ชุมชนย่าน กุฎีจีน 3 ศาสนา 4 ความเชือ่
สารบัญ 1 ชุมชนย่านกุฎีจีน 3 วัดกัลยาณมิิตร 7 โบสถ์ซางตาครู้ส 11 มัสยิดบางหลวง 15 ศาลเจ้าเกียนอันกง 19 พิพิธพัณฑ์กุฎีจีน 21 ความเชื่อของคนในชุมชนย่านกุฎีจีน
ชุมชน “กุฎีจีน” ชมชุมชนเก่าแก่ริมน้ำเจ้าพระยา
1
ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ ที่ยังคงเห็น ความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่ยัง คงอยู่ชุมชนกุฎีจีนบนฝั่งธนบุรีก็น่าจะเป็นชุมชนแรกๆ ที่หลายคน นึกถึง เพราะชุมชนชาวไทยเชื้อสายโปตุเกสแห่งนี้ตั้งมานาน ตั้งแต่ ่สมัยพระเจ้าตากสินทรงก่อตั้งกรุงธนบุรี ภายหลังจาก ที่ต้องเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 โดยถึงแม้ จะผ่านกาลเวลามานานกว่า 200 ปี ชุมชนกุฎีจีนก็ยังโดดเด่น ในเอกลักษณ์ ของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สงบสุขระหว่าง ชาวพุทธ ชาวคริสต์และชาวอิสลาม ยังรวมไปถึงวัฒนธรรม ที่หลากหลายของชาวไทยและพ่อค้าชาวจีนที่อยู่ในละแวกเดียวกัน อีกด้วย
By Nitikorn 2
วัดกัลยาณมิตร
ศาสนา “พุทธ”
3
วัดเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีพระประธานของวัด คือหลวงพ่อโต หรือที่ชาวไทยเชื้อสายจีนนับถือกันในนาม ซำปอกง ชาวพุทธนิยมแวะมาสักการบูชา เพื่อขอพรให้เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย และขอให้มีมิตรสหายและเพื่อนที่ดี โดยรัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นด้วยพระประสงค์ให้มีพระขนาดใหญ่ริมแม่น้ำ เช่นเดียวกับวัดพนัญเชิง สมัยกรุงศรีอยุธยา
4
วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอารามหลวง อยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ เมื่อครั้งเป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรสวดีกลาง มีจิตศรัทธาเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้อุทิศบ้านเรือนและ ซื้อที่ดิบริเวณใกล้เคียง เพื่อสร้างวัดขึ้นเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๖๘ แล้วถวายให้เป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน นามว่า “วัดกัลยาณมิตร” พระองค์ทรงสร้างพระวิหาร และพระประธานเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) หรือเรียกตามแบบจีนว่า “ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง” เป็นปางมารวิชัยด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า อย่างวัดพนัญเชิง และ เป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มี พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์
5
"พระพุทธไตรรัตนนายก" หรือที่คนจีนเรียกกันติดปากว่า “ซำปอกง” ส่วนคนไทยมักเรียกว่า “พระโต” หรือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ องค์พระมีสีเหลืองทองอร่ามทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 11.75 เมตร สูง 15.46 เมตรด้วยขนาดขององค์พระทำให้เราดู ตัวเล็กกระจิดริด ยิ่งเมื่อประกอบกับ ลวดลายอันวิจิตรบรรจงภายในวิหาร ซึ่งประดับประดาด้วยลวดลายดอกไม้บ นผนังและเสา แถมบริเวณหน้าบันยัง สลักลายดอกไม้ประดับกระจก ยิ่งขับให้หลวงพ่อโตดูศักดิ์สิทธิ์และเปี่ย มไปด้วยความน่าศรัทธายิ่งนัก
