จิตรกรรมผ้าพระบฏ วัดทุ่งคา
ชลธิชา พ่วงพงษ์
จิตรกรรมผ้าพระบฏ วัดทุ่งคา ประวัติวัดทุ่งคา
วัดทุ่งคาตั้งอยู่บ้านทุ่งคาหมู่ 4 จังหวัดลำ�ปาง
ตำ�บลแม่สุก อำ�เภอแจ้ห่ม
ความหมายของพระบฏ
พระบฏ หมายถึง ผืนผ้าขนาดยาวที่เขียนภาพพระพุทธเจ้า พุทธประวัติ หรือทศชาติชาดก แขวนหรือห้อยอยู่ภายในอุโบสถ วิหาร หรือศาลาการเปรียญ พระบฏ รูปคำ�เดิมแต่ภาษาบาลี คือ ปฏ อ่านออกเสียงว่า ปะ-ฏะ หมายถึงแผ่นผ้าหรือผืนผ้า ดังนั้นพระบฏ จึงมีความหมายได้ว่า รูปของพระพุทธเจ้า หรือเรื่องของพระพุทธเจ้าที่ได้เขียนเป็นภาพลง บนผืนผ้าหรือแผ่นผ้ามีการใช้สีฝุ่นเป็นหลัก มีความสวยงามทางการ เล่าเรื่อง สีสันหลากหลาย เครื่องแต่งกายที่พบได้หลายรูปแบบ และ มีเอกลักษณ์ในการวาดที่เป็นแบบเฉพาะตัว
สีที่ใช้ในการสะท้อนเอกลักษณ์
•สีแดง พบมากที่สุดในการใช้ตัดเส้นตัวละคร •สีเหลือง ใช้แทนสีทอง นิยมใช้ในงานสถาปัตยกรรมและเครื่อง ประดับของตัวละคร •สีเขียว พบมากในธรรมชาติ งานสถาปัตยกรรมและเครื่องแต่ง กายของตัวละคร •สีคราม มักพบในฉากของท้องผ้า งานสถาปัตยกรรมและเครื่อง 2
แต่งกายของตัวละคร •สีเทา ใช้กับฉาก เช่น หิน ดิน สัตว์ •สีดำ� พบมากในการตัดเส้น งานสถาปัตยกรรมและเครื่องแต่ง กายของตัวละคร •สีนํ้าตาล นิยมใช้กับพื้นดิน งานสถาปัตยกรรมและต้นไม้ •สีส้ม นิยมใช้กับภาพจีวรของพระและเครื่องแต่งกาย
การเล่าเรื่องในงานจิตรกรรม
จากการศึ ก ษาพบว่ า การลำ � ดั บ เรื่ อ งราวของช่ า งเขี ย นงาน จิตรกรรมผืนผ้าพระบฏวัดทุ่งคา อำ�เภอแจ้ห่ม จังหวัดลำ�ปาง มีการ ลำ�ดับเรื่องราวเป็นแบบแผนที่ โดยพบทั้งหมด 2 แบบคือ 1. การลำ�ดับเรื่องแบบแนวนอน บอกระยะใกล้ไกล ลำ�ดับก่อน หลัง มีทั้งแบบที่ลำ�ดับเรื่องจากล่างขึ้นบน หรือแบบบนลงล่าง 2. การลำ�ดับเรื่องแบบที่มีเพียงฉากเดียว มักใช้การลำ�ดับจาก ซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย มีการใช้สถาปัตยกรรม หรือเส้นสินเทา ให้การแบ่งภาพเป็นฉากในการเล่าเรื่อง ภาพจิตรกรรมไทยประเพณี รวมถึงงานจิตรกรรมล้านนาเอง ช่างเขียนมีความนิยมในการไม่ปล่อยให้มีพื้นที่ว่างเปล่าบนผนัง หรือ บนผืนผ้าก็ตาม จึงวาดทิวทัศน์หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ลงไปให้เต็ม พื้นที่ หรือไม่ก็นิยมลงสี ช่างเทคนิคโบราณมีการจัดภาพได้อย่างน่า ทึ่ง ผืนผ้าหนึ่งสามารถเล่าเรื่องได้หลายฉากหลายตอน
3
ลักษณะของเครื่องแต่งกาย
