Walkway Magazine
KADEEJEEN Explore / History / Culture / People / Insight / Architecture / Foodstuff Activity / Natural / Famous / Travel / Art
Are You Ready?
2 Walkway Magazine
บรรณาธิการ Walkway magazine
วัยรุ่นยุคใหม่ในเมืองหลายๆคน เติบโตมาพร้อมความสะดวกสบาย และเพียบพร้อมในทุกๆด้าน ค่านิยมและมุมมองก็แตกต่างหลากหลาย แต่ที่ทุกคนมีเหมือนกันก็คือ การต้องการการยอมรับจากสังคม หลายๆคน เลือกที่จะไปเดินสรรพสินค้าหรูๆ ที่ดูทันสมัยมากกว่าเที่ยวชมวัดวาอาราม เก่าๆ บ้างก็อาจไม่เคยรู้เลยว่าสถานที่ประวัติศาสตร์ในชุมชนของตัวเองนั้นมี ความเป็นมาอย่างไร จะด้วยความเคยชินหรืออะไรก็ตามแต่ที่ทำ�ให้เรามอง ข้ามไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีกลุ่มคนที่ต้องการจะอนุรักษ์วัฒนธรรมเดิมๆ ในชุมชนของตัวเองไว้เพื่อให้รอให้ลูกหลานได้มาเรียนรู้และสัมผัสกันจริงๆ ตัวอย่างเช่น ชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรีนี่เอง เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมชุมชนกุฎีจีน ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำ�เจ้าพระยาที่มีความเป็นมาแต่ช้านานตั้งแต่ สมัยกรุงธนบุรี มีวิถีชีวิตที่น่าสนใจ และมีความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ที่มีทั้งไทย จีน ฝรั่ง แขก ญวน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าย่านนี้จะ มีทั้งวัดไทย โบสถ์คริสต์ และศาลเจ้าจีน เลยไปหน่อยก็เป็นมัสยิด ซึ่งเป็น ความกลมกลืนทางวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันมายาวนาน นอกจากนี้ชุมชนกุฎี จีนยังมีภูมิปัญญาที่น่าสนใจคือ การทำ�ขนมฝรั่งหรือที่เรียกกันติดปากว่า “ขนมฝรั่งกุฎีจีน” ซึ่งถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษชาวโปรตุเกสและได้สืบทอด จากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงปัจจุบัน ดังนั้น Walkway จึงได้รวบรวมเรื่องราวที่น่าสนใจหลายๆอย่างใน ชุมชนกุฎีจีนมาถ่ายทอดเป็นบทความให้ผู้อ่านที่สนใจได้เรียนรู้และหยั่งลึก ความเป็นไทยไปพร้อมๆกัน Walk away
Walkwayby
Walkway Magazine
3
Walkway Magazine KADEEJEEN กะดีจีน หรือ กุฎีจีน เป็นย่านประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ ได้แก่ พุทธเถรวาท พุทธมหายาน คริสต์ และมุสลิม ประกอบด้วยชุมชน 6 แห่ง ได้แก่ ชุมชนวัดกัลยาณ์ ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนวัดประยุรศ์ ชุมชนบุปผาราม ชุมชนกุฎีขาว และชุมชนโรงคราม
History
6 4 Walkway Magazine
Explore
Famous
Insight
14 18 22
Culture
Art
Architecture
Natural
26 30 34 42
People
Activity
Foodstuff
Travel
46 50 54 58 Walkway Magazine
5
6 Walkway Magazine
History “กะดีจีน” หรือ “กุฎีจีน” เป็นย่านชุมชนเก่าแก่ริมน้ำ�เจ้าพระยาบริเวณฝั่งธนบุรี ที่มีความหลาก หลายทางเชื้อชาติ ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาของประชาชน ซึ่งประกอบด้วยชาวจีน อินเดีย และยุโรปที่อพยพมาจากอยุธยา ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้าง “กรุงทณบุรีศรีมหาสมุทร” หรือ “กรุงธนบุรี” ในพ.ศ. 2310 ตามบันทึกประวัติศาลเจ้าเกียนอันเกง กุฎีจีนสร้างในสมัยกรุงธนบุรีโดย ชาวจีนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสินเดิมมี 2 ศาลคือ ศาลเจ้าโจวซือกง และศาลเจ้ากวนอู ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 1 ย้ายพระนครไปกรุงเทพ คนจีนเหล่านี้จึงอพยพไปรวมกับพวกที่ย่าน ตลาดน้อยและสำ�เพ็ง ศาลเจ้าจึงถูกทิ้งร้าง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงได้บูรณะรวมกัน เป็นศาลเดียวกันแล้วอัญเชิญเจ้าแม่กวนกิมมาประดิษฐานให้ชื่อว่า ศาลเจ้าเกียนอันเกง ศาลเจ้านี้จึงเป็นร่องรอยของชุมชนในย่านกุฎีจีน เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ในครั้งนั้น ชาวคริสตัง ในกรุงศรีอยุธยาต่างหนีกระจัดกระจายไปในที่ต่าง ๆ จนกระทั่งพระยาตากสินกู้อิสรภาพ จากพม่าได้สำ�เร็จ ในปี พ.ศ. 2311 และได้ทำ�พิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) รวมทั้งได้ทำ�การก่อร่างสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่กรุงธนบุรี หรือ บางกอก ซึ่งเป็นชื่อเรียกของชาวต่างชาติในสมัยนั้น จนในปี พ.ศ. 2312 คุณพ่อกอรร์ (Corre) บาทหลวงชาวฝรั่งเศสซึ่ง พาพวกเข้ารีตลี้ภัยไปที่เขมรได้เดินทางมายังบางกอกพร้อมชาวคริสตัง และชาวโปรตุเกส จำ�นวนหนึ่ง เพื่อหวังพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และมีโอกาสได้ เข้าเฝ้าพระองค์ ด้วยพระเมตตาที่ทรงมีต่อคุณพ่อกอร์และชาวบ้านทั้งปวง พระองค์ได้ พระราชทานเงิน 20 เหรียญ (กษาปณ์) และเรือลำ�หนึ่ง รวมทั้งสัญญาว่าจะพระราชทาน ที่ดินสำ�หรับสร้างวัดคาทอลิกให้ ในปีเดียวกัน คุณพ่อกอรร์และชาวบ้านที่มีทั้งคนญวนและคนไทยที่ อพยพมาด้วยกันจึงได้ชักชวนคริสตังที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในบางกอกได้จำ�นวน ราว 400 คน และได้เข้าเฝ้าขอพระราชทานที่ดินจากสมเด็จพระเจ้าตากสินตามสัญญา ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งให้บริเวณริมน้ำ�เจ้าพระยา โดยตั้งชื่อที่ดินนี้ว่า "ค่ายซางตาครู้ส" จากนั้นคุณพ่อกอรร์และคริสตังได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น และเรียกว่า วัด ซางตาครู้ส ซึ่งนับเป็นโบสถ์คาทอลิก แห่งที่ 2 ในประเทศไทย วันเวลาที่ผันผ่านทำ�ให้วัดชำ�รุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จึงต้องมีการบูรณะวัด ขึ้นมาใหม่อีกถึง 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2456 บาทหลวงกูเลียล โมกิ๊น ดาครูส ได้สร้างโบสถ์ขึ้น เป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียนสมัยเรเนสซองส์ที่เรียกว่าแบบนีโอคลาสสิก ส่วนมุสลิมเป็นกลุ่มชนที่มาตั้งรกรากในธนบุรีจำ�นวนมากรองจากชาวจีน ส่วนใหญ่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา ภายหลังสมเด็จพระเจ้าตากสิน สถาปนากรุงธนบุรี แล้ว มุสลิมบางส่วนอยู่ในธนบุรีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเพราะธนบุรีเป็นเมืองท่าจึงมี พ่อค้ามุสลิมจากหัวเมืองมลายูโดยเฉพาะหลังจากประเทศไทยเปิดการค้าเสรีภายใต้สนธิ สัญญาเบาริ่ง ศูนย์กลางของมุสลิมในธนบุรีอยู่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ โดยมีสุเหร่า ต้นสน หรือกุฎีใหญ่เป็นศูนย์รวมจิตใจ Walkway Magazine
