ฟรี!
ปีที่ 4 ฉบับที่ 26 มกราคม 2557
Editor’s note
Halal Life Magazine
Halal Life ก้าวเข้าสู่ปีที่สี่แบบเงียบๆแต่ไม่งุ่มง่ามท่ามกลางเสียงอึกทึกของมวลมหานกหวีด ในวันที่รอยร้าวในสังคมไทยถูกถ่างออกอีกครั้ง โดยไม่รอให้มวลมหาผู้อ่านและสมาชิกต้องเรียกร้องหรือก่อหวอดตั้งม๊อบ เราขอเสนอปฏิรูป ตัวเองในฉบับแรกของปีนี้ด้วยการเปลี่ยนขนาดให้เหมาะมือและปรับดีไซน์ให้เข้ายุคเข้าสมัย แถม ด้วยการเพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหาเพื่ออรรถรสในการอ่านที่มากขึ้น นอกเหนือไปจากการปฏิรูปนิตยสารแล้ว เรายังมีแผนจะใกล้ชิดมวลมหาผู้อ่านมากขึ้น ด้วย การน�ำเสนอเนื้อหาในสไตล์ Halal Life กันแบบรายวัน ผ่านทางเว็บไซต์ HalalLifeMag.com ที่ จะขนเนื้อหาและคอลัมนิสต์มุสลิมทั่วฟ้าเมืองไทยมาบ�ำรุงสมองกันอย่างเต็มอิ่ม ยังครับ ยังไม่หมด เพื่อตอกย�้ำความใส่ใจกับมวลมหาผู้อ่าน เราไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ สองสาม ฉบับที่ผ่านมาหลายคนอาจผ่านตาไปบ้างแล้วกับสินค้าจากร้าน Halal Style และ Halal Book Store สองร้านค้าออนไลน์ในเครือของ Halal Life ที่เตรียมขนส่วนลดและสิทธิพิเศษมากมายมา น�ำเสนอแด่มวลมหาสมาชิก มวลมหาผู้อ่านท่านใดยังไม่ได้สมัครสามารถถามไถ่กันมาได้ครับ และไหนๆก็ว่ากันด้วยเรื่องการปฏิรูปแล้ว Halal Life ฉบับแรกของปีนี้จึงอยากชวนผู้อ่านไป ส�ำรวจตรวจตราปัญหาในสังคมมุสลิมไทย จากอดีต ปัจจุบัน ยันอนาคต ผ่านมุมมองของหลาก หลายมุสลิมที่ทั้งเฝ้ามอง ขับเคลื่อน และเป็นตัวแทนของสังคมมุสลิมในอนาคต ว่าถึงที่สุดแล้วเรา มีปัญหาอะไร และเราจะก้าวข้ามปัญหาเหล่านั้นไปด้วยกันได้อย่างไร ซึ่งน้อยครั้งนักที่เราจะหันมา ส�ำรวจตัวเองเช่นนี้ จริงอยู่ ทีท่ ศั นะและมุมมองของมุสลิมเพียง 7 คนทีเ่ ราน�ำเสนออาจไม่ใช่ความเห็นของมวลมหา ประชามุสลิม และอาจไม่ใช่ขอ้ สรุปของปัญหาทีซ่ บั ซ้อนและสะสมฝังรากลึกในสังคมมุสลิมไทย แต่ บางทีทัศนะของทั้ง 7 คนนี้อาจช่วยกระตุ้นต่อมรับรู้ปัญหาของเหล่ามวลมหาประชามุสลิมให้เห็น ความส�ำคัญและลุกขึ้นมาปฏิรูปตัวเองและสังคมก็เป็นได้ “แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลง สภาพของพวกเขา และเมื่ออัลลอฮฺทรงปรารถนาความทุกข์แก่ชนกลุ่มใดแล้ว ก็จะไม่มีผู้ตอบโต้ พระองค์” (อัรเราะอฺดุ อายะฮฺที่ 11)
ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด กฤษดา เรสลี บรรณาธิการบริหาร วิทยากร อิสมาแอล กองบรรณาธิการ ธนพัฒน์ อิสมาแอล, กอมารียะห์ สุเรรัตน์ คอลัมนิสต์ สุภาพ เรืองปราชญ์, สมคิด ลีวัน, อีซา นิยม, สมชาติ มิตรอารีย์, ปรีชา เริงสมุทร์, Ummah Islam ศิลปกรรม อรดา โต๊ะมางี ผู้จัดการฝ่ายผลิต วิลาสินี กันซัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ชัยรัตน์ เกิดอยู่ ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา สาโรช เรืองปราชญ์ ธุรการ ษมากร ริสมัน ติดต่อโฆษณา 081-699-5656,086-890-6055 082-546-9431 Website www.halallifemag.com Email halal.life.mag@gmail.com Facebook fb.com/halal.life.magazine เจ้าของ บริษัท ปลูกฝัน จ�ำกัด เลขที่ 336/18 ซ.ราษฎร์อุทิศ 52 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510
วิทยากร อิสมาแอล บรรณาธิการบริหาร halal.life.mag@gmail.com
9
12
Mumkin เป็นค�ำในภาษาอาหรับที่เขียน ด้วยภาษาอังกฤษและแปลเป็นภาษาไทยว่า จินตนาการที่เป็นได้ แต่หากอ่านแบบไทยๆว่า มุมกิน จึงเป็นชื่อที่เหมาะเจาะมากส�ำหรับร้าน อาหารและเครื่องดื่มขนาดกระทัดรัดที่ซ่อนตัว อยู่ย่านรามค�ำแหงร้านนี้
ท่ามกลางเสียกอึกทึกครึกโครมของการ เรียกร้องให้ปฏิรูปประเทศไทยของเหล่ามวล มหานกหวีด เราจึงอยากเกาะกระแสปฎิรูปกับ เขาบ้าง แต่ขอส่องกล้องไปที่สังคมมุสลิมใน ประเทศไทย ด้วยการชวนมุสลิม 7 คนมาร่วม ส�ำรวจตรวจสอบตัวเองว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่ เราต้อง ปฏิรูป ตัวเอง
6 เราต่างก็รกู้ นั ดีวา่ ซาอุดอิ าระเบียเป็นเศรษฐี น�้ำมัน แต่จากปริมาณการใช้น�้ำมันกันอย่างบ้า คลัง่ ของสังคมโลกในยุคทุนนิยมท�ำให้หลายฝ่าย หวัน่ เกรงว่าน�ำ้ มันทีอ่ ยูล่ กึ ลงไปใต้ผนื ดินจะหมด ลงในเร็ววัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ซาอุดิอาระเบียจึงไม่ รอช้า หันไปเตรียมพร้อมกับพลังทางเลือก
4
เมือ่ โจทย์อยูท่ กี่ ารส�ำรวจตรวจตราปัญหาต่างๆในสังคมมุสลิม ไทย เพื่อกระตุ้นต่อมรับรู้ปัญหาว่าอาจถึงเวลาแล้วที่เราต้อง เปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ในห้วงเวลาเช่นนี้ เราจึงไม่อาจนึกถึง ค�ำไหนไปได้นอกจากค�ำว่า “ปฏิรูป” และ “มวลมหาประชาชน” หน้าปก Halal Life ฉบับนี้จึงออกมาเป็นเช่นนี้แล ฉบับที่ 26 มกราคม 2557
แบบฟอร์มสมัครสมาชิก นิตยสารฮาลาลไลฟ์
หมดปัญหา หยิบไม่ทัน หาไม่เจอ
สมั ค รสมาชิ ก แน่นอนกว่า
ข้าพเจ้า นาย นาง นางสาว...................................................................................... อายุ .................. ปี ที่อยู่ ....................................................................................................................................................... รหัสไปรษณีย์ ........................ โทรศัพท์ ................................. อีเมล์ ................................................... การศึกษา อาชีพ
มัธยมศึกษา ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป อื่นๆ พนักงานบริษัท รับราชการ,รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจส่วนตัว นักเรียน, นักศึกษา อื่นๆ
มีความประสงค์จะสมัครสมาชิกนิตยสารฮาลาลไลฟ์ สมาชิก 1 ปี 12 ฉบับ 300 บาท เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................ สมาชิกอุปถัมภ์ 1 ปี 12 ฉบับ 300 บาท เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................ ให้กับห้องสมุด/มัสยิด............................................................................................................................. ที่อยู่ ....................................................................................................................................................... ................................................................................................. รหัสไปรษณีย์ ...................................... วิธีช�ำระค่าสมาชิก โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท ปลูกฝัน จ�ำกัด
ธนาคารไทยพานิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) สาขาเทสโก้โลตัส ทาวน์อินทาวน์ เลขที่บัญชี 404-051345-7
(ถ่ายเอกสารได้) 5
หยิบ
ได้ที่นี่
ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ห้องอาหารโซเฟีย (คลองตัน) ร้านอาหารฟาฮาน่า (พระรามเก้า) สวนอาหารจันทร์เสี้ยว (มอเตอร์เวย์) ภัตตาคารสินธรสเต็กเฮ้าส์ (รามค�ำแหง) ร้านริสกี (ทาวน์อินทาวน์) โคบัง (รามค�ำแหง-สุขาฯ 3) Istanbul @ Market Walk (ราชพฤกษ์) ร้านอาหารอีสานฝั่งธน (อรุณอัมรินทร์) ห้องอาหารนางพญา (พญาไท) เมี่ยงปลาเผาหลังราม สาขาพระรามเก้า ร้านฮาลาลโฮม ซ.เทคโนบางกะปิ (บางกะปิ) ร้านฟารีดาโภชนา (เหม่งจ๋าย) ร้านดีโอโรตีโอ่ง (สุขาภิบาล 3) อะลาดิน ซูชิ (เหม่งจ๋าย) ร้านครัวบิสมิลลาห์ (หนองจอก) I COFFEE / I YAKI (รามค�ำแหง 53) ร้านครัวมุสลิม (ทาวน์อินทาวน์) ร้านมุมกิน (รามค�ำแหง 53) ร้านหนังสือ ศูนย์หนังสืออิสลาม (ศูนย์กลางอิสลาม คลองตัน) ศูนย์หนังสือมานพวงศ์เสงี่ยม (พระรามเก้า) ร้านหนังสือส.วงศ์เสงี่ยม (มหานาค) Halal Express (หนองจอก) ร้านอารีฟ เซ็นเตอร์ (มัสยิดสวนพลู) โรงพยาบาล รพ.ปิยเวช, รพ.กรุงเทพ, รพ.เสรีรักษ์, รพ.นวมินทร์, รพ.เวชธานี, รพ.บ�ำรุงราษฎร์ ธุรกิจบริการและโรงแรม รีสอร์ท บางพลัด โรงแรมนิวเวิลด์ (บางล�ำพู) โรงแรมรีเจ้นท์ (รามค�ำแหง) โรงแรมชาลีนา (รามค�ำแหง) โรงแรมนูโว ซิตี้ (บางล�ำพู) มุสลิมโฮม 2 (รามค�ำแหง) ธนาคารและสหกรณ์ เคาท์เตอร์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา สหกรณ์อิสลามสันติชน เครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้ ต่างจังหวัด ร้านอาหารบิสมิลลาฮ์ (เชียงใหม่) ร้านอาหารบิสมิลลาฮ์ (แม่สาย) ร้านฟาด้า สเต๊กแอนด์คอฟฟี่ (อยุธยา) ร้านอาหารอิสลามดาวุดชา (กาญจนบุรี) ร้านมุนาซีร กาแฟสด&เค้ก พัทยา (ชลบุรี) ร้านอาหารชุกรี่ ปั๊ม PT (สุราษฎร์ธานี) ห้องอาหารคุณสาหร่าย (ชุมพร) ร้านอาหารคุ้มราชา ควนโดน (สตูล) SAMI KITCHEN หาดใหญ่ (สงขลา) ร้านบากุส (ปัตตานี) ร้านอาหารอาบูคอลี (ยะลา) ร้านกีตาบบุ๊กเฮาส์ (ยะลา) Halal Minimart (สตูล) ร้านบังฝรั่ง (สงขลา) โรงแรมปายอินทาวน์ (แม่ฮ่องสอน) ร้านสเต๊กครูตา (อยุธยา)
Global
กอมารียะห์ อิสมาแอล - haboohoohoo@gmail.com
ซาอุดิอาระเบียเตรียมส่งออก พลังงานแสงอาทิตย์
สาวน้อยชาวคริสเตียนหลง รักการคลุมฮิญาบ
นักวิชาการอินโดฯ เรียกร้อง ยารักษาโรคที่ฮาลาล
ผูเ้ ชีย่ วชาญในประเทศ ซาอุฯ ต่าง เห็นพ้องต้องกันว่า ซาอุฯ เป็นประเทศ ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เหมาะสม ที่ จ ะเป็ น แหล่ ง ผลิ ต พลั ง งานจาก แสงอาทิ ต ย์ ที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ในโลกทั้ ง นี้ อุตสาหกรรมนี้จะต้องมีการพัฒนาใน เชิงพาณิชย์ ปัจจุบันธุรกิจการผลิตพลังงาน แสงอาทิตย์ในประเทศสวิสเซอแลนด์ เริม่ ถดถอยลงมากอันเนือ่ งมาจากแรง กดดันจากบริษทั น�ำ้ มันปิโตรเลียม ซึง่ เป็นการสร้างโอกาสให้กับประเทศใน แถบคาบสมุทรอาระเบีย ที่มีชัยภูมิ ที่เหมาะสมในการผลิตพลังงานแสง อาทิตย์ซึ่งถือเป็นพลังงานที่สะอาด Osama Al-Felali ศาสตราจารย์ทาง ด้านพลังงานแห่ง มหาวิทยาลัย King Abdulaziz กล่าวว่า หากอุตสาหกรรม นีก้ า้ วสูร่ ะดับพาณิชย์แล้ว จะสามารถ ผลิ ต พลั ง งานขึ้ น มาป้ อ นให้ กั บ ประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศได้ โดยคาดการณ์ ว ่ า ภายในปี 2015 ซาอุดิอารเบียจะเป็นผู้น�ำในการผลิต และส่งออกพลังงานแสงอาทิตย์ ราย ใหญ่ที่สุดของโลก ที่มา : IINA ภาพ : zawya.com
