Lai Thai Journal of Thai Language 2016

Page 1



ลายไทย

จุลสาร


จจุ​ุ ล ส า ร ล า ย ไ ท ย © ลิขสิทธิข์ องสาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร สงวนลิขสิทธิต์ ามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พิมพครั้งแรก: ตุลาคม 2559 พิมพที่ โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร จัดพิมพโดย: ฝายการนักศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ที่ปรึกษา อาจารยสังวาลย คงจันทร (หัวหนาสาขาวิชาภาษาไทย) ผูชว ยศาสตราจารย หมอมหลวงคํายวง วราสิทธิชัย ผูชว ยศาสตราจารยนา้ํ เพชร จินเลิศ ผูชว ยศาสตราจารย ดร.สุธาสินี ปยพสุนทรา อาจารยวชิราภรณ รุงโรจนชนาทิพย อาจารย ดร.สุภาพร พลายเล็ก กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ: บุปผา พิสูจนอักษร: กัญญวรา ณิชาบูล ธนณัฏฐ รัตนภรณ อาภาภรณ ภาพปก: ภควดี ถายภาพ: แพรพลอย อรณิชา

เวชชาญไชย บายฤกษดี พวงใส อารยสมโพธิ์ เลิศบัณฑิต แสงดิษฐ จันทรหอม กลอมจิตร สาลีกงชัย

บทความหรือขอเขียนในจุลสารฉบับนี้ ลิขสิทธิ์เปนของผูเขียน ผูเขียนเปนผูรบั ผิดชอบเนื้อหาและความคิดเห็นในเรื่องแตเพียงผูเดียว กองบรรณาธิการไมจําเปนตองเห็นพองหรือรับผิดชอบตอความคิดเห็นดังกลาว


ส า ร จ า ก ก อ ง บ ร ร ณ า ธิ ก า ร “เรื่องของการศึกษาเปนเรื่องที่สาํ คัญอยางยิ่งยวด เปนกุญแจไขปญหาตาง ๆ ทุกปญหาในประเทศไทย...” –ปวย อึง๊ ภากรณกองบรรณาธิการขอกลาวทักทายผูอานทุกทานดวยขอคิดเกี่ยวกับการศึกษาจากความตอนหนึ่งในหนังสือ ปวย อึ๊งภากรณ: ทัศนะวาดวยการศึกษา เพื่อเปนการเชิดชูเกียรติ เนื่องในโอกาสฉลองวาระ 100 ป ชาตกาลของ ศาสตราจารย ดร.ป ว ย อึ๊ ง ภากรณ และเพื่ อเป น การเน น ย้ํ า ถึง ความสํ า คั ญของการศึก ษาอั น เป น จุ ดเริ่ม ต น ของ การสรางสรรควิทยาการใหม ๆ หัวใจสําคัญของการศึกษาคือการเรียนรู แสวงหา และรูจักวิเคราะหแยกแยะขอมูล ดังที่ภาควิชาของเราสงเสริมใหกับนักศึกษามาโดยตลอด จุลสารลายไทยฉบับนี้ไดจัดทําขึ้นเพื่อรวบรวมบทความดานภาษาและวรรณกรรมไทยในปการศึกษา 2558 ที่สรางสรรคโดยนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิล ปศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร จากการคัดเลือกบทความที่นําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาและวรรณกรรมไทยไดอยาง นาสนใจ จุลสารฉบับนี้รวบรวมบทความทั้งหมด 9 เรื่อง ประกอบไปดวยบทความดานวรรณกรรมทั้งหมด 4 เรื่อง ไดแก บทความเรื่อง ขบวนเสรีจีน: สงคราม อํานาจ และอุดมการณ ที่ไดรับรางวัลจากการประกวดเรียงความของ มูลนิธสิ ด-เนียน กูรมะโรหิต และบทความเรื่อง อาสูผูสรางโลก: ความยิ่งใหญของผูใชแรงงาน ซึ่งลวนมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การลุกขึ้นมาตอสูเพื่ออุดมการณของตนเอง บทความวิเคราะหวรรณกรรมเรื่อง การมีตัวตนในยุคบริโภคนิยมกับ การไรตัวตนใน “นอนใตละอองหนาว” และบทความเรื่อง หัวขโมยแหงบารามอส: เติบโตดวยวรรณกรรม ที่นําเสนอ ประเด็นและขอคิดที่แฝงอยูในวรรณกรรมรวมสมัยไดอยางนาสนใจ สวนบทความดานภาษาทั้งหมด 5 เรื่องประกอบ ไปดวยบทความที่ศึกษาเกี่ยวกับการตั้งชื่อ 3 เรื่อง ไดแก การวิเคราะหการตั้งชื่อนวนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรมจาก นวนิยายแปลภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย ภาษาที่ใชในการตั้งชื่อนวนิยายรักและนวนิยายรักวัยรุนของสํานักพิมพ แจมใส และการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร อีก 2 เรื่องเปนบทความเรื่อง การศึกษาความสัมพันธทาง ความหมายของคําซอนตั้งแต 4 พยางคขึ้นไปในกฎหมายตราสามดวง หมวดพระไอยการลักษณะตระลาการ และ บทความเรื่อง การสอนวรรณยุกตไทยงายหรือยาก ซึ่งนําเสนอแนวคิดและวิธีการสอนผันวรรณยุกตอยางถูกตอง กองบรรณาธิ ก ารขอขอบพระคุ ณ คณาจารย ที่ ค อยให คํ า ปรึ ก ษาอั น มี ค า เป น อย า งยิ่ ง และขอขอบคุ ณ ผู มี ส ว นเกี่ย วของทุ กท า นที่รว มมื อรว มใจจั ด ทํา และสนั บสนุนให จุ ล สารลายไทยฉบับ ป 2559 สํ า เร็จ ลุ ล ว งดวยดี หวังเปนอยางยิ่งวาจุลสารลายไทยฉบับนี้จะเปนประโยชนแกผูอานทุกทานในดานการศึกษา รวมถึงเปนแรงบันดาลใจ เพื่อจุดประกายสรางสรรคงานวิชาการใหม ๆ ตอไป กองบรรณาธิการ


ส า ร บั ญ บทบรรณาธิการ

3

บทความวิชาการดานวรรณกรรม

5

ขบวนเสรีจีน: สงคราม อํานาจ และอุดมการณ กฤติยาภรณ สายโพธิ์คํา

7

อาสูผูสรางโลก: ความยิ่งใหญของผูใชแรงงาน ปยวรรณ เฉลิมฉัตรวณิช

12

การมีตัวตนในยุคบริโภคนิยมกับการไรตัวตนใน “นอนใตละอองหนาว” บุปผา เวชชาญไชย

17

หัวขโมยแหงบารามอส: เติบโตดวยวรรณกรรม อาภาภรณ แสงดิษฐ

29

บทความวิชาการดานภาษา

44

การศึกษาความสัมพันธทางความหมายของคําซอนตั้งแต 4 พยางคขึ้นไป ในกฎหมายตราสามดวง หมวดพระไอยการลักษณะตระลาการ รัตนาวดี สวยบํารุง

45

การสอนวรรณยุกตไทยงายหรือยาก โสภิดา โอชาพันธ

55

การตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร จักรพันธ มันจันดา

63

การวิเคราะหการตั้งชื่อนวนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรมจากนวนิยายแปลภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย วัชระ หนูแดง

73

ภาษาที่ใชในการตั้งชื่อนวนิยายรักและนวนิยายรักวัยรุนของสํานักพิมพแจมใส ประภัสสร สีหรักษ

83


บทความด านวรรณกรรม



ขบวนเสรีจีน: สงคราม อํานาจ และอุดมการณ กฤติยาภรณ สายโพธิ์คํา ขบวนเสรีจีน เปนเรื่องราวของกลุมนักศึกษาจีนที่ตอสูกับทหารญี่ปุนในสงครามจีน -ญี่ปุน นักศึกษากลุมนี้มี แนวคิดที่แตกตางจากนักตอสูกลุมอื่น ๆ ในจีน คือ นักศึกษากลุมนี้ตอสูเพื่ออิสรภาพของประชาชนชาวจีนในฐานะ ราษฎร ในฐานะประชาชนชาวจีน โดยไมตองการอํานาจทางการเมือง รางวัล หรือสิ่งตอบแทนใด ๆ เมื่อการตอสู สิ้นสุดลง พวกเขาก็จะกลับไปใชชีวิตตามเดิม เรื่องราวของขบวนเสรีจีนถายทอดผานการบอกเลาของหลูผิงเฟ หนึ่งในผูเขารวมและกอตั้ง ขบวนเสรีจีน โดย สด กูรมะโรหิต ไดกลาวไวในสวนนําเรื่องวา เรื่องนี้เปนเรื่องจริง ขาพเจาเขียนขึ้นจากบันทึกของหลูผิงเฟ นักศึกษาจีนผูหนึ่ งที่ไดเขายงยุทธ กับทหารญี่ปุนดวยตนเองในขบวนพรรคใตดิน ตั้งแตนครปกกิ่งจนถึงนครเซี่ยงไฮ เคาเรื่องเปนของ เจาของบันทึก สวนถอยคําสํานวนและสวนประกอบของทองเรื่องเปน ของขาพเจา (สด กูรมะโรหิต, 2503, น.1) ผู เ ขี ย นจะกล า วถึ ง เรื่ อ งนี้ ใ น 3 ประเด็ น ได แ ก สงคราม อํ า นาจ และอุ ด มการณ ทั้ ง 3 ประเด็ น นี้ มี ความเกี่ ย วข อ งเชื่ อ มโยงกั น ซึ่ ง จะนํ า มาสู ข อ สรุ ป ในตอนท า ยว า ด ว ยเรื่ อ งของการหยุ ด ยั้ ง ป ญ หาสงครามและ การนองเลือด สงคราม: การแสวงหาอํานาจและการทําลายลางมนุษยชาติ ตามที่ไดกลาวไวแลววา ขบวนเสรีจีนเปนเรื่องราวของกลุมนักศึกษาจีนที่ตอสูเพื่อเสรีภาพของประชาชน ชาวจีนในสมัยสงครามจีน-ญี่ปุน ทหารญี่ปุนเขาโจมตีประเทศจีนที่ลูเกาหรือสะพานมารโกโคโปโล ซึ่งอยูหางจากปกกิ่ง เพียงไมกี่ไมล จากนั้นไมนานญี่ปุนก็ยึดปกกิ่งไวได ประชาชนชาวจีนตางพากันอพยพหนีตายไปยังที่ที่ปลอดภัยกวา การเขา รุกรานประเทศจี น ในครั้ง นี้ ญี่ ปุ น ให เหตุ ผ ลว า ญี่ ปุ น ต องการปลดแอกชาวเอเชี ย จากชนผิ วขาว ดั ง ข อ ความที่ ว า “ญี่ ปุ น ได แ สดงตั ว เป น ผู ป ลดแอกของชาวอาเซี ย แต จิ ต ใจของญี่ ปุ น เป น จิ ต ใจที่ เ ราเข า ไม ไ ด ตลอดเวลา 30 ปเรารูจักญี่ปุนดี เรารูวาญี่ปุนตองการอะไร และจะทําอะไร” (สด กูรมะโรหิต, 2503, น.42) ขอความดังกลาวนี้แสดงใหเห็นวาแทจริงแลวญี่ปนุ ตองการยึดครองแผนดินจีน ซึ่งเปนวิธีการแผขยายอํานาจ ทางการเมืองของญี่ปุน ญี่ปุนไมไดตองการปลดแอกชาวเอเชียอยางที่กลาวอาง สงครามจีน-ญี่ปุนสรางความเสียหายอยางมากทั้งตอมนุษย และทรัพยสิน อาคารบานเรือนถูกทําลายดวย อาวุ ธ สงคราม ประชาชนชาวจี น ได รับ ความทุ กขท รมานอย า งมากจากภาวะสงครามผู ค นอดอยาก ไม มี อาหาร


ไมมีเสื้อผา ไมมีที่อยู ประชาชนชาวจีนตองอยูทามกลางอันตรายจากการปะทะกันระหวางทหารจีนกับทหารญี่ปุน รวมทัง้ อันตรายจากการขมเหงของทหารญี่ปุน ดังขอความที่ปรากฏในตอนหนึ่งของเรื่องวา . . . ญี่ปุนไดเขาโจมตีเขตนี้มาตั้ งแตตน การเคลื่อนไหวในทองถนนเต็มไปดวยความลําบาก รถเดินไมไดเลยเพราะฝูงคนเดินกันเต็ม ทุกคนหอบขาวของเทาที่จะเอาไปได . . . แมอุมลูก ลูกจูงพอ แมซึ่งแกชราผมขาว ผัวประคองเมียซึ่งเดินไมทัน พวกผูหญิงที่รัดเทาเล็กตามประเพณีเกาได รับ ความลําบากมาก เพราะเดินกระโผลกกระเผลกชายิ่งกวาคลาน แตความกลัวตายทําใหตอ งพยายาม หิ้วรางของตนเดินตอไปโดยที่ไมรูจะไปที่ไหน อยูที่ไหน และมีอะไรกินหรือไม . . . (สด กูรมะโรหิต, 2503, น.69) สงครามไม ไ ด เพี ย งแต ส รา งความทุ ก ขท รมานให กับ ประชาชนทั่ ว ไปเท า นั้ น แต ส งครามยังทํ า ลายล า ง มนุษยชาติอีกดวย มนุษยตองเขนฆากันเองทั้งที่ไมไดมีความโกรธแคนใด ๆ ตอกันเปนการสวนตัว ไมเคยรูจักกันและ ไมเคยพบกันมากอน แตตอ งเขนฆากันเพราะหนาที่และความจําเปน ตองทําลายฝายตรงขามใหมากที่สุดเทาที่จะทําได เพื่อใหฝายตรงขามปราชัย และยอมจํานนตออํานาจของฝายตน นอกจากนี้สงครามยังทําใหคนชาติเดียวกันตองเขนฆากันเอง จะเห็นวาคนจีนหลายคนเขารวมกับฝายญี่ปุน ในการทําลายชาติของตน เชน หวางจือหลิน ประธานกรรมการองคการคาของจีนประจําเทียนสิน เขาบีบบังคับให พ อค า จี น ขายกิจการให แกญี่ปุนในราคาต่ํ า หวางจื อหลิน เขา รว มกับ ฝายญี่ปุนเพราะเห็ นแกอํานาจและเงินทอง แตทายที่สุด หวางจือหลิน ก็ตายดวยน้ํามือของคนจีน ขบวนเสรีจีน รูวา หวางจือหลิน เขากับฝายญี่ปุน จึงลงมือฆา หวางจือหลิน เพื่อตองการเตือนให คนที่ท รยศชาติทั้ ง หลายรูวา หากพวกเขายัง คงทรยศชาติ พวกเขาจะมี จุ ด จบ เชนเดียวกับหวางจือหลิน ดังขอความวา เขามิไดคํานึงถึงเกียรติยศและชื่อเสียง มิไดคํานึงถึงชาติและพี่นองของเขา เขาตองการเงิ น ตองการอํานาจ ตองการเปนตัวเชิดของญี่ปุน เขาปรารถนาความเปนผูใหญยิ่งแหงเมืองเทียนสิน โดยไมคาํ นึงถึงความลมจมของพี่นองรวมชาติ คนอยางนี้เปนคนทรยศ เปนกบฏที่เราจะตองเอาเลือด มาทาแผนดินเพื่อไมใหเปนเยี่ยงอยางตอไป (สด กูรมะโรหิต, 2503, น.317-318) จากที่กลาวขางตนแสดงใหเห็นวาในภาวะสงครามที่ตองรับมือกับศัตรูภายนอกที่เขามารุกรานแผนดินจีน คนจีนก็ยังเขนฆากันเองอีกดวย ไมวาเหตุผลของการเขนฆากันเองจะเปนเพราะประโยชนสวนตนหรือประโยชนของ ประเทศชาติก็ตาม จะเห็นวาการแสวงหาอํานาจเปนสาเหตุสําคัญของการกอสงคราม ซึ่งนําความเจ็บปวดสูญเสียมาสูประชาชน อยางยิ่ง ผูคนอดอยาก ไรที่อยู ลมตาย เด็ก ๆ กําพราพอแม และผูหญิงถูกขมขืน นอกจากนี้สงครามยังเปนตัวทําลาย เผาพันธุมนุษย เพราะมนุษยหันมาฆากันเอง ไมวาจะเปนการเขนฆาฝายตรงขามหรือการเขนฆาพวกพองเดียวกัน ก็ตาม ความเลวรายเหลานี้เกิดขึ้นเพียงเพราะมนุษยตอ งการแสวงหาอํานาจ 8


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

อํานาจ: ทาสและการกดขี่ ประเด็นนี้เชื่อมโยงกับประเด็นขางตนซึ่งวาดวยเรื่องของสงคราม อันมีสาเหตุมาจากการแสวงหาอํานาจของ มนุษย เมื่อมนุษยกลุมหนึ่งครอบครองอํานาจ นั่นหมายความวามนุษยอีกกลุมตองอยูภายใตอํานาจ เชนเดียวกับจีน เมื่อญี่ปุนเปนผูกุมอํานาจ ประชาชนชาวจีนจึงตองอยูใตอํานาจของญี่ปุน ทหารญี่ปุนกดขี่ขมเหงรังแกชาวจีนอยางมาก ผูอานจะพบไดในหลาย ๆ ตอน ไมวาจะเปนการทํารายรางกาย การเก็บเงินภาษีจํานวนมาก การบังคับใหชาวนาปลูกพืชที่ญปี่ นุ ตองการ และบังคับใหชาวนาซื้อพืชผลเหลานัน้ ในราคา ที่ ญี่ ปุ น เป น ผู กํา หนด ตลอดจนขม ขืน ชํ า เราผู ห ญิ ง ไม ว า จะเป น ลู ก หลานหรือ ภรรยาใครก็ ต าม หากผู ใ ดคั ด ค า น การกระทําของทหารญี่ปุนก็จะถูกทหารญี่ปุนฆา การกระทําที่ไรมนุ ษยธรรมเหลานี้หากเปนภาวะปกติทหารญี่ปุน จะตองถูกลงโทษอยางแนนอน แตในภาวะสงครามประเทศญี่ปุนกุมอํานาจเหนือชาวจีน เจาของแผนดิน การกระทํา ดั ง กล า วแม ว า จะเลวร า ยเพี ย งใดก็ ไ ม มี ผู ใ ดสามารถร อ งเรี ย นหรื อ เอาผิ ด กั บ ทหารญี่ ปุ น ได ทั้ ง นี้ เ พราะอํ า นาจ ทางการเมืองที่ญี่ปุนถือครองอยูนั้นเปนตัวสรางความชอบธรรมใหแกคนญี่ปุน การกระทําดังกลาวจึงไมถอื เปนเรื่องผิด ประชาชนชาวจีนมีชีวิตอยูอยางทาส ตองยอมใหทหารญี่ปุนกดขี่ ยอมรับทุกขอกําหนดของญี่ปนุ โดยไมมีสิทธิ์ โตแยงใด ๆ หลูผิงเฟไดกลาวไวในตอนหนึ่งวา “ถาแมเราไมตอสู เราจะไมมที างออกไปจากความมืดครั้งนี้ได การตอสู เปนวิธีเดียวเทานั้นที่เราจะชวยตัวเองใหรอดพนจากความเปนทาส” (สด กูรมะโรหิต, 2503, น.62) การที่หลูผิงเฟ กลาวเชนนี้แสดงใหเห็นวาหลูผงิ เฟเองก็ตระหนักดีวา ชะตาชีวิตของพวกเขาชาวจีนไมตางอะไรกับการเปนทาสที่ตอง อยูภายใตการกดขี่ไปตลอดชีวิต การตอสูกบั ญี่ปุนเปนวิธีเดียวที่จะชวยปลดแอกความเปนทาสได อาจกลาวไดวาการมี อํานาจของญี่ปุนในประเทศจีนทําใหประชาชนชาวจีนกลายเปนทาสทางการเมือง หมายความวาภาวะทางการเมือง บีบบังคับใหพวกเขามีชีวิตอยูอยางทาสโดยไมมที างเลือก นอกจากความเปนทาสทางการเมืองแลว ขบวนเสรีจีนยังแสดงใหเห็นวาชาวจีนก็ตกเปนทางเศรษฐกิจดวย เช น กัน กล า วคือ ภาวะทางเศรษฐกิจ การเงิ น รวมถึง ความต องการทรัพ ยสิ นเงิ นทองเปน ตัวการหรือเงื่ อนไขที่ พันธนาการบุคคลไวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งประดุจดั่งทาสที่ถูกลามกับโซตรวน สิ่งที่ ขบวนเสรีจีนแสดงใหเห็นชัดเจนที่สุดวา คนจีนตกเปนทาสทางเศรษฐกิจนั่ นคือ การที่คนจีนรับเงินจากญี่ปุนเพื่อชวยเหลือญี่ปุนทําลายประเทศจีน ในภาวะ สงครามทุกคนตางอดอยากและทุกขยาก การที่ญี่ปุนหยิบยื่นเงินตราและความมั่งคั่งใหนั้นไมไดหยิบยื่นโดยใหเปลา แตหยิบยื่นพรอมพันธะที่วาบุคคลนั้นตองทํางานใหกับฝายญี่ปุน ผูที่รั บขอเสนอจากญี่ปุนไมอาจปฏิเสธขอผูกมัด ดังกลาวไดเลย อย า งไรก็ ต าม สด กู ร มะโรหิ ต ได ชี้ ใ ห เ ห็ น ความเป น ทาสทางเศรษฐกิ จ ในประเทศไทยเอาไว เ ช น กั น โดยบอกเลาผานเรื่องราวของระพินทรในตอนตนเรื่องวา ระพินทรกูเงินรัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาตอที่ประเทศจีน โดยมี ขอผูกมัดวาระพินทรจะตองกลับมาทํางานใชหนี้เปนเวลา 12 ป ดังขอความวา

9


จะทําอยางไรได คนไมมีเงินก็ตอ งเปนทาสเขาไปกอน ฉันตองการเรียนหนังสือใหจบ ฉันตองขาย อิ ส รภาพของฉันเพื่ อการศึกษา . . . เขาฉี กสั ญญาที่ ใหกันไว ดว ยเกียรติ ยศวาจะชว ยให คนจน ๆ อยางฉันไดร่ําเรียนจนสําเร็จเพื่อกลับไปรับใชบา นเมือง เมื่อฉีกแลวก็บังคับใหฉันกูเงินและเอาดอกเบี้ย นอกจากนั้นยังผูกมัดใหทํางานใชหนี้อีกดวย . . . (สด กูรมะโรหิต, 2503, น.12-13) จากขอความขางตนจะเห็นวา ระพินทรเปนเด็กยากจน จําตองกูเงินเพื่อใช ในการศึกษาและตองกลับมา ทํางานใชหนี้ทันทีหลังจากเรียนจบเพราะรัฐฉีกสัญญาที่จะสงเขาเรียนทําใหเขาตองสูญเสียอิสรภาพในการกําหนดชีวิต ตนเองหลังจากเรียนจบ อาจกลาวไดวาความเปนทาสและการถูกกดขี่ไมไดมีเฉพาะในภาวะสงครามเทานั้น ในภาวะที่ปราศจาก สงคราม เราก็กลายเป นทาสไดเชนกัน เราจะตระหนักวาเราเปนทาสก็ตอ เมื่อเราไรอิสรภาพ และเราไมสามารถ เรียกรองความยุตธิ รรมได ที่เปนเชนนี้เพราะผูที่กดขี่เรามีอํานาจเปนเครื่องมือในการสรางความชอบธรรม อุดมการณ: การตอสูกับจิตใจ หลูผิงเฟและเพื่อนนักศึกษาขบวนเสรีจีนไดแสดงอุดมการณใหเห็นอยางชัดเจน ดังขอความวา เราผูเดินขบวนเสรีจีนไมปรารถนาอะไรไปมากกวาความสุขและอิสรภาพที่เราจะพึงได เราไมทํา สิ่งใดเกินขอบเขตอันพึงสงวนของเรา ฉันขอยืนยันวา เราเดินขบวนในฐานะที่เราเปนราษฎรจี น ผู หาเช า กิน ค่ํา . . . วั ต ถุ ป ระสงคอัน ยิ่ งใหญ ของเราก็คือ การต อสู เพื่ อนํ า อิ ส รภาพมามอบให แก ประชาชนชาวจีนอีกครั้งหนึ่ง . . . เมื่อเราไดทําหนาที่ของเราเสร็จแลว เราก็จะหายตัวเขาไปในกลุม ราษฎรตามเดิม เราไมตองการจะยึดขบวนเสรีจีนเปนสะพาน สําหรับพาตัวเองขึ้นไปนั่งบนหัวของ ราษฎร เพื่อจะไดกินบานกินเมืองกันอยางสําราญใจ . . . (สด กูรมะโรหิต, 2503, น.613) ขอความนี้แสดงใหเห็นวา ขบวนเสรีจีน มีอุดมการณเพื่อกอบกูอิสรภาพของชาวจีนจากการถูกกดขี่ ขมเหง พวกเขายังแสดงใหเห็นอุดมการณแหงความเปนเสรีชนอยางชัดเจนโดยการปฏิเสธอํานาจลาภยศทั้งปวง เพราะอํานาจ เหลานี้เปนเครื่องมือกดขี่ประชาชนเรื่อยมา พวกเขาเลือกทําหนาที่ในฐานะราษฎรคนหนึ่งเพื่อความสุขและอิสรภาพ ของราษฎรดวยกันเอง อยางไรก็ตาม ขบวนเสรีจีนยังแสดงใหเห็นอีกดานหนึ่งของผูรวมอุดมการณ คือ ผูรวมอุดมการณบางคนก็ แปรเปลี่ยนอุดมการณ เชน เหลาเผ เขาเปนหนึ่งในสมาชิกขบวนเสรีจีน แตในตอนทายเขากลับทํางานเปนสายลับให ฝายญี่ปุนดวยเชนกัน แสดงใหเห็นวานักตอสูบางคนก็ไมสามารถยึดถืออุดมการณไดอยางแนวแน เพราะอุดมการณ ไมใชวัตถุที่จับตองได แตอุดมการณเปนแนวคิดที่ตองใชจิตใจอันแนวแนเปนตัวยึดเหนี่ยว สด กูรมะโรหิต (2503, น.4) ไดกลาววา “ขาพเจาไมคิดวา จะมีศึกใดที่ยิ่งใหญไปกวาศึกที่ทํากับตัวเอง ขา พเจ า พบคนที่ดี ที่ สุด ซึ่ ง ได กลายเปน คนที่ เลวที่ สุด ได พ บคนที่ เขม แข็งที่ สุด ซึ่ ง ได กลายเป นคนที่ ออนแอที่สุด 10


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

นั่นเพราะอะไร ? เขาไดตอสูกับตัวเอง แตเขาเปนผูปราชัยแกตัวเอง” หมายความวา ขบวนเสรีจีนเปนนักตอสูที่ตอสู กับจิตใจของตนและพวกเขาก็เปนฝายชนะใจตนเอง ชนะความโลภในจิตใจ พวกเขายังคงตอสูเพื่ออุดมการณเรื่อยมา อุดมการณของขบวนเสรีจีน เปนอุดมการณที่นาชื่นชม สด กูรมะโรหิ ตเองก็คงคิดเชนนั้น จึงไดถายทอด เรื่องราวของขบวนเสรีจีนออกมาใหผูอานไดรับทราบ ผูอานเองก็คงไดเห็นแลววาความกระหายในอํานาจเปนบอเกิด ของสงคราม ซึ่งกอความทุกขทรมาน ปวดราว สูญเสียใหกับมนุษยมากเพียงใด จะเห็นวาทั้ง 3 ประเด็นไดแก สงคราม อํานาจ และอุดมการณ มีความเกี่ยวโยงกัน กลาวคือ สงคราม มีมูลฐานมาจากความตองการอํานาจ สงครามคราชีวิตประชาชนผูบริสุทธิ์ไปจํานวนมาก ในขณะเดียวกันอํานาจ ก็กลายเปนเครื่องมือที่สรางความชอบธรรมในการกดขี่รังแกเพื่อนมนุษย ประชาชนมีชีวิตอยูอยางทาสที่ไม มีสิทธิ์ เรียกรองความยุติธรรมใด ๆ อํานาจทําใหมนุษยกลายเปนสัตวโหดรายที่สามารถทําพฤติกรรมชั่วชาไดอยางไมรูสึก ละอาย ทั้งที่ในภาวะปกติสุขเราไมอาจทําพฤติกรรมโหดรายเชนนั้นได ทางออกเดียวที่จะยุติปญหาดังกลาวไดคื อ อุดมการณ อุดมการณที่มนุษยทุกคนตองยึดถือรวมกัน อุด มการณที่วานั้นคือ อิสรภาพ ความสงบสุขของประชาชน ความเห็นใจซึ่งกันและกันโดยไมแบงแยกฝายเขาฝายเรา รวมทั้งการรูจักหนาที่และความรับผิดชอบตอสวนรวม อํานาจไมไดสรางประเทศใหยิ่งใหญและสงครามก็ไมใชวิธีการที่ถูกตอง อุดมการณดังกลาวตางหากที่จะทําใหประเทศ มั่นคงยิ่งใหญ ตลอดจนสังคมโลกของเราก็จะนาอยู ดังที่ สด กูรมะโรหิต (2503, น.38) กลาววา “. . . ไมเคยมี ประวัติศาสตรของชาติมนุษยตอนใดที่พิสูจนไดวา อํานาจเปนสิ่งที่ยั่งยืน”

รายการอางอิง

สด กูรมะโรหิต. (2503). ขบวนเสรีจีน. พระนคร: เฟองอักษร.

11


อาสูผสู รางโลก: ความยิ่งใหญของผูใชแรงงาน ปยวรรณ เฉลิมฉัตรวณิช อาสูผูสรางโลก อาขานั่นขาสู มัดกลามกรําแกรงดี อาแขนนั่นแขนสู มัดกลามกรําการงาน อาบานั่นบาสู แกรงกายชาย-สตรี งามหยดของหยาดเหงื่อ แดดเปรี้ยงตะวันแดง งามใสในน้าํ จิต ซื่อใสในการงาน อาสูผูสรางโลก แรงงานสูสูทาํ

กํายําดูชูราศี บรอรีทัดทานงาน กํายําดูชปู ระสาน ประกอบการประจัญดี ทั้งไหลคูชูศักดิ์ศรี ดุจรวีที่รอนแรง ที่รินเจือสะทอนแรง ฤากําแหงจะแขงขัน บมีพิษคิดประหาร ประกอบการมั่นในธรรม อยารอโชคชะตานํา จะพลิกคว่ําส่ําศัตรู (รวี โดมพระจันทร, 2546, น.37)

หากกลาวถึงนักเขียนที่มีบทบาทสําคัญในชวงเหตุการณ 14 ตุลา 2516 และเหตุการณ 6 ตุลา 2519 เชื่อวา ต อ งปรากฏชื่ อ รวี โดมพระจั น ทร หรื อ ชื่ อ จริ ง ยุ ท ธพงศ ภู ริ สั ม บรรณ อย า งแน น อน เจ า ของกวี นิ พ นธ ที่ ตี แ ผ ความไมเปนธรรมในสังคมและการใชอํานาจเผด็จการของผูปกครองบานเมือง บทกวีที่ไดรับการกลาวถึงมากที่สุดคือ กวีนิพนธ ตื่นเถิดเสรีชน นอกจากนี้ยังมีกวีนิพนธ คนคนนี้แหละคน ตะวันแดง และกวีนิพนธอื่น ๆ อีกหลายบทที่ ปลุ ก ระดมกลุ ม คนที่ ถู ก กดขี่ ใ นสั ง คมให ลุ ก ขึ้ น มาต อ สู อ า สู ผู ส ร า งโลก นั บ เป น กวี นิ พ นธ อี ก บทที่ แ สดงให เ ห็ น ความยิ่งใหญของกลุมคนอยางกลุมผูใชแรงงานที่ถูกกดขี่และลดทอนคุณคาความเปนมนุษยในชวงที่สังคมถูกครอบงํา ดวยอํานาจมืด กวีนิพนธรวมสมัยหลายบทที่ ประพันธโดย รวี โดมพระจันทร ตางกลาวถึงการปลุกระดมผูคนใหลุกขึ้นตอสู กับอํานาจที่กดขี่ประชาชนของชนชั้นผูปกครอง การรวมมือของมวลชนคือพลังสําคัญในการขจัดความไมชอบธรรม และขับเคลื่อนสังคมใหกาวไปขางหนาอยางภาคภูมิและเปนธรรม อาสูผูสรางโลก คือกวีนิพนธอีกบทหนึ่งที่ถายทอด สิ่งเหลานั้นผานกาพยยานี 11 จํานวน 6 บท หากแตกวีนิพนธบทนี้ไมไดแสดง “สาร” ออกมาอยางฮึกเหิม ขึงขังเชน


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

กวี นิ พ นธ บ ทอื่ น ๆ อ า สู ผู ส ร า งโลก ถู ก ถ า ยทอดออกมาด ว ยความภู มิ ใ จในความสง า งามของชนชั้ น กรรมาชี พ ซึ่งครบถวนทั้งเนื้อหาสาระและกลวิธกี ารประพันธ ไมยิ่งหยอนไปกวากวีนิพนธบทอื่น ๆ ที่แสดงออกอยางอหังการ รวี โดมพระจันทร กลาวยกยองผูใชแรงงาน โดยแสดงใหเห็นวาสิ่งที่พวกเขาทําและสถานภาพทางสัง คม ที่พวกเขาเปนนั้นมีคุณคา ไมไดไรเกียรติ ไรศักดิ์ศรี อยางที่ผูคนในสังคมกดขี่เหยียดหยาม บทกวี 3 บทแรกพรรณนา ความงามของอวัยวะบนรางกายอยางขา แขน และบา ซึ่งเปนอวัยวะที่ใชแรงงานวาแข็งแกรง กํายํา แสดงใหเห็นถึง ความอดทน การสูงานอยางไมรูจักเหน็ดเหนื่อย บทที่ 4 บรรยายความสวยงามของหยาดเหงื่ ออันสื่ อ ถึงสภาวะ การทํางานอยางหนัก โดยใหภาพแดดเปรี้ยงเพื่อเปรียบใหเห็นพลังที่เต็มเปยมของผูใชแรงงานวาไมสะทกสะทานตอ ความรอนจากดวงอาทิตยที่แผดเผา และบทที่ 5 บรรยายความงามที่มาจากจิตใจ โดยความงามนั้นเกิดจากการทํางาน อยางซื่อตรงสุจริต กาพยบทที่ 4 และบทที่ 5 สะทอนความตั้งใจและคุณธรรมในการประกอบวิชาชีพของผูใชแรงงาน นับไดวาสิ่งเหลานี้เปนคุณสมบัติที่กวีตองการยกย องชมเชยชนชั้นกรรมาชีพเพื่อโต กลับการถูกกดขี่และไม ไ ด รับ ความเปนธรรมจากสังคมทุนนิยม ในยุคที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต ดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทยไดรับ การอุปถัมภจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งกาวขึ้นมาเปนมหาอํานาจคูกับสหภาพโซเวียต หนึ่งในนั้นคือการไดรับเงินสนับสนุน ดานเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจชวงนั้นลวนเอื้อประโยชนใหกับนักธุรกิจและนายทุน ในขณะที่กลุมผูใชแรงงาน อยางชาวนากลับถูกบรรดาธนาคารกอบโกยทรัพยสิน ของตนเพื่อนําไปเปนทุนในการประกอบธุรกิจใหแก ชนชั้น นายทุน นอกจากนี้พวกเขายังไดรับผลกระทบจากการดําเนินนโยบายของรัฐบาล ซึ่งทําใหสูญเสียที่ดินทํากิน ไมมี ผลผลิต ขาดรายได และไมไดรบั การชดเชยอยางเหมาะสม (คริส เบเคอร และ ผาสุก พงษไพจิตร, 2557, น.236-238) กลุมผูใชแรงงานจึงกลายเปนพลเมืองชั้นลาง ไมไดรับการเอาใจใสในดานตาง ๆ เพราะผลประโยชนทั้งหมดผูกขาดอยู ที่ชนชั้นนายทุน เนื้อหาที่นําเสนอผานบทกวี อาสูผูสรางโลก สื่อใหเห็นถึง ความสําคัญของชนชั้นกรรมาชีพผานความงาม ที่พวกเขาเปนและสิ่งที่พวกเขาทําดังที่กล าวไปขางตน เพื่อสะทอนวาชนชั้นลางก็สําคัญเทียบเทากับชนชั้นนายทุน “แรงงาน” แม จ ะแปรเป น มู ล ค าไม ได แต คุณ ค า ก็ไ ม ด อยไปกว า “เงิ น ” เพราะแรงงานสรางสิ่ง ตา ง ๆ ได ไ ม แพ เครื่องจักรที่ใชเงินซื้อหามา ตางกันตรงที่แรงงานแสดงใหเห็นถึงศักยภาพของมนุษยที่ ใชแรงงานของตนอยาง “ซื่อใส ในการงาน ประกอบการมั่นในธรรม” มนุษยใชแรงงานทํางานดวยจิตใจ ไมไดคิดคํานึงหาผลประโยชนเพียงอยางเดียว กล า วได วา กวี สื่ อให เห็ น ถึง ภาพลักษณ ของชนชั้ นกรรมาชีพ วา ทํางานอยา งแข็งขัน ไม บ กพรองในหนาที่ของตน โดยยกความเปนผูใชแรงงานมาแสดงขอดีใหปรากฏ ไมเพียงแตเนื้อหาที่นําเสนอคุณคาของชนชั้นกรรมาชีพ รูปแบบหรือกลวิธีการประพันธ กวีนิพนธบทนี้ยัง แสดงจุดยืนที่จะสรางความเทาเทียมใหกับทุกชนชั้นในสังคม กวีใชกาพยยานี 11 ในการประพันธ ซึ่งฉันทลักษณ ของคําประพันธดังกลาวไมซับซ อน อานเขาใจงาย สามารถเขาถึงผูอานไดทั่วไป นอกจากนี้กวีใชคําที่สั้น กระชับ สื่อความชัดเจน และเสียงของคําสอดประสานกั นอยางไพเราะ เชน คําวา “กลาม” “กรํา” “แกรง” ในทอนที่วา “มัดกลามกรําแกรง” สื่อถึงภาพรางกายที่เต็มไปดวยกลามเนื้อจากการตรากตรําทํางานไวอยางครบถวนภายในคํา 13


เพียง 3 คํา หรือคําวา “หยด” และ “หยาด” ในทอนที่วา “งามหยดของหยาดเหงื่อ ” สื่อถึงความเหน็ดเหนื่อยจาก การใชแรงงานอยางหนักผานภาพเม็ดเหงื่อที่ผุดพรายขึ้นมา โดยไมจําเปนตองใชคําที่กลาวถึงการบากบั่นทํางานตรง ๆ ยิ่งไปกวานั้น การใชสรรพนามบุรุษที่ 2 วา “สู” เพียงคําเดียวกลับสรางพลังในการสื่อสารกับผูใชแรงงานได อยาง เฉียบคม เนื่องจากคําวา “สู” เปนคําเรียกภาษาไทยถิ่นอีสาน แปลวา พวกเธอ การใชคําดังกลาวเรียกแทนตัวผูอาน นอกจากจะเปนการสื่อสารกับผูอานแลว ยังสื่อถึงความเปนพวกเดียวกันอีกดวย กลาวคือ กวีซึ่งอยูในฐานะปญญาชน ยอมรับการอยูรวมกันกับกลุมผูใชแรงงานซึ่งถูกชนชั้นนําในเวลานั้นมองขาม ไมใหความสําคัญ และพยายามกลืน อัตลักษณทองถิ่นใหหายไปตามนโยบายการสรางรัฐชาติของรัฐบาล ซึ่งแทรกแซงวิ ถีชีวิตชาวชนบทผานการพัฒนา ระบบการศึ ก ษาด ว ยการจั ด ตั้ ง โรงเรี ย นและสอนภาษาไทยมาตรฐานให แ ก เ ด็ ก ๆ (คริ ส เบเคอร และ ผาสุ ก พงษไพจิตร, 2557, น.239-240) แมชนชั้นกรรมาชีพจะถูกกดขี่และไมไดรับความเปนธรรมจากอํานาจสวนกลาง แตปญญาชนอีกหลายคนยังคงยืนหยัดตอสูเพื่อสิทธิเสรีภาพที่เทาเทียมกันใหกับพวกเขา คําวา “สู” ในบทกวีนี้จึงเปน ตัวแทนของการยอมรับชนชั้นกรรมาชีพในฐานะมนุษยคนหนึ่ง จุดเดนของรูปแบบอีกประการหนึ่งคือ การนําขนบวรรณศิลปของวรรณกรรมไทยอยางบทชมความงาม มาสื่อสารในบริบทใหม เดิมวรรณกรรมไทยมักชมความงามของตัวละครแบบแยกสวน ดังที่ นิตยา แกวคัลณา (2551, น.36) อธิบายเกี่ยวกับการชมโฉมในวรรณกรรมไทยวา “หากเปนการแสดงภาพความงาม กวีจะวาดภาพตัวละครดวย วิธีบรรยายและพรรณนารูปลักษณทางดานกายภาพโดยใหภาพทีละสวน” โดยการชมแบบแยกสวนนั้นรับเอาคติ ความงามตามแบบอินเดียมาเปนหลักในการชม บทกวี อาสูผูสรางโลก ปรากฏการชมความงามแบบแยกสวนใน การชมรางกายของผูใชแรงงาน กาพย 3 บทแรกกลาวชมความงามของขา แขน และบาตามลําดับ การเรียงลําดับ อวั ย วะจากล า งขึ้ น บนเช น นี้ ต า งจากขนบการชมแบบเดิ ม ที่ ไ ล เ รี ย งตั้ ง แต ศี ร ษะจรดเท า แสดงให เ ห็ น ถึ ง การใหความสําคัญในสิ่งที่ตางกันของ 2 ชนชั้น กลาวคือ วรรณกรรมเกาเนนพรรณนารายละเอียดของอวัยวะที่ดึงดูด เพศตรงขาม ไมวาจะเปนใบหนาที่กวีสมัยเกามักเก็บรายละเอียดเล็ก ๆ นอย ๆ แมแตไรผม คิ้ว หรือใบหู แลวคอยไล มายังอวัยวะเบื้องต่ําซึ่งมักไมคอยพรรณนามากความนัก สวนกวีนิพนธบทนี้เริ่มบรรยายจากอวัยวะเบื้องต่ําอยางขา แลวคอยไลขึ้นมาเปนแขนและบาตามลําดับ โดยอวัยวะเหลานี้ลวนเปนอวัยวะสําคัญที่ใชในการทํางาน ขาคืออวัยวะ ที่ใชยืนและแบกรับน้ําหนักทั้งหมดของรางกาย เชนเดียวกับแขนและบาที่ใชแบก หาม หรือยกสิ่งของตามลักษณะงาน ของชนชั้นกรรมาชีพ อาจกลาวไดวา ชนชั้นศักดินาใหความสําคัญกับเรื่องโลกียวิสัย เพื่อตอบสนองการเสพสุข ของ ตนเอง ในขณะที่ชนชั้นกรรมาชีพใหความสําคัญกับการทํางานเพื่อผลิตสิ่งตาง ๆ ขึ้นมา นอกจากนี้ลักษณะความงามของชนชั้นกรรมาชีพในกวีนิพนธบทนี้ยังไมใชคติความงามที่กวีสมัยเกานิยม กลาวถึง กลาวคือ การชมความงามในวรรณกรรมเกามักกลาวถึงความงดงามของรูปลักษณภายนอกอยางหนาตา รางกาย ทวงทาที่แสดงความบอบบาง ชวนทะนุถนอม โดยเปรียบกับธรรมชาติหรือสัญลั กษณที่รับรูและเปนที่ยอมรับ ทั่วไป อยางไรก็ตามกวีนิพนธบทนี้พรรณนาความงามที่แหวกขนบไปจากเดิม นิตยา แกวคัลณา (2554, น.63-64) ไดกลาวถึงการนําขนบชมโฉมมาใชในบริบทการตอสูของเหล าผูใชแรงงานของกวีสมัยใหมวา การชมโฉมเหลานั้น 14


