E magzine thai website

Page 1

NO.35

ISSUE 3 5 / 5 9

IS WATER

JULY 2016

JULY 2016

w w w. eastwater.co m

MAGAZINE

IS WATER

WATER FOOTPRINT คำ�นวณก่อนซื้อ คำ�นึงก่อนทิ้ง

MAGAZINE VARDAVAR

INNOVATION

จิรายุทธ รุ่งศรีทอง

LUCKY POWER

เทศกาลน้ำ�แห่งความรัก ซีอีโอคนใหม่แห่งอีสท์ วอเตอร์

นวัตกรรมบ้านลอยน้�ำ

ผลไม้ชื่อดี ชีวิตมีมงคล


EAST WATER MAGAZINE

EDITOR’S NOTE

EDITOR’S NOTE เข้าสูช่ ว่ งกลางปีทสี่ ายฝนเริม่ มาเยือนหลาย พื้นที่ของประเทศ นี่เป็นช่วงเวลาที่วิกฤตน�้ำ เปลี่ยนจาก “ขาดแคลน” เป็น “ล้นเหลือ” หลายคนเริม่ รูส้ กึ คลายใจกับสถานการณ์นำ�้ และหันมาใช้น�้ำแบบ “ไม่ยั้ง(คิด)” อีกครั้ง!

กองบรรณาธิการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรนํ้า ภาคตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) ดูแลเนื้อหา

อีสท์ วอเตอร์ ห่วงใยต่อวิกฤตน�้ำโลก ไม่เฉพาะวันนี้ แต่ เพื่อวันหน้า เราอยากชี้ให้เห็นว่าทุกคนสามารถช่วยโลก ได้ด้วยการ “ค�ำนวณก่อนซื้อ ค�ำนึงก่อนทิ้ง” เพราะ ในทุกกระบวนการผลิตมีการใช้น�้ำปริมาณมหาศาลจน หลายคนอาจคาดไม่ถึง อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ใน Cover Story เรื่อง Water Footprint ส�ำหรับคุณ ผู้อ่านที่มีปัญหาเรื่องการนอน พลิกไปที่คอลัมน์ Trick Positive ซึ่งมีเคล็ดลับหลับสบายด้วยเสียงน�้ำมาบอก และเช่นเคยกับไอเดียธุรกิจอินเทรนด์ในคอลัมน์ About a Biz ฉบับนี้เป็นเรื่องของ โดรน กับโอกาสท�ำเงินจาก เครื่องบินล�ำจิ๋วสุดเจ๋งที่มาแรงที่สุดในขณะนี้ หวั ง ว่ า ทุ ก ท่ า นจะอ่ า นอย่ า งมี ค วามสุ ข ท่ า มกลาง อากาศเย็นชื่นฉ�่ำของฤดูฝน ไปพร้อมๆ กับได้รับความรู้ แรงบันดาลใจ รวมถึงไอเดียใหม่ๆ จากเรือ่ งราวทีเ่ ราตัง้ ใจ น�ำเสนอในฉบับนี้

HEALTH AND SAFETY: อมรลักษณ์ สุขมาก INNOVATION: ภูริชญา บุญเจริญ EWG NEWS: จริยา ตระกูลแก้ว

SCOOP: WATER STOCK:

มณฑิกา โพธิ์ถาวร ชานนท์ สุขบุญ อรศิริ เลิศเกียรติด�ำรงค์

ดูเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/eastwfanpage www.eastwater.com ฝ่ายศิลปกรรม บริษัท บรีโอ ซีจี คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด 467/5 อาคารพีพีดี ชั้น 4 ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม. 10120 โทรศัพท์ (02) 689 1775 โทรสาร (02) 689 1775 อีเมล jay@briocg.com จัดท�ำโดย บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรนํ้า ภาคตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) อาคารอีสท์วอเตอร์ ชั้น 23-26 เลขที่ 1 ซอยวิภาวดีรังสิต 5 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02) 272 1600 โทรสาร (02) 272 1602-3 www.eastwater.com


08

IN THIS ISSUE

NO.35

JULY 2016

IN THIS ISSUE

จิรายุทธ รุ่งศรีทอง ซีอีโอคนใหม่แห่งอีสท์ วอเตอร์

04

WATER DESTINATION วาดาวาร์ เทศกาลน้ำ�แห่งความรัก SCOOP

08

WATER STOCK

10

จิรายุทธ รุ่งศรีทอง ซีอีโอคนใหม่แห่งอีสท์ วอเตอร์

02

WATER FOOTPRINT คำ�นวณก่อนซื้อ คำ�นึงก่อนทิ้ง

สภาวะอุตสาหกรรมน้�ำ ในตลาดโลก

EDITOR’S NOTE

ASEAN WATCH 00

แอบมองเครื่องแบบ นักศึกษาอาเซียน

12

02

INNOVATION

14

บทบรรณาธิการ

COVER STORY

Water Footprint คำ�นวณก่อนซื้อ คำ�นึงก่อนทิ้ง

ABOUT A BIZ

WATER DESTINATION 04 วาดาวาร์ เทศกาลน้ำ�แห่งความรัก

TRICK POSITIVE กล่อมนอนด้วยเสียงน้ำ�

BE INSPIRED ก้าวแรก

นวัตกรรมบ้านลอยน้ำ� โดรน...โอกาสธุรกิจกลางเวหา

HEALTH & SAFETY

18

LUCKY POWER

19

รู้ก่อนขุด

06

ผลไม้ชื่อดี ชีวิตมีมงคล

07

16

EWG NEWS

ข่าวและกิจกรรมอีสท์ วอเตอร์

20


EAST WATER MAGAZINE

COVER STORY

WATER คำ�นวณก่อนซื้อ FOOTPRINT คำ�นึงก่อนทิ้ง เราคงคุ้นเคยกันดีกับค�ำว่า “คาร์บอนฟุต พรินต์” (Carbon Footprint) ในฐานะ เครื่องมือที่หลายประเทศใช้ ในการประเมิน ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ ผลิตภัณฑ์ซึ่งน�ำไปสู่การผลักดันมาตรการ ต่างๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกในภาคการผลิต จากแนวคิดเดียวกัน โลกจึงได้รู้จักค�ำว่า "วอเตอร์ฟุตพรินต์" (Water Footprint) ซึ่งถูกบัญญัติขึ้นเพื่อ รับมือกับวิกฤตน�้ำที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน

WATER FOOTPRINT ร่องรอยน้ำ�บนผลิตภัณฑ์ วอเตอร์ฟุตพรินต์ คือ ตัวชี้วัดปริมาณการใช้น�้ำทั้ง ทางตรงและทางอ้อมของสินค้าแต่ละชนิด ตั้งแต่ เริม่ กระบวนการผลิต จนกระทัง่ สินค้าถึงมือผูบ้ ริโภค โดยวัดทัง้ ปริมาณน�ำ้ ทีใ่ ช้และปริมาณน�ำ้ เสียทีป่ ล่อย ออกมา มี ห น่ ว ยเป็ น ลู ก บาศก์ เ มตร/ตั น วอเตอร์ ฟุตพรินต์ในพืช ค�ำนวณจากปริมาณน�้ำที่พืชใช้ต่อ ปริมาณผลผลิต วอเตอร์ฟุตพรินต์ในสัตว์ คิดจาก ปริมาณน�้ำทั้งหมดในการผลิตอาหารสัตว์ การให้ อาหารสัตว์ น�ำ้ ดืม่ ของสัตว์ และอืน่ ๆ เช่น น�ำ้ ท�ำความ สะอาดคอกสัตว์ เป็นต้น ส่วนวอเตอร์ฟุตพรินต์ใน สิ น ค้ า จากพื ช และสั ต ว์ ค� ำ นวณจากผลรวมของ วอเตอร์ฟุตพรินต์ในกระบวนการปลูกพืชและเลี้ยง สัตว์ทงั้ หมดจนกระทัง่ ได้ออกมาเป็นสินค้านัน้ ๆ


