รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2557

Page 1



LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

สุข สร้างได้ที่ลุมพินี รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำ�ปี 2557 บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)


2

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

สารบัญ • สารจากประธานกรรมการ • เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ • ข้อมูลองค์กร • วิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความยั่งยืน

3 4 5 6

GREEN POLICY

GREEN OPERATION

• ความยั่งยืนระดับนโยบาย 8 • LPN กับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน 14 15 • หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ • ห่วงโซ่คุณค่า LPN 16 • การพิจารณาและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย 18 • ประเด็นสำ�คัญในความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย 20 • แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย 24 26 • บทสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสีย

• ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ • ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ในกระบวนการ (In Process) • Green Enterprise • Green Design Concept • Green Financial Statement • Green Marketing Management • Green Construction Process • Green Community Management • ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกกระบวนการ (Out Process) • กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของบริษัท • กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ของชมรมลุมพินีอาสา • ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อิงกระบวนการ (As Process) • สถาบันแอล.พี.เอ็น. (LPN Academy) • ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) • การพัฒนานวัตกรรมบนพื้นฐานของการวิจัย และพัฒนา • นวัตกรรมการพัฒนาระบบการออกแบบ และก่อสร้างโครงการด้วยเทคโนโลยี BIM • กิจกรรมเสวนาประธานกรรมการนิติบุคคล • กิจกรรมวันครอบครัวลุมพินี • ข้อมูลพนักงาน • GRI Index

GREEN STRATEGY • กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน • Green Enterprise • Green Design Concept • Green Financial Statement • Green Marketing Management • Green Construction Process • Green Community Management

28 31 34 36 38 40 42

44 47 47 53 56 58 66 76 82 83 86 88 88 96 100 104 105 107 108 110


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

3

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

สารจากประธานกรรมการ ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของการดำ�รงชีวิต ยิ่งในเมืองใหญ่ที่มี ประชากรเป็นจำ�นวนมาก ก็ยิ่งมีความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้นตามลำ�ดับ ในฐานะที่ บริษทั แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) เป็นบริษทั ผูพ้ ฒ ั นา อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ�ในตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนา อาคารชุดพักอาศัยเพื่อตอบสนองความต้องการ “บ้าน” คุณภาพสำ �หรับ กลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงกลาง-ล่าง ในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ภายใต้ แบรนด์ “ลุมพิน”ี ควบคูไ่ ปกับวิสยั ทัศน์ทม่ี งุ่ สูค่ วามยัง่ ยืน บนพืน้ ฐานของการทำ�ธุรกิจ ด้วยความพอเพียง ความสมดุล และการบริหารความเสีย่ ง เพิม่ ประสิทธิภาพของ บุคลากร และการเป็นหนึง่ เดียวกันกับปิยมิตรและคูค่ า้ ทางธุรกิจ อันเป็นแนวทางที่ บริษทั เชือ่ มัน่ ว่าจะสร้างการเติบโตให้กบั บริษทั และผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกกลุม่ ตลอดระยะเวลา 25 ปี ของการดำ�เนินงาน การประกอบธุรกิจโดยคำ�นึงถึงหลัก ความยั่งยืนได้ถูกกำ�หนดไว้เป็นกลยุทธ์ของบริษัท โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับ นโยบาย การบริหารจัดการภายใน และกระบวนการดำ�เนินธุรกิจหลักของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย การดำ�เนินธุรกิจที่ให้ความสำ�คัญกับการบริหารจัดการและ ทุนมนุษย์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อม การจัด ทำ�งบการเงินที่ถูกต้อง โปร่งใสและเชื่อถือได้ การตลาดที่เป็นธรรมกับคู่แข่งและ ผู้บริโภค การบริหารจัดการผลกระทบที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยเฉพาะ ผลกระทบในกระบวนการก่อสร้าง และการดูแลและการบริหารจัดการคุณภาพชีวติ ของผู้อยู่อาศัยในโครงการหลังการส่งมอบ โดยกระบวนการต่างๆ ดังกล่าว จะ ได้รับการส่งต่อจากผู้บริหารสู่พนักงานอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม มีการทบทวน ปรับปรุงอยู่เสมอ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เป็นแนวทางสู่ความ ยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในปี 2557 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับการประเมินระดับการพัฒนาความยั่งยืนจาก สถาบันไทยพัฒน์ใน 2 ด้าน โดยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้รับการประเมินในระดับ 3 (ผสานเข้ากลยุทธ์) ส่วนด้านการป้องกันการมีส่วน เกี่ยวข้องกับคอร์รัปชั่น ได้รับการประเมินในระดับ 2 (ประกาศเจตนารมณ์) ในนามของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ผมจึงใคร่ขอขอบคุณ ท่านผู้ถือหุ้น ลูกค้า ปิยมิตร คู่ค้าทางธุรกิจ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ สนับสนุนให้บริษัทได้ดำ�เนินธุรกิจตามเจตนารมณ์ ในการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์บนพื้นฐาน ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดไป

(ปกรณ์ ทวีสิน) ประธานกรรมการบริษัท


4

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ กว่า 25 ปี ของการดำ�เนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด​(มหาชน) ความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อม และสังคมถือเป็นหัวใจสำ�คัญในการดำ�เนินงานตลอดมา ด้วยปณิธานในการสร้าง โอกาสในการมี “บ้าน” ทีม่ คี ณ ุ ภาพให้กบั ทุกครอบครัว ท่ามกลางสิง่ แวดล้อมและ สังคมที่ดี ตามกลยุทธ์การสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” ในปี 2557 นี้ นับเป็นอีกขั้นของการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็น “องค์กรคุณค่า” ด้วยการวางกรอบการดำ�เนินงาน ด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตามแนวคิด 6 GREEN LPN ที่กลั่นกรองมาจากกระบวนการดำ�เนินธุรกิจ ซึ่ง สอดคล้องกับแนวคิดแห่งความยัง่ ยืนทีใ่ ห้ความสำ�คัญกับผลกระทบทีม่ ตี อ่ สิง่ แวดล้อม (Planet) และสังคม (People) ควบคู่ไปกับผลประกอบการและเศรษฐกิจ (Profit) ที่บริษัทยึดถือมาโดยตลอด รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเล่มแรกที่ได้รวบรวมนโยบาย กลยุทธ์ และผลการดำ�เนินงานเพื่อความยั่งยืนของบริษัทไว้อย่างครบถ้วนตาม กระบวนการดำ�เนินธุรกิจ รวมทั้งได้นำ�เสนอข้อมูลการสร้างการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้เสียที่บริษัทได้ให้ความสำ�คัญ และดำ�เนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทได้ยึดกรอบการรายงานของ Global Report Initiative (GRI) ฉบับ G4 เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำ�และรวบรวมข้อมูลในรอบปี 2557 โดยจะรายงาน ผลการดำ�เนินงานในกระบวนการหลักในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริหาร จัดการชุมชน ทัง้ ทีด่ �ำ เนินการโดยบริษทั และบริษทั ย่อยอันเป็นความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมและสังคมในกระบวนการ (CESR In Process) ที่นำ�ไปสู่ความยั่งยืน ที่แท้จริง การดำ�เนินกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (CESR Out Process) ร่วมกับชุมชน “ลุมพินี” และชุมชนข้างเคียงโครงการ เพื่อสร้างจิตสำ�นึกใน การอยู่ร่วมกัน ดูแลห่วงใย และแบ่งปันกัน นอกจากนั้น ยังสร้างโอกาสในการ พัฒนาคุณภาพชีวติ แก่สตรีดอ้ ยโอกาส และการพัฒนาองค์ความรูข้ ององค์กรและ บุคลากรอย่างต่อเนือ่ ง ผ่านสถาบันแอล.พี.เอ็น. ตามแนวทางความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมและสังคมอิงกระบวนการ (CESR As Process) ทั้งนี้ บริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่านโยบายการดำ�เนินงานในทุกกระบวนการของ บริษทั ที่ให้ความสำ�คัญกับความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อมและสังคม ที่ได้รวบรวม ไว้ในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนฉบับนี้ จะสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการ สร้างสรรค์และส่งมอบคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อเป็นแบบอย่างให้ ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่สนใจ นำ�ไปใช้เป็นหลักในการสร้างความยั่งยืนให้กับ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมต่อไป


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

ข้อมูลองค์กร บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในรูปแบบอาคารชุดพักอาศัย สำ�นักงานใหญ่ ที่ตั้ง 1168/109 ชั้น 36 ลุมพินี ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 วันที่จดทะเบียน : วันที่ 21 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2532 ทุนจดทะเบียน 1,475,698,768 บาท บริษัทในเครือ

บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำ�กัด ให้บริการบริหารจัดการชุมชนแบบครบวงจร

บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำ�กัด ให้บริการบริหารงานก่อสร้างโครงสร้าง

บริษัท พรสันติ จำ�กัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากอาคารชุดพักอาศัย

บริษทั ลุมพินี พร็อพเพอร์ต้ี เซอร์วสิ แอนด์ แคร์ จำ�กัด ให้บริการงานบริการด้านต่างๆ ในชุมชน

5


6

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

วิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความยั่งยืน บริษทั กำ�หนดวิสยั ทัศน์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ซึง่ เป็นหัวใจสำ�คัญในการขับเคลือ่ นองค์กรมาตัง้ แต่เริม่ การประกอบธุรกิจจวบจนปัจจุบัน ในปี 2557 นี้ เป็นปีแรกในการดำ�เนินงานในรอบวิสัยทัศน์ใหม่ ซึ่งได้วางนโยบายและกรอบการดำ�เนินงาน ตามวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้

วิสัยทัศน์ ปี 2557 - 2559

คงไว้ซึ่งสถานะผู้นำ�ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัย ในกลุ่มเป้าหมายระดับกลาง ถึงกลาง-ล่าง ภายใต้แนวทาง “ชุมชนน่าอยู่” ด้วยการดำ�เนินการตามวิถี “องค์กร คุณค่า” เพื่อการพัฒนา และ เติบโตอย่างยั่งยืน

ผู้นำ�ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยในกลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงกลาง-ล่าง

ความพอประมาณและความมีเหตุผล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ หลักสำ�คัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท ด้วยองค์ ความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อตอบสนองความต้องการที่พักอาศัยที่มีคุณภาพและสามารถเป็นเจ้าของได้ รวมทั้งให้ความสำ�คัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในการพัฒนาโครงการในทุกขั้นตอน ภายใต้แนวทาง “ชุมชนน่าอยู่”

การสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” เป็นปณิธานในการส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดี ให้แก่ผู้อยู่อาศัย ที่ไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่การพัฒนาโครงการ โดย “ชุมชนน่าอยู่” นั่น เป็นเอกลักษณ์และภูมิคุ้มกันให้แก่คุณค่าและชื่อเสียงขององค์กร ที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการตัดสินใจ เข้ามาเป็นลูกค้าและผู้อยู่อาศัยในโครงการของบริษัท ดำ�เนินการตามวิถี “องค์กรคุณค่า”

การสร้าง “องค์กรคุณค่า” คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่องค์กร ด้วยการให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาบุคลากรทั้งในด้านองค์ความรู้และ คุณธรรม ตามวิถีแอล.พี.เอ็น รวมทั้งการปลูกผังวัฒนธรรม “ร่วมใจ ห่วงใย และแบ่งปัน” เพื่อส่งต่อคุณค่าไปสู่สิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อการพัฒนา และเติบโตอย่างยั่งยืน

การพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นเป้าหมายของการดำ�เนินธุรกิจของบริษัท ที่ต้องการสร้างสมดุลของผลตอบแทน แบ่งปันคุณค่า สู่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และเติบโตทีละก้าวอย่างพอประมาณและต่อเนื่อง บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ

ชุมชนน่าอยู่

Vibrant Community

องค์กรคุณค่า Value Organization

ชุมชนน่าอยู่ คือ ชุมชนลุมพินีที่อยู่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีองค์ประกอบที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี รวมทั้งจิตสำ�นึกของการอยู่ร่วมกัน ดูแลห่วงใยและแบ่งปัน องค์กรที่ได้มีการพัฒนาคุณค่าแบบบูรณาการในการดำ�เนินงานทุกภาคส่วน เพื่อส่งมอบให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคม


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

7

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

พันธกิจ

ผู้ถือหุ้น ลูกค้า / ผู้อยู่อาศัย

สิ่งแวดล้อมและสังคม

สร้างสรรค์ และส่งมอบ “ชุมชนน่าอยู่” ด้วยคุณค่าของ 6 GREEN LPN ที่จะนำ�ไปสู่ความสุขที่แท้จริง ของการอยู่อาศัย

สร้างการเติบโตอย่างเหมาะสม เพื่อผลตอบแทนอย่างยั่งยืน ภายใต้การบริหารความเสี่ยงและ หลักการธรรมาธิบาล

ส่งเสริมและมีส่วนร่วมในจิตสำ�นึก รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในกระบวนการ นอกกระบวนการ และอิงกระบวนการ เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน

ปิยมิตรทางธุรกิจ พนักงาน

การดำ�เนินงานภายใน การปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นประสิทธิผล และสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกันผ่าน แผนธุรกิจและตัวชี้วัดเชิงประสิทธิภาพ อย่างยืดหยุ่นภายใต้ LPN Way

เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม เพื่อความสุข ความผูกพัน ความก้าวหน้ามั่นคง ผ่าน LPN Way และสถาบัน แอล.พี.เอ็น. ภายใต้ วัฒนธรรมห่วงใยและแบ่งปันของ “องค์กรแห่งคุณค่า”

สร้างความเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ วัฒนธรรมห่วงใยและแบ่งปัน และ เติบโตร่วมกันอย่างต่อเนื่องใน ผลตอบแทนที่เหมาะสม


ความยั่งยืน ระดับนโยบาย GREEN POLICY


1 ตลอดระยะเวลาการดำ�เนินงาน กว่า 25 ปีของ LPN การพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน ถือเป็นหัวใจสำ�คัญ ในการขับเคลื่อนองค์กร ด้วยความรับผิดชอบ ต่อผูม้ สี ่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคม


10

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY) พื้นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักคิดในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ถูกรวบรวมและกลั่นกรองเป็นองค์ความรู้ภายในองค์กร รวมทั้งเป็นแนวทางที่ทุกภาคส่วนปฏิบตั ิ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวคิดต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นพื้นฐานที่สำ�คัญและมั่นคง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนองค์กร ทั้งในระดับนโยบายองค์กร ระดับ กลยุทธ์ และระดับปฏิบัติการ

นโยบายองค์กร

ระดับกลยุทธ์

ระดับปฏิบัติการ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นับตัง้ แต่เริม่ ก่อตัง้ บริษทั ดำ�เนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม โดยการสร้างสมดุลระหว่างผลตอบแทนแก่ผมู้ สี ว่ นได้เสียที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ความสำ�คัญกับการดำ�เนินงานภายใน เพื่อให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากร ภายหลังจากการเกิดวิกฤติ เศรษฐกิจปี 2540 บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรและสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งยังรักษาการเติบโตให้ เป็นไปอย่างเหมาะสม นอกจากนั้น ยังได้น�ำ เอาหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้เป็นแนวทาง การดำ�เนินธุรกิจของบริษัท

3 ห่วง ได้แก่ 1. ความพอประมาณ อัตราการเติบโตที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร ภายใน (In-house) ผลกำ�ไรที่พอประมาณ ไม่เอารัดเอาเปรียบ และไม่เบียดเบียน ลูกค้าและสังคม คำ�นึงถึงผลกระทบจากการดำ�เนินธุรกิจทุกมิติ

ความรู้

1

2

มีเหตุผล

3

สร้าง ภูมิคุ้มกัน

พอประมาณ คุณธรรม

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)

2. ความมีเหตุผล พัฒนาที่พักอาศัยสำ�หรับกลุ่มเป้าหมายรายได้ระดับกลางถึง กลาง-ล่าง คำ�นึงถึงคุณภาพชีวติ ของผูอ้ ยูอ่ าศัยด้วยแนวคิด “ชุมชนน่าอยู”่ สร้างความสมดุลของผลตอบแทนของผู้เกี่ยวข้อง

3. การสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาบุคลากร กำ�หนดกลยุทธ์ทเ่ี หมาะสมทุกสภาวะของธุรกิจ


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

2 เงื่อนไข ได้แก่

1

ความรู้

2

คุณธรรม

กำ�หนดให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และแบ่งปันความรู้ โดยมีสถาบันแอล.พี.เอ็น. เป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน

กำ�หนดให้ “คุณธรรม” เป็นหนึ่งในค่านิยมองค์กร เพื่อนำ�ไปสู่บรรษัทภิบาล

บริษทั ได้ยดึ หลักการดังกล่าวเป็นแนวทางในการดำ�เนินธุรกิจมาโดยตลอด จนได้รบั การยอมรับอย่างกว้างขวางจากผูเ้ กีย่ วข้องและผูม้ สี ว่ นได้เสีย ทุกกลุ่ม และเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในปีนี้ทางบริษัทได้พิจารณาเพิ่มเติมแนวทางปฏิบัติในการดำ�เนินงานบนพื้นฐานของหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังนี้

แนวทางปฏิบัติในการดำ�เนินงานบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1. การบริหารจัดการองค์กร ดำ�เนินงานให้เกิดผลกำ�ไรที่เหมาะสม พอประมาณ ไม่หวังผลกำ�ไรระยะสั้น ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่เบียดเบียนผู้หนึ่งผู้ใดไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้าหรือคู่แข่ง กำ�หนดกลยุทธ์ ในการดำ�เนินงานในแนวทางยืดหยุ่น สามารถรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นช่วงขาขึ้นหรือขาลง อีกทั้งยังประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำ�เสมอ

2. การบริหารจัดการบุคลากร กำ�หนดผลตอบแทนและสวัสดิการที่สอดคล้องกับประสิทธิภาพและประสิทธิผล มุ่งเน้นด้านความสมดุลของชีวิตและการทำ�งาน รักษาและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง กำ�หนดให้เป็น “องค์กรแห่งการเรียนรู้” และประสบการณ์ คัดเลือกและวางแผนผู้สืบทอดและพัฒนาอย่างเหมาะสม

3. การสร้างความสมดุลของผลประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสีย จัดสรรผลประโยชน์ ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ อย่างสมดุลและเหมาะสม เข้าไปดูแลรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผลกระทบจากการพัฒนา โครงการ ตั้งแต่ช่วงการออกแบบ การดำ�เนินงานก่อสร้าง (ฝุ่น เสียง ที่ส่งผลกระทบต่อบ้าน ข้างเคียง) โดยเฉพาะคุณภาพชีวิตของสังคม ในชุมชนหลังการส่งมอบ (ชุมชนน่าอยู่) โดยได้กำ�หนด งบประมาณในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ตัง้ งบประมาณในการเข้าไปดูแลสิง่ แวดล้อมที่ได้รบั ผลกระทบจากการพัฒนา รวมทัง้ การนำ�แนวคิดของ อาคารเขียว (Green Building) มากำ�หนดเป็นแนวทางการพัฒนาโครงการด้วยแนวคิด LPN Green Project

11


12

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

4. การพัฒนานวัตกรรม กำ�หนด “คิดนอกกรอบ” (Lateral Thinking) เป็นสมรรถนะหลักองค์กร (Core Competency) ซึ่งพัฒนามาเป็น “ความยืดหยุ่น” (Dynamic) อีกหนึ่งค่านิยมของบริษัท ซึ่งส่งผลให้บริษัทได้ คิดค้นนวัตกรรมในการดำ�เนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยการกระตุ้นให้พนักงานในทุกสายงาน ได้คิดค้นนวัตกรรมในสายงานของตนเอง

5. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กำ�หนดกลยุทธ์ในการดำ�เนินงานที่สำ�คัญ คือ การตระหนักถึงการบริหารต้นทุน รวมถึงค่าใช้จ่าย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ระดับกลางถึงกลาง-ล่าง ซึ่งต้องคำ�นึงถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ส่งผลกระทบต่อราคาขายเป็นสำ�คัญ ควบคุม ดูแล การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบจนถึง กระบวนการดำ�เนินการก่อสร้างและการดำ�เนินงานในทุกส่วน

6. การพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และบริการ เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ เพื่อนำ�มาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ การวางรูปแบบการ ดำ�เนินงานให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับการปรับเข้าหาเทคโนโลยีใหม่ๆ

7. การขยายและเติบโตอย่างสม่�ำ เสมอค่อยเป็นค่อยไป ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีการเติบโตด้านผลประกอบการอย่างต่อเนื่อง ค่อยเป็น ค่อยไป ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยน โดยคำ�นึงถึงการเติบโตพร้อมกันของผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานในบริษัทหรือปิยมิตรที่ทำ�งานร่วมกันมากับบริษัทเป็นระยะเวลายาวนาน

8. การบริหารความเสี่ยง บริษัทได้มีการกำ�หนดกลยุทธ์การบริหารจัดการความเสี่ยงโดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อันประกอบด้วย กรรมการบริหาร กรรมการผูจ้ ดั การ และกรรมการผูจ้ ดั การของบริษทั ย่อยทุกบริษทั โดยมีการประเมิน ติดตาม วิเคราะห์กลยุทธ์และผลอย่างสม่ำ�เสมอ ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถปรับ เปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

9. การแบ่งปัน สร้างจิตสำ�นึกของการแบ่งปันให้กับทุกมิติที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในชุมชนที่บริษัทบริหารจัดการ ซึ่งเป็นการสร้างความสุขจากวัฒนธรรมการอยู่อาศัย “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” บริษัทเชื่อว่าการแบ่งปันที่มีคุณภาพและไม่ต้องลงทุน คือ การแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ลูกค้า ปิยมิตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างจิตสำ�นึกของการ แบ่งปันไปสู่ทุกมิติในสังคม

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

10. การสร้างวัฒนธรรมและคุณค่า กำ�หนด C-L-A-S-S-I-C เป็นสมรรถนะหลักของบุคลากร (Core Competency) ทัง้ องค์กร ก่อให้เกิด คุณค่าองค์กร (Corporate Values) ซึ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องเกิดเป็นวิถีแอล.พี.เอ็น. (LPN Way) เพื่อ เป็นแนวทางบูรณาการในการดำ�เนินธุรกิจที่ทุกส่วนงานนำ�ไปปฏิบัติ อีกทั้งยังกระจายไปสูป่ ิยมิตร ที่ดำ�เนินงานเคียงคู่กับบริษัทมาโดยตลอด และขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน

Core Competency

Corporate Value

with Quality C - Cost บริหารต้นทุนพร้อมคุณภาพ

Cost Leadership ผู้นำ�ด้านต้นทุน

Thinking L - Lateral คิดนอกกรอบ

Dynamic ความยืดหยุ่น

A - Alliance ปิยมิตร

LPN TEAM แอล.พี.เอ็น. ทีม

with Quality S - Speed รวดเร็ว Minded S - Service ใจรักบริการ

Customer Centric ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

I - Integrity คุณธรรม

Corporate Governance ธรรมาภิบาล

C - Collaboration ความร่วมมือร่วมใจ

ONE LPN หนึ่งเดียว แอล.พี.เอ็น.

13


14

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

LPN กับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษทั นำ�หลัก Triple Bottom Line มาเป็นแนวทางในการกำ�หนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และการดำ�เนินงาน ดังปรากฏอยู่ในแผนธุรกิจภายใต้ วิสัยทัศน์เพื่อความยั่งยืน เพื่อรักษาสมดุลขององค์ประกอบทั้งสามและสร้างการเติบโตที่มั่นคง โดยกำ�หนดปรัชญาการดำ�เนินธุรกิจด้วย ความรับผิดชอบต่อเป้าหมายสุดท้ายของธุรกิจทั้ง 3 องค์ประกอบ ตามหลักการของ Triple Bottom Line ดังนี้

Profit

(Economy)

People

SUSTAINABLE DEVELOPMENT

(Society)

Planet

(Environment)

Profit (Economy)

People (Society)

Planet (Environment)

เป้าหมายในเชิงเศรษฐกิจที่ส�ำ คัญ ของบริษัท คือ การสร้างสมดุลของ ผลตอบแทนหรือกำ�ไรในการดำ�เนินงาน ที่พอประมาณและต่อเนื่อง บนพื้นฐานของการกำ�กับดูแลกิจการ ที่ดี มีความรับผิดชอบในการประกอบ กิจการด้วยความโปร่งใสและเปิดเผย รวมถึงคำ�นึงถึงการแบ่งปันผลตอบแทน ไปสู่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

บริษัทคำ�นึงอยู่เสมอว่า ธุรกิจนั้น จะเติบโตได้ด้วยพื้นฐานของสังคมที่ดี มีคุณภาพ มีความปลอดภัย การรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท จึงไม่ได้จำ�กัดอยู่เฉพาะบุคลากรภายใน เท่านั้น แต่ยังคำ�นึงถึงสังคมภายนอก บุคลากรของคู่ค้า ลูกค้า และผู้พักอาศัย ในโครงการ รวมถึงสังคมภายนอก อันได้แก่ ชุมชนเพื่อนบ้าน แรงงานก่อสร้าง ตลอดจนสภาพสังคม โดยรวมของประเทศ

บริษัทในฐานะผู้ประกอบธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ มีบทบาทและสร้าง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน จึงให้ความสำ�คัญต่อการรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดผลกระทบ จากการพัฒนาโครงการในกระบวนการ (In process) ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ และกระบวนการก่อสร้าง รวมทั้งดูแล สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของ ผู้อยู่อาศัยในชุมชนและชุมชนข้างเคียง ภายหลังการส่งมอบ โดยกำ�หนดให้การ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งใน กลยุทธ์ของการดำ�เนินงานทั้งส่วน ของการบริหารโครงการ (Project Management) และการ บริหารชุมชน (Community Management)

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ หลักธรรมาภิบาล คือ หลักการปกครอง การบริหารจัดการ ควบคุมดูแลกิจการต่างๆ ด้วยความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามครรลองธรรม ซึ่งธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายรวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมที่พึงประพฤติปฏิบัติ เช่น ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น โดยหลักธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำ�มาใช้ บริหารงานในปัจจุบนั อย่างแพร่หลาย เพือ่ สร้างและส่งเสริมองค์กรให้มศี กั ยภาพและประสิทธิภาพ นอกจากนัน้ ยังสร้างศรัทธาและเชื่อมั่นใน องค์กรนั้นๆ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ในฐานะผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐหลายส่วนงาน บริษัทมี นโยบายในการต่อต้านการคอรัปชั่นโดยกำ�หนดให้การดำ�เนินงานทุกกระบวนการอยู่ ในขอบเขตของกฎหมายอย่างเคร่งครัด และได้บรรจุเรื่องความเสี่ยงต่อระบบราชการ (Compliance Risk) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจ และมีการติดตามธุรกรรมกับทาง ราชการอย่างสมํา่ เสมอ นอกจากนัน้ ยังได้ก�ำ หนดให้บคุ ลากรทุกคนปฏิบตั ติ ามกฎหมาย จรรณยาบรรณของบริษัท (Code of Conduct) และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน่ อย่าง เคร่งครัด เพือ่ สร้างความรับผิดชอบและคุณธรรม รวมทั้งกำ�หนดให้คุณธรรม (Integrity) เป็นค่านิยมหลักของบุคลากรอีกด้วย โดยบุคลากรทุกคนต้องได้รับทราบแนวทางปฏิบตั ิ ด้านการต่อต้านการคอร์รปั ชัน่ และการอบรมเรือ่ งค่านิยมองค์กรดังกล่าวในการปฐมนิเทศ พนักงานใหม่

ปรัชญา 20 Miles March การก้าวเดินอย่างต่อเนือ่ ง คือ หนึง่ ในวิถปี ฏิบตั ขิ องบริษทั ทีจ่ ะไม่หยุดทีจ่ ะก้าวไปข้างหน้า โดยรักษาระยะ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ว่าช่วงเวลานั้นจะมีอุปสรรคหรือเป็น ช่วงเวลาแห่งโอกาส ดั่งหลักปรัชญา 20 Miles March ที่เน้นการก้าวเดินอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทได้นำ�หลักการดังกล่าวมากำ�หนดเป้าหมายการเติบโตและการพัฒนาอย่าง ชัดเจนในทุกหน่วยงานและในทุกกระบวนการของการทำ�งาน เพือ่ ให้สามารถวัดผลได้ และ ปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนือ่ ง

โดยทั้งหมดของการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทนั้น จะมีพื้นฐานของความพอเพียง ความสมดุล และการบริหารความเสี่ยง เน้นการพัฒนา องค์ความรู้ เพิ่มประสิทธิภาพการดำ�เนินงานและความสามารถของบุคลากรภายในองค์กร และสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับปิยมิตรอย่างที่ ได้ท�ำ มาอย่างต่อเนื่องตลอดการดำ�เนินงานของบริษัท

15


16

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

ห่วงโซ่คุณค่า LPN

GREEN ENTERPRISE

พนักงาน

PROJECT LOCATION

LAND PURCHASE

ผูบร�หาร หนวยราชการ

GREEN COMMUNITY MANAGEMENT

ชุมชนนาอยู

CUSTOMER MOVE IN

FBLES+P

ผูอยูอาศัย

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

GREEN DESIGN CONCEPT

GREEN FINANCIAL STATEMENT

ผูออกแบบ

17

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

GREEN MARKETING MANAGEMENT

ลูกคา ผูถือหุน

ลูกคา CUSTOMER EXPERIENCE MANAGEMENT

GREEN CONSTRUCTION MANAGEMENT

PRODUCT HAND OVER

ผูรับเหมา หนวยราชการ บานขางเคียง

คนงานกอสราง

SAFETY FIRST


18

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

การพิจารณาและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย จากห่วงโซ่คณ ุ ค่าของบริษทั สามารถสรุปผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินงานในทุกกระบวนการ ได้ดงั นี้ ผู้ถือหุ้น หมายถึง ผู้ถือหุ้นของบริษัท ทั้งในฐานะบริษัท กองทุน และบุคคล ที่ได้รับผลตอบแทนจากการดำ�เนินงาน ซึ่งให้ความสำ�คัญกับ การกำ�กับดูแลกิจการตามหลักธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อมและสังคม พนักงาน หมายถึง ผูท้ ท่ี �ำ งานให้แก่บริษทั ช่วยขับเคลือ่ นการดำ�เนินงานของบริษทั ให้กา้ วไปข้างหน้าอย่างยัง่ ยืน ซึง่ หมายรวมถึงพนักงานใน ทุกระดับ ตัง้ แต่ระดับปฏิบตั กิ ารจนถึงระดับบริหาร ผู้ออกแบบ หมายถึง หนึ่งใน LPN Team ปิยมิตรของบริษัท ซึ่งทำ�หน้าที่ร่วมกันออกแบบและวางผังโครงการ ตามแนวคิดในการพัฒนา โครงการ ลูกค้า หมายถึง ผู้ที่ให้ความสนใจห้องชุดของบริษัทและได้ดำ�เนินการจองซื้อและชำ�ระเงินค่าผ่อนดาวน์ ซึง่ ในอนาคตเมือ่ โครงการพัฒนา เสร็จสมบูรณ์ ลูกค้าจะพัฒนาไปสูก่ ารเป็นเจ้าของร่วม/ผูอ้ ยูอ่ าศัย ผูร้ บั เหมา หมายถึง LPN Team ปิยมิตรของบริษทั ซึง่ เข้ามามีสว่ นร่วมในกระบวนการก่อสร้างของบริษทั เพือ่ ให้การบริหารโครงการประสบ ความสำ�เร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ด้วยความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อม แรงงานก่อสร้าง หมายถึง แรงงานของปิยมิตร ทีร่ บั จ้างทำ�งานก่อสร้างโครงการให้บริษทั ทัง้ แรงงานทีม่ สี ญั ชาติไทยและแรงงานต่างด้าว เพือ่ นบ้าน หมายถึง ผูท้ อ่ี ยูอ่ าศัยในพืน้ ทีท่ อ่ี ยูต่ ดิ หรือใกล้กบั โครงการทีก่ �ำ ลังดำ�เนินงานก่อสร้างของบริษทั ซึง่ ได้รบั ผลกระทบตัง้ แต่เริม่ พัฒนา โครงการ จนถึงผลกระทบจากการอยูอ่ าศัยภายหลังการส่งมอบโครงการแล้ว หน่วยงานราชการ หมายถึง หน่วยงานของราชการทีเ่ กีย่ วข้องกับการดำ�เนินงานต่างๆ ของบริษทั มีอ�ำ นาจในการตัดสินใจและมีผลบังคับทาง กฎหมาย เจ้าของร่วม/ผูอ้ ยูอ่ าศัย หมายถึง ผูท้ อ่ี ยูอ่ าศัยในโครงการที่ได้สง่ มอบแล้วของบริษทั ไม่วา่ จะในฐานะลูกค้าทีซ่ อ้ื ห้องชุดในโครงการ หรือผูท้ เ่ี ช่า พักอาศัย ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของชุมชนทีบ่ ริษทั ให้การดูแล สิง่ แวดล้อมและสังคม หมายถึง องค์ประกอบของความยัง่ ยืนทีเ่ ป็นพืน้ ฐานให้แก่ทกุ การประกอบกิจการ ซึง่ การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลกระทบโดยตรง บริษทั จึงมุง่ เน้นการดูแลสิง่ แวดล้อมและลดผลกระทบต่อสังคมโดยรอบบริเวณโครงการเป็นสำ�คัญ ทัง้ นี้ บริษทั ได้ประเมินระดับความเกีย่ วข้องของกลุม่ ผูม้ สี ว่ นได้เสียโดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา อันได้แก่ ระดับของอิทธิพลทีม่ ผี ลต่อองค์กรและ การดำ�เนินงาน กับระดับของผลกระทบที่เกิดจากการดำ�เนินงานของบริษัท เพื่อให้สามารถระบุความสำ�คัญ วางกลยุทธ์ในการสร้างการมี ส่วนร่วม กำ�หนดกรอบการดำ�เนินงานและลดผลกระทบที่มีความสำ�คัญแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และมุ่งสู่การพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

19

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

ตารางวิเคราะห์ผมู้ สี ว่ นได้เสีย

ระดับของผลกระทบที่เกิดจากการดำ�เนินงานขององค์กร IMPACTED BY COMPANY’S ACTIVITIES

4

สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อนบ้าน

3

พนักงาน ลูกค้า

กรรมการนิติฯ ผู้อยู่อาศัย

2

ชุมชนข้างเคียง

แรงงาน

1

ผู้ถือหุ้น

นักวิเคราะห์

1

ผู้รับเหมา (LPN Team)

2

นักข่าว,สื่อมวลชน

3

ระดับของอิทธิพลที่มีต่อองค์กรและการดำ�เนินงาน INFLUENCE TO COMPANY’S PERFORMANCE

หน่วยงาน ราชการ

4


20

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

ประเด็นสำ�คัญในความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย

Green Enterprise

ลูกค้า

• พัฒนาอย่างยั่งยืน • กำ�ไรและเติบโตอย่างเหมาะสม • ธรรมาภิบาลและการบริหาร ความเสี่ยง • ต่อต้านการทุจริต • ความเท่าเทียมและสิทธิผู้ถือหุ้น

• ส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์ และบริการ • บ้านที่สามารถเป็นเจ้าของได้ • ความเชื่อมั่นและผูกพัน ในแบรนด์

• รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมทั้งใน, นอก และอิงกระบวนการ

• สิ่งแวดล้อมภายในอาคารที่มี คุณภาพกับผู้อยู่อาศัย • พัฒนาห้องชุดตามพฤติกรรม และวิถีชีวิต (Behavior & Lifestyle) • นวัตกรรมจากการออกแบบ

• พัฒนาพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน • การใช้นํ้าและพลังงานอย่าง มีประสิทธิภาพ • การใช้วัสดุและทรัพยากร อย่างประหยัดและเหมาะสม

IN PRO C ESS

Green Design Concept Green Financial Statement

Green Marketing Management

Green Construction Process Green Community Management

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)

สิ่งแวดล้อม และสังคม

ผู้ถือหุ้น

• งบการเงินที่ถูกต้อง โปร่งใส เชื่อถือได้ • วินัยทางการเงิน • รายงานผลประกอบการ อย่างสมํ่าเสมอ • รับประกันคุณภาพห้องชุด • ราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ เงื่อนไขการจ่ายเงินที่เหมาะสม • ข้อมูลการขายชัดเจน ละเอียด ไม่มีวาระซ่อนเร้น • โฆษณาเชิงสร้างสรรค์ ไม่โจมตีคู่แข่ง • บริหารประสบการณ์ลูกค้า ผ่านจุดสัมผัส • ขั้นตอนการจองและทำ�สัญญา รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน • ลดผลกระทบจากการก่อสร้าง นํ้าเสีย ฝุ่น เศษวัสดุและเสียง • การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียว

• คุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการ • บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม บริหารชุมชน ตามกลยุทธ์ ผ่านกิจกรรมตามแนวคิด Green Clean Lean “ชุมชนน่าอยู่” FBLES+P • การบริหารความพึงพอใจ สร้างจิตสำ�นึกด้านการประหยัด และข้อร้องเรียน พลังงานและคัดแยกขยะในชุมชน • การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียว • การจัดการขยะในโครงการ • การประหยัดพลังงานในชุมชน


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

ปิยมิตร

พนักงาน

• พัฒนาและเติบโตไปด้วยกัน • เป็นหนึ่งเดียว • ผลตอบแทนที่เหมาะสม

• ค่านิยมองค์กร (LPN Way) • องค์กรน่าอยู่ • องค์กรแห่งการเรียนรู้และเติบโต • ความสมดุลระหว่างการทำ�งาน และชีวิต • นโยบายคุ้มครองผู้ร้องเรียน • จรรยาบรรณทางธุรกิจ

21

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

แรงงาน ก่อสร้าง

เพื่อนบ้าน ข้างเคียง

• พิจารณาผลกระทบ ด้านการออกแบบ

• วางแผนและกำ�หนดแนวทาง การดำ�เนินงานร่วมกัน เพื่อควบคุมและบริหารต้นทุน

• ความปลอดภัยของคนงาน และผู้เกี่ยวข้อง • คุณภาพชีวิตและสุขอนามัย ในบ้านพักคนงาน • ผลตอบแทน

• การเยียวยาและดูแล ผลกระทบจากการก่อสร้าง


22

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

AS PRO C ESS

OU T P R OCE SS

ผู้ถือหุ้น

Corporate ESR to Community ESR Togetherness Care and Share

Social Enterprise

LPN Academy

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)

ลูกค้า

สิ่งแวดล้อม และสังคม

• สื่อสารสร้างเครือข่ายจิตอาสา • สนับสนุนชมรมลุมพินี เพื่อการมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ในการจัดกิจกรรม เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

• รณรงค์และประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำ�นึกของการร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน

• จัดกิจกรรมเพื่อ สิ่งแวดล้อมและสังคม เน้นกิจกรรมบริจาคโลหิต

• บริการความสะอาดในชุมชน ด้วยมาตรฐานการบริการ S-E-R-V-I-C-E-S เพื่อความพึงพอใจของผูว้ า่ จ้าง

• สร้างงานและยกระดับ คุณภาพชีวิตสตรี ด้อยโอกาส • สร้างจิตสำ�นึก CESR

• แบ่งปันองค์ความรู้ สู่สาธารณชนและ สถาบันการศึกษา


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

ปิยมิตร

พนักงาน

23

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

แรงงาน ก่อสร้าง

เพื่อนบ้าน ข้างเคียง

• สร้างความสัมพันธ์กับ หน่วยงานภายนอก

• สร้างความสุขในการทำ�งาน • ยกระดับการศึกษา เพื่อสร้างโอกาส เติบโตในอาชีพการงาน • การเพิ่มความสุขของสตรี ด้อยโอกาส - ส่งเสริมธรรมะ - ส่งเสริมสุขภาพ • ถ่ายทอดและแบ่งปัน องค์ความรู้แก่บุคลากรของ ปิยมิตร เพื่อประสิทธิภาพ ในการทำ�งาน

• พัฒนาความรู้ความสามารถ พนักงานให้ทันต่อการเติบโต ของธุรกิจตามวิถีแอล.พี.เอ็น.


24

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ถือหุ้น

ลูกค้า/ผู้อยู่อาศัย

ประเด็นสำ�คัญทั่วไป • กำ�ไรและการเติบโตที่เหมาะสม • การบริหารความเสี่ยง • ธรรมาภิบาล

• การสร้างการมีส่วนร่วม • ความเชื่อมั่นในแบรนด์ • คุณค่าผลิตภัณฑ์ • คุณค่าการบริการ - ชุมชนน่าอยู่ • สิทธิผู้บริโภค • การบริหารความพึงพอใจ • บ้านที่สามารถหาซื้อได้

ประเด็นสำ�คัญเฉพาะ • สร้างการเติบโตและผลกำ�ไรอย่างเหมาะสม • รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม • สร้างความสมดุลของผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม • ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล • บริหารจัดการความเสี่ยง • ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น • เคารพในสิทธิของผู้ถือหุ้น • ดำ�เนินนโยบาย 6 GREEN LPN เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน • บ้านที่สามารถเป็นเจ้าของได้ • คุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการ • สร้างความพึงพอใจและบริหารข้อร้องเรียน • เคารพในสิทธิของผู้บริโภค • ราคาที่เป็นธรรม • สร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน ดูแลห่วงใยและแบ่งปันกัน • สร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรม CESR • ส่งเสริมการเรียนรู้แก่เยาวชนที่อยู่อาศัยในโครงการ • เปิดโอกาสให้ชุมชนร่วมกำ�หนดแนวทางการบริหารจัดการ

• ความรับผิดชอบ • การลดผลกระทบในกระบวนการ นอกกระบวนการ และอิงกระบวนการ

• การลดผลกระทบจากการก่อสร้าง • การร่วมรณรงค์คัดแยกขยะในชุมชนที่บริหารจัดการ • ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน • การบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า • การออกแบบโครงการเพื่อความยั่งยืน • สร้างจิตสำ�นึก CESR แก่ชุมชนที่บริหารจัดการ • สร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สตรีด้อยโอกาส • แบ่งปันองค์ความรู้องค์กรสู่ภายนอกผ่านสถาบันแอล.พี.เอ็น.

ปิยมิตร

• สมดุลของผลตอบแทน • พัฒนาและเติบโตไปด้วยกัน

• สร้างความเป็นหนึ่งเดียว • กำ�หนดแผนธุรกิจร่วมกัน • แบ่งปันองค์ความรู้ • ให้การสนับสนุนในการพัฒนาองค์กร • ส่งต่อจิตสำ�นึกในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

พนักงาน

• สมดุลระหว่างการทำ�งานและชีวิต • การเรียนรู้และเติบโต • ความสุขในการทำ�งาน • ค่านิยมองค์กร

• สร้างสมดุลระหว่างการทำ�งานและชีวิต • การเรียนรู้และเติบโตในหน้าที่การงาน • องค์กรน่าอยู่ • สมรรถนะหลักไปสู่ค่านิยมองค์กร • ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม • ความเท่าเทียมและสิทธิขั้นพื้นฐาน

• ความปลอดภัย • การดูแลคุณภาพชีวิตคนงานก่อสร้าง

• ความปลอดภัยในการทำ�งาน • ดูแลคุณภาพชีวิต ทั้งบ้านพักคนงานและสุขอนามัย • สิทธิและค่าตอบแทนขั้นพื้นฐาน • การปฏิบัติอย่างเท่าเทียม • การป้องกันเสียง ฝุ่น และผลกระทบจากการก่อสร้าง • การรับฟังข้อเสนอแนะและแนวทางการทำ�งาน • การปฏิบัติตามรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม • การออกแบบที่ค�ำ นึงถึงความยั่งยืนของพื้นที่

สิ่งแวดล้อมและสังคม

แรงงานก่อสร้าง เพื่อนบ้านข้างเคียง

• การลดผลกระทบในกระบวนการก่อสร้าง • การสร้างความสัมพันธ์

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

วิธีการสร้างการมีส่วนร่วม

25

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

ความถี่ในการดำ�เนินการ

• รายงานประจำ�ปี • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น • จดหมายข่าวผู้ถือหุ้น • เยี่ยมชมโครงการ • การพบปะนักวิเคราะห์ • การพบปะนักลงทุนและผู้จัดการกองทุน • การรายงานความคืบหน้าโครงการ

รายปี รายปี รายไตรมาส รายปี รายไตรมาส เป็นประจำ� เป็นประจำ�

• การประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม • Mobile App • Call Center • กิจกรรมต่างๆ • การสำ�รวจความพึงพอใจ • Lumpini Family Day • เสวนากรรมการนิติฯ • Touch Point • การบริหารประสบการณ์ลูกค้า • การวิจัยทางการตลาด • www.lpn.co.th • 6 GREEN LPN • LPN Green Project • QCSES+P

รายปี เป็นประจำ� รายวัน เฉพาะกิจ เป็นประจำ� รายปี รายปี เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ� เฉพาะกิจ เป็นประจำ�

• การประชุมปิยมิตร • การอบรมและแบ่งปันความรู้ • กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์

รายเดือน รายเดือน รายไตรมาส

• การประเมินความสุขในการทำ�งาน • สถาบันแอล.พี.เอ็น. • กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วม • ทีมงานพนักงานสัมพันธ์ • การประเมินผลการปฏิบัติงาน • เว็บไซต์ และอีเมล์ภายใน • การแบ่งปันความรู้จากผู้บริหาร • คณะกรรมการสวัสดิการ • Whatsapp • QCSES+P • กิจกรรมดูแลคุณภาพชีวิต • ตรวจสุขภาพ

รายไตรมาส เป็นประจำ� เป็นประจำ� เฉพาะกิจ รายครี่งปี เป็นประจำ� เป็นประจำ� เฉพาะกิจ รายวัน รายวัน เฉพาะกิจ รายปี

• ประชาพิจารณ์ • เยี่ยมเยียน พบปะ พูดคุย • เพิ่มพื้นที่สีเขียว • ปรับปรุงพื้นที่ • การออกแบบที่ค�ำ นึงถึงความยั่งยืนของพื้นที่ • กล่องรับเรื่องร้องเรียน

เฉพาะกิจ รายวัน เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ� รายสัปดาห์


26

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

บทสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสีย LPN กับการทำ�งานร่วมกับปิยมิตร บริษทั พี.เอ.ดีซายน์ จำ�กัด เป็นปิยมิตรทีท่ �ำ งานร่วมกันมาอย่างยาวนาน ในฐานะผู้ให้บริการงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งมีความสำ�คัญต่อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและผลการประกอบการของบริษัท การทำ�งานจึงเสมือนเป็นองค์กรเดียวกัน “รูปแบบคอนโดของ LPN ปัจจุบนั นี้ ผ่านการพัฒนามากว่า 10 ปี จากการทำ�งานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ของสถาปนิกและเจ้าของโครงการ (LPN) โดยแนวคิดของการออกแบบโครงการ คือ ต้องคำ�นึงถึง สิ่งแวดล้อม ทำ�อย่างไรให้ห้องได้รับแสงจากธรรมชาติ ระบายอากาศได้ดี ในขณะเดียวกันก็มรี าคา ที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้ การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้ศึกษาจากการใช้ชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างครบถ้วน” “ในส่วนของการวางผังโครงการ ได้ค�ำ นึงถึงสิง่ แวดล้อมและการลดการใช้พลังงาน เช่น การออกแบบ ทางเดินและโถงลิฟต์ให้แสงเข้า ทำ�ให้ประหยัดค่าไฟและดูโปร่งตา การออกแบบให้มพี น้ื ที่โล่งชัน้ ล่าง เป็นสวนให้แก่ชมุ ชน นอกจากนี้ ยังต้องการลดผลกระทบทีม่ ตี อ่ ชุมชนข้างเคียงให้นอ้ ยทีส่ ดุ ทีไ่ ม่เฉพาะ แต่การก่อสร้าง แต่รวมถึงการออกแบบ ทัง้ ลมและทัศนียภาพ ด้านล่างอาคารต้องเปิดโล่ง เพือ่ ให้มลี ม พัดผ่านได้ หรือการออกแบบให้มรี ะยะถอยร่นมากทีส่ ดุ เพือ่ ทำ�ให้ตวั อาคารไม่ดชู ดิ ติดกับเพือ่ นบ้าน เกินไปนัก” คุณนพกร สรรพเพทย์พิศาล สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ

LPN กับการลดผลกระทบในการก่อสร้างต่อเพือ่ นบ้าน ในการดำ�เนินกิจการทุกกระบวนการย่อมเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึง่ ผูห้ นึง่ ที่ได้รบั ผลกระทบจากการดำ�เนินกิจการอย่างชัดเจน คือ เพื่อนบ้านของโครงการ บริษัทจึงพยายามอย่างเต็มที่ในการดูแลเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็สร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พึ่งพาอาศัยกัน ภายหลังโครงการเสร็จสิ้นและลูกค้าเข้าอยู่อาศัยแล้ว “เมือ่ ก่อนบริเวณโดยรอบตรงนี้จะเป็นทุ่งนาและป่าละเมาะ แม้วา่ จะมีถนนศรีนครินทร์ตดั มานานแล้ว แต่การเข้ามาของหมูบ่ า้ นยังไม่มากเท่าไร ตอนแรกที่รู้ว่าข้างมัสยิดจะมีคอนโดมาสร้าง ก็ยอมรับว่า ค่อนข้างกังวลเรื่องการบังลมบังแดด แต่ก็มองว่าเป็นเรื่องดี เพราะคอนโดลุมพินเี องก็มจี ดุ ขายเรือ่ ง ของการบริหารจัดการ” “ปัญหาเรื่องฝุ่นหรือเสียงจากการก่อสร้างก็มีบา้ ง แต่ทางทีมงานจากลุมพินกี ็ใส่ใจในการแก้ไขปัญหา เช่น ก่อนการตอกเข็มที่มีความสั่นสะเทือนมากหรือมีฝุ่นเยอะก็จะแจ้งล่วงหน้า ที่ประทับใจอีกอย่าง คือ ความจริงใจในการทำ�งาน ก็ตั้งแต่รังวัดที่เจ้าของที่เดิมมีการถมล้ำ�เข้ามาในลำ�ราง แต่ก่อนการ ก่อสร้างลุมพินกี ท็ �ำ รั้วตามจริง ไม่ฉวยโอกาสล้ำ�เข้ามา และยังทำ�รั้วอย่างดีให้ ทำ�ให้สภาพแวดล้อม โดยรวมบริเวณนีด้ ดู ขี น้ึ ปลอดภัยแก่คนทีอ่ ยูอ่ าศัย” คุณสมัย แดงโกเมน โต๊ะอิหม่าม มัสยิดดาริสลาม ชุมชนข้างเคียง โครงการลุมพินี เพลส ศรีนครินทร์-หัวหมาก สเตชั่น

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

27

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

“วัดทองบนมีประวัติการก่อตั้งมากว่าหนึ่งร้อยปี จึงเป็นศูนย์รวมของชุมชนร่องสวนบริเวณนี้มา อย่างยาวนาน สำ�หรับการคมนาคมจะใช้ทางน้�ำ เป็นสำ�คัญเนือ่ งจากวัดตัง้ อยู่ริมแม่น�้ำ เจ้าพระยา และ ไม่ได้มีทางเข้าจากถนน ต้องอาศัยทางเข้าจากโรงสีซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกันมา” “เมือ่ เวลาผ่านไป โรงสียา้ ยออกไปทีอ่ น่ื ทีด่ นิ ก็วา่ งจนกระทัง่ บริษทั LPN จะสร้างคอนโดมิเนียมและ ได้แจ้งว่าอาจมีผลกระทบในด้านเสียง ฝุน่ และอืน่ ๆ ทีเ่ กิดจากการก่อสร้าง ซึง่ ก็เกิดผลกระทบอย่าง ทีแ่ จ้งไว้ แต่คนจากบริษทั ก็จะเข้ามาสอบถามถึงปัญหาต่างๆ ตลอด บางครัง้ หากมีวสั ดุตกลงในวัด บริษัทก็จะจัดคนมาซ่อมแซมให้ นอกจากนั้น ยังช่วยเหลือด้านการก่อสร้าง และร่วมกิจกรรม งานบุญอื่นๆ ของวัดอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกัน วัดเองก็ช่วยเหลือชุมชนเช่นกัน เช่น การ อนุญาตให้ผู้อยู่อาศัยนำ�รถส่วนหนึ่งเข้ามาจอด ซึ่งก็นับว่าเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันเลยทีเดียว” พระมหาอาทิตย์ อมโร เจ้าอาวาสวัดทองบน ชุมชนข้างเคียง โครงการลุมพินี พาร์ค ริเวอร์ ไซด์-พระราม 3

LPN กับการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม การดำ�เนินงานเพือ่ ความยัง่ ยืนของบริษทั ไม่ได้เป็นการลดผลกระทบต่อภายนอก เช่น สิง่ แวดล้อมและสังคม เท่านัน้ แต่ความยัง่ ยืนของบริษทั เกิดขึน้ ตัง้ แต่จดุ ทีเ่ ล็กทีส่ ดุ ขององค์กร นัน่ คือบุคลากร ซึง่ หนึง่ ในการดำ�เนินการตามแนวทางของความยัง่ ยืนนัน้ คือการปฏิบตั ติ อ่ แรงงานอย่าง เป็นธรรม การให้โอกาสในการทำ�งานแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และส่งเสริมให้แต่ละคนสร้างคุณค่าและพัฒนาความสามารถของตนเอง เพือ่ ผลอันจะเกิดแก่ทง้ั ตนเอง องค์กร และสังคมในทีส่ ดุ “เมื่อ 11 ปีที่แล้ว พี่เริ่มทำ�งานเป็นแม่บ้านประจำ�สำ�นักงานขายของโครงการลุมพินี เพลส พระราม 4-สาทร ภายหลังโครงการเสร็จสิ้นลง ก็ได้ย้ายมาประจำ�ที่สำ�นักงานใหญ่แห่งนี้ เพราะ หัวหน้าเห็นว่าใกล้บ้าน ช่วยประหยัดค่าเดินทางไปทำ�งาน ที่นี่ยังมีสวัสดิการที่ดีทั้งในเรื่องการ รักษาพยาบาล ช่วยเหลือค่าเล่าเรียนและทุนการศึกษาของลูกพี่ และได้มีประกันสังคมเช่นเดียว กับพนักงานบริษัททั่วไป พี่ยังได้รับความรู้ในการทำ�งานและการใช้ชีวิตจากการอบรมต่างๆ และที่ ประทับใจมาก คือ ความเอือ้ อาทรจากผูบ้ ริหารที่ให้ความช่วยเหลือในยามเดือดร้อนมาโดยตลอดค่ะ” คุณจิ๋ม ขันเงิน แม่บ้านประจำ�อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ “ก่อนหน้าที่จะเข้ามาร่วมงานกับ LPN ผมได้ทำ�งานออกแบบกราฟิกและงานธุรการอื่นๆ มาหลาย แห่ง แต่หลังจากที่ได้เข้ามาทำ�งานในสำ�นักทรัพยากรมนุษย์ (HR) ผมก็ได้รับโอกาสขยายขีดความ สามารถของตัวเอง ด้วยการทำ�งานที่ต้องประสานงานมากขึ้น ได้ไปช่วยงานขายที่สำ�นักงานขาย ของโครงการต่างๆ” “การได้รบั โอกาสเช่นเดียวกับพนักงานทัว่ ไปนับว่าเป็นสิง่ สำ�คัญทีส่ ดุ สำ�หรับผูพ้ กิ าร เพราะทำ�ให้ได้เห็น ความสามารถที่ตัวเองมีอยู่และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จะสร้างคุณค่าให้แก่ตวั เอง แก่บริษทั และก้าวข้าม ความพิการไปสูค่ วามเท่าเทียมได้อย่างแท้จริง” คุณสัมพันธ์ อ่วมเทศ เจ้าหน้าที่สื่อสารภายในองค์กร LPN


28

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

กลยุทธ์ เพื่อความยั่งยืน GREEN STRATEGY

ความยั่งยืนระดับนโยบาย (GREEN POLICY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

2

แนวคิด GREEN LPN ที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และ การบริหารชุมชน ถือเป็นแนวทางและ หลักปฏิบัติที่สำ�คัญในทุกกระบวนการ เพื่อสร้างสมดุลอย่างยั่งยืน แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

29


30

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (GREEN STRATEGY) ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปีของการดำ�เนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างจริงจังในทุกกระบวนการ ก่อให้เกิดการ พัฒนาแนวคิด GREEN LPN ทีก่ ลัน่ กรองจากประสบการณ์การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการบริหารชุมชน เพือ่ เป็นแนวทางและหลักปฏิบตั ิ ในการสร้างสมดุลอย่างยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมทั้งได้ผสมผสานกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ปัจจุบันแนวคิด GREEN LPN ครอบคลุมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งหมด 6 ประการ ตั้งแต่ระดับนโยบายองค์กรและ การบริหารจัดการภายใน รวมทั้งกระบวนการดำ�เนินธุรกิจหลักของบริษัท 5 กระบวนการ ได้แก่

Green Enterprise

Green Design Concept

Green Financial Statement

การดำ�เนินธุรกิจที่ให้ความสำ�คัญ กับการบริหารจัดการและทุนมนุษย์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

การจัดทำ�งบการเงินที่ถูกต้อง โปร่งใส และเชื่อถือได้

Green Marketing Management

Green Construction Process

Green Community Management

การตลาดที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค และคู่แข่ง

การบริหารจัดการผลกระทบที่มี ผลต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ในกระบวนการก่อสร้าง

การดูแลและบริหารจัดการคุณภาพชีวิต ของผู้อยู่อาศัยในโครงการหลังส่งมอบ

กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (GREEN STRATEGY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

GREEN Enterprise

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

1. การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน (Management) 1.1 การเติบโตและการสร้างผลกำ�ไรอย่างเหมาะสม

ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นถึงแนวคิดของความยั่งยืนในระดับนโยบาย องค์กร บริษัทได้พัฒนาแนวทางและแผนกลยุทธ์การบริหาร ด้วย การกำ�หนดเป้าหมายการเติบโตและการสร้างผลกำ�ไรอย่างเหมาะสม ผลตอบแทนที่ต่อเนื่องและมั่งคง

1.2 จิตสำ�นึกและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

บริษัทส่งเสริมการมีจิตสำ�นึกและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและ สังคม ด้วยการปฏิบัติอย่างจริงจัง ตั้งแต่การเสริมคุณธรรมในองค์กร เพือ่ สร้างจิตสำ�นึกพนักงาน และการมีนโยบายส่งเสริมการมีสว่ นร่วม ผ่านกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

1.3 บ้านที่สามารถเป็นเจ้าของได้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง GREEN Enterprise คือ การดำ�เนินธุรกิจที่

ให้ความสำ�คัญกับการบริหารจัดการและทุน มนุษย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการดำ�เนิน งานในกระบวนการตามหลัก GREEN LPN ที่ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้ ว ยการกำ � หนดนโยบายระดั บ องค์ ก ร (Corporate Policy) ทีม่ งุ่ สู่ “องค์กรคุณค่า” โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. การบริหารจัดการเพือ่ ความยัง่ ยืน (Management) 2. การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital)

ความใส่ใจต่อสังคมและส่งเสริมความพอเพียง นำ�มาสู่นโยบายของ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท ที่ต้องการสร้างที่อยู่อาศัยในราคาที่ เหมาะสม ควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำ�หรับทุกคน

1.4 คุณค่าจากผลิตภัณฑ์และบริการ

บริษัทให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน ด้วยการออกแบบที่ คำ�นึงถึงสิง่ แวดล้อมและสังคม ส่งเสริมคุณค่าด้วยนวัตกรรม รวมทัง้ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร

1.5 การสร้างความสมดุลของผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทมองการเติบโตระยะยาวเป็นสำ�คัญภายใต้หลักธรรมาภิบาล และหลักความยั่งยืน จึงดำ�เนินนโยบายในการสร้างผลตอบแทนใน รูปแบบต่างๆ แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดอย่างสมดุล

1.6 การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล

จากแนวคิดพืน้ ฐานด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ นำ�มาสู่ หลักการปฏิบตั ิเพื่อความยัง่ ยืน ทีค่ �ำ นึงถึงคุณธรรม ความโปร่งใสและ ตรวจสอบได้ ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือคำ�นึงถึงแต่ผลกำ�ไรของบริษทั

1.7 การบริหารความเสี่ยง

การบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ในทุกมิติ และคำ�นึงถึงผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำ�คัญต่อการเติบโตของธุรกิจ ทุกภาคส่วน เพือ่ ประโยชน์ในระยะยาวทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคต กำ�หนดกรอบของการตอบแทนตามสถานการณ์ของการแข่งขันและ ผลประกอบการ และลดความเสี่ยงด้วยการสำ�รองเงินทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัท

1.8 การต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ

บริษัทยึดถือในหลักของคุณธรรมและความโปร่งใส ที่นำ�มาสู่นโยบายในการต่อต้านการทุจริตในทุกกระบวนการทำ�งาน ไม่ว่าจะเป็น การทุจริตภายในหรือภายนอก ซึง่ การปฏิบตั ิในการต่อต้านการทุจริต ได้แก่ การกำ�หนดให้คณุ ธรรมเป็นค่านิยมขององค์กร การประกาศ เจตนารมณ์ในการต่อต้านการคอรัปชั่น การปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการ และการชำ�ระภาษีอย่างถูกต้อง ครบถ้วน

31


32

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

2. การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital) 2.1 ค่านิยมองค์กร (Corporate Value)

บริษทั ให้ความสำ�คัญกับการสร้างบุคลากรเพือ่ ต่อยอดความสำ�เร็จของธุรกิจ วิถแี อล.พี.เอ็น. หรือ LPN Way จึงได้รบั การพัฒนาขึน้ จากสมรรถนะหลักของบุคลากร หรือ Core Competency เพื่อเป็นหลักปฏิบัติที่จะส่งเสริมและก่อให้เกิดความยั่งยืนในการ บริหารจัดการบุคลากรแบบบูรณาการ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ขององค์กร และเป็นบรรทัดฐานในการทำ�งาน ซึ่งวิถีแอล.พี.เอ็น. นี้ ประกอบด้วยคุณค่า 2 เสาหลัก คือ “การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” และ “การยอมรับนับถือผู้มีส่วนได้เสีย” โดยมีองค์ประกอบ ค่านิยม 7 ประการ ที่บริษัทให้นิยามว่า “C-L-A-S-S-I-C” อันได้แก่ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2.1.1 Cost with Quality คือ การตระหนักถึงความสำ�คัญของการใช้ทรัพยากรด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ และ

บริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการคำ�นึงถึงคุณภาพเป็นเป้าหมายสำ�คัญ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการ ต้นทุนทั้งต้นทุนตรง และต้นทุนแปร รวมทั้งค่าใช้จ่ายส่วนเกินในทุกส่วนงานอย่างต่อเนื่อง

2.1.2 Lateral Thinking คือ การคิดนอกกรอบ การคิดที่แตกต่าง ที่ช่วยให้บรรลุจุดประสงค์และแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยความ

ยืดหยุ่นและด้วยกระบวนการที่แตกต่างจากเดิม โดยไม่กังวลถึงอุปสรรค พร้อมปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนา และ สร้างสรรค์อย่างต่อเนือ่ ง สามารถนำ�ไปปฏิบตั แิ ละวัดผลได้จริง โดยมีเป้าหมายเพือ่ เพิม่ คุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการ และ เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร

2.1.3 Alliance คือ การปฏิบตั ติ อ่ คูค่ า้ ทางธุรกิจทีท่ �ำ งานร่วมกันมายาวนานดัง่ มิตรแท้ นับถือคุณค่าของความดี ความไว้วางใจ

และเป็นธรรมซึ่งกันและกัน ร่วมมือ เกื้อหนุนและพัฒนาการทำ�งานอย่างต่อเนื่องเสมือนหนึ่งเป็นองค์กรเดียวกันเพือ่ บรรลุความสำ�เร็จร่วมกัน

2.1.4 Speed with Quality คือ มุ่งมั่นทำ�งานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายก่อนกำ�หนดโดยคงไว้ซึ่งคุณภาพ รวมถึงปรับปรุง กระบวนการทำ�งานอยู่เสมอ เพื่อค้นหากระบวนการที่ร่นเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำ�งานอย่างต่อเนื่อง

การยอมรับนับถือผู้มีส่วนได้เสีย

2.1.5 Service Minded คือ การให้บริการด้วยใจ ดูแลเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดเวลา พยายามมองในมุมมองของ

ผู้อื่นและแสดงออกอย่างกระตือรือร้น ให้บริการอย่างครบวงจรด้วยความเต็มใจและเกินความคาดหมายเพื่อเพิ่มคุณค่า การบริการและความประทับใจ

2.1.6 Integrity คือ การปฏิบตั ติ นต่อองค์กรและทำ�ธุรกิจกับผูเ้ กีย่ วข้องด้วยความซือ่ สัตย์ รับผิดชอบ โปร่งใส ไม่เอาเปรียบและมี ศีลธรรม

2.1.7 Collaboration คือ การรวมพลังเป็นหนึง่ เดียวกัน ร่วมมือร่วมใจในการทำ�งาน ร่วมกันรับผิดชอบ ช่วยเหลือซึง่ กันและกัน มีจติ อาสาและจิตสำ�นึกของการแบ่งปันและเอื้ออาทร เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

2.2 องค์กรน่าอยู่ (Vibrant Organization)

หลักคิดพืน้ ฐานของการจัดการทุนมนุษย์ของบริษทั คือ การสร้างความสุขผ่าน 6 ปัจจัยในการทำ�งาน Real Pleasure of Working โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ เพือ่ นำ�ไปสู่ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พร้อมปลูกฝังวิธกี ารทำ�งานภายใต้วฒ ั นธรรมและวิถแี อล.พี.เอ็น. (LPN Way) ตามแนวทางการสร้าง “องค์กรน่าอยู่”

กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (GREEN STRATEGY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

6 ปัจจัยองค์กรน่าอยู่

1. บุคลากร การจัดการให้บุคลากรมีความสุขใน ที่ทำ�งาน ด้วยการจัดกิจกรรมภายใน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน ตั้งแต่ระดับบริหารไปจนถึงบุคลากร ในทุกส่วน และสนับสนุนให้เกิดการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรม ทั่วไปในองค์กรและกิจกรรมเพื่อ สิ่งแวดล้อมและสังคมภายนอกองค์กร

4. ผลตอบแทน จัดหาสวัสดิการและค่าตอบแทน ให้ตามความเหมาะสมอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียม ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของบุคลากร โดยสนับสนุนให้มี ความสมดุลทั้งในชีวิตและงาน (Work-life balance)

2. งาน ส่งเสริมการปรับปรุงการทำ�งาน อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสิทธิภาพ ของกระบวนการทำ�งาน และผลักดัน การคิดนอกกรอบของบุคลากร เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรม เชิงกระบวนการ

5. โอกาสในหน้าที่การงาน ให้โอกาสในความก้าวหน้าและ กำ�หนดเส้นทางการเติบโตให้แก่ บุคลากรในทุกระดับ ด้วยความ เท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง รวมทั้งส่งเสริมความสามารถด้วย การอบรมและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง

3. ที่ทำ�งาน ดูแลสถานที่ทำ�งานให้เหมาะสมกับ การทำ�งาน ทั้งสภาพแวดล้อมและ บรรยากาศในการทำ�งาน มีสุขอนามัย ที่ดี มีความปลอดภัยให้แก่บุคลากร

6. ความภูมิใจในองค์กร สร้างชื่อเสียงของบริษัท ด้วยหลักธรรมาภิบาล เคารพสิทธิ มนุษยชน และดำ�เนินงานอย่าง โปร่งใส ให้เป็นที่ประจักษ์สู่สังคม เพื่อความภาคภูมิแก่บุคลากรที่ได้ เป็นส่วนหนึ่งในองค์กร

2.3 องค์กรแห่งการเรียนรู้และเติบโต (Learning & Growth)

ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน บริษัทจึงได้จัดตั้งสถาบันแอล.พี.เอ็น. หรือ LPN Academy เพื่อทำ�หน้าที่ในการ พัฒนาบุคลากรให้เติบโตทันต่อการขยายตัวของธุรกิจ ถ่ายทอดคุณค่าและวัฒนธรรมองค์กรตามวิถีแอล.พี.เอ็น. หรือ LPN Way ผ่านการอบรมและหลักสูตรการเรียนให้แก่บุคลากรภายในองค์กร โดยมีเป้าหมายที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ภายนอกในอนาคต

2.4 ความสมดุลระหว่างการทำ�งานและชีวิต (Work-life balance)

บริษัทดูแลคุณภาพชีวิตและการทำ�งานของพนักงาน ส่งเสริมให้รู้จักการแบ่งเวลาให้กับตนเองและครอบครัว ไม่หมกมุ่นและทุ่มเท ให้กบั การทำ�งานมากจนเกินควร โดยกำ�หนดเวลาทำ�งานต่อสัปดาห์ให้เหมาะสม และกำ�หนดให้พนักงานทุกส่วนงานต้องหยุดพักร้อน ประจำ�ปีตามที่ได้รับสิทธิ

33


34

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

GREEN Design Concept

1. Strategic Location คือ การเลือกทำ�เลเชิงกลยุทธ์ ที่มีคู่แข่งน้อย แต่มีศักยภาพในการพัฒนา และอยู่ใกล้สิ่งอำ�นวยความสะดวก ระบบขนส่งมวลชนและทางด่วน เพื่อ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการพัฒนาโครงการ ลดปริมาณ การจราจร และการใช้พลังงานทางตรงจากการใช้ยานพาหนะในการเดินทาง

2. LPN Green Project – LEED คือ การกำ�หนดแนวทางการออกแบบและวางผังโครงการภายใต้แนวคิด “LPN Green Project” ซึง่ บริษทั ได้น�ำ เสนอออกสูส่ าธารณชน และได้รบั การตอบรับ เป็นอย่างดีในด้านยอดขาย อย่างไรก็ตาม แม้ “LPN Green Project” จะ เป็นแนวคิดที่พัฒนาจากเกณฑ์อาคารเขียวของสหรัฐ (LEED : Leadership in Energy & Environmental Design) แต่บริษัทได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อ ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และ ตอบสนองต่อการประกอบธุรกิจ โดยมีองค์ประกอบ ได้แก่

GREEN Design Concept คือ การ

ออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้ความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทให้ความสำ�คัญกับ การออกแบบและพัฒนาโครงการ ตั้งแต่ แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์และวางผัง โครงการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่บริษัท พั ฒ นาขึ้ น และสอดคล้ อ งกั บ มาตรฐาน อาคารเขี ย ว (Green Building) ของ สหรัฐอเมริกา (LEED - The Leadership in Energy and Environmental Design) โดย GREEN Design Concept มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. Strategic Location 2. LPN Green Project - LEED 3. Blue Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านนํ้าสีคราม)

กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (GREEN STRATEGY)

พัฒนาพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน (Sustainable Site Development) คือ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ในการพัฒนาโครงการ โดยการเลือกที่ตั้งโครงการใน บริเวณที่มีความหนาแน่นสูง มีสิ่งอำ�นวยความสะดวก ครบครันในบริเวณใกล้เคียง ตั้งอยู่บนถนนใหญ่ทม่ี กี าร คมนาคมสะดวก ใกล้ทางด่วน และมีระบบขนส่งมวลชน เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจร และร่วมสนับสนุนให้ ผูอ้ ยูอ่ าศัยหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ด้วยการ จัดระบบขนส่งมวลชนภายในโครงการ (Shuttle Bus) เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ รวมถึงชดเชย พื้นที่โล่งเดิมด้วยพื้นที่สีเขียวและภูมิทัศน์ในโครงการ

