Teach For Thailand : Annual Report 2014_Test 02

Page 1

ANNUAL REPORT 2014


CONTENTS

ทักทาย Welcome Message from Chairman

เกี่ยวกับเรา

Our Story So Far

แผนที่เดินทาง

Our Journey

ฝ่ายสรรหาผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง

Talent Acquisition

ฝ่ายอบรมและพัฒนา

Training and Support

ฝ่ายประเมินและวิจัยผลสัมฤทธิ์

Research, Impact and Evaluation

เรื่องราวจากห้องเรียน

Stories from the Ground

ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์

External Relations

การเงิน

Finance

โครงสร้างองค์กร

Team Structure

ขอขอบคุณ

Thank You

2 | Teach for Thailand

3

4

6

8

10

12

14

22

26

28

29


WELCOME สวัสดีครับ… ปี 2557 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปีเริ่มต้นความ ส�ำเร็จของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ซึ่งได้เริ่ม ด�ำเนินการจนบรรลุภารกิจที่ส�ำคัญของโครงการ หลายประการ ตั้งแต่การคัดเลือกบัณฑิตไทยชั้น แนวหน้าเพื่อเข้าสู่โครงการของมูลนิธฯิ ให้การพัฒนา ทักษะส�ำคัญต่างๆ เพื่อเป็นครูผู้น�ำและส่งครูผู้น�ำรุ่น แรกเหล่านี้สู่โรงเรียนที่มีความต้องการ โดยเชื่อมั่น ว่าพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของพลังขับเคลื่อนการ เปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญให้กับการศึกษาไทย สังคม ไทย และประเทศไทยต่อไป นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการจัดตั้ง องค์กรบริหารของมูลนิธิฯ และด�ำเนินการจัดการ ให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้ต้องขอชื่นชมความ มุ่งมั่นของทีมงานของมูลนิธิฯ และครูผู้น�ำรุ่นแรก ทุกๆ ท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้เข้าร่วมบุกเบิก ตั้งแต่ เจตนารมณ์ที่ดีที่ท่านมีต่อสังคม และความมุ่งมั่น พากเพียรในการท�ำงานอย่างอุตสาหะตลอดระยะ เวลาที่ผ่านมา ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนทุกท่าน และทุกองค์กรเป็นอย่างยิ่งที่ได้สร้างโอกาส ให้พลัง คนรุ่นใหม่ ได้เข้ามามีส่วนสร้างความเปลี่ยนแปลง ที่ดีขึ้น ได้ติดตามผลงาน และให้ค�ำแนะน�ำอย่าง ต่อเนื่อง ขอขอบพระคุณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันทางครุศึกษา ที่เป็นก�ำลังส�ำคัญในการร่วมสร้างหลักสูตรการ พัฒนาครูผู้น�ำจนส�ำเร็จ ตลอดจนขอขอบคุณกลุ่ม โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ให้โอกาสครู ผู้น�ำได้เข้าไปมีส่วนร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงใน ห้องเรียนและโรงเรียนของท่าน ความส�ำเร็จนี้เกิดจากความร่วมมือรวมพลัง ของทุกภาคส่วนที่มีความเชื่อมั่นแรงกล้าร่วมกัน ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริงได้ ทั้ง ในห้องเรียน ในโรงเรียนและในสังคม เพื่อช่วยเติม เต็มโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพแก่เด็กไทย ทุกคน สุดท้ายนี้ผมเชื่อว่า ทีมงานของมูลนิธิฯ และผู้สนับสนุนทุกท่านและทุกองค์กร จะมุ่งมั่น ด�ำเนินการต่อไปเพื่อสร้างความส�ำเร็จ และการ เติบโตอย่างยั่งยืนของการศึกษาไทยในที่สุด และ ขอขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง สมฤกษ์ กฤษณามระ ประธานมูลนิธิฯ

Annual Report 2014 | 3


OUR STORY SO FAR เรื่องราวของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ความท้าทายต่อปัญหาความเหลื่อมล�้ำทางการศึกษา การศึกษาเป็นหัวใจส�ำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กเพื่อให้พวกเขาได้เติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพ อันจะเป็นก�ำลังส�ำคัญของชาติต่อไป ในอนาคต แต่หากในความเป็นจริงแล้ว การศึกษาไทยในปัจจุบันยังไม่สามารถเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนของเราได้มีความรู้และทักษะที่จ�ำเป็นใน ระดับที่สูงกว่าพื้นฐานได้ อนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร?

5 เท่า

3.8 ปี

28,000 บาท

90%

15,000 บาท 5,500 บาท

โรงเรียนขยายโอกาส

โรงเรียนชั้นน�ำ

3.8 ปี : ความแตกต่างทางทักษะการอ่าน ระหว่างนักเรียนในโรงเรียนชั้นน�ำและ โรงเรียนขยายโอกาส1

ระดับประถม

ระดับมัธยม

5 เท่า : ผลต่างระหว่างรายได้ของผู้ที่ส�ำเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาตรี กับผู้ที่ต้องหยุดการ ศึกษาที่ระดับประถม2

จากความท้าทายของปัญหาความเหลื่อมล�้ำทางการศึกษาข้างต้น ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ตระหนักว่าเด็กไทยทุกคนควรได้รับการศึกษาที่มี คุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมาจากพื้นฐานครอบครัวและสังคม เช่นใดก็ตาม จึงเป็นที่มาของพันธกิจขององค์กรในความต้องการลด ความเหลื่อมล�้ำทางการศึกษา ผ่านการสร้าง ‘กลุ่มผู้น�ำรุ่นใหม่’ ที่จะมา ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งในห้องเรียน โรงเรียน และสังคมไทย การด�ำเนินการเพื่อให้บรรลุพันธกิจของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ นั้นมี ขั้นตอนการด�ำเนินงานผ่านฝ่ายต่าง ๆ สิ่งหนึ่งที่ส�ำคัญ คือ การสรรหา เหล่าผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงที่จะต้องผ่านกระบวนการสรรหาและคัดเลือก บุคคลที่พร้อมทั้งความรู้ และศักยภาพความเป็นผู้น�ำจากหลากหลาย สาขาอาชีพ มาผ่านการอบรมและพัฒนาทักษะความเป็นผู้น�ำ เพื่อให้ ผู้น�ำเหล่านี้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับตนเองและนักเรียน

4 | Teach for Thailand

ระดับมหาวิทยาลัย

เยาวชนไทย

ร้อยละ 90 : ของเยาวชนไทยอายุ 18 - 20 ปี ไม่ต้องการประกอบอาชีพครู

ซึ่งสิ่งนี้เอง คือหนึ่งในผลลัพธ์ที่ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ มุ่งหวังให้เกิด ขึ้นเป็นผลลัพธ์ใน ‘ระยะสั้น’ ส่วนผลลัพธ์ใน ‘ระยะยาว’ คือ การสร้าง ‘เครือข่ายผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง’ ที่เป็นกลุ่มคนคุณภาพ ที่พร้อมทั้งความ สามารถ อุดมการณ์ และความเข้าใจถึงปัญหาสังคมอย่างแท้จริง โดย หลังจากระยะเวลาปฏิบัติงานโครงการ 2 ปี กลุ่มเครือข่ายนี้จะกระจาย อยู่ทุกภาคส่วนของสังคมไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคสังคม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องให้กับประเทศไทยต่อไป 1

ที่มา: ผลการประเมินทักษะการเรียนรู้ในระดับนานาชาติ PISA 2012 โดย สสวท. ที่มา: เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพฒิ และคณะ “การเติบโต ความเหลื่อมล�้ำ และ โอกาสในประเทศไทย”

2


Annual Report 2014 | 5


ครูผู้น�ำการเปลีย ่ นแปลง รุ่นที่ 1 ปี 2557

6 | Teach for Thailand


OUR JOURNEY แผนที่เดินทาง

“ครูผู้น�ำการเปลีย ่ นแปลง” รุ่นที่ 1 ปี 2557

ขั้นตอนการสรรหา

860

416

172

56

สนใจโครงการฯ และลงทะเบียนให้ ข้อมูลเบื้องต้น

ส่งใบสมัคร แบบสมบูรณ์

ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมงาน “กิจกรรมคัดเลือก”

ผ่านการคัดเลือก และเข้าร่วมทดสอบ ความรู้รายวิชา

33 ผ่านเข้าร่วมโครงการฯ

เข้าค่ายเตรียมความพร้อม 6 สัปดาห์

เริ่มปฎิบัติงานสอน 2 ปี

14 โรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ 1

รุ่นที่

ปี2557

เข้าถึงนักเรียน

3,200

ในชุมชนรายได้น้อย

อบรมตลอด ระยะเวลา 2 ปี

3 วิชาหลัก

ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ Annual Report 2014 | 7


TALENT ACQUISITION ฝ่ายสรรหาผู้น�ำการเปลีย ่ นแปลง หัวใจส�ำคัญในการท�ำงานของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ คือ ทรัพยากรมนุษย์ผู้มีความเชื่อมั่นแรงกล้า ที่จะพัฒนาประเทศผ่านการเพิ่มคุณภาพการ ศึกษาส�ำหรับเด็กไทยทุกคน ฝ่ายสรรหาผู้น�ำ การเปลี่ยนแปลง (Talent Acquisition) เป็น เสมือนปราการด่านแรกของการท�ำงานนี้ โดยมี ความรับผิดชอบหลักในการสรรหาผู้น�ำรุ่นใหม่ ที่มีศักยภาพรอบด้านเพื่อมาร่วมแก้ปัญหาที่ ส�ำคัญที่สุดของประเทศ โดยฝ่ายฯ มองหาและ ผลักดันกลุ่มผู้น�ำรุ่นใหม่ให้สมัครเข้ามามีส่วน ร่วมในโครงการ ถึงแม้ว่ากลุ่มผู้น�ำรุ่นใหม่เหล่านี้จะมีความ ตระหนักรู้ถึงปัญหาสังคม อย่างไรก็ดี กลุ่มคน ดังกล่าวมีทางเลือกอื่นในการท�ำงานนอกเหนือ จากภาคสังคมหรือภาคการศึกษา หน้าที่ของ ฝ่ายฯ จึงครอบคลุมมากไปกว่าการรับสมัคร แต่ยังต้องปลูกฝังค่านิยมใหม่ในการท�ำงานเพื่อ สังคม รวมถึงให้ความส�ำคัญกับการพัฒนา ทักษะที่ส�ำคัญในการพัฒนาตนเองและความ เป็นมืออาชีพ (Professional Development) เพื่อดึงทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ ให้เข้าสู่ภาคการศึกษาและภาคสังคมมากขึ้น วิสัยทัศน์ของฝ่ายฯ คือ การสร้างองค์กร ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ให้เป็นหนึ่งในองค์กรจ้างงาน ชั้นน�ำในประเทศไทยที่สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่ มีศักยภาพสูงให้หันมาสนใจการท�ำงานสายงาน ด้านการพัฒนาสังคม โครงสร้างการท�ำงานของฝ่ายสรรหา ผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็นสองส่วนงาน ใหญ่ คือ ด้านการประชาสัมพันธ์รับสมัคร (Recruitment) และด้านการคัดเลือก (Selection)

