“Travel is more than the seeing of sights; it is a change that goes on, deep and permanent, in the ideas of living.” -Miriam Beard
“การเดินทางเป็นมากกว่าการเที่ยวชมสถานที่ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการใช้ชีวิตที่ เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้งและถาวร” -มีเรียม เบียร์ด นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน
I 02
ทักทาย เ
เดือนตุลาคม-ปลายฝนต้นหนาวที่ผ่านมา องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ร่วมกับ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดทัศนศึกษาเป็นเวลา 3 วัน ณ สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ก�ำแพงเพชร การเดินทางเพือ่ การเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ในแหล่งมรดกโลกครัง้ นี้ มีความพิเศษอยูต่ รงที่ มัคคุเทศก์เชีย่ วชาญ มรดกโลกนั้น คือ คนในท้องถิ่น การพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นเชี่ยวชาญมรดกโลกในพื้นที่พิเศษ เป็นโครงการที่ อพท. ร่วมมือกับยูเนสโก ในการพัฒนาชาวบ้านในชุมชนพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญมรดกโลก เพื่อเป็นไกด์ท้องถิ่น เนื่องจากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จ�ำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และก�ำแพงเพชร ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากรายงานสถิติในช่วงปี 2551 – 2554 ซึ่งจัดท�ำโดยกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า หนึ่งในสาเหตุหลักที่ท�ำให้นักท่องเที่ยวลดลงก็คือ การขาดมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและ ผู้สื่อความหมายท้องถิ่นที่เข้าใจในพื้นที่และเข้าใจมรดกโลกที่อยู่ในพื้นที่อย่างถ่องแท้ โครงการความร่วมมือนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2557 จากวันนั้นถึงวันนี้ ผลส�ำเร็จปรากฏเป็นรูปธรรมแล้ว ผ่าน มัคคุเทศก์ท้องถิ่นเชี่ยวชาญมรดกโลกจ�ำนวนกว่า 30 คน ซึ่งหลายคนก�ำลังท�ำหน้าที่บรรยายให้ความรู้กับนักท่อง เที่ยวสมกับเป็นไกด์ท้องถิ่นเชี่ยวชาญมรดกโลก คอลัมน์ Travelling ฉบับนี้ จึงภูมิใจน�ำเสนอ ‘2 เมืองมรดกโลก ห้ามพลาด : หนึ่งวันไม่รู้ลืมในสุโขทัย และย้อนวันวานในเมืองโบราณก�ำแพงเพชร’ ขอให้สนุกกับการอ่าน แล้วออกเดินทางเยือน 2 เมืองมรดกโลก เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พันเอก (ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท) ผู้อ�ำนวยการ อพท.
ที่ปรึกษา พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท, ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ, ดร. ชูวิทย์ มิตรชอบ, ดร. ชุมพล มุสิกานนท์, ธันวา ธีระวิทยเลิศ, สุเทพ เกื้อสังข์, สุธีร์ สธนสถาพร, ดร.พรสุข จงประสิทธิ์ บรรณาธิการอ�ำนวยการ มนทิรา จูฑะพุทธิ จัดท�ำโดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เลขที่ 118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2357 3580 ต่อ 404 โทรสาร 0 2357 3599 เว็บไซต์ www.dasta.or.th, www.facebook.com/DASTATHAILAND คณะผู้จัดท�ำ มัธนา เมนแก, ไปรยารัฐ มงคลชาติภิรักษ์, ชฎาพร ทองสุก ผลิตโดย บริษัท คูดอซ เอเจนซี่ จ�ำกัด 33/54 อาคาร วอลล์ สตรีททาวเวอร์ ชั้น 12 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 พิมพ์ที่ บริษัท พรอสเพอร์ เซอร์วิส ซัพพลาย 81/694 หมู่ที่ 1 ซอยประชาอุทิศ 79 ถนนประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยกระดาษรีไซเคิลและน�ำ้ มันถั่วเหลือง ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
03 I
I 04
Contents เ
06 20
28
06-08 เ Cover Story Don’t Burn the Heritage รักโลก รัก (ษ์) มรดกโลก
09-17 เ Interview คุยกับ 4 นักออกแบบ ‘มรดกพระร่วง’
09
18-19 เ Thinking out Loud เติม ‘ใหม่’ ในเมือง ‘เก่า’
20-26 เ Travelling
2 เมืองมรดกโลก ห้ามพลาด หนึ่งวันไม่รู้ลืมในสุโขทัย และย้อนวันวาน ในเมืองโบราณก�ำแพงเพชร
27 เ Good to Know
Gastronomy Tourism เที่ยวแนวใหม่ ชิมของอร่อยพื้นถิ่น
28-29 เ Eat Out
33 เ Calendar
สายลมหนาวๆ ช่างเหมาะกับเป็นช่วงเวลา ออกไปสนุกนอกบ้าน เราจึงคัดสรรกิจกรรม ชวนคุณมาสูดอากาศดีรับลมหนาวกัน
รุ่งอรุณแห่งความสุข (และความอร่อย)
34-38 เ News
30-32 เ Entertain
40-42 เ Happiness by คิ้วต�่ำ 05 I
เ Cover story
เรื่อง : ศศิธร ภาพ : อพท.
Don’t Burn the Heritage รักโลก รัก (ษ์) มรดกโลก
ลืมภาพการเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์แบบร้อนๆ แดดเปรี้ยงๆ ไปก่อน แล้ว ลองหลับตาเปิดใจสักนิด เพราะ อพท.Travel อยากชวนคุณไปสัมผัสการ ท่องเที่ยวแนวใหม่ แบบ Don’t Burn the Heritage เพื่อที่จะได้ค้นพบว่า ‘เที่ยว เมืองมรดกโลก’ ได้อะไรมากกว่าที่คิด มรดกโลก : เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
ยาวนานเกิน 20 ปีมาแล้วที่ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อทุ ยานประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัย ศรีสชั นาลัย และก�ำแพงเพชร เป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ ‘เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร’ (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) ด้วยการสอบผ่าน 2 ข้อก�ำหนดและหลักเกณฑ์ใน การพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้ • เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดท�ำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด • เป็นสิง่ ทีย่ นื ยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมทีป่ รากฏให้เห็นอยูใ่ นปัจจุบนั หรือว่าที่ สาบสูญไปแล้ว นับตัง้ แต่นนั้ มรดกโลก ‘เมืองประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยและเมืองบริวาร’ ก็เรียกความสนใจจากนักท่อง เทีย่ วผูส้ นใจประวัตศิ าสตร์ โบราณสถาน รวมถึงร่องรอยอารยธรรมให้แวะเวียนกันมาเยีย่ มเยือนได้ตลอด ไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และก�ำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งมีอ�ำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8-19 ตั้งอยู่ที่ตำ� บลเมืองเก่า (เขตเทศบาลต�ำบลเมืองเก่า) อ�ำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
I 06
ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางก�ำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและ วัดอีก 26 แห่ง ซึ่งวัดที่ใหญ่ที่สุดคือ วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่ต�ำบลศรีสัชนาลัย อ�ำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีโบราณสถานทั้งหมด 215 แห่ง ส�ำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง รวมทั้งสุสานวัดชมชื่น และเตาสังคโลก โบราณ ซึ่งจากการประเมินของกรมศิลปากร ถือว่ามีการต่อเติมโบราณสถานจากสภาพเดิมน้อยกว่าที่ อื่นๆ อีกทั้งยังรักษาภูมิทัศน์ของเมืองประวัติศาสตร์ไว้ได้ครบถ้วน อุทยานประวัติศาสตร์ก�ำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอ�ำเภอเมืองก�ำแพงเพชร จังหวัดก�ำแพงเพชร ซึ่งไม่ไกลมากนักจากจังหวัดสุโขทัย ลักษณะของศิลปะและสถาปัตยกรรมในอุทยานแห่งนี้เป็นศิลปะ แบบเดียวกับทีป่ รากฏในอุทยานประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัย มีโบราณสถานทีส่ วยงามและขนาดใหญ่มากมาย ในอดีตเมืองก�ำแพงเพชรถือเป็นเมืองหน้าด่านที่ส�ำคัญของอาณาจักรสุโขทัย
พื้นที่พิเศษ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำ�แพงเพชร (World Heritage City)
ตัง้ แต่ปี 2554 เป็นต้นมา อุทยานประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัย-ศรีสชั นาลัย-ก�ำแพงเพชร ถูกนับรวมเข้า เป็นหนึง่ ในพืน้ ทีพ่ เิ ศษ ทีอ่ ยูภ่ ายใต้การดูแลขององค์การบริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ ว อย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ซึ่งแน่นอนว่าภารกิจหลักที่ต้องด�ำเนินการต่อเนื่องตลอด ระยะ 4 ปีมานี้ ก็คอื ความพยายามในการพัฒนา อุทยานประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัย-ศรีสชั นาลัย-ก�ำแพงเพชร เพือ่ เป็น ‘ต้นแบบ’ พืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืนประเภทของแหล่งท่องเทีย่ วทางโบราณสถาน ยกตัวอย่างความส�ำเร็จล่าสุด ในการด�ำเนินโครงการพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นเชี่ยวชาญมรดก โลกในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ก�ำแพงเพชร อันสืบเนื่องจากผลการศึกษาของ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ที่ระบุถึงสาเหตุ ที่ส่งผลให้จ�ำนวนนักท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกมีจ�ำนวนลดลง ว่ามาจากการขาดมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและ ผูส้ อื่ ความหมายท้องถิน่ ทีเ่ ข้าใจมรดกโลกและเข้าใจพืน้ ทีท่ อี่ ยูบ่ ริเวณโดยรอบพืน้ ทีม่ รดกโลกอย่างแท้จริง ท�ำให้พื้นที่นั้นขาดเสน่ห์ด้านการท่องเที่ยว เพราะไม่มีคนท้องถิ่นสามารถน�ำเที่ยวในเชิงวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมชุมชนได้ ล่าสุด อพท. จึงจัดอมรมพัฒนามัคุเทศก์ท้องถิ่นเชี่ยวชาญมรดกโลกในพื้นที่พิเศษ และได้ มัคคุเทศก์รวมกว่า 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้สอน (Training of Trainers) ซึ่งผู้จบหลักสูตรนี้จะได้เป็นผู้ฝึกสอนให้กับผู้ที่จะไปเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นต่อไป และอีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ ฝึกอบรมเพื่อเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น (Training of Guides) เพื่อน�ำไปประกอบอาชีพ ขณะเดียวกัน ก็ยังเดินหน้าศึกษาเรื่องการเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน และพบข้อสังเกตว่าในช่วง กลางวัน ตัวเลขการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีสูงมาก ซึ่งมี สาเหตุมาจากนักท่องเทีย่ วเลือกทีจ่ ะหลบอากาศร้อนตอนกลางวันด้วยการเปิดแอร์พกั ผ่อนอยูใ่ นโรงแรม แทนที่จะออกไปท�ำกิจกรรมข้างนอก อพท. จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดท�ำแคมเปญการท่องเที่ยวแบบ คาร์บอนต�่ำ (Low Carbon Tourism) และสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์ ท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์อย่างเต็มอิ่มตลอดวัน
07 I
Don’t Burn the Heritage : รักโลก รัก (ษ์) มรดกโลก จากผลการวิจัยพบว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อ กลุ่มโบราณสถาน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมรวมไปถึงวัดวาอารามเก่าแก่ในบริเวณ อุทยานประวัตศิ าสตร์แห่งนีด้ ว้ ย เพราะฉะนัน้ ถ้าโลกร้อนโจมตีเรา โบราณสถาน อันเป็นมรดกโลกที่เรารักก็ย่อมถูกท�ำลายลงไปทีละน้อยด้วยเช่นกัน อพท. จึงเปิดตัวแคมเปญท่องเทีย่ วภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Don’t Burn the Heritage’ เพื่อสร้างทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้มีส่วนร่วมลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Emission) ในระหว่างการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสาเหตุส�ำคัญของภาวะ โลกร้อน อีกทั้งยังจะเปิดประสบการณ์เที่ยวเมืองมรดกโลกแนวใหม่ที่ได้สัมผัส วิถีชีวิตและร่องรอยอารยธรรมอย่างแท้จริง ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรมท่องเที่ยวน่าสนใจ ได้แก่ เข้าพักในโรงแรมที่น�ำเสนอกิจกรรมลดการพึ่งพาพลังงาน ยกตัวอย่างเช่น ให้นักท่องเที่ยวออกไปท่องเที่ยวในช่วงเวลากลางวัน (ไม่ใช้พลังงานในห้องพักช่วงกลางวัน) งดบริการท�ำความสะอาดห้องพัก (ลดพลังงานที่ใช้ในการท�ำความสะอาด) ฯลฯ ซึ่งนักท่องเที่ยวก็จะได้รับการ ตอบแทนจากสถานประกอบการในรูปแบบของ Gift Voucher ซึ่งเป็นส่วนลด เงินสดตามมูลค่าของค่าใช้จ่ายพลังงานที่สถานประกอบการประหยัดได้ ใช้จักรยานเป็นพาหนะหลักในการท่องเที่ยว ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถน�ำ Gift Voucher ที่ได้จากการเข้าพักแบบ Low Carbon มาใช้เป็นส่วนลดในการเช่าจักรยานได้ด้วย
เลือกรับประทานอาหารที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น โดยนักท่องเที่ยวสามารถใช้ Gift Voucher เป็นส่วนลดในการรับ ประทานอาหารท้องถิ่น ซึ่งใช้วัตถุดิบที่มาจากในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ เพราะถ้า ลดการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างถิ่นได้ก็เท่ากับได้ลดปริมาณการปลดปล่อย คาร์บอนจากการขนส่ง และอีกไม่นานนี้ อพท. ก็มีแผนจะเปิดตัวอีกหนึ่งแคมเปญท่องเที่ยว น่าสนใจ ‘Gastronomy Tourism’ ที่พาตระเวนชิมอาหารท้องถิ่นในชุมชน ต�ำบลเมืองเก่าสุโขทัย และชุมชนบ้านคุกพัฒนา ซึ่งขึ้นชื่ออย่างมากในความ อุดมสมบูรณ์ด้านอาหาร ออกไปเที่ยวและท�ำกิจกรรมน่าสนใจในเมืองเก่าสุโขทัย บอกเลยว่าเต็มไปด้วยทีเ่ ทีย่ วและกิจกรรมสนุกห้ามพลาดมากมาย เช่น เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามค�ำแหง เข้าร่วมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) กับชุมชนในพื้นที่ อย่างลองขึ้นรูปถ้วยชามสังคโลกด้วย มือเราเอง ลองกดดินปัน้ พระเครือ่ งกับช่างผูเ้ ชีย่ วชาญในพืน้ ที่ ใช้บริการกลุม่ นวดไทยโบราณ ใช้บริการทัวร์จักรยาน เป็นต้น เท่ากับว่าหากนักท่องเที่ยวคนไหนสนใจมาเยือนพื้นที่พิเศษอย่าง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ก�ำแพงเพชร แล้วเข้าร่วมโครงการ ‘Don’t Burn the Heritage’ กับอพท. ก็จะได้ทำ� 3 สิง่ นีไ้ ปด้วยในเวลาเดียวกัน
Three things you can do at the same time on this trip.
1. ค้นพบประสบการณ์เที่ยวแนวใหม่ ‘ไม่เอาถ่าน’ (คาร์บอน) 2. เปิดใจสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ในสุโขทัย 3. ร่วมด้วยช่วยกันถนอมรักษาทั้งมรดกโลก และโลกทั้งใบของเรา
ฟังดูเลอค่าจนน่าเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋า แล้วรีบออกเดินทางไปเยือน 2 เมือง ‘มรดกโลก’ ในช่วงวันหยุดนี้เลย
I 08
ภาพ : พิบูลย์ อมรจิรพร
“เราควรจะออกแบบงานที่เวลาคุณไป จังหวัดนี้ แล้วต้องซื้อกลับมา”
4
คุยกับ
Interview เ
เรื่อง : ศศิธร อุบลแย้ม ภาพ : กิตติศักดิ์ ทวีกิจภิญโญ, อพท.
“ความเรียบง่าย ทำ�ให้เกิด ความแตกต่าง” ภาพ : พิบูลย์ อมรจิรพร
นักออกแบบ
ภาพ : รัฐ เปลี่ยนสุข
“ร่องรอยกาลเวลา ทำ�ให้เรารับรู้ถึง ความเป็นมาของอดีต”
‘มรดกพระร่วง’ พลิกโฉมวงการศิลปะไทยร่วมสมัยอีกครั้ง เมื่อองค์การ บริ ห ารการพั ฒ นาพื้ น ที่ พิ เ ศษเพื่ อ การท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น (องค์กรมหาชน) หรือ อพท. จับมือกับ 4 ดีไซเนอร์แถวหน้า และ ผู ้ ป ระกอบการท้ อ งถิ่ น จากพื้ น ที่ พิ เ ศษอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ สุโขทัย-ศรีสชั นาลัย-ก�ำแพงเพชร ร่วมสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์ ดีไซน์ใหม่คอลเลคชั่นแรกภายใต้แบรนด์ ‘มรดกพระร่วง’ ผ่าน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ เครื่องสังคมโลก เครื่องทอง-เครื่องเงิน ผ้าซิ่น ตีนจก และงานพุทธศิลป์ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสู่วงกว้าง ภายใต้การด�ำเนินงานของ ISMED (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม) แน่นอนว่าเมือ่ สุดยอดฝีมอื ด้านออกแบบเจอกับตัวจริงจาก ชุมชน ผลย่อมสัมฤทธิ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม โดดเด่นด้วยรูป ลักษณ์ร่วมสมัย สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ อีกทั้งยังคง คุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมแห่งเมืองพระร่วงแบบครบถ้วนชวนตืน่ ตา อพท.Travel เล่มนี้จึงรีบชักชวน 4 ดีไซเนอร์มาพูดคุยกันถึงวิธีคิด กระบวนการท�ำงาน กว่าจะออกมาเป็นงานสวยๆ น่าซื้อหามาไว้ใน ครอบครอง
“งานพุทธศิลป์ทั้งสองคอลเลกชั่น เป็นตัวแทนของความปรารถนาดี”
ภาพ : พิบูลย์ อมรจิรพร
09 I
“ความเรียบง่าย ทำ�ให้เกิดความแตกต่าง”
ต่ า ย - กุ ล ธิ รั ต น์ มี ส ายญาติ นั ก ออกแบบ เครื่ อ งประดั บ และของตกแต่ ง บ้ า น รั บ หน้ า ที่ เ ป็ น ที่ ปรึ ก ษาด้ า นการออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ครื่ อ งทอง-เงิ น ร่วมกับร้านสมสมัย ร้านต่อเงิน และร้านไหมเงิน
ตอบรับเพื่อสร้างความแตกต่าง
ตอบรับชวนมาร่วมโครงการนี้ตั้งแต่แรกเพราะ ต่ายอยากสร้างความต่าง และรูเ้ ลยว่าเราจะสร้างความต่าง ตรงนั้นได้อย่างไร โดยมี 3 ประเด็นที่ต้องให้ความส�ำคัญ เท่าๆ กันเลย ประเด็นแรกจะต้องรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม พื้นถิ่นของชุมชน เอกลักษณ์อะไรที่เราจะดึงออกมาสร้าง เป็นแนวคิดหรือแรงบันดาลใจให้เราได้ สองคือต้องสร้าง ความแตกต่างของงานว่าแนวคิดที่เราให้ไปจะมีความ แตกต่างและโดดเด่นตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้ยังไง และ ประเด็นทีส่ ามจะต้องมีความร่วมสมัย ตอบสนองไลฟ์สไตล์ สมัยใหม่ได้ แล้วเจาะไปที่ผู้ประกอบการแต่ละรายว่ามี จุดแข็งอย่างไร โครงการนี้ มี นิ ย ามว่ า ‘เสน่ ห ์ ที่ ซ ่ อ นเร้ น ’ นั ก ออกแบบจึงต้องหาให้เจอว่าเสน่หน์ นั้ คืออะไร ซึง่ ยากทีส่ ดุ ตรงนี้ แล้วดึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ขึ้นมา ชูให้เห็นทักษะหรือ ความวิจติ รของงานดัง้ เดิมของสุโขทัย แต่ไม่จ�ำเป็นต้องดึง ออกมาทัง้ หมด แต่ใช้เพือ่ ให้รว่ มสมัยมากขึน้ ให้ดเู รียบโก้
I 010
โดยเราได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่คอยเสนอไอเดียว่า ลองเอาอันนี้เข้ามามั้ย ช่างเขามี ความช�ำนาญด้านนี้นะ จะคุยกันทุกครั้ง เราท�ำงานด้วยล�ำพังตัวเราเองไม่ได้เลย ต้องอาศัยความ ร่วมมือ และต้องประนีประนอมกันงานถึงจะออกมาได้
คอลเลกชั่น ‘ถักทอมนตรา’ : ร้านทองสมสมัย
สิ่งแรกที่ต้องจุดประกายของเขาขึ้นมาเลยก็คือเรื่องงานถักทอง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ของเขาเลยที่เก่งเรื่องการถักทอเส้นทอง จึงน�ำลายจักสานเข้ามาใช้เป็นลวดลายร่วมกับงานทองที่ เขามีอยูแ่ ล้ว ทีจ่ ริงแล้วเราอยากได้งานทองทัง้ หมดนะคะ แต่ดว้ ยความทีต่ อ้ งการให้กลุม่ ลูกค้าใหม่ วัยเริม่ ต้นท�ำงานสามารถซือ้ ได้งา่ ยขึน้ เพราะฉะนัน้ วัสดุทใี่ ช้จงึ เปลีย่ นจากทองเป็นเงิน 99.99 แทน นอกจากนี้ยังน�ำลายดอกพิกุลเข้ามาตกแต่ง เคาะขึ้นรูปเป็นแผ่นทองประดับดอกพิกุล พร้อมลงยา สีเขียวสีแดง ซึ่งเป็นวิถีดั้งเดิมของสุโขทัย เพื่อให้ยังคงมีอัตลักษณ์เดิมอยู่ ถึงแม้เวลาอันจ�ำกัดจะ ท�ำให้ผลิตออกมาได้เฉพาะแหวน แต่จากแนวคิดตรงนี้เขาสามารถน�ำไปต่อยอดได้แล้ว เริ่มคิดว่าที่ จะท�ำเป็นแหวนทองถัก เริม่ ทีจ่ ะเปลีย่ นแผ่นทองทีห่ วั แหวนเให้มลี วดลายต่างกัน น�ำไอเดียไปปรับ ใช้ต่อได้
คอลเลกชั่น ‘มัจฉามาลัย’ : ไหมเงิน & ต่อเงิน
สองร้านนี้เด่นเป็นเรื่องเครื่องเงิน วิธีคิดก็ตอบโจทย์กันง่ายๆ เลยว่าถ้าพูดถึงสุโขทัยนึกถึง อะไร ซึง่ จากข้อมูลรีเสิรช์ สะท้อนชัดเจนว่านึกถึงลายปลาทีอ่ ยูใ่ นชามสังคโลก ก็เลยชูลวดลายปลา ทีอ่ ยูใ่ นชามสังคโลก โดยเรือ่ งของรูปทรง พยายามลดทอนให้เรียบทีส่ ดุ แต่ยงั ต้องมีลวดลาย ความ วิจิตรหรือทักษะในเชิงช่าง ส�ำหรับร้านไหมเงิน ท�ำเป็นจี้และสร้อย โดยดึงเอางานตกแต่งที่ใช้กับงานของเขาอยู่แล้ว มาใช้ เช่น การลงยา มีจุดไข่ปลา มีลายพิกุล ใช้ลวดขดท�ำเป็นรูปนั้นนี้ จึงเอาลวดขดมาจัดวางทีละ เส้นตามจังหวะให้เป็นลวดลายปลา และใช้ไข่ปลา ท�ำเป็นตาปลา แล้วเชื่อมต่อด้วยเม็ดมะยม คือ เราน�ำรายละเอียดเล็กๆ มาใส่ ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องเอาลวดลายแบบเดิมทั้งหมดมาท�ำ ส่วนคอลเลกชั่นร้านต่อเงิน มีประมาณ 4 ชิ้น ประกอบด้วย ต่างหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ และแหวน ใช้เงินขึ้นรูปเป็นตัวปลาเลย แล้วเอาสัญลักษณ์ตัว ต. เต่า จากชื่อเจ้าของร้านเข้ามาใช้ เป็นตาปลา โดยส่วนนีใ้ ช้วธิ กี ารลงยา เพราะลักษณะเด่นของร้านต่อเงินคือมีการลงยาหลายสีอยู่ใน เครื่องประดับของเขา ซึ่งแนวคิดนี้เขาก็น�ำไปต่อยอดได้ว่าคอลเลกชั่นต่อไปจะใช้สีอะไรได้อีกเยอะ และเขายังขอตัว ต. นี้ไว้เป็นโลโก้ของร้านด้วย
จากของเก่าทรงคุณค่าสู่การออกแบบร่วมสมัย
เสน่ห์เพิ่มขึ้นเพราะมันเรียบไงคะ ต่ายไม่ได้เอาลายของสุโขทัยที่มีอยู่เยอะเข้ามาใช้มาก เกินไป เป็นการลดทอนเพือ่ เพิม่ เสน่หข์ องงาน กลับกลายเป็นเสน่หใ์ นความเรียบง่าย ด้วยรูปฟอร์ม ด้วยเส้นสายจังหวะของรายละเอียดของเทคนิคที่ใช้ ต่ายว่าตรงนี้ล่ะเป็นความงดงามที่ก่อตัวขึ้น ที่ ส�ำคัญถ้าเขาเริ่มเห็นว่าความเรียบง่ายมันท�ำให้เกิดความแตกต่างยังไง แล้วน�ำไปพัฒนาต่อได้ รู้จัก ที่จะหยิบจับอะไรใส่เข้ามาเพื่อสร้างงานใหม่ๆ ต่อไป น�ำมาเล่าเรื่องใหม่ให้มันเก๋และง่าย นี่คือสิ่งที่ ส�ำหรับนักออกแบบแล้วถือว่าประสบความส�ำเร็จสูงสุด
011 I
“งานพุทธศิลป์ ทั้งสองคอลเลกชั่นเป็นตัวแทน ของความปรารถนาดี”
หมี - พิบูลย์ อมรจิรพร สถาปนิกและนักออกแบบ งานพุทธศิลป์ รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ พุทธศิลป์ ร่วมกับบ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์ และร้านศิลปะเสรี
เริ่มต้นด้วยโจทย์ท้าทาย
เป็นเรือ่ งท้าทายมากครับเมือ่ ผมเข้ามาท�ำงานออกแบบ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพุทธศิลป์ ซึ่งผมไม่เคยท�ำงานออกแบบด้านนี้ โดยตรง แต่พอมีความรูอ้ ยูบ่ า้ งจากการเรียนเรือ่ งสถาปัตยกรรม ไทยที่มีความเชื่อทางพุทธแทรกอยู่ค่อนข้างเยอะ เริ่มแรกผมมองว่าน่าจะไปดูที่ขั้นตอนการท�ำงานหรือ กระบวนการผลิตของผูป้ ระกอบการว่าเขาท�ำอะไรได้บา้ ง โดย ธรรมชาติผลิตภัณฑ์ที่เป็นพุทธศิลป์มักจะออกมาจากทางวัด ผ่านการปลุกเสก ท�ำพิธี แต่โครงการนี้เรามองไปที่มุมของ ผู้ประกอบการหรือคนท�ำผลิตภัณฑ์เป็นหลัก โดยคุยกันถึงธีม หลักที่ต้องการว่าเราจะท�ำผลิตภัณฑ์ที่สามารถน�ำไปใช้งานได้ ไม่ใช่ของเก่าทีซ่ อื้ ไปเก็บ อยากท�ำของใช้แบบทีเ่ ป็น everyday use และสามารถเข้าถึงคนทั่วไปได้มากขึ้น ผมก็เลยคิดว่าถ้า อย่างนั้นเราน่าจะท�ำงานที่มีความเป็นพุทธศิลป์กึ่งๆ เป็นของ แต่งบ้าน เราอยากจะพูดถึงพุทธศิลป์ในอีกมุมมองหนึ่งที่คน ทั่วไปเข้าใจง่าย
I 012
ภาพ : พิบูลย์ อมรจิรพร
‘ผัสสะ’ แรงบันดาลใจจากสัมผัสแห่งพุทธศิลป์
ส�ำหรับคอนเซ็ปต์โดยรวมมองว่าพุทธศาสนาเป็นเรือ่ งความเชือ่ เพือ่ ยึด เหนี่ยวทางจิตใจ เมื่อเป็นงานพุทธศิลป์ ผมมองว่าสิ่งที่ผมท�ำน่าจะตอบสนอง ความต้องการทางด้านจิตใจเป็นหลัก ผมนึกถึงการสัมผัสจับต้องได้ ก็เลยมา เป็นแนวความคิดว่าจะใช้แนวความคิดเรือ่ ง ‘ผัสสะ’ ซึง่ ในทางพุทธศาสนาหมาย ถึงการรับรู้ แบ่งเป็นทางตา จมูก ปาก หู การสัมผัส เป็นแรงบันดาลใจหลัก ส�ำหรับงานของโรงหล่อศิลปะเสรี ซึ่งรุ่นคุณพ่อเป็นช่างท�ำพระเก่าแก่ เป็นคนท�ำกระดิ่งพ่อขุนที่อยู่ตรงศาลฯ เพราะฉะนั้นความเชี่ยวชาญคือเรื่อง การขึน้ รูปทรง จากตอนแรกออกแบบเป็นโคมไฟแล้ววอลล์เดเดอเรชัน่ แต่ดว้ ย ข้อจ�ำกัดเรื่องเวลา ก็เลยต้องปรับดีไซน์ใหม่ทำ� เป็นกระดิ่งทองเหลืองอันเล็กๆ ขึ้นรูปด้วยขี้ผึ้ง เป็นงานแฮนด์เมดซึ่งจะเห็นว่าในคอลเลกชั่นแต่ละชิ้นไม่ เหมือนกัน ส่วนใบที่ห้อยกระดิ่งออกแบบเป็นพยัญชนะโดยใช้ตัวอักษรสมัย พ่อขุน ซึง่ สามารถท�ำเป็นชือ่ ของแต่ละคนได้ เป็นของมงคลทีเ่ หมาะกับการเป็น ของฝาก ของที่ระลึก สอดคล้องกับแนวทางของอพท. อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘ผัสสะ’ เกี่ยวกับเสียง กระดิ่งก็จะมีเสียง เวลาเอาไปฝากใครก็เหมือนเป็น การอวยพร เป็นงานที่มีคนสนใจค่อนข้างเยอะ ส่วน ‘ผัสสะ’ อีกคอลเลกชั่น เป็นเรื่องการสัมผัส เพราะเกี่ยวข้องกับ พระพิมพ์ดนิ ด้วยความทีผ่ ปู้ ระกอบการ บ้านพระพิมพ์ ช�ำนาญเรือ่ งพิมพ์พระ ขณะเดียวกันก็มคี วามเป็นอนุรกั ษ์นยิ มค่อนข้างสูง ในทีส่ ดุ ผมลองปรับแบบให้ ท�ำเป็นเหมือนพระพิมพ์ทอี่ ยูบ่ นแท่นดินเผา โดยแท่นพระพิมพ์สโุ ขทัยเป็นแท่น สี่เหลี่ยม ส่วนพิมพ์พระของเมืองศรีสัชนาลัย เป็นวงกลม ที่มาของเนื้อดิน ทั้งสองแหล่งก็แตกต่างกัน โดนเนื้อดินของพระศรีสัชนาลัยมีสีอ่อน เป็นสีขาว
ส่วนดินส�ำหรับท�ำพระสุโขทัยสีเข้มกว่า ถ้าเป็นพิมพ์ของทีไ่ หนก็ใช้ดนิ ของทีน่ นั่ ท�ำ และเขียนชือ่ พระประวัตยิ อ่ เรียบร้อย ออกแนวกึง่ ส�ำเร็จรูปนิดหนึง่ ซือ้ ฝาก ใครก็สามารถตั้งโชว์ได้เลย ต่างจากทุกทีเวลาเราได้พระพิมพ์มาก็ต้องน�ำมา เลี่ยม ใส่กรอบห้อยคอ หรือไม่ก็ใส่กรอบพลาสติก งานออกแบบพุทธศิลป์ ทั้งสองคอลเลกชั่นจึงเป็นเหมือนของฝาก ของที่ระลึก ของมงคล ส�ำหรับซื้อไป ฝากผู้ใหญ่ เป็นตัวแทนของความปรารถนาดี
ความร่วมมือร่วมใจนำ�ไปสู่ผลสำ�เร็จ
ทางผูป้ ระกอบการจะแนะน�ำเราค่อนข้างเยอะในเรือ่ งขัน้ ตอนการผลิต ทริปแรกที่ไปก็ต้องดูเรื่องการผลิตล้วนๆ เลย เพราะงานพิมพ์พระเป็นงาน เฉพาะทางมาก และเรื่องพุทธศิลป์ก็เป็นเรื่องเฉพาะ ท�ำอะไรพลิกแพลงมาก นักไม่ได้ แต่ในที่สุดผมว่าต้องท�ำสิ่งที่เชื่อมโยงกับเขาได้จริงๆ จะดีที่สุด เพื่อที่ เขาพอจะน�ำไปพัฒนาต่อได้ ถ้าท�ำในสิง่ ทีไ่ ปปรับเปลีย่ นขัน้ ตอนการท�ำงานของ เขาทัง้ หมด เขาอาจจะยอมท�ำให้ตอนเราลงไป แต่หลังจากนัน้ พอเขานึกไม่ออก ว่าจะเอาไปท�ำต่อยังไง มันก็จะไม่ได้ประโยชน์ในระยะยาว
ความน่าสนใจของแบรนด์ มรดกพระร่วง
ผมคิดว่าสิง่ ทีเ่ ราท�ำเป็นจุดเริม่ ต้นนะ ต้องคุยกันต่อไปว่าเราจะท�ำยังไง ให้แบรนด์แข็งแรง ถ้าจะให้ดจี ริงๆ ต้องตัง้ หน่วยงานขึน้ มาดูแลว่าจะใช้แบรนด์ นี้ยังไง คุยกันไปถึงว่าควรจะมีร้านต้นแบบที่สุโขทัย เพื่อขายสินค้าแบรนด์นี้ โดยเฉพาะ เพราะของทีเ่ ราท�ำ ถ้าไปวางขายในร้านของผูป้ ระกอบการแต่ละคน มันก็เป็นแค่มุมหนึ่ง หรือผู้ประกอบการบางคนไม่มีช่องทางการขายด้วยซ�้ำ ซึ่งถ้าสภาพแวดล้อมของร้านไม่เอื้อ ก็ยากที่คนจะมองเห็นสินค้า ดังนั้นถ้าเรา ตั้งเป้าไว้ว่าต้องท�ำอะไรสักอย่างให้ส�ำเร็จขึ้นมาเพื่อดึงนักท่องเที่ยวลงไปใน ชุมชน ก็อยากให้ผลักดันไปจนสุดทาง
013 I
“เราควรจะออกแบบงาน ที่เวลาคุณไปจังหวัดนี้ แล้วต้องซื้อกลับมา” รัฐ เปลี่ยนสุข นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และงานสังคโลก รับหน้าที่เป็นที่ ปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์สงั คโลก ร่วมกับร้านสุเทพสังคโลก ร้านกะเณชา และร้านโมทนาเซรามิค
คำ�ถามที่ดีท�ำ ให้ ได้งานที่น่าสนใจ
การได้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์มากลุ่มหนึ่งที่เราต้องท�ำงานด้วยนั้นต้องเริ่ม จากการตัง้ ค�ำถามและตีโจทย์ ซึง่ การตัง้ ค�ำถามทีด่ จี ะท�ำให้ได้ผลงานทีน่ า่ สนใจ ก่อนอืน่ ต้องมาเทียบดูวา่ ตลาดเซรามิกสุโขทัยกับตลาดล�ำปาง ซึง่ จังหวัดอยูใ่ กล้กนั ต่างกันยังไง ล�ำปางเป็นอุตสาหกรรมหนัก แต่เซรามิกของสุโขทัย ผู้ประกอบการทุกคนภูมิใจใน ประวัติศาสตร์สุโขทัย ในงานสังคโลก แล้วเขามีความเป็นอาร์ตมาก ต้องท�ำยังไงให้เขา แตกคุณค่าออกมาในลักษณะของงานศิลปะได้ก็เลยต้องมานั่งตีโจทย์ อะไรที่โรงงาน ท�ำไม่ได้ แต่งานหัตถกรรมท�ำได้ จึงใช้ตรงนี้เป็นโจทย์หลักในการออกแบบ คอลเลกชัน่ ทีท่ ำ� ออกมาเป็นภาชนะทัง้ หมด เนือ่ งจากสุโขทัยขึน้ ชือ่ เรือ่ งสังคโลก และทัง้ 3 ผูป้ ระกอบการเก่งเรือ่ งท�ำภาชนะอยูแ่ ล้ว แต่เราต้องการผลักดันเขาให้ไปไกล มากกว่านั้น โดยผลิตงานที่สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น 30-40% หรือเท่าหนึ่งเลย ทีเดียว ขณะเดียวกันยังต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพ เป็นสินค้าที่สามารถหาได้แบบ เฉพาะกิจ เพราะฉะนั้น ก็เลยคุยกับทุกคนว่าเราควรจะออกแบบงานที่เวลาคุณไป จังหวัดนีแ้ ล้วต้องซือ้ กลับมา เพราะมันเป็นของทีเ่ ป็นเครือ่ งหมายของมรดกโลกเลยนะ ซึ่งถ้าคุณท�ำของที่คนต้องซื้อ นั่นหมายความว่ามันต้องมีคุณค่าทางศิลปะด้วย เพื่อให้ เพิ่มมูลค่าได้
‘บัวเล็บช้าง’ : สุเทพสังคโลก
ภาพ : รัฐ เปลี่ยนสุข
I 014
ในการท�ำงานกับร้านสุเทพสังคโลก ซึง่ ท�ำงานในลักษณะกึง่ แมส ความสามารถ ในการผลิตค่อนข้างเยอะ และเน้นการเข้าไปท�ำงานกับชุมชน มีเรือ่ งอบรมการเขียนลาย เพื่อพัฒนาเด็ก ก็เลยออกแบบสินค้าเป็นจานปั้นมือ โดยอิงกับจานโบราณของสุโขทัย เดิมเรามองภาพงานสังคโลกของสุโขทัย เป็นลายปลาซะเยอะ แต่คอนเซ็ปต์ของ โครงการเราพูดถึงเสน่หท์ ซี่ อ่ นเร้น และอาณาจักรสุโขทัยยิง่ ใหญ่กว่านัน้ มาก จึงไม่ควร จะมีปลาตัวเดียวที่แทนความเป็นสุโขทัย เราควรสืบเสาะหาอะไรที่มีมูลค่าจริงๆ และ ได้พบว่ามีจานที่เป็นลักษณะพิเศษเป็นทรงที่เกิดขึ้นในสุโขทัย ชื่อจานทรงกลีบบัว เล็บช้าง ปลายขอบจานจะหยักๆ แหลมๆ นิดหนึ่ง ก็เลยน�ำจานทรงกลีบบัวเล็บช้างมา พัฒนาเป็นทรงจานของร้านสุเทพฯ
ภาพ : รัฐ เปลี่ยนสุข
ส�ำหรับร้านกะเณชา มีความเป็นอาร์ทิสต์สูง ปั้นงานด้วยมือแบบเหมือน จริงมาก ระหว่างเดินไปเดินมาในร้านผมไปเห็นกูบพระพิฆเณศวร ซึ่งเขาปั้นกูบ ช้างได้สวยมาก เป็นกลีบบัว มีวอลลุม่ มีความพลิว้ ไหว ก็เลยบอกเขาว่าเอากูบช้าง นี่ล่ะมาพัฒนากัน จนออกมาเป็นภาชนะ ให้ทำ� จานจากการใช้มือปั้นออกมาเป็น ฟอร์มเลย ทรงคล้ายกับกลีบบัว ซึ่งท�ำออกมาได้สวยมาก เป็นลักษณะ 4 มิติ มีโค้งหลายๆ แกน ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตไม่ได้ด้วย เพราะไม่มีโมที่สามารถ อัดได้หลายแกน ส่วนชื่อคอลเลกชั่น ‘จารุคลี’ เป็นชื่อของช้างในสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นช้างของกษัตริย์ มีอยู่ในประวัติศาสตร์
ว่าอันไหนคือจุดที่เขาแตกต่างจริงๆ ซึ่งในระยะเวลาของการท�ำงานที่จ�ำกัดท�ำให้ ค่อนข้างทีจ่ ะล�ำบากในการทีจ่ ะต้องไปเจาะลึก แกะเปลือกหาสิง่ ทีเ่ ป็นทรัพย์สมบัติ จริงๆ ของเขาให้เจอ ก็ตอ้ งท�ำงานร่วมกัน ผ่านร้อนผ่านหนาวด้วยกันมาเยอะครับ (ยิ้ม) ผลสุดท้ายจะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ผู้ประกอบการมีจุดเด่นต่างกัน ต่างก็เป็น ตัวแทนของสุโขทัยทางด้านใดด้านหนึง่ นี้ อย่างเช่น โมทนา เป็นตัวแทนของสุโขทัย ในเรื่องของวัสดุตั้งต้น ซึ่งก็คือดิน ร้านกะเณชา เป็นตัวแทนของสุโขทัยเรื่องของ การปั้นรูปทรงด้วยมือ และสุเทพสังคโลกเป็นตัวแทนของสุโขทัยในเรื่องของการ ท�ำน�้ำเคลือบ เพราะรุ่นคุณพ่อเป็นคนขายของเก่า จึงพยายามผสมน�้ำดินหรือ สีดินให้มีสีใกล้เคียงของโบราณเพื่อเคลือบเก็บรักษาของเก่า ผู้ประกอบการต้องออกจากคอมฟอร์ตโซนครับ ผมเป็นคนที่ท�ำงานแล้ว พยายามผลักดันคน ให้เขารู้สึกซัฟเฟอร์ เพื่อจะให้เขารู้ตัวเองว่าลิมิตที่เขาไปถึง ได้นั้นไปได้ถึงแค่ไหน เพราะถ้าไม่ผลักดัน ทุกคนสบายๆ อยู่ในคอมฟอร์ตโซน คุณจะไม่รู้เลยว่าศักยภาพของตัวเองอยู่ที่ไหน ได้ใช้ศักยภาพเต็มที่หรือยัง ดังนั้น คนทีท่ ำ� งานกับผมตอนแรกอาจจะเกลียดผมมาก (ยิม้ ) แต่สดุ ท้ายทุกคนโทร.หาผม แล้วทุกคนขอบคุณที่ในที่สุดเขาก็มีสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาจริงๆ
‘เขาสีล้าน’ : โมทนาเซรามิค
เทรนด์งานทำ�มือที่หวนคืน
และในเมือ่ กลีบบัวเล็บช้างคือกลีบดอกไม้ เราจึงไม่ใช่แค่ดงึ รูปทรงมาอย่าง เดียว แต่ในกระบวนการท�ำจะให้ชา่ งนัง่ ฝนมือจนขอบจานบางและเรียบทีส่ ดุ แล้ว ดัดเป็นทรง เพือ่ ให้ขอบจานทีเ่ ป็นกลีบดอกไม้แต่ละกลีบไม่เหมือนกัน พอวางรวม เป็นเซ็ตแล้วดูน่ากินกว่า ซึ่งนี่เป็นลักษณะหลักของงานหัตถกรรมคือแต่ละชิ้นจะ ไม่เหมือนกัน กลายเป็นจุดเด่นทีฉ่ กี จากตลาดอุตสาหกรรมล�ำปาง ใครก็เลียนแบบ ไม่ได้
‘จารุคลี’ : กะเณชา
ส�ำหรับ โมทนาเซรามิค ลักษณะเด่นของงานจะออกมาเรียบๆ ดูเป็นญีป่ นุ่ ตัวเจ้าของเองเป็นคนที่ท�ำงานรีเสิร์ชเยอะ และจบมาทางด้านวิทยาศาสตร์ จะ เชี่ยวชาญมากเรื่องของการผสมสารเคมี การผสมดิน วัสดุตั้งต้น อีกทั้งยังผูกพัน กับเรือ่ งของดินเยอะ ก็เลยดึงเอาวัสดุตงั้ ต้นคือดินมาใช้เป็นจุดเด่นของงาน โดยให้ โจทย์ว่าให้ทางโมทนาไปหาแหล่งดินโบราณ เมื่อสมัยศตวรรษที่ 14-15 ตรงไหน ทีเ่ ขาขุดดินขึน้ มาใช้ปน้ั เครือ่ งปัน้ ดินเผา ในทีส่ ดุ ได้ดนิ มา 2 แหล่ง ชือ่ หลุมปลาไหล ซึ่งมีความเป็นเหล็กเยอะ ดินออกสีแดง กับอีกหลุมชื่อว่า เขาสีล้าน เป็นดินสีขาว เดิมเขาใช้ดินจากหลุมที่เขาสีล้านมาท�ำสินค้าส่งออกสมัยศตวรรษที่ 14 และน�ำมาท�ำงานเครื่องปั้นดินเผาส�ำหรับใช้ในวัง ดินที่ปั้นภาชนะออกมาจะเป็น สีขาวนวลกริบเลย ซึ่งเราคิดว่าอันนี้คือจุดเด่นแล้วล่ะ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถก๊อปปี้ ท�ำตามได้ในแง่อุตสาหกรรม เพราะดินเป็นเนื้อหาที่มีอยู่เฉพาะแหล่งเท่านั้น ดิน แต่ละทีไ่ ม่เหมือนกัน และดินของสุโขทัยก็มเี รือ่ งราวอยู่ ในทีส่ ดุ ก็ผลิตภาชนะออก มาได้ 3 ชิ้น ใช้ชื่อ ‘เขาสีล้าน’ มาเป็นชื่อคอลเลกชั่นของโมทนา
ค้นหาจุดเด่นเพื่อสร้างสิ่งที่แตกต่าง
การท�ำงานในลักษณะของการเป็นทีป่ รึกษา เราจะไม่มองว่าตัวเราเป็นนัก ออกแบบ ไม่ได้ท�ำงานแบบที่ท�ำกับโรงงาน แต่เราต้องพูดคุยกันเยอะๆ ต้องไปดู
ส�ำหรับการน�ำของเก่ามาออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ ผมว่าในอนาคต เป็นสิ่งที่จ�ำเป็นนะ เราเลยยุคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เข้าสู่ยุคเทคโนโลยี ถามว่าแล้วท�ำไมอยู่ดีๆ มีงานศิลปะท�ำมือดีๆ (Craft) โผล่เข้ามาในยุคที่คนเล่น ไอโฟน ไอแพด เขียนโน้ตซัมซุง ก็เพราะว่ายิ่งนานวันคนเสพเทคโนโลยีเยอะขึ้น คนสัมผัสทัชสกรีนติดต่อกัน แต่เป็นการติดต่อกันแบบ Virtual ไม่ใช่การติดต่อกัน แบบ Human Touch เพราะฉะนั้นอะไรที่เป็นคราฟต์ เป็นของเก่า มีเท็กซ์เจอร์ จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์กลับมาโหยหาอีกที เป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นมาในโลกนี้ และ ค่อนข้างจะอยู่ไปอีกสักพักหนึ่ง โดยเฉพาะในโลกที่เรามีกระแสต้านสงคราม ความรุนแรง เพราะว่าเราต้องการหาอะไรที่ท�ำให้เรารู้สึกปลอดภัย ฉะนั้นงาน คราฟต์จะเริ่มกลับเข้ามาเป็นที่ต้องการของคนในปัจจุบัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้
ผมเป็นคนชอบศึกษา และงานสังคโลกเป็นสิ่งที่เราอยากท�ำตั้งแต่แรกอยู่ แล้ว พอได้ทำ� โปรเจ็กต์นขี้ นึ้ ท�ำให้เราได้เข้าไปศึกษากระบวนการของงานสังคโลก ได้รู้ว่าแหล่งดินเป็นยังไง จุดเด่นของการพัฒนางานต่อไปอยู่ตรงไหนบ้าง และ การได้ท�ำงานกับคนเก่ง คนที่มีความรู้ มีประสบการณ์เยอะ คนที่มีเรื่องราว ผมว่าดีนะ มันท�ำให้รู้สึกว่าเราได้เรียนรู้เพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ไม่หยุด สนุกครับ
015 I
“ร่องรอยกาลเวลา ทำ�ให้เรารับรู้ถึง ความเป็นมาของอดีต” โน้ต - ขนิษฐา นวลตรณี นักออกแบบผลิตภัณฑ์ผา้ ทอ รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านผ้าซิ่นตีนจก ร่วมกับร้าน ศรีนวลผ้าไทย และ ร้านสุนทรีผ้าไทย
‘ร่องรอยกาลเวลา’
หลั ง จากได้ คี ย ์ เ วิ ร ์ ด มาแล้ ว ว่ า แนวทางการ ออกแบบ ลักษณะงานต้องมีความเป็น Heritage มี วัฒนธรรมเข้าไปเกีย่ วข้อง ต้องให้ความรูส้ กึ ว่ามีรากฐาน ที่ยาวนานมาแล้ว หรือมีความเป็นออริจินัลของพื้นที่นั้น เราก็ค่อยไปเจาะสินค้าของ แต่ละผู้ประกอบการว่าเขามีจุดเด่น จุดแข็ง จุดอ่อนยังไง โดยท�ำให้อยู่ภายใต้ร่มหรือ แบรนด์เดียวกัน ดังนัน้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ของทัง้ สองรายนีจ้ ะอยูภ่ ายใต้แนวคิด ‘ร่องรอย กาลเวลา’ มาจากแรงบันดาลใจครั้งแรกที่ลงพื้นที่ แล้วเขาพาไปให้รู้จักพื้นที่พิเศษ สุโขทัย-ศรีสชั นาลัยว่าเป็นยังไง โน้ตรูส้ กึ ว่ามันมีรากฐานวัฒนธรรมทีต่ อ่ เนือ่ งยาวนาน มาก มันเป็นร่องรอยของอดีต เป็นร่องรอยของกาลเวลาที่ก�ำลังจะกลับมา คอนเซ็ปต์ ‘ร่องรอยกาลเวลา’ จะท�ำให้เรารับรูถ้ งึ ความเป็นมาของอดีต และรูส้ กึ ได้ถงึ ความดัง้ เดิม ของมัน
‘กาลเวลา’ : สุนทรีผ้าไทย
สุนทรีผา้ ไทยมีจดุ แข็งอยูท่ กี่ ารผลิตเอง และมีลกั ษณะเชิงเทคนิคโบราณ ท�ำผ้า ลวดลายต่างๆ ทีเ่ ป็นของงานผ้าจก ผ้าไทยพวน โดยลายผ้าจกของเขาสืบทอดมาตัง้ แต่ สมัยรุ่นแม่ ซึ่งตอนนี้ก็ยังท�ำอยู่ เราคิดว่าจุดนี้แข็งมาก ต้องเป็นเทคนิคนี้แหละที่จะ ชูขึ้นมา แต่เนื่องจากการทอผ้าจก ต้องใช้ความละเอียดอ่อน และค่อยๆ ท�ำทีละนิด ท�ำให้งานช้า และราคาแพงมาก ลวดลายก็คอ่ นข้างเป็นเชิงอนุรกั ษ์ ดังนัน้ กลุม่ เป้าหมาย เดิมจึงเป็นคนสูงอายุ ซึ่งถ้าเขาต้องการให้งานดูทันสมัยขึ้น แปลว่ามีปัญหากับลายผ้า แล้วล่ะ เนื่องจากแบบดั้งเดิมมีการใช้สีกับลวดลายค่อนข้างเยอะ เชื่อว่าคนสมัยใหม่ไม่ ใช้อย่างนั้น อย่างไรก็ตาม เราต้องหยิบร่องรอยของเทคนิคดั้งเดิมของเขามาท�ำในรูปแบบ ใหม่ ตีความใหม่ให้ทนั สมัยมากขึน้ โดยยังไม่ทงิ้ ความเป็นลายดัง้ เดิมของเขา แต่หยิบมา แค่บางลายหรือลายเดียว จากนัน้ เพิม่ สเกลให้ดใู หญ่ขนึ้ โมเดิรน์ ขึน้ อย่างผ้าไทยทีม่ อี ยู่ แล้ว อาจจะลดทอนให้ดนู อ้ ยลง แต่กย็ งั มีอารมณ์ของความเป็นไทยหน่อยๆ รวมถึงการ ปรับสี จากเดิมที่ใช้สีเยอะมาก และผสมสีแรงๆ มาชนกัน แต่เรารู้สึกว่าแค่ขาวด�ำนี่มัน เป็นกราฟิกสวยแล้ว เราก็เลยลองให้เขาใช้ลายเดิมทีม่ อี ยู่ แค่ปรับสีนดิ เดียวลุคก็เปลีย่ น
I 016
สรุปคือไม่ต้องใช้สีเยอะ แค่ 2-3 สี หรือหยิบลายมาเล่นแค่ 1-2 ลายพอ ผู้ประกอบการก็แฮปปี้ว่าไม่ได้ ยากอย่างที่คิด ตอนแรกคอลเลกชั่นนี้จะท�ำทั้งเสื้อผ้า แอ๊กเซสเซอรี่ ผ้าพันคอ แต่โน้ตรู้สึกว่ากระเป๋าเป็น แอ๊กเซสเซอรี่ที่ทำ� ได้ง่ายกว่า เพราะสามารถใช้ได้ทุกคน ไม่มีไซส์ ไม่มีสไตล์ที่ชัดเจน มีความเป็นทั่วไป มากกว่า ส�ำหรับร้านสุนทรีผา้ ไหม จึงออกมาเป็นคอลเลกชัน่ กระเป๋าทัง้ หมด 4 ทรง ภายใต้ชอื่ คอลเลกชัน่ ‘กาลเวลา
‘ร่องรอย’ : ศรีนวลผ้าไทย
ส�ำหรับศรีนวลผ้าไทย เนื่องจากเป็นร้านขายผ้าที่อยู่ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สืบทอดมาจากรุ่นแม่ โดยเป็นคนกลางรวบรวมรับสินค้าจากผู้ผลิตหรือชาวบ้านมาจ� ำหน่าย ตรงนี้จึง ค่อนข้างยากในเรือ่ งของศักยภาพในการผลิต เนือ่ งจากไม่ใช่ผผู้ ลิตโดยตรง ก็เลยนึกไปถึงการหยิบผ้าใน ร้านมาท�ำอะไรสักอย่างที่ท�ำให้เกิดลวดลายใหม่ขึ้น ลองคิดวิธีการเอาผ้ามาพิมพ์ลาย หรือเอาอะไรมา ปักเพิ่ม ซึ่งผู้ประกอบการจะสามารถท� ำเองได้ในระดับหนึ่ง แต่เราต้องหาเทคนิคที่เขาท� ำได้ด้วย จึงย้อนกลับไปสู่คอนเซ็ปต์ ‘ร่องรอยกาลเวลา’ ตอนที่เราไปเที่ยว เราได้เห็นวัด ผนังอิฐ ผนังปูน แล้ว รู้สึกว่ามันผ่านร่องรอยกาลเวลา ผ่านร้อนผ่านหนาวจนเกิดลวดลายทางธรรมชาติที่ทำ� ให้ไม่ดูเป็นของ ใหม่ แต่เป็นของที่มีเรื่องเล่ามีประวัติศาสตร์ ที่รู้สึกได้ว่าผ่านอะไรมานาน ดังนั้น แทนที่จะพิมพ์สีหรือ พิมพ์ลายอะไรทับลงไป โน้ตคิดว่าถ้าเราเอาความใหม่ของผ้ามาท�ำให้ดูไม่ใหม่ ก็จะเข้ากับคอนเซ็ปต์ ร่องรอยกาลเวลา จึงเอาเทคนิคของการกัดสีผ้ามาใช้กับงานของศรีนวลผ้าไทย จากนัน้ เลือกผ้าทอสีเรียบทีเ่ รียกว่า ผ้าลายสายฝน เป็นผ้าพืน้ ผสมสองสีทมี่ ลี ายคล้ายๆ สายฝน น�ำมาทดลองกับเทคนิคการกัดสี ท�ำให้เกิดสีด้วยการพ่น หรือการใช้แปรงปาดน�ำ้ ยากัดสีผ้า แล้วท�ำให้ เกิดลวดลายคล้ายๆ ภาพจากผนังปูนวัด รอยอิฐบนก�ำแพงดูคลาสสิก โดยออกแบบลายให้เป็น คอนเซ็ปต์ชวล เชิงแอบสแตรก อิงธรรมชาติ ไม่ได้เป็นลวดลายไทยแบบวิจิตร ในที่สุดก็ได้ออกมา 4 ลายบนเดรส เสื้อ กระโปรง ในคอลเลกชั่น ‘ร่องรอย’ ทางผู้ประกอบการก็ชอบ รู้สึกว่าลายที่ทำ� ออกมาใหม่นี่ไม่เหมือนใครจริงๆ และเป็นเอกลักษณ์ ของร้านเขา ที่ส�ำคัญเขารู้สึกว่าง่าย สามารถน�ำเทคนิควิธีการกัดผ้าแบบนี้ไปท�ำต่อได้เอง ซึ่งตอนนี้ก็ เอาไปต่อยอดด้วยท�ำกับเสื้อผ้ายืด กลายเป็นของที่ระลึกส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวอุทยาน ประวัติศาสตร์
สินี ดำ�รงค์กิจการ กรรมการผู้จัดการบริษัท AEQUENZ และที่ปรึกษา ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ ‘มรดพระร่วง’
โครงการนี้ของอพท. เป็นโครงการที่ดี เล็งเห็นว่ามี สิ่งดีๆ มากมายในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์ฯ ส่วน หนึ่งเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวจากการพัฒนาสินค้าตรงนี้ ให้คนมีความรูส้ กึ ว่านอกจากมาท่องเทีย่ วแล้วยังได้ของติดไม้ ติดมือกลับไป หรืออีกนัยหนึง่ คือสร้างผลิตภัณฑ์ตรงนีใ้ ห้เป็น ตัวดึงดูดนักท่องเทีย่ วด้วย จึงเกิดการร่วมมือกับนักออกแบบ เพือ่ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ขนึ้ มาเพือ่ เจาะกลุม่ ลูกค้าใหม่ กลาย เป็นงานเชิงศิลปะที่มีคุณค่า มีเรื่องราวใช้งานจริงได้ หรือน�ำ มาประดับตกแต่ง ตรงนี้เป็นแนวคิดส�ำหรับการออกแบบ สินค้าทุกชนิด แนวคิดการท�ำสินค้าไทยให้ร่วมสมัย แปลงคุณค่า สิ่งที่มีอยู่ให้มาอยู่ในชีวิตประจ�ำวันได้ เป็นสิ่งที่ดิฉันเห็น ด้วยมาก เราใส่ความเป็นอัตลักษณ์บางอย่างสื่อสารให้โลกรู้ โดยยังไม่ทิ้งของเก่า แต่ปรับให้อยู่ในโลกปัจจุบันได้ ดังนั้น นักการตลาดมีหน้าที่ผลักดันผู้เข้าร่วมโครงการให้สามารถ สร้างแบรนด์ได้ ใช้วิธีทางการตลาดสนับสนุนให้สินค้าตัวนี้ ไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ภายใต้ ‘แบรนด์มรดกพระร่วง’ ซึ่ง เป็นการตอบโจทย์การแข่งขันในตลาดอย่างยั่งยืน ถ้าถามนักการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์ก็ต้องบอก ว่าเป้าหมายที่อยากเห็นที่สุดคือ อยากเห็นแบรนด์ไทยของ เรามีพื้นที่ในตลาดโลก ซึ่งก็ต้องหาวิธีเดินไป ทุกอย่างจะ ส�ำเร็จได้ต้องลงมือท�ำ
สานคุณค่าของเก่าส่งต่อคนรุ่นใหม่
เท่าที่คุยกับผู้ประกอบการเองได้รับฟีดแบกมาว่าดีมากที่เราลองลดทอนลายให้น้อยลง ท�ำให้ เขาสามารถฝึกแรงงาน หรือฝึกเด็กรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาลองท�ำลายใหม่ เพราะไม่ยากเกินไป และไม่ได้ใช้ เวลามากเกินไป เนื่องจากเทคนิคการทอผ้าตีนจกต้องใช้เวลานานและวิธีการท�ำค่อนข้างละเอียดอ่อน มาก ดังนั้น คนท�ำจะเป็นคนยุคแม่ๆ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ถ้าอยู่ๆ ให้รุ่นลูกหรือรุ่นเด็กมาลองท�ำจากลาย ดั้งเดิมเลย เขาจะไม่ทน และจะท�ำไม่ได้ โครงการนี้จึงส่งผลดีในแง่เป็นใบเบิกทางท�ำให้คนรุ่นใหม่เริ่ม รู้จัก เข้ามาเรียนรู้ ฝึกมือจากลายง่ายๆ ก่อน ถ้าเขารู้สึกชอบ สนใจเขาก็จะศึกษาไปเรื่อยๆ อย่างตัวโน้ตเองเป็น Textile Designer แต่โน้ตก็ไม่รู้ลงไปถึงระดับเทคนิคดั้งเดิมหรือเทคนิค โบราณ ซึ่งจากโครงการนี้เราก็ได้เรียนรู้จากผู้ประกอบการถึงเทคนิคหรือศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม หรือ เรื่องการกัดท�ำลายผ้า เราก็ได้ทดลอง ได้ท�ำ และได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน ซึ่งการที่โน้ตเป็นอาจารย์พิเศษ ยิ่งเมื่อเราได้รู้เรื่องอื่นๆ เยอะขึ้น ยิ่งได้มาท�ำงานโครงการพิเศษแบบนี้ มันยิ่งเพิ่มประสบการณ์ให้เรา ได้มากขึ้น และท�ำให้เราได้น�ำประสบการณ์ที่ท�ำไปบอกต่อกับลูกศิษย์ของเราได้ หรือเราคิดว่าศิลป วัฒนธรรมดัง้ เดิมของเรามีดี แล้วท�ำยังไงให้เด็กรุน่ ใหม่ทเี่ รียนแฟชัน่ หันกลับมามองว่ามันดีเหมือนทีเ่ รา มองเห็น
SHOULD KNOW + แบรนด์ ‘มรดกพระร่วง’ เป็นตัวแทนในการสื่อสาร สร้าง การรับรู้ และส่งมอบคุณค่าของเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และ ก�ำแพงเพชร + ‘พระร่วง’ คือพระนามของบูรพกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย พระมหาธรรมราชาทีย่ งิ่ ใหญ่ ผูซ้ งึ่ ปกครองแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ให้มีความเจริญรุ่งเรือง สงบร่มเย็น เรียบง่าย มีความสุข + ตราสัญลักษณ์ของแบรนด์ ประกอบด้วยรูปเจดีย์ทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์ และห่วงสี่เหลี่ยมที่คล้อง ผูกกันไว้ สื่อแทน ‘มรดก พระร่วง’ ศาสตร์และศิลป์ที่มีร่วมกันของเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และก�ำแพงเพชร สี่เหลี่ยมตรงกลางสื่อแทนสัญลักษณ์มรดกโลก และสีทั้งสามสื่อแทนความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ สีน�้ำตาล หมายถึง โบราณสถาน โบราณวัตถุ สีเขียว หมายถึง ความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ ในเมืองเกษตรกรรม และสีฟ้า หมายถึงความมีอิสระเสรี
017 I
เ Thinking
out Loud
เรื่องและภาพ : สฤณี อาชวานันทกุล
เติม ‘ใหม่’ ในเมือง ‘เก่า’ เมืองเก่ามีเสน่ห์ตรงไหน?
ในเมื่อต่างคนต่างจิตต่างใจ คำ�ตอบย่อม แตกต่างกัน
I 018
คนรักประวัตศิ าสตร์ ชอบดูโบราณสถาน อาจบอกว่าชอบเมืองเก่าเพราะ มันมี ‘ของเก่า’ ให้ดู หรือแม้ไม่มีของเก่าเหลือให้ดู ก็ยังได้รู้สึกซึมซับกับ บรรยากาศ ระทึกทีไ่ ด้ยำ�่ ไปบนผืนดินเดียวกันกับคนส�ำคัญในอดีต หรือหวนร�ำลึก โหยหาจารีตโบราณที่เหลือแต่ในความทรงจ�ำ คนช่างสังเกตอาจบอกว่าชอบเมืองเก่าเพราะได้เฝ้าดูผคู้ น ด้วยความฉงน สนเท่ห์ว่าประวัติศาสตร์แสนนานอันรุ่มรวยได้ฝากรอยประทับผ่านกาลเวลาไว้ บ้างหรือไม่หนอ ไม่ว่าจะในรอยยิ้ม วาจา หรือว่าวิถีชีวิตของผู้คน ยิ่งชีวิตสมัยใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์มีส่วนละม้ายคล้ายกันมากขึ้นเรื่อยๆ แทบไม่มีมุมไหนในโลกแล้วที่เรามองไม่เห็นโค้ก สตาร์บัคส์ คนใส่กางเกงยีนส์ ก้มหน้างุดๆ อยู่กับสมาร์ทโฟน ฯลฯ เรายิ่งมีแนวโน้มจะมองว่าเมืองเก่ามีเสน่ห์ ความเก่าคือความแปลก คือความแตกต่างจากปัจจุบนั ทีค่ นุ้ ชิน เมืองเก่า ส�ำหรับบางคนดูจะตอกย�ำ้ ว่าอดีตนัน้ สวยงามโรแมนติก หากแม้นคนทีล่ งิ โลดใจ เช่นนั้นอาจตกเป็นเหยื่อของปมทางจิตวิทยาของธรรมชาติมนุษย์ที่ ‘เลือกจ�ำ’ และมักจะคิดเอาเองว่า อดีตที่ผ่านมาคือ ‘ยุคทอง’ และดีกว่าปัจจุบันเสมอ ความเก่าของเมืองเก่ามีคณ ุ ค่าต่างกันในสายตานักท่องเทีย่ วต่างคนก็จริง แต่เมืองเก่าทุกเมืองล้วนสามารถชีช้ วนหรือหลอกล่อให้นกั ท่องเทีย่ ว ‘มองเห็น’ คุณค่าเหล่านัน้ ได้มากมายหลายทาง ไม่ตอ้ งรอให้นกั ท่องเทีย่ วผ่านมาค้นพบโดย บังเอิญ
ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลท้องถิน่ บริษทั ทัวร์ หรือ พิกัด GPS จากสมาร์ทโฟน น�ำทางนักท่องเที่ยวชนิด ‘เทศกาลแสง’ ไกด์อาสาในเมืองเก่ามากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้ลงทุนโค้ด Real Time ให้รู้ว่างานแต่ละชิ้นอยู่ตรงไหน ผสมผสานเทคโนโลยี เนื้อหาน�ำเที่ยวเป็นแอพพลิเคชั่นมือถือ ใครๆ ก็โหลด ใครเดินดูหมดทุกชิน้ จะเท่ากับได้เดินผ่านเมือง และศิ ล ปะสมั ย ใหม่ มาใช้เองได้ เก่าทั้งย่านเป็นวงกลม ท่ามกลางแสงไฟเหลืองนวลขับ เข้ า กั บ อาคารโบราณ เหมือนมีไกด์พาเที่ยวฉบับพกพา ขับเน้นให้ เน้นให้อาคารโบราณดูสวยลึกลับ ต่างจากสวยสง่ายาม คุณค่าของเมืองเก่าโดดเด่นขึน้ มา เมือ่ คนได้เข้าใจความ กลางวัน อย่างลงตัวและ ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ของสิ่งที่ตาเห็น บางอาคารกลายเป็นฉากหลังให้กับงานศิลปะ มีเสน่ห์ นอกจากนี้ยังช่วยก้าวข้ามข้อจ�ำกัดของคนท้อง เช่น วังคินสกี (Kinský Palace) สถาปัตยกรรมแบบ ถิ่นที่อาจจะไม่ถนัดพูดภาษาของนักท่องเที่ยว โรโคโค (Rococo) ยุคศตวรรษที่ 18 ซึ่งวันนี้ใช้เป็น ผู ้ เ ขี ย นมองว่ า เมื อ งเก่ า หลายเมื อ งที่ มี เ สน่ ห ์ ไ ม่ เ สื่ อ มคลายนั้ น แกลอรีศิลปะของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ (National Gallery) กลายเป็น ล้วนแต่เป็นเมืองที่อนุรักษ์ ‘ของเก่า’ อย่างมีรสนิยมและเป็นธรรมกับผู้อยู่ ทั้งฉากหลังและส่วนหนึ่งของ ‘The Dive’ – งานฉายวิดีโอทาบอาคารหรือ อาศัย ไม่ ‘แช่แข็ง’ วิถีชีวิตของผู้คนไว้กับวิถีอันแร้นแค้นล�ำเค็ญของ Video Mapping ฝีมือศิลปินชาวเชกนาม ปีเตอร์ เครซิก (Petr Krejčík) บรรพบุรุษ เพียงเพื่อล่อหลอกให้นักท่องเที่ยวมากรี๊ดกร๊าดถ่ายเซลฟี่กับ ร่วมกับนักดนตรี ออนเดร สกาลา (Ond ej Skala) งานชิ้นนี้น�ำรูปทรง ประเพณีโบราณที่คนท�ำงานฝืนใจท�ำ เรขาคณิตมา ‘เล่น’ กับองค์ประกอบต่างๆ ของด้านหน้าอาคาร ท�ำให้แลดู อย่างไรก็ดี การจัดการและรักษาเสน่ห์ของเมืองเก่าไม่จ�ำเป็นและ ราวกับว่า ตัวอาคารคือสายน�ำ้ พลิว้ ไหว แต่ทนั ใดมันก็ดจู ะอันตรธานหายไป ไม่ควรจะจ�ำกัดอยู่เพียงงานอนุรักษ์ของเก่าเท่านั้น เพราะถ้าเพียงแต่เน้น ใน ‘พายุดิจิทัล’ ที่สว่างวาบเป็นพักๆ งานอนุรักษ์ นักท่องเที่ยวหลายคนเมื่อได้ไปเยือนเมืองเก่าแล้วจะไม่อยาก งานอีกชิ้นโดยกลุ่มศิลปินสื่อผสม 3dsense ใช้เทคโนโลยี Real กลับไปเยือนอีก Sense ของบริษัทอินเทล (Intel) ยักษ์ใหญ่ในโลกไอที จับภาพผู้มาเยือน ขึ้นชื่อว่าของเก่า ถึงอย่างไรก็ไม่อาจกลายเป็นของใหม่ไปได้ เหตุนี้ และสร้างโมเดลสามมิติ ฉายขึ้นหอซิทคอฟสกา (Šitkovská Tower) หอ จึงไม่แปลกถ้าใครจะคิดว่า มาดูครั้งเดียวก็เกินพอ โบราณที่สร้างจากหินล้วนตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมืองเก่าท�ำอะไรได้บ้าง ถ้าอยากให้คนกลับไปเยือน? หอคอยส่งน�้ำโบราณที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของระบบการส่งน�้ำมายัง วิธีหนึ่งคือการเติม ‘ความใหม่’ ลงไปในเมืองเก่า จะให้ดีก็ควรเติม เมืองเก่าในปราก กลายมาเป็นเพียงอาคารโบราณประกอบทิวทัศน์ริมน�้ำ อย่างกลมกลืนและน่าตื่นตาตื่นใจ แต่ได้แปลงร่างเป็นจอขนาดยักษ์จากโลกอนาคตเป็นเวลาสี่วัน ในงาน ดังตัวอย่างงาน ‘เทศกาลแสง’ (Light Festival) ซึ่งก�ำลังเกิด เทศกาลแสง เป็นกระแสย่อมๆ ในเมืองเก่าทัว่ โลก หลังจากทีเ่ มืองลิองส์ (Lyons) ฝรัง่ เศส ทั้งสองงานเป็นตัวอย่างของการผสมผสานเทคโนโลยีและศิลปะ ได้บุกเบิกกระแสนี้มาแล้วหลายปีด้วยการค่อยๆ เปลี่ยนประเพณีการจุดไฟ สมัยใหม่เข้ากับอาคารโบราณอย่างลงตัวและมีเสน่ห์อย่างยิ่ง ซึง่ จัดขึน้ ในเดือนธันวาคมมาตัง้ แต่ศตวรรษที่ 19 มาเป็นเทศกาลศิลปะสมัย งานเทศกาลแสงในกรุงปรากปีนจี้ ดั ขึน้ เป็นปีทสี่ าม ผูจ้ ดั คาดว่ามีนกั ใหม่ เชื้อเชิญให้ศิลปินที่ถนัดการฉายแสงและ Video Mapping มาวาด ท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศมาทัศนากว่าครึ่งล้านคน ลวดลายในเมืองโดยใช้อาคารโบราณแทนผืนผ้าใบ ผู้เขียนสังเกตว่าคนที่ออกมาท่องราตรีควานหาศิลปะแสงในปราก ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมเทศกาลแสงประจ�ำปีของเมืองปราก นั้นหลากหลายอย่างน่าทึ่ง มีตั้งแต่วัยรุ่นจูงมือกระหนุงกระหนิง พ่อแม่อุ้ม (Prague) สาธารณรัฐเชก ประจ�ำปี 2015 (เว็บไซต์ www.signalfestival. ลูกขี่คอ หลานเซ้าซี้ให้ปู่ย่าตายายอธิบายประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวจาก com/2015/en/) ในคืนวันเสาร์ซึ่งเป็นคืนก่อนวันสุดท้ายของงาน ต่างแดนตื่นตะลึงกับแสงสีเสียง ตั้งแต่ 19.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเริ่มงาน เปิดสวิตช์ผลงานศิลปะ ในโลกนี้ ค งมี ไ ม่ กี่ ง านที่ ดึ ง ให้ ค นเจนวายเงยหน้ า จากจอแชท ชิน้ ต่างๆ อย่างเป็นทางการ ถนนเกือบทัง้ ย่านเมืองเก่ากลายเป็นถนนคนเดิน คนเจนเอ็กซ์ลุกจากเบาะหน้าทีวี ออกมาสังสรรค์กับคนรุ่นพ่อแม่และปู่ย่า คนนับหมื่นพร้อมใจออกมาเดินเที่ยวชมงานศิลปะชิ้นต่างๆ ที่ผู้จัดจงใจวาง ในคืนฤดูใบไม้รว่ งทีถ่ งึ แม้ไม่หนาวเหน็บ ก็ไม่ได้เดินสบายเฉกเช่นฤดูใบไม้ผลิ ไว้เป็นระยะๆ ตลอดทั้งย่านเมืองเก่า รวมทั้งสิ้น 21 ชิ้น เสน่หข์ องเมืองเก่าจึงถูกประกอบสร้างขึน้ ใหม่ได้ไม่สนิ้ สุด เมือ่ มีชอ่ ง สังเกตว่าหลายคนใช้แอพพลิเคชัน่ สมาร์ทโฟนดาวน์โหลดฟรีเดินหา ทางให้ผู้คนได้ค้นพบมันในมุมใหม่ อีกทั้งยังเป็นวิธีส่งเสริมสนับสนุนศิลปิน พิกัดและข้อมูลของชิ้นงาน แอพตัวนี้นอกจากจะมีแผนที่แล้วยังใช้ข้อมูล และนักไอทีรุ่นใหม่ เปิดโอกาสให้บรรเลงฝีมือเต็มพิกัด
019 I
Travelling
เรื่องและภาพ : ฬียากร เจตนานุศาสน์
2
เมืองมรดกโลก ห้ามพลาด
หนึ่งวันไม่รู้ลืมในสุโขทัย และย้อนวันวาน ในเมืองโบราณกำ�แพงเพชร จากข้อมูลของ UNESCO พบว่าหนึ่งในปัญหาที่ท�ำ ให้จำ�นวน นักท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลกลดลง คือ การขาดมัคคุเทศก์ ท้องถิ่นและผู้สื่อความหมายท้องถิ่นที่เข้าใจมรดกโลกและ เข้าใจพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณโดยรอบอย่างแท้จริง ซึ่งนอกจากจะ ไม่มีผู้อธิบายแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังส่งผลให้พื้นที่นั้นขาดเสน่ห์ด้านการท่องเที่ยวไป ดังนั้นการ จัดอบรมเพื่อเฟ้นหามัคคุเทศก์ที่มีความรู้พร้อมนำ�ชมมรดก โลกจึงได้ริเริ่มขึ้น
I 020
021 I
น่าจะถือเป็นฤกษ์ดีส�ำหรับช่วงปลายปีแบบนี้ ที่ท�ำให้เรามีโอกาสได้ไปเยือนเมืองมรดกโลกถึง สองจังหวัดในคราวเดียว คือจังหวัดสุโขทัย และก�ำแพงเพชร สองจังหวัดที่มีมรดกโลกล�้ำค่าจนได้ชื่อ ว่าเป็น ‘เมืองมรดกโลก’ (World Heritage City) ที่เรารู้จักกันในชื่อ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ก�ำแพงเพชร ทั้งสองแห่งนี้อยู่ห่างกันเพียงระยะทางร้อยกว่ากิโลเมตร ใช้เวลา ราวชั่วโมงกว่าๆ ก็สามารถเดินทางถึงกันและกัน แต่การเดินเที่ยวชมอุทยานฯ ทั้งสองแห่งนี้ แนะน�ำว่าใช้ เวลาเพียงวันละแห่งน่าจะดีกว่า เพือ่ จะได้ซมึ ซับบรรยากาศและฟังมัคคุเทศก์ทอ้ งถิน่ อธิบายให้ความรูอ้ ย่าง ละเอียด เนื่องจาก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรืออพท. ได้ร่วมมือกับ UNESCO จัดโครงการพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นในแหล่งมรดกโลก มุ่งให้ชุมชนได้ รับประโยชน์ผ่านการท่องเที่ยว ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยการเริ่มใช้พื้นที่ พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ก�ำแพงเพชร ของ อพท. ส�ำหรับควานหามัคคุเทศน์ท้อง ถิ่นดีๆ มาร่วมแบ่งปันความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว การเดินทางมาอุทยานประวัตศิ าสตร์ทสี่ โุ ขทัยและก�ำแพงเพชรในคราวนี้ จึงถือเป็นการได้ทำ� ความ รูจ้ กั สองเมืองแห่งประวัตศิ าสตร์ทไี่ ด้รบั การยกย่องเป็นมรดกโลกผ่านมัคคุเทศก์ของทัง้ สองจังหวัดทีเ่ พิง่ ได้ รับประกาศนียบัตรจากองค์การยูเนสโก อพท. และมหาวิทยาลัยนเรศวรมาหมาดๆ
I 022
ตามรอยเมืองเก่าสุโขทัย ก่อนจะเข้าไปภายในเขตอุทยานประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยทีค่ รอบคลุมพืน้ ทีก่ ว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานส�ำคัญที่น่าชมมากมาย เราเริ่มจากบริเวณรอบนอกด้วยการเดินไปชมวัดพระพาย หลวงและวัดศรีชุม สองวัดเก่าแก่ที่อยู่ห่างจากก�ำแพงเมืองเก่าไปเล็กน้อย วัดพระพายหลวง นั้นตั้งอยู่ ตรงข้ามกันกับวัดศรีชุม ถึงตอนนี้มัคคุเทศก์เล่าถึงความส�ำคัญของวัดนี้ว่า มีภาพปูนปั้นเป็นศิลปะแบบบายน และมี หลักฐานที่บ่งบอกได้ว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ก่อนเข้าสู่สมัยสุโขทัยนั้น ดินแดนแห่งนี้ นับ เป็นเขตเหนือสุดของไทยทีอ่ ารยธรรมขอมสามารถแผ่อทิ ธิพลมาถึง หลังจากทีเ่ ราได้เดินชมไปโดยรอบ บริเวณก็สามารถสัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ ความสวยงามของศิลปะในแบบเขมรบายน และความ ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรไทยในอดีต จากนั้นไปที่วัดที่ถือเป็นซิกเนเจอร์ของสุโขทัยก็ว่าได้ วัดศรีชุม ที่นอกจากโดดเด่นด้วยผนัง ของมณฑปที่มีความหนาถึง 2 ชั้น และผนังด้านใต้ของมณฑปมีช่องบันไดน�ำไปสู่ยอดของมณฑป ความส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดศรีชุมแห่งนี้ก็คือ ‘พระอจนะ’ พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ปางมาร วิชัย ที่มีเรื่องราวเล่าขานกันมาว่า เป็น ‘พระพูดได้’ ซึ่งปรากฏอยู่ในต�ำนานของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช ที่หลายคนอาจเคยได้ยิน ถึงตอนนี้มัคคุเทศก์เล่าอย่างสนุกเรียกรอยยิ้มให้คนฟังได้ถึงแผนการสร้างก�ำลังใจให้ทหาร โดยสมเด็จพระนเรศวรให้ทหารคนหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังองค์พระและพูดให้ก� ำลังใจ แก่เหล่าทหารที่จะต่อสู้ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นต�ำนาน ‘พระพูดได้’ ที่วัดศรีชุมแห่งนี้
วัดศรีชุม
023 I
MUST-TRY
กิจกรรมน่าท�ำเมื่อไปเยือนเมืองเก่าสุโขทัย
ออกจากวั ด ศรี ชุ ม เรานั่ ง รถรางเข้ า ไปชมภายในเขตอุ ท ยาน ประวัติศาสตร์กันต่อ ไม่น่าเชื่อว่ามีอีกหลายวัดที่มีเรื่องราวและความรู้ทาง ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอัจฉริยะแห่งสกุลช่าง ณ วัดตาเถร ขึงหนัง ปฏิมากรรมโบราณชิ้นเอกที่วัดเจดีย์สี่ห้อง ได้เรียนรู้พุทธคติและ การสร้างวัดโบราณที่วัดเชตุพน จากนั้นเราไปต่อที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคําแหง ชมศิลปะ โบราณวัตถุ และปฏิมากรรมต่างๆ มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ และได้ความรู้มากมายที่ได้ฟังจากมัคคุเทศก์ครั้งนี้ ท�ำให้รู้สึกรักและชื่นชม รวมทั้งหวงแหนแผ่นดินไทย และรู้ถึงคุณค่าความเป็นเมืองมรดกโลกใน สถานที่แห่งประวัติศาสตร์นี้ขึ้นมาอย่างมากมายทีเดีย
หั ด พิ ม พ์ พ ระที่ บ ้ า นพระพิ ม พ์ ร่ ว มสื บ สานภู มิ ป ั ญ ญา ช่างท้องถิ่นและเรื่องราวเกี่ยวกับความศรัทธาและวิถีชีวิตคนโบราณ ผ่านงานสร้างสรรค์ นอกจากได้เรียนรู้วิธีพิมพ์พระให้ออกมาสวยงาม ได้ฝึกด้วยมือตัวเอง และยังได้พระพิมพ์ลายนิ้วมือตัวเองกลับมาเป็นที่ ระลึกด้วย (www.facebook.com/บ้านพระพิมพ์ เมืองสุโขทัย) เดินทางตามเส้นทางทํานบพระร่วงสูส่ รีดภงส์ สัมผัสอัจริยะแห่ง ภูมปิ ญ ั ญาคนโบราณในการสร้างบ้านแปลงเมือง และระบบชลประทาน ซึ่งเป็นคุณค่าโดดเด่นในระดับสากลของเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย
MORE INFO อัตราค่าเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท โดยบัตรนีส้ ามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัด สุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. (ปิดจ�ำหน่ายบัตร เวลา 18.00 น.) หมายเหตุ : ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00-21.00 น. จะมีการส่องไฟ ชมโบราณสถาน กรณีเข้าชมเป็นหมู่เป็นคณะ และต้องการวิทยากรน�ำชม ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต�ำบลเมืองเก่า อ�ำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5569 7310
I 024
ชิ ม ข้ า วเปิ ๊ บ และขนมแดกงา อาหารชาวท้ อ งถิ่ น สุ โ ขทั ย ที่ร้าน Sweet Rice Bakery โทรศัพท์: 08 1377 2071
WHERE TO STAY พักที่โรงแรมน่ารักใกล้อุทยานประวัติศาสตร์ โรงแรม เลอ ชาร์ ม สุ โ ขทั ย หมู ่ ที่ 3 ต� ำ บล เมื อ งเก่ า อ� ำ เภอเมื อ งสุ โ ขทั ย โทรศัพท์: 0 5563 3333
กำ�แพงเพชร
เมืองหน้าด่านที่น่า (หลง) รัก จ�ำได้ว่าเคยมาที่อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกก�ำแพงเพชรแห่งนี้เมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้น เนื่องจากยังไม่มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นน�ำชม และให้ความรู้ของเกร็ดประวัติศาสตร์ของเมืองชากังราว แห่งนี้ เราเลยไม่มีภาพความทรงจ�ำที่เป็นรูปเป็นร่างเท่าไรนัก แต่ในคราวนี้ได้มีโอกาสมาแบบใกล้ชิด และได้สมั ผัสความน่ารักหลายอย่างในเมืองเล็กๆ ทีถ่ อื เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองหลวงเก่าสมัยสุโขทัย เป็นราชธานี ท�ำให้พบว่าหลายอย่างในเมืองก�ำแพงเพชรแห่งนีม้ เี พชรให้ชนื่ ชมสมชือ่ จริงๆ และเมือ่ มา เยือนแล้วจะมีที่ไหนน่าสนใจและควรไปไหนท�ำอะไรกันบ้าง ขออธิบายแบบรวบรัดไว้ดังนี้
MUST-TRY
กิจกรรมน่าท�ำเมื่อมาเยือน เมืองก�ำแพงเพชร ก่อนอื่นไปนมัสการ พระบรม ธาตุนครชุม พระบรมธาตุสที องเรืองรอง ที่คล้ายเจดีย์ในพม่า และไปผัสเรื่องราว ของเมืองนครชุมในทุกยุคสมัยทีศ่ นู ย์การ ท่องเทีย่ วนครชุม ชมภาพถ่ายนครชุมใน อดีต พร้อมเรื่องราวในนิยายของมาลัย ชูพนิ จิ นักเขียนผูฝ้ ากรอยประวัตศิ าสตร์ ของเมืองนี้ไว้ในนวนิยายหลายเล่ม เดิน ชมบ้ า นเก่ า ร้ า นขายทองที่ ป ิ ด ประตู ซือ้ -ขาย หาก๋วยเตีย๋ วเจ้าอร่อยในตลาดชม และชิมอาหารในตลาดย้อนยุคนครชุม ในวั น ศุ ก ร์ - เสาร์ - อาทิ ต ย์ แ รกของทุ ก เดือนเวลา 16.00-21.00 น.
025 I
วัดพระสี่อิริยาบถ
กำ�แพงวัดช้างรอบ
เดินชมวิถีชีวิตย่านคลองสวนหมาก เที่ยวชมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และไปชมบ้านข้าว ตอกอัด ชมวิธกี ารทําขนมโบราณทีข่ นึ้ ชือ่ ของท้องถิน่ โดยคุณยายประภาศรี เอกปาน สาธิตให้ชมทุก ขัน้ ตอน และอย่าลืมอุดหนุนขนมข้าวตอกแสนอร่อย รวมทัง้ กระยาสารทกวนสูตรโบราณมาชิม มาถึงเรือนคุณยายแล้วห้ามพลาด และยังมีทองม้วนสูตรโบราณอร่อยเด็ด ถุงละแค่ 10 บาท อย่าลืมเป้าหมายหลักคือมุ่งสู่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกําแพงเพชร ตามรอยสกุลช่าง โบราณแห่งเมืองกําแพงเพชร ผ่านปฏิมากรรม และสักการะพระอิศวรส�ำริด ปางประทานพร องค์แท้หนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่มีความเชื่อว่าหากได้มาสักการะท่านจะได้รับความเจริญ ก้าวหน้า ชมประติมากรรม และพระพุทธรูปโบราณสุดล�ำ้ ค่า รวมทั้งประวัติดาบคู่บ้านคู่เมือง ก�ำแพงเพชร (พิพธิ ภัณฑสถานจังหวัดก�ำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติฯ เปิดทุกวัน 09.00-16.30 น. โทร. 0 5572 2342 นั่งรถรางเลาะเลียบกําแพงเมืองกําแพงเพชร ชมประตูเมือง ประตูผี และบรรยากาศ รอบๆ เขตก� ำ แพงมื อ งที่ เ ขี ย วสดชื่ น ร่ ม รื่ น ด้ ว ยต้ น ไม้ ใ หญ่ พร้ อ มชมวิ ถี ชี วิ ต ชาวเมื อ งใน แหล่งมรดกโลก (สอบถามบริการรถรางได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวเทศบาลก�ำแพงเพชร โทร. 09 4636 6369) เข้าชมภายในอุท ยานประวัติศ าสตร์ก�ำ แพงเพชร ที่ได้ชื่อว่าเป็น แหล่งมรดกโลก อีกแห่งหนึ่งของไทยเรา เดินดูชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดี ชมร่องรอยความงดงามของ วัดพระสี่อิริยาบถ ณ จุดนี้ถ้ามีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยอธิบายจะรู้สึกถึงคุณค่าของความงามใน สถานที่แห่งประวัติศาสตร์ได้มากขึ้น รวมทั้งสัมผัสความงดงามของวัดโบราณ คติการสร้างวัด โบราณของกําแพงเพชร และสัมผัสความยิ่งใหญ่ของเมืองประวัติศาสตร์กําแพงเพชรผ่าน สถาปัตยกรรมที่สร้างจากศิลาแลง ก่อนไปปิดท้ายชมแสงอาทิตย์ยามบ่ายคล้อยตกกระทบที่ ก�ำแพงวัดช้างรอบ ท�ำความเข้าใจ ภูมิจักรวาล และคติการสร้างวัดผ่านสถาปัตยกรรมและ ปฏิมากรรม (เปิดทุกวัน 08.00-17.00 น. โทร. 0 5585 4736-7 รับประทานอาหารริมแม่น�้ำปิง ชมทัศนียภาพสวยงามยามเย็น และภาพสีทองอร่ามของ พระธาตุนครชุมโดดเด่นในยามฟ้าพลบค�่ำ (ร้านอาหารบ้านริมน�้ำ โทร. 0 5572 2581)
I 026
Good to know เ
เรื่อง: Sasi
เมนูเด็ดแบบสุโขทัยแท้
Gastronomy Tourism เที่ยวแนวใหม่ ชิมของอร่อยพื้นถิ่น
อาณาจักรสุโขทัย หรือรัฐสุโขทัย (Kingdom of Sukhothai) ที่ตั้งอยู่ บนทีร่ าบลุม่ แม่นำ�้ ยม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรและวัฒนธรรม โดยเฉพาะ เรือ่ งการกิน ‘Gastronomy’ การกินอยูใ่ นอาณาจักรสุโขทัยอุดมไปด้วยวัตถุดบิ และอารยธรรมในการบริโภค ควบคูไ่ ปกับเมนูทเี่ ปีย่ มไปด้วยภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ดังมีหลักฐานอ้างอิงผ่านการบันทึกลงบนแผ่นศิลาจารึก “ในน�ำ้ มีปลา ในนามีขา้ ว” อพท. ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลพื้นที่พิเศษ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรี สั ช นาลั ย และก� ำ แพงเพชร จึ ง ผุ ด ไอเดี ย เส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วแนวใหม่ ‘เปิบต�ำนานมรดกโลกแห่งอาณาจักรสุโขทัย’ (World Heritage Cuisine of Sukhothai Kingdom) ธีมกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร ‘Gastronomy Tourism’ ซึ่งผสมผสานกิจกรรมด้านอาหารและกิจกรรมท่อง เที่ยวในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ความสุข สงบ และมรดกวัฒนธรรม ซึง่ เป็นคุณค่าของสุโขทัย โดยมีอาหารเป็นสือ่ น�ำทาง ซึ่ง 2 พื้นที่ในสังกัดพื้นที่พิเศษของอพท. ที่จะประเดิมเป็นโครงการน�ำร่อง ก่อนใคร ได้แก่ 1. ชุมชนต�ำบลเมืองเก่าสุโขทัย ซึง่ เป็นทีต่ งั้ ของอุทยานประวัตศิ าสตร์ สุโขทัย เต็มไปด้วยกลิ่นอายของเรื่องราวแห่งความจริงแท้ เช่น ความสุขสงบ มรดกทางวัฒนธรรม ฯลฯ 2. ชุมชนบ้านคุกพัฒนา ชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านอาหาร มี เรื่องราวเกี่ยวกับสมุนไพร สุขภาพ ทั้งยังไม่ไกลจากต�ำบลเมืองเก่า จึงใช้ระยะ เวลาเดินทางไม่นานนัก ว่าแต่อยากรูก้ นั แล้วใช่มยั้ ว่า การท่องเทีย่ วตามเส้นทางฟูด้ ทริปแบบนี้ เราจะได้ชมิ เมนูอะไรบ้างจากพืน้ ถิน่ สุโขทัยทีแ่ สนอุดมสมบูรณ์ เราไปท�ำความ รู้จักอาหารดั้งเดิมของท้องที่กันเลย
1. ขนมข้าวตอกพระร่วง สุโขทัยดังอยู่แล้วเรื่องข้าวตอกที่ได้มาจากข้าวเปลือกคั่วให้แตกออก เป็ น ดอกขาว ใช้ ใ นการท� ำ พิ ธี ม งคล ใช้ โ ปรยรวมกั บ ดอกไม้ แ ละเงิ น ทอง เป็นเคล็ดว่าให้รุ่งเรืองเฟื่องฟูขยายออกได้เหมือนข้าวตอก และข้าวตอกก็เป็นวัตถุดิบในการท�ำ ‘ขนมพระร่วง’ ขนมไทยโบราณ ที่หาทานได้ยาก เพราะมีวิธีการท�ำหลายขั้นตอน แต่ยังพบได้ที่ชุมชนบ้านใต้ ต�ำบลเมืองเก่า อ�ำเภอเมืองสุโขทัยเท่านั้น สมัยปู่ย่าตายายของคนสุโขทัยมัก นิยมท�ำกันในงานบุญ ประกอบด้วย 2 วัตถุดิบหลักคือ ข้าวตอก และน�้ำตาล โตนด น�ำมาผ่านกระบวนการท�ำจนได้ขนมข้าวตอกทีม่ รี สชาติหวานจากน�ำ้ ตาล ธรรมชาติ แต่ไม่หวานแหลม เคี้ยวได้หนุบๆ 2. ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย หลายคนเข้าใจว่าก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยคือ ก๋วยเตี๋ยวต้มย�ำที่ใส่ถั่วป่น ซึ่ง บอกเลยว่านั่นไม่ใช่ของแท้ เอกลักษณ์ที่แท้ของก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย คือ รสหวาน จากน�ำ้ ตาลปีบ๊ ทีท่ ำ� จากตาลโตนด แต่ตดั รสเปรีย้ วด้วยการบีบมะนาวผ่าซีกลงไป อาจเติมพริกป่นตามชอบ ก่อนใส่ส่วนประกอบอื่นๆ ผู้ปรุงจะต้องลวกเส้น ก๋ ว ยเตี๋ ย วแล้ ว น� ำ มาคลุ ก เคล้ า กั บ น�้ ำ มั น กระเที ย มเจี ย วที่ ไ ด้ จ ากกากหมู ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ หมูแดง ลูกชิ้น หมูสับ และที่ขาดความเป็นก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยไม่ได้เลยคือ ถั่วฝักยาวหั่นแฉลบ ลวกในน�ำ้ เดือดจนสุก หมดกลิน่ เหม็นเขียว ก๋วยเตีย๋ วสุโขทัย ใครจะทานน�ำ้ หรือ แห้งก็ได้ทั้งนั้น 3. เมนูอาหารจาก ‘ไข่นำ�้ ’ ไข่น�้ำ ไม่ใช่ไข่ แต่เป็นพืชน�้ำ ลักษณะสีเขียวขนาดเล็กคล้ายไข่ปลา กระจายคลุมเหนือผิวน�ำ้ เป็นแพ มีขนึ้ อยูต่ ามแหล่งน�ำ้ ทีเ่ ป็นน�ำ้ นิง่ เวลาเก็บไข่นำ�้ ต้องใช้สวิงช้อนขึ้นมา แล้วล้างให้สะอาดโดยไข่น�้ำที่เก็บได้จะน�ำไปเป็น ส่วนประกอบของกิจกรรมท�ำอาหารต่อไป ตัวอย่างเมนูจากไข่นำ�้ ได้แก่นำ�้ พริก แกงป่า แกงเผ็ด ไข่เจียว อันที่จริง คนชนบทภาคเหนือและอีสานนิยมน�ำไปประกอบอาหารกัน มานานตั้งแต่สมัยโบร�่ำโบราณแล้ว ไข่น�้ำมีรสมัน มีโปรตีนสูงมากถึง 40% ของน�้ำหนักแห้ง ทั้งยังว่ากันว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ รักษาอาการท้องผูก ต้านการติดเชื้อ ช่วยปรับสภาพร่างกายให้เป็นด่างในคนที่มีภาวะเครียด และ ช่วยรักษาภาวะซีดในคนที่เป็นโรคโลหิตจาง MORE INFO
โครงการ Gastronomy Tourism ยังอยู่ในช่วงทดสอบเส้นทาง นักท่องเที่ยว ที่สนใจอยากเที่ยวแนวนี้ สามารถสอบถามความคืบหน้าโครงการได้ที่ อพท.4 ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ก�ำแพงเพชร โทร. 0 5561 0481-2
027 I
เรื่อง : วีรภา
เ Eat
Out
รุ่งอรุณแห่งความสุข (และความอร่อย)
ร่วมเดินทางท่องเที่ยวด้วยหัวใจอนุรักษ์ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พร้อมแวะอิ่มท้องอุ่นใจไปกับ 3 ร้านอาหาร ณ จังหวัดสุโขทัย ที่เข้าร่วมโครงการ Don’t Burn The Heritage
ครัวบ้านจันทร์ฉาย
สืบเนือ่ งจากความส�ำเร็จของธุรกิจบริการห้องพักในพืน้ ทีเ่ มืองเก่าของตระกูลเหมลักษณ์ ไพโรจน์ที่ท�ำธุรกิจโรงแรมหลายแห่งในจังหวัดสุโขทัย พวกเขายึดถือว่า อีกหนึ่งสิ่งส�ำคัญใน การบริการนั่นคือการใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของร้านอาหาร ‘ครัวบ้าน จันทร์ฉาย’ ที่ต้องการแบ่งปันประสบการณ์ของอาหารไทยรสชาติเข้มข้น ทั้งยังมีอาหารทะเล สดๆ ส่งตรงจากภาคตะวันออกไว้คอยให้บริการส�ำหรับผู้ที่รักและชื่นชอบอาหารทะเล ชื่อเมนู แต่ละรายการเห็นแล้วก็ชวนสงสัยว่าเมนูเหล่านี้คืออะไรกันนะ ทั้ง ต�ำตะบันจันทร์ฉาย ส้มต�ำ เส้นใหญ่ ปูนางโลม ไก่ย่างจ�ำเลยรัก ไก่นิคกี้ แกงอ่อมสามเห็ด (ส่วนอยากรู้ที่มาของเมนูไหน แนะน�ำให้แวะมาถามที่ร้านเอง รับรองได้ค�ำตอบแน่นอน) เมนูแนะน�ำ : ปลากะพงเมืองเก่า โดดเด่นด้วยตะไคร้ซอยพร้อมน�้ำย�ำรสจัดจ้าน แกล้ม กับเนื้อปลากะพง ต�ำตะบันจันทร์ฉาย เมนูเอกลักษณ์ส้มต�ำรสแซ่บพร้อมเครื่องเคียงอย่าง แคบหมู ไข่ต้ม รวมถึง 3 เมนูไก่ ที่ใครมาเป็นต้องเปิดเมนูสั่ง ไก่ปล้อง ไก่เก้านิ้ว และไก่ย่าง จ�ำเลยรัก เสิร์ฟร้อนๆ บนใบตอง
ข้อมูลเพิ่มเติม : ครัวบ้านจันทร์ฉาย โทร. 08 1971 5143 169/9 หมู่ที่ 2 ตำ�บลเมืองเก่า อำ�เภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64210
I 028
SUKHOTHAI TREASURE RESTAURANT
มาดินแดนประวัติศาสตร์ ถ้าจะให้ได้อารมณ์ยิ่งขึ้น ก็ควรลิ้มลองเมนูตำ� รับไทยที่น�ำวัตถุดิบ ท้องถิ่นหากินง่าย มาปรุงรสแต่งแต้มด้วยเสน่ห์จัดจ้าน เราขอแนะน�ำเมนูสัญชาติไทยที่โดดเด่น ณ ห้องอาหารบัวชมพู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรม สุโขทัย เทรเชอร์ รีสอร์ตแอนด์สปา แห่งนี้ เสิร์ฟอาหารนานาชาติ แต่เน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทยขึ้นมาชูโรงโดดเด่น แกล้มด้วยบรรยากาศ วิวธรรมชาติที่แสนร่มรื่น เมนูแนะน�ำ : ย�ำปลาช่อนฟู สลัดกุ้งแม่น�้ำงาด�ำ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยรสจัดจ้าน แกล้มรสหวาน เย็นขึ้นใจด้วยน�้ำดื่มสมุนไพร เช่น น�้ำอัญชัน น�้ำใบเตย น�้ำตะไคร้ ข้อมูลเพิ่มเติม : SUKHOTHAI TREASURE RESORT & SPA โทร. 0 5561 1555 ถนนจรดวิถีถ่อง เชื่อมระหว่างเมืองใหม่และเมืองเก่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย www.sukhothaitreasure.com/
The Legendha Sukhothai Resort
ห้องอาหารน�้ำค้างสุโขทัย ห้องอาหารไทยดั้งเดิมริมคลองแม่ร�ำพัน เป็นร้านอาหารไทย รสชาติดงั้ เดิมทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั และได้รบั ความนิยมมานานกว่า 15 ปี หากคุณคิดว่าการมาเทีย่ วเมืองเก่า เมืองมรดกโลก รสชาติอาหารไทยที่คุ้นปากส�ำคัญพอๆ กับความอิ่มเอมในบรรยากาศ ที่นี่ถือเป็น ทางเลือก ด้วยที่ตั้งของจังหวัดสุโขทัย ที่อยู่ระหว่างทางภาคเหนือและภาคอิสาน หลายๆ เมนูจึงน�ำ ส่วนผสมทีจ่ ดั จ้านของสองภาคมาเสิรฟ์ ไว้ได้อย่างลงตัว เพลิดเพลินกับเมนูไทยแท้ ทัง้ ไก่ยา่ งสุโขทัย ที่น�ำไก่ทั้งตัวน�ำไปย่างแบบไฟอ่อนๆ เนื้อนุ่ม หนังกรอบ รสเด็ดยิ่งขึ้นเมื่อแกล้มกับน�้ำจิ้มไก่สูตร เฉพาะ อิ่มเอมกับรสอาหารแล้ว ที่นี่ยังมอบประสบการณ์ตรงแด่ผู้มาพัก ด้วยการแสดงนาฏศิลป์ ไทยทุกค�ำ่ คืนจากวิทยาลัยนาฏศิลป์สโุ ขทัย นับเป็นการน�ำเสนอการท่องเทีย่ วในมุมมองอนุรกั ษ์และ สร้างความประทับใจยิ่งนัก เมนูแนะน�ำ : ไก่อบฟาง แกงเลียงปลาย่าง ขนมจีนน�้ำยา น�้ำพริกหนุ่ม ข้อมูลเพิ่มเติม : The Legendha Sukhothai Resort โทร. 08 2450 0178 หรือ 0 5563 3135 214 หมู่ที่ 3 ตำ�บลเมืองเก่า อำ�เภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64210 www.LegendhaSukhothai.com
029 I
เ Entertain
เรื่อง : Daft Pink
Charming Old Town เสน่ห์เมืองเก่า
เรื่องราวของเมืองเก่าผ่านแผ่นฟิล์ม หนังสือเก่า ไปจนถึงคลิปสั้นๆ ที่เต็มไปด้วยร่องรอยแห่งอดีต MOVIE
Always Sunset on Third Street ปี 2558 นี้ ภาพยนตร์เรื่อง Always จะมีอายุครบ 10 ปีพอดีที่ออกฉายครั้งแรกใน ประเทศญี่ปุ่น และเป็นภาพยนตร์ที่หลายๆ คนคงจ�ำกันได้ว่าท�ำให้เราหวนนึกถึงชีวิตวัยเด็ก และบ้านเก่าที่เราเติบโต หนังว่าด้วยพล็อตเรื่องฟีลกู๊ด พูดถึงการ ด�ำเนินชีวิต ความสัมพันธ์ ความหวัง และความรักของสมาชิกในชุมชนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งบนถนนสายที่ 3 โดยมีกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1950 หรือปีโชวะที่ 31) เป็นฉากหลัง มีโตเกียวทาวเวอร์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้น และ ความหวังที่ปลายขอบฟ้า ภาคแรกเล่าถึงยุคหลังสงคราม ปี 1953 ถ่ายทอดเรือ่ งราวชาวบ้านบนถนนสายที่ 3 แห่ง กรุงโตเกียว โดยมีพื้นหลังเป็นหอคอยโตเกียว พร้อมรถยนต์รุ่นเก่าที่แล่นตามท้องถนน โดยมี คนต่างวัย ต่างอาชีพที่สะท้อนตัวตนของผู้คนในเมืองโตเกียว ทั้งเจ้าของกิจการอู่ซ่อมรถขี้โมโห และครอบครัว นักประพันธ์ไส้แห้ง คุณหมอปากร้ายใจดีทเี่ ก็บง�ำความเศร้าไว้เมือ่ ครอบครัวจาก ไปหลังสงคราม สาวน้อยที่เดินทางจากต่างจังหวัดสู่เมืองหลวง รวมไปถึงสาวงามแห่งร้านสุรา ญี่ปุ่นอดีตนางร�ำในสถานเริงรมย์
I 030
Youtube QUOTE บางเรื่องในชีวิต แม้จะย้อนเวลาได้ตาม เราควรให้ มันเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว เพื่อให้มันมีความหมาย
100 Years of...
-About Time –
ชวนคุณคลิกไปชมชาแนลยอดฮิต ที่นำ�เสนอ ประวัติศาสตร์ 100 ปี (ของเรื่องแบบนี้ก็มีด้วย) 100 Years of Fitness in 100 Seconds : by Beneden UK
ท่ามกลางบรรยากาศของอดีตตัวละครทุกตัวยืนหยัดด้วยสิ่งเดียวกันนั่นคือ ชีวติ และความฝัน นอกจากได้รบั ค�ำชมจากคนดู นักวิจารณ์ แต่ผลงานทีโ่ ดดเด่นทีส่ ดุ คือการได้รับรางวัลแจแปนิสอคาเดมี ประจ�ำปี พ.ศ. 2549 ถึง 12 สาขา พร้อมกับ ผลงานในภาค 2 และ 3 ตามล�ำดับ ที่เล่าถึงการเติบโตของตัวละคร และบรรยากาศ ของเมืองโตเกียวในยุค 1964 เมื่อประเทศญี่ปุ่นก�ำลังจะเป็นเจ้าภาพแข่งขันกีฬา โอลิมปิก ผูค้ นทัว่ เมืองต่างตืน่ เต้น รถไฟหัวจรวดชินคันเซ็นเปิดให้บริการเป็นครัง้ แรก
ท่วงท่าออกกำ�ลังกายก็มีวิวัฒนาการตาม ยุคสมัยด้วยหรือนี่ 100 Years of Lingerie in 3 Minutes : by Mode.com
Charming Old Town แม้ว่าโตเกียวในวันนี้จะไม่ใช่เมืองเก่า แต่เมื่อหนังพาเราย้อนอดีตสู่วันวานเก่าๆ นี่จึงเป็นเกร็ด เล็กเกร็ดน้อยว่าด้วยเรื่องเก่าๆ ที่เราอยากบอกคุณ ยามาซากิ ผู้กำ�กับ ต้องการนักแสดงผู้ที่มีกลิ่นอายของความเป็นชาวญี่ปุ่นสมัยโชวะ ดังนั้น เขาจึงคัดเลือกนักแสดงที่เคยโด่งดังจากภาพยนตร์ที่ออกฉายในสมัยโชวะจริงๆ ในภาคแรก ฉากรถไฟที่สาวน้อยมัตสึโกะเดินทางจากชนบทมาทำ�งานในกรุงโตเกียว ใช้แบบ จำ�ลองขนาดเล็กของหัวรถจักรรุ่น ซี 62
อดีตของชุดชั้นในทั้งชายและหญิงใน 100 ปี (มีงี้ด้วย) 100 Years of Beauty in 1 Minute : by WatchCut Video เทรนด์เมกอัพยอดฮิตตั้งแต่ปี 1910
031 I
book
ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว : มองประวัติศาสตร์สังคมบางขุนนนท์ ผ่านถนนและคลอง ส�ำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม : ผู้เขียน ยุวดี ศิริ ; ปี 2558
เพราะอาหารในท้องถิ่นหนึ่งจาน บอกอะไรเราได้มาก กว่ารสชาติความอร่อย แต่ยังเป็นสิ่งสะท้อนความเป็นอยู่ และชีวิตของผู้คน เช่นเดียวกับเรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว ณ ย่านบางขุนนนท์ แหล่งร้านที่เชื่อว่า เมื่อเดินไปภายใน 100 เมตร คุณจะต้องพบร้านก๋วยเตี๋ยวสักหนึ่งคูหา เนื้อหาในเล่มพาคนอ่านเดินทางย้อนไปใน ประวัตศิ าสตร์ยา่ นบางขุนนนท์ เก่าแก่ของธนบุรี และคลองชักพระทีเ่ ต็มไปด้วยร้านอาหารหลากเส้นทัง้ ก๋วยเตีย๋ วเนือ้ ก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ย้อนไปในอดีต 50-60 ปี คนรุ่นพ่อรุ่นแม่มักจะพายเรือขายในคลองชักพระมาก่อน จากนั้นเมื่อยุคของเรือโดยสารผ่านไป กลายเป็นยุคถนนและรถรา พ่อค้าแม่ขายจึงย้ายมาเปิดร้านเซ้งตึกกันทั้งสิ้น หรือแม้แต่ยุคหนึ่ง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศนโยบายรัฐนิยม ส่งเสริมให้คนไทยบริโภคก๋วยเตี๋ยวกัน เยอะๆ อีกด้วย ความสนุกผ่านเรือ่ งราวเมนูจานเส้นนีส้ ะท้อนให้เราเห็นภาพของผูค้ น เมืองเก่า และวิถชี วี ติ ทีน่ า่ สนุก น่าติดตามและน่าน�ำ้ ลายสอผ่านเมนูหายากหลายๆ ร้านอีกด้วย
บันทึกส่วนตัว ซายูริ
ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อเด็กๆ : เด็กหญิงซายูริ ซากาโมโตะ ; ปี 2558 ราคา : 575 บาท (เฉพาะสั่งจองเดือนธันวาคม สอบถามได้ที่เฟซบุ๊ก)
จากสมุดบันทึกกว่า 1,100 เล่มในโครงการสมุดบันทึกวัยเยาว์ รุ่นแรก ปี 2557 ของส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ หนึ่งในนั้นได้มีสมุดบันทึกของสาวน้อย คนหนึ่งตอบกลับมา เธอเป็นเด็กวัยประถม 8 ขวบที่ชื่นชอบการขีดๆ เขียนๆ เธอรักการอ่าน และการอ่านนั้นกระตุ้นให้เธออยากจดบันทึก เข้าท�ำนองชอบเขียนก็เลยชอบอ่าน ชอบอ่านก็เลยชอบเขียน หนูน้อยคนนี้คือ ‘ซายูริ ซากาโมโตะ’ วัย 8 ขวบ นักเขียนที่อายุน้อยที่สุดของ เมืองไทยกับพ็อกเก็ตบุ๊กเล่มแรก ภายใต้การท�ำงานร่วมกันกับบรรณธิการรุ่นใหญ่ คุณมกุฏ อรฤดี บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อและ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจ�ำปี 2555 อาจกล่าวได้ว่า นี่คือหนังสือที่เกิดจากการท�ำงานร่วมกันของคนสองวัยก็เป็นได้ ในสมุดบันทึก ซายูริจดเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น ความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ จินตนาการที่มองโลกไม่ซับซ้อน เพราะแววตาของเด็กคือความสดใส และไม่เคย โกหก นี่จึงแทบจะเรียกว่าได้ว่าเป็นหนังสือที่ซื่อตรงและจริงใจที่สุดเล่มหนึ่ง ที่อยู่บนชั้นหนังสือ ภาพ : https://www.facebook.com/butterflybook
I 032
Calendar เ
เรื่อง: ชมพูฟิวเชีย
สายลมหนาวๆ ช่างเหมาะกับเป็นช่วงเวลาออกไปสนุกนอกบ้าน เราจึงคัดสรร กิจกรรมชวนคุณมาสูดอากาศดีรับลมหนาวกันเถอะ ธ.ค.
สวัสดี คราฟท์ เชียงใหม่
Pakchong Slowlife Gathering
5-10 ธันวาคม 2558
19-20 ธันวาคม 2558
‘Sawasdee Craft Chiang Mai’ ณ โครงการบ้านข้างวัด จังหวัด เชียงใหม่ ซึ่งมักมีกิจกรรมจัดเวิร์กช็อปสนุกๆ ตลอดทั้งปี ปลายปี นี้จึงขอเปิดลานจัดงานแฟร์แบบฉบับสวัสดี คราฟท์บ้าง จัดตลาด สินค้าท�ำมือร่วมสมัย ชวนร้านอาหารแนวกรีนๆ งานคราฟท์ท�ำมือ บรรยากาศชวนเพลิน พร้อมลานแสดงดนตรีสด www.facebook.com/Sawadeecraft-Chiangmai
โปรเจ็กต์ใหม่ล่าจากความร่วมมือกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจ ศิลปะแห่งความรื่นรมย์ FACT Collective และ Pakchong Slowlife ที่จะพาคุณไปสัมผัสชีวิตเนิบช้าพร้อมเรียนรู้เข้าใจใน ความเป็นท้องถิ่นของชาวปากช่อง ทั้งกิจกรรมละเมียดอาหาร ศิลปะ วัฒนธรรม ลงทะเบียน พร้อมเข้าพัก คุณจะได้พบกับ กิจกรรมน่าสนใจพร้อมที่พักท่ามกลางธรรมชาติในฤดูหนาว ทดลองย้อมคราม เดินเก็บของป่าในป่าเล็ก (ให้อารมณ์เหมือน นางเอกหนังเรื่อง Little Forest เลยล่ะ) ทดลองท�ำสีนำ�้ และภาพ พิมพ์จากดอกไม้ใบไม้ในธรรมชาติ ท�ำอาหารด้วยวัตถุดิบในพื้นที่ และดินเนอร์ในสวนในบรรยากาศฤดูหนาว ชิมสาเกจากต้นต�ำรับ จากญี่ปุ่น ทั้งหมดคือโปรแกรมที่คัดสรรแล้วเพื่อให้คุณได้ดื่มด�ำ่ รับรู้ชีวิตเรียบง่ายจากธรรมชาติ เริ่มวัน เสาร์ที่ 19 ธันวาคม 8.30 น. - วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 12.00 น. ทีป่ ากช่อง (ราคาบัตรพร้อมห้องพัก เริม่ ต้น 8,500 บาท/ท่าน สอบถาม www.facebook.com/organic101workshop/)
เทศกาลศิลปะการแสดง ครั้งที่ 4
11-13 และ 18-20 ธันวาคม 2558
ม.ค.
จอมบึงมาราธอน
17 มกราคม 2559
งานวิ่งมาราธอนที่จัดต่อเนื่องยาวนานสู่ปีที่ 31 อาจกล่าว ได้ว่าเป็นต�ำนานประเพณีของคนรักการวิ่งมายาวนาน ทุกๆ ปี จะมีนักวิ่งเพื่อสุขภาพทั่วประเทศมาร่วมกิจกรรมกว่า 5 พันคน ชาวจอมบึงร่วมใจกันตั้งชื่อถนนที่เป็นเส้นทางนักวิ่ง มาราธอนนี้ว่า ‘ถนนจอมบึงมาราธอน’ 42.195 กิโลเมตร และ ในปีนี้ชิงรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี www.chombuengmarathon.com
เดือนสุดท้าย โค้งสุดท้ายแล้ว ส�ำหรับ Performative Art Festival # 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมมือกับเครือข่ายทางด้านศิลปะการ แสดงในการร่วมกันจัดเทศกาลศิลปะ การแสดง พร้อมเป็นสื่อกลางระหว่างศิลปินการแสดงหลากสาขา และน�ำงานโชว์หาชมยาก ทั้งศิลปะการแสดงสด ศิลปะการเต้น Experiential Performance รวมถึงการแสดงละครเวที ในเดือน ธันวาคม พบโชว์ Si Ti Kay ที่มาค�ำสแลงการเปล่งส�ำเนียงอย่าง ไร้เดียงสาแต่มาจากความรู้สึกลึกๆ ในวันที่ 11-13 และ18-20 ธันวาคม โดย Effendy, the Artistic Director of The Substation สตูดิโอเต้นชื่อดังจากประเทศ สิงคโปร์ www.bacc.or.th และ facebook/baccpage โทร 0 2214 6630-8 ต่อ 530
ก.พ.
033 I
เ News
คอลเลคชั่นแรกแบรนด์ ‘มรดกพระร่วง’ ฝีมือดีไซเนอร์ ไทยระดับโลก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์กรมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับดีไซน์เนอร์ระดับแนวหน้า รัฐ เปลี่ยนสุข นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และงาน สังคโลก พิบูลย์ อมรจิรพร สถาปนิกและนักออกแบบงานพุทธศิลป์ กุลธิรัตน์ มีสายญาติ นักออกแบบเครือ่ งประดับและของตกแต่งบ้าน ขนิษฐา นวลตรณี นักออกแบบผลิตภัณฑ์ผา้ ทอ และผู้ประกอบการท้องถิ่น พลิกโฉมวงการศิลปะไทยร่วมสมัย สร้างประวัติศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ โชว์ผลงานผลิตภัณฑ์ดไี ซน์ใหม่ คอลเลคชัน่ แรกของแบรนด์ ‘มรดกพระร่วง’ โดยถ่ายทอดผ่าน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์แรก ประกอบด้วย 1) เครื่องสังคโลก 2) เครื่องทอง-เครื่องเงิน 3) ผ้าซิ่นตีนจก และ 4) งานพุทธศิลป์ ได้คอลเลกชั่นน�ำร่องเป็นผลงานที่มีความสวยงามโดดเด่นด้วยรูปลักษณ์ ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ทั้งยังคงไว้ซึ่งคุณค่า ทางศิลปวัฒนธรรมแห่งเมืองพระร่วง พร้อมจัดนิทรรศการ ‘เสน่หท์ ซี่ อ่ นเร้น’ โชว์ผลงานแบรนด์ ‘มรดกพระร่วง’ บริเวณโถงนิทรรศการ ชั้น 1 หอศิลป์ฯ กรุงเทพฯ
I 034
ยกระดับบุคลากรท่องเที่ยว พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำ� นวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. นายแรนดี เดอแบนด์ (Mr. Randy Durband) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Global Sustainable Tourism Council หรือ GSTC สภาการส่งเสริมและการออกแบบเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนซึ่ง ได้รบั การยอมรับอย่างสูงในระดับนานาชาติ ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันพัฒนาทักษะ ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้แก่บุคลากรท่องเที่ยวของไทย และแต่งตั้ง อพท. เป็น ผู้แทนประเทศไทยในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรนี้
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ลุ่มน�้ำโขง ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อ�ำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. และ ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ ผู้อำ� นวยการ สถาบันความร่วมมือเพือ่ พัฒนาเศรษฐกิจลุม่ น�ำ้ โขง (Mekong Institute หรือ MI) ลงนามบันทึก ข้อตกลง (MOU) เพื่อน�ำองค์ความรู้ของ อพท. ในเรื่องการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ไปใช้ฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาค ลุ่มน�้ำโขง หรือ GMS (Greater Mekong Sub-region)
035 I
เ News
อพท. น่าน เปิดตัวตราสัญลักษณ์ ‘น่านเน้อเจ้า’ เพราะเสน่หข์ องเมืองน่านคือความเป็นอยูแ่ ละวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมการผลิต ผ้าพื้นเมือง พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อ�ำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. จึงประสานความร่วมมือกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีความช�ำนาญเรื่องการพัฒนาผ้า เพื่อด�ำเนินโครงการ พัฒนาสิง่ ทอเมืองน่าน พัฒนาผ้าน่านให้เป็นสินค้าทีร่ ะลึกทีม่ อี ตั ลักษณ์ จ�ำหน่ายแก่นกั ท่องเทีย่ ว และผู้มาเยือน ขณะที่ชุมชนก็มีรายได้เพิ่ม ได้ออกมาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอเมืองน่าน 3 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของ ที่ระลึกรวมกว่า 30 รายการ พร้อมออกแบบตราสัญลักษณ์ (Brand) ‘น่านเน้อเจ้า’ เป็นรูปพระธาตุแช่แห้งสีขาว ด้านในพระธาตุมีกระต่ายซึ่งเป็นปีนักษัตรประจ�ำพระธาตุแช่แห้ง และด้านล่างพระธาตุมี ภาษาอังกฤษค�ำว่า NAN โดยตั้งเป้าให้ใช้เป็นตราสินค้าสิ่งทอประจ�ำชุมชนและส่งเสริมด้าน การตลาด เพื่อกระตุ้นและสร้างการยอมรับผ้าทอเมืองน่าน
I 036
ชมรมพิทักษ์หัวหินยื่นจดหมายหนุน อพท. ประกาศพื้นที่พิเศษ กระจายรายได้สู่ชุมชนตามนโยบาย คสช. เมื่อเร็วๆ นี้ ชมรมพิทักษ์หัวหินมีหนังสือขอเข้าพบผู้อ�ำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เพื่อยื่นหนังสือขอสนับสนุนการประกาศให้เมืองหัวหินและ พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมี ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ อพท. เป็นผู้แทนรับหนังสือ นายกรด โรจนเสถียร ผู้จัดการชมรมพิทักษ์หัวหิน กล่าวว่า ชมรมและชาวหัวหินมีความต้องการให้รัฐบาล ประกาศให้หัวหินและชะอ�ำเป็นพื้นที่พิเศษโดยเร็ว ทั้งนี้เพราะช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจท่องเที่ยวของหัวหินและ พื้นที่ใกล้เคียงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านและคนในพื้นที่มีความกังวลเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะ และ ปัญหาการจราจรที่จะเกิดตามมาพร้อมการเติบโตของนักท่องเที่ยว เมื่อทราบว่า อพท. ได้เข้าไปส�ำรวจพื้นที่ตั้งแต่ ปี 2553 และเตรียมเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาประกาศพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน จึงได้ขอเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือกับ อพท. และขอเป็นหนึ่งองค์กรที่พร้อมสนับสนุนการประกาศให้ หัวหิน-ชะอ�ำ เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภายใต้การดูแลของ อพท.
037 I
เ News
ปั้นไกด์ชุมชนเพิ่มเสน่ห์เมืองมรดกโลก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. โดย ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ อพท. น�ำเสนอรายงานความคืบหน้า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ หรือ ท.ท.ช. เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมี นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธาน เรื่องการด�ำเนินโครงการพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นเชี่ยวชาญมรดกโลกในพื้นที่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ก�ำแพงเพชร เพื่อปั้นไกด์ชุมชนเพิ่มเสน่ห์เมือง มรดกโลก จากผลการศึกษาขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ที่ระบุสาเหตุว่าจ�ำนวนนักท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกมีจ�ำนวนลดลง เพราะขาด มัคคุเทศก์ท้องถิ่นและผู้สื่อความหมายท้องถิ่นที่เข้าใจมรดกโลกและเข้าใจพื้นที่ที่อยู่บริเวณ โดยรอบพืน้ ทีม่ รดกโลกอย่างแท้จริง อพท. จึงประสานกับ UNESCO ประจ�ำกรุงเทพฯ เพือ่ หารือ และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ UNESCO ด�ำเนินโครงการของ UNESCO ที่มุ่งพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นในแหล่งมรดกโลก เป็นเวลา 2 ปี (2557-2558) ซึ่งปัจจุบัน จัดฝึกอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่นเสร็จแล้วรวมกว่า 40 คน แบ่งเป็น กลุ่มที่ฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้สอน (Training of Trainers) และกลุ่มที่ฝึกอบรมเพื่อเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น (Training of Guides) เพือ่ น�ำไปประกอบอาชีพ โดยล่าสุดกรมการท่องเทีย่ วอยูร่ ะหว่างการพิจารณาออกบัตรมัคคุเทศก์ เฉพาะ (วัฒนธรรมท้องถิน่ ) หรือบัตรสีนำ�้ ตาล มอบให้ผผู้ า่ นการอบรมเพือ่ น�ำไปประกอบอาชีพ ในท้องถิ่นของตัวเองต่อไป ซึ่งเป็นการออกบัตรประเภทดังกล่าวครั้งแรกของประเทศไทย
I 038
เ Reader
Survey
แจกฟรี ! ‘นันทปฏิมา: ทัศนาพุทธศิลป์นครน่าน
หนังสือเล่มพิเศษเนื่องในศุภวาระมงคลสมัย ฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวบรวมภาพถ่ายพระพุทธปฏิมาองค์ส�ำคัญในเมืองเก่าน่าน พร้อมประวัติโดยย่อ ส�ำหรับ 20 ผู้โชคดีที่ส่งแบบสอบถามเข้ามาร่วมสนุก
แบบสอบถาม (Reader Survey)
ส�ำรวจความพึงพอใจและความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพนิตยสาร ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อ่านมากที่สุด
เพศ หญิง ชาย 36-39 ปี 40-44 ปี 45-49 ปี มากกว่า 50 ปี อายุ ต�่ำกว่า 30 ปี 30-35 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นหรือต�่ำกว่า ปวส./ ประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท หรือสูงกว่า พนักงานบริษัท รับราชการ อาชีพอิสระ แม่บ้าน อาชีพ เจ้าของธุรกิจ อื่นๆ (ระบุ) รายได้ต่อเดือน ต�่ำกว่า 20,000 บาท 20,000 – 39,999 บาท 40,000 – 59,999 บาท 60,000 – 79,999 บาท 80,000 – 100,000 บาท 100,000 – 150,000 บาท 150,000 – 200,000 บาท 200,000 บาทขึ้นไป คุณรู้จักนิตยสาร อพท. Travel จากที่ไหน เนื้อหาน่าสนใจ การออกแบบสวยงาม ชื่อชอบผู้เขียนคอลัมน์ เหตุผลที่สนใจอ่านนิตยสาร อพท. Travel อื่นๆ คอลัมน์ในนิตยสาร อพท. Travel ที่ชื่นชอบ Cover Story Interview My Story สัมภาษณ์ (พิเศษ) Thinking out Loud Travelling Must Check-in Eat Out Pick up Good to Know Entertain Calendar อพท . News คุณจะให้คะแนนโดยรวมนิตยสาร อพท. Travel กี่คะแนน (1 หมายถึง ไม่ดีเลย – 5 หมายถึง ดีมาก) 1 2 3 4 5 ค�ำถามส�ำรวจความพึงพอใจต่อนิตยสาร อพท. Travel เนื้อหา
ดีมาก
ดี
ระดับความพึงพอใจ พอใช้ ควรปรับปรุง
ควรปรับปรุงมาก
ความน่าสนใจและประโยชน์ที่ได้รับจากเนื้อหา การจัดรูปแบบ ตัวอักษร ภาพประกอบ และสีสันของรูปเล่ม ความพึงพอใจโดยรวมต่อนิตยสาร
สิ่งที่ผู้อ่านต้องการให้ปรับปรุงหรือมีเพิ่มเติมในนิตยสาร อพท. Travel
คิดเห็นอย่างไรกับ ขอเสียงหน่อย!!!
กรุณากรอกข้อมูลเพื่อความสะดวกในการส่งข้อมูลข่าวสารและของที่ระลึก ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ กรุณาส่งแบบสอบถามกลับมาที่: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 0 2357 3580 ต่อ 404 หรือ อพท. เลขที่ 118/1 อาคารทิปโก้ ชัน้ 31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 ติดตามประกาศรายชื่อผู้โชคดีใน อพท. Travel ฉบับถัดไป (สามารถถ่ายเอกสารส่งมาได้ กรณีไม่ต้องการตัดหนังสือ) 039 I
เ Happiness
เรื่องและภาพ: ‘คิ้วต�ำ่ ’
by คิ้วต�่ำ
การเดินทางเริ่มต้นที่บางละมุง บางละมุง คือ ชุมชนบ้านชายทะเล ที่อยู่ระหว่างเมืองแสงสีของพัทยากับท่าเรืออย่างแหลมฉบัง เป็นเมืองตรงกลางที่ยังคงวิถีชีวิตแบบชาวเลไว้อย่างครบถ้วน มีธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ เป็นชุมชนที่ด�ำรงชีวิตกับชายทะเล และร่วมมือกันรักษาความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน ...ฉันนั่งจ้องทะเลเงียบ... ปล่อยสมองให้โปร่งๆ มองท้องทะเลโล่งๆ มีเรือน้อยใหญ่ลอยโตงเตงอยู่กลางทะเล เป็นอีกทะเลที่ไม่มีเก้าอี้ชายหาดกวนตา ไม่มีร่มเรียงรายให้กวนใจ เหมือนเราก�ำลังถูกโอบกอดด้วยทะเลอย่างจริงจัง รู้สึกสบายใจจริงๆ จนกระทั่งมีลุงคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวเลแถวนั้น เดินเข้ามาทักทายฉันด้วยความเป็นมิตร “มากินแซนด์วิชกุ้งที่ทะเลเนี่ยนะ มาทะเลทั้งที ท�ำไมไม่ไปลองหากุ้งหอยปูปลาเองล่ะ ของสดๆ ที่เราหามาเอง รสชาติอาจจะอร่อยกว่าก็ ได้นะ” ฉัน : “ที่นี่หาได้เหรอลุง” ลุง : “ได้สิ เพราะที่นี่เป็นการท่องเที่ยวแบบเรียนรู้วิถีชาวเล มาถึง ถิ่นชาวเลก็ลองเป็นชาวเล ใช้ชีวิตแบบชาวเลดู” ฉัน : “สุดยอด ! มีไรให้ท�ำบ้างครับ ?” ลุง : “เล่นน�้ำ หาหอย หาปู หาปลา ออกเรือ ด�ำน�้ำดูปะการัง ที่เกาะนก และอีกเยอะแยะมากมาย”
I 040
ด�ำน�้ำ ตกหมึก พายเรือคายัค ด้วยน�้ำทะเลที่เกาะนก ใสจนมองเห็นหมู่สัตว์น�้ำและปะการัง จึงท�ำให้เกิดกิจกรรมที่เรียกว่า “ด�ำน�้ำ” ที่นี่นอกจากเล่นน�้ำได้แล้ว ยังมีกิจกรรมด�ำน�้ำดูปะการังอีกด้วย ปะการังที่เกาะนกยังคงสภาพสวยงาม น�้ำที่ใสจนนึกว่าเป็นแผ่นกระดาษใสบางๆ ปิดทรายไว้ เหล่าปลาน้อยใหญ่ ต่างแหวกว่ายให้เราได้เห็นแบบใกล้ๆ เป็นธรรมชาติที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ สามารถพายเรือคายัค รับลมชมทะเลได้อย่างเต็มอิ่ม เสร็จแล้วตอนเย็นๆ เรายังสามารถไปท�ำอาหารทะเลกินกันแบบสดๆ อีกด้วย ตั้งแคมป์ดูดาวกลางคืนก็เป็นอีกกิจกรรม ที่นี่มีรองรับ หรือจะออกไปตกหมึกก็มีเช่นกัน ถือเป็นการท่องเที่ยวครบวงจรที่มากกว่าการมาพักผ่อนอย่างแน่นอน และเป็นสถานที่ที่พร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติ อยากมาเรียนรู้วิถีชาวเล และต้องการรักษาสิ่งสวยงามเหล่านี้ให้คนอื่นได้มาเที่ยวต่อเท่านั้นจริงๆ ความสุขของการได้ท่องเที่ยวแบบสัมผัสถึงชีวิตชาวเล เป็นความสุขที่มากกว่าการมาแล้วกลับ เพราะอย่างหนึ่งที่เราได้ ไม่ใช่แค่ความสบายที่ได้พักผ่อน แต่เราได้เรียนรู้ว่า ท�ำไมคนในชุมชนบางละมุงแห่งนี้ถึงได้รักทะเล ของพวกเขายิ่งกว่าชีวิต การมาของฉันครั้งนี้ ท�ำให้ฉันมองทะเลเปลี่ยนไป ฉันรู้สึกได้ถึงลมหายใจของทะเล และคนในชุมชนที่นี่ ที่เกื้อกูลกันอย่างสมดุล
041 I
นอกจากนี้ ที่ชุมชนบ้านชายทะเลบางละมุง ยังมีการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติด้วยการคืนสู่ท้องทะเล โดยมีโครงการธนาคารปูม้า (ปูไข่นอกกระดอง) ธนาคารแม่พันธุ์กุ้ง แชบ๊วย การเลี้ยงหอยหวาน การท�ำปะการังเทียม จากความร่วมมือของคนในชุมชน และการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ นี่คงเป็นการมาเที่ยวทะเลในอีกความรู้สึกหนึ่ง การมาสัมผัสชีวิตชาวเลที่นี่ ได้เรียนรู้ ได้เห็น ได้กิน ได้สัมผัส ได้ลงมือท�ำ มันก่อให้ความสุขที่มากกว่าการมาเล่นน�้ำ รับลม และกลับบ้าน ก็ ได้ความสุขเหมือนกัน แต่ความสุขแบบนั้นอาจจางหายเร็วไป แต่ความสุขแบบที่ฉันได้รับจากทะเลที่นี่ มันเป็นความสุขที่ยั่งยืน และเป็นความสุขที่สามารถต่อพลังให้ฉันกลับไปต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ได้ อย่างแน่นอน
TO BE CONTINUE ติดตาม ‘คิ้วต�่ำ’ ไปค้นหาความสุขที่ยั่งยืน ตอนต่อไป...ฉบับหน้า
I 042
ช่องทางรับนิตยสาร
• องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 31 ถนนพระรามที่ 6 พญาไท กทม. 10400 โทร. 0 2357 3580 ต่อ 404 • ร้าน Art Cafe ชั้นล่าง หอศิลป์กรุงเทพฯ • ร้าน PLATO, CDC อาคาร C เฟส 1 • ร้านกาแฟดอยช้าง 10 สาขา--กรุงเทพฯ, ลาดพร้าววังหิน, เพชรบุรี, หัวหิน, สุราษฎร์ธานี, กระบี่, นครศรีธรรมราช, อุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยรังสิต, สนามบินหาดใหญ่ • Suzuki coffee 4 สาขา--อาคารเวฟเพลส เพลินจิต, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า รัชดาภิเษก, อาคารซีพี ฟอร์จูน, อาคารสาทรธานี • Golden Place 7 สาขา--พระราม 9, ซีพี ทาวเวอร์, สะพานสูง, ศิริราช 1 ศิริราช 2, ศูนย์ราชการ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • Bon café 10 สาขา--กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, หัวหิน, เกาะสมุย, กระบี่, พัทยา, พิษณุโลก, ภูเก็ต, อุบลราชธานี, อุดรธานี • Gloria Jean 6 สาขา--อาคารแกรนด์พาร์ควิว อโศก, ดิจิตอล เกตเวย์ สยามสแควร์, เค วิลเลจ, ตึกมาลีนนท์, อมตนคร ชลบุรี, ฮอนด้า บิ๊ก วิงส์ • ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง เลขที่ 222 หมู่ที่ 3 ต�ำบลท่าโสม อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด 23150 • ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง เลขที่ 350 หมู่ที่ 12 (ห้องประชุมวิลล่านาวิน) ถนนหาดจอมเทียน ต�ำบลหนองปรือ อ�ำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 • ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ก�ำแพงเพชร โครงการซันเซตเพลส เลขที่ 55/13 หมู่ที่ 12 ถนนจรดวิถีถ่อง ต�ำบลบ้านกล้วย อ�ำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64000 • ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษเลย เลขที่ 35/59 อาคารม้วนมณี ชั้น 5 ถนนนกแก้ว ซอย 3 ต�ำบลกุดป่อง อ�ำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 42000 • ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน เลขที่ 55 ถนนมหาพรหม ต�ำบลในเวียง อ�ำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000 • ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง เลขที่ 939/3 หมู่ที่ 6 ถนนมาลัยแมน ต�ำบลอู่ทอง อ�ำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72160
043 I
เที่ยวแบบคนไม่เอาถ่าน (Low Carbon Tourism)
เขาว่ากันว่า ‘น่าน’ เป็นเมืองเล็กๆ สงบและเงียบๆ เขาว่ากันว่า ‘น่าน’ เป็นเมืองผ่านเพื่อไป จังหวัดอื่น ใครที่จะมาที่นี่ต้องตั้งใจมาจริงๆ เขาว่ากันว่า ‘น่าน’ เป็นเมืองเก่าที่มีชีวิต ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และประวัติศาสตร์ เขาว่ากันว่า ‘น่าน’ ทุกวันนี้เปลี่ยนแปลง ไปเยอะ เขาว่ากันว่าอย่างนั้น แต่เราว่า...
มาร่วมกันหาค�ำตอบที่เขาว่ากัน ผ่านการท่องเที่ยว ‘น่าน’ มุมมองใหม่ อพท. จับมือกับ โลเคิล อไลค์ พาท่านไปท่องเที่ยวจังหวัดน่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต ทดลองใช้ชีวิตช้าๆ สัมผัสการท่องเที่ยวในมุมมองใหม่ ที่ใช้ชื่อว่า ‘Low Carbon’ การท่องเที่ยวที่มีแนวคิดแก้ไขปัญหาโลกร้อน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ส�ำหรับโปรแกรมนีจ้ ะเป็นการท่องเทีย่ วทีจ่ ะพาไปเรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี ตามหาแรงบันดาลใจจากงานศิลป์ ใช้เวลากับตัวเอง และสิ่งรอบกายมากขึ้น ร่วมกันลดการใช้รถยนต์ เปลี่ยนมาเดินหรือปั่นจักรยาน ใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันให้มากขึ้น ลิ้มรสอาหารพื้นเมืองแต้ๆ รวมไปถึง เลือกพักโรงแรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ออกเดินทาง 22-24 มกราคม 2559 ค่าใช้จ่ายท่านละ 5,800 บาท (หมายเหตุ : ราคานี้ไม่รวมค่าเครื่องบินหรือพาหนะเดินทางไปจังหวัดน่าน) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โลเคิล อไลค์ 08 4312 3197 (เค), 08 1006 3030 (ตาล)