วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2558)

Page 1


บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร. โกสุม สายใจ ผู้อานวยการสานักวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

กองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศาสตราจารย์ ดร. สมจิตต์ สุพรรณทัศน์ ศาสตราจารย์ ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์ ศาสตราจารย์ ดร. สิริวรรณ ศรีพหล รองศาสตราจารย์ ดร. เชาว์ โรจนแสง รองศาสตราจารย์ ดร. พนารัตน์ ปานมณี รองศาสตราจารย์ ดร. ภูมิ โชคเหมาะ รองศาสตราจารย์ ดร. วิรัช วรรณรัตน์ รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิทย์ กังสนันท์ รองศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา วัฒนะคีรี ดร. อังสนา นาคสวัสดิ์

มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์


รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองบทความประจาฉบับ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิวัตถ์ มณีโชติ รองศาสตราจารย์ ดร. กิ่งพร ทองใบ รองศาสตราจารย์ ดร. ธนากร ธนาธารชูโชติ รองศาสตราจารย์ ดร. ชนิดา ม่วงแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร. วงเดือน ปั้นดี รองศาสตราจารย์ ดร. สุรีย์ จันทรโมลี รองศาสตราจารย์ยงยุทธ เกษสาคร รองศาสตราจารย์ไฉไล ศักดิวรพงศ์ รองศาสตราจารย์สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองศาสตราจารย์ดลพร บุญพารอด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กานดา นาคะเวช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภวรรณ์ เล็กวิไล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงพร หาญสันติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิภาวดี ทูปิยะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จษฎา ความคุ้นเคย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภา ทองคง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว ดร. ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว ดร. ประวีณา เอี่ยมยี่สุ่น ดร. พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการจัดการ เชิงกลยุทธ์


วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ Journal of Humanities and Social Sciences ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร 1. วารสารมนุ ษยศาสตร์ แ ละสั งคมศาสตร์ มหาวิท ยาลั ยราชพฤกษ์ เป็นวารสารวิช าการ อิเล็คทรอนิคส์ (E-Journal) ฉบับภาษาไทย ที่รวบรวมบทความวิชาการ (Article) และบทความวิจัย (Research Article) 2. เป็นวารสารที่จัดพิมพ์เผยแพร่โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ 2.1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แก่บุคคลที่สนใจ สามารถศึกษาและนาไปใช้อ้างอิงในการเขียนงานทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ 2.2 เพื่อส่งเสริ มและกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์ด้าน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ป ระกอบไปด้วย 1) บริหารธุรกิจ 2) เศรษฐศาสตร์ 3) การบัญชี 4) รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 5) ภาษาศาสตร์ 6) นิติศาสตร์ 7) ศึกษาศาสตร์ 8) นิเทศศาสตร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3. จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ฉบับที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน และฉบับที่ 3 ระหว่างเดือนตุลาคม – มกราคม หลักเกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองบทความ 1. บทความที่จ ะได้รับ การตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ใน กระบวนการรอพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด 2. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมี ป ระโยชน์ ใ นเชิ ง ทฤษฎี ห รื อ เชิ ง ปฏิ บั ติ โดยผ่ า นการพิ จ ารณาและให้ ค วามเห็ นชอบจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) ซึ่งต้องมีคุณสมบัติอย่างต่าตามเกณฑ์มาตรฐาน คือเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในสาขานั้นๆ ทางานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องจานวนอย่างน้อย 2 ท่านขึ้นไปต่อบทความ 3. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ 4. การยอมรับบทความที่จะตีพิมพ์เป็นสิทธิ์ของกองบรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะไม่ รับผิดชอบในเนื้อหาหรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง


วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

5. ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ ลงวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ วารสารฯ จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการ ตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นาบทความในวารสาร ไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจาเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้ นาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ประเภทของผลงานที่จะรับ 1. บทความวิชาการ (Article) 2. บทความวิจัย (Research Article) การส่งต้นฉบับ ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับบทความเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์วารสารออนไลน์ ผ่านทาง เว็บไซต์ e-journal.rpu.ac.th สานักงานกองดาเนินการ / กองบรรณาธิการ กองดาเนินการฯ (สานักวิจัยและนวัตกรรม) วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ โทรศัพท์: 0-2432-6101-5 โทรสาร: 0-2432-6107-8 Email: rcresearch@rpu.ac.th


บรรณาธิการแถลง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

บรรณาธิการแถลง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (Journal of Humanities and Social Sciences) ที่ท่านกาลังอ่านอยู่นี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์– พฤษภาคม 2558) ได้รับความกรุณาจากผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยเปิดเป็นเวทีวิชาการ เผยแพร่ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แก่บุคลที่สนใจ นาไปใช้อ้างอิงในการเขียนงาน ทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและ ภายนอกสถาบันที่ช่วยเป็นกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพของผลงานลงตีพิมพ์ ในวารสาร ซึ่งฉบับนี้ มีบทความวิชาการ 2 บทความ ที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะบทความพิเศษของ ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และบทความวิจัยอีก 8 บทความ จึงขอขอบคุณท่านเจ้าของ ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกลงพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ และขอบคุณเจ้าหน้าที่สานักวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ที่ให้ดาเนินการจัดทาวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชพฤกษ์ หากท่านผู้อ่านมีคาแนะนาเกี่ยวกับวารสารดังกล่าว กรุณาส่งคาแนะนาของท่านมายังกอง บรรณาธิการเพื่อจะได้นาสิ่งที่ท่านแนะนาไปพิจารณาปรับปรุงในฉบับต่อ ๆ ไป นอกจากนี้ยังขอเชิญ ชวนท่านผู้อ่านส่งบทความวิชาการ และบทความวิจัยที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อนไปให้ทางกอง บรรณาธิการพิจารณาตีพิมพ์ โดยท่านสามารถดูรูปแบบการพิมพ์บทความได้ในตอนท้ายของวารสารนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.โกสุม สายใจ บรรณาธิการ


บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

บทบาทของครูในอนาคต : เตรียมผู้เรียนให้สอนตนเองได้ต่อไป ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และประธานกรรมการคุรุสภา ในบทความนี้ผู้เขียนขอเน้นบทบาทของครูในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็น หลัก เนื่องจากผู้เขียนมีประสบการณ์และได้เกี่ยวข้องกับครูในอาเซียนอยู่พอสมควร แต่กระนั้นก็ยังไม่ สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกประเทศของอาเซียน เพราะอาเซียนเองก็มีความหลากหลาย อยู่มาก สิ่งที่เกิดขึ้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนใหญ่และบางประเทศอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ ผู้เขีย นจะขอแบ่ งเนื้อหาของบทความเป็น 5 ส่ ว นคือ ส่ วนที่ 1 ปัญหาของครูในไทยและ อาเซียนในปัจจุบัน ส่วนที่ 2 จะพูดถึงภาระและหน้าที่ในอนาคตที่ยิ่งมีมากขึ้น ส่วนที่ 3 จะพูดถึงว่า เราจะแก้ช่องว่างระหว่างปัจจุบันและอนาคตอย่างไร ส่วนที่ 4 ไม่มีใครสอนใครได้ในอนาคต และส่วน ที่ 5 สุดท้ายแล้วคงต้องสอนให้เขาสอนตนเองต่อไป ส่วนที่ 1 ปัญหาของครูไทยและอาเซียนในปัจจุบัน ในส่วนแรกนี้จะกล่าวถึงปัญหาของครูไทยและครูในอาเซียน ซึ่งปัจจุบันนี้มีปัญหาอยู่มาก (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2557) สิ่งที่ผู้เขียนหยิบยกมา 5 ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาหลัก ความจริงยังคงมี ปัญหาอยู่อีกมากทีเดียว ปัญหาของครูไทยและครูอาเซียนในปัจจุบัน 1. เกียรติและการยกย่องลดลงอย่างมาก 2. จากการชี้นาชีวิตสู่การบอกวิชาเป็นหลัก 3. ภาระงานมากขึ้นเรื่อยๆ 4. ข้อเรียกร้องของสังคมมีมากขึ้นตลอดเวลา 5. ค่าครองชีพเพียงแค่เอาตัวรอด คาว่าครูในประเทศไทยและประเทศในอาเซียนถือได้ว่าเป็นคาศักดิ์สิทธิ์ ในเวียดนามเอง เชื่อกันว่าครูเหนือกว่าคนอื่นๆ ในสังคมจะเป็นรองก็แต่พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น ส่วนของไทยครูถือ ว่าเป็นพ่อแม่คนที่สอง แต่ปัจจุบันการยอมรับนับถือได้ลดลงไปมาก ความสาคัญก็ลดน้อยลง ทา ให้คนเป็นครูลดความภาคภูมิใจไปด้วย นอกจากนั้นบทบาทของครูในอดีตจะเป็นผู้ชี้แนะและชี้นา ชีวิตและสังคมในชุมชนด้วยเลย แต่บทบาทเหล่านั้นก็ลดลงไป ปัญหาใหม่ที่พบมากอีกประการ หนึ่ง ภาระงานมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการสอนและงานอื่นๆ อีกทั้งสังคมก็เรียกร้องให้ครูมี บทบาท

1


บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาของสังคมด้วย เช่น แก้ปัญหาคอรัปชั่น สุดท้ายแล้วรายได้ครูก็ยังน้อยเมื่อ เทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน 1. เกียรติและการยกย่องลดลงอย่างมาก ครูไทยในอดีตโดยเฉพาะสมัยแรกๆ ในสังคม เกษตร บทบาทครูมีมากและมีสูง เป็นทั้งผู้ให้คาแนะนาแก่ชุมชนและเด็กนักเรียนด้วยพร้อมกันไป ในขณะที่เวีย ดนามเองยกย่องครู สูงกว่าอาชีพอื่นๆ และคนอื่นๆ จะเป็นรองก็แต่พระเจ้าแผ่ นดิน เท่านั้น ในเขมร ลาว และอิน โดนีเซียเองก็ยกย่องครูให้ อยู่ในฐานะที่มีตาแหน่งสู งแต่ส ถานการณ์ ดังกล่าวเปลี่ยนไปมากในปัจจุบัน ครูอยู่ในฐานะผู้ทางานอาชีพหนึ่งเท่านั้น 2. จากการชี้นาชีวิตสู่การบอกวิชาเป็นหลัก แม้ว่าฐานะจะได้รับการยอมรับแล้ว บทบาท ของครูยังต้องมีมากโดยเฉพาะบทบาทในการชี้นาแนวทางชีวิตของคนในชุมชนและเด็กนักเรียนแต่ละ คนด้วยพร้อมกันไป แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมกับระบบของของวิชาชีพทาให้ครูเป็นได้แค่ผู้บอก วิชาเสียเป็นหลักใหญ่ไม่สามารถชี้นาไปในทางใดได้ 3. ภาระงานมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะทาหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้เป็นหลักแต่ครูต้องมีภาระอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในการประชุมเรื่อง Teaching Profession in ASEAN เมื่อเดือนที่แล้วที่คุรุสภา ของไทยเป็นเจ้าภาพ เสียงบ่นเรื่องภาระงานมีขึ้นเกือบทุกประเทศ ทั้งการสอน การอบรม การบริหาร การบริการ สารพัดอย่าง 4. ข้อเรียกร้องของสังคมมีมากขึ้นตลอดเวลา นอกจากภาระที่เพิ่มขึ้นแล้ว เสียงเรียกร้อง จากสังคมมากขึ้นด้วย เมื่อมีปัญหาอะไรในสังคมก็จะเรียกร้องให้ครูมีบทบาทมากเข้าไว้ เช่น เรียกร้อง ให้ครูสอนเรื่องประชาธิปไตย เรียกร้องให้ครูสอนแก้ปัญหาคอรัปชั่น ตลอดจนเรียกร้องให้ครูแก้ปัญหา การบริโภคนิยมของสังคมไทยอีกด้วย เป็นต้น 5. ค่าครองชีพเพียงแค่เอาตัวรอด ความเป็นอยู่ของครูในอดีตมีรายได้พอที่จะรักษาศักดิ์ศรี และเกียรติยศวิชาชีพได้อย่างดี บางประเทศราชสานักดูแลให้มีความสุขความสบาย แต่ในปัจจุบัน สังคมมองครูว่าเป็นอาชีพที่คนไม่อยากเลือก ไม่อยากเรียน การต่อรองในเชิงค่าตอบแทนจึงมีน้อย บางประเทศรายได้ครูได้น้อยกว่าอาชีพอื่นๆ เสียอีก เหล่านี้คือปัญหาที่คนในอาชีพครูเองก็รู้อยู่ สังคมไทยก็รู้อยู่ สังคมโลกก็รู้แต่ไม่มีใครแก้ไข จริงจัง บางทีผลจากการประชุมนี้จะนาไปสู่การแก้ไขได้บ้าง ส่วนที่ 2 ปัญหาและภาระในอนาคตยิ่งมีมากขึ้น ปัญหาของครูไทยและอาเซียนดังกล่าวมา สะท้อนให้เห็นว่าครูทางานได้ยากขึ้นในปัจจุบัน และยิ่งในอนาคตด้วยแล้วผู้เขียนเห็นว่ายิ่งทางานได้ยากมากยิ่งขึ้น ไปอีกและภาระของครูก็จะมากขึ้น ด้วย อย่างน้อย 5 ประเด็นที่ผู้เขียนอยากจะเสนอให้อภิปรายคือ

2


บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ปัญหาและภาระของครูในอนาคต 1. ครูตามไม่ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ 2. ข้อจากัดของงานครูกับรูปแบบของการศึกษาใหม่ 3. การสอนที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริง 4. ความหลากหลายของผู้เรียนที่เกินกว่าครูจะชี้แนะได้ 5. การเรียกร้องที่ครูไม่พร้อมจะรับได้ เทคโนโลยีจะเป็นตัวนาการเปลี่ยนที่สาคัญของอนาคตและจะเปลี่ยนเร็วมากจนครู เองและแม้ ค นในสั ง คมจะตามไม่ ทั น ท าให้ ค รู ส อนได้ ย าก รวมทั้ ง จะมี ผ ลต่ อ การศึ ก ษาที่ หลากหลาย เด็ ก จะเรี ย นที่ ไ หนก็ ไ ด้ ท าให้ ง านของครู มี ข้ อ จ ากั ด ทั้ ง อาชี พ ในยุ ค หน้ า จะ หลากหลายขึ้นตามยุคของ Post-Industrial Society ทาให้คนเปลี่ยนงานมากขึ้น สิ่งที่ครูสอน จึงไม่เหมาะและไม่ทันกับสังคม ความเชื่อของคนก็หลากหลายมากขึ้น ครูไม่สามารถชี้แนะชี้นา ได้หมด รวมทั้งปัญหาใหม่ เช่น ผู้ก่อการร้าย อีโบล่า ก็ทาให้ครูไม่เป็นที่พึ่งของเด็กได้ 1. ครูตามไม่ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ในการคาดเดาอนาคตของผู้เขียน* เห็นว่าอนาคตการเติบโตของเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าในปัจจุบันมาก ครูจะไม่ สามารถตามทันกับเทคโนโลยีใหม่ได้ ในขณะที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้เร็วและคล่องตัวกว่ามากใน ลักษณะเช่นนี้ ครูจะทาอย่างไร แม้ในปัจจุบันเองครูก็ตามไม่ค่อยจะทันเด็กอยู่แล้ว 2. ข้อจากัดของงานครูกับรูปแบบของการศึกษาใหม่ การเติบโตของเทคโนโลยีทาให้ รูปแบบของการศึกษาเปลี่ยนไป การศึกษาจะมีหลายรูปแบบขึ้นตามเทคโนโลยี ใหม่ๆ การศึกษาจะ เรียนอย่างไรก็ได้ เรียนที่ไหนก็ได้ เรียนอะไรก็ได้ ครูจะสอนตามการศึกษารูปแบบใหม่ได้ทุกอย่าง ตามเทคโนโลยีเล่านี้ได้อย่างไร 3. การสอนที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริง ในอนาคตการใช้ชีวิตในยุคใหม่จะไม่มีใครทางานอยู่ ในที่เดิมตลอดจนเกษียณหรือตลอดชีวิต ข้อมูลหลายประเทศพบว่าคนรุ่นใหม่จะเปลี่ยนงานอย่างน้อย 5 ครั้งในชีวิต และอาจถึง 15 ครั้งในบางประเทศ เมื่อเปลี่ยนงานใหม่ก็ต้องเรียนรู้ใหม่ ครูจะสอนให้ ทันกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร สภาพการไม่สอดคล้อง (Mismatch) ระหว่างการสอนกับงานจึง เกิดขึ้นได้อย่างมาก 4. ความหลากหลายของผู้เ รี ยนที่เ กิน กว่าครู จะชี้แ นะได้ สั งคมยุคใหม่ที่เป็นยุคของ Individualization ที่แต่ละบุคคลมีความคิดความเชื่อของตนเองจนอาจจะกล่าวได้ว่าความดีงาม

* ภาพในอนาคตของสังคมอาเซียนและสังคมโลกที่ผู้เขียนคาดว่าจะเกิดขึ้นคือ 1) Technologicalization 2) Commercialization 3) Globalization 4) Urbanization 5) Individualization 6) Aging Society and 7) Environmental Problems

3


บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ความถูกต้องมีเท่าจานวนของผู้คนนั่นเอง การสอนสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้กับใครจึงอาจจะไม่เหมาะสมอีก คนหนึ่งได้ ครูจึงมีความยากลาบากในการชี้แนะแนวทางที่ดีงามอย่างมาก 5. การเรียกร้องที่ครูไม่พร้อมจะสอนได้ เชื่อว่าในอนาคตจะยังคงมีการเรียกร้องให้ครูช่วย แก้ปัญหาสังคมและสังคมโลกมากขึ้น แต่ปัญหาในสังคมยุคใหม่ สังคมในอนาคตมีความซับซ้อน และยุ่งเหยิง ซึ่งบางครั้งเกินกว่าครูจะแก้ได้ เช่น ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาผู้ก่อการร้าย ปัญหาโรค อีโบล่า เป็นต้น ส่วนที่ 3 เราจะแก้ช่องว่างนี้ได้อย่างไร จากปัญหาในปัจจุบันและภาระในอนาคตที่ผู้เขียนเสนอมาชี้ให้เห็นว่าช่องวว่างระหว่าง ปัจจุบันกับอนาคตมีอยู่สูงมาก เราจะทาอย่างไรให้ครูในปัจจุบันแก้ปัญหาในปัจจุบันได้และพร้อมที่ จะรับภาระในอนาคตได้ เราจะต้องมีระบบฝึกหัดครูใหม่ และเราจะต้องมีกระบวนการผลิตครู ใหม่ๆ มากขึ้น ผู้เขียนขอเสนอประเด็นการเตรียมครูยุคใหม่ใน 5 ประเด็นหลักคือ การเตรียมครูยุคใหม่ 1. ต้องได้คนเก่งและตั้งใจอย่างแท้จริงมาเป็นครู คนไม่ได้เรื่องให้ออกไป 2. สถาบันครุศึกษาต้องเป็นสถาบันวิจัยชั้น 1 (First-Class Research School) 3. มี ร ะบบการเตรี ย มครู ใ นแบบกั ล ยาณมิ ต ร (Facilitating, Helping and Caring Approach) 4. ปลูกฝังความทุ่มเท เสียสละ และอุดมการณ์ระหว่างเรียน 5. พัฒนาผลงานโดยใช้แนวคิดแบบต้มยากุ้งโมเดล การทาหน้าที่ครูในอนาคตให้ดีและมีคุณภาพสูง เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและลาบากมากขึ้นและ ต้องการการเสี ยสละอย่ างสูง จึงต้องได้คนเก่งและตั้งใจเป็นครูอย่างแท้จริง คนไม่ได้เรื่องต้อง ออกไป ในขณะเดียวกันสถาบันที่ผลิตครูก็ต้องทันสมัย ก้าวหน้า พัฒนาวิชาการอย่างเข้มแข็งด้วย ระบบของการวิจัย แนวทางพัฒนาครูรุ่นใหม่ ต้องเน้นเป็นผู้สนับสนุนมากกว่าบอกให้ทา รวมทั้ง ปลูกฝังอุดมคติ ความมุ่งมั่น และความเสียสละให้กับครูด้วย สุดท้ายครูต้องรู้จักสังคมและชุมชน ของตนอย่างดีพอ ไม่ใช่รู้จักแต่ข้อมูลภายนอกสังคมของคนอย่างเดียว 1. ต้องได้คนเก่งและตั้งใจอย่างแท้จริงมาเป็นครู ภาระที่หนักอึ้งทาให้เราต้องได้คนเก่งและ ตั้งใจอย่างแท้จริงมาเป็นครู เพราะว่าถ้าไม่ได้คนเก่งพอจะทาหน้าที่ได้ไม่ดีและถ้าไม่ได้คนตั้งใจจริงก็ จะไม่สามารถอยู่ในอาชีพนี้ได้นาน ในขณะเดียวกันก็ต้องมีวิธีการที่จะทาให้คนไม่ได้เรื่องออกไปจาก วิชาชีพนี้ด้วย

4


บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

2. สถาบันครุศึกษาต้องเป็นสถาบันวิจัยชั้น 1 (First-Class Research School) ปัญหา และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจาเป็นที่จะต้องให้ครูได้เรียนรู้ สถาบันครุศึกษาที่สอนคนจะเป็น ครูจึงต้องทาการวิจัย และวิจัยอย่างมีคุณภาพสูงเพื่อนาผลมาใช้ศึกษาในสถานฝึกหัดครูเอง 3. มีระบบการเตรียมครูในแบบกัลยาณมิตร (Facilitating, Helping and Caring Approach) ไม่ส อนด้ว ยการบอก จดจา ให้ ทาตาม แต่สอนให้ ได้เป็ นตัว ของตัว เอง สอนด้ว ย แบบอย่าง การลงมือทาเพื่อสอนให้เขาไปสอนคนอื่นได้เป็นรายบุคคล และสอนให้เขาไปสอนคนอื่นให้ สอนตนเองได้ ซึ่งจะครอบคลุมความคิดของ Facilitating, Helping and Caring Approach เป็น หลัก 4. ปลูกฝังความเสียสละ ทุ่มเท และมีอุดมการณ์ วิชาชีพครูในอนาคต (ซึ่งแท้ที่จริงมีมาแต่ อดีตแล้ว) คือเป็นวิชาชีพแห่งการเสียสละ ทุ่มเท และมีอุดมคติเพื่อคนอื่นมาตลอด มีความปรารถนา ให้ผู้อื่นได้ดี และประสบความสาเร็จ อุดมคติเหล่านี้ควรนามาปลูกฝังให้กับคนเป็นครูอย่างจริงจัง 5. ส่งเสริมให้รู้จักชุมชนโดยใช้แนวคิดต้มยากุ้งโมเดล แนวคิดต้มยากุ้งนั้นผู้เขียนต้องการใช้ เพื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ แนวคิ ด แฮมเบอร์ เ กอร์ ปั จ จุ บั น เราจั ด การศึ ก ษาแบบแฮมเบอร์ เ กอร์ คื อ แฮมเบอร์เกอร์เป็นสินค้าขายทั่วโลก องค์ประกอบเหมือนกันหมดทั่วโลก คนทั้งโลกกินเหมือนกัน แต่ ต้มยากุ้งหรือแหนมเนืองเป็นสูตรสาหรับท้องถิ่นก็ ที่ใช้ได้กับท้องถิ่นและนานาชาติก็ได้ การเรียนรู้ ชุมชนในแนวทางของต้มยากุ้งโมเดลจึงเป็นสิ่งที่เราควรพัฒนาขึ้นใน Asean ส่วนที่ 4 แต่ถึงอย่างไรก็ไม่มีใครสอนใครได้ในอนาคต ความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอนาคตดังที่กล่าวมาจะนาไปสู่ปัญหาของการสอนในอนาคตก็ คือ เป็นการยากที่ครูจะสอนให้ได้อย่างที่คิด และอาจกล่าวให้กว้างขึ้นได้ว่าคงไม่มีใครสอนใครได้ใน อนาคต ทาไมจึงเป็นอย่างนี้ ทาไมจึงไม่มีใครสอนใครได้ในอนาคต 1. แต่ละชีวิตมีสิทธิเลือกทางเดินของเขาเอง 2. การดารงชีวิตแบบใดไม่มีใครคาดการณ์ให้ได้ 3. ไม่มีใครรู้อนาคตที่จะบอกใครได้ชัด 4. แม้มีข้อมูลอนาคตมากพอก็อาจเปลี่ยนได้ตลอด 5. เป็นหลักของมนุษย์ที่ว่าความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ปรัชญาชีวิตแต่ละคนในอนาคตคงจะไม่ให้ใครมากาหนดชีวิตของตนเอง แต่ละคนจะมี รูปแบบของตนเอง อาชีพในอนาคตก็หลากหลายเกินกว่าใครจะบอกให้ใครเป็นอะไรได้ และแม้จะ

5


บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

มีการคาดการณ์ในอนาคตได้บ้างแต่สิ่งที่คาดก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การกาหนดทิศทางใน อนาคตของแต่ละคนจึงเป็นไปตามความคิดและความเชื่อของคนคนนั้นเอง 1. แต่ละชีวิตมีสิทธิเลือกทางเดินของเขาเอง ความเชื่อของคนในอนาคต (แม้ปัจจุบันก็ ตาม) ครูและคนอื่นๆ ที่ไม่มีสิทธิที่จะไปกาหนดชีวิตของผู้เรียนหรือคนอื่นๆ ได้ แม้กาหนดให้ได้เขาก็ ไม่เชื่อเราเสมอไป 2. การดารงชีวิตในแบบใดและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อนาคตยากทีจ่ ะบอกทิศทางได้ ไม่ มีใครคาดการณ์ได้ การสอนให้เรียนรู้เรื่องใดเรื่ องหนึ่ง การทาอาชีพใดอาชีพหนึ่งจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะ คงที่อยู่ตลอด 3. การจะสอนคนเราต้องรู้อนาคตบ้าง แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครบอกอนาคตของใครได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงมีอยู่เสมอ การสอนคนจึงทาได้ยากและไม่อาจบอกทุกอย่างได้ 4. แม้จ ะมีข้อมูลอนาคตมากพอก็อาจเปลี่ยนไม่ได้ ทั้งนี้เพราะข้อมูล ในอนาคตมีสิ ทธิ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา จึงยากที่ครูจะสอนให้แน่นอนและชัดเจนได้ 5. ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน เห็นได้ชัดว่าในอนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้นและพูดได้คือ “ความไม่แน่นอน” ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นความไม่แน่นอนจึงเป็น “ความแน่นอน” ที่เราคงจะหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ส่วนที่ 5 ท้ายที่สุดต้องสอนเพื่อให้ผู้เรียนสอนตนเองได้ต่อไป จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคใดล้วนแต่ จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก เปลี่ยนแปลงเร็ว และเปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ถึงเสมอ ยิ่ง Asean เองด้วยแล้วการรวมเข้าเป็นกลุ่ม ประเทศเดียวกันยิ่งทาให้การเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นอีก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกินแก่การคาดเดา การ สอนของครูในอนาคตจึงไม่อาจกาหนดทิศทางที่ชัดเจนตามที่ครูคาดหวังได้ ทางออกที่ดีที่สุดในทัศนะ ของผู้เขียนคือ การสอนให้ผู้เรียนสามารถสอนตนเองได้ต่อไป การสอนให้ผู้เรียนสามารถสอนตนเองได้ต่อไปเป็นอย่างไร ผู้เขียนขอเริ่มต้นด้วยการทาความ เข้าใจก่อนว่าเมื่อเราสอนเด็กเราสอนอย่างไร ซึ่งคงไม่พ้นกิจกรรม 7 อย่างในตารางข้างล่างนี้

6


บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

สัตตวิธี (Seven Processes) ของการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสอนตนเองได้ต่อไป การสอนของครูตามแบบเดิมที่ เมื่อผู้เรียนสอนตนเอง ครูจัดการให้ 1) ครู ก าหนดจุ ด มุ่ ง หมายให้ 1) ผู้เรียนกาหนดจุดมุ่งหมายได้ ผู้เรียน ด้วยตนเอง 2) ครูหาความรู้ให้ผู้เรียน 2) ผู้เรียนหาความรู้ได้ด้วยตนเอง 3) ครูคัดกรองความรู้ให้ผู้เรียน 4) ครู ส อน / บอกผู้ เ รี ย นอย่ า ง เป็นระบบและเข้าใจง่าย 5) ครูวิเคราะห์ความรู้ที่ได้มาให้ ดูเป็นตัวอย่าง 6) ครูประยุกต์ใช้ความรู้ที่หามา ให้เห็นชัดเจน 7) ครู ป ระเมิ น ผลการเรี ย นให้ ผู้เรียนได้

3) ผู้เรียนสามารถคัดกรองความรู้ ได้ด้วยตนเอง 4) ผู้เรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ ได้ด้วยตนเอง 5) ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์ความรู้ที่ ได้ด้วยตนเอง 6) ผู้ เ รี ย นสามารถประยุ ก ต์ ความรู้ที่หามาได้ด้วยตนเอง 7) ผู้ เรียนประเมินการเรียนการ สอนได้ด้วยตนเอง

บทบาทของครูในในการสอน ให้ผู้เรียนสอนตนเอง 1 ) ส อ น ใ ห้ ผู้ เ รี ย น ก า ห น ด จุดมุ่งหมายได้ด้วยตนเอง 2) สอนให้เขาหาความรู้ได้ด้วย ตนเอง 3) สอนให้ผู้เรียนเลือกและคัด กรองความรู้ได้ด้วยตนเอง 4) สอนให้ ผู้ เ รี ย นสรุ ป องค์ ความรู้ด้ด้วยตนเอง 5) สอนให้ผู้เรียนตกผลึกความรู้ ได้ด้วยตนเอง 6) สอนให้ ผู้ เ รี ย นประยุ ก ต์ ความรู้ได้ด้วยตนเอง 7) สอนให้ ผู้ เ รี ย นประเมิ น ความรู้ได้ด้วยตนเอง

สัตตวิธี (การสอน 7 แบบ) เพื่อสอนให้ผู้เรียนสอนตนเองได้ต่อไปจึงประกอบไปด้วย 1. สอนให้เขากาหนดจุดมุ่งหมายได้เอง ให้รู้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร 2. สอนให้เขาหาความรู้ได้เอง ว่าควรหาที่ไหนอย่างไร 3. สอนให้เขาคัดกรองความรู้ได้เอง ด้วยเหตุผล ข้อมูล หลักการต่างๆ 4. สอนให้เขาสรุปองค์ความรู้ไ ด้เองด้วยการสอนขั้นตอนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ การสรุปองค์ความรู้ 5. สอนให้เขาตกผลึกในความรู้นั้น ด้วยการให้เขาได้เข้าใจการวิเคราะห์ตีความและการ ประเมิน 6. สอนให้เขาประยุกต์ความรู้เป็น รู้ว่าจะนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร 7. สอนให้เขาประเมินการสอนได้ด้วยวิธีการและขั้นตอนต่างๆ ตามหลักการประเมิน ทักษะการสอนทั้ง 7 ประการนี้เป็นสิ่งที่ครูผู้สอนในอนาคตไม่ว่าจะสอนในระดับพื้นฐาน หรือระดับอุดมศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

7


บทความพิเศษ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

บรรณานุกรม ไพฑูรย์ สินลารัตน์ . (2557). เพื่อความเป็นผู้นาของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

8


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

อิทธิพลแห่งความเชื่อและศรัทธาสู่การสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นในการออกแบบ ของที่ระลึกแมวกวักนาโชค มาเนะคิเนโคะ The Influence of Belief and Faith to build a Local Identity in Souvenir Design for a Lucky Cat Maneki Neko. ทักษิณา สุขพัทธี อาจารย์ประจา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา Thaksina Sookpatdhee Lecturer; Faculty of Humanities and Social Sciences; BanSomdejchaopraya Rajabhat University บทคัดย่อ ประเทศญี่ปุ่นถูกหล่อหลอมด้วยความเชื่อเรื่องของเทพเจ้ามาช้านานภายใต้การนับถือในศาสนาชินโต อันเคยเป็นศาสนาประจาชาติ จนกระทั้งเมื่อพุทธศาสนาเข้ามาแต่ก็ยังคงเหลือตานานและความเชื่อ เก่าแก่ไว้เป็นเสน่ห์อันประณีตและคงคุณค่าศิลปะและวัฒนธรรมที่สวยงาม ซึ่งจากความเชื่อ นี้ ถูก สร้างและพัฒนาให้เกิดมีสินค้าที่รู้จักกันดีในชื่อของ แมวกวักนาโชค แต่หลายๆ ท่านอาจยังไม่เคยได้ รู้จักกับตานานเรื่องราวและคุณค่าของเรื่องราวแมวๆ เหล่านี้ที่มาสามรถสร้างอิทธิพลต่อคนในชุมชน และท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับประเทศของญี่ปุ่นได้ ในบทความนี้ผู้เขียนมุ่งเขียนใน ลักษณะบทความวิชาการ เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาในความเชื่อของอิทธิพลแห่งความเชื่อ และศรัทธาสู่การสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นในการออกแบบของที่ระลึกแมวกวักนาโชค ด้านถูกผนวกเข้า กับความเชื่อจากศาสนาและวัฒนธรรมก่อให้เกิดสินค้ารายได้ให้แ ก่คนในชุมชนจากการท่องเที่ยว ย้อนกลับมาเป็นรายได้สู่ประเทศ 1) ตานานแมวกวักนาโชค 2) การวิเคราะห์ด้านการออกแบบแมว กวักนาโชค 3) การส่งเสริมสินค้าของที่ระลึกแมวกวักสู่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวในญี่ปุ่น 4) แนวคิด การสร้างอัตลักษณ์ของการออกแบบ 5) การสร้างอัตลักษณ์ของเมืองด้วยแมวกวัก คาสาคัญ: แมวกวักนาโชค อัตลักษณ์ท้องถิ่น ของที่ระลึก Abstract Religion in Japan is enlightened with beliefs and faith in ancestors and gods since an old ancient. Shinto was once dominated as the indigenous religion of Japanese people. After Buddhism arrived in Japan, Shinto shrines were less devoted and worshipful. However, it still remains the history, traditional beliefs and valuable arts

9


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

for next generation people. The design and development of famous Japanese local souvenirs, called “Lucky Cat Doll” are hence influenced by those traditional beliefs. The lucky cat doll is renowned but its historical story and worth which affects local Japanese people maintaining the international tourism of their country are rarely recognized. This is an academic article which aims to clarify about the background of the belief and faith on the souvenir design “lucky cat doll” which is the local identity. This identity is related to the religious belief and culture and it also leads to the local product for the tourist purpose. The people in the local community can make money from this product and this is the income of the country as well. 1) the legend of “lucky cat doll” 2) the analysis of “lucky cat doll” design 3) the promotion of the souvenir “lucky cat doll” for the people in local community and the tourist attractions in Japan 4) the concept in making the identity on the product design 5) the way of making “lucky cat doll” as the identity of the city. Keywords: Lucky Cat Doll, Local Identity, Souvenir บทนา ตานานแมวกวักนาโชคนั้น ตามความเชื่อเป็นรากฐานแห่งความศรัทธาในความหมายของ ความเชื่อความมั่นใจต่อสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นความจริง ซึ่งความเชื่อบางอย่างอาจสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ความเชื่อเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ ตอนที่ยังไม่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ไม่มี การพิสูจน์ ถึงความจริงของเรื่องนั้นๆ ในประเทศญี่ปุ่นเชื่อว่าถ้าเราสลักชื่อลงในแตงกวาแล้วโยนลง แม่น้ากัปปะ (ภูติชนิดหนึ่ง) ก็จะไม่ทาร้ายเรา เป็นต้น หรือแม้นกระทั่งคนไทยที่เชื่อว่าในร้านค้าต่างๆ ทั้งร้านขายของชา ร้านขายอาหาร ร้านเสริมสวยฯลฯ ควรมีสิ่งนาโชคก็คือ นางกวัก หรือแมวกวัก เช่นเดียวกับในประเทศญี่ปุ่นหรือแม้แต่ในประเทศไทยเองก็ตาม สามารถพบเห็นแมวกวักมะเนะกิ เนะโคะอยู่ทั่วไป มีหลากหลายขนาดและสีสัน บางส่วนก็ทากลไกให้มือซ้ายสามารถขยับในลักษณะ กวักเข้าหาตัวได้ด้วย ในขณะที่มืออีกข้างนึงก็ถือเหรียญไว้ เชื่อว่า ถ้าแมวที่เลี้ยงไว้ยกขาหน้าขึ้นเสมอ หูข้างซ้ายแล้วจะมีคนมาหา ถ้าเป็นร้านค้าก็จะมีลูกค้าเข้าร้าน ตราบใดที่มันยกอุ้งเท้าหน้าอย่างน้อย ข้างหนึ่งขึ้นมาเหมือนแมวกาลังกวักมือมาที่เรา ขอให้เราเข้ามาที่ร้านหรือไม่ก็เป็นการและร่ารวยโชคดี จะเห็นว่าสิ่งที่สร้างเป็นงานศิลปะของญี่ปุ่นนั้นสร้างจากความเชื่อของมนุษย์ที่ เป็นการสร้างให้เกิด ความงามและความหมายดี ๆ นานาประการทั้งนี้ยังสร้างอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และสินค้าของเมือง

10


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

11

เป็นที่จดจาได้ดี สาหรับนักท่องเที่ยวทั้งหลายด้วยประโยชน์เหล่า นี้ได้สร้างเม็ดเงินและแรงจูงใจให้กับ นักท่องเที่ยวให้เข้ามาในญี่ปุ่นเกิดความประทับใจและจดจาสินค้าและบริการต่างๆ ได้ดี

