังอื่น ฐานแอวขันก่อนอิฐฉาบ ปูนแต่งโบกควํ่าโบกหงายแต่ดูแข็งกระด้าง มีระเบียงแก้วโดยรอบ เป็นสิมไม้อึกหลังหนึ่งที่หาดูได้ ยาก ควรมีการอนุรักษ์ไว้ให้ได้นานที่สุด50 สิมวัดศรีมหาโพธิ์ บ.หว้านใหญ่ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร ประวัติ : เป็นวัดเก่าแก่ของบ้านหว้านใหญ่ ชาวบ้านอพยพมาจาก บ.ชะโนด ซึ่งอยู่ทาง เหนือ โดยเดิมทีนั้นชาวบ้านชะโนดได้อพยพมาจากบ้านท่าสะโน สุวัณเขต, เมืองนาน้อยอ้อยหนู และเมืองจำ�ปาศักดิ์ประเทศลาวสิมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ สิมตั้งอยุ่ใกล้แม่นํ้าโขง แต่กลับหัน 49 วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. หน้า ๑๐๕. 50 วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. หน้า ๑๗๑.


74

หน้าเข้าสู่ถนนซึ่งเป็นทิศตะวันตก แปลกกว่าสิมโดยทั่วๆ ไปซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รูปแบบ : เป็นลักษณะสิมทึบขนาดเล็กผสมกึ่งสิมโปร่ง มีขนาดความยาว ๔ ช่างเสา หลังคาตรงจั่วลดชั้นต่อปีทั้ง ๔ ด้านแบบปั้นหยา ด้านหน้าเป็นมุขโล่ง ๒ ตอน ตอนแรกอยู่ใต้หลัง คาปั้นหยา ตอนที่ ๒ คลุมด้วยหลังคา ทรงเกย (กะเติ๊บ = ไท-ผู้ไท) หน้าบันทั้ง ๒ ด้าน แกะสลัก ลวดลายเป็นแบบพื้นบ้านไท-อีสานแท้ มีลักษณะลายก้านดกและลายขัดแบบลายจักสาน ช่างได้ เจาะหน้าต่างใส่ลูกกรงกลึง (คล้ายเลียนลูกมะหวดขอม) และช่องเล็กๆ ๔ เหลี่ยมอีกข้างละ ๑ ช่อง องค์พระประธานปั้นปูนปางมารผจญขัดสมาธิราบ พุทธศิลป์สวยงามมาก ประดิษฐานองค์พระลึก เข้าไปในผนังประมาณ ๑ ใน ๓ และปั้นปูนด้านข้างเป็นกรอบรอบองค์พระเป็นที่น่าสังเกตว่า ฐาน ชุกชีได้รับการออกแบบพิเศษหลังนี้คือ ภาพจิตรกรรมผนัง (ฮูปแต้ม) เบื้องหลังพระประธานอ้อม มาทางซ้าย-ขวา จนถึงหน้าต่างทั้ง ๒ ด้าน เป็นฝีมือช่างพื้นบ้านที่สูงส่งมากทีเดียว (น่าจะมีอิทธิพล ช่างหลวงอยู่ด้วย) เนื้อหาของฮูปแต้มเป็นเรื่องเป็นเรื่องเวสสันดรชาดก กล่าวว่า วาดโดยช่างแต้ม ชาว บ้านนํ้ากํ่า อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ส่วนด้านนอกวาดเป็นรูปราหูบนฝาผนังด้านเหนือ รูปนก ผนังด้านใต้ โครงสร้างและวัสดุ : ฐานก่ออิฐฉาบปูนความกว้างภายใน ๔.๑๐ ม. ความยาว (ไม่รวม มุขหน้าหลังคาเกย) ๕.๖๐ ม. ความสูงพื้นดินถึงเชิงชาย ๒.๙ ๐ ม. ยาวทั้งสิ้นที่ฐานแอวขัน ๙.๙ ๐ ม. เสาที่รับหลังคาเกยสูงเพียง ๑.๙๐ ม. เสาก่อเป็น ๔ เหลี่ยม แต่งบัวหันเสาเป็นปูนปั้นรูปกลีบ บัว หลังคาทรงจั่วสูง เดิมมุงแป้นเกล็ด มาเปลี่ยนเป็นสังกะสีภายหลัง เครื่องบนหลังคาเป็นโครงไม้ ทั้งหมด ขนาดของขื่อและเสาแข็งแรงมากคือ ขนาด ๓๐ ซม. x๓๐ ซม. คันทวยรูปนาคประดับ เสาทรง ๔ เหลี่ยม ดูเหมาะเจาะแข็งแรงบึกบึน ส่วนเพิงหน้าเป็นของต่อเติมในภายหลัง แก้ไขจาก บันไดขึ้น ๒ ทางเป็นขึ้นด้านหน้าทางเดียว และเสาเหลี่ยมรับเพิงทั้ง ๔ เหลี่ยม ดูเหมาะแข็งแรง บึกบึน ส่วนเพิงหน้าเป็นของต่อเติมในภายหลัง แก้ไขจากบันไดขึ้น ๒ ทางเป็นขึ้นด้านหน้าทาง เดียว และเสาเหลี่ยมรับเพิงทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้านั้นทำ�เลียนแบบเสาภายใน แต่มีขนาดเตี้ยมาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของสิมหลังนี้ ๒.๒ สิมทึบพื้นบ้านประยุกต์โดยช่างพื้นบ้าน (รุ่นหลัง) มีทั้งแบบใช้ช่างพื้นบ้านไทยอีสานและช่างญวนหรือได้รับอิทธิพลโดยช่างญวนโดยจำ�แนกได้เป็นแบบไม่มีมุขหน้าแบบมีมุข หน้าแบบมีมุขหน้าและมุขหลังและแบบมีระเบียงรอบ ๒.๓ สิมทึบพื้นบ้านผสมเมืองหลวง เช่น สิมวัดวุฒิวราราม บ.โพนสาวเอ้ อ.เรณูนคร จ.นครพนม สิมวัดวุฒิวรารามสิมทึบพื้นบ้านผสมอิทธิพลช่างญวน ในการสร้างสิมในสมัยต่อมานิยม ใช้ช่างญวนในการก่อสร้าง ด้วยช่างญวณมีความชำ�นาญในการก่ออิฐถือปูรูปลักษณะจึงมีลักษณะ ผสมศิลปะญวนและมีการก่ออาร์คโค้งตามประตู หน้าต่างโดยได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสอีกทอด หนึ่ง


75

สิมวัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี สิมวัดทุ่งศรีเมือง เป็นสิมทึบพื้นบ้านผสมเมืองหลวง โดยถูกดัดแปลงทรงหลังคา โหง่ นาคสะดุ้ง หางหงส์ คันทวย และเสาให้เป็นคติการสร้างแบบภาคกลาง คงเหลือแต่ฮังผึ้ง (รวมผึ้ง) และพระ ประธานที่เป็นของเดิมอีกทั้งมีภาพจิตกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) ศิลปะสมัยปลาย ร.๓ ๒.๔ สิมทึบที่ลอกเลียนเมืองหลวง ข้อบัญญัติตามพระวินัยปิฎกกล่าวไว้ว่า น่านนํ้าที่สงฆ์จะกำ�หนดเป็นอุทกกเขปได้มี ๓ แบบ คือ ๑. นทีแม่นํ้า ๒. สมุทรทะเล ๓. ชาตสระที่ขังนํ้าอันเกิดเอง การทำ�สังฆกรรมในน่านนํ้า ๓ ชนิดนี้จะทำ�บนเรือหรือบนแพอันผูกกับหลักในนํ้าหรือ ทอดสมอก็ได้ให้ห่างจากตลิ่งกว่าชั่ววิดนํ้าสาด (ประมาณ ๓ วา) ท่านห้ามไม่ให้ทำ�ในเรือในแพอัน กำ�ลังลอยกำ�ลังเดินจะทำ�บนร้านอันปลูกขึ้นในนํ้าท่านว่าได้ดังนั้น“ร้านอันปลูกขึ้นในนํ้า”จึงเป็น มูลเหตุมาเป็นสิมนํ้าประเภทถาวรขึ้นสามารถใช้สอยได้ในระยะเวลายาวนานพอสมควรแม้จะไม่มี ความคงทนนักปัจจุบันสิมนํ้าในภาคอีสานได้สูญหายไปจนเกือบหาดูไม่ได้แล้ว


76

ส่วนประกอบตกแต่งสิม “สิมอีสาน”นอกจากจะมีรูปแบบที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน แล้วยังมีรายละเอียดของการตกแต่งอีกหลายประการที่ทำ�ให้ตัวสิมมีความงามมากยิ่งขึ้นสามารถ แยกสิมออกเป็น๓ส่วนดังนี้ ส่วนบนคือส่วนของหลังคาทั้งหมดจะมีส่วนประดับตกแต่งเช่นช่อฟ้าโหง่ลำ�ยองหางหงส์ เชิงชายและสีหน้าเป็นต้น ส่วนกลาง คือ สัวสิมหก เป็นสิมโปร่งจะไม่ใคร่มีการตบแต่งมากเท่าสิมทึบซึ่งในส่วนนี้ จะก่ออิฐฉาบปูนเป็นส่วนใหญ่มีส่วนประกอบตกแต่งเช่นประตูหน้าต่างคันทวยฮังผึ้งและบางแห่ง อาจมีฮูปแต้มทั้งภายนอกและภายในตลอดถึงฐานชุกชีพระประธานก็ถือว่าเป็นงานตกแต่งที่อยู่ใน ส่วนนี้ ส่วนฐานคือส่วนที่เอวขันที่ก่ออิฐฉาบปูนทำ�เป็นโบกควํ่าโบกหงายและมีท้องกระดาน กระดูกงูตามรสชาติงานช่วงของภาคอีสานซึ่งมีการวางจังหวะและสัดส่วนแผกไปจากภาคอื่นนอก จานั้นก็มีปูนปั้นเป็นรูปสัตว์เฝ้าบันไดอาทิเช่นจระเข้เหราสิงห์และตัวมอมเป็นต้น

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้ ช่อฟ้า นับเป็นส่วนที่สูงที่สุดของสิม มักแกะสลักด้วยไม้เป็นลักษณะคล้ายปราสาท (ผา สาด) หรือฉัตรตั้งลดหลั่นซ้อนกันขึ้นไปบนสันหลังคาตรงส่วนกลางของหลังคาสิม นับเป็นส่วนสำ�คัญที่ชี้ บอกถึงความเป็นอีสาน ปัจจุบันยังพอมีสิมที่ก่อสร้างใหม่บางหลังที่ยังคงเอกลักษณ์ของ “ช่อฟ้า”


ส่วนนี้ไว้แม้จะทำ�เป็นคอนกรีตไปแล้วก็ตาม

77

โหง่ หรือที่ภาคกลางเรียกว่า “ช่อฟ้า” ตัวนี้นั้น นับเป็นส่วนสำ�คัญของการตกแต่ง สิมอีสาน ที่ขาดไม่ได้ เพราะจะทำ�ให้หลังคาขาดด้วนไปอย่างเห็นได้ชัด ช่างได้ออกแบบโหง่ ให้มี รูปแบบที่เป็นพื้นถิ่นอย่างมีคุณค่า จะไม่มีแบบสูตรสำ�เร็จเหมือนภาคกลาง โหง่ ของเดิมจะสร้างด้วยไม้ทั้งสิ้น

ลำ�ยอง เป็นส่วนที่เรียกว่า “นาคสะดุ้ง” แต่สิมอีสานมักนิยมทำ�เรียบเป็นแบบ “แป้น ลม” ของเรือนพักอาศัย หลายแห่งแกะสลักเป็นลำ�ตัวนาคเกี่ยวหางต่อหัวกันอย่างสนุกสนาน ข้างละไม่ตํ่ากว่า ๓-๕ ตัว ส่อให้เห็นถึงความเป็นอิสระในการออกแบบของช่างอย่างเต็มที่

หางหงส์ สลักเป็นหัวพญานาคบ้างเป็นลายก้านดก (กนกหัวม้วน) บ้าง แล้วแต่ช่างจะ คิดประดิษฐ์เอา


78

เชิงชาย บางแห่งก็แกะสลักเป็นลายเครือเถา บางแห่งก็ฉลุไม้เป็นลวดลายคล้ายอุบะ ย้อยต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่จะไม่ใคร่ตกแต่งในส่วนนี้ หน้าบัน หรือ “สีหน้า” ของสิมอีสาน นิยมทำ�เป็นลายตาเวน หรือเป็นดวงตะวันส่อง แสงเป็นรัศมีติดกระจกประดับ ประดุจความสว่างไสวสดใสชัชวาลแห่งดวงประทีป คือปัญญา ของผู้ใฝ่ใจในพระธรรมขององค์พระสัมมาพุทธเจ้า ส่วนกลาง

ประตู ส่วนใหญ่จะมีประตูเดียว บางแห่งก็สลักลวดลาย มักเป็นลายเครือเถาตามแบบ ช่างพื้นบ้าน จะดูหยาบแต่ก็ให้ความเป็นเอกลักษณ์ของอีสานได้ดีทีเดียว หน้าต่าง มักเจาะผนัง ๔ เหลี่ยมใส่บานหน้าต่างไม้ขนาดไม่ใหญ่นักอาจมีบานพับคู่และ บานพับเดี่ยวไม่ใคร่ทำ�ซุ่มประดับหน้าต่าง จะทำ�บ้างก็เป็นซุ้มประตูเสียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อ นิยมก่ออิฐปั้นปูนช่างญวนจะนิยมทำ�ซุ่มประตูแบบอาร์คโค้งใส่ลงไปในสิมอีสาน แถมให้ด้วย


79

แขนนาง หรือ คันทวย ส่วนนี้เป็นลักษณะพิเศษของสิมอีสานที่ไม่เหมือนใคร จะมีทั้ง ทวยนาคและทวยแผงคือเป็นแผงแผ่นไม้ขนาดค่อนข้างใหญ่ แกะสลักลายนูนตํ่าทั้ง ๒ ด้าน การ ประดับของคันทวยนี้ด้านล่างจะมีเต้าไม้ยื่นออกมารับจากผนังแล้วจะเอนหัวออกเล็กน้อยขึ้นไป ยึดกับไม้ด้านบน ซึ่งเป็นไม้ขื่อรับปีกนกยันเชิงชาย จะเห็นได้ว่าแปลกกว่าของทางภาคอื่น

ฮังผึ้ง หรือ “รวงผึ้ง”ของทางภาคกลาง หรือ “โก่งคิ้ว” ของทางภาคเหนือ มีลักษณะ เด่นมากของงานตกแต่งด้านหน้าของสิมอีสาน ซึ่งมักจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ช่วงเสา ๔ ต้น ช่วงเสากลางเป็นหน้าบันของจั่วใหญ่ ตรงกับบันไดทางขึ้น ฮังผึ้งจะอยู่สูงกว่าปกติ ส่วนในช่วง เสาอีกสองข้างนั้นเป็นบันไดปีกนก จะมีฮังผึ้งตํ่าลงมา มีการแกะสลักลวดลายวิจิตรประณีต ทำ�ให้สิมอีสานดุอลังการขึ้นเป็นพิเศษ บางหลังด้านหน้ามีเพียงช่วงเสาเดียว ตัวฮังผึ้งจะยาว ตลอดและยังคงทำ�เลียนแบบคล้ายอย่างแรกเช่นกัน


80

ส่วนฐาน แอวขัน มีลักษณะพิเศษ สิมบางหลังมีแอวขันสูงท่วมหัว การก่ออิฐทำ�เป็นโบกควํ่าโบกหงาย มักจะสูงชันกว่าของภาคกลาง ส่วนท้องกระดานนิยมทำ�เป็นกระดูกงูโปนออกมาแก้ ความเรียบของตัวท้องกระดาน ส่วนลวดบัวนั้นก็มีคล้ายๆ กันโดยทั่วไป ส่วนใหญ่นิยมทำ�เป็นลักษณะแอวขันปากพาน คือ ทำ�เลียนรูปพานหรือโตกใส่ข้าวของต่างๆ ในพิธีกรรมพื้นบ้านนั้นเอง

บันได มักมีบันไดทางขึ้นเพียงด้านเดียว นิยมทำ�ปูนปั้นเป็นรูปสัตว์เฝ้าบันได เช่น เป็น ตัวจระเข้นอนราบเอาหัวลงล่างเอาหางอยู่บน บางแห่งเป็นรูปจระเข้เหราอ้าปากคาบสิงห์ บาง แห่งก็เป็นตัวสัตว์คล้ายมอม ที่คนสมัยก่อนใช้สักไว้ตามขา (เฉพาะผู้ชาย) เป็นต้น ชุกชี ส่วนแท่นประดิษฐานพระประธานภายในสิม ช่างไท - อีสาน นิยมก่ออิฐถือปูนมี รูปแบบฐานแอวขันปากพาน สัดส่วนของการลดเหลี่ยม,โบกควํ่า, โบกหงาย และท้องกระดาน นั้นทำ�ตามรสชาติงานช่างแบบพื้นเมือง ซึ่งให้คุณค่าจนเกิดเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว


81

ธาตุและพระธาตุ เป็นภาษาถิ่นของภาคอีสานใช้เรียกอนุสาวรีย์หรือสิ่งก่อสร้างใช้บรรจุอัฐิธาตุของผู้ตาย มีความหมายเช่นเดียวกับสถูปหรือเจดีย์ในภาษาภาคกลางธาตุ หมายถึง ที่บรรจุกระดูกของ บุคคลธรรมดาสามัญ นับแต่ชาวบ้านไปจนถึงเจ้าเมืองและพระสงฆ์องค์เจ้าโดยทั่วไป พระธาตุถูก สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานเฉพาะพระบรมสาริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระ อรหันต์เจ้าเท่านั้น ความโดดเด่นของรูปแบบมักแสดงออกตรงส่วนกลางของ “ยอดธาตุ” มากกว่า ส่วนอื่น รูปแบบของพระธาตุสามารถจำ�แนกได้เป็น ๖ กลุ่ม ดังนี้ - กลุ่มฐานตํ่า เช่น พระธาตุศรีสองรัก อ.ด่านซ้าย จ.เลย สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๑๐๓ - กลุ่มฐานสูง ตัวอย่างเช่น พระธาตุพนม (องค์ก่อนบูรณะต่อเติม พ.ศ.๒๔๘๓) อ.ธาตุพนม จ.นครพนม - กลุ่มเรือนธาตุทำ�ซุ้มจรนำ�ยอดธาตุมีปลี ๓ ทิศ ตัวอย่างเช่น องค์พระธาตุวัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร - กลุ่มเรือนธาตุมีซุ้มจรนำ�ยอดธาตุบัวเหลี่ยม ตัวอย่างเช่น พระธาตุบัวพวน อ.เมือง จ.หนองคาย - กลุ่มยอดธาตุ ๘ เหลี่ยม ตัวอย่างเช่น พระธาตุ ๘ เหลี่ยมองค์หนึ่งในวัด พระธาตุ บัง พวน อ.เมือง จ.หนองคาย ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ในวัดทุ่งสะเดา บ.สะเดา อ.เมือง จ.ยโสธร - กลุ่มย่อมุม ๑๒ บัลลังก์ เรือนธาตุ ๘ เหลี่ยม ยอดธาตุทรงระฆังควํ่า ตัวอย่างเช่น พระ ธาตุย่อเหลี่ยมองค์ใหญ่ (รัตนฆรเจดีย์) ในวัดพระธาตุบังพวน อ.เมือง จ.หนองคาย พระธาตุย่อ เหลี่ยมองค์เล็กในวัดพระธาตุบังพวน อีก ๑ องค์ พระธาตุวัดกลาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ซึ่ง ทางวัดได้ก่ออิฐปิดหมดแล้วทั้งองค์ “ธาตุ” ในครั้งแรกนิยมใช้จึงเรียกว่า “ธาตุไม้” โดยใช้ไม้ถากให้เป็นท่อน ๔ เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวไม่เกินด้านละ ๓o ซม. แล้วตกแต่งบัวหัวเสาให้วิจิตรพิศดาร ต่อมาได้พัฒนามาใช้การอิฐ ถือปูน ซึ่งสามารถทำ�ได้ใหญ่โตและแข็งแรงยิ่งขึ้น เรียกว่า “ธาตุปูน” ช่างพื้นบ้าน อีสานใช้เทคนิค ของการก่ออิฐที่ทำ�ขึ้นใช้เองและใช้ปูนสอที่เรียกว่า “ชะทาย” ซึ่งทำ�ขึ้นจากปูนขาวผสมทราย ยาง บงและนํ้าหนัง เป็นตัวประสาน ธาตุปูนจำ�แนกออกได้ตามความสำ�คัญของผู้วายน์ชนม์ดังนี้ ๑. ธาตุปูนบุคคลสามัญ หรือธาตุของชาวบ้านธรรมดา ๆ ทั่วไปมักทำ�ขนาดย่อมไม่สูง ใหญ่ มีทั้งแบบเรียบๆ และแบบมีลวดลายปั้นปูนประดับตามแบบพื้นบ้านซึ่งออกแบบจากความ ไม่รู้มาก จึงก่อให้เกิดเอกลักษณ์และคุณค่าในงานพื้นบ้านโดยแท้จริง มักก่อธาตุไว้ในวัดบริเวณ


82

แนวรั้วด้านข้างและหน้าวัดเป็นแนวเดียวกันไป มีบางกรณีที่ลูกหลานก่อธาตุให้แก่บุพการีไว้ ณ เนินกลางไร่นา ก็นับว่าเป็นอนุสาวรีย์ที่น่าประดับใจไม่น้อย ๒. ธาตุปูนบุคคลสำ�คัญ เช่น ธาตุเจ้าเมือง ธาตุของนายบ้าน กำ�นัน ครูใหญ่ หรือบุคคล ที่เป็นที่เคารพนับถือในหมู่บ้าน ตลอดจนธาตุของเจ้าเมือง หรือลูกหลานผู้สืบทอดในวงศ์ตระกูล การก่อสร้างธาตุให้บุคคลเหล่านี้จะปราณีตแตกต่างกว่าธาตุของบุคคลสามัญ ๓. ธาตุปูนพระสงฆ์ ได้แก่ ธาตุของพระเถระผู้ใหญ่ เจ้าอาวาส ญาคูหรือญาท่าน เป็นต้น มักก่อสร้างสูงใหญ่เป็นพิเศษมีความซับซ้อนมากขึ้น ตั้งอยู่ในตำ�แหน่งที่ดูดเด่นเป็นสง่าในวัดรอง ลงมาจาก “พระธาตุ” แล้วยังมีรูปแบบของ “บือบ้าน” หรือ “หลักบ้าน” (ส่วนมากทำ�ด้วยไม้) ของอีสานที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ “ธาตุไม้” ของสามัญชน ต่างกันแต่ว่าไม่มีช่องบรรจุอิฐเท่านั้น นับเป็นศิลปกรรมพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง51 พระธาตุพนม จ.นครพนม พระธาตุพนมตามอุรังคนิทานเป็นพระธาตุที่บรรจุพระอุรังคธาตุขององค์พระสัมมาสัม พุทธเจ้าครั้นเมื่อถึงกาล บูรณะในสมัยพระราชครูโพนสะเม็ก ช่างที่บูรณะมาจากเวียงจันทน์และ ได้รูปแบบมาจากพระธาตุหลวงแต่ช่างได้ดัดแปลงเฉพาะส่วนยอดธาตุจึงก่อให้เกิดรูปลักษณ์ใหม่ ของพระธาตุฝั่งขวาแมนํ้าโขง และส่งอิทธิพลไปตลอดภาคอีสานส่วนบนและส่วนกลาง ตามตำ�นานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้ว เสด็จไปหนองคันแทเสื้อนํ้า (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็น ที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำ�ดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำ�เภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระ บาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำ�พร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่นํ้าโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตร บูรณ์ พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำ�ภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำ�พร้าโดยทางอากาศ พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับ ที่ภูกำ�พร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ ในภัททกัลป์ที่ นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำ�พระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำ�พร้า พระพุทธองค์เมื่อ นิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำ�เอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่น กัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหาร หลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่ นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระ 51 ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๖.


83

สรีระ แต่ไม่สำ�เร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไป ประดิษฐานที่ภูกำ�พร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จ มาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็น อัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิง คาระ ตำ�นานตอนนี้ตรงกับตำ�นานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียด อยู่แล้ว เมื่อพญาทั้ง ๕ ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญา จุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำ�แดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคา ระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำ�แนะนำ�ของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง ๒ วา ลึก ๒ ศอก เท่ากันทั้ง ๔ ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา ๔ เหลี่ยม สูง ๑ วา โดยพญาทั้ง ๔ แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง ๑ วา รวมความสูงทั้งสิ้น ๒ วา แล้วทำ�ประตูเตาไฟทั้ง ๔ ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำ�พัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำ�การเผาอยู่ ๓ วัน ๓ คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถม หลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง ๕ ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธ บูชา จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิด ประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง ๔ ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง ๔ ด้าน แล้วให้คนไปนำ� เอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา ๑ ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็น ม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำ�เอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี ๑ ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำ�เอาเสาศิลาจากเมือง ตักศิลา ๑ ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หัน หน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนา จักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไป ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง ๔ ต้น ยังปรากฏอยู่ ๒ ต้น ทางทิศ ตะวันออก ส่วนอีก ๒ ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง ๒ ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน พระธาตุพนมองค์ปัจจุบัน สร้างแทนองค์เก่าซึ่งล่มไปเมื่อ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ ยอดธาตุทรงคอขวดสูงเรียวเป็น ของดัดแปลงใหม่สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม (พ.ศ.๒๔๘๓)


84

พระธาตุเรณูนคร จ.นครพนม เป็นพระธาตุในกลุ่มฐานสูงเช่นเดียวกับพระธาตุพนมเป็นพระธาตุที่แสดงให้เห็นถึงคติ การสร้างและรูปลักษณ์ที่ได้รับอิทธิพลจากพระธาตุพนมองค์เดิม (ก่อนสมัย พ.ศ.๒๔๘๓) พระธาตุศรีสองรัก จ.เลย พระธาตุศรีสองรักเป็นพระธาตุในกลุ่มฐานตํ่าซึ่งเป็นรูปแบบศิลปกรรมล้านช้างที่ส่ง อิทธิพลต่อรูปแบบของพระธาตุในภาคอีสานมาแต่อดีตกาลตามประวัติของพระธาตุในภาคอีสาน มาแต่อดีตกาลตามประวัติของพระธาตุสร้างขึ้นเพื่อเป็นสักขีพยานในการทำ�สัญญาทางพระราช ไมตรี ระหว่างพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาค นหุต (เวียงจันทร์) พระธาตุขามแก่น จ.ขอนแก่น เป็นพระธาตุกลุ่มฐานตํ่าแสดงศิลปกรรมล้านช้างเช่นเดียวกับพระธาตุศรีสองรักตาม ประวัติการสร้างพระธาตุ ในครั้งนั้นคณะอัญเชิญพระอุรังคธาตุเพื่อนำ�ไปประดิษฐานที่พระ ธาตุพนมเดินทางผ่านกลับมาเนื่องจากไปร่วมบรรจุไม่ทันเพราะพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้วได้ นำ�พระอุรังคธาตุประดิษฐานบนตอมะขามที่เหลือแต่แก่นข้างใน ตอไม้นั้นกลับมีชีวิตขึ้นจึงเกิด นิมิตรหมายในการสร้างพระธาตุ โดยนำ�พระอุรังคธาตุที่นำ�กลับมาบรรจุในพระธาตุขามแก่น 52 ธาตุไม้ ธาตุไม้ คือ การนำ�ไม้แท่ง ๔ เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ ๑๕ - ๒๕ ซม. ความสูงไม่ จำ�กัดมาประดิษฐ์เป็นที่บรรจุอัฐิของสามัญชน นับเป็นงานพื้นฐานในเชิงช่าง เป็นมูลเหตุแห่งการ สร้างงาน สถาปัตยกรรมประเภทอนุสาวรีย์ในโอกาสต่อมา ธาตุปูน ธาตุปูน เป็นธาตุที่ทำ�ด้วยปูนไม่ใช้โครงเหล็ก เป็นฝีมือช่างที่พัฒนารูปแบบมาจากธาตุไม้ โดยมีองค์ประกอบของฐานธาตุ เรือนธาตุและยอดธาตุ การบรรจุอัฐินั้นนิยมบรรจุในเรือนธาตุเป็น ส่วนใหญ่ ธาตุปูนนิยมทำ�สำ�หรับบุคคลสามัญ บุคคลสำ�คัญตลอดจนเจ้านายและพระสงฆ์

52 ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๒๗ – ๓๕.


๕ วัฒนธรรมและประเพณี

85

ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่าง กันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำ�เนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะ เป็นผลมาจากการเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับ ประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น เช่น ประชาชนชาว อีสานแถบจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำ�นาจเจริญ ที่มีพรมแดน ติดต่อกับประเทศลาว ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการเดินทางไปมาหากัน ทำ�ให้เกิดการ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกัน ซึ่งเราจะพบว่าชาวไทยอีสาน และชาวลาวแถบลุ่มแม่น้ำ�โขงมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายๆกัน และรูปแบบการดำ�เนินชีวิตก็ มีความคล้ายคลึงกันด้วย53 ประเพณีอีสานและพิธีกรรมตามประเพณีของชาวอีสาน เกี่ยวข้องทั้งกับความเชื่อใน อำ�นาจนอกเหนือธรรมชาติและพุทธศาสนาเถรวาท มีทั้งพิธีกรรมอันเป็นประเพณีที่เป็นสิ่งปฏิบัติ และจารีตที่ยึดถือสืบต่อกันมา ฮีตสิบสอง วัฒนธรรมของคนอีสานเป็นวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมั่นที่สุด ดีที่สุดสำ�หรับภูมิภาคอีสาน ซึ่งเดิมในแคว้นสุวรรณภูมิล้วนมีวัฒนธรรมแต่โบราณมาวัฒนธรรมของคนอีสานสร้างคนให้เป็นคน สร้างคนให้ละจากความโลภ ความโกรธ ความหลงให้ทำ�คุณงามความดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน 53

พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า “วัฒนธรรม” คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตสร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงาม ในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม วัฒนธรรม คือ วิถีทางแห่งชีวิตมนุษย์ ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียกกันได้ เอาอย่างกันได้ เมื่อ กล่าวโดยสรุปแล้ว “วัฒนธรรม” หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นไว้เพื่อนำ�เอาไปใช้ช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ใน สังคม ซึ้งจะรวมถึงช่วยแก้ปัญหาและช่วยสนองความต้องการของสังคม “แบบอย่างหรือวิถีการดำ�เนินชีวิตของชุมชนแต่ละ กลุ่ม เป็นตัวกำ�หนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม” วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อจำ�กัด ทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรม คือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จาก สังคมรุ่นก่อน ๆ มีการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบ หรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะ สม ก็อาจจะเลือนหายไป “ประเพณี” มีความหมายรวมถึง แบบความเชื่อ ความคิด การกระทำ� ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ระเบียบ แบบแผน และวิธีการกระทำ�สิ่งต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำ�กันมาแต่ใน อดีต ลักษณะสำ�คัญของ ประเพณี คือ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติเชื่อถือมานานจนกลายเป็นแบบอย่างความคิด หรือการ กระทำ�ที่สืบต่อกันมา และยังมีอิทธิพลอยู่ ในปัจจุบัน.


86

มีฮีตมีคองอยู่ เรียกว่าฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีตบ้านคองเมือง ฮีตพ่อคองพ่อ ฮีตเต่าคองเขยเลยมา สมสู่ขออยู่ อาสาเลี้ยงดูลูกตามิ่ง เป็นฮีตเป็นคองฮีตสิบสองของคนอีสานว่าไว้ตามลักษณะสิบสอง เดือน แต่ละเดือนมีงานประเพณีกฎเกณฑ์ ตามกติกาสังคมอีสานวางไว้แต่สังคมบรรพบุรุษมา ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณี ๑๒ เดือนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อ และการดำ�รงชีวิตทางเกษตรกรรมซึ่งชาวอีสานยึดถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ มีแนวปฏิบัติแตก ต่างกันไปในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดสิริมงคลในการดำ�เนินชีวิต เรียกอย่างท้องถิ่นว่างานบุญ ชาว อีสานให้ความสำ�คัญกับประเพณีฮีตสิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำ�เสมอนับ เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานอย่างแท้จริง 54 ฮีตสิบสองมาจากคำ� ๒ คำ� คือ “ฮีต” กั บ “สิบสองฮีต” มาจากคำ�ว่า “จารีต” หมาย ถึง สิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีตหรือฮีต สิบสอง หมายถึงเดือนทั้ง ๑๒ เดือนในหนึ่งปี ฮีตสิบสองจึง หมายถึง จารีตประเพณีสิบสองรายการคือ ประเพณีประจำ�สิบสองเดือนนั่นเอง เป็นจารีตประเพณีที่จำ�ทำ�ให้สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสร่วม ชุมนุมกันทำ�บุญเป็นประจำ�ทุก ๆ เดือนของรอบปี ผลที่ได้รับก็คือทุกคนจะได้มีเวลาเข้าวัดใกลัชิ ดกับหลักธรรมของธรรมทางศาสนายิ่งขึ้น ทำ�ให้ประชาชนในย่านใกล้เคียงรู้จักมักคุ้น สามัคคีกัน เป็นอย่างดีและมีผลงานทางอ้อม คือ เมื่อวางจากการงานอาชีพแล้วก็มีจารีตบังคับให้ทุกๆ คนเสีย สละทำ�งานร่วมกันเพื่อสังคมส่วนรวมไม่ให้คนอยู่ว่าง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็ถูกสังคมลงโทษตั้งข้อรังเกียจ อย่างจริงจัง และการปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี “สิบสอง” คือประเพณีที่ปฏิบัติ ตามเดือนทางจันทรคติทั้งสิบสองเดือน55 ฮีตสิบสองของชาวอีสานส่วนที่กำ�เนิดจากคำ�สอน และความเชื่อของพระพุทธศาสนา จะคล้ายกับประเพณีของชาวพุทธในสังคมอื่น ส่วนฮีตที่เกิดจากความเชื่อในเรื่องผี อำ�นาจลึกลับ และปัญหาในการดำ�รงชีวิตประจำ�วันของชาวอีสานจะมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ฮิตสิบสองเดือน มีดังนี้ เดือนอ้าย : บุญเข้ากรรม งานบุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียง พระสงฆ์จะทำ�พิธีเข้ากรรมหรือที่เรียกว่า “เข้าปริวาส กรรม” เพื่อทำ�การชำ�ระมลทินที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัยคือ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส การอยู่กรรมนั้น จะใช้เวลา ๖ – ๙ วันในระหว่างนี้เองชาวบ้านจะเตรียมอาหาร หวานคาวนำ�ไปถวายพระภิกษุทั้ง เช้าและเพล เพราะการอยู่กรรมจะต้องอยู่ในบริเวณสงบ เช่น ชายป่าหรือที่ห่างไกลชุมชน (หรือ 54 “ฮีต” เป็นภาษาลาว ซึ่งลาวเอามาจากศัพท์ของภาษาบาลี โดยภาษาบาลีหรือปาลีใช้ว่า “จาริตต” อ่านว่า จา – ริด – ตะ แล้วชนชาวลาว

และไทอีสานก็นำ�มาใช้ในภาของตนว่า “จาฮีต” ต่อมากร่อนคำ� โดยตัดคำ�นำ�หน้าคือคำ� “จา” ออกเหลือ “ฮีต” คำ�เดียวโดด ๆ ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ พิมพ์ครั้งที่ ๕ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ “จารีต” เป็นคำ�นาม แปลว่า ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน ส่วน “จารีตประเพณี” มีความหมายว่า “ระเบียบประเพณีที่นิยม และประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิดเป็นชั่ว” 55 เอกวิทย์ ณ ถลาง. หนังสือชุดภูมิปัญญาชาวบ้านกระบวนการเรียนรู้และการปรับตัวของชาวบ้านไทย : ภูมิปัญญาอีสาน. หน้า ๖๔.


87

อาจเป็นที่สงบในบริเวณวัดก็ได้) ชาวบ้านที่นำ�อาหารไปถวายพระภิกษุในระหว่างอยู่กรรมนี้เชื่อว่า จะทำ�ให้ได้บุญกุศลมาก 56 มูลเหตุของพิธีกรรม เพื่อลงโทษภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องเข้าปริวาสกรรม จึงจะ พ้นอาบัติหรือพ้นโทษกลับเป็นภิกษุ ผู้มีศีล บริสุทธิ์อยู่ในพุทธศาสนาต่อไป คำ� “เข้าปริวาสธรรม” นี้ภาษาลาวและไทอีสานตัดคำ� “ปริวาส” ออกเหลือเป็น “เข้ากรรม” ดังนั้นบุญเข้ากรรมก็คือ “บุญเข้าปริวาสกรรม” นั่นเอง พิธีกรรม ภิกษุผู้ต้องอาบัติหมวดสังฆาทิเสสที่จะเข้าอยู่ปริวาสกรรม เพื่อชำ�ระล้างความ มัวหมองของศีลให้แก่ตนเองต้องไปขอปริวาสจากสงฆ์ เมือสงฆ์อนุญาตแล้วจึงมาจัดสถานที่ที่จะ เข้าอยู่ปริวาสกรรม เมื่อจัดเตรียมสถานที่เรียบร้อยแล้ว ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อใดข้อหนึ่งจะ ต้องอยู่ปริวาส (การอยู่ค้างคืน) และต้องประพฤติวัตร (การปฏิบัติการจำ�ศีล) ต่าง ๆ เช่น งดใช้สิทธิ บางอย่างลดฐานะและประจานตนเอง เพื่อเป็นการลงโทษตนเอง โดยต้องประพฤติวัตรให้ครบ จำ�นวนวันที่ปกปิดอาบัตินั้น ๆ เพื่อปลดเปลื้องตนจากอาบัติสังฆาทิเสส และต้องไปหา “สงฆ์จตุร วรรค” (คือภิกษุสี่รูปขึ้นไป) เพื่อจะขอ “มานัต” และมีภิกษุอีกรูปหนึ่งจะสวดประกาศให้มานัต แล้ว ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติมานัตอีก ๖ คืน แล้วสงฆ์ผู้บริสุทธิ์จึงจะเรียกเข้าหมู่ กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ต่อไป57 เดือนยี่ บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าว บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าวเป็นพิธีกรรมฉลองภายหลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ชาว บ้านรู้สึกยินดีที่ได้ผลผลิตมาก จึงต้องการทำ�บุญโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในลานข้าวและใน บางแห่งจะมีการสู่ขวัญข้าวเพื่อฉลองความอุดมสมบูรณ์ กล่าวขอบคุณแม่โพสพและขอโทษที่ได้ เหยียบย่ำ� พื้นแผ่นดินในระหว่างการทำ�นา เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้ผลผลิตเป็นทวีคูณในปี ต่อไป 58 มูลเหตุของพิธีกรรม มูลเหตุของพิธีทำ�บุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน เนื่องมาจากเมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ จะหาบฟ่อนข้าวมารวมกันเป็น “ลอนข้าว” ไว้ที่นาของตน ถ้าลอมข้าวของใครสูงใหญ่ก็แสดงให้ ผู้คนที่ผ่านไปมารู้ว่านาทุ่งนั้นเป็นนาดี ผู้เป็นเจ้าของก็ดีใจ หายเหน็ดเหนื่อยจิตใจเบิกบานอยาก ทำ�บุญทำ�นาน เพื่อเป็นกุศลส่งให้ในปีต่อไปจะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีก เรียกว่า “คูนให้ใหญ่ให้สูง ขึ้น” เพราะคำ�ว่า “คูณ” นี้มาจาก “คํ้าคูณ” หมายถึงอุดหนุนให้ดีขึ้น ช่วยให้เจริญขึ้น พิธีกรรม ผู้ประสงค์จะทำ�บุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน ต้องจัดสถานที่ทำ�บุญที่ “ลานนวด ข้าว” ของตนโดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์มีการวางด้าย สายสิญจน์และปักเฉลว 56 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๙. 57 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๓. 58 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๑๓.


88

รอบกองข้าว เมื่อพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์เสร็จแล้วก็จะถวายภัตตาหารเลี้ยงเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ จากนั้นนำ�ข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงญาติพี่น้องผู้มาร่วมทำ�บุญ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จก็จะประ พรมนํ้าพุทธมนต์ให้กองข้าว ให้เจ้าภาพและทุกคนที่มาร่วมทำ�บุญ จากนั้นท่านก็จะให้พรเจ้าภาพ ก็จะนำ�นํ้าพระพุทธมนต์ที่เหลือไปประพรมให้แก่วัว ควาย ตลอดจนไร่นาเพื่อความเป็นศิริมงคล และเชื่อว่าผลของการทำ�บุญจะช่วยอุดหนุนเพิ่มพูนให้ได้ข้าวมากขึ้นทุก 59ๆ ปี เดือนสาม บุญข้าวจี่ บุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมานของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกัน มาทำ�บุญร่วมกันโดยช่วยกันปลูกผามหรือปะรำ�เตรียมไว้ในตอนบ่าย ครั้นเมื่อถึงรุ่งเช้าในวันต่อ มาชาวบ้านจะช่วยกันจี่ข้าว หรือปิ้งข้าวและตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน หลังจากนั้นจะให้มีการเทศน์ นิทานชาดกเรื่องนางปุณณทาสีเป็นเสร็จพิธี60 มูลเหตุของพิธีกรรม มูลเหตุจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เนื่องมาจากสมัยพุทธกาล มีนางทาสชื่อปุณณทาสี ได้นำ�แป้งข้าวจี่(แป้งทำ�ขนมจีน)ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางคิดว่า ขนมแป้งข้าวจี่เป็น ขนมของผู้ตํ่าต้อย พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าหยั่งรู้จิตใจนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ ทำ�ให้ นางปิติดีใจ ชาวอีสานจึงเอาแบบอย่างและพากันทำ�แป้งข้าวจี่ถวายพระมาตลอด อีกทั้งเนื่องจาก ในเดือนสามอากาศของภูมิภาคอีสานกำ�ลังอยู่ในฤดูหนาว ในตอนเช้าผู้คนจะใช้ฟืนก่อไฟ ผิงแก้ หนาว ชาวบ้านจะเขี่ยเอาถ่านออกมาไว้ด้านหนึ่งของกองไฟแล้วนำ�ข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลม โรยเกลือวางลงบนถ่านไฟแดง ๆ นั้นเรียกว่า ข้าวจี่ ซึ่งมีกลิ่นหอม ผิวเกรียมกรอบน่ารับประทาน ทำ�ให้นึกถึงพระภิกษุสงฆ์ ผู้บวชอยู่วัดอยากให้ได้รับประทานบ้าง จึงเกิดการทำ�บุญข้าวจี่ขึ้น ดังมี คำ�กล่าวว่า “เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำ�อ้อย จัวน้อยเช็ดนํ้าตา” (พอถึงปลาย เดือนสาม ภิกษุก็คอยปั้นข้าวจี่ ถ้าข้าวจี่ไม่มีน้ำ�อ้อยยัดไส้ เณรน้อยเช็ดนํ้าตา) พิธีกรรม พอถึงวัดนัดหมายทำ�บุญข้าวจี่ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะจัดเตรียมข้าวจี่ตั้ง แต่ตอนยํ่ารุ่งของวันนั้นเพื่อให้ข้าวจี่สุกทันใส่บาตรจังหัน นอกจากข้าวจี่แล้วก็จะนำ� “ข้าวเขียบ” (ข้าวเกรียบ) ทั้งที่ยังไม่ย่างเพื่อให้พระเณรย่างกินเองและที่ย่างไฟจนโป่งพองใส่ถาดไปด้วยพร้อม จัดอาหารคาวไปถวายพระที่วัด ข้าวจี่บางก้อนผู้เป็นเจ้าของได้ยัดไส้ด้วยนํ้าอ้อย แล้วทาด้วย ไข่ เพื่อให้เกิดรสหวานหอมชวนรับประทาน ครั้นถึงหอแจกหรือศาลาโรงธรรมพระภิกษุสามเณร ทั้งหมดในวัดจะลงศาลาที่ญาติโยมที่มารวมกันอยู่บนศาลาก่อนแล้วประธานในพิธีเป็นผู้อาราธนา 59 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๙. 60 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๑๗.


89

ศีล พระภิกษุให้ศีล ญาติโยมรับศีล แล้วกล่าวคำ�ถวายข้าวจี่ จากนั้นก็จะนำ�ข้าวจี่ใส่บาตรพระ ซึ่ง ตั้งเรียงไว้เป็นแถวเท่าจำ�นวนพระเณร พร้อมกับถวายปิ่นโต สำ�รับกับข้าวคาวหวาน เมื่อพระฉัน จังหันเทศน์เสร็จแล้วก็ให้พร ญาติโยมรับพรเป็นเสร็จพิธ61ี

เดือนสี่ บุญผะเหวด “บุญผะเหวด” เป็นสำ�เนียงชาวอีสานที่มาจากคำ�ว่า “บุญพระเวส”หรือพระเวสสันดร เป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง ๑๓ กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตย บุญผะเหวดนี้จะทำ�ติดต่อ กันสามวัน วันแรกจัดเตรียมสถานที่ ตกแต่งศาลาการเปรียญวันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระ เวสสันดร ชาวบ้านร่วมทั้งพระภิกษุสงฆ์จากหมู่บ้านใกล้เคียงจะมาร่วมพิธีมีทั้งการจัดขบวนแห่ เครื่องไทยทานฟังเทศน์และแห่พระเวส โดยการแห่ผ้าผะเหวด(ผ้าผืนยาวเขียนภาพเล่าเรื่องพระ เวสสันดร) ซึ่งสมมติเป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าสู่เมือง เมื่อถึงเวลาค่ำ�จะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตรข้าวพันก้อน พิธีจะมีไปจนค่ำ� ชาวบ้าน จะแห่แหน ฟ้อนรำ�ตั้งขบวนเรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวาย พระสงฆ์จะเทศน์เรื่องเวสสันดรชาดกจนจบ และเทศน์อานิสงฆ์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธี 62 มูลเหตุของพิธีกรรม จากเรื่องในหนังสือมาไลยหมื่นมาไลยแสนกล่าวว่าครั้งหนึ่งพระมาลัยเถระได้ขึ้นไปไหว้ พระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้พบปะสนทนากับพระศรีอริยเมนไตย ผู้ที่จะ มาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตและพระศรีอริยเมตไตยได้สั่งความมากับพระมาลัยว่า “ถ้ามนุษย์อยากจะพบและร่วมเกิดในศาสนาของพระองค์แล้วจะต้องปฏิบัติตนดังต่อไป นี้คือ” ๑. จงอย่าฆ่าพ่อตีแม่สมณพราหมณ์ ๒. จงอย่าทำ�ร้ายพระพุทธเจ้า และยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน ๓. ให้ตั้งใจฟังเทศน์เรื่อง พระเวสสันดรให้จบในวันเดียวด้วยเหตุที่ ชาวอีสานต้องการจะได้พบพระ ศรีอริยเมตไตยและเกิดร่วมศาสนาของพระองค์ จึงมีการทำ�บุญผะเหวด ซึ่งเป็นประจำ�ทุกปี พิธีกรรม การเตรียมงาน ๑. แบ่งหนังสือ นำ�หนังสือลำ�ผะเหวดหรือลำ�มหาชาติ (หนังสือเรื่องพระเวสสันดรชาดก) ซึ่งมีจำ�นวน ๑๓ กัณฑ์ (หรือ ๑๓ ผูกใหญ่) แบ่งเป็นผูกเล็ก ๆ เท่ากับจำ�นวนพระเณรที่จะนิมนต์มา เทศน์ในคราวนั้น ๆ ๒. การใส่หนังสือ นำ�หนังสือผูก เล็กที่แบ่งออก จากกัณฑ์ต่าง ๆ ๑๓ กัณฑ์ ไปนิมนต์ 61 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๑๒. 62 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๒๑.


90

พระเณรทั้งวัดในหมู่บ้านตนเองและจากวัด ในหมู่บ้านอื่นที่อยู่ใกล้เคียงให้มาเทศน์ โดยจะมี ใบฎีกาบอกรายละเอียดวันเวลาเทศน์ ตลอดจนบอกเจ้าศรัทธา ผู้ที่จะเป็นเจ้าของกัณฑ์นั้น ๆ ไว้ ด้วย ๓. การจัดแบ่งเจ้าศรัทธา เพื่อพระเณรท่านเทศน์จบในแต่ละกัณฑ์ ผู้เป็นเจ้าศรัทธาก็ จะนำ�เครื่องปัจจัยไทยทานไปถวายตามกัณฑ์ที่ตนเองรับผิดชอบ ชาวบ้านจะจัดแบ่งกันออกเป็น หมู่ ๆ เพื่อรับเป็นเจ้าศรัทธากัณฑ์เทศร่วมกัน โดยจะต้องจัดหาที่พัก ข้าวปลาอาหารไว้คอยเลี้ยง ต้อนรับญาติโยมที่ติดตามพระเณร จากหมู่บ้านอื่นเพื่อมาเทศน์ผะเหวดครั้งนี้ด้วย ๔. การเตรียมสถานที่พัก พวกชาวบ้านจะพากันทำ�ความสะอาดบริเวณวัดแล้วช่วยกัน “ปลูกผาม” หรือ ปะรำ�ไว้รอบ ๆ บริเวณวัด เพื่อใช้เป็นที่ต้องรับพระเณรและญาติโยมผู้ติดตาม พระเณรจากหมู่บ้านอื่น ให้เป็นที่พักแรมและที่เลี้ยงข้าวปลาอาหาร ๕. การจัดเครื่องกิริยาบูชาหรือเครื่องครุพัน ในการทำ�บุญผะเหวดนั้นชาวบ้านต้องเตรี ยม “เครื่องฮ้อยเครื่องพัน” หรือ “เครื่องบูชาคาถาพัน” ประกอบด้วยธูปหนึ่งพันดอก เทียนหนึ่ง พันเล่ม ดอกบัวโป้ง (บัวหลวง) ดอกบัวแป้ (บัวผัน) ดอกบัวทอง (บัวสาย) ดอกผักตบ และดอกก้าง ของ (ดอกปีบ) อย่างละหนึ่งพันดอก เมี่ยง หมากอย่างละหนึ่งพันคำ� มวนยาดูดหนึ่งพันมวน ข้าว ตอกใส่กระทงหนึ่งพันกระทง ธุงกระดาษ (ธงกระดาษ) หนึ่งพันธง ๖. การจัดเตรียม สถานที่ที่จะเอาบุญผะเหวด ๖.๑ บนศาลาโรงธรรม ตั้งธรรมมาสน์ไว้กลางศาลาโดยรอบนั้นจัดตั้ง “ธุงไซ” (ธงชัย) ไว้ทั้งแปดทิศ และจุดที่ตั้ง “ธุงไซ” แต่ละต้นจะต้องมี “เสดถะสัต” (เศวตฉัตร) “ผ่านตา เว็น” (บังสูรย์) และตะกร้าหนึ่งใบสำ�หรับใส่ข้าวพันก้อนพร้อมทั้ง “บั้งดอกไม้” สำ�หรับใส่ดอกไม้ แห้ง ซึ่งส่วนมากทำ�จากต้นโสนและใส่ “ธุงหัวคีบ” นอกจากนี้ที่บั้งดอกไม้ยังปักนกปักปลาซึ่งสาน จากใบมะพร้าวหรือใบตาลไว้อีกจำ�นวนหนึ่งและตั้งโอ่งนํ้าไว้ ๕ โอ่ง รอบธรรมาสน์ซึ่งสมมติเป็น สระ ๕ สระ ในหม้อนํ้าใส่จอกแหน (แหนคือสาหร่าย) กุ้ง เหนี่ยว ปลา ปู หอย ปลูกต้นบัวในบ่อให้ ใบบัวและดอกบัวลอยยิ่งดี รวมทั้งจะต้องจัดให้มีเครื่องสักการะบูชาคาถาพันและขันหมากเบ็งวาง ไว้ตามมุมธรรมาสน์ ณ จุดที่วางหม้อนํ้า ที่สำ�คัญบนศาลาโรงธรรมต้องตกแต่งให้มีสภาพคล้ายป่า โดยนำ�เอาต้น อ้อย ต้นกล้วย มามัดตามเสาทุกต้น และขึงด้ายสายสิญจน์รอบศาลา ทำ�ราวไม้ไผ่สูงเหนือศรีษะ ประมาณหนึ่งศอกเพื่อเอาไว้เสียบดอกไม้แห้งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่ห้อยนก ปลาตะเพียน และใช้เมล็ดแห้งของฝักลิ้นฟ้า (เพกา) ร้อยด้วยเส้นด้ายยาวเป็นสายนำ�ไปแขวนเป็นระยะ ๆ และ ถ้าหากดอกไม้แห้งอื่นไม่ได้ก็จะใช้เส้นด้ายชุบแป้งเปียกแล้วนำ�ไปคลุกกับเมล็ดข้าวสาร ทำ�ให้เมล็ด ข้าวสารติดเส้นด้านแล้วนำ�เส้นด้ายเหล่านั้นไปแขวนไว้แทน ด้านทิศตะวันออกของศาลาโรงธรรมต้องปลูก “หออุปคุต” โดยใช้ไม้ไผ่ทำ�เป็นเสาสี่ต้น


91

สูงเพียงตา หออุปคุตนี้เป็นสมมติว่าจะเชิญพระอุปคุตมาประทับ เพื่อปราบมารที่จะมาขัดขวาง การทำ�บุญ ต้องจัดเครื่องใช้ของพระอุปคุตไว้ที่นี้ด้วย ๖.๒ บริเวณรอบศาลาโรงธรรมก็ปัก “ธุงไซ” ขนาดใหญ่ ๘ ซุง ปักไว้ตามทิศทั้งแปดซึ่ง แต่ละหลักธุงจะปัก “กรวยไม้ไผ่สำ�หรับใส่ข้าวพันก้อน” “เสดถะสัด” (เศวตฉัตร) “ผ่านตาเว็น” (บังสูรย์) และ “ขันดอกไม้” เช่นเดียวกับบนศาลาโรงธรรม นอกจากนี้ก็ปักธุงช่อไว้ ณ จุดเเดียวกับ ที่ปัก “ธุงไซ” อีกด้วย ครั้งถึงเวลาประมาณ ๑๔ – ๑๕ นาฬิกาของมื้อโฮมหรือวันรวม ผู้เฒ่าผู้แก่จะพากันนำ� เครื่องสักการะบูชาประกอบด้วยขันห้าขัน แปดบาตรจีวร ร่ม กระโถนกานํ้า และไม้เท้าเหล็กไป เชิญพระอุปคุตซึ่งสมมติว่าท่านอาศัยอยู่ในแหล่งนํ้า อาจเป็นบึง หนอง แม่นํ้า อ่างเก็บนํ้า (ที่อยู่ ใกล้วัด) เมื่อไปถึงผู้เป็นประธานจะตั้งนะโมขึ้น ๓ จบ กล่าว “สัคเค” เชิญเทวดามาเป็นพยานแล้ว จึงกล่าวอาราธนาเชิญพระอุปคุต เมื่อกล่าวจบก็ตีฆ้องตีกลองนำ�เครื่องสักการะแห่มาที่วัด เวียน รอบศาลาโรงธรรม ๓ รอบ แล้วจึงนำ�เครื่องสักการะทั้งหมดวางไว้บนหออุปคุต หลังจากเชิญพระอุปคุตเสร็จแล้วก็ถึงพิธีแห่ผะเหวดเข้าเมืองซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ของมื้อโฮม พิธีกรรมก่อนแห่ เมื่อถึงเวลาแห่ ผู้เป็นประธานจะนำ�ญาติโยม (ที่มาพร้อมกันในบริเวณ ชายป่าที่ถูกสมมติให้เป็นป่าหิมพานต์) ไหว้พระรับศีลและฟังเทศ การเทศน์ ณ จุดนี้เป็นการเทศน์ จบแล้วก็จะลั่นฆ้อง จัดขบวนแห่ผะเหวดเข้าเมือง เดินผ่านหมู่บ้านเข้าสู่วัด แล้วแห่เวียนขวา รอบ ศาลาโรงธรรมสามรอบ จากนั้นจึงนำ�พระพุทธรูปขึ้นตั้งไว้ในศาลาโรงธรรม ญาติโยมที่เก็บดอกไม้ มาจากป่า เช่น ดอกพะยอม ดอกจิก (ดอกเต็ง) ดอกฮัง (ดอกรัง) ดอกจาน ฯลฯ ก็จะนำ�ดอกไม้ไป วางไว้ข้าง ๆ ธรรมาสน์ แล้วขึงผ้าผะเหวดรอบศาลาโรงธรรม กลังจากแห่ผะเหวดเข้าเมืองแล้วญาติโยมจะพากันกลับบ้านเรือนของตน รับประทาน อาหารเย็น พร้อมทั้งเลี้ยงดูญาติพี่น้องที่เดินทางมาร่วมทำ�บุญเวลาประมาณหนึ่งทุ่มเศษ ๆ ทางวัด จะตี “กลองโฮม” เป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่าถึงเวลา “ลงวัด” ญาติโยมจะพากันมารวมกัน ที่ศาลาโรงธรรมพระภิกษุสงฆ์สวด พระปริตมงคลหลังจากสวดมนต์จบก็จะ “เทศน์มาไลยหมื่นมา ไลยแสน” หลังจากฟังเทศน์จบก็จัดให้มีมหรสพ เช่น หมอลำ� ภาพยนต์ให้ชมจนถึงสว่าง เวลาประมาณ ๐๔.๐๐ น. ของวันบุญผะเหวด ญาติโยมจะนำ�ข้าวเหนียวก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือจำ�นวนหนึ่งพันก้อนซึ่งเท่ากับหนึ่งพระคาถา ในเรื่องราวของพระเวสสันดร ชาดก ใส่ถาดออกจากบ้านเรือน แห่จากหมู่บ้านมาที่ศาลาโรงธรรมเวียน รอบศาลาโรงธรรมสาม รอบ แล้วจึงนำ�ข้าวพันก้อนไปใส่ไว้ในกรวยไม้ไผ่ที่หลักธุงไซทั้งแปดทิศและใส่ในตะกร้าที่วางอยู่ บนศาลาตามจุดที่มีธุงไซและเสดถะสัด เมื่อแห่ข้าวพันก้อนเสร็จแล้วก็จะมีเทศน์สังกาศ คือ การ เทศน์บอกปีศักราช เมื่อจบสังกาศจะหยุดพักให้ญาติโยมกลับไปบ้านเรือน นำ�อาหารมาใส่บาตร


92

จังหันหลังจากพระฉันจังหันแล้วก็จะเริ่มเทศน์ผะเหวด โดยเริ่มจากกัณฑ์ทศพรไปจนถึงนครกัณฑ์ รวมสิบสามกัณฑ์ ใช้เวลาตลอดทั้งวันจนถึงคํ่ามีความเชื่อกันว่าหากใครฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดร จบผู้นั้นจะได้รับอานิสงส์มาก พิธีกรรมขณะฟังเทศน์ ในการฟังเทศน์ “บุญผะเหวด” นั้นต้องมีทายกหรือทายิกา คอย ปฏิบัติพิธีกรรม ขณะฟังเทศน์แต่ละกัณฑ์ โดยจุดธูปเทียน เพื่อบูชากัณฑ์นั้น ๆ ตามจำ�นวนคาถา ในแต่ละกัณฑ์ นอกจากนั้นต้องหว่านข้าวตอก ดอกไม้ ข้าวสาร และลั่นฆ้องชัย เมื่อเทศน์จบใน แต่ละกัณฑ์ โดยผู้ทำ�หน้าที่ดังกล่าวนี้ต้องนั่งอยู่ประจำ�ที่ตลอดเวลาที่เทศน์ ส่วนเครื่องฮ้อยเครื่องพัน หรือเครื่องครุพันนั้นต้องตั้งบูชาไว้ตลอดงาน เมื่อเทศน์จบแล้ว บางวัดก็นำ�เครื่องฮ้อย เครื่องพัน ใส่ไว้ในภาชนะที่สานด้วยดอกไม้ไผ่ มีลักษณะเหมือนกะออม ปากเป็นกรวยแหลมใช้ผ้าขาวหุ้ม แล้วใช้ด้ายถักหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อจะได้นำ�มาใช้เป็นเครื่องสักกา ระบูชาเวลามีบุญผะเหวดในปีต่อ ๆ ไป 63 เดือนห้า บุญสรงนํ้า หรือ บุญฮดสรง บุญฮดสรง หรือ บุญสงกรานต์ จัดให้มีในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือนห้า ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ของไทยมาตั้งแต่โบราณ ในวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณในวันนี้พระสงฆ์นำ�พระพุทธรูปออก จากโบสถ์มาไว้ที่หอสรงตอนบ่าย ชาวบ้านจะนำ�นํ้าอบ นํ้าหอม มาร่วมกันสรงนํ้าพระพุทธรูปที่หอ สรงนี้ จากนั้นก็ออกไปเก็บดอกไม้มาจัดประกวดประชันในการบูชาพระ ระหว่างนี้ชาวบ้านจะพา กันเล่นแคน ฉิ่งฉาบ เพื่อความสนุกสนานรดนํ้าดำ�หัวญาติผู้ใหญ่และเล่นสาดนํ้ากัน โดยชาวบ้าน อาจเล่นสนุกสนานถึง ๑๕ วัน 64 มูลเหตุของพิธีกรรม เนื่องจากเดือนนี้ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่มาแต่โบราณ โดยจะถือเอาวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๕ เป็นวันเริ่มต้นการทำ�บุญ พิธีกรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนห้าเวลาบ่ายสามโมง ถือว่า “เป็นมื้อเอาพระลง” หมายถึง การนำ�เอา พระพุทธรูปทั้งหมดในวัดมาทำ�ความสะอาดแล้วนำ�มาตั้งรวมไว้ที่กลางศาลาโรงเรือน หรือ “หอ แจก” พิธีเริ่มจากผู้เป็นประธานนำ�ดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะพระพุทธรูป แล้วนำ�กล่าว บูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีลญาติโยมรับศีลแล้วผู้เป็นประธานอาราธนาพระ ปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วญาติโยมก็เอานํ้าอบนํ้าหอมสรงพระพุทธรูป จากนั้น หนุ่มสาวก็จะพากันหาบนํ้าจากบ่อหรือหนอง บึง ไปเทไว้ในโอ่งของวัดให้พระภิกษุ สามเณรได้ใช้ อาบ ขณะเดียวกันก็จะเริ่มเล่นสาดนํ้ากันและกันเป็นที่สนุกสนาน ตอนคํ่านิมนต์พระสงฆ์มาสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) ที่ผามไชย์กลางหมู่บ้าน รุ่งเช้า (วัน 63 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๑๘. 64 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๒๕.


93

แรมหนึ่งค่ำ�) เป็น “มื้อเนา” ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ มีการทำ�บุญให้ทาน โดยนำ�ข้าวปลาอาหารมา ถวายพระที่ผามไชย์ การสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) นี้ต้องสวดให้ครบ ๗ คืน โดยมีบาติใส่นํ้ามนต์ไว้ ๗ ใบ พร้อมทั้งมีถังใส่กรวดทรายไว้จำ�นวนหนึ่ง เมื่อครบ ๗ คืนแล้ว พระสงฆ์จะเดินสวด ไชยมงคลไป รอบหมู่บ้าน พร้อมกับสาดนํ้ามนต์ ส่วนญาติโยมจะหว่านกรวดทรายไปพร้อม ๆ กัน ถือว่าเป็นการ ขับไล่สิ่งอัปมงคล และเสนียดจัญไรออกไปจากหมู่บ้าน ทำ�ให้คนทั้งหมู่บ้านประสบแต่ความสุข ความเจริญในปีใหม่ที่จะมาถึง คนอีสานเรียกวันสงกรานต์ดังนี้ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วัน สังขารล่วง วันที่ ๑๔ วันเนา และ วันที่ ๑๔ เรียกว่า วันสังขารขึ้น 65

เดือนหก บุญบั้งไฟ บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับแถน เมื่อถึงเดือนหกเริ่มต้นการทำ� นา ชาวบ้านจะจุดบั้งไฟเป็นการบูชาขอให้พญาแถนบันดาลฝนให้ตกลงมา ประเพณีบุญบั้งไฟเป็น กิจกรรมร่วมกันของชุมชนอีสานหลาย ๆ หมู่บ้าน หมู่บ้านเจ้าภาพจะปลูกโรงเรือน เรียกว่า ผาม บุญ ไว้ต้อนรับชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่น และดูแลจัดหาอาหารสำ�หรับทุก ๆ คน เช้าของวันงานชาว บ้านจะร่วมกันทำ�บุญ ประกวดประชัน แห่ และจุดบั้งไฟที่ตกแต่งอย่างงดงาม บั้งไฟของหมู่บ้าน ใดจุดไม่ขึ้นชาวบ้านหมู่บ้านนั้นจะถูกโยนลงโคลนเป็นการทำ�โทษ และจะมีการเซิ้ง ฟ้อน กันอย่าง สนุกสนาน และจะมีการเซิ้งปลัดขิกร่วมอยู่ในขบวนด้วยเสมอ โดยมีความเชื่อว่าเป็นการไล่ผีให้พ้น ออก ไปจากหมู่บ้านและเร่งให้แถนส่งฝนลงมาเร็วๆ66 มูลเหตุของพิธีกรรม ตามตำ�นานพื้นบ้านอีสานเชื่อว่าเป็นการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณเตือนให้พญาแถนรู้ว่าถึง ฤดูทำ�นาแล้วให้พญาแถนบันดาลให้ฝนตกและมีปริมาณเพียงพอแก่การปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร พิธีกรรม เมื่อได้ประชุมกำ�หนดวันจะทำ�บุญบั้งไฟแล้ว พวกช่างปั้นไฟก็จะตระหนักทำ� บั้งไฟ หาง บั้งไฟก่องข้าว ไว้ตามจำ�นวนและขนาดที่ชาวบ้านศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินซื้อศรัทธา ซื้อ “ขี้เกีย หรือ ขี้เจี้ย” (ดินประสิว) มาทำ� “หมื่อ” ปัจจุบันมักจะมีการแข่งขันบั้งไฟระหว่างคุ้ม บอกกล่าวไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ให้ทำ�บั้งไฟมาแข่งขันกันตามขนาดที่กำ�หนดอาจเป็น “บั้งไฟหมื่น” (มีนํ้าหนักไม่เกิน ๑๒๐ กิโลกรัม) “บั้งไฟแสน” (มีน้ำ�หนักมากกว่า ๑๒๐ กิโลกรัม) ก็ได้ พอถึง “มื้อ โฮมบุญ” หรือวันรวม ชาวบ้านจะจัดทำ�บุญเลี้ยงพระเพล แล้วจะมี “พิธีฮดสง” พระภิกษุผู้มีศีล ศึกษาธรรมวินัยมาตลอดพรรษาให้ได้เลื่อนเป็นตำ�แหน่งสูงขึ้น คือ “ฮด” จาก พระภิกษุธรรมดา ให้เป็นภิกษุขั้น “อาจารย์” แต่เรียกสั้น ๆ ว่า “จารย์” ผู้มีอายุครบบวชถ้าอยากบวช พ่อแม่มัก จะจัดให้บวชในเดือนนี้ไปพร้อม ๆ กับพิธีนี้ ประมาณเวลา ๑๕.๐๐ น. ของมื้อโฮม นำ� “กองฮด” และ “กองบวช” มาตั้งไว้กลางศาลาโรงธรรมทางวัดจะตีกลองเป็นสัญญาณ บอกให้ทุกคุ้มนำ�บั้งไฟ 65 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๓๐. 66 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๒๙.


94

มารวมกันที่วัด แต่ละคุ้มจะเอ้บั้งไฟ (ตกแต่งบั้งไฟ) ของตนให้สวยงามเป็นการประกวดประชันกัน เบื้องต้น มีการจัดขบวนการแห่บั้งไฟ และในขณะที่แห่บั้งไฟจะเซิ้งบั้งไฟไปพร้อม ๆ กันด้วย การ เซิ้งบั้งไฟนี้จะมีหัวหน้ากล่าวนำ�คำ�เซิ้งเป็นวรรค ๆ ไปแล้วให้ผู้เข้าร่วมขบวนแห่ทุกคนกล่าวตาม ขณะที่กล่าวก็รำ�ให้เข้ากับจังหวะเซิ้งนั้นด้วย รุ่งเช้าของวันบุญบั้งไฟ ญาติโยมจะนำ�ข้าวปลาอาหารทั้งขนมหวาน มาทำ�บุญตักบาตร ร่วมกันที่วัด หลังจากพระฉันจังหันเสร็จแล้วก็จะนำ�บั้งไฟมารวมกันที่วัดแล้วนำ�ไปจุดที่ “ค้าง บั้งไฟ” (ร้านสำ�หรับจุดบั้งไฟ) ที่สำ�คัญเวลาจุดต้องหันหัว บั้งไฟไปทางทุ่งนาหรือหนองนํ้าเพื่อ ป้องกันบั้งไฟไม่ให้ตกในหมู่บ้าน ชาวบ้านก็จะพากันมาดูบั้งไฟ หากบั้งไฟจุดแล้วพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ช่างบั้งไฟบั้งนั้นจะได้รับการหาบแห่รอบบริเวณค้างบั้งไฟ แต่ถ้าบั้งไฟบั้งใดจุดแล้วเกิดหลุดเดือด เพราะ “ชุ” หรือ “แตก” หรือขึ้นจากค้างเพียงนิดเดียวหางของบั้งไฟยังไม่พ้นจากค้างช่างผู้ทำ� บั้งไฟนั้นจะถูก “หามลงตม” บางทีก็ถูกจับโยมลงปลักควายนอนแล้วถูกทาขี้โคลนตลอดทั้งตัว 67 เดือนเจ็ด บุญซำ�ฮะ บุญซำ�ฮะหรือชำ�ระ เกิดตามความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือนเจ็ดต้องทำ�บุญชำ�ระจิตใจให้ สะอาด และเพื่อปัดเป่ารังควาญสิ่งไม่เป็นมงคลออกจากหมู่บ้านบางท้องถิ่นเรียกประเพณีนี้ว่าบุญ เบิกบ้าน ซึ่งมีพิธีกรรมทั้งทางศาสนาพุทธและไสยศาสตร์ ในวันงานชาวบ้านจะพากันนำ�ภัตตาหาร มาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์และร่วมกันฟังเทศน์ฟังธรรม รวมทั้งมีการเซ่นไหว้ศาลหลักบ้าน เพื่อขอ ความคุ้มครองให้พ้นจากภัยพิบัติและช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีไม่งามออกไปจากหมู่บ้าน ให้บ้านเกิดความ เป็นสิริมงคล68 มูลเหตุของพิธีกรรม มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่าครั้งหนึ่งเมืองไพสาลีเกิด “ทุพภิกขภัย” ข้าวยาก หมาก แพง ประชาชนขาดแคลนอาหารเพราะฝนแล้ง สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ล้มตายเพราะความหิว ซํ้าร้าย อหิวาตกโรคหรือ “โรคห่า” ก็ระบาดทำ�ให้ผู้คนล้มตายกันมากมาย ชาวเมืองกลุ่มหนึ่งจึงพากัน เดินทางไปนิมนต์พระพุทธเจ้าให้มาปัดเป่าภัยพิบัติครั้งนี้ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเมืองไพสาลี ก็เกิดฝน “ห่าแก้ว” ตกลงมาอย่างหนักจนนํ้าฝนท่วมแผ่นดินสูงถึงหัวเข่าและนํ้าฝนก็ได้พัดพา เอาซากศพของผู้คนและสัตว์ต่าง ๆ ไหลล่องลอยลงแม่นํ้าไปจนหมดสิ้น พระพุทธเจ้าทรงทำ�นํ้า พระพุทธมนต์ใส่บาติแล้วมอบให้พระอานนท์นำ�ไปประพรมทั่วเมือง โรคภัยไข้เจ็บก็สูญสิ้นไปด้วย เดชะพระพุทธานุภาพ ดังนั้นคนลาวโบราณรวมทั้งไทยอีสานจึงทำ�บุญซำ�ฮะขึ้นในเดือน ๗ ของทุก ๆ ปี พิธีกรรม พอถึงวันทำ�บุญชาวบ้านทุกครัวเรือนจะนำ�ดอกไม้ธูปเทียน ขันน้ำ�มนต์ ขันใส่กรวด ทราย และเฝ้าผูกแขนมารวมกันที่ศาลากลางบ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่มีศาลากลางบ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่มี 67 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๓๔. 68 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๓๓.


95

ศาลากลางบ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันปลูกปะรำ�พิธีขึ้นกลางหมู่บ้าน ตกตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์ มาสวดชัยมงคลคาถา (ชาวอีสานเรียกว่า ตั้งมุงคุน) เช้าวันรุ่งขึ้นจะพากันทำ�บุญตักบาตร เลี้ยง พระถวายจังหันเมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วจะให้พรและประพรมนํ้าพุทธมนต์ให้แก่ทุกคนที่มาร่วม ทำ�บุญ จากนั้นชาวบ้านจะนำ�ขันนํ้ามนต์ด้ายผูกแขน ขันกรวดทรายกลับไปที่บ้านเรือนของตนเอง แล้วนำ�นํ้ามนต์ไป ประพรมให้แก่ทุกคนในครอบครัว ตลอดจนบ้านเรือนและวัวควาย เอาด้ายผูก แขน ลูกหลานทุกคนเพราะเชื่อว่าจะนำ�ความสุขและสิริมงคลมาสู่สมาชิกทุกคน ส่วนกรวดทราย ก็จะเอามาหว่านรอบ ๆ บริเวณบ้านและที่สวนที่นา เพื่อขับไล่เสนียดจัญไร และสิ่งอัปมงคลทั้ง หลายให้หมดสิ้นไป ในขณะเดียวกันชาวบ้านจะทำ�ความสะอาดบ้านชำ�ระล้างสิ่งสกปรก ขุดท้อง ร่องชำ�ระหยากไย่มูลฝอย เพื่อล้างเสนียดจัญไรด้วย 69

เดือนแปด บุญเข้าพรรษา บุญเข้าพรรษาของภาคอีสานเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาคล้ายคลึงกับทางภาคกลาง คือจะมีการทำ�บุญตักบาตร ถวายผ้าอาบนํ้าฝน สงบ จีวรและเทียนพรรษา หากแต่ในภาคอีสานจะ จัดขบวนแห่เทียนอย่างยิ่งใหญ่ และมักมีการประกวดความสวยงามของเทียนจากแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งตกแต่งสลักเสลาเทียนเป็นลวดลาย เรื่องราวทางพุทธศาสนาอย่างสวยงาม เมื่อแห่เทียนมาถึง วัด ชาวบ้านจะรับศีล รับพรฟังธรรม ตอนคํ่าจะเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ 70 มูลเหตุของพิธีกรรม เนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระภิกษุเที่ยวจาริกสอนธรรมไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตลอด ทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูฝน ฤดูหนาว หรือฤดูร้อน แต่ในฤดูฝนนั้นภิกษุได้เหยียบยํ่าข้าวกล้าในนา ของชาวบ้านเสียหาย สัตว์ตัวน้อยต่าง ๆ พลอยถูกเหยียบตายไปด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติ ให้ภิกษุต้องจำ�พรรษา ๓ เดือนในฤดูฝนโดยมิให้ไปค้างแรมที่อื่นใดนอกจากในวัดของตน ถ้าภิกษุ ฝ่าฝืนถือว่า “ศีลขาดและต้องอาบัติทุกกฎ” เว้นแต่กรณีจำ�เป็นที่เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” เช่น บิดามารดาป่วย เป็นต้น แต่ต้องกลับมาภายใน ๗ วันพรรษาจึงจะไม่ขาด พิธีกรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนแปดตอนเช้าญาติโยมก็จะนำ�ดอกไม้ธูปเทียน ข้าวปลา อาหารมา ทำ�บุญตักบาตรที่วัดตอนบ่ายจะนำ�สบงจีวร ผ้าอาบนํ้า เทียนพรรษา และดอกไม้ธูปเทียนมาถวาย พระภิกษุที่วัดแล้วรับศีลฟังธรรมพระเทศนาพอถึงเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. ชาวบ้าน จะนำ�ดอกไม้ธูปเทียนมารวมกันที่ศาลาโรงธรรมเพื่อรับศีล และเวียนเทียนจนครบสามรอบ แล้ว จึงเข้าไปในศาลาโรงธรรมเพื่อฟังพระธรรมเทศนาจนจบจากนั้นจะแยกกันกลับบ้านเรือนของตน ส่วนผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าก็จะพากันรักษาศีลแปดจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันแรมหนึ่งคํ่าเดือนแปด อันเป็นวันเข้าพรรษา ซึ่งพระภิกษุจะต้องจำ�พรรษาในวัดของตนเป็นเวลาสามเดือน 71 69 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๔๑. 70 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๓๗. 71 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๔๕.


96

เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวประดับดิน จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนเก้าเป็นการทำ�บุญให้ญาติผู้ล่วงลับ โดย การนำ�ข้าวปลาอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่อย่างละเล็กละน้อย ห่อด้วยใบตองเป็นสองห่อ กลัดติดกันเตรียมไว้ตั้งแต่หัวคํ่า ครั้นถึงเวลาตีสาม ตีสี่ของวันรุ่งขึ้นจะนำ�ห่ออาหารและหมากพลู ไปวางไว้ตามโคนต้นไม้รอบ ๆ วัด เพื่อให้ญาติพี่น้อยผู้ล่วงลับ รวมทั้งผีไร้ญาติอื่น ๆ ซึ่งเชื่อว่าจะ มาเยี่ยมญาติพี่น้องในเวลานี้มารับไปเพื่อจะได้ไม่อดอยากหิวโหย นอกจากจะเป็นการทำ�บุญและ ทำ�ทานแล้วยังแสดงถึงความกตัญญูอีกส่วนด้วย72 มูลเหตุของพิธีกรรม คนลาวและไทยอีสานมีความเชื่อสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลว่ากลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรมสิบสี่คํ่าเดือนเก้า) เป็นวันที่ประตูนรกเปิดในรอบปี ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยม ญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว พิธีกรรม ตอนเย็นของวันแรม ๑๓ คํ่าเดือนเก้า แม่บ้านแม่เรือนทุกครัวเรือนจะ “ห่อข้าว น้อย” ซึ่งมีวิธีห่อดังนี้ ฉีกใบตองออกให้มีขนาดกว้างเท่ากับหนึ่งฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุด ซี่ของใบกล้วย นำ�เอาข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ วางบนใบตองที่ จะห่อ จากนั้นแก่เนื้อปลา ไก่ หมู ใส่ลงไปอย่างละเล็กน้อย (ถือว่าเป็นอาหารคาว) แล้วใส่นํ้าอ้อย กล้วยสุก มะละกอสุกหรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไปอีกนิด (ถือว่าเป็นของหวาน) จากนั้นใส่หมากหนึ่ง คำ� บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ� แล้วจึงห่อใบตอบเข้าหากัน โดยใช้ไม้กลัดหัวท้ายและตรงกลางก็จะ ได้ห่อข้าวน้อยที่มีลักษณะยาว ๆ (คล้ายห่อข้าวเหนียวปิ้ง) สำ�หรับจำ�นวนของห่อข้าวน้อยนี้ก็ควร จะให้มีมากกว่าจำ�นวนญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งนี้เพราะจะต้องมีจำ�นวนหนึ่งเผื่อผีไม่มีญาติ ด้วย ครั้งถึงเวลาประมาณ ๐๓.๐๐ – ๐๔.๐๐ น. ของวันแรม 14 คํ่า เดือนเก้าพวกผู้ใหญ่ ในแต่ละครัวเรือนจะนำ�เอาห่อข้าวน้อยไปวางไว้ตามโคนต้นไม้ในวัด ตามดินริมกำ�แพงวัดบ้าง ริม โบสถ์ริมเจดีย์ในวัดบ้าง การนำ�เอาห่อข้าวน้อยไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ ในวัดนี้เรียกว่า “การยายห่อ ข้าวน้อย” ซึ่งจะพากันทำ�เงียบ ๆ ไม่มีฆ้องกลองแห่แต่อย่างใด หลังจากยายห่อข้าวน้อยเสร็จแล้ว จะกลับบ้านเตรียมหุงหาอาหารในตอนรุ่งเช้าของวันแรม 14 คํ่า เดือนเก้า ซึ่งญาติโยมทุกครัวเรือน จะนำ�ข้าวปลาอาหารไปทำ�บุญตักบาตรเลี้ยงพระ จากนั้นพระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยว กับอานิสงฆ์ของบุญข้าวประดิบดินให้ฟัง ญาติโยมถวายจตุปัจจัยไทยทาน พระสงฆ์ให้พรญาติโยม กรวดนํ้าอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้ญาติผู้ล่วงลับ73 72 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๔๑. 73 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๔๙.


97

เดือนสิบ บุญข้าวสาก บุญข้าวสากเป็นประเพณีในวันขึ้น ๑๕ คํ่า ซึ่งชาวบ้านจะจัดเตรียมสำ�รับอาหาร ซึ่ง บรรจุข้าวเหนียว อาหารแห้ง เช่น ปลาย่าง เนื้อย่าง แจ่วบองหรือนํ้าพริกปลาร้า และห่อข้าวเล็ก ๆ อีกห่อหนึ่งสำ�หรับอุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับและนำ�ไปทำ�บุญที่วัด โดยจะเขียนชื่อเจ้าของ สำ�รับอาหาร และเครื่องไทยทานใส่ไว้ในบาตร เพื่อให้พระในวัดจับสลาก หากภิกษุรูปใดจับสลากได้ชื่อผู้ใด ก็จะ ได้สำ�รับอาหารพร้อมเครื่องไทยทานของเจ้าภาพนั้น ๆ มูลเหตุพิธีกรรม เพื่อจะทำ�ให้ข้าวกล้าในนาที่ปักดำ�ไปนั้นงอกงามและได้ผลบริบูรณ์และเป็นการอุทิศ ส่วนกุศลถึงญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว พิธีกรรม เช้าวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือนสิบ ญาติโยมจะพากันทำ�บุญใส่บาตร ครั้นถึงเวลา พระฉันเพล ญาติโยมชาวบ้านเกือบทุกครั้งคาเรือนจะจัด “พาข้าว” (คือสำ�รับกับข้าว) พร้อมทั้ง ปัจจัยไทยทาน 1 ชุด แล้วเขียนชื่อของตนลงบนแผ่นกระดาษม้วนลงใส่ในบาตรเดียวกัน เมื่อทุก คนพร้อมแล้ว ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำ�คำ�ถวายสลากภัต ญาติโยมว่าตามจบแล้วนำ�ไปให้พระเณร จับสลากที่อยู่ในบาตร พระเณรรูปใดจับได้สลากของใครผู้เป็นเจ้าของพาข้าวและเครื่องปัจจัย ไทยทานก็นำ�ไปประเคนให้พระเณรรูปนั้น ๆ จากนั้นพระเณรจะฉันท์เพลแล้วให้พรญาติโยมจะพา กันรับพร แล้วกรวดนํ้าอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้แก่ญาติพี่น้องผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว75 74

เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา บุญออกพรรษาในเดือนสิบเอ็ดนอกจากจะเป็นโอกาสที่พระภิกษุสงฆ์จะแสดงอาบัติ และว่ากล่าวตักเตือนกันแล้ว ชาวบ้านในภาคอีสานยังมีกิจกรรมกันอีกหลายอย่าง ทั้งประเพณี ตักบาตรเทโว การจุดประทีปโคมไฟประดับประดาตามต้นไม้ บางแห่งนำ�ต้นอ้อย หรือไม้ไผ่มามัด เป็นเรือจุดโคมแล้วนำ�ไปลอยในแม่นํ้าที่เรียกว่า การไหลเรือไฟ เพื่อเป็นพุทธบูชาสำ�หรับหมู่บ้านที่ อยู่ไกลแหล่งนํ้าจะนิยมทำ�ปราสาทผึ้งหรือผาสาดผึ้งทำ�จากกาบกล้วยประดับประดาด้วยขี้ผึ้ง ซึ่ง ทำ�เป็นดอกไม้ แต่ปัจจุบันมักใช้ขี้ผึ้งมาตกแต่งปราสาททั้งหลัง แล้วจัดขบวนแห่มาถวายที่วัดอย่าง สนุกสนาน 76 มูลเหตุพิธีกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ภิกษุสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ และเพื่อพระภิกษุสงฆ์จะได้จาริกไป ในที่ต่าง ๆ เพื่อเที่ยวสั่งสอนศีลธรรมและธรรมะแก่ประชาชน หรือเพื่อแสวงหาความสงบวิเวกใน การปฏิบัติธรรม โดยไม่ต้องกลับมาค้างแรมที่วัดและให้ภิกษุหาผ้านุ่มห่มใหม่มาผลัดเปลี่ยน 74 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๔๕. 75 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๕๓. 76 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๔๙.


98

พิธีกรรม ในเช้ามืดวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑ พระสงฆ์จะไปรวมกันที่อุโบสถเพื่อแสดงอาบัติ ต่อกัน จากนั้นจะทำ�วัตรและทำ�ปวารณาแทนการสวดปาฏิโมกข์ (ปวารณา คือ พิธีกรรมทาง ศาสนาที่สงฆ์ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกับการปวารณาจะทำ�ในวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวัน ออกพรรษา จึงเรียกวันออกพรรษาว่าวันปวารณาหรือวันมหาปวารณา (จากพจนานุกรรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๘) ส่วนชาวบ้านก็จะเตรียมข้าวปลาอาหาร เพื่อให้ทำ�บุญตักบาตรที่วัดในตอนรุ่งเข้าและถวายผ้าจำ�นำ�พรรษาแด่ภิกษุสามเณร ตอนคํ่ามีการ เวียนเทียนรอบอุโบสถและถ้าหมู่บ้านใดตั้งอยู่ริมแม่นํ้าหรือหนอง บึง ก็จะมี “การไหลเรือไฟ” เพื่อ เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่นํ้านัมทานทีอีกด้วย 77 เดือนสิบสอง บุญกฐิน บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า “กาลทาน” นี้มีกำ�หนดให้ทำ�ได้เฉพาะในช่วงวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ถึง ๑๕ คํ่า เดือน ๑๒ ของทุกปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “บุญเดือน ๑๒” ชาวอีสาน เชื่อว่าผู้ใดได้ทำ�บุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทำ�ในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า งาน บุญกฐินจึงจัดเป็นงานสำ�คัญ ในส่วนพิธีกรรมนั้นคล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ที่ชาวอีสานและเครื่อง บริวารกฐินซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้องหรือ ชาวบ้านใกล้เคียงนำ�สิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ฯลฯ มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็ จะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ตอนกลางคืนอาจจัดให้มีมหรสพต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้ใน งานบุญกฐินก็คือ ต้องจุด “บั้งไฟพลุ” อย่างน้อยจำ�นวน 4 บั้ง เอาไว้จุดเมื่อตอนหัวคํ่าหนึ่งลูก ตอน ดึกหนึ่งลูก ตอนใกล้สว่างหนึ่งลูก และตอนถวายกฐินอีกหนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุด บั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐิน รุ่งเช้าเป็นขบวนแห่กฐินจากบ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เมื่อถึงวัดต้องแห่เครื่องกฐิน เวียนขวาสามรอบ รอบศาลาโรงธรรม จากนั้นจึงนำ�เครื่องกฐินขึ้นตั้งบนศาลาโรงแรม นำ�ข้าวปลา อาหารถวายพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลี้ยงพระตอนฉันจังหัน แต่ถ้าถวายตอนบ่ายก็จะเลี้ยงพระ ตอนเพล เมื่อพระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าภาพองค์กฐินจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นำ�รับศีลแล้วกล่าวคำ�ถวายกฐินเป็นเสร็จพิธี ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัดก็จะประชุมสงฆ์ แล้วให้ภิกษุรูปหนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่าควรให้แก่ภิกษุ (เอ่ยนามภิกษุ) ที่สมควรจะได้รับ กฐิน ส่วนมากก็เป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น ๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอ ก็จะเปล่งคำ�ว่า “สาธุ” พร้อมกัน จากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ทั้ง วัด พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนาและให้พรเป็นเสร็จพิธีจะขาดไม่ได้ คือ การเฉลิมฉลองโดยการจุด พลุบั้งไฟอย่างเอิกเกริกในขณะที่แห่ขบวนกฐินมาที่วัด 78 77 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๕๕. 78 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๕๓.


99

มูลเหตุพิธีกรรม เพื่อให้ภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ผลัดเปลี่ยนไตรจีวรใหม่ เนื่องจากของเก่าใช้นุ่งห่อมาตลอด ระยะเวลาสามเดื อ นที่ เข้าพรรษาย่อมเก่าครํ่าคร่ามีเรื่องเล่ า ว่ า ในสมั ย พระพุ ท ธองค์ ยั ง ทรงมี พระชนม์ชีพอยู่ ภิกษุชาวเมืองปาฐาจำ�นวน ๓๐ รูปพากันเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเชตุวัน มหาวิหารไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงต้องพากันพักจำ�พรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตพอออกพรรษาแล้วก็รีบ พากันเดินทางกรำ�แดดกรำ�ฝนไปเฝ้าพระพุทธองค์ จีวรที่นุ่มห่มก็เปียกปอน เมื่อพระพุทธองค์ทรง เห็นความยากลำ�บากของพระภิกษุเหล่านี้ก็ทรงอนุญาตให้รับผ้ากฐินได้ เพื่อจะได้มีจีวรเปลี่ยนใหม่ เมื่อนางวิสาขาผู้เป็นมหาอุบาสิกาได้ทราบข่าวจึงนำ�ผ้ากฐินไปถวายพระพุทธองค์เป็นคนแรก การ ทำ�บุญกฐินจึงเกิดเป็นประเพณีมาตราบเท่าทุกวันนี้ พิธีกรรม ผู้มีศรัทธาประสงค์จะนำ�กฐินไปทอดต้องไปขอจองวัดโดยปกติมักจะติดต่อตั้งแต่ตอน เช้าเข้าพรรษาใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นเดือนเก้า เดือนสิบ เมื่อเจ้าอาวาสแจ้งว่าวัดนั้นยังไม่มีผู้ใดจอง กฐิน ผู้มีจิตศรัทธาที่จะทำ�บุญจะปักสลากเพื่อประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นผู้จองและจะนำ� กฐินมาทอดที่วัดดังกล่าวสลากต้องปักไว้ในที่เปิดเผย เช่น ศาลาโรงธรรม หรือฝาผนัง ด้านนอก ของโบสถ์ รายละเอียดในสลากก็จะบอกถึงชื่อที่อยู่ของผู้ที่จะนำ�กฐินมาทอด รวมทั้งบอกวันเวลาที่ จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้เจ้าศรัทธาอื่นนำ�กฐินมาทอด รวมทั้งบอกวันเวลาที่จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้เจ้า ศรัทธาอื่นนำ�กฐินมาทอดซ้ำ�ซ้อนกัน เพราะวัดหนึ่ง ๆ จะรับกฐินได้ปีละหนึ่งกองเท่านั้น คนอีสาน มีความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ทำ�บุญกฐิน แล้วตายไปจะไม่ตกนรก มีแต่จะได้รับผลบุญที่ตนเองกระทำ� เอาไว้เก็บกินในชาติหน้า การทำ�บุญกฐินจึงจัดเป็นงานสำ�คัญ ผู้ที่จะทำ�บุญกฐินจึงบอกกล่าวลูก หลาน ญาติมิตรของตนให้โดยพร้อมหน้า ครั้นถึงวันรวมก็จะตั้งองค์กฐินที่บ้านของตน 79

คองสิบสี่ เป็นบทบัญญัติทางสังคมของชาวอีสานให้เป็นหลักปฏิบัติต่อกันสำ�หรับคนในสถานภาพ ต่าง ๆ มาแต่โบราณโดยใช้เป็นคำ�บอกเล่าขาน สืบต่อกันครั้งยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์ อักษร “คองสิบสี่” มักเป็นคำ�กล่าวควบคู่กับคำ�ว่า ฮีตสิบสอง สันนิษฐานไว้ ๒ ความหมายว่า มาจากคำ�ว่า “คลอง หรือ ครรลอง” เป็นคำ�นามหมายถึง ทางหรือแนวทางเช่น คลองธรรมหรือมา จากครองซึ่งเป็นคำ�กิริยามีความหมายถึงการรักษาไว้ เช่น คำ�ว่า ครองเมือง ครองรักครองชีพโดยที่ ชาวอีสานไม่นิยมออก เสียงคำ�กลํ้า ดังนั้น คองสิบสี่น่าจะมีความหมายถึงแนวทางที่ประชาชนทำ� ไป ชาวบ้านหรือสงฆ์พึงปฏิบัติ ๑๔ ข้อเพื่อดำ�รงรักษาไว้ซึ่งประเพณีและทำ�นองคลองธรรมอันดี งามของท้องถิ่นบ้านเมือง 79 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๖๒.


100

คองสิบสี่โดยนัยที่ ๑ กล่าวถึงผู้เกี่ยวข้องในครอบครัว สังคมตลอดจนผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ เมื่อพูดถึงคองมักจะมีคำ�ว่าฮีตควบคู่กันอยู่เสมอ แบ่งออกเป็น ๑๔ ข้อ คือ ๑. ฮีตเจ้าคองขุน สำ�หรับกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองปกครองอำ�มาตย์ ขุนนางข้าราช บริพาร ๒. ฮีตเจ้าคองเพีย สำ�หรับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในการปกครองข้าทาสบริวาร ๓. ฮีตไพร่คองนาย สำ�หรับประชาชนในการปฏิบัติตนตามกบิลบ้านเมืองและหน้าที่พึง ปฏิบัติต่อนาย ๔. ฮีตบ้านคองเมือง วัตรอันพึงปฏิบัติตามธรรมเนียมทั่วไปของพลเมืองต่อบ้านเมือง และส่วนรวม ๕. ฮีตผัวคองเมีย หลักปฏิบัติต่อกันของสามีภรรยา ๖. ฮีตพ่อคองแม่ หลักปฏิบัติของผู้ครองเรือนต่อลูกหลาน ๗. ฮีตลูกคองหลาน หลักปฏิบัติของลูกหลานต่อบุพการี ๘. ฮีตใภ้คองเขย หลักปฏิบัติของสะใภ้ต่อญาติผู้ใหญ่และพ่อแม่สามี ๙. ฮีตป้าคองลุง หลักปฏิบัติของลุง ป้า น้า อา ต่อลูกหลาน ๑๐. ฮีตคองปู่ย่า, ตาคองยาย หลักปฏิบัติของปู่ย่า ตายาย ให้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรต่อลูก หลาน ๑๑. ฮีตเฒ่าคองแก่ หลักปฏิบัติของผู้เฒ่าในวัยชราให้เป็นที่เคารพเลื่อมในเหมาะสม ๑๒. ฮีตคองเดือน การปฏิบัติตามจารีตประเพณีต่าง ๆ ในฮีตสิบสอง ๑๓. ฮีตไฮ่คองนา การปฏิบัติตามประเพณีเกี่ยวกับการทำ�ไร่ทำ�นา ๑๔. ฮีตวัดคองสงฆ์ หลักปฏิบัติของภิกษุสามเณรให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยทั้งการ ช่วยทำ�นุบำ�รุงวัดวาอาราม คองสิบสี่โดยนัยที่ ๒ กล่าวถึงหลักการสำ�หรับพระมหากษัตริย์ในการปกครองทั้งอำ�มาตย์ราชมนตรีและ ประชาชนเพื่อความสงบสุขร่มเย็น โดยทั่วกัน ๑. แต่งตั้งผู้ซื่อสัตย์สุจริต รู้จักราชการ บ้านเมือง ไม่ข่มเหงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ๒. หมั่นประชุมเสนามนตรี ให้ข้าศึกเกรงกลัว บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ประชาชนเป็นสุข ๓. ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม ๔. ถึงปีใหม่นิมนต์ภิกษุมาเจริญพุทธมนต์ สวดมงคลสูตรและสรงน้ำ�พระภิกษุ


101

๕. ถึงวันปีใหม่ให้เสนา อำ�มาตย์นำ�เครื่องบรรณาการ นํ้าอบ นํ้าหอม มุรธาภิเษก พระเจ้า แผ่นดิน ๖. ถึงเดือนหกนิมนต์ พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ถือนํ้าพิพัฒน์สัตยาต่อพระเจ้า แผ่นดิน ๗. ถึงเดือนเจ็ด เลี้ยงท้าวมเหสักข์ หลักเมือง บูชาท้าวจตุโลกบาลเทวดาทั้งสี่ ๘. ถึงเดือนแปด นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทำ�พิธีชำ�ระ และเบิกบ้านเมือง สวดมงคลสูตร ๗ คืน โปรยกรวดทรายรอบเมืองตอกหลักบ้านเมืองให้แน่น ๙. ถึงเดือนเก้า ประกาศให้ประชาชนทำ�บุญข้าวประดับดิน อุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้อง ผู้ล่วงลับ ๑๐. วันเพ็ญเดือนสิบ ประกาศให้ประชาชนทำ�บุญข้าวสาก จัดสลากภัตต์ ถวายแด่พระ ภิกษุสงฆ์ แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ๑๑. วันเพ็ญเดือนสิบเอ็ด ทำ�บุญออกพรรษา ให้สงฆ์ปวารณามนัสการและมุรธาภิเษก พระธาตุหลวง พระธาตุภูจอมศรี และประกาศให้ประชาชนไหลเรือไฟเพื่อบูชาพญานาค ๑๒. เดือนสิบสองให้ไพร่ฟ้าแผ่นดินรวมกันที่พระลานหลวงแห่เจ้าชีวิตไปแข่งเรือถึงวัน เพ็ญพร้อมด้วยเสนาอำ�มาตย์นิมนต์และภิกษุ ๕ รูป นมัสการพระธาตุหลวงพร้อมเครื่องสักการะ ๑๓. ถึงเดือนสิบสอง ทำ�บุญกฐิน ถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ ๑๔. ให้มีสมบัติอันประเสริฐ คูนเมืองทั้ง ๑๔ อย่างอันได้แก่ อำ�มาตย์ ข้าราชบริพาร ประชาชน พลเมือง ตลอดจนเทวดาอารักษ์เพื่อค้ำ�จุนบ้านเมือง

คองสิบสี่โดยนัยที่ ๓ เป็นจารีตประเพณีของประชานและธรรมที่พระเจ้าแผ่นดินพึงยึดถือ ๑. เดือนหกขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีย์ทรายทุกปี ๒. เดือนหกหน้าใหม่ เกณฑ์คนสาบานตนทำ�ความซื่อสัตย์ต่อกันทุกคน ๓. ถึงฤดูทำ�นา คราด หว่าน ปัก ดำ� ให้เลี้ยงตาแฮก ตามกาลประเพณี ๔. สิ้นเดือนเก้าทำ�บุญข้าวประดับดินเพ็ญเดือนสิบทำ�บุญข้าวสาก อุทิศส่วนกุศลให้ญาติ พี่น้องผู้ล่วงลับ ๕. เดือนสิบสองให้พิจารณาทำ�บุญกฐินทุกปี ๖. พากันทำ�บุญผะเหวด ฟังเทศน์ผะเหวดทุกปี ๗. พากันเลี้ยงพ่อ แม่ที่แก่เฒ่า เลี้ยงตอบแทนคุณที่เลี้ยงเราเป็นวัตรปฏิบัติไม่ขาด ๘. ปฏิบัติเรือนชานบ้านช่อง เลี้ยงดูสั่งสอน บุตรธิดา ตลอดจนมอบ มรดกและหาคู่ครอง เมื่อถึงเวลาอันควร


102

๙. เป็นเขย่าดูถูกลูกเมีย เสียดสีพ่อตาแม่ยาย ๑๐. รู้จักทำ�บุญให้ทาน รักษาศีล ไม่พูดผิดหลอกลวง ๑๑. เป็นพ่อบ้านให้มีพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ๑๒. พระมหากษัตริย์ต้องรักษาทศพิธราชธรรม ๑๓. พ่อตา แม่ยาย ได้ลูกเขยมาสมสู่ให้สำ�รวมวาจา อย่าด่าโกรธา เชื้อพงศ์พันธ์อันไม่ดี ๑๔. ถ้าเอามัดข้าวมารวมกองในลานทำ�เป็นลอมแล้ว ให้พากันปลงข้าวหมกไข่ ทำ�ตา เหลวแล้วจึงพากันเคาะฟาดตี คองสิบสี่โดยนัยที่ ๔ ๑. ให้พระภิกษุสงฆ์ศึกษาพระธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้าและรักษาศีล ๒๒๗ ข้อเป็น ประจำ�ทุกวัน ๒. ให้รักษาความสะอาดกุฏิ วิหาร โดยปัดกวาดเช็ดถูกทุกวัน ๓. ให้ปฏิบัติกิจนิมนต์ของชาวบ้านเกี่ยวกับการทำ�บุญ ๔. ถึงเดือนแปด ตั้งแต่แรมหนึ่งคํ่าเป็นต้นไปต้องจำ�พรรษา ณ วัดใดวัดหนึ่งไปจนถึงวัน แรมหนึ่งคํ่าเดือนสิบเอ็ด ๕. เมื่อออกพรรษาแล้วพอถึงฤดูหนาว (เดือนอ้าย) ภิกษุผู้มีศีลหย่อนยานให้หมวดสังฆ าทิเสสต้องอยู่ปริวาสกรรม ๖. ต้องออกเที่ยวบิณฑบาต ทุกเช้าอย่าได้ขาด ๗. ต้องสวดมนต์และภาวนาทุกคืนอย่าได้ละเว้น ๘. ถึงวันพระขึ้นสิบห้าคํ่าหรือแรมสิบสี่คํ่า (สำ�หรับเดือนคี่) ต้องเข้าประชุมทำ�อุโบสถ สังฆกรรม ๙. ถึงปีใหม่ (เดือนห้า วันสงกรานต์) นำ�ทายก ทายิกา เอานํ้าสรงพระพุทธรูปและ มหาธาตุเจดีย์ ๑๐. ถึงศักราชใหม่ พระเจ้าแผ่นดินไหว้พระ ให้สรงนํ้าในพระราชวัง ๑๑. เมื่อมีชาวบ้านเกิดศรัทธานิมนต์ไปกระทำ�การใด ๆ ที่ไม่ผิดหวังพระวินัยก็ให้รับ นิมนต์ ๑๒. เป็นสมณะให้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดวาอาราม พระมหาธาตุเจดีย์ ๑๓. ให้รับสิ่งของที่ทายก ทายิกานำ�มาถวายทาน เช่น สังฆทานหรือสลากภัตต์ ๑๔. เมื่อพระเจ้าแผ่นดินหรือเสนาข้าราชการมีศรัทธา นิมนต์ไปประชุมกันในพระ อุโบสถแห่งใด ๆ ในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ดต้องไปอย่าขัดขืน 80 80 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๕๗.


