BOOK 60 Part 1/2

Page 1


Untitled-3 1

12/22/12 4:53 PM


60 ปี

จาก “การพลังงานแห่งชาติ” สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 1

21/12/2012 18:30


2 P 1-29 (9 b0ss).indd 2

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:31


...น�้ำมันสมัยใหม่แพง ไม่รู้ท�ำไมมันแพง แต่ก็ยังไง  เป็นสมัยนีอ้ ะไรๆ ก็แพงขึน้ ทุกที จะให้นำ�้ มันถูกลงมา  ก็ลำ� บาก นอกจากหาวิธที จี่ ะท�ำน�ำ้ มันราคาถูกซึง่ ก็ทำ� ได้เหมือนกัน  ถูกกว่านิดหน่อย คือแทนทีจ่ ะใช้นำ�้ มันทีม่ อี อกเทน 95 ก็ใช้ออก-  เทน 91 แล้วก็เติมแอลกอฮอล์เข้าไปนิดหนึ่ง ก็เป็นออกเทน 95   อาจเป็นได้ว่ารถจะวิ่งไม่เร็ว ก็ดีเหมือนกัน รถไม่วิ่งเร็วเกินไป รถ จะได้ไม่ชนมากเกินไป ก็จะช่วยประหยัด ทั้งหมดนี้เป็นความคิด  ทีใ่ ห้พอเพียง... “...พูดแบบคนไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องการคลังการเศรษฐกิจ แต่ว่า ลองนึกดูถา้ สมมติวา่  ใช้ของทีท่ ำ� ในเมืองไทย ท�ำในประเทศได้เอง แล้วก็ท�ำได้ดีมาก อ้อยที่ปลูกที่ต่างๆ เขาบ่นว่ามีมากเกินไปขาย  ไม่ได้ ราคาตก เราก็ไปซือ้ ในราคาทีด่ พ ี อสมควร มาท�ำแอลกอฮอล์แล้ว ผูท้ ปี่ ลูกอ้อยก็ได้เงิน ผูท้ ที่ ำ� แอลกอฮอล์กไ็ ด้เงิน...”

� พระราชด�ำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2543 สู ่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 3

3 21/12/2012 18:31


นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ป็นที่ทราบกันดีว่า ความก้าวหน้าของวงการพลังงานในประเทศไทย ที่สามารถก้าวไกลมาจนถึงทุกวันนี้นั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นได้เพียงชั่ว ข้ามคืน หากแต่เกิดขึน้ จากการก�ำหนดแนวทางและการด�ำเนินการอย่างต่อเนือ่ งทีม่ รี ากฐานมาอย่างยาวนาน  โดยประวัตศิ าสตร์ของ วงการพลังงานไทย หากจะนับยุคทีเ่ กิดการเปลีย่ นแปลงและถือเป็นจุดเปลีย่ นส�ำคัญนัน้  คงต้องเป็นช่วงทีไ่ ด้มกี ารออกพระราชบัญญัตกิ ารพลังงาน แห่งชาติขึ้น โดยมีการจัดตั้ง “การพลังงานแห่งชาติ” เพื่อเป็นหน่วยงานผู้วางนโยบายและพิจารณาโครงการด้านพลังงานของประเทศ เมื่อวันที่   7 มกราคม 2496  นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ถือเป็นเวลา 60 ปี ที่วงการพลังงานของไทยได้ผ่านช่วงเวลาอันส� ำคัญจากครั้งอดีต ความเปลี่ยนแปลงที่  ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ด้านพลังงานหลายประการ อาทิ ช่วงเร่งรัดพัฒนาชนบทอันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน�้ำในภาค  ตะวันออกเฉียงเหนือและโครงการสูบน�้ำด้วยไฟฟ้า หรือช่วงการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย อันเป็นจุดเริม่ ต้นแห่งยุคโชติชว่ งชัชวาล การ พัฒนาโครงการด้านพลังงานทดแทนในแต่ละประเภทที่ประสบผลส�ำเร็จ เรื่อยมาจนถึงการส่งเสริมโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน ที่ได้ท�ำให้ ประเทศไทยรอดพ้นจากวิกฤตด้านพลังงานและสามารถมีพลังงานใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืนสืบมา  ระยะเวลาทีผ่ า่ นพ้นมาตลอด 60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” ทีม่ วี วิ ฒ ั นาการจนปัจจุบนั เป็น “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์ พลังงาน” หรือ พพ. ในวันนี ้ ต้องยอมรับว่า นโยบายและมาตรการต่างๆ ล้วนได้รบั การน�ำไปปฏิบตั แิ ละเกิดคุณประโยชน์ตอ่ ประเทศทัง้ สิน้  ดังนัน้   จึงสมควรที่จะบันทึกและเก็บรักษาเรื่องราวต่างๆ รวมไปถึงประวัติศาสตร์ด้านพลังงาน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเป็นยิ่งนัก  ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ พพ. ได้จัดท�ำหนังสือที่ระลึก เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี จาก  “การพลังงานแห่งชาติ” สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” ในครั้งนี้ รวมทั้งต้องขออวยพรให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของ พพ. รวมไปถึงผูท้ เี่ กีย่ วข้องในวงการพลังงานทุกท่าน จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีสขุ ภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ และร่วมแรง ร่วมใจ ในการผลักดันนโยบายด้านพลังงาน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจให้แก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป   (นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 5

5 21/12/2012 18:31


นายอำานวย ทองสถิตย์

อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ลอดการเดินทางอันยาวนานของวงการพลังงาน หากนับตั้งแต่ยุคบุกเบิกส�าคัญที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2496 ซึ่งรัฐบาลในยุคนั้นได้มี การตราพระราชบัญญัติการก่อตั้ง “การพลังงานแห่งชาติ” ขึ้น ซึ่งถือเป็นบทบันทึกแรกของประวัติศาสตร์และที่มาส�าคัญของกรม พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. ในปัจจุบัน  ระยะการเดินทางจากวันนั้นจนถึงวันนี้ พพ. ก็ได้ก้าวสู่วัย 60 ปีบริบูรณ์ เมื่อ วันที่ 7 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา  ในวันเวลาและวัย 60 ปีของ พพ. หากเป็นการท�างานราชการ ก็คือวัยที่ต้องเกษียณอายุราชการ แต่ข้อเท็จจริงส�าหรับ พพ. แล้ว  ในวัย 60 ปีนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของบริบทใหม่ในการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติอย่างจริงจัง  โดย พพ. ในปีต่อๆ ไปนับจากนี้ มีภารกิจระดับประเทศ ทั้งแผนส่งเสริมพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่มีเป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 25  ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า และแผนอนุรักษ์พลังงานที่มีเป้าหมายลดความเข้มข้นพลังงานร้อยละ 25 ในระยะเวลา 20 ปี  เป้าหมายและผล สัมฤทธิ์ของทั้งสองแผนดังกล่าว ถือเป็นหัวใจส�าคัญของการก�าหนดและชี้ชะตาด้านการพัฒนาพลังงานของประเทศอย่างแท้จริง ในโอกาสที่ พพ. ก้าวสู่ขวบปีที่ 60 นี้ พพ. ไม่เพียงจะต้องท�าหน่วยงานให้เข้มแข็งขึ้น แต่ยังต้องเข้มข้นทั้งด้านการท�างานในการพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน ซึง่ ต้องบูรณาการให้ทกุ ภาคส่วนได้เข้ามามีสว่ นร่วมมากยิง่ ขึน้  ทัง้ ด้านการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน ในธุรกิจพลังงานอย่างต่อเนื่อง ท�าให้ประชาชนได้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนการเป็นองค์กรฐานความรู้และศูนย์กลางในการ ผลักดันพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน อันเป็นวิสัยทัศน์ที่ส�าคัญสุดของ พพ. อีกด้วย และในโอกาสที่ พพ. ได้จัดท�าหนังสือ 60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” นี้ ผม ในฐานะอธิบดี มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ส่งต่อถ้อยค�าอันเป็นเหมือนบทบันทึกทางประวัติศาสตร์ต่อแวดวงพลังงานอันยาวนาน และการ สร้างแง่คิดดี ๆ จากตัวอักษรทุกตัว ภาพทุกภาพ ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจอย่างสุดความสามารถของทีมงานผู้เกี่ยวข้องต่อหนังสือเล่มนี้ทุกคน  และหวังว่าหนังสือที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 60 ปีของ พพ. เล่มนี้ จะได้สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้สนใจ ได้เก็บเกี่ยวความรู้และซึมซับเรื่องราว ดี ๆ ตลอด 60 ปีของ พพ. อันเป็นความตั้งใจและวัตถุประสงค์ส�าคัญของหนังสือเล่มนี้ สืบไป

สู ่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 7

(นายอ�านวย ทองสถิตย์) อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

7 21/12/2012 18:31


ส า ร บั ญ

5

ค�ำนิยม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

6

ค�ำนิยม ปลัดกระทรวงพลังงาน

7

ค�ำนิยม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน

10 อดีต 9 ผู้บริหารสูงสุด

จาก “การพลังงานแห่งชาติ” สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน”

16 ชีวิตที่เป็น “ต�ำนาน”

ของศาสตราจารย์ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์

8 P 1-29 (9 b0ss).indd 8

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:31


30 6 ทศวรรษบนเส้นทางสร้างความยั่งยืนพลังงานของไทย 2427-2495 : ก่อนก�ำเนิดการพลังงานแห่งชาติ............... 32 ทศวรรษที่ 1 : 2496-2505 การพลังงานแห่งชาติ............ 34 ทศวรรษที่ 2 : 2508-2515 การพลังงานแห่งชาติ............ 42 ทศวรรษที่ 3 : 2516-2525 ส�ำนักงานพลังงานแห่งชาติ... 50 ทศวรรษที่ 4 : 2526-2535 ส�ำนักงานพลังงานแห่งชาติ... 64 ทศวรรษที่ 5 : 2536-2545 กรมพัฒนาและส่งเสริม พลังงาน............................... 76 ทศวรรษที่ 6 : 2546-2555 กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน.............. 86 98

การพัฒนาพลังงานทดแทน Alternative Energy Development พลังงานแสงอาทิตย์........................................................... 104 พลังงานลม....................................................................... 114 พลังงานน�ำ้ ขนาดเล็ก......................................................... 118 พลังงานชีวมวล.................................................................. 126 ก๊าซชีวภาพ......................................................................... 130 เชื้อเพลิงชีวภาพ.................................................................. 138

146 การอนุรักษ์พลังงาน Energy Conservation

โครงการสาธิตเทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน..................................................... 154 อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ.............................. 156

158 ทิศทางอนาคตพลังงานไทย 172 จากใจอธิบดี พพ. สู ่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 9

9 21/12/2012 18:31


อดีต 9 ผู้บริหารสูง ส

P 1-29 (9 b0ss).indd 10

21/12/2012 18:31


ง สุด

P 1-29 (9 b0ss).indd 11

21/12/2012 18:31


ศาสตราจารย์  ดร. บุญรอด  บิณฑสันต์ เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ  (พ.ศ. 2496-2511) ก่อตั้ง “การพลังงานแห่งชาติ”

หน่วยงานเฉพาะที่รับผิดชอบด้านพลังงาน แห่งแรกของประเทศไทย   บุกเบิกการจัดหาแหล่งพลังงาน ของประเทศจากพลังน้ำ�  โดยสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ� “เขื่อนน้ำ�พอง” หรือ “เขื่อนอุบลรัตน์”  เป็นแห่งแรก    ริเริ่มโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำ�โขง  (ตอนล่าง) และสร้างความร่วมมือ  กับประเทศภาคีสมาชิกของลุ่มน้ำ�   คือ ไทย ลาว เขมร และเวียดนาม   ทำ�ให้เกิดการสำ�รวจเพื่อพัฒนา ลุ่มแม่นำ�้ โขงอีกหลายโครงการ

12 P 1-29 (9 b0ss).indd 12

นายนิธิพัฒน์  ชาลีจันทร์ เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ  (พ.ศ. 2511-2518)

ดำ�เนินการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ�เขื่อนน้ำ�พุง

อำ�เภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร     แสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ เพื่อรองรับ ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น   สร้างความร่วมมือและก่อสร้างโครงการ “สายส่งไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมระหว่าง ไทย-ลาว”   วางรากฐานการพัฒนาถ่านหิน และเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ของประเทศไทย

นายประวิทย์  รุยาพร

เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ  (พ.ศ. 2518-2526)

ริเริ่มโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ�ชนบท

ระดับหมู่บ้าน ซึ่งเป็นโครงการผลิตกระแส ไฟฟ้าพลังน้ำ�ขนาดเล็กหรือฝายของหมู่บ้าน   เป็นการนำ�พลังงานหมุนเวียน  มาใช้ให้เกิดประโยชน์   แสวงหาความร่วมมือด้านพลังงาน กับต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สร้างความร่วมมือด้านพลังงาน กับประเทศกลุ่มอาเซียน ก่อให้เกิด การประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน  เป็นครั้งแรก

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:31


นายประพัทธ์  เปรมมณี เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ  (พ.ศ. 2526-2534)

ผลักดันให้เกิดโครงการโขง-ชี-มูล

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เพื่อประโยชน์ด้านการเกษตร และการอุปโภคบริโภค ก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ�คิรีธาร  โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ�อเนกประสงค์  เพื่อประโยชน์ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า  การเกษตร ป้องกันน้ำ�เค็ม และเป็นแหล่ง น้ำ�จืดสำ�หรับอุปโภคบริโภค นับเป็น โครงการขนาดใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่ง ของ พพ. ริเริ่มและเร่งรัดโครงการฝายยาง และการพัฒนาแหล่งเหมืองแร่ ถ่านหินลิกไนต์

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 13

ดร. ประเทศ  สูตะบุตร

เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ  (พ.ศ. 2534-2535) อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พ.ศ. 2535-2540) ขยายงานโครงการสูบน้ำ�ด้วยไฟฟ้า

ให้มีประสิทธิภาพและติดตั้งสถานีสูบน้ำ� ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม ในหลายลุ่มน้ำ�ทั่วประเทศ การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว  สะพานข้ามแม่น้ำ�โขงแห่งแรกของทั้งสอง ประเทศ สืบสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาลุ่มแม่น้ำ�โขง ตอนล่างในหมู่ประเทศภาคีสมาชิก และเสริมสร้างความร่วมมือไปถึงประเทศใน ลุ่มน้ำ�ตอนบน เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ริเริ่มแนวคิดการผันน้ำ�จากประเทศ เพื่อนบ้านเข้ามาใช้ประโยชน์ในประเทศ  เช่น สตึงนัม สาละวิน

ดร. อิทธิ  พิชเยนทรโยธิน

อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน  (พ.ศ. 2540-2542)

ผลักดัน พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์

พลังงาน เพื่อให้มีการอนุรักษ์พลังงาน อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในภาค อุตสาหกรรมและอาคารขนาดใหญ่   การศึกษาวิจัยด้านพลังงาน เช่น  พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อจัดทำ�แผนที่ ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของ ประเทศไทย และศึกษาความเหมาะสม และศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพจาก ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียในโรงงานอุตสาหกรรม ริเริ่มโครงการพลังงานเพื่อพัฒนาชนบท  โดยจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำ�หรับหมู่บ้านที่ ไม่มีไฟฟ้าใช้

13 21/12/2012 18:31


นางสิริพร  ไศละสูต

อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน  (พ.ศ. 2542-2545) อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน  (พ.ศ. 2545-2549) ร่วมกับภาคเอกชนดำ�เนินโครงการอนุรักษ์

พลังงานแบบมีส่วนร่วม จนเกิดผลประหยัด พลังงานที่เป็นรูปธรรม ริเริ่มโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการ อนุรักษ์พลังงานและการลดหย่อนภาษี เงินได้จากการอนุรักษ์พลังงาน โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ�ขนาดเล็กเพื่อผลิต ไฟฟ้าให้หมู่บ้านห่างไกลจากสายส่งไฟฟ้า  และเพื่อการชลประทาน  โครงการหมู่บ้านพลังงานในชนบท  และบ้านมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อส่งเสริม การประหยัดพลังงานในภาคครัวเรือน ส่งเสริมภาคเอกชนร่วมลงทุนด้านพลังงาน  ด้วยมาตรการเครื่องมือทางการเงินและภาษี  ผ่านกลไก BOI

14 P 1-29 (9 b0ss).indd 14

ดร. พานิช พงศ์พิโรดม

อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน  (พ.ศ. 2549-2552)

จัดทำ�แผนพัฒนาพลังงานทดแทน

15 ปี (พ.ศ. 2551-2565) : REDP ซึ่งเป็นแผนแม่บทระยะยาวฉบับแรก ของประเทศ สร้างและสานต่อเขื่อนไฟฟ้า พลังน้ำ�คลองทุ่งเพล  เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ�ลุ่มน้ำ�น่านตอนบน  และเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ�ห้วยแม่กะไน  ต่อยอดโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ�ระดับหมู่บ้าน  เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ โครงการจัดประกวดโรงงานและอาคาร อนุรักษ์พลังงานและบุคลากรที่ดำ�เนินการ อนุรักษ์พลังงาน

นายไกรฤทธิ ์ นิลคูหา

อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน  (พ.ศ. 2552-2555)

จัดทำ�แผนแม่บทการพัฒนาพลังงานทดแทน

ฉบับปรับปรุง (AEDP) 25 เปอร์เซ็นต์ ใน 10 ปี เพือ่ ยกระดับการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างครบวงจร   ริเริ่มโครงการเกาะต้นแบบพลังงานสะอาด (Green Island) ที่เกาะพะลวย   อำ�เภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นเกาะต้นแบบพลังงานสะอาดแห่งแรก ของประเทศไทย  ขยายผลโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์ พลังงานและพลังงานทดแทน (ESCO Fund)  เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ  ริเริ่มโครงการใช้ก๊าซชีวภาพในหลายรูปแบบ เช่น Biogas Network ที่จังหวัดพัทลุง และ Compressed Biogas ที่จังหวัดเชียงใหม่ 60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:31


เพือ่ งจร

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 15

15 21/12/2012 18:32


60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” P 1-29 (9 b0ss).indd 16

21/12/2012 18:32


ชีวิตที่เป็น “ตำ�นาน”  ของศาสตราจารย์  ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ < ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ (คนขวา) ขณะตรวจงานก่อสร้างลานไกไฟฟ้า (Switchyard) เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

หน้าประวัติศาสตร์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จารึกไว้ว่าถือกำ�เนิดมาจาก

หน่วยงานทีม่ ชี อื่ ว่าการพลังงานแห่งชาติ พร้อมกับปรากฏนาม ศ. ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ ในฐานะผูก้ อ่ กำ�เนิดและผูด้ ำ�รง  ตำ�แหน่งเลขาธิการคนแรกของการพลังงานแห่งชาติตั้งแต่ปี 2496 ศ. ดร. บุญรอดจึงเป็นบุคคลสำ�คัญที่ชาว พพ.  พึงรำ�ลึกถึงด้วยความคารวะ สมกับที่มีผู้กล่าวไว้ว่า  “หากไม่มี ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ วันนั้น ก็ย่อมไม่มีการพลังงานแห่งชาติ หรือกรมพัฒนาพลังงานทดแทน  และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ในวันนี้”   แน่นอนว่าค�ำกล่าวข้างต้นนั้นเป็นความจริง หากแต่ ศ. ดร. บุญรอดมิได้มีความส�ำคัญเฉพาะส�ำหรับชาว พพ. ใน ฐานะผูบ้ ริหารคนแรกเท่านัน้  หากแต่ผสู้ นใจประวัตศิ าสตร์ยอ่ มเคยผ่านตาชือ่ นีใ้ นฐานะ “เสรีไทย” สายอเมริกา  นิสติ เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับทราบว่าท่านคือ อดีตนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์  นอกจากนั้นแล้ว ศ. ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ ยังเป็น “ดอกเตอร์” ด้านไฟฟ้าพลังน�ำ้ คนแรก  ของประเทศ เป็นผู้บุกเบิกงานด้านพลังงานทดแทน ริเริ่มการสร้างเขื่อนกักเก็บน�ำ้ และผลิตไฟฟ้าในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ รวมทัง้ เป็นอดีตผูบ้ ริหารระดับ “ต�ำนาน” ของหน่วยงานอืน่ ๆ อีกหลายแห่ง ไม่วา่ จะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต  แห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือการประปานครหลวง (กปน.) และยังเคยด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรีวา่ การทบวงมหาวิทยาลัย  ของรัฐคนแรกอีกด้วย สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 17

21/12/2012 18:32


บุญรอด บิณฑสันต์ (ยืนแถวหลังขวาสุด)  นิสิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตัวแทนลูกเสือไทย เข้าร่วมประชุมลูกเสือนานาชาติ  พ.ศ. 2481 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

เปิดต�ำนาน

นิสิตจุฬาฯ รุ่นเยาว์

ชีวิตที่เป็น “ต�ำนาน” นี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน  2458 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  ณ อ�ำเภอนางเลิง้  จังหวัดพระนคร  ศ. ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ เป็นบุตร ของนายลาด บิณฑสันต์ และนางสมพร (สกุลเดิมแซ่กมิ ) เมือ่ ตอนมารดา ตั้งครรภ์ฝันว่ามีคนจูงช้างมาให้ แต่พอคลอดออกมาได้ไม่นานบุตรชาย  คนนี้ เ กิ ด เจ็ บ หนั ก  แต่ แ ล้ ว กลั บ รอดชี วิ ต มาได้ ด ้ ว ยบารมี น�้ ำ ขี้ ธู ป บู ช า  หลวงพ่อโต วัดสระเกศ จึงได้รับชื่อใหม่ให้เป็นมงคลนามว่า “บุญรอด” เด็กชายบุญรอดเข้าศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ  ปี 2465 เลขประจ�ำตัวนักเรียน ท.ศ. 2395 ตามหลักสูตรการศึกษา  สมั ย นั้ น มี ชั้ น ประถม 3 ปี   คื อ  ป. 1-ป. 3 ต่ อ ด้ ว ยชั้ น มั ธ ยมอี ก  8 ปี  โดยมี ม. 7 และ ม. 8 เป็นชัน้ เตรียมอุดมศึกษา  ในยุคก่อนหากนักเรียน  คนใดมีความรู้ความสามารถเพียงพอ ทางครูประจ� ำชั้นและโรงเรียน  อาจพิจารณาให้เลื่อนชั้นข้ามไปได้  บุญรอดเรียนข้ามชั้นถึงสองครั้ง  คื อ เมื่ อ เรี ย นมั ธ ยมปี ที่   1 และปี ที่   3  เมื่ อ ขึ้ น ชั้ น มั ธ ยมปี ที่   7 มี ก าร  แบ่งแยกการศึกษาเป็นแผนกต่างๆ เขาเลือกเรียนแผนกวิทยาศาสตร์  และจบชั้นมัธยมปีที่ 8 อันเป็นชั้นสูงสุดในปี 2472 เมื่ออายุเพียง 14 ปี

หลังจากนัน้ เด็กชายบุญรอดได้เข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2473 ขณะนั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์  ยั ง ไม่ มี ก ารแบ่ ง ภาควิ ช าแต่ จ ะเรี ย กกั น ว่ า  “แผนก” โดยในชั้ น ปี ที่   1  และ 2 ยั ง เรี ย นรวมกั น โดยไม่ แ ยกแผนก และจะได้ เ ริ่ ม แยกแผนก  ศึ ก ษาเมื่ อ ขึ้ น ชั้ น ปี ที่   3  เมื่ อ ถึ ง ชั้ น ปี ที่   3 บุ ญ รอดเลื อ กเรี ย นแผนก  วิศวกรรมไฟฟ้าซึง่ สนใจมาตัง้ แต่ยงั เด็ก “เพราะว่ามีความรูส้ กึ ว่าวิชาไฟฟ้า เป็นวิชาซึ่งค่อนข้างจะอัศจรรย์” เมื่ อ อยู ่ ชั้ น ปี ที่   4 ทางคณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ รั บ อาจารย์ ช าว  ต่างประเทศมาสอนวิชาไฟฟ้าอีกคนหนึง่  คือ ดร. ชาร์ลส์ อี.เอ็ม. เกเวิรต์ ซ์  (Charles Ehrnfrid Månsson Gewertz ค.ศ. 1894-1983) ศาสตราจารย์  ชาวสวีเดนซึ่งจบปริญญาเอกสาขาไฟฟ้ามาจาก MIT (Massachusetts  Institute of Technology สถาบันเทคโนโยลีแห่งแมสซาชูเซตส์)  ตราบจน  ตลอดชีวิต บุญรอดยังร�ำลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์เสมอ  “ตอนนั้นอายุ 17 ปี...ผมจึงตั้งใจเรียนกับโปรเฟสเซอร์เกเวิร์ตซ์  มากทีเดียว และก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาทางไฟฟ้าก�ำลังมาอย่างมหาศาล  พอจบปีที่ 4 แล้ว ท่านก็เป็นคนเสนอที่จะให้ผมได้รับปริญญาตรี มีวุฒิ  เป็นเกียรตินิยมอันดับ 1...”

18 P 1-29 (9 b0ss).indd 18

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:32


อาจารย์หนุ่มนักเรียนนอก บุญรอด บิณฑสันต์ จบปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเกียรตินยิ ม  แผนกวิศวกรรมไฟฟ้าจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อปี 2476 ขณะเมื่อมีอายุเพียง 18 ปี หลังจากนั้นท่านได้รับการ  บรรจุเป็นอาจารย์ประจ�ำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มีต�ำแหน่งเป็นอาจารย์ผู้ช่วยในแผนกวิศวกรรมไฟฟ้า คือเป็นผู้ช่วย  ศ. เกเวิร์ตซ์ ช่วยดูแลห้องปฏิบัติการไฟฟ้า และช่วยสอนวิชาวิศวกรรม ไฟฟ้าบางวิชา จากนั้น  “โปรเฟสเซอร์เกเวิรต์ ซ์กจ็ ดั การเรือ่ งโรงเรียนให้ผมไปเรียนปริญญา  โทที่ MIT แล้วก็คาดคั้นว่าต้องเข้าเรียนปริญญาโทให้ได้ในทันที ผม  จะต้องผ่านการสอนทดลอง เพราะในครั้งนั้นเราไม่เคยใช้วิทยฐานะทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อที่จะไปต่อปริญญาโทที่อื่นในต่างประเทศได้ เลย ทุกคนจะต้องไปเริม่ ต้นปีท ี่ 3 ของการเรียนทางบัณฑิตปริญญาตรี...” หลั ง จากสอบแข่ ง ขั น ชิ ง ทุ น ไปศึ ก ษาต่ อ  ณ ต่ า งประเทศของ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ได้ ต อนปลายปี   2478 ต้ น ปี ต ่ อ มาอาจารย์  บุญรอดก็เดินทางไปศึกษาต่อที่ MIT หรือสถาบันเทคโนโยลีแห่งแมสซา-  ชูเซตส์) เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่า  ท่านผ่านการทดสอบทุกอย่างและสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท  ได้ทันที   ในปี 2481 อาจารย์บญ ุ รอดจึงส�ำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต  ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า (Master of Science in Electrical Engineering)  เกียรตินิยม สาขาไฟฟ้าก�ำลัง จาก MIT ด้วยค�ำแนะน�ำของ ศ. เกเวิร์ตซ์ อาจารย์บุญรอดวางแผนเดินทาง  ต่อไปยังเยอรมนีเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก แต่แล้วในเดือน  กันยายน 2482 สงครามครั้งใหม่ในยุโรปก็ระเบิดขึ้นเมื่อกองทัพนาซีบุก  โปแลนด์  ท�ำให้อาจารย์บญ ุ รอดตัดสินใจเปลีย่ นแผน  ศ. เกเวิรต์ ซ์แนะน�ำ  ว่าให้ไปศึกษาวิชาไฟฟ้าสื่อสารที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of  Wisconsin) ซึ่งท่านก็เห็นพ้องด้วย แต่แล้วระหว่างนั้นเองชะตาชีวิตของ  นักศึกษาปริญญาเอกชาวไทยคนนี้ก็มีอันต้องพลิกผันไป

สู ่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 19

ขณะเป็นนักศึกษาที ่ MIT ประเทศสหรัฐอเมริกา

19 21/12/2012 18:32


สงคราม ! ปลายเดือนมกราคม 2485 รัฐบาลไทยลงนามในสนธิสัญญาเป็น  พันธมิตรอักษะร่วมกับญี่ปุ่นและเยอรมนี พร้อมทั้งประกาศสงครามกับ ฝ่ายสัมพันธมิตร  หลังจากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลจึงแจ้งไปยัง นักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา (ซึ่งกลายเป็นชาติศัตรู) ให้เดินทางกลับ ประเทศไทย ขณะนั้น บุญรอด บิณฑสันต์ ก�ำลังศึกษาระดับปริญญาเอก อยู ่ ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมืองแมดิสนั  รัฐวิสคอนซิน เขาสอบผ่าน ภาคข้อเขียนแล้ว คงเหลือค้างอยู่เพียงวิทยานิพนธ์เรื่องสถานีวิทยุขนาด  10 กิโลวัตต์เท่านั้น   เมือ่ อาจารย์ได้รบั ค�ำสัง่ ให้เดินทางกลับ นอกจากเสียดายปริญญาเอก  ทีย่ งั ค้างอยูแ่ ล้ว อาจารย์บญ ุ รอดยังคิดว่าประเทศไทยไม่นา่ ถล�ำตัวไปร่วม รบกับญี่ปุ่นดังที่เป็นอยู่ ยิ่งกว่านั้นท่านยังเชื่อมั่นว่าด้วยทรัพยากรและ  เทคโนโลยีของสหรัฐฯ น่าจะท�ำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะฝ่าย  อักษะได้ในที่สุด จึงตัดสินใจว่ายังไม่ควรเดินทางกลับประเทศไทย ขณะ  เดียวกันสถานอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดย ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช อัครราชทูต ตัดสินใจไม่รบั ทราบการประกาศสงครามของรัฐบาล   หลังจากนั้นไม่นานมีข่าวแพร่ไปในหมู่นักเรียนไทยว่า ม.ร.ว. เสนีย์ได้ จัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น พร้อมกับประกาศรับสมัครนักเรียนไทย  ผู้สมัครใจเข้าร่วมขบวนการ ซึ่งอาจต้องไปเป็นทหารสู้รบกู้บ้านกู้เมือง  ุ รอดคือหนึง่ ในบรรดานักเรียนไทยทีส่ มัครเข้าร่วมขบวนการ  และอาจารย์บญ ลับนั้น ซึ่งต่อมาภายหลังเป็นที่รู้จักกันในนาม “ขบวนการเสรีไทย”

เพื่อชาติ ในเดือนมีนาคม 2486 หลังผ่านการฝึกหัดด้านยุทธวิธี อาจารย์  บุญรอดในชือ่ รหัสว่า “เบน” (Ben) และเพือ่ นคนไทยในกลุม่ ทีเ่ รียกกันว่า  “สายปฏิ บั ติ ก ารลั บ ” (Secret Operation) จึ ง ออกเดิ น ทางข้ า มโลก  จากสหรัฐอเมริกา  เรือโดยสารใช้เส้นทางคลองปานามา เลาะเลียบ  ชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ตัดข้ามมายังนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ก่อนจะ

20 P 1-29 (9 b0ss).indd 20

ถึงจุดหมายปลายทางที่เมืองบอมเบย์ในอินเดีย จากนั้นต่อรถไฟข้าม  อินเดียมายังกัลกัตตา แล้วลงเรือกลไฟแล่นทวนแม่น�้ำพรหมบุตรไปสู่  ค่ายทหารใกล้เมืองดีบรูกา รัฐอัสสัม ไม่หา่ งไกลจากชายแดนพม่าอันเป็น เขตสู้รบระหว่างญี่ปุ่นกับอังกฤษ แล้วขึ้นเครื่องบินข้ามเทือกเขาหิมาลัย  ต่อไปยังเมืองจุงกิง (ปัจจุบันเรียกว่า ฉงชิ่ง) มณฑลเสฉวนของจีน แล้ว เลยไปยังเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน  จากคุนหมิง อาจารย์บญ ุ รอดซึง่ เคยเรียนขีม่ า้  และพอมีความรูเ้ รือ่ ง  การดูแลรักษาม้ามาบ้างจากที่วิสคอนซิน ได้รับหน้าที่จัดหาและดูแลม้าที่  ใช้เป็นพาหนะ กับลาและล่อที่เป็นสัตว์ต่างบรรทุกสัมภาระและอาวุธ  ยุทธภัณฑ์ไปยังค่ายฝึกทีเ่ มืองซือเหมาใกล้เมืองเชียงรุง้  เขตสิบสองปันนา  ที่อยู่ห่างออกไปอีก 300 กิโลเมตร ท่านใช้เวลาเดินทางระหกระเหิน  ผ่านป่าเขาไปอีกกว่าเดือนจึงถึงซือเหมาโดยสวัสดิภาพ ตามแผนการที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายมา เสรี ไ ทยกลุ ่ ม นี้ จ ะใช้ เ มื อ ง  ซือเหมาเป็นศูนย์ปฏิบัติการโดยจัดส่งหน่วยเล็กๆ แทรกซึมเข้าสู่ดินแดน ไทยผ่านทางภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วจัดตัง้ เครือข่าย  ส่งรายงานข่าวความเคลือ่ นไหวของกองทัพญีป่ นุ่ กลับมายังศูนย์ปฏิบตั กิ าร   อย่างไรก็ดปี รากฏว่าหน่วยทีส่ ง่ ล่วงหน้าเข้าไปกลับเงียบหายหมด  ในทีส่ ดุ   อาจารย์บุญรอดจึงต้องเดินทางมาสืบข่าวด้วยตัวเอง โดยปลอมตัวเป็น  ชาวขมุ โกนศีรษะ เดินทางจากซือเหมามายังเชียงรุ้ง แล้วล่องแพไปขึ้น  ทีเ่ มืองลา เดินเท้าต่อไปจนถึงฝัง่ แม่นำ�้ โขงตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง  ของลาว (ในช่วงสงครามโลกเป็นดินแดนประเทศไทย) ในอีกหลายสิบปี  ต่อมา ความหลังครั้งนั้นยังคงแจ่มชัด “ผมเดินทางด้วยเท้าบ้าง ขีม่ า้ บ้าง จากคุนหมิง ผ่านซือเหมา จนถึง หลวงพระบาง เดีย๋ วเดินอยูฝ่ ง่ั ซ้ายแม่นำ�้ โขง อีกวันข้ามไปเดินฝัง่ ขวาเพือ่ หลบหลีกการไล่ลา่ ของทหารและต�ำรวจไทย...ผมต้องปีนป่ายข้ามยอดเขา สูงเสียดฟ้าไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูกกว่าจะถึงหลวงพระบาง แล้วเดินย้อนกลับไป คุนหมิงอีกครั้ง ใช้เวลาเดินทางถึง 6 เดือน...” จากการข่าวท�ำให้ทราบว่าหน่วยปฏิบตั กิ ารทีส่ ง่ เข้ามายังประเทศไทย นัน้  บางคนถูกสังหาร ทีเ่ หลือถูกต�ำรวจไทยจับกุมไว้ แต่ดว้ ยการประสาน งานกับเสรีไทยที่ปฏิบัติงานภายในประเทศ ท�ำให้ได้รับการปล่อยตัวกลับ มาได้โดยปลอดภัย 60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:32


เตรียมบุก เมือ่ ถึงช่วงต้นปี 2487 อาจารย์บญ ุ รอดกับเพือ่ นเสรีไทยอีกนายหนึง่   ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อนกลับไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 60 วัน  เมื่ อ ครบก� ำ หนด ท่ า นจึ ง เดิ น ทางย้ อ นกลั บ มายั ง เมื อ งกั ล กั ต ตาทาง  ฝั่งตะวันออกของอินเดียอีกครั้งหนึ่ง เข้ารับการฝึกโดดร่ม และอบรม เรื่องสงครามจิตวิทยาเพิ่มเติม รวมทั้งบางครั้งก็ติดขึ้นไปกับเครื่องบิน  ทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตรที่เข้าไปทิ้งระเบิดที่หมายทางยุทธศาสตร์ต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อ “ชี้เป้า” ว่าสถานที่ใดที่ต้องรักษาไว้ไม่ให้ถูกท�ำลาย เช่นวัดวาอารามและพระบรมมหาราชวัง ต่อมามีนายทหารอเมริกันมาทาบทามให้เขาย้ายไปอยู่กับหน่วย  ที่ท�ำหน้าที่ฝึกปฏิบัติการ “สงครามกองโจร” หลังแนวรบของข้าศึก เมื่อ อาจารย์บุญรอดตอบตกลงจึงถูกส่งตัวไปยังฐานทัพสัมพันธมิตรที่ท่าเรือ  ทริงโคมาลี (Trincomalee) ทางตะวันออกของเกาะลังกา เพื่อฝึกการรบ  ให้แก่ทีมเด็กหนุ่มที่เสรีไทยสายในประเทศจัดการให้ลักลอบเดินทาง  ออกมาฝึกอาวุธเตรียมต่อสู้ขับไล่กองทัพญี่ปุ่น แต่แล้วหลังจากฝึกไปได้เพียงเดือนเดียว พร้อมนับวันรอที่จะได้ โดดร่มเข้ามาปฏิบัติการหลังแนวรบในประเทศไทย  ต้นเดือนสิงหาคม  2488 “อะตอมมิกบอมบ์” ระเบิดชนิดใหม่ของสหรัฐฯ ถูกทิ้งลงกลาง  สองเมืองใหญ่ของญี่ปุ่น คือฮิโรชิมาและนางาซากิ  ญี่ปุ่นยอมแพ้แก่ฝ่าย สัมพันธมิตรโดยไม่มีเงื่อนไข  เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ไปแล้ว กองก�ำลังเสรีไทยนอกประเทศก็ทยอยกัน  เดินทางกลับเข้าไปสมทบกับกองก�ำลังในประเทศเพื่อท�ำการปลดอาวุธ  กองทัพญี่ปุ่น  อาจารย์บุญรอดจึงได้พบหน้าพ่อแม่ญาติพี่น้องที่ขาด  การติดต่อกันไปตั้งแต่ต้นปี 2485 อีกครั้งหนึ่ง  ในระหว่างนั้นเองท่าน  ได้มีโอกาสรู้จักกับคุณพยอม ชุณหศรี ธิดานายห้างชูลส์ (Shulz) ชาว  เยอรมนี หลังจากคบหาดูใจกันอยู่ได้ไม่นาน ท่านก็แน่ใจว่าสาวลูกครึ่ง  คนนี้แหละคือคู่ชีวิต  ทั้งสองจดทะเบียนสมรสกันอย่างเงียบๆ และ  ครองรักด้วยกันมาอีกกว่า 60 ปี ตราบจนตายจากกันไป

สู ่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 21

ในเครื่องแบบนายทหารเสรีไทย

21 24/12/2012 13:34


ไฟฟ้าพลังน�้ำ กันยายน 2488 อาจารย์บุญรอดเดินทางกลับไปศึกษาต่อที่สหรัฐ-  อเมริกา ก่อนออกเดินทางไป ฯพณฯ ปรีด ี พนมยงค์ รัฐบุรษุ และหัวหน้า  ขบวนการเสรีไทย ได้แจ้งว่าอยากให้ท่านไปศึกษาต่อด้านไฟฟ้าก�ำลังน�้ำ   เพราะคิดว่าการที่จะพัฒนาประเทศยุคหลังสงครามโลกต้องใช้พลังงาน  ไฟฟ้าเป็นอันมาก และเมืองไทยน่าจะมีน�้ำมากพอส�ำหรับการเริ่มต้นยุค  ไฟฟ้าพลังน�้ำ  แม้วิทยานิพนธ์ที่วางค้างอยู่ที่วิสคอนซินคือเรื่องไฟฟ้า  สื่อสาร แต่อาจารย์บุญรอดก็ยินดีเปลี่ยนสาขาวิชาเพื่อจะได้ใช้ความรู้  ของท่านให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ หลังจากต้องฝ่าฟันอุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ กับระบบราชการของไทย  แล้ว ท่านก็ได้รับอนุมัติให้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ท�ำการ  ค้นคว้าเรื่องไฟฟ้าแรงสูงกับการพัฒนาแหล่งน�้ำให้ได้ประโยชน์ในทาง  พลังงานไฟฟ้า  จู่ๆ วันหนึ่ง ม.ล. ชูชาติ ก�ำภู อธิบดีกรมชลประทาน  ของไทย ก็เดินเข้าไปหาท่านถึงห้องทดลองชัน้ ใต้ดนิ ของแผนกไฟฟ้าก�ำลัง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  “...บอกว่าได้รับค�ำสั่งจากนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม  ว่ า เมื่ อ ผมกลั บ ไปจะมอบหมายให้ ด� ำ เนิ น การในเรื่ อ งพลั ง งานของ ประเทศไทย ซึ่งผมก็รับปาก เมื่อได้เรียนมาทางนี้ก็ยินดีจะช่วยเหลือ แต่ ผมก็ได้เรียนให้ทา่ นทัง้ สองทราบว่าผมมีพนั ธะกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่...”

