วิวัฒนาการและแนวคิดของลัทธิเทวนิยม โดย ฉัตรอมร แย้มเจริญ

Page 1

วิวัฒนาการและแนวคิดของลัทธิเทวนิ เทวนิยม ยม Evolution and Concepts of Theism

โดย : ฉัตรอมร แยมเจริญ.


ความรูเ บื้องตนเกี่ยวกับเทววิทยาและเทวนิยม ยม


เทววิทยา (Theology) “เทววิทยา” เปนปรัชญาสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับพระเปนเจา และ ความสัมพันธระหวางพระเปนเจากับโลก บางตํ า ราเสริ ม ว า เป น การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ พระเป น เจ า และ ความสัมพันธระหวางพระเปนเจา มนุษย และโลก แตบางตําราเพิ่มเติมวา หัวขอของเทววิทยาคือ พระเปนเจา, มนุษย, โลก, ความปลดปล อ ย และ Eschatology (การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ เหตุ ก ารณ สุดทายในประวัติศาสตรมนุษยชาติ)


แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธระหวางพระเปนเจากับโลก มี ๔ ลัทธิ คือ ๑. เทวัสนิยม (Deism) ๒. สรรพเทวนิยม (Pantheism) ๓. เทวนิยม (Theism) ๔. สากลเทวนิยม (Panentheism)


๑. เทวัสนิยม (Deism) หมายถึง ทรรศนะที่เชื่อวามีพระเปนเจา (God) ผูสรางโลกอยูจริง แตเมื่อสรางแลวไมเขามาเกี่ยวของกับโลกอีก ในบางกรณีหมายถึง ความเชื่อที่วามีพระเปนเจา แตพระเปนเจา ไมไดสรางโลกและไมไดเกี่ยวของกับโลก หรือมีความเชื่อวา พระเปนเจาเปนมหาเทพสูงสุดเพียงพระองค เดียวซึ่งอยูนอกโลก ทรงสรางโลกขึ้นจากความวางเปลา มอบพลังตาง ๆ ให แ ก โ ลก และให พ ลั ง เหล า นั้ น ควบคุ ม โลกให ดํ า เนิ น ไป เมื่ อ โลกมี แนวโนมจะเสื่อม พระเปนเจาก็จะอวตารมาชวยแกไขโลกใหดําเนินไป ตามปกติ


๒. สรรพเทวนิยม ยม (Pantheism) หมายถึง ทรรศนะที่ถือวาพระเปนเจา (God) คือทุกสิ่ง และทุกสิ่ง คือพระเปนเจา (God is all and all is God.) เปนความเชื่อตรงกันขามกับเทวัสนิยม (Deism) คือ พระผูเปนเจา ไมไดอยูเหนือโลกแตอยูในโลก และเปนอันหนึ่งอันเดียวกันกับโลก โดยมี หลักสําคัญก็คือ “พระผูเปนเจาคือสิ่งทั้งปวง และสิ่งทั้งปวงคือพระผูเปนเจา”


๓. เทวนิยม ยม (Theism) หมายถึง ทรรศนะที่เชื่อวาพระเปนเจา (God) ผูสรางและคุมครองโลก

มีจริง ทรงเปน

เปนความเชื่อที่ปรับปรุงมาจากลัทธิเทวัสนิยม (Deism) และลัทธิ สรรพเทวนิยม (Pantheism) แนวคิดนี้เชื่อวา พระผูเปนเจาเปนสภาวะทั้งที่ อยูเหนือโลก (Transcendence) และอยูในโลก (Immanence) แตอยูเหนือ วิญญาณมนุษยโดยประการทั้งปวง


๔. สากลเทวนิยม ยม (Panentheism) หมายถึง ทรรศนะที่เชื่อวาสิ่งทั้งปวงอยูในพระเปนเจา แตพระเปน เจาไมใชสิ่งทั้งปวง (All is in God (pan – all, en - in, theos - God) but God is not all.) เปนความเชื่อที่ประนอมความขัดแยงระหวางเทวัสนิยม (Deism) สรรพเทวนิยม (Pantheism) และเทวนิยม (Theism) ซึ่งถือวา พระผูเปนเจา ทั้ ง อยู เ หนื อ โลกและอยู ใ นโลก ทั้ ง อยู เ หนื อ วิ ญ ญาณมนุ ษ ย แ ละอยู ใ น วิญญาณมนุษย


ความหมายและมูลเหตุของลัทธิศาสนา


ความหมายของ “ลัทธิ” ตามพจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได ใ ห ความหมายของ “ลัทธิ” และอธิบายไว ดังนี้ “ลัทธิ” เปนคํานาม หมายถึงคติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และ หลักการ ที่มีผูนิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เชน ลัทธิสังคม นิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิทุนนิยม. (บาลีใช “ลทฺธิ” วา ความเห็น, ความได)


ความหมายของ “ศาสนา” ตามพจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได ใ ห ความหมายของ “ศาสนา” และอธิบายไว ดังนี้ “ศาสนา” เปนคํานาม หมายถึงลัทธิความเชื่อถือของมนุษยอันมี หลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลกเปนตน อันเปนไปในฝาย ปรมัตถประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเปนไปในฝาย ศีลธรรมประการหนึ่ง พรอมทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตาม คําสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ. (สันสกฤตใช “ศาสน” วา คําสอน, ขอบังคับ ; บาลีใช “สาสน”)


การพัฒนาของ “ลัทธิ” ไปเปน “ศาสนา” จากความหมายของ “ลั ท ธิ ” และ “ศาสนา” สามารถกล า วได ว า ศาสนาพัฒนาขึ้นมาจากลัทธิ ซึ่งลัทธิเปนคติความเชื่อหรือความเห็นที่มีผู เชื่ อ ถื อ และปฏิบั ติ ต าม เมื่อ ลั ท ธิมี ค ติ ค วามเชื่อ นั้ น อยา งเปน หลั ก การ มี เนื้อหาของความเชื่อนั้นอยางลึกซึ้ง และมีพิธีหรือการกระทําตามคําสั่งสอน ในความเชื่ อ นั้ น อย า งเป น แบบแผนแล ว ถื อ ได ว า ลั ท ธิ ค วามเชื่ อ นั้ น ได พัฒนาขึ้นเปนศาสนา


มูลเหตุของลัทธิศาสนา ลัทธิศาสนาเปนสิ่งจําเปนอยางหนึ่งของมนุษย หากจะกลาววาลัทธิ ศาสนามีมาคูกับโลก เริ่มแตไดมีปฐมกําเนิดของมนุษยมาแลวก็นาจะไมผิด เพราะมนุษยอาศัยศาสนาเปนสรณะที่พึ่งพํานักพักพิงยึดเหนี่ยวของจิตใจ ซึ่งมีมูลเหตุ ๓ อยาง คือ ๑. ความกลัว ๒. ความจําเปน ๓. ความอัตคัด


๑. ความกลัว เปนมูลเหตุของลัทธิศาสนา เพราะธรรมชาติใจของมนุษยนั้นมี ความกลัวเปนวิสัย ไมวามนุษยทุกชาติหรือชนชั้นจะฉลาดหรือโงก็ตาม ยอมหวาดกลัวตอภยันตรายทั้งปวง อันจะเปนเหตุนําตนใหตองไดรับทุกข และในทางตรงกันขามทุกคนก็ตองประสงคแตความสุข ไมปรารถนาจะ ไดรับความทุกข แสดงวามนุษยทุกคนยอมรักตนและชีวิตเปนอยางยิ่ง เมื่ อ เหตุ ก ารณ ข องโลกอั น เป น ที่ น า อั ศ จรรย ห รื อ น า สะพรึ ง กลั ว เกิดขึ้น เชน แผนดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟาผา น้ําทวม แหงแลง เมื่อผู ประสบยังขาดสติปญญาสําหรับคิดคนหาเหตุผลแทจริงไมไดแลว ความ หวาดกลั ว เหล า นั้ น ก็ ยั ง มี อ ยู และชวนให คิ ด ว า เหตุ ก ารณ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ย อ ม เปนไปดวยอิทธิพลของสิ่งที่มีอํานาจบันดาล


เมื่อมนุษยยังหวาดกลัวตอภัยพิบัติตาง ๆ ซึ่งจะใหตนตองเผชิญกับ ความทุ ก ข จึ ง ต า งกระเสื อ กกระสนหาที่ พึ่ ง อั น จะช ว ยคุ ม ครองให เ กิ ด ความสุขและปลดเปลื้องทุกขภัยตาง ๆ เปนเหตุใหเกิดสิ่งที่เคารพนับถือไว เปนที่บูชาเพื่อวิงวอนขอใหชวยคุมครองและขอบันดาลใหเกิดความสุข ซึ่ง ตางคนตางนึกคิดแสวงหาแตกตางกันไป เพราะเหตุนี้ มนุษยดั้งเดิมจึงมีสิ่งเคารพนับถือกันมากมาย เชน ดิน ฟา อากาศ ไฟ ลม น้ํา ทะเล พระอาทิตย พระจันทร ดวงดาว ภูตผี เทวดา ตลอดจนวีระบุคคลผูเปนศาสดาริเริ่มตั้งและสั่งสอนลัทธิศาสนา เปนตน


๒. ความจําเปน เปนมูลเหตุของลัทธิศาสนา เพราะมนุษยจะอยูในโลกแตลําพัง ไมได จําเปนตองพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มนุษยยอมมีอัธยาศัยใจคอแตกตางกันไป คนอัธยาศัยหยาบก็มักจะ กอการเบียดเบียนใหผูอื่นเดือดรอน เมื่อเล็งเห็นวาการที่อยูดวยกันโดย เรียบรอยดีกวาที่จะแยงชิงหรือตีกัน มีเมตตากรุณาตอกันและสามัคคีกัน ดีกว าที่จะชิง ชัง จึ งจํา เปนตองมีสิ่ งอันใดอั นหนึ่ งเป นเครื่องชี้ท างความ ประพฤติวาอยางไรเปนสิ่งที่ควรกระทําและควรละเวน ผูเปนประมุขของ ชุมนุมชนนั้น ๆ ก็ตั้งกฎขอบังคับขึ้นเปนขนบธรรมเนียมหรือประเพณีอัน ตองประพฤติปฏิบัติ เมื่อกฎขอบังคับมีความขลังศักดิ์สิทธิ์มากเขาก็เกิดเปน ลัทธิศาสนาขึ้น


๓. ความอัตคัด เป นมู ล เหตุ ใ ห เ กิ ด ลั ท ธิ ศ าสนา เพราะเป น ธรรมดาของมนุ ษ ย ที่ อัตคัดขัดสน เมื่อไดรับความสุขสบายหรือสะดวกจากสิ่งใดในชีวิตของตน เชน ความรอน ความสวาง แมน้ําลําคลอง หุบหวยเหวผา หรือธรรมชาติ อยางอื่น ยอมนิยมนับถือและยึดเอาสิ่งนั้น ๆ วาเปนสรณะที่พึ่ง เมื่อรักและ ชอบสิ่งนั้นแลว ก็ยอมรับนับถือวาเปนของสูงควรแกการสักการะเคารพ บูชาตอไป


สรุปมูลเหตุของลัทธิศาสนา ในมูลเหตุใหเกิดลัทธิศาสนาทั้ง ๓ นั้น มูลเหตุที่สําคัญกวาก็คือ ความกลัว อยางอื่นยอมมารวมอยูที่ความกลัวทั้งสิ้น เพราะมนุษยทุกคนรัก ตนและชีวิตของตน ปรารถนาความสุข และเกลียดความทุกข จึงตองยึด สิ่งหรือบุคคลที่ตนเห็นวามีอํานาจราชศักดิ์เปนสรณะที่พึ่งที่เคารพบูชา เพื่อ ไดคุมครองปองกันทุกขภัยและบันดาลความสุขแกตน


ประเภทของลัทธิศาสนา


ประเภทของลัทธิศาสนา ลั ท ธิ ศ าสนาในโลก ถึ ง แม จ ะมี ม ากมาย แตสามารถจัดประเภทลัทธิศาสนาตามหลักคําสอน ได ๒ ประเภท คือ ๑. เทวนิยม

