decoded

Page 1

STEP Project สถาบันสันติศึกษา ม.สงขลานครินทร์


ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี

รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช และกองบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ พิมพ์ครั้งที่ 1 : มีนาคม 2556 ISBN : 9781482713626

ที่ปรึกษา : มูฮำมัดอายุบ ปาทาน ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ บรรณาธิการ : รอมฎอน ปันจอร์ กองบรรณาธิการ : โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ / Deep South Watch รูปเล่ม / พิสูจน์อักษร : ปลายมนัส ลิ้มสุวรรณ แบบปก : Romadonity

จัดพิมพ์ภายใต้โครงการการทำข่าวสืบสวนสอบสวนเรื่อง “อ่านความคิดของขบวนการ ต่อต้านรัฐในชายแดนใต้” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP Project) และสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวณิช อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ 074-289304, 074-289450 โทรสาร 074-289451 พิมพ์ที่ : สำนักพิมพ์โพรงกระต่าย www.facebook.com/RabbitHolePublishing


ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช และกองบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

STEP Project สถาบันสันติศึกษา ม.สงขลานครินทร์



โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

คำนิยม

บริบทของการถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานีเพื่อสันติภาพ 5 ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

“ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี” เป็นส่วนหนึ่งของ แนวคิดเรื่องกระบวนการสันติภาพ ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้โดย รัฐบาลไทยและขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชซึ่งเรียกตนเองว่า BRN โจทย์ที่สำคัญก็คือ เรารู้จักขบวนการนี้อย่างไร? หรือถ้าจะกล่าวให้ชัด ไปอีกก็คือ คนไทยเรารู้จักขบวนการแยกดินแดนที่เรียกตนเองว่า BRN อย่างไร? เรื่องนี้เป็นคำถามที่ท้าทายสังคมไทยปัจจุบันมาก โดยเฉพาะ ต่อนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้สังเกตการณ์ที่คลุกคลีกับปัญหาภาคใต้ การหาคำตอบเช่นนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และข้อมูลที่ น่าเชื่อถือมากพอสมควร นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องมาพูดถึงพื้นฐาน ของการศึกษา การวิจัย และองค์ความรู้เรื่องขบวนการแยกดินแดน


.....

ที่เรียกว่า BRN ในสถานการณ์ปัจจุบันองค์ความรู้เหล่านี้จะเป็นบริบท ของความเข้ า ใจที่ มี ต่ อ การถอดรหั ส “ถอดความคิ ด ขบวนการ เอกราชปาตานี” ในหนังสือเล่มนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายู 6 ปาตานี มีชื่อย่อว่า BRN ซึ่งมาจากภาษามลายูว่า Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani หรือ Patani Melayu National Revolutionary Front ก่อตั้งเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2503 โดยครูสอนศาสนา หรืออุสตาซที่ชื่อว่า อับดุลการิม ฮัสซัน หลังจากนั้นเรื่องราวของ BRN ก็ถูกกล่าวถึงต่าง ๆ นานา ในเอกสารข้อมูลที่มักจะเป็นรายงานของ ทางราชการ ซึ่งระบุว่าขบวนการดังกล่าวแตกออกเป็นสามกลุ่มใน ปี พ.ศ. 2520 เพราะความแตกแยกในหมู่แกนนำบีอาร์เอ็น จนกระทั่ง มีการตั้งบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 มีการประชุม สมัชชาเลือกผูน้ ำใหม่คอื เปาะนูซา ยาลิล และตัง้ ชือ่ ขบวนการใหม่วา่ บีอาร์เอ็น คองเกรส ส่วนอุสตาซอับดุลการิม ฮัสซัน ผูน้ ำเดิมหมดอำนาจลง จึงรวบรวมกำลังไปตัง้ องค์กรใหม่เรียกว่า บีอาร์เอ็น อูลามา นีเ่ ป็นเรือ่ งราว สัน้ ๆ ที่มักมีการกล่าวถึงขบวนการ BRN อย่างเลือนลางก่อนหน้านี้ แต่หลังจากการขยายตัวของความรุนแรงในจังหวัดชายแดน ภาคใต้นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 โดยเฉพาะการโจมตี เจ้าหน้าทีต่ ำรวจและทหารทีม่ สั ยิดกรือเซะและทีอ่ นื่ ๆ รวมแล้วประมาณ 12 จุด ทำให้กลุ่มผู้ก่อเหตุเสียชีวิตถึง 107 คน และมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 คน รวมทั้งคนบาดเจ็บอีกประมาณ 20 กว่าคน คำถามที่ทำให้ผู้คน สงสัยกันมากก็คอื ว่าใครเป็นผูบ้ งการการก่อเหตุดงั กล่าว และเหตุการณ์ ทัง้ หมดทีเ่ กิดขึน้ จนกระทัง่ ถึงปัจจุบนั เหตุการณ์ตอ่ มายิง่ ทำให้สงั คมไทย


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

เกิดอาการช็อกอย่างรุนแรงก็คอื กรณีตากใบ อันเป็นเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 85 คน คำถามต่อตัวผู้ก่อเหตุและองค์กรที่อยู่ เบือ้ งหลัง ยิง่ ท้าทายความรับรู้ และความเข้าใจของสังคมไทยมากยิง่ ขึน้ ในรายงานของคณะกรรมการอิสระเพือ่ ความสมานฉันท์ (กอส.) 7 ที่ตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2548 นั้น กอส. ได้วิเคราะห์ความรุนแรงในแบบ วินจิ ฉัยโรคโดยใช้แนวคิด “ชัน้ ความรุนแรง” เพือ่ วิเคราะห์ แยกแยะปัจจัย ของความรุนแรงทัง้ ในระดับบุคคล ระดับโครงสร้าง และระดับวัฒนธรรม โดยที่ กอส. เน้นวิเคราะห์ปัจจัยชั้นโครงสร้างและชั้นวัฒนธรรมเป็น สำคั ญ และทำการพยากรณ์ โรค ตลอดจนเสนอมาตรการแก้ ไข โดยแบ่งตามระดับชั้นความรุนแรง มีทางออกทั้งการเสนอสันติวิธี ในระดับบุคคล สันติวิธีระดับโครงสร้าง และสันติวิธีระดับวัฒนธรรม แต่ในแง่การวิเคราะห์ปจั จัย “ตัวการ” ของความรุนแรง กอส. วิเคราะห์ ว่าปัจจัยระดับโครงสร้างเป็น “ที่มา” ของความรุนแรงในสามจังหวัด ภาคใต้ โดยเสนอว่ามีอยูด่ ว้ ยกัน 5 ประการ ได้แก่ (1) การบังคับใช้กฎหมาย ซึ่ ง เป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ ที่ สุ ด (2) เศรษฐกิ จ ท้ อ งถิ่ น (3) การศึ ก ษา (4) ประชากร และ (5) ภูมศิ าสตร์ชายแดน เป็นทีน่ า่ สังเกตว่าในรายงาน ดังกล่าวไม่ได้ให้ความสำคัญต่อตัวการของความรุนแรงที่เป็นผู้แสดง บทบาทหลักหรือ agents ของความรุนแรงเท่าทีค่ วร ในรายงานดังกล่าว มีการวิจัยที่วิเคราะห์โครงสร้างและระบบของการก่อความรุนแรง ในพื้นที่ต่าง ๆ ว่ามี “ขบวนการ” ที่มีอุดมการณ์อย่างชัดเจน รวมทั้ง มีข้อมูลเชิงประจักษ์ยืนยันว่าการก่อเหตุโดยขบวนการที่มีอุดมการณ์ มีอยู่ถึงประมาณร้อยละ 80 ของเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดในขณะนั้น


.....

เรื่องจึงมิใช่ อาชญากรรม ยาเสพติด หรือเรื่องขัดแย้งส่วนตัว หรือแม้ แต่ ไ ม่ ใช่ ก ารสร้ า งสถานการณ์ ข องเจ้ า หน้ า ที่ เ พื่ อ เอางบประมาณ อย่างที่มีการพูดกันอย่างกว้างขวางในขณะนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าว ถึงประเด็นดังกล่าวโดยตรง มีเพียงแค่การอ้างถึงผลงานวิจัยนี้อยู่ใน 8 เชิงอรรถของรายงานสรุปเท่านั้น รายงานปฏิบตั กิ ารและโครงสร้างของขบวนการ “แยกดินแดน” จริง ๆ จึงปรากฏอยูใ่ นเอกสาร “ลับ” ของฝ่ายข่าวทหาร ในรายงานการ สืบสวนและการสอบถามของตำรวจต่อผูต้ อ้ งหาหรือผูท้ มี่ อบตัวต่อทาง การ และต่อมาก็ปรากฏในรายงานการวิเคราะห์และวิจัยส่วนตัวของ เจ้าหน้าที่ทหาร ที่ทำงานด้านการข่าวหรือทำหน้าที่อยู่ในศูนย์สันติสุข ฝ่ายงานการเมืองกองทัพหรือบ้านกรงนก ในฐานปฏิบัติการของทหาร กองทัพภาคที่ 4 เท่านั้น นักวิชาการและนักวิเคราะห์ทศี่ กึ ษาเรือ่ งขบวนการแยกดินแดน BRN และเผยข้อมูลดังกล่าว จึงกลายเป็นนักวิชาการและนักสังเกตการณ์ แบบ “ชายขอบ” ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ มีความพยายาม ระบุว่าขบวนการ BRN หรือ BRN-Coordinate เป็นตัวการสำคัญที่ก่อ เหตุการณ์ส่วนมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจ มากนักจากสังคมกระแสหลัก เมื่อสถานการณ์ลุกลามไปจนถึงความ ยืดเยื้อเรื้อรัง และเปลี่ยนเป็นความรุนแรงแบบใหม่ที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ทำให้คนตายมากถึงกว่า 5,000 คน ในปี พ.ศ. 2555 เรือ่ งจึงเริม่ ชีใ้ ห้เห็น ความซับซ้อนและความหนักหน่วงของปัญหาภาคใต้มากยิง่ ขึน้ รูปแบบ ความรุนแรงไม่ใช่สะเปะสะปะ ไม่ใช่ความรุนแรงสุม่ ๆ แบบความขัดแย้ง ส่วนตัว เรื่องอาชญากรรม และการเมืองท้องถิ่น มันเป็นความรุนแรง


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ที่มีโครงสร้าง และมีแบบแผนอย่างค่อนข้างเป็นระบบ ใครคือผู้กระทำ ความรุนแรงกันแน่? แต่ในอีกด้านหนึ่งนโยบายภายในของฝ่ายความ มั่นคงไทยก็ดูเหมือนจะชัดเจนมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ จะต้องไม่มีการระบุ ถึ ง ชื่ อ องค์ ก รแยกดิ น แดนในที่ ส าธารณะไม่ ว่ า BRN หรื อ PULO หรืออะไรก็ตาม ที่จะทำให้ยกระดับการต่อสู้ให้เป็นระดับสากล หรือ 9 เป็นประเด็นทีใ่ ห้ความสนใจขององค์กรระหว่างประเทศ มีเรือ่ งเล่าภาย ในว่านายทหารในพื้นที่บางคนที่พยายามจะสรุปวิเคราะห์โครงสร้าง เครือข่ายของ BRN ตามหลักฐานการศึกษาของตนให้ผู้บังคับบัญชา ระดับสูงสุดฟัง แต่กลับถูกตวาดในที่ประชุมว่า “อาเยาะห์...(X)...อะไร ของมึงวะ?” ในช่วงเวลาดังกล่าว น่าแปลกที่การวิจัยของนักวิชาการต่าง ประเทศกลับเป็นงานที่เปิดเผย ลักษณะที่มาอย่างเป็นระบบของขบวน การแยกดินแดนหรือขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชในพื้นที่จังหวัดชาย แดนภาคใต้ ดันแคน แมคคาร์โก นักรัฐศาสตร์อังกฤษซึ่งมาใช้เวลาทำ วิจัยภาคสนามอยู่ทั้งปี ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2550 ตั้งข้อสังเกตจาก การลงพื้นที่ศึกษาความรุนแรง ซึ่งเขาพบว่าขบวนการ BRN มีลักษณะ ปฏิบตั กิ ารทีเ่ รียกว่าเป็น “โครงข่ายในระยะเปลีย่ นผ่าน” หรือ “Liminal Lattice” เขาสรุปว่า ความขัดแย้งในดินแดนปาตานีคือรูปแบบหนึ่ง ของสงครามเครือข่ายที่มีแบบแผน อันไม่สม่ำเสมอไร้ความแน่นอน นักรบในขบวนการนีเ้ ป็นเสมือน “ตาข่ายทีไ่ ร้แกนกลาง” ในคำอธิบาย ที่ดันแคนอ้างถึงการวิเคราะห์ของ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ซึ่งดันแคน แมคคาร์โก เองชอบการวิเคราะห์ในส่วนนี้ของตัวเองมากถึงกับอยาก จะเอาคำนี้ตั้งชื่อหนังสือเขาแต่ภายหลัง ถูกเปลี่ยนไปเป็น Tearing


.....

Apart the Land: Islam and Legitimacy in Southern Thailand ซึ่งในปัจจุบันได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วในชื่อ “ฉีกแผ่นดิน” งานวิจยั ทีก่ ล่าวถึง BRN-Coordinate อย่างละเอียดอีกชิน้ หนึง่ เป็นของนักวิชาการเยอรมันชือ่ ซาช่า โฮลบาร์ท เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2554 10 เป็นงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก การวิจัยดังกล่าวอาจจะถือได้ว่าเป็น การศึกษาวิจยั ทางวิชาการในเรือ่ งอุดมการณ์ โครงสร้างและการบ่มเพาะ สมาชิกของ BRN-Coordinate อย่างเป็นระบบครัง้ แรก โดยอาศัยข้อมูล ที่ปิดลับจากเอกสารของฝ่ายทหาร ฝ่ายข่าวกรองของทางราชการ และ เพิ่มด้วยการสัมภาษณ์ส่วนตัวกับคนที่เป็นอดีตนักรบ RKK หรือสมาชิก ของ BRN-Coordinate รายงานของเขามีลักษณะพิเศษที่ชี้เน้นให้เห็น การจัดตั้งที่มีโครงสร้างอำนาจในระดับสูงและมีสายการบังคับบัญชา ชั้นต่าง ๆ ของขบวนการ BRN-Coordinate จุดที่สำคัญคือ โครงสร้าง องค์กรนำทีเ่ รียกว่า DPP (Dewan Pimpinan Parti) ประกอบด้วยสภาผูน้ ำ 30 คน ในสภานีย้ งั ประกอบด้วย 7 ฝ่าย คือ ฝ่ายการทหาร ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายโฆษณาชวนเชือ่ ฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายเยาวชน ฝ่ายศาสนา และฝ่าย บริหารการเมือง จุดที่น่าสนใจของข้อมูลก็คือ ภายใต้โครงสร้างนี้เพื่อ ตัดตอนชั้นความลับจากระดับสภาองค์กรนำไปยังองค์กรระดับล่าง จะไม่มกี ารเชือ่ มตรงไปข้างล่าง แต่มกี ารตัดแบ่งแยกองค์กรในระดับล่าง อย่างชัดเจนของ “ปีกการเมือง” และ “ปีกการทหาร” เป็นตัวกรองอีกชัน้ นีอ่ าจจะเป็นตัวอธิบายทีม่ าของความลึกลับและลักษณะทีค่ ล้าย “เครือ ข่ายที่ไม่มีแกนกลาง” ขององค์กร BRN-Coordinate นอกจากนี้ ในรายงานวิจยั ดังกล่าวประเด็นทีน่ า่ สนใจก็คอื จำนวน ของคนในขบวนการ ในปี พ.ศ. 2547 มีการประมาณการตัวเลขว่าสมาชิก


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ของขบวนการจะมีอยูป่ ระมาณร้อยละ 2 ของประชากรทัง้ หมดในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,800,000 คน ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ ก็จะมีจำนวนถึง 35,000 คน แต่ในปี พ.ศ. 2551 เจ้าหน้าทีท่ หารระดับสูง ในภาคใต้ประมาณว่ากองกำลังอาวุธ ที่ปฏิบัติการจริงจะมีอยู่ประมาณ 300 คน และมีผู้ที่ถูกอบรมบ่มเพาะให้สามารถใช้อาวุธได้อีกประมาณ 11 3,000 คน และมี ก ำลั ง สนั บ สนุ น อี ก ประมาณ 30,000 คน ซึ่ ง เป็นฝ่ายทีไ่ ม่ใช่นกั รบบวกกับอีก 40 คน ทีเ่ ป็นสภาผูน้ ำ ในปี พ.ศ. 2552 ตัวเลขประมาณการของตำรวจจากหมายจับผู้ก่อความไม่สงบทั้งหมด ทำให้ได้ตวั เลขประมาณการประมาณผูส้ นับสนุนขบวนการ 10,000 คน โดยมีกองกำลังอาวุธจริง ๆ อยู่ประมาณ 2,000 คน ข้อมูลดังกล่าวสอด คล้องกับการประมาณการของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ในปี 2555 ที่ว่าขบวนการ BRN-Coordinate มีกำลังประมาณ 9,616 คน ซึ่งข้อมูลนี้มาจากการประมาณการล่าสุดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ข้อมูลประมาณการนี้อาจจะมีเหตุผลบนฐานของการวิเคราะห์ โครงสร้างและเครือข่ายที่มีอยู่ของขบวนการ เพราะถ้าเราเชื่อว่า BRN มีโครงสร้างในปีกการเมืองในระดับล่าง โดยมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 กัส คือ กัสปัตตานี กัสยะลา และกัสนราธิวาส โดยกัสปัตตานีนนั้ จะรวม เอาพืน้ ที่ ในอำเภอจะนะ, เทพา, นาทวี และสะบ้าย้อย ในจังหวัดสงขลา ไว้ดว้ ย ในโครงสร้างกัสเดิมจะมีระดับ “วิลายะห์” ก่อนไปถึง “สะกอม” (ปัจจุบนั ชัน้ นีย้ บุ ไป) โดยกัสต่อตรงถึงระดับสะกอมเลย ซึง่ แต่ละสะกอม จะครอบคลุมพืน้ ทีป่ ระมาณ 2 – 3 อำเภอ แต่ละสะกอมมีการแบ่งพืน้ ที่ ย่อยเป็น “คอมมิส” ซึง่ มีขนาดประมาณ 1 อำเภอหรือเล็กกว่า ในแต่ละ คอมมิส ก็จะมีหน่วยระดับล่างสุดปฏิบตั กิ ารในระดับหมูบ่ า้ น ซึง่ เรียกว่า


.....

“อาเจาะ” (AJAK) ซึ่งเป็น “คณะกรรมการหมู่บ้าน” ในหนึ่งอาเจาะ ประกอบด้วย 6 ฝ่าย คือ ฝ่ายเปอมูดอ ปกครอง เยาวชน เศรษฐกิจ สตรี และฝ่ายสนับสนุน (ตุรงแง) และข้อมูลระบุวา่ มีทมี ทำงานไม่ตำ่ กว่า 12 คน ข้อมูลทางการระบุว่า ในช่วงที่มีปฏิบัติการกระแสสูงในพื้นที่ต่าง ๆ นั้น 12 ขบวนการสามารถจัดตัง้ อาเจาะได้มากถึง 700-800 หน่วย การประมาณ การของทหารว่าขบวนการมีกำลังถึง 9,600 คนก็อาจจะมาจากข้อ สมมุติฐานตัวเลขดังกล่าวนี้ มี ค ำถามตามมาที่ น่ า คิ ด ก็ คื อ การตั ด ตอนฝ่ า ยปี ก การเมื อ ง และฝ่ายปีกการทหารในระดับล่าง เพือ่ ความปลอดภัยและการปิดลับนัน้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าถ้าโครงสร้างเป็นเช่นนี้จริง จุดเชื่อมต่อระหว่าง ปีกการเมืองและปีกการทหารกับสภาองค์กรนำในระดับสูงหรือ DPP อาจจะมีช่องว่าง หรือถ้าช่วงนี้ขาดตอนออกไป หรือแตกตัวออกไป ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรนำกับระดับล่างจะขาด และนีอ่ าจจะทำให้ สภาพเครือข่ายทีไ่ ร้แกนเกิดเป็นจริงขึน้ ปัญหาอีกประการทีต่ ามมาก็คอื การแยกปีกการเมืองออกจากปีกการทหารในโครงสร้างระดับล่างทำให้ เกิดปัญหา เพราะสภาพการเมืองนำการทหารอาจจะไม่เกิดขึ้น ใน โครงสร้างแบบพรรคคอมมิวนิสต์และกองกำลังติดอาวุธนั้น ปัญหานี้ ถูกป้องกันด้วยการให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารทุกหน่วยขึ้นตรงกับ ฝ่ายการเมืองหรือ เลขาธิการหน่วยพรรคในทุกระดับ ตั้งแต่กองพล จนไปถึงระดับหมู่ ผู้ชี้นำ การเมืองจึงมีความสำคัญชีข้ าดมากกว่าผูบ้ งั คับ หน่วยทหารในการปฏิบตั ิการรบทุกครั้ง นี่อาจจะเป็นปัญหาของ BRNCoordinate ในระยะหลังที่ การทหารนำการเมืองจนเกิดปฏิบตั กิ ารที่ เลยธงหรือใช้ความรุนแรงมากไปกระทัง่ ต้องเสียการเมืองของฝ่ายตัวเอง


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

เหตุเพราะไม่สามารถยับยั้งได้ ปัญหาประการสุดท้ายก็คือการที่ DPP เป็นองค์กรนำรวมหมู่ และปิดลับ แต่การตัดสินใจจะทำโดยเอกฉันท์ ทำให้ยากแก่การหาข้อสรุปร่วมกันในระยะเวลาจำกัด โดยเฉพาะในช่ว งวิกฤตที่ต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันที่เป็นเอกฉันท์ การตัดสินใจจึง ต้องอาศัย “ช่วงเวลา” การติดต่อภายในแบบปิดลับและตัดตอน อันเป็น 13 ลักษณะพิเศษขององค์กรแบบนี้ นี่อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ขบวนการ จะต้องพบ เมื่อต้องมีการตัดสินใจเรื่องยาก ๆ เช่น “การพูดคุยเจรจา” ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ดังนั้น ภาพด้านลึกของขบวนการเอกราชปาตานีจึงเป็นเรื่อง ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ในการถอดรหัสกันอีกหลายอย่างและหลายขั้น แต่เป็นที่น่ายินดี ที่มีการศึกษาในเรื่องแบบนี้มากขึ้น รายงานข่าวเชิง สืบสวนสอบสวนที่แปลงมาเป็นหนังสือเล่มนี้พยายามถามเรื่องราวจาก “คนใน” จริง ๆ มาประกอบกับภาพของข้อมูลทีไ่ ด้จากทางการ ซึง่ เป็น สิ่งที่เราจะได้เห็นต่อไป สิ่งที่น่าสนใจก็คืองานชิ้นนี้เป็นรายงานที่ให้ทั้ง ภาพกว้าง และภาพลึกของขบวนการเคลือ่ นไหว เราต้องรับรูต้ วั ตนของ พวกเขาให้มากทีส่ ดุ เพือ่ จะได้หาทางออกในกระบวนการสันติภาพต่อไป



สารบัญ คำนิยม โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

5

เกริ่นนำ

19

1.สายธารแห่งประวัติศาสตร์

23

2.กระบวนการเข้าสู่การต่อสู้เพื่อ Merdeka

35

3.โครงสร้างขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี

45

4.สนทนากับหัวหน้ากอมปีและมือระเบิด

53

5.แผ่นดินปาตานีเป็นดารุลฮัรบี...หรือไม่?

65

6.ภาคประชาสังคมกับขบวนการเอกราชปาตานี : จุดร่วมและจุดต่าง

77

7.ปัจฉิมบท : สันติภาพที่ปลายอุโมงค์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

87

เบื้องหลังการถ่ายทำ : รายงานพิเศษ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี

93



ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช และกองบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

รอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการ



โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

..... 19

เกริ่นนำ

ท่าม

กลางเสียงระเบิดและควันปืนทีไ่ ม่เคยหยุด ในสีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้เกือบเก้าปีแล้ว แม้วา่ ในห้วงเวลาไม่นานมานีจ้ ะมีสญ ั ญาณ เชิงบวกในการพยายามคลี่คลายความขัดแย้ง ด้วยวิธีการทางการเมือง โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การพยายามริ เริ่ ม พู ด คุ ย เพื่ อ สั น ติ ภ าพระหว่ า ง ทางการไทยกับขบวนการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานี แต่กระนั้นก็อาจ เรียกได้ว่าสังคมไทยเองก็ยังคงมีความไม่ตกผลึกในทางความคิดว่าสิ่งที่ รัฐไทยกำลังต่อสู้อยู่นั้นคืออะไร? โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (Deep South Journalism School – DSJ) พยายามที่จะถอดความคิดของ คนที่จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐผ่านปากคำของพวกเขาเอง


.....

รายงานพิเศษชุด “ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี” ถูกจัดทำขึ้นเพื่อขยายความเข้าใจต่อตัวแสดงสำคัญในความขัดแย้ง ดังกล่าว ภายใต้โครงการการทำข่าวสืบสวนสอบสวนเรือ่ ง “อ่านความคิด ของขบวนการต่อต้านรัฐในชายแดนใต้” โดยได้รับการสนับสนุนจาก 20 โครงการเสริ ม สร้ า งความเข้ ม แข็ ง และการมี ส่ ว นร่ ว มในภาคใต้ ข อง ประเทศไทย หรือ STEP - Project และสถาบันสันติศกึ ษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ รายงานพิเศษนี้มีทั้งสิ้น 7 ตอน โดยได้เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ในเว็บไซต์ของ DSJ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาสำคัญ ของกระบวนการสั น ติ ภ าพแห่ ง ความขั ด แย้ ง ที่ ก ำลั ง ดำเนิ น เข้ า สู่ ปีที่สิบ เราหวังว่าการสะท้อนเสียงเหล่านี้จะทำให้สังคมเข้าใจถึงวิธีคิด ของพวกเขา และนำไปใช้ในการแก้ปญ ั หาความรุนแรงด้วยปัญญาอย่าง มีทิ ศ ทางมากขึ้ น เชื่อว่าทุกฝ่ายที่เฝ้าติดตามและทำงานในภาคใต้ ต่างต้องการที่จะเห็นสันติภาพเกิดขึ้นในเร็ววัน




-1-

สายธารแห่งประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าดินแดนที่รู้จักกันว่าเป็น จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในปัจจุบันนั้น เดิมมีฐานทางวัฒนธรรม จากอิทธิพลของศาสนาฮินดูและพุทธ ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามา ในช่วงศตวรรษที่ 9 ในขณะที่อิทธิพลของทั้งสองศาสนาแผ่ขยายอย่าง กว้ า งขวางในแถบเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ข้ า มกลุ่ ม และชาติ พั น ธุ์ การเข้ามาของศาสนาอิสลามกลับจำกัดอยู่เฉพาะคนชาติพันธุ์มลายู ในช่วงหลายศตวรรษ อาณาจักรสยามกับอาณาจักรปาตานีมคี วามสัมพันธ์


.....

กันอย่างหลวม ๆ เจ้าเมืองของปาตานีส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับ สยามเพื่อแสดงความจงรักภักดี แต่สยามก็ให้อิสระเจ้าเมืองเหล่านั้น ในการปกครอง ตราบจนกระทั่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ที่สยามเผชิญกับ 24 ภัยคุกคามจากเจ้าอาณานิคมตะวันตก ในกระบวนการสร้างชาติไทยและ ทำประเทศให้ทันสมัย รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการบริหารราชการ แผ่นดินซึ่งส่งผลให้อาณาจักรปาตานีกลายเป็นจังหวัดที่ขึ้นกับการ ปกครองของกรุงเทพฯ โดยตรงนับตั้งแต่ พ.ศ. 2445 ต่อมาสยาม ได้ลงนามใน The Anglo-Siamese Treaty ในพ.ศ. 2452 กับอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของดินแดนในคาบสมุทรมาลายาในขณะนั้น สนธิ สั ญ ญาฉบั บ นั้ น ส่ ง ผลให้ พื้ น ที่ ใ นรั ฐ เคดาห์ กลั น ตั น ตรั ง กานู และเปลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนดินแดนในอาณาจักรปาตานี รวมถึง สตูลตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม คนมลายูมุสลิมในดินแดนแถบนั้นไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจ ชะตากรรมของตนเองว่าต้องการจะเป็นสมาชิกของชาติสยามหรือไม่ การต่อต้านการถูกผนวกรวมและการถูกทำให้กลายเป็นไทยได้ปะทุขึ้น และดำเนินต่อมาตลอดช่วงเวลากว่าหนึง่ ศตวรรษ แม้วา่ อาจจะเบาบาง ไปบ้างในบางยุคสมัย แต่ความคิดต่อต้านยังไม่เคยยุติลง การต่อสู้ซึ่ง เริ่มต้นขึ้นในหมู่ชนชั้นนำมลายูมุสลิมได้ขยายตัวไปสู่ระดับสามัญชน มากขึ้นเรื่อย ๆ หมุดหมายสำคัญทางประวัตศิ าสตร์อนั หนึง่ คือ การเรียกร้องของ หะยีสหุ ลง อับดุลกาเดร์ใน พ.ศ. 2490 ซึง่ ขณะนัน้ เขาเป็นประธานคณะ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี หะยีสุหลงได้ยื่นข้อเสนอ 7 ข้อ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ให้กับตัวแทนของรัฐบาลไทย ข้อเสนอนั้นประกอบด้วย 1) ให้มผี ปู้ กครองใน 4 จังหวัด ปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส เป็นคนมุสลิมในพื้นที่และได้รับเลือกจากคนในพื้นที่ โดยให้มีอำนาจใน การศาสนาอิสลามและแต่งตั้งข้าราชการ 2) ให้ข้าราชการในสี่จังหวัดเป็นคนมลายูในพื้นที่ร้อยละ 80 25 3) ให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาไทย 4) ให้มีการใช้ภาษามลายูเป็นสื่อในการเรียนการสอนระดับ ประถมศึกษา 5) ให้มศี าลพิจารณาคดีตามกฎหมายอิสลามทีแ่ ยกขาดจากศาล ยุติธรรมของทางราชการ โดยให้ดาโต๊ะยุติธรรมมีเสรีในการพิพากษา ชี้ขาดความ 6) ภาษีและรายได้ที่จัดเก็บให้ใช้ในพื้นที่ 4 จังหวัดเท่านั้น 7) ให้คณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจในการออก กฎระเบียบเกีย่ วกับการปฏิบตั ทิ างศาสนา โดยได้รบั ความเห็นชอบจาก ผู้มีอำนาจตามข้อ 1 หลังจากได้มีการยื่นข้อเรียกร้องไม่นาน หะยีสุหลงและผู้นำ ศาสนาอีกหลายคนก็ถูกจับกุมข้อหากบฏและถูกคุมขังเป็นเวลา 4 ปี 8 เดือน ต่อมาเขาได้รับการปล่อยตัวก่อนครบกำหนด แต่สองปีต่อมา เขากลับหายตัวไปอย่างลึกลับพร้อมกับลูกชายคนโต หลังถูกตำรวจ สันติบาลที่สงขลาเรียกไปรายงานตัว ซึ่งคาดกันว่าพวกเขาถูกตำรวจ จั บ ถ่ ว งน้ ำ จนเสี ย ชี วิ ต เรื่ อ งราวของหะยี สุ ห ลงยั ง คงเป็ น หนึ่ ง ใน “ประวัตศิ าสตร์บาดแผล” ทีย่ งั คงถูกเล่าต่อ ๆ กันในหมูช่ าวมลายูมสุ ลิม แม้ เวลาผ่ า นไปกว่ า ครึ่ ง ศตวรรษ และน่ า ประหลาดใจว่ า ข้ อ เสนอ สายธารแห่งประวัติศาสตร์


.....

หลาย ๆ ข้อที่มีการพูดกันในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกับข้อเรียกร้อง ของหะยีสุหลงยิ่งนัก ในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 เป็นยุคเริ่มต้นของการต่อสู้ด้วยอาวุธ โดยกลุ่มเคลื่อนไหวที่สำคัญ ได้แก่ 1) BNPP (Barisan National Pem26 bebasan Patani - Patani National Liberation Front) ซึง่ ก่อตัง้ ขึน้ ใน พ.ศ. 2502 โดยมีกลุม่ ชนชัน้ นำของปาตานีเป็นผูม้ บี ทบาทสำคัญ BNPP นับเป็นกลุม่ ขบวนการติดอาวุธทีต่ อ่ สูเ้ พือ่ เอกราชกลุม่ แรก ต่อมาใน พ.ศ. 2529 ได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น BIPP (Barisan Islam Pembebasan Patani – Patani Islamic Liberation Front) ปัจจุบันเชื่อว่ากลุ่มนี้ ไม่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวแล้ว 2) PULO (Patani United Liberation Organisation) ก่อตั้งในพ.ศ. 2511 ที่ประเทศซาอุดิอาราเบีย โดยนายตนกูบีรอ กอตอนีลอ เขาเสียชีวิตใน พ.ศ. 2548 ที่ประเทศซีเรีย ใน พ.ศ. 2550 นายนอร์ อับดุลเราะห์มาน ได้รบั การเลือกตัง้ ให้เป็นประธานแทน ต่อมา ได้เกิดความขัดแย้งภายใน นายกัสตูรี มะกอตา ซึง่ เป็นรองประธานและ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศได้แยกตัวออกมา ทัง้ สองกลุม่ ต่างอ้างว่าตนเป็น ประธานของกลุม่ พูโล ปัจจุบนั พูโลยังคงเคลือ่ นไหวอยูน่ อกประเทศและ ทำงานการเมืองในเวทีระหว่างประเทศเป็นหลัก 3) BRN (Barisan Revolusi Nasional – National Liberation Front) กลุ่ม BRN จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2503 โดยมีสมาชิกรุ่นก่อตั้ง คือ นายอับดุลการิม ฮัสซัน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนนะห์ฎอตุลสูบาน ใน อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส รวมถึงโต๊ะครูปอเนาะที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบาย การปฏิรูปการศึกษาของรัฐ ข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงและนัก ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

วิเคราะห์อสิ ระบางท่านระบุวา่ นายอามีน โต๊ะมีนา ลูกชายของหะยีสหุ ลง และนายฮารูน สุหลง ประธานของโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ เป็นสมาชิก รุ่นแรก ๆ ด้วย ในช่ ว งต้ น การต่ อ สู้ ข อง BRN ใช้ แ นวทางแบบชาติ นิ ย มสังคมนิยม-อิสลามในการเคลือ่ นไหว โดยเน้นการสร้างฐานจากโรงเรียน 27 ปอเนาะ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2520 มีความขัดแย้งกันในเรือ่ งแนวทาง ของการต่อสู้ โดยมีการถกเถียงกันว่าการต่อสู้โดยใช้ประเด็นเรื่อง ชาติ นิ ย ม-สั ง คมนิ ย มนั้ น ไม่ ถู ก ต้ อ ง และเป็ น อุ ป สรรคต่ อ การสร้ า ง แนวร่วมในประเทศมุสลิมอื่น ๆ และได้มีการเสนอให้นำเอาประเด็น ศาสนามาใช้ในการต่อสู้แทน ความเห็นที่ขัดแย้งกันทำให้ BRN แยกกันเป็น 3 กลุ่ม คือ BRNCoordinate , BRN-Ulama และ BRN-Congress อับดุลการิม แยกตัวไปเป็นกลุ่ม BRN-Ulama ซึ่งไม่ได้มีความเคลื่อนไหวมากนัก หลั ง จากนั้ น เขาใช้ ชี วิ ต อยู่ ใ นมาเลเซี ย และหั น ไปสนใจนิ ก ายชี อ ะห์ ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เขาเสียชีวิตในพ.ศ. 2539 BRN-Congress เป็นกลุม่ ปฏิบตั กิ ารทางทหารเดิมของ BRN ซึง่ นำโดย นายรอสะ บูราซอ หรือ เจ๊ะกูเป็ง การเคลื่อนไหวจะเน้นด้านการทหาร ปัจจุบันเจ๊ะกูเป็ง เสียชีวิตไปแล้ว BRN – Coordinate เป็นกลุ่มที่หน่วยงานความมั่นคง และหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากที่สุดในการเคลื่อนไหว ในปัจจุบัน ข้อมูลบางแหล่งระบุว่านายอามีน โต๊ะมีนา บุตรชายของ หะยีสหุ ลงเป็นแกนนำของกลุม่ BRN – Coordinate นายอามีนเสียชีวติ ใน พ.ศ. 2544 การเคลื่อนไหวของ BRN – Coordinate มีลกั ษณะ ปิดลับไม่ปรากฎชัดเจนว่าใครเป็นผู้ถือธงนำในการต่อสู้ แม้ว่าทางฝ่าย สายธารแห่งประวัติศาสตร์


.....

ความมั่นคงจะได้ระบุชื่อบุคคลจำนวนหนึ่งว่าเป็นแกนนำสำคัญ เช่น นายสะแปอิง บาซอ อดีตครูใหญ่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ซึ่งหลบหนี ออกนอกประเทศไปเมื่อ พ.ศ. 2547 4) GMIP (Gerakan Mujahidin Islam Patani – Patani Is28 lamic Holy Warriors Movement) ตั้งขึ้นโดยนายนาซอรี แซะเซ็ง ใน พ.ศ. 2538 กลุ่มนี้พัฒนามาจากกลุ่ม GMP (Gerakan Mujahidin Patani) ซึ่งตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2529 และยุติบทบาทใน พ.ศ. 2536 นาซอรี เคยไปฝึกการทหารที่ลิเบียและไปร่วมรบอัฟกานิสถาน เชื่อว่ากลุ่มนี้มี ความใกล้ชิดในเชิงอุดมการณ์กับกลุ่มญิฮาดสากลมากกว่ากลุ่มอื่น ในปัจจุบันไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน 5) กลุ่ม Bersatu ซึ่งเป็นองค์กรร่ม (umbrella organization) ของ PULO, BIPP และ BRN ซึ่งจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2532 โดยมี ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมาน เป็นประธาน ปัจจุบนั ไม่มกี ารเคลือ่ นไหวในฐานะ ของกลุ่มนี้แล้ว การก่อตัวของคลื่นกระแสการต่อสู้ยุคปัจจุบัน ในขณะทีร่ ฐั ไทยตายใจและคิดว่า “ขบวนการแบ่งแยกดินแดน” ในภาคใต้กำลังจะสลายตัวไปแล้ว ปรากฏการณ์การปล้นปืนที่ค่าย ปิเหล็ง ใน อ. เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นสิ่งที่ช็อครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้น ฝ่ายรัฐใช้เวลาอยู่นาน ในการจั ด ทั พ เพื่ อ รั บ มื อ กั บ การต่ อ สู้ ด้ ว ยอาวุ ธ ที่ ป ะทุ ขึ้ น อย่ า ง ฉับพลันจนรัฐตั้งตัวไม่ทัน รัฐยังคิดว่าพวกเขาเป็น “โจรกระจอก” บ้างว่าเป็นพวกเด็กติดยาเสพติด ไม่มใี ครทีอ่ อกมาแสดงความรับผิดชอบ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ต่อการก่อเหตุรนุ แรงทีเ่ กิดขึน้ จนมีคำพูดทีว่ า่ รัฐไทยกำลังรบอยูก่ บั “ผี” ที่มองไม่เห็น เนื่องจากว่าการเคลื่อนไหวในช่วงเกือบสามทศวรรษที่ผ่านมา เป็นการเคลื่อนไหวใต้ดินปิดลับ ข้อมูลว่าใครเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการสร้างขบวนการเคลือ่ นไหวใต้ดนิ ทีป่ รากฏรูปอยูใ่ นทุกวันนีย้ งั เป็น 29 ปริศนาที่หลายคนกำลังพยายามไข ข้อมูลจากฝ่ายความมั่นคงและ ปากคำของคนที่เคยอยู่ในขบวนการ ระบุตรงกันว่ากลุ่มที่มีบทบาท สำคัญในการเคลื่อนไหวในพื้นที่ ณ ปัจจุบัน คือ กลุ่ม BRN – Coordinate สมาชิกระดับกลางที่เข้าสู่ขบวนการในช่วงทศวรรษ 2530 คน หนึ่งเล่าย้อนถึงสถานการณ์ในช่วงต้นทศวรรษ 2520 ว่า BRN – Coordinate ได้ เ ปลี่ ย นแนวทางการเคลื่ อ นไหวโดยการลงมาจาก ป่าเขาและเข้าไปหามวลชนในหมู่บ้าน ซึ่งต่างจากแนวทางของ BRN Congress ที่เน้นการทำงานกองกำลังอย่างเดียว ไม่เน้นงานด้าน มวลชน ในช่วงนั้นนายอับดุลการิมซึ่งลี้ภัยไปอยู่ในประเทศมาเลเซีย แทบจะไม่ได้มบทบาทใด ๆ ในการเคลื่อนไหวแล้ว “ฐานแห่งการปฏิวัติ คือ ศาสนา แนวทางการต่อสู้ คือ จับอาวุธ และเป้าหมายของการปฏิบัติการ คือ merdeka [เอกราช]”, สมาชิก ฝ่ายการเมืองระดับกลางผู้นี้กล่าวอย่างชัดเจน เขาอธิบายว่าการทำงานของ BRN – Coordinate นัน้ จะไม่เน้น การพึ่งตัวบุคคล แต่ว่าจะบริหารงานแบบคณะกรรมการร่วม ในช่วง สิบปีแรกระหว่าง พ.ศ. 2527 - 2537 เป็นช่วงของการทำงานความคิดและ จัดตั้งมวลชนให้มีสำนึกความเป็นมลายู โดยเฉพาะในมัสยิด ตาดีกา สายธารแห่งประวัติศาสตร์


.....

และปอเนาะ เหตุการณ์การเผาโรงเรียน 36 แห่งในปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลาในคืนวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ดูเหมือนจะเป็น หมุดทางประวัติศาสตร์สำคัญ ในการประกาศลุกขึ้นสู้ด้วยการเผา สถานที่ ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นแหล่งทำลายอัตลักษณ์ความเป็นมลายู 30 และกลืนลูกหลานของพวกเขาให้กลายเป็นไทย สมาชิกขบวนการผู้นี้ซึ่งปัจจุบันได้ยุติการเคลื่อนไหวแล้วระบุ ว่าในช่วง พ.ศ. 2537 – 2542 เป็นการวางโครงสร้างการทำงานของ

เอกสารที่กองทัพเรียกว่า“บันไดเจ็ดขั้น” ที่ยึดได้จากโต๊ะทำงานของนายมะแซ อุเซ็งใน พ.ศ. 2546

ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

องค์กร โดยแบ่งหลัก ๆ เป็น 2 ปีก คือ ปีกการเมืองที่เรียกว่า MASA และปีกการทหารที่เรียกว่า MAY (คาดว่าเป็นการกร่อนเสียงคำว่า militer ในภาษามาเลย์ซึ่งแปลว่า กองทัพ) ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2538 เป็น ต้นมาเริ่มมีการฝึกกองกำลังทางทหาร ในช่วงนั้นใช้เวลา 2 ปีในการฝึก แต่ละรุ่น พอถึง พ.ศ. 2546 ขบวนการสร้างกองกำลังได้ตามเป้าหมาย 31 ประมาณ 3,000 คน ช่วง พ.ศ. 2545 – 2546 เป็นช่วงอุ่นเครื่องก่อน การเปิดฉากการต่อสู้อย่างเต็มรูปแบบ

คำแปลเอกสาร “บันได 7 ขั้น” (เอกสารของ กอ.รมน.)

ในหนังสือ “สงครามประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่เขียนโดยนายทหารในภาคใต้ที่ศึกษาเกี่ยวกับขบวนการมากว่า 8 ปี สายธารแห่งประวัติศาสตร์


.....

ระบุว่า BRN – Coordinate เปิดฉากด้วยการปล้นปืนที่ป้อมตำรวจ บ้านรานอ อ.บันนังสตา จ.ยะลา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 หลั ง จากนั้นมีการโจมตีฐานการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่หลายแห่ง และขบวนการได้ปืนไปเกือบ 100 กระบอก นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังได้ระบุว่าขบวนการได้ตระเตรียม 32 ความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งฝ่าย MASA MAY ฐานทางเศรษฐกิจ ที่จะทำให้ขบวนการพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการเก็บเงินจากสมาชิกวันละ 1 บาท การเตรียมข้าวปลาเสบียงอาหารและเงินบริจาคจากแหล่งอื่น รวมทั้งฝ่ายพยาบาลที่ต้องพร้อมรักษาคนเจ็บจากการสู้รบ ทหารได้ยดึ เอกสารฉบับหนึง่ จากโต๊ะทำงานของนายมะแซ อุเซ็ง ใน พ.ศ. 2546 นายมะแซเป็นอุสตาซโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา ใน อ.เจาะ ไอร้ อ ง จ.นราธิ ว าส ผู้ ซึ่ ง ฝ่ า ยความมั่ น คงเชื่ อ ว่ า เป็ น สมาชิ ก ระดั บ นำคนหนึ่งของ BRN - Cooridanate ในเอกสารฉบับนี้ได้พูดถึง “แผนบันได 7 ขั้น” ซึ่งได้ถูกนำมาอ้างอิงอยู่บ่อยครั้งว่าเป็นแผนการ การปฏิวัติของ BRN - Coordinate ในหนังสือ “องค์กรปฏิวัติปัตตานี” ที่เขียนโดยอดีตสมาชิก ที่คุมงานมวลชนของขบวนการ และจัดพิมพ์โดยนายทหารที่ทำงาน ในภาคใต้ได้อา้ งถึงแผนบันได 7 ขัน้ นี้ โดยอธิบายเพิม่ เติมว่าในช่วง พ.ศ. 2527 – 2537 เป็นสิบปีแรกที่ขบวนการทำงานในขั้นที่ 1 และ 2 คือ สร้างสำนึกมวลชนและจัดตั้งมวลชน ในช่วง พ.ศ. 2538 – 2546 เป็น ช่วงของการดำเนินงานในขัน้ ที่ 3 – 6 โดยพัฒนาการทีส่ ำคัญคือ การวาง โครงสร้างการปฏิบตั งิ านในปีกมวลชนและการทหาร เมือ่ ถึง พ.ศ. 2547 ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการ “จุดดอกไม้ไฟแห่งการปฏิวัติ” หรือเป็นขั้นที่ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

7 โดยมีการปล้นปืนในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นหมุดหมาย สำคัญของการเริ่มต้นการปฏิวัติ ความพยายามต่อจิ๊กซอว์เพื่อเข้าใจพัฒนาการของขบวนการ ใต้ดินนี้อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะความจริงที่ครบถ้วนสมบูรณ์ นั้นเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยากในสถานการณ์เช่นนี้ บางทัศนะไม่เชื่อว่า 33 แผนบันได 7 ขั้นที่ทหารอ้างอิงอยู่บ่อยครั้งนี้ จะเป็นแผนการปฏิวัติ ของฝ่ายขบวนการจริง แต่นี่ก็เป็นข้อมูลชุดหนึ่งสำหรับการพิจารณา เพื่ อ เข้ า ใจปรากฏการณ์ ก ารต่ อ สู้ ด้ ว ยอาวุ ธ ที่ ป ะทุ ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา

หมายเหตุ: รายงานชิน้ นีเ้ ผยแพร่ครัง้ แรกที่ www.deepsouthwatch.org/dsj/3676 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 สายธารแห่งประวัติศาสตร์



-2-

กระบวนการเข้าสู่การต่อสู้เพื่อ Merdeka บนพื้ น ฐานบริ บ ททางประวั ติ ศ าสตร์ ข องพื้ น ที่ ซึ่ ง เคยเป็ น อาณาจักรปาตานีแห่งนี้ ชาวมลายูมุสลิมเรือนพันเรือนหมื่นได้เดิน เข้าสู่กระบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของดินแดน ที่พวกเขามองว่าถูก สยามยึดครองไป ในตอนนี้ DSJ จะเล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวของ เด็กหนุ่ม 2 คน ที่ถูกชักชวนเข้าสู่ขบวนการและอธิบายถึงขั้นตอน การสร้าง “นักปฏิวตั ”ิ ผ่านการสัมภาษณ์บคุ คลทีเ่ กีย่ วข้องและเอกสาร ที่เขียนโดยคนที่เคยอยู่ในขบวนการ ชารีฟ: จาก “เด็กติดยา” สู่ “RKK” ชารีฟ (นามสมมุติ) เรียนจบสามัญชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จาก โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแห่งหนึ่ง แต่ในทางศาสนาเขาเรียน จบชั้น 10 ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดของการเรียนในสายศาสนาแบบทั่วไป


.....

หลั ง เรี ย นจบแล้ ว เขาทำอาชี พ กรี ด ยางซึ่ ง เป็ น วิ ถี ก ารหาเลี้ ย งชี พ หลักของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เด็กหนุม่ ผิวเข้มร่างกายกำยำคนนี้ ยอมรับว่าเขาเคยติดกัญชาและเที่ยวผู้หญิง ก่อนที่เขาจะตัดสินใจเข้า ร่วมจับอาวุธในช่วง พ.ศ. 2547 ชารีฟถูกชักชวนโดยเพื่อนในหมู่บ้าน 36 คนหนึ่งซึ่งบอกกับเขาว่า “เราต้องบริสุทธิ์จริงจึงจะเข้าขบวนการได้ ต้องเลิกสิ่งที่ไม่ดี” ชารีฟเลิกอบายมุขเหล่านัน้ และได้ผา่ นการ “ซุมเปาะ” หรือ การ สาบานตนเข้าร่วมขบวนการต่อหน้าคัมภีร์อัล-กุรอ่าน คนที่มาเป็น ผู้อบรมชารีฟเป็นคนที่มีความรู้ทางศาสนา ซึ่งเขาให้ความเคารพและ เชื่อถือ เขาไปฟังการบรรยายที่ปอเนาะทุก ๆ สัปดาห์ ในกลุ่มก็จะมี ประมาณ 6–7 คน ชารีฟเล่าว่าคนทีม่ าอบรมบอกกับเขาว่าการ “ญิฮาด” กับรัฐสยามนี้เป็น “ฟัรดูอีน” (fardu ‘ain - ข้อกำหนดที่คนมุสลิมทุก คนต้องปฏิบัติ) ถ้าหากว่าเขาไม่ปฏิบัติก็จะบาป ชารีฟเข้ารับการฝึก ในขั้ น ต้ น ที่ เรี ย กว่ า ระดั บ “เปอมู ด อ” (pemuda - เยาวชน) อยู่ประมาณครึ่งปี ก่อนหน้าที่จะได้เข้าไปฝึกต่อทางด้านการทหาร “ในช่วงแรก ๆ เขา (ครูฝึก) ให้ไปขโมยของในร้านของคนไทย พุทธเพื่อเป็นการทดสอบจิตใจ” ชารีฟเล่าย้อนความหลัง เขากับเพื่อน ไปหยิบสินค้าในร้านขายของชำ เพื่อเอามาแสดงให้กับครูฝึกดูเป็นการ พิสูจน์ความกล้า บททดสอบเช่นนี้ก็เพื่อทำให้คนที่อยู่ในขบวนการสร้างกำแพง แห่งความรู้สึกระหว่าง “พวกเรา” และ “คนอื่น” ให้แข็งแรงขึ้น ครูฝึก บอกว่าคนไทยพุทธเป็นผู้อพยพมาอยู่ในดินแดนของคนมลายูมุสลิม และพวกเขาเป็น “เครื่องมือของรัฐสยาม” ชารีฟบอกว่าช่วงที่เคลื่อน ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ไหวอยู่นั้น เขาไม่เคยมีเพื่อนเป็นคนพุทธเลย เมือ่ ฝึกเสร็จ ชารีฟก็เริม่ ปฏิบตั กิ ารในฝ่ายกองกำลังในระดับ RKK เคลื่อนไหวในพื้นที่ในปัตตานี มะแอ: “แผ่นดินนี้เป็นดารุลฮัรบี” 37 มะแอ (นามสมมุติ) เรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามแห่งหนึ่งใน อ.เมือง จ.ยะลา ซึ่งมีนักเรียนหลายพันคน ในช่วงที่เขาเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีอุสตาซมาเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ให้ฟังหลายครั้งว่า ดินแดนแถบนี้เดิมเป็นของคนมลายูมุสลิม แต่ว่าถูกรัฐสยามเข้ามายึดครอง “อุสตาซสอนว่าเป็น วาญิบ (wayib – ข้อบังคับ) ที่จะต้องต่อสู้ เพราะแผ่นดินนี้เป็น ดารุลฮัรบี” มะแอกล่าว ตามหลักการของศาสนาอิสลาม คำว่า ดารุลฮัรบี (Dar-ulHarb) หมายถึง “ดินแดนแห่งสงคราม” (Abode of War) ซึง่ เป็นพืน้ ที่ ที่ไม่ได้ปกครองโดยคนมุสลิม และไม่ได้ใช้ชารีอะห์เป็นกฎหมายหลัก ในการปกครอง คำถามที่ว่าดินแดนปาตานีนี้เป็นดารุลฮัรบีหรือไม่นั้น ยังเป็นประเด็นที่ผู้รู้ทางศาสนาในพื้นที่มีความเห็นที่ไม่ตรงกัน สิ่งที่มะแอได้รับการบอกเล่าคล้ายคลึงกับประสบการณ์ของอีก หลาย ๆ คนทีเ่ ข้าไปสูข่ บวนการ เรือ่ งเล่านีเ้ ริม่ ต้นจากว่าแผ่นดินปาตานีน้ี เคยเป็นอาณาจักรอิสลาม หรือเป็น ดารุลอิสลาม (Dar-ul-Islam) ต่อ มาถูกสยามยึดครองจึงได้กลายเป็น ดารุลฮัรบี ฉะนั้นการญิฮาดเพื่อ กอบกู้เอกราชจึงเป็นฟัรดูอีน สำหรับคนมุสลิมทุกคน ว่ากันว่าอูลามา (ผู้รู้ทางศาสนา) ของขบวนการได้ประกาศฟัตวา (fatwa - คำตัดสินใน กระบวนการเข้าสู่การต่อสู้เพื่อ Merdeka


.....

ทางหลักการศาสนาอิสลาม) ให้มกี ารญิฮาดเพือ่ เอกราชของปาตานี แต่ ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าใครมีบทบาทในการออกฟัตวานี้ คนที่อยู่ใน ระดับปฏิบัติการรู้แต่เพียงว่าเป็น ออแฆตูวอ (หรือเขียนแบบมาเลย์ กลางว่า orang tua) ซึ่งหมายถึงผู้อาวุโสของขบวนการ มะแอเล่าว่าในตอนแรก ๆ ก็ยังไม่ทราบว่าขบวนการที่ตนเอง 38 ตัดสินใจเข้าไปร่วมนีช้ อ่ื อะไร เขารูแ้ ต่วา่ เพือ่ นร่วมอุดมการณ์ของเขาคือ “นักรบฟาตอนี” เมื่อเขาจบการฝึกเปอมูดอแล้วก็ได้รับการบอกว่า ขบวนการที่เขาเข้าร่วมนี้คือ BRN – Coordinate เขาเริ่มฝึกความกล้า ในการปฏิบตั กิ ารด้วยการโปรยตะปูเรือใบ ป้ายสีบนป้ายถนน ก่อนเข้าฝึก เพื่อเป็น RKK หลักสูตร “เปอมูดอ” กระบวนการที่ชารีฟและมะแอได้ผ่านก็คล้ายกับหลาย ๆ คน เพราะขบวนการวางแผนการฝึกเยาวชนอย่างเป็นระบบ ในหนังสือ “อาร์เคเคเป็นใคร ทำไมต้องเป็น RKK” ซึง่ เขียนโดยผูท้ เ่ี คยมีบทบาท ในการฝึกเยาวชนของขบวนการ และเผยแพร่โดยกลุ่มนายทหารที่ ทำงานในภาคใต้ได้อธิบายว่าขบวนการมีคนที่ทำงาน “ฝ่ายเปอมูดอ” ซึ่งทำหน้าที่ในการหาสมาชิกใหม่โดยเฉพาะ โดยจะทำงานสองส่วน หลัก ๆ คือ กลุม่ เยาวชนในโรงเรียนและกลุม่ สมาชิกในหมูบ่ า้ น เมือ่ ผ่าน การซุมเปาะแล้วก็จะเข้ารับการฝึกตามลำดับขัน้ ทีเ่ รียกเป็นภาษามลายู ถิ่นว่า ตือกัซ ตือปอ ตารัฟ ตาแย และ วาฏอน ในชั้น ตือกัซ ซึ่งมีความหมายว่ายืนให้มั่นคง ผู้สอนจะเน้นใน เรื่องประวัติศาสตร์ “บาดแผล” โดยการเล่าถึง ความรุ่งเรืองของ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

อาณาจักรปาตานีในอดีตซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นเมืองท่าที่มีทรัพยากรที่อุดม สมบูรณ์ และพูดถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายลงหลังจากถูกสยามยึดครอง และรัฐสยามได้ดำเนินนโยบายในการ “กลืนวัฒนธรรม” ดังนั้นเอง จึงมีความจำเป็นที่คนมลายูมุสลิมจะต้องต่อสู้เพื่อนำอิสรภาพและ 39 เอกราชกลับคืนมา มีการนำเอากรอบคิดทางศาสนาเรื่องดารุลฮัรบี มาสนับสนุนการต่อสู้ โดยย้ำว่าเป็นวาญิบที่คนมุสลิมจะต้องญิฮาดกับ ผู้รุกราน ในบางกรณีมีการใช้คำว่าฟัรดูอีนแทน ในขั้นนี้จะใช้เวลา ประมาณ 4 เดือน ในชัน้ ตือปอ ซึง่ แปลว่าสร้าง เป็นช่วงของการสร้าง “นักปฏิวตั ”ิ ที่มีจิตใจต่อสู้และเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดย เชื่อมโยงการกระทำดังกล่าวกับการทำความดีตามหลักของศาสนา อิสลาม โดยจะมีการสอนเรื่องกฎบัญญัติ 10 ประการ คือ 1) ประกอบศาสนกิจ (อีบาดะห์) แด่องค์อัลเลาะห์และละเว้น อบายมุขทั้งปวง 2) ไม่เปิดเผยความลับให้กับข้าศึกศัตรู ถึงแม้ว่าจะถูกข่มขู่ คุกคาม 3) จงรักภักดีตอ่ อุดมการณ์ปฏิวตั แิ ละเชือ่ ฟังผูน้ ำของขบวนการ 4) เห็นแก่ประโยชน์ในการต่อสู้ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว 5) ต้องมอบทรัพย์สินและร่างกายให้กับงานต่อสู้ เมื่อต้องการ 6) ปฏิบตั งิ านตามความสามารถของแต่ละคนด้วยความซือ่ สัตย์ และบริสุทธิ์ใจ 7) ให้การตักเตือนและน้อมรับการตักเตือนด้วยความยินดีและ กระบวนการเข้าสู่การต่อสู้เพื่อ Merdeka


.....

จริงใจ 8) ต้องเข้ารับการอบรมและพบปะประชุมเมื่อถูกเรียกเชิญ 9) ยึดมั่นในคำพูดและคำสัญญา 10) ไม่สร้างความเสื่อมเสียให้กับขบวนการต่อสู้ จากหลักฐานเอกสารที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงค้นพบ กฎบัญญัติ 40 10 ประการนี้อาจมีการใช้คำพูดที่แตกต่างหรือเรียงลำดับข้อไม่เหมือน กัน แต่เนื้อหาใจความโดยรวมตรงกัน เอกสารด้านล่างนี้เป็นตัวอย่าง

เอกสาร กอ.รมน.

ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

คำแปล วินัย 10 ประการ (ดิสปลิน ซือปูโละห์) 1. ประกอบศาสนากิจ (อีบาดะห์) เพื่ออัลเลาะห์ และละเว้น อบายมุขทั้งปวง 2. จงรักภักดีและเชื่อฟังผู้นำขององค์กร 3. ผลประโยชน์ของส่วนรวมย่อมเหนือกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว 4. ยึดมั่นในคำพูดและคำมั่นสัญญา 5. ไม่เปิดเผยความลับให้กับศัตรูแม้ว่าจะถูกข่มขู่คุกคาม 6. ไม่สร้างความเสื่อมเสียต่อการขบวนการต่อสู้ 7. ปฏิบัติงานตามความสามารถ / ศักยภาพของแต่ละคน 8. เข้าร่วมพบปะประชุม หรือ อบรมที่จัดให้มีขึ้น 9. ให้คำตักเตือน / วิจารณ์ และน้อมรับการตักเตือน / วิจารณ์ดว้ ย ความเต็มใจและบริสุทธิ์ใจ 10. ยอมอุทิศร่างกายและทรัพย์สินให้กับการต่อสู้เมื่อถึงวาระ จำเป็น

ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารยึดได้จากเหตุการณ์ทหารพรานปะทะกับ ขบวนการที่ค่ายฝึกบนเทือกเขาตะเว บ้านกูตง ม.3 ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550 การปะทะกันทำให้ ฝ่ายขบวนการเสียชีวิต 5 ศพ กระบวนการเข้าสู่การต่อสู้เพื่อ Merdeka

41


.....

ต่อจากนั้น ในชั้น ตือปอ จะมีการฝึกความแข็งแรงของร่างกาย เช่น การวิง่ วิดพืน้ ซิทอัพ กระโดดตบ ปัน่ จักรยาน ขีม่ า้ ฯลฯ โดยการฝึก มักจะทำในเวลากลางคืน และจะมีการย้ำในเรือ่ งการญิฮาดเพือ่ เอกราช ในขั้นนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ขั้นต่อไป คือ ตารัฟ ซึ่งแปลว่าขึ้นชั้น จะมีการเน้นในเรื่อง 42 อัตลักษณ์มลายู เช่น การแต่งกายด้วยเสือ้ บงาลอ (เสือ้ คอกลม แขนยาว เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชาย) ผ้าโสร่งสก๊อตดำ การสอนในเรื่องนี้ เพื่อต้องการสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นมลายู สำหรับขั้น ตาแย (แหลมคม) จะเป็นการทดสอบความแข็งแรง ของร่ า งกาย โดยจะมี ก ารออกกำลั ง กายในท่ า ที่ ไ ด้ ส อนไปแล้ ว แต่จะมีระยะเวลาที่นานขึ้น มีการทดสอบความกล้าหาญด้วยการ ให้ไปพ่นสีที่ป้ายถนน ทำลายหลักกิโลเมตร หรือโปรยใบปลิว สุดท้ายคือขั้น วาฏอน มีความหมายว่าแผ่นดินของเรา จะเป็น การจับคู่ฝึก โดยเน้นให้สมาชิกใหม่เกิดความมุ่งมั่น มีวินัยและความ รับผิดชอบ โดยจะมีการฝึกออกกำลังกายเป็นคู่ ฝึกศิลปะการป้องกันตัว การปฐมพยาบาล เช่น การฉีดยา ให้นำ้ เกลือ ห้ามเลือด และดูหนังสงคราม และการต่อสู้ในประเทศอื่น ๆ ขั้นตอนในการฝึกเปอมูดอทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 2 ปี หลัง จากนั้นก็จะมีคณะกรรมการคัดเลือกเปอมูดอ โดยจะให้เลือก 3 สาย คือ ฝ่ายทหาร (MAY) ฝ่ายมวลชน (MASA) และ ฝ่ายเปอมูดอ ซึ่งทำ หน้าที่ในการหาและฝึกสมาชิกใหม่ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

การฝึก RKK หลังจากจบหลักสูตรเปอมูดอแล้ว คนที่เลือกฝ่าย MAY จะต้อง เข้ารับการฝึกเพิ่มเติมอีก 2 ขั้นที่เรียกเป็นรหัสว่า “ตาดีกา” และ “ปอเนาะ” โดยการฝึกจะเน้นเรื่องการรบแบบกองโจรและการใช้อาวุธ หน่วยปฏิบัติการที่สำคัญของ MAY คือ ชุดปฏิบัติการในระดับหมู่บ้าน 43 ที่เรียกว่า RKK ซึ่งเป็นตัวย่อของคำภาษาอินโดนีเซียว่า Runda Kumpulan Kecil แปลว่า “ชุดลาดตระเวนขนาดเล็ก” RKK หนึ่งชุด ประกอบด้วยสมาชิก 6 คน คือ หัวหน้าชุด-รองหัวหน้าชุด-คนนำทางประสานงานและสื่อสาร-รักษาพยาบาล-ยุทธวิธี หนังสือ “อาร์เคเคเป็นใคร ทำไมต้องเป็น RKK” ได้อธิบายว่า การฝึกในขัน้ “ตาดีกา” จะเน้นในเรือ่ งของการวางหน่วยและป้องกันตัว การหลบหนีและการใช้อาวุธในการต่อสู้ ในขั้น “ปอเนาะ” จะสอน เรื่องการรบแบบกองโจร ขบวนการซึ่งมีกำลังน้อยกว่ากองทัพของรัฐ จำเป็นต้องเลือกใช้ยุทธวิธีการต่อสู้แบบนี้ RKK อาศัยมวลชนเป็นฐาน สนับสนุนและเคลื่อนไหวในภูมิประเทศที่ตนเองมีความคุ้นเคย ในการ ต่อสู้จะแบ่งเป็นหน่วยขนาดเล็กเพื่อให้ง่ายต่อการพรางตัวและปฏิบัติ การได้อย่างรวดเร็ว การรบจะไม่รบแบบแตกหัก หากคู่ต่อสู้เข้มแข็ง ต้องถอยและเลือกเข้าโจมตีขณะคูต่ อ่ สูอ้ อ่ นแอ ต้องเก็บความลับให้ดที สี่ ดุ และการรบต้องสร้างความได้เปรียบคู่ต่อสู้ควบคู่ไปด้วย เช่น พรางตัว ด้วยการใส่ชุดทหารในการปฏิบัติการ ในการฝึกขั้นตาดีกานั้นจะใช้เวลา 1 ปีซึ่งไม่ได้เป็นการฝึกแบบ เข้มข้นทุกวัน แต่ว่าการฝึกในขั้นปอเนาะนั้นจะเป็นหลักสูตรเข้มข้น ระยะเวลา 1 เดือน การจบหลักสูตร RKK นัน้ จะต้องมีการปฏิบตั กิ ารจริง กระบวนการเข้าสู่การต่อสู้เพื่อ Merdeka


.....

1 ครั้ ง RKK ที่ มี ฝี มื อ จะได้ รั บ การคั ด เลื อ กให้ ไ ปฝึ ก ขั้ น สู ง ต่ อ ไป โดยจะแบ่งเป็นสองส่วน หนึ่ง “ฮารีเมา” (harimau) เป็นคำในภาษา มลายูแปลว่า “เสือ” ขบวนการใช้ในการเรียก “หน่วยจู่โจม” ซึ่งเป็น กองกำลังที่มีฝีมือทางการทหารระดับสูง และมีความชำนาญในพื้นที่ 44 ป่าเขา และ สอง “ลือตุปัน” (letupan) ซึ่งแปลว่า “ระเบิด” ในภาษา มลายูเป็นคำที่ใช้เรียกฝ่ายที่ทำหน้าที่ผลิตระเบิด สมาชิกที่ผ่านการฝึกแล้วก็จะได้ถูกมอบหมายให้เริ่มปฏิบัติการ ในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีการวางโครงสร้างในสองปีกหลัก ๆ คือ MAY และ MASA ในตอนต่อไปจะได้เล่าถึงการปฏิบัติการของเหล่านักรบอิสลาม ที่เรียกตัวเองว่า ญูแว (juwae) เหล่านี้

หมายเหตุ: รายงานชิน้ นีเ้ ผยแพร่ครัง้ แรกที่ www.deepsouthwatch.org/dsj/3690 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


-3-

โครงสร้างขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี

ขบวนการเอกราชปาตานีเคลือ่ นไหวใต้ดนิ อย่างปิดลับ แม้กระทัง่ คนทีเ่ ป็นสมาชิกระดับปฏิบตั กิ ารเองก็ไม่รถู้ งึ โครงสร้างทัง้ หมด จากการ สัมภาษณ์อดีตสมาชิกหลายคน ทุกคนให้ข้อมูลตรงกันว่าพวกเขาได้รับ รู้เท่าที่จำเป็นในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น เช่น หากเป็นสมาชิก ในระดับ RKK ก็จะรู้จักเฉพาะคนที่เป็นสมาชิกในหน่วยของตนเอง คน ที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นก็จะมองเห็นภาพที่กว้างขึ้นเรื่อย ๆ สมาชิกระดับปฏิบตั กิ ารบางคนได้รบั การบอกกล่าวหลังจบการ ฝึกเปอมูดอว่า ขบวนการทีพ่ วกเขาเข้าร่วม คือ BRN – Coordinate แต่ บางคนก็ไม่เคยรูเ้ ลยว่าองค์กรทีต่ นเข้าร่วมต่อสูน้ นั้ ชือ่ อะไร แต่ดเู หมือน สิง่ นัน้ จะไม่สำคัญนักเพราะแนวทางการต่อสูเ้ ป็นเรือ่ งทีส่ ำคัญกว่า ภารกิจ นี้ถูกวางให้เป็นหน้าที่ต่อศาสนาที่พวกเขาไม่อาจปฏิเสธได้ หากตายใน หนทางของการญิฮาดก็จะเป็น “ชาฮีด” (การตายในหนทางของพระเจ้า)


.....

พวกเขาจะได้ไปพบกับอัลลอฮ์ในสรวงสวรรค์ หากชนะพวกเขาก็จะได้ เมอร์เดกอ (เอกราช) และเป็นอิสระจากการปกครองของพวกกาฟิร (คน นอกศาสนา) จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากฝ่ายความมั่นคง 46 แหล่งข่าวใกล้ชิดกับกลุ่มขบวนการ และอดีตสมาชิกของขบวนการ มี หลักฐานทีน่ า่ เชือ่ ได้วา่ BRN - Coordinate มี “สภาองค์กรนำ” ทีเ่ รียก ว่า DPP ซึ่งย่อมาจากคำว่า Dewan Pimpinan Parti ในภาษามลายู ข้อมูลของหน่วยงานความมั่นคงระบุว่า DPP เป็นคณะกรรมการใหญ่ที่ จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญของ BRN ซึ่งร่างขึ้นใน พ.ศ. 2518 ก่อนที่ BRN จะแตกออกเป็น 3 กลุม่ ในช่วงทศวรรษ 2520 ต่อมาใน พ.ศ. 2546 ทหาร ได้ค้นพบเอกสารที่เขียนถึงโครงสร้างของ DPP พร้อม ๆ กับการค้นพบ เอกสาร “บันได 7 ขั้น” ที่โต๊ะทำงานของนายมะแซ อุเซ็ง ดังนี้

ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

..... 47

เอกสาร กอ.รมน.

เอกสารทีพ่ บจากโต๊ะทำงานของนายมะแซระบุวา่ DPP แบ่งงาน ออกเป็น 7 ฝ่าย ประกอบด้วย การต่างประเทศ ทหาร เยาวชน เศรษฐกิจ ปฏิบัติการจิตวิทยา/ประชาสัมพันธ์ อูลามา และคณะกรรมการเขต (ปกครอง) คณะกรรมการ DPP ในฝ่ายเยาวชน เศรษฐกิจ ปฏิบัติการ จิตวิทยา/ประชาสัมพันธ์ อูลามา จะทำงานอยู่ในสายของ MASA ด้วย งานด้ า นต่ า งประเทศดู เ หมื อ นจะเป็ น งานเดี ย วที่ จ ำกั ด อยู่ กั บ คณะกรรมการ DPP โครงสร้างการบังคับบัญชาเหล่านี้มีการปรับ เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ในระดับปฏิบัติการนั้น จะมีการแบ่งสายบังคับ บัญชาหลัก ๆ สองปีก คือ ปีกการทหาร (MAY) กับ ปีกการเมือง (MASA) หรือที่ในแผนผัง นี้เรียกว่า “คณะกรรมการเขต” โดยในฐาน โครงสร้างขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี


.....

ข้อมูลของหน่วยงานความ มัน่ คง โครงสร้างเหล่านีม้ กี ารปรับเปลีย่ นไป ในแต่ละช่วงเวลา มีการเปลี่ยนชื่อ และปรับลดโครงสร้างในบางช่วงชั้น แผนผังด้านล่างนี้เป็น โครงสร้างที่เชื่อว่าใกล้เคียงกับการปฏิบัติการใน ปัจจุบันมากที่สุด

48

หนังสือเรือ่ ง “สงครามประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ซึ่งเขียนโดยอดีตสมาชิกขบวนการ และจัดพิมพ์โดยนายทหารที่ทำงาน ในภาคใต้ระบุว่าในส่วนของปีกการเมือง มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 กัส ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

คือ กัสปัตตานี กัสยะลา และกัสนราธิวาส โดยกัสปัตตานีนนั้ จะรวมเอา พื้นที่ในอำเภอจะนะ, เทพา, นาทวี และสะบ้าย้อย ในจังหวัดสงขลาไว้ ด้วย ในโครงสร้างกัสเดิมจะมีระดับ “วิลายะ” ก่อนไปถึง “สะกอม” แต่ เชือ่ ว่าปัจจุบนั ได้ยบุ ชัน้ นีไ้ ป โดยกัสต่อตรงถึงระดับสะกอมเลย ซึง่ แต่ละ สะกอมจะครอบคลุมพืน้ ทีป่ ระมาณ 2 – 3 อำเภอ เช่น สะกอม 1 ของกัส 49 ปัตตานี ประกอบด้วย อ.ไม้แก่น, สายบุรี และกะพ้อ ในกัสปัตตานีมี 5 สะกอม กัสนราธิวาส 6 สะกอม และกัสยะลา 3 สะกอม ในแต่ละสะกอมมีการแบ่งพื้นที่ย่อยเป็น “คอมมิส” ซึ่งมีขนาด ประมาณ 1 อำเภอหรือเล็กกว่า ในแต่ละคอมมิสก็จะมีหน่วยระดับ ล่ า งสุ ด ปฏิ บั ติ ก ารในระดั บ หมู่ บ้ า นซึ่ ง เรี ย กว่ า “อาเจาะ” (AJAK) ซึง่ ย่อมาจาก คำว่า Ahli Jawatan Kampung ในภาษามลายู ซึง่ แปลว่า “คณะกรรมการหมู่บ้าน” ในหนึ่งอาเจาะประกอบด้วย 6 ฝ่าย คือ ฝ่ายเปอ-มูดอ ปกครอง เยาวชน เศรษฐกิจ สตรี และฝ่ายสนับสนุน (ตุรงแง) และ มีทีมทำงานไม่ต่ำกว่า 12 คน อาเจาะเป็นหน่วยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดต่อการปฏิบัติงานทาง การเมืองของขบวนการ หน่วยนี้ทำหน้าที่เสมือนกับ “ป่า” ให้ “เสือ” อย่าง RKK ปฏิบตั กิ ารได้อย่างมีประสิทธิภาพ RKK อาศัยความช่วยเหลือ และการประสานงานจากอาเจาะซึ่งจะทำหน้าที่หาที่พักอาศัย อาหาร การกิน การรายงานความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ หาที่หลบซ่อน การซ่อมอาวุธ รักษาพยาบาล และติดต่อสื่อสารกับ RKK ข้อมูลในหนังสือ “องค์กรปฏิวตั ปิ ตั ตานีคอื ใคร” ซึง่ เป็นหนังสือ ในชุดเดียวกันทีเ่ ขียนโดยอดีตสมาชิกของขบวนการระบุวา่ ในทางทฤษฏี โครงสร้างการจัดกำลังของฝ่ายทหาร หน่วยที่เล็กที่สุดคือ RKK ซึ่ง RKK โครงสร้างขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี


.....

2 ชุดจะรวมเป็น 1 regu (12 คน) 3 regu รวมเป็น 1 platong (36 คน) 3 platong เป็น 1 kompi (108 คน) และ 3 kompi เป็น 1 batalion (324 คน) ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเชื่อว่าในกัสนราธิวาสเป็น พื้นที่ที่มีกองกำลังเข้มแข็งที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกัสปัตตานีและ 50 ยะลา โดยเชือ่ ว่ามีกองกำลัง 4 กองพัน ในขณะทีใ่ นกัสปัตตานีและยะลา มีกสั ละ 2 กองพัน โดยคนทีค่ มุ กองกำลังในแต่ละกัสเรียกว่า penglima (เป็นภาษามลายูแปลว่า “ผู้บังคับการ”) ซึ่งจะดูแลหน่วย harimau (เสือภูเขา) และ letupan (ระเบิด) ด้วย โครงสร้างการจัดตั้งนี้ ไม่ได้สมบูรณ์ตามทฤษฏีข้างต้นในทุก พื้นที่และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฝ่ายขบวนการเองก็ถูก เจ้าหน้าที่จับกุมและดำเนินคดีอยู่อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็มี การสร้างคนใหม่ขนึ้ มาเพิม่ เติมและทดแทน คนทีเ่ ป็นอดีตสมาชิกระดับ นำของฝ่าย MASA เชือ่ ว่าในช่วงทีก่ ารปฏิบตั กิ ารเข้มแข็งทีส่ ดุ ขบวนการ น่าจะมีอาเจาะอยู่ประมาณ 700 – 800 หน่วยจากจำนวนหมู่บ้าน ในพื้นที่ชายแดนใต้ประมาณเกือบสองพันหมู่บ้าน ส่วนการประเมิน สมาชิกในปีกการทหาร เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเชื่อว่ามีประมาณ 3,000 คน นอกจากนี้ สมาชิ ก ฝ่ า ยการเมื อ งระดั บ กลางได้ ใ ห้ ข้อ มู ล ว่ า ขบวนการแบ่งแนวรบที่สำคัญเป็น 3 ด้าน คือ หนึ่ง การสร้างมวลชน เพือ่ การต่อสู้ สอง การสร้างกองกำลัง และสาม การเคลือ่ นไหวด้านการ ต่างประเทศ เขาชี้ว่า BRN – Coordinate นั้นไม่ค่อยสันทัดในเรื่อง การต่างประเทศ ได้มีการตกลงกันให้กลุ่มพูโลไปช่วยเดินงานด้านการ ต่างประเทศ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ส่วนแนวทางของการต่อสู้นั้น เขาบอกว่า BRN- Coordinate มีหลักสำคัญ 5 ข้อ คือ 1) ไม่ compromise (ประนีประนอม) 2) ไม่ยอมรับ assimilation (การผสมกลมกลืน) 3) ไม่เอา autonomy (การปกครองตนเอง) 4) ไม่ ต่ อ สู้ ด้ ว ยหนทางรั ฐ สภา และ 5) ไม่รับความคิดอื่นใด นอกจากความคิดของขบวนการ 51 จะเห็ น ว่ า ขบวนการได้ ส ร้ า งฐานความคิ ด และเครื อ ข่ า ยมา ยาวนาน การปะทุขึ้นของความรุนแรงใน พ.ศ. 2547 จึงเป็นเหมือน การประกาศสงครามเต็มขั้น หากภาครัฐหวังจะเห็นคนในขบวนการ เลิกต่อสูแ้ ล้วกลับมาเป็นพลเมืองทีด่ ขี องรัฐไทย โดยไม่พร้อมทีจ่ ะเปลีย่ น แปลงใด ๆ ในเชิงโครงสร้างการเมืองการปกครองเลย ก็คงยากที่เรา จะเห็ น สั น ติ ภ าพเกิ ด ขึ้ น ในดิ น แดนปลายสุ ด ของด้ า มขวานซึ่ ง เคย เป็นอาณาจักรปาตานีแห่งนี้ในอนาคตอันใกล้ ดังที่ผู้อาวุโสคนหนึ่ง ที่ใกล้ชิดกับขบวนการได้กล่าวไว้ว่า “จะให้พวกเขาสะบัดโสร่งเดิน กลับบ้านไปมือเปล่าก็คงจะยาก”

หมายเหตุ: รายงานชิน้ นีเ้ ผยแพร่ครัง้ แรกที่ www.deepsouthwatch.org/dsj/3708 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 โครงสร้างขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี



-4-

สนทนากับหัวหน้ากอมปีและมือระเบิด

ด้วยรูปแบบการต่อสู้แบบลับลวงพรางของขบวนการเคลื่อน ไหวเพื่อเอกราชปาตานีในปัจจุบัน ทำให้ไม่ค่อยมีใครมีโอกาสเห็นหน้า ค่าตาหรือพูดคุยกับคนทีอ่ ยูใ่ นขบวนการอย่างเปิดเผยมากนัก DSJ ได้มี โอกาสไปพูดคุยกับพวกเขา ในตอนนีเ้ ราจะนำ “คนใน” ทีม่ บี ทบาทสำคัญ ในการปฏิบัติการทางการทหารมาเล่าเรื่องราวชีวิต และความคิดของ พวกเขา เรื่องราวของอัมรัน: หัวหน้ากอมปี อัมรัน (นามสมมุต)ิ ถูกชักชวนเข้าสูข่ บวนการในขณะทีเ่ ขาเรียน ศาสนาในระดับชั้นซานาวีย์อยู่ท่ีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม แห่งหนึ่งใน จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นระดับสูงสุดใน 3 ระดับขั้นของการเรียน


.....

ศาสนาอิสลาม ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรปาตานีเป็นประเด็นสำคัญ ที่ปลุกเร้าให้เขาเข้าร่วมขบวนการ “ญิฮาด” เพื่อกอบกู้เอกราช เมื่ออัมรันเรียนจบ เขาไปเป็นทหารเกณฑ์ 1 ปี พอกลับมาก็ได้ รับคัดเลือกให้ไปฝึกในสายเมย์ (MAY – สายทหาร) เขาคิดว่าประสบการณ์ 54 จากการเป็นทหารเกณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาได้รับเลือกเข้าไป ฝึกด้านการรบ การฝึกใช้เวลาประมาณ 1 เดือนทัง้ ทฤษฏีและการปฏิบตั ิ จากนั้นเขาก็เริ่มต้นปฏิบัติการเป็นหัวหน้าระดับรือกู (regu – หมู่) ใน ช่วงต้นปี 2547 โดยมีหน้าที่ในการดูแลสั่งการอาร์เคเค 2 ชุด อัมรันเล่าว่าเขาได้รับมอบหมายให้ไปสำรวจดูเสาสัญญาณ โทรศัพท์ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ปล้นปืนในวันที่ 4 มกราคม 2547 เพราะขบวนการวางแผนที่จะทำลายเสาโทรศัพท์ ในวันปฏิบัติการเขา ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตัดต้นไม้ขวางถนนเพื่อป้องกันการติดตาม ของเจ้าหน้าที่ “เขาอยากจะทำเพือ่ ยกระดับขบวนการ” อัมรันกล่าวถึงสาเหตุ ของการปล้นปืนครัง้ ใหญ่ทที่ ำให้ทหารเสียชีวติ 4 นายและอาวุธถูกปล้น ไปจากค่ายค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ค่ายปิเหล็ง) ใน อ. เจาะไอร้อง จ.นราธิวาสกว่า 400 กระบอก ในฐานะของหัวหน้ารือกู อัมรันรับหน้าที่ประสานงานระหว่าง อาร์เคเคซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดกับระดับพลาตง (platong – หมวด) ซึ่งอยู่เหนือเขาขึ้นไประดับหนึ่ง เขาบอกว่าความรับรู้ของเขาต่อผู้ที่ เกี่ยวข้องในการเคลื่อนไหวจำกัดอยู่เพียงแค่นั้น เขาจะคอยสอดส่อง ดูการเคลือ่ นไหวของเจ้าหน้าทีท่ หาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และดูสถานที่ ที่เป็นฐานเศรษฐกิจ ธนาคาร แหล่งอบายมุข เช่น สถานบันเทิง ซึ่งเป็น ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

เป้าหมายการโจมตีหลักอย่างหนึ่งของขบวนการ “ผมไม่เคยปฏิบตั กิ ารจริง ผมได้เลือ่ นขัน้ ขึน้ ไปเรือ่ ย ๆ เพราะคน ที่อยู่เหนือกว่าตาย” อัมรันกล่าว เขาได้ปรับตำแหน่งสูงขึ้นจนสุดท้าย ได้เป็นหัวหน้ากอมปี (kompi – กองร้อย) ก่อนที่เขาจะถูกจับกุมเมื่อ ห้าปีที่แล้ว (ปี 2550) 55 ชายหนุ่มวัยกลางคนรูปร่างบึกบึนผิวคล้ำผู้นี้ประกอบอาชีพทำ สวนยางเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว นอกจากภาระส่วนตัวแล้ว เขายังมีพันธกิจที่จะต้องบริจาคเงินวันละ 2 บาทให้กับขบวนการอีก ด้วย “ทุกฝ่ายจ่ายวันละบาท ยกเว้นเมย์จ่าย 2 บาท” อัมรันกล่าว เขายืนยันว่าขบวนการมีกฎอย่างเคร่งครัด และไม่อนุญาตให้ สมาชิกอาร์เคเคตัดสินใจในการก่อเหตุเอง จะต้องมีการเสนอเรื่องขึ้น ไปยังระดับพลาตง หรือสองขั้นเหนือขึ้นไป ถ้าหากว่ามีการละเมิดก็จะ ถูกลงโทษด้วยการให้ “ปอซอ” (ถือศีลอด) หรืออาจจะให้งดปฏิบัติการ ชั่วคราว ขบวนการระมัดระวังที่จะไม่ให้นำอาวุธไปใช้ในการล้างแค้น เรื่องส่วนตัว ซึ่งเขาบอกว่ามีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นบ้าง แต่ไม่มากนัก สำหรั บ แหล่งที่มาของอาวุธและกระสุ น ที่ ใช้ อั ม รั น บอกว่ า ส่วนใหญ่ได้มาจากการลอบยิงและปล้นมา ไม่ค่อยมีการซื้อมากนัก สำหรับปืนพกสัน้ มีการซือ้ จากเจ้าหน้าทีห่ รือคนทีเ่ ป็นญาติเจ้าหน้าทีบ่ า้ ง แต่ก็เป็นส่วนน้อย แม้หลายคนไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา แต่ ก ารโจมตี เจ้ า หน้ า ที่ รั ฐ ที่ ถื อ อาวุ ธ นั้ น อาจเป็ น เรื่ อ งที่ ห ลายคน สามารถเข้าใจกระทัง่ ยอมรับได้ มากกว่าการสังหารเหยือ่ คนพุทธ ซึง่ เป็น สนทนากับหัวหน้ากอมปีและมือระเบิด


.....

ผู้บริสุทธิ์ อัมรันตอบประเด็นนี้ว่าอูลามาของขบวนการซึ่งเขาเองก็ไม่ ทราบว่าเป็นใครได้ฟัตวา (คำตัดสินทางศาสนาอิสลาม) ว่าคนพุทธหรือ คนจีนที่อาศัยอยู่ในดารุลฮัรบีนั้น “ฆ่าได้” พวกเขาเป็นกาฟิรฮัรบี (ka56 fir harbi) หรือ ผู้ไม่ศรัทธาในพระเจ้าซึ่งอาศัยอยู่ใน “ดินแดนแห่ง สงคราม” พวกเขาไม่ใช่ กาฟิรซิมมี (kafir dhimmi) ซึ่งหมายถึง ผู้ไม่ ศรัทธาในพระเจ้าที่อาศัยที่อยู่ในดารุลอิสลาม กาฟิรซิมมีนั้นจะได้รับ การคุ้มครองสิทธิในการอาศัยอยู่ในดารุลอิสลาม ส่วนการเผาบ้านเรือนคนไทยพุทธนั้น อัมรันอธิบายว่าอูลามา ได้กล่าวว่า “ท่านอุมรั (ซึง่ เป็นผูป้ กครองคนทีส่ ามหลังจากทีท่ า่ นศาสดา นบีมฮู มั หมัดเสียชีวติ ) ได้กล่าวไว้วา่ บ้านใดไม่ไปละหมาด เรายังเผาบ้าน เขาได้ ฉะนั้นคนที่มายึดครองแผ่นดินของเรา ทำไมเราจึงจะเผาบ้าน เขาไม่ได้” อัมรันอธิบายว่าเหตุผลในการโจมตีคนไทยพุทธก็เพื่อต้องการ ให้เขาหวาดกลัวและย้ายออกไปจากดินแดนปาตานี ส่วนมูนาฟิก (คนมุสลิมที่กลับกลอก) ซึ่งมักใช้เรียกคนมุสลิมที่ ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือรัฐนั้น อัมรันอธิบายว่าได้มีการออกหลัก การกว้าง ๆ ว่า “ฆ่าได้” แต่ว่าการตัดสินว่าใครเป็นมูนาฟิกหรือไม่นั้น จะต้องมีการเสนอไปยังระดับพลาตง หรือกอมปีเพือ่ พิจารณา ทัง้ นีเ้ พือ่ ป้องกันไม่ให้มีการสังหารกันอย่างไร้กฎเกณฑ์ แต่ว่าอัมรันก็ชี้ว่ามีบาง กรณีที่เป็นการล้างแค้นส่วนตัวเช่นเดียวกัน โดยคนในขบวนการไปชี้ว่า คนที่ไม่ถูกกับตนเป็นมูนาฟิกเพื่อให้ขบวนการสั่งเก็บ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

เรื่องราวของสุไลมาน : มือระเบิด

สุไลมาน (นามสมมุติ) เข้าขบวนการตั้งแต่เขายังเป็นวัยรุ่นใน ช่วง พ.ศ. 2540 ช่วงนั้นเขาอายุ 16 ปีเพิ่งเรียนจบมัธยมปลายจาก โรงเรียนของรัฐแห่งหนึ่ง เขาวางแผนว่าจะมาเรียนด้านนิติศาสตร์ 57 ทีม่ หาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ แต่ชวี ติ ของเขาต้องหันเหไป หลังเลือกทีจ่ ะ เดินเข้าสู่เส้นทางการต่อสู้ เขาไม่ได้มีโอกาสมาเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาในเมืองหลวง “การคุยเรือ่ งญิฮาดเป็นเรือ่ งธรรมดา ในสังคมมลายูมกี ารปลุกจิต สำนึกให้ต่อต้านรัฐสยามอยู่แล้ว” สุไลมานเล่าถึงบรรยากาศในสังคม ในช่วงที่เขาตัดสินใจเข้าขบวนการ เขาเล่าถึงเพลงกล่อมเด็กทีม่ กี ารร้องกันมาหลายช่วงสมัยโดยไม่ ทราบที่มา ท่อนหนึ่งที่เขาจดจำได้ คือ“นอนเถอะ ตื่นขึ้นมาเราจะไปสู้ กับซีแย (สยาม)” “ในพื้นที่เป็นสังคมที่ปิดในสมัยนั้น ผมก็มีความรู้สึกแอนตี้ (ต่อ ต้าน) คนที่รับราชการ มันเป็นสภาวะของสังคม” สุไลมานกล่าว ท่ามกลางบรรยากาศเช่นนั้นทำให้เขาไม่ลังเลที่จะตอบตกลง ต่อคำชวนของอุสตาซโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามคนหนึ่งที่ ขอให้เขาเข้าร่วมขบวนการ เขาเล่าว่าอุสตาซคนนั้นมาชวนคุยเรื่องชาติ มาตุภมู ิ ความอยุตธิ รรมในการบริหารจัดการทรัพยากร และการปกครอง “ในสมัยนั้นชาวบ้านไปอำเภอก็ไม่ได้รับการต้อนรับดูแล แต่ถ้า แต่งตัวดี ๆ ใส่เสือ้ เชิต้ กางเกงสแล็คก็จะได้รบั การต้อนรับ ส่วนชาวบ้าน ก็นั่งรอไปก่อน” สุไลมานกล่าว สนทนากับหัวหน้ากอมปีและมือระเบิด


.....

อุสตาซบอกเขาว่าพื้นที่ในปัตตานี ยะลาและนราธิวาสนั้นเป็น ดารุลฮัรบี เขาบอกว่าในใจตอนนั้นก็ “รู้สึกฮึกเหิม พร้อมที่จะตายเพื่อ ศาสนาและมาตุภูมิ” เขาเริม่ ไปฝึกด้านการทหารเพือ่ เป็นอาร์เคเคในช่วงปี 2546 – 47 ั การอบรมในเรือ่ งการฉีดยา อาวุธปืน และได้เรียน 58 ในช่วงการฝึก เขาได้รบ รู้ถึงอุปกรณ์ประกอบระเบิดต่าง ๆ เช่น ฝักแค TNT ปุ๋ยยูเรีย แต่ไม่ได้มี การทำจริง “พอฝึกเสร็จ เขาก็ให้ดอู าวุธจริง แต่บอกว่าเขาไม่มใี ห้ ต้องหาเอง จากเจ้าหน้าที่” สุไลมานเล่าย้อนความหลัง เขาบอกว่าเหตุการณ์ปล้น ปืนค่ายปิเหล็งทำให้เขามั่นใจมากขึ้นว่า “ขบวนการมีจริง” หลังจากจบหลักสูตรและปฏิบัติการในฐานะอาร์เคเคอยู่พัก หนึง่ เขาก็ถกู ส่งไปอยูห่ น่วยเลตุปนั (letupan - ระเบิด) เขาเริม่ ต้นด้วย การเป็นผูต้ ดิ ตามมือระเบิดฝีมอื กล้าคนหนึง่ โดยจะทำงานในลักษณะเป็น “บัดดี้” (เป็นคู่) หลักการของขบวนการคือจะต้องไม่แหวกแนว ให้ทำ ตามทฤษฎีอย่างเคร่งครัด สุไลมานบอกว่าการทำระเบิดนั้นจริง ๆ แล้ว เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอยู่แล้ว “เดิมเราเคยระเบิดปลา โดยใช้ TNT ไดนาไมท์ แต่วา่ การทำระเบิด มีการเอาวงจรโทรศัพท์เข้ามาเติม” สุไลมานกล่าว สุ ไ ลมานอธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม ว่ า ในกั ส นราธิ ว าสมี มื อ ระเบิ ด อยู่ ประมาณ 16 – 18 คน โดยจะขึน้ กับแต่ละกอมปี ในนราธิวาสมี 8 กอมปี โดยแต่ละกอมปีจะมีชดุ เลตุปนั หนึง่ ชุด ชุดละ 2 คน เขาทราบแต่จำนวน ชุดในพื้นที่ซึ่งตนเองเคลื่อนไหวเท่านั้น เขาไม่มีข้อมูลในพื้นที่กัสยะลา หรือกัสปัตตานี ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

แม้ว่าเจ้าหน้าที่ความมั่นคงบางคนอาจคิดว่าขบวนการจะต้อง ส่งคนไปฝึกในพื้นที่สงครามอย่างอิรักหรืออัฟกานิสถาน หรือไปฝึกกับ ชาวต่างชาติเพื่อเรียนรู้เรื่องการทำและวางระเบิด แต่สุไลมานกลับให้ ข้อมูลที่ตรงกันข้าม “มือระเบิดหาใหม่ไม่ยาก สามารถผลิตใหม่ได้ไม่เกินสองสัปดาห์ 59 พอโดนจับ ก็จะให้ลูกน้องที่ติดตามดูงานตลอดขึ้นมาทำงานแทน” สุไลมานกล่าว เขายืนยันว่าในความรับรู้ของเขาไม่มีกลุ่มญิฮาดสากล อย่างอัลเคด้า หรือเจมาห์ อิสยามิยะห์ (กลุ่มที่เคลื่อนไหวหลักอยู่ใน ประเทศอินโดนีเซียเพื่อเป้าหมายในการตั้งรัฐอิสลาม) มาช่วยเหลือใน การเคลือ่ นไหว ระบบทำงานแบบบัดดีน้ ท้ี ำให้การถ่ายทอดวิชาสามารถ ดำเนินต่อไปได้เรื่อย ๆ เมื่อมือระเบิดถูกจับกุมหรือเสียชีวิต อีกคนหนึ่ง ก็พร้อมจะขึ้นมาแทนได้ทันที และทำการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนใหม่ ที่มาเป็นคู่ของตนเองต่อไป สุไลมานอธิบายว่าการเตรียมการวางระเบิดนั้นมีการวางแผน อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มแรก ฝ่ายเมย์หรืออาร์เคเคในพื้นที่จะขอ มาว่าต้องการอะไร โดยจะบอกเป็นรหัส เช่น “ส้มตำจานหนึ่ง ขอให้ เตรี ย มของให้ ด้ ว ย” จากนั้ น ฝ่ า ยอาร์ เ คเคก็ มี ห น้ า ที่ ใ นการเตรี ย ม ภาชนะบรรจุ เช่น กล่องเหล็ก เหล็กเส้น ถังดับเพลิง ส่วนชุดเลตุปันจะ เป็นคนหาวัสดุในการทำระเบิด เช่น ปุ๋ยยูเรีย TNT ไดนาไมท์ ฝักแค โดยมือระเบิดที่เป็นหัวหน้าทีมของเขาจะเป็นคนไปสั่งของ แต่ว่าคนที่ ไปรับของจะเป็นฝ่ายตุรงแง (สนับสนุน) ในระดับอาเจาะ หลังจากนั้น ทีมเลตุปนั ก็จะต้องไปผลิตระเบิดในหมูบ่ า้ นทีม่ อี าเจาะทีเ่ ข้มแข็ง โดยจะ ประกอบระเบิดเสร็จอย่างน้อยสามวันก่อนการนำไปวาง โดยจะมีคน สนทนากับหัวหน้ากอมปีและมือระเบิด


.....

มารับของ เขาก็จะสอนวิธกี ารใช้ให้ เช่น จะต้องลากสายอย่างไร กดสวิตซ์ ตรงไหน สุไลมานชี้ว่าในการทำงาน ฝ่ายเลตุปันจะต้องพยายามพัฒนา ศักยภาพของตนเองตลอดเวลา 60 “เราคิดไปเรือ่ ย ๆ เพือ่ ทำให้ระเบิดของเรามีประสิทธิภาพ เข้าไป ดูในอินเตอร์เน็ต ใน YouTube แล้วก็ค่อย ๆ หาข้อมูลต่อไปเรื่อย ๆ” สุไลมานกล่าว เขาบอกด้วยว่าส่วนใหญ่ข้อมูลที่เข้าไปค้นในอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นภาษาอังกฤษ โดยเขาอ่านไปพร้อมเปิดพจนานุกรมภาษา อังกฤษไปด้วย คำหลาย ๆ คำในภาษาอังกฤษมีการใช้ทับศัพท์ในภาษา มลายูกลาง แม้จะมีการสะกดต่างกันนิดหน่อย แต่ก็ช่วยให้เขาเข้าใจ เนื้อหาได้ง่ายขึ้น เขาเล่าว่าในช่วงปี 2549 เป็นช่วงที่หาซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ ได้ยาก เพราะว่าทางรัฐได้ออกกฎให้มีการจดทะเบียนซิมการ์ดแบบ เติมเงินทีใ่ ช้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทกุ หมายเลข เจ้าหน้าทีค่ วาม มั่นคงก็เริ่มใช้เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์อย่างกว้างขว้าง ตอนนั้นเริ่มมี การใช้นาฬิกาแบบเข็มในการจุดชนวน แต่สุไลมานบอกว่าเขาพบว่ามี ความเสีย่ งค่อนข้างมาก เพราะระเบิดอาจทำงานได้เมือ่ รถสัน่ ทางออแฆ ตูวอ (ผูใ้ หญ่) จึงก็ให้การบ้านว่าต้องการให้คดิ ค้นวิธกี ารจุดชนวนระเบิด ด้วยวิทยุสื่อสาร ข้อมูลจากหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด กองอำนวยการรักษา ความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ระบุว่าพบการใช้วิทยุสื่อสารใน การจุดชนวนครั้งแรกในวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 ในพื้นที่ อ.ยะหา จ.ยะลา ระเบิดถูกซุกซ่อนอยู่ในรถกระบะที่จอดอยู่ริมถนน และถูกจุด ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ชนวนเมื่อรถจี๊บซึ่งมีทหารโดยสารมา 6 นายแล่นผ่าน แรงระเบิดทำให้ พ.ต.พันธ์ศกั ดิ์ ทองสุข รองผูบ้ งั คับหน่วยเฉพาะกิจยะลา 14 และ จ.ส.ต. วิชยั สาหลี เสียชีวติ มีทหารอีก 4 นายและประชาชน 1 คนได้รบั บาดเจ็บ จนถึงปัจจุบนั การใช้วทิ ยุสอ่ื สารยังคงเป็นวิธจี ดุ ชนวนหลักในการก่อเหตุ ระเบิดครั้งใหญ่ ๆ โดยเฉพาะคาร์บอมบ์ 61 ในส่วนของวัสดุประกอบระเบิด สุไลมานกล่าวว่าในช่วงแรก “ของ” จะมาจากโรงงานโม่หนิ ในพืน้ ทีเ่ ป็นหลัก แต่วา่ ช่วงหลังการควบคุม เข้มงวดมากขึ้น การหาของเหล่านี้ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศ เพื่อนบ้าน ในการกำหนดเป้าหมายนัน้ สุไลมานอธิบายว่ามี 3 เป้าหลัก คือ แหล่งโลกีย์ สัญลักษณ์ทางเศรษฐกิจ และเจ้าหน้าที่รัฐ ขบวนการได้ กำชับไม่ให้การก่อเหตุระเบิดกระทบกับคนที่ไม่เกี่ยวข้องเพราะว่าเขา คำนึงถึงภาพลักษณ์ในสายตามวลชน หากว่าเกิดความผิดพลาดก็จะถูก ให้ “ปอซอ” สำหรับเมืองท่องเทีย่ วชายแดนอย่างสุไหงโกลกซึง่ เป็นอำเภอที่ โดนวางระเบิดใหญ่ ๆ บ่อยทีส่ ดุ สุไลมานอธิบายว่า “(สุไหง) โกลกเป็นที่ ลองระเบิด เพราะเป็นพื้นที่อบายมุข ถ้าทำลายได้ก็จะได้ใจมวลชน” สุ ไ ลมานบอกว่ า ในคำอธิ บ ายของออแฆตู ว อ การโจมตี ค น ไทยพุทธนั้นทำได้ เพราะ “เขตนี้เป็นพื้นที่สู้รบ การฆ่าพวกเขาไม่ผิด” แต่เขาตัง้ ข้อสังเกตว่าการทำร้ายคนไทยพุทธนัน้ ในช่วงแรก ๆ จะทำเพือ่ เป็นการตอบโต้เจ้าหน้าที่ แต่วา่ ในช่วงหลัง ๆ กลายเป็น “เป้าหมายหลัก” ไปแล้ว นอกจากนี้ เขายังระบุว่าขบวนการพยายามที่จะเพิ่มอานุภาพ สนทนากับหัวหน้ากอมปีและมือระเบิด


.....

การทำลายล้างของระเบิดอยู่ตลอดเวลา “เขาพยายามที่จะพังตึก ช่วงหลัง ๆ เขาไม่ได้หวังผลต่อชีวิต มากนัก สังเกตว่าในช่วงหลัง ๆ จะมีสะเก็ดระเบิดน้อยลง” สุไลมาน กล่าว แต่เขาก็ชี้ว่าการหาและขนส่งวัตถุระเบิดเข้ามาในพื้นที่นั้นไม่ใช่ 62 เรื่องง่ายหากจะใช้ TNT หรือไดนาไมท์ซึ่งเป็นวัตถุระเบิดแรงสูง (high explosive) ก็ไม่สามารถที่จะหาได้ง่าย ๆ เขาบอกว่า ช่วงที่เขายัง ปฏิบัติการอยู่ ไดนาไมท์หนึ่งแท่งต้องใช้ผลิตระเบิดให้ได้ 8 ลูก หากว่า จะใช้ปุ๋ยยูเรียในการทำระเบิดซึ่งเป็นระเบิดแรงต่ำ (low explosive) ก็ จะต้องใช้ปริมาณมากซึ่งยากต่อการขนส่งโดยไม่ถูกตรวจพบ สุไลมานเล่าว่ายังมีการส่งสารจากออแฆตูวอถึงคนในระดับ ปฏิบัติการว่า แนวทางของขบวนการไม่ต้องการ “พูดคุย” กับรัฐ เป้า หมายในการต่อสู้ของพวกเขานั้นคือเอกราช (merdeka) และไม่ต้อง การเขตปกครองพิเศษ (autonomy) เขาบอกว่าออแฆตูวอเชื่อมั่นว่า แม้วา่ จะมีคนมลายูมสุ ลิมกลุม่ ทีไ่ ม่เห็นด้วยกับขบวนการ เช่น กลุม่ ดะวะห์ กลุ่มซาลาฟี แต่ว่าพวกเขาก็จะมาคุยกันขบวนการ หากได้เอกราชแล้ว และพวกเขาเชื่อมั่นว่าคนมลายูสามารถที่จะปกครองกันเองได้ สุไลมานถูกจับกุมในปี 2552 เขาบอกว่าตลอดเวลาทีเ่ ขาเคลือ่ น ไหวอยู่นั้น ไม่เคยทราบว่าขบวนการที่เขาทุ่มเทชีวิตเข้าร่วมต่อสู้นี้ ชื่อว่าอะไรเขาได้รับทราบเพียงว่าเขาเข้าร่วมต่อสู้กับ “กองทัพญิฮาด อิสลาม” แต่เมื่อออกมาแล้วและได้รับข่าวสารข้อมูลจากหลายแหล่ง ทำให้ เขาเชื่ อ ว่ า ขบวนการเคลื่ อ นไหวต่ อ สู้ เ พื่ อ เอกราชนี้ มี เ ป็ น กลุ่มก้อนเดียวกัน ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอะไรก็ตาม สุไลมานทิ้งท้ายบทสนทนาว่าเขาไม่เชื่อว่ามีคนหนึ่งคนใดที่จะ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

สามารถสั่งให้การต่อสู้นี้ยุติได้ “เขาสอนว่าให้ยดึ แนวทางการต่อสู้ อย่ายึดตัวบุคคล” สุไลมาน กล่าว แต่ว่าถ้าหากว่าเป็นฉันทามติมาจากออแฆตูวอซึ่งเขาไม่ทราบว่า เป็นสิ่งเดียวกับที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเรียกว่า DPP หรือไม่ ก็เป็นไปได้ ที่จะทำให้เครือข่ายปฏิบัติการใยแมงมุมนี้ยุติได้ 63

หมายเหตุ: รายงานชิน้ นีเ้ ผยแพร่ครัง้ แรกที่ www.deepsouthwatch.org/dsj/3724 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 สนทนากับหัวหน้ากอมปีและมือระเบิด



-5-

แผ่นดินปาตานีเป็นดารุลฮัรบี...หรือไม่?

ดารุลฮัรบีเป็นแนวคิดรัฐศาสตร์เชิงดินแดนในกรอบของศาสนา อิสลาม ที่ขบวนการได้หยิบยกมาใช้เป็นตรรกะเหตุผลในการต่อสู้ แต่ความเข้าใจว่าดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้เป็น ดารุลฮัรบี หรื อ ไม่ ยั ง เป็ น สิ่ ง ที่ แ ม้ แ ต่ ค นมลายู มุ ส ลิ ม ในพื้ น ที่ เ องก็ อ าจไม่ ไ ด้ มี ความเห็นร่วมกัน ผู้ รู้ ท างศาสนามั ก จะหลี ก เลี่ ย งที่ จ ะถกเถี ย งประเด็ น ซึ่ ง เป็ น ใจกลางของความขั ด แย้ ง นี้ อ ย่ า งเปิ ด เผย เพราะเกรงว่ า อาจสร้ า ง ความไม่พอใจ ไม่ว่าจากฝั่งของรัฐหรือฝ่ายขบวนการก็ตาม DSJ ได้พดู คุยกับผูน้ ำทางศาสนาและนักวิชาการด้านอิสลามใน พื้นที่ 3 ท่านเพื่อสอบถามทัศนะในประเด็นดังกล่าว


.....

ท่านที่ 1

รศ.อับดุลเลาะ อับรู อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้ความเห็นว่าเรื่อง 66 การแบ่งดินแดนที่มีนัยในเชิงการเมืองเป็น ดารุลฮัรบี และดารุลอิสลาม นีเ้ ป็นเรือ่ งใหม่ซง่ึ ไม่ได้มอี ยูใ่ นหลักเทววิทยาอิสลาม (Islamic Theology) ไม่ได้มีปรากฏในแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิ อย่างคัมภีร์อัลกุรอ่านหรือฮาดีษ นั ก วิ ช าการผู้ ที่ ศึ ก ษาความคิ ด ทางการเมื อ งของอิ ส ลามมา ยาวนานท่านนี้อธิบายว่า เงื่อนไขที่จะทำให้เกิดสภาวะที่เป็นดารุลฮัรบี มี 2 ส่วน คือ หนึง่ ชาวมุสลิมไม่สามารถปฏิบตั ติ ามหลักการของอิสลาม ได้อย่างครบถ้วน สอง ชาวมุสลิมถูกกดขี่ข่มเหงไม่ว่าในประเด็นใดก็ แล้วแต่ ซึ่งเขาก็มีความชอบธรรมที่จะต่อสู้ ถ้าหากว่าเขามีกำลัง แต่ถ้า หากว่าไม่มีกำลัง พวกเขาก็มีสิทธิที่จะอพยพไปอยู่ในดินแดนอื่น ทีใ่ ห้ ความเป็นธรรมต่อพวกเขา หากผูน้ ำปกครองด้วยความไม่เป็นธรรม ใช้ มาตรฐานทีต่ า่ งกันในการปกครองพลเมือง มีนโยบายบางอย่างทีเ่ ห็นได้ ว่าเป็นการทำลายอัตลักษณ์ของคนมุสลิม เมื่อมีคนอาสาว่าจะไปสู้ ในความหมายว่า เป็นดารุลฮัรบี “ก็เป็นเรื่องที่เป็นความชอบธรรม” เมือ่ ถามว่าดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทเ่ี คยเป็นอาณาจักร ปาตานีมาก่อนนี้เป็นดารุลฮัรบีหรือไม่ รศ. อับดุลเลาะ กล่าวว่า “มันใช่ เลย ไม่มีผู้รู้ไหนที่จะไปบอกว่ามันไม่ใช่นะ นอกจากว่าคุณไม่อยากจะ บอกและคุณเอาใจคนถาม” เขาอธิบายว่าปัญหาในภาคใต้นั้นเป็นความขัดแย้งซึ่งมีที่มา จากประวัติศาสตร์ การก่อตัวของสังคมซึ่งมีการใช้หลักอิสลามในการ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ปกครองในอดีต เรือ่ งชาติพนั ธุแ์ ละความยุตธิ รรม โดยประเด็นเรือ่ งความ ยุติธรรมนี้เป็นเรื่องที่ขบวนการสามารถหยิบไปใช้ในการสร้างความ ชอบธรรมได้ ม าก เขายกตั ว อย่ า งกรณี ผู้ ที่ เ สี ย ชี วิ ต จากเหตุ ก ารณ์ การชุมนุมประท้วงที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาสเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นกรณีที่คนมุสลิมรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมอย่างมาก เขาชี้ว่าปม 67 ความขัดแย้งในภาคใต้นี้ไม่ได้เป็นเรื่องศาสนาโดยตรง เมื่อถามถึงว่าในปัจจุบันมีเรื่องการห้ามปฏิบัติศาสนกิจหรือไม่ รศ.อับดุลเลาะ ตอบว่า “ก็ขึ้นกับว่าเอาประเด็นอะไร ถ้าเอาประเด็น ละหมาดก็ง่ายเกินไป หยาบเกินไป...ถ้าดีแล้วเขาจะรบทำไม แสดงว่า มันต้องมีอะไรบางอย่างที่คุณจะต้องทำดีกว่านั้น” เขายกตัวอย่างเรื่องการปกครองตนเองซึ่งเป็นสิ่งที่คนมลายู มุส ลิ ม ได้ เ คยเรี ยกร้องตั้งแต่สมัยที่หะยีสุหลง อั บ ดุ ล กอเดร์ ได้ ยื่ น ข้อเสนอ 7 ข้อกับรัฐบาลซึ่งประเด็นนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่รัฐไทยยากที่จะ ยอมรับ “สิง่ ใดก็ตามทีท่ ำแล้วไปกระทบกับศูนย์อำนาจ ไม่วา่ คุณจะเป็น มุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิม คุณทำไม่ได้ แต่ถ้าไม่กระทบคุณทำไปเถอะ” รศ.อับดุลเลาะกล่าว ประเด็ น หนึ่ ง ที่ มี ก ารถกเถี ย งกั น มากในการต่ อ สู้ คื อ เรื่ อ ง การทำร้ายผู้บริสุทธิ์ เขาอธิบายว่าการทำร้ายผู้บริสุทธิ์นั้นกระทำไม่ได้ อยู่แล้ว เขาไม่เห็นด้วยกับตรรกะที่สะท้อนผ่านการบอกเล่าของคนใน ขบวนการว่าคนพุทธมีสถานะเป็นกาฟิรฮัรบี (คนทีป่ ฏิเสธอิสลามทีอ่ าศัย อยู่ในดินแดนแห่งสงคราม) ฉะนั้นจึงมีความชอบธรรมที่จะโจมตีได้ “การฆ่าผูบ้ ริสทุ ธิผ์ ดิ อยูแ่ ล้ว แต่วา่ ใครคือผูบ้ ริสทุ ธิต์ อ้ งเถียงกันยาว” แผ่นดินปาตานีเป็นดารุลฮัรบี...หรือไม่?


.....

รศ.อับดุลเลาะอธิบาย “ประชาชนทีไ่ ม่เกีย่ วข้องฆ่าไม่ได้…คนพุทธไม่ได้ ถูกเหมาว่าเป็นกาฟิรฮารบีทั้งหมด นอกจากว่าคนนั้นจะเป็นเครื่องมือ จริง ๆ เป็นไส้ศึก หรือเป็นอะไรที่เป็นการทำลายฐานของขบวนการ” รศ.อับดุลเลาะกล่าวว่าขบวนการก็มีอูลามะของเขาในการ 68 ฟัตวาเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งเขาก็เห็นว่าในหลาย ๆ ครั้งขบวนการก็ทำ ผิดพลาดแต่ก็ได้มีการปรับตัว ซึ่งในช่วงหลังก็มีการกำหนดเป้าหมายที่ ชัดเจนขึ้นและมีการเตือนก่อน “อย่าลืมว่ากองทัพมีหลักการ แต่ว่าคนที่อยู่ในกองทัพบางคน อาจจะไม่มีหลักการ ทหารที่ทำผิดหลักการก็ต้องถูกพิจารณา ผมไม่ได้ หมายความว่าขบวนการทำอะไรถูกหมด ขบวนการทำผิดพลาดก็เยอะ” เขากล่าว รศ.อับดุลเลาะมองว่าคนที่เข้าไปร่วมต่อสู้นั้นอาจจะไม่ได้มุ่งที่ เป้าหมายสุดท้ายมากนักว่าพวกเขาจะได้เอกราชหรือไม่ “เขาไม่ได้พูดถึงเรื่องแพ้หรือชนะ เขาพูดถึงเรื่องของภารกิจที่ ต้องทำ ไม่ใช่ชนะหรือแพ้ เพราะนัน่ เป็นเรือ่ งของพระเจ้า อันนีเ้ ป็นความ รับผิดชอบ เป็นพันธะ อย่าไปถามว่าแล้วคุณคิดว่าจะแบ่งแยกดินแดน ได้ไหม นั่นไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณได้ทำหน้าที่ของ คุณแล้วหรือยัง” เขากล่าว นั ก วิ ช าการด้ า นอิ ส ลามศึ ก ษาผู้ นี้ อ ธิ บ ายว่ า จริ ง อยู่ ว่ า ไม่ มี ประเทศใดในโลกในปัจจุบนั ทีเ่ ป็นดารุลอิสลามเต็มร้อย แต่ในอดีตเคยมี ดารุลอิสลาม ระบบที่ว่านี้จึงไม่ใช่แค่จินตนาการในทางสังคมการเมือง ในปัจจุบันประเทศที่มีระบบที่ใกล้เคียงกับดารุลอิสลามมากที่สุด คือ อิหร่าน ซึ่งได้ใช้หลักการอิสลามในนิกายชีอะห์มาเป็นกฎหมายในการ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ปกครองประเทศ รศ.อับดุลเลาะระบุว่าเมื่อประเทศใดประกาศเดิน นโยบายเช่นนี้ เขาก็จะต้องพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ของสิ่งนั้น แม้ว่า ในวันนี้จะยังคงไม่สมบูรณ์ก็ตาม ในแง่หนึ่งก็เหมือนความคิดเรื่อง คอมมิวนิสต์ สังคมคอมมิวนิสต์ยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นเป้าหมายที่จะ ไปถึง 69 ในการแก้ไขความขัดแย้งในภาคใต้ เขามองว่ารัฐบาลควรที่จะ มุ่งแก้ไขประเด็นที่ขบวนการนำไปใช้สร้างความชอบธรรมในการต่อสู้ “เราต้องพยายามอย่าให้เขามีความชอบธรรมในการต่อสู้ เพราะ ว่าถ้ามันไม่มีความชอบธรรมในการต่อสู้ มันก็มีคำ ๆ หนึ่งในสารบบ ความคิดเชิงดินแดน คือ ดารุลอามานซึง่ หมายถึงประเทศทีม่ สี นั ติสขุ ซึง่ ไม่เกี่ยงว่าจะมีผู้ปกครองแบบไหน ถ้าคนอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นพุทธหรือ มุสลิม” รศ.อับดุลเลาะกล่าว เขาทิ้งท้ายว่าการหาทางออกจำเป็นที่จะต้องมีการพูดคุย ซึ่ง ตอนนี้ก็ดูเหมือนยังไม่มีแนวโน้มว่าทั้งสองฝ่ายอยากจะคุยกันอย่าง จริงจังนัก ท่านที่ 2 ผู้รู้ทางศาสนาท่านที่สอง เป็นผู้นำทางศาสนาในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ รู้จักอย่างกว้างขวาง เพื่อให้การสนทนาเป็นไปได้อย่างตรงไปตรงมา ท่านได้ขอสงวนนาม เมื่อถามว่าดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นดารุลฮัรบี หรือไม่ ท่านผู้นี้กล่าวว่า “มันขึ้นอยู่กับการตีความ ถ้าอยากให้เป็นก็ แผ่นดินปาตานีเป็นดารุลฮัรบี...หรือไม่?


.....

ตีความโยงไป แต่ว่าเราไม่เห็นด้วย เพราะมันไม่ใช่” เขาอธิบายว่าดินแดนใดจะเป็นดารุลฮัรบีนั้นจะต้องเข้าเงื่อนไข สำคัญ 2 ประการ คือ ชาวมุสลิมในดินแดนนัน้ ถูกห้ามประกอบศาสนกิจ และถูกห้ามเผยแผ่ศาสนาไม่ว่าจะโดยรัฐหรือกลุ่มบุคคลใดก็ตาม “ถ้าเรามองดูในปัจจุบัน เงื่อนไขตรงนั้นไม่มี รัฐบาลก็สนับสนุน 70 ให้ไปฮัจญ์ การเรียนศาสนาก็ได้รับการสนับสนุน อิหม่ามก็มีเงินเดือน ตามทีเ่ ราคิด มันไม่สามารถจะโยงไปได้ แต่วา่ เขาจะโยงกับประวัตศิ าสตร์” ผู้ น ำศาสนาท่ า นนี้ ก ล่ า ว ในเรื่ อ งของการอธิ บ ายประวั ติ ศ าสตร์ ว่ า สยาม เข้ามายึดครองอาณาจักรปาตานี ซึ่งขบวนการตีความว่าเคยเป็น ดารุ ล -อิ ส ลาม ในทั ศ นะของเขามองว่ า “ถ้ า เอาแค่ ค รึ่ ง หนึ่ ง ก็ ใช่ แต่ว่าก่อนหน้านั้นก็เป็นฮินดู เขาจะเอาส่วนที่เจ็บปวดมาใช้ ซึ่งมันก็ น่าฟังอยู่ แต่ว่ามันจะเกิดกับคนที่อิน (ซาบซึ้ง) กับประวัติศาสตร์เต็มที่ เขาจะใช้ประวัติศาสตร์บาดแผลในการปลุกคน” “นึกถึงสภาพความเป็นจริง ถ้าถูกเจาะเอ็นร้อยหวายจริง ๆ เลื อ ดคงออกหมดตายก่ อ นที่ จ ะไปถึ ง กรุ ง เทพฯ” เขาให้ ค วามเห็ น ต่อเรื่องเล่าที่เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์อาณาจักรปาตานีตอนหนึ่ง ที่มีการเล่ากันอย่างกว้างขวางในหมู่ขบวนการ โดยมักเล่ากันว่าสยาม ได้ยึดครองปาตานีและกวาดต้อนผู้คนเป็นเชลยและให้เดินทางไปขุด คลองแสนแสบทีก่ รุงเทพฯ ในการเดินทางเชลยเหล่านีถ้ กู เอาเชือกเจาะ เอ็นร้อยหวายและบังคับให้เดิน เขาตั้งคำถามกับวิธีอธิบายทางศาสนาของขบวนการที่ว่าเป็น หน้าที่ที่คนมลายูมุสลิมจะต้องต่อสู้ให้ปาตานีกลับมาเป็นดารุลอิสลาม อย่างที่พวกเขาเชื่อว่าเคยเป็นมาในอดีต ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

“รัฐบาลอิสลามทีต่ อ้ งการแปลว่าอะไร รัฐทีป่ กครองด้วยชารีอะห์ เต็มรูปแบบไม่มีในโลก แม้แต่ซาอุ (ดิอาราเบีย) ก็ไม่ใช่ แล้วคุณจะเอา อะไร” เขาตั้งคำถาม สำหรับประเด็นเรื่องญิฮาดนั้น เขาอธิบายว่าในการประกาศ ญิฮาด อูลามาจะต้องประชุมร่วมกันและลงมติเอกฉันท์วา่ จะต้องสู ้ แต่วา่ 71 สิ่งที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดนี้ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น “มติ” เป็นแต่เพียง “แนวคิ ด ” นอกจากนี้ เขามองว่ า การญิ ฮาดไม่ ว่ า จะอยู่ ใ นดิ น แดน ประเภทใดก็ตาม นักรบไม่สามารถฆ่าผู้บริสุทธิ์ได้ ผู้นำศาสนาท่านนี้มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการต่อสู้เพื่อแย่งชิง อำนาจทางการเมือง “ชาวบ้านเป็นเหยือ่ ของกลุม่ คนทีต่ อ้ งการอำนาจ โดยใช้ประวัตศิ าสตร์ มาชง” เขากล่าว “รัฐไม่ได้กดขี่อะไร พวกเราเองที่เลอะเทอะ เหมือน คนพุทธที่ไม่เข้าวัด” เขากล่าวถึงกลุ่มคนในระดับนำของขบวนการอย่างประชด ประชันว่า “ระดับบน ต้องการอำนาจ ไม่ถกู ยิง ไม่ตาย นัง่ เครือ่ งบินตลอด ระดับล่างต้องการสวรรค์ พวกนี้ตาย ติดคุก พิการ” เขาวิพากษ์วิจารณ์การแก้ไขปัญหาของฝ่ายรัฐที่ไม่เจาะเข้าไป ทีใ่ จกลางของปัญหา เขาเห็นว่ารัฐควรทีจ่ ะแก้ปญ ั หาด้วยการเชิญอูลามา จากปอเนาะต่าง ๆ มาถกกันว่า แผ่นดินนี้เป็นดารุลฮัรบีหรือไม่ และ จะต้องให้พวกผู้นำในระดับท้องถิ่นเหล่านี้เป็นตัวหลักในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ยังควรที่จะให้ผู้นำธรรมชาติในระดับหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น มีส่ ว นร่ ว มในการแก้ปัญหา เพราะว่าคนเหล่ า นี้ ไ ด้ รั บ ความเชื่ อ ถื อ จากชาวบ้าน แต่ที่ผ่านมารัฐกลับไปไล่จับกุมและดำเนินคดีคนเหล่านี้ แผ่นดินปาตานีเป็นดารุลฮัรบี...หรือไม่?


.....

“ขบวนการมี 2 อย่างที่รัฐไม่มี คือ ความต่อเนื่องและเอกภาพ” เขาสรุปทิ้งท้าย

ท่านที่ 3 72 ผู้รู้ท่านสุดท้ายที่ DSJ ได้ไปสนทนาด้วยเป็นผู้นำศาสนาใน สายเก่ า ซึ่ ง มี ต ำแหน่ ง สำคั ญ อยู่ ใ นพื้ น ที่ ช ายแดนภาคใต้ เขาได้ ข อ สงวนนามเช่นกัน เขาอธิบายความคิดเรื่องดินแดนในหลักการของ อิสลามว่า ดารุลอิสลามและดารุลฮัรบีเป็นดินแดนสองประเภทซึ่ง เป็นคู่ตรงข้ามกัน ดารุลอิสลามเป็นดินแดนที่มีการใช้อัลกุรอ่านเป็น ธรรมนูญในการปกครองและมีชาวมุสลิมเป็นผู้ปกครอง ส่วนดารุลฮัรบี เป็ น ดิ น แดนที่ ไ ม่ ไ ด้ ใช้ ช ารี อ ะห์ ใ นการบริ ห ารประเทศซึ่ ง อาจใช้ ธรรมนูญที่มนุษย์ร่างขึ้นเองและมีผู้บริหารที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม เมื่อถามว่าดินแดนในชายแดนภาคใต้มีสภาวะเป็นดารุลฮัรบี หรือไม่ เขากล่าวว่า “ถูกต้องแล้ว เป็นดารุลฮัรบี เพราะธรรมนูญในการ ปฏิบัติในชีวิตไม่ใช่อัลกุรอ่าน” เขากล่าวว่าอาณาจักรปาตานีในอดีตนั้นไม่ได้เป็นดารุลอิสลาม อย่ า งที่ ข บวนการได้ ก ล่ า วอ้ า ง คำที่ ใช้ เรี ย กอาณาจั ก รในอดี ต คื อ ปาตานีดารุลสาลาม (Patani Darulsalam) คำว่าดารุลสาลามนี้ หมายถึงดินแดนแห่งสันติสุข ไม่มีการสู้รบ คำนี้เป็นชื่อของสวรรค์ชั้น หนึ่งที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอ่าน เขาอธิบายเช่นเดียวกับผูร้ อู้ กี สองท่านว่า ดารุลอิสลามทีส่ มบูรณ์ ไม่มอี ยูใ่ นปัจจุบนั ซึง่ ในดินแดนดารุลอิสลามจะต้องยึดคัมภีรอ์ ลั กุรอ่าน ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

เป็นหลัก หากกฎหมายใดขัดแย้งก็ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามหลักใน อัลกุรอ่าน เขาคิดว่าขบวนการต่อสู้เพื่อต้องการเอาหลักอิสลามมา ปกครองในดินแดนที่อดีตเคยเป็นอาณาจักรปาตานีนี้ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เขากล่าวว่าหลักการของอิสลามนั้นเปิดโอกาสให้มีการต่อต้าน 73 หรือสู้รบ ในกรณีที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะมาทำลายศาสนา ทรัพย์สิน ชีวิต วัฒนธรรมประเพณีและสติปัญญา พวกเขาจะต้องปกป้องและต่อสู้ “ศาสนาเปิดโอกาสให้ญฮิ าดได้ ถ้ามีคนจะมาทำลายชาติของเรา ตระกูลของเรา ก็เป็นวาญิบที่จะต้องทำ” เขาอธิบาย เมื่อถามว่าข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์ในชายแดนภาคใต้ เข้าข่ายนี้หรือไม่ เขากล่าวว่าเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความไม่เป็นธรรมที่ เกิดขึ้นมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐ เช่น ในอดีต มีการห้ามพูดภาษามลายู ถ้าพูดก็จะถูกลงโทษ การห้ามสวมหมวกแบบ มุสลิม ซึ่งเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่คนในพื้นที่จะต้องปกป้องอัตลักษณ์ ของพวกเขา ซึ่งนโยบายเช่นนี้ก็ทำให้เกิดการต่อต้านและเกลียดชัง รั ฐ ไทยและส่ ง ผลให้ ค นในพื้ น ที่ ไ ม่ ต้ อ งการส่ ง ลู ก หลานไปเรี ย นใน โรงเรียนของรัฐ เพราะกลัวว่าอัตลักษณ์และศาสนาของเขาจะถูก ลบล้าง ความรู้สึกเหล่านี้ถูกสะสมมาเรื่อย ๆ เขาคิดว่าในปัจจุบัน รัฐไทยมีการปรับตัวมากและมีพัฒนาการ ที่ดีขึ้น “ถ้าดูรฐั บาลในอดีตเปรียบเทียบกับปัจจุบนั ก็มคี วามแตกต่างกัน รัฐบาลในปัจจุบันปรับปรุงแก้ไข ให้โอกาสและให้สิทธิกับคนมุสลิม ในเรือ่ งศาสนา รัฐบาลก็สนับสนุนการสร้างมัสยิด เรือ่ งการศึกษาก็มกี าร แผ่นดินปาตานีเป็นดารุลฮัรบี...หรือไม่?


.....

เปิดโอกาสแล้ว สำหรับมุสลิมที่มีความสามารถ ก็เปิดโอกาสให้มา ทำงานข้าราชการ แต่ว่าบาดแผลที่อยู่ในใจ จะหายมันก็ต้องใช้เวลา คนก็ถามว่าทำไมเหตุการณ์มันไม่จบสักที” เขากล่าว ผู้รู้ท่านนี้มองว่าขบวนการไม่ควรที่จะทำร้ายผู้บริสุทธิ์ หากว่า 74 จะสู้รบกับคู่ต่อสู้ที่ถืออาวุธ เช่น ทหาร ตำรวจ ก็ทำไป เขาบอกว่าการ ญิฮาดไม่อนุญาตให้ทำร้ายเด็ก ผู้หญิง และคนชรา เขาเห็นว่าการต่อสู้ ในปัจจุบัน “อยู่นอกกรอบภาวะสงครามตามหลักการของอิสลาม” และมีลกั ษณะเป็น “terrorists” (ผูก้ อ่ การร้าย) แต่การทีผ่ รู้ ู้ทางศาสนา จะออกมาพูดเรื่องนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ฝ่ายขบวนการไม่พอใจ เขาให้ความเห็นว่าสภาวะในปัจจุบันนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะ ต้องต่อสู้ด้วยอาวุธ “วันนี้ เราจะต้องดูเหตุผลว่ากาฟิรฮัรบีทำอะไรกับ เรา…ถ้าเขาให้ความเป็นธรรม ปฏิบัติกิจศาสนาได้ ก็อยู่อย่างสันติได้ เหมือนกัน เพราะว่ากาฟิรฮัรบีก็ดูแลเราอย่างดี ถ้าให้สิทธิก็อยู่กันได้” ผู้ รู้ ส ายเก่ า ท่ า นนี้ ม องว่ า เรื่ อ งการปกครองตนเองจะเป็ น หนทางหนึง่ ทีจ่ ะช่วยทำให้เกิดสันติสขุ ได้ ซึง่ จะต้องมีการวางรูปแบบให้ ชัดเจนว่าจะมีรายละเอียดการบริหารอย่างไร จะมีผู้นำที่เข้าใจอิสลาม มาปกครองได้อย่างไร ในขณะนี้ ผู้นำศาสนามีความกังวลในเรื่องของ อบายมุข เช่น เรื่องการมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส เรื่องยาเสพติด เมื่อไม่ ได้มีการใช้หลักอิสลามเป็นกฎหมายของประเทศก็ไม่สามารถที่จะลง โทษบุคคลที่กระทำความผิดในเรื่องเหล่านี้ได้ “เราอยู่อย่างนี้มันบาป เราก็ต้องรับผิดชอบ” เขากล่าว เขาทิ้งท้ายว่าความขัดแย้งต้องจบด้วยการพูดคุยกัน ถ้ารัฐบาล ดำเนินการเรื่องนี้ได้เร็วที่สุด การสูญเสียก็จะเบาลง ที่ผ่านมาคุยแล้วไม่ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

เกิดผล ก็อาจจะแสดงว่ารัฐยังคุยไม่ถูกคน เขาเชื่อมั่นว่าขบวนการนั้นมีแกนนำที่จะสามารถทำให้การ ก่อเหตุรุนแรงยุติได้ “ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่กลุ่มย่อย ต้องมีหัวหน้าที่สั่งการได้ เมื่อ เปิดสวิตช์ได้ก็ปิดสวิตช์ได้” เขากล่าวทิ้งท้าย 75 จากทัศนะของผู้รู้ทางศาสนาทั้งสามท่าน ดูเหมือนว่าเรื่อง ความเป็นธรรมของผู้ปกครองจะเป็นประเด็นที่สำคัญในการกำหนด ว่าการต่อสูข้ องเหล่านักรบปาตานีนจี้ ะมีความชอบธรรมหรือไม่ และ ดินแดนแห่งนี้เป็นดารุลฮัรบีหรือไม่ ณ วันนี้ เรื่องนี้ก็ยังเป็นข้อ ถกเถียงที่หลายคนมองต่างมุม

หมายเหตุ: รายงานชิน้ นีเ้ ผยแพร่ครัง้ แรกที่ www.deepsouthwatch.org/dsj/3734 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555 แผ่นดินปาตานีเป็นดารุลฮัรบี...หรือไม่?



-6-

ภาคประชาสังคมกับขบวนการเอกราชปาตานี : จุดร่วมและจุดต่าง

การต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม และการรักษาอัตลักษณ์ทาง ชาติพันธุ์และศาสนานั้นเรียกได้ว่าเป็นประเด็นในหัวใจของชาว มลายูมุสลิมเกือบทุกคนที่ใส่ใจในความเป็นไปของสังคมการเมือง ในชายแดนภาคใต้ บางคนมีจุดร่วมกับขบวนการเอกราชปาตานีใน เรื่องเหล่านี้แต่ไม่เห็นด้วยกับการจับอาวุธขึ้นต่อสู้ และพวกเขาได้ เลือกที่จะเคลื่อนไหวในระบบและบนหนทางสันติวิธี คนเหล่านี้


.....

อยู่ในภาคส่วนที่เรียกกันว่าภาคประชาสังคม ซึ่งได้เติบโตขึ้นอย่าง มากภายหลังความรุนแรงปะทุขึ้นในปี 2547 DSJ สนทนากับนักเคลื่อนไหวในภาคประชาสังคมซึ่งทำงาน ในประเด็นที่หลากหลาย เพื่อให้พวกเขาสะท้อนการทำงานในบริบท 78 ที่อยู่ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐกับขบวนการและสะท้อนถึง ขบวนการจากมุมที่พวกเขายืนอยู่ นักต่อสู้เรื่องสิทธิ & ประชาธิปไตย นักเคลือ่ นไหวหนุม่ ทีท่ ำงานรณรงค์เรือ่ งประชาธิปไตยและสิทธิ มนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมได้ลงไปทำงานในหมูบ่ า้ นมากขึน้ ซึง่ ในแง่หนึง่ ก็แสดงว่า ขบวนการ “เห็นชอบ” หรือไม่ขัดขวางการเคลื่อนไหวของพวกเขา เพราะเป็ น ไปไม่ ไ ด้ เ ลยที่ ข บวนการซึ่ ง เขาเชื่ อ ว่ า “เข้ ม แข็ ง มาก” จะไม่รู้เห็น “เขา (ขบวนการ) จะทำอะไรก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้” เขากล่าว นักเคลื่อนไหวผู้นี้สะท้อนว่าแม้ขบวนการจะไม่ได้โจมตีการ เคลือ่ นไหวของภาคประชาสังคมโดยตรง แต่กม็ กี ารตัง้ คำถาม ในทำนอง ว่าพวกเขาไป “จับมือ” หรือ “ปรองดอง” กับรัฐซึ่งขบวนการมองว่า เป็ น ศั ต รู ห รื อ ไม่ เขาเล่ า ว่ า ในวงพู ด คุ ย ในระดั บ หมู่ บ้ า นมี ก ารพู ด เปรียบเปรยว่า ทำไมเคลื่อนไหวแล้วไม่โดนจับและไม่ได้ถูกปราบปราม จากฝ่ายรัฐ แล้วจะเป็นนักต่อสู้ที่แท้จริงได้อย่างไร ชายหนุ่มผู้นี้ซึ่งเคยเป็นอดีตแกนนำนักศึกษามาก่อนกล่าวว่า ขบวนการไม่เชื่อในการต่อสู้ด้วยสันติวิธี เพราะคิดว่าจะต้องสู้ด้วย ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

หนทางปฏิวัติเท่านั้น ถ้าหากว่าไม่มีกองกำลังก็ไม่สามารถที่จะต่อกร หรือมีอำนาจต่อรองกับรัฐไทยได้ เขามองว่ า การเคลื่ อ นไหวของขบวนการนั้ น ใช้ ค วามรู้ สึ ก มากกว่าความรู้ในการปลุกให้คนลุกขึ้นสู้ และสิ่งที่ขบวนการยังคง ตอบไม่ได้คือ “จะชนะได้อย่างไร” 79 เขามองว่าขบวนการนัน้ “คลอดออกมาเป็นการทหาร” และยังคง มี ก องกำลั ง ที่ เข้ ม แข็ ง มาก ในขณะที่ ฝ่ า ยการเมื อ งนั้ น มี พั ฒ นาการ ตามมาทีหลัง ซึ่งฝ่ายทหารยังคงมีอำนาจและอิทธิพลอยู่สูง “ในบางมัสยิดที่มวลชนเข้มแข็ง มีการยืนถือปืนในการกล่าว คุตบะห์วนั ศุกร์ (การบรรยายทางศาสนาหลังการละหมาดใหญ่วนั ศุกร์)” เขาระบุ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทนำของฝ่ายกองกำลัง นักเคลื่อนไหวผู้นี้อธิบายว่ากรอบคิดในการต่อสู้ของเขานั้น แตกต่างจากขบวนการ “ขบวนการคุมสภาพมวลชนด้วยคำอธิบายทางศาสนา ใช้ความ เชื่อในการขับเคลื่อน เมื่อขบวนการเป็นนักรบทางศาสนา หากว่าเขา (ชาวมลายูมุสลิม) ไม่สนับสนุนก็จะบาป” เขาอธิบาย แต่ว่าในบทบาทของนักเคลื่อนไหวในภาคประชาสังคม เขาคิด ว่ามุสลิมไม่จำเป็นต้องสู้ด้วยวิถีทางเดียว คนที่มาจากเบ้าหลอมจาก การศึกษาในตะวันออกกลางจะเน้นหนักในเรื่องศาสนา แต่ว่าถ้าเป็น คนมลายูมุสลิมที่ไปศึกษาต่อในที่อื่น ๆ เช่น อินโดนีเซีย กรุงเทพฯ ก็อาจจะต่อสูบ้ นฐานคิดอืน่ ๆ เช่น หลักการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ สิทธิในการจัดการตนเอง (Right to Self-Determination) ภาคประชาสังคมกับขบวนการเอกราชปาตานี


.....

เขาเห็นว่าการใช้สันติวิธีในการต่อสู้นั้นไม่ได้หมายถึงการยอม จำนน การสู้ด้วยสันติวิธีนั้นต้องสามารถที่จะนำไปสู่เป้าหมายในการ ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมด้วย “เราต้องยืนยันว่าเราทำงานให้กบั ประชาชนและทำให้เกิดพืน้ ที่ 80 ทางการเมือง” เขากล่าว และระบุว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาจะ ต้องอธิบายกับขบวนการซึ่งพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงกับพวกเขาได้ ตลอดเวลา นักขับเคลื่อนเรื่องกระจายอำนาจ นักเคลื่อนไหวอีกคนหนึ่งเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนเรื่องการกระจาย อำนาจในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ยอมรับว่าการรณรงค์ของพวกเขาก็ถูก มองด้วยสายตาเคลือบแคลงสงสัยจากฝ่ายขบวนการบางส่วนเช่นกัน เขาระบุว่ามีการกล่าวหาว่าพวกเขานั้นเป็น “opportunists” (พวกฉวยโอกาส) และมีการวิจารณ์วา่ การขับเคลือ่ นเรือ่ งกระจายอำนาจ นี้เป็นเทคนิคของพวกซีแย (สยาม) ที่จะขัดขวางการต่อสู้เพื่อเอกราช ของปาตานี นักรณรงค์เรื่องกระจายอำนาจผู้นี้บอกว่าการโต้เถียงกันนั้น เกิดขึ้น การวิพากษ์วิจารณ์ก็มีความเข้มข้นซึ่งบางส่วนก็ปรากฏให้เห็น ในโลกออนไลน์ แต่ว่าไม่ได้มีการข่มขู่ทำร้าย เขาเล่าว่ามีบุคคลนิรนาม โทรศัพท์มาถึงเขาเพื่ออธิบายว่าการกระจายอำนาจนั้นไม่สอดคล้อง กับหลักฟิกซ์ (กฎหมายอิสลาม) อย่างไร เขาอธิบายว่าข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการเคลื่อนไหวของ เขากับขบวนการคือ การขับเคลื่อนของเขานั้นมีฐานมาจากความคิด ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ประชาธิปไตยซึง่ เป็นกฎเกณฑ์ทมี่ นุษย์เป็นผูก้ ำหนด ในขณะทีก่ ารต่อสู้ ของขบวนการนั้นมาจากฐานคิดทางศาสนาซึ่งมาจากพระเจ้า เขาเห็นด้วยกับทัศนะของขบวนการว่าปาตานีเป็นดินแดนทีถ่ กู สยามรุกรานและแผ่นดินแถบนี้เป็นดารุลฮัรบีและขบวนการ “มีสิทธิที่ จะต่อสู”้ ซึง่ รวมถึงการต่อสูด้ ว้ ยอาวุธด้วย แต่เขาก็วจิ ารณ์วา่ ขบวนการ 81 มีลกั ษณะทีเ่ ป็น “fanatic” (สุดโต่ง) เขาไม่เห็นด้วยกับการโจมตีคนไทย พุ ท ธที่ ไ ม่ เ กี่ ย วข้ อ งในการต่ อ สู้ ซึ่ ง บางทั ศ นะจากคนในขบวนการ สะท้อนว่าคนไทยพุทธถูกนิยามว่าเป็นกาฟิรฮัรบี (ผู้ปฏิเสธอิสลาม ที่อยู่ในดินแดนแห่งสงคราม) จึงมีความชอบธรรมที่จะโจมตีได้ เขาตัง้ คำถามเรือ่ งเป้าหมายในการมุง่ ไปสูเ่ อกราชของขบวนการ ด้วยเช่นกัน ประเด็นแรก เขาวิพากษ์ว่าขบวนการจะขับเคลื่อนเพื่อ บรรลุเป้าหมายนีอ้ ย่างไร ยังไม่มคี วามชัดเจน และสอง เป้าหมายดังกล่าว นี้มีความสอดคล้องกับบริบททางการเมืองในโลกยุคปัจจุบันที่ความ สำคัญของรัฐชาติกำลังลดน้อยถอยลงหรือไม่ และประการสุดท้าย หากได้เอกราช ดินแดนแถบนี้จะมีการปกครองอย่างไร ใครจะขึ้นมามี อำนาจและจะมีความเป็นธรรมในการปกครองหรือไม่ “คนที่อยากได้ merdeka ก็อยากจะได้อำนาจเพื่อจัดการ สังคมตามอุดมคติของตัวเอง...แต่ถ้ามลายูปกครองแล้วกดขี่กันเอง เราก็ไม่ยอม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เรากังวล” เขากล่าว เขาคิดว่าการเคลือ่ นไหวในเรือ่ งกระจายอำนาจนัน้ เป็นการต่อสู้ ในระบบที่ผ่านช่องทางซึ่งรัฐธรรมนูญไทยนั้นเปิดโอกาสให้ ซึ่งหากว่า การขับเคลือ่ นมีพลวัตรมากขึน้ ก็จะเป็นสิง่ ที่ “ตอบโจทย์” ในสิง่ ทีข่ บวน การเรียกร้องได้ด้วยเช่นกัน ภาคประชาสังคมกับขบวนการเอกราชปาตานี


.....

เสียงจากผู้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง ในท่ามกลางห่ากระสุน มีผู้คนบาดเจ็บ ล้มตาย ถูกจับ ถูกคุมขัง ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความ ขัดแย้งด้วยอาวุธนีก้ ต็ าม นางโซรยา จามจุรี หัวหน้าโครงการผูห้ ญิงภาค 82 ประชาสังคมเพือ่ สันติภาพและความมัน่ คงในชายแดนใต แ้ ละนักวิชาการ สำนักส่งเสริมการศึกษาต่อเนือ่ ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี ได้เริ่มทำงานกับกลุ่มผู้หญิงเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก ความไม่สงบในพืน้ ทีช่ ายแดนใต้มาตัง้ แต่ปี 2547 เธอสะท้อนการทำงาน ของกลุ่มผู้หญิงว่า “ที่ ผ่ า นมาเราก็ ไ ม่ เ คยได้ รั บ feedback (เสี ย งสะท้ อ น) ในด้านที่เป็นลบจากทั้งสองฝ่าย (รัฐและขบวนการ) ดูเหมือนว่าทั้งสอง ฝ่ายจะเข้าใจและรับได้กบั งานทีผ่ หู้ ญิงทำ ซึง่ ส่วนหนึง่ อาจจะเป็นเพราะ ว่าคนที่สื่อสารเรื่องนี้เป็นเหยื่อโดยตรงที่เป็นผู้ถูกกระทำ...ถ้าเป็นเหยื่อ ก็ มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะได้ รั บ ความเห็ น อกเห็ น ใจและเข้ า อกเข้ า ใจ แม้ ว่ า จะไปกระทบกระทั่งเขาด้วย มันก็จะมีความรู้สึกตรงนี้ต่อเหยื่อ มันจะ ต่างจากคนที่ไม่ได้รับผลกระทบเป็นคนขับเคลื่อนหรือสื่อสารเรื่องนี้” โซรยากล่าว เธออธิบายว่ากลุม่ ผูห้ ญิงภาคประชาสังคมต้องการทีจ่ ะสะท้อน ให้เห็นว่าพวกเขาเป็นคนกลาง ๆ จริง ๆ ที่ไม่ได้มีผลประโยชน์แอบแฝง ในการเรียกร้องให้ยตุ คิ วามรุนแรง ในกลุม่ ก็มที งั้ พุทธและมุสลิม ซึง่ พวก เขาต้องการที่จะสื่อสารให้เห็นว่าความรุนแรงนั้นกระทบกับทุกฝ่าย งานของเธอมี ส องส่ ว นหลั ก ๆ คื อ งานด้ า นเยี ย วยากั บ การส่งเสริมให้ผู้หญิงสื่อสารและแสดงความคิด งานด้านเยียวยานั้น ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

เป็นงานที่เธอคิดว่าทั้งฝ่ายรัฐและขบวนการเองก็ให้การยอมรับ เพราะ เป็นงานด้านมนุษยธรรมที่เป็นบวกต่อทุก ๆ ฝ่าย ส่วนงานส่งเสริมให้ ผู้ ห ญิ ง ที่ เ ป็ น เหยื่ อ ของความรุ น แรงสื่ อ สารและแสดงความคิ ด เห็ น นั้นเป็นงาน ที่เธอเรียกว่าเป็น “การยกระดับ” การรณรงค์ ซึ่งเธอก็เคย ได้ รั บ คำเตื อ นว่ า งานในลั ก ษณะนี้ อ าจจะไปกระทบกั บ ฝ่ า ยที่ ก ำลั ง 83 ต่อสู้กันอยู่ได้ “มันเหมือนกับเราไปบอกเขา (ขบวนการ) ให้ยุติการใช้ความ รุนแรงเพื่อที่จะยุติผลกระทบที่ผู้หญิงต้องแบกรับ ในอีกด้านเหมือนกับ ว่าเราก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง แล้วก็ไปบอกให้เขายุติ ในขณะ ทีค่ วามรุนแรงเป็นเครือ่ งมือในการต่อสูข้ องเขา มันก็เหมือนกับว่าให้เขา หยุดใช้เครื่องมืออันนั้น ซึ่งมองอีกด้านมันก็ไปกระทบกับขบวนการ” เธอกล่าว แต่โซรยาบอกว่าการสื่อสารนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นการ ยกระดับการเยียวยาให้ไปสูก่ ารสร้างสันติภาพ ซึง่ เธอไม่อาจทีจ่ ะทำแต่ เฉพาะการเยียวยาเหยื่ออย่างเดียวได้อีกต่อไป เพราะมิฉะนั้นการเยียว ยาก็จะไม่สิ้นสุด “เราต้องพูด ไม่งั้นก็จะมี actor (ผู้เล่น) แค่สองฝ่าย ระหว่าง คนที่ ต้ อ งการเอกราชและคนที่ ใ ห้ เ อกราชไม่ ไ ด้ แล้ ว เหยื่ อ ไปไหน เราก็ต้องส่งสารไปให้เขาฉุกคิด” เธอกล่าว เธอกล่ า วว่ า ในช่ ว งวั น สตรี ส ากลและวั น สื่ อ ทางเลื อ กชาย แดนใต้ในเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมา ทางกลุ่มผู้หญิงภาคประชา สังคมได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มกี าร “จำกัดขอบเขตและเป้าหมาย การใช้อาวุธ โดยไม่กระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือพลเรือน และยุติ ภาคประชาสังคมกับขบวนการเอกราชปาตานี


.....

การก่อเหตุที่ใช้วัตถุระเบิดซึ่งนำไปสู่การสังหารและทำลายล้างชีวิต ประชาชน โดยไม่เลือกเพศ เลือกวัย” ซึ่งเธอเห็นว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ อาจจะเป็นจริงได้มากกว่าที่จะขอให้หยุดใช้ความรุนแรงโดยสิ้นเชิงใน ขณะนี้ เธอคิดว่าข้อเรียกร้องนีจ้ ะทำให้ขบวนการมีความชอบธรรมมาก 84 ขึ้นด้วย หากทำได้ การเป็นคนกลางทีต่ อ้ งทำงานช่วยเหลือชาวบ้านทำให้กลุม่ ของ เธอจะต้องประสานงานกับภาครัฐซึ่งการวางตัวในสถานการณ์เช่นนี้ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน “มันก็เป็นศาสตร์และศิลป์ที่เราจะต้องวางตัวแค่ไหนอย่างไร กับฝ่ายเจ้าหน้าที่ แม้ว่าเราจะต้องปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่เพื่อให้เรา ช่วยเหลือชาวบ้านได้ ในขณะเดียวกัน มันก็ต้องมีระยะห่างระหว่างเรา กับเจ้าหน้าที่อยู่ ไม่ให้เราถูกเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกับเจ้าหน้าที่ แต่ว่า เราไปหาเจ้าหน้าที่เพราะว่าเราต้องการช่วยเหลือประชาชน มันยากนะ มันไม่ใช่งา่ ยเลย มันยาก อยูอ่ ย่างไร โดยเฉพาะคนทีเ่ ป็นแกนนำชาวบ้าน” เธอกล่าว ในประสบการณ์ทำงานของเธอ เธอเห็นปัญหาเรื่องช่องว่าง ระหว่างชาวบ้านกับรัฐมาก โดยเฉพาะชาวบ้านทีใ่ กล้ชดิ หรือเป็นสมาชิก ของขบวนการ “เขาห่าง เขาไม่รู้จัก ไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์มาก่อนในชีวิต ตอนมี ปฏิสัมพันธ์ก็คือโดนจับ...เขาจะมองว่าตัวเองต้อยต่ำไร้ค่า เหมือนกับ เป็นหมาจรจัด” เธอกล่าว และเน้นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง สร้างให้เกิดบทสนทนาระหว่างรัฐกับประชาชนให้มาก ๆ นอกจากนี้ เธอยังพยายามที่จะสื่อสารผ่านรายงานวิทยุภาค ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

ภาษามลายู ซึ่งเป็นโครงการใหม่หลังจากได้เริ่มทำรายการวิทยุภาค ภาษาไทยไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยกลุ่มของเธอต้องการสื่อสารว่าในการ ต่อสู้นั้นมันมีทางออกที่จะสู้อย่างสันติวิธี โดยไม่ยอมจำนนอย่างไรบ้าง นี่ก็เป็นเสียงสะท้อนจากมุมของภาคประชาสังคมที่มีความคิด ร่วมบางอย่างกับขบวนการเอกราชปาตานี แต่กม็ ขี อ้ แย้งและข้อวิพากษ์ 85 ต่อวิธีคิดและรูปแบบการต่อสู้ของขบวนการเช่นกัน

หมายเหตุ: รายงานชิน้ นีเ้ ผยแพร่ครัง้ แรกที่ www.deepsouthwatch.org/dsj/3752 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 ภาคประชาสังคมกับขบวนการเอกราชปาตานี



-7-

ปัจฉิมบท : สันติภาพที่ปลายอุโมงค์ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

DSJ ได้นำเสนอรายงานความยาว 6 ตอนเพือ่ อธิบายทีม่ าทีไ่ ป ความคิดและการปฏิบตั กิ ารของขบวนการเอกราชปาตานี รวมถึงได้ สะท้อนสิง่ ทีภ่ าคส่วนอืน่ ๆ มองขบวนการ โดยมุง่ หวังว่าความเข้าใจ ในเรื่องเหล่านี้จะนำไปสู่การวางนโยบายต่อการแก้ปัญหาในจังหวัด ชายแดนภาคใต้อย่างมีทิศทาง มีเอกภาพและตรงประเด็นมากขึ้น ในบทสรุป ทาง DSJ ทดลองประมวลข้อเสนอทางนโยบาย 6 เรื่องฝากให้ผู้กำหนดนโยบายได้พิจารณา


.....

ประการแรก ความเห็นของหลายฝ่ายที่ DSJ ไปสัมภาษณ์มอง ตรงกันว่าเรื่องการพูดคุยกับขบวนการเอกราชปาตานีเป็นเรื่องสำคัญ ในการยุตคิ วามรุนแรง ทีผ่ า่ นมาแม้จะมีความพยายามจากองค์กรเอกชน ระหว่ า งประเทศในการเชื่ อ มประสานการพู ด คุ ย ระหว่ า งรั ฐ กั บ 88 ขบวนการ แต่ความไม่มีเสถียรภาพของการเมืองไทยได้เป็นอุปสรรค สำคั ญ ที่ ท ำให้ ก ารดำเนิ น การในเรื่ อ งนี้ ต้ อ งสะดุ ด อยู่ ต ลอดเวลา เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล ทิศทางการดำเนินการในเรื่องนี้ก็ถูกเปลี่ยน ไปด้วย เอกภาพระหว่างสภาความมัน่ คงแห่งชาติ (สมช.) กองอำนวยการ รักษาความมัน่ คงภายใน (กอ.รมน.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการดำเนินการเรื่องการพูดคุยก็เป็นอีก ประเด็นหนึ่งที่สำคัญ ในขณะนี้ดูเหมือนจะมีพัฒนาการไปในทิศทาง บวกมากขึ้น หลังจากที่ สมช. ได้จัดทำ “นโยบายการบริหารและการ พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557” ตาม พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ซึ่งได้รับความ เห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา วัตถุประสงค์หนึง่ ในนโยบายนีร้ ะบุวา่ รัฐมีหน้าที่ “สร้างสภาวะแวดล้อม ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุยในการแสวงหาทางออกจากความ ขัดแย้งและการให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยว ข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ” ซึง่ ต่อมา ทาง กอ.รมน. และ ศอ.บต. ได้นำนโยบายนีไ้ ปใช้ในการกำหนด เป้าหมายการทำงานในระดับปฏิบัติการ ประการที่สอง การส่งเสริมในเรื่องการดำรงรักษาอัตลักษณ์ ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

และวิถีวัฒนธรรมของคนมลายูมุสลิมจะช่วยลดเงื่อนไขในการต่อสู้ กับรัฐ และเป็นการลดความรูส้ กึ หวาดระแวงและเกลียดชังรัฐ สิง่ สำคัญ อยูท่ กี่ ารปรับวิธคี ดิ ของรัฐต่อเรือ่ งนีใ้ ห้สามารถยอมรับได้วา่ การอนุญาต ให้คนกลุ่มน้อยดำรงรักษาภาษา วัฒนธรรม และศาสนาของตนเองซึ่ง แม้แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในชาติ ไม่ได้กระทบต่อความมั่นคงของ 89 รัฐแต่อย่างใด รัฐสามารถดำเนินการผ่านโครงการที่เป็นรูปธรรม เช่น ส่งเสริมให้มกี ารเรียนการสอนภาษามลายูในโรงเรียนของรัฐ การอนุญาต ให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาทำงานในพื้นที่ ประการทีส่ าม ทุกฝ่ายควรจะร่วมกันสร้างพืน้ ทีก่ ารถกเถียงทาง การเมืองอย่างสันติวิธีให้เป็นเวทีการต่อรองทางอำนาจที่มี ความหมาย หากทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับพื้นที่นี้ก็จะส่งผลให้ความชอบธรรม ของการต่อสู้ด้วยอาวุธลดลง พื้นที่นี้ควรเปิดกว้างให้มีการอภิปราย ถกเถียงได้ในทุก ๆ เรือ่ ง แม้กระทัง่ เรือ่ งเอกราช ตราบใดทีย่ งั คงเป็นการ เคลื่อนไหวอย่างสันติวิธี ประการที่สี่ รัฐควรจะให้ผู้นำศาสนาในปอเนาะและสถาบัน ศาสนาในท้องถิ่นเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ความรุ น แรงในภาคใต้ ควรเปิดให้มีการพูด คุ ย ในประเด็ น ที่ อึ ด อั ด คับข้องใจของชาวมลายูมุสลิม รวมถึงให้มีการถกเถียงถึงการตีความ หลักการศาสนาอิสลามในประเด็นต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ประการที่ห้า รัฐควรจะให้น้ำหนักในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งระบบ ทั้งภาครัฐและโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามมากขึ้น โดยมุ่งทำให้การเรียนการสอนมีมาตรฐานและ ทำให้เกิดสมดุลระหว่างการศึกษาวิชาสามัญและศาสนาซึ่งเป็นความ ปัจฉิมบท : สันติภาพที่ปลายอุโมงค์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร


.....

ต้องการของชาวมลายูมสุ ลิมในพืน้ ที ่ กระทรวงศึกษาธิการควรมีบทบาท นำอย่างจริงจังในเรื่องนี้ โดยอาจจะให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ชุ ด หนึ่ ง เพื่ อ ยกร่ า งโมเดลการปฏิ รู ป การศึ ก ษาทั้ ง ระบบในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ โดยในกระบวนการนี้ควรจะพยายามให้ผู้นำและ 90 ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด และไม่ควรเป็นนโยบายที่ ถูกกำหนดมาจากข้าราชการจากส่วนกลาง ประการที่หก รัฐควรจะส่งเสริมการการอยู่ร่วมกันในสังคม พหุวัฒนธรรม ข้อมูลในการทำรายงานพิเศษชุดนี้ชี้ให้เห็นว่าคนที่ เข้าร่วมขบวนการจำนวนหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐและคนต่างศาสนา น้อย ความไม่รู้จักทำให้เกิดความหวาดระแวง กระทั่งความเกลียดชัง สายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนต่างศาสนาจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง สันติภาพที่ยั่งยืนในชายแดนภาคใต้ สุดท้าย DSJ อยากจะฝากคำถามบางประการไปยังขบวนการ เอกราชปาตานี เราอยากจะเห็นขบวนการทบทวนยุทธศาสตร์และ ยุทธวิธีในการต่อสู้ เราตั้งคำถามว่าข้อเรียกร้องเรื่องเอกราชจะเป็น ประโยชน์มากน้อยเพียงใดต่อคนปาตานีในบริบทโลกยุคโลกาภิวัตน์ และขบวนการจะเดินไปสู่เป้าหมายทางการเมืองนั้นด้วยวิถีทางใด การเลือกใช้วิถีความรุนแรงในการต่อสู้ ที่แม้จะมีความพยายามเลือก และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้บริสุทธิ์ที่ต้องสูญเสีย ในความขัดแย้งนี้จำนวนมาก การใช้ยุทธวิธีทางการทหารเช่นนี้ต่อไป จะเป็นการลดความชอบธรรมในสายตาของผู้ที่เห็นด้วยหรือเห็นอก เห็นใจต่อเป้าหมายทางการเมืองของขบวนการหรือไม่ การเดินหน้าด้วย การทหาร โดยไม่ปรากฏถึงความก้าวหน้าในทางการเมืองอย่างชัดเจน ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

และท่ามกลางความสูญเสียที่ไม่จบสิ้น ทำให้เกิดคำถามว่าในที่สุด ขบวนการต้องการจะสร้างสังคมประเภทใดในพืน้ ทีท่ เ่ี คยเป็นอาณาจักร ปาตานีแห่งนี้ การพูดคุยกับรัฐไทยน่าจะเป็นจุดเริม่ ต้นของการแสวงหา ทางออกของความขัดแย้งนี้ร่วมกัน

91

หมายเหตุ: รายงานชิน้ นีเ้ ผยแพร่ครัง้ แรกที่ www.deepsouthwatch.org/dsj/3780 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2555 ปัจฉิมบท : สันติภาพที่ปลายอุโมงค์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร



เบื้องหลังการถ่ายทำ : รายงานพิเศษ “ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี”

ทัง้ ๆ ทีม่ ผี ทู้ เี่ สียชีวติ ในความขัดแย้งในภาคใต้ไปแล้วกว่า 5,300 คนและบาดเจ็บกว่า 14,000 คนในช่วงเก้าปีที่ผ่านมา ความสนใจ ของสื่อต่อปัญหาภาคใต้กลับลดน้อยลง และส่วนมากจำกัดอยู่เฉพาะ การรายงานข่าวเหตุการณ์ความรุนแรง สื่อกระแสหลักไม่ได้พยายาม ที่จะอธิบายให้สาธารณชนเข้าใจถึงบริบทของความขัดแย้งที่กำลัง เกิ ด ขึ้ น มากนั ก ในสถานการณ์ เช่ น นี้ จึ ง มี ค วามจำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งมี สือ่ ทางเลือก อย่างโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) เกิดขึน้ เพือ่ เติมเต็ม ช่องว่างที่หายไป การรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน (Investigative Reporting) ไม่ค่อยจะมีให้เห็นมากนักในวงการการสื่อสารมวลชนในเมืองไทย มิพักต้องพูดถึงในเรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคใต้ เพื่อเป็นการ


.....

ส่งท้ายงานเขียนชิ้นนี้ ผู้เขียนจึงได้เขียนเกร็ดในการทำข่าวเชิงสืบสวน สอบสวนจากประสบการณ์การทำงานชิน้ นี้ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับนักข่าวหรือผู้ที่ปรารถนาจะทำข่าวสืบสวนสอบสวนในภาคใต้ ต่อไป

94

เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม การเริม่ ต้นเขียนรายงานเชิงสืบสวนสอบสวนนัน้ สิง่ แรกทีต่ อ้ งมี คือคำถาม ความอยากรู้จะเป็นแรงผลักดันให้นักข่าวดั้นด้นเพื่อไปค้น หาในสิง่ ทีอ่ ยากรูน้ นั้ ความเป็นนักข่าว สำหรับบางคนอาจเป็นเพียงอาชีพ แต่สำหรับบางคน มันเป็นเหมือนตัวตนที่ไม่อาจสลัดออกไปได้ ในการทำข่าวสืบสวนสอบสวนนั้น นักข่าวควรจะคิดโจทย์ที่ชัด ว่าสิ่งที่ต้องการจะไปหาคำตอบคืออะไร ในการจะตั้งคำถามที่เฉียบคม นักข่าวควรจะต้องมีความรู้พื้นฐานในประเด็นนั้น ๆ พอสมควร นักข่าว จะต้องหาข้อมูลจากเอกสาร งานเขียนที่ผู้อื่นได้ทำมาทั้งงานข่าวหรือ งานวิจัยของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องในประเด็นนั้น ๆ การเข้าใจบริบท ของเรื่องที่จะเขียนจะช่วยในการวางกรอบโครงสร้างงานเขียนของเรา เช่น ความรุนแรงทีเ่ กิดขึน้ ในภาคใต้มลี กั ษณะเป็นอย่างไร กลุม่ ต่าง ๆ ที่ เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความรุนแรงมีกลุ่มใดบ้าง ข้อมูลทั้งจากฝ่ายความ มั่นคงและนักวิเคราะห์อิสระได้เคยวิเคราะห์เรื่องนี้ไว้อย่างไรบ้าง ฯลฯ คำถามนัน้ จะเป็นตัวนำไปสูก่ ารวางโครงเรือ่ งคร่าว ๆ ในการเขียน เราควรจะวางโครงเรื่องนี้ก่อนการไปสัมภาษณ์เพื่อให้เรามีเข็มทิศใน การเดินทาง เราจะได้ไม่เดินหลงทางและรู้ว่าจุดหมายของเราคืออะไร ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

แต่ว่าพึงระลึกไว้เสมอว่าเราต้องพร้อมที่จะเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ และ เปลี่ยนแปลงหรือขยายแผนที่ซึ่งเราได้วางได้แต่แรกได้ตลอดเวลา การแสวงหาข้อมูลสำหรับนักข่าวมีหลายวิธี วิธหี ลักทีใ่ ช้กนั มาก คือ การสัมภาษณ์ แต่นักข่าวยังสามารถหาข้อมูล โดยเฉพาะในการทำ รายงานเชิงสืบสวนสอบสวนได้จากการค้นเอกสารและการลงพื้นที่ 95 เพื่อสังเกตการณ์ ในช่วงแรกเราได้พูดถึงการตั้งคำถามใหญ่ไปแล้ว ในการเตรียมการสัมภาษณ์ นักข่าวจะต้องระบุตัวบุคคลที่ต้องการจะ ไปสัมภาษณ์และเตรียมคำถามย่อย ๆ ที่ต้องการจะถามแหล่งข่าว แต่ละคนก่อนไปสัมภาษณ์ และหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งข่าวคน นั้นเพื่อจะได้ตั้งคำถามได้เหมาะสม ความรู้ เรื่ อ งแหล่ ง ข่ า วเป็ น เรื่ อ งที่ ต้ อ งสะสมและได้ ม าจาก การปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข่าวนั้นมาเป็นระยะเวลานาน นักข่าวจำเป็น จะต้องศึกษาทำความเข้าใจโครงสร้างการทำงานของหน่วยงานที่เรา จะทำข่าว เช่น การทำข่าวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างน้อยที่ สุดต้องเข้าใจโครงสร้างของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งเป็นสองหน่วยงานหลักในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ในภาคใต้ แต่ความรู้เช่นนี้มักไม่มีการเขียนเป็นตำรา แต่เป็นความรู้ที่ นักข่าวแต่ละคนจะต้องสะสมทีละนิดละน้อยผ่านการทำงานในสนาม เป็นเวลาหลาย ๆ ปี เรื่องของชั่วโมงบินจึงเป็นสิ่งที่ทำให้นักข่าวอาวุโส สามารถได้ข่าวที่ลึกกว่านักข่าวหน้าใหม่ในสนาม หากนักข่าวไม่เข้าใจ โครงสร้างเหล่านี้จะไม่สามารถระบุได้ว่าจะติดต่อใครเพื่อให้ได้ข้อมูล ที่ต้องการ การสร้างแหล่งข่าวเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและนักข่าวควร เบื้องหลังการถ่ายทำ : รายงานพิเศษ


.....

ต้องสานสัมพันธ์กับแหล่งข่าวอยู่เสมอ ลงพื้นที่สัมภาษณ์

96

เมื่อเรามีร่างแผนที่คร่าว ๆ แล้วว่าเราต้องการหาคำตอบเรื่อง อะไร เราก็เริ่มต้นออกเดินทางได้ เกร็ดความรู้อันหนึ่งที่อยากนำมาเล่า สู่กันฟังคือ บางครั้งอัตลักษณ์ของนักข่าวนั้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้แหล่ง ข่าวตัดสินใจพูดหรือไม่พูดข้อมูลบางอย่าง หรือมีผลต่อวิธีอธิบายเรื่อง ราวต่าง ๆ ของแหล่งข่าว ประเด็นเรื่องอัตลักษณ์นี้เป็นสิ่งที่นักข่าว เปลี่ยนไม่ได้และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะบิดเบือนข้อมูล แต่นักข่าวพึงที่จะ ตระหนักในเรื่องนี้และทำให้อัตลักษณ์ของตนนั้นเป็นประโยชน์ต่อการ ทำงานให้ได้มากที่สุด ในการพูดคุยประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนนั้น นักข่าวควรจะ ระบุเงื่อนไขการพูดคุยให้ชัดเจนเพื่อให้แหล่งข่าวมีความสบายใจใน การพูด เช่น เป็นการให้ขอ้ มูลทีน่ ำไปอ้างอิงได้แบบไม่ออกชือ่ แหล่งข่าว หรือเป็นการให้ข้อมูลเพื่อความเข้าใจของนักข่าวแต่ไม่ให้นำไปอ้างอิง เลย นักข่าวพึงระลึกไว้ว่า หากได้สัญญากับแหล่งข่าวไว้อย่างไรแล้ว จะ ต้องรักษาสัญญานั้นไว้ให้มั่น มิเช่นนั้น แหล่งข่าวจะหมดความเชื่อถือ นักข่าวและอาจไม่ให้สมั ภาษณ์อกี ในการสัมภาษณ์เรือ่ งทีล่ ะเอียดอ่อน อาจใช้วิธีจดแทนการบันทึกเสียง จะทำให้แหล่งข่าวสบายใจในการพูด มากกว่า หลังการสัมภาษณ์จบ สิ่งที่พึงปฏิบัติเป็นกิจวัตรคือการพิมพ์ บทสัมภาษณ์เก็บไว้โดยเร็วที่สุด เมื่อเราเขียนบันทึกทันที เราจะยังคง

ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี


โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

.....

จดจำคำพูดของแหล่งข่าวได้เกือบทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เราสามารถเก็บ รายละเอียดข้อมูลไว้ได้อย่างค่อนข้างครบถ้วน ยิ่งเราทิ้งไว้นานเท่าใด เราอาจจะลืมว่าสิ่งที่เราจดไว้นั้น แหล่งข่าวได้พูดไว้อย่างไร อันนี้เป็น ประโยชน์มากในการทำข่าวสืบสวนสอบสวน เอกสารและหนังสือเป็นสิ่งสำคัญที่นักข่าวสามารถเอามาใช้ใน 97 การเขียนรายงานเชิงสืบสวนสอบสวนได้ ซึง่ จะทำให้เนือ้ หามีความแน่น ขึน้ นักข่าวทีด่ คี วรจะต้องเพิม่ พูนความรูข้ องตนเองด้วยการอ่านหนังสือ อย่างสม่ำเสมอ ลงมือเขียน นักข่าวและนักเขียนหลายคนมีความเห็นตรงกันว่าช่วงเวลาซึ่ง สนุกที่สุดในกระบวนการทำงาน คือ การลงพื้นที่ แต่เมื่อลงพื้นที่เสร็จก็ จะต้องลงมือเขียน ซึ่งมักเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างยากและใช้พลังงาน สมองมาก แต่เมื่อทำเสร็จแล้ว ผู้เขียนก็จะเกิดความปิติกับผลงานที่ ตนเองได้ฟูกฟักจนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ในการเขียนนั้น เราจะต้องนำเอาข้อมูลที่ได้มาร้อยเรียงและ ลำดับเรื่องราวอย่างมีตรรกะเหตุผล เราจะต้องรู้ว่าจะนำบทสัมภาษณ์ ใดมาใช้ตอนใดและเพือ่ อธิบายเรือ่ งอะไร การเขียนก็เหมือนกับการปรุง อาหาร บทสัมภาษณ์หรือเอกสารก็เป็นองค์ประกอบที่รอการปรุงให้ เป็นอาหารจานหนึ่ง ส่วนจะอร่อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับฝีมือการปรุงของ นักเขียนที่ต้องใช้ความสามารถทางสติปัญญาและการใช้ภาษาในการ ถ่ายทอดเรื่องราว เบื้องหลังการถ่ายทำ : รายงานพิเศษ


.....

เคล็ดไม่ลับอย่างหนึ่งในการเขียนก็คือ เมื่อเขียนเสร็จรอบแรก แล้ว ควรทิง้ ไว้และพยายามลืมเรือ่ งทีเ่ ขียนไปสักพัก หลังจากนัน้ จึงค่อย กลั บ มาอ่ า นและแก้ ไขอี ก ครั้ ง หนึ่ ง เพื่ อ ดู ก ารเรี ย บเรี ย งโครงสร้ า ง การอธิบายตรรกะเหตุผล และความลื่นไหลของภาษา เราจะเห็นข้อ 98 ผิ ด พลาดนั้ น ได้ ดี ม ากกว่ า การอ่ า นซ้ ำ ไปซ้ ำ มากทั น ที ห ลั ง เขี ย นเสร็ จ ใหม่ ๆ การจะเป็นนักข่าวหรือนักเขียนที่ดีได้ สิ่งพื้นฐานคือจะต้องเป็น ผู้ที่อ่านหนังสือหลากหลายรูปแบบ ถึงที่สุดแล้ว การเขียนหนังสือเป็น การเดินทางของแต่ละปัจเจกบุคคล แม้ว่าอาจจะแนะนำหรือติชมได้ แต่การพัฒนาฝีมือนั้น เป็นเรื่องที่แต่ละคนจะต้องเรียนถูกเรียนผิดและ พัฒนาฝืมือกันเอง การขอให้เพื่อนมิตรที่เราเชื่อมือช่วยวิจารณ์จะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงงานเขียน บางครั้งการจมอยู่กับเรื่อง นั้น ๆ นานเกินไปจะทำให้ผู้เขียนมองไม่เห็นถึงจุดด้อยที่คนอื่นจะ สามารถชี้ให้เราเห็นได้ ทั้ ง หมดนี้ ก็ เ ป็ น การบอกเล่ า เกร็ ด และประสบการณ์ ใ นการ ทำข่าวสืบสวนสอบสวน และการเล่าเบือ้ งหลังการถ่ายทำรายงานพิเศษ ชุดนี้ ความขัดแย้งในภาคใต้ยังคงมีเรื่องราวอีกมากมายที่รอให้นักข่าว รุ่นใหม่ ๆ ไปขุดค้น หากนักข่าวเป็น “กระจก” ที่ส่องให้เห็นความเป็นจริงอย่างไม่ บิดเบี้ยวและเป็น “ตะเกียง” ที่ช่วยส่องให้เห็นทางที่เดินไปข้างหน้าได้ บ้าง ย่อมน่าจะถือว่านักข่าวได้ทำหน้าที่อันสำคัญต่อการแก้ปัญหาที่ ทำให้ผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นเรือนหมื่นนี้บ้างไม่มากก็น้อย ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี



สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.