PHATTHALUNG
| |
NAKHON SI THAMMARAT
แปลงผัก พอดี พอดี
SURATTHANI
M Space VaSLab Walllasia + Kyai & Suriya Architecture สํานักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ Dhamarchitects OFFICE AT Hed design studio Nuzen limited Creative Crews Pink Blue Black & Orange
Design for Disasters (D4D)
ปัญหาน�้ำท่วมที่เกิดขึ้น ท�ำให้ชีวิตประจ�ำวันของชาวบ้านเปลี่ยนไป รวมถึงการท�ำเกษตรกรรม ที่เป็นอาชีพหลักดั้งเดิมของคนในพื้นที่ จ�ำเป็นต้องหยุดเอาไว้เมื่อถึงหน้าฝน ส่งผลต่อเรื่อง ปากเรื่องท้องของชาวบ้าน ทีมสถาปนิกทั้ง 9
จึงร่วมมือกันแบ่งปัน พัฒนา และออกแบบ
สร้างแปลงเกษตร สะเทินน�้ำ สะเทินบก ให้กับศูนย์กลางชุมชนอย่างโรงเรียน
ในจังหวัด
พัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็น จุดเริ่มต้นตัวอย่าง การพึ่งพาตัวเองได้ใน ช่วงเกิดอุทกภัย ต่อยอดเป็นรายได้ในอนาคตตามภูมิปัญญาท้องถิ่น และปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9
แปลงผัก พอดี พอดี
โครงการออกแบบ ระดมทุน และสร้างแปลงผักสะเทินน�้ำสะเทินบก เพื่อเป็น แหล่งอาหาร แหล่งเรียนรู้ และแหล่งรายได้ ให้กับ 9 โรงเรียนในภาคใต้ที่ประสบอุทกภัย ทุกปี ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในยามน�้ำท่วม บนพื้นฐานแห่งความพอเพียงอย่างยั่งยืน เมื่อปลายปีมาถึง หลายจังหวัดในภาคใต้จะต้องเผชิญกับอุทกภัยอย่างหนัก ซึ่งนอกจากชาวบ้านจะได้รับความเสียหายทั้งต่อชีวิต และทรัพย์สินจากการที่น�้ำท่วมอาคาร บ้านเรือน เรือกสวน ไร่นาของพวกเขาแล้ว โรงเรียนจ�ำนวนหลายร้อยแห่งก็ยังได้รับ ผลกระทบจากการที่ต้องอยู่ท่ามกลางน�้ำท่วมสูงกว่า 1-2 เมตร เป็นเวลาร่วมเดือน จนท�ำให้ การเรียนการสอนต้องหยุดชะงักลง เพราะน�้ำท่วมอาคารเรียน และนักเรียนไม่สามารถ เดินทางมาเรียนได้ เนื่องจากเส้นทางการเดินทางถูกตัดขาด พอถึงยามที่น�้ำลด อาคาร อุปกรณ์การเรียนที่เสียหายก็จะได้รับการท�ำความสะอาด บูรณะซ่อมแซมให้สามารถกลับมา ใช้งานได้เหมือนเดิม ต่างจากแปลงผักกับบ่อปลาที่เด็กนักเรียนช่วยกันปลูก และเลี้ยงไว้เพื่อ เป็นอาหารกลางวัน เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร เป็นรายได้ให้กับโรงเรียนที่เมื่อเสียหาย แล้วก็จะต้องกลับมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ทุกครั้ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้เป็นแรงบันดาลใจส�ำคัญ ท�ำให้เกิดเป็น “โครงการแปลงผักพอดี พอดี” ขึ้น หวังจะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดจาก อุทกภัย ผ่านการออกแบบ และสร้างสรรค์นวัตกรรม แปลงเกษตร สะเทินน�้ำ สะเทินบก ที่ให้ผลผลิตได้ทั้งในยามปกติ และยามน�้ำท่วม เพื่อส่งต่อให้กับ 9 โรงเรียน ในจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี โดยสถาปนิก นักออกแบบ และนักศึกษาฝึกงานที่รวมตัว กันในนาม Design for Disasters เครือข่ายความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ และจัดการกับภัยพิบัติ ที่เคยสร้าง “บ้านพอดี พอดี” และ “ห้องเรียนพอดี พอดี” ให้กับ ผู้ประสบภัย และโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2557 มาแล้ว ซึ่งหาก “โครงการแปลงผักพอดี พอดี” ที่ทุกคนทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และ ความคิดสร้างสรรค์ ประสบความส�ำเร็จได้อย่างสวยงามตามที่ตั้งใจกันไว้ จะไม่เพียงช่วย บรรเทาความทุกข์ของนักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียนเท่านั้น แต่สิ่งนี้ยังสามารถที่จะ ส่งต่อให้กับสังคมในวงกว้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ประชาชน เกษตรกรในพื้นที่ หรือแม้แต่ประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ที่ต้องเจอกับปัญหาน�้ำท่วมเช่นเดียวกัน เพราะพวกเขา เหล่านี้จะสามารถยึดเอา แปลงผักพอดี พอดี ไปเป็นต้นแบบส�ำหรับศึกษา พัฒนา และ ต่อยอดประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นเครื่องมือในการด�ำรงชีพด้วยการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐานแห่ง ความพอเพียง อย่างยั่งยืนต่อไปได้
แปลงผักพอดี พอดี
วัตถุประสงค์ โครงการ
4
1. บรรเทาผลกระทบที่เกิดจากน�้ำท่วมหนัก ให้กับ 9 โรงเรียนในจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ด้วยการออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรมแปลงเกษตร สะเทินน�้ำ สะเทินบก 2. สร้างรายได้ให้โรงเรียน และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมให้สังคมไทย เกิดการเรียนรู้ พัฒนา และต่อยอดนวัตกรรมแปลงเกษตรสะเทินน�้ำ สะเทินบกให้เป็นหนึ่งใน เครื่องมือด�ำรงชีพยามน�้ำท่วม 3. ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกันจากหลากหลายภาคส่วน ในการท�ำประโยชน์ให้สังคมตาม ก�ำลังความสามารถที่เหมาะสม 4. เป็นตัวอย่างที่สร้างแรงบันดาลใจและก�ำลังใจให้เกษตรกรไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ประสบภัยน�้ำท่วมได้น�ำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของตัวเอง 5. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตระหนักและเล็งเห็นแนวทาง ในการพัฒนาทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ของตน ให้ตอบรับกับสภาพแวดล้อมและภัยพิบัติได้ 6. ย�้ำเตือนให้สังคมเห็นคุณค่าของวิชาชีพสถาปนิก นักออกแบบ และทรัพย์สินทางปัญญาที่ สามารถร่วมช่วยกันแก้ปัญหา สร้างสรรค์ และพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน 7. สร้างแรงบันดาลใจและเป็นตัวอย่างให้นักเรียนนักศึกษาเห็นความส�ำคัญของการศึกษา ด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และตระหนักว่าตนคือบุคลากรที่มีคุณค่าในการช่วยพัฒนาประเทศ
เมื่อ “โครงการแปลงผักพอดี พอดี” เกิดขึ้นจากความ ตั้งใจที่จะช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประโยชน์ที่ได้จาก โครงการ จึงไม่เพียงจ�ำกัดอยู่แค่ในกลุ่มคนเล็ก ๆ แต่ ยังจะสามารถส่งต่อไปให้กับสังคมในวงกว้างอีกด้วย
นักเรียนและครูของโรงเรียนในพื้นที่ จะมีแปลงเกษตรสะเทินน�้ำ สะเทินบกเป็นแหล่งอาหารกลางวัน เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการ เกษตรเชิงนวัตกรรม และเป็นแหล่งสร้างรายได้ เพื่อพึ่งพาตนเอง ทั้งในยามปกติและยามน�้ำท่วม
หน่วยงานต่าง ๆ ที่สนับสนุนโครงการ ได้ตระหนัก และเล็งเห็น แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ของตน ให้ตอบรับ กับสภาพแวดล้อม และภัยพิบัติที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เรื่อยๆได้
กลุ่มเกษตรกร ทั้งในพื้นที่โครงการ และพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศที่ เสี่ยงต่อภัยน�้ำท่วมได้เรียนรู้และต่อยอดนวัตกรรมแปลงเกษตร สะเทินน�้ำ สะเทินบก มาเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการด�ำรงชีพด้วย การพึ่งพาตนเองในยามน�้ำท่วม บนพื้นฐานความพอเพียงอย่าง ยั่งยืน
สังคมและบุคคลทั่วไป ได้เห็นถึงความส�ำคัญของวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ รวมทั้งเห็นความส�ำคัญของการศึกษา ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และเกิดการส่งเสริมให้มีการจัด หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อมนักเรียนนักศึกษาให้เป็น บุคลากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศไทยต่อไปในอนาคต
สถาปนิก นักออกแบบ นักศึกษาฝึกงาน ได้เรียนรู้ พัฒนา และ ต่อยอดศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมในสายงาน ของตัวเอง และได้แสดงให้สังคมเห็นถึงศักยภาพของวิชาชีพ
เมื่อประเทศไทยของเรามีความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติน�้ำ ท่วมมากขึ้น ก็จะสามารถช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่เผชิญกับ ภัยพิบัติ และเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประชาคม อาเซียน และประชาคมโลกต่อไป
แปลงผักพอดี พอดี
5
แปลงผักพอดี พอดี
7 มกราคม 2560
7 เมษายน 2560
เพจ Design for Disasters โพสต์เกี่ยวกับ บ้านสะเทินน�้ำสะเทินบก จากหนังสือของ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา นับเป็นโพสต์ อันดับต้นๆที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างมาก
ทีมงานลงพื้นที่ส�ำรวจชุมชน โรงเรียนที่ได้รับ ความเสียหายจากน�้ำท่วม ในจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ร่วมกับทีมงาน CSR และเจ้าหน้าที่จิตอาสาธนาคารทหารไทย
18 มกราคม 2560
ทีมงาน D4D ขอเข้าพบ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้เขียนหนังสือ ‘น�้ำ บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย’ ตอนหนึ่ง ในหนังสือได้พูดถึงเรื่อง บ้านสะเทินน�้ำสะเทินบกไว้ เพื่อขอค�ำแนะน�ำ ในการพัฒนาโครงการ สถาปัตยกรรมที่รับมือภัยน�้ำท่วมส�ำหรับภาคใต้ 6
2560
แปลงผักพอดี พอดี
7
10 เมษายน 2560
18 พฤษภาคม 2560