๒. อเทวนิยม


๑. เทวนิยม ยม เปนลัทธิศาสนาที่เชื่อวามีพระเจาผูทรงอํานาจยิ่งใหญพระองคเดียว พระเจ า นั้ น ทรงมี อํ า นาจครอบครองโลก และสามารถดลบั น ดาลความ เปนไปในโลก เชื่อกันวามีเทพเจาผูยิ่งใหญเหนือกวาเทพเจาทั้งหลาย หรือเรียกกัน วา “พระเจา” มีพระเจาสูงสุดเพียงพระองคเดียว พระองคเปนผูสรางโลก และสรรพสิ่ ง และเชื่ อ กั น ว า พระเจ า อาจติ ด ต อ มนุ ษ ย โ ดยผ า นศาสดา พยากรณหลายองค เชน พระอัลเลาะหทรงติดตอกับทานนบีมุฮัมหมัด, พระยะโฮวาหทรงติดตอกับทานโมเสสและพระเยซู สวนบางศาสนาก็นับ ถือพระเจาหรือเทพเจาหลายองค อยางศาสนาพราหมณ-ฮินดู เชื่อวาพระ เจาอวตารแยกเปน 3 องค เปนตน


๒. อเทวนิยม ยม อเทวนิยมเปนลัทธิศาสนาที่ไมเชื่อในการมีอยูจริงของพระเจา โดย เชื่อวาโลกและสรรพสิ่งเกิดขึ้นเองตามกฎของธรรมชาติ เชื่อวามนุษยเปนผู กําหนดชะตาชีวิตของตนเอง ทุกสิ่งเปนไปตามเหตุปจจัย โดยมีหลักการ และมีคําสอนที่เนนมนุษยเปนศูนยกลางคําสอน เนนเรื่องการกระทําของ มนุ ษ ย โ ดยตรง คื อ เน น เฉพาะความรู ที่ “เป น จริ ง มี ป ระโยชน และ เหมาะสมตอกาลเทศะ”


สรุปประเภทของลัทธิศาสนา ลัทธิศาสนาแตละลัทธิศาสนา ไมวาจะเปนประเภทเทวนิยม คือ มี ความเชื่อในเรื่องพระเจา หรือจะเปนประเภทอเทวนิยม คือ ไมเชื่อในเรื่อง ของพระเจาก็ตาม ถึงแมวาจะมีความเชื่อที่แตกตางกัน แตจุดประสงคของ ลัทธิศาสนาทั้ง ๒ ประเภท ยอมมีแนวสั่งสอนมุงไปในทางที่ใหคนไดรับ ความสงบสุขเชนเดียวกัน


วิวัฒนาการของลัทธิเทวนิ เทวนิยม ยม


วิวัฒนาการของลัทธิเทวนิ เทวนิยม ยม ลัทธิเทวนิยมมีวิวัฒนาการมาจากลัทธิตาง ๆ ตามลําดับดังนี้ á ลัทธินับถือธรรมชาติ (ธรรมชาติเบื้องต่ําและเบื้องบน) á ลัทธินับถือภูตผีปศาจและวิญญาณ á ลัทธินับถือวิญญาณที่ยกขึ้นเปนเจา á ลัทธินับถือเทพเจา á ลัทธินับถือพระเจา


ลัทธินับถือธรรมชาติเบื้องต่ํา เปนลัทธินับถือสิ่งที่ปรากฏอยูบนพื้นภูมิภาค เปนลัทธิที่ชนชาติ มิลักขะ (เจาของถิ่นเดิมของดินแดนอินเดียปจจุบัน) นับถือมาแตดั้งเดิม ซึ่งสามารถแบงออกเปน ๖ ลัทธิยอยตามสิ่งที่เขานับถือกันอยู คือ ๑. ลัทธินับถือแผนดิน ๓. ลัทธินับถือพฤกษชาติ ๕. ลัทธินับถือน้ํา

๒. ลัทธินับถือภูเขา ๔. ลัทธินับถือสัตว ๖. ลัทธินบั ถือไฟ


๑. ลัทธินบั ถือแผนดิน ลัทธินี้มักรวมถือทั้งภูเขาและสัตวมีพิษดวย ซึ่งเปนลัทธิของพวก ดราวิเดียน (มิลักขะพื้นเดิมแท) ผูนับถือมีทิฏฐิกรรมดิ่งลงไปวา “แผนดินเปนสิ่งประเสริฐและเปน บิดามารดาของสิ่งทั้งปวง” โดย - แผนดินเปนสิ่งประเสริฐ = คุณภาพของแผนดิน เปนเจาเปนใหญ ในทางคุมครองชีวิต ความเปนอยู และอุมธารไวซึ่งสรรพสิ่งทั้งปวง - แผนดินเปนบิดามารดาของสรรพสิ่ง = สรรพสิ่งทั้งปวงตองอาศัย แผนดิน ถาหากไมมีแผนดินสรรพสิ่งทั้งหลายก็จะเกิดขึ้นไมไดเลย


หลักขอปฏิบตั สิ ําคัญ ๑. ตองเชื่อวาแผนดินเปนสิ่งประเสริฐ ๒. ตองเชื่อวาแผนดินเปนบิดามารดาของสรรพสิ่งทั้งปวง ๓. ตองเคารพนับถือแผนดินเทากับบิดามารดาของตนเอง ๔. ตองยกแผนดินขึ้นเปนตนวงศของตน ๕. ตองทําพิธี เชน สังเวยแผนดินดวยพลีกรรม


๒. ลัทธินบั ถือภูเขา หมูชนที่นิยมนับถือภูเขาก็คือชาติดราวิเดียน แตเปนพวกที่ไดแยก ความเชื่อถือจากแผนดินมาเคารพนับถือภูเขา โดยเห็นวา “ภูเขาเปนสิ่งประเสริฐกวาพื้นปฐพี เปนบิดามารดาของ สรรพสิ่งทั้งหลายในโลก” คือ - ภูเขาเปนสิ่งประเสริฐ = เชื่อวาภูเขาทรงคุณลักษณะเปนหลักแกน และรากของพื้นปฐพี ยึดพื้นแผนดินไวมิใหไหวโคลงและถลมทลาย - ภูเขาเปนบิดามารดาของสรรพสิ่ง = เปนตนกําเนิดของหมูสัตว พฤกษชาติ และชลธาร อํานวยผลใหมนุษยไดบริโภคใชสอย


หลักขอปฏิบตั สิ ําคัญ ๑. ตองเชื่อวาภูเขาเปนสิ่งประเสริฐ ๒. ตองเชื่อวาภูเขาเปนบิดามารดาของสรรพสิ่งทั้งปวง ๓. ตองเคารพนับถือภูเขาเทากับบิดามารดาของตนเอง ๔. ตองทําพิธี เชน สังเวยภูเขาดวยพลีกรรม เพื่อขอพรสวัสดิมงคล ๕. ตองสรางหอไวเปนที่นมัสการ (สรางบนยอดเขา) ๖. ตองทําพิธีสักการะและนมัสการ


๓. ลัทธินบั ถือพฤกษชาติ เปนลัทธิที่ชาวโกลาเรียนนับถือ (มิลักขะที่ไมใชพวกพื้นเดิมแท แต อพยพเขามาในอินเดียกอนพวกอริยกะหรืออารยัน) เชื่อวามนุษยไดกําเนิดมาจากตนไมตาง ๆ พวกที่เชื่อวาตนเกิดจาก ตนไมชนิดใดก็ยกตนไมชนิดนั้นวาประเสริฐเปนตนวงศสกุลของตน ตาม ขอบัญญัติของลัทธิยอมถือวา ผูใดทํารายตอพฤกษชาติก็เทากับผูนั้นทําราย ตอบิดามารดาของตนเอง จะตองไดรับโทษในชาตินี้อยางหนัก โดยจะตอง ถูกนําไปแขวนหอยไวกับตนไมใหญและปลอยทิ้งไว จนกวาตนไมจะฆา ผูกระทําบาปนั้นตายไปเอง


หลักขอปฏิบตั สิ ําคัญ ๑. ตองเชื่อวาไมเปนสิ่งประเสริฐ ๒. ตองเชื่อวามนุษยไดกําเนิดมาจากตนไม ๓. ตองนับถือตนไมเปนบิดามารดาของตน ๔. ตองนับถือตนไมกําเนิดวา เปนวงศของตน ๕. ตองทําพลีกรรมบูชาตนไมตามลัทธิ ๖. ตองทําที่บูชาไวบนตนไมที่ตนนับถือ ๗. ตองลงโทษผูทําผิดกฎและผูที่ทํารายตอตนไมอยางหนัก


๔. ลัทธินบั ถือสัตว ชาวดราวิเดียนจะนับถือสัตวมีพิษจําพวกงู และตั้งชื่อใหวา “นาค” ซึ่งหมายความวา “ประเสริฐ” ยกยองวาเปนสัตวศักดิ์สิทธิ์เพราะสามารถ ประหารมนุษยไดดวยพิษ เรียกวา “ลัทธิบูชาอสรพิษ” และเชื่อวาอสรพิษ สามารถชูชวยใหผูบูชามีสติปญญาสูง และคอยเฝาพิทักษรักษาทรัพย หาก ใครทําผิดกฎของลัทธิ จะถูกทารุณใหงูกัดตาย ชาวโกลาเรียนจะนับถือสัตวที่ไมมีพิษ ดวยมีความเชื่อวาสัตวเปน ตนวงศของมนุษย คือมนุษยไดกําเนิดมาจากสัตวตาง ๆ ในคัมภีรฤคเวท หมวดอธิสัมภวะ เชน เตา ชาง โค มา หงส เปนตน และยกสัตวชนิด นั้ น ขึ้ น เป น สิ่ ง ที่ เ คารพสั ก การบู ช าของตน นอกจากนี้ ยั ง ชอบเรี ย กนาม ประเทศหรือผูปกครองเกี่ยวกับสัตวที่ตนนับถือ


๕. ลัทธินบั ถือแมน้ํา พวกโกลาเรี ย นเป น เจ า ของลั ท ธิ โดยเชื่ อ ว า แม น้ํ า มี คุ ณ ทํ า ให แผนดินไมตาย ใหมนุษยและสรรพวัตถุทั้งหลายสะอาดบริสุทธิ์ ดวยวาน้ํา ในแมน้ําชวยดับความรอนและใหความเย็น ตอมาสมัยที่ชนชาติอริยกะหรืออารยัน ไดพากันยกเขาไปอยูใน อินเดียแลว เมื่อไดเห็นลัทธินี้จึงบังเกิดความเลื่อมใสและยอมรับเปนลัทธิ ของตนดวย แตเพิ่มคุณภาพใหแกน้ําอีกวา แมน้ําเปนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สามารถใหมนุษยผูกระทําชั่วลงอาบชําระลางใหบริสุทธิ์ได


๖. ลัทธินบั ถือไฟ เปนลัท ธิเดิมของพวกอริยกะหรื ออารยัน โดยมีความนั บถือไฟ อยางมั่นคง ถึงกับเอานามของไฟมาเรียกนามของชาติตน ไฟที่นับถือกัน แบงออกเปน ๓ ประเภท คือ ๑. อัคนีหรือเพลิง ซึ่งไดแกไฟตามปกติที่ใชจุดอยูตามบานเรือน ๒. สวิตฺฤ คือ แสงสวางทั้งหลายที่อยูบนสวรรค ๓. ไฟในอากาศหรือวิทยุ (ไฟฟา) นอกจากนี้ยังถือกันวาไฟเปนทูตของภูตผีปศาจและเทวดา โดยนัก ปรัชญาเห็นวา เครื่องเซนสังเวยวางไวเฉย ๆ มิไดหมดเปลืองไป จึงเอา เครื่องสังเวยเหลานั้นโยนเขากองไฟเผาผลาญใหหมดไป ถือวาสิ่งที่บูชา ไดรับเครื่องสังเวยแลว


ลัทธินับถือธรรมชาติเบื้องบน เปนลัทธินับถือสิ่งที่ปรากฏอยูบนเบื้องนภากาศ โดยหมูชนที่นิยม นั บ ถื อ นั้ น ส ว นใหญ เ ป น ชนจํ า พวกผิ ว ขาว เช น สายชาติ อ ารยั น ซึ่ ง สามารถแบงออกเปน ๖ ลัทธิยอยตามสิ่งที่เขานับถือกันอยู คือ ๑. ลัทธินับถือพระอาทิตย ๓. ลัทธินับถือดาว ๕. ลัทธินับถือฝน

