Management of Arts

Page 1



โครงการศึกษาดูงานองค์การด้านศิลปวัฒนธรรม

ก้อยอาร์ตแกลเลอรี่ (KOY ART GALLERY) และ ศิลปิน สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ เสนอ อาจารย์ ณมณ ขันธชวะนะ

โดย

540109030026 540109030030 540109030088 540109030091 540109030100 540109030132 540109030139 540109030145 540409030031 540409030032

นายวีรวิชญ์ พัชรศิริพงศ์ นางสาวอมรรัตน์ แซ่จัง นางสาวชณิตา ภุชงค์เจริญ นางสาวณัฐฐ์จิรา สกุลศิริอภิธาร นางสาวหัตถ์ชนก ออรัตนชัย นางสาวศศิวิมล จันทร์เทพ นางสาวอัมธิกา วัจนสุนทร นางสาวณัฐธยาน์ ดุลภากร นายฐิติกร ชุติวรพงษ์ สิริพงษ์ ลี้วุฒิกุล

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา FA202 การจัดการด้านศิลปะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556


โครงการศึกษาดูงานองค์การด้านศิลปวัฒนธรรม ก้อยอาร์ตแกลเลอรี่ (KOY ART GALLERY)


หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันงานศิลปะ ถือว่าเป็นส่วนส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ เพราะงานศิลปะไม่ได้มีคุณค่าเพียงแค่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ศิลปะ คือมุมมอง การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกตามความรู้สึกของศิลปินและส่งต่อ ไปยังผู้ที่รับชมผลงาน ศิลปะไม่ว่าจะเป็นแขนงใดก็ตาม อาทิเช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ล้วนคืองานศิลปะทั้งสิ้น เมื่อมีผลงานศิลปะ ตัวศิลปิน เองก็อยากที่จะถ่ายถอดให้ผู้อื่นได้ชื่นชมผลงานของตัวเอง เพื่อแลกเปลี่ยนมุม มอง เพราะฉะนั้นจึงมีการจัดนิทรรศการ หรือการจัดแสดงผลงานศิลปะในหอ ศิลป์หรือ แกลเลอรี่ต่าง ๆ ทั่วทุกพื้นที่ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด การที่ศิลปินจะมีชื่อเสียงโด่งดังมาได้ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องเคยผ่านการ ส่งผลงานของตัวเองเข้าประกวด มาแล้วทั้งสิ้น การที่จะเป็นที่รู้จักได้ขนาดนี้ นอกจากจะส่งผลงานเข้าประกวดแล้ว ยังต้องมีผลงานศิลปะที่ออกมาสู่สายตา ประชาชนด้วยเช่นกัน ซึ่งผลงานศิลปะของศิลปินแต่ละท่านก็ล้วนแต่มีแนว ความคิด ทัศนคติที่ศิลปินต้องการถ่ายทอดออกมา ซึ่งเมื่องานศิลปะถูกน�ำออกสู่ สายตาประชาชนแล้ว ย่อมมีผู้ที่ต้องการเก็บผลงานศิลปะของศิลปินท่านนั้นเอา ไว้ ซึ่งเหตุผลที่เลือกซื้องานศิลปะของแต่ละคนก็ย่อมแตกต่างกันไป บางคนอาจ จะอยากเก็บไว้เป็นของสะสม บางคนอาจจะซื้อไปเพื่อน�ำไปเปิดเป็นแกลเลอรี่ก็ได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรในประเทศไทยก็ได้มีหอศิลป์ แกลเลอรี่ หรือพิพิธภัณฑ์ทางด้าน ศิลปะเยอะแยะมากมาให้เราได้ไปเลือกชมกัน ซึ่งงานศิลปะที่ถูกน�ำมาจัดแสดงในหอศิลป์ หรือแกลเลอรี่ ใน ประเทศไทย ก็มีอยู่เป็นจ�ำนวนมากซึ่งผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ซึ่งหอศิลป์ บางที่ ไม่ได้มีเพียงผลงานของศิลปินไทยเท่านั้น ยังมีผลงานศิลปะจากต่าง ประเทศด้วย เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (Moca) เป็นต้น หอศิลป์ หรือ แกลเลอรี่แต่ละที่ย่อมมีเอกลักษณ์ขององค์กรที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ก้อย อาร์ตแกลเลอรี่ ที่เป็นแกลเลอรี่ที่ไม่เน้นในเชิงพาณิชย์ (commercial) แต่ ต้องการส่งเสริมศิลปินที่มีฝีมือให้ได้มีโอกาสได้แสดงผลงานมากกว่า นี่คือเหตุผล ที่เราได้เลือกไปสัมภาษณ์เพราะ ก้อย อาร์ต แกลเลอรี่ ยังมีอีกหลายมุมมอง ให้ หน้าค้นหา เพื่อที่จะน�ำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาเผยแพร่ต่อไปเพื่อที่จะได้เป็นที่ รู้จัก ก้อย อาร์ต แกลเลอรี่ เพิ่มมากขึ้น นี่จึงเป็นที่มาของการจัดท�ำโครงการนี้ ขึ้นและคาดหวังว่าโครงการนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจด้วยเช่นกัน


วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาและอธิบายถึงลักษณะการด�ำเนินงานของ ก้อย อาร์ต แกลเลอรี่ 2.เพื่อน�ำความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการน�ำไปประกอบการเรียน หรือน�ำไปเป็นความรู้เพิ่มเติม 3.เพื่อสร้างเสริมทักษะการท�ำงานเป็นทีมของสมาชิกในกลุ่ม

เป้าหมายของโครงการ

การเก็บรวบรวมข้อมูลและน�ำเสนอผลงานภายในระยะเวลา 115 วัน

วิธีการด�ำเนินการ • • • • • • • • •

ค้นคว้าหาข้อมูลของแกลเลอรี่ น�ำเสนอข้อมูลของแกลเลอรี่ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ติดต่อประสานงานกับทางแกลเลอรี่ ลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงานแกลเลอรี่และนิทรรศการ เก็บรวบรวมข้อมูลของแกลเลอรี่และนิทรรศการ จัดท�ำข้อมูลของแกลเลอรี่ ตรวจสอบข้อมูลสถานที่ตั้ง ข้อมูลโดยรวมเกี่ยวกับแกลเลอรี่ และ ส่งไปให้ทางแกลเลอรี่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล น�ำเสนอข้อมูลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ประเมินและวัดผลโครงการ


ระยะเวลาในการด�ำเนินงาน

- ระยะเวลาเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม ถึงวันที่ 30 เมษายน 2557 เป็นระยะเวลา 115 วัน - มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ 8 วัน - แกลเลอรี่หยุดทุกวันจันทร์ เป็นจ�ำนวนวันที่หยุด 18 วัน งบประมาณและทรัพยากรที่ใช้ - ค่าใช้จ่ายในการเข้าชม ก้อย อาร์ต แกลเลอรี่ 1,000 บาท - ค่าใช้จ่ายในการจัดท�ำรูปเล่ม 2,000 บาท - ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 2,000 บาท - ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 1,000 บาท


ผู้รับผิดชอบโครงการ

1.นายวีรวิชญ์ พัชรศิริพงศ์ 2.นางสาวอมรรัตน์ แซ่จัง 3.นางสาวชณิตา ภุชงค์เจริญ 4.นางสาวณัฐฐ์จิรา สกุลศิริอภิธาร 5.นางสาวหัตถ์ชนก ออรัตนชัย 6.นางสาวศศิวิมล จันทร์เทพ 7.นางสาวอัมธิกา วัจนสุนทร 8.นางสาวณัฐธยาน์ ดุลภากร 9.นายฐิติกร ชุติวรพงษ์ 10.สิริพงษ์ ลี้วุฒิกุล

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ถ่ายภาพนิ่ง การเงิน,หาข้อมูล จัดท�ำรูปเล่ม สัมภาษณ์ ติดต่อประสานงานแกลเลอรี่ สัมภาษณ์ ติดต่อประสานงานศิลปิน สัมภาษณ์ ผู้ด�ำเนินงาน ติดต่อ,ถ่าย VDO

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อธิบายถึงการด�ำเนินงานของ ก้อย อาร์ต แกลเลอรี่ได้ 2.ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อน�ำมาใช้ในการท�ำโครงการ 3.ได้เรียนรู้ทักษะของการท�ำงานเป็นทีม

การประเมินโครงการ

- มีการประเมินผลโครงการโดย อาจารย์ ณมณ ขันธชวะนะ ด้วยการสอบถามและตรวจสอบความ คืบหน้าของโครงการเป็นระยะ ๆ จนจบโครงการ


ตารางปฏิบัติงาน การปฏิบตั งิ าน (6 มกราคม – 30 เมษายน 2557) ลาดับที่ รายการกิจกรรม 1 2 3 4 5 6 7 8 9

ค้ นคว้ าข้ อมูลแกลเลอรี่ น าเสนอข้ อมู ล ขอแกลเลอรี่ ต่ อ อาจารย์ ที่ ปรึกษา ติดต่อประสานงานกับทางแกลเลอรี่ ลงพื น้ ที่ เ พื่ อ ศึ ก ษาดู ง านแกลเลอรี่ และ นิทรรศการ เก็บรวบรวมข้ อมูลของแกลเลอรี่ จัดทาข้ อมูลของแกลเลอรี่ ตรวจสอบข้ อ มูลสถานที่ตัง้ ข้ อ มูลโดยรวม เกี่ยวกับแกลเลอรี่ และส่งไปให้ ทางแกลเลอรี่ ตรวจสอบความถูกต้ องของข้ อมูล นาเสนอข้ อมูลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ประเมินและวัดผลโครงการ

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

เมษายน




บทสัมภาษณ์ ก้อย อาร์ต แกลเลอรี่ (KOI ART GALLERY)

ผู้ให้ข้อมูล

คุณธนายุทธ จิตพายัพ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการจัดการ (ผู้จัดการ)

ประวัติความเป็นมาของ KOI ART GALLERY

เริ่มต้นที่คุณก้อย บุษกร วรรณอุ่น ชื่นชอบงานศิลปะ ได้เดินทาง ไปในต่างแดนเห็นผลงานศิลปินต่างชาติหลายคน ท�ำให้คุณก้อยมองว่า เด็ก นิสิต นักศึกษาที่เรียนศิลปะอยู่ในบ้านเรามีความสามารถเท่าเทียม หรือมากกว่าศิลปินต่างชาติ ท�ำให้คิดที่จะเปิดแกลอรี่ขึ้นมาในเมืองไทย เพื่อเป็นพื้นที่แสดงงานของศิลปิน เธอหาสถานที่รองรับงานศิลปะของ ศิลปินไทย เพื่อทดแทนความฝันในวัยเด็กที่อยากเรียนศิลปะ แต่โอกาส ไม่เปิดทางให้ จึงท�ำความฝันด้วยการมาเปิดแกเลอรี่แห่งนี้ เป็นแกลลอรี่ที่ ไม่เน้นเชิงพาณิชย์ แต่ต้องการส่งเสริมศิลปินที่มีฝีมือดีให้ได้มีโอกาสแสดง ผลงานมากกว่า


วัตถุประสงค์

ต้องการผลักดันศิลปินคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบในงานศิลปะ ไม่ว่าจะ เป็นงานแนว Modern หรืองานที่คิดสร้างสรรค์ใหม่ในทุกแนว เราคิดที่จะ ผลักดันให้ไปสู่สายตาชาวโลก สู่เวทีโลก ซึ่งปัจจุบันอาจจะยังไม่ได้ยังไม่ ถึงจุดหมายเท่าไหร่ แต่อย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของศิลปินที่เราผลักดัน ออกไปเราถือว่าเราก็โอเคกับตรงนี้


โครงสร้างการจัดการ ก้อยอาร์ต แกลเลอรี่

KOI ART GALLERY


โครงสรางของการจัดการ ทํางานกันเปนทีม แบงหนาที่เหมือนการจัดการของบริษัททั่วไปแบงตามความสามารถของ บุคคลเขามาประกอบเยอะหนอย

กรรมการผูจัดการ ผูจัดการ ฝายคัดเลือก งานแสดง

ฝาย การเงิน

ฝาย ประชาสัมพันธ

ฝาย จัดสง

1. คณะกรรมการคัด1.เลือก ผลงานจากผูที่สงเขามา โดยการเลือกของเสียง สวนมาก 2.คณะกรรมการคนหา ศิลปนเพื่อติดตอขอนํา งานมาแสดงที่แกลอรี่

ดูแลจัดการเรื่องรายรับ รายจายของแกลอรี่

1.ประชาสัมพันธงาน แสดงผลงานผานสื่อ ตางๆ WEB SITE โปสเตอร และนิตยสาร

1.บรรจุชิ้นงานศิลปะ พรอมจัดสงใหลูกคา ทั้งภาคพื้นและทาง อากาศ

ฝายติดตั้ง ผลงานแสดง

ฝาย ศิลป

1.วางแผนการจัดติดตั้ง ผลงานรวมกันศิลปน ผูแสดงงาน

1.ถายภาพ 2.ออกแบบโปสเตอร สื่ อ ประชาสั ม พั น ธ สํ า หรั บ ใช ใ นการ ประชาสัมพันธของ นิทรรศการ งานแสดง