ทีมงานได้รับค�ำแนะน�ำเพิ่มเติมในการพัฒนา สถาปัตยกรรมรับมือภัยน�้ำท่วมภาคใต้ จาก ทีมงาน ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา โดย ประสานงานผ่าน คุณพรเทพ สุวรรณวีรกุล
ทีมงานพร้อมด้วย คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ และคุณขยาย นุ้ยจันทร์ ร่วมเข้าพบ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา และคุณพรเทพ สุวรรณวีรกุล
15 เมษายน 2560
23 พฤษภาคม 2560
ทีมงานพร้อมด้วย คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ และคุณขยาย นุ้ยจันทร์ ร่วมลงพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงบ้านและแปลงผักสะเทินน�้ำ สะเทินบก ของผู้ใหญ่บ้านสังเวียน จ.สุราษฎร์ธานี
ทีมงานพร้อมด้วย คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ และทีมงาน Walllasia + Kyai & Suriya Architecture ร่วมระดมความคิดพัฒนางาน สถาปัตยกรรมรับมือน�้ำท่วม ในภาคใต้
2560
7 ธันวาคม 2560
แปลงผักพอดี พอดี
ทีมงานได้รับภาพบ้าน และแปลงผักสะเทินน�้ำ สะเทินบก ที่ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใหญ่บ้านสังเวียน ถ้อยทัด ใน จ.สุราษฎ์ธานี นับเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งที่จุดประกาย โครงการนี้
21 มิถุนายน 2560
ทีมงานน�ำนักศึกษาฝึกงาน 10 คน หลายสาขา วิชา หลายมหาวิทยาลัย ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สัมภาษณ์สถานการณ์เชิงลึกชุมชนใน พัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี 8
2561
แปลงผักพอดี พอดี
9
24 มกราคม 2561
รับสมัครนักศึกษาฝึกงานเพื่อร่วมงานกับ ทีมสถาปนิก และกราฟิกดีไซน์เนอร์จิตอาสา
30 พฤษภาคม 3 มิถุนายน 2561
พานักศึกษาฝึกงาน แปลงผักพอดี พอดี ไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าวชิรบรรพต จ.ชลบุรี เตรียมกายและใจพร้อมส�ำหรับการเริ่มงานที่ดี
18 - 28 เมษายน 2561
4 มิถุนายน 2561
ทีมงาน D4D ลงพื้นที่สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตต่างๆใน พัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี เพื่อคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
ทีมนักออกแบบ นักศึกษาฝึกงาน และ ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ รวมตัวกันเป็นครั้งแรก เพื่อแบ่งปันความรู้ แนวคิดการออกแบบ ก่อนไปลงพื้นที่ 9 โรงเรียน
2561 แปลงผักพอดี พอดี
มิถุนายน 2561 - กรกฎาคม 2561
มิถุนายน 2561 - ปัจจุบัน
ทีมงานลงพื้นที่ ร่วมกันประชุม และวางแผน การออกแบบ รวมทั้งจัดการสัมมนาจาก ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อน�ำไปต่อยอด
ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อระดมทุนก่อสร้าง และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่ เกี่ยวข้องหรือสนใจ เพื่อสร้างเครือข่าย พันธมิตรที่จะช่วยผลักดันให้โครงการส�ำเร็จ
มิถุนายน 2561 - สิงหาคม 2561
ออกแบบ แปลงเกษตรสะเทินน�้ำ สะเทินบก และประเมินราคาส�ำหรับก่อสร้าง เพื่อเป็น ข้อมูลในการระดมทุน 10
แปลงผักพอดี พอดี
11
ทีมงานสถาปนิกทั้ง 9 พร้อมด้วย นักศึกษาฝึกงาน D4D ลงพื้นที่ เก็บ ข้อมูลเพื่อการออกแบบ และน�ำเสนอ ความคืบหน้าผลงานการออกแบบแก่ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน ผู้น�ำชุมชน ครู ผู้ปกครอง ชาวนา รับฟังความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาก่อนด�ำเนินการก่อสร้าง
สิงหาคม 2561 - ปัจจุบัน
คัดเลือกทีมงานผู้รับเหมา และช่างก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามแบบที่สถาปนิก ออกแบบไว้
พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
ด�ำเนินการก่อสร้าง แปลงเกษตรสะเทินน�้ำ สะเทินบก ให้กับทั้ง 9 โรงเรียนได้จนกระทั่ง เรียบร้อยสมบูรณ์
2561 แปลงผักพอดี พอดี
12
เมื่อ 31 กรกฎาคม 2561 ทีมงานจิตอาสา ได้มีโอกาสเข้าพบท่านดร.สุเมธ ตันติเวชกุล และดร.รอยล จิตรดอน เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการบริหาร จัดการน�้ำ รวมถึงสถาปนิกทั้ง 9 ทีม ได้น�ำ เสนอผลงานออกแบบแปลงเกษตรสะเทินน�้ำ สะเทินบก รวม 9 แห่งเพื่อขอค�ำชี้แนะจาก ท่านอาจารย์ทั้งสอง
แปลงผักพอดี พอดี
13
ผู้ริเริ่มและดูแลโครงการ
สถาปนิก
คุณวิภาวี คุณาวิชยานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง D4D Design for Disasters
M Space คุณภากร มหพันธ์
ท่านผู้ใหญ่ใจดี ผู้สนับสนุนงบประมาณ ตลอดการเดินทางทีมงานกว่า 30 ชีวิต ตั้งแต่ลงพื้นที่ จนถึง พัฒนาโครงการได้เป็นทุกวันนี้ ผู้ใหญ่ท่านแรก สนับสนุน 400,000 บ. ผู้ใหญ่ท่านสอง สนับสนุน 313,627.33 บ.
ผู้เชี่ยวชาญ และให้ค�ำปรึกษา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
ดร.รอยล จิตรดอน
เลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ปี 2541
ที่ปรึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ที่รับมือภัยน�้ำท่วม
คุณพรเทพ สุวรรณวีรกุล
สถาปนิกผู้ช่วย ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ที่ปรึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ที่รับมือภัยน�้ำท่วม
VaSLab คุณวสุ วิรัชศิลป์ Walllasia + Kyai & Suriya Architecture คุณขยาย นุ้ยจันทร์ ส�ำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว Dhamarchitects คุณธรัช ศิวภักดิ์วัจนเลิศ คุณวทัญญู ศิวภักดิ์วัจนเลิศ
พ.ต.ท. ดร.บัณฑิต ประดับสุข
ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย ในงานสถาปัตยกรรม คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์
สถาปนิก ศิลปินศิลปาธร สาขาสถาปัตยกรรม ปี 2557
/ Design Director walllasia + Kyai & Suriya Architecture
ที่ปรึกษาด้านการดูแล รับผิดชอบโครงการ
คุณธีรยุทธ ธรรมณารักษ์ วิศวกรจิตอาสา ที่ปรึกษาด้านโครงสร้าง สถาปัตยกรรม และ การประมาณราคา
คุณเสริมศักดิ์ ศรีพงษ์ธนากูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนกูลเวิร์คกรุ๊ป จ�ำกัด ที่ปรึกษาด้านการติดตั้งระบบ และสุขาภิบาลลอยน�้ำ
OFFICE AT คุณสุรชัย เอกภพโยธิน คุณจุฑาทิพย์ เตชะจ�ำเริญ
ภาพและข้อมูล
เฮ็ดดีไซน์สตูดิโอ คุณปองพล ยุทธรัตน์
กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ส�ำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย จ.พัทลุง
NUZEN LIMITED คุณปรัชญา สุขแก้ว
ส�ำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย จ.นครศรีธรรมราช
Creative Crews คุณปุยฝ้าย คุณาวัฒน์
ส�ำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย จ.สุราษฎร์ธานี
คุณเอกฉันท์ เอี่ยมอนันต์วัฒนะ
กราฟิกดีไซเนอร์ Pink Blue Black & Orange
คุณสยาม อัตตะริยะ
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยี พลังงานแสงอาทิตย์ (STL) สังกัด ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ดร.กอบศักดิ์ ศรีประภา นักวิจัยหัวหน้าห้องปฎิบัติการวิจัย
เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์
ดร.อมรรัตน์ ลิ้มมณี
นักวิจัยห้องปฎิบัติการวิจัย เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์
ดร.จรัญ ศรีธาราธิคุณ
นักวิจัยห้องปฎิบัติการวิจัย เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ปรึกษาด้านรูปแบบระบบ การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่ เหมาะกับสภาพพื้นที่
ครูชาตรี ต่วนศรีแก้ว ครูสอนวิชาเกษตร โรงเรียนสถาพรวิทยา อ.บางเลน จ.นครปฐม ที่ปรึกษาด้านการดูแล และปลูกพืชผัก
คุณสุธรรม จันทร์อ่อน
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 บ้านปลักไม้ลาย ต.ทุ่งขวาง อ.ก�ำแพงแสน จ.นครปฐม ที่ปรึกษาด้านการท�ำถังหมัก ก๊าซชีวภาพแบบครัวเรือน
สะเทินน�้ำ 16 สะเทินบก 20 สะเทินอก 24 สะเทินใจ 28
16
แปลงผักพอดี พอดี
แปลงผักพอดี พอดี
17
ทุ ก ปี ว น ซํ้า ห นึ่ ง ค รั้ ง เ ป็ น ต้ น ไ ป ปัญหาอุทกภัยในภาคใต้เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน สาเหตุหลักๆนั้นมาจาก ธรรมชาติที่ยากจะควบคุม เกิดปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ ท�ำให้เกิดปัญหาน�้ำ หลาก จากสภาพพื้นที่มีป่าไม้น้อย และจ�ำกัด ไม่สามารถที่จะชะลอน�้ำหลากได้เท่า ที่ควร และภูมิประเทศที่ลาดชัน ยังท�ำให้ปริมาณน�้ำไหลอย่างรวดเร็ว บางที่เกิด เหตุการณ์ดินถล่มเมื่อมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงระบบกักเก็บน�้ำ และชะลอน�้ำหลาก มีความสามารถในการระบายน�้ำจากด้านเหนือน�้ำไปสู่ท้าย ผ่านเมืองและชุมชน ไม่เพียงพอที่จะรับน�้ำหลากได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเกิดจาก การเติบโตของเมืองเองด้วยที่ท�ำให้มีสิ่งก่อสร้างขวางกั้นทางน�้ำเอาไว้ อีกทั้ง ประกอบกับน�้ำทะเลหนุนสูง ท�ำให้การระบายน�้ำลงสู่ทะเลก็ล่าช้าไปด้วยเช่นกัน (ส�ำนักงานทรัพยากรน�้ำภาค 8)
ปี 2554 พื้นที่ประสบภัยน�้ำท่วมในภาคใต้ 12 จังหวัด รวมแล้วกว่า 3.4 ล้านไร่ หรือประมาณ สนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน จ�ำนวน 568,087 สนาม