1. เครื่องแต่งกายของกษัตริย์ หมายถึงชนชั้นพระเจ้าแผ่นดิน และกษัตรี กษัตริย์ ลักษณะที่บ่งบอกความเป็นพระมหากษัตริย์ คือตัวภาพ เป็น จุดเด่นมักมีเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่หรูหรามากกว่า ช่างเขียนนิยมลงสีทองให้รู้สถานะหรือแสดงออกโดยการสวม มงกุฎหรือประทับนั่งบนบัลลังก์ หรือในพระราชวังที่หรูหราวิจิตร และมีข้าราชบริพารรายล้อมมากมาย เส้นมีความอ่อนช้อยสวยงาม
4
กษัตรี มเหสี หรือชนชั้นปกครองที่เป็นผู้หญิง ลักษณะที่ีบ่งบอก คือตัวภาพมีความเด่น มักเขียนให้อยู่เคียงคู่กับกษัตริย์ มีเครื่องแต่งกายที่สวยงามและสวมเครื่องประดับที่ทำ�ด้วยทองคำ� อาจสวมกระบังหน้า หรือตามร่างกายมีการลงสีทอง มักรายล้อมด้วยข้าราชบริพาร ช่างนิยมเขียนให้มีความอ่อนช้อย มีผิวพรรณที่ผุดผ่อง
5
2. เครื่องแต่งกายของเทวดาหมายถึง ผู้เป็นกายทิพย์เสวยบุญ บนสวรรค์ ทั้งชายและหญิง ชาย เรียก เทวดา หญิงเรียก นางอัปสร เทวดา และนางอัปสร มีลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นเทพ ช่างเขียนจะเขียนเทวดาให้มีขนาดใหญ่ มีการใช้สีให้เป็นจุดเด่น เช่น พระอินทร์ที่มีกายเป็นสีเขียว ถึงแม้จะแปลงกายเป็นพราหมณ์ยังคง ให้มีกายเป็นสีเขียว เทวดาจะมีเครื่องแต่งกายที่เหมือนกับเครื่องแต่งกายของกษัตริย์ เครื่องแต่งกายมีความหรูหราและเป็นสีทอง สิ่งที่แสดงให้รู้ว่าเป็นเทวดานั้นช่างเขียนมีความนิยมเขียนให้เห็นถึง ความอัศจรรย์ โดยการเหาะลอยอยู่เหนือฟ้า มักอยู่ส่วนบนของภาพ เสมอ
6
นางอัปสรก็เช่นเดียวกัน มีลักษณะการทรงเครื่องแต่งกายเหมือน กับการแต่งกายของกษัตรี แต่ท่อนล่างเป็นแบบการแต่งกายของ ตัวนางในจิตรกรรมไทยภาคกลาง มีแบบล้านนาผสมด้วย คือการ ใช้ผ้าห่มหัวไหล่ทั้งสองข้าง ช่างจะใช้เส้นที่อ่อนช้อย งดงาม ใบหน้า ของเทพนั้นจะดูอิ่มเอิ่มกว่าคนทั่วไป
7
3. เครื่องแต่งกายของนักบวช เครื่องแต่งกายของพระสงฆ์ สวมผ้าสองชิ้น คือ สบงและจีวร โดนสวมสบงด้านใน ห่มจีวรตลบไปทางซ้าย เป็นการครองจีวรห่ม เฉียง จีวรเป็นสีส้ม ถือบาตรและตาลปัตร
8
การแต่งกายของฤๅษี ฤๅษีสวมชุดแตกต่างจากการห่มจีวร พระสงฆ์ คือ มีผ้าสองชิ้นแยกเป็นท่อนบนและท่อนล่าง เกล้าผมเป็น ชฎามุกุฎคล้ายพระศิวะ ผ้าที่ใช้เป็นลายเสือโคร่ง
9
การแต่งกายของพราหมณ์ พราหมณ์เป็นสมณเพศของศาสนา พราหมณ์ เครื่องแต่งกายที่ปรากฏนิยมนุ่งโจงกระเบนสีขาวและ เปลือยร่างกายท่อนบนของร่างกาย อาจมีการห่มผ้าขาว มีย่าม สะพายบ่า
10
5. เครื่องแต่งกายของชาวบ้าน ชาวบ้าน ชนชั้นล่าง หรือชนชั้น แรงงานทั้งชายและหญิง การแต่งกายของผู้ชาย ช่างจะถ่ายทอดวัฒนธรรมตั้งเดิมได้มาก ที่สุด นั่นคือการนุ่งเพียงผ้าเตี่ยว ผ้านุ่งปกปิดอวัยวะเพศเพียงผืน เดียว
11
การแต่งกายชาวบ้านผู้หญิง ช่างจะถ่ายทอดวัฒนธรรมและ วิถีชีวิตผ่านทางเครื่องนุ่งห่มไว้ด้วย โดยอาจนุ่งผ้าซิ่นบริเวณท่อน ล่างของร่างกายเพียงผืนเดียวและเปลือยท่อนบนของร่างกาย หรือมี ผ้าคลุมไหล่
12
สถาปัตยกรรมและอาคารบ้านเรือน
1. สถาปัตยกรรมประเภทปราสาทและราชวัง เป็นที่อยู่อาศัย ของเทวดา และเหล่ากษัตริย์ มักมีความสอดคล้องกับสถาปัตยกรรม ไทยภาคกลาง มีความหรูหรา ทาด้วยสีทอง หลังคานิยมทำ�การซ้อน ชั้นเป็นยอดปราสาทหลายๆ ชั้นขึ้นไป มีความวิจิตรด้วยการใส่ตัว เหงา ช่อฟ้า หางหงส์ เพื่อแสดงสถานะความยิ่งใหญ่ของชนชั้นและ นิยมเขียนกำ�แพงล้อมรอบไว้ด้วย
13
2. สถาปัตยกรรมประเภทอาศรม เป็นที่พำ�นักของฤๅษีรูปแบบ คล้ายวิหาร มีการประดับตัวเหงา ช่อฟ้า ใบระกา มีความเรียบง่าย
14
3. สถาปัตยกรรมประเภทเรือน เรือนที่อยู่อาศัยในงานจิตรกรรม นี้ มักเป็นเรือนแบบยกพื้นแบบโบราณประกอบไปด้วย เกิ๋น(บันได ทางขึ้น)ชาน เติ๋น มีความเรียบง่าย ช่างเขียนไม่นิยมลงรายละเอียด มากนัก
15
เนื้อหาในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม
เนื้อหาที่ใช้ในการเล่าเรื่อง คือ พุทธประวัติ พระมาลัย ผ้าพระบฏวัดทุ่งคา จำ�นวน 28 ผืน เขียนเรื่องพระมาลัย จำ�นวน 2 ผืน และเขียนเรื่อง พระเวสสันดร ชาดก 13 กัณฑ์ จำ�นวน 26 ผืน
วิธีรักษางานจิตรกรรมผ้าพระบฏ
1.งดใช้แฟลตขณะถ่ายภาพ 2.เก็บผ้าพระบฏในที่ที่ไม่มีความชื้นเข้าถึง 3.เก็บผ้าพระบฏไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่มีอากาศเข้าถึง มากจนเกินไปเพื่อที่จะป้องไม่ให้สีหลุด หรือแตกกรอบจากความแห้ง
16
จิตรกรรมผ้าพระบฏ วัดทุ่งคา ภาพและชื่อเรื่อง © (พ.ศ. 2557) โดย ชลธิชา พ่วงพงษ์, 540310108 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปแบบโดย ชลธิชา พ่วงพงษ์ โดยใช้ฟอนท์ชื่อ TH K2D July8 16 pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17
จิตรกรรมผ้าพระบฏวัดทุ่งคา มีอายุราว ๑๑๐ ปี มี คุ ณ ค่ า ทางประวั ติ ศ าสตร์ ใ นการศึ ก ษาภู มิ ห ลั ง และ ลั ก ษณะทางศิ ล ปกรรม สร้ า งโดยชาวบ้ า นเพื่ อ ใช้ ประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา ลักษณะที่สามารถ จำ�แนกได้ในงานนัน้ มีเครือ่ งแต่งกาย งานสถาปัตยกรรม มีการใช้สีฝุ่นเป็นหลักในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม จิตรกรรมผ้าพระบฏเหล่านี้สะท้อนถึงวัฒนธรรมความ เป็ น อยู่ ดั้ ง เดิ ม ของชนพื้ น เมื อ งล้ า นนาและแฝงด้ ว ย อารยธรรมต่างๆเข้าด้วยกัน ซึง่ เป็นประโยชน์ควรค่าแก่ การอนุรักษ์ต่อไป