แผนพัฒนามหานครโคราช 2040

Page 1

ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1


มหานครโคราช 2040

คณะผู้จัดทำ�โครงการ ผู้วางแผนยุทธศาสตร์ ชัชพงศ์ บุญศิลป์ ทยุตา แช่มช้อย ทัตพล วงศ์สามัคคี รุจิภาส เจริญใจ สุทธิพงศ์ ปัทมะนาวิน สุนิศา ตันกุลธร

ที่ปรึกษาแผนยุทธศาสตร์

ผศ.ดร. อภิวัฒน์ รัตนวราหะ

ที่ปรึกษาโครงการออกแบบ อ. สุภาพิมพ์ คชเสนี ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล อ.ดร. เปี่ยมสุข สนิท อ. ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์

ผู้ออกแบบโครงการ

ชัชนก อิทธิอมรเลิศ พรวริมน ศิริเหลืองรังษี แทนใจ สาธิตปัตติพันธ์ ธัญชนก วงศ์ทวิลาภ นราธิป ล้ออิสระตระกูล บุณยาพร กิ่งเพ็ชรรุ่งเรือง พนธกร ปักษีเลิศ พริมา เจนงาน ระวิพร วิทยเบญจางค์ ริณรนินณ สิริพันธะสกุล วิฐิตา ศรีพรหม ศิริวิมล หมั่นสระเกษ สลิล บริบูรณ์ อธิพัฒน์ พูนสินบูรณะกุล อรวรา เวโรจน์วิวัฒน์

ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หน่วยงานผู้ให้การสนับสนุน องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา

2


3


มหานครโคราช 2040

4


แผนพัฒนามหานครโคราช 2040 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่น�ำเสนอ

วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนารองรับการเติบโต ของเมืองโคราชในอนาคต ทั้งในระดับเมืองและในระดับโครงการ โดยมี กรอบการศึกษาอยู่ภายในเขตพื้นที่อ�ำเภอเมืองนครราชสีมาและพื้นที่โดย รอบ ทีม ่ ค ี วามสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม กับตัวเมือง ฉะนัน ้ การใช้ชอ ื่ โคราชในรายงานฉบับนีจ้ งึ หมายถึงพืน ้ ทีข ่ องตัว เมืองโคราชเท่านั้น และไม่รวมถึงส่วนอื่นๆ ของจังหวัดนครราชสีมา แผนพัฒนามหานครโคราช 2040 นีเ้ ป็นผลลัพธ์มาจากการลงพืน ้ ทีจ่ ริง การ ศึกษารวบรวมข้อมูล และการวางแผนโครงการโดยนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาค วิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ภายใต้กรอบการท�ำงานระยะเวลา 4 เดือน เพือ ่ วางเป้าหมาย ภาพการพัฒนาเมืองโคราชส�ำหรับปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583) อนึ่ง แผน พัฒนามหานครโคราช 2040 นี้ เป็นเพียงผลการศึกษาเพือ ่ การพัฒนาเมือง โดยนิสต ิ ฯ เพียงกลุ่มเดียว แต่การก�ำหนดแผนพัฒนาเมืองให้เป็นไปตามวิสย ั ทัศน์ที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ต้อง เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่อาศัยความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนทีเ่ กีย ่ วข้องกับการพัฒนาเมืองโคราช โดยมีภาครัฐหรือภาคี พัฒนาเมืองเป็นหน่วยงานกลางในการร่วมกันก�ำหนดทิศทาง หาความ สอดคล้องของการพัฒนาเมืองในแต่ละด้าน และผลักดันให้แผนดังกล่าวมี ผลบังคับใช้จริง โคราชเป็นเมืองทีม ่ ศ ี ก ั ยภาพและเปี่ยมไปด้วยโอกาสมากมาย เราจึงควรผลัก ดันให้เกิดการจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์พฒ ั นาเมือง โดยอาศัยความร่วมมือของ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทัว่ ไป เพือ ่ น�ำ ไปสู่การศึกษาพืน ้ ที่ ก�ำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ทจี่ ะท�ำให้ภาพการพัฒนา ตามวิสัยทัศน์เป็นไปได้จริง โคราชจึงจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการรองรับ การเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบน ั และพร้อมรองรับความเปลีย ่ นแปลงทีจ่ ะ เกิดขึ้นในอนาคต

5


มหานครโคราช 2040

สารบัญ คณะผู้จัดทำ�โครงการ ภาพรวมโครงการ สารบัญ

1 อนาคตกำ�หนดได้

สร้างภาพอนาคต ก�ำหนดแผนพัฒนาเมือง มองปัจจุบัน จินตนาการอนาคต ปัจจัยที่น�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอนาคต สัญญาณแห่งความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน กระบวนทัศน์ใหม่แห่งอนาคต

9

2 ความท้าทาย ศักยภาพ และโอกาส

35

3 แผนยุทธศาสตร์โคราช 2040

55

เมืองเก่าอ้างว้าง เมืองใหม่ขยายตัวไร้ทิศทาง วิกฤตบนทางแพ่งสู่กรุงเทพภิวัตน์ เปี่ยมคุณค่า แต่ขาดการเพิ่มมูลค่า ภาพอนาคตแบบไร้แผนการพัฒนา แผนยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์แผนพัฒนา ภาพอนาคตการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ เป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์สู่การพัฒนา กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ 4 พื้นที่ยุทธศาสตร์ พื้นที่ยุทธศาสตรที่์ 1 : สถานีรถไฟนครราชสีมา พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 2 : คูเมืองเก่า พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พื้นที่ย่านการศึกษา พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พื้นที่เมืองตามแนวถนนบายพาส พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 5 : พื้นที่ชานเมืองจอหอ พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 6 : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 7 : พื้นที่บริเวณต�ำบลหนองไข่น�้ำ พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 8 : สนามบินนครราชสีมา พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 9 : ศูนย์กระจายสินค้าสูงเนิน (ท่าเรือบกสูงเนิน)

6

2 5 6

75


5 โครงการพัฒนาตัวอย่าง

113

6 การดำ�เนินการ

273

1 โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ 2 โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล 3 โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่อง 4 โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ 5 โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะพลังงานสะอาด 6 โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม 7 โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ 8 โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว 9 โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ 10 โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 11 โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม 12 โครงการพัฒนาธุรกิจการค้าท้องถิ่นและที่อยู่อาศัยแบบผสมผสาน 13 โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง 14 โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง 15 โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ

ล�ำดับการพัฒนาโครงการ งบประมาณและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ล�ำดับโครงการด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก

282 283

7


มหานครโคราช 2040

8


อนาคตกำ�หนดได้ เมืองโคราชในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการสู่การเป็นเมืองกระจุกตัวเต็มไป ด้วยที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และแหล่งกิจกรรมทางสังคม เป็นศูนย์กลางแห่ง โอกาสที่มีประชากรหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะประชากรแฝง จากท้องถิ่นอื่นในจังหวัดและภูมิภาคอีสาน การเป็นเมืองกระจุกตัวจากการ เพิ่มขึ้นของประชากร น�ำพามาซึ่งผลกระทบเชิงลบอย่างมหาศาลเช่นเดียว กับหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก เช่น ค่าครองชีพในการอยู่อาศัยสูงขึ้น รถติด นานกว่าปกติ อากาศมีฝุ่นควัน ป่าไม้ถูกท�ำลายกลายเป็นพื้นที่เมือง ความ เหลื่อมล�้ำเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น การพัฒนาตามทิศทางโลกาภิวัฒน์ของเมือง โคราชที่เกิดจากวัฏจักรการผลิตและบริโภคโดยขาดการค�ำนึงถึง สิ่งแวดล้อม การจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ประเด็น ด้านสังคม ความผันแปรทางเทคโนโลยีประกอบกับมีโครงการขนาดใหญ่ ในอนาคตที่จะมาลงทุนในพื้นที่ ท�ำให้ผู้วางแผนยุทธศาสตร์ตระหนักถึง สภาวการณ์ใหม่ที่โคราชก�ำลังจะเผชิญ ยังไม่นับรวมปัจจัยอื่นในอนาคตที่ จะเป็นตัวก�ำหนดจุดเปลี่ยนให้กับพลวัตของเมือง โดยปัจจุบัน โคราชก�ำลัง พัฒนาตามแผนการพัฒนาที่ไร้ทิศทาง ขาดการบูรณาการ และอาจยังไม่ พร้อมรับมือกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป น�ำมาซึ่งปัญหาของเมืองที่เริ่ม ประจักษ์ให้เห็นแล้วในปัจจุบัน และคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต ภายใต้สภาวการณ์ที่จะผันผวนกว่าปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

9


มหานครโคราช 2040

10


จากวันที่เริ่มต้นวางแผนพัฒนา มหานครโคราช ไปจนถึงปี ค.ศ. 2040 หรืออีกราว 2 ทศวรรษ แท้จริงแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ไม่ยากหรือง่ายเกินกว่าจะ จินตนาการถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะ เกิดขึ้นกับเมืองโคราช ทั้งยังมีหลาย โครงการที่ต้องเริ่มลงมือทำ�เพื่อให้ภาพ อนาคตที่วาดฝันไว้ กลายเป็นจริง

11


มหานครโคราช 2040

ประตูชุมพล

เรื่องราวโคราชและ การเปลี่ยนแปลง

จากเดิมที่โคราชเป็นเมืองหน้าด่านให้กับกรุง ศรีอยุธยา สู่พื้นที่เชื่อมต่อที่ส�ำคัญระดับภูมิภาค และกลายมาเป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่ส�ำคัญของ การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยทุกวันนี้ ถนนในเขตคูเมืองเก่า

พื้นที่เมืองโคราชได้ขยายจากขอบเขตของคูเมือง ออกสู่พื้นที่ภายนอก และอ�ำเภออื่นๆ รอบด้าน อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน เมืองหลายแห่งทั่วโลกเริ่ม พยายามหาทางเลือกใหม่ในการพัฒนาเมือง อย่างยั่งยืนในยุคปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นไปที่การลด การสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพวิถีชีวิตและความ

ลานย่าโม ที่มา: ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราษฎร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

หลากหลายของกิจกรรมในพื้นที่ แต่โคราชยังคง เป็นเมืองที่พัฒนาตามกระแสโลกาภิวัฒน์แบบ เดิม ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุน โดยยังไม่ค�ำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและ สิ่งแวดล้อม เรื่อยมา ซ�้ำยังประสบกับความ ท้าทายใหม่จากเทคโนโลยีที่ก�ำลังพลิกโฉมวิถี ชีวิตคนเมืองทั่วโลก หากแต่เมืองอื่นๆ ได้จัดท�ำ

12


แผนการพัฒนาเมืองที่ค�ำนึงถึงภาพอนาคต และใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยก�ำหนดทิศทางการ พัฒนาเมืองที่เหมาะสมและมีความยั่งยืนส�ำหรับโลกาภิวัฒน์ยุคใหม่ น�ำไปสู่การสร้างศักยภาพใน การแข่งขัน พัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น การกระจุกตัวของเมืองหลายแห่งของไทย รวมไปถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่โดยรัฐ ยังคงขาดแผนการพัฒนาที่มองถึงภาพอนาคตที่จะต้องเตรียมการรองรับกับความผันผวนของ สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานรัฐของไทยจึงควรหยิบยกมาด�ำเนินการโดยเร่ง ด่วน เพื่อให้เมืองเหล่านั้นมีการพัฒนาอย่างเท่าทันกับยุคสมัย ทั้งนี้ โคราช เป็นพื้นที่หนึ่งที่มี ศักยภาพและสามารถเป็นต้นแบบในการจัดท�ำแผนการพัฒนาสู่อนาคต เนื่องจากกายภาพเมืองมี การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ในภูมิภาค มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ในปีพ.ศ. 2559 สูงที่สุดในภาคอีสาน มีนัยยะด้านโครงสร้างประชากรที่ส�ำคัญของไทยมี โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จากภาครัฐ แต่ที่ส�ำคัญคือ ยังขาดแผนการพัฒนา เมืองร่วมกันโดยค�ำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในอนาคต ซึ่งจะสามารถก�ำหนดจากการวิเคราะห์บริบทด้าน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยระบุปัญหาและต้นทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันควบคู่กับอุปสรรค และโอกาสในการพัฒนาสู่อนาคต น�ำไปสู่ประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพของ เมือง ก�ำหนดวิสัยทัศน์ และแผนยุทธศาสตร์ในพัฒนาเมืองโคราช ให้เป็นหมุดหมายที่สร้างการ รับรู้ ถึงเป้าหมายในการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน สร้างความต่อเนื่องและ สอดคล้องของทิศทางการพัฒนาสู่ภาพอนาคต แผนพัฒนามหานครโคราช 2040 ฉบับนี้ เป็นเพียงรายงานการศึกษาและจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ ที่ระบุทิศทางการพัฒนาส�ำหรับมหานครโคราชในปี ค.ศ. 2040 อย่างคร่าว โดยผู้วางแผน ยุทธศาสตร์หวังสร้างความตระหนักในประเด็นที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสู่อนาคตและความส�ำคัญของ การที่เมืองมีแผนพัฒนาที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือประสานงานระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น เอกชน ภาคี พัฒนาเมือง ประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ น�ำไปต่อยอดสู่การสร้างแผนยุทธศาสตร์ฉบับ จริงส�ำหรับมหานครโคราชที่มีรายละเอียดครอบคลุมทุกมิติ กระจายอ�ำนาจผ่านการสร้างการมี ส่วนร่วมของประชาชน และมีผลบังคับใช้หรือกลไกรองรับที่ท�ำให้สามารถด�ำเนินโครงการต่าง ๆ ตามแผนพัฒนาได้จริง เป็นเครื่องมือประสานความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายที่มีส่วนในการพัฒนา เมือง ลดความขัดแย้ง สร้างความเป็นธรรม และสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้กับเมือง ท่ามกลาง ความเปลี่ยนแปลงรอบด้าน เป็นการสร้างรากฐานเพื่อรองรับอนาคตที่ก�ำหนดไดตั้งแต่ปัจจุบัน

13


มหานครโคราช 2040

ผู้วางแผนยุทธศาสตร์หวังสร้าง ความตระหนักในประเด็นที่จะเป็นจุด เปลี่ยนสู่อนาคตและความสำ�คัญของ การที่เมืองมีแผนพัฒนาที่รัฐใช้เป็น เครื่องมือประสานงานระหว่างหน่วย งานท้องถิ่น เอกชน ภาคีพัฒนา เมือง ประชาชน และผู้มีส่วน เกี่ยวข้องอื่น ๆ นำ�ไปต่อยอดสู่ การสร้างแผนยุทธศาสตร์ ฉบับจริง

ศาลหลั กเมือง จังหวัดนครราชสีมา 14


สร้างภาพอนาคตกำ�หนดแผน พัฒนาเมือง แผน นโยบาย เป้าหมาย อนาคต

นโยบายการพัฒนาพื้นที่ประเทศไทย พ.ศ. 2600 ภายใต้โครงการวาง และจัดท�ำผังประเทศโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เสนอเส้นทางที่เชื่อมต่อกับเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจของจีน (One Belt One Road) โดยมีศูนย์กลางการพัฒนาของไทยอยู่ที่กรุงเทพฯ และ กระจายศูนย์กลางเศรษฐกิจไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ในแต่ละภาค เพื่อสร้าง โอกาสให้เกิดการกระจายการพัฒนา โดยมีโคราชเป็นเมืองล�ำดับที่ 1 ควบคู่กับเมืองอื่นในประเทศ เพื่อส่งเสริมเป้าหมายในการกระจายความ เจริญทั่วประเทศ โดยเริ่มมีความแน่นอนของโครงการรถไฟฟ้าที่เป็นจุด เริ่มต้นสร้างเส้นทางกระจายความเจริญดังกล่าวแล้วในปัจจุบัน ซึ่งในปี ค.ศ. 2040 หรืออีกราว 2 ทศวรรษนับจากวันที่เริ่มต้นวางแผนพัฒนา มหานครโคราช 2040 ฉบับนี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่ไม่ยากหรือง่ายเกินกว่า จะจินตนาการถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เป็นช่วงเวลาที่ผู้วางแผน ยุทธศาสตร์มั่นใจว่าโคราชจะวิวัฒน์ไปในทิศทางใหม่ที่จะแตกต่างจาก โคราชในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง สามารถก�ำหนดแผนล�ำดับการพัฒนา (phasing) ของโครงการที่เกิดจากแผนยุทธศาสตร์ได้ แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาเมือง เป็นการก�ำหนดแผนที่จะน�ำไปสู่เป้า หมายตามภาพอนาคตที่เมืองได้ก�ำหนดไว้ และเป็นการใช้อ�ำนาจทาง กฎหมายและมาตรการต่าง ๆ บังคับ ผลักดัน และส่งเสริมให้เกิดการ ด�ำเนินการจริง ผู้วางแผนยุทธศาสตร์จึงควรทราบถึงข้อดี-ข้อเสีย ของ พื้นที่ และทราบล่วงหน้าถึงบริบทอนาคตของเมืองจากปัจจัยด้านนโยบาย การพัฒนาและแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปัจจุบันสู่อนาคต โดย สมมติบริบทที่แตกต่างกันออกไปหลายทางเลือก ผ่านการสร้างภาพ อนาคตที่เกิดจากการวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียของบริบทปัจจุบัน สรรหาความ ท้าทาย โอกาสและศักยภาพ ภายใต้การคาดการณ์ปัจจัยความเป็นไปได้ ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงอย่าง แน่นอนและไม่แน่นอน โดยแผนพัฒนามหานครโคราช 2040 ได้น�ำเสนอ ภาพอนาคต 2 ด้านเพื่อเป็นทางเลือกของสถานการณ์ที่น�ำมาพิจารณาเพื่อ สร้างแผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ ภาพอนาคตแบบไร้แผนการพัฒนา และภาพ อนาคตการพัฒนาตามแผนฯ

15


มหานครโคราช 2040

ที่มา: ผังประเทศไทยปี พ.ศ.2600 กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย 16


มองปัจจุบัน จินตนาการอนาคต จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาส

การสร้างภาพอนาคตมหานครโคราชขั้นต้น ผู้วางแผนยุทธศาสตร์พิจารณา แก้ปัญหาความท้าทายจากการหาประเด็นที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรคต่อ การพัฒนา และน�ำศักยภาพที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาวิเคราะห์ความเป็น ไปได้ในการต่อยอด เพื่อสร้างประเด็นเบื้องต้นส�ำหรับการศึกษาแผน ยุทธศาสตร์ ควบคู่กับปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนอนาคตของโคราช การวิเคราะห์ตามหลักการ SWOT Analysis เป็นการระบุจุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness) ที่เป็นปัจจัยภายใน อยู่ภายใต้ การควบคุมของผู้วางแผนยุทธศาสตร์และภาคส่วนการพัฒนาเมือง รวมถึง โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ที่เป็นปัจจัยภายนอก อยู่ นอกเหนือการควบคุมของผู้วางแผนและภาคส่วนการพัฒนา ท�ำให้ทราบ ถึงประเด็นเบื้องต้นที่ควรค�ำนึงเพื่อการจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ภายในพื้นที่

17


มหานครโคราช 2040

จุดแข็งของโคราช (strength)

• ตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางการเชื่อมต่อระหว่าง กรุงเทพฯ ภาคอีสาน จีน และเวียดนาม • มีโครงข่ายคมนาคมที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อ และมีมาตรฐานค่อนข้างสูง • มีจ�ำนวนการค้าและการบริการเฉพาะด้านเป็น จ�ำนวนมาก • มีสถานศึกษาตั้งกระจุกตัวอยู่ในเมือง มีจ�ำนวน นักเรียนนักศึกษามากที่สุดในประเทศไทยเป็น อันดับที่ 2 • คูเมืองเก่าเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีมรดก ทางทัศนียภาพจากยุคโมเดิร์นเป็นจ�ำนวนมาก • ลานย่าโมเป็นพื้นที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ของ อีสาน • มีการรวมกลุ่มของภาคอุตสาหกรรม • มีพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ในเมือง • เป็นเมืองที่ก�ำลังเติบโต แต่ยังอยู่ในสภาวะที่ไม่ สายเกินกว่าจะควบคุมการพัฒนา 18

โอกาสของโคราช (opportunity)

• มีโครงการลงทุนด้านการคมนาคมจากรัฐ ได้แก่ โครงการรถไฟเชื่อมต่อจีนและโครงการทางด่วน บางปะอิน-โคราช • มีโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในเมืองที่ถูก เสนอโดยรัฐ รวมถึงมีสนามบินที่พร้อมเชื่อมต่อ ระหว่างภูมิภาคอื่น • มีโครงการลงทุนท่าเรือบกและแหล่งอุตสาหกรรม ใหม่ในอนาคต • มีการเติบโตของประชากรและคาดว่าประชากร จะหลั่งไหลเข้ามาหลังโครงการรถไฟฯเกิดขึ้น • จีนมีโอกาสเป็นมหาอ�ำนาจของโลก อีสานมี โอกาสเป็นมหาอ�ำนาจของไทย และโคราชมี โอกาสเป็นมหานครของอีสานได้ • การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปแบบโลกาภิวัฒน์ โดยโคราชได้รับประโยชน์จากการพัฒนาด้วย


จุดอ่อนของโคราช (weakness)

• ขาดแผนพัฒนาที่ระบุถึงเป้าหมายการเติบโตใน บริบทอนาคต • ขาดภาคีพัฒนาที่แข็งแกร่งและเกิดจากความร่วม มือของภาครัฐ เอกชน และประชาชน • เมืองโตอย่างแผ่ขยาย ไร้การควบคุมการเติบโต • การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่สอดคล้องกับศักยภาพ และความคุ้มค่า • พื้นที่เพื่อการทหารจ�ำกัดการแผ่ขยายของเนื้อ เมืองชั้นใน • ระบบขนส่งสาธารณะขาดประสิทธิภาพ กายภาพ เมืองไม่ส่งเสริมการเดิน จึงเกิดการใช้พาหนะ ส่วนตัวจ�ำนวนมาก

อุปสรรคของโคราช (threat)

• ประชากรที่เป็นเจ้าของที่ดินในเมืองย้ายออกไป อยู่นอกเมืองเนื่องจากราคาที่ดินในเมืองสูงขึ้น • สิทธิและโอกาสการพัฒนาตกเป็นของภาคเอกชน รายใหญ่จ�ำนวนมาก • เกิดการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้า (Trade War) ระหว่างเมืองในภูมิภาคอีสานและ จากประเทศเพื่อนบ้าน • เกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่าง ผันผวน

19


มหานครโคราช 2040

ปัจจัยที่นำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอนาคต ในการศึกษาปัจจัยขับเคลื่อนที่จะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ผู้วางแผนยุทธศาสตร์ใช้ การศึกษาตามหลักการวิเคราะห์ STEEP (STEEP Analysis) ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ด้านสังคม (Social) เทคโนโลยี (Technology) เศรษฐกิจ (Economy) สิ่งแวดล้อม (Environment) และนโยบาย (Policy) บนพื้นที่เมืองโคราช และน�ำปัจจัยดังกล่าวมาใช้ วิเคราะห์เพื่อวางแผนรองรับและแก้ปัญหาอนาคต ควบคู่กับความท้าทาย โอกาส และศักยภาพ ของเมือง เพื่อร่างภาพเป้าหมายในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อพัฒนาตามแผนฯ เปรียบเทียบ กับภาพอนาคตที่ปล่อยให้เมืองเติบโตอย่างไร้กรอบการพัฒนา โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความ เข้าใจให้ผู้จัดท�ำแผนยุทธศาสตร์เห็นภาพอย่างคร่าวของเป้าหมายและสิ่งที่ควรจัดการเพื่อหลีก เลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดแผนการพัฒนา พร้อมทั้งสร้างความรับรู้ให้ภาคเอกชนและ ประชาชนถึงภาพอนาคตและตระหนักถึงประโยชน์จากการจัดท�ำแผนดังกล่าว เพื่อจูงใจให้ทุกภาค ส่วนร่วมสนับสนุนให้มีแผนพัฒนาสู่ทิศทางที่ได้วางไว้ร่วมกัน ในกระบวนการวิเคราะห์พื้นที่เพื่อวางแผนพัฒนามหานครโคราช 2040 ทีมนิสิตฯ ผู้จัดท�ำแผน พัฒนาฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้วางแผนยุทธศาสตร์ (planner) และผู้ออกแบบโครงการ (designer) มีการจัด workshop เพื่อหาประเด็นที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคตและร่างภาพอนาคต ร่วมกัน โดยผู้จัดท�ำแผนพัฒนาฯ ทั้งหมดร่วมกันอภิปรายถึงประเด็นขับเคลื่อนการพัฒนาที่แบ่ง ตามปัจจัย 5 ด้าน (STEEP) ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกที่ได้รับการ ประเมินผลกระทบ (Impact) และความแน่นอน (Certainty) ที่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงของ อนาคตโคราช ซึ่งการศึกษาเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ผู้วางแผนยุทธศาสตร์มีความพยายาม ในการน�ำปัจจัยทั้งหมดที่มีอยู่เป็นจ�ำนวนมากมาพิจารณา แต่รายงานฉบับนี้จะกล่าวเฉพาะปัจจัย หลักที่ประเมินแล้วว่ามีผลกระทบสูง ทั้งที่มีความแน่นอนและไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของ มหานครโคราชในปี ค.ศ.2040 ดังนี้

กระบวนการ workshop หาปัจจัยขับเคลื่อนการ เปลี่ยนแปลงในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 20


สังคม (Social)

ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงและมีความความแน่นอนต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : - การพัฒนาสู่สังคมผู้สูงอายุ - คนรุ่นใหม่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยและท�ำงานในเมือง - ประชากรแฝงในเมืองมีจ�ำนวนมากขึ้น - ความเหลื่อมล�้ำด้านรายได้ของประชากรสูงขึ้น - สังคมมีความเป็นพหุวัฒนธรรมมากขึ้น ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงแต่มีความไม่แน่นอนสูงต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : - การเข้าถึงข้อมูลมหาศาลบนโลกดิจิทัล (Big Data) มีความง่ายขึ้น - สังคมสมมติจากโลกอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในทุกหย่อมหญ้า - ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารและก�ำหนดนโยบาย 21


มหานครโคราช 2040

(Technology)) เทคโนโลยี (Technology

ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงและมีความความแน่นอนต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : - การใช้ฐานข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อประโยชน์ของประชากร - การเพิ่มขึ้นของนวัตกรรมสีเขียวในภาคอุตสาหกรรม - เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ - ความก้าวหน้าทางวิวัฒนาการการแพทย์ ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงแต่มีความไม่แน่นอนสูงต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : ปัจจัยที-่มีผ เทคโนโลยี วกลาง (Platform) ่ยนข้อมูล : ลกระทบสูเป็งน แต่ตัม ีความไม่ แน่นอนสูงต่ในการแลกเปลี อการเปลี่ยนแปลงอนาคต การและกิ จกรรมของผู ้คนในการแลกเปลี่ยนข้อมูล - ประกอบกิ เทคโนโลยีจเป็ นตัวกลาง (Platform) - ประกอบกิ การใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิ ษฐ์ใ้คนชี จการและกิ จกรรมของผู น วิตประจ�ำวัน - การเดิ ทางและเมื องพลั งงานสะอาด การใช้น เทคโนโลยี ปัญ ญาประดิ ษฐ์ในชีวิตประจ�ำวัน - ระบบรถยนต์ อิสระอ(Autonomous การเดินทางและเมื งพลังงานสะอาด Car System) - ระบบรถยนต์อิสระ (Autonomous Car System) 22


เศรษฐกิจ (Economy)

ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงและมีความความแน่นอนต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : - เศรษฐกิจดิจิทัล การใช้สกุลเงินดิจิทัล และระบบเศรษฐกิจแบบ Blockchain - การเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ - ธุรกิจสายการบินราคาประหยัด - เศรษฐกิจภูมิภาคไทย-จีน-เวียดนาม - เศรษฐกิจ Startup และธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) - ธุรกิจการวิจัยและพัฒนา (R&D) - ตลาดการศึกษาและอาชีพเฉพาะทาง ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงแต่มีความไม่แน่นอนสูงต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : - กระแสการบริโภคอย่างรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม - การต่อยอดจากธุรกิจท้องถิ่นให้มีมูลค่าสูง - สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) 23


มหานครโคราช 2040

สิ่งแวดล้อม (Environment)

ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงและมีความความแน่นอนต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : - การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมของโลก - การขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) - การน�ำขยะและของเสียมาใช้ซ�้ำ - การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงแต่มีความไม่แน่นอนสูงต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : - กระแสการฟื้นฟูเมืองชั้นใน (Urban Renewal Trend) - การพัฒนาโดยลด Carbon Footprint - การส่งเสริมการใช้พาหนะพลังงานสะอาด - เมืองพลังงานสะอาดและเมืองหมุนเวียนการใช้พลังงาน 24


นโยบาย (Policy)

ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงและมีความความแน่นอนต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : - การลงทุนรถไฟความเร็วสูงและระบบราง - โครงการพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ (Korat Smart City) - การลงทุนสายการบินราคาประหยัด (Low-cost Airlines) - โครงการพัฒนาท่าเรือบกนครราชสีมา ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงแต่มีความไม่แน่นอนสูงต่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต : - โครงการเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจจีน (One Belt One Road) - โครงการพัฒนาวงแหวนรอบเมือง - โครงการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์

25


มหานครโคราช 2040

26


สัญญาณแห่งความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน พลิกวิกฤต ใช้โอกาส สู่ยุทธศาสตร์แห่งความหวังใหม่ โลกปัจจุบัน คือยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง สังเกตได้จากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีการ ย้ายฐานการผลิตและบริโภคจากระดับประเทศ มาสู่ระดับภูมิภาค ผู้คนใช้ชีวิตเป็นอิสระจาก สังคมมากขึ้น แต่กลับยิ่งพึ่งพาเทคโนโลยีมาก ขึ้นเช่นกัน สภาพแวดล้อมได้รับผลกระทบที่เลว ร้ายและทวีความรุนแรงขึ้นในทุกขณะซึ่งล้วน เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ การพัฒนาตาม โลกาภิวัฒน์ท�ำให้ประชากรส่วนใหญ่ของโลกมี ความต้องการที่จะใช้ชีวิตในเมือง เมืองจึงเป็น พื้นที่กระจุกตัวของแหล่งงาน มีประชากรย้าย เข้ามาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับความต้องการใน การใช้ชีวิตบนพื้นที่แห่งโอกาส แต่ในขณะ เดียวกันก็มาพร้อมกับเงื่อนไขของทรัพยากรที่ มีอยู่อย่างจ�ำกัด การบริหารจัดการเมืองจึง เป็นกระแสการพัฒนาที่ส�ำคัญของโลกใน การน�ำมาบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอย่าง จ�ำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งเพิ่ม โอกาสในการเข้าถึงของประชากรส่วนใหญ่ที่ อยู่รวมกันในพื้นที่เมือง ประเด็นส�ำคัญของการพัฒนาเมืองในยุค ปัจจุบันที่แผนพัฒนามหานครโคราช 2040 น�ำมาใช้ คือการควบคุมการพัฒนา เนื่องจาก ทิศทางการพัฒนาเมืองนับตั้งแต่หลังยุคสมัย ใหม่ (Modern Period) เน้นการก่อสร้างที่ รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ใน การใช้สอยพื้นที่ ท�ำให้เมืองแผ่ขยายออกไปบน พื้นที่เกษตรกรรมรวมถึงพื้นที่สีเขียวย่าน ชานเมือง และส่งผลกระทบทางลบอื่น ๆ เรื่อย มาอย่างมหาศาล เช่น การจราจรที่ก่อให้เกิด มลพิษ การขาดแคลนสาธารณูปโภคสาธารณูปการย่านชานเมือง การลงทุนของรัฐ

ที่ขาดทุนเพราะไม่มีผู้ใช้งาน ปัญหาด้านสิ่ง แวดล้อม ความเหลื่อมล�้ำด้านการใช้ประโยชน์ ที่ดิน เป็นต้น การควบคุมการเติบโตของเมือง ไม่ให้แผ่ขยายอย่างไร้ทิศทางโดยภาครัฐจึงเป็น มาตรการเร่งด่วนที่ควรมีผลบังคับใช้เพื่อการ บริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างทั่วถึงในยุคที่มี การเติบโตอย่างรวดเร็ว และสร้างประสิทธิภาพ ให้กับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เกิด ความคุ้มค่า ทั้งนี้ การน�ำหลักการควบคุมการ พัฒนาเมืองมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่โคราช ควร ได้รับการศึกษาเพิ่มเติมจากหน่วยงานรัฐ มีการ ประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และด�ำเนิน การอย่างค่อยเป็นค่อยไปผ่านมาตรการต่าง ๆ ที่สร้างความเป็นธรรมให้ทุกฝ่าย นอกจากนี้ หลายเมืองทั่วโลกยังใช้การฟื้นฟูเมือง (Urban Renewable) ที่ประกอบไปด้วยการพัฒนา ฟื้นฟูเมือง (Urban Redevelopment) การ ฟื้นฟูบูรณะ (Urban Rehabilitaion) และ การอนุรักษ์ฟื้นฟูเมือง (Urban Conservation) เป็นเครื่องมือจัดการการใช้ประโยชน์ พื้นที่เมืองให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ เมืองชั้นในที่มีประชากรหนาแน่นมากขึ้นทุก ขณะ โดยรายละเอียดของการใช้เครื่องมือดัง กล่าวเพื่อการฟื้นฟูเมืองจะระบุไว้ในโครงการ ด�ำเนินการแต่ละแห่ง (ในเนื้อหาพื้นที่ ยุทธศาสตร์) เพื่อสร้างความคุ้มค่า เหมาะสม และรองรับกับความเปลี่ยนแปลงทีจ่ ะเกิดขึ้นกับ อนาคตเมืองโคราชได้ทัน

27


มหานครโคราช 2040

คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่ง สหประชาชาติ (United Nations Dpartment of Social and Econoic Affairs) ประเมินว่า ประชากรเมืองต่าง ๆ ในประเทศไทย ภายในปี ค.ศ.2040 จะมีจำ�นวน 65.4% ของประชากรไทยทั้งหมด มี อัตราที่เพิ่มขึ้นกว่า 11.8% เมื่อเทียบ กับปีปัจจุบันที่ท�ำการศึกษา (ค.ศ. 2019) นับเป็นยุคของการเติบโต และการกระจุกตัวของเมืองใน ประเทศไทย หากประเมินโดยการ ใช้อัตราส่วนการเติบโตของ ประชากรเมืองของไทยอ้างอิงจาก องค์การสหประชาชาติ เปรียบเทียบ กับข้อมูลส�ำมะโนประชากรของไทย ในปี พ.ศ.2553 จะพบว่าประชากร ในเขตเทศบาลทั้งหมดของอ�ำเภอ เมืองนครราชสีมา เพิ่มขึ้นจาก 213,577 คน ในปี พ.ศ.2553 เป็น 234,934 คน ในปี พ.ศ. 2561 (ปีปัจจุบัน) และ 260,137 คน ในปี พ.ศ.2583 มีปริมาณเพิ่ม ขึ้นราว 25,203 คนนับจากปี ปัจจุบัน จ�ำนวนดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ บ่งบอกถึงการอพยพเข้ามาอย่าง มหาศาลของคนจ�ำนวนมากที่ ต้องการที่อยู่อาศัยและแหล่งงาน โดยยังไม่นับการลงทุนโครงการ ขนาดใหญ่ในโคราชของรัฐเพื่อ ดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนและ ประชากรที่จะเข้ามาอยู่ในเมือง

สัดส่วนประชากรทั้งหมด (ร้อยละ)

ประชากรชนบท

ประชากรเมือง

ที่มา: แผนภูมิแสดงสัดส่วนประชากรเมืองและชนบท (United Nations, DESA)

28


65.4%

ปี 2040 (ค.ศ.)

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ประชากรของไทยในปัจจุบันเริ่มบ่ง บอกถึงสัญญาณของการเข้าสู่สังคม สูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และจะ ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) และสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในปี พ.ศ.2564 และ พ.ศ.2574 ตาม ล�ำดับ ภาพของประชากรเมืองของ ไทยในปี ค.ศ.2040 (พ.ศ.2575) จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเป็น เมืองที่ต้องรองรับกับสังคมสูงวัย ซึ่ง เป็นเมืองที่มีพลเมืองที่มีความ ต้องการพิเศษ เมืองที่ดีย่อมมี กายภาพที่ตอบรับกับความ เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งโคราชเป็น อีกเมืองหนึ่งที่มีวัฏจักรที่ก้าวเข้าสู่ สังคมสูงวัยเช่นเดียวกัน แต่จะมี โครงสร้างประชากรวัยท�ำงานที่ อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นจ�ำนวน มากจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่ สร้างแหล่งงานให้กับคนโคราชตาม ภาพอนาคตที่ผู้วางแผนยุทธศาสตร์ คาดการณ์ไว้ แม้จ�ำนวนการเพิ่มขึ้น และโครงสร้างประชากรในอนาคต อาจยากที่จะคาดการณ์แนวโน้มว่า จะเป็นไปตามที่องค์การสหประชา ชาตประเมินิ แต่จากบริบทและ โอกาสจากความเปลี่ยนแปลง ท�ำให้ ผู้วางแผนยุทธศาสตร์สามารถระบุ ได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงประชากร หลักหมื่นที่เข้ามาอยู่อาศัยและ ท�ำงาน ในโคราชภายในปี 2040 อย่างแน่นอน

29


มหานครโคราช 2040

30


กระบวนทัศน์ใหม่แห่งอนาคต อนาคตเมืองเปลี่ยนไป ประชากรไทยเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัฒน์ในยุค 2040 จะมีภาพการใช้ชีวิต ของประชากรในเมืองใหญ่ทั่วโลกที่ เปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ เป็นยุค สมัยแห่งโลกาภิวัฒน์แบบดิจิทัล มนุษย์มีอิสระ เสรีด้านการใช้ชีวิตและประกอบธุรกิจ เกิด วิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ส่งผล ให้ทั่วโลกร่วมมือกันพัฒนาไปในทิศทาง เดียวกัน คือ เพื่อการพยุงสมดุลต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเกิดการสร้างอาณานิคมดิจิทัล เพิ่มเติมจากสงครามการค้าภายในภูมิภาคใน ปัจจุบัน ซึ่งจะครอบครองตลาดผู้ใช้งาน อุปกรณ์และข้อมูลดิจิทัลทั่วโลก เกิดการน�ำ ข้อมูลมหาศาลไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจและ สังคม เกิดการแข่งขันกันด้านข้อมูลและมีการ คิดค้นสิ่งใหม่ ผู้ที่น�ำข้อมูลไปใช้ให้เกิด ประโยชน์หรือคิดค้นสิ่งใหม่จะเป็นผู้ได้เปรียบ ไทยมีสิทธิ์ที่จะตกเป็นหนึ่งในอาณานิคมดิจิทัล ได้หากยังไร้แผนการพัฒนาที่ผลักดันการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์หรือสามารถ สรรค์สร้างสิ่งใหม่ให้โลกได้ ผู้คนจะพึ่งพาระบบ ที่อิงกับศูนย์กลางน้อยลงทั้งด้านอ�ำนาจบริหาร และการบริโภค เทคโนโลยีอัจฉริยะอัตโนมัติ ต่าง ๆ จะเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตแทบ ทุกด้าน ความจ�ำเป็นในการเดินทางจะลดลง การประกอบการทางธุรกิจจะมีการน�ำ Internet of things (IoT) เข้ามาแบ่งเบาภาระของ มนุษย์ การพัฒนาแหล่งข้อมูลในเชิงพาณิชย์จะ เพิ่มการเข้าถึงแหล่งความรู้มากขึ้น ผู้คนจะ ขวนขวายหาความรู้อย่างรอบด้านเพื่อเพิ่ม ศักยภาพในการท�ำงานของตนให้แข่งกับ เทคโนโลยีได้ การใช้ชีวิตจะมีความยืดหยุ่นและ เป็นอิสระ คนจะมีทางเลือกที่หลากหลายเพื่อ สร้างความสุข และเสรีให้กับตน

ประชากรในประเทศไทย (อ้างอิงข้อมูลจาก คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่ง สหประชาชาติ) คาดว่าจะมีจ�ำนวน 68.3 ล้าน คนในปี ค.ศ.2040 ลดลงจากปี ค.ศ.2019 จ�ำนวน 1 ล้านคน แต่กลับมีประชากรอยู่อาศัย ในเมือง 44.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2019 จ�ำนวนกว่า 7.5 ล้านคน นับเป็น ศตวรรษแห่งความเป็นเมืองอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ของโลก ผู้คน ต่างมองหาโอกาสและช่องทางในการสร้าง ความมั่นคงในชีวิตโดยการเข้ามาท�ำงานใน เมือง เนื่องจากเป็นพื้นที่กระจุกตัวของแหล่ง งาน รายได้ และโอกาส โดยเฉพาะโคราชที่ใน ปัจจุบันมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาค รัฐ เชื่อมโยงกับภูมิภาคผ่านโครงข่ายเศรษฐกิจ ของประเทศที่จะดึงดูดการเติบโตของประชากร อย่างแน่นอน และจะมีการพัฒนากระจายเข้า มาจากกรุงเทพฯ และประเทศจีน พฤติกรรม คนเมืองจะเปลี่ยนไปตามกระแสโลกมากขึ้น หากยังปล่อยให้การพัฒนาเป็นไปอย่างอิสระ เช่นปัจจุบัน อาจเป็นเหมือนการปล่อยให้ก้อน เนื้อร้ายเติบโตไปเรื่อย ๆ จนวันหนึ่งต้องเผชิญ กับความไม่คุ้นเคยกับสภาวการณ์ใหม่จากการ เติบโตที่ไร้ทิศทาง และปัญหาจากการพัฒนาที่ ไม่สอดคล้องกันของหลายฝ่าย เกิดความขัด แย้งและสิ้นเปลืองทรัพยากร อีกทั้งยังสร้าง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประชากรเมืองอาจ ขาดแคลนน�้ำ ไฟ สาธารณูปโภค และมีค่าครอง ชีพที่สูงส�ำหรับการด�ำรงชีพในเมือง คล้ายกับ การที่เนื้อร้ายย้อนกลับมาท�ำลายร่างกายใน ที่สุด

31


มหานครโคราช 2040

อีสานมีแนวโน้มและศักยภาพมาก พอในการเป็นภูมิภาคมหาอำ�นาจ ของไทยในอนาคต โดยโคราชมีสิทธิ์ เติบโตเป็นเมืองหลวงของภูมิภาค

หอการค้าจังหวัดภาคอีสานระบุว่า อีสานเป็น ภูมิภาคที่มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค การเกษตรมากกว่าครึ่งหนึ่งของไทย มีอัตรา เติบโตด้านการค้าการลงทุนสูงขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 สูงถึง 40% ในขณะที่ค่าเฉลี่ย ของทั้งประเทศอยู่ที่ 23% รวมทั้งยังมีพื้นที่ ชายแดนที่สนับสนุนการค้าขายกับประเทศ เพื่อนบ้านที่สร้างเศรษฐกิจมหาศาลให้กับไทย มีอัตราการจับจ่ายใช้สอย รวมถึงศักยภาพจาก การเชื่อมต่อกับจีนและเวียดนามในอนาคต ผู้วางแผนยุทธศาสตร์จึงวิเคราะห์ว่าอีสานมี แนวโน้มและศักยภาพมากพอในการเป็น ภูมิภาคมหาอ�ำนาจของไทยในอนาคต โดย โคราชมีสิทธิ์เติบโตเป็นเมืองหลวงของภูมิภาค เนื่องจากนัยยะด้านประชากรและตัวเลข ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดนครราชสีมาที่มี ปริมาณสูงที่สุดในภาคอีสาน รวมถึงที่ตั้งทาง ยุทธศาสตร์ที่ดีและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่หลั่งไหลเข้ามาในทศวรรษปัจจุบัน 32

การมีแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาเมืองด้วย แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ประกอบกับการมองภาพอนาคตผ่านการสร้าง ภาพอนาคต การวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของพื้นที่ และปัจจัยที่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงเพื่อ สร้างแผนยุทธศาสตร์ที่แสดงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย นโยบายและโครงการพัฒนาพื้นที่ จะเป็นเครื่องมือที่เป็นหมุดหมายการพัฒนาให้ กับเมือง สร้างความพร้อมให้กับการแข่งขัน ด้านการลงทุน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถสนองความต้องการของประชากร ควบคู่กับการจัดการทรัพยากรให้มี ประสิทธิภาพ เป็นหลักการพัฒนาเมืองควบคู่ กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ตอบเป้าหมายของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายการพัฒนาพื้นที่ประเทศไทย พ.ศ. 2600 กฎบัญญัติแห่งสหประชาชาติ และแนว โน้มความผันผวนของโลกได้


33


มหานครโคราช 2040

34


ความท้าทาย ศักยภาพ และโอกาส ความท้าทาย เมืองเก่าอ้างว้าง เมืองใหม่ขยายตัวไร้ทิศทาง วิกฤตบนทางแพ่ง สู่กรุงเทพภิวัตน์ เปี่ยมคุณค่า แต่ขาดการเพิ่มมูลค่า

ศักยภาพและโอกาส การเชื่อมต่อระดับเมืองและระดับภูมิภาค โอกาสจากจีนก�ำลังมาโคราชต้องคว้าไว้ เมืองนวัตกรรมการเกษตร สังคมอายุยืน อุตสาหกรรมจากวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งอีสาน

35


มหานครโคราช 2040

ความท้าทาย

เมืองเก่าอ้างว้าง เมืองใหม่ขยายตัวไร้ทิศทาง ประกอบด้วย 5 ประเด็น ดังนี้ 1. การโตของเมืองใหม่ที่แผ่ออกอย่างไร้ทิศทาง 2. ธุรกิจซบเซา 3. รายได้คนโคราช ไม่พอซื้อบ้านโคราช 4. เมืองขยายน�้ำไม่พอ 5. ขยะล้น คนเมืองเพิ่ม

36


การโตของเมืองใหม่ที่แผ่ออกอย่างไร้ทิศทาง

เมืองหลักหลายเมืองในไทยก�ำลังประสบปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) ซึ่งโคราชก็เป็นหนึ่งในเมืองที่ก�ำลังเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน เนื่องจากมีประชากรมาก เป็นอันดับ 2 ของประเทศ (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,2561) โดยเฉพาะในเขต อ�ำเภอเมืองที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลต่อการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ด้านการอยู่อาศัย เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่มากขึ้น จึงเกิดโครงการหมู่บ้านจัดสรรขึ้นกว่า 40 โครงการ ในปีที่ผ่านมา (Baania,2561) ส่งผลให้มีการขยายตัวของเนื้อเมืองตามถนนสายหลัก ยิ่งไปกว่า นั้นสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ ด้านพาณิชยกรรมและการบริการก็มีการขยายตัวตามแหล่งที่ อยู่อาศัย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมืองก�ำลังขยายตัวเข้าไปในเขตพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่สีเขียว ซึ่ง บางแห่ง เป็นพื้นที่นอกกรอบแนวทางการพัฒนาที่วางไว้ ท�ำให้ส่งผลต่อการท�ำลายสิ่งแวดล้อม และปัญหาอื่น ๆ ตามมาจากการอยู่อาศัยในบริเวณที่ขาดการวางแผน ในขณะเดียวกัน ประชากร ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ตลาดอสังหาริมทรัพยในโคราชเกิดการขยายตัว ออกไปตามถนนสายหลักอย่างไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงที่ใด

37


มหานครโคราช 2040

ธุรกิจซบเซา

คูเมืองเก่าโคราชเคยมีบทบาทเป็นศูนย์กลางทาง พาณิชยกรรมของจังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ อาศัยอยู่นอกพื้นที่ต่างเดินทางเข้ามาท�ำธุรกรรมและ จับจ่ายใช้สอย แต่เมื่อเวลาผ่านไปมีการพัฒนาให้เกิด ความเป็นเมืองมากขึ้น โดยการพัฒนาเกิดขึ้นบริเวณ รอบนอกของพื้นที่คูเมืองเก่า มีการลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาด ใหญ่ตลอดถนนมิตรภาพ เช่น ศูนย์การค้าเทอร์มิ นอล 21 และเซนทรัลพลาซ่า ทั้งสองโครงการนี้ ดึงดูดผู้ประกอบการทั้งการค้าปลีก ค้าส่ง สถาน บันเทิงรวมไปถึงร้านอาหารต่าง ๆ เกิดเป็นศูนย์กลาง พาณิชยกรรมใหม่ ด้วยเหตุนี้ธุรกิจการค้าในคูเมือง เก่าจึงได้รับผลกระทบรุนเเรง ท�ำให้การค้าซบเซา มูลค่าทางเศรษฐกิจลดลง เมื่อเทียบข้อมูลการ ประมาณการของส�ำนักงานคลังจังหวัดนครราชสีมา พบว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่คูเมืองเก่าปี 2559 มีมูลค่า 5,500 ล้านบาท ส่วนปี 2561 มูลค่าทาง เศรษฐกิจอยู่ที่เพียง 4,500 ล้านบาท ประกอบกับ การส�ำรวจตึกแถวและร้านค้าในพื้นที่คูเมืองเก่า พบ ว่ามีการประกาศขายหรือให้เช่าหรือเซ้งในทุกๆบล๊ อก(block) สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจการค้าในพื้นที่ คูเมืองเก่าเริ่มซบเซาลงจนน�ำไปสู่ความอ้างว้างใน เมืองเก่า

38

รายได้คนโคราช ไม่พอซื้อบ้านโคราช

ภาคเอกชนนอกจากจะลงทุนโครงการด้านพาณิชยกร รมแล้ว ยังมีการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยด้วย ทั้ง โครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ตั้งแต่ปี 2556 เรื่อยมาจนปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนา โครงการที่อยู่อาศัยเป็นจ�ำนวนมาก โครงการส่วน ใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ชานเมือง ซึ่งในแต่ละ ท�ำเลจะมีราคาที่แตกต่างกันไปตามศักยภาพของ ท�ำเล โดยรวมแล้วที่อยู่อาศัยที่ถูกพัฒนาขึ้นมีราคา เฉลี่ยที่ถูกที่สุด คือประมาณ 2.3 ล้านบาท ในย่าน ค่ายสุรนารี แต่เมื่อย้อนกลับมาดูรายได้เฉลี่ยของคน โคราชต่อเดือนต่อครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ 28,000 - 34,000 บาท ถ้าต้องการที่จะกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่ อาศัย จะได้วงเงินกู้ประมาณ 1.7 ล้านบาท สะท้อน ให้เห็นว่าคนโคราชส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถใน การซื้อที่อยู่อาศัย เพราะที่อยู่อาศัยมีราคาสูง แม้แต่ ในพื้นที่เมืองเก่า ยิ่งตอกย�้ำความเป็นเมืองเก่า อ้างว้างเพราะคนไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ได้หรือ สามารถซื้อได้ แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ชานเมืองที่ไกลออก ไปอยู่อาศัยในพื้นที่เมืองใหม่ที่ขยายตัวไร้ทิศทาง


เมืองขยาย น�้ำไม่พอ

น�้ำ คือสิ่งจ�ำเป็นในการด�ำรงชีวิตของทุกคนไม่ว่าจะ เพื่อการอุปโภคหรือบริโภค ระบบการบริหารจัดการ น�้ำจึงถือเป็นเรื่องส�ำคัญ ในปัจจุบันพบว่าเทศบาล นครนครราชสีมาประสบปัญหาน�้ำที่ไม่เพียงพอต่อ จ�ำนวนประชากรซึ่งเป็นปัญหาที่ควรตระหนักถึงอย่าง มากเนื่องจากในอนาคตมีแนวโน้มการขยายตัวของ เศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นประชากรแต่ระบบการ จัดการน�้ำยังไม่สามารถที่จะประเมินปริมาณความ ต้องการใช้น�้ำได้อย่างแม่นย�ำอีกทั้งยังเกิดปัญหาน�้ำ สูญเสียซึ่งในระบบมีค่าเฉลี่ยของปี 2538-2556 อยู่ที่ 39.1เปอร์เซ็นต์ (วิทยานิพนธ์ : การท�ำนาย ความต้องการน�้ำและการประเมินขีดความสามารถ ระบบโครงข่ายท่อส่งน�้ำประปาของเทศบาลนคร นครราชสีมา, 2557) โดยสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิด ปริมาณน�้ำสูญเสียนั้นมาจากระบบท่อที่ยังไม่มี ประสิทธิภาพและระยะทางที่ไกลในการจัดส่งน�้ำส่ง ผลให้ต้องใช้เงินทุนจ�ำนวนมากในการปรับปรุงและ ขยายระบบการจัดการน�้ำให้สอดคล้องกับการขยาย ตัวของเมืองโดยเฉพาะรูปแบบการพัฒนาเมือง ปัจจุบันที่เป็นการขยายตัวของเมืองในแนวราบที่ส่ง ผลให้เกิดปัญหาการจัดการน�้ำในระยะยาว

ขยะล้น คนเมืองเพิ่ม

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เกิดปัญหาขยะล้นเมือง เป็น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมือง มีปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นจ�ำนวนที่มาพร้อมการเจริญ เติบโตของเมืองและการเพิ่มขึ้นของประชากร “ตอน นี้ขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ไม่มีที่ทิ้งแล้ว และต้องล�ำเลียงขนไปยังโรงงาน ปูนซีเมนต์ใน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี แทน โดยขยะ เหล่านั้นเราประสานให้โรงงานปูนซีเมนต์ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรีช่วยเหลือ น�ำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ทดแทนถ่านหินเพื่อเป็นการบรรเทาไปก่อน” (นาย บุญเหลือ, 2560) และเมื่อพิจารณาในส่วนของ ปริมาณการใช้ขยะของประชากรในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.81 กก.ต่อคนต่อวันสูงกว่า ค่าการอัตราการเกิดขยะมูลฝอยมาตรฐานของ ทั้งนี้ ปัญหาด้านการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และอัตราการเกิดขยะที่มากเกินไป เป็นปัจจัยที่ท�ำให้ “ขยะล้นเมือง” ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรตระหนักถึง หากมี การเติบโตของเมืองในอนาคต

39


มหานครโคราช 2040

ความท้าทาย

วิกฤตบนทางแพร่ง สู่กรุงเทพภิวัตน์ กรุงเทพภิวัตน์ ผู้วางแผนยุทธศาสตร์ต้องการให้ความหมายว่า เป็น วิวัฒนาการของเมืองตามการพัฒนาของกรุงเทพฯ ที่ขาดแผนการ พัฒนาที่มีทิศทางและบูรณาการทุกภาคส่วน ทำ�ให้เกิดปัญหาจากการ พัฒนาในลักษณะนี้ตามมาอย่างมากมาย ประกอบด้วย 4 ประเด็น ดังนี้ 1. ขนส่งสาธารณะไม่ดึงดูด ให้คนใช้งาน 2. โครงสร้างพื้นฐาน ทำ�ให้การเดินและปั่นลำ�บาก 3. พื้นที่กึ่งสาธารณะ คนอยากใช้ พื้นที่สาธารณะ ไร้คนมาืา 4. ฝุ่นควันรถยนต์ กระทบคนอยู่อาศัย

40


ขนส่งสาธารณะไม่ดึงดูดให้คนใช้งาน

“รถสองแถว” เป็นบริการขนส่งสาธารณะหลักใน พื้นที่เมืองโคราช มีเส้นทางมากถึง 20 สาย แต่ละสายจะพาเราเข้าสู่สถานที่ส�ำคัญของเมือง ทั้ง ตลาด วัด สถานที่ราชการและปลายทางอีกหลาย แห่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน แต่ใน ปัจจุบัน ปัญหาความเป็นกรุงเทพภิวัตน์เริ่ม แสดงออกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพใน การให้บริการที่ลดน้อยลง การไม่มีเวลาและจุดจอดที่ ชัดเจน ปัญหาการเปลี่ยนเส้นทางวิ่งเองโดยไม่ใช้เส้น ทางเดิม หรือไม่มีเส้นทางใหม่ที่ครอบคลุมการเติบโต ของเมือง หรือแม้กระทั่งการไม่ปรับตัวการให้บริการ ตามยุคสมัย สิ่งเหล่านี้ท�ำให้คนเลือกที่จะไม่ใช้บริการ ผู้คนต่างหันไปใช้รถยนต์ส่วนตัว เพราะ ง่าย สะดวก และสบายใจกว่าการเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะ สุดท้ายสิ่งที่ตามมาคือปัญหาการจราจรของเมืองที่ สะท้อนถึงความเป็นกรุงเทพอย่างเห็นได้ชัด แต่การ ให้บริการขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพและเพียงพอ ต่อความต้องการของคนเมืองเป็นสิ่งที่สะท้อน ศักยภาพและการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งของ เมืองนั้น ๆ และที่ส�ำคัญที่สุดคือ การสะท้อนถึงความ ค�ำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน และการเชื่อม โยงกิจกรรมเมืองผ่านการให้บริการขนส่งสาธารณะ

โครงสร้างพื้นฐาน ทำ�ให้การเดินและปั่น ลำ�บาก

สัณฐานของเขตเมืองเก่าโคราช มีขอบเขตของเมือง และที่ตั้งสถานที่ส�ำคัญในแต่ละจุดเหมาะสมกับระยะ เดินของคนไทย รูปแบบผังของเมืองเก่ามีลักษณะ คล้ายรูปทรงตาราง ท�ำให้การเชื่อมต่อของทางเท้าใน พื้นที่ สามารถสนับสนุนการลงเดินทางโดยการเดิน และพาหนะพลังงานสะอาดได้อย่างลงตัว แต่สิ่งที่ ท�ำให้คนโคราชมองข้ามทางเลือกขั้นพื้นฐานนี้ไป คือ สาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ส่งเสริมการใช้งาน บริเวณทางเท้าในหลายจุดมีองค์ประกอบที่ไม่พึง ประสงค์อย่างเช่น รถมอเตอร์ไซค์ สินค้าที่ตั้งบริเวณ หน้าร้าน แผงลอยที่ขาดการบริหารจัดการ รวมถึง ด้านความปลอดภัยที่ในช่วงเวลากลางคืนเกิดความ เปลี่ยวขึ้นหลายพื้นที่ คุณภาพของทางเท้าและความ สะอาดก็ไม่สามารถตอบสนองทางเลือกพื้นฐานของ คนโคราชได้ ท�ำให้การใช้งานทางเท้าในเขตเมืองมี ปริมาณน้อย ขนส่งสาธารณะก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีพอ การใช้รถส่วนตัวที่จึงเป็นทางออกของปัญหานี้ และ ผลที่ตามมาจากการขาดการเดินในเมืองที่ส�ำคัญ คือ ความไม่ต่อเนื่องของกิจกรรมระหว่างทางซึ่งเป็นส่วน หนึ่งที่ท�ำให้เมืองมีความซบเซาลง

41


มหานครโคราช 2040

พื้นที่กึ่งสาธารณะ คนอยากใช้ พื้นที่สาธารณะ ไร้คนมา

ในอดีต สวนสาธารณะ คือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนเมือง มีกิจกรรมมากมายเกิดขึ้น ทั้งการออกก�ำลังกาย นันทนาการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการติดต่อทางสังคม แต่ใน ยุคที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองเปลี่ยนไป พื้นที่ที่คนเลือกใช้งานในความหมายของความ เป็นพื้นที่สาธารณะ กลับไม่ใช่สวนสาธารณะเช่นเดิม โคราชก�ำลังพบเจอกับสถานการณ์นี้เช่นกัน ความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม ท�ำให้คนมองข้ามพื้นที่สาธารณะที่แท้จริงของเมือง หากมีเวลา ว่างหรือเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ ผู้คนจะเลือกใช้บริการห้างสรรพสินค้าในการออกก�ำลังกาย นันทนาการ และอื่นๆ เพราะเหตุผลที่ว่า พื้นที่สาธารณะไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ เพียงพอ คุณภาพและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออ�ำนวยในการใช้งาน ท�ำให้ความสะดวกสบายจึง เป็นเหตุผลหลักของคนในยุคนี้ ผู้ประกอบการรายใหญ่เล็งเห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จึงปรับ ตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงนี้ ยิ่งท�ำให้เป็นการสนับสนุนทุนใหญ่ให้เติบโต พื้นที่ไม่ถูกใช้งาน รกร้าง ขาดการพัฒนา จนกลายเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมไปในที่สุด

42


ฝุ่นควันรถยนต์ กระทบคนอยู่อาศัย

“PM2.5” เป็นชื่อที่ใครหลายคนต่างรู้จักกันดีในช่วงนี้ การสูดเอาฝุ่นละอองพิษเข้าไปจะเป็น อันตรายต่อสุขภาพ ฝุ่นชนิดนี้สามารถเดินทางผ่านทางเดินหายใจสู่ปอด แทรกซึมกระบวนการ ท�ำงานในอวัยวะต่าง ๆ และเพิ่มโอกาสของโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหากได้ รับฝุ่นเป็นเวลาต่อเนื่อง 13% ของสาเหตุการเกิด PM2.5 มาจากกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่เกิดขึ้นในภาคการ ขนส่งและคมนาคม ซึ่งโคราชเป็นเมืองที่รองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาค แต่ละปีมีจ�ำนวนรถยนต์ผ่านจังหวัดในอัตราที่สูงมาก ท�ำให้มลพิษที่เกิดขึ้น รวมถึง PM2.5 มีค่า เฉลี่ยสูงตามไปด้วย ประกอบกับการมีถนนมิตรภาพซึ่งเป็นถนนสายประธานที่นักเดินทางใช้เป็น เส้นทางหลักในการเดินทาง ตัดผ่านพื้นที่เมืองโคราช ส่งผลให้ปริมาณการจราจรในเขตเมืองมี ความหนาแน่น มลพิษที่เกิดขึ้นและ PM2.5 จึงกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนเมืองโดยตรง และ ปัญหามลพิษเหล่านี้ ท�ำให้พฤติกรรมการชีวิตของคนเมืองเปลี่ยนไปจากเดิม คนเลือกที่จะอยู่ใน บ้านไม่เดินทางออกไปไหนเพราะกลัวปัญหาเรื่องสุขภาพ ในขณะเดียวกันผู้ป่วยโรคระบบทางเดิน หายใจของโคราชก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่​่นกัน

43


มหานครโคราช 2040

ความท้าทาย

เปี่ยมคุณค่า แต่ขาดการเพิ่มมูลค่า ประกอบด้วย 5 ประเด็น ดังนี้ 1. ทรัพย์สินยุคโมเดิร์นล�้ำค่า แต่กาลเวลากำ�ลังพรากไป 2. ทุนความรู้สูง แต่การลงทุนประกอบการกลับถอยหลัง 3. ของดีมีอยู่ แต่สู้เขาไม่ได้ 4. สัณฐานเมืองดี แต่ยังใช้ไม่เต็มที่ 5. ก่อนเคยสำ�คัญ ปัจจุบันไร้ความหมาย

44


ทรัพย์สินยุคโมเดิร์นล�้ำค่า แต่กาลเวลากำ�ลังพรากไป

เมื่อกล่าวถึงมรดกวัฒนธรรมในโคราชนั้น ด้าน สถาปัตยกรรม มีทรัพย์สินหลากหลายรูปแบบและ ต่างยุคสมัย ปะปนกันและยังคงสภาพอยู่จนถึง ปัจจุบันเป็นจ�ำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน วัด นารายณ์ วัดศาลาลอย วัดบูรพ์ วัดสะแก วัดสระแก้ว หรือทรัพย์สินจากยุคโมเดิร์นภายในคูเมือง จากการ ส�ำรวจพื้นที่พบว่าอาคารเหล่านี้ยังคงสภาพและมีการ ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แม้สถาปัตยกรรมอาคารเหล่านี้ อาจไม่ได้มีค่ามากในปัจจุบัน แต่หากมองถึงอนาคต ในอีก 20 ปีต่อจากนี้ สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นมรดกที่ ล�้ำค่าจนไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ แต่หากไม่ได้ถูก อนุรักษ์และให้ความส�ำคัญ จะท�ำให้คุณค่าทางมรดก วัฒนธรรมของอาคารเสื่อมสภาพลดน้อยลงไปตาม กาลเวลา ประกอบกับรูปแบบการใช้ชีวิตแบบใหม่ที่ ได้รับอิทธิผลในยุคสังคมโลกาภิวัตน์ ที่มีการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอย่าง รวดเร็ว สืบเนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี สารสนเทศ ท�ำให้โครงสร้างและความเชื่อมโยง เศรษฐกิจการเมืองโลกเป็นไปอย่างไร้พรมแดน ผู้คน ยุคสมัยใหม่มีพฤติกรรมทางสังคมเมืองที่ เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจท�ำให้เมืองโคราชขาดเสน่ห์ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่จะช่วยให้เมืองโคราชน่า อยู่และดึงดูดให้คนรุ่นใหม่เข้ามาได้

ทุนความรู้สูง แต่การลงทุนประกอบการกลับถอยหลัง

จากข้อมูลเชิงสถิติของส�ำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ นครราชสีมามีจ�ำนวนนักเรียนนักศึกษา เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ มีคุณภาพที่เป็นก�ำลังส�ำคัญของประเทศ กลุ่มบรรดา นักศึกษา นักเรียนมัธยม หรือต�่ำกว่า สามารถแบ่ง ประเภทตามช่วงวัยหรือรุ่นเป็น GEN Z โดยกลุ่มคน เหล่านี้จากการส�ำรวจและวิจัยชื่อว่า ‘High School Careers’ พบว่ามีความทะเยอทะยานในการอยาก ประกอบธุรกิจเป็นของตนเองมากขึ้น การส�ำรวจโดย เว็บไซต์ Internships.com ได้ออกส�ำรวจนักเรียน และนักศึกษาจ�ำนวน 4,769 คน เป็นนักเรียนระดับ มัธยม 172 คน และนักศึกษาจ�ำนวน 4,597 คน พบว่าร้อยละ 72 อยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยจากการวิจัย เหตุที่เด็กรุ่นใหม่มีความ ทะเยอทะยานในการเป็นเจ้าของธุรกิจ เนื่องมาจาก การที่เติบโตมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี มีความสามารถค้นคว้า ศึกษาความรู้ต่าง ๆ และ เข้าใจได้ด้วยตนเอง จึงมึชุดความคิดและลักษณะการ ท�ำงานด้วยตัวเองมากกว่าและสื่อสารกับผู้อื่นแบบไร้ พรมแดน ท�ำให้เป็นรุ่นที่มีความหลากหลายทางด้าน อาชีพ แต่เมื่อค้นหาข้อมูลเชิงสถิติของกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กลับพบว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา นครราชสีมามีจ�ำนวนสถาน ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมลดลงซึ่ง มีแนวโน้มที่สวนทางกับกระแสความนิยมของโลก

จ�ำนวน SMEs ในโคราช

จ�ำนวนนักเรียน นักศึกษาของไทย

ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ (2559) 45


มหานครโคราช 2040

ของดีมีอยู่ แต่สู้เขาไม่ได้

“จนาศะปุระ” อาณาจักรอันรุ่งโรจน์สมัยทวารวดีสู่ เมืองโคราชในปัจจุบัน โคราชเป็นเมืองที่มีเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์มาช้านาน หลากยุคหลายสมัย ท�ำให้โคราชเป็นเมืองที่มีมรดกทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมที่เด่นชัด เช่น ท้าวสุรนารีหรือ ย่าโม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์คู่เมืองโคราช ปราสาทหิน รวมไปถึงวัดต่าง ๆ ซึ่งจากการส�ำรวจจ�ำนวนวัดในปี 2535 พบว่าโคราช มีจ�ำนวนวัดมากที่สุดใน ประเทศไทย นอกจากนี้โคราชยังมีความโดดเด่นทาง ด้านวัฒนธรรม ทั้งผัดหมี่โคราช ผ้าไหมโคราชและ เพลงโคราช แต่คุณค่าของเมืองโคราชไม่ได้มีเพียง ด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเท่านั้น ยังมีคุณค่าใน แง่ของการเป็นเมืองศูนย์กลางทางการศึกษารวมไป ถึงรูปแบบการใช้ชีวิตแบบใหม่ เดอะมอลล์โคราช เป็นสถานที่ที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับโคราชแต่กลาย เป็นสิ่งที่คนโคราชนึกถึง สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า เมืองโคราชเป็นส่วนผสมระหว่างคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ในขณะ เดียวกันก็มีคุณค่าในรูปแบบสมัยใหม่ ถือเป็นจุดแข็ง ที่ส�ำคัญของเมือง แต่อย่างไรก็ดี จากการทดลองเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับภาพจ�ำของเมืองโคราช ในบริบทของ ภูมิภาคอีสาน พบว่า คนส่วนใหญ่ถ้านึกถึงอีสาน คน จะนึกถึงขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานีและโคราช ตามล�ำดับ เมืองโคราชนั้นเปี่ยมไปด้วยคุณค่าด้าน ต่าง ๆ มากมาย แต่ยังขาดการเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่มี อยู่ ท�ำให้ยังไม่สามารถเป็นที่จดจ�ำในฐานะมหานคร แห่งอีสานได้

สัณฐานเมืองดีแต่ยังใช้ไม่เต็มที่

“ชาวโคราชต้องการเห็นคูเมืองมีความสวยงาม และ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายกิจกรรมต่าง ๆ ” (นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนคร นครราชสีมา, 2561) คูเมืองเก่าของพื้นที่เมือง โคราชมีลักษณะสัณฐานเมืองที่ดี รัฐบาลจึงประกาศ รับรองให้เมืองโคราชเป็นเขตเมืองเก่า โดยมีจุดมุ่ง หมายเพื่อส่งเสริมต่อการพัฒนาศักยภาพในด้านการ ท่องเที่ยวและด้านคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในเขต เมืองเก่า แต่การฟื้นฟูธรรมชาติสองฝั่งคูเมืองที่เป็น คลองขุดลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบตัวเมืองเก่า พบ ปัญหาซ�้ำซากทั้งการรุกล�้ำที่สาธารณะ ขอบตลิ่งช�ำรุด ทรุดโทรมและระบบนิเวศไม่เหมาะสม ท�ำให้การมีสัน ฐานเมืองที่ดีในปัจจุบันไม่ส่งเสริมความน่าอยู่ให้เกิด ขึ้น “ทางเทศบาลนครฯ มองว่า คูเมืองถือเป็นหน้า เป็นตาของจังหวัด ผู้บริหารเทศบาลนครราชสีมาฯ จึงอยากจะฟื้นฟูให้ดูดีขึ้น แต่เนื่องจากเคยมีการปรับ และด�ำเนินการเช่นนี้มาแล้วหลายครั้ง แต่ก็มาพบใน ภายหลังว่าการท�ำแบบนั้นส่งผลให้ขาดความยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการ วางแผนและแนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาและ รองรับการใช้งานของผู้คนในอนาคต” (ผศ.ดร.นิคม บุญญานุสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะ ศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มทร.อีสาน, 2561)

ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี

นครราชสีมา คิดถึงอีสาน คิดถึงที่ไหน...

46

คิดถึงโคราช คิดถึงอะไร...


ก่อนเคยสำ�คัญปัจจุบันไร้ความหมาย

ท่าอากาศยานนครราชสีมา เป็นอีกสถานที่ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า มีศักยภาพในการเชื่อมต่อระบบ คมนาคมและเพิ่มทางเลือกในการเดินทางอย่างมหาศาล หลายเมืองทั่วโลกต้องการสร้างสนาม บินของเมืองตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมของเมืองแต่อาจด้วยเหตุผลปัญหาเชิง เทคนิคการบินประกอบกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโคราชที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานสนามบินน้อย ท�ำให้การใช้งานสนามบินเพื่อการพาณิชยกรรมถูกลดบทบาทไป แต่ในอนาคตเมืองโคราชมี โอกาสในการเชื่อมต่อระดับภูมิภาคที่ส�ำคัญโดยรอบ อย่างเช่น ประเทศจีนและประเทศเวียดนาม ซึ่งทั้งสองเป็นประเทศที่มีแนวโน้มของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงในระดับแนวหน้าของโลก ถึง แม้จะมีนโยบายการเชื่อมต่อทางระบบรางด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ สู่ประเทศจีน ตอนใต้ แต่การมีทางเลือกในการเดินทางทางอากาศ ย่อมสร้างความได้เปรียบมากกว่าในหลาย ด้าน ดังนั้นเมืองโคราชจึงจ�ำเป็นต้องพัฒนาท่าอากาศยานนครราชสีมา ให้กลับมาใช้งานได้อีก ครั้ง ในอนาคตการขนส่งสินค้าในระยะทางที่ไกล โดยใช้ระบบขนส่งทางอากาศที่รวดเร็วและมี ความน่าเชื่อถือ จะเป็นสิ่งส�ำคัญต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ ท�ำให้การขนส่งทางอากาศกลายเป็นแกน หลักของการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงเป็นทางเลือกโอกาสว่าเมืองโคราชจะไขว่คว้าไว้หรือไม่

ทีม ่ า : ส�ำนักข่าวเนชัน ่ ทีวี (2559)

47


มหานครโคราช 2040

ศักยภาพ และโอกาส ประกอบด้วย 5 ประเด็น ดังนี้ 1. การเชื่อมต่อระดับเมืองและระดับภูมิภาค 2. เมืองนวัตกรรมการเกษตร 3. โอกาสจากจีนกำ�ลังมา โคราชต้องรีบคว้า 4. สังคมอายุยืน 5. อุตสาหกรรมจากวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งอีสาน

ที่มา : Korat Startup 48


การเชื่อมต่อระดับเมืองและระดับภูมิภาค

“ประตูสู่อีสาน” ค�ำนิยามของเมืองโคราชในทางภูมิศาสตร์ ด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ที่ถูกรอบล้อมด้วยแนวเทือกเขาและคั้นกลางการเชื่อมต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับภูมิภาคอื่น ๆ ทางตอนใต้ของประเทศท�ำให้เกิดการเชื่อมต่อเป็นลักษณะคอขวด จึงเกิดความ จ�ำเป็นต้องใช้เส้นทางในการเดินทางระหว่างภาคด้วยเส้นทางที่ผ่านพื้นที่เขตจังหวัดนครราชสีมา ในบริเวณดังกล่าวที่มีการสัญจรผ่านไปมาจึงเป็นโอกาสส�ำหรับการประกอบอาชีพและสร้างราย ได้แก่ผู้อยู่อาศัย นอกจากนั้นระบบการขนส่งมวลชนหรือรถโดยสารสาธารณะระหว่างภูมิภาคมี สถานีขนส่งหลักของภูมิภาคตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองโคราช ท�ำให้เกิดการผ่าน แวะพักหรือเปลี่ยน ถ่ายการเดินทาง เปรียบเสมือนการดึงดูดผู้คน เม็ดเงิน และรายได้จากภายนอกเข้ามาสู่เมือง โคราช และอนาคตเมืองโคราช ยังมีโอกาสจากนโยบายส่งเสริมการพัฒนาในด้านคมนาคม ระบบขนส่งมวลชนทางราง ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือรถไฟรางคู่ ที่ตัดผ่านเข้า มาในพื้นที่เมือง เกิดเป็นสถานีรถไฟระดับประเทศ ที่จะเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยกับภูมิภาค อินโดจีน ที่สร้างแนวโน้มการดึงดูดและการเข้ามาของคนและสินค้าจากจีนตอนใต้ ที่จะก่อให้เกิด การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล

49


มหานครโคราช 2040

เมืองนวัตกรรมการเกษตร

จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ดิน 20,914 ตารางกิโลเมตร เป็นอันดับ 1 ของ ประเทศไทย ในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินสามารถ จ�ำแนกออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เมือง และพื้นที่เกษตร โดยมีสัดส่วนการใช้ ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่การเกษตรถึง 65 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งนับเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ทาง เกษตรมากที่สุดของประเทศไทย อีกทั้งยังมีศักยภาพ ในการสร้างผลผลิตทางการเกษตรจ�ำพวก มัน ส�ำปะหลัง อ้อย ข้าว ฯลฯ ประกอบกับแนวโน้มการ ให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนาด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรของภาค เอกชน ซึ่งสามารถเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและ บรรเทาปัญหาด้านอุปสรรคหลักของภาคการเกษตร อย่างสภาพภูมิอากาศที่มีความแปรปรวนให้มีความ มั่นคงและความแน่นอนทางด้านผลผลิตมากขึ้น

ทีม ่ า : รานงานสถิตจิ งั หวัดนครราชสีมา (2560) 50

โอกาสจากจีนกำ�ลังมา โคราชต้องรีบคว้า

จากการวิเคราะห์รูปแบบและพฤติกรรมการท่อง เที่ยวโดย ศูนย์ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เปิดเผย ให้เห็นว่าจ�ำนวนทริปที่คนจีนเดินทางออกไปยังต่าง ประเทศ(ไม่รวมฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน) ในปี 2018 เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 เท่าตัวหรือจากราว 24 ล้า นทริปในปี 2011 เป็น 69 ล้านทริป ณ สิ้นปี 2018 อีกทั้งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการ เกิดขึ้นของสื่อออนไลน์ ซึ่งช่วยให้ข้อมูลด้านการท่อง เที่ยวเป็นที่แพร่หลาย และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น นอกจาก จ�ำนวนนักท่องเที่ยวจ�ำนวนมาก พฤติกรรมการท่อง เที่ยวของคนจีนรุ่นใหม่ก็เป็นอีกโอกาสที่มีความ สอดคล้องกับเมืองที่มีประวัติศาสตร์อย่างโคราช เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่มีแนวโน้มความชื่น ชอบในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การเดินชม ตลาดและวิถีชีวิต รวมถึงการได้มีปฏิสัมพันธ์กับคน ท้องถิ่น ดังนั้นโคราชจึงมีโอกาสเป็นตัวหนึ่งในตัว เลือกส�ำหรับคนจีนเหล่านี้ ด้วยตัวเมืองมีพื้นที่ทาง ประวัติศาสตร์อย่างบริเวณคูเมืองเก่าซึ่งเต็มไปด้วย มรดกวัฒนธรรมทั้งด้านสถาปัตยกรรม อาหาร ภาษา และประเพณีประจ�ำปีต่าง ๆ ที่ได้มีการรักษาสืบทอด มาจนถึงปัจจุบนั


สังคมอายุยืน

ปัจจุบันช่วงอายุประชากรของประเทศไทยมี แนวโน้มทางสถิติอายุยืนมากขึ้น ด้วยปัจจัยความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการศึกษาทางการแพทย์ ที่ทั่วถึงและมีศักยภาพมากขึ้น ส่งผลให้ขีดจ�ำกัดใน การรักษาและบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น จึงเกิด ปรากฎการณ์ช่วงวัยของประชากรโดยเฉลี่ยสูงวัยขึ้น และมีผลกระทบต่อสังคมเมืองในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะ เป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม การอยู่อาศัย หรือด้าน คมนาคม รวมไปถึงกายภาพของเนื้อเมืองจะเกิด ความเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับพฤติกรรมของคนสูงวัย อีกทั้งมุมมองของผู้คนที่มีต่อผู้สูงวัยก็เริ่มมีแนวโน้มที่ เปลี่ยนแปลงจากแง่ลบไปในทางบวกมากขึ้น เนื่องจากคนสูงวัยในปัจจุบันมีพฤติกรรมที่สามารถ ดูแลตนเองและสุขภาพแข็งแรงมากกว่าอดีต อีกทั้ง เป็นโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจทางด้านทรัพยากร บุคลากรที่มีประสิทธิภาพและประสบการณ์ในการ ท�ำงานสูง เนื่องจากผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรงกว่า เดิมจึงมีการขยายช่วงวัยท�ำงานที่สูงขึ้นกว่าในอดีต จากเดิมที่มองว่าผู้สูงวัยเปรียบเสมือนผู้ที่เป็นภาระ ต่อการดูแลในสังคมเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันผู้ สูงอายุก็สามารถสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจให้กับ สังคมได้เช่นกัน

อุตสาหกรรมจาก วัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งอีสาน

“ลูกทุ่งอีสาน” เมื่อเราพูดถึงเป็นแนวดนตรีอีกหนึ่งใน แนวที่มีต้นก�ำเนิดและรูปแบบที่หลากหลายประเภท อย่าง ลูกทุ่ง ไม่ว่าจะเป็น ลูกทุ่งปักใต้ ลูกทุ่งล้านนา หรือ“ลูกทุ่งอีสาน” ในประเทศไทยเองก็มีแนวของ ดนตรีที่หลากหลายซึ่งแต่ละแนวก็มีความโดดเด่นใน แนวของตัวเอง แต่แนวเพลงลูกทุ่งนั้นสามารถนับว่า เป็นแนวเพลงที่ยังคงได้รับความนิยม ตราตรึงและ ติดใจผู้ฟังในประเทศไทยเป็นอย่างมากนับแต่อดีต อาจจะเนื่องด้วยภาษาที่น�ำมาเขียนและส�ำเนียงที่น�ำ มาขับร้องเป็นบทเพลงมีความเป็นเอกลักษณ์ของ ท้องถิ่นสูง จึงสามารถเข้าถึงความเข้าใจของผู้คน แต่ละพื้นที่ได้มากกว่าแนวเพลงอื่น ๆ แต่หากเรา ถามถึงเมืองที่เป็นศูนย์กลางของแนวเพลงลูกทุ่งใน ภูมิภาคอีสานก็ยังไม่มีเมืองใดที่เราสามารถกล่าวได้ ว่าเป็นเมืองที่ชูประเด็นความเป็นวัฒนธรรมแนว เพลงลูกทุ่งอีสานและเป็นศูนย์กลางอันเป็นศูนย์รวม แห่งอุตสาหกรรมเพลงลูกทุ่ง ดังนั้นจึงเป็นโอกาส ส�ำคัญของโคราชที่สามารถเป็นศูนย์กลาง อุตสาหกรรมเพลงลูกทุ่งแห่งอีสานได้ เนื่องจาก โคราชเป็นเมืองหลักของภาคอีสานมีต�ำแหน่งที่ตั้ง และระบบการเชื่อมต่อไปสู่ภูมิภาคอื่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีจ�ำนวนประชากรมากและยังเป็น แหล่งงานที่ส�ำคัญของภูมิภาคนี้อีกด้วย ขอนแก่น

ที่มา: TCDC. (2561). นิทรรศการ LOOK ISAN NOW ลูกอีสานวันนี้, นิตยาสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย ปีที่9 ฉบับที่8

โคราช

สัดส่วนจ�ำนวน รพ.

ทีม ่ า : รานงานสถิตจิ งั หวัดนครราชสีมา (2560) 51


มหานครโคราช 2040

ภาพอนาคตโคราช 2040 แบบไร้แผนพัฒนา เป็นการจ�ำลองภาพอนาคตหากปล่อยให้เมืองโคราชเติบโตโดย ปราศจากแผนการพัฒนา หรืออีกนัยหนึ่งคือเมืองพัฒนาตามแผนพัฒนา ที่ขาดการบูรณาการ ท�ำให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐในหลายภาค ส่วนและโครงการพัฒนาของเอกชน ขาดทิศทางร่วมและอาจเกิดความ ขัดแย้งระหว่างผู้มีส่วนพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ ก่อให้เกิดความเสีย หายจากการเป็นเมืองที่เติบโตอย่างไร้ทิศทาง มีการอพยพเข้ามาของประชากรอย่างมหาศาลจากในและนอกภูมิภาค จนเกิดการแย่งชิงแหล่งงาน การแพทย์มีความก้าวหน้าและสัดส่วนของ ประชากรสูงอายุสูงขึ้น ลูกหลานต้องท�ำงานแบกภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ประชากรเกือบทุกรายใช้ชีวิตแบบสังคมดิจิทัล และ Internet of Things (IoT) เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของโลก แต่ยังขาดการส่งเสริม โดยรัฐเพื่อต่อยอดสร้างมูลค่าหรือยังไม่ถูกประยุกต์ให้การใช้ชีวิตเกิด ความสะดวกสบายมากนัก ประชาชนจะเป็นผู้ที่ต้องสร้างสรรค์การใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้วยตนเอง รถไฟความเร็วสูงเป็นระบบสัญจร หลักสู่กรุงเทพฯท�ำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็ว และเมืองมีความแออัด มากขึ้นจากการพัฒนาแบบกรุงเทพฯ กลุ่มนายทุนใหญ่มีอ�ำนาจเหนือ ผืนดินใจกลางเมือง เกิดปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัยและความเหลื่อมล�้ำ ของประชากร ค่าครองชีพมีอัตราสูงขึ้น เกิดการใช้จ่ายบางอย่างที่เกิน จ�ำเป็น เนื้อเมืองแผ่ขยายกินพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่สีเขียวย่าน ชานเมืองมากขึ้น ประกอบกับการใช้ยานพาหนะส่วนตัวปริมาณ มหาศาลแม้จะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และมีระบบรางให้บริการในเมือง แต่ยังขาดคุณภาพ ส่งผลให้เกิดมลพิษที่ท�ำให้สิ่งแวดล้อมมีสภาพเลว ร้ายมากขึ้นและการใช้ชีวิตของประชากรเกิดความล�ำบากจากสภาวะ แวดล้อมที่เปลี่ยนไป ขยะและของเสียมีปริมาณล้นเมืองจากการบริโภค ที่จัดการไม่ดี รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่โดยรอบของเมืองส่ง มลพิษปะปนเข้ามาในพื้นที่ โคราชก�ำลังแข่งขันด้านเศรษฐกิจกับหลาย หัวเมืองในภาคอีสาน เช่น ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย เป็นต้น แต่เศรษฐกิจโดยรวมยังสู้กับจีนไม่ได้ เพราะได้รับอิทธิพลรวมถึง การแทรกแซงด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจากจีน ท�ำให้การพัฒนาด้าน เศรษฐกิจและการลงทุนสัญชาติไทยด�ำเนินไปได้อย่างไม่ราบรื่นนัก

52


53


มหานครโคราช 2040

54


วิสัยทัศน์โคราช แผนพัฒนามหานครโคราช 2040 ใช้หลักการวางแผน ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับกระบวนการสร้างภาพอนาคต เนื่องจากผู้วางแผนยุทธศาสตร์เห็นว่า การสร้างยุทธศาสตร์เมือง คือ การ สร้างแผนระบุกลวิธีในการพัฒนาเมืองจากบริบทปัจจุบันสู่อนาคตที่วาดฝัน ไว้ ท�ำให้เมืองสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ เป็นวิธีการ คิดที่น�ำศาสตร์รอบด้านทั้งในปัจจุบันและอนาคตมาวิเคราะห์ เพื่อสร้าง ยุทธวิธีที่จะน�ำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีภาพอนาคตที่เป็นทางเลือก 2 ทางประกอบการตัดสินใจและสร้างภาพเป้าหมายให้เมืองโคราชที่พัฒนา ตามแผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาฯฉบับนี้ ประกอบไปด้วยการจัดท�ำและก�ำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาเมืองโคราชในอนาคต ที่หน่วยงานรัฐและเอกชนน�ำไปปฏิบัติผ่านนโยบายและการวางแผนเพื่อ โครงการต่าง ๆ และเสนอการพัฒนาในเชิงกายภาพของเมืองบนพื้นที่ ยุทธศาสตร์เป้าหมาย โดยมีกลยุทธ์แต่ละด้านเป็นเครื่องมือด�ำเนิน โครงการในแต่ละแห่ง ที่จะส่งผลถึงความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และ สะท้อนกลับไปสู่ภาพรวมของเมืองที่ได้ก�ำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ของอนาคต

55


มหานครโคราช 2040

วิสัยทัศน์มหานครโคราช 2040 ภาพอนาคตโคราชปี 2040 ตามแผนพัฒนา

56

โคราช..


เมืองหลวงแห่งอีสาน ศูนย์กลางความหลากหลายทางวิถีชีวิตและเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนด้วยผู้ประกอบการ ธุรกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรมการเกษตร เชื่อมโยงโครงข่ายภูมิภาคไทย-จีน ยกระดับคุณภาพชีวิตสู่สังคมยุคดิจิทัล

57


มหานครโคราช 2040

ภาพอนาคตการพัฒนา ตามแผนพัฒนามหานครโคราช 2040 เป็นการจ�ำลองภาพอนาคตเมืองโคราชที่เติบโตตามแผนการพัฒนามหานครโคราชในปี 2040 โดยทุกหน่วยงานภาครัฐ ภาคีพัฒนาเอกชน และประชาชน ร่วมกันมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองให้เป็น ไปในทิศทางร่วมกัน มีการประสานความร่วมมือกันทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่สร้างประโยชน์ สูงสุดให้กับทุกฝ่ายในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ใช้ศักยภาพและโอกาสที่มี ต่อยอดสู่ การผลักดันให้โคราชเติบโตอย่างมีทิศทางและสามารถแข่งขันกับเมืองแห่งอื่นได้อย่างน่าภาคภูมิ สามารถดึงดูดการลงทุนและอยู่อาศัยโดยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของ ประชากรทุกคนได้อย่างยั่งยืน

ที่มา : Berlin Scenario 2036 โดย Daimler

58


มหานครโคราช 2040 ในปี ค.ศ.2040 ความเจริญของไทยจะกระจายจากกรุงเทพฯไปสู่หัวเมืองต่าง ๆ รวมถึงโคราช ที่ จะเติบโตเป็นมหานครที่เป็นเมืองหลวงของภาคอีสาน มีความสามารถในการดึงดูดการลงทุน ภายในภูมิภาคไทย-จีน เป็นศูนย์กลางแหล่งติดต่อทางธุรกิจของภูมิภาค มีโครงข่ายส่งเสริมธุรกิจ นวัตกรรมของเมือง รวมถึงเป็นแหล่งสนับสนุนธุรกิจสร้างสรรค์แห่งอนาคต ๆ เช่น อุตสาหกรรม เพลงลูกทุ่ง ให้เกิดขึ้นในเมืองโคราช สามารถสร้างมูลค่าต่อ GDP ของไทยได้อย่างมหาศาล สร้างงานจ�ำนวนมาก ส่งผลให้โคราชเป็นพื้นที่แห่งโอกาส เป็นแหล่งรวมของประชากรที่มีความ หลากหลายทางสังคม อยู่อาศัยร่วมกันในเมืองที่มีความกระชับ เติบโตอย่างมีการควบคุมที่มี ทิศทางเพื่อสร้างสมดุลให้กับเมือง โดยมีศูนย์กลางที่เชื่อมโยงและกระจายตัวอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของโคราช คือ ศูนย์กลางเศรษฐกิจอีสานบริเวณรอบสถานีรถไฟนครราชสีมา ศูนย์กลางพาณิช ยกรรมผสมกับที่อยู่อาศัยบริเวณถนนมิตรภาพ ศูนย์กลางแหล่งนวัตกรรมและวัฒนธรรมบริเวณ ถนนโพธิ์กลาง-คูเมืองเก่า และศูนย์กลางพาณิชยกรรมชานเมืองจอหอ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว 4 จุดจะ เป็นย่านของเมืองที่ดึงดูดการลงทุนและการอยู่อาศัยของคนในอนาคต สร้างความมั่งคั่งให้กับ มหานครโคราชตามวิสัยทัศน์การพัฒนา ทั้งนี้ มหานครโคราชจะเติบโตโดยการขับเคลื่อนด้วย สังคมดิจิทัล รัฐลงทุนส่งเสริมโครงข่ายดิจิทัลคุณภาพสูงครอบคลุมทั่วพื้นที่เมือง และมีการใช้งาน Internet of Things ให้สามารถผลักดันกิจกรรมการค้า การอยู่อาศัย และการใช้พลังงานของ เมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการบริหารจัดการเมืองด้วยเทคโนโลยี นอกจากนี้ โคราชยัง เป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับนานาชาติควบคู่ไปกับแหล่งวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเกษตรให้ สร้างมูลค่าต่อวงการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน มีการเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูง เชื่อมโยงกรุงเทพฯ รถไฟทางคู่เชื่อมโยงภูมิภาคไทย-จีน และมีรถไฟฟ้ารางเบาเป็นโครงข่าย บริการขนส่งสาธารณะ ควบคู่กับการขนส่งระบบรอง ประชากรเมืองจะพึ่งพาระบบขนส่ง สาธารณะเป็นทางเลือกหลักในการเดินทาง และโคราชจะเป็นพื้นที่จูงใจให้คนไทยสามารถใช้ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและพาหนะส่วนตัวพลังงานสะอาดได้แห่งแรก ๆ จากการมีโครงข่ายเพื่อ สนับสนุนพาหนะดังกล่าว มีการจัดตั้งที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกรายได้ เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำ เมืองมีความหนาแน่นสูงขึ้นเพื่อลดปัญหาการแผ่ขยายตัวของเมืองที่ส่งผลถึงการท�ำลาย ทรัพยากร ซึ่งโคราชจะเป็นส่วนหนึ่งเช่นหลายเมืองทั่วโลก ที่พัฒนาตามวิสัยใหม่ของโลกาภิวัฒน์ ในด้านการหันมาอนุรักษ์สมดุลต่อสิ่งแวดล้อม มีการจัดการการใช้ทรัพยากร พลังงานทดแทน และการบริโภคทรัพยากรของประชากรภายในเมืองอย่างจริงจัง เป็นเมืองที่ส่งเสริมแหล่ง อุตสาหกรรมสะอาดอย่างเต็มที่ เป็นผู้น�ำด้านเมืองประหยัดพลังงานของไทย สามารถผลักดัน เศรษฐกิจให้เติบโตตามการพัฒนาตามกระแสยุคใหม่ ที่จะสร้างความยั่งยืน แข็งแกร่ง และก้าวมา เป็นเมืองตัวอย่างการพัฒนาของภูมิภาคไทย-จีนได้ในอนาคต

59


มหานครโคราช 2040

เป้าหมายของแผน ยุทธศาสตร์ แผนยุทธศาสตร์มหานครโคราช 2040 จัดท�ำขึ้นเพื่อ “พัฒนา โคราช สู่ความเป็นมหานครแห่งอีสาน” วางเป้าหมายการพัฒนา ตามวิสัยทัศน์มหานครโคราช 2040 คือ

1 2 3

โคราชเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมสร้างสรรค์ และเป็นพื้นที่แห่งโอกาสส�ำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ โคราชเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยทางเลือกในการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ ตอบรับสังคมและเศรษฐกิจที่หลากหลาย โคราชเป็นมหานครที่เชื่อมโยงการใช้ชีวิตและเศรษฐกิจ อย่างสมดุล ทั้งในระดับเมืองและภูมิภาค

ยุทธศาสตร์สู่การพัฒนา จากเป้าหมายการพัฒนา น�ำไปสู่การก�ำหนดนโยบายและด�ำเนิน โครงการในพื้นที่โคราช โดยอาศัยยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เป็น สาระส�ำคัญในการพัฒนาเมือง 3 ด้าน ประกอบด้วย

P L C 60

ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Productivity Strategy) ยุทธศาสตร์ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต (Livability Strategy) ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง (Connectivity Strategy)


กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ การน�ำยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน กายภาพต้องอาศัยกลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือ ด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ 2 การฟื้นฟูเมือง (Urban Renewal) 2.1 การพัฒนาฟื้นฟูเมือง 2.2 การฟื้นฟูบูรณะเมือง 2.3 การอนุรักษ์ฟื้นฟูเมือง

3 มาตรการด้านต่าง ๆ

3.1 มาตรการเชิงบวก รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานชี้น�ำการลงทุนให้กับภาคเอกชน 3.2 มาตรการเชิงลบ รัฐใช้อ�ำนาจทางกฎหมายบังคับใช้ผังเมืองและข้อก�ำหนดต่าง ๆ 3.3 มาตรการส่งเสริม รัฐมีมาตรการจูงใจให้เอกชนปฏิบัติตาม 3.4 มาตรการสร้างความเป็นธรรม รัฐเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา

61


มหานครโคราช 2040

PRODUCTIVITY เป้าหมาย 1 เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม สร้างสรรค์และพื้นที่แห่งโอกาสสำ�หรับผู้ประกอบการยุคใหม่ มหานครโคราชเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจนวัตกรรมสร้างสรรค์ของภาคอีสาน เชื่อมโยงกิจกรรมทาง เศรษฐกิจกับจีนตอนใต้ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และกรุงเทพมหานคร เป็น แหล่งรวบรวมและแลกเปลี่ยนผลผลิตทางนวัตกรรมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนโดย บุคลากรทางการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทางการวิจัยพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ ความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่และนักลงทุน ทั้งคนในและนอกที่เข้ามา ติดต่อธุรกิจและท�ำธุรกรรมต่าง ๆ ก่อให้เกิดการลงทุนและประกอบธุรกิจการค้าและการบริการ ในรูปแบบใหม่ สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจการค้าในปัจจุบัน และการเป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การค้าและการท่องเที่ยว ภายในเมืองเก่า รวมไปถึงอุตสาหกรรมภาคการเกษตรและส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางทางการ แพทย์ของภูมิภาคอีสานตอนใต้

62


P1-1

P1-2

P2-2

P3-1

P1-4

P2-3

P3-2

P1-5

P1-6

P2-5

P2-6

P3-5

P3-6

P4-4

P4-6

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ระดับรอง คือ P1 ผลักดันให้เกิดพื้นที่ส่งเสริมโอกาสทาง ธุรกิจแก่ผู้ประกอบการยุคใหม่ P2 พัฒนาธุรกิจท้องถิ่นและกิจกรรมส่งเสริม การท่องเที่ยว เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ ของเมือง P3 ประยุกต์ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่ม มูลค่าธุรกิจภาคการค้าการบริการและ อุตสาหกรรมการเกษตร P4 ส่งเสริมให้ศูนย์กลางทางการแพทย์เป็น ตัวสนับสนุนเศรษฐกิจของเมือง

1. พัฒนาพื้นที่เมืองใหม่ 2. ปรับปรุงอาคารและสถานที่ส�ำคัญ 3. อนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยและการศึกษา 5. ส่งเสริมการใช้งานพื้นที่ให้มีความหนาแน่นมาก ขึ้น 6. ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน

63


มหานครโคราช 2040

P1 : ผลักดันพื้นที่โอกาสทางธุรกิจ สร้างศูนย์กลาง เศรษฐกิจนวัตกรรมสร้างสรรค์ของภูมิภาคอีสาน

P2 : พัฒนาธุรกิจท้องถิ่นและการท่องเที่ยว ผลักดัน ธุรกิจท้องถิ่นสามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในเมืองโคราช

P1-1 พัฒนาพื้นที่เมืองใหม่ พัฒนาพื้นที่เมืองขึ้น ใหม่ (Redevelopment) เพิ่มศักยภาพในพื้นที่ที่มี โอกาสในการพัฒนาเป็นพื้นที่ศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจนวัตกรรมสร้างสรรค์

P2-2 ปรับปรุงอาคารและสถานที่สำ�คัญ ปรับปรุง อาคารประเภทตึกแถวและย่านการค้าท้องถิ่นใน พื้นที่เมืองเก่า เพิ่มศักยภาพและความสามารถใน การประกอบการเพิ่มขึ้น พร้อมปรับปรุงสถานที่ท่อง เที่ยวที่ส�ำคัญของเมืองโคราช เพื่อรองรับโอกาสจาก การเพิ่มขึ้นของจ�ำนวนนักท่องเที่ยว

P1-2 ปรับปรุงอาคารและสถานที่สำ�คัญ ปรับปรุง อาคาร (Rehabilitation) ที่มีศักยภาพด้าน โครงสร้างอาคารซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์และเหมาะ แก่การปรับปรุงและเพิ่มการใช้ประโยชน์อาคารใน บริเวณพื้นที่ต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ P1-4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยและการ ศึกษา พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัยและการ ศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส�ำคัญในการพัฒนา บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จากการเป็น ที่ต้องการของตลาดแรงงานและเป็นส่วนหนึ่งในการ ผลักดันให้เกิดพื้นที่โอกาสทางธุรกิจ P1-5 ส่งเสริมการใช้งานพื้นที่ให้มีความหนาแน่นมาก ขึ้น เพิ่มความหนาแน่นในพื้นที่เมืองเดิมที่มีการใช้ งานที่มีความหนาแน่นต�่ำในบริเวณพื้นที่รอบสถานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนาเป็นศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค P1-6 ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน ส่งเสริม ภาคเอกชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างและ พัฒนาพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจโดยเฉพาะธุรกิจที่ เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและการต่อยอดความคิด สร้างสรรค์

64

P2-3 อนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์ (Conservation) ใน ด้านศิลปะและวัฒนธรรมของเมืองโคราช สร้างอัต ลักษณ์ที่โดดเด่นให้กับเมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยว และธุรกิจท้องถิ่นภายในเมือง P2-5 ส่งเสริมการใช้งานพื้นที่ให้มีความหนาแน่นมาก เพิ่มความหนาแน่นและความหลากหลายในการใช้ ประโยชน์อาคาร ให้มีการใช้งานเป็นพื้นที่พาณิชยกร รม ที่อยู่อาศัยและพื้นที่สร้างสรรค์ เพิ่มความหลาก หลายของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่มากขึ้น P2-6 ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน ส่งเสริม การลงทุนและการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนทั้ง ภายในและภายนอกพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนธุรกิจที่ ช่วยส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นและสถานที่ท่อง เที่ยวภายในเมือง


P3 : ใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่า สร้างพื้นที่และสภาพ แวดล้อมที่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์

P4 : ส่งเสริมศูนย์กลางทางการแพทย์ พัฒนาพื้นที่ ส่งเสริมระบบการศึกษาควบคู่การบริการทางการ แพทย์ รองรับการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของ ภาคอีสาน

P3-1 พัฒนาพื้นที่เมืองใหม่ สร้างอาคารรูปแบบใหม่ บนพื้นที่แหล่งวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการ ต่อยอดจากความคิดสร้างสรรค์

P4-4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยและการ ศึกษา สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานด้วยระบบ เทคโนโลยีและดิจิทัล รองรับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ กิจกรรมด้านการวิจัยและการศึกษา

P3-2 ปรับปรุงอาคารและสถานที่สำ�คัญ ปรับปรุง อาคารชุดและห้องแถวบนพื้นที่แหล่งวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการต่อยอดจาก ความคิดสร้างสรรค์

P4-6 ส่งเสริมการลงทุนของเอกชน ก�ำหนด มาตรการส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชน โดยการ สร้างผลตอบแทนแลกเปลี่ยนในพัฒนาการโครงการ

P3-5 ส่งเสริมการใช้งานพื้นที่ ให้มีความหนาแน่น ปรับปรุงและเพิ่มการใช้งานอาคารให้เกิดการใช้งาน แบบผสมผสานรองรับกิจกรรมและผู้ใช้งานที่หลาก หลายบนพื้นที่ P3-6 ส่งเสริมการลงทุนของเอกชน สร้างนโยบาย และมาตรการส่งเสริมการลงทุนทางธุรกิจด้านการ วิจัยและพัฒนาควบคู่กับการต่อยอดความคิด สร้างสรรค์

65


มหานครโคราช 2040

LIVABILITY เป้าหมาย 2 เป็นมหานครที่เต็มไปด้วยทางเลือกในการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ ตอบรับสังคมและเศรษฐกิจที่หลากหลาย มหานครโคราชจะเป็นเมืองที่มีความน่าอยู่ มีสุขภาวะของเมืองดี ปลอดมลพิษทางอากาศและของ เสียในเมือง โดยสามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี ประชากรมีทางเลือกในการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ตนอยากอยู่ ใกล้แหล่งงาน ใกล้ ขนส่งมวลชนและใกล้พื้นที่สาธารณะ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาด้านค่าใช้จ่ายเพื่อการอยู่อาศัย และการเดินทาง รวมถึงการมีทรัพยกรมนุษย์ที่มีคุณภาพจากการมีแหล่งเรียนรู้สาธารณะที่ครอบ คุมทั่วถึง เปิดโอกาสให้คนทุกระดับมาเเลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ทักษะซึ่งกันเเละกัน การมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตด้วยพื้นที่ทางสุขภาวะที่ออกแบบรองรับคนทุกระดับให้มีโอกาส เข้าถึงอย่างเท่าเทียม สร้างความเป็นระแวกบ้านเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของชุมชน เกิดความ ภาคภูมิใจด้วยอัตลักษณ์ทางมรดกวัฒนธรรมที่ถูกยกย่อง เชิดชูให้เป็นที่รู้จัก ต่อยอดประเพณี วัฒนธรรมรูปแบบใหม่อย่างผสมผสานซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว และกลายเป็นหมุดหมายส�ำคัญแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

66


L2-2

L2-1

L3-1

L4-1

L1-6

L1-3

L1-1

L2-3

L2-4

L2-5

L2-6

L3-3

L3-4

L3-5

L3-6

L4-6

L4-2

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน การยกระดับคุณภาพชีวิต ประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์ระดับรอง คือ L1 เพิ่มทางเลือกของที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุก ระดับ L2 สนับสนุนให้เกิดย่านเรียนรู้สร้างสรรค์ L3 ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับ สุขภาพและสังคม L4 ผลักดันการสร้างมูลค่าด้วยมรดกวัฒน ธรรม

กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ 1. พัฒนาฟื้นฟูอาคารหรือพื้นที่สาธารณะ 2. อนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่มรดกวัฒนธรรม 3. ส่งเสริมการใช้งานพื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ 4. เพิ่มสาธารณูปการด้านพื้นที่สาธารณะ 5. เชื่อมพื้นที่สถานศึกษาสู่สาธารณะ 6. ส่งเสริมการลงทุนจากเอกชน 7. เพิ่มสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพื้นฐาน

67


มหานครโคราช 2040

L1 : เพิ่มทางเลือกของที่อยู่อาศัยสำ�หรับคนทุกระดับ การท�ำที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ (Mix-income Affordable Housing)

L2 : สนับสนุนให้เกิดย่านเรียนรู้สร้างสรรค์ สร้าง พื้นที่เรียนรู้และสร้างสรรค์ ในพื้นที่ทางการศึกษา

L1-1 พัฒนาฟื้นฟูอาคารหรือพื้นที่สาธารณะ สร้าง อาคารใหม่ในบริเวณที่ดินขนาดใหญ่ที่สามารถ จัดการง่าย เเทนที่อาคารเดิมที่มีการใช้งานไม่คุ้มค่า เเละไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับศักยภาพของพื้นที่ที่สูง ขึ้น

L2-1 พัฒนาฟื้นฟูอาคารหรือพื้นที่สาธารณะ ฟื้นฟู พื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เดิม ให้สามารถตอบรับกับ พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไในปัจจุบัน ให้ คนทุกระดับสามารถเเลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกันได้

L1-3 ส่งเสริมการใช้งานพื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ ส่ง เสริมการใช้งานอาคารแบบผสมผสานในบริเวณ คูเมืองเก่า เช่น ตึกแถว ห้องแถว อาคารราชการเก่า เป็นต้น

L2-3 ส่งเสริมการใช้งานพื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ เพิ่มการใช้งานใหม่ในอาคารหรือพื้นที่เรียนรู้เดิม ให้ มีความหลากหลายการใช้งานที่ผสมผสาน รวมถึง การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่าน กิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติจริง

L1-6 ส่งเสริมการลงทุนจากเอกชน สร้างมาตรการ ดึงดูดให้เอกชนลงทุนประกอบการด้านที่อยู่อาศัย ส�ำหรับคนทุกระดับ เช่น มาตรการด้านการเงิน โดย ให้ความส�ำคัญกับผลตอบแทนที่เอกชนจะได้รับ

L2-5 เชื่อมโยงพื้นที่สถานศึกษาสู่สาธารณะ เปิด โอกาสให้คนภายนอก เข้าใช้งานพื้นที่เรียนรู้และ สร้างสรรค์ของสถานศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ ความรู้ของทุกภาคส่วน

68


L3 : ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม สร้างพื้นที่และบริการสาธารณะที่ประกอบ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายรองรับคนทุกระดับ

L4 : ผลักดันการสร้างมูลค่าด้วยมรดกวัฒนธรรม ฟื้นฟูวัฒนธรรมเก่า ผลักดันให้เกิดการต่อยอดจาก วัฒนธรรมใหม่

L3-1 พัฒนาฟื้นฟูอาคารหรือพื้นที่สาธารณะ พัฒนา ฟื้นฟูอาคารและพื้นที่สาธารณะให้มีคุณภาพ รองรับ การเข้ามาใช้งานส�ำหรับคนทุกประเภท โดยยึดหลัก การการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design)

L4-1 พัฒนาฟื้นฟูอาคารหรือพื้นที่สาธารณะ พัฒนา ฟื้นฟูอาคารเดิมที่มีคุณค่าและอาคารที่เกี่ยวข้องโดย รอบให้ต่อเนื่องสวยงาม ส่งเสริมการเป็นพื้นที่ท่อง เที่ยวเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมของเมือง

L3-3 ส่งเสริมการใช้งานพื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ เพิ่ม การใช้งานในพื้นที่สาธารณะเดิมที่มีการใช้งาน ประเภทเดียวให้มีกิจกรรมที่หลากหลายดึงดูดความ ต้องการของคนทุกประเภท

L4-2 อนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่มรดกวัฒนธรรม อนุรักษ์ มรดกวัฒนธรรมส�ำคัญในพื้นที่และสร้างอัตลักษณ์ ให้กับพื้นที่เหล่านั้นให้เกิดการเชิดชูสู่ภูมิภาค

L3-4 เพิ่มสาธารณูปการด้านพื้นที่สาธารณะ เพิ่ม พื้นที่สาธารณะในย่านชุมชนทั้งในและนอกเมืองให้ ครอบคุมทั่วถึง เปิดโอกาสให้เกิดการเข้าถึงได้อย่าง เท่าเทียม

L4-6 ส่งเสริมการลงทุนจากเอกชน ก�ำหนด แนวทางและมาตรการในการลงทุนเพื่อให้ชุมชนหรือ เอกชนอนุรักษ์อาคารโดยได้รับสิทธิพิเศษ เช่น มาตรการถ่ายโอนสิทธิพัฒนาพื้นที่ Transfer of Development Rights (TDR)

L3-5 เชื่อมพื้นที่สถานศึกษาสู่สาธารณะ เปิดพื้นที่ สาธารณะของสถานศึกษา เช่น พื้นที่สนามกีฬาในร่ม หรือในอาคาร ที่อยู่ใกล้กับชุมชนโดยรอบเพื่อให้ คนในชุมชนสามารถเข้าไปใช้ ลดภาระของรัฐในการ สร้างพื้นที่สาธารณะใหม่ให้กับชุมชน L3-6 ส่งเสริมการลงทุนจากเอกชน สร้างมาตรการ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการสร้างสาธารณูปการจาก การขยายตัวของเมือง โดยเป็นมาตรการแลกเปลี่ยน และให้ผลประโยชน์ต่อเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการ สร้างสาธารณูปการในเมือง L3-7 เพิ่มสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพื้นฐาน เพิ่มสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพื้นฐานในพื้นที่ นอกเมืองที่มีการโตของเมือง ให้รองรับกับจ�ำนวน ประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

69


มหานครโคราช 2040

CONNECTIVITY

เป้าหมาย 3 เป็นมหานครที่เชื่อมโยงการใช้ชีวิตและ เศรษฐกิจอย่างสมดุล ทั้งในระดับเมืองและภูมิภาค การเชื่อมโยงกิจกรรมเมืองเป็นองค์ประกอบส�ำคัญที่ท�ำให้เมืองมีความสมบูรณ์ จากโครงสร้างพื้น ฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่มีคุณภาพ ส่งผลให้คนเมืองมีทางเลือกในการเดินทางระหว่างแหล่ง ที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และพื้นที่สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านเวลา ระยะทาง ค่าใช้จ่าย และความปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงความเป็นเมืองเดินดีจากการมีทางเท้าที่ออกแบบเพื่อ การใช้งานของทุกคน ควบคู่ไปกับการรองรับการใช้พาหนะพลังงานสะอาดที่ค�ำนึงถึงการลดผลก ระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น มหานครโคราชจะเป็นส่วนหนึ่งในโครงข่ายการเชื่อม โยงระบบเศรษฐกิจที่ส�ำคัญในระดับภูมิภาค จากการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ต่อเนื่องจากการ ลงทุนด้านระบบราง โครงข่ายถนน และท่าอากาศยานระหว่างประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพของการ ขนสิ่งสินค้าและการติดต่อทางธุรกิจ ผ่านการให้บริการโครงข่ายดิจิทัล ที่ตอบสนองความเป็น เมืองนวัตกรรมแห่งภาคอีสาน

70


C1-1

C1-2

C1-3

C1-4

C1-5

C1-6

C1-7

C1-8

C2-1

C2-2

C2-3

C2-4

C2-5

C2-6

C2-7

C2-8

C3-1

C3-2

C3-3

C3-4

C3-5

C3-6

C3-7

C3-8

C4-1

C4-2

C4-3

C4-4

C4-5

C4-6

C4-7

C4-8

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน การส่งเสริมความเชื่อมโยง ประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์ระดับรอง คือ C1 พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C2 พัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการเพิ่มมูลค่า ทางเศรษฐกิจ C3 สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่ เมืองพร้อมบริหารจัดการทิศทางและ ระดับการเติบโตของเมือง C4 พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยง กิจกรรมทุกมิติในพื้นที่เมือง

กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ 1. พัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่โดยรอบ (TOD) 2. สร้างโครงข่าย LRT และพัฒนาขนส่งสาธารณะ ระบบรอง 3. ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะและยาน พาหนะพลังงานสะอาด 4. ส่งเสริมการใช้งานทางเท้า 5. เชื่อมโยงกิจกรรมและการใช้ประโยชน์ของเมือง 6. เชื่อมต่อโครงข่ายถนน 7. ส่งเสริมโครงข่ายการขนส่งระหว่างเมือง 8. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลและการให้บริการของเมือง

71


มหานครโคราช 2040

C1 : พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน พัฒนาระบบ ขนส่งเมือง เพื่อรองรับการใช้งานของประชากรทุก ระดับอย่างมีประสิทธิภาพ

C2 : พัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการเพิ่มมูล ค่าทาง เศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพทางการขนส่งสินค้าผ่านการ พัฒนาระบบขนสินค้าส่งทางถนน ทางราง และทาง อากาศ

C1-1 พัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่โดย รอบ (TOD) ปรับปรุงพื้นที่สถานีรถไฟนครราชสีมา รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง และพัฒนาพื้นที่ ต่อเนื่องรอบสถานี (TOD) เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ของภาคอีสาน

C2-5 เชื่อมโยงกิจกรรมและการใช้ประโยชน์ของ เมือง เชื่อมโยงแหล่งวิจัย มหาวิทยาลัย พื้นที่ อุตสาหกรรม และศูนย์กระจายสินค้า ผ่านการ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมทางถนน

C1-2 สร้างโครงข่าย LRT และพัฒนาขน ส่ง สาธารณะระบบรอง สร้างโครงข่ายขนส่งสาธารณะ รางเบา (LRT) ครอบคลุมพื้นที่และกิจกรรมของ เมืองโคราช และปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะเดิม ให้รองรับความต้องการในการใช้งานของประชากร C1-3 ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะและยาน พาหนะพลังงานสะอาด สร้างมาตรการเชิงบวก ส่ง เสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะของเมืองและการ ใช้งานพาหนะพลังงานสะอาด และสร้างมาตรการ เชิงลบในการควบคุมปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนตัว C1-4 ส่งเสริมการใช้งานทางเท้า ปรับปรุงทางเท้าใน บริเวณที่มีศักภาพในการเชื่อมโยงกิจกรรมเมือง และ เพิ่มองค์ประกอบทางเท้าส่งเสริมการใช้งานการเดิน C1-6 เชื่อมต่อโครงข่ายถนน เพิ่มถนนวงแหวนเชื่อม ต่อกับถนนสายหลัก สร้างความต่อเนื่องของเนื้อ เมือง C1-7 ส่งเสริมโครงข่ายการขนส่งระหว่างเมือง สนับสนุนการใช้งานสนามบินนครราชสีมา ผ่านการ พัฒนาโครงข่ายการขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงสนาม บินเข้าสู่พื้นที่เมือง C1-8 พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลของเมือง เพิ่ม โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลใน การควบคุมและสนับสนุนระบบขนส่งของเมือง เพื่อ ประสิทธิภาพทาง การจราจร 72

C2-6 เชื่อมต่อโครงข่ายถนน สนับสนุนระบบขนส่ง สินค้า เชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมและศูนย์กระจาย สินค้าผ่านมาตรการส่งเสริมการใช้งานถนนวงแหวน และการเชื่อมโยงกับถนนสายประธานเพื่อกระจาย สินค้าในระดับภูมิภาค C2-7 ส่งเสริมโครงข่ายการขนส่งระหว่างเมือง ส่ง เสริมการใช้งานระบบขนส่งสินค้าทางอากาศ เชื่อม ต่อระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรม ศูนย์กระจายสินค้า และสนามบินโคราช ผ่านการพัฒนาโครงข่ายการ คมนาคม C2-8 พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลและการให้บริการของ เมือง สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการควบคุมระบบ ขนส่งสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่ง รวมถึง ลดระยะเวลาและต้นทุนค่าขนส่ง


C3 : สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่เมือง พร้อมบริหารจัดการทิศทางและระดับการเติบโตของ เมือง สนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่เชื่อมโยงกิจกรรมที่ เกิดขึ้นในเมือง และส่งเสริมให้เกิดเมืองกระชับ

C4 : พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทาง เทคโนโลยี และระบบดิจิทัลที่สนับสนุนกิจกรรม ภายในเมือง

C3-1 พัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่โดย รอบ (TOD) พัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องรอบสถานี (TOD) เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ รวมถึงการสร้างความ กระชับของเนื้อเมือง ผ่านการจัดท�ำและพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่

C4-1 พัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่โดย รอบ (TOD) ส่งเสริมการใช้งานสถานีรถไฟความเร็ว สูง และสนับสนุนการประกอบการในพื้นที่ศูนย์กลาง เศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ต่อเนื่องรอบสถานี (TOD) ผ่านการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและ ระบบดิจิทัล

C3-2 สร้างโครงข่าย LRT และพัฒนาขน ส่ง สาธารณะระบบรอง สร้างโครงข่ายขนส่งสาธารณะ รางเบา (LRT) และพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเดิม ให้ครอบคลุมพื้นที่และกิจกรรมของเมืองโคราช C3-4 ส่งเสริมการใช้งานทางเท้า ส่งเสริมการใช้งาน ทางเท้าในบริเวณที่มีศักภาพในการเชื่อมโยง กิจกรรมเมืองและเพิ่มองค์ประกอบทางเท้าระหว่าง ทาง C3-6 เชื่อมต่อโครงข่ายถนน สร้างความต่อเนื่อง ของเนื้อเมืองและเชื่อมโยงกิจกรรมเมือง โดยการ เพิ่มถนนวงแหวนเชื่อมต่อกับถนนสายหลัก และ รองรับการเดินทางของพื้นที่เมืองที่เกิดขึ้นใหม่ C3-8 พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลและการให้บริการของ เมือง เพิ่มโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและระบบ ดิจิทัลในพื้นที่เมือง ส่งเสริมและดึง ดูดการใช้งานใน พื้นที่ยุทธศาสตร์ เช่น การบริการโครงข่าย อินเทอร์เน็ตไร้สาย

C4-2 สร้างโครงข่าย LRT และพัฒนาขน ส่ง สาธารณะระบบรอง ส่งเสริมการใช้โครงสร้างพื้นฐาน ทางเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล ในการควบคุมระบบ ขนส่งสาธารณะ สร้างความเสถียรภาพและเพิ่ม คุณภาพในการให้บริการ C4-3 ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ส่งเสริม การใช้งานระบบขนส่งสาธารณะในระบบดิจิทัล เช่น ระบบค�ำนวนระยะเวลาที่ใช้ในการโดยสารขนส่ง มวลชนจากสภาพการจราจรในปัจจุบัน C4-4 ส่งเสริมการใช้งานทางเท้า ส่งเสริมการใช้ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล ให้ บริการครอบ คลุมบริเวณทางเท้าในพื้นที่ยุทธศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการใช้งานและกิจกรรมในเมือง C4-5 เชื่อมโยงกิจกรรมและการใช้ประโยชน์ของ เมือง เชื่อมโยงแหล่งวิจัย มหาวิทยาลัย พื้นที่ อุตสาหกรรม และศูนย์กระจายสินค้า ผ่านการให้ บริการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและระบบ ดิจิทัล C4-8 พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลและการให้บริการของ เมือง ผลักดันการใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี และระบบดิจิทัล ให้มีการใช้งานในทุก ๆ ระบบของ เมือง สร้างความมั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจ การอยู่ อาศัย และการเชื่อมโยงเมืองในทุก ๆ มิติ 73


มหานครโคราช 2040

74


พื้นที่ยุทธศาสตร์ จากการวิเคราะห์ พบพื้นที่ที่มีประเด็นด้านความท้าทาย โอกาสและ ศักยภาพกระจุกตัวในพื้นที่เมือง 6 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา 4 แห่ง พื้นที่เมืองจอหอและพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุร นารี โดยมีมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนและเข้มข้น นอกจากนี้แผนพัฒนากล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม การเกษตร อีกทั้งเป็นจุดเชื่อมโยงภูมิภาคไทย-จีน น�ำมาสู่การวิเคราะห์ และก�ำหนดพื้นที่แหล่งอุตสาหกรรมของโคราชอีก 2 แห่ง และสนามบินอีก 1 แห่ง ให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ส�ำหรับแผนพัฒนามหานครโคราช 2040 รวมแล้วทั้งหมด 9 จุด เพื่อก�ำหนดนโยบายและโครงการพัฒนาเมือง ที่จะ ส่งผลถึงความเปลี่ยนแปลงให้วิสัยทัศน์สามารถเกิดขึ้นจริง

75


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ของมหานครโคราช

76


77


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ 1

สถานีรถไฟนครราชสีมา เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่: ศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่สถานีรถไฟ นครราชสีมา

บริเวณพื้นที่สถานีรถไฟนครราชสีมาในอนาคตจะมี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ ผ่านโครงการพัฒนาสถานีรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้า ความเร็วสูงเชื่อมต่อไทย-จีน ซึ่งเปิดโอกาสการเชื่อม ต่อกับภูมิภาคโดยรอบและเมืองคุณหมิง (จีน) จาก การพัฒนาดังกล่าวจะท�ำให้พื้นที่แห่งนี้รวมถึงพื้นที่ รอบสถานีกลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของโคราช สอดคล้องกับประชากรที่ถูกคาดการณ์ว่ามีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น จึงเกิดเป็นความท้าทายในการบริหารจัดการ เมืองที่ต้องตระหนักถึงหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้าน การอยู่อาศัยที่ยังขาดตัวเลือกไม่ครอบคลุมส�ำหรับ คนทุกระดับ ด้านการบริการจัดการทรัพยากรน�้ำและ ขยะในพื้นที่ซึ่งมีกิจกรรมทางเศรษกิจเข้มข้น ด้าน การคมนาคมขนสาธารณะที่โครงข่ายยังขาดการ เชื่อมต่อกับพื้นที่เมืองส่วนอื่น ๆ ตลอดจนการ สัญจรในพื้นที่ที่ไม่ได้รับความสะดวกสบาย ทั้งนี้จึง เกิดความจ�ำเป็นที่ในการวางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ เพื่อผลักดันและเป็นกรอบการพัฒนาพื้นที่ให้กลาย เป็นตัวขับเคลื่อนสู่มหานครแห่งอีสาน การพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟนครราชสีมาให้เป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ของเมืองโคราชสามารถตอบ เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม สร้างสรรค์และพื้นที่แห่งโอกาสส�ำหรับผู้ประกอบการ ยุคใหม่โดยการใช้ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 78

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

P2. พัฒนาธุรกิจท้องถิ่นและกิจกรรมส่งเสริมการ ท่องเที่ยว เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ของเมือง

การยกระดับคุณภาพชีวิต

L3. ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม

การส่งเสริมความเชื่อมโยง

C1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C2. พัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการเพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจ C4. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง


79


มหานครโคราช 2040

โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง

มาตรการรวมกรรมสิทธิ์ ที่ดินและชดเชยสิทธิ ทาง ตั้ง

คือการน�ำแปลงที่ดินขนาดเล็กรอบ พื้นที่สถานีมาท�ำการรวม กรรมสิทธิ์ เพื่อพัฒนาโครงการ ขนาดใหญ่รอบสถานีได้ แล้ว ชดเชยกรรมสิทธิทางตั้งคืน โดยมี มูลค่าของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น

โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง

พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงให้เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมทาง เศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยมีการใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ศูนย์ประชุม พื้นที่จัดแสดงสินค้า พื้นที่พาณิชยกรรมผสมผสานและส�ำนักงาน เพื่อ เป็นพื้นที่โอกาสทางธุรกิจแห่งใหม่ของเมือง เป็นพื้นที่พบปะระหว่างผู้ ประกอบการนักธุรกิจและนักลงทุน โดยเชื่อมต่อกับพื้นที่เปลี่ยนถ่าย การเดินทางและพื้นที่สีเขียว รวมไปถึงเป็นสถานที่จัดแสดงดนตรีและ เพลงลูกทุ่งอีสาน ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ กับเมือง ทั้งนี้ยังมีการเชื่อมต่อพื้นที่ไปยังเดอะมอลล์ โคราช และพื้นที่ ตามแนวถนนโพธิ์กลางเพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจและการท่อง เที่ยวภายในบริเวณคูเมืองเก่า

โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง

พัฒนาการค้าพาณิชยกรรมท้องถิ่นในพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจใหม่ โดยการเพิ่มตลาดนัดจ�ำหน่ายสินค้าท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของเมือง

โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง 80


โคราช เพื่อให้สินค้าท้องถิ่นได้เป็นที่รู้จักแก่ผู้ที่มาประกอบธุรกรรมใน พื้นที่ เป็นการช่วยฟื้นฟูย่านการค้าที่ส�ำคัญของเมืองโคราช

โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำ�หรับคนทุกระดับ

พัฒนาที่พักทหารเป็นที่อยู่อาศัยหลากหลายระดับรายได้ (Mixed-income Housing) และพื้นที่การใช้งานแบบผสมผสาน (mixed-use) รวมอยู่ในอาคารเดียวกัน เพื่อรองรับกลุ่มคนท�ำงานจากพื้นที่ศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจสถานีรถไฟนครราชสีมา โดยโครงการจะเน้นให้เป็นการ อยู่อาศัยในรูปแบบ Leasehold หรือ การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็น หลัก เนื่องจากรายได้เฉลี่ยของคนโคราชส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถใน การซื้อบ้าน และจะมีการก�ำหนดให้ค่าเช่าอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน30% ของ รายได้ผู้เช่าแต่ละระดับ รายละเอียดโครงการจะมีการการสร้างอาคาร พักอาศัยความสูงปานกลาง (Mid-rise) แทนที่อาคารเดิมในที่เป็น อาคารบ้านพักทหารซึ่งเป็นบ้านแถวสองชั้น มีการแบ่งพื้นที่ไว้ส�ำหรับ ทหารจากบ้านพักเดิมที่ถูกย้ายรูปแบบการอยู่อาศัยมาเป็นอาคารสูง ปานกลาง พื้นที่อยู่อาศัยส�ำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน พัฒนาเมือง และพื้นที่ส�ำหรับคนท�ำงานย่านในเมือง

มาตรการส่งเสริมการ พัฒนาที่อยู่อาศัยบนพื้นที่ ราชพัสดุ

เป็นการร่วมมือกันระหว่าง ส�ำนักงานเคหะชุมชนนครราชสีมา และส�ำนักงานสัสดีนครราชสีมา โดยการเคหะลงทุนด�ำเนินการ ที่พักอาศัยในพื้นที่ทหาร

มาตรการส่งเสริมให้เอกชนทำ�พื้นที่เพื่อประโยชน์ สาธารณะโดยแลกกับการให้สิทธิพิเศษ (FAR Bonus)

เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนด�ำเนินการพัฒนาที่ดินและสิ่ง ปลูกสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะตามวัตถุประสงค์ของผังเมือง รวม โดยแลกกับการให้สิทธิพิเศษที่อนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถเพิ่ม อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio) ในแปลง ที่ดินหนึ่งได้มากกว่าที่ก�ำหนดไว้ในข้อก�ำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตาม ผังเมืองรวม ซึ่งเหมาะสมในการส่งเสริมให้มีการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐานในบริเวณพื้นที่เมืองที่มีความต้องการพัฒนาที่ดิน

โครงการพัฒนาทีอ ่ ยูอ ่ าศัยสำ�หรับคนทุกระดับ 81


มหานครโคราช 2040

โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง

มาตรการส่งเสริมการ ลงทุนจากเอกชน

โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อ เนื่อง

โดยการส่งเสริมให้เอกชนเข้าร่วม สัมปทานพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟ และพื้นที่พาณิชยกรรมโดยรอบ รวมถึงการเปิดโอกาสให้เอกชน เข้ามาสัมปทานจัดท�ำ สาธารณูปโภคที่สนับสนุนการ ด�ำเนินการในย่านเศรษฐกิจ เพื่อ การได้ประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ภาคส่วน

การพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูง และพื้นที่ต่อเนื่องรอบสถานี โดยใช้การปรับเปลี่ยนรูปแบบสถานีเพื่อรองรับการคมนาคมขนส่ง หลายรูปแบบ ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และรถโดยสารปรับ อากาศซึ่งเป็นการคมนาคมระดับภูมิภาค และระบบขนส่งสาธารณะ ของเมืองในระบบรางเบาและการขนส่งระบบรอง โดยการออกแบบ และก�ำหนดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สถานีและพื้นที่โดยรอบ ได้ค�ำนึง ถึงการส่งเสริมการพัฒนาเมืองในย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจ โดยในตัว โครงการ มีการจัดท�ำโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของเมือง การจัดการพื้นที่พาณิชกรรม พื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่สาธารณะ การ ก�ำหนดใช้ประโยชน์อาคารที่มีความผสมผสานและหลากหลาย การ สร้างโครงข่ายการสัญจรทางเท้า รวมถึงการสร้างพื้นที่เมืองให้เกิด ความกระชับและมีการใช้งานของพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็น ส่วนช่วยในการสนับสนุนการใช้งานขนส่งสาธารณะของเมืองได้

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

ผ่านการบริการขนส่งสาธารณะ ของเมือง เพื่อสนับสนุนระบบ เศรษฐกิจ และมาตรการส่งเสริม การใช้บริการขนส่งสาธารณะ ผ่าน การลดหย่อนค่าโดยสารให้กับ คนในพื้นที่ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี แก่คนโคราช 82

การพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูง และพื้นที่ต่อเนื่องรอบสถานี โดยใช้การปรับเปล การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในเมืองผ่าน การจัดท�ำรถไฟฟ้ารางเบาและขนส่งสาธารณะระบบรอง ในรูปแบบรถ สองแถวอัจฉริยะในระยะภายในเมือง และรถโดยสารประจ�ำทางที่ให้ บริการระหว่างเมือง เพื่อการลดการใช้พาหนะส่วนตัว เพิ่ม ประสิทธิภาพทางการจราจร ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่ม คุณภาพชีวิตที่ดีในโคราช โดยการจัดท�ำโครงข่ายครอบคลุมกิจกรรม และสถานที่ส�ำคัญภายในเมืองโคราช ในบริเวณพื้นที่สถานีรถไฟ นครราชสีมาจึงเป็นจุดเปลี่ยนผ่านในการเชื่อมโยงและกระจายปริมาณ


การเดินทางจากการใช้บริการรถไฟเข้าสู่พื้นที่เมืองผ่านบริการ สาธารณะนี้ และเป็นจุดส�ำคัญที่โครงข่ายการคมนาคมจะเชื่อมโยงพื้นที่ ศูนย์กลางเศรษฐกิจบริเวณรอบสถานี กับความต้องการในการเดินทาง จากพื้นที่ต่างๆ เพื่อการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเมือง

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะ พลังงานสะอาด

การปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและยานพาหนะพลังงานสะอาด เป็นโครงการที่จัดท�ำขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง โดยการ เดินเป็นทางเลือกในการสัญจรที่มีต้นทุนน้อยที่สุด แต่ให้ประสิทธิภาพ และผลในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของเมืองสูงที่สุด โดย โครงการ มีการปรับปรุงโครงข่ายและคุณภาพทางเท้าที่มีอยู่เดิม ให้ สามารถดึงดูดการใช้งาน โดยการออกแบบทางเท้าได้ค�ำนึงถึงการใช้ งานของคนทุกระดับ และการใช้งานพาหนะส่วนตัวขนาดเล็กที่เป็น พลังงานสะอาด และการด�ำเนินโครงการยังก�ำหนดเส้นทางเดินในย่าน ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ในพื้นที่บริเวณนี้ มีการก�ำหนดเส้นทางเดิน ภายในย่านเพื่อสนับสนุนความเป็นย่านพาณิชยกรรม สร้างความต่อ เนื่องระหว่างการใช้งานภายในย่าน และสร้างโครงข่ายความต่อเนื่อง ระหว่างพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจและพื้นที่เมืองอื่น ๆ ที่ส�ำคัญในระยะ เดินที่เหมาะสม

โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

การพัฒนาโครงข่ายดิจิทัล เป็นการพัฒนาเมืองที่ใช้ระบบเทคโนโลยีใน การควบคุมและบริหารจัดการเมืองอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ โดย ในพื้นที่ มีการวางโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูงโดยใช้เทคโนโลยีในการ ควบคุมจัดการ เพื่อส่งเสริมการด�ำเนินการของภาคเอกชนในย่าน ศูนย์กลางเศรษฐกิจของเมือง ทั้งการสร้างความเชื่อมโยงของโครงข่าย อัจฉริยะ เพื่อการจัดการและใช้ทรัพยากร การสร้างระบบเครือข่าย ออนไลน์ในพื้นที่เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้และ สนับสนุนการต่อยอดธุรกิจ รวมถึงการเดินทางที่ใช้เทคโนโลยีในการ จัดการอย่างมีประสิทธิภาพ สัมพันธ์กับความต้องการในการใช้งาน ภายในย่าน และผลในการพัฒนาในด้านนี้ของเมือง คือพื้นที่ศูนย์กลาง เศรษฐกิจใหม่จะเป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการใช้ เทคโนโลยีในการบริหารจัดการอย่างสมบูรณ์แบบ

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

ผ่านการปรับปรุงและเพิ่ม โครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบ ทางเท้า เพื่อสนับสนุนการ ประกอบการและกิจกรรมที่เกิดขึ้น ในย่านพาณิชยกรรมและ ศูนย์กลางเศรษฐกิจระหว่างภาค ส่วน

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

ผ่านการจัดท�ำโครงข่ายดิจิทัล เพื่อ สนับสนุนการลงทุนของเอกชน และมาตรการส่งเสริมการ ประกอบการของเอกชน ผ่านการ บริการโครงข่ายอัจฉริยะที่มี ประสิทธิภาพ ในราคาที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับพื้นที่ก�ำลัง พัฒนา

83


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ 2

คูเมืองเก่า

เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่: พื้นที่สีสันการใช้ชีวิตในคูเมืองเก่า

บริเวณคูเมืองเก่าเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบัน กลับกลายเป็นพื้นที่ที่ไร้ผู้คนและเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ ซบเซา อาคารบ้านเรือนเกิดการปล่อยเช่าทิ้งร้าง สะท้อนถึงการใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าในพื้นที่ซึ่งมี ศักยภาพสูง ในขณะเดียวกันราคาที่ดินมีแนวโน้มสูง ขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้คนไม่มีความสามารถในการจ่ายเพื่อ การอยู่อาศัย ส่งผลให้บริเวณคูเมืองกลายเป็นเมือง เก่าอ้างว้างสร้างความท้าทายให้โคราช มากไปกว่า นั้นสภาพทางกายภาพยังไม่ดึงดูดให้คนอยากเข้ามา ในพื้นที่ เนื่องจากการเดิน-ปั่นล�ำบาก โครงข่ายขนส่ง สาธารณะไม่ต่อเนื่อง และพื้นที่สาธารณะไม่ที่ตอบ สนองพฤติกรรมการใช้งานของคนในพื้นที่ ทั้งที่ใน บริเวณคูเมืองเต็มไปด้วยทรัพย์สินอาคารจากยุค โมเดิลจ�ำนวนมาก มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่ส�ำคัญ อย่างคูเมืองและลานย่าโม อีกทั้งมรดกด้าน สถาปัตยกรรมที่มากมายเช่น วัดศาลาลอย วัดบูรพ์ วัดสะแก วัดสระแก้ว เป็นต้น แต่ยังขาดการพัฒนา และการผลักดันให้พื้นที่เหล่านี้มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน การผลักดันให้พื้นที่คูเมืองกลายเป็นพื้นที่มีชีวิตชีวา จากความหลากหลายของกิจกรรมและประชากร จะ น�ำไปสู่ความส�ำเร็จของเป้าหมายหลักที่กล่าวถึง เป็น มหานครที่เต็มไปด้วยทางเลือกในการใช้ชีวิต เชื่อม โยงการใช้ชีวิตและเศรษฐกิจอย่างสมดุล โดยการใช้ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 84

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

P2. พัฒนาธุรกิจท้องถิ่นและกิจกรรมส่งเสริมการ ท่องเที่ยว เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ของเมือง

การยกระดับคุณภาพชีวิต

L1. เพิ่มทางเลือกของที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ L2. สนับสนุนให้เกิดย่านเรียนรู้สร้างสรรค์ L3. ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม L4. ผลักดันการสร้างมูลค่าด้วยมรดกวัฒนธรรม

การส่งเสริมความเชื่อมโยง

C1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C3. สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่เมือง พร้อมบริหารจัดการทิศทางและระดับการ เติบโต ของเมือง C4. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง


85


มหานครโคราช 2040

โครงการพัฒนาธุรกิจการค้าท้องถิ่นและที่อยู่อาศัยแบบผสมผสาน

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม

ปรับปรุงภูมิทัศน์และเพิ่มการใช้งานรูปแบบใหม่ในพื้นที่แนวแกน อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ให้เป็นพื้นที่ต้อนรับก่อนเข้าสู่พื้นที่คูเมืองเก่า ปรับปรุงพื้นที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหารและวัดศาลาลอย ให้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์วัด ให้ มีความสวยงาม สงบ และศักดิ์สิทธิ์ ส่งเสริมสิ่งก่อสร้างและโบราณ สถานที่ส�ำคัญของวัดให้มีความโดดเด่น เป็นจุดหมายตา ควบคุมการใช้ สีของอาคารในบริเวณโดยรอบพื้นที่วัด เพิ่มเส้นทางการท่องเที่ยวยาม ค�่ำคืนบนถนนจอมพล เชื่อมต่อกับพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ได้มี การเพิ่มกิจกรรมและออกแบบพื้นที่สองข้างทางของถนนจอมพล เพื่อ รองรับงานเทศกาล เช่น งานตรุษจีนโคราช งานเฉลิมฉลองวันแห่ง ชัยชนะท้าวสุรนารีและงานแห่เทียนพรรษา ซึ่งการปรับปรุงและพัฒนา จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ ท�ำให้เมืองโคราชกลาย เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 86


โครงการพัฒนาทีอ ่ ยูอ ่ าศัยสำ�หรับคนทุกระดับ

โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำ�หรับคนทุกระดับ

ในพื่นที่คูเมืองสามารถแบ่งการพัฒนาที่อยู่อาศัยออกเป็น 2 สองรูป แบบคือ ที่อยู่อาศัยหลากหลายระดับรายได้และที่อยู่อาศัยราคาต�่ำกว่า ตลาด (Affordable Housing) ที่ออกแบบรองรับคนทุกวัย เพื่อ รองรับคนท�ำงานหรือคนสูงอายุที่มีความต้องการอาศัยอยู่ในเมืองเก่า และเพื่อลดความซบเซาอ้างว้างของเมืองเก่าที่ประสบปัญหาในปัจจุบัน โดยเลือกด�ำเนินการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เรือนจ�ำกลางให้เป็นที่อยู่ อาศัยหลากหลายระดับรายได้ ร่วมกับการใช้งานแบบผสมผสาน เนื่องจากในอนาคตพื้นที่บริเวณนี้จะมีความซบเซาลงจากการที่สถานที่ ราชการย้ายออกจากคูเมือง และเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาคารว่างไร้ การใช้งานจึงเหมาะสมอย่างยิ่งในการพัฒนาโครงการในพื้นที่นี้ การ พัฒนาอีกรูปแบบ เลือกด�ำเนินการในบริเวณชุมชนจิระพัฒนา ให้เป็นที่ อยู่อาศัยราคาต�่ำกว่าตลาด โดยด�ำเนินการสร้างอาคารพักอาศัยใหม่ เป็นอาคารสูงปานกลาง ให้คนในชุมชนมีคุณภาพการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น

โครงการพัฒนาธุรกิจการค้าท้องถิ่นและที่อยู่อาศัยแบบ ผสมผสาน

พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่การค้าท้องถิ่นในคูเมืองเก่าให้มีความต่อเนื่อง ทางการค้า เพื่อเพิ่มความสามารถในการค้าขายของร้านค้า พร้อม กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมและการรวมกลุ่มทางการค้า แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ย่านด้วยกัน คือ ย่านการค้าใหม่ ปรับปรุงศูนย์การค้าคลังพลาซ่า อัษฎางค์ ให้เป็นพื้นที่ดึงดูดหลักในย่านและสร้างพื้นที่ต่อเนื่องทางการ ค้าในบริเวณโดยรอบ ย่านกินดื่ม ย่านราชการ บริการชุมชนและย่าน การค้าชุมชน พัฒนาตลาดประตูผีให้เป็นตลาดท่องเที่ยวชุมชน ช่วยส่ง เสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในคูเมือง ทั้งในพื้นที่ด�ำเนินการทั้งหมด จะมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยควบคู่กันไปด้วย ท�ำให้เกิดการใช้ประโยชน์ อาคารที่มีประสิทธิภาพและเกิดความหลากหลายของกิจกรรม

มาตรการส่งเสริมให้ เอกชน-รัฐร่วมมือกัน พัฒนา

เปิดโอกาสให้เอกชนสารถเช่าที่ ของรัฐเพื่อพัฒนาเป็นอาคารที่พัก อาศัยโดยมีข้อก�ำหนดท�ำเพื่อ สาธารณะแลกเปลี่ยนกับผล ประโยชน์ของเอกชน

มาตรการภาษีที่ดินและสิ่ง ปลูกสร้าง

โดยการเพิ่มอัตราการเก็บภาษีใน อาคารที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ อาคารเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชน พัฒนาพื้นที่ ที่ไม่มีการใช้ ประโยชน์

87


มหานครโคราช 2040

โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม

มาตรการเชิงลบผังเมืองเฉพาะ โดยการใช้อ� ำ นาจทางกฎหมาย บั ง คั บ ใช้ผั ง เมื อ งเฉพาะเพื่ อ การ รั ก ษาภู มิ ทั ศ น์ที่ เ ป็น อั ต ลั ก ษณ์ (ก�ำหนดแนวทางการออกแบบและ การอนุรักษ์) มาตรการโอนสิทธิการพัฒนา (TDR) ให้เอกชนในพื้นที่เขตอนุรักษ์ได้รับ การชดเชยจากการถู ก จ� ำ กั ด สิ ท ธิ พัฒนา โดยการโอนขายสิทธิ พัฒนาให้กับพื้นที่อื่น

โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม พัฒนาฟื้นฟูอาคารเดิมที่มีคุณค่าและอาคารที่เกี่ยวข้องโดยรอบให้ต่อ เนื่องสวยงาม และส่งเสริมการเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเรียนรู้มรดก วัฒนธรรมของเมือง โดยโครงการได้สนับสนุนผ่านวัฒนธรรมดนตรี อีสาน มีการปรับปรุงพื้นที่ลานย่าโมเพื่อรองรับการจัดงานเทศกาล ส�ำคัญและการจัดแสดงดนตรี เปลี่ยนการใช้งานอาคารบริเวณลานย่า โมให้รองรับการอยู่อาศัยชั่วคราวในช่วงที่มีเทศกาล และเพิ่มการใช้ งานอาคารโรงแรมเมืองทองให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และจัดแสดงเพลงโคราช เพื่อรักษามรดกวัฒนธรรมของโคราช อีกทั้งยังเพิ่มการใช้งานอาคาร ตอนกลางคืนบนถนนยมราชเพื่อสร้างให้เป็นย่านกินดื่ม และเกิดพื้นที่ แสดงดนตรีอิสระ เสนอให้ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการ จัดแสดงดนตรีในพื้นที่มากขึ้น เช่น การแสดงความสามารถทางดนตรี ของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในพื้นที่ลานย่าโม

โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ 88


โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ ฟื้นฟูพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เดิมให้สามารถตอบรับกับการเรียนรู้ที่ เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ให้คนทุกรุ่นสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ เพิ่มการใช้งานใหม่ในอาคารหรือพื้นที่เรียนรู้เดิมให้มีความหลากหลาย เช่น TK square ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้พัฒนาทางความคิดและต่อยอด ทดลอง รวมถึงเชื่อมต่อพื้นที่แต่ละฝั่งของคูเมืองให้มีการเข้าถึงได้ สะดวกมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่าน กิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติโดยการเพิ่มการเรียนรู้จากบริบทเมืองในพื้นที่ คูเมือง เช่น พิพิธภัณฑ์ในอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม

พัฒนาฟื้นฟูอาคารและพื้นที่สาธารณะให้มีคุณภาพ รองรับการเข้ามา ใช้งานส�ำหรับคนทุกประเภท โดยใช้หลักการการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) และออกให้มีความปลอดภัย และเพิ่มการใช้ งานในพื้นที่สาธารณะเดิมที่มีการใช้งานประเภทเดี่ยวให้มีกิจกรรมที่ หลากหลายดึงดูดคนทุกประเภท โดยปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณ คูเมืองฝั่งทิศตะวันตก ให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการแสดง และ ปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณคูเมืองฝั่งทิศเหนือ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ การเรียนรู้รวมถึงเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างเมืองเก่าหรือย่านการค้าเดิม และเมืองใหม่หรือย่านการเรียนรู้ฝั่งทิศเหนือกับย่านพาณิชยกรรมสมัย ใหม่ฝั่งทิศตะวันตก ในฝั่งทิศใต้มีการปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณ คูเมือง จากพื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการขายและทาน อาหาร ปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณคูเมืองฝั่งทิศตะวันออก จากพื้นที่ สีเขียวให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและเพิ่มการ เชื่อมต่อระหว่างย่านท่องเที่ยว ย่านที่อยู่อาศัยใหม่และย่านที่อยู่อาศัย เดิมฝั่งทิศตะวันออกและทิศใต้

โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ

พัฒนาพื้นที่โล่งและลานจอดรถของเอกชนเป็นพื้นที่ออกก�ำลังกาย ส�ำหรับชุมชน และพัฒนาพื้นที่สาขาธนาคารย่อยให้เป็นพื้นที่ผ่อนคลาย และให้ข้อมูลทางสุขภาวะ โดยรูปแบบโครงการในบริเวณคูเมืองจะเน้น ให้บริการด้านสุขภาวะระดับชุมชนในพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและประชากร มีการออกแบบที่รองรับคนทุก ประเภทโดยใช้หลักการการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) และออกแบบให้มีความปลอดภัย นอกจากพื้นที่สุขภาวะใน ระดับชุมชนแล้วโครงการยังครอบคลุมถึงระดับเมืองอีกด้วย ซึ่งตั้งอยู่ ในพื้นที่ค่ายสุรนารีเป็นพื้นต่อเนื่องจากทิศใต้ของคูเมืองโดยพัฒนา พื้นที่ศูนย์กลางกีฬาส�ำหรับเมืองที่สามารถใช้ท�ำการจัดเเข่งกีฬา เเละ เป็นพื้นที่ใช้งานส�ำหรับคนทั่วไปในช่วงไม่มีการแข่งขันได้

โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม 89


มหานครโคราช 2040

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะพลังงานสะอาด

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะ พลังงานสะอาด

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

ผ่านการปรับปรุงและเพิ่ม โครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบ ทางเท้า เพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่ เกิดขึ้นในพื้นที่เมืองเก่าซึ่ง สอดคล้องหรือเป็นผลมาจากการ ใช้งานทางเท้าของเมือง

ผ่านการจัดท�ำโครงข่ายดิจิทัล เพื่อ สนับสนุนการการประกอบการของ ย่านธุรกิจในเมืองเก่า และการ บริการโครงข่ายดิจิทัลเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิต

90

การปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและยานพาหนะพลังงานสะอาด ภายในพื้นที่ เป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายทางเท้าจากเส้นทางเดิมที่พื้นที่ ภายในคูเมือง ซึ่งมีความเหมาะสมกับระยะเดินและสอดคล้องกัน ซึ่ง โครงการนี้ได้ท�ำการปรับปรุงกายภาพ เพิ่มคุณภาพของวัสดุ การปรับ ขนาดให้เหมาะสม และการรองรับการใช้งานที่ยืดหยุ่นทั้งจากคนและ ยานพาหนะส่วนตัวขนาดเล็ก โดยมีเป้าหมายเพื่อท�ำให้พื้นที่เกิด กิจกรรมระหว่างทางที่หลากหลาย กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการเดินจาก การสนับสนุนย่านการค้าการบริการ การสนับสนุนการท่องเที่ยวใน เมืองเก่า และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี จากการเชื่อมโยงย่านที่มีกิจกรรม ทางสังคมเข้าด้วยกัน รวมถึงโครงการได้จัดท�ำโครงข่ายทางเท้าเชื่อม โยงกับการบริการขนส่งสาธารณะอย่างสอดคล้องกัน เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการเดินทาง และเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อเมือง

ในพื้นที่มีการวางโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูงโดยใช้เทคโนโลยีในการ ควบคุมจัดการ และส่งเสริมการใช้ชีวิตและกิจกรรมในพื้นที่เมืองเก่า ทั้งในด้านการสนับสนุนการประกอบการธุรกิจใหม่ เพิ่มศักยภาพของ ย่านพาณิชกรรมต่อพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน การเรียนรู้และนันทนาการต่าง ๆ ผ่านการวางระบบโครงข่ายให้บริการ อินเทอร์เน็ตและการแลกเปลี่ยนข้อมูลไร้สายส�ำหรับคนเมือง รวมถึง การสนับสนุนระบบการคมนาคมภายในเมือง เช่น มีจุดจอดรถยนต์ เพื่อชาร์จพลังงานให้กับรถยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาดในอนาคต


โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว

โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะ ส่วนตัว

มาตรการเชิงลบ

โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

โครงการนี้ มีการตัดถนนเพิ่มเพื่อสร้างถนนทางเลือก เชื่อมโยงเนื้อ เมืองที่ถูกตัดขาด และการควบคุมปริมาณยานหนะส่วนตัว ซึ่งใช้การ ก�ำหนดและควบคุมในการใช้เส้นทาง การจอดรถ และการเปลี่ยนผ่าน การใช้พาหนะส่วนตัวเข้าสู่ขนส่งสาธารณะระบบรางเบา เพื่อบรรเทา ปัญหาการจราจรภายในเมือง โดยในพื้นที่บริเวณคูเมืองเก่า มีปัญหา ด้านการจราจรในบางจุด เช่น ย่านการค้ามักจะมีการจอดรถบริเวณ ไหล่ทาง หรือปัญหาการขาดจุดจอดรถยนต์ โครงการนี้จึงมีการก�ำหนด จุดรับ-ส่ง คิดค่าจอดส�ำหรับรถยนต์ส่วนตัวในการสนับสนุนพื้นที่พาณิช ยกรรม และให้พื้นที่จุดจอดรถริมทางเพื่อการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย และไม่ส่งผลกระทบกับการจราจร การควบคุมการขนส่งสินค้าโดยยาน พาหนะขนาดใหญ่ให้อยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสมกับสภาพการจราจร

การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในพื้นที่นี้ มีการจัดท�ำระบบ รถไฟฟ้ารางเบาโดยรอบคูเมือง เพื่อการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองเก่ากับ พื้นที่ส�ำคัญบริเวณอื่น ๆ ของเมืองโคราช และการวางเส้นทางการให้ บริการรถสองแถวอัจฉริยะเข้าสู่พื้นที่ภายในเมืองเก่าเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการเข้าถึงเมืองชั้นใน เป็นวิธีการหนึ่งในการสนับสนุนการเชื่อมโยง พื้นที่เศรษฐกิจในคูเมืองและธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้น เข้ากับความต้องการใน การใช้บริการ การสนับสนุนให้เกิดย่านพบปะทางสังคมผ่านการบริการ และยังเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงสถานที่ราชการและหน่วยงาน ภาครัฐ รวมถึงเป็นการสนับสนุนเส้นทางการท่องเที่ยวในคูเมือง ซึ่งใน อนาคตจะมีการผลักดันอัตลักษณ์ของเมืองเก่าโคราชเพื่อเป็นสิ่งดึงดูด ผู้คนเข้าสู่พื้นที่

โดยใช้ข้อกฎหมายควบคุมการ จอดยานพาหนะและการขนส่ง สินค้าอย่างเป็นเวลาในบริเวณที่ส่ง ผลกระทบกับการจราจรในเขต เมืองเก่า และมาตรการเชิงบวกใน การตัดถนนใหม่เพื่อเชื่อมเนื้อ เมืองและก�ำหนดการเติบโตของ เมือง

ผ่านการบริการขนส่งสาธารณะ ของเมือง เพื่อสนับสนุนระบบ เศรษฐกิจ และมาตรการส่งเสริม การใช้บริการขนส่งสาธารณะ ผ่าน การลดหย่อนค่าโดยสารให้กับ คนในพื้นที่ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี แก่คนโคราช 91


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ 3

พื้นที่ย่านการศึกษา เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่: ย่านนวัตกรรมและการศึกษาแห่งอีสาน

บริเวณพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของกลุ่มสถาบันการ ศึกษาจ�ำนวนมากทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา และวิทยาลัย เทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา ซึ่งเป็น กลุ่มสถานศึกษากลางเมืองที่มีคุณภาพท�ำให้พื้นที่นี้มี โอกาสในการผลักดันไปสู่การเป็นย่านการเรียนรู้ นวัตกรรมสร้างสรรค์ ช่วยสนับสนุนการเกิดผู้ ประกอบการรุ่นใหม่และเป็นรากฐานสู่การเป็นเมือง นวัตกรรมโดยเฉพาะการต่อยอดผลผลิตทางการ เกษตร แต่ในปัจจุบันขาดการสนับสนุนการเชื่อมโยง โครงข่ายทางบุคลากรที่ผลิตออกสู่ตลาด ท�ำให้โคราช มีจ�ำนวนสถานประกอบธุรกิจขนาดกลางและย่อม น้อยลง ตรงข้ามกับจ�ำนวนบุคลากรจบการศึกษาที่ มากและมีความต้องการในการประกอบธุรกิจส่วนตัว บทบาทของสถานศึกษากลางเมืองในย่านนี้จึงมี โอกาสเป็นพื้นที่แห่งในการเรียนรู้และต่อยอดส�ำหรับ คนทุกระดับ การพัฒนาพื้นที่ย่านการศึกษาจะช่วยสร้างบุคลากรที่ มีคุณภาพออกสู่ตลาด เกิดความเชื่อมโยงกับพื้นที่ ทางเศรษฐกิจหลักที่ครบวงจร รวมถึงเป็นพื้นที่แห่ง โอกาสส�ำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ที่สนับสนุน นวัตกรรมสร้างสรรค์ การเรียนรู้ ตอบรับความ ต้องการของสังคม โดยผ่านการวางยุทธศาสตร์ ดังนี้ 92

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

P1. ผลักดันให้เกิดพื้นที่ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ ประกอบการยุคใหม่ P3. ประยุกต์ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า ธุรกิจภาคการค้าการบริการและอุตสาหกรรม การเกษตร

การยกระดับคุณภาพชีวิต

L2. สนับสนุนให้เกิดย่านเรียนรู้สร้างสรรค์ L3. ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม

การส่งเสริมความเชื่อมโยง

C1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C4. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง


93


มหานครโคราช 2040

โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์

มาตรการส่งเสริมภาค เอกชน ให้ลงทุนพัฒนา พื้นที่การวิจัยและการเรียน รู้

โดยการใช้มาตรการภาษีเพื่อการ จูงใจ โดยการลดหย่อนภาษี นิติบุคคล ช่วยสร้างแรงจูงใจให้ ภาคเอกชนสนใจที่จะพัฒนาพื้นที่ ตามที่ก�ำหนดไว้

โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์

พัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์บนพื้นที่ต่อเนื่องจากศูนย์กลาง เศรษฐกิจใหม่ สถานีรถไฟนครราชสีมาตามแนวถนนโพธิ์กลางและถนน สุรนารี โดยพัฒนาพื้นที่ให้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเมือง เพิ่มการใช้ ประโยชน์พื้นที่ในรูปแบบใหม่ เช่น พื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนา พื้นที่ ปฏิบัติการการทดลอง พื้นที่จัดแสดงผลงานทางนวัตกรรมและพื้นที่ บริการทั้งนี้มีการเพิ่มพื้นที่สาธารณะภายในโครงการ เพื่อสร้างสภาพ แวดล้อมที่ดีแก่กลุ่มผู้ใช้งาน แนวคิดในการออกแบบพื้นที่คือการใช้ พื้นที่ร่วมกันระหว่างกลุ่มคนประเภทต่างๆ (Share Space) โดยเป็น พื้นที่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันอุดมศึกษาและ ชุมชน เพื่อเอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อันน�ำไปสู่ความเป็นพื้นที่แห่ง นวัตกรรม

โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง 94


โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์

โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง

พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่การค้าพาณิชยกรรมท้องถิ่นที่ส�ำคัญของเมือง โคราช ได้แก่ ตลาดแม่กิมเฮง ศูนย์การค้าคลังพลาซ่า จอมสุรางค์และ พื้นที่ต่อเนื่องโดยรอบ โดยเพิ่มพื้นที่ลานโล่ง ให้เป็นพื้นที่เอนกประสงค์ ช่วยส่งเสริมกิจกรรมการค้าขายของร้านค้าในบริเวณโดยรอบ เพิ่มการ ใช้งานรูปแบบใหม่ เช่น โรงเรียนสอนท�ำอาหารและร้านอาหารที่ทัน สมัย เพื่อส่งเสริมกับพื้นที่ตลาดแม่กิมเฮง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้เกิดร้านค้า เพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในคูเมืองเก่า เช่น ร้านขายของ ฝากสินค้าที่ระลึกของเมืองโคราช โฮสเทล ร้านคาเฟ่ เป็นต้น และร้าน ค้าโดยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

ผ่านการบริการขนส่งสาธารณะ ของเมือง เพื่อสนับสนุนระบบการ ศึกษา การวิจัย สะท้อนสู่ความ เป็นเมืองนวัตกรรม และมาตรการ ส่งเสริมการใช้บริการขนส่ง สาธารณะ ผ่านการลดหย่อนค่า โดยสารให้กับคนในพื้นที่ เพิ่ม คุณภาพชีวิตที่ดีแก่คนโคราช

เปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาใช้งานพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ของสถาน ศึกษาเข้าใช้งานได้สะดวกและเข้าถึงง่ายขึ้น โดยด�ำเนินการปรับปรุง ห้องสมุดในมหาวิทยาลัย เพิ่มการเรียนรู้แบบดิจิทัล เน้นพัฒนาการเข้า ถึงพื้นที่เรียนรู้จากสถานี LRT โดยเพิ่มอาคารพาณิชย์สร้างสรรค์และ ปรับปรุงทางเดินเท้าเพื่อดึงดูดคนเข้าสู่digital library ใน มหาวิทยาลัย และสร้างเส้นทางสนับสนุนการเรียนรู้บริบทเมืองที่มี ความเชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยว

โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ

ผลักดันด�ำเนินการสร้างต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ทางสุขภาวะในพื้นที่ โรงเรียนส�ำหรับชุมชนโดยรอบ เริ่มจากพื้นที่ของโรงเรียนกีฬาเทศบาล นครราชสีมา (school sport center) และบริการสาธารณะในด้าน ส่งเสริมกีฬา ให้เกิดความเชื่อมโยงกับสถานศึกษา ท�ำให้คนสามารถ เข้าถึงได้ง่ายและมีพื้นที่รองรับคนทุกประเภท เพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิต ประชากรมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยใช้พื้นที่สนามกีฬาเทศบาล นครราชสีมาเป็นพื้นที่ผลักดันมาตรการนี้

95


มหานครโคราช 2040

โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

ผ่านการจัดท�ำโครงข่ายดิจิทัล เพื่อ สนับสนุนการเป็นย่านนวัตกรรม และการศึกษาแห่งอีสาน

96

โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

ในพื้นที่มีการวางโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูงโดยใช้เทคโนโลยี ในการควบคุมจัดการ และส่งเสริมการใช้ชีวิตและกิจกรรมในย่าน นวัตกรรมและการศึกษาแห่งอีสาน โดยให้การสนับสนุนการประกอบ การด้านการวิจัย พัฒนา การศึกษา และการต่อยอด จากการแลก เปลี่ยนข้อมูล ผ่านการจัดวางระบบดิจิทัลในด้านโครงข่ายออนไลน์ใน การการรวบรวมองค์ความรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร การให้บริการการแลกเปลี่ยนข้อมูลไร้สายส�ำหรับคนเมือง รวมถึงการ สนับสนุนระบบอื่น ๆ ของเมือง เช่น พื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต คุณภาพสูงส�ำหรับนักศึกษาในย่านมหาวิทยาลัย


โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในพื้นที่นี้ มีการจัดท�ำระบบ รถไฟฟ้ารางเบา โดยมีสถานีบริการตั้งอยู่ในจุดที่ส่งเสริมย่านนวัตกรรม การศึกษา มีโครงข่ายการบริการเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมที่สอดคล้องและ การใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน และโครงข่ายคมนาคมระบบรางเบา ยัง เชื่อมโยงย่านนวัตกรรมและการศึกษานี้ เข้าสู่พื้นที่อุตสาหกรรมและ พื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบ เพื่อสนับสนุนการติดต่อและแลกเปลี่ยนองค์ ความรู้ บุคลากร และการวิจัยต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการต่อยอด ธุรกิจของเมืองโคราช รวมถึงการคมนาคมที่เชื่อมโยงพื้นที่เมืองบริเวณ อื่น ๆ เข้าสู่มหาวิทยาลัย เพื่อโอกาสในการเข้าถึงระบบการศึกษาที่มี ประสิทธิภาพของประชากรในโคราช และเนื่องจากพื้นที่มหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานของคนจ�ำนวนมากในเวลาเดียวกัน จึงจ�ำเป็น ต้องมีบริการสาธารณะเพื่อลดแก้ปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นนี้

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะ พลังงานสะอาด

การปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและยานพาหนะพลังงานสะอาด ภายในพื้นที่ เป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินเท้าภายในย่าน นวัตกรรมและการศึกษา ผ่านการวางโครงข่ายทางเท้าขึ้นมาใหม่อย่าง เป็นระบบ การจัดการกายภายภาพโดยเพิ่มคุณภาพของวัสดุทางเท้า และการรองรับการใช้งานจากคนทุกระดับได้อย่างสมดุล ซึ่งโครงการนี้ จะสามารถส่งเสริมกิจกรรมภายในย่าน และเป็นส่วนหนึ่งในการส่ง เสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการ ติดต่อ รวมถึงการต่อยอดของนวัตกรรมและการวิจัยที่เกิดขึ้นในโคราช ได้จากโครงข่ายที่พัฒนาในโครงการนี้

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

ผ่านการบริการขนส่งสาธารณะ ของเมือง เพื่อสนับสนุนระบบการ ศึกษา การวิจัย สะท้อนสู่ความ เป็นเมืองนวัตกรรม และมาตรการ ส่งเสริมการใช้บริการขนส่ง สาธารณะ ผ่านการลดหย่อนค่า โดยสารให้กับคนในพื้นที่ เพิ่ม คุณภาพชีวิตที่ดีแก่คนโคราช

มาตรการเชิงบวกจากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาครัฐ

ผ่านการปรับปรุงและเพิ่ม โครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบ ทางเท้า เพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่ เกิดขึ้นในพื้นที่ย่านนวัตกรรมและ การศึกษาแห่งอีสาน

97


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ 4 ถนนบายพาส

พื้นที่เมืองตามแนวถนน บายพาส เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่: พื้นที่อยู่อาศัยใหม่ใกล้ศูนย์กลางเมือง

พื้นที่เมืองบริเวณแนวถนนบายพาสมีการใช้ ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยใกล้กับพื้นที่เศรษฐกิจของ เมืองที่ก�ำลังขยายตัวในบริเวณนี้เป็นท�ำเลที่อยู่ใกล้ กับแหล่งงาน สถานศึกษาและย่านการค้าท�ำให้มีแนว โน้มประชากรย้ายเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ท�ำให้ โครงการที่อยู่อาศัยจ�ำนวนมากเกิดขึ้นโดยเฉพาะ โครงการหมู่บ้านจัดสรรและโครงการพาณิชยกรรม ขนาดใหญ่เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ว่าง และเป็นพื้นที่เกษตรจึงง่ายต่อการพัฒนาโครงการ และพื้นที่บริเวณนี้ไม่ได้วางแผนเพื่อรองรับการ พัฒนาของเมือง ท�ำให้พื้นที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานที่ ส�ำคัญอย่างถนน การใช้งานระหว่างถนนบาสพาสกับ ถนนมิตรภาพขาดศักดิ์ถนนสายย่อย ที่รองรับการใช้ งานในการเชื่อมต่อถนนสองสายหลักเข้าด้วยกัน การ ระบายการจราจรซึ่งเป็นเป้าหมายของถนนบายพาส จึงไม่เต็มประสิทธิภาพ และพื้นที่เมืองถูกตัดขาดออก จากกันจากการขาดโครงข่ายถนนในบริเวณนี้ การบริหารจัดการพื้นที่บริเวณนี้จะเป็นการสร้าง ความเชื่อมโยงของโครงข่ายเมืองและทางพิเศษ กรุงเทพฯ- นครราชสีมา ช่วยบรรเทาปัญหาการ จราจร รวมถึงจ�ำกัดการเติบโตของเมืองในพื้นที่ บริเวณนี้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระจายตัวอย่างไร้ ทิศทาง โดยยุทธศาสตร์ของพื้นที่ มีดังนี้

98

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

P1. ผลักดันให้เกิดพื้นที่ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ ประกอบการยุคใหม่

การยกระดับคุณภาพชีวิต

L3. ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม

การส่งเสริมความเชื่อมโยง

C1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C3. สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่เมือง พร้อมบริหารจัดการทิศทางและระดับการ เติบโตของเมือง C4. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง


กำ�หนดข้อบัญญัติควบคุมอาคารไม่ให้เกิด โครงการพาณิชยกรรมขนาดใหญ่

การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่จะก่อให้เกิดปัญหา ตามมาคือการจราจรติดขัด เนื่องจากพื้นที่เมืองใหม่ ที่มีการขยายตัวตามแนวถนนบายพาสเป็นพื้นที่ส่ง เสริมให้เป็นย่านที่อยู่อาศัยใหม่ที่อยู่ใกล้ศูนย์กลาง เมือง

โดยส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการยุคใหม่ให้ลงทุน โครงการพาณิชยกรรมและการบริการในละแวกพื้นที่ อยู่อาศัย เพื่อรองรับความต้องการของผู้อยู่อาศัย ช่วยลดการเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง ลดการจราจรติดขัด

มาตรการส่งเสริมการใช้บริการขนส่ง สาธารณะ

ผ่านการลดหย่อนค่าโดยสารให้กับคนในพื้นที่เพื่อ ดึงดูดการใช้งานและลดจ�ำนวนการใช้รถยนต์ส่วนตัว

มาตรการส่งเสริมให้เอกชนทำ�พื้นที่เพื่อ ประโยชน์สาธารณะโดยแลกกับการให้สิทธิ โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการ พิเศษ (FAR Bonus) ขนส่งสาธารณะ เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนด�ำเนินการ พัฒนาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อ สาธารณะตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวม โดยแลก กับการให้สิทธิพิเศษที่อนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถ เพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio) ในแปลงที่ดินหนึ่งได้มากกว่าที่ ก�ำหนดไว้ในข้อก�ำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตาม ผังเมืองรวม ซึ่งเหมาะสมในการส่งเสริมให้มีการ พัฒนาพื้นที่สาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานใน บริเวณพื้นที่เมืองที่เอกชนมีความต้องการ พัฒนาที่ดิน

มาตรการส่งเสริมการลงทุนโครงการ พาณิชยกรรมขนาดกลางถึงเล็ก

การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในพื้นที่นี้ มีการ จัดวางโครงข่ายของรถสองแถวอัจฉริยะ โดยจะ ท�ำการเชื่อมโยงพื้นที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นใหม่ เข้าสู่ พื้นที่เมือง ซึ่งในปัจจุบัน มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเส้นทางถนน บายพาส ท�ำให้ปริมาณการจราจรในพื้นที่เมืองมีมาก ขึ้นจากจ�ำนวนที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น การปรับปรุงและ จัดวางโครงข่ายขนส่งธารณะ จึงเป็นส่วนช่วยในการ ลดจ�ำนวนรถยนต์ส่วนตัวของพื้นที่ เพิ่มประสิทธิภาพ ในการเข้าถึงพื้นที่เมือง นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเชิง บวกในการเพิ่มโครงข่ายถนน โดยการเปลี่ยนการใช้ งานและล�ำดับศักดิ์ของถนน ช่วยในการระบายการ จราจรของพื้นที่เมืองและเชืิ่อมโยงพื้นที่เนื้อเมือง

99


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 เมืองจอหอ

พื้นที่ชานเมืองจอหอ เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่: ศูนย์กลางพาณิชยกรรมชานเมืองจอหอ

ย่านชานเมืองบริเวณพื้นที่ต�ำบลจอหอในปัจจุบัน เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเมือง มีการเพิ่มขึ้น ของแหล่งที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวและโครงการ จัดสรร รวมถึงการประกอบการธุรกิจและพาณิชยกร รมรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร หากมองในมุมที่ เป็นปัญหาและส่งผล กระทบต่อเมือง จะพบว่าเมือง มีการกระจายตัวอย่างไร้ทิศทาง ไม่มีการควบคุม ทิศทางการเติบโตของเมือง ท�ำให้การวางโครงสร้าง พื้นฐานของเมืองและการบริการจากทางภาครัฐ เป็น ไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาอีกด้านคือผลกระ ทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพื้นที่เดิมเป็นการท�ำ เกษตรกรรม เป็นพื้นที่รับน�้ำและเป็นทางน�้ำผ่านใน ฤดูฝนในอนาคตจึงอาจเกิดปัญหาน�้ำท่วมในจุดที่มี การอยู่อาศัยได้ การจัดการพื้นที่บริเวณนี้ คือการควบคุมการใช้ ประโยชน์ในด้านการจัดสรรการอยู่อาศัย ให้มีทิศทาง การเติบโตของเมืองอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนา เมืองอย่างสมดุลรวมถึงการพัฒนาพื้นที่เดิมให้เป็น ย่านพาณิชกรรมชานเมือง สนับสนุนพื้นที่ อุตสาหกรรมหนองไข่น�้ำ

100

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

P1. ผลักดันให้เกิดพื้นที่ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ ประกอบการยุคใหม่ P3. ประยุกต์ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า ธุรกิจภาคการค้าการบริการและอุตสาหกรรม การเกษตร

การยกระดับคุณภาพชีวิต

L3. ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม

การส่งเสริมความเชื่อมโยง

C1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C3. สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่เมือง พร้อมบริหารจัดการทิศทางและระดับการ เติบโตของเมือง C4. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง


กำ�หนดข้อบัญญัติควบคุมอาคารให้เกิด การใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่พาณิชยกรรม ความหนาแน่นปานกลางและใช้มาตรการ ภาษีเพื่อการจูงใจ

บริการรถไฟฟ้ารางเบา

มาตรฐานการบริการสาธารณะของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุม ปริมาณยานพาหนะส่วนตัว

ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนพื้นที่พาณิชยกรรม การค้าโดยเน้นไปที่สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์จาก อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่ได้รับนวัตกรรม การผลิตและแปรรูปสินค้าจากพื้นที่นวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาพื้นที่จอหอให้เป็นศูนย์กลาง พาณิชยกรรมย่านชานเมืองของโคราช ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งในการผลักดันให้เกิดเมืองนวัตกรรมการเกษตร

เพิ่มพื้นที่สาธารณะ ด้วยการเปิดพื้นที่สาธารณะของ สถานศึกษา เช่น พื้นที่สนามกีฬาในร่มหรือในอาคาร ที่อยู่ใกล้กับชุมชนโดยรอบเพื่อให้คนในชุมชน สามารถเข้าไปใช้ได้ เป็นการลดภาระของรัฐในการ สร้างพื้นที่สาธารณะใหม่ให้กับชุมชน โดยการปรับ ปรุงเเละพัฒนาพื้นที่โรงเรียนนอกเขตเทศบาลให้ กลายเป็นพื้นที่ทางสุขภาวะส�ำหรับชุมชนโดยรอบ (school sport center)

มาตรการเชิงบวกจากการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ

โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการ ขนส่งสาธารณะ

การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในเมืองผ่าน การจัดท�ำรถไฟฟ้ารางเบาในพื้นที่ เพื่อการเชื่อมโยง พื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยชานเมือง ซึ่ง เป็นการใช้ประโยชยน์ที่สนับสนุนพื้นที่อุตสาหกรรม หนองไข่น�้ำเข้าสู่พื้นที่เมืองโคราช โดยโครงการนี้ จะ ช่วยในการลดการใช้พาหนะส่วนตัวจากการเพิ่มขึ้น ของที่อยู่อาศัย

ในพื้นที่ มีการจัดท�ำอาคารส�ำหรับจอดรถยนต์ส่วน ตัว เพื่อรองรับปริมาณความต้องการการใช้รถขนส่ง สาธารณะระบบรางเบา และเป็นจุดเปลี่ยนถ่าย การขนส่งมวลชนของย่านชานเมือง การด�ำเนินการ ในโครงการนี้เป็นการสนับสนุนและดึงดูดคนให้เลือก เข้ามาใช้งานรถไฟฟ้ารางเบา จ�ำกัดปริมาณความ ต้องการในการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวเพื่อด�ำเนิน กิจกรรมในพื้นที่เมือง ลดปัญหาด้านการจราจรและ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเมืองโคราช

ผ่านการบริการขนส่งสาธารณะของเมือง เพื่อ สนับสนุนการเชื่อมโยงพื้นที่ชานเมืองเข้าสู่เมือง และ มาตรการส่งเสริมการใช้บริการขนส่งสาธารณะ ผ่าน การลดหย่อนค่าโดยสารให้กับคนในพื้นที่ เพิ่ม คุณภาพชีวิตที่ดีแก่คนโคราช

มาตรการส่งเสริมการใช้บริการขนส่ง สาธารณะและการจอดรถยนต์ ในจุด เปลี่ยนถ่ายการคมนาคม

โดยการลดหย่อนค่าโดยสารส�ำหรับคนในพื้นที่ และ ไม่คิดค่าจอดรถยนต์ในอาคารจอดรถส�ำหรับผู้เข้าใช้

101


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ 6

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่: ศูนย์กลางการวิจัยและการแพทย์แห่งอีสาน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีตั้งอยู่ในต�ำบลสุรนารี เป็นมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐแห่งแรกของ ประเทศไทย เป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ที่ สามารถรองรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจ�ำนวน มาก มีสาขาวิชาที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่หลากหลาย รวมไปถึงสาขาวิชาทางการแพทย์ โดยทาง มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายเป็นสถาบันการเรียนรู้ให้แก่ คณาจารย์ นักศึกษาแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข และสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมทั้งให้บริการทางการแพทย์เพื่อรองรับการให้ บริการแก่ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา และกลุ่ม จังหวัดนครชัยบุรินทร์ในอนาคต ประกอบด้วย นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ซึ่งจะช่วย แบ่งเบาภาระการดูแลรักษาผู้ป่วยให้แก่โรงพยาบาล ในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง พื้นที่นี้มีศักยภาพในการเป็นส่วนหนึ่งในระบบ เศรษฐกิจของเมืองโคราช และท�ำให้โคราชสามารถ โตได้ด้วยฐานเศรษฐกิจที่หลากหลาย จึงเกิด สนับสนุนให้เกิดการร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนใน ด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับโครงข่ายการ คมนาคมเพื่อการเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวมไปถึง การจัดการด้านที่พักอาศัยของคนที่เข้ามาใช้บริการ พื้นที่ผ่านยุทธศาสตร์ ดังนี้

102

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

P1. ผลักดันให้เกิดพื้นที่ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ ประกอบการยุคใหม่ P3. ประยุกต์ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า ธุรกิจภาคการค้าการบริการและอุตสาหกรรม การเกษตร

การยกระดับคุณภาพชีวิต

L2. สนับสนุนให้เกิดย่านเรียนรู้สร้างสรรค์ L3. ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม

การส่งเสริมความเชื่อมโยง

C1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C4. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง


มาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งาน ที่อยู่อาศัยความนาแน่นต�่ำ โครงข่ายดิจท ิ ัล ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่ อาศัยความหนาแน่นต�่ำโดยรอบมหาวิทยาลัย โดยใช้ ข้อก�ำหนดทางกฎหมายในการควบคุม เพื่อไม่ให้เกิด การเติบโตอย่างไร้ทิศทาง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะของรัฐ อย่างไม่คุ้มค่า

มาตราการส่งเสริมการร่วมมือภายใน หน่วยงานรัฐ

ส่งเสริมให้มีที่พักอาศัยรองรับนักวิจัยและคนนอกที่ เข้ามาใช้บริการภายในพื้นที่สถานศึกษา เพื่ออ�ำนวย ความสะดวกในการมาใช้ศูนย์กลางการวิจัยและการ แพทย์

มาตรการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชน

ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สถานศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่ง ในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และการ แพทย์ร่วมกับภาคเอกชนและมาตรการภาษีเพื่อการ จูงใจ เพื่อส่งเสริมการลงทุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับ การแพทย์และสาธารณสุขของภาคเอกชน

ในพื้นที่มีการวางโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูงโดยใช้ เทคโนโลยีในการควบคุมจัดการ และส่งเสริมการใช้ ชีวิตและกิจกรรมในย่านศูนย์กลางการวิจัยและการ แพทย์แห่งอีสาน ผ่านการจัดวางระบบดิจิทัลในด้าน โครงข่ายออนไลน์ในการการรวบรวมองค์ความรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร การให้ บริการการแลกเปลี่ยนข้อมูลไร้สายส�ำหรับการ ประกอบการในพื้นที่ โดยโครงการให้การสนับสนุน การประกอบการด้านการวิจัย พัฒนา การศึกษา และรักษาทางการแพทย์จากการแลกเปลี่ยนข้อมูล

โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการ ขนส่งสาธารณะ

การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในพื้นที่นี้ มีการ จัดวางโครงข่ายของรถประจ�ำทางอัจฉริยะ โดยจะ ท�ำการเชื่อมโยงพื้นที่ศูนย์กลางการวิจัยและการ แพทย์แห่งอีสานที่จะมีการพัฒนาในอนาคตเข้าสู่ พื้นที่เมืองโคราช โครงการนี้ จะท�ำให้กิจกรรมเมืองมี ความเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้านการ เป็นศูนย์การแพทย์กับปริมาณความต้องการของ ประชาชนในหลายระดับ

มาตรการเชิงบวกจากการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ

ผ่านการจัดท�ำโครงข่ายดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการเป็น ย่านศูนย์กลางการวิจัยและการแพทย์แห่งอีสาน และ ผ่านการบริการขนส่งสาธารณะของเมือง เพื่อ สนับสนุนการเชื่อมโยงพื้นที่ชานเมืองเข้าสู่เมือง และ ส่งเสริมการให้บริการทางการแพทย์จากทางภาครัฐ และมาตรการส่งเสริมการใช้บริการขนส่งสาธารณะ ผ่านการลดหย่อนค่าโดยสารให้กับผู้ที่ต้องการการ รักษาด้านการแพทย์และคนโคราช เพื่อดึงดูดการใช้ งานและลดจ�ำนวนการใช้รถยนต์ส่วนตัวในโคราช ที่มา : www.sut.ac.th

103


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ 7

พื้นที่บริเวณตำ�บลหนอง ไข่น�้ำ เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่: แหล่งอุตสาหกรรมสะอาดหนองไข่น�้ำ

แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมามีโครงการขนาดใหญ่ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองประกอบไปด้วย 1) การพัฒนาถนนวงแหวนรอบเมือง เพื่อระบายการ จราจรที่ผ่านเข้าสู่เมืองและเชื่อมโยงพื้นที่ชานเมือง และ 2) โครงการรถไฟทางคู่ โดยพื้นที่บริเวณนี้จะได้ ประโยชน์จากการพัฒนาโครงการของรัฐ เนื่องจากมี สถานีรถไฟบ้านกระโดนซึ่งเป็นสถานีรถไฟทางคู่ ซึ่งมี ศักยภาพในการเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ทางรางและทางถนน ที่ขยับขยายจากพื้นที่บริเวณ สถานีชุมทางถนนจิระเพื่อลดปัญหาทางด้านพื้นที่ และการจราจรในเมือง จากศักยภาพของพื้นที่ประกอบกับปัจจัยทาง กายภาพที่สนับสนุนการประกอบการอุตสาหกรรม และโลจิสติกส์ ท�ำให้พื้นที่มีความเหมาะสมในการ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโคราช เช่น การแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร ที่มีผลผลิตจ�ำนวนมากอยู่ใน จังหวัดและบริเวณโดยรอบ โดยขับเคลื่อนการ ประกอบการจากแหล่งวิจัยและพัฒนาภายในเมือง แต่เนื่องจากการตั้งอยู่ใกล้พื้นที่เมือง ท�ำให้การ ประกอบการในบริเวณนี้ต้องมีข้อก�ำหนดและควบคุม ให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมสะอาดและเป็นต้นแบบ ของการพัฒนาย่านอุตสาหกรรมอย่างสมดุลผ่านการ วางยุทธศาสตร์ ดังนี้

104

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

P3. ประยุกต์ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า ธุรกิจภาคการค้าการบริการและอุตสาหกรรม การเกษตร

การยกระดับคุณภาพชีวิต

L3. ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม

การส่งเสริมความเชื่อมโยง

C1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C2. พัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการเพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจ C4. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง


มาตรการส่งเสริมการลงทุนของเอกชน

ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเข้ามาลงทุนของ เอกชนในภาคอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูป การเกษตรและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิด การรวมตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมและโรงงานเพื่อให้ เกิดความคุ้มค่าให้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและ ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ

มาตรการส่งเสริมให้เอกชนเพิ่ม สาธารณูปการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและ ใช้งานได้ รัฐสร้างมาตรการทางการเงินโดยการลดหย่อนภาษี หรือเก็บค่าเช่าที่ดินในอัตราที่ถูกลง ส่งเสริมให้ เอกชนลงทุนสาธาราณูปการเพื่อสาธารณะ เช่น โรงเรียนอนุบาล สวนสาธารณะ รองรับคนในพื้นที่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมความเชื่อม โยง

มาตรการเชิงลบผ่านข้อกำ�หนดการสร้างที่ อยู่อาศัยควบคู่แหล่งงาน รัฐออกข้อก�ำหนดให้เอกชนที่ลงทุนในเขตพื้นที่ อุตสาหกรรม จ�ำเป็นต้องสร้างที่อยู่อาศัยรองรับ แรงงานในพื้นที่ โดยมีการก�ำหนดมาตรฐานของ จ�ำนวนที่พักอาศัยตามจ�ำนวนแรงงานของแต่ละ โรงงาน

มาตรการเชิงลบโดยใช้ข้อกฎหมายในการ ควบคุมอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่ให้เป็น อุตสาหกรรมสะอาด

รัฐออกข้อกฎหมายควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมใน พื้นที่ให้ได้มาตรฐานอุตสากรรมสะอาด เพื่อลดผลก ระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งเเวดล้อมและประชาชนโดย รอบ

มาตรการเชิงบวกจากการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ

โดยการจัดท�ำสาธารณูปโภคในพื้นที่ ผ่านการ ตัดถนนบริเวณแหล่งอุตสาหกรรมสะอาดหนองไข่น�้ำ และพื้นที่โดยรอบเชื่อมโยงกับถนนสายหลัก เพื่อ ประสิทธิภาพในด้านการขนส่ง และสนับสนุนการ ประกอบการอุตสาหกรรมของภาคเอกชน รวมถึง การสนับสนุนการด�ำเนินการของการกระจายสินค้า และระบบโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และการ เปิดโอกาสให้สัมปทานของภาคเอกชน ทั้งด้านการ จัดท�ำสาธารณูปโภค และการวางโครงข่ายเทคโนโลยี ดิจิทัลให้บริการแก่เอกชนรายย่อย เพื่อการได้ ประโยชน์ร่วมกันทุกภาคส่วน

105


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ 8

สนามบินนครราชสีมา เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่: สนามบินนานาชาตินครราชสีมา

นามบินนครราชสีมา ในอดีตเคยมีการใช้งานในการ คมนมคมขนส่งทางอากาศภายในประเทศ แต่ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งสภาวะทางเศรษฐกิจ การ คมนาคมและระยะทางจากสนามบินที่ตั้งอยู่ไกลจาก ตัวเมืองโคราช การแข่งขันสายการบินราคาประหยัด ในตลาด และการเดินทางจากกรุงเทพมาโคราชนั้น ใช้เวลาไม่นาน ท�ำให้การใช้การขนส่งทางอากาศจึง ไม่มีความจ�ำเป็น ท�ำให้ปัจจุบัน ไม่มีสายการบิน พาณิชย์ ให้บริการในเส้นทางนี้ โคราชจึงเสียโอกาส ในการพัฒนาในด้านการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค รวมถึงพลาดโอกาสในการรับนักท่องเที่ยวจาก กระแสการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยของคนจีน ในอนาคตหากโคราชพัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ความเป็นเมืองนวัตกรรมและอุตสาหกรรมแห่ง ภูมิภาคและการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของโคราช ท�ำให้การคมนาคมทางอากาศจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย ส่งเสริมและขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง การขนส่ง สินค้าที่มีข้อจ�ำกัดทางด้านเวลาจะสามารถท�ำได้ รวม ถึงการเดินทางเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจระหว่าง ภูมิภาคก็ได้รับการสนับสนุนจากการบริการสายการ บินนานาชาติ โดยการพัฒนาสนามบินนานาชาติ นครราชสีมาต้องใช้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาที่ ประกอบไปด้วย

106

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

P2. พัฒนาธุรกิจท้องถิ่นและกิจกรรมส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ของเมือง

การยกระดับคุณภาพชีวิต

L3. ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม

การส่งเสริมความเชื่อมโยง

C1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C2. พัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการเพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจ C4. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง


ที่มา : oknation.nationtv.tv/blog/nongjar

มาตรการเชิงลบโดยการควบคุมการใช้ ประโยชน์ที่ดิน

ก�ำหนดและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่ พาณิชยกรรมประเภทโรงแรมและการค้าปลีกขนาด เล็กเพื่อรองรับกลุ่มผู้ใช้งานสนามบินนครราชสีมา

มาตรการเชิงบวกให้รัฐลงทุนโครงสร้าง พื้นฐาน รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองที่มี แนวโน้มประชากรเพิ่มขึ้นในพื้นที่รอบสนามบิน นครราชสีมา

มาตรการเชิงบวกจากการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ

เป็นจุดศูนย์รวมของนักท่องเที่ยว

โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการ ขนส่งสาธารณะ

การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในพื้นที่นี้ มีการ จัดวางโครงข่ายของรถประจ�ำทางอัจฉริยะ โดยจะ ท�ำการเชื่อมโยงพื้นที่สนามบินนานาชาตินครราชสีมา เข้าสู่พื้นที่เมืองโคราช เนื่องจากเดิม ปัจจัยส�ำคัญ หนึ่งประการที่ท�ำให้สนามบินไม่มีการใช้งานเพราะ สถานที่ตั้งอยู่ไกลจากตัวเมือง การเดินทางเชื่อมโยง ระหว่างพื้นที่จึงไม่ได้รับความสะดวกสบาย โครงการ นี้จึงมีความส�ำคัญ และท�ำให้โครงข่ายการเดินทาง ทางอากาศมีความสมบูรณ์จากการมีจุดเปลี่ยนถ่าย การคมนาคมของเมือง

ผ่านการบริการขนส่งสาธารณะของเมือง เพื่อ สนับสนุนการเชื่อมโยงสนามบินเข้าสู่เมือง ส่งเสริม การให้บริการสายการบินจากภาคเอกชน

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่อง เที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ใช้มาตรการส่งเสริมธุรกิจน�ำเที่ยวในพื้นที่รอบสนาม บินนครราชสีมา เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว ภายในบริเวณคูเมืองกับสนามบินนครราชสีมา เพื่อ ให้พื้นที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคูเมืองเก่า

107


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ยุทธศาสตร์ 9

ศูนย์กระจายสินค้าสูงเนิน (ท่าเรือบกสูงเนิน) เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่: ศูนย์อุตสาหกรรมและกระจายสินค้าท่าเรือ บก

พื้นที่ยุทธศาสตร์บริเวณนี้ เป็นพื้นที่ที่มีการศึกษาเพื่อ จัดท�ำโครงการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าจากทางภาค รัฐขนาดใหญ่ เชื่อมโยงกับโครงการรถไฟทางคู่ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้า ในระดับภูมิภาค ลดต้นทุนค่าขนส่งและ ผลกระทบ ในด้านต่าง ๆ จากเดิมที่ใช้การขนส่งสินค้าทางถนน เป็นหลัก โดยจะเปลี่ยนแปลงโดยใช้การขนส่งระบบ รางเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

โครงการจะมีผลประโยชน์กับจังหวัดนครราชสีมา โดยตรงในด้านการสนับสนุนการเป็นเมืองนวัตกรรม และอุตสาหกรรมตามเป้าหมายในการพัฒนาของ โคราช ที่อาศัยระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพใน การขนส่ง เชื่อมโยงกับท่าเรือเพื่อการน�ำเข้า - ส่ง ออกสินค้า และเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจให้แก่ระบบเศรษฐกิจของเมือง การจัดท�ำ ยุทธศาสตร์จึงจ�ำเป็นต้องสนับสนุนโครงการท่าเรือ บกจากทางภาครัฐนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ใน พื้นที่รวมถึงส่งเสริมการประกอบการของ อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่จากการ ด�ำเนินการทางยุทธศาสตร์ดังนี้

การส่งเสริมความเชื่อมโยง

108

P3. ประยุกต์ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า ธุรกิจภาคการค้าการบริการและอุตสาหกรรม การเกษตร

การยกระดับคุณภาพชีวิต

L3. ส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการเพื่อยกระดับสุขภาพ และสังคม

C1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน C2. พัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการเพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจ C4. พัฒนาโครงข่ายดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทุก มิติในพื้นที่เมือง


ที่มา : wwww.matichon.co.th

มาตรการเชิงลบโดยการควบคุมการใช้ ประโยชน์ที่ดิน

ส่งเสริมและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่ อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมสร้างสรรค์ ที่ เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจในตัวเมือโคราช ให้เกิดการ รวมกลุ่ม (cluster) ของอุตสาหกรรม เพื่อให้คุ้มค่า ต่อการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับ อุตสาหกรรมหนักต่าง ๆ และสนับสนุนการเป็นสังคม ของภาคธุรกิจ ส�ำหรับการประยุกต์และต่อยอดธุรกิจ ในประเภทเดียวกัน

มาตรการเชิงลบโดยใช้ข้อกฎหมายในการ ควบคุมอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่ให้เป็น อุตสาหกรรมสะอาด

รัฐออกข้อกฎหมายควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมใน พื้นที่ให้ได้มาตรฐานอุตสากรรมสะอาด เพื่อลดผล กระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งเเวดล้อมและประชาชนโดย รอบ

มาตรการส่งเสริมให้เอกชนเพิ่ม สาธารณูปการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและ ใช้งานได้ รัฐสร้างมาตรการทางการเงินโดยการลดหย่อนภาษี หรือเก็บค่าเช่าที่ดินในอัตราที่ถูกลง ส่งเสริมให้ เอกชนลงทุนสาธาราณูปการเพื่อสาธารณะ เช่น

โรงเรียนอนุบาล สวนสาธารณะ รองรับคนในพื้นที่

มาตรการเชิงบวกจากการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ

โดยมีมาตรการเชิงบวกจากการลงทุนโครงสร้างพื้น ฐานโดยภาครัฐ จัดท�ำสาธารณูปโภคในพื้นที่ ผ่าน การตัดถนนบริเวณในโครงการท่าเรือบกสูงเนินและ พื้นที่โดยรอบเชื่อมโยงกับถนนสายหลัก เพื่อ ประสิทธิภาพในด้านการขนส่ง และสนับสนุนการ ประกอบการอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของภาคเอกชน รวมถึงการสนับสนุนการด�ำเนินการของศูนย์กระจาย สินค้าและระบบโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพได้ จากการเปิดโอกาสให้สัมปทานของภาคเอกชน ทั้ง ด้านการจัดท�ำสาธารณูปโภค และการวางโครงข่าย เทคโนโลยีดิจิทัลให้บริการแก่เอกชนรายย่อย เพื่อ การได้ประโยชน์ร่วมกันทุกภาคส่วน มาตรการเชิงลบผ่านข้อก�ำหนดการสร้างที่อยู่อาศัย ควบคู่แหล่งงาน รัฐออกข้อก�ำหนดให้เอกชนที่ลงทุนในเขต อุตสาหกรรมและกระจายสินค้า จ�ำเป็นต้องสร้างที่ อยู่อาศัยรองรับแรงงานในพื้นที่ โดยมีการก�ำหนด มาตรฐานของจ�ำนวนที่พักอาศัยตามจ�ำนวนแรงงาน ของแต่ละโรงงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาใน การเดินทาง 109


มหานครโคราช 2040

110


1

2

3

4

5

6

กลยุทธ์ โครงการตัวอย่างที่ 7 8 9 10 11 12 13 14 15

111


มหานครโคราช 2040

ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง

112


โครงการตัวอย่าง การพัฒนาเมือง 1. โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ 2. โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล 3. โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่อง 4. โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ 5. โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะพลังงานสะอาด 6. โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม 7. โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ 8. โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว 9. โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ 10. โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 11. โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม 12. โครงการพัฒนาธุรกิจการค้าท้องถิ่นและที่อยู่อาศัยแบบผสมผสาน 13. โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง 14. โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง 15. โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ

113


มหานครโคราช 2040

ที่มา: https://www.matichon.co.th/region/news_898997

114


1 โครงการเพิ่มและปรับปรุง โครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

โครงข่ายขนส่งสาธารณะรูปแบบใหม่ โดย สลิล บริบูรณ์

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการนี้มีความตั้งใจในการตอบยุทธศาสตร์ที่ 1 ของการส่งเสริมการเชื่อมโยง ซึ่งคือการพัฒนาระบบ คมนาคมขนส่งของเมืองให้มีประสิทธิภาพสูงและเกิดความยั่งยืน โดยโครงการนี้จะเป็นการพัฒนา คุณภาพของระบบขนส่งสาธารณะที่มีอยู่เดิม เป็นการชักชวนให้คนในเมืองโคราชมีความต้องการใช้ ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น ส่งผลให้การใช้ยานพาหนะส่วนตัวลดน้อยลง สอดคล้องกับนโยบายของ โครงการที่ก�ำหนดและควบคุมการใช้งานของรถยนต์ส่วนตัว และสอดคล้องกับนโยบายการลดมลพิษใน เมืองโคราชอีกด้วย โครงการนี้จะตอบรับกับยุทธศาสตร์ 4 ของการส่งเสริมการเชื่อมโยง ซึ่งคือการสร้างความต่อเนื่องของ กิจกรรมในพื้นที่เมืองพร้อมบริหารจัดการทิศทางและระดับการเติบโตของเมืองโดยการท�ำโครงการนี้จะ เป็นการเชื่อมต่อจุดส�ำคัญต่างๆ ของเมือง ให้เกิดความต่อเนื่องของกิจกรรม และยังเป็นการก�ำหนด ทิศทางการพัฒนาของเมืองให้เป็นไปในทิศทางที่ได้ก�ำหนดไว้ โครงการนี้จ�ำเป็นอย่างยิ่งในการท�ำเพื่อการเชื่อมต่อกับโครงการอื่น เพราะมีความเกี่ยวข้องกับทุก โครงการ โดยโครงการนี้จะเป็นการเชื่อมพื้นที่ต่างๆ ภายในเมืองให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน แต่มีข้อสังเกต ว่าในแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ซึ่งท�ำให้การออกแบบในสถานียุทธศาสตร์ ของ โครงการนี้มีความแตกต่างกันด้วย

115


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

เนื่องจากปัญหาในด้านการจราจรของเมืองโคราช ได้แก่ ปัญหารถติด ปัญหาการขนส่งสาธารณะภายในเมือง โคราชที่มีตัวเลือกไม่มากนัก มีเพียงรถสองแถวที่เป็นการ ขนส่งสาธารณะหลักภายในเมือง และการเชื่อมต่อไปยัง นอกเมืองหรือชานเมืองจะเป็นรถสองแถวและรถเมล์ การโดยสารรถสาธารณะในเมืองจะไม่สามารถประมาณ เวลาการเดินทางได้ล่วงหน้า ต้องใช้เวลามากในการเดิน ทาง และยังไม่สามารถตอบสนองต่อคนทุกระดับ เช่น การเข้าไปใช้งานในระบบขนส่งสาธารณะของผู้สูงอายุ และคนพิการยังท�ำได้ไม่สะดวกนัก จึงต้องมีโครงการนี้มา เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้

ในส่วนของการเลือกเทคโนโลยีขนส่งสาธารณะ จะเลือก โดยอ้างอิ​ิงจากเกณฑ์การเลือกเทคโนโลยีจากโครงการ ศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทการพัฒนาขนส่ง สาธารณะ ที่จัดท�ำโดยส�ำนักงานนโยบายและแผนการ ขนส่งและจราจร(สนข.) โดยขนส่งสาธารณะหลักจะเป็น รถไฟฟ้ารางเบาที่เดินรถบนถนน(Streetcar) และขนส่ง สาธารณะรองซึ่งเป็น Smartbus ซึ่งจะสามารถพัฒนา เป็น Autonomous bus ได้ในอนาคต โดยระบบขนส่ง สาธารณะทั้งสองระบบจะใช้พลังงานจากไฟฟ้าเพื่อลด มลพิษในอากาศ

ในส่วนของด้านการเชื่อมต่อของระบบขนส่งสาธารณะ เดิมของเมืองโคราชกับกิจกรรมต่างๆ ภายในเมือง ถือว่า มีความครอบคลุม แต่ยังขาดในเรื่องการตอบสนองต่อคน ทุกระดับ ไม่สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เหตุผลที่ท�ำให้คนในเมืองโคราชมีการใช้งานพาหนะส่วน ตัวเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้เกิดปัญหามลพิษในเมืองโคราช การแก้ปัญหาทั้งด้านการจราจรและด้านการเชื่อมต่อจะ ใช้ข้อมูลจากโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผน แม่บทการพัฒนาขนส่งสาธารณะ ที่จัดท�ำโดยส�ำนักงาน นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เป็นหลักใน การท�ำโครงการ โดยจะน�ำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับ แผนการพัฒนาและนโยบายของวิชาสตูดิโอที่ได้จัดท�ำ ตามวิสัยทัศน์ของนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการวางแผน ภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย การแก้ปัญหาในภาพรวมจะเป็นการวางโครงข่ายการ ขนส่งให้มีล�ำดับศักย์ที่ต่างกัน ได้แก่ ระบบขนส่ง สาธารณะหลัก และระบบขนส่งสาธารณะรอง โดยไม่ให้ ระบบการขนส่งทั้งสองระบบนี้มีการซ้อนทับกัน เพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเดินทางของคนในเมือง โคราช

116

ในการเลือกที่ตั้งของโครงการนี้จะเป็นในส่วนของที่ตั้ง สถานีของระบบขนส่งสาธารณะหลัก ซึ่งการเลือกที่ตั้ง สถานีนอกจากจะใช้เกณฑ์โดยเลือกจากจุดส�ำคัญภายใน เมือง และมาตรฐานระยะห่างที่เหมาะสมของสถานีขนส่ง สาธารณะหลักแล้ว ยังมีหลักเกณฑ์ คือ ผู้โดยสาร สามารถมาใช้บริการได้สะดวก ทุกคนสามารถใช้งานได้ อย่างเท่าเที​ียมกัน และต้องค�ำนึ​ึงถึงลักษณะเรขาคณิต ของถนนอี​ีกด้วย เส้นทางของระบบขนส่งสาธารณะมีหลักเกณฑ์ โดย ระบบขนส่งสาธารณะหลักจะอยู่บนถนนเส้นหลักเพื่อ เป็นการแก้ปัญหาการจราจร ส่วนระบบขนส่งสาธารณะ รองจะมีหลักเกณฑ์ คือ น�ำคนมาเข้าขนส่งสาธารณะเส้น หลัก และมีประสิทธิภาพการเชื่อมต่อเทียบเท่าหรือ มากกว่าขนส่งสาธารณะแบบเดิม


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง -โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

บริบทของโครงการ การเลือกต�ำแหน่งที่ตั้งสถานีและสถานีที่เป็นยุทธศาสตร์ จะค�ำนึงถึงต�ำแหน่งสถานี บริบทรอบสถานี ว่าโดยรอบ สถานีมีสถานที่ใดบ้าง การเชื่อมโยงมายังสถานีนี้สามารถ มีวิธีใดบ้าง และสามารถเชื่อมต่อไปยังระบบการขนส่ง ชนิดอื่นอย่างไร ท�ำให้เกิดเป็นเส้นทางขนส่งสาธารณะที่ เชื่อมต่อจุดส�ำคัญ โดยมีพื้นฐานของการใช้งานที่เกิดขึ้น จริงในเมือง น�ำไปสู่การตั้งสถานียุทธศาสตร์ โดยจะเป็น สถานีส�ำคัญซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงบริบทโดยรอบสถานีนั้น ลักษณะการใช้งานว่าคนที่มาใช้จะเป็นกลุ่มใดบ้าง ลักษณะเฉพาะของสถานีนั้น ไปจนถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผู้คนไม่มีทางเลือกในการเดินทางมากนัก ที่มา: https://pantip.com/topic/32247235 117


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ

“ร้อยเมือง” “ร้อยย่าน” “ร้อย Mode”

“ร้อยเมือง”เป็นการเชื่อมจุดส�ำคัญ จุดศูนย์กลาง จุด หมายปลายทาง เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้การเดินทาง สะดวกสบายยิ่งขึ้น “ร้อยย่าน” เป็นการเชื่อมกิจกรรมต่างๆ ภายในเมือง ท�ำให้ย่านต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่ง เสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตที่ดี ยิ่งขึ้น “ร้อย Mode” เป็นการเชื่อมรูปแบบการเดินทางต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มการเดินทางให้หลากหลาย ให้การ เดินทางไร้รอยต่อ สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังจากการน�ำแนวความคิด มาตรฐาน หลักการการ ออกแบบ มาออกแบบเป็นเส้นทางและที่ตั้งสถานีของ ระบบขนส่งสาธารณะหลักและขนส่งสาธารณะรอง จึง ท�ำให้เกิดเป็นเส้นทางของระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมด ได้แก่ ระบบขนส่งสาธารณะหลัก 3 เส้นทาง และระบบ ขนส่งสาธารณะรอง 13 เส้นทาง เส้นทางระบบขนส่งสาธารณะหลักประกอบด้วย เส้นทาง คือ LRT สายแดง LRT สายสีม่วง และ LRT สายสีเขียว โดยเส้นทางของ LRT สายสีแดง จะเป็นการลดการ จราจรภายในเมือง เป็นเส้นทางที่จะเชื่อมย่านเมืองเก่า และเมืองใหม่ที่ในอนาคตจะเป็นย่านพาณิชยกรรมหนา แน่นสูง มีการเดินรถแบบวงกลมปีกผีเสื้อ(Butterfly Loop) ไป-กลับ สวนทางกัน

เส้นทางการเดินรถของ LRT สายสีแดง

เส้นทางการเดินรถของ LRT สายสีม่วงและสายสีเขียว 118

เส้นทางต่อมาคือ LRT สายสีม่วง และ LRT สายสีเขียว โดยเส้นทาง LRT สายสีม่วง จะอยู่ในบริเวณบนถนน มิตรภาพ ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักของเมืองโคราช ซึ่งเดิมจะ มีปัญหาการจราจร เส้นทาง LRT สายสีม่วงจะเป็นการ แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบนถนนเส้นหลักของโคราช เป็นการเชื่อมเมืองทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ และเส้นทาง LRT สายสีเขียวจะเป็นการเชื่อมต่อเมือง ทางด้านทิศตะวันออก ไปยังทิศเหนือและใต้ เป็นการ เชื่อมย่านการศึกษา(ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ม.ราชภัฏนครราชสีมา)และย่านที่อยู่อาศัย(หัวทะเล ชุม ทางจิระ) เข้าสู่เมืองโคราช มีการเดินรถเป็นเส้น ตรง(Linear) ไป-กลับ สวนทางกัน


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง -โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

เส้นทางของระบบขนส่งรอง ประกอบด้วยเส้นทาง ทั้งหมด 13 เส้นทาง สามารถแบ่งย่อยออกเป็น เส้นทาง เชื่อมชานเมืองและนอกเมือง และเส้นทางที่เชื่อมภายใน เมือง โดยเส้นทางที่เชื่อมภายในเมืองจะถูกแบ่งย่อยออก เป็น เส้นทางที่เดินรถเป็นวง และเส้นทางเดินรถเป็นเส้น ตรง โดยเส้นทางระบบขนส่งรองจะเป็นการเพิ่มการเชื่อม ต่อเมืองในระยะที่ขนส่งสาธารณะหลักไม่สามารถเข้าถึง ได้ และท�ำให้ระบบนี้เข้าถึงได้ด้วยการเดินมากที่สุด เส้นทางเชื่อมชานเมืองและนอกเมือง ประกอบด้วย 5 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง สนามบินนครราชสีมา-สถานี รถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟนครราชสีมา-นิคมสุรนารี/ สถานีรถไฟนครราชสีมา-วัดบ้านเดื่อ/ม.สุรนารีเดอะมอลล์โคราช-อุตสาหกรรมบ้านกระโดน และ LRT เซฟวัน-ศูนย์วิจัยหม่อนไหม-สนามบินหน่วยบินทหารบก เส้นทางที่เดินรถเป็นวง เส้นทางนี้จะถูกแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือเส้นทางเดินรถที่เป็นวงกลม(Loop) 3 เส้น ทาง และเส้นทางเดินรถที่เป็นวงแบบปีกผี​ี เสื้อ(Butterfly Loop) 1 เส้นทาง ซึ่งเส้นทางทั้งสอง แบบนี้มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ เป็นการรับคนจากรอบ นอกของเนื้อเมืองโคราชให้เข้าสู่ในเมืองโคราช

เส้นทางการเดินรถของระบบขนส่งสาธารณะรอง

เส้นทางการเดินรถขนส่งสาธารณะรองที่เชื่อมไปยัง นอกเมืองและชานเมือง

เส้นทางเดินรถที่เป็นวงกลม ประกอบไปด้วย 3 เส้นทาง คือ สถานีรถไฟนครราชสีมา-เดอะมอลล์โคราช-บขส. 2-ย่าโม/บขส.2-สนามกีฬา-ม.ราชภัฏ-ประตูพลล้าน/ บขส.2-เดอะมอลล์โคราช-สถานีรถไฟนครราชสีมาโรงเรียนสุรนารี 2 เส้นทางเดินรถที่เป็นวงแบบปีกผี​ีเสื้อ(Butterfly Loop) ประกอบด้วย 1 เส้นทาง โดยจะผ่านจุดส�ำคัญ ได้แก่ สถานีรถไฟนครราชสีมา ตลาดย่าโม บขส.1 ย่าโม จิระ LRT หัวทะเล วัดบูรพ์ ศาลากลาง และสนามบินหน่วย บนทหารบก

เส้นทางการเดินรถขนส่งสาธารณะรองที่เดินรถเป็นวง

เส้นทางเดินรถเป็นเส้นตรง(Linear) มีจุดประสงค์เช่น เดียวกันกับเส้นทางที่กล่าวไว้ก่อนหน้า ซึ่งประกอบไป ด้วย 4 เส้นทาง คือ เดอะมอลล์โคราช-ย่าโม-วัดพะไล/ เดอะมอลล์โคราช-รร.สุรนารี-วัดบึงแสนสุข/เดอะมอลล์ โคราช-คลังเก่า-รร.บุญวัฒนา2/สนามบินหน่วยบินทหาร บก-เดอะมอลล์โคราช-ย่าโม เส้นทางการเดินรถขนส่งสาธารณะรองที่เดินรถเป็นเส้นตรง 119


มหานครโคราช 2040

ต�ำแหน่งของสถานียุทธศาสตร์ทั้ง 3 จุด

รายละเอียดโครงการ

รูปแบบของสถานีของระบบขนส่งสาธารณะหลัก(LRT) ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ สถานีแบบปกติ สถานีปลาย ทาง(Terminal) และสถานีที่เป็นชุม ทาง(Intersection/Mode Change) และเนื่องด้วย สถานีของระบบขนส่งสาธารณะหลัก(LRT) มีจ�ำนวนมาก การลงรายละเอียดกิจกรรมบริเวณรอบสถานีจึงมีการลง รายละเอียดในส่วนของสถานีที่เป็นจุดส�ำคั​ัญของเมือง โคราช ซึ่งสถานีซึ่งเป็นจุดส�ำคัญนี้จะเรียกว่า สถานี ยุทธศาสตร์ สถานียุทธศาสตร์ประกอบไปด้วย 3 จุด ได้แก่ สถานี เดอะมอลล์โคราช สถานีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และ สถานีจอหอ โดยสถานีเดอะมอลล์โคราชมีความส�ำคัญ คือ เป็นสถานีที่อยู่ในย่านที่จะเป็นย่านพาณิชยกรรมหนา แน่นสูงในอนาคต และจุดหลักในการเปลี่ยนไปยังระบบ ขนส่งชนิดอื่น สถานีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มีความ ส�ำคัญคือเป็นจุดที่ระบบขนส่งหลักมารวมกันมาก และ เป็นย่านเมืองเก่า ซึ่งต้องมีการท�ำให้ทั้งสองสิ่งนี้มีความ สอดคล้องกัน และสถานีจอหอ เป็นสถานีที่มีความส�ำคัญ คือ เป็นสถานีปลายทาง ซึ่งเป็นสถานีที่มีการเปลี่ยนไปยัง ระบบขนส่งชนิดอื่นเพื่อเชื่อมต่อจากในเมืองไปยัง 120

ชานเมืองและนอกเมือง และเชื่อมต่อจากชานเมืองและ นอกเมืองเข้ามาภายในเมือง


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง -โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

สถานีเดอะมอลล์โคราช เป็นสถานีที่มีบริบทโดยรอบส่วนใหญ่เป็นอาคารแถวที่มี การใช้งานอาคารเป็นพาณิชยกรรม และมีอาคารพาณิช ยกรรมขนาดใหญ่บ้าง ซึ่งจากการคาดการณ์การใช้ ประโยชน์ที่ดินในอนาคต และเมื่อมีสถานีรถไฟฟ้า LRT เข้ามา จะท�ำให้พื้นที่รอบสถานีเดอะมอลล์โคราชเป็น พื้นที่ศูนย์กลางพาณิชยกรรม เป็นย่านที่มีผู้ใช้งานส่วน ใหญ่เป็นพนักงานออฟฟิศ คนท�ำงาน วัยรุ่นที่มาห้าง สรรพสินค้า สถานีเดอะมอลล์โคราชจะมีขนาดที่กว้างกว่าสถานีอื่น เล็กน้อย เนื่องจากสถานีนี้จะต้องรองรับผู้คนที่มาใช้งาน เป็นจ�ำนวนมาก เนื่องจากสถานีนี้ถือได้ว่าเป็นด่านแรก ของตัวเมืองโคราช ถ้าเข้าเมืองมาจากด้านตะวันตกของ เมือง การเป็นด่านแรกของเมืองของสถานีเดอะมอลล์โคราช ท�ำให้สถานีนี้เป็นจุดแรกในเมืองซึ่งสามารถเปลี่ยนรูป แบบการเดินทางจาก LRT-รถเมล์ หรือ รถเมล์-LRT หรือจาก LRT ไปยังรูปแบบการเดินทางอื่นๆ เช่น การ เดิน การขี่จักรยาน 121


มหานครโคราช 2040

สถานีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เป็นสถานีที่มีบริบทโดยรอบเป็นเมืองเก่า อยู่รอบนอก ของคูเมืองโคราช สถานที่ส�ำคัญที​ี่อยู่รอบๆ คือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ใกล้กับคลังพลาซ่าแห่งที่ 2 ตลาดแม่กิมเฮง และ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม) การใช้งานของสถานีนี้ โดยคนที่มาใช้งานสถานีนี้ใน อนาคตส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว โดย ในพื้นที่นี้จะมีคนในพื้นที่ใช้งานอยู่แล้ว และในอนาคต จากการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต จะ เป็นพื้นที่ที่เป็นย่านเมืองเก่าที่มีอาคารเก่าซึ่งมีการเพิ่ม การใช้ประโยชน์เป็นพาณิชยกรรมมากขึ้น แต่ยังอนุรักษ์ รูปแบบอาคารเก่าอยู่ ซึ่งจะเป็นการท�ำให้นักท่องเที่ยว จากทั้งในและต่างประเทศเข้ามามากขึ้น ลักษณะเฉพาะของสถานีนี้เป็นสถานีแบบปกติ แต่จะมี ลักษณะการตกแต่งที่เข้ากับเมืองเก่า และรอบๆ จะมีการ เปลี่ยนรูปแบบการเดินทางที​ี่เหมาะกับนักท่องเที่ยว เช่น จุดเช่าจักรยาน ทางเดินที่ไปสู่ถนนคนเดิน เป็นต้น 122


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง -โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

สถานีจอหอ เป็นพื้นที่แถบชานเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบ ส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นต�่ำ และมีอาคารแถว ซึ่งมีการใช้ประโยชน์อาคารเป็นพาณิชย กรรมอยู่บ้าง

หรือส่งต่อไปยังระบบของยานพาหนะส่วนตัวออกไปยัง นอกเมือง

จากการคาดการณ์ ในอนาคต พื้นที่จอหอก�ำลังจะกลาย เป็นเมืองใหม่ของโคราช และการมีสถานีของ LRT มา เป็นสถานีปลายทาง ท�ำให้บริเวณสถานีจอหอจะต้อง รองรับคนมากขึ้น เพื่อเป็นท่ารถส�ำหรับการเชื่อมต่อไป ยังนอกเมือง และรับคนจากนอกเมืองเพื่อเข้ามาในเมือง ลักษณะเฉพาะของสถานีนี้คือ จะเป็นสถานีปลายทาง ซึ่ง เป็นเหมือนประตูของการเชื่อมต่อในและนอกเมือง เป็น สถานีของการเปลี่ยนระบบการเดินทาง จึงประกอบไป ด้วย 3 สิ่ง ได้แก่ ท่ารถไฟฟ้า(LRT) ท่ารถเมล์ และจุด จอดแล้วจร(Park and Ride) โดย ท่ารถไฟฟ้าท�ำหน้าที่ รับคนเข้าเมืองหรือส่งต่อคนไปยังระบบอื่นออกนอกเมือง ท่ารถเมล์ท�ำหน้าที่รับช่วงต่อจากรถไฟฟ้าไปยังนอกเมือง หรือส่งกลับเข้าระบบรถไฟฟ้า และจุดจอดแล้วจรท�ำ หน้าที่รับคนจากนอกเมืองเพื่อต่อระบบรถไฟฟ้าเข้าเมือง 123


มหานครโคราช 2040

124


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง -โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ

โครงการกับอนาคตของโคราช

ขนส่งสาธารณะหลักให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ รูปแบบใหม่มีส่วนส�ำคัญในการก�ำหนดทิศทางการพัฒนา ของเมืองโคราช โดยวิธีการ “ร้อยเมือง” “ร้อยย่าน” และ “ร้อย Mode” เป็นการเพิ่มทางเลือกให้คนในเมือง โคราชมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น และยังเป็นการ เพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อภายในเมืองโคราช และโครงการยังค�ำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย การน�ำเทคโนโลยีต่างๆ ในการให้พลังงานในระบบขนส่ง สาธารณะ โดยพลังงานที่ใช้ในระบบขนส่งสาธารณะจะ เป็นไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อลดการเผาไหม้เชื้อเพลิง ลดการ เกิดมลพิษ

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ

โครงการนี้จะเป็นการเชื่อมโยงการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ภายในเมือง เช่น ย่าน CBD บริเวณโดยรอบเดอะมอลล์ โคราช ย่านนวัตกรรม การศึกษาและวิจัย ย่านการค้าใน เมืองเก่า(คูเมือง) ย่านที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นต่าง กัน ท�ำให้ในเมืองโคราชเกิดการเชื่อมโยงกันในทุกด้าน เพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อกับทุกโครงการ ท�ำให้ การเติบโตของเมืองไปในทิศทางที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ยิ่งขึ้น ส่งผลกลั​ับไปยังคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมือง โคราช ทั้งผู้อยู่อาศัยภายในและนักท่องเที่ยว เมื่อมีระบบ ขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพแล้ว จะท�ำให้คุณภาพ ชีวิตของคนในเมืองโคราชดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ ขั้นตอนในการพัฒนาโครงการนี้มี 2 ระยะ คือ ปีที่ 1-5 และปี​ีที่ 6-10 ระยะที่ 1 ปีที่ 1-5 จะเน้นการแก้ปัญหาการจราจรภายใน เมืองเป็นหลัก โดยการด�ำเนินการสร้างระบบขนส่ง สาธารณะหลัก คือ LRT สายสีแดง LRT สายสีม่วง และ LRT สายสีเขียว และเริ่มด�ำเนินการปรับเปลี่ยนเส้นทาง ของระบบขนส่งสาธารณะรองไปพร้อมกัน เพื่อไม่ให้เส้น ทางของทั้งระบบขนส่งสาธารณะหลักและรองไม่ซ้อนทับ กัน

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการในส่วนของการลงทุ​ุนส่วนใหญ่จะ เป็นหน่วยงานในภาครัฐ และมีภาคเอกชนอยู่บ้างที่มีส่วน ได้เสียต่อการท�ำโครงการนี้ ได้แก่ • • • • •

ส�ำนักการช่าง เทศบาลนคร นครราชสีมา ส�ำนักงานธนารักษ์พื้นที่ นครราชสีมา ส�ำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา ส�ำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 2(ด้านโย บายการจัดการจราจร) • ส�ำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัด นครราชสีมา(แนวคิดการวางโครงข่ายขนส่ง สาธารณะ) • องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา • วินสองแถว • หอการค้า กระทรวงพาณิชย์ ส่วนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้คือ ประชาชนโดย รอบพื้นที่ของโครงการ

ประเมินราคาโครงการ รายงานการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองโคราช ปี พ.ศ. 2560 ที่จัดท�ำโดยส�ำนักงานนโยบายและแผนการ ขนส่งและจราจร(สนข.) มีมูลค่ารวมโดยประมาณคือ 20,000 ล้านบาท การท�ำให้โครงการนี้คุ้มทุนจะขึ้นอยู่ กับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีของระบบขนส่งสาธารณะ หลัก เพื่อน�ำรายได้จากการพัฒนาเหล่านั้นมาช่วยลดค่า โดยสารให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ ได้มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการคืนทุนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ระยะที่ 2 ปีที่ 6-10 จะเน้นการเชื่อมต่อไปยังชานเมือง และนอกเมือง โดยระยะนี้จะเป็นการด�ำเนินการก่อสร้าง ส่วนต่อขยายในส่วนของ LRT สายสีม่วงอ่อน และ LRT สายสีเขียวอ่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อของ 125


มหานครโคราช 2040

126


2 โครงการพัฒนาและส่งเสริม การใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

Con-

nect Digital Infrastructure โดย พนธกร ปักษีเลิศ

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประสิทธิภาพใน ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตอีกด้วย โดยในส่วนของการพัฒนา โครงข่ายดิจิทัลจะกระตุ้นให้เกิดความเป็นไปได้และสนับสนุนโครงการต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ด้านการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่า (Productivity) : โครงการพัฒนาและส่งเสริมการค้ารูปแบบใหม่ โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โครงการปรับปรุงพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ ด้านการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิต (Livability) : โครงการเพิ่มและปรับปรุงพื้นที่ทางสุขภาวะ โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม ดังนั้นการพัฒนาการเชื่อมโยงกิจกรรมและโครงการด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เช่น โครงข่ายการ แบ่งปันเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสาธารณะ จุดจอดและชาร์ตยานพาหนะรูปแบบไฟฟ้า เทคโนโลยีอ�ำนวย ความสะดวก รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ส่งเสริมวัฒนธรรม การเรียนรู้ และความบันเทิง จะสามารถท�ำให้ ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาแบบแผน

127


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ ในปัจจุบันโคราชมีความต่อเนื่องของโอกาสและการ พัฒนา จากการลงทุนระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้น ในทางกลับกันเมืองที่เติบโตไปตามทุนใหญ่นั้น ท�ำให้ พื้นที่เมือง โดยเฉพาะเมืองเก่าขาดความสมดุลของการ มูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เมือง“Smartness”เพื่อเทคโนโลยี”5G” ในอนาคต จึง เป็นสังคมใหม่ที่สามารถเชื่อมการติดต่อสื่อสาร เชื่อมต่อ กับข้อมูล ข่าวสาร และความบันเทิง ได้อย่างรวดเร็ว มี ความแม่นย�ำ รวมถึงมีความปลอดภัยของข้อมูลที่ สามารถตอบสนองการยกระดับคุณภาพชีวิต และต่อย อดการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างสมดุล และยั่งยืน ซึ่งการเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย นั้นเหมาะสมกับการใช้ งานในปัจจุบันและยุคดิจิทัลในอนาคต เช่น การใช้แอพลิ เคชั่นต่างๆบนสมาร์ทโฟน ระบบ IoTs เทคโนโลยีโลก เสมือนเพื่อการเรียนรู้และความบันเทิง ฯลฯ แสดงถึง ความสัมพันธ์ของการใช้ชีวิตกับโลกอนาคตที่เทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่ 5 ในการขับเคลื่อนเมือง ด้วยพฤติกรรมของ มนุษย์กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการออกแบบและวางแผนเทคโนโลยีทางดิจิทัลเพื่อ เป็นโครงสร้างพื้นฐาน จะท�ำให้เมืองมีศักยภาพสู่สังคม ดิจิทัล โดยที่เมืองสามารถตอบสนองพฤติกรรมในยุค 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรูปแบบของการการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสังคม และ สิ่งแวดล้อม จะมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม การมองเห็น และความคิดของผู้ใช้งานที่มีการตอบสนอง ต่อพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีอย่างมีความรู้ความเข้าใจ และ การออกแบบกายภาพที่เพื่อรองกับโครงสร้างพื้นฐานทาง ดิจิทัล พร้อมเป็นเมืองโคราช”Smartness” สู่ความเป็น มหานครแห่งอีสานในอนาคต

เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ การรวมตัวของ การใช้งานประเภทเดียวหรือหลายประเภท จะสร้าง ความเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการวางแผนด้านการลงทุน และสามารถต่อยอดการพัฒนาได้ง่าย 2.พื้นที่มองเห็นได้ง่าย สามารถขับเคลื่อนพฤติกรรมของ ผู้ใช้งานผ่านการมองเห็นและกระบวนการทางความคิด ต่อสภาพแวดล้อมของพื้นที่ได้ โดยพฤติกรรมการมอง เห็นที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทาง ความคิดและการตัดสินใจต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น รวมไป ถึงสามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่ ดีขึ้น รองรับการใช้งานสังคมเดิมและสังคมใหม่ที่จะเกิด ขึ้นในอนาคตอย่างยั่งยืน 3.ตอบสนองยุทธศาสตร์ในอนาคต พื้นที่ต้องมีการเชื่อม โยงในหลายระดับการพัฒนา ดังนั้นการเลือกพื้นที่เพื่อ เริ่มต้นการพัฒนาต้องสามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง ของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริบทของโครงการ จากเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ มีพื้นที่ต้นแบบการ พัฒนาเพื่อตอบยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. พื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อวางโครงข่ายเส้นใยแก้วน�ำแสง (Fiber Optic) : สถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นพื้นที่แห่ง โอกาสศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่เชื่อมต่อสถานีรถไฟ ความเร็วสูง คูเมืองเก่า เมืองการค้าเก่า พื้นที่วัฒธรรม ย่านมหาวิทยาลัยในเมือง แหล่งนวัตกรรมและการศึกษา บริเวณถนนเลี่ยงเมือง เมืองใหม่จอหอ ย่านการศึกษา วิจัยและการแพทย์

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

พื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพในการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจ�ำเป็นต้องพึ่งพา ระบบโครงข่ายเส้นใยแก้วน�ำแสงในการผลักดันโครงการ ให้เกิดขึ้นได้จริงและเป็นฐานการพัฒนาตามแบบแผนการ พัฒนาจังหวัด สู่ระดับประเทศในอนาคต

การพัฒนาโครงข่ายดิจิทัลมีเกณฑ์การเลือกพื้นที่เพื่อ พัฒนา 3 ประการดังนี้

2. พื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อออกแบบ (Site Prototype) บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงและแกนอนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารี

1.พื้นที่ต้องมีคนใช้งาน เพื่อตอบสนองต่อสังคม

- จุดตัดถนนทางเข้าคูเมืองเก่าและถนนราชสีมา

128


ด้ด้านการส่ านการส่งงเสริ เสริมมความเชื ความเชื่อ่อมโยง มโยง-โครงการเพิ -โครงการพั่มฒ และปรั นาและส่ บปรุ งเสริ งโครงข่ มการใช้ ายการขนส่ งานโครงข่ งสาธารณะ ายดิจิทัล

ประกอบด้วยพื้นที่สถานศึกษา และพื้นที่ทางการเรียนรู้ ติดถับคูคลองสาธารณะ ซึ่งมีพื้นที่วัฒนธรรมทั้งคูเมือง เก่า รวมไปถึงพื้นที่ของการจราจรและจุดเปลี่ยนถ่าย ขนาดใหญ่ของยานพาหนะส่วนตัวทุกประเภท และการ สัญจรด้วยระบบขนส่งสาธารณะและการเดินเท้า - พื้นที่แกนอนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นศูนย์รวมกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม - พื้นที่ว่างสาธารณะในคูเมืองชั้นใน เพื่อการส่งเสริม กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ งานไม่เต็มศักยภาพ - พื้นที่การค้าใหม่และย่านนวัตกรรม ใหม่ เป็นพื้นที่ แห่งโอกาส ที่อยู่ระหว่างพื้นที่ คูเมืองเก่าและพื้นที่การ พัฒนาศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ (New TOD)

แนวความคิดในการออกแบบ การออกแบบที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนพื้นที่การอยู่ อาศัย พื้นที่แหล่งงาน และพื้นที่พักผ่อน ที่ต้องตอบรับ กับยุทธศาตร์การพัฒนา ดังนั้นความเชื่อมโยงของพื้นที่ (Connectivity) จะถูกมองในทุกระดับการพัฒนา ที่มี การวิเคราะห์ด้วยความเป็นไปได้ของพื้นที่ งบประมาณ ความร่วมมือ ออกมาเป็น ”โครงสร้างพื้นฐาน” ของเมือง ในระดับย่อย คือการมองถึงความเป็นไปได้ของการ เปลี่ยนวิถีชีวิต หรือพฤติกรรมมนุษย์ ที่ซึ่งจะต้องอาศัย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองผ่านการรับรู้ (Senses) ของกายภาพ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส และน�ำมาซึ่งกระบวนการทางความคิด ที่ สามารถท�ำให้คนตอบสนองต่อกายภาพนั้นๆ ตลอดจน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอีกด้วย (Placemaking) อีกทั้งการตอบสนองของเทคโนโลยีสามารถช่วยให้คน เข้าใจสภาพแวดล้อมได้ง่ายขึ้นและน�ำมาซึ่งการ เปลี่ยนแปลงของเมืองเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน 129


มหานครโคราช 2040

ดังนั้นความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและการออกแบบ กายภาพเมืองจนเกิดเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่มี ประสิทธิภาพ ทั้งการรับรู้และการตอบสนอง รองรับการ ใช้งานทุกมิติจะต้องเกิดจาก 1. การวางเทคโนโลยีพื้นฐานของการต่อยอดการพัฒนา (ระบบปฏิบัติการ) 2. การร่วมมือของรัฐกับเอกชนด้านแผนงานและการ ลงทุน 5G (สัมปทาน) 3. การลงทุนพัฒนาองค์ประกอบถนนสาธารณะ สนับสนุนสภาพแวดล้อม สังคมดิจิทัล 4. การประสานงานของรัฐกับเอกชนในการส่งเสริมการ ใช้งานพื้นที่ต่างๆ เช่น การรณรงค์การใช้พื้นที่ การ โฆษณาด้วยหน้าจอดิจิทัล สนับสนุน การให้บริการสาธารณะต่างๆ โดยการสร้างกายภาพ ด้วยองค์ประกอบทางดิจิทัลจะถูกวางโดยหลักการ และแนวความคิดดังนี้

กิจกรรมภายในโครงการ สภาพแวดล้อมสังคมดิจิทัลที่จะกระตุ้นการอยู่อาศัยและ แหล่งงานโดยเฉพาะเมืองเก่า ซึ่งจะถูกพัฒนาไปพร้อม กับการรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พื้นที่จะถูก ประสมดุลของกิจกรรมทั้งสาม โดยการกระตุ้นพื้นที่ สาธารณะขนาดย่อม(Pocket Space) ให้มีการใช้งาน ในเชิงสุขภาวะ การพักผ่อนหย่อนใจ และการท่องเที่ยว ที่มีประสิทธิภาพจะท�ำให้พื้นที่ภายในย่านเมืองเก่ามี ความต่อเนื่องของการใช้งานเพื่อการยกระดับคุณภาพ ชีวิต ซึ่ง TK Square เป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธสาสตร์การ พัฒนาเมืองโคราชใน 2040 จะถูกยกระดับเป็นพื้นที่ สาธารณะแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ ที่จะรองรับการใช้งาน ของคนในพื้นที่ตั้งแต่ระดับชุมชนไปสู่ระดับย่าน โดยการพัฒนาพื้นที่ยุทธศาสตร์หลัก คือ เส้นแกน วัฒนธรรม อนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารี จะมีสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบถนนที่สามารถรองรับการใช้งานในเชิง การค้าการท่องเที่ยว และการใช้งานสาธารณะได้ตลอด วัน และจะเป็นพื้นที่เปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่สร้าง มูลค่าทางวัฒนธรรมให้กับโคราชได้มากขึ้น รวมไปถึงพื้นที่ธุรกิจการค้ารูปแบบใหม่ และพื้นที่ นวัตกรรมที่จะเป็นแหล่งงานหลักของคนเมืองโคราชใน 130

อนาคต มีการการออกแบบองค์ประกอบพื้นที่ทางดิจิทัล อย่างมีแบบแผนและประสิทธิภาพ จากการรสนับสนุนกา รด�ำเนินการพัฒนาตามเป้าหมาย “ โคราช 2040 อนาคตก�ำหนดได้ ”


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง -โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

131


มหานครโคราช 2040

พื้นที่จุดตัดถนนคูเมืองเก่าและถนนราชสีมา ถูกออกแบบ ส่งเสริมด้วยองค์ประกอบถนนและระบบเทคโนโลยีทาง ดิจิทัล ส�ำหรับสนับสนุนการใช้ระบบขนส่งสาธาณะ และ สนับสนุนรูปแบบพฤติกรรมของการใช้พื้นที่สาธารณะ มากขึ้นด้วยองค์ประกอบทางดิจิทัล ดังนี้ (A) หน้าจอปฏิบัติการเรียลไทม์ (Real time Information) (a) หน้าจอดิจิทัล (Digital Display) เพื่อการรณรงค์ และการโฆษณา เพื่อการบริการสาธารณะ (B) โคมไฟอัจฉริยะ (Smart Streetlight) ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวสามารถเข้าถึง และรับรู้ข้อมูลได้ ผ่านความง่ายต่อการมองเห็นทางกายภาพ(SEE) หรือ ผ่านการใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อข้อมูล(C) ที่สามารถ รองรับการให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย สาธารณะ(Public WI-FI) จากการลงทุนของภาครัฐได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยการให้ข้อมูลจะมีความเหมาะสมกับพื้นที่(THINK) เช่น การให้ข้อมูลพื้นฐานของสภาพแวดล้อม การจราจร ของยานพาหนะ ข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะ ทางเลือก ของการเดินทาง รวมถึงการรณรงค์หรือการโฆษณาด้วย หน้าจอดิจิทัล(A,a) และระบบโคมไฟอัจฉริยะ(B) ที่ซึ่งจะ เพิ่มระสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้ใช้งานและอ�ำนวย ความสะดวกทางความปลอดภัยด้วยการตอบสนองทาง เทคโนโลยีได้(DO) โดยจะถูกวางให้ครอบคลุมในระยะ บริการและการมองเห็น 132

ในขณะเดียวกันการวางองค์ประกอบถนน หรือพื้นที่ทาง ดิจิทัลนั้น สามารถท�ำให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น เช่น การวางจุดบริการจักรยานสาธารณะ(DC)ใกล้กับจุด ชาร์ตสาธารณะ(EC) โดยผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนถ่ายรูป แบบการสัญจรสู่รูปแบบกิจกรรมที่เหมาะกับการปั่น จักรยานหรือการเดิน อีกทั้งใช้บริการจากโครงสร้างพื้น ฐานอื่นๆด้วยพลังงานสะอาดได้ฟรี ซึ่งนอกจากการ อ�ำนวยความสะดวกของผู้ใช้งาน ยังสามารถเป็นการ น�ำร่องสู่การไปใช้งานพื้นที่ต่างๆโดยเฉพาะการใช้งาน พื้นที่สาธารณะ หรือการใช้งานของพื้นที่พาณิชกรรมที่มี ความหนาแน่นมากขึ้น ที่ท�ำให้พื้นที่สามารถกระตุ้นสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ได้มากขึ้น การกระตุ้นการอยู่อาศัยในเมืองเก่าด้วยพื้นที่สาธารณะ ทางสังคม ต่างๆ(Pocket space) และการให้ข้อมูล บริการสาธารณะด้วยองค์ประกอบทางดิจิทัลที่ดี (aC) จะรองรับการใช้งานของคนได้ทุกประเภท ทุกระดับของ รายได้ เพื่อสนับสนุนความรู้ความเข้าใจ เช่น ผู้มีรายได้ น้อยสามารถใช้หน้าจอดิจิทัล (aC) เพื่อเรียกบริการ ต่างๆได้อย่างเข้าใจ มากไปกว่านั้นการยกระดับคุณภาพชีวิตต่อการ เปลี่ยนแปลงสู่ โคราช 5G ด้วยเทคโนโลยีโลก เสมือน(FC) เพื่อกระตุ้นการใช้งานพื้นที่ และสนับสนุน การบริการและการท่องเที่ยว บริเวณคูเมืองจะเป็นพื้นที่ ต้นแบบที่ครอบคลุมทุกมิติและสามารถต่อยอดสังคม ดิจิทัลได้ในอนาคต


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง -โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

133


มหานครโคราช 2040

134


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง -โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

โครงการกับอนาคตของโคราช อนาคตที่ก�ำหนดได้ และพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่ จะเกิดขึ้น ซึ่งการพัฒนาที่เริ่มต้นจากการกระตุ้นพฤติ กรรมด้วยโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน ทางดิจิทัลที่เหมาะส�ำหรับการอ�ำนวยความสะดวกจะ ท�ำให้ผู้ใช้งานในพื้นที่ตระหนักถึงความส�ำคัญของการ พัฒนาเมืองสู่อนาคต ทั้งการปรับตัวกับความรวดเร็วทาง เทคโนโลยี และการถูกกระตุ้นจากกายภาพที่ถูกออกแบบ มาเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมใหม่ เศรษฐกิจที่มีอยู่เดิมถูกกระตุ้นด้วยการสร้างมูลค่าจาก สภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการจับจ่าย และเทคโนโลยีที่เข้าใจ และเข้าถึงได้ ท�ำให้ผู้ใช้งานไม่เพียงได้รับความสะดวก แต่ยังสร้างประสบการณ์ใหม่ในด้านอื่นๆ เช่น ความรู้ ความบันเทิง ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่มีความยืดหยุ่นในการ เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจใน 2040 โดยประชาชนสามารถเข้าถึงพื้นที่สาธารณะที่มีความ หลากหลายได้มากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางน�ำร่อง การใช้งานของผู้ใช้งานหลายประเภท หลายกิจกรรม ส่ง ผลถึงการกระตุ้นกาารมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม รวมไปถึงมี สุขภาวะทางกายและจิตใจที่ดีขึ้น ท�ำให้การอยู่อาศัย การ ท�ำงาน และการพักผ่อนที่ขาดหายไปมีความต่อเนื่องและ สมดุลกันมากขึ้น อีกความต่อเนื่องของกายภาพที่ค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อมใน การใช้พลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาดนั้น ท�ำให้ พื้นที่มีความยั่งยืนในตัวเอง ท�ำให้เกิดความตระหนักของ คนเมืองในอนาคตถึงการลดการใช้ทรัพยากร รวมไปถึง โมเดลการพัฒนาจากรัฐที่จะสนับสนุนให้พื้นที่ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมได้รับผลประโยชน์ยกเว้น เพื่อการต่อยอด การพัฒนาทางเศรษฐกิจตั้งระดับชุมชนเมืองเก่า การ พัฒนานวัตกรรมและการค้าใหม่ในระดับย่าน ไปสู่พื้นที่ ศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าได้ในระดับประเทศ

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ รัฐวางแผนตามแผนยุทธศาตร์การพัฒนาจังหวัด พร้อม กับแก้กฎหมายเพื่อรองรับระบบ 5G เพื่อให้ง่ายต่อการ ด�ำเนินการ โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานตาม แนวพื้นที่เศรษฐกิจเก่าและใหม่ พื้นที่สาธารณูปการ และ จุดบริการสาธารณะต่าง(พื้นที่ยุทธศาสตร์)

โดยเริ่มจากการวางโครงข่ายเส้นใยแก้วน�ำแสง ติดตั้งเสา อากาศและระบบรับส่งสัญญาณ แล้วปรึกษากับเอกชนผู้ ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม เกี่ยวกับระบบสัมปทาน ในการมีบทบาทการร่วมพัฒนาในอนาคต การลงทุนเพิ่มเติมของรัฐ เช่น องค์ประกอบถนนที่ส่ง เสริมสภาพแวดล้อมสังคมดิจิทัล การออกกฎหมาย สนับสนุนรูปแบบการพัฒนาให้เอกชนรายใหญ่ และราย ย่อยร่วมลงทุน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการลงทุน ประกอบกับส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เข้าใจและได้รับผล ประโยชน์ร่วมกัน ภาครัฐและเอกชนเริ่มคืนทุนจากการลงทุน น�ำไปสู่การ ขยายเฟสโครงข่ายเส้นใยแก้วน�ำแสงให้ครอบคลุมพื้นที่ มากขึ้น แผนปรับปรุงควบคุมและก�ำกับดูแลการด�ำเนินการของ ภาคเอกชนโดยรัฐ และแผนโครงการต่างๆของเอกชนที่ เสนอให้รัฐพิจารณา

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ กรมทางหลวง กรมโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ผู้ว่า ราชการจังหวัด กระทรวงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม(ดีอี) กสทช. เอกชนโทรคมนาคมร่วมประมูล สัมปทาน เอกชนรายย่อยร่วมลงทุน / ผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่

ประเมินราคาโครงการ - ราคาด�ำเนินการและการติดตั้ง (29.9 พันล้านบาท) - ราคาค่าสายเส้นใยแก้วน�ำแสง (<20 ล้านบาท) - ราคาอุปกรณ์ประกอบถนนทางดิจิทัล(<80 ล้านบาท) มูลค่าโครงการ 3 หมื่นล้านบาท จากระบบการลงทุนโครงสร้างพืน ้ ฐานทีน ่ ำ� ไปสู่การพัฒนา และรองรับการเชื่อมต่อทุกมิติ มีการสนับสนุนด้วยระบบ การร่วมลงทุนจากหลายภาคส่วน ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ดัง นั้นแผนการด�ำเนินการที่ดีจะสามารถท�ำให้การประเมิน ราคาถูกลง และเกิดความยืดหยุ่นในการพัฒนา ซึ่งจะ ท�ำให้โครงการคุ้มค่าแก่การลงทุน และได้รับผลประโยชน์ ร่วมกันทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ 135


มหานครโคราช 2040

ภาพบริเวณหน้าสถานีรถไฟโคราชปัจจุบัน

136


3 โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟ ความเร็วสูง และพื้นที่ต่อเนื่อง Korat Intermodal Station and Transit-Oriented District (TOD) โดย พริมา เจนงาน

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่อง จะช่วยพัฒนาพื้นที่หลักตามแผนรถไฟ ความเร็วสูงเชื่อมต่อ EEC-กรุงเทพฯ-จีน ท�ำให้การพัฒนาพื้นที่นี้เปรียบเสมือนใจกลางย่านเศรษฐกิจ ใหม่ของโคราช ที่จะเชื่อมต่อโคราชสู่ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ ทางด้าน connectivity พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมือง และเป็นพื้นที่โครงการขนาดใหญ่ใจกลาง เมือง ที่รวบรวมการเดินทาง กิจกรรมการใช้งาน การอยู่อาศัย การติดต่อธุรกิจ สร้างความต่อเนื่องของ กิจกรรมในพื้นที่เมือง โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่องจะช่วยพัฒนาระบบคมนาคมของเมือง เนื่องจากเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรจากระดับภาคหรือประเทศสู่พื้นที่โดยรอบ ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถโดยสารประจ�ำทางระหว่างภูมิภาค และสนับสนุนการเปลี่ยนถ่ายผู้ใช้งานสู่ระบบขนส่ง สาธารณะ เช่น รถไฟฟ้ารางเบา รถสองแถวอัจฉริยะ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และระบบการสัญจรอื่นๆ ภายในเมือง ที่จะท�ำให้การเชื่อมต่อเดินทาง เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่อง(TOD) ยั​ังช่วยพัฒนากิจกรรมของย่านโดย รอบให้เกิดการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ เกิดการใช้งานผสมผสานและเกิดการอยู่อาศัย การค้า การ เดินทางในพื้นที่ใจกลางเมืองอย่างเต็มศักยภาพของพื้นที่ด้วยหลักการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี(TOD) ท�ำให้เกิดการเชื่อมต่อเมืองจากย่านใหม่ใจกลางเมืองไปยังย่านต่างๆ ทั้งเมืองเก่า ลานย่าโม ย่านการ ศึกษา ท�ำให้สามารถควบคุมการเติบโตของเมือง ลดการกระจายตัวออกสู่นอกเมือง เพื่อง่ายต่อการ บริหารจัดการเมืองโคราชต่อไป 137


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อ เนื่อง เกิดจากการที่เมืองโคราชเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อ ภาคอีสานและเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ เป็นอันดับ2 รองจากกรุงเทพฯ จึงเป็นเมืองที่มีความ ส�ำคัญและมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไป และในตัวเมือง โคราชยังเป็นจุดจอดรถไฟความเร็วสูงของโครงการระยะ แรก กรุงเทพฯ-โคราช รวมทั้งมีโครงการรถไฟฟ้ารางเบา เพื่อเป็นระบบขนส่งสาธารณะหลักภายในเมืองเชื่อมต่อ จากจุดจอดรถไฟฟ้าความเร็วสูงสู่พื้นที่เมือง ทั้งโคราช เป็นเมืองที่อยู่อาศัยและท�ำงานรองรับประชากรและตัว ส�ำนักงานจากกรุงเทพฯ และการเป็นศูนย์กลางด้านการ ผลิตการเกษตร และเชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมรอบนอก เมือง ส่งผลให้โคราชจะเกิดการพัฒนาและการลงทุนที่ ตามมาในอนาคตย่างมหาศาล

การเลือกที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟ ความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่อง เริ่มจากตัวสถานีเดิมที่ตั้ง อยู่บริเวณใจกลางเมือง บนถนนมุขมนตรี บริเวณสถานี รถไฟนครราชสีมาเดิม เนื่องจากเป็นที่ของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย มีความจ�ำเป็นต้องเชื่อมโยงกับแผน โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ EECกรุงเทพฯ-จีน จากการพัฒนาจากภาครัฐส่วนกลาง ที่จะ พัฒนาจากเส้นทางรางเดิมด้วยเหตุผลด้านข้อจ�ำกัดต่างๆ เช่น การเวณคืนที่ดิน

การลงทุนอย่างมากที่จะเข้ามาในเมือง จากการพัฒนา สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่โดยรอบและการพัฒนา โครงการรถไฟฟ้ารางเบาในเมืองจะท�ำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของเมือง ทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากร ส่ง ผลต่อเนื่องต่อการเพิ่มขึ้นของ คอนโด หมู่บ้านจัดสรร การเพิ่มขึ้นของตัวส�ำนักงาน บริษัท และโครงการอื่นๆ ภาพโคราชในอนาคตคงจะกลายเป็นมหานครในไม่ช้า และหากขาดการวางแผนรองรับที่ตัวต้นเหตุคือการ พัฒนาขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเพิ่ม การแข่งขันของพื้นที่ โคราชเป็นเหมือนกรุงเทพมหานคร

โดยที่ทั้งของโครงการมีศักยภาพเนื่องจากมีพื้นที่ต่อเนื่อง ของการรถไฟประมาณ 270 ไร่ และอยู่บริเวณที่ล้อม รอบกับที่ดินของหน่วยงานภาครัฐเหมาะกับการพัฒนา และขยายตัวของโครงการในอานาคตเนื่องจากตัว เทศบาลนครโคราชก็มีแผนในการย้ายศูนย์ราชการไป นอกเมือง ท�ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินของภาครัฐ ที่กระจายตัวอยู่รอบโครงการเป็นพื้นที่ขยายตัวของเมือง รองรับประชากรที่จะเข้ามาอยู่ในโคราชมากขึ้น และเกิด การอยู่ในบริเวณเมืองแบบกระชับและมีประสิทธิภาพ ลดการกระจายตัวสู่นอกเมือง

ดังนั้นการพัฒนารอบสถานีรถไฟ (TOD) จึงมีความ ส�ำคัญช่วยควบคุมให้เกิดความหนาแน่นในการใช้งาน รอบสถานี เกิดย่าน CBD ธุรกิจใหม่ใจกลางเมืองรองรับ การเข้ามาของรถไฟความเร็วสูง รูปแบบการเดินทาง ส�ำหรับอนาคต และเกิดแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งงานใน พื้นที่เมือง ช่วยลดการกระจายตัวของประชากรออกนอก เมือง และสนับสนุนการใช้ขนส่งสาธารณะเป็นรูปแบบ หลักในการเดินทางของเมือง ลดปัญหารถติดจากการ เดินทางของคนจ�ำนวนมากเข้าสู่เมืองชั้นใน รวมทั้ง ควบคุมพื้นที่เศรษฐกิจให้โตในพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐาน ที่ดี มีการวางแผน บริหาร และจัดการดูแลเมืองอย่างมี ประสิทธิภาพ ท�ำให้เกิดเป็นมหานครโคราชที่เป็นเมือง กระชับ เกิดการพัฒนา การอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ภาพบริเวณหน้าสถานีรถไฟโคราชปัจจุบัน 138


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูง และพื้นที่ต่อเนื่อง

ภาพแสดงที่ตั้งและการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน

บริบทของโครงการ

ภาพบริเวณสถานีรถไฟโคราชปัจจุบัน

โครงการตั้งอยู่บริเวณพื้นที่สถานีรถไฟนครราชสีมาเดิม บนถนนมุขมนตรี โดยสภาพปัจจุบันโครงการเป็นพื้นที่ที่มี ความหนาแน่นของการใช้ประโยชน์ที่ดินเดิม มีโรงเรียน ส�ำนักงาน และศูนย์ราชการ และพื้นที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ บริเวณรอบ และหน้าโครงการทางทิศเหนือมีซอยเชื่อม ต่อตรงสู่ถนนมิตรภาพ และห้างสรรพสินค้าส�ำคัญของ เมือง และมีถนนมุ่งตรงสู่เขตเมืองเก่า เกิดเป็นจุดมุมมอง ตรงกลางของโครงการ นอกจากนี้รอบโครงการปัจจุปัน มีสวนสาธารณะเดิมคือสวนภูมิรักษ์ และมีพื้นที่บึงน�้ำ ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ของพื้นที่การรถไฟเดิม และโครงข่าย ถนนปัจจุบันรอบโครงการมีขนาด 2-4 เลน สภาพของที่ ตั้งของโครงการในอนาคตจะเกิดโครงการใหม่โดยรอบ ขึ้นทั้งการสร้างห้างสรรพสินค้าคลังสเตชั่น การเกิดศูนย์ ประชุมและแสดงสินค้า และการพัฒนาบริเวณโดยรอบ เป็นย่านพาณิชยกรรมและส�ำนักงานใหม่ เชื่อมโยงกับตัว โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อ เนื่อง รวมทั้งมีการส่งเสริมแนวแกนการค้าสู่พื้นที่เมือง เก่าและลานย่าโม 139


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ แนวความคิดในการออกแบบ โครงการพัฒนาพื้นที่สถานี รถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่องมีการเชื่อมโยง 2 แนวความคิดในการออกแบบคือ การที่ตัวโครงการจะ เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรที่ส�ำคัญ รวมทั้งการพัฒนา พื้นที่โครงการและพื้นที่โดยรอบสถานีให้เกิดการใช้งาน เต็มประสิทธิภาพตามหลักการพัฒนารอบสถานี (TOD)

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานสถานีและการกระจาย คนสู่โคราช

การพัฒนารอบสถานี (TOD: Transit-oriented Development) มีหลักส�ำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกน�ำมาใช้ประโยชน์แบบผสม ผสาน (Mixed Use Development) โดยในพื้นที่ ใกล้สถานีหนึ่งแปลงอาจถูกพัฒนาให้เป็นทั้งที่อยู่ อาศัย แหล่งพาณิชยกรรม และพื้นที่นันทนาการ หลากหลายรูปแบบ 2. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาอย่างกระชับ (compact development) ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ พื้นที่นั้นมีความหนาแน่นสูง คือการใช้พื้นที่ทุกตาราง เมตรเพื่อประโยชน์สูงสุด 3. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาเพื่อให้ผู้คนสามารถ เดินสัญจรได้อย่างสะดวกรวดเร็ว บริการทุกอย่างใน พื้นที่โครงการ จะต้องเข้าถึงได้ด้วยการเดินและมี บรรยากาศที่น่าเดินด้วย 4. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมี ทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลาย เช่นมีทั้ง รถไฟฟ้า รถเมล์ ทางเดินเท้า ทางจักรยานและที่เก็บ จักรยานไว้บริการ

TOD CONCEPT

INTERMODAL STATION

การพัฒนาสถานีจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรระดับภูมิภาค (INTERMODAL STATION) แนวความคิดให้การท�ำตัวสถานีโคราชให้เกิดการเปลี่ยน ถ่ายรูปแบบการเดินทางได้สะดวกรวดเร็ว และมีทาง เลือกหลากหลาย รวมทั้งยังสนับสนุนการใช้งานขนส่ง สาธารณะเป็นหลัก เนื่องจากสถานีโคราชเป็นสถานีปลาย ทางในโครงการรถไฟระยะแรก รวมทั้งการที่เป็นประตูสู่ อิสาน ท�ำให้รองรับการใช้งานของคนจ�ำนวนมากเข้ามา ในพื้นที่ ดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายที่ต่อเนื่อง สะดวกรวดเร็ว 140

แผนภาพแสดงแนวความคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี ที่มา : www. bltbangkok.com


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูง และพื้นที่ต่อเนื่อง

ภาพแสดงผังการใช้งานพื้นที่ภายในโครงการ (ZONING MAP)

ภาพแสดงประเภทการใช้ประโยชน์อาคารในโครงการ

รายละเอียดโครงการ จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรหลักของเมืองที่รวมการเปลี่ยน รูปแบบการเดินทางจากระดับประเทศและภูมิภาคสู่พื้นที่ เมืองโดยรอบ ได้แก่ รถไฟฟ้าความเร็วสูง รถไฟฟ้ารางคู่ รถโดยสารประจ�ำทาง รถไฟฟ้ารางเบา รถตู้ประจ�ำทาง รถสองแถว รถมอไซค์รับจ้าง หรือยานพาหนะส่วนตัว MICE และโรงแรมเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมกิจกรรมและกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง พื้นที่สีเขียวและพื้นที่รับน�้ำ (บึงน�้ำเดิมของการรถไฟ) ที่ จะเป็นพื้นที่สาธารณะใหม่ใจกลางเมือง เชื่อมต่อสวนภูมิ

รักษ์เดิมในพื้นที่ และเส้นทางสีเขียวเชื่อมต่อพื้นที่เมือง โครงการจึงท�ำให้เกิดพื้นที่สีเขียวและนันทนาการของ เมืองกว่า 100,000 ตารางเมตร อาคารที่สนับสนุนการใช้งานผสมผสาน (MIX USED) ที่ ท�ำให้เกิดกิจกรรมการอยู่อาศัยในพื้นที่บนอาคารชั้น บน(tower) ผสมผสานกับการใช้งานส่วนฐานอาคาร (podium) ที่เกิดกิจกรรมหลากหลากทั้งพาณิชยกรรม พื้นที่จอดรถ และกิจกรรมอื่นๆ ท�ำให้เกิดการใช้งาน หมุนเวียนในพื้นที่โดยรอบสถานีอย่างเต็มประสิทธิภาพ ในพื้นที่โครงการและเหมาะกับศักยภาพของที่ตั้งของ โครงการ เกิดการใช้งานอย่างเหมาะสมใจกลางเมือง 141


มหานครโคราช 2040

PEDESTRIAN SYSTEM

ROAD SYSTEM

URBAN RAIL TRANSIT

แผนภาพแสดง : โครงข่ายการเชื่อมต่อในระดับ โครงการโดยเริ่มจากโครงข่ายการคมนาคมสาธารณะ หลัก คือรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ที่ยกระดับเหนือพื้น ดิน 10 เมตร เข้าสู่พื้นที่โครงการเชื่อมกับเส้นทาง รถไฟฟ้ารางเบาโดยอาศัยตัวสถานีเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการ เดินทาง จากการเดินทางโดยระบบสาธารณะแบบรางสู่โครงข่าย ถนนของโครงการที่มีการวางโครงใหม่ รวมทั้งปรับขยาย ขนาดถนน ให้เกิดการเชื่อมต่อจากตัวโครงการสู่พื้นที่โดย รอบได้อย่างสะดวกที่สุด เพื่อลดความหนาแน่นของการ จราจรที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการกระทบสู่พื้นที่เมือง ทั้ง ยังออกแบบโครงข่ายพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อตามแนวตลอด ทั้งโครงการเพื่อสนับสนุนการเดินเป็นหลักออภายใน โครงการเกิดการตามแนวพื้นที่สีเขียวเชื่อมสู่ย่าน ภายนอก

142

แผนภาพแสดง : แนวทางการออกแบบพื้นที่ภายในโครงการ เน้นการออกแบบเพื่อให้เกิดการเชื่อมด้วยการเดินได้ต่อเนื่อง โดยมี การเปลี่ยนถ่ายระดับและมุมของตัวพื้นที่แต่ละกิจกรรมเพื่อให้เกิด การแบ่งการใช้งานที่ชัดเจน แต่ยังดึงดูดมุมมองให้เกิดความ ต้องการใช้งานในพื้นที่อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับส่วนกลางด้วยพื้นที่สีเขียว และพื้นที่โล่งที่เป็นสาธารณะที่สนับสนุนการเดิน ต่อเนื่องตลอดทั้ง โครงการและยังเชื่อมต่อแนวทางเดินสีเขียวสู่พื้นที่เมืองอื่นๆ ภายนอกโครงการ เนื่องจากตัวโครงการมีลักษณะพื้นที่เป็นแนวยาว การท�ำให้เกิดแกน เชื่อมต่อพื้นที่เมืองตามแนวรูปตัด ท�ำให้เมืองมีการแบ่งขนาดบล็อ ให้มีขนาดเล็กลงด้วยการเดินและกระจายกิจกรรมลงสู่งตามแนว แกน เกิดพัฒนาใหม่ของย่านในพื้นที่ต่อเนื่องภาพนอกโครงการ และท�ำให้เกิดการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพภายในโครงการ และส่งเสริมเศรษฐกิจของย่านโดยรอบให้เกิดเป็นย่าน CBD ใหม่ที่ มีการใช้งานเต็มศักยภาพตามหลักการพัฒนารอบสถานี (TOD)


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูง และพื้นที่ต่อเนื่อง

แผนภาพแสดง : การเชื่อมต่อของตัวอาคารสถานีรถไฟ ความเร็วสูง ท�ำหน้าที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรระดับภูมิภาค ดัง นั้นตัวสถานีถึงต้องท�ำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบการสัญจรได้ อย่างสะดวกและรวดเร็วต่อเนื่องกัน โดยสถานีรถไฟความเร็วสูงมี การเปลี่ยนถ่ายรูปแบบจากระดับบนสุดคืนรถไฟความเร็วสูง ถัดมา ด้วยรถไฟรางคู่ที่วิ่งยกระดับเข้าสู่ชั้น 2 แล้วเปลี่ยนถ่ายด้วยตัวจุด พักที่ชั้น 1 ครึ่ง ที่จะสามารถเลือกเปลี่ยนการเดินทางไปยังที่จอด รถยนต์ส่วนตัวทางด้านหลัง ลงบันไดเลื่อนไปยังจุดรอรถ บขส. ที่จะ น�ำไปต่างอ�ำเภอหรือจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งสามารถเดินต่อจาก บขส. ไปยังจุด Grab/taxi/รถสองแถว/มอไซค์รับจ้าง หรือเชื่อม เข้าสู่โถงกลางของชั้น 1 ที่สามารถไปยังจุดจอดรถไฟรางเบาและ เดินสู่เมือง

143


มหานครโคราช 2040

โครงการกับอนาคตของโคราช โครงการพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่อง โคราช มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาเมืองเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ท�ำให้เป็นจุดเริ่มต้นการ เปลี่ยนแปลง ท�ำให้เกิดการลงทุนมากมายในโคราช ทั้ง ห้างสรรพสินค้าที่มาลงทุนติดกันหลายราย รวมทั้งการ ย้ายมาตั้งถิ่นฐานและหาโอกาสใหม่ๆ ในพื้นที่ิเมือง ภาพ อนาคตของการเดินทางโดยระบบรางเข้ามาแทนที่ท�ำให้ เมืองเกิดการพัฒนาทางตั้งเป็นหลักจึงเริ่มเห็นคอนโดเกิด ขึ้นในโคราช และการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้ เมืองมีความกระชับเกิดการเดินทางเชื่อมต่อได้อย่าง สะดวก ทั้งการเดินที่ควรจัดให้มีการเดินทางได้สะดวก ตามหลัก (TOD) และการใช้งานระบบขนส่งสาธารณะที่ จะมีเทคโนโลยีช่วยให้ระบบการเดินทางมีประสิทธิภาพ ท�ำให้เป็นทางเลือกหลักของการเดินทางของเมืองใน อนาคต ทั้ง LRT สองแถวอัจฉริยะ ที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นใน โคราช ท�ำให้โคราชเป็นมหานครที่กระชับ มีการใช้งาน เต็มประสิทธิภาพ เป็นเมืองส�ำคัญและศูนย์กลางอีสานน ได้อย่างยั่งยืน ภาพอนาคตโคราชตามยุทธศาสตร์ 2040 จะเกิดขึ้นไม่ 144

ได้หากไม่มีการค�ำนึงถึงการออกแบบโครงการพัฒนา สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่องโคราช เพื่อเป็น แนวทางส�ำคัญในการก�ำหนดทิศทางการพัฒนาของเมือง เป็นตัวอย่างของโครงการที่จะพัฒนาตามมาให้เกิดภาพ อนาคตตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นโครงการที่เป็น เหมือนจุดยุทธศาสตร์หลัก และเป็นตัวอย่างแนวทางการ พัฒนาจากภาครัฐที่จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ โคราช

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ โครงการเน้นการพัฒนาตัวสถานีและโครงสร้างพื้นฐาน ให้แล้วเสร็จในระยะแรก 1-5 ปี เนื่องจากตัวโครงการมี ความส�ำคัญในการเปลี่ยนแปลงภาพรวมเมืองโดยมี โครงการที่จะต้องท�ำให้แล้วเสร็จภายในช่วงแรก ดังนั้น 1. สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงที่รวมการเปลี่ยนถ่าย การสัญจรรูปแบบต่างๆทั้งรถไฟฟ้ารางเบา grab/ taxi รถสองแถวเพื่อให้เกิดการเดินทางด้วยขนส่ง สาธารณะเต็มรูปแบบ 2. สร้าง ขยาย และปรับปรุงโครงข่ายถนน โดยรอบและ


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูง และพื้นที่ต่อเนื่อง

ในโครงการรองรับสถานีรถไฟความเร็วสูงและ MICE เพื่อเตรียมรองรับการใช้งานของพื้นที่ 3. ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรองรับการ พัฒนาTODแห่งที่2 ระยะ 6 -10 ปี เป็นการวางแผนเพื่อให้โครงการเกิดการ ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการพัฒนารอบพื้นที่ สถานี (TOD) เกิดการใช้งานอย่างยั่งยืนหมุนเวียนใน พื้นที่โครงการ 1. เพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการเดิน ทางจักรยาน พื้นที่สีเขียว พื้นที่ลานเมืองเชื่อมต่อพื้นที่เมืองโดย รอบกับโครงการ 2. สร้างโครงการที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และพาณิชยกร รมผสมผสาน เพิ่มการท�ำงานและอยู่อาศัยในพื้นที่ อย่างยั่งยืน ระยะ 11 - 20 ปี เป็นการพัฒนาการใช้งานพื้นที่อย่าง ยั่งยืน 1. ส่งเสริม และสนับสุนการเดิน และการใช้ขนส่ง สาธารณะเป็นการสัญจรหลักของเมือง เพื่อลด ปัญหารถติดอย่างยั่งยืน 2. ส่งเสริมกิจกรรมในพื้นที่สาธาณะของโครงการ เพื่อ เชื่อมต่อพื้นเมือง และให้ตัวโครงการเป็นส่วนหนึ่ง ของเมือง

ผู้ดูแลเรื่องการเดินรถไฟ ควบคุม ดูแลและด�ำเนิน การกิจกรรมต่างๆ 5. เอกชนผู้ร่วมลงทุนโครงการที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และพาณิชยกรรมผสมผสาน เป็นผู้พัฒนาและจัด ท�ำโครงการโดยเช่าที่ดินของโครงการในระยะยาว 6. เทศบาลนคร

ประเมินราคาโครงการ การลงทุนสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและโครงสร้างพื้น ฐานรองรับการขยายตัวของพื้นที่ต่อเนื่องและโครงกา รอื่นๆ จากภาคเอกชน โดยภาครัฐมีงบประมาณอยู่ที่ 6,000 ล้านบาทมีโครงการที่ต้องท�ำ ดังนี้ • การก่อสร้างตัวสถานีรถไฟความเร็วสูง • การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในโครงการ เช่น การ ขยายถนน การปรับปรุงภูมิทัศน์ การท�ำโครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและ พื้นที่ต่อเนื่อง เป็นการลงทุนเริ่มต้นจากภาครัฐส่วนกลาง เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานส�ำคัญของการพัฒนา เมือง โดยตัวของโครงการจะมีการคุ้มการลงทุนได้จาก การให้เช่าพื้นที่พัฒนาโครงการจากภาคเอกชนในระยะ ยาว ทั้งตัวที่อยู่อาศัย ส�ำนักงาน และแหล่งพาณิชยกรรม

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ 1. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท) เป็นเจ้าของ ที่ดิน และผู้ดูแลพื้นที่โครงการภาพรวม 2. ส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและ จราจร(สนข.) เป็นผู้พัฒนาและจัดท�ำแผน โครงการรวมทั้งงบประมาณต่างๆ 3. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดูแลเรื่องการเชื่อมต่อจุดจอด รถไฟฟ้ารางเบา ที่ตั้งอยู่ในโครงการ 4. รัฐวิสาหกิจร่วมลงทุนให้บริการการเดินรถไฟ เป็น

แผนที่แสดงการพัฒนาโครงการพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อ เนื่องโคราชโดยภาพรวมเสร็จสิ้นระยะแรก 1-5 ปี 145


มหานครโคราช 2040

146


4 โครงการพัฒนาพื้นที่ นวัตกรรมสร้างสรรค์

Korat Innovation Hub

Where science meets creativities โดย อธิพัฒน์ พูนสินบูรณะกุล

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก พัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์บนพื้นที่ต่อเนื่องจากศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่สถานีรถไฟนครราชสีมา ตามแนวถนนโพธิ์กลางและถนนสุรนารี โดยพัฒนาพื้นที่ให้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเมือง เพิ่มการใช้ ประโยชน์พื้นที่ในรูปแบบใหม่ เช่น พื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่ปฏิบัติการการทดลอง พื้นที่จัดแสดงผล งานทางนวัตกรรมและพื้นที่บริการทั้งนี้มีการเพิ่มพื้นที่สาธารณะภายในโครงการเป็นพื้นที่ในโครงข่าย ของยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยงจากโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเเละ ทางเท้าในบริเวณถนนโพธิ์กลางรวมถึงตอบรับกับการใช้งานโครงข่ายดิจิทัลในอนาคต เพื่อสร้างสภาพแวดที่ดีแก่กลุ่มผู้ใช้งานแนวคิดในการออกแบบพื้นที่คือการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างกลุ่ม คนประเภทต่างๆ (Maker Space) โดยเป็นพื้นที่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบัน อุดมศึกษาและชุมชนเพื่อเอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สร้างมาตรการส่งเสริมภาคเอกชนลงทุนพัฒนา พื้นที่การวิจัยและการเรียนรู้โดยการใช้มาตรการภาษีเพื่อการจูงใจโดยการลดหย่อนภาษีช่วยสร้างแรง จูงใจให้ภาคเอกชนสนใจที่จะพัฒนาพื้นที่ตามที่ก�ำหนดไว้ เชื่อมโยงกับโครงการดังต่อไปนี้ โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง โครงการพัฒนา ฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง โครงการเพิ่มเเละปรับปรุงพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ โครงการเพิ่มเเละปรับปรุง โครงข่ายการขนส่งสาธารณะ โครงการปรับปรุงเเละส่งเสริมการใช้ทางเท้าเเละพาหนะพลังงานสะอาด และ โครงการพัฒนาเเละส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

147


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์เป็นโครงการที่ น�ำหลักการโมเดลการสร้างนวัตกรรมเเบบ 4 สาย (Quadruple helix model หรือ H4 model) ซึ่ง เป็นการสร้างความร่วมมือเเละเชื่อมโยนระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาเเละ ประชาชนในพื้นที่ใน การผลักดันเเละส่งเสริมให้เกิดการผลิตนวัตกรรมในรูป เเบบของการสร้างนวัตกรรมเเบบเปิดขาออก (Outbound open innovation) โดยสร้างความร่วมมือ ระหว่างองค์กรเพื่อใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้หรือ เทคโนโลยีขององค์กรนั้นๆเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์โดย จะมีรัฐเป็นผู้อ�ำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปการเเละ โครงสร้างพื้นฐานสถาบันการศึกษาเป็นผู้สร้างองค์ความ รู้เเละบุคลลากร เเละภาคเอกชนเป็นผู้น�ำความรู้นั้นมาต่อ ยอดเเละพัฒนาเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์

ที่ตั้งของโครงการย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ต้องเป็นที่ตั้ง ที่มีความเป็นศูนย์กลาง (Central Location) เเละ สามารถรองรับต่อกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดในโครงการได้ เเละยังเป็นส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการก่อเกิดความคิด ที่น�ำไปสู่นวัตกรรมได้

ในปัจจุบันโคราชมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ หลาย เเห่งเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ฯลฯ ที่สามารถผลิต บุคคลากรด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนลยีได้จ�ำนวนมาก ต่อปี อีกทั้งยังผลิตงานวิจัยเเละงานตีพิมพ์เชิงวิชาการได้ ต่อเนื่องเเต่อัตราการจดสิทธิบัตรนวัตกรรมในจังหวัด โคราชมีอัตราเพียง0.80% ของประเทศซึ่งเป็นภาพที่ สะท้อนกลับมาว่างานวิจัยในระดับของสถาบันอุดมศึกษา ยังไม่สามารถน�ำมาต่อยอดเเละพัฒนาเพื่อการน�ำมาใช้ งานจริงในเชิงพาณิชย์ได้เท่าที่ควรพื้นที่นวัตกรรม สร้างสรรค์ในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่จึงเป็นพื้นที่ที่ ตอบรับกับการพัฒนาเเละต่อยอดงานวิจัยจากสถาบัน อุดมศึกรวมถึงใช้เทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาสินค้าเดิมของ โคราชได้เเก่ เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม อาหาร อุตสาหกรรมเคมี เครื่องจักร เเละงานฝีมือท้อง ถิ่น เกิดเป็นนวัตกรรมที่จะเป็นอีกหนึ​ึ่งปัจจัยในการ พัฒนาเศรษฐกิจของโคราช ย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์นี้จะเป็นย่านที่เเสดงให้เห็นถึง หน้าตาของโคราชในอนาคต ที่เกิดจากรากฐานของ โคราชทั้งในอดีตเเละปัจจุบันกระตุ้นเเละจุดประกายผู้คน ที่เข้ามาให้เกิดความคิดอย่างสร้างสรรค์เเละเป็นระบบ ประสานองค์ความรู้ในเชิงตรรกะเเละจินตนาการ เกิด เเนวคิดใหม่ที่เป็นส่วนส�ำคัญส่วนหนึ่งของภาพรวมเพื่อ การพัฒนาเมืองโคราชสู่อนาคต 148

• ที่ตั้งโครงการเอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชน • มีการเข้าถึงที่สะดวกจากผู้ใช้งาน เช่น นักวิจัย หรือ นักศึกษา • อยู่บนเเนวของโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ • เป็นพื้นที่ที่สามารถพัฒนาให้เกิดเนื้อเมืองที่ดีต่อ บริบทรอบๆได้ จากปัจจัยดังกล่าวที่ตั้งโครงการจึงตั้งอยู่ในพื้นที่พัฒนา ศูนย์กลางเมืองใหม่ของโคราชระหว่างถนนสุรนารี เเละ ถนนโพธิ์กลางทางทิศ เหนือ-ใต้ เเละตั้งอยู่ระหว่างถนน บัวรอง เเละถนนโยธาทางทิศตะวันออก-ตะวันตก ในระดับเมืองโครงการนี้ตั้งอยู่ระหว่างเมืองโคราชเดิม เเละศูนย์กลางเมืองใหม่ เป็นส่วนช่วยในการเชื่อมต่อการ ใช้งานพื้นที่ตั้งเเต่เมืองโคราชเดิมเเละโคราชพัฒนาย่าน พาณิชยกรรมใหม่ไปสู่โครงการปรับปรุงพื้นที่รอบสถานี รถไฟฟ้าความเร็วสูงเเละพื้นที่ศูนย์ประชุมเเละจัดเเสดง (MICE) นอกจจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่สถาบัน อุดมศึกษาหลักทั้ง 2เเห่งของโคราชได้ เเก่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารีเเละมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสานรวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเกิดเป็น พื้นที่ที่อยู่กลางองค์ความรู้ที่เเตกต่างกันของทั้ง 2 พื้นที่ สถาบันอุดมศึกษาสะดวกต่อการเข้ามาใช่งานของ คณาจารย์ นิสิตเเละนักศึกษา เพื่อสร้างให้เกิดความร่วม มือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคเอกชนในพื้นที่เพื่อ การวิจัยเเละพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ของเมืองโคราช


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ - โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์

บริบทของโครงการ บริบทในปัจจุบันของที่ตั้งโครงการมีรูปเเบบการใช้ ประโยชน์ที่ดินเป็นการใช้งานเเบบผสมผสานโดยการใช้ งานอาคารจะเป็นพาณิชยกรรมกึ่งที่อยู่อาศัย โดย ประเภทของพาณิชยกรรมในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นด้าน การบริการ ได้เเก่ คลีนิค อัดรูป ธนาคาร ตัดเสื้อผ้า เสริมความงาม อิงค์เจ็ท ซ่อมอุปกรณ์อิเลคโทรนิค เเละ ซ่อมยานยนตร์ อาคารที่อยู่ติดถนนจะเป็นตึกเเถว 3-4ชั้นมีรูปเเบบทางสถาปัตยกรรมของยุคโมเดิร์น (Modernism architecture) ใช้โครงสร้างปูนมีสภาพ ค่อนข้างดีอายุของอาคารเฉลี่ยอยู่ที่ 30-40 ปี ส่วน ภายในพื้นที่ที่ไม่ติดกับถนนสายลักจะเป็นเเปลงที่ดิน เปล่าเเละบ้านเดี่ยว1-2ชั้นสามารถเข้าถึงได้จากถนนสาย ย่อย มีอาคารส�ำคัญในพื้นที่อยู่ 2เเห่งได้เเก่ศาลเจ้าหลัก เสียงเซี่ยงติ๊งเป็นที่ตั้งของมูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน เเละอาคารธนาคารออมสินสาขาสุรนารีที่ได้ประกาศเป็น 1 ในสถาปัตยกรรมยุค โมเดิร์นที่ควรรักษาในโครงการ Saving thai modern architecture อัตราส่วน พื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) ในพื้นที่นี้ประกาศใช้

ในอัตราส่วน 1:8 ซึ่งในปัจจุบันอาคารในพื้นที่โครงการใช้ งานตามสัดส่วนของ FAR ได้เพียง 25% เมื่อค�ำนวณ จากการรวมเเปลงที่ดินทั้งหมด ในอนาคตจะเกิดการเข้ามาของขนส่งสาธารณะในรูป เเบบของรถไฟรางเบา (LRT) เเละการเกิดถนนคนเดิน หลักบนเส้นถนนโพธิ์กลาง รวมถึงปริมาณที่มากขึ้นของผู้ ใช้งานในพื้นที่ เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปเเบบใหม่ ขึ้น เกิดการเข้าถึงจากพื้นที่สถาบันอุดมศึกษาทั้ง 2 เเห่ง บริบทของพื้นที่กับเนื้อเมืองจะเปลี่ยนเเปลงจากย่าน พาณิชยกรรมรองของเมืองเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลาง เมืองใหม่

149


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ Where science meets creativity การพบเจอเเละประสานระหว่างความคิดเชิงตรรกะเเละ จินตนาการคือเเนวคิดหลักในของออกเเบบโครงการนี้ ประกอบกับการสร้างพื้นที่เพื่อการปฏิบัติการเเละทดลอง ผลักดันกระบวนการสร้างนวัตกรรมต้น เเบบ(Prototype)เพื่อน�ำไปสู่กระบวนการผลิตจ�ำนวน มาก(Mass production)หรือน�ำไปใช้งานได้ในเชิง ธุรกิจเกิดพื้นที่ท�ำงานร่วมกันระหว่างองค์กรณ์พื้นที่เเสดง ผลงานที่สามารถเเสดงสินค้าหรือจัดงานเพื่อจุดประกาย ความคิดเเละดึงดูดการลงทุนด้านนวัตกรรมภาคเอกชน ภายนอก กลุ่มอาคารเเละพื้นที่หลักของโครงการเปิดเป็นพื้นที่ สาธารณะส่งเสริมการให้เกิดการพบเจอโดยบังเอิญของ คนกลุ่มคนหลายหลากสาขาวิชาชีพ กระตุ้นให้เกิดการ ท�ำงานร่วมกัน การเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สาธารณูปการเพื่อการสร้างนวัตกรรมในรูปเเบบของ ห้องทดลองเเละห้องปฏิบัติการ (Maker space) ที่ หลากหลายรูปเเบบเพื่อการสร้างต้นเเบบของนวัตกรรม เเละสิ่งประดิษฐ์ อีกทั้งการลงทุนMaker spaceซึ่งมีรา คาที่ค่อนข้างสูงจะเป็นการเปิดโอกาศให้กับเอกชนหรือผู้ ประกอบการรายย่อย (SME,startup,YEC) ที่ขาด ทรัพยากรเพื่อการผลิตสามารถสร้างสินค้าของตนได้ใน พื้นที่เเห่งนี้ นอกจากนี้ยังเปิดให้บุคลากรจากสถาบันการ ศึกษาสามารถเข้ามาใช้งานสาธารณูปการนี้เพื่อการทด ลองเเละสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้จะก่อให้เกิดสภาพเเวดล้อมที่เอื้อต่อ การเกิดนวัตกรรมมีพื้นที่ เเลกเปลี่ยน พื้นที่สร้าง เเละพื้น ที่เเสดง สร้างความสะดวกสบายจากสาธารณูปการที่ พร้อมเเละความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้เข้ามาใช้งานด้วย บรรยากาศซึ่งภาพลักษณ์หน้าตาของโคราชในอนาคต เมืองเเห่งนวัตกรรมสร้างสรรค์

รายละเอียดโครงการ CULINARY LAB : food of the future : พื้นที่วิทยา ศาสตร์เเละเทคโนโลยีการอาหาร (Food sciene) ซึ่ง ต่อยอดจากผลผลิตทางการเกษตรเเละอาหารพื้นถิ่นของ 150


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ - โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์

โคราชมี Maker spaceเป็นห้องประกอบอาหารที่มีอุป กรณ์ชั้นสูงเช่น เครื่องอบเเห้ง เครื่องพาสเจอไรซ์ น�ำ เทคโนโลยีเเละวิทยาศาสตร์มาเพิ่มมูลค่าให้กับอาหาร มี การใช้งานพาณิชยกรรมเป็น บริการด้านอาหารเเละ เครื่องดื่ม (F&B) เกิด common kitchen ให้ สาธารณะสามารถเข้าไปใช้งานได้ CRAFTLAB & WORKSHOP : industrial design : พื้นที่เพื่อการสร้างต้นเเบบนวัตกรรมในรูปเเบบสิ่ง ประดิษฐ์ งานปั้น เครื่องจักร สิ่งทอ หรืองานปั้น โดย Maker spaceจะเป็นเครื่องมือเพื่อการผลิตต้นเเบบขอ งสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเช่น Fabrication Lab, Weaving space ที่เปิดให้สาธารณะสามารถเข้ามาใช้งานได้เป็น พื้นที่ท�ำงานร่วมกันรวมถึงสร้างบรรยากาศของการผลิต เเละการลงมือท�ำให้เเก่โครงการ RESEARCH LAB : sciene & technology development : พื้นที่เพื่อการวิจัยเเละพัฒนาด้วยวิ ทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีมีการสร้าง Maker space ที่มีอุปกรณ์การทดลองเเละห้องทดลองส่งเสริมให้เกิด

การท�ำงานร่วมกันของนักวิจัย เกิดห้องทดลองหลาก หลายประเภทเพื่อการทดลองที่เเตกต่างกันออกไปได้เเก่ ห้องทดลองด้านเคมีห้องทดลองด้านชีวะวิทยา หรือ ห้อง เพาะพันธ์พืชในอาคารที่มีการควบคุมสภาพเเวดล้ อมเเละอุณหภูมิ มีอุปกรณ์การทดลองขั้นสูง (Advance lab) ให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามาใช้งานได้ มีการใช้งาน พื้นที่บางส่วนในพื้นที่ส�ำนักงานร่วมกัน มีห้องประชุมหรือ พื้นที่ท�ำงานร่วมกันกระจายอยู่ทั้งพื้นที่เพื่อส่งเสริ มการเเเลกเปลี่ยนขององค์ความรู้ SHOWCASE SPACE : innovation showcase : พื้นที่เพื่อการขายเเละจัดเเสดงสินค้านวัตกรรมที่เกิดขึ้น ในโคราชส่งเสริมเเละดึงดูดการลงทุนของเอกชนทาง ธุรกิจ มีอาคารจัดเเสดงงานรวมถึงลานกิจกรรมนอก อาคารตั้งอยู่ท่ามกลางMaker space สร้างความตื่นตา ตื่นใจให้กับผู้ที่เข้ามาจากการเห็นกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ เเละยังส่งเสริมสินค้านวัตกรรมจากภายในพื้นที่ให้ สามารถถูกน�ำไปใช้เเละสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับ โคราช 151


มหานครโคราช 2040

152


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ - โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์

153


มหานครโคราช 2040

โครงการกับอนาคตของโคราช โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์จะสามารถ สร้างงานได้ 6,600ต�ำเเหน่งงาน เเละคาดว่าจะสามารถ ดึงดูดการลงทุนจากบริษัทเอกชนเเละนักลงทุนได้ 400ราย โดยจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเพิ่ม GDPของจังหวัดได้โดยคาดการที่ร้อยละ 5 เเละมีเเนว โน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากธุรกิจนวัตกรรมจะ สร้างความยั่งยื่นให้กับเมือง รวมถึงยังสามารถน�ำ นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นมาใช้กับสินค้าหรือการบริการ ของเมืองเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ของผลผลิตในจังหวัด ย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์จะเป็นหน้าตาใหม่ของเมือง โคราชเชื่อมโยงระหว่างย่านศูนย์กลางเมืองใหม่เเละ เมืองเก่าเเข้าไว้ด้วยกัน เป็นพื้นที่สาธารณะเเละพื้นที่ สร้างของคนเมือง สร้างวิถีชีวิตในรูปเเบบใหม่ เกิดผู้ใช้ งานใหม่ที่เข้ามาอยู่ร่วมกับผู้ใช้งานเดิมในพื้นที่ เป็นพื้นที่ พบปะ พูดคุย เเลกเปลี่ยนประสบการณ์เเละองค์ความรู้ ต่างๆจากคนที่หลากหลายต่างวัยต่างอาชีพ ต่างเเนวคิด สร้างสรรค์จินตนาการบนความเป็นไปได้ ก้าวข้าม 154

ขอบเขตของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ต่อยอดรากวัฒนธรรม เดิมของโคราชไปในทิศทางใหม่ พัฒนาย่านควบคู่ไปกับ สิ่งเเวดล้อมของเมือง เป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานเเละ สาธารณูปการครบครันสะดวกสบายต่อผู้ใช้งาน การใช้งานเเละการออกเเบบทางสถาปัตยกรรมส่งเสริม การมองเห็นกิจเเละการพบเจอกันของผู้คนสร้างความตื่น ตาตื่นใจให้กับผู้ที่เข้ามาในพื้นที่เกิดเป็นสภาพเเวดล้อมที่ ก่อให้เกิดเเละจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ เกิด บรรยากาศของโคราชในยุคใหม่ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ของ เมืองโคราชในอนาคต


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ - โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ year 1 : เริ่มขั้นวางเเผนการด�ำเนินงานของโครงการ สร้างกลุ่มความร่วมมือระหว่างภาครัฐ สถาบันอุดนศึกษา เเละภาคเอกชน ในก่อตั้งนิติบุคคลเป็นตัวกลางในการ ด�ำเนินงานโครงการเเละสร้างกลไกที่สร้างความร่วมมือ กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในพื้นที่ year 2-4 : เริ่มด�ำเนินการก่อสร้างโครงการโดยเเบ่ง เป็น 2 ส่วน ได้เเก่การปรับปรุงอาคารตึกเเถวเดิมด้วยวิธี การทางผังเมืองเช่น การต่อเติมมวลอาคาร หรือการ ปรับปรุงหน้าอาคาร เเละในส่วนของการก่อสร้างใหม่ ท�ำการสร้างอาคารขึ้นมาใหม่รวมถึงสร้างพื้นที่สาธารณะ จากที่ว่างเดิม เเละเริ่มเปิดให้เช่าการใช้งานในพื้นที่ year 4-5 : เริ่มด�ำเนินการโครงการรวมถึงเปิดให้ สาธารณะสามารถเข้ามาใช้งานสาธารณูปการเเละเครื่อง มือต่างๆในโครงการให้โครงการเป็นส่วนหนึ่งของเมือง เเละชุมชนรอบข้าง year 10+ : น�ำมหาวิทยาลัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการเกิดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยร่วมกับ การวิจัยเเละพัฒนาของเอกชนในพื้นที่

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ภาครัฐ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม ได้เเก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี กระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เเละ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นกลุ่มทุนหลักในการลงทุนด้าน โครงสร้างพื้นฐานเเละสาธารณูปการที่เอื้อต่อการวิจัย ส่วนรวมของพื้นที่ รวมถึงสร้างมาตรการด้านการเงินที่ เอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่

เกิดการเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้เเละบุคลากร เพื่อให้ นวัตกรรมเเละงานวิจัยจากภาคการศึกษาสามารถต่อย อดสู่ตลาดเเละน�ำมาใช้งานเพื่อพัฒนาเมืองโคราช ประชาชนเดิมในพื้นที่ สร้างกลไกทางการเงินตอบเเทนผู้ อาศัยเดิมในพื้นที่อย่างเป็นธรรม สร้างมาตรการให้เกิด ภาคีของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับโครงการที่ จะได้รับผลตอบเเทนจากการด�ำเนินโครงการตามสัดส่วน กรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงบริเวณ พื้นที่พาณิชยกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ในโครงการสามารถ เปิดให้ผู้ประกอบการเดิมเช่าได้ในราคาที่ต�่ำเพื่อให้ สามารถด�ำเนินกิจการเดิมในพื้นที่ต่อไปได้

ประเมินราคาโครงการ ราคาที่ดิน ที่ดินในพื้นที่เมืองโคราชราคา 55,00 บาท ต่อตารางวาตามราคาปัจจุบัน พื้นที่โครงการมีพื้นที่ ทั้งหมด 47ไร่(18,800ตารางวา)ค่าที่ดินของโครงการจะ มีราคา 1,034,000,000 บาท ค่าปรับปรุงอาคารตึกเเถวเดิมทั้งหมด 130คูหา คูหาละ 700,000บาทเป็นมูลค่า 91,000,000 บาท ค่าอุปกรณ์เเละสาธารณูปการเพื่อการวิจัยเเละ พัฒนา(Maker space)ตารางเมตรละ 12,500 บาท ทั้งหมด 18,800ตารางเมตร เป็นมูลค่า 235,000,000 บาท ค่าสร้างอาคารเเละพื้นที่สาธารณะใหม่ในโครงการ ทั้งหมด 13,000บาทต่อตารางเมตร ทั้งหมด 60,000 ตารางเมตร เป็นมูลค่า 780,000,000 บาท มูลค่าของโครงการที่ภาครัฐลงทุนรวม 2,140,000,000 บาท

ภาคเอกชน บริษัทเอกชนรวมถึงนักลงทุนร่วมมือกับรัฐใน การลงทุนเพื่อการก่อสร้างเเละด�ำเนินโครงการ ซึ่งเมื่อ ด�ำเนินโครงการภาคเอกชนจะเป็นผู้ที่น�ำองค์ความรู้เเละ นวัตกรรมจากสถาบันอุดมศึกษามาพัฒนาต่อยอดเพื่อ สร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ภาคการศึกษา สถาบันอุดมศึกษาหลักในพื้นที่สร้างความ ร่วมมือกับภาคเอกชนในรูปเเบบของการร่วมวิจัยพัฒนา 155


มหานครโคราช 2040

ผู้คนเดินถนนน้อย เศรษฐกิจซบเซา

156


5

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการ ใช้ทางเท้าและพาหนะไร้เครื่องยนต์ กลไกเชื่อมความต่อเนื่องสู่จุดหมายด้วยโครงข่ายการเดินทาง

ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดย พรวริมน ศิริเหลืองรังษี

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการนี้มีการพัฒนาระบบโครงข่ายการเดินทางโดยเท้าและพาหนะไร้เครื่องยนต์ เพื่อที่ประชาชนจะ สามารถเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านระบบคมนาคมขนส่ง หลักและรอง อย่างโครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่อง และโครงการเพิ่มและ ปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะรูปแบบใหม่ และจากโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนต่าง ๆ โดยการสร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่เมืองที่ส่งเสริมการเดิน ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาความ ซบเซา และส่งเสริมเศรษฐกิจภายในเมืองให้เติบโตได้มากขึ้น ทั้งโครงการพัฒนาย่านธุรกิจใหม่และศูนย์ ประชุม โครงการฟื้นฟูการค้าระดับเมือง และโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อีกทั้งทางด้านสังคมความเป็นอยู่ของประชาชนที่จะต้องเป็นโครงข่ายทางเท้าและพาหนะไร้เครื่องยนต์ที่ มีมาตรฐานทางความปลอดภัย สุขอนามัย และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ให้สามารถเป็นวิธีหลัก และ เป็นทางเลือกที่ดีในการเดินทางของคนทุกระดับ

157


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

โคราชมีเนื้อเมืองที่หลวม โครงข่ายทางเดินไม่ต่อเนื่องกัน ขาดการเชื่อมต่อกันระหว่างชุมชน และพื้นที่ต่าง ๆ ท�ำให้ไม่มีการท�ำกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งยังมีภูมิศาสตร์ เป็นที่ราบแอ่งกระทะ ท�ำให้มีสภาพภูมิอากาศที่ร้อนและ แห้ง ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่ท�ำให้ผู้คนไม่นิยมออกมาเดิน ทางสัญจรด้วยการเดิน เกิดเป็นปัญหาความเงียบเหงา ทางสังคม และความซบเซาของเศรษฐกิจการค้า รวมถึง การท่องเที่ยวในเมืองโคราช

จากการรวบรวมข้อมูล และส�ำรวจพื้นที่ศึกษา พบว่า แผนการเดินรถทุกเส้นทางทั้งหมดในปัจจุบันยังขาด ความต่อเนื่องกันของพื้นที่ และมีการเข้าถึงได้เพียง ประมาณ 42% เท่านั้น จากที่แสดงในแผนที่ คือ พื้นที่ บริเวณสีขาว ส่วนพื้นที่บริเวณสีเทา คือ พื้นที่ที่ยังมีการ เข้าถึงได้ค่อนข้างยาก ไม่สะดวกต่อการเดินทางของผู้คน

จึงเลือกท�ำเส้นทางเชื่อมต่อ บริเวณชุมชนเมือง และรอบ คูเมือง รวมถึงจุดที่มีสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และปลอดภัยมากขึ้น โดย การสร้างโครงข่ายทางเดิน ทางจักรยานหรือพาหนะไร้ เครื่องยนต์ และโครงสร้างกายภาพพื้นฐานอื่น ๆ ที่ส่ง เสริมให้เกิดกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ของชาวเมือง ซึ่งจะมีการก�ำหนดโครงข่ายและกายภาพเมืองให้ต่อ เนื่องจากระบบขนส่งสาธารณะและระบบขนส่งเสริม เพื่อ ผู้คนให้ถึงพื้นที่ที่เป็นจุดหมายได้โดยทางเท้าและทาง จักรยาน ผ่านทางหลักการ “เมืองเดินได้ เมืองเดินดี” (Walkable City) • เมืองเดินได้ คือ เมืองที่ผู้คนสามารถเข้าถึงจุดหมาย ในชีวิตประจ�ำวันด้วยการเดิน • เมืองเดินดี คือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อม และองค์ ประกอบต่าง ๆ เป็นมิตรต่อการเดิน โดยสองประเด็นส�ำคัญ คือ

ที่มา : ส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

จึงต้องการเพิ่มการเข้าถึงในการเดินทางตั้งแต่จากสถานี ไปยังจุดหมาย (บ้าน สถานที่ท�ำงาน และสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ) ให้สามารถเพิ่มขึ้นเป็น 70% ของพื้นที่เมือง โดยเน้นเส้นทางที่มีชุมชนโดยรอบคูเมือง และเส้นถนน การค้า ไปจนถึงเส้นทางที่มีความธรรมชาติอยู่ เพื่อ รองรับการเติบโตของเมือง ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว รวมไปถึงมาตรฐานทาง สุขภาพ และความปลอดภัยของชาวเมือง

1. ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนเมืองเพื่อให้เข้าถึงจุดมุ่ง หมายได้สะดวกขึ้น 2. สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ที่ผู้คนสามารถออกมาพบปะกัน ได้ เช่น เชื่อมต่อย่านพาณิชยกรรม • เพื่อสร้างชีวิตชีวา ให้เกิดกิจกรรมตลอดเวลา มี ความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น • พัฒนาพื้นที่เดินได้ให้มีความสะดวกสบาย ปลอดภัย • ปรับเปลี่ยนระบบขนสงสาธารณะให้สามารถพึ่งพา ได้แทนรถยนต์ส่วนตัว 158

สภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง ทางเดินขาดร่มเงา


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะไร้เครื่องยนต์

บริบทของโครงการ โดยในแต่ละเส้นทางของโครงการนั้นได้ก�ำหนดตาม ต�ำแหน่งของสถานีขนส่งสาธารณะ อาทิรถไฟ ความเร็วสูง LRT และ Smart Bus เนื่องจากเป็น ระบบขนส่งหลักและรอง ประกอบการวิเคราะห์จาก ต�ำแหน่งที่อยู่อาศัย (First Place) ที่มีความหนา แน่นกระจายกัน แหล่งงาน (Second Place) และ พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ (Third Place) ส�ำหรับการท�ำ กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งตามหลักการเมืองเดินได้นั้นมีระยะ ที่คนสามารถเดินได้ระยะไกลสุด คือ 400-800 เมตร จึงท�ำการวิเคราะห์ระยะการเข้าถึงของจุดหมาย ต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยก�ำหนดให้รัศมีการเข้าถึง 400 เมตร คือระยะ การเดิน ส่วนรัศมีการเข้าถึง 800 เมตร คือระยะการ ปั่นจักรยาน ท�ำให้พบความต่อเนื่องของพื้นที่ต่าง ๆ ที่ สามารถเชื่อมโยงเข้าถึงกันได้มากขึ้น ท�ำให้เกิดเป็น 3 เส้นทางหลัก และเส้นทางอื่นที่มีมาตรฐานตาม โครงสร้างพื้นฐานที่ดี

เส้นทางเดิน ชิม ช็อป บนถนนวัฒนธรรม (เส้นสีแดง) : เพิ่มคนเดินถนนส่งเสริมเศรษฐกิจ เน้นเส้นทางที่มี การพาณิชยกรรม เชื่อมเนื้อเมืองด้วยย่านธุรกิจใหม่ และย่านการค้าท้องถิ่น ถนนโพธิ์กลาง - ถนนจอมพล ถนนประจักษ์ - ถนนไชยณรงค์ ถนนตัดใหม่จากถนนมุขมนตรี - ถนนมิตรภาพ เส้นทางเดินและปั่นส่องย่านเมืองเก่า (เส้นสีเหลือง) : ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และพื้นที่ แหล่งการเรียนรู้ ถนนชุมพล - ถนนราชด�ำเนิน - ถนนราชนิกูล ถนนพลแสน - ถนนราชสีมา-โชคชัย - ถนนพลล้าน - ถนนก�ำแหงสงคราม เลนจักรยานเพื่อสุขภาพและการเดินทาง : ใช้เป็นทาง เลือกในการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยัง สามารถใช้เป็นเส้นทางออกก�ำลังกายได้ 159


มหานครโคราช 2040

สภาพบริเวณคูเมือง ถนนมหาดไทย

ทางเท้าไม่เป็นมิตรต่อการเดิน

แนวความคิดในการออกแบบ โครงการนี้เป็นโครงข่ายที่ประกอบกับเส้นทางขนส่งหลัก ขนส่งเสริม รวมถึงสถานีต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยจะขยาย รัศมีการเข้าถึงตามเส้นทางและสถานีในอนาคตด้วย ซึ่ง เป็นการเชื่อมต่อพื้นที่ First Place, Second Place, และ Third Place ทั้งปัจจุบันที่มีอยู่และที่จะเพิ่มขึ้น อนาคตด้วยทางเท้าและทางจักรยาน และเพิ่มจุดการให้ บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงที่หมาย ได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ และสามารถลดปริมาณการ ใช้รถยนต์ และมอเตอร์ไซค์ส่วนตัวได้ “เส้นทางเดิน ชิม ช็อป บนถนนวัฒนธรรม” (Walking on cultural street) เป็นเส้นทางเน้นการเดิน มีการ เชื่อมพื้นที่ TOD เข้ากับย่านเมืองเก่า คือบริเวณถนน โพธิ์กลางที่เป็นเส้นทางจากสถานีรถโคราชซึ่งจะเป็นย่าน การค้าธุรกิจใหม่และถนนจอมพลซึ่งเป็นย่านการค้าท้อง ถิ่นที่ต้องมีการส่งเสริมฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยใช้โอกาสจาก ความคึกคักเวลามีคนเดินสัญจรไปมา และมีกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในช่วงเวลาที่ปรับเปลี่ยนให้เป็นถนนคนเดิน 160

Concept Diagram - หลักการ และแนวคิด

รวมถึงเส้นทางถนนตัดใหม่ที่เชื่อมจากสถานีโคราชไปยัง ห้างสรรพสินค้า The Mall Plaza Korat ซึ่งเป็น ศูนย์การค้าแห่งส�ำคัญของเมืองโคราชโดยมีการเพิ่มเขต ทางถนนและทางเท้าประกอบกับธุรกิจใหม่สองข้างทางที่ เอกชนจะมาลงทุน ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของเมือง “เส้นทางเดินและปั่นส่องย่านเมืองเก่า” (Walking & cycling around the old town) เป็นเส้นทางส�ำหรับ คนท้องถิ่นใช้เดินทาง และนักท่องเที่ยว โดยประกอบกับ การมีสวนสาธารณะ สถานศึกษา แหล่งการเรียนรู้ และ แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์รอบคูเมืองทั้งเส้นใน และนอก ซึ่งจะมีความสงบร่มรื่นของเงาไม้ และเน้นให้ คนทุกวัยทุกระดับสามารถใช้เดินทางได้อย่างปลอดภัย “เลนจักรยานเพื่อสุขภาพและการเดินทาง” (Healthy bike lane) เป็นเส้นทางส่งเสริมการปั่นจักรยาน ที่ใช้ เป็นเส้นทางออกก�ำลังกายในบรรยากาศธรรมชาติได้ด้วย โดยมีเส้นทางเชื่อมกับบุ่งตาหลัวสวนสาธารณะแห่ง ส�ำคัญของเมืองโคราช


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะไร้เครื่องยนต์

แผนที่แสดงเส้นทางเชื่อมย่านการค้าเก่า-ใหม่

รายละเอียดโครงการ รูปแบบของโครงการ คือ การปรับปรุงทางเท้า การเพิ่ม ทางจักรยาน และส่งเสริมการเดินทางด้วยโครงสร้างพื้น ฐาน ได้แก่ การปรับเพิ่มขนาดทางเท้าให้เหมาะสมต่อ การใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแตกต่างกันไปตามย่าน เปลี่ยนวัสดุพื้นผิวให้เหมาะสมกับการเดินทางแต่ละ ประเภท ควบคุมความเร็วของรถยนต์ด้วยการเพิ่ม ความถี่ของทางข้ามหรือทางแยก ซึ่งยิ่งมีทางแยกมาก เท่าไรยิ่งเพิ่มความปลอดภัยต่อคนเดินได้ เพิ่มกิจกรรม ตามทางเพื่อให้การเดินไปยังจุดหมายมีอะไรท�ำมีอะไรดู ไม่น่าเบื่อ น่าเดินมากขึ้น เช่น Street furniture, Pocket space, Painted wall และจัดการแก้ปัญหา ความร้อนในเมืองโคราชด้วยร่มเงาตึก ต้นไม้ นวัตกรรม พื้นเย็น และไอเย็นจากแหล่งน�้ำเข้าช่วยท�ำให้อุณภูมินั้น ลดลงได้

แผนที่แสดงเส้นทางรอบคูเมือง และสถานที่ส�ำคัญ

แผนที่แสดงลักษณะเส้นทางปั่นในแต่ละพื้นที่ 161


มหานครโคราช 2040

ถนนคนเดินจอมพล • ปรับเปลี่ยนเป็นถนนที่สามารถขับขี่ร่วมกับจักรยาน ได้ (รถยนต์ 1 เลน ทางร่วม 1 เลน ทางจักรยาน 1 เลน) • เขตทาง ขนาด 25 เมตร • ถนน 1 เลน ขนาด 2.5 เมตร • ทางใช้ร่วมกันระหว่างรถยนต์และจักรยาน 1 เลน ขนาด 2.5 เมตร • ทางจักรยาน 1 เลน ขนาด 2 เมตร • ฟุตบาธมีขนาดฝั่งละ 7.5 เมตร • ประกอบด้วยส่วนหน้าร้านของตึกแถวขนาด 3 เมตร (กระเบื้องสีน�้ำตาล) ส่วนทางสัญจรหลัก 3 เมตร (กระเบื้องสีเทา) และส่วน Buffer ซึ่งเป็นพื้นที่สี เขียวที่ช่วยเพิ่มร่มเงาให้พื้นที่ และยังสามารถระบาย น�้ำได้ทางพื้นดิน และสามารถเป็นที่ตั้ง Street furniture อย่างม้านั่ง เก้าอี้ เสาไฟส่องสว่าง และที่ จอดจักรยาน • ตึกแถวสองฝั่งข้างทางเป็นการค้าธุรกิจดั้งเดิม มีการ ก�ำหนดแนวทางการออกแบบหน้าร้านที่มีปฎิสัมพันธ์ กับคนเดินมากขึ้น • มีการบังคับช่วงเวลาปิดไม่ให้รถยนต์วิ่งโดยใช้เสากั้น 162

เพื่อเปิดเป็นพื้นที่ถนนคนเดินในตอนกลางคืน • ระดับพื้นถนนและฟุตบาธไม่ต่างกัน ใช้ความลาดชัน เพื่อระบายน�้ำออกด้านข้าง ปูด้วยหินกรวดให้ได้ ระดับ


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะไร้เครื่องยนต์

เส้นทางเชื่ อมสถานีโคราชไปยังศูนย์การค้า The Mall • เพิ่มความกว้างเขตทางเป็นขนาด 31 เมตร ( จาก เดิม 16 เมตร ) ให้เป็นย่านการค้าสมัยใหม่ • ระยะห่างของแต่ละแยกยาวไม่เกิน 100 เมตร เพื่อ ลดความเร็วรถยนต์ เพิ่มความปลอดภัยให้คนเดิน ถนน • ถนน 4 เลน ขนาด 10 เมตร • ช่อง LRT คนสามารถเดินได้ ขนาด 3.5 เมตร • ทางจักรยาน 1 เลน (ไป-กลับ) ขนาด 3.6 เมตร • ฟุตบาธมีขนาดฝั่งละ 7.5 เมตร • ประกอบด้วยส่วนหน้าร้านของตึกแถวขนาด 3 เมตร (กระเบื้องสีน�้ำตาล) ส่วนทางสัญจรหลัก 3 เมตร (กระเบื้องสีเทา) และส่วน Buffer ซึ่งเป็นพื้นที่สี เขียวที่ช่วยเพิ่มร่มเงาให้พื้นที่ และยังสามารถระบาย น�้ำได้ทางพื้นดิน และสามารถเป็นที่ตั้ง Street furniture อย่างม้านั่ง เก้าอี้ เสาไฟส่องสว่าง และที่ จอดจักรยาน • สองข้างทางประกอบด้วยอาคารธุรกิจการค้าสมัย ใหม่ หน้าร้านเน้นเป็นกระจกแสดงสินค้า • หัวมุมถนนมีพื้นที่ Plaza ให้คนมาใช้พักผ่อน ตั้งบูธ ขายของได้ เป็นพื้นที่พบปะกัน 163


มหานครโคราช 2040

164


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะไร้เครื่องยนต์

โครงการกับอนาคตของโคราช

เกี่ยวข้องกับโครงการ

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะ ไร้เครื่องยนต์นี้เป็นส่วนส�ำคัญในการพัฒนาชีวิตความ เป็นอยู่ของผู้คนเมืองโคราชในอนาคต ซึ่งเป็นโครงการที่ สามารถสนับสนุนโครงการอื่น ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการ คมนาคม การค้า การศึกษา และการท่องเที่ยว ถือ เป็นการส่งเสริมเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่และชุมชน ให้ทุก โครงการสามารถเข้าถึงได้โดยผู้คนทุกเพศทุกวัยและทุก ระดับ ตั้งแต่พื้นที่เนื้อเมืองเก่าและเนื้อเมืองใหม่ที่ขยาย ออกไปอย่างมีทิศทางการพัฒนาตามที่เราได้ก�ำหนดแล้ว ซึ่งหากเมืองโคราชมีความเชื่อมโยงทั้งมิติทางพื้นที่และ มิติทางสังคมแล้ว มิติทางเศรษฐกิจของเมืองโคราชจะ สามารถเติบโตได้มากยิ่งขึ้น และยังมีหลักส�ำคัญที่ค�ำนึง ถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินทางอย่างเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม อีกทั้งเพิ่มกิจกรรมให้การเดินทางในชีวิต ประจ�ำวันไม่เป็นแค่ความจ�ำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถ เพิ่มความสุข เพิ่มชีวิตชีวาให้กับทั้งคนเดินเอง และคน พบเห็น

หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียใน การท�ำโครงการนี้ ได้แก่

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ การพัฒนาโครงข่ายการเดินให้เมืองโคราชกลายเป็น เมืองเดินได้นั้น ในระยะแรกของการพัฒนาในแต่ละเส้น ทางต้องมีการศึกษาเพื่อคัดกรองพื้นที่เดินได้ หรือพื้นที่ที่ มีจุดหมายในการเดินของผู้คนจ�ำนวนมาก เพื่อเป็น ตัวอย่างในการศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินใน ขั้นต่อไป คือศึกษาและพัฒนาศํกยภาพการเดินเท้าที่ เหมาะสมกับบริบทของเมืองโคราช ในบริบทของย่านที่ หลากหลาย เพื่อเป็นมาตรฐานของย่านเดินดีตัวอย่าง และจึงเสนอแนวทางการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่ใน ย่านตัวอย่าง พร้อมกับประสานองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาเพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติจริง และใช้เป็นต้นแบบ การพัฒนาเมืองเดินดีให้กับพื้นที่อื่น ๆ ในเมืองโคราช โดยทั้งหมดนี้เริ่มพัฒนาจากบริเวณในเมืองก่อนเป็นเส้น ทางหลักที่มีการพัฒนาตามสถานีขนส่งสาธารณะต่าง ๆ แล้วจึงขยายพื้นที่เส้นทางออกสู่แต่ละชุมชนรอบนอก เมือง และกระจายต่อให้ทั่วถึงในทุกบริเวณ ทั้งทางเดิน เท้า ทางจักรยาน จุดบริการวินมอเตอร์ไซค์ และ

• • • • • • • • • • • • •

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงมหาดไทย ส�ำนักงานเทศบาลนครราชสีมา ส�ำนักปลัดเทศบาลนครราชสีมา ส�ำนักการช่าง เทศบาลนครราชสีมา ส�ำนักงานธนารักษ์พื้นที่ ราชสีมา ส�ำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา ส�ำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดนครราชสีมา องค์กรบริหารส่วนต�ำบล องค์กรบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเอกชนที่ร่วมลงทุน วินมอเตอร์ไซค์ เจ้าของ หรือผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์อาคารโดยรอบ เส้นทางถนน • ประชาชนโดยรอบพื้นที่

ประเมินราคาโครงการ งบประมาณในการปรับปรุงทางเท้าและโครงสร้างพื้น ฐานทั้งหมด เสนอในราคา 2 ล้านบาท ต่อพื้นที่เส้นทาง ความยาว 500 เมตร ดังนั้นการประเมินพื้นที่เส้นทาง ของโครงการนี้เป็นความยาวทั้งหมด 40 กิโลเมตร จึง เสนอประเมินราคาโครงการเป็น 160 ล้านบาท โดยเมื่อเมืองโคราชสามารถเป็นเมืองเดินได้เมืองเดินดี ความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้น และเศรษฐกิจที่สะพัด ขึ้นในทุกมิติคือความคุ้มค่าของการลงทุนโครงการนี้

โครงสร้างกายภาพพื้นฐานอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเดินที่ดี

165


มหานครโคราช 2040

งานเทศกาลร�ำถวายท้าวสุรนารี (ที่มา เพจปากช่องไทม์)

166


6 โครงการส่งเสริมและ ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม

เป็นโครงการที่ใช้ดนตรีลูกทุ่งมาต่อยอดทางวัฒนธรรมให้เกิดเอกลักษณ์ของเมือง โดย ศิริวิมล หมั่นสระเกษ

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม เป็นการต่อยอดวัฒนธรรมเดิมโคราชให้สามารถดึงดูดการ ลงทุนและนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของโคราชให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาพื้นที่ ผลิตและแสดงผลงานทางดนตรียังเป็นการสนับสนุนให้คนเมืองมีทางเลือกในการใช้ชีวิตมากขึ้น เกิดเป็น สังคมเมืองที่สร้างสรรค์และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนโคราช โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ สนับสนุนให้คนเดินทางเข้ามาในเมืองได้สะดวก เมื่อมีการจัดงานเทศกาลต่าง ๆ ส่งผลให้ปริมาณนักท่องเที่ยวสูงขึ้น วัฒนธรรมเก่าแก่เป็นที่รู้จักของคน มากขึ้น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับโคราชได้ โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม ช่วยสนับสนุนให้โคราชเป็นที่รู้จักในด้านดนตรีลูกทุ่งมากขึ้น ผ่านการออกแบบพื้นที่และเส้น ทางท่องเที่ยวต่าง ๆ ท�ำให้เห็นถึงวัฒนธรรมเก่าและใหม่ที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่ โครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัย ช่วยสนับสนุนให้เกิด เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมือง ผ่านการน�ำดนตรีลูกทุ่งมาใช้ในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ เช่นร้านค้า ในย่านกินดื่ม ร้านอาหาร คาเฟ่ โรงแรม เป็นต้น และในช่วงเทศกาลเปิดโอกาสให้ธุรกิจท้องถิ่นมาออก ร้านเพื่อช่วยให้เกิดรายได้ในท้องถิ่นอีกด้วย โครงการเพิ่มและปรับปรุงพื้นที่สาธารณะทางสังคม เป็นการสนับสนุนให้เกิดพื้นที่แสดงผลงานและความ สามารถของคนท้องถิ่น เป็นพื้นที่ในการจัดงานเทศกาลต่าง ๆ และรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาซึมซับ วัฒนธรรมทางดนตรีด้วย 167


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ วัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของความส�ำเร็จของเมืองที่ขาด ไม่ได้ ไม่ใช่เพียงแค่ให้คนได้มีพื้นที่การแสดงออกที่ สร้างสรรค์ แต่ยังมีความส�ำคัญทางเศรษฐกิจซึ่งเป็น ปัจจัยที่ส�ำคัญในการพัฒนาเมือง เนื่องจากวัฒนธรรม สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาส่งผลให้เกิดมูลค่า ทางเศรษฐกิจสูง และยังสามารถดึงดูดแรงงานที่มี คุณภาพให้เข้ามาท�ำงานได้จากการที่เมืองมีสภาพ แวดล้อมและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต เช่น งาน เทศกาลต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการพัฒนาเทคโนโลยีอย่าง รวดเร็วท�ำให้เกือบทุกแห่งในโลกสามารถผลิตสินค้าและ บริการได้เท่าเทียมกัน เกิดความเหมือนกันทางด้านสังคม และวัฒนธรรม ความแตกต่างของสินค้าและบริการจึง ต้องมาจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการ ผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะและหลากหลาย เพื่อตอบสนองผู้บริโภคตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับ โลก จึงเป็นเหตุผลที่ท�ำให้เมืองธรรมดาควรยกระดับตัว เองให้เป็นเมืองสร้างสรรค์โดยการดึงคุณค่าทางมรดก วัฒนธรรมที่มีอยู่มาท�ำให้เกิดเอกลักษณ์ของสินค้าและ บริการสามารถแข่งขันกับเมืองอื่นได้ ในปัจจุบันปัญหาของโคราชอย่างหนึ่งที่ส�ำคัญคือ เมือง อ้างว้างและเป็นแค่ทางผ่านไปยังจุดหมายอื่น ทั้งที่โคราช มีมรดกวัฒนธรรมที่เก่าแก่และมีคุณค่าอยู่มาก แต่ขาด การเชิดชูและให้ความส�ำคัญ ท�ำให้เมืองไม่มีเอกลักษณ์ที่ สามารถดึงดูดคนเข้ามาได้ วัฒนธรรมที่มีคุณค่าอย่าง หนึ่งของโคราชคือ เพลงโคราช ซึ่งเป็นเพลงพื้นเมืองที่ใช้ ขับร้องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีเอกลักษณ์ ความ งามทางด้านภาษาที่โดดเด่นและไม่เหมือนใคร สามารถ ต่อยอดให้เกิดวัฒนธรรมทางด้านดนตรีใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ จึงมีแนวคิดที่จะน�ำดนตรีเข้ามาฟื้นฟูเมืองโคราชโดยมีทุน เดิมเป็นเพลงโคราชที่จะดึงดูดให้คนโคราชรู้สึกภูมิใจ และใช้เพลงลูกทุ่งมาต่อยอดให้เกิดความเข้ากับยุคสมัย ใหม่ เนื่องจากเพลงลูกทุ่งไทย มีวิวัฒนาการมาจากเพลง พื้นบ้านพื้นเมือง เนื้อหาหรือใจความส�ำคัญของเพลงลูก ทุ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมความเป็นอยู่และ วัฒนธรรมไทยได้อย่างชัดเจน จึงถือได้ว่าเพลงลูกทุ่งซึม ลึกอยู่ในสายเลือดของคนไทยทุกคนมาตั้งแต่อดีต และใน ปัจจุบันเพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอย่างมากและฮิต ติด ตลาด จึงมองเห็นว่าวัฒนธรรมทางดนตรีลูกทุ่งสามารถ สร้างให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ของเมืองโคราชได้ 168

แนวคิดการใช้ดนตรีลูกทุ่งมาฟื้นฟูเมืองโคราชแบ่งพื้นที่ ในการพัฒนาออกเป็น 2 แบบ คือ พื้นที่สร้างผลงานทาง ดนตรี และพื้นที่แสดงผลงานทางดนตรี เพื่อสนับสนุนให้ เกิดการผลิตคนที่มีความสามารถและผลงานทางดนตรีที่ สร้างสรรค์ขึ้นภายในเมือง การอกแบบพื้นที่เพื่อรองรับ การจัดงานเทศกาลหรืองานแสดงต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ คนที่มีความสามารถทางด้านดนตรีออกมาแสดงผลงาน และดึงดูดให้คนนอกพื้นที่เข้ามาท่องเที่ยวในเมือง และ ยังสามารถดึงดูดเอกชนให้เข้ามาลงทุนเพื่อสนับสนุน พื้นที่ทางดนตรีในเมืองได้ ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจ ของโคราชสูงขึ้น

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ การพัฒนาโครงการส่งเสริมและฟื้นฟูวัฒนธรรมโดยใช้ ดนตรีลูกทุ่งมาเชิดชูให้เกิดเอกลัษณ์ของเมือง ในกาาร เลือกที่ตั้งพื้นที่สร้างผลงานทางดนตรีและแสดงผลงาน ทางดนตรี จะมองจากพื้นที่ที่มีทุนเดิมด้านดนตรีอยู่แล้ว เพื่อเข้าไปต่อยอดและผลักดันให้เกิดการพัฒนาเป็นพื้นที่ สาธารณะทางดนตรีที่คนเข้าไปใช้งานได้ พื้นที่สร้างผลงานทางดนตรี คือพื้นที่ที่ผลิตทั้งคนและผล งานออกมาเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีเอกลักษณ์และ คุณค่าทางวัฒนธรรมให้กับเมือง โดยจะเลือกที่ตั้งจาก พื้นที่ที่เป็นแหล่งความรู้ทางด้านดนตรี มีพื้นที่แสดงผล งานและสามารถสร้างประสบการณ์ทางด้านดนตรีได้ ใน โคราชมีพื้นที่ที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้านดนตรีคือ วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒน ศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งส่งเสริมความเป็นเลิศ หรือ ความสามารถพิเศษด้านดนตรีและนาฏศิลป์ มีผลงาน ทางด้านดนตรีที่ชนะเลิศจากการแข่งขัน “Shanghai Spring International Music Festival” ณ เมือง เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนและมีพื้นที่สนับสนุนให้เกิดการหา ประสบการณ์ทางด้านดนตรีคือ โรงละครแห่งชาติภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Korat theatre เป็นโรง ละครแห่งเดียวในภาคอีสานที่เป็นแหล่งจัดกิจกรรม เพิ่มพูนประสบการณ์ด้านการแสดงของนักเรียน นักศึกษา และเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และเลก เปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างท้องถิ่นและระหว่างประเทศ ทั้งสองพื้นที่มีการสนับสนุนกันให้เกิดผลผลิตทางด้าน ดนตรีที่สร้างสรรค์ของโคราชได้พื้นที่แสดงผลงานทาง ดนตรี คือพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทั้งศิลปิน คนมีความ


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม

สถานี LRT การพัฒนา TOD พื้นที่มรดกวัฒนธรรม พื้นที่ออกแบบ

สามารถ หรือคนทั่วไปออกมาใช้พื้นที่ในการแสดงหรือ เสพดนตรีร่วมกันได้ โดยจะเลือกที่ตั้งจากพื้นที่ที่มีชุมชน เดิมอยู่ มีการเข้าถึงได้ง่าย และเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่ง วัฒนธรรมทางดนตรีที่ส�ำคัญของโคราช ซึ่งก็คือพื้นที่ คูเมืองโคราช ในอนาคตจะมีการพัฒนาโครงข่ายระบบ ขนส่งสาธารณะให้สามารถเดินทางเข้าถึงพื้นที่ได้ง่ายขึ้น จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการจัดงานเทศกาลดนตรีหรือการ แสดงผลงานดนตรีต่าง ๆ ได้

บริบทของโครงการ พื้นที่สร้างผลงานทางดนตรี ตั้งอยู่ในต�ำบลโคกกรวด อ�ำเภอเมืองนครราชสีมา อยู่ติดถนนมิตรภาพซึ่งเป็นถนน หลักเชื่อมเมืองชั้นในกับเมืองชั้นนอก มีวิทยาลัยนาฏ ศิลปนครราชสีมาและโรงละครแห่งชาติภาคตะวันออก เฉียงเหนือตั้งอยู่ในพื้นที่ สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ทาง ด้านดนตรีให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือคนในชุมชนได้ เป็นพื้นที่นอกเมืองที่มีที่อยู่อาศัยหนาแน่นต�่ำอยู่มาก ใน อนาคตจะมีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทางรางเข้า ถึงพื้นที่ได้ ท�ำให้การเดินทางเข้าออกพื้นที่หรือเดินทาง

เข้าไปในเมืองสะดวก และมีโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ สามารถผลิตคนหรือผลงานทางดนตรีที่สร้างสรรค์ให้กับ เมืองโคราชได้ พื้นที่แสดงผลงานทางดนตรี อยู่ในพื้นที่บริเวณคูเมือง โคราช ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมรดกวัฒนธรรมเดิมอยู่มาก มี ชุมชนเก่าแก่รวมถึงร้านค้า ร้านอาหารดั้งเดิมในพื้นที่ และยังเป็นพื้นที่ส�ำคัญในการจัดงานเทศกาลทาง วัฒนธรรมต่าง ๆ อีกด้วย เป็นจุดยุทธศาสตร์หลักในการ พัฒนาพื้นที่ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของ โคราช จึงต้องมีการเชิดชูวัฒนธรรมดนตรีให้เป็น เอกลักษณ์ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหรือคนนอกเข้ามา ในโคราช ผ่านการจัดแสดงผลงานทางดนตรี โดยดนตรี จะเข้าไปอยู่ในบริบทต่าง ๆ ของพื้นที่เมือง ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ งานเป็นหลัก ซึ่งพื้นที่คูเมืองโคราชจะมีการพัฒนาระบบ ขนส่ง LRT เพื่อให้คนนอกเข้าถึงพื้นที่ได้สะดวกมากขึ้น รวมถึงคนในชุมชนจะมีโอกาสได้ซึมซับและแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมทางดนตรีกับคนนอกอย่างง่ายดายอีกด้วย 169


มหานครโคราช 2040

การแสดงเพลงโคราช (ที่มา คลังภาพพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา)

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

แนวความคิดในการออกแบบ แนวความคิดในการออกแบบโครงการส่งเสริมและฟื้นฟู มรดกวัฒนธรรม โดยการน�ำดนตรีลูกทุ่งมาเป็น เอกลักษณ์ของเมือง มีการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดของ อุตสาหกรรมดนตรี และพบว่าองค์ประกอบที่ส�ำคัญ 2 ส่วนคือ การสร้างผลงานทางดนตรีและการแสดงผลงาน ทางดนตรี ซึ่งการสร้างผลงานคือการที่คนมีความ สามารถทางด้านดนตรีท�ำงานร่วมกันในหลายด้าน เพื่อ สร้างสรรค์ผลงานออกมา และมีการแสดงผลงานใน หลายรูปแบบ ผ่านทางสื่อต่างๆ ร้านค้า รวมไปถึงการ แสดงสด การพัฒนาเมืองโคราชให้มีเอกลักษณ์ดึงดูดคน เข้ามาในพื้นที่จึงต้องมีการสร้างสรรค์ผลงานและเอาออก มาจัดแสดงสด เพื่อให้คนสามารถเข้าถึงดนตรีได้ พื้นที่ที่ ออกแบบจะมองไปในส่วนของพื้นที่แสดงดนตรีซึ่งอยู่ใน บริเวณคูเมือง โดยคิดจากความต้องการของผู้ใช้งานที่ แบ่งเป็นคนแสดงและคนเสพผลงาน ออกมาได้ทั้งหมด 4 พื้นที่ 1.พื้นที่ลานแสดง (Performance space) เป็นที่ที่ 170

การใช้ดนตรีบ�ำบัดโรค (ที่มา UK HealthCare)

รองรับการจัดงานเทศกาลส�ำคัญต่าง ๆ และเป็นพื้นที่ที่ เปิดโอกาสให้คนมีความสามารถหรือความรู้ทางด้าน ดนตรีออกมาแสดงและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน 2.อาคารจัดแสดงดนตรีในร่ม (Studio installation) เป็นพื้นที่รองรับการจัดแสดงผลงานทางดนตรีในอาคาร และมีพื้นที่เรียนรู้วัฒนธรรมทางดนตรีจัดแสดงอยู่ด้วย เพื่อให้คนทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวเข้ามาศึกษาและชื่นชม ผลงานต่าง ๆ ได้ 3.ถนนย่านกินดื่ม (Music night life street) เป็น พื้นที่รองรับการแสดงดนตรีตอนกลางคืน ส�ำหรับคนที่ อยากแสดงผลงานและหารายได้ ผ่านการเปิดหมวกหรือ แสดงดนตรีในสถานบันเทิง และมีผู้เสพผลงานเป็นนัก ท่องเที่ยวกลางคืน ส่งเสริมให้คนออกมาใช้งานพื้นที่มาก ขึ้น 4.ดนตรีบ�ำบัดในสวน (Music Therapy) เป็นการใช้ ประโยชน์ของดนตรีในด้านการแพทย์เพื่อรักษาอาการ ของผู้ป่วยได้ หรือคนธรรมดาที่ต้องการเสพดนตรีอย่าง ผ่อนคลาย


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม

รายละเอียดโครงการ พื้นที่ลานแสดง (Performance space) เป็นพื้นที่ ส�ำหรับจัดแสดงดนตรีกลางแจ้ง ซึ่งมีที่นั่งล้อมรอบ สามารถนั่งชมการแสดงได้ และมีพื้นที่ลานกว้างไว้จัด กิจกรรมรองรับจ�ำนวนคนมาก และการใช้งานรอบๆ ลาน เป็นร้านขายของเกี่ยวกับดนตรี เช่น ร้านขายแผ่นเสียง เป็นต้น

ดนตรีบ�ำบัดในสวน (Music Therapy) เป็นพื้นที่สวน หลังรพ. ออกแบบให้มีศาลากันแดดและฝน มีการจัด แสดงดนตรีตามฝาผนัง และมีเครื่องดนตรีให้ผู้ป่วยได้เข้า มาเล่น มาฟัง มาร้อง และเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อความ ผ่อนคลาย

อาคารจัดแสดงดนตรีในร่ม (Studio installation) เป็นพื้นที่จัดแสดงดนตรีในรูปแบบของห้องปิดหรือแบบ สตูดิโอให้เช่า มีพื้นที่แสดงประวัติ ผลงาน ของบุคคล มีชื่อเสียงทางด้านดนตรีลูกทุ่ง และมีร้านค้าเกี่ยวกับ ดนตรีอยู่ด้วย ถนนย่านกินดื่ม (Music night life street) เป็นถนนที่ มีสถานที่ท่องเที่ยวกลางคืนอยู่มาก ปิดถนนในช่วงเวลา กลางคืนให้เกิดพื้นที่หน้าร้าน มีร้านค้าขายของทางดนตรี และมีพื้นที่ให้เปิดหมวก แสดงความสามารถทางดนตรี

171


มหานครโคราช 2040

พื้นที่ลานแสดง (Performance space) มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของลานใหม่ เพิ่ม แนวต้นไม้เพื่อให้ร่มเงา มีพื้นที่แสดงดนตรี และพื้นที่นั่งชมดนตรี เสนอให้มีการ เปลี่ยนการใช้งานอาคารที่เป็นที่อยู่อาศัย รอบ ๆ ให้เป็นที่พักแบบ AIR BNB ชั่วคราวเพื่อรองรับการใช้งานของนักท่อง เที่ยวในช่วงเทศการประจ�ำปี

172


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม

พื้นที่อาคารจัดแสดงดนตรีในร่ม (Studio installation) เป็นการฟื้นฟูการใช้งานโรงแรมและ อาคารรอบข้างให้เป็นพื้นที่พักผ่อนกึ่งเรียนรู้สร้างสรรค์ ซึ่งอยู่ติดกับคูเมืองและลานย่าโม โดยคงอาคารโรงแรม เมืองทองที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นไว้ และ ท�ำให้เกิดการใช้งานทั้งตอนกลางวันและกลางคืน โดยมี พื้นที่ชั้นล่างของโรงแรมเมืองทองเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมฝึก ร้องเพลงโคราช และชั้นบนเปิดเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวที่ อยู่ใกล้กับแหล่งคุณค่าทางวัฒนธรรม และสามารถมอง เห็นงานเทศกาลต่าง ๆ ที่ถูกจัดขึ้นที่ลานย่าโมได้ อาคารด้านข้างโรงแรมเมืองทองจนถึงหัว มุมถนน สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นสตูดิโอ ที่รอง รับการบันทึกสียง ซ้อมดนตรี รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ที่จัด แสดงผลงานของนักร้องลูกทุ่งและประวัติความเป็นมา ของเพลงลูกทุ่ง อีกทั้งยังเป็นพื้นที่รองรับการจัดแสดง ดนตรีสดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาร่วมงานและได้เรียนรู้ วัฒนธรรมทางดนตรีของโคราชมากขึ้น 173


มหานครโคราช 2040

พื้นที่สวนดนตรีบ�ำบัดในรพ.ป.แพทย์ ส่งเสริมให้คนเมืองมีสุขภาวะที่ดี

ถนนยมราช ย่านกินดื่มและโชว์ความสามารถทางด้านดนตรี 174


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม

โครงการกับอนาคตของโคราช โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูวัฒนธรรมโคราช (Korat cultural space) เป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมือง ผ่านการต่อยอดวัฒนธรรมทางดนตรี ส่งผลให้โคราชยก ระดับเป็นเมืองสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้เกิดผลผลิตทาง เศรษฐกิจที่สูงขึ้น พื้นที่แสดงดนตรีจะเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่สร้างสรรค์ รองรับการใช้งานของคนทุกประเภท ส่ง เสริมให้คนในและนอกพื้นที่ออกมาใช้พื้นที่เมืองมากขึ้น เพิ่มทางเลือกในการใช้ชีวิตให้คนเมือง อีกทั้งดนตรียัง ช่วยขัดเกลาจิตใจและอารมณ์ให้กับคนทั่วไป ส่งผลให้ลด ความเครียดหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยลงได้ อัตราการ เจ็บป่วยหรือการเกิดอาชญากรรมก็มีแนวโน้มที่จะลดลง ท�ำให้โคราชสามารถสร้างบุคคลที่มีคุณภาพและผลผลิต ที่สร้างสรรค์ไปสู่ระดับประเทศได้ โครงการนี้นอกจากจะเป็นการส่งเสริมด้านสุขภาวะของ คนเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว ยังช่วย สนับสนุนการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการ ปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสาน การพัฒนาที่อยู่อาศัย และโครงการเพิ่มและปรับปรุง พื้นที่สาธารณะทางสังคม โดยมีดนตรีเป็นส่วนที่ท�ำให้ เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์โคราชที่ตั้งไว้และตอบโจทย์การใช้ชีวิตใน อนาคตของคนโคราช

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ ระยะที่ 1 เริ่มจากการปรับปรุงพื้นที่ลานย่าโม เนื่องจาก เป็นพื้นที่ส�ำคัญในเมือง มีการจัดงานเทศกาลขึ้นมากมาย ในพื้นที่และมีคนออกมาใช้งานมากที่สุด จากนั้นจึง พัฒนาพื้นที่เรียนรู้ทางดนตรีนอกคูเมืองเพื่อผลักดันให้ คนในและนอกพื้นที่สนใจศึกษาด้านดนตรีมากขึ้น ระยะที่ 2 เมื่อมีการปรับปรุงพื้นที่เดิมแล้ว จึงออกแบบ พื้นที่แสดงดนตรีใหม่ ๆ ขึ้น ได้แก่ พื้นที่บริเวณโรงแรม เมืองทอง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ใกล้ลานย่าโม มีการเข้าถึง ได้ง่าย สามารถดึงดูดให้คนเข้ามาใช้งานได้ จากนั้นจึงส่ง เสริมให้เกิดย่านกินดื่มเพื่อตอบรับความต้องการของนัก ท่องเที่ยวกลางคืน รวมไปถึงสร้างพื้นที่ดนตรีบ�ำบัดเพื่อ รักษาผู้ป่วยในรพ.ป.แพทย์ซึ่งเป็นรพ.ที่ส�ำคัญกลาง คูเมือง หลังจากพัฒนาให้มีพื้นที่จัดแสดงในที่ต่าง ๆ ขึ้น

แล้วจึงมีการร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ให้ ออกมาใช้พื้นที่ เช่น การแสดงความสามารถทางดนตรี ของนักเรียน หรือการแสดง ดนตรีพื้นบ้านของชุมชน ระยะที่ 3 ในระยะสุดท้ายเป็นการสร้างกลไกส่งเสริมให้ ธุรกิจการค้าเปลี่ยนมาสนับสนุนด้านดนตรีให้กับเมือง เพื่อรองรับการใช้งานของกลุ่มคนใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาท่อง เที่ยวและเสพผลงานทางดนตรีในเมือง

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ผู้มีส่วนในการพัฒนาโครงการ ได้แก่ • ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และเทศบาลนคร นครราชสีมา มีส่วนในการวางแผนอนาคตของโคราช ในการยกระดับเมืองให้เป็นเมืองดนตรีลูกทุ่ง • วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา และโรงละครแห่ง ชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีส่วนในการพัฒนา พื้นที่และหลักสูตรการเรียนรู้วัฒนธรรมดนตรีโคราช • กระทรวงวัฒนธรรมและกรมศิลปากร ดูแลในเรื่อง ของการรักษาพื้นที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และ จัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรม ของโคราช • เอกชนผู้ร่วมลงทุน สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ทางดนตรี ต่าง ๆ และมีการจัดงานเทศกาลส�ำคัญในพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ ได้แก่ ประชาชนและผู้ ประกอบการธุรกิจในและรอบคูเมือง ซึ่งอาจต้องมีการ เปลี่ยนแปลงทางพื้นที่ สังคม และวัฒนธรรมไปจากเดิม

ประเมินราคาโครงการ • การพัฒนาพื้นที่ลานอนุสรณ์สถานข้างย่าโม 10 ล้าน บาท รวมการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์และพัฒนาให้มี พื้นที่แสดงดนตรี พื้นที่นั่ง และปลูกต้นไม้เพิ่ม • การสร้างพื้นที่จัดแสดงดนตรีในร่มบริเวณโรงแรม เมืองทอง ให้เป็นพื้นที่สตูดิโอ จัดแสดงผลงานทาง ดนตรีต่าง ๆ 80 ล้านบาท • การพัฒนาโดยยังรักษาคุณค่าของอาคารมรดก วัฒนธรรมที่มีอยู่ 10 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการได้ 100 ล้านบาท ส่วนพัฒนาอื่น ๆ เป็นการร่วมลงทุนของเอกชน เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ผลักดันโคราชเป็นเมืองสร้างสรรค์คู่วัฒนธรรมดนตรี 175


มหานครโคราช 2040

ผู้ถ่ายภาพ: นางสาวธัญชนก วงศ์ทวิลาภ

176


7 โครงการพัฒนาพื้นที่ เรียนรู้สร้างสรรค์ Korat Creative Space โดย ธัญชนก วงศ์ทวิลาภ

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เป็นโครงการที่สนับสนุนให้คนทุกกลุ่มทุกวัยสามารถเข้ามาใช้พื้นที่ เรียนรู้ได้ รวมถึงการเพิ่มแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์ที่ส่งเสริมให้คนในโคราชเกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ซึ่งการเรียนรู้สามารถช่วยพัฒนาทักษะชีวิต น�ำความรู้ไปสร้าง งาน สร้างรายได้ ท�ำให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้ เชื่อมโยงสู่ยุทธศาสตร์หลักด้าน การยกระดับคุณภาพชีวิต และเมื่อเราสร้างพื้นที่ให้เกิดการเรียนรู้นั้น จะท�ำให้คนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ใหม่ ๆ เกิดการต่อ ยอดและพัฒนาความรู้ น�ำไปสู่การผลักดันให้เกิดธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่สามารถเชื่อมโยงสู่ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ มีความเชื่อมโยงกับโครงการอื่น ๆ ดังนี้ โครงการพัฒนาที่อยู่ อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ เพิ่มพื้นที่เรียนรู้ในบริเวณของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่ เรียนรู้ได้สะดวก โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม มีการเชื่อมต่อพื้นที่เรียนรู้กับพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของภูมิทัศน์ สนับสนุนให้คนออกมาใช้งานพื้นที่ และส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิ่ง แวดล้อม โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะพลังงานสะอาด มีการพัฒนาทางเท้า และเชื่อมต่อเส้นทางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในบริเวณคูเมือง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้บริบทเมือง โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล สร้างโครงข่ายการใช้งานอินเตอร์เน็ตไร้สาย สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์การเรียนรู้เคลื่อนที่ (Mobile-Learning) โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง (Korat Transit-oriented Business District) มี พื้นที่จัดนิทรรศการและจัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อการต่อยอดธุรกิจ และโครงการพัฒนาพื้นที่ นวัตกรรมสร้างสรรค์ (Korat Innovation Hub) ที่มีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านนวัตกรรม 177


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ

ปรับปรุงพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ในโคราช

พื้นที่เรียนรู้ คือ สถานที่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หรือ พื้นที่เรียนรู้เสมือนจริงที่ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะชีวิต ที่ส�ำคัญจ�ำเป็น โดยพื้นที่เรียนรู้ไม่ได้จ�ำกัดอยู่เฉพาะใน ห้องเรียน แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา โดยปัจจุบัน สัดส่วนประชากรในโคราชแบ่งเป็นวัยเด็ก 15% วัยรุ่น 17.4% วันท�ำงาน 54% และวัยเกษียณ 13.6% ซึ่งวัย ท�ำงานเป็นวัยที่มีประชากรมากที่สุด เมื่อมาดูสัดส่วนผู้มี งานท�ำจ�ำแนกตามระดับการศึกษา พบว่าประชากรวัย ท�ำงานส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับต�่ำกว่า ประถมศึกษา คือ 30% ของประชากรวัยท�ำงาน แสดงให้ เห็นว่าคนโคราชส่วนใหญ่มีต้นทุนน้อย ไม่มีเวลาศึกษา เรียนรู้เพิ่มเติม และขาดโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้ที่ มีในโคราช ส�ำหรับแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในโคราช ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ อาคารนิทรรศการ และ TK Square Korat รวมถึง mini TCDC ที่อยู่ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ถึงแม้แหล่งเรียนรู้ที่มีจะยังไม่ เพียงพอ แต่ในโคราชมีการให้ความส�ำคัญกับพื้นที่เรียนรู้ ที่สังเกตได้ คือมีการขยายตัวของคาเฟ่ รองรับ Co-working Space ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และการเป็นสถานที่จัดงานศิลปะนานาชาติระดับ โลก Thailand Biennale ครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นว่า โคราชมีศักยภาพในการเป็นพื้นที่เรียนรู้ได้

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

โดยหลักในการออกแบบพื้นที่เรียนรู้นั้น จะต้องจัดพื้นที่ ให้มีการใข้งานได้อเนกประสงค์ เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ ทางสังคม มีความสะดวกสบายปลอดภัยและสร้าง บรรยากาศให้เรียนรู้ด้วยความสบายใจ กระตุ้นให้เกิด การใฝ่รู้และเกิดความคิดสร้างสรรค์ เช่น จัดพื้นที่ส�ำหรับ การแสดงผลงาน รวมถึงบริหารจัดการอาณาบริเวณไม่ ว่าจะเป็นระเบียงทางเดินพื้นที่นอกอาคารเพื่อส่งเสริมให้ เกิดการเรียนรู้สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากการ ท�ำงานหรือ การเรียนรู้จากอุปกรณ์การสื่อสารเคลื่อนที่ ซึ่งตอบสนองความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียนที่หลาก หลาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านสไตล์การเรียนรู้ หรือระดับ ความสามารถ การเข้ามาของดิจิทัล ท�ำให้นักเรียน นักศึกษา หรือคนท�ำงานเริ่มมีการเรียนรู้ผ่านทางโซเชีย ลมีเดีย ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Digital learning เพื่อให้ทุกคนสามารถค้นคว้าความรู้ ได้ด้วยตนเอง โครงการนี้จึงเสนอให้มีการเพิ่มและ 178

ในอนาคตโคราชจะมีประชากรวัยท�ำงานที่หลากหลายขึ้น มีการเข้ามาของนักวิจัย นักธุรกิจใหม่ๆ นักเรียนหรือ นักศึกษาก็จะเพิ่มขึ้น การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้จึงต้อง เน้นผู้ใช้เป็นส�ำคัญ (User-centered Design) โดย เป็นการออกแบบที่ค�ำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็น หลัก ที่ตั้งของโครงการจึงเริ่มดูจากบริเวณที่มีความหนา แน่นของประชากรปานกลางถึงสูง ซึ่งหมายถึงบริเวณตัว เมืองนครราชสีมา เพื่อให้ผู้สัญจรหรือผู้อยู่อาศัยสามารถ เข้าถึงพื้นที่เรียนรู้ได้สะดวกและท�ำให้พื้นที่เรียนรู้ถูกใช้ งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ส�ำหรับเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ อันดับแรกควร ค�ำนึงถึงบริเวณที่มีผู้ใช้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งผู้ใช้งาน พื้นที่เรียนรู้นั้นอยู่ในทุกกลุ่มคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก นักเรียน คนท�ำงาน หรือผู้สูงอายุ กล่าวคือที่ตั้งโครงการจะอยู่ใกล้ โรงเรียน สถานศึกษา หรือแหล่งงาน เพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้ใช้จากการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ สอง การเดินทางมาใช้งานพื้นที่เรียนรู้สามารถอยู่ใน ระยะเดินได้จากระบบขนส่งสาธารณะหรือ LRT ที่จะเกิด ขึ้น เมื่อการเดินทางสะดวก และอยู่ในบริเวณระบบขนส่ง สาธารณะ จะสามารถดึงดูดคนให้เกิดความสนใจในการ เรียนรู้ได้ และสาม สภาพแวดล้อมของพื้นที่เรียนรู้ต้องมี ความปลอดภัย เนื่องจากผู้ใช้งานมีความหลากหลาย ทั้ง เด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนพิการ จึงต้องจัดการให้พื้นที่มีการ เรียนรู้ได้อย่างสบายใจ พื้นที่แนวทางการพัฒนาโครงการเพิ่มและปรับปรุงพื้นที่ เรียนรู้สร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 3 ที่ ได้แก่ พื้นที่ห้องสมุด บริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เนื่องจาก ที่ตั้งเดิมเริ่มมีการเรียนรู้แบบดิจิทัล และมีโครงการ กระจายโอกาสสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบ​(mini TCDC) ที่สามารถต่อยอดได้ พื้นที่บริเวณคูเมืองทิศ เหนือหรือบริเวณ TK Square เนื่องจากมีสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้เดิม สามารถพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ที่ หลากหลายและต่อยอดการเรียนรู้ให้เกิดการปฏิบัติการ (Workshop) และพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บริเวณคูเมือง นอกจากการเรียนรู้ที่เป็นจุดหมายปลาย ทางแล้ว การเรียนรู้จากตัวบริบทของเมืองนั้นก็เป็นสิ่งที่ ควรตระหนักและท�ำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์

บริบทของโครงการ จากการวิเคราะห์การกระจุกตัวของประชากรแต่ละกลุ่ม และความต้องการของประชากรกลุ่มนั้น ๆ พบว่า บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน มีการกระจุกตัวของ นักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ต้องการพื้นที่ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และพื้นที่เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งพื้นที่ เรียนรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ห้องสมุดของแต่ละ มหาวิทยาลัย ที่สภาพแวดล้อมยังไม่เอื้ออ�ำนวยต่อการใช้ งาน ทั้งกายภาพของอาคารและภูมิทัศน์ อีกทั้งปัจจุบัน คนภายนอกไม่สามารถใช้งานได้ ทั้งนี้ ห้องสมุดของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้เริ่มมีการส่ง เสริมการเรียนรู้ในรูปแบบของห้องสมุดหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (Digital Library) และมีฐานการเรียนรู้ ของ TCDC จึงมีศักยภาพที่สามารถปรับปรุงและพัฒนา พื้นที่เพื่อเชื่อมต่อการเรียนรู้สู่นอกรั้วมหาวิทยาลัยได้ ส�ำหรับบริเวณคูเมืองทิศเหนือ มีการกระจุกตัวของแหล่ง เรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย ห้องสมุด

ประชาชน อาคารจัดแสดงผลงาน และ TK Square แต่ ยังขาดความต่อเนื่องของการเดินจึงไม่สามารถเข้าถึง แหล่งเรียนรู้ได้สะดวก อีกทั้งสภาพภูมิทัศน์ที่ค่อนข้าง แห้ง โล่ง และร้อนท�ำให้มีการใช้งานในบริเวณคูเมือง ด้านบนได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยพื้นที่บริเวณนี้ ต้องการความยืดหยุ่นทางการออกแบบให้สามารถใช้งาน ได้หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของคน หลายกลุ่ม ทั้งนักเรียน นักศึกษา วัยท�ำงาน รวมถึงวัย เกษียณ ในส่วนของพื้นที่หรืออาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่กระจายตัวอยู่ในบริเวณคูเมือง เช่น ศาลหลักเมือง อนุสาวรีย์ย่าโม อาคารสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส วัดศาลาลอย และ วัดต่าง ๆ ในคูเมือง แต่ละสถานที่ต่าง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวหรือคนโคราชเอง ต่างก็แวะมาเยี่ยมชม ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่แตกต่าง กัน สามารถสร้างให้เกิดการเรียนรู้จากบริบทของพื้นที่ นั้น ๆ ได้

179


มหานครโคราช 2040

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ที่มา: Youtube channel RMUTI มทร.อีสาน

แนวความคิดในการออกแบบ

การออกแบบพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์มีลักษณะเป็นการ ออกแบบโดยเน้นผู้ใช้เป็นส�ำคัญ (User-centered Design) ซึ่งหมายถึงการออกแบบพื้นที่เรียนรู้โดยค�ำนึง ถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก โดยผู้ใช้ต้องการความ สะดวกสบายทั้งทางกายและจิตใจและมีสไตล์ในการ เรียนรู้ที่หลากหลาย การออกแบบพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พื้นที่บริการ ข้อมูลข่าวสาร (Information Space) พื้นที่พัฒนาทาง ความคิดและต่อยอดทดลอง (Experiment & Development Space) และพื้นที่เรียนรู้จากบริบท ของเมือง (Urban Memory Space) โดยมีรายอะ เอียดการออกแบบดังนี้

180

รายละเอียดโครงการ 1. พื้นที่บริการข้อมูลข่าวสาร (Information Space) เป็นพื้นที่ให้บริการทางความรู้ ส�ำหรับนักเรียน นักศึกษา หรือคนทั่วไปที่ต้องการศึกษาข้อมูลนั้น ๆ โดยพื้นที่ใน การปรับปรุงและพัฒนา ได้แก่ ห้องสมุดของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ซึ่งในอนาคต พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจะเชื่อมต่อกัน และ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการแหล่งเรียนรู้ของ มหาวิทยาลัยได้ ในส่วนของการออกแบบ มีการเพิ่ม อาคารพาณิชสร้างสรรค์ การค้าขายแนวใหม่บริเวณ สถานี LRT หน้ามหาวิทยาลัยและตามถนนทางเข้า มหาวิทยาลัยไปสู่อาคารห้องสมุด เพื่อดึงดูดคนเข้ามาใช้ งานแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ห่างจากตัวสถานีประมาณ 400 เมตรในระยะที่สามารถเดินได้ นอกจากนั้น มีการ ปรับปรุงทางเท้าให้น่าเดินขึ้นโดยการสร้างหลังคาคลุม ทางเท้า (Covered Walkway) และสร้างความต่อ เนื่องของทางเท้า โดยระหว่างทางมีการจัดแสดงผลงาน ของนักศึกษา ให้ผู้คนเกิดความเพลิดเพลินในการเดิน


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์

แผนภาพแสดงกิจกรรมภายในอาคารห้องสมุดชั้น 1 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

แผนภาพแสดงกิจกรรมบริเวณคูเมืองทิศเหนือ

และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส�ำหรับการปรับปรุงและพัฒนาอาคารห้องสมุดของ มหาวิทยาลัย มีการปรับเปลี่ยนเปลือกอาคาร (facade) ให้เป็นวัสดุกระจกเพื่อเปิดภูมิทัศน์ และสร้างบรรยากาศ ให้ปลอดโปร่ง ไม่แออัด เพื่อส่งเสริมให้เกิดจินตนาการ ในการเรียนรู้ อีกทั้งเพิ่มกิจกรรมภายในอาคารให้รองรับ การเรียนรู้สร้างสรรค์ โดยจัดพื้นที่การเรียนรู้เป็นแบบไม่ เป็นทางการ กล่าวคือ มีการจัดพื้นที่ไว้ส�ำหรับการท�ำงาน หรือท�ำกิจกรรมกลุ่ม ออกแบบห้องให้มีความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถจัดพื้นที่การสนทนากลุ่มได้ง่าย รวมถึงจัด เฟอร์นิเจอร์แบบมีล้อเพื่อให้เคลื่อนย้ายสะดวก มีระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสื่อเสียงและภาพบนผนังเพื่อ การเรียนรู้ เพิ่มระบบการยืมทรัพยากรสารสนเทศ ระหว่างห้องสมุดระดับนานาชาติ (Worldshare Interlibrary Loan) เพื่อให้การเรียนรู้ไม่มีขีดจ�ำกัด สามารถหาหนังสือที่ไม่มีอยู่ในห้องสมุดอ่านได้ และเพิ่ม อุปกรณ์และเครื่องมือทดลองเรียนรู้เพื่อให้เกิด ประสบการณ์ใหม่ที่สร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ ภายนอกอาคาร (Outdoor Learning Space) ซึ่ง

เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมภายนอก รวม ถึงการสร้างบรรยากาศที่แตกต่างในการเรียนรู้ 2. พื้นที่พัฒนาทางความคิดและต่อยอดทดลอง (Experiment & Development Space) เป็นพื้นที่ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยได้มีส่วนร่วมใน การเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความถนัด และ พัฒนาความคิดไปสู่การปฏิบัติ จากพื้นที่บริเวณข้าง TK square มีการปรับปรุงกายภาพพื้นที่ลานโล่งให้เป็นพื้น ที่ส�ำหรับปฎิบัติการ (Workshop) พร้อมเครื่องมือและผู้ เชี่ยวชาญเพื่อการเปลี่ยนไอเดียให้กลายเป็นงานต้นแบบ อีกทั้งเพิ่มพื้นที่รองรับกิจกรรมที่หลากหลาย สามารถใช้ งานได้อเนกประสงค์ เช่น การจัดกิจกรรมที่ผสานงาน ฝีมือควบคู่กับอุตสาหกรรม (Innovative Craft) ซึ่ง หมายถึง

181


มหานครโคราช 2040

BEFORE

AFTER

การน�ำสิ่งของ หรือวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์เป็นวัสดุ ใหม่ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนสามารถต่อยอดผลงาน น�ำไปสร้างงาน สร้างอาชีพได้ โดยในช่วงที่ไม่มีการจัดกิจกรรมนั้น พื้นที่ บริเวณนี้จะถูกจัดให้เป็นพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่น อิสระเป็น รายบุคคล พบปะนั่งคุยหรือท�ำงาน และมีอินเตอร์เน็ตไร้ สาย (Wifi) รองรับการเรียนรู้แบบดิจิทัล นอกจากพื้นที่ ปฏิบัติการแล้ว ยังมีลานจัดแสดง ให้ประชาชนได้แสดง ความสามารถ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนิทรรศการ และห้องแสดงภาพศิลปะ (Art Gallery and Exhibition) ที่จัดแสดงผลงานของนักเรียน หรืองาน ศิลปะวัฒนธรรมโคราช นอกจากการเพิ่มอาคารปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้แล้ว มี การเพิ่มพื้นที่ส�ำหรับร้านค้า ร้านกาแฟ รองรับประชาชน ที่เข้ามาใช้งาน มีการสร้างสภาพแวดล้อมโดยรอบให้เกิด บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เปลี่ยนลานโล่งดาดแข็ง บางส่วนให้เป็นพื้นที่สีเขียว เพิ่มต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ความ ร่มเงาตลอดเส้นทาง เชื่อมต่อกับโครงการพัฒนาพื้นที่ สาธารณะทางสังคมในโคราช โดยมีการสร้างสะพาน เชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างคูเมืองสองฝั่ง ให้เกิดการเข้าถึงที่ สะดวกมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อพิพิธภัณฑ์บริเวณ 182

ประตูเมืองจ�ำลอง จากโครงการปรับปรุงและส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการออกแบบพื้นผิว ทางม้าลายให้ต่อเนื่องกับทางเท้าเพื่อส่งเสริมการเดิน อย่างต่อเนื่อง


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์

แผนภาพแสดงเส้นทางการเรียนรู้ และกิจกรรมในพื้นที่เรียนรู้บริเวณซอยข้างโรงแรมสากลโคราช

3. พื้นที่เรียนรู้จากบริบทของเมือง (Urban Memory Space) เป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ของเมืองโคราช โดยมีการวิเคราะห์พื้นที่หรืออาคารที่มี คุณค่าทางประวัติศาสตร์ น�ำมาสร้างเป็นเส้นทางการ เรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อสะท้อนคุณค่าทางสถาปัตยกรรม และเอกลักษณ์ตามยุคสมัย โดยมีการถอดประวัติศาสตร์ ของพื้นที่สู่กายภาพที่สามารถจับต้องได้ เช่น พิพิธภัณฑ์ ประติมากรรมบนผนัง เสา เก้าอี้สาธารณะ หรือพื้น เพื่อ ท�ำให้คนเกิดการเรียนรู้ ทั้งคนโคราชและนักท่องเที่ยวที่ ผ่านเข้ามา เป็นการเรียนรู้ที่ไม่เจาะจง สามารถเกิดขึ้นได้ ระหว่างทาง หรือบังเอิญเดินมาพบ โดยพื้นที่ที่เหมาะ สมในการเรียนรู้ ได้แก่ บริเวณคูเมืองโคราช เนื่องจากมี อาคารสถาปัตยกรรมเก่า ศาลหลักเมือง วัดต่าง ๆ ที่มี ประวัติศาสตร์มาพร้อมกับคูเมือง ซึ่งพื้นที่ตัวอย่างในการ ออกแบบ คือ อาคารสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส บริเวณซอยข้างโรงแรมสากลโคราช ที่เชื่อมต่อถนน จอมพล และถนนอัษฎางค์ จากบริบทที่มีนักท่องเที่ยว สัญจรผ่านเข้ามาเพื่อแวะร้านกาแฟ Yellow Pumpkin ที่อยู่ตรงข้ามอาคารสถาปัตยกรรมเก่าแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัย จึงเสนอให้ปรับรูปแบบกิจกรรมเป็น อาคารพิพิธภัณฑ์ แสดงประวัติศาสตร์และความเป็นมา ของอาคารสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส หลายแห่ง

ในคูเมือง เปิดรั้วให้บรรยากาศไม่แออัด เพิ่มพื้นที่พัก ผ่อนสาธารณะ และสร้างประติมากรรมบนฝาผนัง แทรก ด้วยภาพวาดศิลปะเพื่อความน่าสนใจ ทั้งนี้ ยังเป็นการ เปิดมุมมองการรับรู้เมืองอีกระดับ โดยหากเดินเข้าซอย มาจากถนนอัษฎางค์ จะเห็นอาคารสถาปัตยกรรมเก่าที่ ตั้งบนถนนจอมพลอยู่ปลายตา แสดงถึงการเรียนรู้ที่ไม่มี สิ้นสุด

183


มหานครโคราช 2040

พื้นที่พัฒนาทางความคิดและต่อยอดทดลอง บริเวณคูเมืองทิศเหนือ

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 184


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์

โครงการกับอนาคตของโคราช

ระดมทุนในการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้อย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์จะส่งเสริมการ พัฒนาบุคลากรอัจฉริยะของโครงการ Korat Smart City การเรียนรู้จะเกิดขึ้นกับคนทุกกลุ่มทุกวัยอย่างไร้ขีด จ�ำกัด รองรับการเป็นพื้นที่เรียนรู้ทางศิลปะนานาชาติ ส่ง เสริมการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้ ประชากรโคราชสามารถต่อยอดผลงาน และเพิ่มมูลค่า ทางเศรษฐกิจได้ อีกทั้งเป็นการจัดการทรัพยากรและสิ่ง แวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ประชาชน สามารถเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้ได้ทุกที่จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีทางเลือกในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้แบบเป็น ทางการ ไม่เป็นทางการ การเรียนรู้จากการค้นคว้า หรือ การท�ำงาน โดยทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้ได้จาก ระบบขนส่งสาธารณะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีการเปิด ประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ให้คนโคราชและนัก ท่องเที่ยวในคูเมืองเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการจัด กิจกรรมให้คนมาร่วมกันเรียนรู้ สร้างปฏิสัมพันธ์ทาง สังคม สร้างความรู้ สร้างงานให้ประชากรโคราช และ เพิ่มทักษะชีวิต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ ระยะที่ 1 - ระบุประเด็นและวางแผนการด�ำเนินงานกับ ภาครัฐ สถาบันการศึกษา และเอกชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เริ่มวิเคราะห์พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพื่อ พัฒนาเป็นพื้นที่การเรียนรู้จากบริบทในคูเมือง จากนั้นมี การปรับปรุงห้องสมุดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลอีสาน รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้แบบดิจิทัล เพิ่ม พื้นที่พัฒนาทางความคิดและต่อยอดทดลองบริเวณ คูเมืองทิศเหนือ มีการปรับปรุงกายภาพและภูมิทัศน์ร่วม กับโครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม และจัด กิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ระยะที่ 2 - เมื่อระบบขนส่งสาธารณะเปิดให้บริการ จึงมี การพัฒนาการเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้จากสถานี LRT โดย เพิ่มอาคารพาณิชย์สร้างสรรค์และปรับปรุงทางเดินเท้า ในมหาวิทยาลัย และมีการเชื่อมต่อพื้นที่แต่ละฝั่งของ คูเมืองให้มีการเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้ได้สะดวกมากขึ้น ระยะที่ 3 - สร้างเส้นทางสนับสนุนการเรียนรู้บริบทเมือง เชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยว จากนั้นติดตาม ประเมินผลโครงการทั้งหมด สร้างความมั่นใจในการ

ผู้ร่วมลงทุนและมีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้จาก ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ • เทศบาลนครนคราชสีมา เป็นองค์กรหลักในการ วางแผนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ทั้งบริเวณสถาบันการ ศึกษาและพื้นที่คูเมือง • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา วางแผน พัฒนาเชื่อมต่อพื้นที่ และบริหารจัดการด้านงบ ประมาณการพัฒนาพื้นที่ในมหาวิทยาลัย • อุทยานการเรียนรู้ของเมืองโคราช ร่วมมือกับรัฐใน การลงทุน เพื่อด�ำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ บริเวณคูเมืองทิศเหนือ • กรมศิลปากร ควบคุมและดูแลการจัดการพื้นที่ ประวัติศาสตร์ และพื้นที่รอบคูเมือง • เอกชนผู้ร่วมลงทุน ท�ำให้การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ สามารถเกิดขึ้นได้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ การเรียนรู้ มีการสร้างมาตรการและข้อตกลงในการ ด�ำเนินการปรับปรุงอาคารสถาปัตยกรรมเก่าในพื้นที่

ประเมินราคาโครงการ การพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน 80 ล้านบาท รวมการปรับเปลี่ยนเปลือกอาคาร เพิ่มสิ่งอ�ำนวยความสะดวก และระบบสารสนเทศ และ การเพิ่มอาคารพาณิชย์สร้างสรรค์และปรับปรุงทางเท้า การเพิ่มและปรับปรุงพื้นที่เรียนรู้บริเวณคูเมือง 50 ล้าน บาท รวมการจัดหาอุปกรณ์ส�ำหรับการเรียนรู้ ปรับปรุง พื้นที่สาธารณะ สร้างสะพานเชื่อมคูเมือง การพัฒนาอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ 10 ล้าน บาท รวมการเพิ่มเส้นทางเรียนรู้จากบริบทเมืองราคา โครงการรวม 140 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนส�ำหรับ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และครอบคลุมการเรียนรู้ที่หลาก หลาย สามารถพัฒนาศักยภาพของประชากรในโคราชได้ 185


มหานครโคราช 2040

ไม่มีความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเท้า บริเวณประตูชุมพล

186


8

โครงการกําหนดเส้นทางและ ควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว กำ�หนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัวที่หนาแน่นในเมือง เชื่อมต่อ ระบบขนส่งสาธารณะหลักในเมืองโคราช โดย นราธิป ล้ออิสระตระกูล

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการนี้มีความตั้งใจที่จะตอบยุทธศาสตร์หลักเรื่องการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้มี ประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน โดยมีความเชื่อมโยงกับโครงการในกลุ่ม Connectivity ได้แก่ โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและ พาหนะพลังงานสะอาด และ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล เป็นการตอบโจทย์ในด้านการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรจากรถยนต์พาหนะส่วนตัวสู่ระบบขนส่งสาธารณะ ส่ง เสริมการเดินทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัย และใช้โครงข่ายดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพระบบที่จอดรถเพื่อ ความสะดวกและปลอดภัยในอนาคตและมีความเชื่อมโยงกับโครงการในกลุ่ม Productivity ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง โครงการพัฒนา และปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัย และ โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่อง เที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการตอบโจทย์ในด้านจุดจอดรถส�ำหรับกิจกรรมในพิ้นที่ของกลุ่มคนต่างๆเช่น กลุ่มนักคิด นักวิจัย กลุ่มลูกค้าในย่านการค้า เป็นต้น ด้านจุดจอดรถส�ำหรับรับ-ส่งสินค้า และด้านจุดจอดรถส�ำหรับรถท่อง เที่ยวขนาดใหญ่รวมถึงจุดรับ-ส่งนักท่องเที่ยว และนอกจากนี้ โครงการนี้ยังตอบโจทย์ในเรื่องของการ พัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยเชื่อมโยงกับโครงการในกลุ่ม Productivity ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ เป็นการตอบโจทย์ในด้านการขนส่งวัตุดิบจากภาค การเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

187


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ ปัญหาการจราจรที่หนาแน่นในตัวเมือง และปัญหาการ เดินทางที่ยังขาดการเขื่อมต่อสู่ระบบขนส่งสาธารณะที่มี คุณภาพและจราจรที่หนาแน่นในตัวเมือง ก่อให้เกิดความ ต้องการเดินทางเข้าสู่พื้นที่เมืองจ�ำนวนมากจากทุก ทิศทาง เป็นเหตุที่ท�ำให้จราจรในเมืองโคราชติดขัดมาก แต่ในขณะเดียวกันเมืองโคราชเองกลับประสบปัญหา ด้านเศรษฐกิจที่ซบเซา ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากปัจจัย หลายด้าน เช่น ด้านตัวสินค้าที่ไม่ปรับตัวตามความ ต้องการของตลาด ด้านระบบขนส่งสาธารณะไม่ ครอบคลุม หรือด้านปริมาณที่จอดรถไม่เพียงพอ จะเห็น ได้ว่าประเด็นเรื่องที่จอดรถไม่เพียงพอเป็นหนึ่งในปัญหา ที่มีผลต่อเศรษฐกิจที่ซบเซาลงเช่นกัน เมื่อรวมกับหลักการในการเข้าถึงพื้นที่จากจุดเริ่มต้น (Origins) สู่จุดปลาย (Destination) ท�ำให้เห็นว่า เมืองโคราชนั้นประสบปัญหานี้อยู่เช่นกัน จากที่มาและหลักการที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นเหตุผลที่ ท�ำให้เกิดโครงการนี้ เพื่อเตรียมการรองรับการพัฒนา ระบบขนส่งสาธารณะหลักในโคราช จึงจัดท�ำแผนการ พัฒนาการบริหารจัดการความต้องการในการเดินทาง รองรับการพัฒนาโครงข่ายจราจรและระบบขนส่ง สาธารณะ

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ เนื่องจากแนวคิดของโครงการควบคุมปริมาณรถยนต์ ส่วนตัวมีวัตถุประสงค์เพื่อก�ำหนดพื้นที่และควบคุม ปริมาณรถยนต์ส่วนตัวและเพิ่มการใช้บริการขนส่ง สาธารณะมากขึ้น จึงจ�ำเป็นที่จะต้องมีการวางแนวทาง การพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบโครงข่ายที่มีความครอบคลุม ในหลายพื้นที่เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเชื่อมโยงใน การใช้บริการ ท�ำให้มีเกณฑ์ในการพิจารณาพื้นที่ โครงการจาก 1. พื้นที่ที่มีการใช้ปริมาณรถยนต์อย่างหนาแน่น 2. พื้นที่ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อระบบขนส่ง สาธารณะ 3. พื้นที่ที่มีความหนาแน่นในการใช้งานในกิจกรรม ต่างๆ 188

โดยที่โครงการมีรายละเอียดและเกณฑ์ในการด�ำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. การก�ำหนดมาตรการควบคุม เป็นมาตรการพิเศษที่ ก�ำหนดใช้ในพื้นที่เขตเมือง 2. การเพิ่มถนนตัดใหม่ เป็นการช่วยลดปริมาณความ หนาแน่นของการจราจรในตัวเมืองและเพิ่มทางเลือก ในการสัญจร โดยมีเกณฑ์ในการเลือกเส้นทาง ได้แก่ ประสิทธิภาพและโอกาสในการเชื่อมต่อถนน การ เวนคืนที่ดิน การใช้งานของพื้นที่โดยรอบ 3. การเพิ่มพื้นที่จอดรถ เป็นการรองรับและควบคุม พื้นที่การจอดรถส่วนตัว สนับสนุนการใช้งานระบบ ขนส่งสาธารณะโดยมีเกณฑ์ในการเลือกต�ำแหน่ง ได้แก่ ต�ำแหน่งที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ การใช้ประโยชน์ใน พื้นที่จอดรถ การขาดแคลนพื้นที่จอดรถที่เป็น ทางการและชั่วคราว รูปแบบการเดินทางที่เชื่อมต่อ จากจุดจอดแล้วจร 4. การจัดการช่องจราจร เป็นการสนับสนุนการเดินและ การใช้จักรยานในการเดินทางพร้อมทั้งส่งเสริมการ ค้าขายในเมืองโดยมีเกณฑ์ในการเลือกเส้นทาง ได้แก่ ขนาดและจ�ำนวนช่องจราจร การขาดแคลนพื้นที่จอด รถที่เป็นทางการและชั่วคราว กิจกรรมโดยรอบพื้นที่ เขตทางนั้นๆ จะเห็นได้ว่าภาพรวมของเกณฑ์ในการด�ำเนินการมาจาก วัตถุประสงค์ และการด�ำเนินการแต่ละประเภทสามารถ ตอบวัตถุประสงค์ในการลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนตัว และเพิ่มการใช้งานในระบบขนส่งสาธารณะที่มี ประสิทธิภาพให้มากขึ้น

บริบทของโครงการ ในส่วนของการวิเคราะห์พื้นที่โครงการและบริบทโดย รอบของโครงการ จะแบ่งตามการด�ำเนินการในรูปแบบที่ แตกต่างกัน ได้แก่ 1. การเพิ่มถนนตัดใหม่ มีการวิเคราะห์การใช้งาน 2 ลักษณะ ได้แก่ • ถนนวงแหวนชั้นใน มีการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีโอกาส เชื่อมต่อระหว่างถนนมิตรภาพฝั่งตะวันตกของคูเมือง ถนนเลียบทางรถไฟและเชื่อมถนนเพชรมาตุคลาที่ เป็นถนนที่เชื่อมต่อไปถึงสนามบินโคราชที่ได้ปิด


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว

ท�ำการไป ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ในการด�ำเนินการนี้เป็น พื้นที่อาศัยของชาวบ้านและมีช่องการจราจรที่ค่อน ข้างแคบ • ถนนวงแหวนชั้นนอก มีการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีโอกาส เชื่อมต่อระหว่างถนนสืบศิริและถนนเลี่ยงเมืองฝั่ง ตะวันออก ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราชพัสดุท�ำให้ การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่คุ้มค่ากับพื้นที่บริเวณเมือง โคราช

บขส.1 3. การจัดการช่องจราจร มีการวิเคราะห์การใช้งานและ บริบทโดยรอบตามล�ำดับศักดิ์ถนนที่แตกต่างกัน ได้แก่ • ถนนสายประธาน บริเวณถนนมิตรภาพ มีการใช้งาน เชิงพาณิชยกรรม เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคาร ส�ำนักงาน

2. การเพิ่มพื้นที่จอดรถ มีการวิเคราะห์ในการใช้งาน 2 ลักษณะ ได้แก่

• ถนนสายหลัก บริเวณถนนสุรนารี มีการใช้งานเชิง พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย เช่น ตลาด ตึกแถว

• จุดจอดแล้วจร (Park & ride) ซึ่งมีการวิเคราะห์ทั้ง บริเวณตลาดเซฟวันพื้นที่ของเอกชนที่มีการใช้งาน เชิงพาณิชย์ และพื้นที่ค่ายสุรนารายณ์ที่เป็นพื้นที่ราช พัสดุของรัฐบาล

• ถนนสายรอง บริเวณถนนจักรี เป็นเขตเมืองเก่าที่มี การใช้งานเชิงพาณิชยกรรมแบบดั้งเดิมและที่อยู่ อาศัย เช่น คลังพลาซ่าสาขาแรก ร้านค้า ตึกแถว

• จุดจอดแล้วเดิน (Park & walk) มีการวิเคราะห์ พื้นที่โดยเลือกจุดที่มีการใช้งานในพื้นที่ และต้องใช้ เวลาในการท�ำกิจกรรมนั้น ได้แก่พื้นที่ตลาดแม่กิมเฮง

• ถนนสายย่อย บริเวณถนนก�ำแหงสงคราม เป็นเขต เมืองเก่าที่มีการใช้งานเชิงพาณิชยกรรมและที่อยู่ อาศัยในรูปแบบชุมชน เช่น ตลาดนัด บ้านเดี่ยว และ อยู่ติดพื้นที่คูคลอง 189


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ

จากการวิเคราะห์พื้นที่โครงการและบริบทโดยรอบของ โครงการ ท�ำให้เกิดแนวความคิดในการออกแบบพื้นที่ที่ แบ่งตามการด�ำเนินการในรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1. การเพิ่มถนนตัดใหม่ โดยมีแนวความคิดเป็นการเพิ่ม ขนาดและช่องจราจร เพื่อให้เกิดถนนวงแหวนขึ้น 2 เส้น ซึ่งได้แก่ วงแหวนชั้นในเป็นการเชื่อมถนน มิตรภาพ(ฝั่งตะวันตกของคูเมือง)-ถนนเลียบทาง รถไฟ-ถนนเพชรมาตุคลา และวงแหวนชั้นนอก เป็นการเชื่อมถนนสืบศิริ-ถนนเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออก 2. การเพิ่มพื้นที่จอดรถ มีการใช้งาน 2 ลักษณะ ได้แก่ • จุดจอดแล้วจร (Park & ride) มีแนวความคิดใน การเพิ่มพื้นที่จอดรถโดยการสร้างอาคารจอดแล้วจร ที่มีพื้นที่จอดรถและพื้นที่ว่างส�ำหรับเช่า เพื่อให้มีราย 190

ได้จากค่าเช่าเพิ่มขึ้นและเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง หากเมืองได้มีการขยายระบบขนส่งสาธารณะขึ้น • จุดจอดแล้วเดิน (Park & walk) มีแนวความคิดที่ใน การเพิ่มพื้นที่จอดรถโดยการสร้างอาคารจอดรถที่มี พื้นที่ว่างส�ำหรับปล่อยเช่า รองรับการใช้งานได้หลาย รูปแบบ 3. การจัดการช่องจราจร มีการใช้งานตามล�ำดับศักดิ์ ถนนที่แตกต่างกัน ได้แก่ • ถนนสายประธาน มีแนวความคิดในการเชื่อมต่อทาง เดินข้ามถนนบริเวณถนนมิตรภาพ เนื่องจากการใช้ งานล�ำดับศักดิ์ของถนนที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้ง การใช้พื้นที่ของเอกชนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ รองรับการใช้งานระบบขนส่งสาธารณะ


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว

• ถนนสายหลัก มีแนวความคิดในการเชื่อมโยงทาง ข้ามถนนบริเวณถนนสุรนารีระหว่างวัดและตลาดได้ดี ขึ้น มีจุดจอดรถริมทางชั่วคราวส�ำหรับรถขนส่งของ พร้อมทั้งมีจุดรับ-ส่งนักท่องเที่ยวส�ำหรับรถท่องเที่ยว ที่มาเป็นกลุ่มใหญ่

จักรยานยนต์ให้มีพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงพื้นที่ริมน�้ำได้

• ถนนสายรอง มีแนวความคิดในการเชื่อมโยงทางเท้า บริเวณถนนจักรีระหว่างพื้นที่ทางเดินและลานด้าน หน้าอาคารคลังพลาซ่าเก่า มีจุดจอดรถริมทาง ชั่วคราวส�ำหรับรถส่งของและเจ้าของอาคารบริเวณ นั้น พร้อมทั้งมีจุดรอรับรถสองแถว รถขนส่งสา ธารณะอื่นๆ • ถนนสายย่อย มีแนวความคิดในการเชื่อมโยงทาง ข้ามถนนบริเวณถนนก�ำแหงสงครามระหว่างฝั่ง อาคารตึกแถวและตลาดประตูผี เป็นการเพิ่มพื้นที่ ทางเดินในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดระเบียบจุดจอดรถ

แสดงรายละเอียดคร่าวๆของการด�ำเนินการโครงการในรูปแบบต่างๆ 191


มหานครโคราช 2040

รายละเอียดโครงการ 1. การเพิ่มถนนตัดใหม่ เนื่องจากการตัดถนนวงแหวน ใหม่เพิ่มนี้ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นถนนขยายเมือง จึงอาจท�ำให้พื้นที่โดยรอบเกิดการพัฒนาพื้นที่เพียง แค่บางส่วน 2. การเพิ่มพื้นที่จอดรถ มีการใช้งาน 2 ลักษณะ ได้แก่ • จุดจอดแล้วจร (Park & ride) เป็นอาคารจอดรถ โดยให้มีพื้นที่ชั้นล่างเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ในรูป แบบที่ท�ำให้คนเข้ามาท�ำกิจกรรมในอาคารได้นอก เหนือจากการจอดรถ ที่ท�ำให้เกิดกิจกรรมและมีการ ใช้งานในพื้นที่ได้มากขึ้น • จุดจอดแล้วเดิน (Park & walk) เป็นอาคารจอดรถ โดยให้มีพื้นที่ชั้นล่างบางส่วนเป็นร้านค้า ร้านคาเฟ่ ร้านอาหาร ที่ส่งเสริมบรรยากาศให้เข้ากับบริบทของ กิจกรรมโดยรอบที่เป็นพื้นที่ตลาดขายสินค้า 3. การจัดการช่องจราจร มีกิจกรรมที่แตกต่างกัน ได้แก่ • บริเวณถนนมิตรภาพ มีกิจกรรมที่เป็นห้างสรรพ 192

สินค้าและมีผู้ใช้บริการมาก ท�ำให้ต้องมีจุดรอรถ ขนส่งสาธารณะ • บริเวณถนนสุรนารี มีกิจกรรมที่เป็นการซื้อขายใช้ การเดินมากจึงเอื้อพื้นที่แก่การเดินให้มากขึ้น และ ก�ำหนดให้มีจุดจอดรถส่งของบริเวณฝั่งตลาด • บริเวณถนนจักรี มีกิจกรรมที่ร้านค้ายังใช้รถยนต์ใน การขนส่งของ จึงก�ำหนดให้มีจุดจอดรถขนส่งบริเวณ ข้างทาง และก�ำหนดให้มีพื้นที่รอรถขนส่งสาธารณะ ระดับเมือง • บริเวณถนนก�ำแหงสงคราม มีกิจกรรมที่เป็นการซื้อ ขายในตลาดเป็นหลัก ท�ำให้ต้องก�ำหนดจุดขนส่ง ของสด มีพื้นที่ทางเดินที่เอื้อต่อการเดิน และยังคงมี พื้นที่ที่สามารถจอดรถจักรยานยนต์ได้และเพิ่มการ เชื่อมต่อกับพื้นที่คูคลองฝั่งใต้


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว

ตลาดแม่กิมเฮง ในส่วนของการออกแบบนี้เป็นการด�ำเนินการการจัดการ ช่องจราจรถนนสุรนารี บริเวณตลาดแม่กิมเฮงที่จากเดิม เป็นถนนที่มี 4 ช่องจราจร แต่เนื่องจากพื้นที่มีการใช้งาน ทั้งการเดินจับจ่ายใช้สอย อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่รถทัวว์ จะใช้เส้นทางนี้ในการส่งนักท่องเที่ยว จึงท�ำให้มีการ ออกแบบให้มีพื้นที่ส�ำหรับการจอด-รับส่งนักท่องเที่ยวที่ บริเวณฝั่งตรงข้ามของตลาดซึ่งเป็นพื้นที่ของวัดสะแก และยังเป็นจุดที่ใกล้กับอนุสาวรีย์ย่าโมท�ำให้จุดนี้เป็นอีก จุดที่ส�ำคัญ ซึ่งในส่วน ของฝั่งตลาดนี้เองมีการปรับให้มีที่จอดรถส�ำหรับการ รับ-ส่งของที่เป็นจุดบริเวณหน้าตลาดซึ่งจะเป็นการจอด เพียงชั่วคราว นอกจากนี้ยังมองเห็นศักยภาพของพื้นที่วัด ที่เป็นลานโล่ง และถูกใช้ในการจอดรถเพื่อซื้อสินค้าใน ตลาด จึงควรมีการปรับปรุงและจัดการระบบการจอด เพื่อให้วัดยังมีรายได้จากพื้นที่และเป็นระบบ และจะ ท�ำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยและเหมาะแก่การเดินได้ มากขึ้น

193


มหานครโคราช 2040

ตลาดประตูผี ในส่วนของการออกแบบนี้เป็นการด�ำเนินการการจัดการ ช่องจราจรถนนก�ำแหงสงคราม บริเวณตลาดประตูผีที่ จากเดิมเป็นถนนที่มี 4 ช่องจราจร แต่พื้นที่โดยรอบส่วน ใหญ่นั้นเป็นชุมชนติดกับตลาดที่มีการรับ-ส่งสินค้า จึงได้ มีการออกแบบให้ช่องจราจรเหลือ 3 ช่องจราจร เพื่อ เพิ่มพื้นที่จอดรถในการรับ-ส่งสินค้าในตลาด และเป็น พื้นที่จอดรถรองรับลูกค้าที่มาตลาดด้วย ท�ำให้พื้นที่นี้มี ปลอดภัยเหมาะแก่การเดินได้มากขึ้น นอกจากนี้แต่เดิมมี พื้นที่จอดจักรยานยนต์อยู่บริเวณริมคูเมือง ซึ่งท�ำให้คน ทั่วไปขาดปฏิสัมพันธ์กับน�้ำ จึงได้ออกแบบระบบการจอด จักรยานยนต์ให้เปิดพื้นที่ให้คนได้ใช้งานพื้นที่ริมน�้ำได้ และจะท�ำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ตลาดที่น่าสนใจ ดึงดูดนัก่อง เที่ยวได้ไม่มากก็น้อย

194


ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง - โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว

195


มหานครโคราช 2040

โครงการกับอนาคตของโคราช โครงการนี้จะมีส่วนช่วยท�ำให้ปริมาณการจราจรโดยรถ ส่วนตัวในพื้นที่เมืองโคราชลดน้อยลง มีการสัญจรที่ปลอดภัยขึ้น เดินเท้าได้ดีและสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นการสนับสนุนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ หลักในเมืองและพาหนะที่ใช้พลังงานสะอาดในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญในการพัฒนาเมืองและมีส่วนช่วยน�ำ โคราชไปสู่วิสัยทัศน์ที่ก�ำหนดไว้ ทั้งนี้โครงการการ ควบคุมปริมาณรถยนต์ส่วนตัวนี้ยังต้องประสานการ ท�ำงานร่วมกับโครงการอื่นๆ เช่น โครงการเพิ่มและ ปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ โครงการปรับปรุง และส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะพลังงานสะอาด โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งจะท�ำให้เป็นเมืองที่มีการเดิน ทางอย่างประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งการด�ำเนินการ ในแต่ละรูปแบบของโครงการนี้มีความส�ำคัญที่จะช่วย กระตุ้นเมืองโคราชทั้งในด้านเศรษฐกิจที่จะส่งเสริมการ เข้าถึงพื้นที่การค้าด้วยรถยนต์ส่วนตัวและระบบขนส่ง มวลชนสาธารณะ ด้านสังคมที่ท�ำให้มีการเดินทางต่อติด กันได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และด้านสิ่งแวดล้อมที่ 196

สนับสนุนให้มีการเดินและใช้พาหนะเบาได้ดีขึ้น รวมถึง การใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่จะช่วยลดมลพิษที่จะเกิด ขึ้นจากเชื่อเพลิง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้น หากโครงการมีการด�ำเนินการและเสร็จลุล่วงตามเป้า หมายที่ได้ตั้งไว้

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ เนื่องจากการด�ำเนินการโครงการมีหลายพื้นที่ท�ำให้ต้อง มีการแบ่ง phasing ของโครงการ โดยมีการด�ำเนินการ ตาม phasing ดังนี้ Phase 1 • เพิ่มพื้นที่จอดรถในเมือง1 (พื้นที่จอดรถตรงข้าม ตลาดแม่กิมเฮงและพื้นที่บขส.1) โดยก�ำหนดพื้นที่ จอดรถ เปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนจากเอกชน และลงทุนสร้างอาคารจอดรถ • เพิ่มถนนวงแหวนด้านนอก โดยก�ำหนดเส้นทางของ ถนนวงแหวน เชื่อมถนนเลี่ยงเมืองฯ 1111-ถนนสืบ ศิริ304


Phasing 2

ประเมินราคาโครงการ

• เพิ่มถนนวงแหวนด้านใน โดยเริ่มจากขยายถนนเลียบ ทางรถไฟบริเวณสถานีรถไฟจิระ ก�ำหนดเส้นทาง ของถนนวงแหวนเชื่อมถนนมิตรภาพ-ถนนเพชร มาตุคลาและเชื่อมถนนมิตรภาพ-ถนนเลียบทาง รถไฟ

การประเมินตัวเลขราคาโครงการซึ่งแบ่งเป็นการด�ำเนิน ในด้านต่างๆ ได้แก่

• เพิ่มพื้นที่จอดรถในเมือง2 (ชุมชนจิระ/บุ๋งตาหลัว/สุ สานเม่งยิน/บขส.2) โดยก�ำหนดจุดจอดรถ เปิด โอกาสให้เกิดการลงทุนจากเอกชน และลงทุนสร้าง อาคารจอดรถ Phasing 3 • เพิ่มพื้นที่จอดแล้วจร โดยลงทุนอาคารจอดแล้วจร ฝั่งตะวันตก ในพื้นที่ตลาดเซฟวัน /ฝั่งตะวันออก ในเขตพื้นที่ค่ายสุรนารี และฝั่งตกวันออกเฉียงใต้ บริเวณพื้นที่แมคโครหัวทะเล • ส่งเสริมการเดินเท้าในเขตเมือง โดยปรับเปลี่ยนช่อง จราจร เพื่อส่งเสริม การใช้งานในแต่ละพื้นที่ที่ต่างกัน ได้แก่ 1.บริเวณหน้าเดอะมอลล์ 2.บริเวณตลาแม่กิม เฮง 3.บริเวณคลังพลาซ่าเก่า 4.บริเวณตลาดประตูผี

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ

1. การลงทุนด้านการสร้างอาคารจอดรถ โดยคิดทั้ง ขนาดที่คิด ราคาที่ดิน จ�ำนวนชั้น ความจุรถยนต์ และ โครงสร้างต่างๆ โดยมีการประเมินตัวเลขโครงการ ข้างต้นอยู่ที่ 1250 ล้านบาท 2. การลงทุนด้านการจัดการช่องทางการจราจร โดยคิด จากค่าการปรับปรุงทางเท้าและท่อระบายน�้ำทางเท้า ซึ่งในโครงการเป็นการท�ำเพียงช่วงหนึ่งของถนน ท�ำให้มีการประเมินมูลค่าโครงการข้างต้นอยู่ที่ 80 ล้านบาท ส่วนการด�ำเนินงานในการท�ำถนนวงแหวน เป็นส่วนรับ ผิดชอบของรัฐบาลที่ต้องลงทุนด้านสาธารณูปโภคอยู่แล้ว จึงไม่จ�ำเป็นต้องคิดมูลค่าโครงการในส่วนนี้เพิ่ม และหากโครงการนี้ได้เกิดขึ้นจริงจะช่วยท�ำให้เมืองโคราช มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุม เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมืองโคราชในทางอ้อม และช่วยลดปัญหาการจราจรที่มีอยู่ จากที่กล่าวมาจึงเป็น เหตุผลที่โครงการนี้มีความน่าลงทุนอย่างยิ่ง

เนื่องจากโครงการการควบคุมรถยนต์ส่วนตัวส่งผลก ระทบทั้งด้านเศรษฐกิจด้านการจราจร ด้านการพัฒนา ของเมืองท�ำให้มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะ แบ่งเป็นบาทต่างๆ ได้แก่ • หน่วยงานอนุมัติโครงการ ได้แก่ ผู้ว่าราชการ จังหวัดนครราชสีมา อบจ. ละเทศบาล • หน่วยงานด�ำเนินโครงการ ได้แก่ กรมทางหลวง ชนบท ส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและ จราจร กระทรวงคมนาคม ,ส�ำนักโยธาและการ ผังเมืองจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงมหาดไทย หอการค้า กระทรวงพาณิชย์ • หน่วยงานผู้สนับสนุนโครงการ ได้แก่ กรม ธนารักษ์(ที่ดินราชพัสดุ) เอกชนผู้ร่วมลงทุนใน แต่ละพื้นที่ 197


มหานครโคราช 2040

ภาพถ่ายบริเวณเรือนจ�ำกลางนครราชสีมา ผู้ถ่าย นางสาวระวิพร วิทยเบญจางค์

198


9 โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย สำ�หรับคนทุกระดับ

เป็นโครงการพัฒนาและสร้างทางเลือกในการอยู่อาศัยโดยเฉพาะสำ�หรับกลุ่มผู้มี รายได้ปานกลางและน้อยให้สามารถอยู่อาศัยภายในพื้นที่เมืองได้ โดย ระวิพร วิทยเบญจางค์

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการนี้มีความตั้งใจที่จะตอบยุทธศาสตร์หลักในเรื่องการเพิ่มทางเลือกของที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุก ระดับ เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำการอยู่อาศัยในพื้นที่เมือง เน้นการสร้างสมดุลให้กับราคาอสังริมทรัพย์ โดย ปรับให้ราคาที่อยู่อาศัยสอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายมากขึ้น เปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่ไม่มีความ สามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองสามารถครอบครองที่อยู่อาศัยใหม่ได้ ส่งผลให้เมืองสามารถรองรับ ความหนาแน่นในการอยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพที่ดีและเพียงพอต่อความต้องการใน อนาคต โครงการนี้ยังตอบรับกับความต้องการในการอยู่อาศัยที่เพิ่มมากขึ้น ผลจากการลงทุนพัฒนาโครงการ ขนาดใหญ่โดยภาคเอกชนและภาครัฐ ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อ เนื่อง และโครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นแหล่งงานใหม่ขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพล สูงต่อบริบทโดยรอบและพื้นที่เมือง กระตุ้นให้ประชากรวัยท�ำงานเข้ามาในเมืองนครราชสีมาเป็นจ�ำนวน มาก จึงจ�ำเป็นต้องเพิ่มความหนาแน่นในการอยู่อาศัยใหม่ไว้รองรับประชากรเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุนโครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม และโครงการ ปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เนื่องจากทั้งสองโครงการนี้เน้นพัฒนาและปรับปรุงให้ เกิดกิจกรรมและการใช้งานในพื้นที่เมืองเก่า ซึ่งโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่เรือนจ�ำกลาง จะมี ส่วนช่วยในการเพิ่มความหนาแน่นในการใช้งาน รองรับความต้องการอยู่อาศัยทั้งคนท�ำงาน นักท่องเที่ยว และคนในชุมชนเดิม แก้ไขปัญหาความซบเซาในคูเมืองและสามารถอนุรักษ์พร้อมกับส่งเสริมสถานะทาง เศรษฐกิจไปพร้อมกัน 199


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ ภาพรวมโซนที่อยู่อาศัยของเมืองนครราชสีมาใน ปัจจุบัน มีการเติบโตอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) กระจายออกไปยังบริเวณชานเมืองเป็น จ�ำนวนมาก เนื่องจากที่ดินในเมืองมีราคาสูงอยู่ที่ ราคากลางเฉลี่ย 3.5 ล้านบาท คิดเป็นตารางเมตรละ 19,700 บาท ผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยไม่ สามารถจ่ายหรือเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเมืองได้ กลุ่มนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์จึงเล็งเห็นโอกาสในการ พัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมืองเพื่อรองรับการ ขยายตัวของเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี โครงการที่อยู่อาศัยที่เปิดขายเป็นบ้านเดี่ยวด้วยกัน กว่า 80% บริเวณชานเมือง ขณะที่ภายในตัวเมืองมี การอยู่อาศัยรูปแบบบ้านเดี่ยวมากที่สุดเช่นกันโดย เป็นบ้านของชุมชนเดิมในพื้นที่ มีการเติบโตของ คอนโดมิเนียมกระจุกตัวบริเวณถนนหลักโดยเฉพาะ ถนนมิตรภาพ ส่วนย่านเก่าในเมืองได้แก่ ย่านรถไฟ และคูเมืองเป็นที่อยู่อาศัยประเภทตึกแถว ซึ่งส่วนมาก มีการใช้งานเพียงชั้นแรกที่เป็นพื้นที่ค้าขายเท่านั้น ภายในเมืองเริ่มตายและซบเซาลงในขณะที่การ เติบโตของที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซี่งจะส่งผลให้เกิดปัญหารถติดและมลภาวะตามมา เนื่องจากผู้อยู่อาศัยภายนอกต้องเดินทางเข้ามา ท�ำงานในพื้นที่เมือง และหากปล่อยไว้พื้นที่เกษตรจะ ถูกรุกล�้ำจากการมีที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นโดยปราศจาก การควบคุมการเติบโต รวมถึงพื้นที่ในเมืองที่ยังขาด การใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งๆที่เป็นพื้นที่ที่มี ศักยภาพในการพัฒนา ซึ่งผลการวิเคราะห์อาชีพของ คนโคราช ในปี 2575 ประชากรที่มีอัตราส่วนสูงที่สุด คือ กลุ่มอาชีพนักศึกษา ค้าขาย รับจ้าง และ ข้าราชการ รวมคิดเป็นสัดส่วน 73 % ของประชากร ทั้งหมดในเขตเทศบาลนคร จัดอยู่ในกลุ่มคนที่ไม่มี ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยในเมือง จากสถานการณ์ที่ได้กล่าวข้างต้น จึงเกิดแนวคิดใน การพัฒนาและสร้างทางเลือกในการอยู่อาศัยส�ำหรับ คนทุกระดับในพื้นที่เมือง เกิดเป็นที่อยู่อาศัยที่จ่ายได้ หรือ Affordable Housing ที่มีราคาต�่ำกว่าราคา ตลาด โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้ น้อย เป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบปล่อยเช่าระยะยาว มี หลักเกณฑ์ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย ได้แก่ ราคาที่อยู่อาศัย 200

และ ความสามารถในการจ่ายด้านที่อยู่อาศัยคิดเป็น ร้อยละ 30 ของรายได้ครัวเรือน

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ เนื่องจากโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ มุ่งเน้นการพัฒนาให้ราคาที่อยู่อาศัยมีความสอดคล้อง กับความสามารถในการจ่าย จึงมีแนวทางการพัฒนาโดย เน้นการปล่อยเช่าระยะยาวในพื้นที่ของภาครัฐเป็นหลัก เกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการจึงขึ้นอยู่กับกรรมสิทธิ ที่ดิน ซึ่งจากผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่าที่ดินแปลงใหญ่ใน เมืองส่วนมากเป็นของภาครัฐ ได้แก่ ที่ราชพัสดุและที่ทาง การทหาร รองลงมาเป็นศาสนสถาน ที่แปลงย่อยของ ภาคเอกชนเป็นที่ดินขนาดเล็กและมีแปลงเกษตรกระจาย อยู่ประปราย ซึ่งที่ดินแปลงใหญ่ของภาครัฐนั้นถือเป็นจุด แข็ง เนื่องจากสามารถพัฒนาได้ง่ายผ่านการบริหารโดย ภาครัฐ ในขณะเดียวกันก็มีกรรมสิทธิที่ดินขนาดใหญ่ที่ เป็นจุดอ่อน คือพื้นที่ทางการทหารภายในตัวเมือง นครราชสีมา ประกอบไปด้วย ที่พักทหารภายในย่าน สถานีรถไฟจังหวัดนครราชสีมา และสถานที่ราชการใน ย่านค่ายสุรนารี ซึ่งที่พักทหารเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการ พัฒนาสูงเนื่องจากอยู่ติดกับโครงการพัฒนาพื้นที่รอบ สถานีรถไฟความเร็วสูง จึงเลือกพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัย หลากหลายระดับรายได้ในบริเวณนี้ นอกจากนี้อีกหนึ่งพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนา คือ พื้นที่ ภายในคูเมืองเก่าเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าแต่เริ่ม ซบเซาและขาดการใช้งาน สาเหตุเกิดจากที่อยู่อาศัยชั้น บนของตึกแถวในพื้นที่คูเมืองถูกทิ้งร้างเป็นจ�ำนวนมาก รวมถึงมีที่ราชพัสดุขนาดใหญ่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ คุ้มค่าและไม่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่เมือง ได้แก่ พื้นที่เรือนจ�ำกลางนครราชสีมา เนื่องจากเรือนจ�ำเป็น พื้นที่ปิดและมีการใช้งานเฉพาะกลุ่มบุคคลเท่านั้น ท�ำให้ บริเวณด้านทิศตะวันออกของคูเมืองมีความอ้างว้างเมื่อ เทียบกับด้านตะวันตก เป็นเหตุผลในการเลือกพัฒนา พื้นที่เรือนจ�ำนี้ ให้เกิดเป็นที่อยู่อาศัยหลากหลายระดับ รายได้และที่อยู่อาศัยราคาต�่ำกว่าตลาดร่วมกับการใช้ งานแบบผสมผสาน รองรับความต้องการอยู่อาศัยใหม่ที่ เพิ่มขึ้นส�ำหรับคนทุกกลุ่มวัย ทั้งคนท�ำงานหรือคนสูงอายุ ที่มีความต้องการอาศัยอยู่ในเมืองเก่า รวมถึงเป็นการ สนับสนุนให้คนมาอยู่อาศัยในพื้นที่เมืองเก่ามากขึ้น แก้ไข ปัญหาความซบเซาในพื้นที่คูเมืองให้เกิดความคึกคักและ


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำ�หรับคนทุกระดับ

ภาพรวมที่อยู่อาศัยในโคราช ที่มา baania.com

ประเภทที่อยู่อาศัยภายในเมือง

ภาพถ่ายบ้านเดี่ยวฝั่งถนนสรรพสิทธิ์ ชุมชนข้างเรือนจ�ำ และตลาดประตูผี ผู้ถ่าย นางสาวระวิพร วิทยเบญจางค์

เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

บริบทของโครงการ พื้นที่โครงการตั้งอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ คูเมืองนครราชสีมา ลักษณะพื้นที่เป็นบล็อกขนาดใหญ่ (Superblock) เนื่องจากเรือนจ�ำเป็นพื้นที่ปิดและมีการ ใช้งานเฉพาะกลุ่ม ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของ โครงการมีคูคลองซึ่งเป็นทรัพยากรที่ส�ำคัญล้อมรอบ และเป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทาง สังคม (Korat Social Space) ในรูปแบบพื้นที่สีเขียว ในอนาคต ส่วนด้านทิศตะวันตกของโครงการติดกับพื้นที่ สีเขียวที่ไม่มีการใช้งานภายในมีบ่อน�้ำขนาดใหญ่ บริบท โดยรอบส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัยความหนาแน่นต�่ำ ลักษณะเป็นบ้านเดี่ยวของชุมชนเดิมในพื้นที่มีความสูง เพียง1-2ชั้น และตึกแถวความสูง3-4ชั้น ที่มีการเน้นใช้ งานเฉพาะชั้นแรกที่เป็นพื้นที่ขายเกี่ยวกับสินค้าอุปโภค บริโภคและร้านอาหาร โดยรอบเต็มไปด้วยสถานที่ ราชการ ได้แก่ ที่ว่าการอ�ำเภอเมืองนครราชสีมา สถานี ต�ำรวจภูธร โรงพยาบาล โรงเรียนเทศบาล และธนาคาร

รวมถึงสถานที่ท�ำงานของเอกชนรายย่อย เป็นพื้นที่ขาย สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆเป็นส่วนใหญ่ และยังมีตลาดประตูผีที่เป็นทั้งแหล่งงานและวิถีชีวิตที่ ส�ำคัญของคนในชุมชนอีกด้วย ในส่วนของการเข้าถึง พื้นที่โครงการมีความสะดวกสูง เนื่องจากมีถนนล้อมรอบ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ถนนสรรพสิทธิ์และถนนกําแหง สงคราม รวมถึงในอนาคตจะเกิดโครงการเพิ่มและ ปรับปรุงโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ (Korat Public Transportation System) เพิ่มจุดจอดรถไฟฟ้าราง เบา หรือ LRT บริเวณถนนกําแหงสงคราม เป็นการ สนับสนุนให้เกิดความหนาแน่นในการใช้งาน ลดความ หนาแน่นทางจราจรจากรถยนต์ส่วนตัว และอ�ำนวยความ สะดวกในการเดินทางจากพื้นที่โครงการไปยังแหล่งงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

201


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ ภายในพื้นที่โครงการแบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 รูปแบบ โดยมีการพัฒนาพื้นที่เรือนจ�ำและชุมชนด้านทิศตะวัน ออกที่อยู่ติดกันให้เป็นที่อยู่อาศัยหลากหลายระดับรายได้ (Mixed-income Housing) และการปรับปรุงพื้นที่ เรือนจ�ำส่วนที่เหลือให้เป็นที่อยู่อาศัยราคาต�่ำกว่าตลาด (Affordable housing) ร่วมกับสร้างให้เกิดการใช้งาน แบบผสมผสาน (Mixed-use) ประกอบด้วยพื้นที่ส่วน พาณิชยกรรมและพื้นที่ทางธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ โรงแรม พิพิธภัณฑ์ และส�ำนักงาน เพื่อสร้างรายได้และก�ำไรใน การคืนทุนเสริมจากค่าเช่าที่อยู่อาศัยที่มีราคาต�่ำ เนื่องจากที่อยู่อาศัยทั้งหมดมีรูปแบบการปล่อยเช่าระยะ ยาว 30 ปี และส่วนมากมีราคาที่ต�่ำกว่าตลาด โดยมี สัดส่วนของที่อยู่อาศัยที่มีรายได้ต�่ำ (Low-income Housing) จ�ำนวน 30% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมด มีการ สร้างกลไลส่งเสริมให้เอกชนลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยใน พื้นที่โดยใช้นโยบาย ได้แก่ การลดหย่อนภาษี การเพิ่ม พื้นที่ขาย และมาตรการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ โดย การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสาธาณะประโยชน์ เพิ่ม และขยายพื้นที่สีเขียวในส่วนด้านทิศตะวันตกของ โครงการที่เดิมเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการใช้งาน สร้างความต่อ 202

เนื่องของพื้นที่สีเขียวเปิดการใช้งานเป็นสวนสาธารณะ เชื่อมกับชุมชนโดยรอบ การพัฒนาในส่วนนี้จะสามารถ ท�ำให้เพิ่มความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น ในส่วนการใช้งานพื้นที่ชั้นที่หนึ่งมีการก�ำหนดให้เป็นพื้นที่ ขายทั้งหมด พัฒนาในเชิงพาณิช-ยกรรมทั้งร้านค้าขนาด ใหญ่จากการลงทุนโดยเอกชนรายใหญ่ และธุรกิจขนาด เล็กของเอกชนรายย่อยและร้านค้าของคนในชุมชนเดิม ประกอบด้วยร้านค้าปล่อยเช่าสนับสนุนให้เกิดการลงทุน ผ่านนโยบายลดหย่อนภาษี (Low-fee commercial rental) จ�ำนวน 70% รวมถึงยังมีพื้นที่พิพิธภัณฑ์ทั้งใน อาคารและพื้นที่จัดแสดงนอกอาคารที่มีการปรับเปลี่ยน การใช้งานให้ตอบรับกับความต้องการในพื้นที่ จัดอยู่ใน ส่วนพื้นที่ขายที่ช่วยเพิ่มคุณค่าและเอกลักษณ์ให้กับ โครงการ ดึงดูดผู้ใช้งานที่หลากหลายโดยเฉพาะนักท่อง เที่ยว ชาวต่างชาติ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้เข้ามาร่วมแชร์ ประสบการณ์และใช้งานภายในพื้นที่โครงการร่วมกับ ชุมชนอยู่อาศัยเดิม จึงมีการสร้างธุรกิจโรงแรมไว้รองรับ กลุ่มคนเหล่านี้ด้วย


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำ�หรับคนทุกระดับ

รายละเอียดโครงการ

งานป้องกันปัญหาการจราจรที่จะเกิดขึ้น และมีการ สร้างที่จอดรถไว้รองรับในส่วนนี้ด้วย ส่วนด้านตะวัน การแบ่งพื้นที่กิจกรรมเน้นให้เกิดความหนาแน่นในการ ตกก�ำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยราคาต�่ำกว่าตลาดส�ำหรับ ใช้งานบริเวณพื้นด้านล่าง พื้นที่ชั้นหนึ่งจึงมีการใส่ ผู้มีรายได้ปานกลางและน้อย เป็นอาคารความสูงต�่ำ กิจกรรมเชิงพาณิชยกรรมเข้าไปเพื่อกระตุ้นในเกิด กว่า เน้นการออกแบบให้คงอัตลักษณ์ของเรือนจ�ำไว้ ความคึกคักทางเศรษฐกิจและรองรับความต้องการพื้น อยู่ควบคู่กับพื้นที่พิพิธภัณฑ์ ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ ฐาน เน้นเกี่ยวกับธุรกิจขายอาหารและสินค้าอุปโภค เข้ามาอยู่อาศัยร่วมกับชุมชนเดิม บริโภคต่างๆ มีส่วนพื้นที่ภายนอกอาคารเปิดเป็นพื้นที่ สาธารณะและพื้นที่พบปะ เปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยที่มี ความหลากหลายทั้งรายได้และช่วงวัย ได้ออกมาพัก ผ่อนและท�ำกิจกรรมร่วมกัน ในส่วนของที่อยู่อาศัย มีการสร้างอาคารพักอาศัย ความสูงปานกลาง (Mid Rise) แทนที่ความหนาแน่น ของอาคารเดิม กระจายความหนาแน่นมาบริเวณด้าน ตะวันออกที่ติดกับคูคลอง วางโซนให้เป็นที่อยู่อาศัย หลากหลายระดับรายได้และพื้นที่การใช้งานแบบผสม ผสาน ได้แก่ ร้านค้าขนาดใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และ พื้นที่ส�ำนักงาน ไว้บริเวณด้านหน้าติดกับถนนทั้ง 2 เส้น เพื่อความสะดวกในการเข้าถึง มองเห็นได้ง่าย เป็นการสร้างแบรนด์ดิ้งให้กับโครงการไปในตัว พร้อม กับตัดถนนเพิ่มเพื่อรองรับความหนาแน่นในการใช้ 203


มหานครโคราช 2040

UNIT TYPE

TOTAL 870 UNIT

204


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำ�หรับคนทุกระดับ

Public space and outdoor museum

Affordable Apartment

205


มหานครโคราช 2040

โครงการกับอนาคตของโคราช

ในทุกๆด้านทั้งเศรษฐกิจและสังคม

โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับนี้เน้นให้ เกิดความเท่าเทียมและเพิ่มทางเลือกในการอยู่อาศัย ภายในพื้นที่เมือง เพื่อตอบรับกับความต้องการในการอยู่ อาศัยตามแนวโน้มการเติบโตของประชากรเมือง ที่คาด ว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจ�ำนวนทั้งหมด 7000 หน่วยที่พักอาศัย ผลมาจากการลงทุนของหน่วยงานภาค เอกชนและโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ท�ำให้เมือง นครราชสีมาสามารถรองรับความหนาแน่นในการอยู่ อาศัยของประชากรได้ทุกรูปแบบ มีประสิทธิภาพและ เพียงพอต่อความต้องการ

นอกจากมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจจากการเพิ่ม ความหนาแน่นของทรัพยากรมนุษย์และสร้างสังคมที่มี ความหลากหลายแล้ว พื้นที่โครงการเองยังมีส่วนช่วยใน การอนุรักษ์คุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่ยุทธศาสตร์ หลักบริเวณคูเมืองเก่า โดยโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย บริเวณเรือนจ�ำกลางนี้ มีแนวทางในการสนับสนุนให้คน เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่เมืองเก่ามากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหา ความซบเซาและอ้างว้างในคูเมือง ให้เกิดการใช้งาน อย่างเต็มศักยภาพทุกช่วงเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน

ราคาอสังริมทรัพย์ในพื้นที่เมืองมีความสมดุลมากขึ้น ไม่ เพียงแค่เฉพาะกลุ่มคนรายได้สูงเพียงกลุ่มเดียวที่ สามารถครอบครองที่อยู่อาศัยในเมือง แต่สามารถ รองรับคนทุกกลุ่มสร้างชุมชนอยู่อาศัยที่มีความหลาก หลายทั้งด้านสังคม อายุ เชื้อชาติ และสถานะทาง เศรษฐกิจ เกิดสังคมการเรียนรู้พฤติกรรมและยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนให้ทัดเทียมกันในทุกระดับราย ได้ ประชากรที่หลากหลายเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการขับ เคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ 206

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ ระยะแรก เริ่มจากการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เรือน จ�ำกลางเป็นที่อยู่อาศัยหลากหลายระดับรายได้ (Mixed-income Housing) รวมกับการใช้งาน แบบผสมผสาน (Mixed-use)ก่อน เนื่องจากคูเมือง เป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าและความส�ำคัญมากที่สุดภายใน เขตเมือง จึงต้องเร่งพัฒนาและกระตุ้นให้เกิดการอยู่ อาศัยให้เต็มศักยภาพของพื้นที่ เพื่อตอบรับทั้งแหล่ง งานราชการเดิมและผู้ที่ต้องการเข้ามาอยู่อาศัยใหม่


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต - โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำ�หรับคนทุกระดับ

ภายในคูเมือง ระยะที่สอง พัฒนาและปรับปรุงชุมชนวัดหัวสะพาน เป็นอยู่อาศัยจ่ายได้ (Affordable housing) เนื่องจากได้รับผล กระทบจากโครงการพัฒนารถไฟ ความเร็วสูงบริเวณชุมทางจิระ จึงมีโอกาสพัฒนาให้ เป็นชุมชนอยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้นเพื่อ รองรับการเติบโตของประชากรเมือง ระยะที่สาม พัฒนาที่พักทหารเป็นที่อยู่อาศัยหลาก หลายระดับรายได้ (Mixed-income Housing) และพื้นที่การใช้งานแบบผสมผสาน (Mixed-use) เนื่องจากเป็นพื้นที่ของทหารจึงยากต่อการเจรจาและ ด�ำเนินการให้เกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นจึงจัดให้อยู่ในขั้น ตอนการพัฒนาโครงการระยะหลัง เนื่องจากต้องมี พื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาซึ่งคือโครงการพัฒนาและ ปรับปรุงพื้นที่เรือนจ�ำกลาง อาศัยความส�ำเร็จจาก การพัฒนานั้นเป็นเหตุผลในการที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัย หลากหลายระดับรายได้ภายในพื้นที่พักทหารต่อไป

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมธนารักษ์ กรมศิลปากร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กองทุนบ�ำเหน็จ บ�ำนาญข้าราชการ (กบข.) เทศบาลนคร การเคหะแห่ง ชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็น ผู้เกี่ยวข้องส�ำคัญในการด�ำเนินโครงการเนื่องจากต้อง อาศัยที่ดินจากภาครัฐน�ำมาพัฒนาเป็นโครงการอยู่อาศัย นอกจากนี้ยังช่วยในการบริหารและจัดการเกี่ยวกับงบ ประมาณ ประกอบกับภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการ ลงทุนจากภาคเอกชนในพื้นที่โครงการผ่านนโยบายต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษี และยังเป็นผู้ชี้น�ำให้เกิดการ พัฒนาอาคารพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยในรูปแบบเช่า ระยะยาว (Leasehold) เพื่อสร้างสมดุลให้กับราคาอสัง ริมทรัพย์ในพื้นที่เมือง

ให้เงินชดเชยและให้สิทธิพิเศษการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ในราคาที่ต�่ำกว่าผู้ที่จะเข้ามาอยู่ใหม่ ร่วมถึงสร้างทาง เลือกทางธุรกิจให้กับคนในชุมชนและข้าราชการเดิม ผ่าน มาตราการลดหย่อนภาษีธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ในพื้นที่ โครงการ และหาพื้นที่ทดแทนในการย้ายเรือนจ�ำเดิม ออกไปจากพื้นที่คูเมือง

ประเมินราคาโครงการ งบลงทุนในการพัฒนาโครงการ มีพื้นที่อาคารอยู่อาศัย รวมทั้งหมด 136,800 ตารางเมตร ราคาตารางเมตรละ 6,500 บาท คิดเป็นค่าก่อสร้างรวมมูลค่า 890 ล้าน บาท การคืนทุนและก�ำไรแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจากพื้นที่ อยู่อาศัยปล่อยเช่าระยะยาว มีพื้นที่ทั้งหมด 95,760 ตารางเมตร ในเรทราคา 2000 - 4000 บาทต่อเดือน ประกอบด้วยที่อยู่อาศัยที่มีรายได้ต�่ำ (Low-income Housing) สัดส่วน 30% เนื้อที่ 28,728 ตารางเมตร ที่อยู่อาศัยรายได้ปานกลาง 60% เนื้อที่ 57,456 ตาราง เมตร และที่อยู่อาศัยรายได้สูงอีก 10% เนื้อที่ 9,576 ตารางเมตร และส่วนที่สองจากการลงทุนให้เกิดการใช้ งานแบบผสมผสานทั้งด้านพาณิชยกรรม โรงแรม พิพิธภัณฑ์ และส�ำนักงานของเอกชนรายย่อย

หน่วยงานเอกชน ได้แก่ เอกชนผู้ร่วมลงทุนในโครงการ มี ส่วนส�ำคัญในการควบคุมการด�ำเนินการพัฒนาพื้นที่ส่วน ต่างๆในโครงการ ท�ำให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้จริงตามแผน และนโยบายของภาครัฐที่ก�ำหนด ผู้ที่ได้รับผลกระทบการโครงการ ได้แก่ ชุมชนผู้อยู่อาศัย เดิมในพื้นที่และเรือนจ�ำกลางนครราชสีมา มีมาตราการ 207


มหานครโคราช 2040

แหล่งที่มา : https://sistacafe.com/summaries/34987E0%

208


10 โครงการปรับปรุงและส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ี่

ปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่บริเวณคูเมืองเก่า เพื่อให้โคราชเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง โดย อรวรา เวโรจน์วิวัฒน์

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการนี้มีความตั้งใจที่จะพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นและกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นฐานเศรษฐกิจ ใหม่ของเมือง โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์และเพิ่มการใช้งานรูปแบบใหม่ ในพื้นที่แนวแกนอนุสาวรีย์ท้าวสุร นารีให้เป็นพื้นที่ต้อนรับสู่พื้นที่คูเมืองเก่าและปรับปรุงพื้นที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหารและวัด ศาลาลอย ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์วัดให้มีความสวยงาม สงบ และศักดิ์สิทธิ์ ส่งเสริมสิ่งก่อสร้างและโบราณสถานที่ส�ำคัญของวัดให้มีความโดดเด่น เป็นจุดหมายตา ท�ำการเพิ่มเส้นทางการท่องเที่ยวยามค�่ำคืนบนถนนจอมพล เชื่อมต่อกับพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม พัฒนา ตลาดกลางคืนในพื้นที่ก�ำลังซบเซาให้กลับมามีชีวิตชีวา ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มกิจกรรมและออกแบบพื้นที่สอง ข้างทางของถนนจอมพล เพื่อรองรับงานเทศกาลต่างๆ เช่น งานตรุษจีนโคราช งานเฉลิมฉลองวันแห่ง ชัยชนะท้าวสุรนารีและงานแห่เทียนพรรษา ซึ่งการปรับปรุงและพัฒนาทั้งหมดนั้น จะช่วยท�ำให้เมือง โคราชกลายเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องท�ำร่วมกับโครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้า ระดับเมือง และโครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยเนื่องจาก โครงการทั้งสองเป็นโครงการที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งนี้ยังมีกลุ่มโครงการด้านการส่ง เสริมความเชื่อมโยงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขยายทางเท้า ก�ำหนดเส้นทางจักรยานอ�ำนวยความ สะดวกนักท่องเที่ยว และปรับปรุงขนส่งสาธารณที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวมีทางเลือกในการเดินทางเข้าถึง สถานที่ท่องเที่ยว และการเพิ่มจุดจอดรถทัวร์ให้นักท่องเที่ยวรูปแบบกลุ่มทัวร์สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้อย่าง สะดวก และที่ส�ำคัญ คือ การเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เนต สร้างประสบการณ์การท่อง เที่ยวที่หลากหลายและแปลกใหม่ให้กับโครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 209


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ ปัจจุบันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้กลายมาเป็น อุตสาหกรรมที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ ของโลก จนกลายมาเป็นอุตสาหกรรมหลักในระบบ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส�ำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา รายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ในล�ำดับแรกเมื่อปรียบเทียบ กับรายได้อื่นๆ จึงเป็นที่ตระหนักดีว่า อุตสาหกรรมท่อง เที่ยวของประเทศไทยเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ แสดงบทบาทเด่นชัดตลอดสามถึงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาใน การเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่ง น�ำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ การกระจายรายได้ และ การลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากมายหลายร้อยสาขา เป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชน และ ประเทศ ชาติอย่างมากมาย ในยุคปัจจุบันการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในตลาดโลกได้ให้ความส�ำคัญกับวัฒนธรรมโดยน�ำมา เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ หรือบริการเพื่อสร้างความ แตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งสอดคล้องกับกระแสเศรษฐกิจเชิง สร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการน�ำ วัฒนธรรมเป็นจุดขาย ที่ให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรมทั้งจับต้องได้ (Tangible Culture)เช่น รูป แบบสถาปัตยกรรมโบราณ โบราณสถาน และที่จับต้อง ไม่ได้(Intangible Culture) เช่น ประวัติศาสตร์ วิถี ชีวิต สูตรอาหาร ในแต่ละพื้นที่ ประเทศต่างๆเริ่มเล็งเห็นและให้ความส�ำคัญต่อการท่อง เที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศของตน จึงน�ำวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์พยายามใช้ความหลากหลายของ เชื้อชาตเิป็นจุดขายการท่องเที่ยว และฟื้นฟูแหล่ง วัฒนธรรมดั้งเดิมของทุกๆเชื้อชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้วยแนวคิด Uniquely Singapore หรือ ประเทศ เกาหลีใต้ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานอิสระสนับสนุนภาค เอกชนในการเผยแพร่วัฒนธรรม ซึ่งเราจะเห็นจาก โฆษณา หรือการสอดแทรกในละครต่างๆ การท่องเที่ยวจึงเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่งใน เชิงพาณิชย์ และแหล่งท่องเที่ยวเป็นส่วนประกอบส�ำคัญ ทางการค้าในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆทางธรรมชาติได้รับ การพัฒนาเพื่อสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว แต่ 210

เป็นที่น่าเสียดายเนื่องจาก สถานที่ท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติในประเทศภาคเหนือ ภาคอีสาน หรือภาคใต้จะ สนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้บางช่วงฤดูกาล เท่านั้น จึงท�ำให้ประเทศไทยให้ความส�ำคัญต่อการท่อง เที่ยวด้านเชิงวัฒนธรรมที่จะเป็นจุดขายที่ส�ำคัญในการ ท่องเที่ยวเพื่อศึกษาหาความรู้เรื่องราวทางด้าน ประวัติศาสตร์ จากความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหาข้างต้น จะ เห็นได้ถึงความส�ำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผู้ จัดท�ำจึงเลือกอ�ำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา เนื่องจากเป็นอ�ำเภอที่มีความส�ำคัญทาง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีสถานที่ท่องเชี่ยวเชิง วัฒนธรรมในพื้นที่คูเมืองเก่าเล่าเรื่องราวส�ำคัญทาง ประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของคนนครราชสีมา และใน พื้นที่มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่หลากหลาย และง่ายต่อ การเดินทาง ท�ำให้นครราชสีมาถูกเรียกว่าเป็นประตูสู่ ภาคอีสาน แต่เนื่องจากปัจจุบันสถานที่ที่กล่าวมายังไม่ เป็นที่รู้จักและสนใจของนักท่องเที่ยวภายในคูเมืองวิถี ชีวิตและบรรยากาศเดิมเริ่มหายไป และสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกที่มียังไม่ตอบรับกับนักท่องเที่ยวที่มีรูปแบบหลาก หลาย ขาดมาตรฐานและเอกลักษณ์ที่นักท่องเที่ยวจะให้ ความสนใจท�ำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเที่ยวและพัก แรมนอกอ�ำเภอเมืองนครราชสีมามากกว่าในพื้นที่เมือง เหตุนี้ท�ำให้ผู้จัดท�ำเห็นถึงความส�ำคัญของ “การปรับปรุง และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” เพื่อเป็น แนวทาง ต้นแบบในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม โดยการปรับปรุงสถานที่และการบริการ ให้ อ�ำเภอเมืองนครราชสีมาเป็นจุดหมายปลายทางของการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเสนอต่อหน่วยงานราชการ ระดับท้องถิ่นสามารถน�ำไปศึกษาหรือพัฒนาเพื่อก่อให้ เกิดประโยชน์ ต่ออ�ำเภอเมืองนครราชสีมาต่อไป

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ เนื่องจากที่มาและแนวคิดที่กล่าวข้างต้นนั้นจะเห็นได้ ว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีความส�ำคัญต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจและนานาประเทศให้ความสนใจและ ส�ำคัญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวท�ำให้ผู้จัดท�ำสนใจ การพัฒนาพื้นที่ด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและ ส�ำหรับจังหวัดนครราชสีมาภาพที่นักท่องเที่ยวชินตาจะ เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติมากกว่าเชิงวัฒนธรรมแต่


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

3. แผนผังแสดงวิธีการเข้าถึงพื้นที่คูเมือง

4. แผนผังแสดงต�ำแหน่งของสิ่งอ�ำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว

6. แผนผังแสดงล�ำดับความส�ำคัญขององค์ประกอบ 5. แผนผังแสดงองค์ประกอบที่พบในพื้นที่คูเมืองและรอบข้าง แหล่งที่มา : หนังสือโครงการก�ำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ถ้าหากกล่าวถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในโคราชมี ความน่าสนใจไม่ว่าจะเป็น ผ้าไหมโคราชอ.ปักธงชัย หรือ เครื่องปั้นดินเผา อ.ด่านเกวียน หรือสถานทีประวัติ ศาสตร์ส�ำคัญเช่น ปราสาทหินพิมาย อ�ำเภอพิมาย เป็นต้น ในส่วน อ�ำเภอเมืองนครราชสีมา สามารถเรียกได้ว่าเป็น ย่านประวัติศาสตร์ส�ำคัญของโคราช เนื่องจากเป็นจุด ก�ำเนิดของจังหวัดนครราชสีมาที่มีประวัติศาสตร์และ พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานยาวนาน มีองค์ประกอบ ของเมืองที่มีคุณค่าและความส�ำคัญไม่ว่าจะเป็น โบราณ สถาน อาคาร ย่านต่างๆ กระจุกในเขตคูเมือง นครราชสีมา ในตั้งแต่สมัยพระสมัยพระนารายณ์ย้ายที่ ตั้งเดิมจากเมืองเสมามายังที่ตั้งเมืองเก่านครราชสีมาใน ปัจจุบัน โดยให้ช่างฝรั่งเศสเป็นผู้วางผังเมืองโดยสร้าง ก�ำแพงล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปกลองชัยเภรีมีคูน�้ำ ล้อมรอบ มีป้อม 15 ป้อม ประตูเมืองประจ�ำสี่ทิศโดยมี วัดพระนารายณ์มหาราช หรือวัดกลางเป็นที่หมายตา และศูนย์กลางของเมือง มีชุมชนตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือน กระจุกตัวอยู่หนาแน่นภายในพื้นที่เมืองเก่าและในสมัย

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการน�ำกองทัพของคุณหญิงโมไป ปราบข้าศึกเกิดเป็นวีรกรรมภายหลังเหตุการณ์ พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯสถาปนาให้เป็น ท้าวสุรนารี และต่อมาในสมัยรัชาการที่ 4 ชาวจีนอพยพเข้ามาเมือง นครราชสีมาจึงเป็นศูนย์กลางทางการค้า จึงปรากฎบ้าน เรือนวัดวา หลายยุคหลายสมัยในคูเมือง ซึ่งปัจจุบันยัง ปรากฏอาคารไม้หรืออาคารเก่าแก่ เหลืออยู่เป็นจํานว นมาก โดยเฉพาะบริเวณถนนจอมพล และถนน มหาดไทยซึ่งเป็นย่านการค้าเดิมของเมือง ในส่วนศาสน สถานยังปรากฎเช่นกันมีทั้งคงสภาพเดิมและบูรณใหม่ ตั้งกระจายอยู่ภายในพื้นที่เมืองเก่าทําหน้าที่เป็น ศูนย์กลางของย่านชุมชนต่างๆภายในเมืองอีกที จากองค์ประกอบของเมืองนครราชสีมาที่มีคุณค่าและ ความสําคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่กล่าวข้างต้น ท�ำให้เห็นถึง ศักยภาพและความส�ำคัญในเขตพื้นที่ คูเมืองโคราชจึงเป็นหลักเกณฑ์และเหตุผลที่ส�ำคัญในการ เลือกพื้นที่ และเส้นทางการเชื่อมต่อ ที่น�ำมาด�ำเนิน โครงการ 211


มหานครโคราช 2040

บริบทของโครงการ

แนวความคิดในการออกแบบ

การเข้าถึงพื้นที่อ�ำเภอเมืองโคราชา มีทั้งหมด 3 แบบ (แผนที่ 3) คือ รถบัส บขส. รถไฟแห่งประเทศไทยและ รถยนต์ส่วนตัว ถ้าถัดเข้ามาในพื้นที่คูเมืองมีการเข้าถึง ทั้งหมด 2 แบบ (แผนที่ 3) คือ รถสองแถวและรถยนต์ ส่วนตัว การวิเคราะห์ท�ำให้เห็นถึงรูปแบบการเข้าถึงพื้นที่ มีทางเลือกน้อยไม่ตอบโจทย์กับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เดิน ทางด้วยตนเองเดินทางล�ำบากค่าใช้จ่ายสูง และถ้าหากมี กลุ่มทัวร์กลุ่มใหญ่ในปัจจุบันยังไม่มีจุดจอดและรับส่ง ยิ่ง ไปกว่านั้นการเดินทางที่มีไม่สามารถกระจายเข้าสู่สถานที่ ท่องเที่ยวที่มีในพื้นที่

แนวความคิดในการออกแบบนั้นประกอบไปด้วย ที่ตั้ง และบริบทเดิมในพื้นที่ ,องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ของ Cooper & Boniface (1998) และ ความ ต้องการและความสนใจของนักท่องเที่ยว

การส�ำรวจสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่นักท่องเที่ยวต้องการ และจ�ำเป็น ซึ่งแผนที่ 4.แสดงสิ่งอ�ำนวยความสะดวกพื้น ฐานว่ามีต�ำแหน่งไหนบ้างเพียงพอหรือไม่ พบว่าโรงแรม ที่มีในคูเมืองนั้นเริ่มเก่าและทรุดโทรม จ�ำนวนห้องมีน้อย เมื่อเทียบกับโรงแรมนอกเมืองในราคาระดับเดียวกัน และขาดความเป็นเอกลักษณ์ส่วนในเรื่องร้านอาหาร ปัจจุบันนั้นขาดร้านอาหารขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับ กลุ่มทัวร์ขนาดใหญ่ สุดท้าย ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในเขตคูเมือง และรอบๆ เมื่อส�ำรวจช่วงกลางวันท�ำให้เห็นว่าในพื้นที่ คูเมืองมีสถาปัตยกรรมและโบราณสถานที่มีคุณค่าแต่สิ่ง ที่พบอาคารที่มีคุณค่าไม่ได้รับความใส่ใจและเพิกเฉย อาจจะเป็นเพราะผู้ใช้งานไม่ทราบถึงคุณค่าทาง สถาปัตยกรรมและศาสนสถาน ยิ่งไปกว่านั้นบางแห่งยัง เกิดการบดบังทัศนียภาพของศาสนสถานและการเข้าถึง แหล่งน�้ำที่สามารถน�ำมาเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ เมื่อพื้นที่ในร้านค้าเริ่มปิดพื้นที่คูเมืองเริ่มมืด สถานที่ ส�ำคัญที่คูเมืองที่ถูกใช้งานในเวลากลางคืนมีเพียงอนุ เสาวรีย์ย่าโม ตลาดกลางคืน และแหล่งกินดื่ม ซึ่งการ วิเคราะห์ทั้งหมดที่กล่าวมาท�ำให้ผู้จัดท�ำเล็งเห็นถึงการส่ง เสริมและปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้นัก ท่องเที่ยวสามารถรับรู้คุณค่าและสร้างประสบการณ์ได้ ทั้งกลางวันและกลางคืนและการให้คะแนนมีไว้เพื่อรับรู้ ภาพใหญ่ที่จะน�ำเสนอให้กับนักท่องเที่ยวและการสร้าง เส้นทางการท่องเที่ยวและการเกณฑ์ฏารตัดสินใจพัฒนา ในอนาคตว่าสิ่งไหนท�ำแล้วมีผลกระทบสูง มีคุณค่ามาก เพื่อให้ทั้งคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวรับรู้ถึงการ เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนและเข้าใจในโครงการ 212

จากการที่เลือกที่ตั้งที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น ความว่า อ�ำเภอ เมืองนครราชสีมาสามารถเรียกได้ว่าเป็นย่าน ประวัติศาสตร์ส�ำคัญของโคราช เนื่องจากเป็นจุดก�ำเนิด ของจังหวัดนครราชสีมาที่มีประวัติศาสตร์และพัฒนาการ ของการตั้งถิ่นฐานยาวนาน ท�ำให้มีองค์ประกอบของ เมืองที่มีคุณค่าและความส�ำคัญไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรม เดิม โบราณสถาน อาคาร และย่านต่างๆ กระจุกในเขต คูเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคณ ค่าอย่างยิ่ง แต่ปัญหาคือกิจกรรมที่มีไม่เชื่อมถึงกัน ไม่ได้ รับความสนใจหรือให้ความส�ำคัญ น�ำมาซึ่งแนวคิดของ การปรับปรุงและออกแบบพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเส้น ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ โดยเพิ่มรูปแบบ การเข้าถึงและเชื่อมต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมหรือกิจกรรมอื่นๆที่น�ำเสนอถึงคุณค่าของพื้นที่ และปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ศาสนสถานและออกแบบพื้นที่ หรืออาคารภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้อง เมื่อทราบถึงบริบทเดิมในพื้นที่จะต้องพิจรณาควบคู่ไป กับแนวคิดองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวของ Cooper & Boniface (1998) กล่าวว่า แหล่งท่อง เที่ยวเป็นสถานที่สําคัญที่จะสนองความต้องการของนัก ท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องประกอบด้วย 4As คือ ด้านความ ดึงดูดใจ, ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ,ด้านความสํา ราญจากแหล่งท่องเที่ยว และด้านองค์ประกอบของการ บริการจากแนวคิดข้างต้นจะเป็นหลักเกณฑ์ส�ำคัญในการ เลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเลือก มาท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองนครราชสีมา โดยเฉพาะพื้นที่ คูเมืองเก่า ซึ่งการออกแบบพื้นที่ต้องยึดถือแนวคิดและน�ำ มาเกลับมาตรวจพื้นที่ว่าจะสามารถสนองความต้องการ ของนักท่องเที่ยวได้มากน้อยเท่าไหร่ และต้องเพิ่มเท่า ไหร่โดยการแนวคิดเป็นการเพิ่มใช้ประโยชน์ใหม่ และ สนับสนุนการใช้ประโยชน์เดิม ความต้องการและความสนใจของนักท่องเที่ยวเป็นสิ่ง ส�ำคัญในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนจากสิ่งเดิมที่มีท�ำให้เรา ต้องศึกษารูปแบบของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ซึ่ึงรูปแบบนักท่องเที่ยวในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ นักท่องเที่ยวแบบพึ่งพาตนเอง(Free Independent Tourist) และนักท่องเที่ยวแบบกลุ่ม ทัวร์(Group Inclusive Tourist) ซึ่งทั้งสองรูปแบบมี กิจกรรม ความต้องการความคาดหวังในประสบการณ์ ต่างกัน และในการท�ำความเข้าใจนักท่องเที่ยวจะท�ำโดย วิธีการท�ำ Customer journey(ภาพ7.) คือ Framework หรือทฤษฎีในการเข้าใจลูกค้าเพื่อโน้มน้าว พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าได้ถูกช่วงเวลาและถูกวิธี เพื่อจะตัดสินเลือกสินค้าและบริการของเราซึ่งการท�ำสิ่งนี้ ท�ำให้ไดเข้าใจถึงความต้องการในแต่ละช่วงเวลาของ กิจกรรมที่แท้จริง ความรู้สึกของนักท่องเที่ยว และความ แตกต่างของนักท่องเที่ยวแต่ละรูปแบบ ซึ่งเมื่อออกแบบ จะทราบได้ทันทีว่าออกแบบให้ใคร ใครมาใช้ หรือต้อง ปรับปรุงพัฒนาเพื่อตอบรับกับใคร เพื่อให้เมือง นครราชสีมาตอบรับความต้องการอย่างแท้จริง

213


มหานครโคราช 2040

214


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

215


มหานครโคราช 2040

216


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

โครงการกับอนาคตของโคราช โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่ง ในการขยายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และดึงดูดนัก ท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ ท�ำให้เมืองโคราชกลายเป็น จุดหมายปลายของทางของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เป็น ฐานเศรษฐกิจใหม่ให้กับเมือง ซึ่งน�ำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นท�ำให้คนในท้อง ถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วย เพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจการลงทุน ในธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องมากมายหลายสาขาที่ซึ่งสอดคล้องกับวิสัย ทัศน์ในแผนโคราช 2040

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ การด�ำเนินการโครงการมีทั้งหมด 3 รูปแบบโครงการที่ ต้องด�ำเนินการ 1. พื้นที่ศาสนสถานเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างผล ตอบรับที่สร้างการรับรู้ที่ชัดเจน ผ่านการปรับทัศนียภาพ ในพื้นที่คาดว่าใช้เวลาเจรจาและด�ำเนินการโดยรวม ทั้งหมด 2 ปี ต่อไปเป็นการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่โดย รอบ และเปลี่ยนการใช้งานบางอาคารโดยรอบสุดท้าย เป็นการปรับปรุงแกนย่าโมที่เริ่มท�ำพร้อมกับศาสนสถาน เนื่องจากมีความส�ำคัญที่เท่ากันใช้เวลานาน และเสนอให้ มีพิพิฑภัณฑ์และแหล่งพบปะเรียนรู้ชั้นใต้ดินเพื่อเชื่อมไป ยังพื้นที่การเรียนรู้ TK park 2. การน�ำเสนอเมืองผ่านศิลปะที่มุ่งสร้างประสบการณ์ที่ น่าสนใจให้กับนักท่องเที่ยว เริ่มจากการก�ำหนดและ พัฒนาเส้นทางในการน�ำเสนอ และปรับปรุงพื้นที่ให้ เหมาะแก่การเดินบวกกับการเจรจากับบ้านเรือนใน ละแวกเพื่อเสริมงานศิลปะเข้าไป เช่น การเพ้นท์ก�ำแพง หรือ art installation ปรับปรุงพื้นที่การเรียนรู้ที่ถูก เลือก เช่น บริเวณสวนบ้านย่าโม และมีการสร้างกลไกล ในการเปิดพื้นที่หลังบ้านเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ 3. พื้นที่ตลาดกลางคืนเริ่มท�ำกระบวนการแรกในเวลา ใกล้เคียงกับศาสนสถาน เนื่องจากเป็นกิจกรรมกลางคืนที่ เป็นปัจจัยหลักในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อมาค้างคืน หรือเกิดกิจกรรมรอบๆ ตลาดกลางคืน ซึ่งควรเริ่ม เป็นการสร้างกลไกลการขอความร่วมมือกับผู้ประกอบใน

การร่วมมือกับโครงการฯ ก�ำหนดพื้นที่และสร้างแนวทาง การออกแบบไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขนาดทางเท้าหรือ ก�ำหนดแนวทางการออกแบบเปลือกอาคารเพื่อสนับสนุน กิจกรรมการค้าทั้งกลางวันและกลางคืนท�ำให้พื้นที่เกิด เอกภาพและเอกลักษณ์สร้างความน่าสนใจ

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ผู้เกี่ยวข้อในแต่ละโครงการย่อยมีดังนี้ กิ๋นใจ๋ ผู้มีอ�ำนาจในการตัดสินในโครงการศาสสถาน คือ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และมีความเกี่ยวข้องกับชาว บ้านที่มีที่ดินติดสัญญากับทางวัด ในส่วนโบราณวัสถุ หรือ อนุเสาวรีย์เป็นการดูแลของกรมศิลปกร และ เทศบาลนครราชสีมาเป็นผู้ดูแล กิ๋นศิลป์ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเจ้าของบ้านหรือพื้นที่ที่จะ พัฒนา การน�ำงานศิลปะไปติดตั้ง และปรับเปลี่ยน ประโยชน์การใช้งานให้เป็นพื้นที่หมายตาใหม่ของนักท่อง เที่ยว ลดอาชญากรรมจากการสร้างกิจกรรมชีวิตให้เวลา กลางคืน กิ๋นซุม ในส่วนของการปรับปรุงทางเท้าเป็นส่วนของ เทศบาลนครราชสีมา และสร้างแนวทางการออกแบบ เพื่อสนับสนุนการค้าผู้เกี่ยวข้องที่ส�ำคัญจะเป็นเทศบาลฯ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้อจะเป็นชาวบ้านเจ้าของอาคารหรือผู้ที่จะ เข้ามาค้าขาย ซึ่งถ้าหากชาวบ้านเห็นพ้องในแนวทางการ พัฒนาจะท�ำให้ทิศทางการพัฒนาเป็นเอกภาพที่ดียิ่งขึ้น

ประเมินราคาโครงการ 1. กิ๋นใจ๋ งบประมาณการปรับปรุงศาสนสถาน 2 พื้นที่ รวม 76.5 ล้านบาท (อ้างอิงจากโครงการพัฒนาระบบ

สาธารณูปโภคใต้ดิน/โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์วัดลานตากฟ้า/โครงการ ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณวัดโพธิ์ชัย/โครงการศาสนสถานร่มรื่นอย่างยั่งยืน)

2. กิ๋นศิลป์ การพัฒนาเส้นทางศิลปะ จ้างศิลปิน และ ปรับเปลี่ยนการใช้งาน ทั้งโครงการ 8.7 แสนบาท (อ้างอิง จากโครงการโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์วัดลานตากฟ้า และ ราคาการจ้าง งานศิลปิน (Graffiti) จาก Team Thip Cho )

3. กิ๋นซุม ตลาดกลางคืน ทางเทศบาลจะมีการช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายครัวเรือนละ 5-8 หมื่นบาทเพื่อสนับสนุนการ ปฏิบัติตามและมีการเพิ่มขนาดทางเดินเท้าส่งเสริมการ ใช้ทางเท้าและยานพาหนะพลังงานสะอาด 217


มหานครโคราช 2040

218


11 โครงการพัฒนาพื้นที่ สาธารณะทางสังคม

โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคมบริเวณรอบคูเมืองโคราช โดย วิฐิตา ศรีพรหม

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคมนี้จะช่วยส่งเสริมพื้นที่สาธารณูปการด้วยการปรับปรุงพื้นที่ บริเวณคูเมืองโคราชให้เป็นพื้นที่สาธารณะระดับเมือง เพื่อยกระดับสุขภาพและสังคม ภายใต้การเป็น มหานครที่เต็มไปด้วยทางเลือกในการใช้ชีวิตและการเรียนรู้ ตอบรับสังคมและเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยมีความเชื่อมโยงกับโครงการด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต (Livability) ได้แก่ โครงการพัฒนาที่อยู่ อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ และโครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดก วัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีความเชื่อมโยงกับโครงการด้านการเชื่อมต่อ (Connectivity) ซึ่งเป็นโครงการ ปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและพาหนะพลังงานสะอาด ทั้งนี้ การเชื่อมโยงกับโครงการต่างๆ จะช่วยให้มหานครโคราชเป็นเมืองที่น่าอยู่ มีสุขภาวะดี ปลอด มลพิษทางอากาศ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประชากรมีทางเลือกในการใช้ชีวิตมากขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล�้ำทางสังคม ด้วยการเปิดโอกาสให้คนทุกระดับ คนทุกเพศทุกวัยสามารถแลก เปลี่ยนประสบการณ์และสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ยังรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคตที่มี แนวโน้มสูงขึ้น การจัดท�ำโครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคมนี้ จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา ท�ำให้เมืองโคราชมีชีวิตชีวามากขึ้น

219


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ ประเด็นทางกายภาพ • พื้นที่สาธารณะในโคราช มีหลายประเภท เช่น สวน สาธารณะ ลานโล่ง ลานวัด ทางเดิน แต่คนโคราชไป ใช้พื้นที่กึ่งสาธารณะมากกว่า เช่น ห้างสรรพสินค้า เนื่องจากพื้นที่สาธารณะขาดคุณภาพตามหลักการ พื้นที่สาธารณะพื้นฐาน • สภาพอากาศร้อนเนื่องจากมีเมืองความแห้งแล้ง ขาด ร่มเงาจากธรรมชาติ และเมืองมีอุณหภูมิสูงอันดับต้น ๆ ของประเทศทุกปี • พื้นที่สาธารณะที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ (คูเมือง) ในเมืองขาดการฟื้นฟู และตัดขาดกับเมืองใหม่ ท�ำให้ พื้นที่ในคูเมืองขาดชีวิตชีวา ประเด็นทางสังคม • มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้พื้นที่สาธารณะ ของคนรุ่นใหม่ ตั้งแต่ Gen Y เพราะพฤติกรรม ของ คน Gen Y นั้นชอบความสะดวกรวดเร็วและมีวิถี ชีวิตที่รีบเร่ง อีกทั้งภาพลักษณ์ของพื้นที่ดูทันสมัย และกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ชอบความซ�้ำซาก จําเจ • เมืองโคราชก�ำลังก้าวเข้าสู่สังคมวัยสูงอายุ (Baby boomer) เนื่องจากจ�ำนวนผู้สูงอายุยังมีอัตราสูงรอง จาก Gen Y และ X • ความเหลื่อมล�้ำระหว่างคนรายน้อยกับคนรายได้ปาน กลางถึงสูงยังคงมีอยู่ในเมืองโคราช สังเกตได้จาก จ�ำนวนชุมชนที่มีคนรายได้อยู่เยอะส่วนใหญ่จะอยู่ใน เมืองแต่ขาดการพัฒนา • ตั้งแต่มีเทคโนโลยี ดิจิทัลเข้ามา สังเกตได้ว่าคนส่วน ใหญ่ใช้ดิจิทัลในชีวิตประจ�ำวัน วันละหลายชั่วโมงจน ท�ำให้คนขาดปฏิสัมพันธ์กันในพื้นที่สาธารณะ ประเด็นทางโรคภัย • ปัญหาเรื่องโรคซึมเศร้าในปัจจุบันมีอัตราสูงขึ้น ซึ่ง เป็นปัญหาทางด้านจิตใจ เมืองโคราชเคยเป็นจังหวัด ที่คนฆ่าตัวตายสาเหตุจากโรคซึมเศร้ามากที่สุดปี 2554 (นายแพทย์ทวี ตั้งเสรี รองอธิบดีกรมสุขภาพ จิต) • ดังนั้นการท�ำโครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทาง สังคมโดยการท�ำให้มีความร่มรื่นมากขึ้น เพิ่มพื้นที่ 220

พบปะกันมากขึ้น เพิ่มการเชื่อมต่อเมืองเก่าสู่เมือง ใหม่ในพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จะช่วยให้ ผู้คนออกมาคลายเครียด พบปะหลังการท�ำงานหรือ หลังเลิกเรียนในพื้นที่สาธารณะทางสังคมรูปแบบ ใหม่ในรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด “ป่าในโคราช” หรือ “The Jungle in Korat”

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ ตําแหน่งพื้นที่สาธารณะจะทําให้เห็นถึงประโยชน์การ ใช้สอย หรือการใช้งานของสถานที่อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งมาจากความต้องการของประชาชนและแนวคิดในการ วางผังซึ่งสามารถสรุปตําแหน่งที่ตั้งของพื้นที่สาธารณะได้ ดังนี้ 1. บริเวณใจกลางเมือง จะดูเสมือนว่าเป็นจุดศูนย์กลาง ของถนนอาคาร หรือเป็น ศูนย์กลางของการขยายตัว ของเมืองทั้งหมด เข้าถึงได้ง่ายจากขนส่งสาธารณะ หรือจากการเดินเท้า 2. บริเวณที่ใกล้กับปริมาณคนที่อยู่จ�ำนวนมาก เช่น สถานที่ท�ำงาน สถานศึกษา แหล่งค้าขาย เป็นต้น เพราะสามารถเดินเข้าถึงได้ง่ายจากสถานที่นั้นเวลา เลิกงานหรือเลิกเรียน 3. บริเวณโดยรอบหรือในชุมชนที่ขาดพื้นที่สาธารณะ อาจมีทั้งในเมืองและนอกเมือง 4. บริเวณที่เป็นจุดหรือพื้นที่ที่ส�ำคัญของเมือง เป็นจุด ขายของเมือง อาจอยู่ในเมืองหรือนอกเมือง 5. บริเวณพื้นที่ว่างเปล่า ซึ่งมักจะเป็นพื้นที่ว่างที่รอการ พัฒนาหรือพื้นที่ลักษณะเช่น พื้นที่ว่างสาธารณะ กลางชุมชน พื้นที่รกร้างว่างเปล่า พื้นที่ว่างสาธารณะ ของภาครัฐ ลานว่างในพื้นที่ สาธารณะของรัฐบาล ท้องถิ่น


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต -โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม

บริบทของโครงการ เมืองโคราช มีคูเมืองล้อมรอบ ซึ่งออกแบบเป็นแนว ป้องกันเมืองตามรูปแบบของเมืองขอมในสมัยโบราณ คูเมืองกว้าง 20 เมตร และลึก 6 เมตร ยาวล้อมรอบ เมือง ซึ่งคูเมืองเป็นแหล่งน�้ำใช้สอย ของชาวเมืองโคราช ในสมัยก่อนด้วย ชื่อคูเมืองนครราชสีมา (รอบตัวเมือง เดิม) สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2205 ในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นย่านราชการหรือแหล่งงานที่ มีคนวัยท�ำงานเยอะ และทางทิศตะวันตกไปจนถึงทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือเป็นย่านพาณิชยกรรมสมัยใหม่หรือ ย่านการค้าใหม่ ที่เริ่มมีคาเฟ่ ร้านอาหารใหม่ ๆ ห้าง สรรพสินค้า เกิดขึ้น รวมไปถึงบริเวณอนุเสาวรีย์ท้าวสุร นารีหรือย่าโม ยังคงหลงเหลือวัฒนธรรมเดิมอยู่ จึงท�ำให้ บริเวณนี้มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากที่สุด

ในปัจจุบัน ทางทิศเหนือของคูเมืองเป็นย่านการศึกษา โดยมีโรงเรียนเมืองนครราชสีมา วิทยาลัยอาชีวศึกษา นครราชสีมา โรงเรียนสุรนารีวิทยา อยู่ติดกับถนน ราชสีมา - โชคชัย ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติด กับถนนสุรนารายณ์ มีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ทางทิศตะวันออกและทางทิศใต้ของคูเมืองเป็นย่านที่อยู่ อาศัยเดิม ซึ่งยังคงความเป็นชุมชน อาทิ ชุมชนราชนิ กูล2 ชุมชนท้าวสุระซอย3 ชุมชนเบญจรงค์ซอย5 ถัดไป 221


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ จากการวิเคราะห์บริบทของโครงการบริเวณคูเมืองแล้ว สามารถแบ่งได้ 4 พื้นที่ ซึ่งมีลักษณะที่เน้นการใช้งาน ต่างกัน โดยเริ่มจากพื้นที่แรก คือ พื้นที่สาธารณะเพื่อ การแสดง (ZONE 1 : Performance zone) อยู่ บริเวณทิศตะวันตกของคูเมือง เนื่องจากโคราชมีความ โดดเด่นกี่ยวกับการแสดง เช่น การร้องเพลงโคราช ร้อง เพลงลูกทุ่ง การร�ำเป็นต้น ในปัจจุบันทางทิศตะวันตก ของคูเมืองก็เป็นย่านพาณิชยกรรมสมัยใหม่ และอยู่ใกล้ กับอนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ซึ่งมีคนรุ่นใหม่และนัก ท่องเที่ยวเข้ามา บริเวณนี้จึงเหมาะสมที่จะเป็นพื้นที่ที่ สามารถดึงดูดคนเหล่านี้ให้สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมผ่าน การแสดงภายในพื้นที่สาธารณะได้มากที่สุด ถัดมาบริเวณด้านล่างของคูเมืองหรือทางทิศใต้ เป็นพื้นที่ ที่สอง คือ พื้นที่สาธารณะเพื่อการขายอาหารและทาน อาหาร (ZONE 2 : Food zone) เนื่องจากรอบพื้นที่นี้ เป็นที่อยู่อาศัย และมีแหล่งงานคือบริเวณราชการ ซึ่งมี คนอาศัยอยู่เยอะ จึงเหมาะกับการท�ำตลาดน�้ำในเวลา ตอนเย็นเพราะเป็นเวลาเลิกงาน ถัดไปทางทิศตะวันออก เป็นพื้นที่ที่สาม คือ พื้นที่สาธารณะเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจ เน้นความสงบ (ZONE 3 : Peace zone) เนื่องจากริเวณรอบข้างเป็นย่านที่อยู่อาศัยเดิมหรือยังคง ความเป็นชุมชนเดิม จึงค่อนข้างมีสูงอายุอยู่เยอะ พื้นที่นี้ จึงเหมาะส�ำหรับคนรักความสงบ และพื้นที่สุดท้าย คือ พื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้ (ZONE 4 : Learning zone) อยู่ทางทิศเหนือของคูเมือง เป็นพื้นที่สนับสนุนให้ เด็กๆ สามารถหาความรู้รอบตัวได้ด้วยตนเอง โดยเชื่อม กับโครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ เนื่องจาก บริเวณนี้มีจ�ำนวนนักเรียนและนักศึกษาอยู่จ�ำนวนมาก โดยทั้ง 4 พื้นที่นี้ มีความเชื่อมต่อถึงกันได้ ซึ่งจะถูก ออกแบบภายใต้แนวคิด “ป่าในโคราช” หรือ “The Jungle in Korat” เป็นแนวคิดที่จะช่วยสร้างความ ร่มรื่นให้กับเมืองโคราชมากขึ้น ด้วยการจ�ำลองความเป็น ป่า ความเป็นธรรมชาติ เนื่องจากเมืองโคราชมีสภาพ อากาศที่ร้อนมาก คนจึงไม่นิยมออกมาพบปะสังสรรค์ที่ สวนสาธารณะ แต่พบปะที่ห้างสรรพสินค้าแทน ดังนั้น การสร้างพื้นที่สาธารณะแนวใหม่ที่ร่มรื่น จะช่วยดึงดูดให้ คนออกมาใช้พื้นที่สาธารณะมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยส่ง เสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในทางอ้อม 222


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต -โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม

ภาพมุมสูงบริเวณคูเมืองโคราชฝั่งทิศตะวันตกหรือบริเวณย่าโม โดย คุณ Jiroje Sinthusiri

223


มหานครโคราช 2040

รายละเอียดโครงการ ZONE 1 : Performance zone หรือ พื้นที่สาธารณะ เพื่อการแสดง ภายในเป็นพื้นที่การจัดแสดงรูปแบบใหม่ เป็นการแสดง แสง สี เสียง ภายในพื้นที่ป่าที่มีความ ร่มรื่นและความเย็นสบาย ผู้ชมสามารถเลือกที่นั่งชมได้ ตามใจชอบ ZONE 2 : Food zone หรือ พื้นที่สาธารณะเพื่อการ ขายและทานอาหาร ภายในพื้นที่นี้เป็นบรรยากาศเหมือน ตลาดน�้ำ ที่มีความร่มรื่นจากต้นไม้ โดยจะมีส่วนขายและ ส่วนนั่งรับประทานได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง ZONE 3 : Peace zone หรือ พื้นที่สาธารณะเพื่อการ พักผ่อน เป็นพื้นที่ที่มีความสงบ ภายในพื้นที่สามารถนั่ง พักผ่อนฟังเสียงของน�้ำตก เสียงใบไม้ เสียงนก หรือ สามารถจัดกิจกรรมโยคะได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมให้ สามารถปั่นเรือเป็ดได้ภายในคู ได้บรรยากาศของความ สงบที่หาไม่ได้ภายในเมืองโคราช ZONE 4 : Learning zone หรือ พื้นที่สาธารนณะ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้นอกสถานที่ ภายในพื้นที่นี้จะมี 224

กิจกรรมให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้ธรรมชาติได้ด้วยตนเอง มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพืชพันธุ์และสัตว์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีที่พักผ่อนหลังเลิกเรียน สามารถซึมซับความ ธรรมชาติลดความเครียดได้ ภายในพื้นที่โครงการทั้งหมด จะส่งเสริมการดูแลรักษา ต้นไม้ด้วยการใช้ระบบดิจิทัล ต้นไม้ทุกต้นมีต�ำแหน่งบอก ในแผนที่ ชื่อ และข้อมูลของต้นไม้แต่ละต้น โดยแต่ละ บ้านสามารถลงทะเบียนเป็นเจ้าของต้นไม้ได้ แต่ห้าม ท�ำการย้าย ซึ่งเมื่อได้รับการเป็นเจ้าของต้นไม้ใน โครงการแล้ว ต้องดูแลให้เจริญเติบโต เพื่อแลกกับสิทธิ ประโยชน์จากทางรัฐหรือทางเอกชนที่มีส่วนร่วมจัดหาให้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบ�ำรุง รักษาพื้นที่ในโครงการด้วย


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต -โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม

การปรับปรุงพื้นที่คูเมืองให้เป็นพื้นที่ สาธารณะทางสังคม เนื่องจากในปัจจุบันคูคลองมีขนาดกว้าง 20 เมตร ซึ่งมี ความกว้างมากท�ำให้พื้นที่ในคูเมืองตัดขาดกับด้านนอก และปัญหาความเน่าเสียที่ขาดการดูแล รวมถึงความ ร่มรื่นยังไม่เพียงพอ จึงไม่มีคนเข้าไปใช้ แต่หากท�ำให้ คูเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเมือง มีชีวิตชีวามากขึ้น จะท�ำให้ คนสนใจมาดูแลบ�ำรุงรักษาเพื่อการใช้ประโยชน์ส่วนรวม และเพื่อเป็นภาพลักษณ์ของเมืองที่ดี

จากการปรับปรุงของโครงการนี้จะช่วยสร้างความดึงดูด ให้คนออกมาใช้พื้นที่สาธารณะมากขึ้น โดยใช้พื้่นที่สี เขียว สร้างความร่มรื่น และประโยชน์จากน�้ำในคูคลองที่ มีส่วนท�ำให้อุณภูมิของเมืองลดลง และยังช่วยฟื้นฟูพื้นที่ บริเวณคูเมืองเก่าที่ปัจจุบันมีความเงียบเหงา ให้กลับมา มีชีวิตชีวา สร้างภาพลักษณ์และจุดส�ำคัญใหม่ให้กับเมือง ให้เมืองมีสุขภาวะที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ ซึ่งนอกจาก จะดึงดูดคนในพื้นที่แล้ว ยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ ด้วยเช่นกัน

โดยการปรับปรุงจะลดขนาดคูคลองลงให้เหลืออย่างน้อย 30% ของความกว้างคูคลอง เพื่อเพิ่มพื้นที่สนามหญ้า ลดการสะท้อนของแสงแดด และมีพื้นที่ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพิ่มความร่มเงาและพื้นที่ท�ำกิจกรรม นอกจากนั้นการ ปลูกต้นไม้เพิ่มจะช่วยแยกถนนออกจากพื้นที่สาธารณะนี้ เพื่อกรองเสียงและมลภาวะจากควันรถยนต์ ซึ่งภายในโครงการทั้งหมดจะเพิ่มสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ด้วย เช่น ที่นั่งพัก หลังคากันฝน ที่หลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะการใช้งานในแต่ละพื้นที่ (Zone) 225


มหานครโคราช 2040

การเชื่อมต่อและการเข้าถึงของโครงการ

ผ่านการปรับปรุงกายภาพได้ และยังช่วยให้ลด

เนื่องจากพื้นที่ในคูเมืองเก่ามีความตัดขาดกับพื้นที่นอก คูเมืองเนื่องจากเทศบาลยังไม่ให้ความส�ำคัญกับทาง เชื่อมต่อเข้าสู่คูเมือง ประชาชนจึงไม่รับรู้ถึงความส�ำคัญ ของคูเมืองด้วย เป็นเหตุให้พื้นที่บริเวณคูเมืองนั้นอ้างว้าง ถึงแม้เทศบาลมีการจัดการให้มีพื้นที่พักผ่อนอยู่บ้าง แต่ การจะเข้าถึงก็เข้าถึงได้ยากจากการเดิน โดยประชาชนจะ ต้องเสี่ยงกับการข้ามถนน หรือการข้ามสะพานลอยนั้น เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุและผู้พิการนั้นไม่สามารถข้ามได้ คน เหล่านี้จึงไม่มีโอกาสเข้าถึง

ความส�ำคัญของรถยนต์ลง เพิ่มความส�ำคัญให้กับการ เดินเท้ามากกว่า และการท�ำทางข้ามถนนเข้าสู่คูเมืองนั้น ก็ท�ำให้ประชาชนเห็นความส�ำคัญของคูเมืองมากขึ้นด้วย ว่า คูเมืองก็เป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่เป็นพื้นที่สาธารณะที่ ส�ำคัญในโคราชและนอกจากทางข้ามเข้าสู่โครงการแล้ว การเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ (Zone) ก็มีความส�ำคัญเช่น กัน โดยในแต่ละพื้นที่ภายในโครงการ จะมีทางเดินที่ เชื่อมต่อกันรอบคูเมือง เพื่อให้กิจกรรมมีความต่อเนื่อง กันได้

โดยการเชื่อมต่อระหว่างคูเมืองกับฝั่งตรงข้ามจะเพิ่มทาง ข้ามถนนพื้นที่ละหนึ่งจุด บริเวณถนนหลักที่มีการสัญจร ของรถจ�ำนวนมาก ซึ่งในแต่ละจุดจะมีสัญญาณไฟหยุด รถเพื่อให้คนข้าม และในแต่ละจุดตัดของถนนกับคูเมืองก็ สร้างความรับรู้ของผู้ใช้รถยนต์ว่าเป็นทางคนข้าม ควรขับ ช้านั้น จะท�ำโดยการเปลี่ยนยกระดับของถนนให้ต่าง ระดับจากเดิมและวัสดุพื้น (Pavement) ให้ดูต่างจาก พื้นถนนปกติ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่ข้ามถนน ผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถข้ามได้ เป็นอีกทางหนึ่งที่ เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้ได้มีโอกาสเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ 226


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต -โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม

227


มหานครโคราช 2040

โครงการกับอนาคตของโคราช โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม รวมถึงโครงกา รอื่นๆ ในด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต (Livability) ได้แก่ โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ และโครงการส่ง เสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีความ เชื่อมโยงกับโครงการด้านการยกระดับการเชื่อมต่อ (Connectivity) ซึ่งเป็นโครงการปรับปรุงและส่งเสริม การใช้ทางเท้าและพาหนะพลังงานสะอาด โครงการเหล่า นี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่บริเวณคูเมืองโคราช ซึ่งโครงการนี้จะช่วยผลักดันให้อนาคตของโคราชเป็นไป ตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการเชื่อมเมืองเก่าและเมืองใหม่ให้ อยู่ร่วมกัน ด้วยการใช้พื้นที่ที่มีคุณค่าอยู่แล้วอย่างคูเมือง โคราชมาเป็นตัวประสานเมือง และสังคมเข้าด้วยกัน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มทางเลือกให้กับคน โคราช ลดปัญหาความเหลื่อมล�้ำทางสังคม เนื่องจากการ เปิดโอกาสให้เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการ ให้ความส�ำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจากการเพิ่มจ�ำนวน ต้นไม้ เพิ่มจิตส�ำนึกของคนในโคราชให้ดูแลรักษา 228


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต -โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม

ธรรมชาติให้คงอยู่เพื่อลดความร้อนของเมือง ให้เป็น เมืองที่มีสุขภาวะที่ดี และการพัฒนาพื้นที่บริเวณคูเมือง ทั้งโครงการนี้และโครงการอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะช่วย ผลักดันเศรษฐกิจให้กับเมืองโคราชได้ในทางอ้อม ท�ำให้ เมืองมีชีวิตชีวา ดึงดูดให้คนเข้ามาลงทุนมากขึ้น คนใน พื้นที่ก็สามารถสร้างรายได้มากขึ้น ซึ่งสุดท้ายเมืองโคราช จะกลายเป็นเมืองน่าอยู่น่าลงทุนที่สุด สร้างความภาค ภูมิใจให้กับคนโคราชได้

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ ระยะเวลาด�ำเนินการมี 2 ระยะ คือ 0-5 ปี และ 6-10 ปี โดยมีการจัดการมีส่วนร่วมของแต่ละหน่วยงานและ ประชาชน ให้ตกลงกันถึงภาพรวมของโครงการทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการแสดงความ คิดเห็นในระยะแรกด้วย ระยะแรก เป็นการปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณคูเมือง ฝั่งทิศตะวันตก ให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการแสดง (Performance zone) และปรับปรุงกายภาพพื้นที่ บริเวณคูเมืองฝั่งทิศเหนือ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะการ เรียนรู้ (Learning zone) พร้อมทั้งพัฒนาความเป็น Digital และเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างเมืองเก่าหรือย่าน การค้าเดิมและเมืองใหม่หรือย่านการเรียนรู้ฝั่งทิศเหนือ กับย่านพาณิชยกรรมสมัยใหม่ฝั่งทิศตะวันตก เนื่องจาก ทั้งสองพื้นที่นี้ มีคนเข้าถึงเป็นจ�ำนวนมากที่สุด และมี ความส�ำคัญกับเศรษฐกิจ รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับย่าน เรียนรู้สร้างสรรค์ด้านทิศเหนือก็จะช่วยส่งเสริมการเรียน รู้อีกด้วย ระยะที่สอง เป็นการปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณคูเมือง ฝั่งทิศใต้ ภายใต้พื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อ การขายและทานอาหาร (Food zone) พร้อมทั้ง ปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณคูเมืองฝั่งทิศตะวันออก ให้ เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Peace zone) พัฒนาระบบ Digital และเพิ่มการเชื่อมต่อ ระหว่างย่านท่องเที่ยว ย่านที่อยู่อาศัยใหม่ที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตและย่านที่อยู่อาศัยเดิมฝั่งทิศตะวันออกและทิศใต้ เนื่องจากทั้งสองพื้นที่นี้อยู่ใกล้กับย่านที่อยู่อาศัย และมี คนเข้าถึงน้อยกว่าสองพื้นที่แรก จึงเป็นการพัฒนาระยะที่ สองเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มีทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมี หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ด�ำเนินการหลัก และมีภาคเอกชน ที่ร่วมลงทุนกับโครงการ รวมไปถึงการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เป็นผู้ด�ำเนินการ ได้แก่ เทศบาลนครราชสีมา ส�ำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และหน่วยงา นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่บริเวณคูเมืองโคราช อาจมี ความร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมในการลงทุนให้ โครงการเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น หรือ เอกชนสามารถช่วยสนับสนุนลงทุนด้านอื่น เช่น การ ลงทุนระบบดิจิทัลในโครงการ เป็นต้น และที่ส�ำคัญคือ ประชาชน ที่สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ต่อโครงการได้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดท�ำโครงการนี้ คือ ชุมชนที่ อาศัยติดกับบริเวณคูเมือง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจาก การก่อสร้างในโครงการ และเมื่อสร้างแล้วเสร็จ อาจได้ รับผลกระทบจากการมีคนนอกเข้ามาเพิ่มขึ้น แต่ในทาง กลับกันอาจเป็นช่องทางการสร้างรายได้ให้กับชุมชน บริเวณรอบคูเมือง

ประเมินราคาโครงการ การปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอบคูเมืองของโครงการนี้ที่มี ความยาวรวมกันประมาณ 5 กิโลเมตร และมีความกว้าง 20 เมตร โดยการท�ำโครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทาง สังคมที่อยู่ภายใต้แนวคิด “ป่าในโคราช” หรือ “The jungle in Korat” นี้จะเน้นการปลูกต้นไม้และถมดิน เป็นหลัก รวมการตกแต่งพื้นที่ การติดตั้งไฟฟ้าเพื่อให้ แสงสว่างและติดตั้ง CCTV เพื่อความปลอดภัย รวม ราคาโครงการทั้งหมดประมาณ 80 ล้านบาทตั้งแต่ระยะ เวลาการด�ำเนินการระยะแรกจนถึงระยะที่สอง

229


มหานครโคราช 2040

ภาพถ่ายห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า บริเวณที่จอดรถด้านหน้าห้างสรรพสินค้า

พื้นที่พัฒนาการค้าท้องถิ่น : โครงการพัฒนาและปรับปรุง ธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณ พื้นที่คูเมืองเก่า #เมืองการค้าเก่า ซบเซา อ้างว้าง 230


12

โครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจ การค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่ อาศัยบริเวณพื้นที่คูเมืองเก่า Korat Work-Live District โดย ริณรนินณ์ สิริพันธะสกุล

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่คูเมืองเก่า มี ความตั้งใจที่จะผลักดันให้กลายเป็นย่านธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสมผสานที่อยู่อาศัย(Work-Live) ที่ตอบ ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในเรื่องการส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่นและท่องเที่ยว และ ผลักดัน พื้นที่โอกาสทางธุรกิจในคูเมืองเก่า เพื่อให้เกิดการใช้ศักยภาพของพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ สูงสุด ควบคู่ไปกับการอนุรักษณ์พื้นที่ประวัติศาสตร์ พื้นที่และกิจกรรมการค้าท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่อดีต ด้วยการเพิ่มความหนาแน่นทางกิจกรรมการค้าและสังคมในพื้นที่ และส่งเสริมให้มีการลงทุนของภาค เอกชนในพื้นที่คูเมืองให้เพิ่มมากขึ้น และสร้างความเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในพื้นที่ คูเมือง และระหว่างย่าน โดยมีความเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาดังต่อไปนี้ โครงการที่มีความเชื่อมต่อและส่งเสริมทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างย่าน โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง (พื้นที่ย่านการค้าระดับเมือง) โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ (พื้นที่ย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์) โครงการที่มีการเชื่อมต่อและส่งเสริมทางเศรษฐกิจและสังคมภายในพื้นที่คูเมือง โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ โครงการเพิ่มและปรับปรุงพื้นที่สาธารณะทางสังคม โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่าย การขนส่งสาธารณะ โครงการกําหนดเส้นทางและ ควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว 231


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ ในปัจจุบัน โคราชกลายเป็นเมืองที่ได้รับความสนจากเอก ขนใหญ่หลายราย แหล่งการค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี ไม่ว่าจะห้างสรรพสินค้า ตลาดนัดกลาง คืน(NightMarket) ที่เกิดขึ้นมากมายและ กระจัดกระจายตามผู้คนที่ขยับขยายแหล่งที่อยู่อาศัยออก ไปอย่างไร้ทิศทาง ส่งผลให้พื้นที่ใจกลางเมืองโคราช ศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมระดับภูมิภาคในอดีตอย่าง พื้นที่คูเมืองเก่า ประสบกับสภาวะอ้างว้าง เงียบเหงา เมื่อคนเลือกที่จะจับจ่ายใช้สอย นัดพบปะสังสรรค์ และ ใช้เวลาในห้างและตลาดนัดนอกคูเมืองมากขึ้น เนื่องจาก มีกิจกรรมและพื้นที่นันทนาการที่แปลกใหม่ น่าสนใจ ตอบสนองความต้องการของยุคสมัย และดึงดูดกลุ่มคน ได้หลากหลาย จนอาจเรียกได้ว่า ห้างกลายเป็นพื้น กิจกรรมหลักในชีวิตประจ�ำวันอีกแห่งรองจากที่บ้านและ ที่ท�ำงานก็ว่าได้ ส่งผลให้พื้นที่เคยเป็นแหล่งการค้า แหล่งงาน หรือแม้ กระทั้งพื้นที่ทางสังคมมาตั้งแต่อดีตอย่างพื้นที่คูเมืองเก่า ซบเซาลง ด้วยเหตุที่ไม่มีคนเข้ามาท�ำกิจกรรม มาจับจ่าย ดังเดิม ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าหันไปประกอบอาชีพอื่นมาก ขึ้น หรือย้ายออกไปค้าขายตามตลาดนัดนอกคูเมืองมาก ขึ้น ประกอบกับธุรกิจที่พอเหลืออยู่ อาทิ ค้าส่ง เสื้อผ้า และอาหารและบริการ ก็ไม่แปลกใหม่และน่าสนใจพอที่ จะแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าและตลาดนัดรอบเมืองและ ดึงดูดคนให้กลับเข้ามาในพ้ืนที่คูเมืองได้ เป็นเหตุให้ อาคารในคูเมืองนั้นถูกปล่อยร้าง และมีการใช้ประโยชน์ อาคารอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ อย่างที่ควรเป็น จากปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น น�ำมาซึ่งการตั้งค�ำถามว่า ห้างคือศูนย์กลางของทุกกิจกรรมในชีวิตประจ�ำวันจริง หรือ? และสถานการณ์ที่โคราชก�ำลังประสบณ์อยู่นั้นก่อ ให้เกิดประสิทธิภาพและผลผลิตสูงสุดให้กับคนโคราช แล้วจริงหรือ? และเราจะท�ำอย่างไรให้แหล่งเศรษฐกิจ ท้องถิ่นของคนโคราชอย่างพื้นที่คูเมืองนั้นดีขึ้นควบคู่ไป กับสภาพความเป็นอยู่ที่ดี โดยเกิดเป็นแนวคิดที่ว่า เราจะ ท�ำอย่างไร ให้คนกลับมาใช้พื้นที่คูเมือง เพื่อเป็นการ กระตุ้นเศรษฐกิจของคนโคราชจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการ กลับมาเพื่อ ค้าขาย จับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจ�ำวัน หรือ เพื่อประกอบกิจกรรมอื่นๆทางสังคม และเราจะท�ำ อย่างไรให้แหล่งเศรษฐกิจท้องถิ่นของเมืองโคราชนั้นเกิด 232

ความยั่งยืน มีคนใช้พื้นที่อย่างเต็มศักยภาพตลอดเวลาจึง น�ำมาซึ่ง รูปแบบการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้า ท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัย (Work-Live)

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ เกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการนั้น ค�ำนึงจากบริบทท่ี่ตั้ง โดยรอบและพื้นที่ภายในโครงการหรือบริเวณพื้นที่ คูเมือง ความเชื่อมโยงและเชื่อมต่อทางด้านเศรษฐกิจ และ สังคมวัฒนธรรม ได้แก่ แหล่งที่อยู่อาศัยfirst place) แหล่งงาน (second place) และพื้นที่ นันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ สถานที่พบปะและ สถานที่ทางศาสนา (third place) เป็นต้น ตลอดจน ความเชื่อมต่อทางกายภาพ ได้แก่ ศูนย์กลางให้การ บริการขนส่งและคมนาคม ถนน ทางเดินเท้า เป็นต้น ประกอบกับการค�ำนึงถึงภาพรวมของแผนในการพัฒนา และปรับปรุงพื้นที่เมืองโคราช เพื่อก่อให้เกิดความต่อ เนื่องและส่งเสริมซึ่งกันและกันของโครงการอื่นๆในแผน พัฒนา


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่คูเมืองเก่า

บริบทของโครงการ บริบทของโครงการในพื้นที่คูเมืองรายล้อมด้วยย่านที่อยู่ อาศัย (first place) ที่กระจายตัวภายในบริเวณพื้นที่ คูเมือง และทางตอนใต้และตะวันออกของคูเมือง แหล่ง งาน หน่วยงานราชการและสถานศึกษา (second place) ที่อยู่บริเวณทางตอนเหนือและตะวันตกของ คูเมือง และห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่คู่โคราชอย่าง Klang Plaza สาขาแรก ที่เป็นทั้งแหล่งงานและสถานที่ พบปะ พักผ่อนหย่อนใจ (third place)ให้กับคนโคราช มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่กระจายตัวอยู่โดยรอบใน และนอกพื้นที่คูเมือง อีกทั้งบริเวณคูเมืองนั้นยังตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์กลางการขนส่งและคมนาคมที่ส�ำคัญระดับภูมิภาค อีกด้วยอาทิ สถานีขนส่งชุมทางจิระ สถานีขนส่งผู้โดยสา รนคราชศรีมาแหล่งที่ 1 (บขส.1) เป็นต้น จากบริบทข้าง ต้น ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่คูเมืองมีศักยภาพเหมาะสมในการ พัฒนาเพื่อเป็น พื้นที่ธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการ พัฒนาที่อยู่อาศัยในอนาคต

โดยพื้นที่โครงการโครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการ ค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่คูเมือง เก่า แบ่งออกเป็น 2 ต�ำแหน่งจากการคาดแนวโน้มและ วิเคราะห์แล้วว่ามีศักยภาพในการเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ใน การการเพิ่มปริมาณผู้ใช้งานทั้ง 3 ประเภทคือผู้ขาย ผู้ซื้อ และผู้อยู่อาศัย ได้แก่บริเวณแรกคือพื้นที่โดยรอบพื้นที่ ห้างสรรพสินค้า Klang Plaza เก่า บนถนนจอมพลที่ เป็นถนนที่มีการค้าขายตลอดเส้นและเป็นถนนเส้นส�ำคัญ ของการท่องเที่ยว บริเวณพื้นที่บนซ้ายจากการแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ที่จะเสนอให้พัฒนาเป็นย่านการค้าใหม่ ของคูเมืองเก่​่าในอนาคต และ บริเวณที่สองคือพื้นที่โดย รอบตลาดประตูผี บริเวณพื้นที่ล่างขวาของคูเมือง บริบท โดยรอบประกอบด้วยเป็นที่อยู่อาศัย หน่วยงานราชการ และสถานที่สาธารณะของชุมชน ที่จะเสนอให้เป็นย่าน การค้าชุมชน ของพื้นที่คูเมือง

233


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ จากบริบทรอบข้างและภายในพื้นที่โครงการทั้งสองที่มี พื้นที่อยู่อาศัย(first place) พื้นที่แหล่งงาน(second place) และพื้นที่นันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ สถานที่พบปะและสถานที่ทางศาสนา(third place) ครบและพร้อมภายในบริเวณพื้นที่ ประกอบกับและ ศักยภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเเรื่องของถนน หนทางที่เอื้อต่อการเข้าถึง สะดวกในการเดินทาง และ กิจกรรมทางการค้าที่มีเป็นทุนเดิมตั้งแต่อดีตมาจนถึง ปัจจุบัน ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ พหุ วัฒนธรรม ไทย จีน อินเดีย ที่ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นผ่าน ศาสนศถานในบริเวณพื้นที่คูเมือง แต่ยังคงสะท้อนผ่าน ประเภทตัวสินค้า ประเภทอาหารและบริการ ให้เราได้ เห็นกันทั่วพื้นที่คูเมือง เช่น ร้านขายเครื่องจักสานที่มีชื่อ เสียงของจังหวัด ร้านขายยาจีน ร้านขายผ้าของชาว อินเดีย ร้านผัดหมี่โคราชชื่อดัง และร้านอาหารจีน เป็นต้น ที่ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่โครงการที่เหมาะ สมที่จะถูกพัฒนาให้เป็น พื้นที่ธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสาน การพัฒนาที่อยู่อาศัย(Work-Live) ในอนาคต ที่มีกลิ่น อายของความเป็นอยู่และวัฒนธรรมที่หลากหลายเป็นจุด ขาย

234


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่คูเมืองเก่า

หลักการของย่านการค้าผสมผสานที่อยู่อาศัย คือ การ เพิ่มปริมาณของคน ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ และผู้อยู่อาศัยใน พื้นที่โครงการให้มากขึ้น และขยายช่วงเวลาการใช้งาน ภายในพื้นที่โครงการ ให้ทุกกลุ่มคนทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้ อยู่ศัย สามารถเข้าไปท�ำกิจกรรมในพื้นที่ให้ยาวนานขึ้น ประกอบกับการมีการจัดการด้านกิจกรรมและกายภาพที่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนทั้งสามกลุ่มนั้นสามารถอยู่ ร่วมกันและต่างส่งเสริมซึ่งกันและกันภายในพื้นที่ เพื่อ เป็นการเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้ถูกใช้ งานอย่างเต็มประสิทธิภาพและเป็นการกระตุ้นให้คนกลับ เข้ามา จับจ่ายใช้สอย ค้าขาย และอยู่อาศัยที่จะช่วย ท�ำให้พื้นที่คูเมืองเก่ากลับมามีสีสัน มีชีวิตชีวาดังอดีต ไม่ เงียบเหงา อ้างว้างเหมือนในปัจจุบัน

รายละเอียดโครงการ จากการพิจารณาตามความต้องการของประเภทผู้ใช้งาน ท�ำให้เราสามารถจ�ำแนกกิจกรรมในโครงการออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ กิจกรรมการค้าระดับย่าน(Commercial Node) กิจกรรมการค้าระดับพื้นที่(Mega magnet) กิจกรรมการค้าระดับชุมชน (Magnet) ซึ่งทั้ง3 ระดับจะ ท�ำให้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในแต่ละ ระดับ และส่งเสริมกิจกรรมด้านการค้าและสังคมซึ่งกัน และกันให้แก่พื้นที่คูเมือง กิจกรรมการค้าในระดับย่าน (Commercial Node) ที่ ถูกแบ่งออกเป็น 4 ย่านการค้า เพื่อเป็นสร้างแบรนด์และ ภาพในการจดจ�ำให้กับส่วนต่างๆของพื้นที่คูเมือง อัน ประกอบด้วย ย่านการค้าใหม่ ย่านกินดื่มและบริการ ย่านราชการและบริการชุมชน และย่านการค้าชุมชน กิจกรรมการค้าระดับพื้นที่ (Mega magnet) ที่ท�ำ หน้าที่กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการค้าระดับ ย่าน (Commercial Node) ตามที่ได้ก�ำหนดไว้ ได้แก่ Klang Plaza เก่า ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ย่านการค้าใหม่ และ ตลาดประตูผี ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ย่านการค้าชุมชน กิจกรรมการค้าระดับชุมชน (Magnet) ที่ท�ำหน้าที่ กระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมการค้าของคนในพื้นที่ ให้ ประกอบกิจกรรมการค้าที่ส่งเสริมกิจกรรมการค้าระดับ พื้นที่ (Mega magnet) เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและ ต่อเนื่องของประเภทธุรกิจการค้าในย่าน 235


มหานครโคราช 2040

กิจกรรมการค้า Klang Plaza ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ย่านการค้าใหม่ Klang Plaza จะท�ำ หน้าที่มากกว่าการเป็น ห้างสรรพสินค้า ให้คนเข้ามาจับ จ่ายใช้สอย(Retail) แต่จะเป็นพื้นที่ พบปะ พื้นที่ กิจกรรม (Common : Come Chat Chill Chew space) พื้นที่ชั้นล่างถูกเปลี่ยนให้เป็น พื้นที่กิจกรรม ทางการค้าและนันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจทั้งกลางแจ้ง และในร่มให้กับลูกค้าและคนในพื้นที่ได้เข้ามาใช้เวลาใน ห้างมากขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย และกลุ่ม ลูกค้าใหม่ อาทิ กลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการพื้นที่พบปะ พื้นที่แสดงความสามารถและความคิด หรือ พื้นที่ในการ ท�ำงาน เป็นต้น และพื้นที่สะท้อนความเป็น โคราช ในยุค สมัยใหม่ ที่ยังคงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของโคราชไว้ผ่าน พื้นที่ Creative Korat ที่รวบรวม สินค้า งานฝีมือของ คนโคราชทั้งในและนอกพื้นที่คูเมืองที่ได้มีการประยุกต์ และออกแบบให้ร่วมสมัย ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น มาจัดแสดงและเรียนรู้ผ่านการท�ำ workshop ที่จะเป็น อีกหนึ่งในการสืบทอดวัฒนธรรม และ Klang Food Court ที่จะรวบรวมร้านดังทั้งในและโดยรอบพื้นที่ คูเมืองมาให้ได้ลิ้มลอง

ตลาดประตูผี กิจกรรมการค้า ตลาดประตูผี (Mega magnet) ใน พื้นที่ยุทธศาสตร์ย่านการค้าชุมชน จากที่เป็นพื้นที่จับจ่าย ใช้สอยข้าวของในชีวิตประจ�ำวัน ทั้ง อาหาร ของสด เสื้อผ้า เป็นต้น จะถูกปรับให้เป็นพื้นที่ การค้าขายคู่พื้นที่ ทางสังคมเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจให้กับคนในพื้นที่มาก ขึ้น จากการสร้างความเชื่อมต่อทางกิจกรรมการค้า และ สังคมให้ต่อเนื่องไปยัง สวนสาธารณะข้างเคียง และเปิด พื้นที่ริมน�้ำ ด้วยพื้นที่ Food Corridor ให้สามารถ เข้าไปใช้ศักยภาพของพื้นที่ริมน�้ำมากขึ้นได้มากขึ้น และ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอีกด้วย จากการเพิ่ม กิจกรรมการค้าขายทางน�้ำ (ตลาดน�้ำ) และกิจกรรมการ ค้าประเภทการบริการให้มากขึ้น ในบริเวณด้านตะวันตก ของตลาดที่ ติดกับ สวนสาธารณะและพื้นที่ Food Corridor เพื่อเป็นการขยายกลุ่มลุกค้าใหม่ๆ และยังส่ง เสริมอาชีพให้กับคนในย่านอีกด้วย จากการขายสินค้า และบริการท้องถิ่น

กิจกรรมการค้าระดับชุมชน (Magnet) นอกจากการก�ำหนดประเภทของกิจกรรมการค้า เพื่อ 236


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่คูเมืองเก่า

เป็นการส่งเสริมกิจกรรมการค้าในระดับย่านและชุมชน ให้เกิดเอกภาพแล้ว ยังมีการออกแบรูปแบบมางกายภาพ และการใช้งานของอาคารที่มีการผสมผสานกันระหว่าง กิจกรรมการค้าและที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการเพิ่ม ปริมาณ กลุ่มผู้ใช้งานทั้ง 3 ประเภทดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นให้กับ พื้นที่คูเมืองอีกด้วย โดยลักษณะการถือครองอาคารและ ใช้ประโยชน์อาคารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อาคารที่ีมีการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างเจ้าของอาคาร เดิมและผู้เช่าเช่นในกรณี เจ้าของอาคารปล่อยให้เช่า พื้นที่อาคารชั้นหนึ่งและสองของอาคารเพื่อการค้าขาย และอยู่อาศัย โดยที่เจ้าของอาคารเองยังคงอาศัยอยู่ร่วม อาคารด้วย และมีรูปแบบทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ อาคาร ประเภท A, B, C และ D

กิจกรรมการค้า คลังพลาซ่า

อาคารที่มีผู้ถือครองเพียงรายเดียวและใช้ประโยชน์ อาคารเพียงผู้เดียว และมีรูปแบบการใช้งานอาคารตาม แบบอาคารประเภทE และมี 2 ลักษณะคือ เป็นการใช้ งานของเจ้าของอาคารเองทั้งอาคารและ ผู้เช่าเป็นผู้ใช้ งานทั้งอาคาร โดยอาคารทั้ง 5 ประเภท มีความต่างกันทางกายภาพ ตรงการเปิดพื้นที่ (space) ในชั้นล่างของอาคารและ การวางกิจกรรมการใช้งานในแต่ละชั้นของอาคารที่แตก ต่างกันออกไป เพื่อให้สอดคล้องกับความเข้มข้นของ กิจกรรมการใช้งานของบริบทรอบข้างอาคารนั้นๆ

กิจกรรมการค้า ตลาดประตูผี 237


มหานครโคราช 2040

การออกแบบและวางผังพื้นที่ย่านการค้าใหม่แบ่งออก เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือการพัฒนาปรับปรุงอาคารผสม ผสานการค้าและอยู่อาศัยในพื้นที่ให้สอดคล้องกับ กิจกรรมค้าขาย และการออกแบบและวางผังความเชื่อม ต่อทางกิจกรรมการค้าในพื้นที่ระหว่างMegaMagnetMagnet-Housing โดยมีหลักการในการกระตุ้นให้เกิด การพัฒนาดังต่อไปนี​ี้ 1. การปรับปรุงพื้นที่ Mega Magnet ของพื้นที่เพื่อเป็น การกระตุ้นกิจกรรมการค้าท้องถิ่นในพื้นที่ 2. การเปิดพื้นที่และการเข้าถึง (Flow circulation and space)เพื่อสร้างความเชื่อมต่อทางกิจกรรมการ ค้าและสังคมและเป็นการดึงดูดคนให้เข้ามาถึง Mega Magnet ให้มากขึ้นด้วยเพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย 3. การกระตุ้นกิจกรรมการค้าของอาคารที่อยู่บนเส้นทาง และพื้นที่สาธารณะที่เกิดจากข้อ2 โดยการเพิ่มกิจกรรม ทางสังคมและการค้าบนพื้นที่ดังกล่าว อาทิ การเพิ่มพื้นที่ สวนสาธารณะหรือพื้นที่จัดแสดงสินค้าหรือผลงาน บริเวณลานหน้าKlang Plazaที่เดิมเป็นที่จอดรถ และCreative Community เดิมเป็น อาคาร(underuse)ข้างKlang Plazas และอาคา หอพักต�ำรวจที่มีการเปิดชั้นล่างให้สาธารณะมากขึ้นโดย เพิ่มกิจกรรมการค้าเป็นต้น เพื่อเป็นการกระตุ้นอาคาร รอบๆให้ท�ำธุรกิจโดยใช้พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ล่อคน นั้นเอง การออกแบบและวางผังพื้นที่ย่านการค้าใหม่แบ่งออก เป็น 2 ส่วนหลักๆ เช่นเดียวกับ พื้นที่ย่านการค้าใหม่ คือ การ คือการพัฒนาปรับปรุงอาคารผสมผสานการค้าและ อยู่อาศัยในพื้นที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมค้าขาย และ การออกแบบและวางผังความเชื่อมต่อของกิจกรรมการ ค้าในพื้นที่ ระหว่าง MegaMagnet-MagnetHousing และส่งเสริมให้เกิดพื้นที่พบปะรวมกลุ่มทาง สังคมหรือเศรษฐกิจในระดับชุมชน นอกจากเป็นการ สร้างบรรยากาศที่น่าอยู่ ให้กับย่านที่อยู่อาศัย ยังเป็นการสร้างเอกลักษณ์และ ดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้กับย่านค้าขายชุมชน อีกด้วย โดยมีหลักการดังต่อไปนี้ 238

1.การปรับปรุงพื้นที่ Mega Magnet ของพื้นที่เพื่อ เป็นการกระตุ้นกิจกรรมการค้าท้องถิ่นในพื้นที่ 2.การเปิดพื้นที่และการเข้าถึง (Flow circulation and space) เพื่อสร้างความเชื่อมต่อทางกิจกรรมการ ค้าและสังคมและเพิ่มช่องทางในการเข้าถึง ตลาดประตูผี 3.การสร้างความเชื่อมต่อระหว่างตลอดประตูผีและสวน สาธารณะเพื่อสามารถเพิ่มแกนในการเชื่อมต่อให้กับ พื้นที่ 4.การกระตุ้นกิจกรรมการค้าของอาคารที่อยู่บนเส้นทาง และพื้นที่สาธารณะที่เกิดจากข้อ2 โดยการเพิ่มกิจกรรม ทางสังคมและการค้าบนพื้นสาธารณะเพื่อกระตุ้นให้เกิด การค้าและการรวมกลุ่มทางสังคมและเศรษฐกิจระดับ ชุมชนในพื้นที่ อาทิ การสร้าง Community space หรือ Pocket space ตามจุดตัดของแกนในพื้นที่ย่าน อยู่อาศัย


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่คูเมืองเก่า

อาคารพาณิชย์และบรรยากาศในแต่ละพื้นที่ย่านมีการ พิจารณาจากความต้องการของกลุ่มผู้ใช้และประเภทของ กิจกรรมการค้าที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ย่านนั้น ประกอบกัน ลักษณะอาคารใน ย่านการค้าใหม่ ที่มีการท�ำกิจกรรม เข้มข้นที่สุด (Active) มีผู้คนเข้าไปใช้พื้นที่ตลอดทั้งวัน และเป็นพื้นที่ ที่มีการใช้ประโชยชน์ทั้งที่ดินและอาคาร มากที่สุด อาคารส่วนใหญ่จึงมีลักษณะ ทะลุหน้าหลังได้ มีการเปิด space ชั้นล่างของอาคารบริเวณหัวมุมถนน เพื่อเปิดรับคน และมุมมองที่มีการเชื่อมต่อสู่พื้นที่ สาธารณะ ลักษณะ facade และ display เน้นเพื่อการ ค้าขาย เป็นกระจกที่สามารถมองเห็นสินค้าได้จากระยะ ไกล มีพื้นที​ี่หน้าร้าน ส�ำหรับการพบปะหรือนั่งพักชั่วคราวเพื่อตอบสนองกับ กลุ่มผู้ใช้ในพื้นที่ให้บริการ ย่านกินดื่มมีลักษณะและรูป แบบคล้ายกับย่านการค้าใหม่ที่กล่าวมาข้างต้น จากกลุ่ม ผู้ใช้งานที่ใกล้เคียงกัน แต่มีความเข้มข้นของกิจกรรม น้อยรองลงมา ไม่ได้มีการท�ำกิจกรรมครึกครื้นตลอดทั้ง วัน มีความเป็นส่วนตัวของแต่ละอาคารมากขึ้นจาก สัดส่วนผู้อยู่อาศัยที่มากกว่า ย่านราชการและการบริการ นั้นมีความเข้มข้นของตัวกิจกรรมน้อยลงมากจากย่านกิน

ดื่ม และประกอบประเภท ของกิจกรรมการค้า ที่เน้นของ ให้บริการ เช่น ร้านอาาร ร้านตัดผม และร้านรองเท้า ที่ ไม่ได้ต้องการความสาธารณะ มากเท่ากับ2ย่านข้างต้น ประกอบกับ สัดส่วนผู้อยู่อาศัยที่ มากขึ้นของย่าน จึงไม่ได้มีการปรับโครงสร้างอาคารมาก นัก คงสถาพความเป็นอยู่ของชุมชนไว้ เพื่อเป็นการสร้าง เอกลักษณ์ให้กับตัวย่าน เช่นเดียวกับย่านการค้าชุมชนที่ มีการคงพื้นที่อยู่อาศัยไว้มากที่สุด และต้องการขายจุด เด่นด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่ จึงมีการคงสภาพและรูป แบบอาคารที่ีมีเอกลักษณ์ไว้เช่น แนวตึกแถวและบ้าน เรือนไทยที่สร้างขึ้นด้วยไม้ เป็นต้น แต่มีหน้าร้านที่เอื้อต่อ การค้าขายมากกว่าย่านราชการที่เน้นการบริการเป็นหลัก แต่ยังคงบรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่ของที่อยู่อาศัย เพื่อเป้น จุดขายส�ำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่มีความ น่าค้นหาแต่ในทางกลับกันก็ไม่ยากต่อการเข้าถึง

239


มหานครโคราช 2040

โครงการกับอนาคตของโคราช สุดท้ายแล้วโครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้า ท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่คูเมือง เก่า (Korat Work-Live District) จะเป็นอีกหนึ่งส่วน ส�ำคัญที่มีส่วนช่วยผลักดันให้โคราชเป็น เมืองหลวงแห่ง อีสานในอนาคต ที่มีเชื่อมโยงระหว่างการใช้ชีวิตและ เศรษฐกิจอย่างสมดุล และช่วยเพิ่มทางเลือกในประกอบ อาชีพและการใช้ชีวิตที่ตอบรับสังคมและเศรษฐกิจที่ หลากหลายในอนาคต ให้บรรลุดังที่ก�ำหนดไว้ในวิสัย ทัศน์ ผ่านแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่คูเมืองเก่าให้เป็นย่าน การค้าท้องถิ่นคู่การอยู่อาศัย(Work-Live) ที่จะช่วย กระตุ้นการใช้ประโยชน์พื้นดินและอาคารให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่าน การพัฒนากิจกรรมการค้าในระดับย่าน(Commercial Node) ระดับพื้นที่ (Mega Magnet) และ ในระดับ ชุมชน (Magnet) และนอกจากการส่งเสริมเศรษฐกิจใน คูเมืองให้กลับมาครึกครื้นและมีสีสันอีกครั้ง ยังเป็นการ ช่วยส่งเสริมคุณภาพความเป็นอยู่ทางสังคม เพิ่มทาง เลือกในการใช้ชีวิต รักษาวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน และ 240

พัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกันอีกด้วย ผ่าน การสร้างพื้นที่สาธารณะที่ช่วยส่งเสริมและสร้างเม็ดเงิน ให้กับการค้าในพื้นที่

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ 0-5 ปี : A ปรับปรุงและฟื้นฟูกายภาพและกิจกรรมทางการค้า ห้าง Klang Plaza (เก่า)เพื่อรองรับย่านการค้าใหม่ในคู่ เมือง (mega magnet) B ปรับปรุงและฟื้นฟูกายภาพและกิจกรรมทางการค้า พื้นที่ตลาดประตูผีในคูเมืองเก่าเพื่อรองรับเป็นย่านการ ค้าชุมชนเพื่อส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่นและการท่อง เที่ยว(mega magnet) C สร้างกลไกกระตุ้นเอกชนรายใหม่และเก่าในพื้นที่ให้ เกิดธุรกิจการที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดย่านการค้าในคูเมือง ตามที่ได้เสนอไว้ ทั้ง 4 ย่าน 6-10 ปี :


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจการค้าท้องถิ่นผสานการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่คูเมืองเก่า

ที่ช่วยส่งเสริมค้าและความเชื่อมต่อ ระหว่าง mega magnet , magnet, local business (อาคารใน พื้นที่) และย่านที่อยู่อาศัยในย่าน

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ(Stakeholder) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องหลักกับโครงการ มีความเกี่ยวข้องหลักทั้งใน ด้านอ�ำนาจและการลงทุนโดยตรงกับโครงการ เพื่อให้ โครงการบรรลุดังเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่ ผู้ว่าราชการวัง หวัดและเทศบาลนครราชศรีมา เอกชนผู้ประกอบการ Klang Plaza และเอกชนทั้งเจ้าของอาคารและพื้นที่ใน บริเวณพื้นที่โครงการ และกลุ่มเอกชนร่วมลงทุนในพื้นที่ อาทิ Koratstartup เป็นต้น ผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ หรือผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียจากโครงการโดยตรง มีบทบาท และมีสิทธิมี เสียงในการร่วมแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ และรับรู้ ความเป็นไปของโครงการ ได้แก่ ประชาชนที่อยู่อาศัย และค้าขายในพื้นที่คูเมืองเก่า และสมาคมทางศาสนาใน พื้นที่ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (ไทย-จีน) และ ศาสนาซิกข์ เป็นต้น D ปรับปรุงและพัฒนาอาคารและพื้นที่ที่มีการใช้งานไม่ เต็มประสิทธิภาพเพื่อเป็น Magnet บริเวณพื้นที่ klang plaza และตลาดประตูผี ให้มีการใช้งานที่เต็ม ประสิทธิภาพและส่งเสริม Mega magnet การค้าใน ย่านคูเมืองเก่า E ปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเส้นทาง (Circulation and Space)ให้เกิดความเชื่อมต่อ ระหว่าง Mega magnet, Magnet ในย่าน และย่านที่ อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่โดยรอบ 11-15 ปี : F เสนอปรับปรุงกายภาพและกิจกรรมทางธุรกิจแก่ เจ้าของอาคารและพื้นที่ ในพื้นที่ย่านการค้าใหม่ และ ย่านการค้าชุนเพื่อรับฟังความคิดเห็นและร่วมหารือ G สร้างกลไลส่งเสริมเจ้าของอาคารและพื้นที่ ในพื้นที่ ย่านการค้าใหม่ และ ย่านการค้าชุน ให้เกิดการประกอบ ธุรกิจคู่ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ (Work-Live) H ปรับปรุงและฟื้นฟูอาคารและพื้นที่(local business)ในพื้นที่ย่านการค้าใหม่ และ ย่านการค้าชุน

ส่วนที่ 1 : การเสนอปรับปรุงพื้นที่และอาคารในพื้นที่ย่าน การค้าใหม่ ด�ำเนินการปรับปรุงโดย เสนอปรับปรุง อาคารและพื้นที่ห้าง Klang Plaza ด�ำเนินการโดย เอกชนผู้ประกอบการKlang Plaza และเอกชนที่ร่วม ลงทุนในโครงการ ส่วนการปรับปรุงอาคารและพื้นที่ ภายในย่า ด�ำเนินการโดย เอกชนเจ้าของอาคารที่ที่ดิน และเอกชนผู้ร่วมลงทุน (จึงไม่ได้มีการประเมินตัวเลข ราคาโครงการ) ส่วนที่ 2 : การเสนอปรับปรุงพื้นที่และอาคารในพื้นที่ ย่านการค้าชุมชน ด�ำเนินการปรับปรุงโดยภาครัฐในพื้นที่ เสนอปรับปรุงโครงสร้างตลาดประตูผี แบ่งออกเป็นตัว ตลาดและพื้นที่เชื่อมต่อสวนสาธารณะข้างเคียงและพื้นที่ ริมน�้ำ ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น ประมาณห้าสิบล้านบาท อ้างอิงจาก โครงการพัฒนาตลาดเทศบาลในเมือง สุพรรณบุรี ส่วนการปรับปรุงอาคารและพื้นที่ภายในย่าน ด�ำเนินการโดยเอกชนเจ้าของอาคารและพื้นที่ และ เอกชนผู้ร่วมลงทุน (จึงไม่ได้มีการประเมินตัวเลขราคา โครงการได้) 241


มหานครโคราช 2040

ร้านค้ารอบตลาดเเม่กิมเฮงเเละลานย่าโม ถ่ายโดย บุณยาพร กิ่งเพ็ชรรุ่งเรือง

242


13 โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่าน การค้าระดับเมือง

Korat Commercial District โดย บุณยาพร กิ่งเพ็ชรรุ่งเรือง

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการพัฒนาเเละฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมืองมีความตั้งใจที่จะตอบยุทธศาสตร์หลักทั้งหมด 2 ข้อดังที่ ได้กล่าวไว้ด้านบนเพื่อเป็นการผลักดันให้โคราชสามารถบรรลุเป้าหมายในด้านการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ เเละพัฒนาสู่ความเป็นมหานครเเห่งอีสาน โดยโครงการนี้มีความเชื่อมโยงกับโครงการอื่นๆในด้านเศรษฐกิจ อาทิเช่น โครงการปรับปรุงเเละส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีการเชื่อมโยงกันในเเง่ของการที่ โครงการเป็นหนึ่งในสถานที่ของการท่อง เที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยมีตลาดเเม่กิมเฮงเเละพื้นที่โดยรอบเป็นจุดมุ่งหมาย โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ โดยโครงการมีความเชื่อมกันในเเง่ของการที่โครงการเป็นพื้นที่ รองรับเเละสนับสนุนในการเป็นพื้นที่ขายสินค้าเเละบริการที่ตอบสนองกับคนที่เข้ามาใช้ในโครงการ พัฒนาพื้นที่นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ นอกจากนี​ี้โครงการพัฒนาเเละฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมืองยังมีความเชื่อมโยงกับโครงการอื่นๆ อาทิเช่น โครงการเพิ่มเเละปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ โดยตัวโครงการมีพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่ง สาธารณะเเละมีการวางให้การเข้าถึงหลักของโครงการผ่านทางระบบขนส่ง LRT หรือ Light rail transit เพื่อให้เกิดความสะดวกเเละส่งผลดีต่อเมืองในระยะยาวในเเง่ของสิ่งเเวดล้อม โครงการปรับปรุงเเละส่งเสริมการใช้ทางเท้าเเละพาหนะพลังงานสะอาด โดยโครงการมีความเชื่อมโยง กันในเเง่ของการจัดท�ำทางเท้าที่ส่งเสริมการเดินภายในพื้นที่ เพื่อท�ำให้พื้นที่ย่านการค้ากลายเป็นพื้นที่ เเห่งการเดินที่มีประสิทธิภาพ 243


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

ในปัจจุบันธุรกิจการค้าขาย พาณิชยกรรมต่างๆถือเป็น หนึ่งในปัจจัยส�ำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเเละคุณภาพ ชีวิตของคนในเมือง เมืองที่พัฒนาเเล้วส่วนใหญ่ล้วนเเต่มี ย่านการค้าที่คึกคักเเละมีคุณภาพเเละเป็นภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับเมือง อาทิเช่น Times square, New york หรือ Covent garden , London ซึ่งย่านการค้าที่ดี นั้นจะเป็นเเกนหลักส�ำคัญในการพัฒนาเมืองให้มีความ ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

เหตุผลในการเลือกที่ตั้งโครงการฟื้นฟูเเละพัฒนาย่าน การค้าระดับเมือง คือ ภายในพื้นที่ที่เลือกจัดตั้งโครงการ มีพาณิชยกรรมการค้าท้องถิ่นเดิมที่ส�ำคัญ อันได้เเก่ ตลาดเเม่กิมเฮงที่เป็นตลาดสดเดิมของพื้นที่ เป็นเเหล่ง ซื้อของเเละอาหารที่คนในโคราชมาซื้อเป็นประจ�ำ คลัง พลาซ่าที่เป็นห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นประจ�ำโคราช ซึ่งใน อดีตเคยเป็นเเหล่งซื้อของเเละพบปะที่ส�ำคัญของคนใน พื้นที่ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ติดกับพื้นที่ส�ำคัญอย่างลานท้าว สุรนารีที่เป็นจุดที่คนในโคราชเเละคนจากต่างอ�ำเภอเเวะ เวียนเข้ามาตลอดเวลา ท�ำให้เล็งเห็นถึงศักยภาพเเละ ความส�ำคัญในการเป็นพื้นที่ย่านการค้าระดับเมือง

ปัจจุบันสถานการณ์การค้าปลีกในตัวเมืองโคราชมีความ ซบเซาการค้าที่เจริญเติบโตมีท�ำเลที่ตั้งที่อยู่นอกใจกลาง เมือง เเละนอกจากนี้ยังมีคู่เเข่งที่เป็นเอกชนรายใหญ่มา ลงทุน เช่น เดอะมอลล์โคราช เทอมินอล 21 เเละ เซ็นทรัลพลาซ่าโคราช ท�ำให้พื้นที่ใจกลางเมืองที่อดีตเคย เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักที่ส�ำคัญเเละเป็นย่านการค้ามี ความซบเซา ทั้งที่พื้นที่ในตัวเมืองเองมีศักยภาพที่จะ เป็นย่านการค้าที่ดีของเมือง ธุรกิจท้องถิ่นเดิมเริ่มถยอย ปิดกิจการลง เกิดการปล่อยว่างของอาคารไม่มีการใช้ งาน ท�ำให้ภาพลักษณ์เเละพาณิชยกรรมของตัวเมือง โคราชมีความเเห้งเเล้งไม่น่าเดิน

นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างย่านเมืองใหม่ที่จะเกิด ขึ้นบริเวณสถานีรถไฟโคราช เเละพื้นที่ย่านเมืองเก่าใน คูเมือง จึงเหมาะที่จะจัดท�ำโครงการย่านการค้าที่เป็นตัว เชื่อมต่อย่านเมืองใหม่เเละเมืองเก่าเข้าด้วยกัน เเละเป็น พื้นที่รองรับการเกิดกิจกรรมของทั้ง 2 ย่าน

ดังนั้นจึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาเเละฟื้นฟูย่านการ ค้าระดับเมืองเพื่อที่จะฟื้นฟูพื้นที่พาณิชยกรรมการค้า ท้องถิ่นที่ส�ำคัญในตัวเมืองให้กลับมารุ่งเรือง สร้างภาพ ลักษณ์ที่ดีให้กลับเมืองโคราช นอกจากนี้ยังดึงดูดให้เกิด การลงทุนในด้านต่างๆ สร้างรายได้ให้กับเมืองเเละคนใน พื้นที่ ท�ำให้คนเข้ามาในตัวเมืองมากยิ่งขึ้น เป็นพื้นที่ที่ รองรับความต้องการ ตอบสนองการใช้จ่ายในชีวิตประจ�ำ วัน เเละเป็นพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการรวมตัวท�ำกิจกรรม ของคนทุกเพศทุกวัย

ตลาดเเม่กิมเฮงในปัจจุบัน ถ่ายโดย บุณยาพร กิ่งเพ็ชรรุ่งเรือง 244


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง

บริบทของโครงการ ที่ตั้งของโครงการฟื้นฟูเเละพัฒนาย่านการค้าระดับเมือง ตั้งอยู่บริเวณบล็อคที่ติดกับลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดยทางทิศเหนือติดกับถนน สุรนารี ทางทิศใต้ติดกับ ถนนจองสุรางค์ ทางทิศตะวันออกติดกับถนนราชด�ำเนิน เเละทิศตะวันตกติดกับถนน บัวรอง โดยบริเวณกลาง พื้นที่ถูกตัดด้วยถนน โพธิ์กลางมีพื้นที่โครงการโดยรวม กว่า 115,000 ตารางเมตร

ค้าขาย ชั้นบนเป็นที่เก็บของ ที่อยู่อาศัยหรือบางที่ก็ ปล่อยร้าง ร้านค้าที่เปิดขายมีความไม่ต่อเนื่องกัน เเละ ลักษณะทางเท้าภายในพื้นที่ไม่ค่อยเอื้อต่อการเดิน เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางตั้งบริเวณทางเท้า ลักษณะร่มเงาที่ ไม่ต่อเนื่องกันเเละภายในบล็อคมีลักษณะที่เข้าถึงได้ยาก

โดยรอบพื้นที่มีสถานที่ส�ำคัญมากมาย อาทิเช่น ลาน อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีวัดสะเเก วัดพายัพ วัดบึง(พระ อารามหลวง) วัดสุทธจินดา วัดหนองบัวรองพิพิธภัณฑ สถานเเห่งชาติมหาวีรวงศ์ เเละ ศาลากลางจังหวัด นครราชสีมานอกจากนี้ยังมีพื้นที่การเรียนรู้ที่จัดท�ำขึ้น เช่น TK PARK TK SQUARE เเละ ART GALLERY อาคารภายในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอาคารตึกเเถวสูง 3-5 ชั้น โดยลักษณะการใช้งานชั้นล่างเป็นพาณิชยกรรม 245


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ

ท�ำย่านการค้าพาณิชยกรรม

การจัดท�ำย่านการค้าในระดับเมืองนั้นมีความส�ำคัญต่อ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนเมืองในยุคปัจจุบัน เเนวคิด จึงมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาการใช้ที่ดินเเบบผสมผสาน (Mix-use developement) และสร้างกลไกของการ ผสมผสานระหว่างกิจกรรมการเดินเเละการค้า โดย ประกอบด้วยหลักการในการออกเเบบดังนี้

3. สภาพเเวดล้อม พื้นที่ย่านการค้าควรจะมีสภาพเเวดล้ อมที่ดีเพื่อส่งเสริมให้คนเข้ามาเดินภายในพื้นที เกิด ความเพลิดเพลินเเละใช้เวลาในย่านได้มากขึ้น

1. การเน้นความหลากหลายของร้านค้า เพื่อให้รองรับ ความต้องการของคนทุกกลุ่มคนเเละทุกช่วงวัย การที่มี ร้านค้าที่หลากหลายจะท�ำให้คนเกิดความสนใจเเละไม่น่า เบื่อเวลาเดินภายในย่าน นอกจากนี้ความหลากหลาย ของกิจกรรมในพื้นที่ก็มีส่วนด้วยเช่นกัน 2. การส่งเสริมให้เป็นย่านเเห่งการเดิน เนื่องจากการที่ เป็นพื้นที่เเห่งการเดินจะท�ำให้คนที่เข้ามาในพื้นที่ได้เกิด การใช้เวลาเเละมีปฎิสัมพันธ์กับพื้นที่มากกว่าการผ่าน โดยการใช้รถยนต์ หรือ จักรยานยนต์ จึงเป็นผลดีต่อการ 246

4. พื้นที่เชื่อมต่อ ย่านการค้าที่ดีจะต้องมีลักษณะพื้นที่ที่มี การเชื่อมต่ออย่างลื่นไหลเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินใน การใช้พื้นที่ 5. พื้นที่จอดรถ เป็นสิ่งที่ส�ำคัญในการจัดท�ำย่านการค้า เนื่องจากคนที่เข้ามาใช้บริการภายในพื้นที่เดินทางมา ด้วยรถยนต์หรือ จักรยานยนต์จึงจ�ำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ ส�ำหรับรองรับให้เพียงพอ 6. กิจกรรม โดยภายในย่านควรมพื้นที่ส�ำหรับการรวม ตัวหรือจัดกิจกรรมเพื่อดึงคนให้เข้ามาในพื้นที่ 7. ความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญเเละย่านการค้าที่มี


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง

ภาพลักษณ์ที่มีความปลอดภัยจะท�ำให้คนวางใจเเละเข้า มาใช้งานภายในพื้นที่มากขึ้น การจัดท�ำโครงการจึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเป็น community ให้กับย่านเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มคนที่หลาก หลายเข้ามาท�ำกิจกรรมภายในพื้นที่ เเละเกิดเป็นจุดขาย ของย่านท�ำให้ย่านเกิดความคึกคักอยู่ตลอดเวลา

รายละเอียดโครงการ ภายในโครงการเเบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ส่วนส�ำคัญ 1. ANCHOR ZONE หรือ จุดดึงดูดส�ำคัญ ได้เเก่ตลาด เเม่กิมเฮง ที่จะปรับปรุงใหม่ให้กลายเป็นFOOD HUB ส�ำคัญของโคราชที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง ภายใน ตลาดจะประกอบไปด้วย ตลาดสด ร้านอาหารถิ่นของ นครราชสีมา โรงเรียนสอนท�ำอาหาร (culinary school) ห้องครัวเเบบเเชร์พื้นที่ (incubation kitchen) เเละ การปลูกผักเเนวตั้ง (vertical

farming) คลังพลาซ่า จอมสุรางค์ ที่จะท�ำให้เป็นห้าง สรรพสินค้าท้องถิ่นที่เน้นพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น FAB LAB MEDIA LAB โรงเรียนกวดวิชา พื้นที่ ส�ำนักงานต่างๆ เเละ พื้นที่ co-working space 2.RETAIL ZONE หรือ พื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง ตลาด เเม่กิมเฮง กับคลังพลาซ่าเเละพื้นที่โดยรอบโดยร้านค้า ภายในพื้นที่จะเป็นร้านค้าที่ผสมผสานเข้ากับการบริการ ด้านอื่นๆไม่เป็นเพียงร้านขายของเพียงอย่างเดียว เพื่อ ท�ำให้เกิดการมีปฎิสัมพันธ์เเละตอบสนองกับเทรนการซื้อ ของออนไลน์ที่เข้ามา การออกเเบบโครงการมุ่งเน้นในการสร้างย่านการค้า ระดับเมืองให้สามารถรองรับการท�ำกิจกรรมต่างๆของ กลุ่มคนทุกเพศทุกวัย จึงได้น�ำหลักการเเละเเนวคิดที่ได้ กล่าวไว้ข้างต้นมาปรับใช้ในการออกเเบบพื้นที่ ประกอบ ไปด้วยหลักการ 7 ด้านดังนี้ 1. ความหลากหลาย โดยภายในโครงการจะมี 247


มหานครโคราช 2040

พาณิชยกรรมหลากหลายประเภท อาทิเช่นโรงเรียนสอน ท�ำอาหาร,ร้านอาหารที่ทันสมัยสวนเเนวตั้ง เเละ ตลาด อาหารสด ในบริเวณพื้นที่ตลาดแม่กิมเฮง ทั้งนี้ยังเกิด ร้านค้าเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในคูเมือง เก่า เช่น ร้านขายของฝากสินค้าที่ระลึกของเมืองโคราช โฮสเทล ร้านคาเฟ่ เป็นต้น และร้านค้าโดยผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ที่ใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ 2. ย่านแห่งการเดิน โดยเป็นการผลักดันให้เป็นย่านเเห่ งการเดินเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฎิสัมพันธ์กับย่าน มีการ ปรับปรุงการเข้าถึงภายในบล็อคให้สะดวกยิ่งขึ้น ขยาย ทางเดินเท้าเละตัดถนนใหม่ภายในบล็อค จัดท�ำเเนวต้น ไม้เเละโครงบังเเดด เพื่อให้สามารถเดินได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการจัดท�ำทางเดินใต้ตึกในบริเวณรอบ ตลาดเเม่กิมเฮงที่เป็นanchor หลักของโครงการ 3. สภาพแวดล้อม มีการจัดท�ำเเนวต้นไม้ เเละพื้นที่สี เขียวภายในโครงการเพื่อส่งเสริมสภาพเเวดล้อมที่ดี เเละ จัดท�ำทางเดินภายในโครงการให้มีความสวยงามเเละน่า เดิน นอกจากนี้ยังมีการจัดวางรูปเเบบอาคารให้มีความ ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินในการเดินภายใน ย่าน 248

4. พื้นที่เชื่อมต่อ โดยการวางตัวของอาคารจะมีการ วางตัวให้เป็นกลุ่มเเละสามารถเดินทะลุเข้าไปใช้พื้นที่ ด้านในบล็อคอาคารได้เเละยังมีการออกเเบบให้พื้นที่ที่ ติดกับ LRT เป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายเพื่อเข้ามาสู่ย่าน พาณิชยกรรมการค้า นอกจากนี้ยังวางทางเข้าออกย่าน ให้เชื่อมกับพื้นที่โดยรอบ 5. ที่จอดรถ ภายในโครงการมีพื้นที่จอดรถทั้งหมด 2 จุด โดยจะตั้งอยู่ที่คลังพลาซ่าเเละมีการจัดท�ำอาคารจอดรถ ใหม่บริเวณซ้ายล่างของโครงการ เพื่อรองรับผู้ที่จะมาใช้ งานในพื้นที่ให้สามารถเดินทางมาได้สะดวกเเละเพื่อส่ง เสริมให้เกิดเป็นย่านเเห่งการเดิน 6. กิจกรรม ภายในโครงการมีการออกเเบบให้เกิดพื้นที่ใน การท�ำกิจกรรมต่างๆ นอกอาคารเเละในอาคารโดยที่จะเน้น ไปที่พื้นที่ ที่มีการโอบล้อม อาทิเช่น พื้นที่ลานภายในตลาด เเม่กิมเฮง พื้นที่ระหว่างทางเดินหลัก พื้นที่ภายในบล็อค อาคารเป็นต้น 7. ความปลอดภัย โดยเน้นไปที่การออกเเบบให้ภายใน โครงการไม่เกิดพื้นที่ที่เป็นทางตันหรือพื้นที่ที่ไม่เกิดการใช้งาน เมื่อพื้นที่ทุกจุดมีการใช้งานก็จะท�ำให้เกิดความปลอดภัยใน โครงการมากขึ้น


ด้านการเพิProductivity ่มมูลค่าทางเศรษฐกิ - โครงการพั จ -โครงการพั ฒนาพืฒ ้นทีนาฟื ่รอบสถานี ้นฟูย่านการค้ รถไฟความเร็ าระดับเมืวอ สูง

249


มหานครโคราช 2040

250


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ -โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง

โครงการกับอนาคตของโคราช การจัดท�ำโครงการพัฒนาเเละฟื้นฟูย่านการค้าระดับ เมืองจะช่วยพลักดันให้โคราชเกิดการพัฒนาไปในวงกว้าง เนื่องจากการพัฒนาโครงการจะเกิดการกระตุ้นให้ เศรษฐกิจภายในตัวเมืองโคราชที่ซบเซาเกิดการความ คึกคัก เป็นการผลักดันเเละส่งเสริมพาณิชยกรรมท้องถิ่น เดิมเช่น ตลาดเเม่กิมเฮง เเละคลังพลาซ่าให้ฟื้นตัวกลับ มาอีกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดพาณิช ยกรรมที่หลากหลายเเละยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ที่ใช้นวัตกรรมเเละความคิดสร้างสรรค์มาปรับใช้ งานภายในพื้นที่ อีกทั้งการจัดท�ำโครงการจะท�ำให้เกิด การจ้างงานงานเป็นจ�ำนวนมาก ส่งเสริมให้คนในพื้นที่มี รายได้ เเละยังส่งเสริมให้เศรษฐกิจโดยรอบพื้นที่โครงการ เกิดการเติบโต โดยตัวพื้นที่โครงการมีศักษภาพที่จะเป็น จุดมุ่งหมายใหม่ในการมาเยือนของทั้งคนในโคราชเเละ นักท่องเที่ยวเป็นภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเมือง อีกทั้งยังเป็น พื้นที่ส�ำหรับรวมตัวท�ำกิจกรรม เเละการใช้ชีวิตประจ�ำวัน ของคนโคราช ตัวโครงการมีความเชื่อมโยงกับโครงการต่างๆ โดยเป็น จุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองใหม่ที่มีการจัดการท�ำโครงการ พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง เเละโครงการ พัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ กับเมืองเก่า ภายใน คูเมือง ที่มีการพัฒนาโครงการปรับปรุงเเละส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีการเชื่อมโยงกันในเเง่ของ กิจกรรมต่างๆที่สอดคล้องกัน อาทิเช่น การเป็นพื้นที่ท่อง เที่ยว เป็นพื้นที่ในการซื้อของเเละท�ำกิจกรรมในชีวิต ประจ�ำวันต่างๆ เมื่อโครงการจัดท�ำขึ้นจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ กับเมืองโคราช เเละกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางเศษรฐ กิจ เพิ่มพื้นที่การท�ำกิจกรรมเเละพื้นที่พบปะทางสังคมให้ กับประชาชนส่งเสริมสภาพเเวดล้อมที่สวยงามให้กับ พื้นที่ส�ำคัญในตัวเมือง อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ กลุ่มคนทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่อีกด้วย

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ การด�ำเนินงานโครงการ มีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 : เสนอแผนการปรับปรุงเเละขอความร่วมมือ จากผู้ประกอบการในพื้นที่เเละประชาชนโดยรอบ

ปรับปรุงพื้นที่กายภาพตลาดเเม่กิมเฮงเเละคลังพลาซ่า จอมสุรางค์ให้ตอบรับกับกิจกรรมใหม่ที่จะเข้ามา ปรับปรุงอาคารโดยรอบ ANCHORส�ำคัญใน พื้นที่ (ตลาดเเม่กิมเฮง คลังพลาซ่า ลานย่าโม ) ให้ตอบรับการ ใช้งาน สร้างเส้นทางเชื่อมต่อanchorส�ำคัญในพื้นที่ให้ สอดคล้องกัน (ตลาดเเม่กิมเฮง,คลังพลาซ่าย่าโม) เพื่อ กระตุ้นให้เกิดการเดินอย่างทั่วถึงภายในพื้นที่ ระยะที่ 2 : สร้างเเละปรับปรุงอาคารเเละพื้นที่โดยรอบ ให้กลายเป็นพื้นที่การค้าที่สามารถรองรับนักท่อง เที่ยว จ�ำนวนมากเเละ LRT ที่จะเข้ามาในพื้นที่ ระยะที่ 3 : ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมภายในพื้นที่เพื่อดึงดูด ให้คนเข้ามาใช้งานภายใน พื้นที่เป็นประจ�ำ เช่น การจัด งานเทศกาล งานเเสดงต่างๆ-ตรวจสอบเเละปรับปรุ งดูเเลรักษาโครงการ

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ การจัดท�ำโครงการพัฒนาเเละฟื้นฟูย่านการค้าระดับ เมืองมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการเเบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 กลุ่ม ประกอบไปด้วย 1. ผู้จัดท�ำโครงการ โดยจะเป็นผู้ที่ออกเงินจัดท�ำ โครงการให้เกิดขึ้นเเละได้รับผลประโยชน์จากการจัด ท�ำโครงการ รวมถึง เจ้าของคลังพลาซ่า และเจ้าของ ตลาดเเม่กิมเฮง 2. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดท�ำโครงการ รวมถึง เจ้าของตึกเดิม และเจ้าของพาณิชยกรรมโดยรอบ

ประเมินราคาโครงการ เอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยการจัดท�ำโครงการพัฒนาเเละ ฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมืองให้เกิดขึ้นจริงได้ ต้องเกิดการ ร่วมมือกันของผู้ประกอบการพาณิชยกรรมภายในพื้นที่ จัดตั้งเป็นพันธมิตรเพื่อผลักดันให้พื้นที่กลายเป็นย่านการ ค้าในระดับเมืองหรือ Business improvement distric (BID) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการท�ำกิจกรรม ทางการตลาดที่กระตุ้นยอดขายหรือการท่องเที่ยว รวม ไปถึงการร่วมมือกันรักษาสิ่งเเวดล้อมเเละความปลอดภัย ภายในพื้นที่ นอกจากนี้การรวมตัวกันยังช่วยในเรื่อง ความหลากหลายของสินค้าที่จะช่วยในการดึงดูดคน เเละง่ายต่อการขอความสนับสนุนจากภาครัฐอีกด้วย 251


มหานครโคราช 2040

ภาพถ่ายบริเวณสถานีนครราชสีมา

252


14 โครงการพัฒนาพื้นที่รอบ สถานีรถไฟความเร็วสูง

พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงให้เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมทาง เศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยมีพื้นที่ศูนย์ประชุมและย่านธุรกิจใหม่ โดย แทนใจ สาธิตปัตติพันธ์

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง (Korat Transit-Oriented Business District) เป็นโครงการที่ตอบยุทธศาสตร์ในด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยด�ำเนินการในพื้นที่ยุทธศาสตร์ คือ สถานีนครราชสีมา ที่ถูกผลักดันโดยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จากภาครัฐผ่านโครงการ รถไฟฟ้ารางคู่ และโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ร่วมด้วยพื้นที่รอบๆสถานีนครราชสีมา มีเป้าหมายเป็น พื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ของโคราช จึงเกิดโครงการด�ำเนินการนี้ขึ้นเพื่อตอบยุทธศาสตร์การผลักดัน ให้เกิดพื้นที่ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการยุคใหม่ เนื่องจากในอนาคตจะมีผู้ประกอบการราย ใหม่เข้ามาลงทุนและท�ำธุรกิจมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า ธุรกิจภาคการค้าการบริการและอุตสาหกรรมการเกษตรอีกด้วย ทั้งนี้โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงยังมีความเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาพื้นที่สถานี รถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่อง ที่เป็นการพัฒนาพื้นที่สถานีนครราชสีมา ให้รองรับการคมนาคน หลากหลายรูปแบบ และก�ำหนดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สถานีและพื้น ที่โดยรอบ นอกจากการพัฒนา พื้นที่โดยการใช้ประโยชน์ของพื้นที่แล้ว ยังมีโครงการอื่นที่มาเสริมให้พื้นที่รอบสถานีนคราชสีมามีการ พัฒนาได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างโครงการ พัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง โครงการเพิ่มและ ปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการใช้ทางเท้าและยานพาหนะ พลังงานสะอาด โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล และโครงการปรับปรุงและส่ง เสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

253


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ

ที่มาของโครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็ว สูง (Korat Transit-oriented Business District) เริ่มจากการที่จะท�ำอย่างไรให้โคราชมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ของจังหวัดสูงขึ้น ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจเป็นทางเลือก ที่ดีในการเพิ่มรายได้ให้โคราชได้อย่างมากมาย และนัก ท่องเที่ยวกลุ่มนี้เป็นนักท่องเที่ยวที่มีก�ำลังซื้อสูง โคราชจึง ควรมีการพัฒนาในด้านการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ เมื่อมาดู ศักยภาพของโคราช พบว่า โคราชมีศักยภาพในการเป็น MICE ระดับภูมิภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากอยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ และมีโครงการของภาครัฐ อย่างโครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิด ขึ้นในอนาคต ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังจีนได้ นอกเหนือ จากโครงการของภาครัฐแล้ว หากดูในองค์ประกอบของ MICE จะเห็นได้ว่าโคราชมีศักยภาพ ทั้งสถานที่ท่อง เที่ยวที่มีความหลากหลาย โรงแรมและสถานที่จัดการ ประชุมที่มีจ�ำนวนปานกลางในการรองรับในท่องเที่ยว และสามารถเดินเข้าสู่โคราชได้หลายวิธี ท�ำให้ในจุดนี้ โคราชมีความพร้อมในการเป็น MICE ระดับภูมิภาค อีก ทั้งเทศบาลนครราชสีมาได้มีการวางแผนไว้ว่าจะผลักดัน ให้โคราชเป็น MICE city ร่วมด้วยส�ำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการวางสถานี นครราชสีมาเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการคมนาคมและมี พื้นที่ศูนย์ประชุมอีกด้วย เมื่อมี MICE แล้วสิ่งที่ตามมาคือจะมีนักธุรกิจ นักลงทุน นักท่องเที่ยว เดินทางเข้ามาในโคราชมากขึ้นเพื่อมา ติดต่อทางธุรกิจและท่องเที่ยว พื้นที่โดยรอบของสถานี นครราชสีมาจึงมีการวางเป็นย่านธุรกิจใหม่ ที่เป็นพื้นที่ แห่งโอกาสในการพบปะ เพื่อติดต่อทางธุรกิจ และน�ำไป ต่อยอดต่อได้ ร่วมด้วยเป็นแหล่งงานใหม่ของโคราช ที่จะ มีอัตราการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในโคราชมี ศักยภาพทางธุรกิจสร้างสรรค์ เนื่องจากโคราชเป็นฐาน การผลิตของบริษัทรายใหญ่และรายย่อย มีมหาวิทยาลัย ต่างๆที่ร่วมกันผลิต คิดค้น เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งนี้โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง (Korat Transit-oriented Business District) จะ เป็นโครงการที่ช่วยให้รายได้ของโคราชเพิ่มมากขึ้น รวม ทั้งจะสามารถพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงให้ เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

254

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

พื้นที่เหมาะสมกับโครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ ความเร็วสูง (Korat Transit-oriented Business District) ที่ไปประกอบด้วย พื้นที่ศูนย์ประชุม พาณิช ยกรรม และส�ำนักงาน จะต้องเป็นพื้นที่เข้าถึงง่าย มี ศักยภาพในการพัฒนา มีทุนเดิมในการปรับปรุงหรือต่อย อดการพัฒนาได้ เป็นพื้นที่แสดงถึงภาพลักษณ์ของโคราช พื้นที่ที่มีศักยภาพดังที่กล่าวมา คือ พื้นที่รอบสถานี นครราชสีมา เนื่องจากเป็นพื้นที่ภาครัฐมีโครงการใน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อย่างโครงการ รถไฟฟ้ารางคู่ และโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง และ ส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการวางแผนให้สถานีนครราชสีมาเป็นพื้นที่เปลี่ยน ถ่ายการคมนาคมขนส่งหลายรูปแบบ ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถโดยสารปรับอากาศซึ่งเป็นการ คมนาคมระดับภูมิภาค และระบบขนส่งสาธารณะของ เมืองในระบบรางเบาและการขนส่งระบบรอง มีการ พัฒนาพื้นที่เป็นพื้น ที่พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย พื้นที่ สาธารณะ พื้นที่ศูนย์ประชุมและโรงแรมอีก นอกจากนี้ พื้นที่สถานีนครราชสีมาเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย จึงมีศักยภาพในการพัฒนาได้ง่าย ไม่ต้อง เวนคืนที่ดินของประชาชนทั่วไปเป็นจ�ำนวนมาก ด้วยเหตุ นี้สถานีนครราชสีมาจึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้ง ศูนย์ประชุมและจัดแสดง พาณิชยกรรมและโรงแรม พื้นที่โดยรอบสถานีนครราชสีมาเป็นพื้นที่แหล่งงาน เป็น ที่ตั้งของส�ำนักงานย่อยๆ ผู้ประกอบกิจการรายย่อย พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย และโรงแรม อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ ระหว่างถนนมิตรภาพและถนนมุขมนตรี ที่เป็นถนนสาย ประธานและสายหลักของโคราช ซึ่งมีศักยภาพในการ พัฒนาเป็นย่านธุรกิจใหม่ของโคราช ร่วมด้วยพื้นที่นี้เป็น เหมือนภาพลักษณ์ของโคราชที่ผู้คนจ�ำนวนมากจาก หลากหลายที่ ที่เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะจะพบเป็น พื้นที่แรก พื้นที่นี้จึงเป็นเหมือนพื้นที่แสดงถึงความเป็น โคราชและสร้างความประทับใจก่อนไปยังพื้นที่อื่น พื้นที่ รอบสถานีนครราชสีมาจึงเหมาะสมในการเป็นย่านธุรกิจ ใหม่ของโคราช ซึ่งอาจรวมไปถึงย่านธุรกิจของภาคตะวัน ออกเฉียงเหนืออีกด้วย


ด้านการเพิ่มมูลค่Productivity าทางเศรษฐกิจ - โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง

บริบทของโครงการ สถานีนครราชสีมาตั้งอยู่ที่ถนนมุขมนตรีที่เป็นถนนสาย หลักที่ตัดผ่านเขตชุมชนที่มีความหนาแน่นปานกลางใน เขตเทศบาลนครนครราชสีมาในทางทิศตะวันออก-ตะวัน ตก ขนานกับถนนมิตรภาพ และเชื่อมกับถนนโพธิ์กลางที่ มุ่งสู่คูเมืองเก่า บริเวณโดยรอบของสถานีนครราชสีมา ประกอบไปด้วย ทิศเหนือ บนถนนมุขมนตรีฝั่งตรงข้ามกับด้านหน้าของ สถานีนครราชสีมา เป็นย่านที่มีสาธารณูปการหลาย ประเภท ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนมารีย์วิทยา โรงเรียน เทศบาลวัดสมอราย วัดสมอราย อีกทั้งยังมีพาณิชยกร รมระดับเมืองและย่าน อย่างตลาดหัวรถไฟ และตลาดย่า โมเป็นตลาดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งที่ผู้คนนิยมมาจับจ่าย ใช้สอยรองจากตลาดแม่กิมเฮง นอกจากนี้ถนนด้านข้าง วัดสมอรายเป็นถนนที่เชื่อมไปยังถนนมิตรถาพที่เป็นที่ตั้ง ของเดอะมอลล์โคราช และเป็นแหล่งกระจุกตัวของ โรงแรมระดับ 3 ดาว

ทิศใต้ ด้านหลังของสถานีนครราชสีมาเป็นที่ของการ รถไฟ ประกอบด้วย บ้านพักของพนักงานการรถไฟ และ มีสาธารณูปการอื่นๆ อย่างวิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์ บริหาร ธุรกิจ โรงเรียนสามัคคีรถไฟ อารามนักพรตหญิง บ้านผู้สูงอายุ วัดป่าสาลวัน และที่ถนนเดชอุดม จะเป็น ชุมชนต่างๆและที่พักของทหารขนาดใหญ่ ทิศตะวันออก จากถนนมุขมนตรีผ่าน 5 แยกหัวรถไฟจะ เป็นที่ตั้งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเชื่อมไปยังถนน 3 เส้นที่มุ่งไปยังคูเมืองเก่า นั่นคือถนนสุรนารี ถนนโพธิ์ กลาง และถนนจอมสุรางค์ยาตร์ บนถนนทั้ง 3 เส้น จะ เป็นย่านพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัยและสาธารณูปการ ต่างๆ ทิศตะวันตก บนถนนมุขมนตรีเชื่อมไปยังถนนมิตรภาพ จะเป็นชุมชน ที่อยู่อาศัยหนาแน่นต�่ำ มีพาณิชยกรรมหลัก คือ ตลาด 100 ปี สาธารณูปการคือ วัดหนองจะบก วัด ใหม่อัมพวัน และสวนภูมิรักษ์เป็นสวนสาธารณะที่คนจาก ชุมชนโดยรอบมาออกก�ำลังกาย 255


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ

ภาพถ่ายบริเวณสถานีนครราชสีมา

ภาพถ่ายบริเวณบ้านพักพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ด้านหลังสถานีนครราชสีมา

256

โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงมี แนวคิดในการออกแบบ คือ การผสมผสานระหว่างความ มีเอกลักษณ์ดั้งเดิมและดิจิทัลในอนาคต อีกทั้งยังตอบรับ กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยแนวความคิดของเศรษฐกิจ สร้างสรรค์มีดังนี้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 4 ด้านด้วยกัน คือ มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ศิลปะ สื่อ งานสร้างสรรค์และออกแบบ ซึ่งในการจะเกิด สิ่งเหล่าได้จะต้องมีสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์จะดึงดูดให้ นักออกแบบสร้างสรรค์ ศิลปิน นักลงทุน และนักท่อง เที่ยว เข้ามาเพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยใน ระบบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะแบ่งออกเป็น สร้างสรรค์ - ผลิต - จ�ำหน่าย ในโครงการนี้จึงน�ำเอา ระบบนี้มากใช้ในการออกแบบ พื้นที่โครงการจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ Digital community, Cultural creative, Exhibition โดย ในส่วนของย่านธุรกิจใหม่จะเป็น Digital community และ Cultural creative เนื่องจากทั้งสองพื้นที่นี้จะถูก พัฒนาเป็นย่านธุรกิจสร้างสรรค์ที่มีระบบ สร้างสรรค์ - ผลิต - จ�ำหน่าย ในพื้นที่แรก คือ Digital community จะเกิดในบริเวณถนนที่เชื่อมระหว่างถนน มุขมนตรีกับถนนมิตรภาพด้านหน้าเดอะมอลล์โคราช ใน พื้นที่นี้จะเป็นการน�ำบริษัทที่ผลิตและคิดค้นเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมต่างๆมารวมกัน ทั้งที่มีฐานผลิตในโคราช และอาจจะมีส�ำนักงานที่กรุงเทพฯหรือจังหวัดอื่นๆ มา รวมกันเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ พื้นที่ต่อมาคือ Cultural creative ตรงบริเวณถนนมุขมนตรีเชื่อมไป ถนนโพธิ์กลาง ในพื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นโรงเรียน วัด และชุมชน เป็นการน�ำเอาเอกลักษณ์ดั้งเดิมในด้านต่างๆ ของโคราชมาผลิต จัดแสดง และจ�ำหน่าย เพื่อต่อยอด วัฒนธรรมและสร้างมูลค่าของสินค้า อีกทั้งยังเป็นโอกาส ที่นักท่องเที่ยวหรือนักลงทุนจะน�ำเอาเอกลักษณ์ของ โคราชไปเผยแพร่และต่อ ยอดได้ พื้นที่สุดท้ายคือพื้นที่จัด แสดง แนวคิดของพื้นที่นี้ คือ น�ำเอาผลผลิตจากทั้ง 2 พื้นที่รอบข้างและพื้นที่อื่นทั้งในโคราชหรือจังหวัดอื่นๆ มาจัดแสดงเพื่อเป็นการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ รวมทั้ง สามารถน�ำเอาผลผลิตมาต่อยอดได้ และเพิ่มโอกาสทาง ธุรกิจทั้งรายใหญ่และรายย่อย ในระดับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ - โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง

รายละเอียดโครงการ กิจกรรมภายในโครงการประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือศูนย์ประชุมและจัดแสดง อาคารพาณิชยกรรม และ โรงแรม โดยพื้นที่แรก คือ พื้นที่ศูนย์ประชุมและจัดแสดง จะเชื่อมจากสถานีรถไฟความเร็วสูงผ่านพื้นที่สีเขียวที่ เชื่อมไปยังที่พักทหารที่จะพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยหลาก หลายระดับรายได้ ภายในศูนย์ประชุมและจัดแสดง จะมี การใช้งานหลักๆ คือ เป็นพื้นที่จัดการประชุมทั้งระดับ ใหญ่และระดับย่อย จัดงานแสดงสินค้า โรงภาพยนต์และ โรงจัดการแสดง ร้านค้าทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านขาย สินค้าท้องถิ่น อีกทั้งยังมีห้องแสดงเทคโนโลยี ห้องสมุดที่ เป็นพื้นที่สาธารณะตั้งอยู่ทางด้านที่ติดพื้นที่สีเขียว เปิด ให้ผู้มาร่วมงาน นักท่องเที่ยว ชุมชน นักเรียน มาใช้งาน ร่วมกันได้

Resource center ผ่านทางเดินเชื่อมที่ชั้น 2 ของ อาคาร การใช้งานภายในอาคารจะประกอบด้วยร้านค้า ต่างๆ ที่รองรับทั้งผู้มาร่วมงาน นักท่องเที่ยวที่มาจาก สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง พื้นที่สุดท้าย คือ โรงแรมระดับ 4 ดาว เชื่อมกับอาคาร พาณิชกรรม โดยโรงแรมนี้จะรองรับนักธุรกิจ ผู้มาร่วม งาน และนักท่องเที่ยว ที่ต้องการความสะดวกสบายใน การเดินทางเนื่องจากอยู่ใกล้จุดเปลี่ยนถ่ายคมนาคม ทั้ง สถานีรถไฟความเร็วสูง สถานี LRT และสถานีขนส่งผู้ โดยสาร

พื้นที่ต่อมา คือ อาคารพาณิชยกรรม อยู่ใกล้กับ 5 แยก หัวรถไฟที่เชื่อมสู่พื้นที่คูเมืองเก่า อาคารพาณิชยกรรมนี้ เชื่อมกับศูนย์ประชุมและจัดแสดง โรงแรม และ 257


มหานครโคราช 2040

จากภาพทั้งหมดแสดงถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่สถานี รถไฟความเร็วสูง ศูนย์ประชุมและจัดแสดง พาณิชยกร รม และโรงแรม เริ่มจากสถานีรถไฟความเร็วสูง และ สถานี LRT เชื่อมกับศูนย์ประชุมและจัดแสดงโดยผ่าน พื้นที่สีเขียว เป็นที่พักผ่อนของทั้งคนในพื้นที่และผู้ที่เดิน ทางมายังโคราช ในส่วนพื้นที่ชั้น 1 ของศูนย์ประชุมและ จัดแสดงมีการใช้งานเป็นพื้นที่จัดแสดงงานและร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ อีกทั้งยังเป็น lobby ที่ต้อนรับผู้ที่มา ร่วมงานและนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาโดยขนส่ง สาธารณะและรถส่วนตัว ส่วนพื้นที่จอดรถนั้นในชั้น 1 สามารถรองรับได้ 100 คัน และเชื่อมต่อลงไปยังที่จอด รถชั้นใต้ดินที่รองรับได้รวม 2,000 คัน ทั้งนี้ศูนย์ประชุม และจัดแสดง จะต้องมีพื้นที่เปลี่ยนถ่ายและเก็บสินค้าเป็น พื้นที่ขนาดใหญ่ในทุกชั้นที่มีการประชุมและจัดแสดง นอกจากนี้มีการจัดการ การจราจรของรถในพื้นที่ที่จะมี การเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งคนเดิน รถส่วนตัว รถขนส่ง สาธารณะโดยการตัดถนนเพิ่มทางด้านหลังของสถานี นครราชสีมาเพื่อเป็นการระบายรถจากถนนมุขมนตรีซึ่งมี การจราจรหนาแน่นอยู่แล้ว ร่วมด้วยถนนระหว่างศูนย์ ประชุมและจัดแสดงกับอาคารพาณิชยกรรมและโรงแรม ที่ตัดเพิ่มเพื่อลดการจราจรและเพิ่มการเข้าถึงของผู้ที่มา 258

งานให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น ในส่วนของการเดินเท้านั้น จากสถานีรถไฟความเร็วสูงจะสา-มารถเดิมถึงกันได้หมด ทั้งบริเวณชั้น 1 และชั้น 2 โดยในชั้น 1 การเดินจะใช้ บริเวณด้านหน้าของ ศูนย์ประชุมและจัดแสดง และ อาคารพาณิชยกรรมเป็นหลัก ส่วนชั้น 2 จะสามารถเดิม เชื่อมกันได้โดยทางเดินลอยฟ้า เพื่อสร้างความปลอดภัย และความสะดวกสบายให้กับคนเดินเท้ามากยิ่งขึ้น


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ - โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง

259


มหานครโคราช 2040

โครงการกับอนาคตของโคราช โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง (Korat Transit-oriented Business District) จะเป็น โครงการที่น�ำพาโคราชไปสู่เป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจ ให้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดได้ ซึ่งโครงการนี้เป็น โครงการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ของเมือง ที่ใช้งบ ประมาณจ�ำนวนมากและใช้เวลาในการพัฒนา จึงต้องมี การค�ำนึงถึงการพัฒนาเป็นอย่างมาก อีกทั้งโครงการนี้ เชื่อมโยงกับโครงการอื่นๆ อีกหลายโครงการ ทั้ง โครงการที่ภาครัฐได้มีการวาง แผนไว้แล้ว และโครงการ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหานครโคราช 2040 ไม่ว่า จะเป็นการพัฒนาสถานีนครราชสีมาให้เป็นจุดเปลี่ยน ถ่ายการคมนาคมที่หลากหลาย การเชื่อมต่อการ คมนาคม การส่งเสริมพาณิชยกรรมรูปแบบใหม่ การ ท่องเที่ยวด้านต่างๆ และที่อยู่อาศัย ซึ่งโครงการทั้งหมด จะช่วยส่งเสริมกันในด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาที่มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การพัฒนาโครงการขนาด ใหญ่ย่อมส่งผลกระทบต่อเมืองในด้านต่างๆ ทั้งข้อดีและ 260

ข้อเสีย เมื่อโครงการนี้เกิดขึ้น ในทางด้านดี คือ เศรษฐกิจ ของเมืองจะเติบโตเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในด้าน พาณิชยกรรม การท่องเที่ยวเท่านั้น โครงการนี้ยังท�ำให้ เกิดการจ้างงานที่มากขึ้น ผู้คนทั้งในโคราชและจากที่ อื่นๆ จะเข้ามาท�ำงาน มาใช้ชีวิตในโคราชมากขึ้น แต่ใน ด้านดีย่อมมีด้านเสีย การที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามากขึ้น ย่อม เกิดการใช้ทรัพยากรมากขึ้นและจะต้องมีการจัดการที่ มากขึ้น ทั้งในด้านการไฟฟ้า น�้ำ การก�ำจัดของเสีย การ จัดการการจราจร นอกจากนี้ผู้คนในเมืองโคราชจะต้องมี การเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จะต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อก้าวไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน อนาคตของโคราชกับโครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี รถไฟความเร็วสูง (Korat Transit-oriented Business District) จะเป็นพื้นที่ที่คนจะนึกถึงเป็น อันดับแรกในการจะติดต่อหรือลงทุนทางธุรกิจในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยโครงการนี้จะเป็นด่านแรกใน การต้อนรับคนจากหลากหลายพื้นที่มาสู่โคราช และยัง เป็นพื้นที่แห่งโอกาสทางธุรกิจ ที่พร้อมจะพัฒนาต่อยอด


ด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ - โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง

ไปได้เรื่อยๆ ไม่เพียงแต่การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ ความเร็วสูงเท่านั้น โครงการนี้ยังเป็นโครงการที่น�ำการ พัฒนาในด้านเศรษฐกิจของพื้นที่อื่น ที่เชื่อมต่อกับสถานี รถไฟความเร็วสูงของโคราชอีกด้วย

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ ระยะแรก ปีที่ 0-5 : ในระยะแรกจะเป็นการสร้าง และปรับปรุงองค์ประกอบของ MICE ก่อนเพื่อดึงดูด การลงทุนและนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ อีกทั้ง MICE เป็นการลงทุนที่สูงแต่ได้รับผลตอบแทนที่มาก เช่นกัน จึงควรเริ่มการด�ำเนินการก่อน ซึ่งมีการ ด�ำเนินการ ดังนี้ • สร้างพื้นที่ธุรกิจไมซ์บริเวณสถานีนครราชสีมา • ปรับปรุงคุณภาพของโรงแรมและสถานที่จัดการ ประชุม • พัฒนาและยกระดับการจัดงานไมซ์ • ส่งเสริมและสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวหลังการ ประชุม ระยะที่สอง ปีที่ 6-10 : ระยะที่สองเป็นการต่อยอด จาก MICE คือเมื่อสร้างและปรับ ปรุง MICE เรียบร้อยแล้วจะเป็นโอกาสให้เกิดการลงทุนย่าน ธุรกิจใหม่ขึ้นมา ซึ่งมีการด�ำเนินการ ดังนี้ • สร้างพื้นที่ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจในย่านธุรกิจ ใหม่ • เปิดให้นักลงทุนเข้ามาท�ำธุรกิจและเช่าพื้นที่ท�ำ บริษัท • พัฒนาช่องทางการตลาด • สร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ไปยังผู้บริโภค • เตรียมโครงสร้างพื้นฐานรองรับดิจิทัลต่างๆ ระยะที่สาม ปีที่ 11-15 : ในระยะนี้เป็นการน�ำ เทคโนโลยีมาใช้ในพื้นที่ เพื่อเพิ่มประ สิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งมีการด�ำเนินการ ดังนี้ • ส่งเสริมการใช้ดิจิทัลทั่วทั้งพื้นที่

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ

• ส�ำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) : ก�ำหนดมาตรฐาน ดูแล และสนับสนุน ส่งเสริม MICE • MICE korat : ช่วยสนับสนุนและผลักดันการเกิด MICE ในโคราช • การรถไฟแห่งประเทศไทย : พื้นที่โครงการที่เกิด ขึ้นเป็นที่ดินของการรถไฟ • ภาคเอกชนผู้ร่วมลงทุนในพื้นที่ : เป็นผู้เข้ามา ลงทุนให้เกิดโครงการขึ้นจริงได้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ ได้แก่ • ประชาชนทั้งในและรอบพื้นที่ : อาจถูกเวนคืน พื้นที่และต้องเตรียมตัวกับคนที่เข้ามา • ผู้ประกอบการธุรกิจ : ลงทุนท�ำธุรกิจและปรับตัวสู่ ความเป็นย่านธุรกิจใหม่ของโคราช

ประเมินราคาโครงการ พื้นที่แรก พื้นที่ศูนย์ประชุมและจัดแสดง เป็นการร่วม ลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในที่ดินของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย โดยราคาโครงการประมาณ 5,000 ล้าน บาท (อ้างอิงราคาจากการก่อสร้างศูนย์ประชุมสิริกิติ์เฟส ใหม่) พื้นที่ที่สอง โรงแรมและอาคารพาณิชยกรรม เป็นการ ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในที่ดินของการรถไฟ แห่งประเทศไทยเช่นกัน ราคาโครงการประมาณ 2,000 ล้านบาท พื้นที่ที่สาม ย่านธุรกิจใหม่ เอกชนเป็นผู้ลงทุนในการ ก่อสร้างทั้งหมด ส่วนภาครัฐจะท�ำ การปรับปรุงทางเท้า และการขนส่งสาธารณะต่างๆ โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง เป็น โครงการที่มีการลงทุนมากแต่ผลตอบ แทนสูงเช่นกัน อีก ทั้งยังเป็นโครงการที่ได้ผลตอบแทนเร็วและช่วยส่งเสริม และสนับสนุนกิจ กรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถกระตุ้น เศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว

ผู้ลงทุนหลักในโครงการ ได้แก่ • เทศบาลนครราชสีมา : เป็นองค์กรในการวางแผน พัฒนาพื้นที่และบังคับใช้ 261


มหานครโคราช 2040

262


15 โครงการพัฒนาพื้นที่ สาธารณะทางสุขภาวะ Korat Healthy Spaces โดย ชัชนก อิทธิอมรเลิศ

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หลัก โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะมีจุดประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีิวิตของชาวเมืองโคราช ผ่านการพัฒนาพื้นที่โล่งว่าง พื้นที่จอดรถ เเละพื้นที่ที่ยังไม่มีการการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เต็มประสิทธิภาพ โดยจากการศึกษาพื้นที่สาธารณะในตัวเมืองโคราชปัจจุบันมีผู้ใช้งานที่ลดลงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเข้ามาของเอกชนรายใหญ่พัฒนาห้างสรรพสินค้า พื้นที่สาธารณะเดิมไม่มีประสิทธิภาพเเละล�ำบาก ในการเข้าถึงท�ำให้เราจ�ำเป็นที่จะต้องพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อดึงดูดคนให้กลับเข้ามาใช้งานเพื่อเสริม สร้างให้เกิดการใช้พื้นที่ให้เต็มประสิทธิภาพเเละยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนเมืองโคราช โดยในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเราไม่สามารถมองการพัฒนาให้เป็นมิติเดียวได้ เนื่องจากปัจจัยที่ท�ำให้ คนใช้งานพื้นที่สาธารณะไม่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของพื้นที่สาธารณะอย่างเดียวเเต่รวมไปถึง ความสะดวก ความปลอดภัย เเละความน่าใช้งานของพื้นที่รอบข้าง ท�ำให้ในการพัฒนายุทธศาสตร์มียุทธศาสตร์หลักๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน ประกอบด้วย ด้านการเชื่อมโยง เน้นในเรื่องการเพิ่มความสะดวกเเละปลอดภัยสาธารณะ ผ่านการเพิ่มโครงข่ายขนส่ง สาธารณะ การส่งเสริมการใช้ทางเท้า และการควบคุมยานพาหนะส่วนตัว ด้านเศรษฐกิจเเละการยกระดับคุณภาพชีวิต เน้นในเรื่องการเพิ่มความหนาเเน่นของกิจกรรมเพื่อส่งเสริม ความปลอดภัยเเละความน่าใช้ ผ่านการพัฒนาการค้า การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การพัฒนา ที่อยู่อาศัย และการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ(พื้นที่เรียนรู้ พื้นที่ทางสังคม พื้นที่มรดกวัฒนธรรม)

263


มหานครโคราช 2040

ที่มาและแนวความคิดของโครงการ

เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

เมืองสุขภาวะ หมายถึง เมืองที่เอื้ออํานวยต่อการสร้าง ภาวะแห่งการมีความสุข

พื้นที่สาธารณะสามารถดึงดูดคนจ�ำนวนมากในเวลาที่ แตกต่างกัน ซึ่งท�ำให้มีความส�ำคัญที่พื้นที่จะมีการรวม การใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านค้า และสถาน ที่แสดงดนตรี การรวมกันของการใช้งานต่างๆนี้จะท�ำให้ พื้นที่สาธารณะสามารถกลายเป็นพื้นที่ศูนย์กลางในเมือง ได้โดยความหลากหลายของการใช้งานจะท�ำให้เกิดผู้ใช้ งานที่หลากหลายและยกระดับความเป็นเมืองของสถาน ที่ ซึ่งเกณฑ์ในการตั้งพื้นที่สาธารณะควรเป็นพื้นที่ที่ความ หนาเเน่นของกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นเเหล่งงานหรือที่อยู่ อาศัย นอกจากนี้ยังต้องสามารถเข้าถึงสะดวกอาจเข้าถึง ได้จากการเดินหรือขนส่งสาธารณะ มีความปลอดภัยจาก การเข้าไปใช้งานพื้นที่

ให้กับประชากรเมือง ทั้งด้าน สุขภาพกายและสุขภาพจิต ประชากรเมืองมีร่างกายที่แข็งแรงและมีความสุขทาง จิตใจภายใต้บริบทของความเป็นอยู่แบบเมือง ปัจจุบันอ้างอิงจากจ�ำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลจังหวัก นครราชสีมาพบว่า โรคส่วนใหญ่ที่พบคือโรคเกี่ยวกับ ระบบไหลเวียนเลือดซึ่งมีสาเหตุจากการขาดความรู้เเละ พื้นที่ทางสุขภาวะเนื่องจากโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่เเละ ความรู้ทางสุขภาวะมีน้อย วิถีชีวิตนั่งๆนอน เเละการเพิ่ม ขึ้นของวัยท�ำงานเเละผู้สูงอายุโดยจากการคาดการณ์ ประชากร ในปี2575 อาชีพส่วนใหญ่ในโคราชคือ การ ศึกษา ธุรกิจค้าขายเเละรับจ้าง ท�ำให้จ�ำเป็นที่จะต้อง พัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อยกระดับสุขภาพของคนเมือง โคราชทั้งในด้านร่างกายเเละจิตใจ เเละจากการที่โคราช เข้าสู้สังคมของวัยท�ำงานท�ำให้คนส่วนใหญ่ที่มีความ ต้องการในพื้นที่สาธารณะกระจุกตัวในพื้นที่เมือง เนื่องจากเมืองเป็นศูนย์กลางของเเหล่งงานเเละที่อยู่ อาศัยท�ำให้ที่ตั้งของโครงการจะเน้นพัฒนาในพื้นที่เมือง เป็นหลัก โดยหลักในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเราได้ น�ำเเนวคิดของเมืองโคเปนเฮเกนในการน�ำกีฬามาเป็น ส่วนหนึ่งในการด�ำเนินชีวิต ซึ่งจากความเป็นปัจเจกของ บุคคลที่เพิ่มขึ้น กีฬาไม่ใช่เเค่เรื่องของนักกีฬาอีกต่อไป กีฬากลายเป็นเรื่องของทุกคนมากขึ้น พื้นที่กีฬาไม่ได้เป็น เเเค่เรื่องของการออกก�ำลังกายเเต่พื้นที่กีฬากลายเป็น พื้นที่สาธารณะที่สนับสนุบการพบปะ อีกทั้งยังดึงดูด กิจกรรมเชิงพาณิชย์ให้เข้ามาเปิดในบริเวณใกล้พื้นที่ สาธารณะ โดยการพัฒนาโครงการนี้นอกจากจะช่วยยก ระดับสุขภาพคนเมืองโคราชเเล้วโครงการการนี้ยังช่วยส่ง เสริมการพัฒนาสังคมอีกด้วย

264

โดยหลังจากการศึกษาพื้นที่เมืองโคราชผ่าน ข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นการซ้อนทับของกิจกรรม เเผนที่ เเสดงการกระจุกตัว เเผนที่เเสดงเเปลงที่ดิน พื้นที่ สาธารณะเดิม เเละข้อมูลเเผนที่ good walk ท�ำให้ สามารถเลือกพื้นที่ที่ศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ทาง สุขภาวะ 3 จุด ได้เเก่ 1. คูเมืองเดิม 2. พื้นที่บริเวณสวน บุ่งตาหลั่ว 3. พื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัย ซึ่งหลังจากการ ส�ำรวจพื้นที่ท�ำให้สามารถเลือกพื้นที่ที่จะท�ำการ พัฒนาเเบ่งเป็น Urban playground/therapy center พัฒนาอยู่ใน พื้นที่ว่างเเละที่จอดรถ Urban sport hub ตั้งอยู่ที่สนามกีฬาค่ายสุรนารีเนื่อง จากมีเเปลงที่ใหญ่เเละเป็นเจ้าขแงเดียวเเละใกล้กับสวน บุ่งตาหลั่วที่มีความหนาเเน่นของการกระจุกตัวเยอะใน ปัจจุบัน


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต -โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ

บริบทของโครงการ บริบทปัจจุบันจากการตรวจสอบพบว่าในเมืองโคราชมี พื้นที่ว่าง พื้นที่เเละอาคารที่ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อยู่มาก พื้นที่ว่างหรือพื้นที่สาธารณะปัจจุบันมีการใช้ประ โยชน์รูปเเบบเดียว เช่น สนามเด็กเล่นเดี่ยวๆ ลานจอด รถ ท�ำให้คนไม่กล้าหรือไม่ค่อยอยากจะใช้งาน ซึ่ง โครงการที่เราท�ำประกอบไปด้วยกัน 3 ที่ ได้เเก่ พื้นที่ คูเมือง สนามกีฬาค่ายสุรนารี โรงเรียนเทศบาล 1. พื้นที่คูเมือง : บริบทของพื้นที่คูเมืองปัจจุบัน คือ คน เริ่มย้ายออกเนื่องจากการพัฒนาของเอกชนส่วนใหญ่ พัฒนาที่บริเวณด้านนอก ท�ำให้คูเมืองเดิมเริ่มตาย อีกทั้ง จากกายภาพของคูเมืองที่มีลานจอดรถ เเละที่ว่างเยอะ เเต่ไม่มีการท�ำพื้นที่สาธารณะท�ำให้พอหลังเวลางานเมือง จะร้างเพราะไม่มีกิจกรรมหลังเลิกงานท�ำโดยการพัฒนา ของเรา เราจะเน้นในการพัฒนาพื้นที่ลานสร้างเป็นพื้นที่ สาธารณะที่มีการใช้ประโยชน์อย่างผสมผสานมีการรวม เอากิจกรรมการออกก�ำลังกายรวมเข้ากับกิจกรรมการค้า เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้พื้นที่สาธารณะมากขึ้น

2. พื้นที่สนามกีฬาค่ายสุรนารี : บริบทปัจจุบันพื้นที่เป็น พื้นที่ของกรมธนารักษ์ท�ำให้การพัฒนาพื้นที่กีฬานี้อาจ เป็นไปด้วยยาก เเต่ด้วยศักยภาพของพื้นที่ที่มีพื้นที่ สาธารณะขนาดใหญ่อย่างบุ่งตาหลั่ว สนามกีฬาเเข่งม้า อยู่ใกล้ อีกทั้งจากการเข้ามาของรถไฟฟ้าท�ำให้พื้นที่นี้ เหมาะที่จะพัฒนาให้เป็นพื้นที่ศูนย์กลางกีฬา ที่มีการรวม ตัวกันของกีฬาหลายชนิด สามารถเปิดให้มีการจัดเเข่ งกีฬาเเละเป็นพื้นที่สาธารณะระดับเมืองให้เเก่โคราช นอกจากนี้ยังอาจเป็นหมุดหมายใหม่ส�ำหรับนักท่องเที่ยว ในอนาคตอีกด้วย 3. พื้นที่สนามกีฬาเทศบาล : ปัจจุบันในตัวเมืองเมือง โคราชบางโรงเรียนไม่ได้เป็นเเค่พื้นที่ส�ำหรับนักเรียนเท่า นั้นเเต่พื้นที่โรงเรียนยังเป็นพื้นที่สาธารณะให้เเก่คนใน ย่านอีกด้วย ท�ำให้เกิดความคิดที่จะน�ำเเนวคิดนี้ไปพัฒนา ในพื้นที่อื่นๆ ในบริเวณนอกตัวเมืองโคราช ซึ่งในเเต่ละ ย่านจะมีการยืดขยายเวลาปิดของโรงเรียนเดิมเพื่อใช้เป็น พื้นที่สาธารณะหลังเวลาเรียนหรือท�ำงานส�ำหรับย่านนั้น

265


มหานครโคราช 2040

แนวความคิดในการออกแบบ พื้นที่ที่ในการออกเเบบมีอยู่ 2 พื้นที่ คือ พื้นที่บริเวณคู เมืองเเเละพื้นที่สนามกีฬาค่ายสุรนารี โดยพื้นที่บริเวณ คูเมืองสามารถเเบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ urban playground เเละ therapy center โดยในการ ออกเเบบพื้นที่บริเวณคูเมืองได้เลือกพื้นที่ที่สามารถพบ ได้ทั่วไปในบริเวณคูเมือง ได้เเก่ พื้นที่ว่าง พื้นที่จอดรถ เเละ ธนาคาร stand alone ซึ่งในการออกเเบบ urban playground(สนามเล่นเมือง) ได้ท�ำการ ออกเเบบในพื้นที่จอดรถซึ่งมีการใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็ม ประสิทธิภาพเเละท�ำให้พื้นที่ขาดกัน โดยในการออกเเบบ เราได้ท�ำการทลายรั้วเพื่อเชื่อมเนื้อเมืองเเละท�ำการใส่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการออกก�ำลังกายรวมถึงกิจกรรมเชิง พาณิชย์เข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากปัจจุบันสาเหตุที่คนไม่ใช้ พื้นที่สาธารณะในโคราชมาจากการที่พื้นที่เปลี่ยว เเละ ประเภทของกิจกรรมมีน้อย จากการใช้งานพื้นที่เเบบ ผสมผสาน จะท�ำให้คนอยากที่เข้ามาใช้งานในพื้นที่มาก ยิ่งขึ้น โดยหลักการนี้เราจะน�ำไปใช้กับการการออกเเบบ therapy center (ศูนย์สุขภาวะเมือง) ด้วย เเต่จะมี เพิ่มในเรื่องของการปรับปรุงสภาพอาคารด้านหน้าเพื่อ ให้คนอยากใช้พื้นที่สาธารณะข้างหลัง ซึ่งพื้นที่ในกรณี ศึกษาครั้งนี้เลือกพื้นที่ธนาคาร stand alone ที่พบได้ ทั​ั่วไปในโคราช จากการดูเเนวโน้มการพัฒนาท�ำให้พื้นที่ เหล่านี้มีเเนวโน้มลดลง เเละจะไปกระจุกตัวอยู่ที่เดียวใน อนาคต ท�ำให้พื้นที่นี้มีศักยภาพในการพัฒนาต่อเมื่อ ธนาคารปิดตัวลงเเละไม่มีการใช้งาน ท�ำให้มีโอกาสที่จะ เปลี่ยนเป็นพื้นที่สาธารณะส�ำหรับชุมชนได้ นอกจาการอ อกเเบพื้นที่สาธารณะในคูเมืองที่เป็นระดับชุมชนเเล้ว การออกเเบบพื้นที่สนามกีฬาค่ายสุรนารีเราจะท�ำการ ออกเเบบให้เป็นพื้นที่สาธารณะระดับเมือง โดยในตัว พื้นที่ปัจจุบันคนไม่ค่อยที่จะเข้ามาใช้งานเนื่องจากความ หนาเเน่นของกิจกรรมในพื้นที่ไม่มากพอ โดยในการอ อกเเบบเราได้ท�ำการเพิ่มความหนาเเน่นของกิจกรรมจาก การสร้างพื้นที่กีฬาให้สามารถท�ำการจัดเเข่งได้ เเละนอก เหนือเวลาการเเข้งพื้นที่ยังเปิดให้เป็นพื้นที่สาธารณะให้ คนเข้ามาใช้งาน อาคารกีฬาเดิมที่มีกีฬาชนิดเดียวต่อ หนึ่งอาคารได้เปลี่ยนเป็น sport complex ที่มีการใช้ งานหลายประเภทในตึกๆเดียวโดยในการพัฒนาพื้นที่นี้ นอกจากจะยกระดับสุขภาพคนเมืองเเล้วตัวพื้นที่ยังอาจ เป็นหมุดหมายใหม่ส�ำหรับการท่องเที่ยวอีกด้วย 266


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต -โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ

267


มหานครโคราช 2040

รายละเอียดโครงการ กิจกรรมในโครงการเนื่องจากสาเหตุปัจจุบันที่คนไม่ เข้าไปใช้งานพื้นที่สาธารณะมาจากการที่พื้นที่ไม่มีความ หลากหลายของกิจกรรมที่มากพอท�ำให้คนไม่อยากที่จะ มาใช้งาน ท�ำให้ในการออกเเบบพื้นที่โครงการเราได้ ท�ำการใส่การใช้ประโยชน์ที่มีความหลากหลายเเละท�ำให้ คนทุกวัยสามาถเข้ามาใช้งานได้เเต่จะมีการให้ความสน ใจในเเต่ละช่วงวัยไม่เหมือนกัน เเบ่งเป็น 3 พื้นที่ 1. Urban playground (พื้นที่ออกก�ำลังกายส�ำหรับ ชุมชน) เป็นพื้นที่ที่เน้นการพักผ่อนในเชิงกายภาพ คนใช้ งานจะเป็นกลุ่มเด็กเเละวัยท�ำงานเป็นส่วนใหญ่ กิจกรรม ในพื้นที่จะส่วนใหญ่จะเป็นกีฬา เเละสนามเด็กเล่น ในกา รออกเเบบพื้นที่เพื่อท�ำการเพิ่มความปลอดภัยได้มีการใส่ watch tower ซึ่งเป็นที่พักผ่อนเเละนั่งชมเพื่อให้เกิด การสอดส่องในพื้นที่เเละเพิ่มกิจกรรมเชิงพาณิชย์เช่น ร้านค้า เพื่อดึงดูดผู้คนเเละสร้างมูลค่าให้กับพื้นที่ 2. Therapy center (ศูนย์สุขภาวะเมือง) เป็นพื้นที่ที่ เน้นในการพักผ่อนเชิงใจเเละให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาวะ ในตัวพื้นที่จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับการพักผ่อนไม่ว่าจะเป็น 268

สวนหรือห้องสมุดเเละยังมีข้อมูลเเละดูเเลสุขภาวะ โดย พื้นที่จะเน้นไปที่คนวัยท�ำงานเเละผู้สูงอายุเป็นหลัก ช่วง เวลาที่คนเข้ามาใช้อาจเป็นช่วงเวลาหลังเลิกงานโดยใน ตัวพื้นที่ยังมีการติดตั้งสนามเด็กเล่นเพื่อให้คนท�ำงานที่มี บุตรสามารถเข้ามาใช้พร้อมกันได้ 3. Urban sport hub (พื้นที่ศูนย์กลางการออกก�ำลัง กายเเละนันทนาการ) : เป็นพื้นที่ที่เปิดให้คนในช่วงทุกวัย ในเมืองโคราชเเละนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้งานได้ ในตัว พื้นที่มีพื้นที่เเข่งกีฬาที่มีพื้นที่นั่งชมให้คนที่ไม่ได้อยาก ออกก�ำลังกายเเต่มาพักผ่อนเฉยๆใช้ได้ ตัวอาคารมีการ ใช้ประโยชน์เเบบผสมผสานสามารถสลับเปลี่ยนการใช้ งานตามเเต่บุคคลที่เข้ามาใช้พื้นที่


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต -โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ

269


มหานครโคราช 2040

พื้นที่คูเมือง - Urban playground

พื้นที่สนามกีฬาค่ายสุรนารี - Urban sport hub 270


ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต -โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ

โครงการกับอนาคตของโคราช โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ (Korat Healthy Space) เป็นโครงการที่พัฒนาในพื้นที่เมือง ท�ำให้จ�ำเป็นที่จะต้องมีการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม ผ่านโครงการด้านการยกระดับการเชื่อมต่อซึ่งเป็น โครงการปรับปรุงเเละส่งเสริมการใช้ทางเท้าเเละพาหนะ พลังงานสะอาด ร่วมไปถึงต้องมีการพัฒนาที่สอดคล้อง กับโครงการในเรื่องที่อยู่อาศัยเเละเเหล่งงาน เนื่องจาก คนที่ใช้งานหลักในพื้นที่สาธารณะก็คือคนในเมืองโคราช โดยโครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสุขภาวะ (Korat Healthy Space) นอกจากจะช่วยสร้างสิ่งเเวดล้อมที่ ท�ำให้เกิดการยกระดับสุขภาพคนเมืองเเล้ว พื้นที่ทางสุข ภาวะยังส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรม เเละยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนในพื้น ที่เเละบริเวณโดยรอบ สร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจ เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนโคราช อีกทั้งยังเเก้ไขปัญหา ความเหลื่อมล�้ำเกิดความเท่าเทียมทางสังคม สุดท้ายนี้ การพัฒนาพื้นที่ทางสาธารณะทางสุขภาวะจะท�ำให้คน โคราชปลอดโรคเเละสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเข็ม เเข็ง

พื้นที่สาธารณะนอกเมืองผ่านตัวโรงเรียนเทศบาล โดยจะ ปรับปรุงเเละพัฒนาพื้นที่โรงเรียนให้กลายเป็นพื้นที่ สาธารณะทางสุขภาวะระดับย่าน

ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ผุู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาจากทางภาครัฐเเละ เอกชน ได้เเก่ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) เทศบาลนคร กรมธนารักษ์ โรงเรียนเทศบาล เอกชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครางการ • เทศบาลนคร เป็นคนวางเเผนหลักโดยการ ก�ำหนดการประชุมระหว่างผู้มีส่วนได้เสียเเละวาง นโยบายเพื่อให้เกิดการลงทุนเเละการพัฒนาในพื้นที่ • กรมธนารักษ์ โรงเรียนเทศบาล เอกชนเจ้าของที่ดิน เป็นเจ้าของพื้นทร่วมพัฒนากับทางภาครัฐในการวาง เเผนการด�ำเนินงาน • ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หน่วยงานที่ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพ ช่วย ออกเงินทุนในการสนับสนุนการพัฒนา

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ

ประเมินราคาโครงการ

ระยะที่ 1 : ประชุมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการเพื่อ ระบุประเด็นปัญหาเเละวางเเผนการด�ำเนินงานเพื่อสร้าง ความร่วมมือระหว่างภาครัฐเเละเอกชนเเละท�ำให้เกิด การพัฒนาพื้นที่ทางสุขภาวะโดยเริ่มจากการปรับ กายภาพโดยรอบของพื้นที่พร้อมด�ำเนินการสร้างพื้นที่ ออกก�ำลังกายส�ำหรับชุมชน เเละพื้นที่ศูนย์สุขภาวะเมือง ควบคู่ไปกับการชี้น�ำเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเข้า มาลงทุนในเเละนอกพื้นที่การพัฒนา

• Urban sport hub ราคา 750ล้านบาท (อ้างอิง ฟุตบอลสเตเดี้ยม,สนามฟุตบอลทะเลหลวงก่อสร้าง / อบจ.สุโขทัย / 300ล้าน, 250ล้าน / 2558 พื้นที่กีฬาชนิดอื่นรวม450ล้านบาท / Sport and recreation facilities costs, south east corner of Queensland / 2560) • Urban playground/therapy center ราคา 50 ล้านบาท

ระยะที่ 2 : หลังการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทางราง ท�ำให้การเข้าถึงพื้นที่สะดวกขึ้นเเละเกิดการพัฒนาโดย รอบสถานีซึ่งในพื้นที่บริเวณสนามกีฬาค่ายสุรนารีจ�ำเป็น ต้องมีการพัฒนาตาม โดยในระยะนี้เราจะท�ำหาร ปรับปรุงพื้นที่สนามกีฬาค่ายสุรนารีให้กลายเป็นพื้นที่ ศูนย์กลางการออกก�ำลังกายเเละนันทนาการ ระยะที่ 3 : หลังกาารพัฒนาพื้นที่สาธารณะในตัวเมือง เสร็จเรียบร้อยในระยะนี้จะเริ่มท�ำการปรับปรุงพัฒนา 271


มหานครโคราช 2040

272


การดำ�เนินการ พื้นที่ยุทธศาสตร์ 9 จุดและโครงการตัวอย่างการพัฒนาเมือง 15 โครงการ มีส่วนช่วยให้การพัฒนาเป็นไปตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้และ เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ การพัฒนาเมืองไม่สามารถด�ำเนินโครงการ ทั้งหมดภายในคราวเดียวได้ จึงต้องประเมินโครงการเพื่อจัดล�ำดับความ ส�ำคัญของการเลือกลงทุน และพัฒนาแต่ละโครงการอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะพิจารณาความส�ำคัญของโครงการจากผลตอบแทน 3 ด้าน คือ (1) ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจทั้งผลตอบแทนในระดับประเทศ ระดับเมือง และระดับย่าน (2) ผลกระทบและประสิทธิภาพในการรักษาสิ่งเเวดล้อม เมื่อโครงการเสร็จสิ้นและเริ่มให้บริการ และ (3) ผลลัพธ์ด้านสังคมโดย พิจารณาจากการสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมว่าส่งผลในระดับชุมชน ระดับ ย่าน หรือระดับจังหวัด นอกจากนี้ยังระบุระยะเวลาด�ำเนินเพื่อให้ทราบถึง ผลลัพธ์​์ที่ชัดเจนเพื่อการปฏิบัติโครงการอย่างมีเป้าหมายและค่อยเป็นค่อย ไปตามข้อจ�ำกัดของบริบทพื้นที่และระยะเวลาที่เหมาะสม แผนพัฒนามหานครโคราช 2040 จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ต้อง อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา ค�ำนึงถึงผล ตอบแทนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยให้น�้ำหนักกับ บริบทที่เมืองต้องการ ณ ขณะนั้น และอาศัยความบากบั่น ความเสียสละ ของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในการผลักดันให้โครงการพัฒนาเมือง ให้เป็นไปตามภาพฝันเกิดขึ้นได้จริง และอาจจะน�ำมาซึ่งผลตอบแทนทาง อ้อมในเชิงบวกที่เกินกว่าการการคาดค�ำนึงไว้ 273


มหานครโคราช 2040

โครงการตัวอย่าง

1

2

โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่าย

โครงการพัฒนาและส่งเสริม

การขนส่งสาธารณะ

การใช้งานโครงข่ายดิจิทัล

ระยะเวลาดำ�เนินโครงการ ช่วงปีที่ 1-5 สร้างเส้นทาง LRT เชื่อมต่อพื้นที่ใน

วางโครงข่ายเส้นใยแก้วน�ำแสงตาม

เมืองโดยเน้นแก้ปัญหาการจราจรใน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา จัดสรรอุปกรณ์

เมืองเป็นหลัก ปรับปรุงและพัฒนาเส้น

อ�ำนวยความสะดวกทางดิจิทัล แจกจ่าย

ทาง Feeder ที่เป็น smartbus ให้

อินเตอร์เน็ตไร้สาย และแก้ไขกฎหมาย

สอดคล้องกับเส้นทางหลัก (LRT)

เพื่อรองรับ 5G

ช่วงปีที่ 6-10 สร้างเส้นทางส่วนต่อขยายของ LRT เพื่อเชื่อมต่อสู่พื้นที่ชานเมือง

ประชาชนเข้าถึงข้อมูล big data ผ่าน ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล รวม ถึงขยายเฟสของเส้นใยแก้วน�ำแสง เชื่อมโยงโครงข่ายดิจิทัลกับทุกระบบของ เมือง

ช่วงปีที่ 11-20 -

งบประมาณ 20,000 ล้านบาท อ้างอิงจาก

-

30,000 ล้านบาท อ้างอิงจาก

รายงานการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะ โครงการจัดจ้างเดินสายเคเบิ้ลใยแก้วน�ำ ในเมืองโคราช

แสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เทศบาลนครนครราชสีมา ส�ำนักงาน

กระทรวงดิจิทัลฯ ส�ำนักงานพัฒนา

ผู้มีอำ�นาจในการดำ�เนินการ ธนารักษ์พื้นที่ ส�ำนักงานที่ดิน ส�ำนักงาน รัฐบาลดิจิทัล ส�ำนักงานคณะกรรมการ ขนส่ง ส�ำนักงานโยธาธิการและผังเมือง

ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

อบจ. หอการค้า

กสทช. อบจ. เทศบาลนคร เครือข่าย สัญญาณอินเตอร์เน็ตรายใหญ่

ผู้มีส่วนได้/เสียในโครงการ เอกชนที่ได้รับผลประโยชน์จากการท�ำ โครงการ ประชาชนโดยรอบพื้นที่การ ด�ำเนินการ ประชาชนที่ใช้บริการ

274

ประชาชนที่สามารถเข้าถึงการให้บริการ ผู้ประกอบการ เอกชนในพื้นที่


3

4

5

โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟ

โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรม

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการ

ความเร็วสูงและพื้นที่ต่อเนื่อง

สร้างสรรค์

ใช้ทางเท้าและพาหนะพลังงานสะอาด

สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและจุด

เริ่มเเผนพัฒนาพื้นที่ เปิดโอกาสให้เกิด

เปลี่ยนแปลงรูปแบบทางเท้าและเพิ่มทาง

เปลี่ยนถ่ายการสัญจรรูปแบบต่าง ๆ

การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐเอกชน

จักรยานในเมือง และเส้นทางเชื่อมต่อ

สร้าง ขยาย และปรับปรุงโครงข่ายถนน

สถาบันอุดมศึกษา เเละมีชุมชนเดิมเป็น

TOD

โดยรอบและในโครงการรองรับสถานี

หุ้นส่วน พัฒนาพื้นที่เชิงกายภาพผ่าน

รถไฟความเร็วสูงและ MICE

เครื่องมือทางผังเมือง

เพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการเดิน ทาง

สร้างเเละปรับปรุงอาคาร ลงทุนด้าน

สร้างเส้นทางส่วนต่อขยายของ LRT

จักรยาน พื้นที่สีเขียว ลานเมืองเชื่อมต่อ เครื่องมือเเละอุปกรณ์ที่ส่งเสิรมต่อธุรกิจ เพื่อเชื่อมต่อไปสู่พื้นที่ชานเมือง พื้นที่เมืองสร้างโครงการที่อยู่อาศัย ฟ

นวัตกรรมสร้างสรรค์ เปิดให้นักลงทุน

งานและพาณิชยกรรมผสมผสาน เพิ่ม

เข้ามาเช่าเเละใช้งานพื้นที่ สร้างพื้นที่

การท�ำงานและอยู่อาศัยในพื้นที่

สาธารณะเพื่อชุมชนเมืองโดยรอบ

ส่งเสริมและสนับสุนการเดิน การใช้ขนส่ง ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเข้ามาร่วม

กระจายเส้นทางย่อยที่เชื่อมเส้นหลัก

สาธารณะเป็นการสัญจรหลักของเมือง

วิจัยเเละพัฒนากับภาคเอกชนในพื้นที่

เพิ่มจุดจอดวินตามสถานีและชุมชน

-

160 ล้านบาท อ้างอิงจาก

ส่งเสริมกิจกรรมในพื้นที่สาธาณะของ โครงการ เพื่อเชื่อมต่อพื้นเมือง และให้ ตัวโครงการเป็นส่วนหนึ่งของเมือง 6,000 ล้านบาท (ตัวสถานี) อ้างอิงจากโครงการศึกษาและออกแบบ

โครงการปรับปรุงทางเท้าในเขตเทศบาล

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ–หนองคาย

เมืองร้อยเอ็ดเพื่อรองรับคนทุกกลุ่ม

สนข. รฟท. รฟม. รัฐวิสาหกิจร่วมลงทุน กระทรวงวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี

อบจ. เทศบาลนคร ส�ำนักงานโยธาธิการ

ให้บริการการเดินรถไฟ อบจ. เทศบาล

กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตร และผังเมือง ภาคเอกชนที่ร่วมลงทุน

นคร เอกชนผู้ร่วมลงทุนโครงการที่อยู่

เเละสหกรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม อบจ.

อาศัย แหล่งงาน และพาณิชยกรรมผสม เทศบาลนคร สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ผสาน

ภาคเอกชนที่ร่วมลงทุน

ประชาชนโคราชและจังหวัดข้างเคียง

ประชาชนในพื้นที่โดยรอบ ผู้ประกอบ

ประชาชานโดยรอบในพื้นที่ ผู้ประกอบ

ประชาชนในและโดยรอบพื้นทื่โครงการ

การ เอกชนในพื้นที่

การ เอกชนบริเวณ 2 ข้างทาง

ประชาชนที่ใช้งานรถไฟฟ้าความเร็วสูง ผู้ประกอบการ เอกชนในพื้นที่ 275


มหานครโคราช 2040

โครงการตัวอย่าง

6

7

โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดก

โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้

วัฒนธรรม

สร้างสรรค์

ระยะเวลาดำ�เนินโครงการ ช่วงปีที่ 1-5 ปรับปรุงพื้นที่ลานย่าโม เปลี่ยนอาคาร

ปรับปรุงห้องสมุดในมหาวิทยาลัย เพิ่ม

ลานย่าโมรับการอยู่อาศัย ปรับโรงแรม

พื้นที่เรียนรู้บริเวณ TK square รวมถึง

เมืองทองให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ เพิ่มการใช้

เชื่อมต่อพื้นที่แต่ละฝั่งของคูเมือง

งานอาคารตอนกลางคืน จัดการแสดง

วิเคราะห์พื้นที่คุณค่าทางประวัติศาสตร์

ดนตรี สนับสนุนวิทยาลัยนาฏศิลปฯ

เพื่อเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้บริบทในคูเมือง

ช่วงปีที่ 6-10 เปลี่ยนการใช้งานตึกแถวบริเวณพื้นที่ให้ พัฒนาการเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้จากสถานี เป็น music installation เพิ่มพื้นที่

LRT เพิ่มอาคารพาณิชย์สร้างสรรค์และ

ส�ำหรับบันทึกเสียงและออกอากาศ สร้าง ปรับปรุงทางเดินเท้าเพื่อดึงดูดคนใช้งาน พื้นที่ดนตรีในสวนหลังรพ.ป.แพทย์ เพื่อ เพิ่มพิพิธภัณฑ์ในอาคารที่มีคุณค่าทาง ส่งเสริมการใช้ดนตรีบ�ำบัดรักษาผู้ป่วย

ช่วงปีที่ 11-20 -

ประวัติศาสตร์ สร้างเส้นทางสนับสนุนการเรียนรู้บริบท เมือง เชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยว

งบประมาณ 90 ล้านบาท อ้างอิงจาก 4 โปรเจ็กต์

140 ล้านบาท อ้างอิงจาก โครงการ

ปฏิวัติยกเมืองโคราช ปรับภูมิทัศน์ลาน

ก่อสร้างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

อนุสรณ์สถานข้างย่าโม

สาขาขอนแก่น

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริม

กรมศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ผู้มีอำ�นาจในการดำ�เนินการ วัฒนธรรม ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วม ราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏ สมัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อบจ.

นครราชสีมา TK squre korat เอกชน

เทศบาลนคร เอกชนผู้ร่วมลงทุน

ผู้ร่วมลงทุน

ผู้มีส่วนได้/เสียในโครงการ วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา

ประชาชนในพื้นที่โดยรอบ ผู้ประกอบ

ประชาชนโดยรอบคูเมือง ผู้ประกอบการ การ เอกชนในพื้นที่ ธุรกิจในคูเมือง หน่วยงานจัดงาน เทศกาลต่าง ๆ รพ.ป.แพทย์ 276


8

9

10

โครงการกําหนดเส้นทางและ

โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำ�หรับ

โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการ

ควบคุมปริมาณยานพาหนะส่วนตัว

คนทุกระดับ

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

เพิ่มพื้นที่จอดรถตรงข้ามตลาดแม่กิมเฮง พัฒนาพื้นที่เรือนจ�ำกลางเป็นที่อยู่อาศัย ปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณ และพื้นที่บขส.1 ก�ำหนดพื้นที่จอดรถ

หลากหลายระดับรายได้และการใช้งาน

คูเมืองและเพิ่มกิจกรรมหรือการใช้ประ

สร้างอาคารจอดรถในจุดส�ำคัญ ท�ำถนน ชี้น�ำให้เกิดการพัฒนาอาคารพาณิชย์และ โยนช์อาคารใหม่ สร้างเส้นทางการท่อง วงแหวนเชื่อม 1111- ถ.สืบศิริ 304

ที่อยู่อาศัย Leasehold สร้างกลไกส่ง

ขยายถนนบริเวณสถานีรถไฟจิระ

เสริมให้เกิดการลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย

เที่ยวในบริเวณคูเมือง

ท�ำถนนวงแหวนเชื่อมถ.มิตรภาพ ถ.เพชร พัฒนาอยู่อาศัยจ่ายได้บริเวณชุมชนวัด

วางโครงข่ายรถบัสที่รับส่งนักท่องเที่ยว

มาตุคลา และ ถ.มิตรภาพ-ถ.เลียบทาง

ไปเที่ยวนอกเมืองเพื่อไปเรียนรู้เส้น

หัวสะพาน

รถไฟ เพิ่มพื้นที่จอดรถชุมชนจิระ/บุ๋งตา

ทางการท่องเที่ยวรูปเชิงวัฒนธรรมในรูป

หลัว สุสานเม่งยิน บขส.2

แบบอื่นๆ เช่น Craft trip

อาคารจอดแล้วจรฝั่งตต.ในพื้นที่เซฟวัน

พัฒนาอยู่อาศัยจ่ายได้ บริเวณพื้นที่เคหะ เสนอรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคารใหม่​่

/ฝั่งตอ. ในเขตพื้นที่ค่ายสุรนารี และฝั่ง

ชุมชนนครราชสีมา พัฒนาที่พักทหาร

ให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสนับสนุน

ตอ.เฉียงใต้บริเวณพื้นที่แมคโครหัวทะเล เป็นที่อยู่อาศัยหลากหลายระดับรายได้

พื้นที่การท่องเที่ยว เพิ่มพื้นที่การท่อง

ส่งเสริมการเดินเท้าในเขตเมือง ปรับ

และพื้นที่การใช้งานแบบผสมผสาน

เที่ยวรูปแบบใหม่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว

1,300 ล้านบาท อ้างอิงจาก

3,000 ล้านบาท อ้างอิงจาก

80 ล้านบาท อ้างอิงจาก โครงการ

โครงการก่อสร้างศูนย์สร้างสรรค์งาน

โครงการบ้านคนไทยประชารัฐที่อยู่อาศัย พัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่

ออกแบบ สาขาขอนแก่น

ตามนโยบายของรัฐบาลในที่ดินราชพัสดุ มรดกทางวัฒนธรรมเมืองล�ำพูน

กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย

กรมธนารักษ์/กรมศิลปากร ธอส. กบข.

กรมศิลปากร อบจ. เทศบาลนคร ผู้ดูและ

หอการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรม

อบจ. เทศบาลนคร การเคหะแห่งชาติ

ศาสนสถานอื่นๆในคูเมือง เจ้าของ

ธนารักษ์ (ที่ดินราชพัสดุ) อบจ. เทศบาล สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การ

อาคารในบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว

เปลี่ยนช่องจราจร

นคร เอกชนผู้ร่วมลงทุน

มหาชน) เอกชนผู้ร่วมลงทุนในโครงการ

เจ้าของพื้นที่รายใหญ่ทั้งภาครัฐและ

ผู้ประกอบการร้านค้าเเละบริการในพื้นที่ ประชาชนโดยรอบพื้นที่คูเมืองเก่า ผู้

เอกชน ผู้ประกอบการรายใหญ่และราย

คูเมืองเก่า สมาคมทางศาสนาในพื้นที่

ย่อย ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่

(ศาสนาซิกข์ พุทธไทยและจีน) ประชาชน

ประกอบการ เอกชนในพื้นที่

ในพื้นที่ ประชาชนที่ได้ประโยชน์ 277


มหานครโคราช 2040

โครงการตัวอย่าง

11

12

โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทาง

โครงการพัฒนาธุรกิจการค้าท้อง

สังคม

ถิ่นและที่อยู่อาศัยแบบผสมผสาน

ระยะเวลาดำ�เนินโครงการ ช่วงปีที่ 1-5 ปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณคูเมืองฝั่ง ปรับปรุงและฟื้นฟูห้าง Klang Plaza ทิศตต. ให้เป็นพื้นที่เพื่อการแสดง

(เก่า) และพื้นที่ตลาดประตูผี เพื่อรองรับ

ปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณคูเมืองฝั่ง

ธุรกิจท้องถิ่นและการท่องเที่ยว สร้าง

ทิศเหนือ ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ เพิ่ม

กลไกกระตุ้นเอกชนรายใหม่และเก่าใน

การเชื่อมต่อย่านเมืองเก่า

พื้นที่ ให้เกิดกิจการในย่านการค้าคูเมือง

ช่วงปีที่ 6-10 ปรับปรุงกายภาพพื้นที่บริเวณคูเมืองฝั่ง ปรับปรุงและพัฒนาอาคารบริเวณพื้นที่ ทิศใต้ และตอ. ภายใต้พื้นที่สีเขียวให้เป็น klang plaza และตลาดตลาด พื้นที่เพื่อการขายและทานอาหาร

ประตูผี ให้การใช้งานเต็มประสิทธิภาพ

เพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างย่านท่องเที่ยว

ปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความ

ย่านที่อยู่อาศัยใหม่

เชื่อมต่อระหว่าง magnet ในย่าน

ช่วงปีที่ 11-20 -

เสนอปรับปรุงกายภาพ และกิจกรรมทาง ธุรกิจ สร้างกลไลส่งเสริมเจ้าของพื้นที่ ปรับปรุงและฟื้นฟูอาคาร แก่เจ้าของ พื้นที่ในย่านการค้าใหม่ และย่านการค้า ชุมชนที่ช่วยส่งเสริมการค้า

งบประมาณ 80 ล้านบาท อ้างอิงจาก โครงการ

ด�ำเนินการโดยเอกชน

พัฒนา 17 คูเมืองโคราช 4 โปรเจ็กต์ ปฏิวัติยกเมืองโคราช

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อบจ. เทศบาลนคร เอกชนผู้ร่วมลงทุน อบจ. เทศบาลนคร เอกชนที่ร่วมลงทุน ผู้มีอำ�นาจในการดำ�เนินการ ในโครงการ

ในพื้นที่

ผู้มีส่วนได้/เสียในโครงการ ประชาชนโดยรอบในคูเมืองและนอก

ประชาชนโดยรอบพื้นที่ ผู้ประกอบการ

คูเมือง ผู้ประกอบการทั้งในและนอก คูเมือง สถาบันการศึกษา

278

ร้านค้าเเละบริการในพื้นท


13

14

15

โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้า

โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี

โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทาง

ระดับเมือง

รถไฟความเร็วสูง

สุขภาวะ

ปรับปรุงกายภาพตลาดเเม่กิมเฮงเเละ

สร้างพื้นที่ธุรกิจไมซ์บริเวณสถานี

คลังพลาซ่า จอมสุรางค์ ปรับปรุงอาคาร นครราชสีมา ปรับปรุงคุณภาพโรงแรม โดยรอบตลาดเเม่กิมเฮง คลังพลาซ่า

ปรับปรุงกายภาพโดยรอบโครงการเเละ พัฒนาการเข้าถึงพื้นที่ทางสุขภาวะ

และสถานที่จัดการประชุม พัฒนาและยก พัฒนาพื้นที่ออกก�ำลังกายส�ำหรับชุมชน

ลานย่าโม สร้างเส้นทางเชื่อมต่อย่านการ ระดับการจัดงานไมซ์ ส่งเสริมและสร้าง

พัฒนาธนาคาร stand alone ให้เป็น

ค้าในพื้นที่ให้สอดคล้องกัน

กิจกรรมท่องเที่ยวหลังการประชุม

พื้นที่ทางสุขภาวะ

-

สร้างพื้นที่ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจใน

พัฒนาพื้นที่ศูนย์กลางกีฬาส�ำหรับเมือง

ย่านธุรกิจใหม่ เปิดให้นักลงทุนเข้ามาท�ำ สร้างกลไกความร่วมระหว่างรัฐเเละภาค

-

ธุรกิจและเช่าพื้นที่ท�ำบริษัท พัฒนาช่อง

เอกชนในการร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่

ทางการตลาด เตรียมโครงสร้างพื้นฐาน

สร้างโมเดลการพัฒนาพื้นที่ทางสุขภาวะ

รองรับดิจิทัลต่างๆ

ในพื้นที่โรงเรียนส�ำหรับชุมชนโดยรอบ

ส่งเสริมการใช้ดิจิทัลทั่วทั้งพื้นที่

ปรับปรุงเเละพัฒนาพื้นที่โรงเรียนนอก เขตเทศบาลให้กลายเป็นพื้นที่ทางสุข ภาวะส�ำหรับชุมชนโดยรอบ พัฒนาเเละ ส่งเสริมระบบดิจิทัลในการพัฒนาสุข ภาวะคนเมือง

ด�ำเนินการโดยเอกชน

7,000 ล้านบาท อ้างอิงจาก

800 ล้านบาท อ้างอิงจาก การก่อสร้าง

การก่อสร้างศูนย์สิริกต ิ ส่วนขยาย

ฟุตบอลสเตเดี้ยม สนามฟุตบอล ทะเลหลวงก่อสร้าง และงบประมาณการ ก่อสร้างพื้นที่กีฬาอื่นๆ

อบจ. เทศบาลนคร klang plaza

อบจ. / เทศบาลนคร TCEB (ส�ำนักงาน กรมธนารักษ์ (ที่ดินราชพัสดุ) ส�ำนักงาน

เจ้าของอาคารโดยรอบพื้นที่คูเมืองเก่า

ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ)

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

Koratstartup ภาคเอกชนที่ร่วมลงทุน MICE korat เอกชนผู้ร่วมลงทุนใน

(สสส.) อบจ. เทศบาลนคร เอกชนผู้ร่วม

ในพื้นที่

ลงทุนในโครงการ ที่ดินของโรงเรียนที่ใช้

โครงการ

ด�ำเนินโครงการ ประชาชนโดยรอบพื้นที่คูเมืองเก่า ผู้

ประชาชนโดยรอบพื้นที่ ผู้ประกอบการ

ประชาชนโดยรอบโครงการ ผู้ประกอบ

ประกอบการร้านค้าเเละบริการในพื้นที่

เอกชนในพื้นที่

การร้านในเเละโดยรอบโครงการ เจ้าของ

คูเมืองเก่า สมาคมทางศาสนาในพื้นที่

ที่ดิน

(ศาสนาซิกข์ พุทธไทยและจีน) 279


มหานครโคราช 2040

ผลตอบแทนของโครงการในด้านการเพิ่มมูลค่า ทางเศรษฐกิจ การด�ำเนินโครงการพัฒนาเมืองให้ตอบรับกับแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาเมือง จ�ำเป็นต้องใช้งบประมาณในการลงทุนค่อน ข้างสูง ทุกโครงการจึงต้องสร้างผลตอบแทนที่มีตัวชี้วัดและ สะท้อนผ่านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในระดับย่าน ระดับ เมือง และระดับประเทศ การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคม และการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน อนึ่ง การลงทุนพัฒนาเมืองที่ให้ผลตอบแทนในด้านเศรษฐกิจ มี หลักคิดอยู่บนการลงทุนเพื่อสร้างก�ำไรควบคู่กับผลตอบแทนใน ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐหรือเอกชนที่ได้ก�ำไรจากการ ด�ำเนินโครงการ สามารถน�ำก�ำไรดังกล่าวไปต่อยอดเพื่อ ประโยชน์สาธารณะในด้านอื่นได้อย่างต่อเนื่อง โดยผลจากการ ชี้วัดความส�ำเร็จของโครงการในด้านเศรษฐกิจสามารถประเมิน โดยใช้เครื่องมือศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ที่จะบ่งบอกว่าโครงการดังกล่าวสามารถคืนทุน หรือสร้างก�ำไรได้มากน้อยเพียงใด สมควรแก่การลงทุนหรือไม่ และสร้างคุณค่าที่ครอบคลุมยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเมืองที่ เกี่ยวข้องด้านใด โดยการศึกษาความเป็นไปได้จะช่วยให้ เจ้าของโครงการตัดสินใจเลือกลงทุน หรือด�ำเนินการพัฒนา เมืองตามล�ำดับโครงการที่ให้ผลตอบแทนจากมากไปน้อย เพื่อ ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและทุนที่มีอยู่อย่างจ�ำกัด ด้วยเงื่อนไขการด�ำเนินการจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้อยู่ภาย ใต้ระยะเวลาที่จ�ำกัด ผู้วางแผนยุทธศาสตร์จึงได้ประเมินผล ตอบแทนด้านเศรษฐกิจจากการเทียบเคียงกับตัวอย่างโครงการ ที่ใกล้เคียงจากแหล่งอื่นและผลตอบแทนอย่างคร่าวดังที่จะได้ ระบุต่อไป แต่การด�ำเนินโครงการจริงหลังจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนได้ร่วมกันจัดท�ำแผนพัฒนาเมืองโคราชฉบับจริง ต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อนการลงทุน โครงการทุกครั้ง เนื่องจากปัจจัยด้านความผันผวนของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ณ เวลาที่ด�ำเนินโครงการ

280


การประเมินผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจอย่างคร่าว โดยผู้วางแผนยุทธศาสตร์: ผลตอบเทนในด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ

• โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ต่อ เนื่อง • โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง • โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ • โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ผลตอบเทนในด้านเศรษฐกิจระดับจังหวัด

• โครงการเพิ่มและปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งสาธารณะ • โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโครงข่ายดิจิทัล • โครงการพั ฒ นาธุ ร กิ จ การค้า ท้อ งถิ่ น และที่ อ ยู ่อ าศั ย แบบ ผสมผสาน • โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม • โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านการค้าระดับเมือง • โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ ผลตอบเทนในด้านเศรษฐกิจระดับย่าน • โครงการกําหนดเส้นทางและควบคุมปริมาณยานพาหนะ ส่วนตัว • โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยส�ำหรับคนทุกระดับ • โครงการปรั บ ปรุ งและส่งเสริ ม การใช้ทางเท้า และพาหนะ พลังงานสะอาด • โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะทางสังคม • โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม

281


มหานครโคราช 2040

อ้างอิง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิติด้านการท่อง เที่ยว ปี 2558-2560. รายงานแสดงข้อมูลจดบันทึก จ�ำนวนสถิติกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว จ�ำนวนนักท่อง เที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดนครราชสีมาและรายได้จากการ ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในจังหวัด. คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แบบบูรณาการ (ก.บ.จ.). (2560). แผนพัฒนาจังหวัด นครราชสีมา ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). นครราชสีมา: คณะกรรมการนโยบาย. ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย. (2562). ตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่รอบ สถานีขนส่งมวลชน. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการ บริหารจัดการเมือง หลักสูตรการวางแผนภาคและเมือง ปริญญาตรี คณะสถาปัต ยกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย. (2562). มาตรการผลักดันให้เกิดการ พั ฒ นาตามผั ง เมื อ งรวม. เอกสารประกอบการเรี ย น วิชาการบริหารจัดการเมือง หลักสูตรการวางแผนภาคและ เมือง ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. เทศบาลนครนครราชสีมา. (2558). สถิตงิ านทะเบียนราษฎร์ ปี 2558-2560. เอกสารแสดงข้อมูลงานทะเบียนราษฎร์ จ�ำนวนประชากร การย้ายเข้าย้ายออก ประจ�ำปี 2560. นครราชสีมา: เทศบาลนครนครราชสีมา. ไทยรัฐออนไลน์. (2560). บ่อขยะล้นเมือง! เทศบาลโคราช ยันรับไม่ไหว ผู้ว่าฯ เร่งประสานพื้นที่ทภ. 2. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/ local/northeast/959358 (10 เมษายน 2562). พรสรร วิเชียรประดิษฐ์. (2562). สาระส�ำคัญของการควบคุม การวางผังและออกแบบผังเมือง. เอกสารประกอบการ เรี ย นวิ ช าการควบคุ ม การวางผั ง และออกแบบเมื อ ง หลักสูตรการวางแผนภาคและเมือง ปริญญาตรี คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. (2538). ของดีโคราช. นครราชสีมา: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. สถาบั น สหวิ ท ยาการดิ จิ ทั ล และหุ น ่ ยนต์ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2557). กางแผนดันไทย สู่ศูนย์กลางและแหล่งบริการทางการแพทย์ของภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้. บทความแสดงแนวคิดและหลักการใน การพัฒนาแผนสู่การเป็นศูนย์กลางการบริการทางการ แพทย์. สายนโยบายทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). สั ง คมสู ง วั ย กั บ ความท้า ทายของตลาดแรงงานไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

282

ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ. (2556). แผนกลยุทธ์ คสช. ประจ�ำปี พ.ศ. 25562560. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ส�ำนักรัฐมนตรี. ส� ำ นั ก งานทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้อ มจั ง หวั ด นครราชสีมา. (2556). นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ. นครราชสีมา: แผนยุทธศาสตร์และนโยบายส�ำนักงานฯ. ส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2560). โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนา ร ะ บ บ ข น ส ่ง ส า ธ า ร ณ ะ ใ น เ ข ต เ มื อ ง น ค ร ร า ช สี ม า . นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ส�ำนักงานสถิตแิ ห่งชาติ. (2557). รายงานแสดงข้อมูลเชิงสถิติ ภาพรวมของจังหวัดนครราชสีมาและแผนงานพัฒนาตาม แนวยุทธศาสตร์. นครราชสีมา: แผนพัฒนาสถิติระดับ จังหวัด. City of Stockholm. (2012). Urban mobility strategy for Stockholm 2030. Why do we need an urban mobility stratege?. Stockholm. LM Logistic Manager. (2017). Kerry Logistics Signs MOU with Sitthi Logistics To Develop Dry Port in Laos. Available at: http://logisticsmanager.com/2019/04/10/kerry-logisticssigns-mou-sitthi-logistics-develop-dry-portlaos/. Founded on 2 June 2019. World Economic Forum. (2015). Deep shift technology tipping point and societal impact. page 8. Available at: http://www3.weforum. org/docs/WEF_GAC15_Technological_Tipping_ Points_report_2015.pdf. Founded on 2 June 2019.


ภาคผนวก สรุปกระบวนการและกิจกรรมหลักของการวางแผนยุทธศาสตร์ ลงพื้นที่ส�ำรวจเมืองโคราช ครั้งที่ 1 (4 วัน) 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562

ฟังการบรรยายโดยสมาคมอสังหาริมทรัพย์โคราช 2 กุมภาพันธ์ 2562

อภิปรายประเมินความท้าทาย ศักยภาพ และโอกาส 25 กุมภาพันธ์ 2562

ฟังการบรรยายโดยอบจ.นครราชสีมา 4 มีนาคม 2562

ลงพื้นที่ส�ำรวจเมืองโคราช ครั้งที่ 2 (3 วัน) 21-23 มีนาคม 2562

อภิปรายก่อนน�ำเสนอสาธารณะ 20 เมษายน 2562

น�ำเสนอแผนมหานครโคราช 2040 สู่สาธารณะ ณ มทร.อีสาน 26 เมษายน 2562

283


ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.