หนังสือของแถมอาชืพ

Page 1

ของ แถม อาชืพ



โรคที่เกิดจากการประกอบอาชี พ หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่ วยที่เกิดขึ้น กับคนโดยมีสาเหตุประกอบอาชี พเหตุจาก การสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ประกอบ อาชี พ ซึ่ งอาการเจ็บป่ วยเกิดขึ้นกับผู ้ ปฏิบัติงานในขณะท�ำงานหรือหลังจากท�ำงานเป็นเวลานาน และโรคบางอย่างอาจเกิดภายหลังหยุ ดการท�ำงานหรือลา ออกจากงานนัน้ ๆแล้ว ทัง้ นี้ขึ้นอยู ่กับประเภทของสิ่งคุกคาม สุขภาพ ปริมาณสารที่ได้รับ และโอกาสหรือวิธีการที่ได้ รับ ตัวอย่างของโรคที่ส�ำคัญ เช่ น โรคพิษตะกั่ว โรคซิ ลิโค สิส (โรคปอดจากฝุ่ นหิน) โรคพิษสารท�ำละลายต่าง ๆ ซึ่ ง สามารถพิสูจน์ได้ในเชิ งสาเหตุและผลกระทบ

1


2

3


หมอ Doctor

4

5


โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

“ปัญหาของกล้ามเนื้อ หรือการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อนั้น เกิดจากการ ใช้งาน เช่นการยืนนิ่งๆ 1 ชั่วโมง เราจะรู้สึกเมื่อยขา นั่นเพราะกล้าม เนื้อของเราถูกใช้งานเยอะ มันจึงเกิดการหดตัว แต่พอได้พักผ่อน เช่น ยืนนานแล้วเมื่อยพอนั่งสักพักก็จะเริ่มหายเมื่อย เพราะกล้ามเนื้อมันเริ่ม ยืดออก ดังนั้นหากกล้ามเนื้อหด แล้วโดนยืดออกก็จบ แพทย์ หรือ ทันตแพทย์ ต้องก้มๆ เงยๆ บิดตัว เอี้ยวตัว เกร็งข้อมือและนิ้ว มือ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผล ให้มีความเสี่ยงที่จะปวดบ่า ต้นคอ สะบัก หลัง และอาจจะเป็นนิ้วล็อค ได้

6

“ปกติถ้าเราทำ�อะไรแล้วเมื่อย เมื่อได้พัก จนหายเมื่อยปัญหาก็จบ แต่ถ้าเราจำ�เป็น ต้องใช้กล้ามเนื้อติดต่อกันนานๆ เช่นคนที่ นั่งทำ�งานในออฟฟิศ (Office) กล้ามเนื้อ หลังต้องใช้งานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล้ามเนื้อต้องหดเกร็ง 8 - 10 ชั่วโมง แบบ นี้ทุกวัน กลับบ้านไปพักผ่อน รุ่งเช้ามา ก็ต้องนั่งทำ�งานท่าเดิมอีก กล้ามเนื้อ ชุดเดิมก็มีการหดเกร็งเข้าไปอีก ทำ�อย่างนี้ไปเป็นปีๆ กล้ามเนื้อมัดเดิมมีปัญหา แน่ จากการที่เราเคยกลับไปนอนพักที่บ้านแล้วหายปวดหายเมื่อย 1 ปีผ่านไป นอนแล้วก็ไม่หายปวดเมื่อย เพราะกล้ามเนื้อจาก

ที่เคยยืดหยุ่น มันไม่ยืด มันเกร็งสะสมอยู่อย่างนั้น” ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเล่าต่อว่า เมื่อใช้กล้ามเนื้อติดต่อกัน เป็นเวลา นาน กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวสะสม จนเกิดเป็นก้อนเนื้ออักเสบที่เรียกว่า “ทริกเกอร์ พอยท์ ” (Trigger Points) ซึ่งเจ้าก้อนเนื้อนี้เอง ที่เป็นตัวการทำ�ให้เกิด โรคปวด กล้ามเนื้อเรื้อรัง “เมื่อกล้ามเนื้อเกร็งตัวนานเข้า มัน ก็เกิดการเกร็งตัวสะสมของกล้าม เนื้อ จนเกิดเป็นก้อนแข็งๆ ที่เรียก ว่า ทริกเกอร์ พอยท์ เหมือนเวลาที่ เราไปนวดแผนโบราณ แล้วกดเจอ กล้ามเนื้อที่แข็ง คล้ายกันเลย เพียง แต่ทริกเกอร์ พอยท์ จะอยู่ลึกลง ไปในกล้ามเนื้อชั้นใน เป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 เซ็นติเมตร ซึ่งก้อน แข็งๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลมาจาก การที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนั้น ไม่ได้ ทำ�ให้ของเสียที่เกิดขึ้นภายใน เซลล์กล้ามเนื้อไม่ได้ระบายออก เพราะกล้ามเนื้อหดเกร็งจนของเสียระบายออกไม่ได้ กล้ามเนื้อส่วนนั้นจึงเกิดการ อักเสบ พออักเสบก็จะเกิดอาการปวดลึกๆ ใต้กล้ามเนื้อ จนในที่สุดก็ปวดเรื้อรัง ซึ่งรักษายาก ไม่ว่าจะเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ หรือการนวด ก็ไม่สามารถแก้ไป ปัญหาปวดนั้นได้ ผู้ที่เป็นก็ต้องทนปวดเรื้อรังไปเรื่อยๆ”

7


ที่สำ�คัญ อาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เพียงแต่ทำ�ให้ผู้ป่วยรู้สึกปวด เมื่อยเนื้อตัว หากแต่ยังทำ�ให้รูปร่างเปลี่ยน และปวดศีรษะได้อีกด้วย “นอกจาก การเกร็งตัวสะสมของกล้ามเนื้อจะส่งผลให้ปวดเมื่อย แล้ว ยังส่งผลภายนอกให้เราพบเห็นได้ด้วย เช่น การที่ผู้บริหารหลายคน เดิน ลักษณะตัวงอ คอตก หรือไหล่ไม่เท่ากัน หลายคนคิดว่าอาจเกิดจากอายุที่ เพิ่มขึ้น แต่จริงๆ แล้วมันเกิดจากการที่นั่งทำ�งานนานๆ ใช้งานกล้ามเนื้อหนัก หรือใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง พวกนี้สามารถส่งผลให้รูปร่าง เปลี่ยนแปลงได้ด้วย เช่นเดียวกับการปวดศีรษะ ที่มัก เกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ถูกกล้ามเนื้อกดทับไว้ เราอาจ

8

แยกการปวดศีรษะที่เกิดจาก การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเป็น 3 ประเภทหลัก คือ 1. ปวดบริเวณหน้าผาก 2. ปวดบริเวณกระบอกตา เพราะ ว่ากล้ามเนื้อมันไปกดทับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง บริเวณจอประสาทตา สุดท้ายที่เป็นหนักคือ ปวดบริเวณขมับ เรียกว่าเป็น ไมเกรน (Migraine) หรือปวดหัวข้างเดียว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักพบว่า อาการ ปวดศีรษะเรื้อรังกว่า 80% มาจากกล้ามเนื้อทั้งสิ้น

