อุดมการณ์ของนักสัญจรบนหน้ากระดาษ ผู้พิสมัยแสวงหาความรู้และภูมิปัญญาใหม่มาบรรณาการนักอ่าน
1.indd 1
27/3/2560 15:41:23
เรือดำ�น้ำ�: Submarine ภิยะพรรณี วัฒนายากร: เขียน
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ เรือดำ�น้ำ�: Submarine.-- กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป, 2560. 368 หน้า. 1. II. ชื่อเรื่อง. 623.8257
ISBN 978-616-301-596-9 © ข้อความและรูปภาพในหนังสือเล่มนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558 การคัดลอกส่วนใดๆ ในหนังสือเล่มนี้ไปเผยแพร่ไม่ว่าในรูปแบบใด ต้องได้รับอนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ยกเว้นเพื่อการอ้างอิง การวิจารณ์ และการประชาสัมพันธ์
บรรณาธิการบริหาร ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการเล่ม กองบรรณาธิการ เลขากองบรรณาธิการ พิสูจน์อักษร ศิลปกรรม ออกแบบปก ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการทั่วไป จัดพิมพ์โดย พิมพ์ที่ จัดจำ�หน่าย
: คธาวุฒิ เกนุ้ย : วาสนา ชูรัตน์ : ฤชุตา วิทยาประพันธ์ : คณิตา สุตราม พรรณิกา ครโสภา ดารียา ครโสภา : อรทัย ดีสวัสดิ์ : วรรษา : ชา ณ กา : คีย์ ริชเนสส์ : นุชนันท์ ทักษิณาบัณฑิต : ชิตพล จันสด : เวชพงษ์ รัตนมาลี : บริษัท ยิปซี กรุ๊ป จำ�กัด เลขที่ 37/145 รามคำ�แหง 98 แขวง/เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240 โทร. 0 2728 0939 โทรสาร. 0 2728 0939 ต่อ 108 www.gypsygroup.net/ : บริษัท วิชั่น พรีเพรส จำ�กัด โทร. 0 2882 9981-2 : บริษัท ยิปซี กรุ๊ป จำ�กัด โทร. 0 2728 0939 www.facebook.com/gypsygroup.co.th.
ราคา 295 บาท
1.indd 2
27/3/2560 15:41:23
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ แรงบันดาลใจที่ภิยะพรรณี วัฒนายากร เขียน ‘เรือดำ�น้ำ�’ เล่มนี้ขึ้นมา เพราะมี ค วามสนใจเป็ นทุ น เดิ ม อยู่ แ ล้ ว ประกอบกั บ มี แรงบั นดาลใจ สนับสนุนจากคุณพ่อเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีกลุ่มเพื่อนๆ และกลุ่ม คนหลายวัยที่สนใจในสิ่งเดียวกัน ทั้งหมดทั้งมวลจึงได้รวมกลุ่มกันขึ้น เพื่อเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนในสิ่งที่ชื่นชอบเหมือนๆ กัน โดยสื่อสารผ่าน เว็บไซต์ชื่อ ‘ไทยไฟเตอร์คลับ’ ในเว็บไซต์นี้ถ้าใครสงสัยใคร่รู้อะไรตรงไหน ก็ถามไปตอบมา หรือใครมีสิ่งแปลกใหม่มีความรู้ใหม่เกี่ยวกับเรือดำ�น้ำ� ก็บอกต่อกันในกลุ่ม ซึ่งนับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจของทุกคน...ที่มาของ หนังสือเล่มนี้เริ่มต้น ณ จุดนี้ จากความสนใจนี่เองที่เธอพยายามค้นคว้าหาข้อมูลจากที่ต่างๆ ทั้งหนังสือและเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำ�มาเรียบเรียงเป็นต้นฉบับ โดย ตอนที่ 1 - 8 เคยตีพิมพ์ในนิตยสารท็อปกันมาแล้ว แต่ก่อนจะพิมพ์เป็นเล่ม ผู้เขียนได้อ่านและขัดเกลาต้นฉบับอีกครั้งหนึ่ง ตามด้วยการเขียนบทที่ 9 เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งบทเพื่อความสมบูรณ์แบบของการพิมพ์ครั้งนี้ เรื อ ดำ � น้ำ � ซึ่ ง หลายคนคิ ด ว่ า เป็ น อาวุ ธ ชั้ น ดี ที่ ใ ช้ สำ � หรั บ โจมตี ข้าศึกในการสงครามเพียงอย่างเดียวนั้น...นั่นไม่ใช่เลย เพราะเรือดำ�น้ำ� มีประโยชน์และมีความสำ�คัญกว่านั้นมากมายนัก คือมันสามารถลงไป สำ�รวจสิ่งต่างๆ ใต้ท้องทะเลที่มนุษย์อย่างเราๆ ไม่สามารถดำ�ลงไปถึง ได้ในชุดดำ�น้ำ�ธรรมดาๆ มันสามารถสำ�รวจซากพร้อมกับการกู้เรือที่จมอยู่ ใต้น้ำ�ได้เป็นผลดี ตลอดจนใช้ค้นหาสิ่งของต่างๆ ที่จมลงไปพร้อมกับเรือ ผิวน้ำ� แถมยังใช้เป็นยานพาหนะในการวางสายเคเบิลใต้น้ำ� กระทั่งสำ�รวจ
1.indd 4
27/3/2560 15:41:25
การก่อเกิดของแผ่นดินไหว รวมไปถึงสำ�รวจสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ใต้ท้อง ทะเลลึก เป็นต้น เรือดำ�น้ำ�ลำ�แรกถูกสร้างขึ้นมาเมื่อไหร่ จุคนได้กี่คน ดำ�น้ำ�ได้ลึก เพียงใด อยู่ใต้น้ำ�ได้นานเพียงใด แล้วเคลื่อนที่ใต้น้ำ�ในลักษณะใดกันบ้าง แล้วปัจจุบันสามารถจุคนได้กี่คน อยู่ใต้น้ำ�ได้เป็นเดือนๆ จริงหรือไม่? แล้ว เรือดำ�น้ำ�ที่สร้างจากเหล็กทั้งลำ� สามารถเคลื่อนที่ภายใต้ผิวน้ำ�ได้อย่างไร? แล้วอะไรที่ทำ�ให้เรือลอยลำ�อยู่บนผิวน้ำ�ได้ ผู้ออกแบบและผู้ผลิตแต่ละคน มีขั้นตอนวิธีการอย่างไรที่ทำ�ให้เรือดำ�น้ำ�ดำ�ลงใต้น้ำ�ทะเลลึกและลอยตัว กลับขึ้นสู่ผิวน้ำ�ได้โดยปลอดภัย เรือดำ�น้ำ�เล่มนี้ มีคำ�ตอบทุกระบวนการตั้งแต่ยุคแรกสร้างจนถึง ยุคแห่งการพัฒนาระบบ การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้เข้าที่เข้าทางเหมาะ สมกับแต่ละรุ่นและความจำ�เป็นของการใช้งานของแต่ละประเทศ ยิปซีสำ�นักพิมพ์ หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับอรรถรสไม่มากก็น้อย ในหนังสือเล่มนี้ ด้วยรักและมิตรภาพ ยิปซีสำ�นักพิมพ์
1.indd 5
27/3/2560 15:41:25
คำ�นำ�ผู้เขียน หนังสือเรือดำ�น้ำ�: จากเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ถึงเรือดำ�น้ำ� สมัยใหม่ยุคต้น ถึงยานฮอลแลนด์ หมายเลข 6 (Holland VI) และยาน อาร์โกนอท (Argonaut) ต้นแบบเรือดำ�น้ำ�และยานกู้ภัยใต้น้ำ�สมัยใหม่เล่มนี้ เกิดขึ้นจากความสนใจของผู้เขียนที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความ เป็ น มาของเรื อ ดำ � น้ำ � ให้ ล ะเอี ย ดมากที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะค้ นคว้ า ได้ ซึ่ ง เริ่ ม จุดประกายจากการรวมกลุ่มเพื่อนในเว็บไซต์ไทยไฟเตอร์คลับ พูดคุย เล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการทหาร ทำ�ให้พบว่า แม้ว่าเรือดำ�น้ำ� พลังงานนิวเคลียร์ติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีป (SSBN) จะเป็นอาวุธทาง ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ และชาติมหาอำ�นาจได้นำ�เรือดำ�น้ำ�มาใช้ใน การป้องกันประเทศจากการถูกปิดอ่าว รวมถึงมีส่วนในการสร้างสมุททา นุภาพการครองทะเลมานานเกินกว่าร้อยปี โดยบทบาทของเรือดำ�น้ำ�กับ การป้องกันประเทศและการทำ�สงครามชัดเจนเป็นรูปธรรมในยุคของเรือ ดำ�น้ำ�สมัยใหม่ (Modern Submarine) เป็นต้นมา อย่ า งไรก็ ต าม ความรู้ เ กี่ ย วกั บ เรื อ ดำ � น้ำ � ที่ เป็ น ภาษาไทยที่ เผยแพร่ต่อสาธารณชนยังมีน้อยอยู่ โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานและความ เป็นมาทางประวัติศาสตร์ (ที่มาที่ไปของอาวุธชนิดนี้) ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็น สิ่งสำ�คัญ เนื่องจากการที่จะเกิดความรัก ชื่นชม หรือประทับใจใน คุณค่าของใครสักคน เราไม่อาจที่จะเกิดความรัก ความประทับใจ หรือ ต้ อ งการเรื อ ดำ � น้ำ � มาประจำ � การเพื่ อ ปกป้ อ งน่ า นน้ำ � ไทย เพี ย งเพราะ ลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน แต่มาจากการได้เรียนรู้ความเป็นมา บริบทที่ หล่อหลอมในเหตุเกิดเป็นตัวตนของสิ่งนั้นๆ ความเฉลียวฉลาด ความ
1.indd 6
27/3/2560 15:41:26
สามารถ ประสบการณ์ที่สร้างสมมาเป็นอย่างไร การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเรือดำ�น้ำ� จะทำ�ให้คน ยุคปัจจุบันทราบว่า กว่าจะเกิดมีเรือดำ�น้ำ�ขึ้นมานั้น นักออกแบบเรือดำ�น้ำ� และนักเรือดำ�น้ำ�รุ่นเก่าได้ฟันฝ่าอุปสรรคอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งการทำ�ให้ กองทัพเรือต้นศตวรรษที่ 20 เชื่อมั่นวิธีการรบแบบใหม่ รวมถึงความ เสียสละของนักเรือดำ�น้ำ�ในอดีต ยุคที่อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ระบบถ่ายเท อากาศในเรือ เครื่องยนต์ หรืออาวุธยังไม่ได้พัฒนา จนถึงการทำ�ให้ใช้ชีวิต ในเรือสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเก่า และเป็นที่ทราบกันดีว่า วัตถุประสงค์ การสร้างเรือดำ�น้ำ�ยุคแรกนั้นก็เพื่อการทำ�สงคราม ไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์ หรือการสำ�รวจ โดยฝ่ายที่มีกำ�ลังรบด้อยกว่า ต้องการเรือดำ�น้ำ�เพื่อ ต่อต้านฝ่ายที่มีกำ�ลังเหนือกว่าซึ่งนำ�กองเรือผิวน้ำ�มาปิดอ่าว หากชัยชนะ ในยุทธนาวีได้จากการมีเรือผิวน้ำ�ขนาดใหญ่กว่า ติดตั้งอาวุธที่มีอานุภาพ มากกว่าเพียงอย่างเดียว เรือดำ�น้ำ�ก็คงไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอาวุธ หลักที่สำ�คัญอย่างหนึ่งของชาติมหาอำ�นาจทางทะเล ยาวนานต่อเนื่อง มาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ การมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ บทบาท และหน้าที่ของเรือดำ�น้ำ� จะนำ�ไปสู่ความตระหนักในบทบาท หน้าที่ และความสำ�คัญของการมีเรือดำ�น้ำ�ประจำ�การในกองทัพ หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 ตอน ตามช่วงเวลา (timeline) สอดคล้องกับการพัฒนาระบบขับเคลื่อนเรือดำ�น้ำ� เริ่มต้นจากเรือดำ�น้ำ� ขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ การนำ�เรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนแรงมนุษย์ร่วมรบใน
1.indd 7
27/3/2560 15:41:26
สงครามต่างๆ เช่น สงครามประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา จากการ ปกครองของประเทศอังกฤษ สงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ไปสู่เรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ และประวัติผลงานนักออกแบบ เรือดำ�น้ำ�ที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น เซอะเวียสสกี (Drzewiecki) ผู้ออกแบบ เรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าลำ�แรกของโลก จอห์น ฟิลิป ฮอลแลนด์ (John Phillip Holland) บิดาแห่งเรือดำ�น้ำ�สมัยใหม่ หรือ ไซมอน เลค (Simon Lake) ผู้จุดประกายแนวคิดการสร้างยานสำ�รวจและกู้ภัยใต้น้ำ�ให้กับ นักออกแบบปัจจุบัน โดยข้อมูลที่นำ�มาเสนอ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และ เทคโนโลยีการทำ�สงครามใต้น้ำ� (undersea warfare) ในหนังสือเล่มนี้ มาจาก หลากหลายชาติ เช่น ประเทศรัสเซีย สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ซึ่งแม้จะ มีความแตกต่างกันทางภูมปิ ระเทศ สภาพภูมศิ าสตร์ ความเชือ่ ค่านิยม ของสังคม และยุทธศาสตร์การทำ�สงครามทางเรือที่ต่างกัน อันเนื่อง มาจากบริบท เงื่อนไข และสภาวการณ์ที่ต่างกัน แต่ก็มีจุดเชื่อมโยง ประสานเข้าด้วยกัน นั่นคือความจำ�เป็นในการพัฒนาอาวุธทางเรือรูปแบบ ใหม่ ที่สามารถต่อกรกับกองเรือรบผิวน้ำ�ที่มีแสนยานุภาพเหนือกว่าทั้ง ทางด้านจำ�นวนและขนาดของเรือ เพื่อความมั่นคงและเพื่อความอยู่รอด ของประเทศชาติ หวั งว่ าท่ านผู้อ่า นคงจะได้รับความรู้และอรรถรสจากการอ่าน หนังสือเล่มนี้ เพือ่ เพิม่ พูนความรูข้ องท่านเกีย่ วกับ “เรือดำ�น้�ำ - ปลาปีศาจ ตัวน้อย” เมื่อเทียบขนาดกับเรือผิวน้ำ�อย่างเช่นเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่ สามารถทำ�ให้เกิดจุดเปลี่ยน (turning point) ของสงครามทางเรือ และ เรือดำ�น้ำ�ก็เป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ (strategic weapon) ที่อาจเป็นปัจจัย ชี้ขาดของสงครามได้ไม่มากก็น้อย ขอบคุณค่ะ ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 8
27/3/2560 15:41:26
คำ�อุทิศและคำ�ขอบคุณ ประโยชน์ใดและความรู้ใดที่ท่านผู้อ่านจะได้จากหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียน ขออุทิศคุณความดีนี้ให้กับคุณพ่อและคุณแม่ ผู้เป็นครูคนแรกในชีวิต และขออุ ทิ ศ แด่ เ สด็ จ เตี่ ย กรมหลวงชุ ม พรเขตอุ ด มศั ก ดิ์ พระบิ ด า แห่งกองทัพเรือไทย พลเรือเอกหลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) พลเรื อ โทหลวงสุ น าวิ น วิ วั ฒ น์ และพลเรื อ เอกประพั ฒ น์ จั น ทวิ รั ช ผู้เป็นดั่งครูอาจารย์ สร้างแรงบันดาลใจและความรู้เกี่ยวกับเรือดำ�น้ำ� ให้ กั บ ผู้ เขี ย นเกิ ด ความรั ก และความสนใจค้ นคว้ า ประวั ติ ศ าสตร์ ก าร พัฒนาเรือดำ�น้ำ� ผู้เขียนขอขอบคุณพลเรือเอกยุทธนา ฟักผลงาม และพลเรือเอก สุริยะ พรสุริยะ ซึ่งได้กรุณาสนับสนุนการเขียนและการเผยแพร่บทความ เรือดำ�น้ำ� ตั้งแต่ช่วงที่บทความเหล่านี้ตีพิมพ์ในนิตยสารท็อปกัน และ ขอขอบคุณพลเรือตรีคำ�รณ พิสณฑ์ยุทธการ ที่ได้กรุณาให้คำ�แนะนำ� ความรู้เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ต้นหลิวในป่าใหญ่ รวม ถึงคุณทรงกลด พิชัยกุล ที่ได้ให้คำ�แนะนำ�เกี่ยวกับเรือรบเยอรมัน
1.indd 9
27/3/2560 15:41:26
สารบัญ เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 1
13
เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 2
37
เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 3
61
เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 4
79
เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 5
113
เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 6
157
การพัฒนาเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ในยุคต้น การรบของเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ จากกรีกโบราณถึงศตวรรษที่ 18
การรบของเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 การรบของเรือดำ�น้ำ�ในสงครามกลางเมือง สหรัฐอเมริกา
การพัฒนาเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ� (Steam-powered Submarine) การพัฒนาเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า
1.indd 10
27/3/2560 15:41:27
เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 7
191
เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 8
231
เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 9
279
บรรณานุกรม
360
การออกแบบยานใต้น้ำ�ของเซอะเวียสสกี (Drzewiecki) ผู้สร้างเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าลำ�แรกของโลก
การพัฒนาเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนพลังงานเบนซิน - ไฟฟ้า (Gasoline - Electric Submarine) และผลงานการออกแบบเรือดำ�น้ำ� ของ จอห์น ฟิลิป ฮอลแลนด์ (John Philip Holland)
ผลงานการออกแบบเรือดำ�น้ำ�ของ ไซมอน เลค (Simon Lake)
1.indd 11
27/3/2560 15:41:27
เรื อดำ�น้ำ� 12
1.indd 12
27/3/2560 15:41:27
เรือดำ�น้ำ� ตอนที่ 1
การพัฒนาเรือดำ�น้ำ� ขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ ในยุคต้น
1.indd 13
27/3/2560 15:41:27
การพัฒนาเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อน ด้วยแรงมนุษย์ ในยุคต้น จุดประสงค์หลักในการพัฒนาเรือดำ�น้ำ� หรือยานที่วิ่งใต้น้ำ�ได้ เพื่อการทำ�สงคราม เนื่องจากคุณลักษณะเด่นของเรือดำ�น้ำ�ที่สามารถ พรางตัวเข้าโจมตีศัตรู - ตรวจสอบได้ยาก เพื่อใช้ต่อกรกับกำ�ลังทางเรือ ของศัตรูที่เหนือกว่า เช่น กองเรือปิดอ่าว หรือ เรือผิวน้ำ�ขนาดใหญ่ ที่ตดิ ตัง้ อาวุธประสิทธิภาพสูงกว่า มีเรือดำ�น้ำ�ในยุคต้นเพียงไม่กี่ลำ� ที่ถูก สร้างขึ้นเพื่อค้นหาสมบัติจากเรือแตกใต้น้ำ� หรือเพื่อสำ�รวจโลกใต้ทะเล การพัฒนาระบบขับเคลื่อนเรือ (Propulsion) เป็นจุดเด่นชัด และ ใช้เป็นตัวแบ่งยุควิวฒ ั นาการเรือดำ�น้ำ� จุดประสงค์หลักของการพัฒนาระบบ ขับเคลือ่ นเรือ เพือ่ ให้เรือดำ�น้ำ�เคลือ่ นทีไ่ ด้เร็วขึน้ กว่าเดิม และลดเสียงที่แพร่ ออกมา ควบคูไ่ ปกับการพัฒนาอาวุธประจำ�เรือ จากลักษณะอาวุธเรือดำ�น้ำ� ยุคต้นที่ใช้ทุ่นระเบิดติดตั้งกับตัวเรือด้านนอก และยิงเข้าสู่เป้าหมายด้วย การจุดชนวนระเบิด หรือ ใช้นักประดาน้ำ�นำ�ไปติดตัง้ ใต้ทอ้ งเรือทีเ่ ป็นเป้า ในยุคสงครามโลกครัง้ ที่ 1 ซึง่ เริม่ มีการพัฒนาใช้อาวุธที่ติดตั้งท่อยิงภายใน เรือ เช่น ตอร์ปิโด สู่ระบบอาวุธ ปล่อย และ ขีปนาวุธ (missile) ในปัจจุบัน โดยมากคนทัว่ ไป จะเข้าใจกันว่าวิวฒ ั นาการเรือดำ�น้ำ� เริ่มต้นใน ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งเรือเหล็ก (ironclad) ติดตั้งเครื่องจักรขับเคลื่อน เรือ ได้รับความนิยมแทนที่เรือไม้ (wooden ship) ที่ใช้ใบเรือในการขับ เคลื่อน และเรือดำ�น้ำ�เริ่มเป็นที่สนใจของผู้คนตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้ง ที่ 1 เป็นต้นมา จากความสำ�เร็จในการปฏิบัติการของเหล่านักเรือดำ�น้ำ� เยอรมัน เรื อดำ�น้ำ� 14
1.indd 14
27/3/2560 15:41:27
แท้จริงแล้ว ความสนใจในการประดิษฐ์เรือดำ�น้ำ� ได้เริ่มมาตั้ง แต่ยุคเรือใบ ก่อนที่มนุษย์จะสามารถคิดค้นเครื่องจักรกลเรือได้ ความ สำ�เร็จของการสร้างเรือดำ�น้ำ�ในยุคต้น แลกด้วยความเสี่ยงและชีวิตของผู้ ทดลอง แต่ได้กลายเป็นรากฐานอันสำ�คัญต่อการประดิษฐ์เรือดำ�น้ำ�ที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น และขนาดใหญ่ขึ้น ในยุคต่อมา
วิวัฒนาการระบบขับเคลื่อนเรือดำ�น้ำ� (Submarine Propulsion Systems) 1. ระบบขับเคลือ่ นด้วยแรงคน (Oared, Hand - cranked Propulsion คริสต์ศตวรรษที่ 16 - 19) ได้มีการทดลองประดิษฐ์ เรือดำ�น้ำ� ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 16 จนสามารถใช้รบในสงครามจริงได้ ในช่วงต้นถึง กลางศตวรรษที่ 19 เช่นในสงครามประกาศอิสรภาพ และสงครามกลาง เมืองสหรัฐอเมริกา เรือดำ�น้ำ�ในยุคแรก ออกแบบให้ขบั เคลือ่ นโดยใช้แรง ฝีพาย โดยติดตั้งกรรเชียงเป็นแนวยาวตลอดลำ�เรือ และติดตั้งระบบอัด อากาศ (compressed air) ภายในเรือ ต่อมาสามารถพัฒนาให้ขับเคลื่อนด้วยแรงคนเพียงคนเดียวได้ โดยไม่ต้องใช้ฝีพายหลายนาย ด้วยการติดตั้งระบบข้อเหวี่ยงหมุนใบพัด และพายเรือ ด้วยมือ เช่น ยานบุชเนลส์ เทอเทิล ระบบอาวุธเรือดำ�น้ำ�ยุคแรก ไม่สามารถติดตัง้ ในท่อยิงในตัวเรือ ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 15
15
27/3/2560 15:41:27
ได้ ที่บรรจุอาวุธจะอยู่ด้านนอกผนังเรือ ใช้อาวุธที่ดัดแปลงจากกระสุน ปืนเรือ มีดินระเบิดเป็นอุปกรณ์หลัก จุดระเบิดด้วยการยิงอาวุธเข้าฝังใน ตัวเรือเป้าก่อน แล้วเหนี่ยวไกชนวน ตัง้ ระเบิดเวลา หรือ วางทุน่ ระเบิด 2. ระบบขับเคลื่อนเครื่องจักรไอน้ำ� (Steam Propulsion) มีการประดิ ษ ฐ์และใช้งานเรื อ ดำ � น้ำ�ชนิดนี้ในระยะสั้นๆ ในช่วงปลาย คริ ส ต์ศตวรรษที่ 19 แม้วา่ เรือกลไฟผิวน้ำ�จะได้รบั ความนิยมเป็นอย่างมาก และใช้อย่างแพร่หลายในวงการพาณิชย์นาวี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่ สำ�หรับเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนเครื่องจักรไอน้ำ� กลับถูกผลิตออกมาไม่มากนัก และเสื่อมความนิยมไป เมื่อมีการคิดค้นระบบเครื่องยนต์เบนซิน-ไฟฟ้า เรือดำ�น้ำ�ติดตั้งเครื่องจักรไอน้ำ�หลายลำ�ถูกเปลี่ยนเป็น เครื่องยนต์เบนซิน หรือ ดีเซลไฟฟ้าแทน สาเหตุหลักเนื่องมาจากความยุ่งยากในการใช้งาน 3. ระบบเครื่องยนต์เบนซิน - ไฟฟ้า (Gasoline, PetrolElectric Propulsion คริสต์ศตวรรษที่ 19 - สงครามโลกครั้งที่ 1) เครื่องยนต์เบนซินจัดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สำ�คัญยิ่งต่อวิวัฒนาการเรือดำ � น้ำ� ส่งผลให้เรือดำ�น้ำ�แล่นใต้น้ำ�เร็วและนานขึ้น ได้มกี ารทดลองออกแบบ ตัง้ แต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และประสบความสำ�เร็จในต้นศตวรรษที่ 20 ชาติยุโรปเกิดการตื่นตัวเร่งผลิตเรือดำ�น้ำ � อย่างมาก อั น เป็ น ผลมาจาก ความสำ�เร็จในการสร้าง ยูเอสเอส ฮอลแลนด์ USS Holland - เรือดำ�น้ำ� พลังงานเบนซิน - ไฟฟ้าลำ�แรกของโลก และ การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทางด้านระบบอาวุธ มีการพัฒนาอาวุธตอร์ปโิ ด ปล่อยจากท่อด้วยระบบไฟฟ้า 4. ระบบเครื่องยนต์ดีเซล - ไฟฟ้า (Diesel-Electric Propulsion ปี ค.ศ. 1908 - สงครามโลกครั้งที่ 2 - ปัจจุบัน) มีการนำ�มาใช้ ตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 แทนที่เครื่องยนต์เบนซิน เนื่องจากมีกำ�ลัง สูงกว่าเครื่องยนต์เบนซิน นอกจากนี้ยังทำ�งานได้นานกว่าและค่าใช้จ่าย ถูกกว่า การนำ�เรือดำ�น้ำ�พลังงานดีเซล - ไฟฟ้ามาใช้ในกองทัพเรือ เริ่มใน ปี ค.ศ. 1908 โดย เรือดำ�น้ำ� D-1 ของ ราชนาวีอังกฤษ จากนั้นได้แพร่หลาย ที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีการผลิตประจำ�การเรือดำ�น้ำ�ชนิดนี้ ต่อมาอย่างยาวนานจนถึ ง ปัจจุบัน โดยพัฒนาระบบหมุนเวียนอากาศ เรื อดำ�น้ำ� 16
1.indd 16
27/3/2560 15:41:27
ภายในเรือ จากระบบ สนอร์ท ซิสเต็ม (Snort System – ระบบหมุนเวียน อากาศภายในเรือ ด้วยการนำ�อากาศเข้าสู่ตัวเรือผ่านท่อยาวซึ่งต่อร่วม กับท่อกล้องตาเรือดำ�น้ำ� (periscope) ทำ�ให้ลูกเรือดำ�น้ำ�สามารถใช้ชีวิต ในเรือใต้น้ำ�ได้เป็นสัปดาห์ โดยที่เรือไม่ต้องโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ� ระบบ หมุ น เวี ย นอากาศนี้ ป ระดิ ษ ฐ์ โดยชาวเนเธอร์ แ ลนด์ ในช่ ว งสงครามโลก ครั้งที่ 2 จากนั้นเยอรมันนำ�มาพัฒนาต่อยอด จนใช้อย่างแพร่หลายใน ช่วงทศวรรษที่ 1950) เป็นระบบเอไอพี (AIP – Air Independent Propulsion ระบบขับเคลื่อนเรือดำ�น้ำ � ไม่ใช้ก๊าซออกซิเจนในการเผาผลาญเชื้อเพลิง แต่ จ ะทำ � ให้ เ กิ ด ก๊ า ซออกซิ เจนหมุ น เวี ย นภายในตั ว เรื อ ทำ�ให้ ลู ก เรื อ ดำ�น้ำ � สามารถใช้ชีวิตในเรือใต้ น้ำ � ได้เป็นเดือน โดยไม่ต้องลอยตัวขึ้น บนผิวน้ำ�บ่อยๆ (นานกว่าเรือดำ�น้ำ�ที่ใช้ระบบนอร์ท ซิสเต็ม) ระบบ AIP สามารถพัฒนาร่วมกับเครื่องยนต์ดีเซล หรือใช้แทนเครื่องยนต์ดีเซลได้) รวมทั้งการพัฒนาใบจักรเรือและเครื่องยนต์ ทำ�ให้มีความเงียบมากขึ้น 5. ระบบขับเคลื่อนพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Propulsion ปี ค.ศ. 1954 - ปัจจุบัน) เริ่มในยุคสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้ น สุ ด เกิ ด จากการแข่ ง ขั น ในการสร้ า งอาวุ ธ นิ ว เคลี ย ร์ ร ะหว่ า งค่ า ย ประชาธิปไตย นำ�โดยอเมริกา และคอมมิวนิสต์ นำ�โดยรัสเซีย รวมทั้ง เรือดำ�น้ำ�พลังงานนิวเคลียร์ติดตั้งอาวุธที่มีอำ�นาจการทำ�ลายล้างสูง โดย สหรัฐอเมริกาผลิต ยูเอสเอส นอติลุส (USS Nautilus) เรือดำ�น้ำ�พลังงาน นิวเคลียร์ลำ�แรกของโลกได้ในปี ค.ศ. 1954 ยุคเรือดำ�น้ำ�พลังงานนิวเคลียร์ เป็นก้าวสำ�คัญที่ทำ�ให้เรือดำ�น้ำ � กลายเป็นยานใต้น้ำ � อย่างแท้จริง กล่าว คื อ ไม่ ต้ อ งลอยขึ้ น เหนื อ ผิ ว น้ำ � บ่ อ ย เหมื อ นเรื อ ดำ � น้ำ � ดี เซลไฟฟ้ า รุ่ น สงครามโลก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเร็วเรือของเรือดำ�น้ำ�พลังงานนิวเคลียร์ จะสูงกว่าเรือดำ�น้ำ�พลังงานดีเซล-ไฟฟ้า และระยะเวลาปฏิบัติการใต้น้ำ� นานกว่า แต่มีข้อด้อย คือ แพร่เสียงออกมามาก
ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 17
17
27/3/2560 15:41:28
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เกี่ยวกับการพัฒนายานใต้น้ำ�ในยุคต้น ห้องดำ�น้ำ� (bathyshphere) หรือ ระฆังดำ�น้ำ� (diving bell) : แนวคิดในการนำ�มนุษย์ลงไปสำ�รวจใต้น้ำ� มีมาตั้งแต่ในสมัยดึกดำ�บรรพ์ ห้องดำ�น้ำ� (bathyshphere) เป็นอุปกรณ์ชนิดแรกๆ ที่มนุษย์ใช้สำ�รวจสภาพ ใต้น้ำ� ภายในห้องดำ�น้ำ�บุด้วยวัสดุกันน้ำ� เช่น หนังสัตว์ ถ่วงด้วยหิน เพื่อให้จมลงในน้ำ � แต่ไม่ได้ออกแบบเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนอากาศ ภายในห้อง และ การต้านทานแรงกดไว้ ดังนั้น ห้องดำ�น้ำ� ในยุคเริ่มแรก จึงดำ�ลงไปได้ในระยะไม่ลกึ มากนัก และใช้ระยะเวลาเพียงสัน้ ๆ เมือ่ อากาศ ภายในห้องเริ่มเสีย ใช้หายใจไม่ได้ ห้องดำ�น้ำ�จะถูกดึงขึ้นมาเหนือผิวน้ำ� ห้องดำ�น้ำ� (bathysphere) ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์ อักษรครั้งแรกโดย อริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีก ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 384 - 322 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยกล่าวถึง ถังทำ�จากสัมฤทธิ์ (bronze tank) ข้างในบรรจุอากาศ น้ำ�เข้าไม่ได้ นำ�คนลงไปยังใต้ทะเล นอกจากนี้เขายัง ระบุถึง หมวกดำ�น้ำ� (diving helmet) รูปทรงคล้ายเหยือกน้ำ�กลั บ หั ว ซึ่ง นักดำ�น้ำ�นำ�มาสวมหั ว เพื่อใช้หายใจ ขณะสำ�รวจพื้นทะเล บันทึกของ อริสโตเติล ยังกล่าวถึง การนำ�ห้องดำ�น้ำ� มาใช้ในการโจมตีเมืองไทร์ (Tyre) ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งอาจนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำ� อุปกรณ์ดำ�ใต้น้ำ�มาเป็นส่วนหนึ่งของการทำ�สงคราม ห้องดำ�น้ำ�โดยส่วนใหญ่ จะสร้างเป็นรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ� จึง ถูกเรียกขานว่า ระฆังดำ�น้ำ� หรือ ห้องดำ�น้ำ�รูประฆัง (diving bell) ในปี ค.ศ. 1690 ดร. เอ็ดมัน ฮาลเลย์ ได้ปรับปรุง ระฆังดำ�น้ำ� ให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น สามารถถ่ายเทอากาศจากด้านนอกเข้าสู่ห้อง ทำ�ให้สามารถ ปฏิบัติการใต้น้ำ�ได้นานขึ้น อย่างไรก็ตาม ระฆังดำ�น้ำ�ในยุคต่อมาไม่ได้ ถูกพัฒนาเพื่อใช้เป็นอาวุธในสงครามทางเรือ แต่ได้กลายเป็นห้องกู้ภัยเรือ ดำ�น้ำ� (submarine rescue chamber) ซึ่งใช้อพยพลูกเรือดำ�น้ำ�ประสบภัย จากเรือดำ�น้ำ�อับปาง ขึ้นมาสู่เรือผิวน้ำ� ค.ศ.1634 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรัง่ เศส แมริน เมอร์แซน (Marin เรื อดำ�น้ำ� 18
1.indd 18
27/3/2560 15:41:28
Mersenne) เผยแพร่หลักการสร้างยานใต้น้ำ � ซึ่งกลายเป็นแนวทางให้ นักประดิษฐ์เรือดำ�น้ำ�ต่อๆ มา เรือดำ�น้ำ�รูปทรงกระบอก คล้ายลำ�ตัวปลา ท้ายเรือตัดเสมอกัน และวัสดุท่ีเหมาะสมนำ�มาใช้สร้างเรือที่ดีที่สุด คือ ทองแดง เนือ่ งจากทนทานต่อแรงกดของน้ำ� แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับขนาดของเรือไว้
ระฆังดำ�น้ำ� ในยุคแรก
แปลนเรือดำ�น้ำ� ตามหลักการของ บอร์น (Bourne) ถูกวาดขึ้นในอีกหลายปีต่อมา ยืนยันถึงความเป็นไปได้ของแนวความคิดในการออกแบบเรือดำ�น้ำ�ของเขา เช่น การนำ�วัสดุหุ้มหนัง ขันเกลียวยึดเข้ากับผนังซ้าย-ขวา ตามแนวเส้นกึ่งกลาง (centerline) เรือ หากการให้ยานจมลงใต้ น้ำ�ผู้บังคับยานจะขันเกลียวให้น้ำ�เข้า และขันเกลียวออกเพื่อไล่น้ำ�ออกนอกยาน ทำ�ให้ยานเบาและ ลอยตัวขึ้น แปลนของยานนี้มีลักษณะคล้าย ฟลัด แชมเบอร์ (flflooded chamber) เรือดำ�น้ำ�อังกฤษ ที่สร้างในปี ค.ศ. 1729 และฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1863 ช่วยยืนยันหลักการของ บอร์น (Bourne) ว่าเป็น ไปได้เช่นกัน
ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 19
19
27/3/2560 15:41:28
แปลนเรือดำ�น้ำ� ออกแบบโดย จิโอวานนี ในปี ค.ศ. 1680
ค.ศ. 1680 ภาพเผยแพร่แนวคิดในการสร้างเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อน โดยแรงคน โดย จิโอวานนี โบเรลลี (Giovanni Borelli) ชาวอิตาลี ตีพิมพ์ ในนิตยสารมากมาย แต่ไม่ได้มีการสร้างเรือจริง ทำ�ให้บางครั้งเกิดการ สับสน ภาพนี้เป็นแบบแปลนของเรือดำ�น้ำ�ของ เดรบเบล (Drebbel) ต่อขึ้ นในปี ค.ศ. 1920 และ เรือดำ�น้ำ�ของไซมอน (Simon) จิโอวานนี มีความ เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาตรและน้ำ�หนักเรือ (ระวางขับน้ำ� - displacement) แต่ในเรื่องระบบ การลอยจมของเรือ (ballast system) ไม่สามารถทำ�ได้จริง เนื่องจากเขา เสนอให้สร้างถังอับเฉา จากถุงหนังแกะใส่น้ำ� เมื่อต้องการให้เรือลอยขึ้น ก็บีบน้ำ�ออกจากถุง
วิวัฒนาการเรือดำ�น้ำ�ยุคต้น : เรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อนด้วยแรงคน
ยานเดรบเบล (Drebbel) เรือดำ�น้�ำ ลำ�แรกของโลก (ค.ศ. 1620) ต่อโดยนักต่อเรือชาวดัตช์ ชื่อ คอร์นีลีส เดรบเบล (Cornelis Drebbel) ทดลองวิ่งครั้งแรกในแม่น้ำ�เทมส์ (Thames) ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. เรื อดำ�น้ำ� 20
1.indd 20
27/3/2560 15:41:28
1620 ตามพระบัญชาของกษัตริย์ เจมส์ที่ 1 แห่งประเทศอังกฤษ ยานเดรบเบล (Drebbel) สร้างด้วยไม้ บุด้วยหนังอาบน้ำ�มันเพื่อ กันน้ำ�เข้า มีกรรเชียงยื่นออกมาจากลำ�ตัวเรือ เคลื่อนที่ด้วยการใช้แรง คนกรรเชียงเรือ ทำ�ให้สามารถเคลื่อนที่ไปใต้น้ำ�ได้ในระยะสั้นๆ ลูกเรือ ประกอบด้วยฝีพาย 12 นาย และนายทหารควบคุมเรือ 3 นาย แล่น เรือใต้น้ำ� ในแม่น้ำ�เทมส์ ที่ความลึกประมาณ 15 ฟุต ต่อหน้าพระพักตร์ เจมส์ที่ 1 ยานลำ�นี้สามารถดำ�ใต้น้ำ�เป็นเวลานานหลายชั่วโมง ในส่วน ของระบบถ่ายเทอากาศภายในเรือ นักวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์เรือ ดำ�น้ำ� สันนิษฐานว่ามีการนำ�ระบบอัดอากาศ (compressed air) มาใช้ ซึ่งอาจจะเป็นก๊าซออกซิเจน อากาศถูกระบายเข้าสู่ตัวยาน ผ่านท่อซึง่ ต่อจากยานขึ้นเหนือน้ำ� ในเวลาต่อมาอีกกว่า 3 ศตวรรษ ระบบถ่ายเท อากาศภายในยานเดรบเบล (Drebbel) นี้ได้กลับมาคล้ายคลึงระบบสนอร์ท ซิสเต็ม (Snort System) ซึ่งเรือดำ�น้ำ�เยอรมันพัฒนาได้ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 และถูกนำ�มาใช้อย่างแพร่หลายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง น่าอัศจรรย์ใจ ปัญหาหลักในการศึกษาเรื่องราวของ ยานเดรบเบล (Drebbel) ก็คือ ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับยานนี้จากผู้ประดิษฐ์หรือผู้อยู่ร่วมสมัย เรื่องราว เกี่ยวกับยานเดรบเบล (Drebbel) ล้วนแล้วแต่เขียนขึ้นในยุคหลังจากนั้น ข้ อ มู ล บางอย่ า งจึ ง อาจสู ญ หาย หรื อ ผิ ด เพี้ ย นไป นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ บางกลุ่มสันนิฐานว่า เจมส์ที่ 1 ได้ทรงประทับในยานเดรบเบล (Drebbel) ขณะดำ � ใต้ น้ำ � ด้ ว ย ในขณะที่ อี ก หลายกลุ่ ม ไม่ เชื่ อ ว่ า จะเป็ น ไปได้ จ ริ ง เนื่องจากเป็นการเสี่ยงเกินไป ยานใต้น้ำ�ทดลอง ของ Papin ปี ค.ศ. 1696 ศาสตราจารย์สอน วิชาคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งพำ�นักในประเทศอังกฤษ ชื่อ เดนิส ปาเป็ง (Denis Papin) ออกแบบยานใต้น้ำ�รูปทรงคล้ายกาต้มน้ำ� จำ�นวนสองลำ� โดยใช้เครื่องปั๊มอากาศเข้าออกเพื่อรักษาความสมดุลของแรงดันอากาศ ภายในยาน และแรงกดของน้ำ�ภายนอก รวมถึงควบคุมการลอย-จม ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 21
21
27/3/2560 15:41:28
ภาพวาด ยานเดรบเบล (Drebbel) กำ�ลังทำ�การทดสอบดำ�ใต้น้ำ� ในแม่น้ำ�เทมส์ ประเทศอังกฤษ ต่อหน้าพระพักตร์ เจมส์ที่ 1
ด้วยการปล่อยน้ำ�เข้า-ออกในตัวยานปาเป็ง (Papin) ยังได้ออกแบบอาวุธ ประจำ�เรือ ซึ่งเขาเรียกว่า “The Certain Holes” สำ�หรับทำ�ลายเรือรบ ศัตรู น่าเศร้าที่ผู้อุปถัมภ์ให้เงินทุนปาเป็ง (Papin) สร้างยานใต้น้ำ� หลัง จากได้ชมการทดลองดำ�ของยานลำ�แรก กลับหมดความสนใจ และ ไม่ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่เขาต่อ ยานลำ�ที่สองจึงถูกระงับ การสร้างไป และเนื่องจากปาเป็ง (Papin) เป็นนักประดิษฐ์เตาอัดลม หรือ เตาฟู่ (pressure cooker) ด้วย จึงมีผู้กล่าวล้อเลียนว่า สาเหตุที่ ยานใต้ น้ำ � ของปาเป็ ง (Papin) มี รู ป ทรงคล้ า ยกาต้ ม น้ำ � มากกว่ า เรื อ เนื่องจากเขาเผลอสลับให้แปลนออกแบบกาต้มน้ำ � ในครัวแก่ช่างต่อเรือ ไป ช่างจึงสร้างยานใต้น้ำ�เป็นรูปกาไปเลย
ยานใต้น้ำ�ลำ�แรกของรัสเซีย - ยานที่ซ่อนเร้น (The Hidden
Vessel) ปี ค.ศ. 1721 สร้างโดย ยีฟีม นิโคโนวา (Yefim Nikonova) นักประดิษฐ์เรือดำ�น้ำ�จากหมู่บ้านโพโครสกี (Pokrovskoye) กรุงมอสโคว์ ได้รับพระบัญชาจาก พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช ให้สร้างยานที่ซ่อนเร้น เรื อดำ�น้ำ� 22
1.indd 22
27/3/2560 15:41:28
ยานใต้น้ำ� ของปาเป็ง (Papin)
(The Hidden Vessel) ซึ่งสามารถพรางตัวในทะเลอย่างเงียบเชียบเพื่อ โจมตีเรือรบศัตรู ยานที่ซ่อนเร้น (The Hidden Vessel) สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1721 ตัวเรือทำ�ด้วยไม้ ขับเคลื่อนด้วยแรงคน ติดตั้งอาวุธที่มีต้นแบบจาก เครื่องพ่นไฟ บรรจุดินปืนเป็นเชื้อระเบิด
ยานที่ซ่อนเร้น (The Hidden Vessel) ประดิษฐ์โดย Yefim Nikonova
ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 23
23
27/3/2560 15:41:28
ยานใต้น้ำ�ทดลอง ของเจ เดย์ (J. DAY) ปี ค.ศ. 1773 ในช่วง ปลายศตวรรษที่ 18 เกิดนักประดิษฐ์ยานใต้น้ำ�ใหม่ๆ เพิม่ ขึน้ หลายคน บาง คนเป็นวิศวกรทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ บางคนใจกล้าบ้าบิน่ แต่ขาดความ เข้าใจในศาสตร์แห่งการต่อเรืออย่างถ่องแท้ และหมกมุ่นมากเกินไป จน กลายเป็นภัยต่อตนเอง เจ เดย์ (J. DAY) เองเป็นหนึง่ ในนักประดิษฐ์ประเภทนี้ เจ เดย์ (J. DAY) ช่างต่อเกวียนชาวอังกฤษ ได้สร้างเรือดำ�น้ำ� ขนาดเล็กที่มีระบบการลอย - จม แบบแปลกใหม่ นั่นคือ เขาใช้ก้อนหิน เป็นอับเฉา (ballast) ติดยึดเข้ากับตัวเรือภายนอกด้วยสายรัดวงแหวน เพื่อถ่วงให้เรือจม สายรัดนี้สามารถคลายออกได้ด้วยกลไกบังคับจาก ผู้บังคับเรือซึ่งอยู่ภายในเรือ เพื่อให้หินถ่วงเรือหลุดออก ตัวเรือเบาและ ลอยขึ้น จากการทดสอบในแม่น้ำ�พลีมัธ ซาวนด์ (Plymouth Sound) เรือ ดำ�น้ำ�ทำ�งานได้ค่อนข้างดีในน้ำ�ตื้น อย่างไรก็ตาม การทดลองเรือดำ�น้ำ� ของเขา ถูกอิงเข้ากับการพนันขันต่อเอาเงินของกลุ่มนักพนัน ไม่ใช่เพื่อ ประโยชน์ทางการทหาร เมื่อได้รับเงินสนับสนุนจากนักพนัน เขาต่อเรือ ดำ�น้ำ�ขนาดใหญ่ขึ้น โดยหวังประสบความสำ�เร็จในการดำ�ที่ระดับน้ำ�ลึก กว่าเก่า และใช้เวลาดำ�ใต้น้ำ�ที่นานขึ้น แต่เมื่อนำ�เรือทดสอบดำ�ใต้น้ำ� จริงในอ่าวแห่งหนึ่ง เมื่อเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1774 เรือกลับลอยปริ่มน้ำ� ไม่จมลงไป ทีมงานของ เจ เดย์ (J. DAY) จึงนำ�หินมาถ่วงเรือให้หนักขึ้น แต่นั่นยิ่งกลับทำ�ให้เรือจมดิ่งลงไปใต้น้ำ � อย่างหมดสภาพในทันที และ ติดอยู่ใต้น้ำ� ที่ความลึก 40.3 เมตร (หรือ 132.2 ฟุต) เป็นเวลานาน ก่อนที่ พวกเขาจะสามารถแกะก้อนหินที่ถ่วงเรือออกได้ ท่านลอร์ด แซนด์วิช (Lord Sandwich) ผู้ดำ�รงตำ�แหน่งเฟิร์ส ลอร์ด (First Lord of Admirality - ตำ�แหน่งสมาชิกสภาการทหารเรือของอังกฤษ ที่มาจากภาคพลเรือน) แห่งกระทรวงการทหารเรืออังกฤษในขณะนั้น ได้เดินทางมายังพลีมัธ (Plymouth) ในช่วงเวลาเดียวกับที่เรือดำ�น้ำ�ของ เจ เดย์ (J. Day) จมลง ท่านลอร์ดสนใจในเรื่องนี้ และบัญชาการให้ทหารเรือ อังกฤษช่วยกันกูเ้ รือขึน้ จากน้ำ� นับเป็นครั้งแรกของโลก ที่มีการพยายาม กู้เรือดำ�น้ำ�ที่จมใต้น้ำ�ขึ้นมา เรื อดำ�น้ำ� 24
1.indd 24
27/3/2560 15:41:28
ผู้เขียนสงสัยในใจว่า เหตุใด ชื่อของท่านลอร์ดผู้นี้ จึงน่ากินจัง จึง ได้ค้นประวัติของท่านเพิ่มเติม ทำ�ให้ได้ทราบว่า ท่านลอร์ดแซนด์วิช มี บทบาทอย่างมากในราชนาวีอังกฤษช่วงนั้น ซึ่งต้องเผชิญปัญหาการเมือง กับเพื่อนบ้านในยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศสและอาณานิคมอเมริกาที่ทำ� สงครามประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ใน ปี ค.ศ. 1775 ท่านถูกวิพากษ์ วิจารณ์เป็นอย่างมาก กับนโยบายสัง่ ประจำ�การเรือรบอังกฤษจำ�นวนมาก ในน่านน้ำ�ยุโรป เพื่อป้องกันการโจมตีจากฝรั่งเศส นามของท่านลอร์ด ได้ถูกนำ�ไปตั้งชื่อ หมู่เกาะแซนด์วิช (Sandwich Islands - ต่อมาเปลีย่ นชือ่ เป็น หมูเ่ กาะฮาวาย) โดย กัปตัน เจมส์ คุก ในปี ค.ศ. 1778 เพื่อเป็น เกียรติให้กับท่านที่ได้สนับสนุนเขาในการสำ�รวจดินแดนใหม่ๆ แต่ที่เราๆ ท่านๆ คุ้นหูที่สุด ก็คือ ขนมปังแซนด์วิช อาหารชนิดนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดย ท่านลอร์ดแซนด์วิช เมื่อ ปี ค.ศ. 1762 ซึ่งท่านได้โรมรันพันตูอยู่กับการ เล่นพนันนานถึง 24 ชั่วโมง โดยไม่สนใจทำ�ธุระปะปังอื่นใด ท่านได้สง่ั ให้ แม่บา้ นนำ�ขนมปัง เนยแผ่น และ ไส้กรอก มาประกอบกันเป็นอาหารง่ายๆ รับประทานบนโต๊ะพนัน อาหารนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายในเวลาต่อมา ผู้คนจึงพากันเรียกมันว่า แซนด์วิช ตามชื่อของท่านลอร์ด
การออกแบบ เรือดำ�น้ำ� นอติลุส (Nautilus) และ อาวุธทางเรือของ โรเบิร์ต ฟูลตัน (Robert Fulton, ปี ค.ศ. 1765 - 1815) โรเบิรต์ ฟูลตัน กำ�เนิดในตระกูลชาวไอริช ซึง่ อพยพมาตัง้ รกราก
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงแรก เขาเข้าศึกษาวิชาจิตรกรรม แต่เบนเข็ม ไปเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ได้สร้างชื่อเสียงให้เขาในเวลา ต่อมา จากผลงานการประดิษฐ์ที่หลากหลาย เช่นการสร้างเรือกลไฟ ส่งผลให้เรือกลไฟได้รบั ความนิยมใช้กนั อย่างแพร่หลายในวงการพาณิชย์นาวี ของอเมริกา การสร้างเรือดำ�น้ำ� และ ทุ่นระเบิด แต่ความสำ�เร็จของฟูลตัน ไม่ได้มาง่ายดายนัก ผลการออกแบบเรือดำ�น้ำ � ของเขาถูกกองทัพเรือ อังกฤษ และ ฝรัง่ เศส ซึง่ มีแนวคิดติดยึดกับการรบทางเรือแบบเก่าๆ ปฏิเสธ ทำ�ให้ผลงานการออกแบบเรือดำ�น้ำ�ของฟูลตั้นจบลงเพียงเรือดำ�น้ำ�ทดลอง ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 25
25
27/3/2560 15:41:28
โรเบิร์ต ฟูลตัน (Robert Fulton) วิศวกรชาวอเมริกา ผู้มากความสามารถ
ไม่ได้รับการพัฒนาต่อ หรือนำ�มาประจำ�การในกองทัพใดๆ ฟูลตันวิเคราะห์ผลงานการออกแบบเรือดำ�น้ำ� และการรบของ เรือดำ�น้ำ�ในอดีตที่มีชื่อเสียง เช่น บุชเนลส์ เทอร์เทิล (Bushnell’s Turtle) พบว่าปัญหาหลักคือ การเดินเรือดำ�น้ำ� (submarine navigation) ในช่วงปี ค.ศ. 1800 เขาพำ�นักอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นโปเลียน ดำ�รงตำ�แหน่งกงสุลอับดับหนึ่ง (First Consul) และบัญชาการกองทัพ ฝรัง่ เศสคานอำ�นาจอังกฤษได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม กองทัพเรืออังกฤษ ในขณะนัน้ มีอำ�นาจทางทะเลอย่างล้นเหลือ นับเป็นภัยที่น่ากลัวสำ�หรับ ฝรัง่ เศส ฟูลตันเสนอแนวคิดต่อรัฐบาลฝรัง่ เศสว่า ฝรัง่ เศสไม่สามารถสร้าง กองเรือขนาดใหญ่ ติดตัง้ อาวุธทรงอานุภาพเพื่อต่อกรกับอังกฤษได้ในช่วง เวลาเพียงสัน้ ๆ นอกจากนีก้ องทัพยังขาดนักสู้ทางเรือที่มีความเชี่ยวชาญ แต่หากเปลี่ยนรูปแบบการรบเป็นสงครามใต้น้ำ� ใช้เรือดำ�น้ำ�ซึ่งสามารถ ลอบโจมตีเรือรบขนาดใหญ่ได้ โดยยากต่อการตรวจสอบ และสามารถ วางทุ่นระเบิดใกล้ทางเข้าท่าเรือสำ�คัญ ในบริเวณช่องแคบอังกฤษ ฟูลตัน ได้รับการสนับสนุนและเงินทุนจำ�นวนหนึ่ง เขาจึงเริ่มต่อเรือดำ�น้ำ�ทดลอง ลำ�แรกขึ้น ที่อู่ต่อเรือใกล้กรุงปารีส และตั้งชื่อมันว่า นอติลุส (Nautilus) เรือลำ�นี้ทดลองดำ�ใต้ทะเลและยิงอาวุธครั้งแรกที่แม่น้ำ�เซน (Seine - แม่น้ำ� เรื อดำ�น้ำ� 26
1.indd 26
27/3/2560 15:41:28
ซึ่งไหลผ่านกรุงปารีสลงสู่ช่องแคบอังกฤษ มีความยาว 80 ไมล์) ประสบ ความสำ�เร็จดียิ่ง เรือดำ�น้ำ�นอติลุส มีความยาว 21 ฟุต 4 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ฟุต รูปร่างคล้ายซิการ์ ลำ�ตัวเรือทำ�จากแผ่นเหล็ก ด้านนอกหุ้มด้วย ทองแดงเพื่อลดแรงเสียดทานของพื้นผิว ในส่วนของการควบคุมการลอยจมของเรือ (Buoyancy) ใช้แรงคนปั๊มน้ำ�เข้าออก ระบบหมุนเวียนอากาศ ฟูลตันใช้ขวดแก้วอัดอากาศติดตั้งภายในเรือ เพื่อถ่ายเทอากาศดีแทนที่ อากาศเสียที่เกิดขึ้น ทำ�ให้ยานนอติลุส สามารถปฏิบัติการใต้น้ำ�ได้นาน ถึง 5 ชั่วโมง อาวุ ธ ประจำ � เรื อ ดำ � น้ำ � นอติ ลุ ส ถื อ เป็ น ต้ น แบบ หรื อ แนวคิดบุกเบิก ของการประดิษฐ์ท่นุ ระเบิดเรือดำ�น้ำ� (submarinelaunched mine) ครั้งแรกของโลก แม้วา่ ฟูลตันผูอ้ อกแบบอาวุธนี้ จะ ตั้งชื่อมันว่า ตอร์ปิโด (Torpedo) แต่หลักการทำ�งานของมัน เหมือนทุ่น ระเบิดในปัจจุบัน เป็นทุ่นระเบิดที่ใช้เรือดำ�น้ำ� หรือเรือแจวผิวน้ำ�ลากไป ผูกวาง (moored) ในจุดที่เรือผิวน้ำ�หรือเรือดำ�น้ำ�ศัตรูวิ่งผ่าน เพื่อให้เกิด การระเบิ ด ซึ่งน่าจะมีลักษณะการทำ�งานคล้าย ทุ่นระเบิดกระทบแตก (contact mine) ในยุคนี้ ทุ่นระเบิดนี้ผูกติดกับเรือดำ�น้ำ � นอติลุส ในบริวณใกล้หอบังคับ การเรือ (conning tower) เมือ่ เรือดำ�น้ำ�ดำ�ลงไปใกล้เรือเป้าหมาย มันจะถูก ปลดออกและสวมติดเข้ากับลำ�ตัวเรือเป้าหมายเพื่อให้เกิดการระเบิด จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1867 วิศวกรชาวอังกฤษ โรเบิร์ต ไวท์เฮด (Robert Whitehead) ได้ออกแบบทุ่นระเบิดแบบเคลื่อนที่ได้เอง (self-propelled mine) พัฒนามาจากแนวคิดของ Fulton เรียกมันว่า Automobile Torpedo ถือเป็นต้นตระกูลของตอร์ปิโดที่ยิงจากเรือดำ�น้ำ� (submarinelaunched torpedo) ในยุคปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1801 ที่อ่าวเลออาฟวร์ (Le Havre) ยานนอติลุสทำ�การ ทดลองยิ ง โจมตี เรื อ สลู ป จากใต้ น้ำ � ได้ สำ � เร็ จ และทดสอบดำ � ใต้ น้ำ � ที่ ความลึก 7.6 เมตร (25 ฟุต) นาน 1 ชั่วโมง เมื่อได้รับการยอมรับจาก ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 27
27
27/3/2560 15:41:28
กองทั พ ฝรั่ ง เศส ฟูล ตั นจึงคาดหวังต่อไปว่า เรือดำ� น้ำ � ของเขาจะถู ก พั ฒ นา นำ � เข้าประจำ�การในกองทัพ เพื่อปฏิบัติการรบต่อต้านกองเรือ อังกฤษ นอกจากนีฟ้ ลู ตันได้เสนอตัวขอรับการบรรจุเป็นนายทหารของกอง ทัพเรือฝรั่งเศส เพื่อให้เขาได้พ้นสภาพพลเรือนที่เข้ามาช่วยงานชั่วคราวใน กองทัพ และขอรับเงินรางวัลในทุกครั้งที่เรือดำ�น้ำ�ของเขาทำ�ลายเรือรบ อังกฤษได้หนึ่งลำ� กองทั พ เรื อ ฝรั่งเศสตอบตกลงในเรื่องของเงินรางวัล แต่เหตุการณ์กลับพลิกผัน เมื่อมีการนำ�เรื่องยานนอติลุสเข้าที่ประชุ ม ในระดั บ ชาติ คณะกรรมการลงมติไม่อนุญาตให้นำ�ยานนอติลุสเข้า ประจำ �การในกองทัพ เนื่องจากรัฐมนตรีกระทรวงทหารเรือ จอมพลเรือ เปลวิลล์ เลอ เปลเล่ (Pleville le Pelley) ไม่สามารถอธิบายเหตุผลให้ คณะกรรมการเชื่อมั่นได้ว่า อาวุธแบบใหม่ของฟูลตัน ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดใช้ มาก่อนนี้ จะสามารถทำ�ลายกองเรืออังกฤษลงได้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ รัฐบาลบางคน มองฟูลตันว่าเป็นพวกเพ้อฝัน บ้าบอ หนักข้อถึงขนาด กล่าวหาว่าเขาเป็น นักต้มตุ๋นลวงโลก ฟูลตันทำ�การถอดชิ้นส่วนยานนอติลุสออกเป็นชิ้นๆ และเดินทาง ออกจากฝรั่งเศสไปยังประเทศอังกฤษ ณ ที่นี่ เขาพยายามติดต่อกองทัพ เรืออังกฤษเพื่อเสนอผลงานการออกแบบเรือดำ�น้ำ� ในช่วงแรกๆ ฟูลตัน ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น มีผู้ให้เงินทุนสนับสนุนการทดลองของเขา แต่ โ ชคชะตากลั บ หมุ น ซ้ำ � รอยเดิ ม ยานนอติ ลุ ส ถู ก ปฏิ เ สธจากทาง กองทัพเรืออังกฤษ ซึ่งเขาหวังเข้ามาช่วยพัฒนาให้แข็งแกร่งขึ้น เหล่า นายทหารเรื อ ระดับสูงผู้โชกโชนเชี่ยวกรำ � ในการรบแบบเรื อ ใบ และมี ประสบการณ์วางแผนการรบ ทำ�ลายเรือใบขนาดใหญ่ของศัตรูมานับ ไม่ถ้วน ได้เน้นย้ำ�ต่อรัฐบาลว่า เรือดำ�น้ำ�ไม่เหมาะสมกับรูปแบบการรบ ของราชนาวีอังกฤษ ยานนอติลสุ ของ ฟูลตัน ในยุคต้นศตวรรษที่ 19 อาจล้ำ�ยุคสมัย จนเกินไป กระทั่งคนทั่วไปเห็นเป็นเรื่องแปลกประหลาด ไม่น่าเชื่อถือ หรือ อาจเป็นเพราะรูปลักษณ์ทด่ี แู ปลกตา และอาวุธประจำ�เรือทีด่ ยู งุ่ ยากซับซ้อน ในการใช้งาน เรือดำ�น้ำ�ในยุคต้น ต้องผ่านแบบทดสอบที่ยากเข็ญ เพื่อให้ ได้รับการยอมรับ จนกระทั่งในทศวรรษที่ 20 อีกร้อยกว่าปีต่อมา เยอรมัน เรื อดำ�น้ำ� 28
1.indd 28
27/3/2560 15:41:28
ภาพวาดการทดลองโจมตีเรือ สลูปใต้น้ำ� ของ ยานนอติลุส เมื่อปี ค.ศ. 1801
ได้พัฒนาระบบต่างๆ ของเรือดำ�น้ำ�ให้มปี ระสิทธิภาพ และความปลอดภัย มากขึน้ และนำ�เหล่านักรบเรือดำ�น้�ำ เข้าสูส่ มรภูมริ บในสงครามโลกครัง้ ที่ 1 ทำ�ให้เรือดำ�น้ำ � ได้รับการพิสูจน์ และยอมรับในระดับสากลว่าเป็นอาวุธ ทางเรือที่ทรงประสิทธิภาพ นับแต่นั้นมา ด้วยความผิดหวังในแนวคิดแบบเก่าๆ ของกองทัพชาติยุโรป ฟู ล ตั น เดิ นทางกลั บ บ้ า นเกิ ด ที่ ส หรั ฐ อเมริ ก า และหั น มาออกแบบเรื อ กลไฟ จนมีชื่อเสียง เรือกลไฟได้กลายเป็นพาหนะสำ �คัญของอเมริกา ในการขนส่งสินค้าและการเดินทางในแม่น้ำ� อย่างไรก็ตาม ฟูลตันไม่เคยละทิ้งความฝันและใจรักในเรือดำ�น้ำ� ในช่วงบั้นปลายชีวิต เขาได้รับการว่าจ้างจากรัฐบาลฝรั่งเศส ให้ออกแบบ เรือดำ�น้ำ�ขนาดใหญ่ ขนาดความยาว 100 ฟุต ซึ่งสามารถบรรจุคนได้ เป็นร้อย เพื่อใช้ในการช่วยเหลือ นโปเลียน โบนาปาร์ต ผู้นำ�ฝรั่งเศส ซึ่ง ถูกอังกฤษคุมขังที่เกาะอัลบา (Alba) ให้เป็นอิสระ แต่ผลงานชิ้นนี้ยังไม่แล้ว เสร็จเป็นรูปเป็นร่าง เขาได้เสียชีวิตลงในปี 1815 จากนั้นสันนิฐานกันว่า นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ชื่อ โทมัส จอห์นสโตน (Thomas Johnstone) เป็น ผู้รับช่วงสร้างเรือดำ�น้ำ�ลำ�นี้ต่อ แต่โครงการถูกระงับไป ในปี ค.ศ. 1815 นโปเลียนสามารถรวบรวมกำ�ลังทหาร และกลับมาเป็น จักรพรรดิแห่ง ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 29
เรือดำ�น้ำ�นอติลุส ออกแบบโดย โรเบิร์ต ฟูลตัน นวัตกรรมที่ใช้ คือ ใบ เรือติดตั้งด้านบนของ ดาดฟ้า ใช้สำ�หรับ เวลาเรือดำ�น้ำ�ลอยขึ้น เหนือผิวน้ำ�จะแล่น ได้เร็วขึ้น แต่ไม่เคยมี การนำ�ใบเรือดำ�น้ำ�มา ใช้จริง สาเหตุที่ไม่นิยม คิดว่าเพราะ จุดหลัก ของปฏิบัติการเรือดำ� น้ำ� เพื่อซ่อนอำ�พราง ตัวโจมตีศัตรู ใบเรือจะ ทำ�ให้เป็นเป้าเห็นชัด และดำ�หนีได้ช้า เพราะ ต้องเก็บใบเรือก่อน
29
27/3/2560 15:41:28
ฝรัง่ เศส ได้อีกครั้ง แต่ครองอำ�นาจได้เพียง 100 วัน เขาพ่ายแพ้ในการรบ ที่สงครามวอเตอร์ลู (Battle of Waterloo) และถูกอังกฤษจับตัวไปคุมขัง อีกครั้งที่เกาะเซนต์ เฮเลน่า (St. Helena) จนเสียชีวิตที่นั่น ในปี ค.ศ. 1821 อย่างมีเงื่อนงำ� คุณลักษณะเรือดำ�น้ำ�นอติลุส ปล่อยเรือลงน้ำ�เมื่อ: ปี ค.ศ. 1800 ระวางขับน้ำ�: 19 ตัน ที่เหนือน้ำ� / ใต้น้ำ� ไม่ได้ระบุไว้ ขนาดเรือ: 6.4 x 1.2 เมตร (หรือ 21 x 3 ฟุต 7 นิ้ว) อาวุธประจำ�เรือ: ทุน่ ระเบิดแบบปลดออกได้ (detachable mine) 1 ลูก ระบบขับเคลื่อน: เหนือน้ำ� - ขับเคลื่อนใบเรือ (sail) / ใต้น้ำ� - ใบจักรเดี่ยว ขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ ระยะการเดินทางเหนือน้ำ�: ไม่ได้ระบุไว้ ความเร็วเรือ: ไม่ได้ระบุไว้ กำ�ลังพลประจำ�เรือ: 3 นาย นอติลุส (Nautilus) เป็นชื่อยอดฮิตติดปากชาวอเมริกัน หลังจาก เรือดำ�น้ำ�นอติลุส ของโรเบิร์ต ฟูลตัน ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1800 หลัง จากนั้นอีก 70 ปี ใน ค.ศ. 1870 ยานชื่อ นอติลุส ได้ปรากฏโฉมในนิยาย วิทยาศาสตร์ เรื่อง 2 หมื่นไมล์ใต้ทะเล ของ จูลส์ เวิร์ล และนามนอติลุส ได้ถูกนำ�มาตั้งชื่อเรือดำ�น้ำ�ต่อมาอีกถึง 3 ลำ� ในช่วงเวลาต่างกัน นั่นคือ เรือดำ�น้ำ�นอติลุส รุ่นสงครามโลกครั้งที่ 1 ของราชนาวีอังกฤษ (ค.ศ. 1914) ยู เอส เอส นอติลสุ (SS-168) ของสหรัฐอเมริกา ซึง่ สร้างขึน้ ก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1930 และได้ร่วมรบในสงครามด้วย จากนั้นปี ค.ศ. 1954 นามนอติลุสได้ถูกนำ�มาตั้งเป็นชื่อเรือดำ�น้ำ� พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งอเมริกาผลิตได้เป็นลำ�แรกของโลก
เรื อดำ�น้ำ� 30
1.indd 30
27/3/2560 15:41:28
เรือดำ�น้ำ�ของ ลอดเนอร์ ดี ฟิลลิปส์ (Lodner D. Phillips) ปี ค.ศ. 1852
ลอดเนอร์ ดี ฟิลลิปส์ (Lodner D. Phillips) ช่างทำ�รองเท้า ชาวเมืองอินเดียนน่า ประเทศสหรัฐอมริกา ออกแบบเรือดำ�น้ำ�ขับเคลื่อน ด้วยแรงมนุษย์ อย่างน้อย 2 ลำ� เรือลำ�แรกจมลงขณะทดสอบการดำ�ใต้น้ำ� ที่ความลึก 20 ฟุต เรือลำ�ที่สอง ประสบความสำ�เร็จในการทดสอบ สามารถแล่นใต้น้ำ�ที่ความลึก 100 ฟุต ด้วยความเร็ว 4 นอต ฟิลลิปส์เสนอ ขายเรือดำ�น้ำ � ลำ�นี้ให้กับรัฐบาลอเมริกา แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยทาง รัฐบาลยืนยันว่า “จะไม่มีการซื้อยานใต้น้ำ � มาประจำ�การในกองทัพ เรือรบของ อเมริกา มีเพียงเรือผิวน้ำ�เท่านั้น” แปดปีต่อมา เมื่อสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา (The American Civil War ปี ค.ศ. 1861 - 1865) ปะทุขึ้น รูปแบบการรบทางเรือ ของอเมริกาเริ่มเปลี่ยนไป จากเงื่อนไขการถูกปิดอ่าวด้วยกองเรือรบ ทั้ง ฝ่ายรัฐบาล (ฝ่ายเหนือ) และ ฝ่ายใต้ เริ่มมองหาอาวุธทางเลือกใหม่ นำ�มา ใช้ทำ�ลายกองเรือปิดอ่าว ส่งผลให้มีการสร้างเรือดำ�น้ำ � ขึ้นหลายลำ�ใน ช่วงนี้ เช่น เรือดำ�น้ำ�ฮัลลีย์ ของฝ่ายใต้ และ เรือดำ�น้ำ� Intelligent Whale (ปลาวาฬอัจฉริยะ) ของฝ่ายเหนือ ฟิลลิปส์จึงเสนอขายเรือดำ�น้ำ�ของเขา ให้กับรัฐบาลอเมริกาอีกครั้ง แต่ไม่สำ�เร็จเช่นเคย
ภิยะพรรณี วัฒนายากร
1.indd 31
ภาพวาดเรือดำ�น้ำ� ของฟิลลิปส์ และการ ทำ�งานของระบบขับ เคลื่อนเรือ ฟิลลิปส์จด ลิขสิทธิ์การออกแบบ กลไกขับเคลื่อนใบจักร เรือดำ�น้ำ�ของเขา ในปี ค.ศ. 1852 นวัตกรรม ที่เขาคิดค้นขึ้น - กลไก ที่ทำ�ให้เรือดำ�น้ำ�พุ่งไป ข้างหน้า และถอยขึ้น ลงได้ โดยใช้แรงคนจับ ตะขอเกี่ยวบนแกนที่ เชื่อมต่อกับใบจักรเรือ แล้วหมุนให้ใบจักร เคลื่อนที่ (ตามภาพ)
31
27/3/2560 15:41:29