พระวิหารหลวงหลังนี้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทย ด้วยการก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ส่วนด้านหน้าพระวิหารหลวงมีซุ้มประตูหิน เป็นศิลปะแบบจีนขนาดใหญ่สีทึมเรียกว่า “โขลนทวาร” ประดับด้วยตุ๊กตาหินศิลปะจีนตั้งเรียงรายอยู่มากมาย ซึ่งรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทาน ช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ครั้งนั้นทรงมี ความตั้งใจให้มีลักษณะคล้ายกรุงศรีอยุธยา คือ มีพระโต นอกกำแพงเมืองอย่างวัดพนัญเชิง วรวิหาร 6
โบสถ์ซางตาครู้ส ศาสนา “คริสต์”
7
โบสถ์ซางตาครู้สหรือโบสถ์คาธอลิกเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2313 โดยแต่เดิมนั้นก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง จนกระทั่งโบสถ์ไม้เสียหายจากเพลิงไหม้ในปี พ.ศ. 2459 จึงได้รับการบูรณะใหม่เป็นโครงสร้างปูนวังซางตาครู้สมีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองส์ ผสมนีโอคลาสสิก และยอดโดมสีแดงเด่นเป็นสง่าที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับโดมของมหาวิหารฟลอเรนซ์ เห็นได้อย่างชัดเจนแม้ว่าจะอยู่อีกฟากของแม่น้ำเจ้าพระยา
8
9
จากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งใกล้กับ สะพานพุทธ จะสามารถมองเห็นวัดคริสต์ ซึ่งประดับด้วยไม้กางเขนเหนือยอดโดม หอระฆังแปดเหลี่ยมที่รู้จักกันดี ในนามว่า วัดซางตาครู้ส ซึ่งมีความเป็นมาของทาง ประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเป็นศูนย์ รวมความศรัทธาของชาวคริสต์ นับตั้งแต่ กรุงธนบุรีเป็นราชธานี คำว่า “ซางตาครู้ส” เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่า กางเขนศักดิ์สิทธิ์ นั้นเองและ ตามประวัติศาสตร์ยังได้กล่าวว่าในปี พ.ศ.2312 ภายหลังจากที่พระเจ้าตากสิน มหาราช ทรงกอบกู้เอกราช และสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว พระองค์ได้ พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งให้กับชาว โปรตุเกสเพื่อสร้างชุมชน และวัดขึ้น โดย วัดหลังแรกเป็นอาคารไม้ และเป็นสถานที ่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชุมชนช าวคริสต์ที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้ตั้ง ถิ่นฐานภายหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ.2378 บาทหลวงปัลเลอกัวจึงสร้างวัดหลังที่2 แทนวัดหลังแรกที่ชำรุดทรุดโทรมไปตาม กาลเวลา วัดหลังนี้มีลักษณะคล้ายศาล เจ้าจีน ผู้คนจึงนิยมเรียกว่า “วัดกุฎีจีน” วัดซางตาครู้ส แห่งนี้ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กั บชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี และกรุงเทพฯ มายาวนานแห่งนี้ วัดซางตาครู้ส แห่งนี้ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กั บชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี และกรุงเทพฯ มายาวนานแห่งนี้
10
มัส ยิดบางหลวง
ศาสนา “อิสลาม”
11
”