103

ประเพณีอื่น ๆ ประเพณีแห่นางแมว เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อขอฝนในยามที่เกิดความแห้งแล้ง และเป็นผลเสียกับไร่นาใน การแห่นางแมวจะต้องใช้แมวตัวเมียสีดำ�ใส่กะทอ หามแห่ไปตามบ้านต่าง ๆ ชาวบ้านจะช่วยกัน สาดนํ้าให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี ขบวนแห่บางครั้งจะใช้เวลานานเกือบทั้งวันชาวบ้านใน ทุกครัวเรือนจะออกมาร่วมใจกันประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อมและสนุกสนานร่วมกัน ในการ เซิ้งนางแมวหลังจากเสร็จพิธีการแห่นางแมวแล้วชาวอีสานเชื่อว่าฝนจะตกลงมาสร้างความชุ่มชื้น ให้กับไร่นาของตน มูลเหตุของพิธีกรรม เพื่อเป็นการขอฝนโดยมีความเชื่อที่ว่าแมวเป็นสัตว์เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะ ร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่าเป็นมูลเหตุให้เกิดฝนตกขึ้นจริง ๆ พิธีกรรม ประเพณีแห่นางแมวของชาวอีสานจะเริ่มต้นจากการคัดเลือกแมวสีดำ�ตัวเมียมา 1-3 ตัวหรือเพียงตัวเดียวก็ได้ นำ�แมวใส่ลงในกะทอหรือเข่งที่มีฝาปิดปากข้างบน ฝาปิดนั้นจะต้องโปร่ง พอที่นํ้าจะกระเซ็นไปถูกตัวแมวได้ ขณะที่วางแมวลงในกะทอ ผู้ที่จับแมวจะต้องพูดว่า “นางแมวเอย ขอฟ้า ขอฝน ให้ฝนตกลงมาด้วยมือ” เมื่อปิดฝากะทอดีแล้วต้องหาไม้มาสอดเป็นคานสำ�หรับหาม ต่อจากนั้นจัดเครื่องสักกา ระบูชาอันประกอบด้วยคาย ๕ หัวหน้าพิธีนำ�เครื่องสักการะมาป่าวอัญเชิญเทวดาลงมาชุมนุมแล้ว ตั้งจิตอธิษฐานขอนํ้าฝนชาวบ้านก็จัดเตรียมขบวนแห่นางแมว โดยมีชายคู่หนึ่งเป็นผู้หามกะทอ นางแมวนำ�หน้า คนในขบวนแห่ก็จะร้องคำ�เซิ้งแห่งนางแมวพร้อมกัน โดยมีผู้เป็นแม่บทกล่าวนำ� อยู่หนึ่งคน ขบวนแห่นางแมวจะแห่ไปตามบ้านต่าง ๆ เมื่อไปถึงบ้านเรือนของใครคนในขบวนแห่ก็ จะร้องบอกว่า “เจ้าข้า ๆ นางแมวมาแล้ว ๆ นางแมวเอาฝนมาให้แล้ว” คนอื่น ๆ ก็จะร้องเสริมขึ้นว่า “ฝนตกเฮง ๆ ให้บักแตงเป็นหน่วย ฝนตกค่อย ๆ ให้อ้อย เป็นลำ�ตกลงมา ฝนตกลงมา เทลงมา ฝนเทลงมา เทลงมาพอทำ�นาได้ อย่าถึงต้องให้ใช้เฮือแจว เอ้าเทลงมา ฝนเทลงมา” เจ้าของบ้านที่ขวนแห่นางแมวไปถึงจะต้องตักนํ้า สาดลงไปให้ถูกขบวนแห่และถูก ตัวนางแมวด้วยขณะที่สาดนํ้าลงไปก็จะพูดว่า “เอ้าฝนตกลงไปแล้ว ฝนตกแล้ว ตกลงมามากจริง ๆ ต้นข้าว ต้นหญ้าขึ้นเขียวไปหมด” คนในขวนแห่ก็จะต้องทำ�ท่าเหมือนเดินตากฝนจริง ๆ หากขบวนแห่นางแมวไปถึงบ้าน


104

ใครบ้านนั้นไม่สาดนํ้าลงมา เชื่อว่านางแมวจะโกรธมาก ซึ่งจะทำ�ให้เกิดอาเพท ฝนไม่ตก อากาศ แห้งแล้ว 81 ประเพณีผูกเสี่ยว ประเพณีผูกเสี่ยวเป็นประเพณีดั้งเดิมของกลุ่มวัฒนธรรม ไท-ลาว การผูกเสี่ยวคือการ สัญญาที่จะเป็นเพื่อนรักร่วมเป็นร่วมตาย โดยมีสักขีพยาน การผูกเสี่ยวนิยมกระทำ�ระหว่างชาย กับชายหรือหญิงกับหญิงที่วัยใกล้เคียงและลักษณะนิสัยใจคอที่คล้ายคลึงกัน โดยพ่อแม่หรือญาติ ผู้ใหญ่จะเป็นผู้ทาบทามขอผูกเป็นเสี่ยวกัน เรียกว่า “แฮกเสี่ยว” เมื่อตกลงก็จะผูกเสี่ยวโดยใช้ฝ้าย มงคล ผูกข้อมือของแต่ละคนเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่คู่เสี่ยว บางแห่งก่อนจะผูกเสี่ยวจะจัดพิธีสู่ ขวัญ ให้ศีลให้พรอบรมสั่งสอนให้แก่คู่เสี่ยวรักนับถือกัน ตลอดถึงพ่อแม่พี่น้องและวงศาคณาญาติ ของกันและกันให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันให้การช่วยเหลือเกื้อกูลแก่กันตลอดไปตอนนี้ เรียกว่า“ขอดเสี่ยว” หลังจากนั้นก็เลี้ยงข้าวปลาอาหารกันตามสมควรแก่ฐานะ มูลเหตุของพิธีกรรม ความเป็นมาของประเพณีผูกเสี่ยวไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าการผูกเสี่ยวเริ่มต้นเมื่อใด จากหลักฐานที่ปรากฎพอจะสืบค้นหลักฐานอ้างอิงถึงการผูกเสี่ยวอยู่ ๒ ทางคือ ๑. ด้านวรรณคดี พบข้อความในวรรณคดีอีสานกล่าวถึงคำ�เสี่ยวอยู่หลายแห่ง เช่น “อันว่าบิดาพระพ่อพญาภายพุ้น ฮ้อยว่าจักไปหาเจ้าสหายแพงเป็นเสี่ยว” (พระลักพระ ลาม) “สั่งเล่ามาล่วงม้างพญากล้าพ่อพระองค์กุมพลเจ้าสุริวงเป็นเสี่ยว” (สุริวง) ๒. ด้านประวัติศาสตร์ อาจารย์จารุบุตรเรืองสุวรรณ ได้กล่าวไว้ว่าในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัวได้มีการสำ�รวจประชาชนไทยที่มี วัน เดือน ปี เกิดตรงกับวันพระราชสมภพ เพื่อขึ้น บัญชีเป็น “สหชาติ” โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๗ นั้นได้พระราชทานเหรียญมงคลเป็นที่ระลึกแก่ “สหชาติ” คือเพื่อนร่วมวันเกิดด้วย ในพงศาวดารล้านนาไทย ปรากฎว่าพ่อขุนรามคำ�แหง พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนงำ�เมือง ได้ จัดให้มีพิธีกรรมปฏิญาณตนเป็นสหายหรือ “เสี่ยว” กันโดยการกรีดเลือดลงในจอกสุรา แล้วทรง ดื่มเลือดของกันและกันพร้อมกับการกราบไหว้เทพาอารักษ์ให้เป็นพยานจึงนับเป็นหลักฐานสำ�คัญ ของการผูกเสี่ยว 81 การแห่นางแมวเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝน ซึ่งจำ�จัดทำ�ขึ้นในปีใดที่ท้องถิ่นแห่งแล้งฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาล สาเหตุที่ฝนไม่ตก ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า

นํ้าฝนนั้นเป็นนํ้าของเทวดา ดังมีศัพท์บาลีว่า เทโว ซึ่งแปลว่า นํ้าฝน เป็นเอกลักษณ์ของความดี ความบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากๆ ควัน และละอองเขม่านํ้ามัน ห่อหุ้มโลกทำ�ให้เป็นภัยแก่มนุษย์ ผู้ที่จะล้างอากาศได้ทำ�ให้ละอองพิษพวกนั้นตกลงดิน ทำ�ให้อากาศสะอาดคือ “เท โว” หรือ “ฝน” นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อฝนหยุดตกใหม่ๆ อากาศจะสดชื่น ระงมไปด้วยเสียงของกบ เขียด.


105

พิธีกรรม การผูกเสี่ยวทำ�ให้เกิดมิตรภาพต่อเนื่องอันยาวนานและไม่ขาดสายหมู่บ้านต่าง ๆ อาจ มีวิธีผูกเสี่ยวที่แตกต่างกันไป แต่มีจุดประสงค์ตรงกันคือ “มิตรภาพ” วิธีผูกเสี่ยวประมวลได้ ๕ ลักษณะ ๑. แบบที่ ๒ เมื่อคู่เสี่ยวมาพร้อมกันแล้วประธานในพิธีจะนำ�มีดสะนากคือ มีดหนีบ หมาก มีดหนีบสีเสียดมาตั้งไว้กลางขันหมาก โดยถือมีดสะนากเป็นหลักและเปรียบเทียบให้เห็นว่า มีดจะใช้ประโยชน์ได้ต้องมี ๒ ขาและจะต้องติดกันเหมือนคนเราจะมีชีวิตปลอดภัยต้องมีมิตรเป็น มิตรกันในทุกแห่งคนจะต้องมีเพื่อนคอยช่วยเหลือกันและกัน เหมือนมีดสะนาก จะอยู่คนเดียวโดด เดี่ยวไม่ได้แล้วทำ�พิธีผูกแขนให้คู่เสี่ยว ๒. แบบที่ ๒ เมื่อคู่เสี่ยวมาพร้อมกันแล้ว ก่อนจะผูกเสี่ยวผู้เป็นประธานจะนำ�เกลือ พริก มาวางไว้ต่อหน้าในพิธีโดยให้เกลือกับพริกเป็นตัวเปรียบ เกลือมีคุณสมบัติเค็มไม่จืดจาง พริกเผ็ด ไม่เลือกที่ เสี่ยวจะต้องมีลักษณะรักษาคุณสมบัติ คือ รักกันให้ตลอดไปเหมือนเกลือรักษาความเค็ม แล้วจะทำ�พิธีผูกแขนให้คู่เสี่ยว ๓. แบบที่ ๓ เป็นแบบง่าย ๆ คือ เมื่อคู่เสี่ยวพร้อมแล้ว ผู้เป็นประธานก็จะผูกแขนให้คู่ เสี่ยวและอวยชัยให้พรใช้คำ�พูดเป็นหลักในการโน้มน้าวให้คู่เสี่ยวรักกันและกัน ๔. แบบที่ ๔ เป็นแบบที่มีการจองคู่เสี่ยวไว้ก่อน หรือพิจารณาดูเด็กที่รักกันไปด้วยกัน ทั้ง ๆ ที่เด็กไม่รู้ว่าเป็นคู่เสี่ยวกัน แล้วนำ�เด็กมาผูกเสี่ยวกันโดยการเห็นดีเห็นงามของผู้หลักผู้ใหญ่ ประธานในพิธีจะนำ�ฝ้ายผูกแขนมาผูกให้คู่เสี่ยวต่อหน้าบิดามารดาของคู่เสี่ยวให้รับรู้ความรักของ เด็กทั้งสอง ๕. แบบที่ ๕ เป็นพิธีผูกเสี่ยวแบบผู้ใหญ่ คือ ผู้ใหญ่ที่รักกันมาตั้งแต่เด็ก หรือมาชอบพอ กันเมื่อโตแล้ว มีใจตรงกันจะผูกเสี่ยว ก็ขอให้ผู้หลักผู้ใหญ่ผูกแขนให้เป็นเสี่ยวกัน หรือผูกในพิธีผูก เสี่ยวที่จัดขึ้นเป็นกิจลักษณะก็ได้ ประโยชน์ของการผูกเสี่ยว การผูกเสี่ยวเป็นการสร้างความเป็นเพื่อสร้างความรัก ความผูกพัน ความนับถือให้เกิด ขึ้นในหมู่ชน ความรัก ความผูกพันดังกล่าวไม่จำ�กัดอยู่เฉพาะผู้เป็นเสี่ยวกันเท่านั้น แต่แผ่กระจาย ไปถึงพ่อแม่ญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นมา พิธีผูกเสี่ยวได้จัดขึ้นในงาน “เทศกาลไหมประเพณีผูก เสี่ยวและงานกาชาด” จังหวัดขอนแก่นจนกระทั่งถึงปัจจุบัน 82 พิธีกินดอง กินดองหรือพิธีแต่งงานจะจัดขึ้นเมื่อหนุ่มสาวมีความสมัครรักใคร่พร้อมจะใช้ชีวิตคู่และ ได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย จะมีการจัดพิธีกินดองขึ้น ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับ 82 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๑๙๒.


106

พิธีแต่งงานในภาคกลาง พิธีกินดองของชาวอีสานเป็นการบอกให้สังคมได้ร่วมกับรู้เป็นสักขีพยาน ในพิธีจะมีแขกเหรื่อมาร่วมพิธีพร้อมทั้งอวยพรให้คู่หนุ่มสาวมากมาย นอกจากนี้ยังมีการประกอบ พิธีกรรมตามธรรมเนียมปฏิบัติ และเคล็ดประเพณีซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำ�คัญในการใช้ชีวิตคู่ให้มีความ ผาสุกยืนยาว พิธีกรรม สู่ขวัญน้อย ที่บ้านเจ้าบ่าวและบ้านเจ้าสาวจะจัดทำ�พิธีสู่ขวัญ เจ้าบ่าวก็สู่ขวัญที่บ้านเจ้า สาว เมื่อสู่ขวัญแล้วก็ผูกข้อต่อแขนกันตามธรรมเนียม เมื่อเจ้าบ่าวสู่ขวัญแล้วก็แห่ขันหมากมาบ้าน เจ้าสาว การแห่ขันหมาก เครื่องขันหมากมี ๓ ขัน คือ ขันใส่เงินค่าดอง ๑ ขัน ใส่หมากจีบพลู แหนบ ๑ ขัน ใส่เหย้ายา ๑ ขัน ทั้งสามนี้ใช้ผ้าสีต่าง ๆ คลุมขันใส่เงินค่าดองให้ผู้เฒ่าเจ้าโคตรถือ เดินออกก่อน ขันหมากพลูและขันเหล้ายาให้หญิงสาวบริสุทธิ์ ๔ คน หาบเดินตามหลัง พาขวัญเดิน ออกก่อนคู่บ่าวและญาติพี่น้องแห่ไปตามหลังเมื่อไปถึงเรือนผู้หญิงแล้ว เจ้าโคตรฝ่ายหญิงจะออก มารับ เชิญให้ขึ้นไปบนเรือน เมื่อขึ้นไปถึงแล้วเจ้าโคตรฝ่ายชายจะยกขันทั้ง ๔ ให้ฝ่ายหญิง ฝ่าย หญิงจะเปิดขันค่าดองออกมานับก่อน นับถูกต้องแล้วมอบค่าดองให้พ่อแม่ของหญิง ส่วนขัน หมาก พลูและขันเหล้ายาก็แจกแบ่งกันกิน อาหารการกินที่ฝ่ายหญิงจัดไว้ต้อนรับก็นำ�มาเลี้ยงดูกันด้วย การสู่ขวัญกับก่าย พอเสร็จการเลี้ยงดูแล้ว ก็มีการสู่ขวัญกับก่ายคือให้ชายหญิงเข้าพาขวัญด้วย กันเอามือก่ายให้ “แขนท้ายก่ายแขนนาง” คือ เอาแขนชายทับแขนหญิง การเอาแขนท้าวก่ายแขน นางนี้โบราณเรียก “กับก่าย” ต่อจากนั้นหมอขวัญก็เริ่มว่าคำ�สู่ขวัญ การสู่ขวัญหรือการสูดขวัญ ในพิธีกับก่ายนี้ หมอสู่ขวัญจะว่าให้จบโดยไม่ย่นย่อเพราะการสู่ขวัญต่อหน้าเจ้าโคตรทั้งสองฝ่าย ถือว่าเป็นสิริมงคล นำ�ความสุขความเจริญมาให้แก่คู่บ่าวสาว พอสู่ขวัญจบก็แจกฝ้ายผูกแขน ใครมี คำ�พูดดี ๆ มีคาถาดี ๆ ก็มาเสกผูกแขนให้คู่บ่าวสาว ไข่สุกที่ใส่ในพาขวัญ เป็นนิมิตหมายที่ดีอย่าง หนึ่ง การเลือกไข่มาต้มจะต้องเลือกเอาไข่ไก่แม่ใหม่ ไข่นี้ถ้าได้สองฟองจะดีมาก ให้ชายใบหนึ่งหญิง ใบหนึ่ง กำ�ไว้ในเวลาผูกแขนพอผูกแขนเสร็จแล้วให้นำ�ไข่ไปปอกโดยเอาเส้นผมตัดตรงกลาง ถ้าไข่ ของฝ่ายใดเต็มไม่มีเว้าแหว่ง ถือว่าเป็นศิริมงคล หากไม่เต็มถือว่าไม่เป็นมงคล เมื่อตรวจดูแล้วยื่น ไข่ครึ่งหนึ่งให้ชายครึ่งหนึ่งให้หญิง ชายเอาไข่ของตนป้อนหญิงหญิงเอาไข่ของตนป้อนชาย ข้อนี้มี คำ�กลอนอีสานว่าไว้ว่า ปานใดซิได้จูงมือพาขวัญไข่หน่วย มือขวาป้อนไข่อ้าย มือซ้ายป้อนไข่นาง เมื่อเสร็จการป้อนไข่แล้วจะเป็นพิธีแสดงสัมมาคารวะเจ้าโคตรตายายทั้งสองคํ้าสองฝ่าย พิธีสมมา เมื่อผู้ชายกลับไปถึงบ้านของตนแล้วเจ้าโคตรฝ่ายหญิงจะนำ�หญิงไปสมมาเจ้า โคตรฝ่ายชาย ของที่จะสมมาพ่อแม่ของชายมีผ้าผืนหนึ่ง เสื่อหนึ่งผืน ซิ่นหนึ่งผืน เสื้อหนึ่งผืน ของ ที่สมมาพ่อแม่ของฝ่ายชายนี้จะไม่คิดค่าตีราคา ส่วนเจ้าโคตนอกนั้นจะสมมาด้วยซิ่นผืน แพรวา


107

เสื่อ สาดอาสนะ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้แล้วแต่เห็นสมควรและคิดค่าตีราคาด้วย พิธีส่งตัวผู้ชาย เวลาส่งตัวผู้ชายไปอยู่เรือนผู้หญิงนั้นให้เลือกเอาเวลาโฮมแลง คือเวลา บ่าวโฮมสาวประมาณสองทุ่มเศษ ขบวนที่ไปส่งตัวผู้ชายนั้นส่วนมากจะเป็นพวกชายหนุ่มเวลาไป จะส่งเสียงร้องไปว่า แม่เถ้าเอยลูกเขยมาแล้ว ไขป่องเอี้ยม เยี้ยมเบิ่ง ลูกเขย เมื่อไปถึงบ้านผู้หญิงแล้วฝ่ายหญิงจะมาคอยรับแล้วเชิญให้ขึ้นบนเรือนแล้วนำ�อาหารมา เลี้ยงดูตามธรรมเนียม พิธีปูที่นอน ที่นอนก็มีความสำ�คัญสำ�หรับชายหญิงที่แต่งดองกันแล้ว ถ้าทำ�ให้ถูกตาม ประเพณีชายหญิงคู่ดองจะอยู่เย็นเป็นสุข คนปูที่นอนต้องเลือกเอาบุคคลสำ�คัญมาปู คือ คนที่มีศีล ธรรม แต่งงานแล้ว ไม่เคยหย่าร้างกันมีลูกเต้าเหล่าหลานด้วยกัน เครื่องสักการะมีดอกไม้ธูปเทียน ที่จัดใส่ขันไว้เมื่อผู้ทำ�พิธีปูที่นอนมาถึงจะได้ลงมือปูทันทีให้ปูที่นอนของผู้ชาย ไว้ข้างขวาของผู้หญิง ไว้ข้างซ้ายและที่นอนของผู้ชายสูงกว่าของผู้หญิง เมื่อปูเสร็จแล้วผู้ปูจะต้องทำ�พิธีทดลองนอนดู ก่อน พอทดลองแล้วจึงมาจูงเอาผู้หญิงเข้าไปก่อนจูงผู้ชายเข้าไปที่หลัง ให้ชายหญิงนอนพอเป็นพิธี ในขณะที่นอนนั้นให้ปิดก็เปิดประตูเข้าไป ให้ชายหญิงมานั่งหน้าเจ้าโคตร ต่อให้เจ้าโคตรจะสอน ฮีตผัวครองเมีย 83

ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ คนในสมัยโบราณถือว่า เรือนเป็นสถานที่สำ�คัญ คือ เป็นที่อยู่อาศัย คนใดจะปลูกบ้าน ต้องหาฤกษ์ หายาม เพื่อความเป็นศิริมงคล อยู่ดี มีสุข และประกอบพิธีกรรมให้ถูกต้อง ชาวอีสาน มักจะลงแขกปลูกบ้านเสร็จภายในวันเดียว ก่อนจะย้ายเข้าไปอยู่ในบ้าน และจะต้องทำ�พิธีขึ้นบ้าน ใหม่เสียก่อน ส่วนคนภาคกลางนิยมทำ�บุญขึ้นบ้านใหม่โดยมีพิธีสงฆ์ การขึ้นบ้านใหม่ส่วนมากมัก เลือกเอาวัน “ขึ้นหนึ่งคํ่า” เป็นวันที่ดีที่สุด เพราะวันนี้มีความหมายว่า “ขึ้นคํ่าหนึ่ง ช้างแก้ว ขึ้น สู่โฮงคำ�” หมายความว่า “วันขึ้นหนึ่งคํ่าช้างแก้วก้าวขึ้นสู่โรงคำ�” ซึ่งถือเป็นศุภฤกษ์ แต่ใครมีความ จำ�เป็นต้องเลือกวันใดที่เหมาะสมก็ได้ พิธีกรรม การขึ้นบ้านใหม่ พิธีจะเริ่มจากสมมุติให้แบ่งคนออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่จะอยู่บน บ้านที่สร้างใหม่ กลุ่มเจ้าของบ้านจะทำ�พิธีเดินมาจากทางไกลมีเครื่องเรือนและอุปกรณ์การทำ�มา หากินมาด้วย มีพิธีกรนำ�หน้าสะพายถุงย่าม ซึ่งสมมติเป็น “ถุงเงินถุงคำ�” พอเดินทางมาแล้วจะพา กันเดินเวียนรอบบ้าน ๓ รอบ บางแห่งก็ไม่เวียน รอบแล้วมาหยุดยืนตรงบันไดจะขึ้นบ้านฝ่ายที่อยู่ บนบ้านจะถามหาสิ่งของดี ๆ จากฝ่ายที่เดินทางมาเช่น แก้วแหวน เงินทอง ทาสีทาสา ของคู่บ้าน คู่เมือง อุปกรณ์การทำ�มาหากิน เช่น แห มอง มีด ตลอดจนอาหารการกิน เช่น เนื้อ ปลา เป็นต้น 83 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๑๒๔.


108

ฝ่ายที่มาก็จะตอบว่าได้มาทุกสิ่งทุกอย่าง พร้อมเพรียง เมื่อฝ่ายที่อยู่บนบ้าน พอใจแล้วก็จะเชิญ ฝ่ายเดินทางมาให้ขึ้นบ้านเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป พออนุญาติให้ขึ้นบนบ้านแล้ว พิธีกรที่นำ�มาก็จะ พาขึ้นบ้านใหม่ โดย - ให้เจ้าของบ้านจุดธูปเทียนบูชาอธิษฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ อธิษฐานเอาสิ่งดีงามเพื่อสวัสดิมงคล แล้วปักเทียนไว้ที่แม่บันไดทั้ง ๒ ซึ่งอยู่ซ้ายขวา - เท้าเหยียบไปที่ใบตองที่พาดบนหินก้อนใหญ่หน้าบันไดแล้วก้าวขึ้นไปเหยียบบันได แล้วก้าวขึ้นไป เหยียบบันไดเป็นขั้น ๆ พร้อมกับกล่าวตามพิธีกรว่า เหยียบขั้นหนึ่งเงินหมื่นแล่นมาหา เหยียบขั้นที่สองเงินแสนแล่นมาเข้า เหยียบขั้นสี่ เสนาแล่นมาซ่อย (ช่วย) เหยียบขั้นห้า ความเจ็บป่วยไข้ เฮือนนี้บ่ ฮ่อนมี (ไม่มี) เหยียบขั้นหก เป็นเศรษฐีมีเงินโกฎิ เหยียบขั้นเจ็ด พ้นจากโทษคณนา เหยียบขั้นแปด เป็นพญาหัวหน้าหมู่ เหยียบขั้นเก้า อยู่บ่ออยู่ (อยู่ดี ๆ) เงินเข้ามื้อ ละแสนสองแสน เหยียบขั้นสิบ ของกันแนน (สกุล) บ่ให้ไผ่เอาหนีได้ เหยียบขั้นสิบเอ็ด คนทุกข์ไฮ้เข้ามาเพิ่งพา (อาศัย) เมื่อขึ้นบนบ้านแล้ว ผู้เป็นหัวหน้าก็จะนำ�สิ่วมาตอกข้างฝา แล้วแขวนย่าม ซึ่งสมมติเป็น ถุงเงินถุงคำ�ไว้ พร้อมกับอธิษฐานทุกครั้งที่ตอกสิ่วลงไป เสร็จแล้วก็จะปูที่นอนแล้วพากันนอน ได้ เวลาแล้วก็จะมีคนเสียงไก่ขัน แล้วลุกขึ้นเล่าเรื่องความฝันให้ฟังโดยฝันไปว่า “ฝันคืนนี้ฝันหลดฝันขลาด ฝันว่าเพิ่นจูง แขนเข้าในพาขวัญเกยก่าย ฝันว่าเพิ่นเอาไข่ ป้อนปันให้แก่เฮาเหมิด กระบวนแล้วคนเมืองนอนเกลี้ยงอ่อนฮ่อย พี่ก็ฝันว่าได้จับจ่องนิ้วจูงน้อง เข้าบ่อนนอนฝูงหมู่เทวดาด้าว อินทร์พรหมลงมาโผดดำ�และแก้วเหลืองเหลื่อมฮุ่งเฮือง” หมายความว่าความฝันนั้นดีมาก เพราะฝันว่ามีคนนำ�ตัวเข้าไปในพาขวัญสู่ขวัญบายศรี ได้นั่งคู่กับสาวแล้วได้อยู่ร่วมกัน พร้อมกับบรรดาอินทร์พรหมก็ลงมาช่วยโปรดบันดาลแก้แหวน เงินทองเต็มบ้านเต็มเรือน เหลืองอร่ามไปหมด เมื่อแก้คำ�ฝันแล้วทุกคนก็ว่าดี ต่างก็ยินดีปรีดา ปราโมช แล้วปรบมือไชโยโห่ร้อง เลี้ยงอาหาร การกินร้องรำ�ทำ�เพลง ฉลองการขึ้นบ้านใหม่แล้ว เป็นเสร็จพิธี 84 84 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๓๒๓.


109

ประเพณีลงแขก อีสานที่เป็นสังคมเกษตรกรรมในชนบทมีลักษณะของการแลกเปลี่ยนพึ่งพาแบะการ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การงานหรือประเพณีต่าง ๆ มักอาศัยการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อเอาชนะอุปสรรค ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์ คำ�ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับประเพณีลงแขกที่สำ�คัญมี ๒ คำ� ได้แก่ คำ�ว่า “แขก” หมายถึง คนที่ไปมาหาสู่กันอาจหมายถึง ญาติ สนิทมิตรสหายที่มีธุระติดต่อ คบหากันอย่างสนิทสนมและต่อเนื่องกันอย่างสมํ่าเสมอ ส่งข่าวคราวหรือถามข่าวคราว สาระทุกข์ สุกดิบ เป็นประจำ� “การลงแขก” เป็นการขอแรงญาติพี่น้อง หรือเพื่อนบ้านมาช่วยทำ�งาน ส่วน ใหญ่มักจะเป็นงานเกี่ยวกับการเกษตรกรรม เช่น การทำ�นา เกี่ยวข้าว ฯลฯ เพราะเกรงจะไม่ทัน ฝนฟ้า หรือเกรงข้าวจะแห้งกรอบ ร่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยวชาวบ้านหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงจะช่วย กันบอกกล่าวคนคุ้นเคยสนิทชิดเชื้อ มาช่วยกันออกแรงทำ�งานเก็บเกี่ยวหรืองานอื่น ๆ เช่น มีงาน สร้างบ้าน ย้ายบ้าน สร้างสิ่งสาธารณะ เช่น สะพาน ถนน ศาลา กุฏิ ฯลฯ เป็นต้น วิธีการช่วย เหลือกันและกันด้วยนํ้าใจไมตรีเช่นนี้คนอีสานเรียกว่า การลงแขก แต่อีสานตอนเหนือ คือ จังหวัด เลย เรียกว่า เอาแฮง การลงแขกชาวอีสานถือเป็นประเพณีประจำ�ท้องถิ่น การลงแขกอีสานเท่าที่ ประมวลได้แบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ๒ ประเภทคือ ๑. การลงแขกสร้างสิ่งปลูกสร้าง ๒. การลงแขกทำ�นา ๑. การลงแขกสร้างสิ่งปลูกสร้าง ๑.๑ การลงแขกปลูกเรือน เรือนของคนอีสานไม่ใหญ่โตนัก ทำ�พอให้ได้อยู่อาศัย ไม้ที่ตัด เอามาทำ�เสาทำ�เครื่องเรือน ต้องตัดให้พอดีไม่ให้เหลือทิ้ง คนที่มาช่วยปลูกเรือน ใครมีสิ่วมีขวาน มี กบไสไม้หรือมีมีดก็ถือมาด้วย โดยทุกคนจะตั้งใจทำ�งาน เรือนหลังเล็กหรือหลังใหญ่ปลูกให้เสร็จได้ ในวันเดียว โบราณถือว่าเป็นสิริมงคล ลักษณะโสกเรือน หรือเรือนที่จะให้เจ้าของอยู่เย็นเป็นสุขนั้น โบราณว่าต้องทำ�ให้ถูกโสก โสกเรือนมีดังนี้ ต่อนคำ�ภู, ภูคำ�หอม, หอบสินไว้, ไฮ้เท่าตาย, วายพลัดพี, ได้เอื้อยอี่มาเฮือน, ขันคำ�เลียน เลี้ยงแขก, ถ้วยปากแวกตักแกงบอน, นอนหงายตีนตากแดด, ใช้ตีนวัดกอนเรือน, ตีตรงไหนตัดเอา ตรงนั้น ๑.๒ ลงแขกสร้างศาลากลางบ้าน เรือนที่ปลูกไว้กลางบ้านเรียกว่าศาลากลางบ้าน เป็น สถานที่ประชุมกิจของบ้าน ถ้าเจ้าบ้านมีกิจอะไร จะมาที่ศาลากลางบ้านนี้ ภายในศาลาจะมีเกราะ หรือกอลอทำ�ด้วยไม้แก่นยาวศอกคืบ กว้างหนึ่งคืบเวลาตีเกราะป่าวร้องมักทำ�เวลาหัวคํ่า ชาวบ้าน ที่ได้ยินเสียงเกราะจะมาประชุมกันที่ศาลานี้ ถ้าไฟไหม้บ้าน โจรมาปล้นบ้านจะเป็นเวลาไหนก็ตามเจ้าของบ้านจะรีบมา ตีเกราะการ


110

ตีเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉินตีถี่และตีนาน เมื่อชาวบ้านได้ยินเสียงเกราะ จะรีบไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทันที ศาลากลางบ้านนอกจากจะเป็นที่ประชุมกิจของบ้านแล้วพวกแขกไปไทมาพากันมาค้าง บ้าน เช่น เอาพริกมาแลกเกลือ เอาปลามาแลกข้าวเอาพลูมาแลกหอย เมื่อไม่มีที่พักอาศัยเพราะ ไม่มีญาติพี่น้องจะไปขอต่อเจ้าบ้านเพื่อมาพักที่ศาลานี้ ดังนั้นศาลานี้จึงน่าจะมีชื่อเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่าโรงแรมบ้านนอก การลงแขกสร้างศาลากลางบ้านก็เหมือนกับการปลูกเรือนอาหารที่นำ�มาเลี้ยงดูจัดเป็น อาหารชั้นดี คือ เหล้าเป็นไห ๆ ไก่ต้มเป็นตัว ๆ อาหารที่ถูกปากถูกใจเช่นนี้ ทำ�ให้คนงานขยันขัน แข็ง ไม่เกียจคร้านในการทำ�งาน ๑.๓ ลงแขกหน้าวัด การจะสร้างวัดเริ่มจากเลือกสถานที่ตั้งวัด ไม่ให้ใกล้หรือไกลจากบ้านถ้าไกล จะลำ�บากต่อพระสงฆ์ในเวลาออกภิกขาจาร ถ้าใกล้จะมีเสียงชาวบ้านรบกวน ไม่สะดวกต่อการ บำ�เพ็ญกุศล และวัดควรตั้งอยู่ในทางทิศเหนือของบ้าน วัดกับบ้านเป็นของคู่กัน ถ้ามีแต่วัดไม่มี บ้านก็เหมือนคนพิการ มีแต่หัวไม่มีตัวถ้ามีแต่บ้านไม่มีวัดก็เหมือนคนไม่มีหัวเพราะวัดสอนให้มีสติ ปัญญา บ้านสอนให้มีกำ�ลังวังชา การสร้างวัดโบราณสอนให้ทำ�ถูกโสก โสกวัดมีดังนี้ วัดวาอาฮาม สามบ่แล้ว แก้วดวงดี สีบ่เศร้า เหง้าสมร เถรบ่อยู่ การลงแขกสร้างวัดคือ ช่วยกันปรับพื้นที่ที่ลุ่มก็ถม ที่ดอนก็ถาก บริเวณวัดล้อมรั้วรอบ ขอบชิด ทำ�ประตูเข้าออก การวัดโสกให้ใช้เชือกวัดทั้งสี่ด้าน แล้วใช้วาแทก ตกโสกไหนดี เอาตรง นั้น ๑.๔ ลงแขกสร้างโบสถ์ โบสถ์เป็นสิ่งก่อสร้างสำ�คัญของวัด ถ้าวัดขนาดโบสถ์อย่างเดียวจะจัดเป็น วัดที่สมบูรณ์ไม่ได้ เพราะโบสถ์เป็นแดนเกิดของพระสงฆ์ ผู้จะมาบวชเป็นพระสงฆ์ต้องมาบวชใน โบสถ์นี้ การลงแขกสร้างโบสถ์ก็คล้ายกับการปลูกเรือน จะผิดแผกแตกต่างกันบ้างเป็นบางประการ ๑.๕ ลงแขกสร้างกุฎิ ที่อยู่หลับนอนของพระสงฆ์เรียกกุฎิ การลงแขกสร้างกุฎิเหมือนกับปลูกเรือน ถ้าทำ�ให้ถูกโสกของคนโบราณก็จะก่อให้เกิดความสุขสวัสดีแก่พระสงฆ์ โสกกุฎิว่าดังนี้ “กอนกะฎี ปีพระแตก แขกมาโฮม โยมมาสู่ พ่อครูตาย ลูกศิษย์หลายฮ่วมเฮ้า ลูกเต้า มิจฉาจาร กินทานบ่ขาด” การแทกโสกให้แทกความยาวของกอนกะฎีโดยใช้ตีนแทก ดีตรงไหนเอาตรงนั้น ๒. การลงแขกดำ�นา ก่อนจะลงมือตกกล้าดำ�นา ชาวบ้านจะต้องไถฮุด (ไถดะ) เวลาจะตกกล้าจึงไถกลบหว่าน เมล็ดข้าว แล้วหว่านปุ๋ยคอก สิ่งที่ชาวนาจะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษคือ ปั้นคันนา ให้สูงพอที่น้ำ�จะ เลี้ยงต้นข้าวให้เขียนตลอด มีทางเปิดปิดน้ำ�เข้าออกเมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้วจึงเอาปุ๋ยคอกหว่าน


111

อีก การเชิญญาติพี่น้องให้มาช่วยทำ�นา เรียกว่า ลงแขกดำ�นา นาที่ลงแขกนี้จะต้องแบ่งหน้านากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ถกเถียงกันว่า “เจ้าได้น้อยข้อได้หลาย” นาที่กว้าง ๒๐ – ๓๐ ไร่จะต้องใช้คนเป็น จำ�นวนมาก และทำ�ให้เสร็จพิธีเพียงวันเดียว ข้าวปลาอาหารที่เลี้ยงดูกันจะได้ลาบวัว คั่วไก่ ซุบ หน่อไม้หรืออะไรก็ตาม สิ่งที่จะลืมไม่ได้เป็นเด็ดขาดนั่นคือ ตำ�หมากหุ่ง และซุบหมากหมี้ ดังคำ� กลอนที่ว่า “อย่าลืมซุบหมากหมี้ของดีตั้งแต่ปู่ อย่าลืมปลาแดกต่วงตำ�ส้มหมากหุ่งเฮา ปลาแดกที่ใช้ ตำ�หมากหุ่งหรือตำ�มะละกอ ต้องเป็นปลาแดกที่มีรสหอม ถ้าถูกกลิ่นนํ้าลายสอทันที ชายหนุ่มหญิง สาวชอบนักถึงจะเอาลาบวัวคั่วหมูมาแลกก็ไม่ยอม” ๒.๑ ลงแขกเกี่ยวข้าว ข้าวที่สุกแล้วต้องรีบลงมือเกี่ยว ถ้าเกี่ยวไม่ทันข้าวจะกรอบ ถ้าข้าว กรอบจะลำ�บากในเวลาเกี่ยว การเกี่ยวสมัยโบราณใช้เกี่ยว (เคียว) ถ้าได้รับเชิญไปลงแขกเกี่ยวข้าว ที่ไหนใครมีเคียวก็เอาติดมือไปด้วย เพราะคนจำ�นวนมากเคียวที่เจ้าของนามีอยู่อาจไม่พอ สำ�หรับ การเลี้ยงดูก็เหมือนลงแขกดำ�นา และการแบ่งหน้าเกี่ยวก็คล้ายกับการลงแขกดำ�นา ๒.๒ การลงแขกเคาะข้าว ข้าวที่มัดเป็นฟ่อนแล้วหาบด้วยคันหลาว (หลาว) มากองกันไว้ที่ลานแล้ว เรียงฟ่อนข้าวสั่นยาวตามต้องการ ข้าวที่เรียงกันนี้เรียก “ลอมข้าว” การเชิญญาติพี่น้องให้มาฟาด ข้าวนี้เรียก “ลงแขกเคาะข้าว” การฟาดต้องระวังอย่าให้เม็ดข้าวกระเด็นออกจากลาน ข้าวที่เคาะ ไม่ออกต้องเอามาตีสะนุ (สงฟาง) การเลี้ยงดูกันก็เหมือนกับลงแขกดำ�นาและเกี่ยวข้าว ๒.๓ ลงแขกขนข้าว ข้าวที่ตีออกแล้วจะหาบมาวันละเที่ยวสองเที่ยว หรือจะใช้เกวียนขน มาก็ได้หากข้าวได้มากอาจเชิญญาติพี่น้องให้มาช่วยหาบก็ได้ การเชิญญาติพี่น้องให้มาช่วยขนข้าว นี้เรียก “ลงแขกขนข้าว” สำ�หรับอาหารเลี้ยงดูกันก็เหมือนกับเคาะข้าว ๒.๔ ลงแขกตำ�ข้าว ข้าวที่ขนมาใส่ไว้ในเล้า ก่อนจะหุงต้องตำ�ให้เปลือกข้าวหลุดออกเสียก่อน ซึ่ง ข้าวที่ตำ�ด้วยครกมือหรือครกมอง (ครกกะเดื่อง) มีวิตามินที่มีประโยชน์แก่ร่างกายมากในเวลาที่มี งานบุญใหญ่ ๆ และเชิญแขกมาเป็นจำ�นวนมาก ๆ เช่นงานบุญกฐิน ทำ�บุญอัฐ ทำ�บุญแจกข้าว อุทิศ ถึงผู้ตาย เจ้าภาพจะจัดเตรียมข้าวสารไว้มาก ๆ จึงเชิญญาติพี่น้องให้มาช่วยตำ�ข้าวให้เรียก “การ ลงแขกข้าว” แขกที่รับเชิญส่วนมากเป็นหนุ่มสาว ซึ่งจะได้เจอและพูดคุยกัน อาหารชั้นดีที่จัดเลี้ยง หนุ่มสาวนี้คงจะไม่มีอาหารอะไรเลิศเลอไปกว่าตำ�หมากหุ่ง 85 วรรณกรรม “วรรณกรรมอีสาน” ส่วนใหญ่จะหมายถึงวรรณกรรมของกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาวซึ่ง เป็นประชากรส่วนใหญ่มากกว่า ๒ ใน ๓ ของประชากรภาคอีสาน นอกจากนี้จารีตอีสานประเพณี ของชาวไทย – ลาว ที่เรียกว่า “ฮีตสิบสองคลองสิบสี่”ยังมีอิทธิพลต่อชาวอีสานที่มีวัฒนธรรมแตก ต่าง โดยเฉพาะวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานจำ�นวนมาก ได้แพร่กระจายไปยังกลุ่มวัฒนธรรมเขมร – 85 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๒๕๙.


112

ส่วย (กูย) และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช ต่างก็มีวรรณกรรมของตัวเองอีกจำ�นวนหนึ่งที่นิยมเรียกว่า “วรรณกรรมเขมร”และ “วรรณกรรมโคราช” ๑. การสืบทอดวัฒนธรรมทางวรรณกรรมและตัวอักษรของประชาคมอีสาน ประชามคมโดยเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมไทย – ลาว ได้สืบทอดวัฒนธรรมลุ่มแม่นํ้าโขงร่วม กับประชาคมในอาณาจักรล้านช้างมาตั้งแต่สมัยอดีต จึงมีลักษณะร่วมกันอยู่ทางด้านวรรณกรรม ตัวอักษร ตลอดจนภาษาที่ใช้สื่อสาร ทั้งภาษาถิ่นอีสานกับภาษาลาวต่างมีความคล้ายคลึงจนเกือบ เป็นภาษาเดียวกัน ซึ่งต่างกันที่เนียงพูดพูดที่เพี้ยนกันไป ในการสืบทอดวัฒนธรรมทางวรรณกรรมและตัวอักษร พบว่าอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่ในสมัยราชวงค์มังราย และได้เคยมีการ สืบทอดวัฒนธรรมจากล้านนา ดังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารล้านช้าง และพงศาวดารโยนก ซึ่ง ในวรรณกรรมพุทธศาสนาของล้านนาเชียงใหม่เจริญรุ่งเรืองมาก วรรณกรรมเหล่านั้นได้เข้าไปใน ครั้งนั้นด้วย และได้เผยแพร่กระจายไปดูสู่ดินแดนภาคอีสาน พบว่าวรรณกรรมอีสานจำ�นวนมาก จึงมีเนื้อเรื่องกับวรรณกรรมภาคเหนือ เช่น เรื่องจำ�ปาสี่ต้น นางผมหอม สินไซ และลิ้นทอง ๒. เอกสารใบลานอีสานด้านวรรณกรรม วรรณกรรมอีสานมีจำ�นวนมาก ทั้งจำ�นวนเรื่องและสำ�นวน บางเรื่องอาจมีทั้งสำ�นวน กลอน ลำ� ที่แต่งเป็นโครงสาร และสำ�นวนเทศน์ ที่แต่งเป็นฮ่าย (ร่ายคล้ายร่ายยาว) ๒.๑ ประเภทของวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน การจัดประเภทวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน โดยยึดรูปแบบของฉันทลักษณ์เป็นเกณฑ์ วรรณกรรมอีสานให้ความสำ�คัญในการเสนอเนื้อหาสาระมากกว่าฉันทลักษณ์นั่นคือวรรณกรรม อีสานจะประพันธ์ “โคลงสาร” หรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า “กลอนลำ�” การจัดประเภทของ วรรณกรรมพื้นบ้านอีสานจึงจัดตามเนื้อหาสาระของวรรณกรรม ดังนี้ - วรรณกรรมพุทธศาสนา - วรรณกรรมประวัติศาสตร์ - วรรณกรรมนิทาน - วรรณกรรมคำ�สอน - วรรณกรรมเบ็ดเตล็ด ๒.๑.๑ วรรณกรรมพุทธศาสนา วรรณกรรมพุทธศาสนา ได้แก่ วรรณกรรมชาดกนิบาต (หรือชาดกนิบาตที่ดำ�เนินเรื่อง ตามแบบการประชาสัมพันธ์ชาดก)วรรณกรรมตำ�นานพุทธศาสนา ๑.) วรรณกรรมชาดก หรือ ชาดกนอกนิบาต คือวรรณกรรมที่ใช้กลวิธีการประพันธ์แบบ ชาดก ซึ่งมักจะมี ปรารภชาดก เป็นเรื่องที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์และสาเหตุที่จะทรง


113

เล่าถึงอดีตชาติ เช่นเกิดฝนโบกขรพรรษ ๒.) เนื้อเรื่องคืออดีตชาติที่พระพุทธองค์ต้องเกิดมาใช้หนี้ กรรม และบำ�เพ็ญบุญบารมีต่างๆ เช่น ทาน ศีล สมาธิ ฯลฯ (ทศบารมี) ๓.) ประชุมชาดกตอนท้าย เรื่องจะกล่าวถึงตัวละครต่างๆ ในเรื่องจะกลับชาติมาเกิดใหม่(ถือชาติ) เป็นพระพุทธองค์พระนาง ยโสธรราพิมพา หรือพุทธบิดา มารดา ฯลฯ ๔.) ประพันธ์ด้วยภาษาบาลีแทรกอยู่ทั่วไป เพื่อให้เห็น ว่ามีโครงเรื่องอยู่ในคัมภีร์ภาษาบาลี วรรณกรรมอีสาน พบว่าวรรณกรรมนิทานเป็นจำ�นวนมาก ได้ใช้กลวิธีการประพันธ์แบบ วรรณกรรมชาดก และพระภิกษุก็นำ�เรื่องนิทานมาเทศน์ให้ประชาชนฟัง เช่น ท้าวคัชนาม ท้าวสี ทน (พระสุธน – มโนห์รา) จัดอยู่ในวรรณกรรมนิทาน ตัวอย่างวรรณกรรมชาดก ของภาคอีสานมี ดังนี้ - ลำ�มหาชาติ (พระมหาเวสสันดรชาดก) - ลำ�ท้าวปาจิต - นางอรพิม (ปาจิตตกุมารชาดก) - สุวรรณสัวข์ (สุวรรณสังขชาดก) - เสียวสวาด หรือ ศรีเฉลียวเสียวสวาด - ท้าวโสวัด - แลนมูล (แลน - ตะกวด) - นกกระจอก (โครงเรื่องเดียวกับเรื่องนางนกกระจอกภาคกลาง) - พระยาคันคาก (คางคก) - พระเจ้าสิบชาติ (ทศชาติชาดก) - มาลัยหมื่นมาลัยแสน ๒.) วรรณกรรมตำ�นานพุทธศาสนา ได้แก่ประวัติสืบพุทธศาสนาในดินแดนแหลมทอง และล้านช้าง ซึ่งเนื้อหาสาระของตำ�นานพุทธเจดีย์สำ�คัญในภาคอรสาน ล้านช้างและล้านนา เช่น - อุรังคนิทาน (ตำ�นานพระธาตุพนม) - พระมาลัยเลียบโลก (การสืบศาสนาในดินแดนแหลมทอง) - ชินธาตุ - พื้นธาตุพนม (โครงเรื่องเดียวกับเรื่องอุรังคนิทาน) ๒.๑.๒ วรรณกรรมประวัติศาสตร์ วรรณกรรมเชิงประวัติศาสตร์ภาคอีสานมีจำ�นวนน้อยเพราะวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน เจริญรุ่งเรืองอยู่ในกลุ่มชาวบ้านและชาววัด เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จึงอยู่ในความสนใจของ ชาวบ้านน้อยกว่าวรรณกรรมพุทธศาสนา - ท้าวฮุ้งหรือเจือง มหาสีลา วีรวงศ์ ได้ถอดจากต้นฉบับใบลานอักษรไทยน้อย ฉบับ หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งชื่อว่า “ท้าวบาเจือง” และจัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ มหาสีลา ได้


114

ตั้งชื่อว่า “ท้าวฮุ้งหรือเจือง”ประพันธ์เป็นโครงเรื่องเนื้อเรื่องกล่าวถึงวีรบุรุษของไทย ได้รวบรวม อาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นในบริเวณลุ่มแม่นํ้าโขงกว้างใหญ่ รวมทั้งดินแดนภาคเหนือ (ล้านนา) - พื้นเมืองเวียงจันทร์ เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึงตำ�นานการสร้างมืองเวียงจันทร์และ เมืองนครพนม “โครตบอง” หรือ “โครตบูรณ์” และมีการสืบสันค้นวงศ์ของกษัตริย์ล้างช้างบาง ยุคสมัย - พื้นเวียง เป็นวรรณกรรมที่กล่าวเฉพาะเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ ๓ กรณีกบฏเจ้าอนุวงศ์ และสงครามไทย – ญวน ประพันธ์เป็นโคลงสาร บางฉบับชื่อว่า “ลำ�พื้นเวียง” เป็นวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ที่แพร่หลาย คือพบต้นฉบับในภาคอีสานจำ�นวนมาก เนื้อหาส่วนใหญ่ต่างเห็นตรง กับกรณีกบฏเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์จึงดิ้นรนที่จะเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากเจ้าเมือง ต่างๆในภาคอีสาน - นิทานเรื่องขุนบรม หรือตำ�นานขุนบรม หรือพงศาวดารล้านช้าง กล่าวถึงตำ�นานการ สร้างบ้านแปงเมืองของคนกลุ่มแม่นํ้าโขง นับตั้งแต่เป็นเมืองนาน้อยอ้อยหนู เชียงดงเชียงทอง (หลวงพระบาง) และพงศาวดารล้านช้าง การสืบสันติวงศ์กษัตริย์ล้านช้าง ๒.๑.๓ วรรณกรรมนิทาน วรรณกรรมอีสานจำ�นวนมาก มีโครงเรื่องเหมือนกับวรรณกรรมภาคเหนือต่างกันแค่ สำ�นวนโวหาร ภาษาถิ่น และฉันทลักษณ์ถิ่น เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่ และล้านช้างหรือประชาคมลุ่มแม่นํ้าโขง รวมทั้งภาคอีสานด้วย ในสมัยอดีตมีความสัมพันธ์กันใกล้ ชิดทางด้านวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ วรรณกรรมนิทานที่สำ�คัญและแพร่กระจายอย่างกว้างขวางได้แก่ - จำ�ปาสี่ต้น (เนื้อเรื่องเดียวกับสี่ยอดกุมาร) - นางผมหอม - สินไซ (โครงเรื่องเดียวกับสังข์ศิลปชัย) - ท้าวสีทน (โครงเรื่องเดียวกับพระสุธนมโนห์รา) - ไก่แก้ว - บัวฮม บัวฮอง บัวเฮียว - ปลาแดก ปลาสมอ - กำ�พร้าผีน้อย - ท้าวผาแดงนางไอ่ ๒.๑.๔ วรรณกรรมคำ�สอน วรรณกรรมคำ�สอนในภูมิภาคอีสานมีจำ�นวนมากและค่อนข้างจะโดดเด่นอยู่ในความ สนใจของประชาชนเช่น หมอลำ�มักจะยกขึ้นมาลำ�ในที่ประชุมโดยเฉพาะเนื้อหาตอนที่สอนใจ สอน


115

แนวปฏิบัติของบุคลากรในครอบครัวและสังคม การดำ�เนินเรื่องของวรรณกรรมคำ�สอนจะเป็น เทศนาโวหารตลอดเรื่อง แต่ไม่มีตัวละคร เช่นเดียวกับ “โครงโลกนิติ” หรือสุภาษิตเนื้อหาส่วน ใหญ่เป็นคำ�สอนแนวประพฤติปฏิบัติ โดยยึดติดคติธรรมทางพุทธศาสนาและจารีตของท้องถิ่น เช่น - ธรรมดาสอนโลก (สอนการดำ�เนินชีวิตตามฮีตบ้านคองเมือง โดยยึดแนวคตินิยมทาง พุทธศาสนาและจารีตท้องถิ่น) - ฮีตสิบสองคองสิบสี่ (จารีตประเพณีบ้านเมืองในรอบ ๑๒ เดือน และครรลองแห่งธรรม ของผู้ปกครอง และครรลองแห่งธรรมของผู้ปกครองและผู้ใหญ่ ๑๔ ประการ) - พระยาคำ�กองสอนไพร่ - อินทิญาณสอนลูก ๒.๑.๕ วรรณกรรมเบ็ดเตล็ด คือวรรณกรรมที่ไม่อาจจะจัดกลุ่มในประใดประเภทหนึ่งได้ เพราะการสร้างสรรค์ วรรณกรรมขึ้นมา มีจุดมุ่งหมายเฉพาะกิจ ส่วนใหญ่จะใช้ในพิธีกรรม เช่น ๑.) วรรณกรรมที่ใช้ในพิธีกรรมสูดขวน (บทสู่ขวัญ) เช่น - บทสูดขวน (บทสู่ขวัญทั่วไป) - บทสูดขวนเด็ก (บทสู่ขวัญเด็กเมื่อตกใจ หรือเดินทางไกล) - บทสูดขวนอยู่กรรม (บทสู่ขวัญแม่ลูกอ่อน ก่อนจะออกจากการอยู่ไฟ) - บทสูดขวัญหนุ่มสาว (บทสู่ขวัญเมื่อเจ็บไข้หรือป่วยหาสาเหตุไม่ได้) ๒.) วรรณกรรมที่ใช้ในพิธีกรรมขอฝน หรือการแห่บั้งไฟ ได้แก่ คำ�เซิ้ง ต่างๆ ไม่มีการจด เป็นลายลักษณ์อักษร (มุขปาฐะ) เช่น - คำ�เซิ้งบั้งไฟ (ส่วนใหญ่ด้นกลอนสด และกลอนที่จำ�สืบๆมา กล่าวถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ บ้าง คำ�หยอกล้อหนุ่ม – สาวบ้าง คำ�ล้อเลียนบ้าง ซึ้งทั้งหมดจะเน้นความสนุกสนานรื่นเริง) - คำ�เซิ้งนางแมว (แห่นางแมว) ๓.) วรรณกรรมที่ใช้เกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว ที่เรียกว่า “ผญาเครือ” คือคำ�พูด โต้ตอบของหนุ่มสาวที่เกี้ยวกัน โดยโวหารสำ�นวนเชิงเปรียบเทียบบ้าง ยกภาษิตท้องถิ่นมาอ้างอิง เพื่อฝากรักบ้าง ๔.) นิทานที่เล่าเพื่อความสนุกสนานและตลกขบขัน - นิทานพื้นบ้างต่างๆ (ส่วนใหญ่มีปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร และนำ�มาเล่าสู่กันฟัง) - นิทานขบขันเชิงปัญญา เช่น เรื่องเชียงเมี้ยง - นิทานตลก เช่น นิทานโตงโตย - นิทานขบขันเชิงหยาบโลน เช่น นิทานก้อม (นิทานสั้นๆ)


116

๓. รูปแบบวรรณกรรมอีสานและล้านช้าง รูปแบบวรรณกรรม หมายถึง ฉันทลักษณ์ ภาษาถิ่น อักษรถิ่น ภาคอีสานเป็นแหล่งสะสม วัฒนธรรมมาหลายยุคสมัย นับตั้งแต่สมัยเชียง (๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปี) สมัยขอมจนถึงสมัยไทย – ลาว ซึ่งสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ประชาคมอีสานสมัยอดีตมีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม กับอาณาจักรล้านช้าง มีวัฒนธรรมด้านจารีตประเพณีอักษรศาสตร์ ภาษาพูดร่วมกับชาวลาวใน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (โดยเฉพาะวรรณกรรมท้องถิ่นร่วมกับเกือบทุก เรื่อง) ภาคอีสานมีอักษรใช้ประจำ�กลุ่ม มี ๒ แบบ คือ อักษรตัวธรรม และไทยน้อย รูปแบบ อักษรตัวธรรมเป็นอักษรกลุ่มเดียวกับอักษรตัวเมืองในภาคเหนือ คืออักษรไทยสกุลมอญเช่น เดียวกัน อักษรไทยน้อยเป็นอักษรไทยสกุลพ่อขุนรามคำ�แหง ที่มีอักษรวิธีอักษรตัวธรรมปะปนอยู่ ด้วยภายหลังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการพิมพ์ และเพิ่มเครื่องหมายวรรณยุกต์เรียกว่า “อักษรลาว” อักษรทั้ง ๒ แบบประชาคมอีสานใช้บันทึกเอกสารใบลานตั้งแต่อดีตสมัยอดีต โดยใช้ อักษรตัวธรรมบันทึกพระธรรมคัมภีร์ และชาดกต่างๆ ส่วนอักษรไทยน้อยใช้บันทึกเรื่องราวทั่วไป และวรรณกรรมประเภทนิทาน นิยายอักษรทั้งสองแบบประชาคมอีสานเลิกใช้เมื่อนิยมเรียน หนังสือไทยในโรงเรียน ฉะนั้นวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานจึงบันทึกด้วยอักษรทั้งสองแบบ ฉันทลักษณฺในวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานที่ปรากฏในวรรณกรรมลายลักษณ์ มี ๓ แบบ คือ โคลง สาร กาพย์ ร่าย (ฮ่าย) โดยทั่วไปจะนิยมประพันธ์เป็นโคลงสาร เพราะเหมาะกับการอ่าน ทำ�นองของอีสาน (คล้ายลำ�พื้น หรือ ลำ�เรื่อง) ๓.๑ โคลงสาร หรือกลอนลำ� โคลงสารเป็นฉันทลักษณ์ที่นิยมประพันธ์วรรณกรรมนิทานนิยาย หรือนิทานคติธรรม เช่น เรื่องจำ�ปาสี่ต้น สินไซ กาละเกด นางผมหอม ไก่แก้วท้าว สีทน (พระสุธน-มโนห์รา) นางแต่ง อ่อน ฯลฯ ๓.๒ กาพย์ หรือ กาพย์เซิ้ง มีลักษณะต่างไปจากกาพย์จองภาคกลาง คือ ไม่กำ�หนดว่าบทหนึ่งมีกี่บาท แต่ใช้เนื้อ ความกำ�หนดว่าจบตอนหนึ่ง บาทหนึ่ง มี ๗ คำ� (ไม่มีคำ�สร้อย) ไม่มีกำ�หยดเอกโท กำ�หนดสัมผัสให้ คำ�สุดท้ายของบาทสัมผัสกับคำ�ที่ ๑ - ๔ ๓.๓ ฮ่าย ร่ายอีสานเหมือนกับร่ายยาว เพียงแต่ไม่เครงครัดในแผนผังฉันทลักษณ์ ส่วนใหญ่ใช้ประ พันธ์วรรณกรรมพุทธศาสนา คือ แปลคำ�ภาษาบาลีมาเป็นภาษาถิ่นอีสาน 86 86 ธวัช ปุณโณทก. วรรณกรรมอีสาน. หน้า ๑๐.