การใช้น้ำ�อย่างมีประสิทธิภาพ (Water Efficiency)

ได้แก่ การเลือกสุขภัณฑ์ประหยัดนํ้าเพื่อการใช้นํ้าที่มี ประสิทธิภาพ เช่น โถสุขภัณฑ์แบบ Dual Flush ซึ่ง สามารถลดการใช้นํ้าลงถึงร้อยละ 50 รณรงค์ ให้ผู้ อยู่อาศัยอาบนํ้าด้วยฝักบัวแทนการใช้อ่างอาบนํ้า เพื่อ ลดปริมาณการใช้นํ้าโดยตรง และการนำ�นํ้าเสียที่ผ่าน การบำ�บัดมารดนํา้ ต้นไม้ภายในโครงการ ซึง่ เป็นการเพิม่ ประสิทธิภาพของการใช้น้าํ และยังเป็นการลดการระบาย นา้ํ จากโครงการลงสู่ระบบระบายนํ้าสาธารณะ รวมทั้ง ติ ด ตั้ ง ระบบการรดนํ้ า ต้ น ไม้ ภ ายในโครงการที่ มี ประสิทธิภาพ เช่น ระบบนํ้าหยดเพื่อลดการสูญเสียนํ้า


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) ด้วยการออกแบบห้องชุดให้มีกันสาดและระเบียง

เพื่อลดปริมาณความร้อนที่มากับแสงแดดที่ส่งผ่านเข้ามาภายในห้องชุดโดยตรง ออกแบบระบบแสงสว่างและระบบ ปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการใช้งาน เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ส�ำ หรับดวงโคมแสงสว่างในบริเวณสวน และได้มกี ารบรรจุบทบาทหน้าที่ให้ฝ่ายบริหารชุมชน บริหารการใช้พลังงานภายในอาคารให้เกิดประสิทธิภาพ โดยคำ�นึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยควบคู่กันไป

การใช้วัสดุและทรัพยากรอย่างประหยัดและเหมาะสม (Material and Resources) โดยการเลือกใช้วัสดุทดแทน

ที่พิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนที่วัสดุที่มาจากธรรมชาติ เพื่อลดการทำ�ลายสภาวะ แวดล้อมลง เช่น การใช้พื้นไม้ลามิเนตแทนการใช้พื้นปาเกต์ ไม้จริง การออกแบบให้มิติต่างๆ ของอาคารสอดคล้อง กับมิติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเพื่อความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ และลดเศษวัสดุซึ่งเป็นขยะที่ต้องนำ�ทิ้งกลับสู่ สภาพแวดล้อม ผนังกั้นห้องภายในห้องชุดใช้กระจกลายฝ้าแทนผนังทึบ เพื่อรับแสงสว่างจากธรรมชาติ และยังคงมี ความเป็นส่วนตัวควบคู่กันไป กระจกภายนอกด้านทิศตะวันตก เลือกใช้กระจก Insulated Glass เพือ่ ลดความร้อน ทีม่ าพร้อมกับแสงแดดในช่วงบ่ายซึง่ เป็นช่วงทีอ่ ณุ หภูมสิ งู ทีส่ ดุ ในรอบวัน การออกแบบให้มี Green Wall ในส่วนผนังของ ทีจ่ อดรถยนต์ เพือ่ ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และความร้อนเข้าสูส่ ว่ นพักอาศัยและบริเวณโดยรอบ การบริหารจัดการ ขยะโดยกำ�หนดให้มกี ารคัดแยกขยะและการจัดเก็บอย่างเหมาะสม ทั้งในช่วงของการก่อสร้างและช่วงภายหลังเมื่อมี ผู้เข้าพักอาศัยแล้ว

สร้างสิ่งแวดล้อมภายในอาคารที่มีคุณภาพกับผู้อยู่อาศัย (Indoor Environment Quality) โดยเน้นประสิทธิภาพ การบริหารชุมชนที่ยั่งยืนด้วยกลยุทธ์ F-B-L-E-S+P ได้แก่ การบริหารระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำ�นวยความ สะดวกภายในโครงการ การบริหารการเงินและงบประมาณ การเสริมสร้างวินัยและวัฒนธรรมในการอยู่อาศัยร่วมกัน การรักษาสภาพแวดล้อมภายในชุมชน รวมทั้งการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม การบริหารระบบรักษาความปลอดภัย และมาตรการในด้านต่างๆ อย่างเข้มข้น และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานบริหารชุมชน นวัตกรรมจากการออกแบบ (Innovation In Design) ได้แก่ การวางผังอาคารและโครงการให้สอดคล้องกับสภาพ

แวดล้อม โดยพึ่งพาแสงและลมจากธรรมชาติ ทำ�การวางผังและออกแบบช่องเปิดของห้องชุด ทั้งประตูและหน้าต่าง ให้สอดคล้องกับการอยู่อาศัย และร่นระยะเวลาการก่อสร้างด้วยระบบ Semi Prefabrication System

3. Blue Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านนํ้าสีคราม) คือ การหลีกเลี่ยงทำ�เลที่มีคู่แข่งจำ�นวนมาก ราคาที่ดินสูง เพื่อลดต้นทุนและสามารถพัฒนาโครงการทีเ่ หมาะกับกลุม่ ลูกค้าเป้าหมาย ระดับกลางถึงกลาง-ล่าง โดยเพิม่ คุณค่าด้วยการจัดรถรับส่งเชือ่ มต่อไปยังระบบขนส่งมวลชน การจัดให้มสี ง่ิ อำ�นวยความสะดวกที่ครบ ครันในโครงการ เช่น ร้านสะดวกซือ้ 7-11 ร้านซักรีด ร้านอาหาร และการออกแบบพืน้ ทีส่ ว่ นกลางให้เหมาะกับวิถชี วี ติ ของผูอ้ ยูอ่ าศัย เพือ่ ส่งเสริมการใช้พื้นที่ส่วนกลางและสร้างชุมชนที่ดี

ออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย เพื่อส่งเสริมการใช้พื้นที่ส่วนกลาง และสร้างชุมชนที่ดี

35


36

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

GREEN Financial Statement

1. ความโปร่งใส (Transparency) บริษทั มีนโยบายการจัดการด้านการเงินอย่างโปร่งใสภายใต้หลักการกำ�กับดูแล กิจการที่ดี โดยจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย กรรมการอิสระ จำ�นวน 4 ท่าน โดยมีกรรมการตรวจสอบจำ�นวน 3 ท่าน ทีม่ ี ความรู้และประสบการณ์ ในด้านบัญชี-การเงิน ทำ�หน้าที่สอบทานนโยบาย การบัญชีและตรวจสอบคุณภาพของรายงานทางการเงิน รวมทั้งระบบการ ควบคุมภายใน ซึ่งความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบจะปรากฏในแบบ รายงาน 56-1 และรายงานประจำ�ปี

2. การตรวจสอบอย่างสมํ่าเสมอ (Auditability)

GREEN Financial Statement คือ

การจัดทำ�งบการเงินที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ บริ ษั ท ตระหนั ก ถึ ง ความสำ � คั ญ ในความ ถูกต้องและโปร่งใสของงบการเงิน โดยจัด ให้มีระบบควบคุมภายในที่เหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ สำ�คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบ งบการเงิน พร้อมทั้งคำ�อธิบายและการ วิเคราะห์ เพื่อให้ความมั่นใจว่าการบันทึก ข้อมูล ทางบัญชีมีความถูกต้องครบถ้วน เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น และ นักลงทุนในการใช้งบการเงิน ตามหลักการ ของ Accountability Financial Statement อันได้แก่

1. ความโปร่งใส (Transparency) 2. การตรวจสอบอย่างสมํ่าเสมอ (Auditability) 3. การเปิดเผย (Disclosure) ไม่มวี าระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) 4. สอบวัดได้ (Measurable) 5. มีวินัย (Discipline) 6. ความเสี่ยงทางการเงิน (Risk Management)

กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (GREEN STRATEGY)

คณะกรรมการบริษัท ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อทำ�การกำ�กับ ดูแลและตรวจสอบการดำ�เนินงาน รวมถึงสอบทานแผนการตรวจสอบประจำ�ปี และแผนการตรวจสอบระยะยาว โดยเน้นให้สุ่มสอบทาน เกี่ยวกับรายการ ในงบการเงิน โดยมีการพิจารณาผลการสอบทานทุกฉบับเป็นรายไตรมาส และ ให้ตดิ ตามแก้ไขในประเด็นทีส่ �ำ คัญโดยเร็ว คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทมีระบบการตรวจสอบภายในที่เพียงพอเหมาะสมและมีประสิทธิผล รวมทัง้ สนับสนุนให้มกี ารพัฒนาคุณภาพงานตรวจสอบในด้านบุคลากรและการ ปฏิบตั ิงานตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง

3. การเปิดเผย (Disclosure) ไม่มีวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) บริษัททำ�การเปิดเผยข้อมูลที่สำ�คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบ งบการเงิน พร้อมทั้งคำ�อธิบายและการวิเคราะห์ เพื่อให้ความมั่นใจว่าการ บันทึกข้อมูลทางบัญชีมคี วามถูกต้องครบถ้วน เพือ่ ประโยชน์สงู สุดของผูถ้ อื หุน้ และนักลงทุนในการใช้งบการเงิน โดยเฉพาะการเปิดเผยและรายงานราคา ที่ดินทุกแปลงที่ได้ทำ�การซื้อขายแก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

4. สอบวัดได้ (Measurable) เพือ่ การสร้างมาตรฐานของการตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใสและเปิดเผย ทีจ่ ะ เป็นผลต่อความยั่งยืนของบริษัท การรายงานทางการเงินของบริษัท จะเป็น ไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินภายใต้พระราชบัญญัตวิ ชิ าชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และแสดงรายการตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยกระทรวง พาณิชย์ ลงวันที่ 28 กันยายน 2554 เรื่อง กำ�หนดรายการย่อที่ต้องมีในงบ การเงิน พ.ศ. 2554 และตามข้อกำ�หนดของคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์วา่ ด้วยการจัดทำ�และนำ�เสนอรายงานทางการเงินภายใต้ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

5. มีวินัย (Discipline) การบริหารจัดการทางการเงินของบริษทั เป็นไปอย่างมีวนิ ยั และได้รบั การตรวจสอบตลอดเวลา มีการควบคุมการลงทุน ไม่น�ำ เงินทุนของ บริษัทไปลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีความถนัด ไม่น�ำ เงินทุนไปลงทุนในกิจกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัท และการรักษา ระดับทุนหมุนเวียนในบริษัทให้เพียงพอต่อการจ่ายเงินตอบแทนการทำ�งานให้แก่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด

6. ความเสี่ยงทางการเงิน (Risk Management) บริษทั ทำ�การลงทุนหรือดำ�เนินงานทางการเงินโดยมองความเสีย่ งเป็นสำ�คัญ ไม่ลงทุนโดยการกูย้ มื จนเกินกำ�ลัง แต่ลงทุนด้วยทรัพยากรที่มี และองค์ความรู้เป็นหลัก รักษาระดับสัดส่วนหนี้ต่อทุนไม่เกิน 1 : 1 และถูกตรวจสอบจากคณะกรรมการความเสี่ยงตลอดเวลา

คณะกรรมการบริษัท ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ ที่มีความรู้ และประสบการณ์ เพื่อทำ�การกำ�กับดูแล และตรวจสอบการดำ�เนินงาน อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

37


38

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

GREEN Marketing Management

1. กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง ทั้งห้องชุดและพื้นที่ส่วนกลาง โดยพัฒนารูปแบบจาก องค์ความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการและ การบริหารจัดการชุมชนตามแนวทาง “ชุมชนน่าอยู”่ เพือ่ ตอบสนองกับวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย รวมทั้งควบคุม มาตรฐานการก่อสร้างและการเลือกใช้วัสดุ เพื่อให้ได้ ผลิตภัณฑ์ห้องชุดที่เหมาะกับการใช้ชีวิต

2. กลยุทธ์ด้านราคา (Price)

GREEN Marketing Management คือ

การตลาดทีเ่ ป็นธรรมกับผูบ้ ริโภคและคูแ่ ข่ง บริษทั กำ�หนดกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้อง กับปณิธานในการสร้างบ้านหลังแรกที่ มี คุณภาพในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ ให้กบั กลุม่ เป้าหมายระดับกลางถึงกลาง-ล่าง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดี ด้วย ความรับผิดชอบต่อผูบ้ ริโภค ตัง้ แต่กอ่ นและ หลังการส่งมอบ และดำ�เนินนโยบายการตลาด ทีเ่ ป็นธรรม เคารพสิทธิของผูบ้ ริโภครวมทัง้ ปฏิบัติต่อคู่แข่งอย่างเป็นธรรม ไม่โจมตี โดยแบ่งตามกลยุทธ์ทางการตลาด 6 ประการ (6Ps) อันได้แก่

1. กลยุทธ์ดา้ นผลิตภัณฑ์ (Product) 2. กลยุทธ์ด้านราคา (Price) 3. กลยุทธ์ด้านช่องทางจัดจำ�หน่าย (Place) 4. กลยุทธ์ด้านกิจกรรมส่งเสริม การขาย (Promotion) 5. กลยุทธ์ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง (People) 6. กลยุทธ์ดา้ นขัน้ ตอนและกระบวนการ (Process)

กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (GREEN STRATEGY)

ตั้งราคาผลิตภัณฑ์ตํ่ากว่าของคู่แข่งในระดับเดียวกัน ด้วยการบริหารต้นทุน ค่าใช้จ่ายในทุกกระบวนการผลิต เพื่อให้ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของได้ โดยกำ�หนดอัตรา กำ�ไรและวางเงื่อนไขการผ่อนดาวน์ที่เหมาะสมตาม สถานะกลุม่ เป้าหมาย พร้อมทัง้ การจัดหาบริการทางการ เงิน เพื่อช่วยเหลือให้ลูกค้ามีความสะดวกในการยื่นขอ สินเชื่อและสร้างโอกาสในการมีที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น

3. กลยุทธ์ด้านช่องทางจัดจำ�หน่าย (Place) ทำ�เลที่ตั้งของสำ�นักงานขายต้องตั้งอยู่หรืออยู่ใกล้กับ พื้นที่ที่จะพัฒนาโครงการ เพื่อความสะดวกในการเดิน ทางและเข้าถึงข้อมูลโครงการ รวมถึงต้องสามารถให้ รายละเอียดการขายทีช่ ดั เจน ไม่มวี าระซ่อนเร้น เข้าใจง่าย ในโครงการต่างจังหวัดบางโครงการอาจมีห้องตัวอย่าง ให้ชมในสำ�นักงานขายกลางย่านธุรกิจใจกลางเมือง เพื่อความสะดวกในการเดินทางแก่ลูกค้าที่สนใจ

4. กลยุทธ์ด้านกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Promotion) ทำ�การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ ให้กับผู้บริโภคด้วย ความโปร่งใส คำ�นึงถึงผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย มีเงื่อนไขการขายที่คำ�นึงถึงความสามารถด้านการเงิน ของลูกค้า โฆษณาประชาสัมพันธ์ ในทางสร้างสรรค์ ชัดเจน ไม่เอารัดเอาเปรียบ และไม่มีวาระซ่อนเร้น รวม ทัง้ การปฏิบตั ติ อ่ คูแ่ ข่งทางธุรกิจอย่างเป็นธรรม ไม่โจมตี หรือเอาเปรียบในการแข่งขัน


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

5. กลยุทธ์ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง (People) ให้ความสำ�คัญกับความพึงพอใจของลูกค้า โดยมีการกำ�หนดมาตรฐานและอบรมในเรื่องของการบริการแก่จุดสัมผัส (Touch Point) เช่น พนักงานขาย แม่บ้าน รปภ. ตาม LPN Services Culture (S-E-R-V-I-C-E-S) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสบการณ์เชิงบวก รวมทั้งมีช่องทางในการรับข้อเสนอแนะและเรื่องร้องเรียน เพื่อนำ�มาปรับปรุงการให้ บริการ

6. กลยุทธ์ด้านขั้นตอนและกระบวนการ (Process) คำ�นึงถึงความสะดวกสบายของลูกค้าเป็นสำ�คัญ ขั้นตอนการจองและทำ�สัญญาจะต้องรวดเร็ว ไม่ซับซ้อน วิธีและ ช่องทางการชำ�ระเงินที่สะดวก ทำ�ได้หลายช่องทาง การยึดและคืนเงินมัดจำ� ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและคำ�นึง ถึงปัญหาและความจำ�เป็นของลูกค้าเป็นหลัก

บริษทั ให้ความสำ�คัญกับความพึงพอใจ ของลูกค้า โดยมีการกำ�หนดมาตรฐาน และอบรมในเรื่องของการบริการ แก่จุดสัมผัส (Touch Point) เช่น พนักงานขาย แม่บ้าน รปภ. ตาม LPN Services Culture (S-E-R-V-I-C-E-S) อย่างต่อเนื่อง

39


40

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

GREEN Construction Process

1. Quality of Product คือ การบริหารโครงการก่อสร้างโดยคำ�นึงถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เป็นไป ตามความคาดหวังทัง้ พืน้ ทีส่ ว่ นกลางและห้องชุดทีส่ ง่ มอบ ซึง่ นอกจากการเลือก ใช้วัสดุที่มีคุณภาพในการก่อสร้างแล้ว หน่วยงานก่อสร้างต้องมีระเบียบและ ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยลดผลกระทบอันเกิดจากการก่อสร้างอีกทางหนึ่ง

2. Cost Control and Management คือ การควบคุมและบริหารต้นทุน ให้รัดกุมอยู่ในระดับที่ประเมินไว้ เพื่อให้ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ในราคาที่ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของได้ (Affordable House) ทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม เช่น ค่าวัสดุ ค่าแรง ค่าใช้จา่ ย ในการก่อสร้างและดำ�เนินงาน โดยไม่ลดหย่อนคุณภาพของวัสดุและฝีมอื ใน การทำ�งานก่อสร้าง แต่เน้นการสร้างประสิทธิภาพของกระบวนการทำ�งาน

3. Speed of Delivery GREEN Construction Process คือ

การบริ ห ารจั ด การผลกระทบที่มีผ ลต่อ สิ่ ง แวดล้ อ มและสั ง คมในกระบวนการ ก่อสร้าง ซึง่ เป็นกระบวนการที่ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากที่สุด ด้วย ความตระหนักในประเด็นดังกล่าว บริษทั ได้ พัฒนากระบวนการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง โดยนำ�เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเพิม่ ประสิทธิภาพการทำ�งานและลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และได้พัฒนา กลยุทธ์ Q-C-S-E-S+P เพื่อเป็นแนวทาง ในการดำ�เนินงานด้านการก่อสร้างให้ ท้ัง บุคลากรของบริษทั รวมถึงปิยมิตรผูอ้ อกแบบ และผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะการให้ ความสำ�คัญกับความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อม (Environment Responsibility) และความ ปลอดภั ย สำ � หรั บ คนงานและผู้เ กี่ย วข้ อ ง (Safety of Workers and Participants) โดยแนวทาง

Q-C-S-E-S+P

คือ การควบคุมความเร็วในการก่อสร้างและกระบวนการทำ�งานให้รวดเร็วกว่า ระยะเวลาทีก่ �ำ หนด เพือ่ ช่วยลดต้นทุนของการก่อสร้างและลดความเสีย่ งของ ลูกค้า ซึง่ ต้องอาศัยความชำ�นาญในการทำ�งานและความร่วมมือจากผูเ้ กีย่ วข้อง ทุกส่วนงาน

4. Environment Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง ทั้งในบริเวณก่อสร้างและบริเวณข้างเคียง โดยกำ�หนดให้มีการปฏิบัติตาม แนวทางลดผลกระทบในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ดังนี้ ส่ งที ม งานผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู งเข้ า ไปให้ ข้ อ มู ลกั บ ชุ ม ชนรอบข้ า งและ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ซื้อที่ดิน เพื่อสร้างความเข้าใจและ ความสัมพันธ์ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านหรืออาคารที่มีพื้นที่ติดกับ โครงการ ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งทางด้านเสียง ฝุ่นละออง การ จราจร ป้องกันผลกระทบจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ รวมทัง้ ดูแลความสะอาด ของล้อรถขนส่ง วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างขณะออกจากหน่วยงานก่อสร้าง เพื่อลดฝุ่นละอองอันเกิดจากเศษดิน รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากการ ก่อสร้างอย่างสม่ำ�เสมอ จัดให้มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทคอยดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดประสิทธิผล และจัดทีมเจ้าหน้าที่และผู้ชำ�นาญการเข้าทำ� การสำ�รวจและทำ�แบบสอบถามเพื่อติดตามและตรวจสอบผลกระทบ จากการก่อสร้างโครงการ พร้อมทัง้ อธิบายถึงรายละเอียดของการดำ�เนิน โครงการ

กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (GREEN STRATEGY)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนข้างเคียง เพื่อทดแทนและคืนสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชน รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ ชุมชนโดยรอบโครงการ โดยมุ่งหวังให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างยั่งยืน ฟื้นฟูดูแลพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างภายหลังจากที่งานก่อสร้างจบลงไปแล้ว จัดเตรียมและดูแลบ้านพักคนงานก่อสร้างให้มสี ภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสม มีการจัดพืน้ ทีอ่ ย่างเป็นสัดส่วน และมีการดูแลสุขอนามัย ในบริเวณบ้านพักคนงานอย่างสม่ำ�เสมอ

ป้องกันผลกระทบจากการก่อสร้าง ทุกรูปแบบ รวมทั้งดูแลความสะอาด ของล้อรถขนส่ง วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ขณะออกจากหน่วยงานก่อสร้าง เพื่อลดฝุ่นละอองอันเกิดจากเศษดิน

5. Safety of Workers and Participants คือ การดูแลความปลอดภัยของคนงานและผู้เกี่ยวข้องในระหว่างการก่อสร้าง โดยกำ�หนดมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เข้มงวดใน ด้านความปลอดภัยและจัดให้มเี จ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบให้คำ�แนะนำ�ทางด้านความปลอดภัยโดยตรง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึน้ เช่น การหลีกเลีย่ งไม่ให้คนงานสัมผัสกับสิ่งที่เป็นอันตราย การใช้อุปกรณ์ป้องกันในขณะปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบ ความปลอดภัยอุปกรณ์ก่อสร้างและตัวอาคาร เช่น การกำ�หนดให้มีราวกันตก หลังคากันวัสดุตกหล่น บันไดชั่วคราว เป็นต้น รวมทั้ง ให้ความสำ�คัญด้านอาชีวอนามัย และจัดกิจกรรมเพื่อดูแลและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดี

6. People Management คือ การบริหารจัดการดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสีย อันได้แก่ การให้ความเป็นธรรมด้านสิทธิแรงงานและคุณภาพชีวิต แก่แรงงานก่อสร้างที่มักจะถูกมองข้ามจากผู้ประกอบการ การดูแลรับผิดชอบผลกระทบกับเพื่อนบ้านข้างเคียงที่อยู่รอบพื้นที่ก่อสร้าง การส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์แก่ลกู ค้า การพัฒนาและเติบโตร่วมกันกับปิยมิตรหรือคูค่ า้ ของบริษทั รวมทั้งการปลูกฝังค่านิยมองค์กรของ LPN แก่พนักงานของบริษทั ทุกคน เพือ่ ประสิทธิภาพการดำ�เนินงานของ Green Construction Process

41


42

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

GREEN Community Management

1. Facility Management คือ การบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลาง ด้วยการดูแลทรัพย์ส่วนกลางให้คง ประสิทธิภาพสำ�หรับการใช้งาน ทัง้ ทรัพย์สว่ นกลางทีเ่ ป็นงานสถาปัตยกรรม สิง่ อำ�นวยความสะดวก และงานระบบอาคารต่างๆ เช่น ลิฟต์ เครือ่ งกำ�เนิด ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายงาน บำ�รุงรักษา ทีต่ อ้ งบำ�รุงรักษาในเชิงป้องกันเพือ่ ให้มน่ั ใจได้วา่ ทุกส่วนประกอบ ของอาคารทำ�งานเป็นปกติ พร้อมและปลอดภัยต่อการใช้งาน

2. Budgeting Management

Green Community Management คือ การดู แ ลคุ ณ ภาพชี วิ ต ของผู้ อ ยู่ อาศั ย ใน โครงการหลังส่งมอบ ตลอดเวลากว่า 25 ปี บริษทั สร้างสรรค์และส่งมอบ “บ้าน” ให้กบั สมาชิก “ครอบครัวลุมพิน”ี กว่า 100,000 ครอบครัว รวมทั้งดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวติ ให้กบั ผูอ้ ยูอ่ าศัยและชุมชน โดยรอบโครงการทีอ่ าจได้รบั ผลกระทบ จาก การพัฒนาโครงการ ด้วยกลยุทธ์ “ชุมชน น่าอยู่” หรือ “Vibrant Community” ซึง่ ไม่ เพียงดูแลรักษาอุปกรณ์และทรัพย์สนิ ต่างๆ ให้เกิดความพร้อมและความปลอดภัยใน การใช้งานเท่านั้น แต่ยังให้ความสำ�คัญกับ การสร้างความสุขและสังคมที่ดี มีความ อบอุน่ ปลอดภัย และรวมทั้งสร้างจิตสำ�นึก ของการใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและ สมํา่ เสมอ ตามแนวทาง F-B-L-E-S+P ที่ได้ศึกษาพัฒนามาจากประสบการณ์การ บริหารชุมชนมาเป็นระยะเวลานาน เพื่อ ส่งมอบคุณภาพชีวติ สิง่ แวดล้อม และสังคม ที่ดี

F -B- L -E-S+P

กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (GREEN STRATEGY)

คือ การบริหารจัดการงบประมาณการเงิน เป็นการบริหารงบประมาณของ นิติบุคคลอาคารชุดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ ในการแสวงหากำ�ไร ให้เป็นไปตาม นโยบายที่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม และบริหาร เงินกองทุนให้มเี สถียรภาพและเพิม่ พูน เพือ่ ความมัน่ คงในฐานะทางการเงิน ของชุมชน ฝ่ายบริหารชุมชนมีหน้าที่จัดทำ�รายงานการเงินที่ง่ายต่อความ เข้าใจ เน้นความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และบริหารทรัพย์สินส่วนกลางที่ ได้รบั อนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมใหญ่เจ้าของร่วมให้เกิดรายได้เพิม่ เติม ซึง่ จะเป็นการ ช่วยลดภาระในการเพิ่มค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติหรือช่วยเพิ่มเงินกองทุน ให้พอกพูนขึ้นทุกปี

3. Life Quality Management คือ การบริหารจัดการคุณภาพชีวติ ส่งเสริมให้สมาชิกปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบ ข้อบังคับอาคารชุด เพือ่ การมีวนิ ยั ในการอยูอ่ าศัยและจิตสำ�นึกในการอยูร่ ว่ มกัน ดูแล ห่วงใยและแบ่งปัน สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เพื่อร่วมพัฒนาชุมชน รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สร้าง ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและระหว่างสมาชิก “ลุมพิน”ี ต่างๆ และสานต่อ วัฒนธรรมอันดีงามของสังคม และขยายการสร้างความร่วมมือร่วมใจไปยัง ผูอ้ ยูอ่ าศัยในบริเวณโดยรอบ

4. Environment Management คือ การบริหารจัดการสิง่ แวดล้อม ซึง่ เป็นสิง่ ทีบ่ ริษทั ให้ความสำ�คัญอย่างยิง่ โดย ยึดหลัก Green Clean Lean เป็นสำ�คัญ อาทิ การบำ�รุงรักษาดูแลพืน้ ทีส่ เี ขียว หรือการปลูกต้นไม้ทดแทนให้แก่สังคมโดยรวมทั้งในและนอกชุมชนลุมพินี เพือ่ เพิม่ พื้นที่สีเขียวให้กับสังคมโดยรวม การจัดการขยะโดยการคัดแยกขยะ ออกเป็นส่วนเพือ่ ให้งา่ ยต่อการกำ�จัด หรือนำ�กลับไปเข้ากระบวนการ Recycle การบำ�บัดนํา้ เสียให้ได้คณุ ภาพตามเกณฑ์ทห่ ี น่วยงานราชการกำ�หนดแล้วนำ�กลับ มาใช้ใหม่ส�ำ หรับรดนํา้ ต้นไม้ในโครงการ และการรณรงค์ประหยัดพลังงานและ สนับสนุนพลังงานทางเลือก โดยบริษทั ได้จดั ตัง้ หน่วยงานทีม่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบ โดยตรง ในการส่งเสริมและสร้างจิตสำ�นึก รวมทัง้ จัดกิจกรรมเพือ่ ดูแลสิง่ แวดล้อม ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ทั้งในระหว่างการก่อสร้าง และภายหลังการก่อสร้าง


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

5. Security & Safety Management คือ การบริหารจัดการความปลอดภัย โดยให้ความสำ�คัญตั้งแต่การออกแบบผังโครงการ การตรวจสอบและรักษามาตรฐานของระบบ และอุปกรณ์ เช่น กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบเตือนภัย และระบบสื่อสาร รวมถึงการอบรมพัฒนาบุคลากรที่ทำ�หน้าที่ในการรักษา ความปลอดภัย ทัง้ ฝ่ายจัดการและบริษทั รักษาความปลอดภัยอยูเ่ สมอ รวมทัง้ การสร้างเครือข่ายความมีสว่ นร่วมจากทัง้ ภายในชุมชนและ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของสมาชิกภายในชุมชนเป็นสำ�คัญ

6. People Management คือ การบริหารจัดการผู้เกี่ยวข้องในงานบริหารชุมชน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารจัดการชุมชน คณะกรรมการนิติฯ และผู้อยู่อาศัย เพื่อ ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจและความพึงพอใจ รวมทั้งบริหารจัดการปัญหาข้อขัดแย้งของผู้พักอาศัยที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน โดย มุ่งเน้นที่จะพัฒนาทัศนคติและทักษะของฝ่ายบริหารจัดการชุมชน และกำ�หนดแนวทางการสื่อสารเพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจใน การบริหารชุมชนแก่คณะกรรมการนิติบุคคลโดยเฉพาะประธานกรรมการนิติบุคคล เพื่อให้การบริหารจัดการชุมชนเป็นไปในแนวทาง เดียวกัน ส่งผลให้การดำ�เนินการตามแนวทาง F-B-L-E-S+P มีประสิทธิภาพไปด้วย ซึ่งการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน จะประกอบไปด้วย องค์ประกอบของบุคลากรดังต่อไปนี้

การบริหารจัดการผู้เกี่ยวข้อง ในงานบริหารชุมชน

บุคลากรภายใน

ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้จัดการชุมชน และทีมงานฝ่ายจัดการ ที่มีบทบาท ต่อการจัดการให้ชุมชนมีความยั่งยืน ซึ่งบริษัทได้ทำ�การพัฒนาบุคลากร ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมการให้ บริการ เพื่อสร้างความไว้วางใจและ ความร่วมมือ เพื่อผลสัมฤทธิ์ตาม กลยุทธ์การสร้างชุมชนน่าอยู่

ผู้อยู่อาศัย

ได้แก่ ผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการ ทั้ง เจ้าของร่วมและผู้เช่า ซึ่งเป็นทั้งผู้ กำ�หนดแนวทางและผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ ชุมชนมีความน่าอยู่และยั่งยืนตาม เป้าหมายร่วมกัน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยผ่านทางฝ่ายบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีความเข้าใจต่อการ ใช้ชีวิตที่เหมาะสม ลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสังคมที่ดี และ สร้างชุมชนน่าอยู่ต่อไป

คณะกรรมการนิติบุคคล

ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่ายในโครงการ และขับเคลื่อน กระบวนการของการสร้างชุมชนน่าอยู่ โดยการเสริมความรู้ให้แก่ประธานและ คณะกรรมการฯ ที่จะนำ�ไปสู่การปฏิบัติ ต่อไป

43


44

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

ความยั่งยืน ระดับการปฏิบัติการ GREEN OPERATION

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

3

ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีผลกระทบ โดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างสูง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ขนาดใหญ่ บริษัทจึงให้ความสำ�คัญ กับการดำ�เนินงานด้วยความรับผิดชอบ เพื่อนำ�ไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง

45


46

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION) ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มผี ลกระทบโดยตรงต่อสิง่ แวดล้อมและสังคมอย่างสูง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ จะเห็น ได้ว่าอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีคุณภาพมักสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมาก บริษทั จึงให้ความสำ�คัญกับการดำ�เนินธุรกิจโดย คำ�นึงถึงความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อมและสังคมและได้ก�ำ หนดไว้ในแผนธุรกิจของบริษทั เพือ่ นำ�ไปสูค่ วามยัง่ ยืนทีแ่ ท้จริง ซึง่ ไม่เพียงแต่ความ รับผิดชอบในกระบวนการ (In Process) ตามแนวทาง 6 GREEN LPN แต่รวมถึงความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อมและสังคมนอกกระบวนการ (Out Process) ในรูปแบบของกิจกรรม เพื่อสร้างวัฒนธรรม “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” รวมทั้งการปลูกจิตสำ�นึกด้านความรับผิดชอบให้กบั บุคลากรทุกสายงาน พร้อมส่งต่อไปยังผู้พักอาศัยในชุมชน “ลุมพินี” ตามแนวคิด Corporate Environment & Social Responsibility to Community Environment & Social Responsibility และได้ตั้งงบประมาณในการดำ�เนินการสู่เป้าหมายให้เป็นสัดส่วนต่อยอดขายของบริษัท อีกด้วย นอกจากนัน้ บริษทั ได้จดั ตัง้ องค์กรแยกจากการดำ�เนินธุรกิจหลัก แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการบางส่วนของธุรกิจ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ช่วยเหลือสังคม และไม่มงุ่ หวังผลกำ�ไรจากการประกอบกิจการ นับเป็นความรับผิดชอบอิงกระบวนการ (As Process) ได้แก่ สถาบันแอล.พี.เอ็น. และบริษัท ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ จำ�กัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากรและแบ่งปันองค์ความรู้แก่สาธารณะ และพัฒนาคุณภาพชีวติ แก่สตรีดอ้ ยโอกาส ตามลำ�ดับ

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของบริษัท แบ่งตามรูปแบบการดำ�เนินงานออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ในกระบวนการ (In Process)

คือ ความรับผิดชอบจากผลกระทบและสร้างคุณค่าจากการดำ�เนินธุรกิจขององค์กรที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคม ในกระบวนการดำ�เนินงานทุกกระบวนการขององค์กร 2. นอกกระบวนการ (Out Process)

คือ การมีส่วนร่วมและสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำ�เนินงานขององค์กร 3. อิงกระบวนการ (As Process)

คือ การสนับสนุนและดำ�เนินกิจกรรมเพือ่ สิง่ แวดล้อมและสังคมที่ไม่มอี ยู่ในการดำ�เนินธุรกิจหลักขององค์กร แต่มสี ว่ นเกีย่ วข้องกับกระบวนการ บางส่วนของธุรกิจ

In Process GREEN Enterprise

GREEN Design Concept

Out Process GREEN Financial Statement

LPN Academy

As Process

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)

GREEN Marketing Management

Social Enterprise

GREEN Construction Process

GREEN Community Management

Togetherness Care and Share Corporate ESR to Community ESR


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

IN PROCESS

GREEN ENTERPRISE การดำ�เนินธุรกิจที่ให้ความสำ�คัญ กับการบริหารจัดการและทุนมนุษย์

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ในฐานะผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐหลาย ส่วนงาน บริษัทมีนโยบายในการต่อต้านการคอรัปชั่นโดยกำ�หนด ให้การดำ�เนินงานทุกกระบวนการอยู่ ในขอบเขตของกฎหมาย อย่างเคร่งครัด และได้บรรจุเรื่องความเสี่ยงต่อระบบราชการ (Compliance Risk) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจ และมีการ ติดตามธุรกรรมกับทางราชการอย่างสม่ำ�เสมอ นอกจากนั้น ยังได้ กำ�หนดให้บุคลากรทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย จรรยาบรรณของ บริษัท (Code of Conduct) และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่าง เคร่งครัด เพื่อสร้างความรับผิดชอบและคุณธรรม รวมทั้งกำ�หนด ให้คุณธรรม (Integrity) เป็นค่านิยมหลักของบุคลากรอีกด้วย โดย บุคลากรทุกคนต้องได้รับทราบแนวทางปฏิบัติด้านการต่อต้านการ คอร์รัปชั่นและการอบรมเรื่องค่านิยมหลักของบุคลากรอีกด้วย โดยบุคลากรทุกคนต้องได้รับทราบแนวทางปฏิบัติด้านการต่อต้าน การคอร์รัปชั่น และการอบรมเรื่องค่านิยมองค์กรดังกล่าวในการ ปฐมนิเทศพนักงานใหม่ บริษัทได้กำ�หนดแนวทางการดำ�เนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาลที่ ยึดมัน่ ในความรับผิดชอบในผลกระทบของทุกมิติของการ ทำ�ธุรกิจ และให้ความสำ�คัญในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น มาโดยตลอด ในปี 2556 บริษทั ได้เข้าร่วมใน “แนวร่วมปฏิบตั ขิ องภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต” และเพือ่ เป็นแนวทางปฏิบตั ขิ องกรรมการ พนักงานทั้งหมด บริษัทได้จัดทำ� “นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น” ขึ้น เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการ ปฏิบัติงานทุกภาคส่วน

คำ�นิยาม คอร์รปั ชัน่ (Corruption) หมายถึง การติดสินบนในทุกรูปแบบ โดย การเสนอให้ สัญญาจะให้ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น ที่ไม่ ถูกต้องและเหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน เพือ่ ให้บคุ คลดังกล่าวกระทำ�หรือละเว้นการปฏิบตั หิ น้าที่ หรือให้ได้มา หรือรักษาไว้ซง่ึ ผลประโยชน์อื่นใด ที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่ เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ท้องถิ่นให้กระทำ�ได้

นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น - ห้ามกรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานทุกคน ดำ�เนินการหรือยอมรับ การคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม - สอบทานการปฏิบัติตามนโยบายอย่างสม่ำ�เสมอ - ทบทวนแนวทางการปฏิบัติ และข้อกำ�หนดในการดำ�เนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และข้อกำ�หนด ทางกฎหมาย

47


48

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

แนวทางการปฏิบัติและดำ�เนินงาน 1. กรรมการบริหาร พนักงานทุกระดับต้องปฏิบตั ติ ามนโยบายอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีข้อยกเว้น 2.. พนักงานต้องไม่ละเลย หรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำ�ทีเ่ ข้าข่ายคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยต้องแจ้งให้ผบู้ งั คับบัญชาหรือ บุคคลที่รับผิดชอบทราบ 3. บริษทั จะให้ความเป็นธรรม และคุม้ ครองพนักงานทีแ่ จ้งเบาะแสเรือ่ งคอร์รัปชั่น โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน ตามที่ได้ก�ำ หนดไว้ใน Whistle Blower Policy 4. ผู้ที่กระทำ�คอร์รัปชั่น จะต้องได้รับการพิจารณาลงโทษทางวินยั ตามที่ได้ก�ำ หนดไว้ โดยไม่มขี อ้ ยกเว้น 5. บริษัทจะทำ�การเผยแพร่ ให้ความรู้ และทำ�ความเข้าใจกับบุคคลอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายนี้ 6. บริษัทจะต้องอบรม และรักษาค่านิยมองค์กร (CLASSIC) ในหัวข้อ I-Integrity ให้พนักงานตระหนักในด้านคอร์รัปชั่น อย่างสม่ำ�เสมอ และต่อเนื่อง 7. นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้ ครอบคลุมไปถึงกระบวนการบริหารงานบุคคล ตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือก การเลื่อนตำ�แหน่ง การฝึก อบรม การประเมินผล และการให้ผลตอบแทน โดยให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ สื่อสาร ทำ�ความเข้าใจกับพนักงานให้ชัดเจน 8. เพื่อความชัดในการดำ�เนินงานในเรือ่ งทีม่ คี วามเสีย่ งสูงกับการเกิดคอร์รปั ชัน่ กรรมการบริษทั ผูบ้ ริหาร และพนักงานทุกระดับ ต้องปฏิบัติ ด้วยความระมัดระวังในเรื่องดังต่อไปนี้ 8.1 ของกำ�นัล การเลีย้ งรับรอง การให้ มอบ หรือรับของกำ�นัล การเลีย้ งรับรอง ให้เป็นไปตามทีก่ �ำ หนดในคูม่ อื และจรรยาบรรณ ของพนักงาน 8.2 เงินบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุนการให้หรือรับเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และถูกต้อง ตามกฎหมาย โดยต้องมัน่ ใจว่า เงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนไม่ได้ถกู นำ�ไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน 8.3 ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ห้ามให้ หรือรับสินบน ในการดำ�เนินธุรกิจทุกมิติ และต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์และเป็นไปตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม บริษัทให้ความสำ�คัญกับการสร้างองค์กรให้ก้าวไปสู่การเป็น “องค์กรน่าอยู่” โดยให้ความสำ�คัญกับบุคลากรทุกคนและตระหนักว่าบุคลากร เป็นทรัพยากรทีม่ คี ณุ ค่าของบริษัท ที่จะสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสูค่ วามยัง่ ยืนได้ ซึง่ นอกเหนือจากการพัฒนาศักยภาพและความสามารถ ของบุคลากรทุกระดับแล้ว บริษัทยังส่งเสริมวัฒนธรรมและสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำ�งาน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยต่อ ชีวิต สุขภาพ และทรัพย์สินของบุคลากร และมีสวัสดิการต่างๆ เช่น การประกันสุขภาพแก่บุคลากร การตรวจสุขภาพประจำ�ปี กองทุน สำ�รองเลี้ยงชีพ สวัสดิการกู้ยืม เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้จัดสรรสวัสดิการให้กับบุคลากรที่สมรส หรือคลอดบุตร ทั้งชายและหญิงอย่าง เต็มที่ตามที่กฎหมายกำ�หนด และส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ สำ�หรับบุคลากรและครอบครัว เช่น กิจกรรมวันครอบครัว การเดินทางไปพักผ่อน ร่วมกัน การมอบทุนการศึกษาแก่บุตรของบุคลากร เป็นต้น ซึ่งในอนาคต บริษัทได้กำ�หนดแผนในการพัฒนาระบบการให้คำ�ปรึกษาเรื่อง การเลี้ยงดูบุตรหลาน และสร้างระบบเครือข่ายภายในองค์กร เพือ่ ให้เกิดการแลกเปลีย่ นข้อมูลความรู้อย่างเปิดกว้างและเป็นประโยชน์มากขึ้น ทำ�ให้เกิดความสุขในการทำ�งานและความภูมิใจในการเป็นบุคลากรขององค์กร

แนวคิดในการจ้างแรงงานของบริษทั บริษทั ยึดถือหลักด้านความเท่าเทียมทางเพศและปฏิบตั กิ บั บุคลากรอย่างเป็นธรรม โดยการจ้างงานจะพิจารณาความสามารถของผูส้ มัครเป็นหลัก โดยไม่มีการคำ�นึงถึงเรื่องเพศ (Gender) หรือรสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation) หรือเรื่องส่วนตัวใดๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำ�งาน โดย สถานภาพการจ้างงานจะมีทง้ั การจ้างชัว่ คราว (Temporary Employment) แบบสัญญาจ้างและรายวัน และจ้างถาวร (Permanent Employment) เป็นพนักงานประจำ� โดยก่อนที่จะมีการพิจารณาจ้างงานเป็นพนักงานประจำ� บริษัทกำ�หนดให้พนักงานทุกคนทดลองงานเป็นเวลา 3 เดือน โดยจะได้รับสวัสดิการพื้นฐาน เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการทำ�งาน อย่างครบถ้วน

นโยบายเรื่องการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมของ LPN บริษัทมีนโยบายเรื่องการให้โอกาสและปฏิบัติอย่างเท่าเทียม โดยมีหลักเกณฑ์และข้อกำ�หนดที่ชัดเจนระหว่างการทำ�งาน และเรื่องส่วนตัว ดังนั้น การคำ�นวณรายได้ ค่าตอบแทน และผลประโยชน์ ใดๆ จะใช้เงื่อนไขของประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำ�งานของบุคคลเป็น ที่ตั้งเท่านั้น โดยไม่มีเรื่องเพศ รสนิยมทางเพศ หรือ การแสดงตนทางเพศ เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนั้นบริษัทยังเปิดโอกาสให้แก่ผู้พิการ ได้ท�ำ งานตามความสามารถและไม่มีการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งตั้งสัดส่วนในการรับเข้าทำ�งานไว้ ซึ่งมีผู้พิการจำ�นวนหนึ่งที่ได้เข้าทำ�งาน และ เกิดความภาคภูมิใจในความสามารถหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

อัตราส่วนเงินเดือน 1 0.8 0.6 0.4 0.2 0

1

1 0.98 0.78

แม่บ้าน

L.1 - 4

49

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

อัตราค่าตอบแทน 1

0.90

1

0.92

1 0.80

L.5 - 7 L.8 - 10 L.11 - 14

1.2 1 0.8 0.6 0.4 0.2 0

1

1

1.15

1

0.94

1

0.92

1 0.82

0.42

แม่บ้าน

L.1 - 4

L.5 - 7 L.8 - 10 L.11 - 14 ชาย

หญิง

สวัสดิการที่จัดหาให้พนักงานแต่ละประเภท สวัสดิการ

ประจำ�

สัญญาจ้าง

รายวัน

แม่บ้าน

รปภ. สัมพันธ์

• •

• •

• • • • • • • • • •

• • • • • • • • • •

• • • • • • • • • •

• • • • • • • • • •

• • • • • • • • • •

• • •

• •

• •

• • •

• • • • • • • •

• • • • • • • •

• • •

• • •

1. ประกันชีวิต • ประกันกลุ่ม - ประกันชีวิต / ประกันอุบัติเหตุ - ประกันสุขภาพ (พนักงาน)

2. การดูแลสุขภาพ • ตรวจสุขภาพประจำ�ปี • สมาชิกฟิตเนส • ชมรมด้านกีฬาประเภทต่างๆ • วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ • การจ่ายยาขั้นพื้นฐาน • ห้องพยาบาล • ห้องมุมนมแม่สำ�หรับเก็บนํ้านมแม่ระหว่างวัน • นํ้าดื่ม • ประกันสังคม • กองทุนเงินทดแทน

3. อื่นๆ • เครื่องแบบพนักงานใหม่ • เครื่องแบบประจำ�ปี • เข็มที่ระลึกอายุงาน 10, 15, 20 ปี • รางวัลทำ�ความดี ประกาศเกียรติคุณ • เรียนฟรีและส่งเสริมการศึกษา • อบรมทักษะวิชาชีพ เพื่อพัฒนาในงาน • ทุนการศึกษาบุตร • งานปีใหม่ • สวัสดิการเงินช่วยเหลือ - เยี่ยมไข้พนักงาน - เยี่ยมคลอดพนักงาน - การสมรสพนักงาน - ญาติเสียชีวิต (พนักงาน) - พนักงานเสียชีวิต • เงินกู้ • กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ • เกษียณอายุ

• • • • • • • •


50

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

1. การดูแลพนักงานต่างจังหวัด (กรณีที่พนักงานอยู่ประจำ�โครงการต่างจังหวัด) - จัดหาแหล่งที่พนักงานสามารถไปใช้บริการได้ในพื้นที่ เช่น ตรวจสุขภาพประจำ�ปี - จัดหารถรับส่งให้พนักงานต่างจังหวัดเดินทางมาร่วมกิจกรรม เช่น งานปีใหม่ - มีระบบเบิกสวัสดิการแบบออนไลน์ ให้พนักงานดาวน์โหลดเอกสารและส่งเอกสารได้ทางอีเมลล์ 2. การดูแลผูพ้ กิ าร / คุม้ ครองผูท้ พุ พลภาพ - รับคนพิการเข้าทำ�งาน ตามทีก่ ฎหมายกำ�หนด และจัดสวัสดิการให้ได้รบั อย่างเทียบเท่าพนักงานอืน่ ๆ 3. การลาหยุดเพือ่ เลีย้ งดูบตุ ร - พนักงานหญิงสามารถลาหยุดเพือ่ เลีย้ งดูบตุ รได้ 90 วัน โดยได้รบั ค่าจ้าง 45 วันจากบริษทั และจากประกันสังคม 45 วัน 4. ระเบียบการเกษียณอายุ - บริษทั กำ�หนดอายุพนักงานเกษียณอายุที่ 55 ปี และ 60 ปี พนักงานจะได้รับเงินชดเชยนอกเหนือจากที่กฎหมายกำ�หนด โดยพนักงานที่ ทำ�งานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินกรณีเกษียณอายุเป็นบำ�เหน็จในอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้าย อายุงานที่เกิน 10 ปี ทุกๆ 1 ปีที่เพิ่มขึ้น จะได้รบั เงินบำ�เหน็จ 0.5 เดือน โดยรวมกันสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน 5. สิทธิการเป็นผูถ้ อื หุน้ - ไม่มี

หลักคิดเรือ่ งความสมดุลระหว่างการทำ�งาน และ ชีวติ ส่วนตัวของ LPN หลักคิดเรือ่ งความสมดุลระหว่างงานและชีวติ ครอบครัว (Work-life balance) ถูกพัฒนาขึน้ เพือ่ ให้บคุ ลากรได้รจู้ กั การแบ่งเวลาให้กบั ตัวเองและ ครอบครัว โดยไม่หมกมุ่นและทุ่มเทให้กับการทำ�งานมากจนเกินควรด้วยการกำ�หนดเวลางานต่อสัปดาห์ ให้เหมาะสม และยังกำ�หนดให้ บุคลากรทุกส่วนงานต้องหยุดพักร้อนประจำ�ปีตามที่ได้รับสิทธิ นอกจากนั้น ยังได้พัฒนากลยุทธ์ในส่วนของสำ�นักทรัพยากรมนุษย์ และมี การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพบุคลากร ทั้งสุขภาพกายและจิตใจ เช่น การจัดกิจกรรมให้มีการเต้นแอโรบิคในสำ�นักงาน การจัด สอนโยคะหลังเลิกงาน การให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ การจัดโครงการนั่งสมาธิ และการบรรยายเกี่ยวกับหลักธรรมในการใช้ชีวิต เป็นต้น

อัตราการลาคลอดของพนักงานปี 2557

87.8%

12.2%

กลับมาทำ�งาน 43 คน

จำ�นวน พนักงานลาคลอด ทัง้ หมด 49 คน

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)

ลาคลอด แล้วลาออก 6 คน


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

51

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

อัตราส่วนของเงินเดือนพืน้ ฐาน และค่าตอบแทนของผูห้ ญิงต่อผูช้ ายตามประเภท พนักงานในพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ านทีส่ �ำ คัญ จำ�นวน/คน

ชาย เงินเดือน

ค่าตอบแทนอื่นๆ

กลุ่มแม่บ้าน 1 - 4 5 - 7 8 - 10 11 - 14

101 354 144 28 8

1,184,560 6,413,025 4,800,700 2,018,140 1,679,210

รวม

635

16,095,635

ระดับ พนักงาน

จำ�นวน/คน

หญิง เงินเดือน

ค่าตอบแทนอื่นๆ

40,880 73,100 474,300 259,200 47,600

1,361 545 172 25 8

12,392,510 9,626,912 5,139,015 1,658,220 1,351,400

229,194 129,600 531,800 213,600 39,200

895,080

2,111

30,168,057

1,143,394

หมายเหตุ : - เงินเดือน หมายถึง ฐานเงินเดือนของพนักงาน / เดือน - ค่าตอบแทนอื่นๆ หมายถึง ค่าตอบแทนอื่นๆ เช่น ค่าตำ�แหน่ง ค่า Site Manager ค่า Internet ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ�มัน ค่าขั้น ค่าวิชาชีพ ค่าภาระหน้าที่ / เดือน

ดัชนีชี้วัด

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

% ความสุขของพนักงาน

75

≥ 75

75

ชั่วโมงการทำ�งานต่อสัปดาห์

43

≤ 43

42

≥5

24

% ของบุคลากรที่ได้รับการปรับระดับ

ผลการประเมินความสุขพนักงานใน “6 ปัจจัย องค์กรน่าอยู”่ ปี 2557 ปัจจัยทีท่ �ำ การวัดผล

งาน (Work)

สถานที่ (Place)

องค์กร (Corporate)

ผลตอบแทน (Revenue)

โอกาส (Opportunity)

คน (People)

คะแนนความสุข

คะแนนความสุข

คะแนนความสุข

คะแนนความสุข

คะแนนความสุข

คะแนนความสุข

71%

76%

84%

68%

73%

79%


52

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

การเคารพสิทธิมนุษยชน บริษทั เคารพในสิทธิเสรีภาพของพนักงานในการทำ�งาน และเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการกำ�หนดแนวทางด้านการทำ�งานและ สวัสดิการ โดยได้จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ เพื่อคัดเลือกตัวแทนจากบริษัทและบริษัทย่อย เพื่อทำ�หน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่าง พนักงานและผู้บริหาร รวมทั้งเสนอแนะข้อคิดเห็น และแนวทางในการจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ โดยปัจจุบัน มีคณะกรรมการสวัสดิการ ทั้งสิ้น 20 คน ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ตามมาตรา 96 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังนี้ 1. ร่วมหารือกับนายจ้างเพื่อจัดสวัสดิการสำ�หรับลูกจ้าง 2. เสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างในการจัดสวัสดิการสำ�หรับลูกจ้าง 3. ตรวจตรา ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง 4. เสนอข้อคิดเห็นและแนวทางในการจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์สำ�หรับลูกจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน

การจัดการเลือกตัง้ คณะกรรมการสวัสดิการ เพือ่ คัดเลือกตัวแทน จากบริษทั และบริษทั ย่อย

นโยบายเกีย่ วกับการปฏิบตั ภิ ายใต้หลักสิทธิมนุษยชนต่อแรงงานต่างด้าวของบริษทั ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบริษัทจะไม่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นลูกจ้างโดยตรง แต่ปิยมิตรที่ดำ�เนินธุรกิจร่วมกัน เช่น บริษัทรับเหมาก่อสร้าง มีการจ้างแรงงานต่างด้าวจำ�นวนมากกว่าร้อยละ 80 ของแรงงานทั้งหมด ภายใต้ “หลักการเติบโตไปด้วยกัน” และ “หลักความเป็นหนึง่ เดียว” ทีบ่ ริษทั ยึดถือในการดำ�เนินงานร่วมกับปิยมิตรขององค์กร โดยบริษัทจะเข้าไปช่วยเหลือคู่ค้าและนำ�เสนอแนวทางการบริหารจัดการด้านต่างๆ รวมถึงให้การดูแลแรงงานของปิยมิตรเสมือนหนึ่งเป็นบุคลากรของบริษัท โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจและกำ�หนดนโยบายให้คู่ค้าที่เป็น ผู้จ้างแรงงานต่างด้าวโดยตรง ให้ความสำ�คัญกับแรงงานเหล่านี้และจ่ายค่าจ้างรวมถึงสวัสดิการต่างๆ ตามความสามารถโดยไม่เลือกปฏิบัติ พร้อมกันนี้บริษัทได้ให้ค�ำ ปรึกษาทัง้ ในการวางแผน การบริหารจัดการ หรือในบางกรณี บริษทั ยังให้การช่วยเหลือโดยตรงและสนับสนุนค่าใช้จา่ ย โดยโครงการทีด่ �ำ เนินการต่างๆ มีดงั ต่อไปนี้

การส่งทีมงานเข้าสำ�รวจความเป็นอยู่ของแรงงานต่างด้าวในที่พักคนงาน

บริษัทมีการส่งทีมงานเข้าไปตรวจสอบคุณภาพชีวิตของแรงงาน หากพบปัญหาจะร่วมกันแก้ปัญหากับปิยมิตร หรือ คู่ค้า

การกำ�หนดค่าจ้างขั้นต่ำ�ตามกฎหมายให้กับแรงงานต่างด้าว

การประกาศนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ� 300 บาทของรัฐบาล ส่งผลต่อผู้ประกอบธุรกิจบางกลุ่ม ซึ่งบริษัทมีความเข้าใจถึงผลกระทบของ ผู้ประกอบการดังกล่าว และให้การช่วยเหลือในการวางแผนค่าใช้จ่าย การเพิ่มประสิทธิภาพการทำ�งาน รวมทั้งการช่วยเหลืออื่นๆ เพื่อให้ คู่ค้าสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีผลกำ�ไรและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างครบถ้วน

การดูแลสุขภาพและอนามัยในที่พักคนงาน

บริษัทจัดให้มีการดูแลรักษาสุขภาพและอนามัยในที่พักคนงาน เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับคู่ค้า โดยได้จัดให้มีการตรวจสุขภาพอนามัยของ คนงานเป็นประจำ�ทุกปีและมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ เช่น การตัดผมให้คนงาน เพื่อสุขอนามัยที่ดี เป็นต้น

การพัฒนาแรงงานฝีมือ

บริษทั มีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพแรงงานเหล่านี้ ให้มโี อกาสทางวิชาชีพ โดยฝึกให้มที กั ษะพิเศษด้านการก่อสร้าง เพือ่ พัฒนาจากกรรมกร ไปเป็นช่างไม้ ช่างปูน หรือช่างเชื่อมเหล็ก ตามความถนัด เป็นต้น

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

IN PROCESS

GREEN DESIGN CONCEPT การออกแบบผลิตภัณฑ์ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

53


54

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

การออกแบบตามแนวทาง LPN GREEN PROJECT ในกระบวนการดำ�เนินธุรกิจตามหลักการ 6 GREEN LPN หนึง่ ในขัน้ ตอนทีส่ �ำ คัญอันเป็นยุทธศาสตร์ของการสร้างความยัง่ ยืนที่เป็นรูปธรรม ของบริษัท ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทได้พัฒนาโครงการตามแนวคิดการออกแบบ สถาปัตยกรรมเพือ่ ความยัง่ ยืนขึน้ หรือ LPN Green Project เพือ่ เป็นมาตรฐานในการพัฒนาโครงการ รวมทั้งพัฒนาโครงการ LPN Signature Green Project ซึง่ เป็นต้นแบบโครงการสีเขียว ที่ให้ความสำ�คัญกับผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมอย่างเข้มข้น อันจะทำ�ให้โครงการมีความเป็นมิตร ต่อสิง่ แวดล้อม ลดการใช้พลังงานและทรัพยากร และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำ�หรับการอยู่อาศัยให้แก่ผู้อยู่อาศัย ตามแนวทางการสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” แนวทางการออกแบบ LPN Green Project มิได้ครอบคลุมแต่เพียงการออกแบบพื้นที่สีเขียวภายในโครงการเพื่อความร่มรื่นเท่านั้น แต่ยัง คำ�นึงถึงการออกแบบเพื่อลดการรับพลังงานความร้อนโดยตรงจากแสงอาทิตย์ การวางผังอาคารเพือ่ ให้รบั ลมธรรมชาติ และการออกแบบพื้นที่ สีเขียวเพื่อประโยชน์ใช้สอยและเป็นศูนย์รวมในการทำ�กิจกรรมของผู้อยู่อาศัย หรือ ”สวนรวมใจ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคุณค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อร่วม สร้างวัฒนธรรมการอยู่อาศัย “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” แก่ชุมชน โดยในปี 2557 บริษทั ได้พฒ ั นาโครงการตามมาตรฐาน LPN Signature Green Project ทัง้ สิน้ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการมิลล์ เพลส โพศรี ศูนย์การค้าชุมชน หรือ คอมมูนติ ้ี มอลล์ ทีพ่ ฒ ั นาภายใต้มาตรฐานอาคารเขียว “LEED” (Leadership in Energy & Environmental Design) ซึง่ เป็นมาตรฐานอาคารเขียวในระดับสากล ตัง้ อยูบ่ ริเวณหน้าโครงการลุมพินี เพลส ยูด-ี โพศรี และ โครงการลุมพินี พาร์ค นวมินทร์-ศรีบูรพา โครงการอาคารชุดพักอาศัยสูง 15 ชั้น บนเนื้อที่ 15 ไร่เศษ

โครงการมิลล์ เพลส โพศรี ศูนย์การค้าชุมชนทีพ ่ ฒ ั นาภายใต้มาตรฐานอาคารเขียว “LEED”

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

55


56

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

IN PROCESS

GREEN FINANCIAL STATEMENT การจัดทำ�งบการเงินที่ถูกต้อง โปร่งใส และเชื่อถือได้

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)

สำ�หรับการบริหารจัดการด้านการเงินเพือ่ ความยัง่ ยืน บริษทั ได้ด�ำ เนิน การบริหารงานด้านความยั่งยืนทางการเงินอย่างจริงจัง ทั้งเรื่อง ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การรายงานและเปิดเผยงบการเงิน ต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องก่อนรอบเวลาที่กำ�หนดในฐานะที่เป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากการดำ�เนินงานดังกล่าว บริษัทยังได้ก�ำ หนดกรอบของการ บริหารจัดการทางการเงินที่ให้ความสำ�คัญกับวินัยทางการเงิน โดย มีตัวชี้วัด หรือ Indicator เพื่อให้ทราบสถานะและติดตามผลการ ดำ�เนินงานของบริษัท ทั้งยังเป็นเครื่องมือเพื่อควบคุมการดำ�เนิน กิจการให้เป็นไปตามความเหมาะสม บริหารความเสี่ยงทางการเงิน เพือ่ การเติบโตอย่างต่อเนือ่ งและมัน่ คง และสร้างผลกำ�ไรจากระบบ งานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งตัวชี้วัดที่บริษัทได้กำ�หนดเป็นตัวหลักนั้น ได้แก่ 1. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio) 2. อัตรากำ�ไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) 3. กำ�ไรสุทธิต่อหุ้น (Earning Per Share)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

57

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

อัตราส่วนหนีส้ นิ ต่อส่วนของผูถ้ อื หุน้ (Debt to Equity Ratio) อัตราส่วนหนีส้ นิ ต่อส่วนของผูถ้ อื หุน้ หรือทีเ่ รียกสัน้ ๆ ว่า หนีส้ นิ ต่อทุน (Debt Ratio) คือ อัตราส่วนทีน่ �ำ หนีส้ นิ รวม หารด้วยส่วนของผูถ้ อื หุน้ หรือ ทุนจดทะเบียน โดยอัตราส่วนนีจ้ ะแสดงถึงโครงสร้างเงินทุนของกิจการว่าสินทรัพย์ของกิจการมาจากการกูย้ มื หรือมาจากทุน ซึ่งหากอัตราส่วนนี้ อยู่ในเกณฑ์ทส่ี งู ย่อมแสดงถึงความเสีย่ งทีก่ จิ การจะไม่สามารถชำ�ระดอกเบีย้ ได้ตามกำ�หนด เนือ่ งจากหนีส้ นิ ทีม่ ากจะทำ�ให้กจิ การมีภาระผูกพันที่ ต้องชำ�ระดอกเบีย้ ทุกงวด ไม่วา่ จะอยู่ในสภาวะกำ�ไรหรือขาดทุน แต่หากอัตราส่วนนีอ้ ยู่ในเกณฑ์ทต่ี า่ํ ก็จะแสดงถึงการใช้สว่ นของผูถ้ อื หุน้ หรือทุน ในการลงทุน ซึง่ จะส่งผลดีตอ่ การเติบโตและการแข่งขันในอุตสาหกรรม บริษทั ได้ก�ำ หนดอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ในอัตรา 1 ต่อ 1 ถือเป็นเพดานในการบริหารการเติบโตและการดำ�เนินงานของบริษทั การเติบโตจะเกิดจากการกู้ในปริมาณที่สามารถชำ�ระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนได้ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจากนโนบายและ การปฏิบัติในข้อนี้ อาจทำ�ให้บริษัทดูเติบโตอย่างไม่หวือหวา แต่ก็เป็นข้อบ่งชี้ที่สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียถึงความยั่งยืนและมั่นคง ของกิจการได้ ดัชนีชี้วัด

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

% อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

0.8 : 1

1:1

0.9 : 1

อัตรากำ�ไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) อัตรากำ�ไรขั้นต้น เป็นค่าสัดส่วนของกำ�ไรขั้นต้นกับยอดขายสุทธิของกิจการ อันเป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของการประกอบกิจการในด้าน การสร้างผลกำ�ไรและการบริหารต้นทุน โดยกิจการทีม่ อี ตั รากำ�ไรขัน้ ต้นที่ดีจะแสดงถึงความสามารถในการสร้างยอดขายที่มากที่สุดเมื่อเทียบ กับต้นทุนที่ใช้ไปในการขาย อย่างไรก็ตาม อัตรากำ�ไรขั้นต้นไม่ควรสูงจนเกินไป เพราะอาจหมายถึงการเอาเปรียบลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ รวมถึงการไม่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตามนโยบายที่บริษัทได้กำ�หนดไว้ บริษัทได้ก�ำ หนดกรอบและเป้าหมายของอัตรากำ�ไรขั้นต้นที่เหมาะสมต่อการดำ�เนินงาน โดยมีการเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเพื่อ ใช้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของการประกอบกิจการ ดัชนีชี้วัด

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

% อัตรากำ�ไรขั้นต้น

32.9

+- 30

32.5

กำ�ไรสุทธิต่อหุ้น (Earning Per Share) กำ�ไรสุทธิต่อหุ้น คือส่วนของกำ�ไรสุทธิจากผลการดำ�เนินงานของบริษัทในแต่ละปี เพื่อที่จะนำ�ไปจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะแสดงถึง ผลกำ�ไรที่เกิดขึ้นกับการลงทุนในบริษัท โดยบริษัทจะนำ�เสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปีเพื่อขออนุมัติการจ่ายเงินปันผลต่อไป โดย ดัชนีวัดในเรื่องนี้ แสดงถึงประสิทธิภาพการดำ�เนินงานของบริษัทอย่างแท้จริง บริษทั ได้ก�ำ หนดเป้าหมายของกำ�ไรสุทธิต่อหุ้นและการปันผล ในจำ�นวนและอัตราส่วนที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้น เพื่อการลงทุนและขยายตัวของ ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมได้ ทั้งยังสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ถือหุ้นถึงการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อ การเติบโตอย่างยั่งยืนสืบไป ดัชนีชี้วัด

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

% กำ�ไรสุทธิต่อหุ้น

53.2

≥ 50

**

** รอมติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น


58

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

IN PROCESS

GREEN MARKETING MANAGEMENT การตลาดที่เป็นธรรม กับผู้บริโภคและคู่แข่ง

นอกเหนือจากกลยุทธ์การตลาดที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคและคู่แข่ง บริษัทยังให้ความสำ�คัญกับการดูแลลูกค้า เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ในแบรนด์ “ลุมพิน”ี และพัฒนาไปสูค่ วามจงรักภักดี (Brand Loyalty) ทีเ่ ป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งตามแนวคิด การดำ�เนินงานของบริษัทนั้น การดูแลลูกค้าครอบคลุมตั้งแต่ผู้ที่ สนใจในผลิตภัณฑ์ ผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อพักอาศัย ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ เพือ่ การลงทุน และสุดท้ายคือ ผูท้ เ่ี ช่าพักอาศัย ซึง่ ทุกกลุม่ ล้วนถือเป็น “ลูกค้า” ที่บริษัทต้องให้การดูแลทั้งสิ้น ขอบเขตของการดูแลลูกค้า ของบริษัทแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ การดูแลลูกค้าก่อนการส่งมอบ ตัง้ แต่สนใจชมโครงการ ทำ�สัญญาซือ้ ขาย อยูร่ ะหว่างการผ่อนชำ�ระ เงินดาวน์ และการดูแลลูกค้าหลังการส่งมอบผลิตภัณฑ์โครงการ

การดูแลลูกค้าก่อนการส่งมอบ ขอบเขตของการบริการลูกค้าก่อนการส่งมอบของบริษทั ครอบคลุม กระบวนการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ตั้งแต่สนใจโครงการ ทำ�สัญญา ซื้อขาย อยู่ระหว่างการผ่อนชำ�ระเงินดาวน์ ไปจนถึงการรับมอบ ผลิตภัณฑ์โครงการ บริษัทได้จัดตั้งสายงานบริหารความสัมพันธ์ ลูกค้า (Customer Relation Management) ซึ่งต่อมาได้พัฒนา เป็นสายงานบริหารประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience Management) เพื่อรับผิดชอบในการบริหารประสบการณ์ลูกค้า ผ่านจุดสัมผัส (Touch Point) ทุกจุด เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี นอกจากนั้ น บริ ษั ท ได้ กำ � หนดกลยุ ท ธ์ ใ นการสร้ า งความเชื่ อ มั่ น ความผูกพัน ไปจนถึงความจงรักภักดี ด้วยแนวคิดในการส่งมอบ คุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม

การดูแลลูกค้าหลังการส่งมอบ หลังจากที่ลูกค้ารับมอบผลิตภัณฑ์ห้องชุดที่ส่งมอบจากบริษัทและ เข้ามาอยู่อาศัย การเข้ามาบริหารอาคารและชุมชนให้อยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข ถือเป็นอีกหนึง่ คุณค่าของการบริการทีส่ �ำ คัญทีบ่ ริษัท มอบให้กับลูกค้า กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” ได้ถูกพัฒนาเพื่อสานต่อ คุณค่าของการบริการให้กับลูกค้า ภายใต้นิยามของ “ชุมชนน่าอยู่” คือ ชุมชนลุมพินที อ่ี ยูอ่ าศัยร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีองค์ประกอบ ที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิต มีสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี รวมทัง้ จิตสำ�นึกของการอยูร่ ว่ มกัน ดูแลห่วงใยและแบ่งปัน

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

59

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

จากประสบการณ์การบริหารอาคารและชุมชนมาเป็นระยะเวลานาน บริษัทได้นำ�ข้อมูลด้านพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุด มาพัฒนาจนเป็นแนวทางการบริหารชุมชน F-B-L-E-S+P เพือ่ นำ�ไปสู่ “ชุมชนน่าอยู่” เพื่อความสุขที่แท้จริงในการอยู่อาศัย ซึ่งประกอบด้วย

F - Facility Management : B - Budget Management : L - Life Quality Management : E - Environment Management : S - Security Management : P - People Management :

การบริหารจัดการทรัพย์สว่ นกลาง การบริหารจัดการงบประมาณ การบริหารจัดการคุณภาพชีวติ การบริหารจัดการสิง่ แวดล้อม การบริหารจัดการความปลอดภัย การบริหารจัดการผูเ้ กีย่ วข้อง

การบริหารความพึงพอใจและข้อร้องเรียน การบริหารความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์และบริการของลูกค้านัน้ ถือเป็นหนึง่ ในกลยุทธ์การดำ�เนินงานทีส่ �ำ คัญของบริษทั เพือ่ ส่งมอบคุณค่าแก่ ลูกค้าและผู้อยู่อาศัย รวมทั้งความเชื่อมั่นในแบรนด์ “ลุมพินี” ดังนั้นบริษัทจึงให้ความสำ�คัญในการปรับปรุง พัฒนาสินค้าและบริการอย่าง ต่อเนื่อง โดยได้จดั ตัง้ ฝ่ายบริหารประสบการณ์ลกู ค้า (Customer Experience Management : CEM) เพือ่ ออกแบบการให้บริการในทุกจุดทีต่ อ้ ง พบปะและสัมผัสกับลูกค้า หรือเรียกว่า Touch Point ทั้งจุดสัมผัสที่เป็นคน (Human Touch Point) เช่น พนักงานขาย แม่บ้าน พนักงาน รักษาความปลอดภัย และจุดสัมผัสที่ไม่ใช่คน (Non Human Touch Point) เช่น สำ�นักงานขาย ลานจอดรถ เป็นต้น ซึง่ ฝ่ายบริหารประสบการณ์ ลูกค้า จะเป็นผูก้ �ำ หนดมาตรฐานการให้บริการของแต่ละ Touch Point ในทุกระนาบของการให้บริการ ตัง้ แต่กอ่ นซือ้ ระหว่างผ่อนดาวน์ และหลัง การโอนกรรมสิทธิ์ รวมทั้งตลอดระยะเวลาของการเป็นลูกค้าของบริษัท 34. แจวคอนโด 33. เจาหนาที่ธุรกิจนายหนา 32. เจาหนาที่ซอมหลังโอน 31. รปภ.สัมพันธ 30. แมบานนิติฯ 29. รปภ. นิติฯ 28. ชางอาคาร 27. เจาหนาที่ธุรการนิติฯ 26. ผูจัดการชุมชน 25. หองชุด 24. ทรัพยสวนกลาง 23. สิ�งอำนวยความสะดวก

1. ที่จอดรถ 2. สำนักงานขาย 3. www.lpn.co.th 4. หองตัวอยาง 5. กิจกรรมงานขาย 6. Call Center ลูกคาผูสนใจโครงการ (Prospect) 7. เจาหนาที่ขาย 8. แมบานสำนักงานขาย 9. รปภ. สำนักงานขาย

Touchpoint Wheel เจาของรวม/ผูอยูอาศัย (Co-owner)

22. เจาหนาที่ธนาคาร 21. เจาหนาที่ปยมิตร 20. เจาหนาที่กอสราง 19. เจาหนาที่บร�หารประสบการณลูกคา 18. เจาหนาที่ LPN

10. กิจกรรมงานรับมอบหองชุด

ลูกคาผอนดาวน (Customer)

11. สำนักงานโอนฯ 12. สำนักงาน นิติฯ 13. LPN Payment Card 14. ระบบติดตามคางวด 15. Mobile App.

16. เจาหนาที่โอนฯ 17. เจาหนาที่การเง�น


60

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

นอกเหนือจากการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าแล้ว บริษัทยังมีกระบวนการในการรักษาลูกค้า (Customer Retention) ผ่านช่องทางการ รับเรื่องร้องเรียน ซึ่งถือเป็นโอกาสของบริษัทที่จะรับทราบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของลูกค้า และดำ�เนินการ แก้ไขปรับปรุง โดยการนำ�เรื่องที่ได้รับการร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน (Complaint Management Process) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้า และป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลาม เนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์สามารถทำ�ให้ข้อมูลแพร่กระจายได้อย่าง รวดเร็ว จึงอาจทำ�ให้ปัญหาเล็กน้อยอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตได้ ดังนั้น ความรวดเร็วของการแก้ไขปัญหาจึงเป็นสิ่งที่พนักงาน ทุกคนยึดถือและปฏิบัติด้วยดีตลอดมา โดยปัจจุบันบริษัทมีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนผ่าน 3 ช่องทางคือ LPN Mobile App และ Call Center ซึ่งภายหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนมาแล้ว จะมีกระบวนการในการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน เพื่อให้สามารถดำ�เนินการแก้ไข ข้อร้องเรียนให้ได้ภายใน 5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนของปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยมีกระบวนการในการจัดการกับ เรื่องร้องเรียน 8 ขั้นตอน รวมทั้งได้เก็บรวบรวมวิธีการในการแก้ไขปัญหาไว้ในรูปแบบของการบริหารจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) ขององค์กร เพื่อเป็นองค์ความรู้ในด้านงานบริการให้กบั พนักงานในองค์กรต่อไป ซึง่ กระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน ของบริษัท มีดังนี้

กระบวนการบริหารจัดการเรือ่ งร้องเรียน กระบวนการ

ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

1. รับเรือ่ งร้องเรียนจากช่องทางต่างๆ - Call Center - สายตรงถึงพนักงาน - เว็บไซด์ภายนอก เช่น pantip.com - ผูบ้ ริหาร

4. ดำ�เนินการ แก้ไข และบันทึก ผลการแก้ไขในระบบและโทรแจ้ง แนวทางการแก้ปญั หากับลูกค้า 5. ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องรายงานผลการแก้ไข กับฝ่ายบริหารประสบการณ์ลกู ค้า และผูบ้ ริหาร 6. ติดต่อลูกค้าเพื่อสอบถามผลการแก้ไข 7. สรุปรายงานประจำ�เดือน ส่งผูบ้ ริหาร และฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง 8. จัดเก็บรายงาน พร้อมนำ�กรณีทน่ี า่ สนใจ แบ่งปันและศึกษา เพือ่ เป็นองค์ความรู้ (Knowledge Sharing)

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)

ลูกค้า/ ผู้อยู่อาศัย

ผู้บริหาร

เริ่มต้น รับเรื่องร้องเรียน

2. ส่งต่อเรือ่ งร้องเรียนหรือโทรแจ้งฝ่าย ทีเ่ กีย่ วข้องภายใน 1 วัน และบันทึก ในระบบร้องเรียน 3. ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องรับเรือ่ งร้องเรียน เพือ่ ติดต่อลูกค้าภายใน 1 วัน หลังจากรับเรือ่ งร้องเรียน

ฝ่ายบริหารประสบการณ์ ลูกค้า (CEM)

สำ�เนารายงาน เรื่องร้องเรียน

รายงานเรื่องร้องเรียน และบันทึกในระบบ รับรายงาน เรื่องร้องเรียน

สอบถาม ปัญหา

ดำ�เนินการแก้ไข

อธิบายการ แก้ปัญหา

รายงานผลการแก้ไข

รายงานผลการแก้ไข สอบถามผล การแก้ไขปัญหา รายงานเรือ่ งร้องเรียน จัดเก็บรายงาน

จบการทำ�งาน


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

61

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

สรุปเรื่องร้องเรียนประจำ�ปี 2557 ในปี 2557 บริษัทไม่ได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้า ผู้อยู่อาศัย และผู้เกี่ยวข้องในประเด็นที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม บริษัทได้รวบรวมและ จัดกลุ่มข้อร้องเรียนต่างๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการดำ�เนินงานของบริษัท โดยเฉพาะกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบ คุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการ

ปริมาณการติดต่อทัง้ หมด จำ�นวนเรือ่ งในระบบ 879 เรือ่ ง

5%

อื่นๆ (48 เรื่อง)

4%

57%

ชมเชย (38 เรื่อง)

33% ข้อเสนอแนะ (291 เรื่อง)

เรื่องร้องเรียน (502 เรื่อง)

100 80 60 40 20 0

72

61 34

82

76 38

61 41

51

51 55 51

70 49

44 41

39 41 36

18

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

ร้องเรียนปี 2556

* ปริมาณเรื่องร้องเรียนเฉลี่ย 42 เรื่องต่อเดือน ใช้ระยะเวลาในการแก้ไขจบเฉลี่ย 5 วัน

51 27

พ.ย.

39

55

ธ.ค. ร้องเรียนปี 2557


62

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

ช่องทางการติดต่อ จำ�นวนเรือ่ งในระบบ 879 เรือ่ ง

34%

Call Center 297 เรื่อง • ร้องเรียน (191) • เสนอแนะ (57) • ชมเชย (34) • อื่นๆ (15)

39%

www.lpn.co.th 340 เรื่อง • ร้องเรียน (219) • เสนอแนะ (84) • ชมเชย (4) • อื่นๆ (33)

28%

LPN Mobile App. 242 เรื่อง • ร้องเรียน (92) • เสนอแนะ (150)

เรือ่ งร้องเรียนทีต่ ดิ ต่อผ่านระบบในปี 2557 มีจ�ำ นวนลดลง 176 เรือ่ ง (ร้อยละ 27) จากปี 2556 ซึง่ เป็นแนวโน้มทีด่ ี และข้อร้องเรียนการบริการ (Touch Point) มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง การตอบสนองและแก้ไขปัญหาต่างๆ มีความรวดเร็วมากขึ้น แต่ในด้านการบริหารจัดการ ชุมชน ตามแนวทาง F-B-L-E-S+P มีจำ�นวนเพิ่มขึ้น 14 เรื่อง (5%) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากปัญหาด้านคุณภาพชีวิต (L) เช่น กลิ่นบุหรี่และเสียง รบกวน หรือ กฎระเบียบการอยู่อาศัยต่างๆ จากเรื่องร้องเรียนจำ�นวน 502 เรื่อง โดยได้แบ่งสาเหตุของการร้องเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ ม่ ที่ 1 คุณค่าผลิตภัณฑ์ (Product Value) มี 3 หมวดย่อย

• เรื่องร้องเรียนจากผลิตภัณฑ์ เช่น การเก็บงานห้องชุดไม่เรียบร้อย น้ำ�รั่ว วัสดุหรืออุปกรณ์ชำ�รุด • เรื่องร้องเรียนจากนโยบาย เช่น นโยบายในการออกแบบเฉพาะสำ�หรับโครงการ นโยบายการส่งมอบห้องชุด • เรื่องร้องเรียนจากบ้านข้างเคียง เช่น ปัญหาเรื่องเสียงหรือฝุ่นที่ได้รับการร้องเรียนจากผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กับโครงการที่อยู่ ระหว่างการก่อสร้าง

กลุ ม่ ที่ 2 คุณค่าบริการ (Service Value) มี 2 หมวดย่อย

• เรื่องร้องเรียนจากการบริหารชุมชนภายใต้กลยุทธ์ F-B-L-E-S+P • เรื่องร้องเรียนจากการบริการ เช่น กิริยามารยาทของพนักงาน คุณภาพของงานบริการ

เรือ่ งร้องเรียนทีต่ ดิ ต่อ ผ่านระบบในปี 2557 มีจ�ำ นวนลดลง 176 เรือ่ ง (ร้อยละ 27)

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

63

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

รายละเอียดเรือ่ งร้องเรียน จำ�นวนเรือ่ งร้องเรียน 502 เรือ่ ง

47.4% บริหารจัดการ (238 เรื่อง)

43% บริการ (231 เรื่อง)

7% ผลิตภัณฑ์ (36 เรื่อง )

0.1% นโยบายบริษัท (1 เรื่อง)

FBLES+P

Product Defect

Service

2.5% ผลกระทบบ้านข้างเคียง (13 เรื่อง)

แนวทางการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน 1. บริหารจัดการตามความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบต่อลูกค้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

ประเภท ข้อร้องเรียน

แนวทาง บริหารจัดการ

กลุ่มที่ 1

กลุ่มที่ 2

กลุ่มที่ 3

กลุ่มที่ 4

ข้อร้องเรียนที่รุนแรงมาก และมีความถี่สูง มีผลกระทบต่อบริษัท ในเวลาอันรวดเร็ว

ข้อร้องเรียนที่ รุนแรงมาก ลูกค้า ไม่พอใจถึงขั้นอาจเลิกใช้ บริการ เช่น แก้ไข ห้องชุดไม่เรียบร้อย

ข้อร้องเรียนทั่วไป ก่อให้ ข้อร้องเรียนที่มีความ ถี่สูง แต่ยังไม่ถึงขั้นเลิกใช้ เกิดความรำ�คาญ เช่น บริการ เช่น กลิ่นบุหรี่ กฎระเบียบเรื่องที่จอดรถ จากห้องข้างเคียง

แก้ไขโดยทันทีพร้อม ทั้งติดตามอย่างใกล้ชิด รายงานตรงถึงผู้บริหาร ระดับสูง เพื่อหาแนวทาง และกระบวนการแก้ไข พร้อมป้องกันเหตุการณ์ ดังกล่าวลุกลาม

แก้ไขโดยทันทีพร้อม ทั้งติดตามอย่างใกล้ชิด รายงานตรงถึง ผู้บริหารระดับสูง และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไข และป้องกัน

รายงานผู้จัดการชุมชน รายงานผู้จัดการชุมชน เพื่อนำ�ข้อมูลต่างๆ มาหา เพื่อดำ�เนินการปรับปรุง แนวทางการดำ�เนินการ แก้ไข แก้ไข พร้อมทั้ง ประสานงานขอโทษ และชี้แจงลูกค้า


64

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

2. เพิม่ ช่องทางการสือ่ สาร เพือ่ เข้าถึงลูกค้ามากขึน้ และตอบสนองกับวิถชี วี ติ ลูกค้าในปัจจุบนั บริษัทเริ่มให้บริการ Mobile App ในปี 2557 เป็นปีแรก และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นับเป็นช่องทางที่มีการติดต่อสื่อสารจาก ลูกค้าเข้ามามากที่สุด โดย Mobile App เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ที่บริษัทสามารถให้ข้อมูลไปยังลูกค้าได้โดยตรงและสามารถอำ�นวย ความสะดวกแก่ลูกค้าในการเช็คพัสดุไปรษณีย์ ติดต่อสอบถาม แจ้งซ่อม และร้องเรียน ทำ�ให้สามารถสื่อสารข้อมูลต่างๆ ระหว่าง กันได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สื่อสารแบบ 2 ทางผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook โดยได้ดำ�เนินการทดลองกับ 4 โครงการที่เปิดขาย เพื่อเป็นช่อง ทางในการสื่อสารข่าวสาร ความคืบหน้าการก่อสร้าง กิจกรรมต่างๆ ของบริษัท ซึ่งช่องทางดังกล่าวได้รับความสนใจในการรับข้อมูล ข่าวสารจากโครงการเป็นจำ�นวนมากเฉลี่ยถึงร้อยละ 72 ของจำ�นวนลูกค้าที่ทำ�การจองซื้อทั้งหมด เพราะตรงกับพฤติกรรมการรับ ข่าวสารในปัจจุบนั และความรวดเร็วในการตอบสนอง โดยฝ่ายบริหารประสบการณ์ลกู ค้าจะทำ�การสือ่ สารข้อมูล หรือประเด็นต่างๆ ทุกวัน เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวพร้อมตอบคำ�ถามจากผู้พักอาศัย นอกจากนั้นยังทำ�หน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวจากเว็บไซต์ภายนอก ที่พูดถึงบริษัทและคู่แข่ง

การประเมินความพึงพอใจปี 2557 ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ทำ�การวัดความพึงพอใจจากการให้บริการทั้งสิ้น 8 กระบวนการที่ได้ให้บริการสัมผัสกับลูกค้าโดยตรง ซึ่งโดยภาพรวม การบริการลูกค้าได้รับการประเมินความพึงพอใจในระดับที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในด้านการบริหารชุมชน ตามแนวทาง “ชุมชน น่าอยู่” กลยุทธ์หลักด้านการบริการที่ได้ทำ�การสำ�รวจในงานประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมประจำ�ปี โดยได้รับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยใน ปี 2557 ร้อยละ 92 และมีระดับการเป็นผู้สนับสนุนองค์กร (Net Promoter Score : NPS) อยู่ที่ร้อยละ 44 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความสำ�เร็จที่ สนับสนุนแนวคิดการดำ�เนินงานที่รับผิดชอบต่อผู้บริโภค อันจะสร้างการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่แบรนด์ “ลุมพินี” รวมถึงพัฒนา มาตรฐานการบริการให้ดียิ่งขึ้นสืบไป

สรุปผลความพึงพอใจและคะแนน NPS คะแนนความพึงพอใจ เปรียบเทียบปี 2556 และ ปี 2557 100 80 60 40 20 0

%

96 97

Call Center

96 98

งานขาย

82 85

งานก่อสร้าง

90 92

งานโอน

88 92

89 91

80

91

92 92

STD = 85%

ประชุมใหญ่ กรรมการ เจ้าของร่วม เจ้าของร่วม

ซ่อม หลังโอน

ธุรกิจ นายหน้า

ดัชนีชี้วัด

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

% คะแนนความพึงพอใจ

88

≥ 90

92

คะแนนความพึงพอใจปี 2557 มีคะแนนรวมสูงกว่าปี 2556 และทุกส่วนงานมีระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์สงู กว่ามาตรฐาน โดยส่วนงานทีม่ ี คะแนนสูงทีส่ ดุ คือ งานขาย และ Call Center

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

65

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

คะแนน NPS ของแต่ละส่วนงาน เปรียบเทียบปี 2556 และปี 2557 60

%

40

32 32

38

44

39

46

36 36

20 0

Call Center*

งานขาย*

งานก่อสร้าง*

งานโอน

ประชุมใหญ่ กรรมการ เจ้าของร่วม เจ้าของร่วม

ซ่อม* หลังโอน

ธุรกิจ นายหน้า

ดัชนีชี้วัด

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

% คะแนน NPS

35

≥ 40

40

* คะแนน NPS จะทำ�การเก็บข้อมูลภายหลังการส่งมอบห้องชุด จึงไม่ได้มีการเก็บคะแนนในส่วนของ Call Center งานขาย งานก่อสร้าง และงานซ่อมหลังโอน ส่วนงานทีม่ รี ะดับคะแนน NPS สูงทีส่ ดุ คือ งานด้านบริหารจัดการทัง้ ส่วนของเจ้าของร่วม และกรรมการเจ้าของร่วม ตามมาด้วยงานฝ่ายธุรกิจ นายหน้าและงานโอนตามลำ�ดับ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มงานด้านการบริหารจัดการชุมชน รวมถึงทีมงาน มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า

ภาพรวมการบริการ ลูกค้าได้รับการประเมิน ความพึงพอใจในระดับที่สูงขึ้น กว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ในด้านการบริหารชุมชน ตามแนวทาง “ชุมชนน่าอยู่” โดยได้รับคะแนน ความพึงพอใจเฉลี่ยในปี 2557 สูงถึงร้อยละ 92


66

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

IN PROCESS

GREEN CONSTRUCTION PROCESS การบริหารจัดการผลกระทบที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ในกระบวนการก่อสร้าง

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

การบริหารโครงการ การบริหารโครงการเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการดำ�เนินงานจะประสบความสำ�เร็จได้นั้นต้องมีการวางกรอบการ ดำ�เนินงานที่ดี เพื่อให้สามารถลดผลกระทบและวางแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ บริษัทจึงวางกรอบการบริหารโครงการภายใต้ หลัก “Q-C-S-E-S+P” เพื่อเป็นแนวทางการดำ�เนินงานและบทบาทหน้าที่แก่บุคลากรของฝ่ายบริหารโครงการ ด้วยความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมและสังคม เนื่องจากกระบวนการทำ�งานนั้นมีผลกระทบต่อภายนอกในหลายมิติ นอกจากนัน้ ยังให้ความสำ�คัญกับการสร้างความ สัมพันธ์อันดีกับผู้อยู่อาศัยโดยรอบบริเวณก่อสร้างโครงการอีกด้วย โดยในทุกโครงการที่บริษัทพัฒนา จะมีการจัดหน่วยเฉพาะกิจเข้าไป ทำ�ความเข้าใจ นำ�เสนอข้อมูลเกีย่ วกับโครงการทีจ่ ะเกิดขึน้ และรับฟังปัญหาและข้อคิดจากชุมชน โดยจะมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อ นำ�มาวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไข ตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง จนส่งมอบโครงการให้กับนิติบุคคล

การบริหารจัดการสิง่ แวดล้อม การลดผลกระทบและแนวทางแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทได้ทำ�การวิเคราะห์และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบในการก่อสร้างมาโดยตลอด โดยได้จัดทำ�เป็นกรณีศึกษาเพื่อแนวทางแก้ไข ทั้งนี้ สามารถแบ่งผลกระทบที่มีต่อชุมชนโดยรอบได้เป็น 2 ลักษณะได้แก่

1. ผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง ด้านการจราจร ในระหว่างการก่อสร้าง จะต้องมีรถขนส่งคนงาน วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อื่นๆ เข้าไปในพื้นที่ก่อสร้าง

ซึ่งย่อมต้องส่งผลต่อการจราจรของชุมชนที่ตั้งอยู่เดิม บริษัทจะควบคุมดูแลให้ผู้รับเหมาปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น กำ�หนดให้รถบรรทุกวิ่งออกจากโครงการในเวลากลางคืนและการเข้าโครงการในเวลาเช้าตรู่ก่อนช่วงจราจรคับคั่งเท่านั้น และมีการ ควบคุมเรื่องการจอดรถโดยรอบพื้นที่

ด้านคุณภาพอากาศ การก่อสร้างหลายๆ ลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นงานปูน งานไม้ ย่อมทำ�ให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศ บริษัทกำ�หนด

ให้มีการติดผ้าใบคลุมอาคาร ไม่ให้มีฝุ่นละอองฟุ้งออกไปนอกพื้นที่อาคารได้ และทำ�ความสะอาดล้อรถที่เข้าออกโครงการ รวมทั้งใช้ น้�ำ ฉีดทำ�ความสะอาดบริเวณหน้าโครงการ เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่น

ด้านเสียง มลภาวะทางด้านเสียงที่เกิดจากการก่อสร้างจะมีสองลักษณะ ได้แก่ เสียงจากยานพาหนะที่ใช้ในการก่อสร้าง และเสียง จากเครื่องจักรในการก่อสร้าง ทั้งสองประการ ต่างมีวิธีการควบคุมที่แตกต่างกัน รถยนต์จะให้เข้าออกในเวลากลางคืน แต่การขนย้าย วัสดุจะทำ�ในเวลากลางวันเท่านั้น ส่วนเสียงที่มาจากเครื่องจักร บริษัทจะติดตั้งเป็นลักษณะกำ�แพงที่สามารถกันเสียงได้

ด้านความสัน่ สะเทือน ความสัน่ สะเทือนจากสถานทีก่ ่อสร้าง อาจมีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างอาคารใกล้เคียง เช่น งานด้าน

เสาเข็ม ซึ่งบริษัทมีแนวทางป้องกันผลกระทบดังกล่าวด้วยการใช้ “เข็มเจาะ” ทั้งหมด โดยขุดหลุมและเทคอนกรีตในหลุม ต่างจาก “เข็มตอก” ที่จะมีประเด็นเรื่องความสั่นสะเทือนอย่างมาก และงานเสาเข็มเจาะที่บริษัทดำ�เนินการ จะพิจารณาเกี่ยวกับระยะเวลาที่ เหมาะสมกับชุมชนรอบข้าง ซึ่งหากเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยก็จะดำ�เนินการในเวลากลางวันที่ไม่มีคนอยู่ ส่วนถ้าอยู่ใกล้โรงเรียน ก็จะมี การเจรจาเพื่อยืดเวลาตอกเข็มให้อยู่ในช่วงเวลาปิดเทอม เป็นต้น

ด้านความปลอดภัยจากการก่อสร้าง ในกิจกรรมก่อสร้างต่างๆ จะมีการขนย้าย คน วัสดุ และเครือ่ งจักรในสถานทีก่ อ่ สร้างตลอดเวลา

ดังนัน้ หากไม่มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดย่อมมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ ซึง่ นอกจากบริษทั จะใส่ใจในความปลอดภัยของ คนงานหรือผูท้ ป่ี ฏิบตั งิ านในสถานทีก่ อ่ สร้างแล้ว ยังใส่ใจต่อชุมชนผู้พักอาศัยใกล้เคียงกับโครงการที่มีความเสีย่ งในประเด็นดังกล่าว อีกด้วย โดยการทำ�ผ้าใบคลุมอาคารนั้น นอกจากจะเป็นการกันฝุ่นดังที่ได้กล่าวมาแล้วก็จะมีคุณสมบัติการกันเศษวัสดุที่อาจตกลงมา จากอาคารอีกด้วย

67


68

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

2. ผลกระทบหลังการก่อสร้าง ด้านความหนาแน่นของชุมชน การย้ายถิน่ ทีอ่ ยูข่ องประชากรเข้ามาเป็นจำ�นวนมาก ทำ�ให้มีผลกระทบต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน บริษทั

ตระหนักในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยเดิม ดังนั้นนอกจากการให้ความสำ�คัญกับการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับชุมชน ข้างเคียงแล้ว บริษัทยังพัฒนาร้านค้าปลีกด้านหน้าหรือภายในโครงการ เพือ่ สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัยและชุมชนข้างเคียง

ด้านการจราจร โครงการอาคารชุดพักอาศัยขนาดใหญ่ที่มีผู้อยู่อาศัยจำ�นวนมาก ทำ�ให้ปริมาณรถยนต์ที่ผ่านเข้าออกในชุมชน

มากขึ้นด้วย ส่งผลให้เกิดปัญหาจราจร ซึ่งบริษัทได้มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอยู่ตลอด เพื่ออำ�นวยความสะดวกต่อ ผู้อยู่อาศัยและชุมชนข้างเคียงเดิมอย่างเหมาะสม

ด้านทัศนียภาพ โครงการของบริษทั มักเป็นอาคารพักอาศัยขนาดใหญ่ และอาจส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพทีม่ อี ยูเ่ ดิมของชุมชน รวมทัง้

ผลกระทบเรือ่ งแสงสว่างและเงาจากอาคาร ซึง่ ในหลายโครงการ บริษทั ได้มกี ารทำ�งานร่วมกับคณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทำ�แบบจำ�ลองเรื่องแสงอาทิตย์และลม เพื่อให้เกิดผลกระทบกับชุมชนน้อยที่สุด

ผลการดำ�เนินงานด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม บริษัทให้ความสำ�คัญกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ก่อสร้างทุกส่วน ไม่เพียงแต่เฉพาะในบริเวณก่อสร้าง แต่ยังบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านพักคนงานและชุมชนข้างเคียงที่มีพื้นที่ติดกับพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบ และสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีกับผู้พักอาศัยบริเวณข้างเคียงโครงการ รวมทั้งการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของ ผู้เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการดูแลคุณภาพชีวิตคนงานก่อสร้าง ดัชนีชี้วัด

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

จำ�นวนครั้งที่หน่วยงานก่อสร้างถูกร้องเรียน จนผู้บริหารระดับสูงต้องเข้าไปแก้ ไข

4

0

0

บริเวณข้างเคียง

บริเวณบ้านพักคนงาน

บริเวณก่อสร้าง

บริเวณข้างเคียง

จัดตัง้ ทีมงานผูบ้ ริหารระดับสูงเข้าไปให้ขอ้ มูล กับชุมชนรอบข้างและหน่วยงานราชการที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความ สัมพันธ์ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านหรือ อาคารที่มีพื้นที่ติดกับโครงการซึ่งได้รับ ผลกระทบโดยตรง ทั้งทางด้านเสียง ฝุ่นละออง การจราจร และควบคุม การก่อสร้างให้เป็นไปตามที่ออกแบบ และเป็นไปตามเวลาที่กำ�หนด ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)

บริเวณก่อสร้าง

ให้ความสำ�คัญกับการดูแลพื้นที่ก่อสร้างทั้ง ฝุ่น เสียง ทัศนียภาพ และผลกระทบอื่นๆ เช่น การทำ�ความสะอาดล้อรถขนส่งวัสดุ อุปกรณ์ก่อนออกจากหน่วยงานก่อสร้าง การพัฒนานวัตกรรมด้านการปกป้องอาคาร เพื่อลดฝุ่นละอองจากพื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น

บริเวณบ้านพักคนงาน

ดูแลสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมตามหลัก อาชีวอนามัย โดยคำ�นึงถึงคุณภาพชีวิตของ คนงานก่อสร้างและส่งเสริมสุขภาพคนงาน ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม 5 ส กิจกรรมตรวจสุขภาพ กิจกรรมอบรม ปฐมพยาบาลเบื้องต้น กิจกรรมซ้อมดับเพลิง กิจกรรมตัดผมฟรี เป็นต้น


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

69

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

บริเวณก่อสร้าง การดูแลความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในพื้นที่ก่อสร้าง กำ�หนดให้มีการทำ�ความสะอาดถนนในโครงการหลัง เลิกงานทุกวัน รวมทั้งตรวจสอบผ้าใบคลุมรถและ ล้างล้อก่อนออกจากโครงการทุกครัง้ เพือ่ ป้องกันวัสดุ และเศษดินจากการก่อสร้างร่วงหล่นและเพื่อความ ปลอดภัยของผู้ใช้ถนนสาธารณะ ล้างถนนในโครงการก่อนเลิกงาน

ล้างล้อก่อนออกจากโครงการ

พื้นที่สำ�หรับเก็บเคมีภัณฑ์

พื้นที่สำ�หรับเก็บวัสดุอุปกรณ์

จัดทำ�พืน้ ทีส่ �ำ หรับเก็บวัสดุอปุ กรณ์ เช่น ถุงปูนซีเมนต์ และเคมีภัณฑ์ เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง และสะดวกในการใช้งาน

การจัดการขยะในพื้นที่ก่อสร้าง มีการจัดวางถังขยะ แยกประเภท 2 ประเภท คือ ขยะเปียกและขยะแห้ง ตามจุดต่างๆ เพื่อให้สะดวกต่อการกำ�จัด และลด ปัญหาขยะที่เกิดขึ้นภายในโครงการ และมีแผนทีจ่ ะ ปรับปรุงรูปแบบถังขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะใน โครงการต่างๆ ให้มมี าตรฐานเหมือนกันทุกโครงการ

จุดแยกขยะเปียกและแห้ง

การบำ�บัดนํ้าเสียและการระบายนํ้า ติดตัง้ ถังบำ�บัดน้�ำ เสียจากการก่อสร้างและห้องน้�ำ ของคนงาน ก่อนปล่อยลงสูท่ อ่ น้�ำ สาธารณะ โดยมีการตรวจวัดคุณภาพน้�ำ ทีผ่ า่ นการบำ�บัด เดือนละ 1 ครั้ง เป็นประจำ�ทุกเดือน จัดทำ�บ่อดักตะกอนและบ่อหน่วงน้�ำ ขนาด 3 x 3 x 1.5 เมตร เพือ่ กรองตะกอนจากน้�ำ ทีผ่ า่ นการบำ�บัดแล้วก่อนปล่อยน้�ำ ใสลงสูท่ อ่ น้�ำ สาธารณะ ติดตั้งถังสำ�รองน้ำ�ขนาด 5 ลูกบาศก์เมตร จำ�นวน 7 ถัง สำ�รองน้ำ�ได้ทั้งหมด 35 ลูกบาศก์เมตร สามารถสำ�รองน้�ำ ไว้ใช้ได้ถึง 1.12 วัน

ถังบำ�บัดนํ้าเสีย

บ่อดักตะกอน

บ่อหน่วงนํ้า

ถังสำ�รองนํ้า


70

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

จัดทำ�ระบบป้องกันการชะล้างพังทลายของดินใน โครงการ โดยการใช้ Sheet Pile สำ�หรับป้องกันการ พังทลายของดินระหว่างการก่อสร้างงานบ่อใต้ดิน เพือ่ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในช่วงฤดูฝน จนเกิดการอุดตันและน้�ำ ท่วมขังภายในโครงการได้ และ มีการขุดร่องน้�ำ รอบๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการระบายน้�ำ

ระบบป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โครงการลุมพินี พาร์ค รัตนาธิเบศร์-งามวงศ์วาน

การจัดการคุณภาพอากาศ มลภาวะทางเสียง และแรงสั่นสะเทือน ติดตัง้ รัว้ ชัว่ คราวรอบโครงการสูง 6 เมตร เพือ่ ป้องกันไม่ให้เศษวัสดุจากการก่อสร้าง หล่นไปในชุมชนข้างเคียงและช่วยบดบัง ทัศนียภาพที่ไม่เหมาะสมระหว่างก่อสร้าง รวมทัง้ ติดตัง้ ม่านน้�ำ (Spray Water) ตาม แนวรั้วที่ติดกับบริเวณที่มีผู้พักอาศัย นับ เป็นนวัตกรรมที่นำ�มาใช้ลดปริมาณฝุ่นที่ จะออกสู่ภายนอก โดยจะเปิด-ปิดม่านน้�ำ ทุกครึง่ ชัว่ โมง ตัง้ แต่เวลา 8.00-16.30 น. ติดตั้งผ้าใบคลุมรอบตัวอาคาร และฉีดน้ำ� เพือ่ ลดปริมาณฝุน่ ละอองทุกชัน้ ตัง้ แต่ชน้ั ทีท่ �ำ งานโครงสร้างลงมาถึงชั้นที่ตั้งเสา

ติดตัง้ อุปกรณ์กนั เสียงและฝุน่ ละออง

ติดตั้งม่านนํ้าตามแนวรั้ว

ผ้าใบคลุมเครือ่ งผสมปูน

ห้องตัดและเจียรกระเบื้อง

จำ�กัดความเร็วของรถทีเ่ ข้า-ออก

ติดตัง้ เครือ่ งวัดฝุน่ ละออง

ตรวจสอบเครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพดี อยู่เสมอ เพื่อลดการเกิดเขม่าและควัน ติดตั้งอุปกรณ์กันเสียงและฝุ่นละออง เช่น คลุ ม ผ้ า ใบเครื่ อ งผสมปู น ก่ อ นทำ � งาน ก่ออิฐทุกครั้ง และจัดเตรียมห้องพร้อม อุปกรณ์กันเสียงและฝุ่นละอองจากการ ตัดและเจียรกระเบื้อง จำ�กัดความเร็วของรถที่เข้า-ออกโครงการ ทั้งรถบรรทุกและรถต่างๆ ให้ใช้ความเร็ว ไม่เกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อลดการ สั่นสะเทือนและไม่รบกวนบ้านข้างเคียง และดับเครื่องทันทีที่จอด ตรวจวัดคุณภาพอากาศ เสียง และความ สั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมไม่ ให้เกินมาตรฐานที่กำ�หนด โดยจะทำ�การ ตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้งหมด

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

71

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

ตารางที่ 1 ตัวอย่างผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือนจากการก่อสร้างโครงการ ลุมพินี พาร์ค รัตนาธิเบศร์-งามวงศ์วาน พารามิเตอร์

ค่ามาตรฐาน

ค่าฝุ่นละอองรวม; TSP (mg/m3) ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละออง PM9 (mg/m3) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (ppm) ไฮโดรคาร์บอน (ppm) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (ppb) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (ppb) ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง; Leq24 (dB) ค่าระดับเสียงสูงสุด; Leq max (dB) ค่าความสั่นสะเทือนสูงสุด (มิลลิเมตร/วินาที)

ค่าตรวจวัดจริง (Min-Max)

0.33 0.12 30 300 170 ≤ 70 ≤ 115 5

0.068 0.022 0.1 0.2 0.03 0.02 63.40 88.2 0.711

-

0.250 0.112 1.5 1.1 19.25 28.67 69.70 108.40 2.06

ข้อมูล ณ เดือนมกราคม-ตุลาคม 2557

เครื่องตรวจ วัดอากาศ

เครื่องตรวจ วัดเสียง

เครื่องตรวจ วัดความ สั่นสะเทือน

สรุปจำ�นวนวัสดุที่ใช้ ในการก่อสร้าง ประจำ�ปี 2557

โครงการสงมอบ ป 2557 คอนกร�ต 166,612 ลบ.ม.

เหล็ก 28,930 ตัน

ไมแบบ 838,708 ตร.ม.

ลามิเนต 195,141 ตร.ม

โพสเท็นชั่น 415,066 ตร.ม.

พร�คาสท 187,768 ตร.ม.

กระเบื้อง 291,944 ม.

ทอน้ำดี/ทอน้ำทิ�ง 936,130 ม.

สายไฟ/อุปกรณ ไฟฟา 7,938,382 ม.

ปูนทราย 368,645 ลบ.ม.

สีทาอาคาร 1,835,465 ม.

สุขภัณฑ 10,350 ชุด

ปูนฉาบ 846,714 ตร.ม.

ยิปซั่มบอรด 360,439 ตร.ม.

โคมไฟ 99,184 ชุด

พ�้นที่กอสราง 447,749 ตร.ม

จำนวนยูนิต 10,226 หองชุด


72

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

บริเวณข้างเคียง การดูแลบ้านข้างเคียง กำ�หนดมาตรฐานการดูแลสภาพแวดล้อมโครงการก่อสร้างและบ้านข้างเคียง เพือ่ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและพืน้ ทีข่ องแต่ละโครงการ แจ้งผู้พักอาศัยข้างเคียงล่วงหน้า หากมีความจำ�เป็นต้องทำ�งานทีก่ อ่ ให้เกิดเสียงดังอย่างน้อย 3 วัน เช่น งานเสาเข็มฐานราก และจำ�กัดระยะ เวลาในการทำ�งานทีเ่ กิดเสียงดังในช่วงเวลา 08.00-19.00 น. และหลีกเลีย่ งกิจกรรมเสียงดังในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ เพือ่ ลดการรบกวนชุมชน ข้างเคียง ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์กับบ้านข้างเคียงเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อกังวลและผลกระทบที่เกิดจากการ ก่อสร้าง ติดตั้งกล่องแสดงความคิดเห็นไว้ด้านหน้าโครงการ สำ�หรับผู้ต้องการร้องเรียนและแสดงความคิดเห็น เจ้าหน้าที่ LPN เข้าพบบ้านข้างเคียง เพื่อสอบถามความคิดเห็น และรับฟัง ความคิด ข้อกังวล และผลกระทบที่เกิด จากการก่อสร้าง

ปรับปรุงและพัฒนาชุมชนบริเวณรอบโครงการทีก่ �ำ ลังก่อสร้าง เช่น การปรับปรุงและเพิม่ พืน้ ทีส่ เี ขียวในโรงเรียนวัดนาคนิมติ ร ซึง่ เป็นโรงเรียน ขนาดเล็กในสังกัดของกรุงเทพมหานคร ใกล้กบั โครงการลุมพินี เพลส สุขสวัสดิ-์ พระราม 2 ทีม่ พี น้ื ทีค่ บั แคบ และมีพน้ื ทีส่ เี ขียวไม่เพียงพอ จึง ทำ�การปรับปรุงสภาพแวดล้อม รวมทัง้ ปรับปรุงหลังคามัสยิด ซึง่ ตัง้ อยู่ใกล้กบั โครงการลุมพินี เพลส ศรีนครินทร์-หัวหมาก สเตชัน่ เป็นต้น

ก่อนปรับปรุง

หลังปรับปรุง

ดำ�เนินการติดตัง้ ประตูอลูมเิ นียม-กระจกให้ทางโรงเรียนหัวหมาก

ก่อนปรับปรุง

หลังปรับปรุง

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)

ก่อนปรับปรุง

หลังปรับปรุง

ซ่อมแซมโต๊ะอาหารให้โรงเรียนหัวหมาก

ก่อนปรับปรุง

หลังปรับปรุง


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

ขั้นตอนการดำ�เนินงาน

1. สำ�รวจสภาพแวดล้อมรอบโครงการ

ก่อนเริม่ ก่อสร้าง สำ�รวจสภาพแวดล้อมโดยรอบ โครงการ จัดทำ�แผนผังบ้านข้างเคียง ระบุบา้ นเลขที่ ชือ่ เจ้าของบ้าน พร้อมโทรศัพท์ พร้อมเข้าแนะนำ�ตัว

ระยะเวลา

ฝ่ายก่อสร้าง

ก่อนเริ่มงาน เสาเข็ม

เริ่มต้น

เข้าพบบ้านข้างเคียง เพือ่ สร้างความสัมพันธ์ทด่ี ี และรับฟังความคิดเห็น สอบถามผลกระทบ

ก่อนเริ่มงาน เสาเข็มและ ทุกสัปดาห์

สร้างความสัมพันธ์ กับบ้านข้างเคียง

3. กำ�หนดมาตรการป้องกันมลภาวะ ที่เกิดจากโครงการ

ก่อนเริ่มงาน เสาเข็ม

กำ�หนดมาตรการ ป้องกันมลภาวะ

4. ตรวจสอบสภาพแวดล้อม และติดตาม ความคืบหน้า

ตรวจสอบ สภาพแวดล้อม บ้านข้างเคียง

ตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบโครงการอย่าง สม่�ำ เสมอ หากพบปัญหาทีก่ อ่ ให้เกิดความ เดือดร้อนกับบ้านข้างเคียง ให้รบี ดำ�เนินการแก้ไข

5. ดำ�เนินการแก้ไขปัญหา

เมือ่ มีความเดือดร้อนและความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ จากโครงการ จะต้องหาทางดำ�เนินการแก้ไข ผ่อนคลายโดยทันที

ดำ�เนินการ ตามมาตรการ

พบปัญหา

ภายใน 1 วัน

ไม่พบ ปัญหา

6. รวบรวมข้อมูล

6.1 ความรูส้ กึ ของบ้านข้างเคียง 6.2 ปัญหาและแนวทางการแก้ปญั หา 6.3 สิง่ ทีค่ วรปรับปรุงและผลทีเ่ กิดขึน้ หลังจากการปรับปรุง

7. สรุปประเมินผล

ผู้รับเหมา

สำ�รวจสภาพแวดล้อม รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น

2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อบ้านข้างเคียง

ขึงผ้าใบกันฝุ่น ป้องกันเสียงดัง การกวาดขยะ การสร้างบ้านพักคนงาน ฯลฯ

73

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

รวบรวมข้อมูล

ทุกเดือน สรุปประเมินผล จบการทำ�งาน

ดำ�เนินการแก้ไข


74

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

บริเวณบ้านพักคนงาน การดูแลสุขอนามัยบริเวณบ้านพักคนงาน จัดวางผังบริเวณบ้านพักคนงานให้เป็นสัดส่วน เพื่อความเป็นระเบียบและ สะดวกต่อการดูแล เช่น การจัดพื้นที่ครัวให้อยู่ในบริเวณด้านหน้าของ บ้านพัก การจัดพื้นที่สำ�หรับสัตว์เลี้ยงของคนงานก่อสร้าง และการจัดเวร ทำ�ความสะอาด เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการตรวจบ้านพักคนงานก่อสร้าง อย่างสม่ำ�เสมอเดือนละ 1 ครั้ง หากพบปัญหาจะเร่งดำ�เนินการปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้คนงานก่อสร้างอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและถูกสุขลักษณะ นอกจากนีย้ งั มีการฉีดยาป้องกันยุงเป็นประจำ�ทุก 2 เดือน โดยในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ยุงชุมจะทำ�การฉีดยาป้องกันยุงทุกเดือน เพื่อป้องกันการเกิด ไข้เลือดออก

ฉีดยาป้องกันยุง เพือ่ ป้องกันการเกิดไข้เลือดออก

การจัดสรรพื้นที่สำ�หรับคนงานก่อสร้าง ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างได้จัดสรร พื้นที่เพื่ออำ�นวยความสะดวกให้กับคนงานก่อสร้าง เช่น พื้นที่สำ�หรับ รับประทานอาหารบริเวณลานจอดรถในทุกอาคาร ที่แขวนสัมภาระสำ�หรับ คนงานก่อสร้าง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และพื้นที่สำ�หรับสูบบุหรี่ อย่างเป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากก้นบุหรี่ แยกพืน้ ทีส่ �ำ หรับสูบบุหรีอ่ อกเป็นสัดส่วน

การดูแลคุณภาพชีวติ คนงานก่อสร้าง นอกจากการดูแลสภาพบ้านพักอาศัย ของคนงานแล้ว บริษทั ได้จดั กิจกรรมตัดผมและเลีย้ งอาหารคนงานก่อสร้าง มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นขวัญกำ�ลังใจให้กับคนงานก่อสร้างที่ร่วมเป็น ส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการ โดยในปี 2557 ได้จัดกิจกรรมทั้งหมด 8 โครงการ คือ โครงการลุมพินี พาร์คบีช จอมเทียน โครงการลุมพินี พาร์ค รัตนาธิเบศร์ โครงการลุมพินี วิลล์ อ่อนนุช-ลาดกระบัง โครงการลุมพินี เพลส ศรีนครินทร์-หัวหมาก โครงการลุมพินี เพลส สุขสวัสดิ์-พระราม 2 โครงการลุมพินี วิลล์ อ่อนนุช-พัฒนาการ โครงการลุมพินี วิลล์ อ่อนนุช 46 และโครงการลุมพินี พาร์ค พระราม 9-รัชดา

กิจกรรมตัดผมคนงานก่อสร้าง

กิจกรรมเลีย้ งอาหารคนงานก่อสร้าง

สร้างวินัยในการอยู่อาศัย การตรวจสุขภาพและสารเสพติด จะมีการตรวจสุขภาพคนงานก่อสร้าง เป็นประจำ�ทุก 3 เดือน อบรมเกี่ยวกับกฎระเบียบในการทำ�งานให้กับคน งานใหม่ และมีการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติดทุกครั้ง หากตรวจ พบสารเสพติดก็จะไม่รับเข้าทำ�งาน

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)

ตรวจสารเสพติดก่อนรับเข้าทำ�งาน


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

75

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ความปลอดภัยในการก่อสร้างเป็นสิ่งสำ�คัญที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยบริษัทจะควบคุมให้มีการปฏิบัติตามแนวทางและหลักการด้านความ ปลอดภัยและอาชีวอนามัยอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอนการก่อสร้าง ตั้งแต่ความปลอดภัยของคนงานก่อสร้างไปจนถึงบ้านข้างเคียง ตามรายละเอียดดังนี้ ติดตั้งป้ายแสดงรายละเอียดการก่อสร้าง เพื่อแสดงสถานะ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ และรายละเอียดต่างๆ ของโครงการด้าน หน้าโครงการ การติดตั้งป้ายกฎระเบียบ การทำ�งานใต้ สายไฟฟ้าแรงสูง ป้ายแสดงรายละเอียดการก่อสร้าง

บอร์ดประชาสัมพันธ์กฏต่างๆ

กิจกรรม Morning Talk

ตรวจเช็คอุปกรณ์เพือ่ ความปลอดภัย

ติดตัง้ แผงกันตกบริเวณหน้าลิฟต์

หลังคากันวัสดุบนตัวอาคาร

จัดกิจกรรม Morning Talk ทุกเช้า ก่อนเริ่มทำ�งาน โดยจะมีการพูดคุยใน ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการทำ�งานตลอด ระยะเวลาการก่อสร้างโครงการ เพือ่ สร้าง ความเข้าใจและสามารถบรรลุผลสำ�เร็จ ตามแผน ตรวจเครื่องแต่งกายของคนงานก่อสร้าง ให้เหมาะสมรัดกุม และตรวจเช็คอุปกรณ์ ป้องกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้ครบถ้วน เพือ่ ความเรียบร้อยและความปลอดภัย ติดตั้งแผงกันตกบริเวณหน้าลิฟต์และปิด ช่องลิฟต์ทุก 5 ชั้น และแผงกันตกบน ดาดฟ้าก่อนเทคอนกรีต ติดตั้งหลังคากันวัสดุทั้งบนตัวอาคารและ ทางเดินเชื่อม

ดัชนีชี้วัด

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

จำ�นวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ภายในหน่วยงานก่อสร้าง

3

0

0


76

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

IN PROCESS

GREEN COMMUNITY MANAGEMENT การบริหารชุมชน

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

77

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

การบริหารชุมชน การบริหารชุมชนจะดำ�เนินการโดยใช้ “FBLES+P” ที่ได้จากการพัฒนารูปแบบและประสบการณ์การบริหารชุมชนมาเป็นเวลานาน เพื่อส่ง มอบคุณภาพชีวติ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับผู้พักอาศัย จนเกิดเป็น “ชุมชนน่าอยู่”

การบริหารจัดการคุณภาพชีวติ การทีผ่ คู้ นจำ�นวนมากมาอาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่เดียวกันนั้น จะต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม การแบ่งปันและการมีสัมพันธภาพ ทีด่ ี มีการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างนิติบุคคลกับผู้พักอาศัย และผู้พักอาศัยกับผู้พักอาศัยด้วยกันเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมห้องสมุดเคลือ่ นที่ เป็นกิจกรรมหนึง่ ทีบ่ ริษทั จัดขึน้ เป็นประจำ�ร่วมกับกองนันทนาการ กรุงเทพมหานคร มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมการ อ่านให้ผพู้ กั อาศัย และสร้างสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชน โดยกิจกรรมนี้ได้ด�ำ เนินการแล้วทัง้ หมด 30 โครงการ บรรยากาศ กิจกรรมห้องสมุด เคลื่อนที่

การบริหารจัดการสิง่ แวดล้อม บริษทั มุง่ เน้นให้ผพู้ กั อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมทีด่ ี จึงมีระบบการดูแลรักษาสิง่ แวดล้อมภายในโครงการดังนี้ 1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว

เป็นที่ทราบกันดีว่าอาคารชุดทั่วไปจะมีพื้นที่สีเขียวไม่มากนัก แต่ส�ำ หรับโครงการของลุมพินีได้สร้างความแตกต่างจากอาคารชุดทั่วไป โดยมุ่งเน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อให้ผู้พักอาศัยมีสภาพแวดล้อมที่ดี ดังนั้น จึงมีการจัดสรรพื้นที่สีเขียวภายในโครงการ และมี “สวนรวมใจ” ให้กับผู้พักอาศัยได้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปัจจุบัน มีการบริหารพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 95 โครงการ โดยมีโครงการที่ยังคงรักษาพื้นที่สีเขียวให้อยู่ในสภาพที่ดีทั้งหมด 84 โครงการ โครงการที่มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 9 โครงการ ส่วนอีก 2 โครงการพื้นที่สีเขียวลดลง เนื่องจากดินที่ใช้ไม่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกและมี แมลงศัตรูพชื มากินใบ ซึง่ ขณะนี้โครงการกำ�ลังดำ�เนินการแก้ไขโดยดูแลพืน้ ทีส่ เี ขียวทีเ่ หลือให้อยู่ในสภาพดีและรณรงค์ให้มีการเพิม่ พืน้ ที่ สีเขียวในโครงการ โดยส่วนใหญ่การดูแลรักษาพื้นที่สีเขียวจะเป็นหน้าที่ของนิติบุคคล แต่ทั้งนี้ผู้พักอาศัยก็ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาและช่วย เพิ่มพื้นที่สีเขียวผ่านกิจกรรม “ลุมพินี ปลูก แปลง แบ่งปัน” ซึ่งกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้พักอาศัยมีส่วนร่วมในการเพิ่ม พืน้ ทีส่ เี ขียวในโครงการตนเองปีละ 1 แปลง ในรูปแบบต่างๆ อาทิ แปลงสวนครัว สวนไม้ดอก ไม้ประดับ หรือสวนแนวตัง้ ทัง้ นี้ในปี 2557 ได้ดำ�เนินการทั้งหมด 87 โครงการ โดยแบ่งรูปแบบการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นปลูกในพื้นที่ว่างจำ�นวน 53 โครงการ ปลูกเป็นสวนแนวตั้ง จำ�นวน 13 โครงการ ปลูกในกระบะหรือกระถางจำ�นวน 15 โครงการ และปลูกโดยขวดพลาสติกจำ�นวน 6 โครงการ โดยในทุกโครงการ มีทั้งผู้ใหญ่และเด็กให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำ�นวนมาก และผู้พักอาศัยบางคนได้นำ�ไอเดียการเพิ่มพื้นที่สีเขียวไปใช้เพื่อเพิ่มพื้นที่ สีเขียวในห้องพักของตนเองด้วย


78

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

บรรยากาศ การปลูกต้นไม้ ร่วมกันของชุมชน “ปลูก แปลง แบ่งปัน”

2. การจัดการขยะในโครงการ

บริษทั ได้มกี ารพัฒนารูปแบบและวิธีการการบริหารจัดการขยะ และวัสดุเหลือใช้มาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานมากทีส่ ดุ เริม่ ตัง้ แต่การรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจถึงความแตกต่างของขยะแต่ละประเภท จนปัจจุบนั มีถงั ขยะแยกประเภททัง้ หมด 5 ประเภท คือ ถังขยะทั่วไป ถังขยะเศษอาหาร ถังขยะรีไซเคิล ถังขยะอันตราย และถังคัดแยกกล่องเครื่องดื่ม ตั้งตามจุดต่างๆ ภายในโครงการ ซึ่ง ในปี 2557 ได้ส่งมอบถังขยะแยกประเภทให้กับโครงการแล้วทั้งสิ้น 25 โครงการ

ถังขยะเศษอาหารและถังขยะทั่วไป

ถังขยะรีไซเคิล

ถังคัดแยกกล่องเครื่องดื่ม

ถังขยะอันตราย

การตั้งถังขยะแยกประเภท นอกจากจะช่วยลดปัญหาในการนำ�ขยะไปกำ�จัดแล้ว ยังมีขยะบางส่วนที่สามารถนำ�มาเพิ่มมูลค่าและนำ�กลับ ไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้ คือ ขยะรีไซเคิล โดยได้จัดกิจกรรมตั้งจุดรับบริจาคขยะรีไซเคิล เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินและนำ�ไปทำ�กิจกรรมการกุศล ร่วมกับ 5 ชมรมลุมพินอี าสา ณ วัดจันทรสุข จังหวัดปทุมธานี ซึง่ ตัง้ อยู่ใกล้กบั โครงการลุมพินี ทาวน์ชปิ รังสิต-คลอง 1

จุดรับบริจาคขยะ รีไซเคิลภายใน โครงการต่างๆ

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

79

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

ให้ความรู้เด็กๆ เรื่องการรีไซเคิล อย่างสมํ่าเสมอ เพื่อปลูกฝัง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นอกจากการตั้งถังขยะแยกประเภทแล้ว ยังได้จัดกิจกรรม “เปิดฝา เปิดไอเดีย” ด้วยการนำ�ฝาขวดน้ำ�พลาสติกที่เป็นวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์ ของเล่น ของตกแต่ง อาทิ Magnet ติดตู้เย็น และตัว Stamp พร้อมทั้งแจกคู่มือ เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้ผู้พักอาศัยมีส่วนร่วมในการ จัดการขยะ ซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากเด็กและผู้ใหญ่เข้าร่วมกิจกรรม โดยในปี 2557 จัดกิจกรรมทั้งหมด 17 โครงการ บรรยากาศกิจกรรม “เปิดฝา เปิดไอเดีย” และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อรณรงค์การ จัดการขยะ

ปริมาณขยะอันตราย 4,371 ชิ้น

ปริมาณขยะรี ไซเคิล 5,290.50 กิโลกรัม

รายได้จากการขายขยะรี ไซเคิล 23,258.10 บาท

* ข้อมูลจาก 8 โครงการ ต้นแบบด้านการคัดแยกขยะ ปี 2557


80

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

3. การจัดการทรัพยากรในโครงการ

ปัจจุบันความต้องการใช้ทรัพยากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในแต่ละปีทุกโครงการต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำ�นวนมาก ดังนั้นการลดการ ใช้ทรัพยากรจึงเป็นนโยบายหนึ่งในการบริหารชุมชนที่ช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการ รวมทั้งช่วยลดการใช้ทรัพยากรโดยรวมของ ประเทศ 4. การจัดการนํ้า

การจัดการน้�ำ เสีย ซึง่ จะมีการบำ�บัดน้�ำ เสียก่อนปล่อยออกสูส่ าธารณะ และมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ�ที่ ผ่านการบำ�บัดแล้วอย่างสมํ่าเสมอ ในปัจจุบันมีนิติบุคคลที่บำ�บัดนํ้าเสียก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ จำ�นวน 93 นิตบิ คุ คล โดยมีการตรวจวัดคุณภาพนํา้ ทีผ่ า่ นการบำ�บัดแล้วจำ�นวน 87 นิติบุคคล ทั้งนี้ ผลจากการตรวจวัดพบว่า คุณภาพน้ำ�ที่ผ่านเกณฑ์มีจำ�นวน 73 นิติบุคคล และคุณภาพน้ำ�ที่ไม่ผ่าน เกณฑ์มีจำ�นวน 15 นิตบิ คุ คล เนือ่ งจากอยูร่ ะหว่างการปรับปรุงระบบบำ�บัดน้�ำ เสียจำ�นวน 9 นิตบิ คุ คล อยูร่ ะหว่างการเลีย้ งเชือ้ ในระบบบำ�บัดนํา้ เสียจำ�นวน 4 นิตบิ คุ คล และนํา้ ไหลย้อนเนือ่ งจากฝนตกหนัก จำ�นวน 2 นิติบุคคล ส่วนที่เหลืออีก 6 นิติบุคคล ไม่มีการตรวจคุณภาพนา้ํ ที่ผ่านการบำ�บัดแล้ว เนื่องจากส่งนํา้ เสียไปบำ�บัดภายนอก

การตรวจเช็คสภาพ บ่อบำ�บัดนํ้าเสียใน โครงการ

การลดการใช้นา้ํ ทั้งนี้นา้ํ เสียที่ผ่านการบำ�บัดจากทั้งหมด 73 นิติบุคคล มีนิติบุคคลที่นำ�น้�ำ เสียมาใช้ประโยชน์ภายในโครงการ เช่น นำ�ไปรด ต้นไม้ ล้างถนน และฉีดบ่อบำ�บัดจำ�นวน 49 นิติบุคคล ซึ่งนับเป็นปริมาณนํ้าที่สามารถประหยัดได้ทั้งหมด 110,852.39 ลูกบาศก์เมตร ส่วนอีก 24 นิตบิ คุ คลทีเ่ หลือไม่ได้น�ำ นํา้ ทีผ่ า่ นการบำ�บัดแล้วไปใช้ประโยชน์ เนือ่ งจากไม่มรี ะบบการนำ�นํา้ เสียทีผ่ า่ นการบำ�บัดแล้วไปใช้ประโยชน์ หรืออยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบส่งนํา้ เสียที่ผ่านการบำ�บัดแล้วไปใช้ประโยชน์ และคณะกรรมการนิติบุคคลไม่อนุมัติ

ประหยัดนํ้า ได้ทั้งหมด

นํ้ำ�เสียจาก

49

นิติบุคคล

รดนํ้าต้นไม้

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)

ล้างถนน

ฉีดบ่อบำ�บัด

110,852.39 ลูกบาศก์เมตร


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

81

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

5. การประหยัดพลังงานไฟฟ้า

บริษัทตระหนักถึงความสำ�คัญในเรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นในการบริหาร ชุมชนจึงมีการจัดทำ�มาตรการประหยัดไฟฟ้าภายในโครงการ โดยการเชิญชวนให้นิติบุคคลร่วมกัน ปิดไฟบริเวณส่วนกลาง (ลานจอดรถและลิฟต์) วันละ 1 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งมีนิติบุคคลเข้าร่วมทั้งหมด 81 นิติบุคคล สามารถประหยัดไฟได้ 11,374.70 กิโลวัตต์ นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมโครงการ ESCO FUND โดยความร่วมมือกับ LeKise, Phillips และ Slyvania เพื่อเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดคอมแพกต์เป็น LED บริเวณพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งจะสามารถลด การใช้พลังงานไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 60 และมีระยะเวลาคุ้มทุนประมาณ 2-5 ปี ทั้งนี้มีโครงการที่ ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการนิติบุคคลแล้วทั้งหมด 57 โครงการ แบ่งเป็นโครงการที่ลงทุน เองจำ�นวน 4 โครงการ โครงการที่ลงทุนเองและผ่อนจ่ายจำ�นวน 3 โครงการ และผ่อนจ่ายจำ�นวน 50 โครงการ ซึ่งได้ดำ�เนินการเปลี่ยนหลอดไฟแล้วทั้งสิ้น 58,179 หลอด สามารถประหยัดไฟฟ้าได้ เฉลี่ย 174,537 หน่วย/เดือน หรือเท่ากับ 523,611 บาท

ช่วยประหยัด ไฟฟ้าได้เฉลี่ย

174,537 หน่วย/เดือน

ก่อนเปลี่ยนหลอดไฟ

หลังเปลี่ยนหลอดไฟ

การออกแบบพืน้ ที่ ส่วนกลาง ให้สามารถ รับแสงแดดธรรมชาติ ได้อย่างดี เพือ่ ประหยัด การใช้ไฟฟ้า


82

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

OUT PROCESS

กิจกรรมเพื่อความยั่งยืน แนวทางการดำ�เนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและ สังคมนอกกระบวนการของบริษัท มุ่งเน้นส่งเสริมจิตสำ�นึกความ รับผิดชอบที่เริ่มต้นจากตนเอง ซึ่งหมายถึง ภายในองค์กรและ ภายในชุมชนที่บริษัทพัฒนา แล้วจึงขยายสู่สังคมภายนอก โดย ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เช่น บุคลากร ลูกค้า ปิยมิตร ดังคำ�ที่ว่า “สิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี ต้องเริ่มต้นจากตัวเราก่อน เมื่อเราพร้อมจึงขยายออกไปสู่ชุมชน ที่เราพัฒนาและบริหาร และสุดท้ายจึงขยายไปสู่ชุมชนรอบข้าง” (Corporate ESR to Community ESR) แนวคิดดังกล่าวจึงเป็น ที่มาของนโยบายการบริหารจัดการชุมชนที่บริษัทมุ่งพัฒนาให้ ทุกโครงการเป็น “ชุมชนน่าอยู”่ เพือ่ เป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายอื่น และส่งผลไปสู่แนวคิดในการทำ� กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และสังคมนอกกระบวนการ แบ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสิง่ แวดล้อมและ สังคมของบริษทั และกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของชมรม ลุมพินีอาสา

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

ดัชนีชี้วัดการดำ�เนินงาน กิจกรรม ต่อเนื่อง

83

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

สังคม

5

≥5

8

สิ่งแวดล้อม

4

≥4

4

≥1

1

จำ�นวนกิจกรรมร่วมกันทุกชมรมจิตอาสา

กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของบริษัท กิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมการร่วมใจ (Togetherness) LPN น้อมเกล้าฯ ถวายรถรับบริจาคโลหิต

เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ และครบรอบ 23 ปี การก่อตัง้ บริษทั บริษัทได้สนับสนุนการจัดสร้างรถรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ขนาด 8 เตียง พร้อมอุปกรณ์ จำ�นวน 1 คัน เพื่อใช้ในกิจการรับบริจาคโลหิต เคลื่อนที่ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นผู้ดำ�เนินการจัดหาโลหิตให้มีปริมาณเพียงพอ และมีคุณภาพปลอดภัย เพือ่ จ่ายให้กบั ผูป้ ว่ ยทัว่ ประเทศตามโรงพยาบาลต่างๆ ทีม่ เี ป้าหมายในการจัดหาโลหิตวันละ 1,600 ยูนติ โดยปริมาณโลหิตร้อยละ 70 มาจาก การจัดรับบริจาคจากหน่วยเคลื่อนที่

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกา ผู้อ�ำ นวยการสภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ คณะผูบ้ ริหารบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) เข้าเฝ้าฯ และน้อมเกล้าฯ ถวายรถรับบริจาคโลหิตเคลือ่ นที่ ณ อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)


84

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

โครงการ “แล้งนี้ไม่แล้งน้�ำ ใจ ด้วยการให้โลหิตฯ”

ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ต้องประสบภาวะ ปริมาณโลหิตสำ�รองในคลังลดลงกว่าเดิม 25% แต่มคี วามต้องการใช้โลหิตเป็นจำ�นวนมาก บริษัทได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของสถานการณ์ ดังกล่าว จึงเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ “แล้งนี้ไม่แล้งน้ำ�ใจ ด้วยการให้โลหิต สงกรานต์ทั่วไทย ขับขี่ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอล์ ลดอุบัติเหตุ” ของศูนย์บริการโลหิตฯ เพื่อรณรงค์ ให้ประชาชนทั่วไปร่วมกันแสดงพลังน้ำ�ใจ ด้วยการบริจาคโลหิตช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ รวมถึง การรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งบริษัทได้ร่วมสนับสนุนโครงการดังกล่าว ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยวันที่ 8 เมษายน 2557 คุณสมพงษ์ ขวัญอำ�ไพพันธุ์ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การ ได้เป็นตัวแทนส่งมอบเสือ้ ยืด ให้กบั แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกลุ สด ผูอ้ �ำ นวยการศูนย์ บริการโลหิตฯ เพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้ที่มาบริจาคโลหิต ระหว่างวันที่ 8-16 เมษายน 2557 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

คุณสมพงษ์ ขวัญอำ�ไพพันธุ์ มอบเสื้อยืด ให้กับแพทย์หญิง สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำ�นวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

กิจกรรมวันผู้บริจาคโลหิตโลก 2557

กิจกรรมวันผู้บริจาคโลหิตโลก เป็นกิจกรรมที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ร่วมกับคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้ โลหิตแห่งสภากาชาดไทย จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการขอบคุณผู้บริจาคโลหิต ในปีนี้กิจกรรมดังกล่าวมีสโลแกนว่า “Safe Blood for Saving Mothers” (บริจาคโลหิต พลิกวิกฤติ ช่วยชีวิตแม่และลูก) โดยบริษัทสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 คุณสมพงษ์ ขวัญอำ�ไพพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ร่วมงานแถลงข่าว และส่งมอบเสื้อยืด ให้กับ แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำ�นวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เพื่อมอบให้แก่ผู้บริจาคโลหิตในวันผู้บริจาค โลหิตโลก วันที่ 14 มิถุนายน 2557

กิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมการดูแลห่วงใย (Care) กิจกรรมดูแลและสร้างความสัมพันธ์ชุมชนข้างเคียง

นอกจากการสร้างความสัมพันธ์ทด่ี กี บั ชุมชนข้างเคียงโครงการก่อสร้างแล้ว บริษทั ให้ความสำ�คัญกับการสร้างเครือข่ายและสร้างความสัมพันธ์ ทีด่ กี บั หน่วยงานราชการ และองค์กรที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ด้วยเช่นกัน โดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำ�เนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อ สังคมและการสนับสนุนกิจกรรมของหน่วยงานท้องถิ่น เช่น การปรับปรุงพื้นที่การเรียนรู้ในสำ�นักงานเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดมุมสำ�หรับการอ่านหนังสือ ซึ่งมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมการเรียนรูส้ ชู่ มุ ชน และรองรับประชาชนทัว่ ไปทีเ่ ข้ามาติดต่องานภายใน สำ�นักงานเขต ในปี 2557 บริษทั ปรับปรุงพืน้ ทีก่ ารเรียนรูใ้ นสำ�นักงานเขตจำ�นวน 4 แห่ง คือ สำ�นักงานเขตราชเทวี สำ�นักงานเขตคลองเตย สำ�นักงานเขตจตุจักร และสำ�นักงานเขตตลิ่งชัน และมีแผนที่จะจัดทำ�พื้นที่แห่งการเรียนรู้เพิ่มอีก 2 แห่ง คือ สำ�นักงานเขตบึงกุ่ม และ สำ�นักงานเขตสวนหลวง ซึง่ อยูร่ ะหว่างการพิจารณารูปแบบทีเ่ หมาะสม

พิธีส่งมอบและ เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ภายในสำ�นักงาน เขตจตุจักร

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

85

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

กิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมการแบ่งปัน (Share) กิจกรรมบริจาคโลหิต

กิจกรรมบริจาคโลหิตเป็นกิจกรรมหลักด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ทีบ่ ริษัทร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ดำ�เนินงาน มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยมีหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่หน่วยแรกที่อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ ต่อมาบริษัทเห็นว่า โครงการต่างๆ ที่บริษัทพัฒนาขึ้น สามารถเป็นศูนย์กลางการรับบริจาคโลหิตจากผู้พักอาศัยในโครงการ และจากประชาชนทั่วไป จึงขยายไปสู่โครงการต่างๆ โดยบริษัทจะเก็บข้อมูลปริมาณโลหิตและข้อมูลของผู้บริจาคโลหิตทุกครั้งที่มีการรับ บริจาคโลหิต เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป ด้วยความมุ่งหวังให้เกิดฐานข้อมูลเครือข่ายผู้บริจาค โลหิตในกรณีฉุกเฉิน หากมีความต้องการโลหิตเร่งด่วน บริษัทจะส่งข้อความแจ้งผู้มีจิตอาสาทราบและไปบริจาคโลหิตได้ทันที ปัจจุบันมีหน่วยรับบริจาคโลหิตใน 6 แห่ง ได้แก่ อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ กลุ่มโครงการลุมพินี สุขุมวิท 77 กลุ่มโครงการ พี.เอส.ที. กลุ่ม โครงการรามอินทรา-หลักสี่ กลุ่มโครงการรามอินทรา-นวมินทร์ และโครงการลุมพินี คอนโดทาวน์ บดินทรเดชา-รามคำ�แหง โดยจะรับ บริจาคโลหิตในโครงการทุก 3 เดือน ซึ่งในปี 2557 ได้จัดกิจกรรมทั้งหมด 24 ครั้ง ได้รับโลหิตทั้งสิ้น 2,667 ยูนิต คิดเป็นปริมาณโลหิต 933,450 ซี.ซี. สามารถนำ�ไปช่วยเหลือผู้ป่วยได้ประมาณ 10,668 คน (คำ�นวณจากปริมาณโลหิต 350 - 450 ซี.ซี. ต่อ 1 ยูนิต นำ�ไปช่วย ชีวิตผู้ป่วยได้ 4 คน) ตามตาราง

ตาราง : ปริมาณโลหิตที่ได้รับบริจาคในปี 2557 หน่วยงาน รับบริจาค

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

236 1. ลุมพินี ทาวเวอร์ 111 2. ลุมพินี สุขุมวิท 77 3. พี.เอส.ที. 80 4. ลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ 5. ลุมพินี คอนโดทาวน์ บดินทรเดชา-รามคำ�แหง 74 6. ลุมพินี รามอินทรา-นวมินทร์ รวม

77

217 76 98

94

87

218 83 82

86 104

88

250 87 86

95 97

74 89

78

347 154 171 293 202 173 301 179 183 337 164 163

บรรยากาศการ รับบริจาคโลหิต ที่ลุมพินี ทาวเวอร์

ยอดเงินบริจาคเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมจาก LPN รวมทั้งสิ้น 8,782,632.50 บาท

ปริมาณ โลหิตรวม (ยูนิต)

921 357 326 346 364 353 2,667


86

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของชมรมลุมพินีอาสา จากแนวคิดการส่งต่อจิตสำ�นึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมสู่ชุมชนลุมพินี ก่อให้เกิดกลุ่มผู้พักอาศัยในชุมชนลุมพินที ม่ี จี ติ อาสา ต้องการร่วมทำ�กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ในหลากหลายรูปแบบ และจัดเป็นตั้งชมรมจิตอาสาขึ้น เพื่อทำ�กิจกรรมและสานต่อแนวคิด ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ปัจจุบันมีชมรมลุมพินีอาสาที่ก่อตั้งโดยสมาชิกครอบครัวลุมพินีทั้งสิ้น 5 ชมรม ได้แก่ ชมรม ชุมชนน่าอยู่ ลุมพินสี มั พันธ์ ชมรมฅนอาสา ชมรมรวมพลคนใจดี ลุมพินอี าสา ชมรมลุมพินี เดิน-วิง่ เพือ่ สุขภาพ และชมรมปันน้�ำ ใจ ลุมพินี รามอินทรา-นวมินทร์ มีรายละเอียดการจัดกิจกรรม ดังนี้ ลำ�ดับ

ชมรม

1 2

วันที่ 11 มี.ค. 2557

ชุมชนน่าอยู่ ลุมพินีสัมพันธ์

3

6 ก.ค. 2557 12 ต.ค. 2557

ชื่อกิจกรรม

จำ�นวนผู้เข้าร่วม

บริจาคเงินและสิ่งของให้แก่บ้านเด็กชายบางละมุง และคนพิการการุณยเวศน์ ณ จ.ชลบุรี ปลูกป่ากลางอากาศ สร้างฝาย ทำ�โป่งเทียม ณ อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี กิจกรรมแบ่งฝัน ปันสุข สู่คนพิการและทุพพลภาพ ณ บ้านบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

171 คน 191 คน 169 คน

4 5

ลุมพินี ฅนอาสา

11 ต.ค. 2557 13 ธ.ค. 2557

ปลูกป่า ปล่อยปู ดูปลา จังหวัดจันทบุรี ฅนอาสา ลงนาเกี่ยวข้าว อ.ด้านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี

98 คน 70 คน

6 7

รวมพลคนใจดี ลุมพินีอาสา

22 มี.ค. 2557 4 ต.ค. 2557

ปันน้ำ�ใจให้เด็กเพชร ณ โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ จ.เพชรบุรี คนใจดี รวมพลรักษ์ธรรมชาติ จ.ชลบุรี

62 คน 87 คน

11 มี.ค. 2557 12 ส.ค. 2557

สยามมิตร มินิมาราธอน การกุศล 2014 12 สิงหา ฮาล์ฟ มาราธอน กรุงเทพ 2014 (Run For Mom) สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ กรุงเทพมาราธอน 2014

113 คน 440 คน

8 9

ลุมพินี เดินวิ่ง เพื่อสุขภาพ

10

16 พ.ย. 2557

11 12

ปันน้�ำ ใจ รามอินทรา 20 ก.ย. 2557 นวมินทร์ 30 พ.ย. 2557

สร้างฝายและทำ�โป่งเทียม สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ปันน้ำ�ใจสู่คนไร้ที่พึ่งทับกวาง จ.สระบุรี

45 คน 45 คน

13

กิจกรรมทีท่ �ำ ร่วมกัน 23 พ.ย. 2557 5 ชมรมอาสา

5 ชมรมลุมพินี อาสา ร่วมใจ ปลูกต้นกล้า พัฒนาวัดจันทรสุข จังหวัดปทุมธานี

142 คน

รวมปี 2557

102 คน

1,735 คน

ยอดเงินบริจาคเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จากชมรมลุมพินีอาสารวมทั้งสิ้น 786,343.50 บาท

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

บรรยากาศกิจกรรมต่างๆ ที่ชุมชนลุมพินี ร่วมทำ�กิจกรรม จิตอาสาและสาธารณประโยชน์ ในหลากหลายรูปแบบ ด้วยความอบอุ่นและรอยยิ้ม

87


88

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

AS PROCESS

สถาบันแอล.พี.เอ็น. (LPN Academy) วิสัยทัศน์ของสถาบันแอล.พี.เอ็น. “We Create Passionate Professionals by LPN Values Towards Sustainable Development” เราสร้างและพัฒนาบุคลากรคุณภาพที่พร้อมปฏิบัติงาน อย่างมืออาชีพ เพือ่ สร้างสรรค์และส่งมอบคุณค่าของ LPN แบบบูรณาการให้แก่ลูกค้าและสังคมอย่างยั่งยืน • บุคลากรคุณภาพ มี Service Minded, Integrity และ Collaboration • มืออาชีพ มี Cost with Quality, Lateral Thinking, Alliance และ Speed with Quality • Passion มีใจรักในสิ่งที่ทำ� ท่ามกลางสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และการแข่งขันที่มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น องค์กรที่จะประสบความ สำ�เร็จได้นั้น จะต้องได้รับแรงสนับสนุนจากพนักงานทุกคนที่มี ส่วนสำ�คัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาและเติบโต ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน บริษัทจึงให้ความสำ�คัญกับการบริหาร จัดการและพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการปลูกฝังคุณค่าองค์กร ตลอดจนสืบสานวัฒนธรรมองค์กรอย่างต่อเนือ่ ง เพราะบุคลากร คือทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

89

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

ค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำ�ให้องค์กรส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในเรื่องการสรรหาอัตรากำ�ลังและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ตอบรับ กับเป้าหมายขององค์กร บริษัทจึงแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการเพิ่มความเข้มข้นในการบริหารจัดการความเสี่ยง ด้วยการจัดตั้ง “สถาบัน แอล.พี.เอ็น.” ขึ้น เมื่อต้นปี 2556 เป็นหน่วยงานในการพัฒนาและฝึกอบรมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพให้แก่บุคลากรของบริษัท และบริษัทย่อยทั้งหมด เพื่อส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และ “องค์กรน่าอยู่” (Vibrant Organization) เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นองค์กรคุณค่า (Value Organization) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การสร้างโอกาสให้พนักงานได้รับการพัฒนา ฝึกอบรม และบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง บริษทั กำ�หนดเป็นนโยบายประจำ�ปี 2557 ให้พนักงานทุกคนได้รบั โอกาสการพัฒนาตนเอง โดยกำ�หนดเป้าหมายให้มพี นักงานทีเ่ ข้าฝึกอบรม ได้ครบ 56 ชั่วโมงต่อปีเป็นจำ�นวนมากกว่าร้อยละ 80 ของทั้งองค์กร ซึ่งในปีนี้สถาบันฯ ทำ�ได้คิดเป็นร้อยละ 81 โดยมีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมาย

- ผู้บริหารระดับสูง (L. 11 - 13) - ผู้บริหารระดับกลาง (L. 8 - 10) - หัวหน้างานระดับต้น (L. 5 - 7) - พนักงานระดับปฏิบัติการ (L. 2 - 4)

ผลในปี 2557 131.8 118.6 79.7 43.6

56 ชั่วโมง/คน/ปี 56 ชั่วโมง/คน/ปี 56 ชั่วโมง/คน/ปี 56 ชั่วโมง/คน/ปี

ชั่วโมง/คน/ปี ชั่วโมง/คน/ปี ชั่วโมง/คน/ปี ชั่วโมง/คน/ปี

จำ�นวนชัว่ โมงการอบรมต่อปีของพนักงานในแต่ละระดับ ระดับ L. 11 - 13 L. 8 - 10 L. 5 - 7 L. 2 - 4

จำ�นวนชั่วโมงการอบรมทั้งหมด ปี 2556 ปี 2557 646.0 2,936.0 16,933.0 23,240.8

จำ�นวนชั่วโมงการอบรมเฉลี่ย / คน / ปี ปี 2556 ปี 2557

1,581.3 6,283.8 25,192.7 33,449.9

80.8 71.6 57.4 41.8

% ที่เพิ่มขึ้น

131.8 118.6 79.7 43.6

63 66 39 4

จำ�นวนชัว่ โมงการอบรมต่อปีของพนักงานในแต่ละประเภท แยกตามเพศ ในปี 2557 พนักงานในแต่ละประเภท แยกตามเพศ จำ�นวนชั่วโมงการฝึกอบรม - ผู้บริหารระดับสูง (L. 11 - 13) - ผู้บริหารระดับกลาง (L. 8 - 10) - หัวหน้างานระดับต้น (L. 5 - 7) - พนักงานระดับปฏิบัติการ (L. 2 - 4)

เพศหญิง (638 คน) รวม เฉลี่ย 939.5 3,110.0 13,124.2 21,140.4

134.2 124.4 76.3 46.6

เพศชาย (471 คน) รวม เฉลี่ย 641.8 3,173.8 12,068.5 12,309.5

638 คน 471 คน

128.4 113.4 83.8 39.3

สถาบันฯ ใช้กระบวนการเรียนรูร้ ว่ มกันในทุกระดับ (Knowledge Sharing) เพือ่ ร่วมกันวิเคราะห์ แบ่งปันความรูแ้ ละประสบการณ์จากกรณีศกึ ษา ต่างๆ (Case Study) อย่างกว้างขวางตลอดปี เพื่อการปรับปรุงพัฒนาความรู้และกระบวนการบริหารงานและการบริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จะมีการกระจายโอกาสการเรียนรู้และพัฒนาพนักงานระดับปฏิบัติการ (General Staff) เพื่อให้โอกาสในการเรียนรู้กระจายได้ทั่วถึงตาม เป้าหมายขององค์กรให้มากและเข้มข้นยิ่งขึ้น


90

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

2. การกำ�หนดคุณสมบัติหรือสมรรถนะหลัก (Core Competency & Functional Competency) ของพนักงาน และหน่วยงาน รวมทั้งการกำ�หนดแผนการพัฒนา บริษัทได้มีการกำ�หนดสมรรถนะหลักขององค์กร (Core Competency) และทุกสายงาน (Functional Competency) เพื่อให้เป็น บรรทัดฐานและความคาดหวังที่องค์กรมีต่อพนักงานในการช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุสู่เป้าหมายและวิสัยทัศน์ สมรรถนะหลักเหล่านี้พัฒนาไปสู่คุณค่าหรือค่านิยม (Values) “C-L-A-S-S-I-C” และวัฒนธรรมขององค์กรตามวิถีแอล.พี.เอ็น. (LPN Way) โดยมีการวัดผล (Competency Assessment) ทุกปีและนำ�ผลไปวางแผนฝึกอบรมพัฒนาพนักงานทุกคนทุกระดับ ครอบคลุมทั้ง ทัศนคติ ทักษะและความรู้ (A.S.K.-Attitudes, Skill & Knowledge) โดยได้มีการวางแผนพัฒนาหลักสูตร ออกแบบเนื้อหาและกำ�หนด รูปแบบ ตลอดจนการกำ�หนดวิธกี ารฝึกอบรมให้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละกลุม่ เพือ่ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายด้านการพัฒนา บุคลากร ดังนี้ 2.1 แผนพัฒนาการบริหารจัดการ (Management Development) : มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ทักษะและสมรรถนะ (Competency) ในด้าน การบริหารจัดการและการเงิน การบริหารทีมงาน การบริหารจัดการบุคลากร และการบริหารความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง รวมทัง้ มุมมองทางธุรกิจ เป็นต้น ผลการดำ�เนินงาน : สถาบันฯ จัดหลักสูตรพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการตามระดับตำ�แหน่ง (Common Development Program) โดยเน้นหลักสูตรหลัก ดังนี้ ระดับ

เป้าหมาย

หลักสูตร

L.11-13 (ผู้บริหารระดับสูง)

เพื่อการพัฒนาผู้นำ� การสร้างผลลัพธ์ทาง ธุรกิจ

• Senior Management Development Program (SMDP) โดยเน้นหลักสูตรการฝึกอบรมภายนอก และการมอบหมายงาน โครงการพิเศษ • การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Management Training Course : RMTC)

L. 8-10 (ผู้บริหารระดับกลาง)

เพื่อการพัฒนา ผู้นำ�การสร้าง ผลการปฏิบัติงาน

• Management Development Program (MMDP) “การบริหาร จัดการงานและธุรกิจ” โดยเน้นหลักสูตรการฝึกอบรมภายนอก • การสอนงานจากผู้บังคับบัญชา (Coaching Effectiveness) • การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Management Training Course : RMTC)

L. 5-7 (ผู้บริหารระดับต้น)

เพื่อการพัฒนา การเป็นหัวหน้างาน ที่มีประสิทธิผล

• Junior Management Development Program (JMDP) “การบริหารผู้อื่นและทีมงาน” • หลักสูตรเทคนิคการสอนงานและการสื่อสารตามแนวทาง LPN Way • หลักสูตรการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ • การสอนงานจากผู้บังคับบัญชา (Coaching Effectiveness)

L. 2-4 (พนักงานระดับ ปฏิบัติการ)

เพื่อการพัฒนา การปฏิบัติงานที่มี ประสิทธิผล

• Staff Development Program (SDP) “การบริหารและพัฒนาตนเอง” • หลักสูตรเทคนิคการสื่อสารและประสานงานตามแนวทาง LPN Way • หลักสูตร Happiness @ Work • หลักสูตร Smile @ Heart, Smart @ Work • การสอนงานจากผู้บังคับบัญชา (Coaching Effectiveness)

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

91

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

รูปแบบการเรียนรู้และพัฒนา

Knowledge Sharing Workshop

ฝึกอบรม

Workshop

Game Based Learning

E-Exam

การติดตาม

Morning Talk Briefing

ศึกษาดูงาน

Book Briefing

2.2 แผนพัฒนาสายงานบริหารชุมชน (CM Centric) : มุ่งเน้นการพัฒนาทัศนคติ ความรู้ และทักษะที่ตอบสนอง กลยุทธ์ F-B-L-E-S+P โดยเน้นหลักสูตรหลักดังนี้ 1. Community Management Training Course (CMTC) 2. การบริหารชุมชนต้นแบบ 3. การบริหารทีมงาน 4. การบริหารการเงินและงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ 5. ความรู้ด้านกฎหมายอาคารชุด 6. การบริหารการประชุมและการบันทึกรายงานการประชุม 7. การบริการและมาตรฐานการทำ�งาน เพื่อสร้างความประทับใจ 8. Executive Sharing @ Vibrant Community Meeting 9. การจัด Knowledge Sharing จากผู้บริหารทุกระดับ


92

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

ผลการดำ�เนินงาน : ระดับผู้จัดการฝ่ายบริหารชุมชนและผู้จัดการบริหารชุมชนได้รับการพัฒนาในหลักสูตร 5 ทางเลือก สู่ผลลัพธ์เหนือขีดจำ�กัดและการ บริหารกลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” เป็นต้น รวมผู้เข้าอบรม 25 คน ระดับผู้จัดการชุมชน ได้เข้ารับการพัฒนาในหลักสูตรการบริหารชุมชนต้นแบบ หลักสูตร Finance for Non-Finance หลักสูตรการ อ่านงบประมาณการเงินนิติฯ และหลักสูตรกฎหมายอาคารชุดสำ�หรับผู้จัดการชุมชน เป็นต้น รวมผู้เข้าอบรม 86 คน ระดับเจ้าหน้าทีช่ มุ ชน ได้เข้ารับการพัฒนาในหลักสูตร Community Management Training Course (CMTC) ระยะเวลาอบรม 9 เดือน จำ�นวน 29 คน เพือ่ เตรียมความพร้อมสำ�หรับการเป็นผูจ้ ดั การชุมชนในอนาคต หลักสูตรการบันทึกรายงานการประชุม และหลักสูตร กฎหมายอาคารชุดเบื้องต้นเป็นต้น รวมผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ไปแล้ว 200 คน

2.3 แผนพัฒนาสายงานบริการชุมชน (Community Service) : มุ่งเน้นการพัฒนาพนักงานบริการชุมชน จำ�นวนกว่า 1,100 คน ให้ได้รบั การ ฝึกอบรมตาม 4 แผนกลยุทธ์ทป่ี ระกอบด้วยการอบรมวิชาชีพหลักเพือ่ มุง่ เน้นการสร้างทัศนคติ ทักษะและความรู้ในงานบริการความสะอาด และงานที่เกี่ยวข้องอย่างมืออาชีพ โดยมีเป้าหมายที่จะจัดสรรงานบริการความสะอาดในชุมชน “ลุมพินี” ทั้งหมด รวมทั้งมีการอบรม วิชาชีพเสริมและส่งเสริมการศึกษาต่อให้กับพนักงานและครอบครัว เพื่อเพิ่มคุณค่าและคุณภาพชีวิตให้แก่พนักงานและครอบครัว ทำ�ให้สามารถดำ�รงชีวิตในสังคมได้อย่างภาคภูมิ มีศักดิ์ศรี และมีความสุข ผลการดำ�เนินงาน : แผนกลยุทธ์ที่ 1 การยกระดับความรูพ้ น้ื ฐาน : สนับสนุนให้พนักงานบริการชุมชนได้มกี ารศึกษาอย่างต่อเนือ่ ง โดยสนับสนุนให้เข้าเรียน ต่อกับกศน.ในระดับ ป.6-ปวส. รวมทั้งสิ้น 111 คน แผนกลยุทธ์ท่ี 2 พัฒนาศักยภาพในงาน : เพิม่ พูนความรูแ้ ละทักษะในงานบริหารความสะอาดให้กบั พนักงาน เช่น หลักสูตรความรู้ใน งานบริหารความสะอาด รวมผู้เข้าอบรม 800 คน แผนกลยุทธ์ท่ี 3 เพิม่ พูนวัฒนธรรมการให้บริการ : ส่งเสริมและสร้างค่านิยมการให้บริการตามวัฒนธรรมการให้บริการ “S-E-R-V-I-C-E-S” และพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีในการให้บริการ รวมผู้เข้าอบรม 400 คน แผนกลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมประสบการณ์วิชาชีพ : ให้ความรู้ในการเพิ่มคุณค่าและคุณภาพชีวิตให้แก่พนักงานและครอบครัว เช่น การ เสริมสร้างความสุขในการทำ�งาน เป็นต้น รวมผู้เข้าอบรม 400 คน

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

2.4 แผนพัฒนาสายงานก่อสร้างและบริหารโครงการ (Project Management) : มุ่งเน้นการแบ่งปันความรู้และทักษะที่ตอบสนองกลยุทธ์ Q-C-S-E-S+P โดยจัดให้มี Knowledge Sharing, Executive Sharing และการจัดดูงาน (Site Visit) ทุกเดือน เพื่อให้พนักงานของ บริษทั และพนักงานของปิยมิตร (LPN Team) ร่วมแลกเปลีย่ นประสบการณ์ท�ำ งาน ทัง้ ด้านความสำ�เร็จ (Success Story) และบทเรียน จากความผิดพลาด (Lesson Learnt) ทีเ่ กิดขึน้ ในงาน เพือ่ ร่วมกันปรับปรุงวางแนวทางการทำ�งานทีเ่ ป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถ ต่อยอดความรู้อย่างเป็นระบบ ผลการดำ�เนินงาน : กิจกรรม LPN & LPN Team Sharing เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำ�งานร่วมกัน รวมผู้เข้าอบรม 90 คน กิจกรรม Executive Sharing เพือ่ ให้ผบู้ ริหารแบ่งปันความรูแ้ ละประสบการณ์ในการทำ�งาน ในประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับการบริหารโครงการ ก่อสร้าง เช่น การออกแบบโดยใช้วัสดุทดแทน การออกแบบอาคารเขียว เป็นต้น รวมผู้เข้าอบรม 85 คน การจัดอบรมความรูใ้ นงานให้แก่ทมี งานบริหารโครงการ และปิยมิตร (LPN Team) เพือ่ เพิม่ พูนความรูใ้ นการทำ�งาน เช่น หลักสูตร LPN Revit Basic Training หลักสูตรมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำ�หรับประเทศไทย พ.ศ.2556 (มาตรฐานฉบับใหม่) และหลักสูตร ก่อสร้างเสี่ยงภัยประกันภัยช่วยได้ (Contractor’s All Risks) เป็นต้น รวมผู้เข้าอบรม 190 คน

2.5 แผนพัฒนาสายงานบริหารงานขายและธุรกิจนายหน้า (Sales & Brokerage Management) : มุง่ เน้นการแบ่งปันความรูแ้ ละประสบการณ์ การทำ�งาน (Knowledge Sharing) และบทเรียนข้อผิดพลาด (Lesson Learnt) ที่เกิดในงาน รวมทั้งการทดสอบความรู้และทักษะในงาน ขายและธุรกิจนายหน้า ตลอดจนมีการจัดอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนายหน้า ผลการดำ�เนินงาน : สายงานบริหารงานขายและธุรกิจนายหน้า ได้รับการพัฒนาความรูท้ างด้านการบริหารจัดการและความรู้เฉพาะทางอย่างเข้มข้น เพือ่ ให้ บริการและบริหารงานการเช่า-ซื้อขาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมผู้เข้าอบรม 80 คน หลักสูตรการถือครองห้องชุดโดยชาวต่างชาติ หลักสูตรความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเช่า-ซื้อขาย หลักสูตรการคิดภาษีและอัตราผลตอบแทนจากการเช่า หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลักสูตร D I S C เพื่อการสื่อสาร หลักสูตรเทคนิคการสอนงาน

93


94

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

2.6 แผนพัฒนาวิทยากรคุณภาพภายในองค์กร (Train the trainer) : เพื่อมุ่งเน้นการออกแบบหลักสูตรที่ตอบสนองวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของ องค์กรและสอนด้วยวิทยากรภายในด้วยการเตรียมความรู้ ความสามารถให้กบั บุคลากรเพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถในการสอน โดยได้มีการ จัดอบรมพัฒนาวิทยากรคุณภาพภายในองค์กร (Train the trainer) จำ�นวน 3 รุ่น รวมทั้งหมด 40 คน นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการฝึกนำ�ความรู้ไปใช้จริง สถาบันฯ จึงสร้าง “เวที” ให้กับวิทยากรภายในได้ฝึกการสอนจริง โดย สถาบันฯ จะทำ�หน้าที่ให้คำ�แนะนำ� (Feedback) เช่น หลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่ หลักสูตรความรู้เบื้องต้นในงานบริหารชุมชน หลักสูตรการบริการแบบ S-E-R-V-I-C-E-S หลักสูตรระบบธุรการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น

ทั้งนี้ บริษัทได้มอบหมายให้วิทยากรภายในเหล่านี้เป็นผู้ต้อนรับและเป็นวิทยากรบรรยายประกอบการนำ�เยี่ยมชมองค์กรให้แก่ คณะผู้เข้าเยี่ยมชมจากภาคเอกชนและภาครัฐ เช่น การเคหะแห่งชาติและคณะดูงานจากประเทศมองโกเลียและภูฏาน นิสิตคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา สำ�นักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและสำ�นักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นต้น

3. การให้ทุนการศึกษา บริษัทให้ทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาโทแก่พนักงานทั่วไป 3 ทุน/ปี (ทุนละ 400,000 บาท) และทุนเรียนระดับวิชาชีพ (ปวช./ปวส.) แก่ กลุ่มแม่บ้าน 17 ทุน (ทุนละ 12,000 บาท) อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความรู้และ ความสามารถของพนักงานให้มีโอกาสเติบโตและก้าวหน้าไปพร้อมกับองค์กร

4. E-Learning บริษัทได้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนเป็นระบบ E-Learning ซึ่งเป็นระบบการศึกษาผ่านทางสือ่ อิเลคทรอนิกส์ท่ใี ช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และเครือข่ายของ Internet หรือ Intranet เป็นการเรียนลักษณะ “Self Study” ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเข้าไปศึกษาได้ด้วยตนเองใน เวลาใด หรือจากสถานที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันมีการพัฒนาสือ่ การอบรม (E-Learning) สามารถใช้งานได้แล้ว 10 หัวข้อ เช่น ประวัตอิ งค์กร (History of LPN) วิถแี อล.พี.เอ็น. (LPN Way) และการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน (Sustainable Development) เป็นต้น

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

95

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

5. สรุปภาพรวมการพัฒนาบุคลากรในปี 2557 (หน่วย : บาท)

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ฝึกอบรม ปี 2557

833,093.80 1,002,589.39

ปี 2557

8,318,243.80

รวม 18,873,185 บาท ภายใน

คาใชจาย ในการอบรมภายใน 10,001,134 บาท

73% 2556

79%

ภายนอก

อื่นๆ

คาใชจาย ในการอบรมภายนอก 3,030,398 บาท

คาใชจายอื่นๆ 5,841,653 บาท

คาใชจายอบรม เฉลี่ยตอคนทั้งองคกร 17,000 บาท / คน

34%

88%

78%

ความรูของผูเขาอบรม เปร�ยบเทียบกอนและหลัง การฝกอบรม เพ�่มข�้นรอยละ 34

ความเชื่อมั่นที่จะนำความรู จากการฝกอบรม ไปใชในการทำงาน คิดเปนรอยละ 88

ผลประเมินความพ�งพอใจ ของพนักงานทั้งองคกร ในหัวขอการมีโอกาสเร�ยนรู และพัฒนาความรู คิดเปนรอยละ 78

2557

สมรรถนะดานภาวะผูนำและ การบร�หารจัดการของพนักงาน ระดับจัดการ (L. 8 -13) เพ�่มข�้นจากรอยละ 73 ในป 2556 เปนรอยละ 79

ทั้งนี้ ในปี 2558 จะมีการบูรณาการ (Integrate) แผนพัฒนาบุคลากรของสถาบันฯ เชื่อมต่อกับกระบวนการสรรหา การพัฒนาและเติบโต การสร้างผู้สืบทอดตำ�แหน่ง การพัฒนาพนักงานศักยภาพสูง การแต่งตั้งโยกย้าย และการประเมินผลงาน รวมทั้งการคิดค่าตอบแทน ฯลฯ เพื่อให้ระบบการบริหารงานบุคคล (HRM) มีประสิทธิภาพสูงสุด เพือ่ มุง่ ไปสูก่ ารสร้าง “องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)” และ “องค์กรน่าอยู่ (Vibrant Organization)” และมุง่ ไปสูก่ ารเป็น “องค์กรแห่งคุณค่า (Value Organization)” อย่างยัง่ ยืน อันเป็นเป้าหมายสูงสุด ขององค์กร


96

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

AS PROCESS

ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ปัจจุบันปัญหาการกดขี่ท างแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานสตรี ยังเป็นปัญหาที่ภาครัฐและเอกชนจำ�เป็นต้องร่วมกันรับผิดชอบใน การแก้ ไขปัญหา การกดขี่ท างแรงงานโดยเฉพาะแรงงานสตรี ด้อยโอกาส ซึ่งเกิดจากการขาดการศึกษา ไม่สามารถอ่านออก เขียนได้จึงเป็นช่องทางให้ผ้ปู ระกอบการบางรายเอารัดเอาเปรียบ ค่าจ้างแรงงาน หรือบางรายที่มีปัญหาทางครอบครัว ถูกสามี ทอดทิง้ และต้องรับผิดชอบดูแลบุตร จึงไม่มที างเลือก ต้องทำ�งานใน องค์กรทีเ่ อาเปรียบและกดขีแ่ รงงาน ทำ�ให้สภาพครอบครัวมีปญ ั หา ทัง้ การพนัน ยาเสพติด ซึง่ เป็นปัญหาทางสังคมมาโดยตลอด บริษัทประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัย ธุรกิจที่เกี่ยวข้องหลายด้าน โดยเฉพาะธุรกิจบริการ จึงได้จัดตั้ง หน่วยงานบริการรักษาความสะอาดให้กบั ชุมชนทีบ่ ริษทั บริหารขึน้ โดยมีแนวทางเพื่อเปิดโอกาสให้สตรีด้อยโอกาสในสังคมได้อบรม วิชาชีพโดยมุ่งเน้นวิชาชีพบริการทำ�ความสะอาด และจัดสรรงาน ทำ�ความสะอาดในชุมชน “ลุมพินี” ทั้งหมดให้กับพนักงาน รวมทั้ง การมุ่งเน้นทางด้านการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับสตรีด้อยโอกาส และครอบครัว สามารถดำ�รงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความสุข โดยปฏิบัติต่อพนักงานในสายงานนี้ เทียบเท่ากับ พนักงานของบริษัทในสายงานอื่นๆ และจ่ายค่าแรงสูงกว่าค่าแรง ขั้นตํ่า 10% มีสวัสดิการและโบนัส รวมทั้งการส่งเสริมให้มีโอกาส ได้รับการศึกษาทั้งของตัวเองและบุตรหลานด้วยงบประมาณของ บริษัทอีกด้วย ปัจจุบันมีพนักงานในสายงานมากกว่า 1,200 คน ซึ่งทางบริษัท ตั้งดัชนีชี้วัด (KPI) สำ�หรับสายงานนี้ ที่มุ่งสู่การบริหารความสุข ของพนักงาน ซึ่งประสบความสำ�เร็จอย่างสูง จากการสำ�รวจ ความพึงพอใจของงานบริการความสะอาดของชุมชน และการ ยกระดับคุณภาพชีวติ และความสุขของพนักงานเอง

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

97

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

ในปี 2554 บริษทั ได้ศกึ ษาแนวคิด “องค์กรธุรกิจเพือ่ สังคม (Social Enterprise)” เพือ่ ต่อยอดแนวทางการดำ�เนินงานของสายงานนี้ และได้รบั นโยบายจากคณะกรรมการบริษทั ให้ด�ำ เนินงานปรับสถานะของสายงานให้เป็นบริษทั จำ�กัด จึงได้จดั ตัง้ บริษทั ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ จำ�กัด ขึน้ เพือ่ แยกการบริหาร และพร้อมทีจ่ ะรองรับเป้าหมายสูก่ ารเป็นองค์กรธุรกิจเพือ่ สังคม (Social Enterprise) ซึง่ จะต่อยอด การอบรมและขยายงานด้านบริการเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างผลตอบแทนเชิงผลประกอบการและเชิงคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน และสามารถ นำ�ผลกำ�ไรคืนให้กับสังคมในรูปแบบที่ก�ำ หนดในอนาคต

การยกระดับคุณภาพชีวิตสตรีด้อยโอกาส ยกระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน

บริษัทเล็งเห็นถึงความสำ�คัญในเรื่องของการศึกษา ซึ่งถือเป็นสิ่งสำ�คัญสำ�หรับทุกคน เพราะถ้ามีการศึกษาสูงเท่าไรก็ย่อมจะมีโอกาสทาง สังคมสูงเท่านัน้ บริษทั จึงได้จดั การศึกษาให้กบั แม่บา้ น โดยแบ่งเป็น หลักสูตรการศึกษานอกระบบ (กศน.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึง่ ในปี 2557 มีแม่บา้ นเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ดังนี้ หลักสูตรการศึกษานอกระบบ (กศน.) มีการเรียนการสอนทุกวันอังคาร ณ ห้องจัสมิน ชัน้ 11 อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ โดยมีผเู้ ข้ารับการ ศึกษาจำ�นวน 25 คน รายละเอียดดังตาราง

รายละเอียดผู้เรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบ (กศน.) ระดับการศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย รวม

ระดับการศึกษานอกโรงเรียน กศน. จำ�นวนผู้เรียน (คน)

จบการศึกษาในปี 2557 1 1 0 2

4 16 5 25

บรรยากาศการเรียนการสอน ในหลักสูตรการศึกษานอกระบบ (กศน.)

ดัชนีชี้วัด % ความสุขของพนักงาน

ผลปี 2556

เป้าปี 2557

ผลปี 2557

≥ 90

94


98

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึง่ มีการเรียนการสอนทุกวันพุธ ณ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ มีผเู้ ข้ารับการศึกษาจำ�นวน 19 คน

รายละเอียดผู้เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับวิชาชีพ (หลักสูตร 2 ปี จบการศึกษา กุมภาพันธ์ 2558) ระดับการศึกษา จำ�นวนผู้เรียน (คน) จบการศึกษาในปี 2557 (คน) ปวช. ปวส. รวม

0 0 0

4 16 20

บรรยากาศการเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

การสร้างโอกาสการเติบโตในสายวิชาชีพ บริษัทได้ให้โอกาสพนักงานที่มีการทำ�งานที่ดี ได้มีโอกาสเติบโตในสายงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 มีพนักงานที่เติบโตในการทำ�งาน จำ�นวน 26 คน แบ่งเป็นพนักงานรปภ.สัมพันธ์ ซึง่ ทำ�หน้าทีต่ อ้ นรับลูกค้าอยูบ่ ริเวณห้องโถงโครงการ โอนย้ายไปเป็นเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ าร จำ�นวน 6 คน และแม่บา้ นโอนย้ายไปเป็นพนักงาน รปภ. สัมพันธ์จ�ำ นวน 17 คน และแม่บา้ นโอนย้ายไปเป็นเจ้าหน้าทีธ่ รุ การบริการชุมชน จำ�นวน 4 คน

การสร้างความสุขผ่านกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

บริษัทส่งเสริมให้แม่บ้านมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริเวณพื้นที่โครงการ เช่น การ ปลูกไม้แขวนตามระแนงหน้าห้องควบคุมระบบบำ�บัดน้�ำ เสีย และ การปลูกเตยหอมบริเวณหน้าห้องห้องพักขยะ ซึ่งนอกจาก จะเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังเป็นการช่วยลดปัญหา เรื่องกลิน่ ที่เกิดจากห้องพักขยะอีกด้วย ในปี 2557 มีโครงการ ทีด่ ำ�เนินการแล้วทั้งสิ้น 5 โครงการ คือ โครงการลุมพินี คอนโดทาวน์ บดินทรเดชา-รามคำ�แหง โครงการลุมพินี วิลล์ รามคำ�แหง 26 โครงการลุมพินี วิลล์ ศูนย์วัฒนธรรม โครงการ ลุมพินี วิลล์ รามอินทรา-หลักสี่ และโครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)

การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในโครงการของแม่บ้าน


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้แม่บ้านผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการจัดอบรมและสอนการทำ�น้ำ�หมัก ชีวภาพให้กับแม่บ้านเพื่อใช้ทำ�ความสะอาดแทนสารเคมี ผสม น้�ำ รดต้นไม้ และแบ่งปันให้กับผู้พักอาศัยที่สนใจนำ�ไปใช้ภายใน ห้องพัก ซึ่งปัจจุบันมีโครงการที่ผลิตน้ำ�หมักชีวภาพทั้งหมด 71 โครงการ คิดเป็นปริมาณน้ำ�หมักชีวภาพที่ผลิตได้เฉลี่ย 15,400 ลิตร/เดือน และมีโครงการที่นำ�น้ำ�หมักชีวภาพไปใช้ 88 โครงการ การทำ�นํ้าหมักชีวภาพใช้ภายในโครงการ กิจกรรมเพื่อสังคม

การช่วยเหลือสังคมเป็นสิ่งหนึ่งที่บริษัทสนับสนุนให้แม่บ้านปฏิบัติมาอย่างสม่�ำ เสมอและต่อเนื่อง โดยกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะการ ทำ�ความสะอาดพืน้ ทีส่ าธารณะใกล้เคียงโครงการ ทัง้ นี้ ในปี 2557 ได้ด�ำ เนินการแล้วทัง้ หมด 410 ครัง้ แบ่งเป็น ศาสนสถาน ได้แก่ การทำ�ความ สะอาดบริเวณ และการช่วยเหลืองานพิธีการต่างๆ ของวัด และพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ การทำ�ความสะอาดบริเวณป้ายรถโดยสาร สะพานลอย และบริเวณถนนใกล้เคียงโครงการ เป็นต้น

กิจกรรมช่วยเหลือสังคมในศาสนสถาน

กิจกรรมช่วยเหลือสังคมในพื้นที่สาธารณะ

99


100

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

การพัฒนานวัตกรรมบนพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนา บริษัทให้ความสำ�คัญกับการพัฒนานวัตกรรมของธุรกิจอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะนวัตกรรมของกระบวนการในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Process Innovation) ซึ่งส่งเสริมคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้กำ�หนดขอบเขตของนวัตกรรมของ บริษัทไว้ ดังนี้ 1. นวัตกรรมควรสนับสนุนวิสยั ทัศน์และกลยุทธ์ 2. นวัตกรรมต้องเป็นการเน้นคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ เมือ่ ปี 2538 บริษทั ได้จดั ตัง้ ฝ่ายวิจยั และพัฒนาขึน้ ซึง่ ประกอบด้วยบุคลากรทีม่ คี วามรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ในหลากหลายสาขาวิชาชีพ ทีข่ น้ึ ตรงต่อกรรมการผูจ้ ดั การ เป็นผูร้ บั ผิดชอบงานด้านการวิจยั และพัฒนาของบริษทั

การวิจัย การวิจยั ของบริษทั จะครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนการในการดำ�เนินงาน เริ่มตั้งแต่การวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำ�หรับ คณะผู้บริหาร โดยครอบคลุมตั้งแต่ข้อมูลในระดับมหภาค เช่น สภาวะโดยรวมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความต้องการของ ตลาด ข้อมูลสำ�หรับการพัฒนาโครงการในแต่ละโครงการ เช่น ทำ�เลที่เหมาะสมในการพัฒนา ระดับราคาที่เหมาะสม ตลอดจนข้อมูลความ ต้องการของลูกค้า เพื่อใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคมากที่สุด การวิจัยเพื่อค้นหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ อันเกิด จากความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม สังคม พฤติกรรมผู้บริโภค รองรับการขยายตัวของบริษัทในอนาคต รวมถึงการวิจัยเพื่อพัฒนา และปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำ�เนินการของบริษัท เพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้า คุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึง การพัฒนากระบวนการของบริษัท (Reprocess) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำ�เนินงาน ลดต้นทุนการก่อสร้าง และเพิ่มความรวดเร็วในการ ดำ�เนินการในด้านต่างๆ ตามกลยุทธ์หลักขององค์กร โดยในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกสายงานคิดค้นนวัตกรรม ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งครอบคลุม ตลอดทัง้ กระบวนการพัฒนาและออกแบบโครงการ การตลาดและการสือ่ สารแบรนด์ กระบวนการก่อสร้าง กระบวนการโอนกรรมสิทธิอ์ าคารชุด และกระบวนการบริหารชุมชน

