ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม 1 (ปลายภาค)

Page 1

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม 1 (ปลายภาค) ครั้ ง นี้ เ นื้ อหาค่ อนข้างเยอะกว่ ากลางภาคมาก ๆ แค่ จานวนหน้ าของสรุ ปเล่ ม นี้ ก็ เ ยอะกว่ า มากกว่า 2 เท่าแล้ว ยังไงก็ตาม หวังว่าทุกคนจะอ่านทัน จาได้ ได้ A และหวังว่าสรุปเล่มนี้จะมีประโยชน์กับ ทุก ๆ คนเช่นเดิม :D นิธิณัช สังสิทธิ TA 06 เราเขียนส่วนที่เป็นสถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออก ซึ่งจริงๆควรจะมีจีน เวียดนาม เกาหลี ด้วย แต่อ.ยกมาสอนแค่ญี่ปุ่นซะงั้น 5555+ ซึ่งก็เป็นลาภพวกเราเพราะคาบนั้นคนเข้าน้อยมากกกก โชคดีที่อ. ให้สไลด์มาด้วย แนะนาให้อ่านจากชีทของอ.ยุ้ยด้วยแล้วกัน เพราะเราจะเขียนขยายความให้บางส่วนจาก สไลด์ที่คิดว่ามีเพิ่มจะช่วยจา (เพราะอาจารย์พูดถึงแต่ไม่ได้อธิบายชัด พวกเราก็เลยงง ๆ ออ ๆ กันไป) แล้วก็จะพยายามโฟกัสเรื่องบ้านชาที่พี่ ๆ บอกว่าต้องออกแน่ ๆ ส่ วนเนื้อหาสมัยใหม่หลังจากยุคเอโดะ อาจารย์บอกว่าคงไม่ได้ออก คาดว่าในสไลด์อาจารย์น่าจะพอนะ ณัฐนิช จรุงเดชากุล AR 18


2

 สถาปัตยกรรมกรีก นิธิณัช สังสิทธิ TA 06


3

อารยธรรมกรีกแบ่งหลัก ๆ ออกได้เป็น 3 ช่วง คือช่วงก่อนกรีก, Hellenic และ Hellenistic ก่อนจะเป็นกรีก จะเรียกว่าอารยธรรมทะเล Aegean ได้แก่อารยธรรม Mycenean, Minoan และ Cyclades ซึ่งจะเป็นส่วนที่เราจะไม่กล่าวถึง ต่อมาจึงเป็นอารยธรรม Hellenic คืออารยธรรมกรีกแท้ เป็นช่วงที่กรีกปกครองด้วยระบบนครรัฐ คือไม่ได้รวมกันเป็นประเทศเดียว แต่ละนครรัฐจะเป็นศูนย์กลางในตัวเอง และอาจมีเมืองอาณานิคมอื่น ๆ เป็นเมืองขึ้น นครรัฐ (Polis) ที่สาคัญ เช่น Athens, Sparta, Corinth, Thebes ฯลฯ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ เกิดศิลปวิทยาการต่าง ๆ ของกรีกเกือบทั้งหมด ช่วงปลายของสมัย Hellenic เกิดสงครามกับเปอร์เซีย นครรัฐกรีกจึงรวมกันเป็น Delian League (สมาพันธรัฐ Delos) ซึ่งพอหมดสงคราม Athens เริ่มมีอานาจมากขึ้น จน Delian League กลายสภาพ เป็นเหมือนจักรวรรดิ Athens นครรัฐบางแห่งจึงไม่พอใจ เช่น Sparta จึงเกิดสงครามในกรีกเอง คือ Peloponnesian War แล้ว Athens ก็โดนทาลาย ในกรีกเริ่มไม่มีความมั่นคง พระเจ้า Philip แห่งแคว้น Macedonia ทางเหนือจึงยกทัพลงมาตีได้ทั้งกรีก แล้วโอรสคือพระเจ้า Alexander จึงขยายจักรวรรดิ Macedonia ไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะทางตะวันออก ทาให้เกิดลักษณะของวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกกัน ว่า Hellenistic คือมีลักษณะผสมความเป็นกรีกเข้ากับท้องถิ่นต่าง ๆ และมีความหรูหราฟุ่มเฟือยขึ้นกว่าเดิม ต่างจากยุค Hellenic ที่เป็นกรีกแท้และค่อนข้างเรียบง่าย ชาวกรีกเป็นนักเรียนรู้ นักคิด ชอบถกกันในประเด็นปัญหาต่าง ๆ สินค้าสาคัญของกรีกได้แก่เครื่องปั้นดินเผา น้ามันมะกอก และไวน์องุ่น


4 ในเมืองกรีกจะมี 2 ส่วนสาคัญ คือ Acropolis เป็นเมืองของเทพเจ้า อยู่บนภูเขา และอาจใช้เป็นที่ หลบภัยของชาวเมืองเวลาโดนบุก และ Agora เป็นพื้นที่ตลาดกลางเมือง เป็นที่ชุมนุมของคนจานวนมากใน เวลาปกติ

เทพเจ้ากรีก ที่อาจารย์ยกตัวอย่างมา มี 4 องค์ Zeus : เทพเจ้าสูงสุด เทพแห่งท้องฟ้า Apollo : เทพเจ้าแห่งความยุติธรรม ศิลปะ ดนตรี และกวีนิพนธ์, เทพผู้สร้างเมือง Poseidon : เทพเจ้าแห่งท้องทะเล Athena : เทพีแห่งปัญญาและการเรียนรู้

อาคารต่าง ๆ ของกรีก Propylaea : อาคารที่เป็นซุ้มทางเข้าของ Acropolis Agora : บริเวณตลาดของเมือง Stoa : โถงระเบียงทางเดินยาว Odeion : พื้นที่อัฒจันทร์รูปครึ่งวงกลมที่สร้างจากการตัดภูเขาด้านหนึ่งลงเป็นขั้น ๆ ใช้เป็นที่ ชุมนุมของชาวเมือง เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า มีการแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปเป็นละครที่อาจไม่ เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าก็ได้ Stadium : สนามกีฬา Palaestra Gymnasium : โรงเรียนฝึกมวยปล้า เพื่อการแข่งขันใน Stadium Tombs of Mausoleum : สุสานของพระเจ้า Mausolus แห่งเปอร์เซีย เป็นสุสานขนาดใหญ่มาก ซึ่งต่อมาคาว่า Mausoleum ได้นามาใช้หมายถึงสุสานของกษัตริย์องค์อื่น ๆ อีก


5

หัวเสาแบบกรีก มี 3 แบบ ได้แก่ Doric มาจากการรับน้าหนักสองทาง อัตราส่วนความชะลูดประมาณ 1:4 – 1:7 Ionic มาจากการรับน้าหนักทางเดียว อัตราส่วนความชะลูดมากขึ้นถึง 1:9 Corinthian มาจากการตกแต่งเพื่อความงามล้วน ๆ มีที่มาจากช่างสาริด หล่อเป็นใบ Acanthus เวลาวางเสาในวิหาร ช่องว่างระหว่างเสาต้นริมกับต้นถัดเข้ามาจะแคบกว่าช่องว่างระหว่างช่วงเสา อื่น ๆ เนื่องจากตรงนั้นจะมีแสงสว่างส่องมา จึงต้องลดขนาดช่องว่างลงเพื่อให้ดูสมดุลกับช่องอื่น ๆ (*** งานกรีกเล่นกับแสงเงามาก รวมทั้งการเซาะร่องเสาด้วย) ลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆ ดูได้จากรูปนี้


6

Acropolis @ Athens

เป็นศูนย์กลางของนคร Athens ด้านบนเป็นบริเวณที่เรียกว่า Temenos หรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยวิหารของเทพเจ้าหลายองค์ ในที่นี้เราจะพูดถึงอาคาร 3 หลัง คือ Parthenon, Erechtheion และ Choragic Monument


7

Parthenon @ Athens

เป็นตัวอย่างของอาคารที่ใช้หัวเสาแบบ Doric เป็นมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดและสาคัญที่สุดบน Acropolis of Athens เป็นวิหารของเทพี Athena ซึ่ง เป็นเทพีประจาเมือง Athens ออกแบบโดย Ictinus และ Callicrates กับประติมากรชื่อ Phidias มีการ ออกแบบที่ใช้อัตราส่วนทองคา (Golden Section) ในหลาย ๆ ส่วน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแบบ วิหารกรีกทั่วไป เพื่อให้เทวรูปภายในมองพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้า ด้านหลังของวิหารแบ่งเป็นห้องเล็กอีกห้อง หนึ่ง มีทางเข้าด้านหลังตรงข้ามกับด้านหน้า


8

Erechtheion @ Athens

เป็นตัวอย่างของอาคารที่ใช้หัวเสาแบบ Ionic สร้างให้กับ Hero ในตานาน ชื่อ Erichthonius ซึ่งเป็นลูกเลี้ยงของเทพี Athena ออกแบบโดย Mnesicles ประติมากรเป็นคนเดียวกับ Parthenon คือ Phidias มีการทิ้งระยะห่างจาก Parthenon ใน ระยะที่เหมาะสม ให้ดูสวยงามซึ่งกันและกัน มีความเชื่อมโยงกัน ตัวหัวเสา Ionic มีลักษณะพิเศษคือบิด เป็น 45 องศาเพื่อให้สามารถมองได้ 2 ทิศทาง


9

Choragic Monument of Lysicrates @ Athens

เป็นตัวอย่างของอาคารที่ใช้หัวเสาแบบ Corinthian เป็นอนุสาวรีย์ขนาดเล็ก ประดับด้วยเสา Corinthian เป็นเสาหลอก แต่หัวเสายังไม่มีการพัฒนา เท่าไหร่ ยังเป็นลักษณะขยักแปลก ๆ อยู่ (ยังไม่ลงตัว)


10

Temple of Apollo @ Didyma ตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน เป็นบริเวณของดินแดน Ionia ในสมัยโบราณ ถิ่นกาเนิดของหัวเสา แบบ Ionic เป็นมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในดินแดนของนครรัฐ Miletos มีเสาระเบียงรอบนอกถึง 2 ชั้น


11

Greek Theatre สร้างขึ้นจากการตัดภูเขา มีการคานวณให้เสียงก้องกังวาน คนด้านบนสุดได้ยินชัดแจ๋วขณะที่คน ข้างล่างไม่ต้องตะโกน (Theatre ต่างจาก Odeion ตรงที่ Theatre จะเป็นรูปร่างโค้งที่มากกว่าครึ่งวงกลม ในขณะที่ Odeion จะไม่เกินครึ่งวงกลม) ตรงกลางจะมีแท่นบูชาเทพเจ้า มีฉากด้านหลัง มีอัฒจันทร์ให้คน จานวนมากมานั่งรวมกัน มีการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า ฟังก์ชันเหมือน Odeion


12

Greek Noble House ภายในมี Court มีแท่น Altar เป็นแท่นบูชา มี Porch เป็นระเบียงอยู่ภายใน หลังคาใช้หินชนวน (กระเบื้องดินเผาเริ่มมีในสมัยโรมัน)




13

 สถาปัตยกรรมโรมัน นิธิณัช สังสิทธิ TA 06


14

ประวัติศาสตร์ของโรมันก็แบ่งได้เป็น 3 ยุคเช่นกัน ยุคแรกคือยุค Kingdom เป็นยุคที่เริ่มก่อตั้ง Rome เป็นนครรัฐเล็ก ๆ เหมือนนครรัฐหนึ่งของกรีก และขยายอานาจขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมาเป็นยุค Republic ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากกว่า ยุคนี้มีการล้มราชวงศ์และปกครองแบบสาธารณรัฐ มีสภา Senate และสภาแต่งตั้ง Consul ปกครองประเทศ พออยู่ต่อมาโรมันขยายอานาจไปค่อนข้างมากและทหาร ค่อนข้างมีบทบาทสาคัญ ในตอนท้ายจึงกลายมาเป็นยุค Empire (จักรวรรดิ) ที่แม่ทัพตั้งตัวขึ้นมาเป็น จักรพรรดิ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ในยุคนี้ ในช่วงท้ายของจักรวรรดิ มีการแบ่งจักรวรรดิโรมันออกเป็น 2 ส่วน ฝั่งตะวันตกมีเมืองหลวงที่ Rome และฝั่งตะวันออกมีเมืองหลวงที่ Constantinople (Istanbul ในปัจจุบัน) ซึ่งไม่นานฝั่งตะวันตกก็ล่ม สลายและจักรวรรดิโรมันตะวันออกก็ยังคงอยู่มาจนสิ้นสุดยุคกลาง ในชื่อจักรวรรดิ Byzantine ในเมืองโรมันจะมีบริเวณที่เรียกว่า Forum เป็นเหมือนศูนย์กลางชุมชน ลักษณะเดียวกับ Agora ของกรีก


15 โรมันพัฒนาโครงสร้างสาคัญขึ้น 3 อย่าง คือ Arch (โครงโค้ง) Vault (โครงโค้งยาว) และ Dome (โครงโค้งกลม) โครงโค้งพวกนี้สร้างด้วยการก่ออิฐขึ้นไปบนโครงไม้ที่ทาไว้ชั่วคราว แล้วเสียบ Keystone เป็นชิ้นสุดท้าย โครงสร้างจะสมบูรณ์ แล้วจึงนาโครงไม้ออก


16 รูปแบบของหัวเสาโรมันมาจากกรีก 3 แบบ และมีการคิดเพิ่มอีก 2 แบบ คือ Composite เป็น แบบที่เยอะกว่า Corinthian และ Tuscan เป็นแบบที่เรียบง่ายกว่า Doric


17

Roman Forum @ Rome

เป็น Forum ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (มีการสร้างอาคารสาคัญเยอะ ๆ รวมกัน เลยเกิดพื้นที่สาหรับ ทากิจกรรม) Space จึงไม่ใหญ่เท่ากับ Forum ที่ตั้งใจสร้างเป็น Forum โดยเฉพาะ ภายในบริเวณประกอบด้วยวิหารเทพเจ้า, Basilica และอาคารสาธารณะต่าง ๆ หลายหลัง


18

Forum of Trajan @ Rome

เป็น Forum ที่ตั้งใจสร้างเป็น Forum จะมีลานโล่งเป็นศูนย์กลาง มี Basilica อยู่ด้านหลัง และใน สุดจะเป็นวิหารเทพเจ้า เป็นผังแบบ Symmetrical Balance


19

Temple of Fortuna Virilis @ Rome

เป็นวิหารแบบโรมัน จะมี Podium เป็นแท่นตั้งรูปปั้นสองข้างบันได ด้านบนจะไม่สามารถเดินรอบ ได้ เป็นทางขึ้นไปแล้วเข้าสู่วิหารเลย เสาเป็นเสาหลอกติดกับผนัง ตัวฐานสูงกว่าวิหารกรีกทั่วไป และหัน หน้าไปทางทิศใต้ ทั้งหมดนี้เป็นการนารูปแบบของวิหารกรีกมา แต่รับอิทธิพลบางอย่างมาจากรูปแบบของ วิหาร Etruscan (เป็นชนชาติที่อยู่ที่นี่มาเดิมก่อนการตั้งอาณาจักรโรมัน)


20

Temple of Saturn @ Rome

ตั้งอยู่ในบริเวณของ Roman Forum เป็นวิหารเทพเจ้า Saturn มีรูปแบบใกล้เคียงกับ Temple of Fortuna Virilis แต่ขนาดใหญ่กว่า และด้านหน้าไม่ได้มีหลังคาคลุมมาถึงปลายบันได


21

Temple of Venus and Rome @ Rome

เป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน Rome เป็นวิหารเทพี Venus ผนังหนาเพราะรับน้าหนักมาก และ ด้วยหลังคาโค้งทาให้ Span ยาวได้มากกว่า 10 เมตร ด้านข้างมี Niche วางรูปปั้น ตัววิหารตั้งอยู่บนพื้นยก สูงที่ถูกสร้างขึ้นมาเฉพาะ ต่างจากกรีกที่พื้นเป็น Irregular Shape เพราะสร้างขึ้นบนเนินธรรมชาติ


22

Pantheon @ Rome

เดิ ม เป็ น วิ ห ารแบบธรรมดา แล้ ว เกิดไฟไหม้ จึ ง มี ก ารสร้า งขึ้น ใหม่ โดยมี รูปแบบเป็น วิ หารอยู่ ด้านหน้า และเป็นโดมอยู่ด้านหลัง จึงเกิดตรงที่โครงสร้างต่อกันไม่สนิท ช่องว่างที่เหลือนามาทาเป็นบันได ขึ้นด้านบนได้ ภายในโดม ผนังด้านข้างมีช่อง 7 ทิศ ตรงกับตาแหน่งของดวงดวง ทาเป็น Niche วางรูปปั้น ด้านบนโดมไม่ได้ใช้ Keystone แต่ใช้ Compression Ring รับแทน จึงมีช่องตรงกลางเปิดโล่งให้ แสงเข้ามาได้ ส่วนฐานโดมรอบ ๆ ก็ต้องมี Tension Ring ที่แข็งแรงมากในการรับแรงถีบของโดม ด้านบน หลังคามีการเสริมปูนเป็นชั้น ๆ เหมือนขั้นบันได รูปกลมของ Compression Ring เลียนแบบดวงอาทิตย์ แสงที่เข้ามาจึงมีลักษณะเหมือนดวง อาทิตย์ส่อง ด้านหน้าที่เป็นลักษณะของวิหาร หัวเสาเป็นแบบ Corinthian


23

Basilica of Trajan @ Rome

คือ Basilica ใน Forum of Trajan ที่กล่าวไปแล้ว Basilica เป็นพื้นที่มีการค้าขาย จึงต้องมีลาน โล่งตรงกลาง เรียกว่า Nave ด้านข้างระหว่างแนวเสากับผนังเรียกว่า Aisle ปลายสองข้างของ Basilica เป็นเสมือนศาลยุติธรรม เรียกว่า Altar ตรง Aisle มีทางขึ้นไปชั้นบน บริเวณนั้นชั้นล่างเรียกว่า Aisle ส่วนชั้นบนเรียกว่า Gallery ส่วนบน หลังคาจะมี Clerestory เพื่อให้แสงสว่างกับภายใน จริง ๆ Basilica คือ Space ที่เหมือน Exterior แต่มีหลังคาคลุม ความสวยงามของ Basilica จึง อยู่ที่ภายในไม่ใช่ภายนอก อาคาร Approach เข้าทางด้านยาว ส่วนด้านสั้นจะเป็นปลายทางซ้ายและขวาที่เป็น Altar ด้านยาวฝั่งข้างในตรงข้ามกับทางเข้า จะเป็นห้องสมุด มี 2 ห้อง เก็บหนังสือกรีกและโรมันอย่างละ ห้อง (ชาวโรมันสนใจในความรู้ของกรีกมาก)


24

Basilica of Constantine @ Rome

เป็น Basilica ที่วางผังด้วยตารางเก้าช่อง หลังคาเป็นโครง Vault ตัดกัน เรียกว่า Groin Vault ซึ่ง ต่อไปจะพัฒนาไปเป็น Arcade (โถงที่มีหลังคาโค้งตัดเป็นตารางเยอะ ๆ) มี Nave, Aisle ตามปกติ แต่ประโยชน์ใช้สอยจะน้อยกว่า Basilica of Trajan พื้นที่ส่วนใหญ่จะ โล่ง ๆ มีรูปปั้นของ Emperor Constantine อยู่ เสาที่รับโครง Vault เรียกว่า Pier เป็นเสาสี่เหลี่ยมตัน ๆ มีเสากลมเป็นเสาประดับอยู่ด้านหน้า


25

Colosseum @ Rome

คือ Amphitheatre (Theatre ที่ครบเป็นวงกลม) ที่สร้างขึ้นมาเองทั้งหมด ไม่ได้อิงกับภูเขาแบบ Theatre ของกรีก จึงสร้างให้ครบวงได้ อัฒจันทร์ชั้นล่าง ๆ จะดีกว่าชั้นบน ชั้นใต้หลังคาจะมีประโยชน์เฉพาะวันแดดจัด นอกสุดมีเสากระโดงไว้ดึงผ้าใบซึ่งทาเป็นหลังคา ตรงกลางมีช่องให้แสงส่องลงมาได้ ใต้พื้นของ Colosseum สามารถเปิดได้ จะเป็นพื้นน้า ใช้ในการแสดงทางเรือ ช่องบันไดมีจานวนมาก เพียงพอกับคนเข้าออกสะดวก ใต้พื้นอัฒจันทร์ ชั้นล่าง ๆ จะเป็น Arcade ขนาดใหญ่ ไว้หลบฝนได้ วัสดุก่อสร้างประกอบด้วยหิน, หินอ่อน และไม้


26

Arch of Titus @ Rome

ประตูชัย เป็นซุ้มโครงสร้าง Arch ที่สร้างขึ้นเพื่อต้อนรับทหารที่ได้รับชัยชนะกลับมายัง Rome มี การประดับเสากลมเป็นเสาหลอกบนเสาโครงสร้างหนัก ๆ หัวเสาเป็นแบบ Composite บน Keystone มีการประดับรูปเทพเจ้า ด้านหน้าเป็น Roma เทพประจากรุง Rome และด้านหลัง เป็น Fortuna


27

Arch of Septimius Severus @ Rome

เป็นโค้ง Arch 3 ช่อง เน้นตรงกลาง หัวเสาเป็นแบบ Composite Plan คล้ายกับ Basilica มีการเชื่อมต่อของ Space ทาให้เกิด Unity


28

Column of Trajan @ Rome

เสาของ Emperor Trajan แนวคิดแบบ Obelisk ของอียิปต์ อยู่ในบริเวณ Forum of Trajan รอบ เสามีการตกแต่งเป็นเรื่องราวของการรบและชัยชนะ วนต่อเนื่องขึ้นไปเรื่อย ๆ มาจากรูปแบบของการ บันทึกเรื่องราวลงบนหนัง ปกติหินแกรนิตใช้รับน้าหนัก แต่แกะสลักยาก แต่เนื่องจากเป็นเสาโดด ๆ ไม่ได้รับน้าหนักมากจึง ใช้หินอ่อนแทน ภายในกลวง มีบันไดวนประมาณ 200 ขั้น ขึ้นไปบนยอดสุดได้ โดยขึ้นไปเรื่อย ๆ จะมีช่องแสงเป็น ระยะ ๆ เพื่อ ให้ มี แ สงเข้า ด้ า นในบ้ า ง ที่ย อดสุ ดมี ประตูอ อกไป บนยอดเสาเดิม เป็น รูป นกอิน ทรี แล้ ว เปลี่ยนเป็น Emperor Trajan ต่อมากลายเป็นรูป St.Peter จากอิทธิพลของศาสนาคริสต์


29

Column of Marcus Aurelius @ Rome เสาของ Emperor Marcus Aurelius คล้ายกับ Column of Trajan เป็นเสากลมสูง ด้านบนเป็น รูป Emperor รอบเสามีการแกะสลักเรื่องราวเช่นเดียวกัน


30

Roman Bridge โรมันพยายามสร้างสะพานเรียบ (เป็นทางตรง ไม่โค้งขึ้นด้านบน) ส่วนใหญ่จะสร้างข้ามหุบเขาซึ่ง ได้ผลดี สะพานสาคัญจะมีโครงสร้าง Arch, Vault เข้ามาเกี่ยวข้อง สะพานทั่วไปเป็นโครงสร้างไม้ เสาที่ปักลงไปในน้าเรียกว่า Pier เป็นเสาขนาดใหญ่ และปาดเสาด้านข้างเป็นมุมแหลม เพราะต้อง ไปยันกับกระแสน้า


31

Roman Aqueduct โครงสร้างของสะพานได้มีการนามาใช้เป็นสะพานส่งน้าจากภูเขาไปยังเมือง เป็นระบบประปายุค แรก ด้านบนจะไว้ส่งน้า สร้างโดยใช้ซีเมนต์มากหน่อย มีปูนผสม ส่วนโครงสร้างชั้นล่างเป็นสะพานไว้ให้คน เดินได้ สร้างเป็น Dried Masonry ไม่มีปูน


32

Thermae of Caracalla @ Rome

น้าที่ส่งมาตาม Aqueduct จะนามาใช้ประโยชน์มากที่ Thermae หรือโรงอาบน้า ซึ่งเป็นสถานที่ สาธารณะ เหมือน Sport Club แต่ต้องจ่ายเงินเข้าไป จึงเป็นสังคมของชนชั้นสูง มีบ่ออาบน้าเย็นและน้า ร้อน มีกรอบกาแพงภายนอกล้อมรอบอาคารอีกชั้นหนึ่ง ทาให้เกิด Outdoor Space มีการยกฐานขึ้น ชั้นล่างใช้ประโยชน์เป็นส่วน Service เป็นการแยก Circulation แยกส่วนที่ควร เห็น/ไม่ควรเห็น บริเวณกาแพงเป็นร้านค้าและห้องย่อย ๆ มีห้องเพาะกาย ด้านหลังมี Reservior (อ่างเก็บน้า) แยกเป็นห้อง ๆ เผื่อเวลารั่วจะได้ไม่รั่วพร้อมกันหมด ท่อน้ามี 3 แบบ ท่อไม้ (คว้านตรงกลาง) ท่อดินเผา และท่อตะกั่ว (อันตรายแต่ตอนนั้นไม่รู้) ผนังภายในมีการวาดภาพเกี่ยวกับวิถีชีวิต กิจกรรม


33


34

House of Pansa @ Pompeii

เข้าบ้านไปจะเจอโถง Atrium เป็นโถงไม่มีเสา มีบ่อน้าเล็ก ๆ (Impluvium) รับน้าฝนจากด้านบน ถัดเข้าไปเป็น Court เรียกว่า Peristyle มีบ่อน้า มีเสาล้อมรอบ เป็นพื้นที่กึ่ง Outdoor บ้านมีศาลพระภูมิ ส่วนที่ติดกับภายนอกทาเป็น Shop ขายของ ด้านในใช้อยู่อาศัย ครอบครัวใหญ่ขึ้นกลายเป็นมาเฟีย

       


35

 สถาปัตยกรรมเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ นิธิณัช สังสิทธิ TA 06


36

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือตะวันออกกลาง เป็นที่ตั้งของอารยธรรมโบราณเมโสโปเตเมีย (อิรัก) และเปอร์เซีย (อิหร่าน) (บางทีก็รวมเปอร์เซียไว้ในเมโสโปเตเมีย) โดยเมโสโปเตเมียมีอายุร่วมสมัยกับอียิปต์ ส่วนเปอร์เซีย (ส่วนที่จะพูดถึง) มีอายุร่วมสมัยกับกรีก ซึ่งก็ได้ครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมียไว้ด้วย ในที่นี้จะขอพูดถึงเปอร์เซียเป็นหนึ่งในยุคสมัยของเมโสโปเตเมียไปเลย คาว่า เมโสโปเตเมีย มาจากคากรีกว่า Mesos+Potemos แปลว่า ระหว่างแม่น้า ดินแดนเมโสโป เตเมียจึงเป็นดินแดนที่ราบลุ่ม 2 แม่น้าคือ Tigris และ Euphrates เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มี อารยธรรมเกิ ด ขึ้ น หลายยุ ค หลายสมั ย และอยู่ ใ กล้ กั บ แหล่ ง วั ฒ นธรรม Natufian ซึ่ ง เป็ น สมั ย ก่ อ น ประวัติศาสตร์ เมโสโปเตเมียแบ่งได้เป็น 4 ยุคคร่าว ๆ คือ 1) Babylonia เริ่มต้นยุคที่ชาว Sumer เป็นกลุ่มชนที่ เด่นในยุคแรก ปกครองแบบนครรัฐแยก ๆ กันเหมือนกรีก แล้วชาว Amorite ก็ตั้งเมือง Babylonia ซึ่งเริ่ม มีความเจริญมากกว่า Sumer มีการปกครองเป็นอาณาจักร 2) Assyria เจริญขึ้นทางด้านเหนือ แล้วขยาย อิทธิพลลงมาเป็นจักรวรรดิใหญ่ 3) Neo-Babylonia เป็นยุคหลังที่เมือง Babylonia มีบทบาทสาคัญเป็น ศูนย์กลางจักรวรรดิอีกครั้ง และ 4) Persia เป็นยุคที่เปอร์เซียเข้ามาตีเมโสโปเตเมียได้ทั้งหมดและรับอารย ธรรมไปพัฒนาจักรวรรดิเปอร์เซีย ขยายดินแดนไปประชิดกรีกและอินเดีย อย่างไรก็ตาม ยุคสมัยของเมโสโปเตเมียไม่สามารถแบ่งได้ชัดเจน เนื่องจากดินแดนไม่ค่อยจะได้ รวมกันเป็นเวลานานนัก มักมีหลายแคว้นหลายอาณาจักรอยู่ในเวลาเดียวกัน ลักษณะเดียวกับอินเดียและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


37

เทพเจ้า Sumer Anu : เทพแห่งท้องฟ้า Enlil (Bel) : เทพแห่งดิน Ea : เทพแห่งน้า Magi : เทพแห่งไฟ

White Temple Ziggurat @ Warka

สร้างขึ้นในสมัย Babylonia (จริง ๆ เป็นของ Sumer สร้างก่อนเกิดเมือง Babylon อีก) มีการ สร้างเนินสูงเพื่อเป็นที่ตั้งของวิหาร ใช้ไม้ซุงทาผนังกันดินทลายด้านข้าง หลังคาใช้โครงสร้าง Vault มีช่อง บันไดเข้าไปดูดาว การที่ตัววิหารยกสูง เกิดมาจากความต้องการสร้างภูเขา เนื่องจากในที่ลุ่ม ภูเขาเป็นสิ่งที่โดดเด่น ชี้ ขึ้นฟ้า คนจึงพยายามสร้างภูเขาเพื่อขึ้นไปบนฟ้า ขึ้นไปหาเทพเจ้า ทางเข้าวิหารจะไม่เข้าตรงกลาง จะเยื้องไปเล็กน้อย ตรงกลางใช้ตั้งแท่นบูชา (ส่วนใหญ่บูชาไฟ) สมัย Babylonia จะหันมุมไปทางทิศสาคัญ ตัวอาคารจึงวางเฉียงกับทิศ


38

Ziggurat of Ur-Nammu @ Ur

อยู่ในสมัย Babylonia (Sumer) เป็น Ziggurat ที่ใหญ่ที่สุด ตัว Ziggurat เป็นศูนย์กลางของเมือง เมืองจะล้อมเป็นรูปวงกลม Ziggurat พัฒนาขึ้นเป็นเชิงเทินดินหลาย ๆ ชั้น ให้เป็นภูเขามากขึ้น


39

Ziggurat @ Tchoga-Zanbil

เป็น Ziggurat ในยุคหลัง ๆ แล้ว ตอนนี้อยู่ในประเทศอิหร่าน สร้างโดยกษัตริย์ของชาว Elam (ร่วมสมัยกับ Assyria) โครงสร้างดูเป็นระเบียบขึ้น สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อฐานได้สูงขึ้นและชันขึ้น จาก ฐานที่ลาดเอียงกลายเป็นตั้งตรง


40

Palace of Sargon @ Khorsabad

สร้างโดยพระเจ้า Sargon II แห่ง Assyrian Empire ตั้งอยู่ติดกับกาแพงเมืองด้านทิศเหนือ ชาว Assyria เป็นนักรบ ให้ความสาคั ญกับการสร้างวัง มากกว่า อาคารทางศาสนา สมัย นี้มีอิฐเผาเคลือบ กระเบื้องเคลือบ นามาใช้ในการก่อสร้างด้วย รั้วเป็นเชิงเทินขนาดใหญ่ สูงมาก ประตูเป็นโค้ง Arch ด้านบนกาแพงคล้ายเป็นใบเสมา ด้านในตัววังยกฐานขึ้น มี Ramp สาหรับให้ม้าขึ้นได้


41 ภายในวังมี ประติม ากรรมที่น่ าสนใจอยู่อย่า งหนึ่ง คือทวารบาล เป็นรูปม้า ที่มี 5 ขา เนื่ องจาก ต้องการให้มองได้ครบในรูปด้าน ด้านหน้า 2 ขา ด้านข้าง 4 ขา โดยม้ามีหัวเป็นพระเจ้า Sargon II

Assyrian Ramped Temple Assyria พัฒนารูปแบบของ Ziggurat ใหม่ โดยสร้างวิหารเป็น Ramp วนขวาขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง ยอด รวมเป็นเชิงเทินดินประมาณ 7 ชั้น


42

Persepolis Palace @ Persepolis

เป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเปอร์เซีย พระราชวังนี้ส่วนใหญ่สร้างโดยพระเจ้า Darius I ซึ่ง เป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ ยกทัพไปตีเมืองต่าง ๆ มากมาย มีการกวาดต้อนผู้คนมา รวมทั้งช่าง จึงเกิดการสร้าง งานสถาปัตยกรรมขึ้น ต่างจากเปอร์เซียในยุคก่อนหน้าที่เป็นชนเผ่าแบบเร่ร่อน ตัววังสร้างอยู่บนเขา ใช้วิธี Cut & Fill (ขุดดินส่วนที่สูง มาถมส่วนที่ต่า ได้พื้นที่ราบ) พระราชวังนี้ พระเจ้า Alexander ยกมาตีได้สาเร็จ และได้เผาทาลาย หลังคาเป็นโครงสร้างไม้ ฝ้าเพดานไม้ จึงต้องมีเสาจานวนมาก หัวเสาได้รับอิทธิพลแบบ Ionic และมีรูปวัว เป็นภาพจาจากการเป็นชนเผ่าเร่ร่อน เลี้ยงวัว


43

ภาพสุ ด ท้ า ยด้ า นบนนี้ เ ป็ น ภาพสลั ก ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง เป็ น รู ป กองทหาร อยู่ ต รงบั น ไดทางขึ้ น ของ พระราชวัง

 


44

 สถาปัตยกรรมเอเชียใต้ นิธิณัช สังสิทธิ TA 06


45

สถาปัตยกรรมอินเดีย

เอเชียใต้ ประกอบด้วยอินเดีย และดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ซึ่งจะพูดถึงเฉพาะลังกา เท่านั้น อินเดียเป็นดินแดนที่มีภูเขาล้อมรอบตัดขาดออกจากพื้นที่อื่น ๆ อารยธรรมแรกเริ่มที่นี่จึงเติบโต อย่างค่อนข้างเป็นเอกเทศ พวกที่อยู่ในอินเดียมาเดิมเรียกว่าฑราวิท ต่อมาเมื่อมีการเคลื่อนย้ายของคนจากตะวันตก (อิหร่าน) ที่เรียกว่าอารยันเข้ามาในอินเดีย จึงเกิด การแบ่งแยกระหว่างคนผิวขาวกับผิวสี เกิดวรรณะขึ้น พวกอารยันจะมีตั้งแต่พราหมณ์ (นักบวช) กษัตริย์ (นักรบ) แพศย์ (พ่อค้า) ส่วนพวกฑราวิทจะถูกจัดเป็นวรรณะศูทรซึ่งต่าที่สุด พวกอารยันฉลาดกว่าจึงสามารถเอาชนะพวกฑราวิทและขับไล่ลงไปอยู่ทางใต้ได้ เรื่องราวตอนนี้ยัง ถูกนามาเรียบเรียงในสมัยต่อมาเป็นรามายณะหรือรามเกียรติ์ คือพระ,นาง (กษัตริย์) ลิง (แพศย์) ยักษ์ (ศูทร) ยุคสมัยของอินเดียแบ่งได้เป็นหลายสมัยและค่อนข้างซับซ้อน แต่จะมีช่วงเวลาสาคัญ ๆ อยู่ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้าสินธุ ของชาวฑราวิท ต่อมาก็เป็นการเริ่มต้นยุคของอารยันและเกิดจักรวรรดิแรก ๆ คือ เมารยะ ศุงคะ กานวะ ฯลฯ หลังจากนั้นอินเดียก็เข้าสู่ยุคคลาสสิกซึ่งมีจักรวรรดิสาคัญได้แก่กุษาณะ คุปตะ ปาละ ฯลฯ แล้วจึงถึงยุคที่อินเดียอ่อนแอและถูกมุสลิมรุกราน เป็นอันสิ้นสุดยุคของอินเดียโบราณ


46

โมเฮนโจ-ดาโร และฮารัปปา เป็นแหล่งโบราณคดีสาคัญที่เป็นชุมชนของชาวฑราวิท ก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามา เรียกว่าอารย ธรรมลุ่มแม่น้าสินธุ เป็นอารยธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ยุคสาริด)

ผังเมืองถูกวางอย่างเป็นระเบียบ ถนนและบ้านเรือนวางอยู่ในตาตาราง มีถนนใหญ่พาดผ่าน และมี ตารางย่อยซอยออกไป อาคารส่วนใหญ่เป็นอาคารอยู่อาศัย ไม่ค่อยมีส่วนที่เป็น Public Space ของเมือง ที่ มีก็คือบ่อน้าขนาดใหญ่มาก สาหรับอาบน้า และน่าจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมบางอย่างด้วย (สมัยโบราณมีการ ใช้น้าในพิธีกรรมมาก) ตัวอาคารมีการสร้างเป็นชั้น ๆ เหมือนของ Sumer ลักษณะของเมืองบ่งบอกว่า พลเมืองมีเสรีภาพมาก มีการพบเหรียญตรา เป็นรูปวัว พร้อมอักษรจารึกที่ปัจจุบันอ่านไม่ออกแล้ว มีอยู่หลายเหรียญ มีที่ เป็นรูปปศุบดี (ผู้เป็นใหญ่ในฝูงสัตว์) นั่งบนบัลลังก์ สวมมงกุฎรูปเขาสัตว์ ช่วงแรกคนกินวัว พอถึงจุดหนึ่งอาจเกิดสานึก และความอุดมสมบูรณ์พร้อม จึงไม่กินวัว และนับ ถือวัวเป็นเทพ (มีรูปคนเล็กกว่าวัว)


47

เสาอโศก พระเจ้าจันทรคุปต์ ตั้งเมืองหลวงที่ปาฏลีบุตร ก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ เป็นเวลาเดียวกับที่พระเจ้า Alexander ยกทัพมาถึงอินเดีย แต่ก็ถอยกลับไป พระเจ้าจันทรคุปต์และโอรสคือพระเจ้าอโศกมหาราชก็ ขยายจักรวรรดิออกไปเป็นพื้นที่กว้างใหญ่เกือบทั่วอินเดีย การเกิดสงครามกับตะวันตกทาให้เกิดการปะทะสังสรรค์ของวัฒนธรรม อิทธิพลของตะวันตกเข้ามา ในอินเดียค่อนข้างมาก อย่างหนึ่งที่สาคัญคือหัวเสาแบบ Persepolis ก็เป็นต้นแบบให้กับเสาอโศก

เสาอโศกคื อ เสาที่ พ ระเจ้ า อโศกมหาราชได้ ส ร้ า งขึ้ น ปั ก ไว้ ทั่ ว อิ น เดี ย ทุ ก ดิ น แดนที่ เ สด็ จ ไปถึ ง เนื่องมาจากว่า พระองค์เป็นคนเหี้ยมโหดและทาสงครามมาเยอะมาก ครั้งที่ทาศึกกับแคว้นโอริสสา มีคน บาดเจ็บล้มตายจานวนมาก และมีเณรมาพบพระเจ้าอโศกและแสดงธรรม พระองค์เกิดความเลื่อมใสจึงเลิก ทาสงครามและขยายอานาจด้วยธรรม จึงเป็นที่มาของธรรมจักร ที่มาจากล้อรถศึก หลังจากนั้นก็มีการสร้างสถูปและเสาหินทั่วอินเดีย สาหรับเสาหิน เป็นรูปแบบที่ได้อิทธิพลมาจาก ตะวันตก หัวเสาอโศกมี 2 ยุค ยุคแรกจะเป็ นรูปวัว (พราหมณ์) ยุคหลังจะเป็นรูปสิงห์ (พุทธ) และมีรูป ธรรมจักร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ที่ฐานของรูป ปั้ น สิง ห์ จ ะมี รู ป สั ต ว์ อยู่ 4 ทิศ ทิ ศ เหนื อ -สิง ห์ ทิศ ใต้ -ม้ า ทิ ศ ตะวั น ออก-ช้ า ง ทิ ศ ตะวันตก-วัว ด้านล่างของหัวเสาเป็นรูปบัวคว่า คือทรงระฆัง ในสมัยพระเจ้าอโศก นอกจากศาสนาพุทธแล้วก็สนับสนุนศาสนาอื่นด้วย มีการขุดหน้าผาเป็นถ้า ลักษณะคล้ายกระท่อม ให้พวกลัทธินุ่งน้อยห่มน้อย พระเจ้าอโศกนาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมาทาให้ดีขึ้น


48

สถูปสาญจี @ สาญจี

สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่มีการต่อเติมมาหลายยุคสมัย ตัวสถูป ประกอบด้วย 4 ส่วนสาคัญ ซึ่งเป็น 4 ส่วนที่ยังคงอยู่ในสถูปเจดีย์ทุกที่ที่มาจากต้นแบบที่ อินเดีย คือ ฐาน อัณฑะ (=องค์ระฆัง) บัลลังก์ และฉัตร (=ปล้องไฉน) ฐานแสดงถึง การที่เ นิ น ดิ น นี้ พิเ ศษกว่ า เนิ น ดิน ทั่ ว ๆ ไป (ฐานที่นี่ มี ก ารท าบัน ไดขึ้น ไปเป็น ลาน ประทักษิณด้านบนด้วย) อัณฑะมาจากรูปแบบของเนินดินที่ใช้ฝังศพ เป็นสัญลักษณ์ของการเก็บอัฐิ ส่วน บัลลังก์และฉัตรเป็นสัญลักษณ์ว่าพระพุทธเจ้ามาจากวรรณะกษัตริย์ โดยจานวนฉัตรแสดงฐานานุศักดิ์ของ สถูป ฉัตร 3 ชั้นสูงสุด (ในยุคนี้) ตัวองค์สถูปถูกล้อมรอบด้วยกาแพงแก้วชั้นหนึ่ง และมีซุ้ มทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เรียกว่าซุ้มโทรณะ ซึ่ง จะหักงอนิดหนึ่งไม่เข้าตรง ๆ ถ้ามองจากแปลนจะเห็นเป็นเครื่องหมายสวัสติกะ หมายถึงพระอาทิตย์ ซุ้มโทรณะมีปลายคานเป็นรูปม้วนงอ อิทธิพลจากหัวเสาแบบ Ionic


49

ถ้าภาชา @ กาลี

สร้างขึ้นในสมัยศุงคะ (หลังเมารยะเล็กน้อย) เป็นเจติยวิหาร หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Chaitya Hall เป็นลักษณะของวิหารแบบหนึ่งในสมัยแรก ๆ ที่ไม่ได้สร้างเป็นอาคารโดด ๆ แต่สร้างโดยการเจาะ ภูเขาเข้าไปแล้วตกแต่งให้เหมือนกับเป็นอาคาร มีเสาเรียงกันสองข้างเข้าไปจนถึงองค์สถูป (ตาแหน่งพระ ประธาน) ที่อยู่ด้านในสุด และด้านหลังจะโค้งเป็นครึ่งวงกลม เป็นรูปแบบของ Basilican Plan ซึ่งเป็น อิทธิพลที่มาจากตะวันตก (คาว่า วิหาร แปลว่าที่อยู่อาศัย ภายหลังความหมายเพี้ยนไป) เสาภายในวิหารเป็นเสาเรียบ ๆ แต่เอียงเข้าตรงกลาง ดูมั่นคง ด้านหน้าเจติยวิหารมีซุ้มเรียกว่ากุฑุ (Chaitya Arch) เป็นซุ้มทรงโค้ง ยอดแหลมงอนขึ้น ใต้ซุ้มสลัก เป็นเหมือนแป เล่นกับแสงเงา และมีบานหน้าต่างกรองแสงให้เข้ามาน้อยลง (ซึ่งพังไปแล้ว) ด้านข้างของถ้านี้มีถ้าอื่น ๆ อีกหลายถ้า เป็นวิหาร (ที่อยู่อาศัย) ของพระสงฆ์


50

ถ้ากาลี @ กาลี

สร้างขึ้นในสมัยอานธระ (หลังถ้าภาชาประมาณ 100 ปี) ถ้านี้มีความแตกต่างกับถ้าภาชาที่มีการทา เสาอโศกด้านหน้า ซึ่งรูปแบบของหัวเสาอโศกก็ได้นาไปใช้กับเสาภายในด้วย โดยเปลี่ยนจากเสาเอียงมาเป็น เสาตรง แต่ประดับให้สวยขึ้นแทน ยกเว้นเสาที่อยู่หลังสถูป ยังคงเรียบเหมือนเดิ ม เพราะมองไม่ค่อยเห็นอยู่ แล้ว สถูปมีฉัตรชั้นเดียว เป็นลักษณะเหมือนใบบัว


51

สถูป @ ตักศิลา

พระพุทธรูปเกิดขึ้นครั้งแรกที่แคว้นคันธาระ หน้าคล้ายกับฝรั่ง ก่อนหน้านั้นจะใช้สัญลักษณ์แทน ตลอด (ดอกบัว =ประสูติ ต้นโพธิ์ =ตรัสรู้ ธรรมจักร=ปฐมเทศนา สถูป=ปรินิพพาน) โดยช่างกรีกเป็นคน เริ่มทาพระพุทธรูปตามอย่างที่เคยทาเทวรูปกรีกมาก่อน พระพักตร์พระพุทธรูปของคันธาระจะมีหน้าเป็น ฝรั่งชัดเจนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้แพร่หลายไปทั่ว และเกิดการทาพระพุทธรูปขึ้นทั่วไป

ที่เมืองตักศิลามีสถูปองค์หนึ่งที่น่าสนใจ อยู่ในสมัยราชวงศ์กุษาณะ บรรจุอัฐิที่กึ่งกลางองค์เรือนธาตุ (ครรภคฤห์) ที่ฐานมีการประดับซุ้มพระพุทธรูป ซึ่งก็คงเป็นแบบคันธาระนี้ และมีเสาหลอกประดับซึ่งมีบัว หัวเสาคล้ายแบบ Corinthian สถูปไม่มีกาแพงแก้ว การออกแบบจะเน้นขึ้นไปทางสูง (องค์อื่นที่ยังเหลือ ส่วนบนอยู่เป็นหลักฐานได้)


52

วิหารมหาโพธิ @ พุทธคยา เป็นวิหารในลักษณะที่เรียกว่า เจติยวิหาร คือเป็นทั้งเจดีย์และวิหารในอาคารหลังเดียว สร้างขึ้นใน สมัยราชวงศ์กุษาณะ สร้างขึ้นในบริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นสถูปที่แปลกไปจากที่เคยเห็น เป็นองค์พีระมิดยอดตัด แล้วเติมเจดีย์ ด้านบน ลักษณะคล้ายกับเทวสถานในศาสนาฮินดู อาจเกิดจากการสร้างต่อเติมสถานที่นี้จนไม่เหลือเค้าเดิม เมื่อแรกสร้างแล้ว


53

สถูปใหญ่ @ อมราวดี

สร้างในสมัยราชวงศ์กุษาณะ เป็นสถูปใหญ่ของเมืองอมราวดี ลักษณะใกล้เคียงกับสถูปสาญจี แต่มี การพัฒนาขึ้น โดยมีการประดับตกแต่งองค์สถูปด้วยแถบคล้ายกับพวงมาลัย (รัดอก) กึ่งกลางแต่ละด้านมี เสาสูง 5 ต้น เป็นสัญลักษณ์ ทางเข้าเปลี่ยนจากเข้าเยื้อง ๆ มาเป็นเข้าตรงกลางเลย


54

ถ้าหมายเลข 19 @ อชันตา อยู่ห่างไกลออกไปในป่า เป็นสถานที่ปลีกวิเวก เหมือนกับถ้าภาชาและกาลี ถ้านี้มีการทามุขหน้าชัดเจน ละเอียดขึ้น มีการประดับตกแต่งมากมาย เป็นลักษณะเด่นของสมัยคุป ตะซึ่งถือเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคคลาสสิกของอินเดีย องค์ ส ถู ป สู ง ขึ้ น มี ซุ้ ม พระ ประดั บ ประดาค่ อ นข้ า งเยอะ เป็ น ลั ก ษณะเด่ น ของสถู ป คุ ป ตะ พระพุทธรูปสมัยนี้พระพักตร์เป็นอินเดียมากขึ้น พระพุทธรูปลอยตัวขึ้น


55

วิหารพระนางทุรคา @ ไอโหเฬ

เป็นวิหารของพระนางทุรคา มเหสีของพระศิวะ เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู แผนผังเป็น Basilican Plan ลักษณะเดียวกับเจติยวิหารที่เป็นถ้า ตรงกลางมีกลศ เป็นแท่งสูง ๆ ทรงศิขร เป็นสัญลักษณ์ของเขาไกรลาส ที่ประทับของพระศิวะ ภายในประดิษฐานศิวลึงค์กับฐานโยนี


56

สถาปัตยกรรมลังกา

ลังกา หรือศรีลังกาในปัจจุบัน เป็นเกาะอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย และเป็นตัวอย่างของดินแดนที่ ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย ลังกาแบ่งประวัติศาสตร์ได้หลายยุคสมัย ในสมัยโบราณ ร่วมสมัยกับอินเดียที่พูดไป ลังกามีเมือง หลวงที่อนุราธปุระ และย้ายไปยังโปโลนนารุวะ ลังกามีอยู่ 2 ชนชาติหลัก ๆ คือสิ งหล (พวกที่สร้างอารยธรรมลังกา และเราจะพูดถึงแค่สิงหล) และทมิฬ (ชาวฑราวิทเดิมที่โดนพวกอารยันไล่ลงมา) ซึ่งสองกลุ่มนี้ยังรบกันอยู่ถึงปัจจุบัน พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตไป 9 สาย สายหนึ่งได้มายังลังกา ทาให้ลังกาเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนาเถรวาทมายาวนาน และเผยแผ่ไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป


57

ถูปาราม @ อนุราธปุระ

เป็นสถูปรุ่นแรกของลังกา ต้นแบบของเจดีย์ทรงลังกาทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์ประกอบของเจดีย์ประกอบด้วยฐาน องค์ระฆัง ฉัตร และปล้องไฉน ตามอย่างอินเดีย รอบ ๆ องค์ส ถูปมี เสาเรีย งอยู่ โครงหลังคาพัง ไปแล้ว เดิม น่าจะเป็นหลังคาคลุม หมด เรียกว่ า ทับเกษตร ทาให้รูปแบบของถูปารามคล้ายกับถ้าแบบเจติยวิหารในอินเดีย แต่เปลี่ยนจากแบบมีแกนเป็น แบบรัศมี


58

รุวันเวลิ @ อนุราธปุระ

สร้างขึ้นหลังถูปาราม มีขนาดใหญ่กว่ามาก เป็นเจดีย์กลางแจ้งไม่มีหลังคาคลุม ลั ก ษณะพิเ ศษส าคั ญ คื อเป็ น เจดี ย์ช้า งล้ อม ซึ่ง เป็น ต้น แบบให้กับเจดีย์ช้า งล้ อมในประเทศไทย รวมทั้งองค์ประกอบต่าง ๆ ของสถูปมีความใกล้เคียงกับพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชอย่างมาก ที่บันไดทางขึ้นลานประทักษิณมีแผ่นหินรูปครึ่งวงกลมสลักลวดลายวางอยู่บนพื้น เรียกว่าอัฒจันทร์


59

สัตตมหาปราสาท @ โปโลนนารุวะ

เป็นอาคารที่มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์รูปแบบหนึ่งในศิลปะหริภุญชัยของไทยอย่างมาก เช่น เจดีย์กู่ กุด วัดจามเทวี ลาพูน (ภาพล่าง) ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอาคารหลังนี้พอสมควร


60

เขาสีคิริยะ @ สีคิริยะ เป็นเขาสูง เหมือนหินก้อนใหญ่ เป็นสถานที่ที่ชาวพุทธไปหลบภัยในช่วงสงคราม บนเขามีลักษณะ เป็นเมืองขนาดย่อม มีการเขียนภาพไว้บนฝาผนังด้วย


61

สถาปัตยกรรมชวา

ชวา หรืออินโดนีเซีย เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่อาจารย์สันติเป็นคนสอน จึงนามา รวมไว้กับเอเชียใต้ เนื่องจากเป็นเลกเชอร์เดียวกัน เฉพาะเกาะชวา แบ่งประวัติศาสตร์ยุคโบราณออกได้เป็น 2 ช่วง คือชวากลาง และชวาตะวันออก


62

Borobudur @ Magelang

โบโรบูดูร์ หรือบรมพุทโธ เป็นสถูปเพียงแห่งเดียวในชวา ตั้งอยู่ในชวากลาง สร้างครอบเนินดิน ธรรมชาติ ทาให้ดูเหมือนว่าก่ออิฐขึ้นมาเองทั้งหมด แผนผังของสถูปเป็นการสร้างตามคติไตรภูมิ 3 ชั้นใน (วงกลม) หมายถึงอรูปภูมิ ประกอบด้วยสถูป เล็ก 72 องค์ มีสถูปใหญ่ตรงกลาง หมายถึงนิพพาน 5 ชั้นกลาง (สี่เหลี่ยมย่อเก็จ) หมายถึงรูปภูมิ มีทางเดิน ประทักษิณ ผนังสลักเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ และกาแพง 1 ชั้นนอกสุด (สี่เหลี่ยมย่อเก็จ) หมายถึงนรกภูมิ


63

Prambanan (Loro Jongrang) @ Jawa Tengah

เทวาลัยปรัมบะนัน หรือจันทิปรัมบะนัน (โลโรจงกรัง) เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู สร้างเป็น ปราสาทประธาน 3 หลัง คือตรีมูรติ (พระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ) เป็นเทวสถานใหญ่ที่สุดในชวากลาง รูปแบบได้รับอิทธิพลจากเทวสถานในอินเดียเหนือ (ทรงศิขร)


64

Panataran @ Jawa Timur เทวาลัยปะนะตะรัน หรือจันทิปะนะตะรัน เป็นเทวสถานใหญ่ที่สุดในชวาตะวันออก รูปแบบต่าง จากชวากลาง ได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้มากกว่า (ทรงพีระมิดยอดตัด) อาคารมีขนาดย่อมกว่า

        


65

 สถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออก ณัฐนิช จรุงเดชากุล AR 18


66

สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น คือเกาะ 4 เกาะใหญ่ ฮอกไกโด ฮอนชู คิวชู และชิโกกุ สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบ่งด้วยยุคสมัย ช่วงแรกแบ่งตามวิถีชีวิต ตั้งแต่สมัย Asuka แบ่งจากเมืองหลวงและกลุ่มอานาจการปกครองประเทศ -ยุคหิน -Jomon (10000-300BEC) -Yayoi (300BEC-300CE) -Kofun (300-600CE) ------------------------------Asuka (538-645) -Hakusho (645-710) -Nara (710-794) -----------------------------Heian (794-1185) -----------------------------kamakura (1185-1333) -Muromachi (1333-1573) -Momoyama (1573-1600) -----------------------------Edo (1600-1868) -----------------------------Meiji (1868-1912) -Taisho (1912-1926) -Showa (1926-1989) -post second world war2 (1945 ) -Heisei (1989- present)

Pre Buddhist culture -ก่อนการเข้ ามาของพุทธศาสนา

Korean,China Influences ยุคที่รับอิทธิพลจีน ผ่านเกาหลี +พระพุทธมาแล้ ว Developing identity *ยุคที่ญี่ปนสร้ ุ่ างเอกลักษณ์ของชาติตวั เอง

ยุคสงครามกลางเมือง ซามูไรสุดๆ แม่มมีแต่สงครามจริงๆ ยุคหลังสงครามกลางเมือง ญี่ปนปิ ุ่ ดประเทศ ยุคใหม่ เปิ ดประเทศ รับกระแสโมเดิร์น-ปั จจุบนั


67

Pre-Bhuddist culture ยุคหิน มีมนุษย์อาศัยในพื้นที่เกาะญีป่ ุ่นตั้งแต่ 100,000 กว่าปีก่อน สมัยที่ญี่ปุ่นยังติดกับเอเชียใหญ่ คนดารงชีพด้วย การไล่ล่าหาเก็บ - 30,000 ปีก่อนมีการใช้หินมาเป็นอาวุธ เครื่องมือ - 12,000 ปีก่อน จบยุคน้าแข็ง แผ่นดินญี่ปุ่นถูกตัดขาดเนื่องจากอากาศอุ่นขึ้น น้าสูงขึ้น –เกิดการใช้ เครื่องปั้นดินเผา

ยุคโจมง (10,000-300 BC) ยุคนี้เกิดเครื่องมือเครื่องใช้จากหินที่ทามาอย่างปราณีต การทาเครื่องปั้นดินเผาลายเชือก เกิด การ ล่าสัตว์โดยการใช้ธนู

(เครื่องปั้นดินเผาช่วงกลางของโจมง ดูคล้ายๆลายจีนขดๆ)

ยุค Yayoi (300 BC-ค.ศ. 300) เชื่อว่าเริ่มต้นที่ทางเหนือของเกาะคิวชู ก็เหมือนยุคโลหะดีๆของญี่ปุ่นนั่นแหละ ยุคนี้คนเรียนรู้การทาเกษตร และการใช้ มีการประกอบพิธีกรรมที่มาจากความเชื่อ เครื่องใช้หลายๆอย่าง คล้ายยุคโจมง จีน และเกาหลีใต้ เกิดศาสนาชินโตที่ Izumo และ Ise

รูปกระดิ่งบรอนซ์และกระจกพิธีกรรม


68

ที่อยู่อาศัยยุค Yayoi

เกิดสถาปัตยกรรมตามความจาเป็น(เพราะเพาะปลูก เลยต้องมีที่อยู่) Flatland Dwellings (Heichi jukyo) (บ้านบนที่ราบ) หลังคา ผนัง ผืนเดียวกัน พื้นดิน เป็นพื้น

Pit Dwellings (Tateano Jukyo บ้านต่ากว่าที่ ราบ) ระบายน้าไม่ได้ ไม่เหมาะสร้างในที่ ชื้น แต่กันลมหนาวได้ กันความ ร้อนได้

Raised floor building (Takayuka) อาคารยกพื้น ใช้ในอาคารศาสนา ชินโต


69

Yoshinogari Site

เชื่อว่าที่นี่คือแหล่งกาเนิดของยุค Yayoi ตั้งอยู่ในเขตซากะ (Saga Prefecture) เป็นแหล่งโบราณที่สมบูรณ์ ที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะอยู่ใกล้ทะเลและล้อมรอบด้วยผืนดินที่อุดมเหมาะกับการปลูกข้าว ทั้งหมดอยู่บนเนิน เขาเตี้ยๆ มีการสร้างคูน้าเพื่อการเพาะปลูก และการล้อมรัว้ ไม้รอบ อาคารใช้หลังคาหญ้า ไม้ไม่ทาสี เสาไม้ โดยให้กลุ่มอาคารแทรกตัวตามสภาพรอบด้าน

อาคารที่พบใน Yoshinogari site คืออาคารแบบ Pit dwellings และ อาคารยกพื้น raised floor building เป็นเหมือนเมืองย่อม แต่ล่ะอาคารก็มีหน้าที่ตามรูปข้างบน ข้างล่างคือ Pit dwelling +การใช้เสาไม้ข้างใน


70

Shinto

(kami no michi, the way of god ,หนทางแห่งเทพเจ้า ) ศาสนาชินโต ให้ความนับถือเทพเจ้าตาม Japanese Myth (อารมณ์เทพเจ้ากรีก แต่นขี่ องญี่ปุ่น) และผู้นาชนเผ่าก็ถือเป็นผู้ค้าจุนทางศาสนาด้วย

Amaterasu omikami เชื่อว่าต้นกาเนิดราชวงศ์สืบสายเลือดจากเทพแห่งดวงอาทิตย์ (Amaterasu omikami) คอนเซ็ปศาสนา ชินโต คือความเชื่ออย่างแรงกล้าเกี่ยวกับธรรมชาติ ผืนดินผืนน้า ทุกอย่างมีความพิเศษ มีเทพเจ้า(kami)สิง สถิตย์อยู่ สถาปัตยกรรมเลยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่พิเศษ(เรียกว่าฮวงจุ้ยดีก็ไม่ผิด) ไม่ค่อยเปลื่ยนพื้นที่รอบ ด้าน และการสร้างสถาปัตยกรรมก็เพื่อบูชาเทพเจ้าโดยเฉพาะ

The grand shrine of Ise (อาจารย์พูดยาวมาก)

สถาปัตยกรรมทางศาสนาชินโตเป็นแบบยกพื้น Raised floor building คอนเซ็ปเดิมคือไม้ไม่ทาสี หลังคา หญ้า สร้างอาคารตามพื้นที่แทรกธรรมชาติ แต่จะดูยิ่งใหญ่และละเมียดละมุนกว่าตามฝีมือช่าง และความ ปราณีตเพื่อบูชาเทพเจ้า ศาลเจ้า Ise ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสนเก่า สองพื้นที่ใหญ่ๆที่สาคัญอ.พูดถึงคือ Geiku และNaiku*** เป็นพท.แยกกันด้วยรั้วไม้


71

Naiku

พื้นที่ศาลเจ้าหลัก ประกอบด้วย อาคารหลัก อาคารเก็บของศักดิ๋สิทธิ์ใช้ทาพิธี และทางเข้ามีหลังคา อาคารหลักเป็น Shimmei style (สไตล์ยกพื้นเดิมแต่มาปรับให้ดูละเอียดอ่อนกว่า) เป็นอาคารไม้ทั้งหลังที่ สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพีแห่งดวงอาทิตย์ (Amaterasu omikami) เป็นศาลเจ้าไม้ประกอบไม่มีตะปู โดยศาลเจ้านีจ้ ะสร้างใหม่ทกุ 20ปี เริ่มตั้งแต่สมัยจักรพรรดิ Temmu 685BC ใช้ช่างหลายแขนงเป็นจานวน มากและเงินมหาศาล ทาโครงสร้างใหม่(ในรูปแบบเดิมเด๊ะๆ65จุด ส่วนประกอบมากกว่า16,000ชิ้น) ใช้ เวลารวม8ปี คือหลังจากที่อาคารเดิมมีอายุ12ปีก็จะเริ่มงานก่อสร้างหลังใหม่เลย สาเหตุที่เป็นเวลา20ปีเพราะว่านับตามช่วงอายุช่างของการถ่ายทอดฝีมือ คืออายุ80-60ปีจะคุมงาน /40ปีจะ จัดการ+เป็นแรงงาน /20ปีจะเป็นแรงงาน อีก20ปีต่อๆไปก็หมุนหน้าที่ตามอาวุโส ทาให้ฝีมือและภูมิปัญญา ไม่หายไป ในระหว่างสร้างอาคารหลังใหม่ พื้นที่ด้านข้างจะโรยกรวดขาวไว้แสดงอาณาเขต มีอาคารเล็กแสดงจุด ศูนย์กลางอาคารที่จะสร้าง

Geiku ฟังก์ชั่นคือการบูชาเทพเจ้า Toyouke ซึ่งเป็น เทพแห่งเกษตกรรมอาหาร อาคารนี้เหมือน เป็นอาคารเตรียมของเซ่นไหว้เทพี Amaterasu ใน Naiku (บูชาเทพเกษตรให้มี ของไปไหว้ในศาลเจ้าใหญ่ว่างั้น)


72

Kofun ยุคโคฟุง (ค.ศ. 300-600) ยุคนี้เริ่มได้รับอิทธิพลจากจีนคือราชวงศ์ฮั่น เด่นๆมีแต่การที่ผู้มีอานาจสร้างหลุมศพขนาดใหญ่เป็นเนินดิน สุสานบางแห่งล้อมน้าแล้วก็นิยมฝังของเกี่ยวกับศาสนาชินโตเช่น เครื่องประดับ ระฆังสาริด กระจก

สถ.เด่นสุดคือสุสานจักรพรรดิ nintoku (รูปซ้าย) เป็นสุสานที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น มีการฝังตุ๊กตา Haniwa (รูป กลาง) ส่วนเจ้าของสุสานเชิญดูรูปขวามือค่ะ

Influences from Korea & China จากนี้ไปจะเข้าสู่ยุคที่พระพุทธศาสนาเข้ามาในญี่ปุ่นผ่านทางจีนและคาบสมุทรเกาหลี และยุคสมัยย่อย หลังจากนี้จะเรียกตามชื่อเขตเมืองเด่นๆ มีการจัดผังเมือง รัฐบาลโดยมีอานาจใหญ่ที่องค์จักรพรรดิ ลาดับการย้ายเมืองในสไลด์อ.หน้า20จะเป็นอิ้ง ตอนแรกอยู่ที่ Asuka ในนารา(ไม่มีในนี้เพราะเล็ก) -ยุค Hakucho ย้ายไปที่ฟุจวิ าระเคียว (ก้อนเหลี่ยมสี ดาเล็กๆข้างใต้สุดของรูป คือวังของฟุจิวาระเคียว) -ยุค Nara ย้ายไปที่เฮโจเคียว (ก้อนสีเขียวที่เป็นผืน ผ้าหักเข้า อยู่กลางรูป สีดาข้างในคือวัง) -ยุคหลัง Nara ย้ายไปที่นากาโอกะเคียว (สีแดง ข้างบน) -ยุค Heian ย้ายไปที่เฮอันเคียว (สีเขียวข้างบนสุด) *kyou แปลว่าเมือง Heijo kyou ก็แปลง่ายๆเลยว่า เมืองเฮโจ


73

สถาปัตยกรรมพระพุทธศาสนาที่เข้ามา

พุทธศาสนานับถือความเชื่อความเข้าถึงในเรื่องของคน ต่างจากชินโตที่นับถือเทพเจ้ากับธรรมชาติ สิ่งนี้ สะท้อนในสถาปัตยกรรม เราสรุปให้เทียบกับชินโตเป็นตารางแบบนี้ ดูด้วยตาบางทีก็วา่ เป็นวัดญี่ปุ่น เหมือนกัน อาคารพุทธ อาคารชินโต 1. เสาไม้ทาสีแดง มีฐานหินรับเสา ผนังขาว เสาไม้ไม่ทาสี ปักลงดินเลย ผนังสีวัสดุ 2. หลังคามุงกระเบื้องมีน้าหนักมาก มีค้ายัน หลังคามุงด้วยฟางหรือแผ่นไม้ (Bracket) 3. อาคารมีน้าหนักมาก โครงสร้างเลยซับซ้อนตาม โครงสร้างง่ายๆ อยู่แทรกตามธรรมชาติ 4. พื้นที่ภายในและแท่นบูชาตกแต่งเยอะมาก 5. กลุ่มอาคารถูกล้อมด้วยกาแพง มีทางเข้าที่ กลุ่มอาคารสาคัญล้อมด้วยรัว้ ไม้ ทางเข้าที่มีหลังคา กาหนดมาเป็นทางการ แบ่งสเปซวัดชัด คลุม 6. จัดวางอาคารตามคติจักรวาล วางผังแบบ จัดวางอาคารแทรกตามธรรมชาติ ในที่ที่มีธรรมชาติ สมดุลสมมาตร ตามระเบียบแบบแผน ที่ดี 7. ทางเดินข้างหน้ามักเป็นพื้นหิน เพราะใช้หิน ทางที่แสดงพื้นที่ศกั ดิ์สิทธิ์โรยด้วยกรวดขาว เป็นส่วนของฐานรากฝังลงดินด้วย

ยุค Asuka (ค.ศ. 538-645) เมืองเด่น: Asuka จังหวัด Nara ยุคระบอบกษัตริย์เริ่มแรง มีการเข้ามาของพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกผ่านการติดต่อกับจีนและเกาหลี ส่ง ทูตไปที่จีนในราชวงศ์สยุ่ *มีการสร้างวัดไม้ในพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดคือ Horyu-ji

ยุค Hakucho (ค.ศ. 645-710) เป็นยุคที่เริ่มมีรัฐบาล สร้างรูปแบบการปกครองที่เอามาจากราชวงศ์ถังของจีน ศาสนาพุทธเริ่มแผ่กระจาย ไปยังส่วนต่างๆของประเทศ ปี694 จักพรรดิ Tenmu ย้ายเมืองจาก Asuka เป็น Fujiwara kyou (ฟุจิวาระเคียว) “เมืองหลวงทางการแห่งแรก” ที่ได้รับการสถาปนา ทว่ามีอายุแค่7ปี จักรพรรดิ Genmei ที่รับช่วงต่อเห็นว่ามีข้อจากัดใน การขยายเมือง เลยย้ายเมืองไปเฮโจเคียว,Heijo kyou ในตัวเมืองNara

ยุค Nara (ค.ศ. 710-794) เมืองสาคัญ: Heiijo kyou เริ่มตั้งแต่ย้ายเมืองหลวง สร้างเมืองถึงคศ. 708 ถือว่า Heijokyou เป็น “เมืองหลวงถาวรแห่งแรก” ของญี่ปุ่น สร้างตามเมืองซีอานของจีน


74

ผังเมืองHeijo kyou มีลักษณะเป็นGridบลอคตารางหมากรุก สีฟ้าคือที่ทาการ สีเหลืองคือตลาด และสีแดงคือวัง ขนาดของเมืองแค่ 4.8 X 5.9กม. มีถนนเส้นยาวตัดเหนือถึงใต้ชื่อ Suzaku oji ทิศใต้สุดมีประตูราโชมอน (Rajomon) เป็นประตูเมือง หน้าวัง ทางใต้มีประตูสุซาคุมอน (Suzaku-mon) เป็นประตูวัง ยุคนี้วัฒนธรรมจีนเยอะมาก ทั้งภาษา การแต่งกาย ตัวอักษรคันจิ(ที่เป็นตัวจีนในภาษาญี่ปุ่น) เพราะญี่ปุ่นมี สัมพันธ์กับจีนราชวงศ์ถัง และที่สาคัญคือเมืองนาราเป็นปลายทางของเส้นทางสายไหม (The silk road) อันเป็นเส้นทางสาคัญของประวัติศาสตร์ (รูปเส้นทางสายไหมข้างล่าง)


75 สถาปัตยกรรมสาคัญของยุคNaraมีบ้านวัด วัง เหมือนไทยเลย

วัด วัด Horyu-ji

วัดโฮริวจิสร้างสมัย Asuka แต่ถือว่าเป็นสถ.ร่วมสมัยของ Asuka และ Nara เป็นสถานที่เรียนรู้พระพุทธ ด้วย

วัด Horyu-ji วัดนี้แสดงอิทธิพลการวางอาคารและการวางประตูทางทิศใต้ อ.พูดถึงว่ากลุ่มอาคารหลักมีอะไร แต่เราหารูปไม่ได้ ก็ดูตามสไลด์ที่28เลย


76

เจดีย์ของวัด Horyu-ji อาคารไม้ที่เก่าแก่ทสี่ ุดในโลก ประกอบด้วยโครงยึดแน่นกับโครงอิสระ ทาจากไม้สน (Hinuki) มีการคิดเรื่อง แผ่นดินไหว ส่วนเสา CORE (Heart pillar)ไม่ได้รับน้าหนักอาคารเลย แต่ทาการตรึงโครงสร้างที่รบั แรงเอาไว้ แกว่งได้ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว รักษาสมดุลอาคาร โครงสร้างอาคารรอบด้านเสาเป็นส่วนรับแรง ส่วนประกอบยิ่งสูง ยิ่งมีขนาดเล็ก เหมือนกับว่าแต่ล่ะส่วนจากองค์ประกอบจะมีลักษณะสอบขึ้นไปกระจายแรงจาก กระเบื้อง จันทัน ค้ายัน พุก คาน เสา ฐานพื้น (บางองค์ประกอบมีมากกว่าหนึ่งชั้น คานเงีย้ สามชั้นได้ ซับซ้อนมาก) เสาแต่ล่ะชุดจะตัดกัน แต่รับแรงของกันและกัน

นี่แหละอาคารพระพุทธ โครงสร้างเยอะมาก มีค้ายันคลุมระเบียงที่ล้อม1ช่วงเสาข้างๆ


77

Moya & Hisashi โมยะคือส่วนหลักอาคาร มีหลายช่วงเสาเป็นเลขคื่ และฮิซาชิคือระเบียงล้อมขนาดหนึ่งช่วงเสา ญี่ปุ่นรับสถาปัตยกรรมจากจีน แต่มาปรับใช้ให้เหมาะกับภูมิประเทศ ทาให้เกิดเอกลักษณ์เรียกว่า Wayo

วัด Todaiji

Daibutsuden (อาคารหลัก) สมัยNaraพระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์จากหลายกลุ่มบุคคลรวมทั้งขุนนางชั้นสูง วัด Todaiji เป็นวัด ใหญ่มาก สร้างในสมัยจักรพรรดิ Shomu ในอาคารหลักนี้บรรจุพระพุทธรูปสาริด


78

พระใหญ่ในอาคารหลัก สูง17เมตรใช้ช่าง10%ของประชากร เชิญพระทั่วโลกมางานเปิดตาที่มีพระอินเดีย มาเขียนตาองค์พระ

อาคารอยู่อาศัย

ส่วนบ้าน ที่สาคัญคือ Shinden style ที่ใช้มาจนถึงเฮอัน (เรายกไปอธิบายตรงพาร์ทเฮอันนะ แต่ขอให้ เข้าใจว่าเหมือนกันสองยุคคือเฮอัน-นารา

ส่วนที่เรียก Shinden เป็นทีพ่ ักอาศัยของหัวหน้าครอบครัว(สีส้ม) เป็นอาคารหลัก


79

วัง Nara

มีพื้นที่พักของขุนนางสองส่วน คือ Mansion of nagayao และMansion of fujiwara no fuhito ตาแหน่ง ผู้ช่วยซ้ายขวานี่เอง (รูปสไลด์ 20 เป็นอาคารแบบ shinden) อาคารที่การรัฐและลาน(Courtyard of the hall of state; Daigokudenin)

อาคารที่ใช้ทาพิธีสาคัญและรับทูตจีน อาคารอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม เสาไม้แดง หลังคากระเบื้อง เป็นสถ.จีน ทางเหนือของ Daigokuden เป็นอาคารที่อยู่จักรพรรดิ (เห็นมะ สร้างบ้านติดกับที่ทางานเหมือนจีนเลย) เชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมญี่ปนุ่ ดั้งเดิม มีส่วนอาคารหลัก Moya ผนังบางส่วนเปิดสู่ระเบียง Hisashi ได้ เสา ถ่ายแรงลงดิน พื้นไม้ และหลังคาปั้นหยาผสมจั่วมุงไม้สน


80

Heian (ค.ศ. 794-1185) เมืองหลวงย้ายจาก Heijo kyou ไปที่ Nagaoka kyou เพื่อหนีอิทธิพลที่รุนแรงของพุทธศาสนาในคศ.784 และย้ายไปที่นครเฮอัน Heian Kyou ในปี 794เป็นอันเข้าสู่ยุคเฮอัน เป็นยุคที่สาคัญมาก เด็ดมาก เพราะความเป็นญี่ปุ่นหลายๆอย่างเริ่มเด่นชัดขึ้นเช่นการเกิดอักษรฮิรางานะ และคาตาคานะ เมืองหลวงสบายมาก สุดท้ายอานาจทางการทหารเลยมากองอยู่ที่ตระกูลFujiwara ฟูจิ วาระ(ตระกูลนี้ก็ตัวแม่สมัยยุคเฮอันเหมือนกัน เพราะมีต้นตระกูลมาจากเทพของชินโต)

เมืองเฮอันจัดวางด้วย Grid สี่เหลี่ยมตารางหมากรุกตามจีน สื่อถึงสวรรค์บนดิน แม้แต่เทพคุ้มครองก็มา จากจีน


81 -เทพทัง้ 4ที่คอยปกปั กษ์ รักษานครเฮอัน

-

-

เกนบุ (Genbu)เทพเจ้างูพันรอบ เต่า รูปร่างคล้ายเต่าดามี(...อิช) กับงู ทิศเหนือ ธาตุน้า เบี๊ยกโกะ (Byakko) เสือขาว ทิศตะวันตก ธาตุโลหะ

-

สุซาคุ (Suzaku) ฟีนิกซ์แดง (จริงๆมันเป็นไก่แจ้) ทิศใต้ ธาตุไฟ

-

เซย์ริว (Seiryu) มังกรฟ้า ทิศตะวันออก ธาตุไม้

สถาปัตยกรรมเป็นบ้าน วัด วัง อเกน

วังหลวงในยุคเฮอัน (Heian Palace)

ขนาด1.4x1.2กม. แบ่งเป็นสองส่วนคือชั้นนอก และชั้นใน-ชั้นนอก แต่อ.ไม่ได้พูดถึงวังหลวงเฮอันเท่าไหร่ พูดถึงวังเกียวโต (Kyoto imperial palace) แทน

ผังวังเฮอันหรือวังชั้นนอก ผ่านจากประตู suzakumon ทิศใต้ Daigokuden หรืออาคารทาการรัฐจะอยู่ในวังชั้นนอก ถูกไฟเผาไปแล้วตามที่ในสไลด์บอก วังเกียวโตจะอยู่ทิศตอ.เฉียงเหนือของวังเฮอัน (คืออยู่ข้างใน ตรงที่เรียกว่า Dairi นั่นแหละ)


82

ผังของวังเกียวโต มีอาคารสองหลังที่ทาให้คนยังเข้าไปเยีย่ มไม่ขาดคือ Shishinden และ Seiryouden

Shishinden คืออาคารพระราชพิธีสาคัญ แนวๆพุทธผสมชินโต เพราะเฮอันเป็นฟิวชั่น

เป็นอาคารเอก ในพระราชวัง ตัวอาคารสูงจากดิน วางตามแบบสมมาตรพุทธ มีโถง Moya กลางโถงวางแท่นบัลลังก์ ระเบียง hisashi ล้อม บันไดทางขึ้นกว้างสามช่วงเสา 18ขั้นตามลาดับขุนนาง ผนังอาคารสีขาว เสากลม ด้านนอกตั้งลอย เสาโครงสร้างรับหลังคาและพื่นด้านล่ะสองแถว ใต้ถุนเปิดโล่ง ด้านหน้าโรยกรวดขาว แสดงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์


83

Seiryouden

อยู่ทางตอ.ของ Shishinden ไม่ได้พูดถึงมากมาย ด้านนอกกั้นด้วยผ้ากับฉากกั้น - คาว่า ไซเรียว นี้ใช้เฉพาะกับของๆจักรพรรดิ เหมือนคาว่า “ราช” ในภาษาไทย(ถ้าเราจาไม่ผิด) Seiryouden จึงเป็นส่วนที่อยู่ของจักรพรรดิเท่านั้น

บ้านพักอาศัย (ขอบคุณวิกิพิเดีย 55)

คนส่วนมากอยู่เป็นบลอคๆ เป็นตึกแถวที่เรียงๆกันแบบนี้เรียก Machiya จะติดกันหลายๆตึกใน1บลอก


84

สถาปัตยกรรมแบบชินเด็น (Shinden)

เหมือนในยุคนารา หลักๆจะประกอบด้วยเรือนหลัก เรียกว่า Shinden นั้นประตูจะวาดลาย เป็น openplan โล่งกั้นด้วยฉากประตูไม่กี่ชิ้น ใช้บานเลื่อนกั้นห้อง เรือนหลักจะหันหน้าไปทางทิใต้ซึ่งเป็นทิศมงคลตาม คติแบบจีน มีเรือนต่อขยายด้านตะวันตกและตะวันออก เชื่อมกับเรือนหลักด้วยทางเดินที่มีหลังคาคลุม เสา ปักลงดิน เรือนทางทิศเหนือนั้นจะจัดให้เป็นที่พานักของภรรยาหลวงเสมอ ด้านหน้าเป็นสวนที่ประกอบด้วย สระน้า เกาะ เนินเขาจาลอง และสะพาน มีกาแพงดินล้อมรอบหมู่คฤหาสน์ทั้งหมด หลังคานิยมมุงด้วย เปลือกสนที่ซ้อนกันเป็นชั้นหนามากกว่ากระเบื้อง เพราะกระเบื้องแบบจีนนั้นไม่เหมาะกันอากาศของญี่ปุ่น พื้นจะเป็นพื้นไม้กระดาน ไม่มีเสื่อวาง (ทาทามิมาทีหลัง) เรือนแบบชินเด็นแต่ละหลัง สามารถแบ่งห้องได้ตั้งแต่ 4 ห้องถึง 9 ห้อง โดยใช้ฉาก หรือ ราว ผ้าม่านเป็นเครื่องกั้นหองตามขนาดความต้องการใช้งาน สถาปัตยกรรมแบบชินเด็งนี้จะเย็นสบายในฤดูร้อน แต่ในฤดูหนาวจะหนาวเย็น เนื้อที่ของบ้านแบบชินเด็นนี้กินเนื้อที่ 120 ตรม. (1 บล็อก) เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นตระกูลฟุจิวาระกินสอง บล็อก


85 บ้านของตระกูลฟุจิวาระเรียก Tosanjoden เป็นบ้าน Shinden แบบสองบลอค

Tosanjoden ล้อมด้วยกาแพงดิน อาคารหลักกว้าง4x11ม. ล้อมด้วยระเบียง Hisashi มีหลังคาเชื่อมทุก เรือน ทางด้านใต้มีน้าที่สง่ จากลาธารทิศตอ./เหนือของเมือง อาคารหลักก็หรูๆ กั้นน้อยๆโล่งๆ เหมือนชิน เด็นทั่วไป มาถึงสุดท้ายคือ

วัด -Gion shrine

เป็นวัดพุทธ-ชินโต วันกิออนเป็นศาลเจ้าสาคัญของเกียวโต


86

Muroji temple

เป็นวัดพุทธที่ทิ้งแนวความสมดุลตามแบบการวางอาคารของพุทธ แล้วไปผสมผสานกับการแทรกตัวตาม ธรรมชาติแบบชินโต แทนที่จะเปิดโล่งพื้นที่

Byudoin temple

ปีคศ. 1052 เป็นวัดพุทธ สร้างขึ้นตามหลักสวนสวรรค์โดยตระกูลฟุจิวาระ บูชา Amida (รูปขวา) วัดอยู่ที่ เมือง Uji ทางใต้เกียวโต อาคารหลักเรียกPhoenix Hall เพราะอยู่ทางใต้เป็นทิศมงคล ตั้งชื่อบูชาเทพ Suzaku (ฟีนิกซ์)ที่อารักขาทางใต้เมืองเฮอัน


87

The way of warriors -เป็นสามยุคที่เริ่มต้นจากการสถาปนาตาแหน่งโชกุน จบด้วยการที่โตคุกาว่า อิเอยาสึ (Tokugawa Ieyasu) ขึ้นตาแหน่งโชกุน

ยุค Kamakura (ค.ศ. 1185-1333) เริ่มต้นที่จุดจบของการเชือดเฉือนกันระหว่างตระกูลไทระกับมินาโมโตะ โดยที่มินาโมโตะชนะ สถาปนาโชกุนคนแรกย้ายศูนย์กลางอานาจไปที่ Kamakura ใกล้ๆกับโตเกียวที่เป็น เมืองหลวงปัจจุบันเพราะเมืองเฮอันแทบเสื่อมหลังจากการรบกันในช่วงปลายยุค Note ว่าโชกุนคือ “ผู้นา สูงสุดทางการทหาร ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิ โชกุนสนับสนุนความเรียบง่าย ซามูไร เกิดวิถีซามูไร (Bushido) และพุทธนิกาย Zen

บ้านพักอาศัย

ยังเป็นแบบ Shinden อยู่ แต่ว่าเปลี่ยนจากการเชื่อมต่ออาคารโดยระเบียงมีหลังคา กลายเป็นเชื่อมต่อแบบ มุมชนมุมสามหลัง อันเป็นการเชื่อมที่พัฒนาเป็น Shoin style ในยุคต่อไป

เกิดสถาปัตยกรรมบ้าน Samurai เน้นเรียบง่าย มักสร้างบนทีส่ งู นิดๆ ล้อมด้วยกาแพงดินหรือคูน้า อาคารหลักเรียก Omoya (มันคือ moya ของชินเด็นที่เพิ่มOเข้าไป) ข้อแตกต่างคือหลังคาของอาคาร shinden มุงด้วยเปลือกไม้สน แต่บ้านซามูไร มุงหญ้าและแผ่นไม้ พื้นที่รอบด้านมีครัว แปลงผัก เรือนคนใช้

วัดในKamakura


88 มีการสร้างวัดที่ถูกทาลายในสงครามปลายช่วงเฮอัน คือวัด Todaiji และวัด Kofukuji วังในยุคนี้ไม่ได้บอก

ยุค Muromachi (ค.ศ. 1333-1573) ยุคที่โชกุนมาจากตระกูลอาซากุระ (Asakura) มีการพัฒนาชลประทาน การเพาะปลูกที่ดีขึ้น วิถีซามูไร (Bushido) และพุทธนิกาย Zen สะท้อนออกมาในสถาปัตยกรรม โชกุนกลายเป็นนักบวชไปด้วย ผลกระทบของ Zen คือเกิด Tea house ที่มีความงามแบบ Wabi Sabi เน้นความเรียบง่ายและเชื่อว่า ความงามคือความไม่สมบูรณ์แบบ

บ้านพักอาศัย

Shoin style สมัยเฮอัน Shoin คือห้องเขียนหนังสือที่พัก ที่รับรองของโชกุนเลย เป็นสถาปัตยกรรมตาม function ที่ใช้ มีเสื่อทาทามิtatamiเข้ามาแล้ว มีฝ้าเป็นช่อง มีการกั้นห้องด้วยบาน Fusama และบานเลื่อน shoji (ข้อ


89 แตกต่างคือ fusama ใช้เพ้นต์ลาย เป็นบานกระดาษผืนใหญ่ shojiจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆมีกระดาษสา เป็นช่องๆ) ประกอบด้วยหลักๆ 1.โต๊ะเขียนหนังสือแบบbuild-inผนัง 2. ชั้นวางของ 3.ส่วนหนึ่งของห้อง ผนังที่ใช้วางของแต่งเรียบๆง่ายๆ หรือ tokonoma ภายหลังส่วนที่ติดกับ Tokonoma ปรับไว้ใช้รับแขก 4.ประตู fusama ที่เพ้นต์ลาย

อาคารศาสนา

Kinkakuji (วัดทอง) สร้างโดยโชกุนคนที่สามของตระกูล Ashikage เป็นวัดทีผ่ สม3แบบ Shiden, Shoin, Samurai อารมณ์ เหมือนบ้าน+วัด อาคารสามชั้นสูง12.5เมตร Shiden => เสาไม้ไม่ทาสี แผ่นผนังขาวระหว่างช่วงเสา มี Moya เป็นห้องใหญ่หลักๆ มีระเบียง Hisashi ล้อม มีบานเปิดไม้สองแบบ คือข้างบนเปิดได้ ข้างล่างถอดออกได้ Samurai =>ชั้นสอง ประดิษฐานพระพุทธรูป ใช้บานเลื่อนและหน้าต่างไม้ Zen => ชั้นสาม หน้าต่างทรงระฆัง ลูกฟักไม้


90

ชั้นสองและสามภายนอกปิดทองคาเปลวจนอาคารเป็นสีทอง เลยเรียกว่า Kinkakuji แปลว่าThe gold Pavillion และ Landscape มีการใช้เทคนิค Borrowed Scenery Ginkakuji (วัดเงิน)

สร้างโดยโชกุนคนที่แปดของตระกูล Ashikage บนภูเขาทางตอ.ของเกียวโต ประกอบด้วยอาคารหลายหลัง -Kannon Hall ประดิษฐ์พระโพธิสัตว์ อาคารประธาน -Togudo อาคารใช้นั่งสมาธิ -Kaisho อาคารบันเทิง ใช้รบั รองแขก จัดงาน หลังจากที่โชกุนเจ้าของโปรเจคเดี้ยงไปก็หยุดการสร้างจนอาคารหลักไม่ได้แปะเงินตามที่ออกแบบไว้ แล้วก็ เสื่อมตามเวลา


91

-สวนในวัดเงิน Gaisaiden (Sea of silver sand) สวยมาก โรยด้วยKogetsudai

ยุค Azuchi-Momoyama (ค.ศ. 1537-1600) เกิดจากการลอบสังหารโชกุน เรื่องยาว มันส์มาก เอาเป็นว่าแผ่นดินลุกเป็นไฟ สงครามกลางเมืองอุบัติ Azuchi ยุคที่ Oda Nobunaga เป็นใหญ่ Momoyama ยุคที่ Toyotomi Hideyoshi เป็นใหญ่ ยุคที่เจ้าเมืองญี่ปุ่นแต่ล่ะคนวิ่งร่านกันทาสงคราม แสวงอานาจด้วยการรบ คนเลยหาความสงบทาให้เกิด บ้านชา Tea houseที่เราต้องเอามาสอบกันนี่แหละ

Tea house

การดื่มชาแบบเป็นพิธีมีมาจริงๆตั้งแต่คามาคุระพัฒนาเรื่อยมาจนโมโมยามะเรียกว่า(Chanoyu หรือวิถีชา) Wabi เป็นหลักในความงาม คือความไม่สมบูรณ์ เรียบง่าย Sabi คือการปล่อยให้วันเวลาผ่านไป โดยเกิดร่องรอย เน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ พิธีกรรมการชงชาของ Sen-no-Rikyu ชื่อว่า Soan เกิดการใช้กระท่อมหยาบๆมุงหญ้าเล็กเรียบง่าย เป็น Soan style


