LUMPINI MAG ดนตรีของพ่อ
L .P. N . D E V E LO P M E N T P U B L I C C O M PA N Y L I M I T E D
เสียงแห่งความสุข
ISSUE 81 OCT – DEC 2015
02
เสี ย งแห่ ง ความสุ ข ดนตรี ข องพ่ อ
บททักทาย
#81
บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) 1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุ งเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 02-285-5011-6 E-mail : lumpinimag@lpn.co.th www.lpn.co.th
สวัสดีครับ สมาชิกครอบครัวลุมพินีทุกท่าน ตลอดปีที่ผ่านมา ... เรามีครอบครัวลุมพินีที่ใหญ่ และอบอุ่นมากขึ้น ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมดูแล ห่วงใย ใส่ใจ แบ่งปันกันและกันตลอดมา และยังได้ส่งต่อสิ่งดีๆ ที่มีในชุมชนลุมพินีไปยังสังคมภายนอก ผ่านกิจกรรมจิตอาสาที่แต่ละชุมชนร่วมสร้างสรรค์ขึ้นมา เรียกรอยยิ้ม สร้างความสุขให้เกิดขึ้นรายล้อมรอบชุมชน อบอวลด้วยความสุขที่แท้จริงในการอยู่อาศัยภายในบ้านหลังใหญ่หลังนี้ ก่อนก้าวสู่ปี 2559 ผมขออ�ำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ปกปักรักษาสมาชิกครอบครัวลุมพินีให้มีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์พร้อม อยู่ร่วมกันในครอบครัวลุมพินีอย่างมีความสุข สร้าง “ชุมชนน่าอยู่” ส�ำหรับคนทุกวัยให้ยั่งยืนไปด้วยกันตลอดไป สวัสดีปีใหม่ 2559 ครับ
โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ
content
LUMPINI MAG
3 4 6 7 11 12
Editor Content Real Pleasure of Living Happy Together Vibrant Community Model Health Tips Care & Share
14 15 16 18 19
Idea Room Chill Out Chitchat Lumpini Movement LPN GREEN
จัดท�ำโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) 03 L P N MAG 8 1 OC T – DE C 2 0 1 5
Real Pleasure of Living
วงดนตรี แ ห่ ง ความสุ ข
LPN รวมใจแบนด์ คลับ วง “LPN รวมใจแบนด์ คลับ” เกิดขึน้ จากความร่วมมือของ LPN และทางสมาคมวงดนตรี สยามมิตร ดรัม แอนด์ บิวเกอ คอร์ โดย ได้มีการรวบรวมสมาชิ กจากทุกโครงการของลุมพินี ร่วมฝึ กซ้อม และออกแสดงดนตรีร่วมกัน
วัตถุประสงค์ของวง LPN รวมใจแบนด์ คลับ คือการสร้างความสัมพันธ์ให้กับผู้พัก อาศัยในชุมชนลุมพินี แบ่งปันสิ่งดีๆ เพิ่มความสุขกาย สุขใจในการอยู่อาศัยร่วมกัน การแบ่งปันความสุขของวง LPN รวมใจแบนด์ คลับ ไม่ได้จ�ำกัดอยู่เฉพาะในชุมชน ลุมพินีเท่านั้น พวกเขายังเดินทางออกไปท�ำความดี สร้างสีสันเสียงดนตรีให้กับสังคม ภายนอกกันอีกด้วย เริ่มจาก บ้านอุปถัมภ์เด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา วง “ LPN รวมใจแบนด์ คลับ” ได้จัดแสดงดนตรี การกุศล เพื่อแบ่งปันความสุขให้กับน้องๆ บ้านอุปถัมภ์เด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กิจกรรมภายในงานนอกจากจะมีการแสดงดนตรีของวงแล้ว ยังมีกจิ กรรมการสอน พับกระดาษโอริกามิ น�ำทีมโดยน้องเลนโบ สมาชิกครอบครัวสี่พระยา ริเวอร์วิว (คุณผู้อ่านสามารถท�ำความรู้จักกับเขาได้ที่คอลัมน์ Chit Chat หน้า 16) และสมาชิกวง ยังได้ร่วมใจกันบริจาคสมทบทุนการศึกษา มอบอุปกรณ์การเรียน สิ่งของจ�ำเป็นอื่นๆ แก่ น้องๆ ในมูลนิธิอีกด้วย ความสุขที่เกิดจากการแบ่งปันในครั้งนี้ ท�ำให้บรรยากาศภายใน งานเต็มไปด้วยรอยยิม้ เสียงหัวเราะ น�ำมาซึง่ ความอิม่ อกอิม่ ใจทัง้ ผู้ให้และผูร้ บั ทุกๆ ท่าน
04
เสี ย งแห่ ง ความสุ ข ดนตรี ข องพ่ อ
