“SHARE OUR WORLD SHARE OUR CULTURE”
‘เสือบางลำ�พู ครูสมเกียรติ’ เสือบางลำ�พู ครูสมเกียรติ
วันทยหัตถ์ ‘กอง!!! วันทยหัตถ์ มือลง’ ‘เสือบางลำ�พู ครูสมเกียรติ’ เล่มนี้ พูดถึง ชายที่หัวใจไม่เล็ก ผู้ให้ทั้งกายและใจ หลังจากทำ�งานในรั้วโรงเรียนวัดสังเวชมา ยาวนานถึง 33 ปี - - - 33ปี ในปีนี้ 2554 ครูสมเกียรติ เกษียณอายุราชการ พวกเราเหล่า กองร้อยพิเศษ ได้จัดทำ�หนังสือเพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน เป็นหนังสือจากใจ ‘ลูกเสือ’ ถึง ‘พ่อเสือ’ หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ เพ็ญจันทร์ นาทิพย์ (น้ำ�) บรรณาธิการ (ฝึกหัด)
‘สมเกียรติ วิชัยวัฒนา’ ครู, พ่อเสือ, ผู้ให้ทั้งกายและใจ
ลูกชายชาติเชื้อชาวพิมาย : สมเกียรติ วิชัยวัฒนา
สมศักดิ์ชายชาติเชื้อชาวพิมาย เกียรติขจรขจายไกรเกริกหล้า วิชัยเปี่ยมปฏิบัติไฟศรัทธา
วัฒนาเทิดสัตย์ล้ำ�เสือบางลำ�พู
บทความ / สมปอง ดวงไสว แดนพิมาย >>> พิมายชุมชนเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีภาษา สำ�เนียงเป็นเอกลักษณ์ คนพิมายลูกหญิงชายเลือดเนื้อเชื้อไขพิมายมีเอกลักษณ์สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษบุราณกาล พิมายมาจากวิมาย มีในจารึกเก่าภาษาเขมร บนแผ่นหินกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าปราสาทหินพิมาย ใน จารึกปราสาทพระขรรค์เรียกว่า เมืองวิมาย หรือวิมายปุระ พิมายเมืองโบราณ มีคูน้ำ�ล้อมและกำ�แพงเมืองโดยรอบ มีศาสนสถานอยู่กลางเมือง เมืองพิมายอยู่ในทำ�เลที่ดี มีแม่น้ำ�มูลไหลผ่านทางด้านทิศเหนือและตะวันออก ทิศใต้มี ลำ�น้ำ�เค็ม ตะวันตกมีลำ�น้ำ�จักราชไหลผ่าน ไปรวมกับแม่น้ำ�มูลที่ท่าสงกรานต์ พิมายขึ้นชื่อ เมืองปราสาทหิน ถิ่น ไทรงาม เรืองนามประเพณี ผัดหมี่พิมาย คือหัวใจแดนดินถิ่นพิมาย หัวใจคนพิมาย >>> คนพิมายใจนักสู้ มีน้ำ�ใจเป็นนักกีฬา ดัง ยักษ์สุข ปราสาทหินพิมาย ตำ�นานที่จดจำ� เป็นมวยดีขึ้นคานหาคู่ชกไม่ได้ แล้ววันหนึ่งยักษ์สุขต้องชกกับเก่งรุ่นพี่ ยกแรกสุขถูกเตะหงายท้องคนนึกว่าวันนี้สุขแพ้ แต่ชกถึงยกสามรุ่นพี่หมดแรง แต่สุขไม่ซ้ำ�เติมและบดขยี้ให้แพ้หมดรูป ระหว่างที่กอดก็พูดขอโทษรุ่นพี่ตลอด เมื่อครบ ยกเป็นผู้ชนะได้ก้มกราบขอโทษนักมวยรุ่นพี่ที่ชื่อสมาน ดิลกวิลาส และบอกว่าถ้าอายุเท่าๆกันชกกันในตอนนั้นไม่มี ทางที่จะไปสู้พี่เขาได้ คือหัวใจคนพิมายที่จดจาร ลูกชายชาวพิมาย >>> ปีพ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นปีที่สุข ปราสาทหินพิมาย สร้างชื่อโด่งดัง เหมือนสื่อสารบอก สังคม ลูกผู้ชายชาวพิมายเลือดนักสู้ มีน้ำ�ใจนักกีฬา เกิดมาให้ได้ภาคภูมิใจอีกคนในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ลมร้อนแห่งเดือนเมษา แต่พิมายยามนี้ชุ่มเย็นของคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่ฉ่ำ�เย็นเป็นปลื้มอยู่เต็มหัวใจ ลูกชายชาวพิมาย สมเกียรติ วิชัยวัฒนา เป็นลูกคนที่ ๒ ของพี่น้อง ๔ คนของคุณพ่อแก้ว แม่ถนอม ครอบครัวชาวนาแห่งเมือง พิมาย พ่อแก้วเป็นคนพิมายแต่อยู่ที่หนองปรือต่างตำ�บลออกไป แต่ด้วยเป็นคนขยันทำ�มาหากิน ได้พบแม่ผู้มีหัวใจอัน ประเสริฐ จึงมาใช้ชีวิตร่วมกันที่บ้านของแม่ในเมืองพิมาย จวบจนถึงวันจากกัน เป็นวิชัยวัฒนาทายาทชาวพิมายมีพี่ น้องท้องเดียวกัน ๔ คน คนโตเป็นผู้หญิงชื่อ ชุติมา แล้วจึงมาเป็นสมเกียรติ คนที่สอง คนที่สามชื่อนุกูล และคนสุด ท้องชื่อมัณฑนา วิชัยวัฒนา สืบค่าคนดีศรีพิมาย ลูกชายหัวใจเรียนรู้ >>> เด็กพิมาย สู้ชีวิต รักการเรียนรู้ เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนกุลโน เป็น โรงเรียนประชาบาลประจำ�ตำ�บลในเมืองก่อตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๖ ในปีพ.ศ. ๒๔๕๗ ที่นี่ได้เรียนรู้ประทับใจถึงวิธี การสอนลูกเสือของครูวัฒนเกียรติ นาคะนิเวศน์ ครูใหญ่ของโรงเรียนอย่างมาก นอกจากเรียนแล้วยังสนใจกีฬา เด็ก ชายสมเกียรติ วิชัยวัฒนาเริ่มแข่งขันวิ่งกระสอบ พัฒนาฝีเท้าจนสามารถชนะเลิศได้ เพราะหัวใจที่มุ่งมั่นและขยัน ฝึกซ้อม จบชั้นประถมศึกษา เรียนต่อในระดับมัธยม “พิมายวิทยาสถาบันงามอำ�ไพ ชื่อเสียงเกริกไกรยอดเยี่ยมวินัย
นำ�หน้า เรื่องเรียนก็ดีศักดิ์ศรีเราชนศรัทธา ทั้งเรื่องกีฬา สามัคคีดีเด่นพร้อมมูล” โรงเรียนพิมายวิทยา สร้างในที่ เป็นวังเก่าเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระราชินีในรัชกาลที่๕ ได้เคยเสด็จและประทับ ที่นี่พบครูดีจุด ประกายหัวใจ ครูอุดร สุวรรณพงศ์ บี.พี.อย่างไรก็อย่างนั้น พัฒนาเล่นกีฬาเพิ่มขึ้น เป็นทั้งนักฟุตบอล นักตะกร้อ ของโรงเรียน เรียนก้าวหน้า กีฬาก้าวไกล ศรัทธาชีวิตครู >>> ครูคนดีเป็นที่รักเคารพศรัทธาของชาวบ้าน จะเป็นครูต้องเรียนครู จึงมุ่งสู่วิทยาลัย ครูนครราชสีมา ที่นี่มีกีฬาฟุตบอลประเพณีระหว่างวิทยาลัยครูกับวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโล่ พระราชทานเป็นรางวัลตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๒ สมเกียรติ วิชัยวัฒนา เรียนปกศ.ต้น กีฬาอยู่ในสายเลือด เป็นนัก ฟุตบอลทีมวิทยาลัยครูเล่นฟุตบอลประเพณี กีฬาดีมีเพื่อนพ้องน้องพี่ มีพี่ที่ดีชวนน้องก้าวหน้า ไปเรียนต่อปริญญา กัน ที่ไหนละพี่ ประสานมิตร ยากอย่างไรไม่ไกลเกินฝัน สอบหนเดียวติดเป็นนิสิตประสานมิตรสมใจ ประสานมิตร ประสานใจสานฝันชีวิตครู อยู่ประสานมิตร >>> วิทยาลัยวิชาการศึกษา อยู่ซอยประสานมิตร สุขุมวิท ได้อยู่หอเช่าริมคลองต่อ มาจึงได้อยู่หอวิทยาลัย นิสิตสมเกียรติ วิชัยวัฒนาได้เข้าศึกษาในสมัย ดร.สุดใจ เหล่าสุนทรเป็นอธิการบดี เรียน วิชาเอกเคมี วิชาโทคณิตศาสตร์ แต่กิจกรรมหัวใจไม่เคยพลาดคือกีฬา เป็นนักกีฬาหลายประเภท ฟุตบอล ตะกร้อ รักบี้ ฮอคกี้ กรีฑา ประสานมิตรมีนักฟุตบอลฝีเท้าดีมาเรียน เช่น ธาตรี สงมา ,ไพฤทธิ์ ผังดี, หลวง เสมมีสุข จึง คว้าแชมป์กีฬามหาวิทยาลัย หนึ่งในนักกีฬาร่วมทีมคือสมเกียรติ วิชัยวัฒนา ในกีฬามหาวิทยาลัยที่เล่น ได้เหรียญ ทองฟุตบอล เหรียญเงิน วิ่งหมื่นเมตร เหรียญทองแดงวิ่งห้าพันเมตร ที่นี่การเรียนสร้างปัญญา การกีฬาสร้างหัวใจ จบการศึกษาบัณฑิตสมใจที่ใฝ่ฝัน ชีวิตบุญวัฒนา >>> จบกศบ.สุดก้าวหน้า กลับไปสอบบรรจุเป็นครูที่นครราชสีมาบ้านเกิด เป็นครูตรีที่ โรงเรียนใหม่บุญวัฒนา เงินเดือน เดือนแรกของชีวิต ๑,๒๕๐ บาท เมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๖ โรงเรียนตั้งใหม่ หัวใจทุกดวงช่วยกันสร้างบุญวัฒนาให้เติบโต โดยมีอาจารย์เทิดศักดิ์ รัตนมณี เป็นครูใหญ่ ทุกคนทุ่มเทมีครูอยู่เก้า ชีวิต สอนทั้งวิทยาศาสตร์ เกษตร พละ สามปีให้หลัง ได้เป็นผู้ช่วยครูใหญ่ เห็นอนาคตไกลผู้บริหารแน่นอน แต่ หัวใจและอนาคตกำ�หนดได้หัวใจของคนสองคนที่มุ่งมั่น ในปีพ.ศ. ๒๕๒๑ จึงกราบลาย่าโมเข้ามาเป็นครูอยู่ที่โรงเรียน วัดสังเวช บางลำ�พู กรุงเทพ บางที่มีต้นลำ�พูอยู่คู่บาง ทำ�กีฬาลือลั่นบาง >>> มาอยู่โรงเรียนวัดสังเวช ยุคคนหนุ่มห้าวสาวหาญ ทำ�งาน เข้มแข็ง มีอนันต์ ทรงฤกษ์ เป็นหัวเรือใหญ่ ทีมคนหนุ่มพินิจ เปรมัษเฐียร, วิเชาว์ รวยอารีย์, อภินุช สุดประเสริฐ, ดิเรก หยุนแดง, ชฎิล คล้อยเขษม, สมปอง ดวงไสว คนเหล่านี้มาอยู่วัดสังเวชก่อนแล้ว กลางวันสอน เย็นเล่นกีฬา แล้วแยกย้าย กลับที่พัก สมเกียรติ วิชัยวัฒนาพักอยู่หอพักสุขวาทีซอยวรพงษ์ ชีวิตคนทำ�งานช่วยกันเต็มที่ ฟ้าสว่างทางเปิดเมื่อผู้ อำ�นวยการสุทธิ เพ็งปาน อยากให้โรงเรียนมีชื่อเสียงทางการกีฬา ครูพละดิเรก หยุนแดงทำ�กีฬาวอลเล่ย์บอล ส่วน สมเกียรติทำ�ฟุตบอลและตะกร้อ ฟุตบอลเด็กๆชอบสนุกแต่พอแข่งเข้ารอบลึกๆ เจอปทุมคงคา เทพศิรินทร์ แล้ว ผ่านยาก ส่วนตะกร้อที่โค้ชสมเกียรติ วิชัยวัฒนาผ่านทะลุเป้าสร้างชื่อขจรไกล ชนะเลิศเหรียญทองกทม. เหรียญ เงินเหรียญทองแดงกรมพลศึกษา ชนะเลิศถ้วยกีฬากองทัพอากาศ นักกีฬาตะกร้อรุ่นนั้น เช่น เกรียงศักดิ์ พุ่มดนตรี เป็นต้น เป็นประวัติศาสตร์ของโรงเรียนวัดสังเวช ถึงวันนี้ไม่มีประวัติศาสตร์ให้ซ้ำ�รอย สร้างเสือบางลำ�พู >>> ลูกเสือวัดสังเวชมีตำ�นานคนรุ่นเก่าเล่าขาน ตั้งแต่รุ่น ครูจำ�รัส มลิวัลย์ ครูสว่าง ธีระวุฒิ ครูไชยพร บุญเพิ่ม ครูกมล ปริญญาตร เล่าให้ฟังสนุกทุกงาน รุ่นอาวุโสก้าวเป็นผู้บริหาร งานลูกเสือครู เพชร วีระไพบูลย์เป็นคนทำ� ค่ายลูกเสือรุ่นแรกๆค่ายพุทธฉายที่เดินไปน้ำ�ตกสามหลั่นไม่มีน้ำ�สักหยด ครูที่ชอบลูกเสือ ครูอเนก สาตราคม ครูประวิทย์ ธีรามาศ ครูอรพรรณ พิสมัย ครูวินัย บุญเกื้อสง แล้วมีครูจินตนา บุญมีย้ายมาอีก มายกระดับครั้งใหญ่เมื่อครูจินตนา บุญมี ชวนไปเรียนวู๊ดแบดจ์ มีจินตนา บุญมี, อภินุช สุดประเสริฐ, สมเกียรติ วิชัยวัฒนา แล้วกลับมาสอนนักเรียน ภายหลังได้ครูอังสนา นาคสวัสดิ์มาอีกคน จึงเป็นยุคที่กำ�ลังพลพร้อมมูล เป็น ปัจจัยส่งผลสำ�เร็จลูกเสือวัดสังเวชชนะเลิศการเดินสวนสนามในงานวันลูกเสือแห่งชาติ ครูเองก็พัฒนาได้แบดจ์ สาม ท่อน สี่ท่อนด้วยความสามารถ ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ส่งผลให้นักเรียนมีโอกาสเป็นตัวแทนประเทศไทยไปในงาน