87

117

วรรณกรรมอีสาน มีทั้งวรรณกรรมพื้นบ้าน วรรณกรรมตำ�นาน วรรณกรรมทางศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาเถรวาท รูปแบบวรรณกรรมอีสานโดยส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ส่วนที่จัดนิทรรศการเป็นตัวอย่าง ตำ�นานพุทธสานา วรรณกรรมพื้นบ้าน ตำ�นานวีรบุรุษ และ ตำ�นานมูลเหตุประเพณีบั้งไฟ

ตำ�นานพระอุรังคธาตุ มีตำ�นานว่าในสมัยพระพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงบาตรที่เมืองศรีโคตรบอง พระยาศรีโคตรบูรทูลอาราธนาให้พระองค์เข้าไปรับบิณฑบาตในราชฐาน เมื่อพระองค์ทรงรับข้าว บิณฑบาตแล้วส่งบาตรให้พญาศรีโคตรบูร พระยาศรีโคตรบูรนำ�บาตรไปถวายพระพุทธองค์ ณ ที่ ประทับ พระพุทธองค์ได้ทรงทำ�นายให้พระอานนท์ฟังว่าพระยาศรีโคตรบูรองค์นี้จะไปเกิดยังเมือง สาเกตนคร มีพระนามว่า “สุริยกุมาร” สุริยกุมารจักได้บำ�รุงพุทธศาสนาไว้ในเมืองร้อยเอ็ดประตู จากนั้นสุริยกุมารจะไปจุติเป็นพญาสุมิตตธรรมวงศา-มรุกขนครและบำ�รุงพระพุทธศาสนาที่เมือง นั้นพญาสุมิตตธรรมองค์นี้จักเป็นผู้สถาปนาอุรังคธาตุของพระองค์ไว้ ณ ภูกำ�พร้านี้ เมื่อพระพุทธ องค์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสะปะเถระพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ พระองค์ได้นำ�พระอุรัง คธาตุมาที่ภูกำ�พร้าจากนั้นพระอรหันต์ทั้ง ๕ คือ พญาอินทนัฐนคร พญาจุฬาณีพรหมทัต พญานันทเสน พญาสุวรรณภิงคารและพญาคำ� แดง จึงได้ก่ออุโมงค์ประดิษฐานพระอุรังคธาตุไว้ แล้วพญาทั้ง ๕ ได้ไปจุติเป็นพระอรหันต์เพราะ ในสมัยพญาสุมิตตธรรม - ครองเมืองมรุกขนคร พระอรหันต์ทั้ง ๕ จึงได้อัญเชิญพญาสุมิตตธรรม สถาปนาองค์พระธาตุเพื่อบรรจุพระอังคารธาตุของพระพุทธองค์ซึ่งประดิษฐาน ณ อุโมงค์ภูกำ�พร้า ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเฉพาะพญาสุมิตตธรรมให้เป็นผู้สถาปนาพระอุรังคธาตุ สรุปคือ ตำ�นาน อุรังคธาตุ บรรยายถึงการก่อสร้างพระธาตุโดยเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนา แบ่งหน้าที่กับก่อสร้างและทางบริจาคทรัพย์สินสิ่งของเป็นพุทธบูชา 88

87 วรรณกรรมอีสาน เป็นวรรณกรรมที่มีแนวคิดเนื้อหาเรื่องราวที่มีจุดมุ่งหมาย ๒ ประการ คือ

๑. เพื่อมุ่งสอนผู้คนในทางโลก เรียกว่า “คดีโลก” เป็นวรรณกรรมที่ประโลมให้โลกอยู่ได้อย่างร่มเย็น เช่น นิทานก้อม ตำ�ราต่าง ๆ เป็นต้น ๒. เพื่อมุ่งสอนทางธรรม เรียกว่า “คดีธรรม” เป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อความศรัทธาในลัทธินิยมของตนเอง เช่น วรรณกรรมชาดก คาถาอาคม เป็นต้น วรรณกรรมอีสานบางส่วนเป็นวรรณกรรมที่ตกทอดมาจากเผ่าพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม แต่ได้พัฒนาเรื่องราวให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ โดยมากแล้ววรรณกรรมอีสานมักได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมล้านนา ทั้งนี้เพราะมีอยู่ยุคสมัยหนึ่งที่กษัตริย์ราชอาณาจักรล้านนาได้สละราช สมบัติแล้วนำ�พานักปราชญ์ราชบัณฑิตมาอยู่ที่ล้านช้าง ดังนั้นวรรณกรรมอีสานจึงได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมล้านนาอย่างเห็นได้ชัด. 88 พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. ตำ�นานอุรังคธาตุ (ตำ�นานพระธาตุพนม) พิมพ์ขึ้นเนื่องในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง วรรณกรรมสองฝั่งโขง ต้นฉบับคือ บันทึกในใบลานที่เขียนเป็นนิทานปรัมปรา.


118

ตำ�นานผาแดงนางไอ่ ในอดีตกาลบุพกรรมของนางไอ่ว่าในอดีตชาติมีชายใบ้ได้แต่งงานกับลูกสาวของเศรษฐี แล้วไม่ยอมร่วมหลับนอนกับภรรยา ทั้ง ๆ ที่ภรยาปฏิบัติต่อสามีเป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อคิดจะกลับ บ้านเมืองของตัวเอง จึงพาภรรยาไปด้วยแต่ทิ้งนางเสียขณะที่นางกำ�ลังเก็บผลไม้อยู่บนต้นไม้ ด้วย ความคับแค้นภรรยาจึงอธิษฐานไม่ให้เกิดมาเป็นสามีภรรยากันอีกและชาติหน้าของให้สามีของตน ต้องตายอยู่บนต้นไม้ เหมือนกับที่ได้ทิ้งนางไว้บนต้นไม้ ชาติต่อมาชายใบนั้นได้เกิดเป็นภังคีลูกชายของสุทโธนาคส่วนภรรยาเกิดเป็นนางไอ่ เมื่อนางไอ่อายุ ๒๔ ปี มีความสวยงามมาก ผาแดงแห่งเมืองผาโพงได้ข่าวความงามนั้น ก็มาชมได้พบและเกี้ยวพาราสีกันจนกระทั่งได้เสียกันอย่างลับ ๆ ในปีนั้นพระยาขอมได้กำ�หนดที่ จะทำ�บุญบั้งไฟเพื่อถวายแถนตามประเพณี ผาแดงได้ทราบข่าวก็จัดทำ�บั้งไฟไปร่วมงานบุญด้วย และมีการเดิมพันผาแดงเอาบ้านเมืองของตัวเองเป็นเดิมพัน พระยาของเอานางไอ่เป็นเดิมพัน ผล ปรากฎว่าบั้งไฟของทั้งสองไม่ขึ้น ผาแดงจึงกลับบ้านเมือง ในงานบุญบั้งไฟครั้งนี้ภังคีได้ขึ้นมาร่วม งานบุญด้วยและได้เห็นนางไอ่ด้วยบุพกรรม ทำ�ให้ภังคีมีจิตปฏิพัทธ์ต่อนางไอ่ ภังคีจึงแปลงกาย เป็นกระรอกเผือกแขวนกระดิ่งทองคำ�ไต่ขึ้นไปตามต้นไม้เพื่อตามดูนางไอ่ นางไอ่เห็นกระรอก เผือกน่ารักจึงอยากได้จึงให้นายพรานยิงเอากระรอก กระรอกก่อนตายก็อธิษฐานว่าขอให้เนื้อของ ตัวเองมากมายและมีกลิ่นหอมคนจะได้แบ่งกันไปกิน บริวารท้าวภังคีกลับไปบอกเรื่องราวนาค สุทโธ พระนาคนาคโกรธมากจึงพาบริวารทำ�ลายเมือง ใครกินเนื้อกระรอกเข้าไปก็ขอให้ตายตกไป ตามกัน เมื่อกลับไปถึงเมืองด้วยความคิดถึงนางไอ่ จึงได้กลับมาหานางไอ่อีก นางไอ่นำ�อาหารที่ ประกอบด้วยเนื้อกระรอกมาให้กิน แต่ผาแดงไม่กินและยังห้ามนางไอ่ด้วย ตกดึงสุทโธนาคก็ทำ�ให้ แผ่นดินถล่ม ผาแดงนำ�นางไอ่ขึ้นม้าหนีไปยังเมืองผาโพง แต่ไปไม่ถึงกลางทางนางไอ่ก็ถูกนาคเอา ตัวลงไปยังเมืองบาดาลได้ ส่วนผาแดงก็กลับมาถึงผาโพง ด้วยความอาศัยรักต่อนางไอ่จึงตรอมใจ ตายไปเกิดในเมืองผี ผาแดงเมื่อตายไปเป็นหัวหน้าผีด้วยความอาฆาตจึงรวบรวมไพร่พลผีทั้งหลาย ยกทัพไปสู้รบกับนาคที่เมืองนาค ร้อนถึงพระอินทร์ต้องลงมาห้ามการรบของทั้งสองฝ่าย พร้อมทั้ง สั่งสอนให้เลิกทำ�บาปจองเวรจองกรรมต่อกัน ให้มีเมตตา กรุณารักษาศีล ผีผาแดงและนาคต่างก็ เลิกรบกัน 89 ท้าวฮุ่งขุนเจือง ขุนจอมธรรมครองราชย์อยู่ที่เมืองสวนตานหรือนาคอง ไม่มีโอรสสืบสกุลจึงทำ�พิธีเซ่น สรวงบวงพลีต่อผีถํ้าและผีแถน เพื่อขอโอรส จึงได้ท้าวฮุ่งมาเกิด วันหนึ่งในขณะที่ท้าวฮุ่งเจืองออก ฝึกช้างได้รู้จักและชอบพอกับนางง้อมหรือง้อมม่วน ธิดาเมืองเชียงเครือ ท้าวฮุ่งให้ทหารคนสนิท 89 นภัสนันท์ พุ่มสุโข. ตำ�นานพื้นบ้าน ภาคอีสาน. หน้า ๗๘.


119

เป็นเถ้าแก่ไปสู่ขอ นางเม็งตกลงจะยกนางง้อมให้แต่เรียกสินสอดแพง คือ ไถ่วัว ควายอย่างละหมื่น สามใช้สามพันคน และทองคำ�อีกมากมาย ท้าวฮุ่งไม่มีทรัพย์ตามกำ�หนดจึงลักลอบเป็นชู้กับนาง ง้อม ต่อมานางง้อมทำ�พิธีเสี่ยงสายแนนและชั่งแนนดูวาสนาทราบว่าท้าวฮุ่งมีวาสนาดีจะได้ครอบ ครองเมืองหลายเมือง ส่วนเนื้อคู่นั้นจะได้ภรรยาหลายคน สำ�หรับนางง้อมเองแรก ๆ จะมีอุปสรรค แต่ภายหลังก็จะได้ครองรักกันด้วยความสุข มีเมืองอีกเมืองหนึ่งคือเมืองคำ�วัง เจ้าผู้ครองเมืองเป็ฯแกวชื่อท้าวแองกา เมื่อขึ้นครอง ราชย์ต้องการมีมเหสีจึงให้ทูตนำ�พระราชสาสน์มาสู่ขอนางอั้วที่เมืองเงินยาง ขุนซึ่มซึ่งเป็นลุงของ ท้าวฮุ่งปฏิเสธ และบอกว่าจะยกนางอั้วให้ท้าวฮุ่งผู้เป็นหลาน เมื่อถูกปฏิเสธท้าวแองกาและท้าว แกวยกทัพมาตีเมืองเงินยาง ขุนซึ่มเห็นเหลือกำ�ยังที่จะสู้รบได้จึงบอกข่าวไปยังท้าวฮุ่ง เมื่องท้าว ฮุ่งทราบข่าวจึงยกทัพมาช่วยรบจนได้รับชัยชนะ ขุนซุ่มประทานนางอั้วให้แก่ท้าวฮุ่ง จากนั้นท้าว ฮุ่งก็ออกรบกับพวกแกวอีก ตีทัพแกวแตกหนีได้รับชัยชนะตลอดหัวเมืองแกทั้งหมดและได้ธิดาเจ้า เมืองแกว ๘ คนมาเป็นภรรยา เมื่อเสร็จศึกท้าวฮุ่งก็ยกทัพกลับเมืองเงินยาง เมื่อถึงเมืองเงินยางได้ อยู่กินกับนางอั้วและไปสู่ขอนางง้อมเป็นครั้งที่ ๒ นางเม็งยอมยกนางง้อมให้ ท้าวฮุ่งครองเมืองเงินยางได้ ๑๗ ปี นางง้อมหนีไปเชียงเคือขณะนั้นทางเมืองตูมวางเมือง แกวที่เป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎท้าวฮุ่งจึงยกทัพไปปราบพวกแกวสู้ไม่ได้จึงไปขอความช่วยเหลือ จากแถนลอให้มาช่วยรบ ท้าวฮุ่งสู้ไม่ได้และเห็นว่าตัวเองคงสู้แถนลอไม่ได้จึงส่งสาสน์มายังเมือง สวนตานและเชียงเคือให้ยกทัพมาช่วยและอพยพเชื้อสายของตนไปไว้ที่เมืองเงินยาง เมื่อสั่งเสีย เรียบร้อยท้าวฮุ่งก็ออกรบอีก และสิ้นพระชนม์ในสนามรบนั่นเอง ท้าวฮุ่งเมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นผีบนสวรรค์ แต่ด้วยความอาฆาตจึงได้ยกทัพไปตีแถนจน ชนะพวกแถนทุกกลุ่ม ร้อนถึงพระอินทร์ต้องลงมาห้ามทัพและเชิญท้าวฮุ่งขึ้นครองเมืองเลียนพาน ต่อจากนั้นท้าวฮุ่งก็พบพุทธศาสนาและได้ขึ้นไปนมัสการพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์นำ� กฐิน และไปพบพระศรีอารย์เพื่อตัดกรรมตัดเวรให้หมดสิ้นจะได้บรรลุถึงนิพพาน ส่วนเมืองตูมวาง ชุมซึ่มและท้าวคำ�ฮุ่งก็ยกทัพไปปราบจนสำ�เร็จ90 ตำ�นานประเพณีบุญบั้งไฟ คนอีสานมีความเชื่อเรื่องภูติผี เทวดามาตั้งแต่อดีต พญาแถนผู้ดลบันดาลให้ฝนตกต้อง ตามฤดูกาลเป็นเทพที่ชาวบ้านเคารพนับถือองค์หนึ่ง ตำ�นานความเชื่อเรื่องพระยาแถน ซึ่งเป็นมูล เหตุของประเพณีบุญบั้งไฟคือเรื่องพญาคันคาก ท้าวคันคากเป็นโอรสเจ้าเมืองอินทปัตนคร ตอน 90 “ท้าวฮุ่งขุนเจือง” เป็นตำ�นานวีรบุรุษที่เก่าแก่ของชนเผ่า ไต – ลาว มีถิ่นกำ�เนิดของเรื่องแถบลุ่ม แม่น้ำ�กก แม่น้ำ�ของ อันเป็นบริเวณที่มีชื่อ

เรียกมาแต่โบราณว่า “โยนก” ซึ่งในปัจจุบันก็คือ เชียงราย เชียงแสน พะเยา “ท้าวฮุ่งขุนเจือง” เป็นบันทึกอันล้ำ�ค่าของชนเผ่าไตในยุคนับถือ ผี เช่น ผีฟ้า ผีแถน ก่อนที่จะรับศาสนาพุทธมาเป็นศาสนาประจำ�ตน เป็นเหตุการณ์ประมาณ พ.ศ. ๑๖๖๕ – ๑๗๓๕ ร่วมสมัยกับ กษัตริย์ ศรี สุริยวรมัน ที่ ๒ ของอาณาจักรเขมร.


120

เกิดมามีผิวขรุขระคล้ายคางคกจึงได้ชื่อว่าท้าวคันคาก ท้าวคันคากทำ�แต่ความดี พระอินทร์จึง คุ้มครองให้ความช่วยเหลือเมื่อได้เป็นเจ้าเมืองก็ปกครองเมืองด้วยคุณธรรม บ้านเมืองสงบสุขผู้คน ต่างเคารพนับถือ พระยาแถนอิจฉาถึงไม่ยอมส่งฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองแห้งแล้งนาน ถึง ๗ ปี พญาคันคากจึงส่งมด มอด ปลวก ขึ้นไปกัดทำ�ลายอาวุธของพระยาแถน แล้วยกกองทัพ พร้อมด้วยบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ไปรบพระยาแถนเห็นกองทัพ กบ เขียด เข้าประชิดจึงส่งงูมากัด เหยี่ยวของพญาคันคากก็เข้าจิกงู สุนัขของพระยาแถนก็ไล่กัดเหยี่ยว ทั้งสองฝ่ายส่งสัตว์ต่าง ๆ เข้า ต่อสู้กัน จนในที่สุดฝ่ายพญาคันคากเป็นฝ่ายชนะจึงได้เจรจากับพระยาแถนและทำ�สัญญาผูกมัด พระยาแถน ๓ ข้อดังนี้ ๑. พอถึงเดือนหกของทุกปีมนุษย์ต้องจุดบั้งไฟขึ้นท้องฟ้าเพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ พระยาแถนทราบว่าถึงเวลาส่งฝนลงมายังโลกแล้ว (ในตำ�นานบางท้องถิ่นว่าให้แห่สัญญาลักษณ์ เพศชายและหญิงเพื่อแสดงให้พระยาแถนทราบว่ามนุษย์มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ให้ คงอยู่ต่อไป) ๒. เมื่อมีเสียงร้องของกบเป็นสัญญาณบอกว่าฝนตกแล้วเมื่อฝนตกลงมามนุษย์พร้อมที่ จะปลูกข้าว ๓. เมื่อมีเสียงคนเป่าโวตหรือเสียงธนูอยู่บนว่าวที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าเป็นสัญญาณบอกว่า ถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำ�ผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อ ถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำ�ให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความ สุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณ ความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำ�นวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน การจัดประเพณีบุญบั้งไฟ ก่อนจะถึงวันงานหรือวันเอาบุญ ชาวบ้านก็จะช่วยกันเตรียมงานกันอย่างสามัคคี ชาว บ้านที่ได้รับมอบหมายจะสร้างปะรำ� หรือ “ผาม” หรือ “ตูบบุญ” ฝ่ายแม่ครัวก็เตรียมข้าวปลา อาหารไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงคน ฝ่ายช่างฟ้อนก็เตรียมขบวนรำ�ไว้สำ�หรับแห่บั้งไฟ ฝ่ายผู้ชายที่เป็นช่าง ฝีมือก็ช่วยกันทำ�บั้งไฟและตกแต่งให้สวยงาม งานบุญบั้งไฟส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทาง ศาสนาเท่าใดนักแต่บางแห่งก็มีพิธีทำ�บุญเลี้ยงพระบ้าง วันโฮม เป็นชาวบ้านก็จะมาตั้งขบวนเพื่อแห่บั้งไฟไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นงานบุญที่เน้น ความสนุกสนานรื่นเริง ในขบวนจะมีการรำ�เซิ้งตามบั้งไฟ และบรรดาขี้เหล้าทั้งหลายก็จะร้องเพลง


121

เซิ้งไปของเหล้าตามบ้านต่าง ๆ กาพย์เซิ้งอาจจะหยาบคายแต่ก็ไม่มีใครถือสากัน แต่กาพย์เซิ้งที่ใช้ แห่ในขบวนมักจะเป็นประวัติและความเป็นมาของพิธีบุญบั้งไฟ วันจุดบั้งไฟก็อาจจะเป็นอีกวันหนึ่งคือเป็นวันที่ชาวบ้านจะเอาบั้งไฟของแต่ละคุ้มแต่ละ หมู่บ้านมาจุดแข่งกัน ถ้าของใครทำ�มาดีจุดขึ้นได้สูงสุดก็จะชนะแต่ถ้าของใครแตกหรือซุก็ถือว่าแพ้ ต้องโดนลงโทษโดยการจับโยนลงโคลนหรือตมซึ่งเป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง การจุดบั้งไฟเป็นการ เสี่ยงทาย ถ้าบั้งไฟขึ้นสูง ก็ทำ�นายว่าฝนจะตกดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ เทศกาลบุญบั้งไฟของชาวอีสาน เกิดขึ้นในเดือนหก เทศกาลนี้เป็นงานสำ�คัญของชาว อีสานตั้งแต่อดีต เป็นการแสดงสัญลักษณ์ของการบอกเตือน และเป็นพิธีกรรมขอฝน ความเชื่อ เกี่ยวกับเทพเจ้าแห่งฝนที่มีความสัมพันธ์กับการเพาะปลูก เทศกาลบุญบั้งไฟจะเกิดขึ้นก่อนฤดูทำ� นา เพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งฝน มีชื่อว่า “พระยาแถน” 91

91 นภัสนันท์ พุ่มสุโข. ตำ�นานพื้นบ้าน ภาคอีสาน. หน้า ๔๗.


122

๖ ดนตรี ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี

ดนตรีและการแสดง ดนตรีและการแสดงของชาวอีสานเกี่ยวข้องกับกิจกรมที่เป็นพิธีกรรม การละเล่นและ กิจกรรมนันทนาการ ดนตรีและการแสดงของชาวอีสานยังสะท้อนถึง โลกทัศน์ การดำ�เนินชีวิต และการปรับตัวกับสภาพแวดล้อม ดนตรีและการแสดงของชาวอีสาน มีลักษณะตามท้องถิ่นและการผสมผสานกับ วัฒนธรรมที่อยู่ใกล้เคียง เช่นชุมชนอีสานตอนบนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมกลุ่มลุ่ม แม่น้ำ�โขง ส่วนชุมชนอีสานทางตอนล่างมีความใกล้ชิดและผสมผสานกับวัฒนธรรมเขมร ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์มาตั้งแต่เกิด และยังดำ�เนินความ สัมพันธ์กับชีวิตมาตลอด ดนตรีจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจนยากจะแยกออกจากกันได้ เพราะอาจจะถือได้ว่าศิลปดนตรีนั้นเป็นปัจจัยที่ห้าของมนุษย์ ที่สร้างดนตรีขึ้นเพื่อที่จะระบาย ความคิด ความรู้สึก หรือสร้างมโนภาพและประสบการณ์จริง ซิ่งอาจเป็นความสุขหรือความทุกข์ ด้วยเหตุนี้จึงสร้างศิลปขึ้นมาเพื่อชีวิต ดนตรีจึงเป็นศิลปที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ ของมนุษย์ ดนตรีนั้นยังเกี่ยวข้องกับสังคมในแต่ละท้องถิ่นที่เรียกว่า ดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการ ถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาของชาวบ้านที่ประกอบพิธีต่าง ๆ ดนตรีพื้นบ้านจึงมีความสัมพันธ์ต่อวิถี ชีวิตของชาวบ้าน ทั้งในด้านบันเทิงใจของคนในสังคม ให้ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการ ทำ�งาน และในด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ช่วงชีวิตของชาว บ้าน ซึ่งจะสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลหรือกลุ่มชนในระยะเวลาต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มชน ยังคงรักษาไว้และนิยมเล่นกันในปัจจุบันอย่าง เช่น ดนตรีพื้นบ้านอีสาน หมอลำ� ความเป็นมาของหมอลำ� หมอลำ�ในภาคอีสานมีความหมายถึงผู้เชี่ยวชาญในการขับร้องรวมถึงการแต่งกลอนและ การแสดงออกทางนาฎศิลป์ “หมอ” ในภาษาอีสานหมายถึง ผู้เชี่ยวชาญในทางใด ทางหนึ่ง ส่วน “ลำ�” เป็นลักษณะนามเข้าใจว่ามาจากลำ�ไม้ไผ่ ซึ่งบรรจุจารึกบทกลอน หนังสือผูกในสมัยโบราณ หมอลำ�พิธีกรรม หมอลำ�นอกจากจะเป็นศิลปะการขับร้องและแสดงเพื่อความบันเทิง แล้ว ยังนำ�ไปใช้ในการประกอบพิธีกรรมโดยมีจุดหมาย เพื่อติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผีแถนหรือผีฟ้า เพื่อลงมาเยียวยารักษาไข้ ซึ่งพบได้ทั่วไปในเขตภาคอีสาน โดยจะมีชื่อเรียกต่างกันออกไป เช่น หมอลำ�ผีฟ้า หมอเหยา


123

92 หมอลำ�กลอน หมอลำ�กลอนเป็นการแสดงที่เป็นความบันเทิง ใช้เป็นมหรสพในงาน บุญมงคลและอวมงคล ผู้ลำ� หรือหมอลำ� ต้องเป็นผู้ที่ท่องจำ�กลอนลำ�ไว้เป็นจำ�นวนมาก และ จะเลือกสรรนำ�กลอน ลำ�บทใดมา ลำ�ก่อนหลังก็ได้ แต่ต้องใช้ปฏิภาณประยุกต์ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ในการโต้ตอบกับคู่ลำ�และสามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้ฟังให้ติดตามได้ ตลอดเวลา การแสดงลำ�กลอนมีชนิดการแสดงอยู่หลายลักษณะ เช่น - ลำ�เกี้ยว : หมอลำ�คู่ชาย หนึ่งหญิงหนึ่ง - ลำ�โจทย์แก้ : จะใช้ชายคู่ หญิงคู่หรือชาย หญิงก็ได้ - ลำ�สามเกลอ : จะใช้หมอลำ�ชายสามคนร่วมกัน - ลำ�เชิงชู้ : จะใช้หมอลำ�ชายสองหญิงหนึ่งหานักดนตรีหรือเครื่องดนตรี ประกอบจะใช้ เพียงซอเป็นเครื่องบรรเลงแทนปี่และใช้โนตีกำ�กับจังหวะ เพลงโคราช 93 เพลงโคราช เริ่มเล่นตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าประยุกต์มา จากการเล่นเจรียงของชาวเขมรผสมผสานกับการเล่นเพลงฉ่อยทรงเครื่องของภาคกลาง แต่ใช้คำ� โคราชบ้างคำ�ไทยบ้าง ประกอบเป็นเพลง เพลงโคราชในระยะแรกจะเล่นแบบเพลงก้อม ซึ่งเป็น เพลงสั้น ๆ โต้ตอบกัน เพลงโคราชมีทั้งแบบการเล่น เป็นพิธีการ (หมอเพลง) เพื่อฉลงอในงานต่าง ๆ และการเล่นของชาวบ้านในยามว่าง เพื่อความสนุกสนาน เช่น การลงแขก ไถนา เกี่ยวข้าวเครื่อง ดนตรีที่สำ�คัญในอีสาน

เครื่องดนตรีอีสาน แคน 94 แคน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ชนิดที่มีลิ้นอิสระ เสียงแคน เกิดจากการเป่า หรือดูดกระแสลมผ่านลิ้นแคน แคนเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมแพร่หลายที่สุดของชาวอีสานมาตั้งแต่ โบราณและถือว่าแคน เป็นสัญลักษณ์ของชาวอีสาน ไม่มีหลักฐานว่าแคนเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้ 92 หมอลำ�กลอน

เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่อันหนึ่งของอีสานลักษณะเป็นการลำ� ที่มีหมอลำ�ชายหญิงสองคนลำ�สลับกันมีเครื่องดนตรี ประกอบเพียงชนิดเดียว คือแคนการลำ�มีทั้งลำ�เรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำ�เรื่องต่อกลอนลำ�ทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำ�จะ ต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ�ขึ้นอีกหนึ่งคนอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้.

93 เพลงโคราช เป็นศิลปะ วัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาหรือโคราช ซึ่งได้สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยเพลงโคราชนั้นมี

เอกลักษณ์การร้องรำ�เป็นภาษาโคราช ซึ่งมีความไพเราะ ทำ�ให้เกิดความเพลิดเพลินและสนุกสนาน.

94 แคน เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ดั้งเดิมของชาวอีสาน เป็นเอกลักษณ์คู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินอีสานตั้งแต่โบราณ เสียงแคนเป็นเสียงดนตรี

ที่มีความไพเราะ มีลายทำ�นองคึกคักเร่งเร้าสะท้อนถึงวิญญาณการต่อสู้ดิ้นรนของคนอีสาน นอกจากนี้เสียงแคนที่ขับขานยังมีลายทำ�นอง สนุกสนาน หวานชื่นเป็นสื่อสายใยบ่งบอกถึงความรักระหว่างผู้คนบนผืนแผ่นดินเกิดเดียวกัน สมัยรัชกาลที่ ๔ หมดลำ�แคนนิยมเล่นกันมาก.


124

คิดค้น หากไม่มีหลักฐานจากลอยสลักขวานทำ�ด้วยสำ�ริดสมัยวัฒนธรรมดองซอน ทำ�ให้เชื่อว่าแคน ได้เกิดขึ้นมาหลายพันปีแล้ว แคนเป็นเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะ การเป่าจะใช้มือทั้งสองข้าง บังคับเสียงทำ�ให้เสียง แคนที่ออกมานั้นมีทั้งทำ�นองและเสียงประสาน เสียงสอดแทรกแสดงถึงอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์ และเมื่อได้หมอแคนผู้มีความชำ�นาญเป่าตาม “ลาย” (ทำ�นองพื้นบ้านอีสาน) ก็ยิ่ง เพิ่มความไพเราะจับใจมากยิ่งขึ้น โปงลาง95 โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเคาะทำ�นอง มีลักษณะคล้ายระนาดในดนตรีไทย ลูกโปงลางจะทำ�จากไม้เนื้อแข็ง นิยมใช้ไม้มะหวด ยิ่งได้ไม้มะหวดยืนตายจะได้เสียงดีเป็นพิเศษ นิยมใช้ไม้ขนาดใหญ่ประมาณท่อนแขนแล้วนำ�มาถากกลึงตบแต่งเจาะรูสำ�หรับร้อยลูกระนาด ๒ รู เทียบระดับเสียงตามเสียงแคนมี ๕ เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา โดยเริ่มที่เสียงตํ่าไปจนถึงซอล สูง รวมทั้งหมด ๑๒ ลูก เวลาเล่นให้แขวนเป็นแนวเฉียงทำ�มุมประมาณ ๓๐ – ๔๕ องศากับพื้นให้ ลูกใหญ่เสียงทุ้มอยู่ด้านบนแล้วเรียงลำ�ดับลงมาเรื่อย ๆ ในสมัยโบราณเวลาเล่นผู้เล่นจะผูกปลาย ด้านหนึ่งของผืนโปงลางไว้กับเท้าผู้เล่น ใช้ผู้เล่นโปงลางผืนเดียวพร้อมกันทีละ ๒ คน คนหนึ่งเรียก “หมอเคาะ” ทำ�หน้าที่เคาะทำ�นองเพลง อีกคนหนึ่งเรียก “หมอเสิบ” ทำ�หน้าที่เคาะเสียงประสาน และทำ�จังหวะ โดยอยู่ทางขวามือของหมอเคาะ การบรรเลงโปงลางจะบรรเลงได้ทั้งบรรเลงเดี่ยว และบรรเลงรวมวงกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น แคน พิณ ซอ เป็นต้น ทำ�นองเพลงที่ใช้จะบรรเลง เพลงพื้นบ้านตามลายแคน เพลงไทยเดิม เพลงลาว และเพลงสากลที่มีสากลเสียงเพนทาโทนิก (pentatonic scale) พิณ96 พิณ หรือ ซุง เป็นเครื่องดีดประเภทมีสาย จำ�พวกเดียวกับ ซึง กระจับปี่ จะเข้ ใช้บรรเลง ได้ทั้งทำ�นองเพลงและประสานเสียงเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมแพร่หลายในภาคอีสานรองจากแคน พิณพื้นเมืองของภาคอีสานทำ�จากไม้ซุงท่อนเดียว ทำ�ให้บางท้องถิ่นเรียกว่า ซุง ไม้ที่นิยมทำ�พิณ คือ ไม้ขนุน เพาะถาด สิ่วได้ง่าย ให้เสียงเพะสดใส ขนาดของพิณจะขึ้นอยู่กับขนาดของท่อนไม้ และความต้องการของผู้ทำ� สันนิษฐานว่าพิษเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพล จากวัฒนธรรมของ อินเดียสมัยโบราณ แล้วดัดแปลงให้เข้ากับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน ทั้งด้านความประณีต 95 ลูกโปงลาง มีลักษณะเป็นแท่งกลม บากให้เว้าตรงกลางทั้งสองด้าน แล้วด้านหัวท้ายของลูกโปงลางแต่ละลูก เจาะรูทะลุ สำ�หรับร้อยเชือก โดย

ลูกที่โตและยาวที่สุด จะให้เสียงโทนต่ำ�ที่สุด ลูกที่เล็กและสั้นที่สุด จะให้เสียงสูงที่สุดลูกโปงลาง ทำ�จากไม้เนื้อแข็ง และให้เสียงกังวานดี ซึ่งไม้ ที่ให้เสียงกังวานได้ เช่น ไม้พะยูง ไม้มะหาด ไม้มะเหลื่อม ไม้ขนุน และไม้ไผ่ (ปัจจุบัน ใช้โลหะทำ�เป็นลูกโปงลาง ก็มี).

96 พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายดีดที่มีมานาน นานจนไม่อาจทราบได้ว่า ใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเป็นคนแรก เครื่องดนตรีที่มีหลักการเช่น

เดียวกันนี้ พบในหลายๆ ประเทศ แต่ชื่อเรียก ย่อมแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติภาษา และรูปร่างปลีกย่อยอาจแตกต่างกันไป พิณเป็นชื่อเรียก เฉพาะ ซึ่งแม้แต่ชาวอีสานเอง ก็เรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้แตกต่างกันออกไป เช่น แถบอุบล เรียกว่า “ซุง” ชัยภูมิเรียกว่า “เต่ง” หรือ “อี เต่ง” หนองคาย เรียกว่า “ขจับปี่” เป็นต้น แต่ชื่อสามัญที่คนทั่วไปใช้เรียก คือ “พิณ” นั่นเอง.


125

การประดิษฐ์ และการตกแต่งวัสดุที่ใช้ในการทำ�พิณเป็นวัสดุที่มีในท้องถิ่น ในส่วนของการบรรเลง พิณจะบรรเลงได้ทั้งเดี่ยวและรวมกับเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงครบ ๗ เสียง ตามระดับเสียงสากล จึงให้สามารถบรรเลงได้ทั้งเพลงพื้นบ้านอีสาน ลายแคนต่าง ๆ เพลงไทยเดิม และเพลงสากล โหวด 97 โหวด เป็นเครื่องเป่าเปิดไม่มีลิ้นทำ�ด้วยไม้ลูกแคน (ไม้กู่แคน) เสียงจะเกิดจากกระแส ลมที่ผ่านไม้กู่แคน แคนขนาดลิ้นยาวแตกต่างกันตามระดับเสียงสูงตํ่าของไม้กู่แคน ซึ่งนำ�มาติดอยู่ รอบ ๆ แกนกลาง แกนกลางจะทำ�ด้วยไม้ไผ่ติดไม้กู่แคน ด้วยขี้สูด (ขันโรง) โหวดเส้นจะประกอบ ด้วยไม้กู่แคน ๖ – ๙ ลำ� เวลาเป่าจะหมุนไปรอบ ๆ ปาก เลือกเป่าเสียงตามต้องการ โหวดเป็น เครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งจะมีการเล่นสะแนโหวด เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาว อีสาน โดยผู้เล่นจะทำ�เป็นบ่วง ๒ บ่วง รวบชายรวมกัน คล้องส่วนหัวและส่วนหางของโหวด แล้ว แกว่งเป็นรูปวงกลมรอบ ๆ ตัว เสียงโหวดจะดัง “แงว แงว” เรียกว่า การแงวโหวด พอแงวเสร็จก็ จะปล่อยบ่วงโหวดให้ลอยไปในอากาศ เสียงดัง “โว โว” เรียกว่าการทิ้งโหวดเป็นตัวตัดสิน ปัจจุบัน มีการพัฒนาโหวดให้เป็นเครื่องดนตรีเล่นได้ครบ ๗ เสียง เสียงตามระดับเสียงสากล นำ�มาเล่นรวม วงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น กลองเส็ง 98 กลองเส็ง หรือ กลองกิ่ง เป็นกลองสองหน้า หุ่นกลองทำ�ด้วยไม้ขึงหน้าด้วยหนังวัว ดึง หน้าด้วยเชือกหนัง เวลาตีจะมีเสียงดังมาก ในสมัยโบราณใช้เป็นกลองดึกตีให้สัญญาณการรบต่อ มาเมื่อบ้านเมืองสงบศึกชาวบ้านนำ�มาใช้ตีแข่งกันเรียกว่า เส็งกลอง (เส็ง ในภาษาอีสานแปลว่า การแข่งขัน) นิยมบรรเลงเพื่อความบันเทิง ประชันขันแช่ง เอาชนะกันโดยมีกรรมการเป็นผู้ตัดสิน ชี้ขาด มักตีในงานบุญต่าง ๆ โดยเฉพาะบุญบั้งไฟ บุญสงกรานต์และตีประกอบฟ้อนในขบวนแห่ ต่าง ๆ กลองกันตรึม 99 กลองกันตรึม หรือ โทน เป็นกลองสองหน้า ทำ�ด้วยไม้ขึงด้วยหนัง ใช้ในการตีประกอบวง ที่เรียกว่าวงกันตรึม มาจากเสียงดังโจะพรึม พรึม ชาวบ้านจึงพากันเรียก โทนที่ตีประกอบในวงกัน ตรึมว่า กลองกันตรึม 97 โหวด เดิมเป็นของเล่นของคนอีสาน ใช้แกว่งเล่นเหมือน “สนู” ต่อมาได้ดัดแปลงมาเป็นเครื่องดนตรีของวงดนตรีพื้นเมือง ประเภทเครื่องเป่า

สามารถเป่าหรือแกว่งให้เกิดเสียงดังได้.

98 กลองเส็ง เป็นกีฬาพื้นเมืองที่เก่าแก่มากที่สุดประเภทหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมเล่นกันในจังหวัดบุรีรัมย์ เลย สุรินทร์ หนองคาย

และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือแทบทุกจังหวัด สันนิษฐานว่าน่าจะมาพร้อมกับความเป็นชาติไทยแล้ว อย่างน้อยก็น่าจะมีการ เล่นมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว เพราะกลองเป็นเครื่องดนตรีทีเก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง และคนไทยก็ใช้กลองเพื่อประโยชน์ต่างๆ มากมายมาแต่ โบราณ คำ�ว่าเส็งเป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง การแข่งขัน. 99 กลองกันตรึม เป็นกลองขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายโทนทางภาคกลาง แต่มีความยาวมากกว่า ตัวกลองทำ�จากแก่นไม้ขนุนหรือลำ�ต้นของต้น มะพร้าวก็ใช้ทำ�ได้ แต่แก่ไม้ขนุนเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะทำ�ให้เสียงดังกังวาน การทำ�ใช้วิธีกลึงภายนอกให้เป็นรูปกลอง และขุดภายในให้ กลวง โดยให้มีความหนาของตัวกลองประมาณ ๑ นิ้ว พร้อมทั้งตบแต่งผิวภายนอกให้เรียบและขัดเงา.


