วารสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันจินตนาการ โดย LP ภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์
·Ò § ÁŒ Å Â
พฤศจิกายน 2556 ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 แจกฟรี
เล่าเรือ่ งปี 3 ผ่านมุมมองน้องใหม่ น้องขวัญ และเหล่าอาจารย์สาขา LP ! คุยเรือ่ งแฟชัน่ กับอ.ธัญญา ! ภาพลับเฉพาะปี 3 ! ทางม้าลายอมตะ !
สนับสนุนโดยวารสารทางม้าลาย
10
10
10
10
?
10
10
WHAT
10
10
10
บอกทาง !
“ด้วยความที่เป็นศิลปินสไตล์การแต่งตัวของผมก็ตามผมพอใจ ก็จะคล้ายๆ แบบยุ่งเหยิงพะรุงพะรัง เราอยากทำ�อะไรที่เราสบายใจที่เราชอบ แต่ก็ไม่ได้ดูน่าเกลียดมาก เนื่องจากอาจารย์ในมหา’ลัยไม่ค่อยซีเรียส แล้วก็คณะมนุษย์ฯ เราไม่ค่อยจุกจิกในเรื่องแบบนี้ คือผมคิดว่าดูความเหมาะสม ในสถานภาพไหนเป็นอย่างไร เวลา อาจารย์มาสอนจะไม่แต่งตัวเนี้ยบ ผูกไท ใส่สูท แต่ก็แต่งสุภาพ การแต่งกายบางทีมันก็เกี่ยวกับความคิดด้วย เรามันเป็นประเภทความคิดสร้างสรรค์ เราก็อาจจะไม่เป๊ะๆ แต่ ส่วนใหญ่ก็คำ�นึงถึงกาลเทศะ บางคนอาจจะมองดูว่าวัยผู้ใหญ่ไม่ค่อย แต่งตัว คนอื่นอาจจะมองว่าทำ�ไมวัยรุ่นจัง ผมไม่รู้ว่าเมื่อ 20 ปีก่อนหน้าโน้นกับตอนนี้ต่างกันอย่างไร ผมก็ยัง เป็นแบบนี้มาตลอด ไม่รู้เวอร์ไปหรือเปล่า ถ้าคิดกับอาจารย์ในวัย เดียวกันผมอาจจะดูซิ่งกว่าคนอื่น มันก็เป็นสไตล์ผมนะ
ไพฑูรย์ “ธัญญา นักเขียนและอาจารย์
ทางศิลป์ !
Zebra Crossing มากกว่าคำ�ว่าทางม้าลาย
4 l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l
ทางของเรา ! 00
10
15
20
25
30
35
40
45
50
55
60
65 70
กรอบการเดินทาง การเดินทางบนทางม้าลายของน้องปี 3 เป็นช่วงก้าวไปผจญกับโลกภายนอก ซึ่งจังหวะการก้าวของเรานั้นก็ต้องผ่านทั้ง เรื่องดีที่เปรียบดังสีขาว เรื่องไม่ดีที่เปรียบดังสีดำ� คงเป็นไปไม่ได้หากเราจะเือกเดินแค่สีใดสีหนึ่ง เปรียบเหมือนกับชีวิตการเรียน ของเรานี่แหละ เราสามารถเดินตามความฝันได้แต่ระหว่างทาง ก็ต้องเจออุปสรรคเราคงเลือกไม่ได้หรอกว่าอยากเดินไปบนทางที โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากแต่เราเลือกที่จะเป็นแต่เลือกที่จะให้เป็นดั่งใจไม่ได้ ทางม้าลายเป็นเหมือนกรอบที่คอยจำ�กัดการก้าวเดินของเราในแต่ละก้าว ถึงแม้จะเป็นกรอบแต่มันก็เป็นสิ่งที่ทำ�ให้ เราปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ ซึ่งวารสารทางม้าลายเป็นเหมือนสื่อกลางที่บอกความเป็นปี 3 ในมุมต่างๆ ในความเป็นจริง ทางม้าลายหมายถึงสัญญาณจราจรที่มีไว้สำ�หรับคนเดินข้ามถนน จุดรวมคนเดินเท้าให้ข้ามถนนในบริเวณเดียวกัน เพื่อที่ผู้ ขับขี่จะสามารถมองเห็นกลุ่มผู้ข้ามถนนได้ชัดเจนและปลอดภัยกว่าการข้ามถนนคนเดียว เราปฏิิเสธไม่ได้ว่าการเรียนหรือการใช้ ชีวิตคงหนีไ่พ้นอุปสรรค น้องๆ ปี3 คงจะเดินทางเรียบง่ายขึ้นนะ เมื่อเราได้มีโอกาสอยู่กับตนเอง สิ่งที่เราฝัน เราข้ามมานั้นจะ ปลอดภัยยิ่งขึ้นและถ้าเราอยู่กับพวกพ้องเพื่อน จับมือกันไปด้วยกันเพื่อนแท้พร้อมจะอยู่เคียงข้างกายในทุกการเดินทางของชีวิต
·Ò § ÁŒ Å Â วารสารทางม้าลาย วารสารที่สร้างรอยยิ้ม สาขาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิพม์
นุชนภา อุปลี
บรรณาธิการ นุชนภา อุปลี คอลัมน์นิสต์ ประกายพฤกษ์ วงศ์กาฬสินธ์ุ พิสูจน์อักษร อัจฉรา พรมเกาะ ศิลปกรรม นุชนภา อุปลี ที่ปรึกษา อาจารย์พิมประไพ สุภารี
l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l 5
p.07 ทางเดียวกัน p.08 ลายทาง p.09 ทางกลับบ้าน p.10 ทางสัญจร
p.12 scoop : ขวัญฤทัย อังสนั่น
HIGHLIGHT
6 l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l
p.13 scoop : ปัทมา ฝ่ายเทศ p.14 ระหว่างทาง p.16 ทางสายกลาง p.18 ทางปัญญา p.19 ดูทาง p.20 ทางโค้ง p.21 ทางอารมณ์ p.22 ทางโค้ง
ทางเดียวกัน
!
3 ปี 3 คำ� “เราเพื่อนกัน.” l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l 7
ลายทาง !
ภาพ : ป. ปลา
CARTOON
8 l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l
ทางกลับบ้าน ! ทางกลับบ้านคราวนี้จะพาทุกคนไปย้อนดูเรื่องราวของรุ่นพี่ในช่วงชั้นปี 3 ว่าเมื่อครั้งตอนรุ่นพี่ อยู่ปี 3 เป็นอย่างไรกันบ้าง แน่นอนว่าประสบการณ์เหล่านี้จะสามารถเป็นตัวอย่างและเป็นคำ�แนะนำ�ที่ ดีแก่รุ่นน้องได้
นางสาวปรารถนา ใหญ่สง่า (พี่ส้ม รุ่น 2) ตอนอยู่ปี 3 ได้ท�ำหนังสือพิมพ์ แล้วพี่เหนื่อยมาก ไม่ยอมอยู่หอ กลับบ้านตลอด โดดประชุม เป็นว่าเล่น จนโดนอ.อาร์ตเรียกไปพบ รู้สึกจะเป็นตัวปัญหาของเพื่อน แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดี ซึ่งจุดนี้พี่คิดว่า แต่ละคนก็มีปัญหาและวิธีแก้ในแบบของตัวเอง ฝากถึงน้องที่ก�ำลังเรียนอยู่ พี่เป็นห่วงเรื่องการท�ำงาน ต้อง เชื่อใจกัน ยิ่งทะเลาะก็ยิ่งได้รู้จักตัวตนของกันและกัน ต้องไว้ใจกันหรือถ้าเห็นเพื่อนเริ่มออกนอกเส้นทางก็ ดึงกันไว้ พวกที่มาหลุดเอาตอนปีสุดท้ายก็มี ต้องดูกันให้ดี ยิ่งคนน้อย ยิ่งต้องสนิทกัน (พี่ผึ้ง รุ่น 2) ตอนเรียนปี 3 เป็นปีที่ทรหดที่สุดในชีวิตของการเรียนของพี่ งานเยอะและท�ำหนังสือพิมพ์ด้วย ตอนนั้นทะเลาะกับเพื่อน มีหลายเรื่องที่เราต้องแก้ไขและร่วมมือกันแก้ปัญหา ชีวิตช่วงปี 3 ท�ำให้เราได้ เห็นและเรียนรู้ความเป็นเพื่อน ความเป็นทีมเวิร์ค น�้ำหนึ่งใจเดียว ไม่ใช่แค่เพื่อนแต่รวมถึงอาจารย์ พี่ๆ และน้องๆ สิ่งที่อยากฝากคือเรื่องของความสามัคคี มันไม่ใช่ใช้แค่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่มันใช้กับชีวิต จริงทุกอย่าง ทุกวันนี้พี่ท�ำงาน คนอื่นบอกว่าพี่ล�ำบาก งานเยอะนะ ปัญหามากมาย แต่เชื่อมั้ยว่าพี่ผ่านการ เรียนปี 3 แสนทรหดมาได้ ก็ท�ำให้วันนี้พี่รู้สึกว่าไม่มีอะไรที่ยากล�ำบากเลย นางสาวจินตนา เทศมาตร (พี่หนึ่ง รุ่น 4) พี่ท�ำกิจกรรมมาตลอด ทั้งของมหา’ลัย คณะ แล้วก็ของสาขา สิ่งที่เราได้คือเรามีเพื่อน รักใน สถาบัน รักสาขา รักอาจารย์ กล้าท�ำในสิ่งที่ไม่เคยได้ท�ำ อาจจะเพราะว่าทั้งอาจารย์และรุ่นพี่ ปลูกฝัง เรื่องเลือดรักสาขา ภูมิใจในสาขาสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ตลอดเวลา ท�ำให้เรารักและจดจ�ำสิ่งดีๆ เหล่านี้ ปีสามก็ท�ำ หนังสือพิมพ์ด้วย อาจารย์สอนตั้งแต่กระบวนการตั้งกอง บก. จนถึงมาเดินขายเอง คิดว่าตลอดชีวิตคงจ�ำ ได้ไม่ลืมว่าครั้งหนึ่งฉันเคยท�ำหนังสือพิมพ์เองและขายเอง คือขายได้จริงๆ มีคนอ่านจริง เพื่อนๆ ทุกคน มาช่วยกันขายคนละเล่มสองเล่มก็หมด ร้องเล่นเต้นโชว์ มันส์มาก สนุกมาก แค่นี้ก็สุดยอดแล้วชีวิตในรั้ว มหา’ลัย นางสาวอภินันท์ธิญา งามแช่ม (พี่เอ รุ่น 5) ความรู้สึกตอนอยู่ปี 3 เป็นปีที่น่าประทับใจหลายๆ อย่าง เพราะได้ท�ำกิจกรรมกับสาขา ได้ท�ำ กิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ได้ออกทัวร์โปรเจ็กต์ถ่ายภาพที่ประเทศลาว เอาจริงๆ ภาพที่ไปถ่ายมาก็ไม่ได้สวย อะไร แต่มันรู้สึกว่าเหมือนเราได้ไปเที่ยวด้วยกันในชั้นปี ช่วงท�ำหนังสือพิมพ์ อดหลับอดนอนกัน เพื่อนที่ หมดหน้าที่ในส่วนแรกก็ต้องมานอนเฝ้าเพื่อนจัดหน้าตลอด และมันจะสนุกตอนที่หนังสือพิมพ์เสร็จแล้วก็ ต้องมาช่วยกันขายกับพวกน้องๆ เรียกได้ว่าเป็นมิตรภาพดีๆ ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง ต้องขอบคุณอาจารย์ และรุ่นพี่ที่สร้างครอบครัว LP นี้มาอย่างดี ท�ำให้เราได้เรียนรู้ทุกรสชาติของการเรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง
l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l 9
ทางสัญจร !