NO.35

JULY 2016

COVER STORY

ตัวอย่างปริมาณวอเตอร์ฟุตพรินต์ ในสินค้าชนิดต่างๆ แนวคิดเรื่องวอเตอร์ฟุตพรินต์เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยศาสตราจารย์ อาร์เยน วาย. โฮคสตรา (Professor Arjen Y. Hoekstra) ผูอ้ ำ� นวยการของ วอเตอร์ ฟุตพรินต์ เน็ตเวิร์ก (Water Footprint Network) ที่ท�ำการศึกษาข้อมูลการใช้น�้ำของ สินค้าและบริการชนิดต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้สร้าง แรงกระเพือ่ มอย่างรุนแรงในระดับโลก เนือ่ งจาก นีเ่ ป็นครัง้ แรกทีเ่ ราได้ทราบว่ามีการใช้นำ�้ ปริมาณ มหาศาลแอบซ่อนอยูใ่ นกระบวนการผลิตสินค้า อย่างทีห่ ลายคนคาดไม่ถงึ

ไวน์ 1 แก้ว/น�้ำ

ยกตัวอย่างเช่น การผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัม ใช้ น�้ำมากถึง 15,415 ลิตร ขณะที่การผลิตเนื้อไก่ 1 กิโลกรัม ใช้น�้ำ 4,325 ลิตร นั่นหมายความว่า การผลิตเนื้อวัวมีการใช้น�้ำและท�ำให้น�้ำสกปรก มากกว่าเนื้อไก่ถึงเกือบ 4 เท่า ในด้านอาหาร ส�ำเร็จรูปพบว่าเบอร์เกอร์เนือ้ วัวใช้นำ้� ในการผลิต 1,000 ลิตร ส่วนเบอร์เกอร์ที่ท�ำจากถั่วเหลืองใช้ น�้ำเพียง 160 ลิตร เป็นต้น

แฮมเบอร์เกอร์ 1 ชิ้น/น�้ำ

ในยุคสมัยที่สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพเปราะบาง และต้องการการอนุรักษ์ที่เข้มข้นยิ่งขึ้น สินค้าที่ มีวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ต�่ำย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า และได้รับการยอมรับมากกว่าสินค้าที่มีวอเตอร์ ฟุตพริ้นท์สูง อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนวิถี การบริโภคอาจเป็นเรือ่ งยากส�ำหรับหลายคน เรา จึงแนะน�ำว่าก่อนซื้อสินค้าใดก็ตาม ให้ค�ำนวณ ว่าเพียงพอต่อความต้องการหรือยัง เกินความ จ�ำเป็นหรือไม่ เพื่อไม่ให้ซื้อมาแล้วเหลือทิ้งโดย เปล่าประโยชน์ รวมถึงเมื่อซื้อสินค้าใดมาแล้ว ให้ค�ำนึงก่อนจะทิ้งว่าได้ใช้สินค้านั้นๆ อย่าง คุ้มค่าที่สุดแล้วหรือยัง จะช่วยบรรเทาวิกฤตน�้ำ ในประเทศผู้ผลิตและช่วยประหยัดน�้ำให้โลกได้ มากอย่างคาดไม่ถึง...

117 ลิตร

กาแฟ 1 แก้ว/น�้ำ

140 ลิตร

ไข่ 2 ฟอง/น�้ำ

272 ลิตร

2,396 ลิตร

เนื้อหมู 1 กก./น�้ำ

5,988 ลิตร

กางเกงยีนส์ 1 ตัว/น�้ำ

6,800 ลิตร

รถยนต์ 1 คัน/น�้ำ

147,760 ลิตร ที่มา

• กมลพร อยูส่ บาย. (2554). Water footprint รอยเท้าน�ำ้ สืบค้นจาก http:// www.mwa.co.th/ewt_dl_link.php?nid=7391 • วนั นีค้ ณ ุ ซือ้ สินค้าประหยัดน�ำ้ หรือยัง?. (2554). คิด ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: คอมฟอร์ม. • ส�ำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจ�ำสหภาพยุโรป. Water footprint. สืบค้นจาก www.oae.go.th/download/climate_change/ water_footprint.pdf • Water Footprint - ICGREENSAVE. สืบค้นจาก https://sites.google. com/site/icgreensave/home/waterfootprint • Water footprint of crop and animal products: a comparison. สืบค้น จาก http://waterfootprint.org/en/water-footprint/product-waterfootprint/water-footprint-crop-and-animal-products/


EAST WATER MAGAZINE

WATER DESTINATION

VAR DAVAR

THE REPUBLIC OF ARMENIA

วาดาวาร์

เทศกาลน้ำ�แห่งความรัก

ทราบไหมว่านอกจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาธารณรัฐอาร์เมเนีย (The Republic of Armenia) ก็มีเทศกาลสาดน�้ำด้วย เช่นกัน โดยมีชื่อเรียกแสนไพเราะว่า เทศกาลวาดาวาร์ (Vardavar)

WATER DESTINATION นั่งพัก รับชมน้ำ�

วาดาวาร์ เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาหลายศตวรรษ นับตั้งแต่สมัยที่ชาว อาร์เมเนียนยังไม่มีศาสนา โดยมีจุดประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองให้กับอัสท์ฮิค (Astghik) เทพีแห่งสายน�้ำ ความงาม ความรัก และความอุดมสมบูรณ์ ตาม ความเชื่อที่ว่าเทพีอัสท์ฮิคได้โปรยหยาดน�้ำแห่งความรักจากดอกกุหลาบของ นางไปทั่วดินแดนอาร์เมเนีย เทศกาลนี้จึงได้ชื่อว่า “วาดาวาร์” ซึ่งมีความ หมายว่า “เทศกาลดอกกุหลาบ” (Vart แปลว่า กุหลาบ) และเนือ่ งจากในภาษา อาร์เมเนียน ค�ำว่า Var แปลว่า ข้าว เทศกาลนี้จึงจัดขึ้นในฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยก�ำหนดให้วันที่ 98 หลังจากวันอีสเตอร์เป็นวันเทศกาลวาดาวาร์ (ระหว่าง วันที่ 28 มิถุนายน - วันที่ 1 ตุลาคม)


NO.35

JULY 2016

WATER DESTINATION

คู่มือนักเดินทาง อาร์เมเนีย อีกหนึ่งความเชื่อที่สืบทอดกันมาคือ หลังจาก เหตุการณ์น�้ำท่วมโลก โนอาห์สั่งให้บุตรชายทั้ง 3 ของเขาสาดน�้ำใส่กันเพื่อร�ำลึกถึงเหตุการณ์ น�้ ำ ท่ ว มในครั้ ง นั้ น ด้ ว ยเหตุ นี้ เ มื่ อ ถึ ง เทศกาล วาดาวาร์ ชาวอาร์เมเนียนจะเฉลิมฉลองด้วย การมอบดอกกุหลาบหรือปากลีบกุหลาบใส่กัน รวมถึงสาดน�้ำใส่กันอย่างสุดเหวี่ยง ถือเป็นงาน เทศกาลสุดโปรดของเด็กๆ และนักท่องเที่ยวที่ ช่วยดับความร้อนอบอ้าวของช่วงฤดูร้อนได้เป็น อย่างดี ส�ำหรับปี 2559 เทศกาลวาดาวาร์ตรงกับวันที่ 3 กรกฎาคม ผู้ที่อยากหนีร้อนไปสาดน�้ำเย็นๆ ใน บรรยากาศแบบยุโรป อาร์เมเนียถือเป็นจุดหมาย ปลายทางทีไ่ ม่ควรพลาด เพราะนอกจากเทศกาล วาดาวาร์อันชุ่มฉ�่ำแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถ เที่ยวชมโบราณวัตถุที่ถือได้ว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก เช่น โรงงานผลิตไวน์ที่มีอายุมากกว่า 6,000 ปี รวมถึงโบราณสถานและศาสนสถานอีกนับพัน แห่งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