แปลงผักพอดี พอดี
อ้างอิง : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน�้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
18
พัทลุง
นครศรีธรรมราช
น�้ำท่วมปี2553 และปี2554 เกษตรกรสวนยางพารา ได้รับผลกระทบ 14,242 คน โดย อ.ควนขนุน เป็น พื้นที่ที่เกษตรกรชาวสาวยางพาราได้รับผลกระทบ มากที่สุดจ�ำนวน 5,933 คน รองลงมา อ.ปากพะยูน 2,985 คน และ อ.เมือง 1,325 คน จ�ำนวนเกษตรกร ชาวสวนยางพาราที่ได้รับผลกระทบใน 3 อ�ำเภอนั้น คิดเป็น 72% ของจ�ำนวนเกษตรกรที่ประสบภัย ทั้งหมดในพัทลุง (กรมวิชาการเกษตร, 2555)
ปี 2554 ทุกอ�ำเภอได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัย พิบัติกรณีฉุกเฉิน บ้านเรือนกว่า 9,000 หลังเสียหาย โรงเรียนในจังหวัดได้รับผลกระทบ 594 โรงเรียน นาข้าว พืชไร่พืชสวนเสียหายประมาณ 579,384 ไร่ รวมถึงด้านปศุสัตว์สูญเสีย โค กระบือ สุกร สัตว์ปีก ฯลฯ กว่า 1,640,000 ตัว รวมมูลค่าความเสียหายโดย รวมทั้งจังหวัด ประมาณ 4,683,000,000 บาท (สํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช)
แปลงผักพอดี พอดี
19
สุราษฎร์ธานี เหตุการณ์อุทกภัยปี 2554 เป็นความสูญเสียที่หนัก ที่สุดจากพิบัติภัยในรอบ 70 ปี จากข้อมูลปริมาณน�้ำ ฝนพบว่าปีนั้นมีปริมาณฝนตกในเดือนมีนาคมรวม 699.9 มม. จึงท�ำให้มีพื้นที่ประสบภัยกว่า 19 อ�ำเภอ ราษฎรเดือดร้อนถึง 510,068 คน เสียชีวิต 15 ราย บ้านพังเสียหาย 370 หลัง พังเสียหายบางส่วน 12,474 หลัง ปศุสัตว์เสียหาย 1,487,209 ตัว เป็น บ่อปลา บ่อกุ้ง 1,683 บ่อ และมีพื้นที่การเกษตรเสีย หายประมาณ 384,397 ไร่ (บันทึกแห่งความทรงจ�ำ สุราษฎร์ธานี เมืองคนดี เหตุพิบัติภัย ปี 2554)
20
แปลงผักพอดี พอดี
แปลงผักพอดี พอดี
21
ธรรมดา ใ น วั น พื้ น เ เ ห้ ง บนพื้นดิน ทุกอย่างแห้งสนิทเป็นปกติ กิจกรรมบนบกด�ำเนินไปเหมือน ทุกวัน ทุกๆคนต่างแยกย้ายกันท�ำกิจวัตร และหน้าที่ของแต่ละคน ตาม วิถีชีวิตท้องถิ่น บ้างท�ำเกษตร บ้างท�ำหัตถกรรมตามภูมิปัญญาไทย เพื่อหารายได้ ส่วนเด็กๆที่นี่ หาประสบกรณ์ชีวิตในแต่ละวันไปกับ ธรรมชาติรอบตัว ได้วิ่งเล่นกันอย่างสนุกนานบนพื้นดิน พื้นหญ้า ผจญภัยในป่าหลังเลิกเรียน ได้เรียนรู้ พบเจอสิ่งใหม่ๆ ที่สิ่งแวดล้อมใน ชนบทภาคใต้พอจะให้ได้ และอาจท�ำไม่ได้ในหน้าฝน
แปลงผักพอดี พอดี
หัตถกรรม กะลามะพร้าว ลุงปลื้ม ชูคง ผู้ริเริ่มผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน จากกะลามะพร้าว พัฒนาปรับปรุงจนมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายได้รับการยอมรับ ทั้งในไทยและต่างประเทศ ท�ำให้ชุมชนบ้านคอกวัว จังหวัดพัทลุง ได้ชื่อว่า “หมู่บ้านกะลาเงินล้าน”
22
ศูนย์ศิลปาชีพ เนินธัมมัง ด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่ทรงมีต่อพสกนิกร อ�ำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้ด�ำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ศิลปาชีพเนินธัมมัง เพื่อให้ชาวบ้านทอผ้า สร้างรายได้
ลายปัก ไทยทรงด�ำ ลวดลายการปักอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยทรงด�ำ ในอ�ำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมชนยังคงอนุรักษ์ เอาไว้ โดยจัดกิจกรรมสอนปักผ้าให้กับลูกหลานไทยทรงด�ำ อยู่เป็นประจ�ำ
แปลงผักพอดี พอดี
23
24
แปลงผักพอดี พอดี
แปลงผักพอดี พอดี
25
บทสนทนา ไ ม่ ล อ ย นํ้ า
วันที่อุทกภัยกลับมาเยือนถึงในบ้านอีกครั้ง มีบางสิ่งบางอย่างจมหายไป รวมถึงความในใจของชาวบ้าน ที่บางครั้ง เรายังไม่เคยได้ยิน
ผญ.วัชระ วรดิถี
ผู้ใหญ่บ้าน บ้านคลองโร
“ค่อนข้างจะแปลก หมู่บ้านขึ้นชื่อเรื่องปลามาก ทุกครัวเรือนขาดปลาไม่ได้ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ แต่พอน�้ำท่วม กลับหาปลาไม่ได้เลย”
ผญ.สังเวียน ถ้อยทัด ผู้ใหญ่บ้าน บ้านไทรงาม
แปลงผักพอดี พอดี
“ตกแล้วก็ปีครึ่งเลยที่ท�ำเกษตรไม่ได้ กว่าน�้ำจะไป กว่าน�้ำจะมา มันกินเวลา เหมือนปาล์มน�้ำมัน ถ้าน�้ำท่วมถึงลูกคือเน่าหมด ต้องรอผลใหม่ครึ่งปี กรณีที่ต้นไม่ตายนะ ถ้าต้นตายก็รอไป 3 ปี”
ผอ.พนม วงศ์ท่าเรือ ผู้อ�ำนายการ โรงเรียน บ้านไทรงาม
“รอบๆ ที่นี่เต็มไปด้วยโรงงาน เขาเองก็เจอปัญหาน�้ำท่วมเหมือน กัน เลยยกคันดินรอบโรงงานเสียเลย เพื่อกั้นน�้ำเอาไว้ มาช่วงปี หลังๆ ฝนตกปริมาณเท่าเดิม แต่ระดับน�้ำสูงขึ้น เพราะพื้นที่ กระจายน�้ำถูกลดทอนลงไป” 26
ผอ.ธิดารัตน์ รัดไว้ (ผอ. กะทิ) ผู้อ�ำนวยการศูนย์ฯวิถีไท
“ธรรมชาติมันวิกฤตไปแล้ว ท่ามกลางการปรับตัว ชาวบ้านก็จะ หาอาชีพอื่นที่ไม่ใช่ท�ำนา ทดลองปลูกยางก็ไม่ได้ผล เพราะ น�้ำมันขัง ปลูกปาล์มกันหลายปีมากแต่ไม่ได้กินเหมือนเดิม เพราะน�้ำขัง ปาล์มมันชอบน�้ำก็จริง แต่มันไม่ได้ชอบอยู่ในน�้ำ”
คุณครูอุไรวรรณ นุ่นนุ้ย คุณครูประจ�ำโรงเรียน บ้านยวนปลา
“โรงเรียนน�้ำท่วมเยอะกว่าที่บ้าน ชาวบ้านต้องช่วยเหลือตัวเอง เพราะโรงเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนกัน ยกของ หนีน�้ำกันหลายเที่ยว จนต้องเข้าโรงพยาบาล เพราะมันเจ็บขา บ้าง ปวดขาบ้าง ปวดตัวบ้าง ต้องขนของขึ้นลง”
แปลงผักพอดี พอดี
27
ป้าวิไล ผู้ปกครอง
คุณครูวิชิต ภูสุมาส
ลุงพิน
คุณครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านคงคาล้อม
เกษตรกร
“โครงการนี้พูดมาได้ไหมว่าท�ำได้ ถ้าท�ำไม่ได้ไม่ต้องเสียเวลา แต่ถ้าท�ำได้ ลุงขอให้มาบ่อยๆ”
“สองปีก่อน ข้าวไรซ์เบอรี่กระแสก�ำลังมา เราก็เอาด้วย เกี่ยวแล้ว ได้ข้าวแล้ว แต่ลงรอบสองไม่ได้ ปัจจัยคือทั้งน�้ำท่วม และน�้ำไม่พอ ป้ายโครงการยังล้มอยู่เลย”
น้อง สิริกาญจน์
น้องน็อต และเพื่อน
นักเรียนชั้น ป. 6
นักเรียนชั้น ป. 3
“บ้านยายแถวบ้านน�้ำท่วมเคียงอก แต่ไม่ ยอมย้ายออก มีแต่คนเขาเป็นห่วง”
“พ่อผมพายเรือไปวัดตอนน�้ำท่วมเอาข้าว มาม่า ไข่เจียว ผัดตับมากินกันที่บ้าน”
น้องสา
เชียร์ลีดเดอร์
“ไม่ชอบน�้ำท่วมเลย ต้องไปนอนอยู่ที่ศูนย์ ศิลปาชีพฯ ล�ำบาก อยากอยู่บ้านตัวเอง”
28
แปลงผักพอดี พอดี
แปลงผักพอดี พอดี
29
กํ า ลั ง พ อ ดี พ อ ดี DESIGN FOR DISASTERS (D4D)
กลุ่มคนเล็กๆที่มาจากต่างสาขาอาชีพ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด จินตนาการ และแรงบันดาลใจ เพื่อร่วมกันหาทางป้องกันและ เตรียมพร้อม รับมือ ‘แบบระยะยาว’ กับภัยพิบัติรุนแรงต่างๆรอบตัวที่ จะเกิดขึ้น ดั่งเช่นโครงการ ‘แปลงผักพอดี พอดี’ เกิดจากความร่วมมือ ของ 9 ทีมสถาปนิก และ 1 กราฟิกดีไซน์เนอร์ เพื่อสร้างความมั่นคง ทางอาหารให้กับโรงเรียนและชุมชน ในสภาวะน�้ำท่วมพื้นที่ภาคใต้ ให้ ชาวบ้านพึ่งพาตนเองได้ และด�ำเนินชีวิตได้อย่างพอดี พอดี
แปลงผักพอดี พอดี
MICRO ECOSYSTEM
ออกแบบระบบนิเวศเทียมที่สามารถเป็นแหล่งผลิตอาหารในช่วงอุทกภัย
โรงเรียน บ้านหัวป่าเขียว
M Space Co., Ltd. 30
หมู่ที่ 7 บ้านหัวป่าเขียว อ�ำเภอควนขนุน พัทลุง 93110 1427 ซอยทาวน์อินทาวน์ 3/3 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กทม. 10310
แปลงผักพอดี พอดี
31
ที่นี่เป็นพื้นที่น�้ำท่วมหนักที่สุดในพัทลุง ห่างไกลยากจะเข้าถึงสองข้างทางประกบด้วยทุ่ง นาร้างกว้าง และสวนปาล์ม โดยบ้านส่วนใหญ่ยกใต้ถุนสูง เป็นลักษณะที่สอดคล้องกับภัย น�้ำท่วมเป็นอย่างดี ภายในชุมชนจะเลี้ยงควายน�้ำรวมแล้วกว่า 300 ตัว พอน�้ำท่วมภายใน อาคารชั้นสองของโรงเรียนจะถูกเปลี่ยนเป็นที่พักพิงชั่วคราวทันทีนาน 20 วัน ด้วยความ เคยชินกับน�้ำท่วม ชาวบ้านเองไม่ได้รู้สึกย่อท้อในการด�ำเนินชีวิต ไม่ได้มองเป็นเรื่องร้าย กลับกันเป็นเรื่องดี หวังให้พื้นที่นี้ได้เกิดการพัฒนา เป็นที่รู้จักมากขึ้น และภูมิใจที่พวกเรา เข้ามาท�ำอะไรในที่ที่ไม่มีใครคิดมาท�ำอะไรเลย บทความจากมุมมองนักศึกษาฝึกงาน
32
แปลงผักพอดี พอดี
จ�ำนวนนักเรียน : 43 คน ชั้นปี : อนุบาล 1 - ป.6 นักเรียนมาจากชุมชน : บางชุมชนในหมู่ 7 จ�ำนวนคุณครู : 4 คน (ไม่มีนักการภารโรง) อาชีพผู้ปกครอง : ท�ำนา ประมงน�้ำจืด เลี้ยงวัวควาย สานกระจูด ฐานะผู้ปกครอง : ยากจน ครอบครัวหย่าร้างเกิน 50% ความร่วมมือของผู้ปกครอง : ให้ความร่วมมือดีมาก ชุมชนโดยรอบนับถือศาสนา : พุทธ 100% การท�ำเกษตรในโรงเรียน : - ระบบท่อน�้ำไปไม่ถึงที่ปลูกผักสวนครัว เคยมีการเลี้ยงปลานิล และปลาทับทิมในกระชัง แต่ปลาหลุดหายไปในหน้าน�้ำท่วม จุดเด่นของโรงเรียน : เน้นให้เด็กจิตใจร่าเริง สุขภาพดี ไม่เครียด สาเหตุน�้ำท่วม : ตั้งอยู่ในแอ่งชุ่มน�้ำแอ่งสุดท้ายที่รองรับน�้ำ ติดกับทะเลน้อย และมีฝนตกหนัก ความสูง : 1 เมตร (ภายในหมู่บ้านสูงสุด 3 เมตร) ความเร็วแรงของกระแสน�้ำ : น�้ำแรงช่วงถนนทางเข้า ระยะเวลาที่น�้ำท่วมขัง : ประมาณ 20 วัน ผลกระทบที่เกิดจากน�้ำท่วม : - โรงเรียนต้องหยุดเรียนประมาณ 2 วัน เพราะเดินทางล�ำบาก - บางปีมีน�้ำเน่า เหม็นเปรี้ยว ส่งผลให้ต้นไม้พืชผักล้มตาย ผอ.วรุณี ศรีทองช่วย
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านหัวป่าเขียว
แปลงผักพอดี พอดี
โรงเรียน บ้านหัวป่าเขียว
33
34
แปลงผักพอดี พอดี
M Space Co., Ltd.
