รัตนะแห่งจิตรกรรม
จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙
อัครศิลปิน พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช พระมหากษั ต ริ ย ์ รั ช กาลที่ ๙ แห่ ง พระบรมราชจักรีวงศ์ พระองค์คือ อัครศิลปิน ด้วยทรงพระปรีชาสามารถเลิศล�้ำในศิลปะวิทยาการ ทุกสาขาของชาติไทย พระเกียรติคุณเป็นที่ประจักษ์ ทั้งทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณศิลป์ และ นฤมิตศิลป์ อันประกอบด้วยศิลปกรรมทีท่ รงสร้างสรรค์หลากหลายประเภท ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม การดนตรี การช่าง การถ่ายภาพ สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม วรรณกรรม ศิลปะงานทรงแปล โดยเฉพาะ เพลงพระราชนิพนธ์จ�ำนวนมาก เป็นที่เลื่องชื่อลือชาอย่างกว้างไกลสู่นานาอารยประเทศ ในพระราชฐานะ พระประมุขของชาติ พระองค์ทรงได้รบั การสดุดใี นพระปรีชาสามารถอันท่วมท้น ในท่ามกลางพระราชาธิบดี ของประเทศทั้งหลาย ต่างทรงชื่นชมสรรเสริญอย่างมิตรไมตรี น�ำความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่มาสู่ประเทศ และชาวไทยทั่วหน้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลึกซึ้งในศิลปศาสตร์ที่กล่าวมา อย่างถ่องแท้เชี่ยวชำ�นาญ ทั้งภาค ทฤษฎีและการปฏิบัติ ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจพระมหากษัตริย์สอดคล้องตามกาลสมัย ทรงธำ�รง รักษาศิลปวัฒนธรรมตามแนวทางที่พระมหากษัตริย์แต่ละยุคสมัยทรงบำ�เพ็ญเป็นราชประเพณี โดยทรง อุปถัมภ์บำ�รุงช่างศิลปินและสร้างสรรค์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติไว้อย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ ทางตรงและทาง อ้อม เพื่อตกทอดเป็นสมบัติของแผ่นดินที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นชาติอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ น้อมเกล้า น้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา อัครศิลปิน แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๙
พระราชประสงค์ที่ส�ำคัญ คือ ส�ำหรับเป็นแบบแผนการศึกษา เพื่อการเรียนรู้ของประชาชนและเยาวชนในชาติ งานด้าน จิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นแบบอย่างอันดีประการหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความห่วงใยในศิลปกรรม ประจ�ำชาติ ดังได้มีพระราชด�ำริแสวงหาแนวทางอนุรักษ์ให้ด�ำรงอยู่สืบไป ประจักษ์ได้จากงานจิตรกรรมในหลายโอกาส ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จติ รกรมาร่วมเขียน เช่น จิตรกรรมไทยในหนังสือเรือ่ งพระมหาชนก เป็นจิตรกรรมไทย ทีต่ อ้ งค�ำนึงถึงลักษณะศิลปกรรมสมัยโบราณ ซึง่ แต่ละภาพของจิตรกรอยูใ่ นพระบรมราชวินจิ ฉัยอย่างใกล้ชดิ อันเป็นความประทับใจ ที่จารึกในความทรงจ�ำของศิลปินทุก ๆ คนอย่างปลื้มปีติสุข กระทั่งน�ำมาสู่การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวังในที่สุด ซึ่งผู้สนใจในพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมแบบไทยประเพณีแห่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั จะได้ตระหนักในน�ำ้ พระราชหฤทัยอย่างลึกซึง้ ในหนังสือ “รัตนะแห่งจิตรกรรม จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙” อันประดุจหลักฐานประกาศศิลปกรรมรัชกาลที่ ๙ อย่างสมบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชด�ำริในการสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรัตนสถาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมรัชกาลที่ ๙ อันทรงคุณค่ายิ่ง
คำ�นำ� พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เขียน จิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน ตามแนวพระราชด�ำริ ส�ำเร็จอย่างวิจิตรงดงาม เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๘ กล่าวได้ว่า งานจิตรกรรมฝาผนังชุดนี้ คือ “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙” ด้วยเหตุที่ พระพุทธรัตนสถาน เป็นพุทธสถานส่วนพระองค์แห่งพระมหากษัตริย์ ตั้งอยู่ ณ เขตพระราชฐานชั้นใน ในพระบรมมหาราชวัง จึงเป็นสิ่งยากยิ่งนัก ที่บุคคลภายนอกจะมีโอกาสได้ชื่นชม งานจิตรกรรมฝาผนังอันมีคุณค่านี้นอกจากได้รับพระบรมราชานุญาตให้จ�ำลองเป็นภาพถ่าย แล้วน�ำออก เผยแพร่ให้ปรากฏ ดังเช่น รัตนะแห่งจิตรกรรม : จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ศิลปกรรม สมัยรัชกาลที่ ๙ เล่มนี้ ประกอบด้วยภาพเขียนระหว่างช่องพระบัญชรด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ด้านละ ๔ ช่อง รวม ๘ ช่อง ซึ่งบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ที่ทรงเกี่ยวข้องกับพระพุทธรัตนสถาน คือ รัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ รัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ นอกจากงาน “ศิ ล ปกรรมสมั ย รั ช กาลที่ ๙” ที่ ป รากฏ ณ จิ ต รกรรมฝาผนั ง ระหว่ า งช่ อ ง พระบัญชร ๘ ช่องนี้ จะได้ศึกษางาน “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๔” อันเป็นจิตรกรรมฝาผนังอยู่บน พืน้ ผนังตอนบนของช่องพระบัญชร และผนังด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เขียนเรือ่ งประวัตพิ ระพุทธ บุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย พระพุทธปฏิมาประธานแห่งพระพุทธรัตนสถานด้วย หนังสือ รัตนะแห่งจิตรกรรม : จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙ คือ หลักฐานพระเกียรติคุณอันไพบูลย์ภิญโญยิ่งแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงธ�ำรงปกปัก รักษาเอกลักษณ์ของศิลปกรรมประจ�ำชาติ ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนคู่ชาติไทย เป็นพระมหากรุณาล้นพ้น สุดจะพรรณนา
๑ ๒ ๓
สารบัญ พระพุทธรัตนสถาน ฉายพระราชศรัทธาพระบรมราชจักรีวงศ์ พระอัจฉริยภาพ สร้างสรรค์ศิลปกรรมล�้ำค่า พระราชด�ำริ ก่อเกิดศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙
๑๐ ๔๒ ๘๘
พระพุทธรัตนสถาน ฉายพระราชศรัทธาพระบรมราชจักรีวงศ์
๑
พระพุทธรัตนสถาน คือศาสนสถานสำ�คัญอีกแห่งหนึ่งที่ผูกพันพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มาตั้งแต่แรกสร้าง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเพื่อประดิษฐาน พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก ณ พุทธนิเวศน์ ในปีที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พุทธศักราช ๒๓๙๔ เพื่อเป็นกตเวทิตาสักการะถวายแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงทำ�นุบำ�รุงพระบวรพุทธศาสนาไว้แก่แผ่นดินอย่างอเนกอนันต์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างพระพุทธรัตนสถานขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๔ เพื่อประดิษฐาน พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย
พระพุทธรัตนสถาน พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยขนาด ๕ ห้อง ยกพื้นเป็นฐานสูง ๓ ชั้น ตั้งอยู่กลางสวนศิวาลัย อาณาบริเวณซึ่งเมื่อต้นรัชกาลปัจจุบันเป็นสถานที่จัดงานอุทยาน สโมสรเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออกสู่ถนนสนามไชย อาณาบริเวณด้านทิศตะวันตกคือหมู่พระมหามณเฑียร ด้านทิศ เหนือคือพระที่นั่งบรมพิมาน และทิศใต้คือพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท ซึ่งบริเวณสวนศิวาลัย ที่ตั้งของพระพุทธรัตนสถานนัน้ เดิมคือสวนขวา สวนทีส่ ร้างขึน้ อย่างวิจติ รงดงามด้วยฝีมอื ช่างไทย ซึ่ง พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย โปรดให้ ส ร้ า งขึ้น เพื่อ ประกาศให้ ป ระเทศ เพือ่ นบ้านรับรู้ว่าชาวไทยได้ก่อตั้งบ้านเมืองขึ้นอย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่น ทั้งสร้างพระราชอุทยาน ในพระบรมมหาราชวังไว้้อย่างวิจิตรงดงาม 12
พระพุทธรัตนสถาน ภาพถ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 13
๑๕ ๕
๔ ๘
๑๖ ๑๗
๖
๗
พระพุทธรัตนสถาน เ ป็ น ส ถ า ปั ต ย ก ร ร ม ท ร ง ไ ท ย ขนาด ๕ ห้อง ยกพื้นสูง ตั้งอยู่บนฐาน ๓ ชั้น พื้นก่อด้วยหินอ่อนและผนังภายนอกประดับด้วย หิ น อ่ อ นสี เ ทา ตกแต่ ง ด้ ว ยศิ ล ปกรรมไทยอั น ละเอี ย ด ประณีต ไม่ว่าจะเป็นการแกะสลักไม้หน้าบัน ช่อฟ้า ใบระกา คันทวย การลงรั ก ปิ ด ทองประดั บ กระจกซุ้ ม พระบั ญ ชรและซุ้ ม พระทวาร การประดับมุกอันวิจิตรที่บานพระทวารและพระบัญชร และการแกะสลัก ไม้ประดับกระจก ประดับกระจกสีขาวเลื่อมที่ลายเพดานประดุจอัญมณี บุษยรัตน์ สะท้อนถึงพระราชศรัทธาแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย และความ กตัญญูที่จะสนองคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย ผู้ทรงสร้างสวนขวา และมีพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก เสด็ จ มาสู่ ก รุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ใ นรั ช สมั ย ของพระองค์ พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้าง พระพุทธรัตนสถานในพุทธศักราช ๒๓๙๔ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปสำ�คัญ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์อีกหนึ่งองค์รองจากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
14
๑๔
๑
๒ ๓
๑๑
๑๓
๑๒
๙
๑๐
น แผนผังพระบรมมหาราชวัง ๑ พระพุทธรัตนสถาน ๒ พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ ๓ พระที่นั่งบรมพิมาน
๑๐ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
๔ พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท ๕ หมู่พระมหามณเฑียร ๖ อาคารเอ ๗ อาคารบี
๑๓ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๑๑ ศาลาสหทัยสมาคม ๑๒ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
๑๔ หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ๑๕ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
๑๖ หมู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ๘ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ๑๗ ศาลาลูกขุนใน ๙ พระทีน่ ั่งไชยชุมพล
15
พระพุทธบุษยรัตน รัตนะแห่งพระราชฐานชั้นใน
พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย พระประธานในพระพุทธรัตนสถาน เป็นพระพุทธรูปสำ�คัญรองจาก พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
16
พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย หรือ พระแก้วขาว หรือบ้างก็เรียกพระแก้วประจ�ำรัชกาลที่ ๒ มีพุทธศิลปะ แบบล้านนา ปางสมาธิ จ�ำหลักจากแก้วผลึกใสบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า เพชรน�้ำขาว เพชรน�้ำค้าง หรือบุษย์น�้ำขาว ขนาดหน้าตักกว้าง ๗.๕ นิ้ว เฉพาะองค์พระปฏิมาสูง ๑๒.๕ นิ้ว จากฐานถึงพระรัศมี ๒๐.๔ นิ้ว ฐานพระพุทธรูปท�ำเป็นกลีบดอกบัวทองค�ำประดับ เนาวรัตน์ มี ๓ ชั้น ฐานแข้งสิงห์จ�ำหลักลาย ด้านหลังมีจารึกแผ่นทองค�ำข้อความว่า “...พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพมิ ลมณีมยั พระองค์นี้ เชิญมาแต่เมืองจำ�ปาศักดิ์ ถึงกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา ปีมะแม ตรีศก ศักราช ๑๑๗๓ เป็นปีที่ ๓ ของพระราชลัญจกรนี้ ประจำ�แผ่นดิน...” พระพุทธปฏิมาองค์นี้มีความส�ำคัญคู่บ้านคู่เมืองเทียบได้กับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ได้เสด็จมา สู่กรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นที่เลื่อมใสเคารพสักการะอย่างยิ่ง ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรตั นศาสดาราม และในหอพระสุลาลัยพิมาน มีการอัญเชิญไปใน การพิธีต่าง ๆ ตลอดรัชกาล เมือ่ มีการพระราชพิธใี หญ่ ๆ เช่น เฉลิมพระทีน่ ง่ั ใหม่ พระราชพิธลี งสรง พระราชพิธโี สกันต์ พระราชพิธสี มั พัจฉรฉินท์สำ�หรับปี พระราชพิธพี ริ ณ ุ ศาสตร์ และอาพาธพินาศ ก็มพี ระบรมราชโองการให้อญ ั เชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกไปประดิษฐานบนพระแท่น มณฑลทำ�สักการบูชา รวมทั้งอัญเชิญไปเป็นประธานในการที่มีขบวนแห่ทั้งทางชลมารคและสถลมารค รวมทัง้ เวลาใดว่างจากการ ทรงบำ�เพ็ญพระราชกุศล ก็มพี ระบรมราชโองการให้อญ ั เชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วไปสมโภชสักการบูชาในที่นั้น ๆ ตลอดรัชกาล ในรั ช กาล พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ได้ มี ก ารประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากรไว้ ใ น พระมณฑปและยกฐานให้สูงขึ้น ทรงตกแต่งแท่นฐานชุกชีให้วิจิตรอลังการ ด้วยเหตุนี้ จึงมิได้อัญเชิญพระแก้วมรกตออกไป ในการพระราชพิ ธีน อกพระอุ โ บสถอี ก ต่ อ ไป จึ ง โปรดให้ อั ญ เชิ ญ พระพุ ท ธบุ ษ ยรั ต น ออกมาตั้ ง เป็ น ประธานในการ พระราชพิธีแทนพระแก้วมรกต ความเลื่อมใสในพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัยได้ทวีย่งิ ขึ้นในกาลต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้าอยูห่ วั ทรงพระอนุสรณ์คำ�นึงถึงว่า สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงสรรเสริญพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกว่างามดีกว่าพระพุทธรูป ทัง้ บ้านทัง้ เมืองใหญ่เมืองน้อยว่า ไม่มที เ่ี ปรียบทีส่ ู้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระวิหารพระพุทธรัตนสถาน ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาไว้อย่างสง่างดงาม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงสร้างพระที่นั่งอัมพรสถานในพระราชวังดุสิตแล้วเสร็จ เมือ่ พุทธศักราช ๒๔๔๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อญ ั เชิญพระพุทธบุษยรัตน์ ฯ ไปประดิษฐานไว้บนชั้นที่ ๓ ของพระที่นั่ง ปัจจุบันพระพุทธบุษยรัตน์ ฯ ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต 17
ต�ำนาน พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย
ตามต�ำนานกล่าวว่า พระพุทธรูปแก้วผลึกองค์นี้พบในป่าแขวงเมือง จ�ำปาศักดิ์ โดยพรานป่า ๒ คน คือ พรานทึง และพรานเทิง พรานทัง้ สองคน ได้พบพระพุทธรูปแก้วผลึกในถ�้ำบริเวณเขาส้มป่อยนายอน โดยเข้าใจว่าเป็น ผีศักดิ์สิทธิ์ ได้กราบไหว้และบนบานขอให้ยิงสัตว์ได้มากจะถวายเครื่องเซ่น นับแต่นั้นมาก็ล่าสัตว์ได้มากกว่าปกติ พรานทั้งสองจึงน�ำเครื่องเซ่นไปสังเวย ต่อมาเกิดความวิตกว่าจะมีใครมาลักเอาไป จึงได้อาราธนาไปเก็บรักษาไว้ ที่บ้าน โดยใช้สายหน้าไม้ผูกพระศอเข้ากับขาหน้าไม้แล้วคอนกลับมาบ้าน ระหว่ า งทางพระพุ ท ธรู ป กระทบกั บ ขาหน้ า ไม้ ปลายพระกรรณขวาหั ก หายไป เมื่อกลับมาถึงบ้านได้เก็บรักษาไว้ในบ้าน เซ่นสรวงสักการะเรื่อยมา และเรียกว่า “ผีเสื้อหน้าไม้” 18
ในเวลาต่ อ มาผู้ ที่ รั บ ซื้ อ นอแรดและ งาช้างจากพรานป่าทั้งสองจนสนิทสนมคุ้นเคย ได้ ถ ามว่ า เพราะเหตุ ใ ดจึ ง ล่ า สั ต ว์ ไ ด้ ม ากกว่ า ผู้ อื่ น พรานทึ ง พรานเทิ ง บอกว่ า เป็ น เพราะ ผี เ สื้ อ หน้ า ไม้ จึ ง ได้ ข อดู และได้ ม าแจ้ ง แก่ เจ้านครจำ�ปาศักดิ์ เจ้านครจำ�ปาศักดิ์ไชยกุมาร จึงได้ไปอัญเชิญพระพุทธรูปแก้วองค์นี้มาไว้ใน เมืองนครจำ�ปาศักดิ์ ในเวลาต่ อ มาราวพุ ท ธศั ก ราช ๒๓๑๘ เกิดความไม่สงบวุน่ วายขึน้ สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ได้ให้กองทัพขึ้นไปกำ�ราบปราบปราม เมื อ งนครจำ�ปาศั ก ดิ์ แ ละหั ว เมื อ งลาวที่ ขึ้ น กั บ เ มื อ ง นครจำ�ปาศั ก ดิ์ น้ั น ด้ ว ย ในครั้ ง นั้ น เจ้านครจำ�ปาศักดิ์ ย อมแพ้ ข อขึ้ น แก่ ก รุ ง ธนบุ รี ถวายดอกไม้ทองเงิน แต่ฝ่ายแม่ทัพนายกอง ฝ่ายไทยก็หาได้ลว่ งรูว้ า่ มีพระแก้วขาวในเมืองนคร จำ�ปาศักดิ์
19
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เจ้านครจำ�ปาศักดิ์ ไชยกุ ม ารแก่ ช ราลง หลานชาย ๓ คนเกิ ด การวิ ว าทแย่ ง ชิ ง กั น เป็ น ใหญ่ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้มีพระบรมราชโองการให้เจ้านครจำ�ปาศักดิ์ ไชยกุมารกับหลานลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แต่เจ้านครจำ�ปาศักดิ์ป่วยลงกลางทาง ลาข้ า หลวงกลั บ ไปรั ก ษาตั ว และถึ ง แก่ พิ ร าลั ย ส่ ว นเจ้ า หลานทั้ ง สามคนลงมาถึ ง กรุงเทพมหานคร ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ในระหว่างนี้นายเชียงแก้วชาวเมืองโขง ได้ซ่องสุมผู้คน ยกเข้าตีเมืองนครจำ�ปาศักดิ์ แต่ถูกเจ้าหน้าอยู่บ้านสินท่าเป็นเชื้อสาย เจ้าอุปราชเวียงจันทน์คนเก่า ร่วมกับท้าวพรหมบ้านเจระแม ท้าวคำ�บ้านดงพะเนียง ต้านทานไว้ได้ แล้วมีใบบอกลงมายังกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชมีพระราชดำ�ริว่าทั้ง ๓ คน มีความชอบมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมแต่งตัง้ ให้เจ้าหน้าเป็นเจ้านครจำ�ปาศักดิ์ ท้าวพรหมเป็นพระพรหมราชวงศา บ้ า นเจระแมเป็ น เมื อ งคื อ เมื อ งอุ บ ลราชธานี ท้ า วคำ�เป็ น พระเทพวงศา ยกบ้ า น ดงพะเนียงเป็นเมืองเขมราฐ ขึ้นแก่กรุงเทพมหานครทั้ง ๓ เมือง บ้านสินท่าบ้านเดิมของ เจ้าหน้านั้นยกขึ้นเป็นเมืองยโสธร ตั้งท้าวม่วงน้องชายเจ้าหน้าเป็นพระสุนทรราชวงศา เจ้าเมือง แต่ให้ขึ้นกับเมืองนครจำ�ปาศักดิ์ 20