“มัสยิด” ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องชาวมุสลิม ในภาพที่เคยผ่านตาหรือในความทรงจำ ของหลายๆคน คงจะเป็นอาคารรูปโดมสีเขียว มีหอคอย มีสัญลักษณ์ดาวเดือน เด่นเป็นสง่า แต่ที่ “คลองบางกอกใหญ่” หรือในอีกชื่อว่า “คลองบางหลวง” นั้น กลับมีมัสยิดแห่งหนึ่งที่ดูจะแปลกไป จากมัสยิดอื่นทั่วๆ ไป เพราะเป็น มัสยิดทรงไทย
12
“มัสยิดบางหลวง” มัสยิดก่ออิฐถือปูนแห่งเดียวในโลกที่เป็นทรงไทย เมื่อถามถึงรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของ “มัสยิด” ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องชาวมุสลิม ในภาพที่เคยผ่านตาหรือในความทรงจำของหลายๆ คน คงจะเป็นอาคารรูปโดมสีเขียว มีหอคอย มีสัญลักษณ์ดาวเดือน เด่นเป็นสง่า แต่ที่ “คลองบางกอกใหญ่” หรือในอีกชื่อว่า “คลองบางหลวง” นั้น กลับมีมัสยิดแห่งหนึ่งที่ดูจะแปลกไปจากมัสยิดอื่นทั่วๆ ไป เพราะเป็น มัสยิดทรงไทย ที่ผสมกลมกลืนศิลปะของ ไทย จีน และฝรั่ง มาผสานเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างงดงามและลงตัว ณ วันนี้ ก็ยังไม่มีมัสยิดที่ไหนสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบนี้ มัสยิดบางหลวงจึงนับเป็นมัสยิด ทรงไทยหนึ่งเดียวในโลกที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ มัสยิดบางหลวงได้ผ่านยุคสมัย ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านฝน มากว่า 200 ปี และได้ร้อยเชื่อม เรื่องราวของผู้คนและกาลเวลาเข้าด้วยกัน โดยไม่มีสิ่งใดจะมาขีดคั่น แม้ปัจจุบันก็ยังดำรงอยู่เป็น ศูนย์รวมของจิตวิญญาณแห่งสัปปุรุษ สะท้อนศรัทธาตั้งมั่นแห่งพระผู้เป็นเจ้าและถ้าหากพูดถึง มัสยิดบางหลวง ก็ไม่อาจที่จะไม่พูดถึงชุมชน คลองบางหลวง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในชุมชนเก่าแก่ ที่ชาวไทยมุสลิมกลุ่มใหญ่มารวมตัวกันอยู่บริเวณปากคลองบางหลวง (ถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่) โดยชุมชนมุสลิมที่นี่ได้ก่อร่างสร้างชุมชนมาพร้อมๆกับการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรพบุรุษของชาวชุมชนเป็นแขกจาม (ชาวมุสลิมจากอาณาจักรจัมปาในเขมร ที่เข้ามาเป็นกองอาสาจาม) และแขกแพ (ปลูกแพอยู่) ที่อพยพมาจากอยุธยาเมื่อคราวกรุงแตก ครั้นเมื่อตั้งถิ่นฐานฝังรกรากเป็นชุมชน ก็ย่อมต้องมีสถานที่ประชุมทำศาสนกิจ นั่นก็คือมัสยิด ชาวมุสลิมถือว่ามัสยิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รวมจิตวิญญาณของมุสลิมกับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นก่อนเข้ามัสยิดจึงต้องชำระทั้งจิตใจและร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์
13
14
ศาลเจ้าเกียนอันกง
15
ศาลเจ้าเก่าแก่ของชุมชนกุฎีจีน ถือเป็นหนึ่งในศาลเจ้าหินยานที่เก่าแก่ที่สุดของฝั่งธนบุรี โดยศาลเจ้าเกียนอันเกงนับเป็นศาลเจ้าที่มีไม้แกะสลัก และภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ประณีตสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง กระทั่งได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคม สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ในปี พ.ศ. 2551 ศาลเจ้าแห่งนี้มีเจ้าแม่กวนอิมเป็นพระประธาน และยังมีช่องเปิดระบายอากาศตรงกลางตามแบบฉบับศาลเจ้าแบบดั้งเดิม
16
“กุฎีจีนเริ่มที่กุฎิจีนนี่แหละ” คุณธวัชผู้ดูแลศาลเจ้าเกียงอันเกงได้ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจพลางเล่าถึง ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าว่า แต่เดิมนั้น ในบริเณพื้นที่ดังกล่าวเคย เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าจีน 2 หลัง คือ ศาลเจ้าพ่อกวนอู และศางเจ้าพ่อ โจวซือกง ซึ่งสร้างโดยชาวจีนทติดตาม พระเจ้าตากสินมายังกรุงธนบุรีต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวจีนจาก มณฑลฮกเกี้ยน บรรพบุรุษของตระกูล ตันติเวชกุลและตระกูลสิมะเสถียรได้เดิ นทางมาสักการะศาลเจ้าทั้งสอง
17
ศาลเจ้าเกียงอันเกงนี้ แม้จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นศาลเจ้าจีน แต่กลับ ให้ภาพลักษณ์ที่แตกต่างจากศาลเจ้าหลัง อื่นๆอย่างเห็นได้ชัด เพราะนอกจาก จะคงสภาพความเก่าแก่ที่ปราศจากการ ทาสีตกแต่งเสียจนแลดูจัดจ้านอย่างศาล เจ้าอื่น แต่ก็กลับแลดูสะอาดสะอ้านแทบ ปราศจากกลิ่นควันและเขม่าธูป ที่สำคัญ ยังมีความเงียบสงบอย่างที่หาได้ยากยิ่ง ในย่านเมืองกรุง ขนาดที่ว่า หากมีใคร เริ่มหยิบเซียมซีขึ้นมาเขย่าสักคน เสียง แผ่นไม่เซียมซีกระทบกันก็แทบจะดัง ระงมไปทั่วทั้งศาลเจ้าจนต้องอดเหลียว มามองเสียไม่ได้ โดยความเงียมสงบ และความเก่าแก่อันเป็นเอกลักษณ์ของ ศาลเจ้านี้ที่จริงแล้วมีที่มาจากทัศนคติขอ งตระกูล สิมะเสถียร หนึ่งในตระกูล ผู้ก่อตั้งศาลเจ้า และตัวผู้ดูแลที่นี้อย่าง คุณธวัชเองที่ต้องการรักษาบรรยากาศ ของศาลเจ้าให้แลดู “ขลัง”และคงฐานะ เป็นสถานที่เพื่อหาความสงบทางใจให้แก่ พุทธศาสนิกชนไม่ใช่เพื่อเป็นสถานที่ สำหรับบนบานศาลกล่าวหรือทรงเจ้า เข้า ทรงในลักษณะที่เป็นพุทธบูชา หากท่านผู้อ่านได้มีโอกาสเหยี่ยบ ย่างเข้ามายังศาลเจ้าเกียนอันเกงและใช ่เวลาสักครู่เพื่อดื่มด่ำกับบรรยากาศอัน เงียบสงบของศาลเจ้า ท่านอาจได้ยิน เสียงแว่วดัง “วิดๆ อิ๊ดๆ” ล่องลอยมา ตามสายลม อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดว่านั่น เป็นเสียงร้องเรียกของฝูงนกกระจิบ นกกระจาบ ดังที่มักปรากฎตามสถานที่ ทั่วไป
ชาวชุมชนกุฎีจีนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงความผูกพันธ์ ที่มีต่อศาลเจ้า โดยต่างก็กล่าวถึงศาลเจ้าว่าเป็นสถานที่ที่เก่าแก่ ศักสิทธิ์อยู่คู่ชุมชนมาช้านานที่ทำให้หวนนึกถึงแห่งช่วงเวลาเก่าๆ เพราะแม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดไหน แต่ทุกครั้งที่ได้ เหยียบย่างเข้ามาในศาลเจ้าแห่งนี้ ก็เปรียบเสมือนพวกเขาได้หยุด เวลาบนโลกปัจจุบันอันแสนวุ่นวายลงได้ครู่หนึ่ง พร้อมกันนั้นก็ได้ เปิดประตูอีกบานหนึ่ง เพื่อย่างเท้าเข้าสู่ความสงบที่คุ้นเคย 18
พิพิธภัณฑ์
บ้านกุฎีจีน
"พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน"
พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมความเป็นมาอันเก่าแก่ของชุมชนชาว สยาม-โปรตุเกส ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน และเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียนม ประเพณี ภาษา ศาสนา และรากเหง้าของชาวชุมชนกุฎีจีน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดสร้างโดยเจ้าของบ้านที่เป็นชาวชุมชนกุฎีจี นดั้งเดิม โดยสร้างจากทุนส่วนตัว พร้อมเปิดให้เข้าชมฟรี ในวันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 9.30 -18.00น. 19
พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน ท้ายซอยหลัก่ ของชุมชนกุฎีจีน เป็นที่ ่ตั้งของบ้านไม้ที่ได้รับการบูรณะใหม่ ให้ดูขาวสะอาดตาตกแต่งด้วยพื้นลายกระเบื้อง โดยชั้นล่างเป็นคาเฟ่เล็กๆโดยชั้นล่างเป็นคาเฟ่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากอาหารโปรตุเกสซึ่งทำจาก หมูสับใส่มันฝรั่งและพริกสด ยัดเป็นไส้ขนมปังกิน ไปชมสวนสวยด้านในไปก็มีความสุขไม่น้อย ในขณะที่ชั้นบนเป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์ บอกเล่า เรื่่องราวความสัมพันธ์ของราชอาณาจักรสยาม และโปรตุเกสตั้งแต่สมัยพระเจ้ามานูเอลที่ 1 ทรงส่งเรือ มาเยือนประเทศในทวีปเอเชีย พร้อมนำวิทยาการ สมัยใหม่อย่างการทหาร การแพทย์ การสร้างป้อม เรื่อยไปจนถึงการรวบรวมเรื่องรางของขนมไทย ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโปรตุเกสของท้าวทองกีบม้า นอกจากนี้ทางพิพิธภัณฑ์ยังได้รวบรวมข้าวของ เครื่องใช้และรูปภาพของคนกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาอาศัย ในชุมชนแห่งนี้ คุณยังสามารถปีนขึ้นบนชั้นลอย ด้านบนที่จัดสำหรับชมวิวกุฎีจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา เกือบ 360 องศาอีกด้วย
20
ความเชือ่
ของคนในชุมขนย่านกุฎีจีน
มีความเชื่อว่าศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ที่อยู่ร่วมกันได้ เพราะเรามีหัวหน้าชุมที่ดี เราจะอยู่กันแบบ พี่น้อง นับว่าเป็นความ กลมเกลียวของพวกเรา
มีความเชื่อว่าตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่จนมาถึง รุ่นหลานได้เรียนมาจากวัดกัลยาทำให้มีความรู้จัก สนิทสนมกันมาตลอด ทำให้สามารถอยู่รวมกันได้ แมจะ่ต่างศาสนากัน
21
มีความเชื่อว่าเราอยูด้วยกันแบบพี่แบบน้อง มาตั้งแต่สมัยโบราญแล้ว มีอะไรเราก็ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ซึ่งแม้จะต่างศาสนาแต่เราก็สามารถ ที่จะอยู่รวมกันต่อไปแบบนี้ได้
มีความเชื่อส่วนตัวชุมชนนี้เป็นศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกเราจะไปวัด และยึดหลัก บัญญัติเดียวกัน ชีวิตเราจะดำเนินไปทาง เดียวกันไม่ทำผิดต่อกันเพราะฉะนั้นชุมชน คาทอลิกส่วนใหญ่จะอยู่ด้วยกันแบบนี้
มีความเชื่อว่านเราอยู่สู้รบกันมาตั้งแต่ สมัยอยุธยา เราเสี่ยงชีวิตมาด้วยกันใช้ชีวิต มาด้วยกันมีความเข้าใจต่อกันเหมือนพี่น้อง ตั้งแต่สมัยโบราณ เราก็อยู่แบบกลมเกลียว
22
23
ชาวชุมชนย่านกุฎีจีน มีความเชื่อว่าเราอยู่กันแบบพี่น้องมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษถึงแม้จะนับถือศาสนา ที่แตกต่างกันแต่ก็สามารถอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข
24