จุด (Objective) Agenda

Page 1



Photography Art Thesis Exhibition

Department of Photography Faculty of Art and Design, Rangsit University



PHOTOGRAPHY THESIS EXHIBITION 2016 BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAM IN PHOTOGRAPHY DEPARTMENT OF PHOTOGRAPHY FACULTY OF ART AND DESIGN, RANGSIT UNIVERSITY ASST. PROF. SURAPONG EIAMPICHAIRIT DR.WARAWAN SUWANNAPHATI ASSOC. PROF. SONE SIMATRANG SUKKASAM AUYTO KIATTISAK WANJARARATTA POOMKAMOL PHADUNGRATNA SUCHEEP KARNASUTA AMPANNEE SATOH

หนังสือสูจิบัตรนิทรรศการศิลปนิพนธ์

ปริญญาตรี ศิลปบัณฑิต ศิลปะภาพถ่าย รุ่น 26 สาขาวิชาศิลปะภาพถ่าย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต


รศ.พิศประไพ สาระศาลิน คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ



รศ.สน สีมาตรัง

ความดี คือ การมีจิตวิญญาณตั้งอยู่ในคุณธรรม จริยธรรม ศีล ธรรม และจารีตประเพณีที่ดีงาม เช่น ความเมตตา ความกรุณา ความเกื้ออาทร ความซื่อสัตย์ ความสุจริต และการเคารพความ เป็นมนุษย์ ...ฯลฯ เป็นต้น ความดี ไ ม่ ไ ด้ ขึ้ น กั บความคิ ด ความดีเป็นอิส ระจากความคิด ความดีเป็นเรื่องของจิตใจจิตวิญญาณ ซึ่งหลอมรวมอยู่ในอณูของ ชีวิตและร่างกาย ความดีอาจเกิดจากพันธุกรรม ความดีอาจเกิด จากการฝึกฝนอบรมมาอย่างดีแล้ว การฝึกฝนอบรมให้เกิดความ ดีในจิตใจเปรียบเหมือนการบ�ำเพ็ญตบะของผู้ทรงศีล คนที่มีความดีอยู่จิตใจไม่ฆ่าคน คนมีความดีไม่มีสันดานทุจริต คนมีความดีเป็นคนเกรงกลัวบาปทั้งต่อหน้าและลับหลัง คนมี


ความดีท�ำความดีโดยไม่ต้องคิด คนมีความดีท�ำความดีโดยไม่คิด ผลตอบแทน เพราะความดีเป็นธรรมชาติอยู่ในร่างกายและจิตใจ คนนั้นแล้ว ในทางตรงข้าม. คนมีความดีแบบเกิดจากความคิด จัดเป็นสิ่งดี เป็นจุดเริ่มต้นการท�ำความดีอย่างหนึ่ง ดีกว่าไม่คิดท�ำความดี แต่ ความดีที่เกิดจากความคิดไม่แข็งแรง เพียงพอที่จะต้านความรู้สึก ใฝ่ต�่ำ ความโกรธ ความเกลียด ความชัง ความหลง และความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจ จะท�ำให้ความดีหายไป กลับไปสู่ความชั่วได้ เพราะไม่ได้เกิดขึ้นจิตใจ เช่น คนสองคนมีความขัดแย้งกัน จบลง ด้วยกันท�ำร้ายกัน แทนที่จะให้อภัยต่อกัน หันหลังเดินห่างจากจุด ขัดแย้ง เพื่อยุติปัญหา กลับสู่ความสุขและสงบ การออกจากความ โกรธ ความหลง ความโลภ และความมีอัตตา เป็นสิ่งที่ท�ำได้ยาก ยิ่งส�ำหรับคนทั่วไป งานศิลปะทุกชิ้นต้องมีความดี และสะท้อนความดีมาสู่ผู้ดู เพื่อ ยกระดับจิตใจผู้ดูให้สูงขึ้น งานศิลปะจึงต้องเกิดจากศิลปินและหรือนักออกแบบ ที่ฝึกฝน อบรมจิตใจให้มีความดีมาอย่างดงาม หลายคนสงสัยในประเด็นว่า “งานศิลปะท�ำไมต้องไปเกี่ยวข้อง กับความดี” เพราะความดีเป็นคุณสมบัตินามธรรมของงานศิลปะ ขั้นสูง คนมีความดีในจิตใจย่อมมีประกายความเย็นเปล่งรัศมีออกจาก ร่างกายคนนั้น โดยเปล่งประกายให้รับรู้สึกได้จากแววตา ผิว พรรณ อากัปกิริยา การกระท�ำต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นที่รักใคร่ ท�ำให้ ผู้คน เพื่อน และคนท�ำงานร่วมกัน มีความสุข ไม่รู้สึกเป็นอันตราย อยากรู้จักอยากอยู่ใกล้ ในท�ำนองเดียวกันงานศิลปะที่มีพลังชีวิตจิตใจแห่งความดีของผู้ สร้ า ง ย่ อ มมี พ ลั ง ความดี ดึ ง ดู ด ผู ้ ค นดู ใ ห้ ชื่ น ชอบ พึ ง พอใจ เพลิดเพลินใจ สามารถชื่นชมงานศิลปะได้อย่างไม่รู้เบื่อ

ในงานศิลปะมีชีวิตจิตใจแห่งความดีจริงหรือ? ในวงการช่างปั้น พระพุทธรูปของไทย ช่างปั้นพระพุทธรูปในชีวิตประจ�ำวันอาจจะ เป็นคนดื่มสุรา มีอาการเมามายปรากฎให้เป็นที่รับรู้ทั่วกัน แต่ ช่างปั้นพระพุทธรูปคนเดียวกันนี้ ถ้ารับงานปั้นพระพุทธรูปกับผู้ มาว่าจ้างแล้ว จะนุ่งขาวห่มขาว ถือศีล5 ลดสุราเมรัย อย่างน้อย 1 สัปดาห์ จึงลงมือปั้นพระพุทธรูป ขณะที่ปั้นพระพุทธรูปจะนุ่ง ขาว ห่มขาวถือศีล5 จนงานปั้นส�ำเร็จ ส่งมอบต่อให้ช่างหล่อไป ด�ำเนินการต่อไป ช่างหล่อพระพุทธรูปก็นุ่งขาวห่มขาวถือศีล5 จน กรรมวิธีการหล่อพระพุทธรูปนั้นส�ำเร็จเสร็จสิ้น ช่ า งปั ้ น พระพุ ท ธรู ปให้ ค� ำ อธิ บายว่า “ครูอาจารย์ผู้ป ระสิท ธิ์ ประสาทความรู ้ ป ั ้ น พระพุ ท ธรู ป ได้ สื บ ทอดค� ำ สอนค� ำ สั่ ง ให้ ถื อ ปฎิบัตินุ่งขาวห่มขาวถือศีล5อย่างเคร่งครัด เพราะช่างปั้นก�ำลัง สร้างสรรค์สิ่งศักด์สิทธิ์ให้คนกราบไหว้ ต้องถ่ายทอดชีวิตจิตใจ ความรู้สึกเคารพศรัทธา และความดี ส่งผ่านเข้าไปสู่องค์พระพุทธ รูปที่สร้างขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่ความงามความดีและความจริงของ ช่างปั้นมีในขณะนั้น” ช่างปั้นพระพุทธรูปบางท่านกล่าว ขณะปั้นพระพุทธรูป จิตตั้ง อยู่ในสมาธิตลอดเวลา จนงานปั้นส�ำเร็จเสร็จสิ้น ได้พระพุทธรูปที่ มีความงดงาม ให้ความรู้สึกถึงความดีและความจริง ตามหลัก พุทธธรรม ได้อย่างสมบูรณ์ เป็นที่ประหลาดใจอย่างยิ่ง พระพุทธ รูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมากๆอย่าง เช่น พระพุทธชินราช วัด มหาธาตุเมืองพิษณุโลก พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ วัดหน้า พระเมรุ พระพุทธรูป วิหารวัดพระมงคลบพิตร ทั้งสองวัดอยู่ใน เกาะพระนครศรีอยุธยา พระพุทธสิหิงห์ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่... ฯลฯ เป็นต้น เป็นตัวอย่างของความงดงามอย่างประหลาดใจ จน วงการช่างปั้นไทย มีความเชื่อว่า “เทวดามาช่วยปั้นพระพุทธรูป ด้วยจนเสร็จสมบูรณ์”


ผศ.สุรพงษ์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์


จุด…วงกลมหลากหลายขนาดวางชิดห่างบ้างซ้อนทับ ปรากฏภาพที่ มีรูปทรงแสดงอัตลักษณ์ของตน แสงที่ควบรวมผ่านเลนส์ ปรากฏเป็น จุดแสงหลายขนาด เล็กใหญ่เหลื่อมทับซ้อนกันดูสับสน เป็นวงแสงที่ หลากหลาย จุดแสงที่อยู่นอกระนาบภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า จุดแสง ที่มีขนาดเล็กที่สุดตกบนระนาบภาพจะให้ภาพคมชัดที่สุด เรียกวง เหล่านั้นว่า “C of C” (Circle of Confusion) หรือ “Boget” จุด แสงที่อยู่นอกระยะโฟกัส เมื่อปรับโฟกัสจุดเหล่านั้นให้มีขนาดเล็ก ที่สุด จะปรากฏภาพที่ชัดเจน เสมือนจุดทั้ง 51 ที่ต่างมีเป้าหมาย อัต ลักษณ์และศักยภาพของตน มีบ้างที่ชิดกัน เหลื่อมซ้อนทับกัน แปลก แยกและหลอมรวมกัน ปรากฏภาพรวมในมิติของกัลยาณมิตร จุด แสงที่อัดแน่นสะท้อนภาพความทรงจ�ำที่ชัดเจน ต่างเรียนรู้ซึ่งกันและ กัน พบประสบการณ์ร่วมและเติมเต็มในจุดที่แตกต่างแก่กัน ได้เสริม กันดุจจุดแสงและเงา Dot-51 ผศ.สุรพงษ์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙


ดร.วราวรรณ สุวรรณผาติ



อาจารย์สุขเกษม อุยโต


สามวันในขีวิต เวลาเป็นของมีค่า เวลาไม่สามารถหวนคืนได้ มีการกล่าวถึงเวลาอยู่เสมอว่า คนเรามีเวลาในแต่ละวันเท่ากัน คือคนละ 24 ชั่วโมง แต่วันนี้อยากจะบอกทุกๆคนว่า จริงๆแล้ว แต่ละคนมีเวลาแค่คนละ 3 วันเท่านั้นในชีวิตบนโลกใบนี้ เราใช้ ไปtอีกแล้ว เราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้อีก แค่เสี้ยว วินาที ปัจจุบันก็เป็นอดีต วันที่ว่านั้นคือ เมื่อวานหรือวันวาน วันที่สองก�ำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันคือวันนี้ วันนี้นับเป็นวันที่ ส�ำคัญที่สุดที่ทุกคนยังมีขีวิต มีลมหายใจ มีก�ำลังวังชาที่จะคิดท�ำ คิดสร้างสรรค์สิ่งใดๆ อยากให้ลองทบทวนตัวเองว่าวันนี้ของเรา เป็นอย่างไร ก�ำลังท�ำอะไรอยู่ หากสิ่งที่ก�ำลังกระท�ำอยู่ไม่เป็น ประโยชน์ภายหน้า วันที่เหลือของเราจะเป็นอย่างไร วันนี้ของเรา อาจจะต้องพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหน้าได้ ข้อมูลส่วนหนึ่ง อาจจะได้มาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่เราสามารถใช้เวลาในวันนี้ ย้อนกลับไปทบทวนการกระท�ำของเราในอดีตได้ หากพบข้อผิด พลาดใดๆ อาจใช้เวลาในวันนี้แก้ไขได้ เมื่อวันนี้ผ่านพ้นไปแล้วโดยไม่มีมรรคผลใดๆ ในชีวิตก็เหลือ เพียงวันเดียว คือวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นก็เป็นผลจากสอง วันที่ผ่านพ้นไปแล้วนั้น อยากให้ทุกคนมีวันพรุ่งนี้ที่สดใส นั่น หมายความว่าทุกคนต้องท�ำวันนี้ให้ดีและส่งผลให้วันพรุ่งนี้เป็นวัน ที่ดี เหตุปัจจัยพื้นฐานของแต่ละคนที่มีแตกต่างกัน อาจไม่เท่า เที ย มกั น แต่ มิ ไ ด้ ห มายความว่ า คนที่ มี พื้ น ฐานที่ ด ้ อ ยกว่ า ไม่ สามารถจะท�ำวันพรุ่งนี้ให้ดีขึ้นกว่าคนที่มีพื้นฐานที่ดีได้ เพียงแต่ ค�ำตอบอยู่ที่ว่า วันนี้ท�ำอะไรเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าแล้วหรือยัง ต่างหาก

ทุ ก ๆ คนมี เ วลา 3 วั น เท่ า กั น ต่ า งกั น แต่ เ พี ย งว่ า แต่ ล ะคน วางแผนการใช้เวลา 3 วันนั้นอย่างไร ขอให้วันพรุ่งนี้ของทุกคน เป็นวันที่สดใส เจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน วันนี้ทุกคนผ่านการศึกษาในระดับปริญญาตรี ซึ่งหลายคนคิด ว่า การศึกษาจบลงไปแล้ว ได้ท�ำตามความต้องการของใครหลาย คนในครอบครัว หรือตามความฝันของตนเอง ชีวิตจริงไม่ได้เป็น เช่นนั้น การจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นเพียงบทหนึ่ง ของชีวิต และต้องเริ่มต้นบทบาทของขีวิตบทบาทใหม่ เพียงแต่ว่า จะสวมบทบาทใด แต่ละคนเท่านั้นที่จะรู้ตนเอง สุขเกษม อุยโต 13 พฤษภาคม 2559


อาจารย์เกียรติศักดิ์ วันจรารัตต์



อาจารย์สุชีพ กรรณสูต


จุด + จุด = จุด จุด จุด ..... จุด ท้าทาย ขยายขอบเขตได้อย่างกว้างขวาง จุดจบ อําลาจากสถาบันศึกษา จุดเริ่มต้น วิชาชีพชอบธรรม จุดเปลี่ยน นําชีวิตก้าวเดินต่อ นานาจุด จุดสําคัญ จุดอ่อน จุดบอด จุดหลอม จุดหลอน จุดร่วม จุดต่าง จุด .................... จุดยืน สิ่งสําคัญสําหรับชีวิตการท�ำงาน ผู้รู้ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า จุดยืนคือทัศนะของ ปัจเจกชน มีทิศทาง หรือการมองโลกมองชีวิต หรือโลกทัศน์ (worldview) ซึ่งแต่ละคนไม่ เหมือนกัน การมองสิ่งเดียวกันในจุดยืนที่ต่างกันย่อมมีผลต่อการมองอยู่เสมอ จุดยืนมาจาก การเรียนรู้ทางสังคม สังคมสร้างจุดยืนแต่เราก็มีิสิทธิที่จะเลือกจุดยืนนั้นๆ จุดยืนขึ้นอยู่กับ อุดมการณ์ความเชื่อและกรอบความคิด จุดยืนมักถูกครอบง�ำจากวัฒนธรรม จากการเรียนรู้ ในขณะเดี ย วกั น ก็ ส ามารถขยายจุ ด ยื น ออกไป เพื่ อ แสวงหาจุ ด ร่ ว มในความต่ า งสุ ด ขั้ ว ได้เช่นกัน Chat conversation end

.... สุชีพ กรรณสูต รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ปีที่ประเทศไทยอุณหภูมิสูงขึ้นตามลําดับ




Age of Twenty one เมื่อฉันอายุ 21

อารดา ก้องเกียรติศิลป์ ARADA KONGKIATSIN

Photographer


เป็นอารมณ์ที่เล่าถึงการซ่อนความรู้สึกในสภาวะหนึ่งในช่วง อายุ 21 ปี ซึ่งน�ำอารมณ์นั้นมาเป็นแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์งาน ภาพถ่ายผ่านตัวแบบและช่างภาพที่เป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นความชอบ หรือรสนิยม


Inside out ของเล่นกับความฝัน

ฉัตรชัย ไชยโพธิ์

CHATCHAI CHAIYAPHO

Photographer


เกิดจากความรู้สึกชอบในของเล่นต่างๆ


แต่งแต้ม Make Over

อารียา เซ็กศูนย์

AREEYA CHECKSOON

Photographer


ผู้สร้างสรรค์งานต้องการน�ำเสนอภาพถ่าย Portrait โดยการน�ำ รูปแบบลักษณะ Pop Art มาใช้ประกอบในผลงาน ผู้สร้างสรรค์ ผลงานมีเจตนารมณ์ สะท้อนภาพสังคมผู้หญิงในปัจจุบันที่มีความ ต้องการทางด้านความงามที่ไม่สิ้นสุด จึงถ่ายทอดออกมา ในรูป แบบศิลปะภาพถ่าย


Lesbian หญิงรักหญิง

เมรินทร์ รัมนา

MAYRIN RAMMANA

Photographer


แรงบันดาลใจของข้าพเจ้าน�ำมาจากพฤติกรรมความชื่นชอบ ของบุคคลรอบข้าง เพื่อนที่มีความรักความชอบ ที่ผิดปกติจาก บุคคลทั่วไป Lesbian ค�ำที่ใช้เรียกผู้หญิงที่มีคู่รักเป็นหญิงที่แต่ง กายและแสดงออกเป็นหญิงทั้งคู่ เลส จะหลงใหลคลั่งไคล้สรีระ ของหญิงด้วยกัน


Nightscape ความงามยามค�่ำคืน

วรวิช เลิศบ�ำเพ็ญทรัพย์

VORRAVIT LERTBAMPHENSAP

Photographer


โลกยามค�่ำคืนที่หลายๆคนต่างยังหลับใหลอยู่นั้น ธรรมชาติ ได้ ด� ำ เนิ น ไปตามวั ฏ จั ก รนั้ น สิ่ ง สวยงามจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ สามารถไปก�ำหนดได้ สร้างความหลงใหลให้แก่ข้าพเจ้าเป็นอย่าง มาก


มด Ant

ชนินทร์ หิรัญรัตนไชย

CHANIN HIRANRATTANACHAI

Photographer


“มด” เป็นสัตว์สังคมที่มักจะชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นกลุ่ม เป็นก้อน ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่ต้องอยู่ในสังคม แต่งาน ชุดนี้ผู้สร้างสรรค์งานต้องการให้ “มด” มีความแตกต่างออกไป โดยภาพในชุดนี้ มดจะต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว เดินทางแต่เพียง

ผู้เดียวและใช้สีสันสิ่งของที่อยู่ตามธรรมชาติมาสร้างความงามให้ กับบริบทภายในภาพ เช่น ลวดลายของใบไม้ ลวดลายของดอก กล้วยไม้ แสงและเงา เป็นต้น


Place Memory ความทรงจ�ำกับสถานที่

ศิวกร กิจกุลทอง

SIWAKORN KITKULTHONG

Photographer


เพื่อเก็บความทรงจ�ำ ณ ช่วงเวลานั้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งเวลาไม่ สามารถเปลี่ยนแปลงภาพได้


แฝง

วรายุทธ บุญฤทธิ์

WARAYUT BOONYARIT

Photographer


หลบ แอบ ซ่อนเร้น โดยอาศัยสิ่งกําบัง


เงา

ฉัตรฐากรณ์ ฤาวิชา

CHATTAGON LUVICHAR

Photographer


จิ ต นาการและความคิ ด จิ ต ใต้ ส� ำ นึ ก ของผู ้ ส ร้ า งสรรค์ ที่ มี ต ่ อ สิ่งของต่างๆแสดงออกผ่านเงา


La dame en noir ผู้หญิงในสีด�ำ

วีระวัฒน์ ศรีพนน้อย

WEERAWAT SRIPHONNOY

Photographer


ดุดัน ทรงพลัง


ธรรมชาติอันรื่นรมย์

สุรพศ เฉลิมกลิ่น

SURAPOT CHALERMKLIN

Photographer


ธรรมชาติคือสิ่งที่สวยงาม แต่หลายคนกลับมองข้ามไป


ร่องรอย Trace

ณัฐภณ เรือนค�ำปา

NUTTAPON RUEANKAMPA

Photographer


ต้องการแสดงถึงความงามของร่องรอยผู้สูงวัย


จักรยาน

Cycling Touring

มงคล มามาก

MONGKOL MAMAK

Photographer


การเดินทางอย่างมีอิสระ และไม่รีบร้อน เพื่อท�ำความเข้าใจใน ตัวตน และ สิ่งที่อยู่รอบตน


Doi Chang Coffee กาแฟดอยช้าง

อรรถพล อยู่ยืนยง

AUTTAPON YOOYUENYONG

Photographer


ต้องการถ่ายทอดวิถีชีวิตชาวบ้านบนดอยที่มีอาชีพปลูกกาแฟ ตั้ ง แต่ ก ารเพาะปลู ก จนถึ ง กระบวนการผลิ ด กาแฟบนดอยช้ า ง จังหวัดเชียงราย


กระเหรี่ยงฤาษี

หิรัณย์ ชื่นชูวิทย์

HIRUN CHUENCHOOVIT

Photographer


ในอดีตพิธีกรรมทุกพีธีกรรมเป็นศาสตร์โบราณของกระเหรี่ยง ชนเผ่าที่นั่นที่นับถือลัทธิฤาษีซึ่งต่างจาก พื้นที่อื่นในภาคเหนือ พิธีกรรมนี้ไม่เคยอนุญาติให้คนภายนอกเข้าร่วมแต่ในปัจจุบัน พวก เขามีเหตุผลบางอย่างที่ต้องเปิดเผยต่อสังคม


ครัวมอญ Prow

อนุวัฒน์ วรรณศิริ

ANUWAT WANNASIRI

Photographer


ครัวมอญมีความเป็นเอกลักษ์เฉพาะตัว ทั้งด้านอาหาร วัตถุดิบ และวิธีการท�ำ


มานิ ณ ภูบรรทัด Maniq at Phubahthat

ภัทราพันธ์ อุดมศรี

PHATHRAPHAN UDOMSRI

Photographer


ด้วยวันและเวลาที่หมุนไปตามกาลเวลาท�ำให้วิถีชีวิตความเป็น อยู่นั้นเปลี่ยนไปความเจริญจากพื้นเมืองที่เติบโตเร็วและมากขึ้น จะแผร่ เ ข้ า สู ่ ขุ น เขาอั น มี ค วามสงบอาจท� ำ ให้ ช าวมั น นิ มี ก าร เปลี่ ย นแปลง โดยเฉพาะการหายไปของวิ ถี ชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ ดั้งเดิมที่อาจส่งผลต่อการรักษาความเป็นวิถีชีวิตของชาวมันนิให้ จบลง


Hide อิสระพงศ์ แย้มกลีบ

AISARAPONG YAMKLEEB

Photographer


อ�ำพรางเลือนร่าง เก็บซ่อนความรู้สึก


Women Without Men ผู้หญิงที่ปราศจากผู้ชาย

สถาปัตย์ ตัณศุภศิริเวช

SARTARPUT TUNSUPHASIRIWECH

Photographer


Objectum Sexuality จัดว่าเป็นโรคทางจิตชนิดหนึ่งผู้ที่เป็น โรคนี้จะมีการหลงรักสิ่งที่ไม่ใช้มนุษย์โดยมีการใช้ชีวิตร่วมกันใน ลักษณะของคู่ชีวิต ผลงานชิ้นนี้ถ่ายทอดพฤติกรรมของกลุ่มคนที่ เป็นโรค Objectum Sexuality ให้สังคมรับรู้กลุ่มโรคชนิดนี้ที่มี อยู่จริงในสังคมเพื่อเป็นกรณีศึกษาในการที่สามารถอยู่ร่วมกัน โดยไม่เกิดความผิดแปลก แตกแยก จากสังคมภายนอก


Juicy จูส-ซี่

ประมาณ วิบูลย์จันทร์

PRAMARN WIBULCHAN

Photographer


เสน่ห์ของเรือนร่างผ่านแนวคิดการจ้องมอง


โยคะ

Bodyland

ณัฐธนัชพงศ์ ค�ำประเสริฐ

NATTHANATPHONG KHUMPRASERT

Photographer


โยคะเป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ที่มีทั้งความแข็งแกร่งความยืดหยุ่น และความสมดุลให้กับร่างกายที่สามารถปฎิบัติได้ทุกที่


Twilight แสงสนธยา

ปลื้มกมล พลสมัคร

PLUEAMKAMON PHNOSAMAK

Photographer


มุมมอง บรรยากาศความประทับใจในแสงทไวไลท์ (Twilight) ธรรมชาติที่ผู้คนส่วนใหญ่มองข้าม ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ผ่านทางภาพถ่าย


วริ-นรี

Warinaree

ภานุเดช สุทธหลวง

PHANUDECH SUTTHALUANG

Photographer


แรงบันดาลใจของงานชิ้นนี้เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวซึ่งเกิด อุบัติเหตุจากการจมน�้ำและคนที่มาช่วยชีวิตคือผู้หญิง(คุณน้า) จึง หยิบยกเรื่องราวบางส่วน มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผล งานจากสิ่งที่กลัวและคนที่ช่วยชีวิต ในเวลานั้นเรารู้สึกอ่อนแอ

และเปราะบาง ดั่ง เช่ น ผู ้ ห ญิ ง ผู ้ ห ญิงจึงเข้า ถึงอารมณ์ที่ห ลาก หลายและช่วงความรู้สึกของตัวเราได้ดีที่สุด


Gravity นรากรณ์ รื่นรวย

NARAKORN RUENRUAI

Photographer


เกิดจากความรู้สึกที่ว่า ท้องฟ้าอยู่ที่เดิมตลอดเวลาเรามองขึ้น ไปก็จะเห็นท้องฟ้าอยู่ตรงนั้นที่เดิม เราจะรู้สึกยังไงถ้าท้องฟ้าไหล ตามแรงโน้มถ่วงลงมา


Looking at the sky ภัสสร เอมถมยา

PATSORN EMTHOMYA

Photographer


ก้อนเมฆเปลี่ยนรูปทรงไปตามแรงลม สีของท้องฟ้าเปลี่ยนไป ตามเวลา เกิดเป็นรูปทรงต่างๆ ท�ำให้เกิดจินตนาการและความ รู้สึก


Transgender สุวรรณา เรียงใหม่

SUWANNA RIANGMAI

Photographer


คนข้ามเพศนั้น ไม่ได้แตกต่างจากเพศ หญิง หรือ ชาย เพียงแต่ สภาพจิต ใจของเขาต่างหากที่ไ ม่เหมือนกั น คนข้ า มเพศ ใน ปัจจุบันของสังคมไทย เริ่มเป็นที่ยอมรับ และเปิดใจ รับคนข้าม เพศมากขึ้น เราพบเจอ และอาศัยอยู่ร่วมกับคนข้ามเพศได้ โดย

ไม่เกิดความแตกแยก หรือ รู้สึกแตกต่าง มีความเป็นธรรมดา และ เป็นธรรมชาติของมนุษย์


Sky frame บุษกร ควรคิด

BUSSAKORN KAUNKIT

Photographer


ท้ อ งฟ้ า เปลี่ ย นไปได้ ทุ ก วิ น าที จ ริ ง ๆ จากสี ข าว เริ่ ม มี สี ฟ ้ า สีน�้ำเงินบ้าง ตกเย็นก็เหลืองส้ม ชมพูเริ่มแซม เป็นความงาม ที่ มองได้ไม่เบื่อเลย ในเวลาที่เผลอมองขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วรู้สึก นึกคิดขึ้นมาว่าหากเป็นไปได้ อยากจะขึ้นไปอยู่บนนั้นจริงๆ


มุมมองทางสถาปัตยกรรม Architectural Perspective

พลพล จันทุรัตน์

PALAPOL JUNTURAT

Photographer


ความงามของสถาปัตยกรรมในมุมมองของผู้สร้างสรรค์งาน


สองข้างทาง Wayside

เเสงดาว สุขสาลี

SANGDAO SOOKSALEE

Photographer


การบันทึกเรื่องราวระหว่างสองข้างทางในกรุงเทพฯผ่านมุม มองบนหลังอาน


Self Portrait กัญญ์วรา วรรณชัยวงศ์

KANWARA WANNACHAIWONG

Photographer


ตัวตน ค้นหา ลุ่มลึก เก็บซ่อน ความรู้สึก


เสื่อมสภาพ Past-Time

ศิริพงศ์ กู้ไพบูลย์

SIRIPONG KOOPAIBOON

Photographer


การเสื่อมสภาพตามกาลเวลาของวัตถุ และสิ่งปลูกสร้าง


Self portrait ดลนภา เขียวคล้าย

DOLNAPA KHIEWCLAY

Photographer


การใช้ชีวิตประจ�ำวัน กับกิจกรรมซ�้ำๆเดิมๆ ซึ่งการถ่ายทอด ออกมานั้นย่อมมีอิริยาบถที่แตกต่างกันออกไป


Chinatown ฉัตรพงฒ์ พุ่มเรือง

CHATPONG POMRUMG

Photographer


ไชน่าทาวน์เป็นเเหล่งชุมชนชาวจีนเเละชาวไทยเชื้อสายจีนที่ อาศัยอยู่เป็นจ�ำนวนมาก


Live My Life พิสุทธิ์ กลิ่นสุบรรณ์ PISUT KLINSUBUN

Photographer


เพศเป็ น เรื่ อ งส่ ว นตั ว และใกล้ ชิ ดกับ เรามาก ในสังคมไทยมี ความอิหลักอิเหลื่อท�ำนองว่าท�ำได้แต่ห้ามพูดถึง


บุคคลข้ามชาติ Migrant Worker

ปิยะณัฐ แก้วก่อ

PIYANUT KAEWKOR

Photographer


ตัวตน เอกลักษณ์ของความเป็นแรงงานข้ามชาติ


PUNX ภูมิ เพชระบูรณิน

POOM PHETCHARABURANIN

Photographer


ผลงานชิ้นนี้ต้องการน�ำเสนอกลุ่มพั้งค์ในประเทศไทย กิจกรรม ต่างๆของกลุ่มคนพั้งค์ และการอยู่ร่วมกันในสังคมไทย การแสดง จุดยืนที่ชัดเจนและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง


โนราโรงครู

มัทนียา อนุจันทร์

MATTANIYA ANUJAN

Photographer


โนราโรงครู อั ต ลั ก ษณ์ ของการรั ก ษา สื บ ทอดประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แข็งแรงของภาคใต้


ดอกไม้แห่งความทรงจ�ำ A flower of memory

กนกวรรณ จาดสุวรรณ KANOKWAN JADSUWAN

Photographer


ข้ า พเจ้ า ต้ อ งการถ่ า ยทอดผลงานศิ ล ปะภาพถ่ า ยที่ เ กี่ ย วกั บ ความทรงจ�ำในวัยเด็กของตัวข้าพเจ้าเองที่เกิดจากประสบการณ์ จริงของตัวข้าพเจ้าที่มีต่อบุคคลในครอบครัวออกมาในรูปแบบ ของภาพถ่าย Self Portrait ตัวเองกับบุคคลในครอบครัวและ สถานที่ต่างๆที่ข้าพเจ้ามีความทรงจ�ำต่างๆที่เคยผ่านมา


เรโทรสเปกต์ Retrospect

ปรัตถกร บุณยรักษ์

PARATTAKORN BUNYARAK

Photographer


ดนตรี คือสิ่งจรรโลงใจของทุกๆคน เพื่อช่วยให้ความสุข ความ สนุกแก่ผู้ชม ด้วยความที่เจ้าของงานชื่นชอบในการแสดงดนตรี จึงหยิบประเด็นนี้มาสร้างเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างชิ้นงาน


Sports จิตวิญญาณของกีฬา

เจตา จอกแก้ว

JETA JOKKAEW

Photographer


ผลงานชิ้นนี้ต้องการน�ำเสนอเกี่ยวกับ กีฬาต่างๆที่ตัวข้าพเจ้า ทั้งชอบและเคยได้เล่นมาก่อน


FUN FAT อาภารัตน์ เหมือนเดช APARAT MUANDECH

Photographer


การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้แรงได้แรงบันดาลใจมาจากตัวเอง จะมีความสุขทุกครั้งเมื่อได้รับประทานอาหาร ดังนั้นจึงอยาก สร้างผลงานศิลปะภาพถ่ายในลักษณะบันทึกเรื่องราวของตัวเอง ในการรั บ ประทานอาหารถ่ า ยทอดผลงานชิ้ น นี้ อ อกมาโดย Self Portrait


สตรีสตรอง

ปวรปรัชญ์ รอดจากเข็ญ

PAWORAPRACH RODJAKHEN

Photographer


เพื่ออยากให้อารมณ์อีกด้านของผู้หญิงได้แสดงออกมา ซึ่งไม่ใช่ แค่ความอ่อนโยนและสวยงามเสมอไป อีกมุมที่ยังมีความแข็งแรง ด้านอารมณ์


พื้นที่สงบ Peaceful

วทัญญู โพธิ์สุข

WATANYOO POSUK

Photographer


สังคมเมืองในปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีการสร้าง ตึก ความเจริญเข้ามามากเท่าไหร่ ธรรมชาติก็ยิ่งห่างออกไปมาก เท่านั้น ผู้สร้างงานจึงต้องการน�ำเสนอพื้นที่สงบในความคิดของผู้ สร้างผลงานออกมาในรูปแบบภาพถ่าย


เสียงของความเงียบ Sound of silence

ชาคร จรดล

CHAKORN CHORADOL

Photographer


ความเงียบสงบก่อให้เกิดความสุขในจิตใจ


หวนกลับ Ordinary

เรื่องสามัญ

ชานนท์ ประไพวรานนท์

CHANON PRAPHAIWARANON

Photographer



กาลครั้งหนึ่ง Once upon a time

ศิวกร ขวัญธรรมคุณ

SIVAKORN KHWANTHAMKHUN

Photographer


ความทรงจ�ำวัยเด็ก ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปแค่ไหน ผมก็ยังนึกถึง ตอนที่เป็นเด็กอยู่ทุกครั้ง จึงน�ำภาพถ่ายที่จ�ำลองความรู้สึกเมื่อ ครั้งยังเป็นเด็ก น�ำมาใช้สื่ออารมณ์ในการถ่ายภาพ เพื่อแสดงออก ถึงความคิดถึงเรื่องราวต่างๆในอดีต


Dark อภิญญา คงน่วม

APINYA KUNGNOUM

Photographer


ได้ แรงบั น ดาลใจจากการเห็ น พบเจอผู้ป ่วยทางจิต ในกลุ่ม บ�ำบัดและได้มีโอกาสแรกเปลี่ยนความคิด ทุกคนมีปัญหาที่ต่าง กัน แต่มีสิ่งที่เหมือนกันคือ ความกลัวที่จะพูด เก็บตัว และใช้ชีวิต เหมือนกันอยู่ในความมืด


Hope @ Solitary โดดเดี่ยวและความหวัง

อภิวัฒน์ ทิพย์สุวรรณ APIWAT TIPSUWAN

Photographer


ความรักก็เปรียบเสมือนแสงสว่างแต่ในทางกลับกันที่ใดมีแสงก็ ย่อมมีเงามืด ก็เหมือนการผิดหวังจากความรัก แต่ก็ยังคงมีความ หวังในความโดดเดี่ยว ที่ใฝ่ฝันหาถึงแสงสว่างหรือเป็นการพ้นจาก ความรู้สึกผิดหวังนั้นเอง


FASCINATION เสน่ห์ของสัตว์

พิชชากร อ๊อดผูก

PITCHAKORN OODPOOK

Photographer


ข้าพเจ้าต้องการถ่ายทอดเสน่ห์ อารมณ์ และคาแรคเตอร์ของ สัตว์แต่ละชนิดผ่านตัวมนุษย์ เพราะสัตว์และมนุษย์นั้นมีลักษณะ นิสัยคล้ายกัน แต่มีความแตกต่างกัน ตรงที่มนุษย์นั้นมีวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงมีข้อแตกต่างกันไป ข้าพเจ้าจึง ต้องการน�ำเสนอผลงานของศิลปะภาพถ่ายออกมาในรูปแบบงาน Fashion/Fineart ที่ผสมอยู่ในผลงาน


mini-more พรพรรณ ทองเสฐียร

PORNPUN THONGSATIEN

Photographer


ผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องการบันทึกภาพตามสถานที่ต่างๆโดยมี คนรู้ใจอยู่ด้วยทุกๆที่


วนิดา Wanida

ศุภกร ศรีจ�ำนงค์

SUPAKORN SRIJUMNONG

Photographer


วนิดา หญิงผู้เป็นที่รัก สร้างขึ้นจากห้วงอารมณ์ความรู้สึก จาก กลิ่น ความรัก ความอบอุ่น ตลอดจนความคลี่คลายทางอารมณ์ และปมด้อยที่ติดค้างคาใจมาตลอดระยะเวลาที่ยาวนาน งานชุดนี้ จึงเป็นการสื่อสารความรักที่มีต่อเธอ แทนวาจาที่ต้องการกล่าวค�ำ “ขอโทษ” และ “บอกรัก”


Personal Contact อารดา ก้องเกียรติศิลป์

อารียา เซ็กศูนย์

ฉัตรไชย ไชยโพธิ์

ARADA KONGKIATSIN

CHATCHAI CHAIYAPHO

ผลงาน : Age of twenty one 080-9176685 arada.kks@gmail.com

ผลงาน : Inside out 086-9826012 linbowro@hotmail.com

เมรินทร์ รัมนา

วรวิช เลิศบ�ำเพ็ญทรัพย์

AREEYA CHECKSOON

MAYRIN RAMMANA

VORRAVIT LERTBAMPHENSAP

ผลงาน : แต่งแต้ม 087-6022037 areeya_5502694@yahoo.com

ผลงาน : Lesbian 086-4095992 Mayrin_nv@hotmail.com

ผลงาน : NIGHTSCAPE 090-6695796 manufcoat@gmail.com


ชนินทร์ หิรัญรัตนไชย

ศิวกร กิจกุลทอง

วรายุทธ บุญฤทธิ์

ฉัตรฐากรณ์ ฤาวิชา

วีระวัฒน์ ศรีพนน้อย

SIWAKORN KITKULTHONG

WARAYUT BOONYARIT

CHATTAGON LUVICHAR

WEERAWAT SRIPHONNOY

ผลงาน : มด 081-5816023 chaninnajaa@hotmail.com

ผลงาน : Place Memory 091-7787994 photo_ys@hotmail.com

ผลงาน : แฝง

ผลงาน : เงา 095-7530474 chattagon@gmail.com

ผลงาน : La dame en noir 085-0317188 weerawat.s55@rsu.ac.th

สุรพศ เฉลิมกลิ่น

ณัฐภณ เรือนค�ำปา

warayut.b55@rsu.ac.th

มงคล มามาก

อรรถพล อยู่ยืนยง

หิรัณย์ ชื่นชูวิทย์

SURAPOT CHALERMKLIN

NUTTAPON RUEANKAMPA

MONGKOL MAMAK

AUTTAPON YOOYUENYONG

HIRUN CHUENCHOOVIT

ผลงาน : ธรรมชาติอันรื่นรมย์ 086-7763651 surapot.c55@rsu.ac.th

ผลงาน : ร่องรอย 087-4967096 nattapon.r55@rsu.ac.th

ผลงาน : จักรยาน 081-2486623 m_mong_m@hotmail.com

ผลงาน : Doi Chang Coffee 085-2222479 yauttapon@gmail.com

ผลงาน : กระเหรี่ยงฤาษี 080-3043417 hirun1_11@hotmail.com

Personal Contact

CHANIN HIRANRATTANACHAI


Personal Contact

อนุวัฒน์ วรรณศิริ

ภัทราพันธ์ อุดมศรี

อิสระพงศ์ แย้มกลีบ

สถาปัตย์ ตัณศุภศิริเวช

ประมาณ วิบูลย์จันทร์

ANUWAT WANNASIRI

PHATHRAPHAN UDOMSRI

AISARAPONG YAMKLEEB

SARTARPUT TUNSUPHASIRWECH

PRAMARN WIBULCHAN

ผลงาน : ครัวมอญ

ผลงาน : มานิ ณ ภูบรรทัด 087-7808990 phathraphan.u@hotmail.com

ผลงาน : Hide 083-1336616 aisarapongz@gmail.com

ผลงาน : Women Without Men

ผลงาน : Juicy 081-7437338 pramarn.v@gmail.com

Anuwat_26@yahoo.co.th

ณัฐธนัชพงศ์ ค�ำประเสริฐ

ปลื้มกมล พลสมัคร

ภานุเดช สุทธหลวง

095-8908992 thepeacelife@hotmail.com

นรากรณ์ รื่นรวย

ภัสสร เอมถมยา

NATTHANATPHONG KHUMPRASERT

PLUEAMKAMON PHNOSAMAK

PHANUDECH SUTTHALUANG

NARAKORN RUENRUAI

PATSORN EMTHOMYA

ผลงาน : โยคะ 092-2519907 ntnp.ft24@gmail.com

ผลงาน : Twilight 086-9428829

ผลงาน : วริ-นรี 083-8035174 playthaiboy@hotmail.com

ผลงาน : Gravity 085-1117884 at_loveis@yahoo.com

ผลงาน : Looking at the sky 093-5844566 patsorn.e55@rsu.ac.th

Blue_Sky_hanew@hotmail.com


สุวรรณา เรียงใหม่

บุษกร ควรคิด

พลพล จันทุรัตน์

เเสงดาว สุขสาลี

กัญญ์วรา วรรณชัยวงศ์

BUSSAKORN KAUNKIT

PALAPOL JUNTURAT

SANGDAO SOOKSALEE

KANWARA WANNACHAIWONG

ผลงาน : Transgender 081-6600872 suwanna.riangmai@gmail.com

ผลงาน : Sky frame 081-7809371 lapin.eve@gmail.com

ผลงาน : มุมมองทางสถาปัตยกรรม

ผลงาน : สองข้างทาง 086-7922830 Sangdao.550@gmail.com

ผลงาน : Self Portrait 097-0422920 mune.snap@hotmail.com

ศิริพงศ์ กู้ไพบูลย์

ดลนภา เขียวคล้าย

080-4719965 mmarkzerok@gmail.com

ฉัตรพงฒ์ พุ่มเรือง

พิสุทธิ์ กลิ่นสุบรรณ์

ปิยะณัฐ แก้วก่อ

SIRIPONG KOOPAIBOON

DOLNAPA KHIEWCLAY

CHATPONG POMRUMG

PISUT KLINSUBUN

PIYANUT KAEWKOR

ผลงาน : เสื่อมสภาพ 082-4992043 siripong.k55@rsu.ac.th

ผลงาน : Self portrait 083-0655154 Dolnapa.k55@rsu.ac.th

ผลงาน : Chinatown 082-4716209

ผลงาน : Live My Life 086-4025009 pisutonline@gmail.com

ผลงาน : บุคคลข้ามชาติ 087-5673022 Nutszo@hotmail.com

chatpong_pomrumg@hotmail.com

Personal Contact

SUWANNA RIANGMAI


Personal Contact

ภูมิ เพชระบูรณิน

มัทนียา อนุจันทร์

กนกวรรณ จาดสุวรรณ

ปรัตถกร บุณยรักษ์

เจตา จอกแก้ว

POOM PHETCHARABURANIN

MATTANIYA ANUJAN

KANOKWAN JADSUWAN

PARATTAKORN BUNYARAK

JETA JOKKAEW

ผลงาน : PUNX 090-9852476

ผลงาน : โนราโรงครู 088-7522626

ผลงาน : ดอกไม้แห่งความทรงจ�ำ

ผลงาน : ดนตรี...เพื่อชีวิต 083-0669796 ihere.po@gmail.com

ผลงาน : Sports 082-5999533 mo5500834@hotmail.com

phetcharaburanin_p@outlook.co.th

อาภารัตน์ เหมือนเดช

mmw_mattaniya@hotmail.com

ปวรปรัชญ์ รอดจากเข็ญ

082-5756697 Kanokwan5505716@gmail.com

วทัญญู โพธิ์สุข

ชาคร จรดล

ชานนท์ ประไพวรานนท์

APARAT MUANDECH

PAWORAPRACH RODJAKHEN

WATANYOO POSUK

CHAKORN CHORADOL

CHANON PRAPHAIWARANON

ผลงาน : FUN FAT 086-3971027 nampueng_z@hotmail.com

ผลงาน : สตรีสตรอง

ผลงาน : พื้นที่สงบ 099-0638811 watanyooposuk@gmail.com

ผลงาน : เสียงของความเงียบ 081-8845727 chakorn.c55@rsu.ac.th

ผลงาน : หวนกลับ

daipwrp@gmail.com

chanon.pr55@rsu.ac.th


ศิวกร ขวัญธรรมคุณ

APINYA KUNGNOUM

อภิญญา คงน่วม

อภิวัฒน์ ทิพย์สุวรรณ APIWAT TIPSUWAN

PITCHAKORN OODPOOK

PORNPUN THONGSATIEN

ผลงาน : กาลครั้งหนึ่ง 097-2752002 sivakorn.kh@gmail.com

ผลงาน : Dark 084-5970327

ผลงาน : Hope @ Solitary 099-4507950 apiwat.ti55@rsu.as.th

ผลงาน : Glanimor

ผลงาน : mini-more 099-4426181 nee_num_na@hotmail.com

ศุภกร ศรีจ�ำนงค์

SUPAKORN SRIJUMNONG

ผลงาน : วนิดา 081-4709911 lunthomehouse@gmail.com

wcharatsi.apinya@outlook.co.th

พิชชากร อ๊อดผูก

087- 3599860 Realfilmphoto.rsu55@gmail.com

พรพรรณ ทองเสฐียร

Personal Contact

SIVAKORN KHWANTHAMKHUN




การสอนแบบปฎิบัตินิยมกับทฤษฎีนิยม ในสถาบันสอนศิลปะ (Practice Base and Learning Base in Art Institute)

รองศาสตราจารย์ สน สีมาตรัง (20 พฤษภาคม 2016)


บทความเรื่ อ ง “การสอนแบบปฎิ บั ติ นิ ย มกั บ ทฤษฎี นิ ย มใน สถาบันสอนศิลปะ” มีเจตนากระตุ้นเตือนให้ตระหนักถึงหลักการ ส�ำคัญในการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ เพื่อไปเจริญงอกงาม เป็นศิลปิน และนักออกแบบงานศิลปะ ให้สืบทอดพันธกิจส�ำคัญนี้ต่อไปอย่าง มั่นคง ไม่หวั่นไหวกับกระแสระบบทฤษฎีนิยมที่มีบทบาทมากใน ระบบการศึกษาทั่วไป ก�ำลังก้าวเข้ามาในสถาบันสอนศิลปะ ทั้งนี้ เพราะเป็ น ข้ อ ก� ำ หนดของงานประกั น คุ ณ ภาพระดั บ หลั ก สู ต ร ระดั บ คณะวิ ช า และระดั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาทั่ ว ประเทศไทย บทความนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจ เข้าถึงปัญหา และการแก้ ปัญหา เพิ่มพูนความเชื่อมั่นในคุณประโยชน์ของระบบปฎิบัตินิยม 1) ระบบปฎิบัตินิยม(Practice Base)กับสถาบันสอนศิลปะ ในยุโรปและสหัฐอเมริกา ------------------------------------------------------------------------สถาบั น สอนศิ ล ปะในโลกสมั ย อดี ต มี ก ารเรี ย นการสอนแบบ ปฎิบัตินิยม ในยุโรปมีชื่อเรียกทั่วไปว่า อะคาดิมี (Academy) เช่น Art Academy of Rome , Royal Art Academy in London ...ฯลฯ หรือบางสถาบันเรียกว่า Art School เช่น Slad School Art in London... ฯลฯ เป็นต้น ในสหรั ฐ อเมริ ก ามี ชื่ อ เรี ย กทั่ ว ไปว่ า Art Institue เช่ น Art Institue of Chicago , Pratte Art Institue (New York) and Cranbrook Art Institue ...ฯลฯ เป็นต้น มีข้อสังเกตว่า สถาบันสอนศิลปะ ซึ่งเป็นสถาบันเฉพาะทาง ใน ระบบการศึก ษาของยุโรป ใช้ว ่า “Academy” มี ค วามหมาย ชัดเจน แต่ในสหรัฐอเมริกาไม่นิยมใช้ชื่อนี้

2) ระบบปฎิบัตินิยมในสถาบันสอนศิลปะในเอเซีย ------------------------------------------------------------------------ในเอเซียได้รับรูปแบบการศึกษาจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา เช่น ในประเทศจีน หลังสงครามโลกครั้งที่2 (หลังพ.ศ.2489) มี การตั้ ง สถาบั น สอนศิ ล ปะระดั บ ชาติ ขึ้ น ในมณฑลส� ำ คั ญ เช่ น Beijing Central Academy of Fine Arts (CAFA), Guangdong Academy of Fine Arts(GAFA)...ฯลฯ การตั้งชื่อสถาบันสอน ศิลปะใช้ระบบยุโรป เพราะเหตุผลทางการเมือง ประเทศจีนมี ระบบการปกครองแบบคอมมูนนิสต์ เป็นคู่ขัดแย้งการเมืองกับ สหรัฐอเมริกา ซึ่งปกครองระบบทุนเสรียิยม ในปัจจุบัน บางประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเซีย ไม่ นิยมใช้ชื่อ Academy เปลี่ยนมานิยม ใช้ชื่อเรียกว่า University of Arts and University of Art and Design เช่น Aalto University of Art and Design,Helsinki (Finland),Visava Parati University of arts at Santiniketan (India), Tokyo University of Arts (เดิมชื่อ Tokyo University of Fine Arts and Music) , Tama Art University in Tokyo , Musashino Art in Tokyo, Kobe Design University in Kobe , and Hongnick University of Arts in Soual , South Korea ...ฯลฯ.เป็นต้น มีข้อสังเกตว่า มหาวิทยาลัยเหล่านี้ ล้วนเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะ ทางศิ ล ปะ แม้ จ ะใช้ ชื่ อ ว่ า “มหาวิ ท ยาลั ย ” ปกติ ร ะบบ มหาวิ ท ยาลั ย ทั่ ว ไปจะมี ก ารเรี ย นการสอนแบบสหวิ ช าการ มี หลายสาขาวิชา เช่น ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ การ ออกแบบ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ ครุศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บัญชี และบริหารจัดการ ... ฯลฯ เป็นต้น


3) ระบบปฎิบัตินิยมกับสถาบันสอนศิลปะในประเทศไทย ------------------------------------------------------------------------ในประเทศไทย พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว รัชกาลที่6 (ครองราชย์ พ.ศ.2453-2467) ทรงจัดตั้ง โรงเรียน เพาะช่าง ในพ.ศ.2465 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมายกฐานะ เป็นวิทยาลัยเพาะช่าง และยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ ราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง ยังสืบทอดพระราชประสงค์ของ รัชกาลที่6 ให้ความส�ำคัญการผลิตช่างศิลปะไทยและสากลระดับ ชาติและระดับนานาชาติ ต่อมาถึงปัจจุบัน รั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ 7 (ครองราชย์2468-2476) ทรงจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ขึ้นในปีพ.ศ.2476 ต่อมารัฐบาลโดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ศิลปากรในปีพ.ศ.2486 เป็นสถาบันสอนศิลปะระดับอุดมศึกษา แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี เป็น ศาสตราจารย์แห่งเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ชื่อ Corado C Feroci เป็นคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นคนแรก ใช้หลักสูตรและระบบการเรียนการสอนแบบ Art Academy in Italy การศึกษาแบบArt Academy อย่างยุโรป ของมหาวิทยาลัย ศิ ล ปากรเริ่ม ถูก ท้าทาย เมื่อ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ ่ น มาลากุ ล อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรในพ.ศ.2512 ได้ เ ช่ า ที่ ดิ น พระราชวังสนามจันทน์ จ.นครปฐม ประมาณ 400ไร่เศษ ขยาย วิ ท ยาเขต เปลี่ ย นฐานะมหาวิ ท ยาลั ย เฉพาะทางศิ ล ปะ เป็ น มหาวิทยาลัยสหวิชาการ ซึ่งรูปแบบสถาบันอุดมศึกษาที่นิยมใน สหรั ฐ อเมริ ก า โดยจั ด ตั้ ง คณะวิ ท ยาศาสตร์ และคณะอั ก ษรศาสตร์ ขึ้นที่วิทยาเขตใหม่ นับว่าเป็นความโชคดีที่ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ไม่มี

นโยบายเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการศึกษาสาขาศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะการออกแบบ และโบราณคดี ยังให้ ด�ำเนินการเรียนการสอนแบบ Art Academy ตามอย่างยุโรป อยู่ ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯต่อมา จนกระทั่ง ปัจจุบัน ประมาณ พ.ศ. 2530 รัฐบาลประกาศนโยบายการศึกษาระดับ อุดมศึกษาเป็นระบบเสรี ให้มีมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชน ได้อย่างเสรี ท�ำให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนจ�ำนวนมาก ใน มหาวิ ท ยาลั ย เอกชนที่ ตั้ ง ขึ้ น ใหม่ มีการเปิดการเรียนการสอน สาขาวิชาศิลปะ และออกแบบด้วยเป็นจ�ำนวนมาก เช่น คณะ ศิ ล ปะและการออกแบบ และคณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิ ท ยาลั ย อั ส สั ม ชั ญ และ คณะศิ ล ปะกรรม มหาวิ ท ยาลั ย กรุงเทพ... ฯลฯ เป็นต้น สถาบันสอนศิลปะตามที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนมีพันธกิจบ่มเพาะ เมล็ดพันธุ์ศิลปินและนักออกแบบชั้นยอดเยี่ยมให้สังคมไทย เมล็ด พันธุ์ชั้นดีเหล่านี้ เจริญงอกวามเป็นศิลปินชั้นน�ำและนักออกแบบ ศิลปะระดับชาติและระดับโลกในเวลาต่อมา ระบบการเรียนการสอนของทุกสถาบันสอนศิลปะที่กล่าวมา ใช้ ระบบปฎิบัตินิยม (Practice Base ) มาก 70-90% ผสมกับระบบ ทฤษฎี นิ ย ม (Learning Base) 10-30% โดยพิ จ ารณาจาก หลักสูตรที่ใช้สอนv 4) ระบบการแสวงหาความรู้ ------------------------------------------------------------------------ธรรมชาติได้สร้างสมองมนุษย์ให้มีซีกขวาและซ้าย ให้ท�ำหน้าที่ ต่างกัน ซีกขวาท�ำหน้าที่กระตุ้นการสร้างจินตนาการ ความฝัน


อารมย์ ความรู้สึกต่อสิ่งเร้าเบื้องหน้า ความรู้สึกสะเทือนใจ เสียใจ ดีใจ โกรธ เกลียด รัก ชอบ พอใจ ไม่พอใจ สงสัย กังวล วิตก เบื่อ หน่าย อ่อนร้า ขี้เกียจ ขยัน ...ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นโดยไม่ ต้องมีเหตุผลน�ำ ใช้สัญชาตญาณ สามัญส�ำนึก ประสบการณ์อดีต และปัจจุบัน เป็นเหตุปัจจัยขับเคลื่อนการแสดงออก สมองซีกขวา นี้สร้างศิลปินและนักออกแบบ คนทั่วไปมองเห็นผลงานศิลปะและงานออกแบบเป็นแค่ชิ้นงาน ศิลปะ ให้ความเพลิดเพลินตาและเจริญจิตใจเมื่อได้เห็น ยกเว้น คนในวงการศิลปิน นักประวัติศาสตร์ศิลปะ และนักการศึกษา ทางสุ น ทรี ย ศาสตร์ จะมองเห็ น คุ ณ ค่ า ตั ว งานศิ ล ปะและการ ออกแบบมากกว่าความพึงพอใจ โดยเห็นว่าภายในผลงานศิลปะ แต่ละชิ้น มีความรู้และองค์ความรู้อยู่ภายในชิ้นงานเหล่านั้น ส่ ว นสมองซีก ซ้าย ท�ำหน้าที่ก ระตุ้น การคิ ด การใช้ เ หตุ ผ ล (Rational) และระบบตรรกะ (Logic) เป็นระบบการใช้เหตุผล ปลายทางของเหตุผล คือ ความรู้ จัดระเบียบความรู้ น�ำไปสู่องค์ ความรู้ สมองซี ก ซ้ า ยนี้ สร้ า งนั ก วิ ท ยาศาสตร์ ธ รรมชาติ นั ก วิทยาศาสตร์ประยุกต์ นักวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ นักคณิตศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักอักษรศาสตร์ และ นักปรัชญา ...ฯลฯ โดยทั่วไปมนุษย์มีพัฒนาการสมองซีกขวาและซ้ายไม่เท่ากัน มี สาเหตุหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม การถูกเลี้ยงดูในระยะอ่อนวัย (อายุ1-5ปี) ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาสมองด้านใดด้าน หนึ่งมากน้อยต่างกัน มนุษย์ทุกคนจึงมีความถนัด ความสนใจ และบุคลิกภาพเฉพาะ ตน แตกต่างกัน ทั้งนี้มีสาเหตุมาจาก การส่งเสริมพัฒนาสมองซีก ไหนมากกว่ากัน คนจึงมีนิสัยใจคอต่างกั น โลกใบนี้ จึ ง มี ห ลาก สีสรรค์

5) ระบบปฎิบัตินิยม คือ อะไร ? ------------------------------------------------------------------------ระบบการเรียนการสอนในสถาบันสอนศิลปะ เลือกใช้ระบบ ปฎิบัตินิยมทั้งสิ้น หลักการส�ำคัญของระบบนี้ ต้องให้ผู้เรียนมี อิ ส ระภาพในการแสดงออก ทางความรู้สึก ความฝัน และ จินตนาการ โดยไม่ต้องใช้เหตุผลน�ำความรู้สึก ให้เหตุผลตามหลัง ความรู้สึก และจินตนาการ เครื่ อ งมื อ ที่ ส นั บ สนุ น อิ ส ระภาพให้ เ กิ ด ความสั ม ฤทธิ ผ ลทาง ศิลปะ คือ การฝึกฝนให้นักศึกษาศิลปะเป็นคนช่างสังเกต และให้ “ลืมความรู้จัก ถามหาความรู้สึก” ฝึกฝนการใช้ความรู้สึกตอบโต้ ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว ฝึกฝนการหาความบันดาลใจจากสิ่งที่อยู่ รอบตั ว ฝึ ก ฝนการสร้ า งประสบการณ์ ค วามงาม การสะสม ประสบการณ์เข้าใจเข้าถึงความงามที่หลากหลาย สะสมการสร้าง รสนิยมศิลปะขั้นสูง 6) เครื่องมือที่ส่งเสริมระบบปฎิบัตินิยม ------------------------------------------------------------------------เครื่องมือที่ท�ำให้การฝึกฝนต่างๆ น�ำไปสู่การสร้างผลงานศิลปะ คือ วิชาวาดเส้น วิชาองค์ประกอบศิลปะ และเทคนิคช่างศิลปะ อื่นๆ ในที่นี้หมายถึง เทคนิคการสร้างงานศิลปะ2มิติ , 3มิติ ,และ การน� ำ เสนอผลงานต่ อ สาธารณะ หรื อ รู ้ จั ก ในชื่ อ เรี ย กว่ า จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปะการออกแบบ ภาพถ่าย ภาพยนต์ วีดิโอ แอนนิเมชั่น กราฟิค อินโฟกราฟิค ดิจิตอลอาร์ต ...ฯลฯ วิชาวาดเส้น จัดเป็นเทคนิคช่างศิลปะ. มีความประสงค์ฝึกฝนผู้ เรียน ให้สามารถถ่ายทอดแบบที่ตาเห็น และความรู้สึก หรือ จินตนาการที่อยู่มโนทัศน์ ออกมาเป็นภาพลายเส้นบนวัสดุที่ใช้


วาดเส้น เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นไม้ ผนังปูน ...ฯลฯ วิชาองค์ประกอบศิลปะ จัดเป็นเทคนิคช่างศิลปะ เช่นเดียวกับ วิชาวาดเส้น ต่างกันที่วิชาองค์ประกอบ เน้นการจัดวางสื่อที่ใช้ แสดงออก (Subject Matters) ทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่นคน สัตว์ ต้นไม้ สิ่งของ เครื่องใช้...ฯลฯ และสื่อที่ใช้แสดงออกที่เป็นสิ่ง ประดิษฐ์ขึ้น สื่อที่อยู่ในจินตนาการ ความฝัน และความเชื่อ ... ฯลฯ เช่น รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงอิสระ รูปในความฝัน รูปตาม ความเชื่ อ ประสบการณ์ จั ด วางสื่ อ ต่ า งๆลงในระนาบ2มิ ติ ประสบการณ์สร้างงาน3มิติ...ฯลฯ เป็นต้น เจตนาการใช้สื่อต่างๆตามที่กล่าวถึง ล้วนมีเจตนาเพื่อให้เป็น ตัวแทนความรู้สึก อารมย์ รสนิยม ความงาม ความฝัน ความเชื่อ จินตนาการ และความเพลินใจ...เป็นต้น วิชาจิตรกรรม เป็นเทคนิคช่างศิลปะ เน้นความส�ำคัญให้ผู้เรียน เรี ย นรู ้ ก ารใช้ สี น�้ ำ (Water Color) สี ฝุ ่ น (Tempara Color) สีน�้ำมัน (Oil Color) สีอะครีลิค ( Acrylic Color) การผสมสี การ ใช้ ชุ ด สี การรับ รู้ความรู้สึก จากการใช้สี การแทนค่ า ความรู ้ สึ ก และอารมย์ต่างๆด้วยสี สะสมประสบการณ์ความงดงามจากการ ใช้ สี รสนิยมสี การสร้างภาพ2มิติ และการสร้ า งภาพ3มิ ติบน ระนาบ2มิติ ... ฯลฯ เป็นต้น วิชาประติมากรรม เน้นความส�ำคัญที่การสร้างรูปทรงต่างๆ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ขึ้นรูปทรงด้วยดินปั้น สลักหิน สลักไม้ เชื่อมโลหะให้เป็นรูปทรง ทุบ/บุแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรง ใช้วัสดุ สังเคราะห์มาสร้างรูปทรง ...ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคการสร้างรูปทรง ตามที่ก ล่าวมา เป็น เครื่องมือน�ำไปสู่ก ารเรี ย นรู ้ ค วามรู ้ สึ ก และ อารมย์ต่างๆจากรูปทรงต่างๆ และฝึกฝนการสร้างรูปทรงให้ตอบ สนองความรู้สึกและอารมย์ เพื่อก่อให้เกิดการแสดงออกเฉพาะ ตน

วิ ช าภาพพิ ม พ์ เป็ น เทคนิ ค ศิ ล ปะ เป็ น การเรี ย นรู ้ จั ก น� ำ เทคโนโลยี่มาช่วยการแสดงออกทางศิลปะ นอกเหนือจากการใช้ มือสร้างงานศิลปะ เช่น ทดลองใช้เทคนิคการแกะไม้ (Wood Cut) เทคนิคการกัดกรดบนแผ่นแม่พิมพ์โลหะ (Ething and Aqouatine) เทคนิคการพิมพ์โดยสร้างแม่พิมพ์เป็นแผ่นหินทราย (Lithograph ) เทคนิคภาพพิมพ์หินทราย มีหลักการว่า “ไขจับไข ไขไม่จับน�้ำ” เทคนิคเมโซติน (Mezotine) เป็นเทคนิคการท�ำแม่ พิ ม พ์ จ ากแผ่ น ทองแดง เทคนิ ค พิ ม พ์ ต ะแกรงผ้ า ไหม (Silk Screen) เทคนิคเปเปอร์บล็อก (Paper Block) เทคนิคโมโนพริ้นท์(Mono-Print) เป็นเทคนิคสร้างงานภาพพิมพ์จากความ บังเอิญ หรือจากการไหล-เคลื่อนย้ายของสีหมึกพิมพ์อย่างอิสระ ไม่สามารถควบคุมได้ และเป็นเทคนิคภาพพิมพ์ที่พิมพ์ได้ภาพ เดียว จะพิมพ์อีกไม่ได้ ...ฯลฯ เป็นต้น วิชาภาพถ่าย เป็นเทคนิคช่างศิลปะ เป็นวิชาให้เรียนรู้กระบวน ฟิสิกส์ เกี่ยวกับแสง และ สีเกิดจากแสง (Spectrum Color ) คณิ ต ศาสตร์ และเคมี ใ ช้ ส ร้ า งภาพ เพื่อตอบสนองความรู้สึก อารมย์ และจินตนาการ สร้างประสบการณ์แสดงออกภาพถ่าย สร้างสรรค์แนวศิลปะมโนทัศน์ (Conceptual Art Photo) ศิลปะ ภาพถ่ายแนวศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art Photo) ศิลปะภาพถ่าย แนวธุ ร กิ จ (Commercial Art Photo) ศิ ล ปะภาพสารคดี (Documentary Art Photo) ...ฯลฯ เป็นต้น ปัจจุบันวิทยาการเทคโนโลยี่ดิจิตอลก้าวหน้ามาก ท�ำให้ศิลปิน และนักออกแบบ ทุกสาขา ได้รับอิทธิพลการใช้สื่อ และวัสดุ เพื่อ การสื่อสารความหมาย ความรู้สึก อารมย์ และจินตนาการ อย่าง หลากหลาย สถาบันสอนศิลปะปัจจุบันได้ปรับตัว รับวิทยาการเทคโนโลยี่ ใหม่ๆเหล่านี้มาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานศิลปะด้วย


7) เทคนิคช่างศิลปะไม่ใช่เป้าหมายศิลปะ ------------------------------------------------------------------------ทุกเทคนิคช่างศิลปะไม่ใช่เป้าหมาย ทุกเทคนิคเป็นเพียงเครื่อง มื อ ทางช่ า งศิ ล ปะ มี ค วามส� ำ คั ญ เสมื อ นสะพานเชื่ อ มโลกา นามธรรมกับโลกรูปธรรม ให้เกิดผลงานศิลปะและการออกแบบ เชิงประจักษ์สายตาเท่านั้น การเรี ย นการสอนศิ ล ปะ จึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งเรี ย นรู ้ และฝึ ก ฝน เทคนิ ควิทยาช่างศิลปะ อย่างช�ำนิช�ำนาญ เพื่ อ ให้ เ กิ ด สะพาน เชื่อมโลกนามธรรมในจิตใจในสมอง ซึ่งอยู่ภายในตัวผู้เรียน สาม รถน� ำ เสนอเป็ น งานศิ ล ปะเชิ ง ประจั ก ษ์ ท างสายตาอย่ า งได้ ผ ล สูงสุด สิ่งส�ำคัญ คือ อย่าให้เทคนิคน�ำสติปัญญา เพราะงานศิลปะชิ้น นั้นจะมีคุณค่าเป็นแค่ “งานเทคนิค”หรือ”งานช่างฝีมือ” สมการอธิบายว่า ผลงานชิ้นใดเป็นงานศิลปะ ผลงานชิ้นใดเป็น งานช่างฝีมือ มีดังนี้ “ศิลปะ = สติปัญญา + ความช�ำนิช�ำนาญช่าง” “งานช่างฝีมือ = ความช�ำนิช�ำนาญช่าง + สติปัญญา” 8) เป้าหมายระบบปฎิบัตินิยม ------------------------------------------------------------------------ระบบปฎิ บั ติ นิ ย มมี เ ป้ า หมาย คื อ การฝึ ก ฝน การสร้ า ง ประสบการณ์ความงาม รสนิยม ความดี และความจริง ผู้ที่ฝึกฝน มาดีแล้วจะเกิดตัวความงาม ความดี. และความจริง อยู่ในเลือดใน เนื้อของผู้นั้น มีค�ำกล่าวร�่ำลือว่า “ปิคาสโซ เอากิ่งไม้ขีดเส้นบนพื้นทรายชาย ทะเลโดยไม่ต้องวางแผนล่วงหน้า ทุกอากัปกิริยาในงานขีดเขียน ล้วนเป็นงานศิลปะ บางค�ำร�่ำลือ เปรียบเปรยว่า เอาไม้ขีดเขียน

บนปฎิกูล ผลที่ออกมาก็เป็นงานศิลปะ! “ค�ำร�่ำลือนี้เป็นความจริง เพราะความงาม ความดี และความจริง ได้หลอมรวมเป็น ดีเอนเอ (DNA) อยู่ในทุกอณูของร่างกายปิคาสโซ แล้ว การแสดงออกจาก ทุกวินาทีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอณู ดีเอนเอ นั้นเอง 9) ความงาม คืออะไร? ------------------------------------------------------------------------ความงาม คือ ความเป็นหน่วยสมบูรณ์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นรูปธรรม และส่วนที่เป็นนามธรรม ความงามส่วนที่เป็นรูปธรรม เป็นส่วนที่สามารถเห็นได้ด้วย สายตา และจับต้องได้ อันได้แก่ผลงานศิลปะ 2 มิติ และ 3 มิติ ที่ ถูกสร้างขึ้นอย่างประสานกลมกลืน ทุกสิ่งทุกส่วน เช่น จุด เส้น สี น�้ำหนักอ่อนแก่ แสงเงา พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง มีความสัมพันธ์ เกาะเกี่ยว รวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะเพิ่ม จะลด จะตัด จะทอน จะหยิบจับส่วนใดออก และหรือจะเพิ่มสิ่งใดเข้าไปไว้ใน ผลงานชิ้นนั้นไม่ได้ เพราะจะสูญเสียโครงสร้างที่สมบูรณ์ไปทันที ความงามส่วนนี้เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของงานศิลปะ ท�ำให้คนดู เกิดความเพลิดเพลินตาและเจริญจิตใจเมื่อได้เห็น ไม่รู้เกะกะตา สดุดตา และเกิดความรู้สึกปฎิเสธความเป็นงานศิลปะ ความงามส่ ว นที่ เ ป็ น นามธรรม เป็นเรื่องอารมย์ ความรู้สึก ความดี และความจริ ง ในชี วิ ต จิ ต ใจของผู ้ ส ร้ า งงานศิ ล ปะ ที่ ถ่ายทอดลงในงานศิลปะชิ้นนั้น ความงามส่วนนี้มีระดับสูงและต�่ำ ตามวัยวุฒิ และสติปัญญาของผู้สร้าง ความงามที่เป็นนามธรรมนี้ เปรียบเสมือนงานศิลปะมีชีวิตจิตใจของผู้สร้าง จะท�ำหน้าที่ตรึง ตาตรึ ง ใจผู ้ ดู ใ ห้ เ กิ ด บทสนทนาทางความรู ้ สึ ก กั บ งานศิ ล ปะต่ อ เนื่องไม่รู้จักเบื่อ มีค�ำกล่าวว่า “งานศิลปะที่ดีต้องสู้สายตาคนดู มีบมสนทนาเพิ่มพูนสติปัญญา”


10) ความดี คือ อะไร? ------------------------------------------------------------------------ความดี คือ การมีจิตวิญญาณตั้งอยู่ในคุณธรรม จริยธรรม ศีล ธรรม และจารีตประเพณีที่ดีงาม เช่น ความเมตตา ความกรุณา ความเกื้ออาทร ความซื่อสัตย์ ความสุจริต และการเคารพความ เป็นมนุษย์ ...ฯลฯ เป็นต้น ความดีไ ม่ไ ด้ขึ้น กับ ความคิด ความดีเ ป็ น อิ ส ระจากความคิ ด ความดีเป็นเรื่องของจิตใจจิตวิญญาณ ซึ่งหลอมรวมอยู่ในอณูของ ชีวิตและร่างกาย ความดีอาจเกิดจากพันธุกรรม ความดีอาจเกิด จากการฝึกฝนอบรมมาอย่างดีแล้ว การฝึกฝนอบรมให้เกิดความดี ในจิตใจเปรียบเหมือนการบ�ำเพ็ญตบะของผู้ทรงศีล คนที่มีความดีอยู่จิตใจไม่ฆ่าคน คนมีความดีไม่มีสันดานทุจริต คนมีความดีเป็นคนเกรงกลัวบาปทั้งต่อหน้าและลับหลัง คนมี ความดีท�ำความดีโดยไม่ต้องคิด คนมีความดีท�ำความดีโดยไม่คิด ผลตอบแทน เพราะความดีเป็นธรรมชาติอยู่ในร่างกายและจิตใจ คนนั้นแล้ว ในทางตรงข้าม. คนมีความดีแบบเกิดจากความคิด จัดเป็นสิ่งดี เป็นจุดเริ่มต้นการท�ำความดีอย่างหนึ่ง ดีกว่าไม่คิดท�ำความดี แต่ ความดีที่เกิดจากความคิดไม่แข็งแรง เพียงพอที่จะต้านความรู้สึก ใฝ่ต�่ำ ความโกรธ ความเกลียด ความชัง ความหลง และความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจ จะท�ำให้ความดีหายไป กลับไปสู่ความชั่วได้ เพราะไม่ได้เกิดขึ้นจิตใจ เช่น คนสองคนมีความขัดแย้งกัน จบลง ด้วยกันท�ำร้ายกัน แทนที่จะให้อภัยต่อกัน หันหลังเดินห่างจากจุด ขัดแย้ง เพื่อยุติปัญหา กลับสู่ความสุขและสงบ การออกจากความ โกรธ ความหลง ความโลภ และความมีอัตตา เป็นสิ่งที่ท�ำได้ยาก ยิ่งส�ำหรับคนทั่วไป

11) งานศิลปะทุกชิ้นต้องมีความดี ------------------------------------------------------------------------งานศิลปะทุกชิ้นต้องมีความดี และสะท้อนความดีมาสู่ผู้ดู เพื่อ ยกระดับจิตใจผู้ดูให้สูงขึ้น งานศิลปะจึงต้องเกิดจากศิลปินและหรือนักออกแบบ ที่ฝึกฝน อบรมจิตใจให้มีความดีมาอย่างดีแล้ว หลายคนสงสัยในประเด็นว่า “งานศิลปะท�ำไมต้องไปเกี่ยวข้อง กับความดี” เพราะความดีเป็นคุณสมบัตินามธรรมของงานศิลปะ ขั้นสูง คนมีความดีในจิตใจย่อมมีประกายความเย็นเปล่งรัศมีออกจาก ร่ า งกายคนนั้ น โดยเปล่ ง ประกายให้รับ รู้สึกได้จากแววตา ผิว พรรณ อากัปกิริยา การกระท�ำต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นที่รักใคร่ ท�ำให้ ผู้คน เพื่อน และคนท�ำงานร่วมกัน มีความสุข ไม่รู้สึกเป็นอันตราย อยากรู้จักอยากอยู่ใกล้ ในท�ำนองเดียวกันงานศิลปะที่มีพลังชีวิตจิตใจแห่งความดีของผู้ สร้ า ง ย่ อ มมี พ ลั ง ความดี ดึ ง ดู ด ผู ้ ค นดู ใ ห้ ชื่ น ชอบ พึ ง พอใจ เพลิดเพลินใจ สามารถชื่นชมงานศิลปะได้อย่างไม่รู้เบื่อ ในงานศิลปะมีชีวิตจิตใจแห่งความดีจริงหรือ? ในวงการช่างปั้น พระพุทธรูปของไทย ช่างปั้นพระพุทธรูปในชีวิตประจ�ำวันอาจจะ เป็นคนดื่มสุรา มีอาการเมามายปรากฎให้เป็นที่รับรู้ทั่วกัน แต่ช่าง ปั้นพระพุทธรูปคนเดียวกันนี้ ถ้ารับงานปั้นพระพุทธรูปกับผู้มาว่า จ้างแล้ว จะนุ่งขาวห่มขาว ถือศีล5 งดสุราเมรัย อย่างน้อย 1 สัปดาห์ จึงลงมือปั้นพระพุทธรูป ขณะที่ปั้นพระพุทธรูปจะนุ่งขาว ห่มขาวถือศีล5 จนงานปั้นส�ำเร็จ ส่งมอบต่อให้ช่างหล่อโลหะไป ด�ำเนินการต่อไป ช่างหล่อพระพุทธรูปก็นุ่งขาวห่มขาวถือศีล5 จน กรรมวิธีการหล่อพระพุทธรูปนั้นส�ำเร็จ ช่ า งปั ้ น พระพุ ท ธรู ปให้ ค� ำ อธิ บายว่า “ครูอาจารย์ผู้ป ระสิท ธิ์


ประสาทความรู ้ ป ั ้ น พระพุ ท ธรู ป ได้ สื บ ทอดค� ำ สอนค� ำ สั่ ง ให้ ถื อ ปฎิบัตินุ่งขาวห่มขาวถือศีล5อย่างเคร่งครัด เพราะช่างปั้นก�ำลัง สร้างสรรค์สิ่งศักด์สิทธิ์ให้คนกราบไหว้ ต้องถ่ายทอดชีวิตจิตใจ ความรู้สึกเคารพ ศรัทธา และความดี ส่งผ่านเข้าไปสู่องค์พระพุทธ รูปที่สร้างขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่ความงามความดีและความจริงของ ช่างปั้นมีในขณะนั้น” ช่างปั้นพระพุทธรูปบางท่านกล่าวว่า ขณะปั้นพระพุทธรูป จิต ตั้งอยู่ในสมาธิตลอดเวลา จนงานปั้นส�ำเร็จเสร็จสิ้น ได้พระพุทธ รูปที่มีความงดงาม ให้ความรู้สึกถึงความดีและความจริง ตาม หลั ก พุทธธรรม ได้อย่างสมบูรณ์ เป็น ที่ ประหลาดใจอย่ า งยิ่ ง พระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมากๆอย่าง เช่น พระพุทธชิน ราช วัดมหาธาตุเมืองพิษณุโลก พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ วัดหน้าพระเมรุ พระพุทธรูป วิหารวัดพระมงคลบพิตร ทั้งสองวัด อยู ่ ใ นเกาะพระนครศรี อ ยุ ธ ยา พระพุ ท ธสิ หิ ง ห์ วั ด พระสิ ง ห์ จ.เชียงใหม่...ฯลฯ เป็นต้น เป็นตัวอย่างของความงดงามอย่าง ประหลาดใจ จนวงการช่างปั้นไทย มีความเชื่อว่า “เทวดามาช่วย ปั้นพระพุทธรูปด้วยจนเสร็จสมบูรณ์” 12) ความจริง คือ อะไร? ------------------------------------------------------------------------ความจริง คือ สติปัญญารู้สัจจะแห่งธรรมชาติ ทางพุทธศาสนา หมายถึง การเข้าใจเข้าถึงไตรลักษณ์ เป็นความจริงแห่งสามัญ ลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ (1)อนิจจัง (สรรพสิ่งเกิดขึ้น-ด�ำรงอยู่และดับไป-สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลง) (2)ทุกขัง (ความทนอยู่กับความ เปลี่ยนแปลงไม่ได้) และ(3)อนัตตา (ความไม่มีตัวตน ความว่างตัว ตน ความเป็นธรรมดา ความเป็นธรรมชาติ ความเป็นเช่นนั้นเอง) และการเข้าใจเข้าถึงไตรวัฎฎะ ได้แก่

(1)กรรม (การกระท�ำทุกอย่างเป็นกรรม) (2)วิบาก (ผลแห่งกรรม กรรมไม่สูญ กรรมจะส่งผลตามมา) และ(3)เวียนว่ายตายเกิดไม่ จบสิ้น (กรรมส่งให้ไปเกิดต่อเนื่องไม่สิ้นสุด) ความจริงในทางโลกธาตุ เป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์ ก�ำเนิด จักรวาล ความจริงจักรวาล ความจริงสุริยะจักรวาล ความจริงกฎ ทางวิทยาศาสตร์...ฯลฯ เป็นต้น ความจริ ง เหล่ า นี้ เ มื่ อ มี อ ยู ่ ใ นตั ว ผู ้ ส ร้ า งงานศิ ล ปะแล้ ว จะ ถ่ายทอด จะส่งผ่านเข้าไปอยู่ในตัวงานศิลปะ เป็นความงามมิติ นามธรรม เป็นความงอกงามทางสติปัญญาที่มีเสน่ห์ดึงดูดคนดูให้ เกิดความสนใจความประทับใจ เพราะภายในผลงานศิลปะชิ้นนั้น มี พ ลั ง ลึ ก ลั บเป็ น บทสนทนากั บคนดูอย่า งประหลาดใจ จัดมิติ ความงามนี้เป็นคุณสมบัติงานศิลปะขั้นสูง ท�ำให้ผลงานศิลปะมี คุณค่าข้ามกาลเวลา 13) ศิลปะที่มีคุณค่าข้ามกาลเวลาจริงหรือ? ------------------------------------------------------------------------ผลงานศิลปะชิ้นใดที่มีคุณสมบัติ ความงาม ความดี และความ จริง ย่อมมีคุณค่าทางศิลปะขั้นสูง ระดับคุณค่ามากและน้อยย่อม เกิดศิลปินผู้สร้างมีพรสวรรค์ มีการสั่งสมประสบการณ์ความงาม ความดี และความจริง มากน้อยแค่ไหน จิตรกรรมชื่อ “โมนาลิซ่า” เขียนขึ้นระหว่าง ค.ศ.1495-1515 ของศิลปินชื่อ “เลียวนาร์โด ดาวินซี “ จิตรกรรมชิ้นนี้ปัจจุบันเป็น สมบัติของพิพิธภัณฑ์ศิลปะลูฟท์ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีผู้คน จากทั่วโลกหลั่งไหลไปชมผลงานชิ้นนี้ ปีละประมาณห้าแสนคน ตัวเลขจ�ำนวนคนนี้มาจากการค�ำนวนสถิตินักท่องเที่ยวจากทั่ว โลกมาประเทศฝรั่งเศสปีละ 70 ล้านคนโดยเฉลี่ย จิตรกรรมชิ้นนี้มีคุณค่าข้ามกาลเวลาจริงหรือ? นี้เป็นค�ำถาม


คนทั่วไปสงสัย ส�ำหรับคนในวงการศิลปะแล้ว ไม่มีความสงสัย เพราะอัตชีวประวัติของศิลปิน เลียวนาร์โด ดาวินซี เป็นประจักษ์ พยานความเป็นอัจริยทั้งศิลปะและวิทยาการ เป็นทั้งจิตรกรที่ยิ่ง ใหญ่ มี ผ ลงานศิ ล ปะมี คุ ณ ค่ า ขั้ น สู ง มากมาย เป็ น นั ก คิ ด นั ก ประดิษฐ์ และนักอนาคตศึกษาที่ก้าวหน้ากว่าคนในสมัยเดียวกัน ความงดงาม ความดี และความจริง อันเกิดจากสติปัญญาขั้นสูง ได้หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวอยู่ชีวิตจิตใจของศิลปิน และส่ง ผ่านไว้ในจิตรกรรมของเขาทุกชิ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็น ความจริงว่าจิตรกรรมของศิลปินผู้นี้มีคุณค่าข้ามกาลเวลา 14) เทคนิค-รูปแบบศิลปะ-กระบวนการสร้างงานศิลปะการน�ำเสนอ เปลี่ยน แต่เป้าหมายศิลปะไม่เปลี่ยน ------------------------------------------------------------------------เทคนิค รูปแบบศิลปะ วัสดุสร้างศิลปะ กระบวนการสร้างาน ศิลปะ ขนาดของงานศิลปะ การติดตั้ง การน�ำเสนอผลงานศิลปะ สู่สาธารณชน สิ่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง มีพัฒนาการในตัวเอง อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นไปตามความเจริญทางวิทยาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม มีผลต่อพฤติกรรม การใช้ชีวิตของคนในโลก ส่งผลต่อค่านิยม รสนิยม และการรับรู้ สุนทรียภาพ ของทุกคนโลกนี้ ประวัติศาสตร์ศิลปะเป็นผลการศึกษาวิวัฒนาการศิลปะ ชี้ให้ เห็ น ความเปลี่ ย นแปลงการแสดงออกของศิ ล ปิ น ที่ เ ปลี่ ย แปลง ตลอดเวลาอย่างเด่นชัด และชี้ให้เข้าใจเข้าถึงเหตุปัจจัยที่ท�ำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ณ วันนี้ วิวัฒนาการศิลปะร่วมสมัย ก้าว ข้าวยุคศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ.1870 เป็นต้นมา ปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคศิลปะหลังสมัยใหม่ (Post Modern Art) ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ.1980 เป็นต้นมา

ยุ ค ศิ ล ปะสมั ย หลั ง สมั ย ใหม่ ศิ ล ปิ น ได้ ส� ำ แดงเสรี ภ าพและ อิสรภาพการแสดงออกอย่างกว้างขวาง แตกต่างไปจากยุคศิลปะ สมัยใหม่อย่างชัดเจน ศิลปินสามารถใช้สื่อ(Subject Matters) น�ำเสนอสาระ(theme) ใช้เทคนิค รูปแบบ และวิธีการน�ำเสนอ งานศิลปะ อย่างไม่มีข้อจ�ำกัด นักประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัยได้เฝ้าศึกษาพฤติกรรมและ การแสดงออกของศิลปินร่วมสมัยเหล่านี้ ได้ให้ชื่อเรียกรูปแบบ งานศิลปะยุคหลังสมัยใหม่มี 2 กระแสหลัก คือ (1)กระแสศิลปะ จัดวาง(Installation Art) และ (2) กระแสศิลปะมโมทัศน์ (Conceptual Art). ศิลปินในงานศิลปะทั้งสองกระแสหลัก ท�ำให้ศิลปินมีเสรีภาพ แบบไร้ข้อจ�ำกัด จนเกิดค�ำนิยามศิลปะหลังสมัยใหม่ว่า “ศิลปะ คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง หรือทุกสิ่งทุกอย่างใช้สร้างงานศิลปะได้ : Art is every thing “ ด้วยรากความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป มาก จึงพบเห็นงานศิลปะหลังสมับใหม่เสนอมิติความงามอย่าง ใหม่ ต ามรสนิ ย มของสั ง คม เป็ น คุ ณ ค่า ศิล ปะที่ท ้า ท้า ยคุณ ค่า ที่ ยอมรับกันมาแต่สมัยศิลปะสมัยใหม่ เช่น งานศิลปะไม่ต้องการ ความคงทนถาวร เพราะงานศิลปะต้องการแสดงสัจจะแห่งความ เปลี่ยนแปลง งานศิลปะที่ท้าท้ายพื้นที่สาธารณะกับพื้นที่ส่วนตัว งานศิลปะที่ท้าท้ายคุณค่าสุนทรียะเดิมยุคศิลปะสมัยใหม่ เช่น การน�ำศิลปะสมัยคลาสิคกลับมาแปลความหมายใหม่ แล้วใช้ใน งานศิลปะหลังสมัยใหม่ การน�ำสิ่งที่ศิลปะสมัยใหม่ไม่ใช้ เช่น สี สะท้อนแสงมาใช้ในงานศิลปะหลังสมัยใหม่ การจัดวางงานศิลปะ แขวน วางกับพื้น แทนการแขวนผนัง การน�ำเครื่องใช้ส�ำเร็จรูป การน�ำเสนอเนื้อหาสาระสะท้อนชีวิตสังคมบริโภคนิยมอย่างคลั่ง ไคล้. ไม่ได้ห่วงสุขภาพ...ฯลฯ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงออก เปลี่ยน ความรู้สึก อารมย์ ตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการ เทคโนโลยี่


สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ในสังคมปัจจุบัน แต่ เป้าหมายศิลปะไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ต้องแสดงคุณค่า ความ งาม ความดี และความจริง เพื่อยกระดับจิตใจคนให้สูงขึ้น และ จรรโลงสังคมให้วิวัฒนาการเจริญงอกงามยิ่งขึ้น 15) ความรู้สึกร่วมสมัย และการมีส่วนร่วมกับสังคม (Contemporary Sense and Stakeholder) ------------------------------------------------------------------------ความรู้สึกร่วมสมัย หมายถึง ความรู้สึกมีส่วนร่วม เป็นผู้มีส่วน ได้ ส ่ ว นเสีย (Stakeholder) กับ ความเปลี่ ย นแปลงของสั ง คม ปัจจุบัน ความรู้สึกร่วมสมัยของศิลปิน มีความส�ำคัญต่อแนวทาง การแสดงออกในศิลปะหลังสมัยใหม่ของศิลปินมากที่สุด เพราะ ศิลปินท�ำหน้าที่สะท้อนสังคมทั้งที่มีเจตนาสะท้อน กับทั้งที่ไม่มี เจตนาสะท้อน ถ้าศิลปินสามารถสะท้อนความรู้สึกร่วมสมัยได้ คนดูงานศิลปะ จะเกิดความรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสียในสาระที่น�ำเสนอในงานศิลปะ ชิ้นนั้นโดยปริยาย แต่ในทางตรงข้ามศิลปินละเลยความรู้สึกร่วม สมัย ผลงานศิลปะจะสะท้อนแต่โลกภายในจิตใจศิลปิน ซึ่งอาจจะ เกิ ด ภาวะความรู้สึก ว่า ผลงานศิลปะชิ้ น นั้ น เปรี ย บเสมื อ นคน แปลกหน้า หรือความแปลกแยกจากสังคมส่วนรวมได้ ผลงานศิลปินญี่ปุ่น น�ำเนื้อหาสาระเรื่องความลุ่มหลงคลั่งไคล้ใน การ์ตูนในสังคมวัยรุ่นญี่ปุ่นมาน�ำเสนอ น�ำภาพการ์ตูนญี่ปุ่นที่อยู่ ในกระแสความนิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นมาเป็นสื่อเพื่อสื่อสาร(Subject Matter) เป็นตัวอย่างสะท้อนความรู้สึกร่วมสมัย ความเป็นผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียกับสังคม ผลงานนนี้ไดับการยอมรับอย่างมาก

16) ผลงานศิลปะทุกชิ้นมีองค์ความรู้อยู่ในตัวเอง ------------------------------------------------------------------------ตามที่ ก ล่ า วถึ ง กระบวนการสร้ า งสรรค์ ง านศิ ล ปะในระบบ ปฎิบัตินิยม จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนว่า งานศิลปะ ทุกชิ้นเกิดขึ้นจากสติปัญญาและการฝึกฝนด้านแสดงออกด้วยสื่อ ทางศิลปะอย่างช�ำนิช�ำนาญ ตัวศิลปินมีองค์ความรู้อยู่ในตัวเอง กระบวนสร้างสรรค์งานศิลปะเป็นองค์ความรู้ในตัวเอง ผลงาน ศิลปะที่สร้างสรรค์เสร็จแล้วเป็นองค์ความรู้อยู่ในตัวเอง สิ่ ง ที่ เ ป็ น ปั ญหาของวงการศึ ก ษาศิล ปะ คือ (1)การถอดรหัส ความรู ้ อ อกจากตั ว ศิ ล ปิ น ด้ ว ยวิ ธี ก ารสั ม ภาษณ์ การสั ง เกต พฤติ ก รรม...ฯลฯ (2)การถอดรหั ส ความรู ้ อ อกจากกระบวน สร้างสรรค์ด้วยการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เป็นความรู้...ฯลฯ (3)การถอดรหั ส ความรู ้ อ อกจากผลงานศิ ล ปะ ด้ ว ยวิ ธี ก าร วิเคราะห์ และสังเคราะห์...(4)การจัดระเบียบความรู้ที่ค้นพบ ให้ เป็นองค์ความรู้ใหม่...ฯลฯ ค�ำถามตามมาว่า “ใครจะเป็นคนท�ำหน้าที่ถอดรหัส” ค�ำตอบ คือ “ศิลปินเจ้าของงานศิลปะควรเป็นคนถอดรหัส” แต่ในความ เป็นจริง ศิลปินน้อยมากที่สามารถท�ำหน้าที่นี้ได้ เพราะธรรมชาติ ขณะที่ศิลปินสร้างสรรค์ ศิลปินใช้สัญชาตญาณ - สามัญส�ำนึก ความรู้สึกโต้ตอบต่อสิ่งเร้าเบื้องหน้า(ตัวงานศิลปะที่ตั้งอยู่เบื้อง หน้ า ) - การสร้ า งค� ำ ถาม - ค� ำ ตอบฉับ พลันแบบญานทรรศนะ (Intuition) และสมาธิ...ฯลฯ ทุกสิ่งที่กล่าวมาเป็นนามธรรมทั้งสิ้น และมีสาระเนื้อหาเชิงซับ ซ้อนมาก ศิลปินเจ้าของผลงานศิลปะเอง ส่วนมากจะตอบไม่ได้ ทันทีว่า ท�ำอะไร ท�ำไมจึงท�ำอย่างนั้น ต้องให้เวลาผ่านไประยะ หนึ่ง อาจจะ1ปีหรือมากกว่า หรือตลอดชีวิต ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับจริต ของศิลปินแต่ละตน จริตของศิลปิน. หมายถึง อุปนิสัย ความถนัดในการวิเคราะห์


การอธิบาย การจัดระเบียบความรู้ การสร้างองค์ความรู้ ความพึง พอใจ และทรรศนะคติส่วนตัว อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของ ศิลปินแต่ละคน ค� ำ ว่ า ”ความพึ ง พอใจ และทรรศนะคติ ส ่ ว นตั ว ของศิ ล ปิ น ” หมายถึง. ศิลปินจ�ำนวนหนึ่ง มีความพอใจท�ำหน้าที่สร้างสรรค์ผล งานเท่ า นั้ น ไม่ ป ระสงค์ จ ะอธิ บ ายผลงานของตนเอง โดยมี ทรรศนะคติส่วนตัวว่า งานศิลปะไม่ต้องการค�ำอธิบาย มีเจตนา เพราะงานศิลปะมีค�ำตอบปลายเปิด ทุกค�ำตอบถูกหมด ต้องการ เคารพความรู้สึกของคนดู ให้คนดูค้นหาค�ำตอบเอง จะชอบ จะ ชื่นชม จะไม่พอใจ จะดูถูก จะปฎิเสธ ...ฯลฯ ศิลปินเชื่อว่าค�ำตอบ ของคนดู จะเปลี่ยนไปเมื่อเวลาผ่านไป เพราะคนดูมีการพัฒนา ความรู้สึก ความเข้าใจ ความซาบซึ้ง และรสนิยมศิลปะ ให้เจริญ งอกงามสูงขึ้นทุกวัน ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองเชิงสร้างสรรค์เฉพาะ ตัวของศิลปิน. ในทางศิลปะถือว่าเป็นสิทธิ์ของศิลปินจะเลือกที่ ยืนของตัวเอง การวางกฎว่า ศิลปินต้องถอดรหัสความรู้ศิลปะออกจากผลงาน ศิลปะของตัวเอง ควรมีการทบทวนหาวิธีการที่เหมาะสม สามารถ ยึดหยุ่นปรับให้ศิลปินมีโอกาส และทางเลือกมากกว่าที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน ปั ญ หาที่ แ ท้ จ ริ ง คื อ ผู ้ ป ระเมิ น สถาบั น สอนศิ ล ปะในระบบ ปฎิบัตินิยม ไม่มีประสบการณ์สร้างสรรค์งานศิลปะ ขาดความ เข้ า ใจกระบวนการสร้ า งสรรค์ ง านศิ ล ปะ ตั้ ง เป้ า หมายที่ ภ าค เอกสารเป็นตัวบ่งชี้ความรู้ และองค์ความรู้

17) ระบบทฤษฎีนิยม (Learning Base) คือ อะไร? ------------------------------------------------------------------------ส่วนระบบทฤษฎีนิยม หมายถึง การแสวงหาความรู้ โดยอาศัย ประสบการณ์ในอดีต ที่สะสมความรู้ จัดระเบียบความรู้ น�ำไปสู่ องค์ความรู้ ความรู้และองค์ความรู้เหล่านี้เรียกว่า” ทฤษฎี” การค้นคว้าหาความรู้ใหม่บนพื้นฐานทฤษฎี จึงเรียกว่า “ระบบ ทฤษฎีนิยม” ระบบทฤษฎีนิยม เป็นการใช้เหตุผล (Rational) และตรรกะ (logic) เป็ น เครื่ อ งมื อ สร้ า งองค์ ค วามรู้ใหม่ ไม่ใช้ห รือใช้เท่า ที่ จ�ำเป็น ได้แก่ การสังเกต ความรู้สึกตอบโต้ต่อสิ่งเร้า จินตนาการ ความฝัน ความเชื่อ ความบันดาลใจ และญานทรรศนะฉับพลัน (Intuition) ระบบการแสวงหาความรู้แบบนี้ เป็นเครื่องมือหลักนิยมใช้ใน สาขาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ 18) ระบบทฤษฎีนิยมไม่เหมาะกับสถาบันสอนศิลปะ ------------------------------------------------------------------------ระบบทฤษฎีนิยมไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในสถาบันสอน ศิลปะ เพราะการใช้เหตุผลและตรรกะเป็นระบบปิดกั้นความรู้สึก จินตนาการ ความฝัน ความเชื่อ ความบันดาลใจ และญาณ ทรรศนะ(Intuition). ถ้ า ต้ อ งใช้ ร ะบบทฤษฎีนิยมก็ให้ใช้เท่า ที่ จ�ำเป็น ถ้าสถาบันสอนศิลปะใช้ระบบทฤษฎีนิยมเป็นหลัก สถาบันจะ ไม่สามารถบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความงาม ความดี และความ จริง ไปเจริญเป็นศิลปินชั้นน�ำระดับปนะเทศ และระดับสากลได้ เลย สถาบั น สอนศิ ล ปะที่ ใ ช้ ร ะบบทฤษฎี นิ ย มมี ค วามถนั ด ผลิ ต ครู


สอนศิลปะส�ำหรับนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ผลิตนัก วิชาการสาขาทฤษฎีศิลปะ ท�ำหน้าที่เป็นนักวิการน�ำความรู้ศิลปะ มาจัดระเบียบเป็นองค์ความรู้เพื่อการถ่ายทอด และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ มีข้อสังเกตว่า สถาบันสอนศิลปะเหล่านี้ มีการเรียนการสอน สาขาศิลปะศึกษา(Art Education)มาก่อน ต่อมาขยายเพิ่มสาขา ศิ ล ปะและการออกแบบ แต่ ค ณะอาจารย์ ผู ้ ส อนยั ง เป็ น คณะ อาจารย์ชุดเดิมที่มีความเชี่ยวชาญการสอนศิลปะศึกษา จึงขาด ประสบการณ์การสอนในระบบปฎิบัตินิยมอย่างแท้จริง ท�ำให้ไม่ สามารถผลิ ต ศิ ล ปิ น และนั ก ออกแบบในวิ ช าชี พ ได้ ดี มี ค วาม สามารถผลิตได้แต่ศิลปิน ที่มีวิธีคิดและแนวทางสร้างสรรค์งาน ศิลปะแบบนักการศึกษาศิลปะ มีข้อสังเกตว่า สถาบันสอนศิลปะเหล่านี้ มีการเรียนการสอน สาขาศิลปะศึกษา(Art Education)มาก่อน ต่อมาขยายเพิ่มสาขา ศิ ล ปะและการออกแบบ แต่ ค ณะอาจารย์ ผู ้ ส อนยั ง เป็ น คณะ อาจารย์ชุดเดิมที่มีความเชี่ยวชาญการสอนศิลปะศึกษา จึงขาด ประสบการณ์การสอนในระบบปฎิบัตินิยมอย่างแท้จริง ท�ำให้ไม่ สามารถผลิ ต ศิ ล ปิ น และนั ก ออกแบบในวิ ช าชี พ ได้ ดี มี ค วาม สามารถผลิตได้แต่ศิลปิน ที่มีวิธีคิดและแนวทางสร้างสรรค์งาน ศิลปะแบบนักการศึกษาศิลปะ 19) ระบบทฤษฎีนิยมท�ำแท้งความคิดสร้างสรรค์และ จินตนาการทางศิลปะ ------------------------------------------------------------------------สถาบันสอนศิลปะที่ให้ความส�ำคัญในระบบทฤษฎีนิยมมากกว่า ระบบปฎิบัตินิยม สถาบัน สินศิลปะนั้น ก�ำลังปิดกั้นความเจริญ งอกงามด้านการแสดงออกทางความรู้สึก ความฝัน ความเชื่อ

จินตนาการ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์. เพราะนักศึกษาถูก ความคิดแนวหาเหตุผลและตรรกะเป็นกรงขังไว้ การกระท�ำทุก อย่างต้องเริ่มต้นที่ท�ำไม? เปรียบเสมือนก�ำลังท�ำแท้งความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ และจินตนาการของนักศึกษาศิลปะ ธรรมชาติของศิลปินและนักออกแบบ เริ่มต้นที่มีเสรีภาพอิสระ ภาพ ไม่อยู่ในกรอบทฤษฎีใดๆ จึงสามารถค้นพบเนื้อหา ความ บันดาลใจใหม่ๆได้ โดยทั่วไปศิลปินจะใช้การสังเกต และใช้ความ รู้สึก ความฝัน และจินตนาการ เสมือนเป็นเรด้าร์ส่องหาสาระ ที่ จะน�ำใช้แสดงออกทางศิลปะ 20) การวิจารณ์งานศิลปะในระบบปฎิบัตินิยมเน้นการค้นหา ศักยภาพและการส่งเสริมการต่อยอดงานศิลปะ (Constructive Criticism) ------------------------------------------------------------------------การวิจารณ์งานศิลปะในระบบปฎิบัตินิยม มีชื่อเรียกว่า “การ วิจารณ์ส่งเสริมการต่อยอดงานสร้างสรรค์ศิลปะ (Constructive Criticism) การวิ จ ารณ์ แ นวนี้ เน้ น การค้ น หาศั ก ยภาพการแสดงออก ลักษณะเฉพาะตน เป็นบันไดขัน้ แรกของการพัฒนางานศิลปะสูข่ ั้นสูง ต่อไป อาจารย์ผู้ท�ำหน้าที่วิจารณ์แนวนี้ เสมือนหมอรักษาโรคคนไข้ ต้องวินิจฉัยให้รู้ว่าเป็นโรคอะไร ต้องวินิจฉัยเป็นรายบุคคล เพราะ โครงสร้างทางกายภาพ และการเกิดโรคต่างกัน ของแต่ละบุคคล แตกต่างกันเสมอ จะใช้แนวทางการวินิจฉัยโรค และการให้การ รักษาเป็นอย่างเดียวกันไม่ได้. เมื่อวินิจฉัยจนรู้แน่ชัดว่าเป็นโรคอะไร ขั้นต่อมาเป็นการวาง แผนรักษา จะให้ยารักษาโรคอย่างไร ขนาดยาออกฤทธิ์แรงเร็ว


ยาออกฤทธิ์ปานกลาง และยาออกฤทธิ์อ่อน ต้องระวังผลข้างเคียง เกิดจากยา ไม่ใช่กินยาโรคหนึ่งหายป่วย แต่เกิดป่วยเเป็นโรคใหม่ เรียกว่าได้โรคแถมมาใหม่ การวิจารณ์งานศิลปะในระบบปฎิบัตินิยม มีลักษณะเหมือน หมอรักษคนไข้ อาจารย์ผู้วิจารณ์ต้องเป็นศิลปิน และหรือเป็นนัก ออกแบบมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพมายาวนาน มี ความช�ำนาญในงานศิลปะปฎิบัติแนวทางนั้น จึงสามารถให้ความ เห็นว่าจะพัฒนางานศิลปะอย่างไร ควรแก้ปัญหาที่ใดก่อนที่ใด หลัง แล้ววางแผนจัดล�ำดับการปฎิบัติงานศิลปะ ไม่ให้ผู้เรียน สับสน เสียเวลา และหลงทาง อาจารย์สายปฎิบัตินิยมทุก ท่านเป็น ศิ ล ปิ น และนั ก ออกแบบ เพราะฉะนั้นอาจารย์แต่ละท่านจึงมีความเป็นตัวเองสูง มีเทคนิค การเรียนแตกต่างกันตามจริตและประสบการณ์ปฎิบัติงานศิลปะ มายาวนาน อาจารย์บางท่านเลือกที่จะพูดน้อย แต่ยั่วยุให้ผู้เรียนปฎิบัติให้ มาก เพื่อให้ค้นพบความส�ำเร็จด้วยตนเอง อาจารย์บางท่านพูด มากอธิบายมากให้ค�ำแนะน�ำมาก จนผู้เรียนส�ำลักกับความเห็น และค�ำแนะน�ำ สังเกตพบว่าอาจารย์ที่พูดมาก มักจะเป็นผู้นิยม ระบบทฤษฎีนิยมเป็นส่วนตัว ผู้เรียนต้องมีการสังเกตและถอด รหัสค�ำแนะน�ำของอาจารย์ให้ดี 21) การวิจารณ์งานศิลปะในระบบทฤษฎีนิยม เน้นการจับ งานศิลปะใส่กรอบทฤษฎี (Comparative Post Experience Criticism) ------------------------------------------------------------------------การวิจารณ์แ นวระบบทฤษฎีนิยม เน้ น การเปรี ย บเที ย บกั บ ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ที่ได้มีนักปราชญ์บัญญัติไว้ เปรียบเทียบกับ

ผลงานศิลปะของศิลปิน สรุปว่า. เป็นการวิจารณ์แบบน�ำทฤษฎี ศิลปะมาค้นหาความรู้ นิยมให้ใช้วิธีวิทยาอย่างเคร่งครัด ให้ความ ส�ำคัญกับระบบอ้างอิงที่มาของข้อมูลอย่างเคร่งครัด ให้อ้างอิง ทฤษฎี ศิ ล ปะ การต่ อ ยอดความคิ ด สร้ า งสรรค์ และค้ น พบ นวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation) ไม่เกิดขึ้น การปฎิบัติงานจะอยู่ใน กรอบความคิดความรู้หนึ่ง การงานท�ำงานศิลปะเสมือนท�ำตามอ ย่างศิลปิน บางท่านหลงทางอยู่ในกองต�ำรา ชวนลูกศิษย์ให้เข้ามาหลงทาง อยู่ในกองต�ำราด้วย สุดท้ายลูกศิษย์อาจส�ำเร็จเป็นนักวิชาการ ศิลปะ หรือนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถ้าหลงทางแล้วจะออกจาก ความหลงได้น้อยมาก สถาบั น สอนศิ ล ปะต้ อ งพิ จ ารณาตนเองว่ า จะวางต� ำ แหน่ ง (Positioning) สถาบั น ว่ า จะเป็ น สถาบันสอนศิล ปะเพื่อสร้า ง ศิลปินและนักออกแบบมืออาชีพ หรือเป็นสถาบันสอนศิลปะที่ ผลิ ต นั ก วิ ช าการศิ ล ปะ แล้ ว จึ ง พิ จ ารณารับ อาจารย์ที่มีคุณ วุฒิ และประสบการณ์ตรงกับภาระงานได้ถูกต้อง 22) ปัญหาและอุปสรรค์การเรียนการสอนศิลปะในระบบ ปฎิบัตินิยม ------------------------------------------------------------------------ตั้งแต่พ.ศ.2540 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง ชาติ. มีสาระส�ำคัญที่สร้างปัญหาและอุปสรรค์ให้กับสถาบันสอน ศิ ล ปะในระบบปฎิ บั ติ นิ ย ม คื อ ทุ ก สถาบั น การศึ ก ษาต้ อ งท� ำ ประกั น คุ ณ ภาพระดั บหลั ก สู ต ร , ระดับ คณะวิชา , และระดับ สถาบัน ระบบการประกันคุณภาพ มีตัวชี้วัด. (Indicators) จ�ำนวน ประมาณ 9 ตัวชี้วัด ในจ�ำนวนนี้ มีตัวชี้วัดเรื่องการพัฒนาอาจารย์


เน้นการสร้างเอกสารปรกอบค�ำสอน เอกสารค�ำสอน และ การ วิจัย หรือ ผลงานสร้างสรรค์ที่เทียบเท่างานวิจัย หรือบทความ ทางวิชาที่เทียบเท่างานวิจัย ตัวชี้วัดเน้นที่เอกสาร การพรรณาความรู้ การค้นพบความรู้ใหม่ ล้วนเป็นวิธีการระบบทฤษฎีนิยมทั้งสิ้น ยกเว้นการสร้างสรรค์ผล งานศิลปะที่มีคุณภาพให้เทียบเท่างานวิจัยมาใช้เป็นตัวชี้วัดได้ แม้มีช่องทางให้การสร้างสรรค์งานศิลปะเทียบเท่างานวิจับได้ แต่ในเนื้อในของระเบียบและรูปแบบการน�ำเสนอ ยังเป็นแนวทาง ระบบทฤษฎีนิยม ซึ่งอาจารย์สายปฎิบัตินิยม ไม่มีความเข้าใจและ ทั ก ษะการท� ำ เอกสาร การถอดรหั ส ความรู ้ อ อกจากผลงาน สร้างสรรค์ เพื่อให้ผลงานสร้างสรรค์สามารถใช้เทียบเท่างานวิจัย ได้ ปัญหาและอุปสรรค์เหล่านี้ สามารถก้าวข้ามได้ ถ้าสถาบันสอน ศิลปะมีความเข้าใจความเหมือนความต่าง ระหว่างระบบปฎิบัติ นิยมกับระบบทฤษฎีนิยม แล้วมีผู้เชี่ยวชาญช่วดถอดรหัสความรู้ ออกจากผลงานศิลปะและการออกแบบ แล้วน�ำความรู้ที่ค้นพบ. มาจัดระเบียบ ร้อยเรียงให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ขั้นตอนสุดท้ายน�ำ เนื้อหาสาระทั้งหมดมาเรียบเรียงเป็นภาคเอกสาร ผู้บริหารสถาบันสอนศิลปะต้องเป็นผู้น�ำ มีความเข้าใจ มีวิสัย ทัศน์ ถอดรหัสการแก้ปัญหาเป็นแผนปฎิบัติงาน ยุติความสับสน และความวิตกกังวลของอาจารย์ในระบบปฎิบัตินิยมได้จริง

23) ข้อเสนอ “การท�ำงานวิจัยศิลปะและการออกแบบบน รากฐานระบบปฎิบัตินิยม” ------------------------------------------------------------------------การท�ำงานวิจัยศิลปะและการออกแบบบนรากฐานปฎิบัตินิยม มีดังนี้ (1) มองหาประเด็นทางความคิด (Idea) : เริ่มต้นที่ การปฏิบัติ งาน ในระบบปฎิบัตินิยม ด้วยวิธีการสังเกต ใช้ความรู้สึกตอบโต้ ต่อสิ่งเร้าเบื้องหน้า (ธรรมชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัว จินตนาการ ความฝัน ความเชื่อ การสร้างค�ำตอบ ประเด็นความ คิด ด้วยญานทรรศนะ(Intuition) เพื่อค้นหาประเด็นความคิด เปรียบเทียบเสมือนงานวรรณกรรมวิจารณ์ (Literature Review) ในระเบียบวิธีวิจัยทั่วไป (Research Methodology) (2) สังเคราะห์ประเด็นความคิดให้เป็นแนวคิดเพื่อน�ำไปใช้สร้าง งานศิลปะและการออกแบบเฉพาะตัว( Art Concept or Design Concepts ) : หนึ่งประเด็นความคิด เปรียบเสมือนหนึ่งตู้โบกี้ รถไฟ หลายๆประเด็นความคิด เปรียบเหมือนขบวนตู้รถไฟติดต่อ กันเป็นแถว หลั ง จากนั้ น ให้ วิ เ คราะห์ ค ้ น หาตั ว ร่ ว มในประเด็ น ความคิ ด ค้นหาความเชื่อมโยง หรือสังเคราะห์ให้เกิดเป็นแนวคิดการสร้าง งานศิลปะและการออกแบบเฉพาะตน แนวคิดการสร้างงานศิลปะและการออกแบบเปรียบเสมือนหัว จักร์รถไฟ ท�ำหน้าที่ฉุดลากขบวนตู้รถไฟให้เคลื่อนไปข้างหน้า เคลื่อนไปเรื่อยๆจนถึงจุดหมายปลายทาง (3) เสนอโครงการวิจัยบนข้อค้นพบและกรอบความคิดที่ได้จาก ข้อ(1)-(2) (Submitting the Research Proposal) : หลังจาก ค้นพบประเด็นความคิด น�ำมาจัดระเบียบ ร้อยเรียง ตัดต่อ ตัด ทอน เพิ่มเติม น�ำไปสู่การสังเคราะห์เป็นแนวคิดการสร้างงาน


ศิลปะและการออกแบบลักษณะเฉพาะตัวล้วน จึงถึงขั้นตอนท�ำ โครงการวิจัยฯ ด้วยวิธีการนี้โครงการวิจัยฯ จะมีกรอบความคิด ประเด็นวิจัย วัตถุประสงค์ วางแผนด�ำเนินงาน ตารางเวลา การ ประมาณการค่าใช้จ่าย ประโยชน์ที่คาดวาจะได้รับ หรือความ สัมฤทธิ์ผลทางศิลปะและการออกแบบ (Art Acheivement-Design Acheivement) และมีความเป็นไปได้ตามวัตถุประสงค์สูง (4) ทดลองสร้างงานศิลปะและการออกแบบตามแนวคิ ด ฯ เฉพาะตน (Experiment) : ลงมือปฎิบัติให้ปรากฎเป็นผลงาน ศิลปะและการออกแบบ ต้องปฎิบัติเชิงทดลองไปอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะค้นพบชิ้นงานที่พึงพอใจ (5) วิจารณ์แบบค้นหาศักยภาพเพื่อการพัฒนาต่อยอด (Constructive Criticism) : เน้นการวิจารณ์เพื่อค้นหาลักษณะการ แสดงออกเฉพาะตน ส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดผลงาน สู่คุณค่า ศิลปะระดับสูงยิ่งขึ้น (6) ประเมินคุณค่าทางศิลปะ ( Evaluation or Testing) : ใช้ ประสบการณ์ ท างสุ น ทรี ย และการสร้ า งงานศิ ล ปะและการ ออกแบบ มาวิเคราะห์ถึงความสัมฤทธิ์ผลของงานศิลปะ หรืองาน ออกแบบชิ้นนั้น (7) ค้ น หาความรู ้ ที่ อ ยู ่ ใ นงานศิ ล ปะด้ ว ยระเบี ย บวิ ธี วิ จั ย (Searching New Knowledges by Research Methology : ชิ้ น งานศิ ล ปะและการออกแบบเป็ น ตั ว องค์ ค วามรู ้ ใ นตั ว เอง เครื่องมือทางวิชาการที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด คือ ระเบียบวิธี วิ จั ย น� ำ มาใช้ ค ้ น หาความรู ้ ใ หม่ จ ากชิ้ น งานศิ ล ปะและการ ออกแบบ (8) จัดระเบียบความรู้เป็นองค์ความรู้ใหม่ (Forming New Body of Knowledge ) : ประมวลความความรู้ที่ค้นพบจัด ระเบียบความรู้ ให้เป็นองค์ความรู้ใหม่

(9) อภิปราย สรุปความเห็น และข้อเสนอแนะ ( Conference - Collective - Suggestion) : แลกเปลี่นความคิดเห็นกับนัก วิจารณ์ศิลปะ นักการศึกษาศิลปะ และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ หาความเห็นสรุป ได้บรรลุวัตถุประสงค์มากน้อย เพราะสาเหตุใด บรรลุ สาเหตุ ใ ดท� ำ ให้ ไ ม่ บรรลุ ข้ อ เสนอแนะการต่อยอดงาน สร้างสรรค์ (10) จัดท�ำรายงานวิจัย - ภาคเอกสาร ( Research Report ) : จัดท�ำรายงานวิจัยฉบับร่างเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ (Peer Reader) ประเมิน และให้ความเห็น เพื่อปรับแก้ไขต่อไป จัดท�ำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ( Corrected Research Report) : ปรับแก้ไขตามค�ำแนะน�ำของผู้เชี่ยวชาญ จัดพิมพ์ เย็บเล่ม ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


24) ข้อเสนอ “การวิจัยศิลปะและการออกแบบบนรากฐาน ระบบทฤษฎีนิยม” ------------------------------------------------------------------------การท� ำ งานวิ จั ย ศิ ล ปะและการออกแบบบนรากฐานระบบ ทฤษฎีนิยม มีดังนี้ (1) วรรณคดีวิจารณ์ (Literature Review) : เริ่มต้นที่ค้นหา ประเด็นความคิด(Idea) จากภาคเอกสาร องค์ความรู้ที่มีผู้ค้นพบ ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ ...ฯลฯ มีความเห็นว่า วรรณคดีวิจารณ์ในการท�ำงานวิจัยสาขาศิลปะ และการออกแบบบนระบบทฤษฎีนิยม ไม่ใช่การจ�ำกัดขอบเขต อยู่ในภาคเอกสารเท่านั้น ต้องขยายขอบเขตไปถึงศิลปกรรม ศิลป วัตถุ ผลงานออกแบบ สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ สังคม เมือง วัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้มีประเด็นความคิดให้ศิลปินและนักออกแบบ ไม่สิ้นสุด เวลาเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ทุกสิ่งเปลี่ยน

พฤติกรรมของคนในสังคมวันนี้เปลี่ยนไปจากอดีต ความเปลี่ยน แปลงท�ำให้เกิดความบันดาลใจ ประเด็นทางคิดใหม่ไม่ส้ินสุด การวิจัยศิลปะและการออกแบบบนรากฐานระบบทฤษฎีนิยม จะนิยมจ�ำกัดอยู่ในภาคเอกสาร และการสัมภาษณ์บุคคล เป็นหลัก ส�ำคัญ (2) สร้ า งแนวคิ ด การสร้ า งงานศิ ล ปะและการออกแบบจาก ข้อมูลวรรณคดีวิจารณ์ (Forming Art Concept or Design Concept) : ถ้าใช้ภาคเอกสารมาก ผู้วิจัยจะถูกจ�ำกัดอยู่ในกรอบ ความคิดของภาคเอกสารที่ใช้ค้นคว้า หรือถูกจ�ำกัดอยู่ในปรัชญา ของศิลปินและนักออกแบบคนใดคนหนึ่งอย่างไม่ตั้งใจ เพราะ ประสบการณ์ และฐานข้อมูล ที่น�ำมาสร้างแนวคิดการสร้างงาน ศิลปะและการออกแบบเป็นฐานแคบ วิธีการบนระบบทฤษฎีนิยม งานวิจัยมักจะขาดประเด็นความคิด เชิงสร้างสรรค์ และประเด็นเชิงนวัตกรรม อันนี้เป็นข้อด้อยที่ พบเห็นในงานวิจัยระบบทฤษฎีนิยมทั่วไป เพราะมีวัตถุประสงค์ ค้นหาความรู้ พรรณาความรู้ (3) สร้างโครงการวิจัยตามฐานวรรณคดีวิจารณ์ (Submitting the Research Proposal) : จัดท�ำโครงการวิจัย ตามแบบฟอร์ม การวิจัย ของสถาบันวิจัย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นที่ ชื่อ เรื่อง ความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขต แผนงาน ตารางเวลา ประมาณการค่าใช้จ่าย ...




Our Family



PHOTOGRAPHY ART THESIS EXHIBITION 11-18 June 2016 At Center Hall Building D CDC Crystal Design Center Department of Photography Faculty of Art and Design, Rangsit University

EDITORIAL DESIGN

ณัชวัลย์ เดชศรีตระการ

Nutchawan Dejsritrakarn Graphic Designer

ศิลปภาพถ่ายรุ่นที่ 26 PHOTO 26

Photography

SUPPORTER

ALL RIGHT RESERVED, 2016 DEPARTMENT OF PHOTOGRAPHY, FACULTY OF ART AND DESIGN, RANGSIT UNIVERSITY www.fb.com/JootPhotoExhibition




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.