ต่ อ มาเจ้ า หน้ า เจ้ า นครจ� ำ ปาศั ก ดิ์ ย ้ า ยเมื อ งใหม่ ม ายั ง ต� ำ บลคั น ตะเกิ ง ทางฝั ่ ง ตะวั น ตก ของแม่ น�้ ำ และได้ ส ร้ า งพระวิ ห ารประดิ ษ ฐานพระปฏิ ม ากรแก้ ว ผลึ ก สั ก การบู ช าเสมอมา จนเจ้าหน้าถึงแก่พิราลัยเมื่อพุทธศักราช ๒๓๕๓ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีพระบรมราชโองการให้แต่งข้าหลวงเชิญหีบศิลาหน้าเพลิงและเครื่องไทยธรรมของพระราชทาน ในการศพเจ้าหน้าขึ้นไปพระราชทานเพลิง ข้าหลวงเมื่อไปถึงนครจ�ำปาศักดิ์แล้วได้เข้าไปนมัสการ พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก เห็นว่าเป็นของดีวิเศษจึงปรึกษาชักชวนท้าวเพี้ยทั้งปวงให้พร้อมใจกัน เข้าชื่อกับข้าหลวง ส่งใบบอกมายังลูกขุน ณ ศาลา กราบบังคมทูลถวายพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึก แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อได้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทก็ทรงพระโสมนัส โดยพระราชศรั ท ธาเลื่ อ มใส จึ ง มี พ ระบรมราชโองการให้ ก รมมหาดไทยมี ท ้ อ งตราให้ ข ้ า หลวง คุมขึ้นไปสั่งเมืองรายทางให้แต่งที่ทางรับพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกด้วยการแห่แหนสักการบูชาและ ฉลองสมโภช เมื่อพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกล่องลงมาถึงวัดเขียนตลาดแก้ว แขวงเมืองนนทบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จพระราชด�ำเนินโดยขบวนพยุหยาตราใหญ่ขึ้นไปรับ และได้อญ ั เชิญมาประดิษฐานไว้ในพระบรมมหาราชวัง ทรงสักการะและอัญเชิญในการพระราชพิธสี ำ� คัญ 21
พระอภิเนาว์นิเวศน์ หมู่พระที่นั่งรูปทรงแบบ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก สร้างขึ้นบริเวณ ด้านทิศใต้ของพระพุทธรัตนสถาน เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ รัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระทีน่ งั่ ต่าง ๆ ในพระอภิเนาว์นิเวศน์ทรุดโทรมลงจึงได้มีการ รื้อถอนออกทั้งหมด และได้ใช้ชื่อพระที่นั่ง บางองค์ในพระอภิเนาว์นิเวศน์มาเป็นชื่อพระที่นั่ง ที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลของพระองค์ ได้แก่ พระที่นั่งบรมพิมาน และพระที่นั่งอนันตสมาคม
หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์
22
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงพระเยาว์ ฉาย ณ บริเวณพระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระอภิเนาว์นิเวศน์
๑๑. พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระพุทธรัตนสถานเป็นส่วนหนึ่งของ พุทธนิเวศน์ อันเป็นกลุ่มอาคารที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น บริเวณที่เป็นเกาะกลางน�้ำอันเป็นที่ตั้งเดิมของหอพระในสวนขวา ซึ่งสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญ พระพุทธบุษยรัตน ฯ พระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปฉลองพระองค์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์มาประดิษฐานไว้ แล้วยกเป็นพุทธเจดีย์สถานส�ำหรับพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า พุทธนิเวศน์ ซึง่ คล้ายกับเป็นพระอารามอีกแห่งหนึง่ ในพระบรมมหาราชวัง ทางพืน้ ที่ ด้านใต้แ ละตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ข องพระพุ ท ธมหามณเฑี ย รที่ ยั ง ว่ า งอยู ่ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรดกระหม่อมให้สร้างพระราชมณเฑียรขึน้ ใหม่ พระราชทานนามว่า พระอภิเนาว์นเิ วศน์ เป็นพระราชมณเฑียร หมูใ่ หญ่ มีพระทีน่ งั่ และหอต่าง ๆ รวม ๑๑ องค์ พระราชทานนามคล้องจองกันว่า พระทีน่ งั่ อนันตสมาคม พระทีน่ งั่ บรมพิมาน พระทีน่ งั่ นงคราญสโมสร พระทีน่ งั่ จันทรทิพโยภาส พระทีน่ งั่ ประพาศพิพธิ ภัณฑ์ พระที่นั่งภานุมาศจำ�รูญ พระที่นั่งมูลมณเฑียร หอเสถียรธรรมปริตร พระที่นั่งภูวดลทัศนัย หอราช ฤทธิ์รุ่งโรจน์ และหอโภชนลีลาศ ซึ่งใช้เป็นที่ประทับตลอดรัชกาล
๓๓. พระที่นั่งนงคราญสโมสร
๒๒. พระที่นั่งบรมพิมาน ๔๔. พระที่นั่งจันทรทิพโยภาส ๕๕. พระที่นั่งภานุมาศจ�ำรูญ ๑๑ ๖
๘
๗
๕ ๓
๖๖. พระที่นั่งมูลมณเฑียร ๗๗. หอเสถียรธรรมปริตร ๘๘. หอราชฤทธิ์รุ่งโรจน์
๒
๑
๙๙. หอโภชนลีลาศ ๑๐ ๑๐. พระที่นั่งประพาศพิพิธภัณฑ์
๔ ๑๐
๙
แผนผังพระอภิเนาว์นิเวศน์ จากหนังสือ สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง เล่ม ๑
๑๑ พระที่นั่งภูวดลทัศนัย 23
สวนขวา พระราชอุทยานแห่งความรื่นรมย์
บริเวณโรงแสง
๘
มังกร งสวนขวา แผนผั
๑ ประตูมังกรเล่นลม
๑
๒ ประตูกลมเกลาตรู ๕
๒
๔
๓ ประตูชมภู่ไพที
๖
๔ เก๋งโรงละคร ๕ มณเฑียรทอง ๓ หลัง ๖ หอพระ
สระ
๓ ๗
๗ พระที่นั่งพลับพลาสูง
(พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ในปัจจุบัน)
๘ ถนนเขื่อนขันธ์ในปัจจุบัน แผนผังสวนขวา จากหนังสือ แผนผั สถาปังพระอภิ ตยกรรมพระบรมมหาราชวั เล่มตยกรรมพระบรมมหาราชวั ๑ เนาว์นิเวศน์จากหนังสือ งสถาปั ง เล่ม ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างสวนขวาขึ้นเพื่อท�ำนุบ�ำรุงช่างฝีมือ จนมีความงดงาม เป็นที่เลื่องลือไปในนานาประเทศ
พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราชทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรดกระหม่อมให้สร้างสวนขวา เป็นพระราชอุทยานสำ�หรับเสด็จประพาสเพื่อพักผ่อน พระราชอิรยิ าบถ บริเวณทิศตะวันออกของหมูพ่ ระทีน่ ง่ั จักรพรรดิพมิ าน (พระมหามณเฑียร) พื้นที่ด้านทิศตะวันตกเป็นสวนสำ�หรับฝ่ายในเรียกว่า สวนซ้าย เมื่ อ แรกสร้ า งนั้ น สวนขวามี พ ระต� ำ หนั ก ทองที่ ป ระทั บ ในสระน�้ ำ หลั ง หนึ่ ง และพลับพลาที่เสวยริมปากอ่างแก้วหน้าเขาฟองน�้ำหลังหนึ่ง สวนนั้นมีก�ำแพงแก้ว ล้อมรอบเป็นบริเวณ 24
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการขยายเขตพระราชวังไปทางทิศใต้จดวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม มีถนนท้ายวังคั่นกลาง พระบรมมหาราชวังมีพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้น จึงมีพระราชด�ำริว่า ช่างฝีมือในการ ก่อสร้างมีมากขึ้นแล้ว สมควรที่จะมีสวนในพระราชวังให้งดงามบริบูรณ์ได้เช่นเดียวกับพระราชอุทยานในพระราชวังหลวง แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงหารือกับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการซึ่งต่างก็เห็นชอบในพระราชด�ำริ จึงโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นแม่กองปรับปรุงสวนขวา และให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการฝ่ายหน้าช่วยกันรับหน้าที่ในการก่อสร้างบ้าง การตกแต่งบ้าง เพื่อที่จะให้ปรากฏเป็นพระเกียรติยศ สื บ ไป เพื่ อ ท� ำ นุ บ� ำ รุ ง ข้ า ราชการที่ เ ป็ น ช่ า งให้ ท� ำ การไว้ ฝ ี มื อ และเพื่ อ เป็ น ที่ ท รงส� ำ ราญพระราชอิ ริ ย าบถ ทั้งให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายในเป็นที่ประพาสเล่น ด้วยมิได้เคยเห็นภูเขาและธารน�้ำแห่งใด สวนขวาในรัชสมัยนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขยายเขตสวนและสระให้กว้างขวางกว่าเดิม พร้อมทั้งก่อก�ำแพงล้อมรอบ สระมีขนาดยาว ๓ เส้น ๔ วา (ประมาณ ๑๒๘ เมตร) กว้าง ๒ เส้น ๘ วา (ประมาณ ๘๖ เมตร) ขอบสระนั้นลงเขื่อนแล้วก่ออิฐบังหน้าเขื่อน พื้นสระปูอิฐถือปูน ท�ำเหมือนอ่างแก้ว ให้ขุดท่อน�้ำเป็น ๓ สาย ปิดเปิดถ่ายน�้ำได้เพื่อให้น�้ำใสสะอาดไม่มีเลนตม ในสระมีเกาะน้อยใหญ่เรียงรายกันไปหลายเกาะ ชักสะพานถึงกัน ท�ำเก๋งและก่อเขาไว้ริมเกาะ เกาะละ ๒ เก๋งบ้าง ๓ เก๋งบ้าง ขอบสระใหญ่ให้ก่อภูเขาท�ำเก๋งลงที่ลาด ท่วงทีเหมือนอย่าง แพไว้รอบสระ หลังเก๋งปลูกต้นไม้ใหญ่มีผลชนิดต่าง ๆ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพเป็นแม่กองก่อเขาและ ปลูกต้นไม้ 25
ภาพจิตรกรรมฝาผนังนางในพายเรือในสวนขวา อยู่ที่มุขกระสันหอพระธาตุมณเฑียร (ภาพจากหนังสือหมู่พระมหามณเฑียร)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณพระพุทธรัตนสถาน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของพระมเหสีเทวี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม เช่นเดียวกับเมื่อครั้งยังเป็นสวนขวา 26
เก๋งและแพทีอ่ ยูร่ อบสระนัน้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชวงศ์ทง้ั ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ตลอดจน ท้าวนางผู้ใหญ่ในพระราชวังที่สามารถจะแต่งเก๋งแต่งแพได้ ให้เป็นเจ้าของตกแต่งทั้งสิ้น โดยแพพระราชวงศ์ฝ่ายหน้า มี ๕ แพ ได้แก่ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ กรมหมื่นศักดิพลเสพ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ แพพระราชวงศ์ฝ่ายในมีจำ�นวนถึง ๒๗ หลัง เป็นแพของทั้งสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ พระเจ้าน้องนางเธอ พระเจ้าลูกเธอ และพระราชธิดาของกรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ส่วนแพข้าราชการฝ่ายในซึ่งเป็น เจ้าจอมในรัชกาลที่ ๒ มี ๑๘ หลัง ทั้งเก๋งและแพเหล่านี้ ต่างก็ตกแต่งประกวดประขันกันอย่างเต็มที่ เก๋ ง แถวหน้ า เจ้ า ของตกแต่ ง ด้ ว ยเครื่ อ งแก้ ว แขวนโคม ตั้ ง โต๊ ะ บู ช า ตั้ ง ตุ๊ ก ตาปั้ น ขนาดเท่ า คนจริ ง นั่ ง บ้ า ง ยืนบ้าง มีชื่อต่าง ๆ กัน นุ่งห่มด้วยเครื่องทองจริง ๆ นอกจากนั้นยังโปรดให้หาสัตว์จตุบาท ทวิบาทต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งที่ปล่อย และขังกรง มีนกชนิดต่าง ๆ เช่น นกแก้ว นกขุนทอง นกโนรี นกสัตวา เป็นต้น จับคอนอยู่ในกรงซึ่งห้อยแขวนไว้ ณ ที่ต่าง ๆ เสียงนกเหล่านี้ร้องระเบ็งเซ็งแซ่ไปทั่วทั้งพระราชอุทยาน ส่วนในสระมีการปลูกบัวหลวง บัวเผื่อน และ เลี้ยงปลาชนิดต่าง ๆ ในส่วนที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประกอบด้วยพระมหามณเฑียร ๓ หลัง องค์หนึ่ง พระที่นั่งอย่างฝรั่งพื้น ๒ ชั้น หลังหนึ่ง เป็นที่ทรงฟังมโหรี มีป้อมริมน�้ำเป็นที่จอดเรือพระที่นั่งส�ำปั้น เก๋งใหญ่มีเรือเท้ง เป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง มีป้อมสูงส�ำหรับทอดพระเนตรการแข่งเรือและทอดพระเนตรรอบ ๆ พระราชอุทยาน เก๋งใหญ่ที่เสวย ๓ เก๋ง และเก๋งโรงละครอีกหลังหนึ่ง 27
พระที่นั่งทรงผนวช ปัจจุบันอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระรูปร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และคณะสงฆ์ในพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน (จากซ้ายไปขวา) ๑. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒. พระภิกษุพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๓. พระสุคุณคณาภรณ์ (นิ่ม) วัดเครือวัลย์วรวิหาร ๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ขณะด�ำรงสมณศักดิ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ พระราชอุปัชฌาจารย์ ๕. พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ๖. สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร ขณะด�ำรงสมณศักดิ์พระพิมลธรรม ๗. พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส ขณะด�ำรงสมณศักดิ์พระอริยมุนี ๘. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) ขณะด�ำรงสมณศักดิ์พระพรหมมุนี ๙. สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ขณะด�ำรงสมณศักดิ์พระสาสนโสภณ พระราชกรรมวาจาจารย์ 28
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ สมเด็ จ พระบรมชนกนาถได้ ท รงถ่ า ยทอดพระบรมราชวิ เ ทโศบายและ รัฐประศาสนศาสตร์ทั้งในกระบวนการเมือง การปกครอง และราชประเพณี อย่างเต็มที่ อีกทัง้ ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถในพระราชพิธสี ำ�คัญ ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างพระพุทธรัตนสถาน ด้วยเหตุนี้จึงทำ�ให้พระองค์ทรง ตระหนักถึงความสำ�คัญของพระพุทธรัตนสถาน ในรัชสมัยของพระองค์ได้เสด็จ พระราชดำ�เนินไปทรงสักการะ และทรงปฏิบัติศาสนกิจที่พระพุทธรัตนสถาน อยู่เนือง ๆ เช่น ได้เสด็จไปทรงถวายพุ่มที่พระพุทธรัตนสถาน พุทธนิเวศน์ และพระทีน่ ง่ั บรมพิมาน อันเป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๔๑๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริ ญ พระชนมพรรษา ๒๐ พรรษา ทรงบรรลุ พ ระราชนิ ติ ภ าวะ ทรงปกครองประเทศโดยมิต้องมีผู้สำ�เร็จราชการแผ่นดิน ทรงประกอบ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ซึ่งในโอกาสนี้ทรงตั้งพระราชหฤทัย ด้ ว ยพระราชศรัทธาจะทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี ได้โปรดให้ ผู ก พั ท ธสี ม าพระพุ ท ธรั ต นสถานให้ เ ป็ น พระอุ โ บสถ เพื่อทรงพระผนวช ตามคติธรรมยุติกนิกาย สร้างพระที่น่ังทรงผนวชเพื่อประทับจำ�พรรษาใน พุทธนิเวศน์ด้านทิศตะวันออกบริเวณที่เคยเป็นสวนดอกไม้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ใกล้ ๆ พระพุทธรัตนสถาน และกำ�หนดพุทธนิเวศน์เป็นเขตวิสงุ คามสีมาทัง้ หมด 29
ยอดสีมาแถวหลังเป็นส�ำริดหล่อรูปพระมหามงกุฎ ยอดสีมาแถวกลางเป็นส�ำริดหล่อเป็นรูป จุลมงกุฎ พระราชสัญลักษณ์ประจ�ำรัชกาลที่ ๕ พระราชสัญลักษณ์ประจ�ำรัชกาลที่ ๔ ผู้ทรงผูกพัทธสีมาสถาปนาเป็นพระอุโบสถ ผู้ทรงสร้างพระพุทธรัตนสถาน
พัทธสีมาพระพุทธรัตนสถานและพุทธนิเวศน์น้ัน มีลักษณะพิเศษที่ไม่ปรากฏที่ใด สันนิษฐานว่าน่าจะทรงได้แนวความคิดมาจากเสาศิลา ๔ ต้น ที่ปักไว้ที่พระพุทธรัตนสถาน ที่ มี พ ระราชสั ญ ลั ก ษณ์ ทั้ ง ๓ แผ่ น ดิ น หล่ อ ด้ ว ยสำ�ริ ด ตั้ ง อยู่ บ นยอดมาเป็ น ต้ น แบบ เสาสีมาพระพุทธรัตนสถาน เป็นเสาศิลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามลักษณะสีมารัชกาลที่ ๔ นอกจากนั้นรอบเขตวิสุงคามสีมายังทำ�เสาสีมามีพระจุลมงกุฎตั้งอยู่บนยอดเสา ทุกมุม ด้วยพระราชศรัทธาที่ทรงอุทิศพุทธนิเวศน์เป็นเขตวิสุงคามสีมา
พระที่นั่งทรงผนวชตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระพุทธรัตนสถาน ตลอดมา เช่น เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๙ มีการท�ำบุญตักบาตรน�้ำผึ้งที่พระพุทธรัตนสถาน และพระที่นั่งทรงผนวช เป็นต้น เฉพาะพระที่นั่งทรงผนวช เมื่อทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามในปลายรัชกาล เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๒ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยา้ ยจากพุทธนิเวศน์มาไว้ทว่ี ดั นี้ โดยรือ้ ถอนอาคารมาสร้างใหม่ให้คงสภาพเดิมทุกประการ ดังเป็นอาคารทีส่ ง่างาม ปรากฏอยู่ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามตราบทุกวันนี้
ยอดสีมาแถวหน้าเป็นส�ำริดหล่อรูปครุฑยุดนาค พระราชสัญลักษณ์ประจ�ำรัชกาลที่ ๒ ผู้ทรงสร้างสวนขวา 30
31
พระพุทธรัตนสถาน ศาสนสถานอันงามวิจิตร พระพุ ท ธรั ต นสถานสร้ า งขึ้ น ในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๔ และมาแล้วเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๖ จึงเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาของ พระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์ ที่มีต่อพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ศาสนสถาน แห่งนี้มีการตกแต่งประดับประดาอย่างวิจิตรพิสดาร ตั้งแต่ด้านนอกของอาคารไปจนถึงการ ประดับตกแต่งภายใน
เครื่องไม้ตั้งแต่หน้าบัน คันทวย และองค์ประกอบต่าง ๆ ล้วนแกะสลักด้วยความประณีตบรรจง
32
พื้นผิวด้านนอกทั้งหมดและพื้นด้านใน ปูด้วยหินอ่อน รวมทั้งเสานางเรียง ย่อมุมไม้สิบสอง อาจกล่าวได้ว่าเป็นศาสนสถานเพียงแห่งเดียว ที่ใช้หินอ่อนในการประดับตกแต่งตั้งแต่ฐานไพทีขึ้นมาจนถึงผนังทั้ง ๔ ด้าน 33
34
บานพระทวารและพระบัญชรด้านนอกประดับมุก พื้นลายกนกเปลว ประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชสัญลักษณ์ประจำ�รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๕ เครื่องราชูปโภค และช้างสำ�คัญ ฯลฯ
บานพระทวารและพระบัญชรด้านในเขียนลายทองเครื่องราชูปโภค 35
ฐานชุกชีงาช้าง ย่อมุมไม้สิบสองแกะสลักลวดลาย กระบวนจีนอย่างวิจิตรบรรจง
36
ลายเพดาน เป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างวิจิตรพิสดาร ผูกลายเป็นดวงเดือนและดาราเปรียบดวงอาทิตย์แวดล้อมดาวบริวารตามจักรราศี ๑๒ ราศี และอาจให้ความหมายถึงแก้วมณีอันหาค่ามิได้ 37
พระราชศรัทธาสืบเนื่องยาวนาน สมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส กั บ พระนางเจ้ า สุ วั ท นา พระวรราชเทวี ณ พระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๗ ในการพระราชพิธี พระองค์ ทรงกำ�หนดการเสด็จพระราชดำ�เนินมาทรง สักการะพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพมิ ลมณีมยั ณ พระพุทธรัตนสถานอย่างธรรมเนียมสากล
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงสักการะ พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัยเมื่อทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ณ พระที่นั่งบรมพิมาน 38
พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงเคารพเลื่ อ มใส ในพระพุ ท ธบุ ษ ยรั ต นจั ก รพรรดิ พิ ม ลมณี มั ย เป็ น อย่ า งยิ่ ง เมื่ อ เสด็ จ พระราชดำ�เนินออกนอกพระนครครั้งใด จะเชิญเครื่องบูชามาสักการะ อยู่เสมอ ได้มีพระบรมราโชบายจัดการบำ�เพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา ให้ เ หมื อ นกั บ ความสำ�คั ญ ของวั น คริ ส ต์ ม าสของชาวยุ โ รป โดยมี พระราชดำ�ริ ใ ห้ จั ด พิ ธีเ ดิ น เที ย น ณ พระอุ โ บสถพระพุ ท ธรั ต นสถาน เป็นแบบอย่าง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชื้อพระวงศ์ เด็ก ๆ ตั้งแต่ช้นั หม่อมราชวงศ์เข้ารับพระราชทานของขวัญซึ่งล้วนเป็น ของเล่นอย่างดี โดยพระราชทานเป็นสลากไปขึ้นของขวัญที่แขวนและ ประดับอยู่กับกิ่งโพธิ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเลื่อมใสในพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย จะเชิญเครื่องบูชามาสักการะเมื่อเสด็จพระราชดำ�เนินออกนอกพระนครเสมอ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันท มหิดลพระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จนิวตั ประเทศไทย ครัง้ ที่ ๒ พระองค์ได้ประทับ ณ พระทีน่ ง่ั บรมพิมาน พร้อมด้วย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ขณะทรงดำ�รง พระอิ ส ริ ย ยศสมเด็ จ พระราชอนุ ช า เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๘๘ ขณะนัน้ พระพุทธรัตนสถานได้รบั ความเสียหายจาก ระเบิดในเหตุการณ์สงครามโลกครัง้ ที่ ๒ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ได้ทรงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ให้นำ�แผ่นสังกะสีมาปิดหลังคาพระพุทธรัตนสถานส่วนที่ ได้รับความเสียหายไว้
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ขณะประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ใกล้กับพระพุทธรัตนสถาน 39
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดงานอุทยานสโมสร ขึ้นในสวนศิวาลัยรอบพระพุทธรัตนสถานเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ต่อมาเมือ่ เสด็จขึน้ ครองราชย์ ได้มกี ารปฏิสงั ขรณ์พระพุทธรัตนสถานให้คงดีดงั เดิม ในปัจจุบนั พระพุทธรัตนสถาน ได้เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาจากสีเขียวล้วนมาเป็นกระเบื้องสลับสี เพื่อให้กลมกลืนกับหลังคาพระมหามณเฑียร ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกันนัก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเคยโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดงานอุทยานสโมสร ขึ้นในสวนศิวาลัย รอบพระพุทธรัตนสถานเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาหลายปี โดยเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการระดับสูงเข้าไปรับพระราชทานเลี้ยงน�้ำชา ต่อมาได้ยุติงานนี้เพราะข้าราชการเพิ่มจ�ำนวนมากขึ้น จนเกินกว่าสวนศิวาลัยจะรับได้ พระพุทธรัตนสถานมีความผูกพันกับพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์มาโดยตลอด ในแต่ละรัชกาล ได้ทรงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัยที่ประดิษฐานในพระอุโบสถแห่งนี้เพื่อ ความเป็นสิริมงคลและระลึกถึงสมเด็จพระบุรพมหากษัตริย์ที่ได้ทรงอุปถัมภ์เกื้อกูลศาสนสถานแห่งนี้มาโดยตลอด พระพุทธรัตนสถานจึงเป็นศาสนสถานทีเ่ ปีย่ มด้วยพลังศรัทธาของพระมหากษัตริย์ เป็นหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ ศูนย์กลางแห่งราชอาณาจักรสยามอันเป็นที่สถิตของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมายาวนาน และยิ่งไปกว่านั้นจิตรกรรมฝาผนังภายในพระพุทธรัตนสถานยังได้บอกเล่า เรือ่ งราวประวัตคิ วามเป็นมาของพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพมิ ลมณีมยั และพระราชศรัทธาของพระมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ให้เป็นที่ประจักษ์สืบไปตราบนานเท่านาน 40
พระพุทธรัตนสถานก่อนที่จะเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคามาเป็นกระเบื้องสลับสี 41
พระอัจฉริยภาพ สร้างสรรค์ศิลปกรรมล�้ำค่า
๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำ�ริให้ปรับปรุงภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานขึ้นใหม่ ให้สอดคล้องกับจิตรกรรมตอนบนที่มีอยู่เดิม ซึ่งเขียนพรรณนาประวัติพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย โดยพระราชทานแนวพระราชดำ�ริ วิธีการ และทรงตรวจตราแก้ไขภาพร่างทุกภาพอย่างละเอียดทุกขั้นตอน เพื่อรักษาแบบแผนเอกลักษณ์จิตรกรรมฝาผนังของไทย เพื่อให้เป็นจิตรกรรมที่มีวิวัฒนาการจากอดีต เชื่อมลักษณะทางศิลปะแบบเก่าและใหม่ให้ต่อเนื่องกัน เป็นลักษณะศิลปกรรมรัชกาลที่ ๙
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมีการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
นับตั้งแต่อดีตตราบถึงปัจจุบันพระมหากษัตริย์คือองค์อัครศาสนูปถัมภกและพระผู้ทรงอุปถัมภ์ บำ�รุงศิลปกรรม วัดวาอารามที่มีความวิจิตรงดงามอันเป็นมรดกตกทอดและเป็นสมบัติของชาติสืบมา ส่วนใหญ่เป็นการรังสรรค์ขึ้นด้วยพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สรรหาและส่งเสริมนายช่างผูม้ ฝี มี อื มีความสามารถเป็นยอด ในแผ่นดิน ได้ฝากฝีมือไว้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง ทั้งในด้านการศึกษาศิลปกรรมและพัฒนาการ ทางศิลปะไทยทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปตามสมัยนิยม แต่หากยังคงรักษาเอกลักษณ์ไทย และความงามเชิงอุดมคติ แบบไทยไว้ได้อย่างชัดเจน ในสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ก็ เ ช่ น เดี ย วกั น นั บ ตั้ ง แต่ มี ก ารสถาปนากรุ ง เทพมหานครขึ้ น เป็ น ราชธานี เมือ่ พุทธศักราช ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้มพี ระราชปณิธานอันแน่วแน่ ที่ จ ะสร้ า งสรรค์ ใ ห้ ก รุ ง เทพพระมหานคร เป็ น เมื อ งที่ มี ค วามงดงาม อุ ด มด้ ว ยสรรพศิ ล ปกรรม อันประณีตวิจติ รเช่นพระนครศรีอยุธยา ทรงสร้างพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรตั นศาสดาราม และวัด เป็นจำ�นวนมาก พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อ ๆ มาก็ได้ทรงสืบทอดพระราชปณิธานนี้เช่นกัน โดยเฉพาะ พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย ซึ่ ง โปรดงานศิ ล ปกรรมทุ ก แขนง ได้ มี พ ระราชดำ � ริ ใ ห้ รวบรวมช่ า งฝี มื อ สร้ า งสวนขวาอั น งดงามวิ จิ ต รให้ เ ป็ น ที่ เ ลื่ อ งลื อ ไปในนานาประเทศ ครั้ น รั ช สมั ย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงสร้างวัดที่เป็นแบบแผนทางสถาปัตยกรรมหลายวัด โดยเฉพาะโปรดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเก่าเป็นจำ�นวนมากให้งดงามด้วยศิลปกรรม จนกล่าวได้ว่าไม่มี ยุคสมัยใดที่การช่างเจริญรุ่งเรืองเช่นในรัชสมัยของพระองค์ 44
จิตรกรรมฝาผนังพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม เขียนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 45
จิตรกรรมฝาผนังโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม เขียนขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะเป็นการวาดภาพแบบตะวันตก และเขียนด้วยเทคนิควิธีการเขียนภาพบนปูนเปียก หรือ fresco
นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ยังคง เป็นองค์อุปถัมภ์นายช่างและศิลปกรรมไทยให้คงอยู่ ดังจะเห็นได้จากการสร้างพระพุทธรัตนสถาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว สื บ เนื่ อ งมาจนถึ ง รั ช สมั ย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับศิลปิน ชาวตะวันตกเข้ามารับราชการหลายคนด้วยกัน ศิลปินเหล่านี้ได้ฝากฝีมือไว้ซึ่งยังคงปรากฏหลักฐาน อยู่ในปัจจุบัน เช่น ภาพจิตรกรรมบนเพดานพระที่นั่งอนันตสมาคม ในช่วงเวลานีเ้ องทีไ่ ด้มกี ารผสมผสานเทคนิควิธกี ารเขียนภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกกับจิตรกรรม แบบไทยประเพณี และได้ค่อย ๆ ก่อรูปเป็นจิตรกรรมแบบไทยประเพณีที่มีเอกลักษณ์ของยุคสมัย ดังจะเห็นได้จากจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เขียนขึ้น 46
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน เขียนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จิตรกรได้ใช้เทคนิควิธีแบบตะวันตกเข้ามาปรับใช้กับการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทย เพื่อท�ำให้ภาพมีมิติและมีความลึก
47
ร้อยความผูกพัน ฉายผ่านจิตรกรรมพระพุทธรัตนสถาน พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงมี ค วามผู ก พั น กั บ พระพุ ท ธรั ต นสถานมาแต่ ค รั้ ง โดยเสด็ จ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทรมหาอานั น ทมหิ ด ล พระอั ฐ มรามาธิ บ ดิ น ทร และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จนิวัตประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘ ครั้งนั้นได้ประทับที่ พระที่นั่งบรมพิมาน ห้องที่ประทับอยู่นั้นมีพระบัญชรที่สามารถทอดพระเนตรพระพุทธรัตนสถานได้อย่างชัดเจน ดังพระราชกระแสกับคณะทำ�งานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ ความว่า “...ตั้งแต่สมัยเมื่อประทับอยู่ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน สมัยเด็ก ๆ ห้องอยู่ตรงนั้น ทุกวันโผล่หน้าต่างออกมา ก็เห็นสังกะสีมุงหลังคาคลุมพระพุทธรัตนสถาน จนฝังใจ...” และด้วยเหตุนี้จึงทรงมีความรู้สึกผูกพันกับศาสนสถานแห่งนี้มากเป็นพิเศษ ดังพระราชกระแส อีกตอนหนึ่งว่า “...เราเหมือนเจ้าของพระพุทธรัตนสถาน เพราะตอนที่พัง เราให้เอาสังกะสีมามุงคลุมไว้...” พระพุทธรัตนสถานได้มีการซ่อมแซมในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานระหว่างช่องพระบัญชรทั้ง ๘ ช่อง เพื่อบอกเล่าเรื่องราว พระราชประวัตแิ ละพระราชกรณียกิจ ขึน้ ในพุทธศักราช ๒๕๐๔ โดย ศาสตราจารย์ศลิ ป์ พีระศรี อาจารย์มหาวิทยาลัย ศิลปากรได้เชิญศิลปินมาเขียนภาพ เป็นพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั รัชกาลปัจจุบนั ในช่วง ระยะเวลา ๑๐ ปี โดยวางลักษณะและเขียนจิตรกรรมฝาผนังระหว่างช่องพระบัญชรทัง้ ๘ ช่อง เพื่อให้มีภาพเต็มสมบูรณ์ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงทราบถึงการดำ�เนินงานครั้งนี้
พระบัญชรด้านทิศเหนือของพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน จะมองเห็นพระที่นั่งบรมพิมาน บริเวณห้องที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 48
49
จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน พุทธศักราช ๒๕๐๔ พระพุ ท ธรั ต นสถานช�ำรุ ด เสี ย หายด้ ว ยภั ย สงครามโลกครั้ ง ที่ ๒ เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๘๔ โดยเครื่ อ งบิ น ฝ่ า ยสั ม พั น ธมิ ต รทิ้ ง ระเบิ ด บริ เ วณ กองทัพเรือและสถานีรถไฟบางกอกน้อย ระเบิดพลัดตกในพระบรมมหาราชวัง ลูกแรกที่สวนซ้ายใกล้เขาไกรลาส ลูกที่สองข้างพระพุทธรัตนสถานด้านเหนือ แม้ลูกระเบิดจะด้าน แต่ด้วยน�้ำหนักและแรงสะเทือน ท�ำให้หลังคาและผนัง ด้านเหนือของพระพุทธรัตนสถานพังลง โครงสร้างและส่วนประกอบภายใน ช�ำรุดเสียหาย ถูกทิง้ ร้างโดยมิได้ซอ่ มแซมเป็นเวลานาน เจ้าหน้าทีไ่ ด้ท�ำการถอด บานพระทวารและพระบัญชรจ�ำหลักลายมุกอันวิจติ รออกเก็บรักษาไว้ ตราบจน พุทธศักราช ๒๔๙๒ เมื่อได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรัตนสถานแล้วเสร็จ ปรากฏว่า จิ ต รกรรมฝาผนั ง ด้ า นเหนื อ ระหว่ า งช่ อ งพระบั ญ ชรถู ก ทำ � ลาย ด้ ว ยเหตุ นี้ ในพุทธศักราช ๒๕๐๔ สำ�นักพระราชวังจึงมอบให้กรมศิลปากรดำ�เนินการแต่งเติม ภาพให้เต็ม โดยให้ทั้งภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านเหนือและด้านใต้รับกัน ซึง่ พืน้ ที่ ระหว่างช่องพระบัญชรแต่ละช่องมีขนาดกว้างช่องละ ๔ ฟุต สูง ๘ ฟุต รวม ๘ ช่อง กำ�หนดให้เขียนจิตรกรรมเกีย่ วกับพระราชประวัตพิ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เป็นหลัก การเขียนจิตรกรรมครั้งนั้น ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึง่ สังกัดกรมศิลปากร เป็นแม่กองเขียนจิตรกรรม จัดหา ช่างเขียน กำ�หนดวางองค์ประกอบเรื่อง ตลอดทั้งแนวของลักษณะศิลปกรรม และการใช้สี
50
ภาพร่างต้นแบบ โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔
ศาสตราจารย์ ศิ ล ป์ พี ร ะศรี ได้ ร วบรวมประมวลภาพพระราชกรณี ย กิ จ มาพิ จ ารณาจั ด วางร่ า งแบบ ขึ้นตามหลักเกณฑ์ขององค์ประกอบศิลป์ในลักษณะเหมือนจริงผสมกับจินตนาการ แล้วกำ�หนดโครงการใช้สี ตามที่เห็นว่าถูกต้องสวยงามและประสานกลมกลืนกันดีเฉพาะพื้นที่ระหว่างช่องพระบัญชรทั้ง ๘ ช่องที่อยู่ ตอนล่างเท่านัน้ ส่วนทีเ่ ชือ่ มต่อกับภาพเดิมตอนบนเป็นภาพแบบไทยประเพณี ใช้ควิ้ ลวดบัวกัน้ แบ่งไว้ แล้วคัดเลือกศิษย์ ที่มีฝีมือและชำ�นาญงานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เข้าประจำ�หน้าที่ตามความเหมาะสม โดยตรวจควบคุมงาน อย่างใกล้ชิด การจัดองค์ประกอบได้กำ�หนดให้มีพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ และ รัชกาลที่ ๙ ช่วงระหว่างพุทธศักราช ๒๔๘๘ - ๒๔๙๙ นับแต่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอั ฐ มรามาธิ บ ดิ น ทร พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิพ ลอดุ ล ยเดช และสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทรา บรมราชชนนีเสด็จนิวัตประเทศไทย และเหตุการณ์ต่อเนื่องในรัชกาลที่ ๙ ช่วงระยะเวลาอีก ๑๐ ปีต่อมา สิ้นสุดเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช
51
52
๑
๒
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสมเด็จพระราชอนุชา พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จนิวตั พระนคร เมือ่ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ทัง้ สามพระองค์ทรงตรวจสภาพพระพุทธรัตนสถานทีเ่ สียหายจากระเบิด เมือ่ สงครามโลกครัง้ ที่ ๒ นายอาวุธ ยุวะพุกกะ นายประมุข เทวานิมติ และนายน้อย ข�ำวิไล เขียนภาพ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และทรงสถาปนาพระราชินีสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี นายพินจิ สุวรรณะบุณย์ เขียนภาพ
53
54
๓
๔
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จออกมหาสมาคม ในพระราชพิธบี รมราชาภิเษก และเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระทีน่ งั่ สุทไธสวรรย์ปราสาท ให้พสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาทถวายพระพรชัยมงคล นายชลูด นิม่ เสมอ เขียนภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และหม่อมราชวงศ์สริ กิ ติ ิ์ กิตยิ ากร พระคูห่ มัน้ เสด็จนิวตั พระนคร วันที่ ๒๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ มีประชาชนมาเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาทรับเสด็จอย่างเนืองแน่น มีพระราชด�ำรัสตอบขอบใจข้าราชการ และประชาชนทีม่ าเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาทรับเสด็จ นางปราณี ตันติสขุ เขียนภาพ
55
๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บรู ณปฏิสงั ขรณ์ พระพุทธรัตนสถาน และเสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงยกช่อฟ้าพระพุทธรัตนสถานภายหลังการบูรณปฏิสงั ขรณ์ นางปราณี ตันติสขุ เขียนภาพ 56
๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออกสีหบัญชร ณ พระทีน่ งั่ สุทไธสวรรย์ปราสาท ทรงอ�ำลาประชาชนในการทีจ่ ะทรงพระผนวช เมือ่ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงปฏิญาณพระองค์เพือ่ ทรงรับเป็นผูส้ ำ� เร็จราชการแทนพระองค์ ณ รัฐสภา พระทีน่ งั่ อนันตสมาคม นายชลูด นิม่ เสมอ เขียนภาพ
57
58
๗
๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและ พระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ และเสด็จพระราชด�ำเนิน ไปทรงสักการะปูชนียสถานและทรงประทักษิณรอบพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม นายวีระ โยธาประเสริฐ เขียนภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ซึง่ ทรงพระผนวช ทรงบ�ำเพ็ญพระราชจริยวัตร ออกรับบิณฑบาตร และเมือ่ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ ทรงประกาศลาสิกขา ณ พระต�ำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร นายประพัฒน์ โยธาประเสริฐ เขียนภาพ
59
ถึงแม้ว่าจิตรกรรมฝาผนังที่ได้มีการเขียนขึ้นนี้จะมีความงดงามด้วยฝีมือศิลปินที่มีความสามารถอย่างยิ่ง บอกเล่ า เรื่ อ งราวในช่ ว งต้ น รั ช สมั ย ของพระองค์ ไ ว้ ไ ด้ อ ย่ า งครบถ้ ว น แต่ ด้ ว ยการที่ ท รงสำ � นึ ก ใน พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระมหากษั ต ริ ย์ ที่ ไ ด้ ท รงสถาปนาและทำ � นุ บำ � รุ ง พระพุ ท ธรั ต นสถาน มาในอดี ต จึ ง มี พ ระราชดำ � ริ ว่ า จิ ต รกรรมฝาผนั ง พระพุ ท ธรั ต นสถานควรที่ จ ะได้ บ อกเล่ า เรื่ อ งราวประวั ติ ความเป็ น มาอั น ยาวนานและความผู ก พั น ของสมเด็ จ พระบุ ร พมหากษั ต ริ ย์ ที่ มี ต่ อ ศาสนสถานแห่ ง นี้ ดั ง มี พ ระราชกระแสแก่ ค ณะทำ � งานวาดภาพจิ ต รกรรมฝาผนั ง เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๒ ความว่ า “...อยากให้ เ ป็ น ประวั ติ พ ระพุ ท ธรั ต นสถาน ซึ่ ง ตอนแรก เห็ น ทิ่ ม ตาทุ ก วั น ๆ สมั ย ที่ อ ยู่ ใ น พระบรมมหาราชวังที่พระที่นั่งบรมพิมาน...” อย่างไรก็ดี จิตรกรรมฝาผนังที่วาดไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔ นั้น ก็นับเนื่องได้ว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ ทีว่ าดโดยศิลปินแห่งยุคสมัย ไม่อาจทีจ่ ะลบทำ�ลายลงได้ดว้ ยประการทัง้ ปวง พระราชดำ�ริทจี่ ะเปลีย่ นจิตรกรรมฝาผนัง ให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธรัตนสถานจึงได้เป็นแต่เพียงความในพระราชหฤทั ย สื บ มาอี ก นานหลายสิ บ ปี ดังพระราชกระแสถึงเรื่องนี้ในภายหลังว่า “...ภาพที่เขาเขียนใหม่ ก็มีเนื้อหาตามต้องการพอสมควรเกี่ยวกับ ประวัติพระพุทธรัตนสถาน อยากให้เขียนเพราะว่าก่อนที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน โบสถ์นี้ชำ�รุดต้องซ่อม และ รูปที่เขียนขึ้นใหม่ก็ให้เกียรติตามสภาพกาล...”
