1
เพียงพอ สารคดีชีวิตคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว
1
เพียงพอ เรื่อง
ดวงหทัย สว่างภพ
ภาพ
ดวงหทัย สว่างภพ จรรยาลักษณ์ โศภนรัตน์
ปก
พุฒิพงศ์ อมรเมธากุล
คณะที่ปรึกษาจุลนิพนธ์ อาจารย์กองทรัพย์ ชาตินาเสียว ผู้ช่วยศาสตราจารย์มัทนา เจริญวงศ์ อาจารย์สุเจน กรรพฤทธิ์ อาจารย์อารีย์ พีรพรวิพุธ รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย
สารบัญ บทนำ�
6
เรามีเรา
10
คำ�ว่า “รัก”
30
โลกทั้งใบให้นายคนเดียว
56
บทส่งท้าย
76
บทนํา
บทน�ำ
เมือ่ เอ่ยถึง “ครอบครัว” คนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงบ้านทีม่ ี “พ่อ แม่ ลูก” อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา จึงเรียกว่าเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ บ้านที่ขาดพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง ก็จะถูกเรียกว่าเป็นความเว้าแหว่ง ของบ้าน ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วครอบครัว ไม่สมบูรณ์กบั ครอบครัวทีม่ ปี ญ ั หามีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ครอบครัว ที่ไม่สมบูรณ์ ขาดพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งไป แต่อาจจะไม่มีปัญหาเลย ในทางกลับกันครอบครัวที่มีครบทั้งพ่อและแม่อาจมีปัญหาซ่อนอยู่ ฉะนั้นครอบครัวที่มีครบทั้งพ่อและแม่ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าลูก จะเป็นเด็กดีเสมอไป ขึน้ อยูก่ บั คุณภาพการเลีย้ งดู การมอบความรักความ เอาใจใส่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูกเสียมากกว่า ดังเช่นทัง้ สามครอบครัวตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ ทีแ่ ม้นยิ ามของ ค�ำว่าครอบครัวจะมีไม่ครบเหมือนใครเขา ทุกบ้านต่างขาดแม่ ทว่าพ่อ เพียงคนเดียวก็สามารถมอบความรักและถ่ายทอดความอ่อนโยนให้กับ 8
ลูกๆ จนผ่านเรือ่ งราว ปัญหา ท�ำให้เด็กๆ เติบโตอย่างแข็งแรงและสวยงาม ครอบครัวแรก.... คุณพ่อโภชกับน้องพลอย น้องแพร คุณพ่อ นักออกแบบที่เปรียบเสมือนผู้ให้ ทั้งสามเผชิญปัญหาด้วยกันอย่างไม่ ยอมแพ้ ช่วยเยียวยาจิตใจและอยู่เคียงข้างกันแม้ในยามทุกข์และยามสุข ครอบครัวที่สอง... พ่อเจี๊ยบและพี่ยีนส์ แม้ผู้หญิงคนหนึ่งเลือก ที่จะเดินจากเขาและลูกไป จนท�ำให้เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเกิดปมภายในใจ แต่พอ่ เจีย๊ บไม่เคยพูดให้รา้ ยคุณแม่เลยสักครัง้ ทัง้ ยังคอยสอนให้ลกู รักแม่ ท�ำทุกวิถีทางเพื่อปรับทัศนคติด้านลบที่ลูกสาวมีต่อแม่อีกด้วย ครอบครัวสุดท้าย... คุณพ่อประเสริฐและน้องจีโน่ พ่อทีแ่ ม้ตอ้ ง เผชิญอุปสรรคในชีวิตเพียงล�ำพัง แต่คุณพ่อยังยืนหยัดที่จะดูแลน้องจีโน่ ที่เป็นเด็กออทิสติกให้สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข “เพียงพ่อ” จะพาคุณไปท�ำความรู้จักกับครอบครัวอีกรูปแบบ หนึง่ ทีม่ คี ณ ุ พ่อท�ำหน้าทีเ่ ป็นทัง้ พ่อ แม่ พี่ และเพือ่ น เป็นทุกอย่างส�ำหรับ ชีวิตของลูกๆ แล้วคุณจะพบว่า ครอบครัวที่มีสมบูรณ์สุขนั้น ไม่จ�ำเป็น ต้องมี พ่อ แม่ ลูกครบถ้วนเสมอไป...เพราะบ้านทีเ่ ปีย่ มด้วยรัก จะส่งกลิน่ ความสุขให้คนรอบข้างเสมอ
เพียงพ่อ 9
เรามีเรา
เรามีเรา
เราสองเคยผ่านชีวิต โดดเดี่ยว สองเราเคยเหนื่อยและท้อ เต็มที หนทางยังอยู่แสนไกล จากวันนี้ เพียงเรามีเรา หากจะเดินไปทางใด ไม่หวั่น จับมือกันเดินด้วยใจอดทน หากใครสักคนล้มลง ฉุดมือกันขึ้นไป จะฝ่าประจัญทุกข์อันตราย กอดคอกันไปไม่กลัวภัยพาล (เรามีเรา - แหวน ฐิติมา สุตสุนทร) เพลงเรามีเราเป็นเพลงแรกที่ฉันนึกถึง เมื่อได้ฟังเรื่องราว ครอบครัวของคุณพ่อโภชกับน้องพลอย และน้องแพร 12
ฉันรูจ้ กั ครอบครัวทีน่ า่ รักนีจ้ ากค�ำบอกเล่าของเพือ่ น เมือ่ ครัง้ ที่ ได้คยุ กันทางโทรศัพท์ นำ�้ เสียงทีบ่ ง่ บอกว่าเป็นคนใจเย็นและท่าทางสุภาพ ที่ได้รับเพียงไม่กี่นาที ท�ำให้ฉันรู้สึกดีทุกครั้ง เรานัดเจอกันที่ห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่งย่านรามอินทรา ที่คุณพ่อมักจะพาลูกๆ มาเดินเล่น พักผ่อน หาหนังสืออ่านในวันหยุดสุด สัปดาห์ คุณพ่อเดินจูงมือเด็กหญิงสองคนที่หน้าตาพิมพ์เดียวกัน คนโต อยู่ฝั่งซ้าย คนตัวเล็กกว่าอยู่ด้านขวา แขนทั้งสองข้างดูแข็งแรง เมื่อกาง ออกแลดูคล้ายปีกนกที่พร้อมจะปกป้องเด็กทั้งสองอยู่เสมอ
เพียงเรา
คุณพ่อโภช หนุม่ เพชรบูรณ์ นักออกแบบ วัย 50 ต้นๆ ผูม้ ใี บหน้า เปือ้ นรอยยิม้ เสมอ กับหน้าทีค่ ณ ุ พ่อเลีย้ งเดีย่ วลูกสอง คนโตคือน้องพลอย อายุ 13 ปี เป็นเด็กที่มีพัฒนาการทางสมองช้า ส่วนน้องแพรห่างกันไม่ มากนัก อายุ 11 ปี แรกเจอน้องพลอยและน้องแพรดูไม่ใช่เด็กช่างคุย อาจเพราะ เราเป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและกัน จึงยังไม่คุ้นชินนัก ระหว่างที่ฉันเดิน ตามทั้งสามไป น้องพลอยมักจะหันมามองฉันเป็นระยะๆ เหมือนว่าคอย ระวังตัวจากอันตรายบางอย่าง ส่วนคุณพ่อโภชได้มอบไมตรีจิตให้ฉันเฉก เช่นตอนที่คุยทางโทรศัพท์ คุณพ่อเป็นคนพูดจาสุภาพ อ่อนน้อมเสียจน ฉันรู้สึกเกรงใจ แม้ในการเจอกันครั้งที่สองฉันยังได้รับมิตรภาพที่สวยงาม กลับมาอย่างเคย และน้องพลอยน้องแพรเหมือนจะเปิดใจให้ฉันมากขึ้น อีกด้วย คุณพ่อโภชเล่าให้ฉันฟังว่า ตนมีวิธีดูแลลูก คือใช้ความใกล้ชิด เป็นหลัก ทั้งสามมักจะตัวติดกันเหมือนปาท่องโก๋สามข้าง ที่ไปไหนต้อง เพียงพ่อ 13
ไปด้วยกันตลอด ทั้งยามกิน ยามนอน ยามเที่ยว มีทั้งสุขและทุกข์ก็อยู่ เคียงข้างกันมา “ลูกก็คอื ลูกเรา ไม่เหมือนบางครอบครัวทีพ่ อ่ ท�ำงานแล้วปล่อย ให้คนอืน่ ดู แต่ผมจะดูมาโดยตลอด อาบน�ำ้ ชงนม เปลีย่ นผ้าอ้อม เข้านอน ด้วยกัน หรือเวลามีงานข้างนอกก็มารับลูกก่อน พาลูกไปด้วย เขาจะเห็น การท�ำงานของเราทั้งหมด รู้ว่าเราท�ำงานอย่างไร” กิจวัตรประจ�ำวันตั้งแต่เช้า จะเริ่มที่คุณพ่อตื่นแต่เช้าเตรียม กับข้าวให้ลูกทั้งสอง บ้างก็ลงมือท�ำกับข้าวเอง บ้างก็ซื้อส�ำเร็จรูป เตรียม ไว้ให้ลูกก่อนไปโรงเรียน เพราะช่วงเช้าจะเร่งรีบมาก พอเขาอาบน�้ำเสร็จ มาทาน คุณพ่อก็เปลี่ยนไปอาบน�้ำแต่งตัวบ้าง เวลาจะพอดีกัน เมื่อท�ำ ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยจึงไปโรงเรียน ตกเย็นกลับมาบ้าน คอยถามไถ่ ดูการบ้านต่างๆ คุณพ่อโภชบอกว่า ไม่เคยคาดหวังว่าลูกสาวทั้งสองคนจะต้อง เก่งหรือเพียบพร้อม เรียนได้เกรดดีๆ ไม่เคยกะเกณฑ์ให้เขาต้องอยู่ใน กรอบหรือกดดันเพราะไม่อยากให้ลูกเครียด อีกอย่างหนึ่งเพราะตนรู้ว่า น้องพลอยเป็นคนเรียนรู้ช้า ส่วนน้องแพรจะใช้วิธีการพูดคุยกับเขา ลูกๆ ไม่จ�ำเป็นต้องเก่งในทุกเรื่อง ขอแค่ลูกเป็นคนดี ขยัน อยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุขก็พอแล้ว เมื่อมีเวลาว่างทั้งสามมักจะท�ำกิจกรรมร่วมกัน เนื่องจากมีลูก เป็นผูห้ ญิง คุณพ่อโภชจะละเอียดอ่อนในการเลีย้ งลูกมาก ให้ความส�ำคัญ กับการเป็นแม่บ้านแม่เรือน โดยจะผสมผสานความเป็นผู้หญิงยุคเก่า ผสมกับยุคใหม่ให้กับลูกสาวทั้งสอง คุณพ่อจะสอนให้เด็กหญิงซักเสื้อผ้า หุงข้าวเอง แบ่งเวรสลับหน้าที่ถูบ้าน ล้างจานกันภายในบ้าน ถือเป็นอีก หนึ่งวิธีการฝึกให้เขามีทักษะชีวิตและได้ใช้เวลาร่วมกันอีกด้วย 14
เพียงพ่อ 15
เมือ่ ฉันถามถึงปัญหาในการเลีย้ งลูกทีเ่ ป็นผูห้ ญิง คุณพ่อโภชพูด เสียงเครียดขึ้นทันที ว่า “สิ่งนี้พี่หนักใจอยู่เหมือนกัน ตอนที่เขาโตขึ้นมา ระดับหนึง่ แล้ว ประมาณป.2 จะให้เขาอาบน�ำ้ เอง สอนเขาเวลาเข้าห้องน�ำ้ ให้ปดิ ประตู ใส่ผา้ ถุง เอาผ้าห่มบ่าอย่าให้ใครเห็น พ่อก็ให้เห็นไม่ได้ เพราะ พ่อเป็นผู้ชาย พยายามจะสอนเขา ส่วนเรื่องประจ�ำเดือนเขายังไม่มี เราก็ บอกเขาไว้แล้วว่าถ้าหนูรู้สึกว่าประจ�ำเดือนมา ไม่ต้องตกใจ ที่โรงเรียนมี ขายผ้าอนามัยหรือเปล่า หนูจะต้องใส่อย่างไร เราก็จ�ำมาจากแม่เรา ที่ ผูใ้ หญ่พดู กัน ส่วนในเรือ่ งการแต่งตัวผมจะเน้นให้ใส่กระโปรงหรือกางเกง ที่คลุมเข่ามิดชิด” “ข่าวหรือละครต่างๆ จะดูและสอนเขาไปพร้อมกัน เพื่อให้ลูก มีภูมิคุ้มกันในสังคม เช่น ข่าวผู้หญิงถูกขมขื่น ตนจะสอนว่าการข่มขืนคือ อะไร อธิบายให้เขาฟัง เพื่อให้เห็นสังคมความเป็นจริงทุกวันนี้มันน่ากลัว หากเราไม่รู้จักระวัง แต่ไม่ให้ระแวงจนเกินไป ละครเรื่องทองเนื้อเก้า ตนก็ให้ลูกดู ล�ำยองผู้เป็นแม่กินเหล้า แต่วันเฉลิมก็สามารถเติบโตเป็น คนดีได้ อยู่ที่ตัวเราเลือกจะเป็นอย่างไร” ด้วยเพราะว่าคุณพ่อนักออกแบบเข้าร่วมกิจกรรมทีโ่ รงเรียนของ ลูกสาวทัง้ สองอย่างสมำ�่ เสมอ ประกอบกับความละเอียดอ่อนในการสร้าง นิสัยผู้หญิงให้กับลูก ท�ำให้หลายคนมองว่าคุณพ่อเป็นกะเทย “ผมเคยสังเกต เหมือนกัน ตอนแรกๆเหมือนลูกโดนล้อว่ามีพอ่ เป็นกะเทย ที่ผมไปร่วมงานวันแม่ที่โรงเรียน ก็เลยพูดทีเล่นทีจริงว่า ไม่ดีเหรอที่พ่อเป็นได้ทุกอย่าง เป็นได้ทั้งพ่อและแม่ คนอื่นมีสองคน เขาเก่งเท่าพ่อหรือเปล่าล่ะ เขาท�ำได้เหมือนพ่อหรือเปล่า เขาก็ว่าใช่ เห็นด้วยกับเราและเขาก็จะรูส้ กึ ภูมใิ จ” คุณพ่อกล่าวทิง้ ท้ายด้วยรอยยิม้ ที่ กว้างกว่าเดิม
16
ความสงสัย
กว่าจะมาเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ สดใสเช่นวันนี้ ทั้งสามคน ต้องผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย คุณพ่อโภชเล่าย้อนไปถึงอดีตให้ฟัง ว่า ตอนนั้นน้องแพรอยู่ อนุบาล 2 น้องพลอยเรียนซ�ำ้ อยู่ชั้นอนุบาล3 เนื่องจากมีปัญหากล้ามเนื้อ อ่อนแรง ส่งผลกระทบท�ำให้มีพัฒนาการทางสมองช้า อาการเริม่ เห็นตอนขวบกว่าๆ เกือบสองขวบ เพราะน้องพลอย ไม่ยอมเดิน คุณพ่อจึงมีความรูส้ กึ ว่าเขาพยายามจะซน แต่ซนไม่ได้ เหมือน คนไม่นงิ่ ไม่จดจ่อ ซึง่ ตนคาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากการทีค่ ณ ุ แม่พยายาม กินยาขับเลือดในช่วงตั้งครรภ์ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตขณะที่น้องยังอยู่ ในครรภ์คุณแม่ และเมื่อคลอดออกมาก็จะมีปัญหาต่อการเจริญเติบโต คุณพ่อเคยพาน้องพลอยไปโรงพยาบาลราชวิถี คุณหมอบอกว่า น้องมีสติปัญญาช้า และระบุออกบัตรให้เป็นผู้พิการ แต่ถ้าค่อยๆ พัฒนา จะสามารถอยู่ในสังคมได้ หากมองดูจากภายนอกน้องพลอยจะเหมือน เป็นเด็กปกติทวั่ ไป ส�ำหรับตนแล้วลูกเรียนไม่เก่งไม่เป็นไร เราก็พดู กับเขา ว่า “ไม่เป็นไร ขอให้หนูเป็นคนดี พูดดี พูดเพราะ ขยัน พอแล้วลูก เรียนไม่เก่ง ไม่เป็นไร” เขามีความรู้สึกว่าเขาไปเรียนแล้วไม่ได้ เขาเขียนไม่ได้ แต่ตอน นีเ้ ขาอ่านได้ เขียนได้ดขี นึ้ ตอนนีอ้ ยูม่ .1 โรงเรียนนฤชา ส่วนน้องแพรปกติ ไม่มีปัญหา
เพียงพ่อ 17
เด็ ก ที่ มี ค วามบกพร่ อ งทางพั ฒ นาการ หมายถึ ง เด็ ก ที่ มี พัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกันเช่น เด็กอายุ 20 เดือนแต่ยัง เดินไม่ได้ ในขณะที่เด็กปกติเริ่มเรียนรู้ที่จะเดินและเดินได้ในช่วงอายุ 9 – 15 เดือน เป็นต้น พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึง่ หลาย ด้าน หรือทุกด้าน และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึง่ อาจส่งผลให้พฒ ั นาการ ในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้ ความบกพร่องทางพัฒนาการ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1.พัฒนาการด้านร่างกาย เป็นความสามารถของร่างกายในการ ทรงตัวและการเคลือ่ นไหว โดยการใช้กล้ามเนือ้ มัดใหญ่ การใช้มอื และตา ประสานกันในการทำากิจกรรมต่างๆ 2.พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นความสามารถในการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างสิง่ ต่างๆกับตนเอง พัฒนาการด้านภาษาและการใช้ มือกับตา เกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสติปัญญา 3.พัฒนาการด้านจิตใจ- อารมณ์ เป็นความสามารถของร่างกาย ในการแสดงความรูส้ กึ และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะ สม 4.พั ฒ นาการด้ า นสั ง คม เป็ น ความสามารถในการสร้ า ง สัมพันธภาพกับผู้อื่น สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำาวัน 5.พัฒนาการด้านจิตวิญญาณ เป็นความสามารถในการรู้จัก คุณค่าของชีวิตของตนเอง มีความรู้ผิดชอบชั่วดีและมีคุณธรรม ที่มา : เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ ข้อมูลทางวิชาการ สถาบัน ราชานุกูล 18
“ฐานะเราปานกลางพอหากินได้ เขาก็อยากไปหาคนทีร่ วยกว่า เพราะสังคมเริ่มเข้าสู่ช่วงวัตถุนิยม ใช้โทรศัพท์มือถือ เราก็ใช้ถูกๆ ให้เขา ใช้ถูกๆ ก็มีส่วน แล้วที่ส�ำคัญเราไม่ใช่คนเที่ยว ไม่กินเหล้า สูบบุหรี่ เพราะ ต้องการเป็นแบบอย่างให้ลูกด้วย” คุณพ่อเผยว่า นอกจากนี้คุณแม่มักจะมีโทรศัพท์โทรเข้าหา เขาจะรีบปิดโทรศัพท์แล้วลบเบอร์ทิ้ง นี่คือพฤติกรรมที่ตนเห็นบ่อย ในช่วงนั้น “นี่ขนาดสมัยก่อนยังไม่มีไลน์นะ” คุณพ่อกล่าวทิ้งท้าย จากทีด่ พู ฤติการณ์เขาน่าจะเป็นอยูห่ ลายครัง้ แต่ตนจับได้ไม่ได้ รู้ระแคะระคายมาตลอด พยายามไม่สนใจ ปล่อยวาง เพราะไม่ใช่คน หึงหวง เหตุการณ์เริ่มรุนแรงมากขึ้น หลังจากที่คุณครูเรียกคุณพ่อ ไปพบ โดยขอร้องให้มารับลูกสาวที่โรงเรียนให้เร็วขึ้น ท�ำให้เขาสงสัย ว่าภรรยาเขาหายไปไหนจึงไม่ไปรับลูกตามเวลา เพราะโดยปกติแล้ว ภรรยาของเขามีหน้าที่ไปรับส่งลูก เพราะบ้านอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียน เท่าไรนัก “ลูกเลิกเรียนประมาณบ่าย 3 โมง แต่เขาไม่มารับ บางทีมารับ หนึง่ ทุม่ จนครูเขาทนไม่ไหวเหมือนทางเราปล่อยเด็กมากเกิน พอมีโอกาส ได้ไปรับลูกบ้าง คุณครูเลยบอกว่า อยากให้คุณพ่อมารับให้ไวหน่อย เพราะเด็กเคว้งคว้าง ไม่รู้จะอยู่กับใคร เพื่อนๆเขากลับกันหมดแล้ว เราเลยรู้เรื่องในตอนนั้น จึงถามเขา ตั้งแต่นั้นเขาก็เริ่มมีปฏิกิริยาประชด ประชัน แล้วจู่ๆ ก็หนีหายไปจากบ้าน”
เพียงพ่อ 19
การเปลี่ยนแปลง
เมื่อชีวิตครอบครัวเดินมาถึงทางแยก หลังจากแม่หนีออกจาก บ้าน ตนและลูกพยายามตามหา จนกระทั่งรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน เมื่อเจอ หน้ากัน ลูกทั้งคู่เดินเข้าหาเขา “พ่อ...หนูไปหาแม่นะ” แต่เมื่อเข้าไปถึงเขาผลักลูกออกเลย กลัวผู้ชายคนใหม่จะเห็น เพราะเขาได้บอกผู้ชายคนใหม่ว่าเขาไม่มีลูก เด็กสองคนนี้เป็นลูกติด ของตนกับภรรยาเก่า การกระท�ำเช่นนี้ ตนจึงรับไม่ได้ แม้ในใจตอนแรก คิดจะถามเหตุผลเขาเสียก่อน ตนจะให้อภัยและยึดที่ลูกเป็นหลัก แต่เมื่อ เขาปฏิเสธว่าไม่ใช่ลูก ทั้งที่อุ้มท้องออกมาเก้าเดือน ตนจึงตัดสินใจ แยกทางในทันที คุณพ่อโภชกล่าวด้วยสีหน้าแสดงความเสียใจ หลังจากผูห้ ญิงคนหนึง่ ทีไ่ ด้ชอื่ ว่าเป็นแม่ผลักไส เด็กหญิงทัง้ สอง น้ อ งพลอยน้ อ งแพรก็ เ ดิ น ร้ อ งไห้ เข้ า มากอดคุ ณ พ่ อ และบอกว่ า เขา จะอยู่กับพ่อ อยู่เป็นเพื่อนพ่อ เพียงเท่านั้นน�้ำตาลูกผู้ชายก็ไหลออกมา ไม่รู้ว่ามาจากความเสียใจที่ช่วยอะไรลูกไม่ได้ หรือมาจากความตื้นตันใจ ในน�้ำใจของลูกสาวทั้งสอง ลูกสาวทั้งสองคนเลือกที่จะ “คนเรามักหลงไหล ไม่เอ่ยถึง ผู้เป็นแม่มาโดยตลอด แต่ผู้ เป็นพ่อเสียอีกเล่า ทีร่ สู้ กึ น้อยใจ เสียใจ ในสิ่งของที่ถูกใจ มากจนถึงขนาดกินไม่ได้นอนไม่หลับ จนลืมไปว่าบางครั้ง นานนับเดือน “ผมคิดมาตลอดนะว่าเราผิด มันไม่ถูกต้อง” หรือ ผิดอะไร เราแย่ เราเป็นคนไม่ดี ขนาดนั้นเหรอ”
20
พอได้มาคิดอีกทีจึงเข้าใจว่า บางเรื่องมันก็เกิดจากเขาด้วย เมื่อเขาไม่รู้จักพอ ผู้หญิงบางคนคิดว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วไม่ดี น่าจะมีสิ่งอื่น ที่ดีกว่า แต่กลับลืมไปว่าตอนที่เราอยู่ด้วยกันมันต้องมีผิดบ้าง ไม่ดีบ้าง จะให้สมบูรณ์ไปทุกเรื่องเป็นไปไม่ได้ แม้แต่ตัวเราเองบางทียังไม่ถูกใจ ตัวเราเลย ฉะนั้นคนสองคนต้องมาเจอกันครึ่งทาง ส่วนใหญ่ปญ ั หาชีวติ คูม่ กั จะเริม่ จากเรือ่ งเล็กๆในชีวติ ประจำาวัน จนเป็นเหตุที่ทำาให้ชีวิตคู่เดินทางไม่ถึงฝั่ง รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของ สังคมไทย คนเป็นอิสระกันมากขึน้ ซึง่ อาจจะเป็นเหตุผลทีท่ าำ ให้คนตัดสิน ใจแยกกั น ง่ า ยกว่ า เมื่ อ ก่ อ น เมื่ อ ชี วิ ต คู ่ เริ่ ม เดิ น ทางมาถึ ง ทางตั น ควรพิจารณาใจของเราเองก่อน แล้วจึงหาทางเลือกว่าจะทำาใจยอมรับ หรือตัดสินใจหย่า หากเราทำาใจยอมรับและให้อภัยในพฤติกรรมต่างๆ ของอีกฝ่ายได้สถาบันครอบครัวก็จะยังคงอยู่ต่อไป แต่การให้อภัยไม่ใช่ การนับวันรอให้อีกฝ่ายเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะหากทำาอย่างนั้นเราเอง จะทุกข์และจะเป็นทุกข์ที่ยาวนาน แต่ถ้ารู้สึกว่าทำาใจไม่ได้ก็เป็นสิทธิ์ของ เราที่จะเลือกทางอื่น เช่น การแยกกันอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกัน แยกกัน อยู่คนละบ้านแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า เป็นการลองก่อนหย่ากันจริงๆ ซึ่งเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้เรากลับไปคิดทบทวนอีกครั้งก่อนตัดสินใจ ชีวิตคู่ไม่จาำ เป็นต้องจบลงที่การหย่าร้างเสมอไป หากเราเปิดใจ ให้กว้างและยอมรับที่จะให้อภัย ที่มา : นายแพทย์สุกมล วิภาวีพลกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทาง เพศและครอบครัว
เพียงพ่อ 21
คุณพ่อโภชยังใช้หลักธรรมมะเข้ามาช่วยเยียวยาจิตใจให้เข้มแข็ง หัดรู้จักการปล่อยวาง เพื่อจะได้มีแรงต่อสู้เพื่อลูกๆ นอกจากนี้คุณพ่อ ยังเผยเคล็ดลับวิธจี ดั การกับความทุกข์งา่ ยๆ ตามค�ำสอนของแม่ชศี นั สนีย์ ให้ฉันน�ำไปใช้ได้ คือ เมื่อมีความทุกข์เข้ามา ให้เรายิ้มรับและพูดค�ำว่า “บ๊ายบาย” ให้กับความทุกข์นั้นเสีย ทุกข์เหล่านั้นก็จะหายไปจากใจเรา และจากประสบการณ์ท�ำงานร่วมสามสิบปีของคุณพ่อทีต่ อ้ งเจอกับเพือ่ น ร่วมงาน ลูกค้าแตกต่างกันไป ถ้าเมือ่ ใดต้องเจอกับเรือ่ งไม่ดี ให้เราตอบโต้ ด้วยความใจเย็นเป็นมิตร แล้วเรื่องนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่หากเราตอบโต้ กลับไปด้วยใจที่เป็นทุกข์ จะยิ่งท�ำให้เรื่องนั้นแย่ลงไปกว่าเดิม จากการได้พูคุยท�ำให้ฉันสัมผัสได้ถึงความใจเย็นและรับรู้ได้ถึง จิตใจโอบอ้อมอารีของคุณพ่อได้อย่างชัดเจน
สู้เพื่อลูก
การเปลี่ ย นแปลงครั้ ง ใหญ่ ภ ายในครอบครั ว คราวนี้ ท�ำให้ การด�ำเนิ น ชี วิ ต ของทั้ ง สามต้ อ งเปลี่ ย นไป ส�ำหรั บ เรื่ อ งการเลี้ ย งลู ก คุณพ่อโภชบอกว่าไม่มีปัญหาเลย เพราะดูแลพวกเขามาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แต่จะมีปัญหาบ้างในเรื่องที่ต้องไปรับลูกที่โรงเรียน เพราะตนท�ำงาน เลิกเย็น จึงน�ำเรื่องนี้ไปปรึกษาคุณครู คุณครูก็บอกเขากลับเย็นฝากเด็กๆ เอาไว้ได้ ตนจึงจ่ายค่าช่วยดูแลบ้าง พอเลิกงานก็มารับลูกกลับบ้าน คุณพ่อโภชบอกว่า ช่วงแรกที่แยกทางกันตนยังไม่ได้บอก ครอบครัวในทันที เพราะไม่อยากให้แม่เป็นทุกข์ ผ่านไปหลายเดือน จึงบอก พอแม่รู้เรื่องก็จะขึ้นมาช่วยดูแลหลานๆ “ผมบอกท่านว่าไม่ตอ้ งหรอก ผมดูแลได้ สิง่ ไหนทีท่ �ำเองได้กท็ �ำ ไม่ อ ยากให้ เ ป็ น ภาระใคร เขาจะได้ รู ้ ว ่ า ลู ก อยู ่ กั บ พ่ อ แล้ ว พ่ อ ดู แ ล 22
ให้ได้อย่างไร เพราะตนเห็นหลายคนที่มีลูกแล้วเอาไปให้ย่า ให้ยายเลี้ยง เคยคิดถึงจิตใจของลูกบ้างหรือเปล่า ความจริงลูกไม่อยากแยกจาก พ่อแม่หรอก” “เขาก็ไม่ได้อยากแยกจากแม่” คุณพ่อกล่าวถึงลูกทั้งสอง แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราก็ต้องให้ความรัก ความอบอุ่นกับเขา ให้เต็มที่ ให้ความรูส้ กึ ว่าเขาก็เห็นใจเรา เราก็เห็นใจเขา ต่างคนต่างเห็นใจ กันและกัน
เพียงพ่อ 23
ทุกวันนี้ การจะเป็นพ่อแม่เป็นเรือ่ งยากและท้าทาย และยิง่ ยาก กว่ า นั้ น หากต้ อ งเลี้ ย งลู ก ตามลำ า พั ง การจะเป็ น พ่ อ แม่ ที่ ดี ไ ด้ นั้ น คุณฐานิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว มีคำาแนะนำา ดังนี้ 1. ปรับทัศนคติใหม่ เริ่มต้นด้วยการคิดเชิงบวก โดยนึกถึงข้อดี ของการมีครอบครัวที่มีคุณเพียงคนเดียวและลูก 2. เด็กต้องการความรู้สึกปลอดภัยและการปกป้อง โดยเฉพาะ เด็กที่เป็นทุกข์กับการสูญเสียความมั่นคงเพราะการหย่าร้างของพ่อ หรือแม่ เด็กบางคนอาจต้องการความรักและความเอาใจใส่มากว่าคนอืน่ ดังนั้นให้สังเกตลูกของคุณแล้วจะพบสิ่งที่เขาต้องการ 3. สร้างตารางการดำาเนินชีวิตให้กับลูก แต่ต้องไม่เคร่งครัด และบีบรัดจนขยับตัวไมได้ 4. หาเวลาดูแลตัวเอง รู้จักพักผ่อนและนอนหลับอย่างเต็มที่ เพราะหากพ่อแม่เครียดจะทำาให้ลูกเครียดไปด้วย 5. หาคนทีช่ ว่ ยเหลือคุณได้ สร้างเครือข่ายเพือ่ นฝูงทีช่ ว่ ยให้คณ ุ ผ่อนคลายอารมณ์ เป็นเพื่อนคุย พ่อแม่ท่ีเลี้ยงลูกคนเดียวแต่มีผู้ช่วยที่ดี มักจะช่วยให้ทั้งร่างกายและจิตใจดีขึ้น 6. ปล่อยให้ลูกได้ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ด้วยตนเองบ้าง เรียนรู้ ที่จะสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาครอบครัวร่วมกัน การทำาหน้าทีค่ ณ ุ พ่อเลีย้ งเดีย่ วลูกสองในทุกวันนี้ คุณพ่อยอมรับ กับฉันตรงๆว่ารู้สึกเหนื่อยเหมือนกันในบางครั้ง แต่บอกตัวเองว่าต้องสู้ อย่าไปท้อกับอุปสรรคเพียงแค่นี้ พร้อมกับยกตัวอย่างความเก่งของ คนรุ่นพ่อแม่ให้ฟัง 24
“คนสมัยก่อนพ่อขับสามล้อ แม่ขายขนมครก หนักกว่าเราหลาย เท่า แต่เขาเลี้ยงดูเรามาตั้ง 4 คน ส่งเราเรียนจนมีการมีงานท�ำ เรามีเงิน เดือนมีงานพิเศษ เลี้ยงลูกแค่สองคนท�ำไมเราจะท�ำไมได้ เราต้องเก่งกว่า แม่เราสิ” คุณพ่อใช้วธิ คี ดิ แบบดูตวั อย่างคนทีเ่ ขาแกร่งกว่าเรา เพือ่ จะสร้าง ก�ำลังใจและแรงใจให้กับตนเอง บางทีในสังคมทุกวันนี้ เรื่องเล็กน้อยก็ท้อ ยอมแพ้อย่างง่ายดาย ทัง้ ทีม่ คี นทีเ่ ขาด้อยกว่าแต่เขาก็ยงั สู้ ฉะนัน้ เรือ่ งเล็ก น้อยแบบนี้ไม่น่ายอมแพ้
กันและกัน
เพราะมีกันเพียงสามคน คุณพ่อและลูกๆจึงให้ความส�ำคัญ กับความรู้สึกทางด้านจิตใจของกันและกัน ขณะที่คุณพ่อโภชอยู่ในช่วง ของความเศร้าโศก น้องพลอยและน้องแพรต่างเป็นก�ำลังใจให้ตนได้ เป็นอย่างดี “เขาไม่เอ่ยถึง ไม่เคยเอ่ยชื่อให้กระทบเราเลย เพราะรู้ว่าเรา สะเทือนใจ เขาบอกเขามีพ่อคนเดียวพอแล้ว” คุณพ่อโภชเอ่ยขึ้นเมื่อฉัน ถามความรู้สึกของน้องที่มีต่อคุณแม่ จากที่สังเกตมา ตนเคยแกล้งแหย่เขาว่า “คิดถึงหรือเปล่า” เขาก็บอกว่า “ก็หนูมีพ่อแล้ว ไม่คิดถึงหรอก พ่อไม่ต้องเสียใจหรอก” ลูกๆ ก็ช่วยปลอบด้วย ดังนั้นทุกงานกิจกรรมของพวกเขาคุณพ่อนักออกแบบบอกว่า ต้องไปให้ได้ บางครัง้ ต้องลางานก็ไม่เป็นไร เพราะความรูส้ กึ ของลูกส�ำคัญ กว่า ต้องคอยดูแลซึ่งกันและกัน เพียงพ่อ 25
ระหว่างที่เรานั่งพูดคุยกัน น้องพลอยพี่สาวเรียกน้องแพรที่นั่ง อยู่ข้างคุณพ่อ พร้อมกับชี้ไปที่ด้านหลังเสื้อของคุณพ่อที่มีรอยเปื้อน และบอกให้น้องปัดท�ำความสะอาด ฉันแอบมองดูอยู่ห่างๆ อย่างชื่นชม ภาพนีแ้ สดงให้เห็นถึงความห่วงใยและความรักทีพ่ วกเขามีให้ตอ่ กันได้โดย ไม่ต้องอธิบายเป็นค�ำพูดใดๆ ตอนนีน้ อ้ งพลอยและน้องแพรเริม่ โตเข้าสูช่ ว่ งวัยรุน่ ซึง่ เป็นช่วง ที่ส�ำคัญยิ่งช่วงหนึ่ง คุณพ่อจึงต้องมีวิธีดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด คุณพ่อมักจะเน้นการพูดคุยกับลูกๆ เป็นหลักพร้อมกับสอนเขา ในเรื่องต่างๆไปด้วย อย่างเรื่องความรัก การมีแฟน ตนถามเขาในวันนี้ เขายังไม่คิด แต่ในวันข้างหน้าเราไม่รู้ ตนก็จะสอนเขาว่าผู้ชายที่ดี เป็นอย่างไร ผู้ชายถ้ามาในแนวนี้เป็นอย่างไร พอคร่าวๆ ไม่ได้ลงลึก ซะทีเดียว ในเรื่องการใช้โทรศัพท์มือถือคุณพ่อเผยว่าได้คิดวิธีไว้แล้ว คือ ต้องสลับกันใช้กับตน แต่จะไม่จ�ำกัดเขาจนเกินไป หรือในเรื่องการเล่น คอมพิวเตอร์ บางทีตนก็ไม่ได้ถนัดแต่ก็ต้องรู้เอาไว้บ้าง ถ้าเขาเปิดใช้อะไร แล้วเข้าไปเปิดดูย้อนหลังอย่างไร จะได้รู้ว่าเขาท�ำอะไร แต่จะไม่บอกเขา เพราะมันเหมือนเราละลาบละล้วงเกินไป ขนาดตนยังรูส้ กึ ไม่คอ่ ยชอบเลย ก็จะแอบดูเป็นบางครั้ง การตรวจความเรียบร้อยของลูกพ่อแม่สามารถท�ำไปพร้อม กับการดูแลเขาได้ แต่ต้องท�ำอย่างสม�่ำเสมอ คุณพ่อเผยเคล็ดลับเล็กๆ ไว้ดังนี้ “กระเป๋านักเรียนของลูกบางทีเราก็แกล้งบอก เอามาให้พ่อ ตรวจหน่อยซิ เดี๋ยวพ่อช่วยจัดกระเป๋า มีอะไรขาดหรือเปล่า พ่อจะได้ ซื้อให้ ขาดยางลบหรือเปล่า ประมาณนี้ มันเหมือนเราไม่ได้ผลีผลาม ไปรื้อค้นของเขา แต่จะใช้วิธีแอบถาม แล้วที่ส�ำคัญต้องท�ำต่อเนื่องให้เป็น 26
ปกติเคยชิน ถ้ามาท�ำตอนเขาโตแล้วจะเหมือนเราไปละเมิดเขาเยอะ เกินไป แต่ถา้ เราท�ำวันนีเ้ หมือนเราดูแลเขา เอาใจใส่เขา เขาก็จะชอบ หาก วันหนึ่งเขาไม่ให้เราช่วย เราก็แกล้งแซวได้ว่า จะไม่ให้พ่อดูแลเหรอ มีคนดูแลแล้วเหรอ” “บางทีที่ตนไม่สบาย ลูกทั้งสองเอาผ้ามาเช็ดตัวให้ นวดให้ เราก็สบายใจ มีลูกผู้หญิงก็ดีแบบนี้ ดูแลเราได้” คุณพ่อกล่าวด้วยความ ชื่นใจ ส�ำหรับการวางแผนอนาคต คุณพ่อโภชมีความตั้งใจอยากเปิด ร้านอาหารกึ่งแกลเลอรี่ เพื่อแสดงผลงานของตนเอง และใช้เป็นอาชีพ เลี้ยงครอบครัวหลังเกษียณ ให้ลูกๆ ได้มีงานท�ำอยู่กับบ้านได้ “คนโตเขาไม่คดิ มาก อยากให้พอ่ เปิดร้านอาหร เขาขอท�ำหน้าที่ ล้างจาน” คุณพ่อกล่าวพร้อมเสียงหัวเราะ “ผมคิดว่าหากเปิดร้านอาหารได้เท่ากับเราเลีย้ งคนในครอบครัว ได้ เลี้ยงลูกได้ เป็นร้านอาหารกึ่งแกลเลอรี่ เพราะอยากแสดงผลงานทาง ศิลปะของเราด้วย เป็นแพลนในอนาคตวางเอาไว้ที่อยากจะท�ำ ส่วนน้อง แพรชอบท�ำอาหาร อาจให้เขาไปเรียนเสริม เพราะการท�ำอาหารก็เป็น ศิลปะอย่างหนึ่ง” คนเล็กมีแววทางด้านศิลปะ ส่วนคนโตได้ในเรื่องความขยัน ที่เขาขยันอาจเป็นเพราะว่า ต้องการให้คนอื่นยอมรับว่าเขาท�ำได้ ท�ำใน สิ่งที่คนอื่นไม่ท�ำ แต่เขาท�ำ ล้างถ้วยชาม อยู่โรงเรียนท�ำหน้าที่เหมือนเป็น ผู้ช่วยครู เก็บหนังสือ ท�ำความสะอาดห้องให้ครู นี่คือสิ่งที่คนอื่นไม่มี ไม่ท�ำกัน “ดีแล้วล่ะลูกที่หนูท�ำ เอาตรงนี้มาปรับให้เป็นจุดเด่นของเรา ขอให้หนูขยัน เป็นคนดี” คุณพ่อชื่นชมน้องพลอยด้วยความปติ เพียงพ่อ 27
28
ตนมักจะพาลูกๆ ไปไหว้พระ ท�ำบุญตามวัดหรือมูลนิธิต่างๆ ชี้ให้เขาเห็นว่ามีทั้งเด็กพิการก�ำพร้า เด็กสมบูรณ์ที่พ่อแม่เอามาทิ้ง ให้เขารู้ว่าเรายังดีกว่าเขาเยอะ มีโอกาสมากกว่าคนเหล่านั้น เขาจะได้ แข็งแกร่งขึ้น คุณพ่อเผยความคิดเห็นทิ้งท้ายไว้ ว่า สังคมทุกวันนี้เปลี่ยนไป ความคิดของคนเปลี่ยนแปลง มีลูกกันน้อยลง เพราะเขามองว่าไม่มี ก็อยู่ได้ เขาอาจจะมองว่าลูกเป็นสิ่งที่ดูแลน้อยสุด ฝากผีฝากไข้ไม่ได้ ลู ก มาดู แ ลพ่ อ แม่ น ้ อ ยลง แต่ ถ ้ า เราสอนลู ก ให้ ดู แ ลพ่ อ แม่ ม ากขึ้ น และพ่อแม่ดูแลลูกอย่างจริงจัง ดูแลซึ่งกันและกันครอบครัวก็จะอบอุ่น
เพียงพ่อ 29
คําวา“รัก”
ค�ำว่า “รัก”
ความรักคืออะไร เราคงเคยได้ยนิ ค�ำถามนีอ้ ยูบ่ อ่ ยครัง้ หากตอบ จากความรู ้ สึ ก เราอาจจะได้ รั บ ค�ำตอบที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไป เพราะความรักนั้นมีหลากหลายรูปแบบ แต่ละคนต่างก็มีนิยามของ ค�ำว่ารักที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความรู้สึกของตนเอง ในขณะนัน้ เป็นธรรมดาทีค่ �ำตอบสามารถเปลีย่ นแปลงได้ทกุ วินาที ไม่จรี งั ยั่งยืน แต่มีความรักจากพ่อและแม่ที่มีต่อลูกนั้น เป็นรักที่ยิ่งใหญ่ รักโดย ปราศจากเงื่อนไขใดๆ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
ฉากละครในชีวิตจริง
เย็ น วั น ศุ ก ร์ ใ นบรรยากาศฝนพร�ำ ฉั น นั่ ง รอการมาถึ ง ของ หญิงสาวคนหนึ่ง เรานัดหมายกันในร้านกาแฟเล็กๆ ที่สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส หลายครั้งที่ฉันเผลอชะเง้อมองไปที่ประตูทางเข้าด้วยความ ตื่ น เต้ น แต่ ไ ม่ น านนั ก หญิ ง สาวก็ ป รากฏตั ว เธอเป็ น ผู ้ ห ญิ ง ตั ว เล็ ก 32
ใส่เสื้อกล้ามสวมทับด้วยแจ็กเกตแบบล�ำลอง เข้าชุดกันกับกางเกงขาสั้น เดินเข้ามาในร้านด้วยความมั่นใจ แม้แวบแรกที่เห็นเธอจะดูแตกต่าง จากภาพจ�ำของฉันที่มองเธอผ่านจอโทรทัศน์ แต่เมื่อหญิงสาวเดินตรงมายังโต๊ะที่ฉันนั่ง ก็ท�ำให้มั่นใจได้ทันที ว่าเธอคือ “กนกพร คงสุวรรณ” หรือ พี่ยีนส์ ฉันรู้จักหญิงสาววัย 25 ปี คนนี้ครั้งแรกจากการได้ดูรายการครอบครัวเดียวกันทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส เรื่องราวความผูกพันระหว่างพ่อที่ต้องเลี้ยงดูลูกสาวที่มี ปมในใจเกี่ยวกับแม่ พ่อเป็นฮีโร่และเบ้าหลอมที่ท�ำให้เธอเติบโตมาอย่าง แข็งแรงและสวยงาม จนกระทั่งเธอมีหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของพ่อ และเพราะพ่อนี่เองเป็นที่มาของการนัดหมายในครั้งนี้ ฉันขอให้พี่ยีนส์ เล่าเรื่องพ่อและแม่ให้ฟังอีกครั้ง ซึ่งเธอยินดี “ตอนนัน้ เราไม่เข้าใจ ก็เกลียดเขามากๆ ไม่นบั ว่าเป็นแม่ ถ้าใคร ถามว่าแม่ไปไหนจะตอบค�ำเดียวว่าไม่มีแม่” พี่ยีนส์ กล่าวถึงความรู้สึก ที่มีต่อผู้หญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่ของเธอ เมื่อมีคนถามถึง พี่ยีนส์เล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่เด็กหญิงอายุ 4 ขวบจดจ�ำได้ดี วันที่แม่เดินออกจากบ้านและบอกว่าจะไปอยู่ที่อื่น ความรู้สึกห่างเหิน บวกกับค�ำถามที่ว่าแม่หายไปไหนเกิดขึ้นในใจมาโดยตลอด ภาพที่ใครๆ เห็นจนชินตาคือเด็กหญิงกับพ่อตะเวนออกตามหาแม่ บางทีญาติฝ่ายแม่ แอบส่งข่าวบอกว่าแม่อยู่ที่ไหน แต่ก็คลาดกันเสียทุกครั้ง จนถึงวันที่เธอต้องเลือก คือวันที่แม่บอกพ่อว่าจะย้ายไปอยู่กับ สามีใหม่ แม่เดินเข้ามาถามเพือ่ ให้เธอเป็นคนเลือกว่าจะอยูก่ บั ใคร ระหว่าง พ่อหรือแม่ เธอจึงตัดสินใจทีจ่ ะอยูก่ บั พ่อ เพราะทีผ่ า่ นมาแม่มสี ว่ นร่วมใน ชีวติ น้อยมาก กระนัน้ ก็ยงั อยากมีทงั้ พ่อและแม่พร้อมหน้าในเวลาเดียวกัน “ก็รู้สึกเสียใจที่คนๆหนึ่งเคยอยู่ข้างกันหายไป แต่ที่เสียใจมาก ที่สุดคือตอนที่แม่เดินสะบัดมือเราไป ตอนแรกไม่ได้จะวิ่งตาม แต่พอแม่ เพียงพ่อ 33
ขึ้นรถ เรารู้สึกว่าเขากำาลังจะไปแล้ว เราวิ่งตามอยู่นานมาก เหมือนฉาก ในละคร เขาเดินไปกับผู้ชายคนใหม่ ได้ยินเสียงเราตะโกนเรียกแต่ทำาไม เขาไม่หันมาเลย” พอเล่าถึงตอนนี้แม้สีหน้าจะเรียบเฉย แต่ฉันรับรู้ถึง ความสะเทือนใจกับภาพที่ฉายซำ้า
ภาพวาดประกอบจากหนังสือ “ครอบครัวหัวแห้ว” เขียนโดย พี่ยีนส์ กนกพร คงสุวรรณ
34
หลังจากนั้นเธอจึงรู้สึกโกรธและเกลียดผู้หญิงคนนี้ และกลาย เป็นปมในใจของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งตลอดมา “มันเป็นเหตุการณ์ฝังใจ ฝังใจขนาดบางครั้งเวลาท�ำงานหนัก หรือเจอเรื่องอะไรแย่ๆ แล้วเรานอนหลับ ก็จะเจอภาพนี้ทุกที ภาพในวัน ที่เขาเลิกกัน ที่แม่ทิ้งเราไปก็ยังล้ออยู่ในความฝัน เป็นภาพที่อยู่ใน ความทรงจ�ำที่ฝังใจไปแล้ว” พ.ศ.2535 จ�ำนวนการหย่าร้างยังไม่สงู เท่าปัจจุบนั “ตอนเด็กๆ ก็คิดแค่ว่าในสมุดพกฉันล่ะ ต้องเลือกว่าครอบครัวหย่าร้าง ฉันอายเพื่อน นะ เหมือนเป็นคนแรกในโรงเรียนที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ คือสมัยนั้น มันไม่มีอะไรแบบนี้เกิดขึ้น ยิ่งในชนบทแทบจะไม่มีครอบครัวแตกแยก ถึงจะทะเลาะกันแต่เขาก็ยังทนอยู่ แต่ของพี่เหมือนอยู่กันไม่ได้แล้ว ด้วยภาวะที่แม่ก็อายุน้อย พ่ออายุมากกว่า ก็ต้องแยกทางกัน” พี่ยีนส์เล่าเสริม ว่า เมื่อพ่อกับแม่เลิกกันได้ประมาณปีถึงสองปี แม่ของเธอได้แอบมาหาที่หน้าโรงเรียน เธอเคยพูดว่าแม่ “ท�ำไมแม่หมายังรักลูกหมาเลย แต่นแี่ ม่เป็นคนท�ำไมแม่ตอ้ งทิง้ ลูกด้วย แม่ไม่เห็นเหมือนแม่หมาเลย” “แม่ร้องไห้ท�ำไม แม่ไม่ได้อยู่กับพ่อกับลูก แม่ล�ำบาก แม่จาก พ่อจากลูกมาแม่สบายแล้ว แม่ร้องท�ำไม” แม่ก็ร้องไห้เสียใจ และหลังจากวันนั้นเธอก็ไม่ได้เจอกับแม่อีก เลย หญิงสาวเล่าถึงความทรงจ�ำในอดีต
เพียงพ่อ 35
5สาเหตุยอดฮิตของการหย่าร้าง
1. การนอกใจ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคนใหม่ ซึ่งเกิดจากความไม่ เข้าใจกัน ความไม่พอใจในชีวิตคู่ 2. ปัญหาเศรษฐกิจ เมื่อการเงินภายในครอบครวริ่มฝืดเคือง ความรักก็เริ่มจืดจาง มีปัญหา นำาไปสู่การแยกทางกันของครอบครัว 3. ครอบครัวที่สามี ภรรยา อายุยังน้อย แต่งงานเร็ว หรือ แต่งงานด้วยความไม่พร้อม มีแนวโนมในการหย่าร้างสูงกว่าสามี ภรรยา ที่คบหา ศึกษาดูใจกันเป็นระยะเวลานาน 4. ความรุนแรงในครอบครัว ทั้งจากการทำาร้ายร่างกายและ จิตใจ 5. คู่สมรสเสียชีวิต เกิดอุบัติเหตุ การหย่าร้างมีทงั้ ดีและข้อเสีย คูส่ มรสต้องคิดไตร่ตรองให้ดกี อ่ น ว่าสามารถอยู่ตัวคนเดียวได้หรือไม่ หากมีลูกสามารถเลี้ยงลูกเพียงลำาพัง รับมือกับปัญหาเศรษฐกิจได้หรือไม่ ไม่ควรรีบด่วนตัดสินใจ ในฐานะทีเ่ ป็น ผู้ทำางานทางด้านครอบครัว มองว่าการหย่าร้างอาจทำาให้ชีวิตมีความสุข มากขึ้น ดีกว่าการต้องทนอยู่ด้วยกันแล้วเกิดปัญหาภายในครอบครัว ดัง นั้นการหย่าร้างหรือแยกกันอยู่สักพักอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การหย่า ร้างจึงไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอไป ที่มา คุณฐานิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
36
ชีวิต...ของเราสอง
เช้าวันใหม่ที่มีเพียงสองพ่อลูกช่างยุ่งเหยิง พ่อผู้ไม่ชินกับการ ทำาอาหารต้องหัดจับตะหริว ส่วนเด็กสาวที่เคยกินอาหารเช้าฝีมือแม่ ก็ตอ้ งกินไข่ลวกเมนูโปรดของพ่อ แต่เป็นอาหาร สุดยีข้ องเธอ พ่อพยายาม โน้มน้าวให้เธอกินไข่ลวกโดยให้เหตุผลว่ามันมีประโยชน์ กินแล้วจะได้ ร่ า งกายแข็ ง แรงเหมื อ นพ่ อ เด็ ก น้ อ ยก็ ยั ง ยื น กรานไม่ ย อมแตะต้ อ ง หันหน้าหนีและทำาท่าทางจะอาเจียนท่าเดียว ร้องหาข้าวไข่ดาวที่เคยกิน พ่อเห็นดังนั้นจึงข้าไปในครัว ไม่นานพ่อส่งจานข้าวโปะไข่ดาว หน้าตาแปลกประหลาดมาให้ ขอบไข่ดาวไหม้เกรียม พอละสายตาจาก ไข่ดาวไหม้ๆ เด็กหญิงก็ได้เห็นสภาพห้องครัวที่มีแต่เปลือกไข่ไก่กระจาย เต็ ม พื้ น ร่ อ งรอยกระทะไหม้ ดำ า และสภาพพ่ อ ที่ เ นื้ อ ตั ว ต็ ม ไปด้ ว ย คราบนำ้ามันและสีหน้าที่แสดงความเสียใจที่ทำาไข่ดาวให้ไม่ได้ เธอจึง ตัดสินใจยกแก้วไข่รวกแล้วซดรวดเดียวจนหมด พร้อมยิ้มให้กำาลังใจพ่อ จากนั้ น ไข่ ล วกก็ ก ลายเป็ น อาหารเช้ า ของสองพ่ อ ลู ก บางวั น ใส่ น ม บางวันใส่สไปร์ท สลับกันไป
เพียงพ่อ 37
หลังจากมื้อเช้าพ่อจะเป็นคนพาเธอไปส่งที่โรงเรียนและมารับ กลับบ้านเป็นเช่นนี้ทุกวัน ท�ำให้พ่อเจี๊ยบกลายเป็นที่รู้จักของเพื่อนๆและ คุณครูในโรงเรียน พ่อของเธอจะเป็นคนเฮฮา ขี้เล่น ใจดีกับทุกคน เพื่ อ นๆจึ ง ติ ด พ่ อ มาก เมื่ อ ใดขั บ มอเตอร์ ไซด์ ผ ่ า นหน้ า บ้ า นจะเรี ย ก “ตาเจีย๊ บๆ” แต่กบั เธอ พ่อจะมีเส้นแบ่งไว้วา่ หากท�ำผิดจะต้องโดนลงโทษ พร้อมกับค�ำสอนและให้เหตุผลด้วยเสมอ พี่ยีนส์เล่าเรื่องราวตอนเธอถูกพ่อดุที่จ�ำได้ขึ้นใจ ว่า เมื่อตอน เด็กเธอรีบท�ำการบ้านวิชาคัดลายมือด้วยความรวดเร็วและลวกที่สุด เพราะต้องการจะไปวิง่ เล่นกับเพือ่ น จึงท�ำให้งานออกมาเป็นลายมือทีช่ ยุ่ และเต็มไปด้วยรอยลบด่างด�ำดูสกปรก เมือ่ พ่อเห็นจึงเรียกกลับมาท�ำใหม่ โดยปกติ พ ่ อ แม่ จ ะลบแล้ ว ให้ ลู ก แก้ เขี ย นใหม่ แต่ พ ่ อ ของเธอฉี ก หน้ากระดาษนั้นทิ้งไป แล้วบอกให้เธอเขียนใหม่ทั้งหมด แม้ในตอนนั้น จะเสียใจและโกรธพ่อมาก แต่กลายเป็นว่าทุกวันนีเ้ ธอเป็นคนลายมือสวย ข้อนี้เธอขอยกความดีความชอบให้พ่อแต่เพียงผู้เดียว เมือ่ พูดถึงความเป็นคนขีเ้ ล่น พีย่ นี ส์กเ็ ร่งเล่าเรือ่ งทีน่ กึ ออกทันที มีอยูค่ รัง้ หนึง่ ตอนทีเ่ ธอจะเปิดร้านเสือ้ ผ้า จึงโทรศัพท์ไปขอความเห็นของ พ่อให้ช่วยตั้งชื่อร้าน “พ่อเนี่ยลูกจะเปิดร้านเสื้อผ้า พ่อลองตั้งชื่อร้านเป็นภาษา อังกฤษให้หน่อยสิ” พ่อเธอแกล้งตั้งให้ บอกว่า “เอาเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ไหมล่ะ” “ชื่อร้านอะไรล่ะพ่อ” “พังชัวร์” หรืออย่างวันแม่ พ่อก็จะโทรหาเธอแล้วบอกว่า 38
“อ้าวเป็นไงบ้าง วันนี้วันแม่ เดี๋ยวพ่อร้องเพลงให้ฟังนะ พ่อนี้มี บุญคุณอันใหญ่หลวง....” พ่อจะมีมกุ อะไรแบบนีแ้ กล้งเธอเสมอ หญิงสาวเล่าให้ฟงั พร้อม เสียงหัวเราะของฉันและเธอ
รู ป ถ่ า ยติ ด บั ต ร ของทั้งคู่ที่คุณพ่อ เจี๊ยบพกติดตัวไว้ เสมอ
เมือ่ ถามว่าเธอรูส้ กึ ถึงความไม่ครบภายในครอบครัวบ้างหรือไม่ เธอตอบทันทีว่า มีในช่วงแรกเท่านั้นที่รู้สึกว่าต้องกลายเป็นเด็กไม่มีแม่ แต่ ไ ม่ ไ ด้ คิ ด ว่ า ถ้ า มี แ ม่ แ ล้ ว จะรู ้ สึ ก ครบ ตั ว เธอนั้ น ไม่ ไ ด้ มี พื้ น ฐานใน ความคิดของตัวเองตั้งแต่เด็กว่าค�ำว่าครอบครัวต้องมีพ่อแม่และลูก เธอแค่รู้สึกว่าอยากให้พ่อเป็นอะไรพ่อสามารถเป็นได้หมด พ่อเป็นเพื่อน พ่อเป็นพี่ พ่อเป็นพ่อ พ่อเป็นแม่ แม้แต่เรื่องที่ผู้หญิงทุกคนต้องคุยกับแม่ เธอก็คยุ กับพ่อได้ จึงท�ำให้ไม่รสู้ กึ ว่าขาดหรือต้องการอะไรอีก พ่อเติมเต็ม ทุกสิ่งในชีวิตของเธอ “มันอาจจะดูเว้าแหว่งไปบ้างแต่ก็ไม่ได้มานั่งโหยหา เราจะ โหยหาตามแต่สถานการณ์ อย่างวันแม่มแี ม่คนอืน่ มาพร้อมหน้าพร้อมตา ก็มเี สีย้ วหนึง่ ทีร่ สู้ กึ แต่ในชีวติ ประจ�ำวันไมได้คดิ อะไรขนาดนัน้ สิง่ แวดล้อม มากกว่ า ที่ ท�ำให้ เรารู ้ สึ ก หรื อ ในบางครั้ ง บางอย่ า งที่ คุ ย กั บ พ่ อ แล้ ว เพียงพ่อ 39
เราไม่ ถู ก ใจในความคิ ด ของพ่ อ ด้ ว ยความที่ เขาเป็ น ผู ้ ช ายไม่ ไ ด้ มี ความละเอียดอ่อน บางครั้งก็โหยหาความเป็นผู้หญิงก็คือแม่” หญิงสาว กล่าวถึงความรู้สึกของตนที่มีต่อพ่อ
พ่อผู้ไม่เคยโกรธ
เด็กทุกคนมักจะมีฮโี ร่ในดวงใจ เธอเองก็เช่นกัน ฮีโร่ของเธอนัน้ ก็คอื พ่อเจีย๊ บ “ความเป็นฮีโร่ของพ่อไม่ได้หมายความว่า พ่อเป็นคนทีเ่ ป็น ไอดอลเรา แต่พ่อเป็นคนที่ไม่เคยว่าแม่เราเลย เขาไม่เคยกล่าวโทษอะไร ผูห้ ญิงคนนีเ้ ลย ความเป็นฮีโร่เขาคืออยูต่ รงนัน้ มากกว่า เขาให้อภัยผูห้ ญิง คนหนึ่งที่ท�ำร้ายเขา” หญิงสาวกล่าวด้วยน�้ำเสียงที่หนักแน่นและภูมิใจ
“พ่อเป็นคนแปลก ที่เขาไม่เคยโกรธแม่เลย ให้อภัยมาตลอด ไม่เคย พูดถึงเลยว่าสิ่งที่แม่ท�ำ นั้นเป็นเพราะอะไร” ตอนประถมเธอมักจะโดนล้อเรือ่ งทีไ่ ม่มแี ม่ เพราะเป็นคนเดียว ที่ทุกคนรู้ทั้งโรงเรียนว่าครอบครัวแยกทางกัน “อย่าไปคบเลยมันนิสัยไม่ดี แม่ไม่สั่งสอน ไม่มีแม่” เป็นค�ำ ที่ท�ำให้เด็กหญิงยีนส์โกรธมาก เพราะเพื่อนชอบคิดว่าการมีแม่สั่งสอน จะดีกว่าการไม่มีแม่ บ้างก็จะนินทาว่าเป็นเด็กบ้านแตก พ่อแม่เลิกกัน เธอจึงไปถามพ่อว่าท�ำไมเขาต้องพูดแบบนี้ พ่อเลือกที่จะสอนให้เธอ ไม่สนใจกับค�ำพูดของคนอื่น เพราะพ่อบอกเสมอว่า 40
“ช่ า งมั น เถอะลู ก เขาก็ พู ด ของเขาไปเรื่ อ ย เขาไม่ รู ้ ว ่ า เรา เป็นอย่างไร อย่าไปสนใจเขา ปล่อยให้เขาพูดไป คนอื่นเขาไม่เคยพูด ความจริงหรอก ถ้าเขารู้ความจริงเขาจะไม่เอาเรื่องของเราไปพูด แต่ถ้า เขาอยากรู้เรื่องจริงเขาจะถามเรา” จากนั้นเธอจึงไม่สนใจค�ำพูด เหล่านั้นอีก หญิงสาวกล่าวเสริม ว่า เธอไม่ได้รู้สึกว่าคนที่มีพ่อหรือมีแม่ คนเดียวนัน้ น่าสงสาร และไมได้รสู้ กึ เห็นดีเห็นร้ายกับการแยกทางมากนัก ทุกวันนี้ที่เธอรู้สึกแย่คือ รู้สึกแย่กับการกระท�ำที่แม่ท�ำให้เธอต้องอยู่ แบบนี้เท่านั้นเอง แต่ไม่ได้รู้สึกว่าการที่มีคนเดียวเดินอยู่ข้างๆ กับการที่มี คนสองคนข้างๆ จะแตกต่างกัน “เมื่ อ ก่ อ นตอนมี แ ม่ อ ยู ่ แ ม่ ก็ จ ะอยู ่ บ ้ า น แต่ เวลาไปไหน ไปกินข้าว ไปโรงเรียนพ่อจะเป็นคนพาไป ไปท�ำกิจกรรมที่โรงเรียน พ่อก็เป็นคนท�ำ ไปรับสมุดพกพ่อก็ไป คนที่จะรู้จักกับเพื่อนเราก็มีแต่พ่อ เท่านัน้ แม่แทบจะไม่ได้ท�ำอะไร เราเลยไม่รสู้ กึ ถึงค�ำว่าพ่อแม่ลกู นานแล้ว” กระนั้นทุกครั้งที่เป็นวันแม่ พ่ออยากให้เธอโทรหรือไปหา แม่บ้าง แต่เธอก็เลือกที่จะไม่ไปหา แม่เองก็เลือกที่จะไม่มาหาเธอเช่นกัน แม่อาจรูส้ กึ ผิดแต่เธอรูส้ กึ โกรธมากกว่า แต่พอ่ เป็นคนทีจ่ ะพยายามท�ำให้ เธอรู้สึกดีกับแม่มากขึ้น “พ่อบอกเสมอว่ายังไงเขาก็เป็นแม่ ไม่เคยให้ไปว่าแม่ อย่าไป โกรธแม่ ให้รักแม่ พ่อไม่เคยมานั่งอธิบายให้ฟังว่าเราควรท�ำแบบนี้กับแม่ เพราะอะไร แต่ พ ่ อ จะท�ำให้ พี่ ยี น ส์ เ ห็ น และเรี ย นรู ้ ไ ด้ เ องโดยการที่ ทุ ก วั น นี้ ต ่ อ ให้ พ ่ อ เลิก กับ ผู้หญิงคนนี้ไ ป ไม่ไ ด้หมายความว่ า เมื่ อ เขา เดื อ ดร้ อ น หรื อ ต้ อ งการความช่ ว ยเหลื อ พ่ อ จะทิ้ ง ตราบใดที่ เขายั ง เดือดร้อนอยู่ แล้วต้องใช้ชีวิตอยู่ล�ำพัง พ่อก็จะเป็นคนที่หยิบยื่นความ ช่วยเหลือไปให้เขาตลอด ถึงแม้จะไม่ใช่สามีภรรยากันแล้วก็ตาม” เพียงพ่อ 41
นอกจากนี้พ่อไม่เคยเอาเธอไปเปรียบกับแม่ พ่อจะสอนให้เธอ ท�ำตัวให้ดี โดยที่ไม่เอาแม่มาเป็นพื้นฐาน และสอนเสมอว่าให้รักแม่ เพราะเขาคือแม่ของเรา ขนาดเขาท�ำให้พอ่ รูส้ กึ แย่แค่ไหนท�ำไมพ่อยังเลือก ที่จะไม่โกรธเขา ดังนั้นทุกครั้งที่อยู่ต่อหน้าพ่อเธอจะไม่บอกว่าโกรธแม่ หรือเกลียดแม่ จะบอกว่าไม่รสู้ กึ อะไรแล้ว แต่ทจี่ ริงในใจก็ยงั รูส้ กึ โกรธอยู่ ฉันถามพี่ยีนส์ว่าเคยถามพ่อบ้างไหมท�ำไมถึงไม่โกรธแม่เลย เธอให้ค�ำตอบ “ไม่ถามหรอก ส่วนใหญ่จะอยู่กับพ่อเหมือนผู้ชายแมนๆ ไม่ จุกจิก เราจะรับรู้กันเอง อย่างตอนที่พ่อเลิกกับแม่ พ่อไม่ได้มานั่งร้องไห้ ให้เราเห็น ไม่ได้บอกว่าเขาเสียใจมากแค่ไหน เพราะพ่อดูแลแต่ความรูส้ กึ ของเรา แต่เราก็แอบรู้ว่าตอนที่เขากอดเรา เขาแอบน�้ำตาไหลอยู่ข้างหลัง แต่ เราก็ ท�ำเป็ น ไม่ รู้เรื่อง ทุก คนมีภ าวะอ่อนแอ ก็เหมื อ นกั บพ่ อ ที่ มี ภาวะอ่อนแอ เขาแค่ไม่แสดงออกให้เห็นเท่านั้นเอง”
คนเดียวในเมืองกรุง
“พ่อหัดให้ลูกบินได้แล้ว ต่อไปนี้ลูกบินเองนะ” นี่เป็นค�ำพูดที่ พ่อบอกกับเธอ เมื่อครั้งที่ต้องจากบ้านเกิดที่ชุมพร เพื่อมาศึกษาต่อใน เมืองกรุง พี่ยีนส์ขึ้นมาอาศัยอยู่กรุงเทพฯตั้งแต่เรียนจบชั้นม.6 นับว่า เป็นการ “ห่าง” กันมากที่สุดครั้งแรกส�ำหรับเธอและพ่อ การที่ต้องห่าง กันครั้งนี้ท�ำให้เธอต้องเรียนรู้กับการปรับตัวใช้ชีวิตอยู่คนเดียวให้ได้โดย ไม่มีพ่อเหมือนเช่นแต่ก่อน เธอเล่าให้ฉันฟังว่า ในช่วงแรกของการอยู่คนเดียวเธอต้องโทร หาพ่อเพื่อรายงานทุกสถานการณ์ ย่างก้าวในชีวิต เพราะเธอรู้สึกว่า หากเกิดอะไรขึ้นกับเธอ อย่างน้อยพ่อก็จะรับรู้ 42
“พ่อ....ก�ำลังจะเดินออกจากบ้านแล้วนะ” “พ่อ....เดี๋ยวจะไปที่นี่ต่อนะ” “พ่อ....ถึงที่นี่แล้วนะ เดี๋ยวจะกลับห้าโมงนะ” เป็นเช่นนี้ตลอด
ทุกวัน นอกจากนี้พี่ยีนส์ยังเผยว่า เธอรู้สึกแย่และตกใจกับสภาพ กรุงเทพฯ เพราะจากทีพ่ อ่ เคยไปรับไปส่งทุกวัน แต่กลับต้องรีบตืน่ แต่เช้า นัง่ รถไปมหาวิทยาลัยเอง เรือ่ งการนัง่ รถมอเตอร์ไซด์รบั จ้างก็สร้างปัญหา ให้เธอมาแล้ว เขานั่งกันเอามือจับข้างหลัง แต่เธอไม่เคย เพราะปกติจะ ขึน้ คร่อมนัง่ ซ้อนท้ายพ่อ นัง่ กอดพ่อเอาไว้ตลอด เล่นเอาเธองงและเหนือ่ ย ไม่น้อยกับการใช้ชีวิตในเมืองกรุง “เหนื่ อ ยและเหงามากนะ รู ้ สึ ก ว่ า ท�ำไมต้ อ งมาท�ำอะไร แบบนี้ด้วย อยู่คนเดียวไม่มีคนให้คุย บางวันก็มีร้องไห้ บอกพ่อว่าอยาก กลับบ้าน แต่เราก็ไม่กล้าบ่นตรงๆว่าจะกลับบ้าน เพราะใจจริงแล้วพ่อ ไม่อยากให้มากรุงเทพฯอยู่แล้ว อยากให้อยู่แถวชุมพร สุราษฎ์ ถ้าเรายิ่ง ร้องไห้บอกไม่อยากอยู่ก็จะเข้าทางเขาเลย” ดังนั้นเมื่อใดที่รู้สึกเหงาเธอ จึงต้องอดทน เพราะกลัวว่าหากบ่นมากเกินไปพ่อจะให้กลับไปอยู่บ้าน ที่ชุมพร เมื่อฉันถามว่าเธออยู่กับพ่อมาตลอด ท�ำไมพ่อถึงยอมปล่อยให้ เธอขึ้นมาอยู่ที่กรุงเทพฯเพียงคนเดียว เธอใช้เวลาคิดไม่นานและบอกว่า “เหมือนเขาปล่อยเราแล้ว เขาดูแลเรามา ให้เราอยู่ในกรอบมา ตลอดตัง้ แต่อนุบาล ไม่ให้ใช้ชวี ติ แบบวัยรุน่ เลย ปกติม.ปลายเขาก็จะกลับ บ้านกันเองได้แล้ว ต่างจังหวัดอาจจะมีรถมอเตอร์ไซด์ขับกลับบ้านเอง หรือกลับบ้านกับเพื่อน เป็นเรื่องปกติที่วัยรุ่นเขาท�ำกัน แต่พ่อพี่ไม่ให้ จะมารับส่งตลอดเวลาจนถึงม.6 ไม่ได้ออกจากอ้อมอกเลย”
เพียงพ่อ 43
“ถามว่าโกรธไหม โกรธ ท�ำไมคนอื่นเขาไปกับเพื่อนได้ แต่ของ พี่ถ้าอยากจะไปบ้านเพื่อนเดี๋ยวพ่อไปส่งจะกลับเดี๋ยวพ่อมารับ เราก็รู้สึก อึดอัดอยากเป็นเหมือนเพื่อนบ้าง”
44
เธอยังกล่าวอีก ว่า “แต่พ่อก็เคยบอกนะว่าถ้ายีนส์จบม.6 เมื่อไหร่ พ่อจะปล่อย อยากท�ำอะไรท�ำเลย พ่อจะไม่ห้าม พ่อได้ท�ำ อย่างที่พูดจริงๆ ตั้งแต่ที่เธอมาเรียนอยู่กรุงเทพฯ พ่อไม่เคยขึ้นมาหา เลยสักครั้ง มาเพียงครั้งเดียวคือวันที่รับปริญญา ที่เป็นแบบนี้เพราะ พ่อเชื่อใจเรา” นอกจากนีเ้ ธอยังบอกว่า การทีต่ อ้ งอยูแ่ ต่ในกรอบของพ่อตัง้ แต่ เด็กท�ำให้เธอเป็นคนไม่ทันคนหรือเปล่า “ก็ไม่” เพราะพ่อพาไปเที่ยว หมดเลย ทั้งผับ อาบอบนวด เคยเข้าตั้งแต่ป.3 เวลาที่พ่อไปก็จะพาเธอ ไปด้วย คอยเล่าและสอนให้ฟังว่ามันเป็นอย่างไร จึงท�ำให้เธอไม่ได้รู้สึก ตื่นเต้นเหมือนกับคนอื่นที่เพิ่งมาท�ำความรู้จักเมื่อโตแล้ว ในชีวิตนี้พี่ยีนส์มีเพื่อนมากมายหลายแบบ เธอเป็นคนไม่เลือก ที่จะคบเพื่อน เพราะพ่อได้สอนเธอไว้เสมอว่า “พ่อบอกเสมอจะมีเพื่อนแบบไหนก็ตามแต่ ต่อให้เพื่อนติดยา ติดการพนัน หรือเป็นอะไรก็ตาม เราสามารถคบกับเพือ่ นคนนัน้ ได้ แต่เรา แค่ไม่ต้องไปท�ำตามเขา เรามีวิธีปฏิเสธของเรา เพื่อนก็คือเพื่อน ต่อให้ เพื่อนไม่ดีก็คือเพื่อน ฉะนั้นเราคบได้ แต่ทุกอย่างที่มันจะเกิดต่อจากนั้น ไม่ใช่เพราะเพื่อน มันอยู่ที่ตัวเรา เราอยากจะเป็นอย่างไรก็เลือกเอา”
อีกครั้ง
จากวันที่แม่แอบมาหาเธอที่โรงเรียนแล้วเธอได้พูดว่าแม่ไป ในครั้งนั้น ตั้งแต่นั้นทั้งสองก็ไม่ได้พบกันอีกเลย เธอและแม่ตา่ งรับรูเ้ รือ่ งราวของกันและกันโดยผ่านทางพ่อและ ญาติพี่น้องที่มาเล่าให้ฟัง แต่ไม่ได้มีการติดต่อกันโดยตรง เพราะแม่ได้มี ครอบครัวใหม่ ซึง่ เธอเกรงว่าหากเข้าไปยุง่ จะท�ำให้วนุ่ วาย ทางครอบครัว ใหม่อาจจะไม่เข้าใจ เพียงพ่อ 45
วันส�ำคัญอีกหนึ่งวันในชีวิตคือวันพระราชทานปริญญาบัตร ส�ำเร็จการศึกษา เธอได้รับการท�ำเซอร์ไพรส์ครั้งยิ่งใหญ่จากทุกคน บางสิง่ บางอย่างทีข่ าดหายไป คนทีไ่ ม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้พบกันอีกครัง้ ก็มาปรากฏตัวอยู่ข้างหน้าเธอ “เขาวิ่งเข้ามากอดเรา บอกว่าคิดถึงนะ” หญิงสาวเผยถึง สถานการณ์เมื่อได้เจอกับแม่อีกครั้งแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ว่า เธอรู้สึกท�ำตัว ไม่ถูก กระอักกระอ่วนใจ ไม่รู้ว่าควรท�ำตัวอย่างไร อารมณ์เหมือนเจอคน รั ก เก่ า ให้ ม ากอดกั น ก็ รู ้ สึ ก แปลก เพราะรู ้ สึ ก เหิ น ห่ า งกั น ไปแล้ ว ไม่รวู้ า่ ต้องคุยอะไร ดีใจเพียงเสีย้ วเล็กๆเท่านัน้ อาจเพราะทัง้ สองคนผูกพัน กันน้อยมาก “เหมือนเราเคยสนิทกับเพื่อนคนหนึ่งแล้ววันหนึ่งเขาหายไป หายไปนานมาก แล้วเขากลับมาหาเรา บอกว่าฉันสนิทกับแกนะเว้ย แกจ�ำฉันได้หรือเปล่า มันอาจจะมีส่วนหนึ่งที่เราจ�ำได้แต่ไม่ได้ถึงขนาดที่ จะมานั่งพูดคุยเล่าเรื่องราวให้ฟัง ไม่ใช่อารมณ์นั้น แค่เรียกค�ำว่าแม่ ยังไม่กล้าเรียก นั่งคิดว่าจะเรียกเขาว่าอะไรดี” เธอกล่าวถึงความรู้สึก กดดันในขณะนั้น ในสถานการณ์ที่เธอคิดว่าย�่ำแย่ ก็ได้ยินเสียงพ่อที่คอยอยู่เคียง ข้าง “พ่อ” ที่เป็นคนบอกให้เธอเรียกเขาคนนั้นว่า “แม่” “เฮ้ ย คิ ด อะไรมากมาย ไม่ ต ้ อ งไปคิ ด อะไรหรอก เขามา แสดงความยินดีด้วย เขาก็อยากชื่นชมลูกเขาเรียนจบมหาวิทยาลัย แล้วนะ ก็เรียกเขาไปสิวา่ แม่” พ่อคอยให้ก�ำลังใจเธอ เหมือนเป็นกองเชียร์ อยู่ข้างสนาม ท�ำให้ภาวะตึงเครียดที่มีหายไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จากที่วันแม่ต้องไปไหว้แม่คนอื่น วันที่มีกิจกรรมต่างๆ ก็มีแต่ พ่อที่มาให้ก�ำลังใจอยู่คนเดียว แต่ต่อจากวันนี้ไป เธอจะได้สิ่งที่หายไป คืนกลับมา วันนี้จึงเหมือนเป็นวันที่เธอมีครบทุกอย่าง 46
เมื่อพบเจอ จึงเข้าใจ
แม้ว่าการได้พบกันอีกครั้งระหว่างพี่ยีนส์และแม่ จะท�ำให้เธอ รูส้ กึ มีครบอีกครัง้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ส่วนลึกภายในใจของเธอยังคง ไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเธอรู้สึกว่าสิ่งที่แม่ท�ำในอดีตนั้นไม่ถูกต้อง ท�ำไมแม่ บางคนเขายังทนอยูเ่ พือ่ ลูกได้ ค�ำถามทีเ่ กิดขึน้ ในใจคือท�ำไมแม่ของเธอถึง ไม่ ย อมทนเพื่ อลู ก เขาไม่รัก เธอเหรอ และด้ว ยความที่ แม่ ไ ม่ ค ่ อ ยมี กิจกรรมอะไรร่วมกับเธอ ท�ำให้เธอยิ่งรู้สึกเข้าไปใหญ่ว่าหรือที่จริงแล้ว แม่ไม่ได้รักเธอ จนวันหนึ่ง วันที่เขากลับมา เขากล้ามาพูดกับเธอว่าคิดถึง พยายามกลับมาแก้ในสิ่งที่ท�ำผิด บอกความรู้สึกของเขาให้เธอฟัง เอารูป เก่าๆมาให้ดู เธอบอกกับฉันว่า เข้าใจในภาวะของแม่ คือคนทีเ่ ขาก้าวข้าม ไปแล้ว รู้ว่าผิดแต่มันย้อนกลับมาแก้ไขไม่ได้ เพราะสิ่งที่เขาก้าวข้ามผ่าน ไปมันคือชีวิตจริง มันเดินตามเวลา เวลาไม่เดินย้อนกลับ ฉะนั้นสิ่งที่เขา จะท�ำได้ก็คือ เลือกที่จะท�ำข้างหน้าให้มันดีที่สุด “ในเมื่อเขารู้ว่าลูกเขาเป็นอย่างนี้ ก็ต้องยอมรับในสิ่งที่ลูก เขาเป็น ว่าท�ำไมลูกถึงแอนตี้ แต่สิ่งที่เขาสามารถแก้ไขในอดีตได้คือ สิ่งที่เขาบอกให้เราฟังว่าจริงๆเขารู้สึกอย่างไรตอนที่ไม่ได้อยู่กับเรา ยังคิดถึง ยังรัก ยังอยากมีเราอยู”่ หญิงสาวกล่าวถึงสิง่ ทีจ่ ะช่วยท�ำให้ความ ทรงจ�ำในอดีตของเธอกับแม่นั้นดีขึ้นได้ นอกจากนี้พี่ยีนส์ยังเผยว่า เมื่อเธอโตขึ้น ประสบการณ์ต่างๆ ที่ ไ ด้ เจอ ท�ำให้ เ ธอได้ ม องเห็ น อะไรมากขึ้ น และคิ ด ได้ ถึ ง ความจริ ง ข้อหนึ่ง ว่า “ช่วงที่เรามีแฟน เราเลิกกับคนๆหนึ่ง เพราะรู้สึกว่าความคิด ไม่ตรงกัน พี่เป็นคนรักตัวเอง ถ้ารู้สึกว่าอยู่ตรงนี้แล้วอึดอัด ก็จะไม่ขออยู่ เพียงพ่อ 47
ตรงนั้นและเป็นคนที่เดินออกมาโดยไม่พูดค�ำว่าเลิก ซึ่งเหมือนกับแม่ที่ หายไป แม่ไม่เคยพูดไม่เคยบอกว่าเสียใจ หายไปเพราะอะไร แม่ทะเลาะ กับพ่ออย่างไร แต่แม่หายไปเลย” สิง่ นีจ้ งึ สะท้อนให้เธอได้มองดูตวั เอง ว่าก�ำลังกลายเป็นแบบแม่ อยู่หรือเปล่า “นี่ฉันเป็นผู้หญิงที่ฉันเกลียดมาทั้งชีวิตอยู่หรือเปล่า ที่ฉันท�ำ กับแฟน ท�ำทุกอย่างเหมือนแม่ท�ำกับพ่อ” ตอนนัน้ เธอไม่รเู้ หตุผล แต่เมือ่ เธอได้เจอกับตัวเองในเหตุการณ์ ที่คล้ายๆกัน ท�ำให้เธอรู้สึกว่าคนเราต้องมีเหตุผลอะไรบางอย่างเสมอ ค�ำถามที่เธอมีมาตลอดว่า ท�ำไมแม่ถึงไม่ยอมอดทนเพื่อรักษา ครอบครัวไว้ เหมือนกับครอบครัวอื่นๆที่เขาอยู่ด้วยกันแม้จะทะเลาะกัน ตอนนี้สิ่งที่เธอเจอได้ตอบค�ำถามเหล่านั้นอย่างกระจ่างแจ้งแล้ว “ขนาดเราเอง ยังเลือกที่จะไม่อยู่กับแฟนที่เรารู้สึกว่าไม่รักเขา แล้วเลย เราเลือกที่จะอยู่ตรงไหนที่สบายใจ แม่เองก็เลือกเหมือนกัน เลือกที่จะอยู่ที่ไหนที่เขารู้สึกว่าสบายใจที่สุด เมื่อคนสองคนเข้ากันไม่ได้ หรือหมดรักกันแล้ว การอยูด่ ว้ ยกันต่อไปก็ไร้ความหมาย เพราะการเลือก ท�ำในสิ่งที่ตัวเองสบายใจเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ” ท�ำไมเธอต้องมีทิฐิ โกรธผู้หญิงคนนี้มาทั้งชีวิต แม่ก็มีเหตุผล ของเขา มีสิ่งที่เขาคิดอยู่ ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกใจเธอ แต่เป็นทางที่แม่ เลือกแล้ว ทุกวันนี้เธอจึงรู้สึกสบายใจมากที่ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องในอดีต อีกต่อไปแล้ว
40 ยังแจ๋ว
จากค�ำบอกเล่าเรือ่ งพ่อของพีย่ นี ส์ ฉันเห็นแววตาประกายสดใส จากเธอ พี่ยีนส์พูดถึงคุณพ่ออยู่บ่อยๆว่าเป็นหนุ่มฮอตและเป็นที่รัก 48
ของทุกคน ประกอบกับบ้านทีจ่ งั หวัดชุมพร เปิดเป็นร้านหนังสือ จึงท�ำให้ เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน จากที่พี่ยีนส์เล่าเรื่องต่างๆของเธอให้ฟัง ฉันได้วาดภาพคุณพ่อเอาไว้ในใจว่า ท่านจะต้องเป็นคนทีม่ อี ารมณ์ขนั ใจดี คอยสร้างเสียงหัวเราะให้กับคนรอบข้าง หน้าตาหล่อ แต่หัวใจหล่อมาก กว่าแน่ๆ เมื่อฉันได้มีโอกาสคุยกับ “พ่อเจี๊ยบ” ผ่านทางโทรศัพท์ ฉันตื่น เต้นมาก ทันทีทคี่ ณ ุ พ่อรับสาย ฉันจึงรีบขออนุญาตสัมภาษณ์เรือ่ งราวชีวติ ครอบครัว ซึ่งพ่อเจี๊ยบยินดีให้สัมภาษณ์ พ่อเจี๊ยบได้บอกกับฉัน ว่า หัวใจที่ส�ำคัญที่สุดในชีวิตก็คือลูก “เจ้ายีนส์” “ตอนที่เลิกกับแม่เจ้ายีนส์ แวบแรก วินาทีแรกรู้สึกโกรธ แต่ ผ่านไปสักยี่สิบนาทีหันมามองที่ลูก ก็จบทุกอย่าง พ่อมองลูกเป็นหลัก เป้าหมายคือลูก เสียใจแค่แวบเดียว สักชั่วโมงก็ไม่ถึง” แม้ว่าจะเสียใจกับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่พ่อเจี๊ยบต้องท�ำเป็นเข้มแข็งเพื่อเป็นตัวอย่างและ สร้างจิตใจของลูกให้แข็งแรง เมื่อลูกขาดแม่ พ่อจึงต้องปรับตัว คอยเติมเต็มสิ่งที่ลูกขาดหาย ไป “เราต้องท�ำแทน อาบน�้ำ ถักเปีย ท�ำอาหาร ไม่เคยท�ำก็ต้องท�ำให้เขา ท�ำหน้าที่ที่แม่เขาเคยท�ำ”
“สิ่งหนึ่งที่พบเจอในครอบครัวที่มีปัญหาคือ พ่อแม่มักคิดว่าลูกยังเด็ก จ�ำอะไรไม่ได้ แล้วชอบทะเลาะกัน แต่ความจริงแล้วนั้นไม่ใช่ เราอย่าคิดว่าเด็กไม่รู้อะไร เขารู้ เพียงแต่เขาไม่พูดเท่านั้น เพราะพูดไปผู้ใหญ่ก็ไม่ฟัง”
เพียงพ่อ 49
พ่อเจี๊ยบให้เคล็ดลับเล็กๆ ในการเลี้ยงดูลูก ว่า ตอนโตหากจะ มีการดุบา้ งเพราะกลัวผิดพลาดนัน้ ได้ แต่ตอนเด็กโดยเฉพาะลูกทีม่ ปี ญ ั หา ครอบครัว เราจะดุไม่ได้ มีตีบ้างถ้าหากท�ำผิดจริง ตีให้เจ็บแล้วไปซื้อ ยาหม่องทาให้ กล่าวคือพ่อแม่อย่าไปแข็งกับเด็ก ไม่เช่นนั้นเด็กจะเตลิด ภาษาใต้จะพูดว่า “เด็กมันด้น” คือดื้อ ต่อต้าน นอกจากนีค้ ณ ุ พ่อได้เผยวาระในการเลีย้ งดูลกู ฉบับของพ่อเจีย๊ บ ให้ฟังว่ามีด้วยกัน 3 วาระ คือ “1.กินนอนให้เต็มที่ 2.ช่วงประถมถึงป.หก ต้องป้อนสิ่งดีๆเข้าสมอง ให้ความใส่ใจ สังเกตได้ว่าเด็กวัยนี้จะจ�ำเก่ง ท่องหนังสือได้ในช่วงนี้ ใส่สิ่งดีๆให้เขา ตื่นเช้าอาบน�้ำให้ พาไปนั่งร้านอาหาร กินสิ่งดีๆเพื่อไปเลี้ยงสมอง จะได้ เรียนหนังสือเก่งๆ พาไปส่งโรงเรียนหอมลากัน บางวันจับมือ บางวัน ตบหัวบ้าง บอกให้ตั้งใจเรียนนะ 3.ช่วงม.1ถึงม.6 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ส�ำคัญมาก จะเน้นดูที่ ความประพฤติ เพราะการเรียนดีแล้ว เราปลูกฝังแต่เด็ก ไม่มีปัญหา แต่ด้วยสังคมที่เปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมที่ชักจูงต่างๆ วาระที่ 3 นี้ยากที่สุด ในการดูแลจึงต้องคอยดูเขาไม่ให้ห่าง” ด้วยเหตุนี้ พ่อเจีย๊ บจึงอยูด่ แู ลลูกไม่เคยปล่อยให้หา่ งกาย ตัง้ แต่ เริ่มเรียนหนังสือ ไปรับไปส่ง อยากไปเที่ยวไหนขอให้บอกพ่อจะพาไป เพราะคิดเสมอว่าพ่อแม่ไม่ควรคิดว่าไม่มีเวลาให้ส�ำหรับลูก “มันคือการสร้างความใกล้ชิดกับลูก เพราะเวลาลูกมีปัญหา อะไรเขาจะกล้าปรึกษาเรา ถ้าต่างคนต่างอยู่ ให้ลูกอยู่กับพื่อนบ้าง ลูกก็ไม่กล้าปรึกษากับใคร ไปปรึกษาเพือ่ นแทน เราต้องเลีย้ งเขาให้เหมือน เราเป็นเพื่อน เป็นพ่อ เป็นแม่ มีทั้งสามอย่างครบ ลูกก็จะกล้าปรึกษาเรา ทุกอย่าง” 50
ดังนั้นในช่วงที่ต้องห่างไกลกับพี่ยีนส์ พ่อจึงไม่ห่วงอะไรมาก เพราะได้อยูด่ แู ลใกล้ชดิ ลูกตัง้ แต่อนุบาล1จนถึงม.6แล้ว จึงบอกกับลูก ว่า “พ่อหัดให้ลูกบินแล้วนะ ตอนนี้พ่อจะปล่อยให้ลูกบินเอง” “วันที่ปล่อยลูกไป เรามั่นใจในตัวลูกเราแล้ว เพราะทั้งปลูกทั้ง ฝัง ใส่เมมโมรีม่ าตัง้ แต่เด็ก บอกเขาว่าเราเชือ่ มัน่ ในตัวเขา โตกันแล้วจะไป จ�้ำจี้จ�้ำไชเหมือนตอนเด็กๆไม่ได้ ลูกไม่ต้องเรียนให้ได้เกียรตินิยมอันดับ หนึ่ง แค่ไม่ต้องเรียนซ่อมเป็นพอ สิ่งหนึ่งที่พี่ยีนส์เขามีคือ เขาเป็นคนกล้า มนุษยสัมพันธ์ดี จึงท�ำให้พ่อไม่ห่วงในการอยู่ในสังคม” พ่อเจี๊ยบพูดด้วย น�้ำเสียงหนักแน่นอย่างมีความเชื่อมั่นในตัวลูกเต็มเปี่ยม
เพียงพ่อ 51
“มีบางครั้งเจ้ายีนส์โทรมาร้องไห้คิดถึงพ่อ ก็เป็นธรรมดาของ ลูกผู้หญิง ที่ก�ำลังใจเขาอ่อนแอ แต่พ่อจะบอกลูกให้เข้มแข็งอย่างเดียว เป็นลูกพ่อต้องเข้มแข็ง สอนเขาตัง้ แต่เล็กให้ใจแกร่ง ร่างกายไม่ตอ้ งแกร่ง” เมื่อฉันถามถึงชีวิตรักของพ่อเจี๊ยบในปัจจุบัน ว่ามีคนรู้ใจหรือ ยัง พ่อตอบด้วยน�้ำเสียงอันรื่นเริง “มีสคิ ะ พ่อเทีย่ วทุกคืน คาราโอเกะ ผับ แดนซ์ เข้าบ้านตี1ตี2ทุก คืน” ค�ำตอบนี้ของพ่อท�ำเอาฉันอึ้งไปห้าวินาที ฉันจึงถามต่อว่า พีย่ นี ส์รเู้ รือ่ งทีพ่ อ่ หนีเทีย่ วทุกคืนไหม พ่อก็เล่า ให้ฟัง ว่า “พี่ยีนส์รู้ มีอยู่วันหนึ่งพ่อไปเที่ยว แล้วเพื่อนพี่ยีนส์ที่เป็น โคโยตี้ไปเจอพ่อ มันเอาไปฟ้องเจ้ายีนส์” ความลับจึงไม่มีในโลอีกต่อไป จากการพูดคุยกับคุณพ่อท�ำให้ฉันรับรู้ได้ว่าพ่อเจี๊ยบเป็นคน สนุกสนาน เฮฮา ท�ำให้คนที่ได้คุยด้วยมีรอยยิ้มได้เสมอ “อย่าไปท�ำตัวให้เครียด ฟังเพลง ดูตลก รายการเบาสมองบ้าง ไม่งั้นเดี๋ยวจะแก่เร็ว เห็นหน้าพ่อจะตกใจนึกว่าอายุ25 ฮ่าๆๆ แต่ตอนนี้ หงอกเยอะแล้ว” พ่อพูดด้วยน�้ำเสียงชวนขัน พ่อเจี๊ยบบอกกับฉันว่า หลังจากที่ได้ไปออกรายการครอบครัว เดียวกันก็มีคนเข้ามาทักทายมากขึ้น “ไปออกรายการพูดดีนะ ท�ำดี หายากนะผูช้ ายแบบนี”้ พ่อเลย ลอยเลย เท่เลย “มีคนหนึ่งเจอเหตุการณ์คล้ายๆพ่อ ก่อนที่เขาจะดูรายการ เขาจะปล่อยให้ลูกใช้ชีวิตด้วยตัวเอง ให้ลูกอาบน�้ำ หากินเอง ไปโรงเรียน เอง แต่พอเขามาดูรายการของพ่อแล้วเขาท�ำแบบที่พ่อท�ำ เขาเข้ามา จับมือพ่อ บอกว่ายอมรับเลยว่าท�ำแบบที่คุณเจี๊ยบท�ำได้ผลมาก ลูกเขา เรี ย นดี ขึ้ น ลู ก กล้ า เข้ า มาคุ ย กั บ เขามากขึ้ น ” พ่ อ กล่ า วด้ ว ยน�้ ำ เสี ย ง ภาคภูมิใจในตัวเอง 52
อยู่ให้ได้
ทุกวันนีพ้ ยี่ นี ส์ใช้ชวี ติ อยูใ่ นกรุงเทพฯ เธอมีความรูส้ กึ ว่าไม่อยาก เป็นลูกน้องคนอืน่ จึงท�ำงานเป็นนายตนเองมาตลอดตัง้ แต่สมัยทีย่ งั เรียน หนั ง สื อ เธอชอบไปในที่ ต ่ า งๆ รู ้ จั ก กั บ ผู ้ ค นใหม่ ๆ และการเรี ย น นิเทศศาสตร์ สอนให้รู้จักการท�ำงานกับคนอื่น ออกไปหาประสบการณ์ จริงในชีวติ ไม่ได้เรียนอยูแ่ ต่ในมหาวิทยาลัย เธอจึงไปรับจ๊อบเป็นครีเอทีฟ เขียนบทให้รายการต่างๆ จนได้เงินก้อนหนึ่งน�ำไปเปิดร้านเสื้อผ้าและ รองเท้า อยูท่ ยี่ เู นีย่ นมอลล์ กิจการไปได้สวยเธอจึงเปิดสาขาใหม่อกี ทีส่ ลี ม ขายได้วันละเป็นหมื่น แต่กิจการก็ต้องปิดไปตอนเหตุการณ์ความวุ่นวาย เมื่อปี2553 ปัจจุบันเธอจึงท�ำเป็นงานอดิเรก รับท�ำตามรายการที่สั่งซื้อ นอกจากนีเ้ ธอเปิดบริษทั ฉายแสงแอนนิเมชัน่ ผลิตงานชิน้ แรก ให้กบั ทาง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และได้ท�ำหนังสือเรื่อง “ครอบครัวหัวแห้ว” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเธอและพ่อเจี๊ยบ ร่วมกับมูลนิธิเด็ก เพราะท�ำงานอยู่ตลอดเวลา ท�ำให้เธอไม่ค่อยได้กลับบ้าน ที่ชุมพร นานๆครั้ง 2-3 ปี จึงได้กลับไปสักหนหนึ่ง แต่พ่อของเธอไม่เคย บังคับว่าจะต้องกลับบ้าน ไม่เหมือนพ่อแม่เพื่อนที่อยู่ต่างจังหวัด พ่อแค่ พูด ว่า “งานเยอะใช่ไหมลูก พ่ออยู่ตรงนี้แหละ ไม่สบายก็โทรหาพ่อ ยีนส์เหงาก็โทรมาหาพ่อได้ พ่อไม่ได้ทิ้งยีนส์นะ” ค�ำพูดเพียงเท่านี้ก็ช่วย ลบความเหงาในใจและความคิดถึงพ่อได้เป็นอย่างดี พ่ อ เลี้ ย งเธอมาแบบให้ อ ยู ่ ไ ด้ ด ้ ว ยตั ว เอง พ่ อ สอนเสมอว่ า “พ่อไม่สามารถอยูก่ บั ยีนส์ได้ตลอดชีวติ ” วันหนึง่ ถ้าไม่มพี อ่ เธอจะต้องอยู่ ให้ได้ การที่พ่อไม่โทรหาหรือเธอต้องโทรรายงานพ่อทุกครั้ง หมายความ ว่าเธอต้องโตเรียนรู้กับชีวิตตัวเองได้แล้ว ทุกวันนี้อาทิตย์หนึ่งพ่อจะโทร มาหาเธอครั้ง หรือบางทีเดือนหนึ่ง สองเดือนโทรมาครั้ง ไม่บ่อยเหมือน เพียงพ่อ 53
แต่ก่อน เพราะเธอโตแล้ว สามารถตัดสินใจเองได้ และพ่อเชื่อในการ ตัดสินใจของ เชื่อใจเธอเสมอ นอกจากนี้ พ ่ อ ยั ง สอนเธอ ว่ า “ตราบใดที่ ยั ง มี มื อ มี เ ท้ า เราไม่ตอ้ งไปเอาของคนอืน่ เขา ต่อให้เขารวยเป็นพันล้านแล้วเป็นแฟนเรา เราก็ใช้ของเรา” อย่าคิดหวังพึง่ คนอืน่ เพราะสุดท้ายแล้วเราต้องพึง่ ตัวเอง
พี่ยีนส์บอกกับฉัน ว่า เธอคิดเสมอหากวันใดพ่อหายไป จะเป็น วันที่เลวร้ายที่สุดในชีวิตส�ำหรับเธอที่อาศัยอยู่กับผู้ชายคนนี้มาทั้งชีวิต แม้พ่อจะสอนให้เข้าใจความสูญเสียอยู่ตลอดเวลา 54
“วันที่แม่หายไปพ่อก็ไม่ได้ให้พี่ยีนส์ย�้ำคิดย�้ำท�ำ นึกถึงในสิ่งที่ แม่จากไป พ่อให้พี่ลืมหมดทุกอย่าง ให้เริ่มต้นใหม่ มองข้างหน้า ท�ำในสิ่ง ที่มันเกิดขึ้นที่เป็นอยู่ ลูกต้องเรียนก็เรียนไป ลูกต้องกินพ่อหาให้ ลูกต้อง อาบนำ�้ ตอนเช้าพ่อสอนให้ ท�ำให้พไี่ ม่ตอ้ งมามองย้อนอดีตว่าท�ำไมแม่ตอ้ ง ทิ้งฉันไปแต่มันมีแค่ภาพฝังใจเท่านั้น หญิงสาวกล่าวเสริมในตอนท้าย ว่า “ทุกวันนี้ถ้าวันใดวันหนึ่ง พ่อพี่ต้องจากไป พี่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ ต้องตายแน่เลย แต่พี่ต้อง เรียนรู้ว่า วันนี้จะไม่มีใครให้โทรหาบอกว่าวันนี้ฉันเหงานะ ฉันไม่มีคนให้ ลงไปหาแล้ว แต่มันก็ต้องอยู่ให้ได้ พ่อพูดตลอดว่าพ่อเชื่อ พ่อจึงสอนให้ เข้มแข็งมาตั้งแต่เด็กๆ”
เพียงพ่อ 55
โลกทั้งใบ ใหนายคนเดียว
โลกทั้งใบให้นายคนเดียว
พ่อคือผู้กล่อมให้เรานอนตอนเด็ก ๆ พ่อคือผู้ฉุดให้ลุกขึ้น เมือ่ เราหกล้ม พ่อคือผูป้ ลอบโยนและให้ก�ำลังใจเวลาเราเหนือ่ ยหรือท้อแท้ พ่อคือคนที่หาข้าวให้เราได้กินอิ่มแม้ว่าพ่อจะหิวจนตาลาย พ่อคือคนที่ ท�ำงานหนักเพื่อให้เราได้เรียน สิ่งต่างๆ ที่พ่อท�ำเพื่อลูกล้วนมาจากความ รักทั้งสิ้น พ่อสามรถท�ำให้เราได้ทุกอย่าง ให้ได้แม้กระทั่งชีวิตของพ่อเอง คุณลองคิดดูสิว่าจะมีผู้ชายคนไหนที่ให้คุณได้มากขนาดนี้
ชีวิตที่ไม่ง่าย
บทบาทหน้าที่ของ “พ่อ” นั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าจะหาค�ำใด มาเปรียบได้ แต่ในบางครอบครัวที่ “พ่อ” ต้องท�ำหน้าที่เลี้ยงลูกเพียง คนเดี ย ว ยิ่ ง ต้ อ งใช้ แรงใจและแรงกายมากกว่ า คนอื่ น อี ก หลายเท่ า เช่นผู้ชายคนนี้ นายประเสริฐ พิริยะกุลชัย ปัจจุบันรับบทเป็นคุณพ่อ เลี้ยงเดี่ยวที่ท�ำหน้าที่ของพ่ออย่างสุดความสามารถด้วยการดูแลลูกสาว 58
2 คน และลูกชายซึ่งเป็นเด็กออทิสติก ที่รักดุจแก้วตาดวงใจให้เติบโต อย่างสมบูรณ์ คุณพ่อประเสริฐ หรือที่คนรอบตัวเรียกว่า “ป๊า” อายุ 52 ปี มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว ตาตี่ชนิดที่ยิ้มแต่ละครั้งตาจะเป็นสระอิทีเดียว ป๊ า เดิ น จู ง มื อ ลู ก ชาย นายกฤตภาส พิ ริ ย ะกุ ล ชั ย หรื อ “น้ อ งจี โ น่ ” อายุ 15 ปี เข้ า มาในร้ า นค้ า ชุ ม ชนเพื่ อ ส่ ง เสริ ม อาชี พ คนพิ ก าร จังหวัดปทุมธานี ด้วยท่าทางยิ้มแย้มและเป็นมิตร น้องจีโน่มีรูปร่างที่สูงกว่าป๊าเล็กน้อย มือ แขนและขาใหญ่ ดูเก้งก้าง ป๊าบอกว่าจีโน่เป็นเด็กออทิสติกที่ไม่สามารถพูดสื่อสารได้ แต่รับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ “สวัสดีพี่เขาสิโน่” “โน่สวัสดีพี่เขาก่อนเร็ว” ป๊าบอกน้องจีโน่ให้สวัสดีฉันเมื่อเรา ทักทายกัน น้ อ งจี โ น่ ย กมื อ ไหว้ พ ร้ อ มส่ ง ยิ้ ม ให้ ฉั น หนึ่ ง ที ป๊ า บอกว่ า หากต้องการให้จีโน่ท�ำอะไร เขาจะไม่สามารถท�ำได้เลยในค�ำสั่งครั้งแรก ต้องบอกครั้งที่สอง สาม สี่ และอีกหลายครั้ง กว่าน้องจีโน่จะท�ำตาม ที่บอกได้ “โน่ไปลากเก้าอี้มานั่งข้างพี่เขาเร็ว” ป๊าสั่งน้องพร้อมชี้มือไปที่ เก้าอี้ด้านข้าง น้องจีโน่มองตามและยืนอยู่ที่เดิม ป๊าจึงต้องสั่งอีกจนน้อง ไปลากเก้าอีม้ านัง่ ข้างฉันได้ เรานัง่ คุยกันสักพักป๊าจึงให้นอ้ งจีโน่ไปเดินเล่น กับคุณครูหนึ่งหทัย ผู้ที่ดูแล พัฒนาทักษะให้กับน้องจีโน่ ป๊าเผยให้ฉนั ฟังว่า ตนกับอดีตภรรยาแยกทางกันตัง้ แต่นอ้ งจีโน่ อายุได้ 3 ขวบ เนื่องจากมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจึงท�ำให้ไม่สามารถ อยู่ด้วยกันได้ ทั้งสองได้ตกลงกันว่าหากแยกทางกันแล้วตนจะเป็นฝ่าย รับผิดชอบลูกๆ ทั้งหมด ตั้งแต่นั้นแม่เขาก็ไม่เคยกลับมาเยี่ยมลูกอีกเลย เพียงพ่อ 59
เคล็ด(ไม่) ลับในการดูแลอารมณ์ตนเองเมื่อต้องกลายเป็น Single Parent 1. อย่าปล่อยให้อารมณ์ตดิ ค้าง หมายถึง การทีพ่ อ่ แม่เลีย้ งเดีย่ ว ยังติดอยูก่ บั อารมณ์ แม้วา่ เหตุการณ์จะจบไปแล้วก็ตามนัน้ จะสร้างปัญหา ให้แก่ตวั คุณเอง พ่อแม่เลีย้ งเดีย่ วควรเปิดโอกาสให้ตวั เองได้มเี วลาทบทวน ความรู้สึกต่าง ๆ เรียนรู้อารมณ์ของตนเอง หมั่นทิ้งขยะอารมณ์เสมอๆ ต้ อ งคิ ด ว่ า เรื่ อ งนั้ น จบไปแล้ ว คิ ด ไปก็ เ หนื่ อ ยเปล่ า และไม่ อ าจ เปลี่ยนแปลงได้ 2. อย่าปล่อยให้อารมณ์ท่วม คือ การปล่อยให้อารมณ์พุ่งสูงขึ้น จนไม่อาจควบคุมอารมณ์ไว้ได้ เมือ่ คุณควบคุมอารมณ์ไว้ได้ จะช่วยให้คณ ุ จัดการสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นได้เสมอ ที่มา หนังสือคู่มือ “การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในครอบครัว Single Parent” หน้าที่คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวลูก 3 แต่อาจจะพิเศษก็ตรงที่มีลูกเป็น เด็กออทิสติกด้วยหนึ่งคน นี่เป็นสาเหตุที่ทำาให้ป๊าต้องดิ้นรนทำางานหนัก มากขึ้น เพื่อหาเงินให้เยอะขึ้นมาส่งเสียเลี้ยงดูให้ลูกได้อยู่สบาย ได้เรียน หนังสือ และให้การดูแลเอาใจใส่ลูกๆที่มากกว่าคนอื่นทั่วไป ทุกวันนี้ป๊าทำาอาชีพขายนำ้าปั่นชาไข่มุกหาเลี้ยงลูก โดยมีรถ จักรยานยนตร์คู่ใจที่ดัดแปลงเอาไว้ขี่ไปขายนำ้าปั่นตามตลาด หรือหน้า โรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีทุกวันมาเป็นเวลา 5-6 ปี ไม่มีวันหยุด แม้วา่ รายได้จะเพิม่ ขึน้ แต่ดว้ ยความทีอ่ ายุเริม่ มากขึน้ ส่งผลให้ปา๊ มีอาการ ปวดหลังจากการตักนำ้าปั่นขาย ช่วงหลังจึงหยุดขายในวันเสาร์และวัน อาทิตย์ เพื่อมองหาช่องทางอื่นในการหาเงินแทน 60
รถขายน�้ำปั่นชาไข่มุกคู่ใจของป๊า
ส่วนใหญ่ป๊าและน้องจีโน่จะอาศัยอยู่ด้วยกันเพียงสองคน ส่วนพีส่ าว น้องเอ(นามสมมติ) อายุ 17 ปี และน้องสาว น้องบี (นามสมมติ) อายุ 13 ปี ทั้งสองเรียนอยู่โรงเรียนประจ�ำ นานทีจะได้กลับบ้าน กิจวัตรประจ�ำวันของป๊าคือ ตืน่ นอนตัง้ แต่เช้ามืดเพือ่ เตรียมของ ส�ำหรับขายน�้ำปั่นชาไข่มุก เมื่อถึงเวลาสัก 7-8 โมงเช้า หากน้องจีโน่ยัง ไม่ ตื่ น ป๊ า ก็ จ ะไปปลุ ก น้ อ งจี โ น่ ส ามารถอาบน�้ ำ เองได้ ป ระมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ทีเ่ รียกว่าช่วยตัวเองได้เพียงครึง่ เดียวเพราะต้องให้ปา๊ ช่วย อาบให้บ้าง เพราะอาบน�้ำเองอาจจะไม่สะอาดนัก แต่อย่างไรก็ตาม ป๊าก็พยายามฝึกสอนให้น้องจีโน่ได้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด
เพียงพ่อ 61
“ตั้งแต่เช้าตื่นมาอาบน�้ำ แต่งตัว กินข้าวแบบท�ำเวลาอย่าง เร่งด่วน พาไปส่งทีโ่ รงเรียน กลับมาบ้านเตรียมท�ำของไปขายต่อ ช่วงบ่าย แวะไปรับกลับมา เราต้องไปขายของต่อ บางทีกป็ ล่อยเขาอยูข่ า้ งๆเราบ้าง สักพักหนึ่ง ให้เขาได้วิ่งเล่น เสร็จแล้วก็จะไปฝากที่บ้านพี่ชาย มีเป็นห้อง ส่วนตัวของเขา มีคนเอาข้าวให้กิน แล้วตอนเย็นก็ไปรับกลับมา อาบน�้ำ ให้เขา กินข้าวด้วยกัน พาเข้านอน”
เด็กพิเศษ
น้องจีโน่เป็นเด็กออทิสติกที่พูดไม่ได้ ไม่สามารถสื่อสารได้ ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมเขา ป๊าเล่าว่าเมื่อเริ่มแรกน้องจีโน่ไม่มีอาการ แสดงออกเลย แต่เมื่อน้องมีอายุได้ 2 ขวบ คุณย่าสงสัยว่าท�ำไมถึงเรียก แล้วไม่มองตามเสียงเรียกเหมือนเด็กคนอื่นๆ “ลิ้ม กูว่าลูกมึงแปลกๆ เดี๋ยวนี้ท�ำไมเรียกแล้วไม่หัน หูตึงหรือ เปล่าวะ” “เฮ้ย ท�ำไมมันยังไม่พูด ตอนนั้นจะพูดแล้วไม่ใช่เหรอ ลิ้นไก่สั้น หรือเปล่า ไปตรวจเช็คดูซิ” คุณย่าพูดกับป๊าด้วยความสงสัยในตัวหลานชาย ป๊าจึงพาน้องจีโน่ไปพบหมอ ผลออกมาว่าน้องจีโน่เป็นเด็ก ออทิสติก ฉะนั้นทุก 2-3 เดือน ป๊าต้องพาน้องไปที่ โรงพยาบาลเด็ก เพื่อตรวจเรื่องพฤติกรรมว่าตอนนี้เป็นอย่างไร แล้วรับยามารับประทาน ดังนั้นน้องจีโน่จึงต้องการการดูแลเอาใจใส่มากกว่าเด็กคนอื่นเป็นพิเศษ
62
10 พฤติกรรม ส่อแววลูกเป็น…ออทิสติก
ออทิสติก (Autistic) คือ กลุ่มอาการที่แสดงความผิดปกติของ พัฒนาการของเด็ก เด็กที่เป็นโรคนี้จะเป็นตั้งแต่แรกเกิด แต่อาการจะ แสดงออกมาให้เห็นเมื่อเด็กมีอายุ 3 เดือน 5 เดือน หรือมากกว่านั้น ส่วน ใหญ่จะเห็นเมื่อเด็กอายุ 2 ขวบ สามารถสังเกตได้ดังนี้ 1. ไม่สามารถแสดงท่าทางหรือชี้นิ้วบอกถึงความต้องการได้ 2. เรียกแล้วไม่หัน 3. ไม่ชอบให้ใครกอด 4. ไม่สบตาผู้คน 5. ไม่ตอบสนองทางด้านอารมณ์ 6. ไม่ลอกเลียนแบบ 7. ไม่ส่งเสียง 8. เข้ากับคนอื่นได้ยาก หรือไม่ได้เลย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ชอบแยกตัว เล่นคนเดียว 9. ผูกพันกับสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งซำ้าๆ เช่นติดเชือกฟาง ถุงพลาสติก ถ้าดึงออกจะกรีดร้องอยู่นาน 10. ความรู้สึกของคนเลี้ยงดูจะสังเกตได้ว่าเด็กไม่เหมือนคนอื่น หากสังเกตพบว่าลูกมีพฤติกรรมข้างต้นเกิน 2 ข้อ พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ ทันที ที่ ม า คุ ณ หนึ่ ง ฤทั ย เสมาไชย คุ ณ ครู ศู น ย์ ส ่ ง เสริ ม ทั ก ษะชี วิ ต บุ ค คล ออทิสติก จังหวัดปทุมธานี
เพียงพ่อ 63
จีโน่ไม่สามารถพูดได้เลย เมือ่ ต้องการสัง่ ให้นอ้ งท�ำอะไรสักอย่าง น้องสามารถท�ำได้ ค�ำสั่งง่ายๆ จะเข้าใจ แต่ต้องพูดบอกทีละขั้น อย่าพูด ทีเดียวหลายค�ำสั่งเพราะน้องจะประมวลผลไม่ได้ เช่น สั่งให้กวาดพื้น ก็ต้องสั่งทีละขั้นตอน “จีโน่ไปหยิบไม้กวาด” “จีโน่กวาดพื้นนะ” “จีโน่เอาขยะไปทิ้ง” ไม่เหมือนกับเด็กปกติทั่วไปที่พูดเพียงครั้งเดียวก็รู้เรื่องแล้วว่า ต้องท�ำอะไรบ้าง ที่บ้านป๊าต้องคอยล็อคตู้เย็นเอาไว้ ไม่อย่างนั้นน้องจีโน่กินทุก อย่าง โดยที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอันตรายกับตัวเอง “อะไรที่อยู่ในมือโน่มันหยิบเข้าปากกินหมด ทั้งหัวหอมดิบ ยา หม่อง กล้วยทั้งเปลือก แม้แต่ฟองน�้ำก็กิน” ป๊าเล่าให้ฉันฟังน�้ำเสียงเปี่ยม ด้วยอารมณ์ขัน
น้องจีโน่กินทะท่วงทั้งลูก
64
“ถ้าเขาอยากได้อะไรเขาจะจูงมือไปเลย แต่อย่างน�ำ้ เขาหยิบกิน เองได้ บางทีเราเก็บกับข้าวไว้ในตูเ้ ย็น ถึงเวลาจะเอามาอุน่ กิน พอเขาเปิด ตู้เย็น ก็เฉาะถุงกินเลย จนตู้เลอะ เลยต้องเอาเชือกมาผูกตู้ แต่เขากิน ไม่เยอะหรอก กินเสร็จเขาก็แช่คืน บางทีเราแกล้งเขา ‘โน่แบ่งป๊าบ้างสิ’ ก็มองมาแต่ไม่ยอมให้ หรือบางทีผมนั่งคุยกับเพื่อน เอาอะไรมาวาง เขาก็ มาแจม กัดไปครึ่งหนึ่งเอามาวางคืน กินนิดเดียว เขากลัวเราว่ามั้ง” แม้นอ้ งจีโน่จะไม่สามารถสือ่ สารด้วยการพูดได้ แต่จะผิดกับเด็ก ออทิสติกที่ฉันเคยพบคือเขาจะไม่หลบตา แต่จะสบตา ใครมองไปที่เขา เขาก็จะจะมองตอบ นอกจากนีฉ้ นั ยังเห็นความแอคทีฟจากเด็กร่างสูงคน นี้ด้วย จีโน่จะไม่อยู่นิ่งเฉย เล่นไม้เล่นมือตลอดเวลา หรือเดินกลับไปกลับ มา โยนของเล่น ฉีกถุงพลาสติกเป็นเส้นๆ เต็มบ้าน
พยายาม
หลังจากพบกันครัง้ แรก ฉันก็ไปหาจีโน่ทโี่ รงเรียนอีกครัง้ และมี โอกาสได้พูดคุยกับคุณครูหนึ่งฤทัยของจีโน่ด้วย ปัจจุบันจีโน่เรียนที่ศูนย์ ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งแยกมาจากศูนย์ การส่งเสริมการศึกษาพิเศษ จังหวัดปทุมธานี อีกทีหนึ่ง ป๊าเผยว่า ในตอนแรกตนไม่ได้ตงั้ ใจให้ลกู มาเรียนทีน่ เี่ พราะอยูไ่ กลจากบ้านและไม่มี รถมารับส่ง เมื่อค�ำนวณเวลาดูแล้วกลัวมารับไม่ทันเพราะเป็นช่วงที่ตน ต้องท�ำงาน ช่วงแรกทางโรงเรียนจึงไปส่งน้องจีโน่กลับบ้านให้อยู่ 6 เดือน เพือ่ ให้ตนได้ปรับตัวหาซือ้ รถเก่าต่อจากเพือ่ นเพือ่ ใช้รบั ส่งลูก จากนัน้ เมือ่ เห็นว่าลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้นหลังได้รับการฝึกที่ศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิต บุคคลออทิสติก ตนจึงยอมให้ลูกเรียนที่นี่ คุณหนึ่งฤทัย เสมาไชย เป็นคุณครูอยู่ที่ศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิต บุคคลออทิสติก จังหวัดปทุมธานี ผู้ท�ำการฝึกทักษะต่างๆให้กับน้องจีโน่ เพียงพ่อ 65
มาเป็นเวลากว่า 3 ปี ได้เห็นพัฒนาการของน้องจากทีไ่ ม่มอี ะไรเลย ค่อยๆ ท�ำการพัฒนา จนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ครูหนึง่ เผยว่าออทิสติก หรือ ออทิสซึม = บุคคลทีบ่ กพร่องทาง อารมณ์ สังคม พฤติกรรม การสื่อสาร คุมอารมณ์ไม่ได้ เหมือนโลกแก้ว ที่ครอบเขาอยู่ สิ่งที่เป็นนามธรรมต่างๆ สวย อิ่ม หอม อร่อย จะไม่รู้เรื่อง ว่าเป็นอย่างไร ครอบครัวที่มีลูกเป็นเด็กออทิสติกต้องรู้จักการเรียนรู้ ไปด้วยกัน ลูกเป็นครูของเรา เราก็เป็นครูของลูก อาการนี้จะไม่มีวัน หายขาด เราต้องคอยพัฒนาเขาอยู่ตลอดเวลา “เวลาเราพูดสั่งเขาไป เขารับรู้ว่าเราสั่งเขา เพียงแต่เขาไม่รู้จัก ชื่ อ สิ่ ง ของเหล่ า นั้ น เขาไม่ รู ้ ว ่ า ผ้ า ไม้ ก วาดคื อ อะไร ให้ เขาไปหยิ บ เขาก็จะไป เวลาเราสอนเขา เขาจะท�ำปากท�ำคอ เผยอปากตามเรา เวลาเราพูด มองหน้า ยิ้ม” เมื่อครูหนึ่งถามน้องจีโน่ว่า “ใครมาหาจีโน่เอ่ย” เขาก็มองมาที่ ฉันแล้วส่งยิ้มที่ไม่มีพิษภัยให้อย่างเต็มใจ เด็กออทิสติกที่พูดได้จะสอนยากกว่าเด็กออทิสติกที่พูดไม่ได้ เพราะเขาจะมีความคิดเป็นของตัวเอง ควบคุมเขาไม่ได้ การเรียนรู้ของ เด็ ก ออทิ ส ติ ก นั้ น เหมื อ นกั บ ขั้ น บั น ได หากหยุ ด การพั ฒ นาให้ กั บ เขา พัฒนาการก็จะถอยลงมาเรื่อยๆ ค่อยๆ ถอย แต่หากเกิดภาวะตื่นเต้น ภายในชีวติ ของเด็ก เช่น เกิดอาการช็อก ตกใจ ตืน่ เต้น หรือมีสงิ่ มา กระทบ จิตใจอย่างรุนแรง พัฒนาการของเขาจะถอยลงไปที่ศูนย์ ความสามารถ ที่เคยท�ำได้ก็จะท�ำไม่ได้ ต้องเริ่มการเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด การระบายสี วาดรูป การปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เป็นกิจกรรมที่ ช่วยบ�ำบัดอาการของจีโน่ในวิถีทางตามธรรมชาติที่สุด ป๊าประเสริฐจึง ไม่ให้จีโน่ดูโทรทัศน์เพราะจะท�ำให้จีโน่พัฒนาการช้าลง ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ ที่อยู่ด้วยกันป๊าจะเน้นพูดคุย และกระตุ้นให้เขามีปฏิกริยาตอบสนอง 66
“จีโน่ คุณพี่นะ สวัสดีคุณพี่” เดินผ่านประตูป้อมยาม “เอ้ยโน่สวัสดีน้าเขาสิ” คอยฝึกให้เขาเรียนรู้ไป พอเรามีเวลาก็ จะชวนเขามานั่งคุยกัน แต่ถ้าตนท�ำงานอยู่ไม่มีเวลาก็ต้องปล่อยเขา “บางอารมณ์คนเราก็ต้องการมีโลกส่วนตัว แต่ส�ำหรับน้องจีโน่ เราต้องคอยดูเขาด้วย เพราะถ้าเราให้เขาอยู่คนเดียว เขาไม่มีภาษาเป็น ของตนเอง พออยู่คนเดียวก็ยิ่งแย่ ไม่มีการสื่อสาร พัฒนาการจะยิ่งถอย ลง”
น้องจีโน่เล่นฉีกพลาสติกเป็นผอยๆ
ป๊าบอกกับฉันว่าน้องจีโน่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก “พัฒนาการดีขึ้นเรื่อยๆ อาจจะมีช้าบ้าง แต่ก็พัฒนาตลอด เดี๋ยวนี้รู้สึกจะนิ่งขึ้น บอกให้ท�ำอะไรก็ท�ำได้ เช่น “โน่ หยิบรีโมตมาให้ ป๊าซิ” เราจะไม่ชี้บอกเขา บางทีมีรีโมตวางอยู่สามอัน เขาก็หยิบให้เราได้ แต่ถ้าเป็นอะไรที่เขาไม่เคยหยิบเขาจะหยิบให้เราไม่ค่อยได้” เพียงพ่อ 67
“คนอืน่ อาจจะยังมองไม่เห็น ทำาไมยังพูดไม่ได้ละ่ ทำาไมยังเคาะ นั่นนี่ล่ะ ทำาไมยังกรี๊ด แต่ถ้าถามป๊าที่อยู่กับเขามา เขาดีขึ้นจากศูนย์ ถึงขึ้นมาแค่หนึ่งหรือสอง ก็ดีแล้วสำาหรับเรา ไม่ต้องถึงสิบเหมือนคนอื่น ที่เขาคาดหวังไว้ว่าจีโน่จะต้องเขียนได้ พูดได้ เราแค่เข้าใจว่าเขาทำาไม่ได้ หรอกชีวิตนี้ เพียงแต่เราจะทำาอย่างไร ฝึกให้เขาสามารถอยู่ในสังคมร่วม กับผู้อื่นได้” เมือ่ พ่อแม่สว่ นใหญ่ทราบว่าลูกของตนเป็นเด็กออทิสติกแล้วนัน้ มักจะเกิดความเครียดขึ้นได้ ดังนั้นพ่อแม่ควรรู้จักการทำาใจยอมรับให้ได้ โดยมีหลักง่ายๆ ดังนี้ 1. เปลี่ยนทัศนคติและความคิด โดยคิดในทางที่ดีว่าลูกต้องพัฒนาได้ 2. ยอมรับในความเป็นลูกและสิง่ ทีล่ กู เป็น หมัน่ บอกตนเองว่า “เรารักลูก ของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร” 3. หมั่นบอกกับตนเองว่า ถ้าเราไม่รักและเข้าใจลูก แล้วใครจะรัก และเข้าใจ 4. บอกกับตนเองว่า “หยุดไม่ได้” ต้องพัฒนาลูกให้ช่วยตนเองให้ได้ มากที่สุด 5. พยายามดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง และมองโลกใน แง่ดีพร้อมเผชิญกับปัญหา และเป็นหลักให้แก่ลูก 6. ตั้งสติ ไม่ท้อแท้ 7.ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรสว่า เป็นสาเหตุทำาให้ลูกมีปัญหา การมี ลูกเป็นเด็กออทิสติกไม่ใช่ความผิดของใคร และ 8. ควรหันหน้า ปรึกษากันในครอบครัว ถึงวิธกี ารดูแล เลีย้ งดูและฝึกอบรม ที่ ม า คุ ณ หนึ่ ง ฤทั ย เสมาไชย คุ ณ ครู ศู น ย์ ส ่ ง เสริ ม ทั ก ษะชี วิ ต บุ ค คล ออทิสติก จังหวัดปทุมธานี 68
ส่วนใหญ่พอ่ แม่ ผูป้ กครองของเด็กออทิสติกมักมีความคิดว่าลูก ของตนไร้ความสามารถ ขาดความเชือ่ มัน่ ในตัวลูก ซึง่ สิง่ นีต้ อ้ งอาศัยความ พยายามอย่างมากกับการทีจ่ ะให้เด็กเหล่านีท้ �ำอะไรสักชิน้ หนึง่ เสร็จเป็น ชิ้นเป็นอัน ต้องมีเวลาและความใจเย็น เช่น การที่จะฝึกให้เขากินข้าว ด้วยตัวเองจนเสร็จโดยที่พ่อแม่ไม่เข้าไปยุ่งเลยนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นสิ่งจ�ำเป็นที่จะต้องท�ำ เพราะถือว่าเป็นการฝึกเขาว่าจะต้องรับผิด ชอบสิ่งที่ท�ำอยู่ให้ส�ำเร็จ ซึ่งส่วนมากแล้วพ่อแม่จะท�ำไม่ได้ อาจจะด้วยเหตุผลของ ความเร่งรีบ รีบไปท�ำงาน หากรอลูกกินข้าวเสร็จจะไม่ทันการ ก็จับป้อน จับอาบน�้ำให้เพื่อตัดปัญหา แต่ในความเป็นจริง พ่อแม่จะไม่สามารถท�ำ ทุกอย่างแทนลูกได้ทั้งหมดไปตลอดชีวิตได้ เพราะหากวันหนึ่งเป็นอะไร ขึ้นมา แล้วลูกจะท�ำอย่างไร คนอื่นเขาไม่ได้เข้าใจว่าจะต้องป้อนข้าวป้อน น�้ำให้ มีแต่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่เท่านั้นที่ท�ำได้ พี่น้องเขาวันหนึ่งก็ต้องมี ครอบครัวเช่นกัน จะท�ำอย่างไร ดังนั้นต้องคอยช่วยฝึกให้เขาช่วยเหลือ ตนเองให้ได้มากที่สุด
ยิ้มเข้าไว้
คนที่จะเลี้ยงเด็กออทิสติกได้ ต้องมีพื้นฐานของความใจเย็น เพราะเด็กเหล่านี้จะมีการเรียนรู้ที่ช้าแบบค่อยเป็นค่อยไป หากเป็นคน ใจร้อนจะไม่สามารถอยู่กับเด็กเหล่านี้ได้เลย ซึ่งจากการพูดคุยกับคุณพ่อ ประเสริฐฉันสัมผัสได้ว่า คุณพ่อค่อนข้างเป็นคนอารมณ์ดี มีทัศนคติ ด้านบวก ยิ้มแย้มแจ่มใส ขณะเล่าเรื่องไปก็ยิ้มและหัวเราะไปด้วยจนตา เป็นรูปสระอิ แต่เมือ่ ถามว่าเหนือ่ ยไหมกับบทบาทหน้าทีค่ ณ ุ พ่อเลีย้ งเดีย่ ว ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ คุณพ่อตอบทันทีว่า “เหนื่อยอยู่แล้ว” และอาจจะมีท้อ บ้าง นานๆ ครั้ง บางทีที่น้องจีโน่ดื้อ ตนจะพูดแกล้งเขาว่า เพียงพ่อ 69
“ดื้อมากใช่ไหม เดี๋ยวจับไปปล่อยเลย เอาไปเลี้ยงปลา ให้ปลา กินเลย พอแกล้งดุ เขาจะทำาหน้าเบ้เหมือนจะร้องไห้ รับรูว้ า่ เขากำาลังโดน ดุอยู่ ทำาหน้าเสียใจ ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยเป็น ไม่ว่าจะดุจะว่า เขาก็เฉย ไม่รู้เรื่อง บางทีก็แหย่เขาเล่น แกล้งเขาบ้าง ให้เขาไม่เหงา สร้างความ สัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน” คุณพ่อพูดไปหัวเราะไป ด้วยความครื้นเครง แม้จะเคยพูดกระเซ้ากับลูกชายเล่นๆ ว่าจะเอาไปทิ้ง แต่ใจจริง แล้ว ป๊าประเสริฐก็ยอมรับว่าเคยมีความคิดทีจ่ ะทอดทิง้ จีโน่อยูเ่ หมือนกัน แต่เอาเข้าจริงก็ทำาไม่ได้ “ผมเคยคิดว่าจะเอาเขาไปทิ้งนะ แต่พอมองไปที่หนังสือเกี่ยว กับเด็กออทิสติก และเห็นหน้าลูกก็ทาำ ให้มกี าำ ลังใจในการต่อสูก้ บั ทุกปัญหา ในชีวิต ทำาให้เราฮึดได้ เอาอีกทีก็ได้วะ” ทุกวันนี้แม้ตนจะอยู่กับน้องจีโน่เป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อลูกสาว สองคนกลับมาบ้านเมื่อใด คุณป๊าของลูกๆ ก็จะพยายามให้พี่น้องได้ทำา กิจกรรมร่วมกัน พาไปเที่ยวด้วยกันบ้าง โดยจะคอยยำ้าให้ทั้งสามพี่น้อง รักกัน บอกพี่สาวให้ดูแลน้องชาย ปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่าอย่าทิ้งกัน “ยังไงเราก็เป็นพี่น้องกันนะ มีกันอยู่แค่นี้ โน่มันก็ไม่มีใคร ลูก ต้องรักโน่นะ อย่าทิ้งโน่” ซึ่งน้องเอกับน้องบีก็เข้าใจถึงอาการของน้อง จีโน่เป็นอย่างดี จึงทำาให้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นภายในครอบครัว ในบางครอบครัวทีม่ ลี กู เป็นเด็กออทิสติกและลูกทีเ่ ป็นเด็กปกติ อยู่ร่วมกัน ย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นได้เสมอ บางคนอาจเกิดความรู้สึกน้อยใจ ที่พ่อแม่เอาใจใส่เด็กออทิสติกมากกว่าตน บางคนรู้สึกอายที่จะไปในที่ ต่างๆ กับพีห่ รือน้องทีเ่ ป็นออทิสติก ผูท้ เี่ ป็นพ่อแม่ตอ้ งอธิบายให้ลกู เข้าใจ ว่ า พี่ ห รื อ น้ อ งของเขาป่ ว ยเป็ น อะไร พยายามอย่ า ให้ ลู ก ที่ เ ป็ น เด็ ก ออทิสติก เข้าไปรบกวนการเล่นหรือการทำางานของพี่น้องมากเกินไป 70
พื้นที่เล็กๆ
หน่วยงานที่กี่ยวข้องกับการดูแลเด็กออทิสิกและเด็กพิเศษ
การวินิจฉัยโรค/จิตเวชเด็ก
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมถ์ โทรศัพท์ 02-384-3381-3 ที่อยู่ เลขที่ 61 ซ.เทศบาล 19 ถ.สุขุมวิท จังหวัดสมุทรปราการ 10270 จิตเวชเด็ก โรงพยาบาลศิริราช โทรศัพท์ 02-411-0241 ที่อยู่ ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 จิตเวชรามา โรงพยาบาลรามาธิบดี โทรศัพท์ 02-200-3000 ต่อ 61128-31 ที่อยู่ 270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 จิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โทรศัพท์ 02-256-5176/ 02-256-5180-83 ที่อยู่ ตึก ภปร ชั้น.12 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี( โรงพยาบาลเด็ก) โทรศัพท์ 02-3548333 - 43 หรือ 02-6446011 สายด่วน1415 ที่อยู่ ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 เพียงพ่อ 71
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โทรศัพท์ 02-4370200-8 ปรึกษาปัญหาทางโทรศัพท์ เวลา 08.00-16.00 น. 02-437-7061, เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป 02-439-0392 ทีอ่ ยู่ 112 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 สถาบันราชานุกูล โทรศัพท์ 02-245-4601-5 ปรึกษาทางโทรศัพท์หมายเลข 02-245-4696 (ในเวลาราชการ) และหมายเลข 02-640-2037 (นอกเวลาราชการ) ที่อยู่ ถนนดินแดง เขตพญาไท กรุงเทพฯ จิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โทรศัพท์ 044-233999 ที่อยู่ เลขที่ 86 ถ.ช้างเผือก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
สถานที่กระตุ้นพัฒนาการ/บ�ำบัด/ให้ค�ำปรึกษา
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมถ์ โทรศัพท์ 02-384-3381-3 ที่อยู่ เลขที่ 61 ซ.เทศบาล 19 ถ.สุขุมวิท จังหวัดสมุทรปราการ 10270 สถาบันราชานุกูล 0-2248-8900 สายด่วน โทร. 0-2245-4696 ที่อยู่ 4737 ถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 72
มูลนิธิแสงสว่าง โทรศัพท์ 02-381-5362-3 ที่อยู่ 850/34 สุขุมวิท 71 (ปรีดีพนมยงค์ 36) แขวงคลองตันเหนือ เขต วัฒนา กรุงเทพฯ 10110 สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ โทรศัพท์ 02-248-8999 (ในเวลาราชการ), สายด่วนสุขภาพจิต หมายเลข 1323 ที่อยู่ 75/1 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ . www.smartteen.net มูลนิธิออทิสติกไทย โทรศัพท์ 02-866-7125 กด 0 ที่อยู่ 11 หมู่ที่ 12 ถนนวัดแก้ว-พุทธมณพลสาย 1 ซอยบางพรม 29 แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 แฮปปี้โฮมคลินิค จิตเวชเด็กและวัยรุ่น โทรศัพท์ 08-2014-7272, 08-4086-8796, 0-2835-3537 ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ชั้น 7 โซนการศึกษา 99 หมู่ 2 ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 www.happyhomeclinic.com สถาบันแห่งชาติเพือ่ การพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 02-441-0602, 087-664-3932 ที่อยู่ 999 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพียงพ่อ 73
ภาควิชาการศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทศิ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต โทรศัพท์ 02-241-4656/ 02-241-4401 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 295 ถ.ราชสีมา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 มูลนิธิรวมปัญญาคนพิการ นนทบุรี 02-903-6744/ 02-903-6750 68/6 หมู่6 ซ.มิตรอารีย์ ถ.ไทรน้อย ต.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110 ศูนย์ฯเด็กออทิสติกบ้านอุ่นรัก สวนสยาม โทรศัพท์ 02-919-9910/ 02-919-9321 ที่อยู่ 9/8 หมู่บ้านอมรพันธ์ 7 ซอย 7/1-5 สวนสยาม กรุงเทพฯ 10230 ศูนย์ฯเด็กออทิสติกบ้านอุ่นรัก ธนบุรี โทรศัพท์ 02-885-8720/ 02-803-1715 ที่อยู่ 99/92 หมู่19 ซอย26 ถนนพุทธมณฑลสาย2 แขวงศาลาธรรมส พน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-890238-44, 053-890245 ที่อยู่ 196 หมู่ 10 ต�ำบล ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
74
โรงเรียนบ้านเด็กซุปเปอร์คิดส์ พิษณุโลก โทรศัพท์ 055-302-928 ,086-448-2308, 081-605-4458 ทีอ่ ยู่ 401/180หมู่ 3ต�ำบลอรัญญิก อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
สอบถามรายชื่อโรงเรียนที่รับเด็กเข้าเรียนร่วม
กระทรวงศึกษาธิการ โทรศัพท์ 02-282-5820 ที่อยู่ กระทรวงศึกษาธิการ 319 วังจันทรเกษม ถนนราชด�ำเนินนอก เขต ดุสิต กทม. 10300 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02-247-4686 ที่อยู่ 4645 ถนนดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
เพียงพ่อ 75
บทสงทาย
จากใจจริง
จากเรื่องที่ไม่เคยนึกถึงกลายเป็นความสนใจ และอยากจะ ถ่ายทอดเรื่องราวแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้รับรู้ สารคดีชีวิตคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว “เพียงพ่อ” คุณพ่อที่ท�ำหน้าที่เลี้ยงดูลูกเพียงล�ำพัง ฉันใช้เวลากว่า 3 เดือน ที่ได้คลุกคลีกับทั้งสามครอบครัวคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว ครอบครัว คุณพ่อโภชกับน้องพลอยและน้องแพร ครอบครัวคุณพ่อเจี๊ยบกับพี่ยีนส์ และครอบครัวคุณพ่อสมเกียรติกับน้องจีโน่ แต่ละครอบครัวมีรายละเอียดเรื่องราวที่แตกต่างกันไป แต่สิ่ง หนึ่งที่ทุกครอบครัวมีเหมือนกันนั้นคือ คุณพ่อทั้งสามเป็นคนใจเย็นและ มีความพยายาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ส�ำคัญอย่างมากในการดูแลลูก โดยเฉพาะ ลูกที่ไม่ปกติหรือเป็นเด็กออทิสติก ยิ่งเมื่ออยู่ในภาวะ การเป็นครอบครัว เลี้ยงเดี่ยว แน่นอนว่าจะต้องเกิดปัญหาหรือความเครียดมากกว่าปกติ แต่เมื่อคุณพ่อมีความใจเย็นและมีความพยายาม ไม่ย่อท้อต่อเรื่องต่างๆ ก็จะช่วยท�ำให้สามารถผ่านแต่ละปัญหาไปได้ 78
และอีกสิ่งหนึ่งที่ส�ำคัญ จากการได้พูดคุยกับทั้งสามครอบครัว ท�ำให้ฉันคิดได้ว่า “จะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง” ประโยคนี้ก้อง อยู่ในหัวและคอยเตือนฉันเวลาที่เจอกับปัญหา ว่า เราสามารถเลือกที่จะ คิดอย่างไรก็ได้ คิดบวก มองโลกตามความเป็นจริง ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน หรือจะจมอยู่กับความทุกข์ในอดีตไปตลอด เราเลือกเองได้ ทุกอย่างขึ้น อยู่กับใจและความคิดของเราเท่านั้น ต้องขอขอบคุณทั้งสามครอบครัวเป็นอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปัน เรื่องราว ประสบการณ์และแง่คิดสอนใจที่เป็นประโยชน์ เพื่อเป็น วิทยาทานให้กบั ผูอ้ า่ นคนอืน่ ๆได้ศกึ ษา และหวังว่าหนังสือสารคดีชวี ติ คุณ พ่อเลีย้ งเดีย่ ว “เพียงพ่อ” จะท�ำให้ผอู้ า่ นได้เห็นมุมมองใหม่ๆ และสามารถ น�ำไปปรับใช้ในการด�ำเนินชีวิตของตนเองได้ดียิ่งขึ้น
เพียงพ่อ 79
80