Issue 75 / MAY - JULY 2014

Page 1

LUMPINI MAG

L .P. N. D E V E L O P M E N T P U B L I C C O M PA N Y L I M I T E D

ISSUE 75 MAY - JULY 2014

ปี ทีล่ ุมพินี ชุมชนน่าอยู ่ LPN 25th Anniversary STORIES

Real Pleasure of Living ขอบคุณที่มกี นั และกัน


บททักทาย

#75

บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) 1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพีนี ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุ งเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 02-285-5011-6 แฟกซ์ : 02-285-5017 E-mail : lumpinimag@lpn.co.th Facebook/LumpiniMag Lumpini Instagram/LumpiniMag www.lpn.co.th

สวัสดีครับ สมาชิกครอบครัวลุมพินีทุกท่าน ผมเชื่อว่าทุกการเติบโตของธุรกิจนั้น ในระหว่างทางที่เดิน มีผู้คนมากมายที่ร่วมเดินทางไปด้วย ทั้งพนักงาน ลูกค้า ปิยมิตร และผู้ถือหุ้น ที่เป็นแรงผลักดันให้แต่ละก้าวของธุรกิจ แข็งแกร่ง และมั่นคง เฉกเช่นเดียวกับ LPN ... ในตลอด 25 ปีมานี้ เราเติบโตมาเพราะผู้คนมากมาย ร่วมสนับสนุนและร่วมสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ และความผูกพัน ทุกรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ สร้างพลังใจในการท�ำงานให้กับเรา ทุกประสบการณ์ ก็สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับเราเช่นกัน ขอขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจเรา เชื่อมั่นใน LPN มาตลอด 25 ปีแห่งความผูกพัน ... ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันนะครับ LPN 25th ANNIVERSARY

โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ

content

LUMPINI MAG 3 4 6 7 13

Care & Share Real Pleasure of Living Happy Together Lumpini Focus Story Health Tip

จัดท�ำโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) 2 LPN 25 th Anniversary

14 16 17 18 19

Vibrant Community Idea Room Don’t Miss Chit Chat Earth Therapy ในวาระครบรอบ 25 ปี LPN คุณผู ้อ่านสามารถร่วมแชร์และแบ่งปั น ประสบการณ์เรื่องราวของชุ มชนน่าอยู ่ มาให้เรา เพียงส่งโปสการ์ดที่อยู ภ่ ายในเล่ม รับไปเลยของที่ระลึกจาก LPN


Care & Share

The Little Big Spirit

จิตอาสาของเจ้าหมอน้อย

คุณคิดว่าเมื่อเรามีจิตอาสาจะก่อให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง? ค�ำตอบอาจมีอยู ่มากมาย และนี่คือค�ำตอบอีกส่วนหนึ่งเมื่อเราได้มี โอกาสพู ดคุยกับครอบครัวสุนทรวัฒน์ท่ี สวนรถไฟและได้มองดู น้องอิ่ม-ณัฐวรรธน์ สุนทรวัฒน์ ที่ร่าเริง ยิ้มเก่ง ปั่ นจักรยานอยู ่ อย่างมีความสุข

คุณชัยญากรณ์ สุนทรวัฒน์ คุณพ่อเล่าให้เราฟังว่า การปัน่ จักรยาน ของน้องอิ่มเริ่มขึ้นเมื่อตอนน้อง 2 ขวบกว่าๆ แบบที่พ่อแม่ก็ไม่มั่นใจนักว่า น้องจะสามารถปัน่ จักรยานได้เนือ่ งจากมีโรคหอบทีต่ อ้ งคอยรักษา แต่สดุ ท้าย ก็ตัดสินใจมอบจักรยานให้เป็นของขวัญ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก็ เริ่มตามมา น้องอิม่ เริม่ ฝึกขีจ่ กั รยานอยู่ในหมูบ่ า้ นจนสามารถขีจ่ กั รยาน 2 ล้อ ได้อย่างคล่องแคล่วในอายุเพียงแค่ 3 ขวบครึ่ง จากนั้นคุณพ่อและคุณแม่ จึงพาน้องมาขี่จักรยานเพื่อสุขภาพ วันหนึ่งน้องอิ่มเห็นคนขี่จักรยานล้มที่นี่ และได้ถามคุณพ่อว่า “ท�ำไมเราถึงไม่ช่วยเขา?” หลังจากวันนั้นน้องอิ่ม ก็มีกระเป๋า 1 ใบที่บรรจุพลาสเตอร์ปิดเเผลติดตัวไว้เมื่อมาขี่จักรยาน ทุกๆ ครัง้ ทีม่ กี ารช่วยเหลือเขาก็จะได้พบกับรอยยิม้ ค�ำขอบคุณ และค�ำชืน่ ชม ตอบกลับมา เป็นแรงผลักดันให้นอ้ งอยากทีจ่ ะท�ำต่อไปเรือ่ ยๆ รวมถึงคุณพ่อ และคุณแม่กค็ อยเก็บรูปเมือ่ น้องท�ำความดีไว้เป็นสมุดภาพ คอยกลับมาบอก เล่าให้น้องฟัง ความสุขกับการช่วยเหลือคนผ่านไปจนพ่อกับแม่ลืมสังเกตว่า ลูกน้อยของเขาไม่ต้องใช้ยาพ่นแก้หอบมานานมากแล้ว น้องมีความสุขกับ การได้ชว่ ยเหลือคนอืน่ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกับกลุม่ จิตอาสาอีกหลายๆ กลุม่ ได้เพื่อนได้มิตรภาพจากคนหลากหลายวัย และกลายเป็นเด็กต้นแบบใน

เรือ่ งของจิตอาสา เดีย๋ วนี้ในหมูบ่ า้ น ของน้องอิ่มมีคนหันมาขี่จักรยาน เพิ่มมากขึ้นด้วย แอบถามหาค�ำตอบจาก หมอน้อยคนนี้ว่าท�ำไมเขาถึงชอบ ช่วยท�ำแผลให้คนเจ็บ น้องอิม่ บอกว่า “ไม่อยากให้ ไปหาหมอ หมอท�ำเจ็บ อิม่ ท�ำไม่เจ็บ” อาจเศร้าไปสักหน่อย เมื่อได้รู้ว่า แต่ก่อนนั้นน้องต้องเข้า โรงพยาบาล ถูกเข็มเจาะ ฉีดยา พ่นยา รักษาโรคหอบเป็นประจ�ำ นี่คงเป็น สิง่ ทีเ่ ขาไม่ตอ้ งการให้เกิดกับคนอืน่ แต่กน็ า่ ชืน่ ชมทีน่ อ้ งคิดในแง่มมุ ทีว่ า่ เมือ่ สิง่ นีเ้ จ็บ ก็ไม่อยากให้คนอืน่ เจ็บ แบบเดียวกับเขา