สวางคนิเวศ สภากาชาดไทย พอเข้ า เดื อ นพฤศจิ ก ายน LPN รวมใจแบนด์ คลับ และสมาชิกสวางคนิเวศก็ได้ร่วมกันจัดงานแสดงดนตรี สุนทราภรณ์เพื่อแบ่งปันความสุข ณ สวางคนิเวศ สภากาชาดไทย อาคาร ที่ พั ก อ า ศั ย ส� ำ ห รั บ ผู ้ สู ง อ า ยุ ตามโครงการพระราชด�ำริ ในสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ที่บริเวณสวนหน้าอาคาร 1 ในวั น นั้ น ทุ ก คนต่ า งอิ่ ม เอมกั บ บทเพลงอมตะ สุดคลาสสิ ก เหมื อ นได้ พ ากั น ย้ อ นกลั บ ไปอยู ่ ใ นยุ ค 60 ซึ่งเป็นยุคอันโด่งดังของทั้งเอลวิสและเดอะ บีเทิลส์ รวมถึงแนวเพลงลูกกรุงย้อนยุค อย่างวงดนตรีสนุ ทราภรณ์ นอกจากจะได้อมิ่ เอมกับบทเพลงอมตะสุดคลาสสิก แล้ว ยังมีการรับประทานอาหารร่วมกัน โดยทัง้ สมาชิก LPN รวมใจแบนด์ คลับ และกลุ่ม สวางคนิเวศ ต่างน�ำอาหารและขนมอร่อยๆ มาแบ่งปันกันรับ ประทาน รวมถึ ง มี ก ารมอบรางวั ล ให้ กั บ ผูแ้ ต่งกายดีเด่นตามธีมยุค 60 ที่ได้จดั ขึน้ อีก ด้วย ทั้งหมดนี้คือความสุขเล็กๆ ที่ทาง LPN รวมใจแบนด์ คลับ ได้รว่ มกันสร้าง และส่งต่อให้กับทุกๆ คน และหวังว่า ปีหน้าสมาชิกทุกคนจะได้มาร่วมสร้าง รอยยิ้มและความสนุกกันอีก ส่วนจะ ที่ ไ หนเวลาใด คุ ณ ผู ้ อ ่ า นอย่ า ลื ม ติดตามข่าวสารกันนะคะ
05 L P N MAG 8 1 OC T – DE C 2 0 1 5
Happy Together
จัดท�ำข้อมู ลโดย ฝ่ ายบริหารสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)
06
เสี ย งแห่ ง ความสุ ข ดนตรี ข องพ่ อ
Vibrant Community Model
ส่งท้าย
ชุ มชนต้นแบบ
ปี 2556
ความสุขจากการมีส่วนร่วม ชุ มชนต้นแบบของครอบครัวลุมพินีนั้น ยังมีอีกหลาย ชุ ม ชนที่เ ราเชื่ อ ว่ า สมาชิ ก ครอบครั ว ลุ ม พิ นี ก� ำ ลั ง รอ ติดตามอ่านกันอยู ่ Vibrant Community Model ฉบับนี้ เลยขอส่งท้ายอีก 3 ชุ มชนต้นแบบ ปี 2556 ให้ท่านได้ รู ้จักกัน
07 L P N MAG 8 1 OC T – DE C 2 0 1 5
ชุมชน ต้นแบบ
ลุมพินี พาร์ค ปิ่ นเกล้า ชุมชนกิจกรรมในสวนรวมใจ
ลุมพินี พาร์ค ปิ่ นเกล้า โดดเด่นในเรื่องการจัดกิจกรรมและการมีสว่ นร่วม ของคนในชุ มชน ที่น่ีมีการเปิ ดพื้นที่สวนส่วนกลางให้เป็น “สวนรวมใจ” ซึ่งมีความร่มรื่น และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ ในบริเวณสวนรวมใจ เกิดจากการทีค่ ณะกรรมการนิตบิ คุ คลอาคารชุด และฝ่ายจัดการ ได้น�ำสิ่งที่ ได้จากการศึกษาดูงานตามที่ต่างๆ มาปรับใช้ และเน้น ความส�ำคัญของการจัดกิจกรรมเป็นพิเศษ ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่ท�ำให้ผู้พัก อาศัยได้มีส่วนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มรายได้ให้กับนิติบุคคลอาคารชุด สามารถ น�ำรายได้ที่เกิดขึ้นมาสนับสนุนการจัดกิจกรรมภายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม ดูหนัง Movie in The Park หรือตลาดนัดชุมชน ซึ่งในการออกร้านค้าแต่ละครั้งมีผู้ที่ เข้าร่วมและเดินชมมากกว่า 300 คน นอกจากนี้ สวนรวมใจยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยใช้พื้นที่จัดเป็น Coffee Corner ให้คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดและผู้พักอาศัยได้มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงใช้เป็นที่ส่งเสริมวัฒนธรรม อาทิ ธรรมะในสวน จัดกิจกรรมร่วม ตักบาตรอาหารแห้ง การท�ำกิจกรรมต่างๆ ของทางชุมชนลุมพินี พาร์ค ปิ่นเกล้า ทุกๆ ครั้ง จะมีผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายช่วยกันพิจารณา เพื่อให้ ได้กิจกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ผู้พักอาศัย มากที่สุด คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดจะรับฟังข้อคิดเห็นและหาวิธีปรับปรุงแก้ ไข สิ่งต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้ผู้พักอาศัยได้รับความสะดวกในการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้จะท�ำให้สมาชิกในชุมชนได้มีกิจกรรมร่วมกัน พบปะพูดคุย รับรู้ถึงปัญหา และร่วมกันแก้ ไขตลอดเวลา ท�ำให้ทกุ คน ทุกเพศทุกวัย สามารถอยูร่ ว่ มกันได้อย่างลงตัว รวมไปถึงสามารถเลือกจัดกิจกรรมทีเ่ หมาะสมกับความต้องการและช่วงวัยของผูพ้ กั อาศัย ได้อีกด้วย 08
เสี ย งแห่ ง ความสุ ข ดนตรี ข องพ่ อ
ชุมชน ต้นแบบ
ลุมพินี พาร์ค ริเวอร์ไซด์ พระราม 3 ชุมชนร่มรืน่ ริมแม่นำ� ้
ไม่เพียงแต่เป็นโครงการที่โดดเด่นเรื่องท�ำเลติดแม่น้ำ� เจ้าพระยา ลุมพินี พาร์ค ริเวอร์ไซด์-พระราม 3 ยังขึน้ ชื่อในเรื่องความสามัคคีของคนในชุ มชน สมาชิ ก ที่ น่ี ต่ า งชื่ นชอบในการท� ำ กิ จ กรรม โดยเฉพาะกิ จ กรรม ที่เป็นกลุม่ ไม่วา่ จะเป็นแบบเบาๆ ในสวน หรือลุยๆ อย่างการปั่นจักรยาน ไปยังสถานที่ตา่ งๆ
การท�ำกิจกรรมต่างๆ ทีล่ มุ พินี พาร์ค ริเวอร์ ไซด์-พระราม 3 ไม่วา่ จะเป็นการออก ก�ำลังกายด้วยโยคะ การร�ำกระบี่กระบองที่สวนรวมใจ รวมไปถึงการปั่นจักรยานร่วม กันของคนในชุมชน ต่างล้วนได้รับการสนับสนุนเต็มที่จากคณะกรรมการนิติบุคคล อาคารชุดและฝ่ายจัดการ เพราะทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งหวังให้คนในชุมชนได้ท�ำกิจกรรม ร่วมกันอย่างสนุกสนานและมีความสุข โดยมีคณะกรรมการรับฟังความต้องการ และ สนับสนุน ส่วนฝ่ายจัดการจะเป็นผู้รับผิดชอบด้านกลยุทธ์ วิธีการ และจัดหาสิ่งจ�ำเป็น เพื่อผลักดันให้ทุกๆ กิจกรรมด�ำเนินลุล่วงไปด้วยดี การพัฒนาชุมชนของลุมพินี พาร์ค ริเวอร์ ไซด์-พระราม 3 เริม่ ต้นด้วยการรณรงค์ และปลูกฝังจิตส�ำนึก เพือ่ กระตุน้ ให้ผพู้ กั อาศัยเข้าใจถึงอัตลักษณ์ของชุมชน จากนัน้ จึง ผลักดันให้มีกิจกรรมต่อเนื่องและหลากหลาย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม นอกจากผู้ พั ก อาศั ย จะเป็ น ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมแล้ ว ทุ ก ท่ า นยั ง สามารถจั ด กิ จ กรรมขึ้ น เองได้ โดยมีฝ่ายจัดการให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เช่น การรวมกลุ่มกันเพื่อไปปั่น จักรยานตามสถานทีต่ า่ งๆ ส�ำหรับกิจกรรมที่ได้รบั ความนิยมอย่างต่อเนือ่ ง คือกิจกรรม ลอยกระทงท่ามกลางบรรยากาศริมน�้ำยามเย็น และตลาดนัดชุมชนที่คึกคักไปด้วย ผู้พักอาศัย และครอบครัวเกือบ 1,000 คน เมือ่ ทุกส่วนมีความร่วมมือร่วมใจไปในทิศทางเดียวกัน ท�ำให้ทกุ คนในชุมชนเคารพ และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง จึงนับเป็นจุดเริ่มต้น ที่ท�ำให้ทุกคนเข้ามามีส่วน ร่วมในการดูแลชุมชน เกิดการวางใจ อุ่นใจ สร้างความภาคภูมิใจและกระชับความ สัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้พักอาศัยด้วยกัน 09 L P N MAG 8 1 OC T – DE C 2 0 1 5
ชุมชน ต้นแบบ
ลุมพินี คอนโดทาวน์ รามอินทรา-หลักสี่
ชุมชนวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม
ทุกครัง้ ที่ชุมชนมีการจัดกิจกรรม ลุมพินี คอนโดทาวน์ รามอินทราหลักสี่ จะร่วมจัดกิจกรรมในแบบครอบครัวใหญ่ โดยร่วมกับชุ มชน ลุมพินี เพลส และชุ มชนลุมพินี วิลล์ ท�ำให้ท่นี ่คี ึกคักไปด้วยผู ้คน
ลุมพินี คอนโดทาวน์ รามอินทรา-หลักสี่ เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และพร้อมจะ ยินดีต้อนรับทุกๆ คนที่เข้ามาติดต่อ หรือร่วมกิจกรรมภายในโครงการ ตัวอย่างของการร่วมกันท�ำกิจกรรมทีม่ ผี คู้ นทัง้ ในและนอกชุมชนมาเข้าร่วมเป็น จ�ำนวนมากก็คือ “กิจกรรมถนนปันกัน” สมาชิกผู้พักอาศัยและบุคคลภายนอกต่าง ร่วมแรงร่วมใจกันมาออกร้าน และน�ำรายได้สว่ นหนึง่ มอบให้กบั มูลนิธยิ วุ พัฒน์ รวมถึง น�ำร้านปันกันมาร่วมออกร้านด้วย นอกจากนี้ยังเชิญวง LPN รวมใจแบนด์คลับ มาร่วมเล่นดนตรีเปิดหมวก น�ำรายได้ทั้งหมดสมทบให้กับมูลนิธิยุวพัฒน์ ที่นี่รับฟังและสนับสนุนความคิดเห็นของผู้พักอาศัยทุกคน รวมถึงได้น�ำข้อ บกพร่องต่างๆ มาปรับปรุง ร่วมผลักดันความคิดและข้อเสนอแนะต่างๆ เหล่านั้น ให้เกิดขึ้นจริง รวมถึงการอยู่อาศัยแบบดูแล ห่วงใย แบ่งปัน และเคารพนับถือซึ่ง กันและกัน ถือได้ว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่อยู่แบบครอบครัวฉันท์มิตรกันจริงๆ ซึ่งมิตร ของชุมชนก็คอื เพือ่ นบ้านข้างเคียงทีค่ อยสอดส่องดูแลให้กนั และกัน เสมือนบ้านของ ตัวเอง 10
