หลงเวี ย ง จากเมืองยองถึงล�ำพูน
หลงเวี ย ง จากเมืองยองถึงล�ำพูน
พิมพ์ครังที่ 1 ชื่อเรื่อง ผู้เขียน ที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษา ภาพ กราฟิก
มีนาคม 2557 หลงเวียง จากเมืองยอง ถึง ล�ำพูน นางสาวอรณิชา สีภู่ รหัสนักศึกษา 13540601 อาจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์ อาจารย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง ดร.กันยิกา ชอว์ อาจารย์วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง อาจารย์ภมรศรี แดงชัย นางสาวอรณิขา สีภู่ นางสาวอธิชา สุขจิดตส�ำราญ นางสาวปาริชาติ เชื้อค�ำเพ็ง นางสาวอรณิขา สีภู่
หนังสือเล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้ามลอกเลียนแบบ ท�ำซ�้ำ หรือดัดแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือโดยไม่ได้รับอนุญาต
มุมมอมจากกลางสะพานท่านางที่สามารถเห็นได้ทั้งสองฝั่งอารยะธรรมในจังหวัดล�ำพูน 26 ธันวาคม 2557
“ศิลปะยืนยาว...ชีวิตสั้น” Silpa Bhirasri
ค�ำน�ำ กว่า 200 ปีที่ชาวยองเข้ามาในจังหวัดล�ำพูน มีเรื่องราวของ วัฒนธรรมมากมายถูกสร้างขึ้น อีกทั้งเอกลักษณ์ทางภาษาที่หาก ฟังแล้วจะรับรูไ้ ด้ถงึ สเน่หใ์ นทุกส�ำเนียงถ้อยค�ำ แต่ทว่าปัจจุบนั นัน้ เยาวชนรุ่นใหม่มิค่อยได้อู้ก�ำยองดังเช่นแต่ก่อน ความเชื่อ ประเพณี รวมไปถึงศิลปหัตถกรรมกลายเป็นเรื่อง ของคนเฒ่าคนแก่ไปเสียหมดแล้ว ผูเ้ ขียนจึงอยากจะน�ำเสนอสเน่ห์ ทางวัฒนธรรมผ่านตัวอักษร รวมถึงภาพ ส่งต่อให้แก่เยาวชนคนรุน่ ใหม่ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมและสิ่งที่พรรบุรุษได้ฝากเอาไว้ หวังว่าหนังสือเล่มนีอ้ าจจะเป็นประโยชน์กบั สังคม หรือพอจะ เป็นกระบอกเสียง ให้คนท้องถิ่นอื่น ๆ รู้จักกับพวกเขามากยิ่งขึ้น
ยอง - ล�ำพูน ๑
ศรั ท ธาจากเมื อ งยอง ส่งต่อถึงล�ำพูน ๙
สารบัญ ส่งภาษายอง ๓๗ วิถียอง ในวันที่เปลี่ยนผ่าน ๔๗
ตานสลากย้อม ประเพณีส่งต่อวัฒนธรรม ๒๑
วัดต้นแก้ว มรดกส่งผ่านกาลเวลา ๔๗
วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดล�ำพูน
ยอง - ล�ำพูน “คนยองคือใคร แล้วท�ำไมต้องเรียกคนล�ำพูนว่าคน ยอง?” เป็นค�ำถามที่ติดค้างอยู่ในใจตั้งแต่เด็ก ไม่เพียง อแต่ฉันเท่านั้นที่สงสัย แต่หลายคนเมื่อบอกว่าจะศึกษา เรื่องนี้ก็ตั้งค�ำถามแบบนี้เช่นเดียวกัน ยอง ไตยอง หรือ ไทยอง คือ กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาว ไต หรือ ไท มีภูมิล�ำเนาอยู่บริเวณที่ เรียกว่า สิบสองปันนา ซึง่ ติดกับมณฑลยูนานประเทศจีน เมืองยองมีชื่อภาษาบาลีเรียกว่า “มหิยังคนคร” ผู้ เฒ่าผูแ้ ก่ชาวยองเรียกว่าเมืองเจงจ้าง (เชียงช้าง) ปัจจุบนั เป็นอ�ำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงตุง (Keng Tung) อยู่ ทางทิศตะวันออกของรัฐฉาน (Shan State) ในสหภาพ เมียนมาร์ (Myanmar)
ค�ำว่า “ยอง” หรือ “ญอง” เป็นชื่อของหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งเคยขึ้นในบริเวณเมืองยอง ตามต�ำนานเมือง ยองมีนายพรานจากอาฬวีนคร (เชียงรุ่ง) ได้จุดไฟเผาป่า ท�ำให้หญ้าปลิวกระจายไปในอากาศ ชาวยองนัน้ มีเชือ้ สายเดียวกับชาวไทลือ้ ซึง่ ในประเทศไทยจะเรียกคนกลุม่ นีต้ ามชือ่ แม่นำ�้ ทีไ่ หลผ่านถิน่ ที่อยู่อาศัย เช่น อาศัยอยู่แถบแม่น�้ำยอง เรียกว่า ชาวยอง อาศัยอยู่แถบแม่น�้ำเขิน เรียกว่า ไทเขิน ส่วนที่ อาศัยอยู่แถบแม่น�้ำลื้อ เมืองเชียงรุ่ง และเมืองอื่น ๆ ยังคงถูกเรียกว่า ชาวไทลื้อ ตามต�ำนานเมืองยอง และ ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงการขยายอ�ำนาจของล้านนาไปจนถึง สิบสองพันนา ซึง่ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวยองกับล้านนานัน้ มีมานานตัง้ แต่สมัยพระยาติ โลกราชแห่ง ราชวงศ์มังราย จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๓๔๘ เป็นช่วงที่พระเจ้ากาวิละก�ำลังด�ำเนินนโยบายฟื้นฟูเชียงใหม่ และล�ำพูน หรือทีเ่ รียกว่า “เก็บผักใส่ซา้ เก็บข้าใส่เมือง” จึงให้เจ้าอุปราชธรรมลังกาและเจ้าบุรรี ตั น์คำ� ฝัน้ จึงน�ำกองทัพ เชียงใหม่ไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียง โดยกวาดต้อนในลักษณะของการ “เทครัว” กล่าวคือ เป็นการกวาดต้อนผู้คนแบบยกมาทั้งระบบสังคม ตั้งแต่เจ้าเมือง ภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง พระ สงฆ์ และชาวบ้าน จ�ำนวนนับหมื่นคนเข้าสู่เมืองล�ำพูน ความแตกต่างของอีกประการหนึ่งของชาวยองกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ นอกจากเรื่องการเทครัวผู้คน จ�ำนวนมาก คือ เรื่องของการมีส่วนร่วมในการปกครองกับกลุ่มของเจ้าเจ็ดตน โดยเจ้าเมืองยองมีสิทธิใน การเป็นผู้น�ำในชุมชนตัวเอง นอกจากนั้นยังมีส่วนการร่วมตัดสินคดีความอีกด้วย ในการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวยองในเมืองล�ำพูน พระเจ้ากาวิละได้ให้เจ้าเมืองยองตั้งชุมชน เรียก ว่าหมู่บ้านหลัก อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองล�ำพูน บริเวณริมฝั่งแม่น�้ำกวง หรือตรงกับพื้นที่บริเวณ บ้านเวียงยองในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลเรื่องของความมั่นคง หากปล่อยให้ไปตั้งชุมชนอยู่ในบริเวณห่างไกล อาจจะมีปัญหาการแข็งข้อก่อกบฏได้ในภายหลัง
๒
จากนัน้ ชาวยองทีเ่ หลือจึงได้กระจายไปตัง้ ถิน่ ฐานตามทีร่ าบลุม่ แม่นำ�้ ทีส่ ำ� คัญในเมืองล�ำพูน เช่น ทีร่ าบ ลุ่มแม่ปิง แม่น�้ำกวง และแม่น�้ำทา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การท�ำเกษตรกรรม ช่วงปี พ.ศ. ๒๓๔๘ ถึง พ.ศ. ๒๓๙๕ เป็นระยะของการปรับตัวและขยายตัวภายในหมู่บ้านหลัก โดย มีการจัดระเบียบสังคมแบบพึ่งพากันเอง อีกทั้งยังตั้งชื่อหมู่บ้านเหมือนกับบ้านเกิดที่เมืองยอง และมีบาง ส่วนเมื่อถูกเทครัวแล้วแอบหนีกลับไปบ้างก็มี เห็นได้ว่า ชาวยองมีความระลึกถึงบ้านเกิดที่จากมาเสมอ นอกจากนีก้ ารกระจายตัวของกลุม่ ชาวยองไม่ได้มเี พียงแค่ภายในจงหวัดและเฉพาะชาวบ้านเท่านัน้ แต่ ยังรวมไปถึงตระกูลเจ้ายองด้วย ปีพ.ศ. ๒๓๗๐ – ๒๓๘๑ สมัยเจ้าน้อยอินทร์ เจ้าผู้ครองนครล�ำพูนล�ำดับ ที่ 3 พบว่ามีหลักฐานในการทีม่ กี ลุม่ เครือญาติของเจ้าเมืองยองได้พาครอบครัวและบริวารออกไปตัง้ บ้าน เรือนอยู่ที่อ�ำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีการจัดท�ำส�ำมะโนประชากรในล�ำพูนเป็นครัง้ แรก ตรงกับช่วงเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผูค้ รองนครล�ำพูน ล�ำดับที่ ๙ พบว่ามีประชากรทั้งหมด ๑๙๙,๙๓๔ คน โดยประชากรในจังหวัดล�ำพูนนั้นส่วนใหญ่สืบเชื้อ สายมาจากชาวยอง ซี่งสอดคล้องกับที่ ร้อยโทแมคเคลาด์ (W.C. Mcleod) ข้าราชการชาวอังกฤษที่ได้ รายงานไว้ในช่วงเวลาที่เดินทางเข้ามาในเมืองล�ำพูนเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๙ เหนือสิ่งอื่นใด นอกจากการเรียนรู้จากประวัติศาสตร์แล้ว หลักฐานชิ้นส�ำคัญที่ช่วยยืนยันความเป็น ประชากรส่วนใหญ่ของชาวยองในจังหวัดล�ำพูนนั้นคือ “เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม” ที่ยังคงสืบทอดมา จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพิธีกรรมความเชื่อ ประเพณี ภาษา ความเป็นอยู่ และศิลปหัตถกรรม
๓
พ.ศ. ๒๓๑๗
พญาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละได้รับการสนับสนุนจาก กรุงธนบุรีท�ำสงครามขับไล่พม่าออกไปจากที่ราบลุ่มแม่น้�ำ ปิงตอนบน และได้เมืองล�ำพูนคืนจากพม่า
พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๓๙
พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๓๒๕
“ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” พระเจ้ากาวิละ ด�ำเนินนโยบายท�ำสงครามกวาดต้อนผูค้ นจากหัวเมืองต่าง ๆ ทางตอนบน โดยตัง้ กองก�ำลังอยูท่ เี่ วียงป่าซาง (ปัจจุบนั อยู่ในจังหวัดล�ำพูน)
เมืองเชียงใหม่และเมืองล�ำพูนถูกทิ้ง ให้เป็นเมืองร้าง มีผู้คนตั้งชุมชนอาศัย เพียงแค่กลุ่มเล็ก ๆ กระจายไปตาม พื้นที่ต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งอาหาร
พ.ศ. ๒๓๒๙
เจ้าเมืองยองยอมเข้ากับพระเจ้ากาวิละ และพาไพร่พล มาอยู่ป่าซางส่วนหนึ่ง เมื่ออิทธิพลของพม่าอ่อนก�ำลังลง พระเจ้ากาวิละจึงไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองต่าง ๆ ทางตอนบน เช่น เมืองฝาง เมืองสาด และเชียงราย ให้ยินยอมร่วมต่อ ต้านพม่า หรือเรียกว่า “ฟื้นม่าน”
๔
พ.ศ. ๒๓๓๗
มีการสร้างวัดในชุมชนของชาวยองในตัวเวียง ป่าซาง ได้แก่ วัดอินทขีล และ วัดป่าซางน้อย
พ.ศ. ๒๓๕๖
“การกวาดต้อนครั้งสุดท้าย” พระเจ้ากาวิละได้พาเจ้า สุริยวงศา เจ้าเมืองยองพร้อมครอบครัว อพยพลงมา อยู่เชียงใหม่
พ.ศ. ๒๓๔๘
“การอพยพย้ายถิน่ ฐานครัง้ ส�ำคัญของคนยอง” กองทัพเชียงใหม่นำ� โดย เจ้าอุปราชธรรมลังกา และ เจ้าบุรีรัตน์ค�ำฝั้น กวาดตอนผู้คนจากเมืองยองใน ลักษณะเทครัวจ�ำนวนนับหมื่นเข้าตั้งถิ่นฐานใน เมืองล�ำพูน
พ.ศ. ๒๓๕๗
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ โ ปรดเกล้ า ฯ ให้ ตั้ ง นครล� ำ พู น โดยแบ่ ง พลเมืองทั้งจากล�ำปางและเชียงใหม่เพื่อให้มี จ�ำนวนเพียงพอต่อการจัดตัง้ เป็นนครล�ำพูนใน แบบเจ้าผูค้ รองนคร มีเจ้าบุรรี ตั น์คำ� ฝัน้ เป็นเจ่า ครองนครล�ำพูนล�ำดับแรก
พ.ศ. ๒๔๗๕
พ.ศ. ๒๓๔๕ – ๒๓๔๗
พระเจ้ากาวิละยกทัพไปตีเชียงแสน โดยได้รับ กองก�ำลังสนับสนุนจากกรุงเทพฯ เวียงจันทร์ เมืองล�ำปาง และเมืองน่าน โดยสามารถตีเมือง เชียงแสนได้ส�ำเร็จ ท�ำให้สามารถขยายอ�ำนาจ ขึ้นไปทางตะวันออกของแม่น�้ำคง ได้สะดวก น�ำ ไปสู่การส่งก�ำลังคนไปกวาดต้อนผู้คนจากเมือง ยอง และเมืองใกล้เคียง
มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยจึงได้ ยกเลิกต�ำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร และเปลี่ยนเป็นจังหวัดล�ำพูน
พ.ศ. ๒๔๘๖
เจ้าหลวงจักรค�ำขจรศักดิ์ เจ้าครองนครล�ำพูนล�ำดับที่ 10 ถึงแก่พิราลัย ถือเป็นการสิ้นสุดการปกครองแบบเจ้าผู้ครอง นคร และเปลี่ยนระบบเป็นผู้ราชการจังหวัดเป็นผู้บริหาร ราชการสืบมาจนถึงปัจจุบัน
๕
สะพานท่านาง อีกหนึ่งเส้นที่สามารถเดินทางสู่ต�ำบลเวียงยองได้
สวัสดีเวียงยอง
วัดหัวขัว ณ บ้านเวียงยอง
๑
ศรัทธาจากเมืองยอง ส่งต่อถึงล�ำพูน
“ความเชือ่ ” นับว่าเป็นสิง่ ส�ำคัญทีส่ ามารถท�ำให้กลุม่ คนมารวมกันจนสามารถวางรากฐานและ สร้างสังคมขึน้ มาได้ โดยอาจเริม่ จากการมีความเชือ่ ความคิด หรือการประพฤติปฏิบตั ไิ ปแนวทาง เดียวกัน ก่อนจะค่อย ๆ ขยายวงกว้างไปเรื่อย ๆ เช่นการนับถือศาสนาที่เริ่มต้นจากคนกลุ่มน้อย ที่เชื่อในสิ่งเดียวกันก่อนจะกระจายไปในวงกว้างจนเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้าในสิ่งเดียวกัน ชาวยองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อในทางศาสนาพุทธอย่างมาก สังเกตได้ว่าหลังจากที่ ชาวยองอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในล�ำพูนแล้วจึงมีการฟื้นฟูบูรณะวัดเก่าภายในพื้นที่ชุมชน ของตน ดังเช่นที่เจ้าเมืองยองได้สร้างวัดหัวขัว (วัดหัวข่วงนางเหลียว) ขึ้นตามชื่อวัดส�ำคัญของ เมืองยองเดิมทีย่ า้ ยมา ซึง่ ปัจจุบนั วัดหัวขัวตัง้ อยูบ่ ริเวณริมแม่นำ�้ กวงใกล้กบั สะพานท่านาง ทีบ่ า้ น เวียงยอง ต�ำบลเวียงยอง ในจังหวัดล�ำพูน
