ท่านสามารถขอไฟล์ต้นฉบับเพื่อพิมพ์เผยแพร่เป็นวิทยาทาน หรือบริจาคปัจจัยร่วมสนับสนุน การพิมพ์หนังสือเล่มนี้เป็นธรรมทานได้ที่
บ้านครูดล เครือข่ายชีวิตสิกขา 159/70 ซอยวิภาวดีรังสิต 62 เเยก 2-4 ถนนวิภาวดีรังสิต ตำ�บลตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม 10210 FB : ดล ธนวัชร์ เกตน์วิมุต Tel. : 087 678 1669
Line ID : mazda4509 E-mail : tanawatk@gmail.com
กิจกรรมที่ครูดลทำ�เพื่อสาธารณะประโยชน์และสังคมเป็นธรรมทาน *คลินิกธรรมะ โรงพยาบาลภูมิพล จันทร์ที่สอง ของทุกเดือน 14.00-16.00 น. *คลินิกธรรมะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศุกร์เเรก ของทุกเดือน 14.00-16.00 น. *โยคะภาวนา สวนโมกข์ กรุงเทพฯ เสาร์แรก ของทุกเดือน 9.00-12.00 น. *ความตายออกแบบได้ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ เสาร์แรก ของทุกเดือน 13.00-17.00 น. *โยคะภาวนากับการเตรียมตัวตายอย่างมีสติ 3 วัน 2 คืน ขอกำ�หนดการได้ที่ E-mail: yoga4death@gmail.com FB: ความตาย ออกเเบบได้
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
3
คำ�นำ� ชีวิตของเราทุกคนมีความมหัศจรรย์ ในตัวเอง มีพลังในการเยียวยา และความสามารถที่จะดูแลปกป้องตัวเอง ระบบแต่ละระบบส่งผลเชื่อมโยง เกือ้ กูลซึง่ กันและกัน รวมทัง้ ส่งผลกระทบต่อกันและกันโดยเฉพาะการทำ�งาน สัมพันธ์กันของกายกับจิต เราจะยกระดับจิตของเราให้มีพลังเยียวยาต่อ กายของเราได้ต้องอาศัยพลังแห่งความศรัทธานำ�ทางสู่การตระหนักรู้จาก ภายในตนเอง ผมขอโอกาสใช้ ห นั ง สื อ เล่ ม นี้ แ บ่ ง ปั น ประสบการณ์ ต รงเพื่ อ เป็ น อีกหนึ่งแรงบั น ดาลใจและพลั ง ในการป้ อ งกั น ความเจ็ บ ป่ ว ยที่ ยั ง ไม่ เ กิ ด และยั ง อาจเป็นทางเลือกในการเยียวยาบำ�บัดความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแล้ว ให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนทุกคนทุกฝ่ายและทุกเหตุปัจจัย ที่ทำ�ให้ หนังสือเล่มนี้ ได้มี โอกาสเผยแพร่เพื่อสาธารณะประโยชน์และสังคม ครูดล ธนวัชร์ เกตน์วิมุต ประธานเครือข่ายชีวิตสิกขา : เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต
4
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
สารบัญ โยคะภาวนา
5
กายภาวนา 7 ทิศทาง 3 อิริยาบถ
8
10 12 14
ตัวอย่างอาสนะในอิริยาบถ นอน 7 ทิศทาง ตัวอย่างอาสนะในอิริยาบถ นั่ง 7 ทิศทาง ตัวอย่างอาสนะในอิริยาบถ ยืน 7 ทิศทาง
ภาวนาจนพบคำ�ว่า “พอ”
16
ภาวนากับการขอบคุณ
18
ภาวนากับการยอมรับ
20
ภาวนาด้วยการฟัง
23
ภาวนาจนถึง SELF (Spiritual Energy in Light Form)
25
บทภาวนาเพื่อความสมดุลในตัวเอง
27
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
5
โยคะภาวนา
โยคะ หมายถึง การรวม การฝึกในเบื้องต้นเป็นการฝึกรวมกายกับจิต
(Body & Mind) ให้ทำ�งานสอดรับประสานกันเพื่อพัฒนาให้ชีวิตมีสุขภาวะ ที่ดีขึ้น จนกระทั่งพัฒนาการฝึกเรื่อยๆ ขึ้นไปจนจิตตั้งมั่น ละความยึดติด ในกายที่คุ้นชินมาตลอด จนจิตสามารถหลอมรวมเข้ากับสภาวะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่มีขอบเขต เข้ากับสภาวะอนันต์อย่างสมบูรณ์อันเป็นบรมสุข เป็นปรมัตถ์เหนือบัญญัติทั้งปวง เป็นเรื่องที่รู้ ได้เฉพาะตนเพราะคำ�พูดหรือ บันทึกใดๆ ก็ ไม่สามารถบรรยายคุณลักษณะเฉพาะนี้ ได้อย่างแท้จริง ดังนั้น หากมีการฝึกอาสนะเพื่อทำ�เหตุให้กายหรืออินทรีย์เข้มแข็ง จนได้ท่านั่งสมาธิ เป็นฐานที่สมดุลควบคู่ไปกับการฝึกลมหายใจในการเตรียมความพร้อมผ่าน จังหวะที่ว่างไปจากการหายใจเข้าและออก จนเหลือแต่ช่วงที่หยุดหายใจ อันเป็นประตูด่านแรกของภาวะตายก่อนตาย หากพ้นด่านนี้ ไปได้แล้วจิตที่ ยกระดับมาพร้อมแล้ว อันเกิดจากการฝึกสม่ำ�เสมอต่อเนื่องในการเป็นเพียง ผู้เห็น ไม่ตอบโต้ ปล่อยวางการเข้าไปจัดการและควบคุม จนจิตตั้งมั่นและ มีกำ�ลังที่จะทวนกระแสไปสู่ความบริสุทธิ์แห่งจิต จนถึงภาวะที่ ไม่มีสิ่งใดที่จะ ให้จิตหยิบฉวยอะไรมาปรุงแต่งจิตได้อีกต่อไป เมื่อนั้นเสียงอุทานด้วยความ เข้าใจอย่างถ่องแท้จะไม่ได้มีแค่เฉพาะโยคะเท่านั้น หากแต่ความเข้าใจอย่าง แจ่มแจ้งนี้จะมีต่อชีวิต และสรรพสิ่งในสากลจักรวาล
โยคะภาวนา
6
กาย ศีล จิต ปัญญา
การฝึกศีลในเบื้องต้นจะช่วยขัดเกลากิเลสอย่างหยาบ เป็นเหตุให้ สมาธิในท่าอาสนะตั้งมั่นขึ้น สมาธิในอาสนะเป็นเหตุให้จิตสงบขึ้น ช่วย ขัดเกลากิเลสระดับกลางๆ และการเฝ้าสังเกตุแยกกายแยกจิตเป็นผู้เห็นการ เกิดดับ มีผู้รู้ รู้อยู่กับสิ่งที่ถูกรู้ เห็นธรรมชาติแห่งการเกิดดับ เปลี่ยนแปลงไม่ คงที่ จะช่วยให้ค่อยๆ ถอดถอนกิเลสอย่างละเอียด ตัวไม่ใช่ตัว ตนไม่ใช่ตน การยึดติดหมายมั่นพันผูก จะคลายออกจากความหลงผิดไปสู่ความจริงและ ความสุขอันแท้จริง
ภาวนา (Cultivation) หมายถึง การเจริญ, การทำ�ให้เป็นให้มีขึ้น,
การฝึกอบรม, การพัฒนา แบ่งเป็น 4 ประเภท 1. กายภาวนา (Physical Development) การเจริญกาย, พัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทาง อินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิด โทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ, การพัฒนาความ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 2. ศีลภาวนา (Moral Development) การเจริญศีล, พัฒนาความ ประพฤติ, การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียน หรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
7
3. จิตภาวนา (Emotional Development) การเจริญจิต, พัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้ง หลาย เช่น มีเมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทนมีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น 4. ปัญญาภาวนา (Intellectual Development) การเจริญปัญญา, พัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำ�จิตใจให้เป็นอิสระ ทำ�ตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา หากเราให้ โอกาสตัวเองที่จะฝึกฝนโยคะ จงใช้เวลานั้นเข้าถึงการ ภาวนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน ให้ ได้ทั้งทางกาย ศีล จิต และปัญญา
8
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
กายภาวนา 7 ทิศทาง 3 อิริยาบถ ผมได้ เ คยออกแบบท่ า กายภาวนาเพื่ อ บำ � บั ด ผู้ ป่ ว ยอั ม พฤกษ์ ให้สามารถกลับมาเดินได้ ในเวลา 2 เดือน และยังได้ออกแบบสำ�หรับการ เยียวยาความป่วยที่เกือบจะเป็นอัมพาตจากโรคกระดูกงอกทับไขสันหลัง ของตั ว เองโดยหลี ก เลี่ ย งการผ่ า ตั ด ให้ ก ลั บ มี คุ ณ ภาพชี วิ ต เหมื อ นเดิ ม ได้ ในเวลา 2 ปี หลักการคือให้เคลื่อนไหวแนวกระดูกสันหลัง 7 ทิศทาง คือ
1. เหยียดยืดแนวกระดูกสันหลัง
2. โน้มแนวกระดูกสันหลังไปด้านหน้า
3. แอ่นแนวกระดูกสันหลังไปด้านหลัง
4. เอียงแนวกระดูกสันหลังไปทางซ้าย
5. เอียงแนวกระดูกสันหลังไปทางขวา
6. บิดแนวกระดูกสันหลังไปทางซ้าย
7. บิดแนวกระดูกสันหลังไปทางขวา
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
เมื่ อ เข้ า ใจการเคลื่ อ นไหวแนวกระดู ก สั น หลั ง แล้ ว นำ � ไปประยุ ก ต์ เข้ากับ 3 อิริยาบถ คือ
1. นอน (นอนหงาย, นอนคว่ำ�, นอนตะแคง) 2. นั่ง (นั่งพื้นคู้เข่า, เหยียดขา, นั่งเก้าอี้) 3. ยืน
โดยเราลองทำ�ให้ ได้อย่างน้อยทิศทางละ 1 นาที ตั้งใจอยู่กับความ รู้สึกอ่อนโยนต่อลมหายใจและผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยวาง น้อมจิตให้ อยู่กับปัจจุบันขณะ เพื่อเฝ้าดูความทุกข์ ความตึง ความปวด หรือความสุข ด้วยใจเป็นกลาง ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
9
10
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ตัวอย่างอาสนะในอิริยาบถ นอน 7 ทิศทาง
ทิศทางเหยียดยืด
ทิศทางก้ม (ประยุกต์)
ทิศทางแอ่น
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ทิศทางเอียงซ้าย – เอียงขวา
ทิศทางบิดซ้าย – บิดขวา บันทึกภาพโดย : ญาณิศา ปุสุรินทร์คำ�
11
12
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ตัวอย่างอาสนะในอิริยาบถ นั่ง 7 ทิศทาง
ทิศทางเหยียดยืด
ทิศทางก้ม
ทิศทางแอ่น
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ทิศทางเอียงซ้าย – เอียงขวา
ทิศทางบิดซ้าย – บิดขวา บันทึกภาพโดย : ญาณิศา ปุสุรินทร์คำ�
13
14
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ตัวอย่างอาสนะในอิริยาบถ ยืน 7 ทิศทาง
ทิศทางเหยียดยืด
ทิศทางก้ม
ทิศทางแอ่น
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ทิศทางเอียงซ้าย – เอียงขวา
ทิศทางบิดซ้าย – บิดขวา บันทึกภาพโดย : ญาณิศา ปุสุรินทร์คำ�
15
16
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ภาวนาจนพบคำ�ว่า “พอ” เมื่อผมทดลองนั่งรถเข็น Wheel Chair สำ�หรับผู้พิการที่จอดว่าง อยู่ริมน้ำ�ภายใต้อาคารปูนเปลือยสีเทาอย่างเรียบง่ายตามแนวเซน (Zen) สถานที่อันเปรียบเสมือนปอดทางจิตวิญญาณของคนเมืองภายใต้ชื่ออย่าง เป็นทางการว่า “หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ” หรือที่เรียกกันจน ติดปากว่า “สวนโมกข์ กรุงเทพฯ” ก็ ไม่ได้แย่จนเกินไปนัก หากชีวิตจำ�ต้อง พึ่งพิงอยู่บน Wheel Chair จากนี้ ไปตลอดชีวิต เพราะตอนนี้ก็ยังรู้สึกมี ความสุขเล็กๆได้อยู่ จากการมองเห็นน้ำ�พุ ตกกระทบผิวน้ำ�แล้วแผ่กระจาย เกลียวระรอกคลื่นเล็กๆ ล้อสายลมเอื่อยๆ กับไอแดดอ่อนๆยามเย็น ข้าพเจ้ารู้สึกถึงความสงบจากภายในกับการให้ โอกาสตัวเองมีช่วงขณะอัน ประเสริฐที่ ไม่ต้องคิดว่าจะไปไหน จะต้องทำ�อะไร เป็นใครเพื่ออะไร เพื่อใคร หรือคิดว่าเมื่อกี้เราไปทำ�อะไรมา แค่อยู่ตรงนี้ และรู้สึก “พอ” กับสิ่งนี้ ตรงนี้ ตอนนี้ ยอมรับในสิ่งที่กำ�ลังมี กำ�ลังเป็น กำ�ลังเกิดขึ้น เพียงเข้าถึงความรู้สึก พออย่างแท้จริงก็สุขใจเหลือเกินแล้ว มันช่างแตกต่างจากตอนที่จิตเราส่ง ออกนอกไปเพื่อคิดจะจัดการ ควบคุม ดูแล แผ่อำ�นาจออกไปเพื่อตัวตน เพื่อ ใคร หรือเพื่ออะไรบางอย่างที่เป็นความต้องการลึกๆ ในใจ ตอนนั้นมักจะ รู้สึกร้อนรุ่ม กระวนกระวาย ทุรนทุราย ฟุ้งซ่าน หากสังเกตุจังหวะลมหายใจ ก็มักจะถี่ ตื้น ชีพจรและหัวใจเต้นเร็วรัว กล้ามเนื้อบางส่วนเกร็งโดยไม่รู้ตัว แล้วเราก็อยู่กับสิ่งเหล่านี้อย่างคุ้นชิน เมื่อจิตไม่สงบกายก็ ไม่สงบตามไปด้วย เมื่อกายไม่สบาย จิตก็พลอยไม่สบายไปด้วย
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
17
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมกำ�ลังเดินไปกับลมหายใจในปัจจุบันเพียงชั่วครู่ พลันความสุขอย่างลุ่มลึกก็บังเกิดขึ้น ผมเห็นว่าตัวเองกำ�ลังเดินเท้าเปล่า ใส่เสื้อผ้าฝ้ายธรรมดาๆ สีพื้นเรียบๆ ไร้ลวดลายใดๆ ไม่ได้พึ่งพาใคร อะไร ไม่ต้องทำ�อะไร เพื่อใคร ไม่มีคำ�ถาม มีแต่การเดินไปกับลมหายใจตัวเอง เพียงแค่นี้ก็พอแล้วกับการเข้าถึงความสุข “พอ” ไม่ได้เอาไว้น้อมมาใช้กับตอนที่เราเป็นทุกข์เท่านั้น เมื่อใดที่สุขก็ สามารถใช้ ได้ด้วยเช่นกัน ไม่อย่างนั้นหากไม่รู้จักพอกับสุขที่ ได้ เราจะกลาย เป็นคนที่สุขไม่เป็น สุขที่ ไม่รู้สึกถึงคำ�ว่าพออาจกลายเป็นความโลภได้ อยาก สุขขึ้นอีก อยากให้สุขนี้คงอยู่ถาวร ไม่อยากให้สุขหายไปไหน ดังนั้นความ สุขทางโลกที่เราได้รับกันอยู่ทุกวันนี้ แท้ที่จริงแล้วน่าจะเป็นความทุกข์อย่าง ละเอียดมากกว่า
“ไม่ดีก็...พอ ดีก็...พอ เราจะพบแต่ความ...พอดี”
18
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ภาวนากับการขอบคุณ “ขอบคุณนะ ที่ทำ�ประโยชน์มาให้นานถึง 42 ปี ถ้าอยากจะพักยาว จนไม่อยากกลับมาเดินอีก ก็พักเถอะ” ผมก้มมองขาข้างขวาที่หมดความ รู้สึกมานานกว่า 6 เดือนแล้ว พูดออกไปจากใจและหมายความอย่างที่พูด จริงๆ ส่วนขาข้างซ้ายที่ก็อ่อนแรงลีบเล็กกว่าข้างขวาก็ ได้ยินผมบอกกับเขา ว่า “หากอยากจะพักตามข้างขวาก็ ได้นะ พักเถอะ ไม่เป็นไร ชีวิตที่เหลือ อยู่บนรถเข็นได้” ผมรู้สึกดี ใจต่อใจของตัวเองที่รู้สึกขอบคุณได้กับสิ่งที่ เกิดขึ้นไปแล้ว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกประเมินค่าว่าดีหรือไม่ดีก็ตาม ครั้งหนึ่ง ผมได้เดินภาวนาอยู่บนแผ่นไม้ที่วางทอดเป็นระเบียงยื่นออกไปจากหน้าผา ในขณะที่เดินกลับไปกลับมาสักพัก ขณะที่ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างก้าวย่างกระทบ บนแผ่นไม้แผ่นกลางอย่างมีสติ พลันเกิดคำ�ถามขึ้นว่า เรากำ�ลังเดินอยู่บน แผ่นไม้กี่แผ่นกัน ทั้งๆ ที่ตลอดการก้าวย่างก็รับรู้อยู่ว่าผมใช้ ไม้กระดานแผ่น กลางแผ่นเดียวรองรับฝ่าเท้า แต่คำ�ถามที่ผุดขึ้นในใจนี้ชวนผมได้ ใคร่ครวญ ว่า ผมกำ�ลังเดินอยู่บนไม้กระดานทั้ง 3 แผ่นนั่นแหละ เพราะแผ่นไม้ข้าง