ในโลกของจิ ต อาสานั้ น ไม่ เ คยแบ่ ง ว่ า คุ ณ จะแข็ ง แรง หรืออ่อนแอ ร�่ำรวยหรือยากจน เด็กหรือสูงวัย ทุกคน ทุกสถานะ สามารถเข้ามาอยู ่ในโลกใบนี้ได้ เพี ย งแค่ ทุ ก คนรู ้ จั ก ช่ วยเหลื อ เสี ย สละเวลา ท� ำ ความดี ใ ห้ กั น และกัน ขอบคุณสถานที่ : สวนรถไฟ 3 ISSUE 75 MAY - JULY 2014


Real Pleasure of Living

ขอบคุ ณ ที่มี กั น และกั น th LPN 25 Anniversary วัย 25 ปี เป็นวัยของคนท�ำงานทีม่ คี วามมุง่ มัน่ และพร้อมทีจ่ ะพัฒนาตัวเอง พัฒนางาน พัฒนาชี วิต สู่อนาคตทีเ่ ติบโตอย่างยัง่ ยืน... ซึ่ งบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) (LPN) ก็เช่ นกัน

ฆัมป่ พร สุข ประธานเจ้าหน้าที่ ในวันนี้ LPNคุได้ณกทิา้ วสู ที ี่ 25 เปล่ แล้ว งกัศรี บบทบาท บริยหคุารณภาพใจกลางเมื LPN ผูพ้ ฒ ั นาอาคารชุดพักอาศั องทีเ่ ป็น ที่รู้จักกันดีภายใต้แบรนด์ “ลุมพินี” โดยตลอดระยะ เวลาที่ผ่านมานั้น ในทุกๆ ก้าว LPN เรียนรู้ที่จะ ปรับปรุงกระบวนการด�ำเนินงาน เพือ่ สร้างความเติบโต ที่มั่นคง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง มาในวันนี้ คุณทิฆมั พร เปล่งศรีสขุ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร LPN และหนึง่ ในผูบ้ ริหารทีเ่ ติบโตมากับทุกก้าว ของบริษั ทจะมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ และ แนวคิดในการสร้างสรรค์เพื่อส่งมอบ “ชุมชนน่าอยู่” สู่สมาชิกครอบครัวลุมพินี “ผมว่าความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด ในการด�ำเนินธุรกิจ หากแต่ตอ้ งควบคูก่ บั การยึดหลัก ธรรมาภิบาลในการแสดงความรับผิดชอบ และใส่ใจ 4 LPN 25 th Anniversary

คุณทิฆมั พร เปล่งศรีสขุ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร LPN


ต่ อ ทุ ก มิ ติ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง โดยเฉพาะต่ อ สั ง คมและ สิง่ แวดล้อมของชุมชนทีเ่ ราพัฒนาขึน้ มา ซึง่ ผมเชือ่ มัน่ ว่าตลอด 25 ปีมานี้ ก็เพียงพอทีจ่ ะพิสจู น์ความมุง่ มัน่ และตั้งใจของบริษั ทได้เป็นอย่างดี วัดได้จากกว่า 80,000 ครอบครัวที่เราได้รับความไว้วางใจมาร่วม เติมเต็มความเป็น “ชุมชนน่าอยู่” ให้กับทุกชุมชน โดยแต่ละชุมชนเราก็พยายามผลักดันให้ทุกคนมี ส่วนร่วมภายในชุมชน เรียนรู้ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ สร้าง “ชุมชนน่าอยู่” ร่วมกัน เพราะเราอยากให้ผอู้ ยู่ อาศัยในโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมดีแ ละ สิ่งแวดล้อมดี ไม่ว่าจะซื้อห้องมาในราคาไหนก็ตาม ควรได้รับความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีจากการ อยู่อาศัยที่เหมือนกัน” เช่นเดียวกับ คุณพิเชษฐ ศุภกิจจานุสันติ์ คุณพิเชษฐ ศุภกิจจานุสันติ์ กรรมการบริหาร LPN ทีเ่ ป็นหนึง่ ในผูบ้ ริหาร และเพือ่ น กรรมการบริหาร LPN คนส�ำคัญของคุณทิฆัมพรที่ร่วมกันก่อตั้ง LPN และ สร้างสรรค์ลมุ พินี “ชุมชนน่าอยู”่ นีข้ นึ้ มา เล่าให้เราฟังว่า “ไม่ใช่เรือ่ งง่ายทีเ่ ราจะสร้างความน่าเชือ่ ถือ ในตัวผลิตภัณฑ์ และบริการให้กบั ลูกค้าหรือผูอ้ ยูอ่ าศัย กว่าพวกเราจะข้ามผ่านปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มาได้อันดับแรกคือ ต้องมองให้เป็นประสบการณ์ การเรียนรู้ พร้อมกันนั้นก็แสดงความจริงใจออกมา ในรู ป แบบของการพั ฒ นาคุ ณ ค่ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละ บริการอย่างไม่หยุดนิ่ง ห้องชุด LPN นั้นมีราคาที่ เหมาะสม เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้ ง่ายๆ โดยเราเพิ่มคุณค่าของการอยู่อาศัยด้วยการ สร้างจิตวิญญาณของความเป็นบ้านขนาดใหญ่ให้ เขาสามารถสัมผัสได้ โดยเฉพาะการพัฒนากิจกรรม ภายในชุมชนที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ดูแล ห่วงใย และแบ่งปันใน “สวนรวมใจ” และพืน้ ทีส่ ว่ นกลางอืน่ ๆ เพือ่ ให้ผอู้ ยูอ่ าศัย ทุกคนได้เข้ามามีสว่ นร่วม มากกว่า ทีจ่ ะให้พวกเขาไปจ�ำกัดอยูแ่ ต่ในห้องสีเ่ หลีย่ มเท่านัน้ และก้าวต่อไปเราเริม่ เข้าสูก่ ารสร้าง “ชุมชนต้นแบบ” ซึง่ เป็นต้นแบบของ “ชุมชนน่าอยู”่ เพือ่ ขยายผลสูท่ กุ ชุมชน อันจะน�ำไปสู่มาตรฐานของ “ชุมชนน่าอยู่” ทีจ่ ะท�ำให้เกิดความยัง่ ยืนสืบไป และนีค่ อื ปรัชญาการ ท�ำธุรกิจที่ เริ่มต้นจากหัวใจของพวกเรา”

25 ปี LPN Anniversary ... ณ วันนี ้ จึงเป็นวันเวลาแห่ง ความสุข ความผู กพัน ขอบคุณในการมีสว่ นร่วม และ มีกันและกันเสมอมา

5 ISSUE 75 MAY - JULY 2014


Happy Together ลูก.. ปาวานอะไรหนอยสิ ชวยเอาถุงขยะกับลังที่วางอยูขางประตู ไปทิ้งที่หองทิ้งขยะทีสิ.. ตรงนี้ใชมั้ยปา ไดเลยฮะ..

หองทิ้งขยะสวนรวม

!? ..มีอะไรใหชวยมั้ย?

ไมยากเลย.. การทิง้ ขยะทีถ่ กู ตอง จำเปนตองมีการแยกขยะดวยนะ เพือ่ ใหสะดวกแกการนำไปกำจัด หรือนำไปใชประโยชนไดใหม โดยทัว่ ไปแยกเปน 4 ประเภทคือ เปนขยะทีไ่ มสามารถนำ มารีไซเคิลได และไมสามารถแยกเปน ประเภทตางๆ ได ทำใหตอ งทิง้ เพือ่ ให รถมาเก็บขนไปทำลาย หรือกำจัดตอไป เชน เศษกระจกแตก เปลือกลูกอม ซองขนม ฯลฯ

3. ขยะทัว่ ไป

1. ขยะเศษอาหาร หรือขยะทีเ่ นาเสียได เปนขยะทีย่ อ ยสลาย

ไดงา ย มีความชืน้ มาก สงกลิน่ เหม็นไดอยางรวดเร็ว ควรมัดปากถุงใหมดิ ชิดกอนนำไปทิง้ โดยขยะประเภทนี้ สามารถใชประโยชนไดโดยการหมักทำปุย เพือ่ การเกษตร เชน เศษผักผลไม เปลือกผลไม เนือ้ สัตว เศษอาหาร เศษไม เศษใบไม ฯลฯ

ถือเปนขยะอันตรายทีจ่ ำเปน ตองแยกทิง้ ตางหาก เนือ่ งจากสมบัตทิ างกายภาพ เคมี และชีวภาพ เชน ติดไฟงาย ระเบิดได มีสารกัดกรอน ขยะพิษ ไดแก ถานไฟฉาย หลอดไฟ กระปองยาฆาแมลง เครือ่ งสำอาง น้ำมันเครือ่ ง ฯลฯ

2. ขยะพิษ/อันตราย

4. ขยะรีไซเคิล หรือขยะยังใชได ขยะประเภทนี้

บางสวนสามารถแยกนำมาแปรรูปกลับมาใชใหม เปนการประหยัดพลังงานและทรัพยากร ไดแก แกว พลาสติก กระดาษ กระปองอะลูมเิ นียม กระปองเหล็ก เศษผา ฯลฯ

มีขยะหลายอยาง จะแยกทิง้ ยังไงดีนะ

“ รวมสรางชุมชมนาอยู ดวยการคัดแยกขยะกอนทิ้ง ” เพื่อสรางสภาพแวดลอมที่ดีตอสวนรวม และยังชวยโลกอีกดวย :)

6 LPN 25 th Anniversary


Focus Story

ECO DESIGN การออกแบบ เพือ่ การใช้ชีวิต อย่างยัง่ ยืน

ท่ามกลางกระแสของผูค้ นในเมืองทีพ่ ากันใช้ชวี ติ ไม่ตา่ งจากการวิง่ แข่งกัน ในทุกวันเราต้องแย่งกันใช้ถนนเพื่อไปสู่จุดหมายให้เร็วที่สุด รีบเดินไปจองร้านอาหาร อร่อยๆ ทีม่ คี นต่อแถวยาวหลายสิบคิว หรือเร่งท�ำงานดีๆ ออกมาเพือ่ ให้ ได้กลายเป็น หนึง่ ในแต่ละสาขา ด้านผูผ้ ลิตก็เร่งผลิตสินค้าทีค่ ล้ายกันไปหมดเพือ่ แข่งขันกับผูผ้ ลิต เจ้าอืน่ และเมือ่ ทุกอย่างด�ำเนินไปเรือ่ ยๆ จนกลายเป็นเรือ่ งปกติ อาจท�ำให้คนบางกลุม่ เหนื่อยล้า และหันมาหาทางออกด้วยค�ำว่าการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน (Sustainable) 7 ISSUE 75 MAY - JULY 2014


อาจด้วยสภาพพื้นที่อันมีจำ� กัด คนในเมืองจึงไม่ สามารถใช้ชวี ติ แบบยัง่ ยืนด้วยการหวนคืนสูธ่ รรมชาติอย่าง แท้จริงได้ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จึงออกมาในอีกรูปแบบหนึง่ ซึง่ ค�ำว่า Sustainable มักจะมาพร้อมกับ Eco Design หรือการ ออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเสมอ จะเห็นได้ว่าใน ทุกตลาด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของที่ต้องใช้ในชีวิตประจ�ำวัน หรือแม้กระทั่งการออกแบบบ้าน โรงแรม คอนโดมิเนียม ก็ยังมีการออกแบบด้วยแนวคิดแบบ Eco และที่น่าสนใจ กว่านั้นคือ สินค้าเหล่านี้มักได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากผู้บริโภคด้วย แต่ในยุคที่อยู่ตรงกลางระหว่างกระแสที่นิยม การผลิตซ�้ำกับกระแสนิยมการผลิตแบบยั่งยืนดังเช่น ปัจจุบนั นัน้ ความเข้าใจของผูใ้ ช้-ผูบ้ ริโภคอาจจะมีไม่มากนัก ท�ำให้ผู้ผลิตที่ใช้สื่อโฆษณาฉาบทาตัวเองด้วยค�ำว่า Eco อาศัยโอกาสดึงเงินออกจากกระเป๋าด้วยสินค้าราคาแพง เพียงแค่แปะค�ำว่า Eco ลงไป

จัดการความรู้เสียใหม่ ความเข้าใจส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าสินค้าแบบ Eco นั้นคือการน�ำวัตถุดิบมารีไซเคิลแล้วผลิตออกมาเป็น สินค้าชนิดใหม่ ซึ่งอันที่จริงแล้วการออกแบบที่ค�ำนึงถึง สิง่ แวดล้อมจริงๆ นัน้ จะต้องค�ำนึงถึงสิง่ แวดล้อมทัง้ วัฏจักร ชีวิตของผลิตภัณฑ์ ไล่ตั้งแต่การวางแผน การออกแบบ การผลิต การขนส่ง การทดแทนธรรมชาติ การน�ำไปใช้ อย่างคุ้มค่า ไปจนถึงการท�ำลายหลังจากสิ้นสุดการใช้งาน โดยทุกส่วนจะต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อย ที่สุด โดยสิ่งเหล่านี้เรามักจะรู้จักกันในหลักการของ 4Rs 8 LPN 25 th Anniversary


ที่ประกอบด้วยการ Reduce (การลดวัตถุดิบในการผลิต) Reuse (การใช้ซ�้ำๆ อย่างคุ้มค่า) Repair (การซ่อมแซมได้) และ Recycle (การน�ำกลับมาใช้ใหม่) ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้วนัน้ ได้ให้ความส�ำคัญกับ Eco Design มานานพอทีจ่ ะพัฒนาให้มนั กลายเป็นข้อกฎหมายไปแล้ว และเป็นผลให้ประเทศอืน่ ๆ ทีต่ อ้ งการ ท�ำการค้ากับพวกเขาจะต้องตื่นตัว ให้ความส�ำคัญเช่นกัน เพราะมิเช่นนั้นอาจจะส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล อย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมุ่งเน้นให้ความส�ำคัญไปที่สิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก การท�ำอุตสาหกรรมเป็นหลัก ใช้เทคโนโลยีที่สามารถผลิตพลังงานชีวภาพได้จากของเสียและ ของเหลือใช้เพื่อลดต้นทุน ด้านประเทศแคนาดาได้น� ำแนวคิดหลักการของนิเวศวิทยา อุตสาหกรรมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการบริหารบ้านเมืองและอุตสาหกรรม ส่วนประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้ว อย่างประเทศอย่างสวีเดน เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และญี่ปุ่น คงไม่ต้องพูดถึง เพราะประเทศเหล่านี้ขึ้นชื่อเรื่องการให้ความส�ำคัญกับสิ่งเหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว แต่ที่น่าสนใจคือ สหราชอาณาจักร ที่ถูกประกาศโดยนายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน ว่ารัฐบาลของเขาจะเป็น รัฐบาลที่ให้ความส�ำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดที่เคยมีมา

9 ISSUE 75 MAY - JULY 2014


ประเทศไทยกับความใส่ใจ ส�ำหรับในประเทศไทยเราอาจจะยัง ไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนมากนัก แต่นับตั้งแต่ ที่เราหันมาให้ความสนใจกรณีอุณหภูมิ โลกที่ สูงขึ้น นักออกแบบในแทบทุกสายการผลิต ต่างเริม่ ตัง้ โจทย์เกีย่ วกับ Eco Design มากขึน้ จนปัจจุบันเกือบจะกลายเป็นสิ่งจ�ำเป็นในการ ดีไซน์สำ� หรับนักออกแบบไปแล้ว สินค้าภายในบ้านที่มองหาไปแล้ว ทุกคนต้องเจออย่าง หนังสือ โคมไฟ โต๊ะ ตู้ หรื อ แม้ ก ระทั่ ง เครื่ อ งแต่ ง กายอย่ า งเสื้ อ ผ้ า รองเท้า กระเป๋า นาฬิกา ก็ล้วนมีการออกแบบ อย่าง Eco มาวางขายเรียบร้อยแล้ว ที่เห็นได้ ชัดเจนคือสินค้า Eco Shop ที่มีเจ้าของเป็น นักแสดงที่โด่งดังในเรื่องการใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยเขามีทั้งหน้าร้าน และเว็บไซต์รวมร้าน ออนไลน์ www.ecoshop.in.th เพื่อรวบรวม ร้านค้าที่ขายสินค้าเหล่านี้ ซึ่งภายในเว็บไซต์ สามารถตอบโจทย์ให้กบั คนทีร่ กั สิง่ แวดล้อมได้ อย่างครอบคลุม

10 LPN 25 th Anniversary


ส่วนสิ่งปลูกสร้างอย่างโรงแรม บ้าน หรือคอนโดมิเนียม ก็ถอื ว่ามีความส�ำคัญกับประเทศเขตร้อนบ้านเราอย่างมาก เพราะโดยปกติ การแก้ปญ ั หาขณะอากาศร้อนของคนส่วนใหญ่คอื การเปิดพัดลม หรือไม่ก็ เปิดแอร์ แต่เมื่อรูปแบบของ Eco Design ได้มาถึง ท�ำให้ความต้องการ ของคนในยุคสมัยนี้ยามปลูกสร้างที่อยู่อาศัยจึงเทไปทางการออกแบบ เพื่อสอดรับกับสภาพภูมิอากาศเป็นส่วนใหญ่ จะเห็นได้จากบ้านที่ปลูก สร้างขึ้นใหม่ก็ให้ความส�ำคัญกับทิศทางลม ฟังก์ชั่นการใช้งานที่คุ้มค่า และมีประโยชน์มากที่สุดของแต่ละส่วน ด้านอาคารชุดพักอาศัยของบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) (LPN) ก็เช่นกันที่ใส่ใจการออกแบบในรูปแบบ Eco Design ตัวอย่าง โครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา และโครงการลุมพินี พาร์ค พระราม 9-รัชดา ที่ ได้รับการพัฒนาโครงการขึ้นมาภายใต้แนวคิด “LPN GREEN” ตั้งแต่เรื่องของการออกแบบและวางผังโครงการให้ สอดคล้องกับมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ของ LEED โดยเน้นย�้ำถึงจิตส�ำนึกของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (CESR) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และให้ผู้พักอาศัยมีความสุข ในการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง

11 ISSUE 75 MAY - JULY 2014


เมื่อมองออกไปหลายๆ ด้านแล้วหันกลับ มาหาตัวเอง เราอาจจะไม่ต้องใช้สินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็น Eco Design ทั้งหมด อาจจะ เป็นเพียงแค่ซอื้ ให้นอ้ ยทีส่ ดุ แล้วใช้อย่างคุม้ ค่า ที่สุด เช่น เราอาจจะไม่ต้องใช้ถุงผ้าถ้าเรามี กระเป๋าอยูแ่ ล้ว เราอาจจะไม่ตอ้ งใช้โคมไฟจาก วัสดุเหลือใช้ ถ้าเรารักษาโคมไฟที่มีอยู่ให้ใช้ ได้ถึง 10 ปี หรืออาจไม่ต้องซื้อจักรยานมาปั่น ถ้าคุณมีเพื่อนร่วมทางเต็มคันรถ นั่นอาจจะ เป็นการเริ่มต้นที่ดี ก่อนที่จะเริ่มเลือกซื้อ Eco Design ในวันที่ต้องมองหาของจ�ำเป็นชิ้นใหม่ ต่อไป