ชุมนุมลูกเสือโลกต่างประเทศและครั้งที่๒๐ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพปลายปี๒๕๔๕ที่สัตหีบ ชลบุรี ปกติได้โรงเรียน ละคน แต่โรงเรียนวัดสังเวช ๕ คน คือ ชัยวัฒน์ บินยาอิช, ธนาวุฒิ ยมหา,กฤษกร เจียรมาศ, นิภาพร พรมทอง, รัสรินทร์ ประณีตทอง และยังมีลูกเสือเนตรนารีได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปงานชุมนุมลูกเสือโลกได้แก่ ชัยวัฒน์ บินยาอิช ไปเกาหลีใต้ กฤษกร เจียรมาศ ไปออสเตรเลีย รัสรินทร์ ประณีตทอง ไปไต้หวัน ครูได้ไปงานชุมนุมลูก เสือโลกที่เกาหลี มีครูทวีวรรณ วรการ ครูสำ�รอง ปรางค์ชัยภูมิ ครูสมเกียรติ วิชัยวัฒนา ครูจินตนา บุญมี ครูอภินุช สุดประเสริฐ ครูสมเกียรติ ไปดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย ได้นำ�ความรู้ประสบการณ์มาพัฒนานักเรียน สร้างชื่อให้โรงเรียนสู่แวดวงลูกเสือและวงการศึกษาไทย ความรู้ทำ�ให้องอาจ ความสามารถเป็นประตูสู่ผู้นำ� อยู่คู่วัดสังเวช >>> สมเกียรติ วิชัยวัฒนาและเพื่อนครู รักความก้าวหน้าฝันเติบโตเป็นผู้บริหารโรงเรียน ไปสอบเป็นผู้บริหาร สมเกียรติ สอบผ่านได้ไปอบรมผู้บริหาร ที่สถาบันพัฒนาผู้บริหารวัดไร่ขิง แล้วกลับมาสอน นักเรียน รอว่าเมื่อไหร่กรมจะเรียกแต่ก็ไม่มี กรมไม่เอาคนดีมีฝีมือพร้อมไปเป็นผู้บริหาร จึงเป็นโชคดีของนักเรียนที่ได้ เรียนรู้จากครูดีมีความรู้ความสามารถเปี่ยมคุณธรรม จนถึงวันสุดท้ายแห่งชีวิตราชการ หมายเหตุไม่ธรรมดา >>> ชีวิตครูมนุษย์เงินเดือนก่อร่างสร้างตัวยากเข็ญ แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ จากห้องเช่าซอยวรพงษ์ เริ่มต้นชีวิตครอบครัวสมบูรณ์ เมื่อครูสมวงศ์ วิชัยวัฒนา ภรรยาได้ย้ายจากบุญวัฒนา มา อยู่ที่ศรีพฤฒา หมู่บ้านสหกรณ์เป็นหมู่บ้านที่ครูโรงเรียนวัดสังเวชอยู่หลายคน ครูทวีวรรณ วรการ เสริมศักดิ์ กีรติ พันธุ์ อภินุช สุดประเสริฐ วิเชาว์ รวยอารีย์ สองคนสุดท้าย สมปอง ดวงไสว และสมเกียรติ วิชัยวัฒนา บ้านที่ บึงกุ่มจุดเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง รอความหวังดวงใจพ่อแม่ที่จะเกิดมาใช้ชีวิตร่วมกัน อบอุ่น เวณิกาสายใยชีวิต >>> ๗ ธันวาคม ๒๕๓๒ ลูกหวาย เกิดมาเป็นสายใยของครอบครัว พ่อรักตะกร้อเป็น ชีวิตจิตใจ มีลูกสาวคนเดียวรักดังดวงใจจึงให้ชื่อ ลูกหวาย เวณิกา วิชัยวัฒนา เรียนหนังสือที่โรงเรียนบางกะปิอบอุ่น ด้วยครูที่เป็นเพื่อนพ่อและแม่ จบมัธยมปลายแล้วเรียนต่อ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกภาษา อังกฤษ ใช้ชีวิตผจญภัยไปเรียนรู้ทำ�งานที่อเมริกากลับมาเรียน หนังสือต่อ เรียนดีสำ�เร็จสมความตั้งใจ ครอบครัวอบอุ่นเปี่ยม สุขถ้วนหน้า ภรรยาเข้าใจลูกหวายน่ารักเป็นคนดี กิจกรรมสร้างสรรค์ >>> ชีวิตทั้งชีวิตอุทิศทุ่มเท เป็นผู้นำ� เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำ�เนินชีวิต ลูกศิษย์ไหว้เรียก ครูได้อย่างสุขใจ เพื่อนครูให้ความนับถือเป็นเพื่อนร่วมงานที่ สร้างสรรค์ ทำ�งานมุ่งมั่นถือเอาความสำ�เร็จของงานเป็นสำ�คัญ เสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย รักการเรียนรู้พัฒนา ตนเอง มีโอกาสไปเรียนปริญญาโทด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากรามคำ�แหง น้ำ�ไหลไม่มีวันเน่า ชีวิตก้าวไม่อยู่กับที่ จึงก้าวหน้า รักการศึกษานำ�สิ่งที่ได้เรียนรู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิต ลูกศิษย์ โรงเรียนและสังคมรอบข้าง ครูทั้งชีวิต ๒๕๕๔ ชีวิตครูสมเกียรติ วิชัยวัฒนา ถึงเวลาเกษียณอายุราชการ แต่ไม่มีวันเกษียณจากกิจกรรมและ ลูกเสือ ต่อนี้ไประบบราชการจะไม่เป็นกรอบจำ�กัดความสามารถและความสุขในการทำ�งานอีกต่อไป สมศักดิ์ศรีมาตุภูมิพึงภูมิใจ
เกียรติพิมายขจรไกลกว้างขวาง
วัฒนากลางใจมิตรศิษย์ทุกคน
วิชัยใจครูทองส่องเส้นทาง
ณ ค่ายชัยปิติ จ.สระบุรี ค่ายลูกเสือ-เนตรนารี ม.1-3 โรงเรียนวัดสังเวช
ฝนเริ่มซาเม็ดแล้ว... บรรยากาศรอบตัวเริ่มเย็น แต่แปลก... ภายในใจรู้สึกอบอุ่น อาจเป็นเพราะผู้ชายผิวสีหมึก ที่อยู่ข้างหน้าเราคนนี้ก็เป็นไปได้ เรากำ�ลังจะเริ่มพูดคุยกับผู้ชายคนนี้ ‘พ่อเสือของเรา’ สมเกียรติ วิชัยวัฒนา สัมภาษณ์ : ทีมนเรศวรยกกำ�ลัง 2 เรียบเรียง : น้ำ�นิ่ง ถ่ายภาพ : โอ๋ ก่อนที่จะมาสอนที่วัดสังเวช อาจารย์ได้สอนที่ไหนมาก่อน จริงแล้วครูเป็นคนที่ พิมาย นครราชสีมา เรียนประถมมัธยมที่พิมาย แล้วก็มาต่อวิทยาลัยครูที่ โคราชได้ 2 ปี จบจากวิทยาลัยครูที่โคราชมาต่อที่ประสานมิตร จบที่ประสานมิตรปี 2516 ก็กลับไปบรรจุ ที่โรงเรียนบุญวัฒนา ที่โคราชบ้านเกิดเลย เป็นโรงเรียนตั้งใหม่ ทำ�อยู่ที่นั่น 5 ปี อยากที่จะเรียนต่อเลย เข้ากรุงเทพฯ มาทำ�งานที่โรงเรียนวัดสังเวชเป็นที่แรกในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 21 จนถึงทุกวันนี้ ตอนสอนอยู่ที่ ร.ร.บุญวัฒนา ได้เข้าทำ�เกี่ยวกับลูกเสือเลยรึเปล่า ตอนอยู่บุญวัฒนาสอนเยอะนะ สอนเกษตร พละ เคมี วิทยาศาสตร์ม.ต้น ลูกเสือนี่ก็ได้สอน แต่ ตอนทำ�ลูกเสือที่บุญวัฒนาทำ�แบบไม่เคยทำ� สมัยเด็กเราเรียนมาอย่างไรก็จำ�เอาแล้วก็สอนแบบนั้น โดยไม่ เคยฝึกอบรมอะไรมาก่อน แต่โชคดีที่ว่าลูกเสือนี่เหมือนจะติดตัวครูมานะ ถ้าว่าไปแล้วเนี่ย ครูเคยเห็น BP ของประเทศไทยนะ ก่อนเห็น BP ในประเทศอังกฤษ เพราะครูลูกเสือที่พิมายเนี่ย ชื่อ ครูอุดร สุวรรณ พงศ์ เหมือน BP เป๊ะเลย มันก็เลยนึกถึงเสมอ และครูลูกเสือคนแรก ครูวัฒนะเกียรติ นาคะนิเวศน์ เป็นครูใหญ่ พอมาตามประวัติท่านแล้ว จำ�ได้ว่าครูวัฒนาเกียรติเคยพาลูกเสือตอนประถม อยู่กลางคืน แบบมีฝ่ายดำ�ฝ่ายแดงมีการแย่งเข้าไปในพื้นที่ เหมือนประวัติรัชกาลที่ 6 ที่ฝึกซ้อมรบลูกเสือป่า ทำ�ให้รู้สึก ว่าเหมือนกับมีบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายๆ ว่าเราจะได้มีโอกาสทำ�งานเกี่ยวกับลูกเสือ ถือว่าเป็น idol ของอาจารย์รึเปล่า เป็น idol เลยนะ ถ้าเป็น idol คนแรกคือ อาจารย์อุดร สุวรรณพงศ์ เพราะว่า เหมือน BP หน้าตา แบบเป็นฝรั่งสอนภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะเป็น idol อีกคน มาเจอกันตอนที่มาอยู่ กทม.แล้ว ตอนมาเริ่ม อบรม พอมาอยู่วัดสังเวชเนี่ยก็ ประมาณปี 23 โดยการชักนำ�ของ อ.จินตนา บุญมี ไปอบรมขั้นต้น BTC
(อบรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นพื้นฐาน) ที่สวนรถไฟ ได้ไปเจอ Staff สมาคมลูกเสือกรุงเทพฯ ได้ซึมซับ บางส่วนมาเพราะเค้าเป็นทีมที่ดี และคนที่จะอยู่ในใจเสมอเวลานึกถึงลูกเสือ เป็นคนที่ชักนำ�เข้ามาอยู่ลูก เสือ คือ อ.จินตนา บุญมี และพาให้ไปเจอ อ.สมชาย เมธานาวิน ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางลูกเสือ พบครู เพทาย อมาตยกุล นายกสมาคมลูกเสือกรุงเทพฯ และ Staff สมาคมลูกเสือกรุงเทพฯ ก็เลยมาทำ�ให้เรา รู้สึกประทับใจ ทำ�ให้เกี่ยวข้องกับงานลูกเสือมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 23 เป็นต้นมา ตอนมาอยู่โรงเรียนวัดสังเวช เริ่มทำ�งานลูกเสือเลยไหม ยังนะ มาตอนแรกก็เหมือนครูทั่วๆ ไป ในการที่จะสอนลูกเสือ ก็คือ ครูทุกๆคน โดยเฉพาะครู ผู้ชายจะต้องสอนลูกเสือ ก็ไปตามๆ เค้า เรายังไม่ค่อยมีความรู้ คนที่มีความรู้มาก่อน เช่น อ.จินตนา บุญมี, อ.เอนก สาตราคม ชักนำ�ให้เข้าไปอบรม พออบรมก็เลยได้สัมผัสกับสมาคมลูกเสือกรุงเทพฯ ตอนนั้น เข้าไปเพราะอยากเอาความรู้มาสอนเด็ก เราทำ�ฐานไม่เป็น เค้าฝึกกันยังไงนะ... ก็ไปแบกเชือกเข้าฐาน ไป ช่วยเค้าจัดอุปกรณ์ เพื่อที่จะเอาความรู้มาสอนเด็ก มันเลยเป็นความผูกพัน ความจดจำ�ที่เราปรับเอามาใช้ ทำ�ให้ทำ�งานลูกเสือตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ช่วงที่เล่ามา คือช่วงที่ทำ�งานลูกเสือเต็มตัวแล้วรึยัง ช่วงที่เล่าเป็นช่วงเริ่มต้นอยู่ หลังจากอบรม BTC มา นำ�มาสอน ค่ายแรกหลังจากอบรม BTC แถวสระบุรี ค่ายพระพุทธฉาย ตอนนั้นยังนุ่งกางเกงขายาวอยู่เลย ถ้าดูตอนนั้นเหมือนเป็นลูกเสือเกเรๆ (หัวเราะ) อะไรเป็นสิ่งที่ทำ�ให้ตัดสินใจทำ�งานลูกเสือเต็มตัว เราค่อนข้างจะมี ‘ความเชื่อมั่น’ ถ้าเราจับลูกเสือให้ถูกวิธี เราสามารถพัฒนาเด็กได้ ก็เลยสนใจ ว่า คนที่เค้าเป็นระดับวิทยากร เค้าอบรมอย่างไร ก็เลยเข้าไปสัมผัสกับทีมวิทยากรสโมสรลูกเสือกรุงเทพฯ ไปๆมาๆ เลยเป็นส่วนนึงของสโมสรลูกเสือกรุงเทพฯ แล้วก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากคณะครู พี่ๆ ที่อยู่ ในสโมสร แล้วเอามาปรับใช้ ฉะนั้นในงานลูกเสือมี ‘ความเชื่อ’ ในส่วนนึง อีกส่วนนึงคือ ทำ�แล้วมันมี ‘ความสุข’ ไม่ถือว่ามันเป็นงานลำ�บากยากเย็น นอกเหนือจากลูกเสือแล้ว ทราบว่าอาจารย์ทำ�เกี่ยวกับ กีฬาให้วัดสังเวชด้วย... พอเราเห็นว่ามีกีฬาบางอย่างซบเซา เราก็ สนใจ เพราะตัวเองตอนเรียนประสานมิตรเรียนสาย วิทยาศาสตร์ เรียนเคมี แต่ว่าเป็นประธานกีฬา ตอน นั้นไม่ค่อยมีใครสนใจ ทั้งๆ ที่มีเอกพละ เพื่อนๆ ก็ยุ ให้สมัครเป็นสมาชิกของคณะกรรมการ เค้าก็เลยให้ เป็นประธานฝ่ายกีฬา ก็เล่นทั้งหมด ฟุตบอล ถึงขนาด ไปแข่งกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 1 เลยนะ แต่ตอนนั้น ติดไปในตำ�แหน่งตัวสำ�รอง ตอนนั้นรุ่นดังๆ ก็มี หลวง เสมมีสุข, ธาตรี สงมา, ไพฤทธิ์ ผังดี รุ่นนั้น แชมป์อุดมศึกษาและไปแข่งกีฬามหาวิทยาลัย และก็ เล่นตะกร้อ, รักบี้, ฮอกกี้ มันก็เลยติดมา พอมาที่วัด สังเวชก็เลยคิดว่ามันน่าจะทำ�อะไร ก็เลยไปหยิบกีฬา