๒. ลัทธินับถือพระจันทร ๔. ลัทธินับถือฟา ๖. ลัทธินบั ถือลม


๑. ลัทธินบั ถือพระอาทิตย ลัทธินี้มีอยูในชนชาติตาง ๆ เชน อริยกะ และบาบิโลน ถือกันวา พระอาทิตยเปนมูลรากที่ใหกําเนิดแสงสวางทั้งหลาย กําจัดความมืดมน จน อาจแลเห็นสิ่งที่มีรูปทั้งดีและเลวไดโดยชัดเจน กับมูลรากแหงความรอน คือ ไฟ ที่สามารถแผดเผาพืชพันธุทุกชนิดใหเหือดแหงได ข อ ปฏิ บั ติ ใ นลั ท ธิ มี พิ ธี น มั ส การและกระทํ า พลี ก รรมต อ พระ อาทิตย มีวิหารสําหรับเปนที่นมัสการและทําพลีกรรม


๒. ลัทธินบั ถือพระจันทร หมูมนุษยที่นับถือลัทธินี้ก็เปนพวกเดียวกันกับพวกที่นับถือพระ อาทิตย การนับถือพระจันทรในเบื้องตนถือกันเพียงวาเปนธรรมชาติที่วิเศษ ศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจบันดาลใหเกิดคุณและโทษไดเทานั้น สวนกิจพิธีที่สําคัญก็คือ พิธีนมัสการกับพิธีพลีกรรม โดยสถานที่ สําหรับประกอบกิจพิธีมักสรางขึ้นเปนพิเศษโดยเฉพาะเรียกวาวิหารจันทร และกําหนดวันเวลาไวประกอบการพิธี


๓. ลัทธินบั ถือดาว ชนชาติ อ ย า งเช น บาบิ โ ลน นอกจากการนั บ ถื อ พระอาทิ ต ย กั บ พระจันทรแลว ยังมีการนับถือดวงดาววาเปนอาณัติสัญญาณของพระเจาอีก โดยเชื่อวาทางโคจรของดวงดาวนั้น เปนเครื่องแสดงความประสงคของ พระเจาวาพระองคจะบันดาลใหเกิดเหตุการณอยางหนึ่งอยางใดขึ้นในโลก ตลอดจนโชคและเคราะหอันจะเปนไปในทางดีหรือชั่วประจําตัวมนุษย สามารถทํานายพยากรณเหตุการณไดดวยประการทั้งปวง ดวยความสนใจและความเคารพนับถือดวงดาวอยางมาก เปนเหตุ ใหชนเหลานี้มีความชํานาญในการดูดวงดาว จนเกิดเปนวิชาโหราศาสตร และดาราศาสตร และตกทอดตอไปยังดินแดนอื่น


๔. ลัทธินบั ถือฟา มีความคิดเห็นอยางแนวแนกันวา ฟามีอัจฉริยภาพอันนาอัศจรรย ยิ่ง ซึ่งประจักษอยูแกจักษุวาครอบครองพื้นพิภพอันกวางใหญไพศาลจนจะ หาที่สุดขอบเขตมิได และก็ดาดไปดวยพระอาทิตย พระจันทร กับดวงดาว ตาง ๆ มากมาย อีกทั้งกอนเมฆหมอก ฟามีอํานาจทําใหโลกปลอดโปรง แจมใสหรือใหมืดคลุมและฉายแสงแลบ คึกคะนอง รองคํารนสงเสียง และ อาจผาลงมาทําลายสรรพสิ่ง และยังอํานวยใหบังเกิดความหนาว ความรอน และโปรยเมล็ดฝนลงมาใหพื้นพิภพเปนคราว ๆ เพราะฉะนั้นพวกที่นับถือจึงมีการคิดแบงฤดูเปน ๓ คราว คือฤดู รอน ฤดูฝน และฤดูหนาว และมีการจัดพิธีบวงสรวงและนมัสการเพื่อพนอ ใหฟาโปรดปรานเสื่อมคลายความกริ้วโกรธ


๕. ลัทธินบั ถือฝน ชนที่นับถือลัทธินี้โดยมากเปนชาติผิดขาวสายอริยกะ ซึ่งนับถือกัน วาฝนเปนที่เกิดแหงน้ํา และสามารถสําแดงคุณและใหโทษแกหมูมนุษย และสัตวได พวกที่เล็งเห็นคุณและโทษของฝนก็บังเกิดความมั่นใจเอาฝน เปนสรณะ มีพิธีนมัสการวิงวอนขอพรและบวงสรวงตามลัทธิ เพื่อที่จะขอ ความสวัสดีที่จะใหฝนอํานวยผลในทางคุณและขจัดปดเปาโทษได


๖. ลัทธินบั ถือลม ประชาชนที่นับถือลัทธินี้ เนื่องจากที่ไดเล็งเห็นคุณและโทษของ ลมอันประจักษแลวนานาประการในทางคุณสมบัติ เชน ใหสิ่งมีชีวิตหายใจ เพื่อดํารงชีวิต ขจัดความรอนและกลิ่นเหม็น นําเอาความเย็นและกลิ่นหอม เปนตน และอานุภาพใหเกิดความพินาศลงได เชน เกิดพายุ เกิดคลื่นใน แม น้ํ า หรื อ ทะเล เป นต น ทํ า ให มี กิ จ พิ ธี บ นบานบวงสรวง แสดงความ เคารพกราบไหวตอลมขึ้นตามความนิยม


ลัทธินับถือภูตผีปศาจและวิญญาณ มูลเหตุของการเกิดลัทธินี้ก็คือ ผีวิญญาณของคนตายซึ่งเปนสิ่งลี้ลับ อันฝงในความรูสึกของคนโดยทั่วไป ความเคารพรักใครตอบุรพชนเมื่อ ทานยังมีชีวิตอยูเพียงใด เมื่อทานลวงลับไปก็แสดงความนับถือตอทานอยู อยางนั้น มีความเชื่อวาวิญญาณมีอํานาจในทางลับที่ใหคุณและโทษแกมนุษย เปนเหตุใหเกิดความกลัวและเปนปจจัยใหเกิดความเคารพนับถือ มีการเซน สรวงสังเวยบูชากราบไหวและวิงวอนขอใหพิทักษรักษา แลวก็กลายเปน ลัทธิ มีจารีตประเพณีตอมา


อียิปต มีความเชื่อวา มนุษยประกอบดวยสิ่งสําคัญ ๔ อยาง คือ รางกาย จิต วิญญาณ อรูปกาย เมื่อทั้ง ๔ อยางยังประชุมกันอยูมนุษยจะยังมีชีวิตอยู เมื่อสวนทั้ง ๔ แยกจากกันดวยอํานาจมฤตยู มนุษยจะถึงแกความตาย แตถือ กันว า ไดแ ยกออกจากกั นไปเพี ยงชั่วคราวเทา นั้น เมื่อ ถึงกาลกํา หนดจะ กลับมารวมประชุมกัน และมนุษยนั้นก็จะกลับคืนชีพขึ้นอีกตามเดิม เพราะเหตุนี้จึงมีขอบัญญัติวา ผูสืบสกุลจะตองทําศพผูวายชนมเปน มัมมี่ เพื่อรอใหศพฟนขึ้นเมื่อถึงกําหนด ผูใดทําการฝาฝนขัดขวางการคืน ชีพของบรรพบุรุษ ผูนั้นจะตองไดรับบาปอยางหนัก


กรีก ในชั้นตนเชื่อวา มนุษยที่ตายไปแลวตองไปสูแดน อั น มื ด คลุ ม ใต ป ฐพี ซึ่ ง มี ผู ป กครองคื อ Hedes มี ช ายาคื อ Persephone ไมวามนุษยนั้นจะเปนคนดีหรือชั่ว ยอมมี วิบากกรรมทุกคน ตอมาไดเปลี่ยนทฤษฎีใหม เชื่อวาผูที่ลวงลับไปอาจทิ้งดวงวิญญาณ และความคิดไวกับบุตรหลานที่ยังมีชีวิตอยู เพื่อคอยอภิบายชวยเหลือ เพราะ เหตุนี้จึงมีพิธีเซนบวงสรวงวิญญาณดวยอาหารและน้ํา มีพิธีสวดมนตออน วอนตอดวงวิญญาณ ตองจัดการเอาศพไปเก็บไว ณ ที่ใดที่หนึ่ง แลวจัดหา เครื่องอุปโภคบริโภคไปตั้งเซนใหแกวิญญาณ (ไดรับแบบอยางของอียิปต)


อารยัน มีความเชื่อวา มนุษยที่ตายแลวยังมีสิ่งหนึ่งคือวิญญาณที่ไมตาย ยังคงดํารงสภาพอยู และยังมีการบริโภคอาหารเพื่อดํารงเปนอยูเชนเดียวกับ มนุษยที่ยังไมตาย เพราะความเชื่อนี้จึงเกิดเปนธรรมเนียมที่บุตรหลานของ ผูตายจะตองจัดหาอาหารเซนวิญญาณ ตอมามีความคิดเพิ่มขึ้นวา วิญญาณสามารถอํานวยความสุขทุกข ใหแกครอบครัวตนได ความเกรงกลัวจึงเปนปจจัยตองหาอุบายใหวิญญาณ โปรดปราน มีประกอบพิธีบนบานศาลกลาว เปนตน


พราหมณ มีความเชื่อวา คนที่ตายแลวจะไปอยูในถิ่นที่เรียกวาเปตโลก แต ดวยความรักใครอาลัย บุตรหลานจึงเปนหวงวาผูลวงลับจะอดอยากหิว กระหายและขาดแคลนเครื่องนุงหม จึงเกิดมีจารีตพิธีทําเครื่องเซนหรือให ทานอุทิศใหแกผูลวงลับ ทําประจําปที่บรรจบครบรอบวันตายหรือทําในตน เดือนหรือตนป


จีน ชาวจีนก็มีความคิดเห็นเชนเดียวกับชาติอื่น ๆ และคอนขางมีความ เคารพนับถือเครงครัด และใหความสําคัญกับพิธีเซนไหววิญญาณ ซึ่งถือ เปนกิจวัตรอันสําคัญยิ่งของชาวจีน ไมวาจะยากจนหรือมั่งมีเพียงใด พิธีนั้น บรรพบุรุษคนใดตายก็เขียนนามและแซลงในกระดานปาย นําไปตั้งไวบนโตะเครื่องบูชาในบานเรือน เพื่อทําการเซนไหวสืบตอไป ปายนั้นเมื่อไดทําพิธีเชิญวิญญาณแลว ก็ถือวาวิญญาณเขาสิงอยูใน ปายอันนั้นแลว และเขาใจกันวาวิญญาณสามารถจะทําการติดตอกับผูเซน ไหวไดดวย


ลัทธินับถือวิญญาณที่ยกขึ้นเปนเจา มูลเหตุของการเกิดลัทธินี้ เกิดจากความรูสึกนึกคิดของปวงชนผู นับถือภูตผีปศาจวาอาจมีสถานที่สํานักอาศัยเชนเดียวกับมนุษย มนุษยมี หัวหนาปกครองเปนชั้นเปนลําดับอยางใด พวกภูตผีปศาจก็คงมีอยางนั้น เมื่อเห็นวาภูตผีปศาจบางประเภทศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เดช จึงไดยกยอง ขึ้นใหเปนเจาที่ทรงเกียรติยิ่งใหญกวาภูตผีปศาจสามัญทั้งหลาย เจาผีที่นับถือกันอยูนั้นอาจแบงเปน ๒ จําพวก คือ ๑. เจาผีประจําสถานที่ เชน พระภูมิเจาที่ พระแมโพสพ ๒. เจาผีเฉพาะบุคคล คือ ผีวีรบุคคล เชน กวนอู


ลัทธินับถือเทพเจา เมื่ อ มนุ ษย ไ ดรู เห็ น และประสบเหตุ การณ ต าง ๆ มากขึ้น ย อ ม เทากับวาไดรับการศึกษา ทําใหมีวัฒนธรรมเจริญเพิ่มขึ้น ทํานองเดียวกัน ลัทธินิยมก็ถูกดัดแปลงแกไขมาโดยลําดับอันควรแกกาลสมัย พวกที่นับถือภูตผีปศาจแตเดิมนั้น ไดเกิดความคิดเห็นขึ้นใหมวา ภูตผีปศาจยังไมใชสิ่งทรงอํานาจสูงสุด ที่แทคงมีเทพเจาที่ทรงพลานุภาพ ยิ่งกวา สิ่งตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกทั้งปวงยอมเกิดขึ้นเพราะอิทธิปาฏิหาริย ของเทพเจาทั้งสิ้น


ดังนั้น ในสมัยกอนพุทธกาลราว ๑,๕๐๐ ป การเคารพนับถือภูตผี ปศาจจึงไดเสื่อมคลายลง เปลี่ยนมาเปนลัทธินับถือเทพเจา แตการนับถือ เทพเจาไมไดอยูคงที่วาจะนับถือเทพเจาอันยิ่งใหญองคไหนแน ยังตองถูก ดัดแปลงไปตามความคิดเห็นของชนหมูมากอยูเสมอ


ตัวอยางนามของเทพเจา อียิปต :

อนูบิส (เทพแหงความตาย), เซ็บ (เทวีแหงฟา)

กรีก :

เฮอรมิส (เทพแหงการสื่อสาร), วีนัส (เทวีแหงความงาม) เฮเฟตุส (เทพแหงชางเหล็ก), เฮเตีย (เทวีแหงเตาไฟ)

อารยัน :

พระอุมา, พระลักษมี, พระสวัสวดี, พระคเณศ, ทาวกุเวร (เทพแหงทรัพย), พระคงคา (เทวีแหงตนน้ํา) พระสุริยะ, พระจันทร, พระอังคาร, พระพุธ ... ฯลฯ


เทพเจาแบงออกไดเปน ๓ ประเภท ๑. สมมติเทพ คือ เทพเจาโดยสมมติ เชน พระราชา พระราชินี พระราชกุมาร พระราชกุมารี ๒. อุปปตติเทพ คือ เทพเจาโดยกําเนิด เชน เทพเจาชั้นกามาวจร รูปาวจร (รูปพรหม) และอรูปาวจร (อรูปพรหม) ๓. วิสุทธิเทพ คือ เทพเจาโดยความบริสุทธิ์ เชน พระพุทธเจา พระปจเจกพุทธเจา พระอรหันต


ลัทธินับถือพระเจา ประชาชนสมัยโบราณบางพวกมีความเชื่อถือเกิดขึ้นวา “ในโลกนี้ มี ส ภาพที่ สู ง สุ ด อย า งหนึ่ ง คื อ พระเจ า ซึ่ ง เป น ผู ท รง มเหศวรศักดาเดชอันยิ่งใหญไพศาล สามารถบันดาลใหทวยเทพ มนุษย และสัตว หรือสรรพสิ่งทั้งหลายในสากล เปนไปตามพระประสงคของ พระองคไดทุกประการ ภูตผีปศาจ เทพเจา และสิ่งอื่นใดที่เคารพนับถือกัน มาแตเดิมนั้น ไมใชสิ่งที่จะหวังคุณและอํานาจอภินิหารอันศักดิ์สิทธิ์เทา เทียมพระเจาได สิ่งเหลานั้นยอมอยูใตอํานาจของพระเจาทั้งสิ้น”


ความเชื่อถื อเชนนี้ เปนปจจัย ใหเกิดศาสนา ซึ่งมีพระเจาผูท รง อํานาจไมมีเขตจํากัด สวนภูตผีปศาจและเทพเจาที่นับถือกันมาแตเดิมนั้น ไดถูกลดอํานาจราชศักดิ์ใหต่ําลง และขีดวงจํากัดใหอยูภายใตอํานาจพระ เปนเจา ซึ่งแลวแตพระองคจะทรงจัดสรรแบงปนใหมีหนาที่ตาง ๆ ไป ประชาชนที่ เ คารพนั บถื อ พระองค จึง เฉลิ ม พระนามในตํา แหน ง สูงสุดถวายพระองคใหเปน “มหาเทพ”


ในชั้นตน คนบางพวกถือกันวามีพระเจาเพียงองคเดียว และคน บางพวกถือกันวามีพระเจาสององค - พวกที่ถือวามีพระเจาเพียงองคเดียว ไดยกฐานันดรศักดิ์ของ พระองคขึ้นเปนพระเจาผูใหกําเนิด - พวกที่ถือวามีพระเจาสององค ไดยกฐานันดรศักดิ์ขึ้นเปนพระเจา ผูใหกําเนิดองคหนึ่ง และเปนพระเจาผูทําลายอีกองคหนึ่ง หรือมิฉะนั้นก็ เปนพระเจาผูใหกําเนิดทั้งสององค


กาลลวงมาถึงสมัยกอนพุทธกาลราวพันป ไดเกิดความนิยมนับถือ ว า มี พ ระเจ า องค เ ดี ย ว ด ว ยเหตุ ที่ วั ฒ นธรรมและสติ ป ญ ญาความคิ ด ของ มนุษยเขยิบสูงขึ้น ใครคิดคนควาและใฝสูงขึ้น จึงเลิกนับถือภูตผีปศาจและ ทวยเทพ และกลั บ คิ ด เห็ น เชื่ อ ใหม ว า ในสากลโลกนี้ ต อ งมี พ ระเจ า ผู ครอบครองอยูองคเดียว ที่ทรงมีอํานาจยิ่งใหญสูงสุด ควรที่จะยึดถือเปน สรณะที่พึ่ง แมจารีตและวินัยตาง ๆ ก็เกิดเปนแบบแผนมีหลักฐานประณีต ยิ่งขึ้นโดยลําดับ และมีการอธิบายชี้แจงใหเห็นเหตุผลในทางบาปบุญคุณ โทษ ตามควรแกภูมิปญญาในสมัยนั้น ๆ


เพื่อที่จะใหความเคารพเชื่อถือเกิดในจิตใจของศาสนิกชนอยาง หนักแนน จึงมีขออธิบายถึงสิ่งตอบสนองคุณหรือโทษในทางปฏิบัติ สิ่งที่ กลาวนี้คือสวรรคอันเปนแดนบรมสุข และนรกอันเปนแดนที่ทุกขทรมาน ทั้งสวรรค และนรกอยูในอํานาจของพระเจา ซึ่งพระเจาจะทรง พิจารณาเองวา ใครทําคุณงามความดีก็ใหขึ้นสวรรค ถาใครประพฤติชั่วก็ ใหไปตกนรก และอาจลดหยอนผอนโทษได ทั้งนี้ขึ้นอยูกับพิธีกรรมและ การสวดออนวอน เปนที่ถูกพระหฤทัยมากหรือนอย


มีขอสังเกตอยูวา วินัยหรือขอปฏิบัติที่เปนหลักสําคัญทั้งหลาย ได กําเนิดขึ้นจากศาสดาจารยผูเปนเจาของริเริ่มตั้งศาสนาขึ้นทั้งนั้น และจะถูก ยกยองในฐานะบุตรหรือทูตของพระเปนเจา แมคําสั่งสอนนั้นก็มีคําอางไว วามาจากโอษฐพระเปนเจา ขอธรรมคําสั่งสอนของศาสนาที่มีพระเจา จะแตกตางกันไปตาม คตินิยมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาตินั้น ๆ แมในศาสนาเดียวกันก็ ยังแตกตางนิกายกันออกไปอีก แตสุดทายก็มีเหมือนกันคือ วิญญาณของ ผูตายจะไปอยูกับพระเจาบนสวรรค และไมมีทางที่วิญญาณจะไปสูนิพพาน อันเปนสถานบรมสุขได


ตัวอยางนามของพระเจา ฮิบรู :

พระยะโฮวา

อียิปต :

พระเจาโอสิริส, พระเจารา

กรีก :

ซูส

พราหมณ-ฮินดู :

พระพรหม, พระนารายณ, พระศิวะ (ตรีมูรติ)


แนวคิดของลัทธิเทวนิ เทวนิยม ยม


แนวคิดของลัทธิเทวนิ เทวนิยม ยม แนวคิดหรือคําสอนของลัทธิเทวนิยมที่สําคัญมีดังนี้ á เชื่อวามีความเปนจริงสูงสุดหรือพระเจา ซึ่งมีลักษณะเปนพระ ผูเปนบุคคลที่มีอยู ผูทรงสรรพานุภาพ ทรงสรางสรรพสิ่ง ทรงบํารุงเลี้ยง ทรงรักษา และทรงปกครองสรรพสิ่งอยูตลอดเวลา á เชื่อวาความเปนจริงสูงสุดมีองคเดียว หรือหลายบุคคลแตเปน หนึ่งเดียวกัน โดยเฉพาะอยางยิ่งเชื่อในความเปนจริงสูงสุดหรือพระเจาที่ ทรงสรางสรรพสิ่ง ทรงเปนบอเกิดและทรงอยูเบื้องหลังสถานการณตาง ๆ ที่เกิดขึ้น


á พระเจาคือสิ่งมีชีวิตทรงปญญาสูงสุดที่ไมอาจเขาถึงได ถาพระองค ไมประสงค á ศาสนิกตองแสดงความรักหรือภักดีตอพระเจาดวยการสรรเสริญ ปฏิบัติตามที่พระองคประสงคที่ไดตรัสผานศาสนทูตของพระเจา á อาจขอใหทรงไถบาป ออนวอนใหทรงประทานสิ่งที่ดีแกชีวิต á เชื่อวาทรงเปนพระผูสรางสรรพสิ่ง กําหนดสภาวการณที่เปนไป ของโลก แตทรงปลอยใหมนุษยเลือกทางแหงตนเอง โดยจะทรงชวย เมื่อมนุษยลงมือกระทํา


á กอนที่จะเชื่อใหไตรตรองอยางรอบคอบ เมื่อเชื่อแลวอยาสงสัย เพราะ พระเจาจะทรงทดสอบจิตใจในศรัทธา á เมื่อถึงวันสิ้นโลกพระเจาจะทําลายทุกสิ่งที่พระองคสรางขึ้น และจะ ชุบชีวิตทุกคนใหฟนคืนชีพมารับฟงคําพิพากษา ผูเชื่อจะรอด และอยูกับ พระองคชั่วนิรันดร ผูไมเชื่อ จะถูกลงทัณฑใหตกนรกชั่วกาล á ใหวางใจในพระเจา รับพระองคเขาไวในใจจะพบแตสันติสุข


á คําสอนเนนใหมนุษยมีความเชื่อมั่นอยูกับความเปนจริงสูงสุด หรือพระเจา โดยเนนวา ๑) ทุกสรรพสิ่งเกิดจากการสรางสรรคของความเปนจริงสูงสุดหรือ พระเจา พระองคเปนพื้นฐานและบอเกิดของสรรพสิ่ง ๒) พระองคทรงเปนผูกําหนดวิถีชีวิตของมนุษย มีคําสอนวา มนุ ษย เ กิด จากการสร างสรรค ของพระองค ฉะนั้ น ความเชื่ อ ในรู ปนี้ จึ ง ผูกพันมนุษยใหอยูกับความเปนจริงสูงสุดหรือพระเจา ๓) มนุษยตองมีความเชื่อศรัทธาตอความเปนจริงหรือพระเจาอยาง สิ้นเชิงวา พระองคทรงเปนผูประทานชีวิต และดวยความเชื่อนี้เองมนุษยจึง ตองสํานึกตนวา ชีวิตมนุษยตองพึ่งพิงและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองคอยูเสมอ


อางอิง มานพ นักการเรียน. [ม.ป.ป.]. “พระพุทธศาสนากับเทววิทยา.” [ออนไลน]. เขาถึงได จ า ก http://www.src.ac.th/web/index.php?option=content&task=view&id= 233&Itemid=69&limit=1&limitstart=0 สืบคน ๑๒ กันยายน ๒๕๕๓. วิ โ รจ นาคชาตรี และคณะ. ๒๕๕๒. ปรั ช ญาเบื้ อ งต น . พิ ม พ ค รั้ ง ที่ ๑๖. กรุ ง เทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง. วุฒิชัย อองนาวา. ๒๕๕๑. “ความหมายของศาสนา.” [ออนไลน]. เขาถึงไดจาก http:// franciswut03-2.blogspot.com สืบคน ๑๒ กันยายน ๒๕๕๓. “ศาสนา.” [ม.ป.ป.]. [ออนไลน]. เขาถึงไดจาก http://th.wikipedia.org/wiki/ศาสนา สืบคน ๑๒ กันยายน ๒๕๕๓. สมเด็ จ พระมหาวี ร วงศ (พิ ม พ ธมฺ ม ธโร). ๒๕๔๘. สากลศาสนา. พิ ม พ ค รั้ ง ที่ ๒. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.