การเดินทาง : อาร์เมเนียมีพรมแดนติดกับ 4 ประเทศ คือ จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน อิหร่าน และตุรกี แต่ปัญหาระหว่าง ประเทศท�ำให้สามารถเดินทางเข้าประเทศได้เพียงทาง จอร์เจียและอิหร่าน ผู้ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย สามารถขอวีซา่ On arrival ได้ทดี่ า่ นตรวจคนเข้าเมือง บริเวณชายแดน และทีท่ า่ อากาศยานเยเรวาน (Yeravan) โดยไม่จำ� เป็นต้องท�ำเอกสารทีส่ ถานทูต

Photo from: eldermountain.wordpress.com

ที่มา

• วิกิพีเดีย. ประเทศอาร์มีเนีย. สืบค้นจาก https://th.wikipedia. org/wiki/ประเทศอาร์มีเนีย • สยามดารา. (2559). สงกรานต์ฝรัง่ ทีอ่ าร์เมเนีย. สืบค้นจาก http:// www.siamdara.com/lovestory/love-experience/1034157 • A ll About Songkran Festival. สื บ ค้ น จาก https:// allaboutsongkranfestival.wordpress.com/all-aboutsongkran-festival/water-festival/ • The legend of Vardavar. สืบค้นจาก http://www.araratbrandy. com/en/legends/legend?p=036 • Wikipedia. Vardavar. สืบค้นจาก https://en.wikipedia.org/ wiki/Vardavar


EAST WATER MAGAZINE

TRICK POSITIVE

กล่อมนอน ด้วย เสียงน้ำ� เขียนโดย

แครธริน ทรงพัฒนะโยธิน

โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia เป็นโรคที่ คนยุคปัจจุบันจำ�นวนมากกำ�ลังประสบอยู่ กรมสถิ ติ ข องสหรั ฐ อเมริ ก าเปิ ด เผยว่ า ประชากรมากถึง 30% ในประเทศกำ�ลัง เผชิ ญ กั บ โรคนี้ หลายคนถึ ง กั บ ต้ อ งพึ่ ง ยานอนหลับกันเลยทีเดียว ใครที่กังวลว่าตัวเองนอนไม่ค่อยหลับ และต้องการบำ�บัดโดยไม่พึ่งยาและ สารเคมี ดร.ออฟิว บักซ์ตั้น (DR. Orfeu Buxton) นักประสาทวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนจากศูนย์ การนอนหลับ (Sleep Division) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีเคล็ดลับ พิเศษมาแบ่งปันค่ะ

ที่มา

• สถิติจาก National Sleep Foundation

เคล็ดลับที่ว่าคือ “ใช้เสียงน�้ำ” กล่อมให้นอนหลับสบายนั่นเอง นักวิจยั พบว่า เสียงต่างๆ รอบตัวทีถ่ กู ส่งมาสูป่ ระสาท สั ม ผั ส ของเรา เช่ น เสี ย งเครื่ อ งยนต์ เสี ย งเครื่ อ ง มือสื่อสาร เสียงเพลง ฯลฯ มีผลต่อคลื่นสมองและ สามารถน� ำ พาเราเข้ า สู ่ ภ าวะต่ า งๆ รวมถึ ง ภาวะ เครียดได้ แต่เสียงน�ำ้ ตามธรรมชาติไม่วา่ จะเป็นเสียง น�้ำไหล เสียงคลื่นทะเล หรือเสียงฝนตก ล้วนมีพลัง ในการช่วยพาเราเข้าสู่ภาวะสงบ ผ่อนคลาย สลาย ความเครียด ไม่ต่างจากการนั่งสมาธิ เห็นไหมคะว่าน�้ำช่างเป็นสิ่งมหัศจรรย์ นอกจากมี คุณค่าต่อร่างกาย ยังมีพลังต่อจิตใจอีกด้วย หาก ใครนอนหลับยาก ลองพิสูจน์ด้วยตัวเอง ปัจจุบันมี ซอฟต์แวร์ให้คุณสามารถดาวน์โหลดเสียงน�้ำเพื่อ บ�ำบัดจิตใจผ่านทางโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต แนะน�ำให้ลองเลือกเสียงคลื่นทะเลเบาๆ หรือเสียง ฝนตกเปาะแปะ มาเปิดก่อนนอน จะช่วยให้หลับง่าย และหลับสบายยิ่งขึ้น

ขอให้หลับสบายฝันดีนะคะ


NO.35

JULY 2016

BE INSPIRED

BE INSPIRED

ก้าวแรก

ใจฟิต คิดบวก เขียนโดย

แครธริน ทรงพัฒนะโยธิน

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ใน สหรัฐอเมริกามีรายการ เรียลลิตีโชว์ที่ได้รับความนิยม มาก คือ “My 600- lb Life” หรือ “ชีวิตหนัก 270 กิโล ของฉัน”

ชัยชนะก้าวแรกเริ่มที่เรา มาเริ่มก้าวแรกของเราไป ด้วยกันค่ะ

การติดตามชม รายการนีช้ ่วยย�้ำเตือน ตัวเองถึงความจริง 2 ข้อที่ว่า

“ชีวิตหนัก 270 กิโลของฉัน” เป็นเรื่องราวชีวิตจริงของชาวอเมริกัน จ�ำนวนหนึง่ ทีเ่ ป็นโรคอ้วนเรือ้ รังและมีนำ�้ หนักตัวเกินขัน้ รุนแรง สิง่ ทีโ่ ลก ได้เห็นจากรายการนี้คือการต่อสู้ในชีวิตประจ�ำวันของพวกเขาเพื่อท�ำ เรื่องที่คนทั่วไปท�ำได้ง่ายๆ อย่างการตื่นนอน ลุกขึ้นจากเตียง แล้วเดิน ไปเข้าห้องน�้ำ แต่ไม่ว่าจะอับอายเพียงใด คนกลุ่มนี้ก็ยินยอมเปิดเผย เรื่องราวชีวิตของตน ด้วยเงื่อนไขที่ว่าหากพวกเขาสามารถลดน�้ำหนัก 20 กิโลกรัมได้ด้วยตัวเอง ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคอ้วน จะยอมผ่าตัดและช่วยเหลือคนไข้ให้กลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป เหตุผลที่คุณหมอตั้งเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะตามสถิติพบว่าคนที่ไม่แสดง ความพยายามใดๆ และหวังพึ่งคนรอบข้างเพียงอย่างเดียวมีแนวโน้ม ที่จะกลับมาอ้วนอีกภายในหนึ่งปีหลังผ่าตัด ท�ำให้การช่วยเหลือทาง การแพทย์ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง

1

ทุ ก ก้ า วที่ เ ราเดิ น โดยไม่ ต ้ อ ง พยายาม อาจจะเป็นก้าวที่หมาย ถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของคนอีก กลุ่มหนึ่ง ดังนั้นเราต้อ งไม่มอง ข้ามความธรรมดาทีแ่ สนพิเศษใน แต่ละวันของเรา