2 ชนิดที่ตัวเองสนใจก็คือ ฟุตบอล ตะกร้อ ถ้าฟุตบอลรุ่นแรกก็พวกราเชนทร์ (ราเชนทร์ อินทรเจริญ), เกรียงไกร บรรจง, Match ที่ประทับใจครั้งแรกคือ ตอนไปเจอปทุมคงคา ยิงเค้าก่อน 1-0 พอเผลอเค้า อัดกลับมา (หัวเราะ) ตะกร้อก็อีกอย่างนึง ถ้าพูดถึงรองมาจากลูกเสือก็มีตะกร้อ และก็ฟุตบอล รุ่นที่ดัง ที่สุดน่าจะเป็นรุ่นของเกรียงศักดิ์ พุ่มดนตรี น้องชายกมล พุ่มดนตรี เข้าไปรอบลึกๆ แล้วไปตกรอบตอน เจอเทพศิรินทร์ ถ้าตระกร้อต้องยอมรับว่ามีชื่อพอสมควร ทั้งกทม.เคยได้แชมป์ รองแชมป์ของกรมพละ ศึกษา แชมป์ถ้วยของทหารอากาศ นักกีฬาส่วนใหญ่ก็พวกลูกเสือ หรือไม่ก็พวกเพื่อนของลูกเสือ ก็จะมา อยู่ด้วยกัน พูดถึงฟุตบอลนี่ก็ต้องขอบใจราเชนทร์เค้านะ เป็นคนที่ทำ�ให้เรามีโอกาสได้สัมผัสฟุตบอลถ้วย ฟุตบอลโลก ตอนนั้นเค้าเลือกวัดสังเวชเลย ให้ไปในทีมของเซเนกัล แล้วเชื่อไหม... ไปแข่งกับ 18 ปี ของประสานมิตรที่เค้าได้เป็นแชมป์มา ประสานมิตรเห็นวัดสังเวชตอนแรกเค้าก็เหมือนกับดูถูกนะ เผลอ เป็นเดียวกรรมการที่อยู่บนโต๊ะเอ๊ะอะ เฮ้ยมีอะไรกัน... เรายิงไป 2 ลูก เค้าไม่เชื่อว่าเรายิง แต่เหมือนเดิม เหมือนประทุมคงคาพอเค้าตั้งหลัก เค้าก็อัดกลับมา (หัวเราะ) แต่ไม่เสียใจหรอก เพราะทีมที่ชนะเราคือ ทีมแชมป์ ต่อหน้าถ้วยฟุตบอลโลกที่มาประเทศไทย ได้ราเชนทร์ บริษัทไทยน้ำ�ทิพย์เป็นผู้สนับสนุน ทั้งลูก เสือและกิจกรรมที่ครูได้ทำ� อยากให้ช่วยเล่าช่วงแรกๆ ที่ทำ�งานลูกเสือ มีอุปสรรคอะไรไหม ตอนนั้นอุปสรรคแทบไม่ต้อง มองเลย เราเห็นแต่เพื่อน เห็นแต่คนที่ มีใจเหมือนๆ กัน จะโม้ไปรึเปล่า... ยุคสมัยนึงวัดสังเวชมีคนที่ได้วุฒิลูก เสือสี่ท่อนเทียบกับโรงเรียนอื่นใน ประเทศไทยถึง 4 คน ตอนนั้นเรา ก็ทำ�งานกันแบบเป็นส่วนๆ อย่าง อ.จินตนา บุญมี คนที่อยู่แวดวงลูกเสือ เก่าก็จะรับผิดชอบเรื่องการประสานงาน เกี่ยวกับผู้บริหารหรือประสานงานทั่วๆ ไป อ.อภินุช สุดประเสริฐ, อ.อังสนา นาคสวัสดิ์ เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือมา รุ่นๆเดียวกัน ก็จะรับผิดชอบเกี่ยวกับนันทนาการ ครูจะเป็นฝ่ายบู๊ ฝ่ายกิจกรรม พวกพี่เลี้ยงนี่ก็จะไปด้วย กัน กางเต๊นท์ คือครูไม่ต้องไปรับผิดชอบอะไร รับผิดชอบเรื่องการจัดกิจกรรมเป็นหลัก เรื่องเต๊นท์ที่พัก ของเด็ก กางเต๊นท์ที่วชิราวุธนี่อ้วกเลยนะ (หัวเราะ) เพราะเต๊นท์มันเก่า พอวิ่งเข้าไปมันก็หมักหมม พอ กางไปสักสิบยี่สิบก็วิ่งมาอ้วกกันเลย มันเป็นความประทับใจนะ เพราะคิดว่าลูกเสือตอนที่อยู่ที่นี่เนี่ย เรา ไม่เห็นอุปสรรคเลย คือมีอุปสรรคแต่เราไม่ใส่ใจ ถ้าเปรียบเทียบฟุตบอลเราก็เป็นดรีมทีม มีตัวบ่งชี้หลาย อย่าง ใครจะเชื่อว่าวัดสังเวชโรงเรียนเล็กๆ ด้วยความสมัครสมานสมาชิก กองร้อยรุ่นราเชนทร์ รุ่น สมชาย เบญจธรรมธร พวกนี้เอาจริง เราก็เลยสนุกกับมันด้วย เวลาจะฝึก มันแอบไปนู้น... โรงเรียน เตรียมทหาร ดูตามรั้วว่าเข้าฝึกยังไง ศึกษากันเอง มีน้อยคนที่จะรู้ว่า... การแข่งขันสวนสนามครั้งแรกของ ประเทศไทย และที่มีประกาศอย่างเป็นทางการ วัดสังเวชเป็นแชมป์ 1 กรกฏา ที่เค้าเชิญรับถ้วย ตอน นั้นเราทำ�ด้วยความสนุก แต่ก็ทำ�ให้โรงเรียนที่เค้ามีชื่อบางโรง เค้าหยุดเลยนะ เพราะต้องกลับไปทบทวน ตัวเอง 2 ปี ไม่น่าเชื่อเลย ตอนนั้นตื่นเต้นมาก (ยิ้ม)
“ตอนนั้นอุปสรรคแทบไม่ต้องมองเลย เราเห็นแต่เพื่อน เห็นแต่คนที่มีใจเหมือนๆ กัน” ก่อนเดินสวนสนามต้องไปตั้งแถวด้านนอกสนามศุภฯก่อน พอจะเดินสวนสนามเค้าก็มีการประกาศ แต่จะ ไม่เป็นทางการเหมือนเดี๋ยวนี้ คนเลยไม่ค่อยรู้ว่าวัดสังเวชเป็นที่หนึ่ง ตอนนั้นผู้ฝึกสอนก็จะมีพวกราเชนทร์, สมชาย, นริศ วิจารณกุล, สมชาย ศรีอุพรชัย รุ่นที่ได้แชมป์ก็ รุ่นโก้ รุ่นเกรียงไกร บรรจง ถือธงก็ กมล พุ่มดนตรี คนนี้หลังจากนั้นเค้าได้ทุนไปสิงคโปร์เลยนะ สโมสรลูกเสือกรุงเทพฯ คัดไป สนุกมาตอนนั้น เพราะฉะนั้นเรื่องปัญหาไม่ต้องพูดถึง เราแทบไม่มองเลย แต่ตอนหลังแทนที่จะรับผิดชอบฝ่ายกิจกรรม อย่างเดียว การรับผิดชอบก็มีมากขึ้น เพราะมีเพื่อนมีสมาชิกของเรา อ.จินตนา บุญมี เสียชีวิตไป เพื่อน ฝูง อ.อภินุช อ.อังสนา ก็ย้ายไป ไปๆมาๆ เลยเหลือคนเดียว (ยิ้ม) แต่ก็ด้วยใจรัก และที่สำ�คัญก็คือ งาน ลูกเสือที่เดินมาถึงตรงนี้เพราะเราได้กำ�ลังจากกองร้อยเก่าๆ ตั้งแต่รุ่น 1 มาช่วยโดยตลอด เรื่องการเรียนการสอน ตอนนั้นอาจารย์สอนวิชาอะไร ครูสอนวิทยาศาสตร์ม.ต้น สอนเคมี สอน ม.4 ต่อมาก็สอนเพิ่มเป็น ม.5 หลังจากนั้นอาจารย์ หลายๆ ท่านย้าย ก็เลยสอนทั้ง ม.4-5-6 ทั้งสอน ทั้งกีฬา ทั้งลูกเสือ จัดการเวลาอย่างไร จริงๆ มันแยกส่วนกัน โดยส่วนที่เป็นตารางมันแยกอยู่แล้ว และก็โดยช่วงเวลา อย่างเช่นพวก กีฬาก็ตอนเย็นมันก็ไม่ตรงกับลูกเสือนะ อย่างวันสอนเคมีตอนเย็นก็เป็นลูกเสือ ตอนนั้นก็ได้รุ่น 1 เป็น กำ�ลังสำ�คัญคอยสอนน้อง เราก็เดินไปให้กำ�ลังใจ จนกระทั่งถึงตอนนี้เป็นการถ่ายทอดจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ด้วยความร่วมมือร่วมใจของกองร้อยทุกรุ่นๆ บอกได้เลยว่าเป็นกำ�ลังสำ�คัญที่ทำ�ให้งานลูกเสือของวัดสังเวช และพวกเด็กๆ ได้สัมผัสลูกเสือจริงๆ ไม่ใช่แค่ถึงเวลาก็ให้ทหารฝึก บอกได้เลยว่าโรงเรียนเราเป็นโรงเรียน รักษาเอกลักษณ์ลูกเสือ เพราะสมัยก่อนเราไม่เคยไปจ้างใครทำ� ตั้งแต่รุ่น 1และ 2 ออกไป เวลาออกค่าย เราจะมีรถสองแถวหนึ่งคัน ขนเครื่องครัว เราอยากจะท้าเลยหลายๆ โรงเรียนในสมัยก่อน อุปกรณ์เรา ตั้งแต่ครัว อุปกรณ์เสียง อุปกรณ์ฐานผจญภัย เราแบกไปเองทั้งหมด ทำ�เองหมด จนกระทั่งค่ายเค้าไม่ให้ ใช้ เราต้องไปแอบใช้เตา อย่างวัดปากคลองขอหลวงพ่อใช้ พวกค่ายถาวรเค้าไม่ค่อยให้เราใช้เพราะเค้าไม่ ได้ค่าอะไรจากเรา แต่มาหลังก็ต้องยอมรับด้วยกำ�ลังที่น้อยลง ตอนนี้ก็เอาเรื่องการฝึก เราก็ยังคงใช้ครูลูก เสือ ครูที่สอนลูกเสือ ครูที่รับผิดชอบลูกเสือในแต่ละระดับมาช่วยและมีกำ�ลังสำ�คัญก็คือ พี่เลี้ยง พี่เลี้ยง ยังคงเป็นกำ�ลังสำ�คัญ ครูที่วัดสังเวชก็ดีนะ ให้ความร่วมมือกับครูมาก จะเป็นไม่เป็นพอถึงเวลาก็มา มา สอนภาคทฤษฏี มาสอนเชิงการฝีมือ ทักษะครูก็ลงสอนบ้าง แล้วก็ให้ศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันมาช่วยบ้าง พอ ทำ�ให้เราทำ�อะไรต่างๆได้
“เราทำ�ไมขนาดนี้เลยหรอวะ แต่ว่า...ก็เป็นความเข้าใจและ ความโชคดีของครู ด้วยว่าจะได้มีโอกาสทำ�งานรับใช้เสด็จพ่อ ทำ�ให้ชีวิตครอบครัวดำ�เนินไปด้วยดี แม่บ้านก็เข้าใจ” จัดการชีวิตงานกับชีวิตครอบครัวอย่างไร ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ อาจเป็นเพราะเค้าชินละมั้ง ว่าเราทำ�เรื่องนี้เราชอบเรื่องนี้ แต่ก็มีบาง ครั้งเหมือนกันนะที่เรากลับไปคิดว่า เราทำ�ไมทำ�ถึงขนาดนี้ ถ้าเป็นลูกเสือกับครอบครัวละก็ เป็นครั้งที่มี ความรู้สึกถึงขนาด แอบน้ำ�ตาไหล คือ ไปเป็นวิทยากรฝึกอบรม ที่กรุงธนฯ ฝนตกหนัก น้ำ�ท่วมบ้าน ครู กลับมาบ้านสงสัยว่า เอ๊ะ...ทำ�ไม แฟนครูยกตู้เย็นจากข้างล่างขึ้นบันไดไว้ข้างบน กลับไปนั่งนึกว่าเรา เรา ทำ�ไมขนาดนี้เลยหรอวะ แต่ว่า ก็เป็นความเข้าใจและความโชคดีของครู ด้วยว่าจะได้มีโอกาสทำ�งานรับใช้ เสด็จพ่อ ทำ�ให้ชีวิตครอบครัวดำ�เนินไปด้วยดี แม่บ้านก็เข้าใจ อาจารย์อยากฝากอะไรให้กับลูกศิษย์ ในส่วนของเราที่เป็นลูกเสือเนตรนารีที่เป็นกองร้อย อยากจะให้เป็นจุดเริ่มในการที่จะรวมกัน พบกัน พูดคุยกัน การที่ได้มาพูดคุยกัน เราได้นึกถึงกัน คงความเป็นพี่เป็นน้องของเรา ที่เห็นอย่างนึงก็คือ เรามีโอกาสช่วยเหลือเกื้อกูลกันในแวดวง ใครอาจจะมีเรื่องบางเรื่องที่ต้องให้ความช่วยเหลือ แม้ไม่ใช่เรื่อง เงิน เรื่องการงาน อาจจะเป็นการให้คำ�ปรึกษากัน รุ่นแรกๆ นี่ถือเป็นยุคที่หนึ่ง เดี๋ยวนี้เหมือนไม่มีรุ่นหนึ่ง รุ่นสองแล้ว รุ่นแรกเหมือนยุคที่หนึ่ง รุ่นแรกพวกที่เคยเป็นคนสอนและรุ่นที่ถูกสอนจนชนะเลิศสวนสนาม เหมือนไม่ใช่เป็นพี่เป็นน้อง เหมือนเป็นเพื่อนกัน รักกัน ต่อมารุ่นน้องๆ ก็เห็นรุ่นพี่ ก็ตามๆกัน อยากจะให้ เป็นจุดเริ่ม เราอาจจะมีวันของเรา หรือว่าอะไรนัดมาเจอกัน มาพูดมาคุยกัน มาถามสารทุกข์สุกดิบกันนี่ คือส่วนนึง ส่วนที่สองก็คือ อยากจะบอกว่า ขอบคุณนะ ที่มาช่วยกันทำ�งาน เราแอบเห็นน้ำ�ตาแห่งความปลื้มปิติของผู้ชายหนักแน่นคนนี้ พวกเราทีมงานเองก็ปลื้มปิติเช่นกัน ^^
‘ความดีของคนดี ประการหนึ่งก็คือ การได้ทำ�ในสิ่งเล็กๆน้อยๆที่มีคุณค่า โดยไม่ได้มุ่งหวังว่า คนอื่นจะต้องรู้ต้องเห็น’
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1 ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับเกียรติบัตร ผู้บังคับ บัญชาลูกเสือดีเด่น จากสำ�นักงานลูกเสือแห่งชาติ ประเภทผู้สอน เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๔ ได้เข้ารับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ ๑ “ตอนทำ�งานไม่คิดว่าจะได้รับอะไร รู้ว่ามีเหรียญสำ�คัญนี้อยู่ มีผู้ปรารถนาดีสนับสนุนให้ส่ง แต่ก็ไม่ได้ส่งสักที จนพบท่านเลขาสำ�นักงานลูกเสือแห่งชาติ ท่านเตือนทำ�ไมจึงไม่ส่งสักที ในที่สุดจึงได้ดำ�เนินการเป็นที่เรียบร้อย จนได้เข้ารับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ 1 จากพระหัตถ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร นับเป็นบุญของชีวิต”
เกร็ดความรู้
เหรียญลูกเสือสดุดี มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า “The Boy Scout Citation Medal” เป็นเหรียญ สำ�หรับพระราชทานเป็นบำ�เหน็จความชอบในราชการ สร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 พระราชทานแก่ผู้ที่มีอุปการคุณต่อการลูกเสือถึงขนาด หรือผุ้ที่ได้อุทิศกำ�ลังกาย กำ�ลังความคิด ในการประกอบกิจการให้บังเกิดคุณประโยชน์แก่การลูกเสืออย่างยิ่ง ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหาร ลูกเสือแห่งชาติกำ�หนด เหรียญลูกเสือสดุดีแบ่งเป็น 3 ชั้น ดังนี้ ชั้นที่ 1 มีเข็มวชิระ ทำ�ด้วยโลหะเงิน ประดับแพรแถบตรงกึ่งกลางในแนวทางดิ่ง ๑ เข็ม ชั้นที่ 2 มีเข็มหน้าเสือ ทำ�ด้วยโลหะเงิน ประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลางในแนวทางดิ่ง ๑ เข็ม ชั้นที่ 3 ไม่มีเข็มวชิระ และเข็มหน้าเสือประดับที่แพรแถบ
วันวาน ...
ยังหวานอยู่ ...
ในความรู้สึกของอาจารย์
อ.อังสนา นาคสวัสดิ์ อาจารย์เข้ามาร่วมงานกับอาจารย์สมเกียรติ ตอนไหนอย่างไร พอครูเข้ามาที่ ร.ร.วัดสังเวช ครู ก็ ทำ�งานลูกเสือเลย เป็นเพราะใจรัก เริ่มแรกก็เข้าไป อบรมผู้บังคับบัญชา เริ่มบุกเบิกกันมาเลย มี อ.จินตนา อ.อภินุช อ.สมเกียรติ แล้วก็ครู สมัยนั้นเรียกว่าเฟื่อง ฟูมากๆ นอกจากเรียนตามปกติของลูกเสือแล้ว ยัง มี กองร้อยพิเศษ ช่วงเย็นๆ อาจารย์สมเกียรติ จะทุ่มเทมาก เราจะมีการฝึกรุ่นพี่ขึ้นมาดูแลน้องๆ สมัยนั้นเราสามารถ ชนะที่หนึ่งเลยของการเดินสวนสนามในวันลูกเสือแห่งชาติทั้งลูกเสือและเนตรนารี ตอน นั้นใครๆ ก็รู้จักกองร้อยพิเศษโรงเรียนวัดสังเวช (ยิ้ม) งานลูกเสือต้องทำ�ด้วยใจรัก ต้อง มีเวลา เรื่องสำ�คัญที่สุดคือ การเริ่มกิจกรรมต่างๆ ทำ�ให้เรามีความผูกพัน สนิทสนมกัน เป็นสิ่งที่ลืมไม่ลง โดยเฉพาะเวลาเราไปค่าย ถ้ามีอุปสรรคปัญหา จะช่วยกันแก้ปัญหา เป็นความทรงจำ�ที่ยั่งยืน ในยุคแรกไม่ค่อยมีอุปสรรค นักเรียนมีความพร้อม เราใช้วิธีเปิดรับสมัคร ถือว่า ตอนนั้นเราเป็นทีมที่แน่นมาก เวลาไปค่ายเราจะประชุมกองร้อยกันก่อนว่าใครต้องทำ� อะไรบ้าง มีรุ่นพี่กองร้อยฯ คอยไปด้วยเป็นหลัก ครูอาจารย์เป็นกองหนุนสำ�หรับกอง ร้อยพิเศษโรงเรียนวัดสังเวช ความรักของหมู่คณะ ความเสียสละของรุ่นพี่เป็นสิ่งที่น่า ประทับใจที่สุด ขอให้รักษาความดี ปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง สืบทอดจากรุ่นพี่ๆ ที่เค้า สร้างไว้อย่างดี อยากให้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อไป...
ประทับใจอะไรในตัวอาจารย์สมเกียรติ อาจารย์สมเกียรติเปรียบเสมือนพี่คนนึง ไม่ว่า จะทุกข์หรือสุขเราจะปรึกษาหารือกันเสมอ เรื่องของ การทำ�งานตอนครูไปอยู่วัดสังเวชใหม่ๆ ยังไม่มีเพื่อน อาจารย์สมเกียรติเรียกได้ว่าเป็นพี่รุ่นแรกๆเลยที่เข้า มาช่วยดูแลช่วยเหลือ อย่างงานตอนรับผิดชอบงาน ชุมนุมลูกเสือโลก อ.สมเกียรติกับครูก็ช่วยกันทำ�งาน จนบรรลุวัตถุประสงค์ จนได้รับการยกย่อง อยาก บอกอาจารย์สมเกียรติว่า ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ขอให้พี่มี ความสุขมากๆ อย่าลืมวัดสังเวช อย่าลืมงานลูกเสือ ถ้ามีโอกาส เสร็จงานเมื่อไหร่เรียนจบเมื่อไหร่ จะกลับ ไปช่วยกันให้เหมือนเดิม
อ.ดิเรก หยุนแดง อาจารย์เข้ามาร่วมงานกับอาจารย์สมเกียรติตอนไหน อย่างไร เมื่อก่อนก็ชอบธรรมดานะ จนมาเริ่มยุคทองตั้งแต่ อ.จินตนา อ.อังสนา อ.สมเกียรติ เหมือนเป็นพี่เลี้ยง จากนั้นก็ ทำ�งานร่วมกันมาตลอด คิดว่าไม่มีกิจกรรมใดจะพัฒนาเด็กได้ เท่ากิจกรรมลูกเสือ แรกๆครูก็ช่วยตามหน้าที่ เพราะใจศรัทธา แต่ไม่ได้ทุ่มเทเท่า อ.สมเกียรติ แต่เราก็ช่วยกันมาเรื่อยๆ ไม่ ทิ้งกัน 10- 20 ปี ยังมาค่ายอยู่นะ ตอนนี้ 66 แล้ว มาด้วย ใจรัก และนี่ดีใจมากที่มาปิดคอร์ส อุปสรรคในการทำ�งาน มี เหมือนไม่มี เราทำ�ด้วยใจ อย่างเด็กที่เค้ามาในกิจกรรมลูกเสือ บางทีเรียนไม่เก่ง เป็นเด็กที่คนอื่นอาจดูแล้วไม่ชอบ แต่อาจารย์ สมเกียรติไม่เคยปฏิเสธ เอามาฝึกฝนจนประสบความสำ�เร็จได้ นำ�เข้ามาในลูกเสือเป็นผู้นำ� เป็น แนวทางใหม่ให้ เป็นการสร้างเยาวชน เปิดโอกาสให้เด็ก พอเด็กซึมซับ ก็จะเห็นทางของตัวเอง สิ่ง ที่ประทับใจอีกอย่างสร้างกองร้อย รุ่นพี่รุ่นน้องที่มาช่วยกันดีมาก แต่อยากฝากให้เราหมั่นประเมิน ตนเองหาจุดบกพร่องเราเพื่อที่จะแก้ไขให้ดียิ่งๆขึ้นไป ประทับใจอะไรในตัวอาจารย์สมเกียรติ อาจารย์สมเกียรติมาถูกทางแล้ว ไม่อยาก เด่นอยากดัง ใครจะว่าอย่างไร ก็ยังทำ� มีอุปสรรคก็ ทำ�ไปเรื่อยไม่สะดุด ไม่ได้มองให้เป็นปัญหา ช่วยด้วย ใจ ทำ�ให้คนเลื่อมใส ไม่โฉ่งฉ่าง ทุกงานที่ทำ�เพื่อ ประโยชน์กับเด็กกับส่วนรวมไม่ใช่เพื่อตนเอง มีจิต วิญญาณความเสียสละ
อ.นคร เอิบอิ่ม อาจารย์เข้ามาร่วมงานกับอาจารย์สมเกียรติตอนไหน อย่างไร ติดสอยห้อยตาม อ.ดิเรกเข้ามาช่วย เค้ามีให้เลือกว่าจะลง กิจกรรมอะไร เราก็เคยเล่นลูกเสือที่ต่างจังหวัด เลยเข้ามา ตอนแรก คนที่เป็นหัวหน้าลูกเสือ คือ อ.จินตนา พออาจารย์เสีย อ.อภินุชย้าย เหลือ อ.อังสนา อ.สมเกียรติ อ.อังสนาจะเก่งทางด้านสันทนาการ พวกระเบียบต้องเป็นอ.สมเกียรติ หลังจากนั้นอ.สมเกียรติก็มาเป็น หัวหน้าลูกเสือ ตอนนั้นครูเลี่ยงเดินจากตึกใหม่มาตึกสอง ตอนนั้นห้อง ลูกเสือที่อาจารย์สมเกียรติอยู่คนเดียว (ห้องเก่าถูกรื้อไปแล้ว) ก็เลยมา อยู่ด้วย ก็เลยเริ่มสนิท เริ่มทำ�งานลูกเสือ ไปด้วยช่วยกันตลอด เรื่อง เด็กที่จะดีได้ต้องมีระเบียบวินัย แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะพูดง่ายสอนง่าย ลองเด็กขาดระเบียบวินัยแล้วมันจะ ลำ�บาก อุปสรรคเกี่ยวกับเด็ก กับการทำ�งานไม่มี ไม่ได้มองว่ามันเป็นอุปสรรคดีกว่า แต่ถ้าจะมีก็ตอนสร้างตึก ใหม่ ไม่มีที่ ที่มันแคบ ทำ�ฐานแต่ละฐานอยู่ชิดกันมาก เราเลยต้องปรับแผนการสอน อ.สมเกียรติมืออาชีพมาก ในเรื่องนี้ ไม่ได้มองเป็นปัญหา แต่ปรับรูปแบบ แก้ปัญหาให้เข้ากับสถานการณ์ได้ทุกเวลาสถานการณ์ ประทับใจอะไรในตัวอาจารย์สมเกียรติ ประทับใจที่อาจารย์สมเกียรติทำ�งานทุ่มเท รักลูกเสือเป็นชีวิตจิตใจ ตราบใดที่ยังไม่ตาย ไม่มีทางทิ้ง ลูกเสือแน่นอน ถึงแม้จะเกษียณแล้ว คิดว่าก็คงยังอยู่วงการนี้ เป็นคนทำ�อะไรจริงจัง และเป็นคนมีน้ำ�ใจ เป็น กันเอง เป็นพี่ที่มีแต่ให้ ไม่เคยเอาเปรียบน้อง มีอะไรช่วยเหลือเต็มที่ ไม่มีตำ�หนิใคร อันนี้คือข้อดี แต่ถ้าปวด ฟันเมื่อไหร่อย่าเข้าใกล้ (หัวเราะ) คือเป็นคนไม่เจ้ากี้เจ้าการเซ้าซี้ใคร ใครช่วยก็ช่วย ใครไม่ช่วยก็ทำ�เอง แล้ว อีกเรื่องหนึ่ง อาจารย์แต่งชุดลูกเสือทุกวัน ครูยอมรับนะ บางทีครูไม่ได้แต่งทุกวันหรอก แต่อาจารย์สมเกียรติ มีชุดแต่งทุกวัน ไม่เคยแต่งไปรเวท ไม่เคยแต่งครึ่งท่อน จะเต็มตลอด หัวเข็มขัดต้องเงา เตรียมการเตรียม ตัวอย่างดี จิตวิญญาณล้วนๆ ในสายเลือดเลย ทำ�ด้วยจิตใจ เรียกว่า ตายในหน้าที่ลูกเสือได้เลย แล้วเป็นคน ไม่มีถอดใจเลย มีความมุ่งมั่นมาก ก็ยังเคยบอกเลยว่า พี่ออกไปแล้วจะไปทำ�ลูกเสือที่ไหนเรียกผมได้ เพราะเรา รักมาก เหมือนพี่ชายคนหนึ่ง “แกหินน่ะ” (เสียงอาจารย์ดิเรกตะโกนเข้ามา)
“ประโยคสุดท้าย พวกเราทุกคนหัวเราะไปพร้อมๆ กัน จะใช่อื่นใด นอกจากพวกเราคิดเหมือนกัน ^^”
อ.อรพรรณ หงษ์ทอง ผู้กำ�กับเนตรนารีคนแรกของวัดสังเวช อาจารย์เข้ามาร่วมงานลูกเสือเนตรนารีกับ อาจารย์สมเกียรติตอนไหนอย่างไร ตอนแรกเริ่มคนเดียวเริ่มที่เนตรนารีเป็นกองร้อย แรก ทำ�ทั้งวิชาการ นันทนาการ กิจกรรม เหมือนลูกเสือ ตอนนั้นยังวัยรุ่นให้ทำ�อะไรก็ทำ� สนุกดี โดยปกติครูเป็น เด็กขี้อาย แต่พอมาอยู่ในวงการก็คิดว่า มันต้องทำ�ได้สิ เพราะตอนนั้นเป็นผู้กำ�กับด้วย หลังจากนั้น อ.จินตนา บุญมี เข้ามา เป็นวิทยากรชั้นหนึ่ง เข้ามาบุกเบิกและตั้ง เป็นกองร้อยสมบูรณ์แบบขึ้น รวมทั้งมี อ.อภินุช อ.อังสนา และหลังจากนั้นก็เป็น อ.สมเกียรติ เข้ามา เราก็เริ่ม ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น แรงผลักดันที่สำ�คัญคือลูก ครูมีลูก เวลาลูกครูไปเข้าค่าย ครูจะนึกถึง มีใครดูแลลูกครูบ้าง เพราะฉะนั้นเวลาเด็กๆมาเข้าค่าย ครูก็เป็นตัวแทนที่จะดูแลเค้า เป็น ความผูกพันระหว่างความเป็นครู ความเป็นแม่ ทำ�ให้ครูคิดว่าครูต้องไป ครูต้องดูลูกคนอื่น เหมือนลูกเรา เรื่องอุปสรรคครูไม่คิดถึงเลยนะ อุปสรรคครูมีอย่างเดียวคือ กลัวทำ�ไม่เท่า ครูอื่นๆ เพราะครูเป็นเด็กไม่กล้าแสดงออก ก็สนุกสนาน กองร้อยเติมโตขึ้นเรื่อยๆ ประทับใจอะไรในตัวอาจารย์สมเกียรติ อาจารย์สมเกียรติเป็น idol สำ�หรับครู เป็นต้นแบบ เป็นทุกอย่างที่เลือดลูกเสือจะ มีให้ ครูเป็นเนตรนารี อ.สมเกียรติเป็นลูกเสือ แต่เรามีจุดยืนเหมือนกัน มีคำ�ปฏิญาณ 3 ข้อ ร่วมกัน เพราะฉะนั้นอาจารย์เป็น idol สำ�หรับครู ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตัว คำ�พูด ดูแล น้องๆ เป็นต้นแบบของครู มีความศรัทธาร่วมกัน อาจารย์เป็นคนที่เต็มร้อยกับเด็กมากๆ ไม่ ห่วงตัวเอง เด็กต้องมาเป็นอันดับแรก
“try scouting it more than you think”
>>>> มาพบและเริ่มรู้จัก ป๋าเกียรติ ได้อย่างไร ผมได้รู้จัก ป๋าเกียรติ ครั้งแรก เมือปี พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็น ปีแรกที่ผมได้ก้าวเข้ามาศึกษา ชั้น ม.1 รุ่นแรก ในรั้วม่วง-แดงแห่งนี้ และยังเป็น ปีแรกที่ป๋าเกียรตินั้น ได้เริ่มเข้ามาสอนที่โรงเรียน วัดสังเวชเช่นเดียวกัน พร้อมทั้งเป็นอาจารย์ประจำ�ชั้นของชั้นมัธยมปีที่ 1/1 อีกด้วย อีกทั้งยังสอนวิชา วิทยาศาสตร์ด้วย ภาพที่ยังตราตรึงในความทรงจำ�ของผมเสมอคือ ภาพของอาจารย์หนุ่ม รูปร่างผอม เพรียว ผิวดำ� ผมยาวหยักศก ใส่ชุดข้าราชการครูแขนยาวสีกากีเต็มยศ เห็นแล้วนึกถึงพระเอกหนังเรื่อง ครูบ้านนอก ซึ่งนำ�แสดงโดย คุณ ปิยะ ตระกูลราษฏร์ >>>> จุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้เรียนลูกเสือ และกลายมาเป็นลูกเสือกองร้อยพิเศษรุ่นแรก จุดเริ่มต้นคือ เราต้องเรียนลูกเสือเป็นวิชาบังคับอยู่แล้วในตอนนั้น โดยมีป๋าเกียรติ รวมทั้งยัง มี อ.อังสนา นาคสวัสดิ์ (อ.จินตนา บุญมี, อ.เอนก สาตราคม, อ.ประวิทย์ ธีรามาศ ถึงแก่กรรม) เป็น ผู้สอนพวกเรา และในช่วงเราเรียนม.2 นั้น เราได้เห็นรุ่นพี่ ม.ศ. 3 ที่เรียนลูกเสือไปอบรมวิชาพิเศษของ สโมสรลูกเสือกรุงเทพ แล้วได้ วุฒิแบด ติดที่แขนเสื้อ พร้อมสายยงยศ รวมทั้งเครื่องแบบลูกเสือที่รุ่นพี่ สวมใส่ มันสุดยอดมาก คือ เสื้อสีกากีอ่อน กางเกงยาวเกือบถึงเข่า เข็มขัด 3 ชายหัวเงาแวบ รองเท้า หนังลายฉลุ เมื่อเราเห็นแล้วรู้สึกว่าเท่ห์มากๆ อยากเป็น อยากใส่เหมือนรุ่นพี่ จึงถามป๋าเกียรติว่า พวก เราสามารถเป็นอย่างรุ่นพี่ได้หรือไม่ คำ�ตอบที่ได้รับคือ ได้ เท่านั้นแหละพวกเราจึงรวบรวมกลุ่ม โดยแบ่ง เป็น 3 กลุ่ม จากการนำ�ของ นายสมชาย เบญจธรรมธร (เสียชีวิต) เป็นหัวหน้าทีม 1 นายประสิทธิ์ พรรณยืนยง เป็นหัวหน้าทีม 2 นายนริศ วิจารณกุล เป็นหัวหน้าทีม 3 โดยทุกๆวันหลังเลิกเรียนทั้ง 3 ทีมจะต้องมาฝึกระเบียบวินัย ความอดทน โดยการวิ่งรอบสนาม โรงเรียน วันละไม่ต่ำ�กว่า 50 รอบ รวมทั้งวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับลูกเสือ เพื่อไปเรียนและสอบวิชาพิเศษ จนสำ�เร็จดังใจหวัง ต่อมาทั้ง 3 คน ได้รวบรวมลูกทีมทั้งหมดเป็นลูกเสือกองร้อยพิเศษรุ่นที่ 1 อย่างเป็น ทางการของโรงเรียนวัดสังเวช และหลังจากนั้นมีการอบรม หรือการทำ�กิจกรรมอะไรที่เกี่ยวข้องกับลูกเสือ
พวกเราก็จะได้เข้าร่วมทุกครั้ง จากการแนะนำ�และผลักดัน จาก ป๋าเกียรติ และแม่จินตนา รวมทั้งได้มี โอกาสเข้าไปเป็น ทีมงานผู้ช่วยการอบรม ของ สโมสรลูกเสือกรุงเทพ ซึ่งถือว่าเป็นความภาคภูมิใจ อย่างมาก >>>> ความประทับใจในการที่เป็นป๋าเกียรติ อยากบอกว่าทุกเรื่องเลยนะ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เราเรียนอยู่ เราก็ได้รับประสบการณ์ พร้อมคำ� สั่งสอนที่ดีๆ การเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ป๋าได้แนะนำ� และผลักดันเรา ให้เข้าไปร่วมในทุกๆกิจกรรม โดยเฉพาะ ลูกเสือ เกี่ยวกับการเป็นนักกีฬาของโรงเรียน ป๋าเกียรติ เป็นผู้ที่ทำ�ให้เรากล้าที่จะออกมาพูดต่อหน้าผู้คน เป็นคนมีระเบียบวินัย รู้จักคิดและแยกแยะในสิ่งที่ดีและไม่ดี คำ�สอนของท่านนั้น ปัจจุบันเรายังนำ�มาใช้ใน ชีวิตการทำ�งานเลย ตอนเราเริ่มทำ�งานใหม่ๆ เรามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องงาน การปรับตัวกับเพื่อนร่วมงาน และหา ทางออกไม่ได้ เมื่อมาหาป๋าเกียรติแล้วเล่าปัญหาให้ฟัง ป๋าเกียรติ ก็ช่วยให้คำ�ปรึกษาพร้อมแนวทางและ ความคิด ทำ�ให้เราผ่านพ้นไปได้ จนได้ดิบได้ดีจนถึงทุกวันนี้ เรามีความรู้สึกเสมอว่า “แม้ว่าเราจะเป็นนักเรียน หรือ คนที่ทำ�งานแล้วป๋าเกียรติก็ยังเป็น คุณครูสำ�หรับเราเสมอ” อีกอย่างหนึ่งที่สัมผัสและรับรู้ได้คือ ป๋าเกียรติเป็นบุคคลที่พร้อมจะให้เสมอกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ เป็นสิ่งที่ดี ๆ กับลูกศิษย์และคนที่รู้จัก สำ�หรับลูกศิษย์ ป๋าจะยอมเหนื่อย ยอมกลับบ้านดึกหรือไม่กลับบ้านเลย เพื่อที่จะเป็นโค้ชให้กับ นักกีฬาที่ป๋าดูแล หรือพยายามจะหาอุปกรณ์การทำ�กิจกรรมลูกเสือที่ทันสมัยมาให้นักเรียนได้ใช้กัน สำ�หรับคนที่ป๋ารู้จัก ก็จะไปช่วยงานต่างๆ ที่ถูกขอร้องให้ไปช่วยเหลือทุกครั้งถ้ามีโอกาส สำ�หรับ สิ่งตอบแทนที่ป๋าได้รับจากการที่เป็น อาจารย์สมเกียรติของทุก ๆ คนก็คือ ทุกครั้งที่อาจารย์ท่านนี้ ต้องการความช่วยเหลือถ้าท่านร้องขอหรือไม่ก็ตาม ผู้ที่รู้หรือทราบข่าวจะรีบมาด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง >>>> อยากฝากอะไรให้ป๋าเกียรติบ้าง ถ้าตะโกนดัง ๆ แล้วคนทั้งโลกได้ยิน ก็จะตะโกนว่า
“ขอบคุณมหาศาลที่ผมมีอาจารย์ท่านนี้อยู่ในชีวิต”
ราเชนทร์ อินทรเจริญ
“ตอนผมเรียนอยู่ชั้นม.1 ท่านเป็นอาจารย์สอนวิชา วิทยาศาสตร์(เคมี) และท่านก็สอนวิชาลูกเสือ-เนตรนารีด้วย ครั้งแรกที่ได้เรียนกับท่านนั้น โอ้โห ! ทำ�ไมดุจังล่ะ ด้วยความ ที่ตอนนั้นเราเองก็ค่อนข้างอ่อนแอ ไม่กล้า ขี้กลัวไปเสียหมด ทุกเรื่อง แล้วจะไหวมั้ยเนี่ย ต้องเรียนกับอาจารย์คนนี้ไปอีก อย่างน้อย 3 ปีเลยนะ ที่สำ�คัญ เราก็ถูกเลือกให้เป็นนาย หมู่ซะด้วย หลังจากนั้นมา ก็ต้องเข้าอบรมนายหมู่ มีการ อบรมที่โรงเรียน โอ้ว หนักเข้าไปอีก คราวนี้เจอทั้งอาจารย์ และรุ่นพี่ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันที่มา เป็นพี่เลี้ยง นี่มันขบวนการโหดประจำ�โรงเรียนหรือนี่ แต่ไม่ใช่อย่างนั้น พอได้ฝึกได้เรียนรู้ ได้เห็นได้ ปฏิบัติจริง ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดเลย เราคิดเองทั้งนั้น เรากลัวไปเอง คิดไปเองว่าโหด ลึกๆมันคือ ความอ่อนแอในตัวเราเอง ในช่วงที่อบรมนายหมู่นั้น ได้ทั้งความรู้ทักษะทางลูกเสือ ได้เรียนรู้ความ เป็นผู้นำ� เริ่มมีความกล้า เริ่มแข็งแกร่ง กล้าคิดกล้าทำ�มากขึ้น”
มาพบและเริ่มรู้จัก ป๋าเกียรติ ได้อย่างไร ตอบ >> ก็เริ่มจากการที่เราต้องเรียนวิชาลูกเสือ ในระดับ ม.ต้น อยู่แล้ว ก็ต้องเรียนกับ อ.สมเกียรติ ในตอนที่อยู่ม.ต้น ก็ยังไม่ได้ชื่นชอบอะไรมากมายกับกิจกรรมนี้ และยังไม่ได้รู้จัก หรือมีความสนิทสนมอะไรกับอ.สมเกียรติมากนัก ก็แค่เป็น นักเรียนคนหนึ่งที่ต้องเรียนวิชาลูกเสือกับอ.สมเกียรติเท่านั้นเอง จุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้เรียนกิจกรรมลูกเสือ และเข้ามาอยู่ในกองร้อยพิเศษ ตอบ >> หลังจากที่จบการศึกษาในชั้น ม.ต้นแล้ว ขึ้นมาเรียน ม. ปลาย ก็ต้องมีเรียนกิจกรรมบังคับ ในตอนแรกเลือก เรียน กิจกรรมวิทยุสมัครเล่น ก่อน แต่พอเรียนไปได้ซัก 2 อาทิตย์เริ่มมานั่งคิดว่า เราก็คงต้องซื้อวิทยุสื่อสาร มาหัด เล่นด้วยแหงๆ คิดไปคิดมาไม่เอาดีกว่า มันแพง เลยคิดที่จะขอย้ายกิจกรรม ได้นั่งคุยปรึกษา กับเพื่อนๆที่สนิทหลายคน ที่ เค้าเลือกกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เค้าก็ชวนให้ไปเรียนด้วยกัน ก็เลยไปขอย้ายกิจกรรม กับ อ.จินตนา บุญมี ซึ่งนั่นก็คือ จุดเริ่มของการเข้ามอยู่กิจกรรมลูกเสือ และกองร้อยพิเศษ ในตอนแรกนั้นก็จะเป็นผู้ช่วยฝึกสอนวิชาลูกเสือให้กับน้องๆ ม. 2 และต้องไปเป็นพี่เลี้ยงเวลาเข้าค่าย ม.1 และ ม.2 จำ�ได้ว่าน้องม.2 รุ่นแรก ที่ผมสอนก็คือ เมธี นุชทองม่วง (ภูริวัฒ นฤภัทรวรสกุล)นั่นเอง
ความประทับใจในการที่เป็นป๋าเกียรติ ตอบ >> เมื่อได้เข้ามาอยู่ในกองร้อยได้ซักพัก แล้ว ก็จะทำ�หน้าที่หลักๆคือเป็นผู้ช่วยฝึกสอน และก็เป็นพี่เลี้ยงเวลาไปเข้า ค่ายเป็นหลัก และก็อาจจะมีภารกิจบางอย่างที่ต้องออกไปทำ�งานนอกสถานที่บ้าง ไปร่วมงานต่างๆของกิจกรรมลูกเสือ บ้าง จะว่าไปตอนนั้นก้แทบจะไม่ได้คลุกคลีกับ อ.สมเกียรติ ซักเท่าไหร่นัก นอกจากเวลาไปเข้าค่ายเท่านั้น ซึ่งพี่เลี้ยงผู้ชาย ส่วนใหญ่จะต้องมีงานที่ อ.สมเกียรติจะเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบโดยตรง ส่วนเวลาอยู่ที่โรงเรียนก็จะมี อ.จินตนา เป็นผู้ ดูแลและรับผิดชอบเป็นส่วนใหญ่ กว่าที่จะได้ทำ�งานและใกล้ชิดสนิทสนมกับ อ.สมเกียรตินั้นก็นานพอสมควร ในตอนที่สิ้น อ.จินตนา ไป อ.สมเกียรติก็ได้เข้ามาดูแลงานของ อ.จินตนาแทน ในตอนนั้นเองผมก็เรียนจบจากวัดสังเวชไปได้ระยะหนึ่ง แล้ว แต่ก้ได้กลับมาช่วยสอนและช่วยงานลูกเสือเป็นประจำ� ซึ่งตอนนั้นก็เป็นจุดเริ่มที่ได้เข้ามาคลุกคลีทำ�งานกับ อ.สม เกียรติเต็มตัว ตลอดเวลาที่ได้ช่วยงานท่านมานั้น จะเห็นอยู่เสมอว่าท่านมีความตั้งใจมากในการที่จะทำ�งานนั้นๆให้สำ�เร็จ ลุล่วงไปด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการเข้าค่าย ผมได้เห็นได้เรียนรู้ระบบการทำ�งาน การจัดการค่ายจากท่าน ซึ่งบอกเลยว่ามันเหมือนง่าย แต่จริงๆไม่ง่าย เพราะท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อสิ่งที่จะเกิดมากมาย สิ่งแรกที่ท่านให้ ความสำ�คัญมากๆเลยก็คือ ความปลอดภัย และทุกคนในค่ายจะต้องอยู่อย่างมีความสุข กินอิ่ม นอนหลับ ท่านทำ�อย่างนี้ กับทุกคน คนที่เคยไปเข้าค่ายหรือทำ�งานร่วมกับท่าน ย่อมจะรู้ข้อนี้ดี ผมเห็นท่านจะนอนดึกกว่าคนอื่นเสมอ และก็ตื่นคน แรกเลยก็ว่าได้ สิ่งที่ท่านให้กับผมนั้น มันมากมายเกินจะบรรยาย มันเป็นความประทับใจที่ยากจะลืมเลือน ท่านเป็นตัวอย่าง ของการเป็นผู้นำ�ที่ดี ท่านเป็นผู้ให้ที่ไม่เคยหวังสิ่งตอบแทนอะไร เป็นเหมือนพ่อคนหนึ่งของเรา ที่รักและดูแลห่วงใยเราเหมือน ลูกของท่านเอง ท่านมักจะถามถึงสารทุกข์สุขดิบของพี่น้องกองร้อยเรา กับผมอยู่เสมอๆ ท่านไม่เคยทิ้งพวกเรา ท่านไม่ เคยลืมพวกเราเลยครับ อยากฝากอะไรถึงท่านบ้าง ตอบ >> ผมได้เรียน ได้เล่น ได้ทำ�งาน และเดินเข้า เดินออก โรงเรียนวัดสังเวชมาตั้งแต่ปี 2531 ถึงวันนี้ก็ 23 ปีแล้วครับ และ 20ปี ที่ผมเข้ามาอยู่ในกิจกรรมลูกเสือ เป็น 20 ปีที่ผมเห็นพ่อเสือ คนนี้ ทุ่มเทแรงใจแรงกาย และสติปัญญาของท่านใ ห้กับโรงเรียน วัดสังเวช ให้กับลูกศิษย์ของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกิจการลูก เสือ พ่อครับ พ่อเหนื่อยเพื่อพวกเรามาเยอะมากมาย วันนี้พ่อจะมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ไม่ต้องคอยห่วงไม่ต้องคอย ปวดหัว หรือต้องมาดูแลลูกศิษย์อีกแล้ว ต่อไปนี้เป็นเวลาของพ่อที่จะต้องอยู่กับครอบครัว ดูแลครอบครัวของพ่อ และดูแล สุขภาพตัวเอง ให้ความสุขและกำ�ไรชีวิตกับตัวของพ่อเองบ้างแล้ว พวกเราทุกคนได้จากพ่อมามากมายเหลือเกิน ถึงเวลา ที่พวกเราจะทำ�ให้พ่อบ้างแล้ว อยากให้พ่อพักผ่อนเยอะๆ ดูแลสุขภาพให้มากๆ และขอให้พ่อมีความสุขกับชีวิตหลังเกษียณ และอยู่คู่กับกิจการลูกเสือไทย และอยู่กับพวกเราไปตราบนานเท่านานครับ รักพ่อเสือสุดหัวใจ ธัตติวัฒน์ ธาราดำ�รงค์เลิศ (ทัศนัย เกตุชลา)
แด่....พ่อเสือของกองร้อยพิเศษ ความรู้สึกแรกที่ได้รับข้อมูลว่าให้เขียนความรู้สึกที่มีต่อ อาจารย์สมเกียรติ วิชัยวัฒนา หรือ พ่อเสือ หรือป๋าของเหล่ากองร้อยพิเศษ โรงเรียนวัดสังเวช ถ้าจะให้กล่าวตามตรงคงมีหลายสิ่งมากมายที่ คล้ายๆ กับบรรดาพี่น้องกองร้อยพิเศษที่ได้สัมผัสทำ�งานร่วมกับป๋า โดยส่วนตัว ป๋าเป็นครูวิทยาศาสตร์ที่สามารถผสมผสานหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ในกิจการลูกเสือได้อย่างแยบยล ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกลุ่ม การรู้จักวางแผนงาน การรับฟังความคิด เห็นของหมู่คณะก่อนสรุปหรือตัดสินใจ ซึ่งผิดจากความเข้าใจเดิมก่อนที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกองร้อย พิเศษ นอกจากนี้ ป๋ามีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างเต็มเปี่ยม กล่าวคือ ทุกครั้งที่ลูกศิษย์เข้ามาพบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ก็ตาม ป๋าพร้อมรับฟังให้กำ�ลังใจ หรือให้ความช่วยเหลือเท่าที่พอจะช่วยได้เสมอ และติดตามถามไถ่ด้วยความห่วงใย ในโอกาสที่ป๋าครบเกษียณอายุราชการในปีการศึกษา 2554 นี้ ผมในฐานะลูกศิษย์คนหนึ่งที่ แม้จะไม่มีโอกาสได้เข้าไปช่วยเหลือสักเท่าไร ยังคงระลึกถึงในคำ�สั่งสอนและแบบอย่างที่ป๋าได้เคยบอกอยู่ เสมอ แม้ขณะนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้น ขออำ�นาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก ตลอดจนสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่ป๋าเคารพนับถือ โปรดคุ้มครองรักษาให้ป๋ามีสุขภาพกายและใจที่ดี เพื่ออยู่เป็นมิ่งขวัญแก่บรรดา เสือทั้งหลายไปอีกนานๆ สุดท้ายขอฝากบทกลอนจากใจมอบให้ป๋าครับ แด่พ่อเสือเพื่อเยาวชนคนทั้งหลาย ให้ความรู้คู่คุณธรรม์ทุกชั้นชน สอนให้คิดแจกแจงแจ้งประจักษ์ วิเคราะห์ทำ�นำ�คุณค่ามาเพิ่มพูน กิจการลูกเสือไทยให้คุณค่า เป็นผู้นำ�นอบน้อมพร้อมรับใช้ “เหล่ากองร้อยฯ” ร้อยใจให้พ่อเสือ กาลเกษียณเวียนมาในครานี้ ขอไตรรัคน์เทวัญทุกชั้นฟ้า ขจรชื่อลือเลื่องเฟื่องอดุลย์
มั่นใจกายอุทิศทำ�นำ�เกิดผล เพื่อสร้างคนเป็นคนที่สมบูรณ์ เหตุผลหลักประยุกต์ใช้ไม่สิ้นสูญ กอปรเกื้อกูลทุกการกิจคิดก้าวไกล สานศรัทธาสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ เปี่ยมน้ำ�ใจด้วยแบบอย่างสร้างความดี จงเจตน์เชื่อในพระคุณหนุนศักดิ์ศรี กรองวาทีต่างมาลาบูชาคุณ ดลรักษาคุ้มครองป้องนำ�หนุน เกียรติคุณสถิตมั่นนิรันดร
นายกันตพงษ์ เขมชัชวัล (นายทรงศักดิ์ เส็งหู้) เลขประจำ�ตัว 17881
โดย ..นส. สมหญิง แสนใจงาม (หญิง) อาชีพ พนักงาน บ.แสนใจงาม แทรเวล ให้เช่ารถตู้ รถบัสปรับอากาศทุกขนาด เที่ยวทั่วไทย 1. หญิงเป็นนักเรียนของโรงเรียนวัดสังเวช ตั้งแต่ ม.1-ม.6 รู้จักป๋าเพราะป๋าสอนลูกเสือ-เนตรนารีตั้งแต่ม.1เลย และตอน ม.4 ป๋าสอนเคมี นอกจากนี้ป๋ายังเป็นโค้ชชมรมตะกร้อสอน ตอนเย็นๆอีก แถมลูกสาวก็ยังชื่อลูกหวายอีก 2. ป๋าและอ.จินตนา พร้อมคณะครูอีกบางท่านเป็นครูสอนลูกเสือ-เนตรนารี ออกงานกิจกรรมลูก เสือ ทุกครั้งทุกปี เป็นตัวแทนของโรงเรียนวัดสังเวช บางครั้งได้เข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือทั้งในและนอกประเทศ 3. งานที่ประทับใจมากที่สุดคือ งานชุมนุมลูกเสือโลก ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดที่ ค่ายวชิราวุธ จ.ชลบุรี (ตามภาพที่ช.ในเครื่องแบบลูกเสือ ส่วน ญ. ในเสื้อทีมของงานชุมนุม) เป็นงานแรกของหญิงที่ได้เข้า ร่วมงานระดับโลก ครั้งนี้ทำ�ให้หญิงเข้าใจถึงคำ�ว่า ร่วมมือเป็นหนึ่ง 4. และในครั้งนี้ป๋าพาได้นำ�ทีมพวกเราเข้าร่วมกิจกรรมเข้าชิงรางวัลต่างๆ จนประสบความสำ�เร็จ โดยได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศการแข่งขันสร้างหอสูง นอกจากนี้เรายังได้รับประการณ์อื่นอีกมากมาย เช่น การได้มีโอกาสพบและเป็นเพื่อนกับชาวต่างชาติ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ของกิจกรรมลูกเสือและวัฒนธรรมของเพื่อนชาตินั้นๆ 5. สิ่งที่ได้รับจากการที่ได้รู้จักป๋า คือ - ป๋าสร้างให้เรารู้จักการบำ�เบ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น การเข้าร่วมค่าย ลูกเสือ-เนตรนารี โดยการได้รับเข็มทองบำ�เพ็ญประโยชน์ระดับสูงสุด - ป๋าทำ�ให้เราเป็นคนที่มีวินัยและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งสามารถนำ�ไป ปรับใช้ได้กับชีวิตการทำ�งานจนถึงปัจจุบัน - ป๋าทำ�ให้เรารู้จักอดทน อดกลั้น และเป็นสาวแกร่งเพราะทำ�ทุกอย่างได้ด้วยตัว ของเราเอง 6. หญิงรู้สึกดีป๋าต้องเกษียณ ป๋าจะได้พักผ่อนมากขึ้น และได้มีเวลาทำ�อะไรต่างๆตามความตั้งใจที่ คิดไว้แล้วยังไม่ได้ทำ� 7. ประทับใจในทุกคำ�ที่ป๋าเคยสั่งสอน เพราะมันทำ�ให้เราเป็นคนดีมาได้ถึงทุกวันนี้ และหญิงได้นำ�มา ปรับใช้กับชีวิตในปัจจุบัน แต่ที่จำ�ได้ดีคือสูตรเคมี
ถ้ า พู ด ถึ ง ลู ก เ สื อ ก อ ง ร้ อ ย พิ เ ศ ษ โรงเรียนวัดสังเวช ก็จะมีประเด็นที่จะต้อง พูดถึงผู้ร่วมจัดตั้งกองร้อยพิเศษ ริเริ่มกอง ร้อยผู้ช่วยสอน การเริ่มมีลูกเสือวิสามัญ นั้น คือ อาจารย์สมเกียรติ วิชัยวัฒนา หรือ อ.เกียรติ, ครูหมึก, ป๋าเกียรติ,จารย์สม เกียรติ ที่เป็นที่รักของเราๆทุกคนในสมาชิก กองร้อยลูกเสือโรงเรียนวัดสังเวช ทุกวัน นี้ เพื่อนๆ ในกลุ่มที่สนิทกัน ก็เป็นลูกเสือ กองร้อยพิเศษ ร.ร.วัดสังเวชทั้งนั้น เวลา พบปะสังสรรค์กัน ก็จะต้องนัด ป๋าเกียรติ ด้วยทุกครั้ง เพราะเรานึกถึง “ป๋าเกียรติ” กันตลอดเวลา เป็นเรื่องที่พูดเล่นกันในกลุ่มว่า ป๋าเกียรติ อยู่รุ่นเดียวกัน เข้าม.1 มาพร้อมกัน และ เรื่องที่ คุยกันมักจะไม่พ้นเรื่องลูกเสือกองร้อยพิเศษโรงเรียนวัด สังเวช สมัยเรียนที่ “ร.ร.วัดสังเวช” จำ�ได้ว่าเวลาไปโรงเรียน ใส่ชุดลูกเสือมากกว่าใส่ชุดนักเรียนอีก ไป ค่ายลูกเสือเยอะมาก สนุกสนาน ได้ความรู้ ได้เทคนิคพิเศษต่างๆ สามารถนำ�มาใช้กับการทำ�งานใน ปัจจุบัน เช่น การใช้เงื่อนต่างๆ การผูกรอกเชือก การทำ�ฐานกิจกรรม เราก็นำ�มา ใช้ดึงเชือกเวลาผูกรั้ง ของให้เชือกตึง ใช้ผูกของ การกล้าพูด กล้าแสดงออก ซึ่งก่อนหน้าที่จะเรียนหลักสูตรผู้ช่วยสอน การพูด หน้าห้อง การรายงาน การพูดต่อหน้าคนเยอะๆ จะประหม่า สั่น พูดไม่ออก แต่พอตอนเรียน ม.4 เริ่มเป็น ลูกเสือผู้ช่วยสอน รุ่นแรก พูดหน้าแถว สอนวิชาต่างๆ แทนอาจารย์ จึงทำ�ไม่ประหม่า กล้าพูด นำ�มาใช้ ตอนทำ�งานได้เหมือนกัน การทำ�กิจกรรมต่างๆ ก็ได้นำ�มาใช้ตอนทำ�งาน เช่นกัน ตอนไปค่ายลูกเสือทุกๆครั้งพวกเราจะต้องเดินทางไปก่อนวันค่าย และกลับหลังคนอื่น ทั้งเหนื่อย ทั้งสนุก ไม่เคยเห็น ป๋าเกียรติ บ่นว่าเหนื่อยเลย ให้กำ�ลังใจ และสอนเราทุกๆ อย่าง สอนการทำ�ฐาน กิจกรรม สอนการแบ่งงาน กระจายงานกัน เป็นที่ปรึกษาได้ในทุกๆ เรื่อง การไปค่ายลูกเสือมีความประทับ ใจ สนุก ตื่นเต้น มีค่ายที่อยู่ร่วมกับต่างชาติ ได้ฝึกภาษา ได้ฝึกทักษะต่างๆมากมาย และอีกเรื่องที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ ป๋าเกียรติและลูกเสีอกองร้อยพิเศษโรงเรียนวัดสังเวช เป็นตัวกลาง ในการเชื่อมต่อให้เราทั้งหลาย รุ่นพี่ รุ่นน้อง ทั้งที่เคยร่วมงานกัน และไม่เคยเจอกันมาก่อน ได้เชี่อมต่อกัน เหมือนพี่เหมือนน้องที่สนิทกันมานานได้
นายชฎิล วสันตทัศน์ ทำ�งาน >>> บริษัท จุติพันธุ์ จำ�กัด 2 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทร. 089-105-2090 e-mail chadin111@gmail.com
ความประทับใจที่มีต่อ...ป๋าหมึก(อาจารย์สมเกียรติ)... ของพวกเราชาวกองร้อยพิเศษทุกคน ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่อุ๊ได้อยู่กองร้อยพิเศษมา ได้ทำ�กิจกรรม และร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับลูกเสือ ทำ�ให้อุ๊มีความรับผิดชอบมากขึ้น สามารถ ดูแลตนเองและผู้อื่นได้ในขณะเดียวกันยังสอน น้องๆในวิชาลูกเสือได้อีกด้วย เพราะปกติอุ๊จะขี้อายไม่กล้าแสดงออกพูดน้อย แต่พอได้เข้ามาทำ�กิจกรรม ลูกเสือได้รับการอบรมจากป๋า และพี่ๆ รวมไปถึงแม่จิน(อาจารย์จินตนา) ที่ พวกเราเคารพรัก ป๋าจะคอยดูแลและสั่งสอนตลอด คอยตักเตือนสิ่งที่เรา ทำ�ไม่ถูกและอธิบายให้เราเข้าใจว่าไม่ถูกตรงไหนในเรื่องต่างๆ สำ�หรับป๋าเรา สามารถคุยได้ทุกเรื่องปรึกษาได้ทุกเรื่อง ป๋าก็จะคอยดูเราอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ เพราะเด็กกองร้อยพิเศษแต่ละคนก็มีฤทธิ์เดชต่างกัน การกำ�หลาบก็อาจจะ ต่างกันออกไป สำ�หรับตัวอุ๊เองก็เป็นเด็กที่ไม่ได้เก่งอะไรเรียนก็ปานกลาง แต่การที่ได้เข้ามาอยู่กองร้อยพิเศษเหมือนมีอีก 1 ครอบครัว ที่ทุกคนคอยดูแลกันเป็นห่วงกันในทุกๆๆเรื่อง ภาวะผู้นำ�ที่อยู่ในตัวอุ๊ส่วนหนึ่งก็ได้มาจากการที่เราเข้ามาอยู่ใน กองร้อยพิเศษที่มีป๋าหมึกคอยดูแล อบรมเรามาตลอด แต่นอกเหนือสิ่งอื่นใดก็คือการที่ป๋าให้เกียรติมางานมงคลสมรสของอุ๊ ซึ่งอุ๊ไม่ได้คาดฝันเลยว่าป๋าจะมา ซึ่งทำ�ให้อุ๊ร้องไห้ด้วยความซาบซึ้งต่อความกรุณาของป๋ามากๆค่ะ อุ๊รู้สึกมีบุญและก็ภูมิใจที่ ได้เป็นลูกศิษย์ป๋าคนหนึ่งค่ะ ความประทับใจจาก นางสาวสุภาวดี อัศนธรรม (อุ๊) อาชีพ พนักงานบริษัท AIS
จนถึงทุกวันนี้เพิ่งจะเข้าใจ “ลูกจะไม่เป็นอย่างที่เราสอน” แต่ “ลูกจะเป็นอย่างที่เราเป็น” ทุกครั้งที่นึกถึงคำ�นี้จะนึกถึงป๋าเกียรติ เสมอ เพราะป๋าจะไม่เคยสอนด้วยคำ�พูด แต่จะสอนด้วยการกระทำ� เป็นต้นแบบเสมอ เมื่อก่อนนี้จะคิดเสมอว่า ช่างโชคร้ายจริงๆ ที่สอบเข้า โรงเรียนอื่นไม่ได้ ต้องมาเข้าเรียนที่นี่ แต่ในความโชคร้ายก็มีโชคดีที่สุด ที่ได้เจอ ได้เรียน ได้รู้ ทั้งความรู้และชีวิตจริงๆ จากป๋า ทุกๆ วันนี้ที่ สามารถนำ�ความรู้ต่างๆ ไปต่อยอดชีวิตตัวเอง, ครอบครัวได้ ก็เพราะป๋านี่แหละ ที่จับหนูกับอีภูมิ ( ) มานั่งเรียน ตลอด 2 เดือนที่ป๋าสอน สอนด้วยความหวัง หวังดีกับลูกศิษย์ ด้วยความเป็นครูจริงๆ เลือกคณะให้ ต่อทางชีวิตให้ จนถึงวันนี้ ลูกศิษย์คนนี้สามารถเดินได้ ทำ�ประโยชน์ต่อสังคม เป็นครูคนได้ ขอยกคุณความดีทั้งหมด ให้ กับป๋า แม่จินตนา ป๋าสมปอง อ.อังสนา ด้วยความเคารพรัก นางเสาวลักษณ์ โรจนาพันธุ์พัฒน์
ย้อนกับไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ตัวผมเองได้เข้ามาเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดสังเวช เริ่มรู้จัก “กอง ร้อยพิเศษ” เป็นครั้งแรกก็ด้วยคำ�แนะนำ�ของพี่โอ๋ แต่กว่าจะได้มาเป็นกองร้อยพิเศษเต็มตัว ก็อีก ๑ปี ถัดมา ตลอดเวลาที่เป็นกองร้อยพิเศษ ได้รับการดูแลจาก อาจารย์สมเกียรติเป็นอย่างดี อาจารย์สมเกียรติดูแลลูกศิษย์ทุกคนโดยเท่าเทียมกัน หากช่วงไหนมีลูกศิษย์คนใดออกนอกลู่นอกทาง ท่านก็จะเรียกเข้าไปตักเตือน ผมก็เคยเป็นหนึ่งในนั้นที่เคยออกนอกลู่นอกทาง แต่ก็ได้อาจารย์สมเกียรติ ที่คอยสอนคอยตักเตือนตลอดมา กองร้อยพิเศษแตกต่างจากกลุ่มกิจกรรมอื่นคือ กองร้อยของเรามี “ป๋า”เป็นศูนย์ รวมจิตใจ เวลาทำ�กิจกรรมทั้งเวลาอยู่ในโรงเรียน หรือ เวลาไปค่าย ทุกคนจะคอยฟังคำ�สั่งจาก”ป๋า” เพียงคนเดียวเท่านั้น ทั้งหมดก็เพราะทุกคนเชื่อและศรัทธาในตัวของ”ป๋า” ผลก็คืองานทุกอย่างออกมา เรียบร้อยสมบรูณ์แบบตลอดมา สิ่งที่ซึมซับจากการที่ได้ทำ�งานร่วมกับป๋า คือ การวางแผนการทำ�งาน ทุกอย่างมีต้องมีขั้นตอนตามลำ�ดับ ความละเอียดรอบครอบ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การ ทำ�งานร่วมกับผู้อื่น ทุกอย่างที่กล่าวมา ล้วนมาจากการได้มาเป็นกองร้อยพิเศษ ซึ่งปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ก็ ยังคงติดตัวผมอยู่ และเชือว่าพี่น้องลูกเสือกองร้อยพิเศษก็ได้รับไปเช่นกัน ความทรงจำ�ทั้งหมดในระหว่างที่เป็นกองร้อยพิเศษเป็นอะไรที่น่าจดจำ�เป็นอย่างยิ่ง เช่น ก่อนเวลาไปค่าย ทุกคนในกองร้อยก็จะตื่นเต้นกันมาก 1 สัปดาห์ก่อนเข้าค่ายจะเป็นช่วงเวลาที่ยุ่ง มาก จะต้องรื้อเอาของในห้องลูกเสือ ห้องใต้เวทีออกมาทำ�ความสะอาด เพื่อเตรียมที่จะไปเข้าค่าย แต่ ความสนุกของการเป็นพี่เลี้ยงนั้น จะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ต้องออกเดินทางไปเตรียมค่ายก่อน 1 วัน จะเป็น วันที่ เหนื่อย มันที่สุด เพราะหลังจากถึงค่ายและจัดของเสร็จแล้ว ก็จะเป็นเวลาปล่อยผีของพวกพี่เลี้ยง ชุดที่ไปก่อน จะทำ�อะไรก้ได้ เต็มที่ แต่ถ้าโดน “ป๋า”ด่า ก็ตัวใครตัวมันล่ะครับ .... พวกเพื่อนๆ น้องๆที่ได้เคยออกค่ายกับผมก็จะรู้ว่า เวลาเราอยู่ค่าย การเป็นพี่เลี้ยง มันส์ขนาดไหน เวาทำ�งานทุกคนก็ทำ�อย่างเต็มที่ แต่เวลาเล่นก็เล่นกันเต็มที่เช่นเดียวกัน การไปค่าย แต่ละค่ายก็มีความมันส์คนละแบบ จำ�ได้ครั้งนึง ไปค่าย 9 วิชา แล้วฝั่งตรงข้ามโรงอาหาร จะเป็นร้าน ขายขนม ก็กำ�ลังนั่งพักผ่อนกันอยู่ แล้วเห็นป๋า เดินไปตรงริมสระน้ำ� ก็นึกว่า ป๋าจะไปดูฐานผจญภัย เลยเรียกพวกกองร้อยทั้งหมด ตามไป ปรากฏว่าพอเข้าไปถึงตัวป๋า ป๋าไม่ได้ดูฐานครับ “ป่าไปฉี่ครับ” พวกน้องๆก็บ่นผมใหญ่เลยว่า “พี่ยาแม่งมั่ว” ป๋าไปฉี่จะมาเรียกพวกผมไป ดูทำ�ไมเนี่ย ก็ฮากันทั้งชุดเลยครับ ที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นเพียงแค่ความทรงจำ�ดีๆ เสี้ยวหนึ่งยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่ยังอยู่ในความทรงจำ�ถ้าจะ ให้เขียนทั้งหมดก็คงต้องอ่านกันเป็นวันๆเลยทีเดียว สรุปเลยแล้ว กันครับว่า “ป๋าครับ ผมขอบพระคุณมากครับตลอดเวลาที่ได้เป็นทั้ง ลูกศิษย์และลูกของป๋า ทุกอย่างที่ได้พร่ำ�สอนผมมา ไม่เคยสูญเปล่า เลยครับ อยู่ในใจของผมตลอดเวลาครับ จึงทำ�ให้ผมมีวันนี้ที่ภาค ภูมิใจครับ” จิรัฏฐ์ อนันฏรัตน์ (สุริยา อนันตทรัพย์) การศึกษา ม.1-ม.6 จากโรงเรียนวัดสังเวช ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง ปัจจุบัน ทำ�งานที่ ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จำ�กัด
ชื่อเดิม รัตน์โกสินทร์ บุญคงชู ชื่อปัจจุบัน พันธวัจน์ มณีสุวรรณ ที่อยู่ NO.1 FLORENCE GROVE WEST YORKSHIRE LEEDS ENGLAND LS9 7AN 1/99 ม.7 ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย นนทบุรี 11130 TEL. 00447428110237 E-MAIL RATKOSINT@HOTMAIL.COM อาชีพ Cooking Teacher - Teacher of cooking Thai food
at the Chaophraya Thai Restaurant Senior Chef de Partie - international cuisines at Copthorne Hotel
ผมได้เรียนที่โรงเรียนวัดสังเวชตั้งแต่ ม.1 จนถึง ม.6 ภาพที่ติดตาผมจนถึงทุกวันนี้เมื่อ สมัยผมยังเด็กก็ยังจำ�ได้ คือการที่เห็นครูคนหนึ่งมีแต่ลูกศิษย์เข้าไปเยี่ยมเยียน ผมมีคำ�ถามในใจมา ตลอดว่าคนคนนี้ทำ�ไมถึงมีคนเคารพมากมายและคอยเป็นห่วงแถมยังจะมีรุ่นพี่คอยช่วยงานอยู่ไม่ ขาด จนวันหนึ่งผมได้มีโอกาสเข้าอบรมผู้นำ�ลูกเสือม.1 ผมก็เริ่มรู้จักกับครูคนนี้มากขึ้น มีคนแนะนำ� ให้เข้าอบรมกองร้อยพิเศษ ตอนนั้นก็คิดเพียงอย่างเดียวว่าเท่ห์ดูดีมากในชุดลูกเสือกองร้อยพิเศษ และเราดูเหมือนจะแตกต่างจากคนทั่วไป... ประโยคแรกที่ผมจำ�ขึ้นใจเกี่ยวกับความแตกต่างนี้ ครู สมเกียรติมองมาที่ผมในขณะที่ประชุมกองร้อยและบอกกับพวกเราว่า “เราแตกต่าง” เพราะเรา คือผู้นำ� ผู้นำ�ที่ต้องเสียสละโดยไม่คำ�นึงว่าสิ่งที่เราทำ�จะได้ประโยชน์กับตนเองหรือไม่ ขอเพียงคน ส่วนรวมได้ประโยชน์และไม่หวังที่จะให้ใครมาเห็นคุณความดีของเรา และครูลงท้ายไว้ว่า “สักวัน... สิ่งที่เราทำ�จะมีคนเห็นเอง” จากข้อคิดในวันนั้นทำ�ให้ผมมีวันนี้ และมีหน้าที่การงานที่ดี เหมือนกับ ว่าเราค่อยๆซึมซับข้อคิดในการใช้ชีวิตและแนวทางในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว จนเวลา ผ่านไปทำ�ให้ผมได้เข้าใจแล้วว่า มีรุ่นพี่มากมายเรียกครูสมเกียรติว่า “ป๋า” คำ�ว่า”ครู”อาจหมายถึง ผู้ให้ความรู้ แต่สำ�หรับคำ�ว่า “ป๋า” นั่นอาจหมายถึง”พ่อ”ผู้ให้แนวทางการชีวิต ผมก็เช่นกัน “”ผม คิดว่าครูสมเกียรติ เป็นมากกว่าครู ท่านเปรียบเสมือน “พ่อ” ที่ให้วิถีทางการดำ�เนินชีวิตโดยหวัง แต่เพียงลูกทุกคนที่ได้รับการอบรมจะออกไปสร้างความดี ความสำ�เร็จให้กับชีวิตของตนและเป็น ประโยชน์ให้กับผู้อื่น... ป๋าครับ...รางวัลที่ป๋าได้รับ เป็นสิ่งยืนยันในความภาคภูมิใจที่ ครั้งหนึ่งผม เป็นลูกศิษย์ ครั้งหนึ่งเคยเป็นลูก และที่สุด..ผมยังมีพี่น้องอีกมากมายที่มีพ่อคนเดียวกันและยังรัก สามัคคีไม่ทิ้งกันแม้ว่าจะต่างคนต่างมีภาระที่ต้องทำ� แค่คำ�ว่าลูกของ”ป๋า” ผมและพี่น้องทุกคนก็ พร้อมที่จะตอบแทนและช่วยเหลือในทุกๆด้านครับ
เนื่ อ งจากป๋ า จะครบอายุ เ กษี ย ณ ราชการในปีนี้ ผมมีความประทับใจหลายๆ อย่าง จากการได้เข้าเป็นลูกเสือกองร้อยพิเศษโรงเรียน วัดสังเวช ได้ทำ�ค่ายร่วมกับป๋า จัดกิจกรรมอบรม ผู้นำ�ให้กับน้องๆ ที่เข้ามาเป็นกองร้อยพิเศษรุ่น ใหม่ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำ�ให้ผมระลึกถึงพระคุณของ ป๋าเสมอ คือ การที่ป๋าให้โอกาสผมได้ไปสัมผัส โลกกว้าง และกลับตัวกลับใจมาเป็นคนใหม่ จาก การที่ผมได้ทำ�ตัวเหลวไหลในตอนที่ผมอยู่มัธยมศึกษาปีที่ ๕ หากวันนั้นป๋าไม่เรียกผมไปพบเพื่อที่จะให้ลอง ไปสมัครคัดเลือกลูกเสือเพื่อไปร่วมงานชุมนุมในต่างประเทศ ผมก็อาจจะไม่สามารถมีชีวิตอย่างที่ผมเป็นใน ปัจจุบันได้ การเป็นลูกเสือสอนให้ผมต้องพึ่งตนเอง นอกจากจะพึ่งตนเองได้แล้วยังต้องเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นได้ ด้วย ต้องมีความเสียสละ และเห็นความสำ�คัญของส่วนรวมเป็นที่หนึ่ง มีความเป็นผู้นำ�ที่มีความสามารถที่จะ ชี้ทางหมู่คณะไปในทางถูกต้องได้ ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ ที่พบเจอ พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานั้นๆ ให้สำ�เร็จลุล่วงไปด้วย มีความกล้าและรับผิดชอบในสิ่งที่ได้ตัดสินใจทำ�ด้วยตนเอง ถือสัจจะและความซื่อสัตย์ และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ที่สามารถหล่อหลอมให้ผมกลายเป็นพลเมืองที่ดีมีความสามารถ เป็นกำ�ลังสำ�คัญ ให้กับประเทศได้ ผมได้สิ่งเหล่านั้นจากการเป็นลูกเสือในการดูแลของพ่อเสือ (ป๋า) ได้เดินตามรอยเท้าของ เสด็จพ่อรัชกาลที่ ๖ บิดาผู้ให้กำ�เนิดกิจการลูกเสือไทย นอกจากนี้ความเป็นลูกเสือ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ของผมในยามที่ผมหลงทาง เป็นเหมือนดั่งเปลวเทียนที่ให้แสงสว่างนำ�ทางภายในจิตใจที่มืดมน ผมอยากจะกราบขออภัยในสิ่งที่ผมได้เคยล่วงเกิน ทำ�ให้ป๋าไม่สบายใจ พร้อมทั้งขอกราบขอบพระ คุณป๋าที่ได้ให้ความเมตตาทำ�ให้ผมค้นพบตัวตนของตนเอง จนสามารถมายืนในจุดนี้ของชีวิตได้ และขอกราบ อาราธณาคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั่วทั้งสากลโลก รวมถึงพระบารมีของเสด็จพ่อ ร.๖ จง ดลบันดาลให้ป๋า พ่อเสือที่ยิ่งใหญ่ของกองร้อยพิเศษแห่งโรงเรียนวัดสังเวช มีความสุข และมีสุขภาพแข็งแรง หลังจากการเกษียณราชการ ขอให้ป๋ามีความสุขมากๆ ครับ กฤษกร เจียรมาศ ส.ต.ท.กฤษกร เจียรมาศ ตำ�แหน่ง ผบ.หมู่ ฝอ.๙ บก.อก.บช.น. ที่ทำ�งาน ฝ่ายอำ�นวยการ ๒ กองบังคับการอำ�นวยการ กองบัญชาการตำ�รวจนครบาล 323 ถ.ศรีอยุธยา แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. 10300 ที่อยู่ 46/605 ม.5 ซ.22/4 ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110 โทรศัพท์ 0-29270363 มือถือ 083-2979734
้อยพิเศษ ตรนารี กองร เน อ ื เส ก ู ล ง ้ อ สวัสดีคับ พี่น เวชทุกคน โรงเรียนวัดสัง ห้าวหาญ กวิโรจน์ ตานี กระผม สิบเอ อ.ยะรัง จ.ปัต ม ู ต า ข .เ ต ร ธ ค่ายสิริน -๗๗๖๗ ที่อยู่ปัจจุบัน ๕, ๐๘-๕๒๓๒ ๓ ๓ -๔ ๕ ๗ ๗ -๖ เบอร์โทร ๐๘
ผมได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดสังเวช ปี พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๗ ตั้งแต่ ม.ต้น – จนจบ ม.ปลาย ได้เห็นความแตกต่างของ รร. มากมายเหมือนกัน ผมยัง คงจำ�ได้ไม่เคยลืมถึงครั้งยังเป็น นร. ผมเองรหัสประจำ�ตัว ๒๑๑๕๗ ตอน ม.ต้น มีห้องเรียนทั้งหมด ๖ ห้อง ผมเอง อยู่ห้อง ๒ ช่วงนั้นถือเป็นช่วงที่ นร.มากอีกช่วงหนึ่ง หลังจากรุ่นผมไปแล้ว นร. เริ่มน้อยลงอันนี้ก็ไม่รู้ เพราะเรื่องไรนะ แต่ที่รู้ก็คือชีวิตผมมีความสุขและสนุกกับการเรียนก็เพราะมีกิจกรรมที่ผมชอบและผมรัก อยู่ด้วย ผมเชื่อว่าทุกคนคงมองกิจกรรมนี้เป็นอะไรที่น่าเบื่อ แต่กับตัวผมเองมันเป็นกิจกรรมที่สร้างคนเรา ให้เป็นผู้นำ�และกล้าที่จะแสดงออกได้ กิจกรรมนั้นคือกิจกรรมลูกเสือ โดยมี อาจารย์ สมเกียรติ วิชัย วัฒนา เป็นอาจารย์หลักของกิจกรรมนี้ และยังเป็นพ่อเสือของเรา ที่ค่อยสร้างหรือให้กำ�เนิดลูกเสือใหม่ๆ มาตลอด ผมเองได้เข้ามาในลูกเสือกองร้อยพิเศษ ตอน ม.๒ เหตุที่เข้ามาตรงนี้ เพราะมันเกิดตอน ม.๑ ที่ รร.จัดไปเข้าค่ายที่วัดปากคลอง จ.สระบุรี แล้วน่าจะเป็นครั้งสุดท้ายของค่ายนี้ ที่ผมเห็นพวกพี่ ๆ ทั้งที่จบ ไปแล้ว และที่ยังกำ�ลังศึกษาอยู่มาช่วยค่ายนี้ ทำ�ให้ผมอยากมารวมด้วย เพราะอยากเป็นเหมือนพี่เขาด้วย ที่กลับมาช่วยกิจกรรมนี้ถึงแม้จะจบไปนานแล้วก็ตาม พอขึ้น ม.๒ ผมเข้ามาเป็นลูกเสือกองร้อยพิเศษ แต่ ไม่ได้เรียนวิชาพิเศษเพราะที่บ้านไม่ให้เรียน แต่ผมได้ป๋า/พ่อเสือและเพื่อน ๆ ชักชวนเข้ามาร่วมอยู่ใน กิจกรรมนี้ แล้วได้ป๋าคอยสั่งสอนแนะนำ�เกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ที่ผมไม่ได้ไปเรียนและสัมผัส ป๋าเปรียบเสมอ พ่อที่เป็นแบบอย่างแก่ผม คอยบอก คอยสั่ง ถึงแม้บางที่จะด่าจะว่าก็ตามเพราะตัวผมเองทำ�ให้ป๋าไม่พอใจ แต่ไม่นานเดี๋ยวป๋าก็อารมณ์ดีขึ้นมาเอง ผมได้ไปออกค่ายกับป๋าเองก็มากนะ ทั้งของ รร.เราเอง และต่าง รร. หรืองานชุมนุมลูกเสือโลก ผมจะได้รับความไว้วางใจจากป๋าในเรื่องการกำ�กับดูแลมากกว่า แต่ก็มีผิด พลาดบ้าง แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีทุกครั้ง เชื่อไหมกิจกกรมที่ทุกคนเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อสร้างคนให้ เจริญก้าวหน้ามามากแล้วหนึ่งในนั้นเองก็คงเป็นผมเองด้วย ที่เอาสิ่งที่เราฝึกมาและเรียนรู้มาใช้ให้เกิดผล ในระยะเวลาข้างหน้า ให้เกิดแก่ตัวเอง ผมอยากจะบอกว่า อาจารย์ สมเกียรติ วิชัยวัฒนา/พ่อเสือ/ป๋า จะเป็นแบบอย่างของ ลูกเสือคนนี้ตลอดไป
ทุกความทรงจำ�...ยังอยู่ >>> จุดเริ่มต้นของการได้มาเรียนที่โรงเรียนวัดสังเวชของไอ้น้ำ� เริ่มต้นที่ความ เรียบง่าย หรือเรียกอีกอย่างว่า ไม่รู้เรื่องรู้ราว จะง่ายกว่า รู้แค่ว่าตัวเองจบ ป.6 แล้ว จะต้องหาโรงเรียนต่อ ไม่ได้โรงเรียนใกล้บ้าน เลยเขียนเลือกว่าเข้าโรงเรียนไหนก็ได้ ไม่รู้ ด้วยซ้ำ�ว่าโรงเรียนที่ได้นั้น ชื่อโรงเรียนน่าหดหู่ เหมือนที่เค้าครหากัน กว่าจะรู้ก็ปาเข้าไป ม.2 แล้ว แต่มันก็ไม่มีผลกับคนอย่างไอ้น้ำ�เลย ความเรียบง่ายยังคงดำ�รงอยู่ จนกระทั่ง... ‘กอง’ เสียงดังก้องสนาม เค้าทำ�อะไรกัน? มีพี่หน้าตาหาเรื่องคอยคุม แต่งตัวเต็มยศ ดูเก๊กชอบกล (555) แต่ก็เก็บความสงสัยไว้ วิชาลูกเสือ-เนตรนารี เป็นวิชาที่ชื่นชอบในความรู้สึกมานาน ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่าชอบการเข้าค่ายพักแรม ชอบบรรยากาศตอนรอบกองไฟ ชอบเพลงลาวดวงเดือน ชอบฐานผจญภัย ฯลฯ แต่การเรียนวิชาลูกเสือ-เนตรนารีที่โรงเรียนวัดสังเวชมีอะไรมากกว่านั้น มีครูผิวสีหมึกหน้าตาเอา เรื่องคอยดุเด็กแสบ ตอนนั้นความรู้สึกเหมือน ดูละครที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับครูที่มีกลยุทธปราบความเฮี้ยวของเด็กในรูปแบบ ต่างๆ นานา แทนที่ไอ้น้ำ�จะกลัว กลับชอบความตรงๆ ของครูคนนี้ และแล้ววันหนึ่ง... มีการประกาศรับสมัครกองร้อยพิเศษฯ เอ๊ะ!!! คือกลุ่มคนที่แต่งตัวเต็มยศนั่นนะเหรอ ได้ยินมา จากเพื่อนว่า ได้เรียนวิชาต่างๆ เยอะแยะ ได้ไปกิจกรรมหลายอย่าง น่าสนุกแหะ ถามเพื่อนๆ ไม่มีใครสน เอาน่า ไปคนเดียว ก็ได้วะ ลองดูสักหน่อยเป็นไร และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้รู้จัก ‘ครู’ คนนี้มากยิ่งขึ้น หลังจากเข้ามาเป็นกองร้อยพิเศษ น้ำ�ไม่สงสัยเลยว่าทำ�ไมทุกคนถึงเรียก ‘ป๋า’ เช่นนี้ ป๋ามีความเป็นครูและพ่อไปใน ตัว ป๋ารวมคำ�ว่าลูกกับลูกศิษย์ไว้ด้วยกัน ป๋าเป็นคนดูแข็งกร้าวแต่อบอุ่น ดุแต่โอบอ้อมอารี ที่สำ�คัญเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง เช้าวันหนึ่ง... น้ำ�เห็นป๋าเดินเข้าไปที่ห้องเก็บของลูกเสือ (ตรงห้องน้ำ�หญิง) น้ำ�มันรั่วจากเพดานหยดลงมาเปียกของ ป๋าจัดแจงย้ายของคนเดียว น้ำ�เห็นพอดีเลย เข้าไปช่วย ป๋าเป็นคนไม่ยัดเยียดให้ใครทำ�อะไร ไม่บังคับ น้ำ�รู้สึกมาโดยตลอด จนน้ำ� ตัดสินใจว่า จะเป็นฝ่ายเดินเข้าไปถามหรือช่วยหยิบจับลงมือทำ�เลยดีกว่า ถ้ารอให้ป๋ามา สั่ง ป๋าคงลงมือทำ�เสร็จแล้ว และนั้นเป็นเหตุให้น้ำ�มีกุญแจห้องนี้ ทุกเช้าจะเปิดไปยกน้ำ�ที่ รองไว้มาเททิ้ง (เหตุการณ์นี้มีหลายคนช่วยกันทำ�) มันเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจเล็กๆ ที่ได้ทำ� การเป็นผู้ให้ของป๋า ซึบซับมาสู่น้ำ�อย่างเต็มหัวใจ ทำ�ความดีโดยไม่ต้องให้ใครรู้ ใครเห็น แค่ใจเรารับรู้ก็พอ ทุกวันนี้น้ำ�ได้อะไรจากพ่อคนนี้ จากกองร้อยฯ เยอะมาก นำ� มาใช้ทั้งการงาน ชีวิตประจำ�วัน รวมทั้งอุดมคติภายในใจ วรรคสุดท้าย น้ำ�อยากขอบคุณโชคชะตาที่ทำ�ให้น้ำ�ได้มาพบ ‘ป๋า’ คนนี้ ผู้ซึ่ง เป็นผู้นำ�ลูกเสือ แต่คนๆ นี้เป็นผู้นำ�ทางจิตวิญญาณประดุจดั่งพ่อ ขอบคุณพ่อคนนี้ที่ เป็นแสงนำ�ทางให้กับชีวิต ขอบคุณคะ
เพ็ญจันทร์ นาทิพย์
เอ่ยชื่อ ‘ป๋าเกียรติ’ เราจะนึกถึง... Chaiwat Binya-it : ผมคิดว่าเป็นคำ�ดุของป๋านะครับ ผมโดนบ่อยตอนที่ยังเรียนอยู่ Nett Norathep : มืออันทรงพลังกระแทกไปที่หลังของเรา ^^!! Kantaman Khema : เกินบรรยาย รู้แต่ว่าหลายสิ่งที่ได้จากป๋า และแม่จินต์ ทำ�ให้เป็นผู้ใหญ่อย่างมีระบบ โดยเฉพาะการรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า Rachain Intaracharoen : ลูกเสือ Jiratth Anan : เดินเข้ามาใกล้......เม้มปาก.....แล้วก็ตบ เพี๊ยะ....(เวลาเด็กคนนั้นมันดื้อจริงๆๆ) Kannikar Mephan : ”กุ๊งกิ๊ง “ สั้นๆ แต่มีความหมายที่ลึกซึ้ง 555555 Mukda Phosaka : ป๋ามักจะจำ�ลูกๆทุกคนได้เสมอ แม้จะห่างหายไปนาน Zine Za : ลูกเสือเช่นกันคะ..ยิ่งเป็นกองร้อยพิเศษด้วยแล้ว ความผูกพันเต็มเปี่ยม กินด้วยกัน ดูแลกัน Phenchan Natiph : คำ�สั่งสุดท้ายเวลาสั่งงาน เราต้องพร้อมรับคำ�สั่งทุกเมื่อ ซึ่งสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ตลอด ตามสถานการณ์เราต้องพร้อม ตลอดเวลา อ่อ... แล้วก็เรื่อง safety ป๋าจะยึดไว้เป็น สำ�คัญถึงความปลอดภัยของทุกคน ^^ ที่สำ�คัญ ‘ท่าหลับของแก’ ชนะขาดลอย ^^
เค้า... ตื่นก่อน เค้า... นอนทีหลัง เค้า... คอยระวัง ทุกความปลอดภัย ถึงจะเหนื่อยแสนเหนื่อย ถึงจะง่วงแสนง่วง ของีบสักนิด... ตื่นขึ้นมาพร้อมลุย...
หยอกนิดหยอกหน่อย ^^
นกหวีดสีแดง
วลีเด็ดของป๋าเกียรติ เคยถามว่าทำ�ไมป๋าใช้แว่นหลายอัน แกบอกว่าพอถอดวางไว้แล้วลืมว่าไว้ตรงไหน เวลาจะใช้ก็เอาไอ้อันที่เห็นใกล้ตัวที่สุดมาใส่ง่ายดี ไม่ต้องหาอยู่ใกล้อันไหนก็ใส่อันนั้น)
คนอื่นใช้ไมค์ แต่ป๋าใช้โทรโข่งเสมอ
scout spir it
เป้ใบนึง ใช้คุ้มมาก
scout a y a lw a t u o c once a s
ร่วมสนุก... ใส่วลีเด็ดๆ ของป๋าเกียรติ
ท่อแอร์ (ตีเสียงดังแต่ไม่เจ็บ)
รอยขาดการันตีประสบการณ์
ของคู่กาย
‘พ่อเสือ’
ครูศรัทธาและเชื่อมั่น อุดมการณ์ลูกเสือ...
...
ขอให้ทุกคนโชคดี ^^
แค่ ‘คลิก’ เบาๆ ใจเราก็ส่งถึงกัน ^^ www.facebook.com/watsungwej.scout.leader >>> กองร้อยพิเศษโรงเรียนวัดสังเวช www.facebook.com/Banglumpoo.Scout.Club >>> ชมรมเสือบางลำ�พู
รายชื่อคณะกรรมการ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.
ราเชนทร์ อินทรเจริญ (พี่บอย) สมเกียรติ สุนีย์สุขวัฒนา (พี่ตือ) นาตยา ลานทอง (พี่แอน) ธัตติวัฒน์ ธาราดำ�รงค์เลิศ (โอ๋) ธนิตศร สีภู่ (เอ็ม) เบญจพร เลี้ยงเจริญสุข (ปู) นรเทพ แซ่ลิ้ม (เน็ท) ณิรดา พุ่มสุข (เอ๋) เพ็ญจันทร์ นาทิพย์ (น้ำ�) ปาริชาต ลัดนิล (ปลา)
ฅนทำ� Book ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ บรรณาธิการ : ข้อมูล : ฝ่ายศิลป์ : ช่างภาพ : สัมภาษณ์ : พิสูจน์อักษร : ภาพประกอบ :
: อ.สมปอง ดวงไสว น้ำ�นิ่ง พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชาวกองร้อยฯ นที พี่โอ๋, พี่เอ็ม, พี่เปี๊ยก ทีมนเรศวรยกกำ�ลัง2 อ.สมปอง, สายชล วารี
ขอบคุณป๋าเกียรติที่ทำ�ให้มีแรงบันดาลใจในการทำ�หนังสือ เล่มนี้ บุคคลที่เรารักเคารพยิ่ง...