2.ติดตั้งผลงาน


วิธีการคัดเลือกศิลปิน/ผลงาน

ถ้ามีศิลปินส่งงานมาทางเว็บไซต์ทางทีมงานก็จะมาคัดเลือก ว่าเข้ากับธีมงานของแกลอรี่มากน้อยแค่ไหน และกลุ่มเป้าหมายแค่ ไหน จะมีทีมงานที่ดูงานช่วยด้วยตัวคุณก้อย ผม และทีมงานที่อยู่ต่าง ประเทศ การตัดสินใจก็จะเป็นการเลือกโดยเสียงส่วนมาก และศิลปิน ท่านนั้นต้องท�ำงานต่อเนื่องถ้าท�ำงาน แล้วหยุดโอกาสที่จะขายงานต่อ ไปจะยาก คุณภาพของงานก็จะลดลงไปบ้างก็จะไม่มีผู้ซื้อ แกลอรี่เป็น เพื่อผู้คัดกรองส�ำหรับผู้ที่จะซื้องานศิลปะ เพราะชาวต่างชาติที่ซื้อผล งานผ่านทางแกลอรี่เขาเชื่อมันว่าทางเราคัดกรองศิลปินท่านั้นมาดีแล้ว

ค่าใช่จ่ายในการด�ำเนินงาน

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณขึ้นต�่ำ 100,000 บาทต่อการจัด นิทรรศการหนึ่งครั้ง ทางแกลอรี่เป็นการด�ำเนินค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตั้งแต่ การประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ สื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร สูจิบัตร การขนส่ง ในบางรายการ ทางแกลอรี่ต้องการแค่ให้ศิลปินท�ำงานให้เต็มที่ก็เพียง พอให้เต็มที่กับงานแสดง วัสดุที่น�ำมาใช้ในผลงานต้องมีคุณภาพ


ที่มาของค่าใช้จ่าย

ได้มาจากการขายงานของศิลปิน ตั้งแต่ตอนตกลงกันว่าส่วน แบ่งกันคนละ 50 เปอร์เซนต์ 40 เปอร์เซนต์ส่วนมากจะเป็นค่าใช้จ่าย ในการด�ำเนินงานของงานแสดงผลงานของศิลปิน ส่วนที่เข้าแกลอรี่จริง จะมีเพียง 10 เปอร์เซนต์เท่านั้น

การท�ำการตลาดของแกลเลอรี่

ทางแกลอรี่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่อจากจะส่งผลกระทบกับ ทางแกลอรี่ เพราะการตั้งราคากับการเข้าไปประสานงานกับศิลปิน แต่ละท่าน หรือลูกค้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน เนื่องจากแกลอรี่ไม่ได้รับ เงินทุนสนับสนุนจากทางภาครัฐ ซึ่งเป็นการท�ำการตลาดของเอกชนเอง ซึ่งคู่แข่งเยอะ จึงไม่สามารถเปิดเผยแผนการทางการตลาดได้

การโปรโมทของ KOI ART GALLERY

สื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร เช่น Life and home , ดิฉัน , art square เข้าจะติดต่อเข้ามาเองโดยไม่ต้องน�ำเสนอ แล้วอีกช่องทางก็ เป็น เว็บไซต์ของ KOI ART GALLERY เอง เราไม่ได้ขายแค่งานศิลปะ แต่เรายังผลักดันศิลปินด้วย


วิเคราะห์ SWOT ของ ก้อย อาร์ต แกลเลอรี่ (KOI ART GALLERY) S W

- มีการส่งเสริมและสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ให้ท�ำงานศิลปะใน แนวต่างๆ ที่ตนเองถนัด - มีการผลักดันและเน้นการท�ำงานที่เป็นสากล - มีการคัดกรองงานศิลปะของศิลปินก่อนจัดแสดงนิทรรศการ อย่างสม�่ำเสมอ - ภาระในความรับผิดชอบในการท�ำประชาสัมพันธ์ การท�ำ สูจิบัตรหรืออื่นๆ แกลเลอรี่จัดการให้ ทั้งหมด ซึ่งเป็นค่าใช้ จ่ายที่สูงมากๆ - ขนาดของพื้นที่ในการแสดงงานนิทรรศการมีน้อย - การแสดงงานของนิทรรศการอย่างงานอาจไม่เกี่ยวข้องกับจุด ประสงค์หลักของแกลเลอรี่ทั้ง ทางตรง และทางอ้อม

O - มีทีมการตลาดที่ดีเป็นที่รู้จักเป็นพิเศษ ท�ำให้การเข้าถึงกลุ่ม ตลาดเป็นไปได้ง่ายกว่า - มีสื่อนิตยสารหรือแมกกาซีนเข้ามาติดต่องานอย่างสม�่ำเสมอ ซึ่งอาจจะท�ำให้แกลเลอรี่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น T

- การรับงานศิลปะจากศิลปิน ถ้าศิลปินไม่สามารถท�ำงานได้ อย่างต่อเนื่อง โอกาสที่จะขายงานได้ก็เป็นไม่ได้ยาก - ลูกค้ามักเปรียบเทียบราคาผลงานศิลปะของแกลเลอรี่กับแกล เลอรี่อื่น ท�ำให้เกิดอุปสรรคในการขายงานศิลปะ - นิตยสารหรือแมกกาซีนบางเล่มไม่เหมาะกับการน�ำงานศิลปะ ไปใช้ ท�ำให้การสื่อสารไม่ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย


นิทรรศการปัจจุบัน

ก้อย อาร์ต แกเลอรี่ น�ำเสนอนิทรรศการ “S Code” ผลงานจิตรกรรมนามธรรม โดย ศราวุธ ยาสมุทร ศิลปินรุ่นใหม่ไฟแรงที่พกดีกรีปริญญาโทด้านจิตรกรรมจากศิลปากร มาโชว์ผลงานเดี่ยวชุดล่าสุด ที่มาเปิดเปลือยสังคมออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 “S Code” การแสดงผลงานเดี่ยวชุดล่าสุดของ ศราวุธ ยาสมุทร ที่ตั้งใจสะท้อน วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันที่จดจ่อกับการสื่อสารโทรคมนาคม และสังคมออนไลน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไลน์ ว็อทแอ็พพ์ ฯลฯ ซึ่งนอกจากไม่ได้ช่วยพัฒนาด้าน ขบวนการความคิด การโต้ตอบ และการจัดการข้อมูล ยังท�ำให้เกิดการลุ่มหลงมัวเมาไปกับ จังหวะและความรวดเร็วของการสื่อสารจนปราศจากการไตร่ตรองถึงความจ�ำเป็นในการเชื่อม โยงกับสังคมออนไลน์ตลอดเวลา โดยศิลปินพยายามน�ำรูปแบบและเทคนิคการวาดภาพมา สะท้อนสังคมยุคดิจิตัล รวมถึงการใช้ภาพวาดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์การแสดงความคิดเห็นและ รวบรวมข้อมูลผ่านโลกออนไลน์กับเพียงไม่กี่คลิก ศิลปินยังโชว์ความสามารถในการสร้างโค้ดหรือรหัสในภาพวาด ซึ่งผู้ชมที่ใช้ระบบ แบล็คเบอรี่ (Blackberry) หรือ แอนดรอยด์ (Android) สามารถเชื่อมต่อลิงค์ได้โดยการ สแกนบาร์โค้ด การพยายามค้นหา S Code ที่แฝงในภาพวาด นอกจากจะเติมเต็มความน่า สนใจให้กับภาพวาดแล้ว ยังอาจท�ำให้ผู้ชมหันมานิยมชมชอบงานศิลป์ควบคู่ไปกับการเสพ สื่อออนไลน์ไปในขณะเดียวกัน

สถานที่ตั้งแห่งใหม่ของ KOI ART GALLERY

ต้นเดือน พฤษภาคม จะได้เวลาดีในการย้ายที่ตั้งใหม่ ที่ใหญ่ กว่าเดิม อยู่ในซอยเดิมนี้เอง ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของ KOI ART GALLERY





เสนทางในการเดินชมนิทรรศการ เสนทางในการเดินชมเปนเสนทางแบบอิสระ ซึ่งเปนการกำหนดเสนทางเดินแบบไมตายตัว เปนโอกาสใหผูชมเลือกเดินไดอยางอิสระ ผูเขาชมไมจำเปนตองเดินตามลำดับ

เสนทางในการเดินชมนิทรรศการ เสนทางในการเดินชมเปนเสนทางแบบอิสระ ซึ่งเปนการกำหนดเสนทางเดินแบบไมตายตัว เปนโอกาสใหผูชมเลือกเดินไดอยางอิสระ ผูเขาชมไมจำเปนตองเดินตามลำดับ


เสนทางในการเดินชมนิทรรศการ


เสนทางในการเดินชมนิทรรศการ


ลักษณะการจัดตั้งนิทรรศการ การจัดตั้งปะติมากรรมใชเปนกลองสี่เหลียมในวางและจัดตั้งนิทรรศการ และสวนรูปเขียนใชเปนการแขวนไวกับเพดาน ดานบนบางชิ้นก็วางไวกับพื้น


รูปภาพผลงานพร้อมรายละเอียด

“I Am Exceptional” Oil on canvas 290x420 cm 2013

“I Am Curious” Oil on canvas 290x290 cm 2013

“I Am Not a Girl” Oil on canvas 170x170 cm 2013


“Land of smiles” Acrylic on canvas 80x100 cm 2013

“Waiting” Acrylic on canvas 90x70 cm 2013

“To share life 1” Acrylic on canvas 70x50 cm 2013

“Life together” Acrylic on canvas 100x80 cm 2013


Walking on the Cloud Acrylic Gold Leaf on Canvas Size : 150 x 120 cm. By Wanlop Han san thia

Walking on the Cloud Acrylic Gold Leaf on Canvas Size : 150 x 150 cm. By Wanlop Han san thia

Walking on the Cloud Acrylic Gold Leaf on Linen Size : 150 x 130 cm. By Wanlop Han san thia


TK11001 Title: Monday Technique: Acrylic on Canvas Size: 60x80cm.

TK11002 Title: Wednesday Technique: Acrylic on Canvas Size: 60x65cm.

TK11003 Title: Desert Technique: Acrylic on Canvas Size: 40x80cm.

TK11004 Title: The Gramineae Technique: Acrylic on Canvas Size: 40x80cm.


“Flow” Acrylic on canvas 95x120cm

“Surrounding” Acrylic on canvas 126 x155 cm


รูปผลงานพร้อมมาตราส่วน (Scale) คน : ผลงาน

ขนาดผลงาน : 190 CM คนสูง : 160 CM


ขนาดผลงาน : 140 CM คนสูง : 160 CM


เอกสารประกอบนิทรรศการ


ข้อติชมและค�ำแนะน�ำส�ำหรับงานนิทรรศการ

- ในงานจัดแสดงของนิทรรศการควรจะมีป้ายบอกรายละเอียด ของผลงานแต่ละชิ้น - ในงานจัดแสดงของนิทรรศการควรจะมีป้ายหรือบอร์ดเพื่อบอก รายละเอียดของงานที่ก�ำลังจัดแสดงอยู่ในปัจจุบัน - ในช่วงเวลากลางวันไม่เปิดไฟให้กับผลงานท�ำให้ผลงานขาด ความน่าสนใจ - ควรจะมีห้องจัดเก็บผลงานที่จะแสดงในครั้งต่อไป ไม่ควรน�ำมา รวมวางกับผลงานที่แสดงอยู่ในปัจจุบัน


บรรยากาศสัมภาษณ์แกลเลอรี่


มอบของที่ระลึกให้แกลเลอรี่



ประวัติศิลปิน ศิลปิน : สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ เกิด : 13 พฤศจิกายน 2514 เชียงราย ที่ท�ำงาน : อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ต.คลอกหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 โทร. : 02 549 3278 มือถือ : 081 989 8305 การศึกษา : - ปวช. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย สาขาวิจิตรศิลป์, เชียงราย - ปวส. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขต เพาะช่าง, กรุงเทพฯ - ปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาศิลปกรรม (เกียรตินิยม อันดับ 1) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี, ปทุมธานี - ปริญญาโท ศป.ม. (ศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต) สาขาทัศน ศิลป์ รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ


ก่อนจะได้เป็นศิลปินที่ประสบความส�ำเร็จ ผมได้เกิดมาในตระกูลที่ได้ท�ำงานศิลปะมาบ้าง คือ คุณพ่อเป็น ช่างแกะสลัก คุณปู่เป็นคนปั้นตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ พอตอนที่เราเป็น เด็ก เราก็ได้เห็นว่ามันเป็นงานศิลปะ เรียนรู้ด้วยตั้งแต่เด็ก ชีวิตโดย ส่วนใหญ่ คนที่ท�ำงานปั่นกับงานแกะสลัก โบสถ์วิหารมันก็จะอยู่แต่ใน วัด แล้ววัดที่ผมได้ไปท�ำงานก็เป็นโรงเรียนที่สอนพระอภิธรรม และอื่น ๆ ก็เลยท�ำให้ว่า หูเราได้ยินเสียง เพื่อน�ำมาเก็บเป็นองค์ความรู้ มือ เราได้เห็นงานพุธศิลป์ตั้งแต่เด็ก เวลาไปเขียนรูปในห้อง ท�ำไมผมถึง เขียนรูปได้ดี เขียนได้ไว นั่นก็เพราะว่าได้เห็น แต่การที่ชอบศิลปะ มัน ก็เหมือนกับว่าได้เห็นภาพที่อยู่ในหัวคิดเรา แล้วเราอยากถ่ายทอดออก มา ในสมัยก่อนไม่ได้มีกระดาษเหมือนสมัยนี้ กว่าจะเขียนได้ก็ต้องรอ ให้ฝนตกชะหน้าดิน แล้วพอหน้าดินเรียบก็เลยเอาไม้ขีดเขียนเป็นรูป ขึ้น มันเลยท�ำให้รู้สึกว่ามีความสุขมาก แล้วในสมัยนั้น กล้องก็ยังไม่มี ซึ่งไม่มีอะไรที่สามารถบันทึกได้ พอมีฝนตกลงมาอีกครั้ง สิ่งที่เคยวาด เอาไว้ก็หายไป และหลังจากนั้นก็ดีขึ้นมาหน่อย เพราะมีปฏิทิน พอ ทุก ๆ สิ้นเดือน ก็จะขอกระดาษปฏิทินนั้นจากผู้ใหญ่ เพื่อน�ำมาวาด รูป หรือถ้าหากว่าอยากได้กระดาษที่แผ่นใหญ่ขึ้น ก็ให้น�ำปูนแป้งเปียก มาทา เพื่อน�ำกระดาษมาต่อกันเพื่อให้มันใหญ่ขึ้น แล้วตัวเราเองก็จะ


ต้องถนอมกระดาษชิ้นนั้น เพื่อที่จะเก็บไว้วาดรูป หรือสมุดที่ได้รับแจกมา เราก็จะเอาด้านหลังสมุดที่ เอาไว้จดการบ้าน มาวาดรูป เพราะฉะนั้นทุกอย่าง ในสมัยก่อนมันไม่ได้ง่ายเหมือนในสมัยนี้ แต่เรา อยากที่จะเขียนมากที่สุด ตอนนั้นมันเป็นจุดเริ่มต้น อายุประมาณ 7-8 ปี ก็ได้เริ่มเขียนมาเรื่อย ๆ จน กระทั่งพอมาสร้างงานศิลปะได้บ้าง เนื่องจากที่ได้ อยู่จังหวัดเชียงราย มันก็อุดมไปด้วยศิลปินที่สร้าง งานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์เฉลิมชัย อาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี หรือแม้กระทั่ง อาจารย์จ�ำรัญ พรหม มินทร์ ซึ่งวาดภาพทิวทัศซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้ ๆ บ้าน ผม ผมก็ปั่นจักรยานไปดูท่าน ท่านก็ได้เอื้อเฟื้อให้ ดูงานศิลปะ ให้ดูสูจิบัตร ให้ดูการท�ำงานของท่าน แต่นั่นก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ เพราะเราไม่ชอบเขียน ทิวทัศน์ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่อาจารย์ของผม ชื่ออาจารย์ แก้ว นันทคราด ให้โจทย์การบ้านผมมาว่าให้ผม ไปเขียนต้นไม้ ผมเลือกที่จะเขียนต้นโพธิ์ โดยการ ที่ค่อย ๆ พยายามเก็บทีละใบ ๆ ท�ำให้เรารู้เลย ว่า จิตเราอยากที่จะท�ำงานละเอียดประณีต และ ก็อยากท�ำให้มันวิจิตร ก็เลยท�ำให้เรารู้เลยว่า เรา ชอบงานพุทธศิลป์ที่ความละเอียดลออ จึงเลือกเรียน

จิตรกรรมไทย ที่เพาะช่าง แต่ก่อนที่จะมาอยู่เพาะ ช่าง ผมก็ยังเรียนวิทยาลัยอาชีวะศึกษาเชียงราย ท�ำให้เราได้เห็นการท�ำงาน ได้บ่มฝักอะไรหลาย ๆ อย่าง แต่อยู่เชียงรายท�ำให้เรามีความสุข เพราะ ไม่ว่าจะไปบ้านไหนก็เห็นแต่คนวาดรูป วาดรูปอยู่ ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่สิ่งที่เราเห็นคือทุกคนเป็นสุข และมีความสุขมาก ในส่วนตรงนี้ถือเป็นส่วนส�ำคัญ เพราะถือว่าเป็นการตอบสนองความต้องการภายใน ของเราที่เราได้ท�ำ ทุกวันนี้ผมก็ยังคงเขียนรูปต่อ ไป นิทรรศการผมจะจัดอย่างน้อย 4-5 ปีครั้ง โดยที่ ตรงสันของสูจิบัตรจะมีตัวอักษรย่อของชื่อผม โดย ปีหน้า 2558 จะเป็นตัวอักษรย่อ ตัวสุดท้าย จะได้ ครบชื่ออาจารย์ ซึ่งนี่คือการท�ำงานศิลปะแบบมีประ นิทานที่เข้มแข็ง ผมไม่เปลี่ยนอาชีพไปขายก๋วยเตี๋ยว หรือท�ำอย่างอื่นแน่นอน คนที่ติดตามงานผม จริง อยู่ที่ว่าผมไมได้จบศิลปากร หรือมหาวิทยาลัยดัง ๆ แต่ผมท�ำงานจริงจัง จึงท�ำให้มีคนติดตามงาน ของผม ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือ หรือการแสดงงาน “งานศิลปะไม่จ�ำเป็นต้องตอบโจทย์คนซื้อ แต่ตอบ โจทย์คนที่เสพ” เพราะฉะนั้นถ้าผมไม่มีงานที่ใหม่ หรือไม่มีงานที่ดี ผมจะไม่จัดแสดงงานเลย


รูปตัวอย่างผลงานอดีต - ปัจจุบัน รางวัลเหรียญทองแดง "จิตรกรรมบัวหลวง"

กูรมาวตาร เทคนิคสีชอล์คและสีอะคริลิค size 1.20 x 1.50

แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน

เป็นภาพที่มีขนาดเล็กที่สุดในการประกวด แต่กรรมการเห็นควรให้ได้รับรางวัล ใช้สีแบบ อุดมคติของตนเอง เทคนิคสีชอล์คและสีอะคริ ลิค น�ำเสนอความเป็นทิพย์ เขาอ่านหนังสือ ลิลิต นารายณ์ 10 ปาง ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย แล้วหยิบยกเอาตอนกวนเกษียร สมุทรมาน�ำเสนอ "กูรมะ" หมายถึงเต่า ในภาพเต่า หนุน "เขามันทระ" เพื่อเป็นแกน เอาตัวพญานาค

พัน มีเทวดาถือหาง ยักษ์ถือหัว กวนเกษียรสมุทร เมื่อพญานาคพ่นพิษออกมา ยักษ์ซึ่งถือหัวนาคจึง โดนพิษนาคหมดแรง หมดฤทธิ์ เทวดาจึงรีบรุดไป ดื่มน�้ำอมฤต แล้วมาฆ่ายักษ์ การกวนเกษียรสมุทร ในครั้งนั้น ท�ำให้เกิดสิ่งส�ำคัญขึ้น 14 อย่าง เช่น วัว นนธิ พาหนะของพระอิศวร ต้นปาริชาติ ต้นไม้แห่ง การระลึกชาติ เป็นต้น


รางวัลที่ 1 เหรียญทอง "จิตรกรรมบัวหลวง"

โลกวิวรณปาฏิหาริย์


พระวิสุทธิคุณ Acrylic on canvas size 70 X 90 cm.

ถอดรหัสภาพ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับดอกบัวเหนือช้าง 3 เชือก หมาย ถึง ทรงมีพระทัยที่มีความบริสุทธิ์หมดจด ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้า หมองทั้งสามประการ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งหมายถึงช้างทั้ง 3 เศียร

มหาสุบินนิมิต Acrylic on canvas size 140 X 150 cm.

ถอดรหัสภาพ

พระนางสิริมหามายา ทรงพระสุบินว่ามีพระเศวตกุญชรเผือก เชือกหนึ่งเดินเข้าหาพระองค์แล้วกระท�ำประทักษิณเวียนพระแท่น บรรทม 3 รอบ แล้วเหมือนเข้าไปในอุทรของพระองค์ นัยว่าเป็นบุพนิมิต รพระโพธิสัตว์เจ้าเสด็จลงปฏิสนธิในพระองค์


พระมหากรุณาธิคุณ Acrylic on canvas size 120 X 150 cm.

ถอดรหัสภาพ

พระพุทธองค์ทรงเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อสรรพสัตว์ ทั้งหลาย ทรงมีแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระสาวก ท�ำให้เกิดพระ อริยบุคคลเป็นจ�ำนวนมากมาย โดยเฉพาะโลกุตรธรรมซึ่งเป็นพระปัญญา ธิคุณ ที่สามารถสอนให้ปุถุชนได้ประพฤติปฏิบัติจนสามารถเข้าถึงความ พ้นทุกข์ตามพระองค์ได้

ความปรารถนาสู่พระนิพพาน Acrylic on canvas size 80 X 100 cm.

ถอดรหัสภาพ

นาคบุรุษเทิดดอกบัวอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ไว้เหนือเศียร หมายถึงการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด และความ ปรารถนาที่จะเจริญตามรอยพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่ หนทางพระนิพพาน


พระพิฆเนศ เสด็จบาดาล Acrylic on canvas size 70 X 90 cm.

ถอดรหัสภาพ

ต้องการน�ำเสนอ เผยแพร่ ผลงานศิลปะ ซึ่งเป็นสื่อภาษาอย่าง หนึ่งแก่ผู้ชม อีกทั้งยังเป็นการสานต่อ ลมหายใจของศิลปะไทย ให้ยังคงอยู่ อย่างสง่างาม และพัฒนาไปสู่ศิลปะ ไทยร่วมสมัย โดยสอดแทรกหลักค�ำ สอนในพระพุทธศาสนา

ถอดรหัสภาพ

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมโปรดพระอินทร์และ พระพรหมบนสวรรค์ แสดงให้เห็นถึงพระธรรมค�ำสอนที่มี คุณูประการต่อพระอินทร์ ผู้ปกครงสวรรค์ รวมทั้งเทวดาบน สวรรค์ทุกชั้น และพระพรหมในพรหมโลกด้วย

เทวะนมัสการ Acrylic on canvas size 70 X 90 cm.


พุทธปรินิพพาน Acrylic on canvas size 155 X 210 cm.

ถอดรหัสภาพ

แสดงให้เห็นการเข้าเผ้าครั้งสุดท้ายของพระพุทธสาวก พระพุทธสาวิกา เทวดา มนุษย์ และสรรพสัตว์ต่าง ๆ เบื้องบนของภาพ เป็นเหล่าเทพเทวดามาชุมนุมสักการะ ต้นสาละทั้ง 2 ต้นโน้มเข้าหากกันด้วยความรู้สึกอาลัย ท่ามกลางความเศร้าโศกของเหล่า กษัตริย์และมนุษย์ คนธรรพ์ ครุฑ นาค และสัตว์ในหิมพานต์ที่เข้ามาถวายสักการะเป็น ครั้งสุดท้าย


หลักเกณฑ์ในการตั้งราคางานยังไงบ้างคะ

เราทุกคนหากว่าเขียนรูปแล้ว หากว่าไม่มีอาชีพเสริมอย่างอื่น ก็ คงจะต้องขายรูป หลักการตั้งราคาของก็คือ ขนาดของผลงาน เวลาที่ใช้ ความมีชื่อเสียงของตัวเรา วัสดุที่น�ำมาใช้ และที่ส�ำคัญคือความพึงพอใจ แต่มาตรฐานของศิลปินแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

มุมมองที่มีต่ออาชีพศิลปินในประเทศไทยเป็นอย่างไร

ศิลปินหรือศิลปะจริง ๆ แล้วมันมีคุณค่า ชี้ให้ชัดง่าย ๆ ดารา นักแสดงตอนมีชีวิตอยู่ ตอนมีผลงานก็ท�ำให้มีชื่อเสียงแต่พอจุด ๆ หนึ่ง ที่หมดความนิยมก็จะถูกลืมไป เพราะฉะนั้นมีแต่ศิลปินที่ท�ำงานเต็มที่ เพราะเมื่อแก่ตัว งานก็แพงแล้ว พอเสียชีวิตไป งานกลับยิ่งมีราคาแพง กว่าเดิมซะอีก ซึ่งมันมีความยั่งยื่นให้เห็น

มุมมองต่อการจัดงานของหอศิลป์/แกลเลอรี่

แกลเลอรี่ในเมืองไทยจะตอบโจทย์การซื้อขาย แต่ถ้าเป็นหอศิลป์ จะตอบโจทย์เรื่องของการเผยแพร่ผลงาน ทั้งหอศิลป์และแกลเลอรี่ ก็ จะมีองค์กรที่สนับสนุนอย่างเช่น ธนาคารต่าง ๆ ก็จะให้การสนับสนุน อย่างเช่นหอศิลป์พระนางเจ้าฯ หรือหอศิลป์ของคุณบุญชัย ที่จะต้องเก็บ ค่าเข้าชม เพราะเขาจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผลงานศิลปะเหล่า นั้น แต่ฟันเฟืองส�ำคัญ องค์กรศิลปะจะต้องประกอบไปด้วยคนอยู่ 3-5 ประเภท หนึ่ง ศิลปิน เพราะเป็นผู้สร้างงานศิลปะ สองคือ องค์กรที่ สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นที่โชว์งาน หรือว่าจะเป็นการให้เงินสนับสนุน สาม คือ นักวิชาการศิลปะ อันที่สี่คือ นักสะสม อันที่ห้าคือผู้ที่เสพผลงาน ศิลปะ ศิลปะไม่ใช่ปัจจัยสี่ แต่จริง ๆ แล้วศิลปะมันเข้าไปอยู่ในทุก ปัจจัย เช่นเวลาที่คุณจะซื้ออะไรสักอย่าง คุณก็จะต้องมองความสวยงาม มาเป็นหลัก


ชื่นชอบงานศิลปะมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วเริ่มมาวาดภาพแบบจริงจังตอนไหน เริ่มชอบตอนอายุ 7-8 ปี เขียนรูปมาเรื่อย ๆ สิบกว่าปีเริ่มเขียน เริ่มหา canvass หาอะไรที่พอจะเป็นผ้าที่ให้เขียนได้ พออายุประมาณ 20 กว่า ๆ ก็เริ่มจริงจัง และมาจริงจังมาก ๆ หลังอายุ 25 ปี ที่มีการเขียน รูปตลอด เขียนแล้วก็ด้วยความเป็นเด็กต่างจังหวัด แล้วที่บ้านก็อยากให้ เราเป็นช่าง ช่วงหลัง ๆ ทางครอบครัวเห็นว่าวิชาช่างท�ำไปก็ไม่รวย ก็ หันเหไปทางพ่อค้า การค้าขาย แต่ส่วนตัวผมยังรักความเป็นช่าง ความ เป็นคนท�ำงานศิลปะ ก็ยังอยากจะมาเรียนที่เพาะช่าง จากการที่เรามา เรียนที่เพาะช่างท�ำให้เราได้เขียนรูปได้เยอะ เพราะว่าอะไรพ่อบอกว่าถ้า อยู่บ้านได้เป็นเฒ่าแก่ ได้เป็นเจ้าของกิจการ แต่ถ้ามาเรียนดูแลตัวเอง จะ เลือกแบบไหน ผมเลยตัดสินใจเลือกดูแลตัวเอง ผมเลยจะต้องเขียนรูป ให้มากที่สุด เพราะหนึ่ง ไปอยู่วัดก็อยู่ไม่ได้เพราะว่าไม่มีใครฝาก เราก็ ต้องไปอยู่ห้องพักราคาสูง จึงท�ำให้ต้องเขียนรูปให้ได้มาก ๆ เพื่อจะน�ำ ไปขายแล้วได้เงินมาเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ในตอนนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ดีนะ ถ้ามองในตอนนี้ ก็คือการที่ท�ำให้เราได้เขียนรูปได้เยอะและได้ไว ถึงผม ไม่ใช่คนเก่งที่สุดในห้อง แต่ผมก็เป็นคนที่ขยันที่สุดในห้อง มีการวางแผน ที่ดี ท�ำให้ในวันนี้ผมสามารถท�ำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากจะเป็นนักแต่งหนังสือในเครือซีเอ็ด เป็นอาจารย์ เป็นศิลปิน แต่ ในท้ายที่สุด ผมก็ต้องเป็นคนท�ำงานศิลปะ เพราะกลับมาผมก็ต้องวาดรูป ก่อนออกจากบ้านผมก็ต้องวาดรูป ผมไม่เคยที่จะไม่วาดรูปเลย


ศิลปินที่อาจารย์ชื่นชอบที่สุดคือใครคะ เพราะอะไร

จริง ๆ มีอยู่ 3 คน อย่างคนแรกที่ผมประทับใจก็คือ อาจารย์ ถวัลย์ คือการที่ได้เห็นวิธีการท�ำงาน เห็นความตั้งใจจริง ผมไม่อยาก เป็นแบบท่าน แต่ผมอยากที่จะเก่งแบบท่าน ก็คือเป็นที่ยอมรับและ ท่านก็เป็นปราชญ์ ท่านเป็นผู้รู้ และน�ำความรู้มาแสดงเป็นความรู้สึก เหมือนวาดรูป ที่ไม่ว่าจะเขียนด้วยแท่งทาน หรือสีเพียงสีเดียว แต่ สามารถฉกคนได้ กับการเขียนงูแล้วมีเกล็ดทุกเกล็ดเลยเป็นงูที่กายกระ ด่าง เป็นงูตุ๊กตา เพราะฉะนั้นเวลาเราสร้างงานไม่ใช่ว่ารู้อย่างเดียว แต่ มันต้องท�ำให้เกิดความรู้สึกด้วย ส่วนอีกท่าน ก็คืออาจารย์เฉลิมชัย ซึ่ง ผมมีความรู้สึกศรัทธาในตัวท่าน เพราะท่านเป็นคนที่ท�ำให้วงการศิลปะ เป็นที่สนใจ และสามารถอยู่ได้ ท่านสุดท้ายผมชอบอาจารย์ประเทือง เอมเจริญ เพราะท่านเป็นนักต่อสู้ ท่านไม่ได้จบมหาวิทยาลัยดัง ๆ แต่ ท่านจบมหา’ลัยใจ ที่มีการสร้างสรรค์งานจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง จน เป็นที่ยอมรับ ไม่มีค่ายไหน ไม่มีอะไร แต่สามารถอยู่ได้ด้วยขาของตัว เอง อันนี้คือความเป็นศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์คนนึงที่ก�ำลังจะบอก อะไรกับสังคม ว่าถ้าหากตั้งใจจริงแล้วท�ำมันมีวันที่จะส�ำเร็จ

คิดยังไงกับค�ำว่า “ได้รับอิทธิพล” กับ “การ COPY”

การได้รับอิทธิพล จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่ดี เพราะศิลปะ การ นิยามของศิลปะคือการเลียนแบบ เราเลียนแบบธรรมชาติ เราเลียน แบบซึ่งกันและกัน เราเลียนแบบช่างโบราณ แต่การได้รับอิทธิพล สามารถน�ำไปสู่การเป็นตัวตนของเรา แต่การ COPY คือการถ่ายทอด โดยตรงเหมือนเราไปลอกเขามา เพราะฉะนั้นผมถึงให้คุณค่ากับการได้ รับอิทธิพลซึ่งจะดูมีประโยชน์มากกว่าการ COPY ซึ่งการ COPY คือ การคัดลอกโดยไม่มีการสร้างสรรค์ต่อ คือมันล็อคความคิดสร้างสรรค์ ไว้มันก็เลยได้แค่การคัดลอกแต่อิทธิพล


มุมมองของอาจารย์ที่มีต่อค�ำพูดที่ว่าศิลปินไส้แห้งที่เรา มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ มันมีความจริงเท็จอย่างไร

ในสมัยก่อนวงการศิลปะในบ้านเรายอมรับว่างานศิลปะยังเป็น ปัจจัยที่ไกล ๆ บางคนไม่ดูว่ามันจะมีคุณค่าอะไรกับชีวิต แต่ในตอน นี้มุมมองมันเปลี่ยนไปแล้ว มันจะถูกถ่ายทอดออกมาโดยอัตโนมัติ ศิลปินมักจะมีแต่เรื่องดี ๆ งาม ๆ มาน�ำเสนอให้ได้ชม ผ่านงาน ศิลปะ ให้คนดูได้คิดตาม ในปัจจุบันนี้ ศิลปะมันขายตัวมันเองได้ การ ที่ท�ำงานศิลปะนั้น เมื่อความสุขของเรามันขายได้ มันก็คงไม่มีอาชีพ ไหนที่จะเอาความสุขของตัวเองมาขายได้ โดยในอนาคตอยากให้มี การยอมรับและการสนับสนุนศิลปะให้มากขึ้นกว่านี้ โดยการยอมรับ นั้นจะต้องมาจากหัวใจของประชาชนทุกคนที่รักศิลปะ เมื่อมันมีคุณค่า มูลค่ามันจะตามมาเอง

อาจารย์คิดว่าอะไรส�ำคัญที่สุดส�ำหรับการสร้างงานศิลปะ “เราต้องลืมฝีมือ เพราะสุดท้ายมันจะเป็นขยะทับถมปัญญา” จากค�ำพูดค�ำนี้ท�ำให้คิดได้ว่า ฝีมือเยอะมันไม่ใช่ คุณจะต้องเอาความ คิดน�ำ คือความคิดจะต้องน�ำทักษะ ทุกอย่างส�ำเร็จได้เมื่อความคิดเริ่ม และก็ท�ำตามความคิด “การท�ำงานศิลปะ ต้องเอาความคิดน�ำ ไม่ใช่ ทักษะน�ำ ทุกอย่างจบด้วยความคิด เพราะไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพ ใด ๆ ท�ำงานอะไร แต่ผมคิดว่าความคิดส�ำคัญที่สุด

อาจารย์ชื่นชอบผมงานชิ้นไหนของตัวเองเป็นพิเศษไหม คะ เพราะอะไรอาจารย์พอจะให้เหตุผลได้ไหมคะ

เป็นงานที่ส่งประกวดครั้งแรก ในฐานะนิสิต ผมอ่านลิฤทธิ์ นารายณ์สิบปาง และได้เขียนเรื่องกวนเกษียรสมุทร ชื่อว่ากูรมาวตาร ซึ่งเป็นงานที่ได้เหรียญทองแดงบัวหลวง ซึ่งเป็นภาพที่มีขนาดเล็กที่สุด ในงาน ขนาด เมตร 20 คูณ เมตร 50 สีที่ใช้เป็นความเพลิดแพร้ว ของสี เป็นเทคนิคใหม่ ก็คือการน�ำเอาสีอะคริลิกผสมแล้วก็เขียนด้วย สีชอล์กมาระบาย แล้วก็เคลือบทับอีกที ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีใครท�ำ เทคนิคแบบนี้ แต่ต่อมาผมก็ได้รับเหรียญทองในงานจิตรกรรมบัวหลวง อีก แต่ในใจแล้วผมกลับชอบงานที่ได้เหรียญทองแดงมากกว่า


ถ่ายภาพร่วมกับศิลปิน


มอบของที่ระลึกให้ศิลปิน


ข้อคิด ส�ำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะ งานศิลปะถือเป็นทุกอย่างของผม ศิลปะถือเป็นที่พึ่งทางใจ ถือ เป็นลมหายใจขาดไม่ได้หยุดหายใจก็หยุดสร้างงาน ผมได้ทุกอย่างก็ เพราะศิลปะ เพราะฉะนั้นผมไม่ได้บอกว่าศิลป์จ้างต้องมาเป็นที่หนึ่ง แต่ การตั้งใจจริงของการท�ำงานศิลปะ แล้วขอให้เชื่อเถอะว่า “หากคุณเป็น ดอกบัวพันธ์แท้ คุณปลูกที่ไหนมันก็งอกเป็นดอกบัวไม่เป็นดอกอื่นแน่นอน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในรั่วมหาวิทยาลัยไหน ความส�ำเร็จรอคุณอยู่คุณจะเดินไป ให้ถึงได้รึเปล่าแค่นั้นเอง” ส�ำหรับคนที่อยากเรียนด้านนี้ให้คิดว่า “หากว่า เราเป็นมนุษย์คนนึงที่ฝึกได้ ขนาดสัตว์ยังวาดรูปได้ แล้วเรามีครบ 32 ประการ มีสติปัญญาที่เหนือกว่าเราท�ำไมจะท�ำไม่ได้”






Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.