หนังสือภาพประกอบเรื่อง
เทวดานพเคราะห์
ภาพประกอบและเรียบเรียง เจษฎา จึงธีรพานิช
คำนำ
เป็นเรื่องปกติของพวกเรานักศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ชัน้ ปีท่ี ๔ ทุกๆรุน่ ทีต่ อ้ งทำรายงานวิชาสเปเชียล โปรเจคในภาคเรียนที่ ๑ เพือ่ เตรียมความพร้อม ก่อนที่จะไปทำศิลปนิพนธ์ ในภาคเรียนต่อไป เป็นการทดสอบ ทดลอง ความรูค้ วามสามารถ และความสนใจของตัวเองในการสร้างสรรค์งาน ออกแบบขึ้นมาชิ้นหนึ่งตามความถนัดของตน (หรือบางคนอาจจะเลือกทำด้วยความอยากรู้ อยากลองก็แล้วแต่) ว่าจะสามารถไปรอดกับมัน ได้มย้ั ถ้าจะทำศิลปนิพนธ์แนวๆนี... ้
ตอนแรกก็เลือกเรื่องเป็นเรื่องนรก สวรรค์ทางศาสนาพุทธจะดีมย้ั ? มันดูแฟนตาซี ก็นา่ สนใจดี? มีทง้ั เทวดา ยักษ์ สัตว์หมิ พานต์ ตัวอะไรต่อมิอะไรเต็มไปหมด ก็ดนู า่ สนุกดี แต่ คิดๆไปเริม่ จะไม่ไหว เพราะข้อมูลมันเยอะ แน่น ไปหมดจนไม่นา่ จะคัดออกมาทำทันเวลา เลย เปลีย่ นหัวข้อนิดหน่อย เลือกหัวข้อย่อยลงจาก เรื่องนรกสวรรค์ทางศาสนาพุทธมาอีกนิดนึง เป็นเรือ่ ง เทวดานพเคราะห์ เหตุผลทีเ่ ลือกก็ เพราะมันดูจำนวนเจาะจงดี มีกนั เก้าองค์ และแ ต่ละองค์กม็ คี าแรคเตอร์ทแ่ี ตกต่างกันชัดเจนน่ าจะง่ายกับการออกแบบคาแรคเตอร์ขน้ึ มาใหม่ ส่วนตัวผมเองก็เป็นคนทีไ่ ม่คอ่ ยได้เรือ่ ง ให้มนั แฟนตาซีสมใจตัวเรา ก็เลยเป็นทีม่ าของ เรือ่ งการเรียน ออกแบบ ดีไซน์ กราฟฟิค ฯลฯ หัวข้อหนังสือเล่มนีน้ ะครับ อะไรๆทีเ่ รียนๆกันมาเลย ไม่คอ่ ยจะมีหวั เรือ่ ง แบบนีซ้ กั เท่าไหร่ สิง่ ทีส่ นใจ ชอบและคิดว่าทำ หนังสือเล่มนี้ ข้อมูลมาจากหนังสือ เทวโลก ได้ดตี ลอดทีเ่ รียนมาตัง้ แต่ปี ๑ ยันจบปี ๓ ที่ ของสำนักพิมพ์เมืองโบราณซึง่ เรียบเรียงมาจาก พอจะสู้เพื่อ นๆในห้ อ งได้ ก็มีแ ต่ เ รื่อ งการทำ ทีม่ าหลายๆทีม่ ายำรวมกัน ทำให้ขอ้ มูลมัว่ และ ดิจติ อลเพนท์ตง้ิ อย่างเดียว ประกอบกับความ เยอะแยะตีกนั เอง เป็นอันว่าเหนือ่ ยสำหรับการ สนใจในเรือ่ งของเทพนิยายปรัมปราต่างๆนาๆ แยกแยะเลือกข้อมูลอีกทีนงึ ถ้าข้อมูลในหนังสือ มันดูแฟนตาซีดี ก็เลยว่าเอาพวกนีแ้ หละมาทำ เล่มนีอ้ า่ นยากจนงงเกินไปก็ตอ้ งขอโทษไว้ดว้ ย สเปเชียลละกันเนอะ? เพราะผมพยายามมากในการกรองแล้ว (ฮา) เมื่อมีแนวทางของเราเองชัดเจนแล้ว เราก็มานัง่ เลือกหัวข้อของงานว่าจะทำภาพประกอบ ของตำนานเรือ่ งอะไรดี? ญีป่ นุ่ เอย ฝรัง่ เอย ก็มี ให้เห็นกันเกร่อแล้วสมัยนีไ้ ม่นา่ จะเวิรค์ เลยหัน มาดูอะไรไทยๆใกล้ๆตัวดีกว่า?