ซ้ายและข้างขวาแม้เขาไม่ได้รองรับฝ่าเท้า แต่ผมกำ�ลังใช้เขาเพื่อรองรับ ความรู้สึก หากมีเพียงแผ่นเดียว ผมหรือใครๆ คงไม่มี ใครกล้ามาเดินแน่ๆ เราเดินอยู่บนเส้นทางสายกลางๆ นี้ ได้เพราะมีซ้าย มีขวา เพราะมีกุศล อกุศล เพราะมีชั่วมีดี มีขาวมีดำ� เพราะมีมิตรมีศัตรู เท่านั้นแหละผมรู้สึก ขอบคุณทั้ง 2 ขั้ว ยอมรับและขอบคุณสิ่งไม่ดี คนไม่ดีที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิต
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ยอมรับและขอบคุณสิ่งดีดี คนดีดีที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิต ความรู้สึกขอบคุณ ที่เกิดขึ้นนี้เปรียบเสมือนภูมิคุ้มกันชีวิตที่สำ�คัญ ช่วยลดความอคติในใจเราลง ช่วยลดการยึดติดสุขและเกลียดทุกข์ ใจเป็นกลางๆ เข้าใจและเคารพ สรรพสิ่งที่กำ�ลังเกิดขึ้น รวมทั้งที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
“สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นก็งดงามแล้ว”
19
20
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ภาวนากับการยอมรับ การยอมรับสภาพความเสื่อมและความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นของร่างกาย ที่กำ�ลังอยู่ในขั้นป่วยรุนแรงของผม ผมตระหนักว่าความรู้สึกแบบนี้มันอยู่ เหนือความคิดบวก อยู่เหนือเหตุผลดีๆ ที่จะมาปลอบใจตัวเอง และยังแตก ต่างไปจากการทำ�ใจ หากแต่เป็นความรู้สึกจากใจแท้ๆ ที่ผ่านการภาวนา ได้แสดงความไม่สั่นไหว ไม่ต่อต้าน แม้จะต้องได้ยินได้ฟังการวินิจฉัยและ คำ�แนะนำ�จากอาจารย์แพทย์ถึง 5 ท่านที่มีต่อโรคกระดูกงอกทับไขสันหลัง บริเวณคอ ช่วง C3-C6 ขั้นรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผมมาพักใหญ่แล้ว
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
21
ท่านที่ 1: “โอ้ หมอแปลกใจนะครับ ที่ยังเดินได้อยู่ ไม่น่าเชื่อว่าคุณคือเจ้า ของฟิลม์นี้ (สายตาที่หมอมองผม เหมือนกับว่ากำ�ลังเผชิญหน้า กับคนมีของ หรือมีองค์ ประมาณนั้น) นี่คงเป็นตัวอย่างการ ทำ�งานของ Body and Mind ที่ช่วยกัน แต่หมอเชื่อว่าจิตน่าจะ ช่วยกายได้อีกไม่เกิน 3 เดือน ยังไงก็รีบตัดสินใจผ่าตัดก่อนสาย เกินไปนะครับ” ท่านที่ 2: “หมอเสียใจครับ เครื่องมือทำ�กายภาพบำ�บัดที่ดีที่สุดตอนนี้ ไม่ สามารถช่วยได้ครับ มีหมอผ่าตัดที่ดูๆ ไว้หรือยังครับ” ท่านที่ 3: “ตัดสินใจแล้วกันครับว่าจะผ่าตัดครั้งเดียวให้เสร็จไปเลย หรือ แยกผ่า 2 ครั้ง คือการผ่าตัดก็ ไม่ใช่คำ�ตอบที่ดีที่สุดหรอกครับ แต่ตอนนี้เป็นคำ�ตอบสุดท้ายที่มีอยู่ ตัดสินใจยังไงก็ ให้มานัดวัน ผ่าอีกที แต่ควรรีบตัดสินใจนะครับอย่าช้า” ท่านที่ 4: “อ้าว เดินมาได้ยังไงนี่ ผมนึกว่าต้องอยู่บน Wheel Chair หรือ ไม่ก็เข็นเตียงเข้ามาแล้ว ระหว่างนี้ดูแลตัวเองยังไงอยู่ก็ขอให้ทำ� ต่อไปนะครับ เพราะทางกายภาพช่วยไม่ได้ครับ เคสนี้หนักเกิน หมอว่าทิ้งไว้ก็เสี่ยง ผ่าก็เสี่ยง ถ้าตัดสินใจผ่าก็ต้องทำ�ใจนะครับ ว่าไม่มีทางกลับมา 100% เหมือนเดิมแน่ๆ” ท่านที่ 5: “คุณรีบไปหาวันนัดกับพยาบาลหน้าห้องเลย ผ่าตัดให้เร็วที่สุด คุณอยู่ในขั้นเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาต”
22
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
ผมเชื ่ อ ว ่ า หลายคนแค ่ ไ ด ้ ฟ ั ง ความเห็ น คำ � แนะนำ � จากคุ ณ หมอ สัก 2 ท่าน ก็ต้องรีบขึ้นเขียงแล้ว แต่ที่ผมทวนกระแสไม่เข้ารับการผ่าตัด ก็เนื่องจากการฟังเสียงของร่างกายอย่างลึกซึ้งด้วยจิตที่ยอมรับอย่างสงบ ทุกๆ ครัง้ ทีผ่ มทำ�สมาธิ (Meditation) และฝึกโยคะภาวนา (Cultivate Yoga) ที่ประยุกต์และเลือกสรรวิธีการฝึกที่ ไม่ฝืนและเป็นไปอย่างปล่อยวางให้ เหมาะสมกับร่างกายทั้งซีกซ้ายและซีกขวาที่กำ�ลังต้องการพลังแห่งการ เยียวยาอันละเอียดอ่อนแตกต่างกัน ผมมักได้ยินความรู้สึกจากร่างกายบอก ว่ารู้สึกดี และมาถูกทางแล้วประกอบกับการละเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดความ เสื่อมลง เช่น แหงนคอและศรีษะมากเกินไป, ขับรถทางไกลฯ ทำ�ให้เกื้อกูล ต่อการบำ�บัดและฟื้นฟู จนร่างกายซีกซ้ายมีเรี่ยวแรงขึ้น ซีกขวารับรู้ความ รู้สึกกลับคืนมา เจ็บเป็น ร้อนเป็น เย็นเป็น และเริ่มยืนหลับตาได้ ยืนทรงตัว ขาเดียวได้ ระบบขับถ่าย และระบบหายใจเริ่มกลับมาทำ�งานตามปกติ หลังจากใช้เวลา 2 ปี อยู่กับชีวิตที่เสมือนตายไปแล้วครึ่งหนึ่ง ในที่สุดผมก็พบ หนทางคืนความสุขและสมดุลให้กับชีวิตอย่างมีชีวากลับมาอีกครั้งด้วยการ
“ไม่ต้าน ไม่ฝืน ปล่อยวาง ยอมรับ ขอบคุณ และ...พอ”
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
23
ภาวนาด้วยการฟัง ผมพบผู้ ป่ ว ยหลายคนในงานจิ ต อาสาที่ ผ มหาเวลาว่ า งไปเยี่ ย ม ให้กำ�ลังใจและให้การปรึกษาสำ�หรับผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้าย และญาติ จำ�นวนหนึ่งมักรู้สึกเศร้า เหงาหงอย รู้สึกหมดพลัง ไม่มีคุณค่า เพราะขาด การดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร และผู้ป่วยอีกจำ�นวนมากเหมือนกันที่รู้สึกเอียน รู้สึกถูกกดดันว่าห้ามตาย ตายไม่ได้นะ ต้องหายนะเพราะได้รับการดูแล เอาใจใส่มากเกินไป เป็นเรื่องไม่ง่ายที่เราจะหยิบยื่นความเอาใจใส่ ให้คุณค่า กันอย่างลงตัว เพราะเราไม่เคยเรียนวิชาเหล่านี้กันมาก่อน ผมว่าเรื่องเหล่านี้ เป็นศิลปะที่ต้องการทักษะการฝึกฝนพอสมควร เราควรจะฝึกดูแลเอาใจใส่ ให้ความเข้าใจในเรื่องของความรู้สึก ความต้องการลึกๆ ในใจ จนไปถึงความ ปรารถนาของกันและกันอยู่เนืองๆ พอถึงเวลาใครคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วย ขึ้นมา ต้นทุนที่เราฝึกฝนสะสมมาตลอดก็จะถูกนำ�ออกมาใช้ สิ่งที่จะเกื้อกูล ต่อกันมากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือการฟังกันบ่อยๆ ฟังให้เป็น การฟังถือเป็น คุณธรรมอย่างหนึ่งเลยทีเดียว รู้ ไหมคำ�ว่า “สาวก” (สา-วะ-กะ) นั้นแปลว่า ผู้ที่ ได้ยินคำ�สอน (Hearer) คือผู้ที่ฟังแล้วได้ยิน ได้ยินเข้าไปถึงใจจนนำ�ความ เข้าใจนั้นไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้คุณภาพของการฟังได้มาซึ่งบริบท เนื้อหา ความรู้สึก ความต้องการ ความปรารถนาลึกๆ ในใจ เราต้องฟังอย่างมีสติ และคอยระมัดระวังอย่าเผลอถามแทรก แย่งซีน ปลอบใจกลบใจ แนะนำ� สั่งสอน ยุยงปลุกปั่น หรือพาเปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่น ให้วาง ความคิด สัญญา
24
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
อคติ ความเชื่อ ของเราวางไว้ก่อน ให้ความสำ�คัญกับคนตรงหน้าว่าเขา กำ�ลังเป็นคนที่สำ�คัญที่สุดของเรา ฟังทั้งเสียงที่เขาพูด ฟังความรู้สึกที่เขา พยายามบอก ฟังท่าทางเขาว่าอาจกำ�ลังต้องการอะไร ฟังว่าเขาห้อยแขวน คุณค่าในใจไว้กับอะไร
“การฟังที่ดีจะช่วยให้เราได้เข้าใจตัวเอง และให้ โอกาสเราได้ช่วยเหลือตัวเอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
25
ภาวนาจนถึง SELF (Spiritual Energy in Light Form) SELF ในทางฝึกโยคะภาวนา หมายถึง Spiritual Energy in Light Form เป็นภาวะที่เราเข้าถึงคลื่นพลังงานที่เคลื่อนภายในกาย เป็นพลังงาน ละเอียดอ่อน บางเบา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เคลื่อนเปลี่ยนแปลงไม่คงที่อยู่ตลอด เวลา มีอยู่ในทุกอิริยาบถ ทุกอารมณ์ความรู้สึกทั้งทางกายและทางใจ เราจะ สัมผัสได้ ในรูปแบบของการสั่นสะเทือน ภายใต้กลุ่มก้อนของความปวดทาง กายที่เกิดขึ้นกับผม จิตผมหยั่งลึกลงไปพบว่าภายใต้กลุ่มก้อนของความปวด มีแต่การสั่นสะเทือนเล็กๆ มากระจุกรวมกัน พอจิตแตะในระดับลึกถึงขั้นนี้ จิตจะข้ามพ้นจากเวทนาทางกาย กลายเป็นเพียงผู้เห็นที่ตั้งมั่น ใจเป็นกลางๆ ไม่ผลักไส ตอบโต้ หากเราสามารถรับรู้คลื่นพลังงานภายในนี้ ได้ ให้ลองใช้กายนอก เคลื่อนไหลลื่นตามกันไปอย่างเป็นเนื้อแท้กับคลื่นพลังงานภายในที่รับรู้ ได้ ให้อยู่กับความเป็นปัจจุบันขณะเท่านั้น ไร้กระบวนท่าตายตัว ไม่มีท่าทาง ที่เราจะไปถึง ไม่มีท่าทางที่เราจากมา หากแต่พลังงานจากภายในอาจ อยากพากายนอก เคลื่อนไปหยุดด้วยท่าอาสนะบางท่าก็ ให้เป็นไปเพราะ คลื่นพลังงานพาไป นั่นหมายถึงกายในกำ�ลังสื่อสารเพื่อการเยียวยาบำ�บัด กายนอกของเราอยู่ เราเพียงแต่ยอมรับและอนุญาตให้การเยียวยาเกิดขึ้น เมื่อรู้สึกเพียงพอแล้วและต้องการจบการฝึกก็ ให้กำ�หนดจิตว่าขอจบการฝึก อาจใช้เวลาได้ตั้งแต่ 15 นาที จนถึง 1 ชั่วโมง ก็ ได้
26
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
การจะฝึก SELF ได้ จิตของเราต้องนิ่งเป็นสมาธิ มี ใจตั้งมั่นรับรู้ ความรู้สึกของกายในกาย เมื่อเกิดการรับรู้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกกาย นอกอยากเคลื่อนไหวก็เคลื่อนไหวได้ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ในขณะฝึกจะเป็นช่วงเวลาที่เราคลายจาก SELF ที่เป็นอัตตา เว้นไปจากความ รูส้ กึ หยาบ อยูก่ บั พลังงานทีล่ ะเอียดในรูปเเบบของกฎธรรมชาติ เปลีย่ นเเปลง ไม่เที่ยง เกิด ดับ ช่วงนี้เป็นการเจริญปัญญา อยู่กับสิ่งที่ถูกรู้ กับ ผู้รู้ เมื่อฝึก จนชำ�นาญแล้ว จะเกิดการรับรู้ขึ้นในชีวิตประจำ�วันในทุกๆ อิริยาบถ เป็นการ เจริญสติรับรู้ กายขั้นละเอียด พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องสัมมาสติไว้ว่า “กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ” แปลว่า “ย่อมเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ�” “เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ” แปลว่า “ย่อมเห็นเวทนาในเวทนาเป็นประจำ�” การเข้าถึง SELF คือการที่เราสามารถเข้าไปเห็นได้ลึกอย่างที่ พระพุทธองค์ทรงสอน และการเห็นนี้ ไม่ได้เห็นสิ่งที่วิเศษ แต่เป็นการเห็น ความจริง เกิด-ดับ เห็นความเป็นปกติธรรมดา
S = Spiritual จิตวิญญาณ E = Energy พลังงาน L = Light ละเอียด F = Form รูปเเบบ
ท่านที่สนใจวิธีฝึกการเข้าถึง SELF มีสอนให้กับผู้ที่เข้าอบรมในค่าย โยคะภาวนากับการเตรียมตัวตายอย่างมีสติ 3 วัน 2 คืน ขอกำ�หนดการได้ท่ี
E-mail: yoga4death@gmail.com
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
บทภาวนาเพื่อความสมดุลในตัวเอง นอนราบในท่าศพ อนุญาตให้พื้นได้เป็นพื้นที่ที่รองรับกายและใจของ เราได้ผ่อนพักอย่างแท้จริง ระลึกรู้ลมหายใจที่ค่อยๆ ผ่อนคลายขึ้น รับรู้ว่า กายใจค่อยๆ รู้สึกผ่อนคลายสมดุลขึ้น และยอมรับด้วยความเข้าใจว่าเรามี ความสามารถที่จะมีความรัก กลมกลืน มีความสุขสงบ และสมดุล • ฉันมีความสามารถที่จะเติมเต็มความปรารถนาด้วยตัวเองตลอดจน ดูแลความปรารถนาของตัวเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ • ฉันระลึกรู้ว่าถ้ามีผู้อื่นมอบความรักให้กับฉันก็เป็นเรื่องดี แต่ฉันก็มีความ สามารถที่จะมอบความรักให้ตัวฉันเองและยอมรับได้ด้วยตัวเองเช่นกัน • ฉั น รู้ ว่ า ไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งพยายามตอบสนองความปรารถนาของผู้ อื่ น หากแต่มีความเมตตา มีน้ำ�ใจต่อผู้อื่นในการเติมเต็มความปรารถนาและ ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมี โอกาส
27
28
โยคะภาวนา
กาย ศีล จิต ปัญญา
• ฉันรูว้ า่ ผูอ้ นื่ สามารถรับรูค้ วามเมตตา ความมีน�ำ้ ใจของฉัน รับรูถ้ งึ ความรัก การยอมรับ และความชื่นชมที่ฉันมี ให้เขาเหล่านั้น • ฉันรับรู้ว่าฉันเพียงแต่เข้าไปช่วยคลี่คลายความทุกข์ ให้ผู้อื่น แต่ไม่ได้ แบกความทุกข์นั้นกลับมาไว้กับตัวเอง • ฉันมีความสามารถที่จะให้ความใส่ ใจและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ บริบท รอบๆ ตัว รวมทั้งมีความสามารถที่จะไม่ ให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อให้ กับสิง่ ต่างๆ บริบทรอบๆ ตัว ฉันสามารถยอมรับและอยูก่ บั บริบทนัน้ ๆ ได้ แม้ว่า บางครั ้ งฉั นอาจจะรู้สึกไม่ชอบ ไม ่ถ ู ก ใจ แต่ฉั น ก็ ไม่ ผ ลั ก ไส ไม่ตอบโต้ และ ไม่ใฝ่หาหรือทะยานอยาก • ฉันกำ�ลังรู้สึกได้ถึงพลังงานบวกในตัวเอง พลังชีวิต และจิตวิญญาณที่ ฉันกำ�ลังสัมผัสได้ว่าเป็นความสุข ความสงบไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ซึ่ง ฉันก็เชื่อว่าผู้อื่นก็มีความสามารถนี้เช่นกัน • ฉันมีความสามารถที่จะให้อาหารใจกับตัวเองได้ คือ การยอมรับ ความ พึงพอใจ การเติมเต็มความปรารถนาได้ด้วยตัวเอง และฉันก็เชื่อว่าผู้อื่น ก็มีความสามารถนี้เช่นเดียวกันกับฉัน • ในความเป็นแก่นกลางภายในตัวตน ฉันสัมผัสได้ว่า ฉันมีความสงบ มีพลังชีวิต และมีคุณค่า • พลังทางจิตวิญญาณบอกกับฉันว่า ฉันเป็นคนที่คู่ควรกับความรัก การยอมรับ ความชื่นชม การดูแลเอาใจใส่ ความเชื่อมโยง ความสุข และความสมดุล *************************