12 LPN 25 th Anniversary


Health Tip

Kidney Cancer มะเร็งไตไว้ใจยาก

ถึงแม้มะเร็งไตจะเป็น โรคที่พบได้น้อย แต่ความร้ายกาจ ของมะเร็งชนิดนี้เรียกได้ว่าร้ายลึก อย่างเหลือเชือ่ ช่วงอายุทมี่ กั ตรวจ พบว่าเป็นมะเร็ง โดยทัว่ ไปจะอยู่ใน ช่วงอายุประมาณ 60 ปี แต่ส�ำหรับ มะเร็งชนิดนีเ้ พียงอายุ 40 ปีคณ ุ ก็มี โอกาสทีจ่ ะเป็นได้แล้ว และตามสถิติ จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สาเหตุ ข องมะเร็ ง ไต เกิดจากการรับประทานยาแก้ปวด ที่มีตัวยาฟีนาซีติน (Phenacetin) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีสารพิษ ปนเปือ้ น และการใช้ชวี ติ ประจ�ำวัน อยู่กับมลพิษ ต่างๆ เช่นเดียวกับ การเกิดมะเร็งในอีกหลายๆ ชนิด สิง่ เหล่านีค้ อื สิง่ ทีเ่ ราควรหลีกเลีย่ ง เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็ง ถึงแม้ บางอย่างจะหักห้ามใจได้ยากก็ตาม

หลายๆ ครั้ง การตรวจ พบมะเร็งไตในระยะทีย่ งั ไม่ลกุ ลาม เกิดจากความบังเอิญในขณะตรวจ สุ ข ภาพ หรื อ ตรวจหาโรคอื่ น ๆ สาเหตุเพราะไตอยู่ ในต�ำแหน่งที่ ตรวจสอบแบบคัดกรองเบื้องต้น ได้ยาก คือไม่สามารถคล�ำหาความ ผิ ด ปกติ โ ดยการใช้ มื อ คล� ำ ได้ ใน ระยะเริม่ ต้น เนือ่ งจากไตนัน้ มีลำ� ไส้ กดทั บ อยู ่ หากคล� ำ เจอว่ า ไตมี อาการบวมโตแล้วถือว่าอยู่ในขั้นที่ ค่อนข้างวิกฤต รักษาให้หายได้ยาก มักมีอาการปวดหลังหรือเจ็บเอว เรื้อรังร่วมด้วย ปัสสาวะเป็นเลือด (บางครั้งการปัสสาวะเป็นเลือดก็ ไม่สามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่า ต้องตรวจโดยใช้วธิ ที างการแพทย์) เกิดภาวะเลือดจาง น�้ำหนักลดลง อย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีไข้สูง

การแพร่ ก ระจายของ เซลล์มะเร็งส่วนใหญ่จะขยายเป็น วงกว้าง แต่ส�ำหรับมะเร็งไตนั้น มั น สามารถแพร่ ก ระจายได้ โ ดย การเลื้อยขึ้น-ลงในร่างกายของเรา หากมั น เลื้ อ ยลงไปยั ง กล้ า มเนื้ อ ด้านล่างจะส่งผลให้เกิดอาการบวม และถ้ า หากเลื้ อ ยขึ้ น ด้ า นบน เซลล์มะเร็งไตก็อาจสามารถเข้าไป ท�ำลายกระดูก ปอด และหัวใจ ท�ำให้เสียชีวิต สิ่งที่เราสามารถท�ำได้ดี ทีส่ ดุ เพือ่ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ไตตั้งแต่เนิ่นๆ นั่นก็คือ พยายาม รับประทานผักผลไม้ที่สะอาด ผัก ออร์ แ กนิ ค หรื อ หั น มาปลู ก เอง เล็กๆ น้อยๆ หลีกเลี่ยงมลภาวะ ภายนอก และลดการสร้างมลภาวะ ที่ตัวเองด้วย ที่ส�ำคัญหมั่นสังเกต การเปลี่ยนแปลงของตัวเอง ไม่ว่า จะเป็ น อาการเจ็ บ เอวที่ เ กิ ด ขึ้ น เป็นระยะเวลานาน มีความดันสูง โลหิตจาง น�ำ้ หนักลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นไข้ ฯลฯ สิง่ เหล่านีอ้ าจเป็นหนึง่ ในสาเหตุ ข องการเกิ ด มะเร็ ง ไต ควรจดจ�ำอาการผิดปกติต่างๆ ที่ เกิดขึน้ เพือ่ แจ้งกับแพทย์เมือ่ ถึงการ ตรวจสุ ข ภาพประจ�ำปี หรือการ ตรวจสุขภาพอื่นๆ ในขั้นตอนการ ซักประวัติ ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะช่วย ให้ แ พทย์ วิ นิ จ ฉั ย โรคได้ ถึ ง 70% และสามารถแนะน� ำ การตรวจที่ เหมาะสมนอกเหนื อ การตรวจ สุขภาพทั่วไป

13 ISSUE 75 MAY - JULY 2014


Vibrant Community

คอลัมน์นักเขียนลุมพินี : พ.ต.อ.สิทธิรัตน์ สื่อสุวรรณ (สมาชิ กลุมพินีเพลส พหล-สะพานควาย)

ชุมชน ของคนรืน่ รมย์

ความรื่นรมย์ในทัศนคติของผมคือ การได้มีที่พักอาศัยที่ อบอุ่น สะอาด วางใจได้เรื่องความปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็ต้องมี การสานสัมพันธภาพกับคนรอบข้างให้อยูก่ นั ได้อย่างเกือ้ กูล ชีวติ หลัง วัยเกษียณ ณ ลุมพินี เพลส พหล-สะพานควายแห่งนี้ จึงให้ความ รื่นรมย์และประทับใจในแบบฉบับที่ผมต้องการ

14 LPN 25 th Anniversary


ผมผ่านการใช้ชีวิตอยู่แฟลตมาก่อน นั่นท�ำให้ผมเรียนรู้ ได้ว่า การอยู่แฟลตแตกต่าง จากการอยู่คอนโดอย่างไร ซึ่งเมื่อผมตัดสินใจ ซื้อคอนโดแล้วมาอยู่ที่นี่ ก็เหมือนชีวิตของผม ก้าวสูอ่ กี ระดับหนึง่ เพราะคอนโดจะแตกต่างจาก แฟลต ทั้งในเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด ความสัมพันธ์ของเพื่อนบ้านในการ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งที่คอนโดจะมีมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดนั้น ผมค่อนข้าง พอใจมาก เพราะที่ นี่ จ ะดู แ ลท� ำ ความสะอาด เหมือนบริการในโรงแรมชัน้ น�ำ อีกสิง่ หนึง่ ทีส่ ำ� คัญ ไม่แพ้กันคือ เรื่องความปลอดภัย ที่นี่มี รปภ. ที่เข้มแข็ง ในขณะเดียวกันเขาก็มีความอ่อนน้อม มีจติ ใจรักในบริการ ตรงนีต้ อ้ งขอชืน่ ชม เช่น เวลา เขาเห็นลูกบ้านถือของพะรุงพะรัง เขาจะกุลีกุจอ เข้ามาช่วย หรือเวลาที่ต้องการความช่วยเหลือ เรื่องรถ เขาก็จะมาในทันที ซึ่งเป็นภาพที่ผมเห็น จนชินตา อีกวิธีหนึ่งที่โครงการลุมพินีสนับสนุน เรือ่ งความปลอดภัยแล้วผมเห็นด้วยคือ การติดตัง้ กล้องตามทีต่ า่ งๆ แน่นอนว่า เราไม่สามารถทีจ่ ะให้ รปภ. เข้าไปอยู่ในทุกจุดได้ ดังนั้น กล้องวงจรปิด นี่ล่ะ ที่จะเป็นหูเป็นตาให้เรา การใส่ใจเรื่องความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะช่วยเพิ่มพูน มูลค่าความสุขให้การอยู่อาศัยภายในบ้าน และ ช่วยเติมเต็มค�ำว่าบ้านได้

ความรืน่ รมย์ ในทัศนคติของผมคือ การได้มีทพ ี่ ักอาศัยที่ อบอุ ่น สะอาด วางใจได้ในเรือ่ ง ความปลอดภัย นอกจากนั้นแล้ว ความเป็นอยู่ของคน คอนโดในโครงการลุมพินีก็ไม่ได้ผูกติดอยู่กับห้อง สี่เหลี่ยมเล็กๆ เรามีกิจกรรมท�ำร่วมกัน ซึ่งแต่ละ กิจกรรมมีรายละเอียดทีล่ ะเอียดอ่อนสอดแทรกอยู่ เช่น การใส่บาตรในวันส� ำคัญทางศาสนาก็เป็น กุศโลบายที่ท�ำให้คนรู้สึกถึงการเสียสละ หรือการ สานสัมพันธ์กบั คนรอบข้าง ก็บม่ เพาะให้เรามีจติ ใจที่ ถ้อยทีถอ้ ยอาศัย เพราะการอยูค่ อนโดเป็นการอยูร่ ว่ ม กับคนหมูม่ าก ท�ำให้เราไม่ตามใจตัวเองมากเกินไป ชี วิ ต ของข้ า ราชการเกษี ย ณอย่ า งผม แม้จะมีบา้ นสวนอยูท่ ตี่ า่ งจังหวัด แต่บางครัง้ การได้ มาพักผ่อนในเมืองกรุงมันก็เป็นเรือ่ งบันเทิงส�ำหรับ ชีวติ ซึง่ พิกดั ของคอนโด ลุมพินี พหล-สะพานควาย แห่งนี้ ก็ตอบรับการใช้ชีวิตในแบบฉบับของผมได้ ชีวติ ของผมมักอยูใ่ นย่านนี้ ผมมีรา้ นอาหารเจ้าประจ�ำ อยูฝ่ ง่ั ตรงข้าม ในร้านมีโต๊ะพูลให้เล่น มีเพลงให้รอ้ ง เป็นอีกหนึง่ ความสุขทีผ่ มหาได้ยามละจากธรรมชาติ เข้ามาในเมือง ทั้งหมดนี้ท�ำให้ผมคิดถึงสโลแกนของ ลุมพินีที่ว่า “ชุมชนน่าอยู่” ในเมื่อบ้านที่ผมอยู่เป็น ชุมชนน่าอยู่ขนาดนี้ คุณก็คงรู้สึกได้ถึงความรื่นรมย์ ทีผ่ มได้รบั ลูกบ้านทีเ่ ขาซึมซับได้เหมือนผมเขาก็จะ เปรียบเหมือนเป็นแม่เหล็กกระจายอยูต่ ามจุดต่างๆ ของโครงการลุมพินี แล้วดึงดูดให้ผู้คนภายนอกที่ เห็นวิถีชีวิตแบบนี้ เขาอยากจะมาอยู่เหมือนเรา 15 ISSUE 75 MAY - JULY 2014


idea Room

Sustainable Eco-friendly Living อยู ่อย่างรักษ์โลกแบบยัง่ ยืน

สไตล์การตกแต่งที่อยู่อาศัยแนว Eco-friendly นั้น ไม่มกี ฎเกณฑ์ตายตัว บางคนอาจเริม่ ด้วยการน�ำธรรมชาติเข้ามา ไว้ในทีพ่ กั เพิม่ ความเขียวให้ดเู ป็นธรรมชาติ แต่หวั ใจหลักจริงๆ ของ Eco-friendly นั้นคือ การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกๆ การกระท�ำ ส�ำหรับคนที่เพิ่งซื้อที่อยู่อาศัย ก�ำลังจะย้ายเข้า และ อยากตกแต่งทีอ่ ยูอ่ าศัยในสไตล์แบบนี้ ลองเปลีย่ นเฟอร์นเิ จอร์ จากที่เคยนึกถึงแต่เหล็กหรือไม้ชิ้นใหญ่ราคาแพงมาเป็น MDF (Medium Density Fiber Board) วัสดุที่ผลิตจากเยื่อไม้อัดด้วย แรงดันสูง วัสดุชนิดนี้มีความแข็งแรงทนทาน ใช้เนื้อไม้น้อย ราคาไม่แพง สามารถตกแต่งเพิม่ เติมได้ดว้ ยการพ่นสี อีกทางหนึง่ คือการเลือกซื้อเหล่าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ที่ท�ำจากหวายหรือไผ่ ทีเ่ ป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกไว้เพือ่ ตัดขาย ความโปร่งเบาของหวาย จะท�ำให้คุณรู้สึกเย็นสบาย อีกทั้งยังเคลื่อนย้ายได้สะดวกกว่า เหล่าโต๊ะกระจก ทีน่ อกจากจะสามารถรับน�ำ้ หนักได้ ไม่มากแล้ว ยังเคลื่อนย้ายล�ำบาก เสี่ยงต่อการช�ำรุดแตกหักสูง

16 LPN 25 th Anniversary

การเลือกใช้สีเพื่อต้อนรับการเข้าอยู่ใหม่ในสไตล์ Ecofriendly ควรเลือกใช้สที ตี่ ดิ ฉลากเขียว ฉลากนีบ้ ง่ บอกว่าสีทคี่ ณ ุ ก�ำลัง เลือกนัน้ เป็นสีทมี่ สี ารก่อให้เกิดมะเร็งอยูน่ อ้ ย (Low VOC) ยิง่ ค่า VOC (Volatile Organic Compounds) ต�่ำมากเท่าไร ก็ยิ่งปลอดภัยต่อ สุขภาพตัวเรา คนรอบข้าง รวมถึงพนักงานในโรงงานทีผ่ ลิตสีไปจนถึง ช่างทาสี และหากคุณยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกสีอะไรเพื่อก�ำแพง ที่พักอาศัยใหม่ของคุณ ขอแนะน�ำเทรนด์สีของปี 2014 อย่างสีเขียว นกเป็ดน�ำ้ สือ่ ถึงความเป็นธรรมชาติและความสงบได้ดี เข้ากับสิง่ ของ สีตา่ งๆ ได้อย่างไม่ขดั เขิน โดยเฉพาะสีโทนกลางๆ อย่างขาวด�ำ หรือ เอิรธ์ โทน นอกจากนีย้ งั ช่วยให้ตวั คุณมีสมาธิ และเพิม่ ศักยภาพในการ โฟกัสท�ำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ส่วนคนทีต่ กแต่งทีอ่ ยูอ่ าศัยในสไตล์อนื่ แล้วเกิดเปลีย่ นใจ อยากตกแต่งทีพ่ กั อาศัยของตัวเองในสไตล์ Eco-friendly นัน้ ก็ทำ� ได้ ไม่ยาก ไม่วา่ ทีพ่ กั อาศัยของคุณจะตกแต่งสไตล์ใดมาก่อน ขอให้เริม่ จากการลิสต์สิ่งที่ตัวเองจ�ำเป็นที่จะต้องซื้อใช้บ่อยๆ จากนั้นน�ำลิสต์ มาแยกประเภทว่าคุณน�ำวัสดุอะไรเข้ามาในที่พักอาศัยของคุณบ้าง เช่น ซือ้ น�ำ้ มาบ่อย ก็เตรียมถังหรือถุงไว้สำ� หรับขวดพลาสติก ชอบอ่าน หนังสือพิมพ์หรือต้องใช้กระดาษบ่อยๆ ก็มีอีกถังเพื่อไว้ใส่กระดาษ คนชอบกินอิตาเลียนโซดา น�้ำแดงมะนาวโซดาโฮมเมดท�ำเองที่บ้าน ก็อย่าลืมจัดโซนไว้ส�ำหรับใส่ขวดแก้ว ที่สำ� คัญ อย่าลืมส่วนของขยะ อันตรายทีค่ วรจะต้องแยกไว้เพือ่ ความปลอดภัยทัง้ ต่อตัวเองและคนที่ จะต้องมาเก็บขยะไปทิง้ การจัดโซนแยกขยะเหล่านีอ้ าจจะท�ำให้คณ ุ ได้ ไอเดียดีๆ ท�ำของประดิษฐ์ Eco ต่างๆ จากของในโซนรีไซเคิลนี้ มากกว่าที่ใส่ทิชชูจากถุงซิปล็อกและขวดพลาสติกก็ได้ นีเ่ ป็นเพียงส่วนหนึง่ ของการแนะน�ำเรือ่ งการตกแต่งทีพ่ กั อาศัยแบบ Eco-friendly หากในทุกๆ การกระท�ำและการตัดสินใจ ของคุณได้คดิ ถึงผลกระทบทีจ่ ะเกิดต่อโลกเป็นอันดับแรกแล้ว ไม่วา่ จะตกแต่งแบบใดก็คงเรียกได้อย่างไม่อายว่านัน่ แหละ Eco-friendly เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


Don’t Miss Movie Begin Again ก�ำหนดฉาย 03-07-2014

ภาพยนตร์เรือ่ งล่าสุดจากนักเขียนและผูอ้ ำ� นวยการสร้าง จอห์น คาร์นีย์ Begin Again เป็นภาพยนตร์คอมเมดี้ตลกเบาสมอง เกี่ยวกับจิตวิญญาณและแรงบันดาลใจของศิลปิน จะเกิดอะไรขึ้น หากจิตวิญญาณเหล่านีห้ ายไปจากตัวศิลปิน เมือ่ โปรดิวเซอร์ทกี่ ำ� ลัง หมดไฟ (มาร์ค รุฟฟาโล) ไปพบนักดนตรีสาวสวย (ไครา ไนท์ลีย์) ทีอ่ กหักจากนักดนตรีรอ็ คแอนด์โรลทีม่ ชี อื่ เสียง (อดัม เลวีน นักร้อง วง Maroon 5) และเริ่มหันมาร้องเพลงตามผับเล็กๆ ในบาร์แห่งหนึง่ เรือ่ งราวจะเป็นอย่างไรต่อไปติดตามได้ในโรงภาพยนตร์

Music Album : Room39 Artist : Room39

นับเวลาก็ผ่านมาแล้ว 3 ปี ถึงเวลา รวบรวมบทเพลงของพวกเขาออกมาเป็นอัลบัม้ เต็มๆ เสียทีกับ Room39 พร้อมบทเพลงใหม่ ในอัลบั้ม “ชั่วโมงที่สวยงาม” ซึ่งเป็นเพลงแรก สุดจริงๆ ของทางวง โดยเขียนกันเองก่อนที่จะ กลับมาเมืองไทย แต่เลือกมาปล่อยเป็นเพลง สุดท้ายให้เราได้ฟังกัน เพราะทั้งอัลบั้มแบบนี้ การันตีว่าฟังได้ทุกวันไม่มีวันเบื่ออย่างแน่นอน

Book แน่ใจหรือว่าช่ วยโลก ผู ้เขียน : เดวิด โอเว่น ผู ้แปล : นงนุช สิงหเดชะ

ในการกระท�ำทุกอย่างล้วนมี 2 แง่ 2 มุมให้เราได้คดิ เสมอ “แน่ใจหรือว่าช่วยโลก” เป็นหนังสือทีเ่ ปิดเผยอีกแง่มมุ หนึง่ ทีจ่ ะมา ช่วยถามค�ำถามกับผู้อ่านว่า พฤติกรรมรักษ์โลกที่เราท�ำกันอยู่นั้น ในอีกมุมมองอาจจะก�ำลังท�ำร้ายโลกอยูห่ รือเปล่า และอันทีจ่ ริงแล้ว เราควรจะท�ำอย่างไรกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเรากันแน่

Teachnology Window Solar Charger

ที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือจาก XD Design’s ดูดซับรังสีของ แสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนมาเป็นพลังงานเติมเต็มให้โทรศัพท์มือถือ ของคุณ ขณะนัง่ ท�ำงาน คุยงาน หรือจิบกาแฟ เพียงแค่ตดิ เอาไว้กบั หน้าต่างแล้วปล่อยให้แสงของดวงอาทิตย์อาบไล้ที่ชาร์จเจอร์ตัวจิ๋ว กะทัดรัดเครื่องนี้ หมดปัญหาการขอยืมปลั๊กเพื่อชาร์จแบตไปโดย ปริยาย

17 ISSUE 75 MAY - JULY 2014


Chitchat

Fill Green, Feel Love

เติมแต่งห้องด้วยสีเขียวและความรัก บ่อยครัง้ ที่ชว่ งเวลาธรรมดาๆ ช่างมีความหมาย เมือ่ เราได้ อยูก่ บั คนทีเ่ รารัก คุณนุก-ณัฏฐพล และคุณหนิง-นาตยา วงศ์ญาพรหม สมาชิก ครอบครัวลุมพินี เพลส ปิ่นเกล้า 2 จะมาช่วยเราเติมเต็มความรักให้ ห้องธรรมดากลายเป็นห้องแสนหวาน คุณนุก-คุณหนิง เป็นคูร่ กั ทีเ่ พิง่ แต่งงานและย้ายเข้ามาเป็น สมาชิกครอบครัวลุมพินี เพลส ปิน่ เกล้า 2 ได้ประมาณ 1 ปี “เราเลือก ที่นี่เพราะเดินทางสะดวกซึ่งใกล้ทั้งบ้านผมและภรรยา ซึ่งแน่นอนว่า ลดการใช้นำ�้ มันไปได้เยอะ นีเ่ ป็นปัจจัยหลักในการเลือกมาอยูท่ นี่ ี่ แล้วก็ เรื่องบรรยากาศ บรรยากาศส่วนกลางของที่นี่ถือว่ามีสีเขียวมากพอ สมควรเลยนะครับ แต่กอ็ ยากให้หอ้ งเรามีสเี ขียวอยูด่ ว้ ยไม่ใช่แค่ขา้ งนอก เลยเลือกทีจ่ ะใช้พรมส่วนของห้อง Living เป็นหญ้าเทียม” คุณนุกแนะน�ำมุมต่างๆ ภายในห้อง Living Room ให้ชม ไม่วา่ จะเป็นส่วนของชัน้ วางของทีเ่ ลือกใช้เป็นแบบ Built-in เพือ่ เพิม่ พืน้ ที่ ให้ดูกว้างขึ้น และพยายามเก็บของให้เป็นที่ เพื่อเวลากลับมาจะได้ดู สบายตา ท�ำความสะอาดง่าย ลดฝุ่น ความพิเศษของห้องนี้คือการ จัดการความเป็นส่วนตัวของกันและกัน ซึ่งภายในห้อง Living Room มีทีวี 2 เครื่อง “ไม่อยากแย่งทีวีกับภรรยาครับเวลาจะดูฟุตบอล แล้วก็ ไม่อยากแยกกันคนละห้อง อยากให้อยู่ด้วยกันมากกว่า แต่ติดที่ว่าดู ไม่เหมือนกัน เลยจัดวางทีวเี อาไว้ 2 เครือ่ ง ของผมเครือ่ งเล็ก ภรรยา เครือ่ งใหญ่ เปิดพร้อมกันได้ ไม่มปี ญ ั หา เพราะต่างคนต่างมีสมาธิจดจ่อ ดูในสิ่งที่ตัวเองอยากดู (หัวเราะ)”

18 LPN 25 th Anniversary

ในส่ ว นของ Dining มีโต๊ะเล็กๆ ไว้รับประทานอาหาร ส� ำ หรั บ สองคน ด้ า นบนมี ชั้ น Built-in ไว้วางรูปถ่ายพรีเว็ดดิ้ง และยังมีที่ว่างเหลืออีกเยอะไว้ เติมเต็มรูปอื่นๆ ในอนาคต “เราเลื อ ก Built-in เพราะมันสะดวกในการจัดการ พืน้ ที่ใช้สอย เรามองไปอีก 1 -2 ปี ว่าอาจจะต้องตกแต่งใหม่อกี รอบ เพื่อต้อนรับเจ้าตัวเล็กครับ” สีสันและบรรยากาศ ภายในห้องสามารถเพิม่ เติมพลัง ชีวิตที่เรียกว่าความรักให้เราได้ เพียงแค่เราแบ่งปันความต้องการ และแชร์ความรูส้ กึ เพราะเราเชือ่ ว่า พืน้ ทีก่ ารใช้สอยทีด่ ตี อ้ งท�ำให้เรา รู้สึก ผ่อ นคลาย เหมือ นคู่รัก ที่ แบ่งเบาและเต็มเติมซึง่ กันและกัน หากสมาชิกครอบครัว ลุมพินที า่ นใดต้องการแชร์เรือ่ งราว ต่างๆ ในการอยูอ่ าศัย ส่งมาหาเราที่ lumpinimag@lpn.co.th เรือ่ งราว ท่านใดได้รบั การแบ่งปัน รับทันที ของที่ ร ะลึ ก น่ า รั ก ๆ จาก LPN มาร่วมสร้างความสุขทีแ่ ท้จริงของ การอยูอ่ าศัยไปด้วยกันนะคะ


Earth Therapy

19 ISSUE 75 MAY - JULY 2014


ช�ำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตพิเศษที่ 175/2557 ปณจ. ยานนาวา

Vibrant Community is the Lumpini community where residents enjoy real pleasure of living from optimized solution, social and environmental quality, along with spirit of togetherness, care and share. ชุ มชนน่าอยู ่ คือ ชุ มชนลุมพินี ที่ผู้อยู ่อาศัยอยู ่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีองค์ประกอบที่เหมาะสม มีคุณภาพชี วิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทัง้ จิตส�ำนึกของการอยู ่ร่วมกัน ดูแล ห่วงใย และแบ่งปั นกัน พิเชษฐ ศุภกิจจานุสันติ์ กรรมการบริหาร บริษทั แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) (LPN)

บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) 1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120 โทรศัพท์ : 02-285-5011-6 แฟกซ์ : 02-285-5017

สิง่ ตีพมิ พ์ เหตุขดั ข้องทีน่ ำ� จ่ายผูร้ บั ไม่ได้ 1. จ่าหน้าไม่ชดั เจน 2. ไม่มเี ลขทีบ่ า้ นตามจ่าหน้าซอง 3. ไม่ยอมรับ 4. ไม่มผี รู้ บั ตามจ่าหน้าซอง 5. ไม่มารับภายในก�ำหนด 6. เลิกกิจการ 7. ย้ายไม่ทราบทีอ่ ยู่ใหม่ 8. อืน่ ๆ.................................

E-mail : lumpinimag@lpn.co.th Facebook/LumpiniMag Lumpini Instagram/LumpiniMag www.lpn.co.th

ลงชือ่ .................................... ไม่ถงึ มือผูร้ บั โปรดส่งคืน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.