126

วิธีชีวิตที่เกี่ยวกับการดำ�รงชีพ บรรพบุรุษดั้งเดิมคนอีสานมากจากหลวงพระบางและเวียงจันทน วัฒนธรรมประเพณี ตางๆ ไดสืบทอดกันหลายชั่วอายุคน พื้นที่ทางภูมิศาสตรทางภาคอีสาน สําหรับคนภาคอื่นอาจ คิดวา มีความแหงแลง ขาดแคลนทรัพยากรตางๆ แตสําหรับคนอีสานแลว เปนดินแดนที่อุดม สมบูรณมีทรัพยากรเกือบทุกอยางที่ธรรมชาติสรางไวให ภัยทางธรรมชาติมีนอยมาก สภาพภูมิ อากาศ ถาเปนฤดูฝนพายุแรงๆ ทางตะวันออกจะถูกกั้นดวยประเทศเวียดนามและลาว พอถึงภาค อีสานก็จะออนตัวลงเหลือแตฝนตก พอฤดูหนาวความหนาวมาจากทางเหนือประเทศจีน มีภูเขา ทางภาคเหนือกั้นไวสวนหนึ่ง และพอถึงฤดูรอนมีลมมาเย็นๆ ทางทิศใตจากชายฝงทะเลตะวันออก วิถีชีวิตความเปนอยูของคนอีสานจึงเรียบงาย มีความสงบสุข มีศาสนาเปนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มี จิตใจความโอบออมอารี เอื้อเฟอตอกันและคนอื่น อาหารการกินอุดมสมบูรณประกอบดวย ทอง ทุงทํานา สัตวปาและสัตวนํ้าจํานวนมาก เวลาสวนหนึ่งใชทํามาหากิน และอีกสวนใชในดานศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีตางๆ ดังนั้นดินแดนทางภาคอีสานจึงอุดมไปดวยเอกลักษณ ทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ศิลปะ หัตถกรรม วรรณกรรม จํานวนมากที่สืบตอกันมาถึงทุกวันนี้ อาชีพ ดินในภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นดินปนหินทรายและดินแดง ซึ่งเก็บความชุ่มชื้นได้น้อย มี ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหารพืชตํ่าและบางแห่งมีเกลือปนอยู่ นอกจากนี้อีสานยังประสบ ภาวะแห้งแล้งอยู่เสมอ เนื่องจากมีปริมาณฝนตกน้อย ดังนั้นอาชีพหลักของชาวอีสานจึงขึ้นน้อย สภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร ดิน นํ้าและแร่ธาตุ อาชีหลักแต่ดั้งเดิมของชาวอีสานแบ่งได้เป็น ๒ อาชีพคือ อาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำ�นาข้าว การทำ�ไร่มันสำ�ปะหลัง การทำ�เกลือสินเธาว์ และ อาชีพการทำ�ประมงนํ้าจืด การเกษตรกรรม พืชที่ปลูกมากในภาคอีสาน ได้แก่ ข้าว มันสำ�ปะหลัง ปอแก้ว การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น ข้าว ประชาชนในภาคอีสานยืดการทำ�นาเป็นอาชีพหลักข้าวที่ปลูกมีทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ปลูกกระจายอยู่ทั่วไปทุกจังหวัด ปริมาณข้าวที่ได้จะแตกต่างกันไปตามปริมาณนํ้าฝนในแต่ละปี จังหวัดที่มีการทำ�นาได้ดี ได้แก่จังหวัดที่อยู่ริมแม่นํ้าโขง และถึงแม้ในบางจังหวัดจะมีปริมาณฝนตํ่า กว่า ๑,๗๕๐ มิลลิเมตรแต่ก็ยังสามารถปลูกข้าวได้ผลดีเช่นกัน ทั้งนี้อาจเพราะมีพันธุ์ข้าวมากกว่า ๒,๕๐๐ ชนิด มีการปรับปรุงคัดเลือกเพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละท้อง


127

ที่ปริมาณข้าว ที่ได้นอกจากจะเก็บไว้กินแล้วยังมีผลผลิตเหลือส่งไปขายต่างประเทศอีกด้วย พันธุ์ ข้าวที่มีชื่อเสียงของภูมิภาคนี้คือ ข้าวหอมมะลิ ลักษณะการทำ�นาแบ่งตามภูมิประเทศ ๑. การทำ�นาโคกหรือนาเขิน หมายถึง นาที่ตั้งอยู่ในที่ดอนหรือที่โคกไม่สามารถนำ�นํ้า จากการชลประทานหรือเหมืองฝายไปใช้ได้ ต้องอาศัยนํ้าฝนเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่ปลูกข้าวไร่ ๒. การทำ�นาลุ่ม หมายถึง นาในที่ลุ่ม สามารถนำ�นํ้าจากเหมืองฝายหรือชลประทานมา ใช้ได้ นิยมปลูกข้าว นาดำ�หรือนาหว่านนํ้าตม ๓. การทำ�นาหนอง คือนาที่ตั้งอยู่ในหนองนํ้าหรือที่ลุ่มลึกหรือที่เคยเป็นหนองนํ้าแต่ตื้น เขินแล้วพื้นที่ลักษณะนี้นิยมปลูกข้าวนาหว่าน หรือนาหว่านนํ้าตม มันสำ�ปะหลัง เมื่อประมาณ ๑๒ – ๑๔ ปีทีผ่านมามันสำ�ปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำ�คัญ ทำ�รายได้ เสริมให้แก่เกษตรกรในภาคอีสานและสามารถนำ�รายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอันดับสองรองจากข้าว มันสำ�ปะหลังเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนจึงปลูกได้ดีในระหว่างละติจูด ๒๕ องศาเหนือและ ๒๕ องศาใต้ ในพื้นที่สูงจากระดับนํ้าทะเลไม่เกิน ๓,๐๐๐ ฟุต เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายทน ความแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชที่ให้แป้งชนิดอื่น ๆ ต้องการนํ้าเพื่อตั้งตัวหลังการปลูกเท่านั้น จึงเหมาะ กับภาคอีสาน ซึ่งมีปริมาณและการกระจายของฝนไม่แน่นอน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมที่จะปลูก มันสำ�ปะหลังกันมาก เพราะมีต้นทุนในการผลิตตํ่า ปลูกง่ายและไม่ต้องการการดูแลมากนัก ส่ง ผลผลิตเข้าโรงงานได้ง่ายและเก็บเกี่ยวได้ตลอดทุกฤดูกาล เกลือสินเธาว์ การทำ�เกลือสินเธาว์ในอีสาน ไม่มีลักษณะเป็นนาเกลือที่มีการสร้างแปลงนาสำ�หรับกัก เก็บนํ้าเกลือ แล้วปล่อยให้แสงอาทิตย์เผาเกลือจนแห้งหากเป็นการขูดดินเกลือหรือดินเอียดมาเก ละกับนํ้าแล้วกรองเอานํ้าเกลือออกมาต้มเพราะฉะนั้น เกลือสินเธาว์เป็นเรื่องของการต้มเกลือส่วน เกลือทะเลเป็นเรื่องการตากเกลือ แหล่งเกลือสินเธาว์ในอีสานซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยนั้นคือ บริเวณลำ�นํ้าเสียว ในเขต อำ�เภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่าบ่อพันขัน เพราะแต่ละปีในฤดูแล้ง จะมีชาวบ้านแทบทุกสารทิศเคลื่อนย้ายมาทำ�เกลือกันเป็นประจำ� ชาวอีสานทำ�เกลือมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเกลือมีความสำ�คัญในเรื่องอาหารของ มนุษย์โดยเฉพาะ นอกจากใช้ในการปรุงอาหารให้เกิดรสแล้ว ยังใช้ในการหมักดองอาหารเพื่อให้ กินได้นานๆ การทำ�ปลาร้าปลาแดกในภาคอีสาน มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันสิ่งที่ขาดไม่ ได้สำ�หรับการปลาแดกคือคือเกลือ อารยธรรมแรกเริ่มของอีสานมีความสัมพันธ์กับปลาแดกอยู่ไม่ น้อยเลยเรียกว่า “อารยธรรมปลาแดก”


128

การมีแหล่งเกลือสินเธาว์และมีการทำ�เกลืออย่างต่อเนื่อง มีผลเกี่ยวข้องกับการเดินทาง ดินแดนเขมรตํ่ารอบๆทะเลสบเขมร ที่มีการจับปลากันเป็นอาชีพหลักมาแต่โบราณ มีการติดต่อ แลกเปลี่ยนเกลือกับปลาทางเขมรตํ่า โดยที่เกลือจากอีสานน่าจะถูกนำ�ไปใช้ในการหมักปลา ทำ� ปลาเค็มปลาร้า ในเขตจังหวัดนครราชสีมา บริเวณที่ราบนํ้าท่วมนับตั้งแต่เขตทุ่งสำ�ริด แต่พอผ่านเข้า มาเขติจังหวัดมหาสารคามและบุรีรัมย์ ก็เข้าเขตทุ่งกุลาร้องไห้กินอาณาเขตไปถึงอำ�เภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณที่ราบลุ่มตํ่านํ้าท่วมถึงเขตทุ่งกุลาร้องไห้ พบชุมชนโบราณที่มีมาแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ จนถึงยุคปัจจุบัน ชุมชนเหล่านี้มีทั้งเนินดินที่มีคูนํ้าล้อมรอบและไม่มีมีขนาดใหญ่ น้อยกระจายกันไปทั่ว อีกทั้งเป็นจำ�นวนหลายชุมชนที่รอยตัดของชั้นดินอันเนื่องมาจากการทำ� ถนนตัดผ่าน เผยให้ถึงชั้นดินที่อยู่อาศัยและชั้นดินทางวัฒนธรรมหลายยุคหลายสมัยทับซ้อนกันไป ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นชัดเจน ว่าในที่ราบลุ่มนํ้าท่วมถึงขอบมานํ้ามูล – ชี มีประชากรอยู่กันอย่าง หนาแน่นสืบกันมาแต่สมัยโบราณ ชุมชนเหล่านี้เป็นจำ�นวนมากสัมพันธ์กับการถลุงเหล็ก เพราะพบเนินดินที่มีตะกรัน เหล็กกระจายอยู่ทั่วไปชุมชนทั้งหมดเกือบ ๔๐ บางแห่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่มีคูนํ้าคันดินล้อมรอบ เช่น ที่บ้านยะวึก อำ�เภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ บ้านทุ่งวังและบ้านดงพลอง อำ�เภอสตึก จังหวัด บุรีรัมย์ ชุมชนเหล่านี้มีรอยต่อของชั้นดินที่แสดงให้เห็นการถลุงเหล็กที่สืบเนื่องมาช้านาน การถลุง เหล็กดังกล่าวนับได้ว่าเป็นกิจกรรมทางอุตสาหกรรมโดยตรง เพราะฉะนั้น สังคมในแอ่งโคราชของภาคอีสานช่วงนี้จึงไม่ใช่สังคมเกษตรกรรมเพียง อย่างเดียว แต่เป็นสังคมอุตสาหกรรม ในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้พบแหล่งทำ�เกลือน้อย แม้ว่าลักษณะดินเป็นดินเค็มไม่พบแหล่ง เกลือ บริเวณแหล่งเกลือที่สำ�คัญในที่ราบลุ่มนํ้าท่วมพบที่บ้านดอนเกลือและชุมชนใกล้เคียงใน เขตอำ�เภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ อันเป็นบริเวณที่สัมพันธ์ติดต่อกับลำ�นํ้าเสียวที่ไหลมาแต่เขต จังหวัดร้อยเอ็ด แหล่งเกลือพบมากตรงชายขอบตรงทุ่งกุลาร้องไห้ทางเหนือ เป็นบริเวณที่ลำ�นํ้าเสียว ไหลผ่าน ลำ�นํ้านี้มีต้นนํ้ามาแต่เขตอำ�เภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ผ่านที่ราบลุ่มขั้นกระไดตํ่าลง มายังเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ต้นนํ้าและตามลำ�นํ้ามีแหล่งทำ�เกลือทั้งใหม่และเก่าอยู่เป็น ระยะๆ ส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งเล็กๆไม่ใหญ่โตเท่าใดแต่ทั้งนี้ไม่นับเนื่องแหล่งทำ�เกลือสมัยใหม่ใน เขตอำ�เภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม แหล่งทำ�เกลือโบราณขนาดใหญ่ตามลำ�นํ้าเสียวที่สำ�คัญพบในเขตอำ�เภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อันเป็นบริเวณที่ราบลุ่มขั้นกระไดตํ่า ชายขอบของทุ่งกุลารองไห้ ก่อนท่านํ้าเสียว


129

จะไหลลงสู่ที่ราบลุ่มนํ้าท่วมถึงที่เข้าไปในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ในเขตอำ�เภอสุวรรณภูมิ พบชุมชนที่เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่มีคูนํ้าคันดินล้อมรอบ แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณบ้านตาเณรมีกล่าวในตำ�นานและคำ�บอกเล่าชาวบ้านว่าชิ่เมืองจัมปาขัณฑ์ เป็นเมืองใหญ่ มีกษัตริย์ปกครองมาก่อน ภายในเขตเมืองมีโคกเนินอยู่ อีกทั้งตามผิวก็มีเศษเผา กระจายไปทั่ว ตามบริเวณข้างถนนที่ตัดผ่านเนินดินก็แลเห็นร่องรอยชั้นดินที่มีการอยู่อาศัยของ ผู้คนหลายยุคสมัย ภาชนะและเศษภาชนะจำ�นวนมากเป็นภาชนะใส่กระดูกคนตาย หรือแตกมาก จากภาชนะที่บรรจุกระดูกคนตาย การเข้ามาของกลุ่มชนรุ่นใหม่จากนครจัมปาสัก ยังแพร่หลายไปในบริเวณอื่น เช่น ที่ อำ�เภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มีการให้นามเมือโบราณร้างขนาดใหญ่สมัยทราวดีแห่งหนึ่งว่า เมืองนครจัมปาศรี ภูมิฐานของเมืองนครจัมปาขัณฑ์ที่บ้านตาเณร นับเป็นเมืองใหญ่ การกระจายตัวของ เศษภาชนะดินเผาและโคกเนินที่อยู่อาศัยในเขตเมือง และบริเวณรอบๆเมืองนั้น สะท้อนให้เห็นถึง การอยู่อาศัยของประชากรเป็นจำ�นวนต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายมาจนพุทธ สตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗ จนกระทั้งมีการฟื้นฟูให้เป็นชุมชนใหม่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ลง มา ตัวเมืองตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มเป็นพื้นที่ทำ�การปลูกข้าวและพืชพันธุ์ เพื่อเลี้ยงคนในเมืองและชุมชน ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นลักษณะธรรมดาสำ�หรับชุมชนบ้านเมืองในที่อื่นๆในภาคอีสาน เมืองนี้สัมพันธ์กับแหล่งทำ�เกลือหลายแห่ง เท่าที่สำ�รวจพบในขณะนี้คือแหล่งทำ�เกลือที่ บ่อน้อย ในเขตบ้านหนองดุม ใกล้กับลำ�นํ้าเสียว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมือง ห่างตัวเมือง ประมาณ ๔๐๐ เมตร กับแหล่องเกลือที่เรียกว่าบ่อพันขัน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือประมาณ ๒ กิโลเมตร แหล่งทำ�เกลือที่บ่อน้อย ชาวบ้านยังทำ�เกลือกันจนถูงปัจจุบันสภาพเป็นบริเวณที่ลุ่มเป็น หนองนํ้า ในฤดูแล้งดินและนํ้าในหนองเค็มจัด ชาวบ้านขูดดินเกลือตามผิวดินรอบๆหนองอและ นำ�นํ้าในหนองมาผสม แล้วกรองเป็นนํ้าเกลือเพื่อนำ�ไปต้มเป็นเกลืออีกทีหนึ่ง ทำ�กันมาช้านาน จน ปรากฏมีโคกเนินที่เกิดจากการต้มเกลือทับถมกันสูงเป็นเนินใหญ่ๆ อยู่โดยรอบ เนินบางเนินก็แล เห็นชัดเจนจากเศษภาชนะและเถ้าถ่านเกิดขึ้นใหม่ แต่บางเนินก็พบเศษภาชนะที่สัมพันธ์กับการ ฝั่งศพครั้งที่ ๒ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าปีลงมา จนถึงสมัยทวารวดีและ ลพบุรี โดยเฉพาะสมัยลพบุรีจะเห็นจากเศษภาชนะดินเผาเคลือบสีนํ้าตาลและสีเขียวอ่อนที่เป็น ลักษณะเครื่องปั้นดินเผาแบบขอมอย่างแท้จริง นับว่าเป็นการทำ�เกลือมาตั้งแต่สมัยโบราณ แหล่งเกลือที่บ่อพันขัน ปัจจุบันไม่มีแล้ว เพราะชาวบ้านและทางราชการได้ทำ�เขื่อน กั้นธารนํ้า ทำ�ให้กลายเป็นอ่างเก็บนํ้าไปแหล่งทำ�เกลือบ่อพันขันแห่งนี้นับว่าเป็นแหล่งทำ�เกลือ โบราณที่ชื่อเสียงมากที่สุดในภาคนอีสานเป็นแหล่งเกลือที่อยู่บนที่สูง คือทางเหนือของที่ราบลุ่ม


130

อันเป็นบริเวณที่นครจัมปาขัณฑ์ตั้งอยู่เป็นที่สูง มีลำ�นํ้าสายหนึ่งชื่อลำ�ห้วยปลาเค้า ไหลมาแต่ทาง ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มาสมทบกับลำ�นํ้าเสียวซึ่งไหลผ่านไปทางด้านตะวันออกของนครจัมปา ขัณฑ์ เนินเกลือบางแห่งเป็นแหล่งที่เกิดขึ้นมาจากการทำ�เกลือติดต่อกันมาถึง ๓๐ ปี แต่ที่น่า สนใจก็คือในบรรดาเนินทั้งหลายในละแวกนี้มีเนินหนึ่งเป็นเนินโบราณ พบเศษภาขนะดินเผาแบบ ทุ่งกุลาร้องไห้ที่เป็นภาชนะสำ�หรับบรรจุกระดูกคนในประเพณีกรฝั่งศพครั้งที่ ๒ ที่มีอายุไม่น้อย กว่า ๒,๐๐๐ ปีลงมา เนินนี้คงเป็นเนินที่เนื่องในพิธีฝังศพของผู้คนที่ทำ�เกลือบริเวณนี้ ตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยทวารวดีและลพบุรี เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดถึงการกระ จายตัวของแหล่งทำ�เกลือระยะแรกๆตามลำ�นํ้าเสียวที่สัมพันธ์กับเมืองจัมปาขัณฑ์ในระยะแรกเริ่ม แหล่งทำ�เกลือโบราณอีกหลายแห่งตามลำ�นํ้าเสียวเข้าไปในเขตที่รบลุ่มทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเนินดินขนาดเล็ก บางแห่งก็ร้างไป แต่บางแห่ง ก็ยังมีชาวบ้านทำ�อยู่ ทั้งนี้เพราะลำ�นํ้าเสียวนับได้ว่าเป็นลำ�นํ้าที่เค็มกว่าลำ�นํ้าอื่นๆ นํ้าเค็มในลำ�นํ้า นี้มักทำ�ความเสียหายให้แก่การเพาะปลูกข้าวและพืชพันธุ์ต่างๆ ของบรรดาผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตา มลำ�นํ้านี้บ่อยๆโดยเฉพาะผู้คนคิดทำ�เกลือมากขึ้นเช่นในปัจจุบัน ก็ยิ่งทำ�ทำ�ให้เกิดดินเค็มแพร่ไป ตามที่ต่างๆ จนมีการคัดค้านและร้องเรียนกันเป็นประจำ� แหล่งเกลือโบราณในที่ราบลุ่มน้ำ�ท่วมถึงของทุ่งกุลาร้องไห้ คือ บ้านดอนเกลือ ในเขติ อำ�เภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ บ้านดอนเกลือ เป็นชุมชนโบราณที่มีคูนํ้าคันดินล้อมรอบภายในชุมชนเป็นโคกเนินที่พบ ชั้นดินที่อยู่อาศัยหลายยุคหลายสมัยมีการค้นพบเครื่องมือหินขัดขนาดใหญ่ รอบๆ ชุชนที่มีคูนํ้า ล้อมแห่งนี้มีเนินเกลือขนาดเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป พบเศษภาชนะแบบหยาบ ที่ใช้ในการต้ม เกลือปะปนอยู่ตามเนินดิน ปัจจุบันก็ยังมีชาวบ้านทำ�เกลือ การสำ�รวจแหล่งโบราณคดีในบริเวณที่ราบลุ่มนํ้ามูลชีตอนล่างแหล่งโบราณคดีในแอ่ง สกลนครเป็นลุ่มนํ้าสงครามที่คลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดอุดรธานี สกลนคร หนองคาย และนครพนม แห่งโบราณคดีที่พบส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามลุ่มนํ้าสงครามตอนบน เป็นแหล่งโบราณชุมชน โบราณในยุคสำ�ริด – เหล็ก แบบวัฒนธรรมบ้านเชียง ในขณะที่บริเวณลุ่มนํ้าสงครามตอนล่างพบ ชุมชนโบราณในสมัยประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มีอายุในสมัยพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ เพราะบริเวณนี้เป็น ที่ราบลุ่มตํ่านํ้าท่วมถึง ต่างกับบริเวณลุ่มนํ้าสงครามตอนบนที่เป็นที่ราบลุ่มขั้นกระไดตํ่า เหมาะกับ การตั้งถิ่นฐานชุมชนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อันเนื่องมาจากการมีบริเวณที่สูงพอตั้งชุมชนได้ทั้ง มีลำ�นํ้าที่ไหลลงมาจากเทือกเขาภูพานไหลรินหล่อเลี้ยงได้ตลอดปี ชุมชนโบราณในลุ่มนํ้าสงครามตอนบนได้พบร่องรอย ๘๐ แห่ง แต่ไม่พบแหล่งทำ� เกลือและแหล่งถลุงเหล็กขนาดใหญ่เหมือนที่พบในแอ่งโคราชมีแห่งหนึ่งที่บ้านดุง อำ�เภอบ้านดุง


131

จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งชุมชนโบราณวัฒนธรรมบ้านเชียงที่พบใกล้กับแหล่งทำ�เกลือปัจจุบัน ซึ่งบริเวณที่ทำ�เกลือพบเนินดินคล้ายๆกับเป็นเนินที่เกิดจากการทำ�เกลือหลายแห่ง แต่เมื่อตรวจดู บริเวณเนินดินโดยละเอียด ไม่พบร่องรอยของเศษภาชนะที่ใช้ในการทำ�เกลืออย่างที่พบตามแอ่ง โคราช ถึงไม่พบร่องรอยของเกลือโบราณและแหล่งถลุงเหล็ก ในบริเวณลุ่มนํ้าสงครามตอนบน ในแอ่งสกลนครพบในบริเวณรอบๆหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีชุมชนโบราณวัฒนธรรม แบบบ้านเชียงได้กระจายแผ่มาตามช่องเขาภูพาน มายังตอนเหนือของหนองหานกุมภวาปี เช่นที่ บ้านจีด บ้านยาง และบ้านเมืองปัง ชุมชนโบราณทีมีวัฒนธรรมแตกต่างไปจากแบบบ้านเชียง เช่น ที่พบที่บ้านเมืองพฤกษ์ บ้านค้อ บ้านดอนสาย เห็นได้จากรูปแบบของภาชนะเนื่องในพิธีทำ�ศพ เคริ่งประดับ รวมทั้งยัง พบบริเวณที่มีการปักใบเสมาที่มีอายุตั้งแต่สมันทวารวดีลงมาหลานแห่งตาชายฝั่งของหนองหาน กุมภวาปีเป็นดินเค็ม พบเนินดินที่เนื่องในการทำ�เกลือโบราณหลายแห่งบางเนินเป็นเนินดินขนาด ใหญ่ พบแนวชั้นดินที่รอยเผาไหม้และเศษภาชนะที่ใช้ในการต้มเกลือ เช่น เนินดินที่เป็นแหล่ง เกลือใกล้กับชุมชนโบราณที่บ้านค้อ100 คนอีสานนิยมใช้เกลือสินเธาว์ทำ�ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า เพราะทำ�ให้ปลาไม่เน่าเร็ว กลิ่นไม่เหม็นเหมือนใช้เกลือทะเล รสไม่เค็มมาก ราคาก็ถูกกว่า ฉะนั้นในแหล่งที่มีดินเกลือหรือนํ้า เค็มชาวบ้านจึงทำ�นาเกลือกันเป็นลํ่าเป็นสัน บางแห่งมีการให้เช่าพื้นที่ทำ�นาเกลือ คิดค่าเช่าเป็นไร่ ต่อเดือน โดยเริ่มทำ�ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน การทำ�เกลือสินเธาว์นี้มีมา หลายชั่วอายุคนแล้วและก่อนลงมือทำ�เกลือจะมีประเพณีเรียกขวัญเกลือ หรือทำ�พิธีบายศรีก่อน (คล้ายกับการทำ�ขวัญข้าวในภาคอื่น ๆ) โดยทุกครอบครัวจะทำ�ไก่ต้ม 1 ตัว สุรา 1 ขวด ถ้าไม่มี อะไรเลยก็ให้ข้าวเหนียว 1 ปั้น พร้อมดอกไม้ ธูปเทียน วางบนศาลเพียงตาที่ตั้งขึ้นบวงสรวงไหว้ วอนขอให้เกลือขึ้นมาก ๆ การทำ�เกลือสินเธาว์ แหล่งเกลือหรือที่เรียกว่า เนินเกลือหรือโป่งเกลือจะสังเกตเห็นได้ง่ายคือ จะขึ้นเป็นขุย ขาว ๆ ชาวบ้านจะใช้ไม้ขุดรวมเป็นกอง ๆ ไว้เมื่อได้ดินปนเกลือมาแล้ว ก็จะนำ�มาใส่รางไม้ลักษณะ คล้ายลำ�เรือที่ขุดเตรียมไว้กว้างยาวตาม แต่ขนาดไม้โดยเจาะรูไว้กลางลำ� ๑ - ๔ รู ใช้ตอกหรือซังข้าวมัดเป็นวงกลมครอบรูไว้ เสร็จแล้วใช้กะลามะพร้าวหรือทำ�แผ่นไม้เป็นวงกลมครอบทับอีกที หนึ่ง แล้วเอาแกลบข้าวใหม่ ๆ โรยให้ทั่วท้องรางไม้อีกชั้นหนึ่ง เสร็จแล้วเอาดินเกลือที่ขนมานั้นใส่ บนแกลบเหยียบให้แน่นเหลือระดับดินไว้ประมาณ 1 คืบ แล้วจึงเอานํ้าจากบ่อน้ำ�เค็มที่ขุดเตรียม ไว้ใส่บนดินเกลืออีกครั้ง รูที่ใต้ไม้ท้องรางนั้นใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 คืบ จุกเข้าไว้โดยใช้ผงยาวไม้ บงกรุไว้พอให้นํ้าเกลือไหลผ่านลักษณะจะคล้ายกระดาษกรอง ให้นํ้าเกลือไหลลงภาชนะรองรับ 100 สุจิตต์ วงษ์เทศ. ทุ่งกุลา “อาณาจักรเกลือ” ๒,๕๐๐ ปี จากยุคแรกเริ่มล้าหลังถึงยุคมั่งคั่งข้าวหอม. หน้า ๗๑.


132

เมื่อได้เพียงพอแล้วก็นำ�เอานํ้าเกลือนั้นไปต้ม การต้มเกลือ ใช้สังกะสีตัดทำ�เป็นกะทะหรือถาดบันกรีเรียบร้อย สำ�หรับต้มเตาต้มบางแห่งใช้อิฐก่อ เป็นเตาหรืออาจจะขุดหลุมเป็นเตาแล้วใช้เหล็กพาดไว้ ๓ – ๔ อัน เพื่อรับนํ้าหนักเตานี้อาจขุด ลึกลงไปในชั้นดินหรือก่อพูนขึ้นเป็นรูปเตาก็ได้มีความกว้างประมาณ ๐.๕ เมตร ยาวประมาณ ๑ เมตรให้พอดีกับถาดสังกะสีก่อไฟข้างใต้เตาแล้วเอานํ้าเกลือที่กรองมาได้ใส่ลงไปให้เต็มถาด สังกะสีนั้นต้มไปจนนํ้าเหลืองวดเป็นเม็ดเกลือใช้เวลาต้มประมาณ ๑ – ๒ ชั่วโมง วันหนึ่ง ๆ จะต้ม ได้ประมาณ ๔ – ๖ ถาดสังกะสี ถาดหนึ่งจะได้เกลือประมาณ ๓ – ๒๐ กิโลกรัมขึ้นอยู่กับขนาดของ ถาดที่ต้ม การทำ�ประมง สำ�หรับคนอีสานนํ้าเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำ�คัญ ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่มีความสำ�คัญ มากกว่าสัตว์นํ้าประเภทอื่น ๆ สัตว์นํ้าที่เป็นอาหารสามารถพบได้โดยทั่วไปนับตั้งแต่บริเวณท้อง นาเมื่อเวลาหน้านํ้าจะพบสัตว์นํ้าต่าง ๆ มากมาย ในบริเวณห้วยหนอง คลอง บึงและแม่นํ้าสายต่าง ๆ ปลาที่พบตามแหล่งนํ้าได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาขาว ปลาไหล แหล่งนํ้าที่มีขนาด ใหญ่จะพบปลาขนาดใหญ่และหลายชนิดกว่าในคูคลองเล็ก ๆ เช่น ปลาในบริเวณแม่นํ้ามูล แม่นํ้าชี หรือแม่นํ้าโขง อีสานมีเครื่องมือจับปลาที่มีลักษณะไม่แตกต่างกันมานัก เครื่องมือที่พบเห็นเสมอ ๆ คือ เบ็ด สุ่ม แห ไซ ตุ้ม เครื่องมือจับสัตว์นํ้าเหล่านี้ทำ�ด้วยไม้ไผ่หรือหวายนำ�มาเหลาประกอบเข้าด้วย กัน ผู้สูงอายุตามหมู่บ้านจะเป็นผู้สานเครื่องมือหาปลาเหล่านี้เครื่องมือหาปลาแต่ละประเภทนั้น จะแสดงออกถึงลักษณะการหาปลาและชนิดของปลาบริเวณนั้น ๆ ได้ เครื่องมือจับปลาสามารถแบ่งตามลักษณะเป็น ๓ ชนิด คือ ๑. เครื่องมือดักปลาซึ่งต้องใช้เวลารอคอยและบางชนิดต้องมีเหยื่อล่อ ได้แก่ อีจู้ ตุ้ม ลอบ ไซ ยอ ซ่อน เป็นต้น ๒. เครื่องมือจับปลาซึ่งใช้จับได้ทันที โดยไม่ต้องรอคอย เช่น สุ่ม ฉมวก เป็นต้น ๓. เครื่องมือจับปลาซึ่งใช้ในการกักปลาไว้ ได้แก่ ข้องชนิดต่าง ๆ และกระพร้อม เป็นต้น ปลาที่จับได้มักนำ�ไปประกอบเป็นปลาร้ามากกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ โดยชาวบ้านจะนำ� ปลาตัวเล็ก ๆ มาคลุกเคล้าเข้ากับเกลือหมักดองใส่ไหไว้ พาหนะที่ใช้ในการจับสัตวนํ้า การจับสัตว์นํ้าบริเวณนํ้าลึกหรือบริเวณแหล่งนํ้าขนาดใหญ่ เช่น ลำ�นํ้าโขง มูล ชี หนองหาน ชาวบ้านจำ�เป็นต้องมีเรือเพื่อใช้เป็นพาหนะ ในการเดินทางและบรรทุก เครื่องมือ เครื่องใช้ในการจับสัตว์นํ้า และยังใช้บรรทุกสัตว์นํ้ากลับมายังบ้านเรือน เรือ ของชาวบ้าน ที่มีใช้อยู่


133

ตามลำ�นํ้าต่าง ๆ ในภาคอีสานพอจะแยกออกได้เป็น ๒ ประเภท ตามวิธีการสร้างเรือ คือ เรือขุด และเรือต่อ แหล่งประมงในภาคอีสาน แหล่งประมงในภาคอีสานมักจะอยู่ในแหล่งนํ้าของแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร เช่น แม่นํ้ามูล แม่นํ้าชี และสาขาแม่นํ้าสงคราม เช่น ที่หนองหาน จ.สกลนคร ในปัจจุบันนี้เริ่มมีการ เพาะเลี้ยงปลาตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มากขึ้น จังหวัดที่มีการเพาะเลี้ยงปลามาก ได้แก่ จ.สกลนคร ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาหมอเทศ ปลาไน ปลานิลและปลาจีน ซึ่ง ทางราชการเป็นผู้แจกพันธุ์

ปัจจัยในการดำ�รงชีวิต ปัจจัยสี่ : อาหาร สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของ คนท้องถิ่น อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำ�มาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตาม ธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำ�วิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อ รักษาอาหารไว้กินนาน ๆ จึงเป็นส่วนสำ�คัญในการดำ�รงชีพของคนอีสาน คนภาคอีสานเป็นผู้ที่กินอาหารได้ง่าย มักรับประทานได้ทุกอย่าง เนื่องจากภาคอีสาน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง เป็นที่ราบสูง มีแม่นํ้าสายใหญ่ และมีเทือกเขาสูงในบางแห่ง ขาด ความอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่นๆ เพื่อการดำ�รงอยู่ของชีวิตในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติ คนภาคอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่รับประทานได้ในท้องถิ่น นำ�มาดัดแปลงรับประทาน หรือ ประกอบเป็นอาหารทั้งพืชผักจากป่าธรรมชาติ ปลาจากลำ�นํ้า และแมลงต่างๆ หลายชนิด อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าว เหนียว กับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัดและนํ้าน้อย วิธีปรุงอาหารพื้นบ้านอีสานมีหลายวิธี คือ ลาบ ก้อย จํ้า จุ๊ หมก อู่ เอ๊าะ อ่อม แกง ต้ม ซุป เผา กี่ ปิ้ง ย่าง รม ดอง คั่ว ลวก นึ่ง ตำ� แจ่ว ป่น เมี่ยง ดังนั้นตำ�รับ อาหารพื้นบ้านของภาคอีสาน จึงมีควาหลากหลายและมีรูปแบบที่น่ารับประทานมาก ในบรรดาตำ�รับอาหารภาคอีสานนั้น สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ “นํ้าปลาร้า” จัดว่าเป็นเครื่องปรุงที่ช่วย เพิ่มรสชาติ ให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น “นํ้าปลาร้า” จึงมีบทบาทต่อการประกอบอาหาร เกือบ ทุกตำ�รับของอาหารอีสานก็ว่าได้ ซึ่งทำ�ให้กลายเป็นสัญลักษณ์และเป็นอาหารเด่นที่ทุกคนต้อง รู้จัก สังคมอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรมและกสิกรรมแบบดั้งเดิม วิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ อย่างแนบแน่น มีการเก็บของป่า ล่าสัตว์ ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อยังชีพภายในครอบครัว อีสาน มีสภาพภูมิอากาศที่ผันแปรอยู่เสมอ เช่น ฤดูฝนก็จะมีฝนตกมากจนเกินความต้องการ แต่ในฤดู


134

แล้งนํ้ากลับแห้งขอดจนแทบจะไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค ปลาเป็นสัตว์นํ้าชนิดหนึ่งที่หาได้ง่ายในฤดูนํ้าหลาก แต่ก็ขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง คน พื้นเมืองจึงหาวิธีการที่จะเก็บรักษาปลาไว้เพื่อให้มีกินได้ตลอดปี โดยการนำ�ปลามาหมักกับเกลือ สินเธาว์ที่สามารถผลิตได้เองในท้องถิ่น ปลาที่ได้จากการหมักเกลือนี้เรียกว่า “ปลาแดก” ปลาแดก เป็นอาหารประจำ�ของท้องถิ่น และใช้เป็นส่วนผสมสำ�คัญในการประกอบอาหารคาวแทบทุกชนิด เช่น แกงอ่อม แกงป่า ป่น แจ่ว ลาบ ก้อยและอื่น ๆ รวมทั้งส้มตำ� ส่ ว นอาหารประเภทผั ก พื้ น บ้ า นก็ มี อ ยู่ ม ากมายหลายชนิ ด และยั ง มี คุ ณ สมบั ติ เ ป็ น สมุนไพรอีกด้วย คนอีสานนิยมปลูกผักพื้นบ้านไว้ในบริเวณที่อยู่อาศัยและตามไร่นาเพื่อเก็บผัก ดอก ผลและยอดของไม้ป่าต่าง ๆ มารับประทาน นอกจากนี้สัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ แย้ ไข่มดแดงและแมลงต่าง ๆ ตลอดจนดักแด้ยังสามารถ นำ�มาประกอบอาหารได้อีกด้วย กรรมวิธีในการปรุงอาหาร ชาวอีสานดำ�เนินชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย ดังนั้นการกินอยู่จึงไม่ใคร่พิถีพิถันมาก นัก การปรุงอาหารจะไม่ซับซ้อนและมีเครื่องเทศน้อยชนิด ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อดับกลิ่นคาวของ อาหาร เช่น ตะไคร้ หอม กระเทียม หรือเพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหาร เช่น พริกชนิดต่าง ๆ หรือเพิ่ม ความกลมกล่อม เช่น เกลือ นํ้าปลา นํ้าปลาแดก เป็นต้น กรรมวิธีปรุงอาหารอีสานอาจแบ่งประเภทหลัก ๆ ได้ดังนี้ ๑. การทำ�ให้สุกโดยการต้ม ๑.๑ อ่อม คือการปรุงอาหารให้สุกโดยการใช้นํ้าปริมาณน้อยต้มให้เดือด โดยใช้ไฟค่อน ข้างแรงเครื่องปรุงประกอบด้วยพริกสด หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ที่โขลกจนละเอียด ผักหลาก หลายชนิดที่ใช้เป็นพื้นได้แก่ มะเขือ ใบชะพลู ต้นหอม ยอดตำ�ลึง ผักกาด ผักชีลาว หรือผักอื่น ๆ เท่าที่หาได้มาปรุงกับเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู เนื้อวัว ปลาและอื่น ๆ อ่อมจะมีรสจัดทั้งเค็มและเผ็ด อาหารที่นำ�มาเป็นองค์ประกอบหลักจะกลายเป็นชื่อ “อ่อม” ชนิดนั้น เช่น อ่อมไก่ใส่หัวหอมหรือ จะเรียกเฉพาะชื่อเนื้อสัตว์ที่จะนำ�มาประกอบอาหารก็ได้ เช่น อ่อมเนื้อ อ่อมกบ เป็นต้น ๑.๒ แกง ลักษณะทั่วไปคล้ายอ่อม กล่าวคือเป็นการปรุงอาหารให้สุกโดยใช้น้ำ�เป็นองค์ ประกอบหลัก มีการใช้เครื่องเทศของทางอีสานและที่จะขาดเสียไม่ได้คือใบแมงลักหรือ “ผักอีตู่” วิธีการปรุงก็เหมือนแกงของภาคกลางทั่วไป แต่ใช้นํ้าปลาแดกเป็นตัวปรุงรส ๑.๓ ต้ม เป็นแกงอย่างหนึ่งของภาคอีสาน ใช้เกลือและนํ้าปลาแทนนํ้าปลาแดก ต้มจะ เน้นเฉพาะอาหารที่สด ๆ ที่ได้จากสัตว์ต่าง ๆ ไม่นิยมตัดหรือหั่นอาหารให้เป็นชิ้นหรือถ้าหั่นก็เป็น ชิ้นโต ๆ รสชาติจะออกเค็มและเปรี้ยวจัด ซึ่งได้จากพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ใบมะขามอ่อน ผักติ้ว


ยอดกระเจี๊ยบ และมดแดง เป็นต้น อาหารประเภทต้ม มักจะปรุงกันที่บริเวณไร่นาหรือแหล่งที่ได้อาหารนั้นมาใหม่ ๆ เช่น ลงปลา ที่สระกันทั้งหมู่บ้านก็จะต้มกินกันที่นั่นเลย ข้อที่สังเกตระหว่างแกงกับต้มก็คือ แกงจะใส่ ใบแมงลัก นํ้าปลาแดกและมีรสเค็ม ในขณะที่ต้มจะไม่ใส่เครื่องปรุงประเภทนี้ แต่จะเน้นไปทางรส เปรี้ยวและไม่นิยมเติมพริกหรือเนื้อสัตว์ที่นิยมนำ�มาทำ�ต้ม ได้แก่ ปลาประเภทต่าง ๆ งู (โดยเฉพาะ งูสิงห์) ไก่ เป็น เป็นต้น ๒. การทำ�ให้สุกด้วยความร้อนจากไฟโดยตรง ๒.๑ ปิ้ง คือการทำ�อาหารให้สุกโดยใช้ไอความร้อนจากถ่านไฟที่ร้อนจัด กล่าวคือจะต้อง นำ�อาหารวางไว้บนภาชนะ เช่น ไม้ โดยการทำ�เป็นไม้เสียบหรือวางตรงกลางระหว่างไม้ ๒ ชิ้นมัด หัวท้าย ที่เรียกว่า “หีบ” แล้วนำ�ไปอังไอความร้อนจากถ่ายไฟให้สุก ๒.๒ ย่าง น่าจะเป็นการถนอมอาหารมากกว่า จุดประสงค์เพื่อให้นํ้าในอาหารระเหย ออกมาหมด สามารถเก็บอาหารไว้ให้ได้นานวัน โดยปกติจะนิยมทำ�เฉพาะอาหารจำ�พวก ปลา กบ เขียด ซึ่งมีมากในฤดูฝนเป็นช่วงที่หาแดด เพื่อถนอมอาหาร โดยการตากได้ยากการย่างจะต้องใช้ ไฟอ่อน ๆ ย่างอาหารที่ต้องการจนอาหารเหลือง กรอบ และจะไม่มีการใส่เกลือเพื่อเพิ่มรสเหมือน การปิ้ง ๒.๓ จี่ เป็นลักษณะการทำ�อาหารให้สุก โดยการวางอาหารนั้นบนถ่านไฟที่ร้อน อาหาร จะสุกโดยการวางอาหารนั้นบนถ่านไฟที่ร้อนอาหารจะสุกโดยตรงจากถ่านไฟ การจี่จะต้องคอย ระมัดระวังเรื่องอาหารจะไหม้ก่อนสุก ดังนั้นจะต้องมีการพลิกกลับอาหารอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้อาหาร สุกทั่ว ๓. การทำ�ให้สุกโดยผ่านภาชนะตัวนำ� ๓.๑ หมก คือ ทำ�อาหารให้สุกโดยการใช้ใบตองห่ออาหารที่ปรุงเสร็จ แล้วนำ�ไปอังเหนือ ถ่านไฟอ่อน ๆ ให้สุกดี การหมกใช้วัสดุอื่นที่หาได้แทนใบตองก็ได้ ที่นิยมได้แก่ ใบทองกราว ใบยอ ๓.๒ อ๋อ อู่ เอาะ เป็นการทำ�อาหารให้สุกโดยการผ่านภาชนะตัวนำ�ประเภทโลหะหรือ ภาชนะอื่น ๆ เช่น หม้อดิน มีลักษณะผสมระหว่างหมกและอ่อม กล่าวคือ ขณะที่หมกใช้ใบตอง เป็นภาชนะตัวนำ� ความร้อนให้สุก และอ่อมใช้ความร้อนจากนํ้าเดือด อ๋อ ก็ใช้นํ้าเดือดแต่มีปริมาณ น้อยกว่าและต่างกัยหมกตรงที่ไม่พิถีพิถันในการปรุงรสก่อนและทำ�ให้สุกวิธีง่าย ๆ คือการนำ� อาหารที่จะปรุงลงไปในหม้อเติมนํ้านิดหน่อยพอไม่ให้อาหารไหม้ติดภาชนะเติมเกลือ พริกสุดทุก และใบแมงลัก (อีตู่) ปิดฝาภาชนะให้ติดกับอาหารหรือใช้ใบตองปิดอาหารก่อนแล้วค่อยปิดฝาก็ได้ จากนั้นจึงนำ�ภาชนะไปอังไฟอ่อน ๆ จนกว่าอาหารจะสุก ๔. การประกอบอาหารแบบสุก ๆ ดิบ ๆ ๔.๑ ลาบ เป็นการปรุงอาหารเพื่อรับประทานที่ไม่ได้เน้นการบริโภคสุกอย่างเดียว แต่ที่

135


136

นิยมบริโภคกันคือ แบบดิบ ๆ วิธีการทำ�คือนำ�อาหารมาสับเป็นชิ้น ๆ ให้ละเอียด จากนั้นปรุงรส ด้วยนํ้าปลาแดก นํ้าปลา นํ้ามะนาว ข้าวคั่ว พริกป่น หอม สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง หั่นฝอย มักปรุง รสจัดมีทั้งการลาบอาหารที่ได้จากพืช เช่น เห็ด (ลาบเห็ดกระด้าง) และลาบที่ได้จากสัตว์ เช่น นก วัว กุ้ง ปลา หอย ส่วนใหญ่ลาบที่นิยมบริโภคดิบ เช่น ลาบวัว ลาบปลา (นิยมทั้งสุกและดิบ) และ บริโภคสุก เช่น ลาบนก ลาบเป็ด ลาบไก่ ลาบหอย ลาบแย้ และลาบกะปอม เป็นต้น ๔.๒ ก้อย มีลักษณะทั่ว ๆ ไปเหมือนกับลาบแต่ต่างตรงที่ก้อยไม่นิยมใส่ข้าวคั่วในขณะที่ ลาบใส่ข้าวคั่วและเน้นการสับอาหารเป็นชิ้นโต ๆ หรือหั่นเป็นชิ้น ๆ ก้อยเป็นอาหารที่ดิบมากกว่า ลาบเพราะสับชิ้นโตกว่าหรือไม่สับเลย ในบางครั้งสัตว์ที่นิยมนำ�มาทำ�ก้อย เช่น ปลาซิวตัวเล็ก ๆ ปลาตะเพียน กุ้ง เป็นต้น ก้อยบางชนิดก็ใส่ข้าวคั่ว เช่น ก้อยกุ้ง โดยนำ�กุ้งสด ๆ มาเติมเครื่องปรุงเมื่อถูกเครื่องเทศ ที่ร้อนแรงกุ้งจะกระโดดหนีเพื่อเอาชีวิตรอด ดังนั้นจึงมักเรียกว่า “ก้อยกุ้งเต้น” ซึ่งจะอร่อยถูกปาก คนอีสานมาก ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือก้อยจะมีรสจัดกว่าลาบ ๕. การประกอบอาหารประเภทนํ้าพริก ๕.๑ ป่น เป็นการปรุงอาหารโดยนำ�อาหาร ที่ผ่านการต้มกับนํ้าปลาแดกจนสุกดีแล้ว และนำ�เครื่องเทศที่ผ่านการต้มพร้อมกับอาหาร ซึ่งมักจะเป็นพริกสด หอมโขลก รวมกันจากนั้น เติมนํ้าร้อนซึ่งเป็นนํ้าต้มอาหารผสมกับปลาแดกในตอนแรก แล้วปรุงรสโดยเติมมะนาว มะกอก ตามใจชอบเวลาบริโภคจะมีผักต่าง ๆ มารวมเป็นเครื่องเคียง เช่น ผักกาด แตงกวา ถั่วฝักยาว อาหารประเภทป่นที่นิยมมากได้แก่ ปลากบ เขียด กุ้ง เป็นต้น ๕.๒ แจ่ว มีลักษณะทั่วไปคล้ายป่นแต่เน้นการใช้พริกเป็นองค์ประกอบหลักหรือการแกะ เนื้อปลาย่างลงป่นบ้าง แต่ไม่ใช้ปลาต้มลงโขลกรวมกับพริกแห้ง อาจใช้พริกคั่ว พริกสด หรือพริก สดจี่จนสุกแล้วก็ได้วิธีการ ทำ�แจ่ว มีมากมายหลายประเภท เช่น ๕.๒.๑ แจ่วแห้ง คือ การใช้พริกแห้งตำ�ให้ละเอียดหรือใช้พริกป่นเติมกับนํ้า ปลาแดกและบีบมะนาวก็ได้เป็นแจ่วที่ทำ�ได้ง่ายที่สุด ๕.๒.๒ แจ่วบักพริกดิบ สามารถทำ�ได้ ๒ วิธี คือ นำ�พริกดิบมาแล้วโขลกรวม กับหัวหอม เติมนํ้าปลา และนํ้าปลาแดก บีบมะนาวปรุงรสหรืออีกวิธีหนึ่ง คือใช้พริกและหอมจี่ไฟ ให้สุกก่อน แล้วนำ�มาโขลกรวมกัน อาจเติมมะเขือเทศจี่ลงไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น ๕.๒.๓ แจ่วบองหรือปลาแดกบอง หรือแจ่วปลาแดกบอง แจ่วประเภทนี้มีวิธี ทำ�ยุ่งยากที่สุด แต่เก็บไว้รับประทานได้นาน วิธีการคือ นำ�ปลาแดกสับโขลกรวมกับพริกคั่ว หอม คั่ว ตะไคร้หั่นฝอย อาจเติมมะขามเปียก หรือมะเขือเทศจี่ลงไปด้วยก็ได้แล้วแต่บ้านไหนจะพลิก แพลงสูตรไปตามความพอใจ ๖. การประกอบอาหารประเภทซุป


137

เป็นกรรมวิธีการปรุงอาหารประเภทผักอย่างหนึ่งที่ต้องนำ�ผักไปต้มลวก หรือผักสดนำ� ไปหั่นให้เป็นชิ้น ๆ พร้อมกับเติมเครื่องเทศที่ผ่านการโขลกเรียบร้อยแล้วลงไป จากนั้นเติมนํ้าร้อน ลงไปพอเหมาะจะได้อาหารที่ข้นเติมหอมและสะระแหน่ เพื่อชูรสผักที่นิยมใช้ ได้แก่ ขนุน มะเขือ เห็ดกระด้าง ผักติ้ว (แต้ว) แตงร้าน (แตงค้าง) ฟักทอง เป็นต้น ๗. การประกอบอาหารประเภทตำ� เป็นการประกอบอาหารโดยการใช้เครื่องเทศพวก พริก กระเทียม ลงโขลกรวมกันแล้วนำ�ผักที่ต้องการปรุงซึ่งหั่น ฝานหรือตัดเป็นชิ้น ๆ แล้วเติมลง ปรุงรสด้วยนํ้าปลาแดก มะนาว มะเขือเทศ ตามใจชอบอาหารประเภทตำ�ที่พบเห็นได้บ่อย คือ ตำ� แตง ตำ�มะละกอ ตำ�กล้วย ตำ�เหมี่ยง (เมี่ยง) ตำ�ลูกจันทร์ ตำ�ถั่ว ตำ�มะยม การถนอมอาหาร การถนอมอาหารคือวิธีการที่จะเก็บอาหารไว้ให้นานและไม่ให้อาหารเน่าเสีย สำ�หรับ ชาวอีสานมีวิธีการถนอมอาหารตั้งแต่สมัยโบราณที่สืบทอดกันมา เช่น การตากแห้ง การดอง การ หมักเกลือ การกวน การถนอมอาหารด้วยวิธีการเหล่านี้ทำ�ได้ทั้งพืชและสัตว์ อาหารที่นิยมรับ ประทานและเก็บไว้นานคือ ๑. เนื้อเค็ม (ชิ้นแห้ง) เนื้อเค็มมี ๒ ชนิด เนื้อเค็มแผ่นบาง ๆ และเนื้อเค็มเป็นเส้นยาว เรียกว่า “ซิ้นหลอด” ๒. ส้มหมู (ซิ้นส้ม) หรือที่เรียกว่า แหนม นิยมห่อกับใบมะยมอ่อน รับประทานได้ทั้งใบ มะยม ๓. ไส้กรอก ภาคอีสานจะนิยมรับประทานไส้กรอกอยู่ ๒ ชนิด คือ ทำ�ด้วยเนื้อวัว และ เนื้อหมู เก็บไว้ประมาณ ๒ – ๓ วันจะเกิดรสเปรี้ยว ๔. เค็มบักนัด (เค็มสัปปะรด) ทำ�จากปลาปึ่งกับสับปะรดออกรสเค็มของปลารสเปรี้ยว ของสับปะรดรับประทานกับผักสด หรือจะนำ�มาปรุงเป็นน้ำ�พริกทรงเครื่องหรือทำ�หลนคล้านหลน เต้าเจี้ยว ๕. หมํ่า มี ๕ ชนิด ๕.๑ ใช้เนื้อวัดบดละเอียดใส่ในไส้วัวหรือกระเพาะปัสสาวะของวัว ๕.๒ ตับ บดให้ละเอียดใส่ในไส้วัว ๕.๓ เนื้อวัวผสมตับ ลักษณะการบิเหมือนกัน คือบดให้ละเอียดแล้วอัดใส่ในไส้ วัว เวลารับประทานจะนำ�มาทอดย่างหรือคั่ว ใส่พริกสด หอมแดงสด ตะไคร้ ใบมะกรูด หรือจะ ปรุงรสด้วยมะนาวให้เปรี้ยว รับประทานกับผักสด ๖. แจ่วบอง จัดเป็นนํ้าพริกแห้ง เครื่องปรุงได้แก่ พริกสด กระเทียม พริกแห้ง หอมแดง แห้ง ข่า ตะไคร้ เผาให้สุก (อีสานจะเรียกหมกให้สุก) ปลาย่างให้แห้ง โขลกให้ละเอียด แล้วจึงนำ�มา


138

ปรุงรสกับปลาแดกต้มสุก มะขามเปียก (เครื่องปรุงทุกชนิดต้องทำ�ให้สุกจะเก็บไว้ได้นาน) ๗. ลาบปลาแดก ใช้ปลาแดกที่เป็นตัว เช่น ปลาช่อน ปลาปึ่ง ปลาอีตู๋ เอาแต่เนื้อมา สับพร้อมกับพริกสด กระเทียม ข่า ตะไคร้ เผาให้สุกสับให้ละเอียดนำ�มาปรุงกับนํ้ามะนาวและใบ มะกรูดหั่นฝอย (เครื่องพริกสด กระเทียม ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดจะไม่เผาก็ได้) ๘. ปลาส้ม นิยมนำ�ปลาตะเพียน ปลาสูด ปลานวลจันทร์ ปลาอีตู๋ ที่สด ขูดเกล็ดออก หมักกับเกลือและข้าวเหนียวนึ่งคั้นให้เข้ากัน แล้วหมักเอาไว้ในไหปิดไว้ไม่ให้อากาศเข้า 101 อาหารท้องถิ่นที่นิยม ผัก ผักพื้นเมืองอีสานที่นิยมรับประทานส่วนมาก ใช้ทำ�เครื่องเคียงกับอาหารชนิดอื่น หรือ บางพวกใช้ปรุงรส ๑. ผักกระโดน ผักกระโดนบก ผักกระโดนน้ำ� ๒. ผักเม็ก 3. ผักติ้ว ๔. ใบย่านาง ๕. ผักกะหย่า ๖. ผักแขยง ๗. ผักผำ� ๘. ผักแว่น ๙. ผักแพงพวย ๑๐. ผักกาด ๑๑. สายบัว ๑๒. ผักตังส้ม ๑๓. ดังขม ๑๔. ผักบ่อ ๑๕. ขนุนอ่อน (หมากหมี่) ๑๖. ใบขี้เหล็ก ๑๗. ใบชะพลู (อีเลิด) ๑๘. ผักชะอม (ผักขา) ๑๙. ผักปลัง 101 ปลาส้ม เป็นการแปรรูปอาหารจากปลาชนิดหนึ่งที่แพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องปรุงหลักประกอบด้วย ปลา เกลือ กระเทียม

ข้าวสุก ผสมกัน หมักจนมีรสเปรี้ยว[ มีทั้งแบบที่ใช้ปลาทั้งตัว และแบบที่ใช้เฉพาะเนื้อปลา ซึ่งแบบที่ใช้เนื้อปลาอย่างเดียวอาจเรียกปลาส้ม ฟักหรือแหนมปลา สัดส่วนต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ชาวไทญ้อมีสูตรปลาส้มเป็นของตนเอง.