ขอบคุณทีใ่ ห้ความสนใจครับ เจษฎา จึงธีรพานิช
สารบัญ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู พระเกตุ รวมภาพเทวดานพเคราะห์ ข้อมูลผูจ้ ดั ทำ, บรรณานุกรม ข้อมูลหนังสือ
๔ ๘ ๑๒ ๑๖ ๒๐ ๒๔ ๒๘ ๓๒ ๓๖ ๔๐ ๔๖ ๔๗
พระอาทิตย์
เทพเจ้าผู้จรชั่วนิจนิรันดร์ สุริยเทพ หรือเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ถ้าไม่นำประวัติของท่านยุคหลังๆมา ยึดถือ โดยค้นประวัติถึงความเชื่อสมัยโบราณ ของมนุษย์แล้ว กลับตรงกันข้ามกับความเชื่อ สมัยหลัง คือสมัยปัจจุบันนี้ เราถือว่าสุริยเทพ เป็นเพียงเทพเจ้าธรรมดาองค์หนึง่ ไม่ใหญ่ไป กว่าตรีเทพผูย้ ง่ิ ใหญ่ของพราหมณ์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม แต่ในสมัยอียิปต์ เมื่อห้าพันกว่าปีมาแล้วนั้น ถือว่าเทพเจ้าแห่ง ดวงอาทิตย์อันทรงพระนามว่า “รา” เป็นเทพ ผูย้ งิ่ ใหญ่ มีอำนาจสูงทีส่ ดุ ในสวรรค์ ต่อมาพวก ปารซี ที่ นั บ ถื อ ลั ท ธิ บู ช าไฟก็ ย กย่ อ งกั น ว่ า อาทิตยเทพว่าทรงมีมหิทธานุภาพสูงสุด ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเนื่องด้วยประเทศ ต่างๆอันก้าวพ้นจากสมัยหินขึ้นมานั้น มีชีวิต ความเป็นอยู่ด้วยการอาศัยเกษตรกรรมหรือ กสิกรรมเป็นหลัก จำต้องอาศัยสภาพดิน ฟ้า อากาศอันพอดี ไม่แปรปรวน โดยเฉพาะกับ พระสุ ริ ย เทพผู้ ให้ แ สงสว่ า งและความร้ อ น อันเหมาะสมกับฤดูกาลทำให้พืชเจริญงอกงาม การรู้ถึงคุณค่าของดวงอาทิตย์ ว่ามีประโยชน์ มหาศาลนี้เอง เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์นั้นให้ ความเคารพพระอาทิตย์มากกว่าเทพองค์อื่น
5
ตำนานเทพนพเคราะห์
ลักษณะขององค์พระอาทิตย์ พระองค์ทรงเสด็จประทับนั่งบนรถ เทียมม้าสีพระวรกายแดงพระรัศมีเป็นสีแสด เปล่งพลังแสงสว่างและแผ่ความร้อนออกมา ทรงมีพระกรทั้งสิ้น ๔ กร กรหนึง่ ประทานพร กรอีกข้างหนึง่ ห้ามอุปัทวเหตุ ที่เหลือ ๒ กรถือ ดอกบัว ส่วนพระอาทิตย์ตามคติโหราศาสตร์ ในคัมภีร์ทักษาปกรณ์ กล่าวไว้ว่า ประทับนั่ง บนราชสีห์ ผิดกับพระอาทิตย์ ในลัทธิทางฮินดู ตามตำนานเทพเจ้าอาทิตย์ของโหราศาสตร์ ไทยกล่าวว่า พระอาทิตย์มีกำลัง ๖ จากการที่ พระอิศวรเอาราชสีห์ ๖ ตัวมาป่นแล้วห่อด้วย ผ้าสีแดงสด พรมด้วยน้ำอมฤต เกิดเป็นเทพ แห่งพระอาทิตย์ขึ้น พระสุริยเทพ หรือเทพเจ้าเกี่ยวกับ ดวงอาทิตย์ของชาติต่างๆมักมีปกติโคจรจาก ทิศตะวันออก มาสู่ทิศตะวันตก ลับฟ้าไปแล้ว ต่อจากนั้นในเวลาเท่ากันคือ ๑๒ ชั่วโมงก็มา โผล่ทางที่ทิศตะวันออกอีก ได้ โคจรเป็นนิจศีล เป็นเช่นนี้ไปชั่วนิรันดร์ พระอาทิตย์จึงได้ชื่อว่า “เทพเจ้าผู้จรชั่วนิจนิรันดร์” ไม่เคยหยุดพัก (คือถอยหลัง) เหมือนดาวพระเคราะห์องค์อน่ื ๆ พระอาทิตย์เป็นพระเอกบนท้องฟ้า ในยามกลางวันส่วนพระจันทร์นน้ั จะเป็นนางเอก ของสวรรค์ ในเวลากลางคืน พระอาทิตย์เป็น เทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรม และการครองชีพ ในเวลากลางวัน ส่วนพระจันทร์ก็เช่นเดียวกัน เป็นนางเอกแห่งท้องนภาอากาศ อันมืดสนิท ของราตรีกาลเป็นที่นับถือกันในระหว่างพวก โจร หรือพวกมิจฉาทิฐิ และพวกเดินทางที่ต้อง อาศัยแสงจันทร์
6
กำเนิดของพระอาทิตย์ มีบันทึกไว้ว่า พระอาทิตย์ ทรงเป็นโอรสของธยุส แต่ว่าใน รามายณะเล่าว่าสุริยเทพเป็นบุตรของพรหม ชายาของพระองค์ทรงพระนามว่าสัญญา ซึ่ง เป็นบุตรของพระวิสสุกรรม นางสัญญามีบุตร กับพระอาทิตย์ ๓ คนอันมีนามว่า มนู ไววัสวัต และพระยม และยังมีธิดาอีกองค์หนึ่ง คือนางยามี หรือยุมนานที (แม่น้ำยุมนา) เพราะความร้อนอันร้ายกาจที่เปล่ง รังสีออกจากร่างเพือ่ ให้แสงสว่างและความอบอุน่ แก่มวลพืชและสัตว์บนโลก จนทำให้พระนาง สัญญา พระชายาตองหนีไปจำศีลอยู่ในป่า โดย แปลงร่างเป็นนางม้า และให้เงาของนาง คือ ฉายาไว้แทนตน พระสุริยเทพเมื่อตามมา จนพบก็เข้าสมสู่กับนางม้า โดยพระองค์ทรง แปลงร่างเป็นม้าผู้ จนเกิดบุตรแฝดคือ อัศวิน และ เรวันตะ จากนั้นพระองค์จึงนำพระนาง กลับวิมาน พระวิสสุกรรมผู้ทรงฤทธิ์ และเป็น จอมช่างของสวรรค์ คงจะได้รับการร้องทุกข์ จากพระธิดาของพระองค์ ถึงความร้อนแรงของ พระสวามีนาง พระองค์จึงจับพระอาทิตย์มา แล้วสกัดเอาความร้อนออก เครื่องกลึงได้กลึง เอารัศมีที่ร้อนแรงออกเสียหนึ่งในแปดส่วน พระอาทิ ต ย์ ซึ่ ง ถู ก พ่ อ ตาจั บ กลึ ง เสี ย ทั้ ง ร่ า ง เว้นไว้แต่ส่วนเท้า ชิ้นส่วนที่สกัดออกมานั้น หากปล่ อ ยให้ ร่ ว งลงมาจากสวรรค์ จ ะไหม้ โลกหมดสิ้น พระวิศวกรรมหรือวิสสุกรรมจึง เอามาสร้ า งให้ เ ป็ น จั ก รของพระนารายณ์ กับสามง่ามอาวุธของพระอิศวร และทำอาวุธ ประจำตัวของท้าวกุเวร และหอกของกรรติเกยะ (พระอังคาร) ที่เหลือยังได้สร้างเป็นอาวุธของ บรรดาเทพเจ้าอีกจำนวนมาก เป็นที่สังเกต เห็นได้ว่าประวัติของพระอาทิตย์ตอนแรกนั้น
ออกจะสำคัญมากมิใช่น้อย เพราะขนาดรัศมี ของพระองค์ที่ถูกพ่อตาสกัดออก ยังนำมาใช้ สร้ า งเป็ น อาวุ ธ ของเทพเจ้ า ทั้ ง หลายได้ จำนวนมาก พระองค์เองนี้มีความร้อนยิ่งนัก กล่ า วว่ า คราวหนึ่ ง เสด็ จ ไปยั ง ตำบลหนึ่ ง มีเหล่ารากษสที่เรียกว่า มันเทหาส์ ต่างก็ จู่ โจ ม รุ ม เ ข้ า ม า เพื่ อ ที่ จ ะ กิ น พ ร ะ อ ง ค์ แต่เหล่าร้ายก็ต้องปลาตไปสิ้น ด้วยไม่อาจทน ต่ออำนาจรัศมีที่ร้อนแรงของพระองค์ ได้ พระรูปโฉมของสุริยเทพที่พรรณนา ไว้ ในคัมภีร์ วิษณุปุราณะ ของฮินดู ศัทตรจิต ได้ยลโฉมของพระสุริยเทพ เขาพรรณนาว่า พระองค์นั้นมีรูปร่างเล็ก ผิวพระวรกายเป็นสี ทองแดงไหม้ ดวงเนตรเปล่งแสงสีแดงเรื่อๆ ทรงลอยละล่องไปบนรถอันมีม้า ๗ ตัวขับ เคลื่อน (บางตำราว่าม้า ๗ หัว) พระรัศมีอันโชติ ช่วงของพระองค์ เปล่งความโอภาสท่ามกลาง มวลดารา และทั่วทั้งสากลจักรวาลอันมืดมิด
พระจันทร์
เจ้าแห่งสวรรค์ยามราตรี “ตะวันรอน อ่อนอับ พยับแสง ดูดวงแดง ดังจะพา น้ำตาไหล ยังรอรั้ง สั่งฟ้า ด้วยอาลัย ค่อยไรไร เรืองลับ วับวิญญาณ์ พระจันทร์จร จำรูญข้าง บูรพทิศ กระต่ายติด แต้มสว่าง กลางเวหา โอ้กระต่าย หมายจันทร์ ถึงชั้นฟ้า เทวดา ยังช่วยรับ ประคับประคอง มนุษย์หรือ ถือดี ว่ามีศักดิ์ มิรับรัก เริดร้าง ให้หมางหมอง ไม่เหมือนเดือน เหมือนกระต่าย เสียดายน้อง จึงขัดข้อง ขัดขวาง ทุกอย่างไป น้ำค้างพรม ลงเฉื่อย เรื่อยเรื่อยริ้ว หนาวดอกงิ้ว งิ้วออก ดอกไสว เกสรงิ้ว ปลิวฟ้า มายาใจ ให้ทราบใน ทรวงช้ำ สู้กล้ำกลืน โอ้งิ้วป่า พาหนาว เมื่อคราวยาก สุดจะฝาก แฝงหน้า ไม่ฝ่าฝืน แม้นงิ้วเป็น เช่นงาน เมื่อวานซืน จะชูชื่น ช่วยหนาว เมื่อคราวครวญ โอ้ดูเดือน เหมือนได้ยล วิมลพักตร์ ไม่ลืมรัก รูปงาม ทรามสงวน กระจ่างแจ้ง แสงจันทร์ ยิ่งรัญจวน คะนึงหวล นิ่งนอน อ่อนกำลัง” (สุนทรภู่ จากนิราศพระประธม)
9
ตำนานเทพนพเคราะห์
ลักษณะขององค์พระจันทร์ ตำนานของพระจั น ทร์ จ ากคั ม ภี ร์ เฉลิมไตรภพกล่าวว่า พระอิศวรสร้างพระจันทร์ จากนางฟ้า ๑๕ นาง โดยร่ายพระเวทจนนางฟ้า ๑๕ องค์ละเอียด ห่อด้วยผ้าสีนวล แล้วประพรม ด้วยน้ำอมฤต จากนั้นก็จึงบังเกิดเป็นเทพบุตร ชื่อพระจันทร์ผิวกายสีนวล วิมานเป็นสีมุกดา มีพาชีเป็นพาหนะ พระจันทร์ทรงความงาม ยามราตรี ส่ อ งแสงสว่ า งนวลไปทั่ ว ป่ า เขา ลำเนาไพร หุบเขา แม่น้ำและหมู่บ้านตลอดจน นครใหญ่ๆ ในท่ามกลางความมืด ปรากฏก็ แต่แสงดาวแพรวพราวทั่ว หลังจากดวงสุริยา อันมีแสงแรงกล้า แผ่รังสีความร้อนไปทั่วทุก หัวระแหง เมื่อตะวันรอนลับฟ้าไปแล้ว ก็มี ดวงจันทร์อันแสนเยือกเย็น เข้ามาแทนที่เป็น ดวงตาสวรรค์ ในยามที่นิกรชาวโลกบางพวก ต่างก็หลับใหลจากการเหน็ดเหนือ่ ย ในการ ประกอบอาชีพยามกลางวัน ได้แสวงหานิทรา เพื่อพักผ่อนกัน แต่ชนบางชนิด จะชื่นชมกับ ความสง่ า ที่ แ สนอ่ อ นหวานของดวงศศิ ธ ร พร้อมกับคิดฝันไปต่างๆ เฉกเช่นกับสุนทรภู่ กวีเอกของไทย ได้รจนาเป็นคำกลอนอันอมตะ ที่ยกมานั้นเอง บางพวกเป็นเหล่ามิจฉาชีพ ก็พาออก หากินแฝงกายไปในยามมืด อาศัยแสงวะวับ แวมๆของดวงจันทร์เป็นเครื่องนำทาง เหล่า นักเดินทางค้าขายแสวงโชคกลางทะเลทราย ที่กางเต็นท์หลบแดดอันทารุณอยู่ตลอดวัน ก็เตรียมออกเดินทางพร้อมกันกับคาราวาน ดูเสมือนว่า จันทราเจ้าจะอำนวยความสวัสดี ให้แก่พ่อค้า วาณิช ผู้พเนจรร่อนเร่ ฝ่าป่าดง ทะเลทรายอันเวิ้งว้าง ก็เพื่อหวังโชคลาภมาสู่
10
ตนตอบแทนให้คุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนลงแรงไป ด้วยเหตุเช่นนี้เอง เมื่อใดที่มนุษย์นั้นคิดฝันถึง ดวงจันทร์ ถึงเทพเจ้าผู้ประจำดวงจันทร์ จึง วาดภาพไปว่าท้าวเธอเป็นเทพเจ้าแห่งความ คิดฝัน และจินตนาการ เป็นเจ้าแห่งพาณิชย์ เจ้าแห่งการล่าสัตว์ และพร้อมกันนั้นก็เป็น ที่พึ่งของเหล่าหัวขโมยรวมทั้งโจรใจหยาบช้า สามานย์ทง้ั ปวงด้วย แต่พระจันทร์ในทัศนะของ ฮินดูนั้นเป็นเพศชาย ด้วยเทพเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ ทั้งหลายของฮินดูล้วนแต่เป็นเพศชายทั้งสิ้น อินเดียเรียกพระจันทร์ว่า โสมเทพ ซึ่งแปลว่า ดวงจันทร์ แต่ในอีกทัศนะหนึ่ง โสมคือน้ำ เหล้ า ทำให้ มึ น เมาเพราะโสมเป็ น ไม้ เ ลื้ อ ย ชนิดหนึ่ง สีเป็นน้ำนม มักเอามาหมักทำน้ำ เมรัย หรือกลั่นเป็นเหล้า เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ในการเซ่นสรวงเทวดา มิให้มากระทำย่ำยีเอา ส่ ว นผู้ ที่ จ ะดื่ ม แทนเทพเจ้ า ก็ คื อ พราหมณ์ ด้วยพราหมณ์คอื ตัวแทนของเทพ หากพราหมณ์ ได้รับความชื่นบาน สบายใจ ผลสะท้อนก็จะถึง เทพเจ้าที่ตั้งใจสังเวยนั้นด้วย การใช้น้ำโสมใน การเซ่ น สรวงนี้ มี ก ล่ า วไว้ อ ย่ า งเอิ ก เกริ ก ใน คัมภีร์ฤคเวท พิธีกรรมนั้นจำเป็นต้องใช้มนต์ กำกับเพื่อให้การบวงสรวงนั้นเข้าถึงเทพเจ้า เทพเจ้าพระจันทร์นั้นมีกล่าวถึงใน ปุราณะว่า โสมคือดวงจันทร์ เป็นบุตรของ ฤๅษีอตั ริกบั นางอนสูย ซึง่ กำเนิดอันนีย้ งั มีผแู้ ย้ง เช่นกล่าวไว้ว่า พระประภากร นั้นคือบิดาของ พระองค์ บ้างก็ว่าพระธรรมา ซึ่งท่านเหล่านี้ น่าจะเป็นฤๅษีประเภทเดียวกันกับ อัตริ แต่ใน นารายณ์สิบปางกล่าวว่า ทรงเกิดจากการกวน เกษียรสมุทรบางแห่งว่าบิดาของพระจันทร์ คือ มันจันทร์ จากหนังสือวิษณุปรุ าณะ พระองค์ ถือว่า พระจันทร์ทรงเป็นต้นวงศ์ของพราหมณ์
คัมภีร์พฤหัสอรัณยก ยกย่องว่าพระองค์เป็น กษัตริย์และได้แต่งงานกับพระธิดาของฤๅษีทกั ษะ ที่นามของพระธิดาของพระทักษะทั้ง ๒๗ องค์ ซึง่ เป็นชายาของพระจันทร์นน้ั ก็คอื ชือ่ ดาวฤกษ์ ๒๗ กลุ่มบนท้องฟ้านั่นเอง ยามเมื่อพระจันทร์ เสด็จโคจรลีลาศไปในห้วงอวกาศ ก็จะผ่านกลุม่ ดาวฤกษ์ต่างๆกลุ่มละประมาณ ๑ วัน ก็เสมือน ได้เสด็จไปสู่พระชายาแต่ละองค์นั่นเอง ในบรรดาชายาทั้งหมด ๒๗ องค์นั้น พระจันทร์พึงพอพระทัยในนางโรหิณี ซึ่งเป็น ธิดาองค์ที่ ๔ มากทีส่ ดุ เป็นผลให้ชายาองค์อนื่ ๆ ไปฟ้องพระบิดา จนพระทักษะพ่อตาต้องเข้าไป ไกล่เกลี่ย แต่ก็ ไม่สามารถกลับใจให้พระจันทร์ รักพระชายาองค์อื่นเท่าเทียมกับนางโรหิณีได้ พระทักษะจึงสาปบุตรเขยอย่างแรงว่าอย่าได้ มีบุตรสืบตระกูลต่อไป และให้เป็นวัณโรค ผล ของการสาปคราวนี้ทำให้พระจันทร์ต้องเป็น ไปตามคำสาปนั้น ทำให้บรรดาพระชายาเกิด ความสงสาร จึงไปขอความกรุณาให้พระบิดา ผ่อนผันโทษแก่พระสวามี แต่พระทักษะนัน้ เป็น เทพศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับพระอิศวร เมื่อสาป ลงไปแล้วก็มอิ าจถอนคำได้ แต่กพ็ อจะผ่อนผัน ให้อาการของโรคปรากฎในยามข้างแรม เหตุน้ี ดวงจันทร์จงึ ค่อยๆมัวหมอง และไร้แสงลงทุกที ในยามข้างแรม และจะหายจากโรคโดยกลับมา สุกสว่างขึ้นอีกครั้งในยามข้างขึ้น
พระอังคาร
ผู้กล้าแข็งและครองโทสะจริต ในบรรดาเทพเจ้ า แห่ ง ดาวเคราะห์ หรือบริวารแห่งดวงอาทิตย์แห่งสุริยะระบบ มีแค่พระอังคารองค์เดียวที่ค่อนข้างจะมุทะลุ ดุดัน และชอบทะเลาะเบาะแว้ง จนเรียกว่าดาว สงครามก็มี ส่วนในเทพปกรณัมของกรีกนั้น พระอังคารของเขาชื่อว่า มารส์ เป็นดาวนักรบ และก็มีนิสัยบุ่มบ่าม ขี้โมโหโกรธาเหมือนกัน พระอังคารถือว่าคือดาวบาปเคราะห์ อันเป็น ดาวให้ โทษอย่างฉับพลันอันดับหนึง่ ถือว่าเป็น ตั ว การทำให้ ม นุ ษ ย์ ถึ ง ฆาตโดยปั จ จุ บั น ทันด่วน มิฉะนั้นก็เกิดอุปัทวเหตุ เกิดทะเลาะ วิวาทกันอย่างแรง
ลักษณะขององค์พระอังคาร พระอังคาร เป็นนักรบฝีมือเข้มแข็ง ด้วยเพราะว่าพระองค์เกิดแต่แม่พระธรณีกับ พระศิวะ ในอีกคัมภีร์หนึ่งอ้างว่าพระองค์เป็น พระโอรสของแม่พระธรณีกับพระนารายณ์ อีกตำราหนึง่ ว่าทรงเกิดจากพระศิวะ โดยยันตพิธี คือเอาเชื้อพระอิศวรใส่ลงไปในกองไฟ แล้วชุบ ด้วยแม่น้ำคงคา เพราะเหตุนี้ จึงทรงเรียกว่า บุตรพระคงคา ตำนานฝ่ายนี้ดูจะเป็นที่เชื่อถือ ยกย่องกันมาก แต่อย่างไรก็ดี ที่ว่าพระอังคาร เป็นโอรสของพระนารายณ์นั้น มีมