1
city life 6 อีกหนึ่งประสบการณ์ ที่น่าจดจำ�ในชุมชนน่าอยู่
< Once in a lifetime of vibrant community >
2
หนังสือ city life 6 < Once in a lifetime of vibrant community >
จัดทำ�โดย บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) 1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 สงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาและภาพประกอบ ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2537 ห้ามคัดลอก จัดพิมพ์ หรือทำ�ซํ้าก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
3
4
ร่วมเปิด ประสบการณ์ใหม่ ในสถานที่เก่า กับความรู้สึกที่ไม่เหมือนเดิม ด้วยหัวใจเดียวกัน
5
6
เชื่อหรือไม่? ว่าต่อให้มีทรัพย์สินมากล้นสักแค่ไหน สิ่งเดียวที่ไม่สามารถซื้อหาแลกมาได้ ก็คือ “ความสุข”
7
ความหมายโดยตรงจากพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
นิยามความสุขเอาไว้ หมายถึง ความสบายกายสบายใจ เพราะ สุขคือความรู้สึกหรืออารมณ์ประเภทหนึ่ง มีหลายระดับตั้งแต่ความสบายใจเล็กน้อย ความพอใจ ไปจนถึงความเพลิดเพลิน เต็มไปด้วยความสนุก
8
"ความสุข" ถือเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่น่าจดจำ� อาจเกิดขึ้นได้ในหลายสถานะ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สถานที่ สถานการณ์ เวลา ฯลฯ ที่ถึงแม้ขณะที่เรากำ�ลังเสพรับ ประสบการณ์แห่งความสุข ช่วงขณะนั้นเราอาจอยู่ในสถานะแวดล้อมเดิมๆ ก็เป็นได้
9
เช่น "สุขอร่อย" ในเมนูใหม่กับคนพิเศษคนเดิม "สุขสนุก" กับเกมใหม่ๆ ที่ห้องๆ เดิม "สุขหัวเราะ" กับเพื่อนใหม่กับมุขตลกเรื่องเดิม ทั้งหมดเหล่านี้ รวมๆ แล้วก็คืออีกหนึ่งความสุข ที่เป็นประสบการณ์ใหม่ กับความรู้สึกดีๆ ที่ไม่เหมือนเดิม
10
ลุมพินี… ที่แห่งนี้อาจเป็นอีกหนึ่งสถานที่เดิมๆ สำ�หรับคนมากมาย แต่ด้วยวันเวลาที่หมุนก้าวไปข้างหน้า ชุมชนน่าอยู่ แห่งนี้มักถูกแต่งเติมด้วยประสบการณ์ ความสุขใหม่ๆ มากมายเสมอ ไม่ว่าจะด้วยการเปลี่ยนแปลงในสารพัดรูปแบบ หรือผู้คนที่ผลัดเวียนกันผ่านมา แต่ทุกรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะก็มักนำ�พามาซึ่งความรู้สึกผูกพัน ที่เพิ่มขึ้น พร้อมมิตรภาพดีๆ ที่เป็นรากฐานสำ�คัญ ของชุมชนที่น่าอยู่แห่งนี้เสมอ
11
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เราเรียกรวมๆ ว่า "ประสบการณ์แห่งความสุข" เป็นความทรงจำ�ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม บางสิ่งอาจเกิดขึ้นได้ซํ้าๆ ท่ามกลางความรู้สึกที่ไม่เหมือนเดิม บางอย่างเราอาจพอใจบ้างหรือไม่พอใจบ้าง แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็สามารถสร้างความทรงจำ�ดีๆ ให้เกิดขึ้นภายในสังคมลุมพินีของเรา สร้างชุมชนน่าอยู่ให้มีอยู่จริง เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มแห่งความสุข และผู้คนที่คอยช่วยเหลือแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้แก่กัน
12
สิ่งที่เราเรียกกันว่า "บ้าน" คุณอภิชาติ จาติเกตุ ลุมพินี พาร์ค ปิ่นเกล้า
15
Story 01 : Location of love ที่อาศัยของความรัก โดย คุณกตัญญู สว่างศรี
35
โยคะจิตอาสา อาจารย์วารี ตัณฑุลากร ลุมพินี เพลส รัชโยธิน
47
Story 02 : Something to live for.. ...ที่อยู่ อยู่ที่...? โดย คุณทรงศีล ทิวสมบุญ
68
13
ยินดีที่ได้รู้จัก คุณพนอ ปริกสุวรรณ และคุณภาณุวัตร เขียวเล็ก ลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่
77
Story 03 : So, you want to be a madman อยากเป็นไหมคนบ้า โดย คุณพัธนะ สุวรรณโคตร์
95
เกี่ยวกับนักเขียน
105
14
15
สิ่งที่เราเรียกกันว่า "บ้าน" กตัญญู สว่างศรี
16
17
18
สิ่งที่เราเรียกกันว่า "บ้าน" กตัญญู สว่างศรี
ช่วงเช้าไม่ใช่เวลาที่ผมถนัดนัก อเมริกาโน่ร้อนๆ ถ้วย หนึ่งอาจช่วยให้ตื่นบ้างอยู่หรอก ทว่าบรรยากาศสดชื่นที่ผู้คน มากมายต่างซึมซับ กลับเป็นเวลาหลับนอนของผมอย่างแท้จริง กลางคืนเป็นเวลาทำ�งานของผมเฉกเช่นนักเขียนส่วนใหญ่ ผมได้เจอกับเขาในสายวันนั้น เขาจัดแจงที่นั่งให้เป็น ระเบียบเล็กน้อยพร้อมกระวีกระวาดจัดหาเครื่องดื่มให้ผมอย่างดี ครู่หนึ่ง ถ้วยกาแฟถูกวางตั้งลงตรงหน้าระหว่างผมกับเขาบน โต๊ะรับแขก ในห้องพักเล็กๆ บนชั้นสูงของคอนโดลุมพินี พาร์ค ปิ่นเกล้า ผมกับเขาเริ่มบทสนทนาเกี่ยวกับชีวิต ความเป็นอยู่ และนํ้าท่วม เกือบลืมบอกไป ผมเรียกเขาสั้นๆ ว่า “เจมส์” (อภิชาติ จาติเกตุ) จากการคาดคะเนด้วยสายตาของผม “เจมส์” ดูเป็น คนเรียบร้อยสะอาดสะอ้าน สุภาพและเก็บตัวแต่กย็ ม้ิ ง่าย มีมนุษย์ สัมพันธ์ที่ค่อนข้างดี อย่างไรก็ดีบุคลิกของเขานี้ผมกลับมองว่า ค่อนข้างขัดกับความเป็นจริงในการทำ�งานเป็นที่ปรึกษาด้าน กฎหมายเกี่ยวกับที่พักอาศัยอย่าง “คอนโด”
19
“ผมไม่ได้ปรึกษาให้ที่นี่นะครับ” เขาปฏิเสธทันทีที่ผม กวาดสายตาสงสัยไปยังหน้าที่การงานของเขา “แต่ดว้ ยความทีเ่ ราเองก็ได้ท�ำ งานด้านนี้ แล้วสมัยเราเรียน เราก็อยู่หอกับเพื่อน เราก็รู้สึกชินแล้วมันสะดวกในหลายๆ เรื่อง” สายตาผมจ้องมองเขา สลับกับกวาดล้อมไปรอบๆ ห้อง สังเกต สังกาพื้นที่อันน้อยนิดที่เขาว่ากันว่า “สะดวก”
20
“มีเหตุผลหลายอย่างที่ผมเลือกอยู่ที่นี่ครับ อย่างแรก เราเองก็ยังไม่มีงบประมาณมากพอ แล้วการเดินทางมันก็สะดวก เรือ่ งการทำ�ความสะอาดห้องหับ แล้วเรามีการดูแลจากส่วนกลาง ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยอย่างอื่น มีสระว่ายนํ้า ตอนแรกที่บ้านก็ค้านว่า ทำ�ไมไม่เลือกซื้อบ้าน ซื้อที่มีที่ดิน ผมเองก็ต้องการมีบ้านนะครับ แต่ด้วยที่ตรงนี้พร้อมกว่าเราจึงตัดสินใจอย่างนี้ก่อน วันข้างหน้า อาจจะขยับขยายยังไงก็ว่ากันไป ซึ่งตอนหลังที่บ้านเขาก็เข้าใจ “แต่ใช่วา่ อยูแ่ ล้วจะสะดวกไปหมดนะครับ ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ก็มี เช่น การจอดรถที่ชั้นหนึ่ง คือจริงๆ ปัญหาลักษณะนี้ ที่อื่นก็เจอล่ะครับ ไม่ใช่ว่าจะอยู่สบายเสียทุกอย่าง” อากาศวันนั้นค่อนข้างเย็นสบาย อาจเพราะความที่อยู่ ชั้นสูงบวกกับทิศทางลมที่เหมาะเจาะ ลมพัดเอากลิ่นไอนํ้าจางๆ เข้าแตะจมูก ความหวาดผวาต่อภัยพิบัติของผมยังคงไม่จางหาย ช่วงนํ้าท่วมหลายคนเลือกที่จะอพยพ แต่เจมส์เลือกที่ จะอยู่กับอุปสรรค
21
22
23
24
“ช่วงวันที่นํ้าเริ่มเข้ามาเราก็มีการช่วยเหลือกัน โดยเรา มีกรุ๊ปในเฟซบุค มีการติดต่อสื่อสารกัน แล้วก็มีการประชุม วางแผน โดยมีส่วนกลางคอยให้ความช่วยเหลือ วันที่นํ้าเข้ามา มากๆ เราต้องล้อมลอบบี้ไว้แล้วสูบนํ้าออก คืนนั้นก็ไม่ได้นอน เลยครับ ได้อยู่เฝ้านํ้ากันทั้งคืน ช่วงนั้นทำ�ให้ผมได้รู้จักคนอื่นๆ มากขึ้น บางคนก็เอาขนมเอาของกินมาให้ ตอนหลังก็มีสะพานมี บันไดที่ทางส่วนกลางเขามาช่วยจัดการให้ “เรื่องจิตอาสามันเป็นเรื่องที่ดีครับ คือถ้าเราช่วยกัน มันก็ดีกว่าทำ�คนเดียวอยู่แล้ว เราเองก็ลงไปช่วยเหมือนกัน ก็ได้ รู้จักเพื่อนใหม่ ได้มีความประทับใจที่เห็นคนลงมาช่วยกัน ก็มา กันเยอะนะครับ” เจมส์เล่าช้าๆ ด้วยนํา้ เสียงราบเรียบ เขาชีช้ วนให้ดภู าพ ต่างๆ ตอนที่เหตุการณ์เกิดขึ้น เขาเล่าอย่างละเอียดว่าวันไหน เริ่มต้นอย่างไรบ้าง ว่ากันตามตรงเจมส์ไม่ได้แสดงออกอาการ ร่าเริงหรือเสียใจอะไรมาก แต่ผมเองก็ไม่อาจตัดสินได้หรอกว่า เขารู้สึกอย่างไร จนเมื่อเขาค่อยๆ โชว์ภาพต่างๆ ผ่านหน้าจอ คอมพิวเตอร์ ความรู้สึกที่ผมรู้ได้ไม่กี่อย่างก็คือ เขาไม่ได้คิดที่จะ หนีไปจาก “บ้าน” ของเขา
25
เจมส์ดูตื่นเต้นไปกับการบันทึกเรื่องราวหน้าหนึ่งใน ประวัตศิ าสตร์ไทย กับเหตุการณ์อทุ กภัยครัง้ ยิง่ ใหญ่ซง่ึ เราทุกคน ต่างก็ได้รบั ผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทุกคนอาจไม่ทว่ มหมด แต่ผมเชื่อทุกคนต้องมีเพื่อน คนรู้จัก คนรัก หรือใครสักคนที่ เผชิญกับการเป็นผู้ประสบภัย “ทุกอย่างใช้ได้ปกติ ไฟ นํ้า ไม่มีปัญหา เข้าห้องนํ้าได้ ทุกอย่างปกติดคี รับ” เจมส์ตอบ หลังจากผมถามถึงชีวติ ความเป็นอยู่ ระหว่างที่นํ้าท่วมเข้ามาถึงภายในบริเวณชั้นล่างของคอนโด
26
เอาเข้าจริงผมก็พยายามยิงคำ�ถามเจมส์โดยเอื้อให้เขา สามารถตอบในสิง่ ทีอ่ าจคาดคัน้ อารมณ์ ดูเท่หรือมีความแหลมคม น่าสนใจในความคิด อย่างเช่นเมือ่ ถามว่า “ถ้าใครสักคนมาปรึกษา ว่าคอนโดน่าอยู่ยังไง” เขาก็จะตอบมาอย่างเรียบง่ายและธรรมดาทีส่ ดุ “เพราะ มันสะดวก ดูแลง่าย มีส่วนกลางและยังไงมันก็เป็นทรัพย์สิน”
27
หรือเมื่อถามว่า “ความสุขทุกวันนี้คืออะไร” เขาก็จะตอบอย่าง นิ่งๆ ว่า “ก็ได้ใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย ดูแลครอบครัว” ยอมรับ ว่าไปไม่เป็นและนึกไม่ออกว่าจะเอาคำ�คมสุดเฉียบที่ ไ หนมา กระตุ้นใจคนอ่านให้เข้าใจการพูดคุยระหว่างนักเขียนโนเนมคน หนึ่งกับคนธรรมดาอีกคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในคอนโด หลังการสัมภาษณ์แบบพิธีรีตอง เราเดินคุยกันแบบ สบายๆ ระหว่างถ่ายภาพ และผมก็ค้นพบโลกอีกด้านของชาย หนุ่มผู้สุขุมคนนี้ โลกของความฝันและจินตนาการมีอยู่ในตัว ทุกคนเสมอ ผมไม่รวู้ า่ เขาอยากให้คนอืน่ รูไ้ หมว่าเขาร่วมกิจกรรม อะไร และทำ�มันอย่างจริงจังแค่ไหน เจมส์หยิบแทบเล็ตมาอวด ภาพกิจกรรมที่เขากับเพื่อนๆ ทำ�กันอย่างภาคภูมิ และนั่นทำ�ให้ ผมตื่นเต้นกับสิ่งที่เขาทำ�และเข้าใจเขามากขึ้น ในตอนแรกผมเดาว่าเจมส์น่าจะอายุไม่ต่างกับผมมาก ซึ่งก็เดาไม่ผิดสักเท่าไหร่ เขาอายุมากกว่าผมสองปี ในทางโลก แน่นอนว่าเขาย่อมเก่งกาจกว่าทั้งการงานอาชีพที่สร้างรายได้ให้ แก่เขา (ส่วนในทางธรรมผมก็คิดว่าเขาน่าจะธรรมะธรรมโมกว่า ผมอยู่ดี!) หลายครั้งผมมักคิดว่าผู้คนที่แลดูมีชีวิตธรรมดาๆ นั้น ช่างน่าเบื่อเหลือเกิน
28
ทำ�ไมเขาไม่ทำ�อะไรที่ตื่นเต้นบ้าง? ทำ�ไมไม่ท้าทายชีวิตบ้าง? เมื่อได้คุยกับเจมส์ ผมจึงได้รู้ว่าทุกคนต่างก็มีโลกอีก ด้านทั้งนั้น โลกที่เราอาจมองไม่เห็น โลกที่เขาไม่ได้อวดเบ่งให้ โลกทั่วไปได้รับรู้ โลกที่ไม่จำ�เป็นจะต้องแสดงออกเสมอไป... ผมไม่รู้จักการใช้ชีวิตในคอนโดมากนัก ความทรงจำ� มีเพียงเล็กน้อยตอนที่ผมไปเที่ยวห้องของอาเมื่อสมัยเด็กๆ ตอน นั้นนานมาแล้วและภาพของการอยู่คอนโดก็ไม่ได้โก้หรูอย่าง ปัจจุบันนี้ มันก็ไม่ต่างอะไรกับหมู่บ้านที่มีผู้คนมาร่วมอาศัยแชร์ พื้นที่ร่วมกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน เผชิญปัญหาและสุขทุกข์ไปด้วยตาม ประสาสัตว์สังคม ผมเป็นคนทีม่ โี ลกส่วนตัวอยูบ่ า้ ง แต่กร็ กั ความครืน้ เครง สนุกสนานกับเพื่อนฝูงไม่แพ้กัน ในโลกของเจมส์เท่าที่ผมสัมผัส ก็อาจไม่แตกต่าง สิ่งที่ ผมเห็นเบื้องแรกเป็นเพียงความธรรมดา ยามเช้าเจมส์คงจะออก ไปทำ�งาน ตืน่ มารับอากาศสดชืน่ ทานอาหารเช้า ทำ�งานเสร็จกลับ บ้านมาทานอาหารเย็น หรืออาจจะมีการสังสรรค์บ้างบางคราว ส่วนผมน่ะหรือ แค่กลับตารางเวลากับเขาก็ถือว่าบรรจบกันแล้ว
29
30
31
32
ในโลกหลายใบเดียวกัน การทับซ้อนของกันและกัน ทำ�ให้เรามีโอกาสได้แชร์ความคิดเห็นความรู้สึก ช่วงเวลาแห่ง การพูดคุยก็คงเป็นอะไรที่ไม่ถนัดนักสำ�หรับเจมส์ อยู่ๆ ก็มีคน มาสัมภาษณ์ มาให้เล่าเรื่อง มาตั้งคำ�ถามที่ชี้ชวนให้ตอบแล้ว น่าฟัง คมคาย ผมไม่ได้ปฏิเสธความแหลมทางปัญญา แต่ผม ชอบที่เจมส์เล่าถึงโลกที่ธรรมดาๆ ด้วยความคิดที่เป็นธรรมชาติ ไม่ประดิษฐ์ประดอย มนุษย์เราอาจจะปรารถนาจนจิตใจสั่นไหวกับเสน่ห์ ลึกลับเย้ายวนใจ ทว่าความรูส้ กึ ปลอดภัย สบายใจ มักเกิดกับสิง่ ธรรมดา ทีอ่ ยูด่ ว้ ยแล้วเรารู้สึกเป็นธรรมชาติ และผมคิดว่านั่นคือความรู้สึก ที่ควรมีกับสิ่งที่เราเรียกกันว่า “บ้าน”
33
34
35
ที่อาศัยของความรัก กตัญญู สว่างศรี
36
ที่อาศัยของความรัก ช่วงเหตุการณ์นา้ํ ท่วมใหญ่ บ้านของผมก็ไม่ได้ น้อยหน้าไปกว่าคนอื่นเท่าไหร่นัก เมื่อนํา้ นั้นทั้งมิดหัว และท่วมนานร่วมสองเดือน ผมจำ�ได้ดีว่าวันที่ออกจาก หมู่บ้านนั้นเป็นอย่างไร
37
เป็นเช้าที่ทุกอย่างโกลาหล นํ้ากำ�ลังพุ่งพรวดๆ เข้ามา อย่างรวดเร็ว ชาวบ้านแตกตื่นออกมาเต็มซอย ผมกับแม่และ อากู๋เราอาศัยกันอยู่สามคน ทั้งสามแบกกระเป๋าน้อยๆ ข้ามคัน กั้นนํ้าของหมู่บ้าน นํ้าสูงแค่เข่าก็จริงแต่ก็แรงพอจะทำ�ให้แม่และ อากู๋เดินเซ เรื่องพวกนี้ไม่ได้รุนแรงมากหรอกเมื่อเทียบกับคนอื่น ที่หนักกว่านี้ แต่จิตใจต่างหาก สายตาที่จ้องมอง คำ�ถามว่า “ไปแล้วหรอ” เสียงหยอกล้อของรุ่นพี่ที่สนิทมาก “หนีเอาตัวรอด เลยหรอวะ” ตรงข้ามกับหมู่บ้านผม มีย่า อา น้า นํ้าจ่อรอท่วมอยู่ ในหมู่บ้านยังมีเพื่อนอีกมากไร้ที่ไป ความเครียดที่สั่งสมว่ามันจะ มาหรือไม่มาก่อนหน้านี้ ผมเดินออกมาด้วยความว้าวุ่นทั้งหมด ที่แบกไว้ในใจ หลังจากเดินทางถึงที่ปลอดภัย ผมโทรเช็คเพื่อนๆ ส่วนแม่โทรหาญาติๆ ติดตามข่าวสารให้ข้อมูลแนะนำ�ทุกอย่าง เท่าที่ทำ�ได้
ผมทำ�ได้แค่นั้น...
