Is water vol 42 th

Page 1

I SSUE 42/60

AU GUST 2 0 1 7

www. east water. com

IS

WATER

WATER RECLAIM เปลี่ยนน้ำ�เสีย เป็นน้ำ�ใส

WATER DESTINATION

INNOVATION

BE INSPRIED

LUCKY POWER

HALLSTATT THEOS-2 เมืองโรแมนติก ริมทะเลสาบสีน้ำ�เงิน ธีออส 2 สู่ Thailand 4.0 สังคมสบตา

วันห้ามของไทย...รู้ ไว้ ไม่พลาด

MAGAZINE


01

EDITOR’S NOTE

ระยะนี้ในเขตกรุงเทพมหานคร มีการด�ำเนินการอย่างจริงจัง ในการฟื้นฟูสภาพคลองที่ เสื่อมโทรม รวมถึงปรับปรุงพื้นที่ สองฝั่งคลองให้มีสภาพแวดล้อม ที่สวยงามเป็นระเบียบ ดังเช่นที่ คลองผดุงกรุงเกษม รวมไปถึง คลองแสนแสบที่ตั้งเป้าคืน สายน�้ำใสสะอาดให้คนกรุงเทพฯ ภายใน 2 ปี

ข่าวคราวความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูแหล่งน�้ำในกรุงเทพมหานคร ท�ำให้เรานึกถึงต้นแบบโครงการฟื้นฟูแหล่งน�้ำเสีย 2 โครงการที่ประสบ ความส�ำเร็จอย่างสูงในต่างประเทศ จึงหยิบยกมาน�ำเสนอในคอลัมน์ Cover Story เพือ่ เน้นย�ำ้ ให้เห็นว่าการเปลีย่ นน�ำ้ เสียเป็นน�ำ้ ใสนัน้ สามารถท�ำได้จริง ส�ำหรับใครที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับการออกก�ำลังกาย ฉบับนี้เรามีเคล็ดลับ การมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างง่ายๆ ไม่ต้องออกแรง แต่ให้ผลเทียบเท่าการ ออกก�ำลังกายมาฝาก คลิกไปอ่านกันได้ที่คอลัมน์ Trick Positive ส่วนใคร ที่อยากเป็นคนน่ารักในยุคสังคมก้มหน้า อย่าพลาดคอลัมน์ Be Inspired หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาในฉบับนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ ทุกท่าน โดยเฉพาะด้านการอนุรกั ษ์นำ�้ เพราะคงทราบกันดีแล้วว่าการ จะฟื้นคืนสายน�้ำ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของคนเมืองนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของ คนใดคนหนึ่ง แต่เราทุกคนต้องช่วยกัน

กองบรรณาธิการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรนํ้าภาคตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) | ดูแลเนื้อหา HEALTH AND SAFETY : อมรลักษณ์ สุขมาก INNOVATION : ภูริชญา บุญเจริญ EWG NEWS : จริยา ตระกูลแก้ว SCOOP : ชานนท์ สุขบุญ WATER STOCK : ชลิดา สาธิตวุฒิ | ดูเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/eastwfanpage, www.eastwater.com | ฝ่ายศิลปกรรม บริษัท บรีโอ ซีจี คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด 467/5 อาคารพีพีดี ชั้น 4 ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม. 10120 โทรศัพท์ : (02) 689 1775 โทรสาร : (02) 689 1775 อีเมล : jay@briocg.com | จัดท�ำโดย บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรนํ้าภาคตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) อาคารอีสท์วอเตอร์ ชั้น 23-26 เลขที่ 1 ซอยวิภาวดีรังสิต 5 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์. : (02) 272 1600 โทรสาร : (02) 272 1602-3 WWW.EASTWATER.COM

00

IS WATER MAGAZINE

EDITOR'S NOTE


IN THIS ISSUE

05

HALLSTATT เมืองโรแมนติก ริมทะเลสาบสีน้ำ�เงิน

เปลี่ยนน้ำ�เสีย เป็นน้ำ�ใส

10

08 TRICK POSITIVE

09 BE INSPIRED

18 INNOVATION

20 ABOUT A BIZ

ขี้เกียจออกกำ�ลังกาย ให้ ไปอาบน้ำ�

05 WATER DESTINATION

02 COVER STORY

สังคมสบตา

โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ� Car Rental ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รถเช่า... ตอบโจทย์ธุรกิจ เพื่อชีวิตอิสระ

15

10 SCOOP

14 WATER STOCK

16 ASEAN WATCH

25 LUCKY POWER

26 EWG NEWS

25 ปี อีสท์ วอเตอร์ “ซื้อถัว” หรือ การพัฒนาอย่าง ไม่หยุดยั้ง เพื่อการเติบโต “ขายตัดขาดทุน” แบบไหนถึงจะดี? สู่ความยั่งยืน 23 HEALTH & SAFETY

ภัยร้ายภายใต้ สถานที่อับอากาศ

วันห้ามของไทย... รู้ ไว้ ไม่พลาด

กีฬาซีเกมส์ ครั้งแรกของ อาเซียน

ข่าวและ กิจกรรม อีสท์ วอเตอร์


WATER RECLAIM TURNING WASTEWATER INTO CLEAN WATER

เปลี่ยนน้ำ�เสีย เป็นน้ำ�ใส

เราต่างทราบดีว่าบรรดา เมืองใหญ่หรือมหานคร ของโลกนั้นต้องผ่าน การพัฒนาครั้งแล้ว ครั้งเล่ากว่าจะเป็นเช่น ปัจจุบัน หลายแห่งสร้างขึ้น บนความเสียหายของ สิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะป่าไม้และแหล่งน�ำ้ ธรรมชาติ อันมีสาเหตุมาจากการพัฒนา ที่ผิดทาง แต่ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเราจึงได้เห็น หลายๆ เมืองที่สามารถพลิกฟื้นสิ่งแวดล้อมให้กลับมาดีดังเดิมหรือ ดีกว่าเดิมในหลายๆ ด้าน หนึง่ ในเมืองต้นแบบทีป่ ระสบความส�ำเร็จใน การเปลีย่ นน�ำ้ เสียเป็นน�ำ้ ใส และสร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้เห็นอย่างเป็น รูปธรรม ได้แก่ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ทีส่ ามารถฟืน้ คืนแหล่งน�ำ้ เน่าเสียและปรับปรุงระบบประปาของเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ กระทัง่ ได้ชอื่ ว่าเป็นหนึง่ ในเมืองทีม่ นี ำ�้ ประปาสะอาดทีส่ ดุ ในโลก อีกหนึง่ เมืองที่ ประสบความส�ำเร็จในระดับทีเ่ ป็นเลิศ ได้แก่ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี กับโครงการปรับปรุงคลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon) ให้กลาย เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาเยือน

COVER STORY

02

IS WATER MAGAZINE

COVER STORY


STOCKHOLM สตอกโฮล์ม ฟื้นฟูน้ำ�เสีย ฟื้นคืนน้ำ�ใส ทำ�ได้จริง กรุงสตอกโฮล์ม เป็นหนึ่งในเมืองที่ได้รับยกย่องว่า มีแหล่งน�้ำที่สะอาดที่สุดในโลก ขนาดที่สามารถลง ไปว่ายน�้ำหรือจับปลาตามแหล่งน�้ำต่างๆ ในเมือง ได้อย่างปลอดภัย ขณะเดียวกัน คุณภาพน�้ำประปา ของเมืองนี้ได้รับการยอมรับว่าสะอาดและรสชาติดี จนสามารถดื่มจากก๊อกได้โดยตรง

Photo from:

http://www.bakermckenzie.com/en/ https://www.reddit.com/r/CityPorn/ locations/emea/sweden/ comments/2jf7qq/stockholm_sweden_ river_canal_in_winter_2680x1783/

ทว า ก อ นจะมาเป็ น มหานครแห  ง น�้ ำ สะอาดดั ง เช  น ปั จ จุ บั น กรุงสตอกโฮล์มเคยอยู่ในภาวะขาดแคลนน�้ำมาก่อน อันเป็นผลจาก การทิ้ ง น�้ ำ เสี ย จากชุ ม ชนและโรงงานอุ ต สาหกรรมลงในแหล่ ง น�้ ำ ธรรมชาติ ท�ำให้แหล่งน�้ำหลายแห่งเน่าเสียจนไม่สามารถใช้อุปโภค บริโภคได้ รัฐบาลสวีเดนจึงด�ำเนินการในหลากหลายรูปแบบเพื่อ ฟื้นฟูแหล่งน�้ำของประเทศ อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้าน สิง่ แวดล้อม การสนับสนุนให้เอกชนเป็นผูด้ ำ� เนินการโดยมีผลตอบแทน ทางการลงทุนเป็นสิง่ จูงใจ และการออกกฎหมายทีเ่ ข้มงวดเพือ่ ควบคุม มลภาวะ เช่น ให้สร้างอาคารบ้านเรือนห่างจากแม่น�้ำไม่น้อยกว่า 100 เมตร ส่วนบริษัทขนาดใหญ่ทุกแห่งจะต้องติดตั้งเครื่องบ�ำบัดน�้ำเสีย และเครื่องผลิตน�้ำดื่มที่ได้มาตรฐาน มิเช่นนั้นจะถูกระงับใบอนุญาต ประกอบกิจการ เป็นต้น ส� ำ หรั บ ระบบบริ ห ารจั ด การน�้ ำ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ของสวี เ ดนนั้ น ด�ำเนินการโดยบริษัท Stockholm Vatten och Avfall ซึ่งน�ำเทคโนโลยี สมัยใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการแหล่งน�้ำและวางระบบประปา ไปจนถึงการผลิตน�ำ้ สะอาดเพือ่ การอุปโภคบริโภค และการบ�ำบัดน�ำ้ เสีย ก่อนปล่อยลงสู่ทะเล ส่วนกากของเสียตกค้างจะถูกน�ำไปผลิตเป็น ปุ๋ยเพื่อใช้ในภาคการเกษตร ขณะที่แก๊สชีวภาพที่ได้จากการผลิตปุ๋ย ถูกน�ำไปใช้เป็นพลังงานส�ำหรับรถยนต์และรถประจ�ำทาง 03