2

คนรอบข้างพร้อมยื่นมือช่วย เหลือเราเสมอ แค่เราออกเดิน ก้าวแรกและแสดงให้โลกเห็นถึง ความตั้ ง ใจที่ จ ะแก้ ป ั ญ หาด้ ว ย ตัวเองก่อน


EAST WATER MAGAZINE

SCOOP

จิรายุทธ รุง่ ศรีทอง “ เรามาสร้างเรื่องราวความสำ�เร็จ ของอีสท์ วอเตอร์ร่วมกัน ค�ำกล่าวแรกทีป่ ลุกพลังความมุง่ มัน่ เพือ่ ก้าวสูค่ วามส�ำเร็จ ไปพร้อมกันในทุกภาคส่วนจาก “จิรายุทธ รุง่ ศรีทอง” หลังเข้าด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการผู้อ�ำนวยการใหญ่ คนใหม่ ข องอี ส ท์ วอเตอร์ เมื่ อ วั น ที่ 1 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ด้วยประสบการณ์การท�ำงานที่ถูก สะสมมาอย่างเคี่ยวกร�ำ โดยเริ่มต้นจากการเป็น วิศวกรวางแผนของ Caltex จนมีความเชี่ยวชาญ จึงผันตัวเองไปท�ำงานด้านที่ปรึกษาทางการเงินใน ฐานะรองกรรมการผู้จัดการที่ Lehman Brothers

นั่งแท่นซีอีโอคนใหม่ อีสท์ วอเตอร์

ควบทะยานสู่การเป็นผู้นำ� การบริหารจัดการน้ำ�ครบวงจร

ก่อนก้าวขึน้ สูต่ ำ� แหน่งกรรมการผูจ้ ดั การที่ หลักทรัพย์ บัวหลวง และด้วยผลงานบวกความสามารถด้าน การบริหารที่มีอย่างเต็มเปี่ยม จิรายุทธจึงได้ก้าวขึ้น สู่ต�ำแหน่งสูงสุดของ กสท โทรคมนาคม ในฐานะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และต่อจากนี้คืออีกหนึ่งบท พิสูจน์ความส�ำเร็จในการน�ำอีสท์ วอเตอร์ก้าวขึ้น สู่การเป็นผู้น�ำการบริหารจัดการน�้ำครบวงจรของ ภูมิภาคอาเซียน


NO.35

JULY 2016

SCOOP

จากผลประกอบการของอีสท์ วอเตอร์ตลอด 10 ปี ที่ ผ ่ า นมา พบว่ า มี อั ต ราการเติ บ โตในเรื่ อ งราย ได้ แ ละก� ำ ไรอย่ า งต่ อ เนื่ อ งทุ ก ปี แสดงว่ า อี ส ท์ วอเตอร์ มี ค วามแข็ ง แกร่ ง และมั่ น คงแล้ ว ดั ง นั้ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ อั น ดั บ แรกที่ เ ขามองคื อ การเร่ ง ขยาย ขอบเขตการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ เพื่ อ การเติ บ โตใน ระยะยาวด้ ว ยการขยายสู ่ ธุ ร กิ จ ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ ง เชื่อมโยง รวมทั้งธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจบ�ำบัด น�้ำเสียและการน�ำน�้ำกลับมาใช้ใหม่ มุ่งเน้นไปที่ กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในฐานะผู้ให้บริการ ด้ า นน�้ ำ แบบครบวงจรมากกว่ า การเป็ น เพี ย ง ผู้ให้บริการน�้ำดิบและน�้ำประปาเท่านั้น นั่นคือ แผนงานภายใน 5 ปีนี้ และอีกแนวทางการบริหารทีจ่ ริ ายุทธจะน�ำมาพัฒนา บริษัทฯ คือ การวางแผนการเติบโตเชิงกลยุทธ์และ การพัฒนางานนักลงทุนสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการเติบโตในด้านรายได้มากขึ้น เน้นความ เชื่ อ มั่ น ให้ กั บ นั ก ลงทุ น โดยสื่ อ สารผ่ า นกิ จ กรรม นักลงทุนสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้ราคาหุ้นสะท้อนมูลค่า ทีแ่ ท้จริงได้ การจัดประชุมนักวิเคราะห์ การจัดโรดโชว์ พบปะนักวิเคราะห์ นักลงทุนสถาบันและทั่วไป เพื่อ ส่ ง ข้ อ มู ล เรื่ อ งหุ ้ น EASTW ได้ อ ย่ า งครบถ้ ว นกั บ นักลงทุนทุกกลุ่มด้วย

การสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นนวัตกรรม โดยมองไปที่ น วั ต กรรมหรื อ เทคโนโลยี ที่ จ ะเพิ่ ม ประสิทธิภาพของธุรกิจปัจจุบัน ธุรกิจต่อเนื่องและ ธุรกิจใหม่ องค์กรจะก้าวขึ้นสู่ความเป็นองค์กรมือ อาชีพได้ไม่ยากในอนาคต” เป็นสิ่งที่ซีอีโอคนใหม่ ของอีสท์ วอเตอร์มงุ่ หวังจะเป็นแนวทางในการพัฒนา องค์กรให้ก้าวสู่การเป็นผู้น�ำในการบริหารจัดการน�้ำ แบบครบวงจร

ความท้ า ทายส�ำหรั บ ซี อี โ อคนใหม่ ข อง อี สท์ วอเตอร์ ยั ง มี เรื่ อ งของการแก้ ป ั ญหา ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างยั่งยืน การ เพิ่ ม แหล่ ง น�้ ำ ต้ น ทุ น เพื่ อ ให้ เ พี ย งพอในช่ ว ง ฤดูแล้งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรีและ ระยอง จากความเชี่ยวชาญในการบริหารของ “จิ ร ายุ ท ธ รุ ่ ง ศรี ท อง” พร้ อ มแล้ ว ที่ จ ะ กุมบังเหียนน�ำอีสท์ วอเตอร์ สู่การเป็นผู้น�ำใน การให้บริการบริหารจัดการน�้ำแบบครบวงจร องค์กรของคนไทยทีพ ่ ร้อมผงาดอย่างยิง่ ใหญ่ ในภูมิภาคอาเซียนต่อไป…


EAST WATER MAGAZINE

WATER STOCK

สภาวะ อุตสาหกรรมน้�ำ ในตลาดโลก 1

2

การปรับปรุงประสิทธิภาพของ เน้นความส�ำคัญกับการบ�ำบัด กระบวนการผลิตน�้ำที่ดีขึ้น น�้ำเสียในเมืองที่มีการเจริญ เพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันใน เติบโตอย่างรวดเร็ว การจัดหาน�้ำ

ด้ า นกลุ ่ ม อุ ต สาหกรรม จะมี ก ฎ จากที่เคยเน้นการผลิตที่เพิ่มขึ้น ระเบียบเกีย่ วกับการจัดการน�ำ้ เสีย จะเปลีย่ นไปให้ความสนใจกับการ ทีเ่ ข้มขึน้ เพือ่ ติดตามให้ผกู้ อ่ มลพิษ เพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตให้ดขี นึ้ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ด้านน�้ำเสีย แทน ซึ่งมีขอบเขตที่ชัดเจนอยู่ 3 จากเมืองจะเห็นทั้งกฎระเบียบที่ ข้อ คือ 1. พยายามที่จะลดน�้ำสูญ เข้มขึ้นและเพิ่มงบประมาณมาก เสียที่เกิดขึ้น 2. การน�ำน�้ำใช้แล้ว ขึ้ น เพื่ อ ให้ แ น่ ใ จว่ า จะสามารถ กลับมาใช้ใหม่โดยพัฒนาในระดับ บ�ำบัดน�้ำเสียได้ตามเป้าหมาย ทีก่ ว้างขึน้ 3. การน�ำเทคโนโลยีมา ใช้เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้น�้ำ ในกลุ ่ ม อุ ต สาหกรรม (Reduce Water Footprint)