38
ถ้าใครได้ลองหนีนา้ํ จะรู้ว่าใจที่มันว้าวุ่น บ้านทีท่ ว่ มนํ้า ออกจากหมู่บ้านท่ามกลางสายตาเศร้าสร้อยของเพื่อนที่ยังหา หนทางให้ตัวเองไม่ได้ ญาติพี่น้องที่เราทำ�ได้แค่โทรไปถามว่า หนีไปไหนยังไงเท่านั้น มันจะต้องเผชิญภาวะจิตใจแบบไหน ผมทำ�ได้เต็มที่ที่สุดคือดูแลคนที่อยู่ใกล้ตัวของผมนั่นเอง แม่ของผมยังไม่ถึงกับแก่มาก ยังเดินเหินสะดวก ทว่า น้องชายของแม่หรืออากูน๋ น้ั เป็นหลายโรคซํ้าซ้อนแถมยังมีอาการ ทางประสาทพ่วงเข้ามาอีกด้วย เราทั้งสามเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีไปอาศัยอยู่ ที่บ้านครอบครัวพี่ชายหนึ่งเดือนเต็ม นี่เป็นช่วงเวลาที่ผมกับ แม่ระหกระเหินมากที่สุด ขณะเดียวกันก็เป็นการร่วมทุกข์ที่มาก ที่สุดของทั้งสองเลยก็ว่าได้ วันที่เดินทางเข้าบ้านเมื่อนํ้าลดลงมาในระดับหนึ่งนั้น แสนยากลำ�บาก เราต้องนั่งรถเมล์ไปต่อรถทหารและจะต้องเดิน ลุยนํ้า ขึ้นสะพานและต่อเรือไปจนถึงบ้าน ผมเหลือบมองเห็น ใบหน้าและสายตาของแม่เต็มไปด้วยความเหน็ดเหนือ่ ย ท้อแท้ใจ ยิ่งได้เห็นสภาพบ้านที่เละเทะ เราทั้งสองก็เต็มไปด้วยความเศร้า ความหดหู่
39
บางครั้งความเครียดของแม่ก็ทำ�ให้ผมอดหงุดหงิดไป ด้วยไม่ได้ จึงทำ�ให้เราอารมณ์เสียใส่กันบ้าง โชคดีที่แม่และ ผมเป็นคนประเภทโกรธง่ายหายเร็ว เมื่อกลับหอและย้อนไปดู เรื่องราวต่างๆ เราจึงสามารถหัวเราะกับมันได้เสมอ
40
เมื่อกลับมากรุงเทพฯ เราก็ยังเข้าบ้านไม่ได้ต้องอาศัย หอพักไปก่อนเพราะทีบ่ า้ นนํา้ ยังไม่ลด แต่เราก็ตอ้ งกลับมาทำ�งานกัน และนัน่ ทำ�ให้ผมและแม่ได้ใช้ชวี ติ เป็นเด็กหอร่วมเดือนเลยทีเดียว
41
ว่ากันว่า "การได้ร่วมทุกข์กับผู้อื่นจะยิ่งทำ�ให้ เราสนิทกับเขาผูน้ น้ั มากขึน้ " เราให้ก�ำ ลังใจกัน เก็บของด้วยกัน เดินทางระหกระเหิน ด้วยกัน หัวเราะ ยิ้มแย้มให้แก่กันและกัน
42
43
แม่มักจะกังวลว่าปีหน้านํ้าจะมาอีกอยู่แทบตลอดเวลา และมักจะวางแผนว่าจะไปอยู่ที่ไหนดี ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่ ทำ�ให้แม่คิดอยากตั้งรกรากไปหมดไม่ว่าจะตอนอยู่อุบล หรือ ตอนที่กลับมาใช้ชีวิตที่หอ แกยังเคยสรุปถึงตัวเองให้ผมฟังว่า “แม่นี่ติดสถานที่ง่ายเนอะ ไปไหนก็อยากอยู่ที่นั่นไปหมด” แล้วก็จริงอย่างว่าครับ เพราะเมือ่ เข้ามาดูบา้ นได้ไม่กี่วัน แกก็บอกว่า “อยู่ไหนก็สุขใจไม่เท่าอยู่บ้านหรอกเนอะ” ส่วนผมน่ะหรอ ก็เหมือนแม่นั่นแหละ อยู่ที่ไหนแล้วก็ติดใจไปหมด ขอเพียงได้เห็นภาพของ ผู้หญิงตัวกลมเดินเชื่องช้าหน้ามุ่ยเพลียแดดคนนี้เดินอยู่ข้างๆ ตลอด มันก็เพียงพอให้ทุกที่ในโลกนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของผมแล้ว ล่ะครับ ..........................
44
45
กระดาษ … ของเล่นใกล้ตัวที่เราคุ้นเคย และมักนำ�มา ตัด ฉีก แปะ พับ เล่นตามจินตนาการอย่างสนุกสนาน เริม่ ตัง้ แต่จนิ ตนาการง่ายๆ อย่างการพับพัด และซับซ้อน ขึ้นเรือ่ ยๆ ตามความถนัดทีช่ อบใจ ซึง่ เราก็เชือ่ ว่า หนึง่ ใน จินตนาการงานพับที่เราส่วนมากต้องผ่านมือกันมาก็คือ “เรือกระดาษ” … จากการสืบหาด้วยความพยายาม ถึงแม้เราจะไม่สามารถค้นพบได้ว่า เรือกระดาษลำ�แรก ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยใครที่ไหนในโลกนี้ และมีที่มาที่ไป อย่างไร แต่อย่างน้อย เราก็พบว่าเรือกระดาษเคยถูก จารึกลงในหนังสือโบราณอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 และพบในบทละครอังกฤษในศตวรรษที่ 17 ซึง่ ถึงแม้ การค้นพบหลัก ฐานเหล่า นี้จะดูไม่เป็นจริงเป็น จังสัก เท่าไหร่ เราก็มน่ั ใจได้อย่างหนึง่ ว่า “เรือกระดาษ” มีความ สามารถกลายร่างได้หลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน ไม่ ว่าจะเป็นเรือใบ เรือสำ�ปั้น เรือสำ�เภา หรือเรือหางยาว จินตนาการเหล่านี้ถูกสร้างให้เป็นจริงเอาไว้เล่นแล่น ลอยนํ้าได้ภายในไม่กี่นาที แต่ในชีวิตความเป็นจริง อยู่ดีๆ เราเกิดมีความจำ�เป็นต้องใช้เรือขึ้นมา ถ้าเรา สามารถพับเรือกระดาษยักษ์ให้เสร็จภายในพริบตาเอาไว้ ลอยลำ�ได้ ก็คงจะดีไม่น้อยสินะ
46
47
อาจารย์ วารี ตัณฑุลากร กับโยคะจิตอาสา ทรงศีล ทิวสมบุญ
48
49
50
อาจารย์ วารี ตัณฑุลากร กับโยคะจิตอาสา ทรงศีล ทิวสมบุญ
51
• ได้ทราบว่าอาจารย์เล่นโยคะมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว อาจารย์ เริ่มเล่นโยคะได้อย่างไรครับ ใช่คะ่ โยคะนีเ่ ริม่ มาตัง้ แต่ตอนทีส่ อนอยูม่ หาวิทยาลัย คือเพือ่ นๆ อาจารย์ทั้งหลาย พออายุเยอะก็เริ่มจะปวดเมื่อย แล้วตอนนั้นก็มี อาจารย์อยูค่ นหนึง่ ซึง่ อายุยงั ไม่มาก แต่วา่ เคยไปเรียนโยคะมาและ ก็ยังเล่นอยู่ แกก็บอกว่าจะสอนโยคะให้ไหม อาจารย์ที่อายุเยอะ ทั้งหลายก็เห็นว่าดีเหมือนกัน ก็พากันมาเล่น เล่นกันอยู่เป็นปี จนกระทัง่ อาจารย์ทส่ี อนไปเรียนต่อเมืองนอกแล้ว ก็ขาดคนเล่นนำ� คนที่เคยเล่นด้วยกันซึ่งยังเกาะกลุ่มกันอยู่ ก็ช่วยๆ กันเล่น ช่วย กันจำ� ว่าใครยังจำ�ท่าอะไรได้บ้าง • อาจารย์เริ่มเป็นคนเล่นนำ�ตั้งแต่ตอนนั้นเลยหรือเปล่าครับ คือมันเกิดจากเราเป็นคนที่ค่อนข้างจำ�ท่าได้ และก็เล่นประจำ� ต่อเนื่องกว่าคนอื่น ตอนหลังก็เรียนรู้จากหนังสือบ้างเทปรายการ โยคะบ้าง ประกอบกันไป แต่ก็ไม่ได้เล่นขั้นสูงอะไร ก็เน้นเล่น เพือ่ สุขภาพเท่านัน้ เอง ซึง่ ปัจจุบนั นีเ้ กษียณแล้วมาเป็นอาจารย์พเิ ศษ ก็ยังเล่นอยู่
52