การรักษาทำ�ได้อย่างไรบ้าง การรักษาที่ได้ผลดี ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด เช่น การปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อันมีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกคอเสื่อม ต้อง ทำ�การรักษาที่ต้นเหตุของโรค มิฉะนั้นการรักษาแต่ปลายเหตุ อาจทำ�ให้อาการ ปวดกลับมาเป็นซ้ำ�อีก โดยทั่วไป ได้แก่ 1. ลดการนั่งทำ�งานหน้าคอมพิวเตอร์ต่อเนื่อง ติดต่อกันนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง 2. การรักษาโดยการนวดแบบผ่อนคลาย สามารถให้ผลลดอาการปวด ได้ดี แต่ต้องทำ�อย่างต่อเนื่องนาน 2 สัปดาห์ 3. การยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง โดยการยืดหรือ Stretching exercise จนถึงจุดมีอาการปวดเล็กน้อย ทำ�คราวละ 10 ครั้ง วันละ 2 รอบ นานอย่าง น้อย 2 สัปดาห์ ให้กล้ามเนื้อมีอาการยืดนาน 20-30 วินาที 4. การทำ�กายภาพบำ�บัด เช่น การประคบร้อน การใช้ Ultrasound ให้ความร้อนแบบลึกลงไปในชั้นของกล้ามเนื้อ การยืดคอหรือดึงคอด้วย อุปกรณ์ที่แผนกกายภาพบำ�บัด นานต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ ๆ ละ 3-5 ครั้ง 5. การลงเข็ม หรือการใช้เข็มช่วยให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว 6. การพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนแต่หัวค่ำ� เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อ ผ่อนคลาย ทั้งหมดที่กล่าวมาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง จะสามารถรักษาได้ขึ้น กับคำ�ว่า “เข้าใจ” และ “ปรับเปลี่ยน” กิจวัตรประจำ�วันที่บั่นทอนสุขภาพของ เราไปทีละเล็กทีละน้อยทุก ๆ วัน

9


วิศวกร Engineer

10

11


โรคมะเร็ง

มะเร็ง เป็นสาเหตุการตายของคนไทยสูงเป็นอันดับสามรองจากโรคหัวใจและ อุบัติเหตุ อัตราการตายจากโรคมะเร็งมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นทุกปี ทั้งนี้เป็นผล มาจากการได้รับสารก่อมะเร็งจากพฤติกรรมการดำ�รงชีวิต การทำ�งานและสิ่ง แวดล้อม ปัจจุบันคนงานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งจากการที่สัมผัสกับ สารก่อมะเร็งในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น การทำ�งานเกี่ยวข้องกับฝุ่นไม้ น้ำ�มันแร่ แอสเบสตอส เป็นต้น ทำ�ให้เกิดมะเร็งตามอวัยวะต่างๆ ได้ ส่วนงาน เกี่ยวข้องกับฝุ่นแอสเบสตอล นอกจากจะทำ�ให้เกิดโรคปอดอักเสบ หรือแอสเบส โตสิสแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดมะเร็งปอดตามมาภายหลังได้ ขณะนี้สถิติการเกิด โรคมะเร็งจากการทำ�งานยังไม่ปรากฎเด่นชัด เนื่องจากการพัฒนาการก่อโรคใช้เวลานาน นับสิบปี ขาดการบันทึกและสอบประวัติการ ทำ�งานของผู้ป่วยและการได้รับสารก่อมะเร็ง หลายชนิดพร้อมกัน ทำ�ให้ไม่สามารถวินิจฉัย ว่ามะเร็งที่เกิดขึ้นว่ามีผลมาจากการทำ�งาน หรือไม่

12

มะเร็งจากการทำ�งานเกิดขึ้นได้อย่างไร การได้รับสารเคมีจากการทำ�งานบางชนิดเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นเหตุ ให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากผิดปกติเกิดการเจริญเติบโตของเซลล์จนไม่สามารถ ควบคุมได้ ทำ�ให้เกิดเนื้องอกชนิดร้ายแรงหรือมะเร็ง เนื้องอกนี้จะเกิดขึ้นหลัง จากได้รับสารเคมีครั้งแรกแล้วหลายปี ช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้เรียกว่า ระยะ ฟักตัว อาจจะใช้ช่วงเวลาตั้งแต่ 4-40 ปี อวัยวะที่เป็นมะเร็งจะแตกต่างกันไป และอาจไม่เกิดในบริเวณที่สัมผัสก็ได้

การควบคุมป้องกัน ควรมีมาตรการเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งจากการทำ�งาน ดังนี้ 1. การควบคุมทางวิศวกรรม เพื่อลดความสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น การ ผลิตในระบบปิด 2. ใช้ระบบเปียก เช่น ในกระบวนการผลิตเกี่ยวข้องกับแอสเบสตอสหรือ สารก่อมะเร็งตัวอื่นๆ ที่มีฝุ่นกระจายควรพ่นน้ำ�ให้เปียก เพื่อป้องกันฝุ่นแอสเบส ตอสฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณฝุ่นลงได้มาก 3. กำ�จัดสารที่เป็นอันตรายออกไปจากกระบวนการผลิตหรือทดแทนโดย การใช้สารอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่า 4. ใช้ระยะห่างหรือสิ่งปิดกั้นระหว่างสารที่ใช้กับตัวคนงาน เพื่อป้องกัน อันตรายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่จะไปถึงตัวคน 5. การแยกส่วน แยกสารก่อมะเร็งให้อยู่ในบริเวณเฉพาะไม่ปะปนกับส่วน อื่น และใช้หุ่นยนต์ทำ�งานแทนคน 6. การระบายอากาศ จัดให้มีการถ่ายเทอากาศแบบทั่วๆ ไป และแบบ เฉพาะที่เพื่อกำ�จัดหรือลดความเข้มข้นของมลภาวะทางอากาศ 7. การป้องกันคนงาน จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลแก่คน งานเพื่อป้องกันร่างกายสัมผัสกับสารเคมี 8. การตรวจร่างกาย ให้ความสำ�คัญกับกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยง การ ตรวจร่างกายก่อนเข้าทำ�งานเป็นประจำ�ทุกปีช่วยในการค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่ม แรก ซึ่งมีผลดีต่อการรักษา และชลอความรุนแรงของโรค

13


ตำ�รวจ Police

14

15


โรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอด ใช่ว่าเกิดจากการสูบบุหรี่ หรือรับเอาควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ แม้คุณ ไม่ได้สูบบุหรี่ มะเร็งปอด หมายถึง อุบัติการณ์ที่เซลล์ของเนื้อปอดมีการแบ่งตัวที่มากเกิน ปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ และมีการเจริญเติบโตลุกลามรวมกันกันเป็นเนื้อ งอก และยังแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบ ได้มากในประเทศไทย โดย พบมากเป็นอันดับ 2 ใน เพศชาย อันดับ 4 ในเพศ

หญิง ตรวจพบในระยะ เริ่มแรกได้ยากเพราะ อาการจะไม่ปรากฏ คน ที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่ ก็จะมีอาการที่โรคลุกลามแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าระยะใดก็มีหนทางในการดูแล รักษา และส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำ�รงชีวิตได้ดีขึ้น เมื่อได้รับการวินิจฉัย ระยะและมีการรักษาที่ถูกต้อง