ภาพที่ 1 ภาพนางกวักไทย ที่มา: http://2.bp.blogspot.com, Online

ภาพที่ 2 ภาพแมวกวักโบราณของญี่ปุ่น ที่มา: http://images.thaiza.com, Online

ชาวญี่ปุ่นมีความศรัทธาต่อศาสนาของญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นนับถือลัทธิชินโตซึ่งเป็นลัทธิบูชาเทพเจ้า หลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม (Polytheism) และลัทธิบูชาภูตผี (Animism) ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรม เป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า (神 kami) ภายหลังจากสงครามโลกครั้ง ที่สอง ลัทธิชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจาชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรม ญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (おみくじ Omikuji) (ศาสนาชินโต, ออนไลน์) การเฉลิมฉลองงานปีใหม่ญี่ปุ่น (初詣 Hatsumōde ) ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต หนึ่งใน ความเชื่อที่ยังดารงอยู่และแฝงด้วยมนต์เสน่ห์ เมื่อนักท่องเที่ยวได้มากราบไหว้ขอพรวัดต่างๆ ได้แก่ เครื่องราง และเครื่องรางที่มีชื่อเสียงได้แก่ ตุ๊กตาเซรามิกแมวกวัก ในเดือนเดือนกุมภาพันธ์ของญี่ปุ่นมี วันสาคัญของแมวเหมียวในญี่ปุ่นอยู่ด้วยจากหลักฐานที่ค้นพบมีการปรากฏขึ้นครั้งแรกของแมวกวักใน ตอนปลายสมัยเอโดะ (1603-1867) โดยค้นพบได้จากหลักฐานที่เป็นเอกสารที่มีการตีพิมพ์ ใน หนังสือพิมพ์ในปี 1870 (ยุคเมจิ) ระบุว่ามีการแจกแมวกวัก ในศาลเจ้าแห่งหนึ่งในโอซากาและมีการ ลงโฆษณาเกี่ยวกับแมวกวัก ในหนังสือพิมพ์ในปี 1902 สาหรับท่าแมวกวักอาจมาจากท่าของแมวที่ กาลังทาความสะอาดใบหน้าก่อนฝนตกแมวจะทาความสะอาดใบหน้าเพราะมันรู้สึกกระวนกระวาย เมือ่ อากาศเปลี่ยนจึงใช้เท้าป้ายไปตามหน้าตาของมัน ในประเทศจีนจึงมีสานวนที่ว่าเมื่อแมวล้างหน้า ฝนจะตก หรือถ้าเป็นความเชื่อของชาวญี่ปุ่นก็มีการแปลความหมายใกล้เคียงกันคือ ถ้าเห็นแมวทา ความสะอาดหน้า หมายความว่ากาลั งจะมีแขกมาหา จึงมีความเชื่อต่อไปว่าถ้าเห็ นแมวทาความ สะอาดหน้าเมื่อไรจะมีลูกค้าเข้าร้าน นี่อาจเป็นต้นกาเนิดของมาเนะะคิเนโคะ ซึ่งเป็นชื่อของแมวกวัก ที่มีการเล่าขานของตานานการเกิดขึ้นของแมวกวักอยู่ 4 เรื่อง (เล่าขานตานวนมาเนะกิเนโกะ แมว กวักนาโชค, ออนไลน์) ดังต่อไปนี้ 1) เรื่องแมววัด ตามตานานกล่าวว่ามีเจ้าเมืองผู้มั่งคั่งได้หลบฝนตกฟ้าคะนองอยู่ใต้ต้นไม้ใกล้ วัดโกโตกุจิซึ่งชารุดทรุดโทรม ในขณะที่หลบอยู่นั้นก็เห็นแมวของพระในวัด กวักเรียกเชื้อเชิญให้เข้าไป


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ในวัด ในขณะที่ท่านขุนนางเข้าไปในวัดฟ้าก็ผ่าลงมาที่ต้ นไม้ ท่านรอดตายและสานึก บุญคุณจึงช่วย บูรณะวัดให้กลับมางามดังเดิม กระทั่งแมวตายจึงสร้างเเมวกวัก (Maneki Neko) ขึ้นด้วยความเคารพ 2) เรื่องนางโสเภณีตามตานานกล่าวว่า มีโสเภณีชั้นสูงนางหนึ่งชื่อ อุซึกุโม่ ซึ่งพานักอาศัยอยู่ ในโยชิวาระ ได้เก็บแมวมาเลี้ยง ด้วยความรักและทะนุถนอมเป็นอย่างดี คืนหนึ่ง แมวดึงกิโมโนของ เธอ แต่เธอก็ไม่ได้ว่าอะไร แมวก็ยังทาเหมือนเดิมจนเจ้าของสานักเห็นเข้า ก็เชื่อว่าแมว เป็นแม่มดจึง ตัดหัวแมวทิ้ง หัวแมวกระเด็นไปบนเพดานและฆ่างูที่ซ่อนอยู่บนเพดานตาย อุซึกุโม่เศร้าโศกเสียใจกับ การตายของแมว จนมีลูกค้าท่านหนึ่งได้แกะสลักไม้ให้เหมือนแมวของเธอเพื่อเป็นของขวัญ ซึ่งก็กลาย มาเเมวกวัก (Maneki Neko) ในปัจจุบัน 3) เรื่องหญิงชรา ตามตานานกล่าวว่า มีหญิงชราคนหนึ่งยากจนมาก แต่นางมีแมวเลี้ยงอยู่ตัว หนึ่งและรักแมวมาก มีกินก็กินร่วมกับแมว อดก็อดพร้อมกับแมว จนในที่สุดก็ไม่สามารถเลี้ยงไหว จึง นาไปปล่อย คืนนั้นเอง นางก็นอนเสียใจร้องไห้ทั้งคืน กระทั่งฝันว่าแมวมาบอกกับนางว่า ให้ปั้นรูป แมวจากดินเหนียวแล้วจะโชคดี เช้าวันรุ่งขึ้น หญิงชราจึงตื่นขึ้นมาปั้นแมวจากดินเหนียว ไม่ทันไรก็มี คนแปลกหน้าเดินผ่านหน้าบ้านขอซื้อตุ๊กตาแมวตัวนั้นจากนางไป จากนั้นนางก็เพียรปั้นแมวขึ้นมาอีก ตัวแล้วตัวเล่า ตุ๊กตาแมวจากการปั้นของนางก็ถูกคนมาขอซื้อไปตลอดเวลา นางจึงเริ่มมีเงินทองจาก การขายตุ๊กตาแมว และสามารถนาแมวเลี้ยงสุดที่รักของนางกลับมาเลี้ยงได้อีกครั้งหนึ่ง 4) เรื่องจากวัดโกโตกุจิ ตามตานานกล่าวว่า ในตาบล "เซตากายะ" วัดโกโตกุจิ เป็นวัดเล็กๆที่ ไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก ที่วัดแห่งนี้มีหลวงพ่อผู้ ยากจนรูปหนึ่งได้เลี้ยงแมวสีขาวตัวหนึ่ง แต่ถึงจะ ยากจน ท่านก็ยังรักและเลี้ยงแมวตัวนี้เป็นอย่างดี วันหนึ่งหลวงพ่อเดินไปหน้าวัดและได้พบกับ "ทาก้า โทรี" (ซามูไรผู้ล่าสัตว์ด้วยนกอินทรีย์ ) มายืนมองอยู่ที่หน้าวัดพร้อมกับพวกบริวารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้เล่า เหตุการณ์ให้หลวงพ่อฟังว่า พบแมวสีขาวตัวหนึ่งมายืนทาท่ากวักมือเรียกอยู่หลายครั้ง คล้ายกับเชื่อ เชิญให้เข้าไปในวัด พวกเขาจึงอยากจะเข้าไปข้างในซึ่งหลวงพ่อก็ได้อนุญาตเพื่อนั่งพัก และขณะที่เดิน เข้าไปในวัดนั้นก็เกิดความปรวนแปรของดินฟ้าอากาศขึ้นมาอย่างกระทันหัน ท้องฟ้ามืดครึ้ม แล้วสัก พักฝนก็ตกลงมาอย่า งหนักพร้ อมกับสายลมที่พัดกระหน่าและทันใดฟ้าก็ได้ผ่าลงมาที่ตรงหน้าวัด "ทาก้า โทรี"และบริวารซึ่งเข้ามาหลบฝนทันพอดี จึงคิดว่าเป็นเพราะแมวขาวที่หลวงพ่อเลี้ยงไว้ได้กวัก มือเรียกให้เข้ามาหลบฝนจึงพ้นเคราะห์จากการถูกฟ้าผ่า พวกเขาโชคดีมากที่เชื่อคาเชิญของแมวตัว นั้น หลังจากนั้นทาก้าโทรีจึงต้องการตอบแทนคุณของแมว โดยขออนุญาตหลวงพ่อเป็นผู้อุปถัมภ์และ เกื้อกูลวัดโกโตกุจิ ส่วนแมวสีขาวตัวนั้นเมื่อมันอายุมากก็ตายจากไป หลวงพ่อจึงสร้างหลุมศพบรรจุมัน ไว้อย่างดี จารึกชื่อไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าแมวตัวนี้เป็นแมวที่สามารถพยากรณ์โชคชะตาได้ จากเรื่องแห่งตานานดังกล่าวดูเหมือเป็นปริศนาธรรม หรือเครื่องเตือนใจให้แต่ละคนหรือแต่ ละร้านค้าที่มีแมวกวักไว้ครอบครองนั้น เปลี่ยนแปลงบทบาทของตัวเองตามนิทานแมวกวัก คือ 1) หญิงชรา ทาในสิ่งที่แตกต่างปั้นแมวกวั กมีแขนยาวกว่าชาวบ้านแปลกตา 2) เพียรพยายาม เธอไม่ลด

12


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ความพยายามที่จะต่อสู้กับความจนหรือสู้กับอะไรที่ไม่รู้ 3) ตั้งใจ เธอตั้งใจทางานอย่างแข็งขันตั้งใจ ปั้นผลงานจึงออกมาดี 4) กตัญญู แมวก็กตัญญูต่อหญิงชรา หญิงชราก็กตัญญูต่อแมวที่มาบอก 5) ความหวัง มีความหวังในการใช้ชีวิตเสมอและรู้ว่าชีวิตมีคุณค่า 6) รู้จักคุณค่าของทั้งตนเองและผู้อื่น หญิ ง ชรารู้ จั ก คุ ณ ค่ า ของชี วิ ต แมว ถึ ง แม้ จ นแต่ ก็ พ ยายามเลี้ ย งดู แ มวที่ เ ป็ น ของตนอย่ า งเต็ ม ความสามารถ อาจกล่าวได้ว่าความเชื่อเรื่องแมวกวักดังกล่าวทาให้ชาวญี่ปุ่นนาแมวกวักไปตั้งไว้หน้าร้าน เพื่อเป็นการเปลี่ยนโชคชะตาของผู้คนจากร้ายให้กลายเป็นดีแมวกวักจึงเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี โดยอาจจะวางแมวกวักไว้ภายในบ้านหรืออาจจะพกติดตัวเป็นแบบแมวกวักตัวจิ๋วก็ได้ ซึ่งแมวกวักก็ เป็นเหมือนเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง นอกจากนี้แมวกวักนาโชคยังแฝงคติธรรมของแมวกวัก ความหมายของนิทานแมวกวักที่ซ่อนอยู่ด้วย การวิเคราะห์ด้านการออกแบบแมวกวักนาโชค การวิเคราะห์ด้านการออกแบบแมวกวักนาโชค จาแนกตามลักษณะต่างๆ เป็นการวิเคราะห์ องค์ประกอบศิลป์และการสื่อความหมายด้านความเชื่อโดยแบ่งออกเป็นประเด็นดังต่อไปนี้ - ลักษณะการออกแบบ เป็นตุ๊กตาแมวกวักหลายขนาด ลักษณะเป็นงานปั้น งาน หล่อที่ทาจากวัสดุหลากหลาย เช่น เซรามิก โลหะ อลูมิเนียมและการสลักไม้ หรือถ้าเก่าแก่มากๆ จะ พบการแกะสลักจากหิน รูปแบบของแมวมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่พกพาได้ไปจนถึงขนาดใหญ่ ใช้ตั้งโชว์ข้าง ประตูและชั้นวางของ ส่วนมากทามาจากเซรามิกมีพื้นสีขาว - องค์ประกอบด้านสี สีที่นิยมมากที่สุดคือแบบ 3 สี แมว 3 สีเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่า เป็น เครื่องรางนาโชค กะลาสี เรือทั่ว โลกจะยกให้แมว 3 สี ตัว ผู้เป็นแมวนาโชคของพวกเขา จาก การศึกษาด้านกลไกทางพันธุกรรมพบว่ายีน 3 สี ในแมวตัวผู้นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ข้อเท็จจริง เรื่องความหายากของแมว 3 สีตัวผู้เป็นสิ่งที่รู้จักกันดีในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานแล้ว ด้วยเหตุนี้ เองจึงทาให้ มาเนะกิเนะโคะ ถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมายให้เป็นแมว 3 สี และแต้มสีเป็นวงกลมที่ แขนขาและใบหู นอกจากนี้ยังมีสีเดียว เช่น ดาทั้งตัว ขาวทั้งตัว แต่นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นหลายคนจะไม่ ยอมเปิดร้านอาหาร ห้าง บาร์ หรือร้านค้า โดยไม่มีแมวกวักเด็ดขาดและนิยมเป็นแมวกวักสามสีด้วย - บุคลิกภาพในของที่ระลึก บ่งบอกลักษณะเฉพาะตัวโดยการปั้นรูปแมว มีการสวม ปลอกคอและไม่สวมปลอกคอโดยปลอกคอซึ่งอาจมีกระดิ่งหรือไม่มีกระดิ่งก็ได้ ให้ความหมายแตกต่าง กัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยมักชื่นชอบรูปแบบที่ดูน่ารักและบุคลิก ของแมวกวักโดยรู ปแบบดวงตาและเส้ นของพู่ กันที่ ว าดบนเซรามิก ทั้งนี้ลั กษณะการวาดมีความ แตกต่างกันแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น

13


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ภาพที่ 3 ภาพแมวกวัก ที่มา: http:www.exoticontour.com

มาเนะคิ เนะโคะ นั้นมี 2 แบบ แบบหนึ่งคือยกอุ้งเท้าซ้ายอีกแบบหนึ่งยกอุ้งเท้าขวา ตานาน ระบุว่า แบบที่ยกอุ้งเท้าซ้ายจะเชื้อเชิญลูกค้ าหรือผู้คนให้เข้ามายังร้านของตน ในขณะที่แบบที่ยกอุ้ง เท้าขวาจะดึงดูดเงินทองเข้ามา ต้นกาเนิดของตานานนี้ไม่แน่ชั ด จากการค้นคว้าโดยสโมสรมาเนะคิ เนะโคะ พบว่า มาเนะคิ เนะโคะ ส่วนใหญ่ที่ทาขึ้นในช่วงแรกๆ ดูเหมือนจะยกอุ้งเท้าซ้ายขึ้น อุ้งเท้า ซ้ายที่ย กขึ้น ซึ่งเชื้อเชิญให้ ลู กค้าเข้าร้านนี้ อาจเป็ นท่าทางที่เป็นแบบฉบับของ มาเนะคิ เนะโคะ อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาด้านเงินทองของญี่ปุ่นในยุคปัจ จุบัน เห็นได้จากจานวนของมาเนะกิ เนะโคะที่ยกอุ้งเท้าขวาที่เพิ่มมากขึ้น ความสูงของอุ้งเท้ายังสื่อความหมายอีกด้วย ระดับของความสูง จะอยู่ตั้งแต่ที่ระดับปากไปจนถึงปลายหู ตามตานานบอกว่ายิ่งอุ้งเท้ายกสูงเท่าใด มาเนะคิเนะโคะก็จะ ยิ่งกวักเชิญลูกค้าได้ไกลยิ่งขึ้นเท่านั้นซึ่งก็คือสามารถเรียกลูกค้าได้ มากยิ่งขึ้น ปั จจุบัน แมวกวักมา เนะะคิเนะโกะถูกผลิตออกมามีหลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่ากรณีใด ความหมายที่แท้จริงของแมวกวัก ก็คือ เครื่องรางแห่งความโชคดี

ภาพที่ 4 ภาพแสดงของที่ระลึกแมวกวัก ที่มา: http://2.bp.blogspot.com

การจับถือของแมวกวัก เริ่มจากความหมายจากท่าทางของแมวกวัก (Maneki Neko) เป็นเบื้องต้นว่าเวลาแมวกวักยกอุ้งเท้าข้างซ้ายข้างขวานั้นหมายความว่าอย่างไร ถ้าแมวกวัก ยกอุ้งเท้าซ้ายขึ้นมา หมายถึง การเชิญผู้คนหรือลูกค้า (welcoming cat) เหมาะสาหรับผู้ที่ทาธุรกิจ และร้านค้า ถ้าแมวกวักยกอุ้งเท้าขวาขึ้นมา หมายถึง เรียกโชคลาภและเงินทองเข้ามาหรือแมวนา โชค (Lucky cat) และแมวการเงิน (Money cat) ถ้าแมวกวักยกอุ้งเท้าทั้งสองข้างขึ้นมา หมายความ ว่า การปกป้องทั้งบ้านหรือธุรกิจหรือเรียกโชคลาภใหญ่มาให้ ทั้งนี้ รูปแบบของแมวกวักถือเหรียญทอง ในปัจจุบันเชื่อว่า มาเนะคิ เนะโคะ ควรถือเหรียญเงินหรือมีเหรียญห้อยลงมาจากผ้าผูกคอเพื่อเป็น การสื่อถึงความมั่งคั่งต้นกาเนิด ที่ธรรมดากว่านั้นอาจผูกติดกับความเชื่อทางด้านการเกษตรที่ว่าแมว ช่วยกาจัดสัตว์ที่ทาลายพืชผล ด้วยเหตุนี้จึงเท่ากับช่วยสร้างความเจริญให้แก่ครอบครัว ทั้งนี้ แมวกวัก อาจประกอบด้วยสิ่งอื่นซึง่ สามารถตีความได้ตามสิ่งนั้น (ตานาน Maneki Neko, ออนไลน์) เช่น -

14


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

แมวกวักสวมปลอกคอกระดิ่ง หมายถึง โชคดีไม่หนีหายไปไหน แมวกวักสวมผ้าพันคอ หมายถึง ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ แมวกวักถือเหรียญทอง Koban หมายถึง ความมั่งคั่งและโชคดีมาก แมวกวักถือปลา หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ แมวกวักถือดารุมะ หมายถึง ประสบความสาเร็จ แมวกวักถือฆ้อน หมายถึง ความมั่งคั่ง แมวกวักถือพัด หมายถึง พัดพาสิ่งดีๆ เข้ามา แมวกวักถือมะเขือ หมายถึง ป้องกันโรคภัย แมวกวักถือกลอง หมายถึง เคาะเรียกเงินทอง แมวกวักถือนกฮูก หมายถึง ประสบความสาเร็จ แมวกวักถือลูกแก้ว หมายถึง สมปรารถนาและร่ารวย แมวกวักถือถุง หมายถึง ร่ารวยเงินทอง แมวกวักถือพืชผัก หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ แมวกวักถือ Ema แผ่นไม้อธิษฐาน หมายถึง สมปรารถนา แมวกวักถือน้าเต้า หมายถึง อายุยืน แมวกวักถือทองคาจีน หมายถึง ความมั่งคั่ง ความสาเร็จ ส่วนความหมายของตัวอักษรคันจิบนเหรียญ นั้นมีดังนี้ ขอยกตัวอย่างสาหรับคันจิที่เห็นได้ทั่วๆ ไป Kenkou สุขภาพดี 健康 Chouju อายุยืน 長寿 Daikichi โชคชั้นใหญ่ 大吉 Kaiun ดวงดีขึ้น 開運 Shofuku โชคดีมีสุข 招福 Kin-un ธุรกิจมั่งคั่ง 金運 Goukaku สอบผ่าน 合格 Ren-ai ความรัก 恋愛 Kouun โชคดี 幸運 Goukaku สอบผ่าน 合格 Goukaku-kigan ขอให้สอบผ่าน 合格祈願 Hyaku-man หนึ่งล้าน 百万 Sen-man สิบล้าน 千万 Ryo สกุลเหรียญทองคารูปไข่ เรียกว่า Koban 両

15


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

การส่งเสริมสินค้าของที่ระลึกแมวกวักสู่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวในญี่ปุ่น เมื่อของที่ระลึกเหล่านี้ติดตาลูกค้าและติดตลาด สามารถพิจารณาได้ว่าในบรรดาสินค้าของที่ ระลึกหลายหลาย มักพบเครื่องรางเเมวกวัก ถูกพบได้ตามร้านขายของที่ระลึกในห้าง สนามบิน วัด ต่างๆ ของญี่ปุ่น เช่น วัดนะริตะซัง (Narita-san Temple) เป็นวัดพุทธที่ตั้งอยู่ในเมือง นะริตะ จังหวัดชิบะ ในประเทศญี่ปุ่น วัดนี้เป็นหนึ่งในวัดที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในภูมิภาคคันโตและจานวนผู้ มาเยี่ยมชมในช่วงเทศกาลปีใหม่ก็เป็นรองเพียงศาลเจ้าเมจิในกรุงโตเกียวเท่านั้น บริ เวณวัดเป็นที่ตั้ง ของประตูหลัก ทางเดินบันไดขึ้นสู่อาคารหลัก เจดีย์ห้าชั้นหนึ่งคู่ สวนหย่อมที่มีสระน้าขนาดใหญ่ รวมทั้งบริ เวณส าหรั บ เลี้ ย งสั ตว์ อาคารหลั กเป็นสถานที่ส าหรับสั กการบูช า ภายในก่อสร้างด้ว ย สถาปัตยกรรมพุทธแบบอินเดียโดยยังคงเอกลักษณ์ของศิลปะแบบญี่ปุ่นเอาไว้ ปัจจุบันตามสถานที่ ต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นหรือแม้แต่ในประเทศไทยเองก็ตาม สามารถพบเห็นแมวกวัก (มะเนะคิเนะโคะ) อยู่ทั่วไป มีหลากหลายขนาดและสีสัน บางส่วนก็ทากลไกให้มือซ้ายสามารถขยับในลักษณะกวักเข้าหา ตัวได้ด้วย ในขณะที่มืออีกข้างหนึ่งก็ถือเหรียญไว้ เชื่อว่าถ้าแมวที่เลี้ยงไว้ยกขาหน้าขึ้นเสมอหูข้างซ้าย แล้วจะมีคนมาหา ถ้าเป็นร้านค้าก็จะมีลูกค้าเข้าร้านตราบใดที่มันยกอุ้งเท้าหน้าอย่างน้อยข้างหนึ่ง ขึ้นมา แมวกาลังกวักมือมาที่เราขอให้เราเข้ามาที่ร้านหรือไม่ก็เป็นความร่ารวยโชคดีตลอดไป อาจกล่าวได้ว่าความเชื่อนี้ ยังสร้างรายได้และก่อให้เกิดผลที่ดีตามมาคือสื่อสารถึงวัฒนธรรม ความเชื่อและสร้างรายได้ให้คนในชุมชนก่อให้เกิดอัตลักษณ์ของสินค้าหรือตราสินค้า เมื่อใดที่มาเที่ยว ประเทศญี่ปุ่ นก็จะต้องนึกถึงแมวกวักเหล่านี้ นอกจากนี้ ในประเทศญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่จัดการ ท่องเที่ยวโดดเด่นที่สุดในเอเชียทาให้นักท่องเที่ยวได้ประสบการณ์ที่ดี โดยการสนับสนุนการท่องเที่ยว อย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่นเขาวางกลยุทธ์ในการท่องเที่ยวได้ดี ทาให้นักท่องเที่ยวเกิดประสบการณ์ในการ ท่องเที่ยว ทั้งยังเป็นที่จดจาได้ดี เช่น สถานีรถไฟแมวทามะ เป็นสถานีรถไฟแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นมี แมวเป็นนายสถานีรถไฟตัวแรกของโลกนั่นคือ เจ้าแมวทามะแห่งสถานีรถไฟแมว เมืองวากายาม่า การออกแบบ อัตลักษณ์ของ เมือง การตลาดและ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว

คุณภาพชีวิต และชุมชน เกิดอัตลักษณ์ ของเมือง

แสดงผังมโนทัศน์ความคิดกราฟการเชื่อมโยงการสร้างอัตลักษณ์การแสดงเหตุผล ที่มา: ทักษิณา สุขพัทธี, 2557

16


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

แนวคิดการสร้างอัตลักษณ์ของการออกแบบ กลยุทธ์ในการออกแบบโดยคงอัตลักษณ์เอาไว้จะช่วยให้เกิดการสื่อสารอย่างหนึ่ง ทาให้เข้าใจ ความรู้ สึ ก ของเมื อ งนั้ น มากขึ้ น ทั้ ง นี้ ค วามหมายของอั ต ลั ก ษณ์ (ทรงคุ ณ จั น ทและคณะ, 2552) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทาให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจาได้และสอดคล้อง กับคากล่าวของ คิม ซังฮี (2557) ว่าการสร้างอัตลักษณ์มีความสาคัญในด้ านการสื่อสารถึงเรื่องราวที่ เกิดขึ้น เกิดคุณภาพชีวิตทีดีด้านของบรรยากาศเมือง ส่งผลต่อการจดจาด้านอัตลักษณ์ที่ดีต่อการ ท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นๆ และก่อให้เกิดตลาดสาหรับชุมชนและการมีส่วนร่วมในการผลิตของที่ระลึก ประจาจังหวัดมีผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น ทั้งนี้ประเทศญี่ปนุ่ ติดโผเป็นประเทศน่าเที่ยวอันดับต้นๆ อยู่เสมอ กล่าวคือ กลยุทธ์ที่สาคัญนั้นคือการที่แต่ละจังหวัดในประเทศ มีวิธีการประชาสัมพันธ์ของดี ในท้องถิ่นได้อย่างน่าสนใจ สร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาลหลังเศรษฐกิ จซบเซามานาน การ ใช้อัตลักษณ์และมาสคอตประจาจังหวัด เป็นวิธีการที่ญี่ปุ่นใช้ดึงดูดนักเดินทางจนประสบความสาเร็จ ขณะที่บางจังหวัดอาจไม่มีสถานที่ดึงดูดใจ แต่ก็นาเอาจุดเล็กๆ น้อยๆ มาสร้างเรื่องราวชวนให้มา เยือน เช่น จังหวัดยูบาริ ที่โดนพิษเศรษฐกิจอยู่ในภาวะล้มละลาย แต่กลับใช้ความเป็นเมืองที่มีอั ตรา การหย่าร้างต่าที่สุด สร้างเป็นแคมเปญเมืองแห่งความรักผ่านมาสค็อต "ยูบาริ-ฟูซาอิ" สร้างรายได้ให้ จังหวัดสูงถึง 31 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากการประชาสัมพันธ์ในประเทศหลายครั้งที่การท่องเที่ยว ญี่ปุ่ นยกของดีประจาจังหวัด มาจั ดแสดงเป็นมหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูงความสนใจ (Japan National Tourism Organization, 2557) ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ทาให้เห็นว่าความเจริญงอกงามที่ แสดงออกมาในรูปแบบของภาษา คติ ความเชื่อ ขนบ ประเพณี ศิลปะที่มีการสืบทอดปฏิบัติและมี การยอมรับในระดับบุคคลและสังคมเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป การสร้างอัตลักษณ์ของเมืองด้วยแมวกวัก ในเมืองวากายาม่าเป็นเมืองชนบทเล็กๆ ที่เงียบเหงาและมีสถานีรถไฟที่เล็กมาก แทบจะไม่มี ผู้โดยสารมาใช้บริการมากนัก อีกทั้ง ด้วยความเป็นเมืองที่มีประชากรในพื้นที่ไม่มากและยังมีการตัด ถนนเข้ามาในเมืองอีก ซึ่ง ทาให้ การโดยสารด้วยรถยนต์สร้างความสะดวกสบายให้กับคนในพื้นที่ มากกว่าและทาให้สถานีรถไฟแห่งนี้ดูจะถูกปล่อยทิ้งไว้ให้ทรุดโทรม นายสถานีรถไฟแห่งนี้ จึง ได้มี ความคิดสร้างสรรค็ จากการสังเกตุเหตุการณ์รอบๆ ตนเอง นั่นคือ ตนได้เลี้ยงแมวเพศเมียน่ารักตัว หนึ่งไว้ชื่อว่า รถไฟแมวทามะ นายสถานีรถไฟมาทางานที่นี่ ทุกวันกับเจ้าทามะ ซึ่งกิจกรรมประจาวัน ของเจ้าทามะก็คือ การนั่งเฝ้าเจ้าของ หลับบ้าง ตื่นบ้าง นานวันเข้าเจ้าแมวตัวนี้ก็เรียนรู้ภาษามากขึ้น บางครั้ง เจ้าทามะ เดินเล่นบริเวณสถานีรถไฟแล้วเห็นผู้โดยสารมาใช้บริการตัวมันจะเดินเข้าไปเคล้า เคลียให้ผู้คนลูบเล่นแล้วพวกเขาก็ถ่ายรูปคู่กับมัน บางทีก็นั่งตามชานชาลาสถานีรถไฟเพื่อรอขบวน

17


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

รถไฟวิ่งเข้ามา เปรียบเสมือนเป็นพนักงานต้อนรับ นั่นเอง (AV (Anisa Variety) 5 อันดับ รถไฟแปลก ที่ญี่ปุ่นอยากอวดชาวต่างชาติ, ออนไลน์)

ภาพที่ 5 รถไฟแมวทามะญี่ปุ่น ที่มา: https://fbcdn-sphotos-a- a.akamaihd.net

นายสถานีรถไฟ ได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส จึงแต่งตั้งเจ้าทามะขึ้นเป็นายสถานีรถไฟ พร้อม เครื่องแต่งกายประดับยศหรูหรา ใส่หมวกและต่อมากลายเป็นข่าวและถูกประชาสัมพันธ์ออกไปเป็น การสร้างเป็นจุดสนใจแก่ผู้คน พอเจ้ าทามะแต่งตัวแล้วน่ารักน่าชังมากกว่าเดิม และยังทาสานักงาน เล็กๆ ติดเครื่องปรับอากาศรับขวัญนายสถานีรถไฟตัวใหม่ให้อีก ด้วย ซึ่งเมื่อผู้คนมองผ่านกระจกของ สานักงานก็จะเห็นความน่ารักของเจ้าทามะ ความน่ารักของเจ้าทามะทาให้ สถานีรถไฟวากายาม่าใน อดีตที่เงียบเหงาแห่งนี้กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมความน่ารักของเจ้าแมวทามะ ทาให้มัน กลายเป็นนายสถานีรถไฟที่เป็นแมวตัวแรกของโลกในทันทีและยังสามารถสร้างของที่ระลึกของต่างๆ ที่เป็นรูปแมวทามะเพื่อช่วยต่อยอดให้กับสินค้าและบริการทาให้นักท่องเที่ยวเกิดความทรงจาที่ดีได้อีก ด้วย (AV (Anisa Variety) 5 อันดับ รถไฟแปลกที่ญี่ปุ่นอยากอวดชาวต่างชาติ , ออนไลน์) และเมื่อ มาถึงนักท่องเที่ยวก็สามารถรู้ได้ทันทีว่า ที่นี่คือ สถานีทามะ สามารถถ่ายภาพได้ การตกแต่งเป็นภาพ การ์ตูนทามะแปะซ้อนกันทาให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานมากขึ้น

ภาพที่ 6 ของที่ระลึกจากแมวทามะญี่ปุ่น ที่มา: https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net

นอกจากนี้เมื่อมาเยือนแล้วยังสามารถซื้อของกลับมาได้และให้ระลึกถึงส่งต่างๆ จากสถานี รถไฟทานะอีกด้วย เช่นพัด แก้ว สมุดบันทึก แมวกวักทามะและเสื้อยืด

18


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ภาพที่ 7 ภาพแสดงการต่อยอดมาทาเป็นผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ภาพของที่ระลึก ที่มา: https://fbcdn-sphotos-a- a.akamaihd.net

สรุป จากแรงความเชื่อและความคิดสร้างสรรค์ ที่มีรูปแบบที่เข้มแข็งทางวัฒ นธรรมของญี่ปุ่น สามารถสร้างอัตลักษณ์ที่งดงามทางใจ มีคุณค่าและยังสร้างคุณประโยชน์จากสินค้าและบริการต่างๆ ได้อย่างมากมาย จึงถือได้ว่าเป็นแบบอย่างและทาให้เกิดประสบการณ์ที่ ดีเยี่ยม ซึ่งนักท่องเที่ยวหลาก เชื่อชาติจะไม่มีวันลืมเลือน ทั้งนี้ประเทศไทยเองก็สามารถนาแนวคิดหรือข้อคิดเหล่านี้มาสร้างคุณค่า ในการท่องเที่ยวเพื่อต่อยอดสินค้าและบริการรวมทั่งต่อยอดการจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้ประเทศไทย นั้นเองก้าวหน้าและมั่นคง และคืนเม็ดเงินที่ไหลออกนอกประเทศให้คืนกลับมาสู่คนในชาติไทยได้ดัง ตัวอย่างที่กล่าวมา เพื่อสร้างความเจริญงอกงามที่แสดงออกมาในรูปแบบของภาษา คติ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะที่มีการสืบทอดปฏิบัติและด้วยคุณค่าและเสน่ห์ของความเป็นไทยเอง ก็สามารถที่จะทาได้ไม่แพ้ประเทศญี่ปุ่นแต่ต้องอาศัยการร่วมมือกัน ของชุมชนและท้องถิ่น รวมถึง ความสามัคคีของคนในชุมชน เพื่อสะท้อนคุณค่าของความเชื่อจากวัฒนธรรมที่คืนความสมบูรณ์และ โชคลาภสู่ท่องถิ่นและประเทศชาติต่อไปได้เช่นกัน บรรณานุกรม ซังฮี คิม. (2557). การวิเคราะห์อัตลักษณ์. เอกสารประกอบการสอนคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัย บูรพา ชลบุรี. ______. (2557). การออกแบบพื้นที่สาธารณะ. เอกสารประกอบการสอนคณะศิล ปกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี. พงษ์ธร ประทุมวงษ์. (2556). ญี่ปุ่นที่ยวไม่ง้อไกด์ไปไม่ง้อทัวร์. มปพ: กรุงเทพฯ. ทรงคุณ จันทจร และคณะ. (2552). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนามาประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ . สถาบั นวิ จัยศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมอี ส าน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

19


บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

อดิศักดิ์ จันดวง. (2556). ญี่ปุ่นอยู่ในใจเสมอ. มปพ.: กรุงเทพฯ. เล่า ขานต านาน มาเนะกิ เนโกะ แมวกวัก น าโชค. ค้ นเมื่อ 24 พฤศจิก ายน 2556, http://sarakham.nfe.go.th 5 อัน ดั บรถไฟแปลกที่ ญี่ปุ่น อยากอวดชาวต่ า งชาติ . ค้นเมื่ อ 19 กุมภาพันธ์ 2558, http://www.j-plan.co.th ศาสนาชินโต. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2558, จาก www.travelyou.co.th

จาก จาก

20


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

การรับรู้ และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษา ของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี The Perception and Participation Quality Assurance in Education of Private Higher Education Institutions in Nonthaburi พนิดา วัชระรังษี อาจารย์ประจา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ panida_vas@hotmail.com Panida Vashararangsi Lecturer; Faculty of Business Administration; Rajapruk University บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการรับรู้ และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพ การศึกษา ของบุ คลากรเขตนนทบุรี ตามตัว บ่งชี้ของส านักงานการอุดมศึกษา ส านักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งจาแนกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ 2) ด้านการ วางแผน 3) ด้านการปฏิบัติงาน 4) ด้านการตรวจสอบงาน 5) ด้านการนาผลการประกันคุณภาพ การศึกษามาวางแผนพัฒนา โดยกลุ่มตัวอย่าง 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมธิราช สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และ สถาบันพระบรมราชนก (วิทยาลัยราชชนนี ) และกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การแทนค่าสูตร ค านวณขนาดกลุ่ ม ตั ว อย่ า งของทาโร ยามาเน่ ที่ มี ค วามเชื่ อ มั่ น ร้ อ ยละ 95 ยอมให้ เ กิ ด ความ คลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ได้ตัวอย่าง 321 คน ใช้สถิติ t-test และใช้การทดสอบความแปรปรวนทาง เดียว (One-Way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ จึงทาการทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของ LSD ผลการวิจัย พบว่าเพศชายมีการรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษา มากกว่าเพศหญิง และบุคลากรที่มี อายุระหว่าง 20 – 30 ปี มีค่าเฉลี่ยการรับรู้มากที่สุด ส่วนบุคลากรที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอกมี การรับรู้ และมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษามากที่สุด และสถานที่ทางาน และตาแหน่งงาน ที่ต่างกัน มีการรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกัน ส่งผลให้บุคลากรมีความเห็นของการ รับรู้ และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษา แตกต่างกัน และ บุคลากรที่มีอายุงานน้อยกว่า 1 ปี มีการรับรู้และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาสูงกว่ากลุ่มอื่น คาสาคัญ : การรับรู้ การมีส่วนร่วม การประกันคุณภาพการศึกษา

21


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

Abstract The purpose of this research is to study and compare the perception and participation in education of employee in Nonthaburi District bases on indicators of criteria of the Office of Higher Education Commission and the Office for National Education Standards And Quality Assurance ,which divides into 5 areas: 1) the perception 2) the planning 3) the operation 4) the monitor 5) the implementing of quality assurance planning using the results. The specimen consists from five institutes of Ratchaphruek University, Sukhothai Thammathirat University, Panyapiwat Institute of Management Rajamangala University of Technology Suvanabhumi and Proboromarajchanok Institute. And determines the specimen size using the formula of Taro Yamane which is 95 percent reliable and it may cause a deviation of 5 percent. The specimen of 321 people was selected by T-Test statistic and the test of One-Way ANOVA will be used, and found the difference statistically significant, the pair will be tested the difference by methods of LSD. The results show that; Males perceive the quality assurance in education more than females, and people aged 20-30 years perceive at most. The employee of private higher education institute with a doctoral degree perceives at the most, and difference of workplace working position also affects the perception and participation of quality assurance in education differently, and the employee with less than one year working period perceives and participates in quality assurance of education at the most. Keywords: perception, participation, quality assurance in education บทนา การประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาทั้ ง ภายใน และภายนอกถื อ เสมื อ นเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งภารกิจหลักที่สถาบันอุดมศึกษาต้องดาเนินการปฏิบัติ 4 ประการ คือ การผลิต บัณฑิตการวิจั ยการให้ บริ การทางวิชาการแก่สั งคม และการทานุบารุงศิล ปะและวัฒนธรรม การ ดาเนินการตามภารกิจทั้ง 4 ประการมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้นและ ระยะยาว ปัจจุบันมีปัจจัยภายใน และภายนอกหลายประการ ที่ทาให้การประกันคุณภาพการศึกษา ในระดับ อุดมศึกษา เป็น สิ่งจาเป็นที่จะต้องเร่งดาเนินการปัจจัย ดังกล่าวคือ 1) คุณภาพของ

22


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

สถาบันอุดมศึกษาและบัณฑิตภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะมีความแตกต่างกันมากขึ้นซึ่งจะก่อให้เกิด ผลเสียแก่สังคมโดยรวมของประเทศในระยะยาว 2) ความท้าทายของโลกยุคโลกาภิวัตน์ต่อการ อุดมศึกษา 3) สถาบันอุดมศึกษามีความจาเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุ ทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากลการพัฒ นาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและ บริการ การพัฒนาอาชีพคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน 4) สถาบันอุดมศึกษา จะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (public information) ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งนักศึกษาผู้ จ้างงานผู้ปกครองรัฐบาลและประชาชนทั่วไป 5) สังคมต้องการระบบอุดมศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (participation) มีความโปร่งใส (transparency) และมีความรับผิดชอบซึ่ง ตรวจสอบได้ (accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล 6) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กาหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกัน คุณภาพภายในรวมถึงให้มีสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทาหน้าที่ประเมิน คุณภาพภายนอกโดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 7) คณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 เพื่อเป็นกลไกกากับ มาตรฐานระดับกระทรวงระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษาและระดับหน่วยงานโดยทุกหน่วยงาน ระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบการดาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา 8) กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานตามประเภทหรือกลุ่ม สถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม 9) กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 และคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและ เพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิและสาขาวิชา (คู่มือการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553 : 1) ภาระหน้าที่ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จะต้องอาศัยการรับรู้ และการมีส่วนร่วมของ บุคลากรทุกฝ่ายของสถาบันการศึกษาช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดการประกันคุณภาพการศึกษา ไม่ว่าจะ เป็นการวางแผน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบ และการดาเนินการ เพื่อให้การประกันคุณภาพ การศึ ก ษาภายใน และ การประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายนอก บรรลุ เ ป้ า หมายเป็ น ไปอย่ า งมี ประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผลในการดาเนินการ และช่วยผลักดันให้สถาบันการศึกษาพัฒนาคุณภาพ ทั้งทางด้านวิชาการ และการให้ประโยชน์กลับสู่สังคม และชุมชนต่อไป

23


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการรั บ รู้ การประกันคุณภาพการศึกษาของบุ คลากรระดับอุ ดมศึกษา เขต นนทบุรี 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม การประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขต นนทบุรี 3. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษา ของบุคลากร ระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี โดยจาแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ วิธีการวิจัย สมมติฐานทางสถิติ ได้แก่ บุคลากรระดับอุดมศึกษาเขตนนทบุรี มีการรับรู้ และการมี ส่วน ร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาที่แตกต่างกัน เมื่อจาแนกตาม เพศ อายุ ระดั บการศึกษา สถานที่ ทางาน ตาแหน่งและอายุงาน กลุ่ มประชากรคือ บุ คลากรทางการศึกษา ของสถาบันการศึ กษาที่อยู่ ในเขตนนทบุรี 5 ยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สถาบันได้แก่ วิท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สถาบันพระบรมราชชนก(วิทยาลัยพยาบาลราชชนนี ) ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้กาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การแทนค่าสูตรคานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ที่มีความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนร้อยละ โดยใช้สูตร 5(Yamane, 1973 อ้างถึงใน ธีรวุฒิเอกะกุล, 2543) ได้จานวนกลุ่มตัวอย่าง 321 คน โดยเป็นการศึกษาการรับรู้ และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษาเขตนนทบุรี โดยที่ ตัว แปรอิสระ ได้แก่ ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของบุคลากรระดับอุดมศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ ระดับ การศึกษา สถานที่ทางาน ตาแหน่งงาน และอายุงาน และตัวแปรตาม ได้แก่ 1) การรับรู้การประกัน คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายใน (สกอ.) และการประกั น คุ ณ ภาพ การศึกษาภายนอก (สมศ.) 2) การมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การวางแผน การ ปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้ งานวิจั ย ชิ้น นี้ ทาให้ ทราบถึงระดับการรับรู้ และการมีส่ ว นร่ ว มการประกัน คุณภาพ การศึกษาของบุคลากรระดับอุ ดมศึกษา เขตนนทบุรี เพื่อนาไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข รูปแบบของการรับรู้ และการมีส่วนร่วมของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี และได้ข้อมูลเป็น แนวทางในการหากิจกรรม หรือมาตรการในการส่งเสริมบุคลากรในด้านการรับรู้ และมีส่วนร่วมการ ประกันคุณภาพการศึกษาที่มีคุณภาพ

24


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

กรอบแนวคิดการวิจัย ลักษณะทางประชากรศาสตร์ 1) เพศ

2) อายุ 3) ระดับการศึกษา 4) สถานที่ทางาน 5) ตาแหน่งงาน 6) อายุงาน

การรับรู้ การประกันคุณภาพการศึกษา 1) การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (สกอ.)

2) การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก

(สมศ.) การมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษา 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การตรวจสอบ 4) การปรับปรุงแก้ไข

โดยมีเครื่องมือหลักที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ และการมีส่วนร่วมการ ประกันคุณภาพการศึกษา ของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรีโดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานที่ทางาน ตาแหน่งงาน และอายุงาน แบบสอบถามเป็นลักษณะแบบประเมินค่า ตามแบบลิเคอร์ท (Likert Rating Scale) 5 ระดับ คือไม่มีเลย มีน้อย มีระดับปานกลาง (พอใช้) มีในระดับที่ดี มีในระดับที่ดี มาก โดยมีความหมายของระดับคะแนน (วิชิต อู่อ้น, 2548: 181) ดังนี้คือ 5 หมายถึง มีระดับที่ดี มาก 4 หมายถึง มีในระดับที่ดี 3 หมายถึง มีระดับปานกลาง (พอใช้) 2 หมายถึง มีน้อย และ 1 หมายถึง ไม่มีเลย ตอนที่ 2 การรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษา เขตนนทบุรี ตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษา เขต นนทบุรี ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อให้ มีความครอบคลุมตามสัดส่ วนจานวนประชากรของแต่ล ะสถาบัน ผู้วิจัย ได้ขอเก็บ ข้ อ มู ล รว มทั้ ง สิ้ น 321 ชุ ด โ ดยแจกแบบส อบถาม ให้ แ ก่ ก ลุ่ ม ประช ากร ดั ง นี้ คื อ 1) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จานวน 148 ชุด 2) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จานวน 56 ชุด 3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ 48 ชุด 4) สถาบันพระบรมราชนก (วิทยาลัยราชชนนี) 26 ชุด 5) วิทยาลัยราชพฤกษ์ 43 ชุด

25


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ทั้งนี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้คือ 1. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยใช้สถิติการแจก แจงค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) 2. สภาพการรั บ รู้ แ ละการมี ส่ ว นร่ ว มการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของบุ ค ลากร ระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี ผู้ วิจัยใช้ส ถิติหาค่ าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) 3. วิเคราะห์ เปรี ย บเทีย บการรับรู้ และการมีส่ ว นร่ว มการประกันคุณภาพการศึกษาของ บุคลากรระดับอุดมศึกษาเขตนนทบุรี ตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน ใช้ สถิ ติ t-test กรณี ที่ ตั ว แปรมี 2 กลุ่ ม และใช้ ก ารทดสอบความแปรปรวนทางเดี ย ว (One-Way ANOVA) ในกรณีที่มีตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ จึง ทาการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัย 1. ผลการวิเคราะห์สภาพการรับรู้และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้ 1.1 ด้านการรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ระดับการรับรู้การประกัน คุณภาพ การศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรีโดยรวมอยู่ในระดับ ดี ( X = 3.75) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า สถาบันส่งเสริมให้มีการทางานวิจัยและจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในการทา วิจัยอย่างต่อเนื่อง เป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูง ( X = 3.98) ในขณะที่ได้รับความรู้ด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาจากการประชุม อบรม สัมมนา ภายนอกสถาบันมีค่าเฉลี่ยต่า ( X = 3.19) 1.2 ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ระดับการมี ส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรีด้านการวางแผนการ ประกันคุณภาพการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การมี ส่ ว นร่ ว มในการวางแผนการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของสถาบั น เป็ น ข้ อ ที่ มี ค่ า เฉลี่ ย สู ง ( X = 3.33) มีส่วนร่วมในวางแผนการประชุม และถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาของสถาบัน ให้กับบุคลากร เป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูง ( X = 3.26) และจัดกิจกรรมทานุบารุง ศิลปวัฒนธรรมของสถาบันมีค่าเฉลี่ยต่า ( X = 2.93) 1.3 ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ระดับการมี ส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรีด้านการปฏิบัติงาน การประกันคุณภาพการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับแผนกลยุทธ์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามสถาบัน

26


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

กาหนดไว้ เป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูง ( X =3.58) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการพัฒนา อาจารย์ตามแผนกลยุทธ์ของสถาบันกาหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยต่า ( X =3.15) 1.4 ด้านการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบงานการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ระดับ การมีส่ว นร่ วมการประกัน คุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี ด้านการ ตรวจสอบงานการประกันคุณภาพการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.95) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อพบว่า การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบงานประกันคุณภาพการศึกษา ที่เกิดจากการปฏิบัติ ตามแผนกลยุ ทธ์ของสถาบันกาหนดไว้ เป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยสู ง ( X =3.17) และมีส่ว นร่ว มในการ ตรวจสอบงานการพัฒ นาอาจารย์ ที่เกิด จากการปฏิบัติต ามแผนกลยุ ทธ์ข องสถาบันก าหนดไว้ มี ค่าเฉลี่ยต่า ( X =2.28) 1.5 ด้านการมีส่ ว นร่ ว มในการนาผลการประกันคุณ ภาพการศึกษามาวางแผนพัฒ นา พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี ด้ า นการน าผลการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษามาวางแผนพั ฒ นาโดยรวมอยู่ ใ นระดั บ ปานกลา ง ( X =3.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การมีส่วนร่วมในการนาผลการประเมินของการประกัน คุณภาพการศึกษา เพื่อนามาวางแผนพัฒนาหน่วยงาน และสถาบัน เป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูง ( X =3.32) และมีส่วนร่วมในการนาผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาของการจัดกิจกรรมนักศึกษามา วางแผนพัฒนาในหน่วยงาน และสถาบัน มีค่าเฉลี่ยต่า ( X =2.95) 2. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้และการมีส่วนร่วมการประดันคุณภาพการศึกษา พบว่า 2.1 การเปรียบเทียบการรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี พบว่าโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 05 .จึงสอดคล้องกับ สมมติฐานที่กาหนดไว้ 2.2 การเปรียบเทียบการรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี จาแนกอายุ ไม่พบว่ามีการรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษาด้านใดแตกต่างกัน จึงไม่ สอดคล้องกับสมมติฐานที่กาหนดไว้ แสดงว่าความแตกต่างด้านอายุไม่มีผลต่อการรับรู้และการมีส่วน ร่วมกับการประกันคุณภาพการศึกษา 2.3 การเปรียบเทียบการรับรู้ และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของ บุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี จาแนกตามระดับการศึกษา พบว่า การรับรู้ และการมีส่วนร่วม การประกันคุณภาพการศึกษาทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 05.จึงสอดคล้อง กับสมมติฐานที่กาหนดไว้ แสดงว่า ความแตกต่างด้านระดับการศึกษามีผลต่อการรับรู้และการมีส่วน ร่วมกับการประกันคุณภาพการศึกษา 2.4 การเปรียบเทียบการรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี จาแนกตามสถานที่ทางาน พบว่า การรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษาทุกด้านแตกต่าง

27


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

กันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 05.จึงสอดคล้องกับสมมติฐานที่กาหนดไว้ แสดงว่า บุคลากรที่มี สถานที่ทางานต่างกันมีการรับรู้และมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา แตกต่างกัน 2.5 การเปรี ย บเที ย บการรับ รู้ และการมีส่ ว นร่ ว มการประกั น คุ ณภาพการศึ กษาของ บุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี จาแนกตามตาแหน่งงาน พบว่า การรับรู้และการมีส่วนร่วมการ ประกันคุณภาพการศึกษาทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนั ยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสอดคล้องกับ สมมติฐานที่กาหนดไว้ แสดงว่าบุคลากรที่มีตาแหน่งงานแตกต่างกัน มีผลต่อการรับรู้และการมีส่วน ร่วมกับการประกันคุณภาพการศึกษา 2.6 การเปรียบเทียบการรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี จาแนกตามอายุงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ กาหนดไว้ เพื่ อพิ จ ารณาในรายละเอีย ด พบว่ า การรั บ รู้แ ละการมีส่ ว นร่ว มการประกั น คุณ ภาพ การศึกษาด้านการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษาเท่านั้นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ความแตกต่างด้านอายุงาน มีผ ลต่อการรับรู้และการมีส่วนร่ว มกับการ ประกันคุณภาพการศึกษา

สรุปและอภิปรายผล การรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่ง บุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่า สถาบันสร้างการรับรู้ของบุคลากรโดยการให้ความรู้แก่บุคลากรเกี่ยวกับการ ประกันคุณภาพการศึกษา โดยยึดตามหลักเกณฑ์ และตัวบ่งชี้ของคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ของ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมิน (.สกอ) คุณ ภาพการศึก ษา องค์ กรมหาชน การรั บรู้ การประกัน คุ ณภาพการศึ กษาของบุ ค ลากร (.สมศ ) ระดับอุดมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการวางแผนการประกัน รทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดย คุณภาพการศึกษา ซึ่งผลกา จาแนกตามเพศ พบว่าสอดคล้องกับ สมมติฐานที่กาหนดไว้ แสดงว่าความแตกต่างด้านเพศมีผลต่อการรับรู้ และการมีส่วนร่วมในการ ประกันคุณภาพการศึกษา จาแนกตามอายุ พบว่า ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่กาหนดไว้ แสดงว่า ความแตกต่างด้านอายุไม่มีผลต่อการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับการประกันคุณภาพการศึกษา จาแนก ตามระดับการศึกษา พบว่า สอดคล้องกับสมมติฐานที่กาหนดไว้ แสดงว่า ความแตกต่างด้านระดับ การศึกษามีผลต่อการรับรู้ และการมีส่วนร่วมกับการประกันคุณภาพการศึกษา จาแนกตามสถานที่ ทางาน พบว่า สอดคล้องกับสมมติฐานที่กาหนดไว้ แสดงว่า บุคลากรที่มีสถานที่ทางานแตกต่างกัน มี ผลต่อการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับการประกันคุณภาพการศึกษา จาแนกตามตาแหน่งงาน พบว่า สอดคล้องกับสมมติฐานที่กาหนดไว้แสดงว่า แสดงว่าบุคลากรที่มีตาแหน่งงานแตกต่างกัน มีผลต่อการ รับรู้และการมีส่วนร่วมกับการประกันคุณภาพการศึกษา จาแนกตามอายุงาน พบว่า ไม่สอดคล้องกับ

28


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

สมมติฐานที่กาหนดไว้แสดงว่า ความแตกต่างด้านอายุงาน มีผลต่อการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับการ ประกันคุณภาพการศึกษา ข้อเสนอแนะในการนาผลวิจัยไปใช้ ได้แก่ ควรจัดการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ทั้งภายนอก และภายในให้กับบุคลากรทุกหน่วยงานในองค์กรให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง และตระหนัก ในความสาคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา ควรมีกระบวนการยกระดับการมีส่วนร่วมในภารกิจ ของสถาบันเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้บุคลากรเป็นผู้ขับเคลื่อนสถาบันไปในทิศทางเดียวกัน เน้นการมีส่วน ร่วมของบุคลากรในองค์กรทั้งการวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ในการ ดาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรให้มากขึ้นจะส่งผลให้มีการพัฒนาการดาเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป และสร้างแรงจูงใจให้บุค ลากร สร้างนวัตกรรมการประกันคุณภาพในการทางาน เช่น การนับเป็นผลงานในการทางาน การประกาศ ชมเชย เพื่อเป็นขวัญและกาลังใจแก่บุคลากรที่มีการพัฒนาการดาเนินงานของตนเอง และข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป ได้แก่ ควรวิจัยเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจด้าน ประกันคุณภาพการศึกษา ของ ผู้ปกครอง ผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษา ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน และควร วิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้และการมีส่วนร่วม กรณี ศึกษา ตัวบ่งชี้ เกณฑ์ มาตรฐานสมศ. รอบสี บรรณานุกรม กัลยา วานิชย์บัญชา .(2546) .คู่มือการใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ศูนย์หนังสือ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISBN 974-13-2243-7 คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา คณะอนุกรรมการพัฒนาการประกัน คุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา .(2554) .คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษา อุดมศึกษา พภาพ :กรุงเทพก .สานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา .2553 .ศ . .พิมพ์ ใจชนก ภาคอัต. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา :ศึกษากรณี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ช่อ สันธนพิพัฒน์. (2547). การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของชุ ม ชน ในเขตบริ ห ารของสถานศึ กษาสั ง กั ดเทศบาลสุ พรรณบุ รี . วิทยานิพ นธ์ ค .ม . มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา :พระนครศรีอยุธยา เบ็ญจา สมประกอบ. (2552). การมี ส่ว นร่ ว มของนั กศึ กษาต่อ การประกัน คุ ณภาพการศึกษาของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ประภาศ ปานเจี้ยง. (2554). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัย หาดใหญ่

29


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

เพ็ญศรี จึงธนาเจริญเลิศ และภัชญา ธงศิล า. (2553). ความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของ บุ ค ลากร ต่อ การด าเนิ น การประกั น คุ ณ ภาพการศึ กษา วิ ท ยาลั ย พยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ธัญญมล สุริ ยานิ มิ ตสุข จิตตรา ผลมี และกิต ติ พร สมที . (2548). การรั บรู้ แ ละการมีส่ว นร่ ว มของ บุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรีทยาลัยพยวิ .าบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. ศิริชัย พงษ์วิชัย .(2549) .การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยคอมพิวเตอร์ สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ . .มหาวิทยาลัย สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554) .(องค์การมหาชน)คู่มือการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบสาม )4552 - 4552 .ศ .พ ( ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา พ ศ . 2554, สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). Deming, W. Edwards (1986). Out of the Crisis. MIT Center for Advanced Engineering Study. ISBN 0-911379-01-0.

30


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมกลุ่มประเทศอาเซียน สาหรับมัคคุเทศก์ The English Instructional Materials Development on Cultures of Asean Countries for Tourist Guides บุญพา คาวิเศษณ์ อาจารย์ประจา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ โทร 08-1891-7982; bkamw@rpu.ac.th Bunpa Kamwiset. Lecturer; Faculty of Business Administration; Rajapruk University บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเทศกลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษของ ผู้เรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนฯ และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนฯ กลุ่ม ตัวอย่างคือ ผู้เรียนสาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์ฯ ภูเก็ต ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์ จานวน 38 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ วัฒนธรรมประเทศกลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์จานวน 8 บท แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่าน ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศกลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ ก่อนและหลังการทดลอง และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศ กลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (  ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และสถิติ t – test ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่มอาเซียน สาหรับมัคคุเทศก์ มีค่าเท่ากับ 74.00 / 76.32 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 77/77 ผลสัมฤทธิ์ ในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้ เรียน โดยใช้บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒ นธรรมประเทศกลุ่ ม อาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรีย นและผู้เรีย นมีความคิดเห็นต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ ม อาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์อยู่ในระดับดี คาสาคัญ : ภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์ บทเรียนภาษาอังกฤษ วัฒนธรรมของประเทศกลุ่มอาเซียน

31


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

Abstract The objective of research were to develop and examine the efficiency of English instructional materials on Asean country cultures for tourist guides, compare students’ English learning achievement on Asean country cultures and study students’ opinions toward the developed materials. Thirty eight undergraduate students majoring in hotel and tourism management, who enrolled in English for Tourist Guide in the second semester academic year 2014 at Rajapruk University were purposively selected The instruments used for this research were eight lessons developed by the researcher. An English reading test was used as a pre-test and post-test, and thirty questionnaire was used to gather the students’ opinions on the effectiveness of the eight lessons. The t-test was utilized to analyze the data in order to measure the subjects’ ability before and after using the lessons. The mean and standard deviation of the questionnaire scores were used to measure the students’ opinions toward the lessons. The results of this research were as follows: The effectiveness of the English Instructional materials was 74.00/76.32.This means that the efficiency of the lessons was at the acceptable level for the average of the formative test scores and at the good level for the students’ ability after using the lessons was significantly higher at the 0.05 level and the students’ opinions toward the eight English lessons on Asean country cultures were highly positive. Keywords: English for Tourist Guide, Culture ASEAN Countries, English Instructional Materials บทนา การเรียนภาษาอังกฤษผู้เรียนจาเป็นต้องได้รับการฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทักษะที่สาคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ คือ ทักษะการอ่าน (วีรชาติ ชัย เนตร, 2741: 4) ผู้ที่อ่านมากย่อมมีความรู้มาก โดยเฉพาะทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจัดว่าเป็นส่ วน หนึ่งของชีวิตประจาวันของคนยุคใหม่ ผู้เรียนยังขาดทักษะการอ่านจับใจความสาคัญภาษาอังกฤษ ผู้เรียนไม่สามารถจดจาคาศัพท์ และตีความได้ (ทวีศักดิ์ ไชยมาโย และคณะ, 2541: 80) หน่วยงาน ราชการ และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ อาศัยการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะเบื้องต้นในการทางานด้าน

32


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ภาษาต่างประเทศ แต่บุคลากรในหน่ว ยงานยังขาดทักษะการอ่านการใช้ภ าษาอังกฤษ (สุ มณฑา วิรุหญาณ, 2531: 82) นักการศึกษาหลายท่านรวมทั้งผู้สอนในสถานศึกษาต่าง ๆ จึงได้ให้ความสนใจ ที่จะแก้ปัญหา โดยการนาวิธีการสอนใหม่ ๆ ใช้ชุดการสอนเป็นแนวทางในการศึกษาด้วยตนเอง ที่จ ะ ช่วยให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการเรียน และเมื่อกล่าวถึงอาเซียน ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่ใหญ่โต มากภายในกลุ่มประเทศอาเซียน จานวนนักท่องเที่ยวกว่า 600 ล้านคนสามารถท่องเที่ยวกันได้อย่าง อิสระ ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ อาเซียนจึงเป็นตลาด เศรษฐกิจและฐานการผลิตเดียว ที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า/บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่าง เสรี ป้ายและสื่อต่าง ๆ จะมีการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นแหล่งศูนย์รวม อารยธรรม และวัฒนธรรมที่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยโบราณ มีการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่น่าสนใจไว้ มากมาย และถึงแม้แต่ละประเทศจะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ แต่ ก็ยังสามารถ สื่อสารกันได้เข้าใจด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสร้างสรรค์สัญลักษณ์เพื่อการสื่อความหมาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการสื่อสารทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติมีความสาคัญต่อการดารงอยู่ของชนชาติเป็นเสมือน กระจกเงาส่ งสะท้อนความเป็ น มาที่แสดงออกถึงความเจริญรุ่งเรืองแบบฉบับที่ดีงามประจาชาติ ก่อให้เกิดความนิยมยกย่องต่อประเทศนั้น ๆ (ธิญาดา ยอดแก้ว, 2747: 48) ภาษาอังกฤษมีความจาเป็นมากกับอาชีพมัคคุเทศก์ เพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มัคคุเทศก์จะต้องเรียนรู้ วัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนและสามารถนาไปใช้ในการบริการ นั ก ท่ อ งเที่ ย วในประเทศกลุ่ ม อาเซี ย นได้ โ ดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง วั ฒ นธรรมของกลุ่ ม อาเซี ย นส าหรั บ มัคคุเทศก์ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษสาหรับมัคคุเทศก์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของ กลุ่ มประเทศอาเซีย น โดยใช้เนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่ ม อาเซียนที่ผู้ เรียนวิช า ภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์จาเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณประโยชน์ของการอ่านและรัก ที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งผลของงานวิจัยจะนาไปเป็นแนวทางเสริมและบูรณาการการ เรียนในสาระความรู้อื่น ๆ ตลอดจนเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษในทักษะอื่น อีกต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ 2. เพื่อเปรีย บเทีย บผลสั มฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษของผู้ เรียนก่อนและหลั งการใช้ บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศ กลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์

33


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

วิธีการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย มีดังนี้คือ 1. ประสิทธิภาพของบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมกลุ่มประเทศอาเซียนสาหรับ มัคคุเทศก์ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่า 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับวัฒนธรรมกลุ่มประเทศอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 3. ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ วัฒนธรรมกลุ่มประเทศอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ไม่น้อยกว่าระดับดี งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Pre-Experimental Research) โดยใช้แบบการวิจัยแบบ One – Group – Pretest – Posttest Design โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการจัดการเรียน การสอนโดยใช้บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ ได้แก่ นิสิตสาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์ภูเก็ตจานวน 98 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตสาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราช พฤกษ์ ศูนย์ภูเก็ต ที่ได้รับการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ได้แก่ นิสิตที่ลงทะเบียน เรียนวิชาภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์ จานวน 38 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557 เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยมี 2 ประเภท คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ของภาษาและความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของแบบทดสอบที่สร้างขึ้น 2) เครื่องมือในการเก็บ ข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการอ่านบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศ กลุ่ ม อาเซี ย นส าหรั บ มั ค คุ เ ทศก์ ส าหรั บ ทดสอบก่ อ นและหลั ง การใช้ บ ทเรี ย น การอ่ า นโดยใช้ แบบทดสอบชุดเดียวกัน จานวน 3 ตอน ๆ ละ 10 ข้อ รวม 30 ข้อ 30 คะแนน และ 2.2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อ บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นตามแบบของ Likert จานวน 30 ข้อ แบ่งเป็น 4 รายการ เพื่อวัดความคิดเห็น ประกอบด้วย ด้านการออกแบบบทเรียน ด้านเนื้อหา ด้าน กิจกรรมการเรียน และด้านการประเมินผล เกณฑ์ค่าคะแนน ประกอบด้วย ระดับ 5 หมายถึง ระดับดี มาก ระดับ 4 หมายถึง ระดับดี ระดับ 3 หมายถึง ระดั บ พอใช้ ระดั บ 2 หมายถึ ง ระดั บ ควร ปรับปรุง และระดับ 1 หมายถึง ระดับไม่เหมาะสม การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบแบบเลือกตอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อน และหลังการสอนโดยบทเรียนฯ นั้น ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาแบบทดสอบ โดยดาเนินการศึกษาแนวทาง ในการสร้างแบบทดสอบ เทคนิคการสร้างข้อสอบภาษาอังกฤษ การทดสอบและการประเมินผลการ เรียนภาษาอังกฤษ ของ อัจฉรา วงศ์โสธร (2539) การทดสอบในชั้นเรียน (Heaton 1990) ศึกษาแนว เรื่อง (Theme) บทอ่านที่คัดสรรให้ตรงตามแนวเรื่องของเนื้อหาภาษา วิเคราะห์ สั งเคราะห์เนื้อหา

34


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

เหล่ า นั้ น ก าหนดเป็ น จุ ด ประสงค์ ก ารสอน เนื้ อ หาภาษา หั ว เรื่ อ ง เทคนิ ค การสอน และสร้ า ง แบบทดสอบวัดทักษะด้านภาษาคือ ทักษะการอ่าน วัดความเข้าใจ เป็นข้อสอบปรนัย จานวน 10 ข้อ วัดคาศัพท์ เป็นแบบจับคู่ จานวน 10 ข้อ ทักษะการพูด เป็นแบบเติมคา จานวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน โดยในแต่ละตอนจะประกอบด้วยบทอ่านที่คล้ายคลึงกันกับบทเรียนแต่ไม่ใช่เป็นบทอ่านที่ ปรากฏในบทเรี ย นฯ ซึ่งตรวจสอบความถู กต้องของภาษาและความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยน า แบบทดสอบที่สร้างพร้อมแบบประเมินความเที่ยงตรงตามเนื้อหาไปให้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางการ สอนภาษาอังกฤษ จ านวน 3 ท่านทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และผู้ เชี่ยวชาญด้านอาชีพ มัคคุเทศก์จานวน 1 คน ประเมินความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของข้อสอบแต่ละข้อ แล้วนาข้อมูลจาก การประเมิ น ความเที่ ย งตรงตามเนื้ อ หามาค านวณหาค่ า ดั ช นี ข องความสอดคล้ อ ง (IOC) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2535 : 456) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.89 และการสร้างและ พัฒนาแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มี ต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศ กลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนแต่ละ บท โดยพัฒนาและปรับปรุงมาจากเกณฑ์ประเมินสื่อการอ่านภาษาอังกฤษของ (เสงี่ยม โตรัตน์ , 2534) โดยครอบคลุมสาระหลักด้านการออกแบบบทเรียน จานวน 5 ข้อ ด้านเนื้อหา จานวน 5 ข้อ ด้านกิจกรรม จานวน 15 ข้อ ซึ่งแยกเป็นกิจกรรมก่อนอ่าน จานวน 4 ข้อ กิจกรรมขณะอ่าน 5 ข้อ ด้าน กิจกรรมหลังอ่าน จานวน 6 ข้อ และด้านการประเมินผล จานวน 5 ข้อ รวมข้อความในการ ประเมินทั้งหมด 30 ข้อ โดยให้เลือก 5 ระดับ การกาหนดค่าระดับของข้อความในแบบสอบถาม ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ของลิเคอร์ท (Likert, quoted in Best 1986 : 181) มีดังต่อไปนี้คือ เหมาะสมมาก ที่สุด เท่ากับ 5 เหมาะสมมาก เท่ากับ 4 เหมาะสมปานกลาง เท่ากับ 3 เหมาะสมน้อย เท่ากับ 2 และ เหมาะสมน้อยที่สุด เท่ากับ 1 จากนั้นจึงนาแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปตรวจสอบความเหมาะสมของ เกณฑ์การประเมิน รูปแบบของภาษาและขอบข่ายเนื้อหาที่ต้องการวัด นาแบบสอบถามความคิดเห็น ที่ผ่ านการตรวจสอบแก้ไขแล้ ว ไปทดลองใช้กับผู้ เรียนที่ไม่ใช่กลุ่ มตัว อย่าง ในขั้นทดลองกลุ่ มเล็ ก จานวน 10 คน และน าข้อมูล จากการทดลองกลุ่ มเล็กมาวิเคราะห์ ห าความเชื่อมั่น โดยใช้สู ตร สัมประสิทธิ์แบบแอลฟา ( - coefficient) ของครอนบาค (1974 : 161) ได้ค่าความ เชื่อมั่น 0.78 และนาแบบสอบถามความคิดเห็นที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในขั้นทดลองภาคสนาม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทาแบบสอบถามความคิดเห็นหลังจากทาการเรียนการสอน และทาแบบสอบถาม ท้ายบทแต่ละบททุกครั้งจนครบ 8 บท การสร้างและพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียนสาหรับ มัคคุเทศก์ จานวน 8 บท โดยศึกษากระบวนการสร้ างและการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจาก เอกสาร ตาราและงานวิจั ยต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศึกษาขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับ

35


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

วัฒนธรรมอาเซียน และศึกษาแนวเรื่อง (Theme) ที่ผู้เรียนควรรู้ และได้ประมวลเนื้อเรื่องตามความ จาเป็นที่มัคคุเทศก์ควรรู้ ได้แก่ ASEAN Greeting and Language, ASEAN Food, ASEAN Traditional Costumes, ASEAN Architectural, ASEAN Rituals, ASEAN Festival, ASEAN Traditional Games, ASEAN Residential and Religion หลังจากนั้นจึงสร้างตารางกาหนด ขอบเขตเนื้ อ หา โดยน าเรื่ อ งที่ คั ด เลื อ กมาสร้ า งตารางก าหนดขอบเขตเนื้ อ หา ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย จุดประสงค์ป ลายทาง จุ ดประสงค์การเรียนรู้ ชื่อเรื่อง หน้าที่ทางภาษา กิจกรรมทางภาษา และ แนวทางการประเมินผลท้ายบทของแบบฝึกทักษะการอ่าน และให้ผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วยอาจารย์ผู้ มีประสบการณ์ในการสอนภาษาอังกฤษ และมีประสบการณ์มัคคุเทศก์ จานวน 3 ท่าน ตรวจสอบ ความเหมาะสมของโครงสร้าง เนื้อหาของบทเรียน จากตารางกาหนดเนื้อหาของบทเรียน นาคะแนน ที่ได้จากการตรวจสอบมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.87 วิธีการเก็บข้อมูล ผู้สอนดาเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองและดาเนินการทดลองโดยให้ผู้เรียน กลุ่ มตั ว อย่ างท าแบบทดสอบวั ดผลสั ม ฤทธิ์ใ นการอ่ า นบทเรี ยนภาษาอั งกฤษเกี่ย วกับ วัฒ นธรรม ประเทศกลุ่ ม อาเซีย นส าหรั บ มัคคุเ ทศก์ ก่อนเรียน (Pre-test) แล้ ว ตรวจให้ คะแนนและบันทึ ก ดาเนินการสอนผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยการอ่านใช้ บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศ กลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ 8 บท เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ชั่วโมง การประเมินผลท้าย บทเรียนแต่ละบทใช้เวลา 20 นาทีเป็นการทดสอบศัพท์ การตอบคาถามสั้นๆ การเขียนประโยค 3 - 4 ประโยค ตามสถานการณ์ที่กาหนด การตรวจให้คะแนนแบบทดสอบท้ายบทใช้ผู้ตรวจ 2 คน คือ ผู้วิจั ย และเพื่อนร่ วมงานที่ส อนภาษาช่วยตรวจ และดาเนินการให้ ผู้ เรียนทาแบบสอบถามความ คิด เห็ น ของผู้ เรี ย นที่ มีต่ อ บทเรี ย นภาษาอัง กฤษเกี่ ยวกับ วั ฒ นธรรมประเทศกลุ่ ม อาเซี ย นส าหรั บ มัคคุเทศก์ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้คือ 1) หาประสิทธิภาพของบทเรียน ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ในแต่ละบทเรียน ตลอดจน คะแนนเฉลี่ยร้อยละของแบบฝึกจากบทเรียนทั้ง 8 บท และคะแนนเฉลี่ยร้อยละจากการวัดผลสัมฤทธิ์ ในการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนของผู้เรียน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กาหนด คือ 77/77 (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ 2543 : 496) 2) ใช้สถิติ t (t-test dependent) วิเคราะห์ข้อมูล ในการ เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ทางการอ่ า นภาษาอัง กฤษของผู้ เ รี ยนก่ อนและหลั ง เรี ย นโดยใช้ บ ทเรี ย น ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ได้คานวณค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่ า เฉลี่ ย และส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน จากแบบสอบถามความคิ ด เห็ น ของผู้ เ รี ย นต่ อ บทเรี ย น ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ โดยแปลความหมายระดับ ความคิดเห็นซึ่งดัดแปลงมาจาก ลิเคอร์ท (1986 : 181-182) และ 3) ได้คานวณค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อ สื่อชุด

36


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

การสอนภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศกลุ่ม อาเซียนโดยแปลความหมาย ระดับความคิดเห็นซึ่งดัดแปลงมาจาก ลิเคอร์ท ผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียนสาหรับ มัคคุเทศก์ในขั้นทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 74.00/76.32 ซึ่งมีคะแนนทดสอบรายบทต่ากว่าเกณฑ์ ที่ กาหนดไว้ 75 แต่ไม่ต่ากว่า 2.5 จึงจัดว่ามีประสิทธิภาพยอมรับได้ ส่วนคะแนนทดสอบหลังเรียนสูง กว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ 75 แต่ไม่เกินร้อยละ 2.5 ถือว่าบทเรียนภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไป ตามสมมติฐานข้อที่ 1 2) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การอ่านบทเรียนภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างหลังการสอนสูง กว่าก่อนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (sig. 0.000 < 0.05) โดยค่าเฉลี่ย ของคะแนนหลั งการทดลองใช้ บ ทเรีย นภาษาอั งกฤษมั คคุ เทศก์เ กี่ย วกั บวัฒ นธรรมประเทศกลุ่ ม อาเซียนเท่ากับ 30.53 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.02 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนการ ทดลองใช้บทเรียนที่มีค่าเท่ากับ 19.13 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.07 และคะแนน ผลต่าง เฉลี่ยระหว่างหลังการใช้บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ และก่อนการใช้บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ เท่ากับ 11.39 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.42 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้น หลังเมื่อได้รับการสอนโดยการใช้บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่มอาเซียนสาหรับ มัคคุเทศก์ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 3) จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมกลุ่ม ประเทศอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ ประกอบด้วยด้านการออกแบบบทเรียน ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม การอ่าน และกิจกรรมประเมินผล สรุปได้ว่า ความคิดเห็นของผู้เรียนมีค่าเฉลี่ย ( x ) อยู่ระหว่าง 3.814.27 แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นระดับดีต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมกลุ่ม ประเทศอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3 สรุปและอภิปรายผล สรุปผลการวิจัย 1) บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียนสาหรับ มัคคุเทศก์ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 74.00/76.30 กล่าวคือ มีคะแนนทดสอบรายบทต่ากว่า เกณฑ์ที่กาหนดไว้ 75 ร้อยละ 1 แต่ไม่ต่ากว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ คือ ร้อยละ 2.5 ซึ่งถือว่าบทเรียนที่ สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับได้ ส่วนคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ 75 แต่ไม่