๑
๔
60
๓
๒ ๕ ๖
วิธีการเคลื่อนย้ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง ๑๑. ๒๒. ๓ ๔๓. ๕๕. ๖.๖
ท�ำความสะอาดภาพก่อนจะทากาวเพื่อถอดจิตรกรรม ในภาพเป็นการใช้แปรงขนกระต่ายปัดคราบ สกปรกและฝุ่นละอองออกให้หมด ทากาวผนึกผ้าชั้นที่ ๑ เมื่อทากาวหนังลงไปบนจิตรกรรมแล้ว ใช้ผ้าขาวบางปิดลงไปบนผิวหน้าจิตรกรรม ไล่ฟองอากาศหลังภาพเมื่อปิดผ้าขาวบางลงมาบนผิวหน้าจิตรกรรมแล้ว จึงใช้ส�ำลีกดไล่ฟองอากาศ ออกให้หมด เพื่อให้ผ้าฝ้ายยึดเกาะผิวจิตรกรรมให้ติดทั่วทั้งผืน จากนั้นจึงทากาวผนึกผ้าอีกชั้น ทากาวผนึกผ้าชั้นที่ ๒ เป็นการผนึกผ้าขาวบางชั้นที่ ๒ พร้อมกับไล่ฟองอากาศ ละลายกาวหนังโดยใช้น�้ำร้อนละลายกาวให้อ่อนตัวเพื่อจะดึงลอกเอาผ้าขาวบางออก เมื่อลอกผ้าขาวบางออกจะเห็นชั้นสีของจิตรกรรมอยู่ข้างล่าง
61
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินสมโภชวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ พุทธศักราช ๒๕๓๕ วันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๖
62
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังเก่า ในพระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร มีพระราชปรารภให้กรมศิลปากร น�ำวิธีนี้ไปแก้ไขจิตรกรรมฝาผนัง ๘ ช่อง ที่เขียน ณ พระพุทธรัตนสถาน
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็ จ พระราชดำ � เนิ น ในการพระราชพิ ธีส มโภช วั ด เฉลิ ม พระเกี ย รติ ว รวิ ห าร จั ง หวั ด นนทบุ รี ในโอกาสเฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชิ นี น าถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๕ ได้ทอดพระเนตรการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังเก่าในพระอุโบสถ พระวิหารหลวง และการเปรียญหลวงที่ชำ�รุดมากไว้ ได้มี พระราชปรารภให้ ก รมศิ ล ปากรนำ � วิ ธีนี้ ไ ปแก้ ไ ขจิ ต รกรรม ฝาผนัง ๘ ช่องที่เขียน ณ พระพุทธรัตนสถานเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔ ด้วยเนื้อหาของจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าวมิได้เกี่ยวข้อง กับพระพุทธรัตนสถาน เพราะคติการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง จะแสดงความสัมพันธ์ ข องอาคารและสิ่ ง สำ � คั ญ ในอาคาร เป็นหลัก การเขียนใหม่จึงเพื่อให้รักษาแนวช่างโบราณที่เชิดชู ภูมิปัญญาบรรพชน “...ถ้าท�ำเช่นนี้ได้ขอให้กรมศิลปากรไปลอกจิตรกรรม ฝาผนั ง ในพระพุ ท ธรั ต นสถานที่ เ ขี ย นเมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๐๔ ออก เพื่ อ อนุ รั ก ษ์ ไ ว้ แ ละติ ด ตั้ ง ในที่ เ หมาะสม แล้ ว เขี ย นใหม่ ใ ห้ ลั ก ษณะศิ ล ปกรรมสอดคล้ อ งกั บ ภาพ จิตรกรรมตอนบน เช่น น�้ำก็ให้เป็นระลอกแบบช่างโบราณ เขียน เรือก็ให้มีธงทิวปัก หรือจะเขียนพระราชประวัติก็ให้ มีลักษณะเหมือนจริง ฉลองพระองค์สวมอย่างเช่นที่ทรง ในปัจจุบัน แต่ให้เป็นสองมิติตามลักษณะภาพไทย...”
63
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแนวทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรัตนสถานแก่คณะกรมศิลปากร ณพระต�ำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๒
64
พุทธศักราช ๒๕๓๖ เมื่ออธิบดีกรมศิลปากร นายสุ วิ ช ญ์ รั ศ มิ ภู ติ ได้ รั บ พระราชกระแสของ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว แล้ ว จึ ง พิ จ ารณา ดำ � เนิ น การเรื่ อ งวิ ธีก ารเขี ย นภาพใหม่ ระยะแรก ได้ ม อบหมายฝ่ า ยอนุ รั ก ษ์ จิ ต รกรรมฝาผนั ง และ ประติมากรรมติดที่ กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ สำ�รวจภาพทั้ง ๘ ช่อง เตรียม ศึ ก ษาวิ ธีเ คลื่ อ นย้ า ยจิ ต รกรรมฝาผนั ง ที่ เ ขี ย นเมื่ อ พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น กราบบังคมทูลอธิบายพื้นที่ระหว่างช่องพระบัญชร พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๐๔ ออก ตามพระราชประสงค์ ในพระพุทธรัตนสถาน ซึง่ เคลือ่ นย้ายจิตรกรรมฝาผนังทีเ่ ขียนเมือ่ พุทธศักราช ๒๕๐๔ ออก และได้ ดำ � เนิ น การเคลื่ อ นย้ า ยจิ ต รกรรมฝาผนั ง เหลือผนังว่างพร้อมจะเขียนจิตรกรรมฝาผนังใหม่ตามพระราชประสงค์ ดังกล่าวเสร็จสิ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๗ เนื่องจากการกำ�หนดสาระของเนื้อหาก็ดี การตกลงเลือกแนวการเขียนตามยุคสมัยของศิลปกรรมก็ดี เป็นอุปสรรคสำ�คัญ ที่ ทำ � ให้ ก รมศิ ล ปากรไม่ ส ามารถดำ � เนิ น การได้ ร วดเร็ ว ด้ ว ยไม่ เ ข้ า ใจในพระราชประสงค์ ดั ง นั้ น กรมศิ ล ปากรในสมั ย ที่ นายนิคม มูสิกะคามะ ดำ�รงตำ�แหน่งอธิบดี จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ขอรั บ พระราชกระแสแนวการเขี ย นภาพให้ ต้อ งตามพระราชประสงค์ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ เ ข้ า เฝ้ า ทูลละอองธุลีพระบาทครั้งแรก ณ พระตำ�หนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำ�เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๒ ระหว่างเวลา ๑๗.๓๐ - ๑๘.๔๕ นาฬิกา กรมศิ ล ปากรนำ � ภาพร่ า งตามแนวพระราชดำ � ริ เป็ น ลายเส้ น และภาพลงสี ๘ ภาพ ทู ล เกล้ า ทู ล กระหม่ อ มถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรและพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย แล้วนำ�กลับมาแก้ไขตามพระราชประสงค์ อีก ๓ ครั้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำ�ไปเป็นแบบในการขยายลงสู่ผนังจริง ของพระพุทธรัตนสถานได้ การที่กรมศิลปากรได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชกระแสจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง ๔ ครั้งนั้น แต่ละครั้ง มีพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับเนื้อเรื่องและลักษณะศิลปกรรมอันประกอบด้วย สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประเพณี ซึง่ เป็นองค์ประกอบของภาพอย่างละเอียดลึกซึง้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคณ ุ ล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่คณะทีเ่ ข้าเฝ้าทูลละออง ธุลีพระบาทอย่างสุดพรรณนา ในที่นี้จะได้เชิญพระราชกระแสบางตอนที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านศิลปกรรมและแนวพระราชดำ�ริในการสร้างสรรค์ ทางศิลปกรรมของพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ 65
อนุรักษ์เอกลักษณ์ศิลปกรรมยั่งยืนคู่ไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสืบทอดโบราณราชประเพณีที่ทรงอุปภัมภ์งานศิลปกรรมของชาติ ให้คงอยู่สืบไป และถึงแม้ว่าพระองค์จะมิได้ทรงศึกษาศิลปกรรมไทยโดยตรง แต่ทรงสนพระราชหฤทัย ในงานจิตรกรรมไทยเป็นอย่างยิ่ง ทรงศึกษาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ณ พระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ดังพระราชกระแสตอนหนึ่งว่า “...ได้ไปดูรามเกียรติ์ วัดพระแก้วหลายรอบ เข้าใจดีขนึ้ มาก นีก่ ค็ ดิ ว่า เข้าใจภาพจิตรกรรมไทยขึน้ คือ เขาให้ดูข้างบนใหญ่ ส่วนข้างล่างเล็ก เมื่อดูทั้งหมดแล้ว เหมือนดูเป็นสามมิติ...” ไม่เพียงเท่านัน้ ยังได้ทรงศึกษาตำ�ราของนายช่างผูเ้ จนจัดในด้านศิลปกรรม ดังมีพระราชกระแสกับเจ้าหน้าที่ กรมศิลปากรที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ว่า “...ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับลายไทยของพระเทวา ฯ ไม่เหมือนสีน�้ำมัน จะตวัดพู่กัน...ต�ำราพระเทวา ฯ นี่ดีมาก ท�ำให้ฉันมาดูภาพนี้แล้ว ได้เข้าใจ...” ก ารเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานใหม่ มีพระราชดำ�ริให้รกั ษาลักษณะจิตรกรรมไทยประเพณี ให้มีความสอดคล้องกับภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านบนของเดิมที่เขียนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ดังมีพระราชกระแสว่า “...ควรทำ�เป็นรูปภาพเกี่ยวกับพระพุทธรัตนสถานที่เป็นแบบเดียวกัน สไตล์เดียวกันกับภาพเขียน ของเดิม หากจะมีอะไรสมัยใหม่ก็ให้เข้ากัน แต่ต้องเป็นแบบโบราณ...” แม้ว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนจะใ ช้วิธีการสมัยใหม่ แต่ทรงย�้ำกับกรมศิลปากรเสมอ ๆ ว่า ต้องให้มี ความกลมกลืนกับภาพของเดิม ให้เกิดการ ผสมผสานกันอย่างลงตัว ซึ่งจะท�ำให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาไป พร้อม ๆ กัน “...ท�ำให้กลมกลืนกัน โดยท�ำให้ภาพใหม่และเก่าผสมผสานกัน...”
ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตอนบนซึ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นในรัชกาลที่ ๔ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ตอนล่างที่เขียนในรัชกาลปัจจุบันมีความกลมกลืนกันตามพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 67
ประยุกต์ศิลปกรรมแห่งยุคสมัย
68
ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามพระราชดำ�ริมีการผสมผสานลักษณะการเขียนภาพแบบจิตรกรรมไทยประเพณี เช่นการเขียนระลอกคลื่นและการเขียนภาพบุคคลที่มีความถูกต้องทางกายวิภาค
การอนุรักษ์ลักษณะทางศิลปกรรมของจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยเป็นวัตถุประสงค์หลักของการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรัตนสถาน ได้มีการผสมผสานความเปลี่ยนแปลงในด้านศิลปกรรมตามยุคสมัยซึ่งอาจจะส่งผลต่อการอนุรักษ์ของโบราณ บ้าง แต่ก็ทรงอนุโลมตามความเหมาะสมของกาลเวลา ดังเช่นพระราชกระแสถึงลักษณะและการใช้สีจิตรกรรมฝาผนังที่จะวาด ขึ้นใหม่ว่า “...ต้องให้กลมกลืนกันกับภาพข้างบน ซึ่งไม่ใช่ Bird’s eye view แท้ ถ้าข้างบนมีเมฆ ข้างบนของภาพนั้นอย่างไร ก็ต้องมีฟ้า ทำ�ให้เหมือนกัน กลมกลืนกันทางสไตล์ และทางสี ครั้งที่แล้วใช้สีเคมีมาก ในสมัยก่อนใช้สีดิน ใช้สีธรรมชาติ สมัยนี้ใช้สี acrylic สีเคมี...” ในปัจจุบนั ความนิยมและความเปลีย่ นแปลงในการวาดภาพบุคคลทีม่ คี วามถูกต้องทางกายวิภาคตามแบบตะวันตกเป็นลักษณะ ที่เด่นชัดในจิตรกรรมฝาผนังที่วาดขึ้นใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “...รูปฝาผนังแบบเดิมเป็นคลาสสิก จะไม่เขียนรายละเอียดตามหน้าคน เขียนใหม่ต้องทำ�เป็น Stylized (เหมือนจริง) เป็นจิตรกรรมสมัยใหม่ ๒ มิติ มีการตัดเส้น...” และยังมีพระราชกระแสอีกตอนหนึ่งว่า “...การเขียนภาพนีก่ ต็ อ้ งไปแก้ไขกันใหม่ ฉันก็เกรงใจอยู่ แต่รกั มากทีโ่ บสถ์นสี้ วยมาก ถ้าได้รปู ทีม่ คี วามหมายก็จะสวยมาก นี่ฉันเห็นแล้วพอใจขึ้นมาก ดูแล้วไม่สมัยโบราณเกินไป และใหม่เกินไป...” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำ�ริให้มีการผสมผสานระหว่าง ลักษณะของศิลปกรรมแบบไทยประเพณีและศิลปกรรมแบบตะวันตก ซึ่งทำ�ให้เกิดภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบใหม่ที่ยังคงเอกลักษณ์แบบไทย และดูทันสมัยอยู่ในที ดังพระราชกระแสตอนหนึ่งว่า “...อย่างการเขียนน�้ำ ให้เป็นแบบจิตรกรรมประเพณี ตอนกลับเมืองไทย ก็ด้วยเรือสมัยใหม่ ก็เป็นข้อสอบค่อนข้างยาก อาจจะ เปลี่ยนเป็นสุพรรณหงส์ ตอนเสด็จกลับมาไทย เรือสุพรรณหงส์ชำ�รุดมาก เราไม่ได้เขียนให้เหมือนจริง เขียนต้องดีกว่าจินตนาการ...”
ความถูกต้องของจิตรกรรม หลักฐานทางประวัติศาสตร์แห่งยุคสมัย พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว มี พ ระราชประสงค์ ที่ จ ะให้ จิ ต รกรรมฝาผนั ง พระพุ ท ธรั ต นสถานที่ เ ขี ย นขึ้ น ใหม่ นี้ เ ป็ น หลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ สำ � คั ญ ให้ อ นุ ช น ได้ศกึ ษาต่อไปในอนาคต จึงทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในรายละเอียดตัง้ แต่สง่ิ เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็ น อย่ า งมาก ไม่ ว่ า จะเป็ น เครื่ อ งแต่ ง กายของบุ ค คลในภาพตั้ ง แต่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ไปจนถึงสามัญชน ความถูกต้องของสถาปัตยกรรม อาคารต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องและปรากฏ ในภาพจิตรกรรม รายละเอียดของวัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนพาหนะต่าง ๆ ที่ปรากฏ ในภาพ ได้ทรงกำ�ชับให้คณะทำ�งานเขียนภาพจิตรกรรมตรวจสอบอย่างละเอียด
เครื่องแต่งกาย
70
ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานใส่ใจในรายละเอียดของเครื่องแต่งกายของบุคคลในภาพให้มีความถูกต้อง ตามหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้
จิตรกรได้ตรวจสอบฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระบรมฉายาลักษณ์เพื่อความถูกต้อง ตามพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เ ครื่ อ งแต่ ง กายมี ค วามสำ � คั ญ เป็ น อย่ า งมากในการศึ ก ษาเรื่ อ งขนบธรรมเนี ย มประเพณี ต่ า ง ๆ และแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความ เปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยได้อย่างเด่นชัด รายละเอียดของเครื่องแต่งกายถึงแม้จะเป็นจุดเล็ก ๆ ในภาพจิตรกรรมฝาผนังแต่ ก็ เ ป็ น ส่ ว นสำ � คั ญ ที่ ไ ม่ อ าจละเลยได้ ด้ ว ยเหตุ นี้ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว จึ ง เอาพระราชหฤทั ย ใส่ เ รื่ อ งการแต่ ง กายให้ ถู ก ต้ อ ง ตามยุ ค สมั ย โดยเฉพาะฉลองพระองค์ ข องพระมหากษั ต ริ ย์ ดั ง เช่ น มี พ ระราชกระแสในเรื่ อ งความถู ก ต้ อ งของฉลองพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “...สายสะพายบนพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ ศึกษาข้อมูลเรื่องสี ความถูกต้อง...” แม้แต่ฉลองพระองค์ของพระองค์ขณะทรงพระเยาว์ก็ทรงกำ�ชับให้คณะทำ�งานตรวจสอบจากภาพถ่ายให้ถูกต้อง โดยเฉพาะ ภาพจิตรกรรมส่วนที่กล่าวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์อยู่ และได้ทรงเข้าร่วม พระราชพิธีเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ในครั้งนั้นด้วย “...ศึกษาข้อมูลพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๙ ตอน ๕ พรรษา...” แ ม้ แ ต่ ภ าพจิ ต รกรรมในส่ ว นที่ ก ล่ า วถึ ง สมั ย ของพระองค์ เ องก็ ไ ด้ ท รงพระกรุ ณ าพระราชทานข้ อ แนะนำ � ต่ า ง ๆ อั น จะเป็ น ประโยชน์ ใ นการปรั บ ปรุ ง ภาพจิ ต รกรรมให้ มี ค วามถู ก ต้ อ ง ดั ง พระราชกระแสที่ ท รงกล่ า วถึ ง ฉลองพระองค์ ข องพระองค์ แ ละ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมารในพระราชพิธีแรกนาขวัญว่า “...ภาพอย่ า งนี้ ก็ ค งชำ � นาญ เพราะเป็ น ยุ ค ปั จ จุ บั น มี เ ชื อ กกั้ น แต่ ต รงนี้ ค วรมี แ ผงกั้ น ...การแรกนาขวั ญ งานนี้ ไ ม่ ไ ด้ ใ ส่ สายสะพาย...ขึ้นระวางช้าง ที่ทรงฉลองพระองค์อาจไม่ถูกต้อง...สมเด็จพระบรม ฯ ต้องแต่งเสื้อแดง กางเกงดำ�...” 71
ไม่ เ พี ย งฉลองพระองค์ ข องพระมหากษั ต ริ ย์ แ ละ พระบรมวงศ์ เ ท่ า นั้ น แม้ แ ต่ เ ครื่ อ งแต่ ง กายของทหาร ในแต่ละยุคสมัยก็โปรดให้คณะทำ�งานศึกษาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนให้ถูกต้องตามประวัติศาสตร์ “...ธงไตรรงค์ ต รงกลางต้ อ งมี ช้ า ง...ด้ า นหน้ า เป็ น รั ช กาลที่ ๖ ด้ า นหลั ง เป็ น ช้ า ง ล้ อ มรอบด้ ว ย คาถาพาหุง ธงนี้มีประวัติ...ทหารรักษาพระองค์ รัชกาล ที่ ๙ ตรงกลางมีช้างอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม...ทหารอาสา สมัยเก่า สมัยรัชกาลที่ ๖ ถามคนรุ่นเก่าว่า มีเครื่องแบบ หรือธงไตรรงค์เป็นอย่างไร...” น อกจากฉลองพระองค์ แ ละเครื่ อ งแต่ ง กาย ของทหารแล้ว การแต่งกายของประชาชนก็เป็นสิ่งที่ทรง เอาพระราชหฤทัยใส่อย่างถีถ่ ว้ น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้กรมศิลปากรตรวจสอบการแต่งกายของ ประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ เมื่อเสด็จ พระราชดำ�เนินเยือนสำ�เพ็ง ดังพระราชกระแสว่า “...ไปสั ม ภาษณ์ พ วกที่ เ คยรั บ เสด็ จ ก็ จ ะใช้ ไ ด้ มี พ วกที่ เ ป็ น พ่ อ ค้ า จี น รอรั บ เสด็ จ ไปถามคุ ณ อุ เ ทน ป่อเต็กตึง๊ (นายอุเทน เตชะไพบูลย์)...การแต่งกายชาวจีน กางเกงกุยเฮง กางเกงแพร ก็ตอ้ งมีคนอมยาเส้นแบบจีน ไม่ต้องมีกางเกงลีวายส์ ตอนนั้นยังไม่มี ไปปรึกษาพวก ป่อเต็กตึ๊ง ถือว่าเขาสำ�คัญ...” การพระราชทานพระราชกระแสเกี่ยวกับการแต่งกาย ของบุคคลต่าง ๆ ในภาพจิตรกรรมพระพุทธรัตนสถาน ทำ�ให้ จิ ต รกรรมที่ เ ขี ย นขึ้ น นี้ มี ค วามถู ก ต้ อ งตามประวั ติ ศ าสตร์ สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริให้ตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องแต่งกายราษฎร ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จจากบุคคลที่ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท 72
ภาพประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสมเด็จพระราชอนุชา เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนส�ำเพ็ง 73
พาหนะ ยานพาหนะชนิดต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพจิตรกรรม ฝาผนังพระพุทธรัตนสถานเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำ�คัญมาก เพราะไม่เพียงแต่ แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้ อี ก มาก เนื่ อ งจากในปั จ จุ บั น ยานพาหนะบางประเภท ไม่ได้ใช้งานแล้ว และบางประเภทกลายเป็นของหายาก ที่ จ ะดู ไ ด้ ใ นพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ ท่ า นั้ น ด้ ว ยเหตุ นี้ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยูห่ วั จึงทรงกำ�ชับให้กรมศิลปากรศึกษาความถูกต้อง จากหน่วยงานต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น ภาพเรือต่าง ๆ ทีป่ รากฏ ภาพถ่ายยานพาหนะที่จิตรกรใช้ประกอบในการวาดภาพ ในจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ทรงกำ�ชับให้ศึกษา จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน จากทหารเรือ ทั้งที่เป็นเรือรบและเรือพระราชพิธีต่าง ๆ ดังพระราชกระแสว่า “...ขอให้ ถ ามทหารเรื อ ว่ า เรื อ สร้ า งเมื่ อ ไร ต้ อ งทำ � ให้ ใ กล้ เ คี ย ง แต่ ทำ � เรื อ ให้ เ ป็ น สมั ย ใหม่ ก็ ไ ม่ เ ป็ น ไร ต่ อ ไป จะต้องมี อันนี้โบราณกว่าหน่อย แต่ก็ใช้ได้ เรือรบควรใส่เรือเสือทะยานชล ไม่ต้องจินตนาการ เอาจริง ๆ เสือทะยานชล มิฉะนั้น ก็เอาเรือสุโขทัย...เรือนี่สีเทาปืนที่อยู่ข้างบน ผู้ยิงเข้าไปอยู่ในห้องบัญชาการ ให้ไปถามจากกองทัพเรือ...” เ นื่ อ งด้ ว ยยานพาหนะต่ า ง ๆ ที่ ป รากฏในภาพจิ ต รกรรมฝาผนั ง พระพุ ท ธรั ต นสถานนั บ ตั้ ง แต่ รั ช สมั ย พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นต้นมา ไม่วา่ จะเป็นอากาศยาน รถไฟ และรถยนต์ เป็นสิ่งที่พ้นสมัยไปแล้วในปัจจุบัน แต่เป็นสิ่งที่พระองค์ ได้ทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานข้อชี้แนะต่าง ๆ ให้อย่างละเอียดถี่ถ้วน “...เรือบินสีขาว ทำ�ให้เด่นผิดส่วน นีอ่ ว้ นไป ต้องเป็นสีเขียว จะกลมกลืนมากกว่า นีม่ นั แรงไป เราต้องมาเครือ่ งบินดาโกต้า ส่วนรถพระที่นั่งโมเดอร์นเกินไป ตอนนั้นมีรถเดมเลอร์ โรลสรอย...” อีกตอนหนึ่งได้พระราชทานคำ�แนะนำ�ถึงลักษณะของรถไฟในยุคสมัยนั้นว่า “...ตอนนัน้ มารถไฟมีในรูปไม่ใช่อย่างนี้ นีส่ มัยใหม่เกินไป แก้นดิ หน่อยไม่มาก ให้เห็นด้านข้าง ด้านหลังในรูปบังไปซีกหนึง่ ...” ในบางครั้ ง หากสามารถสอบทานความถู ก ต้ อ งของยานพาหนะต่ า ง ๆ ลงไปในรายละเอี ย ดได้ ก็ จ ะทรงพระกรุ ณ า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมศิลปากรค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและตรวจสอบความถูกต้อง
74
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำ�ริให้ตรวจสอบความถูกต้องของยานพาหนะต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานให้มีความถูกต้องตามยุคสมัย
75
สถาปัตยกรรม อาคารและสถาปั ต ยกรรมต่ า ง ๆ ที่ ป รากฏ ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นส่วนที่แสดงความโดดเด่น ของภาพมากที่ สุ ด เนื่ อ งจากเป็ น ทั้ ง ภาพนำ � สายตา และบอกเล่ า เรื่ อ งราวของพระพุ ท ธรั ต นสถาน ซึ่ ง มี ค วามเปลี่ ย นแปลงผ่ า นกาลเวลามาหลายยุ ค หลายสมั ย โดยแม้ ว่ า รู ป แบบทางสถาปั ต ยกรรม ของพระพุ ท ธรั ต นสถานจะเปลี่ ย นแปลงน้ อ ยมาก แต่อาคารและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบ ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำ�คัญ พระพุทธรัตนสถานที่ได้รับความเสียหายจากแรงสะเทือนของระเบิด กับรายละเอียดของพระพุทธรัตนสถานเป็นอย่างมาก เนือ่ งจากเป็นอาคารหลักทีจ่ ะปรากฏอยูใ่ นทุกภาพ ดังจะเห็นได้จากพระบรมราชวินจิ ฉัยถึงรูปแบบทางศิลปกรรมของพระพุทธรัตนสถานว่า “...เส้นโค้งที่เห็นนั้นไม่ใช่ไทย เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมนี้ต้องถามอธิบดี (พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น)...” ไม่เพียงเท่านั้น องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ก็ทรงให้ความสำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน “...ส่วนช่อฟ้าอยู่ท่ีสถาปนิกแก้ไขต้องให้มีความคล้ายคลึงกับของจริง แต่จะเพี้ยนนิดหน่อยไม่เป็นไร เป็นเพอร์สเปคตีฟ แบบไทย...” นอกเหนือจากรูปแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานพระบรมราชาธิบาย ถึงรายละเอียดของพระพุทธรัตนสถานในแต่ละช่วงเวลาเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น “...หลังคาสังกะสีต้องใหญ่และมุงอยู่ด้านเดียวของโบสถ์พระพุทธรัตนสถาน...” แม้แต่มุมมองของภาพที่ทอดพระเนตรจากห้องที่ประทับในพระที่นั่งบรมพิมานก็พระราชทานพระบรมราชาธิบายอย่างละเอียด เพื่อให้กรมศิลปากรนำ�ไปปรับปรุงภาพให้ถูกต้อง “...มุขนี้ (พระที่นั่งบรมพิมาน) มิได้เป็นอย่างนี้ อาจต้องกลับคอมโพสซิชั่นพระที่นั่งบรมพิมานกับพระพุทธรัตนสถาน การซ่อมไม่ได้ท�ำ ในรัชกาลที่ ๘ ร. ๘ เอาสังกะสีมาแปะเฉย ๆ มีรปู ด้วย ขอจากช่างภาพส่วนพระองค์ ทัง้ หมดหลุดไป จึงไม่เหลือ ใบระกา ติดต่อขวัญแก้ว วัชโรทัย ขอรูปเก่ามาดู...”