Spencer Wall สาวน้อยชาว คริ ส เตี ย นจาก เทกซั ส วั ย 20 ปี ตัดสินใจที่จะแต่งกายตามแบบอย่าง มุสลิมะห์เป็นเวลา 1 ปี เพราะเธอ ต้องการรู้ว่าการใช้ชีวิตอย่างชนส่วน น้อยนั้นเป็นเช่นไร ไม่เพียงแค่การ แต่งกายเท่านัน้ เธอยังงดดืม่ เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอลล์ และงดทานสุ ก ร พยายามไม่สงุ สิงกับเพศตรงข้าม และ วางตัวสงบเสงีย่ ม เธอบอกว่า ทัง้ หมด นี้ไม่ได้พยายามที่จะแสดงความเป็น ผูห้ ญิงมุสลิม แต่เธอแค่อยากจะทราบ ว่ า การเป็ น ผู ้ ห ญิ ง มุ ส ลิ ม นั้ น เป็ น อย่างไร และยืนยันว่า การตัดสินใจ ของเธอในครั้งนี้ไม่ได้เป็นการทดลอง ทางสังคม แต่เป็นการหาประสบการณ์ เพื่อการเรียนรู้ของเธอเอง เมื่อมีคน เห็นเธอแต่งกายแบบนีแ้ ละถามเธอว่า เธอมาจากไหน เธอก็จะตอบว่า “ฉัน ไม่ใช่มุสลิม แต่ฉันเลือกที่จะแต่งกาย แบบนี้เอง”
นักวิชาการของอินโดนีเซีย เรียก ร้องให้ใช้หลักการฮาลาลในการผลิต ยาและวัคซีนชนิดต่างๆ โดยให้มฉี ลาก และการรั บ รองที่ ชั ด เจนส� ำ หรั บ ชาวมุสลิมด้วย Marouf Amin ประธานสภา อุลามาอฺแห่งอินโดนีเซีย (MUI) กล่าว ว่า เวชภัณฑ์และยารักษาโรคต่างๆ ก็ไม่แตกต่างจากอาหารทีร่ บั ประทาน หากเราต้องบริโภคก็จ�ำเป็นต้องเป็น สิ่งที่ฮาลาล โดยเขาระบุว่ารัฐบาลจะ ต้องปกป้องประชากรมุสลิมของตนไม่ ให้ไปบริโภค ยา หรือวัคซีนที่ ฮะรอม เพราะการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ฮาลาล เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการศรั ท ธาของ ชาวมุสลิม ปั ญ หาเรื่ อ งฮาลาล ฮะรอมใน อินโดนีเซียจ�ำเป็นต้องมีการออกกฏ หมายมาควบคุม เพราะอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีมุสลิมมากถึง 86.1% ของประชากร 235 ล้านคน นอกจาก อาหารที่ ต ้ อ งมี ต ราฮาลาลแล้ ว ยา รักษาโรคก็ต้องมีความชัดเจนในเรื่อง นี้ด้วย ที่มา : IINA ภาพ : onislam.net
ที่มา : IslamNewsRoom.com ภาพ : axisoflogic.com
6
เรื่องที่ไม่ควรเกิดในสนามของ ทีมเวสแฮมยูไนเต็ด
ประธานาธิบดีอินโดเรียกร้อง สื่อมุสลิมกู้ภาพลักษณ์
เอมิเรตส์ออกแคมเปญคุตบะฮ์ 5 ภาษา รวมถึงภาษามือ
เหตุ ก ารณ์ เ กิ ด ขึ้ น ที่ ส นามโบลี น กราวนด์ของสโมสรเวสต์แฮม ยูไนเต็ด ซึ่ ง เป็ น สโมสรชั้ น น� ำ ของพรี เ มี ย ร์ ลี ก อังกฤษ เมื่อกลุ่มแฟนบอลชาวมุสลิม ได้ ร ่ ว มกั น ท� ำ การละหมาดมั ก ริ บ ระหว่างช่วงพักครึ่งในเกมที่เวสต์แฮม พบกับแมนแชสเตอร์ซิตี้ แต่แล้วก็ต้อง เผชิ ญ กั บ การเหยี ย ดหยามจากกลุ ่ ม แฟนบอลของเวสต์แฮม อีกทั้งยังได้ท�ำ การโพสต์คลิปลงในเฟสบุ๊คแฟนเพจ West Hams supporters โดยในคลิป เป็นภาพแฟนบอลคนหนึง่ ก�ำลังตะโกน ด่ า กลุ ่ ม แฟนบอลชาวมุ ส ลิ ม ที่ ก� ำ ลั ง ละหมาด ด้ า นโฆษกของสโมสรเวสต์ แ ฮม ยูไนเต็ดได้ออกมาประณามเหตุการณ์ ดังกล่าว โดยบอกว่าการกระท�ำดังกล่าว เป็นเรือ่ งยากเกินจะรับได้ และยังก�ำชับ ไปยังแฟนบอลมุสลิมทีต่ กเป็นเหยือ่ การ เหยียดหยามในวันนั้นว่า ทางสโมสร พร้อมที่จะจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นอย่างเต็มที่ ที่มา : MuslimNews.co.uk ภาพ : express.co.uk
ในการประชุมสือ่ มุสลิมนานาชาติ ซึ่งจัดโดย Makkah-based Muslim World League (MWL) ร่ ว มกั บ กระทรวงศาสนาของประเทศ อินโดนีเซีย และสื่อมุสลิมนานาชาติ น า ย ซู ซี โ ล บั ม บั ง ยู โ ด โ ย โ น ประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้เรียกร้อง ให้สื่อมุสลิมทั่วโลก ออกมาตอบโต้ แคมเปญต่างๆ ทีส่ ร้างความเสือ่ มเสีย ให้กับโลกอิสลามและภาพพจน์ของ ชาวมุสลิม นายซูซโี ล ยังเน้นย�ำ้ ว่า เป็น ความรับผิดชอบโดยตรงของสือ่ มุสลิม ทีต่ อ้ งร่วมกันสร้างภาพลักษณ์ทดี่ ขี อง อิสลามให้กลับคืนมา ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ ง ความอดทน ความเห็นอกเห็นใจกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หั ว ข้ อ หลั ก ของการประชุ ม ใน ครัง้ นี้ คือ “สือ่ กับความรับผิดชอบต่อ สังคม” นอกจากนี้ยังได้มีการพูดถึง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสื่ อ กั บ สั ง คม มุ ส ลิ ม และสื่ อ กั บ ชนกลุ ่ ม น้ อ ย มุสลิม โดยในการประชุมที่จัดขึ้นที่ อินโดนีเซียในครั้งนี้มีสื่อมวลชนและ ผูเ้ กีย่ วข้องจากประเทศมุสลิมเข้าร่วม การประชุม กว่า 53 ประเทศ
รัฐชาร์จาห์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 รัฐ ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต ได้ ออกแคมเปญเชิญชวนมัสยิดให้มีการ ใช้ภาษาถึง 5 ภาษารวมถึงภาษามือ ด้วยในการคุตบะห์วันศุกร์ เพื่อช่วย อ� ำ นวยความสะดวกให้ มุ ส ลิ ม ที่ ไ ม่ เข้าใจภาษาอาหรับตลอดจนมุสลิม ที่ พิ ก ารทางหู สามารถเข้ า ใจการ คุตบะห์ที่มีขึ้น โดยแคมเปญนี้ มี มั ส ยิ ด เข้ า ร่ ว ม แล้ว 48 แห่ง จากเป้าหมายที่ 1,000 แห่ง ส่วนภาษาทีใ่ ช้นนั้ ก็มภี าษา อุรดู, ปุชตุน, มาลายาลัม, ทมิฬ, และภาษา อังกฤษ Sheikh Saqr bin Mohammed Al Qassimi หัวหน้าฝ่ายกิจการ อิสลามแห่งรัฐชาร์จาห์ เปิดเผยว่า แนวคิ ด นี้ ไ ด้ ม าจากมั ส ยิ ด ในกรุ ง มอสโคว์ ที่มีการอ่านอัลกุรอานแล้ว แปลเป็นภาษามือให้กับผู้พิการทางหู ได้ เข้ า ใจ จนต่ อ มาสมาคมมุ ส ลิ ม ผู ้ พิการทางหูสากล ก็ได้ออกแคมเปญ แปลอัลกุรอานเป็นภาษามือซึ่งจัดขึ้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่มา : IINA ภาพ : wikimedia.org 7
ที่มา : IINA ภาพ : มัสยิดอัลนูร ในชาร์จาห์
Recommend กองบรรณาธิการ
APPS : Solat Where
BOOK : ประชาชาติที่ถูกท�ำลาย
ทุกวันนีเ้ วลาจะเดินทางไปไหนเราคงไม่ตอ้ งกังวลเรือ่ งหาสถาน ที่ละหมาดกันแล้วล่ะคะ เพียงคุณมีแอพพลิเคชั่นนี้ติดไว้ในมือถือ เรื่องหาสถานที่ละหมาดก็ง่ายนิดเดียว ละหมาดที่ไหน (Solat Where) เป็นแอพพลิเคชั่น ที่ใช้ในการ ค้นหาสถานที่ละหมาด ไม่ว่าจะเป็นมัสยิด ห้องละหมาดในห้าง สรรพสินค้า หรือร้านอาหาร โดยโปรแกรมสามารถค้นหาทีล่ ะหมาด รอบตัวคุณได้ พร้อมบอกเส้นทางและน�ำทางให้คณ ุ ได้ทนั ที แถมยัง บอกเวลาละหมาด บอกกิบลัต และยังสามารถบันทึกสถานที่ ละหมาดที่เราถูกใจไว้ในรายชื่อที่ชื่นชอบได้อีกด้วย แบบนี้ชีวิต ฮาลาลสะดวกขึน้ เยอะเลยละคะ แอพพลิเคชัน่ นีพ้ ฒ ั นาโดยคนไทย เราเองค่ะ เพิ่งจะเปิดตัวได้ไม่นานแต่ก็เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่ม ข้อมูลสถานทีล่ ะหมาดได้ดว้ ยตัวเอง สนใจสามารถหาโหลดมาใช้ได้ ที่ Play store เลยค่ะ
“ประชาชาติที่ถูกท�ำลาย” เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของ ประชาชาติต่างๆ ผ่านงานวิจัยของ ฮารูน ยะยา นักวิชาการที่ พยายามชีใ้ ห้โลกวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ กลับมามองถึงความชัดเจน ของอัลกุรอาน ที่ได้กล่าวถึงประชาชาติต่างๆ ที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน เรา ไม่ว่าจะเป็น ฟาโรต์แห่งอียิปต์ ชาวอ๊าดและษะมูต อีกทั้งยังชี้ ให้เห็นสาเหตุที่น�ำพาประชาชาติเหล่านี้ไปสู่ความหายนะ ประชาชาติทถี่ กู ท�ำลาย เป็นผลงานเขียนของ ฮารูน ยะยา แปล โดย ซากี เริงสมุทร์ และกอมารียะห์ อิสมาแอล จัดพิมพ์โดย ศูนย์ หนังสืออิสลาม กรุงเทพฯ ข้อมูลเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่ www.facebook.com/HalalBookStore
CLIP : หยุดตัดสินผู้อื่น
EVENT : มุสลิมล้านนา
บางครั้งคนเราอาจมองบางสิ่งพลาดหรือหลงลืมกับบางเรื่อง บางทีคนเราอาจปักใจเชือ่ บางอย่างว่าถูกต้อง จนหลงลืมไปว่าสิง่ ที่ เรายังไม่รู้ ยังไม่เชื่อ ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมือนกัน เราไม่ได้รู้ทุกสิ่ง ทุกอย่างบนโลกใบนี้ จนสามารถที่จะตัดสินผิดถูก หรือแบ่งแยก ขาว ด�ำได้ชัดเจน และนี่คือ เหตุผลที่เราไม่ควรพิพากษากัน เป็น สาระส�ำคัญของคลิปวิดีโอที่เราอยากแนะน�ำให้หาชมกันค่ะ อิสลามสอนเราเรื่องการอ่อนน้อม การถ่อมตน เพราะทั้งสอง สิง่ นีค้ อื สิง่ ทีจ่ ะท�ำให้เราได้ใกล้ชดิ กับพระผูเ้ ป็นเจ้าของเรา สามารถ เข้าไปดูคลิปนีไ้ ด้ที่ fb.com/photo.php?v=180673985467641 หรือจะหาดู Clip อื่นๆที่น่าสนใจได้ที่ facebook.com/MuslimClip
เตรียมพบกับงาน มุสลิมล้านนา งานที่รวบรวมสินค้าฮาลาล จากทางเหนือของประเทศมารวมไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ประจ�ำภาคอย่าง น�ำ้ พริกหนุม่ น�ำ้ พริกอ่อง ข้าวซอย หมัน่ โถว ไส้อว่ั ขนมจีนน�้ำเงี้ยว หรือจะเป็นของฝากจากทางเหนือ ข้าวซอยตัด ผลไม้อบแห้ง ก็สามารถหาซื้อกันได้ที่งานนี้ รายได้จากการจัดงาน ในครั้ ง นี้ เ พื่ อ เป็ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยในกิ จ การของโรงเรี ย นจิ ต ต์ ภั ก ดี (อัตตักวา) จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 25-27 มกราคม 2557 จัดที่ มูลนิธิ เพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย (คลองตัน) ถ.รามค�ำแหง กรุ ง เทพมหานคร รายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ดู ไ ด้ ที่ www.muslimthaipost.com 8
Halal Tasty อัสมา กันซัน
Mumkin Kafe
9
จะเป็นเพราะเราอยู่ใกล้ร้านอาหาร หรือจะเป็นเพราะเราเอาตัวไปอยู่ในที่ๆมีร้าน อาหารเยอะก็ ไ ม่ รู ้ วั น นี้มีร้านอาหารแถบหน้ารามมาน�ำเสนออี ก แล้ ว ค่ ะ ที่ ซ อย รามค�ำแหง 53 กับร้านที่มีชื่อว่า Mumkin Kafe แวบแรกที่ได้ยินชื่อร้าน เราเองก็ต่างนึกความหมายกันไปว่า หมายถึงอะไร จริงๆ ชือ่ ร้านนีเ้ ป็นภาษาอาหรับค่ะ มีความหมาย ตามสโลแกนร้านที่วา่ จินตนาการทีเ่ ป็นไป ได้ พ้องเสียงกับค�ำในภาษาไทยที่ให้ความหมายว่ามุมที่มีของอร่อยๆให้กิน ช่างลงตัว จริงๆ บรรยากาศในร้าน ให้อารมณ์ของสวนหลังบ้าน ดูอบอุ่น เป็นกันเอง เหมาะส�ำหรับ การหลีกหนีความวุน่ วายมานัง่ จิบชา ทานเค้ก ด้วยอารมณ์สบายๆ เป็นอย่างมาก แต่ละ เมนูทนี่ ี่ ผ่านการเลือกสรรมาอย่างดี ทัง้ วัตถุดบิ ทีส่ ดใหม่ การปรุงทีม่ คี วามพิถพี ถิ นั ท�ำให้ สเต็กแต่ละจานออกมาอร่อยสมค�ำเล่าลือ เพราะสเต็กแต่ละชิ้นผ่านการหมักข้ามคืน เลยทีเดียว ของหวานก็มีให้เลือกกันหลากหลายเมนู ดูกันละลานตา ทีเด็ดอยู่ที่เค้กมะพร้าว อ่อน หอมนุ่มชุ่มลิ้น ยิ่งได้ทานคู่กับเครื่องดื่มอร่อยๆแล้วละก็....แค่นึกถึงก็มีความสุข ^^ ถ้ามีโอกาสแวะไปกันให้ได้นะคะ ที่... ممكنมุมกิน Mumkin Kafe ^^ 9
ชื่อร้าน สถานที่ตั้ง เจ้าของกิจการ เวลาเปิด-ปิด เมนูแนะน�ำ
ติดต่อ
Mumkin Kafe ซอยรามค�ำแหง 53 อ.อัชอะรีย์ เรืองปราชญ์ 13.00 – 21.30 น. สเต็ก, ชาเขียว, เค้กมะพร้าวอ่อน, เบเกอรี่, เครื่องดื่ม ร้อน-เย็น, ไอศครีม 081-6130011
The Report มูลนิธิสยามกัมมาจล
9ปีฝันร้าย...จากคลื่นยักษ์
เหตุการณ์วันมหาวิปโยคที่ไม่มีใครคาดฝัน ช่วงสายๆ ของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หายนะครั้งยิ่งใหญ่ของการสูญเสีย พลัดพรากจาก คนที่รัก แม้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่สิ่งที่ทิ้งไว้อย่างยาวนานคือความ โศกเศร้าและคราบน�้ำตา 9 ปีที่แล้วชุมชนบ้านหาดยาว – เจ้าไหม หมู่ที่ 6 ต�ำบลเกาะลิบง อ�ำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ชุมชนที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลอันดามัน อยูบ่ ริเวณร่องของปากอ่าว หลังจากคลืน่ ยักษ์ได้ทำ� ลายทุกสิง่ หลายคน หวาดกลัว ทิ้งบ้าน ทิ้งทะเล ทิ้งอาชีพ ย้ายไปอยู่ที่อื่น 9 ปีกับฝันร้าย ที่ผ่านไป ชุมชนบ้านหาดยาว – เจ้าไหมได้เรียกรอยยิ้มเสียงหัวเราะ กลับมาอีกครั้ง นางหย๊ะ หมาดตุด หรือ “จ๊ะเลียะ” ประธาน กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านหาดยาว-เจ้าไหม อ�ำเภอ กันตัง จังหวัดตรัง เล่าว่า แต่กอ่ นในชุมชนผูห้ ญิง เป็นแม่บา้ นเพียงอย่างเดียว ไม่มอี าชีพ ไม่มรี าย ได้ ขณะที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วน ผู้ชายมีหน้าที่ออกเรือหาปลา แต่การท�ำประมง ก็ถกู กดราคา ปลาทีห่ ามาได้นอกเหนือจากปลา เศรษฐกิจที่ติดอวนมาแล้วขายไม่ได้ราคา ปลา ตั ว เล็ ก ตั ว น้ อ ยที่ ติ ด อวนมาถู ก ทิ้ ง ขว้ า งอย่ า ง น่าเสียดาย ขาดการน�ำไปใช้ประโยชน์ บวกกับ การที่กลุ่มผู้หญิงจ�ำนวนมากว่างงาน ใช้เวลาที่ มี อ ยู ่ ห มดไปกั บ การนั่ ง รอผู ้ น� ำ ครอบครั ว ที่ ออกเรือไปหาปลา จึงจุดประกายความคิดให้ จ๊ะเลียะคิดหาวิธีสร้างอาชีพและรายได้ให้เหล่า แม่บ้านในชุมชน “หลังเหตุการณ์สนึ ามิผา่ นไป บ้านหาดยาวเจ้ า ไหมกลายเป็ น สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว มี นั ก ท่องเที่ยวเข้าออกไม่ต�่ำกว่าวันละ 100 คน ปี 2555 จึงชักชวนผู้หญิงในชุมชนตั้ง กลุ่ม พั ฒ นาอาชี พ บ้ า นหาดยาว-เจ้ า ไหม ผลิ ต ผ้ า บาติก จักสาน อาหารทะเลแปรรูปและกะปิ ซึ่งที่ผ่านมาก็ขายได้ดี แต่ติดปัญหาอยู่ที่ต่างคน ต่างขาย ขาดการบริหารจัดการที่ดีเท่านั้น” ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงร่วมมือกับ มูลนิธสิ ยามกัมมาจล ธนาคารไทย พาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) จัดท�ำ “โครงการเสริม สร้ า งชุ ม ชนบริ ห ารจั ด การตั ว เองในพื้ น ที่ ประสบภั ย สึ น ามิ ” โดยมุ ่ ง หวั ง ที่ จ ะเข้ า มา สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ ประสบภัยสึนามิให้กลายเป็นชุมชนที่สามารถ บริหารจัดการตัวเองเพื่อคลี่คลายปัญหาหรือ
อุปสรรคที่ก�ำลังเผชิญอยู่ และพัฒนาไปสู่การ เป็นชุมชนต้นแบบเพื่อขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ปลาเค็ม – ปลาหวาน จึงถูกน�ำกลับมาสร้าง คุณค่าและประโยชน์ให้กบั ครอบครัวและชุมชน บ้านหาดยาว-เจ้าไหมอีกครั้ง ภายใต้ โครงการ การพัฒนากระบวนการแปรรูปอาหารทะเล เพือ่ เป็นอาชีพทางเลือกของกลุ่มสตรีบ้านหาดยาวเจ้าไหม อ�ำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยใช้ความ รู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการแปรรูปอาหาร ที่มีอยู่แล้ว รวมไปถึงคุณภาพของรสชาติ ความ สะอาด และคุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย มาผลิตสินค้า นางละบิดะ หะหวา หรือ “จ๊ะเพิ่ม” รอง ประธานกลุม่ พัฒนาอาชีพบ้านหาดยาว-เจ้าไหม บอกว่า เริ่มคิดสูตรด้วยการให้แต่ละคนทดลอง ท�ำปลาเค็มและปลาหวาน แล้วน�ำมาแลกกัน ชิม พร้อมกับแลกเปลี่ยนเคล็ดลับการท�ำให้เนื้อ ปลาสวย ไม่กระด้าง ไม่ให้มีแมลงวันตอม เพื่อ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยราคาปลาเค็ม อยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท ปลาหวานกิโลกรัม ละ 250 บาท “เรื่องการตลาดไม่ใช่ปัญหา เพราะทุกวันนี้ ผลิตไม่พอขายอยู่แล้ว แต่ก็มีการพูดคุยกันว่า มีแหล่งตลาดอยู่ที่ไหนบ้าง ขายดีหรือขายไม่ดี จนได้ข้อสรุปว่าแหล่งที่ขายดีที่สุดคือ หาดหยง หลิง และร้านของฝากที่หาดยาว นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อขยายตลาดอีกด้วย” นอกเหนื อ จากการท� ำ กิ จ กรรมของกลุ ่ ม ผูห้ ญิงทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ ตัวเองและครอบครัวแล้ว 10
ฝั น ร้ า ยที่ ย ากจะลื ม ของ ชุ ม ชนบ้ า นหาดยาว–เจ้ า ไหมเริ่มเลือนหายไป แต่ การสร้างการมีส่วนร่วม ของชุ ม ชนเพื่ อ ก้ า วไปสู ่ ชุมชนที่ มีความเข้มแข็ง ทั้งด้านเศรษฐกิจและการ จัดการทรัพยากรได้อย่าง มีศักยภาพก�ำลังเริ่มขึ้น
ว่านี่คือปัญหาของเขาเอง ตัวเขาเองเป็นผู้ที่อยากจะท�ำ แต่สิ่งที่เขาท�ำอยู่ ภายใต้การจัดการข้อมูลของชุมชน ไม่ใช่คิดแค่ว่าอยากจะท�ำ แต่ต้องมี “ข้อมูล” รองรับว่าเขาต้องการแก้ปัญหานี้ เพราะมีข้อมูลหนุนเสริม ในการวางโจทย์การท�ำงานของชาวบ้าน ดังนั้นการเริ่มต้นต้องเริ่มจาก ความอยากจะท�ำ การเป็นเจ้าของปัญหา รวมถึงการมีขอ้ มูลรองรับ เพือ่ ให้ชาวบ้านตั้งใจท�ำงานอย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าเป็นการดึงการมีส่วนร่วม ของชุมชนมาตั้งแต่ต้น ได้แกนท�ำงานที่ตั้งใจท�ำงานจริงๆ จ๊ะเลียะบอกว่า การเก็บข้อมูลทัง้ หมดของชุมชนเกีย่ วกับการประกอบ อาชีพ รายได้ ปริมาณสัตว์ทหี่ าได้ในแต่ละฤดูกาลของตัวเอง การท�ำประมง จากอดีตถึงปัจจุบัน ท�ำให้ท�ำชาวบ้านทราบว่าทรัพยากรสัตว์น�้ำที่มีอยู่ ในแต่ละฤดูเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการใช้เครื่องมือที่ผิดวิธีหรือไม่ ในการ เก็ บ ข้ อ มู ล สมาชิ ก ในกลุ ่ ม แบ่ ง การท� ำ งานเป็ น โซนโดยไปสั ม ภาษณ์ ชาวประมงสอบถามชนิดของเครื่องมือประมง สามารถเลือกใช้ตามการ เปลี่ยนแปลงของน�้ำ จากข้อมูลความรู้ทั้งหมดที่ชาวบ้านหามาได้ ถูกเปลี่ยนมาเป็น “ปฏิทินชีวิต” เป็นสิ่งที่ชาวบ้านสร้างขึ้นมาใช้เองภายใต้ฐานข้อมูลใน ชุมชน เป็นสิง่ ทีท่ กุ คนสามารถใช้ประโยชน์รว่ มกันได้ เมือ่ เห็นแล้วสามารถ วางแผนได้ในช่วงของระยะเวลาในการผลิตอาหารแปรรูป เมื่อไรถึงเวลา กักตุนเพื่อให้มีจ�ำหน่ายได้ตลอดทั้งปี จ๊ะเลียะกล่าวต่อว่า ประโยชน์ของการเก็บข้อมูลคือ ท�ำให้สมาชิก ในกลุ่มรู้ว่ามีวัตถุดิบในช่วงเวลาไหนบ้าง ท�ำให้คนในกลุ่มรู้เท่ากัน ตอนนี้ โครงการได้ก�ำลังสร้างโรงเรือนขึ้นเพื่อในอนาคตการรวมกลุ่มจะได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ดีกว่าต่างคนต่างท�ำ และเพื่อช่วยสร้างความมั่นคง ให้กับครอบครัว ชุมชน สร้างอาชีพ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และ ยังได้ฝึกเรื่องการบริหารจัดการอีกด้วย วันนี้ 9 ปีกับฝันร้ายที่ยากจะลืมของชุมชนบ้านหาดยาว–เจ้าไหมเริ่ม เลือนหายไป แต่การสร้างการมีสว่ นร่วมของชุมชนบ้านหาดยาว-เจ้าไหม เพื่อก้าวไปสู่ชุมชนที่มีความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ และการจัดการ ทรัพยากรได้อย่างมีศักยภาพก�ำลังเริ่มขึ้นแล้วและมีทีท่าว่าจะไปได้ดีอีก ด้วย ////
กลุ่มยังได้ค้นหาวิธีความรู้ใหม่ๆ พัฒนาโครงการของตัวเองให้เกิด คุณภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการ ท�ำอาหารแปรรูปให้มีวางจ�ำหน่ายตลอด ปี เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย นางสาวสุทิน สีสุข ผู้ประสานงานสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัด ตรัง บอกว่า โครงการการพัฒนากระบวนการแปรรูปอาหารทะเล เพื่อ เป็นอาชีพทางเลือกของกลุ่มสตรีบ้านหาดยาว-เจ้าไหม อ�ำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นการน�ำ “กระบวนการวิจยั เพือ่ ท้องถิน่ ” มาใช้ เริม่ ด้วย ให้คนในชุมชนรวมตัวกันขึ้นมาร่วมกันค้นหาปัญหาของตนเอง ค้นหา สิ่งที่อยากจะแก้ เป็นกระบวนการที่ท�ำให้ชาวบ้านเห็นถึงปัญหาของ ตัวเองตัง้ แต่ตน้ เพราะฉะนัน้ ชาวบ้านจะรูส้ กึ ถึงความเป็นเจ้าของปัญหา 11
ได้เวลาปฏิรูป? ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยา ทั้งโลกต่างจับจ้องมายังมุสลิม มีค�ำถามและข้อ สงสัยเกิดขึ้นมากมาย และตามติดมาด้วยอคติที่เหมารวมมุสลิมทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ ในประเทศไทย มุสลิมไทยเริม่ ถูกหวาดระแวงจากฝ่ายความมัน่ คงและเพือ่ นร่วมชาติ อย่างเห็นได้ชัด ต่อเนื่องด้วยความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นดั่งลิ่มตอก เข้าใจกลางรอยร้าวให้เข้าใกล้ความแตกแยกเข้าไปทุกขณะ ปรับโฟกัสไว้แค่เพียงประเทศไทย สิบกว่าปีที่ผ่านมา เรามักโทษแต่คนอื่นจนลืม ส�ำรวจตรวจตราตัวเอง ว่าท�ำไม หรือเหตุใด เราจึงถูกประณามจากสังคมต่าง ศาสนิกว่าเป็น พวกหัวรุนแรง, เห็นแก่ตวั , รักแต่พวกพ้อง, ไม่สนใจปัญหาสังคม หาก ไปไล่ดูวิวาทะที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์นับตั้งแต่ยุคเว็บบอร์ดเฟื่องฟูมาจนถึงยุค เฟสบุ๊ครุ่งเรือง เราจะเห็นวาทะอคติที่รุนแรงต่อมุสลิมเสมอมา ซึ่งหลายครั้งลุกลาม ถึงการหมิ่นอัลลอฮฺหรือท่านนบีเลยทีเดียว นอกจากอคติจากสังคมต่างศาสนิกแล้ว สังคมมุสลิมเองก็มปี ญ ั หาภายในมากมาย ทั้งเรื่องการแตกแยกทางความคิด, ปัญหาความอ่อนแอของครอบครัว, ปัญหา ยาเสพติด, ปัญหาเยาวชน และอีกนานับประการ ค�ำถามส�ำคัญคือ เราจะปล่อยให้ อคติจากสังคมต่างศาสนิกและปัญหาภายในที่ก�ำลังกัดเซาะสังคมหมดไปด้วยตัวมัน เองหรือ บางทีอาจถึงเวลาแล้วที่เราต้องเริ่มคุยกันอย่างจริงจังเสียที Main Halal ฉบับนี้ จึงอยากชวนผู้อ่านร่วมส�ำรวจตรวจตราปัญหาในสังคม มุสลิมไทย จากอดีต ปัจจุบัน ยันอนาคต ผ่านมุมมองของหลากหลายมุสลิมที่ทั้ง เฝ้ามอง ขับเคลื่อน และเป็นภาพแทนของสังคมมุสลิมในอนาคต เริ่ ม ต้ น จากการ “เรี ย นรู ้ อ ดี ต ” ผ่ า นการศึ ก ษาของ คุ ณ ศุ ก รี ย ์ สะเร็ ม นั ก ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ และตามด้วยทัศนะจากตัวแทนของคนที่ “ขับเคลือ่ นปัจจุบนั ” อย่างสองโต๊ะครูนักพัฒนามือฉมัง อ.อัชอะรีย์ เรืองปราชญ์ และ อัลอัค อับดุลมะญีด อุปมา และปิดท้ายด้วยการ “ออกแบบอนาคต” สังคมมุสลิมไทยในฝัน ผ่าน จินตนาการของคนหนุ่มสาวมุสลิมแห่งยุคสมัย ฮัมซะฮ์ อัลกรีมี, มุญาฮีด วงษ์มณี, มุฮัมหมัดฟะฮ์มี ตาเละ และ อาฎิล ศิริพัธนะ
12
ศุกรีย์ สะเร็ม หรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า “ยีติ๊ก” เป็นนัก
ประวัตศิ าสตร์อสิ ลามทีห่ าตัวจับยากคนหนึง่ ในเมืองไทย อาจเป็นเพราะ เขาเป็นนักประวัติศาสตร์ด้วยความรักและความหลงใหลในมนต์เสน่ห์ ของอดี ต องค์ ค วามรู ้ ด ้ า นประวั ติ ศ าสตร์ ข องเขาจึ ง กว้ า งขวาง ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องเล็กๆอย่างเหรียญกษาปณ์และตราสัญลักษณ์ ไปจนถึงเรื่องใหญ่อย่างความรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักร อิสลามต่างๆในอดีต เมือ่ เป็นเช่นนีเ้ ราจึงอยากชวนคุณผูอ้ า่ นไปส�ำรวจ สภาพสังคมมุสลิมไทยในอดีต เรียนรู้ปัญหาและการแก้ปัญหาของคน ยุคก่อน รวมไปถึงบทบาทของมุสลิมในอดีตต่อการมีส่วนร่วมพัฒนา สังคมและประเทศชาติ ผ่านการศึกษาของผู้ชายคนนี้
มุสลิมไทยในอดีตมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาชาติ บ้านเมืองอย่างไรบ้าง ? ที่จริงมันเป็นธรรมชาติของประเทศสยาม คือบุคลิกการต้อนรับคนต่างถิน่ ทีม่ าพร้อมความ เชื่อใหม่ และประเทศอยู่ตรงรอยต่อของการ เดินทางชนชาติต่างๆ ทั้งจากตะวันออกและ ตะวันตก ประจวบกับช่องว่างที่ประเทศมีศึก ใหญ่และมีการปราบดาภิเษกหลายครั้ง ท�ำให้ สูญเสียบุคคลถิน่ มีความต้องการทรัพยากรและ องค์ ค วามรู ้ ทั น สมั ย เพื่ อ การพั ฒ นาประเทศ ท� ำ ให้ ป ระชาคมมุ ส ลิ ม ชาติ ต ่ า งๆ ทั้ ง โมกุ ล
(อินเดีย เอเชียใต้) มลายู จาม เตอร์กี เปอร์เชีย อาหรับและจีนมุสลิม และประชาคมชนต่างชาติ อืน่ ทัง้ จากตะวันออกและตะวันตกก็เข้ามาสนอง งานส�ำคัญ รับราชการ แต่งงานกลายเป็นคนพืน้ ถิ่นแห่งสยามประเทศ ประเทศที่เป็นเบ้าหลอม ของประชาคมนานาชาติ นานาความเชือ่ ทีเ่ รียก ว่า “ชาวสยาม” ก่อนจะมาสู่ยุคที่พยายาม สถาปนาบุคคลและชาติพันธ์ุประจ�ำประเทศ โดยท�ำให้ทุกคนในประชาคมนานาชาติสยาม เป็น “คนไทย” และพยายามที่จะมีความเชื่อ เดียวประจ�ำชาติไทย ซึง่ ขัดแย้งกับความเป็นไป และเติบโตของโลก ลองไปศึกษาดู “ทุกคนใน แผ่นดินนี้ เป็นลูกครึ่ง” ทั้งสิ้น ไม่ปนแขกก็ปน จี น เพราะประเทศเราอยู ่ ร ะหว่ า งสองอู ่ อารยธรรมนี้ บ้างปนมลายู บ้างมอญ บ้างลาว พม่า เขมร อะไรคือสิ่งที่แตกต่างที่เห็นได้ชัดที่สุดระหว่าง สังคมมุสลิมไทยยุคปัจจุบันกับอดีต ? การขาดความรูส้ กึ ร่วมในความเป็นไทย เป็น คนชาติเดียวกัน ด้วยมีคณะท�ำงานในองค์กร มุสลิมบางส�ำนักทีพ่ ยายามท�ำให้คนมุสลิม(ไทย) เป็นอาหรับโดยการลอกแบบวัฒนธรรม อาหาร การแต่งกาย ฯลฯ ส่วนใหญ่จบการศึกษาจาก โลกอาหรับและเอเชียใต้ (ทั้งที่ประเทศที่บุคคล เหล่านัน้ จบมาก็มไิ ด้เป็นต้นแบบ หรือยอมรับทัง้ ในโลกมุ ส ลิ ม หรื อ สั ง คมโดยกว้ า ง) ปฏิ เ สธ วัฒนธรรมถิ่น วัฒนธรรม ร่วมกันของภูมิภาค ทัง้ ทีม่ ไิ ด้ขดั แย้งกับหลักคิดความเชือ่ ของอิสลาม 13
“อันเป็นโซ่ข้อกลาง” ของการฝังตัวอยู่ร่วมกัน และไม่เข้าใจ หลักการอยู่ร่วมกันของประชาคม มุสลิมส่วนน้อยในรัฐที่มิใช่อิสลาม อยากให้ลองยกตัวอย่างนักพัฒนาคนส�ำคัญของ มุสลิมไทย ที่มีบทบาทชี้น�ำเปลี่ยนแปลง สังคม มุสลิมไทยในอดีตจนส่งผลถึงปัจจุบัน ? ผมนึกถึง ดร.ปรีดา ประพฤติชอบ ท่านเป็น บุคคลที่น�ำธงเรื่องอิสลามเป็นหลัก สามารถจัด ระดับความส�ำคัญและสิง่ ทีต่ อ้ งรักษา เข้าใจหลัก การอยู่ร่วมกันของประชาคมมุสลิมส่วนน้อยใน รัฐที่มิใช่อิสลาม คือรู้ว่าอะไรคือวาญิบ อะไรคือ ฟัรดู (สิ่งหลักส�ำคัญล�ำดับต้นที่ต้องรักษา ยึด เหนี่ยว) และอะไรเป็นซุนนะฮ์ (กิจเสริม) ท่านมี ภาวะผู้น�ำ อดทน สละตัว และสร้างครอบครัว เป็นแบบของการอยู่ร่วมกันของคนในชาติที่มี ความหลากหลายในความเชื่อ ท่านยังฝังตัว ท�ำงานในพืน้ ที่ ประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย น่าเคารพ ท่านให้เกียรติซึ่งกันและกันกับสังคม ทัง้ ทีท่ ำ� งานในมหาวิทยาลัยขอนแก่นทีท่ า่ นเป็น อาจารย์และสังคมของภาคอีสานทีม่ มี สุ ลิมน้อย กว่า 1 เปอร์เซ็นต์ จนวันนี้มีมัสยิดเกิดขึ้นจาก ความพยายามและวางแนวทางจากท่ า นจน เกื อ บครบทุ ก จั ง หวั ด ในภาคอี ส าน และบาง จังหวัดก็เริม่ มีในระดับอ�ำเภอแล้ว ทัง้ ทีท่ า่ นเป็น เด็ก กทม.โดยก�ำเนิด บ้านอยูร่ มิ แม่นำ�้ เจ้าพระยา กลางกรุงแถวสะพานพุทธ ฝั่งธนบุรี จบมัธยมที่ สวนกุหลาบ จบ ป.ตรี ที่ ม.เกษตรฯ ได้ทุนไป จบป.โทและเอกที่ ญี่ ปุ ่ น ด้ า นเศรษฐศาสตร์ การเกษตร สามารถท�ำงานใช้ทนุ ได้ทมี่ หาวิทยา ลัยใหญ่ๆ ใน กทม.แต่ท่านเลือกไป ม.ขอนแก่น สมั ย เรี ย นท่ า นเป็ น นั ก กิ จ กรรมตั ว ยง เป็ น กรรมการผู้ก่อตั้งของสมาคมนิสิตนักศึกษาไทย มุสลิม(สนท.) และเป็นอดีตประธานสภานิสิต ม.เกษตรฯ หากเราจะเปลี่ ย นแปลง “ปั จ จุ บั น ” เพื่ อ “อนาคต” ที่ดีกว่า เราควรเรียนรู้อะไรจาก “อดีต” ที่ผ่านมาบ้าง ? ควรเรียนรูว้ า่ บรรพชนมุสลิมไทยอยูบ่ นแผ่น ดินนี้อย่างมีเกียรติ มีบารมี ยิ่งใหญ่สมภาคภูมิ อย่างไร และมุสลิมยิง่ ใหญ่ครองโลกมานับพันปี ได้อย่างไร ความเป็นผู้ทรงธรรม เป็นมือบน ผูผ้ ลิตนวัตกรรม องค์ความรูใ้ นด้านต่างๆต่อโลก
อ.อัชอะรีย์ เรืองปราชญ์
อัลอัค
เป็นนัก วิ ช าการอิ ส ลามหหรื อ ที่ เ ราเรี ย กติ ด ปากว่ า โต๊ ะ ครู คลุ ก คลี กั บ งานพั ฒ นาเยาวชน มาตลอดนั บ ตั้ ง แต่ ส มั ย ยั ง เป็ น นั ก ศึ ก ษา จนกระทั่ ง จบการศึ ก ษาด้ า นศาสนาจาก ปากี ส ถานก็ ยั ง กลั บ มาท� ำ งานประจ� ำ กั บ องค์กรระหว่างประเทศที่เน้นงานด้านเยาวชน อย่างสภายุวมุสลิมโลก ส�ำนักงานประเทศไทย แถมยั ง เป็ น หั ว เรี่ ย วหั ว แรงหลั ก ของมู ล นิ ธิ ศรั ท ธาชนเพื่ อ การศึ ก ษาและเด็ ก ก� ำ พร้ า องค์กรพัฒนาเอกชนมุสลิมทีเ่ ติบโตอย่างก้าว กระโดดตลอดสิบปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จาก ยอดบริ จ าคจากแรงศรั ท ธาที่ พี่ น ้ อ งมุ ส ลิ ม มอบให้ในแต่ละปี ปัจจุบัน อ.อัชอะรีย์ เรืองปราชญ์ เป็น เลขานุการมูลนิธิศรัทธาชนเพื่อการศึกษาและ เด็ ก ก� ำ พร้ า และยั ง รั บ หน้ า ที่ ผู ้ อ� ำ นวยการ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมยาตีมทีวี สื่อ สร้างสรรค์สังคมในเครือของมูลนิธิศรัทธา ชนฯ อีกด้วย จากประสบการณ์การท�ำงาน ด้านพัฒนาเยาวชนและสังคมมาตลอดชีวิต บวกกั บ บทบาทสื่ อ สารมวลชนมุ ส ลิ ม ของ อ.อัชอะรีย์ ทัศนะสั้นๆของเขาที่มีต่อสังคม มุสลิมไทยจึงน่าสนใจไม่น้อย
คิดอย่างไรกับสภาพสังคมมุสลิมไทยในปัจจุบนั ? มันก็เป็นไปตามสภาพของสังคมมนุษย์ ตกต�ำ่ เสื่อมถอย ความรู้ถูกยกกลับ คุณธรรมหดหาย แต่ความตั้งใจจริงจังของคนดีๆก็ยังมีอยู่ เพียง แต่ความเข้มข้นมันเจือจางลง อะไรคือปัญหาส�ำคัญที่สุดของสังคมมุสลิมไทย ในปัจจุบัน? ปัญหาของมุสลิมไทยมีเยอะครับ การกระ ทบกระทั่ง ทะเลาะเบาะแว้ง เป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่ไม่ใช่ปัญหาเชิงโครงสร้างก็อย่าไป ซีเรียส พีน่ อ้ งทะเลาะกันเดีย๋ วก็ดกี นั สิง่ ทีจ่ ะพา เราก้าวข้ามไปได้คือ ความใจกว้าง การยอมรับ และให้เกียรติคนที่มีความคิดแตกต่างจากเรา อะไรเป็นปัจจัยส�ำคัญทีท่ ำ� ให้สงั คมมุสลิมไทยใน ปัจจุบนั ยังคงจมอยูก่ บั ความขัดแย้ง จนขยายตัว เป็นความแตกแยกแบบทุกนี้? “ตะอัศศุบ” (คลัง่ ไคล้ในตัวบุคคล พวกพ้อง) ครับ นี่พูดเลย ถ้าเราลดความตะอัศศุบลงบ้าง
เป็นนามปากกาและชื่อที่เรียกกัน ติดปากของ อับดุลมะญีด อุปมา ผู้รู้และนัก พั ฒ นาจากอั น ดามั น อดี ต นายกสมาคม ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย หรือ ยมท. อัลอัค เป็นนักสร้างนักท�ำงานอิสลามรุน่ ใหม่มาตลอด หลายปี ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากลู ก ศิ ษ ย์ ลู ก หา ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งในรั้วและนอกรั้ว มหาวิทยาลัย และยังเชี่ยวชาญด้านการใช้ ภาษาและการเขียน ดังจะเห็นได้จากงานเขียน ที่มีต่อเนื่องและได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอ
เราจะหล่อเลย แต่คนไทยเราถูกหล่อหลอมมา ให้รักพวกรักพ้องไง ให้เป็นชาตินิยมไง เราจึง ต้องใช้เวลาเยอะกว่าชาติอื่นๆในอาเซียนหน่อย ด้านหนึง่ สังคมมุสลิมไทยมีปญ ั หาขัดแย้งภายใน กันอย่างหนักและอีรงุ ตุงนังกันในหลาย ประเด็น แต่อกี ด้านหนึง่ สังคมมุสลิมก็กำ� ลังถูกตัง้ ค�ำถาม จากสังคมต่างศาสนิก ถึงการเห็นแก่ตัว ห่วงแต่ พวกพ้อง และดีแต่เรียกร้องสิทธิ ในสถานการณ์ เช่นนี้ มุสลิมไทยควรท�ำตัวอย่างไร? เราต้องเรียนรูก้ ารดะอ์วะห์ (เผยแผ่ศาสนา) ด้วยการสร้างสะพานครับ ทีผ่ า่ นมาเราดะอ์วะห์ ด้วยการสร้างก�ำแพงเพราะเราต้องรักษาคนของ เราไว้ แต่ปัจจุบันก�ำแพงมันเอาไม่อยู่ เราต้อง เดินหน้าเข้าหาคนอื่น ทอดสะพานให้เขาเข้ามา เชื่อมโยงกับเรา อย่ามองว่าการปฏิสัมพันธ์กับ คนอืน่ เป็นเรือ่ งอันตราย แต่มนั คือโอกาส ยิง่ เรา ปิดตัวเองมากเท่าไหร่ เราก็จะแพ้ภัยตัวเอง ในฐานะที่คลุกคลีกับเยาวชน ในสถานการณ์ ปัจจุบัน เรายังฝากความหวังของสังคมมุสลิม ไทยไว้กับเยาวชนคนหนุ่มสาวได้อยู่หรือไม่? ผมว่าในสังคมไทย เยาวชนมุสลิมเราถือว่า ยังมีคุณภาพอยู่นะ ขอให้ผู้ใหญ่อย่าท�ำให้มีช่อง ว่าง ให้โอกาสพวกเขาแสดงศักยภาพ ตัวตาย ตัวแทน ต้องมีเตรียมไว้ ถ้าไม่ใช่พวกเขา แล้วจะ เป็นใคร 14
ด้วยความที่ท�ำงานด้านสังคมมุสลิมมา ตั้ ง แต่ เ มื่ อ ครั้ ง ยั ง เป็ น นั ก ศึ ก ษา จวบจน ปัจจุบันที่ยังคงมุ่งมั่นสร้างความรู้และความ เข้ า ใจชี วิ ต ให้ กั บ คนหนุ ่ ม สาวแห่ ง อิ ส ลาม อัลอัคจึงเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่มองเห็นปัญหา จากภาคสนามหาใช่บนหอคอยงาช้างหรือเวที งานสุเหร่าไม่ เมื่อฮาลาลไลฟ์คิดจะชวนผู้อ่าน ไปขุดลึกถึงรากปัญหาของสังคมมุสลิมไทย ทัศนะจากอัลอัคจึงเป็นสิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธ ได้
อะไรคื อ ปั ญ หาส� ำ คั ญ ที่ สั ง คมมุ ส ลิ ม ไทยใน ปัจจุบันก�ำลังเผชิญ แล้วเราจะก้าวข้ามปัญหา เหล่านั้นไปได้อย่างไร? ผมมักใช้ค�ำว่า “จินตนาการ” ในการพูดถึง รากปัญหาของทุกอย่าง ไม่ว่ามุสลิมที่นี่หรือ ที่ไหน จะใช่มุสลิมหรือไม่ใช่ คือหมายถึงโลกที่ เขามองเห็นมันคืออะไร? เป็นแบบไหน? และตัว เขาเองจะด�ำรงอยูใ่ นโลกนีเ้ ช่นไร? ผมเรียกมันว่า “จินตนาการ” ซึง่ มันจะสร้างเป็นแบบแผนชีวติ ของคนๆนั้น ผมมองว่ารากของปัญหาของสังคมมุสลิม ไทยคงวนเวียนกับปัญหาเดิมๆ นี้ คือจินตนาการ ทีท่ กุ คนมองทัง้ แง่มมุ ชีวติ สังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง ซึ่งมันซับซ้อนมาก และที่มันขัดแย้ง กันก็เพราะมันมาจากอะไรมากมายทีซ่ กุ ซ่อนอยู่ ภายใน แค่พูดค�ำว่า “ศาสนา” ออกมา ผมว่า มองไม่เหมือนกัน รูส้ กึ ไม่เหมือนกัน หรือค�ำอืน่ ๆ ค�ำว่า ซุนนะฮฺ ค�ำว่า บิดอะฮฺ ค�ำว่าสลัฟ ค�ำว่า อุมมะฮฺ วาฮิดะฮฺ อะไรต่างๆ มากมาย ทุกคน แสดงมันออกมาแตกต่างกัน รวมไปถึงทัศนคติ ที่มีต่อการเมืองไทย ของสีเสื้อต่างๆ พูดแล้ว จะยุ่งยากมากขึ้นไปอีก
การ ฝ่าวิกฤติเรือ่ งนีผ้ มนึกถึงยุคแรกเริม่ ของ อิสลามที่มีการประทานสิ่งที่เรียก ว่า revelation หรือวะหฺยุ ที่ท่านนบีมุฮัมมัด ทยอย น�ำออกมาจากพระเจ้า สิ่งนั้นเป็นการสร้างโลก ทัศน์แบบใหม่ เป็นการมองโลกในมิติที่กว้างถึง เอกภพ และละเอียดอ่อนถึงตัวตนภายในของ มนุษย์ คือทุกวันนีผ้ มว่า ถึงเรามีอลั กุรอานในมือ แต่เรายังห่างไกลจากการเห็นอัลกุรอานปรากฏ อยู่ในฐานะ เป็น revelation เป็นวะหฺยุ เป็นสิ่ง ที่มาจากผู้สร้าง ผมมองไม่เห็นว่าค�ำตอบจริงๆของทุกปัญหา จะมีเรื่องอื่น ผมเรียกวิธีแก้ปัญหานี้ตามที่ใน อัลกุรอานบอกว่า “จงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺ โดยพร้ อ มเพรี ย งกั น และอย่ า แตกแยกกั น ” ค�ำว่าสายเชือกของอัลลอฮฺคอื อะไร? เรือ่ งนีท้ า่ น นบีพดู อธิบายเองว่า “คัมภีรข์ องอัลลอฮฺ คือสาย เชือกของอัลลอฮฺทถี่ กู ลากยาวลงมาจากฟากฟ้า สู ่ ผื น แผ่ น ดิ น ” คื อ เข้ า ใจตรงนี้ เ ลยว่ า กั บ อัลกุรอานต้องมีส�ำนึกว่ามันเป็น revelation หรือการประทานลงมาจากพระเจ้า มันถูกทอด ยาวลงมาจากฟากฟ้า ผมคิดว่า ปัญหาต่างๆ จะตอบได้งา่ ย ถ้าเริม่ ต้นอย่างถูกทาง ผมรณรงค์การแก้ปัญหาด้วย กับค�ำว่า “สายเชือกของอัลลอฮฺ” ด้วยการ จับยึด ซึ่งมีความหมายต่อไปอีกมากมาย ไม่ว่า โรงเรียนการอ่านกุรอานส�ำหรับเด็กๆ การเรียน รูค้ วามหมายอัลกุรอาน การเรียนรูต้ วั บุคคลทีถ่ กู อธิบายว่าเป็นอัลกุรอานที่เดินได้อย่างท่านนบี มุฮัมมัด หรือการเรียนรู้กลุ่มชนที่เรียกว่าชนรุ่น กุรอานอย่างเศาะฮาบะฮฺ และรวมทั้งทฤษฏี อะไรอีกมากมายทีม่ าจากการสร้างขึน้ ของความ รู้ในอัลกุรอาน คือผมว่าก่อนจะทะเลาะกันว่า ใครยึดกุรอานใครไม่ยึด ก็ต้องช่วยกันท�ำให้การ เรียนรู้ว่า “สายเชือก” นี้คืออะไร มีความส�ำคัญ มากจริงๆ ใครควรเป็ น เจ้ า ภาพในการสร้ า งความ เปลี่ยนแปลงหรือชี้น�ำสังคมมุสลิมไทย? ผมคิดว่า เจ้าภาพหลักถูกก�ำหนดในหลัก การแล้ว เรียกว่า ดาอียฺ หมายถึง คนท�ำงานที่ ต้องการให้ผู้คนได้อยู่บนเส้นทางของพระเจ้า คนที่ส�ำนึกในสถานะนี้ต้องถือว่าเป็นเจ้าภาพ ของการแก้ปญ ั หาในทุกระดับ แต่ทนี่ มี่ นั ก็ตอ้ งมี วิธกี ารให้คนเหล่านีเ้ ข้าใจวาระต่างๆ ร่วมกัน ไม่ ว่าคนในระดับสูงอย่างคณะกรรมการอิสลาม จังหวัดต่างๆที่อยู่ในระดับรัฐ มาจนถึงครูสอน
อัลกุรอานตามหมู่บ้าน หรือคนในหน่วยงาน ต่างๆ ในกิจกรรมต่างๆที่หลากหลาย พวกนัก วิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย พวกทีท่ ำ� งานสือ่ ต่างๆ สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน คือคน ทุกคนที่มีส�ำนึกแบบดาอียฺ ไม่สามารถอยู่แบบ ตั ว ใครตั ว มั น ได้ การแสวงหาความร่ ว มมื อ ระหว่างคนที่มีส�ำนึกแบบดาอียฺเป็นเรื่องที่ต้อง พัฒนา ขึ้นบนความจริงใจ พูดถึงเจ้าภาพแก้ปัญหาอีกอันหนึ่งส�ำหรับ สังคมไทย แม้จะดูยุ่งยากมาตลอด แต่สิ่งที่มีอยู่ นี้ช่วยได้อย่างมากมายต่อการอยู่ร่วมกันอย่างดี ระหว่างคน ต่างความเชื่อในสังคมที่ประเทศ จ�ำนวนมากในโลกนี้ไม่มี คือ “ส�ำนักจุฬาราช มนตรี” คือผมพูดถึงส�ำนักจุฬาฯ ในฐานะที่เป็น หน่วยหนึ่งที่มีลักษณะเป็นดาอียฺ และยังเป็น หน่วยใหญ่ที่สุดที่รัฐให้การยอมรับ เราปฏิเสธ บทบาทตรงนี้ไม่ได้ ถึงจะมีปัญหามากมาย แต่ ความจริ ง คื อ ตราบใดที่ เราไม่ ร ่ ว มกั น พั ฒ นา สถาบั น นี้ แ ละหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งให้ มี ประสิทธิภาพ ปัญหาต่างๆ ก็แก้ไขได้ยากครับ
ด้านหนึง่ สังคมมุสลิมไทยมีปญ ั หาขัดแย้งภายใน กันอย่างหนักและอีรงุ ตุงนังกัน ในหลายประเด็น แต่อกี ด้านหนึง่ สังคมมุสลิมก็กำ� ลังถูกตัง้ ค�ำถาม จากสังคมต่างศาสนิก ถึงการเห็นแก่ตัว ห่วงแต่ พวกพ้วง และดีแต่เรียกร้องสิทธิ หรือถึงขั้นถูก ผลิตสร้างความเกลียดชังจากสายฮาร์ดคอร์ของ องค์กรต่างศาสนิกบางองค์กร ในสถานการณ์ เช่นนี้ มุสลิมไทยโดยเฉพาะเยาวชนคนหนุม่ สาว ควรท�ำตัวอย่างไร? ที่ อ ยากพู ด ก่ อ นก็ คื อ เป็ น ปั ญ หาวิ ธี ม อง อิสลามในกรอบที่ผมคิดว่ามีปัญหามากอย่าง หนึง่ คือการมองเห็นอิสลามเป็นเหมือน “ชาติ” อะไรสักอย่าง การมองเห็นอุมมะฮฺอิสลาม เป็น เหมือนชาติหนึ่ง ผมว่าเป็นเรื่องที่เป็นกันแบบ ไม่ รู ้ ตั ว ของมุ ส ลิ ม จ� ำ นวนมาก ในความจริ ง 15
โลกทัศน์จริงๆ ของศาสนาเราถูกวางขึน้ ในกรอบ ที่เน้นความเป็นมนุษย์ ความเป็นพี่น้องของ มนุษย์ ที่เรียกว่า “ลูกหลานแห่งอาดัม” ถ้าคุณ ปรับทัศนคตินไี้ ด้ คุณจะมองเห็นคนไทย คนลาว ชาวเขาเผ่าต่างๆ เสมอเหมือนกันในฐานะพีน่ อ้ ง ที่ มาจากครอบครั ว เดี ย วกั น คื อ “ลูกหลาน แห่งอาดัม” คือเรื่องนี้ผมคิดว่าส�ำคัญต่อจาก ความเชือ่ ในความเป็นหนึง่ ของพระเจ้าทีอ่ สิ ลาม สอนเลยทีเดียว และรากฐานการคิดต่อเพื่อน มนุษย์ในมุมมองเช่นนี้ส�ำคัญมาก มันมาจาก ความรู้สึกแบบครอบครัว แม้คุณจะต่างความ เชื่อกันแค่ไหนก็ตาม ต่อมาผมคิดว่า การเรียกร้องอะไรหลายสิ่ง หลายอย่างที่มาจากหลักการศาสนาไม่ว่าการ คลุ ม ฮิ ญ าบ ไปจนถึ ง สถาบั น การเงิ น ที่ ไ ม่ มี ดอกเบีย้ นัน้ และเรือ่ งอืน่ ๆอีกมากมาย เป็นเรือ่ ง ที่ต้องท�ำความเข้าใจกันในมิติของชีวิตมนุษย์ ที่สามารถด�ำรงอยู่บน ความแตกต่างกัน คือผม ค่อนข้างไม่ค่อยเห็นด้วยกับการดึงเอากฎหมาย เสรีภาพทางศาสนาหรือกฎหมายต่างๆ ออกมา ตั้งและเรียกร้องสิ่งต่างๆ ผมมองว่าความเป็น มนุษย์ทเี่ ข้าใจกันส�ำคัญกว่ามาก เหมือนตอนเรา เป็นนักเรียน เพื่อนพุทธเราจะชวนไปกินข้าว ก็ ช่ ว ยกั น หาร้ า นมุ ส ลิ ม ให้ หรื อ ว่ า บางคนจั ด ที่ละหมาดให้เราเสียด้วยซ�้ำ ผมอยากเห็นความ สั ม พั น ธ์ ที่ เ ป็ น แบบนี้ ม ากกว่ า คื อ ความเป็ น มนุษย์ที่เข้าใจกันส�ำคัญมากกว่า ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน เรายังคงฝาก ความหวังไว้กับคนหนุ่มสาวได้อยู่หรือไม่? จะอยากฝากไว้หรือไม่อยากฝาก คงเลือกไม่ ได้ เพราะเยาวชนคนหนุ่มสาวต้องมารับช่วงต่อ ไปอย่างแน่นอน ผมไม่ได้มองโลกในแง่ดีหรือ แง่ร้าย มองตามสภาพที่น่าจะเป็นจริง ผมว่า เยาวชนรุน่ ใหม่ตนื่ ตัวศาสนาสูงกว่าในอดีตอย่าง เทียบไม่ได้ แต่ยังไงพวกที่ปล่อยชีวิตไปเช้าชาม เย็นชามก็ยงั เป็นสัดส่วนทีส่ งู กว่า สิง่ ทีค่ นมีสำ� นึก เรื่องนี้ต้องท�ำคือ การเปิดพื้นที่ให้กับเยาวชน ของเราในรูปแบบที่หลากหลาย ตราบที่ยังเป็น แบบที่ฮะลาลอยู่ แม้กระทั่งเวทีศิลปะ เวทีนัก วรรณกรรม หรืออะไรท�ำนองนี้ มิใช่แค่มีแต่เวที ตัวบทศาสนา ผมเห็นว่ากระแสสากลต่อการตืน่ ตัวอิสลามทุกมุมโลกจะเอือ้ อย่างดีตอ่ การก้าวมา ของคนรุ่นใหม่ในบุคลิกภาพแบบอิสลาม เรา ต้องเปิดพื้นที่ที่หลากหลายในบริบทของชีวิตที่ ฮะลาล
ฮัมซะฮ์ อัลกรีมี เป็นคนหนุ่มมุสลิมที่น่าจับตามอง ในอดีตเขา
ร่วมกับเพื่อนวัยไล่เลี่ยกันก่อร่างสร้างหนังสือพิมพ์มุสลิมรายเดือน ซึ่งถือเป็นเรื่องหินมากกับการท�ำหนังสือในสังคมที่คนนิยมการฟัง มากกว่าการอ่าน ถึงแม้จะอยู่ได้ไม่นานแต่หนังสือพิมพ์อะซานที่เขาท�ำ ก็สร้างความสนใจแก่ผอู้ า่ นและคนท�ำสือ่ ด้วยกันไม่ใช่นอ้ ย ปัจจุบนั ฮัม ซะฮ์ ยังคงวันเวียนอยูก่ บั งานด้านสือ่ สารมวลชนแต่กระโดดข้ามไลน์ จากหน้ากระดาษมาสู่หน้าจอโทรทัศน์ เป็นก�ำลังหลักทั้งเบื้องหน้าและ เบื้องหลังให้กับสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไวท์แชนแนล ช่องทีวีที่ ครองใจวัยรุ่นมุสลิมได้อยู่หมัดจากรูปแบบรายการที่หลากหลายและ ความคิดสร้างสรรค์ในการน�ำเสนอ ด้วยความที่เป็นคนรุ่นใหม่และ ท�ำงานในสื่อสารมวลชนที่ครองใจผู้คนที่เป็นอนาคตของสังคมอย่าง วัยรุน่ หนุม่ สาว คงไม่ผดิ ฝาผิดตัวหากเราจะคุยเรือ่ งอนาคตของสังคม มุสลิมไทยกับผู้ชายคนนี้
สังคมมุสลิมไทยที่อยากเห็นเป็นแบบไหน แล้ว เราจะก้าวไปสู่สังคมแบบนั้นได้อย่างไร ? ผมอยากเห็นมุสลิมที่ดีได้มีโอกาสเป็นคนที่ บริหารสังคมให้เกิดความเรียบร้อย ซึ่งการที่เรา จะก้าวขึ้นไปสู่สังคมแบบนั้นต้องเริ่มจากการ สร้างความเชือ่ ว่าเราสามารถท�ำดีได้และท�ำได้ดี เสียก่อน การน�ำเอาประวัตศิ าสตร์ทรี่ งุ่ โรจน์จาก ยุ ค ต่ า งๆของมุ ส ลิ ม มาน� ำ เสนอกั บ บุ ค คลที่ มี บทบาทของสังคม และสร้างพันธกิจร่วมกันเพือ่ พาไปสู่จุดหมายที่ได้ตกลงกันไว้
หนุ่มสาว เราฝากความหวังกับ พวกเขาได้เสมอ พวกเขามีพลัง พวกเขามีความคิดสร้างสรรค์ และ พวกเขาต้องการผู้น�ำที่พร้อมจะ เทใจให้เขา และพวกเขาพร้อมที่จะ ทุ่มเทให้คนๆนั้น
อะไรคือปัญหาส�ำคัญที่สุดของสังคมมุสลิมไทย และเราจะเอาชนะปัญหา เหล่านั้นได้อย่างไร ? เราไม่รู้ว่าเราเป็นใคร เราคิดว่าเราคือผู้ตาม เราไม่คิดว่าเราต้องท�ำหน้าที่ที่ส�ำคัญซึ่งพระเจ้า ได้สั่งเราไว้ จริงๆนะครับ เรื่องนี้ส�ำคัญมาก บางทีเรามองแคบไป มองแค่รอบตัวเองหรือ แคบกว่านัน้ บางทีมองแค่ตวั เอง จริงๆเรา มุสลิม เราต้องเดินไปยืนข้างบนที่สูงๆ แล้วมองลงมา ท�ำตาเบลอๆ ว่าเราจะดูแลพวกเขาอย่างไร เรา จะช่วยพวกเขาอย่างไร ปัญหาแบบนีจ้ ะเอาชนะ ได้กต็ อ่ เมือ่ ปลุกสังคมเขย่าให้ตนื่ ด้วยข้อมูลทีเ่ รา ถูกก�ำหนดหน้าทีม่ า สร้างคนทีม่ อี ดุ มการณ์ และ ผลิตบุคลากร ทีจ่ ะขยับภารกิจนี้ ให้ไปในทิศทาง เดียวกัน
อันนี้ส�ำคัญมากครับ ข้างบนที่เสนอๆมาจะ หยุดนิ่งไม่ขยับและไม่ได้เริ่มต้นก็ต่อเมื่อไม่มี ตัวแทนหรือเจ้าภาพที่จะด�ำเนินการภารกิจนี้ ทุกคนเป็นเจ้าภาพไม่ได้ มันจะสะเปะสะปะ แต่ ควรมอบให้บุคคลที่เราไว้ใจในหมู่พวกเรา ใน เรื่องหลักการศาสนา หรืออาศัยองค์กรกลางมา ด�ำเนินการภารกิจนี้ เช่น ส�ำนักจุฬาราชมนตรี ใช่ครับ เรารู้ดีว่าอ�ำนาจหน้าที่ ของส�ำนักจุฬาฯ ในพ.ร.บ.ไม่ได้กว้างล้นฟ้าขนาดนั้น แต่อย่าง น้อยที่สุด มุสลิมในประเทศไทยส่วนใหญ่พร้อม ทีจ่ ะฟังและเดินตามการน�ำของจุฬาฯ เราไม่ตอ้ ง มีกฎหมายมาขับเคลื่อนเรื่องนี้ก็ได้ แต่เราใช้ ความเชือ่ ความไว้ใจของการท�ำงานซึง่ กันและกัน ของการเป็นมุสลิมมาปะติดปะต่อความเป็นหนึง่ เดียวกัน
แน่นอนครับ หนุ่มสาว เราฝากความหวัง กับพวกเขาได้เสมอ พวกเขามีพลัง พวกเขามี ความคิดสร้างสรรค์ พวกเขาเพียงแต่ขาดในเรือ่ ง ของประสบการณ์ และพวกเขาต้องการผู้น�ำที่ พร้อมจะเทใจให้เขา และพวกเขาพร้อมที่จะ ทุ่มเทให้คนๆนั้น บางทีเราต้องกลับมามองตัว เอง (หมายถึงผู้ใหญ่นะครับ) ว่าเราอาจพลาด จั ง หวะในการคว้ า หั ว ใจของพวกเขา เหล่ า เยาวชนไป เราปล่อยให้กระแสสังคมจูงพวกเขา พาพวกเขาไปในทิศทางที่ดาราต้องการ ทิศทาง ที่สังกัดนั้นๆ ต้องการ จนเยาวชนเราเสียเวลา เสี ย พลั ง เสี ย สมองไปกั บ การเลี ย นแบบใน ตัวอย่างทีไ่ ม่ใช่ตวั อย่างทีด่ ที สี่ ดุ ไป อยากกระซิบ บอกผู้ใหญ่ครับว่ากลับไปเอื้อมมือดึงพวกเขา ให้มาท�ำงานแนวร่วมกับเราเถอะครับ อย่าปล่อย พลังบริสุทธิ์เหล่านี้ ให้ถูกใช้ไปในทางที่ไม่ดี ผม เชื่อครับ เยาวชนหนุ่มสาวเหล่านี้จะช่วยเหลือ ให้ภารกิจการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ส�ำเร็จลุล่วง จนได้ ดังเช่นที่มันเคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา
สุดท้ายอยากถามสั้นๆว่า การเป็นมุสลิมมัน ท�ำให้เราอยู่กับสังคมอื่นยากไหม? ไม่ยากครับ เพียงแต่เราต้องยืนให้มั่นคง และเข้าใจในบริบทของคนรอบข้าง มองพวกเขา ว่าแตกต่าง อย่างเอ็นดู และพร้อมที่จะยื่นมือ ช่วยเหลือแนะน�ำพวกเขา ให้ได้รับทางแก้ไข ปัญหาต่างๆ ดังเช่นที่เราได้รับทางออกต่างๆ ใครควรเป็นเจ้าภาพหรือเป็นผู้มีบทบาทส�ำคัญ ในฐานะทีค่ ลุกคลีกบั เยาวชนคนหนุม่ สาว คิดว่า จากพระเจ้าของเรานั่นแหละครับ เราถึงจะอยู่ ในการสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือชี้น�ำสังคม สังคมจะฝากความหวังไว้ที่พวกเขาได้หรือไม่? ได้อย่างมีความสุข มุสลิมไทย ? 16
อาฎิล ศิรพ ิ ธั นะ เป็นเด็กหนุม่ ชาวไทยจากเมืองคอน นครศรีธรรมราช ทีไ่ ปร�ำ่ เรียน และได้ ผ ลดี แต่ บ รรยากาศในที่ ส าธารณะ
ปริญญาโทด้านวิศวกรรมอยู่ที่มหาวิทยาลัย King Abdullah University of Science and Technology ในซาอุดอิ าระเบีย ประเทศทีค่ นไทยมักคุน้ กับการร�ำ่ เรียน ด้ า นศาสนามากกว่ า ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ ในมหาวิ ท ยาลั ย มี มุ ส ลิ ม จากหลายประเทศ มาร�่ำเรียน อาดิ้ลจึงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทัศนคติจากเพื่อนนักศึกษาจากหลาย ชาติ ด้วยความที่เป็นคนช่างคิดช่างสงสัย อาฎิลจึงมักตั้งค�ำถามกับทุกสิ่งรอบตัว มุมมองที่เขาได้จากการตั้งค�ำถามท่ามกลางผู้คนมุสลิมหลากเชื้อชาติหลากภาษาจึง น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการท�ำความเข้าใจตัวเองของมุสลิมในประเทศไทยอยู่ไม่น้อย สังคมมุสลิมไทยที่อยากเห็นเป็นแบบไหน แล้ว เราจะก้าวไปสู่สังคมแบบนั้นได้อย่างไร ? จริ ง ๆแล้ ว ผมอยากเห็ น สั ง คมมุ ส ลิ ม ที่ มี คุณภาพเหนือกว่าคูแ่ ข่งคือมุชริกนี และชาวยะฮู ดีในทุกๆด้าน ทั้งในเรื่องของอีหม่าน อากีดะฮฺ ความอิคลาส ความเฉลียวฉลาด การวางแผน ระยะยาว และความเป็นมืออาชีพความเป็น ผูเ้ ชีย่ วชาญทีแ่ ท้จริง คุณสมบัตติ า่ งๆ เหล่านีเ้ ป็น ปัจจัยในเชิงรูปธรรมที่ท�ำให้อิสลามในยุคสลัฟ ประสบความส�ำเร็จในการปฏิรูปสังคมสู่การ ภักดีต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ในยุคปัจจุบัน สังคมมุสลิมประเทศไทยก็ ต้องยอมรับว่า โดยภาพรวมก็ไม่ได้มีคุณสมบัติ เหล่านี้ในแต่ละมิติอย่างสมดุลและเพียงพอใน การที่จะเป็นเลิศเมื่อเทียบกันในเชิงรูปธรรมกับ ประชาชาติกลุม่ อืน่ ๆ ผมขอเรียกคุณสมบัตติ า่ งๆ เหล่านี้ว่า “คุณภาพ” ในมิติต่างๆ การจะสร้าง “คุณภาพ” เหล่านี้สู่สังคมใน ฝันจริงๆแล้วไม่มีทางลัด สิ่งที่ตัวเราเองทุ่มเท อย่างต่อเนือ่ งในวันนี้ อาจจะส่งผลทีเ่ หนือความ คาดหมายในอนาคตได้ นั่นหมายความว่า ทุกๆ ตัวอักษรที่เราอ่านเขียน ทุกงานการลงมือใน งานช่าง ทุกๆความอดทนในการท�ำความเข้าใจ และฝึกฝนในงานทางวิศวกรรม หรืออะไรใน ท� ำ นองนี้ เ ท่ านั้ น ที่ จะส่ ง ผลอย่างยั่งยืน หาก เยาวชนไม่มีเป้าหมายในเรื่องใดที่จะทุ่มเทให้ อย่างเต็มก�ำลังตัง้ แต่ในวัยหนุม่ ย่อมมีความเป็น ไปได้น้อยที่สังคมมุสลิมในอนาคตจะสามารถ เป็นสังคมมุสลิมในฝันได้ เราจึงไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากลงมือ ท�ำทุกอย่างอย่างจริงจัง ลดเวลาการผ่อนคลาย ความบันเทิง และความไร้สาระทิ้งเสีย แล้วเอา เวลาเหล่านั้นมาทุ่มเทต่องานที่จะส่งผลระยะ ยาวต่อสังคมมุสลิมจริงๆ
อะไรคือปัญหาส�ำคัญของสังคมมุสลิมไทย และ เราจะเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร? ผมมองว่ า ปั ญ หาที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ของมุ ส ลิ ม ประเทศไทยคือปัญหาอีโก้(อัตตา) เราทุกคน ทราบกันดีว่าอิสลามนั้นแปลว่า สันติด้วยการ ยอมจ�ำนนโดยสิ้นเชิงต่ออัลลอฮฺ ซึ่งหมายความ ว่ า เราจะไม่ เ อาตนเองเป็ น ศู น ย์ ก ลางในการ ตัดสินในเรือ่ งต่างๆ อย่างไรก็ตามในสังคมมุสลิม ไทย เราก็ยังคงเห็นการแสดงภาพของการเอา ตนหรือกลุ่มเป็นศูนย์กลางในทุกๆประเด็นอยู่ หลายครัง้ ซึง่ เป็นอุปสรรคต่อการท�ำงานร่วมกัน นั่นเพราะต่างกลุ่มต่างก็เห็นว่าวิถีการท�ำงาน ของตนเองนัน้ ดีกว่า มีความเป็นอิสลามมากกว่า ซึ่ ง ก็ จ ริ ง บ้ า งไม่ จ ริ ง บ้ า ง แทนที่ จ ะมองว่ า ธรรมชาติ ข องกลุ ่ ม ตนมี จุ ด เด่ น ตรงไหน มี ประโยชน์ตอ่ กลุม่ อืน่ ๆอย่างไร และสามารถหยิบ ยื่นความสามารถด้านไหนของตนแก่กลุ่มอื่นๆ ได้บา้ ง อย่างเปิดเผย นับถือกันในความสามารถ จริงๆ ประเด็นส่วนใหญ่ในทีส่ าธารณะของแวดวง มุสลิมประเทศไทย ยังคงเต็มไปด้วยการแข่งขัน การเอาชนะกันทางด้านแนวคิด อาจจะเพื่อดึง มวลชนหรืออะไรก็ตามแต่ ถึงแม้จะมีคนเบื้อง หลังจ�ำนวนมากทีท่ ำ� งานเพือ่ อิสลามอย่างเงียบๆ 17
เหล่านี้ ก็ได้ฉายภาพที่ท�ำให้คนมุสลิมเองเสีย ก�ำลังใจ รู้สึกแตกแยก เป็นการบิดเบือนความ เป็นจริงในสังคมมุสลิมด้วยการน�ำเสนออยู่ไม่กี่ เรื่อง บรรยากาศเหล่านี้ท�ำให้คนมุสลิมสูญเสีย โฟกัส คือการพัฒนาศักยภาพตนเองเพือ่ อัลลอฮฺ และการแข่งขันในเชิงคุณภาพ ไปสู่การแข่งขัน ในเชิงอีโก้ซึ่งไม่ก่อเกิดประโยชน์ และอาจส่งผล เสียทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺอีกด้วย การแก้ปัญหานี้ไม่ซับซ้อนครับ เตือนตัว เองบ่อยๆ เข้าหาอัลลอฮฺ ลดอีโก้ และท�ำงานให้ หนักขึ้น คิดให้เยอะ แต่แสดงความคิดเห็นใน ประเด็นละเอียดอ่อนต่างๆให้น้อยลง พึงร�ำลึก ว่า เราไม่ใช่ศูนย์กลาง เราอาจจะผิดจะถูกเป็น เพียงเรื่องเล็ก ที่ส�ำคัญคือเราจะตอบค�ำถามต่อ อัลลอฮฺในเรื่องวายิบบนตัวเราอย่างไร เมื่อเรา กลับไปสู่คืนพระองค์ต่างหาก ในฐานะที่ ค ลุ ก คลี กั บ มุ ส ลิ ม จากหลากหลาย ประเทศ อะไรคือข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ระหว่างมุสลิมไทย กับมุสลิมในประเทศอื่นๆ ? มุสลิมในประเทศไทย เป็นกลุม่ คนทีม่ โี อกาส และความท้าทายทีน่ า่ สนใจกว่าในต่างชาติครับ ประเทศไทยยังคงมีพนื้ ทีว่ า่ งให้พวกเราได้ไปเติม เต็มอีกมาก ไม่มกี ารกดขีท่ รี่ นุ แรง และมีเสรีภาพ ให้เราสามารถคิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมทาง ความคิดหรือทางเทคโนโลยีใหม่ๆได้มากมาย โดยไม่ถกู ควบคุมโดยรัฐบาลเสียก่อน โจทย์ทเี่ รา ต้องเผชิญก็มีความท้าทายน่าสนใจ เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศทีค่ วามคิดของคนยังไม่ อิ่มตัว ยังไม่ถูกล็อคโดยปรัชญาที่มีการพัฒนา จนเข้มข้นเช่นในโลกตะวันตก ยังมีช่องที่มุสลิม สามารถน�ำเสนอแนวคิดอย่างผู้เป็นมือบนได้ มากเช่นเดียวกับยุคของท่านนบี(ซ.ล.) ค�ำถาม ที่ส�ำคัญก็คือ มุสลิมประเทศไทยจะสามารถขึ้น มาเป็นชนชั้นน�ำในด้านต่างๆได้เร็วกว่าแนวคิด อื่ น ๆหรื อ ไม่ ซึ่ ง นั่ น ต้ อ งอาศั ย การบ่ ม เพาะ คุ ณ ภาพที่ เข้ ม ข้ น กว่ า คนกลุ ่ ม อื่ น ๆ ในขณะ เดียวกันมุสลิมไทยก็ต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งถึง ประวัติศาสตร์และบริบทของประเทศไทย เพื่อ ที่จะสามารถเชื่อมโยงกับพี่น้องชาวไทย เอื้อ ประโยชน์ และแข่งขันกันโดยสันติ และไม่เพียง คิดหยุดอยูท่ ปี่ ระเทศไทยเท่านัน้ แต่คดิ ต่อไปถึง AEC และประชาคมโลก เป้าหมายร่วมกันของ มุสลิมประเทศไทยในเวลานี้ จึงควรจะเป็นการ รีบขึ้นไปยืนอยู่ ณ จุดนั้นให้เร็วที่สุด
มุญาฮิด วงษ์มณี เป็นสื่อสารมวลชนมุสลิมที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง เคย
ร่วมกับเพือ่ นๆผลักดัน “ดีนไดอารี”่ นิตยสารวัยรุน่ เมือ่ สิบกว่าปีกอ่ น จนสามารถดึง วัยรุน่ มุสลิมทีไ่ ม่คอ่ ยเอาเรือ่ งเอาราวกับศาสนาให้หนั กลับมาสนใจเรือ่ งหลักการศาสนา ได้อย่างแยบยล เขาเกิดและเติบโตในชุมชนมุสลิมใจกลางกรุงเทพมหานคร สังคม ของเขาจึงผสมผสานไปด้วยความเก่าและความทันสมัย เพื่อนฝูงที่คบหามีทั้งพุทธ และมุสลิม แต่ดว้ ยความเข้มแข็งของชุมชนและครอบครัว เขาจึงรักษาอัตลักษณ์ความ เป็นมุสลิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น และด้วยความที่เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มุญาฮิดจึงมักมีมุมมองต่อสังคม ที่แตกต่างและน่าสนใจ จนเราอดไม่ได้ที่จะน�ำมาบอกกล่าวให้รับรู้โดยทั่วกัน สังคมมุสลิมไทยที่อยากเห็นเป็นแบบไหน แล้ว เราจะก้าวไปสู่สังคมแบบนั้นได้อย่างไร ? อยากอยู ่ ใ นสั ง คมที่ มุ ส ลิ ม เป็ น พี่ น ้ อ งกั น เปรียบประดุจเรือนร่างเดียวกัน ส่วนใดเจ็บปวด ส่วนอืน่ ก็เจ็บปวดด้วย ถ้าอ่านแล้วคุน้ ปากก็แปล ว่าจ�ำได้ ว่าเคยถูกสอนให้ท่องกันมา อาจจะที่ โรงเรียน ที่ค่ายอบรม ฯลฯ อาจฟังดูเชยแต่มัน เชยเพราะเราท่องเฉย ๆ แล้วละเลยที่จะปฏิบัติ จริง อิสลามสอนไว้ชัด ๆ ว่าทุกคน all in ใคร หลงทางเราจะพากลับ ใครไม่รู้จักเราจะแนะน�ำ การแบ่งเขา-เรา เป็นไปเพือ่ ยืนยันจุดยืน ส�ำรวจ สถานะ ไม่ใช่เหยียบหัวใครให้ตัวสูงขึ้น ไม่ใช่ กีดกันใครออกไปจากความดี เราไม่ใช่พวกที่ เอะอะก็จะไม่เอาคนนั้น ไม่เอาคนนี้ จะตัดญาติ ขาดมิตร เลิกคบ Unfriend กันง่าย ๆ เพราะ เราต่างเป็นอวัยวะอยู่ในร่างกายเดียวกัน มือ เลอะก็ให้ลา้ ง มีดบาดนิว้ ก็ให้ทำ� แผลครับ ตัดทิง้ ก็บ้าแล้ว คิดว่าอะไรคือปัญหาส�ำคัญทีส่ ดุ ของสังคมมุสลิม ไทยในตอนนี้ ? เราไม่ค่อยเข้าใจ ใส่ใจ ให้ความส�ำคัญกับ บทบาท ‘คอลีฟะตุลลอฮฺ’ ที่ได้รับมาตั้งแต่วันที่ ได้เป็นมุสลิม หรือส�ำหรับหลาย ๆ คน คือตั้งแต่ เกิด หลังนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) อัลลอฮฺไม่ส่งนบีมา อี ก แล้ ว แต่ แ ต่ ง ตั้ ง อุ ม มะฮฺ ที่ เ หลื อ ให้ เ ป็ น ‘ตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน’ แทน นี่ มันยิ่งใหญ่ขนาดไหน เราไม่เข้าใจคุณค่าจริง ๆ ของอิสลามครับ โดยเฉพาะมุสลิมที่ได้ศาสนามาจากพ่อแม่ เรา เหมือนเกิดมาในบ้าน ในความอบอุ่น ในความ สว่าง แล้วก็ไม่เคยรู้ว่ามันดียังไง สว่างท�ำไม อุ่น ท� ำ ไม เพราะไม่ เ คยต้ อ งอาศั ย อยู ่ น อกบ้ า น
ในความมืด ความหนาวเหน็บมาก่อน อิสลาม เป็นบ้านหลังใหญ่ที่เปิดรับทุกคน บ้านที่ไม่เคย เต็ ม และผู ้ อ าศั ย มี ห น้ า ที่ เชิ ญ ชวนคนที่ น อน หนาวอยูข่ า้ งนอกเข้ามา ไม่ใช่หวงไว้ อิสลามเป็น ความดีที่ต้องรักษาแต่อย่าหวงแหน นอกจาก เป็นคนดีแล้วต้องเชิญชวน หรืออย่างน้อยก็เปิด ทางให้ผู้อื่นเข้าสู่ความดีนี้ด้วย นี่คือแนวคิดที่ คอลีฟะตุลลอฮฺตอ้ งเข้าใจให้ขาด และมุสลิมไทย ต้องเข้าใจมากขึ้น แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเลย ผมแนะน�ำให้ทุกคนหาเวลาไปเยี่ยมเยียน สถานที่ ทีเ่ ขาเปิดอบรมมุอลั ลัฟ(มุสลิมใหม่)ดู ไป ดูว่าเขาเห็นคุณค่าอิสลามอย่างไร หัวใจพองโต เบิกบานอย่างไรที่ได้รู้จักพระผู้สร้างของเขา ส�ำคัญทีส่ ดุ ดูทศั นคติและความประพฤติของเขา ครับ มุอัลลัฟจะเปลี่ยนไปทันที เพราะเขารู้แล้ว เดี๋ยวนั้น ว่าเขาอยู่ในสายตาพระผู้เป็นเจ้า และ อยู่ในหมู่ผู้ประเสริฐ ในฐานะผู้ประเสริฐ ขีดเส้น ใต้ค�ำว่าผู้ประเสริฐครับ ผู้อ่านขีดเองเลย เน้น ๆ เราต่ า งเป็ น ผู ้ ป ระเสริ ฐ อั น อยู ่ ใ นกลุ ่ ม ของผู ้ ประเสริฐ แต่เรามักไม่ให้เกียรติ ให้ความส�ำคัญ กับสถานะนี้ กับหมวกใบนี้ ใบเดียวที่จะอยู่กับ คุ ณ ไปจนโลกหน้ า และความประเสริ ฐ ของ อิสลามเป็นเรื่องที่ต้องแบ่งปันครับ คิดว่าใครควรเป็นเจ้าภาพหรือเป็นผู้มีบทบาท ส�ำคัญในการเปลี่ยนแปลงหรือชี้น�ำสังคมมุสลิม ไทย ? เจ้าภาพผมนึกไม่ออก เอกภาพมุสลิมไทยไม่ ได้เข้มแข็งขนาดจะมีเจ้าภาพหนึ่งหน่วยแล้วจะ ไปด้วยกันทัง้ หมด แต่ในเมือ่ ทุกคนเป็นส่วนหนึง่ ของปัญหา แปลว่าทุกคนเริ่มจากตัวเองได้ทันที นับหนึ่ง สอง สาม แล้วเริ่มเป็นคอลีฟะตุลลอฮฺ ได้เดี๋ยวนี้เลยครับ เป็นแสงสว่าง เป็นความ 18
อบอุ่น เป็นบ่าวที่ดีของพระผู้เป็นเจ้า เป็นแสง น�ำทางให้คนหลงทาง ไม่ใช่เป็นไฟไปเผาเขา อินชาอัลลอฮฺ แล้วรอบตัวคุณก็จะมีแสงสว่าง เพิ่มขึ้นทีละดวง สังคมจะค่อย ๆ น่าอยู่ขึ้น ดุนยาเป็นสนามรบของผู้ศรัทธากับการล่อลวง อยูแ่ ล้ว มีแต่วธิ นี ที้ จี่ ะเปลีย่ นพืน้ ทีร่ อบตัวคุณให้ เป็นฐานที่มั่น ให้ได้พักผ่อนก่อนออกไปสู้ต่อ ในฐานะที่คลุกคลีกับสังคมต่างศาสนิก คิดว่า อะไรบ้างที่เป็นปัญหาร่วมระหว่างสังคมมุสลิม กับต่างศาสนิก และเราควรจะแลกเปลี่ยนเรียน รู้อะไรกันได้บ้าง ? ความไม่ให้เกียรติตัวเองของมุสลิม การให้ ล�ำดับความส�ำคัญของอิสลามผิด อะไรได้อะไร ไม่ได้ อะไรข้อบังคับ อะไรประเพณี เรามักไม่ ชัดเจน เวลาคนหมูม่ ากอยูด่ ว้ ยกัน อะไรทีเ่ หมือน กันร่วมกันได้ มันเป็นธรรมชาติอยูแ่ ล้วทีก่ ลุม่ จะ อยากให้ร่วม เพราะมันท�ำให้อยู่ร่วมกันง่ายขึ้น แต่อะไรที่มันร่วมกันไม่ได้เป็นเด็ดขาด กลุ่มก็ พร้อมจะเข้าใจ แพ้กุ้ง, แพ้น�้ำหอม, ไม่กินเนื้อ สั ต ว์ ที่ มั น ไม่ เข้ า ใจคื อ ท� ำ ไมแต่ ล ะคนมั น ไม่ เหมือนกันวะ
ผมท�ำงานในบริษัทข้ามชาติ เพื่อนร่วมงาน มาจากหลายสิบประเทศ ทุกคนมีเงือ่ นไขของตัว เอง ซึ่งทุกคนที่เหลือก็พร้อมจะเคารพเสมอ จะไม่ มี ก ารเรี ย กตั ว ที ม งานที่ เ ป็ น มุ ส ลิ ม มา ประชุมในวันศุกร์บา่ ย เพราะต้องไปละหมาดวัน ศุกร์ นัดสัมมนาถ้ามีทีมงานมุสลิม อาหารก็ต้อง ฮาลาลทั้งหมด ไม่มีใครต้องขาดละหมาด ฯลฯ ซึง่ ไม่ได้เป็นความล�ำบากอะไรของทุกคน พอเรา ยืนยันจุดยืนชัดเจน มันก็ง่ายครับ ส่วนเรื่องแลกเปลี่ยน ถึงจุดหนึ่ง มุสลิมจะ ถูกถามครับ เราถูกออกแบบให้เป็นคนนอกเสมอ อัลลอฮฺบอกไว้แล้ว เป็นหน้าที่เลยที่เราต้อง พร้อมอธิบาย พร้อมแลกเปลี่ยน จึงต้องมีความ รู้พอ มีอัคล๊ากที่ดีพอ เลี่ยงไม่ได้ครับ คุณคือ คอลีฟะตุลลอฮฺ
มู ฮั ม หมั ด ฟะฮ์ มี ตาเละ หนุ่ม
นักศึกษาแพทย์จากชายแดนภาคใต้ สนใจ ปัญหาสังคมจนวิพากษ์ออกมาเป็นงาน เขียนรวมเล่มของตัวเองและได้รับความ สนใจจาก นักอ่านอย่างอบอุ่น เมื่อเรียน จบเขาคงเป็นนักศึกษาแพทย์ที่แปลก หาก ยึดตามมาตรฐานแบบไทยๆ เขาไม่ใช่เด็ก เรียน ไม่ใกล้เคียงเลยด้วยซ�้ำ ทั้งคนรู้จัก และไม่ รูจ้ กั น่าจะจัดเขาเป็นจ�ำพวกเด็กหลัง ห้องมากกว่า เป็นเด็กหลังห้องที่ชอบโห่ แซวครูผู้สอน ชีวิตไม่ได้มีแค่การเรียน แต่ ยังชอบเล่นกีฬา บ้ากิจกรรม สนใจการ ช่วยเหลือสังคม และหากดูแค่เสื้อผ้าหน้า ผมคงไม่มใี ครคิดว่าเขาจะเป็นเด็กเรียนเก่ง หาตั ว จั บ ยากคนหนึ่ ง ในละแวกบ้ า นเกิ ด หรื อ นี่ อ าจเป็ น ภาพจ� ำ ลองลั ก ษณะของ เยาวชนมุสลิมไทยในอนาคต ทีก่ ล้าท้าทาย กรอบความคิดที่ยึดติดระเบียบแบบแผน เดิมๆของสังคมมุสลิมในประเทศไทย หาก เป็นเช่นนั้น บางทีอาจถึงเวลาที่เราต้อง ตั้ ง ใจฟั ง ทั ศ นะของเขาอย่ า งลึ ก ซึ้ ง แล้ ว ก็เป็นได้ คิดว่าอะไรคือปัญหาส�ำคัญของสังคมมุสลิมไทย? มั น มี ป ั ญ หาหลายรู ป แบบมาก ในฐานะ มนุษย์ดว้ ยกัน การไม่สามารถเข้าถึงคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี องคนหมูม่ ากในสังคมคือวิกฤตในความคิด ของผม ซึง่ น่าเสียใจอยูไ่ ม่นอ้ ยทีส่ ดั ส่วนมุสลิมใน กลุ่มดังกล่าวมีอยู่เยอะ ง่ายๆเลยในชีวิตของผม ที่เป็นหมอ ทั้งที่ผมเจอเองหรือฟังจากเพื่อนๆ หมอด้วยกันเล่ามา มันมีอะไรที่ไม่น่าเชื่อว่าจะ เกิดขึ้นในทศวรรษนี้ส�ำหรับประเทศนี้ ผมเคยเจอครอบครัวหนึ่ง มีลูก 7 คน รวม พ่อ แม่ เป็นทั้งหมด 9 คน สมาชิกในครอบครัว ที่ต้องพามาให้หมอตรวจคือลูกคนสุดท้องใน บ้าน ถูกส่งตัวมาจาก รพ.ประจ�ำอ�ำเภอด้วยเรือ่ ง ตัวบวมเพราะภาวะขาดสารอาหารโปรตีน บวม ทั่วตัว มีไข้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป สืบสาวเรื่องต่อพบ ว่าครอบครัวนี้พ่อแม่มีอาชีพรับจ้างตัดยาง บน เขาห่างไกลชุมชน มีรายได้รวมต่อเดือน 3,000 บาท ไม่ผิดหน่วย ไม่ผิดเลข สามพันบาทครับ เมื่อมีรายได้น้อย อาหารทุกมื้อจึงมีกับข้าวเป็น บะหมี่ บางมื้ออาจจะมีไข่ใส่ลงไปบ้าง กินกัน แบบนีม้ าเป็นเวลาหลายปี ลูกคนสุดท้องทีม่ าหา หมอนี่ไม่ได้กินบะหมี่ แต่ขาดสารอาหารเพราะ
เด็กกินนมแม่ที่กินแต่บะหมี่ ไม่ได้รับโปรตีน อย่างอื่น นมแม่ก็ไม่รู้ว่าอะไรอยู่บ้าง บีบเค้นมา จากเลือดแม่ทงั้ ตัวแทบไม่เหลือสารอาหารอะไร ให้ลกู เลย ตรวจร่างกายลูกคนอืน่ ๆ ในบ้านก็เป็น โรคขาดสารอาหารตัวเล็กกว่าเกณฑ์กันหมด อะไรแบบนี้คือเรื่องที่ไม่คาดว่าจะเจอ คนใน เมืองจนที่สุดยังไงก็มีข้าวกิน แต่ชีวิตแบบนี้ผม ว่ามันยังมีซ่อนอยู่อีกเยอะ คือพอมีเรื่องพวกนี้ ขึ้นมา ไอ้ปัญหาพวกความขัดแย้งระหว่างสาย เก่า – ใหม่ ความแตกต่างระหว่างมัซฮับ สลัฟอิควาน มันดูเล็กไปเลย คนกินอิ่มนอนหลับก็มี เรื่องทะเลาะกันได้ทุกวัน ในขณะเดียวกันปาก ท้อง สุขภาพอนามัย ความรู้ส�ำหรับการมีชีวิต อย่างพลเมืองของคนส่วนใหญ่ในสังคมมุสลิมยัง น้อยอยู่ อันนี้ผมว่ามันวิกฤต ใครควรเป็ น เจ้ า ภาพในการสร้ า งความ เปลี่ยนแปลงหรือชี้น�ำสังคมมุสลิมไทย? มัน ไม่มีอ งค์ ก รอะไรที่ ดูแลคนทุ ก ส่ ว นใน สังคมได้หมดอยู่แล้ว ใครถนัดอะไรก็ท�ำในสิ่งที่ ตัวเองถนัด แต่มีจุดมุ่งหมายนะ เพื่อช่วยเหลือ เพื่อนมนุษย์ ช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมด้วยกัน คือ ท�ำอะไรก็ได้ที่ท�ำให้คนอื่นได้รับประโยชน์จาก ต้นทุนที่เรามีบ้าง สมมติว่าผมเป็นหมอผมอาจ จะออกหน่วยแพทย์อาสา เดินขึ้นป่าขึ้นเขา ตรวจชาวบ้านฟรีๆ ถ้าวิศวกรก็ช่วยออกแบบ บ้าน knock down ราคาถูกๆ ที่ให้คนเร่ร่อน มีที่อยู่อาศัยเป็นรูปเป็นร่างบ้าง นักกฎหมายก็ รวมตัวกันว่าความให้คดีที่โดนอธรรม ซึ่งกลุ่ม เหล่านีม้ นั มีมาก่อนทีผ่ มจะตอบค�ำถามวันนีน้ าน มากแล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือคนแบบที่ว่ามันเป็นคน ส่วนเล็กๆในทุกๆสาขาวิชาชีพ มันต้องช่วยกัน 19
สร้างกระแส กระแสทีแ่ บบว่าให้คนรุน่ ใหม่ทพี่ อ มี ค วามรู ้ ค วามสามารถมี วิ ช าชี พ ที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ หรือไม่มีความรู้ไม่มี วิชาชีพก็ได้ แต่อยากมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน ออกมาเยอะๆ มันต้องมีอีเว้นท์บ่อยๆ ถ้ามีคนคิดใกล้กันเหมือนกัน ก็รวมกันจัดตั้ง เป็นกลุ่มเป็นองค์กรแล้วต่อยอดพัฒนากันต่อ ประเทศเรามีมุสลิมที่อยู่ดีกินดี การศึกษาดี มีงานท�ำดีๆเยอะ แต่มันเหมือนเราหลับตาไม่ อยากมองเห็นว่าสังคมเรายังมีความต้องการใน สิ่งที่ท่านมีอยู่เยอะนะ ในฐานะที่เป็นนักศึกษา คิดว่าอะไรบ้างที่เป็น ปัญหาของเยาวชนมุสลิมในสังคมที่แตกต่าง? ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ท่ า มกลางความสั ม พั น ธ์ ระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างคือ ความกล้าใน การทดลองสิง่ ใหม่ๆ โดยทีไ่ ม่ทำ� ให้ขนบเดิมของ เราหายไปผมว่ า น.ศ.มุ ส ลิ ม เค้ า เป็ น ห่ ว งอั ต ลักษณ์ของวัฒนธรรมตัวเอง ซึ่งความจริงมัน เป็นเรื่องดีนะ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการ ยืนหยัด แต่เราน่าจะเรียนรูเ้ พิม่ เติมกันหน่อยนะ ว่าเราสามารถแสดงตนในการเป็นมุสลิมที่ดีได้ แล้วสามารถเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมที่แตก ต่ า งได้ จ ากการสั ม ผั ส และใกล้ ชิ ด คนใน วัฒนธรรมอื่น แต่คงมีให้เห็นหลายกรณีว่าเด็ก ปอเนาะทิ้งความรู้ศาสนาไปกันหมดเลยพอมา เจอวัฒนธรรมที่ ทันสมัยอะไรพวกนี้ ท�ำให้รุ่น น้องต้องระวังตัวกันมากขึน้ อันนีเ้ ป็นเรือ่ งทีต่ อ้ ง ชั่งน�้ำหนักกันให้ดี การรักษาตัวตนมุสลิมมันท�ำให้เราอยู่กับสังคม อื่นยากไหม? ผมว่าไม่ยากเลย ผมเป็นมุสลิมที่ชัดเจนกับ คนรอบข้างตั้งแต่ครั้งแรกที่เราเจอกันว่าเรามี ขอบเขตอะไรบ้าง วันหนึง่ ต้องท�ำอะไรบ้าง อะไร ที่กินได้ กินไม่ได้ ซึ่งเพื่อนๆแรกๆก็ไม่มีความรู้ เรื่องพวกนี้เลย ต้องใช้เวลาพอสมควรในการ อธิบาย มันไม่ถงึ กับแปลกแยกหรอก เพราะมีอกี ตั้ ง หลายเรื่ อ งที่ เราท� ำ เหมื อ นกั บ คนอื่ น ๆได้ เตะบอลด้วยกัน กินน�้ำชาด้วยกัน อะไรด้วยกัน ก็เป็นเพื่อนต่างศาสนิกทั้งนั้น ผมว่าจุดเริ่มต้นที่ เราท�ำให้คนอืน่ รูจ้ กั เรานีแ่ หละส�ำคัญทีส่ ดุ ถ้าเรา เริ่มต้นว่าเราเป็นมุสลิมแบบชัดเจนไปเลยนะ ซักพักนึงทุกคนก็จะเข้าใจเราว่าทีเ่ ราแตกต่างกับ คนอื่นมันเป็นเรื่องของศาสนา มันคล้ายๆกับ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ////
สร้างบ้านให้ครอบครัวก�ำพร้า “ครอบครัว กามา” จังหวัดปัตตานี สืบเนื่องจากเมื่อประมาณเดือนกันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการมูลนิธิ ศรัทธาชนเพื่อการศึกษาและเด็กก�ำพร้า น�ำโดยคุณมนตรี สมานะวณิชย์ คุณอัยยูบ ปิ่นทอง คุณอับดุลรอชีร สุวรรณดี ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัว ก�ำพร้าในพื้นที่ ภาคใต้ ที่จังหวัด ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ และสตูล ซึ่ง พบว่าครอบครัวกามา ที่ ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ต้องการความช่วย เหลือในด้านที่อยู่อาศัย เนื่องจากบ้านเดิมมีความทรุดโทรมมาก ไม่มีห้องน�้ำ ประกอบกับมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์อาศัยร่วมด้วย ทางคณะกรรมการจึงมีมติให้ความช่วยเหลือด�ำเนินการสร้างบ้านให้ โดย มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเพื่อการก่อสร้างในครั้งนี้ รวมมูลค่าการก่อสร้าง ประมาณ 2 แสนบาท ขณะนี้ด�ำเนินการก่อสร้างไปแล้ว กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จ ภายในเดือน มกราคม 2557 ส�ำหรับพี่น้องที่ทราบข้อมูล ครอบครัวก�ำพร้าที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถส่งข้อมูลมาได้ที่ ส�ำนักงานมูลนิธิศรัทธาชนฯ 02-9343495 หรือ ที่สายด่วนศรัทธาชน 081-9308713
20
ดาวเทียม THAICOM 5 C-Band ความถี่ 3585 V Symbol Rate : 30000 หรือดูออนไลน์ได้ที่ www.Yateem.tv
ท่ า นคื อ คนส� ำ คั ญ ที่ จ ะร่ ว ม สานฝันให้เด็กก�ำพร้า ร่วมสานฝันโดยบริจาคเงินเข้าบัญชี
ธนาคารกรุ ง เทพ สาขาลาดพร้ า ว 99 บัญชีกระแสรายวัน ชือ่ บัญชี มูลนิธศิ รัทธาชน เพื่ อการศึ ก ษาและเด็ ก ก� ำ พร้ า เลขที่บัญ ชี 181-3-09014-7 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขา คลองตัน บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี มูลนิธิ ศรั ท ธาชน เพื่ อ การศึ ก ษาและเด็ ก ก� ำ พร้ า เลขที่บัญชี 001-6-00162-1
21
หรื อ ติ ด ต่ อ ส� ำ นั ก งานมู ล นิ ธิ ฯ 48/48 ซ.ลาดพร้ า ว 114 แขวงพลั บ พลา เขต วังทองหลาง กทม. 10310 โทรศัพท์ 02-934-3495 โทรสาร 02-934-3496 อีเมล satthachon@hotmail.com เว็บไซต์ www.satthachon.org เฟซบุค www.facebook.com/satthachon
Halal Healthy
สสม. - www.muslimthaihealth.com
การเลือกใช้น�้ำมัน
ในการประกอบอาหาร
น�้ ำ มั น และไขมั น เป็ น อาหารที่ ใ ห้
พลังงานและความอบอุน่ แก่รา่ งกาย และ เป็นตัวพาวิตามินที่ละลายในไขมัน คือ วิตามินเอ ดี อีและเค เพื่อให้ร่างกาย สามารถดูดซึมไปใช้ได้ น�ำ้ มันทีใ่ ช้ในการ ประกอบอาหารทั่วๆไป มี 2 ชนิดคือ น�้ำมันพืชและน�้ำมันสัตว์ น�้ำมันพืช(ยกเว้นน�้ำมันมะพร้าวและน�้ำมัน เมล็ดปาล์ม) จะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น กรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมี ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าน�้ำมันสัตว์ ไขมันไม่อิ่มตัวนี้จะไม่ค่อยเป็นไข แม้จะอยู่ในตู้ เย็น เช่น แช่ตู้เย็น แต่จะท�ำปฏิกิริยากับความ ร้อนและออกซิเจนได้ง่าย แต่มักท�ำให้เกิดกลิ่น เหม็นหืนภายหลังจากใช้ประกอบอาหารแล้ว น�้ำมันสัตว์ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่ เป็น กรดไขมันอิม่ ตัว ซึง่ มีคณ ุ สมบัตเิ ป็นไขได้งา่ ย เมือ่ อากาศเย็นชื้น ไขมันสัตว์มีกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย เมื่อทิ้งไว้ที่อุณหภูมิธรรมดา การบริโภคไขมัน สั ต ว์ ม ากอาจจะท� ำ ให้ ร ะดั บ คอเลสเตอรอล ในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อการ เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น�้ำมันสัตว์ น�้ำมันเมล็ด ปาล์ม และน�ำ้ มันมะพร้าว เนือ่ งจากมีกรดไขมัน อิ่มตัวปริมาณมาก น�้ำมันปรุงอาหาร ควรเป็นน�้ำมันจากพืช หลีกเลี่ยงการใช้น�้ำมันสัตว์ เพื่อมิให้เพิ่มความ เสี่ยงของโรคหัวใจ
ซึ่งสามารถเลือกให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ตามรายการต่อไปนี้ 1.น�ำ้ มันถัว่ เหลือง (Soy Bean Oil) เหมาะ ส�ำหรับการท�ำอาหารแทบทุกประเภท เพราะมี จุดเดือดค่อนข้างสูง และมีรสเป็นกลางสามารถ น�ำไปท�ำน�้ำสลัดได้เหมือนกัน เช่นน�้ำสลัดญี่ปุ่น แต่อาจจะไม่เหมาะนักถ้าไม่ชอบน�ำ้ มันทีม่ คี วาม ข้น 2.น�ำ้ มันถัว่ ลิสง (Peanut or Groundnut Oil) มีสองแบบ คือแบบจีน กับแบบฝรั่ง แบบ จีน จะมีกลิ่นของถั่วคล้ายน�้ำมันงาแต่อ่อนกว่า และกลิน่ ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว เหมาะส�ำหรับ การผัดเส้นราดหน้าให้มีกลิ่นหอม ท�ำข้าวผัด ท�ำอาหารจานผัดต่างๆ น�้ำมันชนิดนี้ใช้ในการ ทอดได้ดีเพราะทนความร้อนได้สูง แบบฝรั่ง คล้ายกับของจีน ต่างกันที่ไม่มีกลิ่นของถั่ว 3.น�้ำมันมะกอก (Olive Oil) มีไขมันที่มี ประโยชน์มากที่สุด เป็นน�้ำมันที่มีหลากหลาย เกรด และแต่ละเกรดก็สามารถน�ำไปประกอบ อาหารได้ดีแตกต่างกันไป น�้ำมันมะกอกแบบ Extra Virgin นั้นเหมาะส�ำหรับอาหารจานเย็น ทั่วไป เช่น Salad หรือ Cold Seafood ส่วน น�้ำมันมะกอกแบบ Pure Olives Oil, Refined Olives Oil นั้นจะผ่านกระบวนการมากกว่า น�ำ้ มันมะกอกแบบ Extra Virgin ซึง่ กลิน่ จะอ่อน กว่า สีจางกว่า เหมาะส�ำหรับการท�ำอาหาร ทั่วไป เช่นการผัด Spaghetti, Pan Grill ต่างๆ ยกเว้นการทอดที่ใช้ความร้อนสูงมากๆ เพราะ น�้ำมันมะกอกทนความร้อนได้ไม่สูงนัก 22
4.น�้ำมันดอกทานตะวัน (Sun Flower
Oil) เป็นน�้ำมันที่มีเนื้อบาง เบา และไร้กลิ่น เหมาะส�ำหรับท�ำสลัด และ การผัด แต่ไม่เหมาะ ส�ำหรับการทอด เพราะ low smoke point 5.น�้ำมันดอกค�ำฝอย (Safflower Oil) มี ลักษณะคล้ายน�้ำมันดอกทานตะวัน และน�ำไป ประกอบอาหารได้ เ หมื อ นกั บ น�้ ำ มั น ดอก ทานตะวัน 6.น�้ำมันข้าวโพด (Corn Oil) เป็นน�้ำมันที่ เหมาะกับการทอดแบบ Deep Fried เพราะ ทน ความร้อนได้สูงที่สุด น�้ำมันข้าวโพดส่วนใหญ่ เมื่อเย็นจะไม่มีกลิ่น แต่ถ้าได้รับความร้อนมาก ขึ้นจะเริ่มมีกลิ่นของข้าวโพดบางๆ 7.น�้ำมันงา (Sesame Oil) เหมาะส�ำหรับ ปรุงแต่งกลิ่นของอาหารหลังจากท�ำเสร็จแล้ว เพราะทนความร้อนแทบไม่ได้เลย แต่สามารถ ใส่เพื่อลดกลิ่นคาวลงไปในปลาหรือ Seafood ที่จะน�ำไปต้มหรือลวกได้ครับ 8.น�้ำมันปาล์ม หรือน�้ำมันพืช (Vegetable Oil, Palm Oil) มักเป็นน�้ำมันผสม ระหว่าง น�้ำมันถั่วเหลือง น�้ำมันปาล์ม น�้ำมันมะพร้าว หรือเมล็ดผักอย่างอื่น ที่มีราคาถูก มี high smoke point เหมาะส�ำหรับท�ำอาหารผัด ทอด หลากชนิด แต่ไม่เหมาะส�ำหรับผูท้ มี่ ปี ญ ั หาเรือ่ ง คอเลสเตอรอลเพราะไขมันอิ่มตัวสูงมาก 9.น�้ำมันร�ำข้าว เป็นน�้ำมันที่มี Smoking Point สูง ท�ำให้การทอดด้วยน�้ำมันร�ำข้าวมี โอกาสเกิดสารก่อมะเร็งต�่ำกว่า และมีความ ปลอดภัยกว่า //// ที่มา http://nutrition.anamai.moph.go.th http://www.lube999.com http://bankny.multiply.com http://health2u.exteen.com www.ppho.go.th
23
24
AM 873
ระเบียงธรรม AM 1251
AM 1071 / FM 87.5
ออกอากาศ วันจันทร์ - ศุกร์
ออกอากาศ ทุกวันเสาร์
และเครือข่ายทั่วประเทศ
เวลา 17.00 - 19.00 น.
เวลา 15.00 - 16.00 น.
ออกอากาศ วันศุกร์ และวันเสาร์
เวลา 17.00 - 18.00 น.
โดย
โดย
เวลา 5.00 - 6.00 น.
ด�ำเนินรายการโดย
มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลาม แห่งประเทศไทย
ชมรมมุสลิมพัฒนาสังคม
โดย
ด�ำเนินรายการโดย ชุกรี่ มะห์มูดี้
มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลาม (ว.ก.พ.)
วิทยุ WAMY AM 1251 ออกอากาศ วันจันทร์ - เสาร์
อับดุลอะซีด ข�ำเจริญ อุมัร วันหมัด
ที่นี่ศูนย์กลางอิสลาม
ด�ำเนินรายการโดย นิติ ฮาซัน และคณะ
คลื่นสัจธรรม AM 945
คลื่น วิทยปัญญา
ออกอากาศ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 5.30-7.00 น. โดย มัสยิดอัลฮิดายะห์ (ล�ำบุหรี่พวง) ด�ำเนินรายการ โดย อนุสิทธ์ สุขุมานันท์ อิมรอน มูฮัมหมัด มาโนช มานหมัด
เพื่อนก�ำพร้า
AM 945 / AM 1251 ออกอากาศ ทุกวันอาทิตย์
ออกอากาศ ทุกวันอาทิตย์
เวลา 10.00 - 13.00 น.
เวลา 15.00 -16.00 น.
ออกอากาศ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00 - 17.00 น.
โดย ชมรมวิทยปัญญา
โดย สมาคมศิษย์เก่า
โดย
ด�ำเนินรายการ โดย สมยศ หวังอับดุลเลาะ อิสมาแอล มีสมรรถ
เพื่อการศึกษา AM 1035 เวลา 21.00 - 22.00 น.
อิดรีส บินอุมัร
มิฟตาฮุ้ลอุลูมิดดีนียะห์ (บ้านดอน)
ด�ำเนินรายการ โดย โยธิน ยะห์ก๊บ ศุภกิจ บุตรน�้ำเพชร
AM 1251
ด�ำเนินรายการโดย
ยูริด ด�ำริเลิศ และ อะหมัด นิยม
สื่อสันติธรรม อศอ. AM 1251
ออกอากาศ ทุกวันเสาร์
เวลา 18.00 - 19.00 น.
ด�ำเนินรายการโดย
ที่นี่ มิฟตะห์ AM 1251
เพื่อการสงเคราะห์และ ฝึกฝนวิชาชีพเด็กก�ำพร้า ออกอากาศ ทุกวันอาทิตย์
เผยแพร่ศาสนาอิสลาม
เสียงสมาคม นักเรียนเก่าอาหรับ AM 999 ออกอากาศ ทุกวันเสาร์ เวลา 23.30 - 00.30 น. โดย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ด�ำเนินรายการดดย รอฎี หวังพิทักษ์
โดย โรงเรียนท่าอิฐศึกษา ด�ำเนินรายการโดย อั๊ดนาน เชื้อผู้ดี ซุบกี้ มุนาวี 25
สมาคมอิสลามศรีอยุธยา ด�ำเนินรายการโดย อะหมัด เลาะวิถี และคณะ
สาระธรรมสัมพันธ์ AM 1251 ออกอากาศ ทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 6.30 -7.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 6.00-7.00 น. ด�ำเนินรายการโดย ปริญวิทย์ อิสมาแอล
26
Ad. Smile Travel
27
28