เสี ย งแห่ ง ความสุ ข ดนตรี ข องพ่ อ
Health Tips
ครอบครัว
่ นักวิง
เชา้ วันหยุ ด อากาศแจ่มใส เหมาะกับการ ออกก� ำ ลั ง กาย เราจึ ง นั ด หมายกั บ ครอบครัวนักวิ่งที่อยู ล่ มุ พินี เพลส รัชโยธิน ซึ่งเป็นชุ มชนต้นแบบในเรื่องการรักสุขภาพ ไปวิ่งและคุยเรื่องสุขภาพกันแบบสบายๆ ที่ สวนสาธารณสุตฮิตอย่างสวนรถไฟ คุณเคน-ปรีดา น้องต้นกล้า-ตถตา น้องใบเตย-คุณิตา ยังสุขสถาพร และ คุณเต้ย-นฤมล ตันติวนิชย์เจริญ ได้เริม่ ต้นวิง่ ครัง้ แรกจากการร่วมกิจกรรมกับทางลุมพินี เมือ่ หลายปีกอ่ น คุณปรีดาเล่าให้ฟงั ว่าตอน แรกก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะวิง่ ได้ “เมื่ อ หลายปี ก ่ อ นทางลุ ม พิ นี จั ด กิจกรรมชวนไปวิง่ ในช่วงวันแม่ ตอนนัน้ ระยะ ทางแค่ 5 กิโลเมตรเองนะ ผมกับเต้ยยังกังวล เลยว่าเราจะวิง่ กันจบไหม สุดท้ายก็ทำ� ได้ (ยิม้ ) เลยเริม่ วิง่ มาตลอด จนมาได้ลงวิง่ มาราธอน ของเต้ยสูงสุดคือฮาล์ฟมาราธอน 21 กิโลเมตร “ที่เลือกกีฬาวิ่งเพราะเป็นกีฬาที่ถูก ทีส่ ดุ กีฬาบางอย่างต้องลงทุนซือ้ โน่นนีเ่ รือ่ ยๆ เหมือนแข่งรถที่เขาจะมีอุปกรณ์ใหม่ๆ มา ตลอดเวลา ถ้าเราจริงจังอาจจะไม่ไหวกับการ ตามซือ้ อุปกรณ์ กีฬาบางชนิดก็ตอ้ งมีพนื้ ที่ เฉพาะของมัน เราเลยเลือกการวิง่ เป็นหลักดี กว่า อย่างทีเ่ คยไปต่างจังหวัดเราก็มแี ค่ชดุ ธรรมดา หิว้ รองเท้าวิง่ ไปหนึง่ คู่ ก็สามารถไป จ๊อกกิง้ เล็กๆ ตามสวนสาธารณะได้ ซึง่ มันก็ สะดวกดี” ส่วนประโยชน์ของการวิง่ นัน้ ทัง้ คุณเคน และคุณเต้ยได้ให้ความเห็นเอาไว้วา่ นอกจาก เรือ่ งสุขภาพแล้ว การวิง่ จะท�ำให้เราคลาย เครียด เพราะเมือ่ วิง่ สิง่ ทีต่ อ้ งโฟกัสคือระยะ ทางหรือไม่กค็ วามเร็ว “ตอนวิง่ แรกๆ ก็เป็นปกติทจี่ ะเหนือ่ ย คอยแต่ โ ฟกั ส ว่ า เมื่ อ ไหร่ จ ะถึ ง เส้ น ชั ย พอนานเข้าก็เปลีย่ นไปโฟกัสเรือ่ งความเร็ว
อยากแซงคนอืน่ จนสุดท้ายก็มาเป็นเรือ่ งการ ต้องการท�ำลายสถิตขิ องตัวเอง พอโฟกัสใน เรือ่ งพวกนี้ ความเครียดในเรือ่ งงานและเรือ่ ง ต่างๆ มันก็เลยไม่มี ถือเป็นความสนุกอย่างหนึง่ อย่างเต้ยวิง่ หนึง่ รอบเคยท�ำเวลาได้ 1 ชัว่ โมง 20 นาที ผมก็บอกเขาว่าให้ลองท�ำเวลาลดลงมาอีก สัก 5 นาทีดู ซึง่ ยากมากนะถ้าได้ลองวิง่ กันจริงๆ แต่พอท�ำได้กจ็ ะรูส้ กึ ดี วิง่ ครัง้ ต่อไปก็อยากให้ เวลาลดลงมาอีก “อยากให้ทกุ คนมาออกก�ำลังกายครับ ถ้าพ่อแม่ออกมา เด็กๆ ก็จะตามมาด้วย เพราะเขาคงไม่อยากอยูบ่ า้ นคนเดียว แต่กอ่ น ทีจ่ ะเริม่ เราก็ซอ้ มอยูท่ คี่ อนโดนีแ่ หละ ไม่ได้ ไปไหนไกล สวนรวมใจของชุมชนก็มแี สงสว่าง เพียงพอ ถ้าเมือ่ ยเราก็นงั่ พักได้ ไม่มอี ะไรที่ น่าเป็นห่วงครับ” รูอ้ ย่างนีแ้ ล้วก็หยิบรองเท้าผ้าใบใส่ออก ไปวิง่ กันเลยดีกว่า !
ส�ำหรับมือใหม่ใจอยากวิ่ง ข้อแนะน�ำก่อนการวิ่งมีดังนี้ 1. ไม่ควรรับประทานอาหารมือ้ หนักในช่วง 2 ชม. ก่อนวิง่ 2. ดื่มน�ำ้ สะอาดก่อนออกวิ่ง 30 นาที 1-2 แก้ว (ประมาณ 100-200 มล.) 3. ให้เริ่มเดินสลับวิ่งเหยาะๆ ก่อน เพื่อให้หวั ใจ ปอด กล้ามเนือ้ เส้นเอ็น ข้อต่อต่างๆ มีการเตรียมตัว เพิ่ม ความยืดหยุ น่ เกิดความคล่องตัวกระฉับกระเฉง ข้อมูลจากเวบ็ ไซต์สมาพันธ์ชมรมเดนิ -วิง่ เพอ่ื สุขภาพไทย www.thaijoggingclub.or.th/index.php/head-article/ new-runner/59-rookie-02` 11 L P N MAG 8 1 OC T – DE C 2 0 1 5
Care & Share นักเขียนลุมพินี : คุณชั ยพศิน นพวงศ์ ณ อยุ ธยา สมาชิ กครอบรัวลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา และลุมพินี พาร์ค รัตนาธิเบศร์-งามวงศ์วาน
12
เสี ย งแห่ ง ความสุ ข ดนตรี ข องพ่ อ
การประชุมใหญ่
และครอบครัวใหม่ของผม
ลุมพินี พาร์ค รัตนาธิเบศร์-งามวงศ์วาน ถือเป็นชุ มชนน่าอยู ่แห่งที่สอง ของผม หลังจากก่อนหน้า ผมได้ซื้อห้องชุ ดพักอาศัยของทางลุมพินีไว้แล้ว ที่ลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา ที่นี่ ได้เริ่มมีการโอนเข้าอยู่เมื่อเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา ผมเลยอยากจะน�ำ เสนอชุมชนทีเ่ พิง่ เปิดใหม่แห่งนี้ให้ทกุ คนได้ รู้จักกันครับ โครงการนี้มีทั้งหมด 5 อาคาร ถือว่าเป็นครอบครัวที่ใหญ่(มาก) ท�ำเลของ โครงการนัน้ ถือว่าอ�ำนวยความสะดวกเรือ่ ง ของการเดินทางได้เป็นอย่างดี เพราะใกล้ เส้ น ทางรถไฟฟ้ า สายสี ม ่ ว ง บางใหญ่ บางซื่อ ซึ่งอีกไม่นานก็จะเปิดใช้กันแล้ว ด้วยระยะทางแค่ 80 เมตร เดินไปก็ถึง อีก ทั้งฝั่งตรงข้ามก็มีห้างสรรพสินค้าให้เราได้ ช้อปปิ้งซื้อของ ส�ำหรับรูปประกอบทีท่ กุ ท่านเห็น เป็น วันที่ครอบครัวลุมพินี พาร์ค รัตนาธิเบศร์งามวงศ์วาน ได้มารวมตัวพบหน้าค่าตา กันเป็นครั้งแรก เพราะเป็นวันประชุมใหญ่ สามัญเจ้าของร่วมประจ�ำปี ซึ่งที่นี่ถือเป็น ครั้งแรกของพวกเรา ในการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม ประจ�ำปี เราจะได้รับฟังการแถลงนโยบาย ของผู้เข้าร่วมสมัครเป็นกรรมการนิตบิ คุ คล อาคารชุด ส�ำหรับเจ้าของร่วมทุกท่านที่เข้า มาประชุมแต่เวลาไม่เอือ้ อ�ำนวยทีจ่ ะมาลงสมัคร ก็จะได้ฟงั นโยบายดีๆ ของผูส้ มัครแต่ละท่าน ซึง่ พวกเขาจะมาเป็นตัวแทนท�ำหน้าทีบ่ ริหาร และดูแลชุมชนของเราเพือ่ ท�ำให้สงั คมของ เราน่าอยู่ การแต่งตัง้ คณะกรรมการของอาคารชุด โดยมติทปี่ ระชุมนัน้ จะต้องได้รบั คะแนนเสียง ข้างมากของเจ้าของร่วมทีเ่ ข้าประชุม โดยมี
องค์ประชุมคือหนึ่งในสี่ของจ�ำนวนเสียง ที่ลงคะแนนทั้งหมด นอกจากนี้ การประชุ ม ที่ จั ด ขึ้ น ยังเปิดโอกาสให้เราสอบถามข้อสงสัย รวม ถึงน�ำเสนอความคิดเห็นที่จะเป็นประโยชน์ ต่อทางชุมชน เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้น�ำข้อมูลไปวิเคราะห์และพัฒนาชุมชน ต่อไป เสร็จจากการประชุมแล้วก็ ใช่ว่าจะ ต้องแยกย้ายกันกลับเลย การประชุมครัง้ นี้ เลิกราวๆ เที่ยง ทางลุมพินีก็ ไม่ ได้ ให้เรา กลับไปมือเปล่า มีทงั้ อาหารกลางวันทีจ่ ดั ไว้ ให้เราได้รับประทาน ท�ำให้ผู้ที่มาเข้าร่วม การประชุมได้สร้างความรู้จักกันมากขึ้นใน วงโต๊ะอาหาร อีกทั้งยังมีเกมให้เล่น ซึ่งก็ ถื อ ว่ า สร้ า งสรรค์ แ ละเสริ ม สร้ า งการรั ก ชุมชนไปในทางอ้อม นั่นก็คือเกมสื่อสาร ระเบียบการอยู่อาศัย เล่นสนุก และได้ ความรูเ้ รือ่ งกติกามารยาทในการอยูร่ ว่ มกัน ในสังคมชุมชนของเรา ใครชนะก็ ได้ของ รางวัลจากทางลุมพินีไปครอบครองชื่นใจ ส�ำหรับใครทีย่ งั ไม่เคยใช้สทิ ธิ์ คราวหน้า อย่าลืมมากันนะครับ เพือ่ ประโยชน์ของตัวเองใน ด้านข้อมูลข่าวสาร และจะได้ท�ำความรู้จัก เพือ่ นบ้านของเราไปในตัวด้วย เผือ่ มีโอกาส ได้ ไปท�ำกิจกรรมสนุกๆ ที่ทางลุมพินีจัดขึ้น ร่วมกัน เวลาไปกันเยอะๆ นี่สนุกมากเลย นะครับ ไม่เชื่อต้องลอง!
13 L P N MAG 8 1 OC T – DE C 2 0 1 5
Idea Room
แรงดึงดูดจากของย้อนยุค
ส�ำหรับคนที่เข้ากระทูพ ้ นั ทิปบ่อยๆ อาจจะเคยผ่านตาห้องสวย ห้องนี้กันมาแล้ว แต่วันนี้เราจะมาเจาะลึกมากกว่าความ สวยงาม นั่นก็คือแต่งอย่างไร และเกิดไอเดียนี้ขึ้นได้อย่างไร คุ ณ สุ ร ชั ย แก้ ว มณี สมาชิ กครอบครั ว ลุ ม พิ นี วิ ล ล์ สุขุมวิท 109 - แบริ่ง เจ้าของห้องจะมาให้ค�ำตอบกับเรา
การแต่งห้องแบบผสมผสานและไม่ได้ มีสไตล์ตายตัวอย่างห้องของคุณสุรชัย ซึง่ ใช้ ก�ำแพงเป็นปูนเปลือยหรือที่เรียกว่าสไตล์ ลอฟต์ (Loft) และบรรยากาศเฟอร์นเิ จอร์ ไม้ เฉดสีน�้ำตาล บวกกับของวินเทจที่เรียกว่า สไตล์เรโทร (Retro) นี้ ปัจจุบนั ถูกเรียกว่า สไตล์ “อิเคล็กติก (Eclectic)” นัน่ คือการ ผสมผสานหลายสไตล์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็น สไตล์ของตัวเองทีส่ วยงาม “จริงๆ ผมเป็นคนไม่คอ่ ยชอบกระจก ครับ ชอบไม้ เลยตัดสินใจถอดกระจกออก แล้วหาซือ้ บานไม้มาใส่แทน ประตูบานทีเ่ ปิด เข้าห้องนอนถอดแยกส่วนได้ การขนย้าย ตอนน�ำเข้ามาแต่งห้องจึงไม่ลำ� บากมาก” “ส่วนสาเหตุทวี่ า่ ท�ำไมถึงแต่งห้องออก มาแนวนี้ อาจเป็นเพราะให้ความรูส้ กึ เหมือน บ้านทีต่ วั เองเคยอยู่ แต่สว่ นของผนังเราก็ทำ� เป็นสไตล์ปนู เปลือย สัง่ ซือ้ ปูนส�ำเร็จจากทาง ร้านค้าออนไลน์ ใช้งานไม่ยาก แค่เปิดฝาแล้ว ก็ทาเลย ทิง้ ไว้สกั พักก็แห้ง แต่กลิน่ ตอนทา จะค่อนข้างแรง” ส�ำหรับรูปของในหลวงและพระราชินี 14
เสี ย งแห่ ง ความสุ ข ดนตรี ข องพ่ อ
คุ ณ สุ ร ชั ย ก็ เ ลื อ กรู ป ที่ ก รอบดู มี ดี ไ ซน์ กลมกลืนกับสไตล์ของห้องและพวกของ ตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างกระป๋องแป้ง ตูก้ บั ข้าว ไม้ยอ้ นยุค ซึง่ เกิดจากการเก็บเล็กผสมน้อย เวลาไปเดินตามตลาดนัดของวินเทจมือสอง เช่น ตลาดนัดจตุจกั รกรีน ชุมทางสยามยิปซี ทีบ่ างซ่อน ตลาดรัชดาไนท์ ฯลฯ “ผมว่าการจะซื้อของเข้ามาตกแต่ง ห้องควรซื้อทีละน้อยดีกว่า บางครั้งเราซื้อ เข้ามาแต่งห้องรวดเดียว สักพักเราจะมอง เห็นว่าอะไรทีม่ นั ไม่เข้ากัน ถ้าซือ้ แต่นอ้ ยเรา ก็คอ่ ยๆ เอามาจัดวาง ขาดอะไรก็คอ่ ยตาม หามาเติม อีกอย่างแปลนห้องของทีน่ ผี่ มว่า เขาท�ำออกมาได้คอ่ นข้างดี ไม่ตอ้ งรีโนเวท อะไรเพิม่ เติมมาก รูส้ กึ ว่าเป็นแปลนทีจ่ ดั ห้อง ได้งา่ ยมาก” สมาชิ กครอบครัวลุมพินีท่านใดที่อยากจะ เปลีย่ นสไตล์การแต่งห้อง ลองคิดแบบเอาไว้ ในใจ แล้วค่อยๆ เติมแต่งทีละนิดอย่างที่ คุณสุรชัยบอกเอาไว้ คุณอาจจะมีหอ้ งในฝั น สไตล์ทเ่ี ป็นตัวของตัวเองได้ไม่ยาก
Chill Out
ครัวไซ่ ง่อน
ไม่ซ่อนรสอาหารเวียดนาม Chill Out ฉบับนีข้ อชวนผู อ้ า่ นสัมผัส กับอาหารเวียดนาม ซึ่ งไม่เพียงแค่ พาให้ ท้ อ งอิ่ ม หากยั งได้ ซึ มซั บ วั ฒ นธรรมการกิ น ที่ พ าให้ ผู้ ค นใน อาเซี ยนได้เชื่ อมโยงเข้าหากันอีกด้วย
จุดเริม่ ต้นของครัวไซ่งอ่ น มาจากการ เป็นผูผ้ ลิตวัตถุดบิ อย่างแป้งและหมูยอ ที่ได้ รับความไว้วางใจจากร้านอาหารเมืองญวน ทัว่ เมืองกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จึงการันตี ถึงวัตถุดิบที่คุณภาพดี จนเมื่อช่วงวิกฤติ เศรษฐกิจปี 2540 ท�ำให้ยอดสัง่ จากร้านรวง ต่างๆ ลดลง แต่ก็เป็นโอกาสในการเปิด กิ จ การท� ำ ร้ า นของตั ว เองขึ้ น นั บ แต่ นั้ น เป็นต้นมาถึงบัดนี้ ครัวไซ่งอ่ นมีขนาดกะทัดรัด ตัง้ ติดกับ ถนนรั ง สิ ต -นครนายก ย่ า นคลอง 2 ป้ายหน้าร้านขนาดใหญ่สะดุดตาหาไม่ยาก ที่ นี่ ไ ม่ ไ ด้ เ น้ น เรื่ อ งการตกแต่ ง ให้ ม าก ความ ทุกอย่างดูเรียบง่าย และสะอาด สะอ้าน สอดส่องสายตาในห้องโถงติด เครื่ อ งปรั บ อากาศ มี โ ต๊ ะ ไม่ น ้ อ ยกว่ า 20 โต๊ะ เราไปช่วงก่อนเที่ยงวันศุกร์ที่ ฝนโปรยลงมาไม่ขาดสาย ผู้คนอาจไม่ หนาตานักแต่ก็เวียนมาไม่ขาดสายเช่นกัน เจ้าของกระซิบมาว่าวันเสาร์-อาทิตย์ และ นักขัตฤกษ์ ผูค้ นแน่นตาทีเดียว มาที่โต๊ะอาหารกัน ครัวแห่งนีป้ รุงจาก สูตรเมืองเว้ (ถิน่ ฐานทีร่ นุ่ พ่อแม่ของเจ้าของ ร้านจากมา) ขอแนะน�ำสมาชิกครอบครัว ลุมพินีให้รจู้ กั กับดาวเด่นประจ�ำร้าน นัน่ คือ แหนมเนือง เมนูซงึ่ คุน้ หน้าคุน้ ตากันดี ทีน่ ี่ โดดเด่นตรงแป้งบางแต่นุ่มและไม่เหนียว เกินไป หมูย่างบดอย่างพอเหมาะได้เนื้อ สั ม ผั ส ที่ พ อเจาะ กิ น กั บ น�้ ำ จิ้ ม ผสมตั บ กับหมูสูตรเด็ดของร้าน นอกจากรสชาติ อร่อยแล้วยังสนุกกับการห่อทีต่ อ้ งหยิบจับ
ขนมเบื้องญวน
ข้าวเกรียบปากหม้อ
ย�ำหมู ยอ
เครือ่ งเคียงนานา คนทีช่ อบทานผักคงถูกปาก สุดๆ ตามด้วยข้าวเกรียบปากหม้อ แป้งนุม่ และเหนียวก�ำลังดี ถูกแนะน�ำมาว่าห่อกลับ บ้านแล้วสามารถน�ำไปอุ่นทาน ความอร่อย จากร้านอย่างไรก็อย่างนัน้ ส�ำหรับขนมเบื้องญวน เบื้องหลังคือ ต้องใช้เวลาประกอบอาหารจนแป้งกรอบพอดี ทีน่ ี่ไม่ผสมกะทิกบั ไข่ในแป้งเพราะจะท�ำให้นมิ่ สอดไส้ดว้ ยหมูกบั กุง้ อร่อยกรุบกรอบดี บัน่ หอย หมูยา่ ง หมูไม่ตดิ มันย่างจนละมุนลิน้ ทานคูก่ บั เส้นหมีท่ อี่ อ่ นนุม่ ลงตัวทุกค�ำ ย�ำหมูยอ ท�ำจาก หมูยอหนัง วัตถุดบิ เลือ่ งชือ่ ของร้าน และยังมี เมนูกว่า 40 รายการให้เลือกรับประทานได้ ตามอัธยาศัย
ที่ตงั้ : สาขารังสิต คลอง 2 ถนนรังสิต-นครนายก ( มีอีก 2 สาขา ได้แก่ สาขาลาดพร้าว (เยื้องบิ๊กซี ลาดพร้าว) และสาขาสีลม (ในอาคารไอทีเอฟ) ) วันและเวลาเปิ ด : ทุกวัน เวลา 10.30-21.00 น. โทรศัพท์ 02-996-2069, 02-996-5271 15 L P N MAG 8 1 OC T – DE C 2 0 1 5
Chitchat
การอยู่ร่วม
ในความต่ า ง
สี่พ ระยา ริเวอร์วิว มีกิจกรรมเปิ ดสอนพับกระดาษโอริกามิ ศิลปะการพับ กระด าษแบบญี่ป่ ุ น ซึ่ งคนที่มาสอนนัน้ ไม่ใช่ ชาวต่างชาติหรือคุณครู แต่เป็น เด็ก หนุ่มที่ช่ื นชอบในการพับกระดาษ และที่น่าสนใจไปกว่านัน้ เด็กหนุ่มคนนี้... ไม่ธรรมดา...
คุณวาสนา เชิดเกียรติก�ำจาย ผู้เป็น แม่เล่าให้ฟงั ว่า น้องเลนโบ (Lenbo) มีความ ผิดปกติด้าน Executive Function (EF) ซึ่ง เป็น ฟังก์ชันการท�ำงานของสมองด้านการ จัดการทีจ่ ะส่งอิทธิพลต่อการด�ำเนินชีวติ ใน เรื่ องการควบคุ ม ความคิ ด ตนเอง แต่ ปัจจุบันนี้น้องพัฒนาขึ้นมาก สามารถใช้ ชีวิ ตอยู่ร่วมกับคนในชุมชนและกล้าออก สังค มมากขึ้น โดยทางผู้สัมภาษณ์เองเมื่อ ได้พูดคุยกันก็แทบจะไม่เห็นความผิดปกติ ของน้องเลนโบแต่อย่างใด “แรง บั น ดาลใจตอนแรกมาจาก คุณน้าที่ส่งกล่องกับกระดาษพวกนี้มาจาก อเมริกา ตอนแรกก็ว่าจะไม่พับ แต่ก็มาคิด 16
เสี ย งแห่ ง ความสุ ข ดนตรี ข องพ่ อ
ว่า เอ๊ะ ถ้าไม่พบั แล้วคุณน้าเขาจะเสียใจไหม อยากให้คณ ุ น้าชืน่ ใจ ภูมิใจว่าเราพับได้ เลย เริ่ มดูจากอินเทอร์เน็ต ก็เลยรู้ว่าการพับ กระดาษแบบนีเ้ รียกว่าโอริกามิ ชิน้ แรกทีผ่ ม พับคือดอกกุหลาบ ต่อมาก็พบั เป็นมือปีศาจ ตอนแ รกก็พับไม่สวย เหนื่อย แต่ต่อไป เรื่ อยๆ มันก็ดีขึ้น เวลาพับมีเทคนิคคือ เราต้องใช้เล็บขูดไปช้าๆ เรื่อยๆ เหมือนไป กับสายลม เวลาถึงขั้นตอนที่ยากพอท�ำได้ มันภูมิใจและผ่อนคลาย พับมากปวดหลังก็ ลงไปนอน” น้องเลนโบพูดจบก็ส่งยิ้มให้ แต่ก ว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ตัวของคุณ วาสนาเองถือเป็นเพียงส่วนหนึ่ง หากไม่ได้ ความ ร่วมมือจากทางโรงเรียน ทีมแพทย์
และคนในสังคม น้องอาจจะไม่ได้มาถึงจุด นี้ “ตอนเด็กๆ เราก็ยังดูเขาไม่ออก ส่ง เขาเรียนที่ โรงเรียนปกติ แต่พอโตขึ้นมา หน่อยก็สังเกตเห็นความผิดปกติของเขา เราเลยพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง พัฒนาการเด็ก ช่วงแรกๆ เขามีปัญหากับ การพูด เรียบเรียงประโยคไม่ได้ หวาดกลัว คนแปลกหน้า ซึ่งพอเรารู้ตอนแรกจิตใจก็ ห่อเหี่ยว เศร้ามาก ปรับตัวเกือบไม่ได้ ตัว น้องเองเวลาวาดรูปออกมาก็จะมีแต่ภาพ หม่นเศร้า เลยตัดสินใจพาน้องไปบ�ำบัด จิ ต เวช ที นี้ เ ราเลยมี คุ ณ หมอที่ ค อย สนับสนุนทัง้ สองด้าน เราท�ำตามค�ำแนะน�ำ