92 Soan tea house เกิดจาก Shoin style+บ้านชาวนา ใช้วัสดุให้ความรู้สกึ หยาบ สอดคล้องกับความงาม เรียบง่ายและพิธีกรรมที่ละเอียด หลักของสถาปัตยกรรมประกอบด้วยอาคาร+สวย ในอาคาร tea house ประกอบด้วย 1.เสื่อtatamiเป็นที่นั่งร่วมพิธี 2.ชั้น Tokonoma ที่วางของประดับแบบ Shoin 3.ผนังห้องเป็นดิน บางทีผสมสีเขียวชาหรือแดงเปลือกหอย ส่วนล่างปิดกระดาษขาวหรือไม้กันเปื้อนเสื้อ 4.หน้าต่างหลายรูปร่างและขนาด ทาจากไผ่สานหรือกระดาษเปลือกข้าว 5.เสาไม้ขา้ งในไม่ลอกเปลือก มักทาด้วยสีแดงให้ดูขรึม 6.มีห้อง1-2ห้องช่วยในการเตรียมของ ขนาดห้องขึ้นกับพิธีในอาคาร

สวนของ Tea house เป็นส่วนสาคัญมาก หน้าที่คือ Stop คนจากภายนอกที่เป็นซามูไรทาศึกวุ่นวายเข้า มาในโลกความสงบเคร่งขรึม สวนประกอบด้วย 1.มีสองส่วน คือส่วนนอกให้นั่งคอยเรียกของผู้เข้าร่วม จะถูกเรียกเข้ามาในสวนส่วนในที่ให้เดินผ่าน ประกอบด้วยที่นั่ง แท่นหิน บ่อน้าหิน ก้อนหิน และมีหินใหญ่ปลายทางให้ Stop ก่อนเข้าอาคาร 2.สวนประกอบด้วยโคมไฟ ต้นไม้ ไม้พุ่ม

Castle


93 ปราสาทสมัย Momoyama เยอะมาก นิยมสุดๆ ไดเมียวสร้างปราสาทอยู่บนเชิงเขาและที่ราบเพื่อความ บันเทิงและแสดงอานาจ So luxury! มักสร้างในรูปแบบ Shoin style ปูเสื่อ tatami อาคารหลักเรียกว่า Doujon มีความสูงเพื่อมองไปยังพื้นทีใ่ ต้บัญชารอบด้าน ช่วงแรก Doujon คล้าย หอคอย สร้างด้วยไม้ ผนังไม้ หลังๆฉาบปูนพลาสเตอร์ทาสี Landscape เป็นลานโล่ง ล้อมคูน้า และมีส่วนที่เป็นลานโล่งเยอะมากกกกกกกก ซับซ้อนด้วย เลี้ยวผิด หนึ่งทีนี่ไปอีกฝั่งเลย(ใครเคยเล่นเกมจะเข้าใจ) แต่ก็มีฟังก์ชั่นป้องกันภัย กาแพงหินหลายชั้นซับซ้อน เหล่า ทหารจะสามารถยิงลูกไฟ ธนู ก้อนหิน หรืออาวุธปาอื่นๆได้ผ่านช่องเปิดในกรณีศึกสงคราม และในตัว Doujou ก็มีทางหนีเป็นช่องลับให้ฝ่ายในหรือเจ้านายชั้นสูงหนีออกไปได้ ปัจจุบันมีปราสาทที่เหลืออยู่แค่12แห่ง

Edo Period (1600-1868) ยุคเอโดะ ยุคเอโดะเริ่มต้นที่การจบลงของมหาสงครามทีท่ ุ่งเซคิกาฮาระ(Battle of Sekigahara) สถาปนาโชกุนคนใหม่ โทคุงาวะ อิเอยาสึ (Tokugawa Ieyasu คนนี้สาคัญมาก ไม่มีเค้าก็ไม่มีเอโดะ) เกิดรัฐบาลบาคุฟุ และแบ่งแยกชนชั้น4แบบจากต่าต้อย=>สูงส่งคือ พ่อค้า ช่างฝีมือ ชาวนา และซามูไร เนื่องจากไม่มีสงคราม ฝั่งพ่อค้าและช่างฝีมือก็มีโอกาสได้แสดงฝีมือ

ภาพอุกิโยะ เมืองดาเนินไปตามวิถขี งจื้อและวิถีนักรบBushido


94

Edo castle

ปราสาทฮวงจุย้ ดีอีกแล้ว วัดบนเขาด้านหลัง น้าอยู่ข้างหน้า เป็นปราสาทบนเนินศูนย์กลางเอโดะ ยุคเอโดะเป็นยุคพัฒนาเมืองภูมิภาคทีส่ าคัญเช่นเมืองท่า เมืองพื้นที่วัด และเมืองที่มีปราสาท

Tokugawaเป็นโชกุนได้หลายปีเพราะใช้อุบายให้ไดเมียวทิ้งครอบครัวไว้ที่เมืองหลวง ทาให้ต้องเดินทาง เสีย เงิน เสียเวลา แถมมีตวั ประกัน เลยไม่มีใครอยากทาสงคราม เกิดถนนสองสายคือ Tokaido และ Nakasendo ที่ไดเมียวใช้สัญจร


95

Sukiya style villa & palace

พัฒนามาจาก Shoin แต่ทาให้เรียบง่าย หลังคาง่ายๆ วัสดุธรรมชาติ ไม่เป็นทางการ ไม่แต่งฝ้า ไม่ทาผนัง ใช้องค์ประกอบไม้ขนาดเล็กลง นาแนวทางมาจากความเรียบง่ายของ Soan tea house รูปแบบของ sukiya ได้รับการยกย่องว่าเป็นหัวใจของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ช่วงปลายศตวรรษที่18 ถูกกดดันให้เปิดประเทศ พลเรือจัตวาแมทธิว เพอร์รี่ เอาเรือมาปิดอ่าวโตเกียว ญี่ปุ่นยอมลงนามสนธิสัญญาและเปิดประเทศ บาคุฟุล่มสลาย โชกุนหมดยุค และอานาจคือสู่จักรพรรดิเมจิ (ยุคร.5)

Modernization ยุคสมัยใหม่ เป็นยุคที่เริ่มเข้าสถาปัตยกรรมโมเดิร์น จักรพรรดิเมย์จกิ ็แค้นนะที่ประเทศโดนบังคับเซ็นสัญญา เลยส่งคน ไปเรียนวิทยาการกลับมาพัฒนาญี่ปุ่น เป็นยุคที่จกั รพรรดิเก่งและรุ่งเรือง มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม หลังจาก นี้อ.บอกจะไม่ออก แต่เพื่อความชัวร์ก็อ่านMeijiไปดีกว่า เพราะที่มีในชีทอ.คือย่อมากๆแล้ว




96

 สถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิธิณัช สังสิทธิ TA 06


97

สถาปัตยกรรมพม่า

ประวัติศาสตร์พม่า แบ่งได้คร่าว ๆ เป็น 3 จักรวรรดิ คือพุกาม ตองอู และคองบอง ซึ่งจะมีช่วง รุ่งเรืองและล่มสลายสลับกัน แต่ก่อนที่พุกามจะเกิด มีพวกปยูอาศัยอยู่ก่อนในตอนกลาง และพวกมอญในตอนใต้ พม่าตั้งตัว ขึ้นมาที่พุกามโดยชิงเอาพระธาตุจากปยู ชิงเอาพระไตรปิฎกและนิมนต์พระชินอรหันต์ไปจากมอญ ในที่นี้เราจะพูดถึงจนกระทั่งสิ้นสุดยุคพุกามเท่านั้น


98

ศาสนาและความเชื่อ พม่านับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งรับมาจากมอญโดยผ่านทางลังกา ตัวอย่างสาคัญมีอยู่ที่พระ ธาตุอินทร์แขวน ในรัฐมอญ เป็นหินที่หมิ่นเหม่จะกลิ้งตกจากเขา แต่ก็ไม่ตก มีการปักฉัตรด้านบนทาให้ กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวพม่านับถือพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ในกัปนี้ คือพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคตมะ ต่อมาภายหลังนับถือพระอนาคตพุทธอีก 1 พระองค์คือพระเมตเตยยะ

นอกจากพระพุทธศาสนา พม่านับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผี ของพม่าเรียกว่านัต มีทั้งหมด 37 ตน โดยนัตองค์แรกคือพระอินทร์ นามาจากพระพุทธศาสนา ส่วนองค์ อื่น ๆ จะเป็นกษัตริย์หรือคนสาคัญของพม่าที่ได้รับการยกย่องเป็นเทพ ตัวอย่างสาคัญอยู่ที่เขาโปปา ในภาค พะโค เป็นเขาสาคัญที่เชื่อว่าเป็นที่สถิตของนัตทั้งหลาย


99

สมัยมอญ-ปยู เราจะพูดถึงแค่ปยู เพราะมอญไม่มีอะไรน่าสนใจในยุคนี้ ปยูอยู่กันแบบนครรัฐ แต่เมืองสาคัญที่สุด คือเมืองศรีเกษตร (ใกล้เมืองแปรปัจจุบัน) ผังเมืองเป็นรูปวงกลมขนาดใหญ่ มีพระราชวังอยู่กลางเมือง ศาสนสถานสาคัญจะอยู่นอกเมือง สถาปัตยกรรมในสมัยนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือเจดีย์และกู่ (เจติยวิหาร)

บอบอจีเจดีย์ @ ศรีเกษตร

เจดีย์แบบแรกของปยู จะก่อเป็ นทรงกระบอกขึ้นไป ตรงปลายก่อโค้ง เข้า แล้ว ปัก ฉัตรด้านบน แสดงความศักดิ์สิทธิ์ เป็นเจดีย์แบบเรียบง่าย เป็นยุคต้น ๆ ของประวัติศาสตร์ องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ (อิฐโบราณ) เนื่องจากอยู่ริมแม่น้า จึงมีดินแม่น้าให้ใช้ทาอิฐมากมาย


100

ปยาจีเจดีย์ @ ศรีเกษตร

เป็นเจดีย์อีกแบบของปยู คือก่อโค้งเข้าตั้งแต่ฐานไปจนถึงยอด เรียกว่าทรงลอมฟาง บนยอดปักฉัตร เหมือนบอบอจี ด้านข้างก่อเรียบ ๆ เหมือนกัน

เบเบพยา @ ศรีเกษตร

เป็นกู่ (เจติยวิหาร) ของปยู ด้านบนเป็นทรงศิขรที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียเหนือ เพื่อแสดงความ ศักดิ์สิทธิ์และความสาคัญมากกว่าอาคารทั่วไปที่อาจมีส่วนล่างคล้ายกัน อาคารค่อนข้างทึบ ผังจัตุรัส เทคนิคการก่อสร้างในสมัยนี้ยังไม่ดีมาก


101

สมัยพุกาม พุกามเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ตอนที่ศรีเกษตรยังเจริญ รุ่งเรืองอยู่ และเปิดตัวเป็นจักรวรรดิพุกามอย่าง เต็มรูปแบบเมื่อพระเจ้าอโนรธา (อนิรุทธ์) ยกทัพไปตีมอญได้ และขนพระไตรปิฎกกลับมายังพุกาม ในขณะ ที่พวกปยูก็ค่อย ๆ หายไปจากประวัติศาสตร์ ในพุกามก็จะพูดถึงสถาปัตยกรรม 2 อย่าง คือเจดีย์กับกู่เช่นกัน

บูพยาเจดีย์ @ พุกาม

เป็นเจดีย์ทรงลอมฟางลักษณะคล้ายเจดีย์ปยูอยู่มาก องค์ไม่ใหญ่นัก ตั้งอยู่ริมแม่น้าอิระวดี เป็น สัญลักษณ์ (Landmark) ของเมืองพุกาม แต่เนื่องจากเจดีย์องค์เล็ก ต้องทาให้เห็นจากระยะไกล จึงมีการ ซ้อนฐานเชิงเทินหลายชั้นเพื่อให้เจดีย์เด่นขึ้น


102

ชเวสันดอเจดีย์ @ พุกาม

มีการซ้อนฐานหลายชั้น ฐานแปดเหลี่ยมเป็นการ Gradation จากสี่เหลี่ยมไปเป็นวงกลม ทาให้กลืน กัน ฐานแต่ละชั้นมีการยกเก็จ แต่ละชั้นฐานจะมีแผ่นดินเผาเป็นภาพเล่าเรื่องชาดกติดอยู่ ที่มุมทั้งสี่ของฐานแต่ละชั้นมีรูปหม้อน้าวางอยู่ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ชั้นบนสุดไม่ได้เป็นหม้อน้าแต่ที่มุมจะเป็นเจดีย์จาลองขนาดเล็กแทน เจดีย์ของพม่าจะไม่มีบัลลังก์ ด้านบนเป็นฉัตรวางบนองค์ระฆังเลย เนื่องจากไม่ได้เอารูปแบบตั้งต้น จากอินเดียมาพัฒนา แต่เริ่มมาจากเจดีย์ปยู โดยรับอิทธิพลจากอินเดียมาบ้างเท่านั้น


103

ชเวสิกองเจดีย์ @ พุกาม

เจดีย์ในพุกามรุ่นต่อมาจากชเวสันดอ เริ่มมีลักษณะของความเป็นพุกามแท้มากขึ้น คือเจดีย์อ้วน มี รัดอกตรงกลาง มีลายเฟื่องอุบะที่ด้านบนองค์ระฆัง และมีการประดับตกแต่งอีกเยอะซึ่งเป็นอิทธิพลมาจาก ศิลปะคุปตะและหลังคุปตะของอินเดีย


104

ชเวดากองเจดีย์ @ ย่างกุ้ง

ย่างกุ้งเดิมอยู่ในเขตของมอญ เจดีย์องค์นี้ก้เป็นเจดีย์มอญ จะสังเกตว่าสัดส่วนจะต่างจากเจดีย์พม่า จะผอมกว่า และฐานจะไม่ซ้อนเป็นชั้น ๆ แต่ทาลาด เนื่องจากมีการสร้างเจดีย์รายเล็ก ๆ รอบเจดีย์ใหญ่จน เต็ม จึงทาบันไดให้ขึ้นบนลานประทัก ษิณไม่ได้ ซึ่งต่อมาเจดีย์แบบมอญนี้จะกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของ เจดีย์พม่าในยุคหลัง ๆ ด้วย


105

กู่เมืองพุกาม กู่หรือเจติยวิหารของพุกามมีความน่าสนใจตรงโครงสร้าง ส่วนใหญ่จะใช้ก่ออิฐเป็น Vault รับ น้าหนักหลังคา แต่ในบางกรณีอาจจะทา Vault ได้ไม่เต็ม เพราะผนังด้านในกับด้านนอกสูงไม่เท่ากัน เลย อาจเกิด Vault ตรงส่วนนั้นเป็น ¾ Barrel Vault หรือ ½ Barrel Vault คือด้านในจะโค้งลงมาไม่สุดแล้วก็ ตัดตรงลงมาเป็นผนังเลย ส่วนแผนผังของกู่พุกามมีอยู่ 4 แบบ 1. แบบมีห้องบูชาตรงกลาง เป็นแบบง่ายสุด 2. แบบมีห้องบูชาตรงกลาง อุโมงค์รอบ คือเหมือนสร้างผนังด้านนอกเพิ่มอีกชั้นหนึ่ง 3. แบบมีแกนกลางรับน้าหนัก เหมือนแบบ 1 แต่ตรงกลางมีแกนรับน้าหนักใหญ่ ๆ พระพุทธรูปจะ ประดิษฐานอยู่ที่ด้านทั้งสี่ของแกนกลางนั้น 4. แบบมีแกนกลางรับน้าหนัก อุโมงค์รอบ เหมือนแบบ 2 แต่ห้องตรงกลางมีแกนรับน้าหนักใหญ่ ๆ 80% ของกู่ในพุกามเป็นรูปแบบนี้