139

๒๐. ผักชีฝรั่ง ๒๑. ผักชีลาว ๒๒. ผักแผ่ว ๒๓. ยอดฟักทองอ่อน ๒๔. ใบมะยมอ่อน ๒๕. ดอกข่า ๒๖. ผักหูเสือหรือใบสาบเสือ ๒๗. ผักกาดฮิ่น ๒๘. มะละกอดิบ (หมากหุ่ง หรือ บักหุ่ง) ๒๙. มะขามยอดอ่อน ๓๐. มะกอกยอดอ่อน ๓๑. เห็ด มีเห็ดละโงก เห็ดไค เห็ดถ่าน เห็ดดิน เห็ดน้ำ�หมาก เห็ดผึ้ง ๓๒. หน่อไม้ เช่น ไผ่ไล่ ไผ่ป่า ไผ่ตง ปลา ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยแม่นํ้า ห้วย หนอง คลอง บึง ตลอดทั่วทั้งภูมิภาค ในฤดูฝนจะมีนํ้ามากและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำ�นานา พันธุ์ ปลาเป็นอาหารให้คุณค่าโปรตีนที่สำ�คัญต่อวิถีชีวิตของชาวอีสานมาแต่โบราณ ๑. ปลาบึก เป็นปลานํ้าจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื้อมากแข็ง หนังหนานำ�มา ประกอบอาหารประเภท ลาบ ก้อย ผัดเผ็ด เอาะ พบมากในแม่นํ้าโขง ๒. ปลาโจก ตัวโตพอสมควรมีเกล็ดมีก้างมาก เป็นปลาที่ชาวอีสานนิยมรับประทาน เพราะอร่อย รสหวาน มัน เนื้อนุ่ม นำ�มานึ่งจิ้มนํ้าพริกและนึ่งทรงเครื่อง ต้มยำ� ลาบ ก้อย ๓. ปลานาง (เป็นปลาเนื้ออ่อน) ตัวยาวแบนเล็กน้อย รสมัน เนื้อนุ่ม นำ�มาประกอบ อาหารประเภททอด ต้ม ปิ้ง นึ่ง ผัด เอาะ ๔. ปลาสวาย เป็นปลาตัวที่ยาวใหญ่ สีขาว ตรงแก้มไม่มีจุดสีดำ� เนื้อสีเหลือง รสมันและ มีกลิ่นคาวมากนำ�มาทำ�ปลาส้ม ปลาแดก ๕. ปลาปึ่ง ลำ�ตัวสีดำ�ขาวตะกั่วคล้ายปลาสวาย ต่างกันที่แก้มมีจุดสีดำ� รสมัน (เหมือน ปลาเทโพ) นำ�มาทำ�เค็มหมากนัก ห่อหมก ปลาแดก ลาบ เอาะ ๖. ปลาคัง คล้ายปลากดแต่มีหัวใหญ่กว่าสีเขียวเข้ม เนื้อสีขาวนุ่ม ซึ่งนำ�มาประกอบ อาหาร ประเภทลาบ ต้ม เอาะ ๗. ปลาค้าว ลำ�ตัวแบน ยาว สีดำ� ขาว เนื้อสีขาวนุ่ม จะนำ�มาประกอบอาหารประเภท


140

ลาบ ต้ม เอาะ ๘. ปลาเผาะ ลำ�ตัวและเนื้อจะมีสีขาวนำ�มาทำ�ห่อหมก หรือนึ่งจิ้มนํ้าพริก ๙. ปลากด คล้ายปลาคังแต่หัวจะเล็กกว่า เนื้อสีขาวนุ่ม ลำ�ตัวสีดำ�หรือสีเหลืองนำ�มา ประกอบอาหารประเภทต้มส้มหรือลาบ ปิ้ง ๑๐. ปลาแข้ มีลำ�ตัวใหญ่และหัวใหญ่แต่หางเล็ก ลำ�ตัวลายเหลืองดำ� มีเนื้อสีเหลือง มี กลิ่นคาว นำ�มาประกอบอาหารประเภทลาบ ๑๑. ปลาขบ มีลำ�ตัวและหัวแบน เนื้อและลำ�ตัวมีสีขาว นำ�มาประกอบอาหารประเภท ลาบ ๑๒. ปลาแขยง ตัวเล็ก คล้ายปลากด สีเหลือง นำ�มาประกอบอาหารประเภททอด ตาก แห้ง ๑๓. ปลาอีตู๋ เป็นปลามีเกล็ด ลำ�ตัวสีดำ�อมนํ้าตาล ตัวใหญ่ นำ�มานึ่งจิ้มนํ้าพริก ลาบ ทำ� ปลาส้ม ปลาแดก ๑๔. ปลาหมู มีลำ�ตัวแบนและมีขนาดเท่านิ้วมือ หัวแหลม มีเขียวคล้ายหมูป่า ตัวสีขาว แดง ฟ้า หางสีแดงส้ม เนื้อมีนสมัน นำ�มาประกอบอาหารประเภท ต้ม ปิ้ง ทอด เอาะ ๑๕. ปลาหลด ตัวดำ� ยาวประมาณ ๓ – ๕ นิ้ว ปากแหลม หางมีจุดสีดำ� นำ�มาประกอบ อาหารประเภททอด ย่าง ปิ้ง ต้มส้ม ๑๖. ปลาหลาด มีตัวและขนาดเดียวกับปลาหลด มีลายสวยเหมือนงู นำ�มาประกอบ อาหารประเภท ปิ้ง ทอด ต้มยำ� ต้มส้ม ๑๗. ปลาปาก (ตะเพียน) ตัวขนาดกลาง เกล็ดสีขาวดำ�มีก้างมาก นิยมใช้ทำ�ส้มปลา แมลง ชาวอีสานมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อยู่ง่าย พืชผักหรือสัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไป ในท้องถิ่น สามารถนำ�มาประกอบเป็นอาหารได้ โดยเฉพาะแมลงที่มีอยู่หลายชนิดนั้น เป็นสัตว์ให้ โปรตีนสูง ส่วนมากจะนำ�มาปรุงด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น การคั่วเกลือ นำ�มาเป็นอาหารเสริในประเภท แกงและอ่อม ซึ่งปัจจุบันความนิยมได้แพร่หลายไปสู่ท้องถิ่นอื่น ๆ แมลงที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ๑. แมลงกินูน ๒. มดแดง และ ไข่มดแดง ๓. ดักแด้ไหม ๔. ต่อ แตน ๕. แมลงตับเต่า หรือ ด้วงดิ่ง ๖. แมลงเหนียง ๗. แมลงกุดจี่ หรือ ด้วงขี้ควาย


๘. แมลงงำ� หรือ แมลงโป้งเป้ง หรือ ตัวอ่อนแมลงปอ ๙. แมลงเม่า ๑๐. จิโป่ม จิ้งโก่ง หรือจิ้งหรีดตัวโต ๑๑. จักจั่น ๑๒. ตั๊กแตนชนิดต่าง ๆ ตั๊กแตนหนวดยาวหรือแมงมัน ตั๊กแตนตำ�ข้าวหรือแมงนบ ๑๓. แมลงกอกหรือด้วงหนวดยาว

141

ปัจจัยสี่ : ที่พักอาศัย ที่พักอาศัยของชาวอีสาน รูปแบบที่พักอาศัยของชาวอีสานเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เกิดจากการสั่งสมและ ถ่ายทอดรูปแบบการก่อสร้างที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาทางภูมิศาสตร์และการใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำ�วัน จนเกิดเป็นแบบแผนและมีคติยึดถือจนกลายเป็นความเชื่อ จารีต ประเพณี ที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในชีวิต ถ้าหากจะจำ�แนกประเภทของที่พักอาศัยของคนชาวอีสาน โดยใช้ เกณฑ์อายุการใช้งาน (ชั่วคราว กึ่งถาวรและถาวร) ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะและการใช้วัสดุที่ แตกต่างกันเป็นเครื่องบ่งชี้อายุการใช้งาน อาจจำ�แนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ที่พักอาศัยประเภทชั่วคราว ที่พักอาศัยประเภทนี้จะใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น เถียงนาหรือเถียงไร่ที่พักอาศัย ประเภทนี้จะยกพื้น สูงเสาทำ�จากไม้จริง หรือ ไม้ไผ่ โครงไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้า พื้นไม้ ไผ่สับฟากฝา เปิดโล่ง ๒. ที่พักอาศัยประเภทกึ่งถาวร ที่พักอาศัยประเภทกึ่งถาวรอาจจำ�แนกออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๒.๑ เรือนเหย้า (เรือน ภาษาอีสาน หมายถึง บ้าน) หรือ เหย้า เป็นเรือนขนาด ๒ ห้อง เสา สำ�หรับคู่สามี-ภรรยาที่แยกเรือนออกจากครอบครัวพ่อแม่ เนื่องจากธรรมเนียมไม่นิยมอยู่ร่วม กันหลายครอบครัวในเรือนหลังเดียวกัน เรือนเหย้ามักสร้างอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเรือนของพ่อ แม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่ระหว่างที่กำ�ลังสร้างฐานะ ส่วนประกอบของเรือนมีเพียง ๒ ห้อง คือห้องนอน และห้องเอนกประสงค์ ๒.๒ ตูบต่อเล้า เป็นการสร้างเกยหรือเทิน (เพิง) ต่อออกมาจากเล้าข้าว (ยุ้งข้าว) มีขนาด ตามความยาวของเล้าข้าวประมาณ ๒ – ๓ ช่วงเสา วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุประเภทเดียวกับใช้สร้างเรือน เหย้า ตูบต่อเล้าเป็นที่อยู่อาศัยชั่วระยะเวลาหนึ่งของสามีภรรยาที่เพิ่งออกเรือน แต่ยังไม่พร้อมที่ จะสร้างเรือนเหย้าหรือว่าเรือนใหญ่ได้ เมื่อสามารถสร้างเรือนเหย้าหรือเรือนใหญ่ได้ตูบต่อเล้าก็จะ


142

กลายเป็นสถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตร หรือเป็นที่นั่งเล่นพักผ่อนต่อไป ๓. ที่พักอาศัยประเภทถาวร ที่พักอาศัยประเภทถาวรจะมีโครงสร้างเป็นไม้จริง (เรือนเครื่องสับ) รูปทรงสี่เหลี่ยมไต้ ถุนสูงหลังคาทรงจั่ว เสาเป็นเสากลมหรือเสาเหลี่ยม ฝาเป็นฝาไม้ไผ่สายลายคุปหรือฝาไม้กระดาน (ฝาแอ้มแป้น) ที่พักอาศัยประเภทถาวรนี้อาจจำ�แนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ๓.๑ เรือนเกย หรือเรือนใหญ่ต่อเกยมีส่วนประกอบสำ�คัญคือ ๓.๑.๑ เรือนใหญ่ เป็นเรือนขนาด ๓ ช่วงเสาหันด้านข้างไปทางทิศตะวันออก ตะวันตก (ปลูกเรือนล่องตะวัน) ตีฝากั้นปิดทึบทั้ง ๔ ด้าน ฝาเรือนทางด้านหลังเจาะช่องขนาด กว้าง ๑ ศอกยาว ๑ ศอก เพื่อให้ลมและแสงสว่างเข้าสู่เรือนเรียกว่า “ป่องเอี้ยม” เจาะประตู ๒ หรือ ๓ ประตู ตามช่วงเสาด้านตรงข้ามแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ในตัวเรือนออกเป็น ๓ ส่วน คือ - ห้องเปิง ตั้งอยู่ริมด้านหัวเรือนของเรือนใหญ่เป็นส่วนที่วางหิ้งสักการะบูชาผีบรรพบุรุษ ผีเรือนและหิ้งพระ หรือบางครั้งอาจใช้เป็นห้องนอนของลูกชาย ห้องเปิดอาจเรียกชื่อว่าห้องผีหรือ ห้องพระก็ได้ - ห้องกลาง เป็นห้องที่อยู่ในช่วงเสาส่วนกลางเรือนใช้เป็นห้องนอนของพ่อ แม่และเก็บ สิ่งของที่มีค่า - ห้องส้วม จะตั้งอยู่ริมด้านท้ายเรือนของเรือนใหญ่ ตรงข้ามกับห้องเปิดงใช้เป็นห้อง นอนของลูกสาวหรือห้องนอนของลูกสายกับลูกเขยหลังแต่งงาน ๓.๑.๒ เกย หรือบ้านโล่ง เป็นชานที่มีหลังคาคลุม มีลักษณะเป็นการต่อชาน ออกมาทางด้านหน้าของเรือน มีหลังคาคลุมพื้นเป็นไม้กระดานด้านข้าง อาจเปิดโล่งหรือกั้น ฝา และพื้นเกยจะมีระดับตํ่ากว่าพื้นเรือนใหญ่ ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่สำ�หรับกิจกรรมต่าง ๆ ใน ครอบครัว เช่น รับประทานอาหาร รับรองแขกพักผ่อน อิริยาบททำ�บุญเลี้ยงพระ ทำ�พิธีสู่ขวัญ ฯลฯ ๓.๑.๓ ชานแดด เป็นการต่อชานออกมาจากทางด้านหน้าเปิดโล่งทั้งด้าน บนและด้านข้าง พื้นชานแดดจะลดระดับลงมาจากเกยใช้เป็นสถานที่พักผ่อนยามเย็น เป็นที่รับ ประทานอาหาร หรือวางผลิตผลทางการเกษตร พื้นที่ส่วนหนึ่งมักสร้างเป็นร้านเพื่อตั้งโอ่งนํ้า สำ�หรับดื่ม เรียกว่า “ร้านแอ่งนํ้า” ๓.๑.๔ เรือนไฟ หรือเรือนครัวเป็นส่วนที่ประกอบอาหารเป็นตัวเรือนขนาด ๒ ช่วงเสาต่ออกมาจากชานแดดด้านข้างทิศท้ายเรือน ฝาเรือนไฟจะนิยมทำ�เป็นฝา โปร่งเพื่อระบาย อากาศเรือนไฟอาจมีชานมนเป็นที่ตั้งโอ่งนํ้าสำ�หรับประกอบอาหารและล้างภาชนะ ๓.๒ เรือนโข่ง ลักษณะของเรือนประเภทนี้จะประกอบด้วยเรือนใหญ่และเรือนโข่ง (เรือน


143

น้อย) ตั้งอยู่ตรงข้าม อาจตั้งชิดติดกันเป็นเรือนจั่วแฝดเชื่อมติดกันด้วยฮางริน (รางน้ำ�) ระหว่าง หลังคาเรือนทั้งสองหลังหรือตั้งอยู่ห่างกัน แต่เชื่อมด้วยชานก็ได้เรือนโข่งมีขนาดเล็กและหลังคาต่ำ� กว่าเรือนใหญ่เล็กน้อย มีห้อง ๒ – ๓ ห้อง มักกั้นฝาเพียง ๓ ด้าน เปิดโล่งด้านที่หันเข้าหาเรือน ใหญ่ เรือนโข่งมีโครงสร้างเป็นเอกเทศจากเรือนใหญ่ สามารถรื้อไปปลูกใหม่ได้ทันที ใช้ประโยชน์ เช่นเดียวกับเกย อาจมีชานแดดหรือเรือนไฟต่อออกทางด้านข้างของเรือน ๓.๓ เรือนแฝดเรือแฝด จะประกอบด้วยเรือนใหญ่และเรือนอีกหลัง หนึ่งที่เรียก เรือนแฝด มีรูปร่างประโยชน์ใช้สอยเหมือนกับเรือนโข่งต่างกันตรงที่ลักษณะโครงสร้างของเรือนแฝด คือทั้งขื่นและคานจะฝากไว้กับตัวเรือนใหญ่ พื้นเรือนอาจเสมอกันหรือลดระดับจากเรือนใหญ่ก็ได้ ฝาของเรือนแฝดจะทำ�ให้มีขนาดใหญ่หรือลำ�ลองกว่าฝาเรือนใหญ่ ฝาด้านที่หันเข้าหาเรือนใหญ่จะ เปิดโล่งเชื่อมกับชาน แดดออกสู่เรือน ไฟเรือนชนิดนี้มักจะเป็นเรือนของผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี

ปัจจัยสี่ : เครื่องนุ่มห่ม วัฒนธรรมการทอผ้าผูกพันกับชาวอีสานมาอย่างยาวนาน จากการศึกษาทาง ประวัติศาสตร์และโบราณคดีทำ�ให้ทราบว่ามีการทอผ้าใช้ในภาคอีสานตั้งแต่ช่วงต้นของยุคโลหะ หรือประมาณ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว การทอผ้าเป็นถือเป็นวิถีชีวิตของหญิงชาวอีสานที่ทอไว้ใช้ในครัว เรือนมาแต่อดีต โดยถือว่าเป็นงานจำ�เป็นของผู้หญิงอีสานที่ต้องเรียนรู้และปฏิบัติให้ชำ�นาญ เพื่อ นำ�ไปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำ�วันและใช้ในพิธีการทางศาสนา และเป็นเครื่องบ่งบอกว่าผู้ หญิงคนนั้นมีความเหมาะสม มีคุณสมบัติความพร้อมที่จะสามารถออกเรือนได้ วัฒนธรรมการทอผ้าของชาวอีสาน ได้รับอิทธิพลมาจากการอพยพเคลื่อนย้ายของ กลุ่มคนจากหลายพื้นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในภูมิภาคอีสานปัจจุบัน แต่ละกลุ่มชนจะมีลักษณะและ ลวดลาย กรรมวิธีการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยในอีสานเหนือเป็นแหล่งทอผ้าฝ้าย ได้แก่ ผ้าขิด อีสานกลางเป็นแหล่งทอผ้าไหม ได้แก่ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าหางกระรอก เป็นต้น ทาง ตะวันออกที่เป็นกลุ่มชาวผู้ไท ทอผ้าไหมแพรวา ที่ทอด้วยเทคนิคจกและขิด อีสานใต้ทอผ้าไหมมัด หมี่เส้นพุ่งตามแบบเขมร เป็นต้น ปัจจุบันผ้าทอกลายเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของอีสาน ที่ถูกผลิตเพื่อการค้าเป็นอาชีพ เสริมจากการทำ�นา ถึงแม้รูปแบบผ้าจะถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการใช้งานและตลาดผู้ บริโภคในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงมีรากเหง้ามาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง กันของรูปแบบและวิธีการผลิตผ้าในแต่ละท้องถิ่น ผ้าอีสานมีความสัมพันธ์กับประเพณี ความเชื่อในการดำ�รงชีวิต เป็นสิ่งที่ใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ผ้าผูกเปล ผ้าห่ม เสื้อผ้า ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น การทอดกฐิน งานแต่งงาน งานขึ้นบ้าน ใหม่ ใช้ห่อคัมภีร์ใบลาน ผ้าคลุมหัวนาคในงานบวช ผ้าคลุมศพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังถือว่าการ


144

ทอผ้าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงอีสานที่ใช้เวลาว่างจากการทำ�นาและการเก็บเกี่ยวมาทอผ้าไว้ใช้ในครัว เรือนหรือทอผ้าเอาไว้ใช้ในงานประเพณีต่างๆ เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความพร้อมของหญิงสาวในการ ออกเรือน เพราะต้องใช้ความพยายามและความอดทนเป็นอย่างมาก จึงจะสามารถทอให้เป็นผืน ผ้าได้ การทอผ้า การทอผ้าเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวอีสานที่ถือเป็นหน้าที่ของสตรีที่จะใช้เวลาว่าง การเก็บเกี่ยว มาทอผ้าสำ�หรับนำ�มาใช้ในครอบครัวหรือประเพณีต่าง ๆ ชาวอีสานรับอิทธิพลของ ธรรมชาติรอบข้างมาใช้เป็นศิลปะในการทอผ้าลายต่าง ๆ เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตผ้าไหมและ ผ้าฝ้ายเป็นขั้นตอน ที่เกิดจากการผสมผสานประสบการณ์เทคโนโลยีพื้นบ้านที่สืบต่อกันมาเป็น เวลานานโดยรูปแบบของผ้า เรียกตามเทคนิคการทอ เช่น ผ้าขิด ผ้ามัดหมี่ ล้วนมีความสัมพันธ์ กับผ้าทอในดินแดนใกล้เคียง เช่น ลาวและกัมพูชา ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการให้รูป แบบเทคนิค และลวดลายการทอผ้าแก่กัน อันเป็นผลมาจากการอพยพเคลื่อนย้ายของผู้คนจาก ประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ปัจจุบันทำ�ให้รูปแบบของผ้าอีสานมีความหลาก หลายและผสมผสานจนออกมาเป็นรูปแบบเฉพาะท้องถิ่น จนเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค กรรมวิธีการทอผ้า การเตรียมเส้นไหม การเตรียมเส้นไหมไปมัดหมี่ให้เป็นลวดลาย ๑. การเตรียมเส้นเครือ: จะนำ�ไหมที่แกว่งแล้วไปคันหูก โดยใช้หลักเฝือ เพื่อกำ�หนด ความยาวตามต้องการ เมื่อได้เส้นไหมยาวตามต้องการแล้วจึงนำ�ไปย้อมสีตากให้แห้งนำ�ไปสืบหูก เพื่อเตรียมทอเป็นผ้า ๒. การเตรียมเส้นตำ�: นำ�ไหมที่แกว่งแล้วไปแกว่งเพื่อทำ�เป็นฝอย แล้วย้อมสีตามให้แห้ง นำ�ไปกวักเข้าอักและปั่นหลอดใส่กระสวย สำ�หรับตำ�หรือพุ่งเป็นผืนผ้า ๓. การเตรียมเส้นตำ� (เส้นหุ่ง) ที่มัดหมี่เป็นลวดลาย : การมัดหมี่เป็นการมัดหรือผูกเส้น ไหมให้เป็นลวดลายต่าง ๆ วิธีการเริ่มจากการนำ�เส้นไหมที่แกว่งแล้วทำ�เป็นฝอย แล้วนำ�ไปใส่โฮง หมี่ (หลักมัดหมี่) เมื่อมัดเสร็จแล้วปลดออกจากโฮงหมี่ไปย้อมสี (ส่วนที่มัดสีจะไม่ติด) ผู้ย้อมจะใช้ นํ้าสีแต้มให้เป็นสีตามต้องการนำ�ไปตากให้แห้งกวักเข้าอัก เพื่อปั่นหลอดร้อยหลอดเรียงตามลำ�ดับ ก่อนหลัง ห้ามสลับกันนำ�ไหลอดไปใส่กระสวยเป็นเส้นพุ่งทอเป็นผืนผ้าต่อไป การเตรียมเส้นฝ้ายเพื่อทอ ๑. การเตรียมเส้นตำ� : กลุ่มเส้นตำ�จะมีทั้งเส้นตำ�ที่เป็นสีพื้นและเส้นตำ�ที่เป็นมัดหมี่หรือ มัดย้อม เส้นตำ�ที่มัดหมี่หลังบ่าและฟอกเรียบร้อยแล้วจะนำ�ไปใส่โฮงหมี่ และมัดลวดลายตามที่ ต้องการ เสร็จแล้วไปย้อมสีตามต้องการแล้วจึงแกะเชือกที่มัดออกแล้วนำ�มากางใส่กงเพื่อปั่นด้าย


145

จากกงใส่อีกเรียกว่า “การกวัก” จากนั้นจึงปั่นด้ายจากอักใส่หลอดโดยดึงปลายด้านหนึ่งพันกับ หลอดไม้เล็ก ๆ สอดอยู่ที่แกนของเหล็กในหมุนมือหมุน ให้เหล็กไนหมุนเพื่อปั่นด้ายเข้าหลอด เรียกว่า “การปั่นหลอด” สำ�หรับเส้นตำ�ที่เป็นเส้นพื้นหลังจากบ่าและฟอกจึงนำ�มากวักและปั่น หลอด ๒. การเตรียมเส้นสำ�หรับเข็นเป็นเส้นเครือ: หลังจากผ่านการบ่าและฟอกแล้วนำ�มาย้อม ใส่กงและปั่นจากกงใส่อัก เรียกว่า “การกวัก” เช่นเดียวกันเมื่อได้เส้นฝ้ายจากการกวักฝ้ายอยู่ใน อีกแล้วนำ�อัก ๒ อันมาคัน เรียกว่า “การคันหูก” เพื่อกำ�หนดเส้นเพื่อจะทำ�เป็นเส้นเครือ ทำ�คัด ต้องคันด้าย ๒ เส้นพร้อมกัน ถ้าต้องการให้หนาให้ใส่สี่เส้นจะใส่เส้นเดียวไม่ได้เพราะต้องใช้เป็น เส้นบนเส้นล่าง เมื่อเตรียมเส้นด้ายเรียบร้อยแล้วให้พันเส้นด้ายคล้องไปตามหลักแต่ละหลักเผือ จากล่างไปถึงบนสุดแล้วพันเส้นด้ายกลับมาทางเดิม ด้านล่างตรงนี้เป็นจุดสำ�คัญไขว้เส้นด้ายให้ เป็นเส้นบนเส้นล่าง ซึ่งจะนำ�ไปสืบเข้ากับเขาและฟืมต่อไป เมื่อได้จำ�นวนเส้นครบพอกับฟืมแล้ว จึงถอดด้ายออกจากหลักเผือเพื่อเก็บนำ�ไปสืบหูกต่อไปเรียกด้านที่คันแล้วว่า “เครือหูก” จากนั้น นำ�ด้ายนี้ไปใส่ในช่องพันฟืม โดยนำ�เส้นแต่ละเส้นผูกต่อกันกับเส้นด้ายที่มีอยู่แล้ให้แนบแน่น และ ครบทุกส้น ลายมัดหมี102 ่ มัดหมี่ คือ การย้อมฝ้ายหรือไหมก่อนนำ�ไปทอโดยขึงเส้นไหมเข้ากับโฮงหมี่ แล้วใช้เชือก มัดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีให้แน่นตามลวดลายที่ต้องการแล้วนำ�ไปย้อมสี เมื่อแก้ออกส่วนที่มัด จะเป็นสีขาว ถ้าต้องการมากขึ้นต้องนำ�ไปมัดทับสีเดิม เรียกว่า “โอบ” เว้นไว้เฉพาะที่ต้องการให้ เป็นสี การมัดหมี่ต้องอาศัยการคำ�นวณด้วยความชำ�นาญ เพื่อให้ลายที่มัดออกมาสวยงาม การมัด หมี่ในประเทศไทยจะมัดเฉพาะเส้นพุ่งเท่านั้น อุปกรณ์ในการมัดหมี่ “โฮง” โฮง หรือโฮงหมี่ถือหลักสำ�หรับใส่ด้ายหรือไหมสำ�หรับมัดหมี่ให้เป็นลวดลาย ลายผ้ามัดหมี่ เป็นลายผ้าที่แสดงถึงแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบข้างและธรรมชาติใกล้ตัว เช่น สัตว์ พืช และสิ่งประดิษฐ์ จากการสำ�รวจพอจะแบ่งคัดเลือกลายมัดหมี่ออกเป็นแม่ลายพื้น ฐาน ๗ ลาย คือ 102 ผ้าที่ทอด้วยมือที่มีชื่อเสียงที่สุดของอำ�เภอชนบท ได้แก่ “ผ้าไหมมัดหมี่” โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการคัดเลือกเส้นไหม การออกแบบลายหมี่ การ

ให้สี การทอเป็นผืนผ้า ซึ่งเป็นงานที่ละเอียดอ่อน ผ้าไหมชนบทมีจุดเด่นคือ มีความสวยงาม ลวดลายละเอียดแตกต่างจากที่อื่น เอกลักษณ์ของผ้าไหมชนบท คือ “ลาย”และ “เทคนิคการทอผ้า” ลายเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาและถือว่าเป็นลายต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ ของผ้าเมืองขอนแก่น คือ ลายหมี่กง ลายขันหมากเบ็ง ลายขอพระเทพหรือลายเชิงเทียน โดยส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นการทอผ้าแบบ ๓ ตะกอ ทำ�ให้เนื้อผ้าแน่น สม่ำ�เสมอ มีลักษณะสีและลวดลายของผ้าด้านหนึ่งสีทึบกว่าอีกด้าน สีที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมคือ สีม่วง สีแดง สีเขียว สีเม็ดมะขาม.


146

๑. หมี่ข้อมี ๒ ชนิด คือ หมี่ข้อตรง หวี่ข้อหว่าน ๒. หมี่โดมมี ๒ ชนิด คือ หมี่โดมห้า หมี่โดมเจ็ด ๓. หมี่มัดจับ (หมี่หมากจับ) ๔. หมี่กงน้อย มี ๒ ชนิด หมี่กงน้อยห้า หมี่กงน้อยเจ็ด ๕. หมี่ดอกแก้ว ๖. หมี่ในไผ่ ผ้าจก คือการควัก เส้นไหมหรือเส้นฝ้าย ขึ้นมาจากข้างล่างสอดสลับเป็นลวดลายตาม ต้องการโดยใช้ขนแม่นคล้ายทอสลับกับการปัก คือ ต้องอาศัยความชำ�นาญมากลวดลายของผ้า จกคล้ายกับลายขิด แต่ละขิดแต่ละหน่วยไม่อาจทำ�ลายสีสลับกันได้ เพราะใช้เส้นพุ่งเส้นเดียว ตลอดในแต่ละครั้ง แต่ละหน่วยแต่ละลายจึงทำ�ได้เพียงสีเดียว ส่วนลายจกจะทำ�สีลายสลับกันได้ ต้องการสีอะไรตรงไหนก็สอดไหมสีนั้นลงไป แล้วควักขึ้นมา จากนั้นกระแทกด้วยฟืมให้แน่นผ้าจก ส่วนมากชอบทำ�เป็นผ้าสไบ (ผ้าเบี่ยง) ที่รู้จักกันดี ได้แก่ ผ้าแพรวา ของกาฬสินธิ์ นอกจากนั้นยัง นิยมทำ�เป็นลายตีนซิ่น ผ้าแส่ว คือ ผ้าที่ใช้เก็บรักษาและสืบทอดลวดลายนั้น โดยจะทำ�ลวดลายตัวอย่างเก็บ รวมกันไว้ในผ้าฝ้ายสีขาวขนาดกว้างประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร แต่จะ ไม่กว้างหรือยาวเกินไป เพราะสะดวกในการกางดูลายและเก็บรักษา ลวดลายผ้าจกนั้น โดยเฉพาะผ้าแพรวามีความโดดเด่นและลักษณะพิเศษโดยได้รับ อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมและะรรมชาติ ส่วนใหญ่จะทอลายหลักใหญ่ ๆ เพียง ๔ - ๕ ลายเท่านั้น เช่น ลายดอกกระบวนเอง ลายกิ่ว ลายใบ-บุ่นหว่าน ลายพันมหา ลายนาคหัวจุ้ม และลานนาคหัว จุ้มสองแขน ลายผ้าขิด103 ผ้าขิด มีอุปกรณ์ที่สำ�คัญคือไม่เก็บขิดทำ�ให้เกิดลวดลายโดยการสะกิดเส้นด้ายเส้นยืน ขึ้นเป็นระยะตามลวดลายที่กำ�หนดทั้งนี้คำ�ว่า “ขิด” มีความหมายเช่นเดียวกับคำ�ว่าสะกิดในภาค กลาง ลักษณะลายของผ้าขิดจะเป็นแบบลายเรขาคณิตที่เกิดจากการเว้นช่องของเส้นด้ายโดยยก เส้นยืนตามจังหวะที่ต้องการเว้น เพื่อให้เส้นพุ่งเดิน การวางเส้นยืนที่ห่างไม่เท่ากันจะทำ�ให้เกิด ลาย โดยใช้ไม้เก็บขิดงัดซ้อนเส้นด้ายไปด้วยขณะที่ทอการทอผ้าขิดถือเป็นการทอผ้าที่ทำ�ให้เกิด 103 การทอผ้าลายขิด คือ การทอผ้าที่ทอแบบ “เก็บขิด” หรือ “เก็บดอก” เหมือนผ้าที่มีการปักดอกการทอผ้าดอกนี้ชาวอีสานเรียกกันว่า “การ

ทอผ้าเก็บขิด” ลวดลายของขิดแต่ละลายจะมีรูปแบบที่สวยงาม มีความมันวาว นูนลอยออกมาบนผืนผ้า ชาวอีสานโดยทั่วไปนิยมทอผ้าขิด เพื่อทำ�เป็นหมอน สังเกตว่าลวดลายขิดจะอยู่บริเวณส่วนกลางของตัวหมอน ส่วนหน้าหมอนนั้นนิยมเย็บปิดด้วยผ้าฝ้ายสีแดง ลวดลายหมอ นขิดส่วนใหญ่ เป็นลวดลายที่ผู้ทอได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความเชื่อ เช่น ลายแมงงอด ลายอึ่ง ลายช้าง ลายม้า ลายพญานาค ลายดอกแก้ว ลายดอกจันทร์ ลายตะเภาหลงเกาะ ลายขอ ลายสิงห์ ลายคชสีห์อองน้อย ลายแมงมุม ลายกาบ ลายหอปราสาท หรือธรรมาสน์ เป็นต้น แต่เดิมชาวภาคอีสานนิยมทอลวดลายขิดด้วยเส้นใยฝ้ายสีคราม ส่วนปัจจุบันนิยมใช้สีสันสดใส และพัฒนาการย้อม ด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ใบไม้.


147

ลวดลายสำ�เร็จอยู่ในกี่ลักษณะที่ผ้าขิดมักเป็นการทดลายซํ้า ๆ กันตลอดความกว้างของผ้านิยมทอ เป็นสไบหรือผ้าเบี่ยงและทำ�เป็นตัวหรือตีนซิ่น ในผ้าสไบช่างที่มีฝีมือสามารถประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆเช่น ลายรูปคน ช้าง หงส์ สิงห์ ได้อย่างสวยงาม ลายผ้าขิดที่ใช้ในโอกาสต่าง ๆ - ขิดดอกขิด : ใช้ในงานบุญ งานบวชนาค - ขิดลายตะเภาหลงเกาะ : ใช้ในบวชนาค - ขิดแมงเงา : ใข้รับแขกที่บ้าน - ขิดทัง : ใช้สำ�หรับสงฆ์มาทำ�บุญบ้าน - ขิดขอ : ใช้แต่งห้องรับแขก - ขิดดอกแก้ว : ใช้ไหว้ผู้ใหญ่ - ขิดกาบใหญ่ : ใช้ไหว้ผู้ใหญ่ - ขิดกาบน้อย : ใช้แต่งห้องลูกเขย - ขิดดอกจันทร์ : ใช้ในงานสงกรานต์ - ขิดดอกงูเหลือม: ขิดหมากโม ขิดประแจนไช ขิดแมงงอด : ใช้ในบ้าน - ขิดโมกระหย่อย : ใช้ปูแท่นบูชา ลายผ้าขิด มักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิต จุด สี่เหลี่ยม หรือเส้นตรงมี ๔ ลักษณะคือ - จุด ไม่กำ�หนดเป็นรูปทรงอาจจะทอกระจายหรือต่อเนื่องประกอบลวดลายอื่น ๆ - เส้นตรง คือ การเรียงจุดให้เป็นแถวทั้งแนวนอนและแนวตั้ง - สามเหลี่ยม มีทั้งแบบทึบทอกลวงหรือโปร่ง - สี่เหลี่ยม นิยมใช้สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมด้านเท่า - ลายผสม ลายขิดที่เป็นลายของแพรวา เช่น ลายพันมหาอุ้มหงส์ ลายนาคสี่แขน ลายช่อ ขันหมาก ลายดาวไต่เครือ ชาวบ้านในแทบทุกพื้นที่ของภาคอีสานจะทอผ้าไว้ใช้เอง โดยใช้ฝ้ายและไหมเป็นวัตถุดิบ ที่สำ�คัญ ผ้าที่ทอไดจะนำ�มาใช้เป็นเครื่องนุ่มห่มและเครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วัน ใช้ในพิธีกรรมของ ชาวบ้านเอง หรือแม้แต่พิธีกรรมทางพุทธศาสนา ในครั้งอดีตยังใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนตามแต่ โอกาสและวาระเป็นส่วยหรือเครื่องบรรณาการ เพื่อยกเว้นการเกณฑ์แรงงานของหัวเมืองใหญ่ การทอผ้าที่ใช้ในโอกาสที่สำ�คัญ เป็นการแสดงถึงฝีมือ ความละเอียด ความอดทนและจินตนาการ ของผู้ทอ รวมทั้งความเฉลียวฉลาดในการนำ�วัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งใน การใช้งานและความสวยงาม ดังนั้นผลิตผลจากการทอผ้าจึงเป็นเครื่องวัดคุณสมบัติของผู้หญิง ในสังคมอีสานถึงความพร้อมที่จะเป็นภรรยาที่ดีในอนาคต ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงจึงได้รับการถ่ายทอด ความรู้เรื่องการทอผ้าโดยผ่านระบบครอบครัวอย่างต่อเนื่อง


148

ประเภทของผ้าในวิถีชีวิตของชาวอีสาน ๑. ผ้าในวิถีชีวิต เป็นผ้าที่ใช้กันตามปกติ เช่น - ผ้าซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิงทอด้วยไหมหรือฝ้าย จะใช้นุ่งในทุกโอกาสขณะที่อยู่บ้าน หรือออกไปธุระนอกบ้านทำ�งานในไร่นา ใช้เป็นผ้านุ่งอาบนํ้า เป็นชุดนอน นุ่งเวลามีงานเทศกาล หรือไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งนี้ก็จะเลือกใช้ผ้าซิ่นแบบต่าง ๆ ตามแต่โอกาสและวาระ - ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งของผู้ชายทอด้วยผ้าไหม้หรือผ้าฝ้ายเป็นลวดลายต่าง ๆ ใช้ในทุก โอกาสเหมือนผ้านุ่งของผู้หญิง ทั้งนี้แล้วแต่ประเภทของงาน - ผ้าอีโป้ หรือผ้าขาวม้าจัดเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ โดยปกติแล้วผู้ชายจะใช้โพกหัวขณะ ทำ�งานในไร่นา ผูกเอวหรือพาดบ่า แต่ก็เห็นผู้หญิงใช้กันทั่วไป เช่น เป็นผ้าคลุมหน้าเวลาจะออก ทำ�งานกลางแจ้ง หรือจะใช้มัดออกเวลาอยู่บ้าน เป็นต้น - ผ้าแพรเบี่ยง เป็นผ้าที่ผู้หญิงหรือผู้ชายใช้พาดหรือสะพายบ่าเวลาไปร่วมทำ�บุญ ผ้า ชนิดนี้มีการทออย่างวิจิตรบรรจง ด้วยการขิดหรือจก - ผ้าอู่ เป็นผ้าผืนใหญ่ลักษณะเหมือนผ้าแพรหรือผ้าขาวม้า ส่วนใหญ่ทอด้วยผ้าฝ้าย ใช้ ผูกเป็นเปลให้เด็กนอน - ผ้าสมมา เป็นผ้าที่ฝ่ายหญิงนั้นตั้งใจทออย่างประณีต เพื่อมอบเป็นของกำ�นัลแก่ญาติ ฝ่ายชายและตัวเจ้าบ่าวในวันแต่งงาน แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดีใน อนาคต และเพื่อให้ญาติฝ่ายชายเกิดความรักใคร่เอ็นดู - ผ้าคลุมศพ เป็นผ้าที่ใช้ห่อศพของคนตายก่อนนำ�ไปเผา ทอด้วยฝ้ายหรือผ้าไหม บางที จะใช้ผ้าเก่าที่เคยเป็นสมบัติของผู้ตาย บางทีจะใช้ผ้าใหม่ที่ทออย่างประณีต เวลาเผาจะเอาผ้าออก แล้วนำ�ผ้านั้นไปถวายพระ ๒. ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม เป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมของชาวบ้านที่มีความเกี่ยวโยงกับความเชื่อ เรื่องโชคลาง เช่น - ผ้ายันต์ ที่พบเห็นจะเป็นการใช้จีวรเก่าของพระสงฆ์ ผ้าขาว หรือผ้าแดงมาขีดเขียน อักษรและนำ�มาบูชา เพื่อสนองตอบความเชื่อเรื่องโชคลางต่าง ๆ เช่น ให้ทำ�มาค้าขึ้น ให้สอบเป็น เจ้าเป็นนายได้ หรือแม้กระทั่งกันภูติผีปีศาจต่าง ๆ มารบกวน - ผ้าเอ้บั้งไฟ เป็นผ้าไหม้หรือผ้าฝ้ายที่ทออย่างประณีตด้วยการจกหรือขิด ใช้คล้องคอ พญานาคบนองค์บั้งไฟ เพื่อความสวยงาม ซึ่งจะเป็นผ้าที่ดูโดดเด่นที่สุดในขบวนแห่บั้งไฟของชาว อีสาน - ผ้าที่ใช้ถวายพร้อมเชิงบาตรกราบ เป็นผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยขมิ้นเหลืองผืนกระทัดรัด ซึ่ง พระสงฆ์ใช้รองเวลารับของถวายจากฆราวาสที่เป็นหญิง โดยพระสงฆ์จะจับชายผ้าอีกด้านเวลารับ


149

๓. ผ้าในพิธีทางพุทธศาสนา เป็นผ้าที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เช่น - ผ้าผะเหวด เป็นผ้าฝ้ายทอพื้นสีขาว หากเป็นการทออย่างหยาบ ๆ อาจมีการลงแป้ง เพื่อปิดรอยสานเส้นใยผ้าและเพื่อสะดวกต่อการลงสีที่ใช้ในการเขียนภาพบรรยาย เรื่องราวของ พระเวสสันดรทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ส่วนผงผะเหวดจะเป็นผ้าฝ้ายสีขาวทอแบบหยาบ ๆ มีการปักขิดสีจาง ๆ เป็นช่วงยาวประมาณ ๒ – ๓ วา ตรงชายผ้าประดับด้วยผ้าไหม้หรือผ้าฝ้ายทอแบบขิดสีสันสวย สะดุดตา ในบางพื้นที่อาจมีการแขวนกระดิ่งที่ชายผ้า ผ้าจะผูกกับเสาไม้ไผ่สูง ๓ – ๔ วา ในงาน “เทศกาลบุญผะเหวด” - ผ้านุ่งนาคและผ้าปกหัวนาค โดยปกติผ้านุ่งนาคจะเป็นผ้าไหมทอสีพื้น บางทีอาจเป็น โสร่งลาย ซึ่งนาคใช้นุ่งในพิธีบวชนาค ก่อนจะเปลี่ยนเป็นจีวรของพระ ส่วนผ้าปกหัวนาคจะเป็นผ้า ฝ้ายทอสีขาวบริสุทธิ์ ใช้ปกหัวนาคในขณะทำ�พิธีบวชนาค โดยเฉพาะในตอนแห่นาครอบอุโบสถ หรือหมู่บ้านเพื่อเป็นการกันความร้อนจากไอแดด - ผ้าห่อคัมภีร์ไบลาน จะใช้ผ้าไหมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักเป็นไหมที่ทอโดยการมัดหมี่ ถือว่า เป็นศิลปะการทอชั้นสูงของคนอีสาน ใช้ห่อเพื่อเก็บคัมภีร์ไบลานจากฝุ่น มอด และแมลงต่าง ๆ เข้าทำ�ลาย ส่วนผ้ารองคัมภีร์ใบลานจะเป็นผ้าไหมหรือฝ้าย ทอด้วยการขดหรือจกผืนขนาดกระทัด รัด ใช้รองคัมภีร์ใบลานเวลาพระเทศน์ ปัจจัยสี่ : ยารักษาโรค หมอยากลางบ้าน หมอยาแผนโบราณ เป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน ในชนบทอีสานมีวิธีการสืบทอดความ เชื่อในการรักษาแบบโบราณ ผู้ที่มีอาชีพรักษาผู้ป่วย เรียกว่า “หมอยากลางบ้าน” เรียกยาที่นำ� มารักษานี้ว่า “ยาสมุนไพร” หรือยากลางบ้านในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าตำ�รายากลางบ้านบางส่วนอาจ สูญหายและขาดการสืบทอดเอาไว้ ก็ตามแต่ทว่าชาวอีสานโดยเฉพาะในดินแดนที่ห่างไกลความ เจริญยังคงมีความเชื่อในการรักษาโรคแบบหมอแผนโบราณที่สืบทอดกันมาอยู่มาก หมอยากลางบ้านหรือหมอยาแผนโบราณในภาคอีสานซึ่งมีอยู่มากมาย ส่วนใหญ่เป็นผู้ สูงอายุ หมอแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคแตกต่างกันออกไป และมีชื่อเรียกกันตาม ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญนั้น ๆ เช่น หมอกระดูก หมอน้ำ�มัน หมอน้ำ�มนต์ หมอยาฝน หมอเอ็น ฯลฯ ยาและชนิดของยากลางบ้าน ยากลางบ้านที่ใช้ในการรักษาโรคของชาวอีสาน มีหลายชนิดตัวยาแต่ละชนิดมีสรรพคุณ ในการรักษาโรคแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามชนิดของยากลางบ้านหรือสมุนไพรนั้น เมื่อ ปรุงเสร็จแล้วจะมีลักษณะดังนี้ คือ


150

- ชนิดเม็ดที่ทำ�เป็นลูกกลอน ส่วนมากนิยมผสมนํ้าผึ้งแล้วปั้นเป็นลูกกลอน - ชนิดผงที่บดเป็นผงละเอียด ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ละลายนํ้าใช้รับประทานหรือใช้เป่า เข้าจมูกเพื่อแก้อาการคัดจมูก เป็นต้น - ชนิดนํ้า ส่วนใหญ่เป็นการแช่ตัวยาสมุนไพรในนํ้าโดยฝนยาสมุนไพรกับหินด้วยละลาย นํ้า หรือต้มตัวสมุนไพรเพื่อให้ตัวยาละลายออกมา (นํ้าที่ใช้คือนํ้าฝนหรือนํ้าสะอาด) - ชนิดนํ้ามัน ส่วนใหญ่แล้วได้จากนํ้ามันพืช นํ้ามันสัตว์และอื่น ๆ ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี เครื่องจักสาน อาชีพหลักของชาวอีสาน คือ การเกษตร ด้วยเหตุนี้เองทำ�ให้ชาวอีสานมีทักษะในการ ดัดแปลงวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำ�รงชีวิต ในรูปแบบของเครื่อง จักสานทั้งเครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องมือในการจับสัตว์ วิถีการดำ�รงชีวิต ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมและศาสนา เป็นปัจจัยสำ�คัญที่มีผลต่อการ ผลิตเครื่องจักสานของชาวอีสาน มีการฝึกหัดและพัฒนาถ่ายทอดจนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่ง นอกจากจะมีคุณค่าในเชิงการใช้สอยแล้วยังแสดงออกถึงความประณีตละเอียดอ่อน ความสวยงาม ในเชิงประดิษฐ์จึงนับเป็นศิลปกรรมอีกแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ขณะเดียวกันก็แสดงให้ เห็นภูมิปัญญาและเทคโนโลยีพื้นบ้านที่สร้างสรรค์ขึ้นจากธรรมชาติอย่างแท้จริง เครื่องจักสาน เครื่องจักสาน เป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาผสมกับสภาพแวดล้อมของชาวอีสาน แสดงออกถึงความปราณีตละเอียดอ่อนมีความสวยงามในเชิงประดิษฐ์ ลวดลายและรูปลักษณ์ ของเครื่องจักสานของชาวอีสานสะท้อให้เห็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็น เทคโนโลยีพื้นบ้านที่ถูกใช้สอย ผสานเข้ากับความสวยงามอย่างชาญฉลาดชาวอีสานใช้ประโยชน์ จากเครื่องจักสานในชีวิตประจำ�วันทั่วไปโดยสามารถแบ่งประเภทของเครื่องจักสานตามประโยชน์ ใช้สอย คือเครื่องใช้ภายในครัวเรือน เครื่องใช้ในการเกษตร ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ จับสัตว์ของเล่นเด็ก และประโยชน์ในพิธีกรรม ก่องข้าว ก่องข้าว ภาชนะใส่ข้าวเหนียวนึ่งสานด้วยไม้ไผ่มีส่วนประกอบ ๓ ส่วนคือ ขาทำ�ด้วยไม้ เนื้อแข็งไขว้เป็นรูปกากบาท ผูกกับส่วนก้นก่อง ตัวก่องข้าวสานด้วยสานด้วยตอกซ้อน ๒ ชั้นส่วน ฝามีหูก ๒ ข้างสำ�หรับร้อยเชือกที่ยึดขึ้นมาจากก่อง สำ�หรับใช้สะพายหรือหิ้ว กะป่อม เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ยาด้วยชัน รูปทรงเหมือนกะต้าใช้สำ�หรับตักนํ้าหรือขังสัตว์นํ้า


151

ต่าง ๆ เช่น ปลา ปลาไหล กบ ขันกระหย่อง 104 เป็นเครื่องมือใช้กักขัง ปู ปลา กบ เขียด กุ้ง หอย ทำ�ด้วยไม้ไผ่ซีกสานตรงบริเวณปากจะ มีฝาเพื่อป้องกันสัตว์นํ้ากระโดดออกจากข้อง ข้องมีหลายชนิด เช่น ข้องเป็ด ข้องลอย ประเภทของเครื่องจักสาน ๑. เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ ๑.๑ เครื่องมือในการเกษตร ได้แก่ ๑.๑.๑ คันโส้ เป็นเครื่องมือสาน ด้วยไม้ไผ่ถี่ ๆ รูปร่างคล้ายกระบอก ผ่าซีกด้านหน้าเปิดกว้าง ด้านหลังปิดแคบมีด้ามจับยาวใช้สำ�หรับวิดนํ้าในนาในช่วงฤดูทำ�นา ๑.๑.๒ วี เป็นอุปกรณ์ใช้สำ�หรับคัดเมล็ดข้าวลีบที่ยังปะปนอยู่กับ เมล็ดข้าวเปลือกเต็มในลานข้าว ๑.๒ เครื่องมือสำ�หรับจับสัตว์และเลี้ยงสัตว์ เช่น ๑.๒.๑ เข่งน้อย เข่งใหญ่ เป็นอุปกรณ์สำ�หรับไว้ขังสัตว์ปีก เช่น นก หรือ ไก่ มีขนาดต่าง ๆ สานด้วยไม้ไผ่ตาห่าง ๆ ทรงมะนาวผ่าซีก ปากเข่งขนาดเล็ก ใหญ่ไม่เท่ากัน มีเชือกถักกันสัตว์บินหนี เข่งน้อยมีเชือกสำ�หรับสะพายด้วย ๑.๒.๒ ซวงไก่ หรือสุ่มไก่ มีรูปทรงคล้ายกรวยทำ�จากไม้ไผ่ทั้งลำ� ผ่า เป็นซี่ ๆ ประมาณ ๘ – ๑๐ ซี่ แต่เหลือข้อสุดท้ายไว้และใช้ตอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่สานลายขัดกับซี่ ไม้ไผ่ชิดข้อจัดระยะถี่ห่างพอประมาณ โดยสายให้ปลายขยายออกใช้สำ�หรับขังไก่ ๑.๒.๓ ข้อง เป็นอุปกรณ์สำ�หรับใส่ปลาที่จับได้ ๑.๒.๔ ตุ้ม เป็นเครื่องมือจับปลา มีลักษณะคล้ายสุ่ม ขนาดใหญ่วาง หงายขึ้น ตรงกลางมีกระบอก ไม้ไผ่เจาะรู สำ�หรับใส่เหยื่อเพื่อล่อปลาให้เข้ามากินส่วนล่างของตุ้ม (ที่เป็นทางเข้ามากินเหยื่อ) ทำ�เป็นงาเพื่อป้องกันปลาว่ายออก ๒. เครื่องใช้ในบ้าน ๒.๑ เครื่องจักสานที่ใช้ในครัวเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาหาร หรือรับ ประทานอาหาร เช่น ๒.๑.๑ หวด เป็นภาชนะนึ่งข้าวเหนียว ถั่ว งา สานด้วยไม้ไผ่ ทรงกรวย ก้น สอย ปากผาย การนึ่งข้าวด้วยหวดเริ่มมาจากนำ�ข้าวเหนียวที่แช่นํ้าไว้ มาซาวนํ้าแล้วใส่ข้าวลงใน หวด นำ�หวดไปวางบนหม้อที่ใส่นํ้าตั้งบนเตาไฟให้ระดับนํ้าในหม้อตํ่ากว่าก้นหวด ใช้ผ้าขาวบาง ปิดปากหวดเพื่อให้ข้าวระอุ 104 “ขันกระหย่อง” เป็นภาชนะที่ทำ�มาจากตอกไม้ไผ่ โดยเฉพาะการเหลาตอกไม้ไผ่ทำ�เป็นเส้นเล็ก ๆ บางเบา คม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำ�

ขึ้นและมีใช้ในภาคอีสานหรือตามวัดต่าง ๆ ที่พบเห็นเวลาเราไปทำ�บุญที่วัดถ้าเราสังเกตก็จะเห็นพระคุณเจ้านำ�มาตั้งไว้ด้านข้างพระประธาน และจะนำ�ดอกไม้ธูปเทียน ก้อนข้าวเหนียว วางบนขันกระหย่อง.