IS WATER MAGAZINE

ปัจจุบนั หลายประเทศได้รบั เอาแนวทางของสวีเดน มาใช้ในการอนุรักษ์แหล่งน�้ำและการบริหารจัดการ น�้ำเสียในประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่น�ำแนวคิด การมี ส ่ ว นร่ ว มของภาคเอกชนมาใช้ ใ นโครงการ น�ำร่องสร้างเมืองสีเขียว คาร์บอนต�ำ่ ทีค่ าดว่าจะช่วย กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

COVER STORY


อ้างอิง

สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์. (2015). คลองชองเกซอน รื้อทางด่วนพลิกน�้ำ เน่าให้เป็นแหล่งพักผ่อนกลางกรุง โซล. http://www.creativemove. com/creative/cheonggyecheon ASTVผู้จัดการออนไลน์. (2014). “ซิมไบโอซิตี้” แนวคิด“เมืองสี เขียว”. http://www.manager. co.th/iBizChannel/ViewNews. aspx?NewsID=9570000056616 Joint Travel. คลองชองเกชอน (Cheonggyecheon Stream) – Cheonggye Plaza. http://www. jointtravel.com/travel-informationgallery/cheonggyecheon-streamcheonggye-plaza.html Stockholm Vatten och Avfall. http://www. stockholmvattenochavfall.se/en Sutthiporn Bunchuay. (2556). สตอกโฮล์ม: เมืองหลวงที่มีแหล่ง น�้ำสะอาดที่สุดในโลก. http://news. voicetv.co.th/global/66004.html The Richest. (2013). Top 10 Countries With the Best Tap Water. http://www.therichest. com/expensive-lifestyle/location/ top-10-countries-with-the-besttap-water Visit Stockholm AB. Swimming in the city. http://www.visitstockholm. com/en/See--do/Guides/Swim

seoul โซล ชองกเยชอน คลองที่เป็น มากกว่าแหล่งน้ำ� ข้ามมายังอีกฟากหนึ่งของโลก ณ ใจกลางกรุงโซล สาธารณรัฐ เกาหลี มี ค ลองเก  า แก  อ ายุ มากกว่า 600 ปี ชือ่ “คลองชอง กเยชอน” ที่ มี ค วามหมายว่ า “สายน�้ำที่ใสสะอาด” แต่เมื่อราว 60 ปีก่อนสายน�้ำในคลองแห่งนี้ กลับไม่ใสสะอาดดังชื่อ อันเนื่อง มาจากการพัฒนาประเทศอย่าง ก้ า วกระโดดท�ำ ให้ ค ลองถู ก ถม กลายเป็นถนนและทางยกระดับ ส่ ว นที่ เ หลื อ อยู ่ ก็ ตื้ น เขิ น และ เน่าเสียจนใช้การไม่ได้

Wikipedia. History of Stockholm. https://en.wikipedia.org/wiki/ History_of_Stockholm#Early_ industrial_era_.281809. E2.80.931850.29

กระทั่งในปี ค.ศ. 2002 นายอี มยอง บัก (Lee Myung-Bak) นายกเทศมนตรีกรุงโซลในยุคนั้น ได้ เสนอโครงการฟื้นฟูคลองชองกเยชอนโดยการทุบ ทางยกระดับและรือ้ ถนนโดยรอบ มีการขุดท่อผันน�ำ้ จากแม่น�้ำฮันเข้ามาไล่น�้ำเสียออกสู่ทะเล รวมถึง การฟื ้ น ฟู ทั ศ นี ย ภาพสองฝั ่ ง คลองโดยการสร้ า ง ทางเดินเลียบคลอง สะพานข้ามคลอง อุโมงค์น�้ำพุ ไปจนถึงจุดเยี่ยมชมต่างๆ เช่น ภาพวาดขบวนแห่ ชองโจบันชาโด และ Wall of wish เป็นต้น ตลอด สองฝั ่ ง คลองยั ง เรี ย งรายไปด้ ว ยร้ า นกาแฟ ร้านอาหาร และบาร์ทสี่ ามารถดืม่ ด�ำ่ บรรยากาศของ คลองได้ตลอดทั้งวัน กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่ง ใหม่ใจกลางเมืองที่มีมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ 04

IS WATER MAGAZINE

COVER STORY

กรุงสตอกโฮล์มและ กรุงโซล คือ ต้นแบบ ความส�ำเร็จของการ พัฒนาที่เชื่อมโยงมิติ ทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจ ไปพร้อมกับ การยกระดับคุณภาพ ชีวิตของผู้คนในเมือง ซึ่ง จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความ ร่วมมือของทุกภาคส่วน ที่มุ่งมั่นเดินหน้าสู่อนาคต อันใสสะอาดไปด้วยกัน


HALLSTATT เมืองโรแมนติก ริมทะเลสาบสีน้ำ�เงิน

ช่วงกลางปีที่อากาศอบอุ่น ท้องฟ้าแจ่มใส ดอกไม้เบ่งบาน เป็นช่วงเวลาสำ�หรับคู่รักหรือครอบครัวที่ต้องการเดินทาง ท่องเที่ยวร่วมกัน และหนึ่งในเมืองที่ได้รับการยอมรับว่า งดงามและโรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้แก่ ฮัลล์ชตัทท์ (Hallstatt) หมู่บ้านเล็กๆ ในรัฐอัปเปอร์ออสเตรีย ประเทศ ออสเตรีย

WATER DESTINATION

05

IS WATER MAGAZINE

WATER DESTINATION


Photo from:

http://www.bakermckenzie.com/en/ locations/emea/sweden/

ฮัลล์ชตัทท์ เป็นเขตชุมชนโบราณของชาวเคลติก ฮัลล์ชตัทท์ เป็นเมืองที่สามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล ไม่ว่าจะ

(Celtic) ซึง่ เป็นชนพืน้ เมืองเก่าแก่ของภูมภิ าคยุโรป จุดเด่นที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงตลอดหลายร้อยปีของ หมูบ่ า้ นแห่งนี้ คือ บ้านโบราณทีส่ ร้างลดหลัน่ ไปตาม เชิงเขาริมทะเลสาบฮัลล์ชตัทท์ แวดล้อมด้วยเทือกเขา แอลป์อันงามสง่า ตัวเมืองประกอบด้วยอาคารเก่า แก่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรปยุคโบราณ จั ตุ รั ส เล็ ก ๆ ใจกลางเมื อ ง และโบสถ์ ย อดแหลม แบบกอธิ ก (Gothic) ในวั น ที่ อ ากาศแจ่ ม ใสจะ สามารถมองเห็นภาพเมืองและภูเขาสะท้อนเงาลง บนทะเลสาบสีน�้ำเงินเข้มดูงดงามแปลกตา จุดเด่น อีกประการหนึ่งคือบรรยากาศอันเงียบสงบ เนิบช้า ปราศจากแสงสี ตึกสูง และความอึกทึกใดๆ ท�ำให้ ในปี พ.ศ. 2540 ฮัลล์ชตัทท์ได้ขนึ้ ทะเบียนเป็นมรดก โลกประเภท Cultural Landscape จาก UNESCO ในฐานะเมืองที่มีการผสมผสานระหว่างภูมิประเทศ สวยงามและวัฒนธรรมเก่าแก่ 06

เป็นฤดูหนาวที่มีหิมะปกคลุมราวกับเมืองในเทพนิยาย ฤดูใบไม้ร่วง สุดโรแมนติกซึ่งทั้งเมืองแวดล้อมไปด้วยใบไม้เปลี่ยนสี โดยเฉพาะ ฤดูร้อนที่อากาศปลอดโปร่งสดใส เพราะนอกจากจะได้ชมความงาม ของทะเลสาบอันใสสะอาดอย่างชัดเจนแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถ นั่งกระเช้าขึ้นไปชมเหมืองเกลือเก่าแก่อย่าง Salzwelten ที่มีอายุ มากกว่า 7,000 ปี ได้อีกด้วย

IS WATER MAGAZINE

WATER DESTINATION


อ้างอิง

JIRISUDA. (2560). หมู่บ้านฮาลล์สตัทท์ (HALLSTATT) ประเทศออสเตรีย. https://jirisuda. wordpress. com/2017/03/16/ หมู่บ้านฮาลล์สตัทท์hallstatt-ป/ Salzwelten. https://www. salzwelten.at/en/ hallstatt/saltmine/ hallstatthighvalley UNESCO. http:// whc.unesco.org/en/ list/806 Wikipedia. Hallstatt. https://en.wikipedia. org/wiki/Hallstatt Wonderfulpackage. ฮัลล์สตัท เมือง ฟ้าจรดน้ำ�ริม ทะเลสาบสีน้ำ�เงิน. https://www. wonderfulpackage. com/article/v/90 สองเท้า - เกาโลก. (2557). HALLSTATT เมืองในฝัน ในวันที่ใช่ กับ 35 ใบ บรรยาย ความความทรงจำ�. https://pantip.com/ topic/32932055