7
“โบสถ์ซางตาครู้ส” ซางตาครู้สเป็นภาษาโปรตุเกส หมายถึง กางเขนศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์นี้ถือเป็น วัดคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในฝั่งธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้สร้าง และพระราชทานแก่ชาวโปรตุเกสที่อพยพจากกรุงศรีอยุธยามาตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้ และทำ�ให้เราเพิ่งรู้ว่าสมัยนั้นชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสในชุมชนนี้ยังเป็นล่ามติดต่อกับ ฝรั่ง เพราะนับแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โปรตุเกสเป็นชาติแรก ๆ ที่เดินทางมาสยาม ประเทศ การพูดคุยสื่อสารกับฝรั่งจึงใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษากลางในการติดต่อเรื่อยมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
8 Walkway Magazine
“วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร” หรือที่นิยมเรียกสั้นๆกันว่า “วัดกัลยาณมิตร” หรือ “วัดกัลยาณ์” เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร วัดแห่งนี้สร้างขึ้นมาในสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) “แต่เดิม เจ้าพระยานิกรบดินทร์ เดิมชื่อ โต แซ่อึ่ง ต้นสกุลกัลยาณมิตร เคยทำ�มาค้าขายกับรัชกาลที่ 3 อย่างซื่อสัตย์มานานจนสนิทเป็นมิตรกัน ในเวลาต่อมา เจ้าพระยานิกรบดินทร์จึงได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียงสร้างวัดขึ้นมา แล้วเสร็จใน ปี พ.ศ.2368 และถวายเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ.2370 และเนื่องจากเจ้าพระยานิกรบดินทร์ กับรัชกาลที่ 3 มีความสัมพันธ์เป็นมิตรที่ ดีต่อกัน รัชกาลที่ 3 จึงได้ทรงพระราชทานนามให้วัดแห่งนี้ว่า “วัดกัลยาณมิตร” ตั้งแต่นั้นมา” ภายในพระวิหารหลวง อันเป็นที่ประดิษฐานของ “พระพุทธไตรรัตน นายก” อันเป็นนามที่รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานให้ ในขณะที่ชาวบ้านจะนิยมเรียกท่าน ว่า “หลวงพ่อโต” ส่วนคนจีนก็จะเรียกว่า “ซำ�ปอกง” "หากสังเกตดีๆ จะเห็นว่า พระพุทธรูปแต่ละยุคแต่ละสมัยจะไม่เหมือน กัน อย่างหลวงพ่อโตเหมือนกันแต่คนละที่ก็ยังมีใบหน้าที่ไม่เหมือนกัน เช่นหลวงพ่อโต ที่วัดพนัญเชิง อยุธยา จะมีใบหน้าที่ค่อนข้างบึ้ง เนื่องจากอิทธิพลของบ้านเมืองที่มีความ วุ่นวายและศึกสงคราม แต่มาในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ดังนั้นหลวงพ่อโตที่วัดแห่งนี้จึงมีใบหน้าที่อมยิ้ม สะท้อนถึงลักษณะสังคมอันสงบสุขร่มเย็นในยุคนั้นๆ" Walkway Magazine
9
“วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร”
เป็นวัดที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้ง ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง ว่าที่กรมท่า และสมุหพระกลาโหม ได้อุทิศสวน กาแฟสร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 ซึ่งมีอาณาเขตติดกับบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ ครั้น เมื่อ พ.ศ. 2375 ได้ถวายเป็น พระอารามหลวงในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า "วัดประยุรวงศาวาส" ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดรั้ว เหล็ก" มีเรื่องเล่าว่า รั้วเหล็กนี้เดิมสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์สั่ง เข้ามาจากประเทศอังกฤษเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ล้อมเป็นก�ำแพงในพระราชวัง แต่พระเจ้าอยู่หัวไม่โปรด สมเด็จเจ้าพระยาจึงขอรับ พระราชทานมาใช้ล้อมเป็นก�ำแพงในวัด โดยใช้น�้ำตาลทรายแลกเอา หนักต่อหนัก คือ เหล็กหนักเท่าใด น�้ำตาลทรายก็หนักเท่านั้น ในคราวเดียวกันนั้นยังทูลเกล้าฯ ถวายพรม ผืนใหญ่ 1 ผืน กับโคมกิ่งแก้ว 3 โคม ซึ่งไม่โปรด จึงได้ทูลขอ พระราชทานโคมไปประดับ ในพระอุโบสถวัดนี้ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เดินทางไปกรุง ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในฐานะเป็น อัครราชทูตพิเศษเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาใน พ.ศ. 2423 เมื่อกลับถึงเมืองไทยในปีเดียวกันได้เล่าว่า ตนพบรั้วเหล็กล้อมเป็นก�ำแพง เมืองหลายแห่งในกรุงลอนดอนรั้วเหล็กเหล่านั้นมีรูปลักษณะเช่นเดียวกับรั้วเหล็กที่วัด ประยุรวงศาวาส 10 Walkway Magazine
“มัสยิดกูวติลอิสลาม” ตั้งอยู่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาใกล้เชิงสะพานพุทธฯ ซึ่งแต่เดิมตึกแดงคือ ส�ำนักงานพระคลังสินค้าของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้ บริจาคเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ให้กับมุสลิมในชุมชนนี้ ด้วยเห็นว่ามุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน บริเวณนี้ไม่มีมัสยิดส�ำหรับปฏิบัติศาสนกิจ ต้องเดินทางไปที่มัสยิดบ้านสมเด็จ ซึ่งหนทาง สมัยนั้นเต็มไปด้วยป่าสะแก มัสยิดนี้จึงเริ่มสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2402 มุสลิมในชุมชนนี้ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่ ๆ คือ เชื้อสายปัตตานี ซึ่งมี ความสามารถทาง การช่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างท�ำทอง นาค กับกลุ่มเชื้อสายอินเดียซึ่ง มีความสามารถในการประกอบธุรกิจค้าขาย เพราะฉะนั้นในการบริหารมัสยิดแห่งนี้ จึงแบ่งกรรมการออกเป็นสองฝ่าย คือ ผู้บริหารฝ่ายศาสนกิจ ซึ่งผู้ที่ท�ำหน้าที่อิหม่ามท่าน แรกคือ ฮัจญีมูฮ�ำหมัดยูซุป อัลมะหฺดาวี ส่วน ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจจะเป็นทางสายอินเดีย ท่านแรก คือ ฮัจญีบาย นานา ส�ำหรับมุสลิมที่เคยมีบทบาทในด้านการปกครองจากชุมชนนี้ คือ นายเล็ก นานา อดีต รัฐมนตรีผู้ซึ่งถวายที่ดินประมาณ 4 ไร่ พร้อมอาคารแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช เพื่อทรงสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ ศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยบริเวณชุมชนแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จย่าแต่อดีต และนายอารีย์ วงศ์อารยะ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ
Walkway Magazine
11
“ศาลเจ้ากวนอู” เป็นศาลเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมากว่า 268 ปี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น�้ำ เจ้าพระยาในชุมชมสมเด็จย่าใกล้กับสวนสมเด็จย่า หลังวัดอนงคารามย่านคลองสาน ฝั่ง ธนบุรี ตามต�ำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ในเก๋งศาลเจ้ากวนอู มีเจ้าพ่อกวนอูอยู่ด้วยกัน 3 องค์ องค์เล็กสุดเป็นองค์แรกที่เข้ามาในประเทศไทยราวปี พ.ศ. 2279 ตรงกับสมัยพระเจ้าเฉินหลงฮ่องเต้ จักรพรรดิราชวงศ์ชิง โดยชาวจีนฮกเกี้ยนได้อัญเชิญ มาจากมณฑลฮกเกี้ยนโดยทางเรือ มาประทับอยู่ในเก๋ง ซึ่งแต่เดิมเป็นเก๋งเล็กๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2345 ตรงกับสมัยพระเจ้าเจียชิงฮ่องเต้ จักรพรรดิราชวงศ์ชิง ได้มีผู้อัญเชิญเจ้าพ่อ กวนอูองค์กลางมาเพิ่มอีกองค์หนึ่ง พร้อมติดป้ายชื่อเก๋งว่า "กวง ตี่ กู เมียว" และต่อมาในปี พ.ศ. 2365 ตรงกับสมัยพระเจ้าเต๋ากวงฮ่องเต้ จักรพรรดิราชวงศ์ชิง มีเจ้าสัวชื่อ "นายคงเส็ง" ได้บูรณะเก๋งแห่งนี้ให้ใหญ่ขึ้น และได้ อัญเชิญเจ้าพ่อกวนอูองค์ที่สามมาประทับร่วมกันในเก๋งรวมเป็นสามองค์ พร้อมสร้างระฆัง ไว้หนึ่งใบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 คณะกรรมการและศิษย์ได้ร่วมกันสร้างเก๋งศาลเจ้าหลัง ใหม่ขึ้น เนื่องจากเก๋งหลังเดิมช�ำรุด เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งชื่อเก๋งหลังใหม่นี้ว่า "กวงตี่ บู่ เชิ่ง เมียว"
12 Walkway Magazine
“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เขต คลองสาน กรุงเทพฯ สร้างขึ้นตามกระแสพระราชด�ำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ที่จะให้อนุรักษ์อาคารเก่าซึ่งมีลักษณะและที่ตั้งใกล้เคียง “บ้าน” ที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยประทับ จึงมีพระราชประสงค์ที่จะให้อนุรักษ์ไว้ เป็นพิพิธภัณฑ์เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพัฒนาพื้นที่เป็น สวนสารธารณะระดับชุมชน ซึ่งนายแดง นานา และนายเล็ก นานา ผู้ถือกรรมสิทธ์ที่ดิน ก็ได้พร้อมใจน้อมเกล้าฯถวาย ที่ดินจ�ำนวน 4 ไร่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นเจ้าของที่ดินโปรด ให้บุคคลและหน่วยงานต่างๆ ร่วมด�ำเนินการในรูปคณะกรรมการจัดสร้าง อุทยาน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตามแนวพระราชด�ำริ
Walkway Magazine
13
Explore
14 Walkway Magazine
นักล่าสมบัติ ย่านคลองสาน เมื่อนึกถึงนักล่าสมบัติในความคิดแรกๆ ของผมจะ นึกถึงโจรสลัดในการ์ตูนญี่ปุ่น ซึ่งการมีตัวตนของโจร สลัดก็มีอยู่จริง แต่อยู่ไกลจนผมไม่อาจพบได้ง่ายๆ กระทั่งไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาได้ไปท่องเที่ยวเชิง ประวัติศาสตร์ย่านคลองสาน ในขณะที่กำ�ลังเดินอยู่ ริมแม่น้ำ�เจ้าพระยา ได้สังเกตไปเห็นบริเวณริมแม่น้ำ� มีเรือหางยาวลำ�ไม่ใหญ่มากอยู่ 2 ลำ� แต่ไม่พบคนบน เรือเห็นแต่ถังแก๊สอะไรสักอย่างกับธงสีแดงบนเรือ ทั้ง 2 ด้วยความไม่เข้าใจในสายตาตนเองจึงได้ถาม ไกด์นำ�เที่ยว ไกด์บอกว่านั้นเป็นเรือของคนที่ทำ�อาชีพดำ�น้ำ�หาของ เก่าโดยบนเรือจะมีถังแก๊สออกซิเจนพร้อมสายกับ หน้ากากดำ�น้ำ�ต่อลงไปใต้แม่น้ำ�เพื่อให้เป็นอากาศ หายใจ ส่วนธงสีแดงเล็กๆนั้นมีไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ให้เรือใหญ่ที่ผ่านไปผ่านระวังชนเรือของพวกเขา เมื่อ ถึงพื้นแม่น้ำ�ก็เอามือคลำ�ๆหาสิ่งชอง ของที่เอาขึ้นมา ได้นั้นอาจเป็นสมบัติมีค่าหรือบางทีอาจเป็นแค่เศษ ขยะขึ้นอยู่กับโชคเพราะเมื่อลงไปแล้วจะมองอะไร ค่อยเห็น “ นี่มันนักล่าสมบัติชัดๆ”
Walkway Magazine
15
ธรรมชาติ ริมฝั่งธน
อุ ท ย า น เ ฉ ลิ ม พ ร ะ เ กี ย ร ติ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ศ รี น ค ริ น ท ร า บ ร ม ร า ช ช น นี
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ ศรีนครินทราบรมราชชนนี อยู่ภายใน ซอยข้างวัดอนงคาราม หรือซอย สมเด็จเจ้าพระยา 3 เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี ย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ของ คนบางกอกตั้งแต่สมัยปลายกรุง ศรีอยุธยา ซึ่งต่อมาถูกใช้เป็น ถิ่น พำ�นักของเชื้อสายตระกูลบุนนาค เป็นขุนนางเรืองอำ�นาจในสมัย รัตนโกสินทร์
16 Walkway Magazine
สิ่งหนึ่งที่สร้างความประทับใจให้เรา ได้คือความร่มเย็นของหมู่แมกไม้ แวดล้อมด้วยพันธุ์ไม้หลากชนิดโดย เฉพาะพันธุ์ไม้หอมอาทิ ชำ�มะนาด พุด จีบ ปีบ ลั่นทม ฯลฯ และไม้ใหญ่ ทั้ง 4 ชนิด คือ โพ ไทร ไกร และ กร่าง และยังมีร่องรอยความเก่าแก่ ของหมู่อาคารสถานที่รวมกันขึ้นเป็น อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ ศรีนครินทราบรมราชชนนี
Walkway Magazine
17
FAMOuS
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร : หลวงพ่อโต (พระอมยิ้ม) 1.ตุ๊กตาหินศิลปะจีน ที่เรียกว่า อับเฉาหรือเซียน ตั้งเรียงรายหน้าพระวิหารหลวง 2.พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโตเป็นพระประธานของวิหารหลวงแห่งนี้ เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ ชาวจีน แต่ชาวบ้านจะนิยมเรียกว่า”หลวงพ่อโต”ส่วนคนจีนก็จะเรียกว่า “ซำ�ปอกง” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง ๕ วา ๓ ศอกคืบ สูง ๗ วา ๒ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว รัชกาลที่ 3 เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ อยู่ภายในพระ วิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ 3.”หอระฆัง” ด้านข้างพระวิหารที่สร้างขึ้นโดย พระสุนทรสมาจาร (พรหม) เมื่อปี พ.ศ.2476 ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 9 เมตร สูง 30เมตร ด้านล่างใช้แขวน”ระฆังใบใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 192 เซนติเมตร หนักถึง 13 ตัน เลยทีเดียว ส่วนด้านบนประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา
18 Walkway Magazine
โบสถ์ซางตาครู๊ส 1.โบสถ์ซางตาครู๊ส ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเดียวแบบอิตาลียุคนี โอคลาสสิคผสมเรอเนอซองค์ ก่ออิฐประดับลายปูนปั้นงดงามส่วนล่างทำ� เป็นโถงประกอบด้วยซุ้มโค้งที่สอดรับกัน ประดับด้วยกระจกสีครึ่งวงกลมที่ ถ่ายทอดเรื่องราวจากพระคัมภีร์ 2.หอคอยยอดโดมหอระฆังแปดเหลี่ยมประดับด้วยไม้กางเขนบนเรือนยอด และมีระฆังที่ให้เสียงไพเราะและพิเศษตรงที่สามารถตีเป็นเพลงได้
ชุมชนกุฎีจีน “ขนมฝรั่งกุฎีจีน” เป็นขนมโบราณกว่า 200 ปี ที่มีต้นตำ�รับมาจากชาว โปรตุเกสที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนกุฎีจีนเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นขนม ลูกผสมระหว่างจีนกับฝรั่ง ตัวขนมเป็นตำ�รับของโปรตุเกส และหน้าของขนม เป็นจีน มีลักษณะเด่นตรงที่ใช้วัตถุดิบอย่างดีมาทำ�ขนม คือมีแป้ง ไข่ และ น้ำ�ตาล เพียงแค่ 3 อย่างนี้ตีให้ส่วนผสมเข้ากันจนขึ้นฟู โรยด้วยลูกเกด ลูก พลับ ฟักเชื่อม และน้ำ�ตาลทราย แล้วนำ�ไปเทใส่แม่พิมพ์แล้วอบจนขนมสุก ชาวจีนมีความเชื่อว่าหากรับประทานขนมฝรั่งกุฎีจีนแล้วจะร่มเย็น เนื่องจาก ชาวจีนเชื่อว่ากินฝักเชื่อมแล้วจะร่มเย็น กินน้ำ�ตาลทรายแล้วจะมั่งคั่งไม่รู้จบ เหมือนกับน้ำ�ตาลทรายที่นับเม็ดไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีลูกพลับอบแห้ง และ ลูกเกด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีราคาและมีคุณค่าทางอาหารอีกด้วยโดยขนมฝรั่งกุฎี จีนจะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือ ขนมฝรั่งกุฎีจีนแบบดั้งเดิม (ชิ้นเล็ก) คือไม่มี หน้า ตัวขนมจะมีเนื้อที่เบา นุ่ม และหอม มีรสไม่หวานมาก และแบบมีหน้า ชิ้นใหญ่ โรยด้วยลูกเกด ลูกพลับ ชิ้นฟัก และน้ำ�ตาลทราย ตัวเนื้อขนมจะแห้ง ฟูนุ่มร่วน ส่วนผิวด้านหน้าจะเคี้ยวกรุบๆ ด้วยเม็ดน้ำ�ตาล
ศาลเจ้ากวนอู เก๋งศาลเจ้า”กวงตี่ บู่ เชิ่ง เมียว” วิธีการขอพรจากเทพเจ้ากวนอูของที่นี่ จะพิเศษตรงที่ ผู้ที่จะขอพรต้องเข้าไปจับที่เท้าของเทพเจ้าเจ้ากวนอูแล้ว อธิษฐาน โดยมีข้อห้ามสำ�คัญสำ�หรับสุภาพสตรีคือ หากมีร่างกายไม่สะอาด (มีประจำ�เดือน) ห้ามแตะต้องท่านเป็นอันขาด
Walkway Magazine
19
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วิหารพระพุทธนาคศักดิ์สิทธิ์พระวิหารนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 4.25 เมตร สูง 5.70 เมตร มีพระนามว่า พระพุทธนาค เป็นพระพุทธรูปโบราณคู่กับพระศรีศากยมุนี พระประธาน ในพระวิหารวัดสุทัศนเทพ วรารามพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวจีน ให้ความเคารพ บูชาในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธนาคเป็นอย่างยิ่ง ด้วย ได้รับสิ่งที่เป็น อัศจรรย์หลายประการ และโดยทั่วไปมัก เรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธนาคน้อย เพื่อให้คู่กับ พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม ที่เรียกว่า พระพุทธ นาคใหญ่ พุทธศาสนิกชนชาวจีนได้ขนานนาม พระพุทธ นาค นี้ว่า “ ลักน้อย “ แปลว่า กลีบบัว 7 ชั้น เปรียบ พระพุทธองค์คือ ซำ�ปอกง (หลวงพ่อโต) ของชาวจีน
มัสยิดกูวติลอิสลาม มัสยิดกูวติลอิสลาม หรือตึกแดง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ� เจ้าพระยาใกล้เชิงสะพานพุทธฯ ซึ่งแต่เดิมตึกแดงคือ สำ�นักงานพระคลังสินค้าของสมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาพิชัยญาติ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้บริจาคเนื้อที่ ประมาณ 1 ไร่ให้กับมุสลิมในชุมชนนี้ ด้วยเห็นว่า มุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ไม่มีมัสยิดสำ�หรับ ปฏิบัติศาสนกิจ ต้องเดินทางไปที่มัสยิดบ้านสมเด็จ ซึ่งหนทางสมัยนั้นเต็มไปด้วยป่าสะแก มัสยิดนี้จึงเริ่ม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2402 20 Walkway Magazine
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 1.อาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ ๑จัดแสดงเกี่ยวกับพระ ราชประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประมวลเหตุการณ์ ในการพระราชพิธีพระบรมศพพระ ตำ�หนักวัง ตลอดจนที่ประทับครั้งทรงพระเยาว์ และ ประวัติขุมชนย่านวัดอนงคารามชุมชนประวัติศาสตร์ ที่ผู้คนหลายเชื้อชาติ ศาสนาทั้งไทย จีน อิสลาม และ ลาวอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 2.อาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ ๒จัดแสดงเกี่ยวกับพระ ราชกรณียกิจพระราชจริยวัตรและงานฝีพระหัตถ์ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อม คอมพิวเตอร์ระบบจอสัมผัส ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลให้ ศึกษาเกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ รวมทั้งประวัติชุมชน
3.บ้านจำ�ลองจำ�ลอง “บ้านเดิม” ของสมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี ครั้งเคยประทับที่ชุมชนแห่ง นี้ ซึ่งอยู่ห่างไปทางวัดอนงคารามไม่เกิน 200 เมตร ตกแต่งภายในตามหนังสือ “แม่เล่าให้ฟัง” พระนิพนธ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรม หลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 4.ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค)เป็นอาคาร โบราณ ที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่จากอาคารซึ่งเป็น สถาปัตยกรรม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และได้ตั้ง ชื่ออาคารตามชื่อของท่านเจ้าของเดิมคือ เจ้าพระยา ศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดี กรมพระคลังสินค้าในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อจัดแสดง งานศิลปะหมุนเวียนทั้งในตัวอาคารและพื้นที่กลาง แจ้งและจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางศิลปะอย่างต่อเนื่อง โดยจะเปิดกว้างสำ�หรับ ศิลปินทั่วไปในการใช้สถานที่ แห่งนี้แสดงออกถึงผลงานทางศิลปะ
Walkway Magazine
21
Insight ย่านกุฎีจีน หรือกะดีจีน เป็นย่านประวัติศาสตร์ที่มีความเก่าแก่ แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ในบริเวณ ริมแม่น้ำ� เจ้าพระยา ประกอบด้วย ชุมชน เล็ก ๆ 6 ชุมชน คือ ชุมชนวัดกัลยาณ์ ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนวัดประยูรวงศ์ ชุมชน บุปผาราม ชุมชนกุฎีขาว และชุมชนโรง คราม มีความหลากหลายทางมรดก วัฒนธรรมของ 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ อันประกอบด้วย พุทธเถรวาท พุทธมหายาน คริสต์ และ มุสลิม คำ�ว่า “กะดี”มีการพูดหรือเขียน หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะ “กะดี ” หรือ “กุฎี ”ซึ่งให้ความหมาย หลากหลายแตกต่าง ชุมชนแห่งนี้นับเป็น แหล่งวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ และแหล่ง รายได้ที่มีความสำ�คัญแห่งหนึ่ง เพราะ ชุมชนแห่งนี้ และบริเวณใกล้เคียง เป็น ชุมชนที่ประกอบด้วยชนหลายชาติหลาย ภาษาเข้ามาตั้งรกราก เช่น ชุมชนชาวจีน ฝรั่งเชื้อชาติโปรตุเกส มุสลิม ลาว และ มอญ เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า พื้นที่แห่งนี้เป็นสถานที่ตั้งของบ้านขุนนาง เก่าสายสกุลบุญนาค และยังมีแหล่ง วัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย ซึ่งมีการ สืบทอดและ ถ่ายทอดความรู้ทางวัฒนธรรมจากอดีต จนถึงปัจจุบัน
22 Walkway Magazine
พื้นที่บริเวณย่านกุฎีจีนเป็น พื้นที่ที่มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรมสูง ทั้งทางด้านกลุ่ม ชาติพันธ์ วิถีชีวิต ความเชื่อ และ ประเพณี เป็นสถานที่ที่มีการก ลมกลืนของผู้คนหลายเชื้อชาติ หลายศาสนามาอยู่รวมกันเป็น ชุมชนขนาดใหญ่ คนในชุมชน มีการช่วยเหลือกันเกื้อกูลกัน ตลอดแม้แต่เรื่องการเมืองก็ ไม่มีการแบ่งแยก ชาวชุมชนจะ เคารพในสิทธิส่วนบุคคลในการ ตัดสินใจเลือกผู้แทนไม่ก้าวก่าย กันในด้านความคิด และไม่ให้ความแตกต่างเรื่อง ศาสนาหรือเชื้อชาติเป็นตัว ทำ�ลายมิตรภาพ เพราะการอยู่ ร่วมกันหลายศาสนาไม่ใช่ปัญหา ของชุมชนนี้ ทุกคนเป็นเพื่อนกัน เป็นครอบครัวเดียวกัน และมอง ว่าความแตกต่างทางศาสนาไม่ใช่ ความแตกแยก
Walkway Magazine
23
จากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของ ชุมชนที่มีคนอยู่ร่วมกันถึงสามศาสนา คือ พุทธ คริสต์ และอิสลาม มีประวัติความเป็น มาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี ทำ�ให้เกิดกิจกรรมสืบสานมรดกวัฒนธรรม ย่านกุฎีจีน “สามศาสนา สี่ความเชื่อ สู่ความยั่งยืน เพื่อชุมชน โดยชุมชน” อันเกิดจากความร่วมมือระหว่าง กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิก สยามฯ นำ�โดย อาจารย์ ดร.นิรมล กุลตัง สมบัติ พร้อมด้วยทีมงานทำ�การปรับปรุง ฟื้นฟูสภาพในพื้นที่ ย่านกุฎีจีน ตั้งแต่ ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน สมาคมสถาปนิก สยามฯ ได้ทำ�การต่อยอด สืบสานมรดก วัฒนธรรมย่านกุฎีจีน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน 24 Walkway Magazine
จะพบว่าความแตกต่างของวิถีชีวิต ศาสนา ความเชื่อ รวมทั้งวัฒนธรรม ประเพณี ไม่ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่ รุนแรงในชุมชน ตัวอย่างเห็นได้จาก ชุมชน กุฎีจีน การที่ผู้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันได้ อย่างสันติสุข เพราะคนในชุมชนยอมรับ ความแตกต่างของกันและกันทั้งในแง่ วัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อทาง ศาสนา ชุมชนกุฎีจีน จึงถือเป็นต้นแบบที่ ทำ�ให้คนไทยในประเทศ ประจักษ์ว่า ความแตกต่าง เรื่องศาสนาและการเมือง ไม่ใช่สิ่งที่ทำ�ให้เกิดความแตกแยก หากแต่ความแตกต่าง ก่อให้เกิดการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ ยอมรับ และแปรเปลี่ยนให้ เป็นความแตกต่างบนความงดงามของทาง วัฒนธรรม
Walkway Magazine
25
26 Walkway Magazine
CULTURE “ย่านกุฎีจีน” เป็นอีกหนึ่งย่านเล็กๆ ริมแม่น้ำ� เจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามปากคลอง ตลาด มีบริเวณอยู่ระหว่างสะพานพระพุทธยอด ฟ้ากับวัดอรุณราชวราราม แต่ถึงจะเป็นย่านเล็กๆ แต่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่มากมายอย่าง ไม่น่าเชื่อ อีกทั้งยังเป็นย่านที่มีความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม โดยในบริเวณชุมชนนี้เป็นที่รวม ของชาวชุมชนที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน แต่ก็ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข โดยหากมอง มาจากฝั่งปากคลองตลาดจะเห็นศาสนสถานที่ สะท้อนถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างได้อย่างชัดเจน ตามประวัติแล้วย่าน “กุฎีจีน” หรือ ”กะดีจีน” เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งอดีตเคยเป็นที่ดินที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้ แก่ชาวจีนและชาวโปรตุเกสได้สร้างที่อยู่อาศัย
Walkway Magazine
27
28 Walkway Magazine
Walkway Magazine
29
30 Walkway Magazine
ART ศิลปะ
วัดกัลยาณมิตร ส่วนด้านหน้าพระวิหารหลวงมี ซุ้มประตูหินเป็นศิลปะแบบจีนขนาด ใหญ่สีทึมเรียกว่า “โขลนทวาร”ประดับ ด้วยตุ๊กตาหินศิลปะจีนตั้งเรียงรายอยู่ มากมาย ด้านขวามือของพระวิหาร หลวงซึ่งเป็นพระอุโบสถ ภายในยังมี พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ประดิษฐาน เป็นองค์ประธาน อันเป็นพระพุทธรูป อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อน ศิลา พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำ�และพระหัตถ์ขวา วางหงายบนพระชานุ และยังมีภาพ จิตรกรรมฝาผนังบอกเล่าเรื่องราวพุทธ ประวัติและถึงแม้พระอุโบสถจะไม่มี ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ที่สวยงามแบบ พระวิหารหลวง แต่ก็ยังคงงดงามด้วย สถาปัตยกรรมแบบจีนด้วยหน้าบันปั้น ลายดอกไม้ประดับกระเบื้องเคลือบ สลับสีลายจีน เป็นความสวยงามของ ศิลปะจีนที่อยู่ในวัดไทยซึ่งดึงดูดสายตา ให้ชวนมองด้วยความชื่นชมยิ่งนัก
วัดกัลยาณมิตรมี”พระพุทธไตรรัตนนายก” หรือ “ซำ�ปอกง” ส่วนคนไทยมักเรียกว่า “พระโต” หรือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปาง มารวิชัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ลวดลาย อันวิจิตรบรรจงภายในวิหารซึ่งประดับประดาด้วย ลวดลายดอกไม้บนผนังและเสา แถมบริเวณหน้า บันยังสลักลายดอกไม้ประดับกระจก พระวิหาร หลวงหลังนี้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทย ด้วยการก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ส่วนด้านหลังของพระอุโบสถยังมี เจดีย์เหลี่ยมพร้อมกับฐานทักษิณที่สร้างขึ้น ในประเทศจีน โดยช่างเมืองไทยเป็นผู้ร่าง แบบและขนาดให้ช่างเมืองจีนหล่อศิลาเทียม ขึ้นก่อนจะล่องทะเลกลับมาประกอบใน ประเทศไทย และอีกจุดหนึ่งที่ไม่ควรพลาด คือ “หอระฆัง” เพราะด้านล่างมีระฆังใบใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ยิ่งในวันที่คนเยอะเช่นนี้ เสียงระฆังจึงดังก้องกังวานไปทั่วทั้งวัด เป็น เสียงที่ฟังเสนาะหูและเปี่ยมไปด้วยพลังของ ความศรัทธา นอกจากนี้ยังมีหอพระธรรม มณเฑียรเถลิงพระเกียรติ ซึ่งเป็นที่เก็บพระ ไตรปิฎกและพระคัมภีร์ต่างๆเจดีย์หินทราย และเทพเจ้าจีนให้สักการะอีกหลายองค์ สม กับเป็นวัดที่มีการผสมผสานของศิลปะไทยจีนที่หลอมหลวมกันไว้ได้อย่างลงตัว Walkway Magazine
31
วัดซางตาครู้ส วัดซางตาครู้สปัจจุบันเป็นหลังที่ 3 นี้ได้รับอิทธิพล สถาปัตยกรรมแบบเรเนสซองส์ แบบนีโอ-คลาสสิค ด้วยความงามสง่าทางสถาปัตยกรรม ที่รังสรรค์อย่าง บรรจง และสิ่งที่น่าสนใจในการประดับตกแต่งลวดลาย ปูนปั้นประดับหรือบานประตูหน้าต่างที่ทำ�เป็นรูป ไม้ กางเขน หัวเสาเป็นแบบ คอรินเธียน ภายในเหนือบาน ประตู หน้าต่างประดับด้วยกระจกสี Stain Glass เป็น เรื่องราวทางคริสต์ศาสนา มากมายเช่น
พระผู้เป็นเจ้า (พระยาเวห์-Yaweh)ทรงสร้าง สรรพสิ่งบนโลกมนุษย์ทรงสร้างอาดัมและเอวา
อัครเทวดามิคาแอล (เซนต์ไมเคิล) กำ�ลังต่อสู้ กับเหล่าปีศาจและส่งปีศาจลงไปอยู่ในนรก
พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าและดวงหฤทัยนิรมล ของพระนางมารีอ
ภาพพระเมตตาของพระเยซูเจ้าผู้ทรงมา ประจักษ์แก่ซิสเตอร์โฟสตินา โควาลสิกา ชาวโปแลนด์ ทรงมาประจักษ์ระหว่างปี ค.ศ. 1931-1938
แม่พระนิจจานุเคราะห์
พระเยซูเจ้าทรงเข้าไปในพระวิหารพบพ่อค้า กำ�ลังค้าขายกำ�ไรแบบเกินในเขตวิหาร พระองค์ ทรงขับไล่เหล่าพ่อค้าออกไป
พระบิดาทรงมาประจักษ์แก่ซิสเตอร์ยูจีเนีย เอลิซาเบตตา ราวาซิโอ ที่ประเทศอิตาลี ในปี 1932 โดยพระศาสนาจักร คาทอลิกแห่งวาติกันได้ทำ�การสอบสวนและรับรอง โดยถือว่า เป็นการมาประจักษ์ของพระบิดาเพียงครั้งเดีย
32 Walkway Magazine
Photo by thaagoon.thaimultiply.com
ศาลเจ้าแม่กวนอิม
ศาลเจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิมหรือพระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวรปางประทานพร แกะสลักจากไม้เนื้อหอม ศิลปะแบบราชวงศ์ถัง อัญเชิญมาจาก ประเทศจีน และเป็นมูลนิธิแห่งแรกของประเทศไทย
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ออกแบบพระ อุโบสถด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย หน้าบันเป็นลายดอกบุนนาค มีพระบรมธาตุ มหาเจดีย์ เป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ทรงกลม สัณฐานรูปโอคว่ำ� มีช่องคูหาเรียงรายล้อม รอบชั้นล่างพระเจดีย์ 54 คูหา ชั้นบนถัด จากช่องคูหาขึ้นไปมีพระเจดีย์เล็ก 18 องค์ เรียงรายรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ นอกจาก นี้ยังมีเขามอซึ่งประดับต้นไม้ด้วยพันธุ์ ไม้ หายาก เป็นที่ประดิษฐานพระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์ พระวิหารหลวงจำ�ลอง สังเวชนียสถานจำ�ลอง และศาลารายน้อย ใหญ่ ซึ่งเป็นศิลปะในสมัยกรุงศรีอยุธยา Walkway Magazine
33
Architecture
วัดกัลยาณมิตร พระวิหารหลวง ตั้งอยู่ตรงกลางวัด มีขนาดสูงใหญ่ เสาภายในวิหาร เขียนเป็นลายดอกไม้ หน้าบันพระวิหารหลวงสลักลาย ดอกไม้ประดับกระจกตามแบบ ฉบับศิลปะสมัยนิยมในพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บานประตูหน้าต่างเป็นไม้สลัก แผ่นใหญ่หนาแผ่นเดียวตลอด
34 Walkway Magazine
ลักษณะการก่อสร้างเป็นรูปแบบ สถาปัตยกรรมไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เชิงชาย หน้าบันสลัก ลายดอกไม้ปูนปั้นประดับ กระจก ประตูหน้าต่างเป็น ไม้สักแผ่นเดียวเขียนลายรดน้ำ� ลายทองรูปธรรมบาล ด้านใน พระวิหารหลวงมีผนังเป็นลาย ดอกไม้ ด้านหน้าพระวิหารหลวง มีซุ้มประตูหิน (โขลนทวาร) และ ตุ๊กตาหินศิลปะจีนตั้งเรียงราย
ด้านหลังของพระอุโบสถมี เจดีย์เหลี่ยมพร้อมกับ ฐานทักษิณ ฝีมือช่างจาก เมืองจีน โดยช่างใน เมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 3 ส่งแบบและขนาดให้ช่าง เมืองจีนหล่อศิลาเทียม แล้วเอาเข้ามาประกอบใน เมืองไทย
พระอุโบสถลักษณะสถาปัตยกรรมจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับ หน้าบันปั้นลายดอกไม้ ประดับกระเบื้องเคลือบสลับสีลายจีน ซุ้มประตู หน้าต่างปั้นลายดอกไม้ประดับกระจก
ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังเกี่ยวกับ พุทธประวัติ และภาพเครื่องบูชา เป็นโต๊ะลดหลั่น กันแบบจีน เสาเขียนลายทรงข้าวบิณฑ์ หันหน้าไป ทางเหนือ
Walkway Magazine
35
โบสถ์ซางตาครู้ส โบสถ์รูปโดมของวัดซางตาครู้ส วัดคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในฝั่งธนบุรี ซึ่ง เป็นอาคารแบบตะวันตกสไตล์โคโลเนียล ผนังอาคารมีลวดลายบัวปูนปั้น และซุ้มประตู ทางเข้าโบสถ์มีความโค้งมนตามสไตล์ยุโรป ภายในโบสถ์ตกแต่งด้วยกระจกหลากสี 39 บาน เป็นกระจกที่สั่งผลิตมาจากประเทศ ฝรั่งเศส บนแท่นพิธีมีไม้กางเขนขนาดใหญ่ ภายในโถงอาคาร ทำ�ฝ้าเพดานเป็นรูปโค้ง คล้ายประทุนเรือ ฝ้าเพดานแบ่งช่องเป็นก รอบสี่เหลี่ยม
ซุ้มพระแท่นบูชาที่ผนังด้านหลังสุดของวัด ตรง กลางซุ้มประดิษฐานรูปพระเยซูเจ้า ทรงถูกตึง กางเขน รูปแบบของซุ้มจะทำ�เลียนแบบจั่วอาคาร แบบกรีก คือ ทำ�เสาติดผนัง 2 ต้น ด้านข้างซุ้มเป็นประตูทางเข้าไปภายในห้อง สังฆภัณฑ์เหนือบานประตูประดับด้วยกระจกสี Stain Glass เป็นเรื่องราวทางคริสต์ศาสนา ผนังและฝ้าเพดาน ช่วงบนลงรักปิดทอง สัญลักษณ์ของท้องฟ้า ตรงกลางเครื่องหมาย lhs
36 Walkway Magazine
ศาลเจ้าเกียงอันกง ศาลเจ้าเกียงอันกง แปลว่า ศาสเจ้าที่สร้างความสงบสุข ให้ผู้คนมากราบไหว้ ภายในศาลเจ้ามีลายไม้แกะสลักตั้งแต่คาน เพดาน โถง รวมทั้งบานประตู มีพระโพธิสัตว์ไม้แกะสลัก และจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊ก ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ ตระกูลสิมะเสถียร Walkway Magazine
37
วัดประยุรวงศาวาส พระอุโบสถวัดประยุรวงศาวาส เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย กว้าง ๑๘.๒๔ เมตร ยาว ๒๕.๒๐ เมตร หลังคาลด ๒ ชั้น หน้าบันเป็นลายดอกพุดตาน ด้านหน้าและ ด้านหลังมีประตูเข้าออกด้านละ ๒ ประตู หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ พระประธาน ในพระอุโบสถหล่อในปี ๒๓๗๑ อันเป็นปีที่ เริ่มสร้างพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อ ด้วยโลหะปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๙๙ เมตร สูง ๑.๖๒๕ เมตร ประกอบด้วย พระพุทธลักษณะอันงดงาม พระพุทธรูปองค์ นี้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ให้ ช่างชาวไทยเป็นผู้หล่อ ได้ว่าจ้างช่างลงรักปิด ทองมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกล่าวกันว่ามีฝีมือ และกรรมวิธีการปิดทองดีเยี่ยม มาปิดทอง พระพุทธรูป และถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์ แรกที่นำ�ช่างฝีมือปิดทองเป็นชาวต่างชาติจาก ประเทศญี่ปุ่น 38 Walkway Magazine
พระบรมธาตุมหาเจดีย์องค์ใหญ่ พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ ทรงกลม สัณฐานรูปโอคว่ำ� สูง ๖๐.๕๒๕ เมตร ฐานล่างส่วนนอกวัดโดยรอบได้ ๑๖๒ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ เมตร มีช่องคูหาเรียงราย ล้อมรอบชั้นล่างพระเจดีย์ ๕๔ คูหา ชั้นบนถัด จากช่องคูหาขึ้นไปมีพระเจดีย์เล็ก ๑๘ องค์ เรียงรายรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ สถาปัตยกรรมแบบ ตะวันตก มีเสาและ คานเป็นหินแบบดอริ ก (Doric) ประดับ ลวดลายศิลปะแบบ เรอเนซองส์
บ้านวินด์เซอร์ (เรือนขนมปังขิง)
ศาลเจ้ากวนอู
ภายในศาลตกแต่งแบบ สถาปัตยกรรมจีน คือใช้สัตว์ ที่เป็นลักษณะเด่น คือ มังกร เพราะเป็นสัตว์มงคลใน อุดมคติของชาวจีน
รูปแบบทางสถาปัตยกรรม ของ “เรือนแบบขนมปัง ขิง” (Gingerbread) หรือ เรือนมะนิลา อันเป็นรูปแบบ ของอาคารที่มีการตกแต่ง ประดับประดาด้วยไม้ฉลุเป็น ลวดลาย ตามบริเวณหน้า จั่ว ช่องระบายอากาศตอน บนของผนังและเหนือประตู หน้าต่าง ลูกกรงระเบียง และ รอบชายคา อันเป็นที่นิยมใน สมัยรัชกาลที่ 5 ภายในบ้านวินด์เซอร์ ประดับตกแต่งด้วยประตู บานเฟี้ยมแกะเป็นลวดลาย นกยูง ซึ่งปรากฏร่องรอย กระสุนจากเหตุการณ์กบฏ แมนฮัตตัน เสาไม้แกะสลัก ลวดลายดอกไม้ประดับหัว เสา ช่องลมแกะสลักไม้ฉลุ หน้าต่างเป็นหน้าต่างไม้เปิด คู่ ลูกฟักไม้บานเกล็ดแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนล่างเป็นบาน กระทุ้งขอสับ กำ�แพงบ้านเป็น กำ�แพงอิฐเก่าแก่ ซุ้มประตูมี ลวดลายปูนปั้นประดับหน้า จั่วสวยงาม
Walkway Magazine
39
อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เป็นอาคารโบราณ ที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่จาก อาคารซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม สมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น และได้ตั้งชื่ออาคารตามชื่อของท่าน เจ้าของเดิคือ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษ าธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดีกรมพระคลังสินค้า ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อจัดแสดงงานศิลปะ หมุนเวียนทั้งในตัวอาคารและพื้นที่กลางแจ้งและ จัดกิจกรรมให้ความรู้ทางศิลปะอย่างต่อเนื่อง โดยจะเปิดกว้างสำ�หรับ ศิลปินทั่วไปในการใช้ สถานที่แห่งนี้แสดงออกถึงผลงานทางศิลปะ
อาคารทิมบริวาร อาคารทิมบริวาร สถาปัตยกรรมแบบ จีนซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมเป็น ที่อยู่อาศัยของข้าทาสบริวารเจ้าพระยาศรี พิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค)
40 Walkway Magazine
มัสยิดกูวติลอิสลาม การแสดงออกที่สำ�คัญที่สุดของศิลปะอิสลาม ก็คือ งานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับ สุเหร่า หรือ มัสยิด ประกอบด้วย อาคารสิ่งก่อสร้างทรง สี่เหลี่ยม ผนังด้านหนึ่งเปิดเป็นรูปประตูโค้ง และหลังคาถูก ค้ำ�ยันด้วยเสา - four-iwan and hypostyle โดยผ่านอาคารสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ต่างๆ ผลของ วัฒนธรรมที่ผันแปรไปท่ามกลางอารยธรรมอิสลามสามารถ แสดงตนออกมาได้ Walkway Magazine
41
42 Walkway Magazine
Natural
Walkway Magazine
43
44 Walkway Magazine
Walkway Magazine
45
PEOPLE
46 Walkway Magazine
วิถีชีวิตของคนในชุมชน จะพบว่าความแตกต่างของ วิถีชีวิต ศาสนา ความเชื่อ รวมทั้ง วัฒนธรรมประเพณี ไม่ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรง ในชุมชน ตัวอย่างเห็นได้จาก ชุมชนกุฎีจีน การที่ผู้คนในชุมชน อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข เพราะ คนในชุมชนยอมรับความแตกต่าง ของกันและกันทั้งในแง่ วัฒนธรรม ประเพณี และความ เชื่อทางศาสนา ชุมชนกุฎีจีน จึงถือ เป็นต้นแบบที่ท าให้คนไทยใน ประเทศ ประจักษ์ว่า ความแตกต่าง เรื่องศาสนาและการเมือง ไม่ใช่สิ่งที่ทำ�ให้เกิดความแตกแยก หากแต่ความแตกต่าง ก่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยอมรับ และ แปรเปลี่ยนให้เป็นความ แตกต่างบนความงดงามของทาง วัฒนธรรม (ข้อมูลจากเอกสารสันติสุขเกิดขึ้นได้ เพราะแตกต่าง อย่างเข้าใจ กรณีศึกษาชุมชนเล็ก ๆ แต่มีความหมายยิ่ง ใหญ่ กะดีจีน คลองตะเคียน ละงู)
Walkway Magazine
47
48 Walkway Magazine
Walkway Magazine
49
50 Walkway Magazine
ACTIVITY ความโดดเด่นของย่านกะดีจีน คือ ศิลปวัฒนธรรมที่ ผสมผสานจากทั้งสามศาสนา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ ของยานนี้ มีผลงานศิลปะขึ้นชื่อทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย ดนตรีและการแสดง ซึ่ง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการรวมตัวกันของชาว บ้าน ศาสนสถาน เครือข่ายศิลปิน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานราชการในพื้นที่ รวมทั้งบริษัทเอกชน พร้อมใจกันฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเหล่านี้ให้กลับมามี ชีวิตอีกครั้ง ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ ศิลปะบนกำ�แพง ที่จัดไปแล้ว 3 ครั้ง หรือผ้าป่าอนุรักษ์สามัคคีกะดีจีน
วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง เป็นการผนึก กำ�ลังกันขับเคลื่อนให้งานอนุรักษ์เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยนำ�ศิลปะมาเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงกระตุ้น ให้สังคมเกิดความสนใจและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ มรดกวัฒนธรรมอันมีคุณค่า facebook : Love Kadeejeen
Walkway Magazine
51
52 Walkway Magazine
Walkway Magazine
53
FOODSTUFF
54 Walkway Magazine
ขนมฝรั่งกุฎีจีน “ขนมฝรั่งกุฎีจีน” เป็นขนมลูกผสม ระหว่างจีนกับฝรั่ง ตัวขนมเป็นตำ�รับ ของโปตุเกส และหน้าของขนมเป็นจีน มีลักษณะเด่นตรงที่ใช้วัตถุดิบอย่างดี มาทำ�ขนม คือมีแป้ง ไข่ และน้ำ�ตาล เพียงแค่ 3 อย่างนี้ตีให้ส่วนผสมเข้ากัน จนขึ้นฟู โรยด้วยลูกเกด ลูกพลับ ฟัก เชื่อม และน้ำ�ตาลทราย แล้วนำ�ไปเทใส่ แม่พิมพ์แล้วอบจนขนมสุก ชาวจีนมีความเชื่อว่าหากรับประทาน ขนมฝรั่งกุฎีจีนแล้วจะร่มเย็น เนื่องจากชาวจีนเชื่อว่ากินฝักเชื่อมแล้ว จะร่มเย็น กินน้ำ�ตาลทรายแล้วจะมั่งคั่ง ไม่รู้จบเหมือนกับน้ำ�ตาลทรายที่นับเม็ด ไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีลูกพลับอบแห้ง และลูกเกด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีราคาและมี คุณค่าทางอาหารอีกด้วย จากขนมฝรั่งกุฎีจีนที่อวดโฉมเฉพาะใน เทศกาลแห่งความสุข (Boxing Day) ของชาวคาทอลิกที่นี่ กลับกลายมาเป็น สินค้าขึ้นชื่อในวันนี้ “ร้านธนูสิงห์” เป็น หนึ่งในร้านที่ยังคงผลิตขนมฝรั่งกุฎีจีน โดยปรับใช้กระบวนการสมัยใหม่ในการ ผลิต จนขนมฝรั่งกุฎีจีนกลายเป็นของดี ที่ใครผ่านไปมาในย่านนี้ อดไม่ได้ที่จะแวะลิ้มลอง Walkway Magazine
55
ขนมฝรั่งกุฎีจีนที่ร้านธนูสิงห์จะมี อยู่ 2 แบบ คือ มีขนมฝรั่งกุฎีจีน แบบดั้งเดิม (ชิ้นเล็ก) คือไม่มีหน้า สามารถเก็บไว้ได้นาน 7-10 วัน ตัว ขนมเนื้อจะเบานุ่มหอม ออกรสไม่ หวานมาก ส่วนอีกแบบมีหน้าชิ้นใหญ่ คือโรยหน้าด้วยลูกเกด ลูกพลับ ชิ้น ฟัก และน้ำ�ตาลทราย (แต่ถ้าเป็นชิ้น เล็กจะไม่ใส่ลูกพลับ) สามารถเก็บไว้ ได้ 10-14 วัน ตัวเนื้อขนมแห้งฟูนุ่ม ร่วน แต่ตรงหน้าขนมจะเคี้ยวกรุบๆ เพราะตัวน้ำ�ตาลโรยหน้า ส่วนราคา ขนมถือว่าไม่แพง ขนมฝรั่งกุฎีจีนชิ้น ใหญ่ (ชิ้นละ 20 บาท) ถ้าเป็นแบบใส่ ถุงชิ้นเล็ก มี 4 ชิ้น (30 บาท)
56 Walkway Magazine
ขนมฝรั่งกุฎีจีนร้าน”ธนูสิงห์” ตั้งอยู่ ที่ 235 ซ.กุฎีจีน 7 ถ.เทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กทม. การเดินทางมาได้ทั้งทางรถและทาง เรือ ถ้ามาทางเรือให้ขึ้นเรือข้ามแม่น้ำ� เจ้าพระยาจากท่าปากคลองตลาด ไป ลงยังฝั่งท่าโบสถ์ซางตาครูส แล้วเดิน ไปทางซ.กุฎีจีน 7 เดินไปตามป้าย บอกทางเรื่อยๆ ก็จะเจอ หรือถ้ามา ทางรถจากทางถ.เทศบาลสาย 1 ให้ มาจอดรถที่วัดกัลยาณมิตร จากนั้น เดินไปที่ ซ.กุฎีจีน 7 หรือสอบถาม เส้นทางจากชาวบ้านแถวนั้นได้
http://www.weekendhobby.com/camp/webboard/shtml/5451.shtml
ร้านขนมฝรั่งกุฎีจีนธนูสิงห์ เปิดขายทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2465-5882, 08-1483-0303
Walkway Magazine
57
TRAVEL วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร 1.นั่งรถเมล์สาย 21 ไปตรงโรงเรียนศึกษานารี จากนั้นเดินไปตามถนนประชาธิปกเข้าสู่ถนน อรุณอัมรินทร์ประมาณ 12 นาทีก็จะถึงวัด 2.นั่งรถเมล์สาย 75 ไปตรงป้ายโกบ๊อ แล้วต่อรถเมล์สาย 37 ไปตรงโรงเรียนศึกษานารี จากนั้นเดิน ไปตามถนนประชาธิปกเข้าสู่ถนนอรุณอัมรินทร์ประมาณ 12 นาทีก็จะถึงวัด 3.นั่งรถเมล์สาย 75 ไปตรงป้ายโกบ๊อ แล้วต่อรถเมล์สาย 82 ไปตรงสะพานพระปกเกล้า จากนั้นเดิน ไปตามถนนประชาธิปกเข้าซอยเทอดไท 38 แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนอรุณอัมรินทร์ประมาณ 14 นาที ก็จะถึงวัด
โบสถ์ซางตาครู๊ส จากวัดกัลยาณมิตรเดินไปทางถนนเทศบาลสาย 1 ใช้เวลาประมาณ 8 นาที
ชุมชนกุฎีจีน เดินจากวัดกัลยาณมิตรไปทางถนนเทศบาลสาย 1 ใช้เวลาประมาณ 4 นาที 58 Walkway Magazine
ศาลเจ้ากวนอู จากชุมชนกุฎีจีนเดินไปทางถนนเทศบาลสาย 2 ใช้เวลาเดินประมาณ 7 นาที
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร จากโรงเรียนศึกษานารีเดินไปทางถนนประชาธิปกแล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา เข้าซอยสมเด็จเจ้าพระยา 1 แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยดิลกจันทร์ ใช้เวลาประมาณ 11 นาที
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จประศรีนครินทราบรมราชชนนี จากโรงเรียนศึกษานารีเดินไปทางถนนประชาธิปกแล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา เข้าซอยสมเด็จเจ้าพระยา 1 แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยดิลกจันทร์ ใช้เวลาประมาณ 11 นาที
มัสยิดกูวติลอิสลาม จากอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเดินไปตามซอยดิลกจันทร์เข้าสู่ สมเด็จเจ้าพระยาใช้เวลาประมาณ 1 นาที Walkway Magazine
59
การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว : เข้าทาง ซ. สน.บุปผาราม (เชิงสะพานเจริญพาศน์) หรือเข้า ซ. อิสรภาพ 24 แล้ววิ่งออกทาง ถ. เทศบาล สาย 1 ข้างวัดประยูร ออกสะพานพุทธ 60 Walkway Magazine
รถประจำ�ทาง : สาย 3, 4, 7, 9, 10, 19, 21, 40, 42, 56, 82, 85, ปอ. 3, 4, 21, และ82 เรือ : นั่งเรือด่วนเจ้าพระยา ขึ้นที่ท่าราชินี แล้วลงเรือข้ามฟากมาขึ้นที่ท่ากุฎีจีน Walkway Magazine
61
TRIP # KADEEJEEN
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประพงษ์ ปรีชาประพาฬวงศ อาจารย์พชรพร เจริญวินัย วิชา GEN441 Culture and Excursion วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
62 Walkway Magazine
MEMBER
53218406 นาย จิตตภู รุ่งเรือง
53218413 นางสาว บุญยาพร ทองดีเลิศสกุล
53218422 นาย ยาซูยูกิ โอชิ
53218432 นางสาว เจนจิรา ปานแดง
53218435 นางสาว จิรมิตร เสมาทอง
53218442 นาย ณัฐพล จิตทักษะ
นักศึกษาภาควิชามีเดียทางการแพย์และวิทยาศาสตร์ ชั้นปี 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Walkway Magazine
63
GEN441 Culture and Excursion 2557