Zebra Crossing ทางม้าลายอมตะที่มี ชื่อเสียงที่สุดในโลก เรื่อง นุชนภา อุปลีและคณะ
10 l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l
บนท้ อ งถนนไม่ ไ ด้ มี เ พี ย งรถยนต์ ที่ สามารถใช้ถนนได้เพียงสิ่งเดียว แต่ยังมีพื้นที่ เล็กๆ สำ�หรับคนเดินเท้านั้นคือ “ทางม้าลาย (Zebra Crossing)” ที่มีอยู่ทั่วโลกและกฎ การใช้ ก็ ไ ม่ ต่ า งกั น คื อ สั ญ ญาณจราจรที่ มี ไว้สำ�หรับคนเดินข้ามถนน ทางม้าลายได้รับ การออกแบบมาเพื่อกำ�หนดจุดรวมคนเดิน เท้าให้ข้ามถนนในบริเวณเดียวกัน เพื่อที่ผู้ ขับขี่จะสามารถมองเห็นกลุ่มผู้ข้ามถนนได้ ชั ด เจนและปลอดภั ย กว่ า การข้ า มถนนคน เดี ย ว ทางม้ า ลายจึ ง มั ก อยู่ ใ นพื้ น ที่ ชุ ม ชน โรงเรียน สี่แยก พื้นที่การค้า และถนนที่มี ผู้คนใช้สัญจรหนาแน่น นอกจากทางม้าลาย จะมีสีที่บอกถึงขอบเขตสำ�หรับข้ามถนนแล้ว ยังมีลักษณะคล้ายลำ�ตัวของม้าลายและมัน อาจจะเป็นที่มาของชื่อนี้
ทางม้าลายอมตะ ทางม้าลายที่สร้างชื่อเสียงและเป็น ทางม้ า ลายอมตะคงหนี ไ ม่ พ้ น ทางม้ า ลายที่ ลอนดอน ซึ่งผู้ที่สร้างชื่อเสียงให้ทางม้าลายก็ คือ วงดนตรี เดอะ บีทเทิล (The Beatles) โดยเป็นภาพที่ ส มาชิ ก ทั้ ง สี่ เ ดิ นข้ า ม ทางม้าลายบนถนนแอบบี (Abbey Road) ใน ลอนดอนซึ่งถ่ายโดยเลียน แม็คมิลแลน (Lain Macmillan) มาเป็นปกอัลบั้มชื่อ “แอบบี โรด (Abbey Road)” ในปี 1969 จนทำ�ให้ทาง ม้ า ลายบนถนนสายนี้ ถู ก จั ด อั น ดั บ ให้ เ ป็ น ทางม้าลายที่มีชื่อเสียงที่สุดในวัฒนธรรมป็อป พูดถึงทางม้าลายอมตะของฝั่งยุโรป ไปแล้ว คราวนี้ก็ถึงคราวของฝั่งเอเชียบ้างแล้ว ทางม้าลายที่มีชื่อเสียงในฝั่งเอเชียของเราก็ คือ ทางม้าลายที่ชิบุยะ เขตศูนย์การค้าและ ย่านวัยรุ่นชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น ทางม้าลาย ของที่ นี่ ขึ้ น ชื่ อ ว่ า เป็ น ทางม้ า ลายที่ มี ค นเดิ น ข้ามกันไปมามากที่สุดในโลก เนื่ อ งเพราะ สถานีชิบุยะนั้นเป็นสถานีรถไฟขนาดใหญ่ที่ ตั้งอยู่บริเวณศูนย์การค้า จึงมีทั้งวัยรุ่นและวัย ทำ�งานเดินผ่านบริเวณนี้เป็นจำ�นวนมาก และ
ยังเป็นที่นิยมถ่ายรูปของบรรดานักท่องเที่ยว ต่างชาติอีกด้วย ทางม้าลายที่ชิบุยะนี้ถูกหยิบยกมา เป็นเรื่องราวในนิยายหรือภาพยนตร์บ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่องฮาจิโกะ ที่สร้าง ขึ้ น จากเรื่ อ งจริ ง ของสุ นั ข ฮาจิ โ กะผู้ ติ ด ตาม และเฝ้ารอเจ้านายที่ชิบุยะทุกวันจนตาย ทางม้าลายมักจะถูกมองข้ามในด้าน การให้ประโยชน์ เพราะผู้คนไม่ค่อยใส่ใจที่จะ ข้ามทางม้าลายกันนัก บ่อยครั้งที่อุบัติเหตุ เกิดขึ้นเพียงเพราะความขี้เกียจของผู้ใช้ถนน ที่ไม่ยอมเดินไปยังจุดที่เอื้อต่อการข้ามถนน ทำ�ให้รถที่สัญจรไปมาไม่ทันระวัง ทางม้าลาย บางแห่งจะมีไฟสัญญาณสำ�หรับผู้ข้าม หรือ ปุ่มกดไฟเพื่อขอข้ามถนน การที่มีสัญญาณ เหล่านี้เพิ่มก็ย่อมเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ ข้าม และยังเพิ่มจุดสังเกตต่อผู้ขับรถอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่สัญญาณเหล่านี้มักจะมีแค่ใน จังหวัดที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น หากไม่ มี ท างม้ า ลายก็ ค วรข้ า ม สะพานลอยนะจ๊ะเด็กๆ
l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l 11
ระหว่างทาง !
เรื่อง : อัจฉรา พรมเกาะ
หลายคนคงเคยได้ยินอาจารย์ รุ่นพี่รุ่นต่างๆ พูดถึงสาขาสื่อสิ่งพิมพ์ของเรามาบ้างแล้ว คราวนี้ลองมาอ่านเรื่องราวของ 3LP จากมุมมองของหนึ่งในชั้นปีที่ 3 คือน้องขวัญฤทัย อังสนั่นหรือน้องขวัญกันบ้าง น้องขวัญเป็นคนช่างเจรจาและกล้าแสดงออก ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงคิดว่าน่าจะได้ข้อมูลพอสมควร (หัวเราะ) น้องขวัญเริ่ม ด้วยการพูดถึงเพื่อนๆ ในชั้นปีซึ่งอยู่กันมา 3 ปีแล้ว ก็อยากให้เพื่อนทุกคนเปิดใจกันให้มากกว่านี้ ความเข้าใจมันเป็นสิ่งสำ�คัญใน การอยู่ร่วมกันในสังคม อยากให้เอาใจเขาใส่ใจเรา อะไรที่เราไม่ชอบคนอื่นเขาก็ไม่ชอบ อยากให้เปิดใจให้กว้างในการให้โอกาส ถ้า เขาที่พร้อมจะปรับปรุงตัวก็อยากจะให้เข้าใจและก็ให้โอกาสเขา จับมือกันไปให้จบ 4 ปีไปด้วยกัน และสำ�หรับรุ่นน้องเองแล้ว ในสายตาของตน ตนมองว่ารุ่นน้องปี 2 ที่จะขึ้นมาปี 3 ยังไม่มีระเบียบ ไม่มีวินัย เกาะกลุ่มกัน ไม่ได้ อยากให้เน้นความสามัคคี และต้องรู้จักแยกแยะว่าอะไรที่สำ�คัญระหว่างเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงาน ให้แยกแยะและจัดหมวด หมู่ แบ่งเวลาให้ดีๆ ความรู้สึกส่วนตัวตอนนี้คือ LP รุ่น 7 รุ่น 8 รุ่น 9 มันมีระยะห่าง มันอาจจะเป็นเพราะว่าแต่ละรุ่นมีระบบ จัดการไม่เหมือนกัน แต่ด้วยความที่เราเป็นพี่เป็นน้อง ก็อยากจะให้น้องเข้าหาพี่ พี่เองก็ต้องเข้าหาน้อง ไม่อยากให้ถือว่ามาก่อนมา หลัง อยากให้อยู่ในขอบเขตความเคารพ ถ้าเปรียบการใช้ชีวิตเหมือนการข้ามทางม้าลาย ตรงปลายทางนั้นน้องขวัญบอกอยากเจออาจารย์การ์ตูน เพราะตนสนิท กับอาจารย์การ์ตูน รู้สึกได้ถึงความเป็นห่วง ถึงการดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ว่าอาจารย์จะยุ่งอยู่ก็ยังรับฟัง เวลาที่ตนมีปัญหาอาจารย์ ก็ไม่ทิ้ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาจารย์คนอื่นทิ้ง แต่ด้วยความที่ตนสนิทใจที่จะปรึกษาอาจารย์การ์ตูน อาจารย์การ์ตูนมีบุคลิก ในแบบคนที่ตนเคารพและสามารถให้ความสนิทสนมได้ ส่วนสีของทางม้าลายนั้นอยากลองให้เป็นสีชมพูพีชกับสีเขียวเทอคอยซ์ เพราะเป็นสีที่ตนชอบ เพราะสีมันคนละโทนแต่พอมันมาอยู่ด้วยกันมันก็กลายเป็นสีสันที่สวยงาม ไม่ว่าจะเข้มหรือจะอ่อนตนก็ รู้สึกว่ามันสวย คำ�ตอบของน้องขวัญก็ย่อมสะท้อนในสิ่งที่น้องขวัญคิด ว่าตนกำ�ลังมองอะไร กำ�ลังจะทำ�อะไร และจะเดินไปทางไหน ต่อ ซึ่งแต่ละคนย่อมแตกต่างเหมือนการเดินข้ามทางม้าลายของแต่ละคนซึ่งต้องแตกต่างกัน บางคนอาจจะเดินกลับไปกลับมา บางคนอาจเดินผ่านพ้นทางม้าลายตรงนี้ไปเพื่อไปข้ามทางม้าลายที่อยู่ในบริเวณอื่น แต่ไม่ว่าจะข้ามอย่างไร ทุกคนย่อมต้องเดิน เหยียบทั้งสีขาวและสีดำ� ที่เปรียบดั่งจังหวะชีวิตในช่วงที่เรากำ�ลังวิ่งตามความฝันอยู่
12 l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l
เรื่อง : ประกายพฤกษ์ วงกาฬสินธุ์
ในมุมมองของน้องใหม่ หรือปัทมา ฝ่ายเทศ ที่มีมุมมองแปลกแตกต่างจากเพื่อนภายในชั้นเรียน ก็ตรงที่เจ้าตัวพูดน้อย หรือไม่ค่อยพูดกับใคร อาจเป็นเพราะเจ้าตัวนั้นไม่มั่นใจ หรือกลัวสิ่งที่ผิดหากทำ�ไปเสียแล้วยังไงไม่รู้ ลองไปนั่งฟังน้องใหม่บอกถึง ปัญหาตรงนั้นกับทางม้าลายด้วยกันเถอะ ภายในเสน่ห์ที่ใหม่คิดว่าภายในร่างการตัวใหม่เองมีเสน่ห์มากที่สุดน่าจะเป็นตรงที่ดวงตา เพราะเวลาที่เราจะขอความช่วย เหลือจากใครหรือขอความเห็น โดยการใช้สายตามองที่หน้าเขาก็มักจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อาจจะเป็นเพราะดูน่าสงสาร หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ แต่การที่เราไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยชักถามเองก็เป็นเหมือนดาบสองคมอยู่เสมอ เพียงแต่ในความคิดของใหม่ใน การตัดสินใจอะไรบางอย่าง แต่การที่เงียบ ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นอะไรออกไปมันก็ไม่ได้หมายความว่าใหม่จะนิ่ง เพราะไม่มี ความเห็นอะไรหรือคิดไม่ได้ไปเสมอหรอก แต่ใหม่มองว่าการนิ่งหรือการที่ไม่ได้พูดอะไรออกไปเลยในบางครั้งมันยังจะดีซะกว่าที่ ใหม่พูดมันออกไป เพราะบางครั้งอาจจะเผลอพูดในสิ่งที่ไม่ควรพูด ในคำ�ที่พูดเพียงไม่กี่คำ�อาจจะเป็นต้นตอของความขัดแย้งก็ ได้ ในเมื่อที่ยังไม่ตัดสินใจพูดออกไปก็เสมือนเป็นนายของคำ�พูด อีกอย่างมันทำ�ให้ได้เห็นอะไรหลายๆ อย่างทั้งความคิด พฤติกรรม ของคนรอบข้างเรา รวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ เรียกง่ายๆ ว่านิ่งเงียบเพื่อดูท่าทีหรือสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลง เพื่อรับมือ กับมันจะดีกว่า รู้เขารู้เราเอาไว้ก่อนก็จะดีกว่า แต่การพูดน้อยก็มีผลเสียต่อการทำ�หนังสือพิมพ์อินทนิลที่ผ่านมา คือในด้านการตัดสินใจ อุปสรรคก็เป็นเรื่องความเชื่อ มั่น ในความคิดของใหม่เองที่ใหม่ไม่ค่อยมั่นใจในคำ�พูดเท่าไหร่ แต่การไม่พูดนี้มีข้อเสียอยู่เยอะมันทำ�ให้บางครั้งเพื่อนไม่เชื่อใจ ก็ เป็นปัญหาที่ใหม่เคยโกรธตัวเองหรือหงุดหงิดให้ตัวเองอยู่บ่อยครั้ง ในบางครั้งที่ไม่ได้พูดมันออกไปหรือแสดงออกมันน้อยไปบ่อย นัก สิ่งสุดท้ายและท้ายสุดก็ควรพูดในสิ่งที่ควรพูด พูดในสิ่งที่ควรคิด คิดในสิ่งที่ต้องพูด และเลือกที่จะแสดงออกในเวลาที่ เหมาะสม ใหม่เองก็มีความในใจของคนพูดน้อยมาให้เพื่อนๆ ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ร่วมเดินไปด้วยกัน แม้ในบางครั้งอาจจะมี ไม่เข้าใจกันบ้าง แต่ทุกครั้งเราก็มักจะมีรอยยิ้มให้กันเสมอ และขอให้โชคดีและแฮปปี้กับการเตรียมตัวไปฝึกงานในอนาคตที่เพื่อน ทุกคนเลือกด้วยนะ
l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l 13
ระหว่างทาง !
·Ò § ÁŒ Å Â “ชีวิตคือการเดินทาง.. . ดูจะเป็นการเปรียบเปรยที่เราได้ยินได้ฟัง กันบ่อยๆ แต่คำ�ว่าการเดินทาง อาจมีความหมายลึกซึ้งกว่าปกติสำ�หรับ คนบางคน เป็นความหมายที่อาจจะต้องเรียงลำ�ดับถ้อยคำ�ใหม่ว่า ระหว่าง ทางเราจะเจออะไรบ้างกว่าจะไปถึงปลายทางของชีวิต. .” การเรียนไม่ว่าที่ไหนๆ ล้วนมีความยากง่าย และมัก เกิดความคิดว่ามันยากที่จะก้าวข้ามให้ผ่านพ้นได้ อย่างวิชา ที่ชั้นปี 3 ตอบกันส่วนใหญ่เป็นวิชาตรรกะวิทยาที่เข้าใจยาก แต่ถึงยากแค่ไหนก็ไม่เกินความสามารถของน้องๆ แน่นอน การเรียนเราไม่สามารถเลือกเดินได้ตามอ�ำเภอใจ เหมือน ดั่งการเดินบนทางม้าลายเราไม่สามารถเลือกได้หรือเดินแค่ สีใดสีหนึ่ง แต่การเดินทุกก้าวนั้นก็ต้องเจอทั้งขาวและด�ำ หากจะเลือกเดินแค่สีขาวสีเดียว สีด�ำสีเดียว คงจะยากที่จะ เดินข้ามมันไป อาจจะล้มลงก็ได้ สุ ด ท้ า ยแล้ ว การเรี ย นที่ ดี ก็ ต ้ อ งมี ค วามหลาก หลายและมี ค วามส�ำคั ญ ไม่ ต ่ า งกั น อย่ า งเช่ น ปี 3 ได้ บอกกั บ ทางม้ า ลายว่ า “อยากเดิ น ข้ า มทุ ก วิ ช าเลยค่ ะ เพราะถ้าติดวิชาไหนวิชาหนึ่งก็ไม่ผ่าน (หัวเราะ) ทุกวิชา มีความส�ำคัญมากๆ เพราะเกี่ยวกับสายงานที่เราเรียน ถ้า อาจารย์จัดตารางเรียนให้เรียนก็แสดงว่าทุกวิชามีประโยชน์ และสอนให้เรามีความรู้เติบโตขึ้นได้” ส่วนอาจารย์ที่น้องๆ อยากเดินข้ามทางม้าลาย ไปเจอดูเหมือนจะเป็นใครไม่ได้นอกจากอาจารย์ผู้อาวุโส ที่สุดในสาขา นั่นคืออาจารย์ธัญญา สังขพันธานนท์ ในการ เรียนกับอาจารย์ในทุกครั้งต้องเจอความกดดันและสร้าง ความกลัวให้ทุกคนไม่น้อย แต่ถึงอย่างไรอาจารย์ก็มิวาย เป็นที่ศรัทธาของนิสิต “อยากเจออาจารย์ทุกคนค่ะ อาจารย์ท�ำให้ปุ้ยมา ยืนถึงจุดนี้ แต่ถ้าถามว่าอยากเจออาจารย์คนไหนมากที่สุด
14 l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l
อยากเจอ อ.ธัญญา เพราะปุ้ยศรัทธา ชื่นชมอาจารย์มากๆ อาจารย์คือแรงบันดาลใจในหลายๆ เรื่อง ทั้งความคิด การ เรียน และการใช้ชีวิต” น้องปุ้ย นางสาววิปัศยา เบาสันเทียะ ถ้าลองจินตนาการดูสิว่า หากทางม้าลายไม่ได้เป็นสี ขาวด�ำควรจะเป็นสีอะไร แล้วท�ำไมจึงต้องเป็นสีนี้ด้วย สีของ ทางม้าลายคงมีแค่สองสีนี้แหละถึงจะเรียกว่าทางม้าลาย ลอง มาฟั ง จิ น ตนาการของน้ องๆ ที่จะเปลี่ยนสีทางม้าลายกัน “แดงเหลือง เพราะเป็นสีที่ชาวไทยน่าจะให้ความสน ใจมากในขณะนี้ หรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์ต่อไปในอนาคต” น้องแนน นางสาวเทียนธิดา ดรพาเหลา ความคิดของน้องๆ ช่างเข้ากับบรรยากาศตอนนี้เสีย จริงๆ แต่เราคงไม่สามารถไปเปลี่ยนกฎกติกาจราจรได้ เรามี โอกาสจึงมาสร้างจินตนาการใส่ทางม้าลายกันเถอะ! บนท้องถนนมีสองอย่างที่สร้างขึ้นมาให้คนเดินเท้านั้น คือสะพานลอยและทางม้าลายจากการถามน้องๆ ตอบอย่าง น่ารักและจริงใจว่า “ทางม้าลายระยะทางสั้นกว่าสะพาน ลอย อยากเดินบนสะพานลอยเพราะถึงแม้ระยะทางจะยาว กว่าแต่ความปลอดภัยชัวร์กว่าทางม้าลาย” น้องพัท นางสาว หนึ่งฤทัย ภูนิทาน ทางม้าลายนอกจากจะให้ความปลอดภัยแล้วมันยัง ท�ำให้ เ ห็ น ถึ ง วิ ถี ชี วิ ต คนบนท้ อ งถนนที่ มี ค วามเท่ า เที ย มใน การใช้ถนน และยังมองเห็นถึงความมีน�้ำใจที่น้องๆ นิยามว่า “ทางน�้ำใจ” ถ้าให้พูดถึงทางม้าลายบางคนอาจจะนึกถึงภาพ ประทับใจอย่างเห็นครอบครัวเดินจูงมือกัน เห็นต�ำรวจจราจร พาเด็กและคนแก่ข้ามถนน และเห็นคนพาคนตาบอดข้าม ถนน หรือบางคนอาจจะพบรักบนท้างม้าลายก็เป็นได้ ที่ส�ำคัญ คือการเคารพกฎจราจรบนท้องถนน การให้เกียรติซึ่งกันและ กัน เราพร้อมจับมือกันและกันเดินข้ามทางม้าลายแล้วไป เจอความส�ำเร็จที่รออยู่ข้างหน้าด้วยกัน
l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l 15
ทาง สาย กลาง อ.อัครครา มะเสนา อยากให้อาจารย์ช่วยฝากถึงน้องปี 3 แล้วก็เรื่องการเรียน ไม่ว่าปีไหนก็รัก เหลือเวลาไม่นานแล้ว อีกสองปี เท่านั้นแป๊บเดียวก็ผ่านไป การใช้ชีวิตในช่วงวัยเรียน เพื่อน น้อง พี่ มีความสำ�คัญต่อชีวิตเราเรา เพราะฉะนั้นมันเป็น สิ่งสำ�คัญที่จะรักษามิตรภาพเอาไว้ พยายามกอดกันไว้ เกี่ยวมือกันไว้ คุณอาจจะทำ�บุญมาไม่รู้กี่ชาติกว่าจะได้มา เจอกัน เราต้องคิดว่าตัวเองมีประสบการณ์ในการเรียน มหาวิทยาลัยยังไม่เพียงพอ มันถึงจะสร้างกรอบความเข้ม แข็งให้กับตัวเอง สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือ เรื่องของจิตสาธารณะ มันต้องมีด้วยไม่ใช่ว่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้งอย่างเดียว ผศ. ดร. ธัญญา สังขพันธานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 3 LP อาจารย์สอนมาหลายรุ่น ดูการ พัฒนามาตั้งแต่ตอนปี 1 ปี 3 กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มค่อนข้าง
เรียบๆ ไม่โลดโผนก็น่ารักมีความตั้งใจ ส่วนเด็กซิ่วก็ต้องพยายาม ประคับประคอง บางคนหลุดไปแล้ว ปี 3 ผมไม่รู้รายละเอียด อาจจะมีกลุ่มย่อยอยู่ในกลุ่มใหญ่บ้าง แล้วก็ค่อนข้างตั้งใจเรียน มากขึ้น พอปี 3 เทอมสองน่าจะอยู่ตัวแล้วก็ถือว่าคงไม่มีใครตก หล่นแล้ว ตอนนี้เขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว เรียนหนักด้วยทั้งทำ�กิจกรรม ทั้งเขาจะต้องช่วยดูแลน้องๆ ด้วย เท่าที่ดูเขายังเข้าถึงน้องไม่ได้ หรือมีช่องว่างอะไรบางอย่างมากั้นอยู่ เขาไม่สามารถคอนโทรล น้องได้เต็มที่ แล้วเขาต้องพัฒนาตนเองในเรื่องของความกระตือ รือร้นเขาเป็นนักฟังมากกว่านักแสดงความเห็นเรื่องการเรียน เรื่อง สำ�คัญสำ�หรับเด็กเอกสื่อ ที่อาจารย์พูดแล้วพูดอีกนะว่าเราต้อง อ่านหนังสือ ต้องมีความรู้ติดตามข่าวสาร ต้องจัดลำ�ดับความ สำ�คัญของงานทุกชิ้นจัดำ�ดับให้ดีว่าอะไรควรทำ�ก่อนทำ�หลังหรือ ให้ความสำ�คัญเท่าๆ กันทุกวิชาด้วย เรื่องกิจกรรมเวลาให้ทำ�อะไร เขาก็รับผิดชอบให้ความร่วมมือค่อนข้างดี ไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง แต่ ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต ์แต่โดยภาพรวมเขาเป็นเด็กน่ารัก
16 l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l
อ.อิสเรส สุขเสนี ปัญหาปี 3 ค่อนข้างเยอะ ค่อนข้างหนักใจ ทั้งการ เรียนและการงาน ซึง่ ไม่เหมือนตอนปี 2 คอื การช่วยงาน การ เปลี่ยนแปลงตอนช่วงชั้นปี แต่ตอนนี้เราก็ลดกิจกรรมลง แทนที่การเรียนจะดีขึ้นกลับลดลง ก่อนที่จะไปฝึกงานก็ต้อง ติดอาวุธทางปัญญาให้มากที่สุดเพื่อรับมือการทำ�งานที่แท้ จริง ต้องปรับเปลี่ยนจังหวะชีวิต มีความรับผิดชอบมากขึ้น ต้องสนใจทั้งการเรียนและกิจกรรม อาจเป็นเพราะว่าเรา ไม่ค่อยมีกิจกรรมร่วมกัน การพูดคุยกันจึงห่างหายไปด้วย ทำ�ให้ปี 3 ไม่กล้ามาปรึกษาอาจารย์ ถ้าเรารู้ว่าความฝันคือ อะไรเราก็ต้องพยายามไปให้ถึงฝัน บางคนเขาไปถึงฝันได้โดย ใช้เวลาไม่นาน เดินตรงไปก็ถึงแล้ว แต่สำ�หรับบางคนกว่าจะ ไปถึงความฝันนั้นได้ต้องผ่านทางโค้ง ทางคดเคี้ยวมากมาย แม้จะถึงจุดหมายช้า แต่ก็ประสบการณ์เยอะกว่าคนที่เดิน ทางตรง แต่ตอนนี้ปี 3 ยังไม่ชัดเจนในเส้นทางของตัวเอง
“บางคนเขาไปถึงได้ฝันโดยใช้เวลาไม่นาน เดิน ตรงไปก็ถึงแล้ว แต่สำ�หรับบางคนกว่าจะ ไปถึงความฝันนั้นได้ต้องผ่านทางโค้ง ทางคด เคี้ยวมากมายกว่าจะถึงจุดหมายก็ช้า แต่็ ประสบความสำ�เร็จเยอะ”
แล้วถามว่าสิ่งที่คุณทำ�ทุกวันนี้มันจะบ่งบอกอนาคตข้างหน้าของ เราได้หรือเปล่า อย่าเรียนสักแค่ว่าให้จบ แต่ต้องถามตัวเองว่า เรียนแล้วมันได้อะไร อย่าทำ�งานมาสักแค่ว่าให้มีส่ง แต่ต้องถาม ตัวเองให้ได้ว่ามันตอบโจทย์ให้ตัวเองเรื่องอะไรบ้าง ไม่อยากให้ อ.ดร.ภาคภูมิ หรรนภา ปี 3 ปีนี้เป็นปีที่น่าเป็นห่วงอยู่เหมือนกัน ไม่ว่าจะ มองแค่เรื่องเกรดเพียงอย่างเดียว อยากให้มองว่าสิ่งที่อาจารย์ เป็ น เพราะมี ซิ่ ว เยอะมั้ ง เลยทำ � ให้ ดู ว่ า โตเป็ น ผู้ ใ หญ่ แ ล้ ว เคี่ยวเข็ญมาที่สุดแล้วมันจะได้แก่ตัวคุณเอง ทุกชั้นปีแหละไม่ใช่ ทำ�ให้เหมือนยังไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในความคิดผมนะ แค่ปี 3 อาจารย์ก็ห่วงทุกชั้นปี เทอมนี้ปี 3 ดีขึ้นกว่าเทอมแรก เพราะเหมือนบางคนก็จะเอาแต่ตัวเอง ทำ�ให้รู้สึกว่าขาด ที่ไม่สามารถปรับสภาพให้ตัวเองเจอการเรียนหนัก เจอสภาพ ความสามัคคีกันภายในชั้น แต่เรื่องเรียนไม่ค่อยมีปัญหาเท่า กดดันจากหลายๆ วิชาที่เป็นตัวหินของ LP แต่รู้สึกว่าเทอมนี้ เหมือนจะเห็นความตั้งใจของแต่ละคนมากขึ้น เขาเริ่มมุ่งมั่นและ ไหร่ อยากให้มองกันรักกันให้มาก ความรู้สึกนี้ยิ่งโตก็ยิ่ง รู้แล้วว่าจริงๆ ต้องทำ�อะไรหรือไม่ทำ�อะไร อาจารย์จะเป็นฝ่าย มีความรับผิดชอบมากขึ้นนะ ปีหน้าก็ขึ้นปี 4 แล้ว อยากให้ เฝ้ามองมากกว่าว่ามันดีจริงไหม มันโตขึ้นจริงๆ หรือเปล่า เพราะ ทำ�ตัวให้เป็นรุ่นพี่ที่ดีแก่น้องๆ ด้วย และกลัวว่าถ้ารุ่นนี้จบ เทอมที่แล้วเราเคี่ยวเข็ญกันมาก ไปต่างคนอาจจะลืมครอบครัวได้ อยากให้ถามไถ่ ถามความ เป็นอยู่แก่รุ่นอื่นๆ บ้างนะ นี่เป็นความคิดผมเมื่อเขาเรียนจบ อ.พิมประไพ สุภารี ปี 3 เป็นปีที่ตอนแรกๆ ดูงงๆ กับบทบาทการเปลี่ยน นะ(หัวเราะ) แปลง เพราะต้องรับผิดชอบหนังสือพิมพ์ ดูแลน้องแทนพี่ีปี 4 ที่ ไปฝึกงาน แล้วก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง ปี 3 เป็นปีที่มีสองบุคลิก อ.วิรยา ตาสว่าง ปี 3 เป็นปีหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างการเอาจริงเอาจัง คือ มีทั้งความเป็นผู้ใหญ่ ที่ต้องคิด ตัดสินใจ เป็นผู้นำ�ในหลายๆ กับการเล่นสนุกสนานในชีวิต เพราะฉะนั้นหลายคนก็อยู่ใน เรื่อง แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็มีความเป็นเด็ก สดใส งอแง ช่วงการค้นหาตัวเองว่าจะเดินทางนี้ดีไหม หรือว่ามันมีทาง พูดยาก แต่ก็น่ารักเสมอในสายตาอาจารย์ เลือกอื่นให้เดินหรือเปล่า จริงๆ เป็นปีที่อาจารย์บอกเลยว่า สำ�หรับปี 3 สิ่งที่อยากฝากคือเรื่องของการค้นหาตัวตน เรียนหนักที่สุดแล้วในบรรดา LP ทั้ง 4 ชั้นปี แต่ก็หวังว่า ให้เจอ เพราะถือว่าเราเรียนมาเกินครึ่งทางแล้ว เราต้องตอบตัว หลายคนจะผ่านมันไปได้ ถ้าเกิดน้องผ่านก้าวนี้ไปได้มันก็จะ เองให้ไดัว่าเราชอบอะไร เรารักอะไร เราทำ�อะไรได้ดี หรือเราจะ เป็นการเตรียมความพร้อมสำ�หรับการไปฝึกงาน การฝึกงาน เดินไปทางไหนในวันข้างหน้า จะได้ไปเจอสนามจริงๆ น้องก็น่าจะแข็งแกร่งขึ้น อยากให้มองโลกความเป็นจริงว่าตอนนี้คุณทำ�อะไร
l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l 17
ทางปัญญา ! คำ�สอนอาจารย์ที่มักจะบอกเราเสมอในการลงมือทำ�งาน ไม่ว่าจะมาจากคำ� กล่าวในวิชาเรียน หรือในขณะที่กำ�ลังประสบปัญหา มักจะมีคำ�คมมาตักเตือนใจและ ให้กำ�ลังใจศิษย์ทุกครั้ง แม้ว่าคำ�พูดเหล่านี้จะเป็นคำ�พูดของอาจารย์ อาจารย์ก็อาจ หลงลืมไปบ้างแล้ว แต่ในฐานะที่เป็นศิษย์ยังจำ�คำ�เหล่านี้ได้อยู่เสมอ
“ “
คำ�ว่าครอบครัวนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การสืบสายเลือดเพียง อย่างเดียว คำ�ว่าครอบครัว ต้องมองย้อนแล้วใส่ใจสนใจ ด้วย ถึงจะเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์และอุบอุ่น
“
”
ไม่มคี นทัง้ โลกเกลียดเรา และไม่มคี นทัง้ โลกรักเรา
”
“
”
ทำ�อะไรให้เรียบง่าย แต่ก็อย่ามักง่าย
” “
อาจารย์สอนให้เราตกปลาเป็น ไม่ได้หาปลามาให้กิน
”
0ทำ�ตัวให้เหมือนเป็ด รู้กว้างๆ รู้ไม่ลึกก็ได้
”
”
lคิดให้เยอะๆ แต่ทำ�น้อยๆ
“ข่าวไม่จำ�เป็นต้องสดใหม่เสมอ เหมือนฟารม์เฮาส์“
ดูทาง !
/2/ /1/
/3/
Am Love” เป็นเรื่องราวของครอบครัวเรชชี่ ที่ชีวิตกำ�ลังจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เอดัวร์โด ซีเนียร์ หัวหน้าครอบครัวกำ�ลังจะประกาศชื่อผู้สืบทอดธุรกิจยักษ์ใหญ่ของเขา เขาทำ�ให้ทุกคนประหลาดใจด้วยการแบ่งอำ�นาจให้ลูกชาย แทนเครดี้ และหลานชาย เอโด้ แต่เอโด้ฝันอยากเปิดภัตตาคารกับแอนตินิโอ เพื่อนสนิทที่เป็นเชฟมีฝีมือ ขณะที่อีกหนึ่งศูนย์กลาง ของครอบครัวคือเอ็มมา ภรรยาของเอดัวร์โด้ ผู้อพยพจากรัสเซียที่กลายเป็นคนมิลานเต็มตัว เธอเป็นแม่ที่แสนดีและเป็นห่วง เป็นใยลูก แต่เธอก็ทำ�ให้ทุกคนต้องตกใจเมื่อเธอตกหลุมรักแอนโตนิโอ และมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างใน ครอบครัวนี้ตลอดไป 2. ภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องความรักของคนดูหนัง เป็นภาพสะท้อนสภาพสังคมในยุคสมัยหนึ่ง ที่ผ่านการบอกเล่าความทรง จำ�และการเปลี่ยนแปลงผ่านตัวเอกของเรื่อง โตโต้ เด็กน้อยผู้หลงใหลในภาพยนตร์ เขาใช้ชีวิตอยู่กับภาพยนตร์ เริ่มต้นจากเป็น ผู้ชม จากนั้นก็ผันตัวเองมาเป็นคนฉายหนัง สักพักเขาก็ตัดสินใจเข้าสู่โลกภาพยนตร์เต็มตัวด้วยการเริ่มถ่ายภาพยนตร์ โดยแอบ เก็บภาพหญิงสาวผู้เป็นที่รักผ่านแผ่นฟิล์ม และเมื่อถึงช่วงที่สำ�คัญของชีวิต เขากลายเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงในวงการ ภาพยนตร์ สัมผัสเรื่องราวของ โตโต้ ที่เกิดมาเพื่อภาพยนตร์ ใน “Cinema Paradiso” 3. “Life is beautiful” ภาพยนตร์ที่มีความสนุกสนาน ให้แง่คิด มีมุมมองในการชีวิต ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรักความ อบอุ่นของพ่อที่ต่อลูกและครอบครัว กับเรื่องราวของ “กุยโด” ชายหนุ่มอารมณ์ดี ที่มีความฝันที่จะมีร้านขายหนังสือเป็นของตัว เอง ได้แต่งงานกับสาวสวยซึ่งเป็นรักแรกพบของเขา จนในที่สุดทั้งคู่ได้แต่งงานกันและมีลูกชายชื่อ “โจซัว” และกุยโดสามารถเปิด ร้านหนังสือในฝันได้สำ�เร็จ จนกระทั่งเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้เกิดขึ้น เมื่อกองทัพนาซีของเยอรมันได้ทำ�การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว และต้อนครอบครัวเขาไปยังค่ายกักกันซึ่งที่นั่นเขาถูกใช้แรงงานอย่างหนัก แต่อย่างไรก็ดี กุยโดต้องใช้จินตนาการ ความรัก และ ความหวัง เพื่อปกป้องครอบครัวจากความโหดร้าย ที่สำ�คัญคือ กุยโดจะบอกลูกของเขาไว้เสมอว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในค่าย กักกันนั้นเป็นเพียงแค่เกมเกมหนึ่งเท่านั้น และถึงแม้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ก็ขอให้คิดและเชื่ออยู่เสมอว่า “ชีวิตเป็นสิ่ง สวยงาม ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องสุดท้ายเป็นภาพยนตร์อาจารย์ธัญญาแนะนำ� น้องๆ หรือพี่ๆ ที่เคยผ่านวิชาเรียนของอาจารย์คงจะ เคยผ่านหูผ่านตามาบ้าง ปีไหนๆ อาจารย์ก็มักจะมีหนังดีๆ มาให้เราได้รู้จักและได้ดูกัน ทุกเรื่องที่อาจารย์นำ�มาล้วนสร้างความ ประทับใจและมุมมองใหม่ๆ อาจจะทำ�ให้ใครหลายคนชอบดูหนังมากกว่าเดิมก็เป็นได้
1. “I
ทางโค้ง !
“
ลองจินตนาการดูสิว่า หากทางม้าลายไม่ได้เป็นสีขาวดำ�ควรจะ เป็นสีอะไร “สีชมพูขาว เพราะสดใสดีเหมือนอยู่ในโลกการ์ตูน”
“
อยากให้ทางม้าลายเป็นสีอะไร “แดงเหลือง เพราะอาจจะเป็นสัญลักษณ์ต่อไปในอนาคต และเพราะสองสีนี้ชอบทะเลาะกันก็ให้มาอยู่ด้วยกันเลย”
“
”
สีรุ้ง เพราะรู้สึกเหมือนกำ�ลังเดินอยู่บนท้องฟ้า”
?
“
“
“
”
?
”
ถ้าให้เปรียบทางม้าลายเหมือนวิชาใดวิชาหนึ่งจะให้เป็นวิชาไหน บอกเหตุผล อยากเดินข้ามวิชาวิจัยไปให้เร็วที่สุด เพราะพอวิจัยมา สมองตันเลย “วิจัยใจ แทบขาด” เฮ้อ. ขอให้ทางม้าลายเป็นทางเดินข้ามวิจัย ขอให้ผ่าน ผ่าน ผ่าน! ประวัติศาสตร์ เพราะต้องจารึกทางม้าลายไว้ว่า เป็นทางที่ควรข้ามแต่คนส่วน มากเลือกที่จะไม่เดินข้ามมัน
”
?
สมมติเดินไปทางม้าลายจนถึงอีกฝั่ง อยากเจออาจารย์คนไหนมากที่สุดในสาขาเรา “อ.ตูน เพราะ อ.ตูนสวย ก้าวข้ามไปหาได้แล้วอาจ สวยเหมือนอาจารย์ก็ได้” อ.อีฟ เพราะอาจารย์เป็นที่ปรึกษาของหนู Love you “อ.อีฟ เพราะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและสวยที่สุด มั้งนะ อ.เบสท์ เพราะอาจารย์ชอบมีมุกที่ไม่ค่อยฮาเท่าไหร่ แต่ก็ชอบนะตลกดี. .”
20 l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l
”
ทางอารมณ์ !
กฎแบบเด็กๆ เมื่อครั้งเยาว์วัยยังจำ�เพลงเหล่านี้ได้หรือไม่ เพลงที่ปลูกฝังให้เราเคารพกฎจราจร เมื่อ ตอนเด็กร้องแบบไม่รู้ความหมาย เมื่อโตขึ้นกลับมาอีกครั้ง ทำ�ให้เข้าใจในความหมายของเพลง มากขึ้น --จะข้ามถนน ต้องข้ามตรงทางม้าลาย สัญญาณไฟเขียว เราหยุดให้รถผ่านไป เราจะได้ข้าม เมื่อเปิดไฟแดงสัญญาณ ตำ�รวจจ๋ากรุณาหนูหน่อย อ้อหนูน้อยจะข้ามถนน เดินดีดีอย่าวิ่งลุกลน (ซ้ำ�) ต้องข้ามถนนตรงทางม้าลาย
แม้ว่าเราจะข้ามถนน ดูรถยนต์ ดูรถยนต์ แม้ว่าเราจะข้ามถนน ดูรถยนต์ก่อน หากรถยนต์มา อย่าอวดเก่งกล้าด่วนจร ให้รถไปก่อน แน่นอนปลอดภัย
ประกายพฤกษ์ วงศ์กาฬสินธุ์ facebook/ป.ปลา
l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l 21
ทางโค้ง!
ฮึบ! ฮึบ!
22 l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l
ยิปปี้! เย้! เย้! ฮูเร่! ฮูเร่! ยะฮู้ววว!
l วารสารทางม้าลาย l พฤศจิกายน 2556 l 23
Zebra Crossing Is A imagination 28 November 2013 For junior November Special
3 ปี 3 คำ� เราเพื่อนกัน