กลับสู่บ้านเกิด ในปี   2492 ท่ า นส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาได้ รั บ ปริ ญ ญาวิ ท ยาศาสตร์  ดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต  (D.Sc.) สาขาไฟฟ้ า พลั ง น�้ำ จากมหาวิ ท ยาลั ย ฮาร์ ว าร์ ด  กลายเป็น “ดอกเตอร์” ด้านไฟฟ้าพลังน�้ำคนแรกของประเทศไทย  เมือ่ เดินทางกลับมาถึงประเทศไทย ดร. บุญรอดกลับเข้ารับราชการ ในสั ง กั ด เดิ ม คื อ  แผนกไฟฟ้ า  คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์   จุ ฬ าลงกรณ์ -  มหาวิทยาลัย แต่พร้อมกันนั้นหน้าที่ที่มีความรับผิดชอบพ้นไปกว่านิสิต  ในชั้นเรียนก�ำลังรออยู่  ดร. บุญรอดเล่าต่อว่า

22 P 1-29 (9 b0ss).indd 22

“ปี   2493 ผมกลั บ จากประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า นายกรั ฐ มนตรี  จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็จะให้ผมเริ่มด� ำเนินการในเรื่องพลังงาน  ของประเทศไทย แต่ไม่มีงบประมาณอะไรเลย  ผมจึงขออนุญาตจุฬา-  ลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ จะใช้ ห ้ อ งท� ำ งานของผมเป็ น ที่ ตั้ ง ของคณะ  กรรมการพลังงานแห่งชาติ ซึง่ มีผเู้ ชีย่ วชาญด้านต่างๆ ประมาณ 79 คน  เพื่อร่างระเบียบแบบแผนที่จะได้มาซึ่ง พ.ร.บ.” ความสนใจที่รัฐบาลไทยมีให้แก่ไฟฟ้าพลังน�ำ้ นี้ ปรากฏชัดเจนจาก  ความตอนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายก-  รัฐมนตรี แถลงแก่รัฐสภาตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2492 ว่า “จะเร่งให้  ได้มาซึ่งพลังจากไฟฟ้าน�ำ้ ตก...” พร้อมกันนั้น ดร. บุญรอดก็รักษาสัญญาที่รับปากไว้กับ ม.ล. ชูชาติ  ก�ำภู ด้วยการหาเวลาปลีกตัวไปช่วยกรมชลประทานจัดตั้งกองพลังน�้ำขึ้น  พร้อมกับเดินทางร่วมไปกับคณะของกรมชลประทานเพื่อตรวจสอบหา  แหล่งพลังงานน�้ำในประเทศ จนพบว่าแม่น�้ำปิงที่เขาแก้ว ต�ำบลยันฮี  จังหวัดตาก มีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน�้ำได้อย่าง  มหาศาล อันกลายเป็นทีม่ าของโครงการเขือ่ นยันฮี ซึง่ ได้รบั พระราชทาน  นามในเวลาต่อมาว่า “เขื่อนภูมิพล”

ก�ำเนิด “การพลังงานแห่งชาติ” ในปี   2495 ประธานธนาคารโลกได้ เ ดิ น ทางมาเยื อ นประเทศ  ไทย และ ดร. บุญรอดเป็นผูห้ นึง่ ทีไ่ ด้พบปะแลกเปลีย่ นข้อคิดเห็นกัน  ข้อ เสนอประการหนึ่งของธนาคารโลกซึ่ง ดร. บุญรอดมีส่วนผลักดันคือควร มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการด้านพลังงาน (ไฟฟ้า) ของไทย โดยเฉพาะ ซึ่งทางธนาคารโลกยินดีให้ความช่วยเหลือ จึงเกิดมี “คณะ กรรมการไฟฟ้าและพลังงานแห่งประเทศไทย” ขึ้น และต่อมาทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการพลังงานแห่งชาติขึ้นเมื่อ  5 มกราคม 2496 โดยมี “คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ” เป็นผูค้ วบคุม  นโยบายและการปฏิบตั งิ าน  ดร. บุญรอดซึง่ ในขณะนัน้ ยังเป็นข้าราชการ  สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการต�ำแหน่ง เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2496 ด้วย 60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:32


เครื่องหมายราชการของหน่วยงานแห่งใหม่นี้ ถูกก�ำหนดขึ้นตาม ประกาศส�ำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2497 ให้ใช้รูป พระพิรุณ เทพแห่งฝน กับพระอัคนี เจ้าแห่งไฟ ประทับบนแท่น รวม  เรียกว่า “พระอัคนิวัสสเทพ” หมายความว่าเทพเจ้าผู้ให้กำ� เนิดพลังงาน ตั้งแต่ปี 2498 เป็นต้นมา การพลังงานแห่งชาติได้รับงบประมาณ  มาด�ำเนินการเร่งรัดส�ำรวจแหล่งพลังน�้ำและถ่านหินลิกไนต์ เพื่อศึกษา  หาทางพัฒนาแหล่งพลังงานในประเทศไทย  ดร. บุญรอดได้รับแต่งตั้ง  ให้ เ ป็ น เลขาธิ ก ารการพลั ง งานแห่ ง ชาติ   สั ง กั ด ส� ำ นั ก นายกรั ฐ มนตรี  ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2499 แต่ก็ยังคงช่วยราชการงานสอนที่แผนกไฟฟ้า  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อมาอีกหลายปี คุ ณ ธรรมชาติ   ศิ ริ วั ฒ นกุ ล  อดี ต รองอธิ บ ดี   พพ. และอดี ต นิ สิ ต  คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลูกศิษย์ของ ดร. บุญรอดช่วงนั้น เล่าว่า “ตอน  ผมเรียนปี 3-4 ได้เรียนกับท่านสองวิชา คือ วิชา math ของไฟฟ้า อีก  วิชาหนึ่งคือวิชาเศรษฐศาสตร์ engineering economy วิชานี้จุดประกาย ให้ผมชอบทางด้านนี้...ท่านสอนสนุกนะ แต่เป็นที่กลัวของนักเรียนทั่วไป เพราะท่านจะดุมาก ใครไม่ตั้งใจฟัง ใครมาสาย หรือว่าใครจะมีลูกเล่น อะไรกับท่าน ท่านรู้ทัน...”

คนล่าไฟ (ฟ้า) ตั้งแต่ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงไฟฟ้าหลักของกรุงเทพฯ  คือ “โรงไฟฟ้าวัดเลียบ” (ปัจจุบนั คือการไฟฟ้านครหลวง ข้างวัดราชบูรณะ  ปากคลองตลาด กรุงเทพฯ) คือจุดยุทธศาสตร์ส�ำคัญ จึงถูกเครือ่ งบินฝ่าย สัมพันธมิตรทิ้งระเบิดจนพังพินาศ ชาวพระนครจึงไม่มีไฟฟ้าใช้มาเป็น เวลานานแรมปี จนเมื่อสงครามโลกยุติลงจึงมีการซ่อมแซมโรงไฟฟ้า ซึ่ง  ดร. บุญรอดก็มีส่วนร่วมเป็นที่ปรึกษาด้วยคนหนึ่ง  แม้กระทั่งเมื่อสามารถซ่อมแซมเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้าของ “โรงไฟฟ้า วัดเลียบ” ให้ใช้การได้แล้ว ทว่าแม้แต่ในกรุงเทพฯ เอง ไฟฟ้าก็ยังมีใช้ แบบ “ติดๆ ดับๆ” ส่วนต่างจังหวัดนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ส่วนใหญ่ ของประเทศยังไม่มีไฟฟ้าใช้ทั้งสิ้น   งานชิ้ น แรกที่ ส� ำ คั ญ และเร่ ง ด่ ว นของ ดร. บุ ญ รอดในฐานะ  สู ่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 23

23 24/12/2012 13:34


ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ (นั่งที่ 2 จากซ้าย) เจรจาเงินกู้ โครงการน�้ำพองที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พ.ศ. 2505

เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ คือการสนับสนุนและจัดการปัญหาความ  ขาดแคลนก�ำลังผลิตไฟฟ้าและแก้ไขไฟฟ้าหรี่ ซึ่งเกิดจากแรงดันไฟฟ้า  ตกมากในช่วงปี 2499-2503 น�ำไปสู่การติดตั้งเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้าดีเซล  ขนาดใหญ่ขึ้นในกรุงเทพฯ-ธนบุรี และการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจาก  110 โวลต์ เป็น 220 โวลต์ ในเขตจ�ำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง  อันนับเป็นการตัดสินใจครั้งส�ำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การไฟฟ้าของ  ประเทศไทยทีเดียว  อย่างไรก็ตามแม้การแก้ปัญหาดังกล่าวจะลุล่วงไปด้วยดี ทว่า ดร.  บุญรอดก็ตระหนักชัดเจนว่านั่นเป็นเพียงการแก้ปัญหา “เฉพาะหน้า”  ั ฑิตด้านไฟฟ้าพลังน�้ำเช่นท่าน หนทางเดียวทีจ่ ะ เท่านัน้   ส�ำหรับดุษฎีบณ แก้ปัญหาให้ประเทศได้ในระยะยาวคือการสร้างเขื่อน ซึ่งจะมีประโยชน์ ทั้งการผลิตไฟฟ้าพลังน�้ำ อันมีต้นทุนต่อหน่วยต�่ำที่สุด ทั้งยังเป็นแหล่ง กักเก็บน�้ำส�ำหรับการชลประทานเพื่อพี่น้องเกษตรกร พลเมืองกลุ่มใหญ่ ที่สุดของราชอาณาจักร

“ผามอง” เดอะเมกะโปรเจ็กต์ ในบรรดาล�ำน�ำ้ ทีม่ อี ยูห่ รือทีไ่ หลผ่านประเทศไทย แม่น�้ำโขงถือได้วา่   มีศักยภาพสูงสุด ถือเป็น “ความหวังของภูมิภาค” ก็ว่าได้  ดร. บุญรอด  เห็นว่าหากศักยภาพของแม่น�้ำโขงได้รับการพัฒนาขึ้นมาแล้วจะเป็น  ทางออกที่แก้ไขได้ทั้งวิกฤตพลังงาน และยังสามารถพัฒนาการเกษตร  ในภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ  ซึ่ ง ถู ก มองว่ า เป็ น เขตแห้ ง แล้ ง กั น ดาร  ได้อย่างมหาศาล  ยิ่งกว่านั้นนอกจากประเทศไทยแล้ว มิตรประเทศใน ลุ่มแม่น�้ำโขงตอนล่าง อันได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก็จะได้รับ ประโยชน์ร่วมกันด้วย ด้วยความสนับสนุนของ “อีคาเฟ่” หรือคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ แห่ งเอเชี ยและตะวั นออกไกล (ECAFE - Economic Commission  for Asia and the Far East  ปัจจุบนั ใช้ชอื่ ว่า ESCAP - Economic and  Social Commission for Asia and the Pacific) ประเทศไทย กัมพูชา  ลาว และเวี ย ดนาม จึ ง จั ด การประชุ ม ร่ ว มกั น ขึ้ น ในเดื อ นพฤษภาคม  2500 อันน�ำไปสูก่ ารจัดตัง้ คณะกรรมการประสานงานส�ำรวจลุม่ แม่นำ�้ โขง

24 P 1-29 (9 b0ss).indd 24

ตอนล่าง ประกอบด้วยผูแ้ ทนของรัฐบาลสีป่ ระเทศ  ในการนี ้ ดร. บุญรอด  บิณฑสันต์ ในฐานะเลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้แทนประเทศไทย  อภิมหาโครงการอันถือได้ว่าเป็น “โครงการระดับโลก” ส�ำหรับ แม่น�้ำโขงในยุคทศวรรษ 2500 และเป็นผลงานโดยตรงของส�ำนักงาน  พัฒนาแม่น�้ำโขงตอนล่างคือเขื่อนผามอง ซึ่งจะสร้างกั้นขวางแม่น�้ำโขง ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรลาว ตรงอ�ำเภอท่าบ่อ จังหวัด หนองคาย   ระดับความสูงของเขื่อนผามองที่ประเมินกันไว้ในระยะแรกคือ  80 เมตร ซึ่งสูงพอๆ กับตึก 20 ชั้น (บางแหล่งข้อมูลว่าตัวเขื่อนจะมี  ความสู ง ถึ ง  115 เมตร เที ย บเท่ า ตึ ก สู ง เกื อ บ 30 ชั้ น ) ด้ ว ยเหตุ นั้ น  ทะเลสาบของเขือ่ นผามองจึงจะครอบคลุมอาณาบริเวณจังหวัดหนองคาย  และเลยทางฝั ่ ง ไทย กั บ นครหลวงเวี ย งจั น ทน์ แ ละแขวงเวี ย งจั น ทน์  ของฝั่งลาว คิดเป็นพื้นที่เกือบ 4,000 ตารางกิโลเมตร (เท่ากับพื้นที่  กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และสมุทรปราการรวมกัน) ในการนี้คาดกัน ว่าจะต้องมีการอพยพย้ายถิน่ ของประชาชนไทย-ลาว ไม่ต�่ำกว่า 3 แสนคน เอกสารประชาสัมพันธ์ “โครงการพัฒนาแม่น�้ำโขง” อธิบายว่า  “เขื่อนนี้มีความส�ำคัญต่อภาคอีสานมาก สามารถที่จะจ่ายน�้ำให้แก่ภาค อีสานได้ถึงวินาทีละ 600 ลูกบาศก์เมตรตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้นับหลายแสนกิโลวัตต์...ทั้งยังสามารถจะ ขยายการท�ำนาได้อีกประมาณเกือบล้านไร่ โดยมีล�ำคลองส่งน�้ำที่ยาวถึง  250 กิโลเมตร...” แต่การจะผลักดันโครงการระดับนี้ให้เกิดขึ้นได้ จ� ำเป็นที่ต้องมี ประสบการณ์และบุคลากรเพียงพอ  องค์การสหประชาชาติโดยการ  ผลักดันของคณะกรรมการแม่น�้ำโขง (Mekong Committee) จึงให้  ความช่วยเหลือแก่ประเทศทัง้ สีใ่ นลุม่ น�้ำโขงตอนล่าง ในอันทีจ่ ะ “ทดลอง”  สร้างโครงการเขือ่ นอเนกประสงค์ขนาดกลางตามล�ำน�ำ้ สาขาของแม่นำ�้ โขง  ในพื้นที่ของตนก่อน ประเทศไทยจึงเลือกโครงการน�ำ้ พองทีจ่ งั หวัดขอนแก่นเป็นประเดิม

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:32


ณ พองหนีบ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เคยสอบถาม ทางกรมชลประทานว่ า การสร้ า ง “เขื่ อ นพองหนี บ ” ตาม “โครงการ น�้ำพอง” จะต้องใช้เวลากี่ปี ก็ได้รับค�ำตอบว่าประมาณ 10 ปี  แต่ ดร.  บุญรอด บิณฑสันต์ เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ กลับเรียนท่าน จอมพลไปว่า “ผมขอเวลาแค่ 2 ปี ครับผม !”   ด้วยระยะเวลาทีต่ า่ งกันกับประมาณการถึงห้าเท่า ท่านจอมพลคงยัง ไม่คอ่ ยแน่ใจ  แต่ดว้ ยความเชือ่ มัน่ ในตัวของ ดร. บุญรอด ท่านจึงอนุมตั ิ ให้เริ่มด�ำเนินโครงการได้  ในปี 2505 รัฐบาลรับหลักการให้โครงการพัฒนาแม่น�้ำพองเป็น  โครงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และให้เร่งพัฒนา “เป็นอันดับแรก”  ดร. บุญรอดจึงผลักดันให้มีการจัดตั้ง “การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ”  สู ่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 25

ขึ้นเป็นรัฐวิสาหกิจ ดูแลตั้งแต่การก่อสร้างจนถึงการผลิตและจ่ายกระแส ไฟฟ้า โดยมี ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ เป็นผู้ท�ำการแทนคณะกรรมการ การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่ตั้งของเขื่อนกักเก็บน�้ำแห่งใหม่อยู่บนแม่น�้ำพองที่ช่องเขาพอง-  หนีบ อ�ำเภอน�้ำพอง จังหวัดขอนแก่น  ส�ำนักงานสนามตั้งอยู่กลางดง ยางนาที่สูงเสียดฟ้า ขนาบด้วยล�ำน�้ำพอง ถัดไปคือเทือกเขาภูพานที่  ยาวเหยียดสุดสายตา  เมื่อเริ่มต้นท�ำงานในปี 2506  เส้นทางเข้าไปสู่  ไซต์งานยังเป็นถนนลูกรังสภาพเหมือนพื้นผิวดวงจันทร์  ระยะทาง  เพียงไม่กี่สิบกิโลเมตรจึงต้องใช้เวลาถึงครึ่งค่อนวัน  สภาพอากาศหนาว เหน็บในฤดูหนาว  ส่วนช่วงหน้าร้อนเทอร์โมมิเตอร์จะพุ่งขึ้นเลยขีด  40 องศาเซลเซียส  ดร. บุ ญ รอด บิ ณ ฑสั น ต์   พั ก อยู ่ ที่   “บ้ า นพั ก ผู ้ ท� ำ การแทนคณะ กรรมการ” ซึ่งเป็นเรือนไม้สองชั้นกลางป่ายาง ชั้นบนใช้เป็นที่นอน ชั้น

25 21/12/2012 18:32


ล่างใช้เป็นส�ำนักงานของวิศวกรทัง้ หมด  ทุกเดือนจะมีการประชุมติดตาม  ผลงานและความก้าวหน้าของการก่อสร้าง  ดร. บุญรอดจะชักชวนบรรดา  วิศวกรหนุ่มๆ ที่เพิ่ง “เข้าสู่วงการ” ให้มานั่งฟังการสนทนาถกเถียงกัน  ระหว่ า งวิ ศ วกร ที่ ป รึ ก ษา และผู ้ รั บ เหมา  แน่ น อนว่ า มี ผู ้ เ ชี่ ย วชาญ  หลายชาติหลายภาษาจึงต้องใช้ภาษาสากลคือภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง   ในวงประชุมจึงเซ็งแซ่ไปด้วยภาษาอังกฤษแบบไทย แบบเยอรมัน แถม ด้วยอังกฤษส�ำเนียงแขกของผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดียและปากีสถาน  แม้การก่อสร้างเขื่อนพองหนีบนี้จะท�ำให้ ดร. บุญรอดตัดสินใจ  ลาออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพือ่ จะได้มเี วลาทุม่ เทให้แก่โครงการ นีอ้ ย่างเต็มที ่ แต่กระนัน้ ก็มผี ขู้ นานนามห้องประชุมชัน้ ล่างของบ้านกลางดง  ยางนั้นว่า “Binson’s School of Engineering and Construction  Management at Pongneeb” (วิทยาลัยวิศวกรรมและการบริหารงาน  ก่อสร้าง “บิณฑสันต์” ณ พองหนีบ) เพราะวิศวกรรุ่นเยาว์ของไทยที่เข้า ร่วมในโครงการนี้ต่างได้เรียนรู้และพบเห็นประสบการณ์ล�้ำค่าอันจะหา  ไม่ได้จากห้องเรียนใดๆ

26 P 1-29 (9 b0ss).indd 26

พระราชทานนาม  “เขื่อนอุบลรัตน์” เขื่อนพองหนีบตามโครงการน�้ำพองเป็นเขื่อนขนาดใหญ่แห่งแรก  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ่างเก็บน�้ำมีพื้นที่ประมาณ 400 ตาราง  กิ โ ลเมตร หรื อ กว่ า  2.5 ล้ า นไร่   มี ป ริ ม าตรน�้ ำ ที่ เ ก็ บ กั ก ทั้ ง หมดกว่ า  2,550 ล้านลูกบาศก์เมตร และผลิตไฟฟ้าได้ 25,000 กิโลวัตต์ เพื่อ  จ่ายไฟให้ประชาชนในแปดจังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย  กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ และนครราชสีมา จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อนิจกรรมขณะต�ำแหน่งนายก รั ฐ มนตรี เ มื่ อ เดื อ นธั น วาคม 2506 ใกล้ เ คี ย งกั บ ช่ ว งที่ ง านก่ อ สร้ า ง  ของโครงการน�้ำ พองเริ่ ม ต้ น ขึ้ น เมื่ อ ปลายปี   2506 หลั ง จากนั้ น ได้ มี  พิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2507 และแม้ท่านจอมพลจะ  ล่วงลับไปก่อนแล้ว ทว่า ดร. บุญรอดก็ยังรักษาสัญญาลูกผู้ชายที่เคย  ตกปากไว้กบั ท่าน  หลังจากใช้เวลาเพียง 24 เดือนเศษ งานก่อสร้างเขือ่ น  60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:32


(ซ้าย) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ฝึกอบรมช่างไฟฟ้า พ.ศ. 2512 (ขวา) เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประดับอิสริยาภรณ์  Order of Merit แก่ ศ. ดร. บุญรอดในปี 2516

พองหนีบก็แล้วเสร็จในปลายปี 2508  พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ขนานนามเขื่อนว่า “เขื่อนอุบลรัตน์” เพื่อ เป็นมงคลนามของเขื่อนใหญ่แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ทรงประกอบพิธี เปิดเขื่อนอุบลรัตน์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2509 เขือ่ นอุบลรัตน์จงึ กลายเป็นจุดเริม่ ต้นของ “ยุคพัฒนา” ในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ทีด่ ำ� เนินการควบคูก่ นั ไปทัง้ ด้านชลประทาน อุตสาหกรรม  พลังงานไฟฟ้า และการปราบปรามคอมมิวนิสต์  ในยุคเดียวกันนี้ยังเกิด  มีโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน�ำ้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกหลายแห่ง  เช่น เขื่อนน�้ำพุง อ�ำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (พ.ศ. 2508)  เขื่อน  สิรนิ ธร (โครงการล�ำโดมน้อย) อ�ำเภอพิบลู มังสาหาร (ภายหลังเปลีย่ นชือ่   เป็น “อ�ำเภอสิรินธร”) จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2514)  และเขื่อน  จุฬาภรณ์ (โครงการน�้ำพรม) อ�ำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูม ิ (พ.ศ. 2516) ด้วยผลส�ำเร็จของโครงการน�้ำพองนี้เองเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้ ส�ำนักงานพัฒนาลุ่มน�้ำโขงตอนล่าง อันมี ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ เป็น ผู้แทนประเทศไทย ได้รับรางวัลแมกไซไซสาขาการสร้างความเข้าใจ อันดีระหว่างประเทศ ประจ�ำปี 2509 ซึ่งเกียรติยศของรางวัลนี้ถือได้ว่า  เป็นประหนึ่งรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแห่งทวีปเอเชียเลยทีเดียว

สู ่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 27

สู่สังเวียนการเมืองด้วยผลงาน จนกระทั่ ง วั น ที่   10 มี น าคม 2511 ได้ มี พ ระบรมราชโองการ  โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ศ. ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ ด�ำรงต�ำแหน่งปลัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อันถือได้ว่าเป็นต�ำแหน่งสูงสุดในชีวิตของ ข้าราชการประจ�ำ และได้รบั การแต่งตัง้ ให้เป็นสมาชิกวุฒสิ ภาในปีเดียวกัน นั้น จากนั้นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 ได้มีการควบรวมการไฟฟ้า  สามแห่ง คือ การไฟฟ้ายันฮี เขือ่ นภูมพิ ล จังหวัดตาก  การไฟฟ้าตะวันออก  เฉียงเหนือ และการลิกไนต์ แม่เมาะ จังหวัดล�ำปาง เข้าด้วยกัน มีฐานะ  เป็นนิติบุคคล เรียกชื่อว่า “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” (กฟผ.) ครั้นถึงวันที่ 1 กันยายน 2512 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งให้ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ต่อมา ศ. ดร. บุญรอดได้รับแต่งตั้ง  เป็ น รองผู ้ อ� ำ นวยการฝ่ า ยพั ฒ นา คณะปฏิ วั ติ   เมื่ อ วั น ที่   9 ธั น วาคม  2514 และได้ เ ป็ น รั ฐ มนตรี ว ่ า การทบวงมหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ คนแรก  ก่อนเกษียณ ศ. ดร. บุญรอดด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผู้ว่าการการประปา  นครหลวง ในปี   2518 หน้ า ที่ นี้ ท ่ า นได้ พ ้ น วาระเมื่ อ อายุ ไ ด้   65 ปี  ตามพระราชบัญญัติ  ในบทบาทของ “นักการเมือง” ท่านได้รับการกล่าวขานและจดจ�ำ  ในฐานะนักการเมืองมือสะอาด ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยใดๆ  อันควร  เป็นตัวอย่างแก่นักการเมืองรุ่นหลังได้ชั่วกาลนาน

27 21/12/2012 18:32


ประธานมูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

หลังเกษียณ

ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ

ส�ำหรับคนทั่วไปชีวิต “หลังเกษียณ” คือเมื่ออายุผ่านพ้นวัย 60  หรือ 65 ปี ถือเป็นเวลาของการพักผ่อน แต่ส�ำหรับ ศ. ดร. บุญรอด  แล้ว ท่านยังคงมุ่งมั่นท�ำงานต่างๆ เพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่องต่อไป  เช่นที่ท่านในฐานะประธานมูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มีบทบาทส�ำคัญในการจัดหาที่ดินผืนใหญ่ขนาดหลายพันไร่ให้แก่จุฬา-  ลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อจัดสร้างเป็นวิทยาเขตแห่งใหม่ที่อำ� เภอแก่งคอย  จังหวัดสระบุรี   นอกจากนั้นแล้วแนวคิดเรื่องการพัฒนาพลังงานและแหล่งน�ำ้ ก็ยัง เป็นสิ่งที่อยู่ในใจของ ศ. ดร. บุญรอดตลอดมา  ท่านยังคงด�ำรงต�ำแหน่ง  ผู้แทนประเทศไทยในส�ำนักงานพัฒนาแม่นำ�้ โขงตอนล่างต่อมาอีกหลาย ปี  ขณะเดียวกันท่านพยายามหาหนทางพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆ เช่นสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ของการขุดคอคอดกระและรถไฟ ความเร็วสูง ตลอดจนมุ่งหวังจะให้มี “การจัดการน�้ำ” อย่างเป็นระบบ  ดังที่คุณธรรมชาติ ศิริวัฒนกุล อดีตรองอธิบดี พพ. ซึ่งมีโอกาสร่วมงาน กับ ศ. ดร. บุญรอดในมูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าไว้ว่า “มีอยู่เรื่องหนึ่งท่านพูดเสมอคือท่านเห็นความส�ำคัญของน�้ำ ใน เมื่อมีเรื่องน�้ำท่วมน�้ำแล้งในประเทศไทยที่ไม่รู้จักจบ  ท่านเล่าให้ผมฟัง ว่าท่านอยากพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีข้อมูลพื้นที่ต�่ำ พื้นที่สูง แก้ม ลิงตรงไหน เพื่อการจัดการน�้ำท่วม น�้ำแล้งได้ดีขึ้น  ท่านอยากท�ำเรื่องนี้  แต่ไม่มีใครสานต่อจากท่าน...ซึ่งผมคิดว่าเรื่องนี้มีความเป็นไปได้สูงถ้ามี คนตั้งใจท�ำ”

แม้ ว ่ า ในที่ สุ ด ด้ ว ยสภาพการณ์ ข องการเมื อ งภายในภู มิ ภ าค สงครามกลางเมืองและการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองทั้งในลาว กัมพูชา และเวียดนาม  อภิมหาโครงการของส�ำนักงานพัฒนาแม่น�้ำโขง ตอนล่างจึงถูกพับเก็บเข้าลิ้นชักไป และเขื่อนผามองก็หลงเหลือหลักฐาน แต่เพียงในเอกสารประวัติศาสตร์  แม้กระนั้นเขื่อนผามองก็ยังคงเป็น ความใฝ่ฝันแห่งชีวิตของ ศ. ดร. บุญรอดอยู่ ดังที่ท่านเคยกล่าวในวัน ฉลองครบรอบปีแห่งการเปิดเขื่อนอุบลรัตน์ (น�้ำพอง) เมื่อเดือนมีนาคม  2542 ขณะมีอายุเกือบ 84 ปี ว่า  “เป้าหมายสุดท้ายของผมนั้น ก็คือการได้เห็นการพัฒนาลุ่มแม่นำ�้ โขงเป็นรูปเป็นร่าง โดยเฉพาะโครงการผามอง  เราจะได้น�ำศักยภาพ มหาศาลทีแ่ ฝงเร้นในแม่นำ�้ สายนี ้ เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติ ในภูมิภาคนี้  ปัจจุบันประเทศจีนได้ก่อสร้างเขื่อนล้านช้างเกือบเสร็จ สมบูรณ์แล้ว เขื่อนผามองจึงไม่จ�ำเป็นต้องสร้างที่ระดับสูงมาก  ปัญหา การอพยพถิ่นฐานของประชากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ จะ ลดลงได้มาก...” แต่ เ มื่ อ สั ง คมปั จ จุ บั น หั น กลั บ มาตั้ ง ค� ำ ถามกั บ การสร้ า งเขื่ อ น ว่ามีประโยชน์จริงหรือ ได้คุ้มเสียหรือไม่ หรือเขื่อนคือตัวการท�ำลาย  สิง่ แวดล้อม ระบบนิเวศ และชุมชน ทีไ่ ม่มคี ณ ุ ค่าใดๆ ส�ำหรับโลกยุคใหม่ แล้ว  ศ. ดร. บุญรอดในฐานะผู้ที่ท�ำงานด้านนี้มาทั้งชีวิต ได้ให้ทัศนะที่  น่ารับฟังในฐานะผู้อาวุโสที่ผ่านโลกมามาก

28 P 1-29 (9 b0ss).indd 28

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:32


“ในโลกนี้จะไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบจนไม่มีที่ติ  อะไรก็ตามมัก ให้คุณและโทษเสมอ  เมื่อได้ประโยชน์บางส่วนก็อาจต้องเสียประโยชน์ ในบางส่วน  มนุษย์จึงจะต้องชั่งน�้ำหนักดูว่า ส่วนที่ได้มาคุ้มกับสิ่งที่ต้อง สูญเสียไปหรือไม่  และสิ่งที่สูญเสียไปนั้นจะป้องกัน แก้ไข หรือบรรเทา เบาบางให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่...”

หมุดหมายแห่งยุคสมัย ศ. ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ ถึงแก่กรรมด้วยวัยเกือบ 97 ปี เมื่อ  วันที่ 26 สิงหาคม 2555  ตลอดชีวิตของท่านถือเป็น “ต� ำนาน” ของ  คนไทยผูอ้ ทุ ิศตัวเพือ่ ประเทศชาติบา้ นเมืองมาโดยตลอด ไม่วา่ จะในฐานะ เสรีไทย อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือผูบ้ กุ เบิกด้านพลังงานทดแทนและการ อนุรักษ์พลังงานของประเทศ  ท่านเคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า “คุณแม่เล่าว่าตอนตั้งครรภ์ผม มีคนจูงช้างมาให้ เป็นช้างท�ำงาน ไม่ใช่ชา้ งเผือก เพราะฉะนัน้ ผมก็นกึ อยูต่ ลอดเวลา และผมก็เป็นคนท�ำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท�ำงานเพื่อชาติ ผมจึงรับราชการมาโดยตลอด จาก เป็นอาจารย์จุฬาฯ ไปช่วยพัฒนาด้านพลังงานของชาติ ด้านการประปา และอื่นๆ...” โดยเฉพาะส�ำหรับการพลังงานแห่งชาติ ซึ่งมีวิวัฒนาการตามยุค สมัยมาจนเป็น “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” ใน ปัจจุบัน  ศ. ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ ย่อมมีสถานะเป็น “ปูชนียบุคคล” ที่พึงเคารพกราบไหว้ได้โดยสนิทใจ และเป็นตัวอย่างให้อนุชนรุ่นหลัง  ได้ ศึ ก ษาเรี ย นรู ้ เ พื่ อ เป็ น แบบอย่ า งในการด� ำ รงชี วิ ต ให้ เ ป็ น  “คนมี ประโยชน์” อยู่ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ   สู ่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน”

P 1-29 (9 b0ss).indd 29

ขอขอบคุณ  คุณธรรมชาติ ศิริวัฒนกุล อ้างอิง 8 รอบ ศาสตราจารย์ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. 80 ปี ศ. ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ 13 กันยายน 2537. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2537. “โครงการพัฒนาแม่น�้ำโขงเพื่อสร้างดินแดนภาคอิสานของประเทศไทยให้อุดม สมบูรณ์” (แผ่นพับ) ธนบุรี: สหประชาพาณิชย์ (แผนกการพิมพ์), 2503. ประวิทย์ รุยาพร. “สรุปรายงานความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรมของ โครงการผามอง” ข่าวการพลังงาน ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 (เมษายน 2513) : 1-9. รายงานผลการก้าวหน้าโครงการอเนกประสงค์ ล�ำน�ำ้ พอง จังหวัดขอนแก่น (เมษายนกันยายน 2506) พระนคร : การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ, 2506. ศิลปากร, กรม. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป. พิบลู สงคราม ระหว่าง พ.ศ. 2491-2499. พระนคร : ห้างหุน้ ส่วนจ�ำกัดศิวพร, 2500. อนุสรณ์ 72 ปี ศาสตราจารย์ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530. อาจารยาภิวันทน์ 84 ปี ศาสตราจารย์ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

29 21/12/2012 18:32


P 30-33 (TL).indd 30

24/12/2012 21:19


P 30-33 (TL).indd 31

21/12/2012 18:07


2427-2495

กอนกําเนิด การพลังงานแหงชาติ

2427 เจาพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ติดตั้งเครื่องกําเนิด ไฟฟา เดินสายไฟฟา และติดดวงโคม ไฟฟา ที่กรมทหาร เปนการทดลอง ใชไฟฟาครั้งแรกในเมืองไทย

2435 บริษัทรอยัลดัทชปโตรเลียม จํากัด บริษัทน้ํามันตางชาติแหงแรก เขามาจําหนายน้ํามันกาดในไทย ใชสําหรับจุดตะเกียงสองสวาง

2437 รถรางในพระนครที่เคยใช มาลาก เปลี่ยนมาใชไฟฟา ถือเปน รถรางไฟฟาสายแรกๆ ของโลก

2440 เกิดโรงไฟฟาแหงแรกโดยบริษัท เอกชน ตั้งในที่ดินของวัดราชบูรณะ ราชวรวิหารหรือวัดเลียบ เรียกกัน ทั่วไปวา “โรงไฟฟาวัดเลียบ” จายไฟฟาใหถนนและสถานที่ ราชการ เปนโรงไฟฟาพลังความรอน ใชไมฟน ถานหิน น้ํามัน และแกลบ เปนเชื้อเพลิง

2457 “โรงไฟฟาสามเสน” เริ่มดําเนินการผลิตกระแสไฟฟา เปนกิจการภายใตการควบคุมของ กระทรวงมหาดไทย

2464 สํารวจพบน้ํามันที่อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม เริ่มการสํารวจถานหินลิกไนต เปนเวลา 2 ป พบที่แมเมาะ จังหวัดลําปาง และที่คลองขนาน จังหวัดกระบี่

32 P 30-33 (TL).indd 32

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 21/12/2012 18:07


2470

2476

2483

2492

เมืองราชบุรีเปนเทศบาลเมือง ตางจังหวัดแหงแรกที่มีไฟฟาใช

จัดตั้ง “แผนกเชื้อเพลิง” สังกัด กรมพลาธิการทหารบก กระทรวง กลาโหม มีภารกิจจัดหาน้ํามันเชื้อเพลิง เชน น้ํามันเบนซิน น้ํามันกาด น้ํามัน หลอลื่น ใหแกหนวยงานราชการ

กรมเชื้อเพลิง กระทรวง กลาโหม กอตั้งโรงกลั่นน้ํามันแหง แรกของประเทศที่ชองนนทรี อําเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร โดยใชน้ํามันดิบจากอําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม

รัฐบาลจัดตั้ง “แผนกเชื้อเพลิง” สังกัดกระทรวงกลาโหมขึ้นใหม เพื่อสรางความมั่นคงดานพลังงาน ของประเทศ และสรางคลังเก็บน้าํ มัน ที่ทาเรือริมคลองพระโขนง-คลองเตย

2471 รัฐบาลประกาศใชพระราชบัญญัติควบคุมกิจการคาขาย อันกระทบถึงความปลอดภัยหรือ ความผาสุกแหงสาธารณชน ระบุถึงกิจการสาธารณูปโภคเจ็ดอยาง ที่ตองไดรับอนุญาตหรือสัมปทาน จากรัฐกอน มีโรงไฟฟาเปนหนึ่ง ในเจ็ดอยางนั้น

2472 จัดตั้ง “แผนกไฟฟา” อยูในกอง บุราภิบาล กรมสาธารณสุข กระทรวง มหาดไทย เพื่อจัดใหมีไฟฟาใชในเขต สุขาภิบาลของจังหวัดตางๆ

2473 เริ่มมีสถานีจําหนาย น้ํามันเบนซินสําหรับรถยนต

2475 วันที่ 24 มิถุนายน คณะราษฎร ทําการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย เปนระบอบประชาธิปไตย

2477 แผนกไฟฟาไดรับการยกฐานะ เปน “กองไฟฟา” สังกัดกรมโยธา เทศบาล กระทรวงมหาดไทย และ เริ่มมีบริษัทเอกชนขอรับสัมปทานจัด ตั้งกิจการไฟฟาในจังหวัดและอําเภอ ตางๆ จายไฟเฉพาะในชวงกลางคืน

2480 แผนกเชื้อเพลิงไดรับการยก ฐานะเปน “กรมเชื้อเพลิง” สังกัด กระทรวงกลาโหมและเริ่มจําหนาย น้ํามันใหแกประชาชนทั่วไป

2481 ตราพระราชบัญญัติน้ํามัน เชื้อเพลิง ใหรัฐบาลเปนผูกําหนด ราคาขายน้ํามัน จัดตั้ง “คณะกรรมการไฟฟา กําลังน้ํา” เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟา จากพลังน้ําแทนเครื่องไอน้ําหรือดีเซล พืน้ ทีซ่ ง่ึ ไดสาํ รวจเพือ่ กอสรางเขือ่ นไฟฟา พลังน้ําแหงแรกคือที่บานแกงเรียง กิ่งอําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี กั้นแมน้ําแควใหญ แตโครงการหยุด ชะงักเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 30-33 (TL).indd 33

2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทําใหบริษัทน้ํามันตางชาติตองปดตัว บานเมืองขาดแคลนน้ํามันและไฟฟา มีการทิ้งระเบิดทําลายโรงกลั่นน้ํามัน ของกรมเชื้อเพลิง รวมทั้งโรงไฟฟา ทั้งในพระนครและตางจังหวัดไดรับ ความเสียหาย

2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลถูกประเทศผูชนะสงครามบีบ ใหยกเลิกพระราชบัญญัติน้ํามัน เชื้อเพลิง ยุบกรมเชื้อเพลิง และ เปดใหบริษัทน้ํามันตางชาติเขามา ทําการคาขายน้ํามันโดยเสรี และ ผูกขาดการขายน้ํามันใหแกรัฐบาล โดยรัฐบาลไมสามารถคาขาย น้ํามันใหแกหนวยงานราชการและ ประชาชน ยกเวนในกิจการทหาร

2493 รัฐบาลจัดตั้ง “การไฟฟา กรุงเทพ” ดําเนินกิจการไฟฟา ในพื้นที่นครหลวง

2494 รัฐบาลเล็งเห็นความสําคัญ ของกิจการไฟฟาที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อคณะกรรมการไฟฟา กําลังน้ํา เปน “คณะกรรมการ พิจารณาสรางไฟฟา ทั่วราชอาณาจักร”

2495 ประธานธนาคารโลก เดินทางมาพิจารณาการขอกูเงิน ของรัฐบาลไทย และใหความเห็น ตอรัฐบาลวาการแกปญหาการ ขาดแคลนพลังงานมีความสําคัญ อันดับ 1 และควรใหอยูในความ รับผิดชอบขององคการเดียว จึงนํามาสูการจัดตั้ง “การพลังงาน แหงชาติ” ในปถัดมา

33 21/12/2012 18:07


ทศวรรษที ่ 1 2496-2505

การพลังงานแห่งชาติ อํานาจ หน าที่ของการพลังงานแห งชาติ

234.59 mm

34 P 34-49 (TL1-2).indd 34

การพลังงานแห่งชาติมีอำานาจและหน้าที่ตามมาตรา 5 แห่งพระ ราชบัญญัติการพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2496 ดังนี้ 1. จัดหาและก่อให้เกิดพลังงานเพื่อความเจริญของประเทศ และ สวัสดิภาพของประชาชน 215.30 mm2. ทำาการค้ นคว้า ทดลอง ตรวจ สำารวจ รวบรวมสถิติ เกี่ย วกับ แหล่งที่อันเหมาะสมแก่การที่จะก่อให้เกิดพลังงานน้ำา หรือแหล่งที่จะ ได้มาซึ่งวัตถุอันเป็นที่มาแห่งพลังงานไฟฟ้า และอย่างอื่น 3. วางนโยบายและควบคุ ม ในการผลิ ต พลั ง งานต่ า งๆ เช่ น พลังงานไฟฟ้า 4. จัดให้มี ควบคุม สร้าง ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า หรือเลิก แหล่งผลิต และระบบส่ง ระบบจ่ายพลังงาน 5. วางระเบียบและควบคุมเพื่อความปลอดภัยจากอันตราย อัน เนื่องด้วยการพลังงาน 6. ตั้งมาตรฐาน และกำาหนดอัตราขายพลังงาน 7. ช่วยเหลือและส่งเสริมการใช้พลังงานต่างๆ เพื่อการเศรษฐกิจ เช่น การเกษตรกรรม การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม และการคมนาคม 8. จัดให้เกิดประโยชน์อย่างอื่นร่วมกับประโยชน์ที่ได้รับจากการ พลังงาน เช่น การชลประทาน การป้องกันน้ำาท่วม และการคมนาคม ทางน้ำา 60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:09


2496

วันที่ 7 มกราคม จัดตั้ง หน่วยงาน “การพลังงานแห่งชาติ” มีฐานะเทียบเท่ากับกรม และมี “คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ” ทำาหน้าที่วางนโยบายและโครงการ ด้านพลังงาน สำานักงานชั่วคราว อยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ ดำารง ตำาแหน่งเป็นเลขาธิการการพลังงาน แห่งชาติคนแรก (2496-2511) ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก จัดตั้งขององค์การพลังงานโลก (World Energy Council) โดย ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ เป็นผู้แทนของประเทศไทย (ท่านดำารงตำาแหน่งประธาน คณะกรรมการองค์การพลังงานโลก ฝายไทยจนถึงแก่อนิจกรรม)

2497

2498

เริ่มงานสำารวจแหล่งพลังน้ำา ทั่วประเทศ เพื่อการก่อสร้าง เขื่อนไฟฟ้า โดยแบ่งงานบางส่วน ให้กรมชลประทาน โดยเฉพาะ โครงการในลุ่มน้ำาปง-วัง-ยม-น่าน

เริ่มงานสำารวจน้ำาฝน โดยจัดตั้งสถานีวัดน้ำาฝนกระจาย ในจังหวัดต่างๆ ทุกภูมิภาค ให้กรมอุตุนิยมวิทยาดำาเนินการ

จัดตั้ง “องค์การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค” ดำาเนินงานแทนกอง ไฟฟ้าของกระทรวงมหาดไทย และจัดตั้ง “องค์การพลังงานไฟฟ้า ลิกไนต์” เปดทำาเหมือง ที่อำาเภอแม่เมาะ จังหวัดลำาปาง และอำาเภอเมือง จังหวัดกระบี่ การพลังงานแห่งชาติย้ายที่ตั้ง สำานักงานไปอยู่ที่ศาลาลูกขุนใน พระบรมมหาราชวัง

ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก ในองค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างประเทศ (International Commission on Large Dams หรือ ICOLD) โดย ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ เป็นผู้แทนของประเทศไทย รัฐบาลอนุมัติให้มีการจัดตั้ง โรงกลั่นน้ำามันแห่งใหม่ที่ตำาบลบางจาก อำาเภอพระโขนง

เริ่มงานโครงการก่อสร้าง เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำาเขายันฮี โดยมอบหมายให้กรมชลประทาน กระทรวงเกษตราธิการ ดำาเนินการ แผนกเชื้อเพลิงยกฐานะเป็น โครงการสำารวจถ่านหินลิกไนต์ และโครงการสำารวจน้ำามันอำาเภอฝาง “องค์การเชื้อเพลิง” สังกัดกรมการ พลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม จังหวัดเชียงใหม่ ให้กรมโลหกิจ และเป็นที่รู้จักในนาม “ปมสามทหาร” กระทรวงอุตสาหกรรม ดำาเนินการ

การประชุมของสมาชิก ICOLD ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อป  2471

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 34-49 (TL1-2).indd 35

35 21/12/2012 18:10


อาจารย บุญรอด ผู บุกเบิกการพลังงานของไทย

2500 จัดตั้ง “การไฟฟ้ายันฮี” (กฟย.) ก่อสร้างเขื่อนยันฮีที่อำาเภอสามเงา จังหวัดตาก เพื่อผลิตและจ่าย กระแสไฟฟ้าให้แก่จังหวัดในภาคเหนือ และภาคกลางรวม 36 จังหวัด และก่อสร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำาเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

รัฐบาลของประเทศลุ่มแม่น้ำาโขง ตอนล่างสี่ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ร่วมกันก่อตั้ง “คณะกรรมการ ประสานงานสำารวจแม่น้ำาโขงตอนล่าง” ภายใต้การสนับสนุนของคณะ กรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งเอเชีย และตะวันออกไกล (ECAFE หรือ ESCAP ในปจจุบัน) รัฐบาลยกเลิกข้อผูกพันที่ทำาไว้ กับบริษัทน้ำามันต่างชาติ ทำาให้หน่วยงานของรัฐสามารถ ดำาเนินธุรกิจปโตรเลียมได้โดยเสรี

ดร. บุญรอด บิณฑสันต์  เปนผู้แทนไทยในคณะกรรมการ ประสานงานสํารวจแม่น้ําโขงตอนล่าง

ท านอาจารย บุญรอดทราบดีว า การพัฒนาพลังงานของประเทศ จะสําเร็จได จําเป นต องมีการบริหารงาน เพื่อสร างความมั่นใจให แก ผู ลงทุน ว าจะได ผลตอบแทนตามที่คาดหวัง ส วนผู ใช พลังงานก็ต องได รับความมั่นใจ ว าจะมีพลังงานที่ได มาตรฐานให ใช อย างเพียงพอในราคาที่สมเหตุผล”

นายธรรมชาติ ศิรว� ฒ ั นกุล อดีตรองเลขาธิการการพลังงานแห งชาติ (2525-2538)

“สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไฟฟ าขาดแคลนอย างหนัก เรื่องการ พัฒนาเศรษฐกิจก็ไม ไปไหน ทางรัฐบาลขณะนั้นมอบให ท านอาจารย บุญรอด บิณฑสันต เรียนทําปริญญาเอกต อที่ฮาร วาร ดด านไฟฟ า เมื่อท านเรียนจบ กลับมาประเทศไทยก็ร วมกับกรมชลประทานสร างเขื่อนยันฮีซึ่งเป นเขื่อน อเนกประสงค และผลิตไฟฟ า ขณะนั้นประเทศไทยต องการแก ป ญหาไฟฟ า ขาดแคลน แต ไม มีเงินทําเองและเป นงานใหญ เราจึงต องกู เงินธนาคารโลก ธนาคารโลกก็เหมือนกับธนาคารอื่น คือการจะให กู ต องมั่นใจว าจะได เงินคืน “อาจารย บุญรอดทราบดีว าการพัฒนาพลังงานของประเทศจะสําเร็จ ได จําเป นต องมีการบริหารงานเพื่อสร างความมั่นใจให แก ผู ลงทุนว าจะได ผล ตอบแทนตามที่คาดหวัง ส วนผู ใช พลังงานก็ต องได รับความมั่นใจว าจะมี พลังงานที่ได มาตรฐานให ใช อย างเพียงพอในราคาที่สมเหตุผล นี่จึงเป นที่มา ของการก อตั้งการพลังงานแห งชาติขึ้นมา

36 P 34-49 (TL1-2).indd 36

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:10


“เมื่อประเทศไทยกู เงินได แล ว ในระหว างก อสร าง ท านอาจารย ก็มาทําเรื่อง ความต องการใช ไฟฟ า ซึ่งจะมีความต องการได ต องอาศัยระบบโครงข ายส งไฟฟ า จึงเป นการลงทุนอีกขั้นหนึ่ง “ผมเรียนจบจุฬาฯ รุ นป การศึกษา 2500 ก็มาเข าทํางานที่การพลังงานแห ง ชาติเพราะชอบงานเชิงวิชาการ วิเคราะห และวางแผน ซึ่งท านอาจารย เป นผู จุด ประกายให ผมจากการเรียนวิชา Engineering Economy ที่ท านสอนผม “งานวางแผนต องอาศัยวิสัยทัศน ใช ประสบการณ ดูสภาพแวดล อมให ครบ ถ วน ซึ่งผมรู สึกท าทาย งานที่ได รับมอบหมายแรกๆ คือออกสํารวจความต องการ ใช ไฟฟ าทั่วประเทศ แล วมาวางโครงการพัฒนาความต องการใช ไฟฟ า คือการส ง ไฟฟ าถึงมือผู ใช และเรื่องคํานวณจุดเหมาะสมของราคาค าไฟฟ ากับการลงทุน ซึ่ง กลายเป นที่มาของการกําหนดอัตราค าไฟฟ า โดยกําหนดราคาตามวัตถุประสงค และตามปริมาณการใช ไฟ

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 34-49 (TL1-2).indd 37

“ทั้งหมดนี้เป นการทําให ธนาคารโลกมั่นใจว าให กู มาผลิตไฟฟ าแล ว จะขายใน ราคาที่เหมาะสมเพื่อคืนเงินกู ได “เมื่อประสบความสําเร็จจากเขื่อนภูมิพลและสายส งไฟฟ าแล ว ท านอาจารย บุญรอดก็มามุ งพัฒนาแม น�ําโขงให เกิดประโยชน กับประเทศไทย แม น�ําโขงมี ต นกําเนิดจากจีนและไหลผ านสี่ประเทศ คือ ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม เพราะฉะนั้นการจะพัฒนาแม น�ําโขงต องได รับความเห็นชอบร วมกันทุกประเทศ จึงจะดําเนินการได แต ตอนนั้นยังไม สามารถเอาประเทศจีนมาร วมได เพราะ การเมื อ งของโลกยั ง แบ ง เป น สองค า ย การพั ฒ นาแม น�ํ า โขงตอนล า งมี เ พี ย ง สี่ประเทศ ได รับเงินช วยเหลือจาก UNDP ผ านมาทาง ECAFE (ป จจุบัน คือ ESCAP) ศึกษาโครงการการสร างเขื่อนผามองในลําน�ําโขงเพื่อการชลประทาน ป องกันน�ําท วม และผลิตไฟฟ า “แต การเกี่ยวข องกับหลายประเทศทําให ไม สามารถดําเนินการได รวดเร็ว

37 21/12/2012 18:10


< ดร. บุญรอด บิณฑสันต์  ร่วมลงนามในความร่วมมือระหว่าง ประเทศญี่ปุนกับ ECAFE  และคณะกรรมการแม่น้ําโขง  ในป  2510   > ธรรมชาติ  ศิริวัฒนกุล  (ที่  3 จากขวา) เมื่อครั้งเข้าร่วมประชุมกับ องค์กรระหว่างประเทศ

และโครงการส งผลกระทบกับประชาชนจํานวนมาก เพื่อให เกิดประโยชน แก ประเทศไทย ท านอาจารย บุญรอดจึงหันมาสนใจพัฒนาลําน�ําสาขาของแม น�ําโขง ในประเทศไทย ตอนนั้นอีสานเศรษฐกิจไม ดี และท านจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต มุ งมั่นมากที่จะทําให อีสานเขียว ท านก็รับนโยบายมาและตั้งการไฟฟ าภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือขึ้นมารับผิดชอบให เกิดน�ําและไฟฟ าขึ้นโดยเร็ว จึงเกิดโครงการ เขื่อนพองหนีบหรือเขื่อนอุบลรัตน “ตอนนั้นอยู ในยุคสงครามเย็น ป ญหาการเมืองของสี่ประเทศ ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีบทบาทค อนข างสําคัญ ทําให เป นเรื่องยากที่จะพัฒนา โครงการในลําน�ําโขง ท านอาจารย จึงต องให เวลากับโครงการนี้มาก ส วนงาน ของการพลังงานแห งชาติมีท านนิธิพัฒน ชาลีจันทร ซึ่งเป นเพื่อนนักเรียนและ เพื่อนเสรีไทยช วยดูแล “ท านนิธิพัฒน เป นผู ที่ซาบซึ้งในแนวคิดของท านอาจารย บุญรอดมาก ท าน มองเห็นว าป ญหาพลังงานในประเทศต อไปจะเป นเรือ่ งของน�าํ มัน ก็ให การพลังงาน แห งชาติ ริเริ่มศึกษาหาข อมูลแหล งน�ํามัน ปริมาณการใช แต ละชนิดและใช ทํา อะไร เป นต น นีค่ อื ข อมูลเบือ้ งต นสําหรับการวิเคราะห และวางแผน ซึง่ การพลังงาน แห งชาติเป นหน วยงานเดียวในประเทศไทยที่ริเริ่มทํา “พอเกิดวิกฤตน�ํามัน ประเทศไทยก็ลําบากเพราะเราพึ่งพาน�ํามันจากต าง ประเทศมาตลอด ตอนนั้นมีการประชุมอาเซียน ผมเป นผู แทนของการพลังงาน

38 P 34-49 (TL1-2).indd 38

แห งชาติ นําสิ่งที่เรามีประสบการณ ไปแลกเปลี่ยน ปรากฏว าเป นที่สนใจของ ประเทศอื่นเพราะเขาไม ได ระวังตัวเหมือนเรามาก อน ข อมูลที่เราเก็บตัวเลขไว ก็ เป นประโยชน สําหรับประเทศอื่นด วย แต ผลกระทบของวิกฤตครั้งนี้ไม มากอย างที่ คิด เพราะอินโดนีเซียและมาเลเซียมีน�ําใจทําให บรรเทาป ญหาได ระดับหนึ่ง “หลังจากนั้นประเทศไทยต องการเร งความเติบโตทางเศรษฐกิจ แต น�ํามันมี แนวโน มจะเป นป ญหา เพราะว าไทยมีแต บริษัทน�ํามันต างชาติทั้งนั้นในการจัดหา ส ง ขาย และสํารวจ การเจรจาเรื่องราคาเรียกว าเลิกพูดเลย แม แต เรื่องความ มั่นคงอย างการสํารองน�ํามันก็มีป ญหา กระทรวงกลาโหมพยายามแก ไขร วมกับ การพลังงานแห งชาติได ในระดับหนึ่ง และเห็นความจําเป นว าต องตั้งรัฐวิสาหกิจ ขึ้นใหม มารับผิดชอบเรื่องน�ํามันให ครบวงจร จึงได มอบให การพลังงานแห งชาติ เสนอร า งพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง การป โ ตรเลี ย มแห ง ประเทศไทย ซึ่ ง เป น ร า ง ก าวหน าที่สุดในสมัยนั้น คือกําหนดให ผู ว าการฯ มีระยะเวลาดํารงตําแหน ง เพราะ ก อนหน านั้นอยู ในตําแหน งจนเกษียณอายุ ประเด็นสําคัญอีกอย างคือ เนื่องจาก ผู มาทํางานที่การป โตรเลียมฯ ต องมีประสบการณ ในด านนี้มาก อน เพราะต อง ติดต อค าขายน�ํามันกับทั่วโลก จึงกําหนดว าตําแหน งสําคัญๆ จะได รับเงินเดือน ทัดเทียมกับบริษัทต างชาติด านน�ํามัน เพื่อให เขามีความสุขกับการทํางานที่นี่ ส วนการพลังงานแห งชาติก็ทําหน าที่เป นคนกลางโดยตั้งคณะกรรมการกําหนด ราคาขายน�ํามันขึ้นมา

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:10


2501 เริ่มโครงการสำารวจและวางแผน การใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ ซึ่งประกอบ ด้วยงานสำารวจปริมาณความต้องการ ไฟฟ้าในจังหวัดต่างๆ การวางแผน ก่อสร้างและปรับปรุงระบบจำาหน่าย ไฟฟ้า และเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้า ทั่วประเทศ เป็นโครงการที่ใช้ระยะ เวลาหลายป โดยทำางานร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ

รวมกิจการการไฟฟ้ากรุงเทพ และกองไฟฟ้านครหลวงสามเสน เป็น “การไฟฟ้านครหลวง” (กฟน.) เพื่อผลิตและจำาหน่ายไฟฟ้าในเขต พระนครและปริมณฑล

เริ่มโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำาโขง ตอนล่าง มีการสำารวจเก็บสถิติ และวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับลำาน้ำาโขง และลำาน้ำาสาขา เช่น การสำารวจ ทางอุทกวิทยา อุตุนิยมวิทยา การสำารวจและจัดทำาแผนที่ร่องน้ำา

“งานอีกอย างซึ่งไม มีใครทํามาก อน คือการทําแผนหลักพลังงานของ ประเทศ เป นงานที่พวกเราสนุกมาก เราพยายามทําโมเดลขึ้นมาด วยตัวเอง เป นแผนบริหารจัดการพลังงานว าจะมีอุปสงค และอุปทานของพลังงานแต ละ ประเภทอย างไร ดูว าการลงทุนกับผลตอบแทนอย างไรจะเหมาะสมกับการ พัฒนาประเทศและเกิดประโยชน สูงสุด วิธีทําแผนจึงเป นงานทางเทคนิคมาก ต อจากนั้นได มีการเสนอจัดตั้งสํานักนโยบายและวางแผนพลังงานขึ้นมารับ หน าที่นี้ไปทําต อ “ผมคิดว าการพลังงานแห งชาติทํางานในสิ่งที่คนอื่นไม เคยทํามาก อน เป นลักษณะงานบุกเบิก พอทําสําเร็จระดับหนึ่ง ก็เป นการง ายที่จะมีหน วย งานอื่นรับไปทําต อ “สําหรับท านอาจารย บุญรอด ท านมีเมตตาสูงมาก ใครมาปรึกษาอะไร ท าน ท านยินดีให คําแนะนํา และวิสัยทัศน ของท านเรียกได ว า อัจฉริยะ ท าน มองเห็นหลายสิ่งหลายอย างที่เราตามไม ทัน นับว าท านวางรากฐานการ พัฒนาและการบริหารพลังงานไว ให กับการพลังงานแห งชาติได ประสบความ สําเร็จตลอดมาจนป จจุบัน และท านยังเป นบุคคลซึ่งน ายกย องในหลายๆ ด าน โดยส วนตัวผมก็รับใช ท านมาตลอดชีวิตการทํางานของผมด วยความ ภาคภูมิใจอย างยิ่ง และระลึกถึงพระคุณที่ท านให โอกาสผมได เรียนรู จากท าน ตลอดมา”

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 34-49 (TL1-2).indd 39

เรือสํารวจแม่น้ําโขง ที่บริเวณจังหวัดหนองคาย

39 21/12/2012 18:10


2502

2503

2504

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ย้ายมาอยู่ภายใต้สำานักนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปเดียวกันย้ายสำานักงาน มาอยู่ที่บ้านพิบูลธรรม เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส

เริ่มดำาเนินการสำารวจและ วางแผนงานก่อสร้างโครงการพัฒนา แม่น้ำาพองซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ พัฒนาลุ่มแม่น้ำาโขงตอนล่าง ประกอบด้วยเขื่อนเก็บกักน้ำาพองหนีบ องค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โรงไฟฟ้า สายส่งแรงสูง และคลอง เปลี่ยนเป็น “การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค” ส่งน้ำา เพื่อผลิตไฟฟ้าให้ 8 จังหวัด ในภาคอีสาน และเพื่อการชลประทาน (กฟภ.) รับผิดชอบการขยายบริการ ทั้งด้านผลิตและจำาหน่ายไฟฟ้าให้แก่ ให้พื้นที่ไม่ต่ำากว่า 2 แสนไร่ ส่วนภูมิภาค

เริ่มงานสำารวจโครงการพัฒนา แม่น้ำาปตตานี จังหวัดยะลา เพื่อสร้าง เขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้าประมาณ 33,600 กิโลวัตต์ ส่งกระแสไฟฟ้าให้ ทั้งในประเทศไทยและประเทศมลายู และเพื่อการชลประทานให้พื้นที่ ไม่น้อยกว่า 1.5 แสนไร่

องค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์ เปลี่ยนเป็น “การลิกไนต์” (กลน.) ผลิตและจำาหน่ายถ่านหินลิกไนต์และ พลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าลิกไนต์ องค์การเชื้อเพลิงเปลี่ยนเป็น รัฐวิสาหกิจ ดำาเนินงานสถานีบริการ น้ำามัน จัดหาและกลั่นน้ำามันภายใต้ เครื่องหมายการค้าตรา “สามทหาร”

40 P 34-49 (TL1-2).indd 40

การไฟฟ้านครหลวงโอนหน้าที่ การผลิตไฟฟ้าให้การไฟฟ้ายันฮี ดำาเนินการแทน เหลือแต่หน้าที่การ จำาหน่ายกระแสไฟฟ้า “โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ” โรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาดใหญ่ เริ่มดำาเนินการผลิตกระแสไฟฟ้า เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (2504-2509)

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:11


2505 เริ่มสำารวจโครงการพัฒนา แม่น้ำาพุง จังหวัดสกลนคร อย่างละเอียด ประกอบด้วย การก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้า 6,300 กิโลวัตต์ ให้พื้นที่จังหวัดสกลนครและนครพนม จัดตั้ง “การไฟฟ้าตะวันออก เฉียงเหนือ” (กฟ.อน.) ทำาหน้าที่ผลิต ไฟฟ้าให้แก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มการก่อสร้างเขื่อนพองหนีบ (เขื่อนอุบลรัตน์) จังหวัดขอนแก่น โดยรับงานจากการพลังงานแห่งชาติ ไปดำาเนินการต่อ

การหย่อนกล่องศิลาฤกษ์ ในหลุมศิลาฤกษ์เขื่อนภูมิพล  เมื่อวันที่  24 มิถุนายน 2504

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 34-49 (TL1-2).indd 41

41 21/12/2012 18:11


ทศวรรษที ่ 2 2506-2515 การพลังงานแห่งชาติ

การเจาะสํารวจธรณีวิทยา ฐานรากเขื่อนของโครงการผามอง  ณ บริเวณที่ตั้งเขื่อนกลางแม่น้ําโขง

42 P 34-49 (TL1-2).indd 42

2506

2507

วันที่ 23 พฤษภาคม ย้ายสังกัด มาอยู่ในกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อทำาหน้าที่เร่งรัด พัฒนาเศรษฐกิจของชาติ

เขื่อนยันฮีก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้รับพระราชทานนามว่า “เขื่อนภูมิพล” และเริ่มผลิตกระแส ไฟฟ้าให้จังหวัดในภาคเหนือ

เริ่มสำารวจวางแผนโครงการ ผามอง เพื่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำา บนลำาน้ำาโขง บริเวณช่องเขาภูพาน บ้านผามอง อำาเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย คาดว่าจะสามารถ ผลิตไฟฟ้าได้ 1.5 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ทั้งประเทศไทย และประเทศลาว และการชลประทาน ให้พื้นที่ 6 จังหวัด 5 ล้านไร่

โรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ ที่จังหวัดกระบี่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าให้จังหวัด ในภาคใต้ โรงกลั่นน้ำามันแห่งใหม่ของ ประเทศที่ตำาบลบางจาก เริ่มดำาเนิน กิจการหลังจากการใช้เวลาก่อสร้าง มาตั้งแต่ป 2501 แต่กลับประสบ ปญหาขาดทุนเนื่องจากการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีน้ำามัน และผลิตภัณฑ์น้ำามัน

นิธิพัฒน์  ชาลีจันทร์  (ขวา)  เปนประธานในการประชุม โครงการพัฒนาลุ่มน้ําโขง

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:11


2508 เขื่อนน้ำาพุงก่อสร้างเสร็จ และเริ่มดำาเนินการผลิตกระแสไฟฟ้า ในเดือนพฤศจิกายน ติดตั้ง “เครื่องสูบน้ำาด้วยไฟฟ้า” เครื่องแรกในแม่น้ำาโขง บริเวณบ้าน บางทรายใหญ่ อำาเภอมุกดาหาร จังหวัดหนองคาย เพื่อทดลอง และสาธิตการใช้พลังงานไฟฟ้าสูบน้ำา เพื่อการเกษตรกรรม รัฐบาลให้บริษัทซัมมิทอินดัสเตรียล คอปอเรชั่น (ปานามา) จำากัด เช่ากิจการโรงกลั่นน้ำามัน บางจาก และให้เพิ่มกำาลังการผลิต แต่ภายหลังบริษัทซัมมิทฯ ได้กระทำาผิดสัญญาเช่ามาโดยตลอด นายนิธิพัฒน์  ชาลีจันทร์  ถวายรายงานพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จพระราชดําเนิน มาทรงเปนประธานในพิธีเปิด โรงไฟฟ้าพลังน้ําเขื่อนน้ําพุง

โรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์  จังหวัดกระบี่

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 34-49 (TL1-2).indd 43

43 21/12/2012 18:11


2509 เขื่อนน้ำาพองก่อสร้างเสร็จ ได้รับพระราชทานนามว่า “เขื่อนอุบลรัตน์”

ดร. บุญรอด บิณฑสันต์  เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ  ถวายรายงานพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จพระราชดําเนิน มาทรงเปนประธานในพิธีเปิด โรงไฟฟ้าพลังน้ําเขื่อนอุบลรัตน์

44 P 34-49 (TL1-2).indd 44

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:11


ศูนย ฝ กอบรมช างไฟฟ า แหล งผลิตช างไฟฟ ารุ นแรกของประเทศ

ผู เข าอบรมจะได ทั้งความรู ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติด านไฟฟ าโดยเฉพาะ มีการสอบและมอบประกาศนียบัตรให เรียกได ว าสมัยนั้นช างที่ไปทํางานใน หน วยงานการไฟฟ าต างๆ ต องผ าน การอบรมพัฒนาทางเทคนิคจากศูนย ฝ กอบรมฯ ที่นี่”

ปราโมทย เอี่ยมศิร�

อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาและส งเสริมพลังงาน (2542-2546) และรองปลัดกระทรวงพลังงาน (2546-2548)

“ผมเริ่มทํางานกับการพลังงานแห งชาติเมื่อป 2508 ไปปฏิบัติงานก อสร าง สายส ง แรงสู ง ของโครงการน�ํ า พุ ง ที่ จั ง หวั ด สกลนครและนครพนมอยู 2 ป ก็ กลับมาอยู โครงการศูนย ฝ กอบรมช างไฟฟ า กองควบคุมและส งเสริมพลังงาน ซึ่งมีนายช างธรรมชาติ ศิริวัฒนกุล เป นหัวหน าโครงการ “โครงการนี้เป นความร วมมือกับรัฐบาลฝรั่งเศส ดังนั้นคนที่จะเป นวิทยากร ทุกคนจะได รับทุนไปฝ กอบรมดูงานที่ประเทศฝรั่งเศส ผมได ทุนไปฝรั่งเศสเมื่อ ป 2514 เข าอบรมด านเทคนิคไฟฟ ากับการไฟฟ าแห งชาติฝรั่งเศสอยู 7 เดือน และกลับมาเป นอาจารย ที่ศูนย ฝ กอบรมช างไฟฟ า เมื่อป 2518 ผมได รับแต งตั้ง เป นผู ช วยหัวหน าศูนย ฝ กอบรมฯ และป 2519 ได เป นหัวหน าศูนย ฝ กอบรมฯ ขึ้นอยู กับกองควบคุมและส งเสริมพลังงาน สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 34-49 (TL1-2).indd 45

“โครงการนี้เริ่มต นประมาณป 2506-2507 เนื่องจาก ดร. บุญรอด บิณฑสันต เลขาธิการการพลังงานแห งชาติ ซึ่งเป นตัวแทนประเทศไทยไปประชุมด านพลังงาน ในต างประเทศบ อยๆ ท านเห็นว าประเทศฝรั่งเศสให ความช วยเหลือประเทศต างๆ เกีย่ วกับการพัฒนาช างไฟฟ า ช างเทคนิค ประกอบกับประเทศไทยก็เริม่ มีแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห งชาติ กําลังจะพัฒนาด านอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งต องมี การใช ไฟฟ ามากขึ้นด วย จึงจําเป นต องพัฒนาคนทํางานด านไฟฟ าควบคู ไปด วย “สมั ย นั้ น เรามี ห น ว ยงานด า นการไฟฟ า อยู ห า หน ว ยงาน มี ก ารไฟฟ า นครหลวง การไฟฟ ายันฮี การไฟฟ าส วนภูมิภาค การไฟฟ าตะวันออกเฉียงเหนือ และการลิกไนต แต ละหน วยงานยังไม ใช องค กรใหญ ต างคนต างยังไม เข มแข็ง พอที่จะมีศูนย ฝ กอบรมของตัวเอง ดร. บุญรอดจึงขอความช วยเหลือจากรัฐบาล ฝรั่งเศสเพื่อจัดตั้งศูนย ฝ กอบรมช างไฟฟ าเพื่อพัฒนาช างไฟฟ าให แก การไฟฟ า ทั้ ง ห า แห ง มี ก ารสนั บ สนุ น ค า ใช จ า ยบางส ว นระหว า งการพลั ง งานแห ง ชาติ กั บ การไฟฟ า ทั้ ง ห า แห ง และร ว มกั น ส ง คนมาเป น อาจารย แ ละส ง ช า งไฟฟ า มาเข าฝ กอบรม อาจารย ส วนใหญ ก็เป นวิศวกรจากการไฟฟ าต างๆ และการ พลังงานฯ ด วย “โครงการเริ่ ม เป ด ทํ า การฝ ก อบรมเมื่ อ ป 2510 จั ด ฝ ก อบรมสองระดั บ คื อ ระดั บ ช า งฝ มื อ และระดั บ ช า งเทคนิ ค แต ล ะระดั บ มี ส ามสาขา สาขาที่ ห นึ่ ง คื อ ช า งสายอากาศและสายใต ดิ น สองคื อ ช า งซ อ มอุ ป กรณ ไ ฟฟ า และสาม คื อ ช า งมิ เ ตอร ไ ฟฟ า กั บ ระบบรี เ ลย ต อ มาภายหลั ง ได เ พิ่ ม เติ ม หลั ก สู ต รเรื่ อ ง safety หรือความปลอดภัย นอกจากนั้นยังมีหลักสูตรระยะยาวสําหรับช างใหม โดยรับเด็กที่จบ ม.ศ. 5 มาเรียน 1 ป และบรรจุเข าทํางานในการไฟฟ าต างๆ

45 21/12/2012 18:12


2510

การฝกภาคปฏิบัติ ของช่างไฟฟ้าเมื่อในอดีต

เริ่มการก่อสร้าง เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำาลำาโดมน้อย ซึ่งกั้นลำาโดมน้อย ลำาน้ำาสาขาของ แม่น้ำามูน ที่แก่งแซน้อย อำาเภอ พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ทั้งผลิต กระแสไฟฟ้าและการชลประทาน มีกำาลังผลิตไฟฟ้า 36,000 กิโลวัตต์ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำาด้วยไฟฟ้า อีกสองเครื่องที่อำาเภอท่าบ่อ และ อำาเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ส่งน้ำาให้พื้นที่เพาะปลูกได้แห่งละ 8,000 ไร่ จัดตั้ง “ศูนย์ฝกอบรมช่างไฟฟ้า” เปดให้การฝกอบรมแก่ช่างไฟฟ้าของ หน่วยงานการไฟฟ้าต่างๆ เพื่อ พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ ในการปฏิบัติงานทั้งระดับคนงาน และช่างเทคนิค

ดร. บุญรอด บิณฑสันต์  ปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ  แจกประกาศนียบัตรแก่ช่างไฟฟ้า ที่สําเร็จการฝกอบรมจาก ศูนย์ฝกอบรมช่างไฟฟ้า

แบบแปลนการก่อสร้าง เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ําลําโดมน้อย

“สมัยก อนคนเรียนจบอาชีวะ วิชาที่เรียนมามักจะไม ค อยตรงกับความรู ที่ต องใช กับงานของการไฟฟ า เพราะฉะนั้นการที่เรารับเด็กแล วฝ กโดยตรง กับเครื่องมือและอุปกรณ ของการไฟฟ านั้นจะได ประโยชน มากกว า เรียนแค ป เดียวก็สามารถทํางานได ดีมาก ผู เข าอบรมจะได ทั้งความรู ภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติที่จําเป นต องใช งานกับการไฟฟ าโดยเฉพาะ มีการสอบและมอบ ประกาศนียบัตรให เรียกได ว าสมัยนั้นคนที่จะไปทํางานในหน วยงานการ ไฟฟ าต างๆ ต องผ านการอบรมพัฒนาทางเทคนิคจากศูนย ฝ กอบรมฯ ที่นี่ “กิ จ การไฟฟ า ของไทยได มี ก ารพั ฒ นาขึ้ น มาตามลํ า ดั บ ได มี ก ารรวม ฝ ายผลิต คือการไฟฟ ายันฮี การลิกไนต และการไฟฟ าตะวันออกเฉียงเหนือ เป นการไฟฟ าฝ ายผลิตแห งประเทศไทยเมื่อป 2512 ศูนย ฝ กอบรมช างไฟฟ า ทําการฝ กอบรมได ประมาณ 20 ป การฝ กอบรมในลักษณะรวมก็ค อยๆ หมด ความจําเป น เพราะแต ละการไฟฟ าเริ่มเข มแข็งและมีศูนย ฝ กอบรมเป นของ ตัวเอง ศูนย ฝ กอบรมช างไฟฟ าจึงเปลี่ยนมาทําการฝ กอบรมด านการประหยัด พลั ง งาน และได พั ฒ นามาเป น กองฝ ก อบรม และสํ า นั ก พั ฒ นาทรั พ ยากร บุคคลด านพลังงานในป จจุบัน”

46 P 34-49 (TL1-2).indd 46

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:12


2511 นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์  ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นเลขาธิการ การพลังงานแห่งชาติ (2511-2518) เริ่มโครงการพัฒนาไฟฟ้า พลังน้ำ�ขนาดเล็กขึ้นครั้งแรก ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เรียกว่า “โครงการแม่ฮ่องสอน”  ที่หมู่บ้านผาบ่อง อำ�เภอเมือง  โดยการสร้างฝายทดน้ำ�ในลำ�น้ำ� แม่สะมาดเหนือ บังคับให้น้ำ�ไหล ตามคลองส่งน้�ำ เข้าสู่โรงไฟฟ้า ซึ่งมีกำ�ลังผลิตไฟฟ้า 1,000  กิโลวัตต์  การจัดสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย-ลาว แล้วเสร็จ นับเป็นสายส่งไฟฟ้า ระหว่างประเทศสายแรกในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาว 71  กิโลเมตร เชื่อมระหว่างจังหวัด อุดรธานีกับเวียงจันทน์ กรมการปกครองเห็นประโยชน์ ของเครื่องสูบน้ำ�ด้วยไฟฟ้าที่มี ประสิทธิภาพและสะดวกกว่า เครื่องสูบน้�ำ ดีเซล จึงดำ�เนินโครงการ ติดตั้งเพิ่มเติมในจังหวัดหนองคาย และนครพนม โดยให้การพลังงาน แห่งชาติเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิค

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เชื่อมระหว่างไทย-ลาว  โดยมีนายนิธิพัฒน์  ชาลีจันทร์  เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ ถวายรายงาน

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 34-49 (TL1-2).indd 47

47 21/12/2012 18:12


2512

2514

คณะรัฐมนตรีมีมติให้ การพลังงานแห่งชาติเป็นผู้ ดำาเนินการโครงการผลิตถ่านหิน ลิกไนต์ที่อำาเภอลี้ จังหวัดลำาพูน ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำาหรับโรงบ่มใบยาสูบ ในจังหวัดเชียงใหม่และลำาพูน ทดแทนการใช้ไม้ฟน เพื่อลดการ ตัดไม้ทำาลายปา

วันที่ 1 ตุลาคม เปลี่ยนชื่อเป็น “สำานักงานพลังงาน แห่งชาติ” และโอนย้ายกลับมา อยู่ภายใต้สำานักนายกรัฐมนตรี

นิธิพัฒน์  ชาลีจันทร์  (ขวาสุด)  เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ  สาธิตการใช้ถ่านหินลิกไนต์เปน เชื้อเพลิงสําหรับบ่มใบยาสูบแทนการ ใช้ฟน ในโรงบ่มใบยา จังหวัดเชียงใหม่

48 P 34-49 (TL1-2).indd 48

ประเทศไทยเริ่มซื้อพลังงานไฟฟ้า จากเขื่อนน้ำางึม 1 ของประเทศลาว วันที่ 1 พฤษภาคม เกิดการรวมกิจการของหน่วยงาน ด้านการผลิตไฟฟ้าสามแห่ง คือ การไฟฟ้ายันฮี การลิกไนต์ และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นหน่วยงานเดียวคือ การไฟฟ้า ฝายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้า ฝายผลิตแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2511)

คณะสำารวจของ JICA (Japan International Cooperation Agency) สำารวจหาที่ตั้งเพื่อสร้างสะพาน ข้ามแม่น้ำาโขงเชื่อมประเทศไทย-ลาว แต่โครงการต้องชะลอไปเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในประเทศลาว

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 21/12/2012 18:12


2515 เปดใช้งานเขื่อนและโรงไฟฟ้า ผาบ่องในโครงการแม่ฮ่องสอน เขื่อนลำาโดมน้อยก่อสร้าง แล้วเสร็จ ได้รับพระราชทานนามว่า “เขื่อนสิรินธร” ผลิตไฟฟ้า 36,000 กิโลวัตต์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรภายในโรงไฟฟ้า พลังน้ําเขื่อนสิรินธร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ทรงกดปุมเปิดเขื่อนสิรินธร

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 34-49 (TL1-2).indd 49

ภาพถ่ายทางอากาศ     เขื่อนสิรินธร เมื่อป  2514

49 21/12/2012 18:12


ทศวรรษที่ 3 2516-2525

สํานักงานพลังงานแหงชาติ อํานาจ หน าที่ของสํานักงานพลังงานแห งชาติ สํ า นั ก งานพลั ง งานแห ง ชาติ มี อํ า นาจและหน า ที่ ต ามมาตรา 5 แหงพระราชบัญญัติการพลังงานแหงชาติ พ.ศ. 2496 ดังนี้ 1. จัดหาและกอใหเกิดพลังงานเพื่อความเจริญของประเทศ และ สวัสดิภาพของประชาชน 2. ทําการคนควา ทดลอง ตรวจ สํารวจ รวบรวมสถิติเกี่ยวกับ แหลงที่อันเหมาะสมแกการที่จะกอใหเกิดพลังงานน้ํา หรือแหลงที่จะ ไดมาซึ่งวัตถุอันเปนที่มาแหงพลังงานไฟฟา และอยางอื่น 3. วางนโยบายและควบคุ ม ในการผลิ ต พลั ง งานต า งๆ เช น พลังงานไฟฟา 4. จัดใหมี ควบคุม สราง ซื้อ ขาย เชา ใหเชา หรือเลิก แหลงผลิต และระบบสง ระบบจายพลังงาน 5. วางระเบียบและควบคุมเพื่อความปลอดภัยจากอันตราย อัน เนื่องดวยการพลังงาน 6. ตั้งมาตรฐาน และกําหนดอัตราขายพลังงาน 7. ชวยเหลือและสงเสริมการใชพลังงานตางๆ เพื่อการเศรษฐกิจ เชน การเกษตรกรรม การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม และการคมนาคม 8. จัดใหเกิดประโยชนอยางอื่นรวมกับประโยชนท่ไี ดรับจากการ พลังงาน เชน การชลประทาน การปองกันน้ําทวม และการคมนาคม ทางน้ํา

50 P 50-63 (TL3).indd 50

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:54


2516

2517

รับผิดชอบ “โครงการสูบน้ํา ขยายกําลังผลิต ดวยไฟฟา” ซึ่งโอนงานมาจาก ถานหินลิกไนตจากเหมืองลี้ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพือ่ ใชเปน “พลังงานทดแทน” แทนที่น้ํามันเชื้อเพลิงที่กําลัง สํารวจพบแหลงกาซธรรมชาติ มีราคาสูงและขาดแคลน แหงแรกในอาวไทย ภายหลังตั้งชื่อวา ใชในโรงงานอุตสาหกรรม แหลงกาซธรรมชาติ “เอราวัณ” เชน การผลิตปูนขาว การผลิตปูนซีเมนต ฯลฯ เกิดวิกฤตการณราคาน้ํามัน ของโลก โดยกลุมประเทศโอเปก ใชน้ํามันเปนเครื่องตอรองทาง การเมืองระหวางประเทศ สงผลใหน้ํามันดิบมีราคาสูงขึ้นมาก เกิดภาวะน้ํามันขาดแคลนทั่วโลก ตอเนื่องถึงป 2517

2518

นายประวิทย รุยาพร ดํารงตําแหนงเปนเลขาธิการ การพลังงานแหงชาติ (2518-2526) เริ่มงานศึกษาและดําเนินการ ดานการประหยัดพลังงานของประเทศ เริ่มจัดตั้งสถานีวัดความเขม รังสีดวงอาทิตย

วิกฤตการณน้ํามัน สงผลกระทบไปทั่วโลก

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 50-63 (TL3).indd 51

51 24/12/2012 20:54


วิกฤตการณ นํ้ามัน และการปรับปรุงองค กร ภาคพลังงานของไทย

2520 เริ่มงานศึกษาและพัฒนา พลังงานหมุนเวียนเปนครั้งแรก เชน พลังงานแสงอาทิตย พลังงานลม พลังงานชีวมวล ฯลฯ เพื่อทดแทน การใชน้ํามันเชื้อเพลิงที่ตองนําเขา จากตางประเทศ

การสาธิต บอหมักกาซชีวภาพแบบโอง และแบบรองขอบ

รัฐบาลและการพลังงานแห งชาติ เห็นว าจําเป นต องมีหน วยงานรัฐ มารับผิดชอบเรื่องป โตรเลียม อย างครบวงจรโดยตรง ขณะนั้นหลายประเทศที่ประสบป ญหา วิกฤตการณ นํ้ามันก็ใช วิธีเดียวกัน คือจัดตั้งบริษัทนํ้ามันแห งชาติขึ้น”

นายวิเศษ จูภิบาล

อดีตผู อํานวยการกองควบคุม สํานักงานพลังงานแห งชาติ อดีตผู ว าการป โตรเลียมแห งประเทศไทย (2542-2544) และอดีตรัฐมนตรีว าการกระทรวงพลังงาน (2548-2549)

การสาธิต การใชกังหันลมสูบน้ํา เพื่อการเกษตรกรรม

52 P 50-63 (TL3).indd 52

“ผมจบทางไฟฟ าจากคณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย แล วมาเข าทํางานทีก่ ารพลังงานแห งชาติ ซึง่ ตอนนัน้ ทีน่ เี่ ป นแหล งสร างวิศวกร คุณภาพให แก ประเทศ มีวิศวกรหลายคนที่เติบโตจากการพลังงานแห งชาติ แล วไปทํางานบุกเบิกให หน วยงานอืน่ ๆ เช น การไฟฟ าฝ ายผลิตแห งประเทศไทย การไฟฟ าส วนภูมิภาค การไฟฟ านครหลวง เป นต น “การทํางานทีน่ ที่ าํ ให ผมได มปี ระสบการณ ดา นวางแผนพลังงาน โครงการ พัฒนาพลังงาน และได รับการปลูกฝ งเรื่องความรับผิดชอบต อหน าที่ การ ทํางานหนัก และความซื่อสัตย จนเป นสิ่งที่ติดตัวผมมาตลอดชีวิต “สมัยนัน้ บ านเมืองยังอยูใ นช วงเริม่ ต นการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห งชาติ การใช ไฟฟ าทั้งในส วนกลางและส วนภูมิภาคยังกระจาย ไม ทวั่ ถึง จะมีไฟฟ าใช เฉพาะตามเขตตัวเมือง อําเภอ หรือตําบลขนาดใหญ โดย มีบริษทั สัมปทานไฟฟ าเอกชนกว า 100 ราย ผลิตและจําหน ายไฟฟ าให ประชาชน เพือ่ เสริมระบบจําหน ายของการไฟฟ าส วนภูมภิ าค การไฟฟ าสัมปทานเอกชน 60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:55


เหล านีผ้ ลิตไฟฟ าโดยใช เครือ่ งผลิตไฟฟ าดีเซล ซึง่ จะมีตน ทุนสูงมาก หน าทีข่ องกอง ควบคุมและส งเสริมพลังงานที่ผมทํางานอยู มีหน าที่ควบคุมการผลิตและส งเสริม กิจการไฟฟ าสัมปทาน โดยต องออกสํารวจความต องการใช ไฟฟ าในท องที่ ตําบล หรืออําเภอที่ห างไกลในส วนภูมิภาคทั่วประเทศ รวมทั้งติดตามควบคุมและกําหนด อัตราค าไฟฟ าของประเทศให เกิดความเป นธรรมต อผูผ ลิต ผูจ าํ หน าย ประชาชนผูใ ช และอุตสาหกรรม นอกจากนีย้ งั ได เริม่ จัดทําแผนหลักพลังงานของประเทศขึน้ เพือ่ ให สามารถเตรียมแผนการขยายกําลังการผลิตไฟฟ าให สอดคล องและรองรับความ ต องการใช ไฟฟ าที่จะเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ “การจัดทําแผนหลักพลังงานสมัยนั้น ทําได ค อนข างยาก เพราะข อมูลยังมี จํากัด และเป นช วงที่ประเทศกําลังเร งรัดพัฒนา เมื่อมีการสร างโรงแรมขนาดใหญ สักแห ง หรือมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช ไฟฟ ามากเป นพิเศษเกิดขึ้น ความต องการ ใช ไฟฟ าจะเพิ่มขึ้นอย างพรวดพราดในอัตราสูงมาก ส งผลกระทบต อแผนการสร าง โรงไฟฟ าให ทันกับความต องการ สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 50-63 (TL3).indd 53

“ในช วงเวลาที่เกิดวิกฤตการณ นํ้ามันครั้งแรกป 2516 เกิดผลกระทบต อ ประชาชนผู ใช นํ้ามัน ไฟฟ า และอุตสาหกรรม เนื่องจากราคานํ้ามันได เพิ่มสูงขึ้น มากอย างรวดเร็ว และมีความเสี่ยงต อการขาดแคลนเชื้อเพลิงพลังงาน เนื่องจาก ประเทศต องนําเข านํ้ามันเกือบทั้งหมด นับเป นบทเรียนที่ทําให รัฐบาลต องหันมา ให ความสําคัญกับความมัน่ คงด านพลังงานอย างมาก เพือ่ จะสามารถแก ไขและรับมือ กับวิกฤตการณ นํ้ามันที่จะเกิดขึ้นอีก “รัฐบาลและการพลังงานแห งชาติเห็นว าจําเป นต องมีหน วยงานรัฐมารับผิดชอบ เรือ่ งป โตรเลียมอย างครบวงจรโดยตรง ขณะนัน้ หลายประเทศทีป่ ระสบป ญหาวิกฤตการณ นํ้ามันก็ใช วิธีเดียวกัน คือจัดตั้งบริษัทนํ้ามันแห งชาติขึ้น ซึ่งนํามาสู การมี พระราชบัญญัตกิ ารป โตรเลียมแห งประเทศไทย เพือ่ จัดตัง้ หน วยงานรัฐวิสาหกิจ คือ การป โตรเลียมแห งประเทศไทย (ปตท.) โดยรวมองค การเชื้อเพลิง องค การก าซ ธรรมชาติ มาอยู ด วยกัน ทําหน าที่ดูแลเรื่องการสํารวจ จัดหา ผลิต สํารอง ขนส ง และจําหน ายป โตรเลียม รวมทั้งการแข งขันกับบริษัทนํ้ามันนานาชาติในประเทศ

53 24/12/2012 20:55


“ช วงนัน้ ผมทํางานทีก่ ารพลังงานแห งชาติมาได 10 กว าป แล ว จึงตัดสินใจออกมา ร วมงานกับการป โตรเลียมแห งประเทศไทยตั้งแต เริ่มก อตั้ง ซึ่งมีพนักงานที่มา เริ่มงานกันไม กี่คน เพื่อนถามผมว าแน ใจในความมั่นคงของหน วยงานใหม หรือ ผมคิดว าเป นงานท าทาย และคงสามารถทําโครงการด านพลังงานต างๆ ตาม แผนงานได รวมทั้งเป นโอกาสที่จะได มีส วนในการทํางานด านปฏิบัติการอีกด วย “หลังจาก ปตท. เริ่มดําเนินการได 1 ป ก็เกิดวิกฤตการณ นํ้ามันครั้งที่ 2 ใน ป 2523 ครั้งนี้รุนแรงกว าครั้งแรกมาก เพราะกลุ มโอเปกผู ผลิตนํ้ามันลดปริมาณ การผลิตนํ้ามันดิบ ดังนั้นไม เพียงแต ทําให ราคานํ้ามันสูงขึ้นหลายเท าตัว แต ทําให เกิดการขาดแคลนด วย โดยทีป่ ระเทศไทยพึง่ พานํา้ มันนําเข าเกือบทัง้ หมด ไม เพียง แต นํ้ า มั น สํ า เร็ จ รู ป ที่ ใ ช กั บ รถยนต แต นํ้ า มั น เตาและดี เ ซลที่ ใ ช ผ ลิ ต ไฟฟ า และ อุตสาหกรรมก็ขาดแคลน เชื่อไหมว าช วงเวลานั้นเราเคยมีนํ้ามันเตาสํารองที่จะใช ผลิตไฟฟ าได ไม ถงึ 2 วันเท านัน้ ปตท. ต องเป นผูน าํ เข านํา้ มันเตาและนํา้ มันสําเร็จรูป ชนิดต างๆ ในราคาที่สูงกว าราคาที่รัฐกําหนด เพื่อมาแก ไขป ญหาการขาดแคลน เนื่องจากไม มีผู ค าเอกชนรายใดนําเข ามาเลย เราจึงผ านพ นวิกฤตการณ ไฟฟ าดับ ทัว่ ประเทศ นอกจากนีก้ ารใช ปตท. ในฐานะองค กรของรัฐติดต อขอความช วยเหลือ การซื้อนํ้ามันในรูปแบบรัฐต อรัฐ ก็สามารถช วยผ อนคลายป ญหาได มาก “ถือเป นโชคดีของประเทศไทยในช วงเวลานัน้ ทีไ่ ด สาํ รวจพบก าซธรรมชาติใน อ าวไทย และสามารถพัฒนาและผลิตขึน้ มาใช ทดแทนนํา้ มันเตาเพือ่ ผลิตไฟฟ า ทําให สามารถลดต นทุนการผลิตไฟฟ า และประหยัดเงินตราต างประเทศได มากทีเดียว และเพิ่มความมั่นคงด านพลังงานได มาก เพราะประเทศได ลดการพึ่งพานํ้ามันนํา เข าได มาก “รัฐบาลได ส งเสริมให มีการสํารวจป โตรเลียมในประเทศมาโดยตลอด แต ส วนใหญ จะพบแหล งก าซธรรมชาติในอ าวไทย ดังนั้นรัฐโดย ปตท. จึงต องลงทุน วางท อส งก าซธรรมชาติเอง เพราะบริษทั ต างชาติทพี่ บก าซฯ ไม ตอ งการเสีย่ งลงทุน วางท อก าซฯ เพราะต องใช เงินลงทุนสูง และมีความเสี่ยงสูง หากการขุดเจาะต อๆ ไปไม มีก าซมากพอ โดยที่แหล งก าซธรรมชาติในอ าวไทยมีขนาดเล็ก แยกกระจาย เป นกระเปาะเล็กๆ ไม ได เป นแหล งใหญ และมีความร อนใต ดินสูง ทําให การผลิต ช วงแรกมีป ญหามาก ต องใช เงินลงทุนสูงกว าที่คาด รัฐบาลโดย ปตท. ต องเจรจา

54 P 50-63 (TL3).indd 54

กับบริษทั ผูร บั สัมปทานให พยายามดําเนินการลงทุนและพัฒนาต อไป ซึง่ ก็ได รบั ความ ร วมมืออย างเต็มที่ จนกระทั่งสามารถพัฒนาแหล งก าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีกหลาย แห ง และสามารถผลิตก าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น นํามาใช เป นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบ สําหรับอุตสาหกรรมเคมีได อย างเพียงพอ ถือเป นจุดเริม่ ต นและป จจัยสําคัญยิง่ ของ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝ งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) ของประเทศ “นอกเหนือจากการที่ ปตท. ได ดําเนินการตามพระราชบัญญัติฯ แล ว ปตท. ยังต องแสวงหาแหล งพลังงานในต างประเทศ ทัง้ ในประเทศแถบอาเซียน และประเทศ อื่นๆ ทั่วโลก เพื่อสร างความมั่นคงในการจัดหาพลังงานให แก ประเทศในระยะยาว ทัง้ นีก้ ารจัดหาพลังงานจากต างประเทศ เราไม ควรจะเป นแค ผซ ู อื้ พลังงานอย างเดียว แต ควรต องเข าไปลงทุนเพือ่ ให มสี ว นร วมเป นเจ าของแหล งพลังงาน มีอาํ นาจบริหาร จัดการพัฒนาและผลิต “การมองเรือ่ งความมัน่ คงด านพลังงาน โดยทัว่ ไปต องการให มกี ารใช เชือ้ เพลิง พลังงานหลากหลายชนิดกระจายกันออกไปเพื่อลดความเสี่ยง เช น ก าซธรรมชาติ ถ านหิน พลังนํ้า นํ้ามันเตา เป นต น ผมเห็นว าเรื่องนี้ยังต องมองถึงศักยภาพของ แหล งเชื้อเพลิงพลังงานที่จะหาได ในประเทศหรือนําเข า เรื่องสิ่งแวดล อม รวมทั้ง ต นทุนการผลิตพลังงานที่ไม สูงจนกระทบกับความเป นอยู ของประชาชน และการ พัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ “ประเทศไทยพึ่งพาการใช ก าซธรรมชาติผลิตไฟฟ าประมาณร อยละ 70 ซึ่ง บางครัง้ เป นห วงกันว ามีสดั ส วนทีส่ งู แต ผมอยากชีใ้ ห เห็นว าความเสีย่ งในการพึง่ พา นั้น ขึ้นกับจํานวนแหล งผลิตก าซธรรมชาติด วย ซึ่งควรมีหลายแหล งกระจายกันไป ไม ใช มแี หล งเดียว รวมทัง้ ระบบเครือข ายท อส งก าซทีเ่ ชือ่ มโยงกันหลายท อ ช วยผลิต และส งก าซทดแทนกันได เมื่อแหล งก าซธรรมชาติใดหรือท อส งใดเกิดขัดข อง อย างไรก็ตามในระยะยาวผมเห็นว าประเทศไทยคงต องพึ่งพาการผลิตไฟฟ าจาก โรงไฟฟ านิวเคลียร จึงจะเพียงพอ “การวางแผนพลังงานเป นงานที่ต องมองไปในระยะยาว ต องใช เงินลงทุนสูง และใช เวลาเตรียมการและดําเนินงานยาวนาน รวมทั้งเกี่ยวข องกับหน วยงานภาค รัฐและเอกชนมากมาย ทิศทางและเป าหมายของการพัฒนาพลังงานแต ละประเภท จะต องชัดเจน มิฉะนัน้ เราอาจประสบกับการพัฒนาแหล งผลิตพลังงานได ไม ทนั กับ ความต องการที่เพิ่มขึ้นเร็วกว าที่คาดหมายไว ป จจุบันการจัดหาพลังงานทั้งใน ประเทศและจากต างประเทศมีปจ จัยทีเ่ ปลีย่ นแปลงด านเทคโนโลยีและราคารวดเร็ว มาก มีการแข งขันในตลาดต างประเทศสูง การตัดสินใจให ทันต อสถานการณ ที่ เปลี่ยนแปลงจึงเป นเรื่องสําคัญ “การพัฒนาพลังงานทดแทนภายในประเทศทีก่ รมพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรกั ษ พลังงานดําเนินการอยูเ ป นเรือ่ งสําคัญมาก ทีร่ ฐั บาลต องให การส งเสริมอย าง จริงจังและต อเนือ่ ง อีกเรือ่ งหนึง่ ทีเ่ รามักจะมองข ามและดําเนินการไม ตอ เนือ่ งคือ การอนุรกั ษ พลังงาน เพราะจะช วยให การใช พลังงานมีประสิทธิภาพสูง ไม สนิ้ เปลือง ค าใช จ าย ประหยัดเงินลงทุนและลดภาระด านการจัดหาและผลิตพลังงานอย าง เห็นได ชัด” 60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 25/12/2012 12:13


2521

2522 วันที่ 24 มีนาคม ยายสังกัดมาอยูกระทรวง วิทยาศาสตร เทคโนโลยี และการพลังงาน

เริ่มกอสรางโครงการ ไฟฟาพลังน้ําขนาดเล็กแมกืมหลวง อําเภอแมอาย จังหวัดเชียงใหม มีกําลังผลิตไฟฟา 3,200 กิโลวัตต พัฒนาเครื่องกังหันน้ําผลิตไฟฟา ซึ่งผลิตไดในประเทศ มีราคาต่ํากวา เครื่องที่นําเขาจากตางประเทศ และงายตอการบํารุงรักษาโดยชาง ระดับชาวบาน ทําใหเกิดโครงการ ไฟฟาพลังน้ําระดับหมูบาน มีกําลังผลิตต่ํากวา 200 กิโลวัตต

จัดทํารายงาน “แผนหลัก พลังงานของประเทศ” ฉบับแรก ประกาศใชพระราชบัญญัติ การปโตรเลียมแหงประเทศไทย จัดตั้งองคกรน้ํามันแหงชาติชื่อ “การปโตรเลียมแหงประเทศไทย” หรือ ปตท. สังกัดกระทรวง อุตสาหกรรม รับผิดชอบกิจการ ปโตรเลียมของประเทศอยางครบวงจร เปนครั้งแรก

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 50-63 (TL3).indd 55

เริ่มกอสรางเขื่อนอเนกประสงค ในโครงการหวยแมผง อําเภอดอกคําใต จังหวัดพะเยา เพื่อผลิตไฟฟา 1,030 กิโลวัตต และการชลประทาน 4,000 ไร การกอสรางแลวเสร็จในป 2526 จัดตั้ง “ศูนยขอมูลพลังงาน แหงประเทศไทย” ทําหนาที่รวบรวม ขอมูล วิเคราะห และใหบริการสืบคน ขอมูลดานพลังงาน

บริษัทเอสโซ เอ็กซพลอเรชั่น แอนด โปรดักชั่น โคราช อินคอรปอเรชั่น เริ่มสํารวจขุดเจาะหา ปโตรเลียมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบกาซธรรมชาติปริมาณสํารอง 1.5 ลานลูกบาศกเมตร ที่อําเภอ น้ําพอง จังหวัดขอนแกน กลุมประเทศโอเปกประกาศขึ้น ราคาน้ํามันดิบติดตอกันถึงสี่ครั้ง รัฐบาลจัดตั้ง “กองทุนน้ํามันเชื้อเพลิง” เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ํามัน เชื้อเพลิงภายในประเทศ

ศูนยขอมูลพลังงาน แหงประเทศไทยใหบริการ ประมวลผลดวยคอมพิวเตอร

55 24/12/2012 20:55


พลังงานทดแทน และพลังงานชุมชน

2523

ชุมชนในชนบทควรมีส วนในการ ร วมลงทุนเป นเจ าของแหล งพลังงาน และไฟฟ าของแต ละชุมชน… ถ าประชาชนเป นเจ าของโรงไฟฟ า ในแต ละพื้นที่ ราคาค าไฟฟ าจะ เป นไปตามจริงและเกิดการ กระจายรายได สู ชุมชน” วันที่ 1 กุมภาพันธ รัฐบาลปรับราคาคาไฟฟาทั่วประเทศ และกําหนดโครงสรางอัตราคาไฟฟา แยกผูใชไฟฟาเปนประเภทธุรกิจ และอุตสาหกรรม เพื่อสงเสริมการ ขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ไปสูสวนภูมิภาค วันที่ 7 ตุลาคม รัฐบาลมีมติ ใหสํานักงานพลังงานแหงชาติ รับผิดชอบการผลิตไฟฟาจากพลังน้ํา ขนาดไมเกิน 6,000 กิโลวัตต และโอนเขื่อนน้ําพุงและเขื่อนสิรินธร ไปอยูในความดูแลของ กฟผ.

56 P 50-63 (TL3).indd 56

การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ประเทศกลุมอาเซียนภายใตกรอบ ความรวมมือดานพลังงาน (AEMEC) จัดการประชุมขึ้นเปนครั้งแรก ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสรางความรวมมือดานพลังงาน ในภูมิภาค

สมพงษ ฉันทวรภาพ

อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาและส งเสริมพลังงาน (2534-2538) และผู ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร เทคโนโลยีและการพลังงาน

“ผมเข า ทํ า งานในการพลั ง งานแห ง ชาติ ห ลั ง จากตั้ ง ขึ้ น มาได 8 ป ทํ า งานสํ า รวจในโครงการสร า งเขื่ อ นไฟฟ า พลั ง น�ํ า เช น แม น�ํ า ป ต ตานี โครงการสํารวจทําแผนที่เดินเรือแม น�ําโขง และโครงการวางท อก าซ กทม. จากโรงกลั่นน�ํามันบางจาก จนเมื่อราคาน�ํามันสูงขึ้นป 2516 เราก็มาคิด ถึงเรื่องพลังงานทดแทน เช น แสงอาทิตย ลม ชีวมวล “ตอนนั้นผมย ายมาทํางานในฝ ายศึกษาค นคว าอยู ในกองวิชาการ คิด เรื่องการผลิตไฟฟ าจากขยะของ กทม. โดยประเทศฝรั่งเศสให ความช วยเหลือ ศึกษาวิจัยจนเกือบสมบูรณ แต ในที่สุดทําไม ได เพราะติดป ญหาเรื่องการจ าย ค าขยะ ทั้งที่ในต างประเทศจะตรงกันข าม คือเราจะได รับเงินค านําขยะไป กําจัดเพื่อผลิตไฟฟ า นับว าน าเสียดายมาก “เรื่องพลังงานทดแทน พลังงานลม ในบ านเรามีลมแต ไม สม่ําเสมอ มี ลักษณะลมกรรโชก และต องออกแบบโครงสร างให แข็งแรงเพื่อต านทานพายุ

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:55


จึงเป นไปได ยาก ส วนพลังงานแสงอาทิตย ถึงแม จะมีแดดดี แต ก็มีเมฆมาก กว า จะได พลังงานมาลําบาก ใช ได เฉพาะตอนกลางวัน ตอนกลางคืนต องเก็บสํารองไว ค าใช จ ายในการลงทุนค อนข างสูงและต องนําเข าเทคโนโลยี “สําหรับพลังงานชีวมวลมีความเป นไปได สูง ถ าเราปรับปรุงบํารุงพันธุ พืช ต อไร ให ได ชีวมวลสูงขึ้น จะเป นแหล งพลังงานมหาศาล ป 2524-2527 เราเริ่ม ทําเรื่องพลังงานชีวมวลโดยได รับเงินช วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ศึกษา ไม ยูคาลิปตัส แต เราปลูกได เพียง 1-2 ตันต อไร ต อป ขณะที่ในต างประเทศอย าง บราซิลได 4-8 ตันต อไร ต อป ทําให คุ มค ากับการใช เป นเชื้อเพลิง บ านเรายังต อง ปรับปรุงบํารุงพันธุ พืชพลังงานเพื่อปลูกให ได จํานวนต อไร สูงขึ้น ถ าทําได เหมือน อย างบราซิลก็จะคุ มค ากับการนํามาใช เป นแหล งพลังงาน รวมทั้งทําให ประเทศไทย เป นประเทศสีเขียวด วย เรื่องนี้ควรมีหน วยงานรัฐให การสนับสนุนและส งเสริม อย างจริงจัง

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 50-63 (TL3).indd 57

“ในช วงนั้นเรายังศึกษาเทคโนโลยีทางด านพลังงานทดแทนเกือบทุกชนิด สํารวจและจัดทําข อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชนบท และวางแผนพลังงานชนบท เราคิด กันว าควรจะตั้งหน วยงานพลังงานจังหวัด ให ชุมชนดูแล ชุมชนในชนบทควรมีส วน ในการร วมลงทุนเป นเจ าของแหล งพลังงานและไฟฟ าของแต ละชุมชน เพราะว าใน ระยะยาว ราคาไฟฟ าจะต องขึ้น แต ชุมชนคงไม ยอมเพราะราคาค าไฟไม เป นไป ตามจริง ถ าประชาชนเป นเจ าของโรงไฟฟ าในแต ละพื้นที่ ราคาค าไฟฟ าจะเป นไป ตามจริงและเกิดการกระจายรายได สู ชุมชน “ยกตัวอย างเรื่องพื้นที่ทิ้งขยะซึ่งต องการการบริหารจัดการ ทุกวันนี้เราเอา ขยะไปทิ้งในพื้นที่ของชาวบ านแล วไม ให ประโยชน อะไรแก เขา ชาวบ านจึงคัดค าน ตลอด แต ป ญหาจะหมดไป ถ าชาวบ านรู ว าจะได ประโยชน จากการเก็บขยะไว ใน พื้นที่ เพื่อใช ผลิตไฟฟ าในโรงไฟฟ าซึ่งชุมชนเป นเจ าของ และยังจะมีรายได จาก การรับจ างคัดแยกขยะประเภทชีวมวลมาใช เป นเชื้อเพลิงด วย

57 24/12/2012 20:55


โครงการ สูบน้ําด วยไฟฟ า ผูเชี่ยวชาญฝรั่งเศส ขณะสํารวจเพื่อ ใหคําแนะนําในโครงการ โรงไฟฟาขยะ ของกรุงเทพฯ

“ส วนประเด็นป ญหาสารพิษจากขยะ ป องกันได ถ าทําถูกหลักวิชาการ วิทยาการด านนี้มีการพัฒนามาตลอดเวลา ขอเพียงแต ให ทําจริงเท านั้น “ถ าคุณเอาขยะไปไว ที่ไหนและให โรงไฟฟ าเอกชนไปตั้ง คุณต องให ชุมชนเป นเจ าของร วมหุ นร วมทุนกับเอกชนด วย ทุนจากเอกชนเป นส วนของ เครื่องจักร ทุนจากชุมชนคือที่ดินซึ่งเป นของชุมชน เมื่อชุมชนเป นเจ าของ โรงไฟฟ า เขาจะมีรายได เศรษฐกิจดีขึ้น และมีกําลังจ ายสูงขึ้น แต เรื่องนี้จะ ทําไม สําเร็จ ถ าขาดหน วยงานพลังงานจังหวัด ซึ่งเราควรจัดตั้งมานานแล ว พลังงานจังหวัดจะมีหน าที่ดูแลการใช พลังงานทดแทน และประสิทธิภาพการ ใช พลังงาน เพื่อให เกิดประโยชน สูงสุด “การผลิตก าซชีวภาพในระดับครัวเรือน มีป ญหาว าถ าก าซหุงต มยังมี ราคาถูก คนก็จะคิดว าลงแรงให เหนื่อยทําไม แต สําหรับฟาร มหมูขนาดใหญ ซึ่งสามารถผลิตก าซชีวภาพและผลิตความร อนให ความอบอุ นกับหมู รวมถึง ส วนหนึ่งยังใช ผลิตไฟฟ าเข าระบบสายส ง โดยรัฐช วยรับซื้อไฟฟ าบวกส วนเพิ่ม ราคา ก็ถือเป นการลงทุนที่คุ มค า และน าสนใจ ตอนนี้แม แต ที่เชียงใหม ก็นํา มูลวัวมาใช ผลิตก าซอัดเข าถังเพื่อใช กับรถยนต แล ว “ในต างประเทศจะต างจากไทย เจ าของมูลจะให เงินแก คนที่เก็บมูล หรือบริษัทรับจ างเหมาเก็บมูลไปใช ประโยชน ในการผลิตไฟฟ า เพราะมูลสัตว มีคาร บอนไดออกไซด มาก สามารถเผาโดยตรงได เลย เพียงคุณต องเป น บริษัท มีรถขนมูล และต องดูแลเรื่องการกําจัดกลิ่น “เมื่อก อนนี้ไฟฟ าในแต ละจังหวัดอาศัยสหกรณ ของเอกชนเป นผู ผลิต ไฟฟ า แต ถ า ตอนนี้ เ ราทํ า ไฟฟ า ชุ ม ชน การพลั ง งานแห ง ชาติ จ ะขยาย ขอบเขตไปได อีกมาก และที่สําคัญจะทําอย างไรให ไฟฟ าใช ทําประโยชน ได มากที่สุด เพราะเราใช ไฟฟ าส วนใหญ เพื่ออํานวยความสะดวก แต ไม ได ใช เพื่อ การผลิต ซึ่งยังไม มีใครให ความสําคัญ”

58 P 50-63 (TL3).indd 58

คณะกรรมการประสานงาน สํารวจแมน้ําโขงตอนลาง” ภายใตการสนับสนุนของคณะ

โครงการนี้กลายเป นที่ต องการของ ชาวชุมชนที่เป นเกษตรกรมาก แม ว า ชาวบ านต องสละที่ดินเพื่อใช จัดตั้ง สถานีและก อสร างคลองส งน�ําเข าไป ยังพื้นที่เพาะปลูก อีกทั้งยังต องเสีย ค ากระแสไฟฟ าที่ใช ในการสูบน�ําเอง แต ชาวบ านทุกคนก็ยินยอม”

สมเจตน สว างเนตร

อดีตหัวหน าศูนย บริการโครงการสูบน�ําด วยไฟฟ า จังหวัดนครพนม (2527-2535) และอดีตผู อํานวยการสํานักงานพลังงานภูมิภาคที่ 1 (2527-2535 )

“แต เดิมโครงการสูบน�ําด วยไฟฟ ามีมาก อนแล วตั้งแต ป 2508 ติดตั้ง อยู ริมฝ งแม น�ําโขงที่จังหวัดหนองคายจํานวนสามแห ง และจังหวัดนครพนม จํานวนห าแห ง อยู ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง โดยการพลังงาน แห งชาติเป นผู ติดตั้งเครื่องสูบน�ําให แต เนื่องจากไม มีผู รับผิดชอบบํารุงรักษา และไม มีช างมาซ อมแซมแก ไขเมื่อเกิดป ญหา ในที่สุดโครงการต องหยุดไป ภายหลังกรมการปกครองจึงโอนโครงการนี้มาให การพลังงานแห งชาติเป นผู ดูแลแทน “แรกทีเดียวหน าที่ของการพลังงานแห งชาติคือสร างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ า มีโครงการผามองเป นเขื่อนผลิตไฟฟ าระหว างประเทศ สร างกั้นแม น�ําโขงที่ อําเภอศรีเชียงใหม จังหวัดหนองคาย รัฐบาลมอบหมายให การพลังงานแห ง ชาติเป นผู แทนฝ ายไทย โดยมี ดร. ประเทศ สูตะบุตร เป นหัวหน าโครงการ แต ผลกระทบที่จะทําให เกิดอ างเก็บน�ําท วมพื้นที่เหนือเขื่อนทั้งฝ งลาวและไทย

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:56


คณะกรรมการประสานงาน สํารวจแมน้ําโขงตอนลาง” ภายใตการสนับสนุนของคณะ

คณะกรรมการประสาน งานสํารวจแมน้ําโขง ตอนลาง” ภายใตการ

อย างกว างขวาง ประกอบกับเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นในลาว ทําให โครงการถูกระงับไปเมื่อป 2512 ดร. ประเทศ สูตะบุตร เห็นว าโครงการผามอง มีระบบการชลประทานส งน�ําให แก พื้นที่รอบอ างเก็บน�ําโดยใช เครื่องสูบน�ําด วย ไฟฟ า จึงน าจะทดลองนําไปใช ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งอยู ติดแหล งน�ําที่มีน�ําตลอดป และนอกเขตส งน�ําโครงการชลประทานได ซึ่งจะช วยให ประชาชนในชนบทมีโอกาส ใช น�ําและไฟฟ าด วย ขณะที่โครงการสร างเขื่อน ไฟฟ าซึ่งผลิตได จะไปใช พัฒนาใน ตัวเมือง แต ชาวบ านที่ถูกน�ําท วมเสียผลประโยชน กลับไม มีส วนได ใช ไฟฟ า ดังนั้น ท านจึงยกโครงการสูบน�ําด วยไฟฟ าขึ้นมาทําแทนโครงการผามองที่หยุดไป “ในป 2514 ดร. ประเทศเริ่มงานควบคุมดูแลปรับปรุงแก ไขสถานีสูบน�ํา ที่แม น�ําโขงเป นครั้งแรก แบ งความดูแลออกเป นสองแห ง คือ จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคาย ผมประจําอยู ที่นครพนม สมัยนั้นการเดินทางยังลําบาก มาก ถนนหนทางเป นลูกรังทั้งนั้น เครื่องบินก็ไม มี เมื่อ ดร. ประเทศจะมาตรวจ

งาน ท านต องลงรถไฟที่จังหวัดอุบลราชธานี 6 โมงเช า ผมต องขับรถป กอัปออก จากจังหวัดนครพนมไปรับท านตอนตี 3 รถที่ใช ตอนนั้นวิ่งไปเข็นไป แล วยังมี อุปสรรคการเข าถึงชาวบ านในพื้นที่อีก เพราะสถานีสูบน�ําได ถูกทิ้งร างไม ได ใช ประโยชน มานาน “พื้นที่แถวนั้นผู ก อการร ายคอมมิวนิสต กําลังคุกคามอย างหนัก เขาพยายาม ทําให ภาพลักษณ ของรัฐบาลเสียหาย จึงไม สนับสนุนการทํางานของหน วยงาน รัฐ และกังวลว าเราจะเป นฝ ายป องกันปราบปรามที่ไปทําร ายพวกเขา มีอยู ครั้ง ผมขับรถป กอัปที่ได มาใหม ไปรับ ดร. ประเทศที่สถานีรถไฟจังหวัดอุบลราชธานี ระหว า งทางกลั บ ไปยั ง ศู น ย บ ริ ก ารสู บ น�ํ า ด ว ยไฟฟ า อํ า เภอธาตุ พ นม ตอนนั้ น ประมาณ 7 โมงเช า ระหว างหมูบ า นคําป าหลายและนาเสือหลาย อําเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ในสมัยนั้น) กระจกหูช างแตกกระจาย ท านตกใจ ผมทราบ ดีว าเกิดอะไรขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ จากกระจกมองหลัง ข างทางมันเป นป าทึบ

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 50-63 (TL3).indd 59

59 24/12/2012 20:56


โครงการสูบน้ําดวยไฟฟา สถานีสูบน้ําบานทาลาด อําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

แล วมีควันลอยขึ้น ผมเจออย างนี้มาก อนสี่ครั้งแล ว ถูกยิงยางรถยนต และกระจก หน ารถยนต แตก แต ไม ได แจ งท านเดี๋ยวนั้น ไม อยากให ตกใจ ผมมาบอกในคราว หลัง “ในป 2514 แต ละหมู บ านยังยากจนทั้งนั้น วิถีชีวิตอาศัยอยู ติดแม น�ําโขง หาปลาเป น หลั ก ปลู ก ข า วได แ ค ป ล ะครั้ ง และต อ งรอฟ า ฝนซึ่ ง มั ก ไม ต กตาม ฤดูกาล ปลูกเท าไรก็ตายหมด ได ผลผลิตไม เกิน 30 ถังต อไร เครื่องสูบน�ําใน ชุมชนก็ถูกปล อยทิ้งไว เป นซากเหล็ก เมื่อผมไปถึง ชาวบ านพูดกับผมว ามาแล ว หรือ รื้อไปเร็วๆ เลยนะ ขวางทางควาย แทนที่ควายจะไถนาสะดวกก็ไถไม ได ติดท อที่วางขวางอยู “เขาจําได ว าเมื่อก อนเรามาติดตั้งให เขา แต ตอนนั้นเราเป นเพียงช างฝ าย เทคนิคช วยติดตั้งให กรมการปกครอง พอผมบอกว าจะมาซ อมและช วยทําให ดี ขึ้น เขาบอกไม เอาแล ว เพราะเมื่อครั้งเอาเครื่องสูบน�ํามาติดตั้งก็มาขอที่ดินจาก

60 P 50-63 (TL3).indd 60

พวกเขา แล วปล อยทิ้งไว ไม ได ใช ประโยชน หลายป แล ว ตอนนั้นผมมีงบประมาณ สําหรับโครงการเครื่องสูบน�ําอยู 4 แสนบาท ผมก็จัดการเอาไปซ อมแล วให พวก เขาทดลองใช อีกครั้ง “เวลานั้นในหมู บ านมีแต ผู หญิงและเด็ก ผู ชายเข าป าหมด เราผลักดันให ผู หญิงเป นผู ร วมใช น�ํา โดยขออาสาสมัครเป นการทดลอง ช วงแรกเราให เขา สู บ น�ํ า ฟรี รั ฐ บาลเป น ผู เ สี ย ค า ไฟค า ซ อ มบํ า รุ ง ให ชาวบ า นก็ ป ลู ก พื ช ผั ก ปลู ก ถั่วเหลืองกันบ างเล็กๆ น อยๆ ในฤดูแล ง เริ่มต นที่ 5-10 ไร ปรากฏว าได ผลดี จากที่เคยทํานาได แค ป ละครั้ง กลายเป นทําได ป ละสองครั้ง นาป แม ฝนไม ตกเขาก็ ตกกล าก อนได เตรียมพื้นที่เอาน�ําเข านาป กดํา ส วนในฤดูแล งช วงไหนแล งมาก ก็เปลี่ยนจากปลูกข าวมาปลูกผักปลูกข าวโพดแทน เพราะใช น�ําน อยกว า ทําให มี พืชผลไปขายตลาดต อเนื่องจนมีรายได ขึ้นมา “พอทํ า ไปได 2-3 ป ผู ที่ ห นี เ ข า ไปอยู ใ นป า เห็ น ว า พื้ น ที่ ข องตนกลั บ มา

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:56


ดร. ประเทศ สูตะบุตร ใหความรูชาวบานเรื่องโครงการสูบน้ําดวยไฟฟา

พื้นที่เกษตรกรรมมีน้ําใชตลอดทั้งป

ทํ า มาหากิ น ได จึ ง ออกจากป า กลั บ เข า มาอยู ใ นชุ ม ชนของตน และเพิ่ ม การใช ประโยชน จากโครงการสูบน�ํามากขึ้นเรื่อยๆ ช วงหลังเราเริ่มไม มีเงินจ ายค า ไฟฟ า แทนทั้ ง หมดแล ว จึ ง ต อ งทํ า ความเข า ใจกั บ ชาวบ า นใหม บอกเขาว า โครงการนี้ มี ป ระโยชน สามารถสู บ น�ํ า ใช ไ ด ส ะดวกสบาย ไม ต อ งรอฝน แต จําเป นต องมีกติกาที่ผู ใช น�ําต องมีส วนร วมรับผิดชอบด วย คือชาวบ านต องรวม ตั ว กั น จั ด ตั้ ง กลุ ม ผู ใ ช น�ํ า เพื่ อ วางแผนการจั ด การสู บ น�ํ า การบํ า รุ ง รั ก ษา และ ต องเป นผู รับผิดชอบค าไฟฟ า ซึ่งปรกติการไฟฟ าจะเก็บตามบ านเรือนยูนิตละ 3 บาท โรงงานอุตสาหกรรมยูนิตละ 6-7 บาท แต เพื่อการเกษตรเขาลดให เหลือ 1.17 บาท ชาวบ านก็ยินยอมให ความร วมมือ และภายหลังได จัดหางบประมาณมา ช วยชาวบ านครึ่งหนึ่งของค าไฟฟ า “ต อมาทางสมาชิกสภาผู แทนราษฎร (ส.ส.) เริ่มเห็นว าโครงการนี้สามารถ แก ไ ขป ญ หาความแห ง แล ง ได จึ ง สนั บ สนุ น งบประมาณมาให ข ยายผล ทํ า ให เราขยายโครงการไปได ถึง 1,000 กว าสถานีทั่วประเทศ โครงการนี้กลายเป น ที่ต องการของชาวชุมชนมาก แม ว าทางการพลังงานแห งชาติมีข อกําหนดว าการ จะจัดตั้งโครงการได ชาวบ านต องสละที่ดินเพื่อใช จัดตั้งสถานีและทําคลองส งน�ํา ผ านที่ดินของเกษตรกร แหล งน�ําต องเพียงพอ ไฟฟ าต องเดินถึง และชาวบ านทุก คนต องยินยอม หากมีสักรายหนึ่งไม ยินยอมยกที่ดินให ก็ต องถอนโครงการ ชาว บ านที่เหลือก็จะหาหนทางเกลี้ยกล อมจนสําเร็จ แสดงให เห็นว าโครงการสูบน�ําด วย ไฟฟ าเป นที่ต องการของชาวบ านมาก “ช ว งป 2525-2535 กลุ ม ผู ใ ช น�ํ า ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง ขึ้ น ได จั ด ตั้ ง เป น สหกรณ ผู ใช น�ําเพื่อบริหารงานการจัดสรรน�ําและรับผิดชอบค าไฟฟ าที่ใช ในการสูบน�ํา บางสหกรณ ยังเพิ่มธุรกรรมอื่นนอกเหนือจากวัตถุประสงค หลัก เช น การสร างยุ ง ฉางของสหกรณ เพื่อรับซื้อข าวจากสมาชิกมาเก็บไว ขายตอนที่ข าวราคาดี เป นการ

ช วยชาวบ านจากการถูกเอารัดเอาเปรียบโดยโรงสีและพ อค าคนกลาง ผล กําไรส วนหนึ่งแบ งเป นเงินป นผลคืนให สมาชิก อีกส วนหนึ่งเก็บไว เป นค า ซ อ มบํ า รุ ง เครื่ อ งสู บ น�ํ า ทํ า ให เ ขาพึ่ ง ตนเองได ม ากขึ้ น แล ว เมื่ อ สหกรณ มีรายได จากธุรกรรมเพิ่มขึ้น เขายังแบ งเงินไปช วยเด็กนักเรียนโรงเรียน ในหมู บ าน ทําโครงการอาหารกลางวัน บริจาคให มูลนิธิราชประชานุเคราะห ฯ จัดตั้งกองทุนคิดดอกเบี้ยต่ําให สมาชิกกู ยืมเงินเพื่อนําไปลงทุนเพาะปลูก “จนกระทั่ ง ในป 2545 เกิ ด การปฏิ รู ป ระบบราชการ เราต อ งโอน ภารกิจนี้ให กรมชลประทาน ด วยเหตุผลว าเป นเรื่องทางการเกษตร ไม ใช งาน ด านพลังงาน ในที่สุดงานถูกส งต อให กับ อบต. (องค การบริหารส วนตําบล) ซึ่งขั้นตอนการดูแลและใช งานไม สะดวกเหมือนเดิม ชาวบ านจึงใช ประโยชน น อยลง “พูดได เลยว าโครงการสูบน�ําด วยไฟฟ าเป นผลงานแห งความภาคภูมิใจ ของการพลังงานแห งชาติ ทุกวันนี้ผมยังนึกเสียดายแทนพี่น องเกษตรกรใน ภาคอีสานว าหาก พพ. ยังมีโอกาสสืบสานภารกิจนี้ต อไป คงช วยแก ไขป ญหา ความแห งแล งให พวกเขาได มากกว าที่เป นอยู สําหรับ ดร. ประเทศผู ทุ มเทกับ โครงการนี้ด วยจิตวิญญาณ พวกเรารักท านมากเหมือนพ อคนหนึ่ง ท านไม เคย ทอดทิ้งลูกน อง ท านไม สนใจว าในพื้นที่จะมีอันตรายร ายแรงขนาดไหน ก็ยัง หมั่นออกตรวจงานเป นกําลังใจให ลูกน องเสมอ ชาวบ านรู จักท านดีเลยพากัน เรียกท านว า ‘เจ าพ อสูบน�ํา’”

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 50-63 (TL3).indd 61

61 24/12/2012 20:56


2524 เขื่อนไฟฟาพลังน้ําขนาดเล็ก โครงการแมกืมหลวงเริ่มดําเนินการ ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา ใหแกอําเภอแมอาย อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม และอําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ภายหลังมีการ ดําเนินการกอสรางเขื่อนไฟฟาพลังน้ํา ขนาดเล็กตอเนื่องอีกหลายโครงการ ในหลายจังหวัด

62 P 50-63 (TL3).indd 62

รัฐบาลยกเลิกสัญญากับบริษัท ซัมมิทฯ ที่ทําผิดสัญญา บริหารงาน โรงกลั่นน้ํามันไมมีประสิทธิภาพจน เกิดอุบัติเหตุในโรงกลั่นเปนประจํา โดยใหกรมการพลังงานทหารเขามา บริหารงานดานโรงกลั่น และให ปตท. มีหนาที่จัดหาน้ํามันดิบ และจําหนาย ผลิตภัณฑน้ํามัน ในปถัดมาจึง เปลี่ยนชื่อเปน “โรงกลั่นน้ํามันทหาร (บางจาก)”

กาซธรรมชาติจากแหลง “เอราวัณ” กลางอาวไทยเดินทางตาม ทอใตน้ํายาว 425 กิโลเมตร เขาสูโรง แยกกาซธรรมชาติที่ตําบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง เริ่มตนการใชพลังงาน จากกาซธรรมชาติของประเทศ

ทอสงน้ําและอาคารโรงไฟฟา ของโครงการไฟฟาพลังน้ําหวยประทาว อําเภอแกงครอ จังหวัดชัยภูมิ

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:56


2525 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 5 (2525-2529) กําหนดให สํานักงานพลังงานแหงชาติขยายพื้นที่ โครงการสูบน้ําดวยไฟฟาออกไป ทั่วประเทศปละ 2 แสนไร หรือ อยางนอยปละ 80 สถานี

โครงการสูบน้ําดวยไฟฟา สถานีสูบน้ําบานแหลมยาง อําเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค

จัดตั้ง “ศูนยประหยัดและอนุรักษ พลังงาน” ใหบริการตรวจวิเคราะห การใชพลังงานในโรงงานและอาคาร จัดทํา “แผนหลักพลังงานของ ขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให ประเทศ” สําเร็จ ซึ่งนับเปนฉบับที่ 2 คําแนะนําการปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยคาดคะเนความตองการใชพลังงาน อุปกรณการใชพลังงานและการ ในชวง 20 ปขางหนา ประหยัดพลังงานโดยไมตองเสียคา บริการ

เจาหนาที่ปฏิบัติงาน ภายในหองทดสอบ เพื่อใหบริการ ตรวจวิเคราะหประสิทธิภาพ การใชพลังงานของอุปกรณไฟฟา

จัดตั้ง “ศูนยพัฒนาและเผยแพร เทคโนโลยีพลังงานภูมิภาค” ภายหลัง เปลี่ยนชื่อเปน “ศูนยบริการวิชาการ” มีสํานักงานอยูในทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 50-63 (TL3).indd 63

63 24/12/2012 20:57


ทศวรรษที่ 4

2526-2535 สํานักงานพลังงานแหงชาติ

2526

2527

นายประพัทธ เปรมมณี ดํารง ตําแหนงเปนเลขาธิการการพลังงาน แหงชาติ (2526-2534)

เริ่มดําเนินการ “โครงการสาธิต การประหยัดพลังงาน” ในโรงงาน อุตสาหกรรม โดยใหเงินกูดอกเบี้ย ต่ําแกโรงงานตัวอยาง เพื่อกระตุน ใหเกิดการดําเนินการปรับปรุง ประสิทธิภาพการใชพลังงาน โดยโรงงานแรกที่เขารวมโครงการคือ บริษัทไทยเพรสซิเดนสฟูดส จํากัด

เปดใหเอกชนเชาชวงการทํา เหมืองแรถานหินลิกไนตที่แหลง บานปู อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน ผูประมูลไดคือหางหุนสวนจํากัด ยาสูบทุงกวาว-บานถิ่น ตอมาคือ บริษัทบานปู จํากัด (มหาชน) จัดตั้ง “เงินทุนหมุนเวียนเพื่อ สาธิตการประหยัดพลังงานในโรงงาน อุตสาหกรรมตัวอยาง” เพื่อแกไข ปญหาที่โรงงานสวนใหญขาดเงินทุน ในการดําเนินการเพื่อประหยัด พลังงานและยังขาดความมั่นใจในผล ที่จะไดรับ

การดําเนินการของโรงกลั่น น้ํามันทหาร (บางจาก) ประสบ ปญหาขาดทุนมาตอเนื่อง รัฐบาล แกปญหาโดยการจัดตั้งบริษัทใหม ขึ้นมาบริหารงาน คือ บริษัทบางจากปโตรเลียม จํากัด

กระทรวงการคลังประกาศลด อัตราอากรสําหรับเครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณที่ประหยัดพลังงาน หรือที่รักษาสิ่งแวดลอม โดยเปนชนิด ที่นําของเสียหรือพลังงานปลอยทิ้ง มาใชเปนประโยชนไดอีก หรือใช พลังงานอื่นแทนไฟฟาและน้ํามัน หรือชวยใหอุปกรณเดิมมีประสิทธิภาพ สูงขึ้นเปนตน

64 P 64-75 (TL4).indd 64

24/12/2012 21:21


2528 เปิดให้เอกชนเช่�ช่วงก�รทำ� เหมืองแร่ถ่�นหินลิกไนต์อีกแหล่งที่ บ้�นป�ค� อำ�เภอลี้ จังหวัดลำ�พูน ผู้ประมูลได้คือบริษัทเอเชียลิกไนต์ จำ�กัด ต่อม�คือบริษัทล�นน�รีซอร์สเซส จำ�กัด (มห�ชน) เขื่อนไฟฟ้�พลังน้ำ�ขน�ดเล็ก โครงก�รไอก�เป�ะ อำ�เภอสุคิริน จังหวัดนร�ธิว�ส เริ่มดำ�เนินก�รผลิต และจำ�หน่�ยพลังง�นไฟฟ้� มีกำ�ลังผลิต 200 กิโลวัตต์ จัดตั้งบริษัท ปตท. สำ�รวจ และผลิตปิโตรเลียม จำ�กัด หรือ ปตท.สผ. เป็นบริษัทลูกของ ปตท. ทำ�หน้�ที่สำ�รวจและผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและนอกประเทศ เหมืองลี้  จังหวัดลำาพูน

65 P 64-75 (TL4).indd 65

24/12/2012 20:19


2529

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำาเนินไปทรงเปด โรงไฟฟาพลังน้ำาคิรีธาร

66 P 64-75 (TL4).indd 66

เขื่อนไฟฟ้�พลังน้ำ�ขน�ดเล็ก โครงก�รคิรีธ�ร อำ�เภอมะข�ม จังหวัดจันทบุรี เริ่มดำ�เนินก�รผลิต และจำ�หน่�ยพลังง�นไฟฟ้� มีกำ�ลัง ผลิต 12,200 กิโลวัตต์ เป็นเขื่อน ไฟฟ้�พลังน้ำ�ขน�ดเล็กที่มีขน�ดใหญ่ ที่สุดซึ่งอยู่ในคว�มดูแลของสำ�นักง�น พลังง�นแห่งช�ติ

จัดตั้ง “ศูนย์อนุรักษ์พลังง�น แห่งประเทศไทย” ให้ภ�คเอกชนเป็น ผู้ดำ�เนินก�ร โดยอยู่ภ�ยใต้ก�รดูแล ของสภ�อุตส�หกรรมแห่งประเทศไทย และสำ�นักง�นพลังง�นแห่งช�ติ ทำ�หน้�ที่ให้บริก�รตรวจวิเคร�ะห์ ก�รใช้พลังง�นและบริก�รฝกอบรม และเชื่อมโยงก�รกู้ยืมเงินลงทุนกับ สถ�บันก�รเงิน

มติคณะรัฐมนตรีจัดตั้ง “คณะ กรรมก�รนโยบ�ยพลังง�นแห่งช�ติ” และ “สำ�นักง�นคณะกรรมก�ร นโยบ�ยพลังง�นแห่งช�ติ” (สพช.) ขึ้น เป็นหน่วยง�นระดับกอง ภ�ยใต้สำ�นัก เลข�ธิก�รน�ยกรัฐมนตรี มีหน้�ที่ กำ�หนดนโยบ�ยและม�ตรก�รด้�น ร�ค�พลังง�น

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 24/12/2012 20:19


ราชการที่ทํางาน ด วยแนวคิดแบบเอกชน

การพลังงานฯ เก งในการสอนให คนคิด คนที่เคยทํางานที่นี่ออกไป เป นผู บริหารของหลายหน วยงาน เป นรัฐมนตรีหลายคน เราได รับการ สั่งสอนมาว าต องทําให เกิดประโยชน มากที่สุดบนพื้นฐานของความซื่อสัตย สุจริตและทําให เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะให แก ประชาชน”

ประพัทธ เปรมมณี อดีตเลขาธิการสํานักงานพลังงานแห งชาติ (2526-2534)

“ที่การพลังงานฯ เราต องการแนวคิดที่หลากหลาย ไม ยึดติดกับของ ประเทศใด วิศวกรของการพลังงานฯ จะถูกส งไปเรียนและฝ กงานหลาย ประเทศ อาจารย บุญรอด บิณฑสันต เลขาธิการฯ คนแรก บอกว าพวกเรา ต องไปเรียนให ได มากที่สุด เรียนให เก งที่สุด มีความรู หลากหลายมากที่สุด ที่นี่จึงเป นหน วยงานที่สนับสนุนให วิศวกรไปเรียนต อต างประเทศมากที่สุด ในสมั ย นั้ น ผมเรี ย นจบปริ ญ ญาตรี วิ ศ วกรรมด า นเหมื อ งแร จ ากจุ ฬ าฯ ป 2497 แล วมาเข าทํางานที่การพลังงานแห งชาติ ได ไปเรียนต อที่สหรัฐอเมริ ก าเป น รุ น แรก ต อ มาก็ ไ ด ไ ปฝ ก งานหลายประเทศ เช น ฝรั่ ง เศส นอร เวย สวีเดน ฟ นแลนด ญี่ปุ น ได เรียนรู วิธีคิดที่แตกต างกันของแต ละ ประเทศ คนทํางานที่นี่ส วนใหญ ต องเรียนจบเกียรตินิยม เพื่อจะไปเรียนต อ ต างประเทศได ง าย สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 64-75 (TL4).indd 67

“การพลังงานฯ เก งในการสอนให คนคิด คนที่เคยทํางานที่นี่ออกไปเป นผู บริหารของหลายหน วยงาน เป นรัฐมนตรีหลายคน เราได รับการสั่งสอนมาว า ต องทําให เกิดประโยชน มากที่สุดบนพื้นฐานของความซื่อสัตย สุจริตและทําให เกิด ความยั่งยืน โดยเฉพาะให แก ประชาชน “ยกตัวอย างเลขาธิการฯ คนที่ 2 คือคุณนิธิพัฒน ชาลีจันทร วันที่ท านขึ้น รับตําแหน งเป นเลขาธิการฯ ท านประชุมข าราชการผู ใหญ มีข อหนึ่งท านบอกว า ใครอยากมีความเจริญก าวหน า ขอให ตั้งใจทํางาน ท านเป นคนเอาการเอางาน และอุทิศตนให แก งาน เป นผู บังคับบัญชาตัวอย าง และมัธยัสถ มาก ใช เงินทุกบาท ทุกสตางค อย างคุ มค า นี่เป นสิ่งที่ผมเรียนรู และปฏิบัติเช นเดียวกับท านเมื่อผมมา เป นผู บังคับบัญชาของหน วยงานนี้ “ผมศึกษาจากปรัชญาของท านประธานเหมาเจ อตุง เขาบอกว าประชาชน คือน�ํา เราคือปลา เราอยู ได ก็เพราะน�ํา ผมมักคุยกับลูกน องว าแต ละโครงการ ที่เราจะเลือกทํา นอกจากดูเรื่องผลตอบแทนแล ว ยังต องเป นโครงการที่ทําให ประชาชนมี ค วามสุ ข จากผลประโยชน ที่ จั บ ต อ งได ม ากที่ สุ ด ต อ งคิ ด ว า ใครได ประโยชน ไม ใช ดูแต ด านวิศวกรรม และเศรษฐกิจจากรายงานการศึกษาเท านั้น มี โ ครงการหนึ่ ง ที่ เ ราได ง บประมาณมา แต เ มื่ อ ศึ ก ษาและออกแบบแล ว พบว า โครงการไม คุ มค า ลูกน องบอกว ามาถึงขั้นนี้แล วต องทําต อ ผมบอกว าไม ใช ถ า สร างเขื่อนแล วไม ดี จะกลายเป นอนุสาวรีย แห งความอัปยศ ผมจึงคืนเงินงบ ประมาณโครงการนี้ให สํานักงบประมาณทั้งหมด ถ าไม ดีก็ไม ทํา “การสร า งเขื่ อ นสมั ย ก อ นไม มี ป ญ หาการเวนคื น ที่ ดิ น บางโครงการต อ ง เคลื่อนย ายชาวบ านถึง 6,000 ครอบครัว ซึ่งถ าเป นสมัยนี้คงทําไม ได แต การจัด การแบ งความรับผิดชอบกันหลายหน วยงาน เช น การจัดตั้งนิคมเป นหน าที่ของ

67 24/12/2012 20:19


อีกกรม การตัดไม ในอ างเก็บน�ําเป นหน าที่ของอีกกรม ป ญหาก็มาจากแนวคิดที่ ต างกัน บางโครงการย ายชาวบ านไปอยู ในพื้นที่ซึ่งดินไม ดีก็ทําให เป นป ญหา ซึ่ง เราไม มีหน าที่เข าไปจัดการอย างที่เราอยากจะทํา “โครงการโขง-ชี - มู ล เป น ส ว นหนึ่ ง ของโครงการอี ส านเขี ย ว ผมเสนอ โครงการในการประชุมรัฐมนตรีสัญจรเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2532 ด วยกระดาษ สามแผ น นําเสนอรายงานให คณะรัฐมนตรีอยู 15 นาที และได รับการอนุมัติ งบประมาณมา 18,000 ล านบาท ตอนนั้นอีสานมีพื้นที่ 50 กว าล านไร อยู ใน เขตชลประทานประมาณ 10 กว า เปอร เ ซ็ น ต เ ท า นั้ น ป ญ หาของอี ส านคื อ ใน พื้นที่ซึ่งมีน�ําแต มีการเพาะปลูกน อย ส วนพื้นที่ซึ่งคนต องการเพาะปลูกกลับไม มี น�ํา อย างพื้นที่ทางอีสานใต มีดินดีแต ขาดน�ํา โครงการโขง-ชี-มูล จะช วยนําน�ํา เข าไปให ได ส วนใหญ เราทําเขื่อนที่สูงกว าตลิ่งเล็กน อย แล วใช คันดินกั้นให ระดับ น�ําสูงขึ้นเพื่อระบายน�ําเข าพื้นที่การเกษตร เราพยายามไม ให เกิดอ างเก็บน�ํา ท ว มพื้ น ที่ อ ยู อ าศั ย ของชาวบ า น แต ก็ มี ส ว นให น�ํ า ท ว มพื้ น ที่ ป า ทามเสี ย หาย ชาวบ า นจั บ ปลาในฤดู แ ล ง ไม ไ ด แต เ ราถื อ ว า เสี ย หายน อ ยเมื่ อ เที ย บกั บ ผล ประโยชน ที่ได ถ าประชาชนเห็นว าเป าหมายหรือปรัชญาของโครงการนี้ไม ดี ผมก็พร อมจะเลิกทํา “ความจริ ง โครงการนี้ ผ มเสนอระยะเวลาจั ด ทํ า โครงการ 8 ป ซึ่ ง ก็ ย าก มากอยู แ ล ว แต รั ฐ บาลสมั ย รสช. บอกให ทํ า ใน 5 ป ซึ่ ง แทบจะเป น ไปไม ไ ด แต เราเป นข าราชการก็ต องทําให ดีที่สุด ผมคิดว าถ าโครงการนี้ทําสําเร็จแล วได ผล ตอบแทนซึ่งจับต องได จริงๆ ในระยะแรกสัก 9 เปอร เซ็นต ก็ถือว าใช ได แล ว ถ าจะ เพิ่มให สูงขึ้นจะต องมีการจัดการเรื่องการตลาด เพราะไม มีทางที่จะทําให เกิด ประโยชน ในพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 100 เปอร เซ็นต โครงการโขง-ชี-มูล เรา ประเมินว าได ประโยชน สูงสุดแก พื้นที่ 50 เปอร เซ็นต เท านั้น และต องใช เวลา 15-20 ป ในการจัดการเรื่องการตลาดและอุตสาหกรรมรองรับ นอกจากนี้เราต อง วางแผนและรู ว าจะวางแนวคลองชลประทานอย างไร หลีกเลี่ยงดินเค็มอย างไร จะฟ นฟูสภาพดินอย างไร ต องวางแผนให ดีเพื่อไม ให มีป ญหาด านสิ่งแวดล อม “สิ่งที่เราดําเนินการไปแล วตอนนี้เป นเพียงส วนหนึ่งของโครงการโขง-ชีมูลทั้งหมด โครงการในส วนที่เหลือยังติดป ญหาเรื่องกฎหมายการใช น�ําระหว าง ประเทศอยู “เราเป น ราชการที่ ทํ า งานด ว ยแนวคิ ด แบบเอกชน เราเชื่ อ เรื่ อ งของ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เรื่องการกระจายอํานาจ ยกตัวอย างโครงการสูบน�ํา ด วยไฟฟ า หลักการของเราคือกระจายโอกาสให คนในพื้นที่ต างๆ มีโอกาสใช น�ํา ไม ใช เฉพาะคนที่อยู ในพื้นที่ชลประทานของเขื่อน โครงการนี้ไม มีการเวนคืนที่ดิน เพราะประชาชนยินยอมให ใช พื้นที่ เพราะเป นโครงการของประชาชนเอง คล าย

68 P 64-75 (TL4).indd 68

งานสหกรณ ไม ใช โครงการของเรา เราเพียงแต ช วยทําให ทั้งออกแบบ ขุดคลอง ชลประทาน เสร็จแล วเรายกให เป นของเขา แต ก็ยังเป นพี่เลี้ยงช วยดูแลและช วยใน การจัดการ หากประชาชนประสบป ญหา “โครงการไฟฟ าพลังน�ําหมู บ านก็เหมือนกัน เป นโครงการผลิตไฟฟ าขนาด ไม เ กิ น 200 กิ โ ลวั ต ต ผมเป น ต น คิ ด เรื่ อ งไฟฟ า ในหมู บ า น ด ว ยหลั ก การว า ต องการให เป นของประชาชน เราร วมทํากับประชาชน ให ประชาชนออกแรง ที่ดิน และวัสดุที่เป นของในท องถิ่นเขาเอง ส วนเครื่องจักรอุปกรณ ถ าเราซื้อของ ต างประเทศมาคงจะไม คุ ม เพราะเรากําลังขายของให คนจนซึ่งไม ค อยมีกําลังซื้อ เราต องทําราคาค าไฟฟ าให ได เท ากับค าไฟฟ าของการไฟฟ าส วนภูมิภาค เพราะ ฉะนั้นต องสร างเครื่องจักรขึ้นเอง ให เป นเครื่องจักรที่ใช งานง ายและทนทาน แม ประสิทธิภาพจะไม เท ากับของต างประเทศ แต ต นทุนถูกกว า ทําให การลงทุนและ ต นทุนการผลิตไฟฟ าต่ําลง “ในด านการบริหารงานต องมีต นทุนต่ําที่สุด ซึ่งสหกรณ เป นรูปแบบการ บริ ห ารที่ เ หมาะสม เสี ย ภาษี น อ ยมาก และทุ ก คนมี เ สี ย งเท า กั น มี หุ น เท า กั น เป นการสอนเรื่องของประชาธิปไตยด วย เมื่อสร างเสร็จก็มาคิดกันว าใครลงทุน เท าไร โดยเฉลี่ยประชาชนลงทุนประมาณ 35 เปอร เซ็นต ราชการลงทุน 65 เปอร เซ็นต ค าไฟฟ าเก็บเท ากับของการไฟฟ าส วนภูมิภาค ถึงปลายป มีป นผลให ถ าคุณพร อมจะซื้อหุ นเป นเจ าของเอง 100 เปอร เซ็นต ก็ทําได “นี่เป นปรัชญาของผมเองว า ‘เป ปซี่ดีกว าโค ก’ (เพราะขณะนั้นเป ปซี่ขวด ใหญ แต โค กขวดเล็ก และรสชาติคล ายกัน) คือต องเป นโครงการที่ให มากกว าของ เดิมที่มีอยู แล วคนถึงจะต องการ ถ าให เลือกระหว างใช ไฟฟ าของส วนภูมิภาคกับ โครงการที่คุณเป นทั้งเจ าของเอง และค าไฟฟ าก็ไม แพง อันไหนดีกว ากัน แต ตอนหลังมีป ญหาไฟฟ าไม เพียงพอ โครงการถูกยกเลิกไป ซึ่งความจริงแก ป ญหา ได โดยการสร างเพิ่ม ผมคิดว าโครงการนี้ยังสามารถฟ นฟูและแก ไขปรับปรุงใหม ได ซึ่งในอนาคตสามารถใช ยางที่ปลูกเองมาผสมบางส วนได “ผมยังเป นคนคิดเรื่องฝายยาง เป นฝายที่ทําจากยาง ในสภาพปรกติยาง จะแฟบ ถ าต องการกั้นน�ํา เราก็ป มสูบน�ําเข าไปให ยางพองขึ้นเป นฝาย ซึ่งมั่นคง กว าฝายยางแบบสูบลม เราตั้งใจให รัฐมอบตัวยางแก ประชาชน แล วประชาชนไป สร างฐานติดตั้งและจัดการดูแลเรื่องการสูบน�ําเข าให ยางพองเป นฝายกั้นน�ําไว ใช เพื่อการเพาะปลูกและอุปโภคของหมู บ าน นอกจากนี้เรายังมีแนวคิดว าให เอกชน ไทยเป นผู ผลิต โดยใช วัสดุจากยางในประเทศ แทนที่จะซื้อสําเร็จรูปมาจากต าง ประเทศทั้งหมด เป นการสร างงานให คนไทย น าเสียดายว าโครงการต องหยุดไป เพราะไม มีการสานต อ “อี ก ปรั ช ญาหรื อ แนวคิ ด หนึ่ ง ในการทํ า งานของการพลั ง งานฯ คื อ ทํ า ไม

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 24/12/2012 20:19


เราต องทําเองทั้งหมด ทําไมไม ให คนอื่นมาช วยเราทํา เพราะเรามีภาคเอกชนเก งๆ เยอะ แล วเราคอยดูสิ่งที่เขาทําว าใช หรือไม ใช ตามที่เราต องการ ยกตัวอย างเรื่อง ของถ านหิน เมื่อป 2512 โรงงานบ มใบยาสูบทางเหนือมีป ญหาเรื่องการตัดไม ทํ า ลายป า มาทํ า เชื้ อ เพลิ ง การพลั ง งานฯ ได รั บ คํ า สั่ ง ให เ ป น ผู ดํ า เนิ น การเป ด เหมืองผลิตถ านหินให เขาใช พอถึงป 2520 ความต องการเพิ่มสูงมาก เราเริ่ม ทํ า ไม ไ หว ขอตั้ ง องค ก รถ า นหิ น เพื่ อ ขยายงานแต ไ ม สํ า เร็ จ ประกอบกั บ เกิ ด วิกฤตการณ น�ํามัน โรงงานอุตสาหกรรมได รับความเดือดร อนมาก เราจึงเสนอว า ต องให ภาคเอกชนเข ามาทํา โดยเริ่มเป ดประมูลที่เหมืองบ านปู “ผมกําหนดหลักการว า หนึ่ง ราคาถ านหินต องถูกเพื่อให แข งกับไม ฟ นได เพื่อบรรเทาป ญหาการตัดไม ทําลายป า และช วยภาคอุตสาหกรรมลดค าใช จ าย จากการใช น�ํามัน ข อที่สอง ผู ลงทุนต องได รับผลตอบแทนที่เหมาะสม ข อที่ สาม รัฐต องได ประโยชน มากขึ้น ผมกําหนดผลตอบแทนการลงทุนให แก เอกชน 22 เปอร เซ็นต รัฐได ค าภาคหลวงพิเศษเพิ่มอีก 40 บาทจากเดิมที่เก็บ 20 บาท เท า กั บ ว า ได ป ระโยชน กั น ทุ ก คน ป 2528 ก็ เ ป ด ประมู ล เหมื อ งป า คาอี ก แห ง ผลิตถ านหินให ภาคอุตสาหกรรม ภายหลังทั้งสองบริษัทที่ประมูลเหมืองได คือ บ า นปู แ ละลานนารี ซ อร ส เซสกลายเป น บริ ษั ท ข า มชาติ ซึ่ ง ไปทํ า เหมื อ งถ า นหิ น ในต างประเทศ “เรื่องของพลังงานไฟฟ าในบ านเรา ก าซธรรมชาติและน�ํามัน เราต องนําเข า และราคามีแนวโน มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และต องนํามาจากต างประเทศ ซึ่งนอกจาก ต อ งเสี ย เงิ น ตราต า งประเทศแล ว ยั ง มี ป ญ หาความแน น อนในการจั ด หา ผม มองว าเชื้อเพลิงที่เป นไปได สําหรับการอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ าคือถ านหิน แต ต องมีคุณภาพดี ซึ่งอาจต องนําเข ามาจากต างประเทศ โดยรัฐควรส งเสริมให ภาคเอกชนเป นผู ลงทุน และต องให มีการแข งขันในทุกขั้นตอน

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 64-75 (TL4).indd 69

“ประเด็ น สํ า คั ญ คื อ สถานที่ ตั้ ง โรงไฟฟ า บนอ า วไทยนั้ น มี จํ า กั ด พื้นที่นี้ต องไม เป นของเอกชนรายใดรายหนึ่ง ไม ใช ว าเอกชนได สัมปทาน ไป 20-30 ป แล วจะเป นของเอกชนรายนั้นตลอดไป ต องเป ดให มีการแข งขัน กันใหม ให ผู ลงทุนที่มีข อเสนอดีที่สุดให รัฐมีโอกาสเข ามาดําเนินกิจการ “อีกประเด็นคือเราจะเอาถ านหินมาจากไหน แหล งถ านหินคุณภาพ ตอนนี้ มี ส องแหล ง ที่ อ ยู ใ กล ป ระเทศไทย คื อ อิ น โดนี เ ซี ย และออสเตรเลี ย เราควรสนับสนุนเอกชนไทยให ไปทําถ านหินในต างประเทศและส งถ านหิน กลั บ เข า มา ความจริ ง ถ า นหิ น ในประเทศเรายั ง มี แ หล ง ที่ ห ลั บ ใหลอยู อี ก ซึ่ ง การพลั ง งานฯ เคยสํ า รวจไว แ ล ว แต ถู ก โอนไปอยู ใ นความดู แ ลของ หน วยงานอื่น ถ าเราพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให สูงขึ้น ถ านหินของเรา จะมีศักยภาพในการใช งานสูงขึ้นได “สําหรับด านพลังงานทดแทน ควรเพิ่มการใช เชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งเป น ของเหลือจากการเกษตร นอกจากจะช วยเพิ่มรายได ให เกษตรกรแล วยังมีราคา ถูกกว าและปล อยมลภาวะน อยกว าเชื้อเพลิงฟอสซิล แต ต องอยู ในสภาพที่ เหมาะสมกับการใช งาน และมีค าขนส งต่ํา “ส วนเรื่องการขยายการผลิตเอทานอลนั้น ต องหาทางลดผลกระทบจาก การใช พืชซึ่งเป นอาหาร และใช วัตถุดิบหลายอย าง ไม ใช อย างเดียว นอกจาก นั้นควรพัฒนาหาพืชที่ใช น�ําน อย เพื่อลดป ญหาของการจัดหาน�ําในการเพาะ ปลูก และสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกได เพิ่มขึ้น “เรื่องของโซลาร เซลล ก็เช นกัน ถ าเราสามารถสร างเทคโนโลยีและมี สัดส วนของการผลิตชิ้นส วนในประเทศมากที่สุดได ก็จะสร างอุตสาหกรรม ให แ ก ค นไทยและเป น ทางเลื อ กที่ น า สนใจ แทนที่ ข ณะนี้ เ ราต อ งซื้ อ จาก ต างประเทศเข ามาทั้งหมด “ผมคิดว าการพลังงานแห งชาติได ทํางานมามากมาย และส งต อแนวคิด การทํางานนี้มาอย างต อเนื่อง ป จจุบันเราต องการสนับสนุนให เอกชนเป นผู จัดทําโครงการต างๆ เราก็ต องคิดแบบเอกชน ต องรู ว ามีความเสี่ยงอย างไร ทางเลือกที่ดีที่สุดคืออะไร ซึ่งต องมองทั้งเรื่องเศรษฐกิจ ตลาด สังคม สิ่ง แวดล อม ต องมีข อมูลมาเพื่อวางแผนการบริหารงานให ชัดเจน และต อง ติดตามประเมินผลโครงการของตัวเองว าทําได สําเร็จตามเป าหมาย เป น รูปธรรมจับต องได จริงๆ หรือไม ”

69 24/12/2012 20:20


2531

2532

เขื่อนไฟฟ้�พลังน้ำ�ขน�ดเล็ก โครงก�รบ่อแก้ว อำ�เภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มดำ�เนินก�รผลิต และจำ�หน่�ยพลังง�นไฟฟ้� มีกำ�ลังผลิต 200 กิโลวัตต์

นำ�เสนอ “โครงก�รโขง-ชี-มูล” ให้แก่คณะรัฐมนตรีในคร�วประชุม คณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับอนุมัติโครงก�รในวงเงิน งบประม�ณ 18,000 ล้�นบ�ท มีเป้�หม�ยเพื่อก�รแก้ไขปญห� ก�รข�ดแคลนน้ำ�ในพื้นที่ก�รเกษตร ร�ว 5 ล้�นไร่ใน 15 จังหวัด โรงไฟฟ้�ส�ธิตจ�กแหล่ง พลังง�นคว�มร้อนใต้พิภพ ที่อำ�เภอฝ�ง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดใช้ง�นครั้งแรก มีกำ�ลังก�รผลิต 350 กิโลวัตต์ ดำ�เนินก�รโดย กฟผ.

แผงควบคุมภายใน โรงไฟฟาพลังน้ำาขนาดเล็ก

ดำ�เนินก�รทดลองและส�ธิต ก�รใช้ระบบผลิตไฟฟ้�ด้วยเซลล์ แสงอ�ทิตย์และระบบผลิตไฟฟ้� ประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอ�ทิตย์ ที่เก�ะปนหยี จังหวัดพังง� เป็นแห่งแรก

มติคณะรัฐมนตรียกฐ�นะของ สพช. เป็นหน่วยง�นมีฐ�นะเป็นกรม สังกัดสำ�นักน�ยกรัฐมนตรี

ก่อสร้�งโครงก�รฝ�ยย�ง แห่งแรก คือโครงก�รฝ�ยย�งจันทบุรี กั้นลำ�น้ำ�จันทบุรีที่บ้�นหัวแหลม ตำ�บลท่�ช้�ง และบ้�นขอม ตำ�บลจันทนิมิต อำ�เภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เก็บน้ำ�ไว้ใช้เพื่อก�ร เกษตรพื้นที่ 35,000 ไร่ โครงการฝายยางจันทบุรี

70 P 64-75 (TL4).indd 70

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 24/12/2012 20:20


2533

2534

คืนประทานบัตรแหล่งถ่านหิน บริเวณแอ่งงาว จังหวัดลำ�ปาง  ให้แก่กรมทรัพยากรธรณี  เพื่อให้ กฟผ. ดำ�เนินการพัฒนา เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

ดร. ประเทศ สูตะบุตร  ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นเลขาธิการ การพลังงานแห่งชาติ (2534-2535)

ราคาน้ำ�มันโลกสูงขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์อิรักบุกยึดคูเวต  และติดตามมาด้วยสงคราม อ่าวเปอร์เซีย

วันที่ 24 พฤศจิกายน  พิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งแรก ที่จังหวัดหนองคาย

ก่อสร้างโครงการฝายยางพิจิตร แล้วเสร็จ กั้นแม่น้ำ�ยมที่บ้านท่าข้าม  อำ�เภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร  สามารถเก็บน้ำ�ไว้ใช้เพื่อการเกษตร พื้นที่ 30,600 ไร่

รัฐบาลประกาศใช้ระบบราคา น้ำ�มันลอยตัว เพื่อส่งเสริมการแข่งขัน ในกิจการค้าปิโตรเลียม

แบบแปลนการก่อสร้าง สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

โครงการสะพานข้ามแม่น้ำ�โขง เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ของสามประเทศ คือ ไทย ลาว  และออสเตรเลีย

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 64-75 (TL4).indd 71

71 25/12/2012 12:07


กําเนิด พ.ร.บ. การส งเสร�มการอนุรักษ พลังงาน

2535 ประก�ศใช้พระร�ชบัญญัติ ก�รส่งเสริมก�รอนุรักษ์พลังง�น พ.ศ. 2535 เพื่อให้โรงง�นควบคุม และอ�ค�รควบคุมมีก�รใช้พลังง�น อย่�งมีประสิทธิภ�พและประหยัด โดยก�รส่งเสริมและช่วยเหลือจ�ก ภ�ครัฐด้วยเงินจ�ก “กองทุนเพื่อ ส่งเสริมก�รอนุรักษ์พลังง�น” ที่ได้เงินอุดหนุนเริ่มต้นบ�งส่วนจ�ก กองทุนน้ำ�มันเชื้อเพลิง ดร. ประเทศ สูตะบุตร ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นอธิบดีกรมพัฒน� และส่งเสริมพลังง�น (2535-2540) เกิดก�รแบ่งอำ�น�จหน้�ที่ ในก�รบริห�รง�นด้�นพลังง�น ของประเทศใหม่ โดยประก�ศเป็น พระร�ชบัญญัติ เปลี่ยนสำ�นักง�น พลังง�นแห่งช�ติเป็น “กรมพัฒน� และส่งเสริมพลังง�น” ทำ�หน้�ที่ดูแล ด้�นก�รปฏิบัติง�นเป็นหลัก และมี “คณะกรรมก�รนโยบ�ยพลังง�น แห่งช�ติ” (กพช.) ซึ่งมีน�ยกรัฐมนตรี เป็นประธ�น กับ “สำ�นักง�นคณะ กรรมก�รนโยบ�ยพลังง�นแห่งช�ติ” (สพช.) เป็นหน่วยง�นระดับกรม ทำ�หน้�ที่ดูแลด้�นนโยบ�ย และแผนก�รบริห�รและพัฒน� พลังง�นของประเทศ

72 P 64-75 (TL4).indd 72

กระทรวงวิทย�ศ�สตร์ เทคโนโลยี และก�รพลังง�น เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงวิทย�ศ�สตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม กฟผ. เริ่มดำ�เนินก�รผลิตไฟฟ้� จ�กโรงไฟฟ้�พลังคว�มร้อนร่วม น้ำ�พอง อำ�เภอน้ำ�พอง จังหวัด ขอนแก่น โดยใช้ก�ซธรรมช�ติ ที่ขุดพบในพื้นที่เป็นเชื้อเพลิง กฟผ. ประก�ศรับซื้อไฟฟ้� จ�กผู้ผลิตร�ยเล็ก หรือ Small Power Producer (SPP) ในพื้นที่ Eastern Seaboard (ม�บต�พุด) เพื่อเสริมบทบ�ท และก�รแข่งขันให้เอกชน ผลิตไฟฟ้�ข�ย

คณะกรรมการประสานงาน สำารวจแม่น้ำาโขงตอนล่าง”  ภายใต้การสนับสนุนของคณะ

การอนุรักษ พลังงานจะสําเร็จได ต อง มีสามองค ประกอบเป นอย างน อย หนึ่ง คือต องมีข อมูล…สอง คือต อง มีบุคลากร ช วยนําข อมูลไปจัดทําเป น โครงการลงทุนเรื่องอนุรักษ พลังงาน ให ผู ประกอบการ และต องเป นการ ลงทุนที่คุ มค า…และสาม คือเรื่อง เงินทุนที่จะช วยผู ประกอบการ”

ดร. อิทธ� พ�ชเยนทรโยธ�น อดีตอธิบดีกรมพัฒนาและส งเสริมพลังงาน (2540-2542)

“ป 2514 ผมเริ่มทํางานที่การพลังงานแห งชาติ ในกองควบคุมและ ส งเสริมพลังงาน ที่มีคุณธรรมชาติ ศิริวัฒนกุล เป นหัวหน ากอง ต อมา กองควบคุ ม ฯ แยกออกเป น สองกอง เป น กองเศรษฐกิ จ พลั ง งานกั บ กอง นโยบายพลังงาน คุณธรรมชาติย ายไปเป นผู อํานวยการกองนโยบายพลังงาน และขึ้นเป นรองเลขาธิการ ผมเป นผู อํานวยการกองเศรษฐกิจพลังงานต อ จากคุณโมฮาซิงห มงกะ ที่สลับไปเป นผู อํานวยการกองนโยบายแทนคุณ ธรรมชาติ ภาระหลักทําเรื่องอัตราค าไฟฟ าและการอนุรักษ พลังงาน ตลอด จนรวบรวมและวิเคราะห สถิติพลังงานของประเทศ

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 24/12/2012 20:20


คณะกรรมการประสานงาน สำารวจแม่น้ำาโขงตอนล่าง”  ภายใต้การสนับสนุนของคณะ

คณะกรรมการประสาน งานสำารวจแม่น้ำาโขง ตอนล่าง” ภายใต้การ

“กองควบคุมฯ เริ่มสนใจทําเรื่องการอนุรักษ พลังงาน เนื่องจากตอนนั้น ราคาน�ํามันดิบสูงมาก ประเทศไทยต องนําเข าน�ํามันเชื้อเพลิงในมูลค าสูงมากเมื่อ เทียบกับมูลค านําเข าทั้งหมด รัฐบาลมีการจัดตั้งกองทุนน�ํามันเชื้อเพลิงเพื่อรักษา เสถียรภาพราคาขายปลีก ทําให ราคาขึ้นลงไม หวือหวา ค อยๆ ขึ้น หรือค อยๆ ลง โดยกองทุนยอมจ ายเงินชดเชยให บริษัทน�ํามันแทน ทําให ช วงนั้นกองทุนน�ํามัน เชื้อเพลิงเป นหนี้อยู หลายพันล านบาท เพราะมีแต จ ายออกโดยไม มีเงินเข ากองทุน “ประเทศญี่ปุ นมีกฎหมายเรียกว า Heat Management Law เพราะเห็น ว าหากจัดการด านความร อนให ดี จะช วยประหยัดน�ํามันเชื้อเพลิงได ไต หวันและ ฝรั่งเศสก็มีกฎหมายหรือคําสั่งประธานาธิบดีในลักษณะเดียวกันกับญี่ปุ น เรา ศึกษาดูก็คิดว ากฎหมายลักษณะนี้จําเป นสําหรับประเทศไทย แต ทําอย างไรให เกิด การยอมรับ หากรัฐเข มงวดเกินไป ผู ประกอบการจะรู สึกว าถูกควบคุมและไม อยาก ร วมมือ เราจึงจัดการในลักษณะกํากับดูแล แทนที่จะเป นการควบคุม ซึ่งวิธีปฏิบัติ

ของการกํากับดูแลนั้น เรากําหนดล วงหน าว าคุณต องทําอะไร แล วเราไปติดตาม ตรวจสอบ รวมทั้งมีมาตรการทางการเงินช วยสนับสนุนเพื่อจูงใจให ทํา โดยเรา เน นที่โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ เพราะเห็นว ามีการใช พลังงานมาก และมีจํานวนผู ใช พลังงานไม มากนักเมื่อเทียบกับจํานวนบ านอยู อาศัย หรือใช พลังงานในภาคคมนาคมขนส ง “ในตอนแรกเราจั ด ทํ า กฎหมายอนุ รั ก ษ พ ลั ง งานแยกเป น สองฉบั บ คื อ กฎหมายด า นกองทุ น และกฎหมายด า นปฏิ บั ติ ก าร ทํ า เรื่ อ งเสนอไปถึ ง คณะ รัฐมนตรี แล วผมก็ลาออกจากราชการไป จนกระทั่งถึงรัฐบาลในยุค รสช. มีการ นํากฎหมายนี้มาปรับปรุงใหม รวมเป นกฎหมายเดียว เป นพระราชบัญญัติการ ส งเสริมการอนุรักษ พลังงาน ได ประกาศใช ป 2535 แต การบังคับใช กฎหมาย ยังต องทํากฎกระทรวงอีกหลายฉบับ ผมกลับมาเป นรองอธิบดีฯ ดูแลจัดการเรื่อง กฎกระทรวงจนถึงป 2538 จึงได ใช บังคับ

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 64-75 (TL4).indd 73

73 24/12/2012 20:20


“เราเชื่ อ ว า การอนุ รั ก ษ พ ลั ง งานจะสํ า เร็ จ ได ต อ งมี ส ามองค ป ระกอบเป น อย างน อย หนึ่ง คือต องมีข อมูล ผู ใช ต องรู ว าเขาใช อะไร ใช เท าไร ใช อย างไร สอง คือต องมีบุคลากร ช วยนําข อมูลไปจัดทําเป นโครงการลงทุนเรื่องอนุรักษ พลังงานให ผู ประกอบการ และต องเป นการลงทุนที่คุ มค า ซึ่งต างจากการลงทุน เรื่องสิ่งแวดล อมที่ผู ประกอบการจะรู สึกว าเสียเงินเปล าจึงขาดความสนใจ แต เรื่องอนุรักษ พลังงานเป นการลงทุนแล วประหยัดค าใช จ ายด านพลังงานได และ สาม คือเรื่องเงินทุนที่จะช วยผู ประกอบการ ในกฎหมายมีเขียนไว ทุกอย าง ครบ ทุกองค ประกอบ “เราออกพระราชกฤษฎี ก ากํ า หนดโรงงานควบคุ ม และอาคารควบคุ ม ว า มีลักษณะอย างไร โรงงานควบคุมกําหนดขนาดการใช พลังงานไว มากพอสมควร หากจะมองถึงขนาดของโรงงานก็น าจะเป นโรงงานขนาดกลางระดับใหญ และ ขนาดใหญ เมื่อรวมอาคารควบคุมด วย มีประมาณ 4,000-5,000 แห งที่อยู ภายใต กฎหมายฉบับนี้ “กฎกระทรวงในตอนนั้นมีที่กําหนดให ผู ประกอบการทําการตรวจสอบและ วิเคราะห การใช พลังงาน โดยรัฐบาลให เงินช วยจากกองทุนฯ ไปศึกษาและวางแผน และให มีผู รับผิดชอบด านพลังงาน ซึ่งเรากําหนดคุณสมบัติและจัดฝ กอบรมให มีกฎกระทรวงกําหนดค าการถ ายเทความร อนเข าสู อาคาร คล ายกับกฎเกณฑ ของรัฐแคลิฟอร เนีย สหรัฐอเมริกา เรียกว า Overall Thermal Transfer Value (OTTV) เขามีการวิจัยและพบว าความร อนจะเข าสู อาคารผ านทางเปลือกนอก ของอาคาร เช น ผนัง หน าต าง เป นต น และเข าผ านทางหลังคาอาคาร เรา กํ า หนดว า ความร อ นที่ ผ า นทางหลั ง คา ผนั ง หน า ต า ง รวมแล ว ไม ค วรมี ค า เกินเท าไร ซึ่งตัวเลขเหล านี้มาจากการวิจัย เราบอกว ามีวัสดุอะไรบ างที่ช วย กั น ความร อ น และมี คุ ณ สมบั ติ กั น ความร อ นอย า งไร ถ า อาคารควบคุ ม มี ค า OTTV เกินจากที่เรากําหนด ก็ต องปรับปรุงอาคาร เช น ใส ฉนวนที่ผนังหรือใต หลั ง คา มาตรการเหล า นี้ จ ะช ว ยประเทศในเรื่ อ งพลั ง งาน และช ว ยให ก ารใช พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย างไรก็ตามมาตรการที่ควรลงทุนจะต องเป น การลงทุนที่คุ มค า “ตัวเลขอีกอันหนึ่งที่เราเริ่มต นศึกษาคือ Specific Energy Consumption (SEC) เช น ผลิตปูนซีเมนต 1 ตัน เหล็ก 1 ตัน กระดาษ 1 ตัน ใช พลังงานเท าไร เราพยายามศึกษาข อมูลจากผู ประกอบการ เก็บตัวเลขในฐานข อมูล แต เป นเรื่อง ยากและใช เวลานาน ตัวเลขนี้จะบอกประสิทธิภาพการใช พลังงาน ซึ่งเราพบ ว าการผลิตปูนซีเมนต กระดาษ น�ําตาล ในประเทศไทย มีประสิทธิภาพในการ ใช พลังงานไม เลวเลยเมื่อเทียบกับต างประเทศ แต ที่ประสิทธิภาพไม ดีคือโรงงาน เซรามิก

74 P 64-75 (TL4).indd 74

“ก อนมีกฎหมายนั้น บุคลากรที่ทําเรื่องการอนุรักษ พลังงานมีแต คนของ สํ า นั ก งานพลั ง งานแห ง ชาติ เ ท า นั้ น เราได รั บ ความร ว มมื อ จากญี่ ปุ น ส ง คน มาฝ ก เจ า หน า ที่ สนั บ สนุ น อุ ป กรณ เครื่ อ งมื อ และไปกั บ ที ม งาน เจ า หน า ที่ ของเราให บ ริ ก ารฟรี ถึ ง โรงงานอุ ต สาหกรรมและอาคารธุ ร กิ จ แล ว ช ว ยจั ด ทํ า รายงานและสรุ ป ให ผู ป ระกอบการว า อาคารหรื อ โรงงานของเขาควรปรั บ ปรุ ง อะไร ค า ลงทุ น เท า ไร การลงทุ น คุ ม ค า แค ไ หน ซึ่ ง ได ผ ลพอสมควร แต ไ ม ถึ ง 100 เปอร เซ็นต บางโรงงานเอาไปทําต อ แต มักทําแค มาตรการที่พอทําได และ ไม ต อ งลงทุ น มาก ตอนนั้ น ถื อ ว า เป น การเริ่ ม สร า งทั ศ นคติ ว า การอนุ รั ก ษ พลังงานทําได และทําแล วได ประโยชน ส วนภาคเอกชนที่ดําเนินการเองมักเป น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ ที่มีบุคลากรด านเทคนิค เช น โรงปูนซีเมนต โรง กลั่นน�ํามัน โรงงานผลิตยางรถยนต เป นต น “พอมี ก ฎหมาย เรากํ า หนดให โ รงงานและอาคารต อ งมี ผู รั บ ผิ ด ชอบด า น พลั ง งานเป น คนของเขาเอง ซึ่ ง เราไปช ว ยฝ ก อบรมให โรงงานส ว นใหญ มี บุคลากรที่เป นช างหรือวิศวกรอยู แล ว จึงปฏิบัติตามได สะดวก แต พวกอาคารมี ป ญหา ส วนใหญ ไม มีผู รู เรื่องพลังงาน โดยเฉพาะอาคารของราชการซึ่งให เจ า หน าที่พัสดุที่ไม มีความรู ด านพลังงานมาดูแล หากผู ประกอบการไม เห็นคุณค า ของผู รับผิดชอบด านพลังงาน ผลเสียจะอยู ที่ผู ประกอบการเอง “ป ญ หานี้ นํ า มาสู แ นวคิ ด ว า จะต อ งสร า งธุ ร กิ จ ที่ ป รึ ก ษาด า นพลั ง งานขึ้ น มา ความจริงก็เป นวัตถุประสงค ส วนหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรด านพลังงาน เพราะเรารู ว าโรงงานทําเองได น อยมาก ยิ่งอาคารธุรกิจต องจ างที่ปรึกษาแน นอน ราชการจะให บริการก็ไม ไหว เพราะอาคารควบคุมโรงงานควบคุมมีหลายพันแห ง เกินขีดความสามารถของราชการ “ตอนนั้นบริษัทที่ปรึกษาซึ่งเรารู จักคุ นเคยเป นที่ปรึกษาทางด านแหล งน�ํา เกี่ยวกับการสร างเขื่อน เราแนะนําให เขาตั้งบริษัทเพื่อทําเรื่องพลังงานโดยเฉพาะ

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:27


รั ฐ บาลมี เ งิ น กองทุ น ให ผู ป ระกอบการจ า งที่ ป รึ ก ษา ให เ ขาร ว มมื อ และรั บ การ ถ ายทอดเทคโนโลยีจากต างประเทศเพื่อให บริการแก ภาคเอกชนตามความต องการ ก็เกิดธุรกิจที่ปรึกษาด านพลังงานขึ้นมา ภาระของราชการคือเข าไปตรวจสอบ ทําให เราต องจ างที่ปรึกษาอีกระดับหนึ่ง คือที่ปรึกษาตรวจสอบ กําหนดคุณสมบัติ ของที่ ป รึ ก ษาตรวจสอบให สู ง กว า ที่ ป รึ ก ษาที่ ไ ปให บ ริ ก ารตรวจวิ เ คราะห ก ารใช พลังงานของโรงงานและอาคารธุรกิจ “ก อนมีกฎหมาย ป 2529 เราจัดตั้งศูนย อนุรักษ พลังงานแห งประเทศไทย โดยคณะกรรมการร วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก ไขป ญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ต องการให เป นองค กรที่คล องตัว ทําหน าที่คล ายเป นที่ปรึกษาด านพลังงานให กับ โรงงานอุตสาหกรรม และเป นมือให สํานักงานพลังงานแห งชาติ ในการให บริการ ภาคเอกชน พอมีกฎหมายแล วเกิดบริษัทที่ปรึกษาเอกชนมากขึ้น จึงกลายเป นคู แข งกัน เราจึงพยายามปรับภารกิจของศูนย อนุรักษ ฯ ขึ้นไปทํางานด านตรวจสอบ แต ยังทําได ไม ค อยดีนัก “สําหรับโรงงานอุตสาหกรรมใหญ ๆ จะมีคนเก งและทําเรื่องอนุรักษ พลังงาน อยู แล ว ตอนกฎหมายออกใหม ๆ พอเราบอกว าจะให เงินเขาจ างที่ปรึกษา เขา บอกว าเขาเก งกว าที่ปรึกษา เราก็แนะนําให เขาตั้งบริษัททําเรื่องพลังงานโดย เฉพาะ แล วบริษัทในเครือเป นผู จ าง กองทุนจ ายเงินให ได เขาก็รับ ทําให บริษัท ใหญ ๆ ตั้ ง บริ ษั ท ที่ ป รึ ก ษาขึ้ น เองทั้ ง นั้ น เพราะไม อ ยากให ค นภายนอกเข า ไป เกี่ยวข อง “เนื่องจากกฎหมายไม ได บังคับให ผู ประกอบการดําเนินการ เพียงให ตรวจ วิเคราะห และวางโครงการและมีบุคลากร ถ าใครทําเราก็มีเงินให กองทุนให เงินอาคารราชการ 100 เปอร เซ็นต ให เงินอาคารเอกชนส วนหนึ่ง ตอนนั้น เราได รับความช วยเหลือจากประเทศเยอรมนีผ านองค กร GTZ อยู หลายป เพื่อ ช วยบริหารงานตามกฎหมาย พอทําไปเรื่อยๆ ก็เริ่มมีป ญหาในเรื่องคุณภาพ ของที่ปรึกษาในการจัดทํารายงาน ผู ประกอบการบางแห งไม ได นํารายงานไป ใช ประโยชน เพียงทําให พ นภาระตามกฎหมายเท านั้น อีกทั้งยังมีป ญหาของ สํานักงานเองที่ตรวจสอบรายงานล าช า เหล านี้เป นสาเหตุที่การบังคับใช กฎหมาย เริ่มหย อนยาน “ป 2550 มีการปรับปรุงกฎหมายในส วนของกฎกระทรวง เพื่อให บังคับ ใช ก ฎหมายให มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและสอดคล อ งกั บ สถานการณ ม ากขึ้ น โดยนํ า สาระในกฎกระทรวงเก า บางส ว นไปปรั บ ปรุ ง ให อ ยู ใ นกฎกระทรวงใหม ที่ ร า ง ขึ้น เปลี่ยนจากเรื่องอนุรักษ พลังงานเป นเรื่องการจัดการพลังงาน คล ายกับ ISO แต กระชับกว า กําหนดมาตรฐานว าผู ประกอบการต องประกาศนโยบาย จัด ตั้งคณะกรรมการเพื่อวางระบบการจัดการพลังงาน ต องทํารายงานการตรวจ

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 64-75 (TL4).indd 75

วิ เ คราะห ก ารใช พ ลั ง งาน และมี ก ฎกระทรวงเกี่ ย วกั บ การออกแบบอาคาร อนุรักษ พลังงาน กฎกระทรวงเรื่องผู รับผิดชอบพลังงานของโรงงานใหญ หรือ อาคารใหญ โดยให มีผู รับผิดชอบอย างน อยสองคน เป นระดับอาวุโสกับระดับ สามัญ ซึ่งเรามีหลักสูตรฝ กให มีกฎกระทรวงเกี่ยวกับผู ตรวจสอบพลังงาน หรือ Auditor โดยกรมฯ เป นผู ว าจ าง เพื่อตรวจสอบและแนะนําการจัดทํา รายงานตามความต องการของกฎกระทรวง “ส วนเรื่องอุปกรณ ประสิทธิภาพสูง เคยริเริ่มให มีกฎกระทรวงขึ้น แต ไม สําเร็จเพราะหลายฝ ายยังไม เห็นด วย ในร างตอนนั้นกําหนดว าอะไรเป น อุปกรณ ประหยัดพลังงาน ใช พลังงานเท าไร ใครเป นผู ทดสอบและทดสอบ อย า งไร ผู ผ ลิ ต อุ ป กรณ ข ายในท อ งตลาดต อ งทดสอบและติ ด ป า ยระดั บ การใช พลังงาน ถ าสินค าดี คุณก็กําหนดราคาสูงได ถ าสินค าไม ดี ราคาก็ ต องต่ํากว า อยู ที่ประชาชนเป นผู เลือกซื้อระหว างราคากับคุณภาพ ในป จจุบัน ได ทราบว ามีการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้แล ว “ถ าเปรียบเทียบไทยกับญี่ปุ น กฎหมายของญี่ปุ นทําแล วประสบความ สําเร็จมากกว าเรา เพราะเอกชนของญี่ปุ นเป นผู ปฏิบัติที่ดี มีวินัย และภาครัฐ ลงไปช วยอย างจริงจัง ส วนราชการไทยสมัยก อนนั้นไม คุ นเคยกับการไปช วย เอกชนในเรื่องที่เอกชนปฏิบัติเองได กลัวถูกกล าวหาว าราชการเลือกปฏิบัติ ถ า จะช วยต องช วยทั้งหมด ซึ่งก็ทําไม ไหว แต ญี่ปุ นเขาช วยและคนญี่ปุ นเขาเชื่อ ถือในกติกาของรัฐ การร องเรียนมีน อย เราได ทัศนคติแบบนี้จากการที่ญี่ปุ น ส งคนมาช วยเราในการให บริการเอกชน ที่ผ านมาเราไม เคยตั้งงบประมาณ เอาเงินหลวงไปช วยเอกชนเป นรายบุคคล คุณธรรมชาติเป นคนเริ่มดําเนินการ ตั้งงบประมาณขึ้นมาช วยเอกชน เราทําโครงการชัดเจนว า 1 ป จะช วยเหลือ กี่โรงงาน กี่อาคาร เป นเงินเท าไร ทําให ได งบประมาณมา ตอนนั้นโรงงาน อุตสาหกรรมเอกชนเขาเกรงว ารัฐบาลจะเข าไปจับผิดเขาเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน เอกชนแทบไม อ ยากให เ ข า โรงงานเลย ใช เ วลาพอสมควรกว า เขาจะยิ น ดี ต อนรับ เพราะเขาเชื่อว าเราไปช วยเขา ตอนหลังหลายองค กรที่คุ นกับการ ควบคุมจึงค อยๆ เปลี่ยนทัศนคติมาเป นการส งเสริมแทน “ผมเชื่อว าการอนุรักษ พลังงานเป นความจําเป นของประเทศ และเชื่อ ว าการกําหนดราคาพลังงานที่เหมาะสมและสอดคล องกับข อเท็จจริง จะทําให ประสิ ท ธิ ภ าพการใช พ ลั ง งานของประเทศดี ขึ้ น กว า ที่ เ ป น อยู ซึ่ ง ทํ า ให ก าร อนุรักษ พลังงานได รับความสนใจมากขึ้น ขณะนี้ผมเป นประธานกรรมการ มูลนิธิอนุรักษ พลังงานแห งประเทศไทย จึงยังมีบทบาทที่จะสนับสนุนและ สนองนโยบายของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ พลังงานอยู พอ สมควร”

75 24/12/2012 20:27


ทศวรรษที ่ 5

2536-2545

กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน อํานาจ หน าที่ของกรมพัฒนาและส งเสร�มพลังงาน

76 P 76-85 (TL5).indd 76

กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานมีอำานาจและหน้าที่ดังนี้ ก. ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535 1. สำารวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ทดลองและตรวจสอบเกี่ยวกับพลังงานในด้านแหล่ง พลังงาน การผลิต การแปรรูป การส่งและการใช้ 2. ศึกษา วางแผน และวางโครงการเกี่ยวกับพลังงานและกิจการที่เกี่ยวข้อง 3. ค้นคว้าและพัฒนา สาธิตและก่อให้เกิดโครงการริเริ่มเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้ และการอนุรักษ์แหล่งพลังงาน 4. ออกแบบ สร้าง และบำารุงรักษาแหล่งผลิต แหล่งแปรรูป ระบบส่งและระบบใช้พลังงาน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานชนิดใหม่ การผลิตเชื้อเพลิงจาก ชีวมวล และการสูบน้ำาด้วยไฟฟ้า 5. กำาหนดระเบียบและมาตรฐานเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้ และการ อนุรกั ษ์แหล่งพลังงาน ตลอดจนควบคุมและกำากับดูแลให้เป็นไปตามระเบียบและมาตรฐานนัน้ 6. กำาหนดอัตราค่าตอบแทนสำาหรับการใช้พลังงานที่ดำาเนินการ โดยกรมพัฒนาและส่งเสริม พลังงาน 7. จัดให้มี ควบคุม สร้าง ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า โอน หรือรับโอนแหล่งผลิต แหล่งแปรรูป ระบบส่ง และระบบจำาหน่ายพลังงาน และออกใบอนุญาตผลิตหรือขยายการผลิตพลังงาน 8. ถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริม ฝกอบรม เผยแพร่ เกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้ และการอนุรักษ์แหล่งพลังงาน ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ ในกิจการที่เกี่ยวข้อง ข. ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 “กำากับ ดูแล และอำานวยความสะดวกให้โรงงาน/อาคารขนาดใหญ่ท่กี ำาหนดให้เป็นโรงงานควบคุม/ อาคารควบคุม ตามพระราชกฤษฎีกา สามารถปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงาน พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงและประกาศกระทรวง ได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ”

24/12/2012 20:38


2536

2537

เริ่มโครงการไทย-เยอรมัน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงาน (ENEP) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ประเทศไทยและเยอรมนี สนับสนุน ให้เกิดการลดอัตราใช้พลังงานต่อ ผลผลิต/บริการ เป็นจุดเริ่มต้นของ ความร่วมมือที่ทำาให้เกิดอีกหลาย โครงการต่อเนื่องมาหลายปี

ร่วมมือกับองค์การ NEDO (New Energy and Industrial Technology Development Organization) ประเทศญี่ปุ่น ดำาเนินการวิจัย สาธิต เตาเผาใช้ น้ำามันเหลือทิ้งประสิทธิภาพสูง และระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก เซลล์แสงอาทิตย์ที่เกาะยาวใหญ่ จังหวัดกระบี่ เริ่มโครงการจัดตั้งระบบผลิต ไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์ แสงอาทิตย์ สำาหรับหมู่บ้านชนบท ที่ไม่มีไฟฟ้า ขนาด 3-6 กิโลวัตต์ ต่อหมู่บ้าน

การก่อสร้าง โครงการฝายราษีไศล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน  เสด็จพระราชดำาเนินร่วมเป็นประธานในพิธีเปดสะพานมิตรภาพ วันที่  8 เมษายน 2537

โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้า พลังน้ำาคลองทุ่งเพล อันเป็นโครงการ เนื่องในพระราชดำาริ ซึ่งประกอบด้วย เขื่อนทุ่งเพล (เขื่อนบน) และ เขื่อนบ้านพลวง (เขื่อนล่าง) ตั้งอยู่ที่กิ่งอำาเภอคิชฌกูฏ และอำาเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ก่อสร้างแล้วเสร็จในส่วนของ เขื่อนบ้านพลวง (เขื่อนล่าง)

เริ่มโครงการก่อสร้าง ฝายคอนกรีตยกระดับน้ำาเพื่อการ ชลประทานโครงการแรก คือ โครงการฝายลำาชีในจังหวัดสุรินทร์ ภายหลังดำาเนินการอีกหลายโครงการ ในหลายจังหวัด

เปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว หลังจากใช้เวลาก่อสร้างราว 2 ปีกว่า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำาโขงขนาดใหญ่ แห่งแรก เชื่อมเทศบาลเมืองหนองคาย กับบ้านท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว สะพานยาว 1,170 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30 ล้าน รับมอบประทานบัตร ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือ แหล่งถ่านหินบ้านสระ จังหวัดพะเยา จากรัฐบาลออสเตรเลีย จากกระทรวงอุตสาหกรรมที่ออก รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ ชดเชยแหล่งถ่านหินในจังหวัดลำาปาง เอกชนมีบทบาทในกิจการไฟฟ้า ที่ให้ กฟผ. ไป จึงให้ กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิต มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เอกชนขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ 90 เมกะวัตต์ “คณะกรรมการองค์การพลังงานโลก ขึ้นไป) ในรูปของ Independent ของประเทศไทย” เพื่อทำาหน้าที่เป็น Power Producer (IPP) ตัวแทนของประเทศในการทำางาน ร่วมกับองค์การพลังงานโลก โดยยังมี ศ. ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ เป็นประธาน และอธิบดีกรม พัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เป็นรองประธาน

77 P 76-85 (TL5).indd 77

24/12/2012 20:38


สะพานมิตรภาพไทย-ลาว และศูนย สํารวจอุทกว�ทยา

2538 ประกาศพระราชกฤษฎีกา กำาหนดอาคารควบคุมตาม พระราชบัญญัติการส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 จากการสำารวจพบว่ามีทั้งหมด 1,378 ราย

คณะกรรมการประสานงาน สำารวจแม่น้ำาโขงตอนล่าง”  ภายใต้การสนับสนุนของคณะ

เริ่มดำาเนินการด้านการประหยัด พลังงานในอาคารของรัฐ โดย สนับสนุนเงินให้เปล่าแก่หน่วย ราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีขนาด ความต้องการไฟฟ้ามากกว่า 100 กิโลวัตต์ขึ้นไป เริ่มงานก่อสร้างอาคารอนุรักษ์ พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ที่เทคโนธานี ตำาบลคลองห้า อำาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นอาคารตัวอย่างที่แสดง เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน

78 P 76-85 (TL5).indd 78

การประชุมสุดยอดอาเซียน ที่กรุงเทพฯ ได้มีการทำาปฏิญญา ระหว่างประเทศภาคีเกี่ยวกับพลังงาน โดยระบุว่า “อาเซียนจะจัดหา พลังงานให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยการจัดหาพลังงานอื่น และ ด้วยการพัฒนาและอนุรักษ์พลังงาน โดยการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ และการใช้เทคโนโลยี ต่างๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม”

แม จะวางแผนงานกันมานาน และหลายครั้งต องชะงักไปบ าง แต สุดท ายก็สร างจนสําเร็จ เป นสะพานข ามแม น�ําโขงไทย-ลาว แห งแรก ถือเป นผลงานที่ยิ่งใหญ ของ พพ. และประเทศไทย”

สนั่น มณีนาค

อดีตหัวหน าศูนย สํารวจอุทกวิทยา เขตจังหวัดหนองคาย (2539-2542)

“ศู น ย สํ า รวจอุ ท กวิ ท ยา หนองคาย ได รั บ มอบหมายจากสํ า นั ก งาน พลั ง งานแห ง ชาติ ใ ห สํ า รวจจั ด เก็ บ ข อ มู ล อุ ท กวิ ท ยาทางด า นระดั บ น�ํ า และ ปริมาณน�ําในแม น�ําโขงและลําน�ําสาขาของแม น�ําโขง แล วจัดทํารายงานส ง ให ฝ ายอุทกวิทยา เพื่อเป นข อมูลที่จะนําไปใช ประโยชน ในโครงการพัฒนาลุ ม แม น�ําโขงต อไป “เรามีสถานีวัดระดับน�ํา 20 สถานี แต ละสถานีจัดเก็บข อมูลระดับน�ํา ทุกวัน วันละสามครั้ง เราแจ งข อมูลระดับน�ําในแม น�ําโขงให ทางจังหวัด ทราบด วย โดยเฉพาะในฤดูน�ําหลาก น�ําในแม น�ําโขงจะมาก และบางป น�ําจะ ล นตลิ่งเข าท วมตัวเมืองและเรือกสวนไร นาเสียหาย ข อมูลระดับน�ําในแม น�ํา โขงและลําน�ําสาขาจะช วยเตือนให ทางจังหวัดสามารถเตรียมตัวหาทางป องกัน และบรรเทาผลกระทบให เสียหายน อยที่สุด

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 24/12/2012 20:39


สนั่น มณีนาค (กลาง)

“ส วนการจัดเก็บข อมูลปริมาณน�ําในแม น�ําโขงและลําน�ําสาขา เรามีสถานี จั ด เก็ บ ข อ มู ล ปริ ม าณน�ํ า ในแม น�ํ า โขงหนึ่ ง แห ง และในลํ า น�ํ า สาขาอี ก หกแห ง ปริมาณน�ําในแม น�ําโขงที่ไหลผ านจังหวัดหนองคายนั้นมีปริมาณมหาศาล เราจัด เก็บข อมูลเดือนละสี่ครั้ง แต ในฤดูฝนอาจจัดเก็บข อมูลเพิ่มเติมตามความจําเป น “ศูนย สํารวจอุทกวิทยา หนองคาย ยังได รับมอบหมายให สํารวจทําแผนที่ ทางอุทกศาสตร ในแม น�ําโขงตั้งแต ช วงสามเหลี่ยมทองคํา อําเภอเชียงแสน มา ถึงอําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และช วงอําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มาถึง อําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยร วมทีมปฏิบัติงานกับประเทศลาว และ ผู เชี่ยวชาญจากประเทศฟ นแลนด โดยมีคณะกรรมการพัฒนาลุ มแม น�ําโขงเป นผู ประสานงาน “การสํารวจใช เรือเป นพาหนะและหย อนเครื่องมือวัดความเร็วน�ําลงไปในจุด ที่เราต องการ ดูว าลึกลงไปแม น�ําโขงไหลผ านกี่ลูกบาศก เมตรต อนาที ในหน าแล ง การทํางานไม ยาก แต ช วงหน าฝนทํางานลําบาก “แผนที่อุทกศาสตร ซึ่งเราจัดทําขึ้นช วยอํานวยความสะดวกให การเดินเรือ

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 76-85 (TL5).indd 79

และการขนส งสินค าในแม น�ําโขง เพราะในการเดินเรือจําเป นต องทราบแนว ร องน�ําลึกของแม น�ํา จะได เดินเรือได อย างปลอดภัย ประโยชน อีกด านคือการใช แนวร องน�ําลึกของแม น�ําโขงเป นเส นแบ งเขตแดนระหว างประเทศไทยกับลาว “สําหรับสะพานมิตรภาพไทย-ลาว โครงการนี้วางแผนงานมาตั้งแต สมัย คุ ณ ประพั ท ธ เปรมมณี เป น เลขาธิ ก ารการพลั ง งานแห ง ชาติ รั ฐ บาลไทยให ประเทศญี่ปุ นมาช วยสํารวจจนเห็นว าฝ งเทศบาลเมืองหนองคายที่หมู บ านจอมมณี ไปยั ง บ า นท า นาแล ง นครหลวงเวี ย งจั น ทน ประเทศลาว เป น ชั ย ภู มิ ที่ ดี แต ยังติดขัดป ญหาหลายอย างจึงไม ได สร าง จนกระทั่งป 2532 สมัยนายกรัฐมนตรี พลตรี ชาติ ช าย ชุ ณ หะวั ณ ได พ บปะกั บ นายกรั ฐ มนตรี ข องลาว นายไกสอน พมวิหาน เห็นตรงกันว าน าจะยกโครงการขึ้นมาใหม เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี โดยมี ป ระเทศออสเตรเลี ย ให ค วามช ว ยเหลื อ เงิ น ทุ น ก อ สร า ง 750 ล า นบาท สํานักงานคณะกรรมการลุ มแม น�ําโขงเป นผู ประสานงาน ฝ ายไทยให สํานักงาน พลังงานแห งชาติเป นผู รับผิดชอบ ฝ ายลาวมีกระทรวงคมนาคมขนส ง ไปรษณีย และก อสร าง เป นผู รับผิดชอบ ส วนประเทศออสเตรเลียให บริษัทจอห นฮอลแลนด

79 25/12/2012 12:09


รับผิดชอบการก อสร าง บริษัทมอลเซลซินแครไนท เป นที่ปรึกษาและควบคุมการ ก อสร าง “การก อสร างได ทําพิธีวางศิลาฤกษ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2534 สมัยนายก รัฐมนตรีอานันท ป นยารชุน และ ดร. ประเทศ สูตะบุตร ซึ่งเป นอธิบดีกรมพัฒนา และส งเสริมพลังงาน เป นผู อํานวยการโครงการ ขณะนั้นผมเป นหัวหน าศูนย สํารวจอุทกวิทยาฯ ได รับมอบหมายจากท านให เป นผู จัดการโครงการก อสร าง สะพานภาคสนามฝ ายไทย มีหน าที่ประสานงานกับส วนราชการทั้งฝ ายไทยและ ลาว และบริษัทที่ปรึกษาของออสเตรเลีย เพื่อให การก อสร างเป นไปด วยความราบ รื่นและเสร็จตามกําหนด “ลักษณะของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เป นสะพานเดี่ยวมีสองช องจราจร สะพานกว าง 12.70 เมตร และวางทางรถไฟไว ตรงกลาง ส วนความยาวของ สะพานจากฝ งไทยข ามแม น�ําโขงไปฝ งลาวประมาณ 2,440 เมตร การก อสร าง เริ่มพร อมกันทั้งสองฝ ง ทั้งหมดมีหกตอม อ ห างกันตอม อละ 105 เมตร สร างจาก ฝ งแต ละประเทศมาสามตอม อ บรรจบกันที่กลางสะพานซึ่งเป นเขตแบ งแดน “ผมจะประสานงานกับกรมศุลกากรให อํานวยความสะดวกเรื่องการขนย าย วัสดุที่ใช ในการก อสร างจากฝ งไทยไปฝ งลาว และติดต อเรื่องการผ อนปรนให แรงงานก อสร างเข าออกประเทศไปมาในพื้นที่โครงการโดยไม ต องใช บัตรผ าน แดนทุกครั้ง เพื่อให การทํางานสะดวกและรวดเร็ว “ระหว างการก อสร าง ดร. ประเทศ สูตะบุตร ได มาตรวจงานเป นระยะและให คําแนะนําตลอดเวลา หากมีป ญหาที่ทําให การก อสร างล าช า คําแนะนําของท านจะ ช วยให เราแก ไขงานได อย างราบรื่น ท านเป นผู บังคับบัญชาที่มีความจริงใจและ จริงจัง มีความเห็นใจและมีความยุติธรรมให แก ผู ใต บังคับบัญชา “พิธีเป ดสะพานอย างเป นทางการคือวันที่ 8 เมษายน 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ าอยู หัวพร อมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาทรงประกอบพิธี

80 P 76-85 (TL5).indd 80

ร วมกับ ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาว มีเจ าหน าที่ระดับสูงของ ฝ ายไทยและฝ ายลาวเข าร วมพิธีบนสะพาน ผมมีหน าที่ประสานงานอํานวยความ สะดวกด านต างๆ อยู ด านล าง โดยส วนตัวผมรู สึกดีใจมากที่ผู บังคับบัญชาให ความไว วางใจให ผมปฏิบัติหน าที่เป นผู จัดการโครงการฯ และผมภูมิใจที่มีส วน ร วมทําให การก อสร างสะพานสําเร็จลงได แม จะวางแผนงานกันมานาน และ หลายครั้งต องชะงักไปบ าง แต สุดท ายก็สร างจนสําเร็จ เป นสะพานข ามแม น�ําโขง ไทย-ลาวแห งแรก ถือเป นผลงานที่ย่ิงใหญ ของ พพ. และประเทศไทย และเป น ต นแบบให เกิดสะพานข ามแม น�ําโขงแห งอื่นๆ ตามมา “ผมยังทราบว าสิ่งที่เป นความภาคภูมิใจสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดของท านอธิบดี ดร. ประเทศคือการที่สะพานมิตรภาพแห งนี้ได รองรับรอยพระบาทและล อรถยนต พระที่ นั่ ง ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู หั ว ในการเสด็ จ พระราชดํ า เนิ น เยื อ น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเป นการเสด็จฯ เยือนต างประเทศ ครั้งแรกภายหลังที่ทรงว างเว นมาเป นเวลาหลายสิบป จนอาจจะกล าวได ว า สะพาน มิตรภาพไทย-ลาวแห งนี้ได เป นสื่อทอดนําพระราชไมตรี และพระบรมเดชานุภาพ ให แผ ไพศาล อันเป นความปลื้มป ติของท านอธิบดี ในฐานะที่มีส วนนําความสําเร็จ มาสู สะพานมิตรภาพไทย-ลาวนี้ “หลังจากมีสะพานแล ว ชาวบ านได เดินทางไปมาหาสู และค าขายกันสะดวก ขึ้นมาก เพราะเมื่อก อนการขนส งสินค าต องใช แพขนานยนต ซึ่งมีแค สองสามลํา นอกจากไม เพียงพอแล วยังล าช าไม เป นไปตามกําหนดเวลา บางครั้งส งของไม ทัน ก็จะเกิดความเสียหาย วันนี้มีรถไฟวิ่งข ามสะพานข ามแม น�ําโขงไปลาวแล ว แม จะยังไปไม ถึงเวียงจันทน แต ผมหวังว าในอนาคตจะมีรถไฟวิ่งจากหนองคายไปถึง หลวงพระบางและจีนอย างแน นอน

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 24/12/2012 20:39


2539

2540

ให้สัมปทานทำ�เหมืองแร่ลิกไนต์ ในแหล่งบ้านสระ อำ�เภอเชียงม่วน  จังหวัดพะเยา แก่บริษัท เหมืองเชียงม่วน จำ�กัด  ร่วมมือกับองค์กร DANCED  (Danish Cooperation for  Environment and Development)  ประเทศเดนมาร์ก จัดทำ�โครงการ ลดการใช้พลังงานในประเทศ  โดยการศึกษามาตรการมาตรฐาน ของอุปกรณ์ไฟฟ้าและการสาธิต มาตรการที่มีผลประหยัดพลังงาน ได้จริง

ประกาศพระราชกฤษฎีกา กำ�หนดโรงงานควบคุมตาม พระราชบัญญัติการส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535   จากการสำ�รวจพบว่ามีทั้งหมด  2,557 ราย

ดำ�เนินการติดตั้งและสำ�รวจ ข้อมูลจากคลื่นทะเลที่เกาะกระดาน  อำ�เภอกันตัง จังหวัดตรัง มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง คณะกรรมการประสานงานสำ�รวจ ลุ่มแม่น�้ำ โขง (ฝ่ายไทย)   คณะกรรมการโครงการไฟฟ้าพลังน้�ำ ชายแดนไทย-พม่า และคณะ กรรมาธิการกำ�หนดนโยบายบริหาร และบำ�รุงรักษาสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว (ฝ่ายไทย) มีอธิบดีกรม พัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เป็นประธานกรรมการ

จัดทำ�แผนที่ศักยภาพพลังงาน แสงอาทิตย์ทั่วประเทศจากข้อมูล ภาพถ่ายดาวเทียมและสถานีติดตั้ง เครื่องมือวัดภาคพื้นดิน

ดร. อิทธิ พิชเยนทรโยธิน  ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นอธิบดีกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน (2540-2542)

ตามพระราชกฤษฎีกา กำ�หนดโรงงานควบคุมในปีที่  1 เป็นโรงงานที่ใช้ไฟฟ้าขนาด  10,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป

รับผิดชอบโครงการความร่วมมือ ในการพัฒนาทรัพยากรน้�ำ ของแม่น้ำ� สตึงนัม/แม่ตี๊ก ระหว่างประเทศไทย และกัมพูชา โดย อธิบดี ดร. ประเทศ สูตะบุตร เป็นหัวหน้าคณะ

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 76-85 (TL5).indd 81

81 24/12/2012 20:39


2541 ร่วมกับองค์การ NEDO  เริ่มโครงการสาธิตการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการ แรกคือโรงงานเหล็กของ บริษัทเหล็กสยาม จำ�กัด  ระยะเวลาโครงการ 3 ปี ประเทศไทยเริ่มนำ�เข้า ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา  ประเทศพม่า

2542 นางสิริพร ไศละสูต  ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นอธิบดีกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน (2542-2545) ร่วมกับองค์การ NEDO  เริ่มโครงการสาธิตการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพกับโรงงาน กระดาษของบริษัทอุตสาหกรรม กระดาษคราฟท์ไทย จำ�กัด   ระยะเวลาโครงการ 3 ปี โดยนำ�เยื่อ กระดาษคัดทิ้งและกากของเสีย มาเป็นเชื้อเพลิง

จัดทำ�โครงการสาธิตการใช้ ประโยชน์พลังงานทดแทนในพื้นที่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ  เช่น ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ  ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์  เตานึ่งก้อนเชื้อเห็ดประสิทธิภาพสูง  ระบบสูบน้ำ�ด้วยกังหันลม ฯลฯ  ประเทศกลุ่มอาเซียนเห็นชอบ ในการพัฒนาโครงข่ายพลังไฟฟ้า อาเซียน ASEAN Power Grid  เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ด้านพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาค

จีน

เวียดนาม ลาว

พม่า 2

4

1 1

1 5

กัมพูชา

3

6

7

มาเลเซีย 8

การก่อสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพ ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำ�ปาง

4

สุมาตรา

10

12 9 11

สิงค โปร์

1 ไทย-ลาว 2 ไทย-พม่า 3 ไทย-กัมพูชา 4 ลาว-เวียดนาม 5 ลาว-กัมพูชา 6 กัมพูชา-เวียดนาม 7 ไทย-มาเลเซีย 8 มาเลเซีย-อินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา) 9 มาเลเซีย-สิงคโปร์ 10 สิงคโปร์-อินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา) 11 สิงคโปร์-อินโดนีเซีย (เกาะบาตัม) 12 มาเลเซีย-รัฐซาราวัก 13 มาเลเซีย (รัฐซาราวัก-รัฐซาบาห์) - บรูไน 14 มาเลเซีย (รัฐซาบาห์) - ฟิลิปปินส์ 15 มาเลเซีย (รัฐซาบาห์) - อินโดนีเซีย (กาลิมันตันตะวันตก) 16 มาเลเซีย (รัฐซาราวัก) - อินโดนีเซีย (กาลิมันตันตะวันตก) > ระบบผลิตไฟฟ้าด้วย เซลล์แสงอาทิตย์ที่โรงเรียนตำ�รวจ ตระเวนชายแดนบ้านหอย  อำ�เภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

82 P 76-85 (TL5).indd 82

60 ปี จาก “การพลังงานแห่งชาติ” 24/12/2012 20:39


2543

ทิศเหนือ

แผนที่โครงข่าย พลังไฟฟ้าอาเซียน

าม

4

ฟลิปปนส์

มพูชา

บรูไน 12

สิงค โปร์

13

14 ซาบาห์ 15

ซาราวัก 16

กาลิมันตันตะวันตก

ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในโรงงานและอาคารธุรกิจสำาหรับ โรงงานและอาคารธุรกิจที่ไม่เข้าข่าย ควบคุมตามกฎหมาย ริเริ่มการจัดการประกวด อาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ของประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ภายหลังตั้งชื่อว่า Thailand Energy Awards เป็นกิจกรรมภายใต้ โครงการอาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ของอาเซียน (Asean Energy Awards) โครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า ประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สำาหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2538 สามารถจัดตั้งระบบได้รวม 184 หมู่บ้านในเขตภาคเหนือ

อินโดนีเซีย

สู่ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน” P 76-85 (TL5).indd 83

83 24/12/2012 20:39


2544 จัดทําแผนที่ศักยภาพพลังงาน ลมของประเทศไทย เพื่อวิเคราะห หาพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพพลังงานลม ที่ดีของประเทศไทย โดยจัดทําใน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (GIS) จัดทํา “โครงการเงินทุน หมุนเวียนเพื่อการอนุรักษพลังงาน” โดยใหเงินทุน 2,000 ลานบาท แกสถาบันการเงินนําไปปลอยเงินกู ใหผูประกอบการใชลงทุนดานการ อนุรักษพลังงาน โดยโครงการไมคิด ดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน

อุปกรณตรวจวัด และบันทึกขอมูล พลังงานลมอัตโนมัติ

84 P 76-85 (TL5).indd 84

แผนที่แสดงศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 25/12/2012 12:21


2545

นางสิรพิ ร ไศละสูต ดำารงตำาแหน่ง จัดทำาโครงการพัฒนาเครือข่าย เป็นอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน สถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ และอนุรักษ์พลังงาน (2545-2549) สำาหรับประเทศไทย จำานวน 25 สถานีครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ การจัดการประกวด Thailand เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์ที่มีสภาพ Energy Awards เพิ่มการประกวด ทรุดโทรมจากการใช้งานมานาน ด้านโครงการพลังงานทดแทน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อให้มี ขึ้นเป็นปีแรก ข้อมูลที่ละเอียดและถูกต้อง จัดทำาแผนหลักการอนุรักษ์ พลังงาน 5 ปี (2545-2549) ซึ่งเน้นการดำาเนินการอนุรักษ์ พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคอาคารธุรกิจ

วันที่ 3 ตุลาคม เปลี่ยนเป็น “กรมพัฒนาพลังงาน ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” (พพ.) และย้ายมาสังกัดกระทรวงพลังงาน ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ พร้อมกับมีการจัดตั้ง “สำานักงานนโยบายและ แผนพลังงาน” (สนพ.) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) และกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.)

85 P 76-85 (TL5).indd 85

24/12/2012 20:40


ทศวรรษที่ 6

2546-2555

กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษพลังงาน อํานาจ หน าที่ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงานมีอํานาจและหนาที่ดังนี้ ก. ตามประกาศกฎกระทรวงแบงสวนราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2545 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงานมีภารกิจเกี่ยวกับการสงเสริมประสิทธิภาพการ ใชพลังงาน กํากับการอนุรักษพลังงาน จัดหาแหลงพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใชพลังงานแบบผสม ผสาน และเผยแพรเทคโนโลยีดานพลังงานอยางเปนระบบตอเนื่อง เพื่อตอบสนองตอความตองการ ของทุกภาคสวนอยางเพียงพอ ดวยตนทุนที่เอื้อตอการพัฒนาประเทศและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของ ประชาชน โดยใหมีอํานาจหนาที่ดังตอไปนี้ 1. สงเสริม สนับสนุน และกํากับการอนุรักษพลังงาน 2. วิจัย คนควา และพัฒนาพลังงานทดแทน 3. กําหนดระเบียบ มาตรฐาน และเผยแพรถายทอดเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป การสง การใช และการอนุรักษพลังงาน 4. ติดตามประเมินผลการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน 5. ปฏิ บั ติ ก ารอื่ น ใดตามที่ ก ฎหมายกํ า หนดให เ ป น อํ า นาจหน า ที่ ข องกรม หรื อ ตามที่ กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข. ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535 “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน มีอํานาจหนาที่กํากับ ดูแล และอํานวยความ สะดวกใหโรงงาน/อาคารขนาดใหญที่กําหนดใหเปนโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม ตามพระราชกฤษฎีกา สามารถปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พระราชกฤษฎีกา กฎ กระทรวงและประกาศกระทรวง ไดอยางครบถวนและมีประสิทธิภาพ”

86 P 86-97 (TL6).indd 86

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:30


2546

2547 ระบบอบแหงพลังงานแสงอาทิตย แบบเรือนกระจก

เริ่มสงเสริมการติดตั้งระบบผลิต น้ํารอนพลังงานแสงอาทิตยแบบ ผสมผสานกับพลังงานความรอน เหลือทิ้งใหแกกิจการธุรกิจและ หนวยงานตางๆ เชน โรงพยาบาล โรงแรม ฯลฯ เริ่มโครงการศึกษาสาธิตการ ผลิตพลังงานไฟฟา/ความรอนจาก ขยะชุมชน โดยศึกษาจากเทศบาล ที่มีขยะ 50-100 ตันตอวัน และมากกวา 100 ตันตอวัน รวมมือกับสถาบันการเงินเริ่ม “โครงการสินเชื่อพลังงาน” (Energy Credit) และ “โครงการเงินทุน หมุนเวียนเพื่อการอนุรักษพลังงาน และพลังงานทดแทน” (Revolving Fund) เพื่อปลอยเงินกูให ผูประกอบการนําไปใชลงทุนดาน การอนุรักษพลังงานและพัฒนา พลังงานทดแทน เริ่ม “โครงการอนุรักษพลังงาน แบบมีสวนรวม” ในโรงงาน อุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก เริ่มโครงการจัดตั้งระบบผลิต ไฟฟาดวยเซลลแสงอาทิตยใหแก หมูบานและโรงเรียนชนบท สถานี อนามัย ศูนยการเรียนรูชุมชน ฐานปฏิบัติการทางทหารและตํารวจ ตระเวนชายแดน หนวยงานในเขต อุทยานแหงชาติ เขตรักษาพันธุ สัตวปา โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดําริ ซึ่งอยูในพื้นที่หางไกล ไมมีไฟฟาใช

พัฒนาระบบอบแหงดวย แสงอาทิตยสําหรับผลผลิตทางการ เกษตร เพื่อใชในอุตสาหกรรมขนาด กลางและขนาดเล็ก เชน ระบบ อบแหงอุโมงคลม ระบบอบแหงแบบ เรือนกระจก ระบบอบแหงจากแผง รังสีความรอนบนหลังคาเรือน โดยติดตั้งสาธิตในโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดําริ และชุมชนใน จังหวัดทางภาคใต จัดทํา “ยุทธศาสตรแกสโซฮอล” เพื่อสงเสริมใหมีการผลิตและการใช แกสโซฮอลทดแทนน้ํามันเบนซิน สหรัฐอเมริกาสงกองทัพบุก ประเทศอิรัก เปนจุดเริ่มตนความ ตึงเครียดในดินแดนแถบ ตะวันออกกลาง และสงผลกระทบ จนเปนปจจัยหนึ่งใหราคา น้ํามันดิบโลกเพิ่มสูงขึ้นมาถึง ปจจุบัน

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 86-97 (TL6).indd 87

เริ่มโครงการหมูบานพลังงานใน ชนบท เพื่อใหชุมชนไดเรียนรูเรื่องการ ใชพลังงานทดแทนและการอนุรักษ พลังงาน เพื่อยกระดับรายไดและ คุณภาพชีวิตใหดีขึ้น โดยใชเทคโนโลยี ที่เหมาะสม เชน เตาหุงตม ประสิทธิภาพสูง ตูอบแหงพลังงาน แสงอาทิตย เตานึ่งกอนเชื้อเห็ด ประสิทธิภาพสูง เตาเผาถาน ประสิทธิภาพสูง เปนตน

เตาหุงตมประสิทธิภาพสูง จังหวัดราชบุรี

จัดทํา “ยุทธศาสตรไบโอดีเซล” เพื่อสงเสริมใหมีการผลิตและการใช ไบโอดีเซลทดแทนน้ํามันดีเซลทั้งใน ภาคขนสงและภาคเกษตรกรรม กฟภ. เริ่มโครงการไฟฟา เอื้ออาทร (Solar Home) โดยติดตั้งระบบเซลลแสงอาทิตย ใหแกบานเรือนที่ไมมีไฟฟาใช และอยูในพื้นที่ซึ่งการติดตั้งสายสง ไฟฟาเขาไมถึง มี พพ. รวมให คําปรึกษาทางเทคนิค โรงงานตนแบบ ผลิตไบโอดีเซล จังหวัดกระบี่

87 24/12/2012 20:30


บทเรียนจากโครงการโขง-ชี-มูล สู การผลักดันการอนุรักษ พลังงาน ให เกิดเป นรูปธรรม

2549 ดร. พานิช พงศพิโรดม ดํารงตําแหนงเปนอธิบดีกรมพลังงาน ทดแทนและอนุรักษพลังงาน (2549-2552)

เมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอน (PEMFC) ในรถยนตสามลอ ไดเปนรถยนตสามลอเซลลเชื้อเพลิง ตนแบบคันแรกของประเทศไทย

จัดทําโครงการพัฒนาระบบผลิต กาซชีวภาพจากขยะอินทรีย สองโครงการ คือการพัฒนาและสาธิต ถังหมักกาซชีวภาพจากขยะอินทรีย สําเร็จรูปขนาดเล็ก และการพัฒนา ระบบผลิตกาซชีวภาพจากขยะ ในระดับชุมชน

อาคารอนุรักษพลังงาน เฉลิมพระเกียรติเริ่มเปดใหประชาชน ทั่วไปเขาชมการจัดแสดงและสาธิต เทคโนโลยีการอนุรักษพลังงาน 54 ประเภทที่ประยุกตใชกับ ประเทศไทย ทั้งในภาคอุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ และที่อยูอาศัย

พัฒนาและสาธิตการใช เซลลเชื้อเพลิงผลิตไฟฟาแบบ

โครงการพัฒนาระบบผลิต กาซชีวภาพจากขยะ เทศบาลเมืองทุงสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ในที่สุดโครงการโขง-ชี-มูล ต องหยุดชะงักไป ภาพของข าราชการ ทําให ชาวบ านไม เชื่อ สิ่งนี้เป น บทเรียนเมื่อดิฉันมารับผิดชอบ เรื่องโครงการอนุรักษ พลังงาน เราให ผู ประกอบการพูดคุยกันเอง เพื่อให เกิดความเชื่อถือ ไม ใช ราชการไปพูด”

สิ ริพร ไศละสูต

อดีตอธิบดีกรมพัฒนาและส งเสริมพลังงาน (2542-2545) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ พลังงาน (2545-2549)

“ดิฉันเรียนจบวิศวกรรมศาสตร สาขาไฟฟ าสื่อสาร จากจุฬาลงกรณ มหาวิ ท ยาลั ย เริ่ ม ทํ า งานครั้ ง แรกที่ ก ารพลั ง งานแห ง ชาติ ใ นสมั ย ที่ ดร. บุญรอด บิณฑสันต เป นเลขาธิการ แต มโี อกาสทํางานกับท านช วงสัน้ ๆ เพราะ ท านย ายไปดํารงตําแหน งปลัดกระทรวง ดิฉนั มีโอกาสทํางานกับผูบ ริหารสูงสุด ตั้งแต ท านเลขาฯ นิธิพัฒน ชาลีจันทร ท านเลขาฯ ประวิทย รุยาพร ท านรอง เลขาฯ อาทร ปทุ ม สู ต ร และท า นเลขาฯ ประพั ท ธ เปรมมณี สมั ย นั้ น ข าราชการจะเรียกท านเลขาฯ ที่กล าวนามมานี้ว า ‘ท านอาจารย ’ เพราะท าน เป นอาจารย จริงๆ ท านสอนวิธีการทํางาน ความมุ งมั่น ความรับผิดชอบ การเขี ย นโต ต อบจดหมาย และการเข า ไปพั ฒ นาชนบท ทํ า ให ดิ ฉั น ได รั บ ประสบการณ ซึ่งไม มีอยู ในตําราเรียน และได นํามาใช เมื่อดิฉันดํารงตําแหน ง อธิบดี

88 P 86-97 (TL6).indd 88

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 25/12/2012 12:16


“ช วงทีด่ ฉิ นั ทํางานหนักมากมีอยูส องช วง ช วงแรกเป นการพัฒนาเพือ่ จัดหานํา้ ให แก ภาคอีสานในโครงการโขง-ชี-มูล สมัยท านเลขาฯ ประพัทธ ท านแต งตั้งให ดิฉนั เป นหัวหน าโครงการ เป นโครงการทีม่ งี บประมาณสูงเป นหมืน่ ล านบาท แต มี ป ญหาอุปสรรคเกีย่ วกับมวลชนมากมาย และเกิดการชุมนุมเรียกร องค าชดเชย ทําให เราเห็นถึงสัจธรรมว า สิ่งที่เราคิดว าดีที่สุดนั้น ไม จริงเสมอไป “โครงการโขง-ชี-มูล คล ายกับโครงการเมอร เรย -ดาร ลิ่ง (Murray-Darling) ที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป นพื้นที่ดินเค็มคล ายอีสาน มีแม นํ้าเมอร เรย กับแม นํ้า ดาร ลิ่งไหลผ าน มีต นนํ้ามาจาก Snowy Mountain เป นการจัดการนํ้าเพื่อพื้นที่ เกษตรกรรมและชะล างดินเค็มให ปลูกพืชได เขาทําฝายกั้นเป นบันไดและมีไฟฟ า พลังนํา้ ด วย ไม ใช การชลประทานอย างเดียว แต โครงการโขง-ชี-มูล ระดับความสูง ของนํ้าไม พอที่จะป นไฟ จึงทําได แต เพื่อการชลประทาน สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 86-97 (TL6).indd 89

“เรานําแนวคิดของโครงการเมอร เรย -ดาร ลิ่ง มาดัดแปลงให เข ากับพื้นที่ของ เราทีเ่ ป นดินเค็มเหมือนกัน แต ตน นํา้ ของเขามาจากหิมะละลาย มีนาํ้ ในแม นาํ้ ตลอด ส วนต นนํ้าของเราเล็กมาก ต องใช พื้นที่รับนํ้าช วย อีสานไม มีแหล งนํ้าธรรมชาติ และสร างอ างเก็บนํ้าไม ได เพราะดินเป นดินทราย นํ้าจะซึมลงดินง าย วิธีดีที่สุดคือ ทําเป นฝายชะลอนํา้ เก็บนํา้ ไว ในลํานํา้ ธรรมชาติ เพือ่ ให ราษฎรมีนาํ้ ใช ทาํ การเพาะปลูก ในฤดูแล ง ส วนช วงฤดูฝนจะปล อยนํ้าให ผ านไป นี่เป นโครงการที่ช วยยกระดับ คุณภาพชีวิตของท องถิ่นได พอสมควร “ในเชิงวิศวกรรม ประตูระบายนํา้ ของโครงการโขง-ชี-มูลจะเป นบานโค ง และ ควบคุมยกขึน้ ลงด วยระบบไฮโดรลิก มิใช ประตูบานตรงทีย่ กด วยโซ ชกั รอก เป นประตู บานโค งที่กว างและยาวที่สุดซึ่งออกแบบและผลิตโดยฝ มือวิศวกรไทย “โครงการโขง-ชี-มูลให บทเรียนแก ดฉิ นั และ พพ. พอสมควร เช น การใช ภาษา

89 24/12/2012 20:30


การสัมมนาในโครงการ สงเสริมการลงทุนดานอนุรักษพลังงาน หรือ ESCO ระหวางภาครัฐกับเอกชน

เทคนิคในการบอกลักษณะโครงการฯ ว า เก็บนํา้ ทีร่ ะดับ 136 รทก. (ระดับนํา้ ทะเล ปานกลาง) แต เมื่อมวลชนคัดค าน ผู นํามวลชนบอกว าเราจะสร างเขื่อนสูงถึง 136 เมตร แสดงว านํ้าท วมพื้นที่ทํากินหมด “ในที่สุดโครงการโขง-ชี-มูลต องหยุดชะงักไป ภาพของข าราชการทําให ชาวบ านไม เชื่อ สิ่งนี้เป นบทเรียนเมื่อดิฉันมารับผิดชอบเรื่องโครงการอนุรักษ พลังงาน เราให ผป ู ระกอบการพูดคุยกันเองเพือ่ ให เกิดความเชือ่ ถือ ไม ใช ราชการไป พูด “หลังจากมีพระราชบัญญัติการส งเสริมการอนุรักษ พลังงานตั้งแต ป 2535 ปรากฏว าการดําเนินการด านการอนุรักษ พลังงานยังไม เกิดเป นรูปธรรมที่จับต อง และวัดผลประหยัดได จริง ส วนใหญ ยังอยู ในรูปรายงานเป นเอกสารทั้งสิ้น ดิฉัน เล็งเห็นว ารัฐจําเป นต องร วมมือกับทุกภาคส วน ไม ว าจะเป นผู ประกอบการ ผู ใช พลังงาน ตลอดจนพนักงาน และข าราชการ ทําให เป นที่มาของโครงการความ ร วมมือระหว างภาครัฐกับภาคเอกชน เริ่มต นด วยความร วมมือระหว าง พพ. กับ สภาอุตสาหกรรมแห งประเทศไทย หอการค าไทย และการนิคมอุตสาหกรรม แห งประเทศไทย เนื่องจากทั้งสามหน วยงานนี้เป นผู ใช พลังงานสูงสุด มีสมาชิก ทั้งขนาดใหญ และขนาดเล็ก และมีลักษณะการใช พลังงานที่แตกต างกัน ทั้งนี้ รัฐต องให ความช วยเหลือ สนับสนุน เกือ้ กูลต อผูป ระกอบการ โดยไม ควรตัง้ เงือ่ นไข ว าผู ประกอบการมีกําลังทุนทรัพย อยู แล ว ไม จําเป นต องให ความช วยเหลือ เพราะ

90 P 86-97 (TL6).indd 90

สิง่ ทีเ่ ราต องการคือผูบ ริหารระดับสูงหรือเจ าของกิจการต องมีสว นร วมในการดําเนิน โครงการ มีนโยบายการประหยัดพลังงานที่ชัดเจน และที่สําคัญต องยอมเป ดเผย ข อมูลหรือเป นวิทยากรให แก พพ. ในการชี้แจง เผยแพร เพื่อให เกิดความเข าใจที่ ถูกต องแก ผู ประกอบการอื่นๆ นี่เป นวิธีการขยายผลที่สําคัญมาก และทําให ตลอด การดําเนินการโครงการอนุรักษ พลังงานในช วงที่ดิฉันทํางานรับผิดชอบอยู ประสบ ความสําเร็จเป นอย างสูง และส งผลต อเนื่องมาจนถึงป จจุบัน “ส วนเรื่องนโยบายพลังงานทดแทน ดิฉันคิดว าเราควรลดการพึ่งพาพลังงาน จากนํา้ มันซึง่ ต องนําเข ามาจํานวนมาก และพึง่ ตัวเราเองให มากทีส่ ดุ นอกจากนีค้ วร ให ชุมชนเข ามามีส วนร วมและสร างให ชุมชนเข มแข็ง “แนวคิดเหล านีเ้ กิดจากประสบการณ ทเี่ ราได รบั มาตลอดเวลาและนํามาปรับใช ภาคอีสานปลูกข าวได ปล ะหนึง่ ครัง้ เท านัน้ ถ าเราส งเสริมการปลูกปาล มในบางพืน้ ที่ ของภาคอีสาน เช น ริมฝ งโขง จะช วยคนอีสานให มีรายได เช นเดียวกับการปลูก ยางพารา และช วยเปลีย่ นคุณภาพชีวติ เขาให ดขี นึ้ ในภาพรวมถ าเราสามารถสร าง เศรษฐกิจทีพ่ งึ่ พาตัวเราเองได ตงั้ แต ตน ทางถึงปลายทางก็จะช วยสร างความมัน่ คงให ประเทศได อย างมาก “เรือ่ งการส งเสริมไบโอดีเซลสําหรับรถยนต เป าหมายแท จริงของเราคือปาล ม นํา้ มัน ซึง่ มีคณ ุ ค ามหาศาล ประเทศมาเลเซียใช ปาล มนํา้ มันทําอุตสาหกรรมโอลิโอเคมี (oleochemical) ขายยุโรปมาตลอด จนเมื่อประเทศไทยประกาศยุทธศาสตร 60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:31


2550 เริ่มสงเสริมการติด “ฉลากประสิทธิภาพสูง” ใหแก ผลิตภัณฑเพื่อการอนุรักษพลังงาน เชน เตาแกสแรงดันต่ํา อุปกรณ ปรับความเร็วรอบมอเตอร ฉนวนใยแกวกันความรอน กระจก อนุรักษพลังงาน ฯลฯ โดยเชิญชวน ผูประกอบการสงอุปกรณเขารวม การทดสอบเพื่อรับฉลาก ประสิทธิภาพสูงติดที่ผลิตภัณฑ ประกาศใชพระราชบัญญัติ การสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535 ฉบับแกไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 ประตูระบายน้ําบานโคง ออกแบบโดยวิศวกรไทย

วันที่ 18 กันยายน เปลี่ยนเครื่องหมายราชการเดิม เปนตราสัญลักษณใหม

ไบโอดี เ ซล มาเลเซี ย ถึ ง ประกาศตาม อุ ต สาหกรรมนี้ มี มู ล ค า สู ง กว า แต ประเทศไทยยังไม มีตลาดด านนี้ ดิฉันจึงเสนอรัฐบาลว าต องเริ่มจากนําปาล ม นํ้ามันมาใช กับไบโอดีเซลก อน แล วค อยพัฒนาต อ อุตสาหกรรมโอลิโอเคมีจะ เปลี่ยนสารเคมีจากพืชปาล มนํ้ามันมาใช ทดแทนสารเคมีจากป โตรเลียม เพื่อ ผลิตผ า ไม เทียม หนังเทียม หรือวัสดุอนื่ ๆ อีกมากทีใ่ ช ในอุตสาหกรรม ซึง่ เป น มิตรกับสิ่งแวดล อมมากกว า และเพิ่มมูลค าได อีกมหาศาล “ถ าเราพัฒนาอุตสาหกรรมโอลิโอเคมีจะเป นประโยชน มากต อเกษตรกร และประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพมาก เพราะปาล มนํ้ามันต องปลูกใน ประเทศแถบเส นศูนย สตู ร ประเทศไทยสามารถพัฒนาเป นเกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งเกษตรกรของไทยจะได ประโยชน “ดิฉันถือว าเมื่อเข ามารับราชการ อันดับแรกคือการทําให องค กรรุ งเรือง และต องเป นคนซือ่ สัตย สจุ ริต ถ าคุณอยากรํา่ รวย คุณต องไปทํางานเอกชน เรา รู ตัวว าต องอยู อย างพอมีพอกิน ไม โลภ และไม เอาเปรียบหลวง ดิฉันตอบ ได อย างภาคภูมิใจว าในชีวิตราชการไม เคยคอร รัปชั่นและเห็นแก ประโยชน ส วนตนเลย”

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 86-97 (TL6).indd 91

91 24/12/2012 20:31


2551 เริ่มโครงการพัฒนาโครงการ ไฟฟาพลังน้ําระดับหมูบานอยาง ยั่งยืน เพื่อใหองคการบริหารสวน ทองถิ่นรวมกับชุมชนบริหารจัดการ โครงการและขายไฟฟาใหแก กฟภ. ในแบบ VSPP จัดทําโครงการศึกษา วิจัย พัฒนา สาธิตตนแบบเทคโนโลยี กังหันลมผลิตไฟฟาความเร็วลมต่ํา ขนาด 5 กิโลวัตตที่อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ไดตนแบบที่มี ประสิทธิภาพกวากังหันลมจาก ตางประเทศ เริ่มโครงการสาธิตระบบผลิต กาซชีวภาพจากมูลสัตว เชน สุกร โค กระบือ เปด ไก ในฟารมปศุสัตว ขนาดเล็กและขนาดยอย เพื่อพัฒนา รูปแบบและวิธีการกอสรางระบบ ใหเปนแบบสําเร็จรูปหรือกึ่งสําเร็จรูป ขยายผลการสนับสนุนการจัดตั้ง ระบบผลิตน้ํารอนพลังงานแสงอาทิตย ในอาคารประเภทตางๆ ทั้งโรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล สถานศึกษา

92 P 86-97 (TL6).indd 92

จัดทําแผนพัฒนาพลังงาน ทดแทน 15 ป พ.ศ. 2551-2565 (REDP) มีเปาหมายเพิ่มสัดสวน การใชพลังงานทดแทนเปนรอยละ 20 ของการใชพลังงานของประเทศ ถือเปนแผนแมบทดานพลังงานทดแทน ฉบับแรกของประเทศ เริ่มโครงการสงเสริมการลงทุน ดานอนุรักษพลังงานและพลังงาน ทดแทน (ESCO Fund) โดยเปนการ รวมลงทุนระหวางภาครัฐและเอกชน และชวยผูลงทุนใหไดประโยชนจาก การขาย Carbon Credit โดยมี มูลนิธิอนุรักษพลังงานแหง ประเทศไทย (ECFT) และมูลนิธิ พลังงานเพื่อสิ่งแวดลอม (E4E) เปนผูจัดการกองทุน ความขัดแยงระหวางสหรัฐอเมริกากับอิหรานเกี่ยวกับโครงการ พัฒนานิวเคลียรของอิหราน สรางความตึงเครียดในภูมิภาค ตะวันออกกลาง และอิหรานประกาศ จะใชน้ํามันเปนมาตรการตอบโต

จากไฟฟ าพลังน้ําขนาดเล็ก ถึงยุทธศาสตร พลังงานทดแทน

ในกลุ มอาเซียน ประเทศไทยนําหน า ประเทศอื่นๆ เรื่องพลังงานทดแทน เรามีเทคโนโลยีที่พร อมกว า โดยเฉพาะโครงการไฟฟ าพลังน�ํา ชนบท ผมว าประเทศอื่นๆ ใน อาเซียนยังไม มีใครทําได มากกว า ประเทศไทย”

ดร. พานิช พงศ พ�โรดม

อดีตอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ พลังงาน (2549-2552)

“ผมเรียนจบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย โดย รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลส วนหนึ่ง เมื่อเรียนจบจึงต องทํางานใช ทุนให แก หน ว ยงานของรั ฐ 3 ป ตอนนั้ น การพลั ง งานแห ง ชาติ มี ชื่ อ เสี ย งเรื่ อ ง โครงการไฟฟ าพลังน�ํา ผมคิดว าตรงกับความรู ที่เรียนมา จึงเลือกมาทํางาน ที่นี่ตั้งแต ป 2514 จากนั้นผมก็ไปเรียนต อด านวิศวกรรมแหล งน�ํา วิศวกรรม สุขาภิบาล วิศวกรรมทางทะเล ทั้งหมดเกี่ยวข องกับน�ําซึ่งผมนําความรู มา ประยุกต ใช กับการทํางานที่นี่ได “ผมเริ่มต นทํางานในกองสํารวจ แล วย ายมากองออกแบบ รับผิดชอบ งานออกแบบและควบคุมการก อสร าง ทั้งโครงการไฟฟ าพลังน�ําและงาน โยธาอื่นๆ สําหรับโครงการไฟฟ าพลังน�ําชนบทหรือโครงการไฟฟ าพลังน�ํา ขนาดจิ๋ ว มี ลั ก ษณะเป น ฝายมากกว า เขื่ อ น เพราะสร า งกั้ น ลํ า น�ํ า สู ง เพี ย ง 1-2 เมตรเท านั้น เพื่อให มีแรงดันน�ําเข าท อไหลแยกลงไปโรงไฟฟ าเพื่อผลิต

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:31


ไฟฟ า จากนั้นน�ําจะไหลลงสู ลําน�ําสายเดิม โครงการไฟฟ าพลังน�ําขนาดจิ๋ว ผลิต ไฟฟ าไม เกิน 200 กิโลวัตต “นโยบายของเราคือต องการให ชุมชนในพื้นที่ซึ่งสายส งไฟฟ าเข าไม ถึงได มี ไฟฟ าใช โดยต องเป นชุมชนขนาดเล็กราว 80-200 หลังคาเรือน ซึ่งแม จะเดินสาย ส ง ไฟฟ า เข า ไปได ก็ ไ ม คุ ม ค า กั บ การลงทุ น และต อ งอยู ใ นพื้ น ที่ แ หล ง น�ํ า ที่ อุ ด ม สมบูรณ มีน�ําไหลตลอดป เพียงพอสําหรับการผลิตไฟฟ า สิ่งสําคัญที่สุดคือราษฎร ต องเต็มใจให ความร วมมือ ช วยกันลงแรงก อสร างและจัดหาวัสดุหิน ทราย ใน ท องถิ่นมาร วมกันก อสร าง ส วนทางเราเป นผู ออกแบบ จัดหาเงินลงทุน และวัสดุ อุปกรณ เช น เครื่องกําเนิดไฟฟ า เมื่อก อสร างโครงการเสร็จ ชาวบ านจะได มี ไฟฟ าใช ได ดูทีวี ได รับรู ข าวสารและใช ประโยชน ทางการศึกษา ลดภาระค าใช จ าย ด านพลังงาน รวมทั้งยังลดการนําเข าพลังงานและเป นการสร างความร วมมือ ระหว างประชาชนกับภาครัฐ ผมรู สึกภูมิใจว าเราสามารถช วยให ราษฎรมีไฟฟ าใช

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 86-97 (TL6).indd 93

โดยบางชุมชนราษฎรมีไฟฟ าใช ก อนที่สายส งไฟฟ าจะเข าถึง 20 ป “ช วงที่ผมทํางาน มีโครงการไฟฟ าพลังน�ําชนบทราว 70 กว าโครงการ ทุก โครงการเราจะถ ายทอดการบริหารและเทคนิคการดูแลรักษาอุปกรณ ให ชาวบ าน โดยให เขาจัดตั้งกรรมการชุมชนขึ้นมาบริหารและเก็บค าไฟฟ ากันเอง บางชุมชน ที่มีความพร อมก็จัดตั้งเป นสหกรณ ภายใต เงื่อนไขว าต องไม เก็บราคาค าไฟสูงกว า ค าไฟฟ าของการไฟฟ าส วนภูมิภาค (กฟภ.) “ถ าเครื่องจักรมีป ญหาเล็กๆ น อยๆ พวกเขาต องดูแลกันเอง แต หากถึง ขั้นต องซ อมใหญ ทางเราจะช วยจัดส งช างเทคนิคไปดูแล ป จจุบันบางโครงการที่ สายส งไฟฟ า กฟภ. เข าถึง ทาง พพ. ได ดําเนินการปรับปรุงระบบให ต อเชื่อมกับ สายส งไฟฟ าเพื่อขายไฟฟ าให กฟภ. และมอบโครงการให อบต. ท องที่รับผิด ชอบ ดังนั้นหมู บ านไฟฟ าพลังน�ําชนบทที่ต อมา กฟภ. เดินสายส งไฟฟ าเข าไปถึง ก็ยังประสงค จะใช ไฟฟ าพลังน�ําอยู แทนที่จะขอเลิกใช เหมือนแต ก อน เพราะทําให

93 24/12/2012 20:31


หมู บ า นมี ร ายได จ ากการขายไฟฟ า และยั ง เป น ไฟฟ า สํารองในกรณีฉุกเฉินได ทําให ชาวบ านมีไฟฟ าใช ตลอด ป ยิ่งถ าชาวบ านช วยกันดูแลรักษาป าต นน�ําไว ก็จะมีน�ํา ใช ผลิตไฟฟ าตลอดไป ตั้งแต ผมทํางานมาจนถึงเกษียณ ยังไม เคยมีโครงการไฟฟ าชนบทยกเลิกไปเพราะไม มีน�ํา ผลิตไฟฟ า แม ฤดูแล งจะมีน�ําน อยก็ตาม ที่สําคัญไฟฟ า จากพลังน�ํามีต นทุนการผลิตต อหน วยถูกกว าพลังงาน ทดแทนชนิดอื่น “ทุกวันนี้แม ว าสายส งไฟฟ าจะเข าถึงชุมชนเล็กๆ มากขึ้ น แต โ ครงการไฟฟ า พลั ง น�ํ า ชนบทก็ ยั ง เป น ที่ ต องการอยู เนื่องจากยังมีชุมชนตามป าเขาขนาด 80200 หลังคาเรือน ซึ่งยังไม มีไฟฟ าใช อยู อีกมาก “งานของผมยั ง มุ ง เน น เรื่ อ งยุ ท ธศาสตร แ ผน พัฒนาพลังงานทดแทน 15 ป ซึ่งนําเสนอคณะรัฐมนตรี โดยบรรจุเป นวาระแห งชาติ เราตั้งเป าว าต องเพิ่มสัดส วน การใช พลังงานทดแทนให ได 20 เปอร เซ็นต ภายใน ป 2565 เท าที่ผมทราบขณะนี้เราทําได 7 เปอร เซ็นต กว าๆ แล ว และเพิ่มเป าเป น 25 เปอร เซ็นต ในเรื่อง ของการอนุ รั ก ษ พ ลั ง งาน ได เ น น การใช พ ลั ง งานอย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ ประหยั ด โดยมี เ ป า หมายลดอั ต ราส ว นของอั ต ราการเพิ่ ม ขึ้ น ของการใช พลั ง งานต อ การเจริ ญ เติ บ โตของ GDP (Energy Elasticity) ลดจากค า เฉลี่ ย เมื่อ 20 ป ที่ผ านมาคือ 0.98 เหลือ 0.7 ใน 20 ป ข างหน า (2554-2573) “หนึ่งในแผนงานพลังงานทดแทนคือโซลาร เซลล เรามีโครงการนําแผง พลังงานแสงอาทิตย ขนาดติดตั้ง 3 กิโลวัตต ลงทุนประมาณ 1 ล านบาท ไปติดตั้ง ให ชุ ม ชนขนาด 60-80 ครั ว เรื อ นในพื้ น ที่ ช นบทซึ่ ง ไฟฟ า ยั ง เข า ไม ถึ ง และไม มี แหล งน�ํา เพื่อใช พลังงานแสงอาทิตย ผลิตไฟฟ าชาร จไฟเก็บไว ในแบตเตอรี่ ซึ่งใน ระยะเริ่มต นเรามอบแบตเตอรี่ให ชุมชนฟรี และให ราษฎรจัดตั้งกรรมการชุมชน ขึ้นมาบริหารการเก็บเงินค าชาร จไฟกันเอง เช น ครั้งละ 10-30 บาท ทุกบ านจะ มีแบตเตอรี่ชาร จไฟแล วใช งานแต ละวันได นานต อเนื่อง 4 ชั่วโมง หลังจากนั้น 2 ป เ มื่ อ แบตเตอรี่ ห มดอายุ ง าน ชาวบ า นต อ งซื้ อ แบตเตอรี่ ใ หม ม าเปลี่ ย นเอง หรือกู เงินจากกรรมการชุมชนมาซื้อ ราคาลูกละประมาณ 2,000-3,000 บาท “ในช ว งที่ ผ มทํ า งานอยู เ รามี โ ครงการนี้ อ ยู ป ระมาณ 1,400 แห ง ซึ่ ง ทุ ก วันนี้ทาง พพ. ก็ยังดูแลรักษามาอย างต อเนื่อง และทยอยมอบให ชุมชนดูแลต อไป อย างไรก็ตามหากมีป ญหาด านเทคนิคทาง พพ. ก็ยังเข าไปให ความช วยเหลือ ชาวบ านอยู “นอกจากนี้เรายังส งเสริมการใช พลังงานทดแทนชนิดอื่นอีก เช น พลังงาน ลม ไบโอดีเซล แก สโซฮอล พลังงานชีวมวล เตาเผาถ าน 200 ลิตร เตามหาเศรษฐี บ อหมักก าซชีวภาพ เป นต น แต ไม ใช เรื่องง าย เพราะในพื้นที่ซึ่งชุมชน

94 P 86-97 (TL6).indd 94

มี เ งิ น ซื้ อ ก า ซหุ ง ต ม LPG เขาก็ ไ ม อ ยากเอาขี้ ห มู ห รื อ เศษอาหารมาหมักเป นก าซ ขี้เกียจมานั่งแยกขยะให เป น ภาระ และส งกลิ่นเหม็น เราต องค อยๆ แนะนําและ ปลู ก จิ ต สํ า นึ ก ให เ ขาเห็ น ความสํ า คั ญ ว า ถ า ไม นํ า ขยะ อินทรีย ขยะรียูสและรีไซเคิลมาใช ประโยชน ก็จะกลาย เป น กองขยะอยู ใ นหมู บ า นของเขาเอง แต ถ า นํ า มา ใช ป ระโยชน ขยะก็ จ ะหายไปโดยปริ ย าย เหลื อ ฝ ง กลบไม เกิน 20 เปอร เซ็นต “ความสํ า เร็ จ จากแผนพั ฒ นาพลั ง งานทดแทน ในสมัยของผม ป จจุบันได รับการต อยอด โดยเพิ่มเป า เป น 25 เปอร เซ็นต ภายในป 2564 ผมแน ใจว าถ ารัฐ ให งบประมาณเต็มที่จะสามารถทําได สําเร็จตามแผน ในกลุ มอาเซียนประเทศไทยนําหน าประเทศอื่นๆ เรื่อง พลั ง งานทดแทน เรามี เ ทคโนโลยี ที่ พ ร อ มกว า โดย เฉพาะโครงการไฟฟ าพลังน�ําชนบท ผมว าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนยังไม มีใครทําได มากกว าประเทศไทย “ต อ งยอมรั บ ว า งบประมาณสํ า หรั บ แผนพั ฒ นา พลั ง งานทดแทนถื อ ว า น อ ยมาก ผมใช วิ ธี บ ริ ห าร งบประมาณโดยเลือกโครงการสําคัญที่ให ความคุ มค าในเชิงพาณิชย หรือจะคุ มค า ภายในอนาคตอันใกล และสามารถขยายผลได อย างกว างขวางมาทําก อน หลาย ครั้งที่เราของบประมาณไปแล วไม ได แต เราเห็นว าเป นโครงการสําคัญ และชาว บ านต องการจริงๆ เราก็ต องต อสู ชี้แจงให ทุกฝ ายที่เกี่ยวข องเข าใจ “ในการประชุมกับสํานักงบประมาณ กองทุนอนุรักษ พลังงาน หรือหน วย งานต างประเทศที่ให ความช วยเหลือ ผมในฐานะอธิบดี จะไปด วยตัวเองทุกครั้ง เว นแต ติดภารกิจสําคัญเร งด วน เพื่อแสดงให เขาเห็นว าเป นโครงการสําคัญที่ต อง รีบดําเนินการ เราต องไปต อสู ด วยหลักการว า โครงการคุ มค าอย างไร ประชาชน และภาครัฐได ประโยชน อย างไร ทําไมจึงไม ควรตัดงบประมาณของเรา ผลคือ จากเมื่อก อนเราไม เคยได งบประมาณเรื่องพลังงานทดแทนถึง 100 ล านบาท แต ในสมัยที่ผมเป นอธิบดี ได มาหลายร อยล านบาท และยังเป นครั้งแรกที่ได รับ งบประมาณก อ สร า งโครงการไฟฟ า พลั ง น�ํ า จากกองทุ น อนุ รั ก ษ พ ลั ง งาน จากที่ เ มื่ อ ก อ นไม เ คยได เ ลย แต ถ า หากทุ ก คนไม ต อ สู ดิ้ น รนโดยคิ ด ว า เป น ข าราชการซึ่งไม ได อะไรเป นค าตอบแทนนอกจากเงินเดือน หรือถึงจะทํางาน หนัก และพยายามดิ้นรนต อสู ขนาดไหน ก็ยังได เงินเดือนเท าเดิมอยู ดี ถ าทุกคน คิดอย างนี้ก็จบ โครงการที่วางไว จะสูญเปล า “สําหรับผมการทํางานที่นี่ถึงจะเหนื่อยมากแต ก็สนุก เพราะได ทําในสิ่งที่เรา ชอบ มีความสุขที่เห็นราษฎรมีความเป นอยู ที่ดีขึ้น และการทํางานร วมกับชาวบ าน เจ าหน าที่ของเราต องใจเย็น ชาวบ านต อว าเราได แต เราต อว าเขากลับไม ได แต ต องพยายามอธิบายให ชาวบ านเข าใจให ได ” 60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:31


จุดกระแสการลงทุน ด านพลังงานทดแทน และอนุรักษ พลังงาน

งานในหน าที่รับผิดชอบ ของ พพ. มีความสําคัญ ต อประเทศในระดับสูง… เปรียบเหมือน ฟ นเฟ องสําคัญในการ ขับเคลื่อนประเทศ”

ไกรฤทธ�์ นิลคูหา

อดีตอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ พลังงาน (2552-2555)

“ผมเริ่มชีวิตราชการในสายงานที่ร่ําเรียนมาโดยตรง คือวิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมป โตรเลียม ที่กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งต อมา ความรับผิดชอบนี้ย ายมาอยู ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ทําให ผมได เข ามาเป นส วนหนึ่งของการบุกเบิกและดูแลงานด านการสํารวจและผลิต ป โตรเลียมของประเทศ ทั้งบนบกและใต ทะเล น�ํามันและก าซธรรมชาติ ภายหลัง ผมได รับมอบหมายให รับผิดชอบงานนโยบายที่กว างขวางขึ้นในฐานะรองปลัด กระทรวงพลังงาน และช วงสุดท ายของชีวิตข าราชการ ผมก็ได มาดํารงตําแหน ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ พลังงาน (พพ.) รับผิดชอบงาน ส งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ พลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทนในทุก เทคโนโลยี “หน า ที่ รั บ ผิ ด ชอบของ พพ. มี ม ากมาย และหลายด า น ทั้ ง การอนุ รั ก ษ พลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทนรูปแบบต างๆ ไม ว าจะเป นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล ซึ่ง พพ. ได ดําเนินการ และวางรากฐานมาเป นเวลานาน จนทําให สังคมไทยเกิดความตระหนักในเรื่องนี้ เพิ่มขึ้นและกว างขวางขึ้นอย างมาก สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 86-97 (TL6).indd 95

“ในช วงเวลา 2 ป กว าที่ผมได เข ามารับผิดชอบงานที่นี่ ผมและเจ าหน าที่ของ พพ. ได ช ว ยกั น ผลั ก ดั น จนเกิ ด เป น กระแสการลงทุ น ด า นพลั ง งานทดแทนขึ้ น ในผู ป ระกอบการ รวมถึ ง การสร า งและยกระดั บ แผนแม บ ทพลั ง งานทดแทน สู วาระแห งชาติ ถือได ว าเป นการก าวเข าสู ยุคการพัฒนาและส งเสริมพลังงาน ทดแทนอย างจริงจัง “เราได กําหนดนโยบายที่เอื้ออํานวยต อการลงทุน การจัดมาตรการสร าง ความเชื่อมั่นให แก ผู ลงทุน การจัดมาตรการส งเสริมด านการเงิน เพื่อกระตุ น ให เกิดการลงทุนด านพลังงานทดแทน เช น กองทุนร วมทุนพลังงาน หรือ ESCO Venture Capital Fund หรือมาตรการเงินกู ดอกเบี้ยต่ําสําหรับการลงทุนในพลัง งานทดแทน ทั้งนี้เพื่อให บรรลุผลตามเป าหมาย คือแผนแนวทางการพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ พลังงานทางเลือก ร อยละ 25 ใน 10 ป (25532564) รวมทั้งแผนอนุรักษ พลังงาน 20 ป ตามนโยบายรัฐบาล “งานในหน าที่รับผิดชอบของ พพ. ทั้งเรื่องการอนุรักษ พลังงานและการ พัฒนาพลังงานทดแทนมีความสําคัญต อประเทศในระดับสูง และความมุ งหวัง ของทุกภาคส วนก็อยากให สัมฤทธิผลโดยเร็ว เจ าหน าที่ทุกคนของ พพ. เปรียบ เหมือนฟ นเฟ องสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศ นอกจากเพื่อเศรษฐกิจและความ เป นอยู ของคนไทยแล ว ยังเพื่อความอยู รอดของมนุษยชาติด วย”

95 24/12/2012 20:31


2552 นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา ดํารงตําแหนงเปนอธิบดีกรมพลังงาน ทดแทนและอนุรักษพลังงาน (2552-2555)

2553 สงเสริมธุรกิจ “บริษัทจัดการ พลังงาน” หรือ Energy Service Company (ESCO) เพื่อเผยแพร และแนะนําธุรกิจ ESCO รวมทั้งสราง ความเขาใจระหวางบริษัทจัดการ พลังงานกับสถาบันการเงิน เพื่อชวย กันผลักดันการอนุรักษพลังงาน ในภาคอุตสาหกรรม

เปดใชกังหันลมผลิตไฟฟา ขนาดใหญที่สุดของประเทศไทย ที่บานทะเลปง ตําบลหัวไทร อําเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมกับสํานักงานคณะกรรมการ มีกําลังผลิตไฟฟาขนาด 1.5 สงเสริมการลงทุน (BOI) ตออายุ เมกะวัตต จายกระแสไฟฟาเขา มาตรการสิทธิประโยชนทางภาษีเพื่อ ระบบของ กฟภ. การอนุรักษพลังงาน โดยยกเวนภาษี เงินไดนิติบุคคลและยกเวนอากร ขาเขาเครื่องจักรหรืออุปกรณประหยัด พลังงานใหแกบริษัทที่เปนผูผลิต หรือนําเขาเครื่องจักรหรืออุปกรณ และบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO)

จัดตั้ง “ศูนยบริการวิชาการ” ทําหนาที่เปนศูนยสาธิตการใช เทคโนโลยีพลังงานดานตางๆ เชน พัฒนาตนแบบสาธิตระบบผลิต ชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย กาซชีวมวลสําหรับผลิตพลังงาน การอนุรักษพลังงาน ฯลฯ ใหความรู ความรอน (Biomass Gasification) แกประชาชนและหนวยงานตางๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก มีสํานักงานจัดตั้งอยูในทุกภูมิภาค ที่บริษัทอุตสาหกรรมการเกษตรเขาคอ (ปจจุบันมี 10 แหง) จํากัด จังหวัดเพชรบูรณ โดยใชซังขาวโพดเปนเชื้อเพลิง กระทรวงพลังงานออกกฎ กระทรวงกําหนดใหอาคารที่มีพื้นที่ สงเสริมรถยนต FFV (Flexible ตั้งแต 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป Fuel Vehicle) ซึ่งใชเชื้อเพลิงไดทั้ง ตองมีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ น้ํามันเบนซินและแกสโซฮอลที่มีสวน พลังงาน (Building Energy Code) ผสมเอทานอลไมนอยกวา 85 โดยเปนอาคารประเภทสถานพยาบาล เปอรเซ็นต โดยชดเชยภาษี สถานศึกษา สํานักงาน อาคาร สรรพสามิตรถยนตจากเงินกองทุน โรงมหรสพ โรงแรม สถานบริการ น้ํามันใหแกบริษัทจําหนายรถยนต และหางสรรพสินคาหรือศูนยการคา

96 P 86-97 (TL6).indd 96

ติดตั้งกังหันลมขนาดเล็กเพื่อ การผลิตไฟฟาในสถานีพัฒนาการ เกษตรที่สูงตามพระราชดําริ ดอยมอนลาน อําเภอพราว จังหวัดเชียงใหม และศูนยศึกษาการ พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริ 5 แหง เริ่มโครงการศึกษาพัฒนาระบบ ผลิตกาซชีวมวลในการสูบน้ําเพื่อการ เกษตร ติดตั้งแหงแรกที่สถานีสูบน้ํา บานสรางแกว ตําบลโพธิ์ไทร อําเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี โดยใชเชื้อเพลิง คือไมโตเร็วและเครื่องยนตกาซชีวมวล ที่ดัดแปลงจากเครื่องยนตดีเซล จัดทําโครงการสาธิตระบบ ผลิตกาซชีวภาพจากขยะตลาดสด ใน กทม. ที่ตลาดองคการตลาด เพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) เปนแหงแรกและเริ่มเปดใชงาน โดยใชขยะอินทรีย เชน เศษพืชผัก ผลไม และเศษอาหาร มาผลิตกาซชีวภาพและใชเปน พลังงานทดแทน

ขยายผล “โครงการขอรับสิทธิ ประโยชนยกเวนภาษีเงินไดจากกรม สรรพากร” ใหแกบริษัทรานคาที่ซื้อ เครื่องจักรหรืออุปกรณที่มีผลตอการ ประหยัดพลังงานที่ผานเกณฑรับรอง จาก พพ. ไปใชงาน เชน ตูเย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลมไฟฟา หมอหุงขาวไฟฟา หลอดไฟฟา T5 ฯลฯ จัดทํา “โครงการสงเสริมวัสดุ และอุปกรณเพื่อการอนุรักษพลังงาน” โดยสนับสนุนเงินใหเปลาแกโรงงาน และอาคารเพื่อลงทุนในเครื่องจักร วัสดุและอุปกรณที่มีผลตอการ ประหยัดพลังงาน เชน การเปลี่ยน หลอดฟลูออเรสเซนต การติดตั้ง อุปกรณปรับความเร็วรอบมอเตอร ฯลฯ

กังหันลมขนาดเล็ก ที่สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดําริ ดอยมอนลาน

60 ป จาก “การพลังงานแหงชาติ” 24/12/2012 20:32


2554 โครงการตนแบบ เกาะพลังงานสะอาด หรือ Green Island คัดเลือกเกาะพะลวย ในหมูเกาะอางทอง จังหวัดสุราษฎรธานี เปนพื้นที่พัฒนา เปนเกาะตนแบบพลังงานสะอาด แหงแรกของประเทศไทย

2555 คณะกรรมการนโยบายพลังงาน แหงชาติ (กพช.) ประกาศแผน อนุรักษพลังงาน 20 ป (2554-2573) กําหนดมาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อลดระดับการใชพลังงานตอผลผลิต (EI) ลง 25 เปอรเซ็นต ใน 20 ป และแผนสงเสริมการพัฒนาพลังงาน ทดแทนและพลังงานทางเลือก 25 เปอรเซ็นต ใน 10 ป (2555-2564)

ประเทศไทยเขารวมโครงการ APEC Low Carbon Model Town (LCMT) หรือโครงการพัฒนาเมือง คารบอนต่ําในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟก วันที่ 24-26 มีนาคม โดยเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎรธานี ประเทศไทยเปนเจาภาพจัดการ ไดรับการคัดเลือกเปนตัวแทนของไทย ประชุมองคการพลังงานโลก สําหรับโซนเอเชีย (WEC Asia Regional Meeting)

ริเริ่มและสงเสริมโครงการ การใชกาซชีวภาพอัดสําหรับยานยนต (Compressed Biogas) โดยเริ่มโครงการนํารองที่จังหวัด เชียงใหม

นายอํานวย ทองสถิตย ดํารงตําแหนงเปนอธิบดีกรมพลังงาน ทดแทนและอนุรักษพลังงาน (2555 -ปจจุบัน) ดําเนินงาน “โครงการรณรงค การอนุรักษพลังงานรูปแบบสมัครใจ” หรือ Voluntary Agreement (VA) เพื่อสรางเครือขายขององคกรทั้งภาค อุตสาหกรรมและธุรกิจบริการที่ตั้งใจ อนุรักษพลังงานใหเหนือกวาที่ กฎหมายกําหนด ดําเนินงาน “โครงการสงเสริม การผลิตกาซชีวภาพจากน้ําเสีย โรงงานอุตสาหกรรม” ในโรงงาน ตัวอยางสี่แหง โดยเนนโรงงาน ประเภทโรงงานกระดาษ โรงงานกรดมะนาว และโรงงานแปงมันสําปะหลัง ตอยอด “โครงการอนุรักษ พลังงานแบบมีสวนรวมโดยโรงงาน อุตสาหกรรม และอาคารธุรกิจ ขนาดกลาง” ริเริ่มแนวความคิดและนโยบาย “สถานีผลิตพลังงานชุมชน” (Distributed Green GenerationDGG) ดําเนินงานโครงการ “มหกรรม สินคาเบอร 5 เยียวยาผูประสบ อุทกภัย” โดยการแจกคูปองสวนลด 2,000 บาทตอคน สําหรับซื้อ อุปกรณเครื่องใชไฟฟาที่ไดรับ ฉลากประหยัดพลังงานเบอร 5

สู “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน” P 86-97 (TL6).indd 97

97 24/12/2012 20:32


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.