8 | Teach for Thailand

Recruitment

ส่วนงานด้านการประชาสัมพันธ์รับสมัคร เพื่อเข้าถึงและดึงดูดความสนใจของผู้น�ำรุ่นใหม่ที่กระจายอยู่ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ฝ่ายสรรหา ผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงใช้วิธีการเข้าถึงที่หลากหลายและแปลกใหม่ ตั้งแต่การสร้างความรับรู้ในวงกว้าง (Brand Awareness) ผ่านสื่อสารมวลชนและองค์กรพันธมิตร ไปจนถึงการวางรากฐานโครงสร้าง พื้นฐานส�ำหรับการรับสมัครในระยะยาวตามมหาวิทยาลัยหลักในประเทศไทย (On-campus recruitment infrastructure) ผ่านการสร้างความสัมพันธ์กับบุคลากร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ หน่วยงานภายใน รวมไปถึงชมรมและสโมสรนักศึกษาต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการใช้สื่อสังคมที่ขยายไป ถึงกลุ่มเป้าหมายที่จบการศึกษาและท�ำงานแล้ว ในปี พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา ในส่วนของการสร้างความรับรู้ในวงกว้าง (Brand awareness) ฝ่ายฯ ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท VGI Global Media จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทระบบขนส่ง มวลชนกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ในการประชาสัมพันธ์โครงการผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง ภายในสถานีรถไฟฟ้า นอกจากนี้ฝ่ายฯ ยังได้มีการจัดงานเสวนาใหญ่เพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่หัน มาสนใจปัญหาด้านการศึกษา เช่น ‘งานคบเด็กสร้างชาติ’ โดยจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งาน Ideas For Thai Education ณ กรุงเอดินบะระ (Edinburgh) แคว้นสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ซึ่งมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้เกียรติร่วมอภิปรายผ่าน ทางไกล รวมถึงงานเสวนา Leadership Forum ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งมีคุณ พงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ร่วมเสวนา โดยทั้งสอง งานเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายฯ และสามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นเครือข่ายของ นักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัยนั้น ฝ่ายฯ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งผู้บริหารสถาบันการศึกษา คณาจารย์ และผู้น�ำนิสิตนักศึกษาในการจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น งานเสวนาชีวิตนอกลูกโป่ง จัด ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยความ ร่วมมือระหว่างฝ่ายฯ กับองค์กรกิจการเพื่อสังคมอื่นๆ เพื่อแนะน�ำเส้นทางการท�ำงานในสายสังคม กิจกรรมพัฒนาความเป็นผู้น�ำให้กับนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรม อื่นๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น งาน Job Fair และงานมหกรรมจิตอาสา ฯลฯ รวมถึงกิจกรรมเสวนา ด้านการศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยหลักในสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรกว่า 20 มหาวิทยาลัย นอกจากกิจกรรมเหล่านี้แล้ว ยังมีผู้น�ำนิสิตนักศึกษาที่อาสามาร่วมเป็นผู้ประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนรุ่น ใหม่หันมาสนใจในปัญหาความเหลื่อมล�้ำทางการศึกษา และโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Campus Leader) กว่า 30 คน ในมหาวิทยาลัยหลักทั้งในและต่างประเทศ จากการด�ำเนินการเหล่านี้ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2557 ฝ่ายฯ ได้สร้างความสนใจและดึงดูดให้ผู้น�ำ รุ่นใหม่หันมาสนใจปัญหาสังคมได้เป็นอย่างมาก โดยส�ำหรับทีช ฟอร์ ไทยแลนด์รุ่นที่ 1 ซึ่งเริ่มเข้า การอบรมในช่วงมีนาคม พ.ศ. 2557 ได้มีผู้สมัครกว่า 860 คน เพื่อรองรับ 30 ต�ำแหน่ง นอกจากนี้ ยังมีคนรุ่นใหม่จ�ำนวนมากที่หันมาสนใจกิจกรรมการช่วยเหลือของโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และ อาสาสมัครเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยในรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย


Selection

ส่วนงานด้านการคัดเลือก ฝ่ายฯ ได้ร่วมมือกับเครือข่าย ทีช ฟอร์ ออล (Teach For All) ในการพัฒนารูปแบบ การคัดเลือกเพื่อค้นหาคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถเปิดรับความท้าทายในการ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับเด็กนักเรียนในชุมชนรายได้น้อย และมีแนวโน้มที่จะ สร้างความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งพัฒนาการศึกษาของเด็กนักเรียนได้อย่างแท้จริง โดยจากงานวิจัยของฝ่ายฯ ได้พัฒนา ขั้นตอนการคัดเลือกโดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนการกรอกใบสมัคร พร้อมเรียงความ 3 เรื่อง

ขั้นตอนการสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์

ขั้นตอนกิจกรรมวันคัดเลือก ซึ่ง ประกอบด้วยการทดลองสอน กิจกรรมเสวนากลุ่ม กิจกรรมกรณี ศึกษา การย้อนมองวิเคราะห์ตนเอง การทดสอบกระบวนการคิดเชิง วิพากษ์ และการสัมภาษณ์

โดยทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบและค้นหา 8

ขั้นตอนการทดสอบความ รู้รายวิชา (Subject Knowledge Test)

คุณลักษณะในผู้สมัคร ดังนี้

ความเชื่อในวิสัยทัศน์ของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ที่ว่า “เด็กนักเรียนทุกคนสมควรที่จะได้ รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมกัน และมีศักยภาพ ที่จะประสบความส�ำเร็จได้ทุกคน”

ความเป็นผู้น�ำ ความสามารถใน การน�ำตนเองและผู้อื่นเพื่อไปถึง เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้

ทักษะการสื่อสารสร้างแรงจูงใจ

ทักษะด้านการบริหารจัดการ

กระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ และการคิดอย่างมีเหตุผล

ความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติ และเข้าใจผู้อื่นที่อาจมีความคิดและ พื้นฐานชีวิตที่แตกต่างกับตนเอง

ทักษะด้านการย้อนมองตนเอง รวม ถึงการหาโอกาสในการพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง

ความมุ่งมั่น อดทน ไม่ย่อท้อต่อ ความยากล�ำบาก

จากผลการท�ำงานในปีที่ผ่านมา ฝ่ายสรรหาผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงได้มีส่วน ส�ำคัญในการผลักดันให้โครงการผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เป็นองค์กรที่คนรุ่นใหม่ซึ่งมีศักยภาพสูงต้องการร่วมงานด้วยมากที่สุด

องค์กรหนึ่ง และมากกว่านั้นยังได้เป็นส่วนส�ำคัญในการกระตุ้นให้คนรุ่น ใหม่หันมาสนใจปัญหาสังคม และเกิดความรู้สึกต้องการที่จะเข้ามามีส่วน ร่วมในการแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

Annual Report 2014 | 9


TRAINING & SUPPORT ฝ่ายอบรมและพัฒนา ฝ่ายอบรมและพัฒนามีหน้าที่ในการอบรม พัฒนา และส่งเสริมให้คุณครู ผู้เข้าร่วมโครงการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับนักเรียน ตลอดจนสร้าง โอกาสให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอิสระที่จะเลือกว่าเขาอยากจะท�ำ สาขาอาชีพอะไร และสามารถประกอบอาชีพที่มีค่าตอบแทนสูง ตลอดจน มีความมั่นคงทางการเงิน รวมทั้งสามารถเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพที่ได้ มาตรฐานซึ่งมีความส�ำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น​ หลังจากผู้สมัครผ่านกระบวนการคัดสรร และตอบรับเข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเข้ารับการอบรมค่ายเตรียมความพร้อม เป็น เวลา 6 สัปดาห์ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ วันที่ 23 มี.ค. – 8 พ.ค. 2557 โดยหลักสูตรเป็นการผสมผสานระหว่าง หลักสูตรจากองค์กรนานาชาติ ทีช ฟอร์ ออล ที่ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ น�ำมา ปรับเนื้อหาและวิธีการให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย รวมทั้งการอบรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ตามเกณฑ์ของครุสภา โดยคณะ ครุศาสตร์ จุฬาฯ ในค่ายเตรียมความพร้อมนั้นมุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ โดยแบ่ง ชั่วโมงการเรียนภาคทฤษฏีตลอด 6 สัปดาห์ เป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 233 ชั่วโมง โดยเป็นการฝึกภาคปฏิบัติในวิชาที่แต่ละคนรับผิดชอบในห้องเรียนจริงเป็น จ�ำนวน 15 ชั่วโมงต่อคน (นักเรียนจ�ำนวน 25 คน)​

การอบรมพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้น�ำ เริ่มขึ้นหลังจากผู้เข้าร่วม โครงการเข้าสอนในโรงเรียน โดยจะมีขึ้นทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง หัวข้อ การอบรมจะเป็นไปตามโครงสร้างการพัฒนาครูผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง และจากผลการไปส�ำรวจห้องเรียนของผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคน​ การติดตามและประเมินผลในห้องเรียน หรือการนิเทศก์ห้องเรียน ประกอบไปด้วย 3 ทีมงาน คือ ทีมงานจากทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ทีมงาน คณาจารย์จากจุฬาฯ และหน่วยงานศึกษานิเทศก์ ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยการติดตามและประเมินผลเกิดขึ้นทันทีหลังจากการ นิเทศก์ เพื่อชมเชย และให้ค�ำแนะน�ำ รวมถึงข้อเสนอในการปรับปรุง เพื่อ ผลการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียน และจัดท�ำผลรายงานต่อโรงเรียนและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีการอบรมจากแขกรับเชิญ เพื่อคงความมุ่งมั่น ทัศนคติ เชิงบวกและสร้างแรงบันดาลใจในการท�ำงานเพื่อพัฒนานักเรียนทั้งด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ทักษะการใช้ชีวิต และบุคลิกภาพ การร่วมท�ำ กิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทัศนคติของการเป็น ผู้พัฒนา และการให้ต่อสังคมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักเรียน และเป็นการ พัฒนาชุมชนของโรงเรียน ซึ่งคือสถานที่อยู่ของนักเรียนด้วย​

กิจกรรมต่างๆ ของฝ่ายอบรมและพัฒนา การอบรมภาคฤดูร้อน​ ฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์เพื่อเตรียมความ พร้อมส�ำหรับการสอนในห้องเรียนจริง

การวิจัยอย่างต่อเนื่อง​ พบเจอกันสม�่ำเสมอเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ และรับฟังแนวทางการพัฒนาตนเอง

การประชุมพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้น�ำ​ ประชุมรายเดือนเพื่อฝึกฝนและพัฒนา ศักยภาพความเป็นผู้น�ำ

โครงการอบรมจากแขกรับเชิญ เข้าอบรมและรับฟังแขกรับเชิญ เช่น เจ้าหน้าที่ระดับสูง ของบริษัทเอกชนที่เป็นผู้สนับสนุนขององค์กร

การติดตามประเมินผลในห้องเรียน​ บุคลากรจากทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ กระทรวงศึกษาธิการ และอาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คอยสังเกตการสอนและน�ำเสนอข้อปรับปรุง

กิจกรรมเพื่อสังคม​ ตั้งกิจกรรมเพื่อสังคม สนับสนุน​โดย ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์

ส�ำหรับคุณครูผู้เข้าร่วมโครงการปี พ.ศ 2558 จะมีกิจกรรมการพัฒนาเพิ่มเติม คือ กิจกรรมพี่ช่วยน้อง ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ในปี 2557 จะรับต�ำแหน่งพี่เลี้ยงผู้ให้ค�ำชี้แนะแก่รุ่นน้องที่จะเข้าร่วมโครงการในปีถัดไป​ 10 | Teach for Thailand


การอบรมภาคฤดูร้อน Summer Institute (SI)​

โครงการบริการวิชาการเพื่อรับรองความรู้ วิชาชีพครู โดยคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ CU Training

ฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมส�ำหรับ การสอนในห้องเรียนจริง

หลักสูตร 9 มาตรฐานของครุสภา หลักสูตรที่ 1: ภาษาและเทคโนโลยีส�ำหรับครู หลักสูตรที่ 2: การพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรที่ 3: การจัดการเรียนรู้ หลักสูตรที่ 4: จิตวิทยาส�ำหรับครู

หลักสูตรที่ 5: การวัดและประเมินผล หลักสูตรที่ 6: การบริหารจัดการในชั้นเรียน หลักสูตรที่ 7: การวิจัยทางการศึกษา หลักสูตรที่ 8: นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา หลักสูตรที่ 9: ความเป็นครู

การอบรมและสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้น�ำ Teach For Thailand Training (LDC) หัวข้อที่ 1: วิธีวิทยาการสอนทั่วไป (General Pedagogy) 1. จุดประสงค์ของการศึกษา 2. การสอนอย่างผู้น�ำ 3. วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และการวางแผนแบบย้อนกลับ 4. การสอนแผนการสอนและการไปเยี่ยมโรงเรียน 5. การเรียนรู้ลักษณะของเด็กและการวางแผนการสอน 6. การวางแผนการสอน 7. การจูงใจนักเรียนและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนและครู 8. การสอนขั้นน�ำและขั้นสรุป 9. การตรวจสอบความเข้าใจ 10. การให้ข้อมูลย้อนกลับกับนักเรียน 11. ระบบการจัดการชั้นเรียน 12. การจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ 13. การจัดการศึกษาส�ำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และความแตกต่างของนักเรียน 14. การเตรียมความพร้อมวันแรก และเดือนแรกในโรงเรียน

หัวข้อที่ 2: การสะท้อนตนเอง (Reflection) หัวข้อที่ 3: การพัฒนากรอบความคิด (Mindset Development) 1. Lead Self 2. Positivity 3. Team Building

ตารางกิจกรรมฝึกอบรม ปี 2557–2558 2557

มี.ค. วันที่

3 10 17 24 31

2558

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

7 14 21 28

5 12 19 26

2 9 16 23 30

7 14 21 28

4 11 18 25

2 9 16 23 30

7 14 21 28

4 11 18 25

2 9 16 23 30

6 13 20 27

หมายเหตุ : TFT + CU : SI Training TFT Event : Idea For Thai Education TFT Training (LDC) ครั้งที่ 1 : 14 มิ.ย. ก�ำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายส�ำหรับนักเรียน ครั้งที่ 2 : 19 ส.ค. การลงทุนกับนักเรียน และจิตวิทยาวัยรุ่น ครั้งที่ 3 : 30 ส.ค. พัฒนาการตั้งค�ำถาม การคิดวิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ครั้งที่ 4 : 26 ต.ค. การพัฒนาวิสัยทัศน์ ครั้งที่ 5 : 30 พ.ย. การศึกษาคือการแบ่งปัน ครั้งที่ 6 : 14 ก.พ. การสอนเชิงสร้างสรรค์ผ่านเทคนิค Gamification และก�ำหนดเป้าหมายการสอน

ก.พ. 3 10 17 24

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

3 10 17 24 31

7 14 21 28

5 12 19 26

CU Training อบรมจุฬาฯ ช่วงที่ 2 : 27 – 31 ต.ค. การพัฒนาหลักสูตร, การวัดประเมินผล, การใช้แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ, การวิจัยทางการศึกษา, จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว และการสอนอ่านเขียน

อบรมจุฬาฯ ช่วงที่ 3 15 พ.ย. : การวิจัย 29 พ.ย. : หลักสูตรและการสอน 13 ธ.ค. : การใช้แหล่งเรียนรู้และ เทคโนโลยีสารสนเทศ 20 ธ.ค. : หลักสูตร

24 ม.ค. : ภาษาไทยส�ำหรับครู 31 ม.ค. : การวัดและประเมินผล 28 ก.พ. : จิตวิทยาส�ำหรับครู 14 มี.ค. : สรุปความรู้และ การวิจัยในชั้นเรียน Annual Report 2014 | 11


RESEARCH, IMPACT & EVALUATION ฝ่ายประเมินและวิจัยผลสัมฤทธิ์

S Charac ter

hs ngt tre

Es s

Create quality teachers and students

Skills ial

- Grit - Integrity - Curiosity

t en

12 | Teach for Thailand

การวัดผลกระทบต่อนักเรียนของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์นั้น ไม่ได้มุ่งเน้น เพียงแค่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วิสัยทัศน์ของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลงในการศึกษาเพื่อให้เด็กไทยทุกคนสามารถเข้า ถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันได้ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถ ก�ำหนดชะตาชีวิตของตัวเองได้โดยไม่มีข้อจ�ำกัดทางพื้นฐานครอบครัวมา เกี่ยวข้อง ในการที่พวกเขาเหล่านั้นจะสามารถสร้างโอกาสให้กับชีวิตของ ตัวเอง พวกเขาจะต้องพร้อมทั้งทางด้านความคิด ทักษะ และความรู้ควบคู่ กันไปมิใช่เพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในตัวของ เด็กนักเรียนและในการที่เราจะไปถึงเป้าหมายนั้น ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ จึง ก�ำหนดโมเดลการสร้างผลกระทบในห้องเรียน (Classroom Impact Model) ประกอบด้วย การพัฒนาอุปนิสัย (Character Strengths) การสร้างทักษะจ�ำเป็น (Essential Skills) และการบรรลุผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษา (Academic Achievement) เป็นเป้าหมายหลักของ โครงการ ซึ่งจะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กเหล่านี้อย่างยั่งยืน - Critical Thinking - Communication - Collaboration

a Ac

ในปัจจุบันครู ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนขยายโอกาสในเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานครทั้งหมด 14 โรงเรียน ในวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ โดยครูใน โครงการจะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงกับนักเรียนจ�ำนวน 5 ห้องเรียน หรือประมาณ 170 ชีวิต เข้าถึงเด็กนักเรียนจ�ำนวนกว่า 3,200 คนในการ ปฏิบัติงานปีแรก ครูเหล่านี้ยังเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนและชุมชน เพื่อที่จะเข้าไปสร้างโอกาสในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของนักเรียน สร้างผลก ระทบในโรงเรียน และชุมชนที่พวกเขาอยู่ ทีละเล็กละน้อยในระยะเวลาสองปี เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์แบ่งการติดตามผล การสร้างความเปลี่ยนแปลงตาม ผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน จากการประเมินรอบด้านเพื่อสะท้อนการ ด�ำเนินงานขององค์กร หนึ่งในการวัดผลที่ใช้คือ แบบส�ำรวจนักเรียนจาก มูลนิธิเกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ในการพัฒนาการ สอนของครู เป็นการประเมินการท�ำงานของครูผ่านมุมมองของนักเรียน โดยประเมินทักษะ 7 ด้านของครูที่ผลกระทบ เชิงบวกสูงสุดต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาของนักเรียน แบบประเมินนี้ถูกใช้กับองค์กรในเครือข่าย เป็นเวลาหลายปีและได้ผลตอบรับอย่างสูงจากครูในการประเมินการสอน ของตัวเองและตั้งเป้าหมายในการพัฒนาประสิทธิภาพของการสอนให้ดียิ่ง ขึ้น โดยผลส�ำรวจการท�ำงานในภาคการศึกษาแรกนั้นได้ผลใกล้เคียงกับ องค์กรเครือข่าย แม้ว่าจะเป็นการปฏิบัติงานปีแรกของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ นอกเหนือจากนั้นทางองค์กรได้ท�ำ การสุ่มวัดผลเด็กนักเรียนโดยใช้ ข้อสอบวินิจฉัยโดยประยุกต์จากแผนที่ความรู้ (Knowledge Map) เพื่อ ท�ำการทดสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนเพื่อจะหาหัวข้อในการสอนพื้น ฐานเพิ่มเติม ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นไม่ สามารถผ่านเกณฑ์การสอบวินิจฉัยความรู้พื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษา ได้ โดยกลุ่มตัวอย่างวิชาคณิตศาสตร์จ�ำนวน 548 คน ไม่ผ่านเกณฑ์เป็น จ�ำนวนสูงถึง 71.52% และในกลุ่มตัวอย่างวิชาภาษาอังกฤษจ�ำนวน 479 คน ไม่ผ่านเกณฑ์เป็นจ�ำนวนสูงถึง 61.64% ผลการส�ำรวจนี้ส่งผลให้ครูใน โครงการจ�ำเป็นต้องปรับแผนการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดความรู้พื้น ฐานสะสมอย่างเร่งด่วน

de t mi en c Ac h ie v e m

- Academic - Knowledge

ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ร่วมมือกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาการด�ำเนินงานของครูผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง และได้ท�ำการ ศึกษาผลกระทบโดยมุ่งเน้นไปที่การทดสอบสมมติฐานทฤษฏีของปัญหา และเรียนรู้บริบทของปัญหาของนักเรียนที่ขาดโอกาส เพื่อที่จะวิเคราะห์ ถึงสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหาที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิผล และ พัฒนาการด�ำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการ จากการวัดผลใน ด้านต่างๆ ที่พิสูจน์มาแล้วในระดับนานาชาติมาปรับปรุงให้เข้ากับบริบท ของประเทศไทย ภายใต้การดูและให้ค�ำแนะน�ำของที่ปรึกษาโครงการผู้ทรง คุณวุฒิ โดยการวัดผลครอบคลุมถึง การเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนของครู และการสร้างผลกระทบต่อชุมชน สังคม และระบบการศึกษา


Annual Report 2014 | 13


STORIES from the GROUND เรื่องราวจากห้องเรียน General Overview & Trend

ภาพรวม และทิศทางของปัญหา จากการปฏิบตั งิ านจริงในชัน้ เรียนทีผ่ า่ นมา โครงการฯ ได้พบเห็นปัญหา ที่แท้จริงของความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาจากโรงเรียนในเขต กรุงเทพมหานคร โดยในหลายแง่มุมแล้วความเป็นจริงมีความรุนแรง มากกว่าข้อมูลวิจัยที่มี แสดงให้เห็นว่าปัญหาการศึกษาไม่ได้จ�ำกัดอยู่ ณ ชนบทห่างไกล โรงเรียนที่ขาดครู อุปกรณ์การเรียน อาคารเรียน หรือเงิน สนับสนุนเท่านั้น แต่ปัญหาเกิดขึ้นในทุกพื้นที่แม้แต่ในพื้นที่ศูนย์กลาง อย่างกรุงเทพฯ หนึ่งในปัญหาที่จ�ำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่ สามารถพบเห็นได้ในแทบทุกห้องเรียนนั้น คือ แรงบันดาลใจของนักเรียน เด็กของเราก�ำลังอยู่ในสภาวะถดถอยด้วยมีความเชื่อว่าการศึกษาไม่ สามารถสร้างโอกาสให้กับชีวิตตนเองได้ ท�ำให้เด็กตั้งค�ำถามว่า “เรียนไป เพื่ออะไร” ค่านิยมของสังคมไทยในยุคปัจจุบันยังขาดการสรรเสริญหรือ ตอบแทนต่อความอุตสาหพยายามน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทางลัดในการ ใช้ชีวิตถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นของการประสบความส�ำเร็จ ซึ่งก่อเกิด บุคคลผู้เป็นแบบอย่างมากมายที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจาก สังคมไม่ว่าจากฐานะ หน้าตา หรือชื่อเสียง สิ่งเหล่านี้ถูกน�ำไปใช้เป็นแบบ อย่างในเรื่องการประสบความส�ำเร็จ โดยขาดความตระหนักถึงทักษะต่างๆ ที่บุคคลเหล่านั้นควรมี หรือความเชื่อที่ว่าทักษะเหล่านั้นไม่จ�ำเป็นจะต้องได้ รับหรือมีการพัฒนามาจากการศึกษา นอกจากนั้น ระบบการศึกษาที่ล้มเหลวยังเป็นเครื่องตอกย�้ำและ พิสูจน์ว่าการศึกษาไม่สามารถช่วยยกระดับชีวิตของพวกเขาได้ ห้องเรียน ที่ไร้ประโยชน์ก่อให้เกิดทัศนคติในเชิงลบต่อการศึกษาและสร้างความเชื่อ ที่ผิด ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงความคิดจากค�ำถามที่ว่า “เรียนไปเพื่อ อะไร” กลายเป็นการสร้างค�ำตอบให้กับตนเองว่า “เรียนไปก็เท่านั้น” สิ่งนี้ ส่งผลกระทบต่อนักเรียนในเรื่องการขาดแรงจูงใจในการเรียน และในเรื่อง การเลือกออกจากระบบการศึกษาทันทีเมื่อมีโอกาส ท�ำให้วงจรซ�้ำซ้อน เกิดขึ้น โดยเริ่มจากการขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการเรียน จึง ท�ำให้ไม่อยากเรียนและไม่สนใจเรียน ส่งผลให้ขาดความเข้าใจในบทเรียน จนไม่สามารถท�ำข้อสอบได้ ต่อจากนั้นจึงมีความเชื่อว่าตนเองนั้นไม่มีความ สามารถเพียงพอที่จะเรียนต่อไปได้ ความจริงข้อนี้สามารถอ้างอิงได้จาก ผลส�ำรวจของ PISA ที่ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเชื่อมั่นใน ความสามารถทางคณิตศาสตร์ของตนเองว่าสามารถ “ท�ำได้” ต�่ำที่สุด เหตุผลและแรงจูงใจเรื่องการศึกษา ในหลายครั้งเกิดขึ้นจากพื้นฐาน ทางครอบครัว แต่ส�ำหรับเด็กที่ขาดโอกาสแล้ว การศึกษาเสมือนเป็นสิ่ง ฟุ่มเฟือยในชีวิตแทนที่จะเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐาน ในห้องเรียนที่มีการ 14 | Teach for Thailand

ปัญหาการศึกษาไม่ได้อยู่ ณ ชนบทห่างไกลเท่านั้น แต่ปัญหาเกิดขึ้นในอยู่ทุกพื้นที่แม้แต่ในศูนย์กลาง อย่างกรุงเทพฯ 1 ในปัญหาที่จ�ำเป็นต้องแก้ไขอย่าง เร่งด่วนที่สามารถพบเห็นได้ในแทบทุกห้องเรียนนั้น คือ

แรงบันดาลใจของนักเรียน

ส�ำรวจประชากรนักเรียนนั้น จ�ำนวนนักเรียน 2 ใน 3 ไม่ได้อาศัยอยู่ใน ครอบครัวที่สมบูรณ์ (อยู่ร่วมกับทั้งพ่อและแม่) นอกจากจะขาดความรัก ความอบอุ่น รายได้เฉลี่ยที่ต�่ำเนื่องจากมีแหล่งรายได้จากผู้ปกครองคน เดียวนั้น ส่งผลให้มีสัดส่วนสูงในการเสียโอกาสในการศึกษา (เลือกที่จะ ท�ำงานหาเลี้ยงครอบครัว แทนที่จะอยู่ในระบบการศึกษาต่อไป) สิ่งนี้เป็น เหตุผลหลักที่ท�ำให้นักเรียนออกจากระบบการศึกษา สภาพชุมชนที่เป็นอยู่ ก็มีส่วนในการจ�ำกัดกรอบความคิดของเด็ก จากการส�ำรวจความมุ่งหวัง ในอนาคตนั้น นักเรียนมากกว่า 80% ตอบถึงอาชีพที่ใฝ่ฝันว่าคืออาชีพที่ นักเรียนเห็นได้ในชุมชนตัวเองเท่านั้น (ช่างซ่อมรถ พนักงานส่งอาหาร คน ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง ฯลฯ) ดังนั้น โอกาสของเด็กที่ขาดโอกาสเหล่านี้จะมองผ่านก�ำแพงที่ปิดกั้น พวกเขาอยู่ เพื่อที่จะเลือกโอกาสและทางเดินอื่นๆ ที่ตัวเขาเองไม่เคยพบ เจอจึงแทบจะเป็นศูนย์ จากปัญหาเรื่องแรงบันดาลใจ หรือ “ความคิด” ส่งผลต่อการกระท�ำ และความสามารถในการเรียนรูข้ นั้ พืน้ ฐานของนักเรียน การส�ำรวจเบือ้ งต้น จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนในชั้นมัธยมต้นของโรงเรียนขยายโอกาสในเขต กรุงเทพมหานครพบว่า ทักษะในการเรียนรู้เบื้องต้นอยู่ในระดับต�่ำมาก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครนั้น


ยังมีจ�ำนวนมากที่ไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ซึ่งมิได้จ�ำกัดเฉพาะ แค่ในโรงเรียนที่อยู่ในชนบทห่างไกล และนักเรียนส่วนใหญ่ที่สามารถอ่าน ออกเขียนได้นั้น มีทักษะทางด้านการอ่านและเขียนภาษาไทยอยู่ในระดับช้า กว่าที่ควรจะเป็น ยังไม่สามารถอ่านจับใจความได้อย่างสมบูรณ์ นักเรียน จ�ำนวนมากไม่สามารถเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษและอ่านออกเสียงได้ รวมทั้งทักษะทางคณิตศาสตร์ที่อยู่ในระดับต�่ำมาก การคูณและการหาร ทางคณิตศาสตร์เป็นเรื่องยากล�ำบากส�ำหรับพวกเขา เนื่องจากไม่สามารถ ท่องสูตรคูณได้ เศษส่วนและทศนิยมที่ควรจะเข้าใจแล้วจากการเรียนใน ระดับชั้นประถมศึกษา กลายเป็นสิ่งที่ “ไม่เคยเรียน” จากการสุ่มทดสอบ ในห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าเด็กจ�ำนวน 6% หรือ ประมาณ 2 คนจากชั้นเรียนมาตรฐาน 30 คนเท่านั้นที่ผ่านการทดสอบ คณิตศาสตร์พื้นฐานของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหมด และค่าเฉลี่ย ของคะแนนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่านั้น ระบบการศึกษาเป็นปัญหามุมกว้างอันได้รับผลกระทบจากนโยบาย การศึกษา โรงเรียน บุคลากร และอื่นๆ ในประเทศไทย ในส่วนของปัญหา การขาดแรงจูงใจ และการขาดทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเป็นปัญหา ที่หนักหน่วง ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาการศึกษาเกิดการชะงักงัน กอปร กับนโยบายแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว ตัวอย่าง

เช่น นโยบายที่ไม่ไห้เด็กเรียนซ�้ำชั้นถึงแม้ว่าจะไม่ผ่านเกณฑ์พื้นฐาน ท�ำให้ ปัญหาเกิดการทับถมขึ้นในตัวเด็กเอง ส่งผลให้นักเรียนต้องออกจากระบบ เนื่องจากปัญหาเรื้อรังต่างๆ ที่ขาดการแก้ไขอย่างจริงจัง นอกจากนี้ระบบ การประเมินผลที่ไม่ชัดเจน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่ประเมินได้ แต่ขาดการ อ้างอิงกับจุดประสงค์โดยตรง ท�ำให้ขาดประสิทธิภาพในการด�ำเนินการ รวมทั้งท�ำให้การปฏิบัติงานไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ฉะนั้นถึง แม้จะมีความพยายามในการที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ ซึ่งจะส่งผลเชิงบวก ในระยะยาวให้กับการศึกษาของประเทศ แต่สมควรต้องตระหนักถึงสิ่งที่ ส�ำคัญที่สุด คือ การท�ำในสิ่งที่ดีท่ีสุดในกรอบที่มี เพื่อเปลี่ยนแปลงจาก ภายในสู่ภายนอก ดังนั้น การท�ำงานของโครงการฯ จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้าง “ความคิด” ให้เด็กนักเรียนโดยเหล่า “ครูผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง” ในการที่จะสร้างแรง จูงใจและเหตุผลให้นักเรียนสามารถตอบค�ำถามที่เกิดขึ้นในตนเองให้ได้ว่า “เรียนไปเพราะอะไร” การสร้างความหวัง การจุดประกายความฝัน รวม ถึงการสร้างแรงกระตุ้นที่จะแปรเปลี่ยนความคิดเหล่านี้ให้เป็น “การกระท�ำ และพลัง” เพื่อเปลี่ยนชีวิตของตนเองให้สามารถเลือกทางเดินชีวิต และ สร้างโอกาสที่ไม่ได้ถูกจ�ำกัดจากบริบทของภูมิหลังพวกเขาได้ Annual Report 2014 | 15


STORIES from the GROUND hs ngt re t S

lS tia

k il l s

Create quality teachers and students

ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ a Ac

โรงเรียนวัดสังฆราชา

Es n se

7 เดือนกับอาชีพครู ครูกอล์ฟ ศุภเกียรติ ยมบุญ

Charac ter

เรื่องราวจากห้องเรียน

de nt mi c Achieveme

เกือบ 7 เดือนแล้วกับการเดินบนเส้นทางที่ไม่คิดว่าตัวเองจะเลือก กับการ มาด�ำเนินชีวิตผ่านอาชีพที่ใครหลายๆ คนมองข้าม และคิดว่าเป็นงานที่ เหนื่อยและผลตอบแทนไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไปเท่าไหร่นัก ในตอนแรกยอมรับ ว่า ผมก็ไม่ต่างอะไรจากคนส่วนใหญ่เหล่านี้ แต่เมื่อลองมาสัมผัสและอยู่ กับอาชีพนี้ด้วยใจจริงและความตั้งใจแล้วนั้น ผมขอแย้งได้อย่างเต็มปาก เต็มค�ำว่า อาชีพที่ผมท�ำอยู่ตอนนี้ท�ำให้ผม (โคตร) มีความสุข ส่วนผลตอบ แทนน่ะเหรอครับ ผมบอกไม่ได้หรอกครับ เพราะมันเยอะเหลือเกิน ถ้าจะให้ มานั่งบอก ผมขอเวลาซัก 3 วันนะครับ สวัสดีครับผม ศุภเกียรติ ยมบุญ หรือเรียกว่า ครูกอล์ฟ ก็ได้ครับ ผมได้รับโอกาสที่ดีมากในการเข้ามาเป็นครูในโรงเรียนวัดสังฆราชา โดย ผมรับผิดชอบสอนวิชาคณิตศาสตร์ ให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 และ 2 ขอย้อนกลับไปช่วงก่อนการเข้าไปสอนจริงๆ ในโรงเรียน ผมได้ ตั้งความหวังไว้ค่อนข้างสูงส�ำหรับนักเรียนที่ผมจะได้ไปสอน ผมคาดหวัง ว่านักเรียนจะสามารถเข้าใจบทเรียนที่ผมสอน และสามารถท�ำงานหรือ แบบฝึกหัดได้ด้วยตัวเอง มีความกล้าที่จะแสดงออก กระตือรือร้นตลอด เวลา และวันนั้นก็มาถึง วันแรกของการเข้าไปสอนนักเรียนสิ่งที่ผมคาด หวังไว้ส�ำหรับนักเรียนของผม กลับไม่เป็นอย่างที่หวัง และสามารถพูด ได้ว่าเหมือนหน้ามือกับหลังมือเลยทีเดียว ผมใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ในการกลับมานั่งกับตัวเองและทบทวนความคาดหวังที่ตั้งไว้ว่าเราควรจะ จัดการมันอย่างไรดี สุดท้ายผมก็ได้ค�ำตอบส�ำหรับตัวเองว่า การที่จะให้ นักเรียนของผมทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดี รวมไปถึงทักษะกระบวนการคิด ต่างๆ นั้น จะต้องเริ่มต้นที่ทักษะเชิงพฤติกรรมที่ดีเสียก่อน ผมจึงพยายาม ที่จะเน้นให้นักเรียนคิดว่าตัวเองก็สามารถมีบทบาทที่ส�ำคัญในห้องเรียน ใน ทุกคาบที่พวกเขาได้เรียน พวกเขาจะต้องกล้าที่จะเดินออกมาจากพื้นที่ที่ พวกเขาปิดบังตัวเอง กล้าที่จะล้มเหลวและลุกขึ้นมาใหม่ เพื่อก้าวที่มั่นคง

16 | Teach for Thailand

...เมื่อลองมาสัมผัสและอยู่กับอาชีพนี้ด้วยใจ จริงและความตั้งใจแล้วนั้น ผมขอแย้งได้อย่าง เต็มปากเต็มค�ำว่า อาชีพที่ผมท�ำอยู่

ตอนนี้ท�ำให้ผม (โคตร) มีความสุข ครูกอล์ฟ

ตลอดระยะเวลา 7 เดือนในฐานะครูนั้น ผมได้เห็นพฤติกรรมหลายๆ อย่างจากนักเรียนหลายๆ กลุ่ม ทั้งดื้อ ซน ไม่สนใจเรียน ทะเลาะวิวาท รบกวนคนอื่น เตะฟุตบอลในห้องขณะผมสอน และอื่นๆ อีกมากมายจน บางครั้งผมก็ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีเท่าไหร่นัก เลยอาจ มีปากเสียงกับนักเรียนไปบ้าง สุดท้ายผมกลับมานั่งเสียใจกับการกระท�ำ ของตัวเอง แต่สิ่งที่ผมรู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ผมได้สอน หรือพูดคุยกับ นักเรียนนั้น เด็กๆ เหล่านี้ พวกเขาพูด พวกเขาแสดงออกจากสิ่งที่พวกเขา คิดจริงๆ ซึ่งผมคิดว่าเป็นความจริงใจจากนักเรียนที่มีต่อผม ทุกครั้งที่ผม ว่ากล่าวตักเตือน วันนั้นพวกเขาก็จะมีอารมณ์โกรธ เศร้า แต่พอผ่านไปอีก 1 วัน พวกเขากลับยิ้มให้ผมเป็นปกติทุกครั้งที่เดินสวนทางกัน นักเรียนที่ไม่ แตะต้องหนังสือและไม่ส่งงานเลยนั้น อยู่ดีๆ ก็กลับมาจับหนังสือ และบอก กับผมว่า “ครูครับ วันนี้ครูสอนผมคูณหน่อยนะครับ” และเขาก็สามารถ คูณได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วแบบที่เขาเห็นว่าเขาสามารถท�ำมันได้เป็น ปกติเหมือนคนอื่นๆ นักเรียนที่เอาแต่ลอกการบ้านเพื่อนมาส่ง (ผมสังเกต เห็นบ่อยๆ) อยู่ดีๆ กลับท�ำงานด้วยตัวเองจนเสร็จ และส่งงานภายในคาบ เรียนได้ ซึ่งมีผิดบ้างและถูกบ้าง แต่เขาก็ท�ำเองมาโดยตลอด บางครั้งที่ผม ให้การบ้าน เขาจะนั่งท�ำในห้องจนเสร็จและมาส่งผมหลังเลิกเรียน นักเรียน บางคนสละเวลาวิ่งเล่นในช่วงพักเบรกมาขอท�ำแบบฝึกหัด จนทุกช่วงเบรก ผมไม่สามารถไปกินไก่ทอดอร่อยๆ ได้เหมือนเดิม นักเรียนบางคนขอ อนุญาตท�ำแบบฝึกหัดในหนังสือล่วงหน้ารวมไปถึงบทเรียนที่ยังไม่ได้สอน ด้วย สิ่งที่ผมเล่ามานั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งส่วนน้อยที่ความประทับใจเกิด ขึ้นกับผมในอาชีพครูที่ผมเริ่มหลงรัก มีอีกมากมายที่ท�ำให้ผมประทับใจ บาง ครั้งยิ้มได้ทั้งวัน จนนักเรียนทักว่าวันนี้ครูมาแปลก ยิ้มน่ารักกว่าเมื่อวาน ผมได้แต่คิดในใจว่า “ครูยิ้ม ครูมีความสุขเพราะพวกเรานั่นแหละ” ผมก็ไม่รู้ว่าอะไรที่ท�ำให้พวกเขาเปลี่ยนไปจากวันแรกที่ผมเจอพวกเขา อย่างเห็นได้ชัด แต่พฤติกรรมเหล่านี้มักจะเกิดหลังจากที่ผมบอกกับพวก เขาว่า “อย่าท�ำเป็นเล่นกับอนาคตนะครับนักเรียน”


a Ac

de mi c Ac

k il l s

Create quality teachers and students

lS tia

Charac ter

Es n se

hs ngt re St

t en h i eve m

...แต่สิ่งที่เราประทับใจก็คือ

วันที่เค้ามองไป ไม่เห็นใคร เราอยู่ตรงนั้น

เป็นแค่คนหนึ่งที่ ไม่ได้ท�ำร้ายเค้า เรารู้สึกว่าชีวิตของเรามีค่าขึ้นมา ครูแข

เราอยู่ตรงนั้น ครูแข ธมลวรรณ หวานฉ�่ำ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนวัดสังฆราชา เราสนใจแต่นักเรียนหลังห้องกับหน้าห้องจนมองข้าม ไปว่านักเรียนกลางห้องก็มีปัญหาได้เหมือนกัน .. หวา เป็นนักเรียนชั้นม.2 ที่ไม่มีปัญหาเรื่อง พฤติกรรมในห้องเรียน เผินๆ ก็เป็นนักเรียนธรรมดา คนหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่งหวาขอเข้ามาคุยเรื่องปัญหาหัวใจ ของหวากับนักเรียนชายอีกห้องหนึ่ง หวาเริ่มมาคุยกับ เราจากปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ก่อน แล้วก็ระบาย ความอึดอัดเรื่องที่บ้านออกมา ผ่านไปอีกอาทิตย์หนึ่ง หวาก็มาคุยกับเราอีกครั้งเรื่องที่บ้าน คราวนี้เริ่มจาก การที่แม่ว่า กลายเป็นแม่ไม่ให้เงินมาโรงเรียน ใช้ค�ำพูด ประมาณว่า ”ถ้ามึงรักเพื่อนมากมึงก็ไปอยู่กับเพื่อน” หวาก็ร้องไห้กับเรา บอกว่าต้องยืมเงินคนข้างบ้านเป็น ค่ารถมาโรงเรียน อีกวันก็ต้องมายืมเพื่อน ท�ำให้ท้อใจ มาก แต่ก็หาทางมาเรียน เราถามว่าเขาจะท�ำยังไงต่อ ไป คือเค้าจะหนีไปอยู่บ้านเพื่อนอีกคน เพราะไม่รู้จะท�ำ อย่างไร เมื่ออยู่ที่บ้านก็โดนว่าและไม่ให้เงินมาโรงเรียน กลับไปบ้านพ่อแม่ก็ไม่พูดด้วย ไม่เรียกกินข้าว เขาก็ไม่ กิน แอบลงมากินตอนดึกแทน และเราก็ถามเขาว่าแล้ว แม่ว่ายังไงบ้าง เขาบอกว่าแม่โทรมาถามว่ามึงอยู่ไหน มึงไปโรงเรียนยังไง จากที่เคยสัมภาษณ์แม่เขาเรารู้ว่าพ่อแม่เขาท�ำงาน หนัก ขายปลา และต้องออกไปตั้งแต่ตีห้า กลับบ้าน มา 2-3 ทุ่ม ไม่มีเวลาดูแลลูกเท่าไหร่ เป็นห่วงว่าลูกจะ คบเพื่อนไม่ดีชอบเที่ยว แต่ ณ ตอนนั้นเด็กคนหนึ่งที่ ร้องไห้ไม่หยุดเพราะเขาคิดว่าสิ่งที่เขาท�ำมันดีที่สุดแล้ว แต่สิ่งที่พ่อกับแม่ท�ำมันไม่ใช่การแสดงความรักความ ห่วงใย เขารู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก เขาถามกับเราว่า “ท�ำไม ต้องเป็นหนูอ่ะครู หนูไม่รู้จะท�ำยังไงแล้วมันมืดไปหมด เลย ท�ำไมต้องเป็นหนูที่เจอเรื่องร้ายๆ แบบนี้” เราเลย ตอบนักเรียนไปว่า “เพราะหนูเข้มแข็งพอ เพราะหนูโต พอ ที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ลองมองดูรอบๆ ถ้าเป็นเพื่อน คนอื่นที่เจอเรื่องแบบเรา เขาจะยังมาโรงเรียนไหม แต่ นี่หวาเก่งมากแล้ว เข้มแข็งมากส�ำหรับเด็กอายุ 14 คนหนึ่ง และครูเชื่อว่าหวาจะเลือกทางออกที่ดีที่สุดได้ อดทนนะ ค่อยๆ แก้” เรานั่งอยู่ตรงนั้นโอบไหล่เขา แล้ว ก็มองออกไปนอกหน้าต่างที่ฝนก�ำลังตก แล้ววันต่อมาแม่เขาก็ให้เงินมา เพราะเขาขอให้แม่ ของเพื่อนช่วยคุยกับแม่ตัวเอง จนวันนี้ที่บ้านก็กลับมา คุยกับเขาเหมือนเดิม เราได้ยินครูคนอื่นพูดกันว่าหวา โดนเพื่อนผู้ชายคนนั้นหลอกคบเพื่อให้ท�ำงานให้ ตอน นั้นเรานั่งเงียบๆ เราไม่สนใจหรอกว่าเหตุผลหรือเรื่อง ราวพวกนั้นมันมีต้นสายปลายเหตุมาจากอะไรหรือ เหตุผลอะไรที่ใครจะตัดสินเขา แต่ความประทับใจก็คือ ในวันที่เขามองไปไม่เห็นใคร เราอยู่ตรงนั้น เป็นแค่คน หนึง่ ทีไ่ ม่ได้ทำ� ร้ายเขา เรารูส้ กึ ว่าชีวติ ของเรามีคา่ ขึน้ มา :) Annual Report 2014 | 17


STORIES from the GROUND เรื่องราวจากห้องเรียน Project “Mushroom for Much More” ครูนัท ยุทธกฤต เฉลิมไทย hs ngt re t S

Es n se

a Ac

de mi c Ac

k il l s

Create quality teachers and students

lS tia

Charac ter

ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดปากบ่อ

t en h i eve m

โครงการนี้เริ่มต้นมาจากการที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับบุคลากรที่โรงเรียน ในเรื่องการช่วย เหลือครอบครัวนักเรียนที่เผชิญปัญหาความยากจน เรื่องราวมีอยู่ว่า วันหนึ่งผมได้มีโอกาสพูดคุยกับครูประจ�ำชั้นม.1 ภายหลังจากการกลับ มาจากกิจกรรมการเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียนคนหนึ่ง เนื่องจากนักเรียนคนนี้ไม่ได้มาเรียนติดต่อ กันเป็นเวลานานหลายวัน เมื่อเดินทางไปถึงบ้านของนักเรียนคนนี้ ก็พบว่านักเรียนคนนี้อาศัย อยู่กับมารดาและน้องชาย ซึ่งเรียนอยู่โรงเรียนเดียวกัน จากการสอบถามก็พบว่า สาเหตุที่ นักเรียนคนนี้ต้องหยุดโรงเรียน เนื่องจากมารดาผู้ดูแลประสบอุบัติเหตุ ท�ำให้ไม่สามารถหา เลี้ยงชีพและครอบครัวได้ นักเรียนคนนี้จึงตัดสินใจหยุดเรียน เพื่อหาเงินมาเลี้ยงมารดาและ น้องชายของเธอ ครูหลายคนจึงปรึกษาหารือกันเพื่อที่หาทางช่วยเหลือครอบครัวของนักเรียน ผมจึงให้ค�ำมั่นว่า “ผมจะพยายามหาทางช่วยเหลือครอบครัวนี้ครับ” ผมใช้เวลาพูดคุยกับเพื่อนๆ ที่เคยท�ำกิจกรรมอาสาเพื่อสังคมด้วยกัน เพื่อหาแนวทางใน การช่วยเหลือครอบครัวนี้ ผมใช้เวลาร่วมสัปดาห์ในการมองหาวิธีสร้างอาชีพให้กับครอบครัว นี้และครอบครัวอื่นๆ ในชุมชน โดยนักเรียนที่มีฐานะทางบ้านยากจน สามารถมาเรียนหนังสือ ได้ตามปกติ และสามารถมีเงินใช้จ่ายภายในครอบครัวอย่างเพียงพอ จึงน�ำมาสู่แนวคิดการ ปลูกเห็ดขายภายในโรงเรียนและชุมชน ซึ่งผมมองว่าเห็ดเป็นพืชที่สามารถเติบโตได้รวดเร็ว และมีราคาดี อีกทั้งนักเรียนยังสามารถมีส่วนร่วมในการเพาะปลูก ดูแล และจัดจ�ำหน่าย ผม พยายามอย่างมากในการน�ำเสนอความคิดนีใ้ ห้กลุม่ คนต่างๆ ในสังคม และสุดท้ายผมก็โชคดีมาก ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจ�ำประเทศไทย ให้ด�ำเนินโครงการนี้ ร่วมกับ กลุ่มเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่มีจิตอาสาทั้งหลาย และขณะนี้โรงเห็ดได้ด�ำเนินการสร้างเสร็จเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในกระบวนการเพาะเชื้อเห็ด ซึ่งสามารถจะสร้างผลผลิตออกมาได้ภายใน ปลายเดือนธันวาคมนี้ 18 | Teach for Thailand

ผมมองหาวิธีสร้างอาชีพ ให้กับครอบครัวนี้ และ ครอบครัว อื่นๆ ในชุมชน

นักเรียนที่มีฐานะ ทางบ้านยากจน สามารถมาเรียน หนังสือได้ตามปกติ และสามารถมีเงินใช้จา่ ยภายใน ครอบครัวอย่างเพียงพอ ครูนัท


ปกตินักเรียนจะใช้เวลาว่างอยู่กับบ้านเฉยๆ บางส่วนเล่นเกมส์ การมาเรียนนี้

นักเรียนจะได้ ใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์

แล้วยังท�ำให้เขารู้สึกว่าเขาได้รับโอกาส มีแรงบันดาลใจในการเรียนมากขึ้น และเชื่อว่าตัวเองจะมีอนาคตที่ดี

hs ngt re t S

Es n se

ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์

k il l s

Create quality teachers and students

lS tia

โครงการสอนเพิ่มเติมวันเสาร์ (Saturday School) และโครงการรักการอ่าน ครูยีราฟ สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร

Charac ter

ครูยีราฟ

a Ac

de nt mi c Achieveme

โครงการสอนเพิ่มเติมวันเสาร์ (Saturday School) โครงการนี้เริ่มจากผมได้ไปพูดคุยกับพี่ที่เรียนหลักสูตร ผู้ประกอบการทางสังคมด้วยกัน พี่คนนี้สนใจจะมาช่วย สอนในวิชาภาษาอังกฤษ ผมเลยจัดช่วงเวลาวันเสาร์ เหมือนเป็นการสอนพิเศษวันเสาร์ส�ำหรับนักเรียนเหล่า นี้ที่ไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะมีโอกาสได้เรียน หลังจากสอบถามความสนใจของนักเรียนใน โรงเรียนและประกาศหาอาสาสมัครเพิ่มเติม ปรากฏว่า มีนักเรียนและอาสาสมัครสนใจเป็นจ�ำนวนมาก ผมได้ สัมภาษณ์นักเรียน โดยปกตินักเรียนจะใช้เวลาว่างอยู่ กับบ้านเฉยๆ บางส่วนเล่นเกมส์ การมาเรียนนี้นอกจาก นักเรียนจะได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังท�ำให้ เขารู้สึกว่าเขาได้รับโอกาส มีแรงบันดาลใจในการเรียน มากขึ้น และเชื่อว่าตัวเองจะมีอนาคตที่ดี ตอนนี้มีผู้สนใจมาสอนในวิชาอื่นๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ฯลฯ มากเพียงพอ จนสามารถเริ่มการกระจายไปสู่โรงเรียนอื่นๆ ที่ครูของ โครงการ Teach For Thailand ท�ำการสอนอยู่ในอีก 13 โรงเรียนเช่นเดียวกัน

โครงการรักการอ่าน ผมได้ไอเดียเริ่มต้นมาจากการที่มีคนมาบริจาคหนังสือที่โรงเรียน (ซึ่งส่วนมากไม่ค่อยตรงกับ ที่นักเรียนสนใจมากนัก) โรงเรียนมีการประกาศให้นักเรียนมาเลือกอ่านได้ตามใจชอบ ปรากฏ ว่ามีนักเรียนที่สนใจในหนังสือค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ และหนังสืออื่นๆ มากพอควร ประกอบกับ การที่ผมได้เคยท�ำโครงการรับบริจาคหนังสือเรียนในเทอมต้น เพราะหนังสือเรียนนักเรียน ขาดแคลน ท�ำให้ผมทราบว่ามีผู้ใจบุญมากมายที่ต้องการบริจาคหนังสือ อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมา มีโครงการการบอกต่อหนังสือที่ชอบอ่านทางโซเชียลมีเดียอีกด้วย ซึ่งหนังสือที่เขาได้อ่านแล้ว เหล่านั้น ส่วนมากก็จะถูกทิ้งไว้ที่บ้านและไม่ได้หยิบขึ้นมาอ่านอีก ไม่ว่าหนังสือจะดีแค่ไหนก็ตาม ประกอบกับการที่ได้คุยกับเพื่อนครูในโครงการ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ด้วยกัน เพื่อนครูเหล่า นี้ได้น�ำหนังสือที่ตนเองมีให้นักเรียนได้ยืมไปอ่าน และให้นักเรียนกลับมาเล่าให้ฟังว่าได้อะไร จากหนังสือบ้าง ถือว่าเป็นการส่งเสริมในเรื่องการรักการอ่าน และเพิ่มความสามารถในการ แสวงหาความรู้เป็นอย่างมาก โครงการรับบริจาคหนังสือของผมจึงได้ถือก�ำเนิดขึ้น และหลังจากประกาศหาหนังสือได้ ไม่นาน ผมก็ได้รับหนังสือมาเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งส่วนมากเป็นหนังสือที่ดีมาก และผมเชื่อว่าเป็น หนังสือที่ผู้บริจาครักมากแต่ไม่ได้อ่านแล้ว พอหลังจากได้รับหนังสือมาแรกๆ ผมก็น�ำมาตั้ง ไว้บนโต๊ะให้นักเรียนอ่าน แบบไม่ค่อยเป็นระเบียบมากนัก และผมต้องขนเข้าออกจากห้องพัก ครูทุกวัน จนครูที่โรงเรียนเริ่มเห็นว่าควรจะมีชั้นวาง และมุมรักการอ่าน ครูท่านอื่นเลยช่วยกัน หาชั้นวาง และช่วยกันท�ำป้ายเขียนว่า “มุมรักการอ่าน” เกิดขึ้นในโรงเรียน จนนักเรียนได้ผลัด เปลี่ยนกันมาอ่านเป็นประจ�ำครับ Annual Report 2014 | 19


STORIES from the GROUND เรื่องราวจากห้องเรียน

School Principals

ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน ในภาคเรียนที่ 1 ปี 2557 ที่ผ่านมา ผู้อ�ำนวยการจากโรงเรียนต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ทั้ง 14 โรงเรียน ซึ่งให้การสนับสนุนครูของโครงการฯ อย่างเต็มความสามารถ และได้มอบค�ำแนะน�ำส�ำหรับ การปฏิบัติหน้าที่ครู ท�ำให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น จากการส�ำรวจความคิดเห็นผู้อ�ำนวยการโรงเรียนทั้ง 14 คนที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อน�ำข้อมูลที่ได้มา ปรับปรุงการด�ำเนินการนั้น ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ผู้อ�ำนวยการทั้งหมดเชื่อว่าครูในโครงการฯ ได้ สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อนักเรียนและโรงเรียนที่สูงมาก นี่คือส่วนหนึ่งของความคิดเห็นของผู้อ�ำนวยการ จากค�ำถามต่างๆ ของโครงการฯ ที่ขอให้ตอบเพียงสั้นๆ ว่า “อยากบอกอะไรเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้ท�ำงานกับครูในโครงการฯ ของเรา”

“เป็นผู้มีองค์ความรู้เหมาะสม และมีความ มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง” โรงเรียนประชาราษฏร์บ�ำเพ็ญ

“มีการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพที่ส่งผลต่อ การศึกษาของนักเรียน ขอให้พยายามค้นหา ตัวตนว่า เหมาะสมกับการเป็นครูหรือไม่ ถ้า ค้นพบแล้วว่าตัวเองนั้นเหมาะกับการเป็นครู ก็อยากขอให้ตัดสินใจอยู่ในวิชาชีพนี้ต่อไป” โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์

“คุณครูในโครงการปฏิบัติงานได้ดีอยู่แล้ว เมื่อจบ โครงการอยากให้โครงการประสานงานกับส�ำนัก การศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อให้ครูในโครงการ ได้รับการบรรจุ ณ โรงเรียนที่ได้ร่วมโครงการ” โรงเรียนวัดอ่างแก้ว

“คุณครูทุกคนที่ส่งมามีความสามารถ มีความ คิดสร้างสรรค์ และมีจิตอาสาต่อสังคมอย่าง มาก อยากให้บรรจุเป็นครูในโรงเรียน ครูที่ดี ต้องรักและเอาใจใส่ ดูแลนักเรียนอย่างดี ซึ่งครูในโครงการก็มีอยู่แล้ว” โรงเรียนเพิ้ยนพินอนุสรณ์

“ครูในโครงการที่มาปฏิบัติงานในโรงเรียน ทั้งสามคนดีมาก เป็นผู้ที่มีใจรักในอาชีพครู มีความรักนักเรียน สนใจเอาใจใส่นักเรียน เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน สมควรเป็น ตัวอย่างให้กับครูในโรงเรียน” โรงเรียนวัดปากบ่อ

“ครูในโครงการปฏิบัติงานอยู่ในระดับที่ดีมาก มี ความรับผิดชอบสูง สนใจ และดูแลนักเรียนเป็น อย่างดี มีความประทับใจครูในโครงการที่ทุ่มเท ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ให้กับนักเรียน ความทุ่มเท ความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นสิ่งที่ครู ต้องมี ซึ่งครูในโครงการของโรงเรียนเรามีทั้งสอง สิ่งและอยู่ในระดับที่สูงมาก” โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์

20 | Teach for Thailand


Students

นักเรียน ตลอดระยะเวลาการท�ำงานที่ผ่านมา โครงการฯ ได้สังเกตการท�ำงานของ ครู และติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในตัวครูเองและตัวนักเรียน ปัญหาที่ส�ำคัญที่สุดไม่ใช่เพียงแค่การขาดโอกาสทางการศึกษา แต่เป็น ปัญหาในด้านความคิดและทัศนคติอันขาดการบ่มเพาะด้วยความเอาใจใส่ อย่างที่ควรจะเป็น แบบอย่างเชิงลบที่ได้พบเห็นในชีวิตประจ�ำวันส่งอิทธิพล ในแง่ความคิด ซึ่งท�ำให้เกิดปัญหาทางการกระท�ำที่ตามมา การเสพติด เครื่องดื่มมึนเมา การทะเลาะวิวาท และความรุนแรง กลายเป็นค่านิยมของ สังคมของเด็กวัยรุ่น การปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนเหล่านี้ของครู จึงมิได้จ�ำกัดอยู่ที่การ สอนวิชาตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น แต่จ�ำเป็นต้องเสริมสร้างทัศนคติ ที่ดีเพื่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของนักเรียน โดยการมอบความรักความ เข้าใจเพื่อส่งเสริมความคิดเชิงบวกมาจากภายใน การเปลี่ยนแปลงความ คิดเล็กๆ ของนักเรียนที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตและ อนาคตของเขาตลอดไป Annual Report 2014 | 21


EXTERNAL RELATIONS ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ Public Sector

ปัญหาด้านการศึกษาไม่ใช่ปัญหา ของรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว… เราทุกคนต่างก็มีความรับผิดชอบ ภาคเอกชนควรจะมีส่วนร่วมในการ พัฒนาระบบการศึกษาไทยด้วยกัน

ภาครัฐ การด�ำเนินงานภายในปี 2557 ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อขับ เคลื่อนโครงการทีช ฟอร์​ไทยแลนด์ เข้าสู่ระบบการศึกษาไทยอย่าง เต็มรูปแบบ ถึงแม้ในปีแรกจะเป็นก้าวแรกของโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์​ แต่ก็เป็นก้าวที่มั่นคง ด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้านการด�ำเนินงาน จากหนึ่งในหน่วยงานที่เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ โครงการเริ่มขึ้น คือ หน่วยงานการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร โดย ท่านรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร. ผุสดี ตามไท ผู้เปรียบ เสมือน “ครูผู้สร้าง” ผู้ร่วมลงแรง ให้แนวทางการด�ำเนินงาน ร่วมใจ ให้การสนับสนุน ให้ขวัญและก�ำลังใจกับครูในโครงการฯ​ครูพี่เลี้ยง ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการเดินหน้าโครงการฯ​สู่ระบบการศึกษา ของเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร โดยสนับสนุนให้ครูในโครงการฯ​ ได้เข้าสอนในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 14 โรงเรียนทั่วกรุงเทพฯ การสนับสนุนว่าจ้างครูในโครงการฯ​เป็นลูกจ้าง พิเศษของกรุงเทพมหานคร การจัดงานสัมมนาเพื่อท�ำความเข้าใจใน โครงการฯ กับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ​การเยี่ยมชมโรงเรียน และ ห้องเรียนที่ครูในโครงการฯ เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ท�ำการสอน รวมถึงการ จัดงานสัมมนาและเลี้ยงอาหารกลางวันกับครูในโครงการฯ​เพื่อพูดคุย และรับฟังปัญหา และร่วมหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้เกิดห้องเรียนที่สร้าง การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม และมีความยั่งยืน

ดร. ผุสดี ตามไท

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ

นอกจากนี้ รองผู้ว่าฯ​และทีมงานกรุงเทพมหานคร ยังให้โอกาสครู ในโครงการฯ​ได้เข้าร่วมโครงการส�ำคัญหลายโครงการที่ทางหน่วยงาน สังกัดกรุงเทพฯ เป็นผู้ริเริ่มและรับผิดชอบ เช่น โครงการ ONE YOUNG WORLD โครงการประชุมคนรุ่นใหม่ระดับนานาชาติ ที่ทางหน่วยงาน กรุงเทพฯ ให้โอกาสคัดเลือกครูในโครงการฯ​เป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่จาก ประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หรือ กระทั่งงานการแสดงที่เป็นปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยเพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการแสดง “พระมหาชนก เดอะฟีโนมีนอน ไลฟ์ โชว์” ณ เวทีกลางทะเลสาบ สวนเบญจกิติ ศูนย์ประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ ทางหน่วยงานกรุงเทพฯ​ก็ให้โอกาสครูในโครงการฯ​ได้เข้า ร่วมเป็นแขกของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร เพื่อ เข้าร่วมชมการแสดง

2014 MAY 02nd

13

th

JUN

ประชุมแนวทางชี้แจงความร่วม มือ ครั้งที่ 1 โรงแรม มารวย การ์เด้น ประชุมแนวทางชี้แจงความร่วม มือ ครูผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง ผอ. ครูพี่เลี้ยง ศึกษานิเทศก์

22 | Teach for Thailand

25th

OCT

เยี่ยมชมการเรียนการสอน โรงเรียนคลองหนองใหญ่ ร่วมกับ คุณปุ๋ย ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ไซม่อน อดีตนางงามจักรวาล

DEC

04th

งานเลี้ยงขอบคุณ ครูในโครงการ

07th

งานแถลงข่าว One Young World

15-19th

One Young World

03th

พระมหาชนกฯ ไลฟ์ โชว์


Annual Report 2014 | 23


EXTERNAL RELATIONS ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ Media

สื่อมวลชน

ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ได้รับการสนับสนุนในด้านการประชาสัมพันธ์องค์กรผ่าน สื่อมวลชนแขนงต่างๆ เป็นโอกาสให้องค์กรเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น

2013

2014

DEC

JAN

FEB

JUN

17nd

Press | Post Today

28th

TV | Nation Channel ข่าวข้นรับอรุณ

17th

TV | TNN2 / True Visions 8 คนไทยไม่ทิ้งกัน

21st

Press | Post Today

28th

Press | Daily News

Transit | Taxi AD

25th

Press | Thai Rath

25th

Press | Kom Chad Luek

Noppatjak (Nation Reporter) 24 | Teach for Thailand


JUL

AUG

02nd

Press | Naew Nah

09th

Press | Post Today

05th

OCT

TV | CH3 เรื่องเด่นเย็นนี้ (แตกประเด็น)

05th

NOV – DEC

TV | Thai Rath TV คาเฟ่ข่าวดี

22nd

TV | Nation TV มองเรามองโลก

19th

TV | CH3 Asia Connect

Annual Report 2014 | 25


FINANCE การเงิน งบรายได้และรายจ่าย งบแสดงฐานะการเงิน และผลการด�ำเนิน งานของมูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 โดยในส่วนของปี 2557 จะเป็นการลงทุนในด้านการสรรหา ผู้ที่มีศักยภาพสูงเพื่อเข้าร่วมโครงการ การลงทุนสร้างบุคลากร และการพัฒนาเครือข่ายครูผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการ ลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูลเตรียมแผนการประเมิน เพื่อวัดผล การเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน

งบรายได้และรายจ่าย ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 รายได้ รายได้จากการรับบริจาค รายได้จากดอกเบี้ยรับ รายได้อื่น รวมรายได้ รายจ่าย ค่าใช้จ่ายบริหารโครงการ ค่าใช้จ่ายบริหารทั่วไป รวมรายจ่าย รายได้สูงกว่ารายจ่าย รายได้สูงกว่ารายจ่ายสะสม รายได้สูง (ต�่ำ) กว่ารายจ่ายสะสมยกมา รายได้สูงกว่ารายจ่ายประจ�ำปี รายได้สูงกว่ารายจ่ายสะสมยกไป

หมายเหตุ: เงินเดือนของผู้เข้าร่วมโครงการ มาจากหน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุน และเป็นการจ่ายโดยตรงจากหน่วยงานให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ 26 | Teach for Thailand

หน่วย : บาท

2557

2556

15,019,984.29 36,650.13 37.05 15,056,671.47

10,304,000.00 16,757.11 36.11 10,320,793.22

14,392,702.46 304,509.33 14,697,211.79 359,459.68

3,310,079.53 88,230.15 3,398,309.68 6,922,483.54

6,922,483.54 359,459.68 7,281,943.22

6,922,483.54 6,922,483.54


งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินทดรองจ่าย รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ หนี้สินและเงินทุนสะสม หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ค้างจ่าย รวมหนี้สินหมุนเวียน เงินทุนสะสม เงินทุนสะสมเริ่มแรก รายได้สูงกว่ารายจ่ายสะสม รวมเงินทุนสะสม รวมหนี้สินและเงินทุนสะสม

หน่วย : บาท

2557

2556

6,104,116.83 928,894.00 7,033,010.83

7,154,986.10 7,154,986.10

531,722.74 120,460.20 73,125.00 7,758,318.77

157,130.25 120,320.51 7,432,436.86

273,077.04 3,298.51 276,375.55

308,445.18 1,508.14 309,953.32

200,000.00 7,281,943.22 7,481,943.22 7,758,318.77

200,000.00 6,922,483.54 7,122,483.54 7,432,436.86 Annual Report 2014 | 27


TEAM STRUCTURE โครงสร้างองค์กร Board of Trustees

Advisory Committee

CEO

Senior Leadership Team

Talent Acquisition

Training and Support

Research, Impact and Evaluation

Recruitment

Selection

ครูผู้น�ำการ เปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1

28 | Teach for Thailand

• นาย สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร • นางสาว นิศาชล อินทิราวรนนท์ • นาย ธีรภาพ แซ่เชี่ย • นาย ยุทธกฤต เฉลิมไทย • นาย พันธ์ณรงค์ ปิยประดิษฐ์ • นาย สันติภาพ ไวกิตติพงษ์ • นางสาว พัทธ์ธีรา พานิชสุข • นางสาว ณัฐฐาพร พรหมแสง • นางสาว จุฑาทิพย์ ตาฬุมาศสวัสดิ์ • นางสาว ธมลวรรณ หวานฉ�่ำ • นาย คณิน เลิศสัฒนนนท์ • นางสาว ศิรีธร อรุณรักถาวร

External Relations

Operations

Partnerships (Private Sector)

Finance

Partnerships (Public Sector)

Talent Operations

Marketing and Communications

IT

• นางสาว พรวิมล สว่างชม • นางสาว กชามาส ลิ้มพุทธพงศ์ • นาย กษิดิศ ชุติมา • นาย วิศรุต นุชพงษ์ • นางสาว สิริกานต์ แก้วคงทอง • นาย ศุภเกียรติ ยมบุญ • นาย ศรัณย์ เรืองเกตุ • นาย ณัฐ พัฒนศิลป์ • นางสาว พารุ่ง พลพิพัฒนพงศ์ • นางสาว พัชรวลัย ขอรวมเดช • นางสาว ประภาคาร พิมพาสาร • นางสาว บุญศิริ จุติด�ำรงค์พันธ์

• นาย ครองตน สุนทรวินิต • นางสาว พัณณ์ชิตา ศิริโชติวรานนท์ • นาย ณัฐชนน สุระพัฒน์ • นาย วัชร เดโชพลชัย • นางสาว ชายาท เกษตรภิบาล • นางสาว อมรรัตน์ สีหะปัญญา • นางสาว ณัฐกานต์ กุลาสา (ลาออก) • นาย ณฐกร กิจมโนมัย (ลาออก) • นางสาว กานต์ธีรา กองทอง (ลาออก) • นาย คณิน เลิศสัฒนนนท์ (ลาออก)


THANK YOU ขอขอบคุณ มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับคณะกรรมการและที่ปรีกษาทุกท่าน ที่ให้ค�ำแนะน�ำในการด�ำเนินงานของ มูลนิธิ รวมถึงองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลที่ให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ทั้งที่คอยผลักดันจากทางเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เพื​ื่อเป็น ต้นทุนในการด�ำเนินงานของมูลนิธิ

คณะกรรมการมูลนิธิ • ศ. สมฤกษ์ กฤษณามระ

• คุณเกษสุดา ไรวา

• ดร. คุรุจิต นาครทรรพ

• ศ.ดร. พฤทธ์ ศิริบรรณพิทักษ์

• ดร. โอลิเวอร์ ก็อตชัลล์

• คุณวิชิตพล ผลโภค

• ดร. เบญจลักษณ์ น�้ำฟ้า • คุณฟูอาดี้ พิศสุวรรณ

• รศ. ลัดดา ภูเกียรติ • ดร. วิรไท สันติประภพ

(ประธานมูลนิธิฯ) ประธานบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จ�ำกัด อดีตคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จ�ำกัด (มหาชน) (เหรัญญิก) Director Strategy & Planning บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จ�ำกัด (มหาชน)

รองปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน

(เลขานุการคณะกรรมการมูลนิธิฯ) ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์

ที่ปรึกษามูลนิธิ • ผศ.ดร. กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ • อ. นคร ตังคะพิภพ

ผู้ให้การสนับสนุน ภาครัฐ • องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ กรุงเทพมหานคร • คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคเอกชนและบุคคล • ธนาคารกสิกรไทย • ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ • ธนาคารไทยพาณิชย์ • คุณปิแอร์ บรีเบอร์

• กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ • บริษทั ปตท.ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) • คุณภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ไซม่อน • มูลนิธิเอสซีจี • มูลนิธสิ ำ� นักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ • คุณร็อบ โรเซ็นสไตน์

ภาคเอกชนผู้ ให้การสนับสนุนด้านอื่นๆ • บริษัทปิโก (ไทยแลนด์) จ�ำกัด มหาชน

• บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จํากัด

• หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

• โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส • โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์ • โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม • โรงเรียนวัดไทร • โรงเรียนวัดปากบ่อ

• โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม • โรงเรียนวัดสังฆราชา • โรงเรียนวัดสุทธาราม • โรงเรียนวัดอ่างแก้ว

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ • โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์ • โรงเรียนคลองหนองใหญ่ • โรงเรียนนาหลวง • โรงเรียนประชาราษฎร์บําเพ็ญ • โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์

Annual Report 2014 | 29


Teach For Thailand Foundation 10 Soi Lasalle 56, Sukhumvit Rd., Bangna, Bangkok 10260 Thailand มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เลขที่ 10 ซอยลาซาล 56 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 www.teachforthailand.org | E-mail: info@teachforthailand.org | Facebook: TeachForThailand


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.