Psusci magazine

Page 1


สารบัญ

สถานีไอที

20

วิดยาสู่สังคม

21

แอพพลิเคชันบอกเวลาและทิศละหมาด

สารจากผู้บริหาร

3

ข่าวแสดงความยินดี

4

รอบรั้ว วิดยา

5

เรื่องเล่าจากพิพิธภัณฑ์

25

เล่าเรื่องประกันคุณภาพ

9

คนเก่งในสื่อมวลชน

27

คนเก่งวิดยา

11

นานาสาระ

28

อวยพรปีใหม่ 2557

ข่าวแสดงความยินดีช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน กิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน คุณภาพการศึกษาไทยเกี่ยวอะไรกับ สมศ? นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์กับรางวัลใน วิชากิจกรรมเสริมหลักสูตร

13

อินไซต์

14

ชวนคิดคุยงาน

18

สัมภาษณ์พิเศษ

19

ผลวิจัยทางสมองชี้พืชกระท่อมช่วยลดอาการลงเเดงจาก สารเสพติดในหนูทดลอง โดย ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ เปลี่ยนอย่างไรให้สัมฤทธิ์ผล องค์ความรู้งานวิจัยจากเยอรมันตอนเหนือสู่ตอนใต้ ของประเทศไทย

วิทยาศาสตร์น่าฉงน

ม.ช.-ม.อ. วิจัยข้าวกล้องงอกพบช่วยพื้นฟู ระบบประสาทและสมอง ช่วยกันลดหมดปัญหาภาวะโลกร้อน

แนะนำ�หลักสูตร

ให้ความมั่นใจในคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. โดย ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์

โครงการค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ครั้งที่ 34 ณ โรงเรียนวัดจาก อำ�เภอระโนด จังหวัดสงขลา

14 19

21

คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา I รศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ, ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์, รศ.ดร.อัญชนา ประเทพ บรรณาธิการ I ดร.ภูวดล ธนะเกียรติไกร รองบรรณาธิการ I ดร.กมลธรรม อำ่ � สกุล กองบรรณาธิการ I คณะกรรมการการจัดทำ�วารสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขากองบรรณาธิการ l อิสรภาพ ชุมรักษา ประสานงานกองบรรณาธิการ I ศศิมา หมื่นนคร ออกแบบรูปเล่ม I อิสรภาพ ชุมรักษา จัดพิมพ์ I คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รูปจากปก I พระบรมสาทิสลักษณ์แบบกราฟฟิคงาม ๆ ฝีมือคุณ Tommy Korad คณะวิทยาศาสตร์ � มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตู้ปณ. 3 ตำ�บลคอหงส์ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112 Tel 0 7428 8022 E-mail : sci-pr@group.psu.ac.th

อ่านวารสารฉบับออนไลน์ได้ท�ี่ www.sc.psu.ac.th/ Facebook I PSUSci Twitter I PSUSci Instargram I PSUSci Google+I gplus.to/PSUSci�


บทบรรณาธิการ EDITOR’S TALK

ยินดีต้อนรับผู้อ่านทุกท่านสู่ฉบับปฐมฤกษ์ของ�

แม็กกาซีน “วิทยาสาร”

� ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์�

ดร.ภูวดล ธนะเกียรติไกร บรรณาธิการ

จริงๆจะเรียกฉบับปฐมฤกษ์ก็อาจจะไม่ถูกนัก เนื่องจากว่าคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ก็มีการพิมพ์จดหมายข่าว “ข่าวสารคณะวิทยาศาสตร์” อย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 เดือนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ที่ปรับรูปแบบใหม่นี้ก็เพื่อเพิ่มสาระ ความรู้ และความทันสมัยในรูปแบบการนำ�เสนอ โดยทุกท่านสามารถติดตามแม็กกาซีน ของเราได้ทุกๆ 3 เดือนครับ คณะวิทยาศาสตร์ มอ. เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย มีบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนที่มีความรู้ และได้รับการยอมรับใน ระดับโลกหลายคน ซึ่งในแม็กกาซีนนี้ก็เป็นช่องทางให้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ให้ความ รู้กับผู้อ่านทุกท่าน ในสำ�นวนที่อ่านง่าย ไม่ปวดหัวแบบตำ�ราเล่มหนาๆ หรือ บทความวิจัยที่คนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ ซึ่งทุกท่านสามารถอ่านบทความนี้ได้จาก คอลัมน์ อินไซต์ และบทความจากงานประกันคุณภาพ ครับ ซึ่งในเล่มนี้ ในหัวข้อ อินไซต์ ของเราก็เป็นเรื่องพืชกระท่อม โดย ผศ.ดร. เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ อาจารย์ ประจำ�ภาควิชาสรีรวิทยา จะมาเล่าให้ท่านฟังว่า พืชกระท่อมช่วยเลิกสารเสพติด ทั้งนี้กองบรรณาธิการ ต้องขอขอบคุณทีมงานทุกๆ ท่าน ที่ ตัวอื่นๆ ได้จริงไหม และในคอลัมน์เล่าเรื่องประกันคุณภาพ ก็ได้รับเกียรติจาก งานประกันคุณภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มาเล่าเรื่องการเลือกมหาวิทยาลัย โดย ทำ�งานกันอย่างหนักเพื่อให้แม็กกาซีนของเราเสร็จสมบูรณ์ และก็ ดูจากการประเมินของ สมศ. ครับ พ่อแม่คนไหนได้อ่านคอลัมน์นี้จะได้ช่วยบุตร ต้องขอบคุณผู้อ่านที่หยิบแม็กกาซีนของเราขึ้นมาอ่าน ผมเองก็หวัง ว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากสาระต่างๆ ที่เรานำ�เสนอครับ ถ้ามี หลานของท่านในการเลือกที่เรียนได้อย่างง่ายๆ เลยครับ ข้อผิดพลาดประการใด ทางผมและทีมงานขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย หลายๆท่านอาจจะเคยเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา ถ้าหากท่านผู้อ่านมีข้อเสนอแนะ โปรดติดต่อเราได้ทางช่องทาง สยามบรมราชกุมารี ของเรา ซึ่งก็เป็นพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติชั้นนำ� ซึ่งใน ต่างๆด้านล่างนี้เลยครับ และอย่าลืมไปกด Like กด Follow และ วิทยาสารนี้ ก็ได้รับเกียรติจากคุณยิ่งยศ ลาภวงศ์ (นักวิทยาศาสตร์) มาให้ความ กด +1 เพื่อติดตามข่าวสารของเราทาง Social Network นะครับ รู้ทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ เรื่องเล่าจากพิพิธภัณฑ์ฯ ในคอลัมน์ รอบบ้านพิพิธภัณฑ์ ตามลิงค์หรือ QR code ข้างล่างได้เลยครับ ก็รับรองได้เลยครับว่าอ่านสนุกได้ความรู้ติดตัวแน่นอน ส่วนข่าวความเป็นไปของลูกหลานพระบิดา ก็สามารถติดตามกันได้ เหมือนเดิมในคอลัมน์ รอบรั้ววิดยา คนเก่งวิดยา และข่าวอาจารย์คนเก่งของเรา ที่ได้รางวัล ด้วยนะครับ อีกภารกิจที่ลืมไม่ได้ของคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่เดินตาม รอยเท้าพระบิดา “ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อน มนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรง พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ ธรรมะแห่งอาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ” ก็สามารถติดตามเรื่องราวต่างๆได้ในคอลัมน์ ดร. ภูวดล ธนะเกียรติไกร วิดยาสู่สังคม โดยในเล่มได้พูดถึงการออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทของน้อง ๆ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ครับ pthanakiatkrai@gmail.com

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 2


สารจากผู้บริหาร� ADMINISTRATOR TALK

คณบดีกล่าวอวยพรปีใหม่ 57 ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2557 ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง หลายในสากลโลก และขออัญเชิญอานุภาพแห่งพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และ สังฆานุภาพ ตลอดจนเดชะพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดดลบันดาลประทานพร ให้ทุกท่าน ประสบแต่ความสุขความเจริญปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และขอให้ปี 2557 เป็นปีแห่งการยึดมั่นและเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ดำ�รงตนตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้ประมาณตนเพื่อวิถีความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ประสบแต่ ความสุขที่แท้จริงตลอดปี 2557 (รองศาสตราจารย์ ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ) คณบดีคณะวิทยาศาสตร์

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 3


ข่าวแสดงความยินดี� STAR OF SCIENCE

� ขอแสดงความยินดีกับ� ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อารีย์ ชูดำ�� รางวัลเกียรติบัตรนำ�เสนอผลงานยอดเยี่ยมแบบโปสเตอร์ ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อารีย์ ชูดำ� อาจารย์จาก ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทีไ่ ด้รบั รางวัลเกียรติบตั รนำ�เสนอผลงานยอดเยีย่ มแบบโปสเตอร์ การประชุมวิชาการ “นักวิจัยรุ่นใหม่ พบ เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556 โดยมี ศ.ดร.จำ�รัส ลิ้มตระกูล เมธีวิจัยอาวุโส สกว. เป็นผู้มอบรางวัล

ขอแสดงความยินดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรุณี ผ่องสุวรรณ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุราพร วงศ์วัชรานนท์ และคณะ ที่ได้รับรางวัลอาจารย์ตัวอย่างและผลงานดีเด่นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำ�ปี 2556 ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ICT นางสาว มูณีเราะห์ มะนุง และนางสาว กุลธิดา ศรีสกุล ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เถกิง วงศ์ศิริโชติ เป็น ที่ปรึกษา จากผลงานเรื่อง “แอพพลิเคชั่นคำ�นวณเวลาละหมาด พร้ อ มระบุ ทิ ศ กิ บ ลั ต บนโทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ ร ะบบปฏิ บั ติ ก าร Android” ได้รับรางวัลชมเชย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นผู้มอบรางวัลโครงการรางวัลนวัตกรรมแห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 13

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 4


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

ลงนามความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ กับ� Institute of Tropical Biology (VIETNAM)

2 I 10 I 2556 11 I 10 I 2556

เมื่อวันพุธที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ และ Dr.Hoang Nghia Son Director, Institute of Tropical Biology ได้ลงนามความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ กับ Institute of Tropical Biology (VIETNAM) โดยได้รับการติดต่อจากผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.สาระ บำ�รุงศรี ภาควิชาชีววิทยา กับนักวิจัยของ Institute of Tropical Biology เพื่อแลกเปลี่ยนงานทางด้านการวิจัย เนื่องจากมีทรัพยากรความ หลากหลายที่คล้ายคลึงกัน � คณะวิทยาศาสตร์ ต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์� UNIVERSITI SAINS ISLAM MALAYSIA

เมื่อวันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ได้มีโอกาสต้อนรับคณะครูอาจารย์และนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ UNIVERSITI SAINS ISLAM MALAYSIA นำ�โดยอาจารย์ Mr.Hishamuddin bin Abdul Wahab. และนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำ�นวน 22 คน โดยมี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ ดร.ภูวดล ธนะเกียรติไกร เป็นผู้ ให้การต้อนรับ และนำ�คณาจารย์เเละนักศึกษาดูงานที่ภาควิชาฟิสิกส์และภาควิชา เคมี

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 5


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

บรรยากาศโครงการรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดี� เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีประจำ�ปี 2557

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2556 ณ ห้องสัมมนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ดำ�เนินโครงการรับนักเรียนที่มีผลการเรียน ดีเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ประจำ�ปี 2557 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ โดยในปีนี้มีนักเรียนรายงานตัวเข้าโครงการทั้งสิ้น 240 คน

17 I 10 I 2556

โครงการค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ครั้งที่ 34

14-24 I 10 I 2556

เมื่อวันที่ 14-24 ตุลาคม 2556 คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดโครงการค่ายอาสาพัฒนา วิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ครั้งที่ 34 ประจำ�ปีการศึกษา 2556 ขึ้น ซึ่งในปีนี้นักศึกษาและ บุคลากรได้เข้าร่วมทำ�กิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ได้แก่ การสร้างอาคาร เอนกประสงค์, การจัดกิจกรรมทางวิชาการ, การซ่อมแซมและจัดทำ�อุปกรณ์การเรียน การสอน, กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ และการร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์ ณ โรงเรียนวัดจาก ตำ�บลระโนด อำ�เภอระโนด จังหวัดสงขลา

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 6


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

� คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ประจําปี 2556 ณ วัดท่าม่วง จังหวัดสงขลา

26 I 10 I 2556

เมื่อวันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีประจําปี 2556 ณ วัดท่าม่วง จังหวัดสงขลา โดยมี ดร.กมลธรรม อำ�่ สกุล ร่วมเป็นประธานในพิธี โดยในครั้งนี้ มีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เข้าร่วมพิธีกันเป็น จำ�นวนมาก โดยสรุปยอดบริจาครวมทั้งสิ้น 52,299.- บาท (ห้าหมื่นสองพันสอง ร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)

08 I 11 I 2556

โครงการบริจาคโลหิตครั้งที่ 6 คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ตั้งแต่เวลา 09.00-14.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 6 ณ ลานชั้น 1 อาคาร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในการรับบริจาคโลหิตครั้งนี้ได้รับความร่วมมือร่วมใจจาก คณะอาจารย์และนักศึกษารวมทั้งประชาชนเข้าร่วมบริจาคโลหิตเป็นจำ�นวน 108 คน ทำ�ให้เกิดภาพลักษณ์และความประทับใจที่ดีในการช่วยเหลือเพื่อมนุษย์

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 7


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

� คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ � จัดงานวันวิทย์ภาคภูมิ ประจำ�ปี 2556

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2556 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ได้กำ�หนดจัดงาน “วิทย์ภาคภูมิ” ณ ห้องBSc4 อาคารเรียนและ ปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีท่านคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รอง ศาสตราจารย์ ดร. วิไลวรรณ โชติเกียรติ ร่วมเป็นประธานในพิธี เพื่อเชิดชูเกียรติ และมอบรางวัลและแสดงความยินดีกับ คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ที่สร้างชื่อเสียง และสร้างความภาคภูมิใจให้กับคณะวิทยาศาสตร์ โดยกิจกรรม นอกเหนือจากการมอบรางวัลและเชิดชูเกียรติแล้ว ยังมีในส่วนของการแสดง ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อแสดงให้เห็น ถึงความภาคภูมิใจของความเป็นวิทยาศาสตร์ โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความ ประทับใจทั้งผู้รับรางวัล และบุคลากรที่มาให้กำ�ลังใจในงาน

13 I 11 I 2556 17 I 11 I 2556

� คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์� จัดโครงการสืบสานประเพณีลอยกระทงประจำ�ปี 2556

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดกิจกรรม“บุฟเฟ่ต์ กระทงอิ่มบุญ” ณ ลานตึก ฟักทอง เพื่อสืบสานประเพณีลอยกระทง และรายได้จากการจำ�หน่ายอุปกรณ์ทำ� กระทงจะนำ�ไปใช้ในกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ปี 2557 กิจกรรมในครั้งนี้มีคณาจารย์ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำ�นวนมาก เกิดบรรยากาศที่ดีในการ ร่วมกันสืบสานประเพณีไทยพร้อมกับการทำ�บุญเพื่อกิจกรรมวันเด็กต่อไป ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 8


เล่าเรื่องประกันคุณภาพ� QUALITY ASSURANCE

คุณภาพการศึ� กษาไทยเกี่ยวอะไรกับ สมศ.? หน่วยประกันคุณภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

การศึกษา เป็นกลไกที่สำ�คัญในการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถ

พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ ทำ�ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และเรียนรู้ ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มี จริยธรรม คุณธรรม และสามารถดำ�รงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข เพิ่มความได้ เปรียบในการแข่งขันด้วยสติปัญญาและความสามารถ

ใครจะช่วยบอกว่าการศึกษาของเรามีคุณภาพ?

สำ�นักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) หรือ สมศ. เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมา เพื่อให้มีส่วนช่วยให้สถาบันการศึกษา ทุกระดับมีการจัดระบบการศึกษาที่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการ กำ�หนด โดยมีหน้าที่หลักคือ พัฒนาเครื่องมือ เกณฑ์วิธีการประเมินภายนอก พัฒนาผู้ ประเมิน พัฒนาระบบ และทำ�การประเมินเพื่อรับรองมาตรฐาน สมศ. ไม่มีหน้าที่ในการ พัฒนาสถานศึกษาโดยตรง แต่เป็นเพียงกระจกสะท้อนภาพให้เห็นถึงคุณภาพทั้งระบบ การศึกษา พร้อมให้ข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษา ต้นสังกัด และภาครัฐ เพื่อนำ�ผลการ ประเมินดังกล่าวไปใช้กำ�หนดนโยบายการพัฒนาสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการ ศึกษาให้ดีขึ้นต่อไป โดยเน้น “การประเมินเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” การประกันคุณภาพภายนอก (External Quality Assurance) หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาน ศึกษาจากภายนอก โดยสำ�นักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. สถานศึกษาที่สำ�นักงานฯ ดังกล่าวให้การรับรองจะเป็น หลักประกันให้ผู้เรียน และสังคมมีความมั่นใจได้ว่า จะได้รับบริการจากสถานศึกษาตาม มาตรฐานที่กำ�หนด และเป็นการช่วยให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นอย่าง สมำ�่ เสมอ เนื่องจากจะมีการตรวจประเมินฯ ทุก ๆ 5 ปี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ จัดอยู่ในกลุ่มสถาบันที่เน้นการวิจัยขั้นสูงและผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิต ศึกษา โดยเฉพาะระดับปริญญาเอก เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ที่ว่า...

“มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ�ในระดับภูมิภาคเอเชีย ทำ�หน้าที่ผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ และทำ�นุบำ�รุงวัฒนธรรม โดยมีการวิจัยเป็นฐาน” ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 9


เล่าเรื่องประกันคุณภาพ� QUALITY ASSURANCE

และคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะเก่าแก่ของมหาวิทยาลัยฯ ที่มุ่งพัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการ การเรียนการสอน ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ตามมาตรฐานสากลที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม จริยธรรม สามารถก้าวสู่เวทีโลกได้อย่างสมภาคภูมิ ทั้งยังมีวิสัยทัศน์ที่สอดรับกับมหาวิทยาลัยฯ ว่า “เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำ� ด้านวิชาการและวิจัยระดับเอเชีย” มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกตามเกณฑ์ของ สมศ. ดังนี้

ประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 1 (พ.ศ. 2544 – 2548) รอบ 2 (พ.ศ. 2549 – 2553) รอบ 3 (พ.ศ. 2554 – 2558)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดี-ดีมาก 4.65 (ดีมาก) 4.58 (ดีมาก)

คณะวิทยาศาสตร์ ประเมินระดับมหาวิทยาลัยฯ 4.55 (ดีมาก) 4.62 (ดีมาก)

การประเมินและรับรองมาตรฐานการศึกษาก็เพื่อสร้างสถานศึกษาที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และความเชื่อมั่นให้กับผู้ “ บริโภคว่า สถานศึกษาที่คุณเลือกศึกษาต่อนั้นได้มาตรฐานมีคุณภาพ เมื่อคุณเข้าไปศึกษาแล้วย่อมได้ความรู้ที่มีคุณภาพเช่น

กัน ประโยชน์ที่พ่อ – แม่ ผู้ปกครอง นักเรียน นิสิต และนักศึกษา สามารถใช้ประโยชน์จากผลการประเมินเพื่อนำ�ไปใช้ในการ ตัดสินใจเลือกสถานศึกษา ซึ่ง สมศ. เผยแพร่ข้อมูลผลประเมินทางเว็บไซต์ สมศ. อย่างน้อยจะช่วยลดปัญหาว่าอนาคตจะไม่ ประสบกับกรณีจบการศึกษาแล้วกระทรวงศึกษาธิการไม่รับรองผลการเรียน และถูกลอยแพ ไม่สามารถสมัครงานหรือเรียน ต่อได้ ซึ่งปัจจุบันนี้จะพบเห็นได้มากขึ้น”ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

“คุณภาพ” คุณเลือกได้... ควรใช้ผลประเมินของ สมศ. ในการตัดสินใจเลือก

สถานศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ. สมศ.

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 10


คนเก่ง วิดยา� STAR OF SCIENCE

แสดงความยินดีกับนักศึกษาคณะวิทย โครงการรายวิชากิจ (Co-Curricular Activitie

เรียบเรียงบ

พัชรี แกล้วทนงค์ นักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยรา

โครงการ Handmade for Mom สองมือเราในวันนี้มีเพราะแม่ สองมือเราในวันนี้มีเพื่อแม่ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. สำ�หรับรางวัลชนะเลิศที่ได้รับนั้น มาจากกลุ่มน้องๆนักศึกษา จากภาควิชาจุลชีววิทยา ชั้นปีที่ 2 กลุ่ม Handmade for Mom ในชื่อโครงการ Handmade for Mom สองมือเราในวันนี้มี เพราะแม่ สองมือเราในวันนี้มีเพื่อแม่ เป็นโครงการดีๆเพื่อช่วย เหลือสังคมและให้กำ�ลังใจผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ขาดแคลน ได้ จัดหารายได้เพื่อสมทบทุนกองทุนวิกผม เต้านมเทียม และหมวก ไหมพรม ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ น้องๆนักศึกษากลุ่ม นี้ได้สร้างสรรค์สมุดทำ�มือจากกระดาษรีไซเคิลที่ได้ขอรับบริจาค จากหน่วยงาน ภาควิชา และคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ทั้งนี้ยังช่วยกันคิดและสอบถามอาจารย์ในการตัดสิน ใจเลือกปกสมุด เพื่อนำ�มาออกแบบหน้าปกของสมุดทำ�มือลาย ต่างๆ จากนั้นนำ�มาขายนักศึกษาและคณะครูอาจารย์ภายใน ภาควิชาและคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แล้ว นำ�เงินรายได้โดยไม่หักค่าใช้จ่ายมาสมทบทุนกองทุนวิกผมเต้า นมเทียมและหมวกไหมพรมของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ “อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะไม่ได้เรียนวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตร (Co-Curricular Activities) ก็สามารถที่จะร่วมกลุ่มกัน เพื่อทำ� ประโยชน์ให้แก่สังคมได้” น้องๆกลุ่ม Handmade for Mom กล่าว

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 11

โครงการ “สัมผัสที่แตกต่าง” ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. รางวัลชนะเลิศอีกหนึ่งรางวัลที่ได้รับนั้น มาจากกลุ่มน้องๆ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของสาขาคณิตศาสตร์ กับโครงการสัมผัส ที่แตกต่าง ช่วยเหลือน้องๆพิการทางสายตา สำ�หรับที่มาของ โครงการ “สัมผัสที่แตกต่าง” น้องๆนักศึกษากลุ่มนี้ได้เล็งเห็น ว่าผู้พิการทางสายตาเป็นกลุ่มที่มีความลำ�บากในการรับรู้และ เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก น้องๆนักศึกษากลุ่มนี้ จึงเข้าปรึกษากับอาจารย์และติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน ผู้พิการทางสายตาเพื่อรับคำ�แนะนำ�มาทำ�อุปกรณ์ที่จะให้เกิด ประโยชน์มากที่สุด น้องๆกลุ่มนี้ได้ทำ�อุปกรณ์ที่มีชื่อว่า math box เพื่อเพิ่มเทคนิคการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์แบบใหม่ให้แก่ เด็กที่มีความพิการทางสายตา โดยสื่อการสอนในรูปแบบใหม่ที่ ทำ�ให้ผู้พิการทางสายตาสนุกกับคณิตศาสตร์เข้าใจง่ายและมอบ ให้แก่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากล หาดใหญ่ มูลนิธิ ธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จำ�นวนทั้งสิ้น 50 คน


คนเก่ง วิดยา� STAR OF SCIENCE

ยาศาสตร์ สำ�หรับรางวัลในการประกวด จกรรมเสริมหลักสูตร es) ภาคการศึกษา 2/2555

บทความโดย

าชภัฏสงขลา , ศศิธร วันวิน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

โครงการขวดพลาสติกใบใส เพิ่มรายได้ ลดโลกร้อน โครงการสื่อการเรียนรู้สู่มือน้อง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. สำ�หรับรางวัลชมเชยในการประกวดครั้งนี้ มีถึงสอง รางวัลด้วยกัน จากนักศึกษาภาควิชาเคมี ชั้นปีที่ 3 ของคณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการจัดทำ�สื่อ การเรียนการสอนสามมิติให้กับน้องๆประถมศึกษาในช่วงชั้น ที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สำ�หรับที่มาของโครงการสื่อการ เรียนรู้สู่มือน้อง เป็นการจัดทำ�สื่อการเรียนการสอนแบบสามมิติ และนำ�ไปใช้ในการถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่ม ความน่าสนใจและกระตุ้นให้น้องๆ อยากเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มากขึ้น โดยทำ�สื่อการเรียนการสอน 3 รูปแบบคือ แบบจำ�ลอง สุริยะจากเปเปอร์มาเช่ หนังสือวิทยาศาสตร์สามมิติ และแผ่น พับสามมิติจากกระดาษเหลือใช้ ทั้งนี้สื่อการเรียนการสอนแบบ สามมิติ สามารถสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับ น้องๆ เป็นแรงจูงใจและดึงดูดให้น้องๆหันมาอ่านหนังสือเพิ่ม มากขึ้น ทั้งยังสร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ให้แก่น้องๆได้

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. อีกหนึ่งรางวัลสำ�หรับความภาคภูมิใจในครั้งนี้เป็น รางวัลชมเชยจากนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ของเราจากภาค วิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับ โครงการขวดพลาสติกใบใส เพิ่มรายได้ ลดโลกร้อน สำ�หรับ ที่มาของโครงการเป็นการนำ�ขวดพลาสติกที่เป็นขยะเหลือใช้ ไปประดิษฐ์ของใช้ให้เกิดเป็นประโยชน์จำ�นวนสองชิ้น ได้แก่ กระเป๋าใส่ของและไม้กวาด แทนการทิ้งหรือเผาทำ�ลายอันจะก่อ ให้เกิดก๊าซพิษที่เป็นมลภาวะทางอากาศ ซึ่งน้องๆนักศึกษากลุ่ม นี้ได้วางแผนการทำ�งาน ทำ�การศึกษาและลงมือประดิษฐ์สิ่งของ จนชำ�นาญ จึงนำ�ความรู้ไปเผยแพร่ให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัด บ้านแม่เตย อำ�เภอหาดใหญ่ และโรงเรียนวัดตาหลวงคง อำ�เภอ สทิงพระ เพื่อให้น้องๆได้ร่วมสนุกสันทนาการและใช้ประโยชน์ จากสิ่งประดิษฐ์ กิจกรรมนี้เป็นการทำ�กิจกรรมให้กับสังคม กระตุ้นและปลูกฝังให้น้องๆได้รู้จักคุณค่าของสิ่งเหลือใช้ การนำ� กลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบต่างๆ แก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 12


แนะนำ�หลักสูตร� SCIENCE STUDY

ให้ความมั่นใจใน�

คณะวิทยาศาสตร์� มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์� รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำ� ของประเทศ และเป็นคณะที่มีหลักสูตรต่างๆ ครอบคลุมทุกกลุ่มสาขาวิชา ทั้งกลุ่ม วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิทยาศาสตร์กายภาพ มีหลักสูตรในสาขาวิทยาศาสตร์ บริสุทธิ์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยหลักสูตรของคณะฯ ตั้งแต่ระดับปริญญา ตรี จนถึงระดับบัณฑิตศึกษานั้น มีทั้งสิ้นกว่า สี่สิบหลักสูตร ทำ�ให้ครอบคลุมความ ต้องการของผู้เรียนที่สนใจในทุกด้าน นอกเหนือจากหลักสูตรที่หลากหลายแล้ว ปรัชญาการบริหารหลักสูตร คณาจารย์ บุคลากรสนับสนุน อุปกรณ์การเรียนการ สอน รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ล้วนประกอบกันทำ�ให้หลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่นอกจากจะเข้มแข็งทางวิชาการแล้ว ยังเป็นหลักสูตรที่มุ่งให้นักศึกษา เป็นแรงงานที่สำ�คัญของประเทศในอนาคต จุดมุ่งหมายสูงสุดของคณะ ไม่เพียงแต่ จะสร้างบัณฑิตที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเท่านั้น แต่เรายังมุ่งเน้นคุณธรรม จริยธรรม เป็นจุดมุ่งหมายใหญ่ในการสร้างบัณฑิตอีกด้วย

การรับนักศึกษาเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ก็มีหลายช่องทางทำ�ให้เกิดความหลากหลายในประเภทนักศึกษา ทั้งนี้สืบ เนื่องจากความเชื่อที่ว่าความหลากหลายจะเป็นปัจจัยสำ�คัญปัจจัยหนึ่งที่ทำ�ให้สิ่งแวดล้อมของหลักสูตรมีความน่าสนใจ และเพิ่ม ประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เป็นอย่างดี คณะมีโครงการรับนักศึกษาพร้อมทุนการศึกษาจำ�นวนมาก เพื่อคัดเลือกนักศึกษาที่มีผลการ เรียนดี และที่สำ�คัญมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการรับนักศึกษาที่เน้นความสนใจเฉพาะด้านของนักศึกษา เช่น โครงการสานฝันคนพันธุ์วิทย์ (SciSeed) ซึ่งรับนักศึกษาที่มีความโดดเด่นในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยไม่มีการสอบข้อเขียน แต่จะ พิจารณาจากประวัติ และการสัมภาษณ์ทางวิชาการในสาขานั้นๆ คณะยังมีการรับนักศึกษาจากโครงการผลการเรียนดี โดยดูจากผล การเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และจะเรียกสัมภาษณ์เพื่อพิจารณา การรับโดยดูจากคะแนน GAT/PAT การรับตรงซึ่งเน้นที่ 14 จังหวัดในภาคใต้ โดยมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอื่นในการรับนักศึกษาเพื่อความหลากหลายของนักศึกษาอีกด้วย และสุดท้ายการรับนักศึกษาวิธีปกติได้แก่การรับแบบ Admission โดยรายละเอียดสามารถติดตามได้จาก website และสื่อสังคม ออนไลน์ของคณะเป็นระยะๆ จดหมายข่าวนี้จะเป็นจุดให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของคณะ โดยเฉพาะในคอลัมน์นี้จะเป็นพื้นที่สร้างความเข้าใจ และ ชี้แจงหลักสูตรต่างๆ ของคณะที่มี เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาในรายละเอียดของหลักสูตรจากเจ้าของหลักสูตรโดยตรง กระผมในนาม ของคณะวิทยาศาสตร์ ขอเน้นยำ�้ ให้ทุกท่านมั่นใจว่าคณะวิทยาศาสตร์ได้ยึดถือพระราโชวาทของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลย เดชวิกรม พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ ที่ว่า “ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์” เพื่อมุ่งเน้นเป็นคณะ วิทยาศาสตร์ชั้นนำ�ด้านวิชาการและวิจัยระดับเอเชีย โดยมีพันธสัญญาที่จะสร้างบัณฑิตวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้คู่คุณธรรม ถ่ายทอด องค์ความรู้และให้บริการวิชาการที่ถูกต้องทันสมัยสู่สังคม ผลิตงานวิจัยเป็นที่ยอมรับระดับสากล สืบไป

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 13


� อินไซต์ INSIGHT

ผลวิจัยทางสมองชี้พืชกระท่อม� ช่วยลดอาการลงเเดงจากสารเสพติดในหนูทดลอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ�์ อาจารย์ประจำ�ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กระท่อม (Kratom) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa Korth. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงพบมาก ในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของ ประเทศมาเลเซีย กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 14


� อินไซต์ INSIGHT

เริ่มต้นจากงานวิจัยเรื่องผลของสารสกัดนำ�้จากใบกระท่อมต่อ อาการถอนเอทานอล (ลงแดง) ในหนูทดลองซึ่งได้ตีพิมพ์ผลงานไป แล้วในวารสาร Fitoterpia พบว่าสารสกัดนำ�้จากในกระท่อมสามารถ ลดอาการถอนเอทานอลในหนู ท ดลองที่ ถู ก ชั ก นำ � ให้ ติ ด เอทานอล ได้ หลังจากนั้นจึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยศึกษาผลของสารสกัด อั ล คาลอยด์ จ ากใบกระท่ อ มต่ อ การกระตุ้ น การทำ � งานของ สมองที่เกี่ยวข้องกับการเสพติด โดยเฉพาะบริเวณนิวเคลียส แอคคัมเบนส์ (nucleus accumbens) และ สไตรเอตัม (striatum) ซึ่ง เป็นบริเวณที่เซลล์ประสาทสื่อสารกันด้วยสารโดปามีน (dopamine) การกระตุ้นสมองบริเวณนี้มีผลทำ�ให้รู้สึกเป็นสุข เคลิบเคลิ้มและติดใจ และสุดท้ายนำ�ไปสู่การเสพติดได้ จากการศึกษาโดยวิธีการตรวจวัดโปรตีนที่พิสูจน์ว่ามีการ กระตุ้นการทำ�งานของเซลล์สมองบริเวณที่ต้องการศึกษา พบว่า สารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมที่ความเข้มข้น 40 และ 80 มก. ต่อนำ�้หนักตัว 1 กก. ไม่มีผลกระตุ้นการทำ�งานของสมองทั้ง สองบริเวณ ในขณะที่ผลการศึกษาฤทธิ์ของยาซูโดอีฟีดรีน (pseudoephedrine) ที่ใช้เป็นส่วนผสมของยาแก้หวัด คัดจมูก ที่ผ่านมา ของผู้วิจัยเองในปี 1998 พบว่ายาซูโดอีฟีดรีน มีฤทธิ์คล้ายกับสาร เสพติด เช่นแอมเฟตามีน โดยมีผลกระตุ้นสมองบริเวณนิวเคลียส แอคคัมเบนส์ และสไตรเอตัม อย่างไรก็ตาม เพื่อความแน่ใจ ขั้นตอนที่จะต้องศึกษาต่อไป คือการ ตรวจวัดผลของสารสกัดจากใบกระท่อมต่อการทำ�งานของสมองด้วย เทคนิคที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถติดตามการทำ�งาน ของสมองได้ต่อเนื่องแบบ real-time ซึ่งเทคนิคดังกล่าวคือการวัด สัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalo-graphy, EEG)

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 15

สำ�หรับการศึกษาผลระยะยาวของการได้รับสารสกัดจากใบกระท่อม เพื่อดูอาการถอนหรืออาการลงแดงโดยเปรียบเทียบผลกับสารเสพติด มาตรฐาน ได้แก่ มอร์ฟีน และเอทานอล ผลการศึกษาพบว่าการได้รับ มอร์ฟีนเพียง 3 วัน มีผลทำ�ให้หนูทดลองติด และเมื่อชักนำ�ให้เกิดอาการ ถอน ทำ�ให้เกิดอาการถอนอย่างรุนแรง เช่น การกระโดดซำ�้ ๆ ซึ่งจะไม่ เกิดขึ้นในภาวะปกติ พร้อมทั้งมีการขับถ่ายเรี่ยราด เหมือนในกรณีของ คนที่มีอาการลงแดงจากการเสพติดมอร์ฟีน ส่วนการทดสอบการเสพ ติดเอทานอล โดยให้หนูทดลองกินอาหารเหลวที่มีเอทานอลผสมอยู่ 7 เปอร์เซ็นต์ด้วยตัวหนูเองเป็นเวลานาน 21 วัน ส่วนวันที่ 22 งดให้อาหาร เหลวที่มีเอทานอล พบว่าหนูทดลองเกิดอาการถอนเอทานอล เห็นได้จากการเคลื่อนไหวที่พลุ่งพล่านมากขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่ม ขึ้นของคลื่นไฟฟ้าสมองในช่วงความถี่แกมม่า (gamma wave) ในขณะ ที่หนูทดลองที่ได้รับสารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมเป็นเวลานาน 3 เดือน ในปริมาณ 20 มก. ต่อนำ�้หนักตัว 1 กก. นั้นเมื่อหยุดให้สารสกัด พบว่าไม่ทำ�ให้เกิดอาการถอน หรือทุรนทุรายทางด้านร่างกายดังที่พบใน การศึกษาการถอนมอร์ฟีนและเอทานอลเลย สรุปคือไม่พบอาการถอน กระท่อมทางด้านร่างกาย อย่างไรก็ตามควรมีการทดสอบขั้นต่อไปด้วย การวัดคลื่นไฟฟ้าสมองซึ่งไวและมีความละเอียดสูงกว่าเพื่อศึกษาความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง ซึ่งจะทำ�ให้ได้คำ�ตอบที่ชัดเจน


� อินไซต์ INSIGHT

ได้มีการทดลองนำ�พืชกระท่อมมาประยุกต์ใช้ลดอาการถอนจากการเสพติดมอร์ฟีนและเหล้า พบว่าสารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อม ช่วยลดอาการถอนมอร์ฟีนโดยวัดจากพฤติกรรมการกระโดดและการขับถ่ายเหลว ส่วนอาการถอนเหล้าหรือเอทานอลนั้น จากการประเมินผล ด้านพฤติกรรม สังเกตได้จากระยะทางรวมทั้งหมดขณะที่หนูทดลองเคลื่อนไหว พบว่าหนูทดลองกลุ่มที่ถูกชักนำ�ให้มีอาการถอนเหล้ามีระดับการ เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากซึ่งแสดงถึงอาการลงแดงจากภาวะถอนเหล้านั่นเอง และเมื่อให้สารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมในขนาด 60 มก. ต่อนำ�้หนักตัว 1 กก. แก่หนูทดลองก่อนการถอนเหล้า พบว่าอาการถอนเหล้าลดความรุนแรงลงได้ และยังมีการค้นพบที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ สารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมบรรเทาอาการถอนเหล้าได้ผลดีพอ ๆ กับยามาตรฐานที่ใช้คือ ฟลูอ็อกซีติน (fluoxetine) ในขนาด 10 มก. ต่อ นำ�้หนักตัว 1 กก. นอกจากการประเมินทางด้านพฤติกรรมแล้ว ยังมีการยืนยันด้วยรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าสมอง จากรูปซึ่งแสดงคลื่นไฟฟ้าสมองในช่วงความ ถี่แกมม่า จะเห็นได้ว่าหนูทดลองกลุ่มที่ไม่ถอนเหล้าเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ถอนเหล้า มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือคลื่นช่วงความถี่แกมม่ามี ค่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ถอนเหล้า แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ถอนเหล้าแต่ได้รับให้สารสกัดจากใบกระท่อม คลื่นช่วงความถี่แกมม่าลดลงอย่างเห็นได้ ชัด ผลจากการทดลองนี้ยืนยันได้ว่า สารสกัดจากใบกระท่อม สามารถลดอาการลงแดงได้ชัดเจนอย่างมีนัยสำ�คัญตามหลักฐานทาง วิทยาศาสตร์ การศึกษาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นี้เป็นสิ่งที่ สามารถทำ�ซำ�้และได้ผลเหมือนเดิม ไม่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล หรือเวลา และสถานที่ สรุปแล้วพืชกระท่อมสามารถบรรเทาอาการถอนเหล้าได้ ผลใกล้เคียงกับยามาตราฐานฟลูอ็อกซีติน ไม่ว่าจะศึกษาจากพฤติกรรม หรือจากคลื่นไฟฟ้าสมอง และจากการศึกษาผลแบบเฉียบพลันของสารสกัดจากใบกระท่อม ต่อภาวะหลับ-ตื่น โดยเปรียบเทียบกับหนูทดลองกลุ่มควบคุมและกลุ่ม ที่ได้รับยามาตรฐานคือฟลูอ็อกซีติน 10 มก. ต่อน้ำ�หนักตัว 1 กก. พบ ว่าฟลูอ็อกซีตินทำ�ให้รูปแบบการนอนหลับเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ คือ มีผลกดการนอนหลับช่วงที่มีการกลอกลูกตา (rapid eye movement sleep) ส่วนหนูทดลองที่ได้รับสารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมทั้ง ขนาด 10 และ 60 มก. นั้นไม่มีผลกดการนอนหลับช่วงที่มีการกลอกลูก ตา แสดงให้เห็นว่าพืชกระท่อมไม่มีผลข้างเคียงดังกล่าว การวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการศึกษาในหนูทดลองที่มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตัดปัจจัยบิดเบือนจาก การตัดสินหรือความคาดหวังของมนุษย์ แม้ว่าผลการทดลองที่ผ่านมาจะยังไม่สามารถชี้ชัดถึงฤทธิ์เสพติดของพืชกระท่อมได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อดู จากพฤติกรรมการเคี้ยวใบกระท่อมอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเกษตรกรก็น่าจะบ่งบอกถึงฤทธิ์เสพติดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เคี้ยวใบกระท่อมเป็นเวลา สิบ ๆ ปี นั้น ถ้าไม่ได้เคี้ยวเมื่อถึงเวลาจะรู้สึกว่าไม่กระปรี้กระเปร่าหรือพร้อมที่จะทำ�งาน มีอาการอยากเคี้ยว หาวบ่อยๆ และหาวจนนำ�้หูนำ�้ตาไหล คล้าย ๆ กับคนที่ติดการเคี้ยวหมาก เพียงแต่ผลที่มีต่อร่างกายนั้นไม่ชัดเจนเท่ากับการขาดเมทแอมเฟตามีน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวัดผลของกระท่อมต่อการทำ�งานของสมองได้หลายวิธี การวัดผลทางพฤติกรรมอาจจะทำ�ให้ได้เพียงข้อมูลเบื้อง ต้น ดังนั้นจึงจำ�เป็นต้องมีการนำ�วิธีการตรวจวัดการทำ�งานของสมองที่ไวและละเอียดกว่ามาใช้ และถ้าพบว่าการหยุดเสพกระท่อมแล้วนำ�ไปสู่ความ ผิดปกติของสมอง ก็จะสามารถชี้ชัดได้ว่ากระท่อมเป็นพืชที่มีฤทธิ์เสพติดหรือมีโทษ ปัจจุบันห้องปฏิบัติการทางระบบประสาทของเราได้พัฒนา วิธีการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองทั้งในสัตว์ทดลองและในคนเพื่อรองรับงานวิจัยด้านสารเสพติด รวมทั้งสารใหม่ๆ ที่มีการนำ�มาเสพหรือใช้แบบผิด วัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่จำ�เป็นและทันต่อเหตุการณ์

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 16


� อินไซต์ INSIGHT

“ส่วนแนวความคิดที่จะนำ�มาใช้เพื่อบำ�บัดการเสพติดก็ มีความเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้สรรพคุณและ หลีกเลี่ยงด้านที่เป็นโทษก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด ที่สำ�คัญ ไม่ควรให้มีการทดลองใช้พืชกระท่อมตามลำ�พัง ควรอยู่ ภายใต้การดูแลของศูนย์บำ�บัดอย่างใกล้ชิด”

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 17


ชวนคิดคุยงาน� HR Talks

เปลี่ยนอย่างไรให้สัมฤทธิ์ผล.... อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา/ apiwut@riverorchid.com

ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติสำ�หรับชีวิตประจำ�วันไม่ ว่าส่วนตัวหรือในงาน อันที่จริงการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก จน บางครั้งไม่ทันคิดด้วยซำ�้ ว่านั่นเป็น “การเปลี่ยนแปลง” ยกตัวอย่างเมื่อ เร็วๆนี้มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนาหนึ่งที่พูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลง

วิทยากรเริ่มต้นเช้าวันแรกของการอบรมด้วยการให้ผู้เรียนเขียนสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ ตื่นนอนตอนเช้า จนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่มานั่งเรียนให้ได้ 21 อย่าง ทุกคนร้อง “โอ๊ก” ... เป็นไปได้ ยังไง ให้เขียนตั้ง 21 อย่าง ! แต่เชื่อไหมว่าเขียนไปเขียนมาได้กว่า 30 อย่าง ที่สำ�คัญถ้าเวลาไม่หมด ยังมีให้เขียนอีกบานเลย ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่...เปลี่ยนให้สำ�เร็จนี่ซิ “ยาก” 6 ปัจจัยที่ทำ�ให้การเปลี่ยนแปลงสัมฤทธิ์ผล ประกอบไปด้วย การสื่อสาร (Communication) ระหว่างการเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไร วิสัยทัศน์ (Vision) การเปลี่ยนแปลงต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน สำ�คัญไปกว่า การทำ�ความเข้าใจให้ชัดเจนว่าเรากำ�ลังจะไปไหน ไปทำ�ไม ภาพความสำ�เร็จสุดท้ายเป็นเรื่องสำ�คัญ และจำ�เป็น ทุกคน ไปอย่างไร ไปเมื่อไร และไปกับใคร? ไม่ต้องกลัวว่าจะสื่อมากเกินไป ผม ต้องมองเห็นในทิศทางเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีวิสัย ไม่เคยเห็นการเปลี่ยนแปลงใดล้มเหลวเพราะมีการสื่อสารที่มากจนเกิน ทัศน์ย่อมนำ�มาซึ่งความสับสน (Confusion) ไม่ต่างจากฝูงชน ไป ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงที่ขาดการสื่อสารที่ดีพอ จะนำ�มาซึ่ง ที่รวมตัวกันโดยไม่มีทิศทางที่จะมุ่งไปอย่างชัดเจน การต่อต้าน (Rejection) ไม่ยอมรับ และทำ�ให้การเปลี่ยนแปลงไม่ประสบ ทักษะ (Skills) การเปลี่ยนแปลงจะมีประสิทธิภาพหากผู้คน ความสำ�เร็จอย่างที่มุ่งหวัง ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ และทักษะที่จำ�เป็นในการรับมือกับสิ่ง เครื่องมือ (Tools) ในทุกๆ การเปลี่ยนแปลง นอกจากปัจจัยต่างๆ ที่ ใหม่ๆ ที่กำ�ลังมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง การให้ความ กล่าวมาข้างต้น การมีเครื่องไม้เครื่องมือที่สำ�คัญ และจำ�เป็นเพื่อสนับสนุน สำ � คั ญ ในการเตรี ย มการพั ฒ นาความรู้ ค วามสามารถให้ แ ก่ การเปลี่ยนแปลงอย่างพร้อมเพียง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร พนักงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องสำ�คัญที่จะ อุปกรณ์สำ�นักงาน หรือสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน เป็นต้น จะช่วย ช่วยให้สัมฤทธิ์ผลได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันหากขาดสิ่งนี้ไป ให้การเปลี่ยนแปลงเกิดได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันหากขาดการเตรียมการ คนจะหวาดกลัว (Fear) ต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้การ อย่างเหมาะสม ย่อมนำ�มาซึ่งความรู้สึกกระอักกระอ่วน และความไม่พอใจ เปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ยากขึ้น (Frustration) ของผู้ที่เกี่ยวข้องจนอาจทำ�ให้การเปลี่ยนแปลงไม่ประสบ รางวัลจูงใจ (Incentive) หากอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง ความสำ�เร็จก็เป็นได้ เกิดขึ้นรวดเร็วดั่งใจหวัง รางวัลและแรงจูงใจทั้งในระหว่าง แผนปฏิบัติ (Action Plan) การมีเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นจุดเริ่มต้นแห่ง การเปลี่ยนแปลงและเมื่อเปลี่ยนแปลงสำ�เร็จเป็นเรื่องสำ�คัญ ความสำ�เร็จของการเปลี่ยนแปลงที่ดี แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะเป้าหมาย การฉลองความสำ�เร็จระหว่างทางเป็นครั้งคราวทีละเล็กละ เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะดำ�เนินไปในทิศทางใด (Where น้อย ดีกว่าการรอไปฉลองความสำ�เร็จใหญ่ๆ เมื่อถึงปลาย do we want to go?) แต่การเปลี่ยนแปลงจะประสบความสำ�เร็จได้ ผู้ ทาง การเปลี่ยนแปลงที่ดีควรมีการกำ�หนดเป้าหมายระยะสั้น ที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจว่าเราต้องทำ�อะไร (What do we need to do?) (Milestone) ระยะยาว (Objective) ให้ชัดเจน และเมื่อทีม และจะทำ�อย่างไร (How do we do it?) จึงจะไปให้ถึงภาพสุดท้ายของ งานสามารถบรรลุผลสำ�เร็จในแต่ละระยะ ควรได้รับรางวัล การเปลี่ยนแปลงนั้นได้ แผนปฏิบัติ (Action Plan) จึงเป็นสิ่งจำ�เป็นที่ทุก แห่งความสำ�เร็จนั้น เพราะในทางจิตวิทยารางวัลเป็นแรงผลัก คนต้องรับทราบ ทำ�ความเข้าใจ และยึดถือเป็นแนวทาง (Guideline) ใน (Reinforcement) และแรงจูงใจ (Motivation) ให้เดินหน้า การเดินทางระหว่างการเปลี่ยนแปลง หากขาดซึ่งแผนปฏิบัติที่ชัดเจน การ ต่อไป หากขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม แม้การเปลี่ยนแปลงอาจ เปลี่ยนแปลงจะสับสนวุ่นวาย และอาจเลวร้ายมากถึงขั้น “มั่ว” (Chaos) ดำ�เนินต่อไป แต่คงเชื่องช้า (Slow) จนไม่ทันใจ เลยทีเดียว 6 ปัจจัยนี้ เป็นกุญแจแห่งความสำ�เร็จสำ�หรับการเปลี่ยนแปลง หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งขาดหายไป การเปลี่ยนแปลงก็ไม่มีวันที่จะ ที่มา : อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา. HR Talks : เปลี่ยนอย่างไรให้สัมฤทธิ์ผล. มีประสิทธิผลดังตั้งเป้าไว้ วารสารข่าวรายเดือน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ 14, 161(2556): 14

1.

3. 5.

2. 4.

6.

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 18


สัมภาษณ์พิเศษ SPECIAL INTERVIEW

องค์ความรู้งานวิจัยจากเยอรมัน

ตอนเหนือสู่ตอนใต้ของประเทศไทย สัมภาษณ์ / เขียนข่าวโดย ศศิมา หมื่นนคร นักประชาสัมพันธ์

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีโอกาส ต้อนรับนักศึกษาชาวต่างชาติในระดับปริญญาตรีเข้าร่วมทำ�วิจัยแลกเปลี่ยนองค์ ความรู้ทางวิชาการระหว่างกัน ….. Ms. Henrike Schmidt นักศึกษาระดับปริญญาตรีจาก University of Kiel, Germany ทางตอนเหนือของประเทศเยอรมนี ได้รับทุนจาก DAAD, The German Academic Exchange Service ณ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ซึ่งได้เข้าฝึกงานในระยะเวลา 6 สัปดาห์ เหตุผลที่ Rike เลือกมารับทุนที่ประเทศไทย และเลือกลงที่มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ เพราะเธอมองว่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีสาขาที่รองรับเนื้อหาทางด้านวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยังมี ดร.HELMUT JOSEF DURRAST อาจารย์ประจำ�ภาควิชาฟิสิกส์ คณะ วิทยาศาสตร์ อาจารย์ชาวเยอรมนีที่มีความเชี่ยวชาญในด้านที่ตนเองสนใจอยู่ที่นี่อีก ด้วย นอกเหนือจากความรู้ทางด้านวิชาการแล้ว Rike ยังให้ความสนใจเกี่ยวกับศิลป วัฒนธรรมของไทย และยังหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และสามารถนำ�ไปเผย แพร่ เล่าสู่กันฟังให้กับเพื่อนๆชาวเยอรมนีต่อไป

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 19

ในความคิดของ Rike มองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ดี น่าสนใจ บ้านเมืองสวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวมากมายผู้คนมีแต่รอย ยิ้ม มีนำ�้ใจ ซึ่งเมื่อได้มาอยู่ที่นี่แล้ว Rike ก็ยังรู้สึกเช่นนั้น สุดท้าย Rike แอบทิ้งท้ายด้วยนำ�้เสียงแบบอมยิ้มว่า “ไม่คิด ว่าอากาศที่นี่จะร้อนกว่าที่เยอรมนีขนาดนี้ อีกทั้งการจราจรในเมือง ใหญ่จะหนาแน่นได้ขนาดนี้เช่นกัน”

แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำ�ให้ Rike มีทัศนคติหรือความรู้สึกที่ไม่ดี กับประเทศไทยแต่อย่างใด ในทางกลับกันกลับรู้สึกประทับใจ และรักที่จะได้ เรียนรู้ความแตกต่างที่มีของทั้งสองประเทศ ในช่วงเวลาที่มีเพียงแค่ 6 สัปดาห์เท่านั้น


สถานีไอที�

� แอพพลิเคชันบอกเวลาและทิศละหมาด IT STATION

ผลงานของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ได้รับรางวัลในโครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13

เสร็จสิ้นไปเเล้วครับ สำ�หรับโครงการรางวัลนวัตกรรมแห่ง

ประเทศไทย ครั้งที่ 13 โดยในเวทีแห่งนี้ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับ รางวัลชมเชย จนทำ�ให้วงการไอทีได้รู้จากแอพพลิเคชันบอกเวลาและ ทิศละหมาด สำ�หรับแอพพลิเคชันบอกเวลาและทิศละหมาด ถือได้ว่า เป็นแอพพลิเคชันที่มีประโยชน์ต่อประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเพิ่มความสะดวกในระบุตำ�แหน่งกิบลัต และในแอพพลิเคชัน ยังระบุเวลาละหมาดทั้ง 5 เวลา เรามาทำ�ความ รู้จักหน้าตาของแอพพลิเคชันบอกเวลาและทิศละหมาดกันครับ

หน้าตาเริ่มต้นการทำ�งานของแอพพลิเคชั่น

ระบุตำ�แหน่งกิบลัต

ระบุเวลาละหมาดทั้ง 5 เวลา

ข้อมูลเพิ่มเติม

อัปเดต 5 พฤศจิกายน 2556 ขนาด 1.3M การติดตั้ง 10 - 50 เวอร์ชันปัจจุบัน 1.0 ต้องใช้แอนดรอยด์ 2.2 และสูงกว่า สำ�หรับ Android ค้นหาใน Google Play Store ได้เลยว่า แอพพลิเคชันบอกเวลาและทิศละหมาด หรือดาวน์โหลดที่นี่ ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 20


� วิดยาสู่สังคม� SCIENCE FOR SOCIETY

โครงการค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ครั้งที่ 34�

ณ โรงเรียนวัดจาก อำ�เภอระโนด สงขลา

เมื่อวันที่ 14-24 ตุลาคม 2556 คณะวิทยาศาสตร์ได้จัด โครงการค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ครั้งที่ 34 ประจำ� ปีการศึกษา 2556 ขึ้น ซึ่งในปีนี้นักศึกษาและบุคลากรได้เข้าร่วมทำ� กิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ได้แก่ การสร้างอาคาร เอนกประสงค์ การจัดกิจกรรมทางวิชาการ การซ่อมแซมและจัดทำ� อุปกรณ์การเรียนการสอน กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ และการร่วมกัน ปรับปรุงภูมิทัศน์ ณ โรงเรียนวัดจาก ตำ�บลระโนด อำ�เภอระโนด จังหวัดสงขลา รวมผู้เข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ประมาณ 157 คน โครงการค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท จัดขึ้น เป็นประจำ�ทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาศักยภาพของ นักศึกษาให้มีจิตสำ�นึกสาธารณะ คุณธรรม จริยธรรม ความมี ระเบียบวินัย บุคลิกภาพ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่ เปลี่ยนไปได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกฝนการทำ�งาน อย่างมีระบบ ฝึกความรับผิดชอบ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคการศึกษาให้เกิดประโยชน์ โดยส่วนใหญ่เเล้วกิจกรรมค่ายอาสาจะได้รับความสนใจจาก น้อง ๆ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เป็นประจำ�ทุกปี ...

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 21


วิดยาสู่สังคม� SCIENCE FOR SOCIETY

ในกิจกรรมครั้งนี้ นอกเหนือจากการลงมือปฎิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษา ด้วยตัวเองเเล้ว ทุก ๆ กิจกรรม ก็ได้รับการให้คำ�ปรึกษาที่ดีจากอาจารย์ที่ปรึกษา โครงการค่ายอาสาฯ ดร.มรกต เเก้วเพชร เป็นอย่างดี โดยอาจารย์ได้พูดถึงภาพรวม การทำ�กิจกรรมในครั้งนี้ว่า “การจัดค่ายเพื่อสร้างห้องสมุดให้กับโรงเรียนวัดจากในครั้งนี้ประสบความ สำ�เร็จอย่างงดงามทั้งนี้ก็เนื่องจากได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งทาง โรงเรียน ชาวบ้านและจากทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจารย์ได้เห็นห้องสมุดเสร็จสมบูรณ์ตามที่ตั้งใจไว้ เห็นรอยยิ้มของเด็ก ๆ และ คุณครูโรงเรียนวัดจาก รอยยิ้มของชาวบ้าน แต่สิ่งสำ�คัญที่อาจารย์ภูมิใจมาก ที่สุดก็คือ การที่ได้เห็นเด็กของเราเติบโต มีความรับผิดชอบ รู้จักการวางแผน มี จิตสาธารณะ และสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้เป็นอย่างดี” ดร.มรกต เเก้วเพชร กล่าว จากการได้พูดคุยกับหัวหน้าหน่วยกิจการนักศึกษา คุณพงศธร เตชะวัชรานนท์ ถึ​ึงค่ายอาสาครั้งนี้ คุณพงศธรได้กล่าวกับเราไว้ว่า “ค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบทจัดโดยสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปี ปีนี้เป็นครั้งที่ 34 แล้ว สำ�หรับค่าย อาสาฯ ครั้งนี้มีการบำ�เพ็ญประโยชน์ให้กับโรงเรียนและชุมชนหลายกิจกรรม เช่น สร้างห้องสมุดขนาด 10.5x5 เมตร เตาเผาขยะ แปลงเกษตร ปุ๋ยหมัก ตัดหญ้าสนามฟุตบอล และตกแต่งกิ่งไม้ เป็นต้น นอกจากกิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์แล้วนักศึกษายังได้เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งที่นี่ชุมชนวัดจากมีแหล่ง เรียนรู้ให้น้อง ๆ มากมาย เช่น การเลี้ยงแพะ การทำ�นำ�้ยาล้างจานและการประดิษฐ์ดอกไม้จากถุงนำ�้ยาปรับผ้านุ่มที่ใช้แล้วจะเห็นได้ว่าศักยภาพชุมชนเข้ม แข็งมาก และช่วงเวลาที่นักศึกษาอยู่ค่ายฯ ตรงกับช่วงประเพณีการชักพระและแข่งเรือของอำ�เภอระโนด ซึ่งนักศึกษาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำ�เรือพระให้ กับวัดจากและร่วมชมการแข่งเรือประเพณีของอำ�เภอระโนดอีกด้วย ด้วยความเป็นคณะวิทยาศาสตร์นักศึกษายังได้นำ�ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ตนได้ศึกษา มาถ่ายทอดให้น้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนวัดจากและโรงเรียนใกล้เคียง ทำ�ให้น้อง ๆ ได้รับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และมีแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อ โดย เฉพาะอย่างยิ่งการเรียนวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนได้มีกิจกรรมการแข่งขันกีฬาร่วมกัน 2 ประเภท คือ การแข่งฟุตบอลและวอลเล่ย์บอล ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านมาร่วมการแข่งขันเป็นอย่างดี สำ�หรับคำ�่คืนสุดท้ายมีพิธีปิดค่ายอาสาฯ และส่งมอบ ห้องสมุดให้กับโรงเรียนและชุมชน ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาเป็นประธานในการส่งมอบจากคณะวิทยาศาสตร์และรองผู้อำ�นวย การเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดสงขลา เป็นผู้รับมอบพร้อมด้วยผู้นำ�ท้องถิ่นและชาวบ้านมาร่วมเป็นสักขีพยานกว่า 200 คน ในงานนี้มีการแสดงแลก เปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชาวบ้านและนักศึกษา และการรับประทานอาหารในเมนูสูดรพิเศษจากฝีมือของพ่อแม่พี่น้องชุมชนวัดจาก คือ ข้าวหม้อแกงหม้อ ขนมหวาน ผลไม้และอาหารนานาชนิดที่เอร็ดอร่อยเป็นเอกลักษณ์ประจำ�ถิ่น การเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักศึกษาโดยใช้กิจกรรมซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งใน การฝึกฝนตนเอง 11 วัน 10 คืน 150 ชีวิต ได้เสริมสร้างให้นักศึกษามีจิตสำ�นึกสาธารณะ มีระเบียบวินัย รับผิดชอบในหน้าที่ ฝึกการวางแผนและบริหารจัดการงาน เกิดความสัมพันธ์อันดีและมีความผูกพันต่อกัน สิ่งหนึ่งที่ทุกคน มีความภูมิใจร่วมกันคือได้สร้างสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมและจะเป็นประสบการณ์ที่ต้องจดจำ�ไปตลอดกับ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะของเด็กนักเรียน คุณครูและชาวบ้านจะยังคงทำ�ให้ชาวค่ายได้สืบสานโครงการ ค่ายอาสาฯ แบบนี้ต่อไป การดำ�เนินงานภายในค่ายอาจจะไม่ได้ราบรื่นทั้งหมด แต่อุปสรรคต่าง ๆ ก็ได้หลอมให้นักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ได้ฝึกฝนตนเอง แก้ปัญหาเป็น ถ้อยทีถ้อยอาศัย ฝึกขอบคุณ ขอโทษและมีนำ�้ใจต่อกัน บทเรียนที่หาไม่ได้ในห้องเรียนนี้ จะเป็นแนวทางให้นักศึกษา ได้เรียนรู้ในการใช้ชีวิตของตนเอง กิจกรรมดี ๆ แบบนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากไม่มีผู้สนับสนุน จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิทยาศาสตร์ สหกรณ์ออมทรัพย์ ม.อ. ศูนย์การค้าลีการ์เดนส์ พลาซ่า บริษัทโชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำ�กัด บริษัทหาดทิพย์ จำ�กัด มหาชน ร้านกุ๊กสิงห์ ศูนย์อาหารโรงช้าง รุ่นพี่ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ และผู้มีจิตศรัทธาที่ไม่ประสงค์ ออกนามรวมทั้งแรงกายแรงใจของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์” ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 22


วิดยาสู่สังคม� SCIENCE FOR SOCIETY

ความประทับใจในการทำ�กิจกรรมค่ายอาสา จุดเริ่มต้นของผมในการเข้ามาเป็นนักกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แห่งนี้ ก็เริ่มตั้งแต่ ผมตัดสินใจเข้าร่วมค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์ เพื่อชนบท ครั้งที่ 33 ที่ โรงเรียนบ้านแหลม จังหวัดพัทลุง ในครั้งนั้นผมไปในฐานะสมาชิกค่ายคนหนึ่ง และการไปค่ายในครั้งนั้นก็เปลี่ยนชีวิตผมในรั้ว มหาวิทยาลัยไปอย่างสิ้นเชิง จากคนที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมอะไรเลย กลับกลายเป็นคนที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกอย่างที่ทางมหาวิทยาลัยหรือทางคณะจัด และ ต่อมาผมก็ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาของทางคณะ และได้มีโอกาสเป็นผู้รับผิดชอบโครงการค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ครั้งที่ 34 ซึ่งจากการสำ�รวจสถานที่ ก็ตัดสินใจเลือก โรงเรียนวัดจาก อำ�เภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่จัดค่ายในครั้งนี้ ซึ่งในครั้งนี้ผมมาในค่ายนี้ไนฐานะผู้ จัด ไม่ใช่สมาชิกค่ายเหมือนปีที่แล้ว บอกตามตรงว่าความรู้สึกนั้นแตกต่างกันมาก จากที่เราเป็นสมาชิกค่าย ก็แค่ปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย สนุกเฮฮา กับเพื่อน ไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่มาครั้งนี้ ผมต้องรับทราบ ทุกปัญหา ทุกข้อดีข้อเสียของกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในค่าย ซึ่งในแต่ละวันปัญหาก็มาหาอย่างไม่ ซำ�้หน้ากันเลย ซึ่งผมก็ต้องหาทางแก้ปัญหาเหล่านั้นให้ได้ ยอมรับว่าวันแรกที่จัดค่ายเป็นอะไรที่มั่วมาก อะไรหลายๆสิ่งหลายๆอย่างยังไม่เข้าร่องเข้ารอย แต่ ผมโชคดีที่มีเพื่อน มีพี่ในสโมสร รวมถึงพี่บุคลากรหน่วยกิจการนักศึกษา คอยให้คำ�ปรึกษา และช่วยกันแก้ปัญหาไปทีละอย่าง จนปัญหาค่อยๆถูกแก้ไป วัน หลังๆ หลายสิ่งหลายอย่างก็เริ่มเข้าร่องเข้ารอยขึ้น การไปค่ายอาสาฯ ผมคิดว่าก็คือการที่แต่ละคนมาสวมบทบาท บทบาทหนึ่งที่ไม่เคยทำ�ในชีวิตจริง เช่น บางคนมาสวมบทคนงานก่อสร้าง บทบาท แม่ครัวพ่อครัว บทบาทนักสัมพันธ์ชุมชน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หลายๆคนอาจจะไม่ได้ทำ�เมื่อออกสู่โลกความเป็นจริง ทุกเช้าทุกคนในค่ายต้องตื่นเช้า เพื่อมารับ ประทานอาหาร และก็แยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน พอถึงเวลาเที่ยง และเย็นของทุกวัน ทุกคนก็ต้องมา รับประทานอาหารเที่ยงและเย็น และกิจกรรมแต่ละอย่างที่ทุกคนได้ทำ�นั้นแต่ละวันก็อาจจะเจอปัญหา ระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และแต่ละคนก็ต้องแก้ปัญหา เหล่านั้นไปให้ได้ ซึ่งเหล่านี้ที่กล่าวมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อทุกคนออกนอกรั้วมหาวิทยาลัย กับการใช้ชีวิตจริง ซึ่งการไปค่ายอาสาฯ ก็เหมือน การฝึกการใช้ชีวิตในสังคมนั้นเอง ผมในฐานะน้อง ในฐานะเพื่อน ในฐานะพี่ ต้องขอขอบคุณ พี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ ที่ร่วมกันทำ�กิจกรรมครั้งนี้จนประสบ ความสำ�เร็จได้อย่างดี ขอบคุณทุกคนที่สนุกกับกิจกรรม อีกทั้งต้องขอบคุณชุมชน โรงเรียน ผู้อำ�นวยการโรงเรียน ผู้ใหญ่บ้าน และอีกหลายๆท่านที่ไม่ได้กล่าว ถึง ที่ให้การต้อนรับพวกเรานักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี 11 วันที่อยู่ในค่าย เป็น 11 วันที่อบอุ่นมาก และจะเป็น 11 วันที่จะอยู่ในใจสมาชิกค่ายทุก คนตลอดไป ฝากอะไรถึงรุ่นน้อง น้องๆ รุ่นนี้ก็เป็นรุ่นที่ 45 ของคณะแล้ว ซึ่งส่วนตัวพี่พี่ประทับใจกับน้องๆมาก จากกิจกรรมแรกๆที่น้องทำ� จนถึงกิจกรรมค่ายอาสาฯ น้องๆได้พิสูจน์ ตัวเองแล้วว่าน้องๆ คือ วิทยาศาสตร์สงขลานครินทร์ อย่างแท้จริง พี่อยากให้น้องรักษาสิ่งดีๆเหล่านี้ไว้ แล้วจะเห็นผลของการทำ�กิจกรรมเองในภายหลัง บางคนอาจมองว่าคณะวิทยาศาสตร์เราเป็นคณะที่มีกิจกรรมเยอะ แต่นั้นพี่มองว่านั้นเป็นโชคดีของพวกเราที่คณะของเรามองเห็นความสำ�คัญของกิจกรรม ทุกกิจกรรมทึ่ทางคณะจัด หรือแม้แต่ที่ทางมหาวิทยาลัยจัด ล้วนแล้วแต่จะจัดขึ้นเพื่อฝึกและพัฒนาด้านต่างๆของน้องๆด้วยกันทั้งสิ้น พูดถึงค่ายอาสาฯ ปีนี้น้องๆไปค่ายกันเยอะมาก ตอนแรกพี่ก็เป็นกังวลกับจำ�นวนคนที่มากเกินไป แต่เมื่อเทียบกับความตั้งใจของน้องที่จะไปค่ายกัน พี่เลย ตัดสินใจไม่ตัดจำ�นวนคน และจนถึงวันนี้พี่ก็ไม่เสียใจเลยที่พาน้องไปทั้งหมด พี่ก็ฝากกิจกรรมทุกกิจกรรมด้วยรวมถึงกิจกรรมค่ายอาสาฯ ค่ายอาสาฯ ของ คณะเราจัดขึ้นมาทุกปี ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 34 แล้ว ซึ่งครั้งหน้าก็เป็นครั้งที่ 35 โดยบทบาทผู้นำ�ในการทำ�กิจกรรมต่างๆก็ต้องตกเป็นของน้องๆ ซึ่งพี่ก็อยากให้ น้องถ่ายทอดสิ่งดีๆ ประสบการณ์ดีๆ ให้กับน้องๆรุ่นต่อไป และสุดท้ายอย่าให้คำ�ว่า “นำ�้ใจวิดยาเหนือสิ่งอื่นใด” เลือนหายไปจากใจน้องๆนะครับ สุดท้ายพี่ ฝาก ดูแลคณะวิทยาศาสตร์ ของพวกเราด้วยนะครับ ^_^ นายปัฐวี ซ้ายหั่น (แจ็คกี้) นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเคมี ชั้นปีที่ 2 ประธานค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ครั้งที่ 34

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 23


วิดยาสู่สังคม� SCIENCE FOR SOCIETY

ความประทับใจในการทำ�กิจกรรมค่ายอาสา จุดเริ่มต้นของกานที่มาค่ายครั้งนี้คือ ค่ายอาสาในปีที่แล้ว นับว่าค่ายอาสาปีที่แล้วปลี่ยนชีวิตกานไปค่อนข้างมาก แต่กานก็ไม่เสียใจ ที่ตัดสินใจอย่างนั้นเลย และเพราะด้วยการเข้าค่ายอาสาปีที่แล้ว ทำ�ให้กานตัดสินใจทำ�งานในสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์อีกด้วย ความ ประทับใจในค่ายอาสาครั้งนี้แตกต่างจากครั้งที่แล้ว เพราะว่าตอนที่มาค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 33 นั้น มาในฐานะลูกค่ายที่มี ตารางงานแล้ว รับรู้แค่งานและปัญหางานเบื้องหน้าเท่านั้น สนุกกับกิจกรรมทุกกิจกรรม มีปัญหาอะไรก็บอกคนจัดค่าย แต่พอมาค่ายอาสา ครั้งนี้ มันเป็นความรู้สึกที่แตกต่าง เรามาในฐานะคนจัดค่าย เราจะต้องรับรู้ทั้งปัญหาเบื้องหน้าและเบื้องหลัง และคิดวิธีแก้ปัญหาทันที ค่าย ครั้งนี้บอกตามตรงว่า 10 วัน ทำ�ให้เราโตขึ้นอีก 10 จากคนที่ไม่เคยกวนปูน หรือ ทำ�อาหารเลย มาที่ค่าย ได้เรียนรู้ทุกอย่างและทำ�จนคล่อง จากคนที่เคยตัดสินใจแค่เรื่องเล็กๆ ต้องเปลี่ยนตัวมาอยู่ในคราบนักธุรกิจใหญ่ที่ต้องมองปัญหาในภาพรวม มองผลกระทบและผลเสียทุกด้าน ทำ�ให้รอบคอบมากขึ้น โดยในค่ายกานทำ�หน้าที่ด้านสันทนาการ เราต้องคิดเกมส์ที่จะทำ�ให้ทุกคนสนุก และประทับใจ กานประทับใจเพื่อนๆ พี่ๆที่ค่อยให้กำ�ลังใจและให้คำ�ปรึกษา ทำ�ให้เราสามารถทำ�ค่ายครั้งนี้ประสบความสำ�เร็จ กานขอขอบคุณทุกคน ไม่ว่าจะเป็นน้องๆ เพื่อนๆ พี่ๆ ที่เราจับมือกันและพาค่ายครั้งนี้ผ่านไปได้ และประสบความสำ�เร็จอย่างมาก โดยส่วนตัวแล้ว กานขอยกนิ้วให้กับแจ็คกี้ ที่เข้มแข็งมากจนทำ�ให้ ค่ายอาสาครั้งบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งใจไว้และทุกคนได้มีรอยยิ้มกลับไป ฝากอะไรถึงรุ่นน้อง ค่ายอาสาเป็นค่ายที่จะให้อะไรกับน้องๆได้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต หรือ ประสบการณ์ดีๆที่หาที่ไหนไม่ได้ พี่อยากให้น้อง มากันเยอะๆ ไม่จำ�เป็นว่าต้องทำ�อาหารเป็น หรือก่อสร้างเป็น แค่มีใจก็มาได้แล้ว “การเป็นนักกิจกรรมไม่จำ�เป็นว่าต้องทำ�เป็นทุกอย่าง แค่มี ใจที่อยากทำ�งานเพื่อนส่วนรวม น้องก็กลายเป็นนักกิจกรรมแล้ว” นางสาวพิมานมาศ จิระภาค (กาน) นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 3

กิจกรรมใดที่เราคิดว่าเป็นกิจกรรมที่เราประทับใจมากที่สุดในค่ายอาสา ทุกกิจกรรมต่างก็มีความประทับใจหมดไม่ว่าจะเป็นก่อสร้าง ทำ�ครัว บำ�เพ็ญประโยชน์ วิชาการ ชุมชนสัมพันธ์ แต่ถ้าให้เลือกที่ประทับใจที่สุดคงต้องยกให้กิจกรรม ก่อสร้าง ไม่ว่าจะสร้างห้องสมุด สร้างเตาเผาขยะ สร้างโรง หมักปุ๋ย สร้างแปลงผัก เพราะไม่อยากจะเชื่อว่า จะสามารถก่ออิฐ ฉาบปูนแล้วออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ ถึงแม้จะ ออกมาดูเบี้ยวๆ มีความเป็นศิลปะมากเกินไป แต่เมื่อยืนเห็นความสำ�เร็จที่ได้ก็ทำ�ให้รู้สึกประทับใจและภูมิใจที่สุด ฝากอะไรถึงน้อง ๆ ในรุ่นต่อไปที่จะร่วมค่ายอาสา สำ�หรับน้องๆที่จะไปร่วมค่ายอาสาในปีถัดไป อาจมีทั้งน้องๆที่เคยไปมาแล้วและที่ยังไม่เคยไป พี่ก็อยากจะ ขอฝากให้น้องๆ ใช้ชีวิตและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในค่ายให้คุ้มค่ามากที่สุด เพราะถือว่าเราได้รับโอกาสที่จะทำ� ประโยชน์เพื่อผู้อื่นแล้วและไม่รู้ว่าจะมีโอกาสนี้อีกเมื่อไหร่ สำ�หรับน้องๆที่เคยไปแล้วอาจจะรู้สึกว่ามีบางสิ่งที่ขาด ไป มีบางสิ่งที่ยังทำ�ได้ไม่เต็มที่ ครั้งต่อไปเมื่อน้องมีโอกาสอีกครั้งก็ขอให้น้องได้ทำ�ให้เต็มที่ที่สุด และสำ�หรับน้องๆ ที่ไม่เคยไปและจะไปเป็นครั้งแรก ค่ายนี้อาจจะไม่เป็นอย่างที่น้องหวัง อาจจะลำ�บากบ้าง รู้สึกคิดถึงบ้านบ้าง แต่พี่ มั่นใจว่าน้องจะไม่ผิดหวังแน่นอนที่ตัดสินใจเข้าร่วมค่ายอาสานี้ สุดท้ายนี้อยากจะบอกกับทุกๆคนว่าค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบทไม่ได้เป็นเพียงค่ายที่สร้างห้องสมุด แต่เป็นค่ายที่จะสร้างเราให้เป็นคนที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น นางสาวพนิดา แท่นแก้ว (ปีโป้) นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 2

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 24


เรื่องเล่าจากพิพิธภัณฑ์� AROUND THE MUSEUM

วิทยาศาสตร์น่าฉงน

ยิ่งยศ ลาภวงศ์ / yingyod.l@hotmail.com

ไก่ไร้หัว

ใครว่าสัตว์สังเคราะห์แสงไม่ได้? Elysia chlorotica เป็นชื่อของทากทะเลชนิดหนึ่ง ปกติ แล้วทากทะเลชนิดนี้ก็ไม่ต่างจากทากทะเลชนิดอื่นๆ ที่กิน สาหร่ายทะเลเป็นอาหาร แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงขาดแคลน ทาก ทะเลชนิดนี้จะสังเคราะห์แสง!!!! ทั้งนี้ทากทะเลจะใช้คลอโร พลาสต์จากสาหร่ายทะเล Vaucheria litorea ที่กินเข้าไป ในการสังเคราะห์แสง ซึ่งจะใช้งานได้นานกว่า 10 เดือน ใน สัตว์ชนิดอื่นๆเช่น ปะการัง หรือดอกไม้ทะเล สัตว์จะอยู่ร่วม กับสาหร่ายทะเลแบบพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis) ซึ่งนั่น หมายความว่าสาหร่ายจะยังมีชีวิตของตัวเองอยู่ ต่างจาก ทากทะเลพวกนี้ ซึ่งกินสาหร่ายเข้าไป แต่เหลืออวัยวะบาง ส่วนไว้ใช้งาน เจ้าเล่ห์จริงๆๆ

ไมค์ ไก่ไม่มีหัว เป็นไก่พันธุ์ Wyandotte ที่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้ 18 เดือนโดยไม่มีหัว เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อวัน ที่ 10 กันยายน 2488 ไมค์ถูกสับหัวด้วยขวาน แต่ ดันเกิดความผิดพลาด ทำ�ให้ไมค์ยังเหลือส่วนของก้าน สมอง ไมค์จึงยังสามารถมีชีวิตรอดอยู่ เมื่อเจ้าของเห็น ว่าไก่ตัวนี้ไม่ตายหลังถูกตัดหัว จึงได้เลี้ยงเอาไว้โดย ป้อนอาหารผ่านหลอดหยด เหตุการณ์นี้เป็นตัวอย่างที่ ชัดเจนเรื่องความสำ�คัญและการทำ�งานของก้านสมอง ที่เป็นสมองส่วนสำ�คัญที่ควบคุมการทำ�งานพื้นฐาน ของระบบร่างกาย

ภาพโดย newscientist.com

งูพ่นพิษ ภาพโดย Origen Desconocido

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 25

ในโลกนี้มีงูที่สามารถพ่นพิษได้มากกว่า 20 ชนิด โดย ส่วนใหญ่เป็นพวกงูเห่า หนึ่งในนั้นมีงูเห่าปลวก หรือ งูเห่าพ่นพิษสยาม (Naja siamensis) หากสัตว์อื่นถูก งูเหล่านี้พ่นพิษใส่ตา อาจทำ�ให้ตาบอดได้


เรื่องเล่าจากพิพิธภัณฑ์� AROUND THE MUSEUM

ภาพโดย Jmiksanek

กลยุทธ์ของลิงลม ลิงลม หรือนางอาย (Slow Loris) เป็นสัตว์ในกลุ่ม ลิง ที่อยู่ในสกุล Nycticebus สัตว์ชนิดนี้มีความเชื่อง ช้า ไร้พิษภัย แต่จริงๆ แล้วมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม น้อยชนิดที่มีพิษ โดยการเลียต่อมใกล้ข้อศอก ทำ�ให้ น้ำ�ลายมีพิษเมื่อกัด และมันจะใช้น้ำ�ลายชโลมตัวลูก เพื่อป้องกันนักล่าด้วย

Pikachurin ในปี 2008 Shigeru Sato และคณะ ได้ค้นพบสารเคมี ชนิดหนึ่ง โดยซึ่งมีความว่องไวสูง มีคุณสมบัติที่ช่วยใน การมองเห็น สารเคมีชนิดนี้จึงถูกตั้งชื่อว่า Pikachurin ตามชื่อของ Pikachu ซึ่งเป็นโปเกมอนที่มีความเร็ว ประดุดสายฟ้า

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 26


คนเก่งในสื่อมวลชน� IT TODAY

2 อาจารย์นักวิจัย จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บูรณาการความรู้ร่วมกัน ศึกษาผลิตภัณฑ์สาร ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากข้าวกล้องงอก ช่วยฟื้นฟูระบบประสาทและสมอง เตรียมศึกษาวิจัย เชิงลึกในมนุษย์ก่อนต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ข้าวกล้องงอก เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมบริโภค อย่างสูง และมีการผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาดอาหาร เพื่อสุขภาพในปริมาณมากในช่วง 5 ปีที่ผ่าน มา เนื่องจากมีการกล่าวถึงสรรพคุณมากมายของข้าวกล้องงอก ต่อการบำ�บัดหรือช่วยฟื้นฟู สุขภาพของผู้บริโภค ทั้งการออกฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ การลดภาวะความเครียด คลายกังวล ซึ่งเป็นผลมาจากสารในกลุ่ม สารประกอบฟีนอลิก และสารกาบา (GABA: gamma-aminobutyric acid) เป็นต้น และจากจุดนี้จึงได้มีการศึกษาวิจัยลึกลงไป เพื่อศึกษาฤทธิ์ต่อสุขภาพอื่นๆ เพิ่มเติมของข้าวกล้องงอก ซึ่งพบว่าหากใช้กระบวนการและสภาวะในการเตรียมและสกัดที่ นอกจากนี้การทำ�งานวิจัยเชิงบูรณาการข้ามสาขาวิชาระหว่างสถาบัน ทำ�ให้เกิด เหมาะสม สามารถทำ�ให้ได้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูระบบประสาทและ ความร่วมมือในการศึกษาเชิงลึกถึงผลของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวกล้องงอกต่อ สมองในผู้สูงอายุได้ สุขภาพ โดยได้พบว่าการกำ�หนดสภาวะและการควบคุมปัจจัยที่เหมาะสม รวมถึงการใช้สาร กระตุ้นการทำ�งานของเอนไซม์บางชนิดในข้าว ทำ�ให้ข้าวกล้องมีการผลิต หรือสร้างสารออก คณะผู้วิจัยซึ่งทำ�งานวิจัยเชิงบูรณาการระหว่างสถาบัน นำ�โดย อ.ดร.เอกสิทธิ์ จงเจริญ ฤทธิ์สำ�คัญขึ้นในระหว่างกระบวนการงอก ซึ่งจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัด รักษ์ จากสาขา วิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ที่ได้จากข้าวกล้องงอกนี้ ออกฤทธิ์ต่อการกระตุ้นให้การทำ�งานของสมองของสัตว์ทดลองที่ ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถูกทำ�ลายไปฟื้นฟูขึ้น และยังพบว่าสามารถช่วยในการฟื้นฟูสภาวะการนอนหลับของสัตว์ ได้ค้นพบว่า ในระหว่างกระบวนการงอกของข้าวนั้น หากทำ�การจำ�กัดสภาวะในการงอกของ ทดลองที่มีอายุมากให้เข้าสู่สภาวะการหลับลึกได้อีกด้วย อีกทั้งยังส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าสมอง ข้าว เช่น การกำ�หนดความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณออกซิเจนที่ให้ อุณหภูมิ ระยะเวลา รวมถึง ของสัตว์ทดลอง ในช่วงที่บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการเรียนรู้ และจดจำ� ซึ่งโดย การให้สารสำ�คัญบางชนิดที่มีผลต่อกระบวนการงอกของข้าว มีผลทำ�ให้ข้าวกล้องงอก สร้าง ปกติแล้วเมื่อสัตว์หรือมนุษย์มีอายุมากขึ้น การเข้าสู่สภาวะหลับลึกเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น สารต่างๆ ออกมาแตกต่างกันไป และด้วยการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 5 ปี และ ส่งผลต่อสุขภาพโดยองค์รวม เนื่องจากเมื่อนอนหลับได้ไม่เต็มที่ร่างกายจึงไม่ได้รับการ โดยได้รับ การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผ่านงบประมาณ พักผ่อนที่เพียงพอ ทำ�ให้เกิดสภาวะเครียดของร่างกายหากเกิดสภาวะเช่นนี้ต่อเนื่องเป็นระยะ แผ่นดิน จึงทำ�ให้ได้ข้อมูลมากมาย ที่สำ�คัญของสภาวะระหว่างกระบวนการงอกต่อการ เวลานาน จะส่งผลให้ระบบการฟื้นฟูร่างกายโดยธรรมชาติสูญเสียไป และส่งผลให้เกิดปัญหา ผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของข้าวกล้องงอก เช่น หากทำ�ให้เกิดสภาวะความเป็นกรดขึ้นเล็ก สุขภาพอื่นๆตามมาในระยะยาว น้อยระหว่างกระบวนการงอกของข้าวมีผลทำ�ให้ข้าวเจริญหรืองอกและสร้างสารออกฤทธิ์ต่อ ต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นกว่าที่สภาวะเป็นกลางหรือด่าง เป็นต้น ดังนั้นจากการค้นพบนี้จึงอาจเป็นแนวทางที่สำ�คัญในการนำ�สารสกัดออกฤทธิ์ทาง ชีวภาพจากข้าวกล้องงอกมาประยุกต์ใช้ในมนุษย์เพื่อใช้ในการบำ�บัดร่วมหรือฟื้นฟูผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับ ซึ่งไม่สามารถเข้าสู่สภาวะหลับลึกได้ อีกทั้งอาจช่วยในการ บำ�บัดสำ�หรับผู้ที่มีปัญหาด้านสภาวะการเรียนรู้และจดจำ� นอกจากนี้จากการศึกษาในเบื้อง ต้นพบว่า สารสกัดนี้ไม่ก่อพิษและไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของสัตว์ทดลองจึงไม่เป็นอุปสรรคใน การนำ�ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยในเชิงลึกในมนุษย์ก่อนนำ�ไป ประยุกต์ใช้เป็นสิ่งที่คณะผู้วิจัยให้ความสำ�คัญและสนใจศึกษาต่อ ขณะนี้มีผู้ประกอบการให้ความสนใจและยินดีในการสนับสนุนการศึกษาในเชิงลึก และประสงค์ในการขอนำ�ผลิตภัณฑ์สารสกัดออกฤทธิ์ทางชีวภาพช่วยฟื้นฟูระบบประสาท และสมองของคณะผู้วิจัยไปต่อยอดเพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไป

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 27


นานาสาระ� CREATIVE RESOURCE

ช่วยกันลด หมดปัญหา ภาวะโลกร้อน

การลดภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันทำ�ใช่หรือไม่?? เราทุกคนก็ต่างมี ส่วนที่ทำ�ให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเพียงแค่เราหายใจอยู่เฉยๆก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก มาแล้ว ยังไม่รวมถึงกิจกรรมต่างๆมากมายที่เราทำ�อยู่ทุกๆวัน ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิดว่าภาวะโลก ร้อนไม่ใช่ธุระของเรา แล้วหันมาร่วมมือกัน..มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนกันเถอะ .. ถ้าท่านคิดว่าการลดภาวะโลกร้อนนั้นมันทำ�ได้ยาก หรือคิดว่าท่านคนเดียวช่วยโลกไม่ได้ หรือว่า จะทำ�ตอนนี้มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นแล้ว ท่านกำ�ลังคิดผิด!! ทุกอย่างที่เราทำ�จะส่งผลดีต่อโลก และมันยังมีเวลาอยู่ ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเราก่อนก็ไม่รู้จะให้ ไปเริ่มจากตรงไหน แค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเราทำ�อยู่ในวันๆหนึ่ง ก็สามารถช่วย ลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว ดิฉันจะยกตัวอย่างให้ดูซัก 10 ข้อ และเชื่อว่ามันใกล้ตัวทุกท่านมาก และ สามารถลงมือทำ�ได้เลยด้วยซำ�้

1. 3.

การชาร์ตแบตมือถือ การชาร์ตแบตมือถือของคนทั่วๆไป เสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 95% เพราะว่ามักจะ เสียบสายค้างไว้ทั้งๆที่แบตเต็มแล้ว ท่านรู้ไหมว่าถึงแบตจะ เต็มแล้วแต่ว่าถ้าไม่ถอดออกมันก็จะยังกินไฟอยู่ ฉะนั้นเวลา แบตเต็มแล้วก็ให้ถอดสายออก แต่ถ้ายังเสียบหม้อแปลงกับ เต้าเสียบค้างไว้มันก็ยังกินไฟอยู่ดี เพราะฉะนั้นก็ให้ถอดออก ให้หมด ประหยัดไฟ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้และถอดปลั๊ก ด้วย รวมไปถึงหลอดไฟด้วย ถ้ามีโอกาสก็เปลี่ยนหลอดไส้เป็น หลอดประหยัดไฟ CFL ซะ ที่มันเป็นเกลียวๆ ถึงหลอดพวก นี้จะแพงกว่า แต่ก็ประหยัดไฟกว่ามาก แถมอายุการใช้งานก็ ยาวกว่าเยอะ ซึ่งในระยะยาวก็จะคุ้มกว่าแน่นอน

2. 4.

ประหยัดนำ�้ อย่าใช้นำ�้แบบสิ้นเปลือง ถ้ามีโอกาสได้ เปลี่ยนก๊อกที่บ้าน ก็ให้ใช้ก๊อกนำ�้แบบเพิ่มฟองอากาศ นำ�้ที่ ไหลออกมาจะมีฟองอากาศออกมาด้วยทำ�ให้ดูเหมือนมีนำ�้ เยอะ แต่จะประหยัดกว่าก๊อกธรรมดาถึงครึ่งหนึ่ง ถ้านึกไม่ ออกให้ดูห้องนำ�้ตามห้าง นำ�้ที่ไหลออกมาจะเป็นแบบนั้น และ เวลาใช้นำ�้ที่อื่นที่ไม่ใช่บ้านเราก็ควรจะประหยัดด้วย ไม่ใช่คิด ว่าของฟรี หรือเวลาไปพักตามโรงแรมก็อย่าคิดว่าใช้ให้คุ้ม เพราะว่าทำ�แบบนี้แหละโลกถึงร้อน ลดใช้ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกทำ�ให้เราสะดวกขึ้นก็จริง แต่มันเป็นภัยต่อโลกอย่างมากมาย กว่าถุงที่เราใช้จะย่อย สลายไป ตัวเรานั้นย่อยสลายก่อนมันไปนานแล้ว เพราะฉะนั้น เวลาที่ไม่จำ�เป็นก็ไม่ต้องใช้ แต่ถ้าต้องใช้จริงๆก็ให้เก็บไว้เพื่อ นำ�ไปใช้ครั้งต่อไปได้อีก เวลาจ่ายตลาดก็ให้ใช้ถุงผ้าแทน ถุงผ้า สวยๆก็มีออกมาขายกันเยอะแยะ

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 28


นานาสาระ� CREATIVE RESOURCE

5. 7. 9.

ลดอาหารแช่แข็ง อาหารแช่แข็งตอนนี้กำ�ลังมีมากขึ้น เรื่อยๆ และก็เห็นมีคนนิยมบริโภคมากขึ้นเหมือนกัน แต่ท่าน รู้ไหมว่าขั้นตอนการผลิตนั้นทำ�ให้สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก เพราะว่ากล่องที่ใส่ก็เป็นพลาสติก ขั้นตอนในการขนส่งก็ต้อง เก็บไว้ในที่เย็นตลอดเวลา รวมไปถึงตอนที่อยู่ในร้านด้วย แม้ กระทั่งตอนจะกินยังต้องใช้พลังงานในการอุ่นอีก เพราะฉะนั้น ถ้าไม่จำ�เป็นก็อย่ากินเลย มันสิ้นเปลืองพลังงาน กินของสด อร่อยกว่าอีก ลดการ Shopping หลายคนนั้นการ Shopping เป็นอะไรที่มีความสุขเหลือเกิน แต่ก็ขอให้ลดการซื้อแบบสิ้น เปลืองลงบ้าง บางทีก็ซื้อๆไปอย่างนั้นแหละ แต่ก็ได้ใส่แค่ครั้ง สองครั้ง บางชิ้นอาจไม่ได้ใส่ด้วยซำ�้ แต่อยากซื้อ..อะไรที่คิดว่า ไม่จำ�เป็นก็ไม่ต้องซื้อหรอก เอาแค่อันที่เราจะใส่จริงๆ เพราะ ว่ามันต้องใช้พลังงานมากมายในอุตสาหกรรมพวกนี้ ปลูกต้นไม้ ดิฉันว่ามนุษย์ทุกคนชอบธรรมชาติ เวลาที่เราได้ เห็นสถานที่ที่มีธรรมชาติงดงาม ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ที่เขียวชอุ่ม นำ�้ใสๆ ชายหาดที่ขาวสะอาด เราจะรู้สึกสบายใจและชอบมัน แต่ว่าพวกเราก็ไม่ได้ช่วยกันรักษา เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาก็ให้ ช่วยกันปลูกต้นไม้ อาจจะเป็นที่สวนหน้าบ้านได้ หรือมีเนื้อที่ ตรงไหนก็ปลูกตรงนั้น ใส่กระถางไว้ก็ได้ นอกจากจะทำ�ให้ บ้านดูสวยขึ้นแล้ว ยังจะช่วยลดก๊าซพิษในอากาศได้อีกด้วย

6. 8.

10.

ใช้จักรยาน เวลาที่ท่านไปทำ�ธุระใกล้ๆบ้าน อาจจะไปซื้อ ของ จ่ายตลาด นอกจากจะประหยัดน้ำ�มันในยุคที่น้ำ�มันแพง แล้ว ยังช่วยให้ท่านได้ออกกำ�ลังกาย มีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ไม่ ต้องไปเสียเงินเข้าฟิตเนสแพงๆ แยกขยะให้เป็นนิสัย ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแยกขยะ ให้เป็นสัดส่วน เช่น ขยะย่อยสลายได้ ขวดแก้วใส ขวดแก้ว สี กล่องกระดาษ กระดาษสิ่งพิมพ์ กระป๋องโลหะ พลาสติก และขยะทั่วไป การแยกขยะเป็นการช่วยให้สามารถนำ�ขยะ ประเภทต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ตามสูตร Reduce (ลดการใช้) Reuse (นำ�กลับมาใช้ใหม่) และRecycle (นำ�มาแปรรูป) คิดในแง่บวก ใครๆ ที่เคยใช้ชีวิตตามใจตัวเอง ไม่สนใจ ดูแลโลกหรือธรรมชาติ ย่อมรู้สึกอึดอัดบ้างเป็นธรรมดาที่ห้าม ตัวเองไม่ให้ทำ�นู้นทำ�นี่ได้อย่างสุขสบายเหมือนเก่า แต่ถ้าคุณ ทำ�ได้เป็นกิจวัตร คุณก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาโลก ร้อนได้ เรียบเรียงบทความโดย

พัชรี แกล้วทนงค์ นักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อ้างอิง http://www.greentheearth.info

พิเศษ !! สำ�หรับฉบับนี้ อยากให้ทุกท่านได้เสนอความคิดเห็น และ ทำ� แบบประเมินออนไลน์ ความพึงพอใจวิทยาสาร คณะวิทยาศาสตร์ โดยทุก ท่านสามารถเข้าไปทำ�แบบสอบถามได้ที่ QR CODE ด้านล่างนี้ ลุ้นรับ DIARY คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.รักโลกทันที 10 เล่ม !!!

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 29



อาจารย์ใหญ่ คือ บุคคลผุ้อุทิศร่างกายหลังจากหมดลมหายใจเเล้ว

นำ�มาซึ่งคุณูปการต่อการเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาได้ เรียนรู้จากร่าง เพื่อให้เกิดทักษะในทางวิชาชีพที่ดีแก่นักศึกษาคณะแพทย์ ทันตเเพทย์ พยาบาล เภสัช กายภาพบำ�บัด เเพทย์แผนไทย และเทคนิค การเเพทย์ การอุทิศร่างกายเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ นอกจากจะได้เป็นครู แก่นักศึกษาดังกล่าว ในกระบวนการการเรียนรู้ยังได้มีการทำ�บุญอุทิศส่วน กุศลทั้งก่อน เริ่มเรียน และเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนการสอนได้มีการจัดพิธี พระราชทานเพลิงศพ ถือเป็นเกียรติอันสูงส่งสำ�หรับผู้อุทิศร่างกายเพื่อเป็น อาจารย์ใหญ่ ปัจจุบันสถานที่รับรอง ญาติของผู้อุทิศร่างกายเพื่อ เป็ น อาจารย์ ใ หญ่ ยั ง เป็ น สถานที่ คั บ แคบและขาด บริ เ วณสำ � หรั บ พั ก ญาติ ที่ มาส่งร่างของอาจารย์ใหญ่ ขณะรับร่างอาจารย์ใหญ่ มาเพื่อประกอบพิธีและผ่านขั้นตอนการ รักษาสภาพ ปัจจุบันทางภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้ง “กองทุนอาจารย์ใหญ่” เพื่อใช้ใน กิจการต่าง ๆ และนำ�เงินส่วนหนึ่งมาเพื่อจัดสร้างศูนย์อุทิศร่างกายขึ้น ในวงเงินประมาณ 1,000,000.- (หนึ่งล้านบาท) ซึ่งยังต้องการทุนในการ ก่อสร้างอีกจำ�นวนมากเพื่อเป็นการทำ�ให้ศูนย์อุทิศร่างกาย มีความสะดวก แก่ผู้มาอุทิศร่างกาย และญาติอาจารย์ใหญ่ที่มาส่งร่างอาจารย์ใหญ่ ในการ ร่วมบริจาคดังกล่าวท่านสามารถบริจาคได้โดย

โอนเงินบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 565-2-18810-7 ชื่อบัญชี “กองทุนคณะวิทยาศาสตร์” ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พร้อมส่งสำ�เนาหลักฐานการโอนเงิน พร้อมระบุ ว่า “กองทุนอาจารย์ใหญ่” FAX มาที่เบอร์ 0 7444 6663 หรือส่งมาที่ E-MAIL : ranu.j@psu.ac.th

เชิญร่วมสมทบทุน

สร้างศูนย์อุทิศร่างกาย

เพื่ออาจารย์ใหญ่ ครูผู้ไร้เสียง

วัตถุประสงค์ของกองทุนอาจารย์ใหญ่

1. สนับสนุนการดำ�เนินการที่เกี่ยวกับร่างบริจาค 2. สนับสนุน พัฒนางานด้านวิชาการของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ 3. วัตถุประสงค์อื่น ๆ ตามมติที่ประชุมภาควิชากายวิภาคศาสตร์

ติดต่อ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เบอร์ติดต่อ 0 7444 6663


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.