3

การจัดการกับปริมาณกาก ตะกอนซึ่งเป็นผลมาจากการ บ�ำบัดน�้ำเสียที่เพิ่มมากขึ้น ตลาดที่ เ กี่ ย วกั บ การให้ บ ริ ก าร ก� ำ จั ด กากตะกอนและการผลิ ต พลั ง งานจากกากตะกอนจะมี โอกาสเติ บ โตอย่ า งแข็ ง แกร่ ง เนื่องจากการลงทุนในการบ�ำบัด น�้ำเสียย่อมน�ำไปสู่ปริมาณที่เพิ่ม ขึ้นของกากตะกอน (Sludge) ที่ จะต้องก�ำจัด


NO.35

JULY 2016

WATER STOCK

ค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงานและการลงทุนที่จะต้องใช้ ใน ระบบสาธารณูปโภคและน้�ำ อุตสาหกรรมของโลก ทัง้ การ ผลิตน้ำ�และการบำ�บัดน้ำ�เสีย คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า ประมาณ 714 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2016 และจะ เติบโตในอัตราเฉลีย่ 3.8% ต่อปี จนถึงปี 2020 โดยจะ มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.3% ต่อปี ซึ่งเพิ่มมากกว่า ค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงานที่ 2.8% ต่อปี โดยแนวโน้มหลักของอุตสาหกรรมน�้ำที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2016 – 2020 เป็นดังนี้

ที่มา

4

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การบริหารงานและโครงสร้าง ทางการเงินของกลุ่มธุรกิจที่ เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค ภาครั ฐ บาลจะตระหนั ก ถึ ง ข้ อ ดี ของการเป็นอิสระในการบริหาร จัดการระบบสาธารณูปโภคมาก ขึน้ ส่วนหนึง่ มาจากแรงกดดันของ สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาที่ เข้าไปสนับสนุนโครงการ ท�ำให้ การก�ำหนดราคาขายน�้ำประปา ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กว่ า อั ต ราเงิ น เฟ้ อ ในพื้ น ที่ ส ่ ว น ใหญ่ของโลก เพื่อที่จะท�ำให้ภาค การบริหารจัดการสาธารณูปโภค สามารถวางแผนการลงทุ น ใน อนาคตได้ด้วยตนเอง

5

นิตยสาร Global Water Intelligence ฉบับเดือนเมษายน 2016

6

การสนับสนุนทางด้านการเงิน จากภาคเอกชน

การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพมากขึ้น

จากการทีร่ ฐั บาลในหลายประเทศ เริ่มมีเงินทุนลดลงเนื่องจากอัตรา ค่าบริการทีจ่ ดั เก็บได้ไม่เพียงพอที่ จะครอบคลุ ม ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการ ด�ำเนินงานและเงินลงทุนส�ำหรับ โครงการ ท�ำให้ภาคเอกชนมีโอกาส ในการเข้าไปลงทุนมากขึน้ อย่างไร ก็ดกี ารลงทุนในระบบท่อจ่ายน�ำ้ ยัง คงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็น ประเด็นทางการเมืองโดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในยุโรป ดังนัน้ โอกาสใน การลงทุนจะอยู่ที่งานก่อสร้าง – เป็นเจ้าของสินทรัพย์ - การด�ำเนิน งาน (BOO) ในระบบผลิ ต น�้ ำ มากกว่าการให้บริการแก่ผู้ใช้น�้ำ โดยตรง

ผู ้ ใ ช้ น�้ ำ กลุ ่ ม อุ ต สาหกรรมเริ่ ม ตระหนั ก ถึ ง ความเสี่ ย งที่ จ ะส่ ง ผลกระทบต่อการด�ำเนินงานจาก การขาดแคลนน�้ ำ มากขึ้ น และ เริ่ ม ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การลด ปริ ม าณการใช้ น�้ ำ ในการผลิ ต มากขึ้น ท�ำให้มีความสนใจลงทุน ในเทคโนโลยี ที่ เ กี่ ย วกั บ น�้ ำ มาก ขึ้นโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ให้ผล ตอบแทนที่คุ้มค่าในการลงทุน


EAST WATER MAGAZINE

ASEAN WATCH

แอบมอง เครื่องแบบ นักศึกษาอาเซียน ASEAN WATCH แอบส่อง อาเซียน

สองปีเต็มที่สถาบันอุดมศึกษาของไทยเปลี่ยนวันเปิด - ปิดภาคเรียน ให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียน โดยเปลี่ยนภาคเรียนที่ 1 จากเดือน มิ.ย. - ต.ค. เป็น ส.ค. - ธ.ค. และภาคเรียนที่ 2 จากเดือน พ.ย. - มี.ค. เป็น ม.ค. - พ.ค. แต่สดุ ท้ายสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย หรือ ทปสท. ก็มมี ติเอกฉันท์ให้สถาบันทีเ่ ป็นสมาชิก ทปสท. กลับมาเปิด ปิดภาคเรียนตามแบบเดิม เนือ่ งจากเห็นว่าภาคเรียนแบบใหม่เปิดเรียนใน ช่วงทีอ่ ากาศร้อนจัดและมีวนั หยุดยาวบ่อย ซึง่ เป็นอุปสรรคต่อการเรียน การสอนและไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย ที่มา

ทปสท.มีมติไม่เปิดเทอมตามม.ภูมภิ าคอาเซียน. (2559). สืบค้นจาก http:// www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=98081&t=newsชีส้ ารพัด


NO.35

JULY 2016

ASEAN WATCH

อย่างไรก็ดี วันเปิด-ปิดภาคเรียนที่ต่างกันไม่ได้ ลดทอนเสน่หข์ องแต่ละประเทศลงแม้แต่นอ้ ย แต่ กลับยิ่งท�ำให้เราใคร่รู้ถึงความแตกต่างอื่นๆ ใน ระบบการศึกษาอาเซียน ซึ่งเรื่องที่โดดเด่นที่สุด คงหนีไม่พน้ เครือ่ งแบบนักศึกษาทีห่ ลายประเทศ หยิบเอาวัฒนธรรมการแต่งกายประจ�ำชาติมาน�ำ เสนอผ่านชุดนักศึกษาได้อย่างน่าสนใจ ดังเช่น สปป.ลาว ที่บรรดานักศึกษาสาวสวมเสื้อเชิ้ต สีขาว ผูกเนกไท แต่สวมผ้าซิ่นมีเชิงสวยแทน การสวมกระโปรง เมี ย นมาร์ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่น�ำกลิ่นอาย ของชุดประจ�ำชาติมาไว้ในเครื่องแบบนักศึกษา โดยผู้ชายสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวกับโสร่งสีเขียว ส่วน ผู้หญิงสวมเสื้อพื้นเมืองสีขาวกับผ้าถุงสีเขียว