76
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริให้เทียบภาพถ่ายพระพุทธรัตนสถานที่ได้รับความเสียหาย จากแรงสะเทือนของระเบิดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒
77
ล กั ษณะอาคารและสถาปัตยกรรมของสิง่ ก่อสร้างรอบ พระพุทธรัตนสถานเป็นอีกสิง่ ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมศิลปากร ตรวจสอบความถูกต้อง ไม่เว้นแม้แต่ลักษณะของกำ�แพง ในพระบรมมหาราชวัง “...กำ � แพงภายในน่ า จะปรั บ เป็ น กำ � แพงแบบ มีเสมา ให้ศึกษาจากข้อมูล ข้อเท็จจริง...” พระราชกระแสอีกตอนหนึ่งว่า “...ที่อยู่บนกำ�แพงรูปร่างอย่างนี้หรือ (หมายถึง ใบเสมา) ...รูปใบระกาตลอดแนวเส้น ช่องไฟใบระกา เป็ น อย่ า งนี้ ห รื อ ถ้ า เห็ น เป็ น อย่ า งนี้ ก็ เ อาตามนี้ เดี๋ ย วจะผิ ด เพอร์ ส เปคตี ฟ และภาพต้ อ งเป็ น เพอร์สเปคตีฟแบบโบราณ...” และหากมีการเขียนอาคารที่ไม่ปรากฏในปัจจุบันก็จะ ทรงกำ�ชับให้กรมศิลปากรศึกษาความถูกต้องเหมาะสม ประตูกลมเกลาตรู อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระพุทธรัตนสถาน “...เก๋งจีนบนกำ�แพงให้ศึกษาลักษณะความเป็นจริง เป็นแบบในการวาดเก๋งจีนในภาพจิตรกรรม ว่า เหมาะสมหรือไม่ ควรมีหรือไม่มี ถ้ามี ลักษณะควร เป็นอย่างไร...” ตลอดจนมุมมองของอาคารประกอบต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบก็จะต้องมีความถูกต้องตามความเป็นจริงด้วย “...สภาพทิวทัศน์ภายนอกวัง ลักษณะอาคารตามตำ�แหน่งทิศที่มอง น่าจะเป็นพระที่นั่งศิวาลัย ลักษณะกลุ่มอาคาร สิ่งแวดล้อม ควรศึกษาจากข้อเท็จจริงประกอบ...” ไม่เพียงแต่อาคารภายในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น อาคารห้างร้านต่าง ๆ นอกพระบรมมหาราชวังก็ได้มีพระราชกระแสให้ กรมศิลปากรตรวจสอบความถูกต้อง แม้แต่ชื่อของห้างร้านเหล่านั้น “...รูปประชาชนนีเ่ ป็นธรรมชาติ รูปอย่างนี้ ทีต่ อ้ งการชือ่ ห้างร้าน (ภาษาจีน) ต้องศึกษา เดีย๋ วเขาว่าได้ (เสด็จ ฯ สำ�เพ็ง) ...”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริให้เทียบเคียงสถาปัตยกรรมที่ไม่คงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบันเพื่อให้มีความถูกต้องใกล้เคียงมากที่สุด 78
79
วัฒนธรรมประเพณี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริให้ตรวจสอบความถูกต้องของการตั้งโต๊ะหมู่บูชา ตลอดจนรายละเอียด ของพัดยศพระราชาคณะให้มีความถูกต้องตามความเป็นจริง
80
จิ ต รกรรมฝาผนั ง พระพุ ท ธรั ต นสถานมี ค วาม ถู ก ต้ อ งในด้ า นวั ฒ นธรรมประเพณี ต่ า ง ๆ ด้ ว ย เนื่ อ งจากพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงเอา พระราชหฤทัยใส่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กรมศิลปากรตรวจสอบรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ อย่างถีถ่ ว้ น โดยเฉพาะในส่วนทีเ่ กีย่ วกับประเพณีพธิ กี รรม ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ พุ ท ธศาสนา ไม่ ว่ า จะเป็ น พระพุ ท ธรู ป บูชาที่ปรากฏในภาพ ก็มีพระราชกระแสให้ตรวจสอบ ยุคสมัยให้ถกู ต้อง “...ศึกษาข้อมูลพระพุทธรูปบูชาว่าเป็นยุคสมัยใด...” ภาพพระราชาคณะเจริญพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั้งเครื่องตั้งแต่งในการพระราชพิธี ทรงกำ�ชับให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ตรวจสอบอย่างละเอียด “...ให้ดูให้หมด พวกโต๊ะหมู่ ธรรมาสน์ อาสน์สงฆ์ แม้แต่ต้นไม้ แต่ดู ๆ รวมอย่างนี้ ก็ดีแล้ว...” แม้แต่ลักษณะการใช้พัดของพระสงฆ์ที่มาเข้าร่วมในพระราชพิธีก็ทรงกำ�ชับให้ถูกต้องตามยุคสมัยด้วย “...ตาลปัตรพัดยศเป็นอย่างนี้จริงหรือเปล่า เพราะพัดยศในสมัยนี้เปลี่ยนไป นี่ต้องศึกษาดี ๆ ไม่เช่นนั้น ผู้ใหญ่ที่เขาเคยทำ� จะว่าได้ อย่างฉันนี่ ๗๔ ที่จริงเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ความรู้สึกยังเป็นเด็ก เพราะไม่รู้เรื่อง นี่ละผู้เฒ่า...” นอกเหนือจากรายละเอียดทีเ่ กีย่ วกับพุทธศาสนาแล้ว องค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพไม่ว่าจะเป็นเครื่องราชูปโภค และเครื่องใช้อื่น ๆ ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายให้กรมศิลปากรแก้ไขให้ภาพจิตรกรรมพระพุทธรัตนสถานมีความถูกต้อง “...กานำ�้ เด่นไป เครือ่ งราชูปโภคในหลวงใหญ่กว่าพระราชินี สรุป ต้องให้รแู้ น่นอนว่าไม่ผดิ ต้องดูรปู ถ่าย...เจ้าฟ้าสมัยก่อน ไม่มีกลด คือ ร่ม มีร่มในสมัยรัชกาลที่ ๙...” และในบางครั้งได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายถึงรายละเอียดปลีกย่อยให้กรมศิลปากรด้วย เช่น ทรงอธิบายถึงสีและลักษณะ ทีเ่ หมาะสมของช้างเผือก “...ช้างเผือก ต้องสีอย่างนี้ แต่ช้างเผือกจริง ๆ ก็มีสีอย่างอื่น ให้ช้างอ้วนขึ้น โตขึ้นก็จะสวย ให้ไปถามผู้เกี่ยวข้องกับ ช้างเผือกถึงส่วนอื่นๆ ด้วย...” ไม่เพียงแต่ความถูกต้องของวัฒนธรรมประเพณีในราชสำ�นัก หากในภาพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีของภูมิภาค ก็โปรดให้กรมศิลปากรไปศึกษาความถูกต้อง “...บายศรีเขาทำ�อย่างนีห้ รือ กลัวว่ามีคนมาดูแล้วว่าไม่ถกู เช่น ไปอีสาน เขาบอกว่า เป็นฟ้อนศิลปากร แท้จริงเป็นของชาวบ้าน นี่ถ้าสามารถดูของเก่าเป็นอย่างไร ต้องใส่ให้หมด ถ้ารับรองก็พอไปได้...” 81
พระราชทานข้อชี้แนะในการเขียน จิตรกรรมฝาผนัง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อชี้แนะในการวาดภาพ จิตรกรรมฝาผนังว่าให้จัดวางพระพุทธรัตนสถานเป็นประธาน แล้วจึงวางองค์ประกอบของภาพเพิ่มเติมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำ�ให้พระพุทธรัตนสถานมีสัดส่วนที่ถูกต้องสวยงาม และมีความโดดเด่น
82
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อชี้แนะในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน หลายเรื่องด้วยกัน เพื่อให้กรมศิลปากรถ่ายทอดลักษณะจิตรกรรมตามพระราชประสงค์ให้ออกมาได้ใกล้เคียง มากที่สุด ในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาทรับพระราชกระแสทุกครัง้ จะพระราชทานข้อชีแ้ นะในการแก้ไข ปรับปรุง การเขียนภาพร่วมกับศิลปิน ทั้งในด้านองค์ประกอบหลักของภาพ การแก้ไขเพิ่มเติมสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ลงไปในภาพ ให้ภาพมีความสมบูรณ์สวยงามมีชีวิตชีวา ด้วยมีพระราชดำ�ริว่า “...ภาพเขียนไม่จำ�เป็นต้องให้เหมือนของจริง แต่ต้องให้มีความรู้สึก...” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อชี้แนะในการเขียนพระพุทธรัตนสถาน โดยเฉพาะกรรมวิธี ในการวางองค์ประกอบของภาพโดยได้พระราชทานพระราชกระแสว่าควรจะจัดวางพระพุทธรัตนสถานซึง่ เป็นประธาน ของภาพขึ้นก่อน แล้วจึงเพิ่มเติมองค์ประกอบต่าง ๆ ลงไปให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งจะทำ�ให้ภาพพระพุทธรัตนสถาน มีสัดส่วนที่ถูกต้อง มีความสวยงามโดดเด่นเป็นประธานของภาพ “...รู ป ทรงโดยรวม ช่ ว งจั่ว มุ ข หลั ง คาพระพุ ท ธรั ต นสถานดู แ คบไป ทำ � ให้ รูป ทรงโดยรวมหลั ง คา ไม่ ส มส่ ว น เป็ น เหตุ ใ ห้ รูป ทรงเสาอาคารสู ง ผอมไป ตั ว อาคารไม่ ส มประกอบ...โครงสร้ า งกำ � แพงดู แ ล้ ว บางไป...น่าจะเน้นรูปทรงโบสถ์พระพุทธรัตนสถานเป็นจุดเด่น เป็นหลักของภาพ...วิธีการแก้ปัญหา น่าจะ ร่างโครงสร้างของตัวอาคารพุทธรัตนสถานเป็นหลักของภาพให้ได้สัดส่วนรูปทรงถูกต้องก่อน แล้วค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเส้นเดินให้เป็นลักษณะแบบไทย การเขียนเส้นเดินกำ�แพงอาคารอื่น ๆ ให้เขียนประกอบต่อจาก อาคารพระพุทธรัตนสถาน...” ในบางครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อแนะนำ�ให้กลับมุมมองของพระพุทธรัตนสถานเพื่อให้ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างเหมาะสม “...มุ ม มองจากพระที่น่ัง บรมพิ ม านน่ า จะเป็ น มุ ม มองจากภาพเดิ ม วิ ธีก ารแก้ ไ ข น่ า จะปรั บ ตำ � แหน่ ง ผั ง อาคารพระพุ ท ธรั ต นสถานให้ หั น กลั บ เข้ า หาผู้ ดู และวางตำ � แหน่ ง พระที่ น่ั ง บรมพิ ม านใกล้ เ คี ย ง ตามสิ่งแวดล้อมข้อเท็จจริง...” แม้ แ ต่ ก ารปรั บ โทนสี เ พื่ อ ให้ เ กิ ด ความนุ่ ม นวลแก่ อ งค์ ป ระกอบภาพโดยรวม เช่ น การปรั บ สี ข องหลั ง คา พระพุทธรัตนสถาน “...หลังคากระเบื้องสีเขียวของพระพุทธรัตนสถาน ดูแข็งดิบไป น่าจะหาวิธีทำ�ให้นุ่มนวล...” 83
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริให้เพิ่มบุคคลเข้าไปในส่วนต่าง ๆ ของภาพมากขึ้น
นอกเหนือจากภาพสถาปัตยกรรม ผู้คน ต้นไม้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำ�ริให้ใส่ภาพนกหรือสัตว์เล็ก ๆ เข้าไปในภาพเพื่อให้ภาพมีชีวิตชีวา มีจุดที่น่าสนใจเล็ก ๆ น้อย ๆ สร้างความผ่อนคลายให้ผู้ดูได้อีกทางหนึ่งด้วย “...ให้ใส่ นก อีกา หรือกระรอก กระแต ในพุ่มไม้ต่าง ๆ ทำ�ให้ภาพไม่แข็ง ดูมีชีวิต แต่ไม่ต้องเด่น...” พระองค์ยังมีพระราชดำ�ริให้เพิ่มภาพบุคคลโดยเฉพาะชาวบ้านให้มากขึ้น สะท้อนถึงความห่วงใยในพสกนิกรซึ่งเป็น แรงบันดาลพระราชหฤทัยให้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อความอยู่ดีกินดีของราษฎร “...เพิ่มบุคคล ชาวบ้านในพระราชพิธีต่าง ๆ ให้มากขึ้น...” เหนืออื่นใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานกำ�ลังใจแก่ข้าราชการกรมศิลปากรในการสร้างสรรค์จิตรกรรม ฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ยังความปลาบปลื้มแก่ผู้ที่ได้รับพระราชกระแสเป็นอย่างยิ่ง “...ทำ�อะไรให้ไปดู แล้วจะมีความสุข หมายถึงให้ดูถูกต้อง ข้อมูลของวัสดุต่าง ๆ...”