๙
เทวบุตรหลวง ณ วัดห่วงข่วง บ้านเวียงยอง จังหวัดล�ำพูน
๑๐
นอกจากนัน้ ชาวยองยังมีความเชือ่ ในเรือ่ งของการเคารพบรรพบุรษุ ซึง่ จะเห็นว่าประเพณี หรือพิธกี รรม ต่าง ๆ จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อท�ำบุญให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เช่น ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีตานข้าวใหม่ ตานขันข้าว เป็นต้น
๑
สายลมเย็นสบายในช่วงเริม่ ต้นฤดูหนาวโชยมาเป็นระยะในระหว่างการเดินทางไปเทศบาลต�ำบลบ้าน เวียงยอง ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ ๓ บ้านเวียงยอง ต�ำบลเวียงยอง ในจังหวัดล�ำพูน ทางฝั่งตรงข้ามแม่น�้ำกวงกับวัด พระธาตุหริภุญไชย พาหนะในการเดินทางในวันนี้คือมอเตอร์ไซค์คันจิ๋ว หรือภาษาถิ่นทางภาคเหนือเรียกว่า รถเครื่อง ท�ำให้สามารถลัดเลาะข้ามขัวมุงท่าสิงห์ สะพานซีเมนต์ที่บริเวณกลางสะพานมีซุ้มไม้เป็นร้านค้าขายของ ฝากทอดยาวตลอดแนวสะพาน จึงท�ำให้เหลือเพียงพื้นที่ถนนแคบ ๆ สองฝั่งส�ำหรับพาหนะสองล้อข้าม ผ่านได้เท่านั้น หากโดยสารด้วยรถยนตร์จะต้องจอดรถที่วัดพระธาตุหริภุญไชยแล้วเดินข้ามไปเอง หรือมีทางเลือก อีกสองทางคือเข้าจากทางถนนซุปเปอร์ไฮย์เวย์ และเข้าจากทางสะพานท่านาง ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ สะดวกของผู้เดินทาง เสียงแจ้งเตือนจากโทรศัพท์มือถือบอกเวลา เก้านาฬิกาตรงประจวบเหมาะกับชายร่างท้วมแต่งกาย ด้วยเสื้อพื้นเมืองจากผ้าทอลายราชวัตร ท่าดูน่าเกรงขามเดินเข้ามาอย่างสุขุมสม รักษ์เกียรติ ศิริจันทรา นนท์ นายกเทศมนตรี เทศบาลต�ำบลเวียง และนายกสมาคมชาวยอง อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาท ในการศึกษาเรื่องเทวบุตรหลวง
๑๑
เทวบุตรหลวง หรือ เตวบุตรโหลง คือ เทวบุตรสี่ตน ได้แก่ สุรณะ มหิณิยังคะ ลักขณะ และปิทธีว ระ ซึ่งพระอินทร์ได้อาณัติให้คอยดูแลรักษาพระธาตุจอมยอง ซึ่งเป็นสถานที่ศักสิทธิ์ที่ส�ำคัญของชาวยอง “แม้เอาพระธาตุมาไม่ได้ ยกเทวบุตรหลวงมาไม่ได้ ก็ขอแค่ดนิ สักก�ำหนึง่ เพือ่ ระลึกถึงแผ่นดินบ้านเกิด” นายกฯ เทศบาลต�ำบลเวียงยองเล่าถึงค�ำกล่าวของชาวยองก่อนที่จะอพยพย้ายถิ่นฐานจากบ้านเกิด เมืองนอนมาอยูท่ ลี่ ำ� พูน ซึง่ นอกจากดินแล้วยังน�ำเอาจิตวิญญาณ (Spiritual) ในเรือ่ งของเทวบุตรหลวงมา ด้วย และได้สร้างซุม้ บูชาไว้ทวี่ ดั หัวขัว อีกทัง้ เมือ่ ชาวยองตัง้ หลักปักฐานเรียบร้อยแล้ว ยังคงตัง้ ชือ่ หมูบ่ า้ น ให้เหมือนกับทีเ่ มืองยอง เช่น บ้านยู้ บ้านตอง ซึง่ สิง่ เหล่านีแ้ สดงให้เห็นถึงความรักในบ้านเกิดของชาวยอง พิธีในการบูชาเทวบุตรหลวงจะจัดขึ้นในวันที่ ๑๕ เมษายนของทุกปี ที่วัดหัวขัวเพียงที่เดียว โดย พิธกี รรมจะมีการถวายเครือ่ งสักการะบูชาองค์เทวบุตรหลวง เมือ่ เสร็จสิน้ แล้วจึงมีพธิ กี ารการปัดเคราะห์ เรียกว่า “ประเพณีขา้ วลดเคราะห์” คือ การน�ำเสือ้ ผ้าทีใ่ ส่ประจ�ำใส่ถาด น�ำข้าวตอกดอกไม้วางไว้ดา้ นบน แล้วหยิบขึ้นมาสะบัด หมายถึงการสะบัดเคราะห์ ให้สิ่งชั่วร้ายให้หายไปกับปีเก่า ตั้งแต่นี้ไปก็จะอยู่เย็น เป็นสุข เมื่อเสร็จพิธีสามารถน�ำ เสื้อผ้ากลับมาใส่ได้อย่างเดิม เมื่อ ๗ ปีที่ผ่านมา (ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๐) ทางสมาคมชาวยองและทางเทศบาลต�ำบลเวียงยอง ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบเทวบุตรหลวง กับท้าวทั้งสี่ (ท้าวจตุโลกบาล) และจตุคามรามเทพเรื่องการ ก่อเกิดรูปองค์ว่า มีความเป็นมาอย่างไร จนในที่สุดเมื่อตกผลึกแล้วจึงมีการก่อสร้างรูปองค์ของเทวบุตร หลวงขึ้นมา ๔ องค์
๑๒
๑
๒
๓
๔
๑. สุรณะ ๒. มหิณิยังคะ ๓. ปิทธีวระ ๔. ลักขณา
๑๓
พระธาตุจอมยองศรีหริภุญไชย ณ วัดล่ามช้าง
๑๔
ความหมายของเทวบุตรหลวงทั้งสี่ เปรียบเทียบเป็นคุณธรรมชาวยองได้ ๔ ประการ ดังนี้ องค์แรก “สุรณะ” เป็นตัวแทนของความกล้าหาญ ความเด็ดเดี่ยว การต่อสู้ และความอดทน องค์ที่สอง “มหิณิ ยังคะ” เป็นองค์ที่แสดงถึงความรักความสามัคคี องค์ที่สาม “ปิทธิวระ” เป็นตัวแทนของการขยันท�ำมา หากิน ในการท�ำการเกษตร การหาเลี้ยงชีพ และการสร้างฐานะ องค์สุดท้าย “ลักขณา” เป็นตัวแทนแห่ง การมีสภาพจิตใจและร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย “การคิดนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เป็นสิง่ ทีย่ าก เพราะเมือ่ จะจัดท�ำเทวบุตรหลวงขึน้ หลายคนถามว่า หน้าตาเป็นอย่างไรก็ตอบไม่ได้ เลยน�ำเฉพาะภาวะปัจจัยมาเป็นรูป แล้วเปรียบเทียบให้กับคนยองได้รู้ว่า สมัยก่อนองค์เทพรูปเคารพบูชาทั้งหลาย ก็ไม่มีใครเคยเห็นแต่ท�ำไมเขายังสามารถท�ำขึ้นมาได้” นายกฯ เทศบาลเวียงยอง อธิบายถึงเหตุผลทีต่ ดั สินใจศึกษาและจัดท�ำรูปองค์ของเทวบุตรหลวง ก่อน จะเล่าต่อว่า เทวบุตรหลวงทีเ่ มืองยองนัน้ จะไม่มรี ปู องค์ แต่จะเป็นซุม้ สีซ่ มุ้ รอบพระธาตุจอมยอง ตอนนัน้ จึงจัดท�ำหนังสือ “สืบสานต�ำนานฅนยองล�ำพูน-ยองโลก ฉบับเทวบุตรหลวง” โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ คนวิจารณ์ในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจัดท�ำร่วมกับ อาจารย์แสวง มาละแซม อาจารย์ลิปิกรณ์ มาแก้ว และ ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ในที่สุดความขัดแย้งก็ถูกหักล้างลง กลายเป็นรูปองค์เทวบุตรหลวงขึ้นมา ซึ่งมีต้นแบบอยู่หากใคร ต้องการจะสร้างสามารถไปขอต้นแบบได้ที่เทศบาลเวียงยอง ซึ่งปัจจุบันได้มีการก่อสร้างรูปองค์เทวบุตรหลวงขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ที่วัดล่ามช้าง ต�ำบลประตูป่า อ�ำเมือง จังหวัดล�ำพูน โดยเจ้าของบริษัทผึ้งน้อย เมื่อสร้างเจดีย์พระธาตุจอมยององค์จ�ำลองจากเมืองยอง หรือ พระธาตุจอมยองศรีหริภุญไชย จึงได้มีการขอแบบรูปองค์ของเทวบุตรหลวงสร้างไว้รอบองค์พระธาตุ
๑๕
๒ “เมื่อก่อนถือผี แต่ที่นี่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว นับถือศาสนาพุทธกันหมด” บุญชุม พลเวียง หรือ ลุงชุม ผู้สูงอายุชาวบ้านเวียงยองที่เกิดและเติบโตที่บ้านเวียงยองโดยไม่เคยย้าย ไปไหน ลุงชุมเคยบวชเรียนมาก่อน และมีความรู้เรื่องอักษรธัมม์ล้านนา (ตั๋วเมือง) เมื่อเกษียณอายุการ ท�ำงานจึงกลับมาช่วยงานที่วัดต้นแก้ว เป็นมัคทายก ทางภาคเหนือเรียกว่า “ปู่จ๋าน” บอกเล่าถึงความ เชื่อของชาวบ้านเวียงยองในอดีต ลุงชุมเล่าว่า ในบ้านเวียงยองจะมีหอพ่อบ้านอยู่สองหอ ทางทิศเหนือ คือ หอพ่อบ้านสิบสองหอ และ ทางทิศใต้ คือหอจัยเจ้าปูจ่ นั ต๊ะ ซึง่ เป็นสถานทีศ่ กั สิทธิท์ คี่ มุ้ ครองชาวบ้านในหมูบ่ า้ น เมือ่ ถึงวันปีใหม่เมือง หรือ ตรงกับช่วงวันสงกรานต์จะมีพิธีรดน�้ำด�ำหัวหนึ่งครั้ง สมัยก่อนพ่อบ้านมีตัวตน (คนทรง) เป็นหญิง ชรา เป็นที่นับถือสักการะบูชาของคนในหมู่บ้าน เมื่อถึงช่วงวันที่ท�ำพิธีจะมาเข้าทรง พิธีรดน�้ำด�ำหัวพ่อบ้านจะท�ำในวันที่ ๑๘ เมษายนของทุกปี ชาวบ้านจะมารวมกัน น�ำอาหารมาไหว้ จากนั้นจะมีการรดน�้ำด�ำหัวผู้เข้าทรง เมื่อเสร็จพิธีร่างทรงจะออกไปเอง แต่ปัจจุบันไม่มีตัวตน (คนทรง) แล้ว เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอด จึงเหลือแค่ประเพณีการรดน�้ำด�ำหัวและสักการะบูชาหอพ่อบ้าน ลุงชุมเล่าต่ออีกว่า ชาวยองจะมีความเชือ่ เรือ่ งของการบูชาบรรพบุรษุ ลูกหลานจะกลับมารดน�ำ้ ด�ำหัว และหรือน�ำอาหารไปถวายแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยจะนิมนต์พระไปบังศกุล ถวายขันข้าว เอา น�ำ้ ขมิน้ ส้มป่อยไปราดทีก่ เู่ พือ่ แสดงความเคารพ โดยจะท�ำในวันปีใหม่เมือง เหมือนทีล่ กู ของลุงจะกลับมา เยี่ยมลุงในทุก ๆ วันหยุดและวันปีใหม่เมือง
๑๖
ลุงบุญชุม พลเวียง อดีตมัคทายก วัดต้นแก้ว
๑๗
หอธรรมวัดล่ามช้า สร้างด้วยรูปแบบผสมระหว่างศิลปกรรมยอง ไทใหญ่ และตะวันตก
๑๘
“สวัสดีครับ มากับรถน�ำเทีย่ วหรอครับ ไปเทีย่ วไหนมาสนุกไหมครับ ได้สมั ผัสอากาศหนาวกันหรือยัง” ค�ำพูดทักทายนักท่องเทีย่ วอย่างเป็นกันเอง มักจะออกจากปากชายชราผูน้ ที้ กุ ครัง้ ทีม่ นี กั ท่องเทีย่ วแวะ เวียนมาไหว้พระที่วัดต้นแก้ว ด้วยภาษากลางติดส�ำเนียงยองเล็กน้อย “ทุกวันนี้ถึงลุงจะไม่ได้ท�ำหน้าที่มัคทายกเหมือนแต่ก่อน เพราะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ แต่หากมีงาน ที่ลุงพอจะช่วยได้ อย่างน�ำสวดท�ำพิธีทางศาสนาต่าง ๆ นิดหน่อยที่พอจะท�ำไหวลุงก็ยินดีไปช่วยเสมอ” ลุงชุมพูดทิ้งท้าย ก่อนจะบอกลาผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้มใจดี ก่อนที่ลุงจะเดินลับสายตาไปทางหลังวัด เพื่อพักผ่อนในกระท่อมน้อยอันสุขสงบ ความเชื่อนั้นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น และเป็นเรื่องส่วนบุคคล ดังนั้นการจะเข้าถึงพิธีกรรม ความ เชื่อของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน เพียงลองเปิดใจให้กว้างกับสิ่งที่รับเข้ามาใหม่ อย่างน้อยสิ่งตอบแทน คือ การได้สัมผัสถึงสเน่ห์และประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากที่ไหน
๑๙
งานประเพณีตานสลากย้อม วัดศรีบังวัน ๒๘ กันยายน ๒๕๕๗
๒
ตานสลากย้อม
ประเพณีส่งต่อวัฒนธรรม จังหวัดล�ำพูน เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ แต่กลับทรงคุณค่าไปด้วยมรดก ทางวัฒนธรรมอย่างมากมาย ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงท�ำให้จังหวัดล�ำพูนกลาย เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่น่าสนใจส�ำหรับผู้ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่วน ใหญ่ศูนย์รวมของวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนชุมชน หรือหมู่บ้านต่าง ๆ มักจะรวมอยู่ที่ “วัด” ชุมชนชาวยองก็เช่นกัน ด้วยความที่ชาวยองนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ จากเอกสาร สนับสนุนโครงการพิพธิ ภัณฑ์วฒ ั นธรรมและชาติพนั ธุล์ า้ นนา “ไทยอง ชีวติ ศรัทธา สล่าแผ่นดิน” ของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าถึงในประเด็นนี้ไว้ว่า เมื่อชาวยองอพยพย้าย ถิ่นฐานจากเมืองยองมาถึงล�ำพูนลงหลักปักฐานตั้งชุมชนเรียบร้อย หากมีความพร้อมก็จะร่วม กันสร้างวัดขึ้นในชุมชนทันที
๒๑
วัฒนธรรมและประเพณีของชาวยองส่วนใหญ่จงึ มักจะเกีย่ วข้องกับความเชือ่ ทางพุทธศาสนา เช่น การ ท�ำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้ว อุทิศให้กับตนเองในชาตินี้ชาติหน้า หรืออุทิศให้แก่ เจ้ากรรมนายเวร ตาน หรือ ทาน หรือที่ภาษาภาคกลางเรียกว่า การท�ำบุญ หากประเพณีใดขึ้นต้นด้วยค�ำว่า ตาน จะ รู้ได้เลยว่าเป็นงานบุญแน่นอน เมื่อมีงานบุญย่อมมีการบอกบุญ ท�ำให้ประเพณีตานสลากย้อมของชาว ยองนั้นเริ่มเป็นที่รู้จัก จากหมู่บ้านใกล้ ๆ จากนั้นจึงเริ่มแพร่หลายกระจายไปสู่ระดับการท่องเที่ยวท�ำให้ ประเพณีสลากย้อมกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ
๑ ท่ามกลางแดดยามสายปลายเดือนกันยายน เสียงเพลงภาษาพืน้ เมืองบรรเลงจังหวะร่วมสมัยดังกระหึม่ ไปทั่วทั้งบริเวณของวัดศรีบังวัน ซึ่งอยู่ในต�ำบลริมปิง อ�ำเภอเมืองจังหวัดล�ำพูน ลานด้านหน้าซุ้มประถูกแบ่งสัดส่วนเป็นพื้นที่ขายของทั้งอาหารคาว - หวาน สายไหม ลูกโป่ง และ สไลด์เดอร์เป่าลมขนาดยักษ์ เด็กตัวน้อย ๆ ยอมเข้าคิวยาวเพื่อจะรอเล่นเครื่องเล่น หากจะให้เปรียบ เทียบก็คงเหมือนกับงานวัดทั่ว ๆ ไป ไม่ได้แตกต่างมากนัก ต้นสลาก เอกลักษณ์ของงานประเพณีสลากย้อมขนาดกลางหลายสิบต้นถูกขนย้ายเข้าวางเรียงราย ตลอดแนวทางเดินระยะราว ๒๐๐ เมตรก่อนเข้าสู่ลานกกว้างด้านใน แสดงให้เห็นถึงศรัทธาของชาวบ้าน ทีม่ าร่วมงานกันอย่างเนืองแน่นตัง้ แต่ยงั ไม่ถงึ วันงาน รถยนต์ทยอยขนย้ายอุปกรณ์ตดิ ตัง้ ต้นสลากเข้ามาไม่ ขาดสาย ทั้งเสียงนกหวีดของอาสาสมัคร เสียงเพลง และเสียงพูดคุยเอ่ยทักทายด้วยภาษาท้องถิ่นดังอื้อ
๒๒
ชาวบ้านจากวัดท่านาค ต�ำบลหนอง อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ขณะก�ำลัง ท�ำต้นสลากในวันแต่งดา ๒๗ กันยายน ๒๕๕๗
อึงไปทั่ว แม้ว่าจะดูวุ่นวายแต่ภาพนี้กลับสามารถสร้างรอยยิ้มให้ผู้มาเยือนงานจากต่างถิ่น สลากต้นใหญ่สูงฉลูด คือสิ่งที่ลูกหลานชาวยองจัดเตรียมมาเพื่อตานหรือท�ำบุญให้บรรพบุรุษที่เสีย ชีวิตไปแล้ว ซึ่งหากประเมิณขนาดด้วยตาคงกะความสูงได้ประมาณตึกสามชั้น สร้างความตื่นตะลึงให้ กับฉันและเพื่อนผู้ร่วมทาง เพราะไม่ใช่เพียงต้นเดียว แต่นับสิบกว่าต้น ทั้งที่ติดตั้งประดับประดาเสร็จ แล้ว และที่ยังติดตั้งตัวล�ำต้นยังไม่เสร็จ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาอันแรงกล้าและความตั้งใจของลูก หลานชาวยองที่นี่ ก่อนวันงานหนึ่งวันเรียกว่า “วันแต่งดา” เป็นวันที่ชาวบ้านจะน�ำเครื่องประดับจากงานฝีมือ และงาน จักสานที่เตรียมท�ำไว้มาประดับตกแต่ง และติดตั้งโครงสร้างของต้นสลากย้อม ท�ำให้บริเวณลานกว้างซึ่ง ดูคล้ายกับสนามฟุตบอลเต็มไปด้วยผูค้ นมากมายทัง้ หญิงและชายต่างขมักเขม้นท�ำงานในส่วนของตนเอง ผู้หญิง ดูแลเรื่องการประดับตกแต่ง ... ผู้ชาย ดูแลเรื่องการท�ำต้นสลาก ส่วนล�ำต้นของต้นสลาก ท�ำจากไม้ไผ่ศรีสุข หรือ ไผ่ตง ปล้องใหญ่เพื่อความแข็งแรงส�ำหรับต้นสูง บริเวณฐาน หากเป็นต้นสลากขนาดไม่ใหญ่มากจะท�ำเป็น แคร่ ส�ำหรับหาบได้ เรียกว่า จองอ้อ แต่หาก เป็นต้นใหญ่จะท�ำฐานขนาดใหญ่จากไม้ไผ่เช่นเดียวกับล�ำต้นเพื่อความมั่นคง พร้อมทั้งบุรอบไม้ไผ่ด้วย หญ้าคาเพื่อให้สามารถน�ำกิ่งเสียบของประดับตกแต่งได้ ต้นสลากหนึ่งต้นนั้น จะประดับด้วย “ดอกไม้ไผ่ (ดอกฮองเฮ็ง)” ที่น�ำมาย้อมสีสันสดใส เป็นที่มาของ ค�ำว่า “สลากย้อม” กระดาษหลากสีสันห้อยเป็นพู่ปักอยู่ทุกอณูของล�ำต้น มวนบุหรี่ที่ถูกร้อยเรียงเป็น แพยาว ด้านบนยอดสุดประดับด้วยร่มห้อยด้วยปัจจัยพร้อมทั้งของประดับตกแต่งสวยงาม โคมกระดาษ สีสันต่าง ๆ และข้าวของเครื่องใช้มากมาย เช่น เสื้อผ้า ผงซักฟอก ขนม อาหารแห้ง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับแรงศรัทธาของชาวบ้านที่ซื้อของมาร่วมกันประดับต้นสลากของหมู่บ้าน
๒๔
๒ “หัวใจหลักประเพณีสลากของยอง คือ ตานไปให้บรรพบุรุษของตน” รักษ์เกียรติ ศิริจันทรานนท์ นายกเทศมนตรี เทศบาลต�ำบลเวียงยอง อีกทั้งยังควบต�ำแหน่งนายก สมาคมชาวยองเอ่ยบอกด้วยเสียงเรียบนิ่ง ก่อนจะบอกเล่าถึงที่มาของประเพณีสลากย้อมว่า ประเพณีสลากย้อมนั้นเป็นสลากพิเศษที่เชื่อกันว่า ในอดีตเป็นหน้าที่ของหญิงสาวที่จะต้องท�ำ โดย เฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยที่พร้อมจะออกเรือน โดยต้องเก็บหอมรอมริบเงินทองที่หาได้จากน�้ำพักน�้ำแรงของ ตนเอง มีค�ำโบราณกล่าวไว้ว่า “หากหญิงใดยังไม่ได้ตานสลากย้อม หญิงนัน้ ไม่สมควรจะแต่งงาน ถ้าหญิงใดตานสลากย้อมแล้วถือว่า เป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีได้” กว่าจะเก็บเงินท�ำต้นสลากย้อมได้นั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๓ – ๕ ปี เพราะการจะท�ำสลากย้อมหนึ่ง ต้นต้องใช้เงินจ�ำนวนมาก ซึง่ แสดงให้เห็นว่า หากหญิงใดเก็บเงินท�ำต้นสลากย้อมได้นนั้ เป็นคนมัธยัสถ์ รูจ้ กั การเก็บออม ยิ่งสลากต้นใหญ่ยิ่งแสดงถึงฐานะความมั่งคั่งและเงินที่หญิงสาวผู้นั้นเก็บออมได้ นอกจากต้องเก็บเงินแล้ว ยังมีในส่วนของงานประดิษฐ์ของตกแต่งต้นสลาก ซึ่งหากญาติพี่น้องรู้ข่าว จะมาช่วยกันท�ำ หนุ่มที่ชอบพอสาวเมื่อรู้ข่าวว่า สาวจะท�ำต้นสลากย้อม จะประดิษฐ์ของมาร่วมใส่ใน ต้น รวมถึงมาช่วยท�ำในส่วนงานจักสาน และงานด้านการช่างต่าง ๆ หากหนุ่มคนไหนมีความสามารถใน การแต่งค่าว หรือ โคลงกลอน จะยิ่งแสดงถึงภูมิปัญญาของหนุ่มผู้นั้น ซึ่งพิสูจน์ด้วยการแต่งค่าวแล้วมา กล่าวให้สาวบ้านนั้นเห็น
๒๕
ต้นสลากขนาดกลางและก๋วยสลาก ขนาดพอดีที่ชาวน�ำมาร่วมตานท�ำบุญให้กับบรรพบุรุษตนเอง
๒๖
ผู้ที่แต่งค่าวได้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านตั๋วเมือง (อักษรธัมม์ล้านนา) หรือเป็นผู้ที่เคยบวชเรียนมา ก่อน โดยเนือ้ หาจะเป็นเรือ่ งราวประวัตขิ องผูท้ ำ� ต้นสลากย้อม รายละเอียดขัน้ ตอนในการท�ำ และจ�ำนวน เงินที่ใช้ในการท�ำ อาจมีการสอดแทรกคติธรรม หรือบทตลกขบขับบ้าง และปิดท้ายด้วยการกล่าวค�ำแผ่ ส่วนบุญและค�ำปราถนาของเจ้าของสลากย้อม นายกฯ เทศบาลต�ำบลเวียงยอง เล่าต่ออย่างออกรสว่า ทีจ่ ริงหลักใหญ่ใจความนัน้ อยูแ่ ค่ “สลาก” โดย มาจากความเชื่อว่าคนที่เป็นลูกหลาน จะต้องน�ำเครื่องอุปโภค บริโภค ปัจจัย ของเซ่นไหว้ จัดเรียงใส่ก๋วย ชะลอม หรือตะกร้า พร้อมทั้งมีรูปบรรพบุรุษ มีตุงปักอยู่ในนั้น การถวายสลากจะถวายให้พระเป็นเส้นสลากน�ำไปรวมกัน แล้วให้พระสงฆ์แต่ละรูปทีม่ าจากวัดประจ�ำ หมู่บ้านต่าง ๆ จับสลาก เมื่อได้เส้นสลากท่านจะมาตามหาสลาก ตามลายแทงที่เขียนไว้ในเส้นสลาก เมื่อ เจอพบแล้วพระจะให้ศีลให้พร หรือถ้าใครมีฐานะดีจะให้พระเป็นกล่าวจ๊อย หรือ ค�ำโคลง กลอน ยกย่อง เชิดชูบรรพบุรุษ “ถ้าลูกหลานคนไหนไม่ได้ตานสลากไปให้บรรพบุรษุ บรรุพบุรษุ จะมารอนอกก�ำแพงวัดเข้ามาไม่ได้ เขา จะไม่ได้รบั ของทาน ไม่ได้รบั ส่วนบุญส่วนกุศล ถ้าลูกหลานคนไหนได้ตานไปให้กบั บรรพบุรษุ ก็จะสามารถ เข้ามารับส่วนบุญส่วนกุศลในก�ำแพงวัดได้ เพื่อไปอยู่ในภพภูมิที่ดีขึ้น” นายกฯเทศบาลต�ำบลเวียงยอง เพิ่มเติมในเรื่องของความเชื่อที่คนโบราณเปรียบเทียบเรื่องตานก๋วย สลาก
๒๗
๓ “สลากย้อม ที่นี่ไม่ค่อยมีหรอก ต้องในเมืองนู่น” ทวีกุล เทพขาว หรือ คุณยายติ่ง หญิงชราท่าทางสดชื่น แข็งแรง ใบหน้าแจ่มใส ชาวยองบ้านแซม อ�ำเภอป่าซาง จังหวัดล�ำพูน บอกเล่าถึงประเพณีสลากย้อมอย่างอารมณ์ดี แถวป่าซางจะเป็นประเพณีตานก๋วยสลาก โดยท�ำในช่วงเวลาเดียวกันกับเดือนทีม่ สี ลากย้อม ประมาณ วันเพ็ญเดือน ๑๒ เหนือ ตรงกับช่วงเดือนกันยายน ชาวบ้านจะน�ำข้าว น�้ำ ขนมนมเนย และอาหารใส่ใน ตะกร้า ก๋วย หรือชะลอมหิ้วไปวัด การท�ำต้นสลาสามารถท�ำร่วมกับญาติพนี่ อ้ งได้ไม่จำ� เป็นต้องท�ำคนละต้น สมมติมพี นี่ อ้ ง ๔ คน สามารถ น�ำสลากมารวมกันทีเดียว ๔ เส้น เมื่อพระจับได้เส้นสลากอันไหน ก็ออกตามหาจนพบแล้วอ่านค�ำเขียน เส้นสลากและให้ศีลให้พรแก่เจ้าของต้นสลากนั้น ที่นี่จะท�ำแบบธรรมดาเรียบง่าย เพราะถ้าท�ำต้นสลาก ย้อมแบบในเมืองนั้นต้องใช้เงินเยอะ “ที่นี่หนุ่มสาวเขาก็ยังชักชวนกันไปตานก๋วยสลากกันเยอะอยู่นะ” คุณยายติ่ง พูดทิ้งท้ายพร้อมยิ้ม น้อย ๆ
๔
อากาศเย็นสบายยามเช้าวันอาทิตย์ เป็นธรรมดาของภาคเหนือที่อากาศจะสดชื่นเแบบนี้ทั้งปี แม้จะ เลยช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์โผล่ทักทายได้สักพักแล้วก็ตาม
๒๘
คนเฒ่าคนแก่พร้อมลูกหลานต่างมาร่วมงานตานสลากย้อมอย่างคึกคัก
๒๙
ต้นสลากย้อมจากหมู่บ้าน ใกล้ เ คี ย งบ้ า นล่ า มช้ า ง ต� ำ บลประตู ป ่ า จั ง หวั ด ล�ำพูน ซึ่งส่งประกวดใน นามวัดประจ�ำหมู่บ้าน
๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ... ณ วัดศรีบงั วัน เสียงสะล้อ ซอ ซึง จากบทเพลงพืน้ เมืองผ่านล�ำโพงเสียงดังขับกล่อมล้อไปกับบรรยากาศ ของงานประเพณีสลากย้อม ลานจอดรถแน่นขนัดทั้งรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ แทบไม่เหลือพื้นที่เว้นว่าง บนพื้นที่โล่งกว้างขนาดเท่าสนามฟุตต่อจากลานกว้างด้านหน้าวัด ซึ่งเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่มาร่วมงาน สลากต้นเล็กต้นน้อยเพิ่มจ�ำนวนขึ้นจากวันแต่งดาอีกมากมาย รวมไปถึงต้นขนาดกลางก็วางจนดู แน่นขนัด ส่วนสลากต้นใหญ่เมือ่ แต่งเสร็จสมบูรณ์แล้วยิง่ ดูสวยงามมากขึน้ จากทีเ่ มือ่ วานมีแค่โคลงแต่ดว้ ย ความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านถึงท�ำให้ตน้ สลากสูงใหญ่ดสู วยงามไปด้วยของประดับตกแต่ง ส่วนบริเวณ ฐานมีการประดับเพิ่มเติมด้วยดอกไม้สดบ้าง รูปปั้นบ้าง ตามแนวความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละหมู่บ้าน ประเพณีสลากย้อม นับว่าเป็นงานบุญครั้งใหญ่ประจ�ำปีของชาวจังหวัดล�ำพูน โดยทุกปีจะเริ่มจัดที่ วัดหลวง หรือวัดพระธาตุหริภุญไชยเป็นที่แรก ก่อนจะไล่เรียงลงมาตามล�ำดับ ซึ่งวัดที่จัดส่วนใหญ่จะอยู่ ในเขตอ�ำเภอเมือง แถบทางต�ำบลริมปิง ต�ำบลประตูปา่ ต�ำบลหนองช้างคืน ต�ำบลต้นธง และต�ำบลอุโมงค์ ผูค้ นทีม่ าร่วมงานส่วนใหญ่จะเป็นผูใ้ หญ่อายุราววัยกลางคนจนถึงวัยชรานิยมแต่งกายด้วยชุดพืน้ เมือง แบบต่าง ๆ ทั้งแบบคล้ายกับของชาวยอง คือ สวมเสื้อปั๊ด และนุ่งผ้าซิ่น และแบบประยุกต์เสื้อทรงสมัย ใหม่ที่ท�ำจากผ้าฝ้ายพื้นเมือง นุ่งผ้าซิ่น ซึ่งจะเน้นโทนสีสุภาพเนื่องจากเป็นงานบุญตามคติความเชื่อของ คนเหนือ การร่วมงานของเด็กรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ จนถึง ช่วงวัยรุ่นตอนต้น มักจะนิยมสวม เสื้อผ้าตามยุคสมัยแบบสุภาพ โดยติดตามผู้ใหญ่ที่บ้านมาท�ำบุญ เที่ยวงานวัด หรือบางส่วนที่สวมชุดแต่ง กายพื้นเมืองก็มาร่วมในการแสดงบนเวที
๓๑
หมู่บ้าน ต�ำบล หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงเมื่อทราบข่าวว่าวัดไหนจะมีงาน ดังเช่นวันนี้ก็มาร่วมงาน อย่างมากมาย ทั้งร่วมแจกน�้ำ และท�ำอาหารเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงาน หรือบางหมู่บ้านส่งต้นสลากย้อมมาร่วม กิจกรรมการประกวดด้วย “ต้นสลากยิ่งสูง ยิ่งสวยงาม เกิดจากความตั้งใจ กุศลยิ่งมาก” ด้วยความเชื่อนี้จึงท�ำให้ชาวบ้านตั้งใจประดับประดาต้นสลากย้อมให้สวยงามอลังการ หรือเพื่อการ ประกวดต้นสลากแข่งกับหมู่บ้านอื่น ๆ ซึ่งน่าจะเป็นอีกเหตุผลนอกจากความเชื่อเรื่องบุญกุศลส�ำหรับ ยุคปัจจุบัน เมือ่ ประธานพิธเี ริม่ เปิดงาน จากนัน้ เป็นการแสดงกลองสะบัดชัยจากกลุม่ เยาวชนของหมูบ่ า้ นและการ แสดงพืน้ เมืองต่าง ๆ ก่อนเข้าสูช่ ว่ งของการประกวดต้นสลากจากแต่ละหมูบ่ า้ น จนถึงช่วงกลางวันจึงเริม่ มีการกล่าว ค่าวฮ�่ำ ซึ่งคล้ายกับโคลง กลอนของทางภาคกลาง ต่อด้วยพิธีสวดถวายตานต้นสลาก และให้ ศีลให้พรโดยเจ้าอาวาสและพระเถระชั้นผู้ใหญ่ บรรยากาศงานยังคงด�ำเนินไปอย่างคึกคักจนถึงช่วงการจับเส้นสลาก ซึง่ เขียนชือ่ เจ้าของ หรือหมูบ่ า้ น ที่จัดท�ำต้นสลาก และเขียนค�ำอธิษฐาน พระสงฆ์หรือเณรเมื่อได้รับเส้นสลากแล้วจึงเดินตามหาต้นสลาก ตามป้ายชื่อที่เขียนไว้ในเส้นสลากนั้น เมื่อพบเจ้าของต้นสลากจะมีการอ่านค�ำอธิษฐานของผู้ถวาย ให้ศีล ให้พรจึงเสร็จพิธี หลังเลิกงานสนามกว้างเต็มไปด้วยฝุ่นคละคลุ้งจากการขนย้ายต้นสลากออกจากบริเวณงาน เมื่องาน จบลงพื้นที่โล่งกว้างเหลือเพียงความว่างเปล่า เทศกาลงานเฉลิมฉลองย่อมมีวันเลิกรา แต่สิ่งทีย่ ังคงเหลือ อยู่ คือความเป็นอารยะทางวัฒนธรรมที่จะยังคงอยู่ต่อไป แม้วันนี้อาจมีหลายสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งเรื่องของระยะเวลาในการท�ำต้นสลากที่สั้นลงเพราะจาก
๓๒
ภาพบรรยากาศงการประกวดต้นสลาก ณ ประเพณีตานสลากย้อม ณ วัดศรีบังวัน ๒๘ กันยายน ๒๕๕๗
๓๓
ต้นสลากย้อมก่อนทีี่จะถูกขนย้าย
๓๔
ความเชื่อการออกเรือนของสตรีชาวยอง ได้แปรเปลี่ยนเป็นการสร้างต้นสลากจากน�้ำพักน�้ำแรงและ ก�ำลังศรัทธาของชาวบ้านที่มาร่วมกันท�ำกุศลครั้งยิ่งใหญ่ อีกทั้งวัสดุอุปกรณ์ข้าวเครื่องใช้ท่ีประดับต่างก็ เปลี่ยนแปลงให้สะดวกตามยุคสมัยมากขึ้น แต่ก่อนหากต้องการจะบันทึกภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ หนหนึ่งไม่ใช่ว่าใครก็ท�ำได้ แต่ ณ ปัจจุบันเมื่อ ความเจริญเข้าสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ภาพงานสลากย้อมถูกบันทึกและแชร์ลงโลกโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว ท�ำให้คนต่างถิ่นหรือคนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงข้อมูล และรู้จักงานประเพณีเช่นนี้มากขึ้น เทคโนโลยีมีส่วนช่วยอย่างมากหากรู้จักการปรับตัวเรียนรู้ที่จะอยู่กับอดีต และปัจจุบัน เพื่อรักษาไว้ ในอนาคต แต่หากหลงกับเทคโนโลยีมากไป ร่องรอยอดีตจางหาย เมื่อนั้นอนาคตอาจจะไม่เหลืออะไร ให้คนรุ่นใหม่สืบทอดต่อไปก็เป็นได้
๓๕
อักษรธัมม์ล้านนา (ตั๋วเมือง)
๓
ส่งภาษายอง
สืบทอดเอกลักษณ์
ภาษา นับว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบส�ำคัญของการประกอบสร้างสังคม เพราะการอยู่ร่วม กันในสังคมจ�ำเป็นต้องมีกฎคอยควบคุม มิเช่นนั้นคงจะเกิดความวุ่นวายอย่างแน่นอน แล้วสิ่งใด ที่จะสามารถเป็นสื่อกลางให้มนุษย์เชื่อมความสัมพันธ์และสามารถท�ำความเข้าใจในการอยู่ร่วม กันได้ หากไม่ใช่การสื่อสารด้วยภาษา ในแต่ละท้องถิน่ มักจะมีภาษาทีเ่ ป็นของตัวเองอยูแ่ ล้วแทบจะทุกพืน้ ที่ ซึง่ ภาษานัน้ เป็นสิง่ หนึง่ ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ๆ จะสังเกตได้ว่าแม้จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดเดียวกัน แต่ อาจพูดกันคนละภาษาเสียด้วยซ�้ำ จังหวัดล�ำพูนก็เป็นหนึง่ ในจังหวัดทีม่ หี ลายกลุม่ ชาติพนั ธุร์ วมอยูด่ ว้ ยกัน เช่น มอญ ปกากะญอ (กะเหรี่ยง) ไทยวน (คนพื้นเมือง) และไทยอง ซึ่งแต่ละกลุ่มนั้นอาจมีภาษาและส�ำเนียงการพูดที่ แตกต่าง หรือคล้ายกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน หากเป็นคนในพื้นที่ฟังส�ำเนียง ๓๗
จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไหน ภาษายองก็เช่นกัน ภาษาพูดของชาวยองนั้นคล้ายกับภาษาลาว ซึ่งค�ำว่า “ลาว” เป็นค�ำที่คนยองใช้เรียกคนพื้นเมืองใน สมัยก่อน เอกลักษณ์ของภาษายองนัน้ อยูท่ สี่ ำ� เนียง และการออกเสียงซึง่ แตกต่างกับภาษาลาวอย่างชัดเจน เช่น ค�ำว่า หลวง ในภาษายองจะออกเสียงว่า โหลง ค�ำว่า เมือง จะออกเสียงว่า เมิง รวมถึงบางสิ่งจะมี ค�ำเรียกที่ไม่เหมือนกัน เช่น รองเท้า คนเมืองจะเรียกว่า เกิบ แต่คนยองเรียกว่า แคบ
๑ “วันนีล้ กู กินข้าวกับหยัง ลูกไปไหนมาพ่อง ลูกไปแอ่วมาเนีย่ โม่นก่อ ถ้าโม่นแล่วก็มาเล่าหือ้ ป้อแม่ฟงั ก�ำ” อุไรวรรณ ชัยยานิจ หรือ ป้าไร หญิงชาวยองพูดทักทายด้วยภาษายองอย่างเป็นกันเอง ป้าไรอาศัยอยู่ ที่บ้านศรีเมืองยู้ ต�ำบลเวียงยอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำพูน มีอาชีพเป็นผู้บรรยายและแม่บ้านประจ�ำอยู่ ที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง บ้านของป้าไร เป็นร้านขายของช�ำ อยู่ติดริมถนนเส้นเล็กที่ลัดบริเวณริมแม่น�้ำกวง จึงท�ำให้ลมพัดเย็น สบายตลอดแม้จะเป็นช่วงบ่าย บทสนทนาต่างค่อย ๆ เรื่อยเรียงผ่านริมฝีปากหญิงมีอายุที่ก�ำลังบอกเล่า ถึงประสบการณ์ของเธอ พ่อแม่ของป้าไรเป็นชาวยองบ้านศรีสุพรรณ ต�ำบลริมปิง ซึ่งบริเวณนั้นมีชาวยองอาศัยอยู่เยอะ สมัย เด็กป้าไรไปเรียนหนังสือจึงละเลยการพูดภาษายองไปช่วงหนึง่ ตามประสาเด็กทีไ่ ม่ได้สนใจ หรือให้ความ ส�ำคัญกับเรื่องการพูดภาษาถิ่น เมื่อกลับมาอยู่กับคุณป้าจึงต้องกลับมาหัดพูดและฟังอีกรอบเพื่อความ เข้าใจการท�ำงานร่วมกัน
๓๘
ป้าไรเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งออกไปท�ำงานกับคุณป้า แล้วคุณป้าไหว้วานให้ไปหยิบของโดยพูดเป็นภาษา ยองว่า “อีลกู อีกลูก ไปเอาผล้ามาฮือ้ แม่กำ� เอ๊าะ กับ๊ ถ้วยไถลมาฮือ้ อีแม่ แม่จะเอาใส่ผกั๊ แล้วเอาถ้วยไถลเห่เฮ้” ป้าไรจึงรีบวิ่งไปหยิบผ้าขี้ริ้วมาให้คุณป้า จึงถูกหัวเราะเยาะท�ำให้รู้สึกอับอายมาก ซึ่งแท้จริงแล้ว ประโยคนี้มีความหมายว่า “ลูกช่วยไปหยิบมีดมาให้แม่หน่อย กับกะละมัง แม่จะเอาใส่ผักล้างแล้วเอาน�้ำ ในกะละมังนั้นเทออกเสีย” (ผล้า หรือ พล้า หมายถึง มีด และ ถ้วยไหล นั้นหมายถึง กะละมัง) หลังจากเหตุการณ์นั้นป้าไรจึงตั้งใจศึกษา ก�ำยอง หรือ ภาษายอง จากคุณป้าจนสามารถพูดและฟังรู้ เรื่ออง มาจนถึงปัจจุบัน ป้าไรพูดด้วยน�ำเสียงหนักใจว่า เด็กสมัยนี้ไปศึกษาเล่าเรียนแล้วก็ทิ้งไปหมด ทั้ง ภาษาและวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ไม่ค่อยพูดค�ำยอง
๒ “ไม่ครับ ไม่พูดได้ไหมครับ” น้องที หรือ เด็กชายทีปกรณ์ แสนสิริ หนูน้อยชั้นประถมปีที่ ๒ พูดด้วยน�้ำเสียงใสซื่อพร้อมส่ายหัว ดิก เมื่อครูอารียา พงศ์สังกาจ คุณครูประจ�ำชั้นบอกให้ลองพูดภาษายอง ทุกสายตาของเพื่อนร่วมห้อง ที่นั่งอยู่ใกล้เคียงหันมาจับจ้องทันที เจ้าตัวจึงไม่ยอมพูด พร้อมแอบกระซิบว่า หากอยู่บ้านจะพูดยองกับ ครอบครัว แต่ทโี่ รงเรียนจะพูดภาษาไทย (ภาษาภาคกลาง) เท่านัน้ ก่อนจะนัง่ ท�ำแบบฝึกหัดต่อไปเงียบ ๆ ครูอารียา เล่าเพิม่ เติมว่า ทีโ่ รงเรียนบ้านเวียงยองนีป้ จั จุบนั มีนกั เรียนทัง้ หมดโดยรวมทุกระดับชัน้ เพียง ๕๗ คน เด็กส่วนใหญ่ทมี่ าเรียนจะเป็นเด็กไทใหญ่ ซึง่ พ่อแม่ยา้ ยถิน่ ฐานมาท�ำงานทีจ่ งั หวัดล�ำพูน จึงเหลือ
๓๙
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเวียงยองก�ำลังท�ำการบ้านในช่วงใกล้เลิกเรียน
๔๐
เด็กชาวยองมาร�่ำเรียนเพียงไม่กี่คน อาจเพราะด้วยที่นี่เป็นเพียงโรงเรียนเล็ก ๆ ประจ�ำหมู่บ้าน จึงท�ำให้ ผู้ปกครองส่งลูกหลานไปเรียนโรงเรียนในเมืองกันหมด บรรยากาศวันคริสต์มาสในโรงเรียนหลังน้อยช่างเงียบเหงา ตึกไม้สองชั้น และสนามหญ้าดูกว้างขึ้น ถนัดตาเมื่ออยู่ในชั่วโมงการเรียนการสอนคาบสุดท้าย เด็กนักเรียนต่างนั่งจดจ้องอยู่กับแท็บเล็ตที่ทาง โรงเรียนได้รับมาจากการสนับสนุนของนโยบายของภาครัฐอย่างตั้งใจเพื่อหัดฟังและสรุปเนื้อหาจากสิ่ง ที่ได้ดูในนั้น บ้างก็นั่งพูดคุยจับกลุ่มท�ำการบ้าน บ้างก็วิ่งเล่นตามประสา สุทธิลกั ษณ์ ปินธง ครูฝา่ ยวิชาการของโรงเรียนซึง่ สอนอยูท่ โี่ รงเรียนนีม้ าร่วมสิบปี ให้ความเห็นในเรือ่ ง การไม่พูดภาษายองของเด็กว่า ส่วนใหญ่เด็กวัยนี้จะใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ แต่หลักสูตรการ เรียนนั้นเป็นภาษาไทยหมด อีกทั้งวิชาการเรียนและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียนก็เยอะ จึง ท�ำให้เด็ก ๆ ไม่มีเวลาเรียนรู้เรื่องราวท้องถิ่น แต่ถ้าเป็นเวลานอกชั่วโมงเรียน ครูจะสนับสนุนให้เขาพูด ภาษาท้องถิ่นกันกับเพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียน คุณครูลกั ษณ์หยิบหนังสือหลักสูตรท้องถิน่ เล่มหนึง่ ซึง่ มีเนือ้ หาเกีย่ วกับวัฒนธรรมท้องถิน่ เช่น รูปภาพ อาหารพื้นเมือง พร้อมค�ำบรรยายใต้ภาพอย่างเข้าใจง่ายให้ดู พร้อมกับเล่าว่า พึ่งได้หนังสือเล่มนี้มาใหม่ เป็นหลักสูตรของอนุบาล คิดว่าเนื้อหาน่าจะสามารถปรับใช้เพิ่มเติมเรื่องราวท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ได้มากขึ้น ตอนนี้คงยังไม่เห็นผลแต่ในอนาคตน่าจะเริ่มเห็นทิศทางการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง หากปลูกฝังให้พวก เขาตั้งแต่ยังเล็ก ๆ “ทุกวันนี้ไม่ใช่เฉพาะวัฒนธรรมของชาวยองที่เปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมพื้นเมืองก็เช่นกัน อย่างวัน สงกรานต์ เด็กวัยรุ่นสมัยนี้จะเอาแต่เล่นสาดน�้ำ ซึ่งหลักจริง ๆ แล้วคือการรดน�้ำด�ำหัวผู้ใหญ่ อีกทั้งตอน นี้ก็ไม่ค่อยจะพูดภาษาเมืองกันแล้ว”
๔๑
คุณครูลกั ษณ์พดู ด้วยน�ำ้ เสียงเป็นห่วง พร้อมเสนอวิธคี ดิ เรือ่ งการพัฒนาชุมชนซึง่ จะต้องมีเป้าหมายให้ ชัดเจน หาจุดเด่นแล้วดึงออกมาใช้เป็นจุดแข็งในการพัฒนาจึงจะเห็นผล วัฒนธรรมก็เช่นเดียวกัน พัชรินทร์ ปะละใจ หรือ ครูพัช คุณครูฝ่ายกิจกรรมของโรงเรียนบ้านเวียงยอง สอนประจ�ำอยู่ที่นี่มา ร่วม ๑๔ ปี รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมของโรงเรียน เช่น การฟ้อนยอง ฟ้อนเล็บ และฟ้อนหริภุญไชย ซึ่งครูพัชจะเป็นผู้จัดหาครูผู้ช�ำนาญจากข้างนอกมาฝึกสอนให้เด็กนักเรียน ครูพัชเล่าว่าเมื่อก่อนมีโอกาสพาเด็ก ๆ ไปร่วมการประกวดในงานศิลปะ ซึ่งเปิดกว้างให้ทุกท้องถิ่น สามารถน�ำวัฒนธรรมของตนมาร่วมประกวดได้ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการประกวดดนตรีไทย และการ ประกวดร�ำวงมาตรฐานไปแล้วจึงไม่ได้พาไปอีก ย้อนกลับไปประมาณสิบปีทแี่ ล้ว เมือ่ ถึงฤดูหนาวครูพชั จะให้เด็กผูห้ ญิงในโรงเรียนจะฟ้อนยอง ส่วนเด็ก ผูช้ ายร�ำแม่ไม้มวยไทยเวลาเข้าแถวหน้าเสาธงตอนเช้า ทัง้ ยังพาเด็กนักเรียนไปเรียนรูต้ วั๋ เมือง (อักษรธัมม์ ล้านนา) กับคุณลุงบุญชุม พลเวียงทีว่ ดั ต้นแก้ว แต่ปจั จุบนั จ�ำนวนเด็กนักเรียนลดน้อยลงไปจึงท�ำกิจกรรม อะไรไม่ได้มากเช่นแต่ก่อน ครูพัชจึงต้องลดจ�ำนวนชุดฟ้อนส�ำหรับเด็กนักเรียนหญิงตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ - ๖ เหลือเพียงแค่ ๑๐ คน เรื่องการพูดภาษายองนั้น ครูพัชเล่าประสบการณ์ของเพื่อนครูซึ่งเป็นคนยองแท้ ๆ ทั้งพ่อและแม่ แต่ เมื่อมีลูกกลับสอนพูดภาษากลาง ซึ่งครูได้แต่สงสัยว่าท�ำไมพ่อแม่จึงไม่ค่อยสอนลูกพูดยอง เด็กสมัยนี้จึง พูดยองไม่ค่อยพูดภาษายองกันแล้ว เหลืออยู่แต่คนเฒ่าคนแก่ในวัดที่พูด
๔๒
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเวียงยองในชุดพื้นเมืองประจ�ำวันศุกร์
๔๓
รักษ์เกียรติ ศิริจันทรานนท์ นายกเทศมนตรี เทศบาลต�ำบลเวียงยอง
๔๔