สปป.ลาว

Photo from: defence.pk

มาเลเซีย

เมียนมาร์

Photo from: says.com

Photo from: whussaya.blogspot.com

อี ก ประเทศที่ โ ดดเด่ น มากคื อ เวี ย ดนาม กั บ ชุ ด นั ก ศึ ก ษาหญิ ง ที่ ถ อดแบบชุ ด ประจ� ำ ชาติ อ๋าวหย่ายแบบไม่ผดิ เพีย้ น ทัง้ ชุดกระโปรงตัวยาว สีขาวสะอาดสวมทับกางเกงขายาวสีเดียวกัน ส� ำ หรั บ ชุ ด นั ก เรี ย นของประเทศมุ ส ลิ ม อย่ า ง อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ บรูไน มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน คือ เน้นความสุภาพมิดชิดด้วยเสือ้ สีขาวแขนยาวคลุมศอก ผูช้ ายสวมกางเกงขายาว ผู้หญิงสวมกระโปรงยาวคลุมเข่าหรือกรอมเท้า สีสุภาพ สวมผ้าคลุมฮิญาบสีขาว

บรูไน

Photo from: whussaya.blogspot.com

อินโดนีเซีย

Photo from: bokunosekai.wordpress.com

ความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์เช่นนี้ คือเสน่ห์ที่ชาวต่างชาติต่างชื่นชม เราไม่จำ�เป็นต้องเปลี่ยนให้เหมือนกัน หากแต่ควรแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง เพื่อสร้างอาเซียนที่เข้มแข็งและโดดเด่น ยิ่งขึ้นในเวทีโลก

เวียดนาม

Photo from: alicedinh.blogspot.com


EAST WATER MAGAZINE

INNOVATION

บ้าน นวั ต กรรม ลอยน้�ำ ที่อยู่อาศัย

ยุคปัจจุบัน และอนาคต

Photo from: www.domusweb.it

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผล ให้เกิดความถี่ของอุทกภัยหรือน้ำ�ท่วมเพิ่มขึ้นใน ทั่วทุกมุมโลก ความรุนแรงในศตวรรษหน้าอาจส่ง ผลให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง สถาบัน Center for research for Epidemiology of disaster (CRED) ได้มีการจัดอันดับมูลค่าความ เสียหายจากอุทกภัยน้ำ�ท่วมทั่วโลก (ภายใน 100 ปี) โดยประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 มี มูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 40 พันล้านเหรียญ สหรัฐอเมริกา ตามด้วยประเทศจีน 30 และ 20 พันล้านเหรียญฯ และอินเดีย - ปากีสถาน 18 พันล้านเหรียญฯ ตามลำ�ดับ โดยสาเหตุของ อุทกภัยเกิดจากการเพิ่มระดับความสูงของแม่น้ำ�

ผู้เชี่ยวชาญด้านน�้ำท่วมและนักวิทยาศาสตร์จ�ำนวน มาก รวมทั้ ง สมาชิ ก ขององค์ ก ารสิ่ ง แวดล้ อ มใน ประเทศอังกฤษ (UK) รวมทั้งหน่วยงานรัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกา (USA) ออกมาเผยว่าการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้เกิดความถี่ของอุทกภัย หรือน�้ำท่วมเพิ่มขึ้นในทั่วทุกมุมโลกและทวีความ รุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นแนวคิดการออกแบบบ้าน ป้องกันน�้ำท่วม หรือ Flood-Proof House จึงเกิดขึ้น เพื่อช่วยลดผลกระทบของน�้ำท่วม ลดความเสียหาย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และในขณะเดียวกันสามารถ ใช้เป็นที่พักอาศัยขณะเกิดน�้ำท่วมได้อีกด้วย

ที่มา

http://www.dpt.go.th


NO.35

JULY 2016

INNOVATION

แนวคิดของนวัตกรรม บ้านลอยน�้ำในประเทศไทย ส�ำหรับประเทศไทยพบว่าระดับน�้ำในช่วงน�้ำหลากมีการแปรปรวน ตลอดเวลาโดยระดับน�ำ้ มีการเปลีย่ นแปลงตัง้ แต่ระดับพืน้ ดินชืน้ แฉะไป จนถึงระดับสูง 2-4 เมตร ดังนัน้ บ้านจะต้องมีลกั ษณะเป็นแนวสะเทิน้ น�ำ้ สะเทิ้นบก ต้องสามารถวางอยู่บนดินได้ ลอยอยู่บนน�้ำได้ โดยกินระดับ น�้ำที่ต�่ำ รวมถึงสามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยแรงคน 6 - 10 คนได้ วัสดุ ต้องหาได้งา่ ยตามท้องตลาด มีโครงสร้างไม่ซบั ซ้อน และทีส่ ำ� คัญแต่ละ หลังสามารถน�ำมาต่อพ่วงได้

ตัวอย่าง บ้านลอยน�้ำ

แนวคิด ออกแบบขึ้นโดยแนวคิดเพื่อ ป้องกันความเสียหายจาก อุทกภัยตามฤดูกาล และตั้งอยู่ บนพื้นดินในภาวะปกติ โดยให้ บ้านทั้งหลัง สามารถลอยสูง ขึ้นได้ตามระดับน�้ำที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามบ้านลอยน�้ำนี้ไม่ เหมาะกับพื้นที่ที่มีน�้ำไหล เชี่ยวกรากรุนแรง

ขนาดพื้นที่ ประมาณ 60

ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่ อยู่อาศัย 23 ตารางเมตร ส่วน ท�ำอาหารห้องน�้ำและซักล้าง รวม 37 ตารางเมตร

Photo from: http://dpm.nida.ac.th

แนวคิดบ้านลอยน�้ำพลังงาน แสงอาทิตย์

Photo from: http://dpm.nida.ac.th

บ้านลอยน�้ำในประเทศ เนเธอร์แลนด์

ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็น ที่เมือง Maasbommel และบ้าน แนวคิดในการออกแบบทีเ่ ป็นมิตร ในออนตาริโอ ประเทศแคนาดา กับสิ่งแวดล้อม ที่สร้างด้วยโครงสร้างที่มีน�้ำหนัก เบาสามารถลอยน�้ำได้

บ้านลอยน้ำ�ถือว่าแป็นนวัตกรรมที่อยู่อาศัยที่มี ประสิทธิภาพสูงในการบรรเทาปัญหาอุทกภัย สำ�หรับยุคปัจจุบันและอนาคต อย่างไรก็ดี การหาทาง ป้องกันสาเหตุต้นตอที่ก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัย เพื่อลดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินน่าจะเป็น ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ดีกว่าวัวหายแล้วล้อมคอก อย่างแน่นอน

ราคาค่าก่อสร้าง โดย

ประมาณ 719,000 บาท (กรณี ปลูกสร้างเอง) ไม่ต้องใช้ผู้รับจ้าง เหมาและประมาณ 915,000 บาท (กรณีมีผู้รับจ้างเหมา)

วัสดุก่อสร้าง ใช้วัสดุก่อสร้าง

พื้นฐานทั่วไปที่สามารถหาได้ ง่ายในท้องตลาด ซึ่งสามารถ ดัดแปลงได้ตามความเหมาะสม กับแต่ละพื้นที่ ทุ่นลอยเป็นถัง น�้ำมันขนาด 200 ลิตร หรือถัง ไฟเบอร์กลาสกรณีต้องการ ความทนทานเพิ่มขึ้น

ระบบสุขาภิบาล ใช้ระบบ

การย่อยสลายโดยมีถังบรรจุ จุลินทรีย์ EM ติดตั้งอยู่ใต้ห้องน�้ำ เพื่อย่อยสลายและเร่งการ ตกตะกอนของสิ่งปฎิกูล


EAST WATER MAGAZINE

ABOUT A BIZ

DRONE โดรน...

