หนังสือพืชพิษ (Toxic plants) Latest ver.

Page 1

Y A N I S AK R I








หนังสือภาพประกอบทางพฤกษศาสตร์

พืชพิษ

-Toxic plantsญาณิศา ไกรมุ่ย


- คำ�นำ� พืชชนิดต่างๆ มีการน�ามาใช้ประโยชน์ทั้งด้านการบริโภคเพื่อสรรพคุณทางยา และการใช้ ป ระดั บ ตกแต่ ง บ้ า น แต่ พื ช บางชนิ ด มี ทั้ ง ประโยชน์ แ ละมี พิ ษ จึ ง ต้ อ งใช้ ความระมัดระวังในการใช้ ดังนั้นการมีความรู้พื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับพืชบางชนิดที่มี พิษ เป็นการป้องกันตนเองในเบื้องต้นก่อนการน�าพืชนั้นมาใช้ประโยชน์ ผู้จัดท�าเห็นถึง ความส� า คั ญ ของการป้ อ งกั น ตนเองจากพื ช ที่ มี พิ ษ จึ ง จั ด ท� า และสร้ า งสรรค์ ผ ลงาน ภาพวาดประกอบทางพฤกษศาสตร์โดยใช้เทคนิคสีน�้า เพื่อน�าเสนอเกี่ยวกับพืชที่มีพิษที่ ควรรู้และสามารถพบได้ทั่วไป ทั้งลักษณะทางพฤกษศาสตร์ นิเวศวิทยา คุณประโยชน์ และความเป็นพิษ เพื่อใช้ในการสังเกตเมื่อไปสถานที่ต่างๆ ที่มีพืชเหล่านี้อยู่จะช่วยให้ ระวังตัวจากพืชที่มีพิษเหล่านี้ได้ หนังสือพืชพิษ (Toxic plants) นี้ เป็นหนังสือภาพประกอบทางพฤกษศาสตร์ ที่มีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นเนื้อหาและรูปภาพของพืชที่มีพิษ 10 ชนิด ทั้งยังเป็นสื่อ การเรียนรู้ให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปและผู้ที่ต้องการศึกษาเพื่อป้องกันและดูแลรักษา หากได้รับพิษจากพืชนั้นๆ ทางผู้จัดท�าหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ไม่มากก็นอ้ ย หากมีขอ้ ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ญาณิศา ไกรมุ่ย ผู้จัดท�า


Contents 8

ความหมายของพืชที่มีพิษและประเภทพิษของพืช

14

ดองดึง

10

มะกล่�าตาหนู

18

26

ล�าโพงกาสลัก

หนุมานนั่งแท่น

22

ละหุ่งแดง


30 โพทะเล

34 ปัตตาเวีย

38

46

บอนสี

ระย่อม

42

มะระขี้นก


- พืชพิษ พืชที่มีพิษ คือ? พืชทีม่ พี ษิ คือพืชทีม่ กี ารผลิตสารพิษหรือมีสารพิษเป็นส่วนประกอบ และมีสารพิษในปริมาณทีม่ ากพอ ที่จะท�าให้เกิดอันตรายต่อระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์จนอาจก่อให้เกิดโรค ความผิดปกติในร่างกาย หรือแม้ ก ระทั่ ง การเสี ย ชี วิ ต จากการได้ รั บ สารพิ ษ จากพื ช ความรุ น แรงของผลจากการได้ รั บ สารพิ ษ ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. วิธีการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานเข้าไปทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางอ้อมเกิดจากการรับสารพิษจากการที่สารพิษ ถ่ายทอดผ่านทางห่วงโซ่อาหาร ผู้ที่ได้รับมากที่สุดคือ ผู้บริโภคล�าดับสุดท้าย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมนุษย์ เช่น คนที่รับประทานน�้าผึ้งจากผึ้งที่ไปดูดน�้าหวานจากดอกยี่โถ อาจได้รับสารพิษจากดอกยี่โถ จนเกิดเป็นพิษต่อร่างกายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เป็นต้น การสัมผัส อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ เช่น เป็นผื่น ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น การสูดดม เช่น ฝิ่นและกัญชา เป็นต้น 2. ระยะเวลาในการเกิดพิษในร่างกาย มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของพิษและจ�านวนพิษที่ได้รับ 3. ความรุนแรงของพิษที่ ได้รับจากพืชที่มีพิษแตกต่างกัน มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของพิษ และจ�านวนพิษที่ได้รับ

วิธีการป้องกันและการรักษา

1. หลีกเลี่ยงพืชที่มีพิษ ทั้งการรับประทาน การสัมผัส และการสูดดม 2. หากสัมผัสกับสารพิษในพืช เช่น ยางหรือน้�าในล�าต้น ควรรีบล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้�าและสบู่ จะท�าให้อาการต่างๆ ที่ตามมาน้อยลงและอาจป้องกันการเกิดผื่นได้ 3. ในกรณีที่มีผื่นคัน ถ้ามีน้อย ให้รักษาตามอาการด้วยยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) และยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก (Topical steroid) เพื่อบรรเทาอาการ 4. ถ้ามีอาการรุนแรงหรือรุนแรงขึ้นจากการทายา ควรไปพบแพทย์

-8-


- พิษของพืช พิษของพืชที่ควรรู้ พืชที่มีพิษมักมีสารพิษประเภทต่างๆ ดังนี้ 1. Vegetable bases ประกอบด้วย Amines, Purines และ Alkaloids Amines พบได้ทั้งจากจุลินทรีย์และในเห็ดชนิดต่างๆ Purines หรือ Methylxanthines พบในใบชา กาแฟ เป็นต้น โดยมีสารที่สา� คัญ คือ Caffeine เป็นต้น Alkaloids เป็นสารจากพืชที่มีความส�าคัญที่สุด พบในพืชใบเลี้ยงคู่มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว Alkaloids มีหลายชนิด ที่เป็นพิษมาก คือ Morphine จากยางของผลฝิ่น เป็นต้น 2. Glycosides มีหลายชนิดเช่นกัน มีบางชนิดเป็นพิษ เช่น Cerbexin พบในพืชพวกตีนเป็ดน�้า เป็นต้น 3. Saponins เป็นสารที่พบมากในพืช เช่น พวกประค�าดีควาย สะบ้ามอญ มะระขี้นกสุก เป็นต้น 4. Toxalbumins พบมากในสกุลพวกสลอด เปล้า ละหุ่ง สบู่แดงและสบู่ดา� เป็นต้น สารนี้เป็นสารประกอบ โปรตีน ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายหน่วยมารวมตัวกัน เช่น Abrin จากเมล็ดมะกล�่าตาหนู และ Ricin จากเมล็ดละหุ่ง เป็นต้น 5. น�า้ มันระเหยยาก (Fixed oils) สารนีป้ ระกอบด้วย Glycerol และ Fatty acid หลายชนิด มักมีคณุ สมบัติ เป็นยาระบาย บางชนิดมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง เช่น น�้ามันสลอด น�า้ มันสบู่ด�า น�้ามันละหุ่ง เป็นต้น 6. น�า้ มันระเหยง่าย (Essential oils หรือ Volatile oils) เป็นสารที่ทา� ให้พืชมีกลิ่น เช่น การบูรและผักชี เป็นต้น บางชนิดมีฤทธิ์ระคายเคืองท�าให้เกิดการอักเสบ หรือมีฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาท เช่น จันทน์เทศและโกฐจุฬาล�าพา เป็นต้น 7. เรซิน (Resins) พบได้ในพืชหลายชนิด บางชนิดมีฤทธิ์ระคายเคือง เช่น ยางจากต้นมะม่วงหิมพานต์ และสลัดได เป็นต้น บางชนิดใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้ เช่น ยางของรักและหางไหล เป็นต้น 8. กรดอินทรีย์ ที่เป็นพิษได้แก่ Oxalic acid และ Formic acid โดยจะพบ Oxalic acid ในรูปของ Calcium oxalate, Sodium oxalate และ Potassium oxalate ทั้งนี้ผลึก Calcium oxalate ซึ่งเป็นรูปเข็มไม่ละลาย น�า้ พบในพืชจ�าพวก เช่น บอน ว่านหมื่นปี เป็นต้น 9. Selenium และ Fluorine พืชบางชนิดสามารถดูดสารทั้งสองชนิดนี้จากดินได้ ท�าให้มีสารเหล่านี้สะสม อยูม่ าก จึงก่อให้เกิดพิษได้จากปริมาณสาร Selenium และ Fluorine ทีส่ งู เกิน หากมีการบริโภคพืชเหล่านัน้ -9-


Rosary pea - มะกล่�าตาหนู -

-10-


Abrus precatorius L.

-11-


- มะกล่ำ�ต�หนู ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Abrus precatorius L. ชื่อวงศ์: FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE (วงศ์ถั่ว) ชื่อสามัญ: Rosary Pea, American pea, Buddhist rosary bean, Crab’s eye, Indian bead, Jequirity bean, Lucky bean

ชื่ออื่น: กล่าำ เครือ กล่ำาตาไก่ มะกล่ำาเครือ มะกล่าำ แดง มะแค๊ก ตากล่าำ มะขามเถา ไม้ไฟ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: ไม้เถาเลื้อย (Climber) มีอายุได้หลายปี ความสูงของต้น สามารถสูงได้ถึง 5 เมตร ลักษณะใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ (Even-pinnately leaf, Paripinnate leaf) ลักษณะคล้ายใบมะขาม มีขนปกคลุม รูปร่างแบบขอบ ขนาน (Oblong) หรือไข่กลับ (Obovate) ขอบใบเรียบ (Entire) การเรียงใบ แบบตรงข้าม (Opposite) ลักษณะดอก: ดอกช่อ (Inflorescence flower) ออกตามซอกใบเป็นแบบ ช่อกระจะขนาดเล็ก ดอกคล้ายถั่ว มีสีม่วงอ่อน มีขนปกคลุม ลักษณะผล: ผลเป็นผลแห้งแก่แตก (Dry dehiscent fruit) ผลเป็นแบบฝัก แบนยาวปลายแหลม ออกเป็นพวง เมล็ดกลม สีแดงสด มีแต้มสีดา� ผิวเป็น มันเงา ขั้วมีสีดา� อยู่ในฝักมีประมาณ 4-8 เมล็ด