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

“มิไดวาดภาพนางตามขนบซึ่งมีความสวยงาม ออนชอย หากปรับเปลี่ยนเปนการชมสวนตาง ๆ ของรางกาย มีพลัง มีความแข็งแกรงที่บงชี้วาทุก ๆ สวนไมยอมกมใหแกความทุกขยาก อันเปนการพรรณนาที่ใชเปนสื่อการตอสูเพื่อชีวิต เมื่อตองเผชิญกับความทุกขเข็ญใจ” ในกวีนิพนธ อาสูผูสรางโลก กวีชมรางกายแตละสวนของผูใชแรงงานโดยใชคํา ที่สื่อใหเห็นถึงความแข็งแกรงกํายําอันเปนลักษณะที่ตางไปจากนิยามความงามแบบเกา ความกํายําของรางกายนั้น เกิดจาก “กรําการงาน” อยางขันแข็งของตัวเอง ไมไดเกิดจากสวรรคปนแตงมาแตเกิด ดังเชนภาพลักษณของตัวละคร ในวรรณกรรมเกา สะทอนให เห็นระบบความคิดที่ตางกันของ 2 ชนชั้น ความหมดจดงดงามหาที่ติไมไดที่ปรากฏ ผานการพรรณนาตัวละครในวรรณกรรมเกาผูกอยูกับความคิดเรื่องบุญกรรม กลาวคือ ตัวละครในวรรณกรรมเกา มักถูกชมวางามปานเทพสรางหรือไมก็งามดั่งนางสวรรค ตางจากบทกวีนี้ที่สื่อใหเห็นวาความแข็งแรงกํายําของรางกาย เกิดจากการทํางานดวยตัวพวกเขาเอง สือ่ แนวคิดที่วาทุกอยางเกิดขึ้นไดดว ยมือมนุษย ไมใชเทพเจาบันดาล ทั้ ง หมดนี้ ล ว นสะท อ นให เ ห็ น การโต ก ลั บ วรรณกรรมเก า ซึ่ ง เป น วรรณกรรมราชสํ า นั ก และแต ง ขึ้ น มา เพื่อตอบสนองความตองการของชนชั้นศักดินา ซ้ํายังตอบโตแนวคิด “ศิลปะเพื่อศิลปะ” ที่วาวรรณกรรมลวนงดงาม ดวยศิลปะอันปรากฏอยูในตัวบทของมันเอง วรรณกรรมถูกสรางขึ้นมาเพื่อแสดงอารมณ ความรูสึก และแงมุมชีวิต ของมนุษย โดยกวียกแนวคิด “ศิลปะเพื่อชีวิต ” ที่วาวรรณกรรมถูกสรางขึ้นเพื่อรับใชประชาชนมาถายทอดผาน กวีนิพนธบทนี้ การแหวกขนบบทชมความงามทั้งการเรียงลําดับและลักษณะการชมดัง ที่อธิบายไปขางตนนั้น แสดง ใหเห็นถึงการไมยอมรับวัฒนธรรมของชนชั้นศักดินาที่กีดกันและแบง ชนชั้น ทั้งยังเปนการประกาศเจตจํานงเรียกรอง ความเทาเทียมของผูคนใหเ กิดขึ้นในสังคม สังคมไมควรเลือกปฏิบัติกับผูคนโดยยึดสถานภาพหรือฐานะทางสัง คม เพราะทุกคนลวนมีสวนในการขับเคลื่อนสังคมให เจริญกาวหนา โดยเฉพาะอยางยิ่ง แรงกายของมนุษยนับวาเปน พลังสําคัญที่กอใหเกิดสิ่งตาง ๆ ในการดํารงชีวิตของผูคน หากพิ จ ารณาทั้ งเนื้อหาและรูปแบบของกวีนิพนธบทนี้ อาจกลาวไดวา อ า สู ผู ส รางโลก เป น วรรณกรรม สรางสรรคสังคมและมีคุ ณคาต อผู อานเรื่องหนึ่ง เนื่องจากกวีนําเสนอเนื้ อหาสาระที่สื่ อถึงการใหความสํา คั ญ กับ กลุมผูใชแรงงาน อันเปนชนชั้นที่ถูกกดขี่และถูกมองขามในยุคสมัยทุนนิยมรุงโรจน เรียกรองใหผูคนหันกลับมามอง ชนชั้นกรรมาชีพในแงมุมที่ตางไปจากเดิม จากที่เคยถูกเอาเปรียบ เหยียดหยาม ไดรับการปฏิบัติราวกับไมใชมนุษย กวี นิ พ นธ บ ทนี้ ก ลั บ ชี้ ใ ห เ ห็ น ว า แรงงานที่ เ หล า กรรมกร ชาวนา และผู ใช แ รงงานประเภทอื่ น ๆ ทุ ม เ ททํ า ไปนั้ น มี ค วามสํ าคั ญเทียบเทาหรืออาจมากกว ามูล คาเงิ นตราในมื อของพวกนายทุน เพราะเงิ นไมสามารถสรางอาคาร บานเรือน วัดวาอาราม สถานบันเทิง และสถานที่อํานวยความสะดวก อันเปนผลพวงจากความเจริญในยุคทุนนิยม ในขณะที่แรงงานของกลุมคนที่สังคมมองขามสามารถทําได ทั้งยังกระตุนใหชนชั้นกรรมาชีพตระหนักถึงคุณคาในสิ่งที่ ตนกระทําและสถานภาพทางสังคมที่ตนดํารงอยู สิ่งที่กวีนิพนธบทนี้นําเสนอจึงสื่อ ถึงแนวคิดการยกระดับชีวิตผูคน ทุ กชนชั้นให เทาเทีย มกัน และชี้ ให เห็ นถึง ศักดิ์ศ รีความเป นคนที่ ชนชั้นกรรมาชีพต างมี เช น เดี ย วกับผูคนที่อยูใน สถานภาพทางสังคมตางจากพวกเขา

15


ไมเพียงเทานั้น กวีนิพนธบทนี้ยังปฏิเสธทุนนิยมและการแบงแยกชนชั้นอยางชัดเจน ดังจะเห็นไดจากการใช รูปแบบการประพันธที่แหวกขนบของเดิม เพื่อสื่อถึงการสรางตัวตนตามแบบฉบับกลุมผูใชแรงงาน นิยามความงาม แบบใหม ที่ ไ ม ไ ด ให ค า กับ ความงามของรูป ลั ก ษณ ภายนอกอั น ถือว า เป น เปลื อก แต ให ค า กับ ความงามที่ เกิด จาก ความอุตสาหะและความตั้งใจในการทํางานอยางซื่อสัตยซึ่งถือเปนแกนแทของชีวิต สะทอนถึงความหลงใหลมัวเมา การเสพสุ ขของชนชั้ น ศักดิ น าที่ หาสาระไม ไ ด ในขณะที่ ค วามมุ ง มั่ น อดทนของชนชั้ น กรรมาชี พ จะกลายมาเป น กําลังหลักในการพาสังคมกาวไปขางหนา สิ่งสําคัญที่สุดก็คือ กวีนิพนธบทนี้ปลุกระดมกลุมผูใชแรงงานใหลุกขึ้นมาตอสูกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น ในสังคม กวีย กยองคุณสมบัติของชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อใหพวกเขาตระหนักถึงความสําคัญและคุณคาที่ตนทํา และ ยืนหยัดทีจ่ ะทําสิ่งนั้นตอไปโดยไมตองรอโชคชะตา ตอกย้ําความคิดที่วามนุษยคือผูสราง แรงงานสามารถบันดาลทุกสิง่ ได ดังปรากฏในบทสุดทายที่วา “อาสูผูสรางโลก อยารอโชคชะตานํา แรงงานสูสูทํา จะพลิกคว่ําส่ําศัตรู ” นับวาเปน การหลอเลี้ยงและสรางพลังใจในฐานะเพื่อนคนหนึ่งทีจ่ ะรวมตอสูและไมทอดทิ้งประชาชนอยางกลุมผูใชแรงงาน ทามกลางสภาวะยากแคนที่บรรดาชนชั้นลางอยางชาวนา กรรมกร และผูใชแรงงานหลายคนตองประสบ ทั้งทางกายภาพและจิตใจในยุคทุนนิยมที่ชนชั้นนําตางร่ํารวย “เงินตรา” แตแหงแลง “ความยุติธรรม” อาสูผูสรางโลก อาจเป น น้ํ า เย็ น เพี ย งน อยนิ ด ที่ ช โลมจิ ต ใจอั น แห งผากของเหล า กรรมาชี พ ให หายเหนื่ อยและมี พ ลั ง กลั บ ไปต อ สู ตัวอักษรที่รอยเรียงเปนกาพยยานี 11 จํานวน 6 บทนี้ อาจเทียบไมไดกับหยาดเหงื่อแรงกายที่กลุมผูใชแรงงานทุมเท สรางสิ่งตาง ๆ ขึ้นมาเพื่อประโยชนของผูคนในสังคม หากแตเรื่องราวที่กวีนําเสนอในบทกวีนี้ทําใหผูอานตระหนักถึง คุณคาและความยิ่งใหญ จากคนตัวเล็ก ๆ ในสังคมเชนพวกเขา

รายการอางอิง

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2531). วรรณคดีวิจารณ. กรุงเทพฯ: ฝายตําราและอุปกรณการศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง. คริส เบเคอร และ ผาสุก พงษไพจิตร. (2557). ประวัติศาสตรไทยรวมสมัย (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน. นิตยา แกวคัลณา. (2551). การสืบสรรคจนิ ตภาพในกวีนพิ นธไทย. (วิทยานิพนธปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศิลปากร, คณะอักษรศาสตร, สาขาวิชาภาษาไทย. นิตยา แกวคัลณา. (2554). บทพรรณนาในกวีนพิ นธไทย. วารสารศิลปศาสตร, 11, 63-64. รวี โดมพระจันทร. (2546). ตื่นเถิดเสรีชน และงานคัดสรร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา.

16


การมีตวั ตนในยุคบริโภคนิยมกับการไรตัวตนใน “นอนใตละอองหนาว” บุปผา เวชชาญไชย หากจะกล าวถึงผูประพั นธ นวนิยายเรื่อ งนี้ ปราบดา หยุ น เป น ที่ รูจั กกันดี ในฐานะนักเขียนรางวัลซีไรต ประจํา ป พ.ศ. 2545 จากผลงานรวมเรื่องสั้นชุดที่ 2 ของเขาที่มีชื่อวา ความนาจะเปน ปราบดาเปนตัวแทนของ คนรุ น ใหม ใ นจํ า นวนไม กี่ ค นที่ ม องโลกในมุ ม กลั บ งานเขี ย นของเขามั ก หยิ บ ยกเรื่ อ งราวที่ ใ กล ตั ว กั บ ชี วิ ต ผู ค น มาตั้งคําถาม ทวามิเคยมีผูใดนึกถึง ดังที่ รื่นฤทัย สัจจพันธุ (2554, น.146-148) ไดกลาวถึงงานของปราบดาไววา “งานของปราบดาโดดเด น ด วยแนวคิด สกุลโพสต โมเดิรนที่ ตั้ง คํา ถามกับสิ่ งรอบตั วเพื่ อกระตุน ให ผู อานฉุกคิดถึง มาตรฐานตาง ๆ ของสังคมบริโภคนิยมที่บีบรัดใหมนุษยเปนเสมือนผลผลิตจากโรงงานเดียวกัน ” อีกทั้ง “ปราบดา สรางจุดเดนในการเลนกับภาษา เลนกับมุมมองความคิด เลนกับรูปแบบวิธีการเล าเรื่อง เลนกับการประสานขนบ วรรณกรรมตางประเภทเขาดวยกัน เลนกับความเหนือจริง” จากการนําความคิดมาเรียงรอยผานแนวการเขียนที่เปน เอกลักษณทําใหผลงานของเขามีลกั ษณะที่โดดเดนและเปนที่นา จับตามองในวงการวรรณกรรม นอนใตละอองหนาว เปนนวนิยายขนาดสั้นโดย ปราบดา หยุน จัดพิมพครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2549 มีโครงเรื่อง เกี่ยวกับการแสวงหาหนทางแหงการหลุดพนซึ่งนําไปสูการไรตวั ตนของหนุมสาวในสังคมเมืองยุคปจจุบัน โดยนําเสนอ ผานการมีเพศสัมพันธกับคนแปลกหนาและการหนีออกจากสังคมทีต่ นเองอยูไปสูดินแดนหางไกลที่ ไมรูจัก พฤติกรรม ประหลาดนี้ไดดําเนินเรื่องผานเรื่องราวในบทสั้น ๆ ตัดภาพเหตุการณสลับไปมาระหวางเรื่องราวหลักในมุมมองของ ผูสังเกตการณและเรื่องราวในมุมมองของผูกระทําหรือผูรวมเหตุการณ ซึ่งทําใหผูอานไดรับรูความเปนไปทั้งหมดของ พฤติการณนี้ เรื่องราวหลักเรื่องแรกเปนชีวิตของหญิงสาวที่ชื่อ ปาณนา นางแบบและนักแสดงคิวทองที่หนีผูคนในสังคม และละทิ้งการงานเพื่อเดินทางไปประเทศญี่ปุนโดยไมไดบอกกลาวลวงหนา เหตุผลในการเดินทางครั้งนีไ้ มไดเหมือนกับ การเดินทางของเธอครั้งกอน ๆ ที่เธอเคยทําเพื่อหาความสุขใสตัว เชน “จู ๆ ก็บนิ ไปเปดหองกับเพื่อนสาวบนเกาะสมุย เผลอ ๆ ก็โผลไปชอปปงยานคอสเวย เบย ที่ฮองกง ทั้งที่มีงานต องทําจดไวแนนทุกหนาในสมุดคิว ” (ปราบดา หยุน, 2554, น.20) แตครั้งนี้เธอไมรูวาเดินทางมาญี่ปุนเพื่ออะไร เพราะเธอ “ไมรูจักใคร และไมรูว าจะพักที่ไหน ไมรูวา จะตองอยูนานเทาไร” (ปราบดา หยุน, 2554, น.19) เรื่องหลักเรื่องที่ 2 เปนชีวิตของเจมส วัตสัน ชายชาวนิวยอรก วัย 50 ปลาย ๆ ที่มีอาชีพนักเขียน เขาพยายามสืบคนขอมูลเกี่ยวกับการหายตัวไปของคนหนุมสาวหนาตาดีและ การหายตัวไปเพื่อการหลุดพน เพื่อที่จะนําไปเขียนหนังสือเลมใหมของเขาที่มีชื่อวา “ชีวิตใหม” แตเขาก็ยังประสบ ปญหาในการหาสาเหตุของพฤติกรรมแปลกประหลาดนี้ และมักจะตั้งคําถามเกี่ยวกับจุดประสงคในการทํางานของ ตนเอง เจมสเปนตัวละครที่ชวยใหผูอานสามารถปะติดปะตอเรื่องราวที่เ ปรียบเสมือนจิ๊กซอวชิ้นเล็ก ๆ เปนภาพรวม ทั้งหมดผานขอมูลที่เขาไดรับจากมิตรสหายในตางแดนซึ่งลวนเปนเมืองใหญ เชน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หรือ แมแตนครเซี่ยงไฮ ประเทศจีน จากจดหมายอิเล็กทรอนิกสและบทสนทนาโทรศัพททางไกล


การมีตัวตนในยุคบริโภคนิยม จากการดําเนินเรื่องราวหลักทั้ง 2 เรื่องสามารถพิจารณาไดวา นอนใตละอองหนาว ตองการนําเสนอสภาพ สังคมสมัยใหมและปญหาในยุคบริโภคนิยม ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เทคโนโลยีและการสื่อสารไดพัฒนาขึ้นอยางรวดเร็ว และทั่วถึง ความเปนโลกาภิวัตนไดสลายเสนพรมแดนระหวางพื้นที่เมืองและพื้ นที่ชนบท สงผลใหผูคนจากทั่วทุกมุม โลกสามารถติดตอสื่อสารและพบปะกันผานโลกเสมือนไดอยางไรพรมแดน วิถีชีวิตชาวเมืองแผขยายเขาไปในพื้นที่ ตาง ๆ และเขามามีบทบาทกําหนดแบบแผนชี วิต ของผูคนแทบทุ กชนชั้น และทุ กสัง คม อัตลักษณในวิถีชีวิ ต ของ คนรุนใหมจึงไดรบั การขัดเกลาโดยบริบททางสังคมและวัฒนธรรมใหกลายเปนปจเจก ดวยพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ ที่เกื้อหนุนใหคนในสังคมไดกําหนดคานิยมรวมกัน ซึ่งบริบททางเศรษฐกิจในปจจุบันขับเคลื่อนดวยระบบทุนนิยม ที่ยึดถือทุนและความมั่งคั่งเปนหลัก ผลที่ตามมาจึงเกิดลัทธิวัตถุนิยมและบริโภคนิยมแผขยายเปนวงกวาง ทรงพล อภิวฒ ั นานันท (2551) ไดกลาวถึงระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไววา ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเปนระบบเศรษฐกิจที่ย อมรับ อํานาจอธิปไตยของผูบริโ ภคและ อิสรภาพในการเลือกงานทํา อํานาจอธิปไตยของผูบริโภคหมายถึงสภาพการที่หนวยการผลิตคํานึงถึง ความตองการของผูบริโภคเปนสําคัญที่สุด ผูบริโภคจึงมีอิสรภาพในการเลือกบริโภค ซึ่งสามารถ ตัดสินใจซื้อสินคาชนิดใดก็ได ภูเบศร สมุทรจักร และ มนสิการ กาญจนะจิตรา (2557, น.49) ไดกลาวถึงการบริโภคนิยมไววา พฤติกรรมการบริโภคที่มีความซับซอนใน 4 ลักษณะในกลุมวัยรุน . . . ไดแก การใชจายฟุมเฟอย เกิน วั ย การบริโ ภคเพื่ อโอ อวด การซื้ อ โดยขาดการไตรต รอง และความเป น วั ต ถุนิ ย มของวั ย รุ น อาจกล า วโดยรวมได ว า พฤติ ก รรมการบริ โ ภคทั้ ง 4 ลั ก ษณะนี้ เป น ลั ก ษณะของความนิ ย ม ความลุมหลง หรือคลั่งไคลใ นการซื้อ และการบริโภค อยางที่เรียกวา “การบริโภคนิยม” ซึ่งอาจ ตรงกับคําวา “Consumerism” หากจะพิ จ ารณาตามหลั ก ทางพระพุ ท ธศาสนา พระไพศาล วิ ส าโล (2554) ได ก ล า วถึ ง วั ต ถุ นิ ย มและ บริโภคนิยมไววา วัตถุนิยม หมายถึง การกินอาหารเพราะติดในรสอรอย ตองการเครื่ องปรับอากาศเพราะมันให ความเย็น หรือตองการรถเบนซเพราะไปไหนมาไหนสบาย ไมเหนื่อย นี่เปนความสุขอันเนื่องจาก ประสาททั้งหา แตบริโภคนิยมลึกกวานั้น จุดหมายของการบริโภคมิใชความสุขทางประสาททั้ง หา เท า นั้ น แต ต องการมากกว า นั้น . . . คื อ สนองความต องการมี “ภาวะชี วิ ตใหม ” ที่ น า ปรารถนา ในทางพุทธศาสนาเรียกวา “ภวตัณหา” คือ ทําใหคุณรูสึกวาคุณไดเปนอะไรบางอยางที่พึงปรารถนา

18


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

นอกจากนี้ พระไพศาล วิสาโล (2554) ยังไดเปรียบเทียบความแตกตางระหวางวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ไววา วัตถุนิยมโดยทั่วไปแลว หมายถึง ความตองการวัตถุเพื่อสนองตอบอายตนะทั้งหา . . . พูดอยาง พุทธคือ ตอบสนอง “กามตัณหา” ซึ่งเปนเรื่องความอรอย ความสะดวกสบายหรือรสชาติจากรูป รส กลิ่ น เสี ย ง สั ม ผั ส คนสมั ยใหมเขาหาบริโภคนิยมเพื่อต องการเปนคนใหม ที่เขาคิดวาเปนสิ่งที่นา ปรารถนา คือ ตองการภาวะชีวิตใหม อันนี้เปนการตอบสนองทางจิตใจซึ่งเปนอายตนะที่หก เห็นไดวา บริโภคนิยมไมใชเรื่องของวัตถุลวน ๆ แตมีมิติทางจิตใจซึ่งทําใหมันมีแรงดึงดูดตอผูคนมาก จากขอความขางตนสามารถสรุปไดวาบริโภคนิยมสงผลกระทบมากกวาวัตถุนิยม โดยบริโภคนิยมไดเขามา เสริมมิติทางดานจิตใจของมนุษย มองวัตถุสินคาเสมือนสิ่งที่นา ปรารถนา การสรางตัวตนในสังคมของคนรุนใหมจงึ ถูก หลอหลอมดวยวัตถุและการสรางคุณคาของตนเองดวยการครอบครองวัตถุอันเปนที่นิยมของชนหมูมากดวยความหลง คิดวาวัตถุที่หามาไดถือเปนความสุขชนิดหนึ่งและเปนสิ่งที่ พึงปรารถนา เปนสิ่งที่ทําใหตนเองรูสึกวาไดเลื่อนชนชั้น สูงขึ้นและไดรับการยอมรับจากสังคม อีกทั้งอิสรภาพในการเลือกบริโภคของระบบทุนนิยมทําใหเกิดการใชจายอยาง ฟุมเฟอยและปราศจากการยั้งคิด เกิดความลุมหลงและนิยมกันไปตามกระแส พฤติ ก รรมประหลาดที่ เ กิ ด ขึ้ น ในเรื่ อ งสามารถพิ จ ารณาได ว า นวนิ ย ายเรื่ อ งนี้ นํ า เสนอผลกระทบของ สังคมเมืองที่มีตอวิถีชีวิตและความคิดของคน โดยใชประเด็นเรื่องบริโภคนิยมเปนแกนหลักที่สงผลใหการมีตัวตน ในสังคมนําไปสูการละทิ้งตัวตนทั้งหมดของตนเอง และหนุม สาวในยุคปจจุบันเริ่มตองการเสาะแสวงหาสิ่งที่ตองการ ในชีวิตอยางแทจริง โดยหันไปใชชีวิตแบบภาวะการไรตัวตนในสังคม เพื่อหลุดพนจากกรอบจํากัดของสังคมทั้งหลาย จากพฤติกรรมของตัวละครและการสรางประเด็นของเรื่องสามารถพิจารณาไดวา นอนใตละอองหนาว ตองการนําเสนอปญหาของลัทธิบริโภคนิยมในสังคมสมัยใหม ดวยเหตุผลดังตอไปนี้ เหตุผลประการแรก คือ ผูแตงใชตัวละครทั้งหลายเปนตัวละครที่อยูในสังคมเมืองใหญ ดังเชน ปาณนาที่เปน นั ก แสดงและนางแบบชั้ น นํ า ของไทย ทั ศ น แฟนหนุ ม ของปาณนาที่ เ ป น นายแบบระดั บ แนวหน า บ็ อ บบี้ ไรท “นักดนตรีวงร็อคที่กําลังเริ่มดังในแวดวงกลุมคนนิยมดนตรีใตดิน บางครั้งเขาเดินแบบ ถายแฟชั่นเปนงานอดิเรก” (ปราบดา หยุน, 2554, น.49-50) ทั้ง 3 คนนี้เปนตัวแทนของผูคนที่ใชชีวติ ทามกลางกระแสบริโภคนิยม ซึ่งจะปรากฏ ชั ด เจนในอุ ต สาหกรรมวงการบั น เทิ ง ทั้ ง สายการแสดงและสายแฟชั่ น โดยบุ ค คลที่ ทํ า งานในวงการนี้ มั ก จะมี ความเกี่ยวของกับสังคมเมืองอยางชัดเจน เนื่องจากสังคมเมืองเปนสังคมที่เกื้อหนุนใหความเปนตัวตนของคนในวงการ บันเทิงถูกขับเนนออกมาอยางเดนชัด การใชตัวละครที่อยูในเมื องใหญจึง สะท อนใหเห็นคานิยมและวิ ถีชีวิ ต ของ คนเมืองที่ไหลไปตามกระแสการบริโภคของระบบทุนนิยม ดังขอความตอไปนี้ ปาณนาไมใชคนชอบความหนาว เธอชอบเที่ยวเมืองหนาวอยูบาง ใช เมืองโปรดของเธอคือ กรุงลอนดอน แตนั่นเปนเพราะเธอหลงใหลติดใจในความหรูหราของมันมากกวา เหมือนที่คนไทย จํ า นวนมากยั งยึ ด ติ ดกับ ความเปน ผูดี เกา ของอั ง กฤษ เธอชอบไปช อปปง กับเพื่ อน ๆ ที่ นั่ น ไดใส 19


เสื้อหนาวขนสัตวสวย ๆ เหมือนนางแบบฝรั่ง ไดสวมรองเทาบูตหนังสูง ๆ ไดพันผาราคาสีสดใสราคา ผืนละหลายหมื่นไวรอบคอ ไดนั่งไขวหางยกแกวกาแฟขึ้นจิบในคาเฟยานน็อตติ้ง ฮิลล ไดเริงระบํา ระเบิดความบาเต็ มที่กับกลุมคนหนาตาดีในวงการแฟชั่นตามคลับกลางคืน (ปราบดา หยุน, 2554, น.42) จะเห็ น ได ว า สั ง คมบริโ ภคนิ ย มเป น ตั ว กํ า หนดคา นิ ย มของความคิ ด ตั ว ละคร การที่ ค นคนหนึ่ ง จะได รับ การนับหนาถือตาในสังคมและเปนการเพิ่ม คุณคา ของตัว เองในสัง คมจะตองสวมใสเสื้ อผาและเครื่องประดั บ ที่ มี มูลคาสูง ไปเที่ยวในแหลงบันเทิงที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงมากมาย ตีราคามูลคาวัตถุที่เห็นจากภายนอกเปนคุณคาของ คนที่รูจักกันในสังคม ดังที่ ภูเบศร สมุทรจักร และ มนสิการ กาญจนะจิตรา (2557, น.50) ไดกลาวไววา ตามทฤษฎีของ Veblen ผู ที่ มี ส ถานะทางสั งคมที่ สูง จะบริโ ภคทั้ง สิน คาและบริการให เปนที่ สังเกตเห็นเพื่อเปนการแสดงใหเห็นถึงความร่ํารวยของตนเอง ซึ่งจะนําไปสูสถานะทางสังคมที่สูง ยิ่งขึ้นไปอีก การบริโภคสินคาหรือบริการตาง ๆ ที่มีราคาแพง มีภาพลักษณที่หรูหรา จึงเปนไปเพื่อ การแสดงสถานะทางสังคม ดังนั้น ทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากความตองการสถานะทางสังคมของมนุษย และการใหความสําคัญกับวัตถุสิ่งของที่เปนตัวชี้วัดถึงสถานะทางสังคม นอกจากพฤติกรรมการบริโ ภคแลว ทัศน แฟนหนุมของปาณนายังเปนตัวแทนที่สะท อนคานิย มในด า น การนําเสนอสินคาแกคนในสังคมเมืองที่มักคํานึงถึงรูปลักษณภายนอกเปนหลัก ดังขอความวา “ปกติทัศนจะระวังและ เปนกังวลกับรายละเอียดทางภาพลักษณ โดยเฉพาะดานที่เกี่ยวของกับหนาที่การงานโดยตรง” (ปราบดา หยุน, 2554, น.66) จากขอความสะทอนใหเห็นถึงลักษณะสังคมที่มองคนจากเปลือกภายนอกกอน ใหคุณ คากับสินคาหรือคนจาก รูปรางหนาตาเปนอันดับแรก และคํานึงถึงประโยชน การใชงานภายหลัง ดังที่ “เขาเคยคาดเดาไวเหมือนกันวาคงไม ทํางานขายรูปรางหนาตาแบบนี้ไดนาน เปนไปได เวลาอาจจะมาถึงแลวที่เขาตองเริ่มมองหาลูทางใหมสําหรับตัวเอง แตจะทําอะไรดี ที่สําคัญกวานั้น เขาจะทําอะไรได” (ปราบดา หยุน, 2554, น.34) จากขอความดังกลาวยิ่งแสดงให เห็นวาแมแตตวั ของทัศนเองก็ทราบดีวา เหตุที่เขาสามารถโลดแลนอยูในวงการ เปนที่นับหนาถือตาในสังคมไดก็เพราะ รูปลักษณภายนอกที่ดูดี ผูคนในสังคมอาจไมไดตระหนักถึงความสามารถของเขาหรือคิดวาเขาสามารถทําอะไรได มากกวานั้น ซึ่งตัวอยางนี้สอดคลองกับรสนิยมของชาวบริโภคนิยมไดอยางชัดเจน นอกจากนี้ตัวละครอื่น ๆ ยังมีความสัมพันธกับสังคมเมืองอยางใกลชิด ดังเชน เจมส วัตสันที่อาศัยอยูใน มหานครนิวยอรก เขาพบเห็นกิจกรรมตาง ๆ ของผูคนวาในเมืองนี้เปนทั้งแหลงรวมความศิวิไลซและแหลงเสื่อมทราม ในที่เดียวกัน ดังที่เขาไดพบเห็นเหตุการณโจรกรรมรถหรูบนถนนหนาอพารตเมนตของเขา และการสืบสาวราวเรื่อง การหายตัวไปของคนในสังคมเมืองที่มีลักษณะรวมกันจนเปนที่สังเกต ดังขอความวา “คนหายทุกรายเปนหนุมสาว และที่เหมือนกันอยางไมนาเชื่ออีกอยาง คือทุกคนลวนหนาตาดี มีแรงดึงดูดทางเพศสูง หรือมีอาชีพการงานเกี่ยวของ กับความสวยความงาม” (ปราบดา หยุน, 2554, น.57) ตัวอยางเชน “นักแสดงละครเวทีหายตัวไปโดยไมแจงผูกํากับ 20


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

หรือผูรวมแสดง เธอรับบทเปนตัวเอกของละครที่กําลังแสดงทุกคืนในกรุงบอสตัน อยู ๆ ก็ไมปรากฏตัวเสียดื้อ ๆ รายนี้ ก็มีพยานยืนยันวาเห็นเธออยูในสภาพปกติทุ กอยาง แตที่แปลกคือเขาเห็น เธอในรานกาแฟเล็ก ๆ กลางกรุงโซล เกาหลีใต” (ปราบดา หยุน, 2554, น.29) อีกทั้งยังมีบุคคลที่ใชชีวิตในสังคมเมืองใหญ เชน นนท นักศึกษาหนุมใน กรุงโตเกียว ครูสาวนามสกุลหยาง และหญิงขายบริการในนครเซี่ยงไฮ เปนตน เหตุผลประการที่ 2 คือ การใชฉากเมืองใหญหรือมหานครที่โดงดังระดับโลกมาดําเนินเรื่อง ซึ่งมีบริบททาง สังคมและคานิยมรวมกันบางประการอยางเห็นไดชัด เนื่องจากเมืองใหญเปนศูนยรวมของสินคา แฟชั่น แหลงบันเทิง ความเจริญทั้งหลาย และเปนแหลงกําเนิดกระแสการบริโภค การสรางตัวตนของตัวละครจึงถูกกําหนดขึ้นดวยมิติ ทางพื้นที่ในเมืองที่เขามารองรับ โดยในเรื่องไดปรากฏชื่อเมืองที่ใชเปนฉากไดแก โตเกียว นิวยอรก กรุงเทพมหานคร ลอนดอน และเซี่ยงไฮ นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อเมืองใหญ ที่ตัวละครอางอิงถึง เชน ลอสแอนเจลิส ชิคาโก กรุงโซล บอสตัน มะนิลา ปารีส และฮองกง เปนตน การใชเมืองใหญเปนฉากในการดําเนินเรื่องจึงปฏิเสธไดยากหากจะไม กลาวถึงประเด็นเรื่องบริโภคนิยมได เนื่องจากความเปนเมืองใหญมีความสัมพันธเกี่ยวของกับการบริโภคในอัตราสูง อยางเหนียวแนน เพราะไดรับอิทธิพลจากระบบทุนนิยมเขามาอยางเต็มที่ ถือไดวาฉากเมืองใหญตาง ๆ ที่ปรากฏขึ้น ลวนมีระยะหางระหวางพื้นที่ชิดติดกันจนกลายเปนฉากใหญที่รวมกันเปนฉากเดียว เหตุผลประการสุดทาย คือ ผูแตงพยายามสอดแทรกความคิดเรื่องบริโภคนิยมของนักคิดและนักปรัชญาผาน กระแสความคิดของตัวละครที่แลนเขามาเพื่อบอกเปนนัยยะสําคัญ ซึ่งสอดคลองกับกรอบแนวคิดของบริโภคนิยมและ ระบบทุนนิยม ตัวอยางเชนกระแสความคิดของเจมส ดังตอไปนี้ เอพิคุรุสใชไหมที่บอกวา “ไมมีคําวาพอ สําหรับคนที่เห็นวาการมีพอคือการมีนอยเกินไป” คนเรา สวนใหญก็เปนอยางนี้ไมใชหรือ โลกนี้เคลื่อนไหวไปไดเพราะไมมีใครคิดวาตัวเองมี “พอ” ดังนั้นตอให เขาพบความหมายในชีวิตของตัวเอง สักวันหนึ่งไมนานเขาก็จะคิดวามันไมใชความหมายที่เพียงพอ และตองขวนขวายที่จะหาความหมายใหม ๆ ใหมั น ตองพยายาม “หลุดพน” อีกครั้ง และอีกครั้ง ตอไปจนกวาไมเหลือลมหายใจใหหลุดพนได (ปราบดา หยุน, 2554, น.26-27) จากคํากลาวของนักปราชญ เอพิคุรุสในกระแสความคิดของเจมสที่ยกมาขางตน แสดงใหเห็น ถึงการไขวควา ของมนุษยในสังคมเมืองที่ไมสนิ้ สุด มนุษยไมเคยพอใจในสิ่งที่ตนเองมี พยายามเสาะหาสิ่งใหม ๆ เพื่อสรางคุณคาใหกับ ตนเองเสมอ ดังนั้นการขวนขวายหาสิ่งใหมที่ไมสิ้นสุดนี้ก็ไมไดนาํ ไปสูการหลุดพนจากพันธะทั้งปวง ยังคงตกอยูภายใต วังวนของความไมรูจักพอของตนเอง ดังเชนแนวคิดในระบบทุนนิยมที่ตองแขงขันกันเพื่อใหไดรับสิ่งใหม ๆ ที่ดีกวา การหยุ ด อยู กั บ ที่ เ ป น การเป ด โอกาสให ผู อื่ น ก า วนํ า ตนเองขึ้ น ไปและทํ า ให พื้ น ที่ โ อกาสของตนเองลดถอยลง เพราะฉะนั้นจึงเกิดการแกงแยงแขงขันกันไมรูจักจบสิ้น เปนวัฏจักรวนเวียนไปซ้ําแลวซ้ําเลา นอกจากนี้ ปราบดายังไดอางถึงแนวคิดของชารลส ดารวิน ที่แสดงใหเห็นวาเนื้อหาเรื่ องนี้ตองการนําเสนอ เรื่องบริโภคนิยม โดยไดกลาวถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่นํามาเปรียบเทียบกับวิวัฒนาการการบริโภคของคนในสังคม ดังขอความตอไปนี้ 21


เจมสชื่นชมผลงานและความคิดของชารลส ดารวิน แตเขาสงสัยในความแมนยําทางทฤษฎี เกี่ ย วกั บ วิ วั ฒ นาการของสิ่ ง มี ชี วิ ต เจมส ค อ นข า งเชื่ อ ว า สิ่ ง มี ชี วิ ต เปลี่ ย นแปลงไปตามเวลาและ สภาพแวดลอม แตเขาไมคิดวาวิวัฒนาการเดินทางเปน เสนตรงไปขางหนา เขาคิดวามันเดินทาง เปนวงกลม หรืออาจเปนรูปทรงอื่นที่มนุษยไมสามารถเขาใจได นักอนุภาคฟสิกสคิดวาทุกสรรพสิ่งอาจ แตกกระจายออกมาจากจุดเดียว ถาเปนเชนนั้นจริง ทฤษฎีของเจมสก็คือทุกอยางกําลังเดินทางกลับ ไปสูสถานภาพเดิม เพื่อแตกกระจายออกมาอีกครั้ง (ปราบดา หยุน, 2554, น.73-74) การที่ปราบดาไดนําเสนอความคิดเรื่องเศรษฐกิจและบริโภคนิยมผานกระแสความคิดของเจมส สามารถ ตีความไดวา เจมสเห็นดวยกับความคิดที่วาสิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงใหเขากับสภาพแวดลอมและ สังคม แตไมเชื่อวาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจะมีแตกาวไปขางหนาอยางเดียว เขาคิดวามันเปนวิวัฒนาการที่เกิดขึ้ นมา เติบโต ตกต่ํา แลวก็วกกลับเขาสูจุดเดิม เพื่อที่จะกลับขึ้นมาเกิดขึ้นใหมอีกครั้งซ้ําแลวซ้ําเลา ซึ่งอธิบายในประเด็นของ ระบบเศรษฐกิจ และบริโภคนิยมได วา การเติ บ โตของเศรษฐกิจเกิด ขึ้นมาจากระบบการพึ่ง พาตนเองมาสูยุคที่มี การแลกเปลี่ยนสิ่งของที่จําเปนต อการดํารงชีวิต เติบโตขึ้นเปนระบบอุตสาหกรรมที่มีสินคาอํานวยความสะดวก หลากหลาย และพัฒนาเปนสินคาฟุมเฟอยที่สงผลตอคุณคาทางจิตใจของมนุษย การนําวัตถุมาเปนเครื่องตัดสินคุณคา ของมนุษยกลายเปนปรากฏการณที่แพรขยายในสังคมโลกเปนวงกวางจนทําใหคุณคาของความเป นมนุษยลดทอน ลงไป เกิดสภาวะตกต่ําในจิตใจของมนุษย ซึ่ง เจมสก็ไดเฝามองปรากฏการณนี้เพื่อรอวันที่ วัฏจักรนี้เดินทางกลับไปสู จุดเริ่มตนอีกครั้ง นอกจากนี้ผูเขียนยังไดสอดแทรกการกระทําของตัวละครอื่น ๆ ที่แสดงใหเห็นถึงประเด็นของวัฏจักรนี้อยาง มีนัยยะ ดังเชน โฮป ตัวละครประกอบที่ตัดสินใจใชชีวิตทามกลางทะเลทรายกับ เฮเลน มารดาของเธอ ทัง้ สองปลีกตัว ออกจากสังคมเมืองและผูคน ไมหลงใหลไปตามกระแสวิถีชีวิตของคนเมืองดังเชน “เสียงดนตรีแผวเบาเล็ดลอดออกมา จากประตูรถเทรลเลอร . . . เปนเพลง Lilac Wine ของเจมส เชลตัน เฮเลนนึกยิ้มและขอบคุณเสมอเมื่อลูกของเธอ เลือกเปดเพลงจากกรุแผนเสียงของเธอ แทนที่จะเปนซีดีดนตรีสับสนนารําคาญและไรวิญญาณของวงร็อครุนใหม ๆ” (ปราบดา หยุ น , 2554, น.82) ซึ่ ง ทั้ ง สองเป น ตั ว แทนของกลุ ม คนที่ ห ลี ก เลี่ ย งผลกระทบของระบบทุ น นิ ย มและ ลัทธิบริโภคนิยม และอีกเหตุการณหนึ่ง คือ “โฮปใชกานไมเขี่ยพืน้ ทรายเปนรูปวงกลมที่หมุนวนซ้ํารอยเดิมไปเรื่อย ๆ” (ปราบดา หยุน, 2554, น.85) แสดงใหเห็นวากลุมคนเหลานี้เฝาเห็นเหตุการณและความเปนไปของสังคมและรับรูวา ระบบทุนนิยมนี้เปนวัฏจักรที่เวียนวนไมรูจักจบสิ้น จากเหตุผลขางตนสามารถพิจารณาไดวา นอนใตละอองหนาว ตองการสื่อถึงลัทธิบริโภคนิยมในสังคมเมือง ปจจุบัน การมีตัวตนของตัวละครในสังคมเมืองไดถูกประกอบสรางจากการประเมินคาและความมีมูลคาที่บงบอก ตั ว ตน ตั วละครยอมไหลไปตามกระแสของสังคมเพราะคิดว ามูล คาของวั ตถุเปนเครื่อ งบ งชี้ถึง คุณ คาของตนเอง คนเหลานี้จึงไมตางอะไรกับสินคาชิ้นหนึ่งที่ไหลไปตามกระแสการบริโภคซึ่งปรากฏและหายไป กรอบความคิดเรื่อง คุณคาของการมีตัวตนในสังคมจึงไดรับการกําหนดใหอยูในฐานะสินคาชิ้นหนึ่งที่ถูกแทนดวยปายมูลคา เมื่อกลุมคน 22


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

หนุมสาวในเรื่องตระหนักรูไดวาการแสดงตัวตนในสังคมเมืองใหญตามกระแสบริโภคนิยมนี้ไมใชหนทางที่บงบอกถึง อัตลักษณของตน หากแตเปนเพียงกรอบความคิดทางสังคมที่ทําใหเราหลงไปตามกระแส ผูคนบางกลุมซึ่งในเรื่อง กลาวถึงกลุมหนุม สาวหนาตาดีและมีความคิดแบบบริโภคนิยมสูง จึงพยายามหลุดพนจากพันธะนี้ดวยการหนีและเขาสู ภาวะการไรตัวตนซึ่งอาจวนกลับไปสูจุดเริ่มตนของการเกิดสรรพสิ่งทั้งปวง พฤติการณจากการมีตัวตนในสังคมบริโภคนิยมไปสูการไรตัวตน พฤติกรรมประหลาดของคนวัยหนุมสาวนี้ ไดรับการติดตามในมุมมองของตัวละคร เจมส วัตสัน ที่ไดใชชีวิต ทามกลางสังคมเมืองเชนเดียวกับตัวละครหนุมสาวคนอื่น ๆ แตดวยลักษณะนิสัยที่เขาเปนคนใชเหตุผล มักตั้งคําถาม กับสิ่งตาง ๆ ทําใหเขาตัดสินใจที่จะใชชีวิตอยางโดดเดี่ยวและเรียบงาย ไมแสวงหาความสุขสวนตัวตามคานิยมทาง อุดมการณของชีวิต ดัง ขอความวา “บางครั้ง เขาก็นึกสมเพชตัวเองที่ยังมีวิถีกินอยูเหมือนวัยรุน . . . ทั้งที่คนอายุ คราวเดียวกันตางมีครอบครัว มีบานสวย ๆ อยูในแถบชานเมืองเงียบ ๆ มีบานตากอากาศอยูแถวเคป คอด และ เตรียมตัวซื้อเรือไวลองตกปลาตอนเกษียณ แตชวยไมได โลกจําเปนตองมีคนอยางเขา เจมสมักบอกตัวเอง มีไวดูวา ไมควรเอาเปนเยี่ยงอยาง” (ปราบดา หยุน, 2554, น.96) จากลักษณะการใชชีวิตและการตั้งคําถามของเจมสที่มีตอพฤติกรรมประหลาดของคนหนุมสาวที่มักหายตัว ไปอยางไมไดบอกกลาว ทําใหเขาสันนิษฐานไดวาคนหนุมสาวบางคนอาจคนพบวา ชีวิตที่เคยคิดวานาจะมีความหมาย อะไรบางอยาง แทจริงแลวกลับดําเนินไปอยางไรความหมาย พวกเขาจึงพยายามเสาะแสวงหาหนทางที่ทําใหคนพบ ความหมายในชีวิตดวยการหลบหนีจากสังคมทีต่ นเองอยู ดังขอความวา อาจเปนไปไดวาชีวิตของคนบางคนชางไรความหมายเหลือเกิน โดยเฉพาะสําหรับคนที่เชื่อวา ชีวิตนาจะมีความหมายยิ่งใหญอะไรบางอยาง และดวยเหตุนี้ พวกเขาจึงหาทางหลบหนี ไมใชดวยวิธี ดั บ ลมหายใจ แต ด ว ยการอพยพไปจากตั ว เอง หนี อ อกจากบ า น ห า งออกจากสั ง คม ย า ยรั ฐ ยายประเทศ เปลี่ยนสภาพแวดลอม หายตัวไปจากหนาที่การงานเสียดื้อ ๆ เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนใบหนา ดวยความชวยเหลือของศัลยกรรม เปลี่ยนรูปราง เปลี่ยนบุคลิก เปลี่ยนศาสนา กระทั่งเปลี่ยนรสนิยม ทางเพศ (ปราบดา หยุน, 2554, น.24-25) กอนที่พฤติการณนี้จะเกิดขึ้น ตัวละครแรกที่เปนตนเหตุของ “เชื้อรายที่แพรกระจาย” ซึ่งในที่นี้หมายถึง พฤติกรรมประหลาดทางเพศที่ผูที่รบั เชื้อไมสามารถควบคุมตนเองได คือ บอบบี้ ไรท นักดนตรีหนุมวงร็อกชาวอังกฤษ ที่ไดมอบประสบการณการมีเพศสัมพันธที่เจาตัวรับปากกับ ปาณนาวาครั้งนี้จะเปนครั้งที่ดีที่สุดสํา หรับเธอ กอนที่เขา จะเดิ น ทางไปนครเซี่ ย งไฮเพื่ อหลบหนี สั งคมและคนรูจั ก ในคืน หนึ่ ง ขณะที่ ป าณนาได เดิ นทางมาถายโฆษณาใน กรุงลอนดอน ปาณนายินยอมมีเพศสัมพันธกับเขาทั้ง ๆ ที่ทั้ง 2 คนรูวาเธอมีคูรักที่อยูในประเทศไทยอยูแลว หลังจาก ที่เธอกลับมา เธอเริ่มรูสึกไดถึงการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของเธอ เธอเริ่มรูสึก “เหมือนกําลังอาศัยอยูในรางของคนอื่น 23


ยิ่งขึ้นทุกวัน ” (ปราบดา หยุน, 2554, น.17) เธอไดไปพบแพทยซึ่งไดรับการวิ นิจฉัยวา “ฉันคงเปนโรคบางอยาง หมอบอกว า อย า งนั้ น เป น โรคแปลกที่ ยั ง สรุ ป ไม ไ ด ว า คื อ อะไรกั น แน อาจเป น แค ภู มิ แ พ ช นิ ด ใหม ที่ ม าพร อ ม การเปลี่ ย นแปลงทางสภาวะสิ่ ง แวดล อ มของโลก อาจเป น ช ว งเริ่ ม ต น ของโรคที่ เ พิ่ ง ระบาด หรื อ อาจเป น เพี ย ง การวินิจฉัยคลาดเคลื่อน” (ปราบดา หยุน, 2554, น.19) ในวันรุงขึ้น เธอตัดสินใจจองตั๋วเครื่องบินไปญี่ปนุ ทันที และไดรวมรักกับ ทัศน คนรักของเธอซึ่งเปนนายแบบ อยูในวงการดวยกัน แลวจากกันไปโดยไมไดบอกกลาว ซึ่งทําใหตอมาทัศนก็ไดรับเชื้อนี้ตอจากเธอดวย เหตุการณ ต อมาคื อ ความเปลี่ ย นแปลงทางดานรางกายของปาณนาที่เริ่ม สังเกตอย างเห็ นได ชัด คือ “ผิ ว ของเธอแหงผาก อยางรวดเร็วและหยาบกระดางขึ้นอยางที่ไมเคยเปนมากอน ทําใหหญิงสาวตองซื้อครีมบํารุงผิวหลายกระปุกเก็บตุนไว จนหนักกระเปา เธอกระหายน้ําบอยขึ้นกวาเกา ” (ปราบดา หยุน, 2554, น.16) ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับปาณนานี้ สามารถตีความไดวา การมีเพศสัมพันธกลายเปนสิ่งที่ทําใหขัดเกลาเปลือกนอกของความเปนตัวตนในสังคมออก และ อาจกลาวไดวาเปนอุปลักษณที่มีการสื่อถึงเสนทางซึ่งนําไปสูการหลุดพนและการไรตัวตนในที่สุด เพราะเมื่อปาณนาได มีเพศสัมพันธกับชายแปลกหนาไปเรื่อย ๆ ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเธอจะทวีความรุนแรงขึ้น “ผิวของเธอ รูสึกแหงมากขึ้น ปาณนาเลิกแขนเสื้อโคทออกดู เธอเห็นรอยแตกเหมือนริ้วราวกระจายเปนเสนยาวจากขอมือถึงศอก และดูเหมือนจะเลื้อยยาวตอไปเรื่อย ๆ” (ปราบดา หยุน, 2554, น.59-60) และตอมา “ผิวพรรณของเธอยังแหงกราน และคอย ๆ แตกราวยิ่งขึ้น แตความผิดปกติทางกายภาพทั้งหมดปราศจากความเจ็บปวด” (ปราบดา หยุน, 2554, น.91) จนอาการผิดปกติเหลานี้ไดนําไปสูเหตุการณที่ ปาณนาไดผานกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางรางกายอยาง สมบูรณ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางรางกายอยางสมบูรณ เกิดขึ้นเมื่อปาณนาไดรวมรักกับพระหนุมเปนคนสุดทาย ซึ่งแสดงถึงการแหวกกรอบขนบทางศีลธรรมและจริยธรรมอยางสิ้นเชิง อยางไรก็ตามการพยายามแหวกกรอบศีลธรรม อันเปรียบเสมือนการปฏิเสธตัวตนที่ป ระกอบสรางจากภาวะสั งคมสมัย ใหม โดยการที่ตัวละครมีเพศสัม พั น ธ กับ คนแปลกหนาตลอดทั้งเรื่องไดนําไปสูจุดจบของตัวละคร และอาจตีความไดวาการติดเชื้อโรครายที่หาสาเหตุไมได คือ บทลงโทษของการพยายามหนีกรอบกําหนดตัวตนในสังคม โดยเหตุการณแรก เธอไดคนพบความผิดปกติทางกายภาพ อีกอยางหนึ่งของตนเอง ซึ่งเธอพอจะรับรูไดวา นี่คือสัญญาณการมาถึงของการหลุดพน ดังขอความวา “หญิงสาวดึง ถุงมือของเธอออกทั้งสองขาง สังเกตเห็นรอยปูดโปนเล็ก ๆ รอบนิ้วทั้งสิบ ” (ปราบดา หยุน, 2554, น.93) จากนั้นเธอ สังเกตไดวาธรรมชาติรอบตัวกําลังตอนรับใหเธอเขาสูการหลุดพน ดังขอความวา “เหลากิ่งไมตางโยกยายไหวเอน ตอนรับการมาเยือนของละอองหิมะ และเฉลิมฉลองการหลุดพนของปาณนา” (ปราบดา หยุน, 2554, น.93) ขณะที่ ปาณนากําลังรวมรักกับพระหนุมอยูนั้น รอบนิ้วของเธอกําลังจะกลายเปนรากของตนไมที่อยูในระหวางการหลอมรวม สูพื้นแผนดิน ดังขอความวา “ในหวงอารมณเรารอนจนลืมทุกอยาง พระหนุมไมทนั สังเกตเห็นความผิดปกติทเี่ ขาสัมผัส ปุมปูดบนมือของปาณนาบัดนี้โตพองและยืดออกเปนแทงยาวเหมือนเนื้องอกเล็ก ๆ นับรอยจุด ผิวแขนและขาของเธอ แตกแหงเหมือนรอยราวบนคอนกรีต” (ปราบดา หยุน, 2554, น.104) และทันทีที่ปาณนารวมรักกับพระหนุมเสร็จสิ้น 24


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

เธอก็ขยับตัวแลวลุกขึ้นจากพื้น วิ่งหนีจากพระหนุมไป ดังขอความวา “โดยไมพูดไมจาอะไรอีก หญิงสาวเริ่มออกวิ่ง มุงหนาเขาหาความมืดมิดและเหน็บหนาวของปาที่รอคอยเธออยู เสื้อผาบางชิ้นของเธอหลุดหลนลงบนพื้น และ ระหวางทางเธอพยายามปลดเปลื้องชิ้นที่เหลือใหตัวเองเปลือยเปลาหมดจดในที่สุด ” (ปราบดา หยุน, 2554, น.105) การที่เธอเปลื้องเสื้อผาใหเปลือยเปลานั้นสามารถตีค วามไดวา เธอไดปลดพั นธะจากการยึดติดวัตถุทั้งหมดและได หลุดพนจากพันธนาการของกรอบสังคมแลว เธอไมสนใจเปลือกและรูปลักษณภายนอกอีกตอไป ชวงเวลานี้ปาณนา ไมมีความรูสึกใด ๆ ซึ่งถือไดวาเปนการตัดขาดจากการรับรูความรูสึกและอารมณ ไมมีความยินดียินรายกับ สิ่งตาง ๆ ที่จะเขามากระทบตอจิตใจ เลือดเนื้อที่ปกคลุมรางกายกําลังถูกยอยสลายและทําใหผุพัง ดังขอความวา “ฝามือดานชา และผิวหนังรอบขอถลอกรอน เล็บฉีกขาด หลุดลอกออกจากปลายนิ้วไปสักพักแลว สีแดงของเลือดเปลงประกายหมน ในความมืด แตยังหยุดไมได” (ปราบดา หยุน, 2554, น.109) ขณะที่หิมะกําลังโปรยปรายลงบนแผนหลังเปลือยเปลา ของเธอ เธอไดยินเสียงตาง ๆ ที่ถูกหลงลืมไปเนิ่นนาน และดังขึ้นเรื่อย ๆ จนนํามาสูจุด สิ้นสุดของเรื่อง ดังขอความวา “อีกไมนาน รากของเราจะเชื่อมถึงกันอีกครั้ง ดังที่เคยเปนเหมือนเดิม” (ปราบดา หยุน, 2554, น.109) จากเหตุการณที่เกิดขึ้นกับปาณนาตลอดทั้งเรื่องสามารถสรุปไดวา ปาณนา นักแสดงสาวรุนใหมที่ใชชีวิต ทามกลางสังคมเมืองตามกระแสบริโภคนิยม ไดมีเพศสัมพันธกับหนุมแปลกหนา บอบบี้ ไรท และไดรับเชื้อที่เปนโรค ประหลาดทางเพศ เธอไมสามารถควบคุมตนเองได เกิดความผิดปกติทั้งทางรางกายและจิตใจ ซึ่งสามารถตีความไดวา การที่ปาณนาปฏิเสธที่จะอยูภายใตกรอบความคิดของสังคมทําใหรางกายและจิตใจของปาณนาเริ่มมีปญหา ตองการ หาหนทางที่จะหลุดพน จากนั้นเธอคนพบวารางกายของตัวเองสามารถหาทางออกของปญหาไดดวยการมีเพศสัมพันธ กับคนแปลกหนาไปเรื่อย ๆ และเดินทางไปยังสถานที่ที่หางไกลจากสังคมและผูคน จนในที่สุดการที่เธอมีเพศสัมพันธ กับพระหนุมไดนําไปสูการหลุดพน คือ การไมมีชีวิตอยูในสังคมอีกตอไป หรืออาจเรียกไดวาเปนสภาวะการไรตัวตน จากขอ ความตามลํ า ดั บ เหตุ การณ ข องการเปลี่ ย นแปลงไปสู ส ภาวะการไรตั ว ตนและเป น หนึ่ ง เดี ย วกั บ ธรรมชาติ ซึ่ ง ตามแนวคิ ด ของเรื่ อ งถื อ ว า เป น การขี ด เส น บรรจบครบรอบวั ฏ จั ก รนั้ น สามารถพิ จ ารณาได ว า การยอยสลายรางกายของปาณนามีความสอดคลองกับวัฏจักรทางธรรมชาติ การที่รางกายของปาณนายอยสลายและ เปลี่ยนแปลงเปนรากไมที่หยั่งลึกลงสูพื้นดิน ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตรถือเปนกลไกตามระบบนิเวศ ธรรมชาติไดมี การถา ยทอดพลั ง งานสง ต อกัน การบริโ ภคอย า งมี ขั้นตอนจากระดับ หนึ่ง ไปสู ระดั บหนึ่ ง เรีย กว า ห ว งโซ อาหาร (เกษม จันทรแกว, 2558, น.66) การที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งลาหรือจับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งกินเปนอาหารนั้น ถือเปน การสงตอพลังงานใหกับสิ่งมีชีวิตที่อยูชั้นสูงกวา ถึงแมวามนุษยจะเรียกไดวาเปนสิ่งมีชีวิตที่อยูชั้นบนสุดของหวงโซ อาหาร แตเมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นตาย รางกายที่เนาเปอยก็จะกลายเปนอาหารของจุลินทรียและแบคทีเรีย แลวถูกยอยสลาย จนกลายเปนอณูอินทรีย หรือสารอาหารในดินใหแกพืช ซึ่งนําไปสูการสงถายพลังงานใหกับพืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกตอไป (Daniel D. Chiras, 2006, น.67) ดังนั้นหนทางที่ปาณนาไดคนพบและปรารถนาที่จะหลุดพนจากวัฏจักรนี้ คือ การไรตัวตน หรือการไมรูสึกถึงสภาพการมีตัวตนอีกตอไป

25


การไรตัวตนใน “นอนใตละอองหนาว” จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางรางกายของปาณนา สามารถพิจารณาไดวา ปราบดาตองการเปรียบ การหลุดพนของคนหนุมสาวสมัยใหมเสมือนกับการไดใกลชิดกับธรรมชาติและกลายเปนสวนหนึ่งของธรรมชาติ ดังจะ เห็นไดจากขอความทิ้งทายในหนังสือวา “Plants are the young of the world, vessels of health and vigor; but they grope ever upward towards consciousness; the trees are imperfect men, and seem to bemoan their imprisonment, rooted in the ground”. (Ralph Waldo Emerson, 1844) ความคิ ด ของปราบดาได รั บ อิ ท ธิ พ ลมาจากงานเขี ย นเรื่ อ ง “Nature” ของ Ralph Waldo Emerson นั กปรัช ญาชาวอเมริกัน (ราชบัณฑิ ตยสถาน, 2551, น.64) โดยหนั งสือเลม นี้ไดกลาวถึง “ความสั มพันธระหวาง จิตวิญญาณของมนุษยกับธรรมชาติ เขาเชื่อวามนุษยจะมีความสุขและบรรลุสัจธรรมไดเมื่ออยูทามกลางธรรมชาติ ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2551, น.65) ปราบดาพยายามอธิ บ ายเปรีย บเที ย บชี วิ ต กับ ต น ไม โ ดยอ า งอิ ง แนวคิ ด เรื่ องธรรมชาติ ใ นงานเขีย นของ Emerson ผานกระแสความคิดของปาณนาที่วา “ตนไมเปนสิ่งมีชีวิตที่เหมือนไมมีชีวิต มันทําอะไรไมไดเลยนอกจาก ยืนหยัดอยูในที่ที่มันผุดโผลขึ้นมาแตแรก ลมพัดก็ตองเอนไหวไปกับสายลม ถูกตัดโคนก็ตองยอมรับกับความสูญเสีย โดยไมอาจประทวงโวยวายไดแมแตนอย” (ปราบดา หยุน, 2554, น.43) ซึ่งเปนการขยายความในขอความของ Emerson ที่เขาไดกลาวอางไวในหนาสุดทายของหนังสือ โดยเปรียบเทียบใหเห็นวาหากผูคนใชชีวิตอยางตนไม เติบโต ขึ้นมาดวยรูปลักษณในกรอบจํากัดทางสังคม เมื่อพบกับคานิยมใหม ๆ ในสังคมก็ตองเอนไหวไปตามกระแส หากสังคม ไมยอมรับตัวตนของเขาก็มิอาจจะเรียกรองอะไรได เฉกเชนมนุษยที่ใชชีวิตโดยเปลาดาย ปราศจากคุณคาที่แทจริงของ ตนเอง นอกจากนี้ ปราบดาไดสอดแทรกประเด็นเรื่องความสุขและสัจธรรมจากการอยูทามกลางธรรมชาติ ซึ่งเปน ขอสนั บ สนุนวา เขาไดอางอิ งประเด็ นการค นพบตั วตนที่แ ท จริงและการเขา ถึง ความสุขที่แ ท จริงตามแนวคิ ดของ Emerson ดังขอความที่วา “เธอไดยินเสียงกิ่งไมนานาชนิดเสียดสีและสั่นไหวไปมา เปนทวงทํานองเราใจ เหมือน บรรเลงโดยวงดนตรีออรเคสตราขนาดใหญ . . . เธอไดกลิ่นชื้นดิบของเนื้อโลก มันเชื้อเชิญใหเธอเขาไปใกล เขาไปหา เขาไปโอบกอดใหสมกับที่ไมไดพบกันเปนเวลายาวนานเหลือเกิน” (ปราบดา หยุน, 2554, น.62) ขอความนี้ไดปรากฏ ขึ้นกอนที่ปาณนาจะมีเพศสัมพันธเปนครั้งสุดทายและเธอรูสึกไดถึงการหลุดพนดวยวิถีทางของวัฏจักรแหงธรรมชาติ แสดงใหเห็นวายิ่งปาณนาเขาใกลกับธรรมชาติเทาใด เธอยิ่งไดเขาใกลกับความหลุดพนมากขึ้นเทานั้น การที่ผูประพันธไดเปรียบเทียบการหลุดพนเสมือนการกลับไปสูรากเหงาของธรรมชาตินั้น สามารถพิจารณา ไดวา ปราบดาตองการสื่อใหเห็นถึงการกลับไปสูวงจรวัฏจักรแรกเริ่มของทุกสรรพสิ่ง การหลุดลอกเปลือกนอกของ มนุษยที่หนาและแข็ง ยากที่จะละทิ้ง เมื่อการมีเพศสัมพันธซึ่งเปนสิ่งเปรียบของการชะลางความเปนตัวตนในสังคม เปนสิ่งที่ออกมาจากสัญชาตญาณดิบของมนุษยทุกคน ทําใหเปลือกนอกของมนุ ษยหลุดลอกออกทีละเล็กทีละนอยซึ่ง อาจนําไปสูการไมมีอยูในสังคมอีกตอไป จากเรื่องจะเห็นกรณีตัวอยางไดวา คนหนุมสาวที่หนีออกมาอยางไมบอกกลาว 26


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

ไดละทิ้งสถานะทางการงานของตนเอง แสวงหาสถานที่ที่ตนเองไมรูจักและไมมีคนรูจักพวกเขา เพื่อไมตองการมีตัวตน ในสังคม สิ่งนี้สะทอนใหเห็นถึงภาวะปจเจกบุคคลและการมีอิสรภาพที่ไมขึ้นกับผูใดหรือแมแตกฎเกณฑใดในสังคม การที่ตัวละครมีสิทธิ์เลือกแนวทางการใชชีวิตของตนเองไดสอดคลองกับพื้นฐานของระบบทุนนิยมที่ยอมรับ เรื่องอิสรภาพในการเลือกและการตัดสินใจของผูบริโภค แมคานิยมของระบบทุนนิยมจะใหคาในเรื่องความมั่งคั่งและ ความสุขจากการเสพสิ่งบริโภค แตผูบริโภคมีสิทธิ์ที่จะเลือกยอมรับคลอยตามสังคมหรือเลื อกใชชีวิตอยางที่ตนเอง ปรารถนา เมื่อนําตัวละครที่กระทําเหตุการณคือ กลุมคนที่มีอํานาจในการบริโภคสูงและหลงใหลตามกระแสของ บริโภคนิยมมาเชื่อมโยงกับปจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจแลว สามารถตีความไดวา เมื่อผูคนหนุมสาวกลุมนี้ไดคนพบ หนทางที่ทําใหพวกเขาไดเปนอิสระ จึงพยายามคนหาความหมายในชีวิต ที่แทจริงของตนเอง ตอตานกรอบความคิด และคานิยมในสังคมที่สรางขึ้นจากการมองคนที่หนาตา รูปราง ฐานะ เงินทอง การศึกษา ชะลางเปลือกนอกที่เคย หล อหลอมไว ออกให หมด ตั ด สิ น ใจที่ จ ะไม มี ตั ว ตนในสัง คมอี กต อไปเพื่ อ แสวงหาความจริง ที่ ว า คุ ณ คา ที่ แ ท จ ริง ของตนเองคืออะไร ความสุขที่แทจริงอยูตรงไหน ซึ่งนําไปสูการหลุดพนจากพันธะและความคิดความเชื่อทั้งปวง โดยความคิดนี้ไดสอดคลองกับคํากลาวของ พระไพศาล วิสาโล (2552) ที่วา ลัทธิบริโภคนิยมใหสัญญาวายิ่งมีสิ่งเสพสิ่งบริโภคมากเทา ไร ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้นเทานั้น แตหลายคนพบวาแมชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น แตก็ไมไดมีความสุขมากขึ้นเลย ตรงกันขาม กลับมีความทุกขเทาเดิมหรือยิ่งกวาเดิม ทีแรกก็อาจเขาใจไปวาที่ยังทุกขอยูเพราะยังมีเงินหรือวัตถุ สิ่งเสพไมมากพอ ดังนั้นจึงดิ้นรนหามาเพิ่มอีก นอกจากนี้ คําวา “ชีวิตใหม” ที่พระไพศาลไดอางถึงในเรื่องลัทธิบริโภคนิยมกับชื่อหนังสือของเจมสที่กําลัง เขียนอยูไดแฝงความแตกตางบางประการที่สามารถตีความไดวา ชีวิตใหมในลัทธิบริโภคนิ ยม คือ การเปลี่ยนแปลง ตนเองใหทัดเทียมกับชนชั้นทางสังคมที่ สูงขึ้น การเปนคนใหมที่พึงปรารถนาในสังคม ชีวิตที่ดูเหมือนจะเพียบพรอม และสะดวกสบาย แตภายในจิตใจกลับไมมีความสุขและรูสึกวางเปลา เพราะตองดิ้นรนไขวควาหาสิ่งเสพใหม ๆ มา ครอบครองอยางไมสิ้นสุด สวนชีวิตใหมในหนังสือของเจมส คือ ชีวิตหลังการหลุดพนจากพันธนาการของกระแสสังคม และกรอบคานิยมในความคิด ของมนุษย การหลุดพ นที่ไมยึดติดกับเปลือกภายนอก พยายามเขาถึงความสุขและ ความหมายของชีวิตอยางแทจริง นอนใตละอองหนาว จึงเปนนวนิยายเลมหนึ่งของปราบดา หยุน ที่แฝงความคิดและนัยยะสําคัญเกี่ยวกับ สภาพสังคมในระบบทุนนิยมไดอยางลึกซึ้ง ผูอานสามารถรับรูความคิดของเขาผานการตั้งคําถามและการตัดสินใจของ ตัวละคร ดวยการดําเนินเรื่องที่สลับ ซับซอนเฉกเชนโครงสรางทางสัง คมและวัฒนธรรมในปจจุบัน อีกทั้งยัง เป น วรรณกรรมจินตนาการอีโรติกที่สอดแทรกแกนปรัชญาและแนวความคิดไดอยางลุมลึก

27


รายการอางอิง

เกษม จันทรแกว. (2558). วิทยาศาสตรสงิ่ แวดลอม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. ทรงพล อภิวัฒนานันท. (8 เมษายน 2551). ทุนนิยมแบบไทย. สืบคนจาก http://politicsofdevelopment.blogspot.com/2008/08/blog-post_07.html ปราบดา หยุน. (2554). นอนใตละอองหนาว. กรุงเทพฯ: ไตฝนุ . พระไพศาล วิสาโล. (2539). อยูยอนยุค: ทัศนะทวนกระแสบริโภคนิยม. กรุงเทพฯ: พิมพดี. พระไพศาล วิสาโล. (2552). วิถีพุทธวิธีไทในยุคบริโภคนิยม. สืบคนจาก http://www.visalo.org/article/budVitheeBudVitheeThai.htm ภูเบศร สมุทรจักร และ มนสิการ กาญจนะจิตรา. (2557). พฤติกรรมบริโภคนิยมในวัยรุนไทย และปจจัยที่เปน สาเหตุ. วารสารธรรมศาสตร, 33, 46-69. ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). สารานุกรมประวัติศาสตรสากล: อเมริกา เลม 3 อักษร E-G. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. รื่นฤทัย สัจจพันธุ. (2554). จากวินทรถึงปราบดา: ศึกษาจากบทวิจารณวรรณกรรม. วารสารมนุษยศาสตรและ สังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี, 3, 113-154. ภาษาอังกฤษ Daniel D. Chiras. (2006). Environmental Science. Massachusetts: Jones and Bartlett. Ralph W. Emerson. (1986). Essays & Lectures. New York: Viking Press.

28


หัวขโมยแหงบารามอส: เติบโตดวยวรรณกรรม อาภาภรณ แสงดิษฐ หัวขโมยแหงบารามอส เปนผลงานการเขียนของเจาของนามปากกา “Rabbit” นักเขียนไทยผูชื่นชอบและ หลงใหลในการเขียนที่ใชเวลาวางของตนเองใหเปนประโยชน โดยการถายทอดจินตนาการของตนออกมา หัวขโมยแหงบารามอส เปนนวนิยายที่เขียนครั้งแรกในป พ.ศ. 2545 โดยไดรับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ เรื่อง The Book of Three ของ Lloyd Alexander และเรื่อง Harry Potter ของ J.K. Rowling วรรณกรรมแฟนตาซี หรือจินตนิยายที่โดงดังอยางมากในขณะนั้น ผูเขียนเริ่มเขียนเพียงเพื่อความบันเทิงสวนตัว แตตอมาพี่สาวของผูเขียน ซึ่งมีเว็บนิยายสวนตัวในอินเทอรเน็ตไดตัดสินใจที่จะนําผลงานเรื่องนี้ออกมาแบงปนกับเพื่อน ๆ นักอานในอินเทอรเน็ต เรื่อง หัวขโมยแหงบารามอส จึงไดถูกนําเสนอในอินเทอรเน็ตเรื่อยมาตั้งแตนั้น โดยไดถูกนําไปโพสตยังเว็บไซตตาง ๆ ไดแก เว็บไซตซันไรส (http://sun-tree.net) ถนนนักเขียนของเว็บไซตพันทิป (http://www.pantip.com) และ เว็บไซตเด็กดี (http://www.dek-d.com) ซึ่งไดรับกระแสตอบรับจํานวนมากจากนักอานในอินเทอรเน็ตจนไดรับ การติดตอจากทางสํานักพิมพสถาพรบุคส และไดตีพิมพเปนหนังสือชุดหัวขโมยแหงบารามอส หนั ง สื อชุ ด หั ว ขโมยแห ง บารามอส จั ดอยู ใ นหมวดวรรณกรรมเยาวชน ซึ่ งวรรณกรรมเยาวชนหมายถึง วรรณกรรมหรือ หนั ง สื อที่ แต ง ขึ้น เพื่ อ ให เยาวชนอ า นด ว ยความเพลิ ด เพลิ น สนุ กสนาน เหมาะแกค วามอยากรู และความรู สึ ก นึ ก คิ ด ของเยาวชนแต ล ะวั ย (ธวั ช ปุ ณ โณทก, 2527, น.21) หนั ง สื อ ชุ ด หั ว ขโมยแห ง บารามอส ประกอบไปด ว ยหนัง สื อจํ านวน 4 เล ม ได แ ก หั ว ขโมยแห ง บารามอส กับ มงกุฎแห ง ใจ หั ว ขโมยแห ง บารามอส กับ คทาแหงพลัง หัวขโมยแหงบารามอส กับ แหวนแห งปราชญ และ หัวขโมยแหงบารามอส กับ ดาบแหงกษัตริย หนังสือชุดหัวขโมยแหงบารามอสเปนวรรณกรรมแฟนตาซีแฝงขอคิด แทรกไปดวยความรักโรแมนติกและความตลก เบาสมอง นอกจากนี้ยังไดเปนวรรณกรรมที่ติดอันดับ 10 ใน 101 เลม วรรณกรรมในดวงใจนักอานและนักเขียน จาก การสํารวจของสมาคมนักเขียนแหงประเทศไทย ป 2553 (สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ, 2553) วรรณกรรมชุด หัวขโมยแหงบารามอส บอกเลาเรื่องราวความขัดแยงของ 2 แผนดินที่เปนอริ กันมานาน หนึ่งในนั้นเปนดินแดนแหงความมืดของเหลาปศาจนาม “เดมอส” และอีกหนึ่งคือดินแดนมนุษ ยสีขาวบริสุทธิ์นาม “เอเดน” ซึง่ ไดกลาวถึงเนื้อหาเรื่องนี้ไว ดังตัวอยาง กาลครั้งหนึ่งนานมาแลว บนดินแดนที่ปกครองดวยกษัตริย มีอัศวินปกปองเจาหญิง มีพอมด และมังกร ตลอดจนเวทมนตรและความลี้ลับ ในตํานานเลาขานถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์ระหวางปศาจแหง ความมืดและราชาแหงแสงสวางที่ไดแบงแยกดินแดนแตกเปนสองสวน โดยขนานนามดินแดนแหง ความดีวาเอเดน ขนานนามแผนดินแหงคนบาปวา เดมอส สงครามดําเนินตอเนื่องไมหยุดยั้งตราบจน ดาบแหงกษัตริย คทาแหงพลัง แหวนแหงปราชญ และมงกุฎแหงใจไดปรากฏ... (Rabbit, 2551, น.7)


โดยเลือกเอาเหตุการณในชวงเวลาหนึ่งในชีวิตของ “ธิดาแหงความมืด” เจาหญิงผูมีบทบาทสําคัญในตํานาน ของทั้ง 2 แผนดิน มาถายทอดผานมุมมองของตัว ละครเอกและตัวดําเนินเรื่อง เฟริน เดอเบอโรว หัวขโมยธรรมดา ที่ชีวิตมีอันตองเขาไปพัวพันกับสิ่งวิเศษทั้งสี่ เริ่มจากการมีโอกาสไดเขา เรียนในโรงเรียนพระราชาโดยไมค าดคิ ด กอนจะคืนฐานะสูความเปนเจาหญิง พบรักกับเจาชาย และไดเปนผูหนึ่งที่พลิกสถานการณสงครามครั้งสําคัญระหวาง เอเดนและเดมอสใหจบลงดวยดี หนั ง สื อ ชุ ด หั ว ขโมยแห ง บารามอส แบ ง ออกได เ ป น 4 ภาค คื อ ภาคมงกุ ฎ แห ง ใจ ภาคคทาแห ง พลั ง ภาคแหวนแหงปราชญ และ ภาคดาบแหงกษัตริย โดยใชของวิเศษทั้ง 4 ชิ้นในเรื่องเปนตัวดําเนินเรื่อง ของวิเศษ 4 ชิ้น แหงเอดินเบิรกถือเปนสัญลักษณสําคัญของวรรณกรรมชุดนี้ ไดแก มงกุฎแหงใจ คทาแหงพลัง แหวนแหงปราชญ และดาบแหงกษัตริย โรงเรียนพระราชาที่ตัวละครเอกถูกสงเขาไปเรียนเปนสมบัติอาถรรพจากเดมอส มรดกตกทอด จากสงคราม 500 ปกอน สมบัติตัวแทนความพายแพของเจา แหงป ศาจที่ ถูกชว งชิงหั วใจทมิฬ มาฝากไว ในมงกุฎ ถูกดึงพละกําลังฝากไวในคทา ถูกขโมยปญญามาฝากไวในแหวน และถูกแยงเดชอํานาจมาฝากไวใ นดาบ สมบัติตอง คําสาปที่ถูกทํานายวาจะยอนมาทําลายเอเดนใหพินาศ ยั่วยวนกิเลสใหคนลืมกลัวแมแตความชั่วรายในของอาถรรพ เพราะแรงปรารถนาที่รุมรอนรุนแรง ตัวละครหลักของเรื่องก็มีความโดดเดนและเปนสวนสําคัญของวรรณกรรมเรื่องนี้อยางมาก ตัวละครตาง ๆ ลวนมีพัฒนาการและมีมิติในแตละตัว ทําใหเราซึมซับและรับรูถึงความมีชีวิตของตัวละครเหลานี้ ตัวละครหลักในเรื่องนี้ ไดแก เฟริน เดอเบอโรว เดอะทีฟ ออฟ บารามอส เด็กหนุมหัวขโมยอายุ 15 ปที่ถูกพอสงตัวเขาโรงเรียนพระราชา แหงเอดินเบิรก เพื่อลักพาตัวเจาชายที่แฝงตัวเปน สามัญชนอยูในโรงเรียนไปเรียกคาไถ ลักษณะนิสัยราเริง อารมณดี ทะเลน ชางเยาชางแหย เจาเลหแตไหวพริบดี เอกลักษณที่เปนที่จดจําคือความพูดเกงจนเกินไปในบางครั้ง และชอบ ทําอะไรกอนคิด จึงมักจะกอเรื่องวุน ๆ จนไดรับฉายาเปนที่รูจักวา “เจาตัวยุงเฟริน” ภายหลังเฟรินคืนฐานะเดิมเปน เจาหญิงชื่อเฟลิโอนา เกรเดเวล ผูซึ่งเปนพระราชธิดาในจาวปศาจเอวิเดสแหงเดมอสกับเจาหญิงอลิเซีย ฟาโรเวลแหง บารามอส (พระราชธิดาเพียงองคเดียวของไฮคิง) และเปนคนรักของเจาชายคาโล คาโล วาเนบลี เดอะปรินซ ออฟ คาโนวาล เจาชายคนสําคัญจากคาโนวาลแดนนักรบ มีรางกายสูงใหญและ หนาตาดี เพื่อนรวมหองพักของเฟริน เปนคนเครงขรึมเย็นชา พูดนอย รักความสงบเรียบรอย ออกจะดูหยิ่งดวยเชนกัน แตขยันเรียน มีความรับผิดชอบ มีพลังเวทมนตรที่แกรงกลา ดวยความที่มีนิสัยแทบจะตรงขามกับ เฟรินและแกลงยาก เฟริน จึ ง ถูกอกถูกใจขยั น หยอกขยั น แหย การสนทนาของทั้ ง คูก็มั กจะเป น การเหน็ บ แนมกัน ไปมาบ อย ๆ เฟริน ขนานนามเขาวา “กอนน้ําแข็งยักษเดินได” “เจาชายน้ําแข็ง” และอีกมากมายหลายฉายา ภายหลังกลายเปนคนรัก ของเฟริน คิลมัส ฟลมัส เดอะคิลเลอร ออฟ ซาเรส คิลมัส หรือที่เพื่อน ๆ เรียกกันสั้น ๆ วา “คิล” เปนลูกคนเล็กของ ตระกูลนักฆาที่มีชื่อเสียงโดงดังของซาเรส พักหองเดียวกับ เฟรินและคาโล เพื่อนที่เฟรินรักและสนิทที่สุด และมักจะ 30


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

เปนคูหตู ามเฟรินไปปวนทุกครั้ง มีนิสัยขี้เลน รักสนุก เบื่องาย ซื่อเกินไปในบางครั้ง อยากรูอ ยากเห็น รักเพื่อนมากและ สามารถสังหารศัตรูอยางโหดเหี้ยมเพื่อชวยเหลือเพื่อน โร เซวาเรส เดอะเบกการ ออฟ ทริสทอร เด็กหนุมขอทานจากทริสทอรที่เปนทั้งคูปรับกลาย ๆ และคูหู ของเฟริน เปนคนที่ชอบมีเรื่องประหลาด ๆ มาใหคนอื่นแปลกใจเสมอ เจาเลหแสนกล ดูลึกลับนา คนหาตลอดเวลา และรอบรูในแทบทุกเรื่อง จึงเปนที่ถูกคอของเฟรินที่เขาโรงเรียนไปแบบคนที่ไมรูเรื่องรูราวอะไรเอาเสียเลย นอกจากนี้ ยังชอบโผลมายืนขางหลังเฟรินในจังหวะเหมาะ ๆ เสมอ เฟรินเรียกเขาวา “หองสมุดเคลื่อนที่” ฐานะที่แทจริงของโร คือชาเบรียน โบแด็ง เจาชายของเวนอลเปนผูที่เชื่อกันวาสิ้นพระชนมในวังแตเยาววัย แตความจริงกลับถูกสงตัวไปใช คืนใหทริสทอรและออกเรรอนตามราชประเพณี เพราะเวนอลเคยลักพารัชทายาทของทริสทอรมาเปนราชินี มาดัส เดอเบอโรว พอบุญธรรมของเฟริน ชายรางทวม หัวลานเลี่ยนเปนมันใสที่ขี้ เลนและเจาเลหตามแบบ ฉบับนักตมตุน รักอิสระและทองเที่ยวไปทั่วเอเดน เปนคนที่วางแผนสงเฟรินเขาโรงเรียนพระราชาจนฐานะถูกเปดเผย เปนเพื่อนรวมรุน ที่สนิทสนมกับไฮคิง และเปนคนที่รับคําสั่งไฮคิงลักพาตัวเฟรินมาลงอาคมแปลงเพศ โรเวน ฮาเวิรด เจาชายรูปงามเจาของฉายา “เมจิคปรินซ ” จากเจมิไน ซึ่งเปนที่เลาลือกันวามักทําสิ่งที่ เปนไปไมไดใหเปนไปได รุนพี่รวมปอมของเฟรินที่ดํารงตําแหนงเสนาธิการฝายซายดูแลความเรียบรอยภายในหอพัก เปนคนสุขุมรอบคอบ เปนมิตร กันเอง ออนโยน และเปนรุนพี่ที่ เฟรินเคารพนับถือที่สุด ในภาคคทาแหงพลัง เขาเปน หนึ่งในคณะเดินทางของเอดินเบิรกที่นําคทาเขาไปรับการซอมแซมในเดมอส เปนเพื่อนคูกัดของ เจาชายอาเธอร บริสตั้น เดอะปริ๊นซ ออฟ ซาเรส รักวิเวียนนานียา โบแด็ง เห็นประเทศชาติมากอนความรูสึกสวนตัว ไฮคิง กษัตริยแหงบารามอสและดํารงตําแหนงกษัตริยแหงกษัตริยคือ ไฮคิง พระเจาตาของเฟริน เปนกษัตริย ผูรักความเรียบงาย ไมคอยจริงจัง จนไดรับฉายาเลน ๆ วา “คิงสบาย ๆ” แหงบารามอส ไฮคิงเกลียดสงครามและ สามารถทําทุกอยางเพื่อรักษาสันติภาพ มหาปราชญเลโมธี อาจารยใหญของโรงเรียนพระราชาแหงเอดินเบิร ก เปนผูที่ดึงเอาครึ่งใจ พลัง ปญญา และอํานาจของเอวิเดสมาฝากไวในของวิเศษทั้งสี่ในสงครามเมื่อ 500 ปกอน และทําใหเอวิเดสตกใจจนลาถอยไป วากันวาเขาเปนผูเดียวที่มีความสามารถทัดเทียมกับเอวิเดสจนมีคํากลาววาความชัว่ รายแหงเดมอสจะเสื่อมฤทธิ์ภายใต แสงสวางแหงเอดินเบิรก บาโร วาเนบลี พระบิดาของเจาชายคาโลและกษัตริยแหงคาโนวาล บุรุษผูมีแผลเปนบากใหญบนใบหนา เปนคนสงบเครงขรึม เอาจริงเอาจังและเปนกษัตริยนักรบที่ไดรับการยกยองชื่นชมจากประชาชนเปนวงกวาง มีรักแท หนึ่งเดียวตอเจาหญิงอลิเซีย ฟาโรเวล เอวิเดส เกรเดเวล จาวปศาจผูเปนที่สะพรึงขวัญมนุษยแหงเดมอส บิดาของเฟริน เปนคนที่คอนขางเรียบงาย ไมชอบกฎระเบียบพิธีการ กันเอง และดูไมรายกาจอะไรในยามปกติ มีความเขาใจในความเปนจริงของชีวิต รักและหวังดี กับเฟรินเปนอยางมาก

31


ลูนา เกรเดเวล นองสาวของเอวิเดสผูมีเชื้อสายแมมด เปนราชินีครองนครจันทราที่เปนหนาดานสําคัญ กอนเขาเมืองหลวงเดมอส มีความงดงามจนนาตื่นตะลึงแตเดาอายุไมออก มีความสามารถในการอานความนึกคิด ของผูอื่น และมองเห็นอนาคตของผูอนื่ ที่จะไมเกี่ยวพันกับตัวเอง อีกทั้งยังมีพลังอาคมแกรงกลาเปนที่สุด วิลเลี่ยม กรีน บิดาของโรและวิเวียน นักพเนจรแหงทริสทอรที่ความจริงแลวคือรัชทายาทแหงเวนอลที่ออก เรรอนตามธรรมเนียมปฏิบัติ เปนคนสุขุมรอบรู มีสติปญญาเฉียบแหลมเปนเลิศ เปนกันเอง ออนโยน และเปนมิตร ภายหลังขึ้นเปนจักรพรรดิแหงเวนอล ทรงพระนามวา วิลเลี่ยม โบแด็ง ที่สาม แตถูกลอบปลงพระชนมโดยราชินี องคที่ 2 ของตนเอง ตัวละครตาง ๆ ในเรื่องมีลักษณะเปนตัวละครหลายลักษณะหรือตัวละครหลายมิติ ตัวละครตาง ๆ ลวนมีทั้ง ดานดีและดานไมดีปะปนกัน มีพัฒนาการทางดานพฤติกรรม อุปนิสัย ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงทางดานความคิด และทัศนคติ ผูเขียนสรางใหตัวละครเหมือนคนในชีวิตจริงที่มีอารมณความรูสึกนึกคิดเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ และสภาพแวดลอม นอกจากการกําหนดวางโครงเรื่องจํานวน 4 ภาคตามสิ่งวิเศษซึ่งเปนปมในการดําเนินเรื่องแลว หัวขโมยแหง บารามอส ยังกําหนดใหโครงเรื่องรวมเปนเหมือนหนึ่งชีวิตที่ตองผานชวงเวลาตาง ๆ นั่นคือ วัยเด็ก วัยรุน วัยผูใหญ และวัยชรา ดังนั้นการดําเนินเรื่องก็จะแตกตางกันไปตามแตละภาคใหเราไดเห็นการเจริญเติบโตของทั้งเนื้อหาและ ตัวละคร พรอมใหผูอานไดซึมซับและเรียนรูไปพรอม ๆ กัน หัวขโมยบารามอส กับ มงกุฎแหงใจ เนื้อเรื่องเริ่มตนจากเรื่องวุน ๆ ของหนุมนอยตัวยุงนาม เฟริน เดอเบอโรว หัวขโมยจากบารามอส ถูกพอของ ตนสงตัวเขามาเรียนในโรงเรียนพระราชาแหงเอดินเบิรก เพื่อเสาะหาเจาชายที่เหมาะสมในการลักพาตัว ตามแผนการ ของมาดัส เดอเบอโรว ผูเปนพอ เฟรินไดพบและเปนเพื่อนสนิทกับคาโล วาเนบลี เจาชายจากคาโนวาลผูแสนเย็นชา และคิลมัส ฟลมัส นักฆาจากตระกูลดังในซาเรสที่ขี้เลนและอยากรูอยากเห็น เหตุการณวุนวายมากมายเกิดขึ้นและ นําไปสูการตอสูกับปศาจในมงกุฎแหงใจที่ออกอาละวาด นอกจากนี้ เฟรินยังไดคนพบความจริงอันนาตกใจนั่นก็คือ แทจริงแลวเขาคือเจาหญิงแหงบารามอสและเดมอส เฟลิโอนา เกรเดเวล เดอะปรินเซส ออฟ เดมอส ในส ว นของภาคนี้ ก ารดํ า เนิ น เรื่ อ งจะเต็ ม ไปด ว ยความสนุ ก สนานเหมื อ นกั บ เด็ ก ๆ เหมื อ นกั บ เฟริน ที่ ไรเดียงสา โครงเรื่องจะไมซับซ อน เนนความสนุกสนาน มีความตลกขบขันแทรกตลอดทั้งเรื่อง เหมาะสมกับวัยเด็ก นอกจากนี้จะเห็นถึงการเขียนสไตลโรงเรียนที่ไดรับแรงบันดาลใจมากจากเรื่อง แฮรรี่ พอตเตอร เชน การเขาโรงเรียน มิตรภาพระหวางเพื่อน หอพักทั้ง 4 ประจําโรงเรียน การเดินตลาดซื้อของ เปนตน โครงเรื่องหลักของภาคนี้จะเปนการเปดประเด็นของเรื่อง เชน การสอบเขาโรงเรียนพระราชา การสราง ความสัมพันธระหวางตัวละครหลักคือ เฟริน คาโล และ คิล การแสดงความสําคัญของมงกุฎแหงใจ การแขงหมาก กระดานเกียรติยศ การกลาวถึงเรื่องรัชทายาท เนื้อเรื่องในภาคนี้จะดําเนินเรื่องไปอยางเรื่อย ๆ เนื้อหาไมหนักมาก 32


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

แนวคิดของเรื่องยังไมปรากฏชัดเจนเปนเสนเรื่องหลัก เนื้อเรื่องเพียงสือ่ ถึงเหตุการณของหัวขโมยทีไ่ ดมาอยูในโรงเรียน พระราชา ไดมีเพื่อนเปนเจาชาย ซึ่งถือเปนจุดเดนของเรื่องนี้ที่ทําใหเนื้อหามีความแปลกใหม โดยเนื้อเรื่องนี้ก็ไดรับ แรงบันดาลใจมาจากเรื่อง The Book of Three ซึ่งในเรื่องนั้นมีการประชุมกษัตริยกัน เมื่อเจาชายองคหนึ่งเดินทาง มาถึงที่ประชุมก็ไดพบพระเอกซึ่งเปนผูชวยคนเลี้ยงหมู และไดมีการพูดคุยถากถางระหวางเจาชายกับคนธรรมดา ซึ่งเปนจุดนาสนใจที่ผูเขียนตองการนํามาถายทอดในแนวทางการเขียนของตนเองบาง จุดโดดเดนที่นาสนใจของภาคนี้ คือ สัญลักษณของสิ่งวิเศษทั้ง 4 อยางของเอดินเบิรก ซึ่งมีความหมายแฝง ดังนี้ มงกุฎ หมายถึง อํานาจ สมบัติ วาสนา บริวาร ขุนนาง ความบาอํานาจ ความเปนผูนํา คทา หมายถึง ความรอบรู ศิลปะ ความกาวหนา วิทยาการ ความรุงเรือง ปราชญ ความงมงาย แหวน หมายถึง จิตใจ ความรัก ความสันติ ความสงบ ประชาชน ความออนแอ ดาบ หมายถึง ความกลาหาญ ความสามารถ ความเด็ดขาด ชัยชนะ นักรบ สงคราม สมบัติวิเศษทั้ง 4 อยางเปนความหมายแฝงที่นาสนใจของเรื่องนี้ที่ผู เขียนตั้งใจตั้งชื่อเรียกของทั้ง 4 ภาค ให ส ลั บ กัน ไปตามนั ย ยะแฝงที่ มั กเขา ใจตรงกัน ว า มงกุฎต องเชื่ อ มโยงกับ กษั ต ริย คทาต องเชื่ อ มโยงกับ ปราชญ แหวนตองเชื่อมโยงกับใจ ดาบตองเชื่อมโยงกับพลัง เปนการสรางความนาสนใจใหกับชื่อเรื่องและดึงดูดผูอานไดฉุกคิด เปนกลวิธีในการตั้งชื่อเรื่องอีกประการหนึ่ง ในภาคนี้มีเหตุการณสอบเขาโรงเรียนพระราชา โดยสอบทั้งหมด 2 รอบ รอบแรกใชวิธีการคัดเลือกจาก ของวิเศษทั้งสี่ ซึ่งเปนการประเมินพลังความสามารถวากลาแข็งอยางไร มีภาวะจิตใจที่เขมแข็งเพียงพอหรือไม นับเปน การทดสอบศักยภาพโดยคราว ๆ วาเรียนไปแลวจะสําเร็จหรือเปลา และจบไปแลวจะสามารถโดดเดนไปในดานใด ดานหนึ่งหรือไม ถามีความมุงมั่นและพลังเพียงพอ ของวิเศษจะรองรับกับพลังนั้นแตจะเปนของชิ้นไหนก็ขึ้นกับภาวะ ความคิ ด และความสนใจของผู ส มั ค ร เช น ถ า ชอบต อ สู ไม คิ ด อะไรมากมาย เห็ น ความสํ า คั ญ กั บ การใช กํ า ลั ง ชอบความทาทายแข็งแกรง พลังก็จะเรียกรองกับดาบแหงกษัตริย ถาในใจทะเยอทะยาน แสวงหาความกาวหนา มุงมั่นพยายาม เห็นความสําคัญของทรัพยสินเงินทอง ก็จะไดมงกุฎ ถามีเวทมนตรสูง ใหความสําคัญกับ การใฝเรียน ใฝรู มักจะไดคทา ถาใหความสําคัญกับจิตใจ โอบออมอารี สมถะ เรียบงาย พลังจะรองรับกับแหวน แตการทดสอบ พลั ง นี้ ก็ไม ใชตัว ตัด สินใจเสีย ทีเดี ยว ยั ง ต อ งพิ จารณาจากการสอบสัม ภาษณรว มด วย การสั ม ภาษณจ ะทํา ให รูถึง ความคิ ด ความอ า นของคนคนนั้ น และใช พ ยากรณ ช ะตาชี วิ ต ของนั ก เรี ย นแต ล ะคนโดยคร า ว ๆ รวมทั้ ง เพื่ อ ดู ความเหมาะสมอีกครั้งวานักเรียนคนนั้นควรไปอยูหอพักไหน ดังเนือ้ หาที่ปรากฏตอไปนี้ “เอาละจะ มีสิ่งของสี่สิ่งคือ ดาบ แหวน มงกุฎ และคทา” ดวงหนาเฟรินเริ่มปรากฏรอยยิ้ม “คําถามแรก ถาไดเปนกษัตริย สิ่งของที่ตองการจะถือหรือสวมเปนสิ่งแรกคืออะไร” รอยยิ้มเด็กหนุมซีดลง เขาควรจะรูอยูแลววามันจะออกมาตามโพยซังกะบวยนั่นไดยังไงเลา ! สวมอะไร ถืออะไรละ บาชะมัด ! 33


“แหวน” เฟรินตัดสินใจตอบ “เวลาแตงตัวก็ตองสวมแหวนกอนคอยใสมงกุฎ สะพายดาบแลว คอยถือคทา ดังนั้นตองเปนแหวน” มิสแรมเซิลยิ้มนอย ๆ กอนกมลงบันทึกคําตอบของเฟรินลงสมุด โดยไมพูดอะไร ขณะที่เฟรินถอนหายใจอยางปลงสังเวช “คําถามที่สองนะจะ สิ่งที่ตองการได เปนสัญลักษณของความเปนกษัตริยของตัวเองคืออะไร” “ดาบ” เฟรินตอบ พอเห็นคิ้วของมิสแรมเซิลเลิกขึ้นเล็กนอย เขาก็รีบสาธยาย “แนนอนตองเปน ดาบ ความแข็งของดาบ แสดงถึงความเขมแข็งอดทน ขอนี้เปนคุณสมบัติที่ขาดไมไดของพระราชา ความคมของดาบแสดงถึงความคมเฉียบขาดของสติปญญาอันชาญฉลาด ผูถือดาบแสดงถึงอํานาจ ผูถอื ดาบแสดงถึงพลัง ผูถือดาบแสดงถึงความกลาหาญ” รอยยิ้มของมิสแรมเซิลกวางขึ้นอีก ขณะที่รอยยิ้มของเฟรินเริ่มซีดลงจนเห็นไดชัด ในใจรูสึกราว กับตัวเองกําลังโฆษณาขายดาบก็ไมปาน งี่เงาจนนึกอยากเอาหัวโขกขางฝา แตแนนอนวาตองไมใชหัว เขา ถาจะเปนหัวใครสักคน หัวคนแรกที่เขาจะเลือกก็คือหัวของ...นายมาดัส เดอเบอโรวผูเปนตนเหตุ แหงความคิดนี้ทงั้ หมด “คําถามที่สาม สิ่งที่ตองการมอบใหกับประชาชนในแควนของตนคืออะไร” ทันที่ที่ฟงคําถาม เฟรินก็ถึงกับยิ้มกริ่ม นึกขันอะไรขึ้นมาในใจกอนจะรีบตอบคําถาม “มงกุฎ” เปนคําตอบที่มิสแรมเซิลเลิกคิ้วสูงขึน้ ดวยความสนใจ เฟรินหัวเราะเบา ๆ “ใคร ๆ ก็อยากเปนพระราชานี่ครับมิสแรมเซิล ตั้งแตเจาชายยันขอทานยังพากันแหมาสมัครเขา เรียนที่นี่ ยกมงกุฎใหเลยคงเขาทาที่สุด” มิสแรมเซิลหัวเราะกับคําตอบกอนจะยิ้มนอย ๆ “เอาล ะ จ ะ คํา ถามสุ ด ทายนะ ถา ถึง เวลาที่เธอจะตองสละทิ้งทุ กอยาง ของสี่ อย า งที่ว ามานี้ ใหลําดับของที่จะทิ้งอยางแรกจนถึงอยางสุดทาย” “ถาจะใหทิ้ง... อยางแรกของที่หนักที่สุดก็ตองทิ้งกอน ดังนั้นตองเริ่มจากมงกุฎ ตอมา...คงเปน แหวน อยางนอยดาบยังเอาไวปองกันตัว สุดทายถึงคอยทิ้งคทา” “ทําไมถึงเลือกทิ้งคทาเปนอยางสุดทายละ” “คทาก็เหมือนไมที่เอาไวค้ํายันตัว คนแกก็ตองถือไมเทา คนเจ็บก็ตองใชไม เทา แลวจะเอาไมค้ํา ทิง้ ไปกอนไดยังไงละครับ” (Rabbit, 2551, น.28-30) จากเนื้อหาเหตุการณ ขางตน คําถามแรกเปนการพยากรณ วา การที่คนคนนั้นจะกาวขึ้นไปเปนกษั ต ริย จะตองอาศัยวิธีใด เชน ถาเปนดาบตองตอสูแยงชิง โคนบัลลังก โดยตัวละครเอกเลือกแหวน หมายถึงอันดับแรกเขา จะต อ งรวมใจคนก อ น คื อ ทุ ก คนเห็ น พ อ งต อ งกั น ในสถานการณ ป กติ แ ล ว จึ ง ได ขึ้ น เป น ผู นํ า คํ า ถามที่ 2 เป น 34


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

การพยากรณวา ในหนทางชีวิตแหงการเปนกษัตริยจะใหความสําคัญในเรื่องใดมากที่สุด ซึ่งตัวละครเอกเลือกดาบ มองวาการเปนกษัตริยยอมตองเผชิญกับ การต อสูและสงคราม ตองมุงมั่นในเรื่องความเด็ดเดี่ยว ความกลาหาญ คําถามที่ 3 เปนการชั่งใจวา เมื่อเปนกษัตริยแลวจะปกครองประชาชนอยางไร อยางกรณีข องตัวละครเอกมอบมงกุฎ ให นั่นคือจะใหอํานาจแกประชาชน สวนคําถามสุดทาย สื่อวาถาจําเปนถึงวาระที่จะตองไปจากตําแหนงจะเห็นอะไร สําคัญนอยที่สุด หรือถาถึงเวลาตองเสียสละเพื่อสวนรวมรักษาประเทศเอาไว จะสละอะไรกอนหลัง สําหรับ เฟรินนั้น ยินดีที่จะทิ้งอํานาจเพื่อใหประเทศคงอยู จากนั้นยอมสละญาติพี่นองคนใกลชิด แลวจึ งยอมที่ จะยอมแพ ไมตอสู แตสุดทายยังคงขอใหมีปญญาเอาไว จากที่ ก ล า วมาเป น แนวคิ ด ที่ ผู เขี ย นได แ ทรกไว ใ นเนื้ อ เรื่ อ งโดยเชื่ อ มโยงกั บ ของวิ เ ศษทั้ ง 4 อย า ง และ ดําเนินเรื่องผานตัวละครที่ผเู ขีย นตองการใหเราไดเรียนรูไปพรอม ๆ กัน ทั้งนี้เราสามารถตี ความและพิจารณาออกมา ไดหลากหลาย ขึ้นอยูกับผูอานแตละคน หัวขโมยบารามอส กับ คทาแหงพลัง การเดินทางครั้งสําคัญของเจาตัวยุงเฟรินและผองเพื่อน มุงสูดินแดนเดมอสที่เต็มไปดวยภยันตรายนานัปการ เมื่อคทาแหงพลังไดหักสะบั้นลงและตองการการซอมแซม รวมถึงเฟรินที่ตอ งคืนรางเปนเจาหญิง เฟริน คิล คาโล และ คณะเดินทางแหงเอดินเบิรกจึงไดออกเดินทางสูเมืองหลวงแหงเดมอส ที่นอกจากหัวเมืองตาง ๆ จะมีอันตรายมากมาย แลว ยังมีมือสังหารนิรนามมากฝมือที่คอยตามรังควานในทุกครั้งที่มีโอกาส ในสวนของภาคนี้เปนภาคที่มุงเนนที่การเติบโต ความสัมพันธในดานความรักของตัวละคร ตัวละครจะเริ่ม เติบโตขึ้นในระดับของวัยรุน ภาคนี้โครงเรื่องก็จะเริ่มมีปมปญหา มีปริศนาใหขบคิดมากขึ้น ทําใหผูอานรูสึกวายัง คางคา ไมไดจบอยางสมบูรณ และจะตองคนหาตอไป ผูเขียนวางโครงเรื่องหลักไวที่การพัฒนาความสัมพันธของตัวละครหลัก 2 ตัวคือ เฟรินและคาโล โดยอาศัย การเดินทางจากเอเดนสูเดมอสเปนแนวทางการดําเนินเรื่องกลาวไดวา อารมณของเรื่องเปนแบบโรแมนติกผจญภัย เนื้อเรื่องยังคงสบาย ๆ ไมเครงเครียด แตมปี ระเด็นใหขบคิดมากกวาภาคมงกุฎแหงใจ และสรางปมปริศนาที่ทิ้งคางไว สําหรับภาคตอ ๆ ไป สําหรับภาคนี้นอกจากความบันเทิงจากเรื่องราวอันสนุกสนานที่โดดเดนของเรื่องนี้ ผูเขียนตั้งใจสอดแทรก แนวคิดตาง ๆ ไวในเรื่องดวย โดยประเด็นหลัก ๆ มีอยู 3 เรือ่ ง ไดแก 1. คุณธรรม 5: ดานทั้งหา ในการเดิ น ทางจากเอเดนสู เดมอสจะต อ งฝ า ฟ น ด า นต า ง ๆ ทั้ ง 5 ด า น ซึ่ ง เปรีย บเสมื อนคุ ณ ธรรมของ การเปนมนุษย ผูเขียนไดอาศัยหลักคุณธรรม 5 มาเปนแนวในการดําเนินเรื่อง ดังนี้

35


1.1 เมืองหนาดาน: จริยา โรเวนไดพูดไวกับเฟรินกอนที่จะเขาสอบสัมภาษณกับนายดานเปนการบอกกลาย ๆ วา เมืองหนาดาน จะผานได ก็ตองอาศัย “มารยาท” หรือ “สัมมาคารวะ” นั่นเอง แตเฟรินกลับถือตัววาฉลาด หวังพึ่งพาทางลัดจึง ไมสามารถที่จะผานดานไปได สุดทายจึงตองตกไปเมืองยักษ ดังที่ ลูซิฟนแหงหุบเขาหัวกะโหลกพูดถึงเมืองหนาดานวา “เมื องหน าด านทดสอบจริยา คนส วนมากไมชอบการเคารพกฎเกณฑ แม แ ต กฎพื้ นฐานงาย ๆ ยั ง รักษาไวไมได จึงพอใจเพียงแคอยูในเมืองหนาดานที่ไมมีกฎเกณฑอะไร ทั้งที่งายแสนงายที่จะผานดาน แตก็ยังพอใจที่จะอยูแค ตรงนั้น” (Rabbit, 2551, น.222) 1.2 เมืองยักษ: เมตตา ในดานนี้เฟรินและคาโลถูกสงมาทํางานชดใชโทษ ยักษที่เมืองนี้ไมกินเนื้อสัตว ทุกชีวิตในเมืองอยูกัน อยางเสมอภาค ไมเบียดเบียน เวนแตเหลานักโทษที่ถูกสงตัวมาลงโทษ สภาพของนักโทษที่ถกู คุมขังในเมืองยักษ ไดรับ การปฏิ บั ติ จ ากยั กษ เหมื อนกับ ที่ สั ต ว ไ ด รับ การปฏิบั ติ จ ากมนุ ษ ย ซึ่ ง ผู เขีย นใช เหตุ การณ ในเมื อ งยั กษ นี้ ม าอุ ป มา เปรียบเทียบถึงการที่มนุษยปฏิบัติตอสัตว ดังมีเนือ้ หาตอไปนี้ เฟรินสบถในใจ ขณะกวาดสายตาไปรอบ ๆ มีคนหลายคนที่ชะโงกหนาจากกรงขังออกมา มอง แตละคนใบหนาซีดเซียวบอกวาอยูในอาการไมสูดีกันทั้งนั้น ...คงจะปวย เฟรินสรุปในใจ ...สวัสดิการที่ใหกบั นักโทษจะดีอะไรนัก มันก็เหมือนกับเวลาคนเราเอาสัตวมาเลี้ยงในกรง ดูแลบางไมดูแลบาง จะตางกันสักกีม่ ากนอย (Rabbit, 2551, น.68) 1.3 ปาหลงลืม: ปญญา ปญญา ในที่นี้ก็คือการรู จักแยกแยะถูกผิด แยกแยะวาสิ่งไหนควรทํา สิ่งไหนไมควรทํา ถึงแมวาพวก เฟรินและคณะจะไมผานการทดสอบปญญาที่แทจริง แตในชวงการเดินทางผานปาหลงลืมนั้น พวกเฟรินก็ไดเผชิญกับ ศัตรูอันรายกาจ จนถึงขั้นตองตอสูฆา ฟนกันเอง ซึ่งสุดทายก็ไดอาศัยปญญาของตนฝาฟนวิกฤตตาง ๆ ไปได 1.4 หุบเขาหัวกะโหลก: มโนธรรม ในดานนี้เฟรินและคณะเดินทางมาถึงหุบเขาหัวกะโหลกเพื่อซอมแซมคทา เมืองอันแสนประหลาดแหงนี้ ผูคนในหุบเขาพยายามที่จะเชิญชวนพวกเฟรินใหดํารงตําแหนงเปนพระราชาของพวกเขา แตพวกเฟริน ก็ปฏิเสธ กฎของเมืองมีอยูวา ถาไมเปนพระราชาแลว จะอยูในเมืองไดแค 3 วัน และมาอยางไรตองไปอยางนั้น ซึ่งแทจริงแลว มีไวเพื่อทดสอบมโนสํานึก ในเมืองมีของล้ําคามากมายลอตาลอใจ ถาหากมีจิตละโมบ หยิบสิ่งเหลานั้นติดมือไป ก็ยากที่จะรอดชีวิตจากเมืองนี้ไปได หลายครั้งที่เราทําความผิด เรามักอางเหตุผลตาง ๆ นานา เชนเดียวกับบทสนทนา ระหวางเฟรินกับลูซิฟนที่กลาวไววา 36


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

“เพื่อใหเอาชีวิตรอด มันไมมีเรื่องใหตอ งคํานึงมากนักหรอกนะทานบางทีนะ ” เฟรินแยง คนฟงหัวเราะเบา ๆ “จริงฝาบาท เพราะเพื่อใหเอาชีวิตรอด คนเราก็เลยอางไดส ารพัดเรื่องเพื่อใหไดอยางที่ ตองการ เราก็หาเหตุผลมาไดมากมาย แตโลกนี้ไมมีคําวาฟรี ฝาบาทจะเชื่อหรือไมก็ตาม” (Rabbit, 2551, น.223) แนวคิดสําคัญในเมืองนี้ก็คือ ในโลกนี้ไมมีคําวาฟรี ของที่ไมใชของเรา ก็ไมควรจะความาครอบครอง เอาของเขามาเทาไหร สุดทายตองคืนเขาไปนั้น 1.5 นครจันทรา: สัตยวาที ในดานนี้เฟรินและคณะถูกทดสอบคุณธรรมทางดานวาจา คําพูดเปนสิ่งที่มนุษยเราทําผิดไดงาย เพราะ เราพูดโดยไมคิดจึงคิ ดวา การโกหกเปนสิ่ง ที่งายดาย ปฏิบัติจนเปนนิสัย ในดานนี้นอกจากพวกเฟริน จะตกอยู ใน เขตอาคมของการหามโกหกแลว ยังสอนใหเฟรินรูจักเขาใจถึงความสําคัญของการคิดกอนพูด สอนใหรูจักที่จะใชสติ เพราะการพูดโดยขาดสตินอกจากจะทําใหคนอื่นเดือดรอนแลว ยังนําภัยมาสูตนเองอีกดวย ดังคําพูดที่โรเวนกลาว กับเฟรินวา “‘เฟริน’ โรเวนปรามเสียงแข็ง ‘รูไหมวาทําไมนายมีปญหามากมายกับเมืองนี้มากกวาคนอื่น เพราะวา เติบโตมาอยางอิสระเกินไป อยากคิดอะไรก็คิด อยากพูดอะไรก็พูด อยากทําอะไรก็ทํา บางครั้งถึงได ชอบหลุดปากพูด อะไรใหตัวเองลําบาก’” (Rabbit, 2551, น.322) คุณธรรม 5 จึงเปนขอคิดที่ไดแทรกไวในเรื่องใหไดตระหนักถึงคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย ไดแก จริยา เมตตา ปญญา มโนธรรม และสัตยวาที เพื่อนําไปใชและพัฒนาตนเองใหมีคุณภาพและพัฒนาสังคมใหมีความเจริญ งอกงามอยูรวมกันอยางสงบสุข 2. คุณคาของชีวิตในนครจันทรา นครจันทราพยายามแสดงใหเห็นถึงคุณคาของชีวิต การยึดมั่นในปจจุบัน กระทําสิ่งตาง ๆ ในวันนี้ที่เรายัง มีชีวิตอยูใหดีที่สุด ดังที่ราชินีจันทราพยายามที่จะทํานายชีวิตใหกับ เฟริน แตเฟรินปฏิเสธ โดยกลาววา “ชางเถอะฮะ ชีวิตตัวเอง ขอตัวเองลิขิตดีกวา อะไรจะเปนก็ใหมันเปน ขืนใหผมรูอนาคตดีอยางโงน อยางงี้ คนขี้เกียจอยางผมคง เอาแตนอนตีพุงสบาย แลวขืนรูวาไมดีก็คงทําใจเลิกสู ไป ๆ มา ๆ ไอโอกาสที่พอจะดีไดนิด ๆ หนอย ๆ ก็กลายเปน ศูนย ไมเอาดีกวา” (Rabbit, 2551, น.339) ในความเปนจริงนัน้ มีคนมากมายที่พยายามหาหมอดูเพื่อทํานายชีวิตตนเอง ทํานายไมดีก็รูสึกทอแทไมอยาก ทําอะไร ทํานายดีก็หลงวาดีแลว อะไรก็ไมทํา แทจริงแลวชีวิตของคนเราไมไดขึ้นอยูกบั หมอดู ถาหากอยากรูวา อนาคต จะเปนอยางไร ก็ใหดูปจจุบันวาตัวเองทําอะไรไว มานะ อุตสาหะ พยายามแคไหน มัธยัสถ หรือฟุมเฟอยอยางไร เพราะชีวิตของเราก็อยูในกํามือของตนเอง ในตอนทายกอนออกจากนครจันทรา ราชินีจันทรายังไดทํานายชีวิตของเฟรินวาจะอายุสั้น ซึ่งตอนนั้นเฟริน ก็ไดตอบโตกลับไปวา 37


“ชางเถอะทานอา อยูนานอีกปสองป หาปสิบป หรือยี่สิบป ชีวิตก็คือชีวิต ยาวสั้นไมสําคัญ เทากับวาอยูแลวจะทําอะไร ชีวิตผมถึงจะสั้น ผมก็จะทําใหมีคา ใหอยูมีคนรัก จากไปมีคนอาวรณ ทานอาวางใจเถอะ ถึงชีวิตผมจะไมยืน แตหนึ่งวันของผมจะมีคาเทากับหนึ่งป ทุกวันของผมจะมีคา ทุกนาทีของผมจะมีความหมาย ผมจะไมเกิดเปลาตายเปลา ไมใชชีวิตแคผานไปวัน ๆ” (Rabbit, 2551, น.345) นครจันทราชี้ใหเห็นวา ชีวิตของคนเราจะสั้นหรือยาวไมใชสิ่งสําคัญ สําคัญวาดํารงชีวิตอยูไดอยางมีคุณคา เพียงใด อยามัวหลงคิดวา ชีวิตของตนยังอีกยาวไกล เพราะถึงยามที่ตองจากไป จะนึกเสียดายก็สายเสียแลว 3. การหมุนเปลี่ยนหวงความคิด ความคิดของคนเรามักเปนเหตุของเรื่องวุนวายตาง ๆ มากมาย เรื่องเรื่องหนึ่งจะคิดใหดีก็ได จะคิดใหไมดีกไ็ ด ทุกอยางอยูที่ตัวเราเองวา เมื่อมีเหตุการณหนึ่งเกิดขึ้น ตัวเราจะหมุนเปลี่ ยนหวงความคิดไดเร็วแคไหน ตามเนื้อเรื่อง เมื่อเฟรินเผชิญกับความจริงวา คิลหักหลังตน ฆาจิ้งจอก 9 หาง เฟรินก็รูสึกโกรธแคน เปนทุกขทรมาน ในสมองคิด แตวา คิลหักหลัง แตหลังจากฟงคํา เอวิเดสที่วา “คนเรานะลูก มีเหตุผลที่มาตางกัน จึงมีการกระทําตางกัน ความคิด ต า งกัน ในโลกนี้ จ ริง ๆ ไม มี ถูก ไมมีผิด มุมเรามอง เราวาเขาทรยศ ทําผิด มุมมองเขา อาจวาทําตามหน าที่ ไมผิด ถาเขาพูดอยางนั้นลูกจะวาไง” (Rabbit, 2551, น.368) จิตใจในทางลบก็เปลี่ยนกลับมาสูทางบวก ทุกขทั้งหลายก็หมดไป ในชีวิตจริงของทุกคนก็ยอมพบเจอกับเรื่อง ที่ไมสบอารมณ ไมถูกใจ ทุกขใจ แตเมื่อเผชิญเหตุการณเหลานั้นแลว จะทุกขหรือไมทุกข สุดแทก็ขึ้นกับตัวของเราเอง ทั้งนั้น ดังเชนที่เอวิเดสบอกกับเฟรินไววา “ทุกอยางอยูแคหวงคิด ถาเราไมรูจักหมุนเปลี่ยนหวงคิด โลกนี้ทั้งโลกก็มีแค ศัตรูกับคนทรยศ แตถาหมุนเปลี่ยนความคิดสักนิด โลกนี้ทงั้ โลกก็มีแตเพื่อน” (Rabbit, 2551, น.368) หัวขโมยบารามอส กับ คทาแหงพลัง ภาคนี้ จึงเปนการนําเสนอขอคิดคติตาง ๆ อยางงายและเปนพื้นฐาน ในการดําเนินชีวิตทั่วไป ไดแก คุณธรรม 5 ขอ อันเปนคุณธรรมพื้นฐานในการดํารงชีวิต การเห็นคุณคาของชีวิต และ การหมุนเปลี่ยนหวงความคิด ขอคิดเหลานี้ลวนเปนประโยชนในการสรางสังคมอันสงบสุขโดยเริ่มจากตนเองทั้งสิ้น หัวขโมยแหงบารามอส กับ แหวนแหงปราชญ เรื่องราวของเจาตัวยุง เฟริน เดอเบอโรวและผองเพื่อน เมื่อไดเผชิญกับอํานาจลึกลับแหงแหวนที่เลนงาน เฟรินจนเกือบจะเอาชีวิตไมรอด ขณะที่สถานการณในเอเดนกําลังมีภัยพิบัติ เรื่องวุนวายจึงตามมาอยางคาดไมถึง เฟริน หรือเจาหญิงเฟลิโอนา ที่ยังคงซอนฐานะที่แท จริง คิลและเจาชายคาโลกลับมาที่เอดินเบิรกอีกครั้ง ในฐานะ นักเรียนชั้นปที่ 2 ฝนเลือดไรที่มาไดทําลายที่ดินทํากินและแหลงน้ําในเอเดนจนไมเพียงพอตอการใช สงครามจึงระอุขึ้น ระหวางประเทศตาง ๆ ทางออกเดียวที่ ร่ําลือคือของวิเศษที่ตองคําสาป แหวนแหงปราชญที่จะไขทุกปริศนาใหกับ เอเดน เฟรินพลาดทาติดอยูในโลกแหงความฝนของแหวน เธอทําทุกทางเพื่อจะกลับออกไป แตกลับทําใหสถานการณ

38


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

ยิ่งเลวรายลง เฟรินตองเผชิญกับสิ่งที่เธอเห็นนั้นวาตกลงแลวเปนความฝนหรือเปนความจริง และเธอจะตองเอาชีวิต รอดออกมาจากฝนรายนี้ ภาคที่ 3 นี้เปนเนื้อหาที่เหมาะสมกับคนที่เปนผูใหญ เพราะเนื้อหาคอนขางหนักและซับซอน คนอานจะเขาใจ ได ย ากยิ่ ง ขึ้น ไปอี ก เนื้ อเรื่อ งมี ค วามเขม ขน ขึ้น กว า เดิ ม แฝงปรัช ญาปราชญ แ ละความลึ กลับ โครงเรื่องเกี่ย วกับ ความลึกลับและอํานาจของสิ่งวิเศษที่มาเกี่ยวพันกับเรื่อง มีการผูกโยงแนวคิดของแหวนที่คอย ๆ สอดแทรกเขามา ในเรื่อง แลวสุดทายก็คลายปมออกดวยตัวละครเอก การดําเนินเรื่องผูกปมหลักไวที่อํานาจของแหวน อํานาจลึกลับที่เลนงานเฟรินจนย่ําแย งุนงงสับสนแยกแยะ ไมออกวาตอนไหนจริง ตอนไหนฝน อีกทั้งสถานการณภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเอเดน เนื้อเรื่องภาคนี้จึงคอนขางหนักและ สับสน ความจริง แลว คนเราทุ กคนเกิดมาก็ลวนพบเจอปญ หาและอุ ปสรรคต าง ๆ มากมาย แล ว ยามที่ปญหา มากมายกําลังรุมเราอยูนั้น เราก็มักรู สึกกลัด กลุม สับสน ซึ่งสิ่งที่เราตองการมากที่สุด อาจจะเปนสติ และป ญ ญา ปญญาที่จะชวยใหเราฝาฟนอุปสรรค ปญญาที่จะชวยใหเราแกปญ  หา ปญญาที่จะชวยใหเราผานดานทดสอบของชีวิต ในภาคนี้ไดมีการกลาวถึงแนวคิดบางประการเกี่ยวกับการเผชิญหนากับปญหาและการใชปญญา ดังนี้ 1. รับรูปญหาอยางมีสติ คนเราเมื่อพบเจอปญหาและอุปสรรค ก็มักหนีไมพนที่จะเกิดความรู สึกทุ กขใจ ทอแท หรือไมก็ สิ้น หวั ง แตความจริงแลวปญหาและอุปสรรคเหลานั้นก็คงมีคุณคาในตัวมันเอง คุณคาที่ทําใหผูที่คนพบทางแก รูจักที่จะเติบโต กลาแกรง แตถาเราทอแท ถอดใจตั้งแตยังไมไดเริ่ม ปญหานั้นจะผานพนไปไดอยางไร ดังบทสนทนาระหวางซีบิลกับ เฟรินตอไปนี้ ซีบิลวา เพื่อใหคนรูจักเติบโต พระเจาถึงทรงประทานขอสอบใหพวกเราไดเรียนรู ผมแยงสวนกลับไปวา ถาเปนจริง พระเจาก็โงเหลือเกินที่ทรงเลือกสรรวิธีโง ๆ มาใหคนเติบโต ซีบิลกลับหัวเราะ แลววา “อาจจะใช หรือไมก็... พระเจาฉลาด แตคนโง ” เขาสบตาผมกอนขยายความ “พระเจาฉลาด ประทานขอสอบที่ยากที่สุดมาพรอมกับคําตอบ แตคนโงเ ห็นแตขอสอบแตมองไมเห็นคําตอบ ถึงได รูสึกแตวา ปญหาไมมีทางแก” (Rabbit, 2551, น.84-85) 2. สงบใจพิจารณาถึงตนเหตุแหงปญหา การสงบจิตสงบใจลงมากอน อยาเพิ่งเตนไปกับอารมณ จิตที่สับสนวุนวายก็มีแตจะทําใหเรายิ่งทุกขใจ ทอแท จิตที่วุนวายนอกจากทําใหเรามองปญหาไมกระจาง ยังอาจทําใหเราสูญเสียปญญาแหงการแยกแยะถูกผิด สุดทายอาจ ถึงกับตองเสียใจกับการกระทําของตัวเองในภายหลัง เหมือนอยางที่ เฟรินถึงกลับพลั้งมือสังหารคาโล เพียงเพราะ อารมณชั่ววูบ 39


แมจะรูวาจิตอันสงบคือจิตที่มีพลัง แตการจะสยบจิตที่วุนวายก็ไมใชเปนสิ่งที่ทําไดงาย ดังนั้นหากคิดจะสยบ จิตอันสับสนก็คงมีแตตองอาศัยตัวเองไปหมั่นฝกฝน ดังบทสนทนาพูดคุยเตือนสติระหวางปราชญเลโมธีกับเฟรินวา “มีคํากลาววา จิตอันสงบยอมมองเห็นทางอันสวาง สวนจิตที่วุนวายแมมีทางทอดยาวอยูเบื้องหนาก็ยังมองไมเห็น ” (Rabbit, 2551, น.393) 3. แกปญหาในทางที่ชอบ ปญหาแตละปญหามักจะมีทางออกของมันมากกวาหนึ่ง แตทางแกแตละทางกลับไมแนเสมอไปวาจะเปน หนทางที่ถูกตองและเหมาะสม อยางเชนในเรื่อง เมื่อ เฟรินเขามาติดอยูในโลกของแหวนก็หลงคิดไปวาทางแกปญหาก็ คือ แหวนแหงปราชญ และเพียงเพื่อใหไดแหวนแหงปราชญมาครอบครอง เจาตัวก็ยินดี ทําทุกอยางไมวา สิ่งนั้นจะถูก หรือผิด เชน ยอมเขารวมในศึกชิงแหวน ฆา คาโลตาย หรือแมแตจะขอใหคิลไปขโมยแหวน แตผลลัพธกลับออกมาวา ทางแกเหลานี้นอกจากจะแกไขปญหาอะไรไมไดกลับยิ่งทําใหสถานการณเลวรายลงไปอีก หากไมใชเพราะไดสนทนา กับปราชญเลโมธีในตอนทายแลวคนพบถึงตนเหตุที่แทจริงของปญหาซึ่งนัน่ ก็คือ จิตใจของตนเอง ก็อาจจะไมสามารถ กลับออกมาจากโลกแหงแหวนได ดังเนื้อเรื่องที่ปรากฏตอไปนี้ “...พลันในหวงจิตอันสงบ ประโยคหนึ่งในบทสนทนา เมื่อครูกลับโดดเดนขึ้นในหวงคิด คนเรามาอยางไรก็ตองไปอยางนั้น ยามมาเปนผูกําหนดจะมาเอง ยามไปก็ตองเปน ผูกาํ หนดจะไปเอง ไมมีใครทําแทนใครได” (Rabbit, 2551, น.393) 4. การคํานึงถึงผูอื่น นอกจากแนวคิดในเรื่องของปญญาแลว ในภาคนี้ก็ยังมีเรื่องราวอื่น ๆ ที่ผูเขียนแทรกเอาไว เชน แนวคิด ในหัวขอหัวใจของกษัตริย เปน วิชาภาคสนามของเหลานักเรียนชั้นปที่ 2 อยางพวกเฟริน ตองเรียน เปนการออก ภาคสนามพรอมกับการทํารายงานที่ใชประสบการณจากการเรียนรูภาคสนามมาเขียนในชื่อหัวขอ หัวใจกษัตริย ผูเขียนแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ผานมุมมองของตัวละครตาง ๆ เชน บางก็เห็นวาหัวใจของกษัตริยคือประชาชน บางก็เห็นวาเปนดาบซึ่งเปนหัวใจของนักรบ อันเปนหนึ่งคุณสมบัติของกษัตริยที่พึงมี ผูเขียนไดแทรกความคิดเกี่ยวกับ กษั ต ริย ว า เปรียบเหมื อนกับ นั กปกครอง คิด อย า งกว า งก็ป กครองประเทศ คิ ดอย า งใกล ตั ว คื อปกครองลู กน อ ง ปกครองครอบครัว และปกครองตัวเอง หัวขโมยแหงบารามอส กับ ดาบแหงกษัตริย บทสรุปการเดินทางครั้งสําคัญของเจาตัวยุง เฟริน เดอเบอโรว และผองเพื่อน หลังผานเหตุการณวุนวาย สนุกสนาน ชวนระทึกขวัญมาแลวมากมาย และบัดนี้ ดาบแหงกษัตริย ดาบที่เต็มไปดวยพลังอํานาจ จะกลับคืนมา อีกครั้ง เมื่อตัวจริงของเจาหญิงเฟลิโอนา ธิดาแหงความมืดถูกเปดเผย ศึกลาตัวกุญแจชัยแหงเอเดนจึงเปดฉากขึ้น พรอมกับที่เอเดนกรีธาทัพเขาเดมอส เฟริน คิล คาโล และโรตองเผชิญกับอันตรายนานัปการที่จะนําไปสูการไขปริศนา ในอดีตทั้งหมด และการเผชิญหนากันของ 2 ดินแดน มนุษยหรือป ศาจใครกันจะเปนผูครองชัย ใครบางที่จะตอง สูญเสีย และเมื่อหนาที่เขามาพัวพันกับความรักและมิตรภาพ พวกเขาจะยังอยูดว ยกันไปไดอีกนานแคไหน 40


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

ในภาคสุดทายนี้ โทนเรื่องจะเนนไปที่ความเศราสมกับอยูในชวงของวัยชรา หรืออีกนัยหนึ่งคือวัยใกลจะตาย ดั ง นั้ น ภาคนี้ จึ ง เกี่ย วขอ งกับ ความตายเปน สว นมากและมี เนื้ อหาคอนขางหนั ก แสดงออกถึง ความหดหู ม ากกวา ความอึมครึมในภาคแหวนแหงปราชญ ภาคสุดทายของหนังสือชุดนี้ โครงหลักของเรื่องคือการเปดตัวของอาถรรพชิ้นสุดทายที่นํามาซึ่งการไลลา ธิดาแหงความมืดและสงครามระหวางเอเดนและเดมอส โดยจุดหลักของภาคนี้คือ เรื่องของอํานาจและการอยูรวมกัน ระหวางชาวเอเดนและเดมอส ในสังคมที่ไมเคยมีความเสมอภาคที่แทจริง ซึ่ง วิลเลี่ยม กรีน อดีตสมเด็จพระจักรพรรดิ แหงเวนอลไดกลาวไววา “อํานาจที่แสวงหาจากภายนอก ไมเคยเปนนิรันดรและชัยชนะเหนือใจตัวเองเท านั้น จึงเปน นิรันดร” (Rabbit, 2551, น.287) คนเรามักแสวงหาอํานาจเหนือคนอื่น ชอบที่จะเปรียบเทียบกับคนอื่น และทําทุกอยางเพื่อใหไดชัยชนะเหนือ ผูอื่น ทั้งที่ในความเปนจริง ตอใหเราแขงขันจนไดชัยชนะมามากมายเพียงใด ก็ยังไมอาจถือวาเปนชัยชนะอันเปน นิรันดรอยางแทจริง เพราะเหนือฟายอมมีฟา ขุนเขาสูงก็ยอมมีเขาลูกที่สูงกวา ชัยชนะที่แทจริงนั้นแทจริงแลว คือ การเอาชนะใจตนเอง ชนะตอนิสัยที่ไมดีของตัวเอง เชน โลภอยากไดของที่ไมใชของเรา อารมณโมโหเกรี้ยวกราด ความเกียจครานตอหนาที่ของตน ฯลฯ ชัยชนะเหลานี้กลับมีนอยคนนักทีจ่ ะนึกสนใจไขวควา นอกจากในเรื่องของอํานาจซึ่งเปนแกนหลักของเรื่องแลว ก็ยังมีพัฒนาการของตัวละครที่เปลี่ยนไปอยาง มากมาย ดังเชนตัวละครเอกอยางเฟรินที่เติบโตอยางมีคุณคาเพราะรูในคุณคาของชีวิต เฟรินไดซาบซึ้งกับสิ่งนี้ เมื่อจะตองจากเจาหญิงอลิเซีย ผูเปนมารดา จึงเขาใจวาทุกเวลาที่อยูรวมกันนั้นมีคา จึงควรถนอมรักษาเวลาที่ไดอยูรวมกันใหดีที่สุด อดีตคือสิ่งที่ผานไปแลว เราไมสามารถยอนกลับไปแกไขอะไรได ดังนั้น สิ่งสําคัญอยาปลอยใหเวลาผานไปโดยเปลาประโยชน หรือทําอะไรที่จะตองมาเสียใจภายหลัง ดังที่วิลเลี่ยม กรีน ไดกลาวไววา “ชีวิตคนเราจะสั้นหรือจะยาวไมใชเปนสิ่งสําคัญ สําคัญอยูที่ อยูอยางมีคา ตายอยางมีคา ” (Rabbit, 2551, น.220) มนุษยเราลิขิตชีวิตตัวเองไดวาจะอยูอยางไรใหมีค า แตอยูนานแคไหนคงสุดแทแตชะตาชีวิต บางคนชีวิตสั้น แตเกิดมาสรางประโยชนมากมายใหสังคมประเทศชาติ บางคนชีวิตยืนอยูจนแกแตอยูจนแกก็ทําแตบาปก็มีมากไป หัวขโมยแหงบารามอส กับ ดาบแหงกษัตริย ไดสอดแทรกแนวคิดตาง ๆ ในการดําเนินชีวิตไว ดังนี้ 1. กําหนดความมุงมั่น การอยูอยางไรใหมีคา นั่นคือ ตองกําหนดความมุงมั่นในอนาคตของตน มุงมั่นที่จะพัฒนาตน มุงมั่นที่จะอยู อยางมีคุณคา เพราะความมุงมั่นคือพลังที่จะนําไปสูความสําเร็จ โลกนี้ไม ไดมีอะไรยากเกินความสามารถ ขอเพียงแต เรามีใจที่มีความมุงมั่นตั้งใจ ไมมีอะไรที่เราทําไมได อยางเชนมีคนดูถูกเราวาโง ถาเราพยายาม ขยันตัง้ ใจเราก็สามารถ สอบไดคะแนนดีได หรือแมแตการแกไขนิสัยแย ๆ ของเราเอง แนนอนวามันคงยากมากเพราะมันติดหนึบเหมือน อยางเฟรินที่เปนขโมยจนเปนนิสัยเสีย แตถาตั้งใจก็ไมมีอะไรยากเกินความสามารถแนนอน

41


2. อยาทอแทหรือนึกดูแคลนตัวเอง การที่เราอยูรวมกับคนมากมายในสังคม สิ่งที่หลีกเลี่ยงไดยากก็คือใจที่เปรียบเทียบตัวเราเอง เปรียบเทียบ แลวก็ยอมพบวามีคนโดดเดนกวา มีคนออนดอยกวา สุดทายก็อาจเกิดใจอิจฉาริษยา หรือไมก็ทอแทสิ้นหวัง หรือ หากวันหนึ่งเกิดถูกคนอื่นสบประมาทดูแคลน ตัวเราเองก็ควรที่จะมั่นคงหนักแนน ไมทอแท ดังเชนที่เฟรินเอยเตือนสติ คาโลไววา “รูไหมวามีแตคนโงถึงไมรูวาคําปรามาสนะเคามีเอาไวใหฮึดสูไมใชเอามานั่งทอ คิดจะเปนคนเหนือคนนะ มันก็ตองหัดทนใหมากกวาคนอื่น ไมใชมานั่งตีหนาซึมงี่เงา” (Rabbit, 2551, น.246) หรือดังที่วิลเลี่ยมเอยเตือนสติริชารดไววา “เขาก็มีขอดีของเขา นายก็มีขอดีของนาย แทนจะเสียเวลามาทุกข เพราะอิจฉา เอาเวลามาหาขอดีของตัวเอง แลวนายจะรูวา ตัวเองไมจําเปนตองไปเทียบกับใคร” (Rabbit, 2551, น.201) 3. เรียนรูจากความผิดพลาด แนนอนวาการที่เราจะผานพนจากการเปนหัวขโมยมาเปนกษัตริยผูชนะใจตนเองไดนั้น ตองพบปญหาและ อุปสรรคตาง ๆ มากมาย คนเราสวนใหญถึงแมตัวเองจะทําผิดไป แตก็มกั จะกลาวโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่นวาเปนเหตุที่ทํา ใหตัวเองตองทําอยางนั้น ทั้งที่ความจริงไมวาคนอื่นจะเปนอยางไร สิ่งแวดลอมจะเลวรายแคไหน สุดทายจะทําดี หรือ ทําไมดี ตัวเราเองเปนผูตัดสินใจ เชนเดียวกับที่มาดัสไดเอยเตือนสติเฟรินไววา “พลาดก็คือพลาด คนเรามันเรียนรูจาก ความผิดพลาด คนไมเคยผิดก็คือคนไมทําอะไรเลย คนไมทําอะไรเลยก็ไมมีวันกาวหนา” (Rabbit, 2551, น.571) และเมื่อสํารวจพบความผิดพลาดก็ควรที่จะยอมรับในความผิดนัน้ และรีบเรงที่จะแกไข อยาไดกลายเปนดังที่ ราชินีจันทราไดกลาวไววา “ความผิดตัวเองมักเล็กเทาเม็ดทราย ความผิดผูอื่นมักใหญเทาผืนฟา ” (Rabbit, 2551, น.397) คนเรามักจะใหอภัยตัวเองเสมอ ขณะที่คนอื่นทําผิดไมวาเล็กนอยแคไหนกลับใหอภัยไมได หั ว ขโมยแห งบารามอส กับ ดาบแห งกษัต ริย ได สอดแทรกขอคิดต าง ๆ ไว มากมาย ได แ ก การกําหนด ความมุงมั่น มีเปาหมายในการใชชีวิต ความไมยอทอ ไมนึกดูแคลนตัวเอง และการเรียนรูจากความผิดพลาด ขอคิด เหลานี้จะทําใหเราพรอมที่จะเดินหนาเติบโตและใชชีวิตไดอยางมั่นคง วรรณกรรมชุ ด หั ว ขโมยแห ง บารามอส ได แ รงบั น ดาลใจมาจากวรรณกรรมแฟนตาซี จ ากต า งประเทศ แลวนํามาสรางสรรคในรูปแบบตามความนิยมของคนไทย แทรกแนวคิดตาง ๆ ไวตลอดทั้งเรื่อง เนือ้ หามีความโดดเดน เปนแนวโรแมนติกผจญภัย ตัวละครก็มีความโดดเดน กลายเปนแนวนิยมในการสรางตัวละครกลับเพศจากเดิมเปนชาย แลวกลายเปนหญิงในเรื่องอื่น ๆ ตอมาเปนจํานวนมาก นอกจากนี้วรรณกรรมเรื่องนี้ไดปลุกกระแสการอานและ การเขียนวรรณกรรมแฟนตาซีในหมูเ ยาวชนไทย วรรณกรรมเรื่องนี้จึงเปนสื่อประเภทหนึ่งที่มีสวนสําคัญในการสงเสริม การเรียนรูอยางกวางขวาง ผานเหตุการณและเรื่องราวของตัวละครที่เต็มไปดวยขอคิด คติเตือนใจ คานิยม และ แนวประพฤติปฏิบัติที่ดี วรรณกรรมชุดนี้จึงเปนเสมือนถนนหนทางที่เราไดรวมเดินทางและรวมเจริญเติบโตไปพรอม ๆ กับตัวละครอยางเฟรินจากหัวขโมยที่มีชีวิตอยูไปวัน ๆ มาเปนคนที่ตั้งใจจะใชชีวิตอยางมีคา และสามารถเปลี่ยนแปลง 42


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

ตนเองไดในที่สุด เยาวชนที่ไดอานวรรณกรรมเรื่องนี้ก็จะไดเรียนรูขอคิดแงมุมตาง ๆ ที่สอดแทรกไวในเรื่ องพรอมกับ นําไปใชและเติบโตเปนบุคคลที่มีคณ ุ ภาพตอสังคม

รายการอางอิง

ธวัช ปุณโณทก. (2527). แนวทางการศึกษาวรรณกรรมปจจุบนั . กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. รัญจวน อินทรกําแหง. (2524). วรรณกรรมสําหรับเด็กและวัยรุน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ. (2553). เปดโผ 101 อันดับหนังสือ. สืบคนจาก http://www.thaihealth.or.th/Content.html Rabbit. (2551). หัวขโมยแหงบารามอส กับ คทาแหงพลัง. (พิมพครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สถาพรบุค ส. Rabbit. (2551). หัวขโมยแหงบารามอส กับ ดาบแหงกษัตริย. (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สถาพรบุคส. Rabbit. (2551). หัวขโมยแหงบารามอส กับ มงกุฎแหงหัวใจ. (พิมพครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สถาพรบุคส. Rabbit. (2551). หัวขโมยแหงบารามอส กับ แหวนแหงปราชญ. (พิมพครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สถาพรบุคส

43


บทความด านภาษา


การศึกษาความสัมพันธทางความหมายของคําซอนตัง้ แต 4 พยางคขึ้นไป ในกฎหมายตราสามดวง หมวดพระไอยการลักษณะตระลาการ รัตนาวดี สวยบํารุง กฎหมายตราสามดวงนับวาเปนรากฐานทางกฎหมายที่สําคัญที่เกิดขึ้นในชวงตนรัตนโกสินทร โดยขอมูลทาง อิเล็กทรอนิกสเรื่อง เหตุที่เรียกชื่อวากฎหมายตราสามดวง (ม.ป.ป.) กลาวถึงความสําคัญของกฎหมายตราสามดวงวา กฎหมายตราสามดวงไดรับยกยองวา เปนประมวลกฎหมายฉบับแรกแหงสมัยรัตนโกสินทร จึง เรียกอีกชื่อหนึ่งวา “ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1” เนื่องจากเปนการนําบทกฎหมายลักษณะตาง ๆ ขณะนั้น อันมีม าตั้งแตสมัยอยุธยา มารวบรวมเปนหมวดหมู และชําระดัดแปลงบางบทที่วิปลาส ซึ่งทําใหเสียความยุติธรรมออกไป ไม เพี ย งแต ความสําคัญ ทางดานการพัฒนาระบบกฎหมายไทยเท านั้น กฎหมายตราสามดวงยังสะทอน ลักษณะทางถอยคําภาษาของภาษาไทยในชวงตนสมัยรัตนโกสินทรอีกดวย จากการศึกษาตัวบทกฎหมายตราสามดวง พบวา กฎหมายตราสามดวงนั้นปรากฏคําซอนเปนจํานวนมาก และคําซอนที่พบนั้นก็ปรากฏลักษณะความสัมพันธ ทางดานความหมายที่นาสนใจ ดังนั้นผูเขียนบทความจึงไดศึกษาความสัมพันธทางความหมายของคําซอนที่ปรากฏใน กฎหมายตราสามดวง โดยมุงศึกษาเฉพาะคําซอนตั้ งแต 4 พยางคขึ้นไป เนื่องจากคําซอนลักษณะดังกลาวนี้ไมคอย ปรากฏในภาษาไทยปจจุบัน อีกทั้งความสัมพันธทางดานความหมายยังมีความหลากหลาย และลักษณะความสัมพันธ บางลักษณะก็ไมปรากฏการใชในคําซอนที่พบในปจจุบัน คํ า ซ อนเป น ลั ก ษณะการรัง สรรค ท างภาษาไทยอย า งหนึ่ ง ทํ า ให เกิด คํา ใหม เ พี ย งพอต อการใช ง านของ ผู ใช ภาษา ราตรี ธั น วารชร (2534) ได อธิ บ ายคําจํ ากัดความของการซ อนคําและความหมายของคําที่นํามาซอน ในวิทยานิพนธเรือ่ ง การศึกษาคําซอนในภาษาไทย วา การซอนคําในภาษาไทยเปนขบวนการสรางคําใหมขึ้นใชในภาษาวิธีหนึ่ง หมายถึง การนําคําหรือ กลุมคําตั้งแต 2 หนวยขึ้นไปมาเรียงตอกัน โดยแตละหนวยนั้นมีความสัมพันธกันในดานความหมาย . . . เมื่อรวมหนวยตามความสัมพันธดานความหมายแลว จะกลายเปนคําคําเดียวกันหรือกลุมคํา เดียวกัน ซึ่งจะทําหนาที่ในภาษาอยางเดียวกัน จุไรรัตน ลักษณะศิริ (2526-2527, น.75) ไดศึกษาคําซอนในภาษาไทย ในบทความเรื่อง คําซอนในภาษาไทย สมั ย อยุ ธ ยา โดยอธิ บ ายความหมายของคํ า ซ อ นในภาษาไทยสมั ย อยุ ธ ยาซึ่ ง มี ค วามเกี่ ย วข อ งกั บ คํ า ซ อ นสมั ย ตนรัตนโกสินทร เนื่องจากยุคสมัยคาบเกี่ยวกัน อีกทั้งคนในยุครัตนโกสินทร ตอนตนสวนใหญ เดิมก็เปนคนอยุธยา ที่อพยพมาในชวงเสียกรุงครั้งที่ 2 จึงยังคงใชภาษาอยุธยาในการสื่อสารกันอยูวา


คําซอน คือ การนําคําหรือกลุมคําที่มีความหมายเหมือนกันหรือคลายคลึงกันมาซอน คําซอน แตละคํามีสวนประกอบ 2 สวน คือสวนที่มาเปนคําตั้งและสว นที่มาซอนเรียกวา คําเติม คําทั้งสอง สวนนี้อาจเปนคําหรือกลุมคําที่มีพยางคเดียวหรือมากพยางคก็ได แตชวยเนนความ ขยายความ หรือ ไขความใหคําเดิมชัดเจน บางคําซอนกันแลวจะมีความหมายใหม แตความหมายใหมจะมีเคา หรือ เกี่ยวเนื่องกับความหมายเดิม กลาวโดยสรุปคําซอน คือ การนําคําหรือกลุมคําที่มีความสัมพันธกันทางดานความหมายที่อาจจะเหมือนกัน หรือคลายคลึงกันมาเรียงตอกัน แลวเกิดเปนคําใหมที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับความหมายเดิมและทําหนาที่ในภาษา อยางเดียวกัน โดยการศึ กษาความสั มพั นธ ทางความหมายของคําซ อนตั้ งแต 4 พยางคขึ้นไปในกฎหมายตราสามดวงนี้ ผูเขียนบทความเลือกศึกษาจากกฎหมายตราสามดวง หมวดพระไอยการลักษณะตระลาการ เนื่องจากคําซอนที่พบมี ความหมายหลากหลาย อีกทั้งผูเขียนบทความเกิดความสนใจ จึงเก็บรวบรวมคําซอนตั้งแต 4 พยางคขึ้นไปไดทั้งสิ้น 93 คํา และใชเกณฑการจําแนกลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําที่นํามาซอนกันของ สุปราณี ธีระวัฒนสุข (2541, น.50) ที่ไดจําแนกไวในวิทยานิพนธเรื่อง วิวัฒนาการของคําซอนในภาษาไทยในสมัยรัตนโกสินทร ทั้งสิ้น 4 เกณฑ เนือ่ งจากเกณฑดังกลาวมีความสอดคลองและครอบคลุมประเด็นที่ศึกษาคือ 1. คําที่นํามาซอนกันมีความหมายเหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) 2. คําที่นํามาซอนมีความหมายไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) หมายความถึง คําที่นํามา ซอนกันนั้นมีความสัมพันธกันทางดานความหมาย ทําใหสามารถจัดเปนกลุมทางความหมาย เดียวกันได เชน คําวา ‘กุง’ ‘หอย’ ‘ปู’ ‘ปลา’ ตางก็มีความหมายอางถึงสัตวน้ํา จึงสามารถจัดอยู กลุมทางความหมายเดียวกัน 3. คําที่นํามาซอนกันมีความหมายแยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) 4. คํ า ที่ นํ า มาซ อ นกั น มี ห น ว ยหนึ่ ง มี ค วามหมายกว า งครอบคลุ ม ความหมายของคํ า อื่ น ๆ ใน คําซอนนั้น นั่นคือมีหนวยหนึ่งเปนเจา กลุม (superordinate) และคําอื่นที่อยูในคําซอนนั้นเปน ลูกกลุม (hyponyms) จากการศึกษาความสัมพันธทางความหมายของคําซอนตั้งแต 4 พยางคขึ้นไปในกฎหมายตราสามดวง โดยใช เกณฑการจําแนกขางตน ไดผลการศึกษาดังตอไปนี้ 1. ความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 4 พยางค จากการเก็บรวบรวมขอมูลคําซอนจากกฎหมายตราสามดวง พบคําซอนชนิด 4 พยางค จํานวน 50 คํา และพบลักษณะความสัมพันธทางดานความหมายในคําซอนชนิด 4 พยางค ทั้งสิ้น 4 ลักษณะ ไดแก 46


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

1.1 คําที่นํามาซอนกันมีความหมายเหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) พบทั้งสิ้น 32 คํา เชน ลูกความตอลูกความฉะเลาะเถียงกันกลางกระลาการไซ จากตัวอยางคําขางตน คําวา ฉะเลาะเถียงกัน เกิดจากการนําคําวา ฉะเลาะ ซึ่งมีความหมายเหมือนกับคําวา ทะเลาะ ในปจจุบัน คือ “ทุมเถียงกันดวยความโกรธ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.557) มาซอนกับคําวา เถียง ที่มีความหมายคลายคลึงกัน แลมันใหถอยคําสุภากระลาการไดบนั ทึกถอยคําไวกอนแลว ๆ มันกลับถอยคืนคํามันเสีย จากตัวอยางขางตน คําวา กลับถอยคืนคํา เกิดจากการซอนคําที่มีความหมายเหมือนกันคือคําวา กลับถอย และคําวา คืนคํา ซึ่งสื่อความหมายถึง การไมทําตามคําพูดที่ใหไว 1.2 คําที่นํามาซอนมีความหมายไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) พบทั้งสิ้น 10 คํา เชน ผาขาวผืนหนึ่งใหไหมโดยตองตีโบยจําจองนั้น คําวา ตีโบยจําจอง นัน้ เกิดจากการซอนคําที่มีความหมายไปในทํานองเดียวกัน โดยคําวา ตี มีความหมายวา “เอามือหรือไมเปนตนฟาดหรือเขนลงไป” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.501) คําวา โบย มีความหมายวา “เฆี่ยนดวย หวายเปนตน เปนการลงโทษ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.688) และคําวา จําจอง มีความหมายวา “การใสตรวน หรือเครื่องพันธนาการขังไวในคุกในตะราง เปนตน” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.319) จะเห็นวาความหมายของทั้ง 3 คํานี้ไมไดเหมือนกันอยางสิ้นเชิงแตมีความหมายที่สื่อไปในทํานองเดียวกันคือเปนการลงโทษ ผูพจิ ารณากับตัวผูความทุมเถียงตีดามันผูตอ งคดีไซ จากตั ว อย า งข า งต น จะเห็ น ว า คํ า ว า ทุ ม เถี ย ง ตี และ ด า ได สื่ อ ความหมายไปในทํ า นองเดี ย วกั น คื อ ความหมายเชิงทะเลาะวิวาท 1.3 คําที่นํามาซอนกันมีความหมายแยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) พบทั้งสิ้น 6 คํา เชน จะใหเนือ้ ความเนิ่นชาจวาตางฟงงตางเลานัน้ จากตัวอยางขางตน จะเห็นวาคําที่นํามาซอนกันนั้นมีความหมายตรงกันขาม โดยความหมายของคํา วา ฟงง หรือ ฟง ในภาษาไทยป จจุบั นมี ความหมายวา “ตั้งใจสดับ, คอยรับเสี ยงดวยหู , ไดยิน” (ราชบั ณ ฑิต ยสถาน, 2556, น.858) ซึ่งตรงกันขามกับความหมายของคําวา เลา ที่หมายถึง “พูดหรือบอกเรื่องราวใหผูอื่นฟง” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.1081) 1.4 คําที่นํามาซอนกันมีหนวยหนึ่งมีค วามหมายกวางครอบคลุมความหมายของคําอื่น ๆ ในคําซอนนั้น พบทั้งสิ้น 2 คํา ไดแก แลวาจะขอฆาฟนลงโทษแกผูแพคดีนนั้ เอง 47


จากตัวอยางขางตน คําวา ฆาฟนลงโทษ มีคําที่เปนเจากลุมคือ ลงโทษ ซึ่งมีความหมายกวางรวมความหมาย ของคําลูกกลุมคือคําวา ฆาฟน ที่สื่อถึงการลงโทษไวดวย จากลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 4 พยางค ทั้ง 4 ลักษณะพบวาความสัมพันธทาง ความหมายแบบมีความหมายเหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) จะพบมากที่สุด จํานวน 32 คํา คิดเปน รอยละ 64 รองลงมาคือความสั มพันธ ทางความหมายแบบมีความหมายไปในทํานองเดีย วกัน (semantic field) จํ า นวน 10 คํ า คิ ด เป น ร อ ยละ 20 ความสั ม พั น ธ ท างความหมายแบบมี ค วามหมายแย ง กั น หรื อ ตรงข า มกั น (antonyms) จํ า นวน 6 คํ า คิ ด เป น ร อ ยละ 12 ตามลํ า ดั บ และความสั ม พั น ธ ท างความหมายแบบมี ห น ว ยหนึ่ ง มีความหมายกวางครอบคลุมความหมายของคํา อื่น ๆ ในคําซอนนั้น พบนอยที่สุดคือจํานวน 2 คํา คิดเปนรอยละ 4 ดังสรุปในตารางดังตอไปนี้ ตารางที่ 1 ตารางแสดงลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 4 พยางค ลักษณะความสัมพันธ ทางความหมายของคํา 1. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย เหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) 2. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย ไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) 3. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย แยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) 4. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีหนวยหนึ่ง มีความหมายกวางครอบคลุมความหมายของคํา อื่น ๆ ในคําซอนนั้น รวม

จํานวน (คํา)

อัตรา (รอยละ)

32

64

10

20

6

12

2

4

50

100

2. ความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 5 พยางค จากการเก็บรวบรวมขอมูลคําซอนจากกฎหมายตราสามดวง พบคําซอนชนิด 5 พยางค จํานวน 20 คํา และ พบลักษณะความสัมพันธทางดานความหมายในคําซอนชนิด 5 พยางค ทั้งสิ้น 4 ลักษณะ ไดแก 2.1 คําที่นํามาซอนกันมีความหมายเหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) พบทั้งสิ้น 10 คํา เชน ราษฎรจะรองฟองหากลาวโทษแกกันหนักก็ดีเบาก็ดี จากตัวอยางขางตน รองฟองหา และ กลาวโทษ ตางสื่อความหมายเหมือนกันคือ การฟองรอง

48


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

อันวากระลาการผูนนั้ กระทํากาลกิรยิ าตายแลว จากตัวอยางขางตน เกิดจากการซอนคําระหวางคําวา กาลกิริยา และ ตาย โดยราชบัณฑิตยสถาน (2556, น.688) ไดใหความหมายของ กาลกิรยิ า ไววา “ความตาย” ซึ่งเปนความหมายเดียวกัน 2.2 คําที่นํามาซอนมีความหมายไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) พบทั้งสิ้น 5 คํา เชน ราษฎรทงงหลายมีพวกไปตีดาฆาฟนแทงกันดวยประการใด ๆ ก็ดี จากตัวอยางจะเห็นวา คําวา ตี ดา ฆา ฟน และ แทง ลวนมีความหมายไปในทํานองของการทําราย 2.3 คําที่นํามาซอนกันมีความหมายแยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) พบทั้งสิ้น 1 คํา ไดแก ถามีกิจศุกขทุกขทุระสิ่งใด ๆ ก็ดี จากตั ว อย า งข า งต น เกิ ด จากการนํ า คํ า ว า กิ จ ศุ ก ข มาซ อ นกั บ คํ า ว า ทุ ก ขทุ ร ะ ซึ่ ง คํ า ว า กิ จ ในที่ นี้ มีความหมายเดียวกันกับคําวา ทุระ ซึ่งตรงกับคําวา “ธุระ” ในภาษาไทยปจจุบัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.128) แตคําวา ทุกข นั้นมีความหมายวา “ความไมสบายกายสบายใจ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.575) อันตรงขามกับ คําวา ศุกข (สุข) ที่หมายถึง “ความสบายกายสบายใจ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.1241) 2.4 คําที่นํามาซอนกันมีหนวยหนึ่งมีความหมายกวางครอบคลุมความหมายของคําอื่น ๆ ในคําซอนนั้น พบทั้งสิ้น 4 คํา เชน แลผูมีคดีใหญาติพี่นองพงษพันธุแกเนือ้ ความตางตอดวยโจทเปนสํานวนชี้แลวก็ดี จากตัวอยางขางตน คําที่เปนเจากลุมคือ ญาติ มีความหมายกวางรวมความหมายของลู กกลุ มคือคํา ว า พี่นองพงษพันธุ จากลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซ อนชนิด 5 พยางค ทั้ง 4 ลักษณะพบวาความสัมพันธทาง ความหมายแบบมีความหมายเหมื อนกัน หรือคลายคลึงกัน (synonyms) จะพบมากที่สุด จํานวน 10 คํา คิดเปน รอยละ 50 รองลงมาคื อความสัมพั นธทางความหมายแบบมี ความหมายไปในทํานองเดี ยวกัน (semantic field) พบจํานวน 5 คํา คิดเปนรอยละ 25 ความสัมพันธทางความหมายแบบมีหนวยหนึ่งมีความหมายกวางครอบคลุม ความหมายของคํา อื่ น ๆ ในคํ า ซ อนนั้ น พบจํ า นวน 4 คํา คิ ดเป น รอยละ 20 ตามลํ า ดั บ และความสั ม พั น ธ ท าง ความหมายแบบมีความหมายแยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) พบนอยที่สุดคือ 1 คํา คิดเปนรอยละ 5 ดังสรุปใน ตารางดังตอไปนี้ ตารางที่ 2 ตารางแสดงลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 5 พยางค ลักษณะความสัมพันธ ทางความหมายของคํา 1. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย เหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) 49

จํานวน (คํา)

อัตรา (รอยละ)

10

50


ลักษณะความสัมพันธ ทางความหมายของคํา 2. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย ไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) 3. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย แยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) 4. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีหนวยหนึ่ง มีความหมายกวางครอบคลุมความหมายของคํา อื่น ๆ ในคําซอนนั้น รวม

จํานวน (คํา)

อัตรา (รอยละ)

5

25

1

5

4

20

20

100

3. ความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 6 พยางค จากการเก็บ รวบรวมขอมู ลคําซ อนจากกฎหมายตราสามดวง พบคํา ซ อนชนิด 6 พยางค จํ า นวน 8 คํา และพบลักษณะความสัมพันธทางดานความหมายในคําซอนชนิด 6 พยางค ทั้งสิ้น 3 ลักษณะ ไดแก 3.1 คําที่นํามาซอนกันมีความหมายเหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) พบทั้งสิ้น 3 คํา เชน ทําหนังสือทวงติงยอความลุกปลุกความนั่งแปลถอย คืนคําวามิยอมเลาไซ จากตัวอยางขางตน ทั้งคําวา ยอความลุก และ ปลุกความนั่ง ที่นํามาซอนกันนั้น ตางสื่อความหมายเดียวกัน คือ การรื้อฟนคดีความที่ยุติไปแลวขึ้นมาใหม 3.2 คําที่นํามาซอนมีความหมายไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) พบทั้งสิ้น 4 คํา เชน ทานวาใหพอแมพี่นองลูกเมียอายัดแทงสังกัดมูลนายฟองใหเรียกกระลาการมาพิจารณา จากตัวอยางขา งตน จะเห็นวา พอ แม พี่ นอง ลูก และ เมีย ตางอยูในกลุมทางความหมายเดียวกันคือ บุคคลในครอบครัว 3.3 คําที่นํามาซอนกันมีหนวยหนึ่งมีความหมายกวางครอบคลุมความหมายของคําอื่น ๆ ในคําซอนนั้น พบทั้งสิ้น 1 คํา ไดแก ใหนายดาบตรวจลูกความใหดูหอกดาบสาตราอาวุธ จากตัวอยางขางตน คําที่เปนเจากลุมคือ อาวุธ มีความหมายกวางรวมความหมายของลูกกลุมคือคําวา หอกดาบสาตรา จากลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 6 พยางค ทั้ง 3 ลักษณะพบวาความสัมพันธทาง ความหมายแบบมีความหมายไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) พบมากที่สุดจํานวน 4 คํา คิดเปนรอยละ 50 รองลงมาคือความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมายเหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) พบจํานวน 50


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

3 คํา คิดเปนรอยละ 37.5 และความสัมพันธทางความหมายแบบมีหนวยหนึ่งมีความหมายกวางครอบคลุมความหมาย ของคําอื่น ๆ ในคําซอนนั้นพบนอยที่สุดจํานวน 1 คํา คิดเปนรอยละ 12.5 ดังสรุปในตารางดังตอไปนี้ ตารางที่ 3 ตารางแสดงลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 6 พยางค ลักษณะความสัมพันธ ทางความหมายของคํา 1. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย เหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) 2. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย ไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) 3. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีหนวยหนึ่ง มีความหมายกวางครอบคลุมความหมายของคํา อื่น ๆ ในคําซอนนั้น รวม

จํานวน (คํา)

อัตรา (รอยละ)

3

37.5

4

50

1

12.5

8

100

4. ความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 7 พยางคขึ้นไป จากการเก็บรวบรวมขอมูลคําซอนจากกฎหมายตราสามดวง พบคําซอนชนิด 7 พยางคขึ้นไป จํานวน 15 คํา และพบลักษณะความสัมพันธทางดานความหมายในคําซอนชนิด 7 พยางคขึ้นไปทั้งสิ้น 3 ลักษณะ ไดแก 4.1 คําที่นํามาซอนกันมีความหมายเหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) พบทั้งสิ้น 3 คํา เชน ลูกความกลาแขงแผดเสียงเถียงขัดแขงมิใหวา . . . จากตั วอยางขางต น คํา ว า กล า แขงแผดเสี ยง และคําว า เถี ย งขั ด แขง ล ว นสื่ อความหมายเดียวกันคือ เถียงอยางไมเกรงกลัว 4.2 คําที่นํามาซอนมีความหมายไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) พบทั้งสิ้น 11 คํา เชน ถาพี่นองภรรญาญาติกาสมักสมาอาไศรย จากตัวอยางขางตนจะเห็นวา พี่ นอง ภรรญา และ ญาติกา ตางอยูในกลุมทางความหมายเดียวกันคือ บุคคล ในครอบครัว 4.3 คําที่นํามาซอนกันมีความหมายแยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) พบทั้งสิ้น 1 คํา ไดแก ยุดยื้อถือบายื้อชักผลักไสลูกความโดยอุกอาจดงงนี้ จากตัวอยางขางตนจะพบวา ยุดยื้อถือบายื้อชัก เปนลักษณะอาการที่ดึงเขามาหาตัว ในขณะที่ ผลักไส มีความตรงกันขามคือ ดันใหหา งตัวไป (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.773) 51


จากลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 7 พยางคขึ้นไป ทั้ง 3 ลักษณะพบวาความสัมพันธ ทางความหมายแบบมี ค วามหมายไปในทํ า นองเดี ย วกั น (semantic field) พบมากที่ สุ ด คื อ 11 คํ า คิ ด เป น รอยละ 73.34 รองลงมาคือความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมายเหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) พบจํานวน 3 คํา คิดเปนรอยละ 20 และความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมายแยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) พบนอยที่สุดจํานวน 1 คํา คิดเปนรอยละ 6.66 ดังสรุปในตารางดังตอไปนี้ ตารางที่ 4 ตารางแสดงลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซอนชนิด 7 พยางคขึ้นไป ลักษณะความสัมพันธ ทางความหมายของคํา 1. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย เหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) 2. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย ไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) 3. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย แยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) รวม

จํานวน (คํา)

อัตรา (รอยละ)

3

20

11

73.34

1

6.66

15

100

จากผลการศึกษาสามารถนําขอมูลลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซอนตั้งแต 4 พยางคขึ้นไป ที่พบในกฎหมายตราสามดวง หมวดพระไอยการลักษณะตระลาการ มาแสดงไดดังตารางตอไปนี้ ตารางที่ 5 ตารางแสดงลักษณะความสัมพันธทางความหมายของคําซอนตั้งแต 4 พยางคขนึ้ ไป ลักษณะความสัมพันธ ทางความหมายของคํา 1. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย เหมือนกันหรือคลายคลึงกัน (synonyms) 2. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย ไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) 3. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย แยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) 4. ความสัมพันธทางความหมายแบบมีหนวยหนึ่ง มีความหมายกวางครอบคลุมความหมายของคํา อื่น ๆ ในคําซอนนั้น รวม 52

จํานวน (คํา)

อัตรา (รอยละ)

48

51.61

30

32.26

8

8.60

7

7.53

93

100


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

จากการศึ ก ษาความสั ม พั น ธ ท างความหมายของคํ า ซ อ นตั้ ง แต 4 พยางค ขึ้ น ไปที่ ป รากฏในกฎหมาย ตราสามดวง หมวดพระไอยการลักษณะตระลาการพบวา ลักษณะความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย เหมื อ นกั น หรื อ คล า ยคลึ ง กั น (synonyms) พบมากที่ สุ ด จํ า นวน 48 คํ า คิ ด เป น ร อ ยละ 51.61 รองลงมาคื อ ความสัมพันธทางความหมายแบบมี ความหมายไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) พบจํานวน 30 คํา คิดเปน รอยละ 32.26 และความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมายแยงกันหรือตรงขามกัน (antonyms) พบจํานวน 8 คํา คิดเปนรอยละ 8.60 สวนความสัมพันธทางความหมายแบบมีหนวยหนึ่งมีความหมายกวางครอบคลุมความหมาย ของคําอื่น ๆ ในคําซอนนั้นพบนอยที่สุด จํานวน 7 คํา คิดเปนรอยละ 7.53 จากผลการศึกษาขอสังเกตที่นาสนใจอยางหนึ่งคือ ลักษณะความสัมพันธทางความหมายแบบมีความหมาย ไปในทํานองเดียวกัน (semantic field) หรือคําซอนที่เกิดจากคําในกลุมทางความหมายเดียวกันมาซอนกัน โดยที่ คําเหลานั้นไมจําเปนตองมีความหมายเหมือนกัน หากแตตองเปนคําที่สามารถจัดอยูในกลุมทางความหมายเดียวกัน ในบริบทนั้น ๆ ได จะพบในสัดสวนที่เพิ่มขึ้นตามจํานวนพยางค ซึ่งลักษณะความสัมพันธเชนนี้มักไมคอยปรากฏใน คําซอนในภาษาไทยปจจุบันที่มักจะมีจํานวนพยางคนอยกวาคําซอนที่พบในกฎหมายตราสามดวง หมวดพระไอยการ ลักษณะตระลาการ อันเปนภาษาไทยชวงตนรัตนโกสินทร อยางไรก็ดีการปรากฏของคําซอนที่ไมจําเปนตองมีความหมายเหมือนกัน เชน คําวา กุง หอย ปู ปลา ตางก็มี ความหมายอางถึงสัตวน้ํา ดังที่ไดยกตัวอยางไปในตอนตนก็ อาจจะมาจากลักษณะการใชภาษาของผูใชภาษาไทย ซึ่ง น.ม.ส. (2482, น.4-5) ไดเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไวใน เหตุใดจึงพูดซอนคํา วา เราคนไทยกรุงสยามยังพูดวา ฆาฟนอยูจนบัดนี้ แตไมใชโดยความจําเปนเลย อันที่จริงตาม ความหมายเดิมแหงภาษาของเรา ฆากับฟนเดี๋ยวนี้ก็มคี วามคนละอยาง แตถึงกระนั้นเมื่อเราจะพูดถึง ฆาก็มักจะแถมฟนดวย ตางวา คน 2 คนที่เรารูจักเกิดวิ วาทเรื่องเล็ กน อย ถึงจะยิงจะกันดวยป น เราเปนผูหามเราอาจพูดวา เรือ่ งเล็กนอยเทานี้ จะถึงฆาฟนกันทําไม ฉะนี้ที่จริงเราหมายวาฆาคําเดี ยว เราจะหมายวาฟนดวยก็หามิได เพราะเขาจะยิงกันตางหาก การเกิดคําซอนดังกลาวนี้จึงอาจจะมาจากการพูดซอนคําจนติดปาก โดย น.ม.ส. (2482, น.6) ไดใหเหตุผล ไววา เปนเพราะ “ไทยเราเปนชาตินกั กลอน ชอบพูดคําคลองจองจนถึงเติมคําใหยาวยืดก็มี”

53


รายการอางอิง

กรมศิลปากร. (2521). เรื่องกฎหมายตราสามดวง. ม.ป.ท.: ม.ป.พ. จุไรรัตน ลักษณะศิร.ิ (2526-2527). คําซอนในภาษาไทยสมัยอยุธยา. วารสารอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7, 75-120. น.ม.ส.. (2482). เหตุใดไทยจึงพูดซอนคํา ฯลฯ. ม.ป.ท.: โรงพิมพโสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพแจกเปนของชํารวย ในการพระราชทานเพลิงศพ พระราชพัสดุรักษ (เนตร เนตรศิริ)). ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. (เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554). ราตรี ธันวารชร. (2534). การศึกษาการซอนคําในภาษาไทย. (วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร, ภาควิชาภาษาไทย. สุปราณี ธีระวัฒนสุข. (2541). วิวัฒนาการของคําซอนในภาษาไทยในสมัยรัตนโกสินทร. (วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, คณะศิลปศาสตร, สาขาวิชาภาษาศาสตร. เหตุที่เรียกชื่อวากฎหมายตราสามดวง. สืบคนจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php? book=30&chap=4&page=t30-4-infodetail04.html

54


การสอนวรรณยุกตไทยงายหรือยาก โสภิดา โอชาพันธ การเรียนการสอนภาษาโดยทั่วไปมีเปาหมายที่สําคัญที่สุด คือ เพื่อใหผูเรียนสามารถใชภาษาในการสื่อสารได อยางมีประสิทธิภาพ ซึ่งเปนเปาหมายของแนวคิดการจัดการการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร อยางไรก็ดี การสอนภาษาโดยคํานึงถึงความถูกตองของหลักการสะกดคําและการออกเสียงก็เปนพื้นฐานที่สําคัญ ปรากฏการณทางภาษาอยางหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเจาของภาษาทั่วโลก คือ สามารถพูดสื่อสารได แตไมสามารถ เขียนถายทอดออกมาไดอยางถูกตอง หากนํามาพิจารณาในทํานองเดียวกันอาจพบวา ภาษาไทยซึ่งไดชื่อวาเปน ภาษาแมของคนไทย แตคนไทยจํานวนไมนอยก็ยังคงสะกดคําศัพทภาษาไทยอยางผิด ๆ เพราะขาดความเขาใจ หลักการสะกดคําศัพทที่ถูกตอง โดยเฉพาะเรื่อง “วรรณยุกต” ที่ดูจะเปนปญหาใหญ เนื่องจากภาษาไทยเปนภาษาที่มี วรรณยุกต ซึ่งเปนหนวยเสียงที่มีความสัมพันธกับความหมายของคําในภาษาไทย ตางจากภาษาอื่น ๆ ยกตัวอยางเชน ภาษาอังกฤษ เสียงสูงต่ําที่พบนั้นไมใชหนวยเสียง เพราะไมไดมีผลตอการเปลี่ยนแปลงความหมายของคํา แตเปน การแสดงออกถึงอารมณขณะที่พูด ดังนั้นการพูดและเขียนวรรณยุกตผิดอาจทําใหเกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดในระบบ ภาษาไทยได เมื่อพูดถึงวรรณยุกตในภาษาไทย นับวามีขอสงสัยอยูไมนอยสําหรับผูเรียนทั้งชาวไทยและชาวตางประเทศ เรื่องหนึ่งที่เปนขอสังเกตไดชัดเจน คือ เรื่องรูปวรรณยุกตกับเสียงวรรณยุกตที่ไมตรงกัน ทําใหเกิดปญหาการเขียนรูป วรรณยุกตผิด พบในคําที่ยืมมาจากภาษาตางประเทศมากที่สุด ยกเวนคําที่ยืมมาจากภาษาบาลีสันสฤต เชน เชิ้ต โนต เคก คะ จะ นะจะ นะคะ ซิคะ เถอะคะ ไหมละ ไมละ ตีดังเพียะ เสียงดั งเผียะ เกี้ยมอี๋ อายิโนะโมะโตะ รองเทาเกี๊ยะ วี้ดวายกระตูวู เปนตน ถึงแมวาเราจะมีความรูในเรื่องพยัญชนะและสระอยางดีแลวก็ตาม แตก็ไมอาจจะเขียนหรืออานคําไดทั้งหมด เนื่ องจากภาษาไทยมี ก ฎขอยกเว น มากมายในระบบภาษา ภาษาไทยจึ ง ถูก มองว า ยุ ง ยาก นอกเหนื อ จากนี้ ยั ง มี สวนประกอบอีกอยางหนึ่งซึ่งทําหนาที่เพิ่มเสียง ปรับเสียง ใหมีปริมาณคําเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีการเพิ่มหรือวิ ธีปรับนี้ เราเรียกวา วิธีวรรณยุกต คือ การกํากับพยัญชนะและสระเพื่อกําหนดเสียงของคําในภาษาไทยใหสงู หรือต่ําตางระดับ กัน วรรณยุกตแปลตามรูปศัพทวา “เครื่องหมายประกอบตัวหนังสือ” ซึ่งมีวิธีประกอบ 2 วิธี คือ ประกอบเสียงวรรณยุกต ดวยการกําหนดเสียงตามวิธีอักษรไทย คื อ จําแนกไตรยางศกอนประสมคํา หรือ กอนใชมาตราตัวสะกด ประกอบรูปวรรณยุกต ดวยการผันวรรณยุกตใหไดเสียงแนนอนแลวจึงใสรูปวรรณยุกตกํากับ “เสียงวรรณยุกต คือ ระดับเสียงที่เปนองคประกอบของคํา หรือระดับเสียงที่มีประจําอยูแตละคํา ถาเปลี่ยน ระดั บ เสี ย งของคํ า ก็ จ ะทํ า ให ค วามหมายของคํ า เปลี่ ย นไปเป น คนละคํ า หรื อ คนละความหมาย . . .” (เรื อ งเดช


ปนเขื่อนขัติย, 2541, น.107) เสียงวรรณยุกตในภาษาไทยมี 5 เสียงตามชื่อเรียกดั้งเดิม คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา เสียงดังกลาวเกิดจากความถี่ในการสั่นสะเทือนของเสนเสียงที่แตกตางกันตามแตละ วรรณยุกต ถามีความถี่มากระดับเสียงจะสูง ถามีความถี่ นอยระดับเสียงจะต่ํา ดวยเหตุที่เสียงวรรณยุกตเปนเสียงที่ เกิดขึ้นเมื่อมีการสั่นสะบัดของเสนเสียง ดังนั้น “เสียงที่จะทําใหเกิดระดับเสียงสูงต่ําไดจึงมีแตเสียงกองเท า นั้ น ” (กาญจนา นาคสกุล, 2556, น.155) รูปวรรณยุกต คือ เครื่องหมายที่ใชเขียนไวบนตัวอักษร เพื่อแสดงระดับเสียงสูงต่ําของพยางค ในภาษาไทยมี รูปวรรณยุกต 4 รูป คือ “  ” เรียกวาวรรณยุกตเอกหรือไมเอก “  ” เรียกวาวรรณยุกตโทหรือไมโท “  ” เรียกวา วรรณยุกตตรีหรือไมตรี และ “  ” เรียกวาวรรณยุกตจัตวาหรือไมจัตวา การใชวรรณยุกตผิดมีมูลเหตุมาจากการไมเขาใจหลักในการผันอักษร คือไมรูวาอักษรใดผันได กี่เสียง เสียงนั้นตองใชวรรณยุกตกํากับหรือไม และถาใชรูปวรรณยุกตกํากับควรใชรูปใดแทนเสียงใด เชน คําวา “นะคะ” เปนคําที่ประกอบดวยอักษรต่ํา คําตาย สระเสียงสั้น จึงเปนเสียงวรรณยุกตตรีอยู แลว ถาไมเขาใจก็จะใสวรรณยุกตตรีเขาไปเปน “นะคะ” ซึ่งจะผิดหลักการผันอักษร หรือคําวา “เชิ้ต” ซึ่งเปนคําที่ประกอบดวยอักษรต่ํา คําตาย เสียงยาว ผันดวยวรรณยุกตโทจะไดเสียงตรี ถาใชวรรณยุกต ตรีกํากับเปน “เชิ๊ต” ก็จะผิดหลักการผันอักษรเชนกัน วิธีแกไขที่ไดผลก็คือการทําความเขาใจหลักการ ผันอักษร พยายามสังเกตและจดจําหลักเกณฑใหได ทั้งนี้ตองแมนยําในเรื่องเสียงวรรณยุกต อักษรสูง กลาง ต่ํา และคําเปนคําตายดวย (สาคร บุญเลิศ, 2538, น.144) การจะอานและเขียนวรรณยุกตไดอยางถูกตองนั้นตองอาศัยการผันอักษรนี้ ซึ่งบางตําราเรียกวา “การผัน เสียงวรรณยุกต ” คือการเปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุ กต ของพยางคที่ป ระกอบดว ยพยัญชนะ สระ และวรรณยุ กต ซึ่งผูศึกษาไดศึกษาผานการสัมภาษณผูมีประสบการณในการสอนภาษาไทย คือ กฤตวิทย ดวงสรอยทอง และ เกสินี มาตุกุล ในเรื่องการผันวรรณยุกต และสามารถจําแนกแนวคิดไดเปน 2 แนวคิด แนวคิดแรก กฤตวิทย ดวงสรอยทอง ไดจําแนกวิธีการผันอักษรออกเปน 4 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 ใหออกเสียงพยางคนั้นดัง ๆ เทียบกับอักษรกลางคําเปน เทียบกับ กา กา กา กา กา ถาเราตองการทราบวา “ขาง” มีเสียงวรรณยุกตอะไรก็ออกเสียง ดัง ๆ วา ขาง กา จะเห็นวาระดับเสียงไมเทากัน ขาง กา ก็ไมเทากันอีก ขาง กา ระดับเสียงเทากัน ดังนั้น เราจึงสามารถทราบไดวา คําวา “ขาง” มีเสียงวรรณยุกตโท พยางคอื่นก็เชนกัน เชน คําวา “นุช” เราก็ออกเสียงเทียบ นุช กา, นุช กา, นุช กา, นุช กา, นุช กา จะเห็นไดวา นุช มีระดับเสียง เทากันกับ กา คําวา “นุช” จึงมีเสียงวรรณยุกตตรี (กฤตวิทย ดวงสรอยทอง, 2522, น.123) จากวิธีดังกลาวขางตนผูศึกษามีความเห็นวา การที่เราสามารถนําเสียงวรรณยุกตมาออกเสียงเทียบเคียงกัน ไดนั้น เพราะเสียงวรรณยุกตในภาษาไทยมีการแปรเปลีย่ นความถี่ของเสียง ระดับเสียงจะเกิดขึ้นไดตองอาศัยเสียงกอง ในหนวยเสียงเรียง กาญจนา นาคสกุล (2556, น.159-163) ไดแบงหนวยเสียงวรรณยุกตออกเปน 2 กลุม คือ 56


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

1. กลุมวรรณยุกตระดับ ไดแก วรรณยุกตเอกเปนหนวยเสียงวรรณยุกตระดับต่ํา มีความถี่ประมาณ 120 Hz แลวลดต่ําลงมาประมาณ 100 Hz วรรณยุกตสามัญเปนหนวยเสียงวรรณยุกตระดับกลาง มีความถี่ประมาณ 120 Hz คงที่ จ นกระทั่ ง ปลาย ๆ พยางคจ ะลดต่ํ า ลงประมาณ 110 Hz วรรณยุ ก ต ต รีเป น หน ว ยเสี ย งวรรณยุ กต ระดั บ ต่ํ า มีความถี่ประมาณ 125 Hz จะสูงขึ้นเรือ่ ย ๆ ประมาณ 135-140 Hz 2. กลุมวรรณยุกตเปลี่ยนระดับ ไดแก วรรณยุกตโทเปนหนวยเสียงวรรณยุกตเปลี่ยนตก มีความถี่ประมาณ 140 Hz แลวจะลดลงอยางเร็วจนต่ํากวา 100 Hz และวรรณยุกตจัตวา เปนหนวยเสียงวรรณยุกตเปลี่ยนขึ้น มีความถี่ ประมาณ 110 Hz ลดลงเล็กนอยกอนที่จะเปลี่ยนเสียงขึ้นอยางรวดเร็วถึงประมาณ 140 Hz ที่ปลายพยางค จะเห็นไดวาวรรณยุกตทุกตัวมีระดับความถี่หนวยเสียงแตกตางกัน เมื่อนํามาออกเสียงเทียบเคียงกันก็จะ ทําใหเห็นถึงความแตกตางของเสียงวรรณยุกตไดอยางชัดเจน ดังนั้นระดับความถี่ของเสียงวรรณยุกตที่ใกลกันจะทําให เราทราบวาคํานั้น ๆ มีเสียงวรรณยุกตใด วิธีที่ 2 ออกเสียงพยางคนั้นดัง ๆ แตใหหบุ ปาก อยาอาปาก เสียงที่เราพูดนี้เมื่อเราไมอาปากเสียงก็จะเปน อือ อื่อ อื้อ อื๊อ อื๋อ ถาหากตองการทราบวา “รัก” มี เสี ย งวรรณยุ ก ต อะไรก็ อ อกเสี ย งพยางคนั้ น ดั ง ๆ แต อย า อ า ปาก เสี ย งที่ ออกมาจะเป น “อื๊ อ ” เพราะฉะนั้นจึงมีเสียงวรรณยุกตตรี ในทํานองเดียวกันถาลองพูดดัง ๆ ไมอาปากคําวา “ศรี” จะเห็น วามีเสียงออกเปน “อื๋อ” จึงมีเสียงวรรณยุกตจัตวา (กฤตวิทย ดวงสรอยทอง, 2522, น.123-124) จากทัศนะของผูศึกษามีความเห็นวาวิธีดังกลาวขางตนทําใหเราสามารถแยกเสียงวรรณยุกต ไดอยางงายดาย โดยไมตองกังวลถึงเรื่องพยัญชนะ ความสั้นยาวของสระ และคําเปนคําตาย เนื่องจากเสียงพยัญชนะและเสียงสระ จําเปนต องอาศัยฐานกรณในการทําให เกิดเสียง แตเมื่อเราออกเสียงโดยไม เปดปาก ทําใหเสียงถูกกักอยูบ ริ เ วณ กลองเสียง ดังนั้นทุกเสียงที่เราเปลงออกมาจึงกลายเปนเสียง /อ/ บวกกับ “อวัยวะที่ทําใหเสียงมีระดับสูงหรือต่ําก็คือ เสนเสียง” (กาญจนา นาคสกุล, 2541, น.20) วิธีที่ 3 ใชตารางเทียบ พยัญชนะตน

ชนิด

เสียงสระ

เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น คําตาย เสียงยาว เสียงสั้น คําเปน อักษรสูง เสียงยาว ขฃฉฐถผฝศ เสียงสั้น ษสห คําตาย เสียงยาว อักษรกลาง กจฏฎดตบ ปอ

คําเปน

สามัญ อัน อา -

เอก อั่น อา อะ อาด ขั่น ขาน ขะ ขาด 57

เสียงวรรณยุกต โท อั้น อา อะ อาด ขั้น ขาน ขะ ขาด

ตรี อั๊น อา อะ อาด -

จัตวา อั๋น อา อะ อาด ขัน ขาน -


พยัญชนะตน อักษรต่ํา (อักษรคู) คฅฆชฌซฑ ฒทธพภฟฮ อักษรต่ํา (อักษรเดี่ยว) งญนยณรว มฬล ห นําอักษรเดี่ยว หรืออักษรสูงนํา อักษรเดีย่ วผัน เหมือนอักษรสูง

ชนิด คําเปน คําตาย คําเปน คําตาย คําเปน คําตาย

เสียงสระ เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น เสียงยาว

สามัญ คัน คาน งัน งาน -

เอก หงั่น หงาน หงะ หงาด

เสียงวรรณยุกต โท คั่น คาน คะ คาด งั่น งาน งะ งาด หงั้น หงาน หงะ หงาด

ตรี จัตวา คั้น คาน คะ คะ คาด คาด งั้น งาน งะ งะ งาด งาด หงัน หงาน (การผันวรรณยุกต, 2558)

ถาอยากทราบวาคําวา “นอง” มีเสียงวรรณยุกตอะไร ขั้นแรกกลายตัวเองกอนวา “น” เปนอักษรอะไร ตอบว า เป น อั ก ษรต่ํ า คํา เป น หรือคํา ตาย ตอบว า คํ า เป น มี รูป วรรณยุ กต โ ท ก็ให ไ ปดู ใ นตารางอั กษรต่ํ า คํ า เป น วาตรงกับคําใด ในที่นี้ตรงกับคําว า “งั้น” และ “งาน” ซึ่งเปนเสียงตรี เพราะฉะนั้นคําวา “นอง” คํานี้จะตองเปน เสียงตรีดวย วิธีที่ 4 การแบงกลุมดวยการพิจารณาพยางคที่เกิดเสียงวรรณยุกต การสอนโดยการแบง กลุม พยางคที่เกิดเสี ย งวรรณยุ กตทั้ ง 5 เสี ย งนั้ น อาจจัดประเภทได ตามโครงสราง ของพยางค 6 ประเภท (กฤตวิทย ดวงสรอยทอง, 2522, น.125) ดังนี้ 1. พยางคที่มีเสียงยาวไมมีตัวสะกด มีเสียงวรรณยุกตได 5 เสียง เชน คา ขา คา คา ขา 2. พยางคที่มีสระเสียงยาว และมี ม น ง ว ย สะกด หรือมีเสียงในแม กม กน กง เกอว เกย มีเสียง วรรณยุกตได 5 เสียง เชน ทวง ปวน ขาง ซาย หนาว 3. พยางคที่มีสระเสียงสั้น และมี น ม ง ว ย สะกด หรือมีเสียงในแม กม กน กง เกอว เกย มีวรรณยุกต ได 5 เสียง เชน นํา ไก เนา นั้น หวัง 4. พยางคที่มีสระเสียงสั้นไมมีตัวสะกด มีเสียงวรรณยุกตเอกและตรี อาจมีเสียงโทในบางคําเปนสวนนอย เชน จะ พระ คะ 5. พยางคที่มีสระเสียงสั้น และมี ป ต ก สะกด หรือในแม กก กด กบ มีเสียงวรรณยุกตเอกและตรี อาจมี เสียงโทในบางคํา เชน กัด ฟก เลิก ลั่ก (เสียงโท) 58


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

6. พยางคใดที่มีสระเสียงยาว และมี ป ต ก สะกด มีเสียงวรรณยุกตเอกและโท อาจมีเสียงตรีไดในคําที่มา จากภาษาอื่น เชน ขาด มารค โนต แนวคิดที่ 2 เกสินี มาตุกุล (สัมภาษณ, 3 พฤศจิกายน 2558) ผูสอนรายวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา ปที่ 3 โรงเรียนวัดลาดสนุน มีประสบการณการสอนภาษาไทยมาแลวเปนระยะเวลา 3 ป ไดใหขอมูลเกี่ยวกับวิธีการ สอนผันวรรณยุกตไว 3 วิธี ดังตอไปนี้ วิธีที่ 1 การจําเปนคํา คือ การจําลักษณะของคําและจําเสียงของคํา เชน คําวา สามารถ อานวา สา-มาด, หนา อานวา นา, หวา อานวา วา, ผา อานวา พา, หมอ อานวา มอ เปนตน วิธีที่ 2 การจําหลักการผันวรรณยุกต คือ การจําไตรยางศหรืออักษร 3 หมู ซึ่งไดแก อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ํา วาอักษรแตละหมูนั้นมีพื้นเสียงเปนเสียงวรรณยุกตใด ผันไดทั้งหมดกี่เสียง มีรูปวรรณยุกตกับเสียง วรรณยุกตตรงกันหรือไม นอกจากนี้ยังตองสามารถแยกแยะไดวาคํานั้น ๆ เปนคําเปนหรือคําตาย เพื่อที่จะสามารถผัน วรรณยุกตไดอยางถูกตอง เชน คําวา “มา” เราสามารถแยกสวนประกอบของคํานี้ไดวา ประกอบดวยพยัญชนะ “ม” ซึ่งเปนอักษรต่ําเดี่ยว สระ “า” ซึ่งเปนสระเสียงยาว และตามดวยวรรณยุกต “  ” เปนอักษรต่ํา คําเปน ออกเสียงวา มา คือ มีรปู โท แตออกเสียงเปนวรรณยุกตตรี วิธีที่ 3 การใชนิ้วมือชวยในการผัน เปนการกําหนดใหนิ้วโปงแทนเสียงวรรณยุกตสามัญ นิ้วชี้แทนเสียง วรรณยุกตเอก นิ้วกลางแทนเสียงวรรณยุกตโท นิ้วนางแทนเสียงวรรณยุกตตรี และนิ้วกอยแทนเสียงวรรณยุกตจตั วา เชน ถาตองการทราบวาคําวา “สู” มีเสียงวรรณยุกตใด ก็ใหไลเสียงไปตามนิ้วมือเหมือนเสียงดนตรี จะพบวาคําวา “สู” ออกเสียงตรงกับนิ้วกลาง ซึง่ แทนดวยเสียงวรรณยุกตโท ดังนั้นเราจึงทราบวา “สู” มีเสียงวรรณยุกตโทนั่นเอง หากตองการทราบวาวิธีดังกลาววิธีใดจะทําใหการอานและเขียนวรรณยุกตกลายเปนเรื่องงายขึ้นนั้น ผู ศึกษา จะขอสรุปงาย ๆ โดยใชตารางเปรียบเทียบ ดังตอไปนี้ ตัวชี้วัด

ความเขาใจ

การอาน

การเขียน

การจําแนกเสียง วรรณยุกต

ใหออกเสียง อยางนอยที่สุด พยางคนั้นดัง ๆ ผูเรียนจะตองรูจัก เทียบกับอักษร อักษรกลางคําเปน กลางคําเปน

ผูเรียนสามารถอาน ออกเสียงคําไดอยาง ถูกตอง

ผูเรียนไมสามารถ เขียนคําที่มี วรรณยุกตไดอยาง ถูกตอง

ผูเรียนสามารถแยก เสียงวรรณยุกตได อยางถูกตอง

ออกเสียงพยางค ผูเรียนไมตองใช นั้นดัง ๆ แตให ความจําหรือความ หุบปาก เขาใจใด ๆ เลย อยาอาปาก

ผูเรียนสามารถอาน ออกเสียงคําไดอยาง ถูกตอง

ผูเรียนไมสามารถ เขียนคําที่มี วรรณยุกตไดอยาง ถูกตอง

ผูเรียนสามารถแยก เสียงวรรณยุกตได อยางถูกตอง

59


ตัวชี้วัด

ความเขาใจ

การอาน

ใชตารางเทียบ

ผูเรียนจะสามารถใช ผูเรียนสามารถอาน วิธีนไี้ ด ตองเขาใจ ออกเสียงคําไดอยาง ระบบไตรยางศและ ถูกตอง คําเปนคําตายกอน

การใชเสียง วรรณยุกต

ผูเรียนตองจํา ลักษณะของพยางค ผูเรียนสามารถอาน แตละแบบ เพื่อให ออกเสียงคําไดอยาง ทราบวาพยางคชนิด ถูกตอง นั้น ๆ ผันวรรณยุกต ไดกี่เสียง

การจําเปนคํา

ผูเรียนสามารถอาน ผูเรียนจะเกิดความ ออกเสียงคําไดอยาง เคยชินกับคําทีพ่ บ ถูกตอง แตอาจมี บอย ๆ ผูสอนจึงตอง ออกเสียงผิดบาง ย้ําหลาย ๆ รอบ บางคํา

การจําหลัก การผัน วรรณยุกต

ผูเรียนมีพนื้ ฐานที่ดี และเขาใจกฎของ วรรณยุกตไดอยาง ลึกซึ้ง

ผูเรียนสามารถอาน ออกเสียงคําที่มี วรรณยุกตไดอยาง ถูกตอง ชัดเจน ทุกคํา

60

การจําแนกเสียง วรรณยุกต ผูเรียนสามารถบอกได วาคํานัน้ ๆ มีเสียง วรรณยุกตใด โดยใช ผูเรียนจะสามารถ ตารางเปนเครื่องมือ เขียนคําที่มีรูป ชวยในการเปรียบ วรรณยุกตไดตราบ เทียบเทานัน้ แตหาก เทาที่มีตารางเทียบ เทียบบอย ๆ อาจเกิด หรือสามารถจํา ความเคยชินและ ตารางไดอยางขึ้นใจ สามารถแยกเสียง วรรณยุกตไดโดยไม ตองใชตารางชวยอีก ผูเรียนสามารถแยก เสียงวรรณยุกตของคํา ถาผูเรียนจะเขียนได ได แตจะมีคําสวนนอย อยางถูกตอง ตอง ที่ผูเรียนไมสามารถ เขาใจระบบไตรยางศ แยกได เพราะเสียง และคําเปนคําตาย วรรณยุกตบางเสียงไม ดวย เปนไปตามเสียงของ พยางคที่จัดไว ผูเรียนไมสามารถแยก ผูเรียนสามารถเขียน เสียงวรรณยุกตไดเอง คําที่มีวรรณยุกตที่ รวมถึงอาจเกิดความ เคยเรียนไดถกู ตอง สับสนในบางคําที่มีรูป แตเมื่อเจอคําใหม ๆ กับเสียงวรรณยุกตไม ที่ไมคุนตาก็จะ ตรงกัน เนื่องจากตอง กลับมาเขียนผิด จําคํามาก การเขียน

ผูเรียนสามารถ ผูเรียนสามารถเขียน แยกแยะเสียง คําที่มีวรรณยุกตได วรรณยุกตไดอยาง อยางถูกตองทุกคํา ถูกตองทุกคํา


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

ตัวชี้วัด

การใชนวิ้ มือ ชวยในการผัน

ความเขาใจ

การอาน

ผูเรียนทั่วไปสามารถ ผูเรียนสามารถอาน ทําไดงาย เพราะมี ออกเสียงคําไดอยาง การไลระดับเหมือน ถูกตอง เสียงดนตรี

การจําแนกเสียง วรรณยุกต

การเขียน ถาผูเรียนจะเขียนได อยางถูกตอง ตอง เขาใจระบบไตรยางศ และคําเปนคําตาย ดวย

ผูเรียนสามารถ แยกแยะเสียง วรรณยุกตไดอยาง ถูกตองและรวดเร็ว

จากตารางเปรียบเทียบผูศกึ ษาพอจะสรุปไดวา วิธีการจําหลักการผันวรรณยุกตเปนวิธีที่นาสนใจที่สุด ซึ่งเปน การสอนใหผูเรียนใชภาษาดวยความเขาใจมากกวาการจดจํา ความรูเรื่องการผันวรรณยุกตเปนความรูพื้นฐานจะทําให ผูเรียนสามารถใชภาษาไทยอยางถูกตอง ตั้งแตระบบการสรางคํา การอานออกเสียง การเขียน และจําแนกเสียง วรรณยุ ก ต ตลอดจนนํ า ไปสู ก ารสื่ อ สารที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ สํ า หรั บ ผู เ รี ย นชาวต า งประเทศควรใช สั ท อั ก ษรใน การบันทึกเสียงแทนตัวอักษรภาษาไทย จะสามารถถายถอดเสียงไดดี การที่เรื่องวรรณยุกตนั้นเปนเรื่องที่ยากหากขาดความเขาใจอยางแทจริง ทั้งนี้เพราะวามีปจจัยหลายดาน ที่สงผลใหเกิดปญหาการใชวรรณยุกตผิด ซึ่งปญหาใหญของวรรณยุกต คือ การที่รูปกับเสียงของวรรณยุกตไมตรงกัน ถาผูที่ตองการศึกษาไมเขาใจถึงหลักของการผันวรรณยุกต และไมรูลึกถึงรายละเอียด ไมวาจะเปนไตรยางศที่แบง อักษรออกเปนสูง กลาง ต่ํา สระที่แบงเปนเสียงสั้น-เสียงยาว และคําที่แบงเปน คําเปน-คําตาย ก็ไมสามารถเขาใจถึง ปญหาและนําไปใชอยางถูกตองได แตถึงอยางนั้นก็พอยังมีหลักที่สามารถเปลี่ยนเรื่องวรรณยุกตใหเปนเรื่องงายไดอยู ซึ่ ง จากที่ ย กมา 7 วิ ธี เมื่ อพิ จ ารณาดู แล ว วิ ธี ที่ ให ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ ดี ที่ สุ ด นั้น คือ วิ ธี การจํ า หลั กการผั น วรรณยุ กต เพราะถึงแมวิธีนี้จะยุงยากและคอนขางซับซอนกวาวิธีอื่นอีก 6 วิธี แตวิธีนี้จะใหผลที่ยั่งยืนและครอบคลุมมากกวา วิธีอื่น กลาวคือสามารถอานหรือเขียนคําไดถูกตองตามวรรณยุกตทุกคํา และยังสามารถเขาใจถึงหลักของวรรณยุกตได อย า งลึ ก ซึ้ ง นอกจากนี้ ยั ง มี วิ ธี ที่ น า สนใจมากอี ก หนึ่ ง วิ ธี คื อ การใช นิ้ ว มื อ ช ว ยในการผั น วิ ธี นี้ อ าจจะไม ไ ด ใ ห ประสิทธิภาพที่ดีเทากับวิธีการจําหลักการผันวรรณยุกต เนื่องจากผูเรียนที่มีพื้นฐานเรื่องการผันวรรณยุกตไมดีพอ อาจจะยังเขียนผิดอยูบาง แตถึงอยางนั้นวิธีนี้สามารถชวยในเรื่องของการอานออกเสียงและการจําแนกเสียงวรรณยุกต ไดอยางรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเปนวิธีที่คอนขางงายและซับซอนนอยกวาวิธีอื่นเมื่อเทียบกับผลที่ได บทความนี้จึงเปนการเสนอ รวบรวมแนวคิด วิธีการสอนผันวรรณยุกต รวมถึงความพยายามที่จะอธิบายเรื่อง วรรณยุกตที่ออกจะเปน เรื่องเขาใจยากในภาษาไทย ซึ่งผู ศึกษาไดนําความรูทางสัทศาสตรและการสอนภาษาไทย มาชวยในการวิเคราะหตามความเขาใจของผูศึกษาที่ไดจากการสืบคนตําราตาง ๆ หากขอสมมุติฐานที่กลาวมาขางตน เปนจริงและเปนที่ยอมรับได วิธีดังกลาวจะสามารถนําไปประยุกตใชกับผู เรียนทั้งในระดับชั้นประถมศึกษาและผูเรียน ชาวตางประเทศ สงผลใหการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเปนไปอยางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 61


รายการอางอิง

กมล การกุศล. (2529). ทักษะและความรูทางภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เนติกลุ การพิมพ. กมล วิชติ สรสาตร. (2529). เอกลักษณของชาติ อานไทยเขียนไทย. พระนคร: ปอมเพชร. กฤตวิทย ดวงสรอยทอง. (2522). หลักภาษา: เอกสารประกอบการเรียนภาษาไทย 413 (พิมพครั้งที่ 2). โครงการ บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา. กาญจนา นาคสกุล. (2556). ระบบเสียงภาษาไทย (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพรผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. การผันวรรณยุกต. สืบคนจาก https://sites.google.com/site/teacheroraya/kar-phan-wrrnyukt เกสินี มาตุกุล. (3 พฤศจิกายน 2558). สัมภาษณ. กําชัย ทองหลอ. (2540). หลักภาษาไทย (พิมพครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: รวมสาสน. พิศศรี กมลเวชช. (2544). ครบครันเรื่องวรรณยุกต. กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ. เรืองเดช ปนเขื่อนขัติย. (2541). ภาษาศาสตรภาษาไทย. นครปฐม: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สมพงศ วิทยศักดิ์พันธุ, รังรอง นิลประภัสสร, เยาวลักษณ กระแสรสินธุ, และ อัมพร แกวสุวรรณ. (2545). แบบเรียน ภาษาไทยเบื้องตน ในบริบทไทยศึกษาสําหรับชาวตางชาติ. โครงการพัฒนาความรวมมือดานการเรียน การสอนภาษาไทยบนฐานของไทยคดีศึกษา, ทบวงมหาวิทยาลัย. สาคร บุญเลิศ. (2538). ภาษาไทยสําหรับครูประถมศึกษา. สํานักงานสภาสถาบันราชภัฏ, หนวยศึกษานิเทศก. สุนนั ท อัญชลีนุกูล. (ม.ป.ป.). ลักษณะสําคัญของภาษาไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, คณะศิลปศาสตร, ภาควิชา ภาษาไทย. สุริยา รัตนกุล, คุณหญิง. (2540). รวมบทความวิชาการเกี่ยวกับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก. อุดม วโรตมสิกขดิตถ และคณะ. (2552). ภาษาไทยเบื้องตน สําหรับผูพูดภาษาจีน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส. อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (ม.ป.ป.). หลักภาษาไทย. พระนคร: สามัญนิติบุคคล.

62


การตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร จักรพันธ มันจันดา การศึกษาเรื่อง “การตั้ งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร” เกิดขึ้นจากเหตุที่ ผูวิจัยเห็นวา ชื่อของ โรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานครเปนมากกวาคํานามที่ถูกขนานขึ้นเพื่อกลาวถึงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง กลาวคือ เมื่อพิจารณาชื่อของโรงเรียนอยางพินิจพิเคราะหแลวจะพบวา ชื่อของโรงเรียนสามารถสะทอนประวัติความเปนมา ของโรงเรียน รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ลักษณะหรือจุดประสงค ในการจัดตั้งโรงเรียนได นอกจากนี้ชื่อของ โรงเรียนยัง สะทอนใหเห็นความคิด ความเชื่อ และคานิยมของสังคมไทยไดเชนกัน เนื่องจากโรงเรียนเอกชนเปน โรงเรียนที่กอ ตั้งขึ้นโดยอิสระและดําเนินกิจการโดยบุคคลทั่วไปในสังคม จึงสามารถสรางสรรคชื่อโรงเรียนไดตามที่ตน ปรารถนา แตตองเปนที่ยอมรับของคนในสังคมดวย จากความสําคัญของการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนดังที่กลาวมาขางตน ประกอบกับ ยั ง ไม พบการศึก ษาเกี่ย วกับการตั้ งชื่ อโรงเรียนเอกชนในกรุง เทพมหานครในประเด็ นเรื่อ งที่ มาและ ความหมายของชื่อมากอน ผูวิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยจะศึกษาถึงทีม่ า และความหมายของชื่ อ โรงเรี ย นเอกชน รวมทั้ ง ศึ กษาค า นิ ย มที่ ส ะท อ นผ า นการตั้ ง ชื่ อโรงเรีย นเอกชนดั ง กล า ว เพื่อใหทราบและเขาใจความคิด รวมถึงวัฒนธรรมในการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานครไดดียิ่งขึ้น งานวิ จั ย ครั้ง นี้ ผู วิ จั ย ได เก็บ รวบรวมชื่ อโรงเรี ย นเอกชนในกรุง เทพมหานครจากเว็ บ ไซต ของสํ า นั ก งาน คณะกรรมการส ง เสริ ม การศึ ก ษาเอกชน (สช.) หรื อ http://www.opec.go.th/list-name-school ซึ่ ง มี จํ า นวน ทั้งหมด 696 ชื่อ จากนั้นผูวิจัยจะนําชื่อโรงเรียนทั้งหมดมาวิเคราะหตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ในกรณีที่ชื่อของโรงเรียนแหง นั้นสามารถหาที่มาจากเว็บไซตของโรงเรียนได ผูวิจัยจะนําชื่อของโรงเรียน ดังกลาวมาจัดจําแนกตามกลุมที่มาของการตั้งชื่อโรงเรียน 2. ในกรณีที่ไมสามารถหาที่มาของชื่อโรงเรียนแหงนั้นได ผูวิจัย จะใชวิธีการแยกชื่อของโรงเรียนออกเปน หน ว ยศั พ ท แ ล ว วิ เ คราะห ค วามหมายของทุ ก หน ว ยศั พ ท โ ดยใช ค วามหมายที่ ร ะบุ ไ ว ใ นพจนานุ ก รมฉบั บ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 จากนั้นจึงนําหนวยศัพทที่วิเคราะหความหมายแลวมาจั ดกลุมพรอมทั้งแสดงความถี่ที่ ปรากฏในการตั้งชื่อโรงเรียนในแตละกลุมความหมาย 3. ผูวิจัยนํากลุมความหมายที่ปรากฏความถี่ในชื่อโรงเรียนมากที่สุด 3 อันดับแรกมาวิเคราะหหาคานิยมที่ สะทอนผานการตั้งชือ่ โรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร หากในกรณีที่ผูวิจัยนําชื่อของโรงเรียนมาศึกษาแลวพบวา ชื่อของโรงเรียนแหงนั้นไมสามารถหาที่มาของ การตั้งชื่อจากเว็บไซต หลักของโรงเรียนได รวมทั้งเมื่อนําชื่อของโรงเรียนดังกลาวไปวิเคราะหความหมายจากการใช พจนานุกรมฉบับราชบั ณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 แลวไมสามารถวิเคราะหความหมายจากหนวยศัพทภายในชื่อได ผูวิจัยจะไมนําชื่อของโรงเรียนดังกลาวมาศึกษา ดังนั้นชื่อของโรงเรียนที่นํามาศึกษาในงานวิจัยนี้จึงมีจํานวนทั้งสิ้น


638 ชื่อ จากจํานวนทั้งหมด 696 ชื่อ ผู วิ จั ย ตั้ ง สมมุ ติ ฐานจากการวิ จั ย ครั้ง นี้ ไ ว ว า ความหมายที่ นิ ย มนํ า มาใช ในการตั้ ง ชื่ อโรงเรี ย นเอกชนใน กรุงเทพมหานครมากที่สุด คือ ความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุง เรือง โดยผลการศึกษานั้นแบงออกเปน 3 สวน ไดแก การตั้งชื่อโดยจําแนกตามที่มา การตั้งชื่อโดยจําแนกตามกลุมความหมายที่ใชในการตั้งชื่อ และคานิยมที่สะทอนจาก การตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ซึง่ สรุปไดดังนี้ 1. การตั้งชื่อโดยจําแนกตามที่มา จากการศึกษาที่มาของการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ผูวิจัย พบที่มาของการตั้งชื่อโรงเรียนใน เว็บไซตหลักของโรงเรียนจํานวน 258 ชื่อ คิดเปนรอยละ 40.44 จากจํานวนชื่อโรงเรียนทั้งหมด 638 ชื่อ และสามารถ จําแนกที่มาของการตั้งชื่อโรงเรียนได เปน 6 กลุม เรียงลําดับตามความถี่ของกลุมที่มาในการตั้งชื่อโรงเรียนจากมาก ไปหานอยไดดงั รายละเอียดในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงความถี่ของกลุม ที่มาที่ใชในการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ลําดับ 1

2

ที่มาของชื่อโรงเรียน

ตัวอยาง -โรงเรียนแสงโสม (ชื่อของผูกอตั้งโรงเรียน) -โรงเรียนอนุบาลสุวาวรรณ (ชื่อของบุตรสาวทั้ง บุคคลสําคัญของโรงเรียน 3 คน มารวมกัน ไดแก สุณี วาณี และศิริวรรณ) ศาสนา จํานวน -โรงเรียนวาสุเทวี (หมายถึง พระแมแหงสากลโลก (พระนางมารี)) ศาสนา 43 -โรงเรียนเซนตดอมินิก คริสต (มาจากชื่อของนักบุญดอมินิก ซาวีโอ) -โรงเรียนอัลกุรรออวิทยา (ประเวศ) (อยูในการดูแลของมูลนิธิอัลกุรรออ (อับดุรรอฮีม ศาสนา อุปถัมภ) ซึง่ เปนองคกรทางศาสนา) ที่มา 11 อิสลาม -โรงเรียนบางออศึกษา เกีย่ วกับ (ดําเนินการโดยมูลนิธบิ างอออิสลามซึ่งเกิดจาก ศาสนา การรวมตัวกันของพี่นอ งมุสลิมชาวบางออ) -โรงเรียนวัดวชิรธรรมสาธิต (เปนโรงเรียนการกุศลของวัด ตัง้ อยูใน ศาสนา วัดวชิรธรรมสาธิต) 10 พุทธ -โรงเรียนอนุบาลวัดพรพระรวง (เปนโรงเรียนการกุศลของวัด ตัง้ อยูใน วัดพรพระรวงประสิทธิ์) 64