84
โดยเฉพาะเมื่ อ มี ก ารปรั บ ปรุ ง ตามพระราชดำ � ริ แล้วทำ�ให้ภาพมีความสวยงามและมีความถูกต้องสมดัง พระราชประสงค์ “...ทำ � ไปทำ � มา ดู ทั้ ง หมดแล้ ว สนุ ก กว่ า อั น ก่ อ น ดี ก ว่ า อั น เก่ า ทำ � ให้ ไ ด้ ป ระวั ติ ห ลายตอน เราต้องคิดสร้างใหม่...” ในครั้ ง สุ ด ท้ า ยที่ ก รมศิ ล ปากรได้ เ ข้ า เฝ้ า ทู ล ละอองธุลีพระบาทรับพระราชกระแส พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงเล่าถึงพระอัจฉริยภาพของ พระบรมวงศ์พระราชทานแก่กรมศิลปากร ซึ่งยังความ ปลาบปลื้มอย่างหาที่สุดมิได้ “...ทีหลังต้องหาเวลามาคุยกัน ฉันก็เป็นศิลปิน เหมื อ นกั น เราก็ เ ป็ น ศิ ล ปิ น สมเด็ จ พระเทพ ฯ เป็ น ศิ ล ปิ น ทำ � ทุ ก อย่ า งเหมื อ นกั น บางคนศิ ล ปิ น พูดลำ�บาก พระบรม ฯ นีก่ ศ็ ลิ ปิน แกะชอล์ก และมีคนเอา ไปทิง้ โกรธมาก สิรภิ า (พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า สิรภิ าจุฑาภรณ์) เก่ง เขาเฟือ่ ง เขามีความคิดเฟือ่ งมาก ตอนแรกอยากเรียนโบราณคดี แต่ต้องรู้หลายอย่าง วิทยาศาสตร์ เคมี เลยตัดสินใจเรียนเขียนรูป...”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริให้เพิ่มภาพนก ภาพสัตว์ต่าง ๆ ลงไปในภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน เพื่อให้ภาพมีชีวิตชีวาเพิ่มมากขึ้น
85
จากแนวพระราชดำ � ริ ใ นการจั ด ทำ � พระราชนิ พ นธ์ เ รื่ อ ง พระมหาชนก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ พ ระราชทานแนวความคิ ด ให้ ศิ ล ปิ น ไทย สร้ า งสรรค์ ภ าพ เขี ย นจิ ต รกรรมไทยในวิ ธีก ารใหม่ เพื่ อ ใช้ เ ป็ น ภาพประกอบในบท พระราชนิพนธ์หนังสือพระมหาชนก โดยพระราชประสงค์ให้ลักษณะ จิ ต รกรรมไทยที่ นำ � เสนอในหนั ง สื อ พระราชนิ พ นธ์ มี แ บบแผนวิ ธี ที่ เ ป็ น จิ ต รกรรมไทยสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ปั จ จุ บั น เป็ น เหตุ ใ ห้ บั ง เกิ ด วิธีการพัฒนาลักษณะ แนวความคิด และเทคนิควิธีของจิตรกรรมไทย ยุ ค รั ต นโกสิ น ทร์ ปั จ จุ บั น ขึ้ น เป็ น เบื้ อ งต้ น และโครงการตาม พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเวลาต่อมา มี พ ระราชประสงค์ ใ ห้ อ อกแบบสร้ า งสรรค์ จิ ต รกรรมฝาผนั ง ในพระพุ ท ธรั ต นสถาน โดยพระราชทานแนวความคิ ด ในเนื้อ หา ทีจ่ ะแสดงออก และวิธใี นการตีความ และนำ�เสนอทางลักษณะ ตลอดทัง้ เทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ เพื่อให้จิตรกรรมฝาผนังแบบแผน ของพระพุทธรัตนสถานมีลักษณะวิธีของจิตรกรรมฝาผนัง ที่เป็น ยุครัตนโกสินทร์ปัจจุบัน งานจิตรกรรมฝาผนังของไทยหรือจิตรกรรมไทยมีวิวัฒนาการ ด้ ว ยหลั ก การและเหตุ ผ ลที่ เ ป็ น แบบแผนแยบยลลึ ก ซึ้ ง มี ก าร คัดเลือก จัดสรร การรับอิทธิพลทีเ่ หมาะสมนำ�มาผสมผสานกับแบบแผน แนวความคิดที่เป็นเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีไทย ทำ�ให้บังเกิด เป็นลักษณะของการพัฒนาการทางด้านจิตรกรรมฝาผนังของไทยที่มี แบบอย่างเฉพาะตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชด�ำริ วิ ธีก าร และทรงตรวจตราแก้ ไ ขภาพร่ า งทุ ก ภาพอย่ า งละเอี ย ด ทุกขั้นตอน เพื่อรักษาแบบแผนเอกลักษณ์จิตรกรรมฝาผนังของไทย ให้สอดคล้องกับจิตรกรรมฝาผนังเดิมด้านบน ทั้งในด้านศิลปกรรม และเรื่องราวซึ่งสะท้อนให้เห็นน�้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งพิทักษ์ รักษา สร้างสรรค์ และเชิดชูศิลปกรรมของชาติไว้ให้ยั่งยืน 86
87
พระราชด�ำริ ก่อเกิดศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙
๓
จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ส่วนพื้นผนังระหว่างช่องพระบัญชร จ�ำนวน ๘ ช่อง ที่ได้รับการรังสรรค์ขึ้น โดยศิลปินในรัชกาลที่ ๙ ตามแบบแผนของโบราณ เพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์ และสืบสานศิลปกรรมประจ�ำชาติไทย ไว้ให้ยั่งยืน โดยผสมผสานแนวการเขียนแบบโบราณและแบบแนวใหม่เข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน มีการหาข้อมูลเกี่ยวกับ สิ่งของ บุคคล สถานที่และเหตุการณ์จริงเพื่อน�ำมาใช้ประกอบการเขียนภาพ ด้วยความพิถีพิถันและละเอียดประณีต ทุกขั้นตอนของการสร้างสรรค์จิตรกรรมพระพุทธรัตนสถาน กล่าวได้ว่าจิตรกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นนี้มีคุณค่า และความงามประดุจรัตนะแห่งจิตรกรรม เป็นแบบอย่างให้ศิลปินยึดเป็นวิธีปฏิบัติในการสร้างสรรค์งานศิลปะไทยสืบไป
90
พระครูวามเทพมุนี (ต�ำแหน่งในขณะนั้น) เจิมพระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา ผู้ขจัดปัญหาและอุปสรรคนานา
พระครูวามเทพมุนี (ต�ำแหน่งในขณะนั้น) เจิมต�ำราและอุปกรณ์เครื่องเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
เลขาธิการพระราชวัง นายแก้วขวัญ วัชโรทัย โปรยข้าวตอกดอกไม้
ข้าราชการกรมศิลปากร ส�ำนักพระราชวัง และช่าง ร่วมพิธีบวงสรวง
91
นับจากอดีตถึงปัจจุบัน งานจิตรกรรมฝาผนังของไทยหรือจิตรกรรมไทยได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด ทั้งที่เกิดขึ้นจาก ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มีการคัดเลือก จัดสรร รับอิทธิพลอันเหมาะสมนำ�มาผสมผสานกับแบบแผนแนวความคิด ที่ เ ป็ น เรื่ อ งของวั ฒ นธรรมประเพณี ข องไทยจนบั ง เกิ ด เป็ น ลั ก ษณะของการพั ฒ นาการทางด้ า นจิ ต รกรรมฝาผนั ง ของไทย ที่มีลักษณะเฉพาะ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำ�ริในการจัดทำ�พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก โดยพระราชทานแนวความคิดให้ศิลปินไทยสร้างสรรค์ภาพเขียนจิตรกรรมไทยในวิธีสร้างสรรค์ใหม่ เพื่อใช้เป็น ภาพประกอบในบทพระราชนิพ นธ์ ห นั งสื อ พระมหาชนก ในครั้ ง นั้ นมี พ ระราชประสงค์ ใ ห้ ลั กษณะจิ ตรกรรมไทยที่ นำ � เสนอ ในหนังสือพระราชนิพนธ์มีแบบแผนเป็นแนวทางจิตรกรรมไทยที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นแบบ “รัตนโกสินทร์ปัจจุบัน” ซึ่งนับเป็น จุดเริ่มต้นของวิธีในการพัฒนาลักษณะ แนวความคิดและกรรมวิธีใหม่ ๆ ของจิตรกรรมไทยที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ส่วนการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวพระราชด�ำริ วิธีการ และทรงตรวจตราแก้ไขภาพร่างทุกภาพอย่างละเอียดทุกขั้นตอน เพื่อรักษาแบบแผนเอกลักษณ์จิตรกรรมฝาผนังของไทย ให้สอดคล้องกับจิตรกรรมฝาผนังด้านบน ทั้งในด้านศิลปกรรมและเรื่องราว ซึ่งสะท้อนให้เห็นน�้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งพิทักษ์ รักษา สร้างสรรค์ และเชิดชูศิลปกรรมของชาติให้ยั่งยืน กรมศิลปากรได้น้อมรับแนวพระราชด�ำริดังกล่าวมาสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน โดยรักษาลักษณะ และกรรมวิธีแบบโบราณ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมพื้นผิวก่อนการเขียนภาพ การเตรียมสี ทั้งได้ผสานวิธีใหม่ ๆ ในการเขียนภาพ จิตรกรรม เช่น การแบ่งหน้าที่ของจิตรกรตามความถนัด ท�ำให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๘ ช่อง มีความกลมกลืนเป็นเอกภาพ ทั้งนี้เพื่อสนองพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีพระราชประสงค์จะอนุรักษ์การเขียนภาพจิตรกรรมแบบ ไทยประเพณี จิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๘ ช่อง ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นในโอกาสนี้ กล่าวได้ว่า ได้รักษาแบบแผนอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมประจ�ำชาติให้มีความเชื่อมต่อระหว่างยุคเก่าและยุคใหม่ เป็นที่ยึดถือได้ว่า นี่คือ งานศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ กรมศิลปากรเริม่ ดำ�เนินการเขียนจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน โดยการตระเตรียมงานหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ การเตรียมผนัง การขยายภาพร่างจิตรกรรมที่มีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วเท่าขนาดจริงซึ่งเริ่มต้นขยายเป็นลายเส้นก่อน จากนั้นจึง จัดหาวัสดุ ตัง้ นัง่ ร้าน เตรียมการเขียน โดยเฉพาะการเลือกสรรสีฝนุ่ ชนิดต่าง ๆ ทีเ่ หมาะแก่งานเขียนตามสภาพภูมอิ ากาศในประเทศไทย เพื่อทดลองความเหมาะสม การจัดหา คัดเลือกช่างเขียนและจิตรกรที่มีฝีมือ ซึ่งเป็นข้าราชการในกรมศิลปากร
ภาพเขียนจิตรกรรมไทยในวิธีการใหม่ เพื่อใช้เป็นภาพประกอบในบทพระราชนิพนธ์หนังสือพระมหาชนก 92
93
การร่างภาพต้นแบบ การขยายภาพ และลอกภาพลายเส้นลงบนผนัง การร่างภาพต้นแบบถือว่ามีความสำ�คัญต่อการวาดภาพ จิ ต รกรรมฝาผนั ง พระพุ ท ธรั ต นสถานเป็ น อย่ า งมาก มี ก าร เปลี่ยนแปลงหลายครั้ง กรมศิลปากรได้จัดให้มีคณะกรรมการ พิจารณากำ�หนดสาระและลักษณะเฉพาะ และมอบหมายให้ กลุ่มจิตรกรรม สำ�นักช่างสิบหมู่ ดำ�เนินการ การกำ�หนดลักษณะ มีหลักการคือ จัดวางส่วนสำ�คัญของภาพตามลำ�ดับก่อนหลัง คือลงภาพสถาปัตยกรรมพระพุทธรัตนสถานเป็นสิ่งสำ�คัญหลัก ไว้ก่อน แล้วจึงกำ�หนดส่วนของทิวทัศน์เป็นภาพรวมอย่างกว้าง ๆ เพื่อวางตำ�แหน่งภาพสิ่งก่อสร้างรองและสิ่งก่อสร้างประกอบ ได้แก่ ศาลา เก๋งจีน ซุ้มประตู จากนั้นจัดวางตำ�แหน่งของ ต้นไม้อย่างสังเขปเพื่อดูช่องว่างของแต่ละส่วน แล้วจึงกำ�หนด ตำ�แหน่งของภาพบุคคลสำ�คัญ จัดวางภาพบุคคลชั้นรองและ การขยายภาพต้นแบบจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน บุคคลประกอบให้มีความประสานสัมพันธ์ตามจุดอย่างสมดุล เพื่อน�ำไปเขียนจริง และเพิ่มเติมสิ่งประกอบเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้องค์ประกอบ ของภาพมีความสมบูรณ์ จากนั้นจึงมีการขยายภาพโดยนำ�แบบต้นร่างไปขยายให้ได้ขนาดความกว้างยาวตามฝาผนังจริง แล้วปรับแบบให้เห็น รายละเอียดและสัดส่วนที่ถูกต้อง เนื่องจากขั้นตอนการร่างภาพต้นแบบเป็นเพียงการร่างภาพให้รตู้ �ำ แหน่ง ยังไม่มรี ายละเอียด ของลักษณะและสัดส่วนทีถ่ กู ต้อง ดังนัน้ การดำ�เนินการปรับขยายแบบจึงเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ช้อมูลที่ชัดเจนขึ้น เพื่อจะได้เขียน รูปทรง และรายละเอียดของลวดลายให้ถูกสัดส่วน โดยเฉพาะสัดส่วนของสถาปัตยกรรมพระพุทธรัตนสถาน และสิ่งก่อสร้างรอง ทั้งศาลา ทิม ซุ้มประตู ฯลฯ ธรรมชาติและต้นไม้ อาจขยายโดยไม่ลงรายละเอียดมาก สิ่งสำ�คัญคือการเขียนรายละเอียดของ ภาพบุคคล โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ การเขียนภาพบุคคลต้องขยายแบบให้ได้สัดส่วนที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ มีความเหมาะสม ส่วนการเขียน รายละเอียดของภาพประกอบอื่น ๆ เช่น เครื่องบิน เรือรบ รถพระที่นั่ง ฯลฯ จะต้องศึกษาลักษณะ รายละเอียดที่ถูกต้องตาม สภาพจริง แล้วลอกลายเส้นลงบนผนังที่เตรียมไว้ 94
การเตรียมสี
การขยายภาพต้นแบบจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน เพื่อน�ำไปเขียนจริง
สีเป็นองค์ประกอบหลักของการเขียนจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประเพณี นอกจากกรรมวิธีการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ที่มีลักษณะเฉพาะแบบไทยแล้ว สิ่งสำ�คัญที่จะต้องพิถีพิถันอย่างยิ่ง ได้แก่ สี ซึ่งหมายถึงสีฝุ่นและการเตรียมพื้นผนัง เนือ่ งจาก งานสร้างสรรค์ศิลปะจิตรกรรมฝาผนังในพระอารามต่าง ๆ หลังรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา ไม่แพร่หลายกว้างขวางเช่นสมัย ต้ น รั ต นโกสิ น ทร์ มี เ พี ย งการซ่ อ มอนุ รั ก ษ์ ภ าพรามเกี ย รติ์ ร อบพระระเบี ย งพระอุ โ บสถวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ดั ง นั้ น ความรู้เรื่องสี รวมทั้งสิ่งที่เกี่ยวเนื่องในการเขียนภาพจึงมีผ้รู ้นู ้อยลง ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพสี การผสมสีท่เี หมาะสำ�หรับ การใช้งานเป็นสิ่งที่ต้องขวนขวายเรียนรู้และทดสอบใหม่ ในอดีตสีที่ใช้เขียนภาพได้จากวัสดุธรรมชาติเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความก้าวหน้าขึ้น การผลิตสี มีวิวัฒนาการ มีสีผสมทางเคมีหลายชนิด ซึ่งนำ�เข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ สะดวกและรวดเร็วกว่าวัสดุที่แสวงหา จากธรรมชาติ การเลือกสรรสีมาใช้เขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระพุทธรัตนสถาน จึงจำ�เป็นต้องทำ�การวิจยั สี ทีผ่ ลิตมาจากแหล่งต่าง ๆ หลายแห่ง เพื่อให้ได้สีที่เหมาะสมกับการเขียนให้มากที่สุด การเขียนจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานกำ�หนดให้ใช้สีฝุ่นกับจิตรกรรมฝาผนังตอนบน สีฝุ่นที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่ เป็นสีที่นำ�เข้าจากแหล่งผลิตต่าง ๆ กัน ทั้งอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย คุณสมบัติของเนื้อสีแต่ละแห่งมีความต่างกัน เช่น สีที่มีกาวมาก เนื้อสีจะเบาบาง เมื่อระบายสีจะซีด สีที่มีกาวน้อย เนื้อสีจะเข้มข้น เมื่อระบายสีจะเด่นชัด ในการทดสอบสี ทำ�ให้จิตรกรมีแนวคิดนำ�สีทั้งสองชนิดมาผสมกัน ปรากฏว่าทำ�ให้ได้สีใหม่ เป็นสูตรสีใหม่ที่เกิดขึ้นในโอกาสนี้ 95
ขัน้ ตอนของการเตรียมสีคอื จะน�ำสีฝนุ่ บดให้ละเอียดผสมกาวกระถิน และน�้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม บดให้เนียนละเอียดเข้ากัน การเตรียมสี มีวิธีการแบ่งเป็นหลายลักษณะ เช่น สีส�ำหรับเขียนภาพสถาปัตยกรรม และสิ่งก่อสร้าง สีส�ำหรับเขียนภาพต้นไม้และธรรมชาติ สีส�ำหรับ เขียนภาพบุคคล ต้องมีการจัดผสมเตรียมไว้ให้เพียงพอส�ำหรับเขียนภาพ ทั้งหมด จะท�ำให้การเขียนภาพสะดวกขึ้น สี ผ สมดั ง กล่ า วนี้ ส ามารถน�ำมาใช้ เ ขี ย นภาพได้ โดยจะท�ำการ ทดสอบคุ ณ สมบั ติ ก ่ อ นใช้ ด้ ว ยการทดลองเขี ย นบนพื้ น ผนั ง จ�ำลอง ๑๐ แผ่ น ด้ ว ยสี จ ากแหล่ ง ต่ า ง ๆ เพื่ อ ทดสอบว่ า ผนั ง ดู ด ซึ ม สี ไ ด้ ดี เพี ย งใด สี เ กาะติ ด ยึ ด ผนั ง แน่ น เพี ย งใด โดยเขี ย นแล้ ว ตากแดด ตากน�้ำค้างทิ้งไว้ ๑ สัปดาห์ ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็ถือว่าทั้งพื้นผนังและสี ใช้ได้แล้ว ไม่ เ พี ย งเท่ า นั้ น ยั ง ต้ อ งมี ก ารทดลองกั บ น�้ ำ ยาที่ ใ ช้ ใ นการ อนุ รั ก ษ์ จิ ต รกรรมฝาผนั ง (น�้ ำ ยาพาราลอยด์ ) เพื่ อ การอนุ รั ก ษ์ ในอนาคต โดยเมือ่ ทานำ�้ ยาลงไปบนจิตรกรรมฝาผนังแล้ว สีจะไม่ละลาย หลุดล่อนเป็นอันตรายหรือท�ำปฏิกิริยาทางเคมีในการอนุรักษ์ สามารถ ลอกออกเป็นแผ่นได้ ชั้นสีแข็งแรง คายความชื้น สามารถดูดซึมผ่าน ผนังได้โดยไม่ท�ำลายชั้นสี
96
การเตรียมสีฝุ่นบดด้วยโกร่งส�ำหรับใช้เขียนจิตรกรรม และสีฝุ่นผสมกาว พร้อมที่จะใช้เขียนจิตรกรรม
จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานเขียนด้วยสีในปัจจุบันที่เป็นสีผสมทางเคมี และได้มีการทดสอบ คุณสมบัติการดูดซึมสี การยึดติดผนัง และทดลองกับน�้ำยาที่ใช้ในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังด้วย สีจะไม่ละลายและลอกออกเป็นแผ่นได้ง่าย
97
ผนังระหว่างช่องพระบัญชรที่ ๑
เรื่องเหตุการณ์รัชกาลที่ ๔ เริ่มก่อสร้างพระพุทธรัตนสถาน
ผนังระหว่างช่องพระบัญชรที่ ๒
เรื่องเหตุการณ์รัชกาลที่ ๔ สมโภชพระพุทธรัตนสถาน ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่จ�ำลองมานี้ มีอัตราส่วน ๑ : ๑๒
ผนังระหว่างช่องพระบัญชรที่ ๓
เรื่องเหตุการณ์รัชกาลที่ ๕ แปลงพระวิหารพระพุทธรัตนสถานเป็นพระอุโบสถ
ผนังระหว่างช่องพระบัญชรที่ ๔
เรื่องเหตุการณ์รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนินไปยังพระพุทธรัตนสถาน
ผนังระหว่างช่องพระบัญชรที่ ๕
เรื่องเหตุการณ์รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงน�ำเดินเทียนรอบพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน
ผนังระหว่างช่องพระบัญชรที่ ๖
เรื่องเหตุการณ์รัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทอดพระเนตรพระพุทธรัตนสถานทรุดโทรม
ผนังระหว่างช่องพระบัญชรที่ ๗
เรื่องเหตุการณ์รัชกาลที่ ๙ พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการฟื้นฟูประเพณีบ้านเมือง
ผนังระหว่างช่องพระบัญชรที่ ๘
เรื่องเหตุการณ์รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน
การก�ำหนดเรื่องราว ของจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ด้วยพระราชกระแสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานว่า พระพุทธรัตนสถานเป็นสถานที่ ประวัติศาสตร์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงเกี่ยวข้องเป็นสาระสำ�คัญ ของเรื่อ ง จึ ง จะต้ อ งแสดงเรื่อ งราวเกี่ย วกั บ พระราชประวั ติแ ละพระราชกรณี ย กิ จ ของพระมหากษั ต ริ ย์ โดยเฉพาะภาพเหตุ ก ารณ์ ก่ อ นเสด็ จ เถลิ ง ถวั ล ยราชสมบั ติ นั้ น พระพุ ท ธรั ต นสถานชำ � รุ ด ด้ ว ยถู ก ระเบิ ด จากภั ย ทางอากาศเมื่ อ สงครามโลกครั้ ง ที่ ๒ พั ง ทลายบางส่ ว นยั ง มิ ไ ด้ ซ่ อ มแซม ทั้ ง นี้ เ พราะศิ ล ปกรรม ทั้ ง หลายที่ บ รรดาช่ า งในอดี ต สร้ า งสรรค์ ณ พระพุ ท ธรั ต นสถาน บ่ ง บอกให้ รู้ ก าลสมั ย ดั ง นั้ น ด้ ว ยแนวพระราชดำ � ริ นี้ จึ ง ได้ มี ก ารกำ � หนดสาระของเรื่ อ งเริ่ ม จากเหตุ ก ารณ์ ใ นรั ช กาลที่ ๔ เป็ น ต้ น มา จนถึงสมัยรัชกาลปัจจุบัน การเขี ย นภาพจิ ต รกรรมฝาผนั ง พระพุ ท ธรั ต นสถาน ได้ รั ก ษาลั ก ษณะศิ ล ปกรรมอย่ า ง กระบวนช่างโบราณ ประสานสัมพันธ์ให้ภาพที่เขียนใหม่กลมกลืนกับจิตรกรรมตอนบน ซึ่งเขียนเมื่อครั้ง รั ช กาลที่ ๔ โดยยึ ด ความถู ก ต้ อ งตามข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น จริ ง ซึ่ ง ปั จ จุ บั น สามารถศึ ก ษาค้ น คว้ า ได้ และต้องคำ�นึงเสมอว่า การสร้างสรรค์ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙ ควรถูกต้องทั้งข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ
จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานบริเวณช่องพระบัญชร (หน้าต่าง) ทั้ง ๘ ช่อง เริ่มจากผนังทางด้านทิศใต้ (ด้านซ้ายของภาพ)
98
99
ด้ ว ยเหตุ นี้ จึ ง ได้ มี ก ารกำ � หนดเนื้ อ หาสาระของเรื่ อ งเป็ น ภาพ ตามแนวพระราชดำ � ริ โดยเริ่ ม ต้ น ที่ ผ นั ง ด้ า นทิ ศ ใต้ พื้ น ที่ ร ะหว่ า งช่ อ ง พระบัญชร ๔ ช่อง ขนาดกว้าง ๔ ฟุต สูง ๘ ฟุต เรื่องจากผนังด้านหน้า ไปด้านหลัง ผนังด้านใต้ช่องที่ ๑ และช่องที่ ๒ เหตุการณ์รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มสร้างพระวิหารพระพุทธ รั ต นสถาน เพื่ อ ประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธบุ ษ ยรั ต นจั ก รพรรดิ พิ ม ลมณี มั ย ช่องที่ ๓ เหตุการณ์รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงพระวิหารพระพุทธรัตนสถานเป็นพระอุโบสถ เพื่อทรงพระผนวช ช่ อ งที่ ๔ เหตุ ก ารณ์ รัช กาลที่ ๖ พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่หัว ทรงอภิ เ ษกสมรสอย่ า งสากล แล้ ว เสด็ จ ฯ ณ พระพุ ท ธรั ต นสถาน มี เ หตุ ก ารณ์ ใ นรั ช สมั ย มาแสดง ได้ แ ก่ การสร้ า งเรื อ รบหลวงพระร่ ว ง และประกาศร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ จบด้านทิศใต้ ๔ ช่อง ผนังด้านหลังบุษบกประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพมิ ลมณีมยั เป็ น ทิ ศ ตะวั น ตก วนมาทิ ศ เหนื อ เริ่ ม ต้ น จากด้ า นในเป็ น ช่ อ งแรก ช่องที่ ๕ เหตุการณ์รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำ�คัญแก่เด็ก ทรงนำ�พระเยาวราชวงศ์ ข้าทูลละอองธุลพี ระบาท ฝ่ายในเดินเทียนรอบพระพุทธรัตนสถานในพระราชพิธีบำ�เพ็ญพระราชกุศล วิสาขบูชาและการสมโภชพระนคร ๑๕๐ ปี ช่องที่ ๖ เหตุการณ์รชั กาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จนิวตั พระนคร เมือ่ พุทธศักราช ๒๔๘๘ ทอดพระเนตรพระพุทธรัตนสถาน เพื่อเริ่มการปฏิสังขรณ์ และเสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงเยี่ยมชุมชนชาวจีน ที่สำ�เพ็ง ช่องที่ ๗ และช่องที่ ๘ เหตุการณ์รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชทรงพระผนวช ณ พระพุ ท ธรั ต นสถาน พระราชพิธีและโบราณราชประเพณีสำ�คัญที่ทรงฟื้นฟู เหตุการณ์บ้านเมือง และพระราชกรณียกิจ เพื่อการเกื้อกูลอาณาประชาราษฎร์ จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานด้านทิศเหนือ ด้านในสุดเขียนภาพพระพุทธรัตนสถาน ในสมัยรัชกาลที่ ๗ รัชกาลที่ ๘ และสองช่องสุดท้ายเขียนภาพในรัชกาลปัจจุบัน 100
101
ขั้นตอนที่ ๒ ฆ่าความเค็มของปูนที่ฉาบผนัง
เมื่ อ ผนั ง ที่ ฉ าบแห้ ง สนิ ท จึ ง ลดความเค็ ม ของปู น ที่ ฉ าบโดยใช้ น�้ ำ ใบขีเ้ หล็ก น�ำมาประสะ คือชโลมพืน้ ผนังให้ทวั่ ท�ำหลาย ๆ ครัง้ ทิง้ ให้ผนังแห้ง น�ำขมิ้นชันสดขีดบนผนัง ถ้ารอยขมิ้นเป็นสีแดง แสดงว่า ผนังยังมีความ เค็ม ต้องประสะน�้ำใบขี้เหล็กซ�้ำ ๆ ทดสอบด้วยการขีดขมิ้นชันจนกว่าสีแดง ของขมิ้นจะกลายเป็นสีเหลืองเหมือนสีขมิ้นชันซึ่งแสดงว่าผนังจืดแล้ว
การเตรียมพื้นผนัง พระพุทธรัตนสถานก่อนเขียนจิตรกรรม การทำ�พื้นผนังรองรับจิตรกรรมเป็นรากฐานเบื้องต้นที่มีความสำ�คัญต่อการเขียนจิตรกรรมฝาผนังขั้นตอนหนึ่ง ต้องประณีตพิถีพิถัน เนื่องจากพื้นผิวผนังที่มีความแน่น ละเอียด เหมาะแก่การรับสีที่ระบายลงได้ดี เพื่อให้ผนัง มีคุณสมบัติพร้อมเขียนจิตรกรรม จิตรกรรมจึงจะวิจิตรงดงามและคงทน เมื่อเคลื่อนย้ายจิตรกรรมฝาผนังที่เขียน เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔ ออกไป ผนังเป็นพื้นที่ว่างขรุขระไม่เรียบ จึงได้มีวิธีการเตรียมผนังในครั้งนี้โดยยึดกรรมวิธี ของช่างไทยโบราณซึ่งนายเฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติด้านการบูรณะจิตรกรรมไทย ผู้ได้อนุรักษ์งานจิตรกรรม ฝาผนังของชาติไว้เป็นจำ�นวนมาก ถ่ายทอดหลักวิชานีใ้ ห้ตกทอดมาสูป่ จั จุบนั เริม่ งานเมือ่ วันที่ ๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖
การทดสอบความเค็มของผนังโดยการขีดด้วยขมิ้นชัน ถ้าเป็นสีแดงแสดงว่าผนังยังมีความเค็มอยู่
การเตรียมผนังตามกรรมวิธีของโบราณใช้เวลา ๑ เดือน จึงเริ่มงานเขียนจิตรกรรมฝาผนังได้ มี ๕ ขั้นตอน คือ
102
เมือ่ ผนังปูนฉาบจืดแล้ว นำ�ดินสอพองทีผ่ า่ นกรรมวิธเี กรอะแล้วทาด้วยแปรง ขนาดใหญ่หนาประมาณ ๑ เส้นตอก (ความหนาของเส้นตอกประมาณ ๑.๕ มิลลิเมตร) ทิ้งไว้ประมาณ ๑๕ วัน ดินสอพองจะแห้งสนิท แล้วกวดพื้นผนัง ด้วยก้นถ้วยหรือหอยเบี้ยขนาดใหญ่ (กวดหมายถึงกดให้เรียบแน่น) ดินสอพองทีน่ �ำ มาเกรอะนีเ้ ป็นส่วนผสมของดินสอพองกับกาวเม็ดมะขาม คนให้เข้ากัน หมักไว้ในภาชนะมิดชิด ๑ วัน ผสมด้วยเจลาติน ในอัตราส่วน ดินสอพองผสมกาวเม็ดมะขามแล้ว ๑๐ ส่วน กาวเจลาติน ๑ ส่วน คนให้เข้ากัน หมักไว้ในภาชนะมิดชิด ๓ วัน จึงนำ�มาเกรอะ
ขั้นตอนที่ ๔ การป้องกันแมลงกัดกินสี
เมื่ อ กวดพื้ น ผนั ง เรี ย บแล้ ว ใช้ ก ระดาษทรายละเอี ย ดขั ด ให้ เ รี ย บ เสมอกั น แล้ ว ชโลมด้ ว ยน�้ ำ จุ น สี ป ้ อ งกั น มด มอด แมลงต่ า งๆ ที่ ช อบ กัดกินสี ท�ำลายพื้นเมื่อระบายสี (จุนสีมีรสฝาด จึงสามารถป้องกันมิให้แมลง มารบกวนกัดกินผนังที่เขียนสีภายหลัง) ทิ้งไว้ให้แห้งจากนั้นจึงลงสีรองพื้น
ขั้นตอนที่ ๑ สำ�รวจลักษณะผนังและสภาพพื้นผิวปูน
ผนังพระพุทธรัตนสถานชั้นในก่ออิฐถือปูน ผนังชั้นนอก ฉาบด้ ว ยปู น ตำ � ลงพื้ น ด้ ว ยดิ น สอพองผสมกาวเม็ ด มะขาม เมื่อได้สำ�รวจสภาพแล้ว ปรากฏว่าชั้นปูนตำ�ที่ฉาบบางตำ�แหน่ง โป่งพอง แตกร้าว ไม่ยึดติดกับผนังอิฐ จำ�เป็นต้องกะเทาะออก จนถึงชัน้ อิฐ แล้วฉาบใหม่ดว้ ยปูนตำ�สูตรโบราณ ทิง้ ไว้ให้แห้งสนิท ใช้เวลาประมาณ ๒ สัปดาห์
ขั้นตอนที่ ๓ ลงพื้นดินสอพอง
การเตรียมพื้นผนังก่อนการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด�ำเนินการโดยนายสาคร โสภา ผู้ร่างภาพต้นแบบ จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน
ขั้นตอนที่ ๕ กรรมวิธีการลงสีรองพื้น
กรรมวิธีเตรียมสีรองพื้น คือ นำ�สีฝุ่นขาวบริสุทธิ์ผสมกับเจลาตินและ สีรองพืน้ สำ�เร็จรูปอย่างดี (สีรองพืน้ สำ�เร็จรูป ทำ�เพือ่ การรองพืน้ เขียนจิตรกรรม ฝาผนั ง โดยเฉพาะ มี คุ ณ ภาพดี ผลิ ต ในยุ โ รปที่ มั ก เรี ย กว่ า “สี เ กสโซ่ ” ) ในอัตราส่วน ๑๐ : ๒ : ๒ ตามลำ�ดับ หมักให้เข้ากันทิ้งไว้ ๗ วัน จากนั้น จึงนำ�มาทาลงผนังด้วยแปรงขนาดใหญ่ ลงสีรองพื้น ๔ ชั้น แต่ละชั้นต้องรอ ให้สีแห้งสนิทก่อน เมื่อลงพื้นครบทั้ง ๔ ครั้งแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ ๑๕ วัน จึงเริ่มกระบวนการเขียนจิตรกรรม 103
การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน การเขียนภาพจิตรกรรมลงบนผนังระหว่างช่องพระบัญชรทั้ง ๘ ผนัง ได้เริ่มขึ้นในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๖ โดยตระหนักว่าพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานพระราชดำ�ริไว้ เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ เอกลักษณ์ของงานศิลปกรรมไทย ทีส่ บื ทอดมาแต่โบราณให้คงไว้ และพัฒนาลักษณะการเขียนให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้า ทางศิลปกรรมของวิทยาการสมัยปัจจุบัน เป็นการแสวงหาลักษณะเด่นชัดของศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙ เป็นประการสำ�คัญ จึงดำ�เนินงานเขียนภาพทุกขั้นตอนให้อยู่ภายในกรอบแห่งพระราชดำ�ริทุก ๆ ประการ ในทุกภาพ และทุกช่อง คณะกรรมการดำ�เนินการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฯ ได้พิจารณาคัดเลือกช่างที่มีฝีมือเพื่อดำ�เนินการขยายภาพถ่าย ร่างลายเส้นลงผนัง ส่วนการเขียนภาพลงสีจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานมีลักษณะที่แตกต่างไปจากแบบแผนเดิม ของการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มักจะแบ่งภาพเป็นส่วน ๆ เพื่อให้จิตรกรรับผิดชอบในการเขียนภาพทั้งหมด แต่สำ�หรับ จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานได้จำ�แนกประเภทงานออกเป็นส่วน ๆ ตั้งแต่สถาปัตยกรรมหลัก สิ่งก่อสร้างรอง ธรรมชาติ ต้นไม้ บุคคล ฯลฯ ในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานได้มีการเขียนอย่างเป็นขั้นตอน โดยในขั้นที่หนึ่งได้จัดจิตรกรที่มี ความถนัดให้ลงสีส่วนที่เป็นธรรมชาติของพื้นดิน ต้นไม้ สถาปัตยกรรม และส่วนประกอบในภาพรวมทั้งหมดก่อน จิตรกรที่ลงสี ส่วนนี้จะรับผิดชอบในการวาดทุกช่อง ส่วนจิตรกรที่ถนัดการเขียนสถาปัตยกรรมก็จะลงสีเฉพาะส่วนที่เป็นสถาปัตยกรรมทุกช่อง โดยทีใ่ ห้มคี วามลงตัวของตำ�แหน่งการจัดวางสีในภาพรวม สีทเี่ ขียนทุกตำ�แหน่งจะต้องสัมพันธ์กนั หากส่วนใดยังไม่ลงตัวต้องรีบแก้ไข ให้ได้ภาพรวมที่เป็นเอกภาพ การลงสีในภาพรวมนี้ เป็นกระบวนการขั้นที่หนึ่ง ขั้นที่สอง คือ การลงน�้ำหนักในรายละเอียด เขียนภาพให้มีความชัดเจน ขั้นที่สาม ดำ�เนินการลงสีภาพบุคคลตามจุดต่าง ๆ การเขียนผิวกาย เสื้อผ้า ให้มีความกลมกลืน ขั้นสุดท้าย ลงรายละเอียดลวดลายและน�้ำหนักให้มีความชัดเจน ตัดเส้นให้ภาพสมบูรณ์ ด้วยวิธีการจัดจิตรกรให้วาดภาพเฉพาะส่วนที่ตนรับผิดชอบตามความถนัดนี้ ทำ�ให้ลักษณะศิลปกรรมทุกช่องในพระพุทธ รัตนสถานมีความเป็นเอกภาพ
104
การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานมีความพิเศษคือการจ�ำแนกการเขียนภาพ ตามความถนัดของจิตรกรในแต่ละด้าน ท�ำให้ภาพจิตรกรรมมีความเป็นเอกภาพ
105
การกำ�หนดรูปแบบ ในด้านโครงสร้างของภาพ
การควบคุมคุณภาพภาพเขียน ด้ ว ยกรรมวิ ธีก ารวาดภาพจิ ต รกรรมฝาผนั ง พระพุ ท ธรั ต นสถานที่ แ บ่ ง การวาดภาพออกเป็ น ส่ ว น ๆ และคณะกรรมการด�ำเนินงานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฯ จะเข้ า มาตรวจสอบทั้ ง ฝี มื อ เนื้ อ หา ข้ อ มู ล ตามสภาพ ทีเ่ ป็นจริง การใช้สี แสงเงา ตลอดทัง้ กรรมวิธใี นการเขียน ภาพอย่ า งใกล้ ชิ ด และการแก้ ไ ขปั ญ หาของช่ า งเขี ย น ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ กรรมวิ ธีเ ชิ ง ช่ า ง ที่ เ กิ ด จากการ ขาดประสบการณ์ให้ลุล่วงระหว่างช่างเขียนด้วยกัน เช่น เมื่อเริ่มลงสีพื้น ปรากฏว่าสีไม่ซึมลงผนัง ฝ่ายช่างเขียน ลงความเห็นว่า การเตรียมผนังนั้นท�ำแน่นและแข็งเกินไป ผนังจึงไม่ดูดซับสี เมื่อเกิดปัญหาถกเถียง ต้องมีกรณีศึกษา เพื่อทดสอบผนัง โดยจ�ำลองเป็นแผ่นเล็ก ๆ เขียนลาย ลงสี เ หมื อ นจริ ง น�ำมาตากแดด ตากน�้ ำ ค้ า ง เป็ น การ ทดสอบทั้งตัวผนังและสีไปพร้อม ๆ กัน เพื่อค้นหาและขจัด ความขัดข้องให้หมดไป ในท้ายที่สุดก็ค้นพบว่า การที่สี ไม่ซึมลงผนังนั้นสาเหตุมาจากบดสีไม่ละเอียดตามขั้นตอน ที่ โ บราณปฏิ บั ติ คื อ จะต้ อ งใช้ โ กร่ ง บดให้ เ ม็ ด สี แ ตก เนี ย นเป็ น เนื้ อ เดี ย ว มิ ใ ช่ เ พี ย งแต่ ใ ช้ น�้ ำ ละลายกวนสี แล้วใช้ได้
การวางภาพโดยรวมของจิตรกรรมฝาผนังในพระพุทธรัตนสถานจะใช้ โครงสร้างการวางลักษณะที่ใช้มุมมองแบบไทย หรือที่เรียกว่า ตานกมอง (Bird’s eye view) ในแบบประเพณี นำ�มาผสมผสานกับมุมมองแบบตะวันตก มีการเชื่อมต่อภาพกับจิตรกรรมแบบไทยประเพณีของเดิมช่วงบนเหนือขอบ พระบัญชร และความพยายามทีจ่ ะทำ�ให้องค์ประกอบของภาพเชือ่ มต่อระหว่าง ภาพทีส่ ร้างขึน้ ใหม่กบั ภาพเดิมเหนือขอบพระบัญชรให้มคี วามกลมกลืนกัน การวางภาพที่เน้นจุดเด่นของภาพเป็นส่วนใหญ่ โดยมุ่งเน้นไปที่อาคาร พระพุทธรัตนสถานให้เป็นจุดเด่นหลักขององค์ประกอบ จุดเด่นของการ ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานใช้โครงสร้าง การวางลักษณะมุมมองแบบไทย มีการเชื่อมต่อภาพ วางโครงสร้างของภาพจะมีการเน้นเรื่องของอาคารพระพุทธรัตนสถาน โดยใช้เส้นกำ�แพง ทิศทางของบุคคลในภาพนำ�สายตา หรือเหตุการณ์ส�ำ คัญ ๆ ทีอ่ ยูใ่ นแต่ละช่วงผนังทีจ่ ะเน้นให้เป็นจุดเด่นของภาพ ตามหลักของการวางภาพในแนวทางของภาพเขียนแบบตะวันตก ในขณะเดียวกัน ก็ผสมผสานการเชื่อมโยงของภาพ การวางภาพ โดยส่วนรวมแบบตานกมองกับแบบเล่าเรื่องของวิธีแบบไทยประเพณีดั้งเดิม เป็นการผสมผสานกันอย่างมีเอกภาพ การใช้เส้นกำ�แพง สถาปัตยกรรม ต้นไม้ ประตู เป็นตัวเชื่อมเรื่องเหตุการณ์ในผนังของจิตรกรรมฝาผนัง เช่นเดียวกับภาพ จิตรกรรมแบบประเพณีในอดีต ภาพต้นไม้ สถาปัตยกรรม กำ�แพง จะเป็นตัวบังคับการเชื่อมเรื่อง แบ่งเหตุการณ์ แต่มีการใช้ เส้นทัศนียวิทยา (Perspective) ตามหลักการของตะวันตก ที่สายตามองเห็นตามปกติ เข้ามาผสมผสานแบบกลมกลืน และผสมผสาน เชื่อมโยงกับภาพแบบไทยประเพณี อย่างมีเอกภาพและบูรณาการ การใช้เหตุการณ์กับกลุ่มบุคคลและเรื่องราวเป็นตัวเชื่อมโยงภาพจิตรกรรมแบบประเพณี แต่กลุ่มบุคคลจะมีสัดส่วน กายวิภาค ลักษณะท่าทางทีถ่ กู ต้องตามหลักทฤษฎีกายวิภาค (Anatomy) ตามแบบตะวันตก ถือได้ว่าเป็นการบูรณาการผสมผสานระหว่าง แนวความคิดในการใช้เหตุการณ์ เรือ่ งราว กลุม่ บุคคล เป็นตัวเชือ่ มเรือ่ งราวและเหตุการณ์ สัดส่วนรูปทรงของกลุม่ บุคคล สถาปัตยกรรม ต้นไม้ จะมีการใช้ลักษณะวิธีแบบตะวันตก ขนาด สัดส่วนของสถาปัตยกรรม ต้นไม้ บุคคล ในทุกส่วนของภาพจะมีขนาดเท่าเทียมกัน ตามแบบแผนของจิตรกรรมแบบไทยประเพณี ไม่เน้นขนาดระยะ ใกล้ ไกล ดังเช่นภาพเขียนแบบตะวันตก คณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิให้โอวาทคณะจิตรกร แนะนำ�วิธีการเขียนจิตรกรรมฝาผนังตามแนวพระราชดำ�ริในพระพุทธรัตนสถาน
106
107
การก�ำหนดรูปแบบ การใช้น�้ำหนักสี และบรรยากาศ ในจิตรกรรมฝาผนัง การใช้ โ ครงสี ส ่ ว นรวม (Tonality of color) เป็นโครงสีน�้ำตาล สีเทา สีทอง เชื่อมต่อกันทั้งภาพ เป็นโครงสีในจิตรกรรมดัง้ เดิมทีอ่ ยูเ่ หนือขอบพระบัญชร ระหว่างภาพจิตรกรรมที่สร้างขึ้นใหม่ ในระหว่างช่อง พระบั ญ ชรกั บ ภาพจิ ต รกรรมดั้ ง เดิ ม ที่ อ ยู ่ เ หนื อ ช่ อ ง พระบัญชร การใช้ โ ครงสี ส่ ว นรวมจะมี ก ารเชื่ อ มต่ อ และมี การพัฒนาเปลี่ยนแปลงลักษณะ “แบบบูรณาการ” ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เหตุการณ์ ในผนังที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ จนถึงช่องที่ ๘ จะเห็นได้ว่า มีวิวัฒนาการในการใช้โครงสีที่เชื่อมต่อในเหตุการณ์ ตั้งแต่ยุคอดีตในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในช่องที่ ๑ ต่อเนื่อง ไปจนถึงช่องที่ ๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๙ แบบเชื่อมโยง ต่อเนื่องดูแล้วไม่ขัดสายตา การระบายสี แสง เงา บนสถาปั ต ยกรรม บนต้นไม้ ในธรรมชาติและในบุคคล มีการใช้น�้ำหนัก แสงและเงาในบางส่วน เน้นน�้ำหนักที่ใช้การตัดเส้น เป็ น หลั ก ของภาพ เพื่ อ สื บ สานพั ฒ นาวิ ธีก ารตั ด เส้ น การใช้เส้นแบบจิตรกรรมไทยประเพณีเป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะการก�ำหนดโครงสี น�้ำหนัก ในช่วงบนของ แต่ ล ะผนั ง ของภาพ ให้ เ ชื่ อ มโยงประสานสั ม พั น ธ์ กับจิตรกรรมฝาผนังดั้งเดิม ที่อยู่เหนือขอบพระบัญชร ขึ้นไป
วิวัฒนาการจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน การกำ�หนดลักษณะ ในการใช้ลกั ษณะ ท่าทาง บุคลิกเด่นของสถาปัตยกรรม ต้นไม้ ธรรมชาติ และบุคคล จากจิตรกรรม ฝาผนัง การเขียนบุคลิกลักษณะของสถาปัตยกรรม จะเน้นรูปทรงเส้นเดินของสถาปัตยกรรมในมุมมองที่เห็นได้ด้วยตา (Bird’s eye view) ตามทฤษฎีมุมมองแบบตะวันตก การเขียนต้นไม้ ธรรมชาติ จะมีการใช้ลักษณะเส้นเดิน ระยะ น�้ำหนัก มุมมองตามสายตาเห็น ในแบบทฤษฎีมุมมอง การเขียนต้นไม้ในแบบตะวันตก การเขียนบุคคล บุคลิกภาพ ท่าทางของบุคคลจะมีลักษณะรูปทรงที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎีกายวิภาคแบบตะวันตก มีการแรเงา เน้นน�ำ้ หนัก แสงเงา เหมือนบุคคลทัว่ ๆ ไป แต่ยงั คงมีการตัด “เส้น” เป็นตัวเน้นส�ำคัญ มากกว่านำ�้ หนักแสงเงา
109
ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง ในพระพุทธรัตนสถาน จิ ต รกรรมฝาผนั ง แบบเล่ า เรื่ อ งที่ มี ก ารแสดงออกในลั ก ษณะมุ ม มองทางมุ ม สู ง “แบบตานกมอง” (Bird’s eye view) และมีการผสมผสานวิธกี ารนำ�เสนอในแบบแผนจิตรกรรม แบบไทยประเพณีที่พัฒนามาสู่การใช้ “เส้นเดิน” ในแบบทัศนียวิทยาแบบตะวันตก โดยไม่มี การกำ�หนดระยะ บรรยากาศ สัดส่วน ของทั้งสถาปัตยกรรม ต้นไม้ ธรรมชาติ และกลุ่มบุคคล เมื่อมองโดยภาพรวมจะไม่ขัดแย้งกัน แต่จะมีความประสานกลมกลืนกัน อย่างมีเอกภาพ ทั้งในภาพและภาพรวม จิ ต รกรรมฝาผนั ง ที่ มี ก ารแสดงออกถึ ง การใช้ บ รรยากาศ โครงสี เทคนิ ค วิ ธีก าร การเขียนสีในแบบแผนประเพณีดั้งเดิม เช่น การใช้สีแดง สีน�้ำตาล สีน�้ำเงิน สีด�ำ สีเทา มีการปิดทอง ตัดเส้น และมีการก�ำหนดน�้ำหนักอ่อนแก่ การใช้แสงและเงาผสมผสานกับ การตัดเส้นแบบไทยประเพณีดั้งเดิมของไทย ทั้งรูปทรง ธรรมชาติ ต้นไม้ สถาปัตยกรรม และกลุ่มบุคคล แต่มีการแสดงออกโดยภาพรวมของน�้ำหนัก บรรยากาศ เส้นสี การลงเงา ที่มีความประสานกลมกลืนกันอย่างมีเอกภาพ มีการเชื่อมโยงกันทั้งในจิตรกรรมฝาผนัง ของปัจจุบันที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ กับจิตรกรรมฝาผนังดั้งเดิมที่อยู่เบื้องบนของผนังและ เชื่อมโยงกับจิตรกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในช่องถัด ๆ ไป ในเหตุการณ์ต่อเนื่องที่เป็นไปอย่าง บูรณาการ ประสานสัมพันธ์กัน จิตรกรรมฝาผนังจะมีการแสดงออกถึงการใช้วิธีการเขียน รูปทรง ธรรมชาติ ต้นไม้ สถาปัตยกรรม กลุ่มบุคคล และ หรือบุคคล ที่เน้นไปในทางความถูกต้องในทางกายวิภาค ของบุคลิก สัดส่วน ตามหลักการเขียนภาพแบบตะวันตก ตามที่ตาเห็น (มิใช่ภาพในแบบ จินตนาการ แบบอุดมคติ และประเพณีดั้งเดิม) มีการเน้นบุคลิก ความเหมือน ความถูกต้อง ของบุคคล สิ่งของ มีการใช้น�้ำหนักอ่อนแก่ แสงเงาในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีการเน้นหน้าที่ หลักของภาพ โดยการเน้นหนักวิธีการตัดเส้นตามแบบแผนแบบประเพณีไทยเป็นหลักและมี การประสานสัมพันธ์กันกับการใช้น�้ำหนักสี การแรเงา การปิดทอง อย่างเชื่อมโยงกลมกลืนกัน โดยมีเอกภาพ 110
จิตรกรรมฝาผนังในพระพุทธรัตนสถาน มีจดุ เด่นทีก่ ารนำ�เสนอ เรื่องราว เหตุการณ์อันเกี่ยวข้องกับอาคารพระพุทธรัตนสถาน และเหตุการณ์บ้านเมืองในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้ า อยู่ หั ว พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว พระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทรมหา อานั น ทมหิ ด ล พระอั ฐ มรามาธิ บ ดิ น ทร และพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ตามลำ�ดับ เป็นการรวบรวมเรื่องราว เหตุ ก ารณ์ สำ � คั ญ ในรั ช กาลต่ า ง ๆ และที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ อาคาร พระพุทธรัตนสถาน จากเนื้อหาและเหตุปัจจัยต่าง ๆ สรุปได้ว่า จิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรัตนสถานเป็นทัง้ จดหมายเหตุทางประวัตศิ าสตร์ของกรุง รัตนโกสินทร์ทรี่ วบรวมเหตุการณ์พระราชกรณียกิจสำ�คัญ ๆ ในช่วง แผ่นดินตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๙ จุดเด่นสำ�คัญอีกประการ หนึ่ ง คื อ ลั ก ษณะวิ ธีข องจิ ต รกรรมฝาผนั ง พระพุ ท ธรั ต นสถาน เป็นบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่เป็นการแสดงวิวัฒนาการ การพัฒนาและสร้างสรรค์ของจิตรกรรมฝาผนังไทย จิตรกรรม พระพุทธรัตนสถานสอดคล้องกับพระราชดำ�ริและยังเป็นลักษณะวิธี ของจิตรกรรมไทยในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน จิ ต รกรรมฝาผนั ง พระพุ ท ธรั ต นสถานมี ก ารแสดงออก ที่ สื บ สาน พั ฒ นา จนเป็ น แบบอย่ า งเฉพาะของจิ ต รกรรมไทย ในแนวทางศิลปะไทย ร่วมสมัยปัจจุบนั มีการผสมผสานแนวความคิด ลักษณะ กรรมวิธี เนื้อหาสาระ รวมไปถึงการจัดวางองค์ประกอบ ของภาพ ที่ มี ฐ านข้ อ มู ล จากงานศิ ล ปะในแบบไทยประเพณี ผสมผสานบู ร ณาการกั บ ศิ ล ปะในแบบแผนวิ ธีต ะวั น ตกอย่ า งมี เอกภาพ จนบังเกิดเป็นแบบแผนแนวทางที่เรียกว่า จิตรกรรมไทย แนวประเพณีในยุคสมัยรัตนโกสินทร์ ปัจจุบัน
111
เกร็ดความทรงจ�ำครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตจิตรกร ผู้เขียนจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน
นายศักย ขุนพลพิทักษ์
บริหารการเขียนภาพ เขียนพระพักตร์พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และบุคคลส�ำคัญ
“
...การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานมีลกั ษณะเป็น ๒ มิตคิ รึง่ การเขียนภาพจะมีมมุ มองทีแ่ ตกต่างไปจากภาพถ่าย ผสมผสานกับลักษณะของการเขียนภาพแบบสากล การจัดวางองค์ประกอบของภาพ ใช้จุดรวมสายตาเพียง ๒ จุด ความยากอยู่ที่จะต้อง รักษาลักษณะของการเขียนภาพจิตรกรรมแบบไทย ที่มีการใช้ทัศนียภาพและการจัดวางองค์ประกอบเพื่อการเล่าเรื่อง การให้ความส�ำคัญ กับบุคคลในภาพที่แตกต่างกัน โดยวาดบุคคลส�ำคัญให้มีขนาดใหญ่กว่าบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง สีที่ใช้เป็นสีฝุ่น มีลักษณะนุ่มละเอียด มีเนื้อสีที่บริสุทธิ์ มีเฉดสีให้เลือกมากมาย สามารถเลือกเฉดสีให้เป็นชุดเดียวกันทั้งหมด โดยเฉพาะในส่วนพระฉวีของแต่ละพระองค์นั้น ได้มีการเทียบเคียงสีกับภาพถ่าย เพื่อให้มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด พูดได้ว่าจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานไม่มีที่ไหนเหมือน เพราะเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เกิดจากพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั และเป็นพระอุโบสถเพียงหลังเดียวในประเทศทีม่ พี ระราชประสงค์ให้จติ รกรเขียนภาพถวายพระองค์ทา่ น เป็นความภาคภูมใิ จ อย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้ท�ำงานนี้...
”
นายเกียรติศกั ดิ์ สุวรรณพงศ์ เขียนภาพบุคคลและควบคุมการเขียนภาพ บุคคล ช่องที่ ๑ - ๔
“
...การเขียนภาพบุคคลในจิตรกรรม ส่วนนี้ อาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายเก่าการแต่งกาย ของผูค้ นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่ละคนจะมีลลี า อารมณ์ที่แตกต่างกัน ส่ ว นที่ เ ป็ น ลวดลาย ของผ้า มีการจินตนาการเพิ่มเติม สีสันของ เครื่องแต่งกายมีความโดดเด่น คูส่ ลี งตัว ผ้านุง่ และสีเสื้อของแต่ละคนมี ค วามแตกต่ า งกั น แต่มีความเป็นเอกภาพ เพื่อส่งเสริมให้บุคคล ในภาพหลักคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีความโดดเด่น...
”
112
113
นายมณเฑียร ชูเสือหึง เขียนภาพบุคคลและควบคุมการเขียนภาพบุคคล ช่องที่ ๕ - ๘
“
...การวาดภาพขบวนพระยุ ห ยาตราทางสถลมารคนี้ อ าศั ย ภาพถ่ า ยจริ ง ประกอบ ทั้ ง การแต่ ง กายของบุ ค คล ในภาพ รายละเอี ย ดเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ซึ่ ง ผู ้ ที่ อ ยู ่ ใ นเหตุ ก ารณ์ ไ ด้ เ ข้ า มาตรวจสอบความถู ก ต้ อ งของเครื่ อ ง แต่ ง กาย ภาพจิ ต รกรรมในส่ ว นนี้ ป รั บ มุ ม มองและแสงเงาของภาพให้ มี ลั ก ษณะเป็ น จิ ต รกรรมไทยผสานกั บ วิธีการเขียนภาพแบบตะวันตก ลักษณะของเงาตกทอด โดยแสงจะเข้ามาทางด้านหน้า เพื่อให้ภาพดูมีมิติ บุคคลในภาพมี สัดส่วนทางกายวิภาคทีถ่ กู ต้อง แต่มกี ารตัดเส้นรอบนอกแต่เพียงบางส่วน โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ซึง่ ประทับ อยู่บนพระที่นั่งราชยานพุดตานทองจะเป็นจุดเด่นของภาพ และที่สื่อความหมายพิเศษ คือ ทิศทางของภาพที่มุ่งไปข้างหน้า ท�ำให้ภาพเกิดความรู้สึกถึงการพัฒนาและความเจริญวิวัฒนาการรูปแบบไปตามยุคสมัยปัจจุบัน... 114
”
นายอัครพล คล่องบัญชี เขียนภาพพระพุทธรัตนสถาน
“
...การเขี ย นภาพการก่ อ สร้ า งพระพุ ท ธรั ต นสถานจะต้ อ งหาข้ อ มู ล ประกอบค่ อ นข้ า งมาก เนื่ อ งจาก ไม่ มี ห ลั ก ฐานภาพถ่ า ย จึ ง ต้ อ งศึ ก ษาและค้ น คว้ า ข้ อ มู ล เรื่ อ งการก่ อ สร้ า งในปั จ จุ บั น ประกอบ ซึ่ ง การ วาดภาพการก่อสร้างในลักษณะนี้จิตรกรรมฝาผนังที่อื่นจะไม่มี ภาพเขียนอาจจะดูเหมือนไม่เรียบร้อย แต่ให้ภาพ ระบบการก่อสร้างที่ ถู ก ต้ อ งตามหลั ก การทางสถาปั ต ยกรรมที่ยังคงสืบทอดกันต่อ ๆ มา ทั้งในเรื่องของวิธีการ การก่ออิฐ มีการขึ้นนั่งร้าน ใช้โครงไม้ไผ่ ใช้เชือก ซึ่งต้องอาศัยภาพถ่ายเก่า มาเทียบเคียงกับโครงสร้างอาคาร ท่าทางของช่างก่อสร้าง การท�ำงาน ลีลาท่าทางต่าง ๆ ...
”
115
นายเจริญ ฮั่นเจริญ เขียนภาพต้นไม้
“
...การเขียนภาพต้นไม้ในจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรัตนสถานมีความพิเศษคือ เขียนให้มี ลักษณะกึ่งไทย กึ่งสากล สามารถมองได้ ๒ แบบ ต้นไม้บางส่วนเขียนดูคล้ายต้นไม้จริง เพราะต้นไม้ นั้นมีอยู่จริงตามเนื้อเรื่องนั้น ๆ ภาพนี้เล่าเรื่อง เกษตรพอเพียง มีตน้ มะละกอ ต้นกล้วย ต้นมะพร้าว นาข้าว ไม่ใช้วิธีการตัดเส้นแบบงานไทยประเพณี เขียนแบบงานสากล เพียงแต่ไม่เน้นให้มีน�้ำหนัก และมิติมากเหมือนภาพเขียนแบบตะวันตก มอง ดูแล้วรู้ว่าเป็นต้นอะไร ต้นไม้บางต้นไม่บ่งบอกว่า เป็นต้นอะไร ใช้วิธีการลงน�้ำหนัก แต้มใบ เป็นพุ่ม เป็นกลุ่มก้อน เหมือนงานไทยประเพณี แต่มีมิติ ดูเหมือนว่านกและกระรอกเข้าไปอยู่ในต้นไม้ได้ มองในภาพรวมแล้วเป็นการเขียนภาพจิตรกรรม แบบไทย แต่มีมิติคล้ายจิตรกรรมสากล...
”
นายเจริญ มาบุตร เขียนภาพอาคารบ้านเรือนและส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพทั้งหมด
“
...การเขี ย นภาพสถาปั ต ยกรรมในส่ ว นนี้ จ ะต้ อ งศึ ก ษาจากภาพถ่ า ยจริ ง ซึ่ ง ถ้ า หากดู จ ากรู ป ถ่ า ยแล้ ว มุ ม มองในภาพจิ ต รกรรมจะไม่ เ หมื อ นกั น ภาพจริ ง อาคารจะมี สั ด ส่ ว นที่ ใ หญ่ ม ากเมื่ อ เที ย บกั บ คนในภาพต้ อ งมี การปรั บ มุ ม มองให้ เ ป็ น แบบภาพจิ ต รกรรมไทย เมื่ อ เป็ น ภาพจิ ต รกรรม ต้ อ งลดขนาดอาคารและต้ อ งท� ำ ให้ ค น สามารถเข้ า ไปอยู ่ ใ นอาคารนั้ น ได้ ปรั บ มุ ม มองให้ ส ามารถมองเห็ น เข้ า ไปในตั ว อาคาร มี ลั ก ษณะเสมื อ นจริ ง แผ่นป้ายอักษรต้อนรับภาษาจีนก็ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญภาษาจีน... 116
”
117
บรรณานุกรม แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว.. สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ (๑๙๘๔) จ�ำกัด, ๒๕๓๑. “___________________”. พระอภิเนาว์นิเวศน์ : พระราชนิเวศน์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพ ฯ : มติชน, ๒๕๔๙. ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ไอเดีย สแควร์, ๒๕๔๖ ศิลปากร, กรม. จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามแนวพระราชด�ำริ เล่ม ๑ เรื่อง ประวัติศาสตร์ศิลปกรรมพระพุทธรัตนสถาน. กรุงเทพ ฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘. “_________”. จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามแนวพระราชด�ำริ เล่ม ๒ เรื่อง จดหมายเหตุจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน. กรุงเทพ ฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘. “_________”. จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามแนวพระราชด�ำริ เล่ม ๓ เรื่อง กระบวนการสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรัตนสถาน. กรุงเทพ ฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘.
รั ต นะแห่ ง จิ ต รกรรม จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙ อ�ำนวยการผลิต ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กรรมการผู้จัดท�ำ กองบรรณาธิการ ศิลปกรรม เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพ ด�ำเนินการผลิต โทรศัพท์และโทรสาร ISBN ปีที่พิมพ์ พิมพ์ที่
ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ศาสตราจารย์พิเศษทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น นายสด แดงเอียด นางโสมสุดา ลียะวณิช นางสายไหม จบกลศึก นางสาวสมลักษณ์ วงศ์งามข�ำ นางสาวสุภาภรณ์ ตรีแสน นายอนุชา เสมารัตน์ นายก�ำธร รัตนค�ำ นายอมฤทธิ์ สัตยธรา นางศิวิมล ดิศกุล ศรีโหมด นางสาวดุจใจ มาลากุล ณ อยุธยา นางสาวสุภาพรรณ คัยนันทน์ นายพีรพงษ์ สุทธวิรีสรรค์ นางเลิศลักษณา ยอดอาวุธ นางจารุดี ผโลประการ (บุนนาค) นางสาวจรส กายโรจน์ นางสาวน�้ำทิพย์ ลัพธวรรณ นายเทอดศักดิ์ ร่มจ�ำปา นางสาวแก้วขวัญ นวลไม้หอม นางสาวพรหมภัสสร รอดศาสตรา นางสาวณมณ โชตอนันต์กูล นางสาวโสรยา บุนนาค นางสาวนันทิยา พูลกระจ่าง ส�ำนักพระราชวัง ส�ำนักราชเลขาธิการ กรมศิลปากร บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จ�ำกัด (หนึ่งในกลุ่มบริษัททีม) ๑๕๑ ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพ ฯ ๑๐๒๓๐ ๐-๒๕๐๙-๙๐๙๑-๒ 978-974-8259-74-1 พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ปกแข็ง จ�ำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ปกอ่อน จ�ำนวน ๘,๐๐๐ เล่ม บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน)