คู่มือการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยประสิทธิ์ สุวรรณประสม

Page 1

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชํานาญการ (พัฒนาการอําเภอ)


คํานํา เอกสารองค์ความรู้แนวทางการดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฉบับนี้ ได้รวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จากหนังสือสั่งการ เอกสาร คู่มือต่างๆ ความรู้ที่ได้รับ จากการเข้ารับการฝึกอบรมโครงการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญสู่ความเป็นเลิศด้านกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รุ่นที่ ๑/๒๕๕๔ และประสบการณ์การปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกิจกรรมเครือข่าย จากอดีตถึงปัจจุบัน การรวบรวมเรียบเรียงเนื้อหาจัดทําขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการให้ความรู้ และเป็นคู่มือ ให้กลุ่มเป้าหมายใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการพัฒนาระบบส่งเสริมการ ดําเนินงานเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อําเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้ รวบรวมไว้เท่าที่จําเป็นตามบริบทของชุมชนเท่านั้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางการการปฏิบัติงานสําหรับ เจ้าหน้าทีพ่ ัฒนาชุมชนอําเภอ เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและผู้ที่เกี่ยวข้องได้บ้าง หากได้ดําเนินการ ตามแนวทางนี้การดําเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจะได้มีพฒ ั นาการในแนวทางที่ถูกต้อง มีความเจริญ ก้าวหน้าเป็นรากฐานอันมั่นคงด้านเงินทุนชุมชน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนและเสริม สร้างให้หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ต่อไป

ประสิทธิ์ สุวรรณประสม ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔


สารบัญ หน้า ส่วนที่ ๑ แนวคิด หลักการ ความเป็นมา แนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์ เงินทุนของกลุ่ม สมาชิก โครงสร้างการบริหารงาน ส่วนที่ ๒ กิจกรรมการดําเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กิจกรรมของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ข้อห้ามการดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต แนวทางการสนับสนุนการดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ส่วนที่ ๓ แนวทางการปฏิบัติกรณีเกิดความเสียหาย แนวทางการปฏิบัติกรณีเกิดความเสียหาย การแก้ปัญหาเบื้องต้น การสอบข้อเท็จจริง การดําเนินคดีทางกฎหมาย (คดีอาญา) การดําเนินคดีทางกฎหมาย (คดีแพ่ง) ส่วนที่ ๔ ระบบการเงินและบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หลักการและความสําคัญ ความรู้เกี่ยวกับบัญชีเบื้องต้น ประโยชน์ของการทําบัญชี หลักความสัมพันธ์พื้นฐานทางการบัญชี ศัพท์ทางการบัญชีที่ควรรู้ ระบบบัญชีกลุม่ ออมทรัพย์เพื่อการผลิต แสดงฐานะทางการเงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต การคิดเงินปันผล ความสําคัญของเงินปันผล วิธีการคํานวณเงินปันผล การคิดเงินเฉลี่ยคืน การตรวจสอบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ความสัมพันธ์ระหว่างรายการเบื้องต้นเพื่อการลงบัญชีระบบบัญชีคู่ จุดเน้นการตรวจสอบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ส่วนที่ ๕ ตัวอย่างเอกสาร แบบพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบข้อบังคับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต แบบฟอร์มบัญชีและทะเบียนต่างๆ ภาคผนวก โจทย์ตัวอย่างการลงบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

๑ ๑ ๒ ๒ ๒ ๒ ๓ ๔ ๔ ๕ ๗ ๗ ๘ ๘ ๙ ๑๐ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๒ ๑๔ ๑๗ ๑๘ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๔ ๒๖ ๓๒ ๓๓


ความเป็นมา กรมการพัฒนาชุมชน ดําเนินการส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยศาสตราจารย์ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้เริ่มทดลองดําเนินการครั้งแรก 2 แห่ง คือ ที่ตําบลขัวมุง อําเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และที่ตําบลละงู อําเภอละงู จังหวัดสตูล กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการผสมผสมระหว่างแนวคิดของสหกรณ์การเกษตรเครดิตยูเนี่ยน และ สินเชื่อเพื่อการเกษตร โดยใช้ “เงินเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน” ทําให้คนมีคุณธรรม มีการช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้ออาทร แบ่งปันซึ่งกันและกัน เกิดกระบวนการเรียนรู้การทํางานร่วมกัน ตามวิถีทางประชาธิปไตย มีการ ยอมรับฟังความคิดเห็นของเสียงส่วนใหญ่ เคารพในกฎกติกาที่มาจากข้อตกลงร่วมกัน เกิดการเรียนรู้การบริหาร จัดการเงินทุนของตนเองเพื่อจัดสรรผลประโยชน์ และจัดเป็นสวัสดิการให้กับสมาชิก ทําให้ชุมชนมีแหล่งทุนใน การประกอบอาชีพเป็นของตนเอง ลดการพึ่งพิงแหล่งทุนจากภายนอกชุมชน และที่สําคัญที่สุดคือ เป็นการฝึกคน ให้ มี ค วามอดทน มี สั จ จะ มี ร ะเบี ย บวิ นั ย ในการใช้ เ งิ น รู้ จั ก ใช้ จ่ า ยเงิ น อย่ า งมี เ หตุ มี ผ ล มี ค วามเหมาะสม พอประมาณกับตนเองและครอบครัวเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัวและชุมชนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จึงเป็นกลไกสําคัญในกระบวนการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ทําให้เกิด การพั ฒนาชุมชนครอบคลุ มในหลาย ๆ มิติ ทั้ งด้า นเศรษฐกิ จ สั งคม การส่งเสริ มประชาธิ ปไตย การพัฒ นา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการส่งเสริมวัฒนธรรมวิถีการดํารงชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งเป็น รากฐานในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนในที่สุด กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมายถึง การรวมตัวของประชาชน เพื่อช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน โดยการประหยัดทรัพย์แล้วนํามาสะสมที่ละเล็กที่ละน้อย เป็นประจําสม่ําเสมอ เรียกว่า เงินสัจจะ สะสม เพื่อใช้เป็นทุนให้สมาชิกที่มีความจําเป็นเดือดร้อนกู้ยืมไปใช้ในการลงทุนประกอบอาชีพหรือเพื่อสวัสดิการ ของตนเอง และครอบครัว ปัจจุบันมีกลุ่มออมทรั พย์ฯ จํานวน ๓๔,๕๓๐ กลุ่ม มีเงินสัจ จะสะสม ๒๕,๒๔๗ ล้านบาท มีสมาชิ ก มากกว่า ๔.๕ ล้านคน มีการจัดระดับการพัฒนาเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับ ๓ มีผลงานดี มีจํานวน ๒๐,๐๐๔ กลุ่ม ระดับ ๒ กลุ่มที่ผลงานพอใช้ จํานวน ๗,๐๒๐ กลุ่ม และระดับ ๑ คือกลุ่มที่ผลงานต้องปรับปรุงและพัฒนา จํานวน ๓,๕๐๖ กลุ่ม (ข้อมูล ณ ตุลาคม ๒๕๕๓) แนวคิด แนวความคิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดของสหกรณ์การเกษตร เครดิตยูเนี่ยน และสินเชื่อเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย 4 แนวคิด ดังนี้ 1. แนวคิดที่ 1 การรวมคนในหมู่บ้าน ใช้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยรวมคนที่มีฐานะแตกต่างกันให้ ช่วยเหลือกัน เป็นการยกฐานะความยากจน อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า “จนเงินแต่ไม่จนน้ําใจ” 2. แนวคิดที่ 2 การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินทุน โดยการรวมกลุ่มออมเงิน แล้วให้สมาชิกกู้ยืม เป็นทุนในการประกอบอาชีพ 3. แนวคิดที่ 3 การนําเงินทุนไปใช้ดําเนินการ ด้วยความขยัน ประหยัด ถูกต้องเพื่อให้ได้ทุนคืนและมี กําไรเป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิก 4. แนวคิดที่ 4 การลดต้นทุนในการครองชีพ โดยให้สมาชิกมีการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด เป็นการ รวมตัวกันซื้อรวมตัวกันขาย สามารถลดต้นทุนในการซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค และปัจจัยกรผลิตได้


~2~

หลักการ การดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นการรวมตัวของประชาชน บริหารจัดการโดยประชาชน และเพื่อประโยชน์ของสมาชิกและหมู่บ้าน มีหลักการดําเนินงาน ดังนี้.1. ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นการสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของให้กับสมาชิกทุกคน ทําให้เกิดความ รับผิดชอบ และช่วยกันดูแลเอาใจใส่ในการดําเนินงานของกลุ่ม 2. การพึ่งตนเอง ฝึกนิสัยการประหยัด และอดออม โดยนําเอาคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการของชาว ชนบท คือ ความซื่อสัตย์ ความทนอด และความอดทน มารวมกันในรูปกลุ่มทําให้มีการรวมเงินทุนชุมชนเป็นของ ตนเอง ลดการพึ่งพาแหล่งทุนจากภายนอกหมู่บ้าน 3. หลักคุณธรรม ใช้การออมทรัพย์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อให้คนมีคุณธรรม 5 ประการ คือ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจ และความไว้วางใจ 4. หลักการควบคุมกันเอง สมาชิกกลุ่ม ฯ ทุกคนจะต้องให้ความสนใจดูแลความเคลื่อนไหว และ ตรวจสอบซึ่งกันและกัน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาคน โดยใช้หลักการกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง และ เพื่อนสมาชิกให้มีคุณธรรม 5 ประการ 2. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยการระดมเงินออม จัดตั้งเป็นกองทุน ทําให้ชุมชนมีแหล่ง เงินทุนในการกู้ยืมเงินไปประกอบอาชีพ ใช้ตามความจําเป็นของครอบครัว และเรียนรู้กิจกรรมเชิงธุรกิจ สามารถ เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว 3. เพื่อพัฒนาสังคม โดยการปลูกฝังคุณธรรม 5 ประการ ปลูกฝังวิถีประชาธิปไตย ก่อให้เกิดความสามัคคี การช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกัน ความร่วมมือร่วมใจ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความ ยุติธรรม ความเท่าเทียมกันของสมาชิก เงินทุนของกลุ่ม สมาชิก

ได้แก่ เงินสัจจะสะสม เงินสัจจะสะสมพิเศษ รายได้อื่น ๆ หรือเงินอุดหนุน

คุณสมบัติ/คุณลักษณะของสมาชิก 1) เป็นประชาชนทุกเพศ ทุกวัยในหมู่บ้าน ตําบล 2) มีรายได้ และมีความสามารถในการส่งเงินสัจจะสะสมตามกําลังของตน 3) อาศัยอยู่หรือมีที่ทํากินในหมู่บ้าน หรือตําบล 4) มีความสมัครใจและศรัทธาการดําเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 5) มีความเข้าใจ หลักการ วิธีการ และวัตถุประสงค์ของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 6) มีความรับผิดชอบและเสียสละ 1. ประเภทของสมาชิก มี 3 ประเภท คือ 1) สมาชิกสามัญ ได้แก่ บุคคลทุกเพศ ทุกวัยภายในหมู่บ้าน หรือตําบล ที่สมัครเข้ามาเป็น สมาชิกกลุ่ม ตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม ๒) สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ กลุ่มอาชีพ กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน หรือกลุ่มอื่น ภายในหมู่บ้าน หรือตําบล ที่ทางราชการสนับสนุนและรับรองฐานะ ๓) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ข้าราชการ หรือคหบดี ภิกษุ สามเณร ที่อาศัยอยู่ในชุมชนมี ความสนใจ และให้การสนับสนุนกลุ่มโดยไม่หวังผลตอบแทน


~3~

๒. 1) 2) 3) 4) 5) 6) 7)

หน้าที่ของสมาชิก ส่งเงินสัจจะสะสมเป็นประจําทุกเดือน ส่งคืนเงินกู้ตามกําหนด เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่ม เข้าร่วมประชุมสามัญประจําปี มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดีแก่กลุ่ม กํากับ ตรวจสอบ การดําเนินงานของกลุ่ม ให้ข้อมูลข่าวสารแก่เพื่อนสมาชิก

โครงสร้างการบริหารงาน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดําเนินการบริหารโดยคณะกรรมการบริหารกลุ่ม ๔ คณะ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการอํานวยการ จํานวน ๕-๗ คน ประกอบด้วย ประธาน มีหน้าที่เป็นประธานการประชุมใหญ่สามัญประจําปี ประชุมคณะกรรมการบริหาร และประชุมคณะกรรมการอํานวยการ เป็นผู้ลงนามในเช็คเอกสารการเบิกจ่ายเงินร่วมกับเหรัญญิก เป็นตัวแทน ของกลุ่ มในการลงนามในเอกสารต่ า ง ๆ นอกจากนี้ ยั งมี ห น้ า ที่ อื่น ๆ ตามที่ ค ณะกรรมการอํ า นวยการมี ม ติ มอบหมาย รองประธาน ทําหน้าที่เมื่อประธานไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ หรือเมื่อประธาน มอบหมายให้ทํา เหรัญญิก รับผิดชอบทางการเงินของกลุ่ม ควบคุมดูและเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งทรัพย์สินของกลุ่ม ลงลายมือชื่อในเช็ค ใบรับ – จ่ายเงินต่าง ๆ ควบคุมดูแลบัญชีให้ถูกต้องเรียบร้อยและพร้อมที่จะให้กรรมการ ตรวจสอบได้ตลอดเวลา เลขานุการ ทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนของกลุ่ม จดรายงานการประชุม เก็บรักษารายงาน เอกสาร ต่าง ๆ ทําหนังสือเชิญประชุม หนังสือติดต่อประสานงานต่าง ๆ กรรมการร่ ว มอื่ น ๆ ทํ า หน้ า ที่ ต ามที่ ค ณะกรรมการมอบหมาย หน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของ คณะกรรมการอํานวยการโดยรวม คือ พิจารณารับสมาชิกกําหนดประชุมใหญ่สามัญประจําปี จัดสรรเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืนก่อนการประชุมใหญ่ บริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ให้เป็นที่พึงพอใจ ของสมาชิก ตลอดจนเป็นตัวแทนของกลุ่มในการประสานงานและติดต่อกับองค์กรภายนอก ๒. คณะกรรมการเงินกู้ จํานวน ๓-๕ คน มีหน้าที่ในการพิจารณาคําร้องขอกู้เงินของสมาชิกว่าจะ อนุมัติหรือไม่ การอนุมัติเงินกู้ให้พิจารณาตามแนวทางอันสมควรและยุติธรรมเพื่อให้เกิดผลดีแก่ผู้กู้และกลุ่มเป็น ส่วนรวม โดยใช้วิธีพิจารณาตามระเบียบหรือมติที่กําหนดไว้ การที่จะให้สมาชกกลุ่มกู้เงินได้จํานวนมากน้อยแค่ ไหน คณะกรรมการต้องดูความสามารถในการออม พิจารณาถึงความสม่ําเสมอในการส่งเงินสัจจะ ความสามารถ ในการส่งใช้เงินคืน ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ (ดูได้จากการส่งสัจจะสม่ําเสมอ) โดยคณะกรรมการมีมติ เสียงข้างมากอนุมัติให้กู้ยืมเงิน การเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม นอกจากนี้ คณะกรรมการต้องคอยสอดส่องดูแล ติดตามความเคลื่อนไหวของสมาชิกที่กู้ยืมเงิน รวมทั้งติดตามการนําเงินไปใช้จ่าย การเร่งรัดหนี้สิน เยี่ยมเยียน ช่วยเหลือให้คําแนะนําแก้ปัญหาในกรณีสมาชิกมีปัญหาไม่สามารถชําระเงินกู้คืนได้


~4~

๓. คณะกรรมการตรวจสอบ จํานวน ๓-๕ คน มีหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีและผลการดําเนินงาน ของกลุ่ม โดยคณะกรรมการตรวจสอบนี้จะมีบทบาทสําคัญในการรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม เพื่อป้องกันมิให้ เกิ ด ความเสี ย หายแก่ ส มาชิ ก หรื อ กลุ่ ม โดยส่ ว นรวม และทุ ก ครั้ ง ที่ มี ก ารประชุ ม หรื อ มี ก ารตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องทําบันทึกหรือรายงานเสนอให้คณะกรรมการอํานวยการทราบ ๔. คณะกรรมการส่งเสริม จํานวนขึ้นอยู่กับสมาชิกและระเบียบข้อบังคับของกลุ่มที่กําหนดไว้ คณะกรรมการส่ ง เสริ ม นี้ มี บ ทบาทสํ า คั ญ ต่ อ การดํ า เนิ น งานของกลุ่ ม ออมทรั พ ย์ เ พื่ อ การผลิ ต ด้ ว ยเช่ น กั น เปรียบเสมือนเป็นรากแก้วของกลุ่ม สามารถทําให้กลุ่มเจริญเติบโตต่อหรือหรือล้มเลิกได้โดยคณะกรรมการ ส่งเสริมมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ ๑) ชักชวนผู้สนใจ และแนะนําให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม ๒) ส่งเสริมให้การศึกษา ฝึกอบรม จัดหาวิทยากรมาให้ความรู้แก่สมาชิกทั้งสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ รวมทั้งเผยแพร่ให้ผู้สนใจอื่น ๆ ทราบถึงแนวคิด หลักการดําเนินงานของกลุ่ม รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผลการ ดําเนินงานของกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มและผู้สนใจทราบความเคลื่อนไหวของกลุ่มอยู่เสมอ ๓) ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้วิธีการบริหารจัดการใหม่ ๆ ที่เอื้อประโยชน์แก่สมาชิกและกลุ่ม ๔) ออกเยี่ยมเยียนสมาชิก เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาชิก ตามโอกาสอันควร ๕) ประสานงานระหว่างสมาชิกกับกลุ่ม และกลุ่มกับสมาชิกให้มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน กิจกรรมของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เมื่อมีการออมเงินได้มากพอ กลุ่มสามารถนําเงินทุนมาขยายกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของ สมาชิกและชุมชน ในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่ ๑. ด้านการพัฒนาอาชีพและรายได้ โดยการนําเงินทุนของกลุ่มให้สมาชิกกู้ยืมไปประกอบอาชีพ ๒. ด้านสวัสดิการต่าง ๆ กลุ่มสามารถจัดสรรผลกําไรของกลุ่มเพื่อจัดเป็นสวัสดิการให้แก่ สมาชิก เช่น ทุนการศึกษา ทุนค่ารักษาพยาบาล ฌาปนกิจสงเคราะห์ ทุนสาธารณประโยชน์ ทุนสงเคราะห์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ ๓. ด้านการพัฒนาธุรกิจของชุมชน เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความ เดือดร้อนของชุมชน เป็นการฝึกการดําเนินธุรกิจในระบบกลุ่ม โดยมุ่งหวังให้มีกําไรเพื่อนําไปปันผล เฉลี่ยคืน และจัดเป็นสวัสดิการให้กับสมาชิกและชุมชน ๔. ด้านการพัฒนาคณะกรรมการและสมาชิก โดยการจัดฝึกอบรม สัมมนา จัดเวทีประชาคม เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดศึกษาดูงาน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่คณะกรรมการและสมาชิกของกลุ่ม ข้อห้ามการดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการระดมเงินออมที่ริเริ่มโดยประชาชน ปัจจุบันจึงไม่มีกฎหมายที่ บังคับใช้โดยตรง ดังนั้น เพื่อไม่ให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นองค์กรการเงินนอกระบบที่ไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย พรบ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และ พรบ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ (ปัจจุบันใช้ พรบ .ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ) กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้ทําความตกลงกับธนาคารแห่งประเทศไทยโดยมีข้อห้าม ดังนี้ ห้ามรับฝากเงินจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม ห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกที่มิใช่สมาชิกกลุ่มกู้เงิน ห้ามคิดดอกเบี้ยเงินกู้เกิดกว่าที่กฎหมายกําหนด (ร้อยละ ๑๕ ต่อปี)


~5~

แนวทางการสนับสนุนการดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีการตรวจสอบพบว่ามีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบางส่วนไม่ปฏิบัติตามแนวทาง แนวคิด หลักการที่ กรมการพัฒนาชุมชนส่งเสริม และสนับสนุน คือ ๑) มีการคิดดอกเบี้ยเงินกู้เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกําหนด (ร้อยละ ๑๕ ต่อปี) ๒) มีการรับฝากเงินจากบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นสมาชิก หรือให้บุคคลภายนอกที่มิได้เป็นสมาชิกกู้เงิน ของกลุ่ม ๓) เก็บเงินสัจจะสะสมแล้วปล่อยให้สมาชิกกู้ยืมทันที หรือมีการเก็บเงินไว้กับเหรัญญิก คณะกรรมการ โดยไม่นําเงินฝากธนาคาร ทําให้เป็นปัญหาต่อการตรวจสอบ และมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาการทุจริตที่อาจจะ เกิดขึ้นได้โดยง่าย ๔) ไม่มีการจัดทําระบบบัญชี ปิดงบดุลประจําปี เพื่อแสดงสถานะทางการเงินของกลุ่ม ๕) ไม่มีการตรวจสอบเอกสารบัญชีของกลุ่ม ๖) คณะกรรมการไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ หรือคณะกรรมการไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ๗) ไม่จัดให้มีการประชุมประจําเดือน หรือประชุมใหญ่ประจําปี ฯลฯ ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุมาจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนขาดความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ แนวคิด แนวทางการดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รวมทั้งการติดตามและให้การสนับสนุนอย่างใกล้ชิดและ ต่อเนื่อง รวมทั้งคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตไม่ได้ยึดหลักการ แนวคิด และแนวทางการดําเนินงาน ที่กรมการพัฒนาชุมชนส่งเสริม สนับสนุน แนวทางการส่งเสริมสนับสนุน ให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตยึดหลักการและแนวทาง ดังนี้ ๑. หลักการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต คือ ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนรู้จักออมเงินตามกําลัง ความสามารถ โดยไม่ได้กํา หนดว่ าสมาชิ กต้ องส่งเงิ น สัจ จะเป็ นจํ านวนเท่าใด เช่ น ๒๐ บาท ๕๐ บาท หรื อ ๑๐๐ บาท ต่อเดือนก็ได้ แต่ต้องส่งเงินให้ตรงกับวันที่กําหนดไว้ตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม ซึ่งจะเน้นเรื่อง ความสม่ําเสมอ เพื่อมุ่งพัฒนาคนให้มีวินัยในการออมนั่นเอง ๒. การรับฝากเงิน จะต้องรับฝากเงิน (สัจจะสะสม และเงินสัจจะสะสมพิเศษ) จากบุคคลที่สมัครเป็น สมาชิกกลุ่มเท่านั้น ห้ามมิให้รับฝากเงินจากบุคคลภายนอกที่มิให้เป็นสมาชิกกลุ่ม ๓. การให้กู้ยืมเงิน จะต้องให้บุคคลที่เป็นสมาชิกของกลุ่มเท่านั้นที่สามารถกู้ยืมเงินจากกลุ่มได้ ห้ามมิ ให้บุคคลภายนอกที่มิไดเป็นสมาชิกกลุ่มกู้ยืมเงินของกลุ่มโดยเด็ดขาด หากกระทําจะเข้าข่ายผิดกฎหมายทันที ๔. การคิดอัตราดอกเบี้ย ต้องไม่คิดดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกําหนด คือต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี ๕. นอกจากการให้กู้ยืม สามารถดําเนินการในเชิงธุรกิจ และสวัสดิการแก่สมาชิก ได้แก่ กิจกรรมเชิงธุรกิจ ได้แก่ ศูนย์สาธิตการตลาด ยุ้งฉาง ปั๊มน้ํามัน ลานตากผลผลิต ฯลฯ กิจกรรมด้านสวัสดิการ ได้แก่ ธนาคารข้าว ทุนการศึกษา ค่ารักษาพยาบาล กองทุนสงเคราะห์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ฌาปนกิจสงเคราะห์ การประกันชีวิตแก่สมาชิก หรือทุนสาธารณประโยชน์เป็นต้น แนวทางการดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้เจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติ ดังนี้ ๑. ระดับจังหวัด มีหน้าที่ กํากับ ติดตาม ส่งเสริมสนับสนุน กําหนดมาตรการ แนวทางให้เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน ตลอดจนการจัดการฝึกอบรม สัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ การสร้างเครือข่ายการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการกํากับการรายงานผลการดําเนินงานตามระบบศูนย์ ข้อมูลกลางเพื่อการบริหารการจัดเก็บและการใช้ประโยชน์ทุก ๖ เดือน


~6~

๒. ระดับอําเภอ ๒.๑ ให้พัฒนาการอําเภอ ติดตาม ให้ความช่วยเหลือคําแนะนําแก่พัฒนากรและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อ การผลิตในพื้นที่อําเภอที่รับผิดชอบ และให้ถือปฏิบัติตามแนวทางที่กรม ฯ ส่งเสริม สนับสนุนอย่างเคร่งครัด ๒.๒ กําหนดมาตรการ แนวทาง ให้พัฒนากรสนับสนุนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาการฟ้องร้อง /การร้องเรียน กรณีปัญหาการทุจริตของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ๒.๓ ประสานงานกับสถาบันการเงินภายในอําเภอ เพื่ออํานวยความสะดวกในการรับฝากเงิน เช่น ส่งเจ้าหน้าที่ของธนาคารไปบริการรับฝากเงินถึงสถานที่ทําการกลุ่มในวันส่งเงินสัจจะสะสม ๒.๔ สนับสนุนให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ทั้งด้านการบริหาร จัดการ การดําเนินกิจกรรมของกลุ่ม การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ การพัฒนาสมาชิก เพื่อก่อให้เกิดการ เรียนรู้ร่วมกัน สามารถนําไปปรับใช้ในการพัฒนากลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีผลการจัดระดับ การพัฒนาอยู่ในระดับ ๑ (ต้องปรับปรุง) ๒.๕ ให้พัฒนากรออกไปให้คําแนะนําและสนับสนุนการดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ดังนี้ ๑) เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจการดําเนินงานแก่คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม เพื่อมิให้ขัด ต่อแนวทางและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒) เข้าร่วมประชุมในวันส่งเงินสัจจะสะสมเป็นประจําทุกเดือน ๓) รายงานยอดเงินสัจจะสะสมของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทุกกลุ่มให้พัฒนาการอําเภอ ทราบเป็นประจําทุกเดือน ๔) ร่วมกับคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตรวจสอบเอกสาร บัญชีกลุ่มอย่างน้อย ๖ เดือนต่อครั้ง กรณีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกลุ่มใดไม่ให้พัฒนากรเข้าร่วมตรวจสอบเอกสาร บัญชีของกลุ่ม ให้ถือว่ากลุ่มดังกล่าวไม่ต้องการรับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน ให้ตัดรายชื่อกลุ่มดังกล่าว ออกจากระบบการรายงานและแจ้งให้จังหวัดและกรม ฯทราบทันที ๕) ให้อําเภอรายงานความเคลื่อนไหวการดําเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตาม ระบบศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อการบริหารการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ ( CDD- DOS ) เป็นประจําทุก ๖ เดือน


~7~

แนวทางการปฏิบัติกรณีเกิดความเสียหาย เนื่องจากการดําเนินงานที่ผ่านมามีกรณีการร้องเรียน และรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกลุ่มออม ทรัพย์เพื่อการผลิต โดยส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดจากการบริหารจัดการของคณะกรรมการกลุ่ม ซึ่งกระทําผิด หน้าที่โดยทุจริต ยักยอกเงินสัจจะสะสมของสมาชิก หรือ ฉ้อโกงเงินสัจจะสะสมของสมาชิก ทําให้สมาชิกกลุ่ม ได้รับความเสียหาย ซึ่งถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา สามารถเรียกร้องทรัพย์อันเกิดจากความ เสียหายคืนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และสามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับ คดีอาญาได้ โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ กรณีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒ วรรคแรก ซึ่งกฎหมายได้วางหลักในเรื่องการยักยอกไว้ว่า ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของ รวมอยู่ด้วย แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ถือว่าผู้นั้นกระทําความผิดฐาน ยักยอก ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ คณะกรรมการกลุ่มที่กระทําผิดส่วนใหญ่เป็นการกระทําความผิดฐานยักยอกทรัพย์ เพราะว่าเงินสัจจะ สะสมโดยปกติจะอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการ หากกลุ่มไม่มีระบบการตรวจสอบที่เข้มงวด และรัดกุม จะ ทําให้กรรมการสามารถเบียดบังเอาเงินไปเป็นของตนได้ง่าย สําหรับความผิดในฐานยักยอกทรัพย์นี้เป็นความผิด อันยอมความได้ แม้ว่าคดีได้ยื่นฟ้องต่อศาลแล้วก็ตาม ก็สามารถถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุด ก็ได้ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 35 วรรคสอง) กรณีความผิดฐานกระทําผิดหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 วรรคแรก ไว้วาง หลักในฐานความผิดนี้ไว้ว่า ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของ รวมอยู่ด้วย กระทําผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ใน ลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ โดยความผิดฐานนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ กรณีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเช่นกัน แต่เป็นความผิด ที่ไม่สามารถยอมความกันได้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรก ได้วางหลักไว้ว่า ผู้ใดกระทํา โดยทุจริต หลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้ แจ้งแก่ประชาชน มีความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ ดังนั้น หากกรณีความเสียหายเช่นนี้เกิดขึ้นกับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกลุ่มใด ให้ดําเนินการดังนี้ การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น 1. ให้พัฒนากรประสานกับผู้เสียหาย ให้ผู้เสียหายทําหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อร้องขอให้ พัฒนากรเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา 2. หลังจากที่ผู้เสียหายได้มีหนังสือร้องขอมาแล้ว ให้พัฒนากรจัดประชุมคณะกรรมการและสมาชิก ทั้งหมด เพื่อเจรจาไกล่ เกลี่ย ตรวจสอบข้อเท็ จจริง และสร้ างความเข้ าใจ สร้ างความสามัคคี และหาข้ อยุ ติ เพื่อแก้ไขและลดปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน 3. ให้พัฒนากรรายงานการแก้ไขปัญหาให้พัฒนาการอําเภอทราบเป็นระยะ ๆ จนกว่าเรื่องจะยุติ 4. ให้พัฒนาการอําเภอรายงานให้นายอําเภอ พัฒนาการจังหวัด และกรมการพัฒนาชุมชนตามลําดับ จนกว่าเรื่องจะยุติเช่นกัน


~8~

การสอบข้อเท็จจริง ๑. ให้พัฒนาการอําเภอเสนอคําสั่งให้นายอําเภอแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ๒. ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง ดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ๓. การตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้ตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐานทั้งจากผู้ร้องเรียนและผู้ถูกร้องเรียน ๔. ให้ตรวจสอบ / สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารงานจากคณะกรรมการบริหารกลุ่ม และ สอบข้อเท็จจริงจากสมาชิกด้วย ๕. ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเงินทั้งหมด เพื่อประกอบการพิจารณา ๖. ให้คณะกรรมการรายงานผลการสอบข้อเท็จจริงให้นายอําเภอทราบและอําเภอรายงานให้จังหวัด และกรมการพัฒนาชุมชนทราบตามลําดับจนกว่าคดีจะถึงที่สุด การดําเนินคดีทางกฎหมาย (คดีอาญา) 1. สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่เป็นผู้เสียหายและคณะกรรมการดําเนินการจัดประชุม เพื่ อลงมติมอบอํ า นาจให้ กรรมการหรื อสมาชิกคนใด คนหนึ่ ง เป็ นผู้ มีอํา นาจในการดํ า เนิ น คดี ต ามกฎหมาย โดยจะต้องจัดทําเป็นหนังสือมอบอํานาจ และมีรายงานประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของ สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมด้วย 2. ให้ผู้แทนของกลุ่มที่ได้รับมอบอํานาจ เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ณ สถานี ตํารวจภูธรในอําเภอท้องที่ที่เกิดความเสียหาย ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนนั้น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคแรก) 3. ความผิดฐานยักยอก เป็นความผิดอันยอมความได้ ต้องแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับ แต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทําผิด หากไม่แจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนคดีจะขาดอายุความไม่ สามารถฟ้องร้องดําเนินคดีทางกฎหมายได้ (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96) แต่ถ้าแจ้งความร้องทุกข์แล้ว อายุความจะขยายออกไปเป็น 10 ปี (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 วรรคแรก (3) ) 4. คดียักยอกทรัพย์ สามารถถอนคําร้องทุกข์ ถอนฟ้องและยอมความกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่าง การดําเนินคดี ในชั้นการสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล ทั้ง 3 ศาล ไม่ว่า จะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ผู้เสียหายสามารถถอนคําร้องทุกข์ ถอนฟ้องและยอมความกันใน เวลาใดก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุด โดยสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลย่อมระงับไป ผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องคดีต่อศาลได้อีก (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39) 5. ความเสียหายที่เกิดขึ้น ถ้าอยู่ระหว่างแจ้งความร้องทุกข์สามารถเจรจาตกลงประนีประนอม ยอมความกันได้ การประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทําเป็นหนังสือ แต่เพื่อเป็นการ ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ ผู้ ก ระทํ า ผิ ด ไม่ ย อมชดใช้ เ งิ น คื น หรื อ คื น เงิ น ไม่ ค รบตามจํ า นวนที่ เ สี ย หาย ควรทํ า เป็ น สั ญ ญา ประนีประนอมยอมความ การทําสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ จะผูกพันผู้กระทําผิด กรณีไม่ยอมชดใช้ตาม เงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญา สามารถฟ้องร้องดําเนินคดีได้ แต่ถ้าอยู่ระหว่างการดําเนินคดีในชั้นศาล ให้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลเพื่อให้ ศาลรับรู้ด้วย เพราะถ้าผู้กระทําผิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา สามารถใช้บังคับได้ทันที โดยไม่ต้อง ฟ้องร้องต่อศาลอีก 6. การฟ้องคดีอาญาต่อศาล บุคคลที่มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล ได้แก่ (1) พนักงานอัยการ (2) ผู้เสียหาย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28) ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ดําเนินคดีเองจะต้อง ทนายความให้ว่าความและดําเนินกระบวนพิจารณาแทนก็ได้ กรณีที่ผู้เสียหายมอบอํานาจให้ผู้แทนดําเนินคดี


~9~

แทนนั้นจะว่าความอย่างทนายไม่ได้ แต่มีอํานาจตั้งทนายความเพื่อดําเนินกระบวนพิจารณาคดีได้ (ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 มาใช้โดยอนุโลม) การฟ้องคดีต่อศาล ผู้เสียหายไม่ควรฟ้องร้องต่อศาลเอง เพราะทําให้ต้องเสียเงินในการว่าจ้างทนายอีก ควรแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน แล้วพนักงานสอบสวนจะส่งสํานานให้พนักงานอัยการ ส่งฟ้องศาล เพื่อดําเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปเอง ในฐานความผิดยักยอก หรือฉ้อโกง ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ทรัพย์สินที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทําผิดคืนได้ เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาล ให้ผู้เสียหาย ขอให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินแทนผู้เสียหายด้วยเลย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43) ซึ่งผู้เสียหายจะได้ไม่ต้องฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีก สําหรับกรณีความเสียหายที่เกิดจากสมาชิกไม่ยอมชําระคืนเงินกู้ เนื่องกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มิได้เป็นนิติบุคคล การฟ้องร้องเพื่อบังคับให้สมาชิกที่ผิดนัดการชําระหนี้ไม่คืนเงินที่กู้ยืมไปคืนแก่กลุ่ม ถือเป็นคดี แพ่ง กลุ่ม ฯ มีอํานาจในการเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอํานาจได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 55 ) โดยให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดําเนินการ ดังนี้.-

การดําเนินคดีทางกฎหมาย (คดีแพ่ง) 1. ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่ม ฯ เพื่อลงมติมอบ อํานาจให้ประธานกลุ่มหรือกรรมการคนใด คนหนึ่งเป็นผู้มีอํานาจในการดําเนินคดีตามกฎหมาย โดยจะต้องทํา เป็นหนังสือมอบอํานาจและมีรายงานการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของคณะกรรมการที่ เข้าร่วมประชุมด้วย 2. ให้ผู้แทนของกลุ่มที่ได้รับมอบอํานาจ จัดหาทนายให้ว่าความและดําเนินกระบวนพิจารณาคดีแทน หรือถ้าเป็นกลุ่มออมทรัพย์ ฯ ที่เคยได้รับเงินอุดหนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน สามารถขอให้พนักงานอัยการว่า ความและดําเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนก็ได้ (ถ้าทนายว่าความต้องเสียค่าจ้างทนาย แต่ถ้าให้พนักงานอัยการ ว่าความจะต้องเสียค่าธรรมเนียม) 3. สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ ฯ ที่ผิดนัดชําระหนี้ ที่ต้องชําระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันผิดนัดและเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชําระหนี้ที่ค้างชําระเสร็จสิ้น ( ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ) 4. สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่ผิดนัดชําระหนี้ กรณีที่เป็นสัญญาชําระหนี้ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในคราว เดียวกัน มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันถึงกําหนดชําระหนี้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30)


~ 10 ~

หลักการและความสําคัญ ในการจัดทําบัญชีประชาชนและบุคคลทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า การบัญชีเป็นเรื่องที่ยากต้องอาศัยผู้มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ แต่แท้ที่จริงแล้วทุกคนสามารถทําความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับบัญชีได้ไม่ยากนัก เพราะในแต่ละวันของทุกคนได้พบเห็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีอยู่แล้ว เช่น การรับเงิน (รายได้ประจํา รายได้ชั่วคราว) การจ่ายเงิน (ค่าใช้จ่ายในวิถีชีวิตประจําวัน การจ่ายเงินเพื่อการลงทุน) การรับหรือใช้จ่ายเงิน โดยการผ่านธนาคาร หรือการจัดทําธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ทั้งในสถาบันการเงินที่เป็นทางการและไม่เป็น ทางการ การเงินในระบบ (ในสถาบันการเงินทุกประเภท) และการเงินในระบบชุมชน (กลุ่มออมทรัพย์ ฯ กองทุน หมู่บ้านฯ กลุ่มอาชีพ สหกรณ์) หากได้ทําการศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถทําความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีได้โดย ไม่ใช้เวลามากนัก หากแต่อยู่ที่ใจว่าจะเอาไปใส่ในการจัดทําบัญชีอย่างเป็นระบบแล้วหรือยัง เปิดใจรับกับระบบ บัญชีหรือไม่ มีคุณธรรมจริยธรรมอย่างตรงไปตรงมาหรือยัง คุณอคติกับการบัญชีหรือไม่ และคุณพร้อมที่จะรับรู้ อย่างเป็นระบบแล้วหรือยัง การเงินและการบัญชีหากจะเปรียบกับร่างกายมนุษย์เรานี้ เปรียบได้กับ“หัวใจ”เพราะเมื่อใดหัวใจหยุด เต้นอย่างเป็นระบบสรีระในร่างกายส่วนอื่นก็จะรวนเรตามตามกันไป อย่างไรก็ตามหากเป็นกิจการเจ้าของคน เดียวจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่หากเป็นกิจการที่มีเจ้าของมากกว่า 2 คนขึ้นไป เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม ชมรม และกลุ่มฯ ต่างๆมีความจําเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในการนําข้อมูลทางการเงินและการบัญชี มาใช้ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ กับ กิ จ การหรื อเพื่ อการบริ ห ารการควบคุ มการจั ด การให้ กิจ การอย่ า งมี ป ระสิ ทธิ ภ าพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น อีกนัยหนึ่งการบัญชีจึงไม่แตกต่างอะไรกับกระจกที่จะบอกให้เจ้าของกิจการ/หุ้นส่วน ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในการดําเนินงานที่ได้เกิดขึ้นนั้นว่า มีผลการดําเนินงานเป็นอย่างไรเพราะจะสะท้อนให้ เห็นถึงความสามารถในการบริหารงานฐานะการเงินของกิจการ การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับ ฐานะการเงิน ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการประเมินกิจการของตนเองและใช้ข้อมูลในการวางแผนการดําเนินงาน ต่อไปในอนาคตได้อีกทางหนึ่งด้วย กิจการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหากไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนา อย่างต่อเนื่องแล้วไม่อาจจะประสบผลสําเร็จให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้เช่นกัน ความรู้เกี่ยวกับบัญชีเบื้องต้น คําว่า “การบัญชี” แบ่งคําจํากัดความได้ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ 1. ลักษณะที่เน้นการนําเอาข้อมูลทางการบัญชีใช้ “การบัญชี” เป็นวิชาการเกี่ยวกับการจัดทําข้อมูล ซึ่งเป็นที่ต้องการขององค์การในการทําหน้าที่ด้านการปฏิบัติการและการประเมินผลการปฏิบัติการได้อย่างมี ประสิทธิภาพข้อมูลซึ่งจัดทําตามหลักวิชาการทางการบัญชีนี้เป็นข้อมูลที่จําเป็นและมีประโยชน์ ดังนี้ ทําให้การวางแผน การควบคุม การปฏิบัติงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของหน้าที่การจัดการเป็นไป อย่ า งมี ป ระสิ ทธิ ภ าพและเกิ ด ประสิ ทธิ ผ ล แสดงความเป็ น จริ งเกี่ ย วกั บ การดํ า เนิ น งานของกิ จ การอย่ า ง สมเหตุสมผลเพื่อให้ผู้ลงทุน เจ้าหนี้ เจ้าของกิจการ สมาชิกผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนผู้ที่สนใจอื่น ๆ ได้ทราบ 2. ลักษณะที่เน้นหน้าที่ทางบัญชี “การบัญชี” เป็นศิลปะของการนํารายการ และเหตุการณ์ทางการ เงิ น มาจดบั นทึ ก จัด หมวดหมู่ สรุ ป ผล และวิเ คราะห์ ตี ความอย่ า งมี หลั กเกณฑ์ คํ า จํ า กัด ความนี้ เ น้น หน้ า ที่ ทางการบัญชีที่จะต้องกระทํา คือ 2.1 การจดบันทึก เป็นการกําหนดวิธีการลงบันทึกรายการประจําวันต่าง ๆ ของกิจการ เช่น จํานวนเงินดอกเบี้ยรับ ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการของกลุ่มออมทรัพย์ฯ เช่นค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ ค่าพาหนะ ค่ารับรองเจ้าหน้าที่ ฯลฯ อย่างมีเหตุผลซึ่งผู้ทําบัญชีจะต้องถือเป็นระเบียบปฏิบัติ 2.2 การจัดหมวดหมู่ เป็นการนําข้อมูลที่บันทึกไว้มาจัดหมวดหมู่ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น การนํารายการบันทึกเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดําเนินการมาจัดหมวดหมู่ไว้ด้วยกัน เป็นต้น


~ 11 ~

2.3 การสรุปผล เป็นการนําข้อมูลที่ได้บันทึกและจัดหมวดหมู่แล้วมาจัดทําเป็นข้อมูลซึ่งแสดง ความเป็ นจริ งทางการเงิ นที่ เกิ ด ขึ้น ที่สํ าคั ญ เช่น จัด ทํ าเป็น บัญ ชีแสดงผลการดํา เนิ นงานที่ เรี ยกว่ าบั ญชี กําไร ขาดทุนและจัดทํางบดุล เพื่อแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ หรือ ของกลุ่ม ฯ เป็นต้น 2.4 การวิเคราะห์ตีความ เป็นการนําข้อมูลที่ทําเป็นรายงานสรุปผลไว้แล้วมาวิเคราะห์ตีความ โดยการเปรียบเทียบรายการที่เกิดขึ้นที่สําคัญในระหว่างปีและโดยการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นปีต่อไป จากคําจํากัดความทั้ง 2 ลักษณะข้างต้น พอจะสรุปเป็นคําจํากัดความเดียวได้ว่า “การบัญชี” เป็นวิชาการและหน้าที่งานที่เกี่ยวกับการบันทึก การจัดหมวดหมู่ การสรุปผล และการ วิเคราะห์ตีความรายการ และเหตุการณ์ทางการเงินอย่างมีหลักเกณฑ์ของหน่วยงานต่าง ๆ หรือกลุ่มองค์กร ต่าง ๆ ทุกรูปแบบที่อยู่ในสังคม และเสนอข้อมูลต่อผู้ใช้เพื่อให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

งบดุล บันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปความ วิเคราะห์ ตีความ

ข้อมูล

งบกําไรขาดทุน งบแสดงการ เปลี่ยนแปลง

ผู้ทําการตัดสินใจ ผู้บริหาร สมาชิก บุคคลภายนอก

ฐานะทางการเงิน

ประโยชน์ของการทําบัญชี 1. 2. 3. 4. 5.

ช่วยให้ทราบผลการดําเนินงานว่ามีกําไรหรือขาดทุน ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ช่วยให้การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในการดําเนินงาน ช่วยตรวจสอบตัวเงินกับยอดคงเหลือในบัญชีว่าถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร ช่วยในการวิเคราะห์ตีความเพื่อทราบผลเปรียบเทียบผลกระทบสภาวะการเปลี่ยนแปลงเพื่อใช้ใน การวางแผน การตัดสินใจ และการพัฒนากิจการ


~ 12 ~

ระบบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

บัญชีเสริม

บัญชีหลัก

1. บัญชีเงินสดและเงินฝากธนาคาร (ส.) 2. บัญชีรายรับและหนี้สิน (ร.) 3. บัญชีรายจ่ายและทรัพย์สิน (จ.)

1. 2. 3. 4. 5.

ทะเบียนคุมเงินสัจจะสะสม ทะเบียนคุมลูกหนี้รายตัว ทะเบียนคุมคําขอกู้ ทะเบียนสมาชิก ทะเบียนคุมเงินทุนประเภท ต่างๆ

หลักฐานทางการเงิน หลักฐานที่จัดทําไว้เป็นหลักฐานทางการบริหาร

ใบเสร็จรับเงิน ใบสําคัญคู่จ่าย (ใบเสร็จจ่าย) ใบสําคัญจ่าย สมุดคู่ฝาก หลักฐานการนําส่ง เงินฝากธนาคาร หลักฐานการจ่ายเงิน สลิปการถอนและฝากเงิน สัญญาเงินกู้ ฯ ระเบียบกลุ่มฯ กฎ กติกา มติเวทีประชาคม สมาชิก ฯลฯ


~ 13 ~

หลักความสัมพันธ์พื้นฐานทางการบัญชี

สินทรัพย์ = ส่วนของผู้ถือสิทธิในสินทรัพย์

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

หนี้สิน = สินทรัพย์ ฯ - ส่วนของเจ้าของ

ส่วนของเจ้าของ = สินทรัพย์ - หนี้สิน

ศัพท์ทางการบัญชีที่ควรรู้ 1. สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรทางเศรษฐกิจทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนที่สามารถประมาณ ค่าได้ ซึ่งกิจการเป็นเจ้าของเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อกิจการ เช่น เงินสด ลูกหนี้ สินค้า ที่ดิน เครื่องจักร อาคาร อุปกรณ์สํานักงาน วัสดุสิ้นเปลือง พันธบัตร และสิทธิบัตร 2. หนี้สิน หมายถึง หนี้ที่กิจการมีพันธะที่จะต้องชดใช้ต่อบุคคลภายนอกซึ่งอาจชดใช้ เป็นเงินสด สินค้า หรือบริการ หรือสิ่งที่มีค่าอื่นใดภายในกําหนดเวลาที่ตกลงกัน เช่น ตั๋วเงินจ่าย เงินสัจจะสะสมของ สมาชิก เงินรับฝาก เงินค่าหุ้น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้การค้า 3. ทุน หรือส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนของผู้เป็นเจ้าของกิจการซึ่งสามารถคํานวณได้โดย นําหนี้สินไปหักออกจากสินทรัพย์ ส่วนที่เหลือ คือ ส่วนของเจ้าของ ดังตัวอย่าง เช่น สินทรัพย์ 28,800,000 บาท หนี้สิน 8,800,000 บาท ส่วนของเจ้าของ 20,000,000 บาท 4. รายได้จากการดําเนินงาน หมายถึง รายได้อันเกิดจากการดอกเบี้ยเงินกู้ จากขายสินค้า หรือบริการซึ่งเป็นรายได้ตามปกติของกิจการ เช่น รายได้จากดอกเบี้ยรับ ค่าปรับจากลูกหนี้ผิดนัด ส่วนรายได้ อื่นๆ เป็นรายได้จากกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานตามปกติ เช่น ค่าสมัครค่าธรรมเนียม เงินบริจาค 5. ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการ ดําเนินงาน เช่นค่าใช้จ่ายการจัดซื้อเครื่องเขียนแบบพิมพ์ ค่าพาหนะหรือค่าอํานวยการในการทําธุรกรรมทางการ เงินเพื่อให้เกิดรายได้ ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นการแสดงค่าใช้จ่ายของกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน ตามปกติของกิจการ เช่น เงินบริจาค เป็นต้น


~ 14 ~

ระบบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

ประเภทบัญชี ได้จัดแบ่งประเภทบัญชีไว้ดังนี้ .-

1. บัญชีหลัก บัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นบัญชีที่ได้ปรับปรุงจากหลักบัญชีสากลให้เป็นรูปแบบที่ง่ายขึ้นเพื่อ ความเหมาะสมกับผู้จัดทํา คือ กรรมการกลุ่มออมทรัพย์ฯ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังได้นําหลักการของบัญชีสากลที่ เรียกว่า “ระบบบัญชีคู่” มาใช้ด้วย โดยได้กําหนดให้มีบัญชีหลักรวม 3 เล่ม ด้วยกัน คือ บัญชีเงินสด บัญชี รายวันรับ และบัญชีรายวันจ่าย บัญชีเงินสด ใช้ชื่อบัญชีว่า “บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร” ใช้อักษรย่อ “ส” เป็นบัญชีขั้นต้น ใช้ลงรายการรับ – จ่าย เมื่อมีการรับหรือจ่ายเป็นเงินสด บัญชีเงินสดนี้ได้นําบัญชีเงินฝากธนาคารมารวมไว้ ด้วยกัน แบ่งเป็น 3 ช่อง คือ ช่องบัญชีเงินสด ช่องบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ และประจํา หรือ อาจเพิ่มเป็นชื่อบัญชีเป็นรายเล่ม หากมีสมุดบัญชีหลายเล่มอาจเพิ่มช่องหรือเพิ่มจํานวนเล่มได้โดยอนุโลม บัญชีรายวันรับ ใช้ชื่อบัญชีว่า “บัญชีรายได้และหนี้สิน” ใช้อักษรย่อ “ร” เป็นบัญชีแยกประเภทใช้ สําหรับบันทึกรายการรับเงินทุกประเภท ซึ่งแยกเอาเฉพาะรายการรับเงินจากบัญชีเงินสดมาลงในบัญชีเล่มนี้อีก ครั้งหนึ่ง โดยแยกประเภทรายรับไว้เป็นช่องๆ ตามประเภทของรายได้ที่ได้รับ เมื่อได้รับเงินประเภทใด ก็ให้นํา จํานวนเงินที่ได้รับลงในช่องรายได้ประเภทที่ได้รับนั้น ๆ บัญชีรายได้และหนี้สิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ช่องรายได้ เป็นรายได้อันเกิดจากการดําเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ได้แก่ ค่าสมัคร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินบริจาค รายได้อื่น ๆ เป็นต้น ส่วนที่ 2 ช่องหนี้สิน เป็นการรับเงินอันก่อให้เกิดเป็นหนี้สินของกลุ่มฯ ขึ้น เนื่องจากรายได้ที่ได้รับนี้กลุ่ม มีภาระที่จะต้องจ่ายคืนให้กับเจ้าของเงินเมื่อครบกําหนดหรือเมื่อพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิก ได้แก่เงินสัจจะ สะสม เงินสัจจะสะสมพิเศษ เงินรับฝาก เงินกู้จากธนาคาร ฯลฯ ส่วนที่ 3 ช่องบัญชีทุน ช่องนี้ใช้สําหรับบันทึกเงินทุนต่าง ๆ ที่กลุ่มออมทรัพย์ ฯ ได้กันไว้จากกําไรสุทธิ ได้แก่ทุนสํารอง ทุนสาธารณ ทุนขยายงาน ฯลฯ หรืออาจรวมทั้งเงินทุนของกลุ่ม ฯ ด้วย เงินทุนต่างๆเหล่านี้จะต้องมีทะเบียนคุมแต่ละประเภทไว้ให้ชัดเจนเพื่อตรวจสอบได้ว่าทุนแต่ละประเภท มีการใช้จ่ายอย่างไรและมียอดคงเหลือเท่าใด เพื่อใช้ในการวางแผนและบริหารการใช้จ่ายเงินทุนให้เป็นไปตาม ระเบียบของกลุ่ม ฯ บัญชีรายวันจ่าย ใช้ชื่อบัญชีว่า“บัญชีรายจ่ายและทรัพย์สิน” ใช้อักษรย่อ “จ” เป็นบัญชีแยกประเภท เช่นกัน ใช้สําหรับบันทึกรายการจ่ายเงิน ซึ่งแยกเอาเฉพาะรายจ่าย จากบัญชีเงินสดมาลงในบัญชีเล่มนี้อีกครั้ง หนึ่ง โดยแยกประเภทรายจ่ายเป็นช่องๆ เช่นเดียวกับบัญชีรายวันรับ เมื่อได้จ่ายเงินประเภทใดก็ให้นําจํานวนเงิน ที่จ่ายลงในช่องรายจ่ายนั้นๆ บัญชีรายจ่ายและทรัพย์สิน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ช่องรายจ่าย เป็นรายจ่ายอันเกิดจากการดําเนินงานของกลุ่ม ได้แก่ ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ ค่าพาหนะ ดอกเบี้ยเงินฝากของสมาชิก ดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคาร เงินปันผลและเฉลี่ยคืนแก่สมาชิก ฯลฯ ส่วนที่ 2 ช่องทรัพย์สิน เป็นรายจ่ายที่มิได้จ่ายขาด แต่เป็นการจ่ายเงินซึ่งกลุ่มจะได้รับเงินส่วนนั้น กลับคืนเมื่อครบกําหนดหรือเป็นการจ่ายเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินอื่นๆ ได้แก่ การจ่ายเงินให้สมาชิกกู้ (ลูกหนี้) การนําเงินไปลงทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มออมทรัพย์หรือการจ่ายเงินซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นต้น ทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งปรากฏในส่วนที่ 2 คือ ช่องทรัพย์สินนี้จะต้องมีทะเบียนคุมการรับ – จ่ายทรัพย์สิน และละประเภทเช่นกันเป็นต้นว่า บัญชีลูกหนี้ก็จะต้องทําทะเบียนคุมลูกหนี้เป็นรายบุคคล เพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้ แต่ละคนมีเงินค้างชําระเป็นจํานวนเท่าใด และได้จ่ายดอกเบี้ยให้กลุ่ม ฯ เท่าใด และยังเป็นฐานข้อมูลรายได้ของ ดอกเบี้ยเงินกู้ และ ฐานข้อมูลสัญญาเงินกู้และผู้ค้ําประกันเป็นต้น


~ 15 ~

คําอธิบายการลงบัญชีเงินสด ช่อง วัน เดือน ปี ช่องรายการ

ใช้ลงวัน เดือน ปี ที่มีการรับ หรือจ่ายเงิน ใช้ลงรายละเอียดว่าได้รับหรือจ่ายเงินเป็นค่าอะไร อธิบายรายการให้สอดคล้องกับบัญชีที่เกี่ยวข้องของกลุ่ม และให้บุคคลทั่วไปอ่านแล้ว เข้าใจตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร ช่องหน้าบัญชี ใช้ลงเลขหน้าบัญชีของบัญชีที่อ้างถึง ได้แก่ หน้าบัญชีของบัญชี รายได้ฯ (ร.) หรือรายจ่าย (จ.) แล้วแต่กรณี ช่องบัญชีเงินสด ใช้ลงจํานวนเงินที่ได้รับหรือจ่ายเป็นเงินสด ถ้ารับเงินก็ลงในช่องรับ ถ้าจ่ายก็ลงในช่องจ่าย และบวกหรือลบ กับยอดคงเหลือแล้วแสดง ยอดคงเหลือ โดยให้พันยอดกันไปทุกบรรทัด ช่องเงินฝากธนาคาร ใช้สําหรับลงจํานวนเงินเมื่อนําเงินฝากธนาคาร หรือถอนเงินจาก ธนาคาร และบวกหรือลบกับยอดคงเหลือแล้วแสดงยอดคงเหลือ ซึ่ง ยอดคงเหลือจะตรงกับยอดคงเหลือของสมุดคู่ฝากธนาคารตามบัญชี นั้น ๆ โดยให้พันยอดกันไปทุกบรรทัด **เมื่อนําเงินฝากธนาคารเงินสดลดลง ขณะเดียวกันเมื่อถอนเงินฝากธนาคาร เงินสดเพิ่มขึ้น เงินสดคงเหลือและเงินฝากธนาคารคงเหลือเป็นทรัพย์สินของกลุ่ม เมื่อสิ้นปีนําไปสรุปยอดในงบดุลด้านทรัพย์สิน คําอธิบายการลงบัญชีรายได้และหนี้สิน (ร.) ช่อง วัน เดือน ปี ใช้ลงวัน เดือน ปี ที่มีการรับเงิน ช่องรายการ ใช้ลงรายละเอียดว่าได้รับเงินเป็นค่าอะไร อธิบายรายการให้ สอดคล้องกับบัญชีที่เกี่ยวข้องของกลุ่ม และให้บุคคลทั่วไปอ่านแล้ว เข้าใจตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร ช่องหน้าบัญชี ใช้ลงเลขหน้าบัญชีของบัญชีที่อ้างถึง ได้แก่ หน้าบัญชีของบัญชี เงินสด (ส.) ช่องรายได้ ใช้ลงรายได้อันเกิดจากการดําเนินงานของกลุ่ม ฯ เมื่อได้รับเงินเป็น ค่าอะไร ก็ให้นําจํานวนเงินที่ได้รับมาลงในช่องรายได้ตามประเภทที่ ได้รับ และสอดคล้องกับคําอธิบายในช่องรายการ เมื่อสิ้นปีปิดบัญชีแล้วให้นํารายรับที่ปรากฏในช่องรายได้ทุกประเภท ยกเว้นค่าสมัครค่าธรรมเนียมและ เงินบริจาคอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลกําไรประจําปี นําไปจัดทํางบกําไร–ขาดทุน ด้านรายรับ หรือรายได้ และ รายรับที่ปรากฏในช่องหนี้สินและเงินทุนต่างๆ ให้นําลงในงบดุลด้านหนี้สินและทุน สําหรับเงินค่าสมัคร- ค่าธรรมเนียม และเงินบริจาคนั้นเป็นรายได้ที่ไม่นําไปจ่ายเงินปันผล ดังนั้นจึงไม่ นํามางบในงบกําไร – ขาดทุน แต่ให้นํามาใช้จ่ายในการดําเนินงานของกลุ่มได้ โดยทําทะเบียนคุมไว้ต่างหาก แต่ ต้องนําเงินเหลือจ่ายลงในงบดุลด้านหนี้สินและทุนเพื่อเก็บไว้เป็นทุนดําเนินงานหรือทุนประเภทต่าง ๆ ในปีต่อไป ส่วนเงินบริจาคให้จัดทําทะเบียนคุม และจ่ายตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค คําอธิบายการลงบัญชีรายจ่ายและทรัพย์สิน (จ.) ช่อง วัน เดือน ปี ใช้ลงวัน เดือน ปี ที่มีการจ่ายเงิน ช่องรายการ ใช้ลงรายละเอียดว่าได้จ่ายเงินเป็นค่าอะไร อธิบายรายการให้สอดคล้อง กับบัญชีที่เกี่ยวข้องของกลุ่มและให้บุคคลทั่วไปอ่านแล้ว เข้าใจตามที่ผู้เขียน ต้องการสื่อสาร ช่องหน้าบัญชี ใช้ลงเลขหน้าบัญชีของบัญชีที่อ้างถึงได้แก่หน้าบัญชีของบัญชีเงินสด(ส.)


~ 16 ~

ช่องรายจ่าย

ใช้ลงรายจ่ายซึ่งเกิดจากการดําเนินงานของกลุ่ม ฯ เมื่อได้จ่ายเงินเป็นค่า อะไร ก็ให้นําจํานวนเงินที่ได้จ่ายมาลงในช่องรายจ่ายตามประเภทที่ได้ จ่ายนั้น ๆ และสอดคล้องกับคําอธิบายในช่องรายการ ช่องทรัพย์สิน ใช้ลงรายจ่ายซึ่งเกิดจากการดําเนินกิจกรรมของกลุ่ม ได้แก่การให้กู้สามัญ กู้ฉุกเฉิน และกิจกรรมของกลุ่มฯ ตามประเภทต่าง ๆ ของกิจกรรม ฯลฯ เมื่อสิ้นปีให้นํารายจ่ายทุกประเภทที่ปรากฏในช่องรายจ่าย ลงในงบกําไร – ขาดทุน ด้านจ่าย ส่วนรายจ่ายที่ปรากฏในช่องทรัพย์สินทุกประเภท นําลงงบดุลด้านทรัพย์สิน 2. บัญชีเสริม นอกจากบัญชีหลัก 3 เล่มดังกล่าวแล้วในการดําเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ ฯ ต้องจัดทําบัญชีเสริม หรือบัญชีย่อย และสมุดช่วย เพื่อเป็นเครื่องมือในการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยบัญชีย่อยและสมุดช่วย ต่าง ๆ จะมีรูปแบบและตัวอย่างดังนี้ ๒.๑ ทะเบียน ประกอบด้วย ๑) ทะเบียนคุมคําขอกู้ ใช้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับจํานวนผู้มายื่นคําขอกู้เพื่อสรุปวงเงินที่ขอกู้ และวงเงินที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติให้ผู้กู้ในแต่ละเดือน แต่ละครั้ง หรือแต่ละปี ๒) ทะเบียนคุมลูกหนี้รายตัว ใช้บันทึกควบคุมลูกหนี้เงินกู้รายตัว เพื่อประโยชน์ในการควบคุม และติดตามหนี้โดยแสดงรายละเอียดต่างๆ ของลูกหนี้ เช่น วงเงินให้กู้ การรับชําระ และยอดเงิน คงเหลือ ๓) ทะเบียนคุมเงินฝากสัจจะสะสมรายบุคคลและภาพรวมของกลุ่ม ฯ ใช้บันทึกควบคุมเงินที่ สมาชิกนํามาฝากไว้กับกลุ่มเพื่อเป็นเงินออมตามระเบียบฯ หรือ เงื่อนไขที่คณะกรรมการกลุ่มกําหนดเพื่อ ประโยชน์ในการควบคุม และตรวจสอบกับยอดเงินฝากธนาคาร และการจ่ายเงินคืนให้สมาชิก 2.2 ทะเบียนคุมเงินทุนประเภทต่าง ๆ ใช้บันทึกเพื่อควบคุมเงินทุนที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของกลุ่มฯ ตามประเภทเงินทุน ตามระเบียบฯ ที่ จัดสรรจากผลกําไรประจํ าปี เพื่ อประโยชน์ในการควบคุม และตรวจสอบกั บยอดเงิ นฝาก ธนาคารและการจ่ายตามระเบียบฯ และเพื่อประโยชน์ในการเก็บยอดเงินในการสรุปแสดงฐานะการเงินในงบ การเงินประจําปี 2.3 ทะเบียนคุมทรัพย์สิน ใช้บันทึกรายละเอียดทรัพย์สินที่กลุ่มจัดซื้อมาใช้ประโยชน์ และการบริหารจัดการกลุ่ม ฯ เพื่อ แสดงมูลค่าของทรัพย์สินในการแปลงเงินสดเป็นทรัพย์สิน เพื่อได้ทราบอายุการใช้งาน ของทรัพย์สิน เพื่อจะได้ วางแผนการคิดค่าเสื่อมทรัพย์สินตลอดจนการพัฒนากลุ่มฯ และเพื่อการวางแผนการจัดซื้อทรัพย์สินใช้ประโยชน์ ต่อไป 3. เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการรับและการจ่ายเงิน เอกสารการรับและการจ่ายเงินเป็นเอกสารสําคัญเนื่องจากเป็นหลักฐานที่แสดงว่าได้มีการับและ จ่ า ยเงิ น แล้ ว ดั ง นั้ น จึ ง ต้ องมี วิ ธี การจั ด เก็ บ ที่ ถู กต้ อ งครบถ้ ว นเป็ น ระเบี ย บเพื่ อให้ ส ะดวกในการค้ น หาและ ตรวจสอบและจะต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัยโดยให้เก็บแยกเป็นหมวดหมู่ดังนี้ 3.1 สัญญากู้ยืม และคําขอกู้ ควรเก็บเข้าแฟ้มเรียงตามลําดับวัน หรือที่ หรือเลขที่ของเอกสาร 3.2 สําเนาใบเสร็จรับเงินและสําเนาใบสําคัญจ่าย เก็บเรียงตามลําดับเลขที่ เล่มที่ แยกแฟ้ม หลักฐานการรับ และจ่าย หากเป็นไปได้ เมื่อผู้รับผิดชอบการทําบัญชีได้มีการนําไปบันทึกรายการในสมุดบัญชี แล้ว ควรมีการบันทึกว่า “ลงบัญชีแล้ว”หรือใช้ตรายางประทับ พร้อมลงลายมือชื่อและลงวันที่กํากับไว้ด้วย เพื่อ จะได้ทราบว่ามีการบันทึกรายการในสมุดบัญชีแล้ว เมื่อใด และใครเป็นผู้บันทึก


~ 17 ~

3.3 ใบเสร็จรับเงินจากบุคคลภายนอก (ถ้ามี) เก็บเรียงตามลําดับวันที่ที่มีการจ่ายเงิน และต้องเก็บ แยกแฟ้มต่างหากจากแฟ้มสําเนาใบเสร็จรับเงิน และแฟ้มสําเนาใบสําคัญจ่าย และควรมีการบันทึกว่า “ลงบัญชี แล้ว” หรือใช้ตรายางประทับ พร้อมลงลายมือชื่อและลงวันที่กํากับไว้ด้วย เพื่อจะได้ทราบว่ามีการบันทึกรายการ ในสมุดบัญชีแล้ว เมื่อใด และใครเป็นผู้บันทึก 3.4 สําเนาหนังสือแจ้งธนาคารให้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้กู้ (กรณีโอนเงิน) ได้รับอนุมัติ ให้กู้ตามมติคณะกรรมการกลุ่ม ฯ เก็บเรียงตามลําดับวันที่ ฯลฯ งบแสดงฐานะทางการเงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต งบกําไร – ขาดทุน งบกําไร–ขาดทุน จัดทําขึ้นเพื่อหากําไรสุทธิประจําปี หรือหากําไรสุทธิของการดําเนินงานในช่วง ระยะเวลาใดเวลาหนึ่ ง โดยนํ า รายรั บ และรายจ่ า ยที่ เ กิ ด จากการดํ า เนิ น งานของกลุ่ ม ออมทรั พ ย์ ฯ มา เปรีย บเที ยบกัน ผลต่างคือ ผลกําไร หรือขาดทุ น ถ้ ารายรับสู งกว่ ารายจ่าย ก็เ ป็นผลกําไร ถ้ ารายรับต่ํ ากว่ า รายจ่ายก็เป็นขาดทุน งบกําไร – ขาดทุน แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านรับ และด้านจ่าย มีวิธีทําดังนี้ 1. นํายอดรวมของรายรับทุกประเภทในวันสิ้นปี ซึ่งปรากฏในช่องรายได้ของบัญชีรายได้และหนี้สิน (ร.) ยกเว้นค่าสมัคร – ค่าธรรมเนียม และเงินบริจาค มาลงทางด้านรับของงบกําไร – ขาดทุน (กรณีจัดทําแบบ บัญชี) 2. นํายอดรวมของรายจ่ายทุกประเภทในวันสิ้นปี ซึ่งปรากฏในช่องรายจ่ายของบัญชีรายจ่ายและ ทรัพย์สิน (จ.) ยกเว้นค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ ค่าพาหนะและเงินปันผล มาลงด้านจ่ายของงบกําไร – ขาดทุน 3. รวมยอดรายรับและรายจ่าย 4. นํายอดรวมของรายรับลบด้วยยอดรวมของรายจ่าย ผลต่าง (รายรับสูงกว่ารายจ่าย) คือ กําไรสุทธิ 5. แสดงยอดกําไรสุทธิไว้ทางด้านรายจ่ายของงบกําไร –ขาดทุน 6. รายจ่ายต่าง ๆ ในงบกําไร–ขาดทุน (ด้านจ่าย )บวกกําไรสุทธิจะเท่ากับยอดรวมทางด้านรับ งบดุล เป็นงบแสดงฐานะการเงินของกลุ่มออมทรัพย์ฯ จัดทําขึ้นเพื่อให้สมาชิกทราบว่าผลการ ดําเนินงานของกลุ่ม ฯ ในระยะเวลาที่ผ่านมานั้น กลุ่มมีทรัพย์สิน หนี้สินและทุนเป็นอย่างไร งบดุลนี้จําจัดทํา ณ วันสิ้นปี หลังจากการปิดบัญชีประจําปี และจัดทํางบกําไร-ขาดทุนแล้ว หรืออาจจะจัดทํา ณ วันใดวันหนึ่งก็ได้ เมื่อกลุ่มต้องการจะทราบฐานะทางการเงินของกลุ่มก่อนวันสิ้นปีบัญชี งบดุล ประกอบด้วย ทรัพย์สิน หนี้สินและทุน ซึ่งเก็บยอดมาจากบัญชีต่าง ๆ ดังนี้ 1. ทรัพย์สินจากบัญชีเงินสด และเงินฝากธนาคาร 2. ทรัพย์สินจากบัญชีรายจ่ายและทรัพย์สิน ได้แก่ ลูกหนี้เงินกู้สามัญ ฉุกเฉิน เงินลงทุนใน กิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม ฯและทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ต้องการแสดงให้เจ้าของกิจการ หรือสมาชิกทราบ 3. รายได้บางประเภท หนี้สินและทุน จากบัญชีรายได้และหนี้สิน ได้แก่ ค่าสมัคร ค่าธรรมเนียม เงินบริจาค เงินสัจจะสะสม ฯ เงินกู้ธนาคาร ทุนสํารอง ทุนสาธารณะ ทุนดําเนินงาน และหรือทุนอื่น ๆ ที่กลุ่ม จัดสรรไว้ 4. กําไรสุทธิประจําปี และกําไรสะสม (ถ้ามี) เมื่อลงรายการในงบดุลครบถ้วนแล้ว รวมยอดด้านทรัพย์สินและรวมยอดด้านหนี้และทุนยอดรวม ของสองด้านจะเท่ากัน ตามสมการบัญชี คือ ทรัพย์สิน เท่ากับ หนี้สิน บวก เงินทุน ถ้ายอดรวมของด้านทรัพย์สิน กับด้านหนี้สินและทุนไม่เท่ากัน แสดงว่าเกิดการผิดพลาดในการลงบัญชีเบื้องต้น ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังนี้ 1. บันทึกรายการทางการเงินไม่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นต้นว่า ลงจํานวนเงินไม่ถูกต้อง ครบถ้วน


~ 18 ~

2. บวกหรือลบตัวเลขไม่ถูกต้อง 3. ลืมลงรายการรับ – จ่ายตามระบบบัญชีคู่ คือ ลงรายการรับหรือจ่ายเพียงบัญชีเดียว ให้ตรวจสอบข้อผิดพลาดซึ่งอาจเกิดขึ้นในข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ในบัญชีทุก ๆ เล่ม รวมทั้ง งบกําไร – ขาดทุน และงบดุลด้วย เมื่อพบสาเหตุที่ผิดแล้วก็ให้แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ถ้าการผิดพลาดเกิดจากการ ลงบัญชีเบื้องต้น เมื่อแก้ไขแล้วให้จัดทํางบกําไร–ขาดทุน และงบดุลใหม่ แต่ถ้าผิดพลาดเฉพาะงบกําไร-ขาดทุน หรืองบดุล ก็เพียงแก้ไขในงบกําไร – ขาดทุนหรืองบดุลเท่านั้น การคิดเงินปันผล การคิดเงินปันผล มีความสําคัญต่อกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและต่อสมาชิกมาก เพราะเป็นการ กําหนดเกี่ยวกับผลประโยชน์ คือการกําหนดว่ากลุ่ม ฯ จะจัดสรรกําไรที่ได้รับในแต่ละปีจากการดําเนินกิจการ ของกลุ่มให้กับสมาชิก พร้อมกันนี้กลุ่ม ก็ต้องจัดสรรกําไรเก็บไว้เพื่อลงทุนขยายกิจการของกลุ่ม ฯและจัดสรรตาม ข้อบังคับของกลุ่มด้วย การจัดสรรกําไรสุทธิประจําปีที่มีความเหมาะสมควรมีสัดส่วนดังนี้.1. จัดสรรเป็นทุนสํารองไม่น้อยกว่าร้อย 7 ของกําไรสุทธิ 2. จัดสรรเป็นทุนสาธารณไม่เกินร้อยละ 11 ของกําไรสุทธิ ซึ่งทุนสาธารณะนี้ให้กลุ่มสะสมไว้ สําหรับใช้จ่ายเพื่อเป็นทุนสาธารณะเพื่อสมาชิก และชุมชน 3. จัดสรรเป็นทุนขยายงานของกลุ่มไม่เกิดร้อยละ 10 ของกําไรสุทธิ การใช้ทุนประเภทนี้ต้อง ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุม 4. ให้เป็นเงินเฉลี่ยคืนแก่สมาชิกตามส่วนแบ่งดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งสมาชิกผู้กู้แต่ละคนเสียให้แก่ กลุ่มระหว่างปี แต่ไม่เกินร้อยละ 5 5. ให้เป็นเงินปันผลตามหุ้นแก่สมาชิก ไม่เกินร้อยละ 8 ต่อปี โดยติดตามส่วนของจํานวนหุ้นที่มี อยู่ในวันสิ้นปี 6. ให้เป็นทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลไม่เกินร้อยละ 2 แห่งทุนเรือนหุ้นของกลุ่มที่มีอยู่ในวัน สิ้นปีบัญชีนั้น ทุกรักษาระดับอัตราเงินปันผลนี้จะถอนออกมาใช้โดยมีมติของที่ประชุมใหญ่สามัญเพื่อจ่ายสมทบ เป็นเงินปันผลตามหุ้น 7. จัดสรรเป็นเงินค่าตอบแทนกรรมการและค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามมติที่ประชุมสามัญ 8. ถ้ายังมีกําไรสุทธิเหลือ ให้สมทบเป็นทุนสํารองทั้งสิ้น การสะสมทุนสํารองนี้ รวมแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินทุนดําเนินงานในปีที่ผ่านมาถ้าเกินให้นํา ส่วนเกินเข้าสมทบทุนสาธารณะหรือทุนดําเนินงาน ตามมติของคณะกรรมการบริหารทุนสํารอง เป็นของกลุ่มโดย ส่ ว นรวม ทุ น สํ า รองนี้ จ ะถอนได้ ก็ต่ อ เมื่ อต้ องการชดเชยความเสี ย หายอั น อาจจะเกิ ด ขึ้ น ได้ โ ดยมติ ของคณะ กรรมการบริหาร ความสําคัญของเงินปันผล 1. เป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวของกลุ่ม ฯ ในกรณีที่กลุ่ม ฯ มีกําไรและไม่นํากําไรดังกล่าวไปจ่ายเป็น เงินปันผล จะทําให้กลุ่ม ฯมีเงินทุนที่จะขยายกิจการเพิ่มขึ้น แต่ถ้ากลุ่ม ฯ จ่ายเงินปันผลได้แก่สมาชิกจะมีผลทํา ให้เงินทุนของกลุ่ม ลดลง ถ้ากลุ่มฯ ต้องการขยายกิจการกลุ่ม ฯ จะต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งอื่น เช่น กู้ยืมเงิน จากธนาคาร กู้ยืมจากสมาชิก ฯลฯ 2. เป็นแหล่งเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก ทางกลุ่มตระหนักดีว่าการจ่ายเงินปันผลมีอิทธิพลอย่าง มากต่อรายได้ของสมาชิก เพราะจะทําให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การจ่ายเงินปันผล ยังเป็นการแสดง ให้เห็นว่ากลุ่ม ฯ มีความสามารถในการดําเนินงาน สามารถบริหารงานให้กลุ่ม ฯ มีกําไร สามารถจ่ายเงินปันผล


~ 19 ~

แก่สมาชิกได้ ทําให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกกุล่ม ฯ มีความสนใจในการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ฯ ซึ่งจะมีผลให้จํานวน สมาชิกของกลุ่มฯเพิ่มขึ้น สิ่งไหนควรจะมาก่อน รายได้ของสมาชิกหรือความต้องการเงินทุนของกลุ่ม ฯ ปัญหาที่กลุ่มฯ จะต้องคํานึงถึงคือ กลุ่ม ฯ จะให้ความสําคัญแก่สมาชิก หรือให้ความสําคัญแก่กลุ่มฯ ก่อน ความจริงแล้วปัญหานี้ไม่น่าจะมีข้อขัดแย้งกันระหว่างสมาชิกและกลุ่ม ฯ เพราะกลุ่มฯที่มีการดําเนินงานที่มี ประสิทธิภาพจะได้ผลตอบแทนที่ดีแก่สมาชิกในระยะยาว ดังนั้น การที่กลุ่ม ฯ จะจ่ายเงินปันผลแก่สมาชิกหรือไม่ มีข้อคิดอยู่ 2 ประการ ดังนี้ 1. ถ้ากลุ่ม ฯ มีความต้องการเงินทุนมาขยายกิจการ โดยที่กลุ่มคาดว่าการลงทุนขยายกิจการจะให้ ผลตอบแทนที่ดีแก่กลุ่ม ฯ แต่กลุ่มฯ ไม่สามารจะหาแหล่งเงินทุนจากที่อื่น หรือกลุ่มอาจหาแหล่งเงินทุนได้แต่เสีย ค่าใช้จ่ายสูง ในกรณีนี้กลุ่มฯ ก็ยังไม่ควรจ่ายเงินปันผล ควรนํากําไรนั้นมาขยายงานก่อนจะดีกว่า โดยดําเนินการ ได้ 2 วิธี คือ นํากําไรส่วนที่จะจ่ายปันผลตามหุ้น รวมเป็นหุ้นเพิ่มให้กับสมาชิกตามส่วน แล้วนําเงินส่วนนี้ไปขยายงาน นํากําไรส่วนที่จะจ่ายปันผลเก็บไว้เป็นกําไรสะสม แล้วนํามาใช้ขยายงานเสียก่อนเมื่อใดที่กลุ่มมีรายได้พอที่จะใช้ คืนเงินกําไรสะสมนี้ได้ จึงนํามาปันผลคืนให้สมาชิกต่อไป เมื่อกลุ่ม ฯ มีกําไรเพิ่มขึ้นก็สามารถจะนํากําไรที่เพิ่ม ขึ้นมาจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิก ทําให้สมาชิกได้รับเงินปันผลมากขึ้นกว่าเดิม 2. ถ้ากลุ่ม ฯ ต้องการเงินทุนขยายกิจการ แต่กลุ่ม ฯ สามารถหาแหล่งเงินทุนโดยเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก กลุ่ม ฯ ก็ควรจะใช้เงินทุนขยายกิจการจากแหล่งดังกล่าว วิธีการคํานวณเงินปันผล การคํานวณเงินปันผลให้กับสมาชิก กลุ่ม ฯ จะต้องแปลงเงินสัจจะสะสมของสมาชิกให้เป็นหุ้น เสียก่อน ซึ่งกลุ่มออมทรัพย์ฯ ได้กําหนดมูลค่าไว้ว่า 100 บาท จะเท่ากับ 1 หุ้น การจ่ายเงินปันผลก็จะจ่ายตาม จํานวนหุ้นที่สมาชิกแต่ละคนมีอยู่ โดยมีหลักเกณฑ์การคํานวณ ดังนี้ เช่น กําหนดให้สง่ เงินสัจจะภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และเมื่อครบ 1 หุ้น (100 บาท) ในเดือนใด ให้เริ่มคิดเงินปันผลนับแต่เดือนที่ครบเป็นต้นไป แต่ ถ้าสมาชิกส่งเงินสัจจะหลังจากวันที่ 5 ของทุกเดือน เมื่อครบ 1 หุ้นในเดือนใด ให้เริ่มคิดเงินปันผลในเดือนถัดไป เช่น 100 บาท หรือ 1 หุ้นในเดือนกรกฎาคม แต่การส่งเงินสัจจะเป็นการส่งหลังวันที่ 5 ก็ให้เริ่มคิดเงินปันผล ในเดือนถัดไป คือ เดือนสิงหาคม เป็นต้นไป การคํานวณเงินปันผลมี 2 วิธี วิธีที่ 1 สะสมเงินสัจจะ (แบบธนาคาร) ตัวอย่าง การคํานวณเงินปันผลจ่าย กลุ่มออมทรัพย์ ฯ ตาชี กําหนดให้สมาชิกส่งเงินสัจจะภายในทุก วันที่ 5 ของเดือน นายเขียวซึ่งเป็นสมาชิกได้ให้สัจจะไว้เดือนละ 70 บาท โดยเริ่มส่งเงินสัจจะในเดือนกันยายน เป็นต้นไป ถ้ากลุ่มจ่ายเงินปันผล 8 % คําถาม นายเขียวจะได้รับเงินปันผลเท่าใด วิธีที่ 1 แบบ ก. วิธีคํานวณ (ส่งเงินสัจจะภายในวันที่ 5 ของเดือน) วัน / เดือนที่ส่ง จํานวนเงินที่ส่งแต่ละเดือน รวมเป็นเงินที่ส่งแล้ว จํานวนเงินที่มีสิทธิได้รับปันผล 5 ก.ย. 70 70 0 5 ต.ค. 70 140 100 5 พ.ย. 70 210 200 5 ธ.ค. 70 280 200 รวม 280 280 500 นายเขียวจะได้รับเงินปันผล = 500 x 8 = 3.33 บาท 100 x 12


~ 20 ~

วิธีที่ 1 แบบ ข. วัน / จํานวนเงินที่ส่งแต่ รวมเป็นเงินที่ส่ง เดือนที่ส่ง ละเดือน แล้ว 5 ก.ย. 70 70 5 ต.ค. 70 140 5 พ.ย. 70 210 5 ธ.ค. 70 280

จํานวนเงินที่มีสิทธิได้รับปันผล ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 0 0 0 0 0 100 0 0 0 100 100 0 0 100 100 0

นายเขียวจะได้รับเงินปันผล = (100 x 8 x 3) + (100 x 8 x 2) 100 12 100 12 = 6 + 4 =2+4 3 3 = 3.33 บาท

=

10 3

วิธีที่ 2 วิธีถัวเฉลี่ย จากตัวอย่างเดิม ถ้ากลุ่มออมทรัพย์ฯ ตาชี มีกําไรสุทธิเหลือภายหลังจากการจัดสรรตามข้อกําหนดของ กลุ่ม ฯ แล้ว 20,000 บาท มีเงินสัจจะที่คํานวณเป็นหุ้นได้ 2,000 หุ้น ถ้านายเขียวซึ่งเป็นสมาชิกมีเงินสัจจะ ซึ่ง คํานวณเป็นหุ้นแล้ว 10 หุ้น คําถาม นายเขียวจะได้รับเงินปันผลเท่าใด เงินปันผลต่อหุ้น = 20,000 = 10 บาท 2,000 นายเขียวจะได้รับเงินปันผล = 10 x 10 = 100 บาท การคิดเงินเฉลี่ยคืน การดําเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ ฯ และกิจกรรม นอกจากสมาชิกจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากกิจกรรม เช่ น การกู้ เ งิ น การซื้ อ สิ น ค้ า อุ ป โภค – บริ โ ภคในราคาถู ก พร้ อ มทั้ ง รั บ เงิ น ปั น ผลจาการร่ ว มลงทุ น ในการ ดําเนินงานด้วยแล้ว “เงินเฉลี่ยคืน” จัดได้ว่าเป็นผลประโยชน์ของสมาชิกอีกส่วนหนึ่งที่กลุ่มฯ และกิจกรรมจัดให้ มีขึ้น โดยเงินเฉลี่ยคืนจะถูกกําหนดไว้ตามสัดส่วนในการจัดสรรกําไรสุทธิตามข้อบังคับและมติของกลุ่มทั้งนี้เป็น การเฉลี่ยผลประโยชน์ที่กลุ่มและกิจกรรมได้รับจากสมาชิกกลับไปสู่สมาชิกอีกครั้งหนึ่งตามสัดส่วนของการใช้ บริการของสมาชิกแต่ละราย ฉะนั้นการคิดเงินเฉลี่ยคืนที่จะกล่าวถึงในตอนนี้คือ 1. การคิดเงินเฉลี่ยคืนจากดอกเบี้ยเงินกู้ของกลุ่มออมทรัพย์ ฯ ตัวอย่าง 1) กลุ่ม ฯ มีกําไรสุทธิ 10,000 บาท และจัดสรรกําไรสุทธิ 5 % ตามมติกรรมการบริหารกลุ่มฯ เป็น เงินเฉลี่ยคืน จํานวน 500 2) สมาชิกกลุ่มฯ จํานวน 15 ราย กู้เงินจากกลุ่มฯ เมื่อสิ้นปี เสียดอกเบี้ยให้กลุ่มเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 2,000 บาท 3) การเสียดอกเบี้ยตามข้อ 2) ปรากฏว่า นาย ก. เสียเป็นเงิน 300 บาท และนาย ข. เสียเป็นเงิน 200 บาท ส่วนที่เหลืออีก 13 คน เสียมาก – น้อย ต่างกันตามจํานวนเงินที่กู้ไป


~ 21 ~

คําถาม นายก. และนาย ข. จะได้รับเงินเฉลี่ยคืนคนละเท่าใด วิธีคิด (ใช้หลักบัญญัติไตรยางศ์) ดอกเบี้ย 2,000 บาท ได้เงินเฉลี่ยคืน = ดอกเบี้ย 1 บาท ได้เงินเฉลี่ยคืน = =

500 500 x 1 บาท 2,000 0.25 บาท

บาท

ดังนั้น 1) นาย ก. ได้เงินเฉลี่ยคืน 300 x 0.25 = 75 บาท 2) นาย ข. ได้เงินเฉลี่ยคืน 200 x 0.25 = 50 บาท ทั้งนี้ สมาชิกที่เหลืออีก 13 คน ก็จะได้รับเงินเฉลี่ยคืนในลักษณะเดียวกันตามสัดส่วนมาก – น้อยของ ดอกเบี้ยที่แต่ละคนต้องเสียไป การตรวจสอบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์ การตรวจสอบความถูกต้องของยอดเงินคงเหลือ คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ ฯ สามารถทราบความเคลื่อนไหวของกองทุน ณ วันใดวันหนึ่งได้จาก สมุดบัญชีรายรับและสมุดบัญชีรายจ่ายและควรตรวจสอบความถูกต้องของการลงบัญชีอย่างสม่ําเสมอ รวมทั้ง สามารถตรวจสอบได้ว่าเงินคงเหลือในสมุดบัญชีรายรับและ สมุดบัญชีรายจ่าย กับเงินคงเหลือที่เป็นเงินสดในมือ กับสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร(สมุดคู่ฝาก)ตรงกันหรือไม่ ในทุกวันทําการที่เกิดรายการ เปลี่ยนแปลง การตรวจสอบบัญ ชีเป็ นวิ ธีการซึ่ งสามารถควบคุ มความถูกต้ องของการบั นทึ กบัญ ชีและแนะนํา การ บันทึกบัญชี ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด เมื่อผู้ตรวจบัญชีจะดําเนินการตรวจบัญชีของกลุ่มนั้นจะต้องทราบเป็น อันดับแรก คือ 1. ระบบการบัญชีที่กลุ่มใช้ 2. การวางรูปแบบบัญชีของกลุ่ม 3. สมุดบัญชีที่จัดทําขึ้น 4. การสรุปรายการเบื้องต้นเพื่อการลงบัญชี เมื่อทราบวิธีการบัญชีของกลุ่ม ทั้ง 4 ส่วนแล้ว สิ่งที่ต้องคํานึงถึงตามแนวทางการจัดทําบัญชีกําหนดว่า 1. ระบบบัญชีในระบบ บัญชีคู่ ซึ่งหมายความว่า ทุก ๆ รายการที่เกิดขึ้นจะต้องบันทึกจํานวนเงินลงใน บัญชี 2 บัญชี เสมอไป 2. การวางรูปแบบบัญชีตามระบบการบัญชีคู่ แบ่งเป็น บัญชีในส่วนของรายรับ บัญชีในส่วนของรายจ่าย บัญชีในส่วนของทรัพย์สิน บัญชีในส่วนของหนี้สินและทุน 3. สมุดบัญชีที่จัดทําขึ้น แบ่งออกเป็น 3 เล่ม โดยวางรูปแบบการบัญชีไว้ดังนี้ เล่มที่ 1 สมุดบัญชีเงินสด – บัญชีเงินฝากธนาคารทุกประเภท (ส.) ถือว่าเป็นทรัพย์สิน เป็นสมุดบัญชีหลัก เล่มที่ 2 สมุดบัญชีรายวันรับเงิน (ร.) ในสมุดบัญชีเล่มนี้จะแบ่งส่วนของบัญชีไว้ 2 ส่วน คือ บัญชีในส่วนของรายได้ กับบัญชีในส่วนของหนี้สินและทุน เป็นสมุดบัญชีแยกประเภท เล่มที่ 3 สมุดบัญชีรายวันจ่ายเงิน (จ.) ในสมุดบัญชีเล่มนี้จะแบ่งส่วนของบัญชีไว้ 2 ส่วน คือ บัญชีในส่วนของรายจ่ายกับบัญชีในส่วนของทรัพย์สิน เป็นสมุดบัญชีแยกประเภท


~ 22 ~

4. การบันทึกรายการเบื้องต้นเพื่อการลงบัญชี กลุ่มฯควรมีสมุดธรรมดา 1 เล่ม เพื่อสรุปรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประจําวัน เพื่อคัดลอกลงในสมุดทะเบียนที่จัดทําขึ้น และลงบัญชีตามแนวทางที่กําหนดซึ่งถือว่าการ บันทึกรายการเบื้องต้นจะเป็นตัวกําหนดความถูกต้องของการทะเบียนและการบันทึกบัญชี ความสัมพันธ์ระหว่างรายการเบื้องต้นเพื่อการลงบัญชีระบบบัญชีคู่ เมื่อมีการบันทึกหรือสรุปรายการเพื่อเตรียมลงบัญชีในสมุดบัญชีที่ได้จัดเตรียมไว้ตามระบบบัญชีกําหนด ว่า ทุก ๆ รายการที่เกิดขึ้นจะต้องบันทึกจํานวนเงินลงใน บัญชี 2 บัญชีเสมอไป สิ่งที่จะควบคุมการลงบัญชีตาม ระบบบัญชีนี้ก็คือ การอ้างหน้าบัญชีเพื่อให้ทราบว่าได้ลงจํานวนเงินบัญชีใน 2 บัญชี แล้ว หรือการยันกันตาม ระบบบัญชีคู่ซึ่งการอ้างหน้าบัญชีนั้นนิยมใช้อักษรย่อของบัญชีนั้น เช่น บัญชีเงินสด –บัญชีเงินฝากธนาคาร ทุก ประเภท ใช้อักษรย่อว่า ส. ตามด้วยเลขหน้าบัญชีนั้น เช่น ส. 1 เป็นต้น และยังมีอักษรย่ออีกตัวหนึ่ง คือ อักษร อ. หมายความว่าอ้างการลงบัญชี บัญชีในเล่มบัญชีเดียวกัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารทุก ประเภท การอ้างหน้าบัญชีนั้น หมายถึง อ้างการลงบัญชี 2 บัญชี ในรายการเดียวกันให้ตรงกันข้ามหรือยันกัน ซึ่ง จะเป็นการตรวจสอบบัญชีวิธีการลงบัญชีได้ในทางหนึ่ง เมื่อรู้ระบบและวิธีทางการบัญชีแล้วสิ่งที่จะตรวจต่อไปก็ คือ ตัวเลขของจํานวนเงินในแต่ละบัญชี ซึ่งผู้ตรวจต้องดูจากผลสรุปยอดรายเดือนและการสะสมของยอดรายปี โดยพิสูจน์ยอดตัวเลขจํานวนเงินแต่ละบัญชีว่าตรงกับจํานวนเงินคงเหลือสุดท้ายหรือไม่ (ซึ่งจะแสดงให้เห็นได้ชัด จากการปฏิบัติทางการบัญชี) สิ่งที่ต้องตรวจสอบต่อไป คือ การทํางบกําไร – ขาดทุน เนื่องจากการทํางบกําไรขาดทุน มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบผลการดําเนินงานในรอบบัญชีหนึ่งว่ามีกําไร หรือขาดทุนเกิดขึ้นเท่าใด ซึ่งเกิดจากการเปรียบเทียบ ระหว่างบัญชีในส่วนของรายได้ กับบัญชีในส่วนของรายจ่ายซึ่งความถูกต้องในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับ 1. การเก็บยอดจํานวนเงินในส่วนของบัญชี ในส่วนของรายได้และบัญชีในส่วนของรายจ่ายได้ถูกต้อง หรือไม่ 2. การคํานวณตัวเลขจํานวนเงินของในแต่ละส่วนบัญชี 3. นําผลที่แตกต่างกัน คือ กําไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ไปดําเนินการต่อในงบดุล ส่วนของทุนที่ ต้องตรวจสอบในขั้นตอนสุดท้าย คือ ตรวจการทํางบดุลเนื่องจาก งบดุล คือ การเปรี ยบเทียบผลการดําเนินงานในรอบปีบั ญชีว่ากลุ่ม ฯ มีทรัพย์สิน และหนี้สินใน ช่วงเวลารอบปีบัญชีนั้นเป็นจํานวนเท่าใด ซึ่งเป็นหลักการบัญชีทั่วไปถือว่าการทําบัญชีได้ถูกต้องนั้น ผลรวมของ จํานวนเงินทางด้านทรัพย์สินทุกประเภท จะเท่ากับ ผลรวมของจํานวนเงินทางด้านหนี้สินทุกประเภท บวกกับ ผลรวมของจํานวนเงินทุน ทุกประเภท นั่นคือ ทรัพย์สิน =

หนี้สิน + ทุน

การแก้ไขเมื่องบดุลไม่เท่ากัน (ไม่ลงตัว) งบดุลไม่เท่ากันหรือไม่ลงตัว มีสาเหตุขอความผิดพลาด 2 ประการ คือ 1. ความผิดพลาดเพราะบันทึกรายการทางการเงินผิดบัญชี 2. ความผิดพลาดเพราะบวกหรือลบตัวเลขจํานวนเงินผิด ซึ่งทั้งสองสาเหตุจะทําให้ตัวเลขจํานวนเงินในบัญชีผิดไปจากความจริง การแก้ไข ความผิดพลาดเพราะบันทึกรายการทางการเงินบัญชี (ลงผิดบัญชี)


~ 23 ~

วิธีการ 1. ตรวจสอบรายการเบื้องต้นจากสมุดบันทึกเบื้องต้นไล่เป็นลําดับ จนพบรายการที่ผิดพลาด 2. นําผลสรุปของจํานวนเงินของแต่ละบัญชี เปรียบเทียบกับสมุดทะเบียนที่จัดทําว่าตัวเลข ตรงกั น หรื อไม่ ถ้ า บั ญ ชี ไหนไม่ ต รงกั บ สมุ ด ทะเบี ย นก็ ดู ร ายการที่ ล งบั ญ ชี ไปแล้ ว เพื่ อพบรายการดั ง กล่ า ว ก็ ดําเนินการแก้ไขต่อไป 3. ให้นําผลรวมของจํานวนเงินข้างมาก (ในส่วนของทรัพย์สิน หรือหนี้สินในงบดุล)ตั้งแล้วลบด้วย จํานวนเงินข้างน้อย ได้จํานวนเงินเท่าไร หารด้วย 2 แล้วดูว่าจํานวนเงินนั้นเป็นของรายการใด ดําเนินการแก้ไข ต่อไป เช่น รายการที่ถูกต้อง รายการที่ผิดพลาด ทรัพย์สิน หนี้สิน ทรัพย์สิน หนี้สิน 187 277 187 277 60 64 60 64 94 94 341 341 247 435 เอา 2 หารผลต่างของ 435 กับ 247 จะพบรายการที่ผิดพลาด 435 – 247 = 188 หาร 2 = 94 จะพบว่าจํานวนเงิน 94 บาทลงกลับข้าง คือ ลงบัญชีข้างทรัพย์สิน เป็นหนี้สิน ถ้าผลต่างของจํานวนรวม 2 ข้าง เป็น 9 หรือผลคูณของ 9 เช่น 9 , 18 , 27, 36 เป็นต้น การ ผิดพลาดเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นจากการบันทึกตําแหน่งตัวเลขกับกัน เช่น 54 บันทึกเป็น 45 , 36 บันทึกเป็น 63 วิธีหาข้อผิดพลาดให้เอา 9 หารผลต่างนั้น เมื่อหารออกมาได้จํานวนเท่าใด จํานวนตัวเลขนั้น คือผลต่างของ เลข 2 ตัว ที่กับตําแหน่งกัน เช่น ตัวเลขที่ถูก ตัวเลขที่กลับตําแหน่ง ผลต่าง (ผลต่างของเลข 2 ตัวที่กลับตําแหน่ง) 54 45 9 1 75 57 18 2 30 03 27 3 อาศัยดูตัวเลขที่หารได้จาก 9 นี้เป็นหลัก แล้วค้นหาตัวเลข 2 ตัวที่กลับตําแหน่งกันในบัญชีต่าง ๆ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ความผิดพลาดเพราะบวกหรือลบจํานวนเงินผิด วิธีแก้ไขให้ตรวจสอบจากผลรวมของยอดรวมแต่ต้นปี ของทุก ๆ บัญชี แล้วทดสอบงบดุลจนกว่างบดุลสองข้างเท่ากัน ก็ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป สรุปการตรวจสอบบัญชี จะต้องตรวจตามรายละเอียด ดังนี้ 1. ระบบการบัญชี 2. การวางรูปแบบของบัญชีที่ใช้ 3. สมุดบัญชีที่จัดทําขึ้น 4. การบันทึกรายการเบื้องต้น 5. การอ้างบัญชี 6. ตัวเลขจํานวนเงินของแต่ละบัญชี 7. งบกําไร – ขาดทุน 8. งบดุล (ทรัพย์สิน = หนี้สิน + ทุน)


~ 24 ~

จุดเน้นการตรวจสอบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตรวจอะไร 1. บัญชีเงินสุด/บัญชีเงินฝาก ธนาคาร (ส.)

ตรวจอย่างไร 1. เงินสดคงเหลือเท่ากับตัวเงินที่มีอยู่เท่ากันหรือไม่ 2. เงินฝากธนาคารคงเหลือจะต้องตรงกับยอดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร 3. ความถูกต้องในการบันทึก ฯ 3.1 ยอดเงินคงเหลือ (เงินสด เงินฝากธนาคารโดยทํายอดเงินคงเหลือ ยกมา บวก ยอดรวมช่องรับ หัก ช่องรวมช่องจ่าย เท่ากับยอดเงินคงเหลือ ในบัญชี 3.2 ความครบถ้วนในการบันทึกบัญชี 3.2.1 เงินสัจจะสะสม ค่าสมัคร ค่าธรรมเนียมประจําเดือนตรวจสอบ กับทะเบียนคุมสัจจะตรงกันหรือไม่ 3.2.2 ตรวจรายการจ่ายเงินให้สมาชิกกู้และการรับชําระหนี้กับ ทะเบียนกู้ลูกหนี้ฉุกเฉิน/สามัญตรงกันหรือไม่ 3.2.3 ตรวจสอบว่าได้มีการลงรายการตามระบบบัญชีคู่ครบถ้วน ถูกต้องทุกรายการหรือไม่ (ช่องและรายการ) 3.2.4 ตรวจสอบการนําหลักฐานการรับ การจ่ายเงินมาลงบัญชี ครบถ้วนทุกรายการหรือไม่ 3.2.5 ตรวจสอบการจ่ายเงินปันผล เฉลี่ยคืน กับหลักฐานการ จ่ายเงินถูกต้องหรือไม่ 3.2.6 ตรวจสอบการจ่ายเงินค่าตอบแทน ฯ กับหลักฐานการจ่าย ว่า ถูกต้องหรือไม่ 4. ตรวจสอบการรวมยอดเงินทุกช่อง ทุกบัญชีถูกต้องหรือไม่ในการปิด บัญชี 2. บัญชีรายได้และหนี้สิน(ร.) 1. ตรวจสอบการลงบัญชีทุกรายการตรงกับบัญชีเงินสด เงินฝากธนาคาร (ส.)หรือไม่ 2. ตรวจสอบบัญชีทุนกับทะเบียนคุมเงินทุนว่ายอดเงินตรงกันหรือไม่ 3. ตรวจสอบบัญชีเงินกู้ธนาคารกับสัญญาการกู้ยืมและหลักฐานการชําระ หนี้ 4. ตรวจสอบการรวมยอดเงินทุกอย่าง ทุกบัญชีถูกต้องหรือไม่ในการปิด บัญชี 3. บัญชีรายจ่ายและทรัพย์สิน (จ.) 1. ตรวจสอบการลงบัญชีทุกรายการตรงกับบัญชีเงินสด เงินฝากธนาคาร (ส.)หรือไม่ 2. ตรวจสอบบัญชีกิจกรรมของกลุ่มกับทะเบียนคุมกิจกรรมของกลุ่มว่า ยอดเงินตรงกันหรือไม่ 3. ตรวจสอบบัญชีลูกหนี้เงินกู้ ฉุกเฉิน / สามัญ กับทะเบียนคุมลูกหนี้เงินกู้ 4. ตรวจสอบการรวมยอดเงินทุช่อง ทุกบัญชี ถูกต้องหรือไม่ในการปิดบัญชี


~ 25 ~

ตรวจอะไร ตรวจอย่างไร 4. ตรวจสอบงบกําไรขาดทุน และงบดุล 1. ตรวจสอบการเก็บยอดรายได้ / รายจ่ายครบทุกรายการถูกต้อง หรือไม่ 2. ตรวจสอบการเก็บยอดหนี้สิน / ทรัพย์สิน / ทุน ครบทุกรายการ ถูกต้องหรือไม่ 3. ตรวจสอบผลรวมของจํานวนเงินทุกรายการถูกต้องหรือไม่ 4. ตรวจยอดกําไรจากงบดุล / งบกําไร – ขาดทุนจะต้องเป็นจํานวนเงิน ที่เท่ากัน 5. ตรวจสอบทะเบียน / เอกสารทุก ประเภท

ตรวจสอบ หลักฐาน ทะเบียนเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ ใบสมัคร คําขอกู้ ทะเบียนสมาชิก สมุดสัจจะ หลักฐานธนาคาร สลิปธนาคาร ฯลฯ

6. การตรวจสอบการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการ

ดูว่าคณะกรรมการทํางานตามหน้าที่ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่าง เคร่งครัดหรือไม่ ตลอดจนการตรวจระบบการไหลของเงิน วัน เวลาใน การถอนเงินจากธนาคาร และ จํานวนเงินแต่ละประเภทที่เป็นค่าใช้จ่าย การใช้จ่ายเงินตามโครงการฯ กลุ่ม ฯในการบริหารจัดการ ฯลฯ



~ 26 ~

ระเบียบข้อบังคับ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ หมู่ที่ 9 ตําบลสาริกา อําเภอเมือง จังหวัดนครนายก ************************ หมวดที่ 1 ข้อความทั่วไป ข้อ 1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนี้ชื่อว่า “กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ หมู่ที่ 9 “ ข้อ 2 ที่ทําการกลุ่มตั้งอยู่ที่อาคารเอนกประสงค์ประจําบ้านสุพรรณิการ์ หมู่ที่ ๙ ตําบลสาลิกา อําเภอเมือง จังหวัดนครนายก ข้อ 3 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่ม 3.1 เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง 3.2 เพื่อเป็นสวัสดิการแก่สมาชิก และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 3.3 เพื่อฝึกหัดให้รู้จักการประหยัดโดยการออมทรัพย์ซึ่งสามารถแบ่งรายได้ของตนเองไว้รวมกันในทาง ที่มั่นคง และได้รับประโยชน์ร่วมกัน 3.4 เพื่อพัฒนาคนโดยให้การศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง และสมาชิกกลุ่มเป็นสําคัญในการให้สมาชิกกลุ่ม ได้มีกิจกรรมในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักดําเนินงานของกลุ่มด้วยตนเอง 3.5 จัดบริการรับฝากเงินจากสมาชิก และจัดหาทุนรวมทั้งบริการเพื่อให้กู้ยืมเงินลงทุนประกอบอาชีพ จัดสวัสดิการของครอบครัว คุ้มครองสิทธิ และรักษาผลประโยชน์ให้สมาชิก 3.6 เพื่อฝึกหัดให้รู้จักการบริหารจัดการด้านการเงิน และการพัฒนาตนเองโดยใช้เงินเป็นเครื่องมือ เพื่อให้สมาชิกมีคุณธรรม 5 ประการ ดังนี้ 1) มีความซื่อสัตย์ 2) มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม 3) มีความรับผิดชอบร่วมกัน 4) มีความเห็นอกเห็นใจต่อกัน 5) มีความไว้วางใจกัน ข้อ 4 การปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยการส่งเสริมการพัฒนาคนและครอบครัว ส่งเสริมให้ สมาชิกออมทรัพย์และสะสมรายได้ตามความสมัครใจ ส่งเสริมให้ดําเนินการของกลุ่มด้วยตนเอง ตามระบอบ ประชาธิปไตย กระทํากิจกรรมใดไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และขนบธรรมเนียม ประเพณี หมวดที่ 2 ว่าด้วยสมาชิกภาพ ข้อ 5 สมาชิกของกลุ่มแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 5.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่บุคคลทั่วไปที่ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มถูกต้องตามระเบียบกลุ่มฯ ใน หมู่ที่ 9 ไม่จํากัดเพศ อายุ และจะต้องผ่านการส่งเงินสัจจะติดต่อกันระยะเวลา 6 งวด 5.2 สมาชิกวิสามัญ ได้แก่กลุ่มต่าง ๆ ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มในรูปกลุ่ม 5.3 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ คหบดี ข้าราชการ หรือ ผู้ที่มีความสนใจและศรัทธาการดําเนินงานกลุ่ม ออมทรัพย์เพื่อการผลิต ข้อ 6 การเข้าเป็นสมาชิก ต้องปฏิบัติดังนี้ .6.1 ต้องยื่นใบสมัครตามที่กลุ่มกําหนด ต่อคณะกรรมการกลุ่ม โดยกลุ่มจะเปิดรับสมัครสมาชิกใหม่ทุกปี ปีละ 1 ครั้ง ในเดือนธันวาคมของทุกปี (วันประชุมใหญ่สามัญประจําปี) หรืออาจจะกําหนดเป็นคราว ๆ


~ 27 ~

6.2 ต้องชําระค่าสมัคร / ค่าธรรมเนียมตามที่กลุ่มกําหนด ( 20 บาท / คน) เงินจํานวนนี้จะเรียกคืน ไม่ได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ 6.3 ให้มีสมาชิกรับรองอย่างน้อย 2 คน 6.4 คณะกรรมการฝ่ายส่งเสริมให้การรับรองและประธานกลุ่มฯ รับอนุมัติเป็นสมาชิก 6.5 ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่มโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ข้อ 7 การพ้นจากสมาชิกภาพ 7.1 ขาดส่งเงินสัจจะสะสมติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน 7.2 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่มและคณะกรรมการบริหารกลุ่มมีมติเสียงข้างมากให้พ้น จากสมาชิกกลุ่ม 7.3 ลาออก และได้รับอนุญาตให้ลาออกได้ 7.4 ตาย 7.5 ขาดคุณธรรม 5 ประการ และสมาชิกกลุ่มเสียงข้างมากให้พ้นจากสมาชิก 7.6 สมาชิกผู้ที่พ้นจากสมาชิกกลุ่มตามข้อ 7.1 และ 7.3 หากประสงค์จะเป็นสมาชิกใหม่ ต้องพ้น กําหนด 2 ปี นับถัดจากวันที่พ้นจากสมาชิกกลุ่ม ส่วนสมาชิกที่พ้นจากสมาชิกกลุ่มตามข้อ 7.2 ไม่มีสิทธิสมัคร เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มตลอดชีวิต หมวดที่ 3 ว่าด้วยทุนของกลุ่ม ข้อ 8 จํานวนเงินที่ได้จากค่าสมัคร ค่าธรรมเนียมให้นําฝากไว้ธนาคารออมสิน สาขาสาริกา ประเภทบัญชีเงิน ฝากออมทรัพย์ หรือเงินฝากเผื่อเรียก ในนาม “กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์” ข้อ 9 จํานวนเงินสัจจะสะสมของสมาชิกกลุ่มให้นําฝากธนาคารเช่นเดียวกับ ข้อ 8 โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข เหมือนกันทุกประการ ข้อ 10 คณะกรรมการผู้รับผิดชอบ ฝาก – ถอนเงินของกลุ่ม ประกอบด้วย 10.1 นายประสิทธิ์ สุวรรณประสม ประธานกรรมการ 10.2 นางจุฑารัตน์ ชุนเกาะ เหรัญญิก 10.3 น.ส.ประนอม ทองมา เลขานุการ ผู้มีอํานาจในการเบิกถอนเงิน จํานวน 2 ใน 3 โดยให้ประธานลงนามเบิก-จ่ายด้วยทุกครั้ง หากมีการ เปลี่ยนแปลงกรรมการฝาก – ถอนเงิน ให้ประธานกรรมการบริหาร ฯ มีอํานาจเปลี่ยนแปลงรายชื่อได้ ทั้งนี้ต้อง ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกกลุ่ม ข้อ 11 กําหนดการฝากเงินของสมาชิก ให้สมาชิกกลุ่มฯ ส่งเงินฝากสัจจะสะสม/สัจจะสะสมพิเศษ (ถ้ามี) แก่ กลุ่มฯ ไม่ต่ํากว่า 100 บาท แต่ไม่เกิน 500 บาท ในทุกวันที่ 5 ของเดือน ระหว่างเวลา 17.00 – 21.00 . น. ณ ที่ทําการกลุ่ม ฯ ข้อ 12 ให้คณะกรรมการตามข้อ 10.1 – 10.3 นําเงินของกลุ่มทุกประเภทหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว (ถ้ามี) ฝาก ธนาคารตามข้อ 8 และข้อ 9 โดยเร็ว หรือไม่เกิน 3 วันทําการ นับจากวันที่มีการรับเงิน หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องเงินกู้ ข้อ 13 การกู้เงินของกลุ่ม ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 13.1 กลุ่มจะเปิดให้สมาชิกกู้เงินได้ เมื่อมียอดเงินสัจจะสะสมรวมได้ทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 6 เดือน 13.2 การกู้สามัญ สมาชิกสามัญ และสมาชิกวิสามัญ กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของเงินสัจจะสะสมของ


~ 28 ~

ตนเองในวันที่ยื่นใบขอกู้ และต้องมีสมาชิกค้ําประกันอย่างน้อย 2 คน ในกรณีที่กู้เกินเงินสัจจะสะสมของตนเอง สมาชิกรายหนึ่งมีสิทธิค้ําประกันสมาชิกรายอื่นได้ไม่เกิน 2 รายในขณะเดียวกัน และใช้เงินสัจจะสะสมของผู้ค้ํา ประกัน 13.3 สมาชิกกิตติมศักดิ์ไม่มีสิทธิกู้เงินจากกลุ่ม แต่ได้รับผลประโยชน์จากกลุ่มในรูปของเงินปันผล เท่านั้น 13.4 การกู้ฉุกเฉิน กู้ได้ไม่เกิน 2,000 บาท โดยให้ส่งคืนภายใน 3 เดือน หรือให้อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการบริหารพิจารณาเป็นราย ๆ ไป 13.5 การคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ให้คิดในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 บาท/ปี (หรือไม่เกินอัตราตามที่ กฎหมายกําหนด) 13.6 การคิดอัตราค่าปรับกรณีผู้กู้ผิดนัดให้คิดค่าปรับร้อยละ 2 บาท/เดือนของจํานวนเงินค้างชําระที่ ถึงกําหนด ข้อ 14 การชําระเงินต้น และดอกเบี้ย ให้คณะกรรมการฝ่ายเงินกู้ เป็นผู้รับผิดชอบโดยกําหนดส่งเป็นเดือน ๆ ไม่เกิน 12 เดือน ของเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ข้อ 15 สมาชิกอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกก่อตั้ง จะมีสิทธิขอกู้เงินจากกลุ่มฯ ได้หลังจากที่สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มฯ แล้ว อย่างน้อย 6 เดือน ข้อ 16 บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิก ไม่มีสิทธิฝากเงิน / กู้เงินจากกลุ่ม ไม่ว่ากรณีใด ๆ หมวดที่ 5 ว่าด้วยการประชุม ข้อ 17 การประชุมใหญ่สามัญของสมาชิกกลุ่ม ฯ กําหนดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และดําเนินการภายใน 30 วัน หลังจากการปิดบัญชีประจําปี ข้อ 18 ในการประชุมใหญ่สามัญ ตามข้อ 17 ให้คณะกรรมการบริหารกลุ่ม ฯ แสดงผลการดําเนินงาน แสดง ฐานะทางการเงินและบัญชีให้สมาชิกทราบทุกครั้ง ข้อ 19 การประชุมกรรมการ ฯ ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานคณะกรรมการบริหารกลุ่ม ฯ เห็นสมควรหรือ ตามความเหมาะสม อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ข้อ 20 การประชุมวิสามัญ กระทําได้โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหาร ฯ ข้อ 21 ในการประชุมสามัญทุกครั้ง ให้ประสานงานกับสํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอเมืองนครนายกทุกครั้ง เพื่อ เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ได้ชี้แจง ตอบปัญหาสงสัย วิเคราะห์สถานการณ์ใหม่ ๆ ในการดําเนินงานของกลุ่มแก่ สมาชิก และให้คําแนะนําและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านการบริหารงานของกลุ่มให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น หมวดที่ 6 ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารงานกลุ่ม ข้อ 22 ให้มีคณะกรรมการบริหารงานกลุ่ม จํานวน 4 คณะ ประกอบด้วย 22.1 คณะกรรมการฝ่ายอํานวยการ จํานวน 5 คน ดังนี้.1) นายประสิทธิ์ สุวรรณประสม ประธานกรรมการ 2) นายสมศักดิ์ ไกรเดช รองประธาน 3) น.ส.ประนอม ทองมา เลขานุการ 4) นางจุฑารัตน์ ชุนเกาะ เหรัญญิก 5) นางวิไลลักษณ์ วุฒิกรณ์ ผู้ช่วยเหรัญญิก


~ 29 ~

22.2 คณะกรรมการส่งเสริมสินเชื่อ (เงินกู้) ประกอบด้วย 1) นางรัตนาวดี นาคมูล ประธานกรรมการ 2) นางจารีย์ พรหมเกิด กรรมการ 3) น.ส.สุวรรณา อินตัน กรรมการ 22.3 คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย 1) นายสมจิตร สังข์ชม ประธานกรรมการ 2) นายสุรศํกดิ์ มัชฌิมา กรรมการ 3) น.ส.ประนอม ทองมา กรรมการ 22.4 คณะกรรมการส่งเสริม ประกอบด้วย 1) นางจุฑารัตน์ ชุนเกาะ ประธานกรรมการ 2) นายสมจิตร สังข์ชม กรรมการ 3) นายสุรศักดิ์ มัชฌิมา กรรมการ ข้อ 23 ประธานฝ่ายอํานวยการ เป็นประธานคณะกรรมการบริหารกลุ่มโดยตําแหน่ง ข้อ 24 คณะกรรมการตามข้อ 22 มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี หากมีคณะกรรมการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ว่างลง หรือหมดวาระการดํารงตําแหน่ง ให้ประธานคณะกรรมการบริหารฯ ดําเนินการเลือกตั้งซ่อมหรือเลือกตั้ง ใหม่ แล้วแต่ในกรณี ภายใน 30 วันทําการ เว้นแต่เวลาเหลืออยู่น้อยกว่า 180 วัน ไม่ต้องเลือกตั้งซ่อมก็ได้ หมวดที่ 7 ว่าด้วยการเงิน การบัญชี ข้อ 25 ให้เหรัญญิกกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการเงิน การบัญชี ตามรูปแบบที่กรมการพัฒนาชุมชนกําหนด โดยต้องจัดทําให้สามารถแสดงได้ ตรวจสอบได้ เป็นปัจจุบันทุกเวลา ข้อ 26 ให้คณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบ ทําการตรวจสอบการบัญชี อย่างน้อย 3 เดือน / ครั้ง ข้อ 27 ทะเบียน เอกสารต่าง ๆ ของกลุ่มให้เลขานุการกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ข้อ 28 การบริหารผลกําไรของกลุ่ม หากพึงมี หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ให้จัดสรร ดังนี้ 28.1 จัดสรรเป็นเงินทุนสํารองและทุนขยายงานของกลุ่ม ไม่เกินร้อยละ 10 ของกําไรสุทธิ 28.2 จัดสรรเป็นเงินทุนสาธารณะประโยชน์เพื่อสมาชิก (สวัสดิการ) ไม่เกินร้อยละ 10 ของกําไรสุทธิ 28.3 จัดสรรเป็นเงินปันผลแก่สมาชิกกลุ่ม ไม่เกินร้อยละ 65 ของกําไรสุทธิ (ตามอัตราส่วนจํานวนหุ้น ของแต่ละคน) 28.4 จัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกกลุ่ม ไม่เกินร้อยละ 5 ของกําไรสุทธิ (ตามอัตราส่วนของ ธุรกิจ ที่ทํากับกลุ่ม) 28.5 จัดสรรเป็นเงินค่าสมนาคุณตอบแทนคณะกรรมการบริหารฯ ไม่เกินร้อยละ 10 ของกําไรสุทธิ หมวดที่ 8 ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด ข้อ 29 ให้ประธานฝ่ายอํานวยการในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารฯ เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ มี อํานาจวินิจฉัยตีความ ตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกลุ่มด้วย เสียงข้างมาก ข้อ 30 หุ้นของสมาชิก จํานวน 1 หุ้น คือ 100 บาท ข้อ 31 การขยายกิจการกลุ่มจะดําเนินการได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากมติของที่ประชุมใหญ่ด้วยเสียงข้าง มาก


~ 30 ~

ข้อ 32 ภายใต้ข้อความในข้อ 23 หากไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งประธานฝ่ายอํานวยการ หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ ให้รองประธานฝ่ายอํานวยการ เป็นผู้รับผิดชอบ และต้องดําเนินการเลือกตั้งแทนตามนัยแห่งความตาม ข้อ 24 ข้อ 33 การแก้ไข ปรับปรุงถ้อยความแห่งระเบียบนี้ จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบ จากมติของที่ ประชุมใหญ่ด้วยเสียงข้างมากเท่านั้น ข้อ 34 สําหรับปีแรกซึ่งเป็นปีก่อตั้งกลุ่มฯ จะเปิดรับสมาชิกทุกเดือนในวันรับเงินสัจจะสะสมประจําเดือน ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ประกาศ ณ วันที่ 5 เดือน มกราคม พ.ศ. 2554 (ลงชื่อ) ประสิทธิ์ สุวรรณประสม (นายประสิทธิ์ สุวรรณประสม) ประธานคณะกรรมการบริหารกลุ่มออมทรัพย์บ้านสุพรรณิการ์ ระเบียบข้อบังคับ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ หมู่ที่ 9 ตําบลสาริกา อําเภอเมือง จังหวัดนครนายก แก้ไขฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 *********************** โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ ให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยมติที่ประชุมใหญ่สามัญกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ ครั้งที่ 13 /2554 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2554 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา ข้อ 3.1 การรับฝากเงินสัจจะสะสมพิเศษ การขอ แก้ไขระเบียบข้อบังคับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ คณะกรรมการ จึงออกระเบียบข้อบังคับไว้ ดังนี้ ข้อ 1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนี้ชื่อว่า “กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ หมู่ที่ 9 แก้ไขฉบับที่ 1 พ.ศ.2554” ข้อ 2 ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ขอแก้ไขข้อ 11 ,ข้อ 28 ของระเบียบข้อบังคับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ (ฉบับที่ 1 ) พ.ศ. 2554 ดังนี้ ข้อ 11 กําหนดการฝากเงินของสมาชิก ดังนี้ 11.1 ส่งเงินฝากสัจจะสะสมไม่ต่ํากว่า 100 บาท แต่ไม่เกิน 500 บาท ในทุกวันที่ 5 ของเดือน ระหว่างเวลา 17.00 – 21.00 .น. ณ ที่ทําการกลุ่ม ฯ 11.2 รับฝากเงินสัจจะสะสมพิเศษตลอดปี คิดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจําร้อยละ 3 บาท/ปี แต่ต้อง ฝากไม่น้อยกว่า 1 ปี ประกาศ ณ วันที่ 6 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2554 (ลงชื่อ) ประสิทธิ์ สุวรรณประสม (นายประสิทธิ์ สุวรรณประสม) ประธานคณะกรรมการบริหารกลุ่มออมทรัพย์บ้านสุพรรณิการ์


~ 31 ~

ระเบียบข้อบังคับ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ หมู่ที่ 9 ตําบลสาริกา อําเภอเมือง จังหวัดนครนายก แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2555 *********************** โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ ให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยมติที่ประชุมใหญ่สามัญกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ ครั้งที่ 13 /2555 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2555 ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา ข้อ 4.1 การจัดสรรผลกําไร ประจําปี 2555 การขอแก้ไขระเบียบข้อบังคับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ ดังนี้ ข้อ 1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนี้ชื่อว่า “กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ หมู่ที่ 9 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2555” ข้อ 2 ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ขอแก้ไข ข้อ 28 ของระเบียบข้อบังคับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสุพรรณิการ์ (ฉบับที่ 1 ) พ.ศ. 2554 ดังนี้ ข้อ 28 การบริหารผลกําไรของกลุ่ม หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ให้จัดสรร ดังนี้ 28.1 เงินทุนสํารองและทุนขยายงานของกลุ่ม ร้อยละ 10 28.2 ทุนสวัสดิการสมาชิก ร้อยละ 10 28.3 เงินปันผลแก่สมาชิก ร้อยละ 60 28.4 เงินเฉลี่ยคืน ร้อยละ 5 28.5 ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ร้อยละ 10 28.6 เงินทุนสาธารณะประโยชน์ ร้อยละ 5 ประกาศ ณ วันที่ 6 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555 (ลงชื่อ) ประสิทธิ์ สุวรรณประสม (นายประสิทธิ์ สุวรรณประสม) ประธานคณะกรรมการบริหารกลุ่มออมทรัพย์บ้านสุพรรณิการ์


~ 32 ~

เลขที่สมาชิก............................. ใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้าน.......................... หมู่ที่...............ตําบล..........................อําเภอ.......................จังหวัด........................ ************************ เขียนที่.......................................................... วันที่............เดือน.............................พ.ศ............... 1. ข้าพเจ้า (นาย/นาง/นางสาว).....................................................................อายุ.............................ปี ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านเลขที่............หมู่ที่........ตําบล....................อําเภอ..................... จังหวัด.......................... 2. อาชีพและรายได้ 2.1 อาชีพหลัก.....................................................รายได้เฉลี่ยเดือนละ.............................บาท 2.2 อาชีพรอง.......................................................รายได้เฉลี่ยเดือนละ.............................บาท 3. การเป็นสมาชิกกลุ่ม หรือสหกรณ์ (ระบุกลุ่มอาชีพและสหกรณ์ที่เป็นสมาชิก) 3.1 ............................................................................................. 3.2 ............................................................................................. 4. ข้าพเจ้าขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้าน....................หมู่ที่..........ตําบล...................... อําเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา โดยสัญญาว่าจะส่งเงินสัจจะสะสมเดือนละ.....................บาท ข้าพเจ้าเข้าใจหลักการ วัตถุประสงค์ ของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นอย่างดี สัญญาว่าจะปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่มโดยเคร่งครัด และขอรับรองว่าข้อความที่กล่าวมาข้างต้นเป็นจริงทุกประการ พร้อมใบสมัครนี้ ได้ส่งเงินค่าสมัครและค่าธรรมเนียมแรกเข้ามาด้วยแล้ว จํานวนเงิน............................บาท (ลงชื่อ)....................................................ผู้สมัคร (................................................) ความเห็นคณะกรรมการ ได้รับใบสมัครของ(นาย/นาง/นางสาว)................................................................................ แล้ว เห็นว่า มีคุณสมบัติครบถ้วน ควรรับเป็นสมาชิกเลขที่..........ตั้งแต่วันที่.........เดือน.....................พ.ศ.......... ไม่ควรรับ เพราะ................................................. (ลงชื่อ)..............................................ประธานกลุ่ม (.............................................) การรับโอนผลประโยชน์ ข้าพเจ้า...................................................ขอตั้งผู้รับโอนผลประโยชน์ถ้าหากข้าพเจ้าถึงแก่กรรม โดยขอ มอบให้ผู้มีรายชื่อต่อไปนี้ เป็นผู้รับโอนผลประโยชน์จากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต คือ 1. ...................................................................... 2. ...................................................................... (ลงชื่อ)....................................................ผู้มอบ (................................................) (ลงชื่อ)....................................................พยาน (................................................) (ลงชื่อ)....................................................พยาน (................................................)


~ 33 ~

คําขอกู้เงินสามัญจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หนังสือกู้ที่ ..................................................... เขียนที่........................................................... วันที่ .............เดือน............................พ.ศ.................... เรียน ประธานกลุ่มออมทรัพย์ฯ ข้าพเจ้า .....................................สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้าน.................................. หมู่ที่ .............ตําบล..........................สมาชิกเลขที่...................... ส่งเงินสัจจะสะสมเดือนละ ..................... บาท ปัจจุบันมีเงินสัจจะสะสม ............................... บาท ขอทําสัญญากู้ให้ไว้กับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เพื่อเป็น หลักฐานดังต่อไป ข้อ ๑. ข้าพเจ้าขอกู้เงินจากกลุ่มออมทรัพย์ฯ จํานวน................บาท (................................................) เพื่อนําไปใช้จ่ายในรายการต่อไปนี้ ๑. ........................................................................................................ ๒. ........................................................................................................ ๓. ....................................................................................................... (ชี้แจงความมุ่งหมายและเหตุผลแห่งการกู้โดยละเอียด ถ้าจะนําเงินไปใช้เพื่อความมุ่งหมายหลายอย่าง ก็แยกระบุจํานวนเงินและคําชี้แจงสําหรับแต่ละอย่าง) ข้อ ๒. ขณะนี้ ข้าพเจ้ามีอาชีพ .....................................และมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ .......................... บาท ส่งเงินสัจจะสะสมเดือนละ .................................. บาท มีเงินสัจจะสะสมรวมทั้งสิ้น.......................................บาท ข้อ ๓. ข้าพเจ้าขอใช้เงินสัจจะสะสมที่มีอยู่ในกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและเงินที่มีสิทธิ์ และประโยชน์ อื่นใดอันจะพึ่งได้รับจากการเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ ของข้าพเจ้ามาเป็นหลักประกันเงินกู้ครั้งนี้ ข้อ ๔. เพื่อให้หลักประกันที่มั่นคงยิ่งขึ้น จึงให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้ค้ําประกันเงินกู้ ๑) นาย/นาง/นางสาว ....................................................สมาชิกเลขที่ .................................. มีเงินสัจจะสะสม ............................................. บาท ๒) นาย/นาง/นางสาว ....................................................สมาชิกเลขที่ .................................. มีเงินสัจจะสะสม ............................................. บาท ข้อ ๕. ข้าพเจ้าขอให้คํามั่นสัญญาว่า ข้าพเจ้าจะส่งคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยภายใน............................งวด งวดละ..............................................บาท


~ 34 ~

-๒ข้อ ๖. ข้าพเจ้าทราบรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบของกลุ่มโดยตลอดแล้ว และยินดีปฏิบัติตามระเบียบ โดยไม่มีเงื่อนไข ในกรณีที่ผิดสัญญาที่ให้ไว้ในข้อ ๕ ข้าพเจ้ายินยอมให้กลุ่มพิจารณาโทษตามที่ระบุไว้ในระเบียบ ทุกประการ หนังสือนี้ทําไว้ ณ วันที่ ซึ่งระบุไว้ข้างต้น ข้าพเจ้าและผู้ค้ําประกันได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญต่อหน้า พยาน

(ลงชื่อ)........................................................ผู้กู้ (........................................................) (ลงชื่อ) ......................................................ผู้ค้ําประกัน (.......................................................) สมาชิกเลขที่...................... (ลงชื่อ).....................................................ผู้ค้ําประกัน (............................................) สมาชิกเลขที่.......................


~ 35 ~

สําหรับสมาชิกที่มีสามี/ภรรยาหรือเยาว์ ข้าพเจ้า ......................................................................................................เป็น (ภรรยา,สามี,ผู้แทน) (ชื่อผู้กู้) .....................................................................................ขอให้คํารับรองไว้ต่อกลุ่มฯ ว่าข้าพเจ้ายินยอม (ชื่อผู้กู้) .....................................................................................ทําสัญญากู้เงินนี้ได้ (ลงชื่อ) ...............................................ผู้ให้คํายินยอม (....................................................) (ลงชื่อ) .................................................... พยาน (....................................................) บันทึกของคณะกรรมการเงินกู้ เรียน ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฯ - เพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติคําขอกู้ของ นาย/นาง/นางสาว ............................................................................ (ลงชื่อ) .........................................................ประธานคณะกรรมการเงินกู้ (......................................................) ความเห็น....................................................... (ลงชื่อ).....................................................ประธานกลุ่มออมทรัพย์ (................................................) ได้รับเงินจํานวน.................................บาท (...................................................................................) ไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ ...................... เดือน..................................พ.ศ................................... (ลงชื่อ).......................................................ผู้รับเงิน (...................................................) (ลงชื่อ) ........................................................... ผู้จ่ายเงิน (....................................................)


~ 36 ~

คําขอกู้ฉุกเฉิน หนังสือกู้ที่ ................................. เขียนที่ ......................................................... วันที่ ..................เดือน............................พ.ศ....................... เรียน ประธานกลุ่มออมทรัพย์ฯ ข้อ ๑. ข้าพเจ้า...................................สมาชิกเลขที่.....................ส่งสัจจะสะสม...................บาท ปัจจุบันมีเงินสัจจะสะสม รวม ................. บาท ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่............หมู่ที่.........ถนน.................... ขอกู้เงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จํานวน.................... บาท (.......................................................) โดยจะนําไปใช้เพื่อ (ระบุเหตุฉุกเฉิน).......................................................................................................... ข้อ ๒. ข้าพเจ้าให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้ค้ําประกันเงินกู้ ดังนี้ ๑. นาย/นาง/นางสาว/...................................สมาชิกเลขที่ ................................... มีเงินสัจจะสะสม..................................... บาท (.................................................................) ๒. นาย/นาง/นางสาว/ ...................................สมาชิกเลขที่ ................................... มีเงินสัจจะสะสม ..................................... บาท (.................................................................) ข้อ ๓. ถ้าข้าพเจ้าได้รับเงินกู้ ข้าพเจ้าจะขอส่งเงินกู้คืน ภายใน.........งวดๆ ละ................... บาท ๑. ภายในวันสิ้นเดือน............ต้นเงิน............บาท ดอกเบี้ย...........บาท รวม.................บาท ๒. ภายในวันสิ้นเดือน ...........ต้นเงิน............บาท ดอกเบี้ย...........บาท รวม.................บาท ๓. ภายในวันสิ้นเดือน ...........ต้นเงิน............บาท ดอกเบี้ย...........บาท รวม.................บาท ๔. ภายในวันสิ้นเดือน ...........ต้นเงิน............บาท ดอกเบี้ย..........บาท รวม .................บาท หนังสือกู้ที่ทําไว้ ณ วันที่ ซึ่งระบุข้างต้น ข้าพเจ้าและผู้ค้ําประกันได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญต่อหน้า พยาน (ลงชื่อ)……………………………...............ผู้กู้ (..............................................) (ลงชื่อ).................................................ผู้ค้ําประกัน (.................................................) (ลงชื่อ)........................................พยาน (ลงชื่อ)........................................พยาน เรียน คณะกรรมการเงินกู้ฯ เพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ ในคําขอกู้ของ.................................................. ลงชื่อ............................................ ได้รับเงินจํานวน .................................. บาท (.............................................) ไปแล้ว ลงชือ่ ..................................................ผู้รับเงิน


เดือน

วันที่

รายการ

บัญชีเงินสด - บัญชีเงินฝากธนาคาร (ส.) พ.ศ...............

หนา บัญชี รับ

บัญชีเงินสด จาย คงเหลือ

ทรัพยสิน บัญชีเงินฝากธนาคาร...................... ฝาก ถอน คงเหลือ

บัญชีเงินฝากธนาคาร...................... ฝาก ถอน คงเหลือ

หนาบัญชี................


เดือน

วันที่

รายการ

บัญชีรายไดและหนี้สิน (ร.) พ.ศ............... ธรรมเนียม

หนา บัญชี คาสมัคร คาปรับ เงินกู

เงินฝากฯ

ดอกเบี้ย ดอกเบี้ย

รายได อื่น ๆ

รายได

รับ

หนี้สิน เงินสัจจะสะสม จาย คงเหลือ รับ

จาย

บัญชีทุน คงเหลือ

หนาบัญชี................


เดือน วันที่

รายการ

บัญชีรายจายและทรัพยสิน (จ.) พ.ศ...............

หนา บัญชี แบบพิมพ

คาเครื่องเขียน

คาพาหนะ เงินกู

ดอกเบี้ย

รายจาย เฉลี่ยคืน

ปนผล อื่น ๆ

รายจาย ใหกู

ชําระ

ลูกหนี้เงินกูสามัญ คงเหลือ

ใหกู

ชําระ

คงเหลือ

ลูกหนี้เงินกูฉุกเฉิน / กิจกรรมกลุม

ทรัพยสิน

หนาบัญชี................


พ.ศ................. วันที่ เดือน

ทะเบียนคุมทุน...................................................................... หนา รายการ รับ จาย คงเหลือ บัญชี

หมายเหตุ


ทะเบียนคุมกิจกรรมของกลุมฯ กิจกรรม...................................................................... พ.ศ................. หนา รายการ ใหกู ชําระ คงเหลือ หมายเหตุ วันที่ เดือน บัญชี


ทะเบียนคุมลูกหนี้เงินกู

เลขที่..................

1. ชื่อผูกู............................................................สมาชิกเลขที่............... มีเงินสัจจะสะสมรวม.........................บาท เงินสัจจะรายเดือน ๆ ละ ...............บาท 2. กูเงินประเภท ( ) สามัญ ( ) ฉุกเฉิน ( ) ..........................วงเงินกู..........................บาท กูครั้งที่................. เลขที่สัญญาเงินกู.....................ลงวันที่...........เดือน......................พ.ศ........................... 3. หลักประกันเงิ( ) เอกสารสําคัญ...................................................................................................................... ( ) ค้ําประกันดวยบุคคล 1) ........................................................... สมาชิกเลขที.่ ........... เงินสัจจะ ฯ รวม..............บาท 2) ........................................................... สมาชิกเลขที.่ ........... เงินสัจจะ ฯ รวม..............บาท 4. การชําระคืนเงินกู จํานวน.............งวด ๆ ละ .....................บาท ครบกําหนดสัญญาวันที่............./............/............. พ.ศ................. เดือน

วันที่

รายการ

งวดที่

จํานวนเงิน หนี้

ชําระ

คงเหลือ

ดอกเบี้ย

คาปรับ

รวมเงิน

ลายมือชื่อ

ชําระคืน

ผูรับเงิน


ทะเบียนสมาชิกกลุมออมทรัพยเพื่อการผลิตบานบาลูกา หมูที่ 4 บานบาลูกา ตําบลริโก อําเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ลําดับ

เลขที่

ที่

สมาชิก

ชื่อ - สกุล

สถานที่อยู บานเลขที่ เบอรโทร.

อาชีพ

สัจจะ

(บาท)

หมายเหตุ


สมาชิก

เลขที่

ชื่อ - สกุล

รายการสงเงินสัจจะสะสมรายเดือน รวมเงินปนี้

รวมเงินยอดยกไป

จํานวนเงิน จํานวนหุน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. จํานวนเงิน จํานวนหุน จํานวนเงิน จํานวนหุน

ยอดยกมาปกอน

ทะเบียนคุมเงินสัจจะสะสม ประจําป ..................


ภาคผนวก


1 ยอดยกมา 5 รับเงินสัจจะสมาชิก 85 ราย ร1 รับคืนเงินกู 30 ราย จ.1 รับดอกเบี้ยเงินกู 30 ราย ร1 รับคาสมัครธรรมเนียม ร1 12 ราย จายสมาชิกถอนเงินสัจจะ ร1 7 ราย จายคาอาหารเที่ยง จ.1 จายคาพาหนะ จ1 นําเงินฝากธนาคาร ธ.1 รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

5 รับเงินสัจจะสมาชิก 90 ราย ร.1 รับคืนเงินกู 30 ราย จ.1 รับดอกเบี้ยเงินกู 30 ราย ร.1 ถอนเงินสวัสดิการจาก ธ.2 ธนาคาร

มค

ก.พ.

บัญชีเงินสด - บัญชีเงินฝากธนาคาร (ส.) หนา พ.ศ. 2550 รายการ บัญชี เดือน วันที่

38,500 160,000 9,500 5,000

194,660 194,660

535,800 150,000 8,500 360

รับ

300 160 168,000 194,360 194,360

25,900

บัญชีเงินสด จาย

41,600 201,600 211,100 216,100

171,260 170,960 170,800 2,800 2,800 2,800

คงเหลือ 2,500 38,300 188,300 196,800 197,160

168,000 168,000 168,000

-

-

316,500

5,000

-

-

51,800

56,800 56,800

บัญชีเงินฝากธนาคาร.......2............. ฝาก ถอน คงเหลือ 56,800

316,500

316,500

ทรัพยสิน บัญชีเงินฝากธนาคาร........1……. ฝาก ถอน คงเหลือ 148,500

หนาบัญชี.....1...........


15 จายคาตอบแทนตรวจบช. จายคาวัสดุเครื่องเขียนฯ รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

5 รับคืนเงินกู 50 ราย รับดอกเบี้ยเงินกู 50 ราย จายใหสมาชิกกูฉฉ 15 ราย จายปรับปรุงขอมูลกลุม นําเงินฝากธนาคาร รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

พ.ค.

ก.ค.

5 จายเงินสวัสดิการ 10 ราย นําเงินฝากธนาคาร จายใหสมาชิกกู 40 ราย รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

ก.พ.

จ.2 จ.2

ร.1 ร.1 จ.1 จ.1 ธ.1

ท.1 ธ.1 จ.1

บัญชีเงินสด - บัญชีเงินฝากธนาคาร (ส.) หนา พ.ศ. 2550 รายการ บัญชี เดือน วันที่

393,100

198,500 393,100

180,000 18,500

194,660

รับ

1,500 850 2,350 604,210

150,000 2,500 40,000 192,500 601,860

215,000 409,360

บัญชีเงินสด จาย 5,000 210,000

5,600 4,750 4,750 4,750

181,100 199,600 49,600 47,100 7,100 7,100 7,100

1,100 1,100

คงเหลือ 211,100 1,100

418,000

40,000 40,000 418,000

210,000 378,000

210,000

280,000

280,000

280,000 280,000 280,000 -

246,500

-

-

286,500

286,500

-

286,500

286,500

-

5,000

5,000

-

5,000

5,000

51,800

51,800

51,800 51,800

บัญชีเงินฝากธนาคาร.......2............. ฝาก ถอน คงเหลือ

246,500

526,500 246,500

ทรัพยสิน บัญชีเงินฝากธนาคาร........1……. ฝาก ถอน คงเหลือ

หนาบัญชี.....2...........


15 จายคืนเงินสัจจะคงเหลือ รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

31 บันทึกดอกเบี้ยเงินฝากธ. รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

ก.ย.

ธ.ค.

บัญชีเงินสด - บัญชีเงินฝากธนาคาร (ส.) หนา พ.ศ. 2550 รายการ บัญชี เดือน วันที่

393,100

393,100

รับ

605,960

1,750 1,750 605,960

บัญชีเงินสด จาย

3,000

3,000 3,000 3,000

คงเหลือ

2,450 2,450 420,450

418,000

280,000

280,000

-

286,500

288,950

288,950

288,950

-

480

480

480 -

-

5,000

5,000

52,280 52,280 52,280

51,800

บัญชีเงินฝากธนาคาร.......2............. ฝาก ถอน คงเหลือ

-

ทรัพยสิน บัญชีเงินฝากธนาคาร........1……. ฝาก ถอน คงเหลือ

หนาบัญชี.....3..........


5

5

พ.ค.

5

1

ก.พ.

ม.ค.

ส. 1 ส. 1 ส. 1 ส. 1

หนา บัญชี

รับดอกเบี้ยเงินกู 50 ราย รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

ส.2

จายเงินสวัสดิการ 10 ราย รับเงินสัจจะสมาชิก 90 ราย ส.1 รับดอกเบี้ยเงินกู 30 ราย ส.1 รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

ยอดยกมา ยอดยกมาประเภททุนตางๆ รับเงินสัจจะสมาชิก 85 ราย รับดอกเบี้ยเงินกู 30 ราย รับคาสมัครธรรมเนียม จายสมาชิกถอนเงินสัจจะ รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

บัญชีรายไดและหนี้สิน (ร.) พ.ศ. 2550 รายการ เดือน วันที่

-

-

360

360

360 360

360

ธรรมเนียม

คาสมัคร

-

-

-

คาปรับ

18,500 18,500 36,500

9,500 9,500 18,000

8,500 8,500

8,500

เงินกู

-

-

-

เงินฝากฯ

ดอกเบี้ย ดอกเบี้ย

รายได

-

-

-

อื่น ๆ

รายได

-

1,516,200

74,300

-

25,900 1,516,200

-

38,500 1,516,200 74,300 25,900 1,516,200

38,500

35,800

1,477,700

25,900

35,800

1,503,600

25,900 1,477,700 25,900 1,477,700

35,800

รับ

หนี้สิน เงินสัจจะสะสม จาย คงเหลือ 1,467,800

22,500

5,000 22,500

22,500 22,500

22,500

รับ

-

500

5,000 5,000

5,000

-

จาย

บัญชีทุน

80,500

80,500 80,500

80,500

85,500 85,500

63,000 85,500

คงเหลือ

หนาบัญชี......1.....


15 ถอนเงินสัจจะ 1รายชําระ บัญชี รับดอกเบี้ยเงินกู 1 ราย รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

31 รับดอกเบี้ยเงินฝาก ธ. รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

ก.ย.

ธ.ค.

บัญชีรายไดและหนี้สิน (ร.) พ.ศ. 2550 รายการ เดือน วันที่

หนา บัญชี

-

-

360

360

ธรรมเนียม

คาสมัคร

-

-

คาปรับ

54,000

1,750 1,750 54,000

เงินกู

2,930 2,930 2,930

-

เงินฝากฯ

ดอกเบี้ย ดอกเบี้ย

รายได

-

-

อื่น ๆ

รายได

-

74,300

-

74,300

รับ

54,400

-

1,487,700

-

28,500 1,487,700 54,400 1,487,700

หนี้สิน เงินสัจจะสะสม จาย คงเหลือ 28,500 1,487,700

-

-

รับ

5,000

5,000

จาย

บัญชีทุน

80,500

80,500

คงเหลือ

หนาบัญชี......2.....


1 ยอดยกมา 5 จายคาอาหารเที่ยง จายคาพาหนะ รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

5 รับคืนเงินกู 30 ราย จายใหสมาชิกกู 40 ราย รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

5 รับคืนเงินกู 50 ราย จายใหสมาชิกกูฉฉ 15 ราย รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

ม.ค.

ก.พ.

พ.ค.

บัญชีรายจายและทรัพยสิน (จ.) พ.ศ..2550 รายการ เดือน วันที่

ส.1 ส.2

ส.1 ส.1

หนา บัญชี

-

-

-

แบบพิมพ

คาเครื่องเขียน

-

-

160

160

160 160 160

คาพาหนะ

-

-

-

เงินกู

ดอกเบี้ย

รายจาย

-

-

-

เฉลี่ยคืน

ปนผล

-

300

300

300 300

300

อื่น ๆ

รายจาย

430,000

150,000

150,000

280,000

280,000

280,000

-

-

ใหกู

340,000

180,000

180,000

160,000

160,000

160,000

-

-

ชําระ

ลูกหนี้เงินกูสามัญ

1,382,000

1,382,000

1,382,000

1,232,000

1,412,000

1,412,000

1,412,000

1,132,000

1,292,000

1,292,000

1,292,000

คงเหลือ

ทรัพยสิน

-

-

-

ใหกู

-

-

-

ชําระ

56,000

56,000

56,000 56,000

คงเหลือ 56,000

ลูกหนี้เงินกูฉุกเฉิน / กิจกรรมกลุม

หนาบัญชี......1.........


15 จายคาตอบแทนตรวจบช. จายคาวัสดุเครื่องเขียนฯ รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

15 รับคืนเงินกู 1 ราย รวมเดือนนี้ รวมแตตนป

ก.ค.

ก.ย.

บัญชีรายจายและทรัพยสิน (จ.) พ.ศ..2550 รายการ เดือน วันที่

ส.2 ส.2

หนา บัญชี

850

850 850 850

แบบพิมพ

คาเครื่องเขียน

-

-

160

160

คาพาหนะ

-

-

เงินกู

ดอกเบี้ย

รายจาย

-

-

เฉลี่ยคืน

ปนผล

1,800

1,500 1,800

1500

อื่น ๆ

รายจาย

430,000

-

430,000

-

ใหกู

365,000

25,000

25,000

340,000

-

ชําระ

ลูกหนี้เงินกูสามัญ

1,357,000

1,357,000

1,357,000

1,382,000

-

คงเหลือ

ทรัพยสิน

-

-

ใหกู

-

-

ชําระ

56,000

56,000

คงเหลือ

ลูกหนี้เงินกูฉุกเฉิน / กิจกรรมกลุม

หนาบัญชี......2.....


ทะเบียนคุมทุน...................................................................... พ.ศ................. หนา รายการ รับ จาย คงเหลือ วันที่ เดือน บัญชี 10000 รับเงินจัดสรร ทุน 49 500 10500

หมายเหตุ


ทะเบียนคุมกิจกรรมของกลุมฯ กิจกรรม...................................................................... พ.ศ................. หนา รายการ ใหกู ชําระ คงเหลือ หมายเหตุ วันที่ เดือน บัญชี


ทะเบียนคุมลูกหนี้เงินกู

เลขที่..................

1. ชื่อผูกู............................................................สมาชิกเลขที่............... มีเงินสัจจะสะสมรวม.........................บาท เงินสัจจะรายเดือน ๆ ละ ...............บาท 2. กูเงินประเภท ( ) สามัญ ( ) ฉุกเฉิน ( ) ..........................วงเงินกู..........................บาท กูครั้งที่................. เลขที่สัญญาเงินกู.....................ลงวันที่...........เดือน......................พ.ศ........................... 3. หลักประกันเงิ( ) เอกสารสําคัญ...................................................................................................................... ( ) ค้ําประกันดวยบุคคล 1) ........................................................... สมาชิกเลขที.่ ........... เงินสัจจะ ฯ รวม..............บาท 2) ........................................................... สมาชิกเลขที.่ ........... เงินสัจจะ ฯ รวม..............บาท 4. การชําระคืนเงินกู จํานวน.............งวด ๆ ละ .....................บาท ครบกําหนดสัญญาวันที่............./............/............. พ.ศ................. เดือน

วันที่

รายการ

งวดที่

จํานวนเงิน หนี้

ชําระ

20000 2

5000

คงเหลือ

20000 15000

ดอกเบี้ย

คาปรับ

รวมเงิน

ลายมือชื่อ

ชําระคืน

ผูรับเงิน

0 200

0

5200


เลขที่ ยอดยกมาปกอน สมาชิก จํานวนเงิน จํานวนหุน ม.ค. 3000 300 200

มี.ค.

200

ก.พ.

200

200

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

รายการสงเงินสัจจะสะสมรายเดือน ต.ค.

พ.ย.

รวมเงินปนี้

รวมเงินยอดยกไป

2400

240

5400

540

ธ.ค. จํานวนเงิน จํานวนหุน จํานวนเงิน จํานวนหุน

ทะเบียนคุมเงินสัจจะสะสม ประจําป ..................


รายจาย :

รายได :

กําไรสุทธิ

.......................

.....................

....................... ...................... .....................

คาพาหนะ คาตอบแทนตรวจบัญชี คาอาหารเที่ยง

รวม

.....................

...................... ....................... .......................

คาเครื่องเขียนแบบพิมพ

รวม

ดอกเบี้ยเงินกูสามัญ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร คาสมัครคาธรรมเนียม

กลุมออมทรัพยเพื่อการผลิตบาน................. งบกําไร ขาดทุน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ................ หนวย : บาท เงินสด เงินฝากธนาคาร - 1 เงินฝากธนาคาร - 2 ลูกหนี้เงินกู - สามัญ ลูกหนี้เงินกู - ฉุกเฉิน ทรัพยสินอื่น รวม

รวม

หนี้สิน - ทุน เจาหนี-้ เงินสัจจะสะสม ทุนสํารองความเสี่ยง ทุนดําเนินการ ทุนสวัสดิการ ทุนสาธารณประโยชน กําไรสุทธิ

ทรัพยสิน

.........................

........................... ............................ ........................... .......................... ........................... ..........................

........................... ........................... ........................... ............................. ........................... ........................... ............................

กลุมออมทรัพยเพื่อการผลิตบาน................... งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม ................... หนวย : บาท


แบบ 1 กลุมเปาหมาย

แบบประเมินผล

โครงการการพัฒนาระบบสงเสริมการดําเนินงานเพื่อการสงเสริมสนับสนุนงานกลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต อําเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส *************** คําชี้แจง โปรดขีดเครื่องหมาย  และเขียนขอความลงในชองวางตามความคิดเห็นของทาน ๑. ขอมูลทั่วไป ๑) เพศ  ชาย  หญิง ๒) อายุ ๓) การศึกษา

 ต่ํากวา 30 ป

 30 - 39 ป

 40 - 49 ป

 50 ป ขึ้นไป

 ระดับประถมศึกษา

 ระดับมัธยมศึกษา

 ระดับปริญญาตรี

 ระดับอื่นๆ (ระบุ) .........................................

๔) ตําแหนง กรณีเปนผูนําชุมชน เครือขายกลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต (ระบุชื่อกลุม)........................................................................................................  ประธาน  รองประธาน  เลขานุการ  กรรมการ  อื่นๆ (ระบุ)..................................................................... ตําแหนงทางสังคม (เลือกตอบไดมากกวา 1 ขอ)  กํานัน

 ผูใหญบาน

 ผูนําอช.

 อช.

 ศอช.

 อสม.

 อบต.

 เทศบาล

 อืน่ ๆ (ระบุ)...........................

กรณีเปนพัฒนากร(ระบุตําแหนง ระดับ และอายุงาน)  เจาพนักงานพัฒนาชุมชน ระดับ.......................................อายุงาน............ป..........เดือน  นักวิชาการพัฒนาชุมชน ระดับ..........................................อายุงาน............ป..........เดือน


-22. ความรูและความเขาใจดานวิชาการ (กรุณาใหขอมูลทั้งกอนและหลังเขารวมกิจกรรม) กอนเขารวมกิจกรรม ประเด็น มาก ปาน นอย 1) ดานคุณคาและคุณประโยชนของกลุมออมทรัพยฯ 2) ดานแนวคิดและหลักการดําเนินงานของกลุมออม ทรัพยฯ 3) ดานการบริหารดานการบริหารธุรกิจการเงิน 4) ดานการจัดทําเอกสารหลักฐานทางการเงินการ บัญชี และงบการเงินกลุมออมทรัพย ฯ ๕) ดานการทํานิตกิ รรมและการตรวจสอบทางการเงิน ของกลุมออมทรัพยฯ ๖) ดานสวัสดิการสังคม/ชุมชน ๗) ดานเครือขายการเรียนรูและการตรวจสอบ 3. ความรูเกี่ยวกับกลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต

ที่สุด

มาก

กลาง

นอย

ที่สุด

มาก ที่สุด

ขอความ ๑. กลุมออมทรัพยฯมีวัตถุประสงคใหสมาชิกรวมกันแกไขปญหาเงินทุนและเสริมสรางรายไดใหแก ครอบครัว ๒. บุคคลทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพในชุมชนสามารถเขารวมเปนสมาชิกกลุมฯ 1. กฎขอปฏิบัติของกลุมเกิดจากการรวมคิด และปรึกษาหารือของสมาชิก 2. การคัดเลือกกรรมการเปนหนาที่ของเจาหนาที่(พัฒนากร)และผูนํากลุมเทานั้น 3. ในการประชุมทุกครั้งทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น 4. กลุมออมทรัพยฯจะมีการประชุมใหญสามัญเปนประจําทุกป 5. เงินสัจจะสะสมของสมาชิกจะถูกใชเปนเงินทุนในการดําเนินกิจกรรมกลุม (เพื่อการกูยืมเงิน) 6. หากตองการกูยืมเงินไดงายและรวดเร็ว สมาชิกควรสงเงินสัจจะสะสมอยางสม่ําเสมอ 7. การกูยืมเงินจากกลุมออมทรัพยจะเสียดอกเบี้ยต่ํากวาแหลงเงินกูอื่น 8. ผลประโยชนของกลุมออมทรัพยฯคือ เพื่อเปนแหลงเงินทุน(กูยืมเงิน)เทานั้น 9. การเก็บเงินสัจจะสะสม กรรมการจะเปนผูไปเก็บเงินตามบานสมาชิก 10. บุคคลภายนอกที่ไมไดเปนสมาชิกกลุมไมสามารถกูยืมเงินได

หลังเขารวมกิจกรรม ปาน กลาง

มาก

ใช

นอย

ไมใช

นอย ที่สุด


-๓๔. การนําความรูไปใชประโยชน ประเด็น 1) สามารถนําความรูที่ไดรับไปใชในการปฏิบัติงานได 2) สามารถใหคําปรึกษาแนะนําแกผูเกี่ยวของได 3) มั่นใจในวาจะสามารถนําความรูที่ไดไปประยุกตใชเพื่อปรับปรุงและ พัฒนางานกลุมออมทรัพยฯได 4) เห็นดวยที่จะจัดกิจกรรมนี้ในครั้งตอไป ๕. ความพึงพอใจตอการดําเนินโครงการ/กิจกรรม ประเด็น 1) การประสานงานของเจาหนาที่ 2) การอํานวยความสะดวกของเจาหนาที่ 3) การถายทอดความรูของวิทยากร 4) ความเหมาะสมของเนื้อหาวิชาการ 5) บรรยากาศในการเรียนรู 6) ระยะเวลาการจัดประชุม 7) เอกสารประกอบการประชุม ๘) การมีสวนรวมในการแสดงความคิดเห็น

มากที่สุด

มากที่สุด

ระดับความคิดเห็น มาก ปานกลาง นอย

ระดับความพึงพอใจ มาก ปานกลาง นอย

นอยที่สุด

นอยที่สุด

ไมพึงพอใจ

๖. ขอคิดเห็น/ขอเสนอแนะ .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................

ขอขอบคุณที่ใหขอมูล


แบบ ๒ สมาชิกกลุม

แบบประเมินผล

โครงการการพัฒนาระบบสงเสริมการดําเนินงานเพื่อการสงเสริมสนับสนุนงานกลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต อําเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส *************** คําชี้แจง โปรดขีดเครื่องหมาย  และเขียนขอความลงในชองวางตามความคิดเห็นของทาน ๑. ขอมูลทั่วไป ๑) เพศ  ชาย  หญิง ๒) อายุ ๓) การศึกษา

 ต่ํากวา 30 ป

 30 - 39 ป

 40 - 49 ป

 50 ป ขึ้นไป

 ระดับประถมศึกษา

 ระดับมัธยมศึกษา

 ระดับปริญญาตรี

 ระดับอื่นๆ (ระบุ) .........................................

๔) ตําแหนง เปนสมาชิกกลุมออมทรัพยเพื่อการผลิต(ระบุชื่อกลุม)............................................................  ประธาน  รองประธาน  เลขานุการ  กรรมการ  สมาชิกกลุม  อื่นๆ (ระบุ)................................................................. ตําแหนงทางสังคม (เลือกตอบไดมากกวา 1 ขอ)  กํานัน  ผูใหญบาน

 ผูนําอช.

 อช.

 อสม.

 ศอช.

 อบต.  เทศบาล  อืน่ ๆ (ระบุ)........................... 2. ความพึงพอใจตอการสงเสริมสนับสนุนและดําเนินงานกลุมออมทรัพยในระยะปจจุบัน ประเด็น 1) การประสานงานของคณะกรรมการกลุม ฯ 2) การถายทอดความรูของคณะกรรมการกลุม ฯ/ เครือขาย 3) การมีสวนรวมในการแสดงความคิดเห็น 4) ความเหมาะสมของกิจกรรมที่นํามาปรับใชกับ กลุมฯ 5) บรรยากาศในการเรียนรู 6) ระยะเวลาการจัดประชุม ใหความรู 7) เอกสารประกอบการประชุม ๘) การถายทอดความรูของพัฒนากร

มากที่สุด

ระดับความพึงพอใจ มาก ปานกลาง นอย

นอยที่สุด

ไมพึง พอใจ

เมื่อเทียบกับ กอนหนานี้


-2๓. ขอคิดเห็น/ขอเสนอแนะ /ความตองการใหกลุมฯ ปรับเปลี่ยนในการบริหารกลุมออมทรัพยฯ ..................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... . ๔. ขอคิดเห็น/ขอเสนอแนะ/ความตองการใหทางราชการสงเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานกลุมออมทรัพยฯ ..................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................... .

ขอขอบคุณที่ใหขอมูล


สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.