จํานวน 138

64


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

ลําดับ

3

4

5

6

ที่มาของชื่อโรงเรียน

ตัวอยาง

-โรงเรียนจิตรลดา (โรงเรียนตั้งอยูในบริเวณพระตําหนักจิตรลดา รโหฐาน) สถานที่ตงั้ ของโรงเรียน -โรงเรียนมีนประสาทวิทยา (กอตั้งโดยชาวตลาดมีนบุรี) -โรงเรียนสมาคมสตรีไทย (กอตั้งโดยคณะกรรมการสมาคมสตรีไทย) หนวยงานที่กอตั้งหรือรับผิดชอบ -โรงเรียนชัยพิทยพัฒน มูลนิธิชยั พัฒนา ดูแลโรงเรียน (จารุวัฒนานุกูล ทาพระ) (ดําเนินกิจการโรงเรียนโดยมูลนิธิชัยพัฒนา) -โรงเรียนสองภาษาลาดพราว (ใชหลักสูตรสองภาษาในการดําเนินการสอน) แนวทางการจัดการศึกษา -โรงเรียนอนุบาลเด็กสากล (ใชหลักสูตรสองภาษาในการดําเนินการสอน) -โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ (เปนโรงเรียนเอกชนการกุศลซึ่งจัดตั้งเพื่อให การศึกษาแกผูบกพรองทางการมองเห็น) วัตถุประสงคพิเศษในการกอตัง้ -โรงเรียนปญญาวุฒิกร โรงเรียน (เปนโรงเรียนเอกชนการกุศลของมูลนิธชิ วยคน ปญญาออนแหงประเทศไทย ในพระบรมราชินปู ถัมภ จัดการเรียนการสอนแกผูที่มีความ บกพรองทางสติปญญาและออทิสติก) รวม

จํานวน

40

8

5

3

258

จากตารางที่ 1 แสดงใหเห็นวาที่มาที่ใชในการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานครมากที่สุด คือการตั้ง ชื่อโรงเรียนตามที่มาเกี่ยวกับบุคคลสําคัญของโรงเรียน ซึ่งมีจํานวนทั้งหมด 138 ชื่อ รองลงมาคือ การตั้งชื่อตามที่มา เกี่ยวกับศาสนา จํานวน 64 ชื่อ และการตั้งชื่อตามสถานที่ตั้งของโรงเรียน จํานวน 40 ชื่อ ตามลําดับ เมื่อพิจารณาความถี่ของที่มาที่ใชในการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานครแลว จะพบวาที่มาของชื่อ โรงเรียนเอกชนซึ่งตั้งชื่อตามบุคคลสําคัญของโรงเรียนนั้นปรากฏจํานวนความถี่มากกวาการตั้งชื่อโดยมีที่มาเกี่ยวของ กับเรื่องอื่น ๆ อยางชัดเจน ซึ่งสะทอนใหเห็นวาคนไทยนิยมนําชื่อหรือขอมูลตาง ๆ เกี่ยวกับบุคคลสําคัญมาตั้ งเปน ชื่อกิจการ รวมทั้งตัง้ เปนชื่อสถานศึกษาดวย 65


2. การตั้งชื่อโดยจําแนกตามความหมายที่ใชในการตั้งชื่อ การวิเคราะหความหมายที่ใชในการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ผูวิจัยจะวิเคราะหความหมาย ของหนวยศัพทที่ใชในการตั้งชื่อโรงเรียนโดยใช พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 โดยวิเคราะหเฉพาะ ชื่อโรงเรียนที่ไมปรากฏที่มาในการตั้งชื่อโรงเรียนจากเว็บไซตหลักของโรงเรียนแตละแหง และจะไมวิเคราะหชื่อของ โรงเรียนที่ใชหนวยศัพทที่ไมสามารถหาความหมายในพจนานุกรมฉบับดังกลาวได เชน ชื่อของโรงเรียนที่ตั้งด วย ภาษาจีน ฯลฯ เนื่องจากอาจทําใหผลการวิเคราะหความหมายคลาดเคลื่อนกับขอเท็จจริง ดังนั้นชื่อของโรงเรียนที่ นํามาศึกษาในขั้นตอนนี้จึงมีทั้งหมด 380 ชื่อ คิดเปนรอยละ 59.56 จากจํานวนทั้งหมด 638 ชื่อ สําหรับขั้นตอนในการวิเคราะหนั้น ผูวิจัยเริ่มตนดวยการคัดแยกหนวยศัพทที่จะใชในการวิเคราะหกอน จากนั้นจึงวิเคราะหความหมายของหนวยศัพทดังกลาว แลวนํามาจัดกลุมความหมาย โดยหนวยศัพทที่มีความหมาย เหมือนหรือคลายกันจะจัดอยูในกลุม ความหมายเดียวกัน รวมทั้งวิเคราะหความถี่ของกลุมความหมายที่ใชในการตั้งชื่อ โรงเรียนเพื่อใหเห็นวามีความหมายกลุมใดบางที่นํามาใชตั้งชื่อโรงเรียน และนิยมใชกลุมความหมายใดในการตั้งชื่อ โรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร จากการคัดแยกหนวยศัพทและวิเคราะหความหมายของหนวยศัพทที่ใชตั้งชื่อโรงเรียนพบวา หนวยศัพทที่ใช ตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานครทั้ง 380 โรงเรียน ประกอบดวยหนวยศัพททั้งหมด 1,061 หนวยศัพท ซึ่งสามารถนํามาจัดกลุมความหมายไดทั้ง หมด 16 กลุมความหมาย เรียงลําดับจากมากไปนอย ดังรายละเอี ย ด ในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงความถี่ของกลุม ความหมายในหนวยศัพทที่ใชตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ลําดับ

กลุม ความหมาย

ประเภท ความหมาย ความรู ความสามารถ

1

คุณสมบัติ

ตัวอยาง หนวยศัพท

ตัวอยาง ชือ่ โรงเรียน

วิทยา ปญญา โกศล -เสริมสุธี โชติ พิชญ บัณฑิต -เพาะปญญา สุธี

จํานวน ครั้งที่พบ 194

ความเอื้อเฟอเผื่อแผและการ ให

อํานวย ประสาท ผดุง วิทยาทาน ปรานี สงเคราะห

-อํานวยพิทยา -อนุบาลปรานี

29

มิตรภาพและ ความสามัคคี

มิตร สามัคคี ไมตรี กลมเกลียว เพือ่ น สนิท สมาน

-ปยะมิตร -อนุบาลบานไมตรี จิต

21

ความสวยงาม

วรรณ นวล ประไพ -มงคลวิจิตรวิทยา พรรณ วิจิตร -อนุบาลนวลทอง

14

66

รวม

265


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

ลําดับ

กลุม ความหมาย

1

คุณสมบัติ (ตอ)

2

3

4

5

อนุบาล

ประเภท ความหมาย ความบริสทุ ธิ์

ตัวอยาง หนวยศัพท วิมล นิรมล พิมล เลียง

ความกลาหาญ

วีร วีระ

อนุบาล

อนุบาล

พัฒนา มงคล เจริญ ความเจริญ โรจน พิพัฒน รุงเรือง สิริ ศรี สม สุ สัมมา ความดีงาม กันตะ ขวัญ ดี สุนทร ทิพย วร เลิศ เดน ความเปนเลิศ ประเสริฐ เอก จุฬา ความเจริญ วิเศษ ประเสริฐ อภิรักษ รุงเรือง อํานาจและ อนุสรณ ศักดิ์ กฤตยา เดช ยศ เกียรติยศ

สถานที่

คํานาม ทั่วไป

ตัวอยาง ชือ่ โรงเรียน -อนุบาลวิมลโรจน -อนุบาลหทัยนิรมล -วีรสุนทร -วีระพิทยา -อนุบาลเดนหลา -อนุบาลยุววิทย

รวม

5 265 2 174

-เจริญวุฒิวิทยา -พิพัฒนา

64

-อนุบาลศรีวฒ ั นา -สัมมาชีวศิลป

36

-โกศลภัทรวิทย -เลิศหลา

34

-ปญญาศักดิ์ -อนุบาลกฤตยา -อนุบาลเปลง ความสําเร็จและ ประสิทธิ์ วิชัย อนุชิต ประสิทธิ์ ชัยชนะ -วิชัยวิทยา -อนุบาลบานครู อาชีพตาง ๆ ครู อมาตย -อมาตยกุล -สารสาสน สุขสวัสดิ์ ดุสิต สุขสวัสดิ์ ชื่อสถานที่ พระนคร -อนุบาล ธนสมบูรณดุสิต หนวยศัพทที่มี บาน สวน พิทยา-อนุบาลวัฒนา ความหมายเปน คาร (โรงเรียน) นิเวศน สิง่ กอสรางซึ่ง วิทยาลัย ครัว -อนุบาลธรรมศาลา เปนสถานที่ นิเวศน ศาลา สัจจ (ความจริง) -สัจจพิทยาภารต คํานามทั่วไป ภารต (ชาวอินเดีย) วิทยาลัย นราธิป (พระราชา) -นราธิปพิทยา 67

จํานวน ครั้งที่พบ

174

165 21 6 4

46 83 37

72

72


ลําดับ

กลุม ความหมาย

ประเภท ความหมาย ความสุข ความยินดี

6

ความสุข

ความรัก สิง่ อันเปนที่รัก

ปยะ รัก กานต

ความสงบ

สันติ ศานติ

สิง่ ของมีคา จําพวกแรธาตุ หรืออัญมณี

7

ความมั่งคั่ง ร่าํ รวยทาง วัตถุ

ความอุดมสมบูรณ

ทรัพยสมบัติ

8

9

มนุษยและ ความ สัมพันธ ระหวาง มนุษย

คํากริยา ทั่วไป

ตัวอยาง หนวยศัพท ฤดี นนท สนุก สุข อานันทน แชม ชื่น นันท ปรีดา

ชวงวัยของ มนุษย ความสัมพันธ ภายใน ครอบครัว

ตัวอยาง ชือ่ โรงเรียน -ฤดีศึกษา -ปรีดาวิทยา -ปยะจิตวิทยา -อนุบาลบานรัก -สันติสุขวิทยา -ศานติวิทยา

ทอง รัตน กาญจนา -อนุบาลนวลทอง มณี แกว มาศ จารุ -แสงมณี จินดา นพรัตน -อนุบาลบริบูรณ บริบูรณ อุดม ศิลป สมบูรณ เปยม -อนุบาลธนสมบูรณ วิบูลย ดุสิต -นิธิปริญญา -อนุบาล ธน สิน นิธิ อาภรณ ธรรมาภรณ (ธรรม+ อาภรณ) ดรุณ ยุว เยาว เด็ก -ดรุณวัฒนา อนุชน อนุ -อนุบาลเยาวมิตร ชนก บุตร ธิดา นอง -กันตะบุตร แม ลูก สุดา -อนุบาลเทพสุดา

วงศตระกูล

กุล พงศ ประยูร

หนวยศัพทที่มี ความหมายวา มนุษย

ชน นร ปราณี

คํากริยาทั่วไป

เปลง (ฉายออก) คุม (ปองกัน) ธํารง (ทรงไว, ชูไว) 68

-ศิริกุลพิทยา -อนุบาลเจริญพงศ -น้าํ ชลชนานุกูล (ชน+อานุกูล) -นราทร (นร+อาทร) -อนุบาลเปลง ประสิทธิ์ -คุมเกลา

จํานวน ครั้งที่พบ

รวม

49 15

49

5 27

12

46

7

21 12 8

45

4

45

45


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

ลําดับ

10

11

12

13

14 15 16

กลุม ความหมาย

ประเภท ความหมาย พืชพรรณหรือ ตนไม

ตัวอยาง หนวยศัพท

ตัวอยาง ชือ่ โรงเรียน -อนุบาลทานตะวัน ทานตะวัน พุทธชาด -อนุบาลพุทธชาด -อนุบาลหมีนอย สัตว หมี นก -อนุบาลนกนอย จันทร ตะวัน ทินกร -จันทรวิชา ดวงดาว รังสิมา ดารา -อนุบาลปานตะวัน ธรรมชาติ รอบตัว -อนุบาลกองหลา แผนดิน หลา ไผท ภูมิ -ไผทอุดมศึกษา -อนุบาลบาน น้าํ และแหลงน้ํา คลอง ชล ธาร น้ํา วัง ริมคลอง -น้ําชลชนานุกูล ทองฟา ฟา -อนุบาลทอฟา จิต ใจ เกลา จิตต -อนุบาลคุมเกลา อวัยวะ เนตร ฤทัย หทัย -สุขเนตร อวัยวะและ -ยอดดวงใจ รูปราง ดวง พิมพ (รูปราง) -อนุบาลบาน รูปราง ทรง ทรงไทย คําวิเศษณ นว (ใหม) -นวพัฒนวิทยา คําวิเศษณทั่วไป นิตย (เสมอไป) -นันทนิตย ทั่วไป เทพ อินทร ทิพ -สิริเทพ เทพเทวดา อัมรินทร -อนุบาลทองอินทร ความเชื่อ -ประเสริฐธรรม ศาสนา ธรรม บุญ กุศล วิทยา -กุศลศึกษา คําบอก สอง ไตร สาม ตรี -สยามสามไตร คําบอกจํานวน จํานวน สิบสอง -สิบสองวิทยา -รุงอรุณ เวลา เวลา อรุณ วัน -อนุบาลวันเฉลิม ณ (บุพบท) -ณ ดรุณ คํา คําไวยากรณ ริม (บุพบท) -อนุบาลบานริม ไวยากรณ และ (สันธาน) คลอง รวม 69

จํานวน ครั้งที่พบ

รวม

11 7 7 39 7 5 2 22 29 7 20

20

8 15 7 7

7

4

4

3

3 1,061


จากตารางที่ 2 แสดงใหเห็นวาหนวยศัพทที่ใชตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร จํานวนทั้งสิ้น 1,061 หน ว ย สามารถนํามาจํ าแนกตามกลุมความหมายได 16 กลุ ม ความหมาย โดยกลุ ม ความหมายที่ปรากฏความถี่ มากที่สุด คือ คุณสมบัติ พบจํานวน 265 ครั้ง รองลงมา คือ อนุบาล พบจํานวน 174 ครั้ง และกลุมความหมาย เกี่ยวกับความเจริญรุงเรือง พบจํานวน 165 ครั้ง ตามลําดับ ดังนัน้ กลุมความหมายที่นิยมนํามาใชตั้งชื่อโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด คือ ความหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติ ซึ่งไมสอดคลองกับสมมุติฐานที่ผูวิจัยไดตั้งไววา ความหมายที่ นิ ย มนํ า มาใช ตั้ ง ชื่ อ โรงเรี ย นเอกชนในกรุ ง เทพมหานครมากที่ สุ ด คื อ ความหมายเกี่ ย วกั บ ความเจริญรุงเรือง ทั้งนี้อาจเปนเพราะผูตั้งชื่อโรงเรียนตองการแสดงใหเห็นวาโรงเรียนมีวัตถุประสงคที่จะสอนหรือ สรา งนั กเรีย นให มี ค วามรูค วามสามารถซึ่ ง เป น หนึ่ ง ในคุ ณ สมบั ติ ที่ ทั้ ง โรงเรีย นและผู ป กครองต า งประสงค จ ะให บุ ต รหลานหรื อ นั ก เรี ย นของตนมี ค วามรู ค วามสามารถเมื่ อ ได เ ข า รั บ การศึ ก ษาจากทางโรงเรีย น สอดคล อ งกับ ผลการวิจัยที่พบการปรากฏหนวยศัพทที่มีความหมายเกี่ยวกับความรูความสามารถมากถึงรอยละ 73.21 ซึ่งเปน จํานวนมากที่สุดในกลุมความหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติ ทั้งนี้ยังพบวากลุมความหมายที่ปรากฏความถี่สูงสุด 3 อันดับแรกมีจํานวนความถี่ในการปรากฏหางจาก อั น ดั บ รองลงมาอย า งชั ด เจน จึ ง อาจกล า วได ว า กลุ ม ความหมายทั้ ง 3 กลุ ม ซึ่ ง ได แ ก คุ ณ สมบั ติ อนุ บ าล และ ความเจริญ รุง เรือง เป น กลุ ม ความหมายเด น ที่ ป รากฏในการตั้ ง ชื่อโรงเรียนเอกชน ดั ง นั้ น ผู วิ จั ย จึ ง เลื อกนํ า กลุม ความหมายเด น ทั้ ง 3 กลุ ม นี้ ม าวิ เ คราะห ค า นิ ย มที่ ส ะท อ นจากการตั้ ง ชื่ อ โรงเรี ย นเอกชนในกรุ ง เทพมหานคร ดังผลการศึกษาหัวขอตอไป 3. คานิยมที่สะทอนจากการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ผูวิจัยไดวิเคราะหคานิยมที่สะทอนจากการตั้งชื่ อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานครเฉพาะกลุมความหมาย ที่ปรากฏความถี่ในการตั้งชื่อสูงที่สุด 3 กลุมความหมายแรก โดยเรียงลําดับความถี่หรือความนิยมจากมากไปหานอย คือ คุณสมบัติ อนุบาล และความเจริญรุงเรือง ผลการศึกษามีรายละเอียดดังนี้ 1) คุณสมบัติ พบวาความหมายที่ใชในการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนไดสะทอนใหเห็นคานิยมเกี่ยวกับคุณสมบัติ ของคนในหลายดานซึ่งเปนไปตามคุณลักษณะที่สังคมตองการ โดยคุณสมบัติดานตาง ๆ ที่ปรากฏในชื่อของโรงเรียนมี จํานวนความถี่เรียงลําดับจากมากไปนอย ไดแก การเปนคนที่มีความรูความสามารถ มีความเอื้อเฟอเผื่อแผและรูจักให เปนมิตรกับบุคคลอื่นและมีความสามัคคี มีความสวยงาม มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และมีความกลาหาญ 2) อนุบาล เปนคําเรียกโรงเรียนที่สอนเด็กอายุระหวาง 3-7 ป ซึ่งเปนการศึกษาในระดับชั้นกอนการศึกษา ภาคบังคับของรัฐบาลที่เริ่มตนที่ระดับชั้นประถมศึกษา จากการวิเคราะหความหมายในกลุมนี้พบหนวยศัพทเดียว คือ “อนุ บ าล” แสดงให เ ห็ น ว า หน ว ยศั พ ท ดั ง กล า วเป น องค ป ระกอบสํ า คั ญ ของการตั้ ง ชื่ อ โรงเรี ย นเอกชนใน กรุงเทพมหานคร ทั้งยังบงบอกถึงระดับชั้นที่โรงเรียนแตละแหงเปดดําเนินการเรียนการสอนซึ่งก็คือ ระดับชั้นอนุบาล

70


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

3) ความเจริญ รุงเรือง เป น สิ่ ง ที่ มนุษ ยทุ กคนยอมปรารถนาให เกิด ขึ้นกับตน เนื่ อ งจากมนุษ ยทุ กคนตาง ปรารถนาความกาวหนาในชีวิ ตและต องการให ชีวิต พัฒนาไปในทางที่ดี อยูเสมอ ความเจริญนั้นประกอบไปดวย ความเจริ ญ ในด า นต า ง ๆ เช น ความเจริ ญ ในอาชี พ การงาน ความเจริ ญ ในอํ า นาจและเกี ย รติ ย ศ ฯลฯ ซึ่ ง ความเจริญรุงเรืองอาจเกิด ขึ้นมาจากการประสบความสําเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได กลุมความหมายที่ใชตั้ง ชื่ อ โรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานครที่มีความเกี่ยวของกับคานิยมในเรื่องความเจริญรุงเรือง ไดแก หนวยศั พทที่มี ความหมายเกี่ย วกับ ความเจริญ ความดี ง าม ความเป นเลิศ อํา นาจและเกียรติย ศ ความสํ าเร็จและชัยชนะ และ หนวยศัพทที่มีความหมายเกี่ยวกับอาชีพตาง ๆ การศึกษาเรื่อง “การตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร” แสดงใหเห็นวา การตั้งชื่อสถานที่ของ คนไทยโดยเฉพาะอยางยิ่งในการตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนมักจะมีที่มาจากบุคคลสําคัญที่เกี่ยวของกับสถานที่แหงนั้น เปนหลัก นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงความหมายของหนวยศัพ ทที่นํามาใชในการตั้งชื่ อโรงเรียนพบวา คนไทยให ความสําคัญกับคุณสมบัติที่ดีของบุคคลซึง่ แสดงใหเห็นถึงลักษณะอันพึงประสงคที่บุคคลพึงมีในสังคมไทย เชน การเปน คนมีความรูความสามารถ มีความกลาหาญ ฯลฯ รวมถึงคานิยมในการใชคําวา “อนุบาล” เพื่อบอกระดับการศึกษาที่ โรงเรียนแหงนั้นดําเนินการสอน อีกทั้งคนไทยยังนิยมและปรารถนาในเรื่องความเจริญรุงเรืองในดานตาง ๆ ของชีวิต ดังจะเห็นไดชัดเจนจากการนําหนวยศัพทที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุง เรืองมาใชตั้งชื่อโรงเรียน กิจการ ชื่อสถานที่ตาง ๆ รวมถึงชื่อของบุคคลอีกดวย

71


รายการอางอิง

จักรพันธ มันจันดา. (2559). การตั้งชื่อโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร. (รายงานประกอบการศึกษาวิชาการวิจัย เบื้องตนทางภาษาและวรรณกรรมไทย ท.391). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, คณะศิลปศาสตร, ภาควิชา ภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก, สาขาวิชาภาษาไทย. นควัฒน สาเระ. (2550). การตั้งชือ่ รานคาในจังหวัดปตตานี: ความสัมพันธระหวางชื่อรานคากับวิถีชีวิตในชุมชน. (วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร, สาขาวิชา ภาษาไทย. ปานทิพย มหาไตรภพ. (2545). นามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว: การวิเคราะหทาง อรรถศาสตรชาติพันธุ. (วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร, สาขาวิชาภาษาศาสตร. ภคินี แสงสวาง. (2545). การศึกษาชื่อรานคาธุรกิจของคนไทยเชื้อสายจีนตามแนวภาษาศาสตร: กรณีศึกษาเขต สัมพันธวงศ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชา ภาษาศาสตร. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. (เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554). วิยะดา จงบรรจบ. (2534). การศึกษาภาษาที่ใชในการตัง้ ชื่อธุรกิจการคา. (วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, คณะศิลปศาสตร. วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2539). การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร. วุฒิชัย มูลศิลป. (2516). การปฏิรปู การศึกษาในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพสมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย. เสทื้อน ศุภโสภณ และ ประทีป เชิดธรณินทร. (2514). ประวัติการโรงเรียนราษฎรในเมืองไทยและทําเนียบโรงเรียน ราษฎร (พิมพครั้งที่ 2). พระนคร: สมาคมครูโรงเรียนราษฎรแหงประเทศไทย. สํานักงานคณะกรรมการสงเสริมการศึกษาเอกชน. (9 กันยายน 2558). รายชื่อโรงเรียนเอกชน. สืบคนจาก http://www.opec.go.th/list-name-school อรพัช บวรรักษา. (2555). การวิจยั เบื้องตนทางภาษาและวรรณกรรมไทย (ท.391). ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. 72


การวิเคราะหการตั้งชื่อนวนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรมจากนวนิยายแปลภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย วัชระ หนูแดง นวนิยายแปลเปนหนึ่งในหนังสือที่ไดรับความนิยมในหมูผูอานชาวไทยปจจุบัน เห็นไดจากปริมาณหนังสือ ที่วางขายอยูตามทองตลาด และนวนิยายแปลแนวสืบสวนฆาตกรรมก็เปนอีกงานหนึ่งที่ไดรับความนิยมจากนักอาน ชาวไทยมาอยางยาวนาน นักเขียนชื่อดังแนวนี้ที่ผูอานชาวไทยรูจักคุนหูเปนอยางดี เชน เซอรอาเธอร โคนัน ดอยล ผูเขียนนวนิยายชุด เชอรล็อก โฮลมส, อกาธา คริสตี้ และฮารลาน โคเบน เปนตน นอกเหนือจากงานตนฉบับที่ดีแลว การแปลก็ถื อเปนกระบวนการสําคัญที่เปนตัวกลางชวยถายทอดสารจาก ผูเขียนสูผูอานใหไดรับอรรถรสความสนุกโดยยังคงสาระอยางครบถวน ราชบัณฑิตยสถาน (2556, น.764) ไดอธิบาย ถึงความหมายของคําวา “แปล” ไววา หมายถึง “ถายความหมายจากภาษาหนึ่งมาเปนอีกภาษาหนึ่ง , ทําใหเขาใจ ความหมาย” และ สัญฉวี สายบัว (2543, น.22) ไดแบงการแปลออกเปน 2 แบบ ไดแก การแปลแบบตรงตัว คือ การที่ผูแปลพยายามที่จะรักษารูปแบบหรือโครงสรางของภาษาตนฉบับไวในฉบับแปลตั้งแตระดับคําไปจนถึงระดับ ประโยค และการแปลแบบเอาความ คือ การที่ผูแปลละทิ้งรูปแบบของภาษาตนฉบับหรือโครงสรางของตนฉบับ ออกโดยสิ้นเชิง กล า วโดยสรุป คือ การแปล หมายถึง การถา ยทอดคํา และความหมายจากภาษาหนึ่ ง ไปอี กภาษาหนึ่ ง มีทั้งการแปลแบบตรงตามตัวอักษรและการแปลแบบเอาความ โดยที่ยังคงรักษาความหมายและคุณคาของงาน ตนฉบับไวอยางครบถวน ในกรณีนี้ผูศกึ ษาสนใจการตั้งชื่อนวนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรมจากนวนิยายแปลภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย เพราะชื่อเรื่องมีความสําคัญอยางยิ่งตอนวนิยายทุกเลม ถือวาเปนสิ่งแรกที่ผูอานไดสัมผัส ชื่อเรื่องที่ดีจะตองสื่อถึง แกนเรื่องและแสดงใหเห็นแนวคิดแนวทางของเรื่องซึ่งผูเขียนมักประมวลใหอยูในถอยความที่สั้น กระชับ และดึงดูดใจ วัลลภา วิทยารักษ (ม.ป.ป., น.115) กลาววา ชื่อเรื่องเปนสิ่งแรกที่จะชวยดึงดูดความสนใจของผูอาน ชือ่ เรื่อง จะชวยบอกใหผูอานทราบแนวของเนื้อหาวาเปนเรื่องเกี่ยวกับอะไร บางชื่ออาจทําใหทราบขอบ เขตของชื่อเรื่อง และแนวคิดสําคัญของเรื่องที่ตองการเสนอ ชื่อเรื่องอาจเปนคํา กลุมคํา หรืออาจเปนประโยค ผูศึกษาจึงรวบรวมชื่อนวนิยายแนวฆาตกรรมสยองขวัญ จํานวน 60 ชื่อ ตั้งแตป พ.ศ. 2550 เปนตนมา จาก 7 สํ า นั กพิ ม พ ได แก สํ า นั กพิม พน้ําพุ แพรวสํ านักพิ มพ สํ า นั กพิ ม พม ติชน สํ า นั กพิ มพ สันสกฤต สํ า นักพิมพ วรรณวิภา สํานักพิมพเอ็นเธอรบุคส และสํานักพิมพตะวันสอง มาใชศึกษาประเด็นในดาน “ลักษณะการตั้งชื่อจาก ภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย” “ความสัมพันธระหวางชนิดของคํากับความหมายของชื่อ ” และ “ลักษณะเดนทางดาน ภาษา” ไดผลการศึกษาดังตอไปนี้


1. ลักษณะการตั้งชื่อเรื่องจากภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย จากการศึกษา ผูศึกษาสามารถจําแนกรูปแบบการตั้งชื่อนวนิยายแปลจากภาษาอังกฤษเปนภาษาไทยได 3 รูปแบบ ดังนี้ 1.1 ตั้งชื่อเรื่องตามความหมายเดิม ชื่อเรื่องภาษาไทยในกลุมนี้จะตั้งชื่อใหใกล เคียงกับความหมายของชื่อภาษาอังกฤษเดิมมากที่สุด พบจํานวน 13 เรื่อง เชน Knots & Crosses: ปริศนาเงื่อนและไมกางเขน 30 Days of Night: Eternal Damnation: 30 วันสยองขวัญ: คําสาปชั่วนิรันดร The Girl with the Dragon Tattoo: พยัคฆสาวรอยสักมังกร Before I Go to Sleep: กอนนอนคืนนั้น Vanish: ฆาตกรรมอันตรธาน The Surgeon: แกะรอยหมออํามหิต The Secret in Their Eyes: ในตาคูนนั้ Murder on Astor Place: ฆาตกรรมที่แอสเตอรเพลซ นอกจากนี้ยังพบขอสังเกตวาการตั้งชื่อตามความหมายเดิมมักใชวิธีแปลแบบขยายความรวมดวย กลาวคือชื่อ ต น ฉบั บ ใช คํ า ที่ มี ค วามหมายกลาง ๆ แต ผู แ ปลใช ศั พ ท แ ปลขยายความให เ ห็ น ภาพของเรื่ อ งชั ด เจนยิ่ ง ขึ้ น เช น 30 Days of Night แปลเปน 30 วัน สยองขวัญ The Girl (ผูหญิง) แปลเปน พยัคฆสาว The Surgeon (ศัลยแพทย) แปลเปน แกะรอยหมออํามหิต การใชศัพทแปลขยายความเหลานี้ใหผลในดานอรรถรสและอารมณแกผูอาน กอใหเกิด ความตระหนักรูทันทีวานวนิยายเรื่องนี้เปนแนวสืบสวนฆาตกรรม 1.2 ตั้งชือ่ เรื่องอิงความหมายเดิมเพียงบางสวน ชื่อเรื่องภาษาไทยในกลุมนีจ้ ะตั้งชือ่ อิงความหมายเดิมของชื่อเกาเพียงบางสวน ผูแปลจะเลือกเฉพาะคําสําคัญ ที่เปนกุญแจหลักของเรื่องแลวนํามาเรียบเรียงเปนชื่อใหมโดยยังคงแสดงถึงแกนของเรื่อง พบจํานวน 8 เรื่อง ไดแก Play Dead: แกลง

The Girl on the Train: ปมหลอน รางมรณะ

Just One Look: อยามอง

The Hard Way: ดักทางฆา

Killing Floor: ลานละเลงเลือด

Broken Dolls: เชือดรางสรางหุน

Strangers on a Bridge: อาญาจารชน

Touch: แปดเปอน

74


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

จากชื่อหนังสือขางตนจะเห็นไดวาผูแปลยังคงรักษาแนวคิดหลักของชื่อภาษาอังกฤษในสวนที่เปนจุดเดนของ นวนิยายเรื่องนั้น ๆ ไว แตนํามาเรียบเรียงหรือสรางคําใหมใหมคี วามนาสนใจและเขากับบริบทลักษณะของภาษาไทย รวมถึงเพิ่มคําที่เราอารมณใหกับชื่อเรื่อง 1.3 ตั้งชื่อเรื่องใหมโดยไมอิงเคาความหมายเดิม ชื่อนวนิยายอีกกลุมที่พบคือ ผูแปลตั้งชื่อภาษาไทยโดยไมไดแปลหรืออิงเคาความหมายของชื่อภาษาอังกฤษ ซึ่งผูแปลอาจใชวิธีดึงจุดเดนจากเนื้อเรื่องหรือแกนเรื่องมาสรางเปนชื่อใหม พบจํานวน 40 เรื่อง เชน The Stranger: แฉ Immoral: อิงแอบแนบฆา ALEX: อํามหิตพิศวาส Tom Clancy’s Under Fire: หักเหลี่ยมรัฐประหาร Last to Die: เรียน เลน เปนศพ Hide: สวมรอยตาย Daddy’s Gone A Hunting: หลับ...เปนตาย Dark Places: เสียงลวงตาย ผูศึกษาสันนิษฐานวาการที่ผูแปลตั้งชื่อเรื่องใหมโดยไมอิงความหมายของชื่อเดิมนั้นอาจเปนเพราะชื่อเกา มีลักษณะเปนคําหรือกลุมคําที่เมื่อนํามาแปลเปนภาษาไทยแลวไดความที่ไมชัดเจน ไมสามารถสื่อถึงจุดเดนของเรื่องได ตัวอยางเชน นวนิยายเรื่อง Sharp Objects แปลตามรูปศัพทหมายถึง วัตถุแหลมคม ผูศึกษาสันนิษฐานวาอาจสื่อถึงมีด แตผูแปลไดตั้งชื่อใหมโดยหยิบเอาลักษณะความสัมพันธของตัวละครซึ่งเปนปมหลักขับเคลื่อนเสนเรื่องมาตั้งชื่อ จึงได ชื่อภาษาไทยวา สนิทชิดเชือด นวนิยายเรื่อง The Grey Man หมายถึง บุรุษสีเทา เปนฉายาตัวละครสําคัญในเรื่องซึ่งเมื่อถาแปลเปนชื่อ ภาษาไทยอาจจะใหความหมายกลาง ๆ ที่สื่อความยังไมชัดเจน ผูแปลจึงตัง้ ชื่อภาษาไทยวา ลองหนฆา ที่นําจุดเดนของ ตัวละครสําคัญในเรือ่ งมาขยายความ ทําใหไดชอื่ ที่มีความหมายและสื่อถึงแนวของนวนิยายไดชัดเจนขึ้น ป ญ หาของการแปลลั ก ษณะนี้ เจ ซี แคทฟอร ด (อ า งถึ ง ใน หอมหวล ชื่ น จิ ต ร, 2527, น.8) กล า วว า เราไมสามารถแปลขอความจากภาษาหนึ่งเปนอีกภาษาหนึ่งได ถาไมอาจสรางสถานการณในขอความนั้นใหมีสภาพ เดี ย วกั บ ต น ฉบั บ การแปลแบบตรงตั ว ไม ไ ด เ กิ ด จากสาเหตุ 2 ประการ คื อ แปลไม ไ ด เ พราะภาษา (Linguistic Untranslatability) และแปลไม ไ ด เพราะวั ฒ นธรรม (Cultural Untranslatability) ส ว นเรื่องความหมายของคํ า โชษิตา มณีใส (2555, น.2) กลาวไววา แมคําทุกคําจะมีความหมายประจําคําหรือ มีความหมายพื้นฐาน แตในบริบท ของขอความตาง ๆ จะพบวาบางคําอาจมีความหมายอยางอื่นในคําดวย เมื่อนําคําคํานั้นไปใช กลไกดานความหมาย 75


ของคําก็จะทํางาน เชน คําอาจมีระดับหรือน้ําหนักตางกัน อาจมีความหมายแฝงหรือขอบเขตความหมายตางกัน เปนตน ดังนั้นผูศึกษาจึงสันนิษฐานวาการที่ผูแปลไดตั้งชื่อใหมก็เพื่อใหการสื่อความของเรื่องนั้น ๆ สื่อออกมาได ชั ด เจนยิ่ง ขึ้น และการเพิ่ มคําที่มี ความหมายในด านอารมณ อันแสดงความเปน นวนิยายสืบสวนฆาตกรรมเขาไป เปนเพราะชื่อนวนิยายภาษาอังกฤษบางชื่ออาจใหความหมายไมเทากันเมื่อแปลเปนภาษาไทย กลาวคืออาจดวยเพราะ ขอจํากัดทางดานความหมายประจํารูปคําของภาษา 2 ภาษาที่มีความตางกัน บางคําศัพทก็บรรจุภาพแนวคิดหรือ ความหมายแฝงที่ไมมีในศัพทวัฒนธรรมไทย จึงเปนอุปสรรคหนึ่งในการแปลที่ถาหากแปลตามรูปศัพทแลว อาจจะ ถายทอดความหมายที่แฝงอยู (ที่ผูเขียนนวนิยายตั้งใจสงสาร) ออกมาใหครบถวนไมได 2. ความสัมพันธระหวางชนิดของคํากับความหมายของชื่อ ไวยากรณดั้งเดิมแบงชนิดของคําไทยออกเปน 7 ชนิด ไดแก คํานาม คําสรรพนาม คํากริยา คําวิเศษณ คําสันธาน คําบุพบท และคําอุทาน (อุปกิตศิลปสาร, พระยา, 2507, น.70) จากการศึกษายังพบกลุมคําหรือวลีในการตั้งชือ่ อีกดวย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554, น.1100) ไดใหนิยามของ “วลี” วาหมายถึง “กลุมคําที่เรียงติดตอกันเปนระเบียบและมีกระแสความเปนที่หมายรูกันได แตยัง ไมเปนประโยคสมบูรณ เชน หนูแหวนแขนออน เวลาดึกดื่นเที่ ยงคืน ทางเดินเขาสวนมะพราว” วลีแบงออกเปน 7 ชนิด ซึ่งเรียกชื่อวลีตามชนิดของคําที่นําหนา ไดแก นามวลี สรรพนามวลี กริยาวลี วิเศษณวลี บุพบทวลี สัน ธานวลี และอุทานวลี (อุปกิตศิลปสาร, พระยา, 2507, น.205) จากการศึกษาพบวาชื่อนวนิยายภาษาอังกฤษสวนใหญจ ะตั้งชื่อดวยคํานามและนามวลี ปรากฏเปนคํานาม 13 ชื่อและนามวลี 27 ชื่อ รองลงมาคือตั้งชื่อดวยคํากริยาและกริยาวลีมี 3 และ 4 ชื่อตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบ การตั้งชื่อดวยคําวิเศษณและวิเศษณวลี รวมถึงพบการตั้งชื่อเปนประโยคบางเล็กนอย ที่พบนอยสุดคือตั้งชื่อเปน บุพบทวลี ซึ่งพบเพียง 1 ชื่อ ในดานของชื่อภาษาไทยกลับพบวานิยมตั้งชือ่ เปนคํากริยาและกริยาวลีมากที่สุด จํานวน 9 และ 25 ชื่อตามลําดับ รองลงมาเปนคํานามจํานวน 1 ชื่อ นามวลี 16 ชื่อ ตั้งชื่อดวยวิเศษณวลี 3 ชื่อ บุพบทวลี จํานวน 2 ชื่อ และโครงสรางใหญที่สุดคือประโยค พบจํานวน 4 ชื่อ ดานความสัมพันธระหวางชนิดของคํากับความหมายนี้ ผูศึกษาพบความนาสนใจวา ชื่อนวนิยายภาษาอังกฤษ มักนิยมตั้งชื่อดวยคํานามและนามวลี ขณะที่เมื่อเปนชื่อภาษาไทยกลับนิยมตั้งชื่อดวยคํากริยาหรือกริยาวลีมากกวา เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ ระหวางชนิดของคํากับความหมายแลว ชื่อภาษาอังกฤษที่เปนคํานามมักมีความหมาย กลาง ๆ สือ่ อารมณทางความหมายออกมานอยกวา ตัวอยางเชน The Grey Man (นามวลี) แปลวา บุรุษสีเทา Shelter (คํานาม) แปลวา ที่หลบซอน ที่กําบัง The Surgeon (คํานาม) แปลวา ศัลยแพทย 76


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

The Girl on the Train (นามวลี) แปลวา หญิงสาวบนรถไฟ Strangers on a Bridge (นามวลี) แปลวา คนแปลกหนาบนสะพาน เมื่อพิจารณาการใชคําศัพทขยายความที่แสดงใหเห็นวาเปนแนวฆาตกรรมก็พบวามีจํานวนนอย เชนคําวา “Dead/Death” พบ 4 ชื่อ “Kill” พบ 2 ชื่อ หรือคําวา “die” พบเพียงชือ่ เดียว และคําคุณศัพทที่ใชมักมีความหมาย วา ชั่ว คนนอกคอก ตัวอยางเชน Play Dead, Last to Die, Killing Floor ขณะที่ชื่อภาษาไทย ผูแปลนิยมเลือกใช คํากริยาซึ่งเปนคําบอกสภาพหรือการกระทําที่สื่อถึงการฆาตกรรมอยางชัดเจน รวมถึงเลือกใชคําขยายชนิดอื่ น ๆ ไป ในทางอารมณแนวสืบสวนฆาตกรรม เชนคําวา ฆา ฆาตกรรม เชือด เฉือน ตาย ในเรื่อง อิงแอบแนบฆา ถอดสมการฆา สนิทชิดเชือด สวมรอยตาย เปนตน ซึ่งคําเหลานี้ไมคอยตั้งในชื่อภาษาอังกฤษ ผูศึกษาจึงคิดวาการใชคํากริยามาตั้งชื่อ จะชวยใหสื่อถึงอารมณความรูสึกไดหลากหลายมากกวาคํานาม 3. ลักษณะเดนทางดานภาษา นอกเหนือจากดานการแปลและการพิจารณาชนิดของคําแลว ผูศึกษายังสังเกตพบลักษณะเดนทางดานภาษา ในการตั้งชื่อภาษาไทยที่มีกลวิธีที่พบไดนอยหรือไมพบเลยในภาษาอังกฤษ แบงเปนลักษณะสําคัญได 2 ประการ คือ การใชคําที่สื่อถึงการฆาตกรรมและการใชคําเลนเสียงสัมผัส 3.1 การใชคําที่สอื่ ถึงการฆาตกรรม ในชื่อภาษาไทยผูแปลนิยมเลือกใชคําที่สื่ออารมณ ใหความหมายถึงแนวสืบสวนฆาตกรรมอยางชั ด เจน ขณะที่ ในชื่ อภาษาอั ง กฤษเมื่ อแปลแล ว พบว า ใช คํ า ที่ ให ค วามหมายกลาง ๆ และพบคํ า ขยายที่ บ ง บอกไปในเชิง ฆาตกรรมนอยกวาชื่อภาษาไทย ถือเปนกลวิธีที่ผูแปลเลือกสรรคํามาใชเพื่อเพิ่มความนาสนใจ ดึงดูดใจผูอาน และ ทําใหมองเห็นภาพของแนวนวนิยายชัดขึ้น ตัวอยางคําที่เกี่ยวกับฆาตกรรม เชน ฆ า หมายถึง (ก.) ทํ า ให ต าย เช น ฆ า ซ อน ซ อนศพ, พรางแผนฆ า , ดั ก ทางฆ า , สมรูร ว มฆ า , ล องหนฆ า, ลมกระดานฆา, ถอดสมการฆา, อิงแอบแนบฆา, ฆาตไมถึง ฆาตกรรม หมายถึง (น.) การฆาคน ไดแก อนันตชาติฆาตกรรม, ฆาตกรรมอันตรธาน, ถอดรหัสฆาตกรรม, ฆาตกรรมที่แอสเตอรเพลซ เชือด หมายถึง (ก.) ใชของมีคมตัดใหลึกเขาไปในเนื้อ , เฉือน หมายถึง (ก.) เชือดเอาแตบางสวน ไดแก ฤกษงาม ยามเชือด, สนิทชิดเชือด, เฉือน, เชือดรางสรางหุน ตาย หมายถึ ง (ก.) สิ้ น ใจ สิ้ น สภาพของการมี ชี วิ ต ได แ ก เสี ย งลวงตาย, ชั่ ว พริ บ ตาย, สวมรอยตาย, รนระยะตาย, หลับ...เปนตาย, รูเห็นเปนตาย, แรกพบสบตาย ศพ หมายถึ ง (น.) ร า งผี ซากคนที่ ต ายแล ว ได แ ก ฆ า ซ อ น ซ อ นศพ, ศพซ อ นซาก, ศพเล น ตบตา, อยูเย็นเปนศพ, เรียน เลน เปนศพ 77


