รายงานประจำป
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและ รีสอร์ทในเครือเซ็นทารา (CTARAF)
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ท ในเครือเซ็นทารา (CTARAF)
สำหรับระยะเวลาตัง้ แต่วนั ที่ 1 มกราคม 2555 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2555
รายงานประจำปี
ณ 31 ธันวาคม 2555
สารบัญ
สาส์นจากบริษัทจัดการ รายงานของบริษัทจัดการเกี่ยวกับสภาวะตลาดของโรงแรมและรีสอร์ท บนเกาะสมุย ปี 2555 ผลการดำเนินงานของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย ของกองทุน ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและ รีสอร์ทในเครือเซ็นทารา รายละเอียดแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภท สรุปมูลค่าทรัพย์สิน ทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา รายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แต่ละรายการในรอบปีบัญชี รายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แต่ละรายการในรอบปีบัญชี รายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุนรวม แบบแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและ รีสอร์ทในเครือเซ็นทารา รายงานความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ประวัติการจ่ายเงินปันผล รายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีการทำธุรกรรม รายชื่อผู้จัดการกองทุน
1 4 8 10 11 11 12 14 14 14 14 17 18 19 43 43 43
สาส์นจากบริษัทจัดการ เรียน ท่านผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด ขอนำส่งรายงานประจำปี 2555 สำหรับ การดำเนินงานของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ภายใต้ ก ารจั ด การของบริ ษั ท ประจำงวดระยะเวลาตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 มกราคม 2555 ถึ ง วั น ที่ 31 ธันวาคม 2555 มายังผู้ถือหน่วยลงทุนทุกท่าน โดยในรายงานประจำปีฉบับนี้ประกอบด้วย รายละเอี ย ดการลงทุ น ของกองทุ น รายงานผลการดำเนิ น การและรายละเอี ย ดทรั พ ย์ สิ น ของ กองทุนรวมทั้งงบการเงินที่ ได้รับการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี และ รายงานสรุปฐานะทางการเงิน ของผู้รับประกันรายได้ของกองทุน นอกจากนี้ ในรายงานประจำปีฉบับนี้ยังจะได้นำเสนอข้อมูล สภาวะตลาดของโรงแรมและรีสอร์ทบนเกาะสมุย เพื่อให้ท่านได้ทราบข้อมูลสภาวะของธุรกิจ
ดั งกล่าวโดยรวมในปี 2555 ที่ผ่านมาอีกด้วย ปี 2555 เป็นปีที่เศรษฐกิจไทยเร่งตัวขึ้นมาขยายตัวร้อยละ 6.4 จากร้อยละ 0.1 ในปีก่อนซึ่ง ประสบอุทกภัยครั้งรุนแรงในช่วงปลายปี มีการลงทุนและการใช้จ่ายในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อน สำคัญ โดยไตรมาสแรกเศรษฐกิจฟื้นกลับมาขยายตัวได้อย่างรวดเร็วหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย แต่ ไตรมาสสองและสามต้องเผชิญกับความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากปัญหาหนี้ยุโรป และ การเปลี่ยนผู้นำในประเทศสำคัญหลายประเทศส่งผลกระทบต่ออุปสงค์จากต่างประเทศ ทำให้ โมเมนตัมเศรษฐกิจชะลอตัวลงชั่วคราวก่อนจะเร่งตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปีเ มื่อความเชื่อมั่น ต่อเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกฟื้นกลับคืน โดยในไตรมาสแรก เศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวขึ้น อย่ า งรวดเร็ ว กลั บ มาขยายตั ว เป็ น บวกร้ อ ยละ 0.4 จากปี ก่ อ น หลั ง จากหดตั ว ร้ อ ยละ 8.9 ในไตรมาสก่อนซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งรุนแรง มีการฟื้นตัวในทุกภาคส่วนจากจุดต่ำสุด ในเดือนพฤศจิกายน ปีก่อน จากการฟื้นตัวขึ้นจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ ผลจากการใช้จ่าย และลงทุ น ในการซ่ อ มแซมและฟื้ น ฟู ค วามเสี ย หาย และการกลั บ มาดำเนิ น การตามปกติ จ าก การหยุดชะงักลงชั่วคราวในภาคส่วนที่ ไ ม่ ได้รับผลกระทบรุนแรงแต่ยังไม่กลับเข้าสู่ระดับปกติ ในไตรมาสสองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกลับมาขยายตัวร้อยละ 4.4 ดีขึ้นจากร้อยละ 0.4 ไตรมาสแรก จากการฟื้นตัวในวงกว้าง ทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรม การส่งออก และการใช้จ่ายในประเทศ ผลจากกำลังซื้อเพิ่มขึ้น มาตรการลดภาษีสำหรับบ้านหลังแรกและรถคันแรก ในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ย ยังคงทรงตัวระดับต่ำกระตุน้ ให้เกิดการใช้จา่ ยในสินค้าทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง อย่างไรก็ตาม การส่งออกปรับตัวดีขนึ้ หลังภาคอุตสาหกรรมการผลิตฟื้นตัว แต่มีความเสี่ยงจากอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า ผลสืบเนื่องจาก วิกฤตหนี้สินในยุโรปที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของการส่งออก ไทยในระยะต่อไปได้หลังจากมีการฟื้นตัวภาวะอุทกภัยรุนแรง ขณะที่แรงกดดันด้านราคาสินค้าลดลง
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ผลจากมาตรการดูแลราคาสินค้าของทางการ ราคาอาหารลดลงหลังผลผลิตกลับสู่ภาวะปกติ และ การชะลอการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ในไตรมาสสาม เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวต่อเนื่องแต่ ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 4.4 ไตรมาสสอง มีการขยายตัวของการลงทุนและการใช้ จ่ายในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ด้วยแรงหนุนจากมาตรการเพิ่มรายได้และลดหย่อนภาษี เพื่อซื้อบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรกช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายให้ขยายตัวต่อเนื่องหลังการฟื้นฟู ความเสียหายจากอุทกภัยผ่านพ้นไป ในขณะที่การส่งออกและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมคงหดตัว สาเหตุจากความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สินในยุโรปและมาตรการ การคลังของสหรัฐฯที่ ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจที่จะหมดอายุลงสิ้นปีนี้ ส่งผลให้เกิดการชะลอการใช้จ่าย และลงทุน ซึ่งยังรอการตัดสินใจหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งปัจจัย
ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของภูมิภาคเช่นกัน สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปีเศรษฐกิจ ไทยขยายตั ว สู ง ถึ ง ร้ อ ยละ 18.9 จากปี ก่ อ น เร่ ง ตั ว ขึ้ น มากจากร้ อ ยละ 3.1 ในไตรมาสก่ อ น ท่ามกลางความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นหลังผ่านช่วงรอยต่อของการเปลี่ยน ผู้นำในสองประเทศยักษ์ ใหญ่ของโลกทั้งสหรัฐฯและจีน รวมทั้งผลของฐานต่ำปีก่อนซึ่งประสบ อุทกภัยครั้งรุนแรงในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญในไตรมาสสี่ของปีก่อน มีการลงทุนและการใช้จ่าย ในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญด้วยแรงหนุนจากมาตรการภาครัฐเข้ามาช่วยเร่งการตัดสินใจ ซื้อสินค้า แม้ว่ามูลค่าส่งออกจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 18 จากปีก่อนหลังจากหดตัวไนไตรมาสก่อน แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการฟื้นตัวแล้ว เนื่องจากฐานต่ำปีก่อนเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกของ ประเทศในภู มิภาคยังคงไร้ทิศทาง ในส่วนของนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 2555 มีจำนวน 22.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.92 จากปีก่อน สอดคล้องกับอัตราการเข้าพักโรงแรมที่ปรับเพิ่มขึ้นสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ เดินทางเข้ามายังประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 1 ในปีที่ผ่านมา คือ นักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วจากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ยังมีตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ตลาดนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น และ ตลาดนักท่องเที่ยวอินเดีย ซึ่งล้วนเป็นตลาดท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง และเป็นตลาดเป้าหมายสำคัญที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทยต่างร่วมกันเร่งขยาย สัดส่วนของตลาดกลุ่มนี้ ให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคการท่องเที่ยวของเกาะสมุย ในปี 2555 นั้น มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปีนี้ เนื่องจากธุรกิจการบินโดยเฉพาะธุรกิจ การบินต้นทุนต่ำ ได้ขยายเส้นทางบินมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยนอกเหนือจากเส้นทางบินมายัง กรุงเทพมหานครแล้ว ธุรกิจการบินบางสายยังได้จัดตารางเที่ยวบินตรง และเที่ยวบินเช่าเหมาลำ มายังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไทยอีกด้วย เช่น เที่ยวบินตรงจากเมืองท่าสำคัญของจีนมายังเกาะ ภูเก็ต เกาะสมุย
สำหรับสรุปผลการดำเนินงานของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและ รีสอร์ทในเครือเซ็นทาราภายใต้การจัดการของบริษัทในปี 2555 ที่ ได้ลงทุนในสิทธิการเช่าที่ดินและ อาคารโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย กองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 เท่ากับ 3,376.73 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยเท่ากับ 10.5522 บาท โดยในรอบการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2555 กองทุนมี รายได้จากการลงทุนรวมทั้งสิ้นแล้ว 283.10 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน กองทุนมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 50.21 ล้านบาท ทำให้กองทุนมีรายได้จากการลงทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2555 ทั้งสิ้น 232.88 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาร่วมกับรายการ ขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน จำนวน 69.00 ล้านบาท กองทุนมี สินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นในรอบการดำเนินงานเดียวกันนี้ จำนวน 163.88 ล้านบาท สุดท้ายนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ขอขอบคุณท่านผู้ถือหน่วยลงทุน ที่ ให้ความไว้วางใจบริษัทในการบริหารเงินลงทุนของท่าน ทั้งนี้ บริษัทยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการให้ บริการที่ ให้ความสะดวกสบายสูงสุด พร้อมทั้งรักษามาตรฐานในการบริหารกองทุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนตลอดไป
ขอแสดงความนับถือ บลจ. กสิกรไทย จำกัด
