Himapan forest tour

Page 1

เที่ยวป่าหิมพานต์ บนแท่นแก้ววัดพระธาตุช้างค้ำ� จ.น่าน

จิณณวัตร แสนสมบัติ


2


ความสำ�คัญ เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1939 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำ�หรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำ�คัญ ทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำ�พิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัด กล่าวว่า พญาพลเทพฤ ชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารวัดหลวงเมื่อ พ.ศ.2091 ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำ�นี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์เจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือกและที่มุมอีก 4 เชือกดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ ค้ำ�องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะ คล้ายวัดช้างล้อม และภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำ�ริดยืนปางประทานอภัย อายุ ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีพระประธานเป็นปูนปั้น ขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่าน ที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งของเมื่องน่าน

3


1 2 3 4 5

4


ฐานกลีบบัวสำ�หรับตั้งพระพุทธรูป ทำ�เป็นชั้น ๆ เป็นกลีบบัวคว่ำ�บัวหงายเพื่อเป็นที่รองรับ พระพุทธรูป แสดงถึงการเคารพบูชา 1.ลายหน้ากระดาน จะประกอบไปด้วยประจำ�ยามก้ามปู สลับกับลวดลายรูป ่ ่ สัตว์ ซึงสือถึงป่​่าหิมพานต์ท่มี​ี หมู่มวนดอกไม้ และสัตว์ป่าล้อมรอบ 2.บัวหงาย ลักษณะเป็นกลีบบัวหงายขึ้น 3.ลายท้องไม้ มีลักษณะเป็นลวดลายสัตว์ชนิดต่างๆทั้ง พญานาค มอม และสัตว์ ที่พบเห็นได้ตามท้องถิ่น เช่น สนัข นก กา เป็นต้น 4.บัวคว่ำ� ลักษณะเป็นกลีบบัวคว่ำ�ลง 5.ลายหน้ากระดานประกอบด้วยลายเคลือเถาว์และลายดอกไม้ต่างๆ ด้วยแนวคิดตาม ‘คติจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ’ ที่แพร่หลายทั้งในลัทธิพราหมณ์ และพุทธ ทำ�ให้องค์พระพุทธรูปและบรรดาเจดีย์ในพุทธศาสนา อันได้แก่ ธาตุเจดีย์ บริโภค เจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์ มีลักษณะเป็นแกนกลางของจักรวาลไปด้วย ดังนั้น ฐานของเจดีย์ประเภทต่างๆ จึงถูกจินตนาการให้มีสภาพเป็นป่าหิมพานต์ อันตั้งอยู่ ณ เชิงเขาพระสุเมรุ ประกอบด้วยฝูงสัตว์ใหญ่น้อยและสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ เราจึงมัก เห็นฐานขององค์พระจำ�หลักเป็น “รูปสัตว์หิมพานต์” หรือทำ�เป็น “รูปขาสิงห์” อันหมายถึง ราชสีห์ในป่าหิมพานต์

5


นอกจากนี้ คติทางพุทธศาสนายังเชื่อในความเกี่ยวพันของดอกไม้ประจำ�ศาสนาชนิดหนึ่ง คือ ‘ปทุมมาลย์ หรือ ดอกบัว’ บรรดาช่างฝีมือจึงรังสรรค์ฐานอีกชั้นหนึ่งของสิ่งสักการะให้ เป็นรูปดอกบัวบ้าง ดอกบัวคว่ำ�บ้าง ดอกบัวหงายบ้าง หรือทั้งบัวคว่ำ�บัวหงายก็มี เรียก ว่า “ฐานปัทม์” บางครั้งเป็นการยากที่จะทำ�ดอกบัวเป็นกลีบๆ ติดเข้าไป ก็จะทำ�เป็นเพียง สัญลักษณ์ของการคว่ำ�การหงาย

ลักษณะบัวหงายที่พบบริเวณแท่นแก้วของวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำ�วรมหาวิหาร มีลักษณะ คล้ายกับกลีบบัวประดิษฐ์ มีลวดลายคล้ายกับ ลายแบบภาคกลาง

บัวคว่ำ�เป็นลักษณะที่คล้ายกับบัวหงาย ลวดลายมีลักษณะไม่แตกต่างกันมาก

6


ดังนั้นจึงเกิดการเปรียบเทียบลวดลายที่มีบนฐานบัวเป็นสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 1.การเปรียบเทียบลวดลายพรรณพฤกษาเป็นป่าหิมพานต์ 2.การเปรียบเทียบลวดลายนก กระรอก เป็นป่าหิมพานต์ 3.มีการนำ�สัตว์แต่ละชนิดมาประดับตกแต่งเพื่อเป็นการจำ�ลองเป็นป่าหิมพานต์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ฐานบัว จะมีการประดับตกแต่งเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยยึดหลัก ตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนา คือ คติจักรวาลที่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเขา พระสุเมรุ ฐานบัว เปรียบเหมือนป่าหิมพานต์ ที่มีรูปสัตว์แต่ละชนิด และแต่ละสายพันธุ์มา รวมกันอยู่ ตามที่ฐานบัวขององค์พระประฐานที่วัดพระธาตุช้างค้ำ� ที่มีการประดับตกแต่ง ด้วยลวดลายปูนปั้นที่งดงาม และลายรูปสัตว์ต่าง ๆ ที่เปรียบได้กับสัตว์ในหิมพานต์ เช่น นกยูง หงส์ กินรี ตัวมอม เป็นต้น

1.ภาพลายหน้ากระดานและลายพรรณพฤกษาที่เปรียบเหมือน กับ ป่าหิมพานต์ที่มพ ี ืชพรรณนานาชนิด และสัตว์ที่หลากหลายสาย พันธู์

ลายประจำ�ยามก้ามปูสลับกับลายรูปนกกับสิงห์

7


ลายประจำ�ยามลูกโซ่

ลายก้านขด

ลายลูกฟักที่สลับลายดอกไม้และรูปสัตว์

ลายกระจังตาอ้อย

8


2. ภาพลายสัตว์ต่าง ๆ ที่เปรียบเหมือนสัตว์ป่าหิมพานต์ ที่มีนานาชนิด หลากหลายสายพันธุ์ จำ�พวกแรกเป็นสัตว์ตระกูลนก

หงส์เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ตามตำ�นานในไตรภูมิพระร่วง บรรยายว่าถิ่นที่ อาศัยอยู่ในถ้ำ�ทองที่เขาจิตรกูฏ กลางป่าหิมพานต์ มีจำ�นวนถึงเก้าหมื่นตัว และมีพญาหงส์ ทองเป็นหัวหน้า ถือว่าเป็นสัตว์ปีกตระกูลสูงมีรูปร่างงดงามลีลาบินอ่อนช้อยเป็นสัตว์ที่มี เสียงร้องไพเราะมากอีกด้วย

นกยูง 9


สิงห์ในตำ�นานหิมพานต์สามารถจำ�แนกออกได้เป็น ๒ ชนิดหลักๆ คือ ราชสีห์ และ สิงห์ผสม ราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำ�ลังสูง ราชสีห์มีอยู่ด้วยกัน ๔ ชนิดคือ บัณฑุ ราชสีห์ กาฬสีหะ ไกรสรราชสีห์ และ ติณสีหะ ส่วนสิงห์ผสมนั้นมีอยู่มากมาย โดยปกติสิงห์ ผสมคือสัตว์ประสมที่มีลักษณะของ ราชสีห์กับสัตว์ประเภทอื่น

คชสีห์ เป็นสิงห์ผสมที่มีกายเป็นสิงห์ และมีช่วงหัวเป็นช้าง คชสีห์มีพลังเทียบ เท่าช้างและสิงห์รวมกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขาม คชสีห์มีลักษณะคล้ายสัตว์ หิมพานต์ อีกชื่อหนึ่งชื่อทักทอ 10


นาค หรือ พญานาค มีลักษณะคือ เป็นงูใหญ่มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่ง ใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และนาคยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสายรุ้งสู่ จักรวาล นาคเป็นเทพเจ้าแห่งท้องน้ำ� บางแห่งก็ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งฟ้า ตำ�นานความเชื่อ เรื่องพญานาคมีความเก่าแก่มาก ดูท่าว่าจะเก่ากว่าพุทธศาสนาอีกด้วย

กิเลนจีนทำ�หนวดยาว ส่วนภาพกิเลนแบบไทย มีกระหนกและเครืองประดับเป็นแบบไทย ๆ การจัดลายประกอบผิดไปจากในสมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์ของโบราณนั้นบ้าง ที่แปลก อีกอย่างหนึ่ง คือ กิเลนไทยมีสองเขา ของจีนแท้ ๆ มีเขาเดียว 11


รูปร่างคล้ายราชสีห์ผสมมังกร ในทางศิลปะล้านนานั้นช่างปั้นบางครั้งก็ป้นให้ ั ดู คล้ายตุ๊กแก กิ้งก่า หรือค่าง ลักษณะของศิลปะนั้นได้รับอิทธิพลจากจีน ส่วนในศิลปะลาว และอีสานนั้น เชื่อว่า มอมเป็นสิงห์จำ�พวกหนึ่ง ช่างนิยมปั้นให้มีลักษณะคล้ายสิงห์ลำ�ตัว ยาวประดับราวบันได หรือป้​้นคล้ายสุนัขขนาดใหญ่มีแผงคอและแผงหลัง และชาวอีสาน ถือว่ามอมเป็นสัตว์มงคลที่ปรากฏอยู่ในลายสักร่างกายของคนสมัยโบราณด้วย

พยัคฆ์ไกรสรมีส่วนประสมระหว่างสิงห์กับเสือ ส่วนหัวมีลักษณะเหมือนเสือลายพาดกลอน หรือเสือเบงกอล ส่วนตัวเป็นแบบสิงโต ตามจริงแล้วในโลกมนุษย์ ก์็มีสัตว์ที่มี

12


กลุ่มสัตว์ที่สามารถพบเห็นได้ตามท้องถิ่น

รูปนกเค้าแมว

รูปจิ้งจก

13


รูปม้า

รูปแมว

รูปวัว 14


กลุ่มลวดลายดอกไม้และลวดลายต่างๆ

ดอกไม้ในกรอบประจำ�ยามก้ามปู

ดอกไม้ประดิษฐ์บริเวณท้องไม้

15


ดอกไม้ในกรอบประจำ�ยามก้ามปู

ดอกไม้ในกรอสบประจำ�ยามก้ามปู

16


ดอกไม้ในกรอบประจำ�ยามก้ามปูกลีบมน

ลายกลีบบัวประดิษฐ์

17


ลายขดคล้ายกับลายบนผืนผ้า คล้ายกับลาย คลื่นน้ำ�

ลายกระจังตาอ้อยลายก้านขด และลายลูกโซ่

18


ดังนั้น ขนบฐานพระพุทธรูปและพระเครื่องจะมีภาพรวมเหมือนกันคือ ชั้นล่างสุดจะเป็น ฐานหน้าเรียบที่เรียกว่า “ฐานหน้ากระดาน หรือ ฐานเขียง” ถัดขึ้นไปจะเป็นชั้น “ฐานขา สิงห์” ชั้นที่สามอยู่บนสุดจะทำ�เป็น “ฐานปัทม์ หรือ ฐานบัว” ฐานผ้าทิพย์ คำ�ว่า “ฐานชุกชี” (ชุก-กะ-ชี) ที่เราเรียกฐานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น มีเค้าว่า จะมาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า ฐานที่นั่ง ซึ่งถ้าแปลตามตัวจะหมายถึง ที่รวมของพระ สงฆ์ (ชีหมายถึงนักบวช) จึงมักนิยมนำ�ผ้าทิพย์ห้อยพาดลงตรงกลางเรียกกันว่า “ฐานผ้า ทิพย์” บ้างก็เรียก “วัชรอาสน์” นั่นเอง และสุดท้ายนี้ คติการสร้างฐานบัว (ฐานชุกชี) คือ การสร้างตามความเชื่อตามคติ จักรวาลที่เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าอยู่ศูนย์กลางของเขาพระสุเมรุ หรือ สัตตบริภัณฑ์ ซึ่งมีป่า หิมพานต์ และทะเลสีทันดรล้อมรอบ และอีกในหนึ่ง คือ การสร้างเพื่อแสดงถึงความเคารพ นอบน้อมบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีค่า หรือ สมควรแก่การเคารพบูชา

19


เที่ยวป่าหิมพานต์ บนแท่นแก้ววัดพระธาตุช้างค้ำ� จังหวัดน่าน © 2017 (พ.ศ.2560) โดย จิณณวัตร แสนสมบัติ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ.2560 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียบเรียงและออกแบบโดย จิณณวัตร แสนสมบัติ ออกแบบโดยใช้ฟอนห์ Cordia New หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพ การศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.