ของแพทย์ พร้อมกับพาไปเข้าโรงเรียนที่ เหมาะสมกับเขา ซึง่ เข้าใจและดูแลใส่ใจเด็ก พิเศษ ท�ำให้ทงั้ ตัวเด็กๆ รวมไปถึงผูป้ กครอง ทีม่ ลี กู เป็นเด็กพิเศษเองไม่รสู้ กึ อับอายหรือ รู้สึกแปลกแยก ส่วนเวลาอยูบ่ า้ นก็พยายามสังเกตว่า เขาชอบท�ำอะไร เราก็จะสนับสนุน แต่ก่อน เขาสนใจการต่อเลโก้ พอทีมเลโก้รู้ก็เชิญ น้องเขาไปร่วมงานแข่งต่อเลโก้ด้วย ตอน แรกก็กลัวว่าน้องจะท�ำไม่ได้ แต่เขาก็ทำ� ได้ดี จนถึงช่วงที่เขาเริ่มสนุกกับการพับกระดาษ และอยากไปร่ ว มพั บ กระดาษข้ า งนอก เราก็สนับสนุนเต็มที่ ตัวเขาเองก็ค้นหา ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจนไปเจอกับชมรม นักพับกระดาษแห่งประเทศไทย ได้รจู้ กั กับ อ.เอกสิทธิ์ เข้มงวด ซึ่งเป็นประธานชมรม ที่อัธยาศัยดีมาก เขาถามไถ่เรื่องแนวคิด ของเลนโบ ถามว่าโตขึน้ ไปอยากท�ำกิจกรรมนี้ เพื่ออะไร ซึ่งถือเป็นการเพิ่มทักษะการเข้า สังคมได้เป็นอย่างดี” นอกจากสอนพับกระดาษให้กับที่นี่ แล้ว เลนโบเขายังได้มี โอกาสไปสอนพับ กระดาษที่ บ ้ า นเด็ ก ก� ำ พร้ า ของครู ห ยุ ย (มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก) ซึ่งก็มีทางลุมพินีนี่ แหละที่ช่วยสนับสนุน “สุดท้ายก็เรื่องของคนในสังคมของ เราเอง เลนโบอยู่ที่ สี่พระยา ริเวอร์วิว มา ตั้งแต่เกิด ทุกคนก็แวะเวียนมาถามไถ่เรื่อง เลนโบ เราก็ขอโทษเขาที่บางครั้งลูกเราส่ง เสี ย งดั ง เป็ น บางเวลา แต่ มี ช ่ ว งที่ ส งบ มากกว่าเสียงดังนะ (คุณแม่ยิ้ม) อยากจะ เป็นก�ำลังใจให้กับทุกๆ คนที่มีบุตรหลาน หรือญาติทปี่ ว่ ย ไม่ใช่เพียงแค่เด็กๆ แต่รวม ไปถึงผู้สูงอายุที่มีอาการซึมเศร้าด้วย งาน วิจยั ทัว่ โลกบอกว่า การเข้าสังคมเป็นสิง่ ทีด่ ี ท�ำให้เขาไม่กลัวผูค้ น เริม่ ง่ายๆ เช่น ไปร่วม ปลูกต้นไม้ พากันไปไหว้พระ ท�ำอะไรที่ไม่ เคร่งเครียดมาก ทีส่ ำ� คัญคือควรเข้าใจและ ยอมรับกันและกัน เด็กพิเศษ หรือผู้ที่เป็น โรคซึมเศร้า พวกเขาสามารถอยู่ร่วมใน สังคมปกติได้ ไม่ควรจะผลักพวกเขาออก จากสังคม เราควรช่วยดึงเขาขึน้ มา ส่งเสริม ศักยภาพที่เขามีร่วมกันค่ะ” 17 L P N MAG 8 1 OC T – DE C 2 0 1 5
Lumpini Movement
The Giver … ฅนอาสา พาเลีย้ งช้าง
เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา The Giver ชมรมฅนอาสาท�ำความดี ได้ ชักชวนเหล่าสมาชิ กครอบครัวลุมพินีท่มี ีจิตอาสารวม 90 ท่าน จาก 11 ชุ มชน ลุมพินี ไปเยี่ยมชมและพู ดคุยกับเจ้าหน้าที่จติ อาสาในโครงการ บ้าน ช.ช้างชรา จังหวัดกาญจนบุ รี
บ้าน ช.ช้างชรา หรือศูนย์อนุรักษ์ ช้ า งกาญจนบุ รี นั้ น ห่ า งจากตั ว เมื อ ง กาญจนบุรีประมาณ 32 กิโลเมตร เริ่ม ก่อตั้งเมื่อพฤษภาคม 2551 โดยนาย สัตวแพทย์สามารถ ประสิทธิผ์ ล หัวหน้า กลุ ่ ม พั ฒ นาสุ ข ภาพสั ต ว์ ส� ำ นั ก งาน ปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรี ผู้ซึ่งคลุกคลี กั บ ช้ า งมาตลอดชี วิ ต การท� ำ งานกรม ปศุ สั ต ว์ ท� ำ ให้ ม องเห็ น สภาพปั ญ หา สุขภาพทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ ช้างเร่รอ่ น ช้างบาดเจ็บ และช้างชรา ซึ่งส่วนใหญ่ ไม่สามารถ ท�ำงานตามปางช้างได้อีกต่อไป การได้มาร่วมกิจกรรมที่นี่ ท�ำให้ สมาชิกครอบครัวลุมพินีที่มีจิตอาสาทุก ท่านได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาของช้างไทย รวมทั้งได้ป้อนอาหาร ช่วยกันอาบน�้ำขัด ตั ว ให้ ช ้ า งชราและช้ า งพิ ก ารภายใน โครงการ ถือเป็นการได้มาสัมผัสอีกมุม หนึ่งของช้างไทยที่ไม่สามารถพบเห็นได้ ทั่วไป ขอขอบคุณ The Giver ชมรมฅนอาสา ท�ำความดี ที่แม้จะเริ่มต้นจากสมาชิก กลุม่ เล็กๆ จากเจ้าของร่วมในชุมชนลุมพินี คอนโดทาวน์ บดินทรเดชา-รามค�ำแหง แต่ปัจจุบันนี้ สิ่งดีๆ ที่ทางชมรมสร้าง ก็ ได้ขยายผลไปสู่วงกว้าง เพื่อส่งต่อ ความสุขทีม่ าจากการให้อย่างไม่สนิ้ สุด
18
เสี ย งแห่ ง ความสุ ข ดนตรี ข องพ่ อ
LPN GREEN
19 L P N MAG 8 1 OC T – DE C 2 0 1 5