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา รายงานของบริษัทจัดการเกี่ยวกับสภาวะตลาดของโรงแรมและรีสอร์ทบนเกาะสมุย ปี 2555 แม้ว่าในปี 2555 จะมีปัจจัยลบที่เข้ามากระทบการท่องเที่ยวไทยในบางช่วงเวลา อาทิ ในช่วง ต้นปี ได้เกิดเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ และหาดใหญ่ ที่บั่นทอนความเชื่อมั่นในการเดินทางเข้ามาเที่ยว ประเทศไทย แต่เนื่องจากความหลากหลายด้านแหล่งท่องเที่ยว และความพร้อมในด้านบริการ รองรับนักท่องเที่ยวของไทย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เกื้อหนุนให้ภาคการท่อง เที่ยวไทยขยายตัวมาได้อย่างต่อเนื่อง ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยยังมี จำนวนที่สูงอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนโดยในปี 2555 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 22.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.92 โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และญี่ปุ่นมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 60.13% และ 23.27% ตามลำดับ โดยนักท่องเที่ยวจากทั้งสองประเทศนี้รวมกันแล้วคิดเป็น สัดส่วนถึง 22.98% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด และมากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากแถบ อเมริ กาและเอเชียใต้รวมกัน อย่างไรก็ดี ปัญหาเศรษฐกิจโลกยังคงส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากกลุ่ม ประเทศในยุโรป มีอัตราการเติบโตลดลง ส่งผลให้สัดส่วนนักท่องเที่ยวจากกลุ่มดังกล่าวต่อจำนวน นักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากร้อยละ 31.05 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 28.06 ในปีนี้ International Tourist Arrivals to Thailand, 1993-2012 Person 25,000,000
Number of International Tourist Arrivals % Change
20,000,000
20% 15%
15,000,000
10%
10,000,000
0%
5% -5%
5,000,000
-10% 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012
0
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย และ กรมการท่องเที่ยว
25%
-15%
International Tourist Arrivals in Thailand by Nationality, 2004-2012 East Asia Oceania
12,500,000
Europe Middle east
The Americas Africa
South Asia
10,000,000 7,500,000 5,000,000 2,500,000 -
2004
2005
2006
2007
2008
2009
2010
2011
2012
ที่มา : กรมการท่องเที่ยว
International Tourist Arrivals to Thailand by Group of Nationality, 2012 Middle East 3% Africa 1% Oceania 4% South Asia 6% The Americas 5% East
Asia
Europe 25%
ที่มา : กรมการท่องเที่ยว
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา สำหรับสถานการณ์ธุรกิจภาคการท่องเที่ยวบนเกาะสมุย จากการที่มีธุรกิจการบินโดยเฉพาะ ธุรกิจการบินต้นทุนต่ำ ได้ขยายเส้นทางบินมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยนอกเหนือจากเส้นทางบิน มายั ง กรุ ง เทพมหานครแล้ ว ธุ ร กิ จ การบิ น บางสายยั ง ได้ จั ด ตารางเที่ ย วบิ น ตรง และเที่ ย วบิ น
เช่าเหมาลำ มายังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไทยอีกด้วย เช่น เที่ยวบินตรงจากเมืองท่าสำคัญของ จี นมายังเกาะภูเก็ต เกาะสมุย ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวมายังเกาะสมุยมากกว่าปีที่ผ่านๆ มา
จากการวิเคราะห์สถิติข้อมูลการขนส่งทางอากาศเห็นได้ว่าจำนวนผู้ โดยสารและจำนวน เที่ยวบินที่เดินทางมายังเกาะสมุยในปีนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยจำนวนเที่ยวบินเข้า-ออกเกาะสมุย ณ สิ้นปี 2555 เพิ่มขึ้นจาก 17,926 เที่ยวบินในปีก่อนเป็น 19,320 เที่ยวบินในปีนี้ โดยมีจำนวน ผู้ โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 1.47 ล้านคนในปี 2554 เป็น 1.68 ล้านคนในปี 2555 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.50 สถิติข้อมูลการขนส่งทางอากาศ, เกาะสมุย 2000-2012
Year
Movements
% Change (YoY)
Passenger
% Change (YoY)
2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012
11,768 12,283 12,472 12,148 14,942 17,373 17,845 17,530 17,607 15,726 19,240 17,926 19,320
N/A 4.38% 1.54% -2.60% 23.00% 16.27% 2.72% -1.77% 0.44% -10.68% 22.35% -6.83% 7.78%
621,869 715,766 751,227 724,258 1,010,458 1,240,371 1,323,615 1,302,432 1,365,134 1,412,241 1,534,620 1,479,400 1,679,164
N/A 15.10% 4.95% -3.59% 39.52% 22.75% 6.71% -1.60% 4.81% 3.45% 8.67% -3.60% 13.50%
ที่มา : กรมการบินพลเรือน
ในส่วนของอุปทานห้องพักบนเกาะสมุยในอนาคต จากการสำรวจโดยบริษัท ซีบี ริชาร์ด เอลลิส ในปี 2555 พบว่าปัจจุบันยังคงมี โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และพร้อมเข้าสู่ตลาด ภายในปี 2556-2557 อีกราว 1,456 หน่วย ซึ่งอุปทานส่วนเพิ่มดังกล่าวนี้จะยังคงกดดันให้เกิด สภาวะส่วนเกินของจำนวนที่พักบนเกาะสมุยต่อไป Future Supply of Hotels on Koh Samui, 2013F-2014F
Name of Hotel Location Luxury(ADRs of over THB 10,000 or approx USD300) Vana Belle Samui Resort Koh Samui (Bophut) JW Marriott Samui Koh Samui (Bophut)
Total First-class (ADRs of THB 4,000-10,000 or approx USD 125-300) Movenpick Resort & Spa Mae Nam Beach Koh Samui (Mae Nam) Kantary Hotel Koh Samui Ozo Hotel Koh Samui (Chaweng) D2 Dusit Thani Koh Samui (Cheong Mon) Aramas Spa Villa Koh Samui (Chaweng Noi) Hotel by Club Koh Samui Development Koh Samui (Chaweng Noi) Total Mid-range (ADRs of THB 2,000-4,000 or approx USD 60-125) Park Hyatt Koh Samui Koh Samui (Pang Ka) Oso Hotel Koh Samui Buri Rasa Koh Samui (Baan Tai) Hotel by MBK Koh Samui (Cheong Mon) Total Economy (ADRs of lower than THB 2,000 or approx USD 60) All season Samui Chaweng Koh Samui Total Grand Total
No of Start of Operations Rooms 180 120
Q1 2013 N/A
300 80 100 230 79 60 250
2013 2013 Q1 2014 N/A N/A N/A
799 90 214 N/A 200
N/A N/A N/A N/A
504 153 153 1,756
N/A
ที่มา : CBRE Research & Consulting Services
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา สำหรั บ แนวโน้ ม การท่ อ งเที่ ย วบนเกาะสมุ ย ในปี 2556 คาดว่ า ภาคการท่ อ งเที่ ย วของ เกาะสมุยยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดย ปัจจัยสนับสนุนได้แก่แผนกระตุ้นการท่องเที่ยวของ ภาครัฐและเอกชนผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเชิงรุก และขยายฐานกลุ่มลูกค้าไปยัง ตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง เช่น จีน รัสเซีย อินเดีย เป็นต้น น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้นักท่องเที่ยว ต่างชาติเดินทางเข้ามาสมุยเพิ่มขึ้น โดยสอดคล้องกับแผนการขยายเส้นทางการบินมายังสมุยมากขึ้น เห็นได้จากสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เพิ่มเที่ยวบินจากฮ่องกงมายังสมุย จากเดิม 1 เที่ยวต่อวัน เป็น 2 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2555 รวมถึงสายการบิน Silk Air (สายการบินต้นทุน ต่ำสิงคโปร์) ซึ่งจากเดิมบินตรงมายังสมุย 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2554 ได้เพิ่มเที่ยวบินเป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ (หรือวันละเที่ยวบิน) เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม 2556 ล้ วนเป็นปัจจัยผลักดันทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวเกาะสมุยมากขึ้น อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวบนเกาะสมุยจะต้องแข่งขันในการดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว โดยเฉพาะจากแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกอื่นๆ ในประเทศ เช่น พัทยา หรือภูเก็ต ที่มีความมั่นคง ในด้านชื่อเสียงเรื่องการท่องเที่ยวเป็นอย่างดี และเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ในการเดินทางมา ท่องเที่ยวยังประเทศไทย จึงอาจคาดการณ์ ได้ว่าปี 2556 จะยังคงเป็นอีกหนึ่งปีที่ ไม่ง่ายสำหรับ ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวบนเกาะสมุย ผลการดำเนิ นงานของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย ของกองทุน ในปี 2555 แม้ว่าภาพโดยรวมของนักท่องเที่ยวทั้งของประเทศ และนักท่องเที่ยวที่มายัง เกาะสมุย จะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมาเป็นจำนวนมากนั้นได้แก่
นักท่องเที่ยวจากประเทศจีน, ญี่ปุ่น, และอินเดีย ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวจากยุโรป มีอัตรา การเติบโตที่ลดลงอันเนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปที่ชะลอตัวจากปัญหาหนี้ที่ยังไม่สิ้นสุด ขณะที่นักท่องเที่ยว จากยุโรปเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของโรงแรม จึงมีผลต่ออัตราการเช่า (Occupancy Rate) และ อั ตราค่าเช่า (Average Room Rate) ของโรงแรมตั้งแต่ปลายปี 2553 ที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน การแข่งขันที่สูงขึ้นยังเป็นปัจจัยกดดันให้ โรงแรมต้องลดอัตราค่าเช่าลงต่ำลง กว่าปีที่ผ่านมา เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาพักยังโรงแรมเซ็นทาราแกนด์ บีช รีสอร์ท สมุย อย่างไรก็ดี เมื่อทำการเปรียบเทียบผลประกอบการของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย กับโรงแรมอื่นซึ่งเป็นคู่แข่งขันโดยตรง พบว่าโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย ของ กองทุน มีอัตราค่าเช่าเฉลี่ย (Average Room Rate) ในปี 2555 ที่ 4,712 บาทต่อห้องต่อวัน และ มีอัตราการเช่า (Occupancy Rate) ที่ 68.90% คิดเป็นรายได้ต่อห้องพัก (RevPar) เฉลี่ยที่ บาทต่อห้องต่อวัน โดยค่าเฉลีย่ ดังกล่าวเพิม่ ขึน้ กว่าค่าเฉลีย่ ของปี 2554 และยังคงอยู่ในระดับทีส่ งู กว่า ค่าเฉลี่ยของโรงแรมคู่แข่งในพื้นที่เดียวกัน
Centara Grand Beach Resort Samui Average Room Rate, Occupancy Rate and RevPar – 2010 - 2012 ARR 2010 RevPar 2010 Occupancy 2010
100%
ARR 2011 RevPar 2011 Occupancy 2011
ARR 2012 THB/room/night RevPar 2012 8,000 Occupancy 2012
80%
6,000
60% 4,000
40%
2,000
20% 0%
Jan
Feb Mar
Apr May Jun
Jul
Aug Sep Oct Nov
Dec
-
ที่มา : Centara Grand Beach Resort Samui
Average Room Rate, Occupancy Rate and RevPar 2012 Centara Grand Beach Resort Samui and Peers
Average Occupancy Rate (%) Average Room Rate (Baht/Room/Day) RevPar (Baht/Room/Day)
CGBR Peers CGBR Peers CGBR Peers
1Q 2012 2Q 2012 3Q 2012 4Q 2012 Total 73.39% 73.41% 72.26% 69.60% 72.17% 75.02% 74.56% 77.30% 73.73% 75.15% 5,167 4,415 4,286 4,255 4,531 3,652 3,235 3,412 3,438 3,434 3,792 3,241 3,097 2,961 3,272 2,830 2,504 2,709 2,601 2,661
ที่มา : Centara Grand Beach Resort Samui
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ผลการดำเนิ นงานของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา สำหรับผลการดำเนินงานของกองทุนรวมสำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 กองทุนรวมมีรายได้จากการลงทุนทั้งสิ้น 283.09 ล้านบาท โดยเป็น รายได้ ค่ า เช่ า ซึ่ ง ประกอบด้วยค่าเช่าที่ ได้รับจากผู้เช่าช่วงและค่ า เช่ า จากการรั บ ประกั น รายได้ รวมจำนวน 281.26 ล้านบาท และรายได้อื่น 1.83 ล้านบาท ในช่วงเดียวกัน กองทุนรวมมี
ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 50.21 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมต่างๆ 8.34 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย รอการตัดบัญชี 14.65 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบริหาร 27.22 ล้านบาท ส่งผลให้ ในรอบการดำเนินงาน 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2555 กองทุนมีรายได้จาก การลงทุนสุทธิคิดเป็นจำนวน 232.88 ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วงเดียวกันกองทุนรวมรับรู้ผลขาดทุน จากการประเมินค่าทรัพย์สินลดลง 69.00 ล้านบาท ทำให้ ในรอบการดำเนินงานประจำปี 2555 กองทุนรวมมีสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 163.88 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 กองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งสิ้น 3,376.73 ล้านบาท หรือเท่ากับ 10.5522 บาทต่อหน่วย สำหรั บ ผลการดำเนินงานระหว่างปี 2555 ที่ผ่านมาคณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ โ รงแรมและรี ส อร์ ท ในเครื อ เซ็ น ทารา ได้ มี ม ติ จ่ายเงินปันผลรายไตรมาสในอัตราหน่วยละ 0.1650 บาทต่อหน่วยสำหรับผลการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555 – 31 มีนาคม 2555, 0.1530 บาทต่อหน่วยสำหรับผลการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2555 – 30 มิถุนายน 2555, 0.1530 บาทต่อหน่วยสำหรับผลการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 – 30 กันยายน 2555 และ 0.2790 บาทต่อหน่วยสำหรับ ผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 31 ธันวาคม 2555 ทำให้ โดยรวมของ ผลการดำเนิ น งานในปี 2555 กองทุ น รวมได้ ป ระกาศจ่ า ยเงิ น ปั น ผลแก่ ผู้ ล งทุ น ไปทั้ ง สิ้ น ใน อั ตรา 0.75 บาทต่อหน่วย ทั้ ง นี้ ในปี ที่ ผ่ า นมารายได้ ข องกองทุ น ประกอบด้ ว ย รายได้ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง จากการหา ผลประโยชน์ของกองทุน และรายได้จากการรับประกันรายได้* โดยการรับประกันดังกล่าวได้สิ้นสุด ลงแล้ ว หลั ง จากวั น ที่ 25 กั น ยายน 2555 ดั ง นั้ น ผลประกอบการของกองทุ น หลั ง จากวั น ที่ 25 กันยายน 2555 และในปีต่อๆ ไป กองทุนจะมีรายได้หลักจากค่าเช่าของผู้เช่าช่วงซึ่งประกอบ ด้วยค่าเช่าคงที่ ในอัตรารวม 225 ล้านบาทต่อปี และค่าเช่าแปรผันซึ่งจะขึ้นอยู่กับผลประกอบ การจริงเท่านั้น โดยจะไม่มีรายได้จากการรับประกัน และจะทำให้การจ่ายเงินปันผลของกองทุน
ในปีต่อๆ ไป เป็นการจ่ายปันผลจากผลประกอบการจริงโดยไม่มีการประกันรายได้ค่าเช่า * รายละเอียดตามหัวข้อ “ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุนรวม” 10
รายละเอียดแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภท กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ณ 31 ธันวาคม 2555 ประเภท เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เงินสดและเงินฝากธนาคาร พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รายได้ค่าเช่าค้างรับ ค่ าใช้จ่ายรอตัดบัญชี รวมทรั พย์สิน หนี ้สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
มูลค่าเงินลงทุน 3,263,000,000.00 20,222,775.30 9,988,025.32 78,688,541.75 10,375,797.11 3,382,275,139.48 (5,547,045.01) 3,376,728,094.47
ร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 96.63 0.59 0.30 2.33 0.31 100.16 (0.16) 100.00
สรุปมูลค่าทรัพย์สิน ทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ณ 31 ธันวาคม 2555 มูลค่าทรัพย์สิน 3,382,275,139.48 บาท มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3,376,728,094.47 บาท จำนวนหน่วย 320,000,000.0000 บาท มูลค่าต่อหน่วยลงทุน 10.5522 บาท
11
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและ รี สอร์ทในเครือเซ็นทารา (CTARAF)
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราได้ลงทุนในสิทธิ การเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และกรรมสิทธิ์ในเฟอร์นิเจอร์พร้อมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการ ดำเนินธุรกิจ ของโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย โดยมีรายละเอียดของการลงทุน ดั งนี้
ประเภทการใช้งาน ที่ตั้ง โฉนดที่ดินเลขที่ พื้นที่รวม (ไร่) เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างและ ระบบสาธารณูปโภค ลักษณะการถือกรรมสิทธิ์ของ กองทุนรวมฯ จำนวนห้องพัก ขนาดพื้นที ่ ราคาประเมินล่าสุดโดย บริษัท 15 ที ่ ปรึกษาธุรกิจ จำกัด 12
โครงการโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย
อาคารโรงแรมและรีสอร์ท บริเวณหาดเฉวง อาคารเลขที่ 38/2 หมู่ 3 ตำบลบ่อผุด อำเภอสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 12430 12431 และ 12432 25-1-4.7 บริษัท เซ็นทรัลสมุยบีชรีสอร์ท จำกัด บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) เช่าที่ดินและอาคารรวมระบบสาธารณูปโภค ระยะเวลา 30 ปี สิ้ น สุ ด ณ วั น ที่ 25 กั น ยายน 2581 และ ลงทุนในเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการ ดำเนินธุรกิจโรงแรม โดยกองทุนรวมสามารถแจ้งความ ประสงค์ ก ารต่ อ อายุ สั ญ ญาและร่ ว มเจรจาร่ ว มกั บ คู่ สั ญ ญาเกี่ ย วกั บ รายละเอี ย ดการต่ อ อายุ สั ญ ญาเช่ า
ให้แล้วเสร็จภายในปีที่ 27 นับจากปีแรกของระยะเวลา การเช่า 202 ห้อง พื้นที่รวม 38,880 ตร.ม. 3,263 ล้านบาท (ประเมิน ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2555)
วิธีการประเมินราคา วิธีพิจารณาจากรายได้ (Income Approach) โดยวิธี การคิดลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow) รายได้สำหรับระยะเวลา 281,261,302 บาท * 1 ม.ค. 55 – 31 ธ.ค. 55 * รวมรายได้จากการประกันรายได้ค่าเช่าเป็นระยะเวลา 9 เดือน ภาระผูกพัน - เจ้าของกรรมสิทธิ์ ในที่ดินได้ดำเนินการจดทะเบียน ก่ อ ตั้ ง สิ ท ธิ เ หนื อ พื้ น ดิ น ให้ กั บ เจ้ า ของกรรมสิ ท ธิ์ ใ น สิ่ ง ปลู ก สร้ า ง เพื่ อ ให้ เ จ้ า ของสิ่ ง ปลู ก สร้ า งเป็ น ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินบนที่ดินทั้ง 3 โฉนดข้างต้น ในการใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งของอาคารโรงแรม เซ็นทาราแกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย และอาคารอื่นๆ รวมถึงส่วนควบ และ/หรือสิ่งปลูกสร้าง ทั้งที่มีอยู่ แล้วในปัจจุบันและรวมถึงที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้า
ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดิน - กองทุ น ได้ น ำอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ละทรั พ ย์ สิ น ที่ ล งทุ น ออกหาประโยชน์ โ ดยการให้ เ ช่ า ช่ ว งแก่ บริ ษั ท เซ็ น ทรั ล สมุ ย โฮเต็ ล แมนเนจเม้ น ท์ จำกั ด (ผู้ เ ช่ า ช่ ว ง) เป็ น ระยะเวลา 3 ปี นั บ แต่ วั น ที ่
26 กันยายน 2551 เป็นต้นไป เพื่อให้ดำเนินกิจการ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย โดย กองทุ น ให้ ค ำมั่ น แก่ ผู้ เ ช่ า ช่ ว งในการบอกเช่ า ช่ ว ง อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ละทรั พ ย์ สิ น ที่ ล งทุ น ต่ อ ไปอี ก
เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนครบระยะเวลาการเช่า ตามรายละเอียด ที่ ได้ระบุไว้ ในสัญญาเช่าช่วงอาคารโครงการโรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ ระหว่างกองทุนกับผู้เช่าช่วง
13
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา รายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการ ในรอบปี บัญชี
ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ไม่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ รายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการ ในรอบปี บัญชี ไม่มีการจำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา รายละเอี ยดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม
กองทุนรวมไม่มีการกู้ยืมเงิน ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุนรวม กองทุนรวมได้รับการรับประกันรายได้จาก บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ภายใต้ สั ญ ญาตกลงกระทำการระหว่ า งกองทุ น รวมกั บ บริ ษั ท โรงแรมเซ็ น ทรั ล พลาซา จำกั ด (มหาชน) โดยกองทุนรวมจะมีรายได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่ารายได้ค่าเช่าประกันสะสม ตามรายละเอียด ดั งนี้ ก. จำนวนรวมสะสมไม่น้อยกว่า 78.31 ล้านบาท ในระยะเวลานับจากวันที่ 26 กันยายน 2551 (วันที่กองทุนรวมเข้าลงทุนครั้งแรก) จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ข. จำนวนรวมสะสมไม่น้อยกว่า 376.09 ล้านบาท ในระยะเวลานับจากวันที่ 26 กันยายน 2551 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค. จำนวนรวมสะสมไม่น้อยกว่า 674.03 ล้านบาท ในระยะเวลานับจากวันที่ 26 กันยายน 2551 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ง. จำนวนรวมสะสมไม่น้อยกว่า 971.92 ล้านบาท ในระยะเวลานับจากวันที่ 26 กันยายน 2551 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 จ. จำนวนรวมสะสมไม่น้อยกว่า 1,191.47 ล้านบาท ในระยะเวลานับจากวันที่ 26 กันยายน 2551 จนถึงวันที่ 25 กันยายน 2555 (วันครบรอบ 4 ปี นับจากวันที่กองทุนรวมเข้าลงทุน ครั้งแรก) ทั้งนี้ มีข้อกำหนดในการคำนวณรายได้สะสมดังกล่าว ดังนี้ (1) “รายได้ค่าเช่า” หมายถึง รายได้ค่าเช่าในจำนวนที่เกิดขึ้นจริงของกองทุนรวมจากการนำ ทรัพย์สินที่กองทุนรวมเข้าลงทุนครั้งแรกออกให้เช่าภายใต้สัญญาเช่าช่วงหลังหักเงิน สำรองค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาและซ่อมแซมทรัพย์ที่เช่า ตามที่ระบุไว้ ในสัญญาเช่าช่วง 14
“รายได้ค่าเช่าสะสม” หมายถึง รายได้ค่าเช่าที่คำนวณรวมนับจากวันที่กองทุนรวม เข้าลงทุนครั้งแรกจนถึงวันสิ้นรอบปีบัญชีที่มีการคำนวณรายได้ของกองทุนรวม ในแต่ละ ช่วงระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ก. ถึง จ. ข้างต้น “รายได้ค่าเช่าประกันสะสม” หมายถึง รายได้ค่าเช่าที่กองทุนรวมจะได้รับในแต่ละช่วง ระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ก. ถึง จ. ข้างต้น (2) หากกองทุนรวมมีรายได้ค่าเช่าสะสมน้อยกว่ารายได้ค่าเช่าประกันสะสม บริษัท โรงแรม เซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ตกลงจะชำระเงินให้แก่กองทุนรวมในจำนวนเท่ากับ
ส่วนต่างระหว่าง รายได้ค่าเช่าประกันสะสม ลบด้วยรายได้ค่าเช่า ให้จำนวนเงินที่ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ชำระให้แก่กองทุนรวม ดังกล่าวเรียกว่า “เงินประกันส่วนเพิ่ม” (3) ในกรณีที่ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ชำระเงินประกันส่วนเพิ่มให้ แก่กองทุนรวม และในการคำนวณรายได้ของกองทุนรวมครั้งต่อมา กองทุนรวมมีรายได้ ค่ า เช่ า สะสม ในจำนวนที่ ม ากกว่ า รายได้ ค่ า เช่ า ประกั น สะสม กองทุ น รวมตกลงคื น เงินประกันส่วนเพิ่มให้แก่ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ในจำนวน ไม่เกินกว่าจำนวนเงินประกันส่วนเพิ่มที่กองทุนได้รับสะสมนับจากวันจดทะเบียนการเช่า ทั้ ง นี้ หากการชำระคื น เงิ น ประกั น ส่ ว นเพิ่ ม ดั ง กล่ า วต้ อ งทำให้ ร ายได้ ค่ า เช่ า สะสม ของกองทุนรวม มีจำนวนน้อยกว่ารายได้ค่าเช่าประกันสะสม ให้กองทุนรวมลดเงิน ประกันส่วนเพิ่มที่ต้องชำระคืนให้แก่ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) เพื่อให้รายได้ค่าเช่าของกองทุนรวมไม่น้อยกว่ารายได้ค่าเช่าประกันสะสม (4) การประกันรายได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามสัญญาตกลงกระทำการ ทั้งนี้ กองทุนรวม ตกลงและรับทราบว่าบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ไม่ ได้วางหนังสือ ค้ำประกันของธนาคารให้แก่กองทุนรวมเพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) แต่อย่างใด