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท มุ่งเน้นในการเพิ่มคุณค่า โดยต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และต้องคงไว้ซึ่งความได้เปรียบ ในการแข่งขัน อันนำ�ไปสู่ความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์ “ลุมพินี” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้มีพัฒนาการที่สำ�คัญในด้านการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ จนถือได้วา่ ห้องชุดของบริษทั เป็นต้นแบบของการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยภายในเมือง ทีม่ กี ารนำ�ไปพัฒนาต่อในหลายผูป้ ระกอบการ เนื่องจากตอบสนองความต้องการของผู้พักอาศัยได้อย่างครบถ้วน กระบวนการพัฒนาและออกแบบโครงการ กระบวนการพัฒนาและออกแบบโครงการที่ส�ำ คัญของบริษัทประกอบด้วย การพัฒนาห้องชุดในรูปแบบ “LPN Design” ที่ได้รบั การยอมรับ อย่างกว้างขวาง รวมถึงแนวคิดในการพัฒนาโครงการ “LPN Green Project” ภายใต้มาตรฐาน LEED และ Mixed Target Development ที่เป็นการพัฒนาโครงการที่ผสมผสานกลุ่มเป้าหมายวัยทำ�งานและวัยเกษียณเข้าไว้ด้วยกัน นวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลา่ สุด คือ การออกแบบห้องชุดขนาด 21 ตร.ม. เพื่ อ ตอบสนองการใช้ ชี วิ ต ในห้ อ งชุ ด ขนาดเล็กได้ครบถ้วน สมบูรณ์แบบ

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LPN Design

LPN Green Project

101

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

แนวคิด “LPN Design” เริ่มตั้งแต่ห้องชุดแบบสตูดิโอขนาด 30 ตร.ม. และห้องชุดแบบ 2 ห้องนอนขนาด 60 ตร.ม. ทีส่ ร้างมาตรฐานใหม่ของการอยูอ่ าศัยในอาคารชุด เนือ่ งจากสอดคล้องกับวิถชี วี ติ แบบไทยๆ และง่าย ต่อการบำ�รุงรักษา จวบจนปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาตามลำ�ดับ โดย ห้องชุดแบบ 1 ห้องนอนขนาด 26 ตร.ม. แม้มีขนาดที่เล็กแต่สามารถตอบสนองต่อวิถีชีวิตและความต้องการ ในขณะทีย่ งั คงรักษาระดับราคาขายให้ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี แม้ในภาวะที่ต้นทุนขยับตัว สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนห้องชุดแบบ 26 ตร.ม. ของบริษัทได้การรับยกย่องให้เป็น “Product of the Year” ประจำ�ปี 2552 จากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ล่าสุด คือ การออกแบบ ห้องชุดขนาด 21 ตร.ม. เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตในห้องชุดขนาดเล็กได้ครบถ้วน สมบูรณ์แบบ โดยเริ่มที่ โครงการที่จังหวัดชลบุรีเป็นแห่งแรก นอกเหนือจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว บริษัทยังได้ให้ความสำ�คัญกับ การลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมอันเนือ่ งมาจากการพัฒนาโครงการ จึงได้ก�ำ หนดแนวทางการออกแบบและวางผัง โครงการภายใต้แนวคิด “LPN Green Project” โดยได้มีการนำ�เสนอออกสู่สาธารณชน และได้รับการตอบรับ เป็นอย่างดีในด้านยอดขาย นอกจากนั้น ยังได้พัฒนาโครงการ “LPN Signature Green Project” ซึ่งเป็น โครงการต้นแบบโครงการสีเขียว ที่ให้ความสำ�คัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม แม้แนวคิด “LPN Green Project” จะเป็นแนวคิดที่บริษัทกำ�หนดขึ้น แต่ก็มีความสอดคล้อง กับมาตรฐานของ “อาคารเขียว” หรือ “Green Building” ของ LEED ได้เกือบสมบูรณ์ ซึ่งเน้นย้ำ�ถึงจิตสำ�นึก ของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (CESR) ของบริษัทได้อย่างชัดเจน แต่ทง้ั นี้ การพัฒนาโครงการ LPN Green Project ต้องพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในมิติอื่นควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะ ต้นทุนโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ของบริษัท

LPN ได้พัฒนา โครงการ ภายใต้แนวคิด “LPN Green Project” อย่าง ลุมพินี พาร์ค พระราม 3-ริเวอร์ ไซด์ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี


102

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

การตลาดและการสื่อสารแบรนด์ ในช่วงแรกของการดำ�เนินงานด้านการตลาด บริษัทไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน (Mass Media) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หากแต่เลือกใช้สื่อทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าเดิมในโครงการต่างๆ ของ บริษัท และกำ�หนดเป็นนโยบายหลักของบริษัทในการบริหารจัดการชุมชนที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยในโครงการเป็นสำ�คัญ ผลจากการบริหารจัดการชุมชนที่มีประสิทธิภาพ ทำ�ให้เกิดการบอกต่อ (Word of Mouth) จากลูกค้ากลุ่มเดิมไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นการตลาดที่ไม่มีค่าใช้จ่าย

LPN เลือกใช้สื่อ ทางการตลาด ที่เข้าถึง กลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง จากลูกค้าในโครงการต่างๆ โดยเน้นการบริหารจัดการ ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ ทำ�ให้เกิดการบอกต่อ

กระบวนการก่อสร้าง ในกระบวนการก่อสร้าง บริษัทได้คิดค้นระบบการก่อสร้าง Semi Prefabrication ที่เป็นการผสมผสานระหว่างระบบผนังสำ�เร็จรูปภายนอกตัว อาคารกับระบบก่ออิฐฉาบปูนผนังภายในอาคาร ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาในการก่อสร้างและปัญหาแตกร้าวของผนังหลังการส่งมอบ นอกจากนัน้ บริษทั ยังส่งเสริมให้ช่างรับเหมาทุกระดับคิดค้นระบบหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมทัง้ กระบวนการทีเ่ ป็นการเพิม่ คุณค่าของ งานก่อสร้าง โดยจัดประกวดนวัตกรรมของฝ่ายบริหารโครงการและปิยมิตร (LPN Team) เพื่อกระตุน้ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรม ซึง่ สามารถส่งผลให้เกิดนวัตกรรมของงานก่อสร้างทุกๆ ปี

ผนังสำ�เร็จรูป ที่ใช้สำ�หรับ ภายนอกตัวอาคาร ในระบบการก่อสร้าง Semi Prefabrication ซึ่งเป็นระบบที่ลดระยะเวลา ในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

103

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

การพัฒนาการบริการ ความเป็นตัวตนของบริษัท (Identity) นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคแล้ว การบริการถือ เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สร้างความแตกต่างให้เกิดแก่แบรนด์ “ลุมพินี” จนเป็นที่ยอมรับและบอกต่ออย่างกว้างขวาง พัฒนาการของ “การบริหารชุมชน” ของบริษัท ดำ�เนินการโดยบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำ�กัด ซึ่งก่อตั้งมาแล้วกว่า 20 ปี รับผิดชอบ บริหารชุมชนให้แก่โครงการภายใต้การพัฒนาของบริษัททั้งหมด กระบวนการขาย จากความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ “ลุมพินี” ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก บางโครงการลูกค้า จำ�เป็นต้องเข้าคิวเพื่อจองซื้อในวันเปิดขายก่อนหลายชัว่ โมง ซึง่ สร้างความลำ�บากอย่างสูงให้กบั ลูกค้า สายงานตลาดและขาย จึงได้คิดค้น ระบบการออก Tag และจับสลาก เพื่ออำ�นวยความสะดวกให้กับลูกค้า และเป็นการสร้างสรรค์คุณค่าของการบริการลูกค้าอย่างชัดเจน กระบวนการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทมุ่งเน้นที่อาคารชุดระดับกลางถึงกลาง-ล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการที่พักอาศัยสูง ทำ�ให้จำ�นวน ผลิตภัณฑ์ของบริษทั ทีต่ อบสนองต่อลูกค้าเพิม่ ขึน้ ทุกปี ประกอบกับการส่งมอบไม่ได้เป็นไปอย่างสม่�ำ เสมอทุกเดือน สายงานที่รับผิดชอบ การโอนจึงได้ปรับกระบวนการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสายงานภายในบริษทั กับผูเ้ กีย่ วข้องภายนอก ทัง้ ลูกค้า ธนาคาร และหน่วยงานราชการ ให้มีความสะดวก รวดเร็วอยู่เสมอ ทำ�ให้สามารถสร้างสถิติการโอนกรรมสิทธิ์ได้ถึง 550 ยูนิต ใน 1 วัน ทำ�การ ถือเป็นนวัตกรรมทางกระบวนการ และเป็นการเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจเป็นอย่างสูง กระบวนการบริหารชุมชน การรับผิดชอบต่อลูกค้าสำ�หรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ถือว่า การส่งมอบห้องชุดให้กับลูกค้าเป็นการหยุดความ รับผิดชอบของธุรกิจ ซึ่งนโยบายบริษัทเห็นว่า ความรับผิดชอบของธุรกิจ ผู้ประกอบการไม่เพียงแต่เข้าไปดูแลอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ตนเองได้พัฒนาขึ้น แต่ยังเข้าไปดูแลคุณภาพชีวิตและสังคมของลูกค้าที่พักอาศัยในโครงการ รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนที่สำ�คัญ มากที่สุดในการอยู่อาศัย จึงเป็นที่มาของกลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมทางบริการที่โดดเด่น และสร้างความไว้วางใจ ของลูกค้าที่มีต่อบริษัท ซึ่งได้มีการพัฒนาต่อยอดร่วมกับนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมตลอดมา ไม่ว่าจะเป็น “สวนรวมใจ” “ห้องสมุด มีชีวิต” นอกจากนั้น เพื่อให้การบริหารชุมชนเกิดความสุขที่แท้จริงแก่ผู้อยู่อาศัย บริษัทได้จัดเสวนาระหว่างผู้บริหาร ฝ่ายจัดการ และ ประธานกรรมการนิติบุคคลเป็นประจำ�ทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารนโยบายของบริษัท รับฟังและแลกเปลี่ยนแนวคิด รวมทั้งระดม ความคิดเห็นผ่านกิจกรรมแบ่งกลุม่ ซึง่ ถือว่าเป็นนวัตกรรมเชิงบริการทีส่ ง่ ผลให้บริษทั สามารถปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารชุมชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้อย่างแท้จริง

“สวนรวมใจ” และ “ห้องสมุดมีชีวิต” คือ ตัวอย่างของการพัฒนา ต่อยอดนวัตกรรม เพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” และ “ความสุขที่แท้จริง” แก่ผู้อยู่อาศัย


104

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

นวัตกรรมการพัฒนาระบบการออกแบบและก่อสร้างโครงการ ด้วยเทคโนโลยี Building Information Modeling (BIM) นับตัง้ แต่ปี 2549 เป็นต้นมา บริษทั ได้มพี ฒ ั นาการทางธุรกิจในทุกด้าน รวมไปถึงด้านจำ�นวนโครงการในแต่ละปีทม่ี ากขึน้ ความเสีย่ งลักษณะหนึง่ ทีบ่ ริษทั เผชิญ คือ ความเสีย่ งอันเกีย่ วข้องกับกระบวนการออกแบบและก่อสร้าง กล่าวคือ การออกแบบอาคารนัน้ โดยปกติจะเป็นการพัฒนาขึน้ มาบนสือ่ 2 มิติ เช่น กระดาษ หรือโปรแกรมเขียนแบบในคอมพิวเตอร์ ทีเ่ รียกว่า Computer Aided Drafting (CAD) ซึ่งการสื่อสารในลักษณะ ดังกล่าวมักจะมีข้อผิดพลาด เนื่องจากการแปลงข้อมูลที่เป็น 2 มิติในแบบไปสร้างเป็นรูปแบบ 3 มิติในอาคารจริง ต้องอาศัยประสบการณ์ ของผู้ก่อสร้างอย่างมาก แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงในประเด็นนี้ คือ การเผื่อค่าก่อสร้างในช่วงออกแบบ (Construction Cost Buffering in Design Phase) และการบริหารจัดการแก้ปญั หาหน้างานก่อสร้าง (On-Site Problem Solving) ทัง้ สองวิธเี ป็นการจัดการความเสีย่ ง เชิงรับ (Risk Absorption) แทนที่จะเป็นลักษณะของการป้องกัน (Risk Prevention) การหาเครื่องมือมาจัดการควบคุมความเสีย่ งในประเด็น ดังกล่าวจึงมีความจำ�เป็นอย่างยิง่

ความเป็นมาของ BIM ในปี 2556 บริษทั ได้เริม่ นำ�ระบบหุน่ จำ�ลองฐานข้อมูลโครงการ ทีเ่ รียกว่า Building Information Modeling (BIM) เข้ามาเชือ่ มโยงกับกระบวนการ ออกแบบและก่อสร้างของบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องของความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล (Incomplete Data) BIM เป็นเทคโนโลยีที่ เชื่อมต่อข้อมูลสองชนิดเข้าด้วยกัน คือ ข้อมูลตัวเลขและตัวอักษร เช่น พื้นที่อาคาร จำ�นวนวัสดุก่อสร้าง ราคาวัสดุก่อสร้าง กับข้อมูลที่ เป็นภาพ เช่น แบบก่อสร้าง ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านหนึ่ง จะส่งผลถึงข้อมูลอีกด้านหนึ่งด้วย ในอดีต การพัฒนาโครงการจะมีขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคาร การได้รับอนุมัติโดยผู้บริหาร หลังจากนั้นจะมีการนำ�แบบร่างไป “ถอดแบบ” (Quantity Take-Off) เพื่อหาปริมาณวัสดุก่อสร้างและราคาที่ถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยปกติกระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลา นานนับสัปดาห์ และในขณะที่ถอดแบบอยู่นั้น ก็อาจจะมีการแก้ไขแบบอีก ทำ�ให้อาจเกิดความผิดพลาดของข้อมูลด้านแบบก่อสร้างและ ราคา ซึ่งเทคโนโลยี BIM สามารถลดระยะเวลาในการประมวลผลด้านปริมาณวัสดุและราคาแบบก้าวกระโดด โดยหากมีการพัฒนาแบบ อาคารภายใต้เทคโนโลยี BIM สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูลทางด้านปริมาณวัสดุ และราคาจะสามารถถูกประมวลผลไปพร้อมกัน ลดเวลาจาก การประมาณราคาเป็นสัปดาห์ให้เหลือเพียงหลักชั่วโมง และข้อมูลที่ได้รับนั้น บริษัทสามารถนำ�มาปรับปรุงเพื่อใช้ในการพัฒนาต้นทุนอย่าง แม่นยำ� และได้ผลการออกแบบอาคารที่เหมาะสมที่สุด (Optimized Design Solution) ภายใต้เงื่อนไขทางด้านงบประมาณและคุณสมบัติ ของผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ BIM ยังเป็นเทคโนโลยีที่มีการประมวลผลข้อมูลอาคารเป็น 3 มิติ (3-Dimensional Building Information) จากเดิมในอดีตที่เป็น ภาพ 2 มิติ ดังนั้น จึงเท่ากับเป็นการสร้างอาคารเสมือนจริงขึ้นมาในคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างจริง หากมีความ ผิดพลาด หรือความไม่ชดั เจนในแบบก่อสร้าง (Element Clash) ระบบ BIM จะสามารถตรวจจับได้ และทำ�ให้ทางผูอ้ อกแบบสามารถแก้ปัญหา ได้ล่วงหน้าก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นจริงในสถานที่ก่อสร้างอันจะเกิดค่าใช้จ่ายมหาศาลในการแก้ไขปัญหา

การพัฒนาแบบอาคารภายใต้ เทคโนโลยี BIM สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูลทางด้านปริมาณวัสดุ และ ราคาจะสามารถถูกประมวลผล ไปพร้อมกัน ข้อมูลที่ได้รับนั้น บริษัทสามารถนำ�มาปรับปรุง เพื่อใช้ในการพัฒนาต้นทุน อย่างแม่นยำ� และได้ผลการ ออกแบบอาคารที่เหมาะสมที่สุด

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

105

แนวทางการพัฒนา BIM พัฒนาระบบการสือ่ สารระหว่างฝ่ายบริหารโครงการและ LPN Team บริษัทจะนำ�เทคโนโลยีชั้นสูงในการพัฒนาระบบการสื่อสารโครงการ (Advanced Construction Project Communication System) มาจัดระบบให้ฝ่ายต่างๆ สื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลอาคารผ่านโครงสร้างฐาน ข้อมูลภายใต้เทคโนโลยี BIM เป็นหลัก แทนการสือ่ สารตามความสะดวกของผูป้ ฏิบตั งิ าน เช่น ทางโทรศัพท์และเอกสาร ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การลดความซ้�ำ ซ้อนของเนื้อหา และป้องกันความผิดพลาดของการสื่อสาร นำ�ข้อมูลไปปรับใช้กบั การบริหารจัดการชุมชน ส่วนงานบริหารจัดการชุมชนของบริษทั เป็นส่วนงานทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกับงานก่อสร้างในด้าน “การบำ�รุงรักษาอาคาร” โดยจากทีเ่ คยใช้ขอ้ มูลทางด้านเอกสารเป็นหลัก จะถูกพัฒนาให้ใช้ขอ้ มูล BIM ทีจ่ ะช่วยพัฒนาการวางแผนการบำ�รุง รักษาอาคารให้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ พัฒนางานด้านการขายและการตลาด เทคโนโลยี BIM นี้จะช่วยในการเชื่อมต่อกับฝ่ายบริหารการตลาด เพื่อให้เห็นการพัฒนาแบบตั้งแต่ ต้นทางและการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดระหว่างทาง เพื่อให้ฝ่ายบริหารการตลาดสามารถวางแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ ได้อย่างรัดกุมมากขึ้น การนำ�ไปใช้ในการพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์ สายงานบริหารโครงการของบริษัทมีหน้าที่สำ�คัญประการหนึ่งคือรับผิดชอบด้านการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมายถึงห้องชุดและตัวอาคารนั่นเอง เทคโนโลยี BIM จะช่วยสนับสนุนด้านการเก็บสถิติต่างๆ เกี่ยวกับการออกแบบเพื่อ นำ�มาเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ในส่วนของผลิตภัณฑ์ ได้

กิจกรรมเสวนาประธานกรรมการนิติบุคคล กิจกรรมเสวนาประธานกรรมการ เป็นหนึ่งในช่องทางการสื่อสารระหว่างบริษัทกับตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่อาศัยในโครงการ เพื่อ รับฟังแนวคิด แบ่งปันประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการร่วมสร้างชุมชน “ลุมพินี” ให้เติบโตและแข็งแกร่งขึ้น ตามแนวคิด “ชุมชนน่าอยู่” ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี ที่ได้ดำ�เนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาและเสริมคุณค่าแบบบูรณาการของการพักอาศัย จากการระดมความคิดและการมีสว่ นร่วมจากประธานกรรมการนิตบิ คุ คลอาคารชุด ซึง่ ในปีทผ่ี า่ นมา มีประธานกรรมการเข้าร่วมกว่า 90 ท่าน จาก 90 โครงการที่บริษัทพัฒนา ภายใต้หัวข้อ “ชุมชนต้นแบบ สู่ ชุมชนน่าอยู่” เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาให้ชุมชนของตนเองเป็น ชุมชนต้นแบบและเป็นชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืนที่เพียบพร้อมไปด้วยสังคมที่มีความสุข มีจิตสำ�นึกของการร่วมใจ ห่วงใย และแบ่งปันกัน (Togetherness Care & Share) อันเป็นวัฒนธรรมการอยู่อาศัยแบบฉบับของชุมชนลุมพินี

“ชุมชนต้นแบบ” คือ ชุมชนที่มีมาตรฐานในการบริหารจัดการในรูปแบบของ “ชุมชนน่าอยู่” อย่างเป็นรูปธรรม มีบรรทัดฐาน ด้านประสิทธิภาพชุมชนในการบริหารจัดการ คือ F-B-L-E-S+P ได้แก่ การบริหารจัดการทรัพย์สว่ นกลาง (Facility Management) การบริหารจัดการงบประมาณด้านการเงิน (Budgeting Management) การบริหาร จัดการคุณภาพชีวิต (Life Quality Management) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management) การบริหารจัดการความปลอดภัย (Security Management) การบริหารจัดการผูท้ เ่ี กีย่ วข้อง (People Management) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

• เป็นมาตรฐาน คุณค่า และจิตวิญญาณของ “ชุมชนน่าอยู่” • พัฒนาคุณค่าเพิ่มแบบบูรณาการของ “ชุมชนน่าอยู่” ผ่าน “ชุมชนต้นแบบ” • บริหารจัดการทุก “ชุมชนลุมพินี” ให้มีมาตรฐาน “ชุมชนน่าอยู่ยั่งยืน” • เป็นแหล่งการเรียนรู้ การบริหารชุมชนสำ�หรับสถาบัน และองค์กรภาคธุรกิจ


106

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

นอกจากแนวคิดของการสร้าง “ชุมชนต้นแบบ” บริษัทยังให้ความสำ�คัญเรื่องของถ่ายทอดจิตสำ�นึกความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อมและสังคม (Corporate Environment and Social Responsibility : CESR) ทีบ่ ริษทั ได้ด�ำ เนินงานไปสูช่ มุ ชน โดยเฉพาะความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อมและ สังคมในกระบวนการ (CESR In Process) ตามแนวคิด Corporate ESR to Community ESR ทั้งการจัดการเพิ่มพื้นที่สีเขียว (Green) กับ กิจกรรมปลูก แปลง แบ่ง ปัน การจัดการขยะ (Clean) ผ่านกิจกรรมการคัดแยกขยะก่อนทิง้ พร้อมนำ�ขยะทีย่ งั สามารถใช้ได้มาเพิม่ มูลค่า และ การลดการใช้ทรัพยากร (Lean) ด้วยการนำ�น้�ำ จากห้องชุดเจ้าของร่วมที่บำ�บัดแล้วมารดน้ำ�ต้นไม้และใช้สำ�หรับชักโครกพื้นที่ส่วนกลาง และ การรณรงค์ปิดไฟพื้นที่ส่วนกลางกว่า 90 นิติฯ วันละ 1.5 ชัว่ โมง บริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดกิจกรรมเสวนาจะเป็นประโยชน์อันล้ำ�ค่าแก่การสร้างคุณค่าการบริการ เพื่อสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” ทุกชุมชน และส่งผลให้ครอบครัวลุมพินีมีความสุขที่แท้จริงของการอยู่อาศัย

บรรยากาศกิจกรรมเสวนา ประธานกรรมการนิติบุคคล ภายใต้หัวข้อ “ชุมชนต้นแบบ สู่ ชุมชนน่าอยู่”

ความยั่งยืนระดับการปฏิบัติการ (GREEN OPERATION)


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

107

กิจกรรมวันครอบครัวลุมพินี เพื่อส่งมอบความสุขและแสดงความขอบคุณต่อสมาชิกชาวลุมพินีทุกท่าน บริษัทจึงได้จัดกิจกรรม LPN Family Day เป็นครั้งแรกเมื่อ ปี 2547 ณ สวนลุมพินี ที่มาของชื่อแบรนด์ “ลุมพินี” จากกิจกรรมเล็กๆ ที่มีผู้เข้าร่วม 3,000 คน ในวันนั้น ได้ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ด้วย จำ�นวนสมาชิกทีเ่ พิม่ ขึน้ ในแต่ละปี เป็นรวมกว่า 10,000 คน ภายใต้กิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งเดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพ กีฬาประชาคมลุมพินี ธรรมะในสวน และดนตรีในสวน ซึ่งร่วมแสดงโดยนักดนตรีจากสมาชิกลุมพินี (LPN รวมใจแบนด์คลับ) และกิจกรรมบันเทิงต่างๆ อีก มากมาย ทั้งหนังกลางแปลง คอนเสิรต์ บูธกิจกรรมต่างๆ และไม่ลมื ทีจ่ ะแบ่งปันความสุขเหล่านัน้ ให้แก่เด็กผู้ด้อยโอกาสในมูลนิธติ า่ งๆ รวมถึง สิ่งแวดล้อมและสังคมภายนอกองค์กร และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็น Lumpini Family Day เพื่อให้เป็นกิจกรรมของสมาชิกลุมพินี และประชาชนทั่วไป ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเกิดขึ้นภายใต้วัฒนธรรมการอยู่อาศัย “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” ที่บริษัทตระหนักและให้ความสำ�คัญ ตลอดมา

ความสุข ส่งต่อถึงกันได้


108

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

ข้อมูลพนักงาน จำ�นวนพนักงานแยกตามประเภท ประเภท พนักงานประจำ� ระดับ 1-4 ระดับ 5-7 ระดับ 8-10 ระดับ 11-14 รวม พนักงานสัญญาจ้าง ระดับ 1-4 ระดับ 5-7 รวม พนักงานรายวัน รวม พนักงานแม่บ้าน รวม รวมทั้งหมด

เพศ

สัดส่วนพนักงานตามอายุ

สถานที่ท�ำ งาน

ตํ่ากว่า 30 30-50 ปี 50 ปีขึ้นไป กทม.

ศาสนา

ชาย

หญิง

รวม

ชลบุรี อุดรธานี เพชรบุรี พุทธ คริสต์ อิสลาม

276 141 28 8 453 44%

384 171 25 8 588 56%

660 312 53 16 1,041 100%

421 23 444 43%

235 272 45 8 560 54%

4 17 8 8 37 4%

619 298 51 16 984 95%

32 10 1 43 4%

9 4 1 14 1%

- 624 14 - 307 2 50 3 15 - 996 19 0% 96% 2%

22 3 1 26 2%

51 3 54 36%

95 1 96 64%

146 4 150 100%

111 111 74%

34 3 37 25%

1 1 2 1%

89 18 3 92 18 61% 12%

36 1 37 25%

3 140 3 4 3 144 3 2% 96% 2%

3 3 2%

27 29%

66 71%

93 100%

83 89%

10 11%

0%

72 21 77% 23%

0%

85 0% 91%

4 4%

4 4%

101 7% 635 23%

1,361 93% 2,111 77%

1,462 100% 2,746 100%

189 1,050 13% 72% 827 1,657 30% 60%

223 1,269 163 15% 87% 11% 262 2,417 245 10% 88% 9%

30 2% 81 3%

0% 3 0%

1,436 10 98% 1% 2,661 36 97% 1%

16 1% 49 2%

เพศของพนักงาน

ศาสนาของพนักงาน

หญิง

ศาสนาพุทธ

ชาย

77%

97%

23%

ศาสนาคริสต์

ประเภทของพนักงาน

หญิง

ชาย

1%

7%

56%

44%

พนักงานประจำ�

71%

29%

พนักงานรายวัน

64%

36%

พนักงานสัญญาจ้าง

93% พนักงานแม่บ้าน

ศาสนาอิสลาม

2%


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

109

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

อัตราการลาออก เพศ

ประเภท

ชาย

สัดส่วนพนักงานตามอายุ

หญิง

พนักงานประจำ� + พนักงานสัญญาจ้าง รวม 47 95 33% 67%

รวม

เพศของพนักงาน

ตํ่ากว่า 30 30-50 ปี 50 ปีขึ้นไป

142 100%

89 63%

53 37%

0%

หญิง

ชาย

67%

33%

อัตราการบาดเจ็บด้วยโรคจากการทำ�งาน วันขาดงาน และการขาดงาน

IR =

จำ�นวนการบาดเจ็บ จำ�นวนชั่วโมงที่ทำ�งานทั้งหมด x 200,000

=

22 2,584,000 x 200,000

= 1.70 (1.70 ครั้ง / การทำ�งาน 200,000 ชั่วโมง)

ODR =

แรงงานที่ป่วยด้วยโรคจากการทำ�งาน จำ�นวนชั่วโมงที่ทำ�งานทั้งหมด x 200,000

=

0 2,584,000 x 200,000

=0

LDR =

จำ�นวนวันขาดงานทั้งหมด จำ�นวนชั่วโมงที่ทำ�งานทั้งหมด x 200,000

=

128 2,584,000 x 200,000

= 9.91 (9.91 วัน / การทำ�งาน 200,000 ชั่วโมง)

วันขาดงานทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง = วันที่มาทำ�งานในช่วงเวลาเดียวกัน x 200,000

18,091.60 320,416 x 200,000

= 0.44 (0.44 วัน / การทำ�งาน 200,000 ชั่วโมง)

AR =

สถิตกิ ารเกิดอุบตั เิ หตุ เพศของพนักงาน

พื้นที่ทำ�งานที่เกิดอุบัติเหตุ

หญิง

ชาย

81.82%

18.18%

สำ�นักงานใหญ่

โครงการระหว่าง ก่อสร้าง

0 ครั้ง 22 ครั้ง

ประเภทของอุบัติเหตุ ลื่นล้ม หกล้ม ตกจากที่สูง

ถูกชน / ถูกกระแทก

สารเคมี

ถูกทับ

ถูกเฉี่ยวชนโดยพาหนะ

อื่นๆ

13 ครั้ง 2 ครั้ง

1 ครั้ง 2 ครั้ง

2 ครั้ง 2 ครั้ง

การจำ�แนกการบาดเจ็บตามประเภทช่วยให้เห็นได้ชัดเจนถึงต้นเหตุของการบาดเจ็บ โดยมากกว่าครึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการลื่นล้ม หกล้ม หรือตกจากที่สูง (ร้อยละ 59.09) ประเภทอื่น คือ เกิดจากการถูกสารเคมี ถูกทับ ถูกเฉี่ยวชนโดยพาหนะ และอื่นๆ (ร้อยละ 9.09) และเกิด จากการถูกชนหรือกระแทก (ร้อยละ 4.55) ทัง้ นี้ บริษทั ไม่เคยมีอบุ ตั เิ หตุในการทำ�งานทีร่ นุ แรงจนถึงขัน้ เสียชีวติ และมุง่ มัน่ ทีจ่ ะรักษาสถิตดิ งั กล่าว นี้ให้คงอยู่ตลอดไป


110

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

GRI INDEX GENERAL STANDARD DISCLOSURES GENERAL Page Number STANDARD (or Link) DISCLOSURES STRATEGY AND ANALYSIS

G4 - 1 G4 - 2

SD P.5 AR P.225 - 227

ORGANIZATIONAL PROFILE

G4 - 3 G4 - 4 G4 - 5 G4 - 6 G4 - 7 G4 - 8 G4 - 9 G4 - 10 G4 - 11 G4 - 12 G4 - 13 G4 - 14 G4 - 15 G4 - 16

SD P.5 AR P.229 - 235 SD P.5 SD P.4 AR P.71 - 73, SD P.5 AR P.229 - 235 AR P.12 - 13, 236 - 253, SD P.108-109 SD P.108 SD P.16 - 17 AR P.192 - 197 SD P.4 SD P.10 - 15 AR P.198 - 211

IDENTIFIED MATERIAL ASPECTS AND BOUNDARIES

G4 - 17 G4 - 18 G4 - 19 G4 - 20 G4 - 21 G4 - 22 G4 - 23

AR P.14 - 15 SD P.18 - 19 SD P.20 - 23 SD P.4, AR P.229 - 235 SD P.4

STAKEHOLDER ENGAGEMENT

G4 - 24 G4 - 25 G4 - 26 G4 - 27

SD P.18 - 19 SD P.18 - 19 SD P.24 - 25 SD P.24 - 27

REPORT PROFILE

G4 - 28 G4 - 29 G4 - 30 G4 - 31 G4 - 32 G4 - 33

2014 31 DEC 2014 2014 SD P.112 SD P.110 - 112 -

GOVERNANCE

G4 - 34

AR P.198 - 211

ETHICS AND INTEGRITY

G4 - 56

AR P.8 - 9, SD P.10 - 13

External Assurance


บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

111

LET’S CREATE HAPPINESS TOGETHER

SPECIFIC STANDARD DISCLOSURES GENERAL STANDARD DISCLOSURES

Page Number (or Link)

Identified Omission(s)

Reason(s) for Omission(s)

Reason(s) for Omission(s)

CATEGORY : ECONOMIC

MATERIAL ASPECT: ECONOMIC PERFORMANCE

G4 - DMA G4 - EC1

AR P.10 - 11 AR P.12 - 13

CATEGORY : ENVIRONMENTAL

MATERIAL ASPECT: MATERIALS

G4 - DMA G4 - EN1

SD P.67 - 68 SD P.71

MATERIAL ASPECT: WATER

G4 - DMA G4 - EN10

SD P.69, 80 SD P.80

MATERIAL ASPECT: EFFLUENTS AND WASTE

G4 - DMA G4 - EN23

SD P.69, 78 - 79 SD P.79

MATERIAL ASPECT: PRODUCTS AND SERVICES

G4 - DMA G4 - EN27

SD P.38 - 39 SD P.30 - 43

MATERIAL ASPECT: OVERALL

G4 - DMA G4 - EN31

SD P.82 - 85 SD P.85

MATERIAL ASPECT: ENVIRONMENTAL GRIEVANCE MECHANISMS

G4 - DMA G4 - EN34

SD P.40 SD P.63

CATEGORY : SOCIAL

SUB-CATEGORY: LABOR PRACTICES AND DECENT WORK MATERIAL ASPECT: EMPLOYMENT

G4 - DMA G4 - LA1 G4 - LA2 G4 - LA3

SD P.32 - 33, 48 - 52 SD P.107 - 108 SD P.49 - 50 SD P.50

MATERIAL ASPECT: OCCUPATIONAL HEALTH AND SAFETY

G4 - DMA G4 - LA6

SD P.33, 50 - 52 SD P.108 - 109

MATERIAL ASPECT: TRAINING AND EDUCATION

G4 - DMA G4 - LA9 G4 - LA10

SD P.33, 88 - 95 SD P.89 SD P.89

MATERIAL ASPECT: DIVERSITY AND EQUAL OPPORTUNITY

G4 - DMA G4 - LA12

SD P.48 SD P.107

MATERIAL ASPECT: EQUAL REMUNERATION FOR WOMEN AND MEN

G4 - DMA G4 - LA13

SD P.48 SD P.49

MATERIAL ASPECT: LABOR PRACTICES GRIEVANCE MECHANISMS

G4 - DMA

AR P.212 - 217

External Assurance


112

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำ�ปี 2557

SPECIFIC STANDARD DISCLOSURES GENERAL STANDARD DISCLOSURES

Page Number (or Link)

Identified Omission(s)

Reason(s) for Omission(s)

CATEGORY : SOCIAL SUB-CATEGORY: SOCIETY

MATERIAL ASPECT: LOCAL COMMUNITIES

G4 - DMA G4 - SO2

SD P.82 - 87 SD P.67 - 73

MATERIAL ASPECT: ANTI-CORRUPTION

G4 - DMA SD P.47 - 48 G4 - SO4 SD P.188 - 189

MATERIAL ASPECT: GRIEVANCE MECHANISMS FOR IMPACTS ON SOCIETY

G4 - DMA

AR P.190

SUB-CATEGORY: PRODUCT RESPONSIBILITY MATERIAL ASPECT: CUSTOMER HEALTH AND SAFETY

G4 - DMA G4 - PR1

SD P.75 SD P.38 - 39, 43

MATERIAL ASPECT: PRODUCT AND SERVICE LABELING

G4 - DMA G4 - PR5

SD P.34 - 35, 38 - 39 SD P.58 - 65

ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และบุคคลทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โดยติดต่อ แผนกนักลงทุนสัมพันธ์ : นายสุริยา สุริยาภิวัฒน์ Email Address : IR@lpn.co.th โทรศัพท์ : (02) 285-5011

Reason(s) for Omission(s)

External Assurance



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.