35
บน มุมมองส่วนทางเข้า ด้านหน้าโครงการ เห็นวงแหวนเต็มวง ล่าง (ซ้าย) มุมมองส่วนทางเดิน รอบสระน�้ำเห็นแพ ปลูกผักลอยน�้ำ ล่าง (ขวา) มุมมองภายในสระน�้ำ ส่วนที่น�้ำลึกสะอาดที่สุด
แปลงผักพอดี พอดี
MICRO ECOSYSTEM เป็นการสร้างระบบนิเวศจากจุดเล็กๆ จุดเริม่ ต้นจากแหล่งน�ำ ้ ซึง่ เป็นต้น ก�ำเนิดของชีวิต ตามรอยโครงการพระราชด�ำริในรัชกาลที่ 9 น�ำมาแก้ปัญหาภัยพิบัติ และเป็น จุดเริม่ ต้นของการสร้างระบบสมดุลใหม่ ให้กบั ธรรมชาติอย่างยัง่ ยืนแนวทางการออกแบบ เริม่ จากการช่วยเหลือควายน�้ำในช่วงน�้ำท่วม โดยเป็นวงแหวนอาหารให้ควายอาศัยอยู่รอบๆ น�ำ มูลควายมาผลิตเป็นปุ๋ยให้กับพื้นที่ปลูกป่าโดยรอบ โดยให้น�้ำในช่วงฤดูน�้ำหลากเป็นตัวน�ำพา พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นแหล่งอาหารของคนในหมู่บ้านเป็นรั้วๆตั้งแต่หญ้าแฝกไปเป็นผัก สวนครัวและพืชบ�ำบัดน�้ำให้ใสสะอาด โดยใช้กังหันน�้ำและเครื่องกลเติมอากาศพลังงานแสง อาทิตย์หมุนเวียนน�้ำเป็นวงกลมบ�ำบัดตลอดเวลาและเลี้ยงปลาในส่วนที่ลึกที่สุด โดยขุดลอก ดินบริเวณดินเดิมเป็นชั้นๆลงไปโดยการ Cut & Fill ให้มวลดินเท่าเดิมและรองรับน�้ำในระดับ เป็นระดับชั้นไป
แปลงผักพอดี พอดี
MOON FARM
แปลงผักที่โอบล้อมพื้นที่ด้านหลังโรงเรียน โดยใช้ลักษณะรูปทรงของพระจันทร์
โรงเรียน บ้านบางมวง
VaSLab. 36
หมู่ 3 ต�ำบลฝาละมี อ�ำเภอปากพะยูน พัทลุง 93120 344 ซอยสุขุมวิท101 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. 10260
แปลงผักพอดี พอดี
37
ทุกคนในโรงเรียนนี้ล้วนนับถือศาสนาอิสลาม เงียบสงบถูกห้อมล้อมด้วยป่ายาง มีระยะ ห่างระหว่างต้น ให้ดูสบาย ร่มรื่น มีสนามบอลหญ้าหรอมเเหรมที่ปูไม่เต็มนัก สลับกับดิน และเด็กนักเรียนที่วิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน รวมถึงตอนน�้ำท่วม เด็กๆก็เลือกที่จะ สนุกสนานไปกับวิกฤตนี้ กลายเป็นโอกาสที่จะได้เล่นกับสายน�้ำ และอยู่ร่วมกับภัยพิบัติได้ สิ่งเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมเเละการศึกษาที่เกิดขึ้นจนเป็นภูมิปัญญา เหลือเพียงเกษตรกรรม ที่รอฟันเฟืองที่ส�ำคัญเข้าไปช่วยเหลือให้เกิดการวิวัฒนาการ
บทความจากมุมมองนักศึกษาฝึกงาน
38
แปลงผักพอดี พอดี
จ�ำนวนนักเรียน : 124 คน ชั้นปี : อนุบาล 1 - ป.6 นักเรียนมาจากชุมชน : บ้านบางมวง บ้านห้วยยาว และบ้านหัวเสม็ดอ่อน จ�ำนวนคุณครู : 14 คน อาชีพผู้ปกครอง : ท�ำประมงพื้นบ้าน รับจ้าง ท�ำสวน (ผักสวนครัว เลี้ยงเป็ดไก่) ชุมชนโดยรอบนับถือศาสนา : อิสลาม การท�ำเกษตรในโรงเรียน : โรงเรียนอยากท�ำแปลงผัก ไฮโดรโปนิกส์ จุดเด่นของโรงเรียน - โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนมุสลิมเกือบ 100% - มีคลองยาวผ่านหน้าโรงเรียน มีสะพานข้ามคลองเป็นระยะ ทัศนียภาพที่น่าสนใจ สาเหตุน�้ำท่วม : ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม น�้ำมาจากคลองป่าบอน ความสูง : 1-2 เมตร ความเร็วแรงของกระแสน�้ำ : ไม่เร็ว ระยะเวลาที่น�้ำท่วมขัง : ประมาณ 2 สัปดาห์ ผลกระทบที่เกิดจากน�้ำท่วม : โรงเรียนต้องปิดเรียน
ผอ.อุดม สุระก�ำแหง
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านบางมวง
แปลงผักพอดี พอดี
โรงเรียน บ้านบางมวง
39
40
แปลงผักพอดี พอดี
VaSLab.
41
บน มุมมองจากด้านโรงอาหาร ระแนงสานขัดกันเป็นรูป สี่เหลี่ยมคางหมู ล่าง (ซ้าย) เน้นการปลูกพืชแนวตั้ง เป็นหลัก และปลูกพืช ชนิดอื่นๆ ที่ใช้วัสดุลอยน�้ำ ตามล�ำดับ ล่าง (ขวา) เวลาน�้ำท่วม โครงสร้าง บางส่วนอยู่คงเดิม และ บางส่วนลอยขึน้ มาเหนือน�ำ้
แปลงผักพอดี พอดี
พื้นที่อยู่บริเวณด้านหลังโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการใช้งาน โอบล้อมด้วยโรงอาหารและ อาคารเรียน จึงอยากพัฒนาให้พื้นที่ตรงนี้เป็นเหมือนสนามเด็กเล่น และเป็นแหล่งเรียนรู้ ของเด็กนักเรียนและคนในชุมชน ซึ่งเด็กเป็นผู้ใช้งานพื้นที่เป็นหลัก ปลูกฝัง การท�ำการ เกษตร ส่วนคนในชุมชนพื้นที่บริเวณนี้จะเป็นพื้นที่แบ่งปันอาหารและเมล็ดพันธุ์ เนื่องจาก คนในชุมชนนับถือศาสนาอิสลาม รูปทรงของโครงสร้างหลัก มาจากความโค้งของ พระจันทร์เสี้ยวที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวมุสลิม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม และเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืน คงทน คนในชุมชนหาได้ง่ายๆ เช่น ท่อPVC ขวดน�้ำเหลือใช้ ส่วนวิธีที่ท�ำให้แปลงผักลอยน�้ำ ด้านล่างจะใช้ขวดน�้ำมาต่อกันเป็นแพ วิธีที่ท�ำให้แปลงผัก ลอยน�้ำขึ้นลงเรียกว่า ‘โป๊ะ’
แปลงผักพอดี พอดี
แปลงผักลอยฟ้า
แหล่งเรียนรู้การผลิตอาหารเพื่อใช้ช่วงเกิดอุทกภัย
โรงเรียน วัดแจ้ง
Walllasia + Kyai & Suriya Architecture 42
หมู่ที่ 1 บ้านคอกวัว ต�ำบลชัยบุรี อ�ำเภอเมืองพัทลุง พัทลุง 93000 48/381 ซอยเสรีไทย33 แขวงคลองกลุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
แปลงผักพอดี พอดี
43
จะมีสักกี่คนที่รู้จักพัทลุงมากกว่าพัทยา สงบเสงี่ยม ปลีกตัวอยู่กับ เขา ป่า นา เล อันอุดมสมบูรณ์ น�้ำท่วมในแต่ละครั้ง พืชผลทางการเกษตรกลับได้รับความเสียหายแทบ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต้นยาง หรือพืชเล็กๆก็ตาม โรงเรียนมีความต้องการชัดเจนมานาน นับทศวรรษแล้ว แต่ยังขาดก�ำลังที่จะท�ำได้ในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ทางเกษตร สร้าง รายได้ให้กับโรงเรียนและชุมชน ความหวังความตั้งใจที่เคยจมน�้ำไปในแต่ละปีนั้นจะได้ ลอยเหนือน�้ำขึ้นอย่างเข้มแข็ง พร้อมกับ แปลงผักพอดี พอดี ก็คราวนี้
บทความจากมุมมองนักศึกษาฝึกงาน
44
แปลงผักพอดี พอดี
จ�ำนวนนักเรียน : 150 คน ชั้นปี : อนุบาล 1 - ป.6 (9 ชั้นเรียน) จ�ำนวนคุณครู : 15 คน ฐานะผู้ปกครอง : ยากจน 80% เด็กอยู่กับผู้สูงอายุ ความร่วมมือของผู้ปกครอง : ดีมาก ชุมชนโดยรอบนับถือศาสนา : พุทธ การท�ำเกษตรในโรงเรียน : - ปัจจุบันโรงเรียนมีบ่อปลาและปลูกผัก - ผอ.และคุณครูมีความสนใจที่จะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ผักที่ห้อยลงมาจากผนัง การปลูกผักในอากาศ (ได้แรงบันดาลใจจากการดูงานที่มาเลเซีย) - ผอ.มีความคิดว่า การเกษตรควรต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมได้ การเกษตรควรส่งเสริมก่อให้เกิดรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตได้ จุดเด่นของโรงเรียน : - ศิลปหัตถกรรม จากกะลามะพร้าว - การท�ำเกษตรโครงการ ‘หมอดินน้อย’ - บรรยากาศโดยรอบโรงเรียนเป็นเมืองเก่าที่อบอุ่นและขลัง สาเหตุน�้ำท่วม : น�้ำมาจากภูเขา โรงเรียนตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มชัยบุรี ความสูง : 90 ซ.ม. (ประมาณเอว) ความเร็วแรงของกระแสน�้ำ : น�้ำแรงเป็นบางจุด โดยเฉพาะช่วงท้ายล�ำคลอง ระยะเวลาที่น�้ำท่วมขัง : ประมาณ 1 สัปดาห์
ผอ.ประศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเพียม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดแจ้ง
แปลงผักพอดี พอดี
โรงเรียน วัดแจ้ง
45
46
แปลงผักพอดี พอดี
Walllasia + Kyai & Suriya Architecture
47
บน สวนผักลอยฟ้า ส่วนแพผักลอยน�้ำ ล่าง (ซ้าย) อาคารโรงเรือน ไฮโดรโปนิกส์ไม้ไผ่ ล่าง (ขวา) ภายในอาคารโรงเรือน ไฮโดรโปนิกส์
แปลงผักพอดี พอดี
โครงการที่ให้เด็กนักเรียนและชาวบ้านในชุมชน ดูแลแปลงผักและกระชังปลา เพื่อ เป้าหมายให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างโรงเรือนไม้ไผ่ที่เป็นการน�ำวัสดุในพื้นที่มาใช้ เพื่อน�ำ ความรู้ไปใช้ในงานก่อสร้างส่วนอื่นๆได้ โดยแปลงปลูกแต่ละแปลง ซึ่งประกอบด้วย แปลงปลูกลอยฟ้า จะปลูกผักไม้เลื้อย แปลงผักลอยน�้ำ และแพลอยน�้ำจะเป็นการปลูกผัก ลอยน�้ำ ผักไฮโดรโปนิกส์ คือปลูกผักไร้ดิน การเลี้ยงปลาจะมีทั้งปลาที่มาจากธรรมชาติ และปลาในกระชัง เป็นแนวทางที่จะท�ำให้ชุมชนผลิตอาหารได้ทั้งช่วงเวลาปกติและ ช่วงประสบภัย
แปลงผักพอดี พอดี
UPCYCLE FARM BANK
ต้นแบบสร้างสรรค์ ต่อยอดความคิด พัฒนาชีวิตด้วยภูมิปัญญารอบตัว
โรงเรียน บ้านทุ่งใคร
ส�ำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ 48
หมู่ 5 ต�ำบลเคร็ง อ�ำเภอชะอวด นครศรีธรรมราช 80180 114/3 หมู่ 2 ซอยโพธาราม 1 ต�ำบลช้างเผือก อ�ำเภอเมือง เชียงใหม่ 50300
แปลงผักพอดี พอดี
49
โรงเรียนอยู่คู่ชุมชนมานาน ชาวบ้านละแวกนั้นล้วนเคยเป็นศิษย์เก่าของที่นี่ เดิมโรงเรียน เคยปลูกพืชผัก พืชผลการเกษตรบ้าง แต่ก็เสียหายไปเกือบทั้งหมด เพราะไม่สามารถยก ขึ้นทันน�้ำได้ และพื้นที่ในโรงเรียนมีค่อนข้างจ�ำกัด การเรียนการสอนที่นี่จึงไม่ได้เรียนรู้ การท�ำเกษตรแบบปฏิบัติเท่าที่ควร แต่ถึงอย่างไรเด็กๆที่นี่ ก็ยังชอบปลูกผัก จับดินมาก ตอนครูบอกว่าจะมีโครงการนี้เข้ามา พวกเราจะได้ปลูกผักกันแล้ว เด็กๆดีใจมาก และ รับปากจะช่วยกันดูแลอย่างเต็มที่
บทความจากมุมมองนักศึกษาฝึกงาน
50
แปลงผักพอดี พอดี
จ�ำนวนนักเรียน : อนุบาล 1 - ป.6 จ�ำนวน 230 คน เด็กเล็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 70 คน (รวมประมาณ 300 คน) ชั้นปี : เด็กเล็ก และ อนุบาล 1 - ป.6 นักเรียนมาจากชุมชน : ต�ำบลเคร็ง ท่าเสม็ด และนางหลง จ�ำนวนคุณครู : 9 คน อาชีพผู้ปกครอง : - แปรรูปสานกระจูด ท�ำการเกษตร ปลูกยางพารา ปาล์มน�้ำมัน ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และประมง ความร่วมมือของผู้ปกครอง : 90% ให้ความร่วมมืออย่างดี การท�ำเกษตรในโรงเรียน : - เวลาน�้ำท่วมมา แปลงเกษตรเสียหายหมด - มีการท�ำกลุ่มปุ๋ยหมักทลายปาล์ม น�้ำหมักชีวภาพ โดยมีหมอดิน จากกรมพัฒนาที่ดินเข้ามาสอน และให้ค�ำแนะน�ำแก่ผู้ปกครอง จุดเด่นของโรงเรียน : - เป็นโรงเรียนน�ำร่องโอเน็ตได้ที่ 2 ของสพฐ.เขต 3 - ปลูกฝังด้านดนตรี เช่น ขลุ่ย อังกะลุง เมโลเดี้ยน กลอง นักร้อง สาเหตุน�้ำท่วม ; ตั้งอยู่บริเวณที่ลุ่มน�้ำป่าพรุ ลุ่มน�้ำปากพนัง ความสูง : เมตรกว่าๆ ความเร็วแรงของกระแสน�้ำ : น�้ำมาเร็วจากชะอวด ระยะเวลาที่น�้ำท่วมขัง : ประมาณ 1-2 เดือน ผลกระทบที่เกิดจากน�้ำท่วม : - ถนนถูกตัดขาดหมด คุณครูต้องนั่งเรือมาอยู่เวรสังเกตการณ์ คอยดูระดับน�้ำ และเก็บของ (มีรถทหารเข้ามาช่วยรับส่งด้วย)
ผอ.สมมาส ใจซื่อดี
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งใคร
แปลงผักพอดี พอดี
โรงเรียน บ้านทุ่งใคร
51
52
แปลงผักพอดี พอดี
Plankrich
53
บน มุมมองภายในแปลงผัก ชั้น 1 โรงเพาะเห็ด ล่าง (ซ้าย) มุมมองภายในแปลงผัก ชั้น 2 ธนาคารผักสะเทินน�้ำสะเทินบก ล่าง (ขวา) มุมมองภายนอก
แปลงผักพอดี พอดี
‘แปลงผักพอดี พอดี’ จะเป็นที่เก็บพืชผักที่นักเรียนและชาวบ้านเพาะปลูกในกระถาง ต้นไม้ ที่ท�ำจากวัสดุเหลือใช้ หรือเป็นธนาคารผัก ให้กับโรงเรียนและชุมชน น�ำมาฝากและ เรียนรู้การเกษตรภายในครัวเรือน ตัวแปลงผักจะยกสูงพ้นระดับน�้ำท่วม บริเวณที่ปลูกผัก จะเป็น 3 ชั้น 1.วางกับพื้น 2.ตั้งบนชั้นวาง 3.แขวน โครงสร้างจะใช้โครงนั่งร้าน Ringlock ชาวบ้านสามารถประกอบเองได้ และปรับเปลี่ยนได้ง่าย การรดน�้ำ ใช้การสูบน�้ำจากบ่อ ใกล้บ้านพักครูเก่า โดยใช้จักรยานตรงบริเวณสนามเด็กเล่นสูบน�้ำ เพื่อเก็บไว้ด้านบนของ โรงเรือนแล้วจึงปล่อยลงมาใช้งานด้านล่าง
แปลงผักพอดี พอดี
ห้องเรียนข้าวลอยน�้ำ
โครงสร้างแพคลุมตาข่ายส�ำหรับปลูกข้าวสะเทินน�้ำสะเทินบก
ศูนย์การเรียน ชุมชนวิถีไท
Dhamarchitects 54
บ้านท่าสะท้อน ต�ำบลชะอวด อ�ำเภอชะอวด นครศรีธรรมราช 27 ถนนดีบุก อ�ำเภอเมือง ภูเก็ต 83000
แปลงผักพอดี พอดี
55
ท่ามกลางบรรยากาศสีเขียว ตัดกับสีเทาของพื้นถนนคอนกรีตระหว่างทาง ที่นี่ไม่มีก�ำแพง ไม่มีโต๊ะเก้าอี้เหมือนกับโรงเรียนอื่น พื้นที่การออกแบบเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่อยู่ไม่ไกลจาก ตัวโรงเรียนนัก เพียงแต่ต้องนั่งเรือล�ำเล็กเข้าไป บนพื้นที่แปลงนาขนาดใหญ่กว่า 47 ไร่ แม้จะมีปัญหาดินเปรี้ยว ปัญหาน�้ำท่วมสูงยืดเยื้อยาวนานในพื้นที่แอ่งกระทะ พื้นที่ท�ำนา ดั้งเดิมไม่สามารถท�ำได้อีกต่อไป ศูนย์ฯวิถีไทเองจึงตั้งใจจะให้พื้นที่นี้ได้เป็นต้นแบบให้กับ ชาวบ้านในชุมชน สามารถกลับมาปลูกข้าวท�ำนาได้อีกครั้งอย่างที่เคยเป็น
บทความจากมุมมองนักศึกษาฝึกงาน
แปลงผักพอดี พอดี
หญ้า คลอข้าว
56
จ�ำนวนนักเรียน : 13 คน อาชีพผู้ปกครอง : เกษตร เลี้ยงสัตว์ และประมงน�้ำจืด การท�ำเกษตรในโรงเรียน : - มีไร่นาที่เสียหายจากน�้ำท่วมเป็นพื้นที่กว้าง จึงมีความสนใจท�ำ แปลงไร่นาสะเทินน�้ำ สะเทินบก จุดเด่นของโรงเรียน : - มีความพยายามที่จะท�ำให้พื้นที่นี้กลับมาปลูกข้าวได้อีกครั้ง - บนพื้นที่ 40 กว่าไร่ ทางศูนย์ฯมีความคิดในการพึ่งตนเอง ในทุกด้านตามแนวปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อส่งต่อ ความรู้และแรงบันดาลใจไปสู่สังคมต่อไป สาเหตุน�้ำท่วม : - ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มท้องกระทะ - ระบบการบริหารจัดการน�้ำ - การสร้างถนนที่ยกสูงจากพื้นดิน ขุดลอกคลองและเจาะถนน ความสูง : ประมาณ 2 เมตร ความเร็วแรงของกระแสน�้ำ : น�้ำมาเร็วมากขึ้นทุกปี ระยะเวลาที่น�้ำท่วมขัง : ปี พ.ศ. 2561 ท่วมนาน 3-4 เดือน ผลกระทบที่เกิดจากน�้ำท่วม : - แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นนาทั้งหมด แต่น�้ำท่วมขังนาน จึงท�ำนาไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็นปลูกปาล์มแทน - เกิดน�้ำเน่าจากการปิดเขื่อน ท�ำให้ปลาตายเป็นจ�ำนวนมาก
ผอ.ธิดารัตน์ รัดไว้
ผู้อ�ำนวยการศูนย์การเรียนชุมชนวิถีไท
แปลงผักพอดี พอดี
ศูนย์การเรียน ชุมชนวิถีไท
57
58
แปลงผักพอดี พอดี
Dhamarchitects
59
บน โมเดลจ�ำลอง โครงสร้างไม้ไผ่ ล่าง (ซ้าย) โมเดลจ�ำลอง โครงสร้างไม้ไผ่ ล่าง (ขวา) มุมมองจ�ำลองภายใน ห้องเรียนข้าวลอยน�้ำ
แปลงผักพอดี พอดี
ยามน�้ำท่วมเราจะใช้ชีวิตในลุ่มน�้ำ ให้มีความสุขได้อย่างไร ? ห้องเรียนข้าวลอยน�้ำ คือ การท�ำเกษตรที่เกื้อกูลและปรับตัวตามธรรมชาติ สะเทินน�้ำ สะเทินบกให้สามารถท�ำนาได้ตลอดทั้งปี จนได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากข้าว 1 เมล็ด ขยายเป็นข้าวเปลือกปริมาณมากมาย เพื่อการเลี้ยงชีพ ส่งเสริมการศึกษาพัฒนาข้าว พื้นเมือง และต่อยอดเป็นกิจกรรมให้กับคนในชุมชนและคนภายนอกได้เรียนรู้ร่วมกัน ข้าวเมล็ดนี้ จะเติบโตเป็นข้าวชูใจให้กับทุกคน
แปลงผักพอดี พอดี
โรงเรือนไก่ลอยน�้ำครบวงจร
เลี้ยงไก่บนบ่อปลา และสูบน�้ำจากบ่อปลาเพื่อรดผัก โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