นันทาพยา @ พุกาม

ยอดด้านบนเป็นทรงศิขร มีช่อง ๆ ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เรียกช่อง ๆ ว่าอามัลกะ เป็นผลไม้ ชนิดหนึ่ง มีการเจาะช่องหน้าต่างแล้ว ก่อโดยเอาอิฐวางตะแคงรับน้าหนักผนังเหนือหน้าต่าง ด้านในมีทางประทักษิณรอบเสาตรงกลาง (ตรงนี้ด้านบนเป็น ½ Vault) ตรงกลางเป็นห้องบูชา ด้านหน้าเป็นห้องทาพิธี บนหลังคามีคอสอง (Clerestory) ให้แสงเข้ามาภายใน


106

อานันทาพยา @ พุกาม

หรืออานันทวิหาร เป็นกู่ที่สาคัญที่สุดในพุกาม มีมุขยื่นยาว 4 ทิศ ภายในเป็นแผนผังแบบที่ 4 แต่ ละด้านมีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ (พระพุทธเจ้า 4 พระองค์) ซึ่งมองจากภายนอกมุขจะเห็นเป็นโถง ยาวเข้าไปถึงซุ้มพระ ยอดเจดีย์เหมือนเอาชเวสันดอมาตั้งไว้ด้านบน ซุ้มบนยอดเป็นซุ้มประดับเฉย ๆ


107

ธรรมยังจีพยา @ พุกาม ภายในกู่หลังนี้มีด้านหนึ่ง (พระพุทธเจ้าโคตมะ) มีพระพุทธรูป 2 องค์นั่งเบียดกัน เป็นยุคที่พม่าเริ่ม นับถือพระอนาคตพุทธ (พระเมตเตยยะ) แล้ว แต่วิหารมีแค่ 4 ด้าน จึงต้องนั่งเบียดกันแบบนี้อยู่


108

ธรรมยาสิกเจดีย์ @ พุกาม

เจดี ย์นี้เ ป็นการแก้ปัญหาจากการนับถือพระพุท ธเจ้าเพิ่มอีกองค์ คือการท าแผนผัง เจดีย์เป็น 5 เหลี่ยม ในแต่ละด้านจะมีกู่หลังหนึ่งที่ท้ายกู่จะวิ่งเข้ามาชนกับองค์เจดีย์ เกิดเป็น Complex ของอาคาร ขนาดใหญ่ ในแต่ละกู่ก็จะประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ ก็ครบ 5 องค์พอดีแล้ว


109

สถาปัตยกรรมเขมร

ประวัติศาสตร์เขมร เริ่มต้นที่วัฒนธรรมฟูนัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแรก อยู่บริเวณปากแม่น้าโขง ใน ยุคนี้เริ่มมีการก่อตัวของรัฐเจนละขึ้นทางเหนือ บริเวณจาปาสัก ประเทศลาวในปัจจุบัน แล้วเจนละก็ยกมาตี ฟูนันแตก ก่อตั้งเมืองหลวงที่อีศานปุระ (สมโบร์ไพรกุก) ต่ อ จากนี้ ไ ม่ น านเจนละก็ แ ตกเป็ น เจนละบก (เขมรสู ง ) กั บ เจนละน้ า (เขมรต่ า) สู้ ร บกั น อยู่ ระยะเวลาหนึ่ง ก็สามารถรวมกันได้และตั้งเมืองหลวงที่หริหราลัย (โรลัวะ) ใกล้ ๆ เมืองพระนคร แล้วก็ถึงเวลาแห่งการตั้งเมืองหลวงที่เมืองพระนคร เป็นเมืองหลวงยาวนานที่มีการสร้างเมือง ซ้อนทับกันถึง 4 สมัย ครั้งสุดท้ายคือการสร้างนครธมของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นเมืองที่ยังเห็นคูเมือง กาแพงเมืองได้ชัดเจนอยู่ หลังจากนั้นจักรวรรดิเขมรก็ถึงกาลล่มสลาย จากปัจจัยภายในและภายนอก (อยุธยามาตีแตก) เขมรจึงต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ศรีสันธร ละแวก พนมเปญ ฯลฯ ต่อไป ในที่นี้เราจะพูดถึงเขมรแค่ก่อนสิ้นสุดยุคเมืองพระนครเท่านั้น


110

ศาสนาและความเชื่อ เขมรมีศาสนาอยู่ 2 ศาสนาหลัก ๆ ได้แก่ฮินดูและพุทธมหายาน ศาสนาฮินดู แบ่งออกเป็นไศวนิกาย (นับถือพระศิวะเป็นใหญ่) และไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นใหญ่) แต่ส่วนใหญ่ในเขมรจะเป็นไศวนิกาย ไศวนิกายมีรูปเคารพคือศิวลึงค์และฐานโยนี เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ คือการกาเนิด ของชีวิต มีการสลักรูปศิวลึงค์พันองค์ไว้ที่ต้นน้า เรียกว่ากบาลสเปียน เพื่อให้น้าที่ไหลผ่านกลายเป็นน้ามนต์ ส่วนไวษณพนิกายจะมีรูปเคารพเป็นเทวรูปพระนารายณ์

ส่วนพุทธมหายานในเขมรจะเป็นแบบวชิรยาน นับถือรูปเคารพ 3 รูปคือพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตา (นางปัญญาบารมี)

วัสดุก่อสร้าง เขมรสร้างสถาปัตยกรรมด้วยวัสดุหลัก 3 อย่างคือ อิฐ เป็นวัสดุที่ทาได้ง่าย ผลิตจานวนมากได้รวดเร็ว และก่อสร้างรวดเร็ว ใช้สร้างปราสาทในยุค แรก ๆ ศิลาแลง เป็นวัสดุที่แข็งแกร่ง รับน้าหนักดีมาก แต่หาแหล่งยาก ส่วนใหญ่ใช้ทาฐานปราสาทหรือ ทาสะพาน หินทราย เป็ นวัส ดุที่แกะสลักง่าย สามารถแกะลายละเอียด ๆ ได้ แต่รับน้าหนัก ไม่ดี ใช้ สร้า ง ปราสาทในยุคหลัง ๆ หรือเป็นวัสดุตกแต่งอาคาร

ปราสาทเขมร ปราสาทเขมรมี 3 แบบ ปราสาทประจาชุมชน เป็นศูนย์กลางชุมชน สร้างโดยผู้นาชุมชน ปราสาทสาหรับบูชาบรรพบุรุษ สร้างโดยกษัตริย์ ให้บรรพบุรุษของราชวงศ์ ปราสาทตามคติเทวราชา แสดงถึงความยิ่งใหญ่และพลังอานาจของกษัตริย์ แบบแรกมีมาก่อน ส่วนสองแบบหลังเริ่มมีเมื่อสถาบันกษัตริย์เข้มแข็ง


111

ปราสาทสมโบร์ @ สมโบร์ไพรกุก

เป็นปราสาทศูนย์กลางเมืองอีศานปุระหรือสมโบร์ไพรกุก (ปราสาทประจาชุมชน) เป็นปราสาทอิฐ เดี่ยว ๆ มีกาแพงล้อมรอบหลายชั้น เป็นการแบ่งชนชั้น (แต่ละชนชั้นเข้าได้ไม่เท่ากัน) มีซุ้มประตูทางเข้า แต่ละชั้นเรีย กว่าโคปุระ (เมื องของโค เนื่องจากโคเป็น พาหนะของพระศิวะ บริเวณที่เข้า ไปก่อนจะถึง ปราสาทจึงเป็นที่ที่โคอยู่) หินทับหลังของปราสาท เป็นหินทรายที่มีไว้ประดับเฉย ๆ ส่วนคานทับหลังจริง ๆ จะอยู่ด้านหลัง หินนี้อีกทีหนึ่ง เป็นเช่นนี้ทุกปราสาท

ปราสาทพระโค @ โรลัวะ

เป็นปราสาทบูชาบรรพบุรุษ สร้างโดยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ให้พระบิดา-พระมารดา พระอัยกาพระอัยกี และพระองค์-พระมเหสี เป็นปราสาทคู่ 3 คู่ ผู้ชายอยู่หน้า ผู้หญิงอยู่หลัง มีโคปุระ 2 ชั้น มีอาคารประกอบพิธี มีบรรณาลัย (หอไตร) ซึ่งบรรณาลัยจะหันหน้าเข้าปราสาท ประธานเสมอ


112

ปราสาทบากอง @ โรลัวะ

เป็นปราสาทตามคติเทวราชา สร้างขึ้นบนฐานลดหลั่นกันที่ทาเป็นสัญลักษณ์ของภูเขา เหมือนเขา พระสุเมรุหรือเขาไกรลาส ตามคติฮินดู เชื่อว่าเมื่อกษัตริย์สวรรคตแล้วจะไปรวมอยู่กับรูปเคารพภายใน ปราสาท เป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้า ชั้นซ้อนบนองค์ปราสาทมีอามัลกะอยู่ด้วย ผนังของฐานแต่ละชั้นจะสอบเข้า ทาให้ดูสูงขึ้น นอกฐานซ้อนชั้น มีอาคารทาพิธี มีบรรณาลัย ปราสาทบริวาร กาแพงแก้ว และโคปุระทั้ง 4 ด้าน แผนผังเริ่มมีการพัฒนาเป็นระเบียบแบบแผนมากขึ้น ปราสาทบากองเป็นปราสาทแรกที่สร้างด้วยหินทราย


113

เมืองพระนคร เมืองพระนคร เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมรอยู่เป็นเวลานาน แม้อาจจะมีย้ายไปที่อื่นบ้างก็ยัง ย้ายกลับมาที่นี่ ครั้งแรกสร้างขึ้นโดยมีเขาพนมบาแค็งเป็นศูนย์กลางเมือง ต่อมามีการปรับเปลี่ยนตาแหน่ง และขนาดเมืองอีก 3 ครั้ง ซึ่งครั้งสุดท้ายคือเมืองนครธมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมืองพระนครประกอบด้วยนครธม (เมือง) นครวัด (ปราสาทสาคัญที่สุด) บารายตะวันตก บาราย ตะวันออก (อ่างเก็บน้า) ตระพัง (สระน้า) และปราสาทเล็ก ๆ จานวนมาก


114

ปราสาทบาแค็ง @ พระนคร

เป็ น ปราสาทที่ส ร้ า งบนภู เ ขา (เล็ ก ๆ) แห่ ง เดี ย วในเมื องพระนคร เรีย กว่ า พนมบาแค็ ง เป็ น ศูนย์กลางของเมืองยุคแรก สร้างบนยอดภูเขาและทาตัวปราสาทเป็นเหมือนภูเขาอีกทีหนึ่ง ปราสาทสร้างฐานเป็นชั้น ๆ เหมือนปราสาทบากอง แต่บนฐานแต่ละชั้นจะมีปราสาทบริ วารเรียง อยู่เต็มฐาน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าปราสาทประธานด้วยซ้า แต่ปราสาทประธานยังคงดูเด่นเนื่องจากอยู่บนฐาน ที่สูงมาก


115

ปราสาทบันทายสรี @ บันทายสรี

ปราสาทบันทายสรีตั้งอยู่ห่างจากเมืองพระนครออกไปทางทิศเหนือ แต่ก็ไม่ไกลจากเมืองหลวงมาก นัก เป็นปราสาทขนาดไม่ใหญ่นัก สร้างด้วยหินทรายสีช มพูทั้งหมด แกะสลักลวดลายวิจิตรพิสดารเต็ม ปราสาทสวยงามมาก ปราสาทประธานเริ่มมีมณฑป (มุขหน้า) มีอันตราละ (มุขกระสัน) เชื่อม ด้วยความที่พื้นที่ไม่ใหญ่ จึงมีการหลอกตาให้ทางเดินเข้าสู่ปราสาทดูไกลขึ้น ด้วยการลดความสูง ของประตูโคปุระแต่ละชั้นลงเรื่อย ๆ เมื่อมองจากภายนอกเข้าข้างในตีฟจึงแรงขึ้นทาให้ดูไกลขึ้นได้ Complex ของปราสาทมีแบบแผนมากขึ้นอีก ด้านหน้าจะมีทางดาเนินซึ่งสองข้างมีเสานางเรียง นาไปยังโคปุระของปราสาท ปราสาทเยอะ ๆ ของบาแค็งเริ่มเปลี่ยนมาเป็นอาคารยาว ๆ หลายหลัง


116

ปราสาทนครวัด @ พระนคร

ปราสาทสาคัญที่สุดของเมืองพระนคร สร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เป็นเทวสถานด้วยและเป็น สุสานของพระองค์ด้วย ที่สาคัญปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในไวษณพนิกาย อาคารยาว ๆ ของบันทายสรี เริ่มปรับเปลี่ยนมาเป็นระเบียงคด ซึ่งก็คือมุขกระสันที่เชื่ อมปราสาท บริวารที่อยู่เป็นชั้น ๆ เข้าด้วยกัน ด้านหน้าปราสาท Approach เป็นลานนาคราช คือสะพานเตี้ย ๆ ที่มีรั้ว เป็นลาตัวนาค ตรงปลายเป็นหัวนาค เป็นเหมือนสะพานข้ามเข้าสู่สวรรค์ เข้ามาภายในเป็นชาลา มีบรรณา ลัยอยู่สองข้างซ้ายขวา หันหน้าเข้าหาปราสาทประธานตามแบบแผน เนื่องจากเทวสถานแห่งนี้เกี่ยวกับความตาย ทุกอย่างจึงกลับด้าน เช่น ภาพแกะสลักบนระเบียงคด เวียนซ้าย เพื่อให้คนเดินอุตราวัฏ และตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นต้น


117

ประตูเมืองนครธม @ พระนคร

นครธมมีปราสาทบายนเป็นศูนย์กลาง ทั้งสี่ด้านของปราสาทเป็นทางตัดตรงไปยังประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ นอกจากนี้ยังมีอีก 1 ประตูเป็นประตูที่ตรงกับพระราชวัง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ประตูชัย ซุ้มประตูเมืองมีลักษณะเด่นที่เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน คือการมีใบหน้าปรากฏบนยอดปราสาท ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นใบหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ส่วนการที่มี 4 หน้าอาจหมายถึงพรหม หรือหมายถึง อย่างอื่นตามที่มีคนสันนิษฐานกันไว้หลายแนวทาง ภายในเมืองยังมีปราสาทอีกหลายแห่ง และตระพัง (สระน้า) หลายสระ


118

ปราสาทบายน @ พระนคร

เป็นปราสาทเขมรยุคสุดท้าย เป็นการอัดทุกอย่างลงใน Space ทาให้ดูอึดอัดมาก ๆ และเยอะจน เกินงาม ยอดปราสาทมีจานวนมากมาย และมีรูปใบหน้าบนยอดทุกยอด จุดที่น่าสนใจคือศูนย์กลางปราสาท ที่มีการต่ออันตราละ (มุขกระสัน) ในทิศเฉียงด้วย ทาให้ปราสาทประธานยื่นออกมา 8 แฉก แต่ละแฉกก็จะ มียอดปราสาทของตนเอง


119




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.