16

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอด

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมี 2 ประเภท คือ ปัจจัยภายในที่ไม่ สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ หรือพันธุกรรม กับปัจจัยภายนอกซึ่ง สามารถควบคุมได้ เช่น บุหรี่ สารพิษทางอากาศ เป็นต้น โดยปัจจัยเสี่ยงของ มะเร็งปอดได้แก่ 1. บุหรี่ พบว่าประมาณ 85% หรือมากกว่าของผู้ป่วยมะเร็งปอดมี ประวัติการสูบบุหรี่ สารในบุหรี่นั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อปอด มีประมาณ 60 ชนิดที่เป็นสารพิษและก่อมะเร็ง แม้ว่าหยุดสูบไปแล้วแต่ความเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่ พบว่าผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดสูงขึ้น 10 เท่า ยิ่งสูบมาก สูบ นาน ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้รวมถึงผู้ได้รับควันบุหรี่ด้วย (ร้อยละ 30 ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ตายจากมะเร็งปอด จะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่) 2. ซิการ์และไปป์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน 3. แอสเบสทอส (Asbestos) หรือแร่ใยหิน ใช้เป็นวัตถุไวไฟ แผ่นกัน ความร้อนตามอาคาร ฉนวนบางชนิด อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น การสูดดม แอสเบสทอสเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อปอด 4. เรดอน (Radon) เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น พบได้ทั่วไปตามแหล่งดินใน ธรรมชาติ หรือบริเวณที่มีแร่ยูเรเนียม โดยเรดอนจะระเหยขึ้นมาจากพื้นดิน ก๊าซ นี้จะทำ�อันตรายต่อปอด 5. สารอื่น ๆ เช่น โครเมียม นิกเกิล ฝุ่นจากอุตสาหกรรมหนัก ไอสาร ระเหยน้ำ�มัน เขม่าควันต่าง ๆ รวมถึงมลภาวะทางอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ 6. โรคเกี่ยวกับปอด ผู้ที่เป็นวัณโรคปอดจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดมาก ขึ้น โดยมะเร็งปอดจะเกิดขึ้นที่ตำ�แหน่งรอยแผลเป็นจากการเกิดเชื้อวัณโรคปอด

17


การรักษามะเร็งปอด

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนใหญ่มักไม่ค่อยแสดงอาการจนกว่าโรคจะลุกลามไป มากแล้ว มีผู้ป่วยประมาณ 10-15% เท่านั้นที่ตรวจพบมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะ แรก ซึ่งมีโอกาสที่จะหายขาดสูง อาการและอาการแสดงต่าง ๆ ของมะเร็ง ปอดมีดังต่อไปนี้คือ 1. ไอเป็นเวลานาน ไม่ทุเลาเหมือน การไอปกติ แต่กลับเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ 2. หายใจเหนื่อยหอบ หายใจสั้น

เสียงแหบ 3. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย 4. ไอ หรือมีเสมหะ ปนเลือด 5. เจ็บหน้าอก หัวไหล่ หลัง และแขนเป็นประจำ� (อาจเป็น เพราะก้อนเนื้อเบียดกดอยู่)

6. เบื่ออาหาร น้ำ�หนักลด 7. มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ลำ�คอ หรือแขน 8. โรคปอดบวม หรือหลอดลมอักเสบบ่อย อาการดังกล่าวที่ได้กล่าวมาแล้ว มิใช่อาการของมะเร็งปอดระยะ แรก เพราะมะเร็งปอดระยะแรกจริง ๆ มักไม่มีอาการ แพทย์จะตรวจพบได้ โดยบังเอิญจากการตรวจเอกซเรย์ปอด จากการตรวจร่างกายประจำ�ปี

18

1. การผ่าตัด (surgery) ควรทำ�เฉพาะ ในรายที่คาดว่ายังมีหวังตัดมะเร็งออก ได้หมด และปอดที่เหลืออยู่ยังเพียงพอ สำ�หรับการหายใจ ขนาดของปอดที่ตัด ออกขึ้นอยู่กับขนาดและตำ�แหน่งของ มะเร็ง และสมรรถภาพของปอดที่เหลือ ไว้ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงบางกลีบหรือตัด ออกทั้งกลีบ (lobectomy) หรือปอดทั้งข้าง (pneumonectomy) ใอีกวิธีคือ ตัดปอดหรือกลีบปอดร่วมกับมะเร็งในเยื่อที่กั้นกลางช่องอกให้มากที่สุด และ ตามด้วยรังสีหลังผ่าตัด 2. รังสีรักษา หรือการฉายแสง (Radiation therapy) ใช้ในผู้ป่วยมะเร็ง ปอดที่ผ่าตัดไม่ได้ และในรายที่ผ่าตัด แล้วแต่ตัดมะเร็งออกไม่หมดหรือคาดว่า มะเร็งจะงอกขึ้นมาอีก การฉายรังสียังมี ประโยชน์สำ�หรับการบรรเทาอาการ เช่น เมื่อมีการอุดกั้นของหลอดเลือดดำ�ใหญ่ มีอาการปวดกระดูกหรืออาการทางสมอง 3. เคมีบำ�บัด ( Chemotherapy) มี บทบาทสำ�คัญในการรักษามะเร็งปอด ในปัจจุบันนิยมใช้ยาหลายตัวสลับกันเป็น ระยะ (cyclical treatment) เพราะได้ผลดีกว่าการใช้ยาตัวเดียว ผลการรักษา มักจะดีในผู้ป่วยที่สภาพร่างกายสมบูรณ์ และมีมะเร็งในร่างกายน้อย ยาที่ใช้ขึ้น อยู่กับชนิดของมะเร็ง

19


ทหาร Soldier

20

21


โรคผื่นผิวหนังในร่มผ้า

ในจำ�นวนโรคผิวหนังต่าง ๆ คงต้องนับว่าผื่นผิวหนังในร่มผ้าเป็น โรคที่นำ�ความอับอายมาสู่ผู้ป่วยมากที่สุด เพราะนอกจากจะคันใน บริเวณที่เกาไม่สะดวกแล้ว ยังต้องเผชิญกับความอับอายที่จะไปปรึกษา แพทย์หรือเล่าอาการให้เพื่อนฝูงฟัง จึงต้องทน เจ็บ ๆ คันๆ ซื้อยา ต่าง ๆ มาทาตามแต่จะเคยได้ยินใครเอ่ยถึงยาดี ตราบจนลุกลามทนไม่ ไหวแล้วจึงรวบรวมความกล้าไปพบแพทย์ ผื่นผิวหนังในร่มผ้าที่พบได้บ่อยในบ้านเรา ซึ่งมีภูมิอากาศร้อนชื้น คง หนีไม่พ้นโรคเชื้อราประเภทกลากเกลื้อน พบเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และเป็น ได้ทั้งตัว ปัญหาของโรคกลากเกลื้อน คือ ได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ทำ�ให้ โรคไม่หาย หรือไม่หายขาด เกิด อาการกลับมาเป็นซ้ำ� อีกประการหนึ่ง คือ ผู้ป่วยเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่น แต่ เข้าใจผิดว่าตนเองเป็นเชื้อรา จึงซื้อยา เชื้อรามาทา ซึ่งยาบางชนิดออกฤทธิ์ ทำ�ให้ผิวหนังหลุดลอก ผลคือโรคเก่าไม่หาย โรคใหม่มาแทรก และทำ�ให้เสีย เงินโดยเปล่าประโยชน์ เกลื้อนเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งเกิดในผู้มีเหงื่อออกมาก ฉะนั้นจึงพบคนเป็น มากในอากาศร้อน นักกีฬาและผู้ทำ�งานในโรงงานหรือผู้ที่ต้องแต่งเครื่องแบบ ร้อนอบ

22

นอกจากกลากเกลื้อน ยังมีเชื้อราอีกประเภทที่มักชอบ แสดงอาการในร่มผ้า โดยเฉพาะ ในคนอ้วน เจ้าเนื้อ เป็นเบาหวาน หรือเด็กอ่อนที่สวมผ้าอ้อมทำ�ให้ เกิดการเปียกชื้นตลอดเวลา เชื้อ ที่ว่าคือเชื้อราแคนดิดา หรือเชื้อ ส่า ซึ่งโดยปกติจะพบเชื้อรา ดังนี้ได้ในคนทั่วไปที่บริเวณช่อง ปาก ทางเดินอาหาร และระบบสืบพันธุ์ เมื่อมีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำ�นวยต่อ การกระจายของเชื้อ เช่น ผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ยาคุม เคมีบำ�บัด ภาวะ โรคต่อมไร้ท่อ การตั้งครรภ์ การหมักหมมเสียดสีในอากาศชื้นแฉะ จึงทำ�ให้ เกิดอาการมีลักษณะเป็นปื้นแดง แฉะ มีหนอง น้ำ�เหลืองหรือสะเก็ด เล็กน้อย มีอาการแสบคัน พบที่ บริเวณข้อพับต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ขาหนีบ รักแร้ ราวนม เป็นต้น ลักษณะที่สำ�คัญของผื่นแคนดิดา คือมีการกระจายเป็นจุด ๆ ออกมา บริเวณรอบ ๆ ผื่นใหญ่เดิมที่มีอยู่

