ความทันสมัยในภาพเรืองแสงโรงภาพยนตร์ในสังคมปัตตานี

Page 1

ปยะนันท นิภานันท

ความทันสมัยในภาพเรืองแสง: ประวัติศาสตร วัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี บทนํา บทความชิ้ น นี้ คื อ การศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร วั ฒ นธรรมกั บ สื่ อ สมั ย นิ ย ม โดยมุงทําความเขาใจปฏิสัมพันธทางสังคมในปตตานี ผานพื้นที่ทาง วัฒนธรรมสมัยใหมอยางโรงภาพยนตร ในเขตเมืองปตตานี ดังจะเห็น ไดจากตัวอยางคําบอกเลาของคนรุนกอนที่พํานักอยู ในพื้นที่ที่บอกเลา วา “ในวันฮารีรายา คนมลายูจะนิยมเดินทางนั่งรถสองแถวเขามาชม ภาพยนตร ในตัวจังหวัดปตตานี” ในชวงเวลาของการเปดกิจการโรง ภาพยนตรมีความครึกครื้นเปนพิเศษ มีทั้งแรงงานประมง ชาวมลายูมุสลิม ฯลฯ หลั่งไหลมาชมภาพยนตรอยางไมขาดสาย อยางไรก็ตามใน ชวงหลังผูชมลดจํานวนลงเรื่อยๆ เนื่องจากหลากหลายปจจัยที่สงผลกระ ทบตอกิจการโรงภาพยนตรในปตตานี การสํารวจความทรงจําเกี่ยวกับการชมภาพยนตรของโรงภาพยนตร ในสั ง คมป ต ตานี จ ะฉายให เ ห็ น ถึ ง ปฏิ สั ม พั น ธ ข องคนในชุ ม ชนและ พฤติกรรมที่สะทอนออกมาจากการบริโภคสื่อ ในขณะเดียวกันก็สะทอน ถึงอิทธิพลของสื่อสมัยใหมตอวิถีชีวิตผูคนในสังคมปตตานี โดยเฉพาะ การศึกษามุมมองและทัศนคติของคนมลายูในปตตานีที่มีตอการบริ โภค สื่อผานการชมภาพยนตร ในโรงภาพยนตร เพราะพื้นที่ของโรงภาพยนตร มีความแตกตางจากพื้นที่อื่น เนื่องจากเปนศูนยกลางของมหรสพความ บันเทิงที่มีการปะทะกันของหลากหลายวัฒนธรรมอยางเห็นไดชัด อาทิ รสนิยมในการชมภาพยนตรของคนแตละกลุมก็มีความแตกตางกัน ตลอดระยะเวลาที่ ผ า นมานั้ น งานวิ ช าการในพื้ น ที่ ส ามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต มักมุงเนนไปที่การศึกษาในเชิงประวัติศาสตรการเมือง รุไบยาต: วารสารวิชาการดานเอเชียศึกษา ปที่ 2 ฉบับที่ 3, สภาวะความเปนสมัยใหมอันแตกกระจาย: การคนหา ประวัติศาสตรสังคมวัฒนธรรมปาตานี (กรกฎาคม-ธันวาคม 2554) Copyright © 2011 กองทุนรุไบยาต และหนวยวิจัยภูมิภาคศึกษา สํานักวิชาศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

279

ขบวนการแบงแยกดินแดน และการปะทะกันของรอยตอทางศาสนา งานศึกษาชิ้นนี้จะพยายามเปดมุม มองตอพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใตในมิติอื่นๆ ที่ไมคอยมีคนสนใจศึกษาเกี่ยวกับสังคม-วัฒนธรรม มลายูปตตานีมากอน ภายใตบริบทของการศึกษาวัฒนธรรมสมัยนิยมกับความสัมพันธทางดานศาสนา และชาติพันธุของคนในพื้นที่ ตลอดจนการนําเสนอภาพลักษณของสังคมมลายูในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใตในมุมมองใหม อันนาจะเปนประโยชนตอการศึกษาลักษณะความสัมพันธทางศาสนา และชาติพันธุของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใตตอไป การกอตัวขึ้นของสภาวะความสมัยใหมตั้งแตศตวรรษที่ 18 เปนตนมาสงผลใหสังคมเปลี่ยน ผานยุคจารีตไปสูยุคสมัยใหมอยางรวดเร็ว ยิ่งไปกวานั้นการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ประการในชวงหลัง สงครามโลกครั้งที่สอง อันเปนยุคสมัยของทุนนิยม ทําใหใหมนุษยมีการปรับเปลี่ยนอัตลักษณของ ตนเองไปสูสังคมสมัยใหม ความทันสมัยจึงเปนสิ่งที่ปจเจกบุคคลจะตองปรับตัวเองใหสอดคลองตอ ยุคสมัยของสังคม ทั้งนี้ ความเปนสมัยใหมยอมสัมพันธกับเทคโนโลยีรวมถึงองคความรูใหมๆ สังคม จึงไมอาจหลีกหนีไปจากการตื่นตัวตอนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ การทําใหเปนสมัยใหมสงผลใหผูคน ตระหนักและพรอมที่จะรับเอาสิ่งใหมๆ อยูตลอดเวลา เนื่องจากสภาวะดังกลาวไม ไดเปนสิ่งที่กอตัว ขึ้นในเชิงของรูปธรรมเพียงเทานั้น ทวาในระดับของนามธรรมก็กอใหเปนสิ่งที่ตกผลึกขึ้นจากการกอ ตัวของความทันสมัยดวยเชนกัน เนื่องจากภาวะความเปนสมัยใหมมีผลทําใหผูคนในสังคมมีความรูสึก วาตนเองจะตองรับมือกับความเปนสมัยใหมเพื่อไมใหตนเองลาหลังไปจากวัฒนธรรมของสังคม1 ความ บันเทิงจึงเปนสิ่งหนึ่งที่กอตัวขึ้นจากวัฒนธรรมทางสังคมที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามพลวัตของความ เปนสมัยใหม ทั้งนี้ การแสดงออกของมนุษยในสังคมจึงตองรับมือกับการเกิดขึ้นของสื่อความบันเทิงที่ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ เพื่อไมใหตนเองหลุดพนออกไป จากความทันสมัย เนื่องจากความบันเทิงเปนสิ่งที่อยูคูกับสังคมมาโดยตลอดและดวยนัยของความบันเทิงยอมหมาย ถึงสิ่งที่สรางความสุข ความจรรโลงใจ ความเพลิดเพลินตางๆ ใหกับผูคนที่แสวงหาสิ่งเหลานั้นเพื่อ ผอนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน เมื่อชีวิตประจําวันของคนในปจจุบันนี้ประกอบดวย ปญหามากมาย ไมวาจะเปนทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง ทางสังคม หรือแมกระทั่งทางการศึกษา และ ดวยการประดังเขามาอยางไมขาดสายของปญหาตางๆ ผูคนยอมมองหาสิ่งที่จะชวยสรางความบันเทิง ตอจิตใจและรางกายที่เหนื่อยลามามากกับชีวิตในทุกๆ วัน และเมื่อความบันเทิงไดกอตัวขึ้นในสังคมก็ ยากที่จะทําใหความนิยมนั้นเสื่อมคลายลงไปได นอกเสียจากวาจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและกาล เวลา ความบันเทิงประเภทหนึ่งที่ถูกลดเลือนและจางหายไป คือ โรงภาพยนตรแบบ “สแตนดอะโลน” (stand alone) ที่ในสมัยอดีตอันยังไม ไดไกลโพนนักนั้นเราสามารถพบเจอไดทั่วทุกแหลงของความ เจริญ กระทั่งกลาวไดวาในชวงเวลาที่โรงภาพยนตร ในรูปแบบดังกลาวยังคงมีลมหายใจอยูนั้น การใช พื้นที่สาธารณะในโรงภาพยนตรเพื่อเสพความบันเทิงของคนในสังคมไทยนั้นเปนเสมือนภาพสะทอน วิถีชีวิตของคนในสังคม ในกรณีนี้ ผูเขียนไดศึกษาพฤติกรรมการชมภาพยนตร ในโรงภาพยนตรของ 1 Anthony Giddens, Modernity and Self-Identity: Self and Society in the Late Modern Age (Cambridge: Polity Press, 1991), 3-6.


280

ปยะนันท นิภานันท

จังหวัดปตตานี โดยจุดมุงหมายของการเดินตามรอยประวัติศาสตรโรงภาพยนตรในจังหวัดปตตานี คือ เพื่อใชเปนภาพสะทอนใหเขาใจถึงบริบทของสังคมปตตานี โดยเฉพาะกลุมคนมลายูปตตานี กลาวอีกแบบหนึ่งก็คือ การศึกษากลุมคนดังกลาวในทองถิ่นของจังหวัดปตตานีกับการใชพื้นที่ ของโรงภาพยนตรนั้น มีเปาหมายเพื่อทําความเขาใจตอกลุมคนมลายูปตตานีที่ทั้งมีลักษณะเฉพาะ และมีการปรับตัวเองอยูตลอดเวลา เพราะหากมองกลุมคนดังกลาวใหเปนเรื่องตายตัวแลว เราก็จะ ไมสามารถเห็นถึงวัฒนธรรมทองถิ่นที่มีความสามารถในการปรับตัวของคนในสังคมเพื่อเผชิญกับการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกๆ ดาน ไมวาจะเปนดาน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เปนตน การ ศึกษาการปรับเปลี่ยนตัวเองของวัฒนธรรมมลายูปตตานีกับการเผชิญหนากับความทันสมัยจึงนาจะ เปนการสะทอนใหเห็นถึงทัศนคติของสังคมมลายูปตตานีที่มีตอคานิยมสมัยใหม ที่หลั่งไหลมาจากการ รับวัฒนธรรมจากสวนกลาง อันสงผลใหพฤติกรรมและคติพจนของคนมลายูในสังคมปตตานีมีความ เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากจังหวัดปตตานีมีประชากรที่มีความหลากหลายในการประกอบอาชีพ เชน ทํานา สวน ยางพาราประมง และคาขาย เปนตน สงผลใหลักษณะวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในสังคมยอมมี ความหลากหลายอยู ในพื้นที่เดียวกัน แมวาวิถีชีวิตของแตละบุคคลจะแตกตางกันซึ่งขึ้นอยูแนวทาง ปฏิบัติ ในการประกอบอาชีพ แตสิ่งหนึ่งที่คนในสังคมยอมมีความตองการเหมือนกันคือการพักผอน หยอนใจยามวางภายหลังจากการประกอบอาชีพ ดังนั้นจึงสามารถพบเห็นคนปตตานีพักผอนหยอนใจ จากการละเลนหรือการชมมหรสพไดทั่วไปในสังคมปตตานี อาทิ ลิเกฮูลู รองเง็ง ซีละ มะโยง โนรา หนังตะลุง2 ตอมาความสมัยใหมและวัฒนธรรมการบริโภคสื่อจากสวนกลางของรัฐมีการกระจายลงสู ทองถิ่นมากขึ้น คนปตตานีจึงนิยมชมภาพยนตร “ขายยา” และ “ลอมผา” อันหมายถึงการเดินทางเขา มาในพื้นที่ทองถิ่นของภาพยนตร โดยมีการลอมรั้วผาเพื่อเก็บคาบัตรเขาชมภาพยนตร สําหรับภายนตร ที่นิยมนํามาฉายนั้นคือภาพยนตรที่เคยมีการนําออกฉายมากอนในโรงภาพยนตรในกรุงเทพฯ ภาพเรือง แสงเคลื่อนไหวไดเสมือนจริง และเรื่องราวตางๆ จากโลกอันหางไกลของภาพยนตรจึงกลายเปนการ ละเลนหรือมหรสพทันสมัยที่ผูคนในทุกพื้นที่ตางใหความสนใจ และเมื่อการชมมหรสพดังกลาวได รับความนิยมอยางแพรหลาย จึงมีนักลงทุนทองถิ่นเล็งเห็นถึงผลกําไรที่จะไดรับจากการทําธุรกิจโรง ภาพยนตร ภายหลังจึงสรางโรงภาพยนตร ในตัวจังหวัดตางๆ รวมทั้งในปตตานี อันสรางความตื่นเตน ใหกับคนในพื้นที่เปนอยางมาก พัฒนาการของโรงภาพยนตรในจังหวัดปตตานี โรงภาพยนตรในเมืองปตตานีที่มีการเปดกิจการตั้งแตป 2470-2545 นั้น มีอยูทั้งหมดสี่โรง คือ โรงภาพยนตรคิงสปตตานี โรงภาพยนตรศรีเมือง โรงภาพยนตรปตตานีรามา และโรงสุดทายคือโรง ภาพยนตรพาราไดสปตตานี กลาวไดวาโรงภาพยนตรทั้งสี่โรงนี้เปนโรงภาพยนตรที่สรางขึ้นมีความทัน สมัยไลระดับของความเจริญกาวหนาของสังคม อันจะสังเกตไดจากโรงภาพยนตรโรงแรกนั้นเปนโรง 2 “การละเลนพื้นเมือง,” สืบคน 3 ธันวาคม 2553, <http://www.nsru.ac.th/oldnsru/webelearning/dance/native. html>


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

281

ภาพยนตรที่สรางดวยไมและสามารถรองรับผูเขา ชมไดในจํานวนที่จํากัด ตอมาเมื่อพัฒนาการของ ความทันสมัยเจริญรุดหนาขึ้น โรงภาพยนตร ไมก็ถูก พัฒนาใหมีความสะดวกทันสมัยมากขึ้นโดยการสราง โรงภาพยนตรเปนตึกขนาดใหญและมีเครื่องปรับ อากาศ รวมถึงอุปกรณฉายภาพยนตรที่มีมาตรฐาน โรงภาพยนตรคิงสปตตานี โรงภาพยนตรคิงสปตตานีหรือที่ผูคนในจังหวัด ปตตานี ในยุคสมัยหนึ่งเรียกขานกันวา “วิกคิงส” เริ่มกอตั้งป 2470 ในชวงแรกวิกคิงสเปนโรงละคร และรองรั บ วงดนตรี ลู ก ทุ ง ที่ เ ดิ น ทางมาเป ด แสดง ในจังหวัดปตตานี จนกระทั่งเขาสูป 2495 จึงถูก ดัดแปลงใหเปนโรงภาพยนตร โรงแรกของปตตานี ในชวงปนี้สภาพการณการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่สําคัญอยางหนึ่งที่เกิดขึ้นในปตตานี คือการเดิน ทางเขามาของคนจากตางจังหวัด อยางเชนกลุม คนที่มาทําธุรกิจประมงหรือเปนผูใชแรงงาน โดย เฉพาะแรงงานจากตางจังหวัดที่เดินทางเขามารับจาง ในธุรกิจประมงอยางไมขาดสายทําใหคนสวนใหญ ที่เดินทางมาชมภาพยนตร ในชวงนี้คือกลุมคนเรือที่ ตองการผอนคลายจากการทํางาน3 เพราะการทํางาน ของแรงงานประมงจะตองเดินทางออกไปประกอบ อาชีพนอกชายฝงเปนระยะเวลาหลายเดือน ดังนั้น การกลับมาจากประกอบอาชีพจึงจําเปนจะตองพัก ผอนหยอนใจตามสถานที่บันเทิงตางๆ โรงภาพยนตร จึงเปนทางเลือกที่สําคัญของกลุมคนเหลานี้ ในการ บริโภคสื่อความบันเทิง โรงภาพยนตรคิงสปตตานีกอตั้งและดําเนินการ โดยตระกูลกฤษฎาวัฒน โดยนายประยุทธ กฤษฎาวัฒน ไดกอตั้งและประกอบกิจการวิกคิงสตั้งแตบัตร ชมภาพยนตรราคาสองบาท กระทั่งขึ้นสูงสุดคือเกา

ภาพที่ 1 ผูชมในโรงภาพยนตรคิงสปตตานี ป 2495. ที่มา: อัลบั้มภาพถายของวีรวุฒิ กฤษฎาวัฒน.

ภาพที่ 2 รถโฆษณาภาพยนตรของโรงภาพยนรคิงสปตตานี ที่มา: อัลบั้มภาพถายของวีรวุฒิ กฤษฎาวัฒน.

3 สัมภาษณ วีรวุฒิ กฤษฎาวัฒน, บุตรชายคุณประยุทธ กฤษฎาวัฒน เจาของโรงภาพยนตรคิงสปตตานีและปตตานีรามา, 19 ตุลาคม 2553.


282

ปยะนันท นิภานันท

บาทในชวงป 2510 วิกคิงสปตตานีจะฉายภาพยนตร จีนและภาพยนตรอินเดียเปนหลัก ความจุของโรง ภาพยนตรจะอยูที่ประมาณ 500 ที่นั่ง และจะฉาย ภาพยนตรในวันธรรมดาสามรอบ คือ รอบบาย รอบค่ํา และรอบดึก อยางไรก็ตามในภายหลังวิกคิงส มีรายไดซบเซาลงไปมากเนื่องจากผูประกอบการไม ไดมีการปรับปรุงคุณภาพของโรงภาพยนตร ใหดียิ่ง ขึ้น จึงมีเสียงร่ําลือจากผูมีประสบการณ ในการนั่ง ภาพที่ 3 รองรอยสวนหนึ่งของชื่อภาพยนตรที่เคยทํากําไร ศรีเมือง. ที่มา: ถายโดยผู ชมภาพยนตร ในวิกคิงสวาตองคอยระแวงหนูและ ใหเขียกน,ับเจ28าของโรงภาพยนตร พฤศจิกายน 2553. ตัวเรือดที่อาศัยอยูตามเกาอี้ ไม รวมถึงชวงเวลาฝน ตกจะมีนํา้ทวมขังอยู ในโรงภาพยนตร สวนมูลเหตุที่ ทําใหเจาของโรงภาพยนตรปลอยปละวิกคิงส ใหตก อยู ในสภาพเชนนี้ก็เนื่องดวยในชวงเวลาเดียวกันนั้น ไดหันไปพัฒนาโรงภาพยนตรปตตานีรามาขึ้นเปนอีก หนึ่งโรงภาพยนตรของตระกูล โรงภาพยนตรศรีเมือง ่ 4 รองรอยที่หลงเหลืออยูของโรงภาพยนตรศรีเมือง โรงภาพยนตรศรีเมืองปตตานีตั้งอยูที่เทศบาล ภาพที ปจจุบันไดถูกปรับปรุงเปนหางสรรพสินคา. ที่มา: ถาย เมืองปตตานี ถนนจะบังติกอ อําเภอเมือง จังหวัด โดยผูเขียน, 28 พฤศจิกายน 2553. ปตตานี กอตั้งขึ้นเมื่อป 2503 กระทั่งปดกิจการใน ป 2535 โรงภาพยนตรดังกลาวสามารถรองรับจํานวน ผูชมไดสูงสุดประมาณ 500-600 ที่นั่ง ศรีเมืองเปน โรงภาพยนตรที่ฉายภาพยนตรฮอลลีวูดเสียเปนสวน ใหญและเปนที่รูจักในกลุมผูชมที่ชื่นชอบภาพยนตร แนวบู ศรีเมืองประสบความสําเร็จทางธุรกิจในการ ดําเนินการระยะแรก กอนที่ความนิยมของผูชมจะ หันเหไปสูโรงภาพยนตรปตตานีรามาซึ่งสรางขึ้นใหม อย า งทั น สมั ย ตั ว อย า งของภาพยนตร ที่ เ คยสร า ง รายไดใหกับโรงภาพยนตรศรีเมืองเปนอยางมากใน ความทรงจําของครอบครัวเจาของโรงภาพยนตร คือ คอนวอย (Convoy, กํากับโดย Sam Peckinpah, ป 2521) แรมโบ (Rambo, กํากับโดย Ted Kotcheff, ป 2525) เปนตน นภดล พงศเลิศนภากร บุตรชาย เจาของโรงภาพยนตรศรีเมือง ไดกลาววา


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

283

สมัยที่มีโรงหนังศรีเมืองของคุณพอ ผมยังเด็ก จําได วาจะฉายหนังฝรั่งเปนสวนใหญคนที่มาชมก็เปนคน มุสลิมทั้งในเมือง นอกเมือง รวมถึงคนเรือดวย หนัง ที่ทํากําไรก็แรมโบ, คอนวอย พวกเด็กเดินตั๋วก็จะเอา สติ๊กเกอรหนังที่ทํากําไรมาแปะไวที่ตูอุปกรณฉายหนัง ตอนนี้ก็ยังหลงเหลืออยูเลย4

