Jarurat-arti3314-102-โครงการออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์

Page 1


คำนำ น้ำตาลมะพร้าว เป็นเครื่องปรุงที่อยู่คู่วิถีชีวิต คู่ครัวไทยมาช้านาน เพื่อใช้ประกอบอาหารหรือ ทำขนมหวาน ด้วยเอกลักษณ์ะที่มีกลิ่นหอม รสชาติหวานมัน ละลายได้ง่ายในน้ำกะทิ หรือน้ำปรุงรส อาหาร คนไทยจึงนิยมใช้เพื่อทำส้มตำ ผัดไทย แกงเผ็ด แกงกะทิ หมักหมู/ไก่ น้ำจิ้ม น้ำพริก น้ำกะทิ ในขนมไทย ฯลฯ รายงานเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลักในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุ น้ำ ตาล มะพร้าวน้ำหอม 100% ของผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% ไผ่ริมแคว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้ผู้จัดทำได้ศึกษาทั้งกระบวนการผลิตน้ำตาลมะพร้าว ปัญ หาของ น้ำตาลมะพร้าว รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการบรรจุน้ำตาลมะพร้าวในรูปแบบ ต่างๆ ซึ่ง ปัญหาเหล่านี้ต้องนำมาใช้ในกระบวนการคิดวิเคราะห์สำหรับการออกแบบทั้งสิ้น ทั้งนี้การจัดทำรายงาน และการศึกษาผลิตภัณฑ์พบปัญหามากมาย ซึ่งผู้จัดทำได้ทำการแก้ไข และพยายามปรับปรุงให้เหมาะสมที่สุด และต้องขอขอบพระคุณ ผศ.ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ที่ปรึก ษา ประจำวิชา arti3314 การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่ให้คำปรึกษาด้วยดีตลอดมา หากเนื้อ หาส่วนใดของรายงานมีความผิดพลาด ทางผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ นางสาวจารุรัตน์ น่าเยี่ยม ผู้จัดทำ


บทที่ 1 Research : การสืบค้น บรรจุภัณฑ์โอท๊อป น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% ไผ่ริมแคว

ที่มาของภาพ : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) ผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมแท้ 100% ไผ่ริมแคว จังหวัดกาญจนบุรี OTOP 1.ศึกษาวิเคราะห์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ • ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวสินค้า ชื่อสินค้า น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% ไผ่ริมแคว ประเภท อาหารและเครื่องดื่ม สถานะ ของเเข็ง วัสดุหลัก น้ำมะพร้าว ผู้ผลิต คุณแดง -เจ๊หนู ที่อยู่ เลขที่ 55 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ 081-856-5302 , 087-078-3940 Email pronleart55@hotmail.com


สี ขนาด/มิติ

น้ำตาล กว้าง x สูง x หนา x ทรง ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซ.ม หนา 4 ซ.ม ทรงสี่เหลี่ยม กว้าง 11ซ .ม ยาว 18 ซ.ม 6 ซ.ม ธรรมชาติการวางขาย/รูปแบบการขาย วางทับกัน ราคา ครึ่งกิโลกรัม 20 บาท 1 กิโลกรัม 35 บาท 3 กิโลกรัม 100 บาท การนำส่งสินค้า • โครงสร้างหลักของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ เทคนิคการบรรจุภัณฑ์ นำมาแพ็คใส่ถุงพาลสติกและมียางมัดที่ปากถุง ใช้เทคนิค/วิธีการ/การบรรจุสินค้า บรรจุภัณฑ์ชั้นแรกใช้วัสดุ ถุงพาลสติก / กล่องพลาสติก บรรจุภัณฑ์ชั้น2ใช้วัสดุ ขนาด/มิติ ทรง4เหลี่ยม สีของวัสดุบรรจุภัณฑ์ สีใสและขาวขุ่น การขึ้นรูปทรง ทรงกลม สี่เหลี่ยม สี/จำนวนสีที่พิมพ์ 2สี การออกแบบกราฟิก ภาพประกอบ มีลูกมะพร้าว ลวดลาย มีลวดลายกราฟิก ข้อความ เจ้าแรกของจังหวัดกาญจนบุรี โลโก้ชื่อสินค้า ไผ่ริมแคว โลโก้ชื่อผู้พลิต คุณแดง -เจ๊หนู •


ประวัติความเป็นมาของกลุ่มน้ำตาลมะพร้าวไผ่รมิ แคว เตาน้ำตาลไผ่ริมแคว เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2550 โดยมีจุดประสงค์ของการก่อ ตั้งเริ่ม จาก “การพลิกวิกฤตให้ เป็นโอกาส” ของคุณพรเลิศ เลี่ยนเครือ ( คุณแดง ) ซึ่งขณะนั้น คุณแดงได้ทําไร่ผลไม้ เช่น ขนุน , ส้มโอ , แก้วมังกร , กระท้อนมะพร้าว และผลไม้อื่นๆอีกมากมาย แต่ขณะนั้นประสบปัญหาเรื่องตลาดผลไม้ล้นตลาดทําให้ขายไม่ได้ราคาเท่าที่ควรแต่คุณแดงก็ ไม่ ได้ละความพยายาม เพราะคุณแดงเชื่อเรื่องประสบการณ์การทําไร่ของตัวเองที่ทํามาเกือบ 10 ปี คุณแดงคิดอยู่เสมอว่าสักวันผลไม้ที่อยู่ในสวนของตนเองต้องขายได้ราคาและขณะที่ปลูกผลไม้ก็ พยายามดูแลสวนผลไม้ของตนเองด้วยดีมาตลอดแต่ก็ยังประสบปัญหาอยู่ตลอดจนกระทั่งวันหนึ่ง นํามะ พร้าวที่สวนไปขายกลุ่มลูกค้ากลับกดราคาต่ำมากจึงมีความคิดว่ามะพร้าวสามารถผลิตน้ำตาลปี๊บได้ เหมือนกับต้นตาลโตนด ประกอบกับขณะนั้นลุงของคุณแดงมีอาชีทำน้ำตาลมะพร้าวอยู่ที่แม่กลอง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลมะพร้าวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรสาครคุณแดงก็เลยขอคําปรึกษา จากลุงโดย ตรง ว่ามะพร้าวที่ปลูกในจังหวัดกาญจนบุรีสามารถทําน้ำตาลได้หรือไม่ ก็เลยเชิญลุงที่มีประสบ การณ์ มาดูลุงได้มาดูที่สวนของคุณแดงและได้ลองทําน้ำตาลดูปรากฎว่าทําน้ําตาลปี๊บได้และมีคุณภาพเทียบ เท่ากับน้ําตาลจากแม่กลอง เพราะ 1.น้ำตาลใสมีกลิ่นหอมของมะพร้าวน้ำหอม 2.มะพร้าวมีความมันอยู่ในตัวของมะพร้าวเอง 3.มะพร้าวน้ำหอมมีความหวานเป็นทุนอยู่ในตัวเอง จากนั้นลุงก็แนะนําให้คุณแดงทดลองนําน้ำตาลใสที่ได้จากงวงมะพร้าวมาเคี่ยวดูปรากฏว่า สามารถทําเป็นน้ำตาลปี๊บได้ จึงเกิดเป็นน้ำตาลไผ่ริมแควมาจนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นเตาน้ำตาลปี๊บแห่ง แรก ของจังหวัดกาญจนบุรีต่อมาในปีพ.ศ.2551สํานักงานเกษตร อําเภอท่าม่วงได้เข้ามาแนะนําให้ จดทะ เบียน เป็นวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 โดยใช้ชื่อ ว่า “วิสา หกิจชุมชน กลุ่มน้ำตาลมะพร้าว 100% ไผ่ริมแคว” มีสมาชิก 7 คน ปัจจุบันกลุ่ม มีสมาชิก25คน ดําเนินกิจกรรแปรรูปผล ผลิตจากน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม ได้แก่ น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมบรรจุปี๊บ , น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมบรรจุกล่องพลาสติก(น้ำหนัก 1 กิโลกรัม) , น้ำตามะพร้าวน้ำหอมบรรจุถุงพลาสติก(น้ําหนัก 1 กิโลกรัม) และน้ำตาลสด ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้รับการรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยได้รับเครื่องหมาย “มผช.” จาก กระทรวงอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2552 และต่อมาได้รับการคัดสรรให้เป็น สินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว ในปี พ.ศ. 2553 จากการตั้งใจดําเนินงานและมีการพัฒนาสินค้าอยู่ตลอดทําให้ปัจจุบัน มียอด จําหน่าย น้ําตาล เดือนละไม่ต่ำกว่า20ตันและได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต้นมะพร้าว


น้ําหอมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนขณะนี้มีต้นมะพร้าวน้ำหอมอยู่ทั้งหมด4,200ต้น และได้ทําการขยาย ตลาด โดยการลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ และTV.ต่างๆอย่างต่อเนืองมาตลอด เพื่อให้น้ำตาลมะพร้าว ของอําเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็น ที่ยอมรับของผู้บริโภคอย่างมากต่อไปในอนาคตการผลิต กลุ่มจะ เน้นการผลิตสินค้าที่ปลอดสารพิษต่อไป ในอนาคต การดําเนินกิจกรรมของกลุ่ม กลุ่มดําเนินกิจกรรมแปรรูปผลผลิตจากน้ำตาลมะพร้าน้ำหอมได้แก่ 1.น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมบรรจุปี๊บ 2.น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมบรรจุกล่องพาสติก(น้ำหนัก1กิโลกรัม) 3.น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมบรรจุถุงพาสติก(น้ำหนัก1กิโลกรัม) 4.น้ำตาลสด การตลาดแหล่งจําหน่าย 1.ร้านขายของฝาก 2.ห้าสรรพสินค้า 3.ร้านค้าทั่วไป หน่วยงานสนับสนุน 1.องค์การบริหารส่วนตําบลทุ่งทอง 2.สํานักงานเกษตรอําเภอท่าม่วง 3.สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอท่าม่วง ที่มา : kachanaburi.doae.go.th (2555) น้ำตาลมะพร้าว , URL : http://thamuang.kanchanaburi.doae.go.th/files/sugarcoconut.pdf


การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยการมอง (Product Visual analysis) ชื่อผลิตภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% ตราไผ่ริมแคว

ภาพแสดงโครงสร้าง และส่วนประกอบทางกราฟิกของผลิตภัณฑ์สินค้าน้ำตาลมะพร้าวน้ำ หอม100% ตราไผ่ริมแคว ที่มา : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม ,2555 URL.https://docs.google.com/open?id=0BzCnHDsssG7VZ29PWEczRFVxUG8 เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2555 ผลการวิเคราะห์ ก.โครงสร้างของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบัน หมายเลข 1 คือ กล่องพลาสติก 1.1 กล่องพลาสติก ชนิด P.P. Polypropylene 1.2 ขนาด มิติ ความกว้าง 11 ซม / ยาว 18 ซม / หนา 6 ซม 1.3 รูปแบบกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยม มีฝาปิด 1.4 ราคา 35 บาท ( บรรจุ 1 กิโลกรัม ) หมายเลข 2 คือ ( ในกล่อง ) ตัวผลิตภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% หมายเลข 3 คือ ฝาปิดของกล่องพลาสติก


ข.กราฟิกที่ปรากฏบนตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบัน หมายเลข 4 คือ ภาพประกอบรูปมะพร้าวน้ำหอม หมายเลข 5 คือ ชื่อสินค้าน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% หมายเลข 6 คือ LOGO บริษัทผู้ผลิต = ไผ่ริมแคว หมายเลข 7 คือ ภาพประกอบรูปต้นมะพร้าว หมายเลข 8 คือ ข้อความประกอบและเบอร์โทรติดต่อของผู้ผลิต หมายเลข 9 คือ LOGO ผู้ผลิต หมายเลข 10คือ ภาพประกอบ หมายเลข 11 คือ ข้อมูลผู้ผลิต หมายเลข 12 คือ เครื่องหมาย มอก (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) จุดบอดทางการมองเห็น-การสื่อสาร ได้แก่ 1.1. ตัวฉลากสินค้ามีขนาดเล็ก และไม่ดึงดูดสายตา 1.2. ภาพประกอบบนฉลากสินค้าไม่ชัดเจน ทำให้เข้าใจได้ยาก ข้อเสียโดยภาพรวมของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 2.1. ผลิตภัณฑ์ขาดความสวยงามซึ่งเป็นตัวดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค 2.2. ตัวผลิตภัณฑ์มีความยากต่อการนำไปใช้สอย เพราะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ความต้องการของผู้บริโภค 1. สินค้าต้องใช้งานได้สะดวก เนื่องจากแบบเดิม ตัวน้ำตาลมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ยากต่อ การ ใช้งาน ลูกค้าส่วนใหญ่จึงนิยมซื้อสินค้าในชนิดที่ทุบแล้วบางส่วน มากกว่าชนิดที่ ยังเป็นก้อน 2. การเก็บรักษา ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานในครั้งต่อไป เนื่องจากรูปแบบเดิมคือ 2.1 การบรรจุในกล่องพลาสติก แบบนี้แม้จะสามารถเปิดใช้สะดวก แต่ผลิตภัณฑ์ ข้างใน ก็ยังนำออกมาใช้ยาก เพราะมีลักษณะแข็งมาก 2.2 การบรรจุในถุงพลาสติกธรรมดา เวลานำไปใช้ บางครอบครัวก็ต้องหา กระปุก มาใส่อีกที ซึ่ง เป็นการ สูญเสียถุงพลาสติกโดยใช่เหตุ


บทที่ 2 Resume : สมมติฐาน

ภาพการสอบถาม และขอคำปรึกษาจากผู้ประกอบการณ์ คือคุณธีรพงศ์ นิมิตชัยโรจน์ (คุณแว่น) ที่งาน Otop mid year 2012 ที่มา : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม , 25 สิงหาคม 2555

ข้อเสียของบรรจุภัณฑ์เดิมคือ 1. 2. 3. 4.

บรรจุภัณฑ์ชนิดถุงพลาสติกมัดยาง ดูไม่สวยงาม ไม่เรียบร้อย ไม่น่าซื้อหา ฉลากสินค้ามีขนาดเล็กเกินไปและมีข้อมูลไม่ละเอียด บรรจุภัณฑ์ชนิดกล่อง มีปัญหาเรื่องการใช้สอยของตัวผลิตภัณฑ์ รูปแบบที่ทุบกึ่งละเอียด เมื่อบรรจุในถุงพลาสติกมัดยางธรรมดา ทำให้ดูเหมือนเศษน้ำตาล ที่เหลือจากการผลิต

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ 1. ชื่อผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนจากชื่อเดิมคือ ไผ่ริมแคว เป็นตาลริมแคว โดยมีแนวคิดจากจุดที่ว่า ให้คำว่าตาล แทน ตัวผลิตภัณฑ์ และจากชื่อไผ่ริมแควเป็น ชื่อร้านอาหารของผู้ประกอบการณ์ เอง จะได้เชื่อม โยงและสอดคล้องกัน 2. ตราสัญลักษณ์และฉลากสินค้า การสร้างตราสัญลักษณ์ขึ้นมาใหม่ โดยใช้รูปต้นมะพร้าว เป็นจุดเด่นเพื่อบ่งบอกว่า ผลิต ภัณฑ์นี้ ทำมาจากส่วนหนึ่งของต้นมะพร้าว และตัวฉลากก็ยังคงข้อความเดิมไว้ เพื่อรักษา รูปลักษณ์เดิมของตัวผลิตภัณฑ์


3. บรรจุภัณฑ์ ใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดขวดพลาสติก ทรงกลมสูง ฝาเกลียวล็อค เป็นขวด PS สามารถทนความ ร้อนได้ในระดับหนึ่ง ขนาดปากขวด 7 cm สูง 12 cmปริมาณบรรจุ 300ml สามารถบรรจุ น้ำตาลได้ทั้งแบบน้ำตาลปี๊บและน้ำตาลทุบ

ที่มา : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , Sketch รูปแบบ packaging สินค้า ออกแบบโดย นางสาวจารุรัตน์ น่าเยี่ยม


ที่มา : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , การออกแบบผลิตภัณฑ์และ pattle โดยโปรแกรม Sketch up ออกแบบโดย : นางสาวจารุรัตน์ น่าเยี่ยม


บทที่ 3 Result : สรุป ตราสัญลักษณ์ ตาลริมแคว

ฉลากสินค้าสำหรับบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 1


บรรจุภัณฑ์ชั้นที2่


ที่มา นางสาวจารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , รูปผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์


สรุป ปัญหาที่พบ บรรจุภัณฑ์มีความเปราะบางเมื่อบรรจุผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเยอะ หากโดนแรง กระ แทกในระดับหนึ่งจะทำให้เกิดรอยร้าวได้ง่าย ดังนั้นจึงควร ระมัดระวังใน การขนส่งเป็น พิเศษ

ผลการดำเนินงาน การทำงานพบอุปสรรคในหลายๆด้าน แต่ทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ต้อง ขอขอบคุณ ผศ. ประชิด ทิณบุตร ซึ่งให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการออกแบบตลอด มาตั้งแต่ต้นจน จบ ทำให้การดำเนินงานผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

สิ่งที่ได้พัฒนาได้แก่ 1. ชื่อสินค้า เปลี่ยนจากไผ่ริมแคว เป็นตาลริมแคว เพื่อให้คงความเป็นรูปแบบเดิมไว้ และ เชื่อมโยงกับกิจการอื่นๆของคุณแดงและเจ๊หนู 2. ออกแบบฉลากสินค้าและตราสัญลักษณ์ให้น่าสนใจกว่าเดิม 3. เพิ่ม pattle รอบกล่อง ให้มีข้อมูลของผลิตภัณฑ์มากขึ้น 4. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2 เพื่อรองรับบรรจุภัณฑ์ชั้นใน และเพิ่มมูลค่าสินค้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.