• ถ้าคนที่ไม่เคยเล่นโยคะมาก่อนเลย แต่มีความสนใจ สามารถ เล่นได้ทุกคนหรือเปล่าครับ ต้องมีพื้นฐานอะไรไหม ได้สิ ทุกคนเล่นได้ โยคะจริงๆ แล้วไม่จ�ำ เป็นต้องทำ�ท่าให้เหมือนนน... (ลากเสียงยาว) เราทำ�ได้ถึงแค่ไหน ก็ไปตามศักยภาพของเรา ผลจะได้เท่ากัน สมมุติว่าเรายืดแขนไปได้เท่านี้ ถ้าเราสุดของ เราแล้วจริงๆ ก็ถอื ว่าได้ผล ไม่จ�ำ เป็นต้องเหมือนคนเล่นนำ�หรือ ตามภาพในหนังสือเป๊ะ คือโยคะนี่เพื่อให้เส้นสายที่มันตึงใช้งาน ไม่ค่อยได้มันผ่อนคลายลง เวลาเราจะทำ�อะไรขยับตัวไปทาง ไหนก็จะไม่บาดเจ็บไม่เป็นอะไร และอาการปวดเมื่อยทั้งหลาย ก็จะดีขึ้น เลือดลมก็จะดีด้วย ซึ่งโยคะถ้าเล่นถูกต้องแล้วจะไม่มี อาการบาดเจ็บ ให้ทำ�ได้แค่ไหนก็แค่นั้น คนที่เล่นด้วยกันจะ บอกเสมอว่าไม่ต้องฝืน ท่าไหนถ้าเหยียดแล้วเจ็บแล้วก็ไม่ต้อง ทำ�เกินไปกว่านั้น แต่ขอให้เป็นที่สุดของเรา ไม่ใช่เหยาะแหยะ ไม่อย่างนั้นก็จะไม่ค่อยได้ผล ... มีเพือ่ นอาจารย์คนหนึง่ ขนาดว่าเล่นไม่บอ่ ยเพราะติดสอนบ้าง อะไรบ้าง แต่พอไปตรวจร่างกายแล้วก็เป็นที่อิจฉาของเพื่อน ร่วมงาน เพราะทุกอย่างลดหมด ไม่ว่าจะเป็นโคเลสเตอรอล, นํ้าตาลในเลือด, ความดันหรืออะไร ซึง่ แกก็บอกว่าการใช้ชวี ติ อย่าง อืน่ ไม่ได้มอี ะไรผิดไปจากเดิม อธิบายได้อย่างเดียวว่าเป็นเพราะเล่น โยคะ และทุกคนที่เคยเล่นก็จะบอกเหมือนกันว่า วันไหนได้เล่น โยคะ วันนัน้ ก็จะนอนหลับดี หลับสบาย
53
54
55
56
57
• นอกจากโยคะจะช่วยเรื่องสุขภาพกายแล้ว ยังเกี่ยวกับเรื่อง จิตใจด้วยไหมครับ แน่นอน ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อเร็วๆนี้ มีอาจารย์ผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึง่ งานยุ่งมาก แล้วยิ่งช่วงนํ้าท่วมก็มีภาระรับผิดชอบเต็มไปหมด พอมาเล่นโยคะเข้าหนเดียว แกถึงกับบอกว่า ชั่วโมงเดียวที่ เล่นโยคะนี่ เป็นชั่วโมงที่ผ่อนคลายที่สุดใน 45 วันอันยุ่งเหยิง ที่ผ่านมาเลย • แล้วการเริ่มของกลุ่มโยคะที่ลุมพินี เพลส รัชโยธิน ในช่วง นํ้าท่วมนี่เริ่มขึ้นได้อย่างไรครับ ตอนช่วงนํ้าท่วมก็ไปบอกที่ฝ่ายนิติเขาไว้ว่า ใครอยากเล่นโยคะก็ มาได้นะ ทางนั้นเขาก็ดีใจ เพราะปกติก็จะมีกลุ่มแอโรบิคอยู่แล้ว ถ้าจะมีกิจกรรมอื่นอีกก็ดี ทางนั้นเขาก็ประกาศผ่านไมโครโฟน ออกไป แต่จริงๆ ก็ไม่เชิงประกาศเสียทีเดียว ก็คือเริ่มเล่นที่ สนามของอาคารนี่แหละ พอคนอื่นๆ เห็น ก็เข้ามาเล่นด้วยบ้าง ดูอยูห่ า่ งๆ บ้าง พอเล่นไปสักพักก็จะมีคนทีม่ าเล่นกันประจำ�จริงๆ อยู่ 4 - 5 คน ตอนนี้ก็ยังนัดกันอยู่อาทิตย์ละครั้ง ซึ่งหลายคน ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็มารู้จักกันตอนที่ได้เล่นโยคะ
58
59
60
• ยุคสมัยนีผ้ คู้ นเยอะขึน้ แต่การสือ่ สารปฎิสมั พันธ์กนั จริงๆ อาจ จะน้อยลง เช่น เราอาจจะทำ�งานด้วยกัน เดินสวนกัน แต่การ ปฎิสัมพันธ์กันจริงๆ บางครั้งก็น้อยมาก อาจารย์คิดว่าการมี กิจกรรมอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นที่นี่หรือชุมชนไหนก็ตาม สามารถ ช่วยให้ผู้คนมีปฎิสัมพันธ์ต่อกันมากขึ้น หรือมีข้อดีอื่นๆ อย่างไร บ้างครับ ดีสิคะ ได้รู้จักกันต้องดีแน่นอน เป็นเพื่อนกันเอื้อเฟื้อกัน ทำ�อะไร ก็นึกถึงกัน ที่จริงกิจกรรมทุกอย่างที่ทำ�ร่วมกันก็ดีทั้งนั้น ไม่ว่า จะเป็นกิจกรรมอะไร หมู่บ้านหรือชุมชนควรจะมีบริเวณที่ให้ทำ� กิจกรรมร่วมกันได้ มีส่วนกลาง ที่นี่ดีตรงมีพื้นที่ ทำ�ให้ได้มา พบปะกัน สังเกตดูว่าหมู่บ้านไหนที่มีกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ พอมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เช่น นํ้าท่วม หมู่บ้านก็จะแข็งแรงกว่า ผู้คนเขารู้จักกันเขาก็ช่วยกัน ถ้าไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย จะให้ ลุกขึ้นมาช่วยกันทำ�อะไรก็จะยาก ... เดินสวนกันแต่ไม่รู้จักกัน ก็เหมือนไม่ได้เดินสวนกัน หรืออยู่ ท่ามกลางผู้คนที่ไม่รู้จักก็อาจจะเหมือนไม่มีใคร
61
• อาจารย์ประทับใจอะไรเป็นสิ่งแรกๆ ของที่นี่ครับ ก่อนจะมาอยู่ที่นี่ เคยอยู่อพาร์ทเมนท์แบบเช่ามาก่อน ซึ่งที่เดิม นั่นก็อยู่นานจนรู้จักกันหมด ทีแรกก็คิดเหมือนกันว่าที่เดิมอาจ จะดีกว่าหรือเปล่าเพราะทุกคนก็คุ้นเคยกันแล้ว แต่พอมาอยู่ที่นี่ ไปสักพักก็ชอบ อย่างแรกๆ ก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ แม่บา้ น ทุกคนก็ ยิม้ แย้มทักทาย ทุกคนก็จะดี ทำ�ให้เรารูส้ กึ ดีนะ่ สระว่ายนา้ํ ก็ดคี ่ะ ชอบ ... ชอบที่ไม่ลึก (หัวเราะ) ออกกำ�ลังได้สบายไม่ต้องกลัวจม แล้วก็ใกล้มหาวิทยาลัยที่สอนด้วย
62
63
64
• สุดท้ายนี้อาจารย์อยากฝากอะไรไหมครับ สุขภาพค่ะ คือขอให้การออกกำ�ลังกายหรือการทำ�อะไรเพือ่ สุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งในตารางเวลาของเรา เหมือนการอาบนํ้า แปรงฟัน เรามักจะมีเวลาให้กับการดูทีวี อ่านข่าว หรืออะไรอื่น เรามีเวลา ให้กับสิ่งเหล่านี้ แต่สุขภาพของเราซึ่งเป็นสิ่งที่สำ�คัญกว่าล่ะ พูดตามตรงนะ ว่าสำ�คัญกว่าการหาเงินด้วยซํา้ ได้เงินมาเยอะแยะ แต่สุขภาพไม่ดีเลยนี่มันดีหรือเปล่าก็ไม่รู้ มีเงินมากแต่กินอะไร ก็ไม่ได้ เที่ยวไหนก็ไม่สนุก เพราะสุขภาพไม่ดี จะดีตรงไหน ใช่มั้ย ของที่มีค่าที่สุดก็คือตัวเรา ไม่ใช่ทีวี ไอแพด โฮมเทียเตอร์ หรือแหวนสร้อยคออะไร ก็ไม่ยากอะไร ถ้าวันนึงเราให้เวลากับ การดูแลสุขภาพ วันนึงชั่วโมงหนึ่งหรือ 45 นาที ออกกำ�ลังอย่าง ทีเ่ ราชอบ และถ้าได้ออกกำ�ลังกายหลายๆ อย่างก็จะดี อาทิตย์ละ สักสามหนทำ�เป็นประจำ�สม่ำ�เสมอก็พอแล้ว • ซึ่งถ้าอยากเล่นโยคะก็มาหาอาจารย์ได้ใช่ไหมครับ ได้... ใครอยากเล่นก็มาบอกได้เลย เล่นหลายๆ คนยิง่ เล่นได้นาน มาคนเดียวก็เล่น เราเองก็จะได้เล่นไปพร้อมๆ กันด้วย ตอนนี้มี เล่นทุกวันอาทิตย์ 5 โมงเย็น (ยิ้ม)
65
66
67
...ที่อยู่ อยู่ที่...?