23


การรักษา

ยารักษาเชื้อรามีทั้งยาทาและยารับประทาน

ยาทาฆ่าเชื้อรามีหลายชนิดในท้อง ตลาด ถ้าเลือกใช้ถูกต้องภายใน 2-4 สัปดาห์ผื่นก็จะหาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ บริเวณและสาเหตุที่เป็น ถ้าเป็นบริเวณไม่กว้าง เช่น ตามหน้าและตามตัว การ ใช้ยาทาอย่างเดียวก็ได้ผลดี หากเป็นบริเวณกว้างหรือเป็นหลายแห่งบนร่างกาย หรือเป็น ๆ หาย ๆ อยู่นาน ไม่หายขาด มีความจำ�เป็นต้องใช้ยารับประทาน ร่วมด้วยจึงหายขาด ส่วนระยะเวลาที่กินยาต้องกินจนกว่าผื่นจะหายเป็นปกติ ขึ้นอยู่กับเป็นมากน้อยเพียงใด

24

การป้องกัน

การป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ�ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตน เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในอากาศ ที่ร้อนอบอ้าว ควรอยู่ในที่เย็นสบายมีอากาศถ่ายเท ไม่สวมเสื้อผ้าที่หนาและคับ ควรใช้ผ้าเนื้อบางและเย็น แบบหลวม ๆ ไม่รัดให้อึดอัด แขนสั้น หลังการ ทำ�งานหรือเล่นกีฬาที่ทำ�ให้มีเหงื่อออก มาก ไม่ควรทิ้งให้เหงื่อหมักหมมอยู่ นาน ควรรีบอาบน้ำ�ฟอกสบู่ให้สะอาด

แล้วเช็ดตัวให้แห้ง เสื้อผ้าซักสะอาด และตากให้ แห้ง เปลี่ยนเสื้อ ใหม่ทุกวัน หากมี ผื่นที่น่าสงสัย ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรซื้อยาทาเองหรือ หยุดยาก่อนกำ�หนด เพราะจะทำ�ให้เกิดการเป็นซ้ำ� ดื้อยาและแพร่กระจายได้

25


ครู/อาจารย์ Teacher

26

27


โรคยำ�้คิดย้ำ�ทำ� โรคย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� เป็นอาการทางจิตเวชอย่างหนึ่งที่บ่อนทำ�ลายสุขภาพ อย่างมาก ครูที่จะป่วยด้วยโรคนี้มักจะเป็นครูที่ชอบความสมบูรณ์แบบ จะ ผิดไปไม่ได้แม้กระเบียด เจ้าระเบียบ โรคย้ำ�คิดฯมีสิทธิ์จะเล่นงานได้มาก อย่างจะออกจากบ้านทีก็เสียเวลากับการเดินเข้าเดินออกเพื่อดูว่าปิดไฟ หรือล็อกประตูบ้านแล้วหรือยัง จนฝังลึกกลายเป็นโรคประจำ�ตัวไป และก็ แก้ไขยากเสียด้วย การหมกมุ่นครุ่นคิดกังวลกับเรื่องบางเรื่องนั้น ใช่ย้ำ�คิดย้ำ�ทำ�หรือเปล่า คำ� ตอบคือ ไม่ใช่ ครับ อาการย้ำ�คิดย้ำ�ทำ�นั้นบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้ในคนปกติ เช่น บางครั้ง เราเพิ่งปิดไฟไปหยก ๆ แต่อยู่ ๆ ก็มีความคิดผุดขึ้นมาในสมองว่า เอ...ตะกี้นี้ ปิดไฟเรียบร้อยหรือเปล่า สวิทซ์อาจค้างปิดครึ่ง ๆ กลาง ๆ เดี๋ยวไฟจะชอร์ ทนะต้องมากดสวิทซ์ซ้ำ�อีก 1 หรือ 2 ทีเพื่อลดความกังวลที่เกิดขึ้นจึงจะ “ผ่าน” แบบนี้ใช่ครับ เป็น อาการ ย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� แต่ถ้าบางทีเป็นบางทีไม่เป็นหรือนานๆ จะเป็นสักครั้งหนึ่งแบบนี้ก็ยัง ไม่ถือว่าป่วยเป็น โรคย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� ครับ เราจะถือว่าป่วยเป็น โรคย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� เมื่ออาการย้ำ�คิดย้ำ�ทำ�นั้นเป็นมาก จน ทำ�ให้เกิดปัญหาหนึ่งใน 3 อย่างต่อไปนี้ครับ 1. อาการเป็นมากเลิกคิดเลิกทำ�ไม่ได้จนทำ�ให้รู้สึกเป็นทุกข์ทรมานมาก 2. อาการเป็นมากจนทำ�ให้เสียงานเสียการ เพราะมัวแต่ย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� หรือ ต้องคอยหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมากระตุ้นให้เกิดอาการย้ำ�คิด 3. อาการต่าง ๆ ทำ�ให้ต้องทำ�อะไรที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น ต้องกินเหล้ากินเบียร์เพื่อลดความเครียด โกรธและทำ�ร้ายตัวเอง หรือบางราย เกิดอาการซึมเศร้าอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตายก็มี

28

อาการย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� มีรากฐานมาจากความกลัว

อาการย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� มีรากฐานมาจากความกลัว โดยเรื่องที่ผู้ป่วยมักจะกลัว มีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1. กลัวโชคร้าย 2. กลัวความสกปรก ตัวอย่างผู้ป่วยที่กลัวโชคร้าย เช่น กลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะลงโทษ ทำ�ให้ต้อง ยกมือไหว้วัดหรือศาลทุกชนิดที่พบเห็น กลัวปิดประตูหน้าต่างไม่เรียบร้อยแล้ว ขโมยจะขึ้นบ้าน ทำ�ให้ต้องคอยตรวจตราประตูหน้าต่างทั่วบ้านซ้ำ�แล้วซ้ำ�อีก หลาย ๆ รอบจึงจะเข้านอนได้ กลัวแก๊สรั่ว ทำ�ให้ต้องปิดแก๊สทุกครั้งที่ปิดไฟใน เตา ทั้ง ๆ ที่ยังทำ�กับข้าวไม่เสร็จ มีคำ�ว่า “ตาย” ผุดขึ้นมาในสมองทุกครั้งที่ เย็บผ้า ทำ�ให้ต้องเลาะด้ายที่เย็บไปแล้วออกพร้อมกับนึกคำ�ว่า “ไม่ตาย” ทุกครั้ง ที่เลาะ กลัวทิ้งสิ่งมีค่าทำ�ให้ต้องรื้อขยะในถังมาดูทีละชิ้นๆให้แน่ใจ ตัวอย่างผู้ป่วยที่กลัวสกปรก เช่น ล้างมือซ้ำ�แล้วซ้ำ�อีก เพราะยังรู้สึก ว่าไม่สะอาด อาบน้ำ�นานมาก เพราะกลัวว่าจะล้างสบู่ออกไม่หมด เดินผ่านกอง ขี้หมาก็ต้องดูรองเท้าซ้ำ�แล้วซ้ำ�อีก เพราะกลัวว่าจะเผลอไปเหยียบมันเข้า นอกจากใช้การย้ำ�ทำ�มาลดความกลัวแล้วบางครั้งผู้ป่วยยังต้องคอย ถามคนใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจ ว่าไม่มีสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวเกิด ขึ้นด้วยเช่น ถามคนที่เดิน ไปด้วยกันว่าตะกี้ฉันเหยียบ ขี้หมาหรือเปล่า หรือคอย หลีกเลี่ยง สิ่งที่จะทำ�ให้เกิด ความย้ำ�คิด

29


การรักษา โรคย้ำ�คิดย้ำ�ทำ�

30

ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ

1. พฤติกรรมบำ�บัด 2. ใช้ยา พฤติกรรมบำ�บัด การรักษา โรคย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� ด้วยพฤติกรรมบำ�บัดนั้นอาศัยหลักที่ว่า เมื่อเราพบกับสิ่งที่เรากลัว และเกิดความกลัวขึ้นแล้วเรารีบหนีความกลัวก็จะ หายไปพักหนึ่ง แต่เมื่อเราพบกับสิ่งนั้นอีกเราก็จะอยากหนีอีก แต่ถ้าเราเข้าหา และเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรากลัวเป็นเวลานานๆ (exposure) เมื่อเวลาผ่านไป ความกลัวที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ ลดลงเอง เพราะเราจะเกิดความชินชาขึ้น (habituation หรือ desensitization) เช่น ให้ผู้ป่วย โรคย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� ที่กลัวปิด น้ำ�ไม่สนิทจงใจเปิดน้ำ�ให้หยดแหมะ ๆ ทิ้งไว้แล้วออกไปทำ�งานเลย ผู้ป่วยจะ เกิดความกังวลตะหงิด ๆ อยากกลับไปปิดน้ำ�อยู่พักใหญ่ๆ แล้วความกังวลจะ ค่อย ๆ ลดลงจนลืมไปเอง ตอนเย็นกลับบ้านมาค่อยไปปิด ถ้าทำ�ทุกวัน ๆ จะ ใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็จะเลิกกลัวการปิดน้ำ�ไม่สนิทได้ หลักในการ ปฏิบัติมีอยู่ 3 ข้อ คือ 1. ค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวไม่มากนักก่อน เพื่อให้ ผู้ป่วยได้เรียนรู้ว่าวิธีรักษาแบบนี้ได้ผลจริง แล้วค่อยฝึกกับเรื่องที่ผู้ป่วยกลัว มากขึ้นเรื่อย ๆ 2. ให้เวลาให้นานพอ ควรให้เวลาฝึกแต่ละครั้งประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อ ให้มีเวลานานพอที่จะเกิดความชินชาขึ้น 3. ทำ�ซ้ำ� ๆ อย่างต่อเนื่องเช่นทุกวันหรืออย่างน้อยวันเว้นวันจนกว่าจะ หาย นอกจากการฝึกโดยการเข้าหาและเผชิญหน้ากับสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวแล้ว ผู้ป่วยยังจะต้องงดเว้นการย้ำ�ทำ�ในขณะฝึกด้วย (response prevention) ต้องฝึกที่จะทนกับความกังวลที่เกิดขึ้น จนเกิดความชินชาขึ้นในที่สุด

การใช้ยา ยาที่ใช้รักษา โรคย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� ได้ผล คือ ยาในกลุ่มยาแก้โรค ซึมเศร้า ชนิดที่ออกฤทธิ์กับสารสื่อนำ�ประสาทในสมองที่เรียกว่า ซีโรโทนิน (serotonin) ในการรักษา โรคย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� ต้องใช้ยาในขนาดค่อนข้างสูงและใช้ เวลารักษานาน โดยทั่วไปถ้าจะรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว จะต้องให้ผู้ป่วย รับประทานยาอยู่นานประมาณ 1-2 ปี แต่การรักษาด้วยยาก็มีข้อดีคือ สะดวก กว่าการฝึก ในบางรายที่มีอาการมาก ๆ และไม่กล้าฝึกแพทย์อาจให้การ รักษาด้วยยาไปก่อน เมื่ออาการย้ำ�คิดย้ำ�ทำ�น้อยลง และผู้ป่วยพร้อมที่จะฝึก ค่อยให้ผู้ป่วยเริ่มฝึกก็ได้

31


พนักงานออฟฟิศ Office workers

32

33


โรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome) ความเร่งรีบของสังคมเมือง และความ เจริญก้าวหน้าของโลกทำ�ให้ชีวิตมีการ แข่งขันกันมากขึ้น ต้องทำ�งานหนัก เพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย เมื่อทำ�งานหนักมากขึ้นอาจส่งผลให้ เป็น “โรคติดงาน (Workaholic)” หรือ “โรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome)” ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า “โรคบ้างาน” เดิมพบมากในชายชาว ญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันพบในสังคมไทย แล้ว โรคบ้างานมักเกิดกับผู้ที่ มีบุคลิกเป็นคนสมบูรณ์แบบ เจ้า ระเบียบ ชอบแข่งขัน มีความ ทะเยอทะยาน เอาจริงเอาจัง มีความสุขจากการทำ�งาน และมีจิตใจคิดวน เวียนอยู่กับการทำ�งาน

34

5 อาการออฟฟิศซินโดรมที่พึงระวัง!

1. อาการปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่หนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งทำ�งานหน้าจอ คอมพิวเตอร์นานๆ มักมีอาการปวด ตึง บริเวณคอ บ่า และไหล่ บางรายอาจ มีอาการปวดเกร็งจนอาจหันคอ ก้ม หรือเงยไม่ได้ก็มี…ที่อาการเบาหน่อยก็ อาจจะแค่ปวดคอ บ่า ไหล่ และบริเวณสะบักหลัง หากคุณมีอาการใดอาการหนึ่งเหล่านี้ ควรบำ�บัด ด้วยการไปนวดคลายกล้ามเนื้อด่วนเลย 2. อาการยกแขนไม่ขึ้น อาการนี้เกี่ยวเนื่องมา จากข้อแรก ซึ่งจะมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อตั้งแต่ คอ บ่า จนถึงไหล่ และร้าวลงไปที่แขน จนเป็นเหตุ ให้ยกแขนไม่ขึ้น เนื่องจากว่ามีพังผืดมาเกาะที่บริเวณสะบักและหัวไหล่นั่นเอง และบางรายอาจมีอาการชาไปที่มือหรือนิ้วมือด้วย…ใครที่มีอาการแบบนี้ควร บำ�บัดด้วยการไปให้แพทย์แผนไทยกดจุดเพื่อทำ�การสลายพังผืด หรือประคบ ร้อนเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนที่เป็นพังผืดแข็งตึงให้อ่อนตัวลงและคลาย ความปวดลง อาการก็จะดีขึ้น 3. อาการปวดหลังเป็นอีกหนึ่งอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรมเลยล่ะ เกิดจากการที่เรานั่งทำ�งานติดต่อกันนานๆ หรืองานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะ คุณสาวๆ ที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูงตลอดทั้งวันด้วยแล้ว ยิ่งเกิดอาการปวดหลัง ได้ง่าย การยกของหนักเป็นประจำ�หรือการออกกำ�ลังกายหักโหมเกินไปก็เป็น สาเหตุให้ปวดหลังได้เช่นกัน โดยอาจเกิดอาการเคล็ด ขัด ยอก หรือปวด ตึง กล้ามเนื้อบริเวณหลัง จนบางรายอาจไม่สามารถเอี้ยวหรือบิดตัวได้ แนะนำ�ให้ รีบปรึกษาแพทย์แผนไทยหรือแพทย์เฉพาะทางเพื่อบำ�บัดแก้ไขอาการเหล่านี้ให้ หมดไป

35


4. อาการปวดและตึงที่ขา เกิดจากการนั่ง เดิน หรือยืนนานๆ จนทำ�ให้ปวดตึงกล้าม เนื้อและเส้นเอ็นทั่วทั้งขา บางรายปวดร้าว ไปที่เข่าและข้อเท้าก็มี ซึ่งอาการเหล่านี้เกิด จากการใช้งานขาหนักทุกวันจนเกิดอาการ ล้าสะสม ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ได้รับ การบำ�บัดแก้ไข อาจทำ�ให้เกิดอาการปวด ร้าวและอาการชาลงไปที่บริเวณเท้าและ ปลายนิ้วเท้าได้ ทางที่ดีแม้มีอาการเพียง เล็กน้อยก็ควรรีบทำ�การบำ�บัดโดยด่วน! 5. อาการปวดศีรษะ ในแต่ละวันคนทำ�งานออฟฟิศส่วนใหญ่จะเกิด ความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว จนทำ�ให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ บางรายอาจเกิด จากการทำ�งานหนักเกินไป หรือต้องเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ตลอดเวลา เมื่อ เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมา คน ส่วนใหญ่จะแก้ไขด้วยการกินยา แก้ปวด บางรายอาจกินติดต่อกัน เป็นเวลานาน ซึ่งอาการปวดศีรษะ ก็จะหายไปชั่วคราว แต่อาจกลับ มาทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก ดังนั้น หากคุณมีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ แนะนำ�ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค และหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจาก อะไร และรีบรักษาให้หายเสียแต่ เนิ่นๆ แล้วคุณจะมีความสุขกับชีวิตมากยิ่งขึ้น

36

9 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันโรคออฟฟิศซินโดรม

1. ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกที่นั่งติดริมหน้าต่าง เพื่อให้ได้แสงจากธรรมชาติ บ้าง ดีกว่าต้องนั่งอยู่ใต้แสงจากหลอดไฟตลอดทั้งวัน 2. ควรเปิดหน้าต่างออฟฟิศให้อากาศได้ระบาย อย่างน้อยในตอนเช้าที่ อากาศยังไม่ร้อนมาก และตอนพักกลางวัน 3. ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลด ระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้เป็นโรคความดัน โลหิตสูง และความเครียด 4. หาต้นไม้ในร่มมาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาอันอ่อน หล้าจากการต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ 5. ถ้าออฟฟิศคุณมีขนาดเล็ก ลองลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศลงบ้าง บางวันคุณอาจจะเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีลักษณะบางเบา แล้วใช้พัดลมมาเปิดแทน ก็ จะรู้สึกเย็นสบายได้ และประหยัดไฟได้ด้วย 6. ควรห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำ�งานโดยเด็ดขาด 7.ควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ และจะดียิ่งขึ้นถ้ามีตู้ปลาขนาดใหญ่ๆ สักตู้ เพื่อช่วยคืนสมดุลความชื้นที่เสียไปกับเครื่องปรับอากาศ 8.หมั่นทำ�ความสะอาดโต๊ะทำ�งานของคุณเอง ด้วยแอลกอฮอล เพื่อฆ่าเชื้อ โรค 9. ถ้าคุณเป็นคนติดคอมพิวเตอร์หรือมีงานด่วนที่จะต้องสะสางชนิดที่ไม่ สามารถหยุดพัก ได้ ก็พยายามเตือนตัวเองให้เงยหน้าขึ้นมองออกไปไกลๆ ทุกๆ 20 นาที เพื่อ บรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตา ระหว่างเวลาทำ�งานในทุก 1 ชั่วโมง ควรใช้สมอง 45 นาที แล้วพัก 10-15 นาที

37


นักแสดง Star

38

39


โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG - ALS โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส (myasthenia gravis) หรือ โรคเอ็มจี ฟัง ชื่อแล้วดูแปลก ๆ ไปสักนิด นั่นเพราะเป็นชื่อภาษากรีกและละติน มีความหมาย ว่า “grave muscular weakness” เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ประเภทหนึ่ง มัก เกิดกับกล้ามเนื้อเล็ก ๆ บริเวณใบหน้า โดยมีการทำ�งานสื่อสารกันระหว่างเส้น ประสาท และกล้ามเนื้อลายผิดปกติ ทำ�ให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทั้งนี้ โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เป็นโรคที่มีมานานแล้ว โดย มีการบันทึกว่าพบผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส มาตั้งแต่ 300 ปีก่อน โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส มักเกิดกับผู้ใหญ่ และพบในเพศหญิงมากกว่า เพศชาย แต่หากอาการของโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส เริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปี จะ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการของโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จะมีอาการหนังตาตก ตาพร่ามัว พูดไม่ ชัด เคี้ยวและกลืนลำ�บาก เพราะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า แต่หากเป็น มากก็อาจทำ�ให้กล้ามเนื้อทั้งตัว เช่น กล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรงลงได้ รวม ทั้งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับระบบหายใจ ทำ�ให้หายใจลำ�บาก ไอไม่ได้ หรือ หากรุนแรงมาก ๆ สามารถทำ�ให้ ระบบหายใจล้มเหลวได้เลยทีเดียว แต่ สำ�หรับกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อ เรียบต่าง ๆ ในร่างกายจะไม่ได้รับ ผลกระทบไปด้วย

40

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส แม้วิทยาการสมัยใหม่จะก้าวหน้าไป มาก แต่จนถึงปัจจุบัน ทางการแพทย์ ก็ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ แน่ชัด แม้ที่ผ่านมาจะพบนักกีฬาเป็นโรค นี้หลายคน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า นักกีฬามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้ มากกว่าอาชีพอื่น อย่างไรก็ตาม จากสมมติฐานเชื่อว่า มีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอสขึ้น เช่น การมีปัจจัย บางอย่างทางพันธุกรรม ที่ทำ�ให้เซลล์ประสาทนำ�คำ�สั่งมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่า บุคคลอื่น รวมทั้งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ยาฆ่า แมลง สารโลหะหนัก รังสี หรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิดมาช่วยกระตุ้นส่งเสริม ให้เซลล์ประสาทนำ�คำ�สั่งเกิดการทำ�งานผิดปกติ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องอายุ เพราะอายุที่มากขึ้นจะทำ�ให้ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ซึ่งเป็นตัวที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์เกิดความผิดปกติขึ้น จึงทำ�ให้เซลล์ในร่างกายมีการเสื่อมสลายลงไปตามกาลเวลาด้วย แต่อย่างไร ก็ตาม นี่เป็นเพียงสมมติฐานที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่ชัด ทั้งนี้ ปัจจุบันเชื่อกันว่า สาเหตุของโรคนี้อาจเกิดจากกลไกภูมิคุ้มกันต่อ ตนเองผิดปกติ (Autoimmune attack) หรือเกิดจากกลไกอนุมูลอิสระ (Free radicals) ทำ�ลายเซลล์ประสาทของตนเอง ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่า การเสื่อม สลายของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลังเกิดจากสารสื่อนำ�กระแสประสาท (neurotransmitter) ที่เรียกว่ากลูตาเมต (glutamate) กระตุ้นให้เกิดการ ทำ�ลายเซลล์

41


อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส จากชื่อโรคก็พอจะทราบอยู่แล้วว่า ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยจะเริ่มอ่อนแรงตามมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น เดินแล้ว ล้มบ่อย สะดุดบ่อย ยกแขนไม่ขึ้น กำ�มือถือของไม่ได้ หยิบจับของเล็ก ๆ ได้ ลำ�บาก ลุกนั่งลำ�บาก ใส่รองเท้าแตะแล้วหลุดง่าย จากนั้นอาการจะเริ่มหนักขึ้น จนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยอาจมีอาการกล้ามเนื้อลีบ หรือกล้ามเนื้อเต้นร่วม ด้วย หากเป็นนานเข้าจะมีอาการกลืนอาหารลำ�บาก สำ�ลักง่าย พูดไม่ชัด พูด เหมือนลิ้นแข็ง ลิ้นลีบ แขนขาลีบ แต่จะไม่มีอาการชา ยังสามารถกลอกตาไปมา ได้ กลั้นปัสสาวะ-อุจจาระได้ตามปกติ และมีสติสัมปชัญญะดี อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยหลายรายไม่รู้สึกถึงความผิดปกติของตัวเอง และ ปล่อยอาการต่าง ๆ ไว้นาน เพราะคิดว่าเป็นโรคอื่น กว่าจะมาพบแพทย์ก็มี อาการหนักแล้ว เช่น กระบังลมอ่อนแรง จนไม่สามารถทำ�กิจวัตรประจำ�วันได้ ตามปกติ เพราะมีอาการเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลานอนราบหรือมีอาการต้อง ตื่นกลางดึก เพราะมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำ�บาก สุดท้ายจะไม่สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้เลย และไม่สามารถกลืนอาหารและน้ำ�ได้ด้วย ต้องให้อาหาร ทางสายยางผ่านจมูกหรือทางหน้าท้อง และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ สุดท้ายแล้ว หากอาการหนักมาก ๆ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในที่สุด เพราะระบบ หายใจล้มเหลว และเกิดการติดเชื้อในปอด เพราะสำ�ลักน้ำ�และอาหาร ระยะเวลา โดยเฉลี่ย ตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงเสียชีวิต อาจกินเวลาตั้งแต่ 2 ปี ถึง 4 ปี อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจมีการดำ�เนินโรคสั้นหรือยาวกว่านี้ได้ โดยผู้ ป่วยที่มีแนวโน้มเสียชีวิตเร็ว ได้แก่ ผู้ป่วยเพศหญิง ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคเมื่ออายุ มากแล้ว หรือมีอาการกลืนลำ�บาก สำ�ลักง่าย และพูดไม่ชัดเป็นอาการนำ�

42

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเอแอลเอสให้หายขาด โดยร้อยละ 50 ของผู้ ป่วยเอแอลเอส โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการในระยะเวลาประมาณ 2 ปี อย่างไรก็ตาม ยังมียาชนิดหนึ่งที่ได้รับการยอมรับโดยองค์การอาหารและยาแห่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ไรลูโซล (Riluzole) ให้สามารถใช้กับผู้ป่วยโรคนี้ได้ เพราะยาจะไปออกฤทธิ์ต่อต้านสารกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่ ถ้ามีมากเกินไปจะทำ�ให้เกิดการตายของเซลล์ ยาตัวนี้จึงจะไปช่วยลดการทำ�ลาย เซลล์ประสาทในไขสันหลัง และสมองได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่สามารถช่วยทำ�ให้ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงดีขึ้น ทำ�ได้ เพียงช่วยยืดอายุของผู้ป่วยออกไป ได้อีกราว ๆ 3-6 เดือน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว แพทย์จึง ต้องรักษาตามอาการ เช่น ให้ยา ลดน้ำ�ลาย ยาแก้อาการท้องผูก ทำ� กายภาพบำ�บัด กิจกรรมบำ�บัด การ ฝึกพูด ฝึกกลืน หากผู้ป่วยกลืน อาหารไม่ได้ก็ต้องใส่สายยางให้ อาหาร และถ้าเหนื่อยหอบ หายใจเองไม่ได้ แพทย์ก็จะใช้เครื่องช่วยหายใจอีก ทาง อ่านถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอสแอลอี อันตราย กว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอ็มจี มาก เพราะหากใครป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อน แรง เอสแอลอี ก็ถือว่ามีความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ต่างจากโรคกล้ามเนื้ออ่อน แรง เอ็มจี ที่สามารถใช้ยารักษาให้หายได้ ถ้าได้รับคำ�แนะนำ�และการรักษาจาก แพทย์อย่างถูกวิธี อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นโรคใด ผู้ป่วยก็ล้วนต้องการกำ�ลังใจ จากคนรอบข้างในการรักษาตัว

43


นักร้อง Singer

44

45


โรคสายเสียงอักเสบ การเกิดเสียงพูด เกิดจากการทำ�งานร่วม กันของระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบหายใจ และ ระบบทางเดินอาหาร กล่องเสียง เป็นทางผ่าน ของอากาศจากปอดไปสู่ทางเดินหายใจส่วน บน ตั้งอยู่ภายในบริเวณลำ�คอใต้ช่องปากลง ไปซึ่งในผู้ชายจะเห็นชัดคือส่วนที่เราเรียกว่า ลูก กระเดือก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกล่องเสียงนั่นเอง กล่องเสียง ประกอบด้วย กระดูกอ่อนและกล้าม เนื้อหลายชิ้นทำ�งานร่วมกับสายเสียง ซึ่งขึงตึงจากด้านในของลูกกระเดือกไป ยังส่วนหลังของกล่องเสียง เสียงพูดเกิดจากลมหายใจออก ที่ผ่านออก จากปอดและหลอดลมไปยังสายเสียง ช่วงที่เราพูด กล้ามเนื้อของสาย เสียงจะดึงสายเสียงให้เข้ามาชิดกัน ลมจากปอดนี้จะดันให้สายเสียงเปิด – ปิด แยกออกเป็นจังหวะ มีผลให้สายเสียงเกิดการสั่นสะเทือน ถ้าสายเสียงสั่น สะเทือน ด้วยความถี่สูง เสียงจะสูง ถ้าสายเสียงสั่นสะเทือน ด้วยความถี่ ต่ำ� เสียงจะทุ้ม เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือน ของสายเสียงเพียงอย่าง เดียว จะมีแต่เสียงสูงต่ำ� จนเมื่อมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของอวัยวะที่อยู่ เหนือสายเสียงคือ อวัยวะในช่องคอ และช่องปาก เช่น ลิ้น ฟัน เพดาน ก็จะทำ�ให้เกิดเป็นเสียงพูด จะเห็นได้ว่าสายเสียงเป็นอวัยวะที่สำ�คัญในการ สร้างเสียง หากเกิดปัญหากับสายเสียง เช่น ใช้เสียงผิดวิธี หรือ เกิดการติด เชื้อของสายเสียง จะทำ�ให้เกิดสายเสียงอักเสบ บวมแดง เกิดตุ่มที่สายเสียง (vocal nodule) สายเสียงก็จะไม่สามารถผลิตเสียงที่มีคุณภาพดีๆได้ ทำ�ให้ เกิดเสียงแหบแห้ง หรือเสียงหายตามมา

46

สาเหตุสายเสียงอักเสบ ได้แก่ - การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อวัณโรค ส่วนใหญ่ มัก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เมื่อเป็นหวัด ก็จะมีการอักเสบของบริเวณช่อง จมูกและภายในคอ การอักเสบนี้อาจลามต่อไปถึงกล่องเสียงและสายเสียง ทำ�ให้สายเสียงอักเสบ ส่วนใหญ่เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส จะทำ�ให้เกิดการ อักเสบของสายเสียง อยู่นาน 1-3 สัปดาห์ แต่เชื้อรา และเชื้อวัณโรค จะทำ�ให้ เกิดการอักเสบของสายเสียงนานเป็นแรมเดือน บางรายอาจมีอาการไข้ ไอ เรื้อรัง น้ำ�หนักลดร่วมด้วย - การได้รับแรงกระแทกบริเวณกล่องเสียง อาจทำ�ให้สายเสียงอักเสบ หรือการหายใจเอาไอร้อนจัด สารเคมี หรือ แก๊สที่ทำ�ให้เกิดการระคายเคืองได้ ง่าย เข้าไป อาจทำ�ให้สายเสียงอักเสบได้ - การใช้เสียงที่ผิดวิธี จนติดเป็นนิสัย เช่น ชอบตะโกน หรือใช้เสียงมากและ นานเกินไป อาจทำ�ให้สายเสียงอักเสบได้ เช่น นักร้องช่วงงานชุก, นักการ เมืองช่วงหาเสียง, นักเทศน์, นักพูดที่ต้องพูดนาน - การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น จากการไอเรื้อรัง, สูบบุหรี่, ดื่มสุรา, น้ำ� ย่อยในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งน้ำ�ย่อยในกระเพาะอาหารจะไหลย้อนไปที่ กล่องเสียง ไปสัมผัสสายเสียงที่อยู่ทางด้านหน้า ทำ�ให้สายเสียงอักเสบได้ ผู้ป่วยมักมีอาการเสียงแหบ เจ็บคอ หลังตื่น นอนตอนเช้า พอสายๆ ก็ทุเลาไปเอง โดยไม่ ได้มีอาการเป็นไข้หวัด แต่อย่างใด, ไซนัสอักเสบ เรื้อรัง แล้วมีน้ำ�มูก หรือหนองไหลลงคอ ไป ระคายเคืองสายเสียง, การสัมผัสกับสารก่อ ภูมิแพ้, ของฉุน, ฝุ่น, ควัน เป็นประจำ�

47


อาการ - เสียงแหบ บางรายอาจเป็นมากจนถึง ขั้นไม่มีเสียง อาจมีอาการหลังเป็นไข้หวัด เจ็บคอ หรือไอ ถ้าเกิดจากการระคายเคือง ก็ มักมีอาการเสียงแหบหลังสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา จัด ถ้าเกิดจากการใช้เสียง ก็มัก มีอาการเสียงแหบหลังจากร้องเพลงมาก หรือ พูดมาก - เจ็บ คอ, คอแห้ง, รู้สึกคล้าย มีอะไรอยู่ใน คอ, กลืนลำ�บาก หรือกลืน เจ็บ - ระคายคอ, ไอ, กลืนลำ�บาก - หายใจลำ�บาก หรือ ติดขัดโดยเฉพาะในเด็ก

48

การรักษาสายเสียงอักเสบ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวดังนี้ - งดบุหรี่ สุรา กาแฟ น้ำ�อัดลม และพักการใช้เสียง จนกว่าอาการจะทุเลา - ดื่มน้ำ�อุ่นมากๆ , หลีกเลี่ยงสารระคายเคืองต่อสายเสียงเช่น ฝุ่น,ควัน - รับประทานยาบรรเทาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ - สูดไอน้ำ�ร้อน การรักษาสายเสียงอักเสบ หายได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำ�ให้ เกิดสายเสียงอักเสบ เช่น ถ้าสายเสียงอักเสบ จากการเป็นหวัด หรือการ อักเสบของสายเสียงจากเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา, เชื้อวัณโรค หรือเชื้อไวรัส สามารถหายได้ แต่สายเสียงอักเสบ ในผู้ที่มีอาชีพที่ต้องใช้เสียงมาก เช่น ครู นักเรียน นักแสดง นักร้อง การรักษาโดยการให้ยาอย่างเดียว ย่อม ไม่ได้ผลเต็มที่ จำ�เป็นต้องหยุดพักการใช้เสียงร่วมด้วย และต้องปรับปรุงการ ใช้เสียงให้ถูกต้อง (vocal therapy) ยาอมให้ชุ่มคอที่โฆษณาอยู่ตามท้อง ตลาด มีส่วนช่วยได้บ้างในแง่ที่ทำ�ให้ชุ่มคอ เย็นคอ บางชนิดอาจมียาฆ่า เชื้อโรคผสมอยู่ด้วย ก็อาจช่วยลดการอักเสบเล็กน้อยลงได้บ้าง แต่ถ้ามีการ อักเสบมาก ยาอมอย่างเดียวก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ หมั่นดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ระวังอย่าให้เป็นหวัด (โดยหลีกเลี่ยง ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การโดนหรือสัมผัส อากาศที่เย็นมากๆ เช่น ขณะนอนเปิดแอร์หรือพัดลมเป่าจ่อ ไม่ได้ให้ความ อบอุ่นแก่ร่างกายเพียงพอ การดื่มหรืออาบน้ำ�เย็น ตากฝน หรือมีคน รอบข้างที่ไม่สบายคอยแพร่เชื้อให้เราทั้งที่บ้านและที่ทำ�งาน และหมั่นล้างมือ บ่อยๆ) หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อสายเสียง เช่น การสูบบุหรี่, ดื่มเหล้าจัด, สารเคมี, การใช้เสียงมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเริ่มมีอาการเสียง แหบ

49


สิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพ(workingenvironments) 1. สิ่งแวดล้อมด้านภายภาพ (physical environments) ได้แก่ แสงที่จ้าเกิน ไปหรือมืดเกินไปมีผลต่อสายตาและสภาพความเครียด เสียงที่ดังเกินไป (noise) ส่งผลให้เกิดภาวะหูเสื่อม อุณหภูมิร้อนหรือหนาวเกินไปทำ�ให้สมดุลย์ของ ร่างกายเสียไปแรงสั่นสะเทือน 2. สิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ (biological environments) ได้แก่ สิ่งมีชีวิต เล็กๆ ในที่ประกอบอาชีพ ได้แก่ เชื้อโรคชนิดต่างๆ ในสถานพยาบาล สัตว์นำ� โรคหรือสัตว์มีพิษต่างๆ ที่พบในภาคเกษตรกรรมและเชื้อโรคและสัตว์ทดลองใน ห้องทดลองวิจัย 3. สิ่งแวดล้อมด้านเคมี (chemical environments) ได้แก่ สารเคมี โลหะ หนัก ในรูปฝุ่น ควัน หมอก ละออง ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายทั้งทางการหายใจ การกิน หรือผิวหนัง สามารถทำ�ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพผู้ประกอบอาชีพได้ ทุกระบบทั้งเฉียบพลันเรื้อรังและอาจก่อให้เกิดมะเร็ง 4. สิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจ (psychological environments) ได้แก่ สภาพความเครียดในการประกอบอาชีพ (occu-pational stress) ความเหนื่อย ล้าจากการประกอบอาชีพ (burnout) ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดโรคทางกายได้ (psychosomaticdisorders) มาก่อน หลักการวินิจฉัยโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย การ วินิจฉัยโรค โดยอาศัยหลักการทางการแพทย์ทั่วไปในการวินิจฉัยว่าผู้ประกอบ อาชีพป่วยเป็นโรคใด การซักประวัติการทำ�งานโดยละเอียด มิใช่เพียงคำ�ถาม ว่าประกอบอาชีพอะไรเท่านั้น การซักประวัติการประกอบอาชีพ ควรประ กอบ ด้วย

50

51


บรรณานุกรม http://www.oshthai.org/index.php?option=com_linkcontent&Itemid=68&sectionid=22&pid=61.388&task=detail&detail_id=769&lang=th http://health.kapook.com/view63660.html http://www.dst.or.th/know_details.php?news_id=18&news_type=kno http://202.143.148.36/myoffice/2555/index.php?name=news&file=readnews&id=7 http://club.sanook.com/9839/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B 8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0 %B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1-officesyndrome http://www.rcot.org/data_detail.php?op=knowledge&id=146

52

53


พรพิเศษจากทุกหนแห่งใดในโลกนี้ จงมารวมอยู่ที่นี่ส่งให้ท่าน ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายดลบันดาล ให้สุขสันต์ตลอดกาลนิรันดร์ไป ทุกข์ถ้ามีถูกขจัดและปัดเป่า สิ่งโลมเล้าให้จิตคิดหวั่นไหว ขอให้มันสูญสลายมลายไป พบแต่ความสุขใจนิรันดร์กาล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.