152

๒.๑.๒ กะติบ เป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวนึ่งสานจากไม้ไผ่เป็นทรงกระบอกมีฝา ครอบทรงเดียวกันซ้อนอยู่ชั้นนอก ฐานทำ�ด้วยไม้ไผ่หรือก้านตาลขดเป็นวงกลม มีห่วงสำ�หรับร้อย เชือกยาวกับฝากะติบสำ�หรับสะพาย ๒.๑.๓ กระชอน เป็นภาชนะกรองของเหลว สานจากไม้ไผ่เป็นตาถี่รูปครึ่ง วงกลมหรือสี่เหลี่ยม มีหูหรือมือจับใช้กรองกากมะพร้าวเพื่อแยกกะทิ กรองนํ้าปลาแดก หรือกรอง เศษวัสดุเล็กออกจากของเหลว ๒.๑.๔ กระด้ง จะสานจากไม้ไผ่ลักษณะแบนกลม มีทั้งตา ห่าง ตาถี่และทึบ โดยมีประโยชน์ใช้สอยต่างกัน เช่น กระด้งทึบ จะใช้ฝัดเอาฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกออกจากข้าว หรือเมล็ดพืช กระด้งถี่หรือห่างเอาไว้ตากของ เช่น ตากพริก ตากเนื้อ เป็นต้น ๒.๑.๕ ก่องข้าว เป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวนึ่ง สานจากไม้ไผ่มีส่วนประกอบ ๒ ส่วน คือ ขานิยมใช้ไม้ทำ�ไขว้เป็นรูป กากบาท ผูกกับส่วนก้อน ก่อง ตัวก่องสายด้วยตอก ๒ ชั้น ส่วนฝาจะมีหูเล็ก ๆ สำ�หรับร้อยเชือกที่ยืดขึ้นมาจากก่องข้าวสำ�หรับใช้สะพายหรือหิ้ว ๒.๑.๖ ฝาชี เป็นภาชนะครอบอาหาร กันแมลงวันหรือแมลงอื่น ๆ ตอมทำ� ด้วยไม้ไผ่หรือหวายจะสานเป็นรูปครึ่งวงกลม ๒.๑.๗ พวงขวด เป็นภาชนะใส่ขวดและแก้ว ทำ�ด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีช่องใส่ขวดและมีหูหิ้ว ๒.๒ เครื่องจักสานที่ใช้ภายในบ้านเรือนหรือภายในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ เช่น ๒.๒.๑ อีแตะ เป็นพัดขนาดเล็กด้ามยาวสำ�หรับใช้ตีแมลงวัน ๒.๒.๒ อู่ (เปลเด็ก) เป็นเครื่องใช้สำ�หรับนอน สานด้วยไม้ไผ่หรือเชือก หวาย และอื่น ๆ มีทั้งสำ�หรับเด็กและผู้ใหญ่ ๒.๒.๓ จ่อ คือกระด้งขนาดใหญ่ มีริ้วตอกสานวางเรียงกันเป็นรูปก้นหอย สำ�หรับใส่ตัว “ม้อนสุก” (หนอนไหมแก่) ที่พร้อมจะชักใยหุ้มตัวเมื่อเป็น “ฝักหลอน” (รังไหม) ๒.๒.๔ แอบยา กระปุกขนาดเล็ก ใช้บรรจุอุปกรณ์ในการกินหมากและยาสีเข้ว ๒.๓ เครื่องจักสานที่ทำ�ขึ้นเพื่อใช้ได้ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น ๒.๓.๑ กระบุง เป็นภาชนะใสสิ่งของสานจากไม้ไผ่ ก้นสอบรูปสี่เหลี่ยมปาก กลมกว้างกว่าก้น ถักขอบด้วยหวานมีหูสำ�หรับสอดเชือกเพื่อร้อยกับไม้คานหาบ ๒.๓.๒ กะต่า (ตะกร้า) เป็นภาชนะทรงกลม ป้อม ลวดลายไม่ละเอียดประณีต ใช้ใส่ของเพื่อหิ้วหรือหาบ ๒.๓.๓ กะหยัง (กระจาดหาบ) สานด้วยไม้ไผ่เป็นสายโปร่ง ก้นเหลี่ยม ปาก


153

กลม มีลายสำ�หรับคาดศรีษะเดินขึ้นที่สูง ๒.๓.๔ กระทอ เป็นภาชนะใส่ของต่าง ๆ เช่น นุ่น ถ่านเกลือสานด้วยไม้ไผ่ เป็น ทรงกระบอกตาห่าง ๆ โดยทั่วไปสูง ประมาณหนึ่งศอกบางครั้งกรุด้วยใบไม้ ๒.๓.๕ กะป่อม รูปทรงเหมือนตะกร้า ยาชัน มีเชือกผูกสำ�หรับตักน้ำ�ใส่ครุ ถัง หรือภาชนะอื่น ๆ อีกที ๒.๓.๖ กะเป๊าะ รูปร่างคล้ายกระบุงเล็ก ๆ สานด้วยตอกไม้ไผ่ ใช้สำ�หรับตวง ข้าวเปลือก โดยปกติจะมีขนาดมาตรฐานอย่างเช่น กระเป๊าะสำ�หรับตวงข้าว ๕ กิโลกรัมหรือ ๑๐ กิโลกรัม เป็นต้น ๒.๓.๗ วี คือพัดโบกลม สานด้วยไม้ไผ่ มีรูปร่างกลมหรือเป็นเหลี่ยม ๓. เครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรม เครื่องจักสานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมความเชื่อต่าง ๆ เช่น ๓.๑ ขันกะหย่อง สานจากไม้ไผ่เป็นภาชนะรูปร่างคล้ายพานมีหลายขนาดใช้สำ�หรับใส่ เครื่องบูชา ๓.๒ ตาเหลว เป็นอุปกรณ์ประกอบพิธีกรรมเพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่เป็นมงคลโดย ใช้ปีกไว้บนสิ่งที่ใช้ทำ�พิธี เช่น ปักบนหม้อย ๆ หรือบนลานข้าว เป็นต้น

ผ้า การทอผ้าเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่หญิงชาวอีสานจะใช้เวลาว่างหลังจากการเก็บ เกี่ยว ผ้าที่ทอได้จะเก็บไว้ใช้ในครอบครัว หรือสำ�หรับถวายพระในเทศกาลต่าง ๆ ชาวอีสานรับเอา อิทธิพลของธรรมชาติรอบข้าง มาดัดแปลงเป็นลวดลายของผ้าทอชนิดต่าง ๆ ก็ทำ�ให้เกิดลวดลาย ที่สวยงามแตกต่างกัน เช่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าจก ผ้าขิด ส่วนใหญ่มักนำ�ผ้าที่ทอได้ไปทำ�หมอน ผ้าห่ม ผ้า ซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ซึ่งล้วนแต่เป็นเครื่องใช้สำ�คัญในครัวเรือนทั้งสิ้น ผ้าไหม105 การทอผ้าไหม การทอผ้าของชาวอีสานมีการทอผ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นวัฒนธรรม ประจำ�ชนเผ่าไท-ลาว ผู้หญิงอีสานจะต้องทอผ้าเป็นและได้รับการถ่ายทอดฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากต้องทอผ้าไว้ใช้ในชีวิตประจำ�วัน รวมทั้งการใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา การเตรียมเส้นสำ�หรับทอผ้าไหม การเตรียมเส้นเครือ (เส้นยืน) สำ�หรับไหมพื้นและไหมมัดหมี่ 105 ทำ�จากเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากสัตว์จำ�พวกหนอนไหมโดยคายเส้นใยออกมาทางปากมีความยาวต่อเนื่อง เมื่อนำ�มาทอเป็นผืนผ้าทำ�ให้อ่อน

นุ่ม เป็นมัน เหนียว ยืดหยุ่นตัวดี ดูดซับความชื้น ย้อมสีง่ายและสวมใส่สบายเนื่องจากมีความชื้นในตัวเอง สูงประมาณร้อยละ ๑๑ แต่มีข้อ จำ�กัดคือเส้นใยไหมเสื่อมคุณภาพง่าย เมื่อถูกความร้อนสูงจากเตารีด แสงแดด แมลงชอบกัดกินเส้นไหมเพราะเป็นเส้นใยโปรตีน สีที่ย้อมจะ เสื่อมคุณภาพเมื่อถูกความชื้นมากเกินไป ดังนั้นควรเก็บรักษาไว้ในที่แห้ง.


154

ขั้นตอนนี้ จะนำ�ไหมที่แกว่ง (การเก็บขี้ไหมและสิ่งสกปกออกจากเส้นใย) แล้วไปค้นหูก (การเตรียมเส้นด้ายที่จะทำ�เป็นเส้นเครือโดยนำ�อักด้าย ๒ อัก มาค้นใส่หลักเฝือต้องใช้ด้าย ๒ เส้น ถ้าต้องการหนาก็ใช้ ๔ เส้น) โดยใช้หลักเฝือ (หลักไม้ที่ใช้ในการค้นหูก) เพื่อกำ�หนดความยาวว่าจะ ทอผ้ากี่ผืนหรือกี่เมตร หลักเฝือจะเป็นตัวกำ�หนดความยาวตามที่ต้องการแล้ว จึงนำ�ไปย้อมสีตาก ในแห้งแล้วจึงนำ�ไปสืบหูกเพื่อเตรียมทอเป็นผืนผ้าต่อไป การเตรียมเส้นตํ่า (เส้นพุ่งหรือเส้นทอ) ไหมพื้น นำ�ไหมที่แกว่งแล้วไปเหล่งเพื่อทำ�เป็นปอยแล้วย้อมสีตากให้แห้ง นำ�ไปกวักเข้าอักและ ปั่นหลอด ใส่กับกะสวยสำ�หรับตํ่าหรือพุ่ง ทอเป็นผืนผ้า การเตรียมเส้นตํ่า (เส้นพุ่ง) ที่มัดหมี่เป็นลวดลายต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เริ่มจากการนำ� เส้นไหมที่แกว่งแล้วไปเหล่งทำ�เป็นปอยแล้วจึงนำ�ไปใส่โฮงหมี่ (หลักมัดหมี่) เมื่อมัดเสร็จปลดออก จากโฮ่งหมี่นำ�ไปย้อมสี (ส่วนที่มัดไว้ไม่ติดสีผู้ย้อมจะใช้น้ำ�สีแต้มให้ได้สีต่าง ๆ ตามความต้องการ นำ�ไปตากให้แห้ง กวักเข้าอักเพื่อปั่นหลอดร้อยหลอด เรียงตามลำ�ดับก่อนหลัง ห้ามสลับกันเป็นอัน ขาดเพราะจะทำ�ให้ทอไม่เป็นลายตามที่มัดไว้ จากนั้นนำ�หลอดไปใส่กระสวยเพื่อเป็นเส้นพุ่งทอผืน ผ้าต่อไป ผ้าฝ้าย 106 การทอฝ้ายนั้นเป็นศิลปหัตถกรรม พื้นบ้านที่ทำ�กันทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งแต่ละภาค นั้นก็มีวิธีการและลักษณะเฉพาะแตกต่างกันออกไป ภาคอีสานเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่มีการผลิตผ้าทอมือชนิดต่าง ๆ สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ คนแล้วจึงมีคำ�กล่าวว่า “ยามว่างจากนาผู้หญิงทอผ้าผู้ชายจักสาน” ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและ สังคมของชาวอีสานได้ดีว่า หน้าที่สำ�คัญของผู้หญิงคือการทอผ้า ซึ่งเป็นงานรองจากอาชีพหลัก การทอผ้าฝ้ายนิ่มสามารถแยกเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ คือ ๑. ขั้นตอนการทำ�ฝ้ายให้เป็นปุย ๒. ขั้นตอนการทำ�ฝ้ายให้เป็นเส้น ๓. ขั้นตอนการเตรียมเส้นด้ายเพื่อทอ ๑. ขั้นตอนการทำ�ฝ้ายให้เป็นปุย ชาวอีสานจะลงมือปลูกฝ้ายกันประมาณเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคม เมื่อสมอ ฝ้ายแตกเป็นปุยเต็มที่แล้วจะเลือกเฉพาะปุยที่สะอาด ๆ เท่านั้น นำ�มาแยกเมล็ดออก ชาวบ้าน เรียกว่า “อิ้วฝ้าย” แล้วใสในกระเพียดดีดด้วยไม้ดีดฝ้าย เพื่อให้ปุยฝ้ายนั้นแตกฟูเป็นเนื้อเดียวกัน 106 ทำ�จากเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากดอกของต้นฝ้าย เมื่อนำ�มาทอผ้าจะดูดซับความชื้นได้ดี ย้อมสีและพิมพ์ลวดลายง่าย สวมใส่สบายมีความชื้น

ประมาณร้อยละ ๑๑ ระบายความร้อนได้ดี ผ้าฝ้ายที่ผ่านการตกแต่งด้วยเทคนิควิธีการผ่านไอน้ำ�หรือให้ความร้อน และใช้สารเคมีทำ�ให้ผิว สัมผัส ราบเรียบ เป็นมัน คงทนต่อการเสียดสี ทนยับ แต่ถ้าไม่ได้ผ่านการตกแต่งส่งผลให้การยืดหยุ่นตัวน้อยลง ยับง่าย ความแข็งแรงหรือ ความเหนียวต่ำ� ไม่ทนเชื้อราและแสงแดด ข้อจำ�กัดของผ้าฝ้ายจะเสื่อมคุณภาพง่าย.


155

แล้วจึงนำ�ปุยฝ้ายที่ได้ไป “ล้อฝ้าย” โดยแผ่ฝ้ายให้เป็นแผ่นบาง ๆ บนกระดานล้อแล้วใช้ไม้ล้อ (ไม้กลมเล็ก ๆ คล้ายกับตะเกียบ) วางลงและม้วนให้ปุยฝ้ายเป็นหลอดกลมยาว ๆ แล้วดึงไม้ออก หลอดฝ้าย ๒. ขั้นตอนการทำ�ฝ้ายให้เป็นเส้น เมื่ออิ้วฝ้ายตามจำ�นวนที่ต้องการแล้ว จึงนำ�ไปปั่นเป็นเส้นด้ายโดยนำ�อิ้วฝ้ายที่เป็นหลอด กลม ๆ นั้นนำ�ปลายด้านหนึ่งพันเข้ากับแกนเหล็กไนที่ติดอยู่กับไนหรือหลา มือหนึ่งจับปลายด้าน หนึ่งของอิ้วฝ้าย อีกมือหนึ่งจับมือหมุน หมุนไปเรื่อย ๆ มือที่ถืออิ้วฝ้ายต้องคอนป้อนฝ้ายให้พ้น แกนเหล็กไน แกนที่พันเหล็กจะหมุนให้พ้นแกนเหล็กไน แกนที่พันเหล็กจะหมุนปั่นฝ้ายออกเป็น เส้นเล็ก ๆ ชาวบ้านเรียกการทำ�ฝ้ายให้เป็นเส้นนี้ว่า “การเข็นฝ้าย” เส้นฝ้ายที่ได้จะสมํ่าเสมอหรือ ไม่อยู่ที่ความชำ�นาญของผู้ปั่น เมื่อด้ายพันที่เหล็กไนมากพอสมควรแล้วจะหยุดเข็นฝ้าย ใช้ไม้หลัก ที่เรียกว่า ไม้เปียฝ้าย ดึงเส้นฝ้ายออกจากแกนเหล็กให้เข้ากับไม้เปียกฝ้าย เพื่อเก็บด้ายไม่ให้พันกับ เส้นด้านที่เป็นระเบียบเรียกว่า “เปียฝ้าย” จากนั้นถ้าต้องการจะนำ�ด้านไปเป็นเส้นเครือก็นำ�ไปแช่ ในนํ้าข้าวเรียกว่า “การฆ่าฝ้าย” เพื่อให้เส้นด้ายเหนียวเรียบไม่เกิดขน แต่ถ้าต้องการย้อมสีต้องนำ� ไปต้มฟอกแยกไขมันออก แล้วจึงย้อมสีต่อไป ๓. ขั้นตอนการเตรียมเส้นด้ายเพื่อทอ การเตรียมเส้นด้ายเพื่อทอสามารถแยกออกเป็นสองกลุ่ม คือ ๓.๑ กลุ่มที่เตรียมไว้เพื่อเป็นเส้นตํ่า (เส้นพุ่งหรือเส้นทอ) ๓.๒ กลุ่มที่เตรียมไว้เพื่อเป็นเส้นเครือ (เส้นยืน) กลุ่มเส้นตํ่าจะมีทั้งเส้นตํ่าที่เป็นสีพื้นและเส้นตํ่าที่จะเป็นมัดหมี่มัดย้อมการมัดหมี่จะ ยากง่ายขึ้นอยู่กับลวดลาย ลวดลายที่ซับซ้อนยิ่งต้องมัดและย้อมหลายครั้ง การทอผ้ามัดหมี่นิยม ใช้ไหมเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นมัดหมี่ฝ้ายมักจะเป็นลวดลายสีแบบง่าย ๆ เช่น สีขาว-ดำ�กับสีคราม เส้นตํ่าที่มัดหมี่หลังจากฆ่าและฟอกเรียบร้อยแล้วจึงนำ�ไปใส่ “โฮงหมี่” และมัดตามลวดลายตาม ที่กำ�หนดไว้ แล้วนำ�ไปย้อมสีตามต้องการ จากนั้นจึงแกะเชือกที่มัดไว้ออก แล้วนำ�มากางใส่กงเพื่อ ปั่นด้ายจากกงใส่อัก เรียกว่า “การกวัก” เสร็จแล้วจึงปั่นด้ายจากอักใส่หลอด โดยที่ดึงปลายข้าง หนึ่งพันไว้กับหลอดไม้เล็ก ๆ ที่ทำ�จากแขนงไม้ไผ่หรือต้นปอ ซึ่งสอดอยู่ที่แกนของเหล็กไนมือหมุน เพื่อให้เหล็กไนหมุนพันด้ายเข้าหลอด เรียกว่า “การปั่นหลอด” สำ�หรับเส้นตํ่าที่เป็นเส้นพื้นนั้น หลังจากฆ่าและฟอกแล้วจะนำ�ไปย้อมสี แล้วจึงนำ�มาก วักและปั่นหลอด เส้นด้ายที่เตรียมไว้สำ�หรับเข็นเป็นเส้นเครือหลังจากผ่านการฆ่าและฟอกแล้วจะนำ�มา ย้อมสีใส่กง และปั่นจากกงใส่อัก เรียกว่า การกวักเช่นเดียวกับเส้นด้ายที่เตรียมไว้เป็นเส้นตํ่า เมื่อ เส้นด้ายจากกวักฝ้ายอยู่ในอักแล้ว นำ�อัก ๒ อักมาค้น เรียกว่า “การค้นหูก” อุปกรณ์ที่ใช้ในการ


156

ค้นหูกคือ หลักเฝือ การค้นหูกทำ�เพื่อกำ�หนดเส้นด้ายที่จะทำ�เป็นเส้นเครือ การค้นจะต้องค้นด้าย สองเส้นพร้อมกัน หรือถ้าต้องการให้หนาก็ใส่สีเส้น จะใช้เส้นเดียวไม่ได้เพราะจะต้องใช่เป็นเส้น บนและเส้นล่าง เมื่อเตรียมเส้นล่างเรียบร้อยแล้วให้นำ�ไปพันเส้นด้ายไว้ที่ไม้หลักแรก แล้วนำ�เส้น ด้ายคล้องไปตามหลักแต่ละหลักจากล่างไปถึงบนสุด แล้วพันเส้นด้ายกลับมาทางเดิมข้างล่าง ขั้น ตอนนี้เป็นจุดสำ�คัญ จะไขว้เส้นด้ายให้เป็นเส้นบนเส้นล่าง ซึ่งจะนำ�ไปสืบเข้ากับเขาหูกและฟืมต่อ ไป เมื่อได้จำ�นวนเส้น ครบพอกับฟืมแล้วจึงถอดด้านยออกจากหลักเฝือ เพื่อนำ�ไปสืบหูกต่อไปชาว บ้านจะเรียกด้านที่ค้นแล้วว่า “เครือหูก” จากนั้นนำ�ด้ายนี้เข้าใส่ไปในช่องฟันฟืม โดยนำ�เส้นแต่ละ เส้นผูกต่อกันกับเส้นด้าย ซึ่งมีอยู่แล้วให้แน่นและครบทุกเส้นเมื่อเตรียมเส้นด้ายครบทั้งเส้นเครือ และเส้นต่ำ�ครบแล้วจึงทอเป็นผ้าฝ้ายต่อไป ผ้าทอประเภทต่าง ๆ ๑. ผ้าขิด การทอผ้าขิดถือว่าเป็นงานศิลปะชั้นสูงเพราะจะต้องทำ�ด้วยความละเอียดประณีต และ มีขั้นตอนที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผู้ทอจะต้องใช้ความพยายาม และมีสมาธิในการทำ�โดยใช้ไม้เขี่ย หรือ สะกิดช้อนเส้นด้ายยืนแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตามแนวเส้นยืนที่ถูกช้อนขึ้นนั้น จังหวะในการสอด เส้นด้ายพุ่งจะทำ�ให้เกิดลวดลายต่าง ๆ ตามต้องการ การทอผ้าขิดนั้น มีลวดลายต่าง ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึง วิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ สิ่งของเครื่องใช้และความเชื่อ เช่น ขิดลายนก ขิดลายแมงงอด ผ้าลายขิดธรรมาสน์ ขิดดอกจันทร์ ลายขิดส่วนใหญ่มักทำ�เป็นรูป ทรงเรขาคณิต เช่น รูปสี่เหลี่ยม จุด เส้นตรง หรือลายผสม เช่น ลาย พันมหาอุ้มหงส์ ลายนาคสี่แขน เป็นต้น ผ้าขิด ถือว่าเป็นของสูงจึงมักใช้ทำ�หน้าหมอน ผ้าโพกศรีษะ ผ้าคลุมไหล่ ห้ามนำ�มาใช้ตํ่า กว่าเอวและห้ามข้ามหรือเหยียบ การทอผ้าขิดของสตรีชาวอีสานถือว่าเป็นงานศิลปะชั้นสูงเพราะการทอต้องทำ�ด้วย ความละเอียดประณีต ถ้าผู้ทอไม่มีพยายาม หรือไม่มีสมาธิพอก็จะทอได้ไม่งดงาม เพราะหากทำ� ผิดแม้เพียงเส้นเดียวก็จะเห็นตำ�หนิเด่นชัด ผ้าขิดถือว่าเป็นของสูง จึงใช้ทำ�หน้าหมอน ผ้าโพก ศรีษะ ผ้าคลุมไหล่ ถ้าจะทำ�ผ้าก็ห้ามนำ�มาใช้ตํ่ากว่าเอว มิฉะนั้นจะขะลำ� แม้กระทั่งเมื่อทำ�ผ้าเป็น หมอนหรือสิ่งของเครื่องใช้ต่างก็ห้ามข้ามหรือเหยีบ หรือนั่งบนหมอนถ้าเก็บผ้าขิดไว้ที่ตํ่าก็จะขะลำ� ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวอีสาน รูปแบบลายผ้าขิดมักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น รูปสี่เหลี่ยม จุด เส้นตรง ยังไม่ปรากฎ ว่ามีการทอผ้าขิดเป็นเส้นโค้ง หรือวงกลม รูปทรงเรขาคณิตที่กล่าวถึงมี ๔ ลักษณะคือ ๑. จุด คือการทอเป็นจุดอาจจะทอเป็นจุดกระจาย หรือต่อเนื่องประกอบลายขิดอื่น ๆ


157

๒. เส้นตรง คือ การเรียงจุดให้เป็นแถว เป็นเส้นตรงแนวตั้ง แนวนอนและแนวเอียง ๓. รูปสามเหลี่ยม มีหลายอยู่ขนาดทั้งแบบทอทึบ ทอกลวงหรือโปร่ง ๔. รูปสี่เหลี่ยม ที่นิยมใช้ คือ สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สี่เหลี่ยมผืน ผ้า จัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมด้านเท่า ๕. ลายผสม คือ ลายขิดที่เป็นลายของแพรวา เช่น ลายพันมหาอุ้มหงส์ ลายนาคสี่แขน ลายช่อขันหมาก ลายดาวไต่เครือ เป็นต้น ๒. ผ้ามัดหมี่ การทอผ้ามัดหมี่ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่นิยมทำ�กันมานานแทบทุก หมู่บ้านจนบางแห่งได้พัฒนาเป็นอุตสหากรรมในครอบครัว ผ้ามัดหมี่มีทั้งที่ทำ�จากผ้าฝ้ายและผ้า ไหม ถือว่าเป็นศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของภาคอีสาน และเป็นที่แพร่หลาย การทอผ้ามัดหมี่ ในขั้นแรกจะต้องนำ�เส้นด้ายหรือเส้นไหมไปย้อมสีตามต้องการ แล้วนำ� ไปขึงเข้ากับโฮงหมี่ ใช้เชือกฟางมัดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีให้แน่นตามลวดลายที่กำ�หนดไว้ แล้ว นำ�ไปย้อมสี เมื่อแก้เชือกออกส่วนที่มัดไว้จะไม่ติดสี เมื่อแก้เชือกออกส่วนที่มัดไว้จะไม่ติดสี เมื่อแก้ เชือกออกส่วนที่มัดไว้จะไม่ติดสี เรียกว่า โอบ ตามลวดลายที่กำ�หนดไว้ แล้วนำ�ไปย้อมตากแห้งแล้ว มัดและย้อมเช่นนี้จนกว่าจะได้สีและลวดลายที่ต้องการบางครั้งอาจต้องทำ�ถึง ๖ – ๗ รอบ การมัด หมี่ต้องอาศัยการคำ�นวณด้วยความชำ�นาญ และแม่นยำ�เพื่อให้ลวดลายที่ออกมาสวยงาม ลวดลายของผ้ามัดหมี่ ส่วนใหญ่จะได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ลายนาค ลายม้า ลายดอกสร้อย ลายต้นสน สายปราสาท เป็นต้น การออกแบบลายผ้า ผู้คิดลวดลายได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ซึ่งน่าจะแบ่งได้ 4 ประเภท คือ ๑. ลายที่มาจากรูปทรงของสัตว์ เช่น ลายแมงงอด ลายนาค ลายแมงมุม ลายคน ลายม้า ลายช้าง ลายนกยูง ลายไก่ ลายสิงโต ลายหางกระรอก ลายนก ลายกระต่าย ฯลฯ ๒. ลายที่มาจากรูปทรงของพืช เช่นลายดอกสร้อย ดอกพิกุล ลายอ้อ ลายดอกพวง ลาย ดอกจันทร์ ลายหมากจับ ลายต้นสน ฯลฯ ๓. ลายที่ได้มาจากสิ่งประดิษฐ์และสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ลายข้อเครือ ลายโคมห้า ลาย โคมเจ็ด ลายปราสาท ลายธรรมาสน์ ลายต้นสน ฯลฯ ๔. ลายเบ็ดเตล็ด เช่น ลายขิดตา ลายข้อหว่าน หมี่ราย ฯลฯ ลายแม่แบบพื้นฐาน จากการสำ�รวจลายผ้ามัดหมี่ในภาคอีสาน ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรม ได้จัดแบ่งกลุ่มเป็นลายพื้นฐาน ๗ ลาย คือ ๑. หมี่ข้อ มี ๒ ชนิด คือ หมี่ข้อตรง หมี่ข้อหว่าน


158

๒. หมี่โคม มี ๒ ชนิด คือ หมี่โคมห้า หมี่โคมเจ็ด ๓. หมี่บักจับ (หมี่หมากจับ) ๔. หมี่กงน้อยมี ๒ ชนิด คือ หมี่กงน้อยห้า หมี่กงน้อยเจ็ด ๕. หมี่ดอกแก้ว ๖. หมี่ขอ ๗. หมี่ใบไผ่ นอกจากทอลายแม่แบบพื้นฐานแล้ว ชาวบ้านจะนำ�ลายแม่แบบมาผสมกันเพื่อให้ได้ลาย ใหม่ขึ้นมา เช่น ลายขอ ดัดแปลงเป็นลายนาค ลายนาคอุ้มหน่วย ลายนาคชูสน ฯลฯ ๓. ผ้าจก จก คือ การควักเส้นไหมหรือเส้นฝ้าย ขึ้นมาจากข้างล่างสอดสลับเป็นลวดลายตามที่ ต้องการ โดยใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วมือยกขึ้น เป็นการทอสลับกับการปัก ซึ่งต้องอาศัยความ ชำ�นาญมากลวดลายของผ้าจก คล้ายกับลายขิด แต่ลายจกจะทำ�สีสลับกันเป็นลายได้ละเอียด มากกว่า ผ้าจกส่วนมากนิยมทำ�เป็นผ้าสไบ (ผ้าเบี่ยง) ที่รู้จักกันดีได้แก่ ผ้าแพรวาของกาฬสินธุ์ นอกจากนั้นยังนิยมทำ�เป็นลายตีนซิ่น ลวดลายอันสวยงามของแพรวานั้น โดดเด่น มี ลักษณะพิเศษซึ่งได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติและจะทอสายหลักใหญ่ ๆ เพียง ๔ – ๕ ลายเท่านั้น เช่น สายดอกกระบวนเอวกิ่ว ลายใบบุ่นหว่าน ลายนาคหัวจุ้ม ลายนาคหัวจุ้มสอง แขน เป็นต้น การเก็บรักษาลวดลายและสืบทอดลวดลายนั้น แต่ละบ้านมักจะทำ�ลวดลายตัวอย่างเก็บ รวมกันไว้ในผ้าฝ้ายสีขาว ขนาดกว้างประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เพื่อ ความสะดวกในการกางดูลวดลายและเก็บรักษา ซึ่งอาจจะมีมากกว่าหนึ่งผืนก็ได้ เรียกว่า “ผ้าแส่ว” เครื่องปั้นดินเผา เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผาเป็ น เครื่ อ งใช้ ที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ วิ ถี ก ารดำ�เนิ น ชี วิ ต มา ยาวนาน นับแต่สังคมมนุษย์เปลี่ยนแปลงการดำ�รงชีวิตแบบเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแหล่งรวมกัน เป็นชุมชนและผลิตอาหารเลี้ยงตนเองและชุมชนเรื่อยมา เครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ที่พบเป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อธรรมดา คาดว่าเป็นสมัยแรกเริ่มกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาไม่ตํ่ากว่า ๓,๕๐๐ ปี มาแล้ว โดยใช้ทั้งในพิธีกรรมและใช้สอยประโยชน์ ในชีวิตประจำ�วันภาชนะดินเผาที่ใช้ในพิธีกรรม จะมีการตกแต่งให้มีความสวยงามมากขึ้น


159

เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน บ้านด่านเกวียน เป็นแหล่งผลิต เครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่ง ที่สำ�คัญของอีสาน เพื่อสนอง ความต้องการของชุมชนและประโยชน์ตามความจำ�เป็นได้อย่างกว้างขวาง ทั้งขนาดบรรจุและ ความสวยงาม เหมาะต่อการใช้งานที่ต้องการความคงทนถาวร เช่น การถนอมอาหาร การหมัก เก็บที่ต้องใช้เวลานานซึ่งเป็นต่อวิถีชีวิตของชาวอีสานในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการผลิตซึ่งทำ�ให้ รูปแบบเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีความสวยงามหลากหลายทั้งรูปแบบ สีสันและความคงทน ถาวร จากสภาพสังคมเกษตรกรรมแบบยังชีพ ทำ�ให้คนในสังคมคิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ จาก วัสดุธรรมชาติเพื่อการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน เครื่องปั้นดินเผาเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นจากภูมิปัญญา ด้วยการใช้ดินที่มีลักษณะพิเศษมาปั้นตกแต่งเป็นภาชนะรูปทรงต่าง ๆ เพื่อการนำ�ไปใช้ เช่น หม้อ โอ่ง ไห แว ตลอดจนอาจจะนำ�ไปใช้ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย โดย ใช้เทคโนโลยีในการเผา อบ เพื่อให้เกิดความคงทนถาวร ต่อมาได้มีการตกแต่งลวดลายเพื่อความ สวยงามเพิ่มขึ้น ดังปรากฎหลักฐานซึ่งพบได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีอยู่ทั่วไป ในปัจจุบันมีพัฒนาการของรูปทรงเครื่องปั้นดินเผาเพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งหลากหลาย เช่น หม้อนํ้า อ่างบัว โอ่ง ไห แจกัน โคมไฟ ถ้วย ชาม ครก สร้อย ตุ๊กตา และอื่นๆ อีกมากมาย เครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินธรรมดา เครื่องปั้นดินเผาแบบเนื้อดินธรรมดา มีการผลิตทั่วไปในภาคอีสานและยังคงใช้วิธีขึ้นรูป ด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม โดยใช้ไม้ลายหน้าแบนตีด้านนอก ประกอบกับหินดุรองรับนํ้าหนักการตี อยู่ด้านใน โดยการตีขยายเนื้อดินหุ้มปิดส่วนก้นภาชนะทำ�ให้ก้นภาชนะมีลักษณะโค้งมนและเผา ในอุณหภูมิตํ่าด้วยเตาแบบเปิดโล่ง ทำ�ให้ภาชนะที่ได้เป็นภาชนะเนื้อดินที่มีความพรุนตัวสูง จึงมี อัตราการซึมของนํ้าอยู่เสมอ ดังนั้นจึงมักผลิตเพื่อประโยชน์ในการปรุงอาหาร เช่น เตาไฟ ที่รอง หม้อ หม้อดินแบบต่าง ๆ มากกว่าเพื่อการเก็บรักษาและการถนอมอาหาร เนื่องจากมีข้อจำ�กัด เรื่องความคงทนและปริมาณบรรจุน้อย เครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้มักไม่มีการทำ�ลวดลายหรือเขียนสี นอกจากนำ�ไปใช้เพื่อการประดับตกแต่ง เช่น กระถางต้นไม้ เครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่ง เครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่พัฒนามาจากเครื่องปั้นดินเผาเนื้อ ธรรมดา เพื่อประโยชน์ใช้สอยในการเก็บรักษาและถนอมอาหาร และเป็นเครื่องใช้ขนาดเล็กใน ครัวเรือน เช่น ไห อ่าง ครก ถ้วยต่าง ๆ ใช้วิธีขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เทคโนโลยีการเผาใช้เตาขุดหรือ เตาก่อ ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ โดยเผาด้วยอุณหภูมิสูง จนเนื้อแกร่งและมีการเคลือบผิว เป็นสีสันต่าง ๆ เพื่อความสวยงามและเพื่อประโยชน์ใช้สอยไปพร้อมกัน


160

แหล่งที่มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแกร่งพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งขายในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาค อีสานทั้งเขตแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช ที่สำ�คัญที่ ๔ แห่ง คือ ๑. บ้านโพนบก อำ�เภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ๒. บ้านกุดปลาค้าว อำ�เภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ๓. บ้านท่าไห อำ�เภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี ๔. บ้านด่านเกวียน อำ�เภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ทั้ง ๔ หมู่บ้าน ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งเพื่อส่งขายในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคอีสาน มีการผลิตสืบทอดกันเรื่อยมาตั้งแต่อดีต บางแห่งก็ยังคงผลิตตามรูปแบบเดิม เพราะยังเป็นที่ ต้องการอยู่ แต่ก็ได้มีการผลิตสิ่งของเครื่องใช้รูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้สอย ของสังคมแบบใหม่ด้วย โลหะกรรม หัตถกรรมประเภทหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่และแสดงให้รู้ว่าคนอีสานรู้จักที่จะนำ�มาใช้ก่อน คนในภูมิภาคอื่น ๆ คือหัตถกรรมประเภทโลหะ มีการค้นพบว่าคนอีสานสามารถทำ�เครื่องมือ เครื่องใช้ด้วยสำ�ริดได้ตั้งแต่ ๓,๖๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลังจากนั้น จึงมีการพัฒนาไปสู่การทำ� เครื่องใช้ด้วยเหล็กซึ่งมีอายุ ๒,๕๐๐ – ๒,๐๐๐ ปี โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นประกอบกับ ภูมิปัญญาท้อง ถิ่นที่ลํ้าลึก เพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำ�วัน โลหะ เครื่องทองเหลือง เครื่องทองเหลืองถือเป็นงานโลหะกรรม ที่มีความสัมพันธ์กับการดำ�รงชีวิตของชาว อีสานมาตั้งแต่อดีตทั้งประโยชน์ใช้สอยและงานพิธีต่าง ๆ การผลิตเครื่องทองเหลืองขั้นตอนส่วน ใหญ่แล้วเป็นแบบดั้งเดิมทั้งการขึ้นรูปที่ทำ�ด้วยมือและการวัดด้วยการคาดคะเนตามประสบการณ์ เครื่องทองเหลืองส่วนใหญ่เป็นภาชนะที่มีภายในกลวงสามารถบรรจุสิ่งของลงไปได้ เครื่องทองเหลือง การผลิตเครื่องทองเหลืองในภาคอีสานร้อยละ ๙๐ เป็นการผลิตแบบดั้งเดิม คือ การหลอมเหลวโลหะผสม โดยใช้วิธีการแทนที่ขี้ผึ้งและทำ�ด้วยมือ การขึ้นรูปและมิติขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์และความชำ�นาญของช่าง ดังนั้นรูปทรงของเครื่องทองเหลืองจึงดูคล้ายคลึงกัน แต่ แตกต่างกันที่มิติ เพราะว่าช่างไม่ได้ใช้เครื่องมือวัดที่มีมาตรฐาน เครื่องทองเหลืองส่วนใหญ่เป็น ภาชนะที่มีภายในกลวง สามารถจะบรรจุสิ่งของได้ รูปแบบของเครื่องทองเหลืองมีอยู่ ๘ ประเภท แบ่งตามลักษณะของรูปทรงและลวดลายได้แก่ รูปทรงกระบอก รูปทรงกระบอกผสมรูปทรงกรวย รูปทรงกรวย รูปทรงครึ่งวงกลม รูปทรงดอกบัวตูม รูปทรงกลม รูปทรงเกลียวซ้อนกัน และรูปทรง มีดปังตอ


161

ปัจจุบันหมู่บ้านผลิตทองเหลืองที่สำ�คัญคือ บ้านปะอาว อำ�เภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี และบ้านหนองบัวน้อย ตำ�บลหนองบัวน้อย อำ�เภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งผลิตงานหล่อ กระดิ่ง และที่บ้านบิง ตำ�บลโชคชัย อำ�เภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ผลิตงานหล่อพระพุทธรูป ทองเหลือง กระบวนการทำ�เครื่องทองเหลือง การทำ�เครื่องทองเหลืองตั้งอยู่บนพื้นบานการหลอมหล่อโลหะผสมตามกรรมวิธีแบบ โบราณ คือ การหลอมหล่อโลหะผสมโดยใช้วิธีแทนที่ขี้ผึ้ง องค์ประกอบของการนำ�เครื่องทองเหลืองของชาวอีสาน ๑. วัตถุดิบ ๑.๑ วัตถุดิบตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินจอมปลวก ดินเหนียว มูลวัวหรือขี้วัว ขี้สูดหรือ ชันโรง ขี้ซี หรือชันฟืน และนํ้า ๑.๒ วัตถุดิบปรุงแต่ง ได้แก่ แกลบ ขี้ผึ้ง ทองเหลือง อะลูมิเนียม และถ่านไม้ ๒. กรรมวิธีการหลอมหล่อเครื่องทองเหลือง การหลอมหล่อเครื่องทองเหลืองประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำ�ดับดังนี้คือ การเต รียมดินละเอียด การปั้นแกนทราย การตากแกนทราย การกลึงแกนทราย การพันแกนทรายด้วย เส้นขี้ผึ้ง การทำ�ลวดลาย การอุดช่องสำ�หรับสวมไม้มอนน้อย การติดเส้นชนวน การหุ้มหุ่นขี้ผึ้งด้วย ดินละเอียดการหุ้มหุ่นด้วยดินหยาบ การตากหุ่นครั้งสุดท้าย การสุมหุ่น การหลอมทองเหลือง การ เททองเหลือง การกะเทาะ พิมพ์ การกลึงแต่งผิวของเครื่องทองเหลืองและการขัดผิวเครื่องทอง เหลือง ๓. เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่นำ�มาใช้ในการหลอมหล่อเครื่องทองเหลืองส่วนใหญ่เป็นเครื่อง มือที่ทำ�จากเศษวัสดุในท้องถิ่น มีขนาดและรูปทรงไม่แน่นอนเพราะว่าเครื่องมือและอุปกรณ์ดัง กล่าวประดิษฐ์ขึ้นตามความพอใจของผู้ใช้แต่ละคน จึงมีความแตกต่างกันเมื่อพิจารณาถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์โดยอาศัยกฎเกณฑ์ด้วยวัสดุที่นำ�มาทำ�เครื่องมือ และประโยชน์ใช้สอยจะสามารถแบ่ง ได้เป็น ๖ ประเภท ได้แก่ - เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทำ�จากไม้ - เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทำ�จากดิน - เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทำ�จากหิน - เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทำ�จากโลหะ - เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทำ�จากโลหะ - เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทำ�จากยาง


162

- เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทำ�จากใยพืช เหล็ก ในภาคอีสานมีการนำ�เหล็กมาใช้ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบโลหะกรรม ที่ทำ�จากเหล็ก เช่น เครื่องใช้และเครื่องประดับกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับ ชุมชนเมืองโบราณตามลุ่มนํ้าต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน มีงานโลหะกรรมที่ทำ�จากเหล็กกระจาย เกือบ ทั่วทุกจังหวัดเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือนและในการเกษตรกรรม เช่น ไถ จอบ เสียม พลั่ว โดยทั่วไปจะใช้วิธีการตีขึ้นรูปด้วยความร้อนวัตถุดิบที่ใช้ คือ เหล็กเหนียว หรือเหล็กกล้า เช่น เหล็ก แหนบรถยนต์ เหล็กพืด และเหล็กรางรถไฟ เป็นต้น ในปัจจุบันอาชีพนี้สามารถทำ�รายได้ให้กับชุมชน จึงมักทำ�เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน และสืบสานอาชีพภายในครอบครัว โดยเทคนิคการผลิตยังคงรูปแบบดั้งเดิมของท้องถิ่น คือ การ ใช้กำ�ลังคน ความชำ�นาญและอุปกรณ์ง่าย ๆ เช่น ค้อน ตะไบ เตาถ่าน ทั่งเหล็ก ทั่งขอ ชนิดของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการตีเหล็ก แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภทคือ ๑. ผลิตภัณฑ์เครื่องมือการเกษตร ใช้สำ�หรบทำ�การเกษตรกรรมทั่วไป ได้แก่ มีด จอบ เสียม พลั่ว ขวาน เป็นต้น ๒. ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ มีดบาง มีดปอกผลไม้ กรรไกร เป็นต้น ๓. ผลิตภัณฑ์จำ�พวกเครื่องมืออุปกรณ์ เช่น เครื่องมือก่อสร้าง ช่างไม้ ช่างตีเหล็ก ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ได้แก่ ค้อน ใบกบ สิ่ว เป็นต้น หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกวัสดุ การตีเหล็กรูปพรรณจะต้องคัดเลือกชนิดของเหล็กที่สามารถตีขึ้นรูปได้เท่านั้น ซึ่งต้อง เป็นเหล็กกล้าเหนียว ซึ่งมีทั้งความแข็งและความเหนียว มีเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนในเนื้อเหล็กสูง สามารถทำ�การชุบแข็งได้ โดยทั่ว ๆ ไปในการผลิตเหล็กรูปพรรณช่างตีเหล็กจะเลือกใช้เหล็ก ดังต่อไปนี้ ๑. เหล็กฝาถังนํ้ามัน คือ เหล็กที่นำ�เอามาจากถังนํ้ามันขนาด ๒๐๐ ลิตร ใช้สำ�หรับตี เหล็กรูปพรรณที่มีความบางและใช้นำ�มาทำ�ปลอกมีด เสียม เหล็ก ชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง ๒. เหล็กตะไบ คือ เป็นตะไบที่ใช้การไม่ได้แล้ว เมื่อนำ�มาทำ�เป็นรูปพรรณจะมีคุณภาพดี มาก ส่วนมากจะนำ�มาตีเป็นเหล็กขูดเหล็กหรือตีเป็นสิ่วเจาะไม้ ๓. เหล็กแหนบรถยนต์ เป็นเหล็กแหนบซึ่งใช้การไม่ได้แล้ว มีราคาถูก มีความแข็งและ เหนียว ส่วนมากใช้ทำ�เป็นมีดพร้าชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการเกษตร ๔. เหล็กพืด เป็นเหล็กซึ่งขายในท้องตลาดทั่วไป มีความแข็งน้อยกว่าเหล็กแหนบแต่


163

ราคาสูงกว่า สามารถทำ�เป็นรูปพรรณได้ง่าย ส่วนมากใช้ทำ�มีดโบราณ (เครื่องประดับ) ทำ�เสียม ทำ�พลั่วและมีด ๕. เหล็กรางรถไฟ เหล็กชนิดนี้ได้มาจากรางรถไฟแบบเก่า มีราคาพอสมควรแต่มีไม่มาก ในท้องตลาดมีความแข็งแรงน้อยกว่าเหล็กแหนบเล็กน้อย ส่วนมากใช้ทำ�ขวานชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันนี้ช่างตีเหล็กจะนิยมใช้เหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบ ใช้ในการตีเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ มากที่สุดเพราะเหล็กแหนบมีความแข็ง และเหนียวมากอีกทั้ง ยังตีขึ้นรูปได้ง่าย หาซื้อได้ง่ายและราคาก็ไม่แพงมากนัก เงิน เครื่องเงินเป็นโลหะกรรมที่มีการผลิตทั่วไปในภาคอีสาน จะผลิตเป็นเครื่องใช้และเครื่อง ประดับ มีการสร้างรูปแบบ และเอกลักษณ์ไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ กันส่วนใหญ่การผลิต จะอาศัย ความชำ�นาญและลวดลายที่ถ่ายทอดกันในหมู่บ้าน การผลิตยังคงรูปแบบอุตสาหกรรมในครัว เรือน ซึ่งหลายท้องถิ่นจะยึดถือเป็นงานควบคู่ไปกับการทำ�นาคนในหมู่บ้านทุกคนสามารถทำ�เป็น ทุกคน เช่น การทำ� “ประเกือม” ที่บ้านเขวาสินรินทร์ และบ้านสดอ บ้านโชค บ้านนาโพธิ์ เขต อำ�เภอเมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางด้านการผลิตและลวดลายสลักที่สั่งสมมาแต่ โบราณที่มีความอ่อนช้อยสวยงาม 107 ขั้นตอนในการทำ�เครื่องเงิน “ประเกือม” ๑. ขั้นเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์ในการทำ�เครื่องเงิน “ประเกือม” ได้แก่ ๑.๑ ชัน ๑.๒ ฆ้อนตี หรือ ฆ้อนตอก ๑.๓ คีมจับ ๑.๔ เงิน (เม็ดเงิน) ๑.๔ ตาชั่ง ๑.๖ กรรไกร ๑.๗ เครื่องมือแกะลาย ๑.๘ เหล็กตัด ๑.๙ เครื่องรีดโลหะ ๑.๑๐ นํ้ายาประสาน ๑.๑๑ เครื่องประสานหรือเครื่องบัดกรี ๑.๑๒ แท่นเหล็กขึ้นรูป

107 “ความเชื่อ” เกี่ยวกับเครื่องเงินในสมัยก่อนนั้น ชาวบ้านมักนิยมใส่สร้อยเงิน ที่ร้อยลูกประคำ� สลับกับตะกรุดลงยันต์ ลงเวทย์มนต์คาถาถือว่า

เป็นของศักดิ์สิทธิ์เมื่อมีไว้กับตัวทำ�ให้เกิดความ สบายใจเป็นสิริมงคลกับตนเอง มีความสุขความเจริญซึ่งถือว่าเป็นเครื่องรางของขลัง.


164

๑.๑๓ เบ้าหลอม ๑.๑๔ เหล็กเจาะ ๒. ขั้นตอนการทำ�เครื่องเงิน “ประเกือม” พอสรุปได้ดังนี้ ๒.๑ นำ�เม็ดเงินมาหลอมในเบ้าหลอม ๒.๒ เทเงินที่หลอมแล้วลงในพิมพ์ซึ่งเป็นแท่นเหล็ก ๒.๓ นำ�เงินออกจากพิมพ์ไปรีดให้เป็นแผ่นบางยาว ๒.๔ ตัดแผ่นเงินที่รีดแล้วให้เป็นชิ้น ๆ ตามขนาดที่ต้องการ ๒.๕ เชื่อมแผ่นเงินที่ตัดแล้วเข้าด้วยกัน ด้วยนํ้ายาประสานให้เป็นรูปทรงตาม ที่กำ�หนดไว้ ๒.๖ นำ�มาตีขึ้นรูปให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ ๒.๗ ตกแต่งริมและขอบโดยใช้เส้นลวดขดเป็นวง วางปลายทั้งหัวและท้ายของ ลูกประเกือมที่ได้รูปทรงแล้ว ๒.๘ นำ�ลูกประเกือมที่ใส่ขอบแล้วไปต้มให้ขาวในนํ้า ซึ่งประกอบด้วยนํ้า สารส้มและเกลือในอัตราส่วนพอเหมาะสมช้เวลาต้มประมาณ ๑๕ นาที ๒.๙ นำ�ชันมาอุดรูตรกลางภายในลูกประเกือม เพื่อให้ลูกประเกือมมีรูปทรงที่ คงตัว ๒.๑๐ ใช้เครื่องมือแกะสลักลายบนลูกประเกือม ๒.๑๑ ใช้เหล็กเป็นแท่งเผาไฟร้อนเจาะเข้าไปในชัน ซึ่งอยู่ตรงกลางของลูก ประเกือมให้เป็นรู เพื่อใช้ร้อยเส้นด้ายหรือเอ็น ๒.๑๒ ขัดลูกประเกือมให้ขาวด้วยแปรงในนํ้าอุ่นที่ผสมผงซักฟอก ๒.๑๓ หากต้องการให้มีสีดำ�ให้นำ�ไปย้อมในนํ้าย้อมผม แล้วขัดส่วนลายที่นูน ขึ้นออกร่องที่ลึกจะติดสีดำ� ภูมิปัญญาและ ความเชื่อ อีสานเป็นสังคมเกษตรกรรมมีความผูกพันกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดและสืบทอดกันมา ยาวนาน ทั้งการสั่งสมความคิด ภูมิปัญญา ศรัทธาและความเชื่อในหลายรูปแบบ เช่น ความเชื่อใน เรื่องบุญ - บาป ขวัญ - วิญญาณ เทวดา - ผีและสิ่งลึกลับอื่น ๆ


165

ผีฟ้า ผีแถน ชาวอีสานเชื่อว่าผีฟ้าหรือผีแถบเป็นเจ้าแห่งผีเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในตำ�นานเรื่องขุนบรมได้กล่าวถึงการดำ�เนิดโลกมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า เมื่อขุนบรมลง มาครองเมืองได้ ๙ ปีเกิดเครือเขากาดขึ้นในบริเวณกลางสระนํ้าและไชชอนไปตามต้นไทรใหญ่จน บดบังแสงอาทิตย์ทำ�ให้โลกอยู่ในความมืด เดือดร้อนถึงผีแถนหรือแถนฟ้าคื่น ผู้ส่งให้ขุนไล ขุนใย และแม่ย่าง่ามลงมาตัดเครือเขากาดพร้อมกับให้แถนชี แถนสิ่วเจาะผลนํ้าเตาปุ้ง (ผลนํ้าเต้าขนาด ใหญ่) ๒ ผล ทำ�ให้มนุษย์สัตว์สิ่งของพืชพันธุ์ต่าง ๆ หลั่งไหลออกมาจากนํ้าผลนํ้าเต้าปุ้งนั้น กล่าว กันว่าผีฟ้าจะคอยช่วยเหลือมนุษย์เมื่อยามประสบภัยพิบัติ และเป็นผีที่อยู่ในระดับสูงกว่าผีชนิดอื่น ๆ ชาวอีสานทุกท้องถิ่นจึงนับถือผีฟ้ากันอย่างจริงจัและมีพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับผีฟ้าหลายลักษณะ เช่น การทำ�บุญบั้งไฟเดือนหก เป็นต้น 108

แถน เป็นคำ�เรียกโดยความหมายรวมหมายถึง เทวดา ซึ่งมีอยู่หลายระดับ แถนเป็น เทพเจ้าที่อยู่บนสวรรค์ชั้นสูงสุดบนฟ้า มีอำ�นาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่างในโลก และจักรวาล สิ่งที่มี ชีวิตและไม่มีชีวิต อยู่ใต้อำ�นาจของแถนทั้งสิ้น แถนที่เป็นใหญ่หรือแถนหลวงนั้นเชื่อกันว่าเป็น พระอินทร์ ผีฟ้าหรือผีแถนมักจะมีเชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น ผีหลวง ผีไท้ ผี ไทเทิง แถนแนน แถนคอ แถนเคาะ แถนชั่ง แถนเถือกหรือฟ้าแถน เป็นต้น ซึ่งชื่อดังกล่าวมักจะมี ความหมายโดยนัยที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำ�เนินชีวิตของชุมชนนั้น ๆ ด้วย เช่น ๑. แถนหลวง เป็นหัวหน้าของแถนทั้งหมดบนฟ้า มีหน้าที่ กำ�กับ ควบคุม ดูแลแถน ต่างๆ ให้ปฏิบัติหน้าที่ รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมาย บริหารอย่างยุติธรรมและเที่ยงธรรม ตาม กฎของแถน ๒. แถนปัวกาลาวี มีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดิน นํ้า ลม (อากาศ) ไฟ (อุณหภูมิ) ให้เป็นไป ตามฤดูกาล ๓. แถนแนน มีหน้าที่เป็นผู้กำ�หนดชะตาชีวิตและส่งมนุษย์ให้มาเกิดในโลกตามชาติพันธุ์ ต่างๆ ๔. แถนซาด มีหน้าที่เป็นผู้กำ�หนดชะตาชีวิตของมนุษย์ สัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กำ�หนด อายุให้สั้น หรือยาว ซึ่งแถนซาดมอบให้แม่เบ้าแม่นางเป็นผู้ทำ�ขวัญใส่ไว้ในจุดต่างๆในร่างกาย ทำ�ให้มีชีวิตดำ�รงอยู่ได้ ๕. แถนบุญ มีหน้าที่เป็นผู้บันดาลความรํ่ารวย ความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงาม 108 ผีฟ้า หรือ ผีแถน นั้นชาวอีสานมีความเชื่อว่าเป็นเทวดามากกว่าเป็นผี ผีฟ้าจึงเป็นผีที่อยู่ระดับสูงกว่าผีชนิด อื่นๆ ส่วนแถนนั้น มีความเชื่อว่า

เป็นคำ�เรียกรวมถึงเทวดา และแถนที่ใหญ่ที่สุดคือ “แถนหลวง” ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระอินทร์.


166

๖. แถนก๊อ มีหน้าที่เป็นผู้ทำ�ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือทำ�ให้เจ็บป่วย ๗. แถนเคาะ มีหน้าที่ทำ�ให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยบันดาลให้เกิดเคราะห์ร้ายหรือภัยพิบัติ แก่มนุษย์ ๘. แถนสิง มีหน้าที่รักษาตระกูลสิง ให้ผู้อยู่ในตระกูลสิงมีความสุขสุขตั้งแต่เกิดจนตาย แล้วขึ้นไปอยู่บนฟ้าตามที่แถนสิงจัดให้ (สิงหมาย ตระกูล แซ่) ๙. แถนสัด มีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ ลงโทษคนไม่ดีและคุ้มครอง คนดีให้พ้นภัย ๑๐. แถนนุ่งขาว มีหน้าที่ เป็นผู้ให้แสงสว่าง สติปัญญา ความเฉลียวฉลาด พรสวรรค์ ให้ มนุษย์ ๑๑. แถนแม่นาง มีหน้าที่ทำ�ให้มนุษย์เติบโต บันดาลให้มีนํ้านมเลี้ยงทารก เป็นต้น พญานาค ตามตำ�นานอุรังคธาตุ กล่าวถึงพญานาคสองตัวอาศัยอยู่ที่หนองแส ประเทศจีนเกิด ผิดใจกันเรื่องแบ่งปันอาหารทำ�ให้สู้รับกันเพื่อครองความเป็นใหญ่อยู่ถึงเจ็ดปีสร้างความเดือดร้อน ไปทั่วทั้งมนุษย์ สัตว์และเทวดา เมื่อพระอินทร์ทราบเรื่องจึงตรัสให้หยุดรบกัน และมีเทวราชโองการว่าให้นาคทั้งสอง สร้างแม่นํ้าออกจากหนองแสกันคนละสาย พญาสุทโทธนาคขุดดินเป็นคลองลึกผ่านเทือกเขาบ้าง อ้อมโค้งภูเขาบ้าง จนถึงตอนใต้จังหวัดหนองคายเกิดหลงทิศจึงย้อนขึ้นไปทางเหนือ และวกกลับ เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า “บึงโขงหลง” หรือบึงของหลงปัจจุบัน คือท้องที่อำ�เภอบึงโขง หลง จังหวัดหนองคาย โขงน่าจะมาจากคำ�ว่าโค้ง นอกจากนี้ยังได้เรียก สหาย คือ พญาชีวายนาค และพญาธนมูลนาคมาช่วยขุดคลองที่พญาชีวายนาคขุดได้ กลายเป็นแม่นํ้าชีในเวลาต่อมา ส่วน คลองที่พญาธนมูลนาคมาช่วยขุดกลายเป็นแม่นํ้ามูล แม่นํ้า ๓ สายที่เป็นแม่นํ้าสายหลักของชาว อีสานและเชื่อกันว่า แม่นํ้าทั้งสามสายยังคงเป็นที่อยู่ของพญานาคและการเกิดบั้งไฟพญานาคด้วย เมื่อสร้างแม่นํ้าโขงเสร็จแล้วพญาสุทโธนาคจึงไปเฝ้าพระอินทร์ ณ ดาวดึงส์ทูลขอพระอินทร์ว่า ตัวข้าเป็นเชื้อชาติพญานาคถ้าจะให้อยู่ในโลกมนุษย์นานก็ไม่ได้ ขอขึ้นลงระหว่างบาดาลและโลก มนุษย์ ๓ แห่ง และทูลถามถึงพื้นที่ที่แน่นอนว่าจะให้ครอบครอง ณ ที่ใด พระอินทร์จึงกำ�หนดให้มี รูปพญานาค ๓ แห่ง คือ ที่ธาตุหลวง นครเวียงจันทร์ ที่หนองคันแท และที่พรหมประกายโลก (คำ� ชะโนด) พญานาค การสร้างเมืองชาวเมืองหนองคายและชาวเวียงจันทร์ยังมีความเชื่อกันว่าเวียง จันทร์ยังมีความเชื่อกันว่าเวียงจันทร์และเวียงคำ� (ตำ�บลเวียงคุกจังหวัดหนองคาย) นั้น พญานาค เป็นผู้สร้างในตำ�นานว่าท้าวจันอ้วยส่วย (พุงป่อง) พ่อค้าจากเมืองศรีโคตรบูรณ์ขึ้นมาค้าขายที่นี้


167

และจับเอี่ยน (ปลาไหล) ได้แต่เกิดสงสารเลยปล่อยปลาไหลนั้นไปกลายเป็นพญาสุวรรณนาคและ เสกให้เป็นคนรูปร่างงามสร้างเมืองจันทบุรี (เวียงจันทร์) ให้ครองเมืองและสมรสกับนางอิน ส่วน ธิดาพ่อค้าคำ�บางอภิเษกเป็นพญาจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ (บุรีจันอ้วยส่วย) เจ้าเมืองจันทบุรีทั้งเรียก บริวารมาปกปักษ์รักษาด้วยรวม ๑๔ คน เมืองที่พญานาคสร้างมีล้างสอง หนองสาม สามสี่ ศรีห้า (ศรีห้า คือ ศรีเมือง ๕ แห่งได้แก่ นาเหนือ นาใต้ พานพร้าว อำ�เภอศรีเชียงใหม่ หาดทรายพ่อหลำ� แล หาดทรายหน้าโรงแรมล้านช้างและตุตำ� ตำ�บลเวียงคุก จังหวัดหนองคาย) นอกจากนี้คนอีสานยังเชื่อว่าพญานาคเป็นสัญลักษณ์ทางนํ้าและสัญญลักษณ์แห่งพลัง ซึ่งคุ้มครองป้องกันอันตรายได้ 109 ความเชื่อเรื่องพญานาค ตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้น มีลักษณะ ตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ� หรือบ้างก็มี7สี และที่สำ�คัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำ�พวกนี้จะสืบเชื้อสายมา จาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียณ สมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศรีษะ พญานาค นั้นมีทั้งเกิดในนำ�และบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและ โทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม ความเชื่อเกี่ยวพันกับธรรมชาติ จะได้ยินอยู่เสมอว่า ปีนี้นาคให้นํ้าเท่าไร กี่ตัว ฝนฟ้าดี หรือไม่ดี นาคให้นํ้าสร้างความอุดม สมบูรณ์แก่สรรพชีวิต ทั้งปวง พญานาค ที่อาศัยอยู่ในสวรรค์ใต้นํ้า ตามคติฮินดู พญาอนันตนาค ราช แท่นบรรทมของพระนารายณ์ ที่นับถือเป็นเทพเจ้า พญานาค เปรียบได้กับท้องนํ้าทั้งหลายใน จักรวาล นาคมีอิทธิฤทธิ์บันดาลให้ฝนตกหรือไม่ตกก็ได้ ตลอดจนสามารถแปลงกายเป็นเมฆฝนได้ พญานาค...เป็นที่มาของแม่นํ้าต่างๆ อันหมายถึงผู้รักษาพลังแห่งชีวิตทั้งหลาย ตามความเชื่อของชาวพุทธ เทวดาแห่งนํ้า คือ วรุณและสาคร ที่ต่างก็เป็นจอมแห่ง นาคราช นอกจากที่เกี่ยวข้องกับนํ้าบนโลกแล้ว นาคยังเกี่ยวข้องกับนํ้าในสวรรค์อีกด้วย คน โบราณเชื่อว่า สายรุ้ง กับ นาค เป็นอันเดียวกัน ที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ข้างหนึ่ง ของรุ้งจะดูดนํ้าจากพื้นโลก ขึ้นไปข้างบน เมื่อถึงจุดที่สูงสุดก็จะปล่อยนํ้าลงมาเป็นฝนที่มีลำ�ตัวของ นาคเป็นท่อส่ง ในตำ�นานสิงหนวัติ กล่าวว่า เมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติอพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาค แปลง กายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้าง คูเมือง ๔ ด้าน เป็น เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมาเมื่อยกทัพปราบเมืองอื่นได้ และรวมดินแดนเข้า 109 สุจิตต์ วงษ์เทศ. นาค ในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์. หน้า ๕.


168

ด้วยกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนาคราช ที่เห็นได้ชัดก็ คือ ที่ปราสาทพนมรุ้ง จะมีคูเมืองที่ เป็นสระนํ้า ๔ ด้าน รอบปราสาทและมี พญานาค อยู่ด้วย ตามความเชื่อของคนสมัยโบราณ นาค จะมีความหมายเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากนํ้า เช่น การสร้างศาสนสถานไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ นาค ที่ราวบันได จึงมี พญานาค ซึ่งตามความเป็นจริง (ความเชื่อ) การสร้างต้องสร้างกลางนํ้า เพื่อให้ดู เหมือนว่าศาสนสถานนั้นลอยอยู่เหนือนํ้า แต่ก็ไม่ต้องสร้างจริงๆ เพียงแต่มีสัญลักษณ์ พญานาค ไว้ เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น แม้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ก็จะมีอยู่ในราศีเกิด เช่นของคนนักษัตรปีมะโรง ที่มีความหมาย ถึง ความยิ่งใหญ่และพลังอำ�นาจ ที่มี พญานาค เป็นสัญลักษณ์ ความเชื่อในดินแดนต่างๆ ของไทย ภาคเหนือ มีตำ�นานเกี่ยวกับพญานาคอยู่เช่นกัน ดังในตำ�นานสิงหนวัติซึ่งเป็นตำ�นานเก่าแก่ของ ทางภาคเหนือเอง “เมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติอพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาคแปลง กายมาช่วย ชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้างคูเมืองเป็นเมืองนาค พันธุ์สิงหนวัติ ต่อมายกทัพปราบเมืองอื่นได้และรวมดินแดนเข้าด้วยกันจึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้น โยนกนคร ต้นวงศ์ของพญามังรายผู้ก่อกำ�เนิดอาณาจักรล้านนานั่นเอง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาคล้วนมีส่วนร่วมในตำ�นานอย่างชัดเจน เช่น ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่นํ้าโขงเชื่อ ว่า แม่นํ้าโขงเกิดจากการแถตัวของพญานาค นอกจากนี้ยังรวมถึงบั้งไฟพญานาค โดยมีตำ�นานว่า ในวันออกพรรษาหรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแห่งแม่นํ้าโขง ต่างชื่นชมยินดี จึงเฮ็ด (จุด) บั้งไฟถวายการเสด็จกลับของพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นประเพณีทุก ปี และเนื่องจากเชื่อว่าพญานาคเป็นเจ้าบาดาล เป็นผู้ให้กำ�เนิดนํ้า ดังนั้นเมื่อชาวนาจะทำ�พิธีแรก ไถนา จึงต้องดูวัน เดือน ปี และทิศที่จะบ่ายหน้าควายเพื่อไม้ให้ควายลากไถไปในทิศที่ทวนเกล็ด นาค ไม่อย่างนั้นการทำ�นาจะเกิดอุปสรรคต่างขึ้น ลูกไฟแดงอมชมพู ที่พุ่งขึ้นจากแม่นํ้าโขง สู่ท้องฟ้าในวันออกพรรษา ที่บริเวณเขต อ.โพนพิสัย เห็นจนชินและเรียกสิ่งนี้ว่า “บั้งไฟพญานาค” เพราะลูกไฟที่ว่านี้จะเป็นลูกไฟ สีแดง อมชมพู ไม่มีเสียงไม่มีควัน ไม่มีเปลว ขึ้นตรง ไม่โค้งและตกลงมาเหมือนลูกไฟทั่วไป จะดับกลาง อากาศ สังเกตได้ง่ายจากลูกไฟทั่วไป จะเกิดขึ้นในเขตตั้งแต่ บริเวณค่าย ตชด. (อ่างปลาบึก), วัดหิน หมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่, ท่านํ้าวัดหลวง ต.วัดหลวง เรื่อยลงไปจนถึง เขตบ้านนํ้าเป กิ่ง อ.รัตนวาปี แต่ก่อนจะเห็นเกิดขึ้นเฉพาะท่านํ้าวัดหลวง, วัดจุมพล, วัดไทย และท่านํ้าวัดจอมนาง อ.โพนพิสัย แต่ทุกวันนี้จะเห็นเกิดที่บ้านนํ้าเป, บ้านท่าม่วง, ตาลชุม, ปากคาด และ แก่งอาฮง อ.บึงกาฬ


169

ก่อนนี้คน อ.โพนพิสัย เห็นแล้วเฉยๆ เพราะเห็นประจำ�ทุกปีในวันออกพรรษา ผู้เขียน สมัยเมื่ออายุยังน้อย เมื่อปี ๒๕๐๘ (เป็นคน อ.โพนพิสัย) เมื่อวันออกพรรษา ได้ไปนั่งดูอยู่ที่ท่านํ้า วัดไทย อ.โพนพิสัย และได้ลงเรือไปไหลเรือไฟด้วย เมื่อไหลเรือไฟมาถึงบริเวณท่านํ้าวัดหลวงก็จะ เริ่มเห็นลูกไฟดังกล่าวพุ่งขึ้น จากแมนํ้าโขง ขึ้นสูงไม่เกิน ๒ – ๓ วา นานๆ จะพุ่งขึ้นที จะขึ้นก็ต่อ เมื่อประชาชนบนฝั่งเวียนเทียนเสร็จ เงียบ ลูกไฟถึงจะขึ้นให้เห็น แต่ทุกวันนี้ เมื่อ ๑๘.๐๐ น. ก็ขึ้น แล้วขึ้นสูงถึง ๒๐๐ – ๓๐๐ เมตร และขึ้นแต่ละทีก็มากด้วย ตั้งแต่ ๕ – ๒๐ ลูกติดต่อกัน สังเกตว่า ลูกไฟนี้หากขึ้นกลางโขงจะเบนเข้าหาฝั่ง หากขึ้นใกล้ฝั่งจะเบนออกกลางโขง ลูกไฟนี้จะขึ้นเฉพาะวันออกพรรษาเท่านั้น แต่ถ้าหากวันพระไทยไม่ตรงกับวันขึ้น ๑๕ คํ่า ของลาว ลูกไฟนี้ก็จะไม่ขึ้น ปีไหน (วันออกพรรษา) ตรงกันทั้งไทย และ ลาว ลูกไฟนี้จะขึ้นมาก เชื่อกันว่าที่ เขต อ.โพนพิสัย มีเมืองบาดาล อยู่ใต้พื้นดินและเป็นทางออกสู่เมืองมนุษย์ เรียกว่า เป็นเมืองหน้า ด่านจึงมีบั้งไฟพญานาค เกิดขึ้นเป็นประจำ�ที่นี้ ส่วนเมืองหลวงนั้นอยู่ที่ แก่งอาฮง อ.บึงกาฬ ที่ว่า อย่างนั้นเพราะที่แก่งอาฮง เมื่อหน้าแล้งจะมีสะดือแม่นํ้าโขง ตลอดความยาวของแม่นํ้าโขง ที่ไหล ผ่านหลายประเทศ ตรงที่ลึกที่สุดก็อยู่ที่แก่งอาฮง เมื่อหน้าแล้ง ชาวประมงวัดโดยใช้เชือกผูกก้อน หินหย่อนลงไปได้ ๙๙ วา ที่นี้จะมีลูกไฟขึ้นเป็นสีเขียวนวล บ่อยครั้งที่ชาวลุ่มแม่นํ้าโขงต้องเสียชีวิต ลงในระหว่างการเดินทางทางนํ้า พวกเขาเชื่อว่าเป็นการกระทำ�ผิดต่อเจ้าแม่สองนาง หรือ เทพเจ้าทางนํ้า จึงถูกลงโทษ เหตุนี้เรียกว่า “เงือกกิน” “เงือก, งู” เป็นสิ่งเดียวกันกับพญานาค แต่พญานาคนั้นมีภพเป็นที่ อยู่อีก มิติหนึ่ง สามารถแปลงร่างได้หลายชนิด แปลงกายเป็นมนุษย์ หรือ อะไรก็ได้ เพียงแค่คิด เท่านั้นรูปร่างก็เปลี่ยนไปแล้ว จึงได้ปรากฏอยู่บ่อยๆ ว่ามีคนเห็นงูใหญ่ หรือเห็นคนเดินลงไปในนํ้า หรือหลายครั้งที่มีคนพบรอยประหลาดแต่ก็เชื่อว่าเป็นรอยพญานาคที่เกิด ขึ้นในเขต อ.โพนพิสัย หรือที่อื่นๆ แม้แต่กลางกรุงเทพ ฯ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่หากคิดว่าทำ�ไมและเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น และทำ�ไมจะต้องเกิดขึ้นเฉพาะในวันออกพรรษาเท่านั้น และจะต้องตรงกับวันขึ้น ๑๕ คํ่า ของลาว จึงเชื่อได้ว่าพญานาค มีสัญชาติเชื้อชาติ ลาว ถึงแม้จะเกิดขึ้นทางฝั่งไทยก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อ และเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่นํ้าโขงที่แท้จริง เพราะลูกไฟ ประหลาดหรือที่เรียกว่า “บั้งไฟพญานาค” นี้เกิดขึ้นเฉพาะในเขต จ.หนองคายเท่านั้น ตามแนว แม่นํ้าโขง ไม่มีขึ้นที่อื่นแม้จะอยู่ตามริมแม่นํ้าโขงเช่นกัน จึงนับได้ว่าหนองคายกับเวียงจันทน์ สมัย ก่อนนั้นการปกครองและการสร้างเมืองโดยพญานาค จึงได้รับอิทธิพลนี้เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะถูกแยก การปกครอง และแยกประเทศออกจากกัน แต่ในความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ก็เป็นพื้นที่เดียวกัน ตำ�นานประเพณีต่างๆ ของคนแถบลุ่มแม่นํ้าโขง จะเกี่ยวข้องกับพญานาคกันทั้งนั้น เพราะ พญานาค หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร และความเป็นอยู่ของมนุษย์ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นก็เพื่อ ทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับ พญานาค ก่อนว่ามีความเป็นมา


170

อย่างไร และ สำ�คัญอย่างไร กับเมืองหนองคาย-เวียงจันทน์ และทำ�ไม “บั้งไฟพญานาค” จึง ได้เกิด ขึ้นเฉพาะเขต จ.หนองคาย เท่านั้น และที่สำ�คัญจะเกิดขึ้นเฉพาะวันขึ้น ๑๕ คํ่า ที่ตรงกันระหว่าง ไทย - ลาว หากปีไหนแปดสองหนบั้งไฟพญานาค ก็จะเลื่อนไปขึ้นในวันพระลาว (๑๕ คํ่า ลาว) เป็น เรื่องที่ท้าทายให้มาดูมหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่นํ้าโขง บั้งไฟพญานาคว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำ�ไมจึงต้อง เกิดในวันดังกล่าวเท่านั้น ใครทำ�เพื่ออะไร และ ได้อะไรจากการกระทำ�ดังกล่าว เชื่อว่าหลายคนยัง ต้องการไปพิสูจน์ความมหัศจรรย์นี้อยู่ (ตำ�นานพระพุทธศาสนา กล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้น ไปโปรดพระมารดา บนดาวดึงส์ ครบ ๓ เดือน เมื่อเสด็จกลับโลกมนุษย์ พญานาคได้เนรมิตบันได แก้ว เงิน ทอง เสด็จลงมา มนุษย์ เทวดา พญานาค ได้ฉลองสมโภชด้วยการจุดบั้งไฟถวาย โดย เฉพาะเหล่าพญานาค ดังนั้นต่อมาเหล่าพญานาคจึงได้ถือเอาวันออกพรรษาเป็นวันสำ�คัญ) หมอลำ�ผีฟ้า110 การลำ�ผีฟ้า คือการรักษาผู้ป่วยของชาวอีสาน โดยผู้ลำ�จะทำ�หน้าที่คล้ายเป็นร่างทรง เพื่อติดต่อให้ผีมาช่วยเหลือเยียวยารักษาไข้ให้กับผู้ป่วย การอยู่กับผีโดยการลำ�รักษาเป็นวิธีการ ที่ชาวบ้านชอบมาก นอกจากจะได้มีการรวมญาติแล้วยังมีการร้องรำ�ทำ�เพลงกันอย่างสนุกสนาน ด้วยการลำ�รักษา แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ ๑. ลำ�ทรง การรักษาด้วยลำ�ทรงเป็นวิธีการแรกชาวบ้านเลือกผีให้เจ็บป่วยด้วยการลำ� ส่องดูว่าเป็นผีที่อยู่ในโลกมนุษย์ เช่น ผีเมือง ผีภู ผีป่า ผีตาแฮก ผีเชื้อ ผีบ้าน ผีปู่ตา ผีนํ้า หรือไม่? ………… หัวหน้าคณะลำ�ทรงจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของคนไข้มาเข้าทราง จากนั้นจะ ให้ลูกน้องเป็นผู้ถาม เช่น ถามว่าเจ้าเป็นผีอะไร?….. มาจากไหน?…. มาทำ�ให้คนไข้เจ็บป่วยด้วยเหตุ ใด?… หรือญาติพี่น้องไปทำ�ผิดอันใด ผีที่มาเข้าทรงก็จะบอกว่าทำ�ผิดอันใด และต้องทำ�การขอขมา อย่างไร เครื่องเซ่นไหว้มีอะไรบ้าง …. ๒. ลำ�ผีฟ้า การรักษาด้วยการลำ�ผีฟ้ามีอยู่ ๒ สาเหตุ คือรักษาด้วยลำ�ทรงแล้วไม่หาย เนื่องจากผีต่าง ๆ ไม่ยอมรับการขมาจำ�ต้องเชิญผีฟ้ามาช่วยรักษาเยียวยา เพราะผีฟ้ามีอิทธิฤทธิ์ มากกว่า อีกสาเหตุหนึ่งคือเมื่อลำ�ส่องดูแล้วปรากฎว่าอาการเจ็บป่วยนั้นเป็นการผิดต่อผีฟ้าก็จะ เข้าทรางอัญเชิญผีฟ้ามารักษาการรักษาด้วยผีฟ้าจงแก่กล้ากว่าลำ�ทรง นอกจากนี้ยังต้องมีข้อห้าม (ขะลำ�) มากมาย เช่นห้ามใครมายืมหรือขอสิ่งขอในบ้าน เป็นต้น 110 การรักษาด้วยผีฟ้ามีอยู่ ๒ สาเหตุ คือ รักษาด้วยลำ�ทรงแล้วไม่หาย ผีต่างๆ ไม่ยอมยกโทษให้หรือผีมีความแก่กล้าเกินไป ไม่ยอมรับการขอ

ขมา จำ�เป็นต้องเชิญผีฟ้าลงมาช่วยรักษาเยียวยา เพราะผีฟ้ามีอิทธิฤทธิ์มากกว่า เป็นผีที่กำ�หนดชะตาชีวิตมนุษย์และอยู่เหนือกว่าผีทั้งปวง อีกอย่างหนึ่งเมื่อลำ�ส่อง (การดูหมอเพื่อการวินิจฉัยปัญหาของชาวอีสาน) ดูแล้วปรากฏว่าอาการเจ็บป่วยนั้นเป็นการผิดต่อผีฟ้า ไม่ใช่ผีใน โลกมนุษย์ ก็จะเข้าทรงอัญเชิญผีฟ้าลงมารักษา การรักษาด้วยลำ�ผีฟ้าจึงแก่กล้ากว่าลำ�ทรง นอกจากนี้การลำ�ผีฟ้ารักษายังมีข้อห้าม (ขะลำ�) มากมาย เช่น ห้ามใครยืมของในบ้าน ห้ามใครมาขอสิ่งของ ห้ามผู้ชายมาข้องแวะแตะต้องคนไข้.


171

ผีปู่ตา ชาวอีสานเชื่อกันว่าผีปู่ตาเป็นวิญญาณของบรรพชนประจำ�หมู่บ้านและชุมชนจะร่วมกัน สร้างศาลปู่ตาหรือชาวอีสานเรียกว่าตูบตาปู่ ขึ้นประจำ�ทุกหมู่บ้านผีปู่ตาจะคอยคุ้มครองสมาชิก ทุกคนในหมู่บ้านรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าผีปู่ตาสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ดลบันดาลให้สิ่งที่ชาวบ้านปรารถนาเป็นจริงอีกด้วย ตูบปู่ตาจะต้องสร้างบนพื้นที่ที่เป็นเนินสูงโนนโคกหรือดอนซึ่งนํ้าท่วมไม่ถึง มีสภาพป่า ไม้ หนาทึบ ร่มครึ้ม มีสัตว์ป่าชุกชนหลากหลายพันธุ์ เสียงร้องของสัตว์ประสานกับเสียงเสียดสีของ ต้นไม้ ทำ�ให้เกิดบรรยากาศที่น่าสะพรึงกลัวเพื่อทำ�ให้บริเวณศาลปู่ตา ดอนปู่ตาหรือดงปู่ตาดูขลัง และศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นศาลปู่ตาหรือตูบตาปู่ที่นิยมสร้างมี ๒ ลักษณะคือ ๑. ใช้เสาหลักเพียงต้นเดียวเหมือนศาลพระภูมิทั่ว ๆ ไปแล้วสร้างเป็นเรือนยกบนปลาย เสา ๒. ใช้เสาสี่ต้นแล้วสร้างโรงเรือนหรือศาลให้มีขนาดเล็กหรือใหญ่ตามต้องการ โดยทั่วไป จะสร้างให้มีห้องโถงเพียงห้องเดียว ภายในเป็นที่สำ�หรับวางสิ่งของเครื่องใช้ที่จำ�เป็นและวัสดุ ที่แกะสลักจากไม้หรือรูปปั้นตามความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ปู่ตาต้องการ เช่น รูปปั้น คน สัตว์บริวาร เป็นต้น ส่วนด้านหน้าตูบหรือศาลมักสร้างให้มีชานยื่นออกมาเพื่อเป็นที่ตั้งวางเครื่องบูชาและ เครื่องเซ่นไหว้ พิธีบ๋า (จังหวัดเลยเรียกบะหรือบะบน) การบ๋าเป็นการให้ของตอบแทนแก่ผีปู่ตา กล่าว คือ ถ้าผีปู่ตาสามารถบันดาลอะไรตามที่ชาวบ้านคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมู่บ้านต้องการได้ชาวบ้าน จะให้เหล้า ไก่แก่ ผีเจ้าปู่ เป็นต้น เฒ่าจํ้า เป็นตัวแทนของชุมชนในการติดต่อสื่อสารกับผีปู่ตาหรือรับบัญชาจากผีปู่ตามา แจ้ง แก่ชุมชนตลอดจนมีหน้าที่ ดูแลบริเวณที่อยู่อาศัยหรือดำ�เนินกิจการด้านพิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง กับผีปู่ตา เฒ่าจํ้า อาจเรียกได้หลายชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น กระจํ้า ขะจํ้า เฒ่าประจำ� เจ้า-จํ้า หรือ จํ้า เป็นต้น 111

111 ผีปู่ตา เป็นผีประจำ�หมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าผีปู่ตาจะเป็นผีที่ให้ความคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ทั้งชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้าน

และชาวบ้านที่จากไปทำ�งานนอกบ้านเป็นเวลานาน ๆ. วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับผีปู่ตา ๑. การบนบาน เพื่อให้ผีปู่ตาคุ้มครองในกรณีที่จะไปทำ�งานต่างถิ่น จะต้องนำ�ดอกไม้ ธูปเทียน ไปหาเจ้าจ้ำ� (ตัวแทนผีปู่ตา) เพื่อให้เจ้าจ้ำ�เป็น ผู้บอกกล่าวกับผีปู่ตา เมื่อกลับมาจากการทำ�งานก็จะต้องไปแก้บน โดยนำ�เหล้าไห ไก่ต้มสุก ๑ ตัว ดอกไม้ ขันธ์ห้า เงินตามกำ�ลังศรัทธา ขวด น้ำ� นำ�ไปให้เจ้าจ้ำ� เพื่อนำ�ไปเลี้ยงผีปู่ตา ๒. การบนบาน เพื่อให้ผีปู่ตาคุ้มครอง เช่น ให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ บนบานเพื่อไม่ให้ติดทหาร


172

หมอธรรม 112 ชาวอีสานเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีผีเป็นผู้ดูแลการทำ�สิ่งใดต้องมีการบอกล่าวก่อน ในอดีต มักจะรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยแพทย์แผนโบราณคือยาพื้นบ้านเชื่อว่าสามารถรักษาโรคทางกาย ได้ทุกอย่าง ถ้ารักษาด้วยยาพื้นบ้านไม่หาย ชาวบ้านเชื่อกันว่ามีผีมาเข้าจะต้องรักษาด้วยวิธีการ พูดจากับผี การอยู่ธรรมเป็นการรักษาอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยการอาศัยธรรมเข้ามาขับไล่ผี ทุกอย่างชนิด การอยู่ธรรม คือ การปฏิบัติธรรมถือศีลมีหมอธรรมเป็นผู้ดูแลรักษา หมอธรรมจะใช้ ด้ายมลคง ผูกแขน แล้วสวดมนต์เสกเป่าน้ำ�ให้ดื่ม พร้อมทั้งพูดจาอบรมสั่งสอนต่าง ๆ นานา แต่ ชาวบ้านมักไม่นิยมเลือก การอยู่ธรรมเพราะมีข้อห้าม (ขะลำ�) และความเคร่งครัดในการประพฤติ ธรรมอยู่มาก ขวัญ113 ขวัญมีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ ๑. ขวัญมีลักษณะเป็นรูปธรรม หมายถึง ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอยมีทั้งคนและ สัตว์ ๒. ขวัญเป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่มีตัวตน แต่เชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีพลัง และ อำ�นาจอย่างหนึ่งอยู่ในร่างกาย สามารถหลบหนีไปได้ดังที่เคยได้ยินว่าขวัญหาย ขวัญหนี เป็นต้น แต่สามารถเรียกกลับมาได้เช่นกัน เชื่อกันว่าถ้าขวัญอยู่กับตัวของผู้ใดผู้นั้นก็จะมีความสุขกาย สบายใจ ไม่เจ็บไม่ไข้ ถ้าขวัญหนีหายไปจะเกิดอันตรายแก่คนผู้นั้นได้ ดังนั้น จึงเกิดความเชื่อว่า ขวัญ เป็นสิ่งสำ�คัญและจำ�เป็นของคนทุกคนเกิดพิธีกรรม ต่าง ๆ ที่จะทำ�ให้ขวัญอยู่กับตัวตลอด ดังจะเห็นได้ว่าทุกช่วงชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่ วัยชราจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับขวัญอยู่เสมอ อาทิ การทำ�ขวัญแรกเกิด ทำ�ขวัญเดือน โกนจุก บวชนาค แต่งงาน การสร้างบ้านปลูกเรือน การแยกเสาเอก วางศิลาฤกษ์ เป็นต้น และตลอดจน ทำ�ขวัญผู้ที่เพิ่งหายป่วยหรือรอดพ้นอันตรายกลับมา การได้รับตำ�แหน่งใหม่เลื่อนขั้น การกลับสู่ บ้านเกิดเมืองนอนหรือแม้แต่การจะเดินทางไกลไปอยู่ต่างถิ่น นอกจากนี้ยังมีการทำ�ขวัญในโอกาส พิเศษ อาทิเช่น การต้อนรับแขกผู้มาเยือนหรือสู่ขวัญสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เรือล้อ เกวียน รถยนต์ ปืน เป็นต้น 112 “หมอธรรม” คือ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความรู้ในเรื่องวิชาอาคม คอยช่วยเหลือคนในหมู่บ้าน หรือใกล้เคียง ตัวอย่างเช่น

กรณีผีปอบเข้าชาวบ้านในหมู่บ้าน ต้องรีบมาเรียก หมอธรรม ไปปราบผี.

113 ชาวไทยอีสานมีความเชื่อเรื่องขวัญมาแต่โบราณ ขวัญเป็นสิ่งไม่มีตัวตน มีประจำ�ชีวิตของคนและสัตว์ตั้งแต่เกิด เชื่อว่าคล้ายกับจิตหรือ

วิญญาณที่แฝงอยู่ในตน หากมีเหตุที่ทำ�ให้ขวัญไม่ดีเช่น ความเจ็บป่วยไปทำ�งานต่างถิ่น หรือมีเหตุให้ตกใจเสียใจ ขวัญจะหนีออกจากตัวตน จะต้องทำ�การเรียกขวัญ ชาวอีสานเรียก “พิธีสู่ขวัญ” หรือ “พิธีสูตร (สูด) ขวัญ” บางทีเรียกการบายศรี สู่ขวัญ หรือ การบายศรีสูตรขวัญ (สูตรเป็นคำ�เก่าแก่ของชาวอีสานแปลว่า การสวด) เพื่อให้ขวัญกลับมาอยู่กับตัวให้มีกำ�ลังใจ ส่งเสริมจิตใจ ให้ดี.


173

การสักขาลาย 114 การสักขาลายของชาวอีสานเป็นภูมิปัญญาตกทอดมาแต่โบราณ ตามความเชื่อของการ สักขาลายมีการสืบทอดมาแต่ครั้งชน เผ่าอ้ายลาวอพยพมาอยู่อาณาจักรล้านนาและล้านช้าง มัก นิยมสักด้วยหมึกอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของคนตามท้องถิ่นในบริเวณนั้น ผู้ชายชาวอีสานส่วนใหญ่แล้วนิยมสักลาย มิฉะนั้นจะถูกมองเหมือนเป็น “โตแม่” (ผู้ หญิง) แต่ผู้หญิงก็มีบ้างโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสมัย ๖๐ ปีก่อนขึ้นไป การสักลายถือว่าเป็นคน “ใจกัด แก่น” หรือใจหนักแน่น ไม่ใช่คน “ขี้โย่ย ขี้ย้าน” หรือใจเสาะ การ “สักขาลาย” บางท่านอธิบาย ว่าเพื่อฝึกธรรมะเกี่ยวกับทมะ คือ ให้รู้จักอดกลั้น ข่มจิตข่มใจและเพื่อความบึกบึนให้สมกับเป็นลูก ผู้ชาย บ้างก็ว่าทำ�ให้เกิดความทรหดในทางโลกีย์ด้วย ผู้ชายที่สักขาลายแล้วจะได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปโดยเฉพาะเพศตรงข้าม ทำ�ให้มี ความภูมิใจทรนงในตัวเอง ดังนั้นจึงมักจะถกโสร่งหรือผ้านุ่มเสมอ เพื่ออวดให้เห็นขาลายของตน การสักขาลายให้สมบูรณ์แบบมีคติเป็นกลอนว่า “ขาลายแล้วทางเอวตั้งซ่อ ตั้งซ่อ แล้วทางแข้วตอกทอง สักนกน้อยงอย แก้มจั่งซิคือ” ถ้าสักลายเพียงเหนือเข่าขึ้นมาเล็กน้อยไม่ถึงเอวได้ชื่อว่า “ขาลายบั้งปลาแดก” วิธีการสักขาลาย การสักจะใช้เหล็กแหลมชุบหมึกซึ่งทำ�จากใบมันแกวเคี่ยวใส่เขม่าควันไฟ ผสมดีสัตว์แล้ว นำ�มาสักหรือกระทุ้งเบา ๆ ลงผิวหนังพอให้เลือดออกและสีดำ�ซึมลงไป ลวดลาย ๑. ลายมอมคล้ายสิงห์ คนทั่วไปนิยมสักลายนี้เพราะเป็นสัญลักษณ์ของสัตว์ที่ทรงพลัง และความเป็นผู้นำ�ในฝูงสัตว์โลก เป็นสัตว์ป่าหิมพาน ลักษณะของตัวมอมคือ ตัวเป็นช้าง หางเป็น ม้า หน้าเป็นสิงห์ ๒. ลายนกขอด หรือ นกข้วน เป็นสายเสน่ห์มหานิยม ดังคำ�กล่อนว่า “ลายนกข้วน ชวน น้องเข้าบ่อนนอน” ๓. ลายดอกไม้ นิยมสักทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยทั่วไปมักจะสักลายดอกผักแว่นไว้ที่แขน ๔. ลายงูขดขนาดสั้น (รูปคล้ายขาคีมหรือมีดสะนาก) นิยมสักบริเวณใต้หัวเข่าลงไป โดย เชื่อว่าจะป้องกันสัตว์มีพิษเลื้อยคลานหรืออยู่ตามน้ำ�กัดต่อยได้

114 การสักขาลายของชาวไทใหญ่ก็เหมือนกับการสักขาก้อมของคนไทยวน เป็นการสักร่างกายส่วนล่าง คือสักตั้งแต่เอวลงมาถึงขาด้วยหมึกสีดำ�

ลวดลายที่สักจะเป็นลายเส้นทึบหนา เพื่อแสดงถึงความอดทนเข้มแข็ง อันเป็นเอกลักษณ์ของลูกผู้ชาย.


174

ลำ�ผีฟ้า ชาวอีสานมีความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผีผู้มีอิทธิฤทธิ์อยู่บนฟ้าหรือที่เรียกว่า ผีฟ้า พญา แถน ซึ่งเป็นผู้ให้คุณให้โทษ ตลอดจนดลบันดาลให้เกิดสรรพสิ่งบนโลก การลำ�ผีฟ้าเป็นการติดต่อ กับผีที่อยู่บนฟ้าเพื่ออัญเชิญลงมาประทับทรงเพื่อช่วยในการรักษาเยียวยาแก่ผู้ป่วย ผีปู่ตา ในภาคอีสานทุกหมู่บ้านจะมีป่าไม้ยืนต้นอยู่ทางทิศตะวันตกในป่านั้นจะมีศาลเพียงตา ปลูกไว้ เรียกว่า “ตูบปู่ตา” ซึ่งเป็นผีประจำ�หมู่บ้านช่วยดูแลทุกข์สุข หรือตามปกปักรักษาในการ ออกรบทัพจับศึกในหมู่บ้านจะมีเฒ่าจํ้าเป็นผู้ติดต่อระหว่างผีปู่ตาในทุกหนึ่งปีจะมีงานเลี้ยงผีปู่ตา หมอยากลางบ้าน หมอยากลางบ้านหรือหมอยาแผนโบราณ ในภาคอีสานยังมีอีกมากมาย ปัจจุบันเป็นผู้ สูงอายุผู้มีความรู้ในการใช้ยากลางบ้านหรือยาแผนโบราณ ที่สั่งสมสืบทอดกันมา ซึ่งหมอแต่ละคน จะมีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคแตกต่างกันออกไปและจะถูกเรียกชื่อตามความสามารถความ เชี่ยวชาญที่ถนัดอยู่ เช่น หมอกระดูก หมอน้ำ�มัน หมอน้ำ�มนต์ หมอยาฝน หมอเอ็น เป็นต้น


๗ อีสานในยุคปัจจุบัน

175

ในอดีตสภาพเศรษฐกิจและสังคมของภาคอีสานค่อนข้างเป็นเศรษฐกิจและสังคมแบบ พึ่งพาตนเองเป็นหลัก การสังคมปิดจากภายนอกทำ�ให้ภูมภาคนี้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนกันภายใน เป็นหลัก อย่างไรก็ตามระบบเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายระยะ นับ ตั้งแต่การขยายเส้นทางรถไฟเข้ามาในภูมิภาค การขยายการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเช่น ปอและ มันสำ�ปะหลัง เป็นต้น การพัฒนาอย่างจริงจังเกิดขึ้นจากผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑ ดังนั้นในช่วงปี ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔ ฯพณฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ วางแผนและทุ่มเทงบประมาณ ในการพัฒนาจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้เป็นศูนย์ในการพัฒนาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีการปรับปรุงระบบผังเมือง ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ณ์ต่าง ๆ และตั้งหน่วยราชการต่าง ๆ ระดับภาค มีการตัดถนนเชื่อมโยงกับกรุงเทพ ฯ และภาค อื่น ๆ ในช่วง ๒๕๐๔ เป็นต้นมา การพัฒนาเศรษฐกิจของภาคอีสานจึงเข้าสู่ระบบการพัฒนาภาย ใต้กรอบแผนกพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยฉบับที่ ๑ มีเนื้อหาในการมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการ ผลิตปรับปรุงระบบขนส่ง สื่อสารส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนสำ�คัญในการผลิตโดยการสนับสนุของ ภาครัฐ ฉบับที่ ๒ ได้วางเป้าหมายในการพัฒนาให้กว้างขวางขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและ ความมั่นคงรวมทั้งการใช้ทรัพยากร ฉบับที่ ๓ มีเนื้อหาเพิ่มขึ้นในการพัฒนาเกษตร เช่น การปลูกอ้อยและมันสำ�ปะหลัง เพื่อ ให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ภาคอีสานได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาฉบับที่ ๕ และ ๖ ได้นำ� แนวทางในการพัฒนาชนบทมาใช้ เพื่อการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค การกระจายรายได้ และการพัฒนาเมืองหลักมีการปรับปรุงเครือข่ายบริการพื้นฐาน เช่นที่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานีและอุบลราชธานี รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวชนบท ฉบับที่ ๗ มีเนื้อหาในการส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มมูลค่าในการผลิตและบรรยากาศ การลงทุน ฉบับที่ ๘ ได้วางนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและยกระดับชีวิตประชาชน


176

ฉบับที่ ๙ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำ�รงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและ บริหารประเทศให้ดำ�เนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำ�เป็นที่จะ ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ สมควรต่อการมีผลรกระทบใดๆ ฉบับที่ ๑๐ ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำ�คัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำ�กัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและ ระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ และให้ความสำ�คัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำ�เนินการใน ทุกขั้นตอน ของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการ ติดตามตรวจสอบผลการดำ�เนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง ฉบับที่ ๑๑ ตามวิสัยทัศน์ ๓ พันธกิจ ๓ วัตถุประสงค์ ๔ เป้าหมายหลัก และ ๗ ยุทธศาสตร์ ตามการศึกษาจากบริบทตลอดจนจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคามของประเทศไทย วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ๓ พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและ ลด ความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจ สังคม และสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์ ๓ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน คนไทยอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข และพร้อมเชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นสุข ๔ เป้าหมายหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล ความสามารถในการแข่งขันสูง ขึ้น มีหลักประกันสังคมที่ทั่วถึง และสังคมไทยมีความสุขอย่างมีธรรมาภิบาล ๗ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ การ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ�นวยต่อการผลิต การค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความ รู้คู่คุณธรรม สังคม มั่นคงเป็นธรรม มีพลังและเอื้ออาทร เน้นการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ สังคม สังคม สภาพสังคมส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ ประชากรมีฐานะยากจนเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ ของประเทศ การดำ�รงชีวิตขั้นพื้นฐานของ


177

ประชากรยังมีปัญหาการขาดแคลนอาหาร สุขภาพอนามัยและการศึกษาและปัญหาการขาดความ อบอุ่นในครอบครัว ทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากมีการอพยพของแรงงานไปทำ�งานในท้องถิ่นอื่น และต่างประเทศ แรงงานอพยพของภาคอีสานมากที่สุดในประเทศไทยในปี ๒๕๓๘ คิดเป็นร้อยละ ๓๙ ของการอพยพแรงงานทั่วประเทศ อันเกิดจากปัญหาที่ขาดความสมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจ กรุงเทพกับภูมิภาคและระหว่างเมืองกับชนบท เป็นผลให้เกิดการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานไปหา โอกาสที่ดีกว่า

เศรษฐกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากการพึ่งพิงทางภาคเกษตร ประมาณ ครึ่งหนึ่งของการผลิตรวมในอดีตเมื่อ ๒๐ ปีก่อน ในปี ๒๕๑๘ เหลือเพียงประชาชนร้อยละ ๒๐๐ ในปัจจุบัน การผลิตมีการปรับตัวสู่ภาคการค้า การบริการมากขึ้นส่วนภาคอุตสาหกรรมมีการ ขยายตัวค่อนข้างสูงแต่ไม่มีบทบาทมากเท่าที่ควรการบริการทางการเงินขยายตัวขึ้นตามกำ�ลัง ขยายทางเศรษฐกิจของภาคเพิ่มขึ้นเป็นลำ�ดับ ภาพรวมทางเศรษฐกิจจักว่าประสบความสำ�เร็จไป ระดับหนึ่ง โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ ๖ – ๗ ต่อปี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ ๕ – ๗ และราย ได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นประมาณ ๗ เท่าตัวจาก ๒,๙๗๒ บาทต่อคนต่อปี ในปี ๒๕๑๘ เป็น ๒๔,๓๓๑ บาท ต่อคนต่อปี ขนาดของเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นประมาณ ๙ เท่าในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา จากประมาณ ๔๙,๙๐๒ ล้านบาทในปี ๒๕๑๘ เป็นประมาณ ๔๙๘,๖๐๑.๖ ล้านบาทในปี ๒๕๓๘ ปัจจุบันภาค อีสานมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่กว่าภูมิภาค ยกเว้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล115 โครงสร้างทางกายภาพ การคมนาคมขนส่ง ภาคอีสานมีการพัฒนาโครงข่ายบริการพื้นฐานค่อนข้างดี มี ทางหลวงแผ่นดินเป็นระยะทาง ๑๕,๒๗๕ กิโลเมตรคิดเป็นร้อยละ ๓๐ ของประเทศ มีทางรถไฟ เป็นระยะทาง ๑,๑๙๙ กิโลเมตรมีสนามบิน 8 แห่งที่สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัด อำ�เภอ และ ภาคอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี และสามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายระบบ ของประเทศลาวด้านจังหวัด หนองคายได้ทั้งทางถนนและทางรถไฟ ประเทศเวียดนามตามถนนสายมุกดาหาร – สะหวันนะเขต และสายนครพนม – ท่าแขก - วินห์ การสาธารณสุข การสาธารณสุข มีการพัฒนาขึ้นและกระจายในเกือบครบถ้วนทั้งระดับจังหวัด อำ�เภอ และตำ�บล โดยมีศูนย์แพทย์ระดับภูมิภาคที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ โรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ในเมืองหลักสี่เมือง คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดร ราชธานี รวมทั้งหน่วยงานสาธารณสุขอื่น ๆ กระจายอยู่ในท้องที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการขยาย 115 สุวิทย์ ธีรศาศวัต และดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. ประวัติศาสตร์อีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน. หน้า ๕๔.


178

ตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในบางจังหวัด เช่น ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และอุบลราชธานี การศึกษา การศึกษา มีการขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างกว้างขวางทำ�ให้มีอัตราการเรือน ต่อ ระดับมัธยมศึกษาสูงขึ้นเป็นร้อยละ ๘๐ ในระดับอุดมศึกษาทั้งสถาบันของรัฐและเอกชนรวม ๑๙ แห่งและพิจารณาเพิ่มเติมในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่สกลนคร มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่หนองคาย มหาวิทยาลัยมหิดลที่อำ�นาจเจริญ และมหาวิทยาลัย มหาสารคามที่จังหวัดนครพนม สถานบันพัฒนาบริหารศาสตร์ ตลอดจนสถาบันรัชภัฎที่กระจาย อยู่ในหลายจังหวัด ศักยภาพของภาคอีสานในการพัฒนาสู่ความเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคใน อินโดจีน ๑. มีที่ตั้งทาง ภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศ ภูมิภาคลุ่มแม่นํ้า โขงได้สะดวกโดยสามารถเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างกันได้แบบเครือข่าย (NET-WORK) ทั้ง ทางรถยนต์ รถไฟและทางอากาศ นอกจากนี้สามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกซึ่งมี โครงการอีสเทอร์น ซีบอร์ด (EASTERN SEA BOARD) เป็นประตูขนส่งสินค้าที่สำ�คัญ ๒. มีทรัพยากรธรรมชาติจำ�นวนมาก สามารถนำ�มาใช้ในพาณิชย์เป็นวัตถุดิบในภาคอุต สหากรรมได้แก่ เกลือหิน โปแตส และก๊าซธรรมชาติ ๓. เป็นแหล่งแรงงานต้นทุนตํ่า โดยมีเกณฑ์ทักษะฝีมือปานกลางแต่มีโอกาสพัฒนาเป็น แรงงานฝีมือดีในอนาคต ๔. ที่ดินในภาคอีสานมีราคาถูกเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น มีความเหมาะสมในแง่ของการ ลงทุน ๕. มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประเพณีและแหล่ง ท่องเที่ยวทางธรรมชาติจำ�นวนมากที่มีศักยภาพในการพัฒนา กลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง : เส้นทางเชื่อมโยงภูมิภาค ภาคอีสานมีแหล่งท่องเที่ยวจำ�นวนมากทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และ โบราณคดี ศิลปกรรม ประเพณี ปัจจุบันภาคอีสานมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการ ท่องเที่ยวในภูมิภาคอีสาน และกลุ่มประชาคมลุ่มแม่นํ้าโขง โดยมีการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน สำ�หรับการท่องเที่ยว เช่น ถนนทางรถไฟ สนามบิน และสถานีบริการนักท่องเที่ยว โรงแรมและ การโทรคมนาคมในสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักเที่ยวที่จะเชื่อมโยงกับสถานที่ที่มีชื่อเสียงของ


179

ประเทศในแถบลุ่มแม่นํ้าโขง เช่น นครวัด นครธม อุบลราชธานี และมุกดาหารจะถูกปรับปรุงให้ เป็นประตูการท่องเที่ยวสู่เขมร และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในแถบอีสานล่าง บุรีรัมย์ - ศรีสะเกษ เลย - หนองคาย ส่วนนครพนมส่งเสริมให้เป็นศูนย์การท่องเที่ยวเลียบฝั่งแม่น้ำ�โขง

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งอาเซียน รัฐบาลไทยได้ให้ความสำ�คัญ ในการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนภายใน ปี ๒๕๕๘ ที่เน้นการปฏิบัติและเชื่อมโยงยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาค ตามที่ ปรากฎในปฏิญญาชะอำ� หัวหิน มีดังนี้ ๑. บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง : การสร้างความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำ�คัญของกฎบัตรอาเซียน การส่งเสริมหลักการประชาธิปไตย การส่งเสริม การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน ตระหนักคุณค่าและค่านิยมทางวัฒนธรรม การสร้างเครือข่ายผู้ บริหารโรงเรียนเพื่อบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษา การจัดงานฉลองวันอาเซียนในประเทศ สมาชิก ในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นวันก่อตั้งอาเซียน ๒. บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านเศรษฐกิจ : การจัดทำ�กรอบการพัฒนาทักษะ ในอาเซียน การพัฒนาระบบการถ่ายโอนนักเรียน การถ่ายโอนแรงงานที่มีความชำ�นาญการใน ภูมิภาค การพัฒนามาตรฐานอาชีพที่เน้นศักยภาพในอาเซียน ที่สามารถสนองตอบความต้องการ ของภาคอุตสาหกรรม ๓. บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม : การจัดการศึกษาที่มี คุณภาพในชุมชนชนบท การจัดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียน การสนับสนุนการเรียนภาษาอาเซียน การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนในเยาวชน การ พัฒนาด้านการวิจัยและการพัฒนาในภูมิภาค การสร้างความรู้และตระหนักเกี่ยวกับประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอด ชีวิต เพื่อบรรลุเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน การจัด ทำ�เนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียนร่วมกัน ตลอดจนการร่วมแบ่งปันทรัพยากรและจัดตั้งกองทุนเพื่อการ พัฒนาการศึกษาในภูมิภาค สำ�หรับประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๒๒ – ๒๕๕๘ ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันร่วมกับ สมาชิกอาเซียนที่จะส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการรวมตัว ของอาเซียน และกระบวนการเป็นประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ ในวาระที่ไทยดำ�รงตำ�แหน่ง ประธานอาเซียนเมื่อปี ๒๕๒๒ รัฐบาลไทยได้ผลักดันให้เกิดการบรรลุเป้าหมายกฎบัตรอาเซียน (การเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และการเน้นยํ้าความมั่นคงของ ประชาชนในภูมิภาค เป็นต้น อันจะทำ�ให้ประชาชนสามารถก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ได้


180

อย่างบรรลุผลได้ภายในปี ๒๕๕๘ รัฐบาลได้ให้ความสำ�คัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำ�ประเทศไทย ไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบรูณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง โดยที่ประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลักมี ความสำ�คัญเท่าเทียมกัน ควรมีการดำ�เนินการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กัน การกำ�หนดการก้าว ไปสู่ประชาคมเป็นวาระแห่งชาติ จึงควรครอบคลุมทั้งสามเสา เพื่อประกอบกันเป็นประชาคม อาเซียนที่ครบถ้วนสมบรูณ์ โดยมีคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติเป็นกลไกระดับประเทศในการ ประสานการดำ�เนินงาน และติดตามความคืบหน้าในภาพรวมทุกเสา และมีหน้าที่สำ�คัญในการ ผลักดันและสนับสนุนหน่วยงานราชการต่างๆ ในการดำ�เนินการเพื่อก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน และได้มีการจัดทำ�แผนงานแห่งชาติสำ�หรับการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน.




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.