บทสนทนาเฟดรัสและไอออน ของ เพลโต

Page 1

PLATO

เพลโต ΠΛΆΤΩΝ

บทสนทนาเฟดรัสและไอออน ของ เพลโต ΦΑΙ͂ΔΡΟ | Σ ἼΩΝ

อู่ทอง โฆวินทะ และ ศุภมิตร เขมาลีลากุล แปล บทนำ� และบทส่งท้าย อู่ทอง โฆวินทะ เขียน

COMMONBOOKS 2015


สารบัญ สาส์นจากผู้แปล ����������������������������������������������������������������������������������������  7 บทนำ�เฟดรัส �������������������������������������������������������������������������������������������  13 บทสนทนาเฟดรัส ������������������������������������������������������������������������������������  50 บทนำ�ไอออน ����������������������������������������������������������������������������������������  157 บทสนทนาไอออน ����������������������������������������������������������������������������������  160 บทส่งท้าย ��������������������������������������������������������������������������������������������  193 บรรณานุกรม ����������������������������������������������������������������������������������������  225 ดัชนี ����������������������������������������������������������������������������������������������������  227 เกี่ยวกับบรรณาธิการและนักแปล �������������������������������������������������������������  239


บทนำ�เฟดรัส “A text is not a text unless it hides from the first comer, from the first glance, the law of its composition and the rules of its game.” “Let us begin again. Therefore the dissimulation of the woven texture can in any case take centuries to undo its web.” Jacques Derrida, “Plato’s Pharmacy”

ความโดดเด่นของบทสนทนาเฟดรัสดูจะอยู่ที่ความไม่เหมือนมากกว่าความเหมือน เมื่อเปรียบเทียบกับบทสนทนาชิ้นอื่นของเพลโต ผิดแผกจากบทสนทนาที่โดดเด่นชิ้นอื่นของเพลโต อาทิ Republic และ Symposium ที่ไม่เคยมีผู้ ใดเคลือบแคลงใจในความเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อหาและลีลา การประพันธ์ เฟดรัสเป็นบทสนทนาที่เต็มไปด้วยข้อกังขาและถูกตั้งค�ำถามมาโดย ตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเนื้อหาหรือความเป็นเอกภาพของบทสนทนา รวมถึงเป็น บทสนทนาว่าด้วยเรื่องอะไรแน่ เนื่องจากเฟดรัสเป็นบทสนทนาที่มีหลายเรื่องตั้งแต่ เรื่องความรัก ความงามของจิตวิญญาณที่เป็นอมตะ ความจริง การพูดการเขียน วาทศิลป์ (rhetoric) และวิพากษ์วิธี (dialectic)1 หรือปรัชญาที่ถูกถักทออยู่ในเรื่อง เดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดค�ำถามที่ตามมาว่าประเด็นใดคือประเด็นหลัก (theme) และ 1  ในบทสนทนาเฟดรัส เพลโตได้ให้ค�ำจ�ำกัดความใหม่ต่อค�ำว่า dialectic ว่าเป็นการ (รู้จัก) แยกแยะ และรวบรวม (divisions and collections) ผู้เขียนจึงเลือกใช้ค�ำว่า “วิพากษ์วิธี” ซึ่งมีความหมายว่า พิจารณาตัดสิน แทนค�ำว่า “วิภาษวิธี​”​ ซึ่งมีความหมายว่าการแย้งด้วยเหตุผล ตามศัพท์บัญญัติของ ราชบัณฑิต