37


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

เกินร้อยละ 2.5 แสดงว่า ชุดการเรียนภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศกลุ่ม อาเซียน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กาหนดคือ 75/75 2) ผลสั มฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตหลังการใช้ บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ วัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ สูงกว่าก่อนการใช้ ชุดการเรียนภาษาอังกฤษ มัคคุเทศก์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศกลุ่มอาเซียน 3) นิสิตมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่มอาเซียน สาหรับมัคคุเทศก์ โดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.81-4.27 มีระดับความเห็นเฉลี่ยรวม 3.99 ( x = 3.99, S.D. = 0.34) แสดงว่านิสิตมีความคิดเห็นต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม อาเซียน สาหรับมัคคุเทศก์ โดยรวมอยู่ในระดับดี อภิปรายผล ได้แก่ 1. จากผลการวิจัยข้อที่ 1 คือ บทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศกลุ่มอาเซียน สาหรับมัคคุเทศก์ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75 แสดงว่าชุดการเรียน ภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศกลุ่มอาเซียน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ใน เกณฑ์ดี อาจเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 1.1 เรื่องที่นามาพัฒนาเป็นบทเรียนค่อนข้างยากเป็นภาษาที่เอกสารจริงเกี่ยวกับ ท่องเที่ยว เช่น แผ่นพับประชาสัมพันธ์ (Brochure) จุลสารการท่องเที่ยว (Pamphlet) ตลอดจนการ จั ด ระบบการสอนอิ ง ทฤษฎี ก ารสอนอ่ า นหลายทฤษฎี ด้ ว ยกั น คื อ ทฤษฎี โ ครงสร้ า งความรู้ เ ดิ ม (schema theory) เป็นทฤษฎีที่ศึกษาถึงอิทธิพลของความรู้เดิมที่มีบทบาทสาคัญต่อการศึกษาความ เข้าใจในการอ่าน การเขียน และการใช้เหตุผลของผู้เรียน และกระบวนการสอนอ่านโดยการประมวล ความจากความหมายสู่โครงสร้าง (Top – down or knowledge – based) ของ รูเมฮาร์ท (Rumelhart 1981 : 33-34) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เดอปุย ลี บาเดียลี และแอสคอฟ (Dapuis, Lee, Badiali and Askov 1989 : 53-54, อ้างถึงใน ดาว แสงบุญ 2543 : 102) ที่พบว่า ผู้อ่านจะเข้าใจบทอ่านดีขึ้น สาเหตุที่ผู้เรียนสามารถทาคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนการทดสอบ สัมฤทธิ์ผลการอ่านได้ถึง 76.32 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของแบบฝึกทั้ง 8 บท เพราะเทคนิค และกลวิธีการสอนอ่านอย่างมีขั้นตอนและมีเป้าหมาย ทาให้ผู้เรียนใช้เทคนิคที่เรียนไปใช้ ทดสอบการ อ่าน 1.2 บทเรี ย นฯ สร้ า งจากเอกสารจริ ง แผ่ น พั บ ด้ า นการท่ อ งเที่ ย วจะใช้ ภ าษาที่ ค่อนข้างยากกว่าระดับขั้นของผู้เรียน มาสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะจะได้รับความสนใจ จากผู้เรียนเป็นอย่างดี แนวคิดนี้สอดคล้องกับความคิดเห็นของ บูรชัย ศิริมหาสาคร (2540 : 20) ที่ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้จากข้อเท็จจริงที่มี อยู่รอบ ๆ ตัวทาให้ได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ที่สามารถนาไปใช้ในการดารงชีวิตได้อย่าง

38


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

แท้จริง นอกจากนี้ การที่ผู้เรียนได้เรียนเรื่องที่ทันต่อเหตุการณ์ และมีประโยชน์ต่อการนาไปใช้ใน ชีวิตประจาวัน ทาให้ผู้เรียนมีความสนใจภาษาอังกฤษมากขึ้น 1.3 บทเรียนฯได้พัฒนาตามขั้นตอนการสร้างความพร้อมของผู้เรียน ตลอดจนได้นา เทคโนโลยีประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแบบฝึกได้สอดคล้องกับความสนใจ ค่านิยมของผู้เรียน กล่าวคือ บทเรียนมีขั้นตอนชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุมิตรา อังวัฒนกุล (2534 : 178-179) ได้เสนอ ขั้นตอนและกิจกรรมการสอนอ่านเพื่อการสื่อสารไว้คือ กิจกรรมก่อนการอ่าน (Pre – reading Activities) เป็นการสร้างความสนใจและปูพื้นความรู้ที่อ่าน โดยการคาดคะเนเรื่องที่อ่าน และให้เดา ความหมายของคาศัพท์จากบริบท กิจกรรมระหว่างอ่าน (While reading Activities) เป็นการทา ความเข้าใจโครงสร้างและเนื้อเรื่องที่อ่านและกิจกรรมหลังอ่าน (Post reading Activities) เป็นการ ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน และสร้างความคุ้นเคยในการทาแบบทดสอบได้ดี 2. จากผลการวิจัยข้อที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง หลังจากได้รับการสอน สูงกว่าก่อนได้รับการสอน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 2.1 จัดระบบการสอนด้วยการสร้างกิจกรรมการสอนอ่านที่มีขั้นตอน ได้นากิจกรรม การสอนอ่านแบบให้ข้อมูลจากบทอ่าน (The Information Text Reading Activity or ITRA) ของ มัวร์แมน และแบลนตัน (Moorman and Blanton 1990) โดยเสนอกิจกรรมการสอนอ่านโดย กล่าวถึงจุดประสงค์การสอนทั้ง 3 ระยะ คือ กิจกรรมการสอนก่อนอ่าน (Pre-reading Instruction) ช่วยให้ผู้เรียนได้วางแผนตนเอง กิจกรรมระหว่างการอ่าน (While reading Instruction) ช่วยควบคุม การเรียนการสอน และกิจกรรมหลังการอ่าน (Post – reading Instruction) ในขั้นกิจกรรมหลังการ อ่าน ผู้ วิจั ย ได้ส อนการทบทวนความเข้าใจในบทอ่า นโดยการให้ ผู้ เรียนเขีย นสรุป เรื่อ งที่อ่า น ซึ่ ง สอดคล้องกับแนวคิดหลักสามประการของ โอเกิล (Ogle 1986, อ้างถึงใน วิสาข์ จัติวัตร์ 2543 : 232) คือ K- W – L Plus โดยให้ผู้เรียนทบทวนประสบการณ์เดิมว่ารู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นบ้าง (Know) ต้องการรู้เพิ่มเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ (Want to know) และในระหว่างการอ่านได้เรียนรู้ อะไรบ้าง (Learned) และในการตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน ได้จัดให้มีขั้นการศึกษาด้วยตนเอง (Self Study) ผู้วิจัยได้ มอบหมายให้ผู้เรียนค้นคว้าเพิ่มเติม และทากิจกรรมออกมาในรูปของชิ้นงานที่ สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละบทนั้ น ทาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานและมีแรงกระตุ้นในการศึกษา บทเรียน ดังนั้นการที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนในบทเรียนที่หลากหลาย 2.2 ด้านเทคนิคการสอบ และเนื้อหาข้อสอบ ส่งผลให้ผู้เรียนทาคะแนนสัมฤทธิ์ผลใน การอ่านได้สูงขึ้น เนื่องจากเทคนิคการสอบโดยใช้แบบเลือกตอบ (Multiple Choices) โดยแบ่ง ข้อสอบเป็นตอน ๆ ละ 10 ข้อ ทาให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับการทดสอบมากกว่าการวัดการอ่านโดยวิธีการ เขียน ลักษณะข้อสอบที่คุ้นเคย และเนื้อหาที่สอดคล้องกับสิ่งที่ได้ฝึกฝนในช่วงทาการทดลอง

39


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

3. จากผลการวิจัยข้อที่ 3 พบว่าผู้เรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ วัฒนธรรมประเทศกลุ่มอาเซียนสาหรับมัคคุเทศก์ อยู่ในระดับดี กล่าวคือ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.814.27 และมีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยรวม 3.99 (  = 3.99, S.D. = 0.34) ในลักษณะนี้ สรุปได้ว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศกลุ่ม อาเซียน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกบท โดยเฉพาะในบทที่ 3 (ASEAN Traditional Costumes) บทที่ 2 (ASEAN Food) และบทที่ 1 (ASEAN Greeting and Language) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.114.27 เหตุผลที่ผู้เรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อบทเรียนทั้ง 3 บทนี้สูงกว่าบทอื่น ๆ อาจเนื่องมาจาก 3.1 ด้านการออกแบบบทเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้ มีภาพประกอบ และมีขั้นตอนในกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะขั้นก่อนการอ่าน (Pre – reading) และเป็นบทเรียนที่จบเป็นชุดเนื้อเรื่องน่าสนใจจากสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นพับโฆษณา ซึ่งสอดคล้อง กับข้อแนะนาการเลือกเอกสารจริงของ อาเฮลลัล (Ahellal 1990 : 39) แนะนาว่าควรเลือกบทความ ที่น่าสนใจ และเป็นเรื่องที่กาลังนิยม จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น 3.2 ด้านเนื้อหา พบว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อเนื้อหาของบทเรียนฯ โดยเฉลี่ยรวม 4.02 ( x = 4.02, S.D. = 0.46) ซึ่งจัดอยู่ในระดับที่ดี แสดงว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อเนื้อหาของ บทเรียนฯ โดยเฉลี่ยรวม 4.02 ( x = 4.02, S.D. = 0.46) ซึ่งจัดอยู่ในระดับที่ดี เมื่อพิจารณาข้อความ ในการประเมินความคิดเห็นในแต่ละข้อพบว่า มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยเรียงตามลาดับดังนี้ ข้อที่ 6 เนื้อหาในบทเรียนน่าสนใจ ( x = 4.29) ข้อที่ 9 เนื้อหาเหมาะสมกับระดับชั้นผู้เรียน ( x = 4.13) และ ข้อที่ 8 เนื้อหาในแบบฝึกทักษะการอ่านนี้นาไปประยุกต์ในชีวิตประจาวันได้ ( x = 4.00) จะเห็นว่าทุก ข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมมาก แสดงว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อเนื้อหาของ บทเรียนฯ กล่าวคือ ผู้เรียนมีความคิดว่าเอกสารการสอนเหมาะสมกับระดับชั้นที่เรียน สอดคล้องกับ ความต้องการในการเรียนมีปริมาณเนื้อหาครบถ้วน 3.3 ขั้น กิจ กรรมก่อนการอ่าน พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็ นต่อบทเรียนบทเรียน ภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศกลุ่ม อาเซียน โดยเฉลี่ยรวม 4.02 ( x = 4.02, S.D. = 0.46) ซึ่งจัดอยู่ในระดับดี เนื่องมาจากขั้นนาเข้าสู่บทเรียนเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน การสร้างชุดการเรียนมีหลายรูปแบบ ช่วยสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ วารินทร์ รัศมีพรหม (2531 : 225) กล่าวว่า การที่พบว่าในขั้นฝึกทักษะทางภาษา ผู้เรียนมีความเห็น ว่าแบบฝึกมีปริมาณเพียงพอที่จะปฏิบัติ กิจกรรมในขั้นต่อไปอยู่ในระดับสูงที่สุด ในแต่ละบทเรียนอาจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจพร้อมที่จะนาความรู้ไปใช้ในกิจกรรมขั้นต่อไป 3.4 ขั้ น กิ จ กรรมขณะการอ่ า น พบว่ า ผู้ เ รี ย นมี ค วามคิ ด เห็ น ด้ ว ยในระดั บ สู ง ( x = 4.03, S.D. = 0.40) เนื่องจากผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกในบทเรียนฯสร้างแรงจูงใจในการเรียนดี นอกจากนี้บทอ่านยังมีความหลากหลายถึง 4-6 ประเภท ความคุ้นเคยของเนื้อหา และการฝึกซ้าๆ ทา

40


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ให้ผู้เรียนฝึกหัดได้อย่างสะดวกสบายใจ เหตุผลเหล่านี้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความคิดเห็นดีต่อกิจกรรม ขณะอ่าน 3.7) ขั้นกิจกรรมหลังการอ่าน พบว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นเป็นค่าเฉลี่ยรวม ในระดับ ดี ( x = 4.02, S.D. = 0.41) เหตุผลที่บทเรียนภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศ กลุ่มอาเซียน ด้านนี้จัดอยู่ในระดับดี เพราะกิจกรรมขั้นนี้เป็นกิจกรรมที่ถ่ายโอนจากเรื่องที่ได้ฝึกอ่าน มาจนคล่องแคล่ว มีการถ่ายโอนความรู้สู่การใช้ภาษาจริง และนาไปใช้ในการสื่อสารประจาวันกับ นักท่องเที่ยว ทาให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า และ คุ้นเคยในการทากิจกรรมได้ ไม่สับสน 3.6 ขั้นการประเมินผล พบว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นว่าการประเมินผลต่อชุด บทเรียน ภาษาอั ง กฤษมั ค คุ เ ทศก์ เ กี่ ย วกั บ วั ฒ นธรรมของประเทศกลุ่ ม อาเซี ย น โดยเฉลี่ ย อยู่ ใ นระดั บ ดี ( x = 3.99, S.D. = 0.34) ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบของการประเมินผลรายบทมีระบบชัดเจนคือ ทุกบท จะเริ่มจากการประเมินความรู้เรื่องคาศัพท์ที่ได้เรียนมาในแต่ละบท จึงไม่ยากสาหรับผู้ เรียนมากนัก เพราะมีความคุ้นเคยทั้งเนื้อหาและรูปแบบการประเมินผล ตลอดจนจานวนข้อและความยากง่ายมี ความเหมาะสม นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังมีข้อเสนอแนะดังนี้คือ 1) ควรมีการศึกษาวิจัยในการพัฒนาสื่อ บูรณาการกับวิชาอื่น ๆ และ 2) ควรศึกษาวัฒนธรรม ประเพณีไทย ที่นักท่องเที่ยวสนใจมาสร้าง บทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการบริการนักท่องเที่ยว บรรณานุกรม ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2720). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วีรชาติ ชัยเนตร. (2741). การสร้างบทเรียนเสริมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานพื้นบ้านสาหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ธิญ าดา ยอดแก้ ว . (2547). การศึก ษาสั ญลั ก ษณ์ ท างวัฒ นธรรมของประเทศในกลุ่ ม อาเซี ย น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ดาว แสงบุญ. (2543). การสร้างเอกสารการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการท่องเที่ยว สาหรับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน ภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

41


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ทวีศักดิ์ ไชยมาโย และคณะ. (2541). การศึกษาปัญหาการใช้เทคนิคการสอนอ่านภาษาอังกฤษของ ครู ผู้ส อนชั้ น ประถมศึ กษาปีที่ 6 ส านั ก งานการประถมศึก ษาจั ง หวั ด นครพนม. วารสารวิชาการ ปีที่ 1 ฉบับที่ 8, หน้า 80. บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2540). โลกาภิวัฒน์กับการพัฒนาการศึกษาไทย. สาร พั ฒ นาหลั ก สู ต ร ปี ที่ 16 ฉบับที่128 หน้า 20. ระพีพรรณ มาลัย. (2737). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านในใจก่อนและหลังการใช้แบบฝึก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านในใจ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมนุมบ้านแม่สุก อาเภอแม่โจ้ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ การนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารินทร์ รัศมีพรหม. (2531) สื่อการสอน : เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. วิสาข์ จัติวัตร์. (2528). การสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร. มิตรครู ปีที่15 ฉบับที่ 8 หน้า 15-19. สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2534). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. เสงี่ยม โตรัตน์. (2734). การวิเคราะห์แบบเรียนภาษาอังกฤษ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. อัจฉรา วงศ์โสธร. (2529). เทคนิคการสร้างข้อสอบภาษาอังกฤษ.กรุงเทพมหานคร:อักษรเจริญทัศน์. Ahellal, M’barek. (1990). Using Authentic Materials in the Classroom: Theoretical Assumptions and Practical Considerations. TESOL Quarterly 16, 8: 39. Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology 140:1–55. Moorman, G.B., and W.E. Blanton. (1990). The information text reading activity (ITRA): engaging students in meaningful learning. Journal of Reading. Ogle, D. (1986). K – W – L : A teaching model that develops active reading of expository text. The Reading Teacher 39: 564-570.

42


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต Health Care Model for Quality of Life among the Elderly ผู้ช่วยศาสตราจารย์นนทรี สัจจาธรรม และคณะ คณะวิทยาศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ โทร .081-930839; nontaree92@gmail.com Assistant Professor Nontraree Sajjathram and Others Faculty of Science and Public Health; Rajapruk University บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการผสมผสานการ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้านการแพทย์และสาธารณสุขแผนปัจจุบัน กับ การแพทย์แผนไทย เพื่อเป็น รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุขศาสตร์ การแพทย์แผนไทย และการพยาบาล จานวน 8 คน กับกลุ่ม ผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งหน่วยงานของรัฐ และเอกชน จานวน 30 คน เก็บข้อมูลจากการจดบันทึก การประชุมกลุ่ม และการสัมภาษณ์ ระหว่าง วันที่ 4 มกราคม ถึงวันที่ 25 มกราคม 2557 วิเคราะห์ ข้อมูลเนื้อหาแก่นสาระ การพรรณนา ร้อยละ และคะแนนเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นต่อโครงสร้างและรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเห็นด้วย ร้อยละ 90.8 กลุ่มผู้ดูแลสุขภาพหน่วยงานของรัฐ และกลุ่มผู้ดูแล สุขภาพหน่วยงานเอกชน มีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบของรายวิชา ระดับปานกลาง ร้อยละ 80.3 และ 80.2 ตามลาดับ รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนี้ ใช้อบรมผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเวลา 5 วัน (30 ชั่วโมง) รายวิชาได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การดูแล สุขภาพผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และจริยธรรมของผู้ดูแลสุขภาพผู้สู งอายุ ประเมินผลโดยการ ทดสอบก่อนและหลังเรียน ด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรมจริยธรรม ทักษะความสัมพันธ์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และติดตามหลังการอบรม คาสาคัญ: รูปแบบการดูแลสุขภาพ คุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ

43


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

Abstract The aim of this research was to study the care model for elder people by combining between the care model of conventional medical and public health and Thai traditional medicine to find the appropriate way of care model for elder people. The sampling in this qualitative research was the specialists in public health, Thai traditional medicine, and nursing were 8 persons and elder people health care assistants, in both government and private sections were 30 persons. The data was collected by using the minutes of the seminar and the interviews between January 4-25, 2014. The analysis used was descriptive analysis, percentage and mean. The results show that the specialists had an opinion toward the structure and the model at 90.8%. The group of health care assistant of government section and private section had an opinion toward the complement of the course in moderate level, which were 80.3% and 80.2% respectively. The care model for elder people for the quality of life. The students who wanted to Study must have high-school certification and the maturity. The program lasted for 5 days (30 hours). The courses provided were Elders Health Promotion, Health Care in Non-communicable Diseases Elders, and Elders Health Care Ethics. The learners could have the pre-test and post test in knowledge, attitude, moralities and ethics, communication, and the appropriate technology using. Also, all the results would be followed after the training. Keywords: Health Care Model, Quality of Life, The Elderly บทนา ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ภาวะประชากรสูงอายุ โดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มมาก ขึ้น อัตราการเกิดน้อยลง อายุขัยของผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีอัตราเพิ่มสูงกว่าอัตราเพิ่มของประชากร รวม จากข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2552 พบว่าประเทศ ไทยมีประชากรทั้งหมด 63,396,000 คน และมีประชากรผู้สูงอายุ 7,274,000 คน คิดเป็นร้อยละ 11.47 ปี พ.ศ. 2553 มีป ระชากรสูงอายุ 8,408,000 คน คิดเป็นร้อยละ 11.9 การเปลี่ยนแปลง ประชากรของประเทศไทยนี้ ในอนาคต จะมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ใน อีก 11 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีจานวน ประมาณ 15,126,000 คน หรือ ร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2568

44


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

(สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2556: 8-9) การเพิ่มจานวน ผู้สูงอายุ และอายุประชากรที่ยาวขึ้นนี้ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพสูงขึ้น (สานักงานวิจัยเพื่อ การพัฒนาหลักประกันสุ ขภาพ, 2552: 1) ทั้งได้เปลี่ยนแบบแผนการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจาก โรคติดต่อ มาเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ร้อยละ 72 – 80 มีโรคประจาตัว คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น (ปิยะธิดา คูหิรัญญ รัตน์, 2554: 17-19) ซึ่งเกิดจากการถดถอยของสมรรถภาพการทางานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม นามาซึ่งภาวะทุพพลภาพ ซึ่งต้องได้รับการดูแลจากบุคคลใน ครอบครัวหรือสังคม (สานักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพ, 2552: 2) จังหวัดนนทบุรี มีประชากรเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร (สานักงาน สถิติแห่งชาติ, 2554: 59) และมีจานวนผู้สูงอายุอยู่ในอันดับหนึ่งของจังหวัดในภาคกลาง จากจานวน 33 จังหวัด โดยปีพ.ศ.2550 ประชากรผู้สูงอายุของจังหวัดนนทบุรี จานวน 115,045 คน คิดเป็นร้อย ละ 11.40 (กรมการปกครอง, 2553: 1) พ.ศ.2551 มีจานวนผู้สูงอายุ 121,024 คน พ.ศ.2552 จานวน 128,282 คน พ.ศ.2553 จานวน 136,286 คน พ.ศ.2554 จานวน 144,961 คน พ.ศ.2555 มี จานวน ผู้สูงอายุ 150,997 คน (กรมการปกครอง, Online) การดูแลผู้สูงวัย แบ่งตามภาวะสุขภาพเป็น 3 ประเด็น คือ สุขภาพดี มีโรคเรื้อรังและหง่อมงอม บอบบาง หากแบ่งตามเกณฑ์การพึ่งพาคือ ไม่ต้องมีการพึ่งพาเลย พึ่งพาบางส่วนและต้องพึ่งพา ซึ่ง นโยบายต้องนาไปสู่เป้าหมายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ให้คงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี สามารถค้นพบโรคและ ให้การรักษาที่เหมาะสม รวมทั้งการดูแลระยะสุดท้ายเพื่อการจากไปอย่างสมศักดิ์ศรี โดยให้ผู้สูงอายุ สามารถดูแลตนเอง “Self care & self wisdom” ซึ่งมิติของการดูแลผู้สูงวัยคือ การสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรค (สิรินทร ฉันสิริกาญจน, 2552: 25) ด้วยเหตุนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ได้มีสุขภาพแข็งแรงยือเวลาเกิดการเจ็บป่วย และผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้หายหรือทุเลาขึ้น ลดความ พิการหรือทุพพลภาพ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเพื่อสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เหมาะสม โดย ผสมผสานการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้ผู้วิจัยได้ประยุกต์แนวคิดทษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาจาก รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งมีผู้ทาการศึกษาไว้แล้วและนามาพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างกรอบ แนวคิดในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการผสมผสานการบริการทางสุขภาพแผน ปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย

45


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

2) เพื่อเป็น รูป แบบในการให้บริการดูแลสุขภาพผู้ สูงอายุ ประกอบด้วย การดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุโดยสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย วิธีการวิจัย เป็นงานวิจัยที่ศึกษาโครงสร้างเนื้อหาของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยย่อย 3 เรื่อง คืองานวิจัยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุใน จังหวัดนนทบุรี พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดนนทบุรี และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย ดาเนินการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สังเคราะห์ โครงร่ างของรู ป แบบการดูแลสุ ขภาพผู้ สู งอายุ และการวิพากษ์ โดยผู้ ทรงคุณวุ ฒิ เพื่อพัฒ นาเป็ น รูปแบบที่เหมาะสม ทั้งนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีบทบาทในการจัดการศึกษา และผลิตบุคลากร สาขาสาธารณสุขศาสตร์ การแพทย์แผนไทย และสาขาการพยาบาล และกลุ่มที่มี หน้าที่ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานเอกชนโดยใช้วิธีคัดเลือกดังนี้ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาสาธารณสุขศาสตร์ การแพทย์แผนไทยและสาขาการพยาบาล จานวน 8 คน โดยเป็นผู้จบการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาโท ปฏิบัติหน้าที่การสอนหรือจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาด้านสาธารณสุขศาสตร์ หรือการพยาบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพประชาชน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอก จานวน 3 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง และผู้ทรงคุณวุฒิ ภายใน 5 คน 2) ผู้ ดูแลสุ ขภาพผู้ สูงอายุภ าครัฐ คือผู้ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่ งเสริมสุ ขภาพ ตาบล (รพ.สต.) ในเขตอาเภอเมืองนนทบุรีจานวน 15 แห่ง แห่งละ 1 คน โดยหน่วยงานมอบหมายให้ เป็นกลุ่มตัวอย่างแห่งละ 1 คน รวม 15 คน กลุ่ มตัว อย่างมาจาก รพ.สต.ตลาดขวัญ รพ.สต.บางไผ่ รพ.สต.วัดโชติการาม รพ.สต.บ้านบางรักน้อย หมู่ 3 รพ.สต.บ้านบางรักน้อย หมู่ 5 รพ.สต.ไทรม้า รพ. สต.วัดแคใน รพ.สต.บางเขนหมู่ 7 รพ.สต.ไขแสงกาเนิดมี รพ.สต.ท่าทราย รพ.สต.บ้านทานสัมฤทธิ์ รพ.สต.บางศรีเมือง รพ.สต.บางกร่าง รพ.สต.วัดแดง และ รพ.สต.บ้านบางประดู่ 3) ผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ หน่วยงานเอกชน คือสถานบริการเอกชนจานวน 15 แห่ง แห่งละ 1 คน โดย ผู้วิจัยขอรายชื่อจากสถาบันที่ฝึกอบรมผู้ดูแลสุขภาพ ซึ่งปฏิบัติงานในสถานบริการ เอกชนต่าง ๆ และติดต่อโดยตรงเพื่อสอบถามความสมัครใจเป็นกลุ่มตัวอย่าง จานวน 15 คนคือ รพ. รัทริ นทร์ รพ. ปิ ย ะมิน ทร์ รพ.บางประกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล รพ.บางนา 1 รพ. วิภ ารามชัย ปราการ รพ. วิชัยยุทธ รพ.นนทเวช รพ.เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ รพ.เกษมราษฎร์ ประชาชื่น รพ. มงกุฎวัฒนะ รพ.วิภาวดี รพ.อนันต์พัฒนา รพ.เมโยฟ้าใสคลินิกและหมอหญิงคลินิก

46


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) แบบสรุปโครงสร้างของรูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตประกอบด้วย ระยะเวลาการสอน คุณสมบัติผู้เรียน วัตถุประสงค์ องค์ประกอบของรูปแบบการ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 4 รายวิชา คือ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคไม่ ติด ต่ อ เรื้ อ รั ง บริ ก ารด้ า นการแพทย์ แ ผนไทย และจริ ยธรรมของผู้ ดูแ ลสุ ข ภาพผู้ สู ง อายุ วิ ธี ส อน กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล เพื่อเป็นประเด็นในการวิพากษ์ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาสาธารณสุขศาสตร์ การแพทย์แผนไทย และ สาขาการพยาบาลโดยผู้วิจั ยสร้างข้อคาถามตามโครงสร้างของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิต แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ทรงคุณวุฒิ ความคิดเห็นต่อ โครงสร้ างของรู ปแบบการดูแลสุ ขภาพผู้ สูงอายุเพื่อพัฒ นาคุณภาพชีวิต ข้อคิดเห็ น ข้อเสนอแนะ นาเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา วิเคราะห์ความคิดเห็นด้วยคะแนน ร้อยละ 3) แบบสั มภาษณ์ผู้ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ด้านความคิดเห็น โดยผู้วิจัยสร้าง แบบ สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ตามเนื้อหาของรายวิชา เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อองค์ประกอบ เนื้อหารายวิชา ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ การนาเสนอคุณลักษณะของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพโดยการพรรณนา และ วิเคราะห์ความคิดเห็นด้วยค่าร้อยละและคะแนนเฉลี่ย ผลการวิจัย จากการศึกษา พบว่า คุณลักษณะผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 5 คน เป็นเพศชาย 3 คน เพศหญิง 5 คน อายุระหว่าง 38-60 ปี 3 คน อายุ 60 ปีขึ้นไป 5 คนระดับการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท 5 คน และ ปริญญาเอก 3 คน สาขาเชี่ยวชาญ ได้แก่ การพยาบาลและการแพทย์แผนไทย 1 คน สุขภาพจิตและ การพยาบาลจิตเวช 1 คน บริหารสาธารณสุข และอนามัยสิ่งแวดล้อม 1 คน สาขาสาธารณสุขศาสตร์ 1 คน สาขาสาธารณสุขศาสตร์พยาบาลสาธารณสุข และพยาบาลเวชปฏิบัติ 1 คนสาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ1 คน สาขาบริหารการศึกษา และบริหารสาธารณสุข 1 คน และสาขา เภสัชวิทยา อาชีว อนามัยและสุขภาพจิต 1 คน ลักษณะงานปัจจุบัน เป็นข้าราชการบานาญ 2 คน และ อาจารย์ประจา มหาวิทยาลัยของรัฐ 1 คน อาจารย์ มหาวิทยาลัยเอกชน 5 คน ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อโครงสร้างของรูปแบบการบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยภาพรวม เห็นด้วย ร้อยละ 90.87 ด้านการประเมินผล เห็นด้วย ร้อยละ 97.15 คุณสมบัติของผู้เรียน เห็นด้วย ร้อยละ 95 วิธีสอน และกิจกรรมการเรียนการสอน เห็นด้วย ร้อยละ 94.28 วัตถุประสงค์ของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นด้วย ร้อยละ 88.60 ความเหมาะสมของเวลาการจั ด การเรี ย นการสอน พบว่ า เห็ น ด้ ว ย ร้ อ ยละ 80.00 องค์ประกอบของรายวิชา เห็นด้วย ร้อยละ 89.30 ด้านเนื้อหารายวิชา เห็นด้วยกับวิชาการส่งเสริม

47


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

สุขภาพผู้สูงอายุ ร้อยละ 92.40 วิชาการดูแลสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและวิชาจริยธรรมของการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุ เห็นด้วย ร้อยละ 91.40 วิชาบริการด้านการแพทย์แผนไทย เห็นด้วย ร้อยละ 89.10 โดยเสนอแนะให้ตัดวิชาบริการด้านการแพทย์แผนไทย เนื่องจากเป็นศาสตร์เฉพาะที่ มีเนื้อหาและ รายละเอียดมาก โดยบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ และใช้รูปแบบนี้เพื่อบริการวิชาการแก่สังคมในการ เพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน เน้นจริยธรรมหรือปรับปรุงเป็นระบบหน่วยกิตเพื่อนาไปเทียบโอนได้ ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตาบล (รพ. สต.) และกลุ่มสถานบริการเอกชน พบว่า ลักษณะของ กลุ่ม รพ.สต. เป็น เพศชาย 2 คน เพศหญิง 13 คน อายุเฉลี่ย 42.47 มีการศึกษาปริญญาตรี 12 คน ปริญญาโท 2 คน ประกาศนียบัตร 1 คน ปฏิบัติงานใน รพ.สต.ทั้ง 15 คน ตาแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 7 คน นักวิชาการ สาธารณสุข 4 คน เจ้าพนักงานสาธารณ 2 คน ผู้ช่วยพยาบาล 2 คน คุณลักษณะของ กลุ่มสถาน บริการเอกชน เป็น เพศชาย 3 คน เพศหญิง 12 คน อายุเฉลี่ย 21.20 จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ ผ่าน การฝึ ก อบรมหลั ก สู ต รการบริ บ าลเด็ ก เล็ ก และผู้ สู ง อายุ จ ากสถาบั น ที่ ผ่ า นการรั บ รองจาก กระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติงานโรงพยาบาลเอกชน 13 คน คลินิกตรวจรักษาโรค 2 คน ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยการพยาบาล ทั้ง 15 คน ความคิดเห็ นของกลุ่ม ผู้ ดูแลสุขภาพผู้สู งอายุต่อองค์ประกอบของ รายวิชาในภาพรวม พบว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และกลุ่มสถานบริการเอกชน มีความคิดเห็นระดับ เดียวกัน คือ ระดับปานกลางร้อยละ 66.67 ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต่อ รายวิชา ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่ากลุ่ม รพ.สต.มีความคิดเห็นระดับปานกลาง ร้อยละ 93.30 และ ระดับ ต่า ร้อยละ 6.70 คะแนนเฉลี่ย 26.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.64 แต่กลุ่มสถานบริการเอกชน พบว่า มีความคิดเห็น ระดับปานกลาง ร้อยละ 73.30 ระดับต่า ร้อยละ 20.00 และ ระดับสูง ร้อยละ 6.70 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย 27.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.93 ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ต่อเนื้อหาวิชาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคไม่ ติดต่อเรื้อรังพบว่า ระดับความคิดเห็นของกลุ่มรพ.สต.ระดับปานกลาง ร้อยละ 73.30 และระดับต่า ร้อยละ 26.70 คะแนนเฉลี่ย 18.53 โดยที่กลุ่มสถานบริการเอกชนมีความคิดเห็นต่อเนื้อหาระดับปาน กลางร้อยละ 46.70 ระดับต่า 40.00 และระดับสูง ร้อยละ 13.30 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย 17.67 ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ต่อเนื้อหาวิชาบริการด้านการแพทย์แผนไทย พบว่า กลุ่ม รพ.สต. มีความคิดเห็น ระดับปานกลาง ร้อยละ 66.67 ระดับสูง ร้อยละ 20.00 และ ระดับต่าร้อยละ13.30 คะแนนเฉลี่ย 22.14 เช่นเดียวกับความคิดเห็นของกลุ่มสถานบริการเอกชนซึ่ง มีความคิดเห็น ในระดับเดียวกันคือ ระดับ ปานกลาง ร้อยละ 66.67 ระดับต่า ร้อยละ 20.00 และ ระดับสูง ร้อยละ 13.30 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย 21.93

48


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ต่อเนื้อหาวิชาจริยธรรมของการดูแลสุขภาพ พบว่าทั้งสองกลุ่ม มีความคิดเห็นในระดับเดียวกัน คือระดับปานกลาง ร้อยละ 80.00 ระดับต่า ร้อย ละ 20.00 คะแนนเฉลี่ย 13.73 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่ากลุ่มผู้ดูแลสุขภาพทั้งสองกลุ่มเห็นด้วยกับการจัดเนื้อหาใน การเรียนการสอน และควรให้มีความทันสมัย ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติจริงในพื้นที่ เน้นวิชาการด้านการ ดูแลตนเอง ป้องกันอุบัติเหตุและภาวะโรคแทรกซ้อน ทั้งนี้ รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วยโครงสร้าง ดัง รายละเอียดต่อไปนี้คือ ระยะเวลาการจัดการเรียนการสอน 5 วัน (หรือ 5 ครั้ง) วันละ 6 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง รวมการบรรยาย ฝึกปฏิบัติและกิจกรรมการเรียนการสอนอื่น ๆ คุณสมบัติของผู้เรียน วุฒิ การศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า อายุไม่ต่ากว่า 18 ปี มีวุฒิภาวะและภาวะ สุขภาพเหมาะสม ไม่มีอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ดูแลสุขภาพ องค์ประกอบของรู ปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้ว ย รายวิชา 3 วิชา ได้แก่ วิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ จริ ย ธรรมของผู้ ดู แ ลสุ ข ภาพผู้ สู ง อายุ ดั ง รายละเอี ย ดของเนื้ อ หาวิ ช า ตามแผนการสอนดั ง นี้ องค์ประกอบและแผนการสอนรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ครั้งที่

หัวข้อ รายละเอียด /

1-2

- ชี้แจงวัตถุประสงค์ของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ - การทดสอบก่อนเรียน - วิชา การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 1. แนวคิดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เกี่ยวกับ 1.1 สถานการณ์ผู้สูงอายุในปัจจุบันความเป็นมา และวัตถุประสงค์ 1.2 การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายจิตใจ ด้านสังคม และการบริหารระบบใน ร่างกายโดยนาฬิกาชีวิต 2. การประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 2.1 การซักประวัติประเด็นที่ควรให้ความสนใจและซักประวัติเพื่อประเมิน ได้แก่ อาการนาสาคัญข้อมูลทั่วไปและประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน 2.2 การตรวจร่างกายเบื้องต้น การทบทวนระบบต่างๆในผู้สูงอายุ 2.3 การประเมินการทากิจวัตรของผู้สูงอายุ 3. การดูแลสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุ 3.1 การรักษาความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า การดูแลสุขภาพช่องปาก 3.2 การดูแลระบบขับถ่าย การกลั้น การถ่าย การกลั้นและถ่ายปัสสาวะ 3.3 การเคลื่อนที่ การขึ้นลงบันได 3.4 การประเมินความสามารถของตนเองของผู้สูงอายุ 3.5 การใช้ยาสามัญประจาบ้าน 3.6 โภชนาการสาหรับผู้สูงวัย 3.7 การพักผ่อน 4. การฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ

จานวน กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อที่​่ช้ / ชั่วโมง 12 บรรยาย 5 ชั่วโมง ปฏิบัติ 7 ชั่วโมง - การบรรยาย -Power Point การอภิปราย ซักถาม - การสาธิต และฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น ฐานการฝึ ก ปฏิ บั ติ 3 ฐาน ฐานการซั ก ) ประวั ติ การตรวจร่ า งกาย และการ ประเมินการทากิจวัตรประจาวัน( - การบรรยาย - Power Point - วิดีโอ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น - การซักถาม - ตัวอย่างยาสามัญประจาบ้าน - แบ่ ง กลุ่ ม อภิ ป ราย อาหารส าหรั บ ผู้สูงอายุ

49


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ครั้งที่

หัวข้อ รายละเอียด /

จานวน ชั่วโมง

5. การหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด 6. การจัดการความเครียด โดยการนวดเพื่อสุขภาพ เดินจงกลม นั่งสมาธิ

3-4

- วิชาการดูแลผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1. ความหมาย และประเภทของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้สูงอายุ 3. การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง 3.1 การใช้ยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพรไทยและการแพ้ยา 3.2 การป้องกันภาวะแทรกซ้อน 3.3 การฟื้นฟูสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย 3.4 การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ 4. อาหารสาหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือด

12

5

- วิชาจริยธรรมของผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 1. บทบาทของผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 2. คุณธรรม จริยธรรมของผู้ดูแลสุขภาพ 2.1 หลักการคุณธรรม จริยธรรม ความเมตากรุณา และความรับผิดชอบ 2.2 การฝึกพัฒนาจิต เพื่อให้เกิดจิตปัญญา 3. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และองค์กรสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ 3.1 แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ .ศ.2545-2564) 3.2 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ .ศ.2546 - การทดสอบหลังเรียน รวมจานวนชั่วโมง บรรยาย ปฏิบัติ

6

กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อที่​่ช้ / - การบรรยาย - วิดีโอ นันทนาการสาหรับผู้สูงอายุ ศูนย์) อนามัยที่7 อุบลราชธานี( - สาธิตการนั่งสมาธิ การนวดกดจุด และ ฝึกปฏิบัติ - การบรรยาย - Power Point ผู้ อ บรมร่ ว มกั น อภิ ป รายปั จ จั ย ที่ เ ป็ น สาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง - การบรรยาย - การซักถาม เชื่อมโยงประสบการณ์เดิม - ตัวอย่างเวชภัณฑ์ยา - การอภิปราย ซักถาม - ภาพตั ว อย่ า งอาหารส าหรั บ ผู้ ป่ ว ย เบาหวาน - การบรรยาย - Power Point - การอภิปรายเป้าหมายการดูแลผู้สูงอายุ - แบ่งกลุ่มอภิปราย หน่วยงานที่ให้การ สนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ และกิจกรรม ผู้สูงอายุ