15
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา • ข้อมูลสรุปฐานะทางการเงินของผู้รับประกันรายได้
บัญชีทางการเงินที่สำคัญ สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว รายได้รวม กำไรสุทธิ กำไรต่อหุ้น (บาท) อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ROA (%) ROE (%) อัตรากำไรสุทธิ (%)
หน่วย : ล้านบาท
2555
งบการเงินประจำปี 2554
2553
27,757.18 17,698.36 9,377.09 1,350.00 15,380.40 1,580.77 1.17
21,683.59 15,634.95 5,795.97 1,350.00 11,652.21 550.39 0.41
20,678.80 14,606.65 5,796.82 1,350.00 9,500.24 -51.11 -0.04
9.4 20.84 10.24
5.95 9.50 4.72
2.56 -0.87 -0.54
• รายละเอียดการปฏิบัติตามสัญญาของผู้รับประกันรายได้ ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ผู้รับประกันรายได้ชำระค่าเช่ารับประกัน (เงินประกันส่วนเพิ่ม) ตาม สัญญาตกลงกระทำการให้กับกองทุนรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 56,261,302 บาท ทั้งนี้ ในรอบปี บัญชีที่ผ่านมา กองทุนรวมมีรายได้จากการลงทุนทั้งสิ้น ดังนี้ รายได้ที่เกิดขึ้นจริงจากการหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม 225,000,000.00 บาท (รายได้จากค่าเช่า) รายได้จากการรับประกันรายได้ 56,261,302 บาท รายได้จากดอกเบี้ยรับ 1,710,158 บาท รายได้อื่นๆ 123,583 บาท รวมรายได้ของกองทุนรวม 283,095,043 บาท • ความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับความสามารถของผู้รับประกันรายได้ในการปฏิบัติตาม สัญญาในรอบระยะเวลาบัญชีประจำปีถัดไป ในปี 2556 นั้น จะไม่มีการรับประกันรายได้จากบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) เนื่องจากภาระการรับประกันได้สิ้นสุดลงหลังจากวันที่ 25 กันยายน 2555 16
แบบแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม ของรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุน* (Fund's Direct Expense)
ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee) ค่านายทะเบียน (Registrar Fee) ค่าที่ปรึกษาการลงทุน (Advisory Fee) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโครงการอสังหาริมทรัพย์ (Operation Fee) ค่าธรรมเนียมผู้รับประกันการจำหน่าย (Underwriter Fee) ค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้า (Trademark Permission Fee) ค่าที่ปรึกษากฎหมาย (Legal Fee) ค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (Set up Fund Expense) ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการขาย ในช่วงเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการขาย ภายหลังเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Other Expenses)**
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด (Total Fund’s Direct Expenses)***
จำนวนเงิน ร้อยละของมูลค่า (พันบาท) ทรัพย์สินสุทธิ 5,438.64 1,087.73 1,812.88 ไม่มี 26,590.66
0.16 0.03 0.05 ไม่มี 0.78
10,141.44 300.00
0.30 0.01
942.57 198.17
0.03 0.01
2,701.51
0.08
ไม่มี
ไม่มี
998.77
0.03
50,212.37
1.48
*
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่หักจากกองทุนรวมได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
**
ค่าใช้จ่ายอื่นที่แต่ละรายการ < ร้อยละ 0.01 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
*** ไม่รวมค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายหลักทรัพย์
17
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
รายงานความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์
เสนอ ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ตามที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวมสิทธิการเช่า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ โ รงแรมและรี ส อร์ ท ในเครื อ เซ็ น ทารา ซึ่ ง มี บ ริ ษั ท หลั ก ทรั พ ย์ จั ด การกองทุ น กสิกรไทย จำกัด เป็นผู้จัดการกองทุนได้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผลประโยชน์กองทุนดังกล่าว สำหรับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 แล้วนั้น ธนาคารฯ เห็ น ว่ า บริ ษั ท หลั ก ทรั พ ย์ จั ด การกองทุ น กสิ ก รไทย จำกั ด ได้ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ในการจั ด การกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ โ รงแรมและรี ส อร์ ท ในเครื อ เซ็ น ทารา โดยถูกต้องตามที่ควรตามวัตถุประสงค์ที่ ได้กำหนดไว้ ในโครงการจัดการที่ ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน คณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ และภายใต้ พ ระราชบั ญ ญั ติ ห ลั ก ทรั พ ย์
และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ขอแสดงความนับถือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (นางสาวศิริพร ชื่นเจริญวงศ์) ผู้จัดการสายปฎิบัติการธุรกรรมการเงินและหลักทรัพย์ ผู้ดูแลผลประโยชน์
18
รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
เสนอ ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ท ในเครือเซ็นทารา ซึง่ ประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงินและงบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลีย่ นแปลงสินทรัพย์สทุ ธิ และงบกระแสเงินสด และข้อมูลทางการเงินที่สำคัญสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุสรุปนโยบายการบัญชี
ที ส่ ำคัญและหมายเหตุเรือ่ งอืน่ ๆ ความรั บผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำและการนำเสนองบการเงินเหล่านี้ โดยถูกต้องตามที่ควร ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิ น และรั บ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บ การควบคุ ม ภายในที่ ผู้ บ ริ ห าร พิจารณาว่าจำเป็นเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำคัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ความรั บผิดชอบของผู้สอบบัญชี ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบ ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้า ปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำหนดด้ า นจรรยาบรรณ รวมถึ ง วางแผนและปฏิ บั ติ ง านตรวจสอบเพื่ อ ให้ ได้
ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็น สาระสำคั ญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับ จำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน วิธีการตรวจสอบที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ สอบบัญชี ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระ สำคัญของงบการเงินไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ผู้สอบบัญชีพิจารณาการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและการนำเสนองบการเงินโดย ถูกต้องตามที่ควรของกิจการ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ ไม่ ใช่ เพื ่อวัตถุประสงค์ ในการแสดงความเห็นต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกิจการ การตรวจสอบรวม ถึงการประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผู้บริหารใช้และความสมเหตุสมผลของ ประมาณการทางบั ญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้บริหาร รวมทั้งการประเมินการนำเสนองบการเงินโดยรวม 19
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ข้าพเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ ในการแสดงความเห็ นของข้าพเจ้า
ความเห็ น ข้ า พเจ้ า เห็ น ว่ า งบการเงิ น ข้ า งต้ น นี้ แ สดงฐานะการเงิ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ผลการ ดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ กระแสเงินสดและข้อมูลทางการเงินที่สำคัญสำหรับปี สิ้นสุดวันเดียวกัน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ณฐพร พันธุ์อุดม ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3430 บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด กรุงเทพมหานคร 29 มีนาคม พ.ศ. 2556
20
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา งบแสดงฐานะทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
หมายเหตุ
พ.ศ. 2555 บาท
พ.ศ. 2554 บาท
สินทรัพย์
เงินลงทุนตามราคายุติธรรม (ราคาทุน พ.ศ. 2555 : 3,133,078,628 บาท และ พ.ศ. 2554 : 3,143,110,000 บาท) 5, 6 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้ จากค่าเช่า จากดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี 8 รวมสินทรัพย์ หนี้สิน ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รวมหนี้สิน สินทรัพย์สุทธิ สินทรัพย์สุทธิ ทุนที่ ได้รับจากผู้ถือหน่วยลงทุน หน่วยลงทุน 320,000,000 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 9.9396 บาท 9 กำไรสะสม สินทรัพย์สุทธิ เท่ากับ 10.5522 บาทต่อหน่วย คำนวณ จากหน่วยลงทุนคงเหลือจำนวน 320,000,000 หน่วย (พ.ศ. 2554 : เท่ากับ 10.9217 บาทต่อหน่วย คำนวณจาก หน่วยลงทุนคงเหลือจำนวน 320,000,000 หน่วย)
3,272,988,025 3,352,000,000 20,148,246 13,176,267 78,688,542 111,344,642 74,529 106,285 10,375,797 24,492,293 3,382,275,139 3,501,119,487 5,547,045 6,162,073 5,547,045 6,162,073 3,376,728,094 3,494,957,414
3,180,672,000 3,180,672,000 196,056,094 314,285,414
3,376,728,094 3,494,957,414
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 21
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา งบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
รายละเอี ยดของเงินลงทุนจัดกลุ่มตามประเภทของเงินลงทุน มีดังนี้
พ.ศ. 2555 ราคาทุน ราคายุติธรรม บาท บาท เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (หมายเหตุ 5) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย 1,516,500,000 สิทธิการเช่าอาคารโรงแรม และงานระบบสาธารณูปโภค ที่เกี่ยวข้องกับอาคารโรงแรม 1,526,610,000 เฟอร์ น เ ิ จอร์ แ ละอุ ป กรณ์ ท เ ่ ี กี ย ่ วเนื อ ่ งกั บ การดำเนิ น ธุ ร กิ จ โรงแรม 80,000,000 รวมเงิ นลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยระยะสั้น ครบกำหนดวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556 รวมเงิ นลงทุนในหลักทรัพย์ รวมเงินลงทุน
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 22