ทรงศีล ทิวสมบุญ นักวาดภาพประกอบและนักเขียนอิสระ
68
69
...ที่อยู่ อยู่ที่...?
เป็นเรื่องบังเอิญพอสมควร ที่การสนทนา เกี่ยวกับเรื่องที่พักอาศัยในงานเขียนชิ้นนี้ เกิดขึ้นในวัน ที่ตัวผมเองกำ�ลังมองหาที่พักอาศัยส่วนตัวอยู่เช่นกัน หลังจากมองหาและทำ�ความรู้จักมาหลายแห่ง ผมคิด ว่าการมองหาที่พักอาศัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเอาเสียเลย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความชอบและรสนิยมส่วนตัว ที่มีรายละเอียดไม่น้อย ประกอบกับลักษณะงานที่ทำ� อยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นงานศิลปะและงานเขียนหนังสือ ซึ่งต้องอาศัยสมาธิค่อนข้างมาก หากจะมีที่พักถาวร สั ก แห่ ง ก็ จำ�เป็ น จะต้ อ งมี ค วามเงี ย บสงบและเป็ น ส่วนตัวพอสมควร
70
เดิมทีตลอดมาก่อนหน้านี้ผมไม่เคยมีความคิดจะหาที่ อยู่เป็นส่วนตัวอย่างจริงจังแต่อย่างใด จนกระทัง่ มาถึงอายุชว่ งหนึ่ง ความคิดเหล่านี้ก็กลับเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ..ความรู้สึกอยากมี บ้านของตัวเอง หรือที่พักอาศัยส่วนตัวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ที่จะฝากหลายๆ สิ่งในชีวิตไว้ ทั้งการพักผ่อน คนที่เราห่วงใย งานที่รัก และอาจหมายถึงฝากช่วงชีวิตอีกหลายปีของเราไว้ด้วย แล้วเราจะตัดสินใจได้อย่างไร ว่าที่แห่งไหนควรจะเป็นสถานที่ซึ่ง มีความสำ�คัญถึงเพียงนั้น? คำ�ถามนี้เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือจาก การเลือกแบบอาคาร เลือกทำ�เล เลือกราคาด้วยซํ้าไป มีที่พัก มากมายเหลือเกิน แต่ทไ่ี หนกันทีจ่ ะเป็นคำ�ตอบ ผมครุน่ คิดเรือ่ งนี้ อย่างจริงจังมาก เพราะนาฬิกาในใจบอกว่าต้องการตัดสินใจใน เร็ววัน
71
72
73
ในที่สุด จะเปรียบเหมือนเรื่องราวในนวนิยายก็ว่าได้ เจ้าของที่พัก ซึ่งตั้งอยู่ติดกับบ้านของคุณพ่อคุณแม่ของผม ประกาศขาย ที่นี่ไม่ได้หรูหราหรือใหม่เอี่ยม มิหนำ�ซํ้าในราคา เดียวกันนั้นยังสามารถหาที่อยู่อาศัยสะดวกสบายที่อื่นเช่นที่ผม ต้องการได้ด้วย แต่การตัดสินใจของผมกลับสรุปอย่างง่ายดาย ผมตัดสินใจจะซื้อและอยู่ใกล้ๆ พ่อแม่ เพราะเหตุผลง่ายๆ ... ผมจะมีความสุขถ้าอยู่ตรงนั้น ... สิ่งนี้เองที่ทำ�ให้ความหรูหรา ใหม่เอี่ยมใดๆ ไม่สลักสำ�คัญนัก ตราบเท่าที่ความสุขใจยังเป็น คำ�ตอบสำ�คัญที่อยู่เหนือคำ�ตอบอื่นใด หากวันนี้มีใครถามว่า “ที่อยู่” ควรจะเป็นอย่างไร ผมก็จะตอบอย่างไม่เขินอายว่า ที่อยู่ - อยู่ที่ความสุขใจ ... เพราะไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัยเล็กใหญ่ในรูปแบบใด หากถูกเติมเต็มด้วยความสุขใจแล้ว ที่พักอาศัยเหล่านั้นก็ล้วนมี ความหมายของคำ�ว่า “บ้าน” ได้เช่นเดียวกัน ..........................
74
75
นํ้า … มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ ที่เป็นทั้งต้นกำ�เนิด ของเหล่าสรรพสิ่ง สร้างได้แม้แต่ชีวิตที่แสนซับซ้อน และทำ�ลายได้ทุกอย่างแม้แต่หินกล้า ซึ่งนอกจากความ มหัศจรรย์ของ “นํ้า” ที่เปลี่ยนแปลงได้ทั้งสถานะและ อุณหภูมิแล้ว นํ้ายังสามารถโอบอุ้มเรือเหล็กลำ�ใหญ่ มหึมาให้ลอยไปตามกระแสได้อย่างปลอดภัย และขณะ เดียวกันก็ท�ำ ให้เรือนัน้ จมได้เช่นกัน เพราะจะว่าไปแล้ว หลายอย่างในโลกใบนี้ล้วนมีสองด้านเสมอ เรื่องดีๆ มากมายอาจแฝงมาพร้อมกับรอยนํ้าตา ในขณะที่เรื่อง ร้ายๆ อาจซ่อนด้วยรอยยิ้มที่งดงาม … แต่ตลอดระยะ เวลาที่เราต้องประสบปัญหาเดิมๆ จากนํา้ มาตัง้ แต่อดีต จนถึงปัจจุบัน สิ่งหนึ่งสิ่งเดียวที่เรามั่นใจว่าจะทำ�ให้ เราผ่านปัญหาทั้งหลายร่วมกันมาได้ด้วยดีเสมอ นั่นก็ คือ “นํ้าใจ”
76
77
ยินดีที่ได้รู้จัก พัธนะ สุวรรณโคตร์
78
ยินดีที่ได้รู้จัก
พัธนะ สุวรรณโคตร์ ผมได้ไปคอนโดลุมพินี คอนโดทาวน์ รามอินทรา-หลักสี่ ในเช้าวันพฤหัสบดีที่สีฟ้าของท้องฟ้าแจ่มชัด อากาศเย็นกำ�ลังดี ในช่วงปลายฝนต้นฤดูหนาว วันนั้นผมมีนัดพูดคุยกับเจ้าของร่วม 2 คนด้วยกัน คนแรกคือ “ป้าน้อย - คุณพนอ ปริกสุวรรณ” ผอ. โรงเรียนสมิธิพงศ์ ผู้ใหญ่อารมณ์ดีที่หัวใจคิดบวก และคนที่สอง คือ “พี่วัตร - คุณภาณุวัตร เขียวเล็ก” เจ้าของธุรกิจ ซัก อบ รีด หนุ่มใหญ่ร่างกายสมบูรณ์ ที่ทุกแย้มยิ้มของเขาสามารถเปลี่ยน โลกได้เลยทีเดียว ทั้งสองไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่หลังจากเกิด มหาวิกฤตินํ้าท่วมที่ผ่านมา สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า “ความสุข” ได้ เกิดขึ้นในจิตใจของคนทั้งสองคนนี้ “ทำ�ตัวตามสบาย คิดเสียว่าเป็นบ้านของตัวเองนะ” ป้าน้อยพูดด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและเป็นมิตร แถมยังเชื้อเชิญชวน ละเลียดกาแฟยามเช้า พร้อมกับเล่าที่มาที่ไปก่อนตัดสินใจเลือก ซื้อคอนโด “ลูกป้าเป็นคนเลือกที่จะมาอยู่ แต่ป้าเป็นคนจ่ายเงิน (พูดเสร็จก็หวั เราะร่า) ทีน่ ป่ี า้ มีสองห้องติดกัน อยูช่ น้ั 2 เพราะว่า มองออกไปแล้วสามารถเห็นต้นไม้ได้ในระดับสายตา เห็นสวน หย่อมเล็กๆ ป้าน้อยชอบต้นไม้และธรรมชาติ เพราะช่วยทำ�ให้
79
รูส้ กึ สดชืน่ ขึน้ เมือ่ หลายปีกอ่ นตรงนีเ้ ป็นสนามกอล์ฟ อยูม่ าวันหนึ่ง มีป้ายมาติดว่าจะสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นของลุมพินี พอ สำ�นักงานขายสร้างเสร็จป้าเลยแวะเข้ามาดู เห็นห้องตัวอย่างครัง้ แรก ป้ารูส้ กึ ว่า ทีน่ เ่ี ขาตกแต่งห้องสวยและน่าอยูม่ ากๆ ทำ�เลที่ตั้งก็ สะดวก ติดถนนใหญ่ ใกล้ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ที่สำ�คัญราคา ไม่แพง” พี่วัตรรีบสำ�ทับว่า “ก่อนที่ผมจะมาอยู่ที่นี่ผมอยู่บ้าน มาก่อนเป็นแบบทาวน์โฮม แต่อยู่แล้วรู้สึกว่าใหญ่เกินไปสำ�หรับ ครอบครัวของเรา เพราะมีกันอยู่สองคนกับภรรยา เลยมองหา ทีพ่ กั ใหม่ๆ ที่มีสภาพแวดล้อมดี บรรยากาศเป็นธรรมชาติ สะอาด มีระเบียบ เป็นสังคมที่ผู้คนถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ซึ่งหา ได้ยากนะ แต่ที่ลุมพินีมี”
80
81
82
83
84
“ป้าน้อยเป็นคนทีอ่ ยูบ่ า้ นมาก่อน แน่นอนพอมาอยูค่ อนโด ความรู้สึกแรกย่อมมีความต่างกัน เพราะอยู่บ้านเรารู้จักคนเยอะ จะไปไหนมาไหนสามารถทักทายกับเพื่อนบ้านได้ต้งั แต่ท้ายซอย ยันหน้าซอยแทบทุกหลัง และบ้านยังมีพน้ื ทีพ่ อให้ได้ทำ�สวน ปลูก ต้นไม้ ซึ่งป้าน้อยเองก็ไม่รู้ว่าคอนโดจะให้ความรู้สึกเหมือน เราอยู่บ้านไหม แต่พอเข้ามาอยู่คอนโดจริงๆ ที่นี่มีบรรยากาศ ของทุกอย่างที่เป็นบ้าน และที่ป้าชอบมาก คือ ด้านหลังตึกที่นี่ มีสวนสวยๆ มีตน้ ไม้เยอะเป็นธรรมชาติ ในช่วงเช้าหรือพอแดดร่ม ลมตกจะเป็นเวลาประจำ�ของนกเขาที่บินมาหาอาหาร ป้าคอย เวลานี้เกือบทุกวันเพื่อให้อาหารเขา นึกภาพออกนะว่าพอป้าเห็น บรรยากาศแบบนี้แล้ว ทำ�ให้รู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้านจริงๆ เพราะ ที่ นี่มีความเป็นธรรมชาติที่ผสมผสานกับความเป็นสังคมเมืองได้ อย่างลงตัว” ไม่ว่านํ้าท่วมหรือฝนแล้ง “ความสุข” ยังสามารถเจริญ งอกงามขึ้นมาได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกวันป้าน้อยและพี่วัตร ได้ใช้ชีวิตไม่ต่างไปจากคนใน สังคมเมืองมากนัก ทว่าความเป็นอยูท่ ไ่ี ด้อยูก่ บั สภาพแวดล้อมทีด่ ี และเอื้ออำ�นวยให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น สะท้อนให้เห็นได้ชัดจาก ใบหน้าที่เปื้อนยิ้ม แววตาที่เป็นมิตร หน้าตาที่สดชื่นแจ่มใสของ ทั้งคู่ จนไม่อยากเชือ่ ว่าทัง้ สองคนเพิง่ ผ่านเหตุการณ์น�ำ้ํ ท่วมครัง้ ใหญ่ มาด้วยกัน จากบทเรียนหนึ่งที่ธรรมชาติมอบให้เราทุกคน
85
86
ป้าน้อย : เป็นคนกลุม่ แรกๆ ทีม่ าอยูล่ มุ พินี คอนโดทาวน์ รามอินทรา-หลักสี่ ตั้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน ในช่วงนํ้าท่วมใหญ่ท่ี ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ป้าน้อยทำ�ได้ ณ ตอนนั้น คือต้องช่วยทำ�ให้ คนอืน่ รูส้ กึ ดีเหมือนป้า เราอายุ 60 กว่า ซึง่ ถือว่ามากขนาดนี้แล้ว ต้องทำ�ให้ทุกคนเห็นว่าถึงนํ้าจะท่วม ป้าก็ไม่ได้กลัวนะ ปล่อยให้ ท่วมไปเดี๋ยวก็ลด คือต้องคิดบวก บอกกับตัวเองว่าประสบการณ์ แบบนี้หาไม่ได้อีกแล้ว ที่บนถนนมีทั้งรถ ทั้งเรือ ร่วมด้วยช่วยกัน สัญจรให้เลือกใช้บริการกันอย่างถ้อยทีถอ้ ยอาศัยซึง่ เป็นภาพทีห่ าดู ได้ยากมากนะลูกๆ หลานๆ และเหตุการณ์นา้ํ ท่วมครัง้ นี้ ยังทำ�ให้คดิ ว่าทีล่ มุ พินี ไม่ได้ มีป้าแค่คนเดียว ณ ลานกิจกรรมทุกเย็นป้าเห็นการรวมกลุ่ม กันของคนในลุมพินีเป็นร้อยๆ ทุกคนยินดีที่จะร่วมด้วยช่วยกัน เป็นจิตอาสาคนละไม้ละมือ รวมถึงป้าด้วยนะ (พูดเสร็จป้าน้อย ก็หัวเราะร่า) เราช่วยกันตักทรายใส่กระสอบ ผู้ชายแข็งแรงก็ ช่วยกันหามกระสอบทรายไปวางตามจุดต่างๆ กั้นนํ้ารอบคอนโด บ้างก็เฝ้ายามลาดตระเวนดูความเรียบร้อย ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับ รปภ. อีกแรง เป็นต้น
87
ตรงนี้ป้าน้อยได้เห็นคนจิตใจดี มีนํ้าใจหลายๆ คน รวมถึงพี่วัตร ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยคุยกันเลย เห็นหน้าแค่ยิ้มๆ ให้กนั ตอนนีเ้ พือ่ นบ้านคนอืน่ ๆ มิตรภาพใหม่ๆ ก่อตัวมากขึ้น จากเดิมที่ป้าน้อยรู้จักแค่พวกกลุ่มคุณแม่ ถึงตอนนี้ได้รู้จักคนรุ่น เดียวกัน รู้จักรุ่นลูก รุ่นหลาน สังคมเท่าเดิมแต่ป้ารู้จักคนกว้าง และขยายออกไปมากในตอนนํ้าท่วม ซึ่งคล้ายกับหมู่บ้านที่ป้า เคยอยู่เลย แน่นอนว่าเมื่อรู้จักกันพูดคุยกันมากขึ้น ช่วยเหลือ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน สามัคคีกนั สังคมก็เริม่ น่าอยู่ และมีความสุข ขึ้นโดยอัตโนมัติ จริงไหม.....
88
89
“ไม่ใช่เฉพาะลุมพินี คอนโดทาวน์ รามอินทรา-หลักสี่ ตึกเดียว ตึกอืน่ ๆ อย่างลุมพินี เพลส และลุมพินี วิลล์ ของทีน่ ่ี เขา ช่วยเหลือกันเหมือนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน” พีว่ ตั รสำ�ทับ พี่วัตร : ขนาดพี่สูง 180 กว่า ตอนนํ้ามาเต็มท่วมสูง ราวๆ สะโพกพี่เลยนะ นํ้าไม่ท่วมในโครงการนะแต่ท่วมด้านนอก บริเวณถนนหลัก ร้ายกาจทีส่ ดุ คือระดับความสูงของนํา้ นัน้ วัดได้ ประมาณสะโพกซึ่งทรงตัวอยู่เป็นเดือน ณ ตอนนั้นพี่เป็นห่วงมาก เรื่องของอาหารการกิน ถ้าออกไปไหนไม่ได้ก็แย่นะ กังวลมากว่า ภายในลุมพินีจะไม่มีอะไรกิน เพราะในชุมชนของเรามีทั้งเด็ก คนแก่ เราก็พยายามคิดว่าจะทำ�ยังไงดี ตอนแรกๆ พี่ออกไปดู ให้เห็นกับตาเลย เดินลุยเลย ลุยนา้ํ นะ ไปดูทต่ี ลาด ดูรอบบริเวณ แถวนี้ให้หมด เพราะว่าถ้าเราไม่ไปดูเองให้เห็นกับตา บางสิง่ บางอย่าง เรือ่ งเล่า หรือข่าวสารที่ได้รับมา บางครั้งอาจตกหล่น หรือมาไม่ครบ ถูกบิดเบือนไป พีต่ อ้ งเห็นกับตาทุกอย่างเพือ่ จะได้ ประเมินสถานการณ์ถกู พอมาคิดว่าถ้าเราต้องออกไปซือ้ อาหารทุกวันคงไม่เวิรค์ เลยติดต่อร้านค้า และพ่อครัว คนขายของ ขายอาหาร ให้เขาจัด เตรียมอาหารแบบปรุงเสร็จมาขายกันในชุมชนของเรา แม้ระยะ ทางการลำ�เลียงขนส่งอาหารค่อนข้างลำ�บากเพราะตลาดก็ห่างจาก คอนโดของเราเป็นกิโล ทัง้ พายเรือ เดินลุยนํ้า ขับรถ ติดขัดไปหมด
90
91
92
แต่ทกุ คนทุกฝ่ายก็เต็มใจช่วยกันอย่างเต็มทีไ่ ม่ปริปากบ่น โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่นิติบุคคลอาคารชุดของลุมพินีที่เหน็ดเหนื่อยกันตลอด ทั้งเดือน ตอนนี้พี่มีโอกาสได้พูด อยากจะขอชืน่ ชมทุกคน และ ขอบคุณมากๆ ขอบคุณจากใจครับ (พูดเสร็จพีว่ ตั รยิม้ แล้วก็ยิ้ม) นํ้าท่วมครั้งนี้ผมเชื่อว่าคงเป็นประสบการณ์ท่ยี ่งิ ใหญ่ท่ี ทุกคนต้องร่วมกันจารึกพร้อมกับจดจำ� สำ�หรับคนบางกลุ่มทีต่ อ้ ง สูญเสียบ้าน รถยนต์ ทรัพย์สนิ อืน่ ๆ หรืออาจจะรวมถึงคนทีค่ ณุ รัก ยืนไว้อาลัยสักนิด เก็บมาคิดและจดจำ� รวบรวมสติอย่าพึง่ หมดสิ้นความหวังเพราะชีวิตเริ่มต้นใหม่ได้ทุกเมื่อ ดั่งวลียอดฮิต “ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสและสวยงามเสมอ” นะครับ ในวันนัน้ ผมรูส้ กึ สลับกันระหว่างความเสียใจกับเหตุการณ์ น้าํ ท่วมเมื่อหลายเดือนก่อนเพราะได้สร้างความเสียหายไว้อย่าง ใหญ่หลวง แต่พอสิ้นสุดบทสนทนากับป้าน้อยและพี่วัตร ซึ่งผม ใช้เวลาเพียงไม่กช่ี ว่ั โมง กลับทำ�ให้ผมรูส้ กึ แปลกใจ และดีใจทีย่ งั เห็นอีกชุมชนเล็กๆ ทีแ่ ม้วา่ พวกเขาจะประสบกับเหตุการณ์นา้ํ ท่วม มา แต่ไม่มรี อ่ งรอยของความสิน้ หวังเลย กลับกันผมเห็นพลังทีเ่ ข้ม แข็งและอบอุ่น หลากหลายเรื่องราวที่เกิดขึน้ ในขณะนํ้าท่วมเป็น เรือ่ งงดงามมาก มากพอที่จะทำ�ให้ชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ขับเคลื่อน พร้อมสร้างความสุขแบบพอดีๆ ที่ยั่งยืนได้ไม่ยาก
93
94
95
อยากเป็นไหมคนบ้า พัธนะ สุวรรณโคตร์
96
อยากเป็นไหมคนบ้า ใครทีว่ า่ "คนบ้า" น่าสบายด้วยเพราะไม่เครียด ไม่เกลียดใคร ดูเป็นผู้มีบุญหนุนส่ง หมดสิ้นกรรมแล้ว จึงไม่ตอ้ งทุกข์ทนอยูบ่ นโลกแห่งความจริง จนบางครั้ง ทำ�ให้เราคิดเล่นๆ ว่า อยาก "บ้า" ร่วมสมาคมผู้มีโลก ส่วนตัวเช่นนี้บ้าง
97
ที่จริงแล้วผู้ที่คิดว่าคนบ้าไร้ทุกข์นั้น แปลว่ายังไม่รู้จัก คนบ้าดีพอ ด้วยความบ้าหาใช่ค่าเท่ากับความสุขไม่ ผมเองแม้ จะเป็นคนบ้าแต่ก็บ้าอยู่พอประมาณ แต่ถ้าหากได้ไปเห็นผู้ป่วย ทางจิตมีความเครียดประเภทฝังลึก ติดหนึบ อยู่ในจิตใจสูง พอได้พูดคุยก็เหมือนคุยกับเพื่อน ไม่มีอะไรผิดปกติ แต่เมื่อใด ความเครียดนั้นถูกฉุดกระฉากผุดขึ้นมาราวกับขุดเจอนํ้ามัน พอ ถึงจุดนี้เขาเหล่านั้นก็แตกต่างจากเราแล้ว คือถูกความเครียด เข้ามาคุมอย่างสิ้นเชิง เหมือนถูกผีสิง พูดง่ายๆ ว่าบุคคลที่ป่วย ทางจิตหรือว่าบ้านัน้ ทางจิตใจของเขาได้สญู เสียกลไกการควบคุม ความเครียด คนเหล่านี้ภายในโลกส่วนตัวของเขานั้นจะเจือไป ด้วยความทุกข์แฝง แถมบางทีมีเยอะเสียจนคิดฆ่าตัวตายด้วยซํ้า ซึ่งก็คิดอยู่เหมือนกันว่าตัวเราก็คงมี “ความบ้า” อยู่ในระดับหนึ่ง จึงรู้สึกเข้าใจในหัวจิตหัวใจของเขาเหล่านั้น
98
ดั ง นั้ น หั ว ใจสำ � คั ญ คื อ เราต้ อ งถื อ บั ง เหี ย นควบคุ ม ความเครียดนี้เอาไว้ให้ได้ เพราะตัวการของความบ้า สาเหตุหนึ่ง เกิดจากความเครียด ต้องคุมเข้มไม่ให้มันมาแว้งกัดเราดังสัตว์ ร้ายที่ควบคุมไม่ได้ “ความเครียด” นั้นมีอยู่ในทุกผู้ทุกคนแม้แต่ คนสติไม่ดีก็ยังมีได้ ใครที่ว่าไม่มีความเครียดนั้นก็อาจเป็นได้ ถ้าเขาสามารถ “ปล่อยวาง” ได้ดังเช่นผู้ทรงคุณธรรม ผู้ปฏิบัติ ดีปฏิบัติชอบทุกท่าน เมื่อความเครียดมีอยู่คู่กับมนุษย์มานาน ดังนี้แล้ว ย่อมมีปราชญ์พยายามหาทางออกให้แก่ผทู้ ต่ี อ้ งทนทุกข์ อยู่ทั่วไป ถ้านับตั้งแต่เริ่มมีอารยธรรมก็เห็นจะเป็นของศาสนา พุทธกับปรัญชาแบบกรีก โดยชาวกรีกนั้นมีพลาโต (Plato) เป็น ผู้นำ�ที่เริ่มชี้ให้เห็นว่าครรลองที่ต้องทำ�จะได้นำ�สุขมาให้มีอยู่ 4 ประการหลักคือ ความไม่ประมาท ความอดทน ความกล้า และ ความยุตธิ รรม ซึง่ คล้ายกับหลักธรรมในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหลักธรรมแห่งความไม่ประมาท “อัปมาทธรรม” ที่ พระพุทธองค์ทรงเห็นความสำ�คัญเป็นทีส่ ดุ ถ้าลองตรองดูเข้าไป ในจิตของเราให้ลึกจะเห็นว่า ความเครียด และความทุกข์ นานับประการนี้ ล้วนแต่มสี มุตฐิ านมาจากเหตุเดียวคือ “ความกลัว” ซึ่งมีทั้งกลัวไม่อยากได้ ไม่อยากมี และกลัวจะต้องได้ จะต้องมี ต้องเป็น กลัวภัยพิบัติ หรือกลัวตกงาน ฯลฯ ถ้าเราได้แยกเหตุ ออกมาจนได้แน่ชัดเช่นนี้แล้ว จะทำ�ให้ขจัดเหตุแห่งทุกข์ ความ เครียด ซึ่งเป็นเชื่อไวรัส ตัวการบ่มเพาะความบ้า ไปได้โดยง่าย และไม่ยากนัก
99
100
101
ถ้าเราเข้าใจในความเป็นไปของธรรมชาติ ฝึกการคิด บวก มองโลกเป็น 2 ด้าน อย่างมีเหตุและมีผล ไม่วา่ จะเกิดปัญหา เล็กหรือใหญ่แค่ไหน เราจะผ่านมันไปได้โดยง่าย ไม่เครียด ไม่กังวล และไม่กลัว รับรู้ทุกสิ่งอย่างโดยมีสติ เพียงเท่านี้เราจะ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข จงทำ�ดีกับคนแปลกหน้ารวมถึงคนบ้าที่อยู่ข้างๆ คุณ มีความสุขมากๆ นะครับ ..........................
102
baht
103
813,864,443.26 บาท … คือจำ�นวนยอดเงินบริจาคโดย รวมจากบัญชีกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ของสำ�นักนายกรัฐมนตรี ทีส่ รุปได้ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2554 ซึง่ ส่วนนีย้ งั ไม่ได้รวมรายได้จากการช่วยเหลือจาก ภาคส่วนของรัฐฯ และเอกชนทัว่ ไป สำ�หรับประชาชน คนธรรมดา เงินบริจาคทัง้ หมดอาจแลดูมากโขและเยอะ พอสำ�หรับการฟื้นฟูประเทศ แต่ในความเป็นจริง ถึง แม้คนไทยจะช่วยกันบริจาคเงินมากสักแค่ไหน ก็ใช่ว่า จะสามารถช่วยเยียวยาความเสียหายได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะนอกจากความสูญเสียทางทรัพย์สนิ แล้ว สิง่ ทีม่ าก เกินกว่านั้น ก็คือความบอบชํ้าทางด้านจิตใจทีย่ ากจะ ฟืน้ ฟู แต่ในความโชคร้าย อย่างน้อยเราก็มคี วามโชคดี… โชคดีที่พวกเราเป็นคนไทย เป็นชนชาติที่มีหัวใจผูกพัน อาหารกล่องเดียว อาจทำ�ให้อิ่มได้แค่ไม่กี่ชั่วโมง แต่ รอยยิ้มและกำ�ลังใจเล็กๆ กลับช่วยให้ผู้ที่กำ�ลังลำ�บาก สามารถต่อสู้ อดทนเพื่อผ่านพ้นวิกฤติร้ายๆ มาได้อกี หลายเดือน จริงอยูท่ ป่ี ญั หาจะต้องตามมาด้วยการแก้ไข แต่การแก้ไขก็อาจนำ�มาซึ่งอีกหลายๆ ปัญหา แต่ไม่ว่า ความพยายามทั้งหลายจะได้ผลหรือไม่ อย่างน้อยเรา ก็ต้องขอบคุณทุกๆ กำ�ลังใจ ทุกๆ ความร่วมมือ ที่ พยายามช่วยเหลือกัน
104
105
เกี่ยวกับนักเขียน
106
กตัญญู สว่างศรี (ยู)
107
การพบกันของ LPN กับ คุณยู ในครั้งนี้ จะว่ายากก็ ไม่ใช่ แต่จะง่ายก็ไม่เชิง เพราะการจะเฟ้นหานักเขียนฝีมือดี มาถ่ายทอดเรื่องราวของลุมพินีได้อย่างเข้าใจ เราต้องตามหาคน ที่ใช่เลือดตาแทบกระเด็น … แต่แล้ววันหนึ่งที่เพื่อนของเพื่อน ของเพือ่ นทีห่ า่ งไกล เกิดบังเอิญแนะนำ�ให้เรารูจ้ กั กัน แค่ช่วงเวลา การแนะนำ�ตัวทางโทรศัพท์เพียงไม่กี่นาที เราทั้งสองก็คุ้นเคยกัน ได้ง่ายๆ เหมือนเคยพบกันมาหลายครั้งทีเดียว ช่วงเวลาไม่กอ่ี ดึ ใจ นักเขียนหนุม่ หน้าใหม่มากฝีมอื แห่ง วงการวรรณกรรม เจ้าของผลงานนิยายขนาดสั้น “อยู่กับกู๋” ที่เร่ร่อนอยู่ในวงการงานเขียนอย่างจริงจังตลอดหลายปีที่ผ่านมา คนนี้ ก็ยินดีร่วมเดินทางไปกับเรา เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ ในสังคมลุมพินี ให้เราได้สัมผัสกัน… “ผมยอมรับว่าเคยได้ยนิ ชือ่ คอนโดลุมพินมี าก่อน แต่ไม่ เคยรูเ้ รือ่ งราวภายในอะไรมากมายนัก … การได้มโี อกาสมาสัมผัส LPN อย่างใกล้ชิดครั้งแรกครั้งนี้ ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ต้อง บันทึกไว้อีกครั้งในชีวิตการเดินทางของผมทีเดียว” LPN ดีใจที่ได้เปิดบันทึกประสบการณ์หน้าใหม่ให้กับ คุณยู… ขอบคุณนะคะ สำ�หรับประสบการณ์ดีๆ ที่เราได้มี โอกาสพบปะและถ่ายทอดความรู้สึกดีๆ ผ่านตัวหนังสือเล็กๆ นี้ ไปด้วยกัน
108
ทรงศีล ทิวสมบุญ (อัพ)
โชคดีเหลือเกิน ที่บังเอิญ LPN มีคนใกล้ตัวคุ้นเคยกับ คุณอัพ การได้มีโอกาสชักชวนพูดคุยเชื้อเชิญคุณอัพ มาเป็น นักเขียนรับเชิญเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ของลุมพินีจึงเกิดขึ้นได้ อย่างสบายๆ เหมือนกับบุคลิกสบายๆ ของคุณอัพที่เราคุ้นเคย
109
ช่วงสิน้ ปี ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาทีค่ อ่ นข้างวุน่ วาย ทำ�ให้ นักเขียนส่วนใหญ่ไม่คอ่ ยมีเวลาว่างมากนัก … แต่ถึงกระนัน้ แล้ว เราก็แสนโชคดีที่คุณอัพสนใจ และยินดีสละเวลาพักผ่อนที่มีอยู่ น้อยนิดมาร่วมประสบการณ์ ไปกับเรา เพราะการที่ศิลปินเจ้าของ ผลงานชื่อดังอย่าง Improvise, Beansprout & Firehead, Nine Lives รวมทั้งผลงานดนตรีและโปรเจคต์อีกมากมายที่มี ชื่อเสียงโด่งดังไปไกลถึงต่างแดนอย่าง ทรงศีล จะมีเวลาให้กับ งานไหนจริง แปลว่างานนั้นต้องมีคุณค่ามากพอทีเดียว “LPN เป็นโครงการที่คุ้นชื่อนะครับ แม้ว่าจริงๆ แล้ว งานเขียนลักษณะนี้ผมจะไม่คุ้นเคยเท่าไร แต่การที่ได้มีโอกาส เดินทางมาพบกับ อาจารย์วารี ทีล่ มุ พินคี รัง้ นี้ ถึงจะเป็นการตั้งใจ มาทำ�งาน แต่ก็ได้ประสบการณ์ที่มากกว่าการทำ�งาน โดยเฉพาะ มุมมองจากสายตาของผู้ที่มีประสบการณ์และแง่คิดในการใช้ ชีวิตอย่างอาจารย์วารี ทำ�ให้การสัมภาษณ์ครั้งนี้เป็นเหมือนการ สนทนาที่เรียบง่าย แต่มีอะไรให้กลับไปครุ่นคิดครับ” ขอบคุณนะคะคุณอัพ สำ�หรับช่วงเวลาดีๆ ที่เราได้มี โอกาสเดินทางไปพร้อมๆ กัน ถึงแม้การร่วมประสบการณ์ครั้งนี้ จะใช้เวลากันเพียงไม่นาน แต่อย่างน้อยทุกรอยยิ้มที่เกิดขึ้นจาก การพบกันก็มีความหมาย และสร้างความรู้สึกดีๆ ให้ครอบครัว ลุมพินีไปได้อีกนานแสนนาน
110
พัธนะ สุวรรณโคตร์ (พาส)
111
การพบกันของ LPN กับคุณพาส เป็นอะไรที่ค่อนข้าง ฉุกละหุกพอสมควร ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากจนแทบตั้งตัวไม่ทัน แต่การพบกันของเราก็ผา่ นพ้นไปด้วยแววตาเปือ้ นยิม้ กันถ้วนหน้า ถึงแม้จะต้องเดินทางไกล ข้ามทางด่วนมาหลายด่านด้วยความ เหนื่อยล้า แต่ประสบการณ์ครั้งนี้ก็คุ้มค่าเหลือเกิน จริงอยูท่ ใ่ี ครๆ ก็รวู้ า่ หลายสิง่ หลายอย่างในโลกใบนี้มักมี สองด้านเสมอ แต่การได้ร่วมงานกับนักเขียนมืออาชีพ ที่มีอาชีพ หลักเป็น Food Stylish ครั้งนี้ ถึงแม้จะทำ�เอาเราเบลอๆ ไป นิดหน่อย แต่มุมมองเล็กๆ จากคุณพาส ก็ทำ�ให้เราทั้งหลาย นิ่งอึ้งไปชั่วขณะทีเดียว “คอนโดในเมือง เป็นอะไรที่ผมค่อนข้างคุ้นเคย แต่ สังคมคอนโดที่เคยรับรู้ก็ไม่ใช่แบบที่ได้เห็นวันนี้ เข้าใจว่าคอนโด เป็นอะไรที่ขายให้คนที่ต้องการที่อยู่อาศัย แต่ที่ LPN นี่… ผมว่า เยอะนะ หลายๆ อย่าง ทั้งผู้คน สังคม และการใช้ชีวิตภายใน ดูกลมกลืน … จนไม่แปลกใจเลย ที่เวลาเข้ามาแล้วเห็นคนที่นี่ เขาเรียกกันว่า บ้าน” วูบแรกทีฉ่ กุ ละหุกกัน ขอสารภาพค่ะว่ารอยยิม้ แบบมึนๆ ของคุณพาส ทำ�ให้เราสับสนไม่น้อย แต่พอเวลาผ่านไปเพียง เล็กน้อย รอยยิ้มมึนๆ นี้ก็ทำ�ให้หัวใจหลายๆ ดวงยิ้มตามกันไป เป็นทอดๆ ได้อย่างง่ายดาย ดีใจนะคะคุณพาส… ที่มีโอกาสได้ เดินทางเปิดประสบการณ์มาพบปะกัน
112