“พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราเผชิญหน้ากับความตาย เพื่อจะได้ดำรงชีวิตด้วย ความไม่ประมาท และให้ มองหาโอกาสจากความตาย คือ ก่อนตายก็ยังมีโอกาสที่จะ ก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ หากมองในแง่นี้ ความตายย่อมไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หากแต่เป็น ธรณีประตูที่จะเปิดไปสู่การก้าวกระโดดครั้งสำคัญของชีวิตเสียด้วยซ้ำ “การมีสติตระหนักรู้ถึงความตายทุกเวลาของ สตีฟ จอบส์ ไม่ได้งอกขึ้นมาเฉย ๆ โดยไม่มีที่มาที่ไป หากแต่เกิดขึ้นจากการเฝ้าสังเกตทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ด้วยสายตาของ ผู้ที่มีสติ มองทะลุลงไปถึงแก่นแกนกลางแห่งความเป็นจริง” ว.วชิรเมธี “หากคุณใช้ชีวิตแต่ละวันเหมือนกับเป็น วันสุดท้ายของชีวิต วันหนึ่งคุณจะพบว่า สิ่งที่ทำไปนั้นถูกต้อง” สตีฟ จอบส์
ว.วชิรเมธี เรามีเวลาจำกัด ว.วชิรเมธี
OO$`<<=$ OO$`<<=$ `6;-S `6;-SD IEE5JV D IEE5JVEþCE*'G þC*'G
139 <T9
ISBN 978-616-7539-14-0 ISBN 978-616-7539-14-0
MCI6+þ MCI6+þ77IþIþ99DT¬:EECR=ERDZ DT¬:EECR=ERDZ$$7 7
Our
Time is Limited
{เรียนรู้จากความตาย ของชายผู้เกิดมาเขย่าโลก}
ธรรมะนิพนธ์ ลำ�ดับที ่ ๕ เรามีเวลาจำ�กัด
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ว.วชิรเมธี. เรามีเวลาจำ�กัด.- - กรุงเทพฯ : ปราณ, ๒๕๕๕. ๒๔๘ หน้า. ๑. ธรรมะกับชีวติ ประจำ�วัน ๒. พุทธศาสนากับชีวติ ประจำ�วัน I. ชือ่ เรือ่ ง. ๒๙๔.๓๑๔๔ ISBN 978-616-7539-14-0
จัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ปราณ ๙๕/๘ ซอยแก้วอินทร์ ถนนกาญจนาภิเษก ตำ�บลเสาธงหิน อำ�เภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุร ี ๑๑๑๔๐ โทรศัพท์ ๐-๒๑๙๕-๐๕๘๑ โทรสาร ๐-๒๑๙๕-๐๕๘๒ www.pranbook.com
เจ้าของ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บริษัท ปราณ พับลิชชิ่ง จำ�กัด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชินวัฒน์ ชนะหมอก กรรมการผู้จัดการ สำ�นักพิมพ์ เริงฤทธิ ์ ธิชาญ ทีป่ รึกษาด้านกฎหมาย พันตำ�รวจตรี อภิเษก ปิศโน บรรณาธิการบริหาร เทวัญกานต์ มุง่ ปัน่ กลาง บรรณาธิการฝ่ายใน ฐิติรัตน์ ศิริเมือง บรรณาธิการฝ่ายนอก รัฐวรรณ พัฒนรัชตอดุล ฝ่ายประสานงานสำ�นักพิมพ์ อาภรณ์ พัฒนรัชตอดุล เลขานุการกองบรรณาธิการ กนกภรณ์ พรหมดนตรี พิสจู น์อกั ษร รวีโรจน์ คำ�สุข, วัชริศ ศรีแสงแก้ว คอมพิวเตอร์ อโนชา พุธน้อย ฝ่ายศิลปกรรม แดนชัย วรรณศิรมิ งคล, รุง่ นภา จิตจราด สำ�นักงาน บริษทั ปราณ พับลิชชิง่ จำ�กัด ๙๕/๘ ซอยแก้วอินทร์ ถนนกาญจนาภิเษก ตำ�บลเสาธงหิน อำ�เภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๔๐ โทรศัพท์ ๐-๒๑๙๕-๐๕๘๑ โทรสาร ๐-๒๑๙๕-๐๕๘๒ E-mail: Pranbook@hotmail.com www.pranbook.com
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ การจากไปของชายชื่อ สตีฟ จอบส์ ผู้เป็นทั้งผู้ก่อตั้งและ ผู้บริหารของบริษัท แอปเปิล โลกทั้งโลกต้องสะเทือนเลื่อนลั่น กับเหตุการณ์น ี้ น่าสนใจอย่างยิง่ ว่า ทำ�ไมชายผูไ้ ม่ได้เป็นประธานาธิบดีของ สหรัฐอเมริกา ไม่ได้เป็นนักการเมืองชื่อก้อง ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ เป็ น ศาสดาเจ้ า ลั ท ธิ แต่ ทั น ที ที่ เ ขาเสี ย ชี วิ ต โลกทั้ ง โลกต่ า ง เศร้าสลดโลกทั้งโลกต่างไว้อาลัย สหรัฐอเมริกาประเทศบ้านเกิด บางสำ�นักงานบางบริษัท ถึงกับลดธงลงครึ่งเสา และนับจากนั้น เป็ น เวลากว่ า เดื อ น ผู้ ค นนั บ ล้ า น ผู้ ค นนั บ หลายสิ บ หรื อ หลาย ร้อยล้าน ที่รู้จักนวัตกรรมจากก้อนสมองอัจฉริยะของเขา ล้วน ตกอยู่ในอาการเศร้าสลด ทำ�ไมชายคนหนึง่ ซึง่ เกิดมาด้วยต้นทุนทีต่ ดิ ลบ แม้แต่พอ่ แม่ ก็ปฏิเสธที่จะเลี้ยงดู แต่ในวันที่เขาจากไป เขากลับกลายเป็นคน ที่โลกนี้ รู้สึกเสียดายและไว้อาลัย ให้กับการจากไปของเขาอย่าง ชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน ทัง้ ตอนทีเ่ ขายังมีชวี ติ อยูแ่ ละหลังจากทีเ่ สียชีวติ ไปแล้ว สตีฟ จอบส์ ได้การพูดถึง เขียนถึง ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์นับครั้ง ไม่ถ้วนปรากฏการณ์ สตีฟ จอบส์ โด่งดังพอๆ กับนวัตกรรมที่ เปลี่ยนแปลงโลกของเขา เช่ น ไอโฟน ไอพอด ไอแพด และ สภาวะการณ์เช่นนี้เป็นไปทั่วทั้งโลกไม่เว้นแม้กระทั่งสังคมไทย ท่ า มกลางข้ อ มู ล ข่ า วสารมากมายที่ บ อกเล่ า เกี่ ย วกั บ ชาย ผูเ้ กิดมาเขย่าโลกคนนี ้ น่ายินดีเหลือเกินทีว่ นั หนึง่ สำ�นักพิมพ์ปราณ ก็ได้อา่ นพบต้นฉบับ “รุง่ อรุณแห่งความสุข” ซึง่ เป็นหนังสือจัดพิมพ์
แจกใน งานสวดมนต์สง่ ท้ายด้วยธรรม ต้อนรับด้วยศีล ทีเ่ ขียนโดย ท่าน ว.วชิรเมธี เมือ่ พิจารณาดูชอื่ ของผูเ้ ขียนกับพิจารณาดูชอื่ ของ ผู้ที่ถูกเขียนถึงแล้ว ดูช่างขัดแย้งกันเหลือเกิน หนึ่งคนเป็นพระ หนึง่ คนเป็นนวัตกรผูเ้ ป็นอัจฉริยะแห่งโลกไอที แต่เมือ่ เราตัดสินใจ หยิ บ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ขึ้ น มาอ่ า น เรากลั บ พบว่ า ไม่ มี ค วามขั ด แย้ ง ระหว่างผูเ้ ขียนและผูท้ ถี่ กู เขียนถึง และแน่นอนนีย่ อ่ มเป็นนวัตกรรม ใหม่ในแวดวงหนังสืออย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อได้กราบเรียนขอทราบความเป็นมาของหนังสือเล่มนี้ ท่าน ว.วชิเมธี ก็ได้เล่าให้ฟงั ว่า ระหว่างทีพ ่ �ำ นักจำ�พรรษาอยูท่ อ่ี งั กฤษ เป็นเวลา ๓ เดือน และอีก ๓ เดือนกับการท่องไปในโลกกว้าง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพระธรรมทูต ณ ภาคพื้นยุโรปกว่า ๑๐ ประเทศ ตลอดเวลากว่าครึง่ ปีน ี้ ท่านได้ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าวิจยั บุคคลสำ�คัญอย่างน้อย ๔ คน คือ ๑. รามานุจัน อัจฉริยะคณิตศาสตร์ จากประเทศอินเดีย ที่กลายเป็นศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ๒. เดอะบีตเทิลส์ วงดนตรีที่เป็นปรากฏการณ์ตลอดกาล จากประเทศอังกฤษซึ่งสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งโลก ๓. บิล เกตส์ พ่อมดผู้เปลี่ยนแปลงโลกด้วยไมโครซอฟท์ ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ๔. สตีฟ จอบส์ นวัตกรผู้ก่อตั้งบริษัท แอปเปิล และผลิต นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล ท่าน ว.วชิรเมธี เล่าให้ฟังอีกว่า เหตุที่เลือกศึกษาบุคคล สำ�คัญทัง้ ๔ คนนีก้ เ็ พราะท่านมีนดั หมายไปปาฐกถา ณ มหาวิทยาลัย
ออกซฟอร์ด ในวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ และนั่นจึงเป็นเหตุผล อันเพียงพอทีจ่ ะทำ�ให้ทา่ นนัง่ ลงศึกษาชีวะประวัตขิ องบุคคลสำ�คัญ ทุกคนที่กล่าวมา และหลังปาฐกถาจบ บทปาฐกถาของท่านที่มหาวิทยาลัย ออกซฟอร์ด ในวันนัน้ จึงกลายมาเป็นต้นฉบับรุง่ อรุณแห่งความสุข ซึ่งสำ�นักพิมพ์ปราณได้รับความเมตตาอนุญาตให้นำ�มาจัดพิมพ์ ในครั้งนี ้ อย่างไรก็ตามเพือ่ ความสมบูรณ์ยง่ิ ขึน้ ของต้นฉบับ สำ�นักพิมพ์ จึงได้จดั ทำ�ภาคผนวกเพิม่ เติมขึน้ มา เพือ่ ขยายความให้เห็นถึงภูมหิ ลัง ของ สตีฟ จอบส์ นวัตกรผู้เปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล ซึ่งเมื่อ อ่านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ หนังสือเล่มนี้เรามั่นใจว่าจะทำ�ให้ ผู้อ่านได้เรียนรู้ทั้งชีวประวัติ แรงบันดาลใจ และแก่นธรรมอย่าง ชนิดทีเ่ ราขอการันตีวา่ อาจจะไม่เคยได้รบั มาจากหนังสือเล่มใดของ ท่าน ว.วชิรเมธี มาก่อนเลยก็เป็นได้ ในฐานะผู้จัดพิมพ์ สำ�นักพิมพ์มีความภูมิใจที่จะกล่าวว่า นี้คือหนังสือที่เกี่ยวกับ สตีฟ จอบส์ ที่น่าสนใจที่สุดเรื่องหนึ่งใน ประเทศไทย หรือบางทีอาจจะเป็นในโลกก็วา่ ได้ ความข้อนีจ้ ะจริง หรือไม่ประการใดก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้อ่านทุกคน บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์
คำ�ปรารภ นับแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม - ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ผู้เขียน ได้รบั อาราธนาให้เดินทางไปปฏิบตั ศิ าสนกิจ ณ ภาคพืน้ ยุโรปและ ประเทศในกลุม่ สแกนดิเนเวีย เวลากว่า ๖ เดือนในต่างประเทศนัน้ คราวนี้ ๓ เดือนแรกเป็นช่วงเวลาของการบรรยายธรรมและนำ� ภาวนาใน ๗ ประเทศ ส่วน ๓ เดือนหลังเป็นช่วงเวลาของการ จำ�พรรษา ณ วิมตุ ตยารามอังกฤษ อันตัง้ อยูช่ านเมืองออกซฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร สามเดือนหลังเป็นช่วงเวลาที่ผู้เขียนขอปลีกตัวเพื่อทำ�งาน วิจัยและเขียน / แปลหนังสือธรรมะบางเล่ม ในระหว่างนี้ผู้เขียน มีกำ�หนดการปาฐกถาใหญ่หนึ่งครั้งก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University) สาระสำ�คัญ ทีผ่ เู้ ขียนสนใจศึกษาค้นคว้าและตัง้ ใจว่าจะปาฐกถาก็คอื การวิเคราะห์ ความสำ�เร็จของบุคคลสำ�คัญของโลกสี่คนโดยมองผ่านกรอบการ วิเคราะห์ของพุทธธรรม บุคคลสำ�คัญสี่คนนั้นประกอบด้วย ๑. รามานุจัน อัจฉริยะแห่งโลกคณิตศาสตร์ ๒. เดอะบีตเทิลส์ วงดนตรีอัจฉริยะ ๓. สตีฟ จอบส์ นวัตกรผู้ก่อตั้ง บริษัท แอปเปิล ๔. บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ไมโครซอฟท์
อย่ า งไรก็ ต าม แม้ จ ะได้ ศึ ก ษาค้ น คว้ า ประวั ติ ข องกลุ่ ม เป้าหมายเอาไว้ครบถ้วนหมดแล้ว แต่พอถึงวันที ่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ ก็มีข่าวเผยแพร่ไปทั่วว่า สตีฟ จอบส์ ถึงแก่กรรมแล้วด้วยโรค มะเร็ ง อย่ า งสงบที่ บ้ า นพั ก ดั ง นั้ น ในวั น ที่ ๙ ตุ ล าคม ผู้ เ ขี ย น จึงเลือกที่จะพูดถึงอัจฉริยบุคคลทั้งสามแต่น้อยเพื่อที่จะได้ใช้เวลา ส่ วนใหญ่ พู ด ถึ ง สตี ฟ จอบส์ ใ ห้ ม ากขึ้ น และนั่ นก็ คื อ ที่ ม าของ ต้นฉบับ “เรามีเวลาจำ�กัด” เล่มนี้ จริงอยู ่ ในการปาฐกถาย่อมมีเนือ้ หามากมาย แต่เมือ่ นำ�มา ถอดเทปเพือ่ จัดทำ�เป็นต้นฉบับ ศิษยานุศษ ิ ย์ของผูเ้ ขียนได้ตดั ทอน ข้อความทีถ่ อื กันว่าเป็นพลความออกไป คงเหลือไว้แต่เนือ้ หาสาระ ล้วนๆ เท่านัน้ ด้วยเหตุน ี้ เนือ้ หาบางส่วนจึงมาก บางส่วนจึงน้อย แต่อย่างไรก็ตาม ก็นบั ว่า สาระสำ�คัญยังคงอยูค่ รบถ้วน ความจริง ยังมีประเด็นอืน่ ๆ อกี มากมายทีค่ วรกล่าวถึงสตีฟ จอบส์ แต่ผเู้ ขียน ก็มเี วลาจำ�กัดในการตรวจทานต้นฉบับ ได้แต่หวังใจอยูว่ า่ ในการ จัดพิมพ์ครั้งต่อไป จะหาโอกาสเพิ่มเติมบ้างตามสมควร ส่วน “บทกล่าวนำ�” ในหนังสือเล่มนี้ แต่เดิมเป็น “คำ�นิยม” ขอหนังสือเกี่ยวกับสตีฟ จอบส์ เล่มหนึ่งที่ผู้เขียนได้รับอาราธนา ให้เขียนทางสำ�นักพิมพ์ปราณ ขออนุญาตนำ�มารวมพิมพ์เข้าไว้ ด้วยกันเพราะเห็นว่า เป็นการแนะนำ�ชีวติ ของสตีฟ จอบส์ ได้เป็น อย่างดี ผู้เขียนเห็นว่ามีเนื้อหาสอดคล้องกันจึงอนุญาตให้นำ�มา จั ด พิ ม พ์ รวมกันไว้ในคราวนี้ ส่วนภาค ๒ เป็นต้นไป ซึ่งมีเนื้อหา ว่าด้วยชีวิตของสตีฟ จอบส์ ในแง่มุมต่างๆ นั้น ทางสำ�นักพิมพ์ ได้จดั ทำ�เพิม่ เติมขึน้ มาเพือ่ ให้ผอู้ า่ นทีไ่ ม่รจู้ กั สตีฟ จอบส์ได้รจู้ กั เขา มากยิ่งขึ้น
สตีฟ จอบส์ เป็นนวัตกรผู้สร้างนวัตกรรมมาทั้งชีวิต ด้วย เหตุน ้ี แม้ในวาระสุดท้ายชายคนนีก้ ไ็ ม่วายทีจ่ ะตายอย่างมีนวัตกรรม นวัตกรรมแห่งความตายของสตีฟ จอบส์ เป็นอย่างไร คำ�ตอบ มีอยู่แล้วในหนังสือเล่มนี ้ ว.วชิรเมธี มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ (Mahavijjalaya of Buddhist Economics) อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ๑๒ มกราคม ๒๕๕๕
สารบัญ หน้า คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�ปรารภ
(๔) (๗)
ภาค ๑ มรณานุสติ จากความตายของสตีฟ จอบส์ ๒ วิเคราะห์สตีฟ จอบส์ ๘ ชีวิตของชายผู้เปลี่ยนโลก ๑๘ อัจฉริยลักษณ์ของเอกบุรุษ ๓๐ เรามีเวลาจำ�กัด ๓๔ แนวทางการเจริญมรณานุสติ ๔๖ ภาค ๒ สูงสุดสู่สามัญ ผู้ที่โลกขอคารวะ ช่วงเวลาแห่งการต่อสู้กับมะเร็งร้าย ทุกชีวิตมีความตายอยู่เบื้องหน้า
๕๒ ๕๔ ๖๖ ๗๘
ภาค ๓ วิถีเซน วิถีสตีฟ จอบส์ ก้าวไปในเซน ชีวิตคือความเรียบง่าย จิตของผู้เริ่มต้น
๙๐ ๙๒ ๑๐๖ ๑๑๖
หน้า ภาค ๔ นวัตกรผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที ่ ๒๑ คนบ้าผู้กล้าเปลี่ยนโลก เบ้าหลอมของอัจฉริยะ ตำ�นานของพ่อมดแห่งซิลิคอนวัลเลย์ ความล้มเหลวคือมาตรวัดความสำ�เร็จ จินตนาการไร้ขีดจำ�กัด
๑๒๖ ๑๒๘ ๑๔๐ ๑๕๐ ๑๖๔ ๑๗๘
ภาค ๕ โลกหลังสตีฟ จอบส์ การจากลา จดหมายจากน้องสาว
๑๙๐ ๑๙๒ ๑๙๖
ภาคผนวก iSad คำ�ไว้อาลัยจากบุคคลสำ�คัญของโลก iLife ๕๖ ปี ของสตีฟ จอบส์ iWords คำ�คมและวลีเด็ด อ้างอิงภาพประกอบ เกี่ยวกับผู้เขียน
๒๐๗ ๒๐๘ ๒๑๘ ๒๒๖ ๒๓๒ ๒๓๖
ภาค ๑ ว. วชิรเมธี
มรณานุสติ จากความตายของสตีฟ จอบส์
2
“
ความสำ�นึกว่าผมจะต้องตายในไม่ช้าเป็นเครื่องมือสำ�คัญที่สุด ที่ผมรู้จักที่ผมใช้ในการตัดสินใจครั้งสำ�คัญของชีวิต เพราะเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวัง ความภาคภูมิใจ ความกลัวการหน้าแตก และความผิดพลาดทั้งหลาย ล้วนไม่มีความหมายอะไรเลย เมื่อเทียบกับความตาย เหลือเพียงสิ่งที่ส�ำ คัญจริง ๆ เท่านั้น มรณานุสติเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ผมรู ้ ที่จะหลุดพ้นจากบ่วงความคิดที่ว่า เรามีอะไรต้องเสีย เราทุกคนเปล่าเปลือยอยู่แล้วครับ ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่เราจะไม่ท�ำ ตามสิ่งที่ใจเราต้องการ
”
สตีฟ จอบส์
ว. วชิรเมธี 4
เช้าวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ หลังตื่นนอนและทำ�กิจส่วนตัวแล้ว
ทันใดนัน้ ผูเ้ ขียนก็ได้ยนิ เสียงลูกศิษย์เดินปนวิง่ ขึน้ มาหาถึงในห้อง พร้อมกับ ชี้ ให้ ดู ห น้ า จอคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ แอปเปิลซึ่งขึ้นรูปของ สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารสูงสุดของบริษัท แอปเปิล พร้อมข้อความสั้น ๆ แต่สะเทือนลึกซึง้ เข้าไปถึงก้นบึง้ ของหัวใจว่า “Steve Jobs 1955 - 2011” ลูกศิษย์ถามว่าหมายความว่าอย่างไร คำ�ตอบได้ผดุ พรายออกมาทันที โดยไม่ต้องคิดว่า “เขาจากไปแล้ว”
หากในอดีต โทมัส อัลวา เอดิสัน คือสุดยอดนักประดิษฐ์ ผูย้ งิ่ ใหญ่ของโลกแล้วไซร้ ในวันนีส้ ตีฟ จอบส์ ก็คอื สุดยอดนวัตกร
5 เรามีเวลาจำ�กัด
จากนัน้ ผูเ้ ขียนจึงเดินลงไปห้องสวดมนต์ชนั้ ล่าง พอลูกศิษย์ เปิดทีวีก็พบรายงานข่าวด่วนของช่อง บีบีซีนิวส์ ว่า เราได้สูญเสีย บุ ค คลสำ � คั ญ ที่ สุ ด คนหนึ่ ง ของโลกในศตวรรษนี้ ไ ปแล้ ว อย่ า ง ไม่ มี วั น หวนกลั บ มี ก ารกล่ า วถึ ง คำ � สดุ ดี ข องบารั ก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ต่อข่าวนี ้ “โลกได้สญ ู เสียผูน้ �ำ ทีเ่ ปีย่ ม วิสัยทัศน์ไปอีกคนหนึ่งแล้ว” (The world has lost visionary.) ตามด้วย สตีฟ วอซเนียก ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทในยุคต้น ต่อจากนั้น ก็เป็นบทสัมภาษณ์บุคคลสำ�คัญอีกมากมาย ที่ล้วนแล้วแต่เป็น ระดับผู้นำ�ประเทศและผู้มีชื่อเสียงระดับโลก แทบจะกล่าวได้ว่า ทุกวงการและจากทุกมุมโลกก็ว่าได้ สำ�หรับผูเ้ ขียน การจากไปของสตีฟ จอบส์ ก่อให้เกิดความ รู้สึกเหมือนสูญเสียญาติผู้ใหญ่ใจดีที่แสนคุ้นเคยไปคนหนึ่ง ไม่ใช่ เพียงเพราะว่าผู้เขียนใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นนวัตกรรมจากมันสมอง ของเขาในการทำ�งานเท่านั้น แต่เป็นเพราะว่าผู้เขียนชื่นชมวิธีคิด และวิธที �ำ งานของเขามาก่อนหน้านีห้ ลายปีแล้ว สิง่ ทีเ่ ขาคิด เขียนพูด ทำ� และนำ�เสนอ ดูเหมือนว่ารายล้อมอยู่ใกล้ๆ ผู้เขียนมานาน พอสมควร สำ�หรับผู้เขียน สตีฟ จอบส์ เป็นทั้งนวัตกรและชาวพุทธ ที่น่าสนใจ มีบางสิ่งบางอย่างในตัวเขาที่มีนัยสำ�คัญกับพุทธธรรม สำ�หรับคนร่วมยุคสมัย ซึง่ สามารถหยิบมาแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ว่ มกัน ได้อย่างมีสีสัน เพราะเขาคือแบบอย่างของมนุษย์ที่มีชีวิตชีวาที่สุด คนหนึ่งในบรรดาบุคคลสำ�คัญในยุคสมัยของเรา
ว. วชิรเมธี 6
(Innovator) ผู้รังสรรค์นวัตกรรม ร่วมสมัยที่ยากจะมีใครมาแทนที่ เขาได้ เพราะสตี ฟ จอบส์ ไม่ ไ ด้ ประดิษฐ์เพียงนวัตกรรมเชิงวัตถุธรรมที่เปลี่ยนแปลงวิธีที่เราติดต่อ สื่ อ สาร ปฏิ สั ม พั น ธ์ ทำ � งานใช้ ชีวติ คิด เขียน เสพความบันเทิง และสร้างสรรค์ผลงานให้แปลกใหม่ สะดวกเท่านั้น แต่เขายังประดิษฐ์ วิธีที่เราคิด วิธีที่เราเชื่อ วิธีที่เรา มองโลก มองชี วิ ต และวิ ธี ที่ เ รา ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำ�รงชีวิต อยู่ในโลกนี้อีกด้วย จอบส์ ไ ด้ รั บ การยกย่ อ ง สไตล์การนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล เป็ น ดั ง หนึ่ ง ศาสดาของศาสนา แห่ ง เทคโนโลยี ใ หม่ ที่ ชื่ อ แอปเปิ ล ศาสนาซึ่ ง มี ส าวกมากมาย กระจายอยู่ทั่วโลกเกินหลักร้อยล้านคน ยอดขายผลิตภัณฑ์ซึ่ง เกิดจากสติปัญญาของเขานั้นสูงสุดชนิดที่ไม่มีบริษัทไหนทำ�ได้ มาก่อน และบริษัท แอปเปิล ก็เป็นบริษัทที่มีมูลค่าทางการเงิน สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก นี่คือความสำ�เร็จในเชิงธุรกิจของเขา และไม่ใช่แค่ในเชิงธุรกิจเท่านั้นที่เขาประสบความสำ�เร็จ แต่ใน ฐานะนักคิด นักนวัตกรรม นักสร้างแรงบันดาลใจนักพูดนักพัฒนา นักสร้างแบรนด์ นักสื่อสารการตลาด นักวางกลยุทธ์และในฐานะ
�
7 เรามีเวลาจำ�กัด
ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงระดับโลก เขาก็ประสบความสำ�เร็จอย่ า ง งดงามชนิดหาผู้ทัดเทียมได้ยาก งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของเขา แต่ละชิ้น นับเป็นงานที่สื่อมวลชนและคนทั่วโลกให้ความสนใจ ติดตามอย่างชนิดไม่เคยมีใครทำ�ได้มาก่อน สตีฟ จอบส์ คือบุคคลที่เป็นองค์รวมแห่งอัจฉริยภาพของ มนุษย์คนหนึ่งในยุคสมัยของเรา การจากไปของเขาสัน่ สะเทือนนับแต่ในครอบครัวเล็กๆ ของ เขาที่พาโลอัลโต แคลิฟอร์เนีย ไปจนถึงทำ�เนียบขาว และจาก ทำ�เนียบขาวก็สะเทือนไปทั่วทุกมุมโลก การที่คนคนหนึ่งจะก่อ ให้ เ กิ ด ความสั่ น สะเทื อ นต่ อ โลกได้ ถึ ง เพี ย งนี้ ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ งง่ า ยเลย แต่เป็นเพราะเขาได้สร้างคุณูปการต่อโลกนี้เป็นอย่างมาก สตีฟ จอบส์ จึ ง มี ค่ า พอที่ ส หรั ฐ อเมริ ก าจะไว้ อ าลั ย ด้ ว ยการลดธงลง ครึ่งเสา
วิเคราะห์
ว. วชิรเมธี
สตีฟ จอบส์ 8
จอบส์พูดอยู่เสมอว่า ความโชคดีของเขาเริ่มต้นจากการ ค้นพบสิง่ ทีเ่ ขา “รัก” ตง้ั แต่อายุยงั น้อย ซึง่ ก็คอื ความสนใจในเครือ่ ง คอมพิวเตอร์อย่างลึกซึง้ ลุม่ หลง และหาวิธเี รียนรูด้ ว้ ยตัวเองด้วยการ แกะดูผลิตภัณฑ์ทกุ ชิน้ ทีต่ วั เองสนใจ เหมือนนักชีววิทยาผ่าสัตว์ออก เพือ่ จะได้เห็นอวัยวะอันซับซ้อนภายในเลยก็วา่ ได้ จากความรักอย่างลุ่มหลงหัวปักหัวปำ�ในคอมพิวเตอร์เป็น พืน้ ฐาน คุณสมบัตทิ ส่ี องของจอบส์กค็ อื ความเพียรพยายามในการ ศึกษาค้นคว้าหาความรูอ้ ย่างหิวกระหาย เต็มไปด้วยความใฝ่รแู้ ละ
9 เรามีเวลาจำ�กัด
นวัตกรรมที่กลั่นจากมันสมองอัจฉริยะของ สตีฟ จอบส์ นั้น มีคุณภาพดีพอจนไม่ต้องการคำ�รับรองจากใครอีก ดังนั้น ผูเ้ ขียนจึงไม่จ�ำ เป็นต้องพูดถึงนวัตกรรมของเขา แต่สงิ่ ทีอ ่ ยาก พูดถึงก็คอ ื สตีฟ จอบส์ พัฒนาตัวเองมาอย่างไร จึงกลายเป็น นวัตกรผูเ้ ปลีย ่ นแปลงโลก อย่างชนิดทีเ่ รียกได้วา่ ร้อยปีจะมีคน อย่างนี้เกิดขึ้นมาสักคนหนึ่ง
ว. วชิรเมธี 10
พัฒนาตนอยูเ่ สมอ อย่างทีท่ ราบกันเป็นอย่างดีในหมูผ่ ตู้ ดิ ตามชีวติ และงานของเขาว่า เขาศึกษาจากทุกสิ่งทุกอย่างที่รายล้อมตัว เขาอยู ่ เริม่ ตัง้ แต่การหาเวลาไปเดินดูขา้ วของเครือ่ งใช้ในครัวเรือน ตามห้างสรรพสินค้า งานเปิดตัวสินค้าต่างๆ และงานแสดงนวัตกรรม ใหม่ๆ เขาสนใจตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างเช่นการเปิดจุกขวดนํ้าเพื่อ สำ�รวจเกลียวของฝา ไปจนถึงการสำ�รวจตรวจตราทุกองค์ประกอบ ของรถเมอเซเดสเบนซ์แต่ละรุน่ เพือ่ หาจุดเด่นทีเ่ ขาจะสามารถนำ�มา ต่อยอดเป็นนวัตกรรมในเครือของบริษัท คุ ณ สมบั ติท่ีส ามของนวั ต กรแห่ ง ศตวรรษคนนี้ก็คือ การ อุทิศตนให้กับผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างที่เรียกกันว่า วางชีวิตเป็น เดิมพันในทุกชิน้ งานเขาเก็บรายละเอียดของทุกสิง่ ประดิษฐ์จนกล่าว กันว่า ตัวเขาเป็นทัง้ ผูจ้ ดุ ประกายแห่งแนวคิด เป็นผูอ้ �ำ นวยการผลิต และเป็นมาตรฐานตรวจสอบคุณภาพไปในตัวกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สตีฟ จอบส์ ถือว่าตัวเองคือมาตรฐานของความเป็นเลิศในทุก ผลิตภัณฑ์ของบริษทั นสิ ยั “สมบูรณ์แบบนิยม” อย่างนี ้ เกิดขึน้ ไม่ได้ หากไม่มกี ารอุทศิ ตนอย่างถึงพริกถึงขิงมาเป็นเนือ้ หารองรับอยูข่ า้ งใน ประการสุดท้าย สตีฟ จอบส์ เป็นคนคิดใหม่ คิดใหญ่และ คิดต่าง รวมทัง้ คิดบวกด้วย ความเป็น “นักคิด” ของเขาแสดงออก ผ่านวิถชี วี ติ วิถกี ารทำ�งาน และวิถแี ห่งนวัตกรรมทีเ่ ขาสร้างสรรค์ ขึ้นมา การคิดใหม่ หมายถึง การคิดในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังไม่คิด กันหรือยังมองไปไม่ถงึ ลักษณะของการคิดใหม่คอื การมีวสิ ยั ทัศน์ ลํา้ สมัยนัน่ เอง เมือ่ แรกทีส่ ตีฟ จอบส์ ประกาศวิสยั ทัศน์วา่ จะทำ�ให้
11 เรามีเวลาจำ�กัด
คนธรรมดาสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้เป็นเรือ่ งปกติในชีวติ ประจำ�วัน นัน้ มีผปู้ รามาสว่า หากเขาขายคอมพิวเตอร์สว่ นบุคคลได้สกั ห้าเครือ่ ง ก็นบั ว่าดีถมเถ แต่ทกุ วันนีเ้ ราก็รกู้ นั อยูแ่ ล้วว่ามนุษย์เดินดินทัว่ โลก ซึ่งไม่จำ�เป็นต้องมีความรู้ทางเทคโนโลยีเลยต่างก็ใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนตัวกันเป็นเรื่องปกติ การใช้คอมพิวเตอร์จึงไม่ใช่เรื่องของ เจ้าหน้าที่ในสำ�นักงานหรือในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป การคิดใหญ่ หมายถึง การคิดในกรอบระดับโลก สตี ฟ จอบส์ ฝันว่า นวัตกรรมของเขาจะต้องเปลีย่ นวิถที เี่ ราคิด วิถที เี่ รา บริโภค วิถีที่เราใช้ชีวิต วิถีที่เราทำ�งานไปอย่างสิ้นเชิง เรื่องนี้ จริ ง หรือไม่ เราก็ลองดูวิธีท่เี ราใช้โทรศัพท์ไอโฟนดูก็ได้ โทรศัพท์ หนึง่ เครือ่ งสามารถให้เราใช้โทร. คยุ กัน เช็กอีเมล นัดหมาย ดูหนัง ฟังเพลง โหลดภาพ ทำ�ธุรกรรมทางการเงิน ถ่ายรูป หรือติดตาม สารพั ด แอปพลิ เ คชั น ใหม่ เรี ย นภาษา นาฬิ ก าปลุ ก สั่ ง งาน ติดตามข่าวสารรายวัน เรียกร้องสิทธิทางการเมือง ฯลฯ โทรศัพท์เครื่องเดียวทำ�ให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นเกินสิบเรื่อง ประหยัดเวลาไปได้อย่างมหาศาล หรือหากคุณมีไอแพดอยู่ในมือ สักเครื่องหนึ่ง ก็จะพบว่าโลกทั้งใบถูกย่อให้ลงไปอยู่ในนั้น หรือ หากมีคอมพิวเตอร์แมคบุ๊คสักเครื่อง คุณก็สามารถย่อสำ�นักงาน หรือธุรกิจของคุณทัง้ หมดลงในเครือ่ งนัน้ ได้อย่างไม่นา่ เชือ่ ทุกวันนี้ นวัตกรรมดังกล่าวได้เข้าไปมีบทบาทไม่ใช่เฉพาะในย่านที่ถูกผลิต ขึ้ น มา คื อ แถวซิ ลิ ค อนวั ล เลย์ ใ นสหรั ฐ อเมริ ก าเท่ า นั้ น แต่ ก ลั บ ครอบคลุมไปทั่วโลก
ว. วชิรเมธี 12
การคิ ด ต่ า ง หมายถึ ง การคิ ด ที่ แ หวกออกไปจากความ เคยชิ น ของวิ ธี (การ) และวิ ถี (วั ฒ นธรรม) ที่ ค นหรื อ สั ง คม เคยคิดเคยเชื่อกันมาอย่างสิ้นเชิง เช่น ตอนอายุ ๒๔ ปี จอบส์ ไปศึ ก ษาดู ง านที่ ศู น ย์ วิ จั ย พาโลอั ล โตของบริ ษั ท ซี ร็ อ กซ์ ที่ นั่ น เขาได้เห็นบางส่วนของคอมพิวเตอร์แห่งอนาคตที่เรียกว่าส่วนต่อ ประสานกับผู้ใช้ (graphical user interface-GUI) ซึ่งมีจุดเด่น อยู่ ที่ ก ารใช้ เ มาส์ และเพี ย งการคลิ ก ก็ ส ามารถทำ � งานได้ อ ย่ า ง น่ามหัศจรรย์ ดังที่เขากล่าวว่า “ผมเคยคิดว่านั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ผมเคยเห็นมาในชีวิต... คุณรู้ไหมภายในสิบนาที ผมอ่านขาดว่า คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะมีระบบทำ�งานแบบนี้อย่างแน่นอนในวันหนึ่งข้างหน้า” แม้ วิ ศ วกรของตนจะสามารถคิ ด ส่ ว นที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด ของ การใช้งานคอมพิวเตอร์ขึ้นมาได้ก่อนสตีฟ จอบส์ เสียอีก ทว่า คอมพิวเตอร์ต้นแบบเช่นนั้น ไม่ได้ถูกนำ�มาผลิต เพราะซีร็อกซ์ ติ ด อยู่ ใ นกรอบคิ ด ที่ ว่ า ถ้ า เป็ น ซี ร็ อ กซ์ ก็ ต้ อ งเจาะเฉพาะเรื่ อ ง เครือ่ งถ่ายเอกสารเท่านัน้ ซึง่ จอบส์ตง้ั ข้อสังเกตว่า ถ้าซีรอ็ กซ์ไม่คดิ แบบติ ด กรอบ บริ ษั ท นี้ จ ะกลายเป็ น ยั ก ษ์ ใ หญ่ ด้ า นนวั ต กรรม คอมพิวเตอร์ของโลก สตีฟ จอบส์ คิดต่างดังที่นวัตกรรมของเขาทำ�ให้เห็นและ ดั ง ที่ เ ขาเองก็ ใ ช้ ชี วิ ต ให้ เ ห็ น มาตลอดว่ า ในคนหนึ่ ง คนนั้ น เขา สามารถเป็นได้ทงั้ นักคิด นักนวัตกรรม นักบริหาร นักผลิตนักการ ตลาด นักประชาสัมพันธ์ นักลงทุน นักวิทยาศาสตร์นักทดลอง พุทธศาสนิก นักมังสวิรัต ิ ผู้นำ� และทั้งหมดนี้ทำ�ให้เขากลายเป็น “ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงของโลก” ไปตลอดกาลความสามารถในตัว
13 เรามีเวลาจำ�กัด
ปัจเจกที่หลากหลายอย่างนี้ ยังท้าทายระบบการศึกษาในปัจจุบัน ที่เก่งแต่ในเรื่องการลดทอนคุณสมบัติของคนให้กลายเป็นเพียง ผู้ชำ�นาญการเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง จนหลงลืมไปว่า มนุษย์คือ องค์รวมของศักยภาพที่หลากหลายอีกด้วย คิ ด บวก หมายถึ ง การคิ ด หาแง่ ดี แง่ ง าม ของปั ญ หา หรืออุปสรรคหนักหนาที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่ ง ตามปกติ เ ราอยู่ ในสภาพแก้ไขอะไรไม่ได้ เพราะเหตุปัจจัยมันซับซ้อน แต่แทนที่ จะยอมจำ�นน ก้มหน้ารับชะตากรรมอย่างเชือ่ งๆ คนคิดบวกจะหา วิธีปฏิสัมพันธ์กับปัญหาเหล่านั้นด้วยมุมมองใหม่ โลกทัศน์ใหม่ วิธีการใหม่ ด้วยการใช้ปัญญาอย่างสุขุมลุ่มลึก (เป็นการคิดอย่าง แยบคาย รอบคอบจนตกผลึก อย่างเช่นชูกา เรย์ เลียวนาร์ด ผู้เป็นนักมวยระดับโลก ที่ใช้สมองมาก ใช้แรงน้อย แต่ชกชนะ แทบทุกครั้ง) ผูเ้ คยศึกษาประวัตขิ องสตีฟ จอบส์ ย่อมทราบดีวา่ เขาเคย ถูกเชิญออกจากบริษัทที่เขาก่อตั้งมากับมือ โดยฝีมือของซีอีโอ ทีเ่ ขาไปเชิญมาบริหาร เขาหายไปจากบริษทั เดิมกว่าสิบปี แต่แล้ว ก็กลับมาใหม่ในฐานะผูก้ อบกูแ้ ละผูป้ ฏิวตั บิ ริษทั แทนทีจ่ ะกล่าวโทษ ชะตากรรมคราวนั้ น เขากลั บ บอกว่ า “นั่ น คื อ ช่ ว งเวลาที่ ดี ที่ สุ ด ครัง้ หนึง่ ในชีวติ ” เพราะมันทำ�ให้เขากลายเป็นมือใหม่ทไี่ ม่ตอ้ งแบก ความสำ�เร็จอีกต่อไป ดังนัน้ จอบส์จงึ มีพลังสร้างสรรค์อย่างล้นเหลือ ทีจ่ ะก้าวต่อไป ซึง่ เขาก็ได้พสิ จู น์ให้เห็นแล้วว่าเขาทำ�ได้ส�ำ เร็จเวลานี้ แอปเปิลกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่ง ของโลกไปแล้ว
ว. วชิรเมธี 14
การประสบความสำ�เร็จในชีวิตของสตีฟ จอบส์ อาจสรุปลง ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาทีช่ อื่ อทิ ธิบาท ๔ หรือ วิถสี คู่ วาม สำ�เร็จ อันประกอบด้วย ๑. มีใจรัก (ฉันทะ) ๒. พากเพียรทำ� (วิริยะ) ๓. จดจำ�จ่อจิต (จิตตะ) ๔. วินิจวิจัย (วิมังสา) สตีฟ จอบส์ เป็นพุทธศาสนิกแห่งพุทธศาสนานิกายเซนแบบ ญี่ปุ่น คำ � ว่ า ความเรี ย บง่ า ย ที่เ ขานำ � มาใช้ เ ป็ น หั ว ใจของการ ออกแบบ ก็เป็นถ้อยคำ�ที่หยิบมาจากแนวคิดของเซน สัญลักษณ์ ลูกแอ๊ปเปิล้ ของบริษทั แอปเปิล ก็ดเู หมือนว่าได้มาจากแรงบันดาลใจ ในสำ�นักปฏิบตั ธิ รรมทีป่ ลูกแอ๊ปเปิล้ ไว้เลีย้ งดูผปู้ ฏิบตั ธิ รรม อปุ นิสยั การทำ�อะไรให้ดีท่ีสุดนอกจากเป็นบุคลิกส่วนตัวของเขาแล้วยัง สอดคล้องกับคำ�สอนของพระพุทธศาสนาทีว่ า่ กยิรา เจ กยิราเถนํ ถ้าจะทำ�อะไร ก็จงทำ�ให้เต็มที ่ และจงทำ�ให้ดที ส่ี ดุ นีย่ งั ไม่นบั การ เจริญมรณานุสติทเ่ี ขานำ�มาใช้อยูท่ กุ วัน เช่นทีเ่ ขากล่าวว่า “ตอนผมอายุสิบเจ็ด ผมอ่านพบคำ�คมประโยคหนึ่งที่ว่าไว้ ทำ�นองนี้ ‘ถ้าคุณใช้ชีวิตในแต่ละวันเหมือนเป็นวันสุดท้ายของคุณ แล้วละก็ วันหนึ่งคุณจะพบว่า สิ่งที่คุณทำ�ไปนั้นถูกต้อง’” หรืออีกข้อความหนึ่งซึ่งเขากล่าวว่า “ความสำ�นึกว่าผมจะต้องตายในไม่ชา้ เป็นเครือ่ งมือสำ�คัญ ที่สุดที่ผมรู้จักที่ผมใช้ในการตัดสินใจครั้งสำ�คัญๆ ของชีวิตเพราะ เกือบทุกสิง่ ทุกอย่างไม่วา่ จะเป็นความคาดหวัง ความภูมใิ จความกลัว
การหน้าแตก และความผิดพลาดทั้งหลาย ล้วนไม่มีความหมาย อะไรเลยเมือ่ เทียบกับความตาย เหลือเพียงสิง่ ทีส่ �ำ คัญจริงๆ เท่านัน้ มรณานุสติเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ผมรู้ ที่จะหลุดพ้นจากบ่วงความคิด ทีว่ า่ เรามีอะไรต้องเสีย เราทุกคนเปล่าเปลือยอยูแ่ ล้วครับไม่มเี หตุผล อะไรเลยที่เราจะไม่ทำ�ตามสิ่งที่ใจเราต้องการ...”*
——————————————— * สุนทรพจน์ของสตีฟ จอบส์ ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จากหนังสือเรื่อง “วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน” หน้า ๒๓ แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล
15 เรามีเวลาจำ�กัด
คุณค่าของพระพุทธศาสนามีมากพออยู่แล้วในตัวเองโดย ไม่ตอ้ งอ้างบุคคลสำ�คัญมารับรองแต่อย่างใดทัง้ สิน้ แต่ในบทความนี้ ผู้เขียนโยงพุทธธรรมมายังสตีฟ จอบส์ ไม่ใช่เพื่อให้สตีฟ จอบส์ มารับรองพระพุทธศาสนาว่าทันสมัยเพียงไร แต่ต้องการชี้ให้เห็น ความเป็นสากลของพุทธธรรมที่เป็นแก่น ว่าใครก็สามารถนำ�มา ใช้ได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม อยู่วงการไหนก็ตาม หรือเป็นใครก็ตาม กล่าวอีกนัยหนึง่ ว่า ไม่วา่ สตีฟ จอบส์ จะเรียกตัวเองว่าชาวพุทธ หรือไม่กไ็ ม่ส�ำ คัญ เพราะมันเป็นเพียง “เปลือก” ของสัจธรรมเท่านัน้ แต่หากมองในแง่ของวิถีชีวิตและวิธีคิด (บางอย่างไม่ใช่ท้ังหมด) ก็ต้องยอมรับว่า เขาได้พบกับธรรมะของพระพุทธเจ้าเข้าแล้วโดย บังเอิญ และอาจโดยตั้งใจด้วยก็ได้ ดังปรากฏในชีวประวัติว่าเขา สนใจพุทธศาสนานิกายเซน คิดแบบเซน แม้กระทั่งงานแต่งงาน ของเขาก็นิมนต์พระเซนมาร่วมพิธีด้วย
ว. วชิรเมธี 16
ความสำ�เร็จในฐานะนักคิด นักนวัตกรรม และผู้นำ�การ เปลีย่ นแปลงของสตีฟ จอบส์ เป็นเรือ่ งของ การฝึก ศึกษา พัฒนา ใช้ปัญญาล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องของปาฏิหาริย์ ไม่ใช่เรื่องของคุณวิเศษ เวทไสย ไม่ใช่เรือ่ งของการเติบโตขึน้ มากับค่านิยมคอร์รปั ชันแต่เขา สร้างขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์คนหนึ่งแท้ๆ วิถีแห่งการสร้างตัวด้วยสติปัญญาของมนุษย์ ด้วยความ เพียรพยายาม ความทุ่มเททำ�งานหนักอย่างนี้ ควรเป็นวิถีที่เรา คนไทยเรียนรู้ได้ พัฒนาได้และสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ไม่ใช่คอย แต่จะเป็นผู้รับจากโลกตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่ควรฝึกหัด พัฒนาเพือ่ ทีจ่ ะก้าวขึน้ มาเป็นนวัตกรผูส้ ร้างนวัตกรรมในวันข้างหน้า ด้วยเช่นกัน แน่นอนว่า ในฐานะคนที่มีชื่อเสียงและประสบความสำ�เร็จ ระดับโลก สตีฟ จอบส์ ต้องเผชิญกับข้อวิพากษ์มากมายพอๆ กับ บิล เกตส์ และไม่ต่างจากผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายอย่าง เอดิสัน, คานธี, ไอน์สไตน์, ดา วินชี, โอบามา, ซูจี หรือรุ่นเยาว์ อย่างมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก แต่สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาของโลก มี คนรัก ย่อมมีคนชัง มีคนชม ย่อมมีคนแช่ง เป็นของแถมอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรือ่ งแปลกทีเ่ ราจะพบว่า ในบางแง่บางมุมก็มคี นรุมประณาม สตีฟ จอบส์ จนไม่มชี น้ิ ดี แต่ส�ำ หรับผูเ้ ขียนขอบอกว่า ความบกพร่อง (ถ้าหากเขาจะมี) ก็เป็นธรรมดาของมนุษย์ พอๆ กับที่ความดีเลิศ ก็เป็นธรรมดาของมนุษย์อกี ด้านหนึง่ เช่นกัน ใครถนัดมองหาความ บกพร่องของคนก็เชิญตามถนัดแต่ผู้เขียนเลือกที่จะมองหาแง่มุม ทีเ่ ราสามารถนำ�มาพัฒนาตัวเองและพัฒนาสังคมของเราได้มากกว่า
�
17 เรามีเวลาจำ�กัด
ชีวิตของสตีฟ จอบส์ เป็นชีวิตที่น่าศึกษา น่าเรียนรู้ เขา สร้างตัวจากสองมือเปล่า ไม่มปี ริญญาติดตัว เป็นลูกบุญธรรมของ คนอื่นที่พ่อแม่แท้ๆ ไม่มีปัญญาดูแล แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ข้อจำ�กัด ไม่ใช่ปมด้อย ไม่ใช่ขอ้ อ้างทีจ่ ะทำ�ตัวให้กลายเป็นปัญหาของสังคม เขาทลายขีดจำ�กัดเหล่านี้ทั้งหมดทิ้งไป จนกลายเป็นคนที่ประสบ ความสำ�เร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก ชีวิตอย่างนี้เป็นชีวิตที่น่าศึกษา น่าสังเคราะห์ น่าวิเคราะห์ (โดยไม่ต้องสะเดาะเคราะห์) และน่ายกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาว่า วันหนึ่งข้างหน้า เมืองไทยของเราจะสามารถช่วยกันสร้างสรรค์ บรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมให้เกิด “นวัตกร” ผูส้ ร้าง “นวัตกรรม” อย่างนีไ้ ด้บา้ งหรือไม่ หรือเราพอใจจะเป็นแค่เพียง “ผูบ้ ริโภค” จาก ภูมิปัญญาตะวันตกตลอดไป ในฐานะผู้ตามที่ไม่มีสำ�นึกของผู้นำ� เลยแม้แต่น้อยอย่างนี้ไปตลอดศตวรรษ หรือตลอดประวัติศาสตร์ ของคนไทยเลยกระนั้นหรือ
ติดตามผลงานของ
ว.วชิรเมธี
พร้อมทั้งประวัติและภารกิจอย่างละเอียดได้ที่ www.dhammatoday.com http://www.facebook.com/v.vajiramedhi http://twitter.com/vajiramedhi
บุคคลหรือองค์กรใดสนใจสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จำ�นวนมากในราคาพิเศษ เพื่อแจกจ่ายในงานสาธารณกุศลต่างๆ หรือบริจาคให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน เด็กและเยาวชน โปรดติดต่อ บริษัท ปราณ พับลิชชิ่ง จำ�กัด ๙๕/๘ ซอยแก้วอินทร์ ถนนกาญจนาภิเษก ตำ�บลเสาธงหิน อำ�เภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุร ี ๑๑๑๔๐ โทรศัพท์ ๐-๒๑๙๕-๐๕๘๑ โทรสาร ๐-๒๑๙๕-๐๕๘๒ E-mail: Pranbook@hotmail.com www.pranbook.com
“พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราเผชิญหน้ากับความตาย เพื่อจะได้ดำรงชีวิตด้วย ความไม่ประมาท และให้ มองหาโอกาสจากความตาย คือ ก่อนตายก็ยังมีโอกาสที่จะ ก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ หากมองในแง่นี้ ความตายย่อมไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หากแต่เป็น ธรณีประตูที่จะเปิดไปสู่การก้าวกระโดดครั้งสำคัญของชีวิตเสียด้วยซ้ำ “การมีสติตระหนักรู้ถึงความตายทุกเวลาของ สตีฟ จอบส์ ไม่ได้งอกขึ้นมาเฉย ๆ โดยไม่มีที่มาที่ไป หากแต่เกิดขึ้นจากการเฝ้าสังเกตทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ด้วยสายตาของ ผู้ที่มีสติ มองทะลุลงไปถึงแก่นแกนกลางแห่งความเป็นจริง” ว.วชิรเมธี “หากคุณใช้ชีวิตแต่ละวันเหมือนกับเป็น วันสุดท้ายของชีวิต วันหนึ่งคุณจะพบว่า สิ่งที่ทำไปนั้นถูกต้อง” สตีฟ จอบส์
ว.วชิรเมธี เรามีเวลาจำกัด ว.วชิรเมธี
OO$`<<=$ OO$`<<=$ `6;-S `6;-SD IEE5JV D IEE5JVEþCE*'G þC*'G
139 <T9
ISBN 978-616-7539-14-0 ISBN 978-616-7539-14-0
MCI6+þ MCI6+þ77IþIþ99DT¬:EECR=ERDZ DT¬:EECR=ERDZ$$7 7
Our
Time is Limited
{เรียนรู้จากความตาย ของชายผู้เกิดมาเขย่าโลก}