โอกาสธุรกิจ กลางเวหา

จะดีแค่ไหน หากเรากำ�ลังรูส้ กึ ทัง้ ร้อน ทัง้ กระหาย เพียงแค่สง่ คำ�สัง่ ผ่านสมาร์ทโฟน เดีย๋ วเดียวก็มเี ครือ่ งบินลำ�จิว๋ นำ�เครือ่ งดืม่ เย็นๆ มาส่งให้ถงึ ที่ ไอเดียธุรกิจนีเ้ ป็นของ บริษทั อี - คอมเมิรซ์ ยักษ์ใหญ่สญ ั ชาติญป่ี นุ่ อย่าง “ราคูเท็น” (Rakuten) ทีเ่ ปิดตัว บริการโดรนส่งสินค้านำ�ร่อง “โซระ ราคุ” (Sora Raku) ไปเมือ่ เร็วๆ นีท้ ป่ี ระเทศญีป่ นุ่ วันนี้ โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ ก�ำลังเป็นธุรกิจ ใหม่มาแรง บริษทั ยักษ์ใหญ่ทงั้ กูเกิล (Google) อเมซอน (Amazon) วอลมาร์ต (Walmart) ต่างทุม่ ทุนพัฒนาโดรนส่งสินค้าทีจ่ ะมาปฏิวตั ิ ประสบการณ์ช้อปปิ้งของคนรุ่นใหม่ เช่นเดียวกับการไปรษณีย์ แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ที่เตรียมน�ำ โดรนมาใช้ส่งพัสดุและจดหมายในพื้นที่ห่างไกล Photo from: www.dogonews.com


NO.35

JULY 2016

ABOUT A BIZ

แม้การใช้โดรนเชิงพาณิชย์ยงั อยูใ่ นช่วงเริม่ ต้น จากข้อจ�ำกัดด้านกฎหมาย แต่นับวันบทบาท ของโดรนยิ่งทวีขึ้นในฐานะ “เทคโนโลยีบิน ได้ ” ที่ ช ่ ว ยขยายขอบเขตการให้ บ ริ ก ารใน หลากหลายธุรกิจ อาทิ โดรนติดกล้องวิดโี อเพือ่ ถ่ายภาพมุมสูง รวมถึงใช้ในการส�ำรวจเขตทีด่ นิ การจัดท�ำแผนที่ การบินตรวจตรา หรือแม้แต่ ใช้บินส�ำรวจพื้นที่ท�ำการเกษตร การพ่นยา การหว่านเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น Photo from: www.richardbarrow.com

ในเมืองไทย โดรนเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดใน

Photo from: gigaom.com

การเติ บ โตของโดรนท�ำให้ “นั ก บิ น โดรน” กลายเป็นอาชีพใหม่อินเทรนด์ พร้อมๆ กับ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของโรงเรียนสอน ขับโดรน ในประเทศจีน หลักสูตรขับโดรน 2 สัปดาห์ มีราคาสูงถึง 8,000 หยวน หรือ ราว 42,000 บาท ขณะที่เงินเดือนเริ่มต้น ของนักบินโดรนอยู่ที่ราว 5,000 หยวนต่อ เดือน (ประมาณ 26,500 บาท)

ธุรกิจถ่ายภาพนิง่ และภาพวิดโี อมุมสูง ทัง้ การรายงาน ข่าว การถ่ายทอดสดงานอีเวนท์หรือคอนเสิรต์ การท�ำ วิดโี อพรีเซนเทชันงานแต่งงาน โรงแรม หรือ รีสอร์ท ฯลฯ โดยมีคา่ บริการตัง้ แต่ 5,000 บาท จนถึง 20,000 บาท ขึน้ ไป ขึน้ อยูก่ บั ชนิดของโดรนและความยากง่ายของ การถ่ายท�ำ

แม้ในช่วงปีที่ผ่านมา ภาครัฐประกาศกฎควบคุม การขึ้นทะเบียนโดรนที่ใช้นอกเหนืองานอดิเรก แต่ บริษัทผู้น�ำเข้าโดรนรายใหญ่อย่างบริษัท แฟนธอม (ประเทศไทย) จ�ำกัด มองว่าไม่ใช่อุปสรรคต่อการ ขยายตลาดโดรนในเมืองไทยที่เดินหน้าเติบโตถึงปี ละ 30% ล่าสุดเราจึงได้เห็นการเปิดตัวธุรกิจใหม่เกีย่ ว กับโดรนในเมืองไทย อาทิ Drone Thai Insurance บริการด้านประกันภัยโดรนและการขึ้นทะเบียน ผูค้ วบคุมโดรน Drone Academy Thailand สถาบัน อบรมวิ จั ย และพั ฒ นาโดรนแห่ ง ประเทศไทย ตลอดจนการเติบโตของร้านจ�ำหน่ายโดรน ทีส่ ะท้อน ให้เห็นถึงโอกาสธุรกิจใหม่กลางเวหาทีก่ ำ� ลังหอมหวน และมาแรงที่สุดแห่ง พ.ศ. นี้


EAST WATER MAGAZINE

HEALTH & SAFETY

หากประโยคนี้หมายถึงการขุดหา สมบัติปริศนา คงเป็นเรื่อง น่าตื่นเต้น เร้าใจ ชวนผจญภัย แต่ถ้าหากหมายถึงความเป็น ความตายของชีวิตล่ะ ยังจะ เป็นเรื่องเล่นๆ อยู่ไหม เรามา ดูตัวอย่างจากกรณีศึกษา อุบัติเหตุท่อน้ำ�มันแก๊สโซลีน เสียหายและเกิดไฟไหม้เนื่องจาก งานก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความ ระมัดระวังในการทำ�งานกันดีกว่า ในขณะที่คนงานก่อสร้างก�ำลังติดตั้งท่อน�้ำใต้ดิน โดยการใช้ ร ถขุ ด อยู ่ นั้ น รถขุ ด ได้ ขุ ด ถู ก ท่ อ น�้ ำ มั น แก๊สโซลีนแตก จึงเกิดไฟไหม้และระเบิดขึ้น ท�ำให้ คนงานก่อสร้าง 5 คนเสียชีวติ บาดเจ็บสาหัสอีก 4 คน และต้องอพยพคนในรัศมี ½ ไมล์ (0.9 กม.) จากจุดที่ ระเบิด เกิดความเสียหายในบริเวณกว้าง สาเหตุของ การเกิดอุบตั เิ หตุเกิดจากคนงานไม่ทราบถึงต�ำแหน่ง ของท่อน�้ำมันแก๊สโซลีนใต้ดินในขณะที่ก�ำลังขุด คน งานที่ใช้รถขุดขุดตามเครื่องหมายที่วิศวกรได้ท�ำไว้ ซึ่งไม่ถูกต้อง ในแบบท่อใต้ดินได้แสดงไว้ว่าจะต้อง อยู่ในบริเวณใกล้ต้นไม้ซึ่งได้ถูกตัดออกไปหลังจาก การวางท่อน�้ำมันแก๊สโซลีน นอกจากนี้คนงานและ หัวหน้างานไม่ได้ใช้เครื่องมือขุดเพื่อตรวจสอบท่อ น�้ำมันใต้ดินก่อนตามวิธีการที่ถูกต้อง

ต้องทราบว่า

อะไรอยู่ที่ ใต้ดินก่อน จะทำ�การขุด! วิธีป้องกัน 1. ตอ้ งตรวจสอบให้แน่นอนก่อนว่ามีอะไรอยูใ่ น ต�ำแหน่งทีจ่ ะขุด เช่น ท่อใต้ดนิ สายไฟฟ้าใต้ดนิ ฯลฯ ซึง่ จะต้องอยูใ่ นใบอนุญาตการท�ำงานด้วย 2. ทำ� การทบทวนวิธกี ารปฏิบตั งิ านด้วยความ ปลอดภัยก่อนจะเริม่ งานก่อสร้างและงานขุด 3. ให้รายงานเกือบจะเกิดอุบตั เิ หตุ (near misses) ในงานขุดทุกครัง้ เช่น ขุดพบท่อในบริเวณทีไ่ ม่ได้ คาดหมายหรือจุดอืน่ ๆ ทีไ่ ม่ได้มใี นแบบ 4. ศกึ ษาจุดทีท่ อ่ ต่างๆ วางผ่านโครงการก่อสร้างของ เราและการแก้ปญ ั หาหากมีการรัว่ ไหลเกิดขึน้ 5. ถา้ มีการขุดในบริเวณทีม่ กี ารวางท่อใต้ดนิ ต้อง มัน่ ใจว่าเราได้มกี ารฝึกอบรมในการปฏิบตั งิ าน ตามแผน ฉุกเฉินแล้ว

หากปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดและเพิ่มความ ระมัดระวังแล้ว ไม่เพียงเพิ่มความปลอดภัยใน การทำ�งาน แต่อาจจะเพิ่มความท้าทายที่แสนสนุก ในการทำ�งานอีกด้วย พรุ่งนี้ เราจะขุดเจออะไรนะ!!!

ที่มา

• http://www.aiche.org/CCPS/ Publications/Beacon/index.aspx • http://www.npc-se.co.th


NO.35

JULY 2016

LUCKY POWER

ผลไม้ชื่อดี ชีวิตมีมงคล

1 ล�ำไย ความรักหวานฉ�่ำ ชีวิตเป็นสุข 2 ลิ้นจี่ ความเป็นศิริมงคล 3 สับปะรด การมีความรอบรู้ สายตากว้างไกล 4 กล้วย การขยายกิจการ มีบุตร สืบสกุล มีบริวารมาก 5 ทุเรียน ความฉลาดหลักแหลม ป้องกันตนเองได้

แต่ไหนแต่ไรมาชาวไทยและชาวจีนเชื่อว่าการ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยผลไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลจะ ช่วยนำ�พาชีวิตให้รุ่งเรือง สุขสมหวัง แต่หาก นำ�ผลไม้ที่มีความหมายไม่ดีมาถวาย ชีวิตก็ อาจดิ่งลงเหวได้เช่นกัน มาดูกันว่าผลไม้อะไร บ้างที่ชื่อดีมีมงคล เหมาะจะนำ�มาถวายพระ เพื่ออัพพลังบวกให้ชีวิต

6 องุ่น ความเจริญรุ่งเรืองทั้งการ งานและชีวิต 7 แอปเปิล การมีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว 8 ส้ม การมีโชคลาภ ประสพแต่สิ่งดีๆ 9 ทับทิม การมีลูกชายมากๆ ลูกหลานโชคดี

10 ขนุน การมีผู้เกื้อหนุนอยู่เสมอ 11 แก้วมังกร ความรุ่งเรือง มีอ�ำนาจวาสนา 12 ลูกพลับ ความเบิกบานใจ มีความสุข ตลอดปี 13 เกาลัดและพุทรา การมีบุตรดี มีมารยาท 14 สาลี่ การรักษาชื่อเสียงและโชค ลาภไม่ให้เสื่อมถอย

ที่มา

www.deedaily.com


EAST WATER MAGAZINE

EWG NEWS

EWG NEWS

โครงการค่ายเยาวชนเครือข่ายอีสท์ วอเตอร์ รักษ์น้ำ� ต่อเนื่องปีที่ 3 อีสท์ วอเตอร์ จัดโครงการเครือข่ายอีสท์ วอเตอร์รกั ษ์นำ�้ ปีที่ 3 ระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง (พืชสวน) อ่างเก็บน�้ำดอกกราย จ. ระยอง โครงการ ดังกล่าวจัดร่วมกับกลุม่ นักรบสิง่ แวดล้อมและนักสืบ สายน�้ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา และศูนย์เฝ้าระวังและ ตรวจสอบคุณภาพน�ำ้ อ�ำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ซึ่ ง ถื อ เป็ น การต่ อ ยอดจากโครงการค่ า ยเยาวชน ผู ้ น� ำ อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรน�้ ำ ที่ จั ด มาตั้ ง แต่ ป ี 2551 โดยน�ำมาผนวกเข้ากับโครงการตรวจสอบและเฝ้า ระวังคุณภาพน�้ำทั้งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราและ จังหวัดระยอง เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของโครงการฯ ให้เยาวชนทีเ่ ข้าค่ายสามารถตรวจวิเคราะห์คณ ุ ภาพ

น�้ำเป็น โดยหวังสร้างเครือข่ายรักษ์น�้ำเพื่อร่วมกัน ดู แ ลรั ก ษาแหล่ ง น�้ ำ ของตนให้ มี คุ ณ ภาพดี ไ ม่ เสือ่ มโทรมตลอดไป ส�ำหรับเยาวชนผูผ้ า่ นการเข้าร่วม โครงการฯ ถือเป็นสมาชิกเครือข่ายรักษ์น�้ำจะได้รับ ใบประกาศนียบัตรและทุนการศึกษาอีกด้วย นับว่าโครงการนีเ้ ป็นการจัดการเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วม ระหว่างภาคเอกชน ชุมชน เยาวชน และหน่วยงาน ภาครัฐ เพือ่ ช่วยกันเฝ้าระวัง และดูแลรักษาทรัพยากร น�้ำให้มีคุณภาพดี ลดผลกระทบที่มีต่อวิถีชีวิตของ ชุมชน และคงไว้ให้ลูกหลานได้มีน�้ำกินน�้ำใช้ที่ได้ คุณภาพสืบไป


NO.35

JULY 2016

EWG NEWS

กิจกรรม พบปะเครือข่ายชุมชน อีสท์ วอเตอร์ เดินสายจัดกิจกรรมพบปะเครือข่าย ชุ ม ชนเป็ น ประจ� ำ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยในเดื อ น พฤษภาคม 2559 ที่ ผ ่ า นมา ได้ จั ด กิ จ กรรมสอน การท�ำฮ่อยจ๊อปูและไส้กรอกอีสานให้กับชุมชนใน พืน้ ที่ อบต.มาบยางพร เทศบาลต�ำบลปากน�ำ้ ประแส และ อบต.กระแสบน จ. ระยอง ตามล�ำดับ การสอน อาชีพดังกล่าวได้รับผลการตอบรับจากประชาชนใน แต่ละชุมชนเป็นอย่างดี

โครงการพบปะเครือข่ายของอีสท์ วอเตอร์ นี้ นับเป็น ส่วนหนึง่ ทีจ่ ะช่วยฝึกอาชีพให้กบั กลุม่ แม่บา้ น เพือ่ มุง่ พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่ และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

ประชุมชี้แจงสถานการณ์น้ำ� ปี 2559 แก่ผู้ใช้น้ำ�พื้นที่ชลบุรีและแหลมฉบัง อีสท์ วอเตอร์ จัดประชุมลูกค้าพื้นที่บริการ จ. ชลบุรี และแหลมฉบัง เพื่อชี้แจงสถานการณ์น�้ำปัจจุบันให้ ลูกค้ารับทราบ พร้อมขอความร่วมมือในการบริหาร การรับน�้ำร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ณ ห้อง ประชุม อาคารโสภาการบัญชี จ. ชลบุรี และที่ห้อง ประชุมส�ำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ใน พื้นที่แหลมฉบัง


EAST WATER MAGAZINE


NO.35

JULY 2016


EAST WATER MAGAZINE


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.