30 14 16

การประเมินผล ปฏิบัติดังนี้ 1) โดยการทดสอบความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ (ก่อน และ หลังเรียน) 2) ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยการสังเกตความมีวินัย ความรับผิดชอบ การตรงต่อ เวลา การแสดงความคิดเห็น และเจตคติต่อบทบาทหน้าที่ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 3) ทักษะความสั มพันธ์ โดยการสั งเกตการมีส่ ว นร่ว ม ภาวะผู้นา และความ รับผิดชอบ 4) การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีในการนาเสนออย่างเหมาะสม 5) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม 6) จัดทาทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 7) การติดตามภายหลังการอบรม 2 ครั้ง ภายใน 3 – 6 เดือน

50


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

สรุปและอภิปรายผล ผลการอภิปรายตามลาดับดังนี้ 1. รู ป แบบการดู แ ลสุ ข ภาพผู้ สู ง อายุ เ พื่ อ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ซึ่ ง ผ่ า นการวิ พ ากษ์ โ ดย ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นด้วยกับรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเสนอแนะให้ตัด วิชาบริการด้านการแพทย์แผนไทย เนื่องจากเป็นศาสตร์เฉพาะที่มีเนื้อหา และรายละเอียดมาก โดย ให้นาเนื้อหาบางส่วนมาบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ และควรใช้รูปแบบนี้ สาหรับการบริการวิชาการ แก่สังคม ในการอบรมระหว่างประจาการ เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่แล้วได้เพิ่มพูนความรู้ หรือเป็น หลักสูตรพิเศษใช้เวลาการ อบรม 3 เดือน เน้นจริยธรรม หรือปรับปรุงเป็นระบบหน่วยกิตในหลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ 2. ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต่อ รายวิชาส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่ม รพ.สต.มีความคิดเห็นระดับปานกลาง ร้อยละ 93.30 และ ระดับต่า ร้อยละ 6.70 แต่ กลุ่ม สถานบริการเอกชน มีความคิดเห็น ระดับปานกลาง ร้อยละ 73.30 ระดับต่า ร้อยละ 20.00 เนื่องจาก กลุ่มรพ.สต. มีประสบการณ์การทางานนานกว่า และผ่านการศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการ สร้างเสริมสุขภาพ 3. ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ต่อเนื้อหาวิชาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคไม่ ติดต่อเรื้อรัง พบว่า ระดับความคิดเห็นของกลุ่มรพ.สต. ระดับปานกลาง ร้อยละ 73.30 และ ระดับต่า ร้อยละ 26.70 คะแนนเฉลี่ย 18.53 โดยที่กลุ่มสถานบริการเอกชน มีความคิดเห็นต่อเนื้อหาวิช า ระดับปานกลาง ร้อยละ 46.70 ระดับต่า 40.00 คะแนนเฉลี่ย 17.67 การที่ระดับความคิดเห็นต่อ เนื้อหาวิชาของกลุ่มสถานบริการเอกชน ต่ากว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เนื่องจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.จะ ได้รับการพัฒนาโดยการประชุม และอบรมอย่างสม่าเสมอ และต้องติดตามสถานการณ์ของปัญหา สุขภาพ โดยที่พื้นฐานความรู้ของกลุ่มสถานบริการเอกชน เน้นการดูแลสุขภาพทั่วไปของผู้สูงอายุ ดังนั้น โอกาสในการพัฒนา และติดตามสถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงน้อยกว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 4. ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ต่อเนื้อหาวิชาบริการด้านการแพทย์แผนไทย พบว่า กลุ่มรพ.สต. มีความคิดเห็นในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.67 ระดับสูง ร้อยละ 20.00 และ ระดับต่าร้อยละ13.30 คะแนนเฉลี่ย 22.14 เช่นเดียวกับความคิดเห็นของกลุ่มสถานบริการเอกชนซึ่ง มีความคิดเห็น ในระดับเดียวกันคือ ระดับ ปานกลาง ร้อยละ 66.67 ระดับต่า ร้อยละ 20.00 และ ระดับสู ง ร้ อยละ 13.30 ตามล าดับ คะแนนเฉลี่ ย 21.93 การที่ระดับความคิดเห็นต่อเนื้อหาวิช า บริ การด้านการแพทย์ แผนไทยของทั้งสองกลุ่ ม อยู่ในทิศทางเดียวกันอาจเนื่องจากโอกาสในการ ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยแก่ผู้สูงอายุ ของทั้งสองกลุ่มมีความเป็นไปได้น้อย

51


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

5. ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ต่อเนื้อหาวิชาจริยธรรมของการดูแลสุขภาพ พบว่าทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นในระดับเดียวกัน คือระดับปานกลาง ร้อยละ 80.00 ระดับต่า ร้อยละ 20 คะแนนเฉลี่ย 13.73 เนื่องจากทั้งสองกลุ่ม มีเจตคติที่ดีต่อการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ และมีจิตใจที่ ดีงามเป็นต้นทุนอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะทาหน้าที่ช่วยเหลือดูแลผู้อื่น และได้ผ่านการศึกษาอบรมให้เป็นผู้ มีคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นระดับความคิดเห็นจึงอยู่ในระดับเดียวกัน 6. โครงสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่าเนื้อหาวิชาที่ สอดคล้อง และเนื้อหาวิชาที่แตกต่าง จากผลการศึกษาที่มีผู้ได้ศึกษาไว้แล้วดังนี้ 6.1 เนื้อหาวิชาที่มีความสอดคล้องคือ หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุโดยอาสาสมัคร (กรมอนามัย, 2550: 1-2) ได้แก่หัวข้อเรื่อง สถานการณ์ผู้สูงอายุ โรคที่พบบ่อย อาหาร การออกกาลัง กาย และอารมณ์ การตรวจร่ า งกายเบื้องต้น การใช้ ยา สมุ นไพรใกล้ ตั ว บทบาทผู้ ดูแลผู้ สู ง อายุ เช่นเดียวกับหลักสูตรกระบวนการกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และแกนนาผู้สูงอายุใน ชุมชน (สานักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน, 2554: 25-26) ซึ่งมีเนื้อหาวิชาสอดคล้องกัน คือ การประเมิน ภาวะสุ ขภาพผู้ สูงอายุ การประเมินภาวะโภชนาการ ประวัติการใช้ยา การใช้ยา สมุนไพร ปฏิกิริยาจากการใช้ยา และการแพ้ยาเป็นต้น 6.2 เนื้ อหาวิ ช าที่มี ความแตกต่า ง เช่น การอบรมผู้ ปฏิบัติง าน การดูแลสุ ขภาพ ผู้สูงอายุที่บ้าน (Home Health Care) โดยสานักส่งเสริมสุขภาพ (กรมอนามัย, 2550: 1-3) ได้พัฒนา ระบบการบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านทั้งปกติ และเจ็บป่วยอย่างต่อเนื่องใช้เวลาอบรม 2 วัน โดยเนื้อหาวิชาประกอบด้วย การใช้ อินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน การป้องกันแผลกดทับ การวางแผน รักษาบาดแผล การเตรียมออกซิเจนที่บ้าน การให้อาหารทางสายยาง และการดูแลเมื่อใช้สายสวน ปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด และระบบส่งต่อ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ใช้ทักษะ และเทคนิ คการดูแลขั้น สู ง เพื่อการดูแลผู้ สู งอายุที่เจ็บป่ว ย และมีภ าวะแทรกซ้อน แตกต่างจาก งานวิจัย รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตครั้งนี้ ซึ่งเนื้อหาวิชา เน้นการสร้าง เสริมสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุทีช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งเป็นการฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน ข้อเสนอแนะเชิง นโยบายของงานวิจัย ชิ้นนี้ ได้แ ก่ ควรกาหนดให้ บรรจุรูปแบบการดูแ ล สุขภาพผู้สูงอายุ ไว้ในหลักสูตรที่จัดการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ทุกสาขาวิชาและสถาบันฝึกอบรม การบริบาลผู้สู งอายุทุกแห่งควรนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้ สูงอายุนี้ใช้ในการเรียนการสอนและ ฝึกอบรมผู้ดูแลสุขภาพผู้สู งอายุ ส่ วนข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ ควรเผยแพร่งานวิจัยไปสู่ สถาบันที่จัดการเรียนการสอนในสาขาสุขภาพและหน่วยบริการสุขภาพเพื่อนารูปแบบไปประยุกต์และ พัฒ นาให้ มีความเหมาะสมและทันสมัยยิ่งขึ้นและควรปรับปรุงรูปแบบให้ สอดคล้ องกับมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาใช้ระบบหน่วยกิต เพิ่มเนื้อหาวิชาให้ครบตามเกณฑ์ เพื่อสามารถนามาใช้ใน การเทียบโอน เมื่อต้องการศึกษาในระดับสูงขึ้น

52


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

บรรณานุกรม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2553). สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดนนทบุรี . สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2554 จาก http://www.dopa.go.th/ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ข้ อ มู ล ผู้ สู ง อายุ . สื บ ค้ น เมื่ อ 27 กั น ยายน 2556 จาก http://www.oppo. opp.go.th/info/stat P-PoP Trends. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข . (2550). หลักสูตรการอบรมผู้ปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Home HealthCare). ณฐินี พงศ์ไพฑูรย์สิน. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย. มหาวิทยาลัย ราช พฤกษ์ นนทบุรี. ทิพย์สิริ กาญจนวาสี . (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังจังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ นนทบุรี. ปิยะธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2554). กระบวนการกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และแกนนา ผู้สูงอายุ่นชุมชน. สานักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน สถาบันสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, จังหวัดนครปฐม. พูนศักดิ์ พุ่มวิเศษ. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ่นจังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยราช พฤกษ์ นนทบุรี. มนู วาทิสุนทร และคณะ. (2551). รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว่นสถานบริการ. กลุ่ม อนามัยผู้ สูงอายุ สานักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข . สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2555. จาก http:/www. Advisor. Anamai.moph.go.th/conference. สถาบันเมธารักษ์การบริบาล. (2556). เอกสารหลักสูตรการดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ . เอกสารเย็บ เล่ม. สิรินทร ฉันสิริกาญจน. (2552). สถานการณ์องค์ความรู้เกี่ยวกับการทางานผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. รายงานการประชุมโครงการประชุมวิ ช าการบริการปฐมภูมิ เรื่ องการพั ฒ นาระบบดูแ ล ผู้สูงอายุ 22 – 23 มกราคม 2552 ณ โรงแรมมิราเคิล กรุงเทพฯ. สุภาณี แก้วพินิจ และคณะ. (2550). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. ศูนย์ อนามัยที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก. สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ . (2556). การคาดประมาณประชากร ของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลาคม. สานักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพ. (2552). ปัญหาสุขภาพคนไทยและระบบบริการ สุขภาพ. สถาบันสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

53


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

สานักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. (2554). กระบวนการกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ เจ้ า หน้ า ที่ แ ละแกนน าผู้ สู ง อายุ ่ นชุ ม ชน.สถาบั น สุ ข ภาพอาเซี ย นมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล นครปฐม. สานักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2553). โครงการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพและสวัสดิการ สังคมเชิงบูรณาการโดยชุมชนสาหรับผู้สูงอายุ่นประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2555. จาก http://www.ctoplife.com/content/activities_nonthaburi_th.htm. สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสารวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติ ที่มีต่อผู้สูงอายุ พ.ศ. 2554. ศิริ พร จิ ร วัฒ น์ กุล . (2552). การวิจัยเชิงคุณ ภาพด้า นวิทยาศาสตร์ สุขภาพ. กรุง เทพฯ: บริษั ท วิทยพัฒน จากัด.

54


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี : กรณีศึกษา นักบัญชีในบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรุงเทพมหานคร The Relationships between the Morals in Aspect of Human Relations, the Accounting Professional Ethics and the Work Efficiency of Accountants: The Case Study of Accountants in the Listed Companies in Stock Exchange of Thailand in Bangkok Metropolis. ฉัตรอมร แย้มเจริญ นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ chatarmorn@hotmail.com Chatarmorn Yamcharoen Graduated Student; Master of Business Administration; Rajapruk University บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรม ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี กลุ่ม ตัวอย่างคือนักบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ งประเทศไทยในกรุงเทพมหานคร จานวน 385 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) นักบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ในระดับมาก จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในระดับมากที่สุด และประสิทธิภาพการทางานในระดับมาก 2) จากการ เปรียบเทียบความคิดเห็น พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ นักบั ญชีที่มี อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อุตสาหกรรมหลักขององค์กรและระดับเงินเดือนต่างกัน มี ความคิดเห็นต่างกันที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 ความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี นักบัญชีที่ มีอายุและระดับเงินเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่างกันที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพการทางาน นักบัญชีที่มีอายุ อุตสาหกรรมหลักขององค์กร ประสบการณ์การทางาน ระดั บ เงิ น เดื อ น และจ านวนพนั ก งานบั ญ ชี ใ นแผนกบั ญ ชี ต่ า งกั น มี ค วามคิ ด เห็ น ต่ า งกั น ที่ ร ะดั บ นัยสาคัญ 0.05 และ 3) จากการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า จริยธรรมด้านการมีมนุษยสั มพันธ์ ใน ด้านการเสียสละและแบ่งปัน ด้านการประพฤติตนตามกฎระเบียบและหน้าที่อันพึงกระทาและด้าน

55


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ความคิดเห็นและการใช้ดุลยพินิจ มีผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทางาน ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในด้านความเป็นอิสระ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านมาตรฐานใน การปฏิบัติงาน และด้านความรั บผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่ วน บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ปฏิบัติ หน้าที่ให้ มีผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทางาน ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 คาสาคัญ: จริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ประสิทธิภาพการทางาน นัก บัญชี Abstract This research aims to study the opinions, compare opinions and study relationships between the morals in aspect of human relations, the accounting professional ethics and the work efficiency of accountants. The samples were accountants in the listed companies in Stock Exchange of Thailand in Bangkok Metropolis, numbering 385 samples. The tools used in the research were questionnaires. The research result found that: 1) The accountants had opinions related with the morals in aspect of human relations in the high level; the accounting professional ethics was in the most level and the work efficiency was in the high level. 2) From the compare opinions, it was found that: The opinions of the morals in aspect of human relations; the accountants with different age, education level, marriage status, industry of the organization and salary level had opinions differently at significant level of 0.05. The opinions of the accounting professional ethics; the accountants with different age and salary level had opinions differently at significant level of 0.05. The opinions of the work efficiency; the accountants with different age, industry of the organization, work experience, salary level and numbers of accountants in accounting department had opinions differently at significant level of 0.05. And 3) From the tests of relationships, it was found that: The morals in aspect of human relations, in self-sacrifice and apportionment, behave according with the rules and responsibilities that should be done, opinion and using of discretion; had positive effects on the work efficiency at significant level of 0.05. The accounting professional ethics, in independence, regarding knowledge and capability, work performance standard and responsibility towards shareholders, partners, individuals or juristic

56


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

persons working for them; had positive effects on the work efficiency at significant level of 0.05. Keywords:

Morals in Aspect of Human Relations, Accounting Professional Ethics, Work Efficiency, Accountant

บทนา ในปั จจุ บั น องค์กรบริ ษัทต่างๆ มีการแข่งขันระหว่างกันสู ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารจาเป็นต้องวางแผนและ ตัดสินใจในการดาเนินงาน และต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีประกอบการตัดสินใจเสมอ ซึ่ง ข้อมูลนั้นมิได้เกิดจากนักบัญชีคนใดคนหนึ่ง แต่เกิดจากนักบัญชีประสานงานร่วมกันจัดทาขึ้น นักบัญชี จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้มนุษยสัมพันธ์ และต้องมีจริยธรรมรวมถึงจรรยาบรรณวิชาชีพด้วย ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการทางานก็เป็นสิ่งสาคัญ เพราะข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีมีผู้ที่ใช้ประโยชน์จานวน มาก เช่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น แผนก/ฝ่ายอื่นๆ หน่วยงานราชการ หรือแม้แต่นักบัญชีด้วยกัน นักบัญชี จาเป็นต้องปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ความรู้ความสามารถ เทคนิควิธีการและทรัพยากร อย่างเหมาะสม ให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ถูกต้องครบถ้วน และทันต่อการใช้ประโยชน์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ทราบว่านักบัญชีมีจริยธรรมด้านการมีมนุษย สัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางานเป็นอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ปรับปรุง และพัฒนาการปฏิบัติงานของนักบัญชีต่อไป วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณ วิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณ วิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี จาแนกตามปัจจัยสภาพแวดล้อมส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพ บัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี

57


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

วิธีการวิจัย แนวคิ ด และทฤษฎี ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ได้ แ ก่ แนวคิ ด ด้ า นจริ ย ธรรมด้ า นการมี ม นุ ษ ยสั ม พั น ธ์ “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556: 303) เป็นหลักความ ประพฤติทั่วไปในสังคมที่ถือว่าถูกต้อง (ทองฟู ศิริวงศ์, 2554: 14) การที่บุคคลจะมีจริยธรรมในการ ดาเนินชีวิตจึงไม่จาเป็นที่สังคมจะต้องออกกฎระเบียบออกมา แต่เป็นสามัญสานึกของบุคคล ส่ วน “มนุษยสัมพันธ์” คือ ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556: 879) ถือได้ว่าเป็นหลักจริยธรรมอย่างหนึ่ง สามารถนามาใช้ให้เป็น ประโยชน์ในการบริหารงานได้ ทาให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายด้วยความราบรื่น เพราะได้รั บความ ร่วมมือจากผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี (ทองทิพภา วิริยะพันธุ์, 2550: 19-20) ในพระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่ช่วยให้บุคคลมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี คือ “สาราณียธรรม” ธรรม เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เคารพกัน ช่วยเหลือกัน สามัคคี (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2550: 437-438) มี 6 อย่าง ดังนี้คือ 1) เมตตากายกรรม คือ ช่วยเหลือกิจธุระด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยา สุภาพ เคารพนับถือกัน 2) เมตตาวจีกรรม คือ ช่วยบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอนตักเตือน กล่าว วาจาสุภาพ 3) เมตตามโนกรรม คือ จิตปรารถนาดี คิดทาแต่สิ่งดีต่อกัน มองกันในแง่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส 4) สาธารณโภคิตา คือ เมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรมก็ไม่หวง นามาแบ่งปันกัน 5) สีลสามัญญตา คือ มี ความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย และ 6) ทิฏฐิสามัญญตา คือ มีความเห็นชอบ ร่วมกันอันนาไปสู่การขจัดปัญหาและเพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้โดยง่าย ผู้ วิจัยจึงได้ประยุกต์เป็น จริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ 6 ด้าน คือด้านการแสดงออกทางกายต่อกัน ด้านการแสดงออก ทางวาจาต่อกัน ด้านการแสดงออกทางจิตใจต่อกัน ด้านการเสียสละและแบ่งปัน ด้านการประพฤติตน ตามกฎระเบียบและหน้าที่อันพึงกระทา และด้านความคิดเห็นและการใช้ดุลยพินิจตามลาดับ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี “จรรยาบรรณ” คือ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพ การงานแต่ ล ะอย่ า งก าหนดขึ้ น เพื่ อ รั ก ษาและส่ ง เสริ ม เกี ย รติ คุ ณ ชื่ อ เสี ย งและฐานะของสมาชิ ก (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556: 301) ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีได้ออกข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ 19) เรื่ อ ง จรรยาบรรณของผู้ ป ระกอบวิ ช าชี พ บั ญ ชี พ.ศ.2553 โดยอาศั ย อ านาจตามความใน พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมความประพฤติและการ ดาเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี สรุปได้ดังนี้คือ 1) ความโปร่งใส คือ การไม่ปกปิดบิดเบือน ข้อเท็จจริง 2) ความเป็นอิสระ คือ ใช้ดุลยพินิจโดยปราศจากอิทธิพลของบุคคลอื่น 3) ความเที่ยง ธรรม คือ ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม ไม่มีส่วนได้เสียในงาน ใช้ดุลยพินิจบนหลักฐานที่เชื่อถือได้โดย ไม่มีอคติ 4) ความซื่อสัตย์สุจริต คือ ปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมาตามหลักฐานที่เป็นจริง ไม่อ้างหรือ ยินยอมให้บุคคลอื่นอ้างว่าได้ปฏิบัติงานที่ไม่ได้ทาจริง 5) ความรู้ ความสามารถ คือ ใช้ความรู้ตาม มาตรฐานวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้วยความมีสติ ขยันหมั่นเพียร ระมัดระวังรอบคอบ และ

58


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเสมอ 6) มาตรฐานในการปฏิบัติงาน คือ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ และวิชาการที่เกี่ยวข้อง 7) การรักษาความลับ คือ ไม่นาข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรไปเปิดเผย หรื อใช้ ป ระโยชน์ โ ดยไม่ ไ ด้รั บ อนุ ญาต ยกเว้ นจะเปิ ดเผยตามสิ ทธิ ห น้า ที่ ตามกฏหมาย 8) ความ รับผิดชอบต่อผู้รับบริการ คือ ปฏิบัติงานตามกรอบวิชาชีพบัญชีต่อผู้รับบริการ 9) ความรับผิดชอบต่อ ผู้ถือหุ้ น ผู้ เป็น หุ้น ส่ วน บุคคลหรือนิติบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ให้ คือ ปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจ เปิดเผยความสัมพันธ์กับองค์กรหรือบุคคลอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ไม่ทาสิ่งที่ ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงองค์กร และ 10) ความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ และจรรยาบรรณ ทั่วไป คือ ไม่แย่งงาน ไม่ปฏิบัติงานเกินกว่าที่รับมอบหมาย ไม่ให้ข้อมูลเกินจริง ไม่เปรียบเทียบตน/ องค์กร กับผู้ประกอบวิชาชีพ/องค์กรอื่น ไม่ให้ผลประโยชน์จูงใจบุคคลอื่น ไม่เรี ยกผลประโยชน์จาก บุคคลอื่น ไม่กาหนดค่าตอบแทนเกินควร และไม่ปฏิบัติตนให้เกิดความเสื่อมเสีย ประสิทธิภาพการทางาน “ประสิ ท ธิ ภ าพ” คื อ ความสามารถที่ ท าให้ เ กิ ด ผลในงาน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556: 713) เป็นเรื่องของการใช้ปัจจัยและกระบวนการโดยมีผลผลิตเป็นตัว กากับ อาจแสดงค่าในลักษณะการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลกาไร ยิ่งมีผลกาไรสูงกว่าต้นทุนก็ยิ่ง แสดงถึ ง ประสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น และอาจไม่ แ สดงเป็ น ค่ า เชิ ง ตั ว เลข แต่ แ สดงด้ ว ยลั ก ษณะการใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่สูญเปล่าเกินความจาเป็น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์หรือเทคนิควิธีการปฏิบัติที่ เหมาะสม สามารถบังเกิดผลได้เร็ว ตรงและมีคุณภาพ (สมใจ ลักษณะ, 2542: 7) ดังนั้น ประสิทธิภาพ การทางานจึงเป็นความสามารถที่ทาให้เกิดผลในการทางานโดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมถึงการใช้ กลยุทธ์หรือเทคนิควิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสม นาไปสู่ผลของงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีคุณ ภาพ และผิดพลาดหรือสูญเปล่าน้อยที่สุด ทั้งนี้ การวัดประสิทธิภาพการทางาน ประกอบด้วย 3 ประเภท (สมใจ ลักษณะ, 2546: 8-9) ได้แก่ 1) ต้นทุนในการดาเนินงาน (Implementation Cost) การ ทางานมีประสิทธิภาพ ต้นทุนในการดาเนินงานต้องต่าและผลกาไรก็ตามมา ซึ่งธุรกิจต้องลดต้นทุ นให้ เหมาะสมแต่คุณภาพงานยังคงดี 2) ระยะเวลาที่ให้บริการ (Services Timing) ผู้บริหารจะต้องมีการ วางแผนให้เหมาะสม เพื่อให้มีเวลาเพียงพอกับการตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ และ 3) คุณภาพของการ ให้บริการ (Services Quality) เป็นแนวคิดที่มุ่งให้พนักงานทุกคนทางานของตนอย่างมี คุณภาพ รับผิดชอบคุณภาพของตนเองโดยไม่ต้องรอการตรวจสอบจากคนอื่น ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทาการศึกษาเอกสาร ตารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถ สรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย (Research Paradigm) ได้ตามภาพที่ 1

59


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ตัวแปรอิสระ Independent Variables

ตัวแปรตาม Dependent Variables

-

ปัจจัยสภาพแวดล้อมส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา ศาสนา สถานภาพสมรส อุตสาหกรรมหลักขององค์กร ประสบการณ์การทางาน ตาแหน่งงาน ระดับเงินเดือน จานวนพนักงานบัญชีในแผนกบัญชี

จริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านการแสดงออกทางกายต่อกัน (MHR1) ด้านการแสดงออกทางวาจาต่อกัน (MHR2) ด้านการแสดงออกทางจิตใจต่อกัน (MHR3) ด้านการเสียสละและแบ่งปัน (MHR4) ด้านการประพฤติตนตามกฎระเบียบ และหน้าที่อันพึงกระทา (MHR5)

- ด้านความคิดเห็นและการใช้ดุลยพินิจ (MHR6)

ประสิทธิภาพการทางาน - ด้านต้นทุนในการดาเนินงาน (WEA1)

จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ด้านความโปร่งใส (APE1) ด้านความเป็นอิสระ (APE2) ด้านความเที่ยงธรรม (APE3) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต (APE4) ด้านความรู้ ความสามารถ (APE5) ด้านมาตรฐานในการปฏิบัติงาน (APE6) ด้านการรักษาความลับ (APE7) ด้านความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ (APE8) ด้านความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้ (APE9) - ด้านความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ และจรรยาบรรณทั่วไป (APE10)

-

- ด้านระยะเวลาในการดาเนินงาน (WEA2) - ด้านคุณภาพของการปฏิบัติงาน (WEA3)

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย (Research Paradigm) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงสารวจ โดยใช้แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์มาจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คาถามเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมส่วนบุคคล มีลักษณะเป็นคาถามปลายปิดแบบ เลือกตอบหรือตรวจสอบรายการ และคาถามปลายเปิดในบางข้อคาถาม ส่วนที่ 2-4 คาถามเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และ ประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ แบบ Likert Scale (ระดับ 1-5 คือ น้อยที่สุด-มากที่สุด) ส่วนที่ 5 คาถามเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีลักษณะเป็นคาถามปลายเปิด จากการทดสอบคุณภาพเครื่องมือกับนักบัญชีที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 30 คน โดยวิเคราะห์หาค่า ความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยวิธี Cronbach’s Alpha Coefficient พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของแบบสอบถามในส่วนจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ มีค่าระหว่าง 0.759-0.858 จรรยาบรรณ วิชาชีพบัญชี มีค่าระหว่าง 0.771-0.918 และประสิทธิภาพการทางาน มีค่าระหว่าง 0.763-0.924

60


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ประชากรในการวิจัย คือ นักบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร จานวนบริษัทฯ ณ วันที่ 4 พ.ย. 2556 มี 478 บริษัท (ตลาดหลักทรัพย์แห่ ง ประเทศไทย, 2556) กาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคานวณกรณีไม่ทราบขนาดประชากร ของ Cochran (1977) ด้วยความเชื่อมั่น 95% ต้องสุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 385 คน (กัลยา วานิชย์ บัญชา, 2554: 13-14) โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ร่วมกับการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ระหว่าง เดือนมกราคม–เมษายน พ.ศ.2557 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสถิติสาเร็จรูป โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่า ร้ อ ยละ ค่ า เฉลี่ ย ส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน เปรี ย บเที ย บความคิ ด เห็ น ต่ า งๆ จ าแนกตามปั จ จั ย สภาพแวดล้อมส่วนบุคคลด้วย t-test และ ANOVA ทดสอบและสร้างสมการพยากรณ์ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และ วิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) กาหนดระดับนัยสาคัญที่ 0.05 ผลการวิจัย 1. ข้อมูลด้านปัจจัยสภาพแวดล้อมส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม สามารถสรุปได้คือ ผู้ตอบแบบสอบถาม 385 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (67.53%) มีอายุระหว่าง 29-36 ปี (31.69%) ระดับ การศึกษาปริ ญญาตรี (66.75%) นับถือศาสนาพุทธ (98.96%) สถานภาพโสด (56.62%) ทางานในบริ ษัทที่มีอุตสาหกรรมหลักคือบริ การ (28.05%) ประสบการณ์การทางานไม่เกิน 6 ปี (52.99%) มีตาแหน่งงานระดับปฏิบัติงานทั่วไป (76.88%) ระดับเงินเดือนในปัจจุบันมากกว่า 30,000 บาท (34.29%) ทางานในแผนกบัญชีที่มีนักบัญชีจานวนไม่เกิน 10 คน (47.27%) 2. ข้อมูลด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพ บัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี สามารถสรุปได้ดังนี้ 2.1 นักบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ของนักบัญชี โดยภาพรวม (MHRT) อยู่ในระดับมาก ( X = 4.04) และอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลาดับจาก ค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้คือ ด้านการประพฤติตนตามกฎระเบียบและหน้าที่อันพึงกระทา (MHR5) ( X = 4.19) ด้านการแสดงออกทางกายต่อกัน (MHR1) ( X = 4.11) ด้านการเสียสละและแบ่งปัน (MHR4) ( X = 4.06) ด้านความคิดเห็นและการใช้ดุลยพินิจ (MHR6) ( X = 4.03) ด้านการแสดงออก ทางวาจาต่อกัน (MHR2) ( X = 3.94) และด้านการแสดงออกทางจิตใจต่อกัน (MHR3) ( X = 3.92) ตามลาดับ 2.2 นั กบั ญชี มีค วามคิด เห็ นเกี่ย วกั บจรรยาบรรณวิ ช าชีพ บัญชี ของนั กบั ญชี โ ดย ภาพรวม (APET) อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.35) และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลาดับจาก ค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้คือ ด้านการรักษาความลับ (APE7) ( X = 4.50) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต

61


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

(APE4) ( X = 4.47) ด้านความโปร่งใส (APE1) ( X = 4.45) ด้านความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ (APE8) ( X = 4.35) ด้านความเที่ยงธรรม (APE3) และด้านมาตรฐานในการปฏิบัติงาน (APE6) ( X = 4.32) ด้านความรู้ ความสามารถ (APE5) และด้านความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้ (APE9) ( X = 4.30) ด้านความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ และจรรยาบรรณทั่วไป (APE10) ( X = 4.29) และด้านความเป็นอิสระ (APE2) ( X = 4.22) ตามลาดับ 2.3 นักบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชีโดยภาพ รวมอยู่ในระดับมาก (WEAT) ( X = 4.14) และรายด้านเรียงลาดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้คือ ด้านระยะเวลาในการดาเนินงาน (WEA2) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.23) รองลงมา คือด้านคุณภาพของการปฏิบัติงาน (WEA3) ( X = 4.12) และด้านต้นทุนในการดาเนินงาน (WEA1) ( X = 4.10) ซึ่งมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ตามลาดับ 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักบัญชีที่มีปัจจัยสภาพแวดล้อมส่วนบุคคลแตกต่างกัน 3.1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ โดยภาพรวมพบว่า นัก บัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา และระดับเงินเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็ นแตกต่างกันอย่างมี นัยสาคัญที่ระดับ 0.01 และนักบัญชีที่มีสถานภาพสมรสและอุตสาหกรรมหลักขององค์กรแตกต่างกัน มีความคิดเห็ นแตกต่างกัน อย่ างมีนัยส าคัญที่ระดับ 0.05 ส่ว นปัจจัยสภาพแวดล้ อมอื่นๆ มีความ คิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี โดยภาพรวมพบว่า นักบัญชีที่มี อายุและระดับเงินเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.01 ส่วน ปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่นๆ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3.3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทางาน โดยภาพรวมพบว่า นักบัญชีที่มี อายุและระดับเงินเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.01 และนัก บัญชีที่มีอุตสาหกรรมหลักขององค์กร ประสบการณ์การทางาน และจานวนพนักงานบัญชีในแผนก บัญชีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อม อื่นๆ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 4. การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอยแบบพหุคูณ ระหว่างจริยธรรมด้านการมีมนุษย สัมพันธ์ และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี โดยภาพรวมพบว่า จริยธรรมด้านการมีมนุษย สัมพัน ธ์ ในด้านการประพฤติตนตามกฎระเบียบและหน้าที่อันพึงกระทา (MHR5) และด้านความ คิดเห็ นและการใช้ดุล ยพินิจ (MHR6) มีความสั มพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิ ทธิภาพการ ทางาน (WEAT) อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.01 และในด้านการเสียสละและแบ่งปัน (MHR4) มี ความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทางาน (WEAT) อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ

62


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

0.05 สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการทางานโดยภาพรวมได้ 43.1% (R2 = 0.431, p-value = 0.00) ได้ตามสมการถดถอย (ภาพที่ 2) ดังนี้ WEAT = 1.943 + 0.211 MHR 4+ 0.211 MHR 1+ 0.404 MHR6 ภาพที่ 2 สมการพยากรณ์ประสิทธิภาพการทางานจากจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จากสมการ (ภาพที่ 2) มี ค่ า คงที่ เ ท่ า กั บ 1.349 โดยความสามารถพยากรณ์ ประสิทธิภาพการทางาน จริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ในด้านการเสียสละและแบ่งปัน (MHR4) สามารถพยากรณ์ได้ 12.2% ด้านการประพฤติตนตามกฎระเบียบและหน้าที่อันพึงกระทา (MHR5) สามารถพยากรณ์ได้ 15.5% และด้านความคิดเห็นและการใช้ดุลยพินิจ (MHR6) สามารถพยากรณ์ได้ 40.8% 5) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอยแบบพหุคูณ ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี โดยภาพรวมพบว่า จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในด้านความ เป็นอิสระ (APE2) ด้านความรู้ ความสามารถ (APE5) ด้านมาตรฐานในการปฏิบัติงาน (APE6) และ ด้านความรั บผิ ดชอบต่อผู้ ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่ว น บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ปฏิบัติห น้าที่ให้ (APE9) มี ความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทางาน (WEAT) อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.01 สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการทางานโดยภาพรวมได้ 69.1% (R2 = 0.691, p-value = 0.00) ได้ตามสมการถดถอย (ภาพที่ 3) ดังนี้ WEAT = 0.814 + 0.221 APE1 + 0.211 APE1 + 0.183 APE6 + 0.122 APE9 ภาพที่ 3 สมการพยากรณ์ประสิทธิภาพการทางานจากจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี จากสมการ (ภาพที่ 3) มีค่าคงที่เท่ากับ 0.658 โดยความสามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการ ทางาน จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในด้านความเป็นอิสระ (APE2) สามารถพยากรณ์ได้ 11.2% ด้าน ความรู้ ความสามารถ (APE5) สามารถพยากรณ์ได้ 15.2% ด้านมาตรฐานในการปฏิบัติงาน (APE6) สามารถพยากรณ์ได้ 26.9% และด้านความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้ (APE9) สามารถพยากรณ์ได้ 27.7% สรุปและอภิปรายผล ในการวิจัยครั้งนี้ นักบัญชีคิดเห็นว่าจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ของนักบัญชีอยู่ใน ระดั บ มาก สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ อติภ า พลเรื อ งทอง (2551) ซึ่ ง พบว่ า นั กบั ญ ชี คิ ด เห็ น ว่ า ความสามารถทางการปฏิบัติงานด้านการทางานร่วมกับผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก และ ระวีว รรณ์ ศรี สุ ว รรณ์ (2552) ซึ่ง พบว่านั กบัญชีคิ ดเห็ นว่ าคุณลั ก ษณะทางการบริห ารด้ านความ

63


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงานและสัมพันธภาพระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่านักบัญชีมีมนุษยสัมพันธ์อันดี ทั้งระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันและระหว่างผู้บังคับบัญชา ส่วนจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี นักบัญชีคิดเห็นว่าจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีอยู่ใน ระดับมากที่สุด ต่างจากงานวิจัยของ วัลลภ บัวชุม) 2550 (ซึ่งนักลงทุนคิดว่านักบัญชีมีจรรยาบรรณ วิ ช าชี พ ในระดั บ ปานกลาง และพบว่ า มี ร ะดั บ ความคาดหวั ง สู ง กว่ า ระดั บ ความคิ ด เห็ น ที่ มี ต่ อ จรรยาบรรณวิชาชีพของนักบัญชี เห็นได้ว่าในมุมมองของนักบัญชีคิดว่าได้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ วิชาชีพมากแล้ว แต่มุมมองของนักลงทุนในฐานะเป็นผู้ใช้ผลงานมีความคาดหวังไว้สูง จึงคิดว่านัก บัญชีมีจรรยาบรรณวิชาชีพยังไม่มากพอ เพราะต้องการความน่าเชื่อถือในการใช้ผลงานนั่นเอง ดังนั้น นักบัญชีควรมีจรรยาบรรณวิชาชีพให้เป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้จะต้องควบคู่ไปกับความรู้ทางด้านเทคนิค เพราะคนที่เก่งด้านเทคนิ คแต่ไม่มีจรรยาบรรณจะเป็นอันตรายต่อสังคมสู ง ) Atkinson, 2002) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีจึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับการปลูกฝังและถือปฏิบัติ แม้จะมีปัจจัยอื่นแทรกแซงก็ ตาม ซึ่งงานวิจัยของ สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์ ) 2549 (พบว่า การปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีมี อุปสรรค เช่น ความโลภ การขาดจิตสานึก ขาดความรับผิดชอบ ระบบการควบคุมคุณภาพที่ไม่มี ประสิทธิภาพเพียงพอ และเจ้าของธุรกิจไม่เห็นถึงความสาคัญของงานด้านบัญชี เป็นต้น นอกจากนี้ นั ก บั ญชี คิดเห็ นว่ าประสิ ท ธิภ าพการทางานของนักบั ญชีอ ยู่ในระดั บมาก ซึ่ ง สอดคล้องกับงานวิจัยที่ได้เคยศึกษาประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี เช่น งานวิจัยของ โคมทอง ถานอาดนา ) 2548 (ประภาพร ศาลารมย์ ) 2549 (ประสงค์ ตระกูลแสงเงิน ) 2550 (อติภา พลเรือง ทอง) 2551 (และศุภมิตร พินิจการ) 2552 (เป็นต้น ซึ่งพบว่าอยู่ในระดับมากเช่นกัน จากการวิจัยนี้ พบว่า จริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ในด้านการเสียสละและแบ่งปัน ด้าน การประพฤติตนตามกฎระเบียบและหน้าที่อันพึงกระทา และด้านความคิดเห็นและการใช้ดุลยพินิจ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในด้านความเป็นอิสระ ด้านความรู้ ความสามารถ ด้านมาตรฐานในการ ปฏิบัติงาน และด้านความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้ มีความสัมพัน ธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิ ทธิภ าพการทางาน ดังนั้นนักบัญชีจึงควรมีมนุษย สัมพันธ์ต่อกันโดยมีความเสียสละ ประพฤติตนในสิ่งที่พึงกระทา มีความคิดเห็นและใช้ดุลยพินิจอย่าง มีเหตุผลในการปฏิบัติงานเป็นหลักจะช่วยให้การทางานนั้นราบรื่นยิ่งขึ้น ประกอบกับการยึดมั่นใน ความเป็นอิสระของหน้าที่โดยปราศจากอิทธิพลของบุคคลอื่น ใช้ความรู้ความสามารถ มีมาตรฐานใน การปฏิบัติงาน และสานึกในความรับผิดชอบของตน จะทาให้มีผลงานที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน ด้วย ความประหยั ด คุ้ ม ค่ า รวดเร็ ว ตรงไปตรงมา น่ า เชื่ อ ถื อ และน าไปใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ ซึ่ ง แสดงถึ ง ประสิทธิภาพในการทางานอันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

64


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีดังนี้ 1) ควรมีการศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่อาจจะเกี่ยวข้องและส่งผลต่อการมีจริยธรรม ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางาน 2) ควรขยายหรือลดขอบเขตของการวิจัย เพื่อให้เห็นผลที่กว้างขึ้นหรือเจาะจงเฉพาะกลุ่ม เช่น ทาการศึกษารวมไปถึงบริษัทในพื้นที่ต่างจังหวัด หรือเจาะจงบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง 3) ควรทาการศึกษาถึงความคิดเห็นของบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร ผู้ตรวจสอบ ภายใน นักลงทุน และพนักงานในฝ่ายอื่นๆ เพื่อให้ได้มุมมองที่แตกต่างจากบุคคลที่มีสถานะต่างกัน 4) ควรเปลี่ยนลักษณะกลุ่มธุรกิจในการวิจัย เช่น กลุ่มธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เห็นถึงความ แตกต่างของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในองค์กรที่มีลักษณะแตกต่างกัน บรรณานุกรม กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร. ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี(ฉบับที่ 23)เรื่อง จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 1119. (2553). ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2556, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/2553/E/127/68.PDF โคมทอง ถานอาดนา. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพและประสิทธิภาพการ ทางานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญา บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. ค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.set.or.th/listedcompany/static/listed Companies_th_TH.xls ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก. ทองฟู ศิริวงศ์. (2554). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ประภาพร ศาลารมย์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติในการทางาน คุณภาพชีวิตในการ ทางาน และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

65


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ประสงค์ ตระกูลแสงเงิน. (2550). ประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ฝ่ายกิจการส.9). การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้ง ที่ 11. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์. __________________________. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.1142. (2547). ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2556, จาก http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00149103.PDF ระวีวรรณ์ ศรีสุวรรณ์. (2552). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกบัญชีและ ประมวลผล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขนงวิชา บริหารธุรกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.1114. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. วัลลภ บัวชุม. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ความคาดหวังของนักลงทุนต่อ จริยธรรมของนักบัญชี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต. ศุภมิตร พินิจการ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักกับประสิทธิภาพการทางานของนัก บัญชีกรมสรรพสามิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สมใจ ลักษณะ. (2542). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทางาน (Efficiency Development). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. ___________. (2546). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทางาน. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์. สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์. (2549). แนวทางการปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย. ดุษฎี นิพนธ์ปริญญาการจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. อติภา พลเรืองทอง. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการปฏิบัติงานกับ ประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชีธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภทกิจการ สาธารณูปโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Atkinson, A. S. (2002). Ethics in Financial Reporting and the Corporate Communication Professional. Corporate Communications: An International Journal 7 (4): 212-218. Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. 3rd edition. United States of America: John Wiley & Sons.

66


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดกับประสิทธิภาพในการทางาน ของคนงานเก็บ ขนมูลฝอยในเทศบาลต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี Relationship between Work Stress and Work Efficiency of Waste Collectors in Municipal Areas of Nonthaburi Province รักพงศ์ พยัคฆาคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดรอานัติ ตะปันตา. นักศึกษา วิทยาศาสตรมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โทร 8640418-980; payakk@hotmail.com Rakpong Payakkakom Assistant Professor Anat Thapinta, Ph.D. Graduated Student; Master of Science; Suansunandha Rajabhat University บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดกับประสิทธิภาพในการ ทางานของคนงานเก็บ ขนมูล ฝอยในเทศบาลต่างๆ ในจังหวัดนนทบุรีและเพื่อเปรียบเทียบภาวะ ความเครียดและประสิทธิภาพในการทางานจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วยเพศ อายุ รายได้และสวัสดิการ จานวนสมาชิกในครอบครัว ตาแหน่งในการทางาน อายุง าน และจานวนรอบใน การทางาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่คนงานเก็บขนมูลฝอยจานวนทั้งสิ้น 251 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความ แปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจั ยพบว่า 1) กลุ่ มตัวอย่างที่มีเพศ จานวนสมาชิกในครอบครัว ตาแหน่งในการทางานและ จานวนรอบในการทางานต่างกันมีภาวะความเครียดในการทางานไม่แตกต่างกัน [Sig. เท่ากับ .57, .15, .66 และ .46 > α (.05)] ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ รายได้และสวัสดิการ และอายุงานต่างกัน มีภาวะ ความเครียดในการทางานแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 [Sig. เท่ากับ .000 < α (.01)] 2) กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ มี เ พศ ต าแหน่ ง ในการท างานและจ านวนรอบในการท างานต่ า งกั น มี ประสิทธิภาพในการทางานไม่แตกต่างกัน [Sig. เท่ากับ .69, .19 และ .57 > α (.05)] ในขณะที่กลุ่ม ตัวอย่างที่มีอายุ รายได้และสวัสดิการ จานวนสมาชิกในครอบครัว และอายุงานต่างกัน มีประสิทธิภาพ ในการทางานแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 [Sig. เท่ากับ .000 < α (.01)] 3) ภาวะ ความเครียดกับประสิทธิภาพในการทางาน มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ าม (r เท่ากับ -0.574)

67


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

กล่ าวคื อ เมื่ อภาวะความเครี ยดเพิ่มขึ้ นจะท าให้ ประสิ ทธิ ภ าพในการท างานลดลง และเมื่ อภาวะ ความเครียดลดลงจะทาให้ประสิทธิภาพในการทางานเพิ่มขึ้น คาสาคัญ : ภาวะความเครียดในการทางาน ประสิทธิภาพในการทางาน คนงานเก็บขนมูลฝอย Abstract This research focused on the study of relationship between work stress and work efficiency of waste collectors in various municipal areas of Nonthaburi province. It also aimed to compare the difference between work stress and work efficiency depending on personal factors of sample group which included sex, age, income & welfare, family composition, job position, years of employment and numbers of shift. The sample size of this study was 251 waste collectors. Questionnaires were used as the equipment for data collection together with statistical methods (mean, standard deviation, t-Test, one-way ANOVA and Pearson’s product moment correlation coefficient) for data analysis. As a result of the study, it was found that 1) Samples whose different sex, family composition, job position and numbers of shift had not statistical difference in work stress [Sig. = .57, .15, .66 and .46 > α (.05)] but those whose different age, income & welfare, and years of employment had statistical difference in work stress at the significant level of .01 [Sig. = .000 < α (.01)], 2) Samples whose different sex, job position and numbers of shift had not statistical difference in work efficiency [Sig. = .69, .19 and .57 > α (.05)] but those whose different age, income & welfare, family composition and years of employment had statistical difference in work efficiency at the significant level of .01 [Sig. = .000 < α (.01)], and 3) There was significant reverse relationship between work stress and work efficiency of waste collectors (r = -0.574). It means that when work stress increase, work efficiency will decrease. On the other hand, when work stress decrease, work efficiency will increase. Keywords : Work Stress, Work Efficiency, Waste Collectors

68


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

บทนา สถานการณ์มูลฝอยของไทยตามรายงานของกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ในช่วง 10 ปี ที่ผ่าน มาประเทศไทยมีปริมาณมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นมูลฝอยชุมชนที่มีปริมาณมากที่สุดของ ประเทศไทย โดยปี 2555 มีมูลฝอยประมาณ 16 ล้านตัน ซึ่งมูลฝอยกลุ่มนี้กาจัดอย่างถูกวิธีตามหลัก วิชาการเพียง 5.8 ล้านตัน (ร้อยละ 36) ที่เหลืออีกกว่า 10 ล้านตัน กาจัดโดยการเผาทิ้ง กองทิ้งในบ่อ ดิน (กรมควบคุมมลพิษ, 2556) โดยเขตกรุงเทพมหานคร มีปริมาณมูลฝอย 9,237 ตันต่อวัน คิดเป็น ร้อยละ 22 เขตเทศบาลมีปริมาณมูลฝอย 17,475 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 40 และองค์การบริหาร ส่วนตาบลมีปริมาณมูลฝอย 16,715 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 38 พบว่าสัดส่วนของมูลฝอยในเขต เทศบาลมากที่สุด จั งหวัดนนทบุ รี เป็ น จั ง หวัดหนึ่งที่ตั้ งอยู่ในเขตปริมณฑล มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยเป็ น จานวนมากขึ้น เนื่องจากเป็นชุมชนเมืองมีพื้นที่ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีการคมนาคมที่สะดวก มี การย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีเพิ่มขึ้น จึงทาให้เกิดเป็นสังคมเมือง มีการใช้ ทรัพยากรในการอุปโภคและบริโภคเป็นจานวนมาก ปัญหาด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมจึงเกิดขึ้น ตามมา ทั้งทางด้านอากาศเสีย น้าเสีย และมูลฝอย จึงเป็นภาระและหน้าที่ของหน่วยงานของภาครัฐที่ จะเข้ามาแก้ปัญหามลภาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องใกล้ตัวของประชาชนต่อปัญหาด้านมูลฝอย การขับเคลื่อนกระบวนการกาจัดมูลฝอย จาเป็นต้องมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การเริ่มต้น กระบวนการ การวางแผนการบริหารจัดการมูลฝอยเขตในพื้นที่ความรับผิดชอบ ซึ่งหมายรวมตั้งแต่ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม (องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี, 2556) คนงาน เก็บขนมูลฝอย ซึ่งรับผิดชอบหน้าที่ในกระบวนการเริ่มต้นของการกาจัดมูลฝอย คือการรวบรวม เก็บ ขน อาจรวมถึงการคัดแยกมูลฝอยด้วย ในการจั ดเก็บ มูล ฝอยของเทศบาลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีทั้ง 11 แห่ ง มีพื้นที่ครอบคลุ ม 171.9 ตารางกิโ ลเมตร มีร ถในการจัดเก็ บมูลฝอย 220 คัน ในปี 2556 มีปริมาณมูล ฝอยเกิดขึ้น ประมาณ 409,655.535 ตัน ต่อปีหรือ วันละประมาณ 1,034.292 ตัน (องค์การบริหารส่วนจังหวัด นนทบุรี, 2556) มูลฝอยที่เกิดขึ้นมีปริมาณมาก ไม่สามารถจัดเก็บได้ทันตามกาหนดเวลา ทาให้เกิดมูล ฝอยตกค้างในพื้นที่ พนักงานเก็บขนมูลฝอยจึงต้องรับภาระงานที่หนัก บุคลากรไม่เพียงพอจึงอาจเป็น สาเหตุให้เกิดความเครียดต่อการทางานและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการของการกาจัดมูลฝอย ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพของคนงานเก็บขนมูล ฝอยจาเป็นต้องศึกษาปัจจัยด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทางานของคนงาน ความ กดดันจากภาระงานที่เกินความสามารถที่จะทาให้สาเร็จลุล่วงทันตามเวลาที่กาหนด การทางานกับสิ่ง ปฏิกูลที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งทางด้านความสะอาดและกลิ่น จึงทาให้เกิดความเครียดใน การ ทางาน ความเครียดเป็นปฏิกิริยาของร่างกายและจิตใจที่ตอบสนองต่อความกดดันทั้งภายในร่างกาย

69


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

และสภาพแวดล้อมภายนอก (กรมสุขภาพจิต, 2551) การอยู่ในภาวะกดดันจากสภาพแวดล้อม เช่น ความรับผิดชอบในหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ซึ่งความเครียดเป็นผลมาจากการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Kneisl & Wilson, 1996) เป็นปฏิสัมพันธ์ที่กระตุ้นและตอบสนองซึ่งกันและกัน เมื่อขาดสมดุลจะทาให้เกิดความเครียด ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ กระบวนการคิด สุขภาพและศักยภาพในการปฏิบัติงาน (กรมสุขภาพจิต, 2551) ส่งผลให้ขาดความเชื่อมั่นในการทางานเกิดอุบัติเหตุในการทางาน ขาดความรอบครอบในการทางาน และมักจะทางานผิดพลาดเสมอ ทางานไม่เสร็จตามกาหนด หมดสมรรถภาพในการทางาน (Reithz, 1981) ในด้านการดาเนินงานของเทศบาลแต่ละแห่งเพื่อนามูลฝอยไปยังสถานที่กาจัดมูลฝอยของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีซึ่งมีระยะตั้งแต่ 10 กิโลเมตรถึง 38 กิโลเมตร ทาให้ภาระตกกับ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในการเก็บขนมูลฝอยที่ต้องทางานวันละ 1- 2 เที่ยวต่อคัน เป็นเวลา 8 ชั่วโมง เพื่อให้ทันกับงานที่ได้รับมอบหมาย จากสถานการณ์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทาให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับประสิทธิภาพในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอย เพื่อเป็น ข้อมูลพื้นฐานส าหรับองค์กร หน่วยงาน และเขตเทศบาล ในการนาไปใช้เป็นแนวทางบริหารงาน บุคคล สนับสนุนการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอย ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางานที่สอดคล้อง กั บ ปั จ จุ บั น เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพในการท างาน เป็ น ประโยชน์ ต่ อ หน่ ว ยงานและสั ง คม และ สิ่งแวดล้อมต่อไป วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบภาวะความเครียดในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาล ต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาลต่างๆ ใน พื้นที่จังหวัดนนทบุรีจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดในการทางานกับประสิทธิภาพในการ ทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาลต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี วิธีการวิจัย วรรณกรรมด้ า นแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ ภาวะความเครี ย ด ได้ แ ก่ เมื่ อ ร่ า งกายถู ก ควบคุ ม ด้ ว ย ความเครีย ดหรือทาให้เกิดความเครียด ทาให้ ร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงไป ขาดสมดุลและเมื่อ ร่างกายถูกคุกคามจะทาให้เกิดการตอบสนอง มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ชีววิทยาและชีวเคมี ของร่างกาย และการตอบสนองของการปรับตัวนั้นอาจออกมาในทางบวกหรือลบก็ได้ มนุษย์อาจ ปรับตัวหรือหลีกเลี่ยง ป้องกันกับสิ่งที่มากระตุ้นให้เกิดความเครียด ต่อสิ่งเร้าก่อให้เกิดความเครียดใน

70


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

แต่ละบุคคลแตกต่างกันตามปัจจัยภายใน เช่น อายุ เพศ พันธุกรรม ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น การ รักษาด้วยฮอร์โมน ยาและอาหาร นอกจากนี้ ความเครียดหลายๆชนิดที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ซึ่งจะเพิ่ม การกระตุ้นความเครียด มีผลทาให้การต้านทานต่อสิ่งเร้าที่ทาให้เกิดความเครียดลดลง (Selye, 1976) โดยภาวะความเครียดจากการทางาน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในหลายปัจจัยทั้งด้าน องค์กร บุคคลที่เกิดจากการปรับสมดุลชีวิตของแต่ละบุคคล เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย จากการทางาน หนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ การกระทบกระทั่งในระหว่างคู่ชีวิต ญาติและบุตร การเป็นหนี้เป็นสิน ไม่พึง พอใจในกฎระเบี ย บและการกระท าของผู้ บ ริ ห าร และสั ง คมอั นเกิ ด จากมี ก ารเปลี่ ย นแปลงจาก ครอบครัวรวมเป็นครอบครัวขยายหรือครอบครัวเดี่ยว ต่างคนต่างอยู่ ความสัมพันธ์ทางญาติผู้ใหญ่ ลดลง เปลี่ยนจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง เปลี่ยนจากกสิกรรมเป็นอุตสาหกรรม ต่างเข้ามาหางาน ทาในเมืองใหญ่ๆ ปัจจัยที่ทาให้เกิดภาวะความเครียดในการปฏิบัติงาน ซึ่งในการปฏิบัติงานต้องเข้าไป อยู่ในสภาพการทางานเฉพาะอย่างต้องเผชิญกับสิ่งกดดันต่างๆ จากสภาพแวดล้อมของการทางาน ซึ่ง มีอิ ทธิ พ ลต่ อร่ า งกายและจิ ตใจมาก ทาให้ เ กิด ความไม่ พอใจในงาน และเกิ ด ความเครี ยดในการ ปฏิบัติงาน โดยจาแนกปัจจัยที่ทาให้เกิดความเครียด ในการปฏิบัติงานดังนี้ ความมั่นคงปลอดภัย โอกาสก้าวหน้าในการทางาน สถานที่ทางานและการจัดการ ลักษณะของงานที่ทา สภาพการทางาน สิ่งตอบแทนหรือผลประโยชน์ต่างๆ ปฏิบัติงาน (Gilmer, V. Haller B. Gilmer, 1966) แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทางาน คือ สามารถปฏิบัติงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ความ พยายามในการทางานของบุคคล แสดงว่า ความตั้งใจในการทางานอย่างเต็มที่ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับ ความยินดีที่จะทางาน ซึ่งขึ้นอยู่กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและจะส่งผลกระทบต่อความสาเร็จของ งาน การสนับสนุนจากองค์กร คือค่าตอบแทน วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน การได้รับการนิเทศ การประเมินผลที่มีความยุติธรรม การบริหารงานแบบมีส่วน ร่วม รวมทั้งการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานคือความพร้อม และความพยายามรวมไปความสามารถที่จะปฏิบัติงานให้สาเร็จ และผลที่ได้จากประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานว่าเป็นการเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้จากการทางานว่าดีขึ้นอย่างไรแค่ไหน ในขณะกาลังทางานตามเป้าหมายขององค์การ ความมีประสิทธิภาพจึงหมายถึง การมีสมรรถนะสูง สามารถมีระบบการทางานสร้างสมทรัพยากรและความมั่งคั่งเก็บไว้ภายใน เพื่อขยายตัวต่อไปและเพื่อ ไว้สาหรับรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดวิกฤติจากภายนอกได้ด้วย (ธงชัย สันติวงษ์, 2543) กล่าวโดยสรุป จากการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้นามาประยุกต์โดยรวบรวมจากทฤษฎี ทั้งหมดเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดกับประสิทธิภาพในการทางานของคนงาน เก็บขนมูลฝอยในเทศบาลพื้นที่จังหวัดนนทบุรีแบ่งเป็นภาวะความเครียดของคนงานเก็บขนมูลฝอย และประสิทธิภาพในการทางาน กับปัจจัยส่วนบุคคล

71


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ รายได้และสวัสดิการ จานวนสมาชิกในครอบครัว ตาแหน่ง ในการทางาน อายุงาน จานวนรอบในการทางาน ส่งผลต่อภาวะความเครียดของคนงานเก็บขนมูล ฝอย คื อ ความเครี ย ดด้ า นร่ า งกาย ความเครี ย ดด้ า นจิ ต ใจ ความเครี ย ดด้ า นการท างาน และ ประสิทธิภาพในการทางาน คือ ปริมาณงานคุณภาพงาน ความพอใจในงาน และความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะความเครียดของคนงานเก็บขนมูลฝอยกับประสิทธิภาพในการทางาน กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ปจั จัยส่วนบุคคล .1 เพศ .2 อายุ .3 รายได้และสวัสดิการ .4 จานวนสมาชิกในครอบครัว .5 ตาแหน่งในการทางาน .6 อายุงาน .7จานวนรอบในการทางาน

ภาวะความเครียดในการทางานของคนงาน เก็บขนมูล ฝอย .1ความเครียดทางด้านร่างกาย .2ความเครียดทางด้านจิตใจ .3 ความเครียดด้านการทางาน

ประสิทธิภาพในการทางาน .1ปริมาณงาน .2คุณภาพงาน .3 ความพอใจในงาน

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ คนงานเก็บขนมูลฝอยที่ทางานอยู่ในเขตเทศบาลต่างๆใน พื้นที่จังหวัดนนทบุรีทั้งหมด 11 เทศบาลคือ เทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาล เมืองบางบัวทอง เทศบาลเมืองบางกรวย เทศบาลเมืองบางศรีเมือง เทศบาลตาบลปลายบาง เทศบาล ตาบลไทรม้า เทศบาลตาบลบางใหญ่ เทศบาลตาบลศาลากลาง เทศบาลตาบลบางม่วงและเทศบาล ตาบลไทรน้อย จานวน 628 คน ทั้งนี้ จากการคานวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้จานวนกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 244.36 ในการวิจัยได้กาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคนงานเก็บขนมูลฝอยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ซึ่ง เท่ากับ 7 คนรวมเป็น 251 คน การสุ่มตัวอย่าง ใช้วิวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) โดยการเลือกสุ่มตัวอย่างจากประชากรในแต่ละเทศบาล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ ง่าย (Simple Random Sampling) โดยจะสุ่มจากประชากรที่อยู่ในแต่ละเขตเทศบาลทั้งหมด 11 เทศบาล ด้วยวิธีการจับฉลากแบบไม่กลับคืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย

72


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะความเครี ยดในการทางานโดยแบ่งเกณฑ์การวัดเป็น 5 ระดับ มากที่สุดถึงน้อยที่สุด โดยมากที่สุดแสดงถึงมีระดับภาวะความเครียดมากที่สุดและน้อยที่สุด แสดงถึงมีระดับภาวะความเครียดน้อยที่สุด และแบ่งปัจจัยความเครียดเป็น 3 ด้าน คือ ความเครียด ทางด้านร่างกาย เช่น มีปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ ความเครียดทางด้านจิตใจ เช่น ไม่มีความ ภูมิใจในอาชีพที่ทางาน และความเครียดด้านการทางาน เช่น รู้สึกไม่ปลอดภัยในการทางาน ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภ าพในการทางานโดยแบ่งเกณฑ์การวัดเป็น 5 ระดับ มากที่สุดถึงน้อยที่สุด โดยมากที่สุดแสดงถึงมีระดับประสิทธิภาพในการทางานมากที่สุดและ น้อยที่สุดแสดงถึงมีระดับประสิทธิภาพในการทางานน้อยที่สุด และแบ่งปัจจัยประสิทธิภาพในการ ทางาน แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ปริมาณงาน เช่น ความเหมาะสมของปริมาณงาน คุณภาพงาน เช่น ท่าน สามารถทางานในความรั บ ผิ ดชอบได้ส าเร็จตามเป้าหมาย ความพอใจในงาน เช่น ท่านต้องการ ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่า t (Independent t-test) การทดสอบความ แปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance: One - way ANOVA) และการทดสอบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย สามารถสรุปผลการวิจัย แยกออกเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ปัจ จัยต่าง ๆ เกี่ยวกับคนงานเก็บขนมูล ฝอยในเทศบาลต่างๆในพื้นที่ จังหวัดนนทบุรี ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จานวน 231 คน คิดเป็นร้อยละ 92.00 มี อายุ 41 ปีขึ้นไป จานวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 44.60 มีรายได้และสวัสดิการ 8,001 - 10,000บาท จานวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 40.20 มีจานวนสมาชิกในครอบครัว จานวน 4 คน มีจานวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 29.50 ตาแหน่งในการทางานเป็นคนขับรถบรรทุกมูลฝอย จานวน 131 คน คิดเป็น ร้อยละ 52.20 อายุงาน 5 - 10 ปี จานวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 28.30 และจานวนรอบในการ ทางาน 1 รอบ จานวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 84.50 ตามลาดับ 2. ผลวิเคราะห์ระดับภาวะความเครียดในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาล ต่างๆในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จากการศึกษาความเครียดในการทางาน ระดับภาวะความเครียดของ คนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาลต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี พบว่าภาวะความเครียดในการทางาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าสูงสุด คือ ความเครียด

73


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ทางด้านร่างกาย อยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุด คือ ปวด หรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย หลัง หรือ ไหล่ อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ รู้สึกเพลียจน ไม่มีแรงทาอะไร อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้อที่มีค่าน้อยที่สุด คือ มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วหรือ แรงผิดปกติ อยู่ในระดับน้อย ความเครียดด้านการทางาน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นราย ข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุด คือ รู้สึกไม่ปลอดภัยในการทางาน อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ รู้สึกว่า ต้องทาหลายๆอย่างในเวลาที่จากัด อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้อที่มีค่าน้อยที่สุด คือ มีเรื่องขัดแย้ง กับผู้ร่วมงานบ่อยๆ อยู่ในระดับน้อย ส่วนด้านที่มีค่าน้อยที่สุด คือ ความเครียดทางด้านจิตใจ อยู่ใน ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุด คือ รู้สึกหงุดหงิด ราคาญใจ อยู่ใน ระดับปานกลาง รองลงมา คือ นอนไม่หลับเพราะคิดมากหรือกังวลใจ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้อ ที่มีค่าน้อยที่สุด คือ ทาอะไรไม่ได้เลยเพราะประสาทตึงเครียด อยู่ในระดับน้อย 3. ผลการเปรียบเทียบภาวะความเครียดในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาล ต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ตาแหน่งในการทางาน และ จานวนรอบในการทางานที่ต่างกันไม่ส่งผลต่อภาวะความเครียดในการทางานของคนงานเก็บขนมูล ฝอยในภาพรวม และความเครียดในการทางานแต่ละด้านไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่ อายุ รายได้ และสวัส ดิการที่ต่างกันส่ งผลกับ ภาวะความเครียดในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยทั้งใน ภาพรวมและความเครียดในการทางานแต่ละด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จานวนสมาชิกในครอบครัว ที่ต่างกันมีภาวะความเครียดในการทางานของคนงานเก็บขน มูลฝอย ใน ภาพรวม อย่างไรก็ตามความเครียดด้านการทางาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ความเครียดทางด้านร่างกาย ความเครียดทางด้านจิตใจ ไม่แตกต่างกัน ในทุกระดับ ของอายุงานส่งผลกระทบกับ ภาวะความเครียด โดยที่ความเครียดทางด้านจิตใจ ความเครียดด้าน การทางาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ความเครียดทางด้าน ร่างกาย มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ผลวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาลต่างๆในพื้นที่ จังหวัดนนทบุ รี จากการศึกษาประสิ ทธิภ าพในการทางาน ระดับประสิทธิภาพในการทางานของ คนงานเก็บขนมูลฝอยพบว่า ประสิทธิภาพในการทางานเมื่อมองในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง แต่ เ มื่ อ พิ จ ารณาเป็ น รายด้ า น พบว่ า ด้ า นที่ มี ค่ า สู ง สุ ด คื อ ความพอใจในงาน อยู่ ใ นระดั บ มาก พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุด คือ ต้องการความก้าวหน้าในการทางาน โดยที่ สามารถที่ ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีที่สุด และรู้สึกภูมิใจว่าเป็นส่วนสาคัญของหน่วยงาน ตามลาดับ ในด้านปริมาณงาน พบว่าอยู่ในระดับมากเช่นกันและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าสูงสุด คือ สามารถทางาน เสร็จลุล่วงตามเวลาที่กาหนด รองลงมา คือ ในแต่ละวันท่านสามารถทางานได้ในปริมาณที่หน่วยงาน ได้กาหนด ส่วนข้อที่มีค่าน้อยที่สุด คือ ความเหมาะสมของปริมาณงาน และ ด้านคุณภาพงานพบว่ามี

74


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ค่า น้ อ ยที่ สุ ด ในระดั บ ปานกลาง เมื่อ พิ จารณาเป็น รายข้ อ งานที่ท าส าเร็จ มี ความถูก ต้อ งแม่น ย า ในขณะที่เพื่อนร่วมงานพอใจที่จะร่วมงานกับท่านเพราะท่านมีผลงานที่ดีมีค่าสูงสุดอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าน้อยที่สุดคือ ผู้บังคับบัญชาชมเชยผลงาน 5. ผลการเปรียบเทียบภาวะความเครียดในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาล ต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ตาแหน่งในการทางานและ จานวนรอบในการทางานที่ต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยใน ภาพรวม และความเครียดในการทางานแต่ละด้านไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่อายุ รายได้และ สวัสดิการที่ต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยโดยรวม และความ ความเครียดในการทางานแต่ละด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนจานวน สมาชิกในครอบครัวที่ต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยโดยรวม และด้านปริมาณงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านคุณภาพงาน และ ด้านความพอใจในงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่อายุงานต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอย โดยรวม และด้านคุณภาพงาน ด้าน ความพอใจในงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 ส่วนด้านปริมาณงานแตกต่าง กันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดในการทางานกับประสิทธิภาพใน การทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาลต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จากการศึกษา พบว่า ภาวะความเครียดในการทางานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทางานของคนงานเก็บขนมูล ฝอย อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r = -0.574) ซึ่ง ผลการวิจัยชี้ว่าเมื่อระดับความเครียดสูงประสิทธิภาพในการทางานลดลงในทางตรงกันข้าม เมื่อระดับ ความเครียดต่าประสิทธิภาพการทางานเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ความเครียดทางด้านร่างกาย มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพใน การทางาน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r = 0.520) ส่วนความเครียดทางด้านจิตใจมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทางาน อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r = -0.527) และความเครียดทางด้าน การทางาน พบว่า มีความสั มพัน ธ์กับ ประสิ ทธิภ าพอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และ ความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r = -0.553) สรุปและอภิปรายผล สามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ รายได้และสวัสดิการ และอายุงาน ส่งผลกับ ภาวะความเครียดในการทางาน ส่วน อายุ รายได้และสวัสดิการ จานวนสมาชิกในครอบครัว และอายุ

75


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

งาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอย และพบว่าภาวะความเครียดในการ ทางานทั้งสามด้าน (ร่างกาย จิตใจ และการทางาน) มีความสัมพันธ์ประสิทธิภาพในการทางานทุก ด้าน (ปริมาณงาน คุณภาพงาน และความพอใจในงาน) และของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาล ต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ในระดับปานกลาง (r = -0.574) ดังนั้นเมื่อความเครียดในการทางาน เพิ่มขึ้นประสิทธิภาพในการทางานจะลดลง บุคลากรที่มีคณ ุ ภาพเป็นปัจจัยสาคัญในการพัฒนาหน่วยงาน ในขณะที่หน่วยงานที่มีบุคลากร ที่มีประสิทธิภาพในการทางานย่อมทาให้หน่วยงานนั้นๆ บรรลุเป้าประสงค์ของการพัฒนาหน่วยงาน อย่างเต็มประสิทธิภาพ การมุ่งมั่นในการทางานมากเกินไป การทางานที่หนักเกินกาลังความสามารถ ทาให้เกิดภาวะความเครียดกับบุคลากรได้ และความเครียดที่เกิดจากการทางานนั้น สามารถส่งผล กระทบต่อสุขภาพ เกิดความเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลกระทบต่อการทางาน ซึ่ง จากผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่าระดับภาวะความเครียดในการทางานของคนงานเก็บขนมูลฝอยจาก การศึกษาในระดับปานกลาง แสดงให้เห็นว่าคนงานเก็บขนมูลฝอยยังมีความกังวลและมีความสัมพันธ์ กันในเชิงลบกับประสิทธิภาพในการทางาน ซึ่งปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อภาวะความเครียดของคนงาน เก็บขนมูลฝอย สอดคล้องกับคาอธิบายของสมยศ นาวีการ (2543) ในการปฏิบัติงานคนงานเก็บขน มูลฝอย ผลการปฏิบัติงานจะเพิ่มขึ้น ความเครียดกระตุ้นให้จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น จะทาให้ทางาน หนั ก ขึ้ น และรวดเร็ ว กว่ า ที่ มี ค วามเครี ย ดน้ อ ยและไม่ มี เ ลย บุ ค คลจะผลั ก ดั น ตั ว เองไปสู่ ผ ลการ ปฏิบัติงานที่สูงภายใต้ความเครียดปานกลาง แต่ถ้าความเครียดสูงเกินไปผลการปฏิบัติงานจะเริ่มลด น้อยลง ในขณะที่ความเครี ย ดทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจและด้านการทางานพบว่าอยู่ในระดับ ค่อนข้างต่าถึงระดับ ปานกลางและมีความสั มพันธ์กับประสิ ทธิภ าพในการทางานกันในเชิงลบซึ่ง สอดคล้องกับทฤษฏีของโจอัน ไรเออร์ (Joan Riehl, 1974 อ้างอิงในสุรศักดิ์ สานุจารย์, 2536) กล่าว ไว้ว่า เมื่อมีความเครียดจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อาจเป็นการเพิ่มหรือลดการทางาน ของร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรง การทางานของอวัยวะภายในร่างกาย และวิถีทางการปรับตัว ของมนุษย์ ในขณะที่ความเครียด โดยรวม (ด้านร่างกาย ด้านจิตใจและด้านการทางาน) ในระดับปาน กลาง มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทางานด้านปริมาณงาน กันในเชิงลบ ภาวะความเครียดมี มากขึ้น ส่งผลให้สามารถทางานเสร็จลุล่วงตามเวลาที่กาหนด ระดับความรับผิดชอบในงานที่ได้รับ มอบหมายเพียงพอกับความต้องการ สามารถทางานสาเร็จได้รวดเร็ว ลดลง และมีความสอดคล้องกับ งานวิจั ย ของ อภิญญา วิเวโก (2548) เรื่อง ปัจจัยด้า นงาน ความเครียด และประสิ ทธิภ าพการ ปฏิ บั ติ ง านของพนั ก งานในกรุ ง เทพมหานคร ปริ ม าณงานที่ ต้ อ งท าในแต่ ล ะวั น นั้ น ส่ ง ผลมาจาก ความเครียดด้านร่างกาย และจิตใจ และ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทางานด้านคุณภาพ งาน กันในเชิงลบ แสดงว่าภาวะความเครียดส่งผลให้ งานที่ทาสาเร็จมีความถูกต้องแม่นยา งานที่ทา

76


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

เป็นงานที่ตรงกับความถนัดลดลง สอดคล้องกับงานของ วิภาวรรณ เดือนฉาย (2545) ความเครียด ระดับสูง มีผลเสียต่อการดาเนินชีวิตอย่างยิ่งซึ่งต้องอาศัยการช่วยเหลือจากผู้อื่น และงานของแพค การ์ดและโมโทวิลโล (Packard & Motowidlo, 1974) ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับความ พอใจในงาน ถ้าความเครียดสูงจะทาให้การปฏิบัติงานและความพึงพอใจในการทางานลดลง และทา ให้คุณภาพงานลดต่าลงด้วย ความเครียดทั้ง สามด้านจากผลการศึกษาพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีความสัมพันธ์กับ ประสิทธิภาพในการทางานด้านความพอใจงาน กันในเชิงลบ แสดงว่า ภาวะความเครียดมีส่วนต่อการ ตัดสินใจ ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพการทางาน สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ปฏิบัตินี้ได้ดีที่สุดแล้ว เป็นผู้เลือกที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ท่านได้ปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา ของ พสุ เดชะรินทร์ (2536 , หน้า 87 - 88) ที่กล่าวว่า ภาวะความเครียดอาจนาไปสู่การตัดสินใจที่ ผิดพลาด หรือปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มีผลทาให้ประสิทธิภาพในการทางานของ ผู้ปฏิบัติงานลดลง และมีผลต่อความรูสึกไม่พอใจในงาน ความเหน็ดเหนื่อย ความเบื่อหน่าย ความ กังวลและความกลัวที่เกิดขึ้นในงาน หรือสิ่งที่ขัดขวางการทางาน การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ข้อเสนอแนะในการวิจัย ได้แก่ 1. เทศบาลต่างๆในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ควรมีการใส่ใจการดูแลสุขภาพ รวมถึงควรเตรียม วัสดุอุปกรณ์สาหรับป้องกันในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ และมีสวัสดิการเพิ่มเติมให้กับคนงานเก็บขน มูลฝอย หน่วยงานควรจัดหาชุดทางาน เสื้อ-กางเกงยาง รองเท้าบู๊ต ถุงมือ แจกจ่ายให้พนักงาน มี สวัส ดิการด้านค่ารั กษาพยาบาล และการให้ บริการตรวจเช็คสุขภาพรายปี ค่าเล่ าเรียนของบุตร สวัสดิการเมื่อเกษียณอายุงาน 2. เทศบาลต่างๆในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ควรจัดหาบุคลากรในการปฏิบัติงานเพิ่มเติมเพื่อให้ เหมาะสมกับปริมาณงานเก็บขนมูลฝอยที่เพิ่มขึ้น มีค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับ ตาแหน่ง ผู้บริ หารให้ความเอาใจใส่ติดตามผลการทางาน เช่น ให้ค่าล่วงเวลาทางาน การชมเชย ผลงาน บรรนานุกรม กรมควบคุมมลพิษ. (2552). การจัดการมูลฝอยอย่างครบวงจร. กรุงเทพฯ : สานักจัดการกากของ เสียและสารอันตราย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข. (2541). คู่มือคลายเครียด. กรุงเทพฯ: สยามเอ็มแอนด์ บีพับ ลิซซิ่ง. กองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี . (2556) . การจัดการ มูลฝอยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: พระพุทธศาสนา

77


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ธงชัย สันติวงษ์. (2543) . ทฤษฎีการจูงใจ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. พสุ เดชะรินทร์. (2536). การบริหารความเครียด สาเหตุ ผลกระทบ และการควบคุม. จุฬาลงกรณ์ รีวิว, 5(20), 83-91 วิภาวรรณ เดือนฉาย. (2545) . ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ . ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต การศึกษา, คณะวิทยาการ จัดการสถาบันราชภัฎสวนดุสิต. สุรศักดิ์ สานุจารย์. (2536) . ความเครียดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตารวจจราจรของสถานี ต ารวจนครบาลในกรุ ง เทพมหานคร. ปริญ ญาศึ กษาศาสตรมหาบั ณฑิ ต พัฒ นาสั งคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมยศ นาวีการ. (2543) . การบริหารและพฤติกรรมองค์การ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บรรณ กิจ. อภิญญา วิเวโก. (2548) . ปัจ จั ยด้า นงาน ความเครี ยด และประสิทธิ ภ าพการปฏิบัติงานของ พนั ก งานในกรุ ง เทพมหานคร. ปริ ญ ญาบริ ห ารธุ ร กิ จ มหาบั ณ ฑิ ต วิ ช าการจั ด การ, มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. Gilmer, V. Haller B. et al. (1966). Industrial Psychology. New York : McGraw-Hill Mondy, R. W. & Noe, R. W. (1996). Human Resqurce Management. New York: Prentice Hall. Motowidlo. S.J., J.S. Packard and M.R. Manning. (1986). Occopational Stress: Its causes and Consequences for Job Performance. Journal of Applied Psychology. 71, 618-629 Yamane, Taro. (1967) . Statistic: An Introductory Analysis. New York ; Harper and Row Kneisl, C. R. (1996). Stress anxiety and coping. In H. S. Wilson & C. R. Kneisl (Eds.), Psychiatric nursing (5th ed., pp. 62-80). California: Addison-Wesley. Selye. Hans. (1976). The Stress of Life. New York ; McGraw-Hill Book.

78


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลกระทบกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย The Association between Factors Affecting Disclosure Quality in Environmental Information of Companies in the Stock Exchange of Thailand Listed พิไลวรรณ พันธุ์เพ็ง นักศึกษา คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โทร 087-671-7855 E-mail: gifts_zuza@hotmail.com Pilaiwan Panpeng Student, Master of Business Administration Program (M.B.A) Rajamanagala University of Technology Phra Nakhon บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบกับคุณภาพการเปิดเผย ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ ปี 2550–2554 ใช้วิธีการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression analysis) เป็นตัว แบบในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ คุณภาพการ เปิ ดเผยข้อมูล ด้านสิ่ งแวดล้ อม และตัว แปรอิส ระ (Independent Variable) ประกอบด้ว ย ความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการทากาไร สภาพคล่องของกิจการ อายุการดาเนินงาน กลุ่มอุตสาหกรรมและขนาดของกิจการเป็นตัวแปรควบคุม (Control Variable) ผลการวิจั ยพบว่า ความสามารถในการแข่งขัน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อ มูลด้าน สิ่ ง แวดล้ อมอย่ า งมี นั ย ส าคั ญ แสดงให้ เห็ น ว่ า การแข่ ง ขั น ที่สู ง ขึ้ น ทาให้ มี ก ารเปิ ด เผยข้ อ มู ล ด้ า น สิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนตัวแปรอื่นซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการ ทากาไร สภาพ คล่ องของกิ จ การ และอายุ การด าเนิ นงาน ไม่มี ความสั มพั นธ์ กับ คุณ ภาพการเปิด เผยข้ อมู ล ด้ า น สิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าขนาดของบริษัท มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสาคัญ แสดงให้เห็นว่า บริษัทที่มีขนาดใหญ่จะ มีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าบริษัทขนาดเล็ก สาหรับคุณภาพการเปิดเผย ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกเป็นรายการหลักกลุ่มทรัพยากร มีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านกฎหมาย และรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืนมากกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมมีคุณภาพการ

79


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

เปิดเผยรายการด้านนโยบายของบริษัทมากกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ส่วนกลุ่มบริการมีคุณภาพการ เปิดเผยข้อมูลด้านการบัญชีและการเงินที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น คาสาคัญ : ปัจจัยที่มีผลกระทบ คุณภาพการเปิดเผยข้อมูล สิ่งแวดล้อม Abstract The purpose of the study on the association between factors affecting disclosure quality in environmental information of companies in the stock exchange of Thailand Listed the association between factors affecting environmental information disclosure quality of listed companies in the Stock Exchange of Thailand was to investigate factors which posed impacts on the listed companies in Thailand Stock Exchange using the information from 2007 to 2011. The data applied Multiple Regression Analysis to test the relationship between the dependent variable, environmental information disclosure quality, and independent variable which included the ability to compete, the ability to make profits, business liquidity, operation period, business industry, and business size as control variables. The result found that the ability to compete was significantly related to the quality of the environmental information disclosure. This means that the higher competition, the more environmental information disclosure. Regarding the other variables such as the ability to make profits, business liquidity, and operation period did significantly not relate to the environmental information disclosure quality. Moreover, business size had significant positive association with the quality of the environmental information disclosure, which means that bigger businesses are more capable to reveal their environmental information than the smaller ones. The information disclosure qualities in terms of resources, legalization, and sustainability were reported more highly than others. However, the companies producing industrial products disclosed their companies’ policies more, while service industries revealed more about their accounting and financial information which related to the environment. Keywords: Factors Affecting, Information Disclosure Quality, Environmental.

80


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

บทนา การขยายตัวของธุรกิจ ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้อัตราความ เจริ ญก้าวหน้ าทางเศรษฐกิจของประเทศสู งขึ้น ซึ่งจาเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติจานวนมาก ขณะเดียวกันก็ก่อให้ เกิดมลพิษตามมาส่ งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชนและประเทศชาติ ทาให้ ประชาคมโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งระดับชาติและระดับ ภูมิภาค จึงเกิดมาตรการหรือแนวทางเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ทาให้ เกิ ด องค์ ก รระหว่ า งประเทศว่ า ด้ ว ยมาตรฐานการจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ ม ISO (International Organization for Standardization) สาหรับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมามีการพัฒนาเศรษฐกิจใน ภาคอุตสาหกรรมมาก เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากในเวลาต่อมา เนื่องจากการพัฒนานั้น เป็นไปอย่างรวดเร็วขาดการวางแผนและผังเมืองที่ดี อีกทั้งยังขาดจิตสานึก ในการรักษา ดูแล และ ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศ ทางน้าและปัญหาขยะมูล ฝอย ขยะเป็ นพิษและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อส่ว นรวม จนในระยะหลังมีการ กาหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการจัดการปัญหามลพิษต่างๆ ต่อมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ เกิดขึ้นดังกล่าว นักบัญชีจึงจาเป็นต้องตื่นตัวและมีส่วนร่วมในการจัด การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดย การใช้การบัญชีสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการรับผลของมลพิษต่างๆ และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้น ทาให้แต่ละธุรกิจสูญเสียเวลาและงบประมาณจานวนมาก เพื่อฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่ง เป็นกระบวนการที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานานในการทาให้สิ่งแวดล้อมนั้นกลับคืนสู่สภาพดังเดิม การบัญชีสิ่งแวดล้อม (Environmental Accounting) เป็นวิวัฒนาการทางการบัญชีแขนง หนึ่งที่นักบัญชีสมัยใหม่ได้พัฒนาขึ้นมาและเป็นการบัญชีที่ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบ ต่อธุรกิจ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักบัญชีทั่วโลกอย่างมากและได้มีความพยายามที่จะนาไปใช้ปฏิบัติ เช่นเดียวกับ หลักบั ญชีอื่นๆ ที่ใช้ในปัจจุบันนี้ การบัญชีสิ่งแวดล้อมจึงเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลด ปัญหาสิ่งแวดล้อมในสังคมได้โดยแสดงให้เห็น ถึงบทบาทและความรับผิดชอบของธุรกิจที่ควรจะมีต่อ สิ่งแวดล้อมในการเปิดเผยข้อมูล และช่วยกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจคานึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (ศิลปะ พร ศรีจั่นเพชร, 2552) โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจควรเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจาก การเปิดเผยข้อมูลอย่างมีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน และบริษัทผู้เปิดเผยข้อมูล โดยช่วยให้ ผู้ใช้งบการเงินทั้งนักลงทุนและนักวิเคราะห์การเงินสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องมากขึ้น และ สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การเปิดเผยข้อมูลอย่างมีคุณภาพยังมีส่วน ช่วยลดต้นทุนของเงินทุน ทั้งต้นทุนของทุนและต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทผู้เปิดเผยข้อมูล ดังนั้นบริษัท ต่าง ๆ จึงควรให้ความสาคัญมากขึ้นกับการเปิดเผยข้อมูลอย่างมีคุณภาพ และเพื่อเป็นประโยชน์แก่ ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกธุรกิจที่สนใจใช้ข้อมูลดังกล่าว (สมชาย สุภัทร กุล, 2544) จากที่กล่าวมาแล้ วข้างต้น จึงทาให้ผู้วิจัยสนใจจะศึกษาว่าปัจจัยที่มีผลกระทบใดมี

81


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

82

ความสั มพัน ธ์กับ คุณภาพการเปิ ดเผยข้อมูล ด้านสิ่งแวดล้ อม โดยในงานวิจัยนี้ได้เลื อกบริษัทที่จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยกเว้นกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึก ษาคุณ ภาพการเปิดเผยข้อ มูล ด้า นสิ่ งแวดล้ อมของบริษั ทจดทะเบี ยนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลกระทบกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิธีการวิจัย การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical Research) โดยส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคการ วิเคราะห์ ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression analysis) เป็นตัว แบบในการทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ คุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อมและตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ประกอบด้วยตัวแปรควบคุม (Control Variables) ผู้ศึกษาได้กาหนดวิธีการศึกษา ดังนี้ ตาราง 1 การวัดค่าตัวแปรแต่ละตัว ตัวแปร การวัดค่า ตัวแปรตาม คุณภาพการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อม(DISC) ดัชนีการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure Index) ตัวแปรอิสระ ความสามารถในการแข่งขัน (HHI)

อัตราการกระจุกตัวของอุตสาหกรรม (Herfindahl-Hirschman)

ความสามารถในการทากาไร (Profitability) สภาพคล่องของกิจการ (Liquidity)

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity)(ROE) อั ต ราส่ ว นสิ น ทรั พ ย์ ห มุ น เวี ย นต่ อ หนี้ สิ น หมุ น เวี ย น (Liquidity Ratio) จานวนปีนับตั้งแต่ปีที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจนถึงปี 2554 (ปีที่ใช้ เป็นข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้) กาหนดเป็น Dummy Variable Natural Logarithm ของสินทรัพย์รวม

อายุการดาเนินงาน (Age) กลุ่มอุตสาหกรรม (Industry) ตัวแปรควบคุม ขนาดบริษัท (Company Size)

ในส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้ศึกษาใช้กระดาษทาการที่ออกแบบไว้สาหรับเก็บข้อมูล ของบริษัทเป็นเครื่องมือในการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก จะเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปและ


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ข้อมูลของบริษัทตามตัวแปรอิสระที่ได้กาหนดไว้จากรายงานประจาปีในปี 2550-2554 ย้อนหลัง 5 ปี และในฐานข้อมูล SET Smart ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนที่สองจะออกแบบเพื่อเก็บ ข้อมูลคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวแปรตาม วัดค่าจากดัชนีการเปิดเผยข้อมูล ด้านสิ่ งแวดล้ อม มีร ายละเอีย ดในการสร้างกระดาษทาการ ดัง นี้คือ 1) ทบทวนวรรณกรรมและ รวบรวมรายการในกระดาษทาการจากงานวิจัยในอดีต รายงานประจาปี แบบแสดงรายการข้อมูล ประจาปี (56-1) เพื่อให้รายการในกระดาษทาการครอบคลุมรายละเอียดเกี่ยวกั บการเปิดเผยข้อมูล ด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะเลือกจากหัวข้อที่ผู้วิจัยแต่ละท่านใช้ในการพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อมในแต่ละงานวิจัย 2) จัดทากระดาษทาการเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยรายการใน กระดาษทาการจะถูกแบ่งเป็นรายการหลัก (Main items) และรายการรอง (Sub items) ซึ่งรายการ หลั กจะเป็ น หั ว ข้ อใหญ่ที่ ค รอบคลุ ม รายการรองที่เ กี่ ยวข้ องไว้ทั้ ง หมด สาเหตุ ที่ต้ อ งแบ่ งรายการ ออกเป็นรายการหลักและรายการรอง เนื่องจากคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา พิจารณา ที่ ค วามครอบคลุ ม ในรายละเอี ย ดของแต่ ล ะรายการ ดั ง นั้ น เพื่ อ ให้ ง่ า ยต่ อ การได้ ค ะแนนจึ ง แบ่ ง รายละเอี ย ดของรายการหลั ก ออกเป็ น รายการรอง และ3) ค านวณดั ช นี ก ารเปิด เผยข้อ มู ล ด้ า น สิ่งแวดล้อม ดังนี้ Corporate Social Disclosure Index =

ดังนั้น 0 ≤ Dis Index ≤ 1

โดยที่ AS = คะแนนจริงที่แต่ละบริษัทได้รับ (Actual Scores) MS = คะแนนรวมสูงสุดที่แต่ละบริษัทควรจะได้รับแต่ละรายการหลัก (Maximum Scores) สาหรับคะแนนรวมสูงสุดที่แต่ละบริษัทควรจะได้รับ จะไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท (Not Applicable) โดยรายการที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจะพิจารณาจากกฎหมายสิ่งแวดล้อม และข้อมูล อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบริษัท และจะไม่นับซ้ารายการที่เปิดเผยมากกว่า 1 ครั้ง หรือเปิดเผยหลาย แหล่งข้อมูล โดยจะเลื อกให้ คะแนนในแหล่ งข้อมูล ที่มีคะแนนมากที่สุ ด ทั้งนี้ การวิเคราะห์ ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistics) และในการประมวลผลข้อมูลจะใช้โปรแกรมสถิติสาเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ช่วยในการวิเคราะห์ ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของบริษัทจดทะเบียนในการวิจัย ดังนี้ 1. ความสามารถในการแข่งขัน วัดค่าจากอัตราส่วนการกระจุกตัว พบว่า มีค่าต่าสุดอยู่ที่ ร้อยละ 0 ของยอดขายในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 80 และมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 3

83


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

2. ความสามารถในการทากาไร วัดค่าจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น พบว่า มีค่าต่าสุดอยู่ที่ 0.90 เท่า ในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ 1,282.50 เท่า และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 19.83 3. สภาพคล่องของกิจการ วัดค่าจากอัตราสินทรัพย์หมุนเวียนต่อหนี้สินหมุนเวียน พบว่า มีค่าต่าสุดอยู่ที่ 0.14 เท่า ในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ 34.63 เท่า และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.54 เท่า 4. อายุการดาเนินงาน วัดค่าจากจานวนปีนับตั้งแต่ปีที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจนถึงปี 2554 พบว่า มีค่าต่าสุดอยู่ที่ 1 ปี ในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ 69 ปี และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 27 ปี 5. ขนาดของกิจการ วัดจาก Natural Logarithm ของสินทรัพย์รวม พบว่า มีค่าต่าสุดอยู่ที่ 8.65 ในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ 12.81 และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10.65 ในส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นตัว แปรควบคุมมีทั้งหมด 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ผลการวิเคราะห์แสดงค่าสถิติดัชนีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทจด ทะเบียนในการวิจัย แยกเป็นรายการหลักทั้ง 4 ด้าน รายการเปิดเผยข้อมูลที่มีค่าสูงสุดคือ รายการ การรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืน เท่ากับ 2.00 รองลงมาคือ รายการด้านข้อมูลด้านการบัญชีและ การเงินเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รายการด้านนโยบายของบริษัท และรายการด้านกฎหมายและข้อบังคับ เท่ากับ 1.00, 0.83 และ 0.63 ตามลาดับ ส่วนค่าที่ต่าสุ ดทุกรายการ เท่ากับ 0 อย่างไร ก็ตาม รายการการรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืน และรายการด้านนโยบายของบริษัท มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 0.2124 และ 0.1968 ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มี ผลกระทบกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย โดยมีความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการทากาไร สภาพคล่องของกิจการ อายุการดาเนินงานของกิจการ และขนาดของกิจการ เป็นตัวแปรควบคุม โดยลาดับแรกได้แสดง ค่าสถิติของตัวแปรอิสระและตัวแปรควบคุม จากนั้นวิเคราะห์ สัมประสิทธิ์ส หสั มพันธ์เป็นการวัด ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระแต่ละตัวว่ามีความสัมพันธ์มากหรือน้อยเพียงใด และมีความสัมพันธ์ในทิศทางใดและเพื่อตรวจสอบว่าตัวแปรอิสระทุกตั วที่นามาศึกษามีความสัมพันธ์ กันเองในระดับสูงหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหา Multicolinearity

84


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ตาราง 2 แสดงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระของบริษัทที่วิจัย SDISC SDISC Pearson Correlation Sig.(2-Tailed) HHI Pearson Correlation Sig.(2-Tailed) ROE Pearson Correlation Sig.(2-Tailed) CR Pearson Correlation Sig.(2-Tailed) AGE Pearson Correlation Sig.(2-Tailed) SIZE Pearson Correlation Sig.(2-Tailed)Pearson

HHI

ROE

CR

AGE

SIZE

1

0.257** 0.000

1

-0.058 0.223

0.0260.577

1

-0.058 0.221

0.101-* 0.033

0.0070.882

1

-0.097* 0.040

*0.1060.024

0.0450.345

0.0650.171

1

0.122** 0.009

0.007 0.884

0.0670.159

-0.213** 0.000

0.022 0.637

1

*. Correlation is significant at the 0.01 level (2-tailed) **. Correlation is significant at the 0.05 level (2-tailed).

จากตาราง 2 เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปรของบริษัทที่ทาการวิจัย ซึ่ง เมื่ อ พิ จ ารณาค่ า สั ม ประสิ ท ธ์ ส หสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งตั ว แปรอิ ส ระแต่ ล ะคู่ พ บว่ า ตั ว แปรอิ ส ระ มี ความสั ม พั น ธ์ กั น เอง คู่ แต่ ค วามสั ม พั น ธ์ อ ยู่ ใ นระดั บ ที่ ไ ม่ สู ง มาก สั ง เกตจากค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ 2 และจะไม่มีผลกระทบที่รุนแรงในการตีความหมาย 0.5 สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทุกคู่มีค่าน้อยกว่า ของผลลั พธ์ที่ได้จ ากการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ นอกจากนี้ยังพบว่า ความสามารถในการ แข่งขัน มีค วามสั มพั น ธ์ในทิศทางเดียวกันกับคุณ ภาพการเปิดเผยข้ อมูล ด้านสิ่ งแวดล้ อมที่ระดั บ นัยสาคัญ %95 หรือที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05(HHI=0.257) และขนาดของกิจการซึ่งเป็นตัวแปร ควบคุม มีค วามสั มพัน ธ์ใ นทิ ศทางเดี ยวกั นกั บคุ ณภาพการเปิ ดเผยข้อ มูล ด้า นสิ่ ง แวดล้ อมที่ร ะดั บ นัยสาคัญ 95 หรือที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05% (SIZE = 0.122) หมายเหตุ : เนื่ อ งจากตั ว แปรกลุ่ ม อุ ต สาหกรรม (IND) เป็ น ตั ว แปรเชิ ง กลุ่ ม (Dummy Variable) จึงไม่สามารถนามาวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ได้ แต่อย่างไรก็ตามจะไม่ก่อให้ เกิด ปัญหา Multicollinearity เนื่องจากลักษณะของข้อมูลเชิงกลุ่มและเชิงปริมาณมีลักษณะแตกต่างกัน

85


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

การวิเคราะห์ความถดถอยเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยมี วัตถุประสงค์ที่จะประมาณหรือพยากรณ์ค่าของตัวแปรตามจากตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับตัว แปรตามดังกล่าว ในการศึกษามีตัวแปรอิสระมากกว่า 1 ตัวแปร ดังนั้น จะใช้การวิเคราะห์ความ ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) โดยหลังจากที่ทาการตรวจสอบเงื่อนไขการ วิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแล้ว จะนาข้อมูลตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระ และตัวแปรควบคุม มาทา การวิเคราะห์ความถดถอยเพื่อทดสอบสมมติ ฐานที่ตั้งไว้ โดยผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการทากาไร สภาพคล่องของกิจการ อายุการดาเนินงาน และขนาดของกิจการกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อม โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอย แสดงใน ตาราง 3 ดังนี้ ตาราง 3 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถใน การท าก าไร สภาพคล่ อ งของกิ จ การ อายุ ก ารด าเนิ น งานกั บ คุ ณ ภาพ การเปิ ด เผยข้ อ มู ล ด้ า น สิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในภาพรวม โดยมีขนาดของ บริษัทเป็นตัวแปรควบคุม ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอย ลาดับ

ตัวแปร

1 2 3 4 5

ความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการทากาไร สภาพคล่องของกิจการ อายุการดาเนินงาน ขนาดของกิจการ

B 1.098 0.000 0.000 0.000 0.112

Beta 0.141 -0.012 0.001 0.006 1.580

t-value 4.603 -0.389 0.022 0.070 3.247

Sig. t 0.000** 0.697** 0.982** 0.944** 0.001**

**ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 F-value R

= 66.911 = 0.800

Sig. F Adjusted R2

= 0.000 = 0.637

จากตาราง 3 ค่าสถิติทดสอบ F เป็นการทดสอบว่าตัวแปรตามจะขึ้นกับตัวแปรอิสระอย่าง น้ อย 1 ตัว ซึ่ งถ้ายอมรั บ สมมติฐ านในขั้น นี้ก็จะทาการวิเคราะห์ ความถดถอยเชิง พหุ ในขั้นต่อไป แบบจาลองโดยรวมมีค่า p-value เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่าระดับนัยสาคัญที่กาหนด (0.01) จากผล การทดสอบท าให้ ย อมรั บ สมมติ ฐ านดั ง กล่ า วจึ ง สามารถสรุ ป ได้ ว่ า คุ ณ ภาพการเปิ ด เผยข้ อ มู ล สิ่งแวดล้อม ขึน้ อยู่กับตัวแปรอิสระอย่างน้อย 1 ตัวแปร ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า H1a : ความสามารถในการแข่งขันมีความสัมพันธ์ เชิ ง ลบกั บ คุ ณ ภาพการเปิ ด เผยข้ อ มู ล ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม จากการทดสอบสมมติ ฐ านที่ 1 พบว่ า Sig. = 0.000 < 0.01 จึงปฏิเสธ H0a นั่นคือ β1 > 0 กล่าวคือ ความสามารถในการแข่งขันมี ความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

86


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% แสดงให้เห็นว่า การแข่งขันที่สูงขึ้น ทาให้ กิจการมีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการดาเนิ นกิจกรรมมากขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ และ ความสามารถของบริ ษัท รวมไปถึงการเปิดเผยด้านสิ่ งแวดล้ อมให้ ส าธารณชนทราบว่าบริษัทยัง ตระหนักถึงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน มิใช่แค่การแสวงหาผลประโยชน์และกาไร H1b: ความสามารถในการทากาไรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูล ด้าน สิ่งแวดล้อม จากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า ค่า Sig. = 0.697 > 0.01 จึงยอมรับ H0b นั่นคือ β2 ≤ 0 กล่าวคือ ความสามารถในการทากาไรไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ที่ตั้งไว้ H1c: สภาพคล่องของกิจการมีความสั มพันธ์เชิงลบกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อม จากการทดสอบสมมติฐานที่ 3 พบว่า ค่า Sig. = 0.982>0.01 จึงยอมรับ H0c นั่นคือ β3 ≤ 0 กล่าวคือ สภาพคล่องของกิจการไม่มีความสัมพั นธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% ซึ่งไม่เป็นไปตามที่สมมติฐานการ วิจัยที่ตั้งไว้ H1d: อายุ การดาเนิน กิจการมีความสั มพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อม จากการทดสอบสมมติฐานที่ 4 พบว่า ค่า Sig. =0.944>0.01 จึงยอมรับ H0d นั่นคือ β4 ≤ 0 กล่าวคือ อายุการดาเนินกิจการไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% ซึ่งไม่เป็นไปตามที่สมมติฐานการ วิจัยที่ตั้งไว้ H1e : ขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม จากการทดสอบสมมติฐานที่ 5 พบว่า ค่า Sig. = 0.001<0.01 จึงปฏิเสธ H0e นั่นคือ β5 > 0 กล่าวคือ ขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% แสดงให้เห็นว่าบริษัทที่มีขนาดใหญ่จะมีแนวโน้มที่จะ มีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าบริษัทที่มีขนาดเล็ก ผลการทดสอบความสั มพันธ์ ความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการทากาไร สภาพคล่องของกิจการ อายุการดาเนินงานและกลุ่มอุตสาหกรรม กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีขนาดของบริษัทเป็นตัว แปรควบคุมแยกเป็นรายการหลัก ดังนี้ 1. รายการด้านกฎหมายและข้อบังคับ ความสามารถในการแข่งขันยังคงมีความสัมพันธ์ กับ คุณภาพการเปิ ดเผยข้อมู ล ด้านสิ่ งแวดล้ อมแยกเป็นรายการหลั ก คือ รายการด้านกฎหมายและ

87


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ข้อบังคับ และกลุ่มทรัพยากร มีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกรายการหลักมากกว่า กลุ่ ม อื่ น อย่ า งมี นั ย ส าคั ญ ทางสถิ ติ เนื่ อ งจากกลุ่ ม ทรั พ ยากรมี ก ารด าเนิ น ธุ ร กิ จ ที่ ส่ ง ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมมากกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น 2. รายการด้านนโยบายของบริษัท ความสามารถในการแข่ ง ขั น และขนาดของกิ จ การมี ความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกเป็นรายการหลัก คือ รายการด้าน นโยบายของบริษัท และกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม มีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้ านสิ่งแวดล้อมแยก รายการหลักมากกว่ากลุ่มอื่น รองลงมาคือกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 3. รายการด้านข้อมูลด้านการบัญชีและการเงินที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความสามารถในการ แข่งขันและขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกเป็น รายการหลัก คือ รายการด้านข้อมูลด้านการบัญชีและการเงินที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกลุ่มบริการ มีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกเป็นรายการหลักมากกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น 4. รายการการรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืน ความสามารถในการแข่งขันและขนาดของกิจการ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกเป็นรายการหลัก คือ รายการ การ รายงานเกี่ยวกับความยั่งยืน และกลุ่มทรัพยากรมีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกเป็น รายการหลักมากกว่า รองลงมา คือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค สรุปและอภิปรายผล การศึกษาส่วนที่ 1 ซึ่งเป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของบริษัทจดทะเบียนในการวิจัย ข้อ มูล ที่ น ามาศึ ก ษาในงานวิ จั ย นี้ มาจากการน าข้ อ มูล กลุ่ ม ที่ จดทะเบีย นในตลาดหลั ก ทรั พ ย์แ ห่ ง ประเทศไทยมี ก ารเปิ ด เผยในรายงานประจ าปี แบบแสดงรายการข้ อ มู ล ประจ าปี (56-1) และ ฐานข้อมูล SET Smart รายงานต่างๆ และเว็บไซต์ ในปี 2550-2554 ซึ่งครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่ ม เกษตรและอุ ต สาหกรรมอาหาร 2)กลุ่ ม สิ น ค้ า อุ ป โภคบริ โ ภค 3) กลุ่ ม สิ น ค้ า อุตสาหกรรม 4) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 5) กลุ่มทรัพยากร 6) กลุ่มบริการและ 7) กลุ่ม เทคโนโลยี รวมจานวนทั้งสิ้น 428 บริษัท ค่าสถิติข้อมูลทั่วไปของบริษัทตามตัวแปรอิสระและตัวแปร ควบคุม คือ 1. ความสามารถในการแข่งขัน วัดค่าจากอัตราส่วนการกระจุกตัว พบว่า มีค่าต่าสุดอยู่ที่ ร้อยละ 0 ของยอดขายในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 80 และมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 3 2. ความสามารถในการทากาไร วัดค่าจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น พบว่า มีค่า ต่าสุดอยู่ที่ 0.90 เท่า ในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ 1,282.50 เท่า และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 19.83

88


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

3. สภาพคล่องของกิจการ วัดค่าจากอัตราสินทรัพย์หมุนเวียนต่อหนี้สินหมุนเวียน พบว่า มี ค่าต่าสุดอยู่ที่ 0.14 เท่า ในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ 34.63 เท่า และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.54 เท่า 4. อายุการดาเนินงาน วัดค่าจากจานวนปีนับตั้งแต่ปีที่จดทะเบียนเป็นบริษั ทจนถึงปี 2554 พบว่า มีค่าต่าสุดอยู่ที่ 1 ปี ในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ 69 ปี และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 27 ปี 5. ขนาดของกิจการ วัดจาก Natural Logarithm ของสินทรัพย์รวม พบว่า มีค่าต่าสุดอยู่ที่ 8.65 ในขณะที่ค่าสูงสุดอยู่ที่ 12.81 และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10.65 ในส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นตัว แปรควบคุมมีทั้งหมด 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ค่าสถิติของดัชนีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกเป็นรายการหลัก 1. รายการเปิดเผยข้อมูลที่มีค่าสูงสุดคือรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืนเท่ากับ 2.00 2. รองลงมาคือรายการด้านข้อมูลด้านการบัญชีและการเงินเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รายการด้าน นโยบายของบริษัท รายการด้านกฎหมายและข้อบังคับเท่ากับ 1.00, 0.83 และ 0.63 ตามลาดับ 3. ส่วนค่าที่ต่าสุดทุกรายการเท่ากับ 0 อย่างไรก็ตาม รายการการรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืน และรายการด้านนโยบายของบริษัท มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 0.2124 และ 0.1968 ตามลาดับ การศึกษาส่ว นที่ 2 ซึ่งเป็ น การศึกษาวิเคราะห์ ความสั มพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับคุณภาพการ เปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการแข่งขันมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% แสดงให้เห็นว่า การแข่งขันที่สูงขึ้น ทาให้กิจการมีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการดาเนินกิจกรรมมาก ขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ และความสามารถของบริษัท รวมไปถึงการเปิดเผยด้านสิ่งแวดล้อม ให้ ส าธารณชนทราบว่าบริ ษัทยั งตระหนักถึงการพัฒ นาสิ่ งแวดล้ อมให้ ยั่งยืน มิใช่แค่การแสวงหา ผลประโยชน์และกาไร ความสามารถในการทากาไร ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูล ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนที่ทาการวิจัย อย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ 2. ความสามารถในการท าก าไรไม่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ คุ ณ ภาพการเปิ ด เผยข้ อ มู ล ด้ า น สิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ที่ตงั้ ไว้ 3. สภาพคล่องของกิจการไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% ซึ่งไม่เป็นไปตามที่สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ 4. อายุการดาเนินกิจการไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่ง แวดล้อม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% ซึ่งไม่เป็นไปตามที่สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

89


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

5. ขนาดของบริ ษัทมีความสั มพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูล ด้านสิ่ งแวดล้อมอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99% แสดงให้เห็นว่าบริษัทที่มีขนาดใหญ่จะมีแนวโน้มที่จะมี คุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าบริษัทที่มีขนาดเล็ก 6. กลุ่ มอุตสาหกรรมที่แตกต่า งกันมีคุณภาพการเปิดเผยข้ อมูล ด้านสิ่ งแวดล้ อมแยกเป็ น รายการหลักต่างกัน คือ 1. รายการด้านกฎหมายและข้อบังคับกลุ่มทรัพยากรมีคุณภาพการเปิดเผย ข้อมูลด้านสิ่ งแวดล้อมแยกรายการหลั กมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ เนื่องจากกลุ่ ม ทรัพยากรมีการดาเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น 2. รายการด้าน นโยบายของบริษัท กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมมีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกรายการ หลักมากกว่ากลุ่มอื่น รองลงมาคือกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 3. รายการด้านข้อมูลด้านการบัญชีและ การเงิน ที่เกี่ย วกับสิ่ งแวดล้ อม กลุ่ มบริการ มีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้ อมแยกเป็น รายการหลั กมากกว่ากลุ่ มอุตสาหกรรมอื่นและ 4. รายการการรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืนกลุ่ ม ทรัพยากรมีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแยกเป็นรายการหลักมากกว่า รองลงมาคือกลุ่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้คือ 1) หน่วยงานกากับดูแลที่เกี่ยวข้อง ควรมีการส่งเสริม สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย มีการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาจกาหนดเป็น ข้อบังคับหรือมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการเปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ยังสามารถ เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น 2) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยควรมีแนวทางในการ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะนาแนวทางจากหน่วยงานต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ หรือ ควรเพิ่มรายละเอียดของหัวข้อย่อยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและกาหนดข้อบังคับ ไม่ใช่เพียงแค่การเปิดเผยอย่างสมัครใจ และ 3) นักลงทุนและผู้ใช้งบการเงิน สามารถนาข้อมูลไปใช้ เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ บรรณานุกรม ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). การบัญชีสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาชีพบัญชี, เมษายน, หน้า 21-24. สมชาย สุภัทรกุล. (2544). คุณภาพของการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน : ประโยชน์และการประเมิน คุณภาพ. วารสารบริหารธุรกิจ, เมษายน – มิถุนายน, หน้า 11-21.

90


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

สถานการณ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกยางพาราไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐ ประชาชนจีน The Situation and Influencing Factors of Thailand Natural Rubber Exporting to People’s Republic of China Market ดร.สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 02-972-7200 ต่อ 322, sittitporn@northbkk.ac.th Dr.Sittiporn Prawatrungruang Vice President for Academic Affairs, North Bangkok University ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมยศ อวเกียรติ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 02-972-7200 ต่อ 400, somyos.av@northbkk.ac.th And Assistant Professor Dr. Somyos Avakiat Dean of Business Administration Faculty, North Bangkok University บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งออกยางพาราของไทยไปยังตลาด สาธารณรัฐประชาชนจีน และเพื่อศึกษาปัจจัยสาคัญที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกยางพาราของไทยไปยัง ตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน วิธีการวิจัยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา (Time Series Data) ระหว่างปี พ.ศ.2536 – 2555 มา วิเคราะห์หาความสั มพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการใช้ยางพาราของโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปี ข้างหน้า โดยความต้องการที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะมาจากตลาดเอเชียโดยเฉพาะจีนและอินเดีย โดย พบว่าอัตราการใช้ยางธรรมชาติของจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ที่สุดของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ และการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และ ความต้องการยางล้ อรถยนต์ในประเทศ จากรายงานขององค์กรศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ (International Rubber Study Group; IRSG, 2013: Online) สาหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ส่งออกยางพาราของไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ปริมาณการผลิตของยางล้อรถของ

91


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ราคาส่งออกยางแท่งของประเทศมาเลเซียปรับด้วยดัชนีผู้บริโภค ของมาเลเซีย อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทต่อเงินหยวน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกยางแท่ง ของประเทศไทยไปตลาดสาธารณรั ฐ ประชาชนจี น คือ ปริ ม าณการผลิ ต ยางล้ อรถของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนและอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินหยวน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ส่งออกยางแผ่นรมควันของประเทศไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ราคาส่งออกยางแผ่น รมควันของไทยปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย และราคาส่งออกยางแท่งของประเทศมาเลเซีย ปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซีย คาสาคัญ: ยางพาราไทย การส่งออก ตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน Abstract The aims of this research were to study of the situation Thailand natural rubber exporting to People’s Republic of China market and to investigate the significant factors on natural rubber export of Thailand to People’s Republic of China market (P.R. China). This research methodology was using time series data from 1993 to 2012 and analyzing by Multiple Regression for the influence factors. The result of this study showed that the trend of global demand in natural rubber was continuously increasing for the next 10 years. The most increasing demand would come from Asia market; especially, People’s Republic of China and India. People’s Republic of China was a country which had the highest demand for using natural rubber in the world and also had an upward trend because of its economic situation expansion, its growth of automobiles industries and domestic tires industries (International Rubber Study Group; IRSG, 2013: Online). For the factors affecting Thailand natural rubber exporting to People’s Republic of China market were China tires production, the Malaysia exporting price of stick rubber adjusted by Malaysia consumer price index and exchange rate between Thai Baht to Yuan of China. Besides, the factors affecting Thai stick rubber to People’s Republic of China were China tires production and exchange rate between Thai Baht to Yuan of China. Moreover, the factors affecting Thailand rubber smoked sheets to People’s Republic

92


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

of China market were Thailand rubber smoked sheets exporting price adjusted by Thailand consumer price index and the Malaysia exporting price of stick rubber adjusted by Malaysia consumer price index. Keywords: Thailand natural rubber, Exporting, People’s Republic of China Market บทนา ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สาคัญอย่างหนึ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมีมูลค่าส่งออก ยางพาราตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 – 2555 จะเห็นได้ว่า ยางพารามีมูลค่าการส่งออกอยู่ในอันดับที่ 5 โดย ในปี พ.ศ. 2555 มีมูลค่าการส่งออกยางพาราของไทยสูงถึง 270,153.82 ล้านบาท (ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ส านั กงานปลัดกระทรวงพาณิช ย์ โดยความร่ว มมือจากกรมศุล กากร, 2556: ออนไลน์) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นที่มีการนาเข้ายางพาราจากประเทศไทยเป็น อันดับ 1 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 – 2555 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 827,369 ตันใน ปี พ.ศ. 2550 เป็น 1,630,322 ตันในปี พ.ศ. 2555 (สถิติยางไทย สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2556: ออนไลน์) สัดส่วนการส่งออกยางพาราของไทยไปตลาดสาธาณ รั ฐ ประชาชนจี น ยางแผ่ น รมควัน จะเป็ น สั ด ส่ ว นมากที่ สุ ด และยางแท่ ง จะมี สั ด ส่ ว นการส่ ง ออก รองลงมา จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงทาให้สนใจที่จะศึกษา สถานการณ์การส่งออกยางพาราของ ไทยในตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีนและปัจจัยอะไรเป็นปัจจัยที่สาคัญที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการ ส่งออกยางพาราของไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งออกยางพาราของไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสาคัญที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกยางพาราของไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐ ประชาชนจีน วิธีการวิจัย วิธีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ประกอบด้วย 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา (Time series data) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 – 2555 โดยเก็บรวบรวมจากเอกสารงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อมูลทางสถิติที่หน่วยงานราชการต่างๆ ได้เก็บรวบรวมไว้ เช่น สถาบันวิจัยยาง กรมวิชการ เกษตร กรมศุ ล กากร กระทรวงการคลั ง รวมทั้ ง จากองค์ ก ารศึ ก ษาเรื่ อ งยางระหว่ า งประเทศ (International Rubber Study Group: IRSG) มาทาการวิเคราะห์ข้อมูล

93


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

2. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) 2.1 การวิแคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Method) เป็นการวิเคราะห์โดยใช้ เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าร้อยละ 2.2 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Method) การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการส่งออกยางพาราของไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression Model) โดยการประมาณค่าด้วยวิธีการกาลังสองน้อยสุด (Ordinary Least Square Method) โดยแยกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกเป็น 3 ส่วน คือ คือ การส่งออกยางพารา ของไทย การส่งออกยางแท่ง และการส่งออกยางแผ่นรมควันของไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐประชาชน จีน โดยมีรายละเอียดของสมการดังต่อไปนี้  สมการการส่งออกยางพาราของไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน QERB

=

f(PRSS, QTR, PSMR, EXC, GDP, QUR) ...................... (1)

โดย QERB = ปริมาณยางพาราทั้งหมดของไทยที่ส่งออกไปยังตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตัน) PRSS = ราคาส่งออกยางแผ่นรมควันของประเทศไทยปรับดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (ตัน/บาท) QTR = ปริมาณการผลิตยางรถยนต์ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (พันเส้น) PSMR = ราคาส่งออกยางแท่งของประเทศมาเลเซียปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซีย (ตัน/ดอลลาร์ริงกิต) EXC = อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทต่อเงินหยวน (หยวน/บาท) GDP = มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (พันล้านหยวน) QUR = ปริมาณการนาเข้ายางสังเคราะห์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตัน)  สมการการส่งออกยางแท่งของประเทศไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน QESTR

=

f(PSTR, QTR, PSMR, EXC) .......................... (2)

โดย QESTR = ปริมาณยางแท่งของไทยที่ส่งออกไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตัน) PSTR = ราคาส่งออกยางแท่งของไทยปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (ตัน/บาท) QTR = ปริมาณการผลิตยางล้อรถของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (พันเส้น)

94


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

PSRM = ราคาส่งออกยางแท่งของประเทศมาเลเซียปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซีย

(ดอลลลาร์

ริงกิต/ตัน) EXC = อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทต่อเงินหยวน (หยวน/บาท)  สมการการส่งออกยางแผ่นรมควันของไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน QERSS

=

f(PRSS, POPCH, QSTR, PSMR)(3) ............................