ประเด็นใดคือประเด็นรอง (epilogue) ของบทสนทนาชิ้นนี้ เฟดรัสเป็นบทสนทนาที่ ว่าด้วยเรื่องความรักเช่นเดียวกับ Symposium หรือความงามของจิตวิญญาณที่เป็น อมตะ (on the beautiful soul) เช่นเดียวกับ Phaedo หรือเป็นทฤษฎีวาทศิลป์ของ เพลโต เหตุใดเพลโตจึงน�ำหลากหลายประเด็นเข้ามาอยู่ในบทสนทนาเดียวกัน ประเด็นเหล่านี้สัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร เพลโตมีจุดประสงค์ใดอยู่เบื้องหลังการ ประพันธ์ที่ซับซ้อนดังกล่าว ความไม่เหมือนประการต่อมาอยู่ที่ฉากที่แปลกแตกต่างจากบทสนทนาชิ้นอื่น ของเพลโตที่ล้วนมีฉากอยู่ภายในตัวนครเอเธนส์ ยกเว้นบทสนทนาชิ้นสุดท้ายที่ชื่อ ว่า Laws2 เฟดรัสเป็นบทสนทนาท่ามกลางธรรมชาติที่น่ารื่นรมย์นอกก�ำแพงนคร เอเธนส์ ซึ่งเป็นการพูดคุยตามล�ำพังสองต่อสองระหว่างมิตรที่รักในสุนทรพจน์คือ โสกราตีสและเฟดรัส การสร้างบรรยากาศหรือฉากที่แปลกใหม่ดูจะเปิดโอกาสให้ เพลโตได้สอดแทรกความคิดความอ่านในประเด็นส�ำคัญที่แตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น ก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรัก เรื่องของข้อพิพาทระหว่างปราชญ์และ กวี3 นอกจากนี้ ฉากที่แปลกยังเอื้อให้เพลโตได้หยิบยกต�ำนานแปลก ๆ มาเป็นตัว ช่วยในการถักทอประเด็นที่หลากหลายเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่นต�ำนานของวายุเทพ แห่งทิศเหนือบอเรียซ (Boreas) ต�ำนานเรื่องจิตวิญญาณที่เป็นอมตะ ต�ำนานจักจั่น และที่ส�ำคัญคือต�ำนานเทพธุท (Thoth) ที่เฟดรัสถึงกับติงว่าน่าจะเป็นต�ำนานที่โสกราตีสได้จินตนาการขึ้นเองมากกว่า ความแปลกของเนื้อเรื่อง ฉาก และต�ำนานหรือเรื่องเล่าเหล่านี้ ล้วนมีส่วนที่ ท�ำให้บทสนทนาเฟดรัสถูกมองว่าเป็นบทสนทนาที่มีความขัดแย้งไม่ลงตัว (controversial) แต่ในขณะเดียวกันก็ได้กลายเป็นบทสนทนาที่มีความส�ำคัญโดดเด่นน่าสนใจ ชวนให้ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง *****

2  เป็ น บทสนทนาที่ มี ฉ ากของการเดิ น ทางของบุ ค คลที่ เ จริญ ทั้ ง ด้ า นคุ ณ วุ ฒิ แ ละวั ย วุ ฒิ ส ามท่ า น ได้แก่ ไครเนียส (Clinias) จากครีท (Crete) เมกิลลัส (Megillus) จากสปาร์ตา (Sparta) และผู้ไม่ออก นามจากนครเอเธนส์ที่เดินทางทางเท้าจากนครโนสโซส (Knossos) บนเกาะครีทไปยังเขาไอดา (Ida) สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของเทพซุส (Zeus) 3  เช่นที่ปรากฏใน Republic Book 10 มองศิลปะว่าคือการเลียนแบบความจริงถึงสามต่อ ซึ่งกล่าวว่าที่ กวีอ้างว่าตนรู้นั้นมิได้รู้จริง จึงจ�ำเป็นต้องขับกวีเหล่านั้นออกนอกนครรัฐ (4)


บทสนทนาเฟดรัส ΦΑΙ͂ΔΡΟΣ

แปลโดย

อู่ทอง โฆวินทะ ศุภมิตร เขมาลีลากุล


ΦΑΙ͂ΔΡΟΣ

274d

274e

โสกราตีส : ฉันได้ยินมาว่า ในหมู่ทวยเทพของเมืองเนาเครติสใน อียิปต์ มีเทพองค์หนึ่งมีนกศักดิ์สิทธิ์เรียกว่านกช้อน1 เทพองค์นี้มี พระนามว่าธุท2 พระองค์ค้นพบตัวเลขและการค�ำนวณ เรขาคณิต และดาราศาสตร์ ตลอดจนหมากรุกและเกมลูกเต๋า และเหนือสิ่ง อื่นใดพระองค์เป็นคนแรกที่ได้ค้นพบการเขียนอักขระ พระเจ้าแผ่นดินของอียิปต์ในสมัยนั้นคือ เทพธามุส3ซึ่ง ประทับอยู่ ณ มหานครทางตอนบนที่ชาวกรีกเรียกว่านครธีปส์ของ อียิปต์ ชาวอียิปต์เรียกเทพธามุสว่าเทพอัมม็อน เทพธุททรงเข้า เฝ้าพระองค์แล้วน�ำเสนอศิลปะวิทยาการหลากหลายที่พระองค์ได้ คิดค้น พร้อมทั้งกราบทูลว่าสมควรจะเผยแพร่ศิลปวิทยาการเหล่า นี้แก่ชาวอียิปต์ เทพธามุสตรัสถามถึงคุณประโยชน์ของศิลปวิทยา เหล่านี้ ครั้นเทพธุทแจกแจงให้ฟัง พระองค์ก็ตรัสต�ำหนิติเตียนสิ่ง ที่พระองค์คิดว่าเป็นข้อเสีย และเราทราบมาว่าเทพธามุสทรงมี ความเห็นสนับสนุนและแย้งอยู่หลายเรื่องในศิลปวิทยาการแต่ละ แขนง คงจะใช้เวลายืดยาวที่จะเล่าและแจกแจงรายละเอียดเหล่านี้ แต่เมื่อกล่าวถึงเรื่องการเขียน เทพธุทตรัสว่า “ดูก่อน พระองค์

1  นกช้อนเป็นนกสีขาว แต่หัว ล�ำคอ และปลายปีกสีด�ำ เชื่อกันว่าเทพธุท (Theuth หรือ Thoth) อวตารลงมาเป็นนกชนิดนี้ ชาวอียิปต์จึงให้ความส�ำคัญกับนกนี้ 2  ธุทเป็นเทพแห่งการเขียน การวัดและการค�ำนวณ รูปปั้นเทพธุทในยุคแรก ๆ เป็นรูป นกช้อน (ibis) เชื่อกันว่าเทพธุทประดิษฐ์คิดค้นการเขียน พระองค์จึงเป็นเทพคุ้มครอง ของนักเขียน นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าเทพธุทเป็นลิ้นหรือหัวใจของสุริยเทพคือเทพรา (Ra หรือ Re) ชาวกรีกคิดว่าธุทก็คือเทพเฮอร์มีส เพลโตยังเอ่ยถึงธุทในเรื่องเกี่ยวกับ พยัญชนะใน Philebus (18b) 3  ธามุส (Thamus) เป็นชื่อกรีกของเทพอัมม็อน (Ammon) เหตุที่อัมม็อนคือเทวราช ของเทพยดาอียิปต์ ชาวอียิปต์จึงเคารพสักการะเทพอัมม็อนว่าเป็นองค์เดียวกับสุริย เทพคือ เทพรา ส่วนชาวกรีกก็นับถือว่าเป็นเทพองค์เดียวกับเทพซุส

6

PHAEDRUS


ΠΛΆΤΩΝ

275a

275b

นีค่ อื ความรูท้ จี่ ะท�ำให้ชาวอียปิ ต์มปี ญ ั ญามากขึน้ และมีความทรงจ�ำ ดีขึ้น สิ่งที่ข้าค้นพบคือทิพยโอสถส�ำหรับความจ�ำและปัญญา4เลยที เดียว” แต่เทพธามุสทรงตอบว่า “ดูก่อนเทพธุท ท่านผู้ทรงภูมิทาง ศิลปวิทยา เมื่อคนผู้หนึ่งสามารถรังสรรค์ศิลปวิทยาการ ผู้ที่จะ ตัดสินคุณและโทษแก่ผู้ที่ใช้ศิลปะนั้นย่อมเป็นหน้าที่ของบุคคลอื่น ในเมื่อพระองค์ทรงเป็นบิดาของการเขียน พระองค์ย่อมมีจิต ปฏิพัทธ์ต่อการเขียนจนท�ำให้พระองค์พรรณนาผลที่ได้จากการ เขียนที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ตามข้อเท็จจริง การเขียนจะ ก่อให้เกิดการหลงลืมขึ้นในจิตวิญญาณของผู้ที่ได้เรียนรู้ พวกเขา ย่อมเลิกฝึกใช้ความจ�ำเพราะไว้เนื้อเชื่อใจในลายลักษณ์อักษรที่อยู่ ภายนอกและหวังพึ่งพาสัญลักษณ์อันเป็นของผู้อื่น แทนที่จะ พยายามจดจ�ำสิ่งที่จารึกอยู่ภายในตัวเขา อันเป็นการยืนอยู่ได้ด้วย ตนเอง สิ่งที่พระองค์ทรงค้นพบนั้นหาใช่โอสถส�ำหรับความจ�ำไม่ แต่เป็นโอสถอันช่วยเตือนความจ�ำต่างหาก สิ่งที่พระองค์ทรงหยิบ ยื่นให้ศิษยานุศิษย์หาใช่เป็นปัญญาที่แท้ไม่ แต่เป็นเพียงสิ่งที่คล้าย กับปัญญา ทั้งนี้ จากการที่พระองค์ค้นพบและพร�่ำบอกหลายสิ่ง หลายอย่างมากมายแก่ศิษยานุศิษย์โดยมิได้สอนในสิ่งที่ถูกที่ควร แก่พวกเขา พระองค์จะท�ำให้พวกเขานึกว่าพวกเขารู้อะไรมาก ทั้งที่พวกเขามิได้รู้อะไรเลย และท�ำให้คนเหล่านี้เป็นคนยากที่จะ คบหาสมาคมด้วย เพราะพวกเขาเพียงดูเหมือนเป็นผู้มีปัญญา แต่หาได้มีปัญญาโดยแท้จริงไม่”

4  “โอสถส�ำหรับความจ�ำและปัญญา” Pharmakon (โอสถ, เภสัช) หมายถึง ยา ยาพิษ ยาในทางเวทย์มนต์ ดู เฟดรัส (230d6 และ 275a5) และ Jacques Derrida, “Plato’s Pharmacy”, Dissemination.

7

PLATO


บทส่งท้าย

การน�ำสองบทสนทนาเฟดรัส และไอออน มาอยู่ในเล่มเดียวกันมิใช่เรื่องแปลกใหม่1 หรือบังเอิญ เนื่องจากทั้งสองบทมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงคาบเกี่ยวกันอย่างมีนัยส�ำคัญใน เรื่องของวาทศิลป์และปรัชญา หรือที่มักนิยมเรียกขานว่า ข้อพิพาทระหว่างกวีนิพนธ์ และปรัชญา (The battle between poetry and philosophy) ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็น ส�ำคัญที่ปรากฏอยู่ในอีกหลากหลายบทสนทนาตลอดชีวิตการประพันธ์ของเพลโต และเนื่องจากสองบทสนทนามีระยะห่างด้านเวลาของการประพันธ์กว่าสามสิบปี การน�ำสองบทสนทนามาอ่านควบคู่กันในเชิงเปรียบเทียบน่าจะเผยให้เราเห็นถึง พัฒนาการทางความคิดของเพลโตจากช่วงต้น (Socratic dialogues) สู่ช่วงกลางตอน ปลาย (ซึ่งเป็นช่วงสุกงอมทางความคิดของเขา) ได้ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกัน มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในเรื่องของความคิดเกี่ยวกับกวี (ตลอดจนนักวาทศิลป์) และนักปรัชญา ดังนั้นความเข้าใจที่กระจ่างขึ้นในประเด็นเหล่านี้น่าจะตอบค�ำถามได้ เป็นอย่างดีในระดับหนึ่งว่าเหตุใดเรื่องของวาทศิลป์หรือการพูดและการเขียนจึงมี 1  Commentaries on Plato Volume 1, Phaedrus and Ion Press (2008)

โดย Marsilio Ficino, Harvard University


ความส�ำคัญยิ่งต่อเพลโต และเพลโตมีจุดประสงค์ใดในการ “เปิดศึก” กับกวีนิพนธ์ โดยเฉพาะผลงานของโฮเมอร์ (Homer) ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์ของ อารยธรรมกรีกโบราณ ผู้ที่โสกราตีสในไอออนได้ขนานนามว่าเป็นสุดยอดของกวีที่มี ความเป็นเทพมากที่สุด ในฐานะที่ “ปรัชญา” ของเพลโตมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต (organic)2 มีการ เติบโตและปรับเปลี่ยน ส่วนหนึ่งเกิดจากหลักเกณฑ์ของการเจริญเติบโตทางความคิด ภายในตัวเขา และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการสนองตอบของเขาต่อแรงกระตุ้นภายนอก (เช่น เหตุการณ์ทางสังคมการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเขา (ปี 427-347 ก่อน คริสตกาล) ดังนั้นการกลับไปศึกษาเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างกวีนิพนธ์และปรัชญา ซึ่งเป็นประเด็นหัวเลี้ยวหัวต่อต่อพัฒนาการทางความคิดของเพลโต น่าจะเป็นแสง สว่างให้กับการท�ำความเข้าใจ “ปรัชญา” ของเพลโตได้ในมุมกว้าง ก่อนอื่นเราคงต้องท�ำความเข้าใจถึงความหมายของค�ำว่า “เปิดศึก” หรือข้อพิพาทที่ ว่านี้ ส�ำหรับผู้ที่ติดตามอ่านบทสนทนาของเพลโตคงทราบดีว่าการ “เปิดศึก” มิได้ หมายถึงการพยายามท�ำลายล้างฝ่ายตรงข้ามให้สิ้นซาก และก็มิได้หมายถึงการ พยายามเอาชนะด้วยตรรกะตามวิธีของพวกโซฟิสต์ที่ใช้เหตุผลต้านเหตุผลของฝ่าย ตรงข้าม (anti-logic) เพื่อเอาชนะคะคานและเพื่อประโยชน์ส่วนตน แต่ในความหมาย ของการน�ำกวีนิพนธ์และปรัชญามาเผชิญหน้ากันอย่างตรงไปตรงมา (face to face confrontation) โดยการน�ำกวีนิพนธ์บางช่วงบางตอนของกวีที่สังคมกรีกในขณะนั้น ยกย่องมาพิจารณาและตรวจสอบ (cross-examination) อีกครั้งหนึ่ง ดังที่ปรากฏในทั้ง สองบทสนทนา ซึ่งก็เท่ากับเป็นการตั้งค�ำถามว่ากวีนิพนธ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ความรู้นั้น เป็นศิลปะหรือทักษะ (techne)3 จริงหรือไม่4 แต่ในขณะเดียวกันก็มิได้เป็นการประกาศตนเป็นศัตรูกับกวีแต่อย่างใด เนื่องจากเพลโตตระหนักดีถึงความเป็นกวีที่อยู่ในตัวเขา ดังที่เขาได้พิสูจน์ให้เรา 2  ถูกน�ำมาประเมินใหม่ตามช่วงต่าง ๆ ของชีวิตการประพันธ์ของเขา 3  ดูเชิงอรรถที่ 36 ของบทน�ำเฟดรัส 4  ซึ่งเป็นหนึ่งในค�ำถามที่ส�ำคัญในเฟดรัสและไอออน เนื่องจากเพลโตเชื่อว่า techne คือการเข้าถึง ธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน (เฟดรัส, 270e) (9)


ผู้อ่านเฟดรัสได้ประจักษ์ถึงฝีไม้ลายมือด้านการประพันธ์เยี่ยงกวีของเขาในด้านการ ใช้ถ้อยค�ำที่ไพเราะและโน้มน้าวในรูปแบบของการใช้อุปมาอุปไมยผสมผสานกับการ ใช้ต�ำนานในการเล่าเรื่อง ที่ท�ำให้ผู้อ่านเห็นภาพตามลักษณะของศิลปะแห่งการเลียน แบบ (memitic art) ที่กวีนิยมใช้5 ดังที่ปรากฏในสุนทรพจน์ชิ้นที่สองของโสกราตีส แม้โสกราตีสอ้างว่าสุนทรพจน์นี้เขาได้จดจ�ำมาจากกวี สเตอซิกอรัส (Stesichoras) ก็ตาม แต่เป็นไปได้มากที่ว่าเป็นผลงานเขียนของเพลโตเอง เช่นเดียวกับสุนทรพจน์ ชิ้นแรกที่อ้างว่าเป็นของไลเซียส (Lysias) และรวมทั้งสุนทรพจน์ชิ้นแรกและชิ้นที่สอง ของโสกราตีส ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าเพลโตนั้นมีความสามารถหลากหลายรูป แบบในการประพันธ์ไม่แพ้เหล่ากวีที่สังคมยกย่อง ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะ มองการ “เปิดศึก” ของเพลโตว่าเป็นการดูถูกดูแคลนกวีนิพนธ์และวาทศิลป์ แต่น่า จะเกิดจากการตระหนักรู้ของเพลโตถึงอานุภาพมหาศาลของกวีนิพนธ์ ดังค�ำกล่าว ของโสกราตีสในเฟดรัส ที่ว่า “ธรรมชาติของการพูดคือการชี้น�ำจิตวิญญาณ” (เฟดรัส, 271d) ดังนั้นการที่สังคมกรีกโบราณได้ทึกทักว่ากวีนิพนธ์คือความรู้โดยน�ำมหา กาพย์ Iliad และ Odyssey ของโฮเมอร์, Theogany และ Works and Days ของฮีเสียด (Hesiod) ตลอดจนบทกวีที่ไพเราะของกวีท่านอื่นๆ ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความเป็น เลิศ เช่น พินดาร์ (Pindar) ซัฟโฟ (Sappho) สเตอซิกอรัส และอีกหลายต่อหลายท่าน มาเป็นต�ำราเรียนให้แก่เยาวชนกรีก6 เพื่อปลูกฝังให้พวกเขาเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี ของนครรัฐนั้น เพลโตกลับมองว่าเป็นเรื่องที่หละหลวมและอันตรายยิ่ง เนื่องจาก เป็นการปฏิบัติโดยปราศจากการตรวจสอบ เพราะกวีนิพนธ์มิใช่ความรู้ทั้งหมดแม้ว่าจะเป็นผลงานของยอดกวีเช่น โฮเมอร์หรือฮีเสียดก็ตาม ทุกผลงานจ�ำต้องมีการน�ำมาตรวจสอบและคัดเลือกให้ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ดังที่เพลโตได้แจกแจงอย่างละเอียดในอุตมรัฐ เล่มที่ 2 และ 3 (Republic Book 2, 3) ว่าบทกวีเหล่านั้นมีค�ำพูดและเรื่องราวที่ไม่เหมาะสม มากมายสอดแทรกอยู่ ตัวอย่างเช่นค�ำพูดของฮีเสียดใน Theogany ที่อ้างถึงถ้อยค�ำที่ เทพธิดามิวส์ทรงตรัสกับเขาว่า “พวกเราตระหนักรู้ที่จะกล่าวค�ำลวงที่โน้มน้าวให้หมู่ 5  Republic Book 10 ค�ำจ�ำกัดความของค�ำว่าศิลปะหรือ techne คือการเลียนแบบ 6  การศึกษาภาคบังคับ นับจากอายุ 8-15 ปี (10)


มนุษย์เชื่อ และ(พวกเรา)ก็มีศิลปะหรือทักษะ(เมื่อตั้งใจ)ที่จะพูดความจริง” ค�ำพูด ดังกล่าวสามารถปลูกฝังความคิดที่บิดเบี้ยวแก่เยาวชนหรือผู้คนที่อ่อนด้อยในการใช้ เหตุผลให้คล้อยตามและใช้เหตุผลไปในทางที่ผิดเพี้ยนจากความจริง และกลายเป็น ผู้ที่คิดถึงประโยชน์ส่วนตนเหนือผลประโยชน์ส่วนรวม โดยเข้าใจว่าสัจจะเป็นเรื่อง สัมพัทธ์ ดังนั้นในสายตาของเพลโต กวีนิพนธ์ที่มิได้รับการคัดสรรอย่างเหมาะสม อาจเป็นภัยต่อการสร้างนครรัฐที่ยุติธรรม7 และจุดนี้คือสาเหตุของการขับกวีออกนอก นครรัฐในอุตมรัฐ เล่มที่ 10 แม้โสกราตีสได้กล่าวในเวลาต่อมาว่าเขาพร้อมรับพวกกวีเหล่านี้กลับเข้า นครรัฐเมื่อพวกเขาตระหนักรู้ถึงด้านบวกและด้านลบของกวีนิพนธ์ และพร้อม ผลิตผลงานที่เป็นบวกต่อการสร้างรัฐที่ยุติธรรมก็ตาม การประกาศขับไล่กวีแน่นอน ว่าเป็นความคิดที่อหังการ์มากในสังคมที่กวี “เป็นใหญ่” และมีบทบาทส�ำคัญในฐานะ ครู เนื่องจากการประกาศดังกล่าวเป็นการก�ำจัดเสรีภาพของการสร้างสรรค์ศิลปะ นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องยากส�ำหรับเสรีชน (liberals) ในยุคปัจจุบันที่จะรับได้ จุดนี้ น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เพลโตถูกมองว่าเป็นศัตรูกับกวี และปรัชญาของเขาถูกมองว่า มีลักษณะเป็นเผด็จการ (totalitarian) แต่ส�ำหรับผู้ที่ได้อ่านเฟดรัส คงได้สัมผัสถึงท่าทีของโสกราตีสที่แปรเปลี่ยน จากค�ำกล่าวของโสกราตีสที่ดูแข็งกร้าวเป็นศัตรูกับกวีและประกาศขับกวีออกนอก นครรัฐ (ในอุตมรัฐ เล่มที่ 10 ที่เป็นผลงานที่ประพันธ์ขึ้นในตอนต้นของช่วงกลางของ การประพันธ์) มาเป็นค�ำกล่าวเชิงมิตรกับกวีไลเซียส ตลอดจนโฮเมอร์ และโซลอน (Solon) ว่า “ถ้าคนเหล่านี้ประพันธ์งานของพวกเขาจากความรู้อันเป็นสัจจะแท้จริง (ความรู้ที่ตั้งอยู่บนหลักของความจริง) สามารถแก้ต่างให้กับงานเขียนของตนได้เมื่อ ถูกท้าทาย (ซึ่งหมายถึงสามารถอรรถาธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ในสิ่งที่เขา ประพันธ์) และสามารถยอมรับว่างานเขียนของตนมีค่าเพียงเล็กน้อย (ซึ่งหมายถึงไม่ ทึกทักว่าผลงานของตนเป็นสิ่งที่วิเศษสุด) คนผู้นั้นก็สมควรได้รับการขนานนามจาก สิ่งที่เขายึดถือและปฏิบัติอย่างแท้จริง มิใช่จากงานเขียน(กวีนิพนธ์)ของเขา แต่จาก การเป็นผู้รักในปัญญาหรือที่เรียกว่านักปรัชญา” (278 cd) ข้อความที่ยกมานี้นับเป็น 7  อาจกล่าวได้วา่ บทสนทนาของเพลโต โดยเฉพาะ สร้าง นครรัฐที่ยุติธรรม (11)

Republic

มีจดุ มุง่ หมายปฏิรปู การศึกษาไปสูก่ าร


ความคิดเกี่ยวกับปรัชญา (concept of philosophy) ที่แปลกใหม่ต่างจากบทสนทนา ชิ้นอื่นก่อนหน้านี้ที่มองเรื่องของกวีนิพนธ์และปรัชญาเป็นคนละเรื่องกัน แต่จาก ข้อความที่ยกมา เราจะเห็นว่าโสกราตีสได้ผนวกการใช้ถ้อยค�ำที่ไพเราะและโน้มน้าว มาเป็นส่วนของปรัชญา เหมือนกับจะบอกว่ากวีและนักวาทศิลป์ที่แท้จริงที่ยึดสัจจะ เป็นสรณะก็คือนักปรัชญาหรือผู้ที่รักในปัญญา ดังความสรุปในท้ายบทสนทนาเฟดรัส ที่มองว่าผู้ที่สามารถเข้าถึงรูปแบบสูงสุดของศิลปศาสตร์ (mousike) คือนักปรัชญา ผู้รักในความรู้ หรือนักวิพากษ์วิธี (dialectician) ผู้ที่รู้จักแยกแยะและรวบรวม (divide and collect) ในสิ่งที่ดูเหมือนและแตกต่าง ดังนั้นการผนวกความสามารถด้านกวี นิพนธ์มาเป็นส่วนของปรัชญาบอกเราดีว่าเพลโตมิได้ดูแคลนกวี ที่รักในความจริง แต่เฉพาะกวีที่พูดเก่ง ยึดหลักของการโน้มน้าวเป็นส�ำคัญ และใส่ใจในเรื่อง “ความน่า จะเป็น” ว่าส�ำคัญกว่าสัจจะ โดยไม่ค�ำนึงถึงว่าความจริงคืออะไรต่างหาก อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นว่าความคิดเกี่ยวกับกวีที่ปรากฏในเฟดรัส ดังเช่นการ จัดล�ำดับจิตวิญญาณของกวีให้อยู่ในล�ำดับที่หก ซึ่งเป็นล�ำดับเกือบท้ายสุด (มีเพียง จิตวิญญาณของทรราชที่อยู่ในล�ำดับต�่ำกว่าเท่านั้น) ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนความ คิดเกี่ยวกับนักปรัชญาที่ได้ถูกน�ำมาประเมินใหม่ (เฟดรัส, 278 cd) ที่ท�ำให้นักปรัชญา กลายเป็นผู้ที่อุทิศตนอย่างแท้จริงต่อเทพมิวส์แทนเหล่ากวี และเป็นผู้ถวายชีวิตให้ กับการรักในความรู้หรือปรัชญา ดังนั้นเพื่อเป็นการพิจารณาอย่างรอบด้านถึงจุด ประสงค์ของเพลโตในการ “เปิดศึก” ครั้งนี้ให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น แทนการด่วนตีความหรือ สรุปความคิดของเขา เราจ�ำต้องกลับไปท�ำความเข้าใจภูมิหลังหรือบริบทของสังคมใน ช่วงศตวรรษที่ 5-4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกับช่วงชีวิตของ เพลโตที่มีความส�ำคัญต่อการเสริมสร้างลักษณะนิสัยตลอดจนพัฒนาการทางความ คิดของเขา *****

(12)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.