Halal Life Magazine #24

Page 1

ครอบคลุมชีวิต วิถีฮาลาล

FREE/แจกฟรี

ปีที่ 3 ฉบับที่ 24 ตุลาคม 2556

THE

MASTER




Editor’s note “และแน่นอน เราจะทดสอบสูเจ้าโดยการ ให้สเู จ้าอยูใ่ นความกลัวและความหิว และโดย การให้สูญเสียทรัพย์สิน ชีวิตและพืชผล และ จงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่อดทน คือบรรดา ผู้ที่เมื่อมีเคราะห์ร้ายมาประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็ ก ล่ า วว่ า แท้ จ ริ ง พวกเราเป็ น กรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และแท้จริงพวกเราจะ กลับไปยังพระองค์” (ซูเราะฮฺอัล บะกาเราะฮฺ 2.155-156) “ไม่มีซึ่งความเหนื่อยล้า ความเจ็บป่วย ความกังวล ความทุกข์ใจ ความเสียหายและ ความโศกเศร้ า ใดๆ ที่ จ ะสร้ า งความทุ ก ข์ ทรมานแก่มุสลิมคนใดได้ แม้แต่การทิ่มแทง ของหนาม เว้นเสียแต่ว่าอัลลอฮฺทรงลบล้าง ความผิดให้แก่เขาด้วยสิ่งนั้น” (ศอเฮี้ยฮฺ อัล บุคอรี และศอเฮี้ยฮฺ มุสลิม) “เมื่ออัลลอฮฺทรงปรารถนาให้บ่าวของ พระองค์ได้รบั ความดี พระองค์จะทรงทดสอบ เขาด้วยความทุกข์ยาก” (ศอเฮี้ยฮฺ อัลบุคอรี) “และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงทรัพย์สินของ สูเจ้า และลูกๆของสูเจ้านั้น เป็นสิ่งทดสอบ ชนิดหนึ่งเท่านั้น และแท้จริงอัลลอฮฺนั้น ณ พระองค์มีรางวัลอันใหญ่หลวง” (ซูเราะฮฺ อัล อัมฟาล 8.28)

“ส่วนมนุษย์นั้น เมื่อพระเจ้าของเขาทรง ทดสอบเขา โดยทรงให้ เ กี ย รติ เขาและทรง โปรดปรานเขา เขาก็จะกล่าวว่าพระเจ้าของฉัน ทรงยกย่องฉัน แต่ครั้งเมื่อพระองค์ทรงทดสอบ เขา โดยทรงให้ ก ารครองชี พ ของเขาเป็ น ที่ คับแคบแก่เขา เขาก็จะกล่าวว่า พระเจ้าของ ฉันทรงเหยียดหยามฉัน” (อัลฟัจญร์ 89.15-16) “พระผู้ทรงให้มีความตายและให้มีความ เป็น เพื่อจะทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดบ้างในหมู่ พวกเจ้าที่มีผลงานดียิ่ง และพระองค์เป็นผู้ทรง อ�ำนาจ ผู้ทรงให้อภัยเสมอ” (ซูเราะฮฺ อัลมุลกฺ 67.2) “รางวัลที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับบททดสอบ ที่ใหญ่ยิ่ง เมื่ออัลลอฮฺทรงรักมวลมนุษย์ อัลลอฮฺ จะทรงทดสอบพวกเขา และผู้ใดก็ตามยอมรับ มัน ย่อมได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ และผู้ใดก็ตามที่พร�่ำบ่นต่อบททดสอบนั้นย่อม ได้รบั ความโกรธกริว้ จากพระองค์” (รายงานโดย อัตติรฺมิซียฺ 2320; ศอเฮียะฮฺ อัล-ญามิอฺ 2210) เมื่ อ ใดก็ ต ามที่ เ ราเผชิ ญ กั บ ความทุ ก ข์ ทรมาน ในฐานะผู้ศรัทธา เราเชื่อว่านั่นคือการ ทดสอบจากพระผู้เป็นเจ้า และแทนที่จะกล่าว โทษหรือก่นด่า เราควรจะถามตัวเองว่า เราได้ ละเมิดกฎเกณฑ์อะไรบางอย่างของพระผู้เป็น เจ้าบ้างหรือเปล่า

ผู้ศรัทธาเผชิญกับความทุกข์ทรมานด้วย การวิงวอนขอ การกลับเนื้อกลับตัว และการ ท�ำความดี ส่วนผู้ปฏิเสธศรัทธาพวกเขาอาจ เผชิ ญ กั บ ความทุ ก ข์ ท รมานด้ ว ยกั บ ความ แปรปรวนและความสับสน จนอาจเลยเถิดถึงขัน้ ต�ำหนิหรือตัดพ้อพระผู้เป็นเจ้า ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองผู้ถูกทดสอบทุกคน ให้หวั ใจของพวกเราเข้มแข็ง อยูใ่ นแนวทางทีถ่ กู ต้องด้วยเถิด อามีน วิทยากร อิสมาแอล บรรณาธิการบริหาร halal.life.mag@gmail.com

ภาพปกโดย 080-248-3626

Halal Life Magazine: ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด กฤษดา เรสลี บรรณาธิการบริหาร วิทยากร อิสมาแอล กองบรรณาธิการ ธนพัฒน์ อิสมาแอล, กอมารี ย ะห์ สุ เ รรั ต น์ คอลั ม นิ ส ต์ สุภาพ เรืองปราชญ์, สมคิด ลีวัน, อีซา นิยม, สมชาติ มิตรอารีย์, ปรีชา เริงสมุทร์, Ummah Islam ศิ ล ปกรรม อรดา โต๊ะมางี ผู้จัดการฝ่ายผลิต วิลาสินี กันซัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ชัยรัตน์ เกิดอยู่ ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา สาโรช เรืองปราชญ์ ธุรการ สกาวเดือน จามจุรี ติดต่อโฆษณา 081-699-5656, 086-890-6055, 082-546-9431 Website: www.halallifemag.com Email: halal.life.mag@gmail.com Facebook: facebook.com/halal.life.magazine เจ้าของ บริษัท ปลูกฝัน จ�ำกัด เลขที่ 336/18 ซ.ราษฎร์อุทิศ 52 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510

10 อยากทานอาหารเหนือใครว่าต้องไป ทานถึ ง ภาคเหนื อ อยากทานอาหารจี น ยูนนาน ก็ไม่ตอ้ งเดินทางไปไกลถึงขนาดนัน้ Tasty ฉบั บ นี้ ข อชวนท่ า นผู ้ อ ่ า นไปชิ ม อาหารต้นต�ำรับ แบบเจ้าของสูตรมาเอง ไม่ตอ้ งเดินทางไกล จะเป็นทีไ่ หนนัน้ ติดตาม ได้ที่คอลัมน์ Tasty เลย

12 ใครว่ า ชี วิ ต ฮาลาล ท� ำ ได้ ย าก วั น นี้ Halal life ขอแนะน�ำคอลัมน์ใหม่ที่จะ ท� ำ ให้ คุ ณ ใช้ ชี วิ ต แบบฮาลาลได้ ไ ม่ ย าก ในฮาลาลทั่วไทย Halal Travel คอลัมน์ ที่จะชวนนักเดินทางทั้งหลายมาร่วมแชร์ ข้อมูลและประสบการณ์ ทั้งที่กินที่เที่ยว ที่พัก แบบฮาลาล เล่มนี้จะเริ่มต้นด้วย ที่ไหน พลิกไปดูกันเลย 4

14 แตกแยก แบ่งแยก โจมตีกนั คงปฏิเสธ ไม่ได้ว่าบรรยากาศการสอนศาสนา ตอนนี้ หลายคนรู้สึกเช่นนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ ในสังคมมุสลิมที่อะไรมันก็ดูยุ่ง ๆ นะซีฮัต จากครูอาจารย์ระดับอาวุโสจึงย่อมนับได้ ว่าเป็นสิ่งที่สังคมมุสลิมควรตั้งใจฟัง


หยิบ

ได้ที่นี่

ร้านอาหารและเครื่องดื่ม

ห้องอาหารโซเฟีย (คลองตัน) ร้านอาหารฟาฮาน่า (พระรามเก้า) สวนอาหารจันทร์เสี้ยว (มอเตอร์เวย์) ภัตตาคารสินธรสเต็กเฮ้าส์ (รามค�ำแหง) ร้านริสกี (ทาวน์อินทาวน์) โคบัง (รามค�ำแหง-สุขาฯ 3) Istanbul @ Market Walk (ราชพฤกษ์) ร้านอาหารอีสานฝั่งธน (อรุณอัมรินทร์) ห้องอาหารนางพญา (พญาไท) เมี่ยงปลาเผาหลังราม สาขาพระรามเก้า ร้านฮาลาลโฮม ซ.เทคโนบางกะปิ (บางกะปิ) ร้านฟารีดาโภชนา (เหม่งจ๋าย) ร้านดีโอโรตีโอ่ง (สุขาภิบาล 3) อะลาดิน ซูชิ (เหม่งจ๋าย) ร้านครัวบิสมิลลาห์ (หนองจอก) I COFFEE / I YAKI (รามค�ำแหง 53) ร้านครัวมุสลิม (ทาวน์อินทาวน์)

ร้านหนังสือ

แบบฟอร์มสมัครสมาชิก นิตยสารฮาลาลไลฟ์

หมดปัญหา หยิบไม่ทัน หาไม่เจอ

สมั ค รสมาชิ ก แน่นอนกว่า

ศูนย์หนังสืออิสลาม (ศูนย์กลางอิสลาม คลองตัน) ศูนย์หนังสือมานพวงศ์เสงี่ยม (พระรามเก้า) ร้านหนังสือส.วงศ์เสงี่ยม (มหานาค) Halal Express (หนองจอก) ร้านอารีฟ เซ็นเตอร์ (มัสยิดสวนพลู)

โรงพยาบาล

รพ.ปิยเวช, รพ.กรุงเทพ, รพ.เสรีรักษ์, รพ.นวมินทร์, รพ.เวชธานี, รพ.บ�ำรุงราษฎร์

ข้าพเจ้า นาย นาง นางสาว...................................................................................... อายุ .................. ปี ที่อยู่ ....................................................................................................................................................... ธุรกิจบริการและโรงแรม รีสอร์ท บางพลัด รหัสไปรษณีย์ ........................ โทรศัพท์ ................................. อีเมล์ ................................................... โรงแรมนิวเวิลด์ (บางล�ำพู) การศึกษา อาชีพ

มัธยมศึกษา ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป อื่นๆ พนักงานบริษัท รับราชการ,รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจส่วนตัว นักเรียน, นักศึกษา อื่นๆ

มีความประสงค์จะสมัครสมาชิกนิตยสารฮาลาลไลฟ์ สมาชิก 1 ปี 12 ฉบับ 300 บาท เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................ สมาชิกอุปถัมภ์ 1 ปี 12 ฉบับ 300 บาท เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................ ให้กับห้องสมุด/มัสยิด............................................................................................................................. ที่อยู่ ....................................................................................................................................................... ................................................................................................. รหัสไปรษณีย์ ...................................... วิธีช�ำระค่าสมาชิก โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท ปลูกฝัน จ�ำกัด

ธนาคารไทยพานิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) สาขาเทสโก้โลตัส ทาวน์อินทาวน์ เลขที่บัญชี 404-051345-7

(ถ่ายเอกสารได้) 5

โรงแรมรีเจ้นท์ (รามค�ำแหง) โรงแรมชาลีนา (รามค�ำแหง) โรงแรมนูโว ซิตี้ (บางล�ำพู) มุสลิมโฮม 2 (รามค�ำแหง)

ธนาคารและสหกรณ์

เคาท์เตอร์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา สหกรณ์อิสลามสันติชน เครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้

ต่างจังหวัด

ร้านอาหารบิสมิลลาฮ์ (เชียงใหม่) ร้านอาหารบิสมิลลาฮ์ (แม่สาย) ร้านฟาด้า สเต๊กแอนด์คอฟฟี่ (อยุธยา) ร้านอาหารอิสลามดาวุดชา (กาญจนบุรี) ร้านมุนาซีร กาแฟสด&เค้ก พัทยา (ชลบุรี) ร้านอาหารชุกรี่ ปั๊ม PT (สุราษฎร์ธานี) ห้องอาหารคุณสาหร่าย (ชุมพร) ร้านอาหารคุ้มราชา ควนโดน (สตูล) SAMI KITCHEN หาดใหญ่ (สงขลา) ร้านบากุส (ปัตตานี) ร้านอาหารอาบูคอลี (ยะลา) ร้านกีตาบบุ๊กเฮาส์ (ยะลา) Halal Minimart (สตูล) ร้านบังฝรั่ง (สงขลา) โรงแรมปายอินทาวน์ (แม่ฮ่องสอน) ร้านสเต๊กครูตา (อยุธยา)


Global

กอมารียะห์ อิสมาแอล haboohoohoo@gmail.com

โรงพยาบาลมุสลิมในพม่าข่าวดีท่ามกลาง มรสุมข่าวร้าย

กินเนสบุ๊คยกมุสลิมะฮ์ปาเลสไตน์ แพทย์ที่ อายุน้อยที่สุดในโลก

ใครจะไปเชื่อว่าใน ประเทศที่เกิดกระแสการต่อ ต้านมุสลิมอย่างรุนแรงอย่างพม่าจะมีโรงพยาบาล มุสลิม Muslim Hospital เป็นโรงพยาบาลที่ก่อตั้งขึ้น โดยชาวมุสลิมในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อ 76 ปี ก่อน โดยมีบคุ ลากร ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม แต่ถงึ กระนัน้ ทางโรงพยาบาลก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ลื อ กปฏิ บั ติ แ ต่ อ ย่ า งใด Muslim Hospital ให้การรักษาแก่คนไข้ทุกศาสนา รวมถึงบรรดานักเคลือ่ นไหวทางการเมืองหลายคนโดย เฉพาะ นางอองซาน ซูจี หลังถูกปล่อยตัวออกจาก เรือนจ�ำก็มารักษาตัวที่โรงพยาบาลมุสลิมแห่งนี้ทั้งสิ้น เพราะถูกเลือกปฏิบตั จิ ากโรงพยาบาลของรัฐ (ในฐานะ เคยเป็นนักโทษการเมือง) และไม่สามารถจ่ายค่ารักษา พยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนได้ นายแพทย์ Tin Myo Win ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกของโรงพยาบาล มุสลิมและเป็นผู้ท่ีนับถือศาสนาพุทธเพียงคนเดียวใน ระดับผู้บริหารของโรงพยาบาล กล่าวว่า “ แม้ว่าจะ นับถือศาสนาอะไร คนเราก็ตอ้ งการการรักษาพยาบาล เมื่อเจ็บป่วยเหมือนๆกัน ผมจึงอยากให้มีโรงพยาบาล แบบนี้อีกหลายๆแห่ง”

โดยทั่วไปแล้วผู้ที่เรียนแพทย์จนจบมาเป็นแพทย์ รักษาคนไข้ได้นั้น มักจะมีอายุ ประมาณ 30 หรือไม่ก็ 20 ตอนปลาย แต่ไม่ใช่สำ� หรับเธอคนนี้ Eabal Asa’d สาวน้อยชาวปาเลสไตน์ เธอเริ่มเข้าเรียน โรงเรียน แพทย์เมื่อมีอายุได้เพียง 14 ปี และจบการศึกษามา พร้อมกับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ปัจจุบันเธอจึงกลาย เป็นแพทย์ทมี่ อี ายุนอ้ ยทีส่ ดุ ในโลก และถูกบันทึกไว้เป็น สถิติโลกโดยกินเนสบุ๊ค ที่มา : myhijab.info

6


กลุ่มต่อต้านในซีเรียสุดล�้ำ ใช้ไอแพดล็อก ต�ำแหน่งการยิง

สิ ง คโปร์ เ ปิ ด ตั ว แอพพลิ เ คชั่ น บอกกิ บ ลั ต บนเครือ่ งบิน

รายงานระบุวา่ กลุม่ ‘Ansar Dimachk’ Brigade ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ใช้โปรแกรมแผนที่ ในไอแพดเป็นเครือ่ งมือบอกต�ำแหน่งเป้าหมายในการ โจมตีต่อเป้าหมายต่าง ๆ ของกองทัพซีเรียด้วยอาวุธ ปืนครกที่ท�ำขึ้นเอง ซึ่งนับเป็นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ในการท�ำสงครามโค่นล้มผู้น�ำซีเรีย ทั้งนี้ ในช่วงปรากฎการณ์ “อาหรับ สปริง” หรือ การโค่นล้มเหล่าผู้น�ำเผด็จการของอาหรับ ก็มีการใช้ อุปกรณ์เสริมเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้ามหลายครั้ง เช่น กรณีกลุม่ ต่อต้านรัฐบาลลิเบีย กลุม่ ได้ผลิตอาวุธท�ำเอง รวมทั้งรถหุ้มเกราะ ปืนกล และแบตเตอรี่จรวด เพื่อ ใช้โจมตีฝ่ายตรงข้ามด้วย

โดยแอพพลิ เ คชั่ น ส� ำ หรั บ นี้ จ ะมาช่ ว ยให้ ก าร ละหมาดบนเครื่องบินของมุสลิมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อ ไป เพราะแอพพลิเคชั่นนี้สามารถการแจ้งเตือนเวลา ละหมาด และบอกทิศทิศละหมาด(กิบลัต) แม้จะบิน อยู ่ สู ง จากพื้ น ดิ น ถึ ง 35,000 ฟุ ต ก็ ต าม เพี ย งแค่ ผู้โดยสาร พิมพ์ ไฟลท์การเดินทางลงไป ข้อมูลต่างๆ ก็จะปรากฏขึ้นมา แอพพลิเคชั่นนี้ มีชื่อว่า Crescent Trips ผลิต โดยบริษัท Crescent rating ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับ ฮาลาลแก่ โรงแรมและสถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วทั่ ว โลก แอพพลิเคชั่นนี้พร้อมใช้งานแล้วส�ำหรับไอโฟน ส่วน สมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอย จะพร้อม ใช้เร็วๆนี้

7


Recommend

กองบรรณาธิการ

WEB

BOOK

“คุณต้องการจะไปที่ไหน?” คือค�ำถามแรกที่ เว็บไซต์ท่องเที่ยว แบบฮาลาลอย่าง HalalTrip.com ถามเรา ด้วยหน้าเว็บทีใ่ ช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เพียงคุณกรอกชื่อเมืองที่คุณต้องการไป เพียงคลิกเดียว รายชื่อโรงแรมฮาลาลในเมืองนั้นก็จะปรากฏขึ้นมาให้คุณเลือกพัก ตามใจชอบ พร้อมแจ้งสถานที่พิกัดชัดเจน มีข้อมูลและรูปภาพ ให้เลือกชมก่อนตัดสินใจ ซึ่งคุณสามารถจองที่พักที่คุณถูกใจผ่าน เว็บไซต์นี้ได้เลย นอกจากนั้นคุณยังสามารถอ่านค�ำติชมของผู้ที่เคย ไปพักมาแล้ว รวมถึงสามารถให้คะแนนและเพิ่มค�ำติชมได้อีกด้วย น่าดีใจนะค่ะทีม่ เี ว็บไซต์แบบนี้ ท�ำให้เราสามารถใช้ชวี ติ ฮาลาลได้ ง่ายขึ้นเยอะเลย ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ www.halaltrip.com

เคาะลีฟะฮฺอัรฺรอชิดูน [Rightly Guided] ที่ถูกยอมรับหลังจาก ท่านนบีคือท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ ท่านอุษมาน ท่านอะลี (เราะ ฎิยัลลอฮุอันฮุม) แต่ค�ำถามคือหลังจากท่านทั้งสี่มีผู้ปกครองที่มิใช่ เศาะฮาบะฮฺท่านใดที่ถูกกล่าวถึงบ้างในฐานะรอชิดูน [Rightly Guided] ในหน้าประวัตศิ าสตร์ได้ปรากฏชือ่ ออกมา ได้แก่ เคาะลีฟะฮฺอมุ รั ฺ บินอับดุลอะซีซ, สุลฏอนนูรุดดีน ซันกีย์ และจักพรรดิโอรังเซบ อาลัมกีรฺ พร้อมกันนี้ได้เพิ่มสุลฏอน มุฮัมมัด ฟาติหฺ ในฐานะที่ถูกอ้าง ถึงในหะดีษว่าเป็นผู้บัญชาการที่ดีเยี่ยม ซีรีส์ “ผู้ปกครองแห่ง รอชิดูน” นี้จึงเริ่มขึ้น มาเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ผา่ นหนังสือซีรสี ์ ทีจ่ ะเปิดเผยถึงการฟืน้ ฟู ประชาชาติอสิ ลามทีก่ ระท�ำโดยผูป้ กครองแห่งรอชิดนู (ผูด้ ำ� รงอยูบ่ น ทางน�ำ) อันฝังรากลึกและสืบสานกันมาหลายศตวรรษ หาอ่านได้แล้ว วันนี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/ TheCircle.Books

CLIP

EVENT

เคยคิดไหมว่า อะไรคือเป้าหมายของชีวิต....หากวันนี้เป็นวัน สุดท้ายของชีวิต...คุณจะท�ำอะไร การเดินทางบนเส้นทางที่เรียกว่าชีวิต มีเรื่องราวที่หลายหลาย สุข เศร้า เหงา ทุกข์ มาร่วมหาค�ำตอบว่าอะไรคือ ความหมาย ของชีวิต และอะไรคืออิสรภาพที่แท้จริงของชีวิต ได้ที่ www.youtube.com/watch?v=_DXNYDhZNKs หรือที่ Youtube.com/ GhurabaMedia ได้ดูแล้วบอกความรู้สึกไม่ถูก รู้แต่ว่ามันซึ้งกินใจ เรือ่ งง่ายๆ ทีห่ ลายคนอาจไม่เคยนึกถึง หาดู Clip อืน่ ๆทีน่ า่ สนใจได้ที่ www.facebook.com/MuslimClip

วันที่ 11-13 ตุลาคมนี้ เตรียมพบกับ งานอีดิลแฟร์ เทศกาลของ ขวัญวันอีด งานที่จะรวบรวมสินค้า อาหารฮาลาล เสื้อผ้าเครื่อง แต่งกาย และบูธกิจกรรมของมูลนิธิฯและองค์กรต่างๆ รวมทั้ง โปรโมชั่นพิเศษจากธุรกิจเพื่อมุสลิม มาร่วม ชม ชิม ช็อป ของขวัญ วั น อี ดิ้ ล อั ฎ ฮา กั น ได้ เ ลยที่ มู ล นิ ธิ เ พื่ อ ศู น ย์ ก ลางอิ ส ลามแห่ ง ประเทศไทย รามค�ำแหง ซอย 2 ค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติมหาดูได้ที่ www.eidfairs.com 8


9


Halal Tasty

เรื่อง อัสมา กันซัน ภาพ อรดา โต๊ะมางี

ครัวบิสมิลลาฮ์ สาขา 3 หนองจอก ว่ากันว่าหากอยากทานอาหารภาคไหนก็ต้องไปทานให้ถึงที่ หลายคนจึง ดั้นด้นเดินทางเพื่อไปหาของอร่อยทาน ด้วยเชื่อว่า หากจะให้รู้จริงต้องตามไป กินให้ถึงต้นต�ำรับ Tasty ฉบับนี้ จึงขอแนะน�ำร้านดังจากภาคเหนือที่มาเปิด สาขา 3 ที่กรุงเทพมหานคร แถวๆ หนองจอก ใครผ่านไปผ่านมาแถวนี้แนะน�ำ ให้มาร้านนี้ได้เลย “ครัวบิสมิลลาฮ์” สาขา 3 รับรองไม่ผิดหวังกับอาหารจีน ยูนนาน แบบต้นต�ำรับมาเอง เมนูที่จะขอแนะน�ำ ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่สดใหม่ มาปรุงแต่งรสชาติ ให้หอมหวลชวนรับประทาน ต้องเมนูนี้เลยค่ะ แกงเนื้อยูน นาน คนชอบเครื่องเทศ รับรองจะติดใจ หรือจะเป็นไก่ย่างแม่สาย ที่รสจัดจ้าน ถึงใจ ไม่ต้องใช้น�้ำจิ้ม แค่คิดถึงก็หิวแล้ว ถ้าชื่นชอบอาหารเหนืออย่างข้าวซอย มาที่นี่ก็ไม่ผิดหวังแน่นอน ครัวบิสมิลลาฮ์ นอกจากจะมีอาหารให้เลือกสรร ทั้งอาหาร ไทย จีนยูนนาน อาหารอินเดีย ทีน่ ยี่ งั รับจัดโต๊ะจีนด้วยนะคะ แถมยังมีมมุ ของฝากจากภาคเหนือ ไม่ตอ้ งไปมีบริการถึงที่ ทัง้ ข้าวซอยตัด น�ำ้ พริกหนุม่ จิน้ ส้มหรือถ้าใครแวะไปภาค เหนือ ก็ไปที่ สาขาแม่สาย กับ สาขาเชียงใหม่ได้นะคะ 10

ชื่อร้าน สถานที่ตั้ง

: ครัวบิสมิลลาฮ์ สาขา 3 หนองจอก : ถนนเลียบวารี (คู้ขวา) หนองจอก กรุงเทพฯ (ใกล้บ้านสวนหมาก) บริหารงานโดย : มูฮมั หมัด อามีนะห์ (เจ๊มนิ ) ศรีประเสริฐ, คอดิญะห์ (เจ๊พริ้ง) วิวัฒน์ธีระกุล เวลาเปิด-ปิด : 06.00 – 22.00 น. เมนูแนะน�ำ : แกงเนื้อยูนนานแม่สาย, ซุปยูนนาน, ปลาทอดกรอบสมุนไพร , ไก่ย่างแม่สาย ติดต่อ : 086-924-2333 , 081-530-8198 , 089-755-7844


11


Halal Travel การเดินทางถือเป็นส่วนหนึ่งของ ชีวต ิ ใครหลายคน ยิง่ ได้เดินทาง ก็ยงิ่ ค้นพบอะไรใหม่ๆ นักเดินทางเขาว่า กันอย่างนั้น วันนี้มาแนะน�ำคอลัมน์ ใหม่แกะกล่อง จะชวนนักเดินทางทั้ง ห ล า ย ม า ร ่ ว ม แ ช ร ์ ข ้ อ มู ล แ ล ะ ประสบการณ์ ทั้งที่กินที่เที่ยว ที่พัก แบบ ฮาลาล ใน ฮาลาลทั่วไทย Halal Travel นักเดินทางชาวมุสลิมต่างจังหวัดหากคิด จะเข้าเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร จุดแวะ พักทีห่ มายตาไว้เชือ่ ว่า คงไม่พน้ ย่านรามค�ำแหง เป็นแน่ อาจไม่ได้เป็นย่านโปรดถึงขั้นสถิตไว้ใน ดวงใจ แต่ด้วยการเดินทางที่แสนสะดวก ไม่ว่า จะต่อรถ ต่อเรือ หรือจะต่อรถไฟฟ้าไปสนามบิน ก็สะดวกไปซะหมด จึงท�ำย่านรามค�ำแหงยังคง เป็ น ย่ า นยอดฮิ ต อั น ดั บ หนึ่ ง ของนั ก เดิ น ทาง ชาวมุสลิมไปโดยปริยาย นอกจากเดิ น ทางสะดวกแล้ ว ย่ า น รามค�ำแหงยังเป็นแหล่งอาหารฮาลาลอีกด้วย มีร้านให้เลือกมากมาย ทั้งเส้นถนนรามค�ำแหง ไล่ไปตัง้ ร้านริมถนนยันลัดเลาะเข้าไปตามตรอก ซอกซอย ไม่วา่ จะเดินไปทางไหนเราก็จะได้เห็น ร้านอาหารฮาลาลเรียงรายอยู่เต็มไปหมด หรือ จะตั ด ออกไปยั ง ถนนพระรามเก้ า ตั ด ใหม่ ที่ คู่ขนานไปกับรามค�ำแหงก็ได้ บนถนนเส้นนี้เรา ก็จะพบกับร้านอาหารฮาลาลใหญ่ๆเรียงรายอยู่ หลายร้าน เรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงของร้าน อาหารฮาลาลเลยก็ว่าได้ ย่านรามค�ำแหงยังมีมสั ยิดและชุมชนมุสลิม หลายแห่ง ใกล้สถานทีส่ ำ� คัญอย่างมหาวิทยาลัย รามค�ำแหง สนามกีฬาหัวหมาก ใกล้โรงพยาบาล หรือหากจะไปช็อปปิ้งก็ง่ายดายเพราะมีร้านค้า เรียงรายตลอดฝั่งถนน เรียกได้ว่ามาแถบนี้ครบ ครันจริงๆ ว่าแต่มาแล้วจะพักทีไ่ หนดีละ่ เพราะ ย่านรามค�ำแหงนี้มีโรงแรมฮาลาลให้เลือกพัก หลายที่ เ ลยค่ ะ ไม่ ว ่ า จะเป็ น โรงแรมรี เจนท์ ซ.รามค�ำแหง 22 โรงแรมชาลีน่า ซ.รามค�ำแหง 65 หรือจะเป็นอพาทเม้นต์รายวันก็มีให้เลือก มากมาย แต่วันนี้ ฮาลาลทั่วไทยอยากจะขอ แนะน�ำที่นี่ค่ะ ที่พักรายวันที่บริหารจัดการโดย พี่น้องมุสลิม ตั้งอยู่ใน ซ.รามค�ำแหง 59 และ เพิ่ ง จะเปิ ด ตั ว เมื่ อ ไม่ น านมานี้ เ อง นั่ น ก็ คื อ “มุสลิมโฮม สาขา 2”

กองบรรณาธิการ

รามค� ำ แหง เมืองฮาลาล ของกรุ งเทพฯ ฮาลาลทั่วไทย : Halal Travel

“มุสลิมโฮม สาขา 2” ตั้งอยู่เยื้องๆ กับ มหาวิ ท ยาลั ย รามค� ำ แหง และสนามกี ฬ า หัวหมาก เพียงเดินข้ามสะพานลอยไปนิดเดียว เราก็ พ บกั บ แหล่ ง ช็ อ ปปิ ้ ง หน้ า สนามกี ฬ า หัวหมาก ทีม่ ขี องให้เลือกช็อปเป็นร้อยร้าน หรือ จะไปนั่งพักผ่อนในสนามกีฬาก็ชิลดีไม่น้อยเลย ค่ะ บรรยากาศที่ “มุสลิมโฮม สาขา 2” ถือว่า สะดวกสบาย ห้องพักใหม่เอีย่ มอ่อง มีสงิ่ อ�ำนวย ความสะดวกครบครัน ทั้งตู้เย็น เครื่องชงชา/ กาแฟ มีสัญลักษณ์บอกทิศกิบลัต มีบริการห้อง ปลอดบุหรี่ รูมเซอร์วิส บริการซักรีด/ซักแห้ง บริการทีจ่ อดรถ มีมมุ นัง่ เล่นผ่อนคลาย พนักงาน ที่ นี่ ยั ง ยิ้ ม แย้ ม พร้ อ มให้ บ ริ ก ารเป็ น อย่ า งดี “ห้องพักมาตรฐาน บริการอันอบอุ่น” เป็น สโลแกนของที่นี่ค่ะ อย่าลืมนะคะแวะมาย่านรามค�ำแหงเมื่อใด “มุสลิมโฮม สาขา 2” เป็นตัวเลือกที่ฮาลาล ทั่ ว ไทยของแนะน� ำ แถมคอนเฟิ ร ์ ม เลยค่ ะ ว่ า คุ้มค่าแน่นอน ติดต่อสอบถามขอข้อมูลเพิ่มเติม

ได้ ที่ 02-318-6020, 081-7353025 หรื อ ที่ Facebook : มุสลิมโฮมห้องพักรายวัน 12


13


THE MASTER เรื่อง : ดาวุด ลาวัง ภาพ : สามารถ สุขถาวร / อนันต์ชนก รีอุมา

ในช่วงสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา โรงเรียนศาสนูปถัมภ์ นับได้ว่าเป็นแหล่งตักศิลาส�ำคัญในการศึกษาหาความรู้ เกี่ ย วกั บ อิ ส ลาม และยัง ได้ผ ลิต นักวิช าการอิส ลามคนส� ำ คั ญ มากมาย ไม่ ว ่ า จะเป็ น อ.อั ช อะรี ย์ เรื องปราชญ์ อ.อับดุลวาเฮด หวังประโยชน์ อ.ซิดดี๊ก มูฮ�ำหมัดสะอี๊ด เป็นต้น อ.มุสตอฟา อยู่เป็นสุข ในฐานะผู้บุกเบิกโรงเรียนศาสนูปถัมภ์มาตั้งแต่ต้นจึงนับได้ว่าเป็นครูของครูอีกมากมาย หลายคน ท่ามกลางสถานการณ์ในสังคมมุสลิมที่อะไรมันก็ดูยุ่ง ๆ นะซีฮัตจากครูอาจารย์ระดับอาวุโสจึงย่อมนับ ได้ว่าเป็นสิ่งที่สังคมมุสลิมควรตั้งใจฟัง 14


จุดเด่นอย่างหนึ่งของอาจารย์คือบุคลิก อ่อนน้อม อ่อนโยนอย่างนี้ อาจารย์ได้แบบอย่างนี้มาจากใคร ก็ต้องบอกว่านี่มาจากอัลลอฮฺด้วย ประการที่สองก็คือว่าเราอ่าน อัล-กุรอานพบนะ อย่าง อัรเราะฮฺมาน อัลละมัลกุรอาน อัรเราะฮ์มานเป็น ชื่อหนึ่งของอัลลอฮ. แปลว่าผู้ทรงเมตตา อัลละมัลกุรอาน ผู้ทรงเมตตา นี่สอนอัล-กุรอาน หมายถึงให้ความรู้กับประชาชนกับลูกศิษย์ ผู้ที่มี ลักษณะอัรเราะฮ์มาน ก็คอื มีความเมตตาสงสารให้อภัย ผมก็เอาจากคัมภีร์ อัล-กุรอานนี่แหละมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เท่าที่อาจารย์เป็นครูสอนมานานมากหลายสิบปีนี่ การเรียนการสอน หรือบทบาทของการศึกษาในสังคมปัจจุบันนี้แตกต่างกับอดีตอย่างไร นักเรียนรุ่นก่อนกับนักเรียนรุ่นปัจจุบันนี่ต่างกันเยอะ ความตั้งใจของ เด็กรุ่นก่อน ๆ นี่ดีกว่าเด็กรุ่นปัจจุบันอัคลาก(มารยาท)ก็ดีกว่า นิสัยดีกว่า ไม่คอ่ ยดือ้ เท่าเด็กสมัยนี้ แล้วความตัง้ ใจ นีถ่ า้ หากว่าคนไทยนีน่ กั เรียนไทย นี่ถ้าหากตั้งใจเรียนนะไม่จ�ำเป็นต้องไปอยู่ต่างประเทศหรอก อ.อิสมาแอล วิสุทธิปรานี ก็ไม่ได้เรียนต่างประเทศ ก็นั่นนะซิ ความตั้งใจสมัยคนยุคก่อนนี่ แต่สมัยนี้ต่างกันมากเลย ครูอิสมาแอลน่ะ อ.อิลยาส (นาคนาวา) ด้วยเหมือนกัน ไม่ได้จบต่าง ประเทศแต่ว่าเขาก็ตั้งใจดีอะไรดี แต่เด็กรุ่นใหม่นี่ อัลลอฮุอักบัร ปัญหามันอยู่ที่เด็ก หรือว่าควรโทษครูที่เป็นคนสอนครับ ผมว่าก็ประกอบกันนะ ครูเองก็เป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนไม่ได้ ผมว่ามาจากครูนี่แหละมากกว่า ครูสมัยนี้กับสมัยก่อนต่างกันยังไง ผมว่าครูสมัยก่อนนี่สอนหนังสือใช้วิญญาณเยอะ ใช้ดุอาอฺใช้อัคลาก (มารยาท)สอนมากกว่า แต่คนสมัยนี้สอนเพื่อ ผมก็มองดูนะเหมือนกับ อยู่ไปวันๆนะ ท�ำไมเป็นแบบนั้นครับ ก็ในเมื่อครูยุคปัจจุบันก็คือศิษย์ของครูยุคก่อน เพราะว่ า คงจะอ่ า นหนั ง สื อ พิ ม พ์ เ ยอะมากเกิ น ไปหรื อ เปล่ า คน อ่านอัล-กุรอานเยอะ ๆ อ่านอัล-หะดีษเยอะ ๆ หัวใจมันก็คิดอย่างหนึ่ง เราไม่ได้ต�ำหนิข่าวหรอกนะอ่านนะได้แต่ว่าเราบางทีใส่ใจกับข่าวความ เคลื่อนไหวอะไรมากเกินไปหรือเปล่า สมัยนี้ตีเด็กได้ที่ไหน ถ้าจะตีหรือ เฮ้ย ไม่ได้ ๆ กลัวลงหนังสือพิมพ์ เพราะฉะนั้นผมว่ามันมาจากครูนี่เยอะ มากกว่ามาจากนักเรียน ส่วนนักเรียนนี่เราจะโทษพ่อแม่มากกว่า เพราะ ผู้หลักผู้ใหญ่รุ่นก่อนๆ จะสอนลูก เราต้องกลัวครู ให้เกียรติครู แต่สมัยนี้ จะมีพ่อสักกี่คนที่บอกลูกว่าให้เกียรติครูเคารพครู พ่อบอกว่าให้ดูว่าครูสอนอะไร ครูสอนถูกหรือเปล่า (หัวเราะ) เหมือนกับจะจับผิดครู เพราะฉะนั้นมันอยู่ที่พ่อแม่ด้วยนะ พ่อแม่เคยขอดุอาอฺไหม ออกจากบ้านเคยขอดุอาอฺ เคยกอดลูกไหม บอก ให้ลกู มีอมี านต่ออัลลอฮฺ อย่างกับท่านนบีมฮุ มั มัด(ซ.ล.)เคยท�ำกับลูกหลาน ของท่าน เพราะฉะนั้นวันนี้ผมมองดูว่าสถาบันการศึกษา นี่เป็นหะดีษ บทหนึ่งของท่านนบี นบีบอกว่า ใกล้ ๆ วันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺจะถอนเอา ความคุชัวอ์ออกจากหัวใจ วันนี้มันมีแต่รูปคนเดิน เขาเรียกว่าศพเดินได้ นะ แต่ไม่มคี ชุ วั อ์ คนมีความรูแ้ ต่วา่ ความรูน้ นั้ นะเอามาใช้ประโยชน์เกือบ ไม่ได้

อาจารย์ครับ บทบาทของครูที่ควรจะเป็นตั้งแต่ปัจจุบันนี่ควรจะเป็น อย่างไร ผมว่านะครูจะต้องลอกเลียนแบบซุนนะห์นบี อย่างอืน่ ไม่มที าง ถ้าไม่ เอาซุนนะห์นบีมาก�ำกับชีวิตนะ ครูคนนั้นสอนหนังสือไม่มีบะระกะฮ์ ต้องเอาซุนนะห์นบี แล้วซุนนะห์นบีในการเป็นครูมีอะไรบ้าง ข้อแรก เวลาเราจะสอนอะไรก็ตามแต่เราเป็นตัวแทนของท่านนบี ต้อง นึกอย่างนีใ้ ห้ตลอดเวลา เราเป็นตัวแทนของท่านนบีมาท�ำงานศาสนา ไม่ใช่ ว่ า รั บเงิ น เดื อ นอย่ า งเดี ย ว เราสอนหนั ง สื อ เพื่ อ หวั ง รางวัล ตอบแทน จากอัลลอฮฺ สอง ผมถามว่าครูนะเวลาขึน้ สอนไปสอนหนังสือมีนำ�้ ละหมาด ไหม ท�ำไมต้องมีนำ�้ ละหมาดด้วยครับ ไปสอนหนังสือ ไม่ได้ไปละหมาดนีค่ รับ ก็ท�ำงานอะมัลที่ศอลิห์ (การปฏิบัติศาสนกิจที่ดีงาม) ละหมาดก็มี น�ำ้ ละหมาดไม่อย่างนัน้ ละหมาดก็ใช้ไม่ได้ แต่วา่ นบีกไ็ ม่ได้บงั คับแต่เราเอา ตามความรู้สึกส่วนตัวว่าเมื่อเราท�ำของที่ดีท�ำไมเราไม่มีน�้ำละหมาด แล้ว ครูเคยขอดุอาอฺให้ลกู ศิษย์ไหม โอ้อลั ลอฮฺ โปรดให้ลกู ศิษย์ของฉันนีเ้ ข้าใจ ค�ำพูดของฉันง่าย ๆ ครูเองเคยขอดุอาอฺไหม ร็อบบิชเราะฮ์ลีศ็อดรี วะยัส สิรลีอัมรี วะห์ลุลอุกดะตัมมินลิสานี ยัฟเกาะฮูเกาลี ที่ว่านี้ก็เป็นแนวทางที่อาจารย์ปฎิบัติ ใช่ ๆ คนอืน่ อาจจะไม่เอาอย่างนีก้ ไ็ ด้ไม่มปี ญ ั หา แต่สำ� หรับผม ผมต้อง มีน�้ำละหมาดทุกครั้ง แม้ว่าผมจะอัดรายการทีวีนี่ก็ต้องอาบน�้ำละหมาด ก่อน แปรงฟันก่อนตามซุนนะห์นบี แล้วบางทีผมขอไปละหมาดก่อน สองเราะกะอะฮ์ อิมามบุคอรีนี่ทุกครั้งที่จะเขียนหะดีษหนึ่งหะดีษนี่ ต้ อ งละหมาดก่ อ นสองเราะกะอะฮ์ เราเรี ย นหะดี ษ จากอิมามบุค อรี มาตั้งหลายปี เราได้อะไรบ้างจากอิมามบุคอรี ไม่ใช่เอาเฉพาะความรู้ อย่างเดียว เอาการปฏิบัติของท่านด้วย อาจารย์ครับ แล้วอย่างนีท้ ศิ ทางของนักวิชาการมุสลิมในปัจจุบนั นีค่ วร เป็นอย่างไร เพราะว่าเหมือนระหว่างการที่เราอยู่ในสังคมที่มีความ หลากหลาย มีใหม่ มีเก่า มีใหม่มาก มีใหม่มากกว่า เราจะอยู่อย่างไร คือผมว่านะ เราต้องอุมมะฮ์วาฮิดะฮ์ อุมมะฮ์เดียวกันหมดแหละ แล้วอีกอย่างหนึ่งนบีพูดเองว่าอุมมะตีสะตัฟตะริกุ จะแบ่งแยกออกเป็น 73 กลุ่ม ก็อุมมะฮ์ของฉันนะ นบีบอกว่านี่ของฉันทั้งหมด แตกต่างกัน ก็ไม่มีปัญหา ถ้าอยู่เป็นญะมาอะฮ์ เก่ากับใหม่อยู่ด้วยกันได้ไหม ผมอยู่ได้ ผมนั่ ง ได้ ส บายเลยไม่ มีปั ญหา เพราะมี ง านที่ ต ้ อ งท� ำ เป็ นญะมาอะฮ์ เยอะแยะ อ้าว แล้วจะอยู่ด้วยกันยังไงในเมื่อเรามองว่าที่เขาท�ำมันผิด ค่อย ๆ บอกเขาซิ เราไปด่าเขาเขาจะเชื่อหรอ เมื่อคุณผิด ผิดอะไร อธิบาย ไม่ใช่เริ่มด้วยการด่าว่าคุณมันชาวนรก เปลี่ยนจากการด่าเป็นการอธิบาย คุยกันอธิบายกัน อย่าใช้อารมณ์ ก็นบีสงั่ อัดดีนนุ นะศีหะฮ์ ศาสนาคือ การต้องเตือน ค�ำว่าเตือนกับค�ำว่าด่าต่างกันยังไง

15


ไปคนละทางเลยนะ ขอดุอาอฺให้กัน ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ต้อง ให้เกียรติรุ่นพี่ ตักเตือนกัน ท�ำไมต้องตักเตือนทางอากาศนะ ก็โทรศัพท์ คุยกันซิ เฮ้ย ท่านผิดนะ อะไรอย่างนี้ ถ้าเราเตือนกลางอากาศนี่ คนทีร่ บั ค�ำ เตือนก็ต้องมีก�ำแพงแล้ว

ครู ของอาจารย์มุสตอฟา ครูคนที่หนึ่ง อ.ฮัมซะห์ อยู่เป็นสุข

“คุณพ่อนี่ดีอย่างหนึ่ง แกไม่โจมตีใคร แต่ว่าคุณพ่อจะถูกชาวบ้าน โจมตีตลอด เวลาใครมาถามปัญหาศาสนา พ่อก็ถามว่าจะเอาตามประเพณี ปฏิบัติ หรือจะเอาตามอุละมาอ์ หรือจะเอาตามซุนนะห์ หรือจะเอา ตามอัล-กุรอาน ถามก่อนจะเอาตามยังไง ถ้าเอาตามอุละมาอ์ไม่เอา ซุนนะห์นบีก็จะอธิบายให้ฟังอย่างนี้ ถ้าจะเอาซุนนะห์นบีก็อย่างนี้คนนั่ง ฟังก็อ๋อ งั้นเอาตามซุนนะห์นบี คือไม่เล่นแรง เราก็นั่งมองดู อ๋อ นี่คือวิธี การเผยแผ่ศาสนา อัลฮัมดุลลิ ลาฮฺ คนเขาก็ยอมรับ ถ้าจะปะทะแรงเหมือน เดิมนะได้ แต่ว่าไม่มีประโยชน์ เพราะว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ”

เวลาจะเตือนเราเรียกมาเตือนตัวต่อตัว คนทีม่ อี มี านคนทีม่ ศี าสนาอยู่ แล้วเข้าใจง่าย เคยขอดุอาอฺให้กันไหม ขอดุอาอฺลับหลังที่นบีสอน อย่าใช้ เฉพาะขอให้พ่อให้แม่ ให้เมียให้ลูก แล้วถ้าขอ ขอให้เขาเปลี่ยนแปลงนะ ผมอยากเห็นอุละมาอ์นอี่ ยูร่ วมกันเป็นญะมาอะฮ์ อย่างทีอ่ นิ เดีย เขาเป็น ญะมาอะฮ์ทกุ คณะทุกโรงเรียนทุกมหาวิทยาลัย ปีหนึง่ เขาประชุมครัง้ หนึง่ แล้วมีนโยบายว่าภายในห้าปีนี้จะให้นักเรียนเรานี่เข้าใจอะไรที่ดีที่สุด ให้นักเรียนเข้าใจเรื่องอะไร เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องอิสลาม เขามีเป้าหมายที่ชัดเจนนะ อย่ า งนี้ ทิ ศ ทางของการพั ฒ นาคนเขาก็ จ ะมี เ ป้ า หมายมี ทิ ศ ทาง มียุทธศาสตร์ ใช่ มียุทธศาสตร์ ถ้าประเทศไทยเป็นอย่างนี้ได้จะดีมาก ไม่ต้องมา ทั้งหมดหรอก เอาจังหวัดละคนสองคนสามคนมา เอาคนที่มีอัคลาก (มารยาท)ดีๆ มานั่งคุยกันแล้วก็เดี๋ยวเขาเอาไปเผยแผ่กันเองนั่นแหละ เคยมีอุละมาอ์อยู่คนหนึ่งแถวภาคใต้มานั่งคุยกับผม เขาว่าอุละมาอ์ กรุงเทพ ก็เยอะแต่ว่าทะเลาะกัน อุละมาอ์ภาคใต้นะมีไม่เยอะ แต่ว่าเขา อยูเ่ ป็นญะมาอะฮ์ เขารวมกัน เราต้องเปลีย่ นมาขอดุอาอฺให้กนั อย่าด่ากัน ค�ำว่าด่ากับค�ำว่าขอดุอาอฺให้กัน สองค�ำนี้มันคนละขั้วกันเลย

เวลาเราจะสอนอะไรก็ตามแต่ เราเป็น ตัวแทนของท่านนบี ต้องนึกอย่างนี้ ให้ตลอดเวลา เราเป็นตัวแทนของท่าน นบีมาท�ำงานศาสนา เราสอนหนังสือ เพื่อหวังรางวัลตอบแทนจากอัลลอฮฺ

16


ครูคนที่สอง อ.อิสมาอีล อะหมัด

“ตอนทีผ่ มเป็นนักเรียนนะ ครูอสิ มาอีล อะห์มดั สอนหนังสือผม ร้องไห้ เกือบทุกวัน สอน ๆ ไป ร้องไห้ เอาอัล-กุรอานมาแปล ก็ร้องไห้ พอเราไป เรียนกุรอานถึงได้รู้ อัล-กุรอานสอนให้คนลงมือท�ำ ถ้าคนจะมีอีมานได้ก็ ต้องลงมือปฏิบตั ิ ปฏิบตั แิ ล้วก็อลั ลอฮฺกจ็ ะให้อมี านนีม่ นั เพิม่ พูนขึน้ ในหัวใจ ผมไปซาอุ ดิ ฯ ไปพบกั บ ผู ้ ช ่ ว ยรั ฐ มนตรี ก ระทรวงเอากอฟของ ซาอุดิอาระเบีย เขาก็มาต้อนรับพาผมไปที่บ้าน นั่งคุยกันอะไรกัน เขาพูด อยูค่ ำ� นึงว่า ครูอสิ มาอีล อะห์มดั นีเ่ ป็นคนทีเ่ คร่งครัด เคร่งครัดในซุนนะห์ นบี เคร่งครัดกับตัวเองด้วย เคร่งครัดกับคนอื่นด้วย ในขณะที่หลายๆ คน เคร่งครัดกับคนอื่น แต่ไม่ได้เคร่งครัดกับตัวเอง” ครูคนที่สาม เมาลานาอะบุลหะสันอันนัดวีย์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยนัดวา ตุ้ลอุลามาอฺ

“ผมชอบวิธีการดะอ์วะฮ์ของเมาลานาอะบุลหะสัน คือเขาปลูกฝัง ให้นกั ศึกษาทีจ่ บจากมหาวิทยาลัยนีน้ ะ ไม่ใช่เป็นอุละมาอ์อย่างเดียว เป็น นักบริหารนักจัดการ ไม่ได้เป็นอิมาม ไม่ได้สนับสนุนให้เป็นอิมามด้วย ให้เป็นผู้บริหาร เพราะแต่ก่อนอิมามส่วนใหญ่ก็น�ำละหมาดอย่างเดียว เมาลานาอะบุลหะสันสอนว่าวันนี้น่ะ ของผิด ๆ ในโลกนี้เขาท�ำเป็น ระบบ ท�ำให้ของผิดแต่ท�ำเป็นระบบเอาชนะของที่ถูกต้องแต่ไม่มีระบบ พวกเรามุสลิมวันนีเ้ รายึดอัล-กุรอานยึดซุนนะห์ถกู ต้อง แต่เราท�ำไม่มรี ะบบ สะเปะสะปะ มุ ส ลิ ม ก็ ต ้ อ งมี ร ะบบระเบี ย บมากกว่ า นี้ การสอนของ เมาลานาอะบุลหะสันก็คือเราต้องอยู่เป็นญะมาอะฮ์ นี่เรื่องใหญ่เรื่องการ อยู่เป็นญะมาอะฮ์ แล้วก็ต้องเคารพให้เกียรติผู้น�ำ ไม่ให้ทะเลาะกับผู้น�ำ ถ้าระหว่างคนตามกับผู้น�ำเกิดขัดแย้งกันก็ไม่ใช่พูดต่อหน้าคนนะ ก็นั่งคุย กันเจรจากัน ถ้าอย่างนั้นไม่ส�ำเร็จ” ครูคนที่สี่ อ.ดิเรก กุลศิริสวัสดิ์ อดีตนายกสมาคมญัมอียะตุ้ลอิสลาม

“ท่านเป็นคนที่ท�ำธุรกิจด้วยสนใจศาสนาด้วย เป็นแบบอย่างที่ดี ในขณะที่โต๊ะครูก่อน ๆ ไม่ท�ำอะไรเลย นอนทั้งวัน แต่ท่านท�ำงานทั้งวัน เหนื่อย อัลฮัมดุลิลลาฮฺ อ.ดิเรกเป็นคนตรงต่อเวลา แล้วก็ไม่พูดเกะกะ พูดเป็นงานเป็นการ เป็นคนทีพ่ ดู น้อยท�ำงานเยอะ เป็นแบบอย่างทีด่ ี เป็น คนที่มีความรู้แล้วท�ำอะไรให้แก่สังคม ขณะที่อ.ดิเรกถูกด่า ถูกแอนตี้ ถูก ฟิตนะฮฺเยอะไปหมด ท่านก็ท�ำงานของท่านไป โดนด่าสารพัด แต่ท่าน ก็ท�ำงานไป ท�ำเท่าที่มีความสามารถ วันนี้ผมก็ถูกด่าเหมือนกัน เป็นนู่น เป็นนี่สารพัด เราก็นั่งยิ้ม อัลฮัมดุลิลลาฮฺ” ครูคนที่ห้า เมาลานา มุฮัมมัดรอเบียอ์

“ท่านเป็นหลานของเมาลานาอะบุลหะสัน คนนี้เป็นคนที่อัคลากดี บทความที่ท่านเขียนมานี่ดีมาก อ่านแล้วส�ำนวนง่าย เข้าใจง่ายแต่ว่า แอบแฝงไปด้วยอีมานที่ลึกซึ้ง ส่วนใหญ่ท่านจะเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ อิ ส ลาม ประวั ติ ศ าสตร์ อิ น เดี ย พู ด เรื่ อ งประวั ติ ศ าสตร์ ใ นฐานะ นักประวัติศาสตร์ คนอื่นเขาก็แค่เขียนเล่าประวัติ แต่เมาลานา มุฮัมมัด รอเบียอ์ เล่าแล้วก็บอกว่าได้ข้อคิดอะไรบ้างจากประวัตินี้ แล้วไม่ใช่รู้ ประวัติอย่างเดียวยังสอนอีกด้วย อย่างเรื่องประวัติของนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ที่นบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) อพยพจากนครมักกะฮ์ไปอยู่มะดีนะฮ์นี่ได้ข้อคิด อะไรบ้าง”

17


The Strangers

ummah islam facebook.com/Ummahfityah

มุฮัมมัด อะซัด ( Leopold Weiss ) ชาวยิวผู้เข้ารับอิสลาม หนึ่งในต�ำนานการฟื้นฟูอิสลามร่วมสมัย

มุฮัมมัดอะซัด เดิมชื่อว่า Leopold Weiss เกิดวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ 1900 ในเมือง Lvov (Lemberg) ใน Galicia ตะวันออก ปัจจุบันอยู่ ในประเทศโปแลนด์ ซึ่ ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ จักรวรรดิออสเตรีย(ซึง่ มีความกว้างกว่าประเทศ ออสเตรียในปัจจุบนั มาก) มารดาของอะซัด เป็น บุตรสาวของนายธนาคารที่มั่งคั่งของท้องถิ่น ทางฝ่ายบิดานั้น อะซัดมีปู่ที่สืบเชื้อสายมาจาก พวกแรบไบ ออร์โธดอกซ์ ครอบครั ว ของอะซั ด ได้ ย ้ า ยไปอยู ่ ใ น กรุงเวียนนา (เมืองหลวงประเทศออสเตรีย) อะซัดเติบโตมาพร้อมกับการเรียนรูศ้ าสนายูดาย แต่ท่านไม่พอใจกับการน�ำเสนอลักษณะของ พระเจ้าในลัทธิศาสนายิวที่ดูไม่เป็นสากล เป็น ลักษณะของ “เผ่า” มากกว่า การศึกษาศาสนาของอะซัดท�ำให้ ตัวท่านออกห่างจากศาสนายูดาย เมื่ออะซัดอายุได้ 14 ปีได้หนีออกจากบ้าน และได้เข้าร่วมกับกองทัพออสเตรียเพื่อต่อสู้ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาปี 1918 อะซัด เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเวียนนา ตอนเย็นๆท่าน จะใช้เวลาไปกับการนั่งฟังการถกกันของพวก

นักจิตวิเคราะห์แห่งเวียนนา แต่ถึงแม้ว่าจะเป็น คนที่ เรี ย นเก่ ง แต่ อ ะซั ด เริ่ ม ไม่ ช อบชี วิ ต ใน รั้วมหาวิทยาลัย ท่านจึงขัดใจบิดาด้วยการทิ้ง มหาวิทยาลัย ด้วยการเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน (เยอรมัน) เพื่อเป็นนักหนังสือพิมพ์ตามความ ใฝ่ ฝ ั น ในปี 1920 ท่ า นจึ ง เริ่ ม อาชี พ นั ก หนั ง สื อ พิ ม พ์ ชื่ อ ว่ า littrateurs ซึ่ ง เป็ น หนังสือพิมพ์ที่โดดเด่นมากที่สุดฉบับหนึ่งของ ยุโรปสมัยนั้น อาชีพของอะซัดได้น�ำท่านไปสู่ปาเลสไตน์ อี ยิ ป ต์ ซี เ รี ย อิ รั ก เปอร์ เ ซี ย จอร์ แ ดน ซาอุดิอาระเบีย และอัฟกานิสถาน ท�ำให้ท่าน มี มุ ม มองที่ ชั ด เจนต่ อ สถานการณ์ ข องโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ ในต้นปี 1922 น้าของอะซัด ได้ชวนท่าน ไปเยือนเยรูซาเล็ม อะซัดตอบรับค�ำเชื้อเชิญ (ตอนนั้นไซออนิสต์ยังไม่ได้ยึดครองปาเลสไตน์) อะซัดได้พักอยู่ที่บ้านน้าของท่าน ตรงนี้เองคือ จุ ด แรกของการเปิ ด ประตู ข องอะซั ด ไปสู ่ ความแท้จริงของอิสลาม แต่อะซัดต้องเผชิญหน้ากับสิง่ อืน่ ก่อน นัน่ ก็ คื อ ลั ท ธิ ไ ซออนิ ส ต์ ( ลั ท ธิ ข องกลุ ่ ม ชาวยิ ว 18

ที่ต้องการยึดครองปาเลสไตน์เพื่อตั้งประเทศ อิสราเอล) แม้ว่าน้าที่ท่านพักด้วยจะไม่ใช่พวก ที่ เ ลื่ อ มใสในลั ท ธิ ไซออนิ ส ต์ แต่ ท ่ า นยั ง มี น ้ า อีกคนในเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นพวกไซออนนิสต์ ชั้นแนวหน้า ที่นี้เองที่มุฮัมมัด อะซัด ได้โต้แย้งกับบุคคล ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของขบวนการไซออนิ ส ต์ คื อ Dr.Chaim Weizmann โดยท่านได้ถามถึง ชะตากรรมของชาวอาหรั บ ซึ่ ง ตอนนั้ น เป็ น ชนกลุ่มใหญ่ที่นั่น ค�ำตอบจาก Dr. Weizmann ก็คือ “เราคาดว่า เราจะกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ ในอีก 2-3 ปี” มุฮัมมัด อะซัด ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Road to Mecca ว่า “แม้ต้นก�ำเนิดข้าพเจ้าจะ เป็นยิว … ข้าพเจ้าก็ถือว่าเป็นการผิดศีลธรรมที่ มีผอู้ พยพ ด้วยการช่วยเหลือของอ�ำนาจต่างชาติ จะเข้ามาจากนอกประเทศเพื่อให้กลายเป็น ชนกลุ่มใหญ่ของปาเลสไตน์ ….” มุ ฮั ม มั ด อะซั ด รู ้ สึ ก เศร้ า อย่ า งยิ่ ง กั บ ประสบการณ์ในปาเลสไตน์ ยิ่งท�ำให้ท่านเศร้า หนั ก ไปอี ก เมื่ อ ต่ อ มาท่ า นได้ ป ระจั ก ษ์ ว ่ า ปาเลสไตน์ถูกยึดครองไปจริงๆ


การได้มีโอกาสได้เดินทางไปทั่วโลกมุสลิม ในอีก2-3 ปีตอ่ มา ท�ำให้อะซัดมีความสนใจอย่าง ลึกซึ้งต่ออิสลาม พร้อมๆกันนั้นท่านได้ตรวจ สอบเจาะลึกถึงความตกต�่ำของมุสลิมโดยทั่วไป ด้วย(ยุคของท่าน โลกมุสลิมส่วนใหญ่ยังเป็น เมืองขึ้นฝรั่ง) ความต้องการเข้าใจมุสลิมท�ำให้ อะซั ด เริ่ ม เข้ า หาค� ำ สอนดั้ ง เดิ ม ของอิ ส ลาม อันได้แก่อัลกุรอาน โดยท่านเริ่มศึกษาภาษา อาหรับ แล้วเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับชาวมุสลิม ในเดือนกันยายน ปี 1926 ท่านได้รบั อิสลาม ที่สมาคมอิสลามแห่งเบอร์ลิน และเปลี่ยนชื่อ มาเป็นมุฮัมมัด อะซัด มีคนตั้งค�ำถามถึงเหตุผล การรับอิสลามของท่าน ท่านได้กล่าวเอาไว้ถึง เรื่องนี้หนังสือ Islam at the Crossroads ว่า “...ข้าพเจ้าถูกถามครั้งแล้วครั้งเล่า “ท�ำไม ถึงเข้ารับอิสลาม?” “มันมีอะไรดึงดูดใจคุณเป็น พิเศษ?” ข้าพเจ้าต้องสารภาพว่า ข้าพเจ้าไม่ ทราบจะหาค�ำตอบที่พึงพอใจแบบใดดี เพราะ มันไม่ได้มีค�ำสอน ‘เฉพาะ’ อันใดที่ดึงดูดใจ ข้าพเจ้า แต่มันคือโครงสร้างของค�ำสอนทาง จริ ย ธรรมและโปรแกรมการปฏิ บั ติ ข อง ชี วิ ต ทั้ ง หมดที่ เชื่ อ มโยงเข้ า ด้ ว ยกั น ได้ อ ย่ า ง น่าอัศจรรย์โดยมิอาจอธิบายได้ ข้าพเจ้าไม่อาจ กล่าวได้แม้แต่ตอนนี้ว่า ค�ำสอนข้อใดที่ดลใจ ข้าพเจ้ามากกว่าข้อใด อิสลามปรากฏต่อข้าพเจ้า ดั่งงานทางสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบ แต่ละ ส่วนของมันทั้งหมดแสดงออกถึงการเสริมและ หนุนส่วนอื่นๆอย่างกลมกลืน โดยปราศจาก ส่ ว นเกิ น และส่ ว นขาด ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลที่ ไ ด้ ‘ดุ ล ยภาพ’ ที่ พ อดี และ ‘ความสงบนิ่ ง ’ ที่แข็งแกร่ง บางทีความรู้สึกเกิดจากทุกๆสิ่ง ในค�ำสอนและการวางเงื่อนไขต่างๆของอิสลาม ที่ ‘อยู ่ ใ นจุ ด ที่ เ หมาะสม’ นั้น ได้สร้างความ ประทับใจอย่างยิ่งยวดต่อตัวข้าพเจ้า ...” จากนั้นอะซัดได้ใช้เวลาในมะดีนะฮฺอีก 5-6 ปีเพื่อศึกษาอิสลามและภาษาอาหรับ ด้วยการ เข้าถึงเจตนารมณ์ของอิสลามและความสามารถ ในการวิเคราะห์ปญ ั หาต่างๆทีร่ มุ เร้าประชาชาติ มุสลิม ท�ำให้อะซัดมีบทบาทใหม่ในการอธิบาย ความเสื่อมของโลกมุสลิมและวิธีการฟื้นฟูมัน ท่านได้มีโอกาสไปพบกับบรรดาอุละมาอ์และ ผู้น�ำมุสลิมจ�ำนวนมาก เพื่อท�ำการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและเสนอแนวคิดของท่าน ท่าน เป็นเพื่อนสนิทกับมุฮัมมัด อิกบาล กวีเอกของ โลกมุ สลิ ม และสนิ ท สนมกับ กษัต ริย์ไ ฟศอล

ผูส้ มถะและจริงจังกับการฟืน้ ฟูศาสนา และรูจ้ กั ด้ า นหนึ่ ง ท่ า นได้ ท� ำ งานด้ า นความคิ ด และ เป็นอย่างดีกับผู้น�ำขบวนการต่อสู้และฟื้นฟู วิชาการ โดยเฉพาะการถ่ายทอดสาส์นแห่ง อิสลามจ�ำนวนมาก อิสลาม ดังงานของท่านในการแปลความหมาย กุรอานเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า The Message of the Qur’an พร้อมกับค�ำอธิบาย ถูกตีพิมพ์ ในปี 1980 ในอีกด้านหนึ่งท่านได้ลงสู่สนาม ข้าพเจ้าถูกถามครั้งแล้วครั้ง ปฏิบัติจริง ดังเช่นท่านพยายามต่อสู้เพื่อให้ เล่า “ท�ำไมถึงเข้ารับอิสลาม?” ปากีสถานเป็นรัฐอิสลามหลังจากได้รับเอกราช ข้าพเจ้าไม่ทราบจะหาค�ำตอบที่ ในปี 1987 อะซัดได้พมิ พ์แผยแผ่หนังสือชือ่ พึงพอใจแบบใดดี เพราะมันไม่ได้ This Law of Ours and Other Essays ซึ่ง มีค�ำสอน ‘เฉพาะ’ อันใดที่ดึงดูด เป็ น การรวมบทความว่ า ด้ ว ยแนวคิ ด ทาง ใจข้าพเจ้า แต่มันคือโครงสร้าง การเมืองและศาสนาที่ท่านได้เขียนในหลายๆปี ของค� ำ สอนทางจริ ย ธรรมและ รวมทั้งหนังสือชื่อ “Answers of Islam”, โปรแกรมการปฏิ บั ติ ข องชี วิ ต “Calling All Muslims” และ “A Vision of ทั้งหมดที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้ Jerusalem” อีกด้วย ห นั ง สื อ ส� ำ คั ญ ที่ ท ่ า น ไ ด ้ เขี ย น เ ป ็ น อย่างน่าอัศจรรย์ อัตชีวประวัติของท่านชื่อว่า the Road to Mecca เป็นหนังสือทีเ่ ล่าเรือ่ งได้อย่างน่าติดตาม และสะท้อนถึงค�ำสอนอิสลาม จึงไม่แปลกที่ หนังสือเล่มเล็กๆแต่ส�ำคัญมากของท่านชื่อ ปัญญาชนผู้เข้ารับอิสลามจ�ำนวนมากในโลก ว่า Islam at the Crossroads หรือ “อิสลาม ตะวันตกก็เนื่องจากแรงผลักดันที่ได้จากเนื้อหา ณ ทางแพร่ง” ได้ตพี มิ พ์ครัง้ แรกในปี 1934 เพือ่ ของหนังสือเล่มนี้ หาทางออกให้กับประชาชาติมุสลิม ในหนังสือ มุฮัมมัด อะซัด เป็นนักคิดมุสลิมร่วมสมัย เล่มนี้ท่านได้กล่าวว่า ที่พรั่งพร้อมด้วยการใช้ภาษาตะวันตก (ท่าน “... ซุนนะฮฺเป็นกุญแจไขความเข้าใจของ สามารถใช้ ภ าษาต่ า งๆทั้ ง ตะวั น ออกและ ความรุ่งโรจน์แห่งอิสลามที่ผ่านพ้นมากว่า 13 ตะวันตกได้เกือบสิบภาษา) มีความรูเ้ รือ่ งไบเบิล ศตวรรษ แล้วด้วยเหตุใดเล่าที่มันจึงไม่ถูกน�ำมา เป็นอย่างดี พร้อมกับความรู้ในประวัติศาสตร์ เป็นกุญแจไขความเข้าใจที่มีต่อความตกต�่ำใน และอารยธรรมของยิ ว องค์ ป ระกอบต่ า งๆ ยุคสมัยของเราในปัจจุบนั ? ค�ำว่าซุนนะฮฺทนี่ ำ� มา เหล่านี้ช่วยท�ำให้อะซัดบรรลุการน�ำสาส์นไปสู่ ใช้ ณ ที่ นี้ นั้ น มี ค วามหมายกว้ า งขวางมาก มุสลิมและผู้ไม่ใช่มุสลิมได้อย่างเท่าเทียมกัน มันหมายถึง แบบอย่างของศาสนทูต ผู้ซึ่งถูกส่ง มุฮัมมัด อะซัด ได้ปลุกความหวังให้เกิดขึ้น มายั ง เรา เป็ น แบบอย่ า งที่ ป รากฏทั้ ง ในการ กับคนหนุ่มสาวในโลกมุสลิม ทั้งในด้านอุดมคติ กระท�ำของท่านและวจนะที่ท่านได้ให้ไว้ ชีวิต และความมุ่งมั่นในการคิดและการใช้เหตุผล อันน่าอัศจรรย์ของท่านเป็นการให้ภาพที่มีชีวิต มุฮมั มัด อะซัด เสียชีวติ ในปี 1992 ด้วยอายุ ชีวา และถือว่าเป็นการอรรถาธิบายอัล-กุรอาน อีกด้วย ฉะนั้น เราจะไม่อาจเข้าถึงความแท้จริง 92 ปี ทีป่ ระเทศสเปน นับเป็นการสูญเสียบุคคล ของอัล-กุรอานได้เลย เว้นแต่เราต้องปฏิบตั ติ าม ส�ำคัญแห่งศตวรรษคนหนึ่งอย่างแท้จริง การเข้ามามีสว่ นร่วมการฟืน้ ฟูอสิ ลามในโลก ท่าน ... ความเป็นผู้น�ำของศาสนทูตของเราได้ โอบล้อมชีวิตทั้งหมด ดังธาตุที่ประกอบขึ้นมา สมัยใหม่ของท่าน ได้แสดงให้เห็นว่า ในด้านหนึง่ ซึ่งเป็นผลรวมทั้งหมดของปรากฏการณ์ที่ลี้ลับ โลกมุสลิมต้องทุกข์ทรมาณกับการรุกรานของ อันถูกแสดงให้ประจักษ์ทั้งในด้านศีลธรรมและ ชนชาติยิวในเขตยึดครองปาเลสไตน์ แต่ในอีก พฤติกรรมต่างๆ ในด้านปัจเจกบุคคลและสังคม ด้านหนึ่งโลกมุสลิมก็กลับได้รับการฟื้นฟูขึ้นมา จากผลงานที่ปฏิเสธไม่ได้ของปัญญาชนชาวยิว นี่คือความหมายอันลึกซึ้งของซุนนะฮฺ” อะซัดได้ใช้ชีวิตในช่วงหลังหมดไปกับการ ที่หันมารับอิสลามหลายท่านที่ได้เข้ามาร่วม ท� ำ งานเพื่ อ กอบกู ้ โ ลกมุ ส ลิ ม จากความตกต�่ ำ กับกลุ่มฟื้นฟูอิสลาม 19


ขยายกองทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กก�ำพร้า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม – 15 กันยายน 2556 คณะกรรมการมูลนิธิ ศรัทธาชนเพื่อการศึกษาและเด็กก�ำพร้า น�ำโดยคุณมนตรี สมานะวณิชย์ คุณอัยยูบ ปิ่นทอง ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวก�ำพร้าในพื้นที่ ภาคใต้ ที่จังหวัด ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ และสตูล ในครั้งนี้นอกจากจะลงพื้น เพื่อเยี่ยมเยียนครัวก�ำพร้าแล้ว ยังได้มีการประสานหาเครือข่ายในแต่ละ จังหวัดเพื่อจะได้ด�ำเนินการช่วยเหลือครอบครัวก�ำพร้าได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ในเบื้องต้น ได้ด�ำเนินการซ่อมแซมบ้านให้กับครอบครัวก�ำพร้าที่ อ.ยะหริง่ จ.ปัตตานี และซ่อมแซมห้องน�ำ้ ให้กบั ครอบครัวก�ำพร้าที่ อ.มายอ จ.ปัตตานี ซึ่งถือว่าเป็นกรณีเร่งด่วน รวมถึงได้มอบเงินและสิ่งของเพื่อ ช่วยเหลือครอบครัวก�ำพร้าทีล่ งพืน้ ทีไ่ ปเยีย่ มในครัง้ นี้ จ�ำนวน 20 ครอบครัว ส�ำหรับพีน่ อ้ งทีท่ ราบข้อมูล ครอบครัวก�ำพร้าทีต่ อ้ งการความช่วยเหลือ สามารถส่งข้อมูลมาได้ที่ ส�ำนักงานมูลนิธิศรัทธาชนฯ 02-9343495 หรือ ที่สายด่วนศรัทธาชน 081-9308713

ความคืบหน้าการก่อสร้างมัสญิดเพชรบุรี สืบเนื่องจากเมื่อเดือนมกราคม ปี 2555 มูลนิธิศรัทธาชนเพื่อการศึกษา และเด็กก�ำพร้า ได้ร่วมกับ คณะกรรมการมัสญิดนัศรุ้ลบารีย์ ต.ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี จัดงานเพือ่ หาทุนก่อสร้างอาคารมัสญิดนัศรุล้ บารีย์ ซึ่งมีงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิน 6 ล้านบาท ความคืบหน้าของการ ก่อสร้าง ร.ต.อ.พรชัย ไวยศิลป์ ประธานมูลนิธิศรัทธาชนเผยว่า “ขณะนี้ มัสญิดได้ด�ำเนินการก่อสร้างแล้ว และยังขาดงบประมาณอยู่ ประมาณ 2 ล้านบาท กว่าจะแล้วเสร็จ จึงขอเชิญชวนชาวมือบน ร่วมบริจาคเพื่อให้ โครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ โดยสามารถติดต่อบริจาคได้ที่ ส�ำนักงานมูลนิธิฯ 02-9343495 หรือที่สายด่วนศรัทธาชน 081-9308713” 20


ภารกิจหน่วยบรรเทาทุกข์ มูลนิธิศรัทธาชน เมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา หน่วยบรรเทาทุกข์มูลนิธิศรัทธาชนฯ ร่วมกับยาตีมทีวี พร้อม ทีมงานอาสา ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พร้อมน�ำถุงยังชีพ ไปช่วยเหลือพี่น้อง ในเบื้องต้น ที่มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม บ้านท่าตูม จ.ปราจีนบุรี พีน่ อ้ งทีต่ อ้ งการร่วมบริจาคสิง่ ของเพือ่ ผูป้ ระสบภัยสามารถติดต่อได้ที่ คุณเราะห์มดั เรืองปราชญ์ 081-8192624

ดาวเทียม THAICOM 5 C-Band ความถี่ 3585 V Symbol Rate : 30000 หรือดูออนไลน์ได้ที่ www.Yateem.tv

ท่ า นคื อ คนส� ำ คั ญ ที่ จ ะร่ ว ม สานฝันให้เด็กก�ำพร้า ร่วมสานฝันโดยบริจาคเงินเข้าบัญชี

ธนาคารกรุงเทพ สาขาลาดพร้าว 99 บัญชีกระแสรายวัน ชือ่ บัญชี มูลนิธศิ รัทธาชน เพือ่ การศึกษาและเด็กก�ำพร้า เลขทีบ่ ญ ั ชี 181-3-09014-7 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขา คลองตัน บัญชีกระแสรายวัน ชือ่ บัญชี มูลนิธิ ศรั ท ธาชน เพื่ อ การศึ ก ษาและเด็ ก ก� ำ พร้ า เลขที่บัญชี 001-6-00162-1 หรื อ ติ ด ต่ อ ส� ำ นั ก งานมู ล นิ ธิ ฯ 48/48 ซ.ลาดพร้ า ว 114 แขวงพลั บ พลา เขต วังทองหลาง กทม. 10310 โทรศัพท์ 02-934-3495 โทรสาร 02934-3496 อีเมล satthachon@hotmail.com เว็บไซต์ www.satthachon.org เฟซบุค www.facebook.com/satthachon 21


22


23


Halal Healthy

สสม. www.muslimthaihealth.com

ผู้ป่วยวัณโรคกับการดูแลตนเอง

สุขสาระฉบับเดือนกันยายน 2556

การรักษาวัณโรคส่วนใหญ่จะต้องให้การรักษาด้วยยา 4 ชนิด พร้อมกัน และต้องรับประทานยาตามแพทย์แนะน�ำนานอย่างน้อย 6 เดือน แต่ถ้าเกิดเป็นเชื้อโรคชนิดที่ดื้อยา อาจจะต้องใช้ยาถึง 6 ชนิด วัณโรคจะต้องใช้เวลาในการรักษาระยะสั้นที่สุด 6 เดือน ยาว ที่สุด 1 - 2 ปี

การปฏิบัติตนส�ำหรับผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคและสิ่งที่ผู้ดูแลต้องเอาใจใส่ เป็นพิเศษ 1.ผู้ป่วยต้องกินยาตามชนิดและขนาดที่แพทย์สั่งอย่างสม�่ำเสมอ จนครบก�ำหนดหลังกินยาไประยะหนึ่ง อาการทั่วๆไปจะดีขึ้น อย่าหยุด กินยาเด็ดขาด 2.ผู้ป่วยต้องงดสิ่งเสพติดทุกชนิด เช่น เหล้า บุหรี่ ฯลฯ 3.ผูป้ ว่ ยและผูด้ แู ลต้องสวมผ้าปิดจมูก หรือหน้ากาก เพือ่ ป้องกันการ แพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นและหมั่นเปลี่ยนผ้าปิดจมูกที่สวม บ่อยๆเพราะ ผ้าปิดจมูกเอง ก็เป็นพาหะได้เช่นกัน 4.บ้วนเสมหะลงในภาชนะ หรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด แล้วน�ำไป ท�ำลายด้วยการเผาหรือต้มน�้ำเดือด 5-10 นาที 5.ในระยะ 2 เดือนแรกหลังจากเริม่ การรักษา ผูป้ ว่ ยควรแยกห้องนอน และนอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ให้แสงแดดส่องถึงและหมั่น น�ำเครื่องนอนออกตากแดด

24

6.ควรแยกส�ำรับ ถ้วยชาม เสื้อผ้า แยกใช้ แยกซัก แยกล้างและ ต้องน�ำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค 7.รับประทานอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ได้ทกุ ชนิด เช่น เนือ้ สัตว์ โดยเฉพาะ เนื้อปลา นม ไข่ ผัก และผลไม้ 8.หลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมก�ำเนิดชนิดรับประทาน เนื่องจากอาจเกิด ปฏิกิริยาระหว่างยาคุมก�ำเนิดกับยารักษาวัณโรค 9.ไม่เที่ยวในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เพราะ อาจน�ำเชื้อไปแพร่ให้ผู้อื่น หรือติดเชื้อโรคจากผู้อื่นเข้าสู่ร่างกายเพิ่มเติม 10.ผู้ป่วยควรนอนกลางวันอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อน�ำโปรตีน จากอาหารเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย 11.ผู้ดูแลควรล้างมือบ่อยๆ การป้องกัน 1.ถ้ามีอาการผิดปกติทนี่ า่ สงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ไอเรือ้ รัง 2 สัปดาห์ ขึ้นไป มีไข้ต่�ำๆโดยเฉพาะตอนบ่ายๆหรือค�่ำๆ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ เบือ่ อาหาร น�ำ้ หนักลด ควรรีบไปรับการตรวจรักษาโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ 2.รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอทาน อาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ 3.ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร 4.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ท�ำให้เกิดโรค เช่น การส�่ำส่อนทางเพศ เพื่อ ป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะท�ำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น 5.ควรตรวจร่างกายโดยการเอกซเรย์ปอดหรือตรวจเสมหะ (AFB) อย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ ถ้าพบว่าเป็นวัณโรคจะได้รบี รักษาก่อนทีจ่ ะลุกลาม มากขึ้น 6.คนที่สัมผัสโรค ผู้อยู่ใกล้ชิดในบ้านเดียวกับผู้ป่วยทุกคน ควรไปให้ แพทย์ตรวจ อาจต้องกินยาป้องกันวัณโรค 7.น�ำเด็ก ๆ ไปฉีดวัคซีน บีซีจี เพื่อเพิ่มความต้านทานของร่างกายต่อ เชื้อวัณโรค อายุที่เหมาะสมที่สุดในการฉีดวัคซีน บีซีจี คือตั้งแต่เด็ก แรกเกิดจนถึง 1 ปี และจะได้รบั การฉีดซ�ำ้ อีก 1 ครัง้ ในช่วงเด็กเข้าโรงเรียน ปีแรก


25


Halal Education

กองบรรณาธิการ

ภาษาอังกฤษส�ำคัญไฉน หากถามว่าท�ำไมเราถึงควรรู้ภาษาอังกฤษ ค�ำตอบคือเพราะการรู้ ภาษาอังกฤษเพียงหนึ่งภาษา คุณสามารถติดต่อสื่อสารผู้คนบนโลกนี้ได้ กว่าพันล้านคนซึง่ ส่วนใหญ่ลว้ นมาจากประเทศยักษ์ใหญ่ทมี่ บี ทบาทส�ำคัญ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และด้านอื่นๆของสังคมโลกใน ยุคปัจจุบันอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาหลักทีค่ นต่างชาติตา่ งภาษานิยมใช้เพือ่ การ สื่อสารระหว่างประเทศกันมากที่สุด จนหลายคนนิยามภาษาอังกฤษว่า เป็นภาษานานาชาติ (International Language) หรือ ภาษาสากล (Global Language) ทุกวันนี้มีประเทศต่างๆกว่า 50 ประเทศทั่วโลกได้ประกาศให้ภาษา อั ง กฤษเป็ น ภาษาราชการ อี ก ทั้ ง องค์ ก รระหว่ า งประเทศ เช่ น สหประชาชาติ ก็ยงั ให้ภาษาอังกฤษเป็น 1 ในภาษาหลักส�ำหรับการสือ่ สาร ด้วย เหตุผลต่างๆที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คือค�ำตอบว่า ท�ำไมคนที่รู้ภาษา อังกฤษจึงหางานได้งา่ ยกว่า มีโอกาสได้งานและเงินเดือนทีด่ กี ว่า มีโอกาส เจริญก้าวหน้าในหน้าทีก่ ารงานได้มากกว่า และเป็นทีต่ อ้ งการขององค์กร ขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ คุณรู้ภาษาอังกฤษ = คุณเข้าถึงผู้คนบนโลกใบนี้ได้กว่า 1พันล้านคน หากคุณรู้ภาษาไทยเพียงภาษาเดียว คุณสามารถติดต่อสื่อสารได้ เฉพาะคนไทยเท่านั้นซึ่งมีอยู่ประมาณ 60 ล้านคน แต่หากคุณรู้ภาษา อังกฤษเพิม่ อีกหนึง่ ภาษา ตอนนีค้ ณ ุ สามารถติดต่อผูค้ นได้ประมาณ 1,100 ล้านคนทั่วโลก ข้อมูลจาก Wikipedia ระบุว่ามีคนประมาณ 380 ล้านคนพูดภาษา อังกฤษเป็นภาษาแม่หรือภาษาแรก (First Language) ส่วนใหญ่อยู่ใน ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ ฯลฯนอกจากนี้ยังมีคนอีกประมาณ 720 ล้านคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็น ภาษาที่สอง (Second Language) ส่วนใหญ่มาจากประเทศที่ใช้ภาษา อั ง กฤษเป็ น ภาษาราชการร่ ว มกั บ ภาษาอื่ น ๆ เช่ น ประเทศอิ น เดี ย แอฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น รวมแล้วคนบนโลกใบนี้สามารถ พูดภาษาอังกฤษได้ประมาณ 1,100 ล้านคน โดยมี 53 ประเทศทั่วโลกใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

ประมาณปี 2020 จะมี ค นเรี ย นภาษาอั ง กฤษทั่ ว โลกเพิ่ ม ขึ้ น ถึ ง 2 พันล้านคน เดวิด แกรดดอล (Davis Graddol) นักภาษาศาสตร์ประยุกต์ ชาวอังกฤษผู้ท�ำงานวิจัยเรื่อง “English Next (2006)” ให้กับ British Council กล่าวถึงแนวโน้มของภาษาอังกฤษว่า นับจากนีไ้ ปจ�ำนวนผูเ้ รียน ภาษาอังกฤษทั่วโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในอีก 10 – 15 ปีข้างหน้า (ประมาณปี 2015 - 2020) จ�ำนวนผู้เรียนจะเพิ่ม สูงสุดถึง 2 พันล้านคน ข้อมูลจากงานวิจัยนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าผู้คน บนโลกนีต้ า่ งตระหนักถึงความส�ำคัญของภาษาอังกฤษในสังคมโลกยุคใหม่ ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาทีน่ ยิ มใช้ในการสือ่ สารระหว่างประเทศ จนถูกขนานนามว่าเป็นภาษาสากล (Global Language) หรือ ภาษา นานาชาติ (International Language) อย่างไม่เป็นทางการ ทุกวันนี้ ภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นภาษาส�ำหรับติดต่อเฉพาะกับชาวอเมริกัน หรือ ชาวอังกฤษ หรือชาติที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษเพียงกลุ่มเดียวอีกต่อไป แล้ว แต่เป็นภาษาที่น�ำมาใช้สื่อสารกับคนทั่วโลกที่ไม่ได้มาจากประเทศ ที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษอีกด้วย นอกจากนี้ภาษาอังกฤษยังมีบทบาท ส�ำคัญในทุกส่วนของโลก องค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ สหภาพยุโรป ธนาคารโลก ฯลฯ ใช้ภาษาอังกฤษเป็น 1 ในภาษาหลัก ส�ำหรับการสื่อสาร ในปี 2002 มีการส�ำรวจและพบว่าในโลกอินเตอร์เนตมีเว็บเพจ (web pages) ประมาณ 2,000 ล้านหน้า เมื่อมีการส�ำรวจต่อไปก็พบว่า ข้อมูลข่าวสารในเว็บเพจจ�ำนวนดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษมาก ที่สุด กล่าวคือประมาณ 1,100 ล้านหน้าหรือคิดเป็นร้อยละ 56 ในปี 1997 มีการส�ำรวจพบว่าบทความทางวิทยาศาสตร์เกือบทัง้ หมด หรือประมาณร้อยละ 95 เป็นภาษาอังกฤษ โดยในจ�ำนวนนี้ครึ่งหนึ่งหรือ ร้ อ ยละ 50 เป็ น บทความที่ ม าจากประเทศที่ ใช้ ภ าษาอั ง กฤษ เช่ น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ

26

และเท่ า นี้ ก็ เ พี ย งพอแล้ ว ที่ เ ราจะเริ่ ม เรี ย นภาษา อังกฤษตั้งแต่วันนี้ สนับสนุนข้อมูลดีๆโดย Thai Halal Education ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาภาษา อังกฤษและเรียนต่อต่างประเทศ 087-559-0361


27


28


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.