โรงภาพยนตรปตตานีรามา โรงภาพยนตรปตตานีรามาถือกําเนิดขึ้นกอน ที่โรงภาพยนตรศรีเมืองจะปดกิจการ โรงภาพยนตร แหงนี้สามารถดึงดูดผูชมภาพยนตรเปนจํานวนมาก เนื่องจากเปนโรงภาพยนตรที่มีความทันสมัยกวาโรง ภาพยนตรอื่นๆ ในชวงเวลาเดียวกัน ปตตานีรามา เป น โรงภาพยนตร แ รกในป ต ตานี ที่ ติ ด เครื่ อ งปรั บ อากาศ ผูกอตั้งเปนเจาของกิจการคนเดียวกับวิก คิงสปตตาน คือ คุณประยุทธ กฤษฎาวัฒน ซึ่ง ไดมีการเซ็นสัญญาเชากับเทศบาลเมืองปตตานี ใน วันที่ 12 สิงหาคม 25125 โดยกําหนดการสรางให แลวเสร็จในป 2513 แตกวาปตตานีรามาจะไดมีการ จัดฉายภาพยนตรเรื่องปฐมฤกษตองลวงมาจนถึง วันที่ 19 ธันวาคม 2517 หลังจากเปดฉายในรอบ ปฐมฤกษแลว โรงภาพยนตรปตตานีรามาก็ประสบ ความสํ า เร็ จ อย า งสู ง จนถื อ ได ว า เป น ยุ ค ทองของ การชมภาพยนตร ในปตตานี ผูคนทั้งในและนอก ตัวจังหวัดปตตานีตางก็ตื่นตัวกับความทันสมัยของ โรงภาพยนตรนี้ จนอาจกลาวไดวาปตตานีรามาเปน พื้นที่สําหรับความบันเทิงใหกับคนในจังหวัดปตตานี อยางแทจริง อยางไรก็ตาม เมื่อหมดสัญญาเชาในวัน ที่ 15 ตุลาคม 25446 เจาของกิจการรายเกาก็ตัดสิน ใจโอนกรรมสิทธิ์การเปนผูเชาที่ดินใหกับเจาของโรง ภาพยนตรพาราไดสปตตานีเปนผูเชาตอไปกระทั่งมี การรื้อถอนอาคารในป 2546

ภาพที่ 5 ผูชมหนาโรงภาพยนตรปตตานีรามาในวันเปด ดําเนินการ. ที่มา: อัลบั้มภาพถายของวีรวุฒิ กฤษฎาวัฒน.

ภาพที่ 6 “หนังสือสัญญาเชาสรางอาคารโรงมหรสพ (โรง ภาพยนตรปตตานีรามา) และอาคารพาณิชยบริเวณที่ดิน เรือนจําเกาของเทศบาลเมืองปตตานี.”

4 สัมภาษณ นภดล พงศเลิศนภากร, บุตรชายเจาของโรงภาพยนตรศรีเมือง, 21 ตุลาคม 2553. 5 “หนังสือสัญญาเชาสรางอาคารโรงมหรสพ (ภาพยนตร) และอาคารพาณิชยบริเวณที่ดินเรือนจําเกาของเทศบาลเมือง ปตตานี” (เอกสารไมมีตีพิมพเผยแพร, เทศบาลจังหวัดปตตานี, ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2512). 6 เรื่องเดียวกัน.


284

ปยะนันท นิภานันท

โรงภาพยนตรพาราไดสปตตานี โรงภาพยนตรพาราไดสปตตานีตั้งอยูที่ถนน ปตตานีภิรมย ตําบลอาเนาะรู อําเภอเมือง จังหวัด ป ต ตานี พาราไดส เ ป น โรงภาพยนตร สุ ด ท า ยใน ประวัติศาสตรปตตานี กอสรางกอนที่ปตตานีรามา จะปดกิจการไดไมนาน ประวัติของพาราไดสคอน ขางมีความคลุมเคลือเนื่องจากเจาของโรงภาพยนตร ไดยายออกจากปตตานี อยางไรก็ตาม กลาวกันวา ภาพที่ 7 โรงภาพยนตรพาราไดสปตตานีในปจจุบันที่ได นที่อยูของนกนางแอน. ที่มา: ถายโดยผูเขียน, 10 เจาของคนสุดทายของพาราไดส ไดซื้อกิจการของ กลายเป พฤศจิกายน 2553. ป ต ตานี ร ามาด ว ยเช น กั น แต ก ารดู แ ลกิ จ การทั้ ง สองโรงภาพยนตร ไปพรอมๆ กันคอนขางดําเนินไป อยางยากลําบากในชวงเวลาดังกลาวและเริ่มประสบ ปญหาขาดทุน จึงจําเปนตองปลอยใหปตตานีรามา ซึ่งในชวงทายๆ ไดหันมาฉายภาพยนตร “เรทอาร” กระทั่งหมดสัญญาเชาพื้นที่กับทางเทศบาล7 สวน พาราไดส ไดกลายเปนโรงภาพยนตรที่กลุมผูชมเปน วัยรุนในวันหยุดราชการหรือเสาร-อาทิตย จึงเปนวัน ที่เจาของกิจการจะมีรายไดจากการฉายภาพยนตร มากกวาวันธรรมดา ภาพยนตรที่มีผูชมเขาชมเปน จํานวนมาก อาทิ สตรีเหล็ก (กํากับโดยยงยุทธ ทอง กองทุน, ป 2543) บางระจัน (กํากับโดยธนิตย จิตต นุกูล, ป 2543) สุริโยทัย (กํากับโดยหมอมเจาชาตรี เฉลิม ยุคล, ป 2544) จันดารา (กํากับโดยนนทรีย นิมิบุตร, ป 2544) เปนตน8 อยางไรก็ตามการที่ปด กิจการจากปตตานีรามาใหเหลือเพียงแตพาราไดส ปตตานีนั้นก็ ไม ไดหมายความวากิจการจะรุงเรือง ขึ้น อาจจะเปนเพราะดวยสถานการณ ในพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใตที่ยิ่งรอนระอุ สงผลใหคนใน พื้นที่ไมกลาที่จะออกมาเที่ยวพักผอนหยอนใจเพราะ เกรงวาอาจเกิดอันตราย อยางไรก็ตาม ความซบเซาของธุรกิจโรงภาพ7 สัมภาษณ สมาท โตะสานิ, อดีตคนเดินสายภาพยนตรจากอําเภอหาดใหญ จังหวัดสงขลา ถึงจังหวัดนราธิวาส, 21 ตุลาคม 2553. 8 สัมภาษณ สมาท โตะสานิ, 21 ตุลาคม 2553.


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

285

ยนตรที่เกิดขึ้นในภาพรวมของทั้งประเทศไดเกิดขึ้นในปตตานี ไมแตกตางกัน ขณะที่ภายในสังคม ปตตานีเองนั้นการอพยพยายถิ่นของคนปตตานีไดอพยพออกไปยังตางจังหวัดมีมากขึ้น สวนแรงงาน ไทยซึ่งเคยเปนกลุมผูชมสําคัญกลุมหนึ่งไดถูกแทนที่โดยแรงงานตางดาว ดวยเหตุและปจจัยดังกลาว ขางตน ทําใหกิจการพาราไดสเริ่มขาดทุนจนกระทั่งเจาของตัดสินใจปดกิจการลงในป 2550 และขาย กิจการใหกับนักลงทุนรายใหมเพื่อทําธุรกิจเลี้ยงนกนางแอน เชนเดียวกันกับโรงภาพยนตรคิงสยะลาที่ ขายกิจการใหกับนักลงทุนเพื่อเลี้ยงนกนางแอนไปกอนหนานี้เมื่อป 2545 โรงภาพยนตรพาราไดสจึง กลายเปนโรงภาพยนตรแบบสแตนดอะโลนโรงสุดทายในจังหวัดปตตานี พลวัตรการชมภาพยนตรในสังคมปตตานี จังหวัดปตตานีเปนจังหวัดที่อุดมสมบูรณดวยทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงเปนแหลงที่อยูอาศัย ของสัตวนํา้ที่สรางรายไดใหกับธุรกิจประมงเปนอยางมาก ทําใหมีผูคนหลั่งไหลมาทําอาชีพประมงใน จังหวัดปตตานีอยางตอเนื่อง แรงงานประมงที่เดินทางเขามาทํางานในจังหวัดปตตานีสวนใหญจะเปน คนที่เดินทางมาจากตางจังหวัด อาทิ ตราด ชลบุรี ระยอง เปนตน9 ผลแหงสวนผสมทางสังคมดังกลาว ทําใหวิกคิงสเปนโรงภาพยนตรที่มีกลุมลูกคาหลักเปนแรงงานชาวประมง เนื่องจากตั้งอยู ในละแวก สถานบันเทิงและยานการคา ซึ่งสวนใหญจะกระจุกตัวอยูใกลกับทาเรือ ทําใหการเดินทางโดยรถสามลอ รับจางหรือการเดินเทาของคนในพื้นที่ใกลเคียงจะสามารถเดินทางมาไดสะดวกกวาคนที่อยู ไกลออกไป ที่การคมนาคมยังไมสะดวกนัก สําหรับรสนิยมการชมภาพยนตรของแรงงานประมงนั้นจะนิยมชมภาพยนตรแนวบู เนื่องจาก ภาพยนตรแนวบูทําใหผูชมมีความรูสึกตื่นเตนและสนุกกวาภาพยนตรแนวอื่นๆ การฉายภาพยนตร โรงภาพยนตรคิงสปตตานีและศรีเมืองจึงเปนภาพยนตรจากตางประเทศเปนสวนใหญ จนทําใหผูชมที่ ชื่นชอบการชมภาพยนตรจีน อาทิ เดชไอดวน (One-Armed Swordman, กํากับโดย Chang Yik Yank, 2510) ฯลฯ จะตองไปชมภาพยนตรที่วิกคิงสปตตานี สวนผูชมที่ชอบภาพยนตรบูจากฮอลลีวูด อาทิ The Cowboys (กํากับโดย Mark Rydell, 2515) The Thing (กํากับโดย John Carpenter, 2525) โซโลมอน เจาขุมทอง (Allan Quatermain, กํากับโดย Gary Nelson, 2530) ฯลฯ จะนิยม เดินทางไปชมภาพยนตรที่โรงภาพยนตรศรีเมือง การชมภาพยนตรฮอลลีวูดนั้นเปนเรื่องที่สรางความตื่นตาตื่นใจใหกับคอภาพยนตรแนวนี้เปน อยางมาก เนื่องจากชื่นชอบในบรรยากาศและมุมมองใหมๆ ที่แปลกตาของประเทศตะวันตก ซึ่งเปน สิ่งที่สรางความตื่นตาตื่นใจสําหรับคอภาพยนตรแนวนี้ การชมภาพยนตรฮอลลีวูดเปนการปลูกจิตสํานึก ในตัวผูชมใหรูสึกตื่นตัวกับความเปนสมัยใหมที่ปรากฏอยูตรงหนาจอภาพยนตร10 กิจการโรงภาพยนตร ในยุคแรกของปตตานีจึงมีความคึกคักเปนอยางมากเนื่องดวยการชม ภาพยนตรเปนความสมัยใหมที่ผูชมทองถิ่นสามารถมีสวนรวมไดในทุกๆ ระดับและเจาของกิจการ ภาพยนตรก็มีการรับสายหนังมาจากตางบริษัท และมีกลุมลูกคาที่มีรสนิยมในการชมภาพยนตรที่ 9 10

สัมภาษณ อารี บุญศรี และไสว บุญศรี, ชาวประมงชายฝงในจังหวัดปตตานี, 21 ตุลาคม 2553. สัมภาษณ กมล กุกุทพันธ, อดีตชาวประมงชายฝงในจังหวัดปตตานี, 23 ตุลาคม 2553.


286

ปยะนันท นิภานันท

แตกตางกัน จนกระทั่งเขาสูยุคของโรงภาพยนตร ปตตานีรามาการตอบรับจากผูชมที่หลั่งไหลเขามา ชมภาพยนตรจากตางอําเภอและตางจังหวัดยิ่งมีมาก ขึ้นเนื่องจากโรงภาพยนตรมีความทันสมัยและฉาย ภาพยนตรหลากหลายแนว ไมวาจะเปนภาพยนตร อิ น เดี ย ภาพยนตร จี น กํ า ลั ง ภายใน ภาพยนตร ฮอลลีวูด รวมถึงภาพยนตร ไทย อันกลาวไดวาในชวง เวลารุงเรืองของปตตานีรามานั้นก็เปนยุคทองของ ภาพยนตร ไทยดวยก็วาได ภาพยนตร ไทยเรื่อง วัย อลวล ซึ่งกํากับโดยเปยก โปสเตอร ในป 2519 ถือ ไดวาเปนภาพยนตร ในความทรงจําของคอภาพยนตร ไทยเลยทีเดียว การคมนาคมที่มีความสะดวกมาก ขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาการ เศรษฐกิ จ และสั ง คมแห ง ชาติ ฉ บั บ ที่ ส อง (2510่ 8 โปสเตอรภาพยนตรที่เจาของโรงภาพยนตรยังคง 2514) สงผลใหปตตานีรามากลายเปนโรงภาพยนตร ภาพที เก็บไว. ที่มา: นภดล พงศเลิศนภากร. ที่มีผูชมที่หลากหลายและเดินทางมาจากตางพื้นที่ กัน กรณีศึกษาโรงภาพยนตรและการชมภาพยนตร ในสังคมปตตานีจึงนาจะเปนภาพสะทอนใหเห็นถึง วิถีการดํารงชีวิต อาชีพ คานิยม และการใชสื่อความ บันเทิง ฯลฯ อันเปนการทําความเขาใจตอทัศนคติ ในเรื่องการรับสื่อรวมสมัยกับการใชชีวิตประจําวัน ตั้งแตเมื่อเริ่มมีการเขามาของโรงภาพยนตรแบบเร ขายยา จนกระทั่งเขาสูยุคของการสรางโรงภาพยนตร แบบสแตนดอะโลน เพราะประวัติศาสตรแหงการ เกิดขึ้นและการเสื่อมสลายลงของโรงภาพยนตร ใน ปตตานีสะทอนใหเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม มลายู ที่มีทัศนะคติตอการใชสื่อความบันเทิงที่แตก ตางกันออกไป ขึ้นอยูกับบริบทตางๆ และมิติทาง สังคมอันหลากหลาย ดังนั้นการทําความเขาใจถึงการ เปลี่ยนแปลงตางๆ ในประวัติศาสตร โรงภาพยนตร ในปตตานี เพื่อศึกษาถึงมิติทางประวัติศาสตรสังคม ปตตานีจึงจําเปนตองเขาใจลักษณะเฉพาะและวิถี ชีวิตของคนมลายู นอกจากกลุมผูชมภาพยนตรหลักคือแรงงาน


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

ประมงจะมีการเปลี่ยนแปลงจากแรงงานชาวไทย เปนแรงงานตางดาวแลว เฉพาะกลุมผูชมจากพื้นที่ จังหวัดปตตานีนั้นก็มีพัฒนาการอยางมีพลวัตรอยู ภายในเองในชวงเวลาที่ผานมา และมีสวนสําคัญ ตอความเสื่อมสลายลงของโรงภาพยนตร ในปตตานี กลาวคือ จังหวัดปตตานีมีประชากรทั้งหมดประมาณ 504,665 คน บนพื้นที่ 2,109 ตารางกิ โลเมตร ขอมูลศาสนิกชนในจังหวัดปตตานีที่มีทั้งหมด 12 อําเภอนั้นพบวาประชากรสวนใหญ ในเปนกลุมคน ที่ นั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลามเป น หลั ก โดยคิ ด เป น ร อ ย ละ 80.75 ของประชากรทั้งหมด และเปนจังหวัดที่ มีมัสยิดมากที่สุดในประเทศคือ 636 แหง11 สังคม ปตตานีจึงมีความแตกตางทางภาษาพูด ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ อยางเดนชัดเมื่อเปรียบเทียบกับ พื้นที่อื่นๆ ในสังคมไทยที่ประชากรสวนใหญนับถือ ศาสนาพุทธ สําหรับกลุมคนมุสลิมที่อาศัยอยู ในพื้นที่เมือง ปตตานีและรอบนอกนั้น โดยสวนใหญแลวตางก็เคย มีประสบการณ ในการชมภาพยนตร แตความแตก ตางก็คือจํานวนการเดินทางไปชมภาพยนตรนั้นอาจ จะมีความถี่ไมเทากันแลวแตความสะดวกของแตละ พื้นที่ อยางไรก็ตามจะเห็นไดอยางชัดเจนวาในชวง เทศกาลฮารีรายาของทุกป โรงภาพยนตร ในจังหวัด ป ต ตานี จ ะได รั บ ผลกํ า ไรจากการฉายภาพยนตร อิ น เดี ย อย า งล น หลาม เนื่ อ งจากคนมลายู มุ ส ลิ ม จะนิยมชมภาพยนตรอินเดียอยางมาก เนื่องจาก ภาพยนตรอินเดียมีเนื้อหาครบทุกรูปแบบ มุงตอบ สนองรสนิยมของผูชมในทุกดาน ตั้งแตแนวสะทอน ชีวิต การตอสู ความรัก ฯลฯ ครบทุกรสชาติอยูใน เรื่องเดียวกัน โดยในชวงเทศกาลฮารีรายานั้นจะเปน ชวงประจวบเหมาะกับเปนวันรวมญาติของกลุมคน มุสลิมในปตตานี และภายหลังจากการทําพิธีกรรม

287

ภาพที่ 9 ชาวปตตานีถายรูปกับรถโฆษณาภาพยนตรเรื่อง โชเลย. ที่มา: อัลบั้มภาพถายของวีรวุฒิ กฤษฎาวัฒน.

ภาพที่ 10 บรรยากาศหนาโรงภาพยนตรปตตานีรามากับ ปายภาพยนตรอินเดียเรื่องโชเลย. ที่มา: อัลบั้มภาพถาย ของวีรวุฒิ กฤษฎาวัฒน

11 “จํานวนศาสนิกชนจังหวัดปตตานี,” สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดปตตานี, สืบคน 1 ธันวาคม 2553, <http://www. pattani.go.th/ministry/web_culture/culture2_1.htm>


288

ปยะนันท นิภานันท

ทางศาสนาเสร็จสิ้นแลว การเดินทางไปชมภาพยนตร ไดกลายเปนอีกหนทางหนึ่งของการพักผอนรวม กันของคนในครอบครัว ดังเชนคําบอกเลาของสาวมุสลิมชาวอําเภอยะหริ่ง จังหวัดปตตานี ที่ไดกลาว ถึงประสบการณนัดพบกับเพื่อนๆ ในหมูบานเพื่อเดินทางไปชมภาพยนตรที่ปตตานีรามาหลังเสร็จสิ้น การทํานา ดังวา “เมื่อเสร็จจากการทํานากะและเพื่อนๆ ก็จะนัดกันหลายๆ คนเพื่อเขาเมืองไปดูหนัง กัน กวาจะไปถึงโรงหนัง เมื่อกอนมันคอนขางลําบาก ตองนั่งเรือแลวก็ไปตอรถสองแถวเพื่อไปซื้อตั๋ว หนาโรงหนัง ยิ่งชวงฮารีรายาคนก็ยิ่งเยอะ บางทีไปแลวก็ไมไดดูก็มีเพราะตั๋วหมด”12 ภาพยนตรอินเดียที่ชาวมุสลิมปตตานีนิยมชมชอบนั้น สวนใหญจะเปนแนวสะทอนวิถีชีวิตและ ความเปนจริงของสังคม ตัวอยางของภาพยนตรอินเดียที่เปนที่นิยมและประทับใจคือเรื่อง ชางเพื่อน แกว (Haathi Mere Saathi, กํากับโดย Ma Thirumugham, 2514) โชเลย (Sholay, กํากับโดย Ramesh Sippy, 2518) สามพี่นอง (Yaadon ki Baaraat, กํากับโดย Nasir Hussain, 2516) เปนตน อดีตผูฉายภาพยนตรของโรงภาพยนตรปตตานีรามาและพาราไดส ใหความเห็นวา คนมุสลิมชอบดูหนังอินเดียเพราะมันสนุกสนาน มีเตนระบํา มีเรื่องเศรา มีเรื่องความรัก พูดงายๆ คือมันมีครบ ทุกรสชาติอยู ในหนังเรื่องเดียว อีกทั้งความรูสึกสวนตัวที่ชอบหนังอินเดียเพราะวาหนังอินเดียในยุคกอนมันไม ประเจิดประเจอจนเกินไป พวกเพื่อนๆ ผูหญิงก็จะชอบดูการเตาระบํา การแตงกายก็สวยงาม ผมจําไดวาหนัง ที่ประทับใจมีอยูหลายเรื่อง อยางเชน สามพี่นอง, ธรณีกรรแสง, โชเลย และอีกหลายเรื่องเลย13

ดวยเหตุดังนั้นในยุคแรกๆ ภาพยนตรอินเดียจึงไดรับความนิยมอยางมาก เมื่อฉายภาพยนตร อินเดียจะมีกลุมคนมุสลิมทั้งในตัวเมืองและตางอําเภอเดินทางโดยรถโดยสารเพื่อมาชมภาพยนตรกัน อยางแนนขนัด โดยจะเดินทางหลั่งไหลมาจากตางอําเภอเพื่อชมภาพยนตรกันมาก และจะเดินทาง กันมาเปนกลุมเพื่อน ยิ่งถาเปนชวงเทศกาลดวยแลว ผูคนทั่วทุกพื้นที่ที่นิยมชมชอบการชมภาพยนตร จะเดินทางมากันอยางลนหลาม ภาพยนตรอินเดียอาทิเชนเรื่อง ชางเพื่อนแกว ที่นําแสดงโดยราเยส คานนา และไดนักพากยอยาง “ทิวา-ราตรี” มาพากย ก็จะยิ่งทํากําไรอยางมากใหแกเจาของกิจการโรง ภาพยนตร รวมถึงภาพยนตรเรื่อง สามพี่นอง หรือ โชเลย ซึ่งเปนภาพยนตรอินเดียเรื่องสุดทายที่ทํา กําไรเปนอยางมากในปตตานี14 สิ่งที่สังเกตไดชัดเจนคือ หากเปนชวงที่เจาของกิจการรับเอาภาพยนตร จีนหรือภาพยนตรฝรั่งมาฉายนั้น กลุมผูชมจะเปนคนประมงและกลุมคนไทยเชื้อสายจีนในตัวเมืองเปน หลัก แตเมื่อมีภาพยนตรอินเดียหรือภาพยนตร ไทยเขาฉายแลว เม็ดเงินที่ไดจะมาจากคนไทยมุสลิม อยางไรก็ตาม ตอมาในภายหลังพฤติกรรมการชมภาพยนตรของคนไทยมุสลิมมีการเปลี่ยนแปลงไป กลาวคือกลุมคนมุสลิมกลับลดความนิยมในการเดินทางมาชมภาพยนตรลงไปมาก แมแบบของแฟชั่นในสังคมปตตานี กลาวไดวานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ลํา้สมัยสงผลใหสังคมมีความตื่นตัวตอสภาวะความเปน สมัยใหมอันหลั่งไหลเขาสูทองถิ่นอยางไมขาดสาย ขณะที่การแตงกายและการถายภาพของผูคนใน 12 13 14

สัมภาษณ กัยนางอ แซรโงะ, แมบาน มุสลิมในอําเภอยะหริ่ง จังหวัดปตตานี, 28 พฤศจิกายน 2553. สัมภาษณ แม แวนิ, อดีตผูฉายภาพยนตรของโรงภาพยนตรปตตานีรามาและพาราไดส, 19 ตุลาคม 2553. สัมภาษณ สมาท โตะสานิ, 21 ตุลาคม 2553.


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

289

ยุคปจจุบันที่มีตนแบบมาจากนิตยสารแฟชั่น สื่อ โทรทัศน รวมถึงอินเตอเน็ต อันอาจเปนสิ่งที่สามารถ เขาใจไดในสังคมที่เขาถึงโลกของสื่อไดอยางงายดาย ในยุคนี้ ทวาเมื่อยอนกลับไปสูยุคสมัยที่ภาวะความ เป น สมั ย ใหม ยั ง คงเป น สิ่ ง ที่ ตื่ น ตาตื่ น ใจในความ รูสึกของผูคนในสังคม อาจกลาวไดวารสนิยมของ การแตงกาย ทรงผม การถายภาพ โดยสวนใหญ แลวลวนเปนสิ่งที่คนในสังคมไดรับอิทธิพลมาจาก การชมภาพยนตรทั้งสิ้น รวมทั้งพฤติกรรมการแตง กายเลี ย นแบบดาราภาพยนตร ที่ มี ชื่ อ เสี ย งทั้ ง ใน ประเทศและจากตางประเทศ อันสามารถสะทอนให เขาใจไดวาการบริโภคสื่อจากโรงภาพยนตรเปนสวน ภาพที่ 11 การแตงกายของชายหญิงมลายูมสุ ลิมทีน่ ยิ มแตง สําคัญของการแสดงออกถึงความชื่นชอบและสื่อถึง กายเลียนแบบในภาพยนตร. ทีม่ า: นางกัยนางอ แซรโงะ. วัฒนธรรมสมัยนิยมของสังคมปตตานี สําหรับสมัยกอนนั้นการแตงกายของคนมลายู ปตตานีมีความคลายคลึงกับคนไทยพุทธทั่วไป แต คนมลายู ป ต ตานี จ ะนิ ย มสวมใส โ สร ง ปาเต ะ แบบ เรี ย บๆ และสวมเสื้ อ แขนยาว แต จ ะมี ช าวมลายู มุสลิมบางกลุมที่มีความชื่นชอบในการชมภาพยนตร เปนพิเศษ กระทั่งนิยมทําผมแบบนางเอกภาพยนตร ที่ มี ชื่ อ เสี ย งเพื่ อ เลี ย นแบบนางเอกในภาพยนตร อินเดียหรือภาพยนตร ไทย อาทิ เฮมา มาลินี, มุมตัส, นีรูปา รอย, เพชรา เชาวราษฎร, พิสมัย วิไลศักดิ์ เปนตน เนื่องจากในชวงระยะหลังนั้นภาพยนตร ไทย ก็ไดรับความนิยมในหมูคนมุสลิมปตตานีเชนกัน ในช ว งเวลาที่ เ ป น ยุ ค ทองของโรงภาพยนตร แบบสแตนดอะโลนนั้น คงไมเกินความจริงนักหาก จะกลาววามีคนมลายูปตตานีจํานวนมากนิยมทําผม แตงหนาแบบดาราภาพยนตร เนื่องจากในสมัยกอน การแตงกายยังไมเครงครัดในเรื่องของการคลุมศีรษะ ดวยฮิยาบ ดังนั้นแลวการแตงกายโดยการทําผมแบบ ดาราภาพยนตรจึงเปนเรื่องปกติที่เห็นไดในสังคม มลายูปตตานี โดยเฉพาะอยางยิ่งในยามที่มีเทศกาล ตางๆ เชนเทศกาลฮารีรายา ก็จะยิ่งมีการแตงกาย


290

ปยะนันท นิภานันท

สวยงามโดดเดนมากกวาทุกวัน หรือมีการชักชวนกัน ไปถายภาพตามแบบแฟชั่นดาราที่สตูดิโอในตัวเมือง ปตตานี เชนเดียวกับพอคาหรือแรงงานประมงในยุค ดังกลาวก็มักนิยมแตงกายเลียนแบบดาราภาพยนตร เนื่ อ งจากช ว งเวลาดั ง กล า วนั้ น ไม มี สื่ อ ความ บั น เทิ ง มากมายอะไรให พั ก ผ อ นหย อ นใจได ม าก นัก กลุมหนุมสาวที่นิยมเดินทางไปชมภาพยนตร ด ว ยความชื่ น ชอบในตั ว ละครก็ ไ ด มี โ อกาสสั ม ผั ส กับแฟชั่นการแตงกายตางๆ ของดารา ในขณะชม ภาพยนตรที่แตงกายแปลกใหมเปลี่ยนแปลงไป ก็ เริ่มมีผูนําแฟชั่นการแตงกายหรือการจัดแตงทรงผม มาประยุกต ใหเหมาะสมกับตัวเอง โดยผูที่นําแฟชั่น คือชางตัดผมและชางตัดเย็บเสื้อผา เนื่องจากอาชีพ ดังกลาวจะตองมีการแตงกายและมีทรงผมที่นําสมัย อยู ต ลอดเวลา ดั ง นั้ น ร า นตั ด เย็ บ เสื้ อ ผ า และร า น ตัดผมก็จะมีภาพโปสเตอรของดาราภาพยนตรที่ โดง ดังในยุคนั้นติดอยูตามฝาผนังของรานเพื่อดึงดูดใจ ลูกคาใหเลือกตัดเสื้อผา หรือแตงทรงผมใหละมาย กับดาราที่ตนเองชื่นชอบ ผูที่ทําอาชีพดังกลาวจึง กลายเปนแมแบบของผูนําแฟชั่นในสังคมปตตานี ที่ ไดรับอิทธิพลมาจากดาราภาพยนตร ในยุคนั้น คํา บอกเลาถึงบรรยากาศดังกลาว เชนวา เมื่อกอนผมชอบทําผมแบบสมบัติ เมทะนี ถาจะ ตองทําใหผมดานหนาดูสวยก็ตองใชวิธีนําลวดไปลน ไฟเพื่อใหลวดรอนแลวนํามาพันผมไว พอปลอยลวด ออกก็จะไดทรงผมเหมือนเขา ชวงนั้นทรงผมแบบ ภาพที่ 12-15 การแตงกายของชายหญิงมลายูมุสลิมที่นิ มิตร ชัยบัญชากําลังเปนที่นิยม คนก็จะนิยมตัดผม ยมแตงกายเลียนแบบในภาพยนตร. ที่มา: นางกัยนางอ ทรงมิตรกันเยอะมาก สวนถาเปนเสื้อผายี่หอตางๆ แซรโงะ ที่โดงดังในสมัยกอนนั้น คอหนังจะสังเกตจากที่ดารา เขาใสกันวายี่หออะไร หรือรูปทรงแนวไหน แลวก็จะ นิยมไปซื้อตามๆ กันเพื่อไมใหตกยุค15

การปรับตัวของสังคมปตตานีที่มีการแตงกาย มีทัศนคติ และความชอบตามแบบดาราภาพยตรนั้น 15

สัมภาษณ สมหวัง กังพานิช, พัฒนากรอําเภอหนอกจิก จังหวัดปตตานี, 13 ธันวาคม 2553.


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

291

เปนผลที่ตามมาของสังคมสมัยใหมผานสื่อภาพยนตร ซึ่งทําหนาที่เปนตัวเชื่อมโยงระหวางโลกสมัยใหมกับ สังคมทองถิ่นในแตละพื้นที่16 ภาพยนตร ในฐานะ สินคาราคาไมแพงนักที่ ใครๆ ก็สามารถจับจายซื้อ หามาบริ โภคเพื่อความบันเทิงในตัวของมันเอง จึง กลายเปนตัวกลางหรือสื่อที่จะนําเอาสินคาอื่นๆ ออก สูตลาดโลกจนทําใหภาพยนตรกลายเปนสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธประจําทองถิ่นในยุคนั้นไป อยางไรก็ตาม การแพรหลายของสื่อสมัยใหม ประเภทตางๆ โดยเฉพาะโทรทัศนก็มีผลสําคัญทําให การชมภาพยนตร ในโรงภาพยนตรเสื่อมความนิยม ลงไป กลุมผูชมหลักจํานวนหนึ่งที่เคยเปนแรงงาน ประมงชาวไทยก็ผันเปลี่ยนเปนแรงงานตางดาว ซึ่ง สวนใหญแลวก็ไมเขาใจภาษาไทยอยางลึกซึ้ง จึงไม อาจรองรับเปนกลุมลูกคาหลักของโรงภาพยนตร ได เหมือนในอดีต นอกจากนี้ สถานการณความไมสงบ ในจังหวัดปตตานีที่กลับมารุนแรงขึ้นอยางตอเนื่อง นับตั้งแตป 2547 ก็เปนเหตุผลสําคัญอีกอยางที่ทําให ลมหายใจที่กําลังรวยรินของกิจการโรงภาพยนตรดับ ดิ้นสิ้นชีพลงโดยสิ้นเชิง ในปจจุบันผูมีประสบการณ ทานหนึ่งบอกเลาถึงเหตุการณที่มีการวางระเบิดหนา โรงภาพยนตรปตตานีรามาจนสรางความตื่นตระหนก ตอผูชมในโรงภาพยนตรอยางมากทุกคนพากันวิ่ง หนีอยางวุนวายอลหมาน ทิ้งสัมภาระไวที่เกาอี้เต็ม ไปหมด 17 ก็ ยิ่ ง ทํ า ให ก ลุ ม ลู ก ค า สํ า คั ญ ที่ เ คยสร า ง รายไดอยางเปนกอบเปนกําใหแกเจาของกิจการโรง ภาพยนตรก็เบาบางลง โดยเฉพาะชาวมลายูมุสลิม ภาพที่ 16-17 การแตงกายของผูชายที่แตงกายเลียนแบบ ซึ่งเปนประชากรสวนมากในพื้นที่ จึงจําเปนจะตอง พระเอกมิตร ชัยบัญชา. ที่มา: ลักขณา คริวรรณ, แมบาน ศึกษาทําความเขาใจตอพัฒนาการที่วานี้เปนพิเศษใน ผูเคยอาศัยอยูในตัวเมืองปตตานี. บริบทของการชมภาพยนตร

16 17

Anthony Giddens, The Consequences of Modernity (California: Stanford University Press, 1990), 73. สัมภาษณ สุธีพันธุ อุดมพงษ, แมบาน ชาวเมืองปตตานี, 12 มกราคม 2554.


292

ปยะนันท นิภานันท

ความซบเซาของการชมภาพยนตรในปตตานี จากการที่คนปตตานีเดิมโดยเฉพาะคนมุสลิมปตตานีเคยพากันหลั่งไหลกันเดินทางเพื่อเขามาใช พื้นที่ของโรงภาพยนตร ในการพักผอนหยอนใจและบริโภคสื่อสมัยใหม เมื่อเขาสูชวงทศวรรษ 2530 เปนตนมาพฤติกรรมการชมภาพยนตรของคนมุสลิมปตตานีก็เริ่มมีแนวโนมลดลง กระทั่งแปรสภาพ กลายเปนกลุมคนสวนนอยที่เดินทางมาชมภาพยนตร ทั้งๆ ที่จังหวัดปตตานีนั้นมีประชากรเปนคน มุสลิมเปนสวนมาก ดังนั้นเมื่อผูบริ โภคสื่อภาพยนตร ในพื้นที่กลายเปนกลุมคนที่ ไม ใชกลุมคนสวน ใหญ ในพื้นที่ ความพยายามที่จะเจาะกลุมลูกคาใหมๆ คือกลุมเด็กวัยรุนหรือผูใชแรงงานที่ภายหลัง กลายเปนกลุมคนตางดาว ก็ไมสามารถที่จะยืดอายุใหปตตานีรามาอยูรอดตอไปได ทั้งๆ ที่กอนหนา นี้โรงภาพยนตร ในปตตานีเคยมีกลุมลูกคาที่หลากหลาย โดยเฉพาะมุสลิมปตตานีซึ่งเคยเปนผูชมสวน ใหญที่สรางรายไดใหกับผูประกอบกิจการกลับจางหายไปกอนที่โรงภาพยนตรโรงสุดทายจะปดกิจการ พฤติกรรมการชมภาพยนตรที่มีบรรยากาศของความครึกครื้นโดยคนมุสลิมทองถิ่นตองกลับเงียบเหงา และเปลี่ยนแปลงไปนั้น มีสาเหตุมาจากปจจัยที่สําคัญหลายๆ ดาน ปจจัยหนึ่ง คือ การนําเขาของภาพยนตรอินเดียโดยผูจัดจําหนายภาพยนตรอินเดีย อาทิ อินเดีย ฟลมดีวันจันทรเริ่มลดนอยลง เนื่องจากภาพยนตรจีนจากฮองกงคายชอวบราเดอรเริ่มไดรับความ นิยมสวน “สายหนัง” ที่จัดซื้อภาพยนตรออกฉายตางจังหวัดในยุคที่ภาพยนตรอินเดียตองรับภาระ ดานคาพากยที่ตองใชชายจริงหญิงแท เนื่องจากไมสามารถใชนักพากยเพียงคนเดียวเหมือนยุคแรกๆ ได กอปรกับตลาดภาพยนตรอินเดียซบเซาลงเรื่อยๆ เพราะไมมีการจดลิขสิทธิ์การนําเขาภาพยนตร อินเดีย เมื่อภาพยนตรอินเดียไม ไดถูกกระจายลงสูทองถิ่น โรงภาพยนตรจึงไรพลังที่จะดึงดูดให กลุมผูชมเดินทางออกจากบานมาเพื่อชมภาพยนตรที่ตนเองไม ไดชื่นชอบมากเทาไรนัก ในกรณีของ ภาพยนตรอินเดียนั้น จากการวิเคราะหผูเขียนเองพบวามีความสอดคลองกันในเรื่องขอมูลของการนิยม ชมภาพยนตรของกลุมคนมุสลิมปตตานีที่มีความชื่นชอบการชมภาพยนตรอินเดียมากกวาภาพยนตร ประเภทอื่น และความซบเซาของตลาดภาพยนตรอินเดียกับการลดจํานวนลงอยางมีนัยสําคัญของผูชม ภาพยนตรที่เปนกลุมชาวมุสลิมดังนั้น จึงกลาวไดวาปญหาของการลดการนําเขาภาพยนตรอินเดียมาสู วงการฉายภาพยนตร ในเมืองไทยจึงมีสวนสําคัญที่สงผลใหความนิยมเดินทางไปชมภาพยนตรของคน มุสลิมปตตานีลดลงตามลําดับ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่สําคัญยิ่งกวาคือพลวัตรของเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม โดยเฉพาะ การขยายตัวของโทรทัศนภายในครัวเรือนที่มีการกระจายตัวไปยังชนบทมากขึ้นในชวงทศวรรษ 2530 โดยแทบจะกลาวไดวาในจังหวัดปตตานีมีการติดตั้งสัญญาณโทรทัศนเกือบทุกครัวเรือน18 รวมถึงการ แพรหลายของเครื่องเลนวีดีทัศน ทั้งวีดี โอและวีซีดี ในชวงเวลาตอมา ซึ่งลวนสงผลใหคานิยมของ การชมภาพยนตรเปลี่ยนแปลงไป จากความนิยมที่ตองเดินทางไปชมภาพยนตร ในตัวเมืองก็เปลี่ยน เปนการหันไปซื้อวีดีโอหรือซีดีมาชมที่บานแทน ปรากฏการณท่ีเปลี่ยนแปลงดังกลาวนั้นสงผลใหความ นิยมของผูชมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อยางไรก็ตาม กรณีดังกลาวเหลานี้ก็เปนปรากฏการณที่ไมแตก 18

สัมภาษณ สามารถ ระมันบากา, อดีตพนักงานติดตั้งสัญญาณโทรทัศน ในพื้นที่จังหวัดปตตานี, 21 ธันวาคม 2553.


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

293

ตางกันนักในสังคมไทย แตสิ่งที่เปนสาเหตุหลักที่สงผลใหคานิยมของมุสลิมมลายูในปตตานีเสื่อม ความนิยมในการมาชมภาพยนตร ในโรงภาพยนตร คือ กระแสอิสลามานุวัตรที่แพรขยายเขามาอยาง เขมขนในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต โดยกระแสดังกลาวมีผลตอการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ความเปนมุสลิมแบบจารีตไปสูความเปนมุสลิมที่เครงครัดตอหลักศาสนามากขึ้นอยางเห็นไดชัด และ การที่ภาพยนตรถูกตีความวาเปนความบันเทิงที่ขัดตอคําสอนทางศาสนา ทําใหการชมภาพยนตร ใน โรงภาพยนตรอยางเปดเผยกลายเปนสิ่งตองหามตามหลักอิสลาม จึงสงผลใหกิจการโรงภาพยนตร ใน ปตตานีโดยเฉพาะปตตานีรามาเริ่มซบเซาลงอยางเห็นไดชัด อิสลามานุวัตรและผลกระทบตอการชมภาพยนตร การเปลี่ยนแปลงในเรื่องการตีความและพฤติกรรมในการชมภาพยนตรของชาวมลายูมุสลิม ปตตานีดังกลาว นับวาเปนเรื่องใหญที่จําเปนตองอธิบายในทางประวัติศาสตรสังคม กลาวคือ นับ ตั้งแตเขาสูปลายทศวรรษ 2520 เปนตนมา มีขอมูลใหเห็นวากระแสของกลุมคนมุสลิมปตตานีที่นิยม สงลูกหลานไปเรียนโรงเรียนสอนศาสนาก็ยิ่งมีความเดนชัดขึ้น ดังจะเห็นไดจากขอมูลในป 2526 ที่มี เด็กนักเรียนชั้นประถมสมัครเขาเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาที่เรียกกันวา “ปอเนาะ” คิดเปนรอยละ 62.35 ในขณะที่สมัครเขาโรงเรียนมัธยมสายสามัญเพียงรอยละ 37.64 เทานั้น19 อีกทั้งยังนิยมใหบุตรหลานเดินทางไปศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาของประเทศเพื่อนบาน ซึ่ง ประชากรสวนใหญนับถือศาสนาอิสลามเปนหลัก อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือประเทศแถบ ตะวันออกกลาง เปนตน กลาวไดวาการถูกอบรมสั่งสอนใหมีความเชื่อในเรื่องของศาสนาอยางเครงครัด สงผลใหทัศนคติตอการชมภาพยนตรเกิดการเปลี่ยนแปลงไปดวยเชนกัน เนื่องจากถือการละเมิดสิ่ง ที่หะรอม (ตองหาม) ตามหลักการศาสนาอิสลาม เชน เมื่อตอนที่ไม ไดเปนมุสลิมชอบดูหนังฟงเพลง เมื่อเรากลายเปนมุสลิมแลวก็ตองละเลิกพฤติกรรมเหลานี้ไป หรือมีซีดีเพลงหรือหนังที่เคยเก็บสะสม ไวก็ตองจัดการทิ้งใหหมด20 ดังนั้นทัศนคติตอการเดินทางไปชมภาพยนตรจึงเปนเรื่องที่ ไมสมควร กระทํา เนื่องจากในสถานที่ดังกลาวเปนแหลงความบันเทิงที่มีแตสิ่งที่ยั่วยุและไมเปนการสํารวม มุสลิม ชาวปตตานีผูหนึ่งไดกลาวถึงประเด็นนี้วา ในทางปฏิบัตินั้นตามหลักอิสลามแลวการดูหนังเปนเรื่องจริงๆ แลวเปนของตองหามสําหรับเรา เนื่องจากเปน สิ่งที่ยั่วยุและมอมเมาใหสังคมลุมหลงไปกับความบันเทิงซึ่งเปนสิ่งที่ไมเหมาะสม เพราะฉะนั้นจึงไมนาแปลก ใจที่คนมุสลิมที่อายุมากบางคนจะใหขอมูลเกี่ยวกับการเดินทางไปชมภาพยนตรตามโรงหนังตางๆ ไดนอยมาก เนื่องจากสวนตัวเขาแลวอาจจะมีโอกาสไดดูหนังนอย21

คงจะไมผิดนักหากจะกลาววาทัศนคติดังกลาวไดถูกถายทอดมาจากผูนําศาสนาหรือผูสอนศาสนา 19 ดรุณี บุญภิบาล, “การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปตตานี ยะลา นราธิวาส กับสตูล ซึ่งมีผล กระทบตอการปกครอง” (รายงานวิจัยเสนอตอสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา, 2530), 64. 20 นาฟซะห, “กุญแจแหงอิสลาม: แรงขับเคลื่ออิสลามจากหลังมาน,” สืบคน 1 ธันวาคม 2553, <http://www.baanmuslimah.com/dp57/node/283> 21 สัมภาษณ อับดุลการิม อาแว, มุสลิมชาวอําเภอยะหริ่ง จังหวัดปตตานี, 29 พฤศจิกายน 2553.


294

ปยะนันท นิภานันท

ที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนสอนศาสนาหรือประเทศมุสลิมในกลุมประเทศอาหรับที่มีกระแสการ ฟนฟูอิสลามอยางเขมขน รวมไปถึงในประเทศเพื่อนบาน อาทิ มาเลเซียและอินโดนีเซีย เปนตน22 โดย จะเห็นไดจากการทัศนคติของผูใหญที่มีตอการเดินทางไปชมภาพยนตรเปนคูหญิงชายของวัยรุนมุสลิม วาเปนสิ่งที่ไมเหมาะสมและไมควรประพฤติ ดังนั้นจึงมองวาการสงบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนสอน ศาสนานั้นนาจะเปนทางออกที่ดีที่จะกลอมเกลาจิตใจเยาวชนใหประพฤติตนตามหลักอิสลาม ผลลัพธ ที่ปรากฏในทางสังคมก็คือ เมื่อบุตรหลานไดรับการศึกษาในหลักสูตรของโรงเรียนสอนศาสนาแลว ก็จะ ลดความนิยมที่เดินทางไปชมภาพยนตรและหันมาประพฤติตนตามหลักอิสลามอยางเครงครัด ทําใหใน ชวงเวลาเดียวกับที่จํานวนความนิยมในการชมภาพยนตร ในปตตานีลดจํานวนลงนั้นมีความสอดคลอง กับอัตราการลดลงตามลําดับของจํานวนผูชมที่เปนกลุมวัยรุนมุสลิม และยังคงมีเพียงวัยรุนไทยพุทธกับ กลุมนักเรียนวัยรุนมุสลิมในเรียนโรงเรียนสามัญเทานั้นที่ยังคงเดินทางไปชมภาพยนตร ในชวงวันหยุด หรือในชวงที่หนีเรียน ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของจํานวนโรงเรียนสอนศาสนานั้นยังสอดรับกับความนิยมของ กลุมผูชมวัยรุนมุสลิมปตตานีที่ลดลง กลาวคือ ในขณะที่มีโรงเรียนสอนศาสนาเอกชนจดทะเบียนกับ ทางราชการเพียง 82 แหงในป 2504 และเพิ่มขึ้นเปน 171 แหงในป 2507 (โดยโรงเรียนสวนหนึ่งไม ประสงคจะจดทะเบียนเพราะกลัวถูกควบคุมจากรัฐไทยเนื่องจากกอนที่รัฐบาลเริ่มใชระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการ เพื่อเขาไปปรับปรุงโรงเรียนปอเนาะใหเปนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเมื่อป 2504 นั้น มี โรงเรียนปอเนาะอยู ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใตถึงประมาณ 500 แหงโดยมีโรงเรียนปอเนาะ ราว 150 แหงปดทําการเพื่อประทวงรัฐบาลเนื่องจากมองวาเปนการเขาไปแทรกแซง)23 แตพอถึงชวง ทศวรรษ 2520 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนากลับเพิ่มสูงขึ้นถึง 222 แหงเมื่อป 2526 (ในจํานวนนี้เปด สอนวิชาสามัญคูกับวิชาศาสนา 117 แหง และเปดสอนศาสนาเพียงอยางเดียว 85 แหง)24 ในป 2536 มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอยางเดียว 253 แหง และมีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาที่สอนวิชาสามัญคู กับวิชาศาสนาอีก 134 แหง และเมื่อรัฐบาลไดออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยสถาบันปอเนาะ พ.ศ. 2547 เพื่อสนับสนุนและสงเสริมใหปอเนาะเปนแหลงเรียนรูทางศาสนาของชุมชน ตลอดจนการ พัฒนาคุณภาพชีวิตภายใตกรอบวิธีคิดแบบอิสลามแลว ในเดือนพฤศจิกายน 2547 มีโรงเรียนปอเนาะ ยื่นจดทะเบียนเปนสถาบันศึกษาปอเนาะทั้งหมด 255 แหง และมีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ทั้งสิ้น 307 แหง25 อาจกลาวไดวา เมื่อคนในพื้นที่ดังกลาวถูกถายทอดหลักคําสอนทางศาสนาเขมขนยิ่งขึ้นและ มีทัศนคติ ในแงลบตอการชมภาพยนตร ก็ยอมสงผลโดยตรงทําใหชมชาวมุสลิมปตตานีบางกลุมเริ่ม เปลี่ยนพฤติกรรมของการชมภาพยนตร ในโรงภาพยนตรลดนอยลงเรื่อยๆ จนทําใหมีแตเด็กนักเรียนที่ โดดเรียนบางกลุมที่แอบมาชมภาพยนตรเทานั้น อันเปนเพียงมุสลิมสวนนอยที่ไม ไดเครงครัดกับหลัก 22 Peter R. Demant, Islam vs. Islamism: The Dilemma of the Muslim World (Honolulu: Greenwood, 2006), 93-94. 23 สุภาพรรณ ตั้งตรงไพโรจน, บก., พหุวัฒนธรรมกับการพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต: กรณีปอเนาะ (กรุงเทพฯ: ศูนยมุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย), 66-67, 74. 24 ดรุณี, “การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิม,” 65. 25 สุภาพรรณ, บก., พหุวัฒนธรรมกับการพัฒนาการศึกษา, 76, 81-82.


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

295

การดังกลาว อยางไรก็ตาม ปรากฏการณดังกลาวก็เปนปรากฏการณใหมที่เพิ่งเกิดขึ้น อันเปนผลมา จากของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปตตานี เพราะมีขอมูลในยุคกอนหนานั้นจํานวนมากที่สะทอนให เห็นถึงแบบแผนปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม ไดเครงครัดเหมือนเชนในปจจุบัน อาทิ การแตง กายของผูหญิงมุสลิมที่เพิ่งมีความเครงครัดขึ้นอยางมากในชวงหลัง เนื่องจากการแตงกายของผูหญิง มุสลิมสวนใหญ ในชวงทศวรรษ 2510 นั้นยังนิยมนุงผาถุงหรือผาโสรง สวมเสื้อแบบชวาแขนยาวถึง ขอมือและมีผาคลุมไหล ในขณะที่การเครงครัดในเรื่องการสวมใสผาคลุมผมและการใหความสําคัญตอ ฮิญาบหรือผาคลุมผมนั้นเปนกระแสที่เพิ่งเกิดขึ้น รวมทั้งหนังสือที่เขียนขึ้นโดยผูสอนศาสนาหรือนัก วิชาการโดยใชคําเสียดสีการรับคานิยมตะวันตกของชนชาวมุสลิมก็เปนสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในภายหลัง เทานั้น26 อยางเชนกรณีพิพาทในการเรียกรองใหผูวาราชการจังหวัดปตตานีปลดปายการจัดกิจกรรม คอนเสิรตวงดนตรีลูกทุงของ “กอต” จักรพันธ อาบครบุรี ณ บริเวณหนามัสยิดกลางจังหวัดปตตานี โดยมีนายยุโซบ สะมะแอ ตัวแทนพรอมดวยคณะกรรมการมัสยิดกลางออกมาเรียกรองใหมีการยกเลิก กิจกรรมดังกลาว27 โดยกรณีดังกลาวถือไดวาเปนขอพิพาทที่เกี่ยวเนื่องมาจากการตีความวามหรสพดัง กลาวมีความไมเหมาะสมตอหลักคําสอนในศาสนาอิสลาม กระแสการฟนฟูอิสลาม (Islamic Revivalism) อันเกิดขึ้นหลังจากความเสื่อมถอยและความลา หลังของอิสลามในมิติตางๆ โดยเฉพาะความเจริญกาวหนาทางเทคโนโลยี เปนกระแสที่เกิดขึ้นในคริสต ศตวรรษที่ 1828 อันเริ่มตนขึ้นโดยมุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ในป ค.ศ. 1703 ในเวลาตอมาขบวนการ นี้ถูกเรียกวาลัทธิวะฮาบี (Wahhabism)29 หลังจากนั้นก็มีขบวนการอิควานอัลมุสลิมูน (Muslim Brotherhood) ในป ค.ศ. 1928 ซึ่งเปนขบวนการฟนฟูอิสลามที่ยิ่งใหญที่สุดในคริสตศตวรรษที่ 20 ขบวนการอิควานอัลมุสลิมูนเปนขบวนการที่มีแนวคิดในการนําสังคมไปสูความเปนอิสลามบริสุทธิ์โดย การเรียกรองใหกลับไปหาองคอัลลอฮ30 กลาวไดวา กลุมอิควานอัลมุสลิมูนมีอุดมการณอิสลามทั้งใน ดานสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และทุกยางกาวในการดําเนินชีวิต หลักการดังกลาวสงผลใหกลุม อิควานอัลมุสลิมูนมีอิทธิพลทางความคิดตอการเคลื่อนไหวของศาสนาอิสลามแพรกระจายไปทั่วทุก พื้นที่ ในประเทศไทยก็เชนเดียวกันที่กระแสดังกลาวถูกเผยแพรผานทางผูนําศาสนาหรือผูที่ ไดรับ การศึกษาจากตางประเทศ แทรกซึมไปทั่วทุกพื้นที่ในสามจังหวัด ตั้งแต ในเมืองสูชนบท อิทธิพลทาง ความคิดของกระแสดังกลาวยิ่งสรางการเปลี่ยนแปลงใหกับสังคมมุสลิมในพื้นที่อยางเห็นไดชัดเจน ซึ่ง จะเห็นไดจากการประพฤติตัวของชาวมุสลิมที่มีความเครงครัดมากยิ่งขึ้น สงผลใหสังคมมุสลิมปตตานี มีทัศนคติที่วาการเดินทางไปเที่ยวชมภาพยนตรบอยๆ นั้นเปนเรื่องที่ ไมสมควรนัก ทั้งนี้เนื่องจาก 26 Demant, Islam vs. Islamism, 155-57. 27 “อวสานโรงหนังคิงสยะลาหันมาเลี้ยงนกนางแอน,” หนังสือพิมพชาวใต (1 กุมภาพันธ 2545). 28 Chritian Pelras, “Religion, Tradition and the Dynamics of Islamization in South Sulawasi,” Indonesia 57 (April 1993): 149. 29 Arskal Salin, Challenging the Secular State: the Islamization of Law in Modern Indonesia (Connecticut and London: University of Hawai’i Press, 2008), 27-28. 30 Birgit Schaebler and Leif Stenberg, Globalization and the Muslim World (New York: Syracuse University Press, 2004), 94.


296

ปยะนันท นิภานันท

ภาพการแสดงหรือการแตงกายที่นักแสดงถายทอดออกมาบนจอภาพยนตรนั้นยิ่งนานวันก็ยิ่งเปนภาพ ที่ลอแหลมทางศีลธรรมยิ่งขึ้น และถูกมองวาไมเหมาะสมที่จะปลอยใหเด็กวัยรุนหญิงเดินทางไปชม ภาพยนตรกับคูรัก ดังนั้นผูปกครองจึงเริ่มสั่งหามเด็กสาวไมใหเดินทางไปชมภาพยนตร ดังที่สตรีมุสลิม ผูหนึ่งเลาวา เมื่อกอนสมัยกะวัยรุน กะกับเพื่อนๆ ยังดูหนังกันที่ศรีเมืองกับ [ปตตานี] รามาเลยนะ แต ในยุคของนองสาว กะคือชวงที่พอแมสงไปเรียนโรงเรียนสอนศาสนากันทุกครอบครัว คานิยมในการดูหนังก็คอยๆ หายไป ยิ่งถา เปนลูกผูหญิงไปเที่ยวดูหนังมันก็ยิ่งดูไมดี ถาพอแมรูเคาก็จะตอวา มันเลยเปนเรื่องตองหามสําหรับเรา31

จะเห็นไดวาการเปลี่ยนแปลงของสังคมสมัยใหมยอมมีการปะทะกันระหวางความเชื่อตามหลัก ศาสนาอิสลามและการเติบโตขึ้นของสภาวะความเปนสมัยใหมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา ดัง นั้นสังคมมุสลิมมลายูปตตานีรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกจึงกําลังเผชิญหนากับปญหาอยางแหลมคมใน การปรับตัวใหเหมาะสมตามสภาพกาลของยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ โดยจะตองไม ขัดตอหลักศาสนาที่มีความเครงครัดในวิถีของอิสลาม สังคมมุสลิมสวนใหญ ในโลกสมัยใหมจึงอยู ใน ชวงการเตรียมความพรอมในการเปดรับความรูทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี แตอาจจะปฏิเสธหลัก ปฏิบัติทางศีลธรรมแบบสังคมตะวันตก32 สรุป เมื่อคานิยม ความทันสมัย และเทคโนโลยีแทรกซึมเขามาในทุกอณูของโลกแหงทุนนิยม สงผล ใหภาพยนตรอันมีจุดกําเนิดจากประเทศตะวันตกสามารถไหลทะลักเขามาในประเทศไทย เนื่องจาก การเปดประเทศเพื่อการพัฒนาใหมีความเปนอารยะธรรมตามแบบตะวันตก ทําใหประชาชนในประเทศ ทั่วทุกพื้นที่ที่ความเจริญเขาถึงไดอยางรวดเร็ว หรือทองถิ่นที่รับความทันสมัยไดอยางเชื่องชาก็ตาม ยอมจะหลีกหนีไมพนกับการเปดรับความเปนสมัยใหม เชนเดียวกับสังคมปตตานีที่มีการเปดรับความ ทันสมัยเขามาในชุมชน ไมวาในเรื่องการแตงกาย การบริโภคสื่อ การใชภาษาตลอดจนการคลุกคลีอยู กับประเพณีและวัฒนธรรมของคนในสังคม สงผลใหกําแพงในเรื่องความแตกตางทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ความเชื่อ และวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป อยางไรก็ดีการเปดรับเอากระแสตะวันตกนั้นก็ยัง คงมีมุสลิมบางกลุมที่รูสึกถึงความหวั่นใจและหวาดระแวงตอการเปลี่ยนแปลงที่สงผลกระทบตอหลัก ปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ดังนั้นการชมภาพยนตรของกลุมคนมุสลิมจึงมีขอจํากัดทางศาสนาตามหลักของศาสนา อัน ทําใหพื้นที่สาธารณะดังกลาวกลายเปนพื้นที่ตองหาม เพราะถูกมองจากคนมุสลิมบางกลุมวาการชม ภาพยนตร ไม ใชสิ่งจําเปนและเปนความบันเทิงที่ไมเหมาะสม อีกทั้งผูหญิงก็ควรอยูกับบานมากกวาที่ จะไปเที่ยวเตรในสถานบันเทิงเชนนั้น นอกจากบริบทในเรื่องของศาสนาแลว วงการภาพยนตรอินเดีย ที่กลุมคนมุสลิมนิยมชมชอบก็ซบเซาลงในระยะเวลาใกลเคียงกัน จนไมมีภาพยนตรอินเดียเขามาฉาย 31 32

สัมภาษณ วิจิตรา ยูโซะ, แมบาน มุสลิมชาวอําเภอยะรัง จังหวัดปตตานี, 20 ตุลาคม 2553. ดู Demant, Islam vs. Islamism, 187.


ประวัติศาสตรวัฒนธรรมของโรงภาพยนตรในสังคมปตตานี

297

บอยครั้งเหมือนชวงกอนหนานั้นที่วงการภาพยนตรอินเดียเฟองฟู ปจจัยตางๆ เหลานี้สงผลใหรายได หลักที่มาจากกลุมคนมุสลิมซึ่งเปนประชากรสวนใหญในพื้นที่ลดนอยลง ผนวกกับปจจัยสําคัญอีกอยาง หนึ่ง คือ การแพรกระจายของสื่อวิทยุโทรทัศน ซึ่งมีผลตอการกระจายตัวเลือกใหมใหกับผูบริโภคสื่อ ซึ่งสามารถเลือกชมสื่อความบันเทิงที่มีอยู ในบานไดมากกวาการเดินทางไปชมภาพยนตร ในตัวจังหวัด รวมถึงเจาของกิจการโรงภาพยนตรก็ไม ไดมีการลงทุนปรับปรุงโรงภาพยนตร ใหมีความทันสมัยยิ่งขึ้น เพราะหลังจากที่กลุมผูชมมุสลิมปตตานีจางหายไปจากความทรงจําของโรงภาพยนตร ในจังหวัดปตตานี ไดไมนาน ผูประกอบกิจการโรงภาพยนตรก็ประสบกับปญหาเสนทางตันของโรงภาพยนตรสแตนดอะ โลนที่ตองตอสูกับสภาวะความเปนสมัยใหมรอบใหมอีกครั้งจากการกอตัวขึ้นของโรงภาพยนตร ในระบบ มัลติเพล็กซ ที่มีการปรับปรุงระบบการฉายใหรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม อยางไรก็ตาม แมวาในปจจุบันธุรกิจโรงภาพยนตร ในจังหวัดปตตานีจะปดตัวลงถาวรเชนเดียว กับกิจการโรงภาพยนตรแบบสแตนดอะโลนด ในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ ทวาสวนหนึ่งจากศึกษา พฤติกรรมการชมภาพยนตรของกลุมคนไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดปตตานีไดเผยใหเห็นถึงพัฒนาการ การชมภาพยนตรของกลุมคนดังกลาว กลาวคือ แมวาจะมีความชอบอยางเปนเอกลักษณ ในเรื่องของ ความนิยมชมภาพยนตรอินเดียซึ่งทํารายไดใหกับผูประกอบกิจการเปนอยางมากมากอน โดยเฉพาะใน ชวงเทศกาลฮารีรายาของทุกป รวมถึงการที่ตองทําความเขาใจตอกระแสอิสลามนิยมที่มีขอจํากัดในการ แสดงออกตอการชมภาพยนตรของมุสลิมมลายูบางกลุม แตสิ่งหนึ่งที่พิสูจน ไดจากการศึกษาดังกลาว ก็คือ การทําความเขาใจกลุมคนมุสลิมมลายูในพื้นที่สามจังหวัดวาในความเปนจริงแลว ก็ไมไดมีความ พิเศษแตกตางไปจากคนในพื้นที่อื่นๆ ในสังคมโลกเลย ดังนั้นหากกลาวใหถึงที่สุดแลว แมงานศึกษา สวนใหญที่ทําการศึกษาพื้นที่ดังกลาวในดานตางๆ ที่ผานมานั้น พยายามอธิบายใหกลุมคนดังกลาว มีลักษณะเฉพาะแตกตางไปจากคนกลุมคนอื่นๆ ในสังคมไทยและตองการใหสังคมยอมรับในความ แตกตางนั้น ทวาในการแสดงออกผานพฤติกรรมการชมภาพยนตร รวมถึงการแตงกายนัน้ พฤติกรรม ดังกลาวไมไดแตกตางไปจากผูค นในพืน้ ทีอ่ น่ื ๆ เหมือนอยางทีง่ านวิชาการทัง้ หลายในอุตสาหกรรมวิชาการ อืน่ ๆ พยายามใหเปน อยางไรก็ตาม ความจําเพาะในเรื่องของทัศนคติตามหลักศาสนานั้นยอมเปนเรื่อง ที่ออนไหวและจําเปนจะตองศึกษาในเชิงลึกมากยิ่งขึ้นกวาที่งานเขียนเล็กๆ ชิ้นนี้จะทําใหเห็นได •


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.