โดย QERSS = ปริมาณยางแผ่นรมควันของไทยที่ส่งออกไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตัน) PRSS = ราคาส่งออกยางแผ่นรมควันของไทยปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (ตัน/บาท) POPCH = จานวนประชาการของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (ล้านคน) QSTR = ปริมาณการนาเข้ายางแท่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจากประเทศไทย (ตัน) PSMR = ราคาส่งออกยางแท่งของประเทศมาเลเซียปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซีย (ตัน/ดอลลาร์ริงกิต) ผลการวิจัย จากการศึกษาวิจัย ปรากฎผลการวิจัย แยกเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้ 1. สถานการณ์และแนวโน้มยางพารา ความต้องการใช้ยางพาราของโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดย รายงานขององค์กรศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ หรือ International Rubber Study Group (IRSG) ระบุว่า ความต้องการใช้อีกประมาณ 10 ปี จะเพิ่มขึ้นโดยคาดว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นส่วน ใหญ่จะมาจากตลาดเอเชียโดยเฉพาะจีนและอินเดีย โดยพบว่าอัตราการใช้ยางธรรมชาติของจีนซึ่งเป็น ประเทศผู้ ใช้ยางรายใหญ่ที่สุ ดของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัว ของภาวะ เศรษฐกิจ และการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และความต้องการยางล้อรถยนต์ในประเทศ 2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกยางพาราไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐประชาชน จีน ผลการวิเคราะห์แยกตามสมการที่ได้กาหนดไว้ 3 สมการข้างต้น โดยมีผลการวิจัยเป็นดังนี้  สมการการส่งออกยางพาราของไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน

95


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

InQERB = 9.632 – 0.482lnPRSS+ 0.576lnQTR+ 0.872lnPSMR+ 2.199lnEXC – 0.165lnGDP – 0.286lnQUR ..(4)**(4.2.3) (1.139-) (2.53.)* (2..03 )* (2.473)* (0.4.2-) (1.050-)

R-squared F-value

= =

0.941 31.680

หมายเหตุ:

Adjusted R-squared Durbin-Watson

= =

0.911 2.491

ค่าที่อยู่ในวงเล็บคือ ค่า t-value * p ≤ 0.05 * * p ≤ 0.01

จากการทดสอบข้ อ มู ล ด้ ว ยการประมาณการความเหมาะสมของเส้ น กราฟ (Curve estimation) รูปแบบสมการที่เหมาะสมควรอยู่ในรูป Log Linear ผลที่ได้จากการประมาณค่าสมการ ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกยางพาราของไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐ ประชาชนจีน (QERB) สามารถอธิบายได้จากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตยางล้อรถของ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (QTR) เพิ่มขึ้น ราคาส่งออกยางแท่งของประเทศมาเลเซียปรับด้วย ดัชนีผู้บริโภคของมาเลเซีย (PSMR) เพิ่มขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทต่อเงินหยวน (EXC) เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณการส่งออกยางพาราของไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 91.10 เมื่อพิจารณาค่า Durbin-Watson มีค่าเท่ากับ 2.491 ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในช่วงระหว่าง 1.50 – 2.50 แสดงว่าไม่เกิด Autocorrelation ระหว่างตัวแปรอิสระด้วยกัน  สมการการส่งออกยางแท่งของประเทศไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน lnQESTR = -8.011 – 0.526lnPSTR + 0.583lnQTR + 0.001lnPSMR + 6.256lnEXC(5) ......... (-1.314) (-0.315) (3.944)** (0.001) (0.494)** R-squared F-value

= =

หมายเหตุ: ** p ≤ 0.01

0.974 141.685

Adjusted R-squared Durbin-Watson

= =

0.967 2.053

ค่าที่อยู่ในวงเล็บคือ ค่าt-value

จากสมการแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกยางแท่งของไทยไปตลาด สาธาณรัฐประชาชนจีน (QESTR) สามารถอธิบายได้ จากการเปลี่ยนแลงของ ปริมาณการผลิตยางล้อ รถของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (QTR) เพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินหยวน

96


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

(EXC) เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อปริมาณการส่งออกยางแท่งของไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 96.70 เมื่อพิจารณาค่า Durbin-Watson มีค่าเท่ากับ 2.053 ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในช่วง ระหว่าง 1.50 – 2.50 แสดงว่าไม่เกิด Autocorrelation ในระหว่างตัวแปรอิสระด้วยกัน  สมการการส่งออกยางแผ่นรมควันของไทยไปยังตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน lnQERSS =

13.696 – 0.599lnPRss + 0.046lnPOPCH + 0.071lnQSTR + 0.713lnPSMR(.) ............. (5.804) (-1.183) (0.347) (1.283) (1.395) F-value =

1.687

Durbin-Watson =

หมายเหตุ:

ค่าที่อยู่ในวงเล็บคือ ค่า t-value

1.341

จากค่า Durbin-Watson แสดงว่าเกิด Autocorrelation ในระหว่างตัวแปรอิสระด้วยกัน จึง จาเป็นต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย ARIMA (p,d,q) โดยใช้ ARIMA (1,0,1) โดยจะได้ผลสมการใหม่ ดังนี้ lnQERSS =

15.3437 – 0.94.3lnPRss + 0.007.lnPOPCH + 0.0.95lnQSTR + 1.0715lnPSMR(7) ..... (..9471)** (-2.34.5)* (0..924) (1.331.)* (2..123) R-squared 0.692

=

0.717

Adjusted R-squared

หมายเหตุ:

ค่าที่อยู่ในวงเล็บคือ ค่าt-value * p ≤ 0.05 ** p ≤ 0.01

=

จากสมการที่ป รั บ ปรุ งใหม่แสดงให้ เห็ นว่า การเปลี่ ยนแปลงปริมาณการส่ งออกยางแผ่ น รมควันของไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน (QERSS) สามารถอธิบายได้ จากการเปลี่ยนแปลง ของราคาส่งออกยางแผ่นรมควันของไทยปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค (PRSS) ลดลง ปริมาณการ นาเข้ายางแท่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจากประเทศไทย (QSTR) เพิ่มขึ้น จะมีผลปริมาณ การส่งออกยางแผ่นรมควันของไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 69.20

97


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

สรุปผลและอภิปรายผล ความต้องการใช้ยางพาราของโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ โดย รายงานขององค์กรศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ หรือ International Rubber Study Group (IRSG) ระบุว่า ความต้องการใช้อีกประมาณ 10 ปี จะเพิ่มขึ้นโดยคาดว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นส่วน ใหญ่ จ ะมาจากตลาดเอเชี ย โดยเฉพาะจี น และอิ น เดี ย โดยพบว่ า อั ต ราการใช้ ย างธรรมชาติ ข อง สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ที่สุดของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ และการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และความต้องการยาง ล้อรถยนต์ในประเทศ และเมื่อศึกษาถึงปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการส่งออกยางพาราของไทยไปตลาด สาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า ปริมาณการผลิตของยางล้อรถของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ราคาส่งออกยางแท่งของประเทศมาเลเซียปรับด้ว ยดัช นีผู้ บริโ ภคของมาเลเซีย อัตราแลกเปลี่ยน ระหว่ า งเงิ น บาทต่ อ เงิ น หยวน ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ผลการวิ จั ย ของสั ญ ชั ย บริ บู ร ณ์ (2550) ซึ่ ง ได้ ทาการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่กาหนดการส่งออกยางพาราของประเทศไทยไปยังตลาดจีนและของพฤทธ สรรค สุทธิไชยเมธี และคณะ (2552) ที่ได้ทาการศึกษาเรื่อง แนวโน้มการส่งออกยางพาราของ ประเทศไทยไปตลาดจีน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกยางแท่งของประเทศไทยไปตลาดสาธารณรัฐ ประชาชนจี น คือ ปริ มาณการผลิ ตยางล้ อรถของประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนและอัตรา แลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินหยวน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของณัฐกฤช อัสนี (2553) ซึ่งได้ศึกษา เรื่ อง การวิเคราะห์ การส่งออกยางพาราของประเทศไทยสู่ ตลาดประเทศจีน และมีผ ลการวิจัยที่ สอดคล้ องกั บ ผลการวิจั ย ครั้ ง นี้ และสอดคล้ องกับผลการวิจัยของสั ญ ชัย บริบูรณ์ (2550) ซึ่งได้ ทาการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่กาหนดการส่งออกยางพาราของประเทศไทยไปยังตลาดจีนและปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการส่งออกยางแผ่นรมควันของประเทศไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ราคา ส่งออกยางแผ่นรมควันของไทยปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย และราคาส่งออกยางแท่งของ ประเทศมาเลเซียปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซีย ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้คือ ภาครัฐอาจจะต้องเข้าไปติดตามและแทรกแซงราคาส่งออก ยางพาราของไทยและอัตราแลก - เปลี่ยน ของเงินบาทต่อเงินหยวนเป็นบางครั้ง เพื่อมิให้ราคาส่งออก ยางพาราของไทยสูงเกินไปโดยเฉพาะต้องมิให้สูงกว่าราคาส่งออกยางแท่งของมาเลเซีย และต้อง ควบคุมมิให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินหยวน (เงินบาทมีค่าแข็งเกินไป) ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สาคัญที่ มีอทธิพลต่อการส่งออกยางพาราของไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นอย่างมาก

98


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

บรรณานุกรม ณัฐกฤช อัสนี. (2553). การวิเคราะห์การส่งออกยางพาราของประเทศไทย สู่ตลาดประเทศจีน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤทธสรรค สุทธิไชยเมธี และคณะ. (2552). แนวโน้มการส่งออกยางพาราของประเทศไทยไปตลาด จีน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัย เทคโนโลยีสยาม สัญชัย บริบูรณ์ (2550). ปัจจัยที่กาหนดการส่งออกยางพาราของประเทศไทยไปยังตลาดจีน. วิทยานิพนธ์เศษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). สถิติยางไทย, ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://www.rubberthai.com ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจาก กรมศุลกากร, (2556), ค้นเมื่อ 27 เมษายน 2557, จาก http://www2.ops3.moc.go.th International Rubber Study Group (2013), retrieved on December 10, 2013, http://www.rubberstudy.com

99


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

100

ความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามโครงการ โรงพักเพื่อ ประชาชนของสถานีตารวจภูธร บางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี Satisfaction of People towards Polices’ Duty Performance under the Police Station for People Project of Bangsrimuang Police Station สุวัตถิ์ ไกรสกุล และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน อาจารย์ประจาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ Suwat Kraisakul and Chutapron Kongrukkawin Lecturer; Faculty of Law; Rajapruk University บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ตามโครงการโรงพักเพื่อประชาชน และ 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนใน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จาแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่มารับบริการที่สถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จานวน 200 คน ผู้วิจัยศึกษาจากจานวนประชากรที่เข้ามารับบริการในช่วงเวลานั้ น เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ซึ่ง ได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, และทดสอบความแปรปรวน ทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มารับบริการมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส ถานี ตารวจภูธรบางศรีเมือง โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากทุกด้าน คือ ด้านการบริการทั่วไป ด้านการ อานวยความยุติธรรมทางอาญา ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิ น ด้านการควบคุม การจราจร ด้ า นการประชาสั ม พั น ธ์ แ ละแสวงหาความร่ ว มมื อ จากประชาชน และด้ า นสถานที่ แ ละ สภาพแวดล้อม โดยประชาชนที่มี เพศ อายุ ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานี ตารวจภูธรบางศรีเมือง ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มี ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง แตกต่างกัน คาสาคัญ : ความพึงพอใจ สถานีตารวจ การบริการของตารวจ


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

101

Abstract The purposes of this research were to study 1) a level of satisfaction of people towards duty performance of police officers under a project of police station for people 2) to compare satisfaction level of people in duty performance of police officers of provincial police station of Bangsrimuang, divided into gender, age, education level, occupation and income by utilizing sample group from people coming to use service at Bangsrimuang Police Station, total 200 persons. The study of the population to receive services in that time. The tool utilized in the study was questionnaire. Data analysis was conducted by statistics, percentage, mean, standard deviation, (One-Way ANOVA) test, It were found that : The people coming to use service were satisfied to the duty performance of the police officers of Bangsrimuang provincial police station in high level in all aspects, namely general service, criminal justice administration, life security and property, traffic control, public relations and seeking of coordination from people and place and environment, People having difference in gender and age had the satisfaction to the duty performance of police officers of provincial police station of Bangsrimuang with no difference. As for people having difference in education level, occupation and income had different satisfaction to the duty performance of police of provincial police station of Bangsrimuang. Keyword : Satisfaction, Police Station, Police Service บทนา สถานี ตารวจเป็ น หน่ วยงานที่มีความส าคัญที่สุ ดของส านักงานตารวจแห่งชาติ เนื่องจากเป็น หน่วยงานระดับยุทธศาสตร์ในการทาหน้าที่รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่ง เป็นภารกิจของสานักงานตารวจแห่งชาติ ความสาเร็จหรือความล้มเหลวของงานตารวจจะอยู่ที่ผลการ ปฏิบัติงานของสถานีตารวจเป็นส่วนใหญ่ หากการปฏิบัติงานของสถานีตารวจทุกสถานีก่อให้เกิดความพึง พอใจ เชื่อถือ ศรัทธา แก่ประชาชนในพื้นที่ก็จะส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ส่วนรวมที่ดีของสานักงานตารวจ แห่งชาติต่อไป


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

102

แต่อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมาการปฏิบัติงานของตารวจทั้งในการให้บริการบนสถานีตารวจ และการให้บริการนอกสถานีตารวจยังไม่เป็นที่พึ่งพอใจของประชาชนที่มาใช้บริการของสถานีตารวจ อัน เนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ (กรมตารวจ, 2541) ดังนี้ กล่าวคือ โครงสร้างอัตรากาลังของข้าราชการตารวจ ประจาสถานีตารวจที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอกับปริมาณและคุณภาพของงานที่เพิ่มขึ้น ไม่สอดคล้อง รองรับถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการ ประชาชนของสถานีตารวจ ระบบและวิธีการปฏิบัติงานสถานีตารวจยังมีภาพลักษณ์ที่มีกฎเกณฑ์และ ขั้นตอนมากมาย สลับซ้าซ้อนเสียเวลา ไม่สอดคล้องสัมพันธ์กันและไม่เสร็จสิ้น ณ สถานีตารวจ ประชาชน บางส่วนมองสถานีตารวจเป็นสถานีทไี่ ม่น่าเข้ามาใช้บริการ ยกเว้นหลีกเลี่ยงไม่ได้และมองเจ้าหน้าที่ตารวจ เป็นพวกวางอานาจ ไม่สุภาพแสวงหาผลประโยชน์ ไม่ค่อยให้บริการประชาชน ประชาชนบางส่วนยังมี ความเข้าใจว่า เจ้าหน้าที่ตารวจมีหน้าที่แก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยลาพังโดยตนเป็นเพียงผู้ใช้บริการ เท่านั้ น ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อ งว่าอาชญากรรมนั้ นเป็นภัยของสั งคมที่ ทุกคนจะต้องร่ว มกั น รับผิดชอบ ประชาชนบางส่วนยังมีความรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรมอยู่ในระดับสูงทาให้ขาดความ เชื่อถือศรัทธาต่อประสิทธิภาพในการทางานของเจ้าหน้าที่ตารวจ เจ้าหน้าที่บางส่วนไม่เห็นความสาคัญ ของการมีส่วนร่วมของประชาชนและไม่เข้าใจว่าสถานีตารวจถือเสมือนเป็นสมบัติร่วมกันของประชาชนจึง ปฏิบั ติงานแต่เพีย งล าพังฝ่ ายเดีย วไม่ส นใจในการแสวงหาความร่ว มมือและสนับสนุนจากประชาชน เจ้ าหน้ าที่ บ างส่ ว นยั ง ขาดความเข้ า ใจและความส านึ กรั บ ผิ ด ชอบในการเป็ นผู้ ใ ห้ บ ริก ารประชาชนมี พฤติกรรมและท่าทีปฏิบัติต่อประชาชนที่ไม่เหมาะสมไม่ให้ความสนใจแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการขาด ความสุภาพต่อสุจริตชนและทางานด้วยความล่าช้า ผู้บังคับบัญชาบางส่วนยังขาดการดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้ บังคับอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะทางด้านความทุกข์สุข เดือดร้อน และความประพฤติของผู้ใต้บังคับบัญชา สถานที่ทางานของสถานีตารวจมักคับแคบมีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอและไม่สะดวกต่อการใช้งาน งานที่ ให้บ ริการประชาชนอยู่ กระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องและไม่เสร็จสิ้น ณ จุดเดียว ขาดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ขาดความสวยงามและขาดสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จาเป็นต้องดาเนินการ และอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอไม่ทันสมัยและไม่เหมาะสมกับการใช้งานในสถานีตารวจ ส่วนใหญ่จะขาดแคลนทั้งประเภทและปริมาณ นอกจากนี้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้อยู่มีความเสื่อมสภาพไม่ เหมาะสมต่อการใช้งานหรือใช้การไม่ได้ทั้งยังอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จาเป็นการใช้งานบางอย่างไม่มี กาหนดไว้ในรายการอุปกรณ์พื้นฐานสาหรับสถานีตารวจ แนวคิดเกี่ย วกับบริการสาธารณะ ประยูร กาญจนดุล (2539) ได้กล่าวถึงแนวความคิดการ ให้บริการสาธารณะว่า 1) บริการสาธารณะต้องเป็นกิจการที่อยู่ในการอานวยการหรือการควบคุมของฝ่าย


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

103

ปกครอง และต้องเป็นกิจการที่รัฐจัดทาขึ้นเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน หรือเป็นกิจการ ที่อยู่ในการอานวยการรัฐ โดยรัฐมอบหน้าที่ในการจัดทาบริการสาธารณะให้บุคคลอื่นทา โดยรัฐจะเป็นผู้ ควบคุมมาตรฐานของบริ การสาธารณะ 2) การบริการสาธารณะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณะ ประโยชน์ กล่าวคือโดยความต้องการของประชาชนอาจแบ่งได้สองประเภท คือ ความต้องการมีชีวิตอย่าง สุขสบายและความต้องการที่จะอยู่อย่างปลอดภัย ดังนั้นกิจการใดที่รัฐเห็นว่ามีความจาเป็นต่อการอยู่ อย่างสุขสบายหรืออยู่อย่างปลอดภัยของประชาชน รัฐจะต้องเข้าทากิจกรรมนั้น นอกจากนี้ในการจัดทา บริการสาธารณะ รัฐไม่สามารถจัดทาบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือกลุ่มหนึ่ง กลุ่มใดได้ รัฐจะต้องจัดทาบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ในการจัดทาบริการสาธารณะจะต้องดาเนินการไปอย่างสม่าเสมอต่อเนื่อง และ จะต้องปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนตลอดเวลา แนวคิดเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาสถานีตารวจเพื่อประชาชน (โรงพักเพื่อประชาชน) จากการ ปฏิบัติงานของตารวจที่ผ่านมาทั้งในการให้บริการบนสถานีตารวจ และการให้บริการนอกสถานีตารวจยัง ไม่เป็นที่พึงพอใจของประชาชนผู้มาใช้บริการ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ สานักงานตารวจแห่งชาติ จึง ได้กาหนดให้มีการปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงานในสถานีตารวจขึ้น สาหรับมาตรการในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของสถานีตารวจดังกล่าวนี้ พลตารวจเอกประชา พรหมนอก อดีตผู้บัญชาการ ส านั ก งานต ารวจแห่ ง ชาติ เมื่ อ ครั้ ง ยั ง ด ารงต าแหน่ ง อธิ บ ดี ก รมต ารวจได้ ป ระกาศนโยบายเน้ น การ บริหารงานของกรมตารวจ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2540 ไว้หลายด้านซึ่งในนโยบายที่เน้นหนัก คือการ พัฒนาสถานีตารวจและหน่วยงานปฏิบัติงานหลักให้มีความพร้อมในการบริการประชาชน รวมทั้งมุ่ง กระจายทรัพยากรทางการบริการสถานีตารวจให้มากขึ้น เน้นการพัฒนางานบริการบนสถานีตารวจ งาน สายตรวจป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม งานอานวยความยุติธรรมทางอาญา งานสืบสวนสอบสวน งานจราจร งานประชาสัมพันธ์ชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ตลอดจนกระจายกาลังเจ้าหน้าที่ตารวจออกไป ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้มากที่สุด ภายหลังจากการประกาศใช้นโยบายและมาตรการดังกล่าว และในที่สุดก็ ได้มีคาสั่งกรมตารวจที่ 119/2541 ลงวันที่ 29 มกราคม 2541 เรื่องให้ปฏิบัติตามโครงการพัฒนาสถานี ตารวจเพื่อประชาชน (ชื่อย่อโครงการโรงพักเพื่อประชาชน) โดยมีจุดเน้นในการให้บริการประชาชน 3 ประการ คือ 1. เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของสถานีตารวจโดยเฉพาะ การจัดตั้งคณะกรรมการสถานีตารวจ เพื่อให้ประชาชนกับตารวจทางานด้วยกันในลักษณะของการร่วมคิด


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

104

ร่วมวางแผน ร่วมทา และร่วมประเมินผล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สถานีตารวจถือเป็นเสมือนหนึ่งสมบัติ ร่วมกันของชุมชน 2. มีการกาหนดขั้นตอนและระยะเวลาการบริการประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้เพื่อให้ ประชาชนได้ทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เอกสารที่ต้องใช้ ระยะเวลาในการดาเนินงานแต่ละ เรื่องอย่างชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ 3. เน้นการให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเสร็จสิ้น ณ จุดเดียว (One Stop Service) โดยรวมการบริการในด้านต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกันและให้งานเสร็จสิ้น ณ สถานีตารวจให้ มากที่สุด พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปตามหลักการและจุดเน้นดังกล่าวข้างต้นสานักงานตารวจแห่งชาติ จึง ได้กาหนดแนวทางปฏิบัติไว้ 7 ด้าน คือ 1. ด้านการบริหารและจัดการทั่วไป มุ่งให้ประชาชนได้รับบริการด้วยความสะดวกและ รวดเร็ ว โดยการปลุ ก จิ ต ส านึ ก ให้ ข้ า ราชการต ารวจมี ทั ศ นคติ และจิ ต วิ ญ ญาณในการให้ บ ริ ก ารต่ อ ประชาชนด้วยความสุภาพอ่อนน้อม ยิ้มแย้มแจ่มใส ตามพันธกิจที่ได้ให้ไว้กับประชาชนในการให้บริการ 2. ด้านการอ านวยความยุติ ธ รรมทางอาญา มุ่งให้ ประชาชนได้รับการอานวยความ ยุติธรรมจากข้าราชการตารวจ ด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรมถูกต้องตามหลักยุติธรรมและหลักธรร มาภิบาล 3. ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มุ่งให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีความรู้สึกอบอุ่นใจมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดารงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข 4. ด้ า นการควบคุ ม และการจั ด การจราจร มุ่ ง ให้ ป ระชาชนได้ รั บ ความสะดวกและ ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ขณะเดียวกันก็มุ่งบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อ งกับจราจรอย่างเคร่งครัดและ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการจราจร 5. ด้านการประชาสัมพันธ์และแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน มุ่งสร้างความเข้าใจ อันดีระหว่างตารวจกับประชาชนและแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติง านของ ตารวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 6. ด้านการปรับปรุงสถานที่ทาการและสิ่งแวดล้อม มุ่งให้สถานีตารวจมีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาด สะดวก ต่อการให้บริการประชาชน 7. ด้านการบริหารและปกครองบังคับบัญชา มุ่งให้ข้าราชการตารวจเป็นผู้มีพฤติกรรมดี


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

105

ในปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดาเนินการเป็นระยะที่ 3 (พ.ศ. 2554-2558) ได้กาหนดให้มีการ ปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาการปฏิบั ติง านของสถานีต ารวจให้ เ ป็น ที่ พึ่ง ของประชาชนอย่ างแท้จ ริง โดยคานึง ถึ ง ประชาชนผู้รับบริการเป็นหลักให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัย กฎ ระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และได้ กล่าวถึงระบบการให้บริการ ดังนี้ 1) กิริยาวาจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส หมายถึงข้าราชการตารวจของ สถานีตารวจทุกนายต้องแสดงกิริยาวาจา ท่าทางที่สุภาพ และมีบุคลิกภาพที่เป็นมิตร แต่งกายถูกต้องตาม ระเบียบ มีจิตใจพร้อมในการให้บริการ 2) พร้อมใจช่วยเหลือ เมื่อประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์มาพบ หรือร้องขอความช่วยเหลือหรือข้าราชการตารวจผู้ใดก็ตามที่ประสบเหตุจะต้องแก้ไขปัญหา อานวยความ สะดวกหรือประสานการปฏิบัติในเบื้องต้นให้แก่ประชาชนทุกกรณีด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ต้องไม่มีการเลือก ปฏิบัติ 3) ไม่อยู่เหนือกฎหมาย ข้าราชการตารวจต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม โดยการ เคารพกฎ กติกา ระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่มีการใช้อภิสิ ทธิ์ใด ๆ เกินกว่าสิ ทธิทั่วไป 4) ขยายบริการ มีกาหนดเป้าหมายและระยะเวลาตรวจเยี่ยมประชาชน ได้แก่ ประชาชนทั่วไป ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะต่าง ๆ เพื่อเยี่ยมเยียน รับฟังปัญหาของประชาชนชุมชน ตลอดจน จัดทาฐานข้อมูลท้องถิ่น โดยเน้นผู้เสียหายหรือผู้เคยตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ทั้งนี้ให้บูรณาการการ ทางานร่วมกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ของสถานีตารวจและ กต.ตร.สภ./สน. ในการลงพื้นที่และแก้ไขปัญหา 5) ทางานว่องไวใสใจประชาชนลดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการบนสถานีตารวจ การให้บริการ ได้แก่ การให้บริการตามลาดับ (ระบบคิว) และให้บริการด้วยความรวดเร็ว วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีตารวจภูธร บางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีตารวจภูธร บางศรีเมือง จาแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ วิธีการวิจัย การวิ จั ย ในครั้ ง นี้ เ ป็ น การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ระดั บ และปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ความพึ ง พอใจของ ประชาชนต่อการใช้บริการของสถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งจากการศึกษาได้ทาการ ดาเนินการวิจัยดังต่อไปนี้ 1. การกาหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

106

1.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรที่ใช้บริการของ สถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี เพื่อขอรับบริการในงานด้านต่าง ๆ ในเดือนตุลาคม 2556 – เดือนธันวาคม 2556 ซึ่งไม่ทราบจานวนที่แน่นอน 1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบ Accidental Sampling เป็น การเลือกที่มิได้กาหนดไว้ล่วงหน้าว่ามีใครจะเป็นตัวอย่าง ดังนั้นเมื่อพบเจอใครก็เลือกคนนั้นเป็นตัวอย่าง ไปเลยไม่จากัดเวลาและสถานที่ คนไหนไม่ตอบก็หาคนใหม่ เก็บข้อมูลได้ครบตามจานวน 200 คน ผู้วิจัย ศึกษาจากจานวนประชากรที่เข้ามารับบริการในช่วงเวลานั้น (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2551: 64) 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม โดยแบ่ง ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มาใช้บริการสถานีตารวจ ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสถานีตารวจภูธร บางศรี เมือง จั งหวัดนนทบุ รี ซึ่งมีด้ว ยกัน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริการทั่วไป ด้านการอานวยความ ยุติธรรม ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการควบคุมและจัดการจราจร ด้านการ ประชาสั ม พั น ธ์ แ ละแสวงหาความร่ ว มมื อ จากประชาชน และด้ า นการปรั บ ปรุ ง สถานที่ ท าการและ สภาพแวดล้อม ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 3. การสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ 3.1 การสร้างเครื่องมือ 1) สร้างเครื่องมื อ โดยการศึกษาหลั กการสร้างแบบสอบถาม แล้ ว กาหนดประเด็นของคาถามด้วยการจัดเก็บหมวดหมู่ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและนาเสนอ อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้ตรวจสอบแบบสอบถามเบื้องต้น 2) ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะ แล้วนาไปใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล 3.2 ลักษณะของเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่ ว นที่ 1 ข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลของผู้ ม าใช้ บ ริ ก ารสถานี ต ารวจ ได้ แ ก่ เพศ อายุ ระดั บ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

107

ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีด้วยกัน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริการทั่วไป ด้านการอานวยความยุติธรรม ด้านการ รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการควบคุมและจัดการจราจร ด้านการประชาสัมพันธ์และ แสวงหาความร่วมมือจากประชาชน และด้านการปรับปรุงสถานที่ทาการและสภาพแวดล้อม ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการของสถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยแบบวัดจากแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) มีเกณฑ์การให้คะแนน 5 ระดับ คือ 5 หมายถึง ความพึงพอใจมากที่สุด 4 หมายถึง ความพึงพอใจมาก 3 หมายถึง ความพึงพอใจปานกลาง 2 หมายถึง ความพึงพอใจน้อย 1 หมายถึง ความพึงพอใจน้อยที่สุด 3.3 การทดลองใช้เครื่องมือ คณะผู้ วิจั ย ได้น าไปทดลองใช้กับประชาชนที่เคยใช้บริการของสถานีตารวจภูธ รบางศรี เมือง จังหวัดนนทบุรี ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 30 คน แล้วนามาหาค่าความเที่ยง โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป ทางสถิติ ช่วยในการวิเคราะห์ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะผู้วิจัยได้กาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามลาดับขั้นตอน ดังนี้ 4.1 ดาเนินการแจกแบบสอบถามประชาชนต่อการใช้บริการของสถานีตารวจภูธรบางศรี เมือง จังหวัดนนทบุรี 4.2 เก็บรวบรวมแบบสอบถาม แล้ วคัดเลือกแบบสอบถามที่สมบูรณ์ เพื่อนาข้อมูล ที่ ได้มาวิเคราะห์ผลต่อไป 5. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลสาหรับการวิจัยครั้งนี้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage)


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

108

2. ข้อมูลด้านความพึงพอใจต่อการบริการ ได้แก่ ด้านการบริการทั่วไป ด้านการอานวย ความยุติธรรม ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการควบคุมและจัดการจราจร ด้าน การประชาสัมพันธ์และแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน และด้านการปรับปรุงสถานที่ทาการและ สภาพแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้ เกณฑ์ การแปลระดับ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของพนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่ส ถานี ตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.50 - 4.49 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 หมายถึง ความพึงพอใจระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด 3. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน ระหว่างตัวแปรต้นคือ ปัจจัยบุคคล กับตัว แปรตามคือ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการของสถานีตารวจภูธ รบางศรีเมือง จังหวัด นนทบุรี 4. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test สาหรับตัวแปรต้นที่มี 2 กลุ่ม ที่มีระดับการวัดแบบกลุ่ม (Nominal Scale) คือ เพศ กับตัวแปรที่มีระดับ การวัดแบบช่วง (Interval Scale) คือ ความพึงพอใจต่อการบริการที่ระดับนัยสาคัญ .05 5. การวิเคราะห์ ความแปรปรวนด้ว ยสถิติการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สาหรับตัวแปรต้นที่มี 3 กลุ่มขึ้นไป คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อ เดือน กับตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจต่อการบริการที่ระดับนัยสาคัญ .05 ผลการวิจัย 1. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการของสถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริการทั่วไป ด้านการอานวยความยุติธรรมทางอาญา ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการควบคุมการจราจร ด้านการประชาสัมพันธ์และ แสวงหาความร่วมมือจากประชาชน ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ตารางที่ 1 สรุปผลความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการใช้บริการของสถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัด นนทบุรี ความพึงพอใจ 6 ด้าน สรุปผลและอภิปราย 1. ด้านการบริการทั่วไป ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านการบริการ ทั่วไป อยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของนัธ วัฒ น์ ธีร์ระตะวัน (2554: 46) เรื่องความพึงพอใจของประชาชนต่อ การให้ บ ริการของเจ้าหน้ าที่ตารวจภูธ ร เมืองพัทยา จังหวั ด ชลบุรี 2. ด้านการอานวยความยุติธรรมทาง ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านการอานวย อาญา ความยุ ติ ธ รรมทางอาญาอยู่ ใ นระดั บ มาก ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิจัยของนัธวัฒน์ ธีร์ระตะวั น (2554) เรื่องความพึงพอใจ ของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตารวจภูธร เมือง พัทยา จังหวัดชลบุรี 3. ด้านการรักษาความปลอดภัยใน ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านรักษาความ ชีวิตและทรัพย์สิน ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับ งานวิจัยของอนุชิต อุดมภักดี (2547) เรื่องความพึงพอใจของ ประชาชนต่อคุ ณภาพในการให้ บริการของสถานีตารวจภูธ ร ตาบลภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ 4. ด้านการควบคุมการจราจร ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านการควบคุม การจราจรอยู่ ใ นระดั บ มาก ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของนัธวัฒน์ ธีร์ระตะวัน (2554: 46) เรื่องความพึงพอใจของ ประชาชนต่ อ การให้ บ ริ ก ารของเจ้ า หน้ า ที่ ต ารวจภู ธ ร เมื อ ง พัทยา จังหวัดชลบุรี 5. ด้านการประชาสัมพันธ์และ ประชาชนมี ค วามพึ ง พอใจต่ อ การให้ บ ริ ก ารในด้ า นการ แสวงหาความร่วมมือจาก ประชาสัมพันธ์และแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนอยู่ใน ประชาชน ร ะ ดั บ ม า ก ซึ่ ง ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ง า น วิ จั ย ข อ ง จ่าสิบตารวจจงใจ เขินอานวย (2551) เรื่องความคิดเห็นของ ประชาชนที่ มี ต่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพการให้ บ ริ ก ารของสถานี

109


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

ความพึงพอใจ 6 ด้าน 6. ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม

110

สรุปผลและอภิปราย ตารวจภูธรพระนครศรีอยุธยา ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านสถานที่และ สภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อนุชิต อุดมภักดี (2547) เรื่องความพึงพอใจของประชาชนต่อ คุณภาพในการให้บริการของสถานีตารวจภูธรตาบลภูพิงคราช นิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่

2. ผลการวิเคราะห์เปรี ยบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพการ ให้ บริ การของสถานี ตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี จาแนกตามปัจจัยพื้นฐานของประชาชน ผู้ใช้บริการ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของสถานี ตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ไม่แตกต่าง สรุปและอภิปรายผล ประชาชนที่มาใช้บริการสถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ที่มีเพศต่างกันมีระดับ ความพึงพอใจต่อการบริการของสถานีตารวจฯ ไม่แตกต่างกัน ด้านบริการทั่วไป ด้านการอานวยความ ยุติธรรมทางอาญา ด้านรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการควบคุมการจราจร ด้านการ ประสัมพันธ์และแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม ประชาชนที่มาใช้บริการสถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ที่มีอายุต่างกันมีระดับ ความพึงพอใจต่อการบริการของสถานีตารวจฯ ไม่แตกต่างกัน ด้านบริการทั่วไป ด้านการอานวยความ ยุติธรรมทางอาญา ด้านรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการควบคุมการจราจร ด้านการ ประสัมพันธ์และแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม ประชาชนที่มีการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของ สถานีตารวจภูธรบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี แตกต่างกัน เนื่องจากมีระดับความพึงพอใจต่อการบริการ แตกต่างกัน ด้านบริการทั่วไป ด้านการอานวยความยุติธรรมทางอาญา ด้านรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ด้านการควบคุมการจราจร ด้านการประสัมพันธ์และแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม


บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558)

บรรณานุกรม กรมตารวจ. (2541). โครงการพัฒนาสถานีตารวจเพื่อประชาชน (โรงพักเพื่อประชาชน). กรุงเทพฯ: กรมตารวจ. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์ แอนด์ดี. นัธทวัฒน์ ธีร์ระตะวัน. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตารวจภูธร เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา. จงใจ เขินอานวย. (2551). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพการให้บริการของสถานี ตารวจภูธรพระนครศรีอยุธยา. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรอยุธยา. ประยูร กาญจนดุล. (2533). คาบรรยายกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อนุชิต อุดมภักดี. (2547). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพในการให้บริการของสถานี ตารวจภูธรตาบลภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง และการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

111



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.