3,123,110,000 3,263,000,000
ร้อยละ ของราคา ยุติธรรม
99.69
9,968,628
9,988,025
9,968,628
9,988,025
0.31
3,133,078,628 3,272,988,025
100.00
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา งบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
รายละเอี ยดของเงินลงทุนจัดกลุ่มตามประเภทของเงินลงทุน มีดังนี้ (ต่อ)
พ.ศ. 2554 ราคาทุน ราคายุติธรรม บาท บาท เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (หมายเหตุ 5) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย 1,516,500,000 สิทธิการเช่าอาคารโรงแรม และงานระบบสาธารณูปโภค ที่เกี่ยวข้องกับอาคารโรงแรม 1,526,610,000 เฟอร์ น เ ิ จอร์ แ ละอุ ป กรณ์ ท เ ่ ี กี ย ่ วเนื อ ่ งกั บ การดำเนิ น ธุ ร กิ จ โรงแรม 80,000,000 รวมเงิ นลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ตั๋วแลกเงินธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ครบกำหนดวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555 รวมเงิ นลงทุนในหลักทรัพย์ รวมเงินลงทุน
3,123,110,000 3,332,000,000
ร้อยละ ของราคา ยุติธรรม
99.40
20,000,000
20,000,000
20,000,000
20,000,000
0.60
3,143,110,000 3,352,000,000
100.00
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 23
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555 หมายเหตุ บาท
รายได้จากการลงทุน รายได้ค่าเช่า 13 รายได้ดอกเบี้ย รายได้อื่น รวมรายได้
ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมในการจัดการ 11 ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ 11 ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน 11 ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีตัดจำหน่าย 8 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการโรงแรม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหารกองทุน รวมค่าใช้จ่าย กำไรสุทธิจากการลงทุน ขาดทุนที่เกิดขึ้นจากเงินทุน 6 ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน
พ.ศ. 2554 บาท
281,261,302 313,845,169 1,710,158 1,685,446 123,583 334,403 283,095,043 315,865,018 5,438,636 5,568,188 1,087,727 1,113,638 1,812,879 1,856,063 14,651,896 14,596,156 26,590,662 17,537,813 630,563 961,148 50,212,363 41,633,006 232,882,680 274,232,012 - (5,262) (69,000,000) (4,000,000)
การเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงาน 163,882,680 270,226,750
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 24
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 หมายเหตุ บาท บาท การเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงาน ในระหว่างปี กำไรสุทธิจากการลงทุน 232,882,680 274,232,012 ขาดทุนที่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน - (5,262) 6 (69,000,000) (4,000,000) ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน การเพิ ่มขึ้นสุทธิของสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงาน
เงินปันผลจ่ายแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน 10
163,882,680 270,226,750
(282,112,000) (301,504,000) (282,112,000) (301,504,000)
การลดลงของสินทรัพย์สุทธิระหว่างปี (118,229,320) (31,277,250) สินทรัพย์สุทธิต้นปี 3,494,957,414 3,526,234,664 สินทรัพย์สุทธิสิ้นปี 3,376,728,094 3,494,957,414
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 25
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา งบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 หมายเหตุ บาท บาท กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน การเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงาน 163,882,680 270,226,750 รายการปรับกระทบการเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงาน - ให้เป็นเงินสดสุทธิที่ ได้มาในกิจกรรมดำเนินงาน : - ส่วนต่ำกว่ามูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตัดจำหน่าย (380,085) (296,615) ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีตัดจำหน่าย 8 14,651,896 14,596,156 ขาดทุนที่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน - 5,262 ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน 6 69,000,000 4,000,000 การซื้อเงินลงทุน (504,607,940) (1,237,384,752) การจำหน่ายเงินลงทุน 515,000,000 1,247,671,426 การลดลง(เพิ่มขึ้น)ในลูกหนี้ 32,687,856 (773,922) การเพิ่มขึ้นในค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี 8 (535,400) (514,000) การ(ลดลง)เพิ่มขึ้นในค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (615,028) 902,370 เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 289,083,979 298,432,675 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน 10 เงิ นสดสุทธิใช้ ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 26
(282,112,000) (301,504,000) (282,112,000) (301,504,000) 6,971,979 13,176,267 20,148,246
(3,071,325) 16,247,592 13,176,267
27
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
สำหรับงวดบัญชีตั้งแต่ วันที่ 25 กันยายน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (วันจดทะเบียน จัดตั้งกองทุน) ถึงวันที่ พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2552 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 บาท บาท บาท บาท บาท ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ ข้อมูลผลการดำเนินงาน (ต่อหน่วย คำนวณโดยใช้หน่วยลงทุนถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนักระหว่างปี) มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต้นปี 10.9217 11.0194 11.2274 10.2325 - บวก ทุนที่ ได้รับจากผู้ถือหน่วยลงทุน - - - - 10.0000 หัก การลดมูลค่าหน่วยลงทุนจากการลดทุน - - (0.0604) - - กำไรสุทธิจากการลงทุน 0.7278 0.8570 0.8700 0.8584 0.2325 รายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน (0.2156) (0.0125) (0.2000) 0.8653 - การจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (0.8817) (0.9422) (0.8176) (0.7288) - มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 10.5522 10.9217 11.0194 11.2274 10.2325 อัตราส่วนของกำไรสุทธิต่อมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ถัวเฉลี่ยระหว่างปี (ร้อยละ) 4.84 7.79 6.12 16.07 2.30
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2552 และ สำหรับงวดบัญชีวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 (วันจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน) ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551
28
หมายเหตุ ประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม มูลค่าการซื้อขายเงินลงทุนระหว่างปี ไม่ ได้รวมเงินฝากธนาคาร เงินลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินและการซื้อขายเงินลงทุนโดยมีสัญญาขายคืนหรือซื้อคืนและ คำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามระยะเวลาที่มีอยู่ ในระหว่างปี
สำหรับงวดบัญชีตั้งแต่ วันที่ 25 กันยายน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (วันจดทะเบียน จัดตั้งกองทุน) ถึงวันที่ พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2552 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 บาท บาท บาท บาท บาท อัตราส่วนการเงินที่สำคัญและข้อมูลประกอบ เพิ่มเติมที่สำคัญ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิสิ้นปี (บาท) 3,376,728,094 3,494,957,414 3,526,234,664 3,592,787,384 3,274,399,283 อัตราส่วนของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ถัวเฉลี่ยระหว่างปี (ร้อยละ) 1.48 1.20 1.01 1.15 0.25 อัตราส่วนของรายได้จากเงินลงทุนต่อมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ถัวเฉลี่ยระหว่างปี (ร้อยละ) 8.36 9.11 8.96 9.15 2.55 อัตราส่วนของจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ของการซื้อขายเงินลงทุนระหว่างปี ต่อมูลค่าสินทรัพย์สุทธิถัวเฉลี่ยระหว่างปี (ร้อยละ) 11.12 34.67 34.34 34.38 100.46 3,387,863,074 3,468,564,043 3,501,865,014 3,432,556,982 3,234,555,642 มูลค่าสินทรัพย์สุทธิถัวเฉลี่ยระหว่างปี (บาท)
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ (ต่อ) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2552 และ สำหรับงวดบัญชีวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 (วันจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน) ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
1. ลักษณะของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา กองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ โ รงแรมและรี ส อร์ ท ในเครื อ เซ็ น ทารา (“กองทุนรวม”) เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กองทุนรวมได้จดทะเบียนเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 เพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยไม่มีการกำหนดอายุโครงการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กองทุนรวมได้ลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ คือ โครงการโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์บีช รีสอร์ท สมุย กองทุนรวมจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 บริษัทโรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) เป็น ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่ โดยถือหน่วยลงทุนรวมร้อยละ 25.34 (พ.ศ. 2554 : ร้อยละ 25.34) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวม ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นนายทะเบียนกองทุนรวม งบการเงินได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจลงนามเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 2. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ นโยบายการบัญชีที่สำคัญที่ใช้ ในการจัดทำงบการเงินมีดังนี้ 2.1 เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน งบการเงินได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปภายใต้พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งหมายความถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกภายใต้ พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดทำและนำเสนอรายงานทางการเงินภายใต้ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้งบการเงินได้จัดทำขึ้นตาม หลักเกณฑ์และรูปแบบที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 106 (ฉบับที่ 42 เดิม) เรื่อง “การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน” เป็นการเฉพาะ 29
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
30
งบการเงินนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมในการวัดมูลค่าองค์ประกอบ ของงบการเงิน ยกเว้นเงินลงทุน ซึ่งใช้มูลค่ายุติธรรมตามที่อธิบายในนโยบายการบัญชี การจัดทำงบการเงินให้สอดคล้องกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย กำหนดให้ ใช้ประมาณการทางบัญชีที่สำคัญและการใช้ดุลยพินิจของผู้บริหาร ซึ่งจัดทำขึ้น ตามกระบวนการในการนำนโยบายการบัญชีของกองทุนไปถือปฏิบัติและต้องเปิดเผย เรื่องการใช้ดุลยพินิจของผู้บริหาร หรือความซับซ้อน หรือเกี่ยวกับข้อสมมติฐานและ ประมาณการที่มีนัยสำคัญต่องบการเงินรวมในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 3 งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษจัดทำขึ้นจากงบการเงินตามกฎหมายที่เป็นภาษาไทย ในกรณีที่มีเนื้อความขัดแย้งกันหรือมีการตีความในสองภาษาแตกต่างกัน ให้ ใช้งบการ เงินตามกฎหมายฉบับภาษาไทยเป็นหลัก 2.2 มาตรฐานการบัญชีใหม่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ การตีความมาตรฐาน การรายงานทางการเงินใหม่ และการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี ก) มาตรฐานการบัญชี ใหม่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ และมาตรฐาน การบัญชีที่มีการปรับปรุงซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ และกองทุนรวมยังไม่ ได้นำมาถือ ปฏิบัติ มีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 20 เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุน จากรัฐบาล และการเปิดเผยข้อมูล
เกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง (ปรับปรุง 2552) ของอั ต ราแลกเปลี่ ย นเงิ น ตรา ต่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 8 เรื่อง ส่วนงานดำเนินงาน การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 10 เรื่อง ความช่วยเหลือจากรัฐบาล - กรณี ที่ ไ ม่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งอย่ า ง เฉพาะเจาะจงกับกิจกรรมดำเนินงาน การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 เรื่อง ภาษีเงินได้-การได้รับประโยชน์ จากสินทรัพย์ที่ ไม่ ได้คิดค่าเสื่อมราคา ที่ตีราคาใหม่
การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 25 เรื่อง ภาษีเงินได้ - การเปลี่ยนแปลง สถานภาพทางของกิจการหรือของ ผู้ถือหุ้น มีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 การตีความมาตรฐานการรายงานทาง การประเมิ น ว่ า ข้ อ ตกลงประกอบ การเงินฉบับที่ 4 ด้วยสัญญาเช่าหรือไม่ การตีความมาตรฐานการรายงานทาง ข้อตกลงสัมปทานบริการ การเงินฉบับที่ 12 การตีความมาตรฐานการรายงานทาง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า การเงินฉบับที่ 13 การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 การเปิ ด เผยข้ อ มู ล ของข้ อ ตกลง สัมปทานบริการ ผู้บริหารของกองทุนรวมได้ประเมินและเห็นว่ามาตรฐานการบัญชีใหม่ มาตรฐาน การรายงานทางการเงินใหม่ และมาตรฐานการบัญชีที่มีการปรับปรุงดังกล่าวจะ ไม่มีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญต่องบการเงินที่นำเสนอ 2.3 การวัดค่าเงินลงทุน เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เงินลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวเนื่องกับ การดำเนิ น ธุ ร กิ จ โรงแรมแสดงด้ ว ยมู ล ค่ า ยุ ติ ธ รรมโดยไม่ คิ ด ค่ า เสื่ อ มราคา มู ล ค่ า ยุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ ได้มาจากการประเมินค่าทรัพย์สินโดยผู้ประเมินราคา อิ ส ระที่ ไ ด้ รั บ ความเห็ น ชอบจากสำนั ก งานคณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละ ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งบริษัทจัดการกองทุนจะจัดให้มีการประเมินค่าทรัพย์สินทุก 2 ปีนับ แต่วันที่มีการประเมินค่าเพื่อซื้อและเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดให้มีการสอบทานการ ประเมินค่าทรัพย์สินทุก 1 ปีนับแต่วันที่มีการประเมินค่าครั้งล่าสุดไปแล้ว รายการกำไรหรือรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์จะรวมอยู่ ในงบกำไรขาดทุนในงวดที่มีการ ประเมินค่าทรัพย์สิน
31
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
32
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ เงินลงทุนในหลักทรัพย์แสดงมูลค่ายุติธรรม สำหรับมูลค่ายุติธรรมของพันธบัตร คำนวณจากอัตราผลตอบแทนที่ประกาศโดยสมาคมตราสารหนี้ ไทยตามลำดับ ดังนี้ (1) ราคาหรืออัตราผลตอบแทนจากการซื้อขาย (2) ราคาหรืออัตราผลตอบแทนเสนอซื้อเฉลี่ย หรือราคาหรืออัตราผลตอบแทนเสนอ ซื้อแบบ firm quote จากบริษัทผู้เสนอซื้อเสนอขาย (3) ราคาหรืออัตราผลตอบแทนที่คำนวณจากแบบจำลอง สำหรับมูลค่ายุติธรรมของตั๋วแลกเงิน ตั๋วเงินคลัง หุ้นกู้และพันธบัตรที่มีอายุต่ำ กว่า 90 วัน คำนวณจากอัตราผลตอบแทนเมื่ออายุคงเหลือของตราสารเท่ากับ 90 วัน ที่ประกาศโดยสมาคมตราสารหนี้ ไทย หรืออัตราผลตอบแทนที่ ได้มาสำหรับตราสารที่ จะครบกำหนดอายุภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ลงทุน รายการกำไรหรือรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของเงินลงทุนจะรวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนในงวดที่เกิดขึ้น 2.4 การบัญชีสำหรับสัญญาเช่าระยะยาว กรณีที่กองทุนรวมเป็นผู้ให้เช่า สิ น ทรั พ ย์ ที่ ใ ห้ เ ช่ า ภายใต้ สั ญ ญาเช่ า ดำเนิ น งานแสดงรวมอยู่ ใ นเงิ น ลงทุ น ใน อสังหาริมทรัพย์ในงบแสดงฐานะทางการเงิน รายได้ค่าเช่ารับรู้ตามระยะเวลาการ ให้เช่าและเงื่อนไขของสัญญา 2.5 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายรวมถึงเงินสดในมือ และเงินฝาก ธนาคารทุกประเภท แต่ ไม่รวมเงินฝากธนาคารประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา ที่กำหนด (เงินฝากประจำ) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์และสถาบัน การเงินอื่น และไม่รวมเงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการเบิกถอน และรายการเทียบ เท่าเงินสดรวมถึงเงินลงทุนระยะสั้นอื่นที่มีสภาพคล่องสูงซึ่งมีอายุไม่เกินสามเดือนนับ จากวันที่ ได้มา 2.6 ลูกหนี ้ ลูกหนี้ค่าเช่ารายเดือนแสดงตามรายงานคำนวณค่าเช่า ซึ่งใช้วิธีการและอัตรา ตามที่ระบุในสัญญาเช่าช่วงที่ดินและอาคารและสัญญาเช่าเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์
2.7 ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายหน่วยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะทยอยตัดจำหน่ายเป็น ค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 5 ปี 2.8 การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย รายได้คา่ เช่า ดอกเบีย้ รับและค่าใช้จา่ ยรับรูเ้ ป็นรายได้และค่าใช้จา่ ยตามเกณฑ์คงค้าง 2.9 ภาษีเงินได้ กองทุนรวมนี้เป็นกองทุนรวมที่ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย จึงไม่ ได้บันทึกภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ในงบการเงินนี้ 2.10 การแบ่งปันส่วนทุน กองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เกินปีละ 4 ครั้ง ดังนี้ ในกรณีที่กองทุนมีกำไรสุทธิในแต่ละปี บริษัทจัดการกองทุนจะจ่ายเงินปันผลแก่ ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิที่ ไม่รวมกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจาก การประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์ ประจำรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ในกรณีที่กองทุนมีกำไรสะสม ในรอบระยะเวลาบัญชี ใด บริษัทจัดการกองทุน อาจจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสม โดยการจ่ายเงินปันผลต้องไม่ทำให้กองทุนรวมเกิด ยอดขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทจัดการกองทุนจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีการปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายเงินปันผล เว้นแต่ กรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ ในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการ จะแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเป็นลายลักษณ์อักษร บริษัทจัดการกองทุนได้แก้ ไขเพิ่มเติมโครงการเรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายเงินปันผล และการลดทุนให้เป็นไปตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้
33
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
การลดทุน ในกรณีที่กองทุนรวมมีสภาพคล่องส่วนเกินจากกรณี ใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้ (ก) กองทุ น รวมมี ก ารจำหน่ า ยอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ห รื อ สิ ท ธิ ก ารเช่ า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ และ/หรือ (ข) อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนหรือมี ไว้ลด ลงจากการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สิน และ/หรือ (ค) กองทุนรวมมีรายการทางบัญชีที่เป็นรายการค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีซึ่งทยอย ตัดจ่าย หากบริษัทจัดการกองทุน ประสงค์จะจ่ายสภาพคล่องส่วนเกินดังกล่าวให้แก่ผู้ถือ หน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนจะจ่ายสภาพคล่องส่วนเกินดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วย ลงทุนโดยการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม
3. ประมาณการทางบัญชีที่สำคัญ ข้อสมมติฐาน และการใช้ดุลยพินิจ ในการจั ด ทำงบการเงิ น กองทุ น รวมไม่ มี ร ายการที่ เ กี่ ย วกั บ ความไม่ แ น่ น อนของ ประมาณการบั ญ ชี ที่ ส ำคั ญ ข้ อ สมมติ ฐ านหรื อ การใช้ ดุ ล ยพิ นิ จ ซึ่ ง มี ค วามเสี่ ย งอย่ า ง มี นั ย สำคั ญ เป็ น เหตุ ใ ห้ ต้ อ งมี ก ารปรั บ ปรุ ง มู ล ค่ า ตามบั ญ ชี ข องสิ น ทรั พ ย์ แ ละหนี้ สิ น ด้ ว ย จำนวนที่เป็นสาระสำคัญในปีบัญชีถัดไป 4. การจัดการความเสี่ยงในส่วนของทุน วัตถุประสงค์ของกองทุนรวมในการบริหารทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นเพื่อดำรงไว้ ซึ่งความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกองทุนรวม เพื่อสร้างผลตอบแทนต่อ
ผู้ถือหน่วยลงทุนและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนได้เสียอื่น และเพื่อดำรงไว้ซึ่งโครงสร้างของ ทุนที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนทางการเงินของทุน ในการดำรงไว้ ห รื อ ปรั บ โครงสร้ า งของทุ น กองทุ น รวมอาจปรั บ นโยบายการจ่ า ย เงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน การคืนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน การออกหน่วยลงทุนใหม่ หรือการขายทรัพย์สินเพื่อ ลดภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 5. เงินลงทุน ในระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 กองทุนรวมได้ตกลงในสัญญาเพื่อการลงทุนใน ธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้ 34
1) สัญญาเช่าที่ดินจากบริษัท เซ็นทรัลสมุยบีชรีสอร์ท จำกัด และสัญญาเช่าอาคารโรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย และระบบสาธารณูปโภคจากบริษัท โรงแรม เซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง เป็นระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2581 ซึ่งกองทุนได้ จ่ า ยชำระค่ า เช่ า ที่ ดิ น เป็ น จำนวนเงิ น 1,500 ล้ า นบาท ให้ แ ก่ บริ ษั ท เซ็ น ทรั ล สมุยบีชรีสอร์ท จำกัด และกองทุนได้จ่ายค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสัญญาเช่า ที่ดินอีกเป็นจำนวนเงิน 16.5 ล้านบาท นอกจากนี้ กองทุนได้จ่ายชำระค่าเช่าอาคาร และระบบสาธารณูปโภคเป็นจำนวนเงิน 1,510 ล้ า นบาท ให้ แ ก่ บ ริ ษั ท โรงแรม เซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) และกองทุนได้จ่ายค่าธรรมเนียม ในการจดทะเบียน สัญญาเช่าอาคารอีกเป็นจำนวนเงิน 16.61 ล้านบาท โดยบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ได้ตกลงจะรับประกันค่าเช่าของโครงการ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย แก่กองทุน เป็นค่าเช่าจำนวนรวมสะสมสำหรับรอบปีบัญชีต่างๆ ไม่ น้อยกว่า 1,191.47 ล้านบาท นับจากวันจดทะเบียนการเช่า จนถึงวันที่ครบรอบ 4 ปี นับจากวันที่กองทุนรวมเข้าลงทุนครั้งแรก ดังนี้ รอบปีบัญชี จำนวนรวมสะสมไม่น้อยกว่า (ล้านบาท) พ.ศ. 2551 78.31 พ.ศ. 2552 376.09 พ.ศ. 2553 674.03 พ.ศ. 2554 971.92 พ.ศ. 2555 1,191.47 2) สัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ในโครงการ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย จากบริษัท เซ็นทรัลสมุยบีชรีสอร์ท จำกัด เป็นจำนวนเงิน 80 ล้านบาท กองทุนได้เข้าทำสัญญาเช่าช่วงที่ดิน อาคาร โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย ระบบสาธารณูปโภค เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจ โรงแรมกับบริษัท เซ็นทรัลสมุย โฮเต็ลแมนเนจเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้อง กันแห่งหนึ่ง เพื่อการดำเนินการโครงการ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย เป็นระยะเวลาการเช่า 3 ปี นับจากวันที่กองทุนรวมเข้าลงทุนครั้งแรก และให้ผู้เช่าช่วง มีสิทธิเช่าทรัพย์ดังกล่าวต่อไปอีก 3 ปี นับจากวันครบระยะเวลาการเช่าครั้งแรก ภายใต้สัญญาเช่าช่วงที่ดิน อาคาร โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย ระบบ สาธารณูปโภค เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจโรงแรมนั้น บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ดำเนินการหาผู้เช่าช่วงตลอด ระยะเวลา 30 ปี 35
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา 6. เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนได้ลงทุนในสิทธิการเช่าในที่ดินและอาคาร (สัญญาเช่าระยะเวลา 30 ปี) และ ซื้อเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจของโครงการ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย โดยเป็นโครงการของบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) (หมายเหตุ 5) ในระหว่างปี พ.ศ. 2555 กองทุนได้ ให้ผู้ประเมินราคาอิสระประเมินมูลค่าเงินลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้วิธีรายได้ (Income Approach) ซึ่งกองทุนได้ปรับเงินลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นมูลค่ายุติธรรมรวมจำนวน 3,263 ล้านบาท (พ.ศ. 2554 : 3,332 ล้านบาท) และรับรู้ขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุนจำนวน 69 ล้านบาท (พ.ศ. 2554 : 4 ล้านบาท) 7. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
พ.ศ. 2555 เงินต้น อัตราดอกเบี้ย บาท ร้อยละต่อปี
พ.ศ. 2554 เงินต้น อัตราดอกเบี้ย บาท ร้อยละต่อปี
ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ออมทรัพย์ 92,660 0.63 - 0.75 7,666,949 0.25 - 0.75 ธนาคารซิตี้แบงค์ เอ็น.เอ. ออมทรัพย์ 20,052,645 2.20 - 2.55 5,491,875 1.27 - 2.55 ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ออมทรัพย์ - - 15,343 0.85 - 1.75 ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) ออมทรัพย์ - - 100 0.50 - 0.75 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กระแสรายวัน 2,941 ไม่มี 2,000 ไม่ม ี รวม 20,148,246 13,176,267
36
8. ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
บาท ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ราคาทุน 73,066,322 หัก ค่าตัดจำหน่ายสะสม (48,574,029) ราคาตามบัญชี - สุทธิ 24,492,293 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาตามบัญชีต้นปี - สุทธิ 24,492,293 เพิ่มขึ้น 535,400 หัก ค่าตัดจำหน่าย (14,651,896) ราคาตามบัญชีสิ้นปี - สุทธิ 10,375,797 ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาทุน 73,601,722 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (63,225,925) ราคาตามบัญชี - สุทธิ 10,375,797
9. ส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุน
มูลค่า หน่วยลงทุน บาท 10 ทุนที่จดทะเบียน ทุนที่ได้รับจากผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 9.9396 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 9.9396
พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 จำนวนหน่วย จำนวนเงิน จำนวนหน่วย จำนวนเงิน ลงทุน บาท ลงทุน บาท 320,000,000 3,200,000,000 320,000,000 3,200,000,000 320,000,000 3,180,672,000 320,000,000 3,180,672,000 320,000,000 3,180,672,000 320,000,000 3,180,672,000
37
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา 10. เงินปันผล ปี พ.ศ. 2555 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.4106 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 131.39 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.1650 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 52.80 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.1530 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 48.96 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.1530 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 48.96 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ปี พ.ศ. 2554 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.4502 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 144.06 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระหว่างปี พ.ศ. 2554 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.1780 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 56.96 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระหว่างปี พ.ศ. 2554 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.1540 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 49.28 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระหว่างปี พ.ศ. 2554 38
ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.1600 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 51.20 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในระหว่างปี พ.ศ. 2554
กำไรสะสม ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม บวก การเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานระหว่างปี หัก การแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นหน่วยลงทุน ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม
พ.ศ. 2555 บาท
พ.ศ. 2554 บาท
314,285,414 163,882,680 (282,112,000) 196,056,094
345,562,664 270,226,750 (301,504,000) 314,285,414
11. ค่าใช้จ่าย บริษัทผู้จัดการกองทุนรวมจะคิดค่าธรรมเนียมในการจัดการ และค่าธรรมเนียมผู้ดูแล ผลประโยชน์ และค่าธรรมเนียมนายทะเบียนดังต่อไปนี ้ - ค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราไม่เกินร้อยละ 1.00 ต่อปี (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่า 3,000,000 บาทต่อปี - ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.05 ต่อปี (ไม่รวมภาษีมูลค่า เพิ่ม) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่า 300,000 บาทต่อปี - ค่าธรรมเนียมนายทะเบียนในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อปี (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมทั้งนี้ ไม่ต่ำกว่า 300,000 บาทต่อปี 12. เครื่องมือทางการเงิน กองทุ น รวมต้ อ งเผชิ ญ กั บ ความเสี่ ย งทางการเงิ น ที่ ส ำคั ญ ได้ แ ก่ ความเสี่ ย งจาก อั ตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อและมูลค่ายุติธรรม ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย คือ การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด สินทรัพย์ทางการเงินที่อาจทำให้กองทุนรวมมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ของเงินฝากสถาบันการเงิน พันธบัตรรัฐบาลและตั๋วสัญญาใช้เงิน ความเสี ่ยงด้านการให้สินเชื่อ ความเสี่ ย งด้ า นการให้ สิ น เชื่ อ คื อ ความเสี่ ย งที่ คู่ สั ญ ญาอาจไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามสั ญ ญา ซึ่งอาจมีผลต่อกระแสเงินสดรับจากสินทรัพย์ทางการเงินของกองทุนรวม ความเสี่ยงด้านการให้ สินเชื่อเกิดจากความเสี่ยงในการจัดการเรียกเก็บค่าเช่า 39
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
มูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือ ชำระหนี้สินกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนกันและ สามารถต่ อ รองราคากันได้อย่างอิสระในลักษณะของผู้ ที่ ไ ม่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั น ในการ พิจารณามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน กองทุนรวมมีการ พิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันของต้นทุนที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้สิน ซึ่งราคา ตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของกองทุนรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554 ตามที่ปรากฏในงบการเงินมีมูลค่าที่ ใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรม
13. รายการกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับกองทุนรวมหมายถึงบุคคลและกิจการที่มีอำนาจ ควบคุ ม กองทุ น รวมถู ก ควบคุ ม โดยกองทุ น รวม หรื อ อยู่ ภ ายใต้ ก ารควบคุ ม เดี ย วกั น กั บ กองทุนรวมไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือ ทางอ้อม รวมถึงบริษัทที่ทำหน้าที่ถือหุ้น บริษัทย่อย และกิจการที่เป็นบริษัทย่อยในเครือเดียวกัน นอกจากนี้บุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยังรวมถึงบริษัทร่วมและบุคคลซึ่งถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญกับกองทุนรวม ผู้บริหารสำคัญรวมทั้งกรรมการและ พนักงานของกองทุนรวม และสมาชิกในครอบครัวที่ ใกล้ชิดกับบุคคลเหล่านั้น กิจการและ บุคคลทั้งหมดเป็นบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับกองทุนรวม ในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับกองทุนรวม แต่ละรายการ กองทุนรวมคำนึงถึงเนื้อหาของความสัมพันธ์มากกว่ารูปแบบทางกฎหมาย ความสัมพันธ์ที่มีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน มีดังนี้
ชื่อกิจการ ประเทศที่จัดตั้ง ลักษณะความสัมพันธ์ /สัญชาติ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ไทย - เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่ ซึ่งถือ หน่วยลงทุนรวมร้อยละ 25.34 - เป็นผู้ ให้เช่าอาคาร บริษัท เซ็นทรัลสมุยบีชรีสอร์ท จำกัด ไทย - เป็นผู้ ให้เช่าที่ดิน บริษัท เซ็นทรัลสมุยโฮเต็ลแมนเนจเม้นท์ จำกัด ไทย - เป็นผู้เช่าช่วงที่ดินและอาคาร - เป็นผู้เช่าเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ไทย - เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด ไทย - เป็นผู้จัดการกองทุน 40
ชื่อกิจการ
ประเทศที่จัดตั้ง /สัญชาติ
ลักษณะความสัมพันธ์
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ไทย - เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในบริษัท
จัดการกองทุน - เป็นนายทะเบียนของกองทุน - เป็นผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุน รายการต่อไปนี้เป็นรายการที่มีสาระสำคัญกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ก) การซื้อเงินลงทุน กองทุนรวมได้ลงทุนในสัญญาเช่าช่วงที่ดินและสัญญาเช่าอาคารโรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย และระบบสาธารณูปโภคกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็น กิจการภายใต้การควบคุมของบริษัทใหญ่เดียวกัน ตามรายละเอียดในหมายเหตุประกอบ งบการเงินข้อ 5 ข) งบแสดงฐานะการเงิน
รายได้ค่าเช่าค้างรับ เงินฝากธนาคาร
พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 บาท บาท 78,688,542 111,344,642 95,601 7,668,949
ค) รายได้ค่าเช่า สัญญาเช่าโรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย พร้อมเฟอร์นิเจอร์และ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ แก่บริษัท เซ็นทรัลสมุยโฮเต็ล แมนเนจเมนท์ จำกัด สัญญาเช่ามีระยะเวลา 3 ปี กองทุนรวมจะได้รับค่าเช่าดังต่อไปนี ้ 1) ค่าเช่าคงที่จำนวน 225 ล้านบาทต่อปี (พ.ศ. 2554 : ค่าเช่าคงที่จำนวน 225 ล้านบาทต่อปี) 2) ค่าเช่าผันแปรตามเงื่อนไข ง) รายได้ค่าเช่าประกันสะสม ในระหว่างปี พ.ศ. 2555 กองทุนรวมบันทึกรายได้ค่าเช่าประกันสะสมส่วนเพิ่ม จำนวน 56.26 ล้านบาท (พ.ศ. 2554 : 88.84 ล้านบาท) ในการคำนวณค่าเช่าประกัน สะสมส่วนเพิ่มดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาที่ตกลงกับบริษัทโรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำกัด (มหาชน) 41
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา 14 เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลาที่รายงาน ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ท ในเครือเซ็นทาราเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.279 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 89.28 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวมีกำหนดจ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556
42
ประวัติการจ่ายเงินปันผล
ครั้งที่ บาท/หน่วย วันจ่ายเงินปันผล ครั้งที่ บาท/หน่วย วันจ่ายเงินปันผล ครั้งที่ บาท/หน่วย วันจ่ายเงินปันผล
1 2 0.2324 0.1718 25/3/52 5/6/52
3 0.1715 4/9/52
4 0.1531 4/12/52
5 0.3584 30/3/53
6 0.1768 8/6/53
7 0.1284 3/9/53
8 0.154 3/12/53
9 10 0.4502 0.1780 18/3/54 20/6/54
11 0.1540 5/9/54
12 0.1600 9/12/54
13 0.4106 9/3/55
14 0.165 11/6/55
15 0.153 7/9/55
16 0.153 12/12/55
รวม 3.6492
17 0.279 8/3/56
รายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีการทำธุรกรรมกับกองทุนรวมสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา สำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555
1. บมจ.ธนาคารกสิกรไทย 2. บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบรายละเอียดการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม ได้ที่บริษัทจัดการโดยตรง หรือที่ website ของบริษัทจัดการที่ http://www.kasikornasset.com แล้วเลือกเมนูดาวน์โหลดกองทุนรวม หรือที่ Website ของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ http://www.sec.or.th/ th/infocenter/stat/asset/mutual/connected/connected.shtml รายชื่อผู้จัดการกองทุน (หลักและสำรอง) ของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรม และรี สอร์ทในเครือเซ็นทารา
เขมชาติ สุวรรณกุล ธนะรัชต์ บุญญะโกศล ชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ มนต์ชัย อนันตกูล
43
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา
ประเภทโครงการ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ประเภทไม่รบั ซือ้ คืนหน่วยลงทุน อายุโครงการ ไม่กำหนดอายุโครงการ วันทีจ่ ดทะเบียนกองทุน 25 กันยายน 2551 มูลค่าโครงการเริม่ แรก ไม่เกิน 3,200 ล้านบาท จำนวนหน่วยลงทุน ไม่เกิน 320 ล้านหน่วย รอบระยะเวลาบัญชี สิน้ สุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี วั ตถุประสงค์โครงการ เพือ่ ระดมเงินทุนจากนักลงทุนทัว่ ไป ทัง้ ทีเ่ ป็นบุคคลธรรมดาและนิตบิ คุ คลทัง้ ในและต่างประเทศ ซึง่ กองทุนรวมจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปซือ้ เช่า และ/หรือเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทุน จะรับโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ สิทธิการเช่า และ/หรือสิทธิการเช่าช่วง อสังหาริมทรัพย์ และจัดหา ผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยการให้เช่า ให้เช่าช่วง โอน และ/หรือจำหน่าย อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ต่ า งๆ ที่ ก องทุ น รวมได้ ล งทุ น ไว้ ห รื อ มี ไ ว้ รวมถึ ง แต่ ไ ม่ จ ำกั ด เพี ย งการนำ อสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่าหรือเช่าช่วงเพื่อให้ผู้ประกอบการนำอสังหาริมทรัพย์ออกหาประโยชน์ ในลักษณะโรงแรม ตลอดจนทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง รวมถึงดำเนินการก่อสร้าง และ/หรือ พั ฒ นาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ โดยรั บ โอนใบอนุ ญ าตก่ อ สร้ า ง และ/หรื อ ดำเนิ น การขอหรื อ รั บ โอน ใบอนุญาตอื่นๆ เช่น ใบอนุญาตเปิดโรงแรม (ในกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้ดำเนินการดังกล่าวได้) และ/หรือดำเนินการอืน่ ใดทีเ่ กีย่ วข้องและจำเป็นเพือ่ ประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ และเพือ่ มุง่ ก่อให้เกิด รายได้และผลตอบแทนแก่กองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม รวมถึงการลงทุน
ในทรัพย์สินอื่น และ/หรือหลักทรัพย์อื่น และ/หรือการหาดอกผลอื่น โดยวิธีอื่นใดตามกฎหมาย หลักทรัพย์ และ/หรือกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกำหนด นโยบายการลงทุ น ในการลงทุนครั้งแรก กองทุนรวมจะเข้าลงทุนในทรัพย์สินของ ”โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บี ช รีสอร์ท สมุย” โดยมีรายละเอียดการลงทุนดังนี ้ 1. สิทธิการเช่าที่ดินจากบริษัท เซ็นทรัลสมุยบีชรีสอร์ท จำกัด เป็นระยะเวลา 30 ปี 2. สิทธิการเช่าสิ่งปลูกสร้างซึ่งได้แก่อาคารโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท สมุย รวมถึง ระบบสาธารณูปโภคจากบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) เป็นระยะเวลา 30 ปี 3. กรรมสิทธิ์ในเฟอร์นิเจอร์พร้อมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจโรงแรม 44
นโยบายการจ่ ายเงินปันผล โครงการมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เกินปีละ 4 ครั้ง (1) ในกรณี ที่ ก องทุ น รวมมี ก ำไรสุ ท ธิ ใ นรอบระยะเวลาปี บั ญ ชี ใ ด ให้ บ ริ ษั ท จั ด การจ่ า ย เงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิที่ ไม่รวมถึงกำไร ที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประจำรอบระยะเวลาบัญชีนั้น (2) ในกรณีที่กองทุนรวมมีกำไรสะสมในรอบระยะเวลาปีบัญชี ใด บริษัทจัดการอาจจ่าย เงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจากกำไรสะสมได้ การจ่ายเงินปันผลตาม (1) ต้องไม่ทำให้กองทุนรวมเกิดยอดขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบ ระยะเวลาบั ญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
บริษัทจัดการจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 30 วัน
นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีการปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายเงินปันผล เว้นแต่ กรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ ในระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการจะแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ผู ้ดูแลผลประโยชน์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) นายทะเบี ยน บมจ. ธนาคารกสิกรไทย
45
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา บลจ. กสิกรไทย จำกัด
ประวัต ิ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เป็นบริษัทในเครือธนาคารกสิกรไทย ที่ ได้รับใบอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการลงทุนจากกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2535 ได้รับ ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในเดือนมิถุนายน 2543 และได้รับใบอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคลในเดือนมีนาคม 2544 ในปัจจุบัน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เป็นบริษัทจัดการลงทุนที่มีความพร้อมทั้ง
ในด้านการให้บริการ การวิจัย และการจัดการลงทุน โดยดำเนินธุรกิจจัดการกองทุนด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ พร้อมกับ ข้อมูล ข่าวสาร ระบบงานและเทคโนโลยี ในการจัดการลงทุนที่ทันสมัย และยึดมั่นในจรรยาบรรณ อย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความเป็นบริษัทจัดการลงทุนที่มีคุณภาพตลอดไป สถานที่ตั้งสำนักงาน บลจ. กสิกรไทย จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 400/22 อาคารธนาคารกสิกรไทย ชั้น 6 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร.0 2673 3888 โทรสาร 0 2673 3988
ทุนจดทะเบียน จำนวน 135,771,370.00 แบ่งออกเป็น 27,154,274.00 เรียกชำระแล้ว 135,771,370.00
บาท บาท มูลค่าหุ้นละ 5 บาท บาท
ผู้ถือหุ้น บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ถือหุ้นร้อยละ 99.99 กรรมการบริษัท 1. นายสมเกียรติ ศิริชาติไชย 2. นายอำพล โพธิ์โลหะกุล 3. นายพัชร สมะลาภา 4. นายสุรศักดิ์ ดุษฎีเมธา 5. นายประสพสุข ดำรงชิตานนท์ ผู้บริหารระดับสูง 1. นายอำพล โพธิ์โลหะกุล 2. นางเสาวณีย์ ศรีสุวรรณกิจ 3. นายประเสริฐ ขนบธรรมชัย 4. นายเกษตร ชัยวันเพ็ญ 5. นางสาวยุพาวดี ตู้จินดา 6. นายนาวิน อินทรสมบัติ
ประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการ กรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร รองกรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2555
46
47