เหมืองเกลือ Salzwelten ตั้งอยู่ บนภูเขา สูงกว่าระดับน�้ำทะเล ประมาณ 838 เมตร ในอดี ต ฮัลล์ชตัทท์ขึ้นชื่อเรื่องเป็นแหล่ง ผลิต “ทองค�ำสีขาว” หรือ “เกลือ” ที่ ส� ำ คั ญ ของยุ โ รป ปั จ จุ บั น เหมืองเกลือใต้ดินกลายเป็นจุด ท่องเที่ยวส�ำคัญที่เปิดให้เที่ยว ชมและเรียนรู้เกี่ยวกับที่มาของ เกลือ ความส�ำคัญของเกลือ การ การเดินทาง จากกรุ ง เวี ย นนา ขึ้ น รถไฟที่ สถานี Westbannhof ใช้เวลาราว 2 ชัว่ โมงเพือ่ ไปยังสถานี AttnangPuchheim จากนั้นเปลี่ยนไปขึ้น รถไฟท้องถิน่ Regional Express ไปยังสถานี Bahnhof Hallstatt ใช้ เ วลาเดิ น ทางประมาณ 90 นาที จาก Bahnhof Hallstatt นั่ ง เรื อ ข้ า มฟากเพื่ อ ไปยั ง เมื อ ง ฮั ล ล์ ช ตั ท ท์ ดู ต ารางและราคา รถไฟที่ http://www.oebb.at/en เมื อ งฮั ล ล์ ช ตั ท ท์ ไ ม่ อ นุ ญ าตให้ น�ำรถทุกประเภทเข้าไปในเมือง 07

ท�ำเหมืองเกลือ และวิถีชีวิตของ ชาวเหมืองเกลือ ผ่านสือ่ มัลติมเี ดีย ทีท่ นั สมัยและสนุกสนาน ด้านบน ยั ง มี ร ้ า นอาหาร ร้ า นจ� ำ หน่ า ย สินค้าจากเกลือ รวมถึงจุดชมวิว ความยาว 12 เมตร ยื่ น ไปใน อากาศบนความสูงเหนือพื้นดิน 360 เมตร ซึ่งสามารถมองเห็น เทือกเขา ทะเลสาบ และหมูบ่ า้ น ฮัลล์ชตัทท์ในแบบพาโนรามา ชาวเมืองและนักท่องเที่ยวต้อง จอดรถไว้ทนี่ อกเมืองก่อนเดินเท้า เข้าเมือง ส� ำ หรั บ ปี 2560 เหมื อ งเกลื อ Salzwelten เปิ ด ให้ เ ที่ ย วชม ระหว่ า งวั น ที่ 1 เมษายน - 26 พฤศจิ ก ายน ดู ร ายละเอี ย ดที่ https://www.salzwelten.at/en/ hallstatt/opening-times อัตราค่าเข้าชมเหมืองเกลือ Salzwelten ผู้ใหญ่ 30 ยูโร เด็ก 10 ยูโร

IS WATER MAGAZINE

WATER DESTINATION

อีกหนึ่งกิจกรรมที่ ไม่ควรพลาดส�ำหรับ ผู้ที่มาท่องเที่ยวใน ช่วงเดือนเมษายน กันยายน คือ การ ขับเรือชมวิวทะเลสาบ และหมู่บ้านในมุมมอง ที่แตกต่างออกไป ปิดท้ายด้วยการ ชิมอาหารขึ้นชื่อที่ ปรุงด้วยปลาสดๆ จากทะเลสาบ โดย เฉพาะปลาทีม่ ชี อื่ เสียง ที่สุดแห่งทะเลสาบ ฮัลล์ชตัทท์ที่ เรียกว่า “ไรอันเก” (Reinanke) หรือ White Fish ในภาษา อังกฤษ ทานคู่กับ ไวน์ขาวท้องถิ่นของ ออสเตรียซึ่งรสชาติ เข้ากันอย่างลงตัว


TOO LAZY TO WORK OUT? GO TAKE A SHOWER! ขี้เกียจออกกำ�ลังกายให้ ไปอาบน้ำ� เราทราบดีวา่ หากอยากสุขภาพดีตอ้ ง ออกกำ�ลังกาย แต่การบังคับตัวเองให้ ลุกไปออกกำ�ลังกายกลับกลายเป็น เรือ่ งยากสำ�หรับหลายคน ทว่าผลการวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัยลัฟโบโรห์ (Loughborough University) ประเทศอังกฤษ อาจ ท�ำให้คนไม่ชอบออกก�ำลังกายต้องร้องไชโย เมื่อ พบว่า การแช่ตัวในน�้ำร้อนอาจให้ผลดีเช่นเดียวกับ การออกก�ำลังกาย การทดลองนี้มีเป้าหมายเพื่อทดสอบว่าการท�ำให้ อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส ด้วยวิธี ธรรมชาติ (Passive Heating) อย่างการแช่น�้ำร้อน จะสามารถลดระดับน�้ำตาลในเลือดและเผาผลาญ แคลอรี ได้หรือไม่ โดยให้กลุม่ ทดลองเพศชายจ�ำนวน 14 คน ปั่นจักรยาน 1 ชั่วโมง และแช่ตัวในน�้ำร้อน 40 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง ได้ผลลัพธ์ดังนี้

การปั่นจักรยาน

สามารถเผาผลาญแคลอรี มากกว่าการอาบน�้ำร้อน

การอาบน�้ำร้อน 1 ชั่วโมง ช่วยเผาผลาญแคลอรีได้พอๆ กับ การเดินครึ่งชั่วโมง

การปั่นจักรยานและ การอาบน�้ำร้อน

ช่วยลดระดับน�้ำตาลในเลือดได้ ใกล้เคียงกัน 08

นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 2015 มีการวิจัยในประเทศฟินแลนด์ที่ สนับสนุนแนวคิดข้างต้นว่าการอบซาวน่าบ่อยๆ สามารถช่วย ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจวายและสมองขาดเลือด เช่นเดียวกับการวิจัยของมหาวิทยาลัยออริกอน (University of Oregon) ที่แสดงว่าการอาบน�้ำร้อนเป็นประจ�ำสามารถช่วยลด ความดันโลหิตได้

หลายคนอาจสงสัยว่าการนั่งเฉยๆ ใน อ่างน�้ำร้อนจะช่วยเผาผลาญแคลอรี และลดความดันโลหิตได้อย่างไร? นักวิจัยอธิบายว่า การแช่น�้ำร้อน จะท�ำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ซึ่ ง ความ ร ้ อ นที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ตา ม ธรรมชาตินี้จะไปช่วยเพิ่มระดับ ของไนตริกออกไซด์ในร่างกาย ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดความดัน โลหิ ต ขยายหลอดเลื อ ด และ ท�ำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น จึง มีประโยชน์อย่างยิ่งส�ำหรับผู้ที่มี ภาวะความดันโลหิตสูง รวมถึง ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ มีปัญหาหลอดเลือดส่วนปลาย อุดตัน

IS WATER MAGAZINE

TRICK POSITIVE

อ้างอิง

The Conversation. (2017). http:// theconversation. com/a-hot-bath-hasbenefits-similar-toexercise-74600

อย่ า งไรก็ ต าม อย่ า ใช้ ก าร แช่ น�้ ำ ร้ อ นเป็ น ข้ อ อ้ า งที่ จ ะ ไม่ออกก�ำลังกาย เพราะการ นั่ ง นิ่ ง ๆ ในอ่ า งน�้ ำ ร้ อ นไม่ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง การ ออกก�ำลังกายต่างหากที่ไม่ เพียงช่วยเผาผลาญแคลอรี และลดความดันโลหิต แต่ยงั ช่วยให้กล้ามเนื้อและระบบ อวั ย วะต่ า งๆ แข็ ง แรงขึ้ น ท�ำงานได้ดีขึ้น แถมยังช่วย ให้รูปร่างดีขึ้นอีกด้วย


สังคมสบตา

SOCIETY OF EYE CONTACT

หลายปีกอ่ น มีคลิปวิดโี อชิน้ หนึง่ เผยแพร่ในแวดวง สือ่ สังคม ในชือ่ ว่า “Just Look Up” เป็นเรือ่ งราวของ ชายหนุม่ คนหนึง่ ทีบ่ อกว่า แม้เขามีเพือ่ นทาง Social Media มากถึง 422 คน แต่ “ผมก็ยงั โดดเดีย่ ว”

เขาบอกว่า “ผมพูดคุยกับพวกเขา ทุกวัน แต่ ไม่มีใครสักคนที่รู้จักผม” คลิปวิดโี อนีบ้ อกกับเราว่า “เมือ่ เราเปิดคอมพิวเตอร์ เท่ากับเราปิดประตู (ทีเ่ ชือ่ มต่อกับคนจริงๆ)” ในแง่จิตวิทยา การก้มหน้าอยู่กับสมาร์ตโฟนเป็น ประจ�ำอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า บุคคลนั้น ไม่พอใจกับชีวติ หรือความสัมพันธ์ทตี่ นมีกบั ผูอ้ นื่ ใน ชีวิตจริง ท�ำให้ต้องคอยตรวจสอบความเคลื่อนไหว ในเครือข่ายสังคมอยู่เป็นประจ�ำ เพื่อจะได้ไม่พลาด การเป็นส่วนหนึ่งของ “สังคม” บางคนลงมือเขียน เรื่องราว ถ่ายภาพ หรือถ่ายวิดีโอเกี่ยวกับตัวเอง อย่างสุดฝีมือ เพราะหวังสร้าง “ตัวตน” ที่ดีกว่าใน โลกออนไลน์ ปรากฏการณ์ นี้ มี ชื่ อ สวยหรู ว ่ า สั ง คมก้ ม หน้ า (Phubbing) โดยมีคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน และ อินเทอร์เน็ตเป็นจ�ำเลยส�ำคัญ 09

สังคมก้มหน้าจึงเป็นเรือ่ งของ “การสูญเสียทักษะทางสังคม แบบ Face to Face” ซึง่ ท�ำให้ บางคนรู้สึกประหม่าเวลาที่ ต้องพูดคุยกับคนที่ “ไม่สนิท” ไม่กล้ามองหน้าหรือสบตา คู่สนทนา วางตัวไม่ถูก หรือ ไม่รวู้ า่ จะคุยอะไรดี

แต่การจะเป็นคนที่มี เสน่ห์ ในโลกจริงนั้น ไม่ยากอย่างที่คิด

ศ.ดร.นายแพทย์วิทยา นาควัชระ จิตแพทย์ชื่อดัง แนะน�ำว่า เราควร หยุดใช้โทรศัพท์มอื ถือ ดูโทรทัศน์ หรือ แม้แต่อา่ นหนังสือพร้อมกับคุยไปด้วย เพราะเท่ากับไม่ให้ความส�ำคัญต่อ คู  ส นทนา ท� ำ ให้ ก ารสนทนาขาด รสชาติและความต่อเนือ่ ง ลองเปลีย่ น จากการจับจ้องมองหน้าจอมาเป็น “การสบตา” คูส่ นทนา เพือ่ สร้างความ รู้สึกเชื่อมต่อด้านอารมณ์หรือสร้าง อารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้น พยักหน้าเห็น ด้วยในสิ่งที่ผู้อื่นพูด เอ่ยค�ำพูดดีๆ ที่ ผู้ฟังอยากได้ยิน

“ เมื่อคนสองคน (หรือมากกว่า) ให้ความสำ�คัญต่อกัน สื่อสารกันอย่างตั้งใจ และพูดคุยกันอย่างมีมิตรภาพ บรรยากาศดีๆ ที่หาได้เฉพาะในโลกแห่งความเป็นจริง ย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องอาศัยปลายนิ้วสัมผัส

IS WATER MAGAZINE

BE INSPIRED


STEPS OF GROWTH 25 ปี อีสท์ วอเตอร์

การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อการเติบโตสู่ความยั่งยืน

10

ปีพุทธศักราช 2560 เป็นปีที่ บริษัท จัดการ และพัฒนาทรัพยากรน�้ำภาคตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ จะครบรอบปีที่ 25 จากที่เริ่มก่อตั้งในปี 2535 จวบจนปัจจุบัน อีสท์ วอเตอร์ ยังคงมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะด�ำเนิน ภารกิจเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มุ่งหวังให้ประเทศไทยมีความมั่นคงและรักษา เสถียรภาพด้านแหล่งน�้ำมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมไปกับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อ ชุมชนและสังคม

IS WATER MAGAZINE

SCOOP


ย้อนเวลากลับไปกว่า 2 ทศวรรษ อีสท์ วอเตอร์ ได้ผ่านเหตุการณ์ ส�ำคัญและประสบการณ์ต่างๆ มากมายจากการบริหารจัดการน�้ำใน ภาคตะวันออก มีทั้งความภาคภูมิใจ ความประทับใจ และบทเรียน ส�ำคัญๆ ร่วมกันกับชุมชนในพื้นที่ กรมชลประทาน และผู้ใช้น�้ำ ที่ช่วย หล่อหลอมพัฒนาให้ อีสท์ วอเตอร์ เติบโตขึ้นอย่างยั่งยืนและเป็น ผู้น�ำในการบริหารจัดการน�้ำครบวงจรอย่างทุกวันนี้ เหตุการณ์หนึ่งที่ ทุกคนคงไม่มีวันลืม คือวิกฤตภัยแล้งเมื่อปี 2548 “น�้ำ” ในอ่างเก็บน�ำ้ ทุกแห่งเหือดแห้ง ชาวบ้านไม่มนี ำ�้ ดืม่ น�ำ้ กิน อุตสาหกรรมต้องลดการใช้นำ�้ ผลผลิตจากภาคการเกษตรตกต�่ำ ทุกภาคส่วนต้องท�ำงานประสานกัน เพื่อประคองให้เศรษฐกิจของประเทศไปรอด เหตุ ก ารณ์ ใ นครั้ ง นั้ น ถื อ เป็ น จุ ด เปลี่ ย นครั้ ง ส� ำ คั ญ ของการบริ ห าร จัดการน�้ำของประเทศ ซึ่งรวมถึงการวางรากฐานการบริหารจัดการน�้ำ ในภาคตะวันออกของ อีสท์ วอเตอร์ ได้อย่างแข็งแกร่ง นัน่ คือการพัฒนา โครงข่ายท่อส่งน�ำ้ ให้เชือ่ มโยงแหล่งน�ำ้ หลักใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก เข้าด้วยกัน การด�ำเนินธุรกิจทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ฐานของการอยูร่ ว่ มกันกับชุมชน และการดูแลพิทกั ษ์รกั ษาไว้ซงึ่ ป่าต้นน�ำ้ เพือ่ สร้างความมัน่ คงด้านน�ำ้ ให้ กับชุมชน และสร้างความมัน่ คงทางเศรษฐกิจให้กบั ประเทศ การเดินทางในหลายปีที่ผ่านมา อีสท์ วอเตอร์ ได้เรียนรู้และตอบรับ ต่อความท้าทายต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย 11

IS WATER MAGAZINE

ให้ดที สี่ ดุ “อีสท์ วอเตอร์ ได้คน้ พบว่าการด�ำเนินธุรกิจ ของเราจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องดูแลให้ครอบคลุมทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม ตัง้ แต่ตน้ ทาง ของน�้ำไปจนถึงปลายน�้ำ โดยชุมชนที่อยู่ตลอดแนว โครงข่ายท่อส่งน�้ำดิบความยาวกว่า 491.8 กม. ของเราต้ อ งมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี แ ละมี น�้ ำ กิ น น�้ ำ ใช้ อย่างเพียงพอและได้มาตรฐาน ดังนั้นในโอกาสที่ อีสท์ วอเตอร์ จะครบ 25 ปีเต็มในเดือนตุลาคมนี้ จึ ง เตรี ย มเดิ น หน้ า สร้ า งชุ ม ชนต้ น แบบตลอด เส้นทางการล�ำเลียงน�้ำ ด้วย 3 โครงการต้นแบบ ตัง้ แต่ตน้ น�ำ้ กลางน�ำ้ และปลายน�ำ้ ภายใต้โครงการ 25th East Water…Steps of Growth” คุณจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อ�ำนวยการใหญ่ อีสท์ วอเตอร์ คนปัจจุบันกล่าว

SCOOP


จากพระราชดำ�รัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ� ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ� พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ� ฉันจะสร้างป่า” สะท้อนถึงความสำ�คัญของ น้ำ� กับป่าที่ต้องพึ่งพาและผูกพันกัน อีสท์ วอเตอร์ จึงได้น้อมน�ำพระราชด�ำรัส ของพระองค์ท่านสู่การปฏิบัติในโครงการ ชุมชนต้นแบบ “สร้างป่าชุมชนสร้างชีวติ อย่าง ยั่งยืน” ด้วยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ป่าชุมชนรอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออกเพือ่ ดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าอันเป็นต้นน�้ำส�ำคัญ ของภาคตะวันออก พร้อมสร้างคุณค่าร่วม ต่อวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ของ ชุมชนกับป่าอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีพื้นที่ น�ำร่อง ได้แก่ พื้นที่ป่าชุมชนบ้านสามพราน อ.คลองตะเกรา จ.ฉะเชิงเทรา จ�ำนวน 32 ไร่ และพืน้ ทีป่ า่ ชุมชนบ้านหนองม่วง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง จ� ำ นวน 70 ไร่ ทั้ ง สองพื้ น ที่ ถื อ เป็นป่าต้นน�้ำของอ่างเก็บน�้ำคลองสียัดและ อ่างเก็บน�้ำประแสร์ ซึ่งเป็นแหล่งน�้ำที่ใหญ่ ที่ สุ ด ในจั ง หวั ด ฉะเชิ ง เทรา และระยอง ตามล�ำดับ 12

IS WATER MAGAZINE

SCOOP


อี ก 1 โครงการชุ ม ชนต้ น แบบ “ประปาชุมชน สร้างคน สร้างสุข” เป็นโครงการเพื่อแก้ปัญหาการ เข้าถึงน�้ำสะอาดของชุมชนตาม แนวประชารั ฐ ซึ่ ง เป็ น หนึ่ ง ใน โครงการขั บ เคลื่ อ นประเทศให้ เข้ ม แข็ ง และมั่ น คงของรั ฐ บาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดย จับมือกับ การประปานครหลวง (กปน.) ฝึกอบรมทักษะหลักสูตร “การควบคุมการผลิตและบ�ำรุง รั ก ษาระบบประปาชุ ม ชน” ให้ กั บ สถาบั น การอาชี ว ศึ ก ษา ภาคตะวั น ออกจ� ำ นวน 9 แห่ ง ผ่านโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อ ชุมชน (Fixed it Center) เพือ่ เป็น ศูนย์กลางดูแลและบ�ำรุงรักษา ระบบประปาตามชุ ม ชนต่ า งๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน ในอนาคต

เมื่ อ “น�้ ำ ” เดิ น ทางมาจนถึ ง ปลายทาง ปั ญ หาส� ำ คั ญ ก็ คื อ คุณภาพน�ำ้ เริม่ เสือ่ มโทรม โครงการ “รักษ์น�้ำ รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็น อี ก หนึ่ ง โครงการต้ น แบบที่ จ ะ ช่ ว ยเปลี่ ย นน�้ ำ เสี ย เป็ น น�้ ำ ใส ด้ ว ยการสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ในการ ดูแลรักษาสภาพแหล่งน�้ำ สร้าง เครือข่ายเฝ้าระวังและตรวจวัด คุ ณ ภาพน�้ ำ ในชุ ม ชน สร้ า ง ระบบดั ก ไขมั น หรื อ น�้ ำ เสี ย ใน ครัวเรือนก่อนปล่อยลงสูแ่ หล่งน�ำ้ สาธารณะ สร้างระบบหมุนเวียน น�้ ำ ด้ ว ยอากาศตามหลั ก การ ของโครงการพระราชด�ำริ กังหัน ชัยพัฒนา เป็นต้น

13

IS WATER MAGAZINE

ก้ า วต่ อ ไปในอนาคต อี ส ท์ วอเตอร์ มองเห็ น ทั้ ง ความท้ า ทายและโอกาสที่ รอคอยอยู่ การก้ า วเข้ า สู่ ป ระชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย (AEC) และนโยบายสนั บ สนุ น อุ ต สาหกรรม แห่งอนาคต “โครงการระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก (EEC) ของรัฐบาล ทำ�ให้ อี ส ท์ วอเตอร์ ต้ อ งพั ฒ นาและปรั บ กลยุ ท ธ์ ใ หม่ โดยตั้ ง เป้ า เป็ น “ผู้ นำ� ใน การบริ ห ารจั ด การน้ำ � ครบวงจรของ ประเทศ” เพื่ อ สร้ า งความเข้ ม แข็ ง และ มั่ น คงของระบบสาธารณู ป โภคด้ า น น้ำ � ให้ กั บ ประเทศในอนาคต ในขณะ เดียวกันยังคงสานต่อพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชและสมเด็ จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ป่าไม้ และทรัพยากรน้ำ� ควบคูก่ นั ไป ... 25th East Water Steps of Growth การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อการเติบโตสู่ความยั่งยืน

SCOOP


Which strategy is good?

AVERAGING DOWN VS CUT LOSS “ซื้อถัว” หรือ “ขายตัดขาดทุน” แบบไหนถึงจะดี? ในการลงทุนหุ้น สิ่งที่นักลงทุนมุ่ง หวังก็คือก�ำไรจากการลงทุน แต่จะใช้ เวลาเท่าใดหรืออยู่ในรูปแบบไหนนั้น อาจจะแตกต่างกันไป 14

เช่น ก�ำไรในระยะสั้น กลาง หรือ ยาว ในสถานการณ์จริง บางครั้ง เราอาจจะได้ ก� ำ ไรมา 5-10% จากการวางแผนการลงทุนมาว่า บริษัทนั้นเติบโตและเป็นจังหวะ ที่หุ้นก�ำลังปรับตัว ในทางตรงกัน ข้ามก็เป็นไปได้เช่นกันว่า เมื่อซื้อ หุ้นแล้วหุ้นกลับปรับลดราคาลง เนื่องจากวิเคราะห์บริษัทนั้นผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนใน IS WATER MAGAZINE

WATER STOCK

อ้างอิง

muegao.blogspot.com คุณ jo of gule

บริษทั ทีค่ ดิ ว่าจะมีผลประกอบการ ทีฟ่ น้ื ตัวจากวิกฤติ แต่กลับไม่เป็น เช่นนัน้ หรือสภาพตลาดย�ำ่ แย่ จน ท�ำให้หุ้นน้อยใหญ่ปรับตัวลดลง ไปด้วย ท�ำให้การทนถือหุน้ ต่อไป มีแต่จะขาดทุนมากขึน้ และ/หรือ ติดหุ้นนั้นเป็นเวลานานผิดไปจน พลาดโอกาสในการท�ำก�ำไรจาก หุ้นตัวอื่น


ทีนี้ จะซื้อถัว หรือ จะขายตัดขาดทุน (Cut Loss) ดี??

ข้อผิดพลาด ของการ CUT LOSS

ก็ ต ้ อ งกลั บ มาถามต่ อ ว่ า ก่ อ น ซื้อขายหุ้น "เราใช้ปัจจัยอะไรมา ตัดสินในการซื้อหุ้น?" เราซื้อหุ้น ตัวนัน้ มาเพราะเห็นสัญญาณทาง เทคนิค (Technical) หรือว่าเรา ซื้อเพราะเชื่อว่ามูลค่าที่แท้จริง ของหุ้นพื้นฐานยังต�่ำกว่าราคา ทีแ่ ท้จริง (Value Investment: VI) สิ่งที่เป็นตัวตัดสินความส�ำเร็จใน ตลาดหุ้นก็คือ "วินัย"

คือเมื่อเราซื้อหุ้นจากปัจจัยพื้นฐาน จาก ที่ ไ ด้ ค� ำ นวณอย่ า งดี แ ล้ ว ว่ า ราคาที่ ซ้ื อ นั้นต�่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง แต่กลับน�ำวิธี การ Cut Loss มาประยุกต์ใช้เมื่อเห็น ว่าราคามันตกลงไปอีก กลายเป็นว่า ซื้อ ถูก แต่ไปขายถูกกว่า สิ่งที่ VI ต้องท�ำคือ การวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนว่าหุ้นที่ซื้อ นั้นราคาต�่ำกว่ามูลค่า และหากราคาลด ลงไปอีก สิ่งที่ต้องท�ำคือ การซื้อถัวเฉลี่ย ไม่ใช่ Cut Loss

การซื้ อ ถั ว หุ ้ น ที่ เ ราซื้ อ มาด้ ว ย ปัจจัยทางเทคนิคแทนที่จะ Cut Loss เราต้องท�ำความเข้าใจก่อน ว่า ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะสามารถ คาดการณ์แนวโน้มหุ้นได้อย่าง แม่นย�ำ 100% โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในตลาดไทยที่เราต้องยอมรับ ว่ามีการควบคุมราคาอยูส่ ว่ นหนึง่ เพราะฉะนั้นสิ่งส�ำคัญที่จะท�ำให้ นัก Technical ได้ก�ำไรก็คือการ "Cut Loss" และ "Let Profit Run " หากเราเข้าถูกจังหวะ ปฏิบตั ติ าม วินัย ก็สามารถได้ก�ำไร เพราะ ฉะนั้นต้องระลึกไว้เสมอว่า หุ้นที่ ซื้อตามสัญญาณเทคนิค ถ้าลง เกินจุด Cut Loss ที่ตั้งไว้ตอนซื้อ ต้องขาย Cut Loss เสมอ ห้าม ซื้อถัวเฉลี่ยเด็ดขาด

คนจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีซ่ อื้ หุน้ ตามสัญญาณ เทคนิค แต่ถึงเวลาเข้าผิดจังหวะ กลับ ไม่ยอม Cut Loss และผันตัวไปถือยาว เรียกตนเองว่า VI ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่ามี ต้นทุนสูงกว่า VI จริงๆ อยู่มาก

ในทางกลับกัน การซื้อหุ้นแบบ VI มักจะ ซื้อหุ้นที่ราคายังไม่ปรับตัวขึ้นไป ซึ่งถ้า มองในมุม Technical อาจจะเป็นหุน้ ทีอ่ ยู่ ในจังหวะขาลง หรือ Side way จึงไม่แปลก เลยที่ VI จะซือ้ หุน้ ตัวใดตัวหนึง่ แล้วราคา กลับลงต่อ เพราะฉะนัน้ มันเป็นธรรมชาติ ที่เราจะซื้อหุ้นโดยอิงปัจจัยพื้นฐาน และ ต้องอดทนเห็นพอร์ตหุ้นติดลบอยู่สักพัก เป็นไปได้ยากมากที่เราจะซื้อหุ้นแบบ VI และเห็นราคาปรับตัวขึ้นไปทันทีแบบ หุ้น Technical ต้องใช้เวลากว่าที่มูลค่า เหล่านั้นจะสะท้อนออกมาถึงราคาหุ้น พบว่า มีนักลงทุน VI จ�ำนวนไม่น้อยที่ ไม่ ส ามารถอดทนรอเวลาได้ เมื่ อ เห็ น ราคาปรับลดลงไปเรื่อยๆ แทนที่จะซื้อ เพิ่ม กลับขายออกไป และอ้างว่าตนเอง มีวินัยจึง Cut Loss

ดังนั้น ในการลงทุนทุกครั้ง ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ ไว้ ตั้งแต่แรกว่า ถ้าเป็นไปตาม แผนจะท�ำอย่างไร ถ้าไม่เป็นไป ตามแผนจะท�ำอย่างไร ดังค�ำกล่าวที่ว่า

การลงทุนมี ความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูล ก่อนการตัดสินใจ ลงทุน ”

15

IS WATER MAGAZINE

WATER STOCK


ASEAN WATCH

THE FIRST SEA GAMES FOR ASEAN COMMUNITY กีฬาซีเกมส์ครั้งแรก ของอาเซียน หากกล่ า วถึ ง มหกรรมกี ฬ าที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ในเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ และเป็ น ที่ ส นใจของประชาชนใน ภูมิ ภาคกว่า 600 ล้า นคน คงหนี ไม่ พ้นการแข่ง ขัน กีฬาซีเกมส์ ซึ่งจัดขึ้นทุกสองปี (ปีเว้นปี) เพื่อส่งเสริม ความเข้าใจและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ประเทศสมาชิก ซึง่ ปีนจี้ ดั ขึน้ เป็นครัง้ ที่ 29 ระหว่างวันที่ 19-30 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โดยมีประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ภายใต้ชอื่ อย่างเป็นทางการ ว่า Kuala Lumpur 2017 ถือเป็นการแข่งขันกีฬา ซีเกมส์ครัง้ แรกภายหลังการก่อตัง้ ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนอย่างเป็นทางการ 16

IS WATER MAGAZINE

ส�ำหรับครั้งนี้ มาเลเซียในฐานะเจ้าภาพตั้งใจสร้าง มาตรฐานใหม่ที่เหนือกว่า Singapore 2015 ด้วย การจัดการแข่งขันกีฬาทั้งสิ้น 38 ชนิดกีฬา ชิงชัย ทั้งสิ้น 405 เหรี ยญทอง จากเดิ ม ที่ มี การแข่ ง ขั น 36 ประเภทกีฬา ชิง 403 เหรียญทอง รวมถึงการ ถ่ายทอดสดกีฬารวม 24 ชนิดกีฬาไปทั่วภูมิภาค อาเซียน มากกว่าเมื่อ 2 ปีที่แล้วที่มีการถ่ายทอด สดเพี ย ง 16 ชนิ ด กี ฬ า นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารวิ่ ง คบเพลิ ง ซี เ กมส์ ใ นเมื อ งใหญ่ ทั่ ว อาเซี ย น ในธี ม “Rising Together-Baton Run” ซึ่ ง ไม่ เ คยมี ประเทศเจ้าภาพชาติใดเคยท�ำมาก่อน โดยเริ่มจาก กรุงบันดาร์เ สรี เ บกาวั น เมื อ งหลวงของประเทศ บรู ไ น เมื่ อ วั น ที่ 5 มี น าคม ปิ ด ท้ า ยด้ ว ยการวิ่ ง คบเพลิงซีเกมส์ไปทั่วทุกรัฐและทุกเขตการปกครอง ของประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 12 สิงหาคม ก่อนน�ำคบเพลิงเข้าสูพ่ ธิ เี ปิดการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 29 ในวันที่ 19 สิงหาคม 2560

ASEAN WATCH


ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ Kuala Lumpur 2017 ค�ำขวัญ "Rising Together" หรือ "ก้าวไกลไปด้วยกัน" เพื่อสื่อถึงยุคที่ประเทศในเอเชียตะวันออก เฉี ย งใต้ ต ้ อ งรวมตั ว กั น เป็ น ประชาคม หนึ่ ง เดี ย ว เพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพและความ เข้มแข็งในประชาคมโลก ส่วนประชาชนใน ภูมิภาคจะต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน เพื่อน�ำพาความสงบสุข ความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประชาคม

สัญลักษณ์ “Wau Bulan” ว่ า วบุ ห ลั น ว่ า วรู ป พระจั น ทร์ เ สี้ ย วแบบดั้ ง เดิ ม ที่ นิ ย มในมาเลเซี ย โดยสีต่างๆ บนว่าวน�ำมาจากสี ธงชาติ ข องทุ กประเทศในอาเซี ยน ว่าวบุหลันเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความสง่างาม ความเกรียงไกร และ การพุ่งทะยานไปข้างหน้า รวมถึงพลังอ�ำนาจของกีฬาที่สามารถสร้าง แรงบันดาลใจให้แก่ผู้คน

มาสคอต “Rimau” ตุ๊กตาเสือโคร่งมลายูในชุดกีฬาสีขาว ชื่อ Rimau มาจากอักษรตัวหน้าของค�ำ 5 ค�ำ ได้แก่ Respect (ความเคารพ) Integrity (ความซื่อสัตย์) Move (ความปราดเปรียว) Attitude (การมีทัศนคติที่ดี) และ Unity (ความมีเอกภาพ) โดยน�ำความสง่างาม และความทรงพลังของเสือโคร่งมลายูมาใช้เป็น สัญลักษณ์สื่อถึงความมุ่งมั่นในการแข่งขัน ความ มีน�้ำใจนักกีฬา ความเป็นมิตร และความสามารถ ทางกีฬา โดยทั่ ว ไปเจ้ า ภาพกี ฬ าซี เ กมส์ จ ะเป็ น เจ้ า ภาพ การแข่ ง ขั น อาเซี ย นพาราเกมส์ (ASEAN Para Games) ซึง่ เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการในภูมภิ าค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยทุกครั้ง โดยครั้งนี้จะ จั ด ขึ้ น ในระหว่ า งวั น ที่ 17-23 กั น ยายน 2560 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย 17

IS WATER MAGAZINE

ASEAN WATCH

อ้างอิง

sportclassic. (2560). http:// www.sportclassic. in.th/ข่าวประจำ� วัน/มาเลเซียเริ่มวิ่ง คบไฟ sportclassic. (2560). http:// www.sportclassic. in.th/ซีเกมส์2017ถ่ายสด-24-กีฬา http://www. kualalumpur2017. com.my/aboutkl2017.cshtml วิกิพีเดีย. ซีเกมส์ 2015. https:// th.wikipedia.org/ wiki/ซีเกมส์_2015 วิกิพีเดีย. ซีเกมส์ 2017. https:// th.wikipedia.org/ wiki/ซีเกมส์_2017


MOVING THE COUNTRY TO THALIAND 4.0

THEOS-2

Photo from: https://greentae.wordpress.com/2013/01/

ธีออส 2 สู่ Thailand 4.0 • ทุกวันนี้ถ้าอยากทราบว่าทุ่งรับน�้ำใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่สามารถใช้งาน ได้จริง ตั้งอยู่ที่บริเวณใดบ้าง? • พื้นที่เหล่านั้นเป็นนาข้าวกี่ไร่? • เหลือข้าวที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวอีกกี่ไร่ ? • ควรวางแผนการผันน�้ำเข้าทุ่งปริมาณ เท่าใด? 18

IS WATER MAGAZINE

คำ�ถามดังกล่าวกว่าจะได้รับคำ�ตอบ ต้องใช้เวลาอย่างต่ำ� 3 วัน แต่เมื่อไทยมีการขับเคลื่อน “โครงการดาวเทียม ธีออส 2” นอกจากจะรับรู้ ได้ทันที ยังคาดการณ์ล่วงหน้า ได้อย่างแม่นยำ� INNOVATION


Video from:

VIDEO THEOS-2 ไม่ใช่การจัดหาดาวเทียม เพียงอย่างเดียว แต่คือ ???

ย้ อ นไปเมื่ อ ปี 2547 รั ฐ บาลไทยและ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันพัฒนาดาวเทียม ดวงแรกของไทยชือ่ ว่า ธีออส 1 แม้ปจั จุบนั จะหมดอายุการใช้งานแล้ว แต่ทางรัฐบาล ยังคงบ�ำรุงรักษาต่อไปจนกว่า ธีออส 2 จะ สามารถแทนที่ได้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จ ในปี 2564 และใช้งบทัง้ สิน้ 7,800 ล้านบาท เพื่ อ ตอบโจทย์ ก ารพั ฒ นาประเทศ อย่างน้อย 6 ด้าน คือ ด้านการเกษตร ด้าน การจัดการน�ำ้ ด้านภัยพิบตั ิ ด้านสิง่ แวดล้อม และภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ด้าน สังคมและความมั่นคง และด้านเศรษฐกิจ

19

ธี อ อส 2 ยั ง ถู ก พั ฒ นาให้ เ ป็ น ดาวเที ย ม ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากกว่ า ธี อ อส 1 ใน ทุกมิติ เช่น การส่งข้อมูลแบบ Real time กล้ อ งที่ มี ค วามละเอี ย ดคมชั ด มากขึ้ น และสามารถถ่ า ยภาพได้ ไ กลกว่ า เดิ ม รวมถึ ง มี แ อปพลิ เ คชั น รั บ ส่ ง ข้ อ มู ล อี ก ด้วย ซึ่งนอกจากจะตอบโจทย์การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแล้ว ผลพวงจากการผลิต ดาวเที ย มและอาคารประกอบยั ง เป็ น การหนุนอุตสาหกรรมอวกาศ New S-Curve ในระเบี ย งเศรษฐกิ จ ภาคตะวั น ออก ด้วย เพราะต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศถึง 80-90%

IS WATER MAGAZINE

INNOVATION

https://www.youtube.com/ watch?v=y8OOzTzLZF8

คงไม่ใช่เรื่องเกินจริง หากจะพูดว่า “ การเข้าถึงข้อมูลที่ ทันสมัยและแม่นย�ำ เพื่อก้าวสู่การ เป็น Thailand 4.0 อย่างสมบูรณ์แบบ มีดาวเทียมเป็น หัวใจส�ำคัญ ”


ABOUT A BIZ

Car

RENTAL BUSINESS OPPORTUNITIES FOR LIFE WITH INDEPENDENCE

รถเช่า... ตอบโจทย์ธุรกิจ เพื่อชีวิตอิสระ 20

IS WATER MAGAZINE

สมัยก่อนการเป็นเจ้าของรถยนต์ดูเหมือน เป็นภารกิจจำ�เป็นอย่างหนึ่งของชีวิต แต่ ปัจจุบันพฤติกรรมการใช้รถยนต์ทั่วโลก เปลี่ ย นแปลงไปมาก จากเดิ ม ที่ ใ ห้ ค วาม สำ � คั ญ กั บ การเป็ น เจ้ า ของรถยนต์ (Car Ownership) เปลี่ยนเป็นให้ความสำ�คัญ ต่อการใช้รถยนต์ (Car Usership) มากขึ้น ABOUT A BIZ


นั่ น หมายความว่ า คนรุ ่ น ใหม่ ส  ว นใหญ  นิ ย มเลื อ กรถยนต์ ที่ เ หมาะกั บ ไลฟ์ ส ไตล์ แ ละ ความจ�ำเป็นมากกว่ารถหรูที่มี สมรรถนะสูงเกินความต้องการ โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ราคาของรถยนต์ มากกว่ายี่ห้อ ที่ส�ำคัญ คนยุคนี้ พอใจที่จะจ่ายเงินเช่าหรือเช่าซื้อ รถยนต์ เ ป็ น รายเดื อ นมากกว่ า การซื้ อ ขาด โดยไม่ ส นใจว่ า สุ ด ท้ า ยแล้ ว จะได้ เ ป็ น เจ้ า ของ รถยนต์หรือไม่ เทรนด์นี้ไม่เพียง เกิดขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่เท่านั้น

แต่ยังขยายไปสู่กลุ่มธุรกิจและ องค์กรต่างๆ ที่หันมาใช้บริการ รถยนต์ ใ ห้ เ ช  า มากขึ้ น ด้ ว ย ข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าการซื้อ รถยนต์ในหลายด้าน อาทิ ช่วย ลดภาระทางการเงิน เพราะไม่ ต้ อ งลงทุ น จ่ า ยเงิ น ก้ อ นโตเพื่ อ ซื้อรถยนต์ ท�ำให้บริษัทมีเงินสด เพิ่ ม ขึ้ น ส� ำ หรั บ การลงทุ น ใน ด้านอื่นๆ รวมทั้งยังช่วยลดภาระ ด้านการดูแลรักษาและซ่อมแซม รถยนต์ รวมถึ ง การจั ด การกั บ ซากรถยนต์เก่าอีกด้วย

เมื่อถนนทุกสายมุ่งไปสู่การเช่ารถ หลายปีมา นี้ เราจึงได้เห็นการเติบโตและการเปลี่ยนแปลง ของธุรกิจรถยนต์ให้เช่าทั้งหน้าใหม่และรายเก่า ไม่ เ ว้ น แม้ แ ต่ ผู ้ เ ล่ น แบรนด์ ใ หญ่ อ ย่ า ง AVIS และ BUDGET จากเดิมที่เน้นท�ำตลาดกับกลุ่ม นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ต ้ อ งการเช่ า รถยนต์ ร ะยะสั้ น ระหว่างการเดินทาง ไปสู่หน่วยงาน องค์กร ธุรกิจ และผูบ้ ริหารระดับสูงทีต่ อ้ งการเช่ารถยนต์ ระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยเพิ่มบริการที่ครบ วงจรและหลากหลายเพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น บริการรถพร้อมคนขับ บริการซ่อมและบ�ำรุง รั ก ษารถยนต์ ไปจนถึ ง บริ ก ารบริ ห ารจั ด การ ยานยนต์ (Fleet Management Service) โดย มีรถยนต์หลากหลายประเภทไว้ให้บริการ ทั้ง รถเก๋ง รถกระบะ รถเอนกประสงค์ รถขับเคลื่อน 4 ล้ อ และรถตู ้ เพื่ อ รองรั บ ทุ ก วั ต ถุ ป ระสงค์ การเช่า ไม่ว่าจะใช้เพื่อเดินทางหรือเพื่อธุรกิจ ใช้ในนามบุคคลหรือองค์กร อ้างอิง

Automotive World. (2015). Car ownership makes way for car usership. http://www. automotiveworld.com/analysis/carownership-makes-way-car-usership/

21

IS WATER MAGAZINE

ABOUT A BIZ


ส� ำ หรั บ ในประเทศไทย ธุ ร กิ จ ให้ เ ช่ า รถยนต์ ที่ เ ติ บ โตอย่ า ง ก้ า วกระโดดจากการให้ เ ช่ า รถ ระยะยาว ได้แก่ ASAP ซึ่งเน้น ให้บริการด้านต่างๆ เพื่ออ�ำนวย ความสะดวกให้แก่เจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น การจัดหารถยนต์ ให้เช่าตัง้ แต่หนึง่ คันถึงหลายร้อย คัน การออกแบบและปรับแต่ง รถยนต์ตามความต้องการของ ลูก ค้า เช่น การติดตั้งห้อ งเย็น และการติดสติ๊กเกอร์โลโก้บริษัท ของผู้เช่า ไปจนถึงการซ่อมและ บ�ำรุงรักษารถยนต์ และการให้ บริการรถทดแทนกรณีที่รถเสีย

นอกจากการให้เช่ารถยนต์แบบ ทั่วไปที่เราคุ้นเคยกันดี ปัจจุบัน ยังมีเจ้าของธุรกิจไอเดียบรรเจิด ที่จับธุรกิจรถเช่ามาต่อยอด เกิด เป็ น ธุ ร กิ จ ใหม่ ที่ น ่ า สนใจและ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ มากยิ่ ง ขึ้ น ยกตั ว อย่ า งเช่ น U DRINK I DRIVE บริการจัดคน ขับรถไปรับรถของลูกค้าทีอ่ อกไป ดื่มสังสรรค์และไม่สามารถขับ กลับเองได้ รวมถึง Drivemate แพลตฟอร์มเช่ารถบ้านออนไลน์ ซึ่ ง เป็ น เหมื อ นตั ว กลางให้ ผู ้ ที่ ต้ อ งการปล่ อ ยเช่ า รถยนต์ กั บ ผู้ที่ต้องการเช่ารถยนต์มาพบกัน เป็นต้น 22

IS WATER MAGAZINE

“ จากไลฟ์สไตล์อันอิสระเสรีของ คนยุคดิจิทัล ธุรกิจรถยนต์ ให้เช่าทั้งระยะสั้นและระยะยาว น่าจะยังคงเป็นธุรกิจที่มี อนาคตสดใสไปอีกนาน คุณเห็นโอกาสนั้นหรือยัง? ”

ABOUT A BIZ


RISKS OF BEING IN

AN UNVENTILATED PLACE ภัยร้ายภายใต้ สถานที่อับอากาศ รู้หรือไม่...ร่างกายมนุษย์ขาดอะไร ไม่ ได้มากที่สุด? • ขาดอาหาร? ร่างกายทนได้ ไม่เกิน 45 วัน • ขาดน้ำ�? ร่างกายทนได้ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ • ขาดใจ? เอิ่ม ต้องหาคนมาดามใจ • ขาดอากาศ ?

ร่างกายทนได้ ไม่เกิน 2 นาที! 23

IS WATER MAGAZINE

จะเห็นได้ว่า การขาดออกซิเจนน่ากลัวที่สุด แถมมี เวลาตัง้ สติไม่เกิน 2 นาทีเท่านัน้ ดังเช่นข่าวนิสติ สาว พลัดตกบ่อบ�ำบัดน�้ำเสีย โดยมีพนักงานลงไปช่วย แต่ เ กิ ด หมดสติ แ ละเสี ย ชี วิ ต ทั้ ง หมดจากการสู ด สารพิษและขาดอากาศหายใจ ท�ำไมถึงเป็นเช่นนั้น ลองมาท�ำความเข้าใจเกีย่ วกับสาเหตุการเสียชีวติ ใน สถานที่อับอากาศกัน

HEALTH & SAFETY


1. การขาดออกซิเจน

คือสาเหตุใหญ่ของการเสีย ชีวติ ในสถานทีอ่ บั อากาศ โดย ปริมาณออกซิเจนในสถานที่ นัน้ น้อยกว่า 19.5 Vol.% หรือ มากกว่า 23.5 Vol.%

2. ปฏิกิริยาการเผาไหม้

สาเหตุ ส� ำ คั ญ อี ก ประการหนึ่ ง คื อ การเกิ ด ไฟ และการระเบิ ด โดยมี ก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินกว่าร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้น ขั้ น ต�่ ำ ของสารเคมี แ ต่ ล ะชนิ ด ใน อากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้

3. สารพิษ

สารเคมี ห ลายชนิ ด ไม่ ส ามารถ มองเห็ น หรื อ ดมกลิ่ น ได้ ท� ำ ให้ ไม่รู้ตัวเมื่อมีค่าความเข้มข้นของ สารเคมีเกินมาตรฐาน ท�ำให้เกิด อันตรายร้ายแรงได้ 2 กรณี คือ 1. การระคายเคือง ทีเ่ กิดผลกับระบบทางเดินหายใจ หรือระบบประสาทและท�ำให้เสียชีวิตได้ 2. การขาดออกซิเจนจากสารเคมีเมื่อสารพิษเข้าสู่ ร่ า งกาย ท� ำ ให้ ร ่ า งกายหยุ ด การน� ำ ออกซิ เ จน เข้าสู่ปอด เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน

4. อันตรายทางกายภาพ

ส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหว ถ้าอยู่ในสถานที่ อับอากาศยิ่งจะมีอันตรายมาก ส่วนของเครื่องจักร ที่ เ คลื่ อ นไหวจะต้ อ ง ถู ก ล็ อ คใส่ กุ ญ แจและ แขวนป้ายก่อนที่จะเข้า ไปท�ำงานในบริเวณนั้น 24

เมื่อต้องท�ำงานหรืออยู่ใน สถานที่อับอากาศ • ต รวจสอบปริ ม าณออกซิ เ จน สารเคมี และสิ่ ง ปนเปื ้ อ นโดย เก็บบันทึกผลการตรวจให้เจ้าหน้าที่แรงงานตรวจสอบ • รบี ระบายอากาศ หากปริมาณออกซิเจนต�ำ่ กว่าร้อยละ 19.5 โดย ปริมาตร หรือสารเคมีทตี่ ดิ ไฟได้ในปริมาณเข้มข้นกว่าร้อยละ 20 ของความเข้มข้นต�่ำสุดที่จะติดไฟ • นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์ช่วยหายใจ เข็มขัดนิรภัย สายชูชีพ และอุ ป กรณ์ คุ ้ ม ครองความปลอดภั ย อื่ น ๆ ที่ เ หมาะสมกั บ สภาพการท�ำงาน • ตอ้ งจัดให้มใี บอนุญาตให้ลกู จ้างเข้าท�ำงานในทีอ่ บั อากาศทุกครัง้

IS WATER MAGAZINE

HEALTH & SAFETY


LUCKY POWER

THAI INAUSPICIOUS DAYS YOU NEED TO KNOW วันห้ามของไทย... รู้ ไว้ ไม่พลาด " ขึ้นบ้านวันเสาร์ เผาผีวันศุกร์ โกนจุกวันอังคาร แต่งงานวันพุธ

เหล่านี้คือวันห้ามท�ำการมงคลของไทยที่สืบทอดกันมา ตั้งแต่อดีต ซึ่งแต่ละวันมีความหมายในแง่ความเชื่อ และโหราศาสตร์อย่างไร ฉบับนี้เรามีค�ำตอบ

SAT

TUE

FRI

ขึ้นบ้านวันเสาร์

เผาผีวันศุกร์

วันเสาร์ถอื ว่าเป็นวันเหนือ่ ย วั น แห่ ง โทษทุ ก ข์ เพราะ ดาวเสาร์ จั ด เป็ น ดาวแห่ ง บาปเคราะห์ คนโบราณจึง ห้ามไม่ให้ประกอบพิธเี กีย่ วกับ การปลูกสร้างบ้านเรือน เช่น การยกเสาเอก วางศิลาฤกษ์ เปิ ด ป้ า ยอาคาร เปิ ด ร้ า น เปิดบริษทั หรือย้ายเข้าสูบ่ า้ น ใหม่ในวันเสาร์

ตามคติโบราณเชื่อกันว่าชื่อ วัน “ศุกร์” คล้องจองกับค�ำ ว่า "สุข" เมื่อเอาความสุข ไปให้คนตาย ความทุกข์ทงั้ หลายก็จะตกมาถึงคนเป็น หรือผู้ที่ท�ำการดังกล่าว ส่วน อีกเหตุผลหนึง่ เนือ่ งจากดาว ศุกร์เป็นดาวรืน่ เริง ดาวสังคม และความรัก ซึ่งตรงข้ามกับ ความทุกข์ ความหม่นหมอง คนโบราณจึ ง ห้ า มกระท� ำ การดังกล่าวและมีคำ� พูดท่อง กันติดปากว่า "เผาผีวันศุกร์ ให้ทุกข์คนยัง" 25

WED

โกนจุกวันอังคาร

แต่งงานวันพุธ

วันอังคารถือว่าเป็นวันแรงวัน หนึง่ คนโบราณเชือ่ ว่าเป็น วันที่เหมาะแก่การออกรบ หรือท�ำงานทีต่ อ้ งการความ แข็งแกร่ง ความเด็ดขาด จึงไม่ควรกระท�ำการมงคล ซึ่ ง ต้ อ งการความร่ ม เย็ น ความผาสุ ก และลาภ ผลต่ า งๆ เช่น การโกนจุก ก า ร ขึ้ น บ ้ า น ใ ห ม ห รื อ การสมรส เชื่อว่าอาจก่อให้ เกิดการทะเลาะวิวาทหรือมี อุบัติเหตุเกิดขึ้น

ดาวพุธถือเป็นดาวแห่งความ แปรปรวน ไม่แน่นอน ด้วย สาเหตุ ดั ง กล่ า วคนโบราณ จึงไม่นิยมใช้วันนี้ประกอบ พิธีมงคลสมรส เพราะอาจ จะท�ำให้คู่บ่าวสาวมีจิตใจ โลเล ไม่มั่นคงกับคู่ครอง ของตนเอง น� ำ ไปสู ่ ก าร นอกใจและหย่ า ร้ า งกั น ใน ที่สุด

IS WATER MAGAZINE

LUCKY POWER

อ้างอิง จักรกฤษณ์. (2554). วันห้ามต่างๆของ ไทย. https://www. myhora.com/ บทความ/วันห้าม ต่างๆของไทย-037. aspx


EWG NEWS

ALL AROUND EAST WATER

อีสท์ วอเตอร์

โชว์ศักยภาพ การบริหารจัดการ น้ำ�ครบวงจร เมื่ อ เร็ ว ๆ นี้ อี ส ท์ วอเตอร์ โดย ดร.มงคลยา รุ่งเวชวุฒิวิทยา ผู้จัดการแผนกระบบคุณภาพและ นวัตกรรม ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร ร่วมบรรยายในหัวข้อ Smart solution for industrial water management ในงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2017 และ งาน Thai Water Expo 2017 งานแสดง เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน การใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาเซียน และงานแสดงเทคโนโลยีประชุมสัมมนา ด้านการบริหารจัดการน�ำ้ โชว์ศกั ยภาพ อีสท์ วอเตอร์ สู่ผู้น�ำการบริหารจัดการน�้ำครบวงจรของประเทศ ด้วยระบบควบคุมแบบรวมศูนย์ (Control Center)

และระบบสู บ ส่ ง น�้ ำ ผ่ า นการ ควบคุมการสูบส่งน�ำ้ ทางไกลแบบ ศูนย์รวม (SCADA) เพือ่ วางแผน และบริ ห ารจั ด การแหล่ ง น�้ ำ และการใช้น�้ำได้อย่างเหมาะสม ล ด ก า ร สู ญ เ สี ย น�้ ำ โ ด ย มี ตัวแทนบริษัทชั้นน�ำระดับสากล ผู้ประกอบการจาก 35 ประเทศ เข้าร่วมรับฟัง ณ ศูนย์นทิ รรศการ และการประชุมไบเทค บางนา

คณะผู้บริหาร อีสท์ วอเตอร์

เข้าร่วมพิธี แสดงความอาลัย

คณะผู้บริหาร อีสท์ วอเตอร์ เข้าร่วมพิธีแสดงความ อาลัยและส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ณ บริเวณ อ่ า งเก็ บ น�้ ำ ดอกกราย โดยมี จั ง หวั ด ระยอง และ โครงการชลประทานระยองเป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ภายในงานมีผู้เข้าร่วมพิธีจ�ำนวน 1,000 คน 26

IS WATER MAGAZINE

EWG NEWS


อีสท์ วอเตอร์ จัดโครงการ ฝึกอบรม หลักสูตร

การควบคุมการผลิตและ บำ�รุงรักษาระบบประปาชุมชน อี ส ท์ วอเตอร์ สานต่ อ พั น ธกิ จ หลั ก ในการยก ระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการควบคุมการ ผลิ ต และบ� ำ รุ ง รั ก ษาระบบประปาชุ ม ชนที่ เ ข้ า สู ่ ระยะที่ 2 โดยเพิ่มความเข้มข้นจากทฤษฎีสู่การ ปฏิ บั ติ จ ริ ง ในการบริ ห ารจั ด การกิ จ การประปา ชุมชน ซึ่งทั้งหลักสูตรได้รวบรวมตั้งแต่กระบวนการ กรรมวิธีการผลิตน�้ำประปาที่ได้มาตรฐาน ระบบ ควบคุ ม ประปา การใช้ ง านและการบ� ำ รุ ง รั ก ษา อุปกรณ์การผลิตน�้ำประปา เช่น มอเตอร์และปั้ม การใช้งานและการบ�ำรุงรักษาเครือ่ งสูบน�ำ้ ถังพักน�ำ้ รวมไปถึ ง การปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพของน�้ ำ ประปา บู ร ณาการองค์ ค วามรู ้ สู ่ ส ถาบั น การอาชี ว ศึ ก ษา ภาคตะวันออก จ�ำนวน 9 แห่ง ผ่านโครงการศูนย์ซอ่ ม สร้างเพื่อชุมชน (fixed it center) เพื่อเป็นศูนย์กลาง ดูแลและบ�ำรุงรักษาระบบประปาตามชุมชนต่างๆ ให้ เกิดประโยชน์และยั่งยืนในอนาคต

อีสท์ วอเตอร์ แข็งแกร่ง

ด้วยเครดิตองค์กรระดับ A+ Stable มั่นใจ "อีสท์ วอเตอร์" แข็งแกร่งอย่างมั่นคง ด้วย เครดิตองค์กรระดับ "A+ Stable" จากจุดแข็งของ บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการน�้ำดิบแต่เพียงรายเดียวใน เขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ประกอบกับฐานะ ทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีอัตราก�ำไรที่ดี มีกระแส เงินสดที่สม�่ำเสมอ และมีความเสี่ยงในการด�ำเนิน ธุรกิจอยู่ในระดับต�่ำ อีสท์ วอเตอร์ จึงได้รับการ จัดอันดับเครดิตองค์กรในระดับ A+ Stable จากทริส เรทติ้ง พร้อมคาดการณ์ว่าองค์กรจะเติบโตเพิ่มขึ้น อีก 1-3% ในระยะเวลา 2 ปี 27

IS WATER MAGAZINE

EWG NEWS





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.