๓ “ภาษายอง นี่แปลกนะ คนยองพูดภาษาลาวได้ แต่คนลาวพูดภาษายองไม่ได้ คุณหมอที่เป็นราษฎร อาวุโส เขาบอกว่าเลือดยองนี่มีดีเอ็นเอที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ใครก็ไม่สามารถพูดยองได้นอกจาก ลูกหลานชาวยอง” รักษ์เกียรติ ศิริจันทรานนท์ นายกเทศมนตรี เทศบาลต�ำบลเวียงยอง และนายกสมาคมชาวยอง พูด ถึงปัญหาเกีย่ วกับภาษายอง พร้อมเล่าต่อว่า คนยองทีอ่ พยพมาอยูท่ บี่ า้ นเวียงยองไม่ยอมพูดยอง แต่กลับ หันไปพูด “ภาษาลาว” ซึ่งเป็นภาษาของคนพื้นเมือง เพื่อให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองอยู่อีกระดับหนึ่ง แต่หาก พูดภาษายองกับพวกเขาจึงจะพูดตอบ กลายเป็นค่านิยมทีอ่ ยากจะยกระดับความเป็นอยูใ่ ห้มคี วามศิวไิ ลซ์ มากขึ้น ปัจจุบันจึงนิยมพูดภาษาไทยและภาษาลาวกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ในจังหวัดล�ำพูนยังมีอกี ทีห่ นึง่ ซึง่ ยังพูดภาษายองอยูม่ าก คือ อ�ำเภอป่าซาง ยืนยันได้จาก ทวีกลุ เทพ ขาว หรือ ยายติ่ง ชาวบ้านแซม ต�ำบลม่วงน้อย และยายอ�ำนวย โยริยะ ชาวบ้านมะกอก ต�ำบลมะกอก อ�ำเภอป่าซางซึ่งทั้งคู่ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า คนอ�ำเภอป่าซางยังพูดภาษายองกันอยู่ ตั้งแต่คนเฒ่าคน แก่ไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน แม้ว่าคนยองในอ�ำเภอเมืองจะพูดกันน้อยลง แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเหลือที่พูดอยู่เลย หากมีการรณรงค์ หรือจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ชาวยองและคนภายนอกได้รู้จักเอกลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมความ เป็นยอง เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับลูกหลานชาวยอง อาจจะเห็นผลได้ในอนาคตสักวันหนึ่ง ดังเช่น ค�ำกล่าวของนายกฯ เทศบาลต�ำบลเวียงยองที่ว่า “ดินที่จะอุดมสมบูรณ์ต้องหมั่นฟื้นฟู เพราะไม่เช่นนั้นก็จะตายไปกับกาลเวลา เหมือนภาษายองถ้าไม่ พูดวันนี้ อีกหน่อยก็คงไม่มีเหลือ”
๔๕
สะพานท่านาง เชื่อมระหว่างฝั่งเมือง กับบ้านเวียงยอง
๔
วิถียอง
ในวันที่เปลี่ยนผ่าน มีใครสักคนเคยพูดว่า ล�ำพูนเป็นเมือง Slow Life เมื่อมาอยู่ที่นี่จะรู้สึกเหมือนเวลาหมุนผ่าน ไปช้าเหลือเกิน แต่ต่อให้เวลาเดินช้าอย่างไร ทุกสิ่งทุกสิ่งอย่างก็ยังท�ำหน้าที่ต่อไปตามวัฏจักร บนท้องถนนในจังหวัดล�ำพูนคราคร�่ำด้วยรถผู้คนจากต่างถิ่นที่แวะเวียนมาสักการะพระธาตุ หริภุญไชยเนื่องในวันหยุดยาวปีใหม่สากล ท่ามกลางรถรุ่นใหม่หลากหลายคันที่แล่นผ่านถนน เส้นเชียงใหม่ – ล�ำพูน รถสามล้อถีบที่ปั่นไปอย่างเชื่องช้าริมถนน เป็นเครื่องช่วยยืนยันค�ำพูด ข้างต้นได้ดี แม้ลำ� พูนในวันนีจ้ ะเริม่ มีความเจริญทางเทคโนโลยีแทรกซึมเข้ามาอย่างไม่ทนั ตัง้ ตัว ทัง้ จ�ำนวน ห้าง หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่น – อีเลเว่นที่เพิ่มขึ้น อาจเพราะตึกรามบ้านช่องยังไม่มี การเปลี่ยนแปลงมากจนสังเกตได้ ท�ำให้เมื่อรู้สึกตัวอีกทีล�ำพูนได้หมุนตามยุคสมัยไปแล้ว คนยองก็เช่นกัน... ๔๗
หากนับเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๔๘ ที่ชาวยองย้ายอพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่จังหวัดล�ำพูนถึงปัจจุบันย่าง เข้า ๒๑๐ ปีเข้าไปแล้ว เมื่อคนยองย้ายมาอยู่ที่ล�ำพูนไม่ใช่เพียงแค่การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม ของชาวพื้นเมือง หรือ ชาวไทโยนเพียงเท่านั้น หลังจากที่ล�ำพูนถูกผนวกเข้าเป็นหนึ่งในจังหวัดของประเทศไทย หลังจากมีการแบ่งเขตดินแดนรัฐ ชาติอย่างเจน ชาวพืน้ เมืองในจังหวัดไม่เว้นแม้แต่ชาวยองทีเ่ ป็นประชากรส่วนใหญ่ จ�ำเป็นต้องมีการปรับ เปลีย่ นให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย อีกทัง้ ยังมีการเข้ามาของประเทศฝัง่ ตะวันตกอีก เรียกได้วา่ ชาวยองนัน้ ต้อง มีการปรบตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมทัง้ หลายทีเ่ ข้ามามากมาย จนท�ำให้บางสิง่ บางอย่างก็หลงไปตามกาลเวลา
๑ ตึบตับ ตึบตับ... เสียงกี่ทอผ้าดังแว่วมาจากใต้ต้นไม้ใหญ่ เมื่อมองข้ามรั้วปูนความสูงไม่เกินเมตรครึ่ง สายตาปะทะเข้า กับหญิงชราหลังงุ้ม ร่างเล็ก สายตาจดจ้องอยู่ที่เส้นด้ายอย่างมีสมาธิ สักพักคุณยายจึงรู้สึกตัวว่ามีคนยืน มองจ้องอยู่ จึงลงจากกี่ทอผ้าเดินมาทักทายผู้มาเยือนด้วยท่าทางหวาดระแวง “ยายไม่สอนนะ ไม่ได้สอนทอผ้า” บทสนทนาแรกเริ่มต้นริมรั้วบ้าน ทันทีที่ถามเรื่องทอผ้าน�้ำเสียงจากที่เริ่มเป็นมิตรเปลี่ยนน�้ำเสียงเป็น โทนตรงข้ามทันที ด้วยความเข้าใจผิดในจุดประสงค์ของค�ำถาม ผสมกับหวาดระแวงตามภาษาผูส้ งู อายุที่ มีคนแปลกหน้าแวะมาทักทายตอนอยู่คนเดียว
๔๘
บ้านของคุณยายหมอก ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดขัว บ้านเวียงยอง
๔๙
คุณยายหมอกขณะก�ำลังทอผ้าลายราชวัตร
๕๐
แต่เมื่อพูดคุยท�ำความรู้จักกันเรียบร้อย บทสนทนาครั้งใหม่จึงเริ่มขึ้นที่ข้างกี่ทอผ้าหลังเก่า สังวาลย์ วงศ์สาม หรือ คุณยายหมอก พูดคุย ซักถามเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยรอยยิ้ม ขณะที่มือและเท้าท�ำหน้าที่ทอ ผ้าไปด้วย จากค�ำบอกเล่าของเจ้าหน้ากองการศึกษาเทศบาลต�ำบลเวียงยองบอกว่า คุณยายหมอกเป็นเพียงคน เดียวในบ้านเวียงยองที่สามารถทอผ้าลายราชวัตร ซึ่งเป็นผ้าลายโบราณของชาวยองได้ รวมถึงคุณยาย ยังมีเชื้อสายเจ้าเมืองยองอีกด้วย เจ้าตาของคุณยายคือ พ่อเจ้าน้อยวงศ์ และคุณยายคือ แม่เจ้าจันทร์สม วงศ์สาม นับว่าเป็นหลักฐานช่วยยืนยันข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ระบุว่ามีเชื้อสายเจ้าเมืองยองอพยพย้าย ถิ่นฐานจากเมืองยองมาอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของตัวเมืองล�ำพูน ติดริมแม่น�้ำกวง เมืองล�ำพูน เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๘ ปัจจุบันคุณยายอาศัยอยู่กับหลานซึ่งเป็นลูกของพี่สาว ส่วนใหญ่คุณยายจะอยู่ที่บ้านไม้ทรงโบราณ ส่วนบ้านร่วมสมัยหลังใหญ่ภายใต้รั้วเดียวกันอีกหลังเป็นครอบครัวหลานชายอยู่ “ลูกหลานเดี๋ยวนี้เป็นไทยไปหมดแล้ว เขาไปเรียน ไปท�ำงานกันก็ต้องพูดไปตามนั้น” คุณยายบอกเล่าด้วยรอยยิม้ เมือ่ ถามถึงวิถชี วี ติ ยองทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ลูกหลานไม่มใี ครพูดยอง ส่วนใหญ่ จะพูดภาษาเมือง(ภาษาพืน้ เมืองภาคเหนือ) และพูดไทย (ภาษาไทยภาคกลาง) คุณยายเองส่วนใหญ่กพ็ ดู ภาษาเมือง และไทยเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังพูดภาษายองได้อยู่ หากมีคนพูดยองด้วย
๕๑
เรื่องอาหารการกินคุณยายไม่ค่อยได้ท�ำเองแล้ว ส่วนใหญ่หลานสะใภ้จะท�ำบ้าง หรือหลานชายไป ท�ำงานกลับมาก็จะซื้อกับข้าวส�ำเร็จจากตลาดมาบ้าง กินอยู่กันง่าย ๆ ตามประสา หากเป็นสมัยก่อนคุณ ยายจะท�ำเอง ที่ท�ำบ่อย ๆ คือ แกงผัก และน�้ำพริก กินอยู่ง่าย ๆ เหมือนอย่างตอนนี้ สิง่ หนึง่ ทีไ่ ม่เปลีย่ นแปลง คือ คุณยายหมอกยังด�ำรงชีวติ ตามวิถสี ตรีชาวยองทีม่ คี วามสามารถโดดเด่น ทางด้านการทอผ้า โดยเริ่มเรียนรู้จากแม่เจ้าจันทร์แก้ว วงศ์สาม ซึ่งเป็นคุณแม่ คุณยายรักการทอผ้ามาก โดยคุณยายเล่าว่า สมัยก่อนกลับจากโรงเรียนจะต้องมารีบมาทอผ้า จนถึงอายุสิบสี่ปีคุณยายจึงออกจาก โรงเรียนแล้วยึดอาชีพทอผ้าขาย ซึ่งในบรรดาพี่น้อง ๔ คนของยาย พี่สาวอีกสองคนก็ทอผ้าเช่นเดียวกัน ส่วนน้องชายอีกหนึ่งคนท�ำอาชีพรับราชการ ผ้าทอของคุณยายหมอกเป็นผ้าฝ้าย มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่ลายราชวัตร ลายโบราณซึ่งในปัจจุบัน แทบจะหาผู้ที่ทอลายนี้เป็นไม่ได้แล้ว เพราะคนเฒ่าคนแก่ที่ทอเป็นก็ล้มหายตายจากไปหมด คุณยายเอง ถึงแม้จะทอได้แต่ก็ไม่ได้สอนใคร ด้วยเหตุผลที่ว่า “ยายก็ทอของยายอยู่อย่างนี้ อยากรู้ก็มาดูเอา ยายไม่ได้หวง แต่ไม่สอนนะ” คุณยายตอบพร้อมกับ หัวเราะอย่างมีอารมณ์ขัน นอกจากผ้าทอของคุณยายจะมีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแล้ว คุณยายยังขายผ้าในราคาที่ไม่แพง มาก ไม่เอาก�ำไร คุณยายให้เหตุผลว่า ต้องการทอขายแค่พออยูพ่ อกิน เงินทีไ่ ด้มาเมือ่ เหลือก็จะน�ำไปท�ำบุญ “หลานยายอยากให้เลิกทอผ้าเหมือนกันเพราะเขาห่วงเรื่องสุขภาพ แต่ยายก็ยังทอ มีความสุขดี ไม่ ได้ปวดเมื่อยอะไร นอนหลับก็สบาย วันไหนที่ไม่ได้ท�ำนี่อยู่ไม่ได้ ก็จะท�ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะท�ำไม่ไหว นั่นแหละ” คุณยายพูดพลางยิ้มน้อย ๆ เมื่อพูดถึงเจตนารมย์และความรักในสิ่งที่ท�ำอยู่
๕๒
๒
“เดี๋ยวนี้มันบ่ได้เป็นบ้านยองแล้ว เขารื้อไปหมดแล้ว เหลืออยู่ไม่กี่หลัง” อ�ำนวย โยริยะ หญิงชรา ในชุดอยู่บ้านแบบสบาย ท่าทางเงียบขรึม บอกเล่าเสียงเรียบนิ่งด้วย ภาษาไทยภาคกลางติดส�ำเนียงยอง จากค�ำบอกเล่าของชาวบ้านเวียงยองหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าคนส่วนใหญ่ในอ�ำเภอป่าซาง เป็นชาวยอง ที่ยังพูดยอง และด�ำเนินชีวิตตามวิถียองกันอยู่ บทสนทนาเริ่มต้นขึ้นที่บริเวณพื้นที่นั่งเล่นใต้ถุนบ้านไม้ของคุณยายอ�ำนวยซึ่งอยู่ในหมู่ที่ ๔ ต�ำบล มะกอก อ�ำเภอป่าซาง จังหวัดล�ำพูน บ้านหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ปัจจุบันมีอายุร่วม ๖๖ ปีพอดี เป็นบ้านแม่ของคุณยายอ�ำนวย เป็นบ้านไม้ไต้ถุนสูงธรรมดา เครื่องใช้ในบ้าน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ หรือแคร่ไม้ไผ่ล้วนแล้วแต่ดูมีอายุ อีกฝั่งหนึ่ง ของบ้านเป็นส่วนของฉางข้าว (ยุ้งข้าว) ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า เล้าข้าว ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน เพราะ เลิกท�ำนาไปแล้ว สมัยก่อนชาวยองที่นี่จะท�ำนากันแทบบ้าน แต่สักสองถึงสามปีมานี้ถึงทยอยเลิกท�ำไป เพราะขาดทุน ด้วยเหตุมาจากค่าจ้างแรงงานท�ำนาเพิ่มขึ้น จึงท�ำให้รายรับไม่คุ้มกับรายจ่าย จึงเปลี่ยนไปท�ำอาชีพอื่น เช่น ท�ำสวน รับจ้างเด็ดดอกหอม ส่วนรุ่นลูกรุ่นหลานต่างก็ไปหาท�ำงานในเมืองกันหมด ท�ำที่นิคมอุตสห กรรมบ้าง รับราชการบ้าง ท�ำให้เหลืออยู่ไม่กี่บ้านที่ยังยึดอาชีพการท�ำนา ช่วงหลายปีมานี้คุณยายไม่ค่อยได้เข้าร่วมงานประเพณีต่าง ๆ เพราะเดินไม่ค่อยไหว มีน้องคอยดูแล อยู่แทนลูกชายที่ไปท�ำงานที่กรุงเทพฯ แต่หากมีโอกาสคุณยายจะไม่พลาดไปร่วมงานประเพณีชาวยอง
๕๓
ในช่วงนี้จะมีประเพณี “ประเพณีตานข้าวใหม่” ซึ่งเป็นประเพณีของชาวยองที่เกี่ยวข้องกับอาชีพท�ำนา โดยจะมีในช่วงเดือน 4 เป็งเหนือ (ประมาณเดือนมากราคม) ตรงกับฤดูเก็บเกี่ยว ชาวยองจะขนข้าวเปลือกและข้าวสารทีพ่ งึ่ เก็บมาใหม่ ๆ ไปถวายวัด จึงเป็นทีม่ าของการตานข้าวใหม่ ใหม่ หรือ การท�ำบุญด้วยข้าวใหม่ พร้อมกับตานขันข้าว คือ การเตรียมอาหาร ผลไม้ ข้าวตอกดอกไม้ และ น�้ำหยาด (น�้ำที่ใช้ในการกรวดน�้ำ) ไปท�ำบุญอุทิศส่วนกุศลไปหาญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว คุณยายจะไปร่วมงานโดยให้น้องพานั่งรถเข็นไปวัดซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามบ้าน พิธีกรรมต่างๆ ยังคงเหมือน ในอดีต คือ ถวายข้าวสาร และตานขันข้าว แก่พระสงฆ์ เมื่อพระท่านให้ศีลให้พรก็เสร็จพิธี แต่สิ่งที่ต่าง คือส่วนของการถวายข้าว เนื่องจากชาวบ้านไม่ได้ท�ำนา จึงไม่มีการถวายข้าวเปลือกและข้าวที่สีแล้ว แต่ เปลี่ยนเป็นซื้อข้าวสารใหม่มาถวายแทน การแต่งกายไปวัดส่วนใหญ่จะใส่เสื้อสีขาวธรรมดา ในสมัยก่อนคนเฒ่าคนแก่จะนุ่งเสื้อก้อมไว้ข้างใน ซึ่งเป็นยกทรงของคนแก่ ลักษณะคล้ายเสื้อกล้ามท�ำจากผ้าฝ้าย มีกระดุมติดด้านหน้า แล้วนุ่งผ้าซิ่น แต่ ตอนนี้คุณยายไม่ค่อยนุ่งแล้วเพราะไม่มีสายฮ้าง (เข็มขัดเงิน) ที่ท�ำขายสมัยนี้มีแต่หนัง รัดไม่ค่อยดี อีกทั้ง พอใส่ซนิ่ แล้วท�ำให้เดินไม่คอ่ ยสะดวก ส่วนผ้าโพกหัวเมือ่ ก่อนคนเฒ่าคนแก่ยงั โพกกันอยู่ แต่สมัยนีไ้ ม่โพก กันแล้วเพราะอากาศร้อน “ไม่มีแล้วถือผีอะไร มีแต่หอเจ้าที่หลังเล็กๆอยู่หน้าบ้านนี่ไง” คุณยายว่าพลางชีไ้ ปทางหน้าบ้านทีม่ ี บ้านไม้อยูบ่ นเสาขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายศาลพระภูมิ แต่คณ ุ ยาย บอกว่าไม่ใช่ศาลพระภูมิ แต่เป็นเจ้าที่รักษาบ้าน ซึ่งมีแค่บางบ้านเท่านั้น แล้วแต่ว่าบ้านไหนจะถือ เวลา ไหว้เจ้าที่จะมีถ้วยใส่น�้ำ ใส่ข้าว กับข้าว ของหวาน หรืออะไรที่มีอยู่ติดบ้านสามารถน�ำมาไหว้ได้ทุกอย่าง
๕๔
บ้านของคุณยายอ�ำนวย โยริยะ ที่บ้านมะกอก
๕๕
บ้านยองโบราณของคุณยายบัวลา ใจจิด ณ บ้านมะกอก
๕๖
ส่วนหิ้งบูชาพระจะอยู่บนบ้าน มีพระพุทธรูปวางไว้หนึ่งองค์ เรียกว่า หิ้งพระเจ้า ต้องน�ำข้าวเหนียว กับน�้ำใส่ถ้วยถวายทุกวัน ก่อนจะเล่าเรือ่ งอาหารการกินเสริมขึน้ มาว่า คุณยายยังท�ำกับข้าวกินเองโดยจะต้องไปซือ้ ผักจากตลาด ส่วนใหญ่อาหารของคนยองจะเน้นผักกับปลา เช่น แกงผักละ (ชะอม) แกงผักแคบ แกงใส่ปลาแห้งบ้าง หรือท�ำปลานึ่งบ้าง หากเป็นสมัยก่อนผักจะสามารถเก็บได้ข้างนา ข้างสวน แทบจะไม่ต้องซื้อเลย “วัยรุ่น หรือ เด็ก ๆ ที่นี่อู้ดยอง เป็นยองกันหมดแหละ เพราะพ่อแม่ก็เป็นยอง เขาก็ต้องเป็นยอง ใช้ ชีวิตกันอย่างธรรมดา ๆ นี่แหละ” คุณยายอ�ำนวยพูดทิง้ ท้ายก่อนจะผายมืออนุญาติให้เก็บภาพในส่วนบริเวณด้านล่างของบ้านตามสบาย
๓ หนึ่งในบ้านไม่กี่หลังที่ยังคงความเป็นยองนั้นอยู่ห่างจากบ้านคุณยายอ�ำนวยไม่ถึง ๒๐๐ เมตรทางฝั่ง ด้านข้างวัดมะกอก... ประตูเหล็กสีแดงซีดถูกเปิดออกโดยหญิงวัยกลางคน ซึ่งเป็นผู้ดูแลคุณยายบัวลา ใจจิตร เจ้าของบ้าน ซึ่งขณะนี้ก�ำลังไม่สบายจึงท�ำให้ไม่สามารถออกมาต้อนรับได้ เรือนไม้เก่าหลังงามขนาดใหญ่แบบยกใต้ถุนสูงตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางหมู่แมกไม้ และสนามหญ้า รอบบริเวณบ้าน ท�ำให้ดสู ดชืน่ และร่มรืน่ เป็นทีร่ จู้ กั ในนามบ้านยองโบราณ ต�ำบลมะกอก โดยได้รบั รางวัล การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม
๕๗
บ้านหลังนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยมีเลขสลักอยู่ตรงผนังบ้านด้านที่หันเข้าถนน ส่วนที่ติดกัน นั้นเป็นส่วนของยุ้งข้าวซึ่งถูกสร้างขึ้นภายหลังในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ สังเกตได้จากเลขปีพ.ศ.ที่สลักอยู่บนเลข ผนังเช่นเดียวกัน ตัวบ้านเป็นไม้ทั้งหลังยกเว้นเสาด้านล่างที่เป็นปูน ข้อมูลจากเอกสารสนับสนุนโครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา เรื่อง “ไทยอง ชีวิต ศรัทธา สล่าแผ่นดิน”ของสถาบันวิจัยสังคม มหาลัยวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกลักษณ์บ้านชาวยองนั้นให้ สังเกตในส่วนโครงสร้างหลังคาเป็นทรงมะนิลา มีลักษณะคล้ายการผสมกันระหว่างหลังคาทรงปั้นหยา กับหลังคาทรงจั่วที่ประดับด้วยสะระไน ซึ่งด้านข้างประดับด้วยแผ่นปูนฉลุลายแบบโปร่ง อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนความสามารถทางการช่างของชาวยองนั่นคือ “ฝาไหล” ซึ่งเป็น ช่องลมทีส่ ามารถเลือ่ นไม้เปิด - ปิดได้ อยูท่ บี่ ริเวณห้องด้านหลังห้องครัวทางทิศเหนือของบ้านและบริเวณ ฝั่งบันไดขึ้นหน้าบ้านติดกับเติ๋นหรือห้องรับแขกบริเวณด้านหน้าเรือน บริเวณใต้ถุนเรือนจากข้อมูลในเอกสารสมัยก่อนจะเปิดโล่ง แต่ปัจจุบันมีการกั้นห้องด้านล่างเพิ่มเติม รวมทั้งมีอุปกรณ์เครื่อใช้ และสิ่งจ�ำเป็นต่าง ๆ เช่น เตียงนอน โต๊ะ เพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้แก่คุณยาย บัวลาที่เคลื่อนย้ายไปไหนไม่สะดวก ทางขึ้นบ้านมีสองทาง ได้แก่ ทางด้านหน้าบ้าน ซึ่งปัจจุบันนั้นอยู่ในอีกฝั่งที่มองไม่เห็นจากทางถนน ส่วนหลังบ้านหันให้ทางฝั่งถนนแทน บันไดทางฝั่งหลังบ้านจึงถูกใช้งานมากกว่า เชิงชายหลังคาทางขึ้น บันไดทุกด้านจะมีการตกแต่งด้วยลายไม้ฉลุแบบโปร่ง ไฟติดเพดานแทบทุกดวงในบ้านเป็นหลอดตะเกียบ อยู่ในโคมไฟเป่าแก้วรูปดอกไม้คว�่ำ แม้ว่าจะเปลี่ยนจากสีขาวกลายเป็นสีเหลืองขุ่นตามกาลเวลาแล้ว แต่ ก็ยังคงความสวยงาม
๕๘
๑
๒
๓
๔
๑. บริเวณทางเชื่อมระหว่างชาเรือนห้องครัว และห้องนอน ๓. บันไดฝั่งทางด้านหน้าบ้าน
๒. บ้านไดขึ้นบ้านฝั่งทางเชิ่มกับครัว ๔. ห้องครัว
๕๙
ฝาไหลขณะลากบานเปิด ณ บ้านคุณยายบัวลา
๖๐
เมือ่ ขึน้ เรือนด้านหลังบ้านฝัง่ ซ้ายมือจะพบกับห้องนอนของคุณยาย ซึง่ กัน้ ด้วยประตูบานเฟีย้ ม ปัจจุบนั ถูกปิดคล้องไว้ดว้ ยแม่กญ ุ แจแบบโบราณเนือ่ งจากคุณยายไม่สบาย ในส่วนนีจ้ งึ ไม่สามารถเปิดให้เข้าชมได้ ฝัง่ ตรงข้ามทางเดินเป็นห้องครัว ซึง่ บริเวณผนังด้านนอกติดรูปรับปริญญาของคุณยาย ข้อมูลเกีย่ วกับบ้าน และคอลัมน์หนังสือพิมพ์ที่เคยลงเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านใส่กรอบเรียงเป็นระเบียบสวยงาม ด้านในสุดทางเดินเป็นส่วนของชานเรือนซึ่งเป็นพื้นปูน เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม มีฮ้านน�้ำส�ำหรับ รับแขก โดยบริเวณที่เป็นปูนนั้นถูกต่อเติมขี้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ หากเปิดประตูห้องครัวจะสามารถทะลุ มาสู่บริเวณชานเรือนได้ สุดท้ายส่วนของบริเวณครัวอุปกรณ์ท�ำครัวส่วนใหญ่เป็นของโบราณไม่ว่าจะเป็นหม้อ เตา ตู้กับข้าว หรือแม้แต่ตู้เย็น บริเวณด้านในของครัวจะมีเสาเรือนโผล่ขึ้นมาใช้ส�ำหรับวางเขียงท�ำกับข้าว ทางด้าน หลังครัวมีห้องมีอีกหนึ่งห้อง ซึ่งตอนนี้เป็นห้องเปล่ามีเพียงราวเสื้อผ้าเก่า ๆ วางอยู่ สวัสดิ์ ใจจิตร หรือ ลุงสวัสดิ์น้องชายของคุณยายบัวลาเป็นผู้เล่าเรื่องราวภายในบ้านแทนว่า ในสมัย เด็ก ๆ คุณลุงอยูท่ บี่ า้ นหลังนีร้ ว่ มกับพีน่ อ้ งอีก 9 คน ซึง่ บ้านหลังนีส้ ร้างโดยคุณปูว่ งั และคุณพ่อปัน ใจจิตร คุณยายบัวลามีฐานะเป็นพี่คนโตสุด รับหน้าที่ดูแลบ้านหลังนี้ต่อจากคุณพ่อ ส่วนน้อง ๆ คนอื่น เมื่อ โตขึ้นมีงานท�ำก็ต่างแยกย้ายกันไปอยู่ที่อื่น และจะกลับมารวมกันอีกครั้งในช่วงวันปีใหม่ไทย หรือ วัน ครอบครัวซึ่งตรงกับช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี คุณลุงเพิม่ เติมเรือ่ งของความพิเศษของบ้านหลังนีใ้ นส่วนทีไ่ ม่สามารถเข้าชมได้ คือ ส่วนของห้องนอน และห้องรับแขก (เติ๋น) ทุกห้องถูกออกแบบให้เชื่อมถึงกันได้หมด เมื่อเปิดประตูบ้านเฟี้ยมทุกบาน และ สามารถเดินทะลุเข้าสู่ยุ้งข้าวได้จากทางชั้นบน
๖๑
เมือ่ ก่อนตอนทีค่ ณ ุ ยายบัวลายังแข็งแรงจะเป็นคนดูแลจ้างแม่บา้ นและคนมาท�ำความสะอาดบ้านอย่าง ดี ท�ำให้บา้ นหลังนีย้ งั คงอยูใ่ นสภาพสะอาดและไม่ทรุดโทรมแม้จะมีอายุรว่ ม ๗๗ ปีเข้าไปแล้ว แต่หลังจาก ที่คุณยายไม่สบาย เมื่อคุณลุงหรือน้อง ๆ คนอื่นมาเยี่ยมจึงจะมีโอกาสจ้างคนมาดูแลท�ำความสะอาดครั้ง หนึ่ง แต่ภายในบ้านยังคงสะอาดเรียบร้อย แม้ว่าลุงสวัสดิ์จะแยกออกไปอยู่ที่อื่นไม่ได้ใช้ชีวิตตามวิถียองแบบดั้งเดิม แต่พอกลับมาบ้านก็ยังคงไม่ ลืมกับภาษา อาหารการกินพื้นเมือง โดยไม่ลืมที่จะสอนลูกหลานตั้งแต่เล็กๆ พี่น้องทุกคนก็เช่นเดียวกัน “เพราะชาติก�ำเนิดของพ่อเป็นยอง ต้องสอนให้ลูกได้เรียนรู้ เข้าใจ และพูดภาษายองได้” ลุงสวัสดิ์พูดด้วยน�้ำเสียงภาคภูมิใจ...
๔ ตุ้ม ตุ้ม ตุ้ม ... เสียงกลองตีเป็นจังหวะก้องกังวานดังไปทัว่ ทัง้ สนามกีฬา และลานเอนกประสงค์ซงึ่ ความกว้างประมาณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน บรรยากาศช่วงบ่ายแก่ แม้จะเป็นช่วงกลางหน้าหนาว แต่แสงแดดกลับแผด เผาให้ความรู้สึกราวกับอยู่ในช่วงเดือนเมษายน งานมหกรรมชาวยองจัดขึน้ เป็นปีทสี่ อง โดยเทศบาลต�ำบลม่วงน้อย อ�ำเภอป่าซาง จังหวัดล�ำพูน บริเวณ ด้านหน้าผู้คนที่มาร่วมงานยังคงบางตา ร้านรวงต่าง ๆ ก�ำลังเริ่มทยอยเตรียมของส�ำหรับงานในตอนเย็น มีเจ้าหน้าที่ใส่เสื้อพื้น สกรีนหลังเป็นชื่อเทศบาลคอยเดินตรวจตรา เตรียมพื้นที่จัดงาน ซึ่งวันนี้เป็นวันที่ สองและเป็นวันสุดท้ายของการจัดงาน
๖๒
บรรยากาศการแข่งขันตีกลองหลวง ณ งานมหกรรมชาวยอง เทศบาลต�ำบลม่วงน้อย
๖๓
๑
๒
๓
๔
๑. งานจักสานที่ประดับซุ้มจากใบมะพร้าว ๓. งานจักสานจากใบลาน
๖๔
๒. งานจักสานส้อล่อจากไม้ไผ่ ๔. งานจักสานจากใบตอง
กิจกรรมในช่วงกลางวันนั้นมีการแข่งขันตีกลองหลวง จึงท�ำให้ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มีตั้งแต่ วัยรุ่นจนถึงสูงอายุรวมตัวกันอยู่ที่สนามกีฬาบริเวณหน้าเทศบาล กลองหลวง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ กลองห้ามมาร ซึ่งมาจากความเชื่อว่า เสียงของกลองสามารถเอาชนะ และปราบหมูม่ ารได้ นอกจากใช้แข่งขันกันแล้ว ยังสามารถใช้รว่ มในขบวนแห่ตามงานปอยหลวง งานสรง น�้ำพระธาตุ และงานประเพณีส�ำคัญ ๆ ของจังหวัด ลักษณะของกลองหลวงนัน้ เป็นกลองขนาดใหญ่ หน้ากลองขึงด้วยหนังวัวจนตึง จ่าหน้ากลองด้วยข้าว เหนียวผสมขีเ้ ถ้าและทรายปะไว้เป็นวงกลมเว้นช่องโบ๋ตรงกลาง เอวกลองท�ำจากไม้ทอ่ นเดียวกับตัวกลอง และเสียงทีท่ มุ้ กังวานจะพุง่ ออกจากก้นกลอง ดังนัน้ เวลาแข่งขันกรรมการจึงต้องนัง่ ตรงข้างกับฝัง่ ก้นกลอง ไม่เพียงขึน้ อยูก่ บั กลองเท่านัน้ คนตีกส็ ำ� คัญเช่นกัน ต้องใช้ผชู้ ายทีม่ พี ละก�ำลังและแข็งแรงในการตีกลอง หลวงให้เสียงดังก้องวาน ดังนั้น คนตีกลองส่วนใหญ่จึงเป็นชายหนุ่ม เณร รวมไปถึงพระ การแข่งขันกลองหลวงแบ่งออกเป็นสี่รอบ คือรอบคัดเลือกจาก 10 ทีม เหลือ 7 ทีม จากนั้นจึงเป็น รอบรอง และรอบชิงชนะเลิศ โดยมีคณะกลองจากหลายวัดทั้งในต�ำบลและต�ำบลใกล้เคียงหรือแม้แต่ จังหวัดใกล้เคียงอย่างเชียงใหม่ให้ความสนใจเข้าร่วม ตัดสินโดยการฟังจังหวะ จะ โคน และเสียงที่ก้อง กังวานของกลอง ในระหว่างการแข่งขันโฆษกประกาศประชาสัมพันธ์เรือ่ งการอนุรกั ษ์กลองไปด้วย เพราะทางเทศบาล ก�ำลังเสนอโครงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่จังหวัด จึงอยากได้สล่าผู้มีความรู้ในการท�ำกลองซึ่ง ปัจจุบันหาได้ยากแล้ว สลับกับการพากย์กลองหลังการแข่งขันเสร็จไปด้วย เมือ่ ดวงอาทิตย์คอ่ ย ๆ คล้อยต�ำ ่ อุณภูมกิ เ็ ริม่ ต�ำ่ ลงตามระดับดวงอาทิตย์ บรรยากาศในงานจึงเริม่ คึกคัก มากขึ้น เวทีใหญ่ด้านหน้าหน้าเริ่มมีการทดสอบแสงสี ซุ้มขายของต่าง ๆ ถูกแบ่งเป็นสามส่วน ทางด้าน
๖๕
ขวาจากหน้าเวทีเป็นซุ้มขายเสื้อผ้าพื้นเมือง ซึ่งมีทั้งแบบพื้นเมืองและแบบที่ประยุกต์ให้ร่วมสมัย บรรดา ผู้เข้าชมงานต่างแวะเวียนมาซื้อหาและให้ความสนใจอยู่เรื่อย ๆ ฝั่งตรงข้ามกับเวทีด้านหน้าเป็นซุ้มจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวชาวยอง มีทั้งส่วนของการแสดงงานฝีมือ ของชาวยองในหมูบา้ น เช่น การจักสานจากใบมะพร้าว การจักสานจากใบตอง การจักสานจากไม้ไผ่ การ แกะสลักไม้ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของชาวยองที่อ�ำเภอป่าซาง อีกส่วน เป็นการแสดงผลงานศิลปะภาพวาดจากฝึมอื ศิลปินชาวยอง และป้ายนิเทศน์ให้ขอ้ มูลความรูเ้ กีย่ วกับชาว ยองตัง้ แต่อพยพย้ายถิน่ ฐานจากเมืองยองจนมาถึงเมืองไทย รวมไปถึงประวัตขิ องชาวยองทีส่ ร้างชือ่ เสียง และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวยอง ด้านซ้ายสุดเป็นซุม้ ขายอาหารพืน้ เมือง ซึง่ ส่วนนีไ้ ด้รบั ความนิยมสูงสุดในงาน โดยอาหารพืน้ เมืองชาว ยองนั้นส่วนมากจะเน้นผัก เช่น ย�ำผัก หรือ ย�ำสะนัด คือการน�ำผักลวกสุกหลาย ๆ ชนิดมาย�ำรวมกัน ประกอบด้วย ชะอม กระถิน ผักบุ้ง หอมแดง หมูสับและถั่วฝักยาว รสชาติจะออกขมนิดหน่อย นอกจาก นั้นก็มีน�้ำพริกข่า ห่อนึ่งไก่ ไส้อั่ว และอาหารพื้นเมืองเหนืออีกหลายชนิด ขนมพื้นเมืองที่ได้รับความสนใจ ได้แก่ ขนมป้าด ซึ่งเป็นขนมที่หากินยาก จะท�ำเฉพาะเมื่อมีงานบุญ เท่านั้น ลักษณะของขนมจะคล้ายกับขนมชั้น ท�ำจากแป้ง กะทิ ใบเตยและน�้ำตาล รสชาติหอมหวาน คล้ายขนมชั้น แต่นิ่มกว่า ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว แสงสีจากไฟด้านหน้าเวทีเริ่มแพรวพราว เสียงเพลงพื้นเมืองคอยขับ กล่อมให้บรรยากาศคึกครื้นมากขึ้น ผู้คนทยอยมาเข้าชมงานอยู่เรื่อย ๆ เจ้าหน้าที่เทศบาล ผู้สูงอายุและ เด็กน้อยแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองหลากหลายสีสัน ส่วนวัยรุ่นหนุ่มสาวที่เข้าร่วมงานจะใส่เสื้อผ้าตามยุค สมัยทั่วไป
๖๖
ไส้อั่ว ไข่ป่าม และแอ๊บอ่องออร้อน ๆ บนเตาจากซุ้มอาหารพื้นเมือง
๖๗
๑
๑. การแสดงฟ้อนยอง ๒. การเล่าเจ่พร้อมกับการแต่งกายในชุดชาวยอง ๓. ซุ้มร้านอาหารพื้นเมือง
๒
๖๘
๓
ผู้ร่วมงานเมื่อเดินชมงานเสร็จแล้วก็จะซื้ออาหารนั่งมาจับจองขันโตกบริเวณด้านหน้าเวที เริ่มเปิด การแสดงด้วยพิธีกรในชุดแต่งกายพื้นเมืองแบบชาวยอง คือ ผู้หญิงจะนุ่งเสื้อปั๊ด ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวทรง กระบอก ติดกระดุมป้ายตรงด้านหน้า และนุง่ ผ้าซิน่ ส่วนผูช้ ายจะใส่เสือ้ พืน้ เมือง นุง่ เตีย่ วสะดอ และพาด บ่าด้วยผ้าเช็ดเอกลักษณ์การแต่งกายชาวยองอยู่ที่การโพกผ้าที่ศีรษะ หรือเรียกว่าผ้าเคียนหัว พิธีกรจะพูดภาษายองสลับกับภาษาไทยภาคกลางอยู่เป็นระยะในการพูดถึงก�ำหนดการ และ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน การแสดงบนเวทีเริ่มต้นด้วยการประกวด “เล่าเจ่” คือ การ เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาวยอง หรือต�ำนานของหมู่บ้านที่ตนอาศัยอยู่ให้มีความน่าสนใจและไพเราะ ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั เทคนิคของแต่ละบุคคลในการเล่าบางคนอาจจะเล่าเป็นบทร้อยแก้วธรรมดา บางคนก็แต่ง เป็นโคลง หรือ กลอนในการเล่า ซึ่งผู้เล่าจะแต่งกายด้วยชุดแบบยอง เมือ่ พ้นช่วงหัวค�ำ่ จึงเป็นช่วงเวลาของการประกวดฟ้อนยองของแต่ละหมูบ่ า้ น บรรยากาศเริม่ ครึกครืน้ มากขึ้น ยิ่งดึกผู้คนยิ่งแน่นขนัดตา จนด�ำเนินมาถึงช่วงสุดท้ายของการแสดง ซึ่งเป็นการประกวดการแต่ง กายสวยงามแบบสตรีชาวยองของแต่ละหมู่บ้าน งานจบลงไปด้วยรอยยิ้มและความสนุกสนานก่อนที่ทุก คนจะแยกย้ายกันกลับบ้าน ปัจจุบันชาวยองนั้นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างกลมกลืนกับทุกวัฒนธรรม หรือทุกความเจริญที่แทรกซึม เข้ามา แต่ยังคงยังคงสามารถรักษาเอกลักษณ์บางอย่างไว้ได้ที่เห็นชัด ได้แก่ ด้านประเพณี ภาษา ความ เป็นอยู่ และงานศิลปกรรมต่าง ๆ แม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างที่เลือนหายไปบ้างตามกาลเวลา ซึ่งเป็น ธรรมดาของกฎเกณฑ์บนโลกใบนี้ ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนอยู่ได้ตลอดกาล ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไป ตามเข็มนาฬิกาที่หมุนไป
๖๙
ภาพบรรยากาศการกินขันโตกในงานมหกรรมชาวยอง
๗๐
บ้าน วัด โรงเรียน และส่วนท้องถิ่น จึงกลายเป็นที่ของศูนย์กลางการรวมกลุ่มกันท�ำกิจกรรมทาง วัฒนธรรมทีส่ ำ� คัญของชาวบ้านในแต่ละชุมชน ณ ปัจจุบนั ซึง่ จะสามารถช่วยรักษาสิง่ เหล่านีใ้ ห้คงอยูเ่ พือ่ รอการเปลี่ยนผ่านให้แก่คนรุ่นต่อไป
นางจรรยา สาคร (ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว) ชาวบ้านแม่สารบ้านตอง ต�ำบลเวียงยอง และเป็นบุคคลดีเด่นด้านบริหารธุรกิจการทอผ้าของจังหวัดล�ำพูนปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้ เคยเล่าถึงการแต่งกายของชาวยองว่า ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นก่าน (ซิ่นตกแต่งตามลายขวาง ทิง้ ชายซิน่ หรือตีนสีดำ� ไม่ตกแต่งลวดลายเหมือนตีนจก) หรือซิน่ ยกดอกทัง้ ตัวต่อตีนจก สวมเสื้อผ้าย และมีผ้าคล้องคอยกเว้นเวลาไปตลาดจะไม่คล้อง คนแก่จะโพกผ้าพับ ขอบธรรมดา ผู้ชายนุ่งกางเกง (เตี่ยวสะดอ) ซึ่งต่างจากอีสานและกะเหรี่ยงที่จะนุ่ง โสร่ง สวมเสื้อเวลามีงานปอยหรือไปวัด มีผ้าต่องพาดไหล่ ส่วนเด็กจะสวมเสื้อคอก ระเช้า เนื่องจากฟืมที่ใช้ทอผ้าแต่เดินมีขนาดแคบท�ำให้ได้ผ้าผืนไม่กว้างตามต้องการ ต่อมามีการขยายฟืมกว้างขึ้น จึงสามารถทอซิ่นขนาดทอนุ่งได้ไม่ต้องต่อตีนซิ่นเช่น แต่ก่อน ข้อมูลจากเอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “คนยอง: ภาษา ผ้าทอ พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลง” โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
๗๑
พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ เฮือนยอง วัดต้นแก้ว
๕
วัดต้นแก้ว
มรดกส่งผ่านกาลเวลา หากต้องการที่จะตามหาร่องรอยวิถีชีวิตแบบเดิม “พิพิธภัณฑ์ของชุมชน” นับว่าเป็นจุดเริ่ม ต้นที่ดี ซึ่งมีความส�ำคัญการต่อการศึกษาและอนุรักษ์อดีตอย่างมาก ศูนย์รวมของวัฒนธรรมชาวยองอยู่ที่ วัด ทั้งนี้เพราะชาวยองส่วนใหญ่มีความเลื่อมใสในพุทธ ศาสนา ชุมชนชาวยองจึงมีวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ จากการสัมภาษณ์รักษ์เกียรติ ศิริจันทรา นนท์ นายกเทศมนตรี เทศบาลต�ำบลเวียงยอง ให้ขอ้ มูลว่า เมือ่ ย้อนกลับไปในอดีตส่วนใหญ่ผชู้ าย ชาวยองส่วนใหญ่จะบวชเรียนที่วัด เรียนรู้อักษรธัมม์ล้านนา ซึ่งช่วยยืนยันเรื่องของการมีความ เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันการบวชเรียนก็ยังคงมีอยู่ แม้จะไม่ได้มากมาย เช่นแต่ก่อนแล้ว จากหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ ฝัง่ ตรงข้ามกับวัดหลวงหรือวัดพระธาตุหริภญ ุ ไชยเดิมเคยเป็น ที่อยู่อาศัยของชาวยองที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในล�ำพูน ปัจจุบันคือพื้นที่ของชุมชนบ้านเวียง ๗๓
ยอง สามารถเดินทางจากฝัง่ เมืองได้โดยข้ามผ่านสะพานขัวมุงท่าสิงห์ ซึง่ จะพบกับถนนสายวัฒนธรรมบ้าน เวียงยองทีท่ อดยาวไปจนสิน้ สุดทีว่ ดั พระยืน และสถานทีเ่ ริม่ ต้นการเดินทางบนถนนเส้นนี้ คือ “วัดต้นแก้ว” วัดต้นแก้วแห่งนีเ้ ป็นสถานทีท่ รี่ วมทัง้ ส่วนของการอนุรกั ษ์ หรือ พิพธิ ภัณฑ์ และเป็นศูนย์การศึกษาของ ชุมชน รวมถึงเป็นทีร่ วมตัวของกลุม่ ผูส้ งู อายุชาวยองทีม่ ใี จรักในการทอผ้า สถานทีแ่ ห่งนีจ้ งึ มีความเหมาะ สมในการเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้วิถีชาวยองผ่านมรดกที่บรรพบุรุษชาวยองหลงเหลือไว้ให้
๑ “หนู ถ้าจะขึ้นเรือนก็เข้าชมได้ตามสบายเลยนะ ในห้องผ้าเปิดไฟได้เลย” เสียงทักจากพระรูปหนึ่งที่ ยืนกวาดลานวัดอยู่ แทบทุกครั้งที่มาวัดต้นแก้วจะมีพระหรือชาวบ้านที่อยู่บริเวณวัด ให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง และ จะบอกให้เปิดและปิดไฟก่อนเข้าชมห้องเก็บผ้าโบราณบนเรือนไม้ที่ติดป้ายว่า “พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ เฮือนยองวัดต้นแก้ว” เสมอ ซึ่งอาจเป็นเพราะจ�ำนวนผู้เข้าชมในแต่ละวันไม่ได้มากนัก จึงท�ำให้เปิดทิ้ง ไว้ตลอดเวลาไม่ได้ พิพธิ ภัณฑ์ผา้ โบราณ เฮือนยองวัดต้นแก้ว เป็นแบบจ�ำลองบ้านของชาวยอง ซึง่ ก่อตัง้ โดยพระครูไพศาล ธีรคุณเจ้าอาวาสวัดต้นแก้วเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เริม่ ต้นจากการเก็บสะสมของโบราณของท่านพระครู ซึง่ มีได้ รับแรงบันดาลใจมากการได้เห็นวิถชี วี ติ ของชาวยองในอดีต จากนัน้ จึงจัดตัง้ เป็นพิพธิ ภัณฑ์เล็ก ๆ ภายในวัด เมือ่ ญาติโยมมาท�ำบุญก็นำ� ของมาบริจาคมากขึน้ เรือ่ ย ๆ ท่านพระครูจงึ ใช้เรือนกุฏเิ ก่าจัดตัง้ เป็นพิพธิ ภัณฑ์
๗๔
บรรยากาศบนเรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ วัดต้นแก้ว
๗๕
ห้องเก็บผ้าโบราณที่ศรัทธาวัดน�ำมาถวายให้เก็บในพิพิธภัณฑ์
๗๖
จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูนได้ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ชาวยองขึ้นในบริเวณวัดต้นแก้ว จึงได้ย้ายข้าวของเครื่องใช้โบราณต่าง ๆ มาไว้ในอาคารหลังนี้ ลักษณะของพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไม้ใต้ถุนยกสูง บริเวณชายคาของเรือนฉลุลวดลายแบบโปร่ง ตรง เสาเรือนด้านหน้ามีนกหัสดีลิงแกะสลักติดประดับ พร้อมทั้งมีโมบายไม้รูปร่างแปลกตาแขวนเรียงรายอยู่ หลังคาด้านในเป็นกระเบือ้ งซีเมนต์แผ่นสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า วางเรียงขวางกับแนวไม้คาน ไม่มฝี า้ ปกปิด บริเวณ กลางเรือนจะมีโต๊ะหมู่ตั้งพระบูชาอยู่ และตามเสาเรือนจะมีหุ่นจ�ำลองการแต่งกายของชาวยองในสมัย ก่อนตรงพื้นเรือนบริเวณหิ้งพระปูด้วยสาดอ่อน (เสื่อที่ใช้ปูรองนั่ง) ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือทางด้านหลังเรือนจะเป็นส่วนของการจัดแสดงข้าวเครือ่ งใช้ในการ ท�ำครัวของชาวยอง ซึง่ ตลอดทางเดินไปทางส่วนครัวจะมีเครือ่ งใช้ในชีวติ ประจ�ำวันต่าง ๆ เช่น หม้อดินเผา น�ำ้ บวย พิมพ์ดดี จัดวางอยู่ เรียกได้วา่ ทัง้ เรือนนีเ้ สมือนเป็นการจ�ำลองวิถชี วี ติ ชาวยองไว้ ทัง้ เครือ่ งแต่งการ แต่งกาย รูปภาพทีแ่ สดงให้เห็นถึงวิถชี วี ติ ชาวยองสมัยก่อน รวมถึงรูปภาพเหตุการณ์สำ� คัญในจังหวัดล�ำพูน บรรยากาศภายในห้องจัดแสดงผ้าให้ความรู้สึกเย็น ทึบและอับเล็กน้อย เพราะไม่ได้เปิดหน้าต่าง มี รูปครอบครัวชาวยองติดอยู่ตลอดแนวฝาผนัง บริเวณกลางห้องจะมีตู้ไม้ ซึ่งบางตู้ว่างเปล่า บางก็มีเสื้อผ้า หรือข้าวของเครื่องใช้จัดวางอยู่ ผ้าโบราณที่จัดแสดงภายในห้อง มีทั้งลายราชวัตร ลายสามแถว ลายดอกพิกุลใหญ่ และอีกมากมาย จัดแสดงอยู่กับหุ่น ซึ่งเป็นของคนเฒ่าคนแก่ชาวยองที่ศรัทธามอบให้กับทางวัด ผนังด้านในสุดของห้อง ติดรูปภาพเก่า มีชามกระเบื้อง ถาดกระเบื้องลายดอก และช้อนทัพพีแบบโบราณมีทั้งเป็นเงินและทอง จัดวางอยู่บนชั้นมีฝุ่นและหยากไย่จับอยู่
๗๗
การเข้าชมพิพธิ ภัณฑ์แห่งนีใ้ ช้เวลาเพียงไม่ถงึ ครึง่ ชัว่ โมงสามารถเดินชมได้ทวั่ แล้ว ใช้เวลาซึมซับคุณค่า ต่าง ๆ ของโบราณที่มากมายอย่างอิ่มใจ จึงเกิดความคิดหนึ่งแล่นขึ้นมา คือ น่าเสียดาย ที่ไม่ค่อยมีคนมา ชม ท�ำให้เรือนหลังนี้ดูเงียบเหงา
๒
ตึบตับ ตึบตับ... เสียงกระทบกันของไม้อย่างมีจังหวะแว่วมาตามลม ช่วยขับกล่อมบรรยากาศที่เงียบเหงาของวัดให้ รู้สึกถึงความมีชีวิตชีวา ต้นก�ำเนิดเสียงไม้กระทบนี้ คือ เสียงกี่ทอผ้าของกลุ่มผู้สูงอายุที่มักจะมารวมตัว กันในวันว่างเพื่อท�ำกิจกรรมการทอผ้า ผ้าทอวัดต้นแก้วเริ่มต้นจากพระครูไพศาลธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดต้นแก้ว ได้เรียนรู้วัฒนธรรมชาวยอง จากการที่ผู้เฒ่าผู้แก่แล้ว เล็งเห็นว่าเรื่องผ้าทอนี้มีความโดดเด่น รวมถึงคนพื้นบ้านเวียงยองผู้เฒ่าผู้แก่ที่ อายุ 70-80 ปี ส่วนใหญ่เคยทอผ้ามาจากคุ้มเจ้าพงศ์แก้ว ณ ล�ำพูน ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทในการทอผ้าของ ภาคเหนือมาก่อนแล้ว และยังพอมีความสามารถเรื่องการทอผ้ากันอยู่ จึงคิดหาทางว่าจะท�ำอย่างไรที่จะ สามารถอนุรกั ษ์การทอผ้าไว้ได้ ท่านพระครูจงึ สอบถามจากกลุม่ แม่ ๆ ซึง่ ส่วนใหญ่กอ็ ยากจะมาทอผ้า แล้ว ว่าท่านพอจะเป็นหัวเรียวหัวแรงได้หรือไม่
๗๘
กี่ทอผ้าของครูถนัด สิทธิชัย กลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุ ณ วัดต้นแก้ว
๗๙
พระครูไพศาลธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดต้นแก้ว
๘๐
“ท่านเองก็ไม่มคี วามรูใ้ นด้านนีเ้ ลย แล้วท่านจะท�ำอย่างไรกันเล่า กีท่ อผ้าอีกเล่าท่านจะไปหาได้ทไี่ หน” ท่านพระครูเล่ากล่าวอย่างหนักใจ ก่อนจะเล่าต่อว่า ท่านเสียดายฝีมอื ของคนเฒ่าแก่กลัวจะสูญหายไป หมด จึงตัดสินใจเป็นผู้ริเริ่มให้โดยช่วงแรกก็ล้มลุกคลุกคลานมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๐ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน กลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุบ้านเวียงยอง วัดต้นแก้ว” ในวัน ที ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ใบหน้าของท่านพระครูจะยิม้ แย้มแจ่มใส และภาคภูมใิ จกับสิง่ ทีไ่ ด้ตดั สินใจท�ำในวันนัน้ และส่งผลเป็น รูปธรรมมาจนถึงทุกวันนี้ ซึง่ ร่วม ๑๗ ปีมาแล้ว รวมไปถึงเรือนพิพธิ ภัณฑ์ผา้ โบราณด้วยเช่นกัน ท่านพระครู ก็เป็นผู้ริเริ่มมาจากน�้ำพักน�้ำแรงของท่านเท่าที่พอจะท�ำได้ ด้วยหวังเพียง อยากจะอนุรักษ์ไว้ให้เด็ก ๆ รุ่น หลังได้เห็นวิถีชีวิตของบรรพบุรุษชาวยอง ในวัดแห่งนี้ที่ท่านอยู่มาตั้งแต่เริ่มบวช “เมื่อก่อนก็มีคนมาทอกันอยู่เต็มพื้นเรือนนี่แหละ แต่เดี๋ยวนี้กลุ่มคุณแม่คุณยายก็ล้มหายตายจาก ไปเยอะ บางคนอายุมากมาทอที่วัดไม่ไหวก็ต้องเลิกราไป เหลือกันอยู่ไม่กี่คนเท่าที่เห็นนี่แหละโยม เด็ก นักเรียนนักศึกษาอย่างโยมมาศึกษา ก็ได้แค่เรียนรูไ้ ป แต่ไม่สามารถทอได้ แล้วใครเล่าจะสืบทอด ในฐานะ ที่ท่านเป็นลูกหลานชาวยอง ท่านจึงต้องท�ำการอนุรักษ์ไว้ให้มากที่สุด” ท่านพระครูกล่าวเสียงหนักใจขณะชี้ให้ดูกี่ทอผ้าเก่า ๆ หลายหลังที่อยู่ในสภาพไม่ได้ใช้งานกองสุมกัน อยูบ่ ริเวณใต้ถนุ เรือน แววตาของท่านพระครูจะดูมไี ฟลุกโชนอย่างแรงกล้าทุกครัง้ ทีพ่ ดู ถึงความคิดในการ สืบสานอนุรักษ์การทอผ้าและวิถีชาวยองให้คงอยู่ต่อไป
๘๑
๓ “ผ้าทอทีว่ ดั ต้นแก้ว ส่วนใหญ่เป็นผ้าซิน่ ส�ำหรับนุง่ มีหลายลาย ทัง้ ลายดอกพิกลุ ใหญ่ ลายพฤกษาสวรรค์ ลายดอกพริก ที่มีชื่อเสียง คือ ผ้ายกดอก จุดเด่นอยู่ที่การใช้ฝ้ายแกมไหม หรือฝ้ายยกไหม เพราะท�ำให้ ลายจมีความเงา ดูสวยกว่าใช้ฝ้ายอย่างเดียวเพราะลายจะดูกระด้าง” ป้าเพ็ญศรี ยศเวียง หญิงวัยกลางคน หนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ ผ้าทอวัดต้นแก้ว ให้ความรู้เกี่ยวกับผ้า ซิ่นแต่ละผืน พร้อมทั้งพาไปดูผ้าแต่ละแบบที่ทอขายภายในวัด “เมื่อก่อนสมัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่ของป้าจะใช้ฝ้ายธรรมชาติทอ แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้ฝ้าย หรือไหมสังเคราะห์เสียมากกว่า แต่อาจจะมีที่ยังใช้อยู่บ้างแถวบ้านแม่สารบ้านตอง ต�ำบลเวียงยอง หรือ แถวบ้านดอนหลวง อ�ำเภอป่าซาง” ป้านภา โยศรี หญิงมีอายุที่ก�ำลังนั่งทอผ้าช่วยป้าเพ็ญศรีให้ข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนที่เสียงรถมอเตอร์ไซค์ แล่นเข้ามาจะหยุดบทสนทนา ทุกสายตาต่างหันไปจับจ้องกับผูม้ าใหม่ อาจารย์ถนัด สิทธิชยั ชายร่างท้วม บุคลิกดูนิ่งขรึม น่าเกรงขรม เป็นผู้ช�ำนาญและสอนทอผ้าที่วัดต้นแก้วแห่งนี้ ครูถนัดเล่าต่อจากป้านภาว่า ทีส่ มัยนีไ้ ม่นยิ มใช้ฝา้ ยธรรมชาติในการทอเหมือนแต่กอ่ น เพราะไม่มพี นื้ ที่ ปลูกฝ้าย อีกทัง้ เพือ่ ลดขัน้ ตอนในการผลิต โดยขัน้ ตอนของการปลูกฝ้ายไปจนถึงการปัน่ ฝ้ายนัน้ มีความยุง่ ยาก รวมถึงผู้ที่พอจะมีความรู้ที่หมู่บ้านนี้ก็ล้มหายตายจากไปเกือบหมดแล้ว รวมถึงปัญหาเรื่องสีตก ถ้า ใช้แบบส�ำเร็จที่ย้อมเคมี ผู้บริโภคก็ไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องคุณภาพตรงนี้ ตอนเริ่มต้นทอผ้าที่วัดต้นแก้ว ตั้งแต่แรกก็ไม่มีขั้นตอนการผลิตฝ้าย โดยจะลัดมาถึงขั้นตอนการกรอ ด้าย ซึ่งจะต้องค�ำนวณว่าต้องใช้กี่เมตรแล้วน�ำมา โว้น คือการเตรียมเส้นด้ายส�ำหรับทอ เสร็จแล้วจึงเป็น
๘๒
๑
๓
๒
๑. อาจารย์ถนัด ขณะก�ำลังทอผ้า ๒. ป้านภาขณะก�ำลังเตรียมการทอผ้าที่กี่ประจ�ำตัว ๓. ป้าเพ็ญศรีขณะก�ำลังกรอด้าย
๘๓
ขั้นตอนของการก๊อปปี้เส้นด้ายเพื่อน�ำขึ้นกี่ทอผ้า จากนั้นจะน�ำฝ้ายที่ห้วนแล้วมาใส่กี่เพื่อคลี่กระจายเส้น ด้ายแล้วน�ำมาผูกติดกับฟืม ค่อย ๆ สอดผ่านรูฟมื ทีละเส้นจนครบ เรียกว่า การสืบหูก ฟืมยิง่ มีความถีเ่ ท่าไร เนือ้ ผ้าก็จะยิง่ แน่นมากขึน้ เท่านัน้ เสร็จแล้วจึงเริม่ ทอด้วยกีก่ ระตุก โดยใช้มอื กระตุกเชือกกีเ่ พือ่ ให้กระสวย ด้ายพุง่ ไปยังฝัง่ ตรงข้าม แล้วใช้มอื ดึงฟืมกระแทกเส้นด้ายทีพ่ งุ่ ไปให้แน่น ใช้เท้าเหยียบไม้สำ� หรับดึงเขาหูก ให้สับเส้นด้าย สุดท้ายจึงใช้มือดันฟืมไปด้านหลังเพื่อเตรียมการกระตุกต่อไป ครูถนัดอธิบายขั้นตอนการทอผ้าอย่างคร่าว ๆ แบบเข้าใจง่าย ซึ่งขั้นตอนในการทอผ้านั้นยังมีราย ละเอียดอีกมากมาย กว่าจะได้ผา้ ทอผืนหนึง่ นัน้ ยากล�ำบากไม่ใช่นอ้ ย ก่อนจะพามาชมกีท่ อผ้าหลังหนึง่ ซึง่ เป็นกีท่ คี่ รูถนัดก�ำลังทออยูแ่ ต่ยงั ไม่เสร็จ พร้อมอธิบายเพิม่ เติมอีกว่า ตอนฝึกใหม่ ๆ ต้องเริม่ จากทอผ้ายืน พื้นก่อนถึงจะมาท�ำลายดอกแบบนี้ได้ ปัจจุบันครูถัดเป็นคนดั้นดอก หรือท�ำลวดลายตามแบบ เอกลักษณ์ของผ้าทอวัดต้นแก้วนั้น ครูถนัดเล่าว่า ผ้าทอของที่นี่มีความหลากหลาย คุณภาพเนื้อผ้า แน่น และราคาถูก เพราะไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ ผ้าฝ้ายแกมไหมยกเชิง ราคาอยู่ที่ประมาณ ๑,๒๐๐ บาท ส่วนยกทึบเต็มตัวก็จะแพงขึ้นมาอีก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความยากง่ายในการทอของผ้าซิ่น รายได้ที่ เข้ามานั้นคนที่ทอจะได้ผืนละ ๒๕๐ บาทเป็นค่าแรง ที่เหลือจะเข้ากองทุนน�ำไปซื้อฝ้ายซื้อไหมไว้ทอต่อ ไป หักก�ำไรที่ได้อีกเพียงเล็กน้อยไว้ช่วยค่าน�้ำค่าไฟวัด ผ้าทอหนึ่งผืนใช้ระยะเวลาในการท�ำเฉลี่ยประมาณ 5 - 7 วันต่อหนึ่งผืน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของ ลายและเวลาว่างของครูถนัดและกลุม่ คุณป้าทีม่ าทอผ้าด้วยกัน เพราะไม่ได้ทำ� งานในระบบโรงงานทีต่ อ้ ง เข้าออกงานตรงเวลา แต่เป็นเรื่องของความรับผิดชอบซึ่งทุกคนที่นี่จะรู้หน้าที่ของตัวเองกันอยู่แล้ว ไม่ จ�ำเป็นต้องก�ำหนดเวลาแบบตายตัว ส่วนใหญ่กจ็ ะมาทอกันหลังจากทีท่ ำ� ธุระทีบ่ า้ นเสร็จแล้ว หรือหากช่วง ใดติดธุระงานบุญ งานแต่ง หรืองานศพก็จะเว้นว่างการทอผ้าไป ท�ำให้ตอ้ งยืดระยะเวลาในการทอผ้าไปอีก
๘๔
สายลมฤดูหนาวโชยพัดมาเป็นเวลาบ่ายคล้อยแล้วแต่บรรยากาศภายในวัดต้นแก้วกลับยังคงนิ่งสงบ กี่ทอผ้ามีคนนั่งประจ�ำอยู่แค่ 3 หลังจาก 7 หลัง มีเพียงเสียงของคุณป้ากับคุณพูดคุยกันด้วยภาษายอง อย่างออกรสสลับกับเสียงทอช่วยขับกล่อมบรรยากาศให้ไม่เงียบเหงาจนเกินไป “ถ้าให้สอนก็ยินดีนะ ขึ้นอยู่กับคนเรียนมากกว่า ถ้ามีความตั้งใจจะเรียนก็จะสอนให้” อาจารย์ถนัดพูดด้วยน�ำเสียงอ่อนโยน พร้อมกับเล่าว่า เมื่อก่อนมีเด็กนักเรียนมาหัดทอผ้าที่นี่ แต่ส่วน ใหญ่มาเล่นกันเสียมากกว่า ทีม่ ากันก็เพราะครูทโี่ รงเรียนให้มา พอถามว่าจะให้ยดึ เป็นอาชีพท�ำต่อกันไหม รีบส่ายหัวกันหมด อย่างไรก็ตามการเรียนรูง้ านทอผ้าขึน้ อยูก่ บั ความสนใจ และความตัง้ ใจของผูเ้ รียนเป็น หลักถึงจะเห็นผล เพราะเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิในการท�ำ วัดต้นแก้วแห่งนี้นอกจากจะเป็นศูนย์รวมการเรียนรู้ การอนุรักษ์ และการทอผ้าแล้ว ยังเป็นจุดหมาย ปลายทางสุดท้ายของรถน�ำเทีย่ วไหว้พระเก้าวัดจากวัดพระธาตุหริภญ ุ ไชย จึงท�ำให้มนี กั ท่องเทีย่ วทัง้ จาก ขาจรและนักท่องเทีย่ วจากรถน�ำเทีย่ วแวะเวียนมาเยีย่ มชมและอุดหนุนผ้าทอ ถึงแม้จะมีจำ� นวนไม่มากนัก แต่ก็เพียงพอที่จะสร้างรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับผู้สูงอายุที่นี่ อีกทั้งที่นี่ยังเป็นสถานที่เริ่มต้นการเรียนรู้วัฒนธรรมชาวยองและเป็นที่สถานที่สุดท้ายในการเดินทาง ของหนังสือเล่มนี้อีกด้วย “บางสิ่งบางอย่างก็สูญหายตามกาลเวลา มีการวิวัฒนาการจึงท�ำให้เปลี่ยนแปลงไป คงเหลือเดิมไว้ อยู่แค่บางอย่าง” อาจารย์ถนัด สิทธิชยั พูดค�ำนีไ้ ว้ตงั้ แต่ครัง้ แรกทีเ่ จอ ศิลปหัตถกรรมชาวชาวยองในจังหวัดล�ำพูนนัน้ เป็น เสมือนมรดกล�้ำค่าจากบรรพบุรุษ และเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่เพื่อรอวันส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป
๘๕
กี่ทอผ้าของป้าแก้ว ชาวบ้านศรีเมืองยู้ที่ได้รับมรดกตกทอดจากคุณ ซึ่งสามารถสร้างรายได้เลี้ยงชีพได้ในปัจจุบัน
๘๖
ต�ำบลเวียงยอง เป็นแหล่งรวมช่างทอผ้าฝ้ายยกดิ้น ยกไหมเป็นลายดอกแก้ว ดอกพิกุล ผ้า พืน้ ฝ้ายและผ้าลายราชวัตร ซึง่ มีการทอผ้ามาตัง้ แต่บรรพบุรษุ สมัยพระชายาเจ้าดารารัศมีทรง อนุรกั ษ์ไว้ โดยมีการปรับเป็นลายดอกแก้วเชิงดวง และลายพิกลุ ตาข่าย ส่วนเชิงเป็นลายต้นสน รวมทัง้ ซิน่ ก่านเชิงลายดอกพิกลุ และซิน่ ฝ้ายยกดิน้ ลายดอกพิกลุ ในกรอบลายไทย (ซิน่ ลายดอก พิกุลแบบดั้งเดิมเป็นดอกพิกุลรูปสี่เหลี่ยม) เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “คนยอง: ภาษา ผ้าทอ พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง” โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
๘๗
ภาพจากฝั่งเวียงยองมองข้ามมาทางฝั่งเมืองยามมพระอาทิตย์ตก
บรรณานุกรม • กลุ่มบริหารและจัดการงานวิจัย, ส�ำนักวิจัยและพัฒนา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. “คนยอง ภาษา ผ้าทอ พัฒนาการและการเปลีย่ นแปลง” เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ, ๒๕๕๔ • จังหวัดล�ำพูน. ประวัติความเป็นมาจังหวัดล�ำพูน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2558. เข้าถึงได้ จาก http://www.lamphun.go.th/ • เทศบาลต�ำบลเวียงยอง. “ท้องถิ่นศึกษา: ยองศึกษา” เอกสารประกอบการศึกษาในสถาน ศึกษาและชุมชน. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒. ๒๕๕๗. • วัฒนธรรมต�ำบลเวียงยอง. “การทอผ้ายกดอก ต�ำบลเวียงยอง” • สถาบันวิจัยสังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “ไทยอง ชีวิต ศรัทธา สล่าแผ่นดิน” เอกสาร สนับสนุนโครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา, ๒๕๕๑. • แสวง มาละแซม. คนยองย้ายแผ่นดิน. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔. • แสวง มาละแซม และรักษ์เกียรตื ศิริจันทรานนท์. “สืบสานต�ำนานฅนยองล�ำพูน-ยองโลก ฉบับ เทวบุตรหลวง” เอกสารประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, ๒๕๕๓.
วงล้ อ กาลเวลาหมุ น เวี ย น เปลี่ ย นผ่ า นหลายยุ ค สมั ย หากแต่ วั ฒ นธรรมของคน ยองยังคงอยู่ ณ ที่แห่งนี้ “จังหวัดล�ำพูน”