อํามหิต หมายถึง (ว.) ดุราย รายกาจ ทารุณ ไดแก ยุติธรรมอํามหิต, พินัยกรรมอํามหิต, อําพรางอํามหิต, แกะรอยหมออํามหิต, อํามหิตพิศวาส เลื อ ด หมายถึ ง (น.) น้ํ า สี แ ดง ๆ ซึ่ ง ชุ ม อยู ภ ายในตั ว คนและสั ต ว (เปลื้ อ ง ณ นคร, 2551) ได แ ก ลานละเลงเลือด, ฤกษเลือด, ศีลซอนเลือด นอกจากนี้ยังพบคําอื่น ๆ อีกที่ใหความหมายดานอารมณแนวนวนิยายสืบสวนฆาตกรรม ไดแก หลอน มรณะ ถลกหนัง หรืออากัปกิริยาที่สื่อความหมายไปในทางลึกลับ ไดแกคําวา ซอน ปริศนา พราง 3.2 การใชคําเลนเสียงสัมผัส การใชคาํ เลนเสียงสัมผัสเปนกลวิธีอยางหนึ่งที่ผูแปลนํามาใชในการตั้งชื่อซึ่งไมพบในภาษาอังกฤษ คือ การใช คํ า เล น เสี ย งสั ม ผั ส อั น เป น หนึ่ ง ในลั ก ษณะเด น ของภาษาไทยที่ ผู ป ระพั น ธ มั กนํ า มาใช ในการประพั น ธ เพื่ อให เ กิ ด ความงดงามทางวรรณศิลป และแมวาการเลนเสียงสัมผัสสวนใหญมักใชในงานประพันธประเภทรอยกรอง อีกทั้ง การตั้งชื่อนวนิยายจะตั้งเปนคําหรือวลีที่สั้นกระชับ แตผูแปลก็สามารถเลือกคํามาตั้งชื่อในงานรอยแกวเพื่อสร าง ความนาสนใจใหแกชื่อเรื่องไดอยางลงตัว ผูศกึ ษาพบการเลนเสียงสัมผัสทั้งเสียงพยัญชนะและเสียงสระ ดังนี้ 3.2.1 การเลนเสียงสัมผัสพยัญชนะ การเลนเสียงสัมผัสพยัญชนะหรือสัมผัสอักษร คือ การใชพยัญชนะที่มีหนวยเสียงเดียวกันในคําที่ตางกัน ทําใหเกิดความไพเราะในการเปลงเสียงของคํา (ศันสนีย อรุณสินประเสริฐ และ ฮาดี บินดูเหล็ม, ม.ป.ป., น.2) ผูศึกษา พบกลวิธีการเลนเสียงสัมผัสพยัญชนะในชื่อหนังสือภาษาไทย ดังนี้ เล น เสี ย งพยั ญ ชนะ /ซ/: ฆ า ซ อน ซ อนศพ,

เลนเสียงพยัญชนะ /ล/: ลานละเลงเลือด

ศพซอนซาก, ศีลซอนเลือด

เลนเสียงพยัญชนะ /ร/: สมรูรวมฆา

เลนเสียงพยัญชนะ /ช/: สนิทชิดเชือด

เลนเสียงพยัญชนะ /ย/: อยูเย็นเปนศพ

เลนเสียงพยัญชนะ /พ/: พรางแผนฆา

เลนเสียงพยัญชนะ /อ/: อิงแอบแนบฆา

เลนเสียงพยัญชนะ /ต/: ศพเลนตบตา เลนเสียงพยัญชนะ /ร/ กับ /ล/: ฤกษเลือด, เรียน เลน เปนศพ, หักเหลี่ยมรัฐประหาร (*เสียง /ร/ เปนเสียง ลิ้นกระทบ ขณะที่เสียง /ล/ เปนเสียงขางลิ้น ในรูปแปรของเสียง บางครั้งผูใชภาษามักออกเสียงสองเสียงนี้เปนเสียง เดียวกันคือเสียง /ล/) 3.2.2 การเลนเสียงสัมผัสสระ การเล น เสี ย งสั ม ผั ส สระ คื อ สั ม ผั ส ที่ มี เ สี ย งสระหรื อ เสี ย งสระกั บ ตั ว สะกดในมาตราเดี ย วกั น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556) ผูศกึ ษาพบชื่อเรื่องที่มีการเลนเสียงสัมผัสสระดังตอไปนี้) ฤกษงาม ยามเชือด

ยุติธรรมอํามหิต

สนิทชิดเชือด

ฆาซอน ซอนศพ

อาญาจารชน

อยูเย็นเปนศพ

78


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

อิงแอบแนบฆา

เชือดรางสรางหุน

อํามหิตพิศวาส

รูเ ห็นเปนตาย

บริสุทธิ์อยุติธรรม

แรกพบสบตาย

เรียน เลน เปนศพ

สุจริต เพียรชอบ (2537, น.32) กลาววา คนไทยทุกเพศทุกวัยทุกอาชีพชอบใชคําคลองจอง ชอบคําพูด ที่มีสัมผัสคลองจอง นอกจากนั้นในภาษาไทยยังมี สํานวน คําพังเพย คําขวัญตาง ๆ ซึ่งคนนิยมพูดกันติดปาก และมี ลักษณะเปนคําที่มีสัมผัสคลองจองกันแทบทั้งสิ้น คําคลองจองถึงถือเปนเอกลักษณของภาษาไทยและคนไทยอยู ตลอดมา ขอคนพบอีกประการหนึ่งคือ ผูแปลไดเลือกใชคําคลองจองกลุมหนึ่งที่คนไทยรูจักกันเปนอยางดีแ ละ นิยมพูดกันอยูในชีวิตประจําวันมาตั้งเปนชื่อนวนิยายโดยผานกระบวนการปรับเปลี่ยนบางสวนของคํา สงผลใหคํา คลองจองเดิมกลายเปนชื่อนวนิยายที่สื่อถึงเรื่องแนวฆาตกรรม ขณะเดียวกันคําคลองจองที่ผูแปลเลือกมาใชก็ชว ยสื่อ ถึงแนวคิด ใจความสําคัญของเรื่องไดอีกดวย กระบวนการเปลี่ยนคําคลองจองเดิมใหกลายเปนชื่อนวนิยาย ผูศึกษาจําแนกได 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. แทรกหนวยเสียงพยัญชนะตรงกลางคํา บริสุทธิ์ยุติธรรม เปน บริสุทธิ์อยุติธรรม 2. เปลี่ยนคําในตําแหนงสุดทาย สมรูรวมคิด เปน สมรูรวมฆา

สนิทชิดเชื้อ เปน สนิทชิดเชือด

อยูเย็นเปนสุข เปน อยูเย็นเปนศพ

แรกพบสบตา เปน แรกพบสบตาย

อิงแอบแนบชิด เปน อิงแอบแนบฆา

ฤกษงามยามดี เปน ฤกษงามยามเชือด

รูเห็นเปนใจ เปน รูเห็นเปนตาย ชื่ อ ข า งต น แสดงให เ ห็ น ว า ผู แ ปลได เ ปลี่ ย นคํ า โดยแทนที่ ด ว ยคํา กริ ย าที่ มี ค วามหมายเกี่ ย วข อ งกับ ความตายหรือสื่อถึงแนวสืบสวนฆาตกรรม นอกจากนี้ผูศึกษายังสังเกตเห็นวาในจํานวน 4 ชื่อจากทั้งหมด 7 ชื่อ คําที่ผูแปลนํามาแทนที่มีหนวยเสียงพยัญชนะตนเหมือนคําเดิม ถือเปนการเลือกสรรคําที่นํามาใชโดยยังคงรักษา อารมณทางดานเสียงไปพรอมกัน จากผลการศึกษาสรุปไดวาชื่อนวนิยายแปลแนวฆาตกรรมสวนใหญเมื่อนํามาแปลเปนภาษาไทยจะใชวิธีการ ตั้งชื่อใหมโดยไมไดแปลตามชื่อเดิมอันเนื่องมาจากการแปลความหมายของคําที่เมื่อแปลแลวสื่อความไดไมชัดเจน เมื่อเทียบดานความหมายแลวชื่อภาษาไทยจะใหภาพในความหมายที่เปนนวนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรมไดชัดเจนกวา และดึ ง ดู ด ความสนใจของผู อานด วยการนํ าคํ า ศัพ ทที่ มี ความหมายเกี่ย วกับ การฆ า ความตายมาใส ไ ว ในชื่อดวย นอกจากนี้ยังพบวาชื่อนวนิยายภาษาไทยสวนใหญจะตั้งดวยคํากริยาหรือกริยาวลี ตางจากชื่อภาษาอังกฤษที่ ตั้งดวย คํานามหรือนามวลีเปนสวนใหญ ซึ่งสัมพันธกับดานความหมายที่วาคํากริยาเปนคําแสดงอาการ บอกสภาพซึ่งสามารถ สื่อใหเห็นภาพหรืออารมณความรูสึกไดมากกวาคํานาม สวนกลวิธีทางภาษาที่ไมพบในชื่อภาษาอังกฤษคือ ผูแปลใช 79


คําเลนเสียงสัมผัสในชื่อภาษาไทยเพื่อชวยเพิ่มความไพเราะ อีกทั้งไดนําคําคลองจองของคนไทยที่รูจักและใชกนั ทั่วไป มาปรับใหเปนชื่อนวนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรม

รายการอางอิง

โชษิตา มณีใส. (2555). การใชภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. เปลื้อง ณ นคร. (2551). พจนานุกรม คนหาคําศัพทออนไลน. สืบคนจาก http://dictionary.sanook.com/search/ dict-th-th-pleang/ ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. วัลลภา วิทยารักษ. (ม.ป.ป.). การเขียนภาษาไทย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ศันสนีย อรุณสินประเสริฐ และ ฮาดี บินดูเหล็ม. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสอนวิชาภูมปิ ญญาทางภาษาเรื่อง ภาษาวรรณศิลป: ภูมิปญญาทางภาษาในบทประพันธ. กรุงเทพฯ: โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล. สัญฉวี สายบัว. (2543). หลักการแปล: กิจกรรมสูความเขาใจ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. สุจริต เพียรชอบ. (2537). ภาษาไทยมีเอกลักษณ มีศักดิ์ศรี. ใน สํานักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร (บรรณาธิการ), เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง วัฒนธรรมทางภาษาไทย: ภาษา สื่อมวลชนและภาษาวัยรุน . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หอมหวล ชื่นจิตร. (2527). การแปล: อาชีพสูปวงชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพยูไนเต็ดโปรดักชัน่ . อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2507). หลักภาษาไทย. พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช.

80


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

ภาคผนวก รายชื่อนวนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรมทั้งหมดที่นํามาศึกษา: 1. ฤกษงาม ยามเชือด: The Devil's Star

25. ลานละเลงเลือด: Killing Floor

2. คืน: Caught

26. อนันตชาติฆาตกรรม: Eternal

3. เฉือน: Miracle Cure

27. อาญาจารชน: Strangers on a Bridge

4. เฉียด: Seconds Away

28. สวมรอยตาย: Hide

5. ซอน: Stay Close

29. สาม สอง หนึ่ง สูญ !: Watch Me

6. ผีเสื้อแหงความลับ: Shelter

30. พันธะพาล: Black Mass

7. แกลง: Play Dead

31. ปมหลอน รางมรณะ: The Girl on the Train

8. อยามอง: Just One Look

32. ฆาตกรรมอันตรธาน: Vanish

9. พราง: The Woods

33. อําพรางอํามหิต: Body Double

10. ไมร:ู The Innocent

34. สนิทชิดเชือด: Sharp Objects

11. ถลกหนังไอวีเซิล: Pop Goes the Weasel

35. ดักทางฆา: The Hard Way

12. ปริศนาเงื่อนและไมกางเขน พ.1: Knots &

36. ลองหนฆา: The Gray Man

Crosses

37. ถอดรหัสฆาตกรรม: The Broken Window

13. ชั่วพริบตาย: The Burning Wire

38. แกะรอยหมออํามหิต: The Surgeon

14. 30 วันสยองขวัญ: คําสาปชัว่ นิรันดร: 30 Days of

39. ลมกระดานฆา: Nothing to Lose

Night: Eternal Damnation

40. รนระยะตาย: The Kill Room

15. ฆาซอน ซอนศพ: Prey

41. ศพเลนตบตา: Whispers of the Dead

16. พรางแผนฆา: The Enemy

42. ในตาคูนั้น: The Secret in Their Eyes

17. พยัคฆสาวรอยสักมังกร: The Girl with the

43. ถอดสมการฆา: Bad Luck and Trouble

Dragon Tattoo

44. อยูเย็นเปนศพ: Ice Cold

18. เลนซอนหาย: Gone Girl

45. ฆาตไมถึง: The Nearest Exit

19. ยุติธรรมอํามหิต: American Assassin

46. อิงแอบแนบฆา: Immoral

20. ศพซอนซาก: Birdman

47. แปดเปอน: Touch

21. กอนนอนคืนนั้น: Before I Go to Sleep

48. อํามหิตพิศวาส: ALEX

22. แฉ: The Stranger

49. ฤกษเลือด: Forever Odd

23. เสียงลวงตาย: Dark Places

50. ผูตอ งหาย: Pariah

24. สมรูรวมฆา: The Visitor

51. บริสุทธิ์อยุตธิ รรม: House Rules 81


52. หลับ...เปนตาย: Daddy’s Gone A Hunting

57. ศีลซอนเลือด: Salvation in Death

53. เชือดรางสรางหุน: Broken Dolls

58. เรียน เลน เปนศพ: Last to Die

54. รูเห็นเปนตาย: The Silent Girl

59. หักเหลี่ยมรัฐประหาร: Tom Clancy's Under

55. แรกพบสบตาย: Strangers in Death

Fire

56. ฆาตกรรมที่แอสเตอรเพลซ: Murder on Astor

60. ลวง: Missing You

Place

82


ภาษาที่ใชในการตั้งชือ่ นวนิยายรักและนวนิยายรักวัยรุน ของสํานักพิมพแจมใส ประภัสสร สีหรักษ บทนํา ชื่อเรื่องเปนสวนสําคัญที่สามารถดึงดูดใจผูอาน อีกทั้งเปนสวนที่ชว ยสื่อถึงเนื้อหา ประเด็น หรือจุดมุงหมาย ของงานเขียนตอผูอา นดวย ผูเขียนบทความหรือหนังสือสวนใหญจึงมักตั้งชื่องานเขียนของตนใหสะดุดหูเพื่อจูงใจผูอ า น ดังที่ สายทิพย นุกู ลกิจ (2543, น.121-123) ไดกล าวไววา การตั้งชื่อเรื่องเปน วิธีการอยางหนึ่งที่ทําใหวรรณกรรม มีลักษณะที่เดนสะดุดตาสะดุดใจ ทําใหผูอา นอยากติดตาม วิธีการตั้งชื่อโดยทั่วไปมีดังนี้ 1. ตั้ ง ชื่ อ เรื่ อ งตามตั ว ละครเอกของเรื่ อ ง โดยใช ชื่ อ ตั ว ละครที่ มี ค วามสํ า คั ญ กั บ เรื่ อ งมากที่ สุ ด มาตั้ ง ชื่ อ อาจเปนผูหญิง ผูช าย เด็ก คนชรา หรือสัตวก็ได 2. ตั้งชื่อเรื่องตามสถานที่สาํ คัญในเรื่อง โดยใชชื่อสถานที่ที่ปรากฏในเรื่องและมีความสําคัญตอตัวละครหรือ สําคัญตอการดําเนินเรื่อง 3. ตั้งชือ่ เรื่องตามแนวคิดสําคัญในเรื่อง โดยใชแนวคิดสําคัญหรือแกนหลักของเรื่องที่ผูเขียนตองการนําเสนอ ผูอาน 4. ตั้งชื่อเรื่องเพื่อใหผูอานเกิดความขัดแยง โดยใชคํา วลี หรือประโยคที่ไมเกี่ยวของกันหรือมีความหมาย ขัดแยงกัน 5. ตั้งชือ่ เรื่องตามลักษณะของเรื่อง โดยใชคําที่แสดงถึงเนือ้ หาหรือแนวของเรื่อง 6. ตั้งชื่อเรื่องใหเปนนามธรรม โดยใชวลีที่มีความไพเราะ และสามารถสื่อถึงแนวคิดหลั กของผู เขีย นได นอกจากนี้เว็บไซต dek-d.com (2554) กลาวถึงวิธีการตั้งชื่อนวนิยายไววา สามารถนําชื่อตัวละคร สถานที่ สิ่งของ เหตุการณสําคัญ หรือสํานวนมาตั้งเพื่ อใหผูอานเกิดความรูสึกอยากรูเรื่องราวเพิ่มเติม ดวยวิธีการใชคําที่สื่อ ความหมายหรือเกี่ยวของกับเนื้อเรื่องมาตั้งใหมีความแตกตางจากชื่อนวนิยายอื่น ๆ และไมควรตั้งชื่อใหมีความยาว เกิ น ไปหรื อ สั้ น เกิ น ไป อี ก ทั้ ง ไม ค วรใช คํ า หยาบในการตั้ ง ชื่ อ จึ ง จะสามารถสร า งชื่ อนวนิ ย ายที่ โ ดนใจผู อ า นได จากที่กลาวมาผูวิจัยไดเห็นวาการตั้งชือ่ นวนิยายมีความนาสนใจ โดยเฉพาะนวนิยายรักยุคใหมของสํานักพิมพ แจมใสที่ถือไดวามีความโดดเดนกวาหนังสือแนวอื่น ๆ ดวยเปนหนังสือขายดีติดกระแสหลักของตลาดหนังสือ ใน ประเทศไทย โดยวัดจากจํานวนครั้งที่พิมพซ้ําและยอดขายหนังสือที่ติดอันดับหนังสือขายดีในธุรกิจหนังสือป 2553 จากฐานขอมูลของซีเอ็ดบุคเซ็นเตอร (พลเทพ วิริยะสถาพร, 2554, น.16-19) ดังนั้นผูวิจัยจึงสนใจศึกษาการตั้งชื่อ นวนิยายรักและนวนิยายรักวัยรุนของสํานักพิมพแจมใส โดยเก็บขอมูลชื่อ นวนิยายรักจํานวน 300 เรื่อง และชื่อ นวนิ ย ายรักวั ย รุน จํ า นวน 300 เรื่อง จากเว็ บ ไซต jamsai.com เพื่ อศึ ก ษาว า นวนิ ย ายที่ เป น ที่ นิ ยมในกลุ มผูอาน มีวิธกี ารใชภาษาในการตั้งชื่ออยางไร


1. ภาษาที่ใชในการตั้งชื่อนวนิยายรักและนวนิยายรักวัยรุน 1.1 การตั้งชือ่ นวนิยายรัก การตั้งชื่อนวนิยายรักนิยมตั้งดวยภาษาไทยเปนสวนใหญ เพราะภาษาไทยสามารถสื่อถึงตัวละคร เนื้อเรื่อง หรือจุดสําคัญของเรื่องไดชัดเจน สวนการใชภาษาตางประเทศรวมในการตั้งชื่อก็เพื่อชวยเนนย้ําชื่อเรื่องในสวนที่เปน ภาษาไทย และเพื่อใหมีความนาสนใจมากขึ้น จากขอมูลพบชื่อนวนิยายรักที่ใชภาษาไทยเพียงภาษาเดียว จํานวน 276 เรื่อง จากนวนิยายรัก 300 เรื่อง คิดเปนรอยละ 92 และพบชื่อที่ใชภาษาไทยปนภาษาตางประเทศจํานวน 24 เรื่อง จากนวนิยายรัก 300 เรื่อง คิดเปน รอยละ 8 ดังตัวอยางตอไปนี้ ภาษาไทย

ภาษาไทยปนภาษาตางประเทศ

ความทรงจําของรองเทาแกว

Hate at first sight รายแรกพบ

ความทรงจําของรองเทาแกว สื่อใหเห็นวาเนื้อเรือ่ งมีความเกี่ยวของกับความทรงจําในอดีตของตัวละครตัวใด ตัวหนึ่ง ซึง่ ความทรงจํานี้อาจเปนปมปญหาหลักของเรื่อง โดยมีรองเทาแกวเปนสิ่งที่ทําใหเกิดปมปญหา Hate at first sight เปนวลีที่มีความหมายวา เกลียดตั้งแตแรกพบ สอดคลองกับชื่อภาษาไทย รายแรกพบ โดยอาจแปลความไดวา ความรายกาจที่ทําใหรูสึกเกลียดตั้งแตพบกันครั้งแรก 1.2 การตั้งชือ่ นวนิยายรักวัยรุน การตั้งชื่อนวนิยายรักวัยรุนนิยมตั้งชื่อดวยภาษาไทยปนภาษาตางประเทศมากกวาตั้งชือ่ ดวยภาษาไทยเพียง ภาษาเดียว นาจะเปนเพราะการปนภาษาตางประเทศตอบสนองความสนใจกลุมผูอานวัยรุนไดดี อีกทั้งเปนการชวยให รายละเอียดที่เกี่ยวของกับเรื่องเพิ่มเติมดวย จากการศึกษาพบชื่อที่ใชภาษาไทยปนภาษาตางประเทศจํานวน 294 เรื่อง จากนวนิยายรักวัยรุน 300 เรื่อง คิด เป น รอยละ 98 และพบชื่ อที่ใช ภาษาไทยจํานวน 6 เรื่อง จากนวนิ ย ายรักวัย รุน 300 เรื่อง คิ ดเป น รอยละ 2 ดังตัวอยางตอไปนี้ ภาษาไทย

ภาษาไทยปนภาษาตางประเทศ

ฉันนีแ่ หละ หัวใจทศกัณฐ !

Crazy Artist ทฤษฎีหัวใจของนายติสตแตก

ฉันนี่แหละ หัวใจทศกัณฐ ! สื่อถึงตัวละครหลัก 2 ตัวของเรื่อง ไดแก ตัวละครที่เปนผูเลาเรื่อง สังเกตไดจาก สรรพนามบุรุษที่ 1 และตัวละครที่ชื่อวา ทศกัณฐ นอกจากนี้ยังคาดเดาไดอีกวาตัวละครผูเลาเรื่องอาจเปนคนรักของ ตัวละครที่ชื่อทศกัณฐดวย

84


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

Crazy Artist เปนวลีที่แปลความหมายตรงตัววา ศิลปนบา เพราะ Crazy แปลวา บา บอง หรือประหลาด และ Artist แปลวา ศิลปน แตในบริบทนี้อาจหมายถึง คนที่มีอารมณศิลปนสูง เมื่อพิจารณาเทียบกับชื่อภาษาไทย จะเห็นไดวามีความสอดคลองกันกับคําวา ติสตแตก ซึ่งเปนคําที่สรางขึ้นโดยใชคําทับศัพท อารติสต โดยนําเอาเฉพาะ พยางค ห ลั ง มาผสมกั บ คํ า ว า แตก ที่ เ ดิ ม มี ค วามหมายว า แยกออกจากส ว นรวม เมื่ อ ผสมกั น จึ ง เกิ ด คํา ใหม ที่ มี ความหมายขึ้นใหมใชในความหมายทํานองวา บา หมกหมุน หรือทําตัวไมอยูกับรองกับรอย และเมื่อวิเคราะหรวมกับ เนื้อเรื่องจะเห็นวา Crazy Artist หรือ ติสตแตก เปนคําที่สื่อถึงลักษณะนิสัยของตัวละครเอกของเรื่อง 2. กลวิธีการตั้งชื่อนวนิยายรักและนวนิยายรักวัยรุน นวนิยายรักและนวนิยายรักวัยรุนของสํานักพิมพ แจมใสใชกลวิธีการตั้งชื่อดวยคําสัมผัส คําแสดงภาพพจน เครื่องหมาย ตัวเลข และพบการใชคาํ ทับศัพท คําไมตรงบริบท เฉพาะชื่อนวนิยายรักวัยรุนเทานั้น 2.1 การใชคาํ สัมผัส คําสัมผัส คือ คําที่ออกเสียงคลองจองกัน ซึ่งทําใหเกิดจังหวะหรือทวงทํานองเสียงที่ไพเราะระหว า งคํ า สามารถแบงออกไดเปน 2 แบบ ไดแก สัมผัสสระและสัมผัสอักษร 2.1.1 สัมผัสสระ เปนคําที่มีเสียงสระเหมือนกัน หรือเสียงสระและตัวสะกดเหมือนกัน เชน ซอนปมบมรัก มีสัมผัสเสียงสระ /โอะ/ ระหวางคําวา ปม กับ บม Spade's Casino เดิมพันรายคลายปมลับ มีสัมผัสเสียงสระ /อา/ ระหวางคําวา ราย กับ คลาย 2.1.2 สัมผัสอักษร เปนคําที่มีเสียงพยัญชนะเหมือนกัน เชน มานรักมนตรา มีสมั ผัสเสียงอักษร /ม/ ระหวางคําวา มาน กับ มน Sun's Zero Hour หนุมนอยวัยใสสานฝนหัวใจ มีสัมผัสเสียงอักษร /ส/ ระหวางคําวา ใส กับ สาน 2.2 การใชคาํ แสดงภาพพจน การใช คํา แสดงภาพพจนเป นวิธี การใชถอยคําในแบบตา ง ๆ ที่ ทํ า ให ผู อา นเกิดอารมณ ความรูสึ ก หรือ เห็นภาพในใจไดอยางชัดเจน การใชภาพพจนในการตั้งชือ่ เรื่องมีดงั นี้ 2.2.1 ปฏิพจน เปนการใชคําที่มคี วามหมายขัดแยงหรือตรงขามกันมากลาวรวมกันอยางกลมกลืน เชน คนแปลกหนา... คุน เคยใจ ชื่อเรื่องขางตนเปนปฏิพจนเนื่องจากคําวา แปลกหนา มีความหมายวา ไมรูจักกัน และคําวา คุนเคย มีความหมายวา รูจักกันในระดับหนึ่ง ซึ่งทั้ง 2 คํามีความหมายตรงกันขามจึงสรางความรูสึกขัดแยงเมื่อนํามาใชรวมกัน

85


The Murder of Love ฆาตกรรมนําพารัก ชักใยหัวใจใหมาใกลกัน ชื่ อเรื่อ งขา งต น เป น ปฏิ พ จนเนื่ องจากคํ า วา ฆาตกรรม กับ คํา ว า รัก ซึ่ ง เป น คํา แสดงความรูสึ กที่มี ความหมายขัดแยงกันเมื่อนํามาใชรวมกัน เพราะ ฆาตกรรม เปนคําที่ใหความหมายในทางลบ สวน รัก เปนคําที่ให ความหมายในทางบวก 2.2.2 อติพจน เปนการใชคํากลาวเกินจริงเพื่อทําใหผูอานเกิดความรูสึกสะเทือนอารมณมากกวาปกติ เชน เพลิงผลาญใจ ชื่อเรื่องขางตนเปนอติพจนเนือ่ งจากคําวา ใจ ในที่นี้เปนนามธรรม ซึ่งไฟไมสามารถเผาผลาญไดจริง Guilty Fairy Tale ลารักเรนราย กระชากหัวใจยัยสุดฮอต ! ชื่อเรื่องขางตนเปนอติพจนเนือ่ งจาก หัวใจ ไมสามารถถูกกระชากไดในความเปนจริง 2.2.3 บุคลาธิษฐาน เปนการใชคาํ ที่ใหสิ่งไมมีชีวิตทํากิริยาอาการเหมือนกับมนุษยได เชน ลมกระซิบรัก ชื่อเรื่องขางตนเปนบุคลาธิษฐาน เพราะปกติแลว ลม ไมปรากฏรวมกับกริยา กระซิบ ซึ่งเปนกิ ริยา อาการของมนุษย ดังนั้น ลมกระซิบรัก จึงเปนอาการที่ลมทํากิรยิ าเหมือนมนุษย Summer Breeze ใหลมพาหัวใจฝากไวที่เธอ ชื่อเรื่องขางตนเปนบุคลาธิษฐาน เพราะ ลม ไมปรากฏรวมกับกริยา พา ซึ่งเปนกิ ริยาอาการของมนุษย ดังนั้น ใหลมพาหัวใจฝากไวที่เธอ จึงเปนอาการที่ลมทํากิรยิ าเหมือนมนุษย 2.2.4 อุ ป ลั ก ษณ เป น การใช คํา กล า วเป น นั ยเพื่ อเปรีย บลั ก ษณะของสิ่ ง หนึ่ ง กับ อี กสิ่ ง โดยไม ต อ งมี คําเชื่อมโยง เชน หมาปาใตฟา หนาว ชื่อเรื่องขางตนเปนอุปลักษณ เพราะคําวา หมาปา คือการเปรียบคนที่มีนิสัยดุรายเจาเลหเปนหมาปา A Date with My Fairy ผมมีนัดกับนางฟา ! ชื่อเรื่องขางตนเปนอุปลักษณ เพราะคําวา นางฟา คือการเปรียบผูหญิงที่สวยและนิสัยดีเปนนางฟา 2.2.5 สัทพจน เปนการใชคําเลียนเสียงธรรมชาติที่ชวยใหผูอานสามารถเห็นภาพของสิ่งที่กําลังกลาวถึ ง ไดอยางชัดเจน จากขอมูลพบเฉพาะในนวนิยายรักวัยรุน เชน My Pretty Guy ฝากรักจุบ ๆ ไปบอกหนุมนารัก ชื่อเรื่องขางตนใชคําวา จุบ ๆ แทนเสียงที่เกิดจากการทํากิริยาจูบ

86


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

Snow Boy's Darling ตึก ๆ ตัก ๆ จังหวะรักยัยคูกัดหนุมฮอต ชื่อเรื่องขางตนใชคําวา ตึก ๆ ตัก ๆ แสดงถึงเสียงการเตนของหัวใจ 3. การใชเครื่องหมายและตัวเลข การใชเครื่องหมายและตัวเลขประกอบการตั้งชื่อหนังสือนวนิยายรักและนวนิยายรักวัยรุนที่พบมีดังนี้ 3.1 เครื่องหมายจุดไขปลา (...) เครื่องหมายจุดไขปลาใชเพื่อแสดงความตอเนื่อง เกี่ยวของ และช วยใหเกิดการเวนจังหวะระหวางชื่อเรื่อง เชน สายสืบคดีรอน... ซอนคดีรัก ชื่อเรื่องขางตนใชเครื่องหมายจุดไขปลาเวนจังหวะระหวางวลีหนาและวลีหลัง ทําใหเห็นความตอเนื่องของ เหตุการณวาความรักของตัวละครหลักเกิดขึ้นระหวางการสืบคดีดวน Ah! My Cinderella รักฉันเดี๋ยวนี้… นี่คือคําสั่ง ชื่อเรื่องขางตนใชเครื่องหมายจุดไขปลาเวนจังหวะระหวางประโยคหนาและหลัง ทําใหเห็นความเกี่ ยวของ ระหวางประโยคคําสั่ง รักฉันเดี๋ยวนี้ และ นี่คือคําสั่ง ซึ่งเปนประโยคที่ขยายความวาประโยคแรกเปนประโยคคําสั่ง 3.2 เครื่องหมายนขลิขิต หรือวงเล็บ ( ) เครื่องหมายนขลิขิตใชเพื่อ ขยายความชื่อเรื่อง นอกจากนั้ นการใสนขลิขิตหรือวงเล็บคลุมคํา ยังสงผลให ความหมายของชื่อเปลี่ยนไปดวย เชน คาถา (รัก) มัดใจ ชื่อเรื่องขางตนอานได 2 แบบ คือ คาถามัดใจ และ คาถารักมัดใจ การใสวงเล็บในลักษณะนี้เปนการใสเพื่อ ขยายความเพิ่ม My Be(a)st Girlfriend แฟนผมแสบจะตาย... แตถึงรายก็รักนะ ชื่ อ เรื่ อ งข า งต น อ า นได 2 แบบ คื อ My Best Girlfriend แฟนผมแสบจะตาย... แต ถึ ง ร า ยก็ รั ก นะ และ My Beast Girlfriend แฟนผมแสบจะตาย... แตถึงรายก็รักนะ การใสวงเล็บในลักษณะนี้เปนการสรางใหคํา เปลี่ยน ความหมายไป จาก Best ที่แปลวา ดีที่สุด กลายเปน Beast ที่แปลวา ปศาจ อสูร 3.3 เครื่องหมายอัศเจรีย (!) เครื่องหมายอัศเจรียใชเพื่อเนนย้ําอารมณและความสําคัญของเรื่อง จากขอมูลพบเฉพาะชื่อนวนิยายวัยรุน เทานั้น เชน TOY BOY อุบ ส ! แฟนฉันเปนซุป’ตาร ชื่อเรื่องขางตนใชเครื่องหมายอัศเจรียหลัง อุบส เพื่อแสดงอารมณตกใจใหชัดเจนมากขึ้น 87


Badly Politics ไมไดบังคับ แตรับรักผมเถอะ !!! ชื่อเรื่องขางตนใชเครื่องหมายอัศเจรียหลัง เถอะ เพื่อแสดงอาการขอรอง และเพื่อสื่อถึงความจําเปนอยาง มากที่สุด นอกจากนี้ยังพบเครื่องหมายปรัศนี (?) เพื่อแสดงถึงความเปนคําถามหรือขอสงสัยในชื่อนวนิยายรักวัยรุน ดวย เชน Billionaire Xavier สยบหัวใจคุณหนู (?) วายราย ใชเครื่องหมายปรัศนีเพื่อแสดงความไมแนใจวาเปน คุณหนูจริงหรือไม 3.4 ตัวเลข ตัวเลขใชเพื่อแสดงใหเห็นวาหนังสือเลมนั้น ๆ มีเลมตอเนื่อง เชน เสนหาธารา 1 Runaway Theory 1 เสียงหัวใจในความฝน ชื่อเรื่องที่ยกมาขางตนมีการใชเลข 1 เพื่อแสดงใหเห็นวาเปนนวนิยายที่มีเนื้อหาตั้งแตตนหรือตั้งแตเริ่มเรื่อง แตเนื้อหายังไมจบบริบูรณ นอกจากนี้ยังพบการใชตัวเลขเพื่อบอกรายละเอียดเพิ่มเติมในนวนิยายรักวัยรุนดวย เชน 3 Jigsaws ขออภัย ความรักขัดของ ใชเลข 3 เพื่อบอกจํานวนวามีจกิ๊ ซอว 3 ชิ้น ซึ่งจิ๊กซอวในที่นแี้ ทนตัวละครหลัก 3 คนของเรื่องนั่นเอง 4. การใชคําทับศัพทภาษาตางประเทศ การใช คํา ทั บ ศั พ ท ภ าษาต างประเทศเป น การนํ าคํา ศัพ ท ในภาษาต างประเทศมาใช โดยนํา มาเขียนดวย ตั ว อั ก ษรไทยเพื่ อสรา งความน า สนใจให กับ ชื่ อนวนิ ย าย จากขอมู ล พบชื่ อนวนิ ย ายวั ย รุน เท า นั้ น ที่ ใช คํ า ทั บ ศัพ ท ภาษาอังกฤษในการตั้งชื่อ เชน Puppy Love ปงรักครั้งนี้ขอรีเควสตหัวใจยัยจุมมา ใชคําวา รีเควสต ทับศัพทภาษาอังกฤษ request ซึ่งมี ความหมายวา ขอรอง Secret Satan เทรนนี สุ ด แสบติ ด กับ หั ว ใจนายซาตานมาดรา ย ใช คํา ว า เทรนนี ทั บ ศัพ ท ภ าษาอั ง กฤษ trainee มีความหมายวา ผูฝกหัด นอกจากนี้ยังพบชื่อเรื่องที่ใชคํายืมภาษาภาษาญี่ปุน อีก 2 ชื่อ คือ Nippon Cutie รักหวานละมุนวุนหัวใจ หนุมชิงกันเซน และ Nippon Sweetie รักหวานใสหัวใจสี ซากุระ ทับศัพทคําวา ชิงกันเซน และ ซากุระ เนื่องจาก เปนศัพทเฉพาะ และพบคํายืมภาษาเกาหลี 1 ชื่อ คือ Puppy Love ปงรักครั้งนี้ขอรีเควสตหัวใจยั ยจุมมา ทับศัพท คําวา อาจุมมา ที่มีความหมายวา คุณปา โดยนําคํามาตัดใชเฉพาะพยางคที่ 2 และ 3

88


จุลสารลายไทย ฉบับป 2559

5. การใชคําไมตรงบริบทหนาที่ทางไวยากรณ การใชคาํ ไมตรงบริบทหนาที่เปนลักษณะของการใชคําที่แตกตางไปจากหนาที่ทางไวยากรณในบริบทเดิมเพื่อ เนนอารมณความรูสึกใหชัดเจนและกระแทกใจผูอาน จากขอมูลพบชื่อนวนิยายรักวัยรุนเทานั้นที่ตั้งชื่อดวยการใชคํา ไมตรงบริบทหนาที่ เชน Love Attack โปรดระวังความรักพุงชน พุงชน เปนกริยาที่หมายถึง วิ่งเขาเปาหมายอยางเร็วและแรง ปกติเปนคําที่ไมใชกับคํานาม ความรัก Love On Track ฉึกฉักไปตามราง เดินทางไปตามรัก ฉึกฉัก เปนการเลียนเสียงของรถไฟ โดยปกติไมไดทําหนาที่ทางไวยากรณ แตจากบริบทนี้จะเห็นไดวา ฉึกฉัก ทําหนาที่กริยา สรุป จากการศึ ก ษาชื่ อ นวนิ ย ายรั ก และชื่ อ นวนิ ย ายรั ก วั ย รุ น พบการใช ทั้ ง ภาษาไทยและภาษาไทยปน ภาษาตางประเทศ โดยมีขอแตกตาง คือ ชื่อนวนิยายรักนิยมใชภาษาไทยมากกวา ในขณะที่นวนิยายรักวัยรุนนิยมใช ภาษาไทยปนภาษาตางประเทศมากกวา ดานกลวิธีการตั้งชื่อสวนใหญคลายคลึงกัน มีขอแตกตางเพียงเล็กนอย คือ พบการใชสัทพจน เครื่องหมายอัศเจรีย เครื่องหมายปรัศนี การใชตั วเลขเพื่อบอกรายละเอียดเพิ่มเติม การใชคํา ทับศัพทภาษาตางประเทศ และการใชคาํ ไมตรงบริบทหนาที่ เฉพาะชื่อนวนิยายรักวัยรุนเทานั้น

89


รายการอางอิง

ความรูสึกดี..ที่เรียกวารัก. สืบคนจาก http://www.jamsai.com/product/cat/1?cat_all=1 ชุติมา บุญอยู. (2549). วิเคราะหโครงสรางภาษาและกลวิธีการตั้งชื่อภาพยนตรไทยในชวง 2 ทศวรรษ (พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2545). (วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, คณะศิลปศาสตร, สาขาวิชาภาษาไทย. ประภัสสร สีหรักษ. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการใชภาษาในการตั้งชื่อนวนิยายรักกับชื่อนวนิยายรักวัยรุน ของสํานักพิมพแจมใส. (รายงานวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, คณะศิลปศาสตร, สาขาวิชาภาษาไทย. พลเทพ วิรยิ ะสถาพร. (2554). 1 ทศวรรษของนวนิยายรักยุคใหม ยังยืนหยัดมั่นคงในตลาดหนังสือไทย. วารสารหนังสือ, 9, 16-19. พี่แบงค. (2554). ตั้งชื่อนิยายแบบนีส้ ิโดน ! !. สืบคนจาก http://www.dek-d.com/writer/26798/ รัญชิดา คนิยมเวคิน. (2557). การคัดเลือกตนฉบับและการตั้งชือ่ เรื่องนวนิยายแฟนตาซีของสํานักพิมพเอ็นเธอรบุคส. (สารนิพนธ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, คณะวารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาหนังสือพิมพและ สิ่งพิมพ. สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เลม 3: ชนิดของคํา วลี ประโยค และสัมพันธสาร (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย. สายทิพย นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปจจุบนั . กรุงเทพฯ: พริ้นติ้งแมสโปรดักส. อรพัช บวรรักษา. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยเบื้องตนทางภาษาและวรรณกรรมไทย (ท.391). ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. Jamsai Love Series. สืบคนจาก http://www.jamsai.com/product/cat/ LOVE. สืบคนจาก http://www.jamsai.com/product/cat/46

90


สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.