-12-


นิเวศวิทยา มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ทกุ พืน้ ทีใ่ นเขตร้อน ในประเทศไทยพบได้ทวั่ ไปในป่า และทีร่ กร้าง โดยเฉพาะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือ

คุณประโยชน์ ใบ: มีสารหวานมากกว่าน้�าตาลทราย 30-100 เท่า แต่ไม่มีพิษ สามารถ ใช้ท�าเป็นชาส�าหรับดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้�า แก้ไอ และเจ็บคอ เถาและราก: ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ช่วยขับเสมหะ แก้เสียงแห้ง แก้ไอ และหวัด

ส่วนที่มีพิษ

เมล็ด: มีพิษมาก ห้ามเคี้ยวรับประทานเนื่องจากมีสาร Abrin ถ้ากลืนทั้ง เมล็ดไม่เป็นอันตราย เนื่องจากพิษ ยังไม่แสดง (Latent period) หากเคี้ยว ให้เมล็ดแตก พิษจากเมล็ดจะออกฤทธิ์ ใน 2-3 ชั่วโมง ถึง 2-3 วัน และมีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายทั้งยัง สามารถท� าให้ เ สี ย ชี วิ ต ได้ หากไม่ได้รบั การรักษาอย่างถูกต้อง จากความเป็นพิษของเมล็ดมะกล�า่ ตาหนู ท�าให้มีการน�ามาท�าเป็นยาฆ่าแมลงในนาข้าวได้

-13-


Gloriosa lily - ดองดึง -

-14-


Gloriosa superba L. -15-


- ดองดึง ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Gloriosa superba L. ชื่อวงศ์: COLCHICACEAE (วงศ์ดองดึง) ชื่อสามัญ: Gloriosa lily, Climbing lily, Turk’s cap, Superb lily, Flame lily,

ชื่ออื่น: ก้ามปู คมขวาน บ้องขวาน หัวขวาน ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู พันมหา มะขาโก้ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: ไม้ล้มลุก (Herbaceous plant) เลื้อยเกาะต้นไม้อื่น ล�าต้นใต้ดินทรงกระบอก ลักษณะใบ: ใบเดี่ยว (Simple leaf) การเรียงใบแบบเรียงสลับ (Alternate) ขอบใบเรียบ ปลายใบท�าหน้าทีเ่ ป็นมือเกาะ (Leaf tendrils) มีเส้นใบแบบขนาน ลักษณะดอก: ดอกเดี่ยว (Solitary flower) ออกที่ซอกใบใกล้ปลายเถา กลีบดอกสีเหลืองปลายกลีบสีแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงทั้งดอก ลักษณะผล: ผลเป็นผลแห้งแก่แตก (Dry dehiscent fruit) ผลเป็นรูปทรง กระบอกหรือรูปกระสวย มี 3 พู เมล็ดกลม สีส้มแกมน�า้ ตาล

-16-


นิเวศวิทยา มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท มักขึน้ ตามบริเวณทีม่ คี วามชืน้ ป่าเปิด ทีโ่ ล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา ป่าดงดิบเขาชื้นหรือป่าเต็งรัง

คุณประโยชน์ แม้สาร Colchicine จะเป็นพิษ ก็สามารถน�ามาใช้ประโยชน์ได้ หากมี ความระมัดระวังและใช้ในปริมาณแต่น้อย แต่ก็จัดเป็นยาอันตราย มีความเป็นพิษสูง จึงควรใช้ในรูปยาเม็ด แผนปั จ จุ บั น และอยู ่ ใ น การควบคุมของแพทย์ รากและหัว: ช่วยลดเสมหะ ทาแก้โรคผิวหนัง แก้พิษงู พิษแมงป่อง ตะขาบกัด แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โรคมะเร็ง สารสกัดจากหัว และรากใช้ส�าหรับการเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่

ส่วนที่มีพิษ

เหง้าและเมล็ด: เป็นส่วนที่มีพิษมาก เนื่องจากมีสาร Colchicine ซึ่งเป็นสารที่มีพิษมาก ท�าให้เกิดอาการแสบร้อนในปาก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียอย่างรุนแรง และเสียชีวิตได้

-17-


Thorn apple - ล�าโพงกาสลัก -

-18-


Datura metel L. var. fastuosa (Bernh.) Danert -19-


- ลำ�โพงก�สลัก ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Datura metel L. var. fastuosa (Bernh.) Danert ชื่อวงศ์: SOLANACEAE (วงศ์มะเขือ) ชื่อสามัญ: Thorn apple ชื่ออื่น: กาสลัก มะเขือบ้าดอกดำา ลำาโพงกาลัก ลำาโพงดำา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: ไม้ล้มลุก (Herbaceous plant) อายุหลายปี มีความสูง ของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลักษณะใบ: ใบเดี่ยว (Simple leaf) การเรียงใบแบบเรียงสลับ (Alternate) รูปร่างใบเป็นรูปไข่ (Ovate) ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ฟันห่างๆ ลักษณะดอก: ดอกเดี่ยว (Solitary flower) กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกัน เป็นหลอด ยาว กลีบดอกสีม่วงติดกันเป็นหลอดปลายบานออกเป็นรูปแตร (Infundibular) หรือรูปล�าโพง (Infundibuliform) กลีบเรียงซ้อน 2-3 ชั้น ลักษณะผล: ผลเป็นผลแห้งแก่แตก (Dry dehiscent fruit) รูปทรงค่อนข้างกลม สีเขียวอมม่วง ผิวมีขนหนาคล้ายหนาม ลักษณะเป็นตุม่ ภายในผลมีเมล็ดลักษณะ กลมแบนจ�านวนมาก คล้ายเมล็ดมะเขือ

-20-


นิเวศวิทยา มีถนิ่ ก�าเนิดในอินเดียและชายฝัง่ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สามารถพบได้ ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ที่รกร้างว่างเปล่าไปจนถึงป่าดิบเขา

คุณประโยชน์

ใบและยอด: ใบสดใช้ต�าพอกฝี มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ แก้อาการ ปวดท้องเกร็ง ขยายหลอดลม แก้หอบหืด และใช้ควบคุมอาการ อาเจียนจาก การเมารถได้ แต่มีผลข้างเคียงคือ ท�าให้ปากและคอแห้ง ดอกแห้ง: ผสมยาฉุนสูบแก้อาการ หอบหืด และริดสีดวงจมูก เมล็ด: หุงท�าน�้ามันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน

ส่วนที่มีพิษ

ทุกส่วน: มี Alkaloid หลายชนิด ซึ่งจะออกฤทธิ์อย่างช้าๆ ตั้งแต่ระบบ ทางเดินอาหารไปจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เกิดอาการประสาทหลอน เพ้อคลั่ง สายตาพร่ามัว หายใจไม่สะดวก อุณหภูมิในร่างกายสูงผิดปรกติ หัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยอาจหมดสติ อาการสามารถรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และในผู้ได้รับพิษ แม้เมื่อรักษาหายแล้ว อาการวิกลจริตจะไม่หาย

-21-


Castor bean - ละหุ่งแดง -

-22-


Ricinus communis L. -23-


- ละหุ่งแดง ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ricinus communis L. ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE (วงศ์ยางพารา) ชื่อสามัญ: Castor, Castor bean, Castor oil plant ชื่ออื่น: มะละหุ่ง มะโห่ง มะโห่งหิน ละหุ่งแดง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่ม (Shrub) หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้น ได้ถึง 6 เมตร

ลักษณะใบ: ใบเดี่ยว (Simple leaf) การเรียงใบแบบเรียงสลับ (Alternate) รูปร่างใบเป็นแบบรูปแฉกแบบนิ้วมือ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย (Serrate) ลักษณะดอก: ดอกช่อแบบกระจะ ดอกแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน โดยดอกเพศผู้อยู่ส่วนบน ดอกเพศเมียอยู่ส่วนล่าง ช่อดอกเป็นนวลขาว ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง ลักษณะผล: ผลเป็นผลแห้งแก่แตก (Dry dehiscent fruit) รูปไข่ ด้านนอกมีหนาม เมล็ดภายในมีรูปร่างแบนรี เปลือกเมล็ดสีนา�้ ตาลประขาว

-24-


นิเวศวิทยา มีถิ่นก�าเนิดในแอฟริกาตะวันออก และในปัจจุบันแพร่กระจายใน ประเทศเขตร้อนและร้อนชื้น พบได้ในทุกภาคของไทย เนื่ อ งจากเมล็ ด แพร่กระจายจากการไหลของน�้า จึงพบมากบริเวณลุ่มแม่น�้าหรือริมทางน�้า

คุณประโยชน์

ใบ: แก้ชา�้ รั่ว (อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่) ขับน�้านม แก้อาการปวดท้อง ขับลมในล�าไส้

นำ้ามันจากเมล็ด: ต้องบีบโดยไม่ใช้ความร้อน โดยใช้การบีบเย็น (Cold pressed) เพื่อไม่ให้โปรตีนที่เป็นพิษติดออกมา ใช้เป็นยาระบาย เพื่อขับถ่ายกากอาหารที่เป็นพิษ และเป็นยาถ่ายก่อนการผ่าตัด ราก: ใช้รักษาอาการปวดฟัน เป็นยาแก้พิษ แก้ไข้เซื่องซึม

ส่วนที่มีพิษ

เมล็ด: เนื้อในเมล็ดมีโปรตีนที่มีพิษมากทั้งต่อคน สัตว์ และแมลง มีสารพิษ ที่ส�าคัญ ได้แก่ สาร Ricin ท�าให้หายใจล�าบาก คลื่นไส้อาเจียน และ Ricinus Communis Agglutinin (RCA) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ หากรับประทานเพียง 2-3 เมล็ด จะส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ ท�าให้เกิดอาการ เช่น ปากและคอไหม้พอง ท้องเสียรุนแรง ตัวเขียวคล�้า อุจจาระมีเลือด ตับและไต ถูกท�าลาย ความดันโลหิตต�่า และถ้าไม่ได้รับการรักษาภายใน 36-72 ชั่วโมง จะท�าให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวและท�าให้เสียชีวิตได้

-25-


Guatemala rhubarb - หนุมานนั่งแท่น -

-26-


Jatropha podagrica Hook. f. -27-


- หนุม�นนั่งแท่น ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Jatropha podagrica Hook. f. ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE (วงศ์ยางพารา) ชื่อสามัญ: Gout Plant, Guatemala Rhubarb, Fiddle-leaved Jatropha ชื่ออื่น: ว่านเลือด หัวละมานนั่งแท่น ว่านหนุมาน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่ม (Shrub) มีความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร มีนา�้ ยางสีขาวขุ่นใสๆ ลักษณะใบ: ใบเดี่ยว (Simple leaf) การเรียงใบแบบเรียงสลับ (Alternate) รูปไข่กว้าง (Ovate) รูปร่างฐานใบเป็นรูปหัวใจ (Cordate) ลักษณะดอก: ดอกช่อกึ่งช่อเชิงหลั่น (Corymb) มีดอกย่อยจ�านวนมาก มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย กลีบดอกและก้านดอกมีสีส้มหรือแดง ลักษณะผล: ผลสดมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปกระสวย มี 3 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมล็ดรูปรีหรือรูปกระสวย ผลแห้งแก่ไม่แตก (Dry indehiscent fruit) เมล็ดภายในเป็นรูปทรงรี

-28-


นิเวศวิทยา มีถิ่นก�าเนิดจากอเมริกากลาง ชอบแสงแดดจัดแบบเต็มวัน สามารถทนต่อความแล้งได้ดี และเจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น

คุณประโยชน์

นำ้ายาง: ใช้ทารักษาแผลที่ของมีคมบาด เนื่องจากช่วยห้ามเลือด รักษาฝี และยังเป็นยาที่ใช้รักษาบาดแผลเนื้องอกได้และใช้รักษา แผลเน่าเปื่อยได้ โดยใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่ายาอื่น เหง้า: ใช้เป็นยาบ�ารุงก�าลัง ฟอกเลือด เมล็ด: สารที่สกัดจากเมล็ด พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อรา

ส่วนที่มีพิษ

เมล็ดและนำ้ายาง: มีสารพิษที่ออกฤทธิ์คล้ายกับสาร Toxalbumin ในละหุ่ง หากรับประทานเมล็ดจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้อชักกระตุก ความดันโลหิตต�่า หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจ ท�าให้เสียชีวิตได้ ส่วนของน�้ายาง เมื่อถูกผิวหนังจะท�าให้เกิดอาการ แพ้ระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน หากเข้าตาจะท�าให้ตาอักเสบหรือ ตาบอดชั่วคราวได้ และถ้าได้รับในปริมาณมากอาจท�าให้ตาบอดถาวรได้

-29-


Pacific rosewood - โพทะเล -

-30-


Thespesia populnea (L.) Sol. ex Correa -31-


- โพทะเล ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Thespesia populnea (L.) Sol. ex Correa ชื่อวงศ์: MALVACEAE (วงศ์ชบา) ชื่อสามัญ: Pacific rosewood, Portia tree, Umbrella tree, Cork tree, Coast cotton tree, Indian tulip tree, Thespesia

ชื่ออื่น: ปอกะหมัดไพร ปอมัดไซ บากู ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก (Tree) มีความสูงประมาณ 8-12 เมตร ลักษณะใบ: ใบเดี่ยว (Simple leaf) การเรียงใบแบบเรียงสลับ (Alternate) รูปร่างใบแบบรูปหัวใจ (Cordate) ฐานใบเว้าลึก ขอบใบเรียบ ลักษณะดอก: ดอกเดี่ยว (Solitary flower) หรือดอกคู่ตามซอกใบ ดอกสีเหลืองนวลจะบานเต็มทีภ่ ายในวันเดียว แล้วเปลีย่ นเป็นสีชมพูอมม่วงเมือ่ หมดวัน จะเหี่ยวอยู่บนต้นและร่วงหล่นในวันถัดมา ลักษณะผล: ผลรูปทรงค่อนข้างกลม ปลายผลมีติ่งหนามสั้นๆ ผลอ่อนเป็น สี เ ขี ย วอ่ อ น ผลแก่ เ ป็ น สี เ ขี ย วเข้ ม เปลื อ กแข็ ง ที่ ขั้ ว มี ก ลี บ เลี้ ย งติ ด อยู ่ ผลเป็นผลแห้ ง แก่ แ ตก (Dry dehiscent fruit) เมล็ ด ภายในลั ก ษณะยาว แบนและรี

-32-


นิเวศวิทยา มีเขตการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง พบได้มากที่ดอนหรือตามชายฝั่งทะเล และตามริมแม่น�้าที่เป็นดินร่วนปนทราย สามารถพบได้ในประเทศจีน แอฟริกา อินเดีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิก และในประเทศไทยสามารถพบได้ตาม ชายฝั่งทะเลทั่วไป ทั้งยังถูกจัดเป็นพันธุ์ไม้ประจ�าจังหวัดสมุทรปราการ

คุณประโยชน์

ใบ: มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวด ลำาต้น: แก้ผิวหนังพุพอง เปลือก: ฝาดสมาน รักษาโรคผิวหนัง ขับน�า้ เหลืองเสีย แก้อักเสบ แก้บิด และท�าให้อาเจียน ราก: ใช้เป็นยาระบาย รักษาอาการไข้ ขับปัสสาวะ และเป็นยาบ�ารุง

ส่วนที่มีพิษ

เปลือก: มีฤทธิ์ท�าให้อาเจียน นำ้ายาง: น�้ายางจากเปลือกและล�าต้น หากเข้าตาสามารถท�าให้ตาบอดได้ นำ้ามันที่ได้จากเมล็ด: หากเข้าตาสามารถท�าให้ตาบอดได้

-33-


Peregrina - ปัตตาเวีย -

-34-


Jatropha integerrima Jacq. -35-


- ปัตต�เวีย ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Jatropha integerrima Jacq. ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE (วงศ์ยางพารา) ชื่อสามัญ: Peregrina, Cotton leaved jatropha, Spicy jatropha ชื่ออื่น: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่ม (Shrub) มีความสูงประมาณ 2-3 เมตร มียางเหนียวใส ลักษณะใบ: ใบเดี่ยว (Simple leaf) การเรียงใบแบบเรียงสลับ (Alternate) รูปร่างใบแบบรูปไข่กลับขนาดใหญ่ (Obovate) หรือแบบรูปแฉกแบบนิ้วมือ (Palmalifid) ขอบใบเรียบ มีหูใบ ลักษณะดอก: ดอกช่อแบบช่อกระจุก (Cymose) ตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีสีแดง หรือชมพู มีกลีบเลี้ยงสีแดง ลักษณะผล: ผลเป็นผลแห้งแก่แตก (Dry dehiscent fruit) มี 3 พู ผลรูปไข่ เมื่อสุกจะมีสีแดงสด

-36-


นิเวศวิทยา ปัตตาเวียเป็นพันธุ์ไม้ต่างประเทศ มีกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื้นปานกลางถึงสูงและมีแสงแดดตลอดวัน

คุณประโยชน์ นิยมใช้เป็นไม้ประดับ

ส่วนที่มีพิษ

ใบ: มีน�้ายางใสเป็นพิษ เมื่อถูกผิวหนังจะท�าให้บวมแดง เกิดแผลพุพอง หากเข้าตาสามารถท� าให้ตาบอดได้ และถ้ ารั บ ประทานเข้ าไปจะท� าให้ เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นเลือด และความดันโลหิตต�่า

-37-


Corazon de Maria - บอนสี -

-38-


Caladium bicolor Vent -39-


- บอนสี -

ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้ ใบ” (Queen of the Leafy Plants) ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Caladium bicolor Vent ชื่อวงศ์: ARACEAE (วงศ์บอน) ชื่อสามัญ: Corazon de Maria, Fancy Leaf Caladium ชื่ออื่น: บอนฝรั่ง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: ไม้ล้มลุก (Herbaceous plant) มีอายุหลายปี มีล�าต้นใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 0.5 เมตร ลักษณะใบ: ใบเดี่ยว (Simple leaf) มีสีสันสวยงาม มีขนาดรูปใบแตกต่างกัน การเรียงใบแบบเรียงสลับ (Alternate) เวียนแผ่ออกรอบต้น สามารถจ�าแนกตาม ลักษณะใบได้ 5 ลักษณะ คือ บอนสีใบไทย (รูปร่างใบคล้ายหัวใจ), บอนสีใบไผ่ (รู ป ใบค่ อ นข้ า งเรี ย ว),บอนสี ใ บกลม (รู ป ร่ า งใบค่ อ นข้ า งกลมหรื อ ป้ อ ม), บอนสีใบกาบ (รูปร่างคล้ายใบผักกาด) และบอนสีใบยาว (รูปใบเรียวหรือป้อม) ลักษณะดอก: ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ (Spadix) ดอกมีสีขาวหรือสีชมพู มีกลิน่ ฉุน ลักษณะเป็นแท่งยาว มีดอกเพศเมียอยูส่ ว่ นโคน ดอกเพศผูอ้ ยูส่ ว่ นปลาย มีใบประดับขนาดใหญ่ (Spathe) ลักษณะผล: มีลักษณะเป็นทรงกลม

-40-


นิเวศวิทยา มีถิ่นก�าเนิดมาจากแถบแอฟริกาใต้ และเริ่มเข้ามาในทวีปยุโรป อินเดีย และอินโดนีเซีย เป็นพืชที่ต้องการแสงเพื่อสร้างเม็ดสี แต่แสงต้องมี วัสดุมาพรางไว้ประมาณ 50% และต้องการความชื้นสูง

คุณประโยชน์ นิยมใช้เป็นไม้ประดับ

ส่วนที่มีพิษ

ทุกส่วน: สารพิษเป็นผลึกรูปเข็มของ Calcium oxalate และสารอื่นๆ เช่น สาร Sapotoxin ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับ 4 ของพืชที่มีพิษ เนื่องจาก เต็มไปด้วยพิษที่ร้ายแรง ถ้ารับประทานเข้าไปอาจจะท�าให้เกิดอาการคัน ไหม้ ที่ เ พดานปาก ลิ้ น และคอ การเปล่ ง เสี ย งผิ ด ปกติ เ พราะพิ ษ จะท�าให้กล่องเสียงบวม การกลืนอาหารผิดปกติ และอาจอาเจียนได้ ทั้งยังระคายเคืองต่อระบบหายใจคือ ท�า ให้ ก ารหายใจติ ด ขั ด และ หากเข้าตาสามารถท�าให้ตาอักเสบได้ พิ ษ จากบอนสี นี้ อ าจมี อั น ตราย ถึงขั้นสามารถท�าให้เสียชีวิตได้

-41-


Carilla fruit - มะระขี้นก -

-42-


Momordica charantia L. -43-


- มะระขี้นก ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Momordica charantia L. ชื่อวงศ์: CUCURBITACEAE (วงศ์แตง) ชื่อสามัญ: Carilla fruit, Bitter gourd, Balsam apple, Balsam pear, Bitter cucumber, Bitter melon

ชื่ออื่น: มะไห่ สุพะชู มะร้อยรู ระ โควกวย มะระเล็ก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: อยู่ในตระกูลพืชล้มลุก (Herbaceous plant) มีลักษณะ เป็นไม้เถา (Climber) ลักษณะใบ: ใบเดี่ยว (Simple leaf) รูปร่างใบแบบรูปแฉกแบบนิ้วมือ (Palmalifid) ขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปในตัวใบ มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย ลักษณะดอก: เป็นดอกเดี่ยว (Solitary flower) ดอกมีสีเขียวปนเหลือง กลีบบาง ลักษณะผล: ผลของมะระขี้นกจะมีรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระ และมี ปุ ่ ม ยื่ น ออกมา ผลอ่ อ นจะมี สี เ ขี ย ว ผลแก่ จ ะมี สี เ หลื อ งอมแดง เมื่ อ สุ ก มากปลายของผลจะแตกเป็ น 3 แฉก เมล็ ด มี ลั ก ษณะกลมแบน เมื่อแก่มีสีแดงสด

-44-


นิเวศวิทยา พบในทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกากลางและใต้ รวมทั้งบริเวณ เขตร้อน ในประเทศไทยพบได้ตามที่รกร้างทั่วไป

คุณประโยชน์

ใบ: บรรเทาอาการปวดศีรษะ ดับพิษร้อน ใช้เป็นยาช่วยฟอกเลือด ขับลม บ�ารุงน�้าดี ผล: ลดไข้ ลดความดันโลหิต ลดระดับน�้าตาลในเลือด ต่อต้านอนุมูลอิสระ บ�ารุงสายตา เพิม่ ภูมติ า้ นทานโรค ป้องกันโรคมะเร็ง และผลแห้งช่วยรักษาอาการ ของโรคหิด เมล็ดแห้ง: บ�ารุงก�าลัง บ�ารุงธาตุ เพิ่มพูนลมปราณ ราก: ถ่ายบิดเป็นเลือด แก้พษิ บรรเทาอาการปวดฟัน น�า้ ดีพกิ าร และรักษาโรคตับ

ส่วนที่มีพิษ

ผลสุก: ผลสุกจะมีสาร Saponin ในปริมาณมาก การรับประทานผลสุกเข้าไป อาจท�าให้อาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจมีอันตรายจนท�าให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนัน้ จึงห้ามรับประทานผลสุก การดืม่ น�า้ มะระขีน้ กทีข่ มจัดจะท�าให้ตบั ท�างานหนัก และส�าหรับหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานเกินขนาดหรือรับประทานมะระขี้นก ที่เริ่มสุกแล้ว อาจท�าให้เกิดการตกเลือดหรือแท้งได้

-45-


Rauwolfia - ระย่อม -

-46-


Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz -47-


- ระย่อม ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz ชื่อวงศ์: APOCYNACEAE (วงศ์ตีนเป็ด) ชื่อสามัญ: Rauwolfia, Serpent wood, Indian Snake Root ชื่ออื่น: ระย่อมน้อย กะย่อม เข็มแดง ละย่อม ปลายข้าวสาร กอเหม่ สะมออู ย่อมตีนหมา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป: ไม้พมุ่ ขนาดเล็ก (Shrub) มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร มียางขาว ผลัดใบในช่วงฤดูแล้งและจะผลิใบใหม่ในช่วงฤดูฝน ลักษณะใบ: ใบเดี่ยว (Simple leaf) การเรียงใบเรียงตรงข้ามหรือรอบข้อ รูปร่างใบแบบรูปรี (Elliptic) หรือรูปใบหอก (Lanceolate) ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้ม ลักษณะดอก: ดอกช่อแบบช่อกระจุกซ้อนเชิงประกอบ (Compound dichasium) กลีบเลีย้ งสีขาวแกมเขียว ดอกมีลกั ษณะคล้ายดอกเข็ม ก้านดอกมีสแี ดง กลีบดอกขาว เมื่อโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ลักษณะผล: ผลเป็นผลสด รูปทรงกลมหรือรูปรี มีสีเขียวแต่เมื่อแก่จะสีด�า เป็นมัน และผิวเรียบ

-48-


นิเวศวิทยา มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย เนปาล ภูฏาน ภูมิภาคอินโดจีน พม่า จีน มาเลเซีย และในประเทศไทยพบได้ตามที่โล่งในป่าต่างๆ ที่ ร ะดั บ ความสู ง จนถึ ง ประมาณ 800 เมตร เจริ ญ เติ บ โตได้ ดี ใ นดิ น ร่ ว นซุ ย ผสมกับอินทรียวัตถุ และมีความชุ่มชื้น

คุณประโยชน์

ราก: พบว่ารากมีสาร Reserpine ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตและกล่อมประสาท แก้ ไ ข้ เจริ ญ อาหาร ลดความดั น โลหิ ต ท�าให้น อนหลั บ ขั บ พยาธิ ฟอกเลื อ ด ขับปัสสาวะ และลดระดับน�้าตาลในเลือด ยอดและดอกอ่อน: ใช้ประกอบอาหาร

ส่วนที่มีพิษ

ราก: ท�าให้จมูกตันหรือคัดจมูก หายใจไม่ออก หน้าแดง ปากแห้ง คอแห้ง ซึมเศร้า ง่วงนอนบ่อย หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ไม่สบายท้อง อยากอาหารเพิ่มขึ้น ไม่มีเรี่ยวแรง ถ่ายไม่หยุด ดังนั้นในการใช้ต้องระมัดระวังอย่างเป็นพิเศษ

-49-


- บรรณ�นุกรม Dnp.go.th. ใบ (Leaf) [Internet]. n.d. [cited 2018 Dec 15]. Available from: http://www.dnp.go.th/ botany/BFC/leaf.html Dnp.go.th. ดอกไม้ (Flowers) [Internet]. n.d. [cited 2018 Dec 15]. Available from: http://www.dnp. go.th/botany/BFC/flwer.html Dnp.go.th. ผล (Fruits) [Internet]. n.d. [cited 2018 Dec 15]. Available from: http://www.dnp. go.th/botany/BFC/fruit.html Medplant.mahidol.ac.th. พืชพิษ [Internet]. n.d. [cited 2018 Dec 14]. Available from: http://medplant. mahidol.ac.th/tpex/poison/poison.htm?ngonkai.htm Med.mahidol.ac.th. ภาวะเป็นพิษจากพืช [Internet]. n.d. [cited 2018 Dec 17]. Available from:https:// med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/Plant Pharmacy.mahidol.ac.th. ค้นหาสมุนไพร [Internet]. n.d. [cited 2018 Dec 14]. Available from: https:// www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search Rspg.or.th. พืชมีพิษ [Internet]. n.d. [cited 2018 Dec 15]. Available from: http://www.rspg.or.th/ plants_data/use/toxic_50.htm


- ประวัติผู้จัดทำ� นางสาว ญาณิศา ไกรมุย่ (ครีม) นักศึกษาชัน้ ปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล Facebook: Creamm yolanis E-mail: Creammy_yanisa@hotmail.com


หนังสือภาพประกอบทางพฤกษศาสตร์

พืชพิษ

-Toxic plants-








Y A N I S AK R I


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.