โรงเรียน บ้านคงคาล้อม
OFFICE AT 60
หมู่ที่ 1 ต�ำบลแม่เจ้าอยู่หัว อ�ำเภอเชียรใหญ่ นครศรีธรรมราช 80190 61/56 ชั้น2 ซอยทวีมิตร8 ถนนพระราม9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กทม. 10310
แปลงผักพอดี พอดี
61
โรงเรียนถูกล้อมด้วยสวนปาล์ม และสวนยาง เมื่อถูกน�้ำท่วมขังนานเกือบเดือน จึงส่งผล ต่อรายได้ของชาวบ้าน และยังส่งผลต่อความเป็นอยู่ดั้งเดิม จากเดิมสร้างบ้านแบบใต้ถุน สูงเพื่อหนีน�้ำ แต่เมื่อขาดรายได้ กลับสร้างได้เพียงชั้นเดียว ทางชุมชนจึงอยากที่จะลด รายจ่าย เพิ่มรายได้ ผลิตและใช้ผลผลิตได้เองภายในโรงเรียน หลังจากนั้นกระจายสู่ ชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้หลัก ได้พัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างความมั่นคงในอนาคต ให้ชาวบ้าน
บทความจากมุมมองนักศึกษาฝึกงาน
62
แปลงผักพอดี พอดี
จ�ำนวนนักเรียน : 120 คน ชั้นปี : อนุบาล 1 - ป.6 จ�ำนวนคุณครู : 9 คน อาชีพผู้ปกครอง : รับจ้างทั่วไป ฐานะผู้ปกครอง : ปานกลาง ความร่วมมือของผู้ปกครอง : เข้มแข็งช่วยกันเต็มที่ การท�ำเกษตรในโรงเรียน : ภารโรงกับนักเรียนช่วยกันปลูก ผักกาด ผักบุ้ง พริก และเลี้ยงปลาสวาย กบ จุดเด่นของโรงเรียน : - ความใส่ใจของ ผอ.โรงเรียน คุณครู และภารโรงด้านเกษตร - ใกล้ศูนย์ศิลปาชีพของพระราชินี มีทอผ้า ผลิตภัณฑ์จากกระจูด ความสูง : 1 เมตร (ปี60) ความเร็วแรงของกระแสน�้ำ : น�้ำมาเร็ว ลดช้า ระยะเวลาที่น�้ำท่วมขัง : ประมาณ 15 วัน ผลกระทบที่เกิดจากน�้ำท่วม : - น�้ำมาตอนกลางคืน เตรียมตัวรับมือไม่ทัน - โรงเรียนหยุดเรียนเพราะเด็กนักเรียนเดินทางมาล�ำบาก - พืชผักเสียหาย รวมถึงปลาสวายที่โรงเรียนเลี้ยงไว้ก็หลุดหาย
ผอ.มนูญ ชัยเสนะ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านคงคาล้อม
แปลงผักพอดี พอดี
โรงเรียน บ้านคงคาล้อม
63
64
แปลงผักพอดี พอดี
OFFICE AT
65
บน หลังคาโรงเรือนครบวงจร ส�ำหรับปลูกผัก และพื้นที่ นักเรียนใช้ท�ำกิจกรรม ล่าง (ซ้าย) ภายในกรงไก่มีการระบาย อากาศ น�ำมูลไก่ไปท�ำปุ๋ย และด้านล่างเลี้ยงปลา ล่าง (ขวา) น�ำขวดหรือวัสดุรีไซเคิล ต่างๆมาใช้ปลูกผัก
แปลงผักพอดี พอดี
แนวทางการออกแบบต้องการแก้ปัญหาที่เกิดจากน�้ำท่วมสูงเป็นประจ�ำทุกปี ที่ได้ท�ำความ เสียหายแก่แปลงผักและบ่อปลา นอกจากนี้ทางโรงเรียนต้องการให้มีการเลี้ยงไก่เพื่อจะน�ำไข่ ผักและปลามาท�ำอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน จึงได้ออกแบบให้เป็นโรงเรือนเลี้ยงไก่ลอยน�้ำ ครบวงจร โดยโรงเรือนตั้งอยู่บนแพบนบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้สามารถขึ้นลงตามระดับน�้ำได้ หลังคาโรงเรือนใช้ปลูกผัก โดยมีการน�ำมูลไก่มาเป็นอาหารปลาและท�ำปุ๋ยส�ำหรับแปลงผัก น�้ำในบ่อปลาใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน�้ำมารดน�้ำผัก เด็กนักเรียนจะได้เรียนรู้และมีส่วนร่วม ในโรงเรือนครบวงจรแห่งนี้ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบส�ำหรับคนในชุมชนที่สามารถน�ำโมเดลโรง เรือนไก่ครบวงจรนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย ส่วนไข่ปลาผักที่เหลือยังสามารถขายให้แก่คนใน ชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้โครงการโรงเรือนครบวงจรให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป
แปลงผักพอดี พอดี
AMPHIBIOUS UPCYCLING GARDEN แปลงผักสะเทินน�้ำสะเทินบกจากกระบวนการสร้างคุณค่าให้เศษวัสดุ
โรงเรียน บ้านไทรงาม
Hed Design Studio 66
หมู่ที่ 7 บ้านไทรงาม ต�ำบลท่าข้าม อ�ำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี 84130 64/14 ถนนแจ่มนุสรณ์ ต�ำบลหมากแข้ง อ�ำเภอเมือง อุดรธานี 41000
แปลงผักพอดี พอดี
67
คนชุมชนบ้านไทรงามนั้น ส่วนมากแล้วเป็นคนที่มีเชื้อสายไทยทรงด�ำ มีความเชื่อในเรื่อง ของการนับถือผีบรรพบุรุษ ในพิธีกรรมจ�ำเป็นต้องใช้ของเซ่นไหว้ ขาดไม่ได้เลยก็คือ หมากพลู ค่อนข้างเป็นที่ต้องการอย่างมากและมีไม่เพียงพอ ด้านความเป็นอยู่ของชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ดี เพราะชาวบ้านได้รับต้นแบบ แปลงผักลอยน�้ำจากผู้ใหญ่บ้าน สังเวียนไปต่อยอด พัฒนา และประยุกต์ตามความต้องการแต่ละบ้าน ในฤดูน�้ำท่วม ไม่มี สุขาใดใช้งานได้ ชาวบ้านจ�ำเป็นต้องพายเรือออกไปข้างนอก เพื่อปล่อยทุกข์ลงสู่แหล่ง น�้ำตามธรรมชาติ บทความจากมุมมองนักศึกษาฝึกงาน
68
แปลงผักพอดี พอดี
จ�ำนวนนักเรียน : 76 คน (จากในพื้นที่ชุมชน 100%) ชั้นปี : ป.1 - ป.6 จ�ำนวนคุณครู : 6 คน อาชีพผู้ปกครอง : รับจ้าง ท�ำประมงพื้นบ้าน และสวนปาล์ม ฐานะผู้ปกครอง : ยากจน (70% ไม่มีทุนในการปรับปรุง หรือ สร้างบ้านให้อยู่กับน�้ำท่วมได้) ความร่วมมือของผู้ปกครอง : ดีมาก การท�ำเกษตรในโรงเรียน : ท�ำปุ๋ยหมัก แปลงเกษตรระยะสั้น และส่งเสริมในวิชาการเกษตร จุดเด่นของโรงเรียน : พื้นที่กว้าง บริเวณด้านหลังติดแม่น�้ำตาปี สาเหตุน�้ำท่วม : - ตั้งอยู่ในพื้นที่ปลายแม่น�้ำตาปี ระดับน�้ำจึงขึ้นอยู่กับต้นน�้ำ - การสร้างคันกั้นน�้ำของโรงงานโดยรอบ ความสูง : ปี54 ท่วมสูงกว่า 2 เมตร แตะระดับคานพื้นชั้น 2 ความเร็วแรงของกระแสน�้ำ : น�้ำมาแรงระดับนึง พร้อมซากไม้ ระยะเวลาที่น�้ำท่วมขัง : ประมาณ 10 – 15 วัน ผลกระทบที่เกิดจากน�้ำท่วม : - หยุดการเรียนการสอน หรือถ้าท่วมนานจะอพยพไปเรียนที่อื่น - เป็นศูนย์อพยพชั่วคราวให้ชาวบ้านมาพักอยู่ที่ชั้น 2 - พืชผักการเกษตรเสียหายหมดทุกปี - แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ฟักตัวของปลา แต่ในช่วงน�้ำท่วม กลับต้องไปซื้อปลามาเป็นอาหาร ผอ.พนม วงศ์ท่าเรือ
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านไทรงาม
แปลงผักพอดี พอดี
โรงเรียน บ้านไทรงาม
69
70
แปลงผักพอดี พอดี
Hed Design Studio
71
บน มุมมอง ส่วนด้านหน้าอาคาร บรรยากาศตอนน�้ำลด ล่าง (ซ้าย) มุมมอง ส่วนด้านหน้าอาคาร บรรยากาศน�้ำก�ำลังท่วม ล่าง (ขวา) มุมมอง ส่วนด้านหน้าอาคาร บรรยากาศตอนน�้ำท่วม
แปลงผักพอดี พอดี
แปลงผักสะเทินน�้ำ สะเทินบก จากกระบวนการสร้างคุณค่าให้เศษวัสดุ ได้แรงบันดาลใจมา จากผู้ใหญ่บ้านสังเวียน ท้อยทัด ผู้มีแนวคิดริเริ่มนวัตกรรมเกษตรลอยน�้ำโดยใช้โฟมเหลือใช้ จากระบบอุตสาหกรรม มาประยุกต์เป็นแปลงผักลอยน�้ำ ทีมออกแบบจึงน�ำแนวคิดการใช้ วัสดุเหลือใช้มาสร้างโปรแกรมลดขยะพลาสติกในชุมชน โดยออกแบบทุ่นลอยน�้ำจากขวด พลาสติก เพื่อเป็นทุ่นส�ำหรับแปลงผัก โดยผักที่ปลูกในแปลงนี้เป็นผักที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวไทยทรงด�ำ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของพื้นที่ อ.พุนพิน โดยจะใช้ผัก ประเภทพลูหรือผักจุ๊บซึ่งจะใช้ในพิธีกรรมตามหลักความเชื่อของชาวไทยทรงด�ำที่สืบต่อกัน มายาวนาน นอกจากนั้นยังมีพืชผักสวนครัวและสัตว์เลี้ยงที่เด็กๆในโรงเรียนจะเป็นผู้ดูแล และน�ำมาเป็นวัตถุดิบส�ำหรับประกอบอาหารในโรงเรียนอีกด้วย
แปลงผักพอดี พอดี
แปลงผักอุดมสมบูรณ์
สถาปัตยกรรมที่สร้างอุดมและสมบูรณ์พร้อมทางปัญญาไปพร้อมกัน
โรงเรียน บ้านยวนปลา
Nuzen limited 72
หมู่ที่ 3 บ้านยวนปลา ต�ำบลชัยบุรี อ�ำเภอชัยบุรี สุราษฎร์ธานี 84350 97/58 หมู่7 ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง ภูเก็ต 83000
แปลงผักพอดี พอดี
73
น�้ำสีขุ่นในคลองโตรน เป็นหัวใจหลักของชุมชนในการหล่อเลี้ยงพืชผล รวมทั้งฝนที่ตกชุก ท�ำให้ชุมชนอุดมสมบูรณ์ แต่ในบางปีหากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทางชุมชนต้อง เฝ้าระวังที่จะเกิดน�้ำท่วมฉับพลัน มีทั้งน�้ำหลากจากคลอง และน�้ำระบายจากชุมชนมายัง โรงเรียน พัดพาเอาเศษซากไม้ลอยตามน�้ำมา ข้าวของที่ยกไม่ทันก็ได้รับความเสียหาย แม้ น�้ำจะท่วมเพียง 2-3 วัน แต่ก็มาเร็วและแรง ท�ำให้บ่อเลี้ยงปลาดุก โรงเพาะเห็ด และพืช สวนครัวอื่นๆ ที่นักเรียนตั้งใจช่วยกันดูแลมาตลอดเสียหาย
บทความจากมุมมองนักศึกษาฝึกงาน
74
แปลงผักพอดี พอดี
จ�ำนวนนักเรียน : 80 คน ชั้นปี : อนุบาล 1 - ป.6 จ�ำนวนคุณครู : 9 คน (นักการภารโรง 1 คน) อาชีพผู้ปกครอง : ท�ำเกษตร สวนยางพารา น�้ำมันปาล์ม รับจ้าง ฐานะผู้ปกครอง : ยากจน ความร่วมมือของผู้ปกครอง : ให้ความร่วมมือดี การท�ำเกษตรในโรงเรียน : - มีโครงการเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง อาหารกลางวัน - มีการเลี้ยงปลาดุก เพาะเห็ด ปลูกข้าวโพด และผักสวนครัว - เน้นให้เด็กฝึกปฎิบัติเอง ให้เด็กรู้จักขายผลิตผล และท�ำบัญชี จุดเด่นของโรงเรียน : เน้นวิชาการ เสริมสุขภาพ ออกก�ำลังกาย สาเหตุน�้ำท่วม : พื้นที่อยู่ติดคลอง น�้ำไหลระบายไม่ทัน ความสูง : ทุกปีสูงมากกว่า 1 เมตร (ปี54 สูงถึง 3 เมตร) ความเร็วแรงของกระแสน�้ำ : น�้ำมาเร็วไปเร็ว และน�ำ ดินโคลนมาจากเขาพนม ระยะเวลาที่น�้ำท่วมขัง : ประมาณ 3 วัน ผลกระทบที่เกิดจากน�้ำท่วม : ทางสัญจรถูกตัดขาด
ผอ.สมใจ ฉิมภักดี
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านยวนปลา
แปลงผักพอดี พอดี
โรงเรียน บ้านยวนปลา
75
76
แปลงผักพอดี พอดี
Nuzen limited
77
บน อาคารห้องน�้ำ ปลูกผักรั้วเพื่อเป็นผนัง บังการใช้สอยภายใน ล่าง (ซ้าย) มูลของไก่เป็นอาหาร ของปลา ชั้นที่ซ้อนขึ้นไป เป็นผนังห่อหุ้มพื้นที่ ใช้สอยภายใน ล่าง (ขวา) อาคารลดหลั่นกันเพื่อให้ แสงและอากาศถ่ายเท ท�ำให้อาคารดูเป็น ภูมิสถาปัตยกรรม
แปลงผักพอดี พอดี
ปัญหาสภาพน�้ำท่วมของโรงเรียนบ้านยวนปลา ค่อนข้างจะต่างจากที่อื่น คือน�้ำท่วมขัง ในเวลาอันสั้น 1-3 วัน แต่มีกระแสน�้ำที่เชี่ยวแรงเนื่องจากที่ตั้งโรงเรียนเป็นทางผ่านน�้ำลงสู่ ล�ำคลองด้านข้างโรงเรียน การออกแบบจ�ำเป็นต้องแยกแปลงผักออกเป็น 4ก้อน เพื่อจะให้ แต่ละก้อนเป็นอิสระในการลอยเมื่อเกิดภาวะน�้ำท่วม และป้องกันการเคลื่อนตัวไปกระแทก อาคารเรียนเดิมให้เกิดความเสียหาย การออกแบบเป็นไปในลักษณะซับซ้อนของกสิกรรม เบ็ดเสร็จในหลังเดียว เพื่อเลี้ยงปลา ปลูกผัก และไก่ไข่ โดยให้แต่ละส่วนพึ่งพากันได้ในตัว ลักษณะเด่นคือ อาคารรูปร่างเป็นขั้นบันไดทรงพีระมิด ซึ่งสามารถขึ้นไปนั่งเล่นหรือใช้ ประโยชน์จากแปลงผักจากด้านนอกได้อีกทาง รวมแล้วสถาปัตยกรรมจะกลายเป็นทั้งที่พัก ผ่อนหย่อนใจ และสถาปัตยกรรมที่ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่โดดเดี่ยวอย่างเคยๆเป็น แต่เป็น กสิ-สถาปัตยกรรมของ ชุม-ชน
แปลงผักพอดี พอดี
ศูนย์การเรียนโรงเรียนบ้านคลองโร ศูนย์การเรียนรู้เพื่อค้นหาวิธีอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
โรงเรียน บ้านคลองโร
Creative Crews 78
หมู่ 5 ต�ำบลพ่วงพรมคร อ�ำเภอเคียนซา สุราษฎร์ธานี 84210 177/39-40 ซอยเจริญกรุง 31 เขตสัมพันธวงศ์ กทม. 10100
แปลงผักพอดี พอดี
79
นับว่าเป็นโรงเรียนที่มีวัตถุดิบครบเครื่อง ทั้งดินที่มีคุณภาพดี และความหลากหลายของ พืชในพื้นที่ อ�ำเภอบ้านคลองโร มีชื่อเสียงเรื่องปลาแปรรูป แต่กลับหาปลาไม่ได้เลย ในหน้าน�้ำท่วม ถึงจะเกิดน�้ำท่วมทุกปี แต่การรับมือต่อปัญหายังเป็นรูปแบบเดิม ถ้าน�้ำมา ถึงอ�ำเภอข้างเคียงก่อน จึงจะเริ่มเตรียมยกของขึ้น มีทันบ้างไม่ทันบ้าง และจะซื้อวัตถุดิบ จากข้างนอกเอาไว้แทนการปลูกเองเสมอ กลายเป็นความเคยชินและความท้อของ ชาวบ้านที่จะปลูกผลิตผลต่างๆกินเองเสียแล้ว
บทความจากมุมมองนักศึกษาฝึกงาน
แปลงผักพอดี พอดี
ต้นแบบการผลิต อาหารด้วยวิธีที่หลาก หลายโดยประยุกต์จาก ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยี
80
ศูนย์การเรียนรู้ แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นเกษตรกรรมสมัย ใหม่ที่มีการป้องกันผลกระทบจากน�้ำท่วมอย่างยั่งยืน และส่วนป่า แบบวนเกษตรที่เป็นการผลิตที่เลียนแบบธรรมชาติ เน้นความยั่งยืน และอาศัยการดูแลน้อยกว่า ด้วยความหลากหลายของแนวทางที่ศูนย์ การเรียนรู้แห่งนี้ได้น�ำเสนอแก่ชุมชน คนในชุมชนสามารถเลือกทางที่ เหมาะสมกับก�ำลังและทุนทรัพย์ เพื่อน�ำไปปรับใช้เองได้ต่อไป
จ�ำนวนนักเรียน : 150 คน ชั้นปี : อนุบาล 1 - ม.3 นักเรียนมาจากชุมชน : หมู่ 5, 8, 1 จ�ำนวนคุณครู : 14 คน อาชีพผู้ปกครอง : ท�ำสวนยางพารา สวนปาล์ม ประมงน�้ำจืด รับจ้างทั่วไป ฐานะผู้ปกครอง : ปานกลาง - ยากจน ความร่วมมือของผู้ปกครอง : ให้ความร่วมมือดี 100% การท�ำเกษตรในโรงเรียน : - มีโครงการท�ำนาปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพาะเห็ดเพื่อเสริม เป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนและจ�ำหน่ายแก่ผู้ปกครอง - มีทางเกษตร อ�ำเภอเคียนซาเป็นพี่เลี้ยงโครงการ ‘ยุวเกษตร’ จุดเด่นของโรงเรียน : - คุณครูและนักเรียนให้ความสนใจทางด้านการเกษตรเป็นอย่างดี - พื้นที่ส�ำหรับท�ำแปลงผักพอดี พอดี ตั้งอยู่หน้าโรงเรียนบริเวณ หัวมุมทางโค้งที่มองเห็นได้ชัดจากถนนสัญจรทั้งสองฝั่ง สาเหตุน�้ำท่วม : ฝนตกหนัก น�้ำล้นตลิ่ง ถนนยกสูงระบายได้ช้า ความสูง : ประมาณ 80 เซนติเมตร (ปี54 สูงถึง 3 เมตร) ความเร็วแรงของกระแสน�้ำ : น�้ำมาเร็ว ผสมดิน/ตะกอนดิน ระยะเวลาที่น�้ำท่วมขัง : ประมาณ 10 - 14 วัน ผลกระทบที่เกิดจากน�้ำท่วม : โต๊ะเก้าอี้พอจะยกหนีน�้ำได้ ส่วน อาคารเรียนไม้ ประตูเสียหาย พืชผักการเกษตรตายหมด ผอ.ปวิชญา สินน้อย
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านคลองโร
แปลงผักพอดี พอดี
โรงเรียน บ้านคลองโร
81
82
แปลงผักพอดี พอดี
Creative Crews
83
บน บริเวณศูนย์การเรียนรู้ ช่วงน�้ำแห้ง ล่าง (ซ้าย) บริเวณศูนย์การเรียนรู้ ช่วงน�้ำท่วม ล่าง (ขวา) ทัศนียภาพจากทางเข้า ริมถนน
แปลงผักพอดี พอดี
จุดมุ่งหมายของโครงการ คือ ค้นหาวิธีทีจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เพื่อบรรเทาผลกระทบจาก น�้ำท่วม ผ่านการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และเผยแพร่สู่ชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนสามารถน�ำไป ปรับใช้และพึ่งพาตนเองได้ในยามน�้ำท่วม โดยใช้พื้นที่โครงการเป็นศูนย์กลางชุมชนที่จะเป็น ส่วนริเริ่ม เผยแพร่ความรู้ และเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวเมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น เรียนรู้ กรรมวิธีที่หลากหลายทั้งจากท้องถิ่นและนวัตกรรมใหม่ เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ ของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ แลกเปลี่ยน ศูนย์การเรียนรู้ที่จะเป็นพื้นที่ท�ำกิจกรรมของชุมชน ที่จะช่วยชุมชน ในการท�ำความเข้าใจแปลงสาธิตและวิธีการ เพื่อเป็นตัวเลือกให้แต่ละครอบครัวในชุมชน เลือกน�ำไปใช้กับพื้นที่บ้านของตนเอง เผยแพร่ ด้วยองค์ประกอบที่หลากหลายของโครงการนี้ มุ่งหวังให้แปลงสาธิตนี้สามารถ น�ำไปเลือกใช้และส่งต่อไปอย่างแพร่หลายในชุมชนบ้านคลองโร
นัก ออก แบบ
คุณภากร มหพันธ์ (Director แห่ง M Space) สถาปนิกผู้สนใจในการต่อจิ๊กซอว์ทางด้านความคิด โครงสร้าง วัสดุ และแสงธรรมชาติ ให้เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรม ที่เชื่อมโยง ความสัมพันธ์กับงานตกแต่งภายในและงานภูมิสถาปัตยกรรม ที่ตั้งส�ำนักงาน : town in town กรุงเทพฯ Website : https://www.facebook.com/mspacecoltd/ คุณวสุ วิรัชศิลป์ (Director แห่ง VaSLab) VaSLab เป็นส�ำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงทดลองใน การสร้างพื้นที่ว่างและรูปทรงร่วมกับการค้นคว้าหาวัสดุที่ ปฏิสัมพันธ์กับบริบทรอบข้างในเชิง ศิลปะ วัฒนธรรม สังคม และ เทคโนโลยี มีความเชื่อในสถาปัตยกรรมที่มีอัตลักษณ์ สะท้อนถึง ความแตกต่างของโปรแกรม และผู้ใช้งานของแต่ละโครงการที่ได้ รับมอบหมาย ที่ตั้งส�ำนักงาน : สุขุมวิท กรุงเทพฯ Website : http://www.vaslabarchitecture.com คุณขยาย นุ้ยจันทร์ (Director แห่ง Walllasia + Kyai & Suriya Architecture) สถาปนิกผู้สนใจในการผสมผสานศาสตร์หลายแขนงทั้งทางด้าน สังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจ หลอมรวมเป็นงานออกแบบ ที่ครอบคลุมตั้งแต่งานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และวิศวกรรม ที่ตั้งส�ำนักงาน : เสรีไทย กรุงเทพฯ Website : http://www.walllasia.com
คุณขวัญชัย สุธรรมซาว (Director แห่งส�ำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์) สถาปนิกผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมเชิงทดลอง ในมิติของการ ผสมผสานงานโครงสร้าง และงานระบบต่างๆ ให้เกิดหลากหลาย หน้าที่ ทั้งในด้านการใช้งาน รวมไปถึงการตกแต่ง เกิดเป็น ความงามที่กลมกลืนทางองค์ประกอบ ในงานสถาปัตยกรรม ที่ตั้งส�ำนักงาน : อ.เมือง เชียงใหม่ Website : http://www.plankrich.com คุณธรัช และคุณวทัญญู ศิวภักดิ์วัจนเลิศ (Director แห่ง Dhamarchitects) ที่ ธัม ท�ำ สถาปัตยกรรมซึ่งอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ และมีรากเหง้า แห่งจิตวิญญาณของวัฒนธรรม ตอบโจทย์การใช้งานโดยค�ำนึงถึง บริบททางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและความยั่งยืน ที่ตั้งส�ำนักงาน : อ.เมือง ภูเก็ต Website : https://dhamarchitects.wordpress.com คุณสุรชัย เอกภพโยธิน และคุณจุฑาทิพย์ เตชะจ�ำเริญ (Director แห่ง OFFICE AT) Office AT สนใจในงานออกแบบสถาปัตยกรรมในยุคร่วมสมัยซึ่ง สะท้อนถึงความเป็นไปของ สังคม ศิลปะ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และอื่นๆในยุคปัจจุบัน โดยผ่านกระบวนการคิดที่มี ความแตกต่างที่ตอบสนอง และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ตั้ง ผู้ใช้งานโปรแกรมของแต่ละโปรเจคที่ได้รับมอบหมายให้ออกแบบ ที่ตั้งส�ำนักงาน : พระราม 9 กรุงเทพฯ Website : http://www.officeat.com
คุณปองพล ยุทธรัตน์ (สถาปนิกผู้ก่อตั้ง เฮ็ดดีไซน์สตูดิโอ) ‘เฮ็ด’ เป็นภาษาอีสานแปลว่า ‘ท�ำ’ ด้วยความเชื่อที่ว่าการลงมือ ท�ำคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด สตูดิโอออกแบบเลือดอีสานเล็กๆ แห่งนี้ จึงใช้กระบวนการลงมือท�ำงานร่วมกับชุมชนอีสาน เพื่อหาความ เป็นไปได้ในการออกแบบงานในแบบอีสานร่วมสมัย ที่ตั้งส�ำนักงาน : อ.เมือง อุดรธานี Website : https://www.facebook.com/Hed-design-studio-203065123151482/
คุณปรัชญา สุขแก้ว (Director แห่ง นูเซ็น) บริษัท นูเซ็น จ�ำกัด (Nuzen limited) เป็นส�ำนักงานสถาปนิกที่มี ความสนใจในความเป็นตะวันตกในแง่วิธีการและกระบวนการ แต่ ยังด�ำรงตนบนฐานความเชื่อ และวิถีความเป็นอยู่อย่างตะวันออก ที่ไม่เน้นสื่อความด้านรูปแบบ และคิดเสมอว่าจุดร่วมของงาน สถาปัตยกรรมที่ดี ต้องอยู่บน รากฐานแห่งความมุ่งมั่นอย่าง จริงจังแต่แสดงออกอย่างพอดีพองามต่อบริบท ที่ตั้งส�ำนักงาน : อ.เมือง ภูเก็ต Website : https://www.facebook.com/NUZEN.LIMITED/
คุณปุยฝ้าย คุณาวัฒน์ และคุณเอกฉันท์ เอี่ยมอนันต์วัฒนะ (Director แห่ง Creative Crews) ครีเอทีฟ ครูส์ คือกลุ่มของนักออกแบบที่รวมกลุ่มกันท�ำงาน ออกแบบหลากหลายประเภทและขนาด ตั้งแต่สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ชุมชน และผังเมือง โดยการออกแบบนั้นต้อง ค�ำนึงถึงบริบททั้งในแง่ของ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม แม้กระทั่ง ข้อจ�ำกัดต่างๆของโครงการ น�ำมาผสมผสานกับความรู้ต่างๆ เพื่อ พัฒนาให้งานออกแบบนั้นน่าสนใจ มีวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม และตอบสนองกับผู้คนได้ดี ที่ตั้งส�ำนักงาน : เจริญกรุง กรุงเทพฯ Website : http://creative-crews.com คุณสยาม อัตตะริยะ (Design Director แห่งบริษัท Pink Blue Black & Orange) Graphic designer เจ้าของรางวัลมากมายทั้งในและต่างประเทศ หนึ่งในสมาชิกชาวไทยของ AGI (Aliance Graphique Internationale) องค์กรเก่าแก่ที่มีสมาชิกเป็น Graphic Designer ชั้นน�ำของโลก ที่ตั้งส�ำนักงาน : สวนหลวง กรุงเทพฯ Website : http://pinkblueblack.com
ผู้จัดท�ำเว็บไซต์
นักศึกษาฝึกงาน D4D
THiNKNET CO., LTD. ผลิตภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ที่ถูกสรรสร้าง มาเพื่อความสะดวกสบายของชีวิตคน ในหลากหลายมิติ โดยที่เราไม่เคยหยุดนิ่ง ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนอง การใช้งานของคนในแต่ละยุคสมัย ที่ตั้งส�ำนักงาน : สีลม กรุงเทพฯ Website : https://www.thinknet.co.th/
นางสาวกานพลู ยิ้มละมัย สาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
นางสาวธนกร แดงเกียรติก�ำจร สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
นายจรัสระวี นาระคล สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
นางสาวธนยา ปถัมพันธ์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บัณฑิตจิตอาสา นางสาวช่อทิพย์ โกลละสุต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายธนบรรณ อดทน สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
นางสาวพิมลพรรณ ผลขาว นางสาวชนากานต์ ช่อไม้ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง นายเพ็ชร นพกวดฤทธิเดช สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นายณัฐพงศ์ เป็นโตน สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นางสาวศุภิสรา โกมลสุทธิ์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Design for Disasters (D4D) Architecture Studios M Space VaSLab Walllasia + Kyai & Suriya Architecture สํานักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ Dhamarchitects OFFICE AT Hed design studio Nuzen limited Creative Crews Graphic Design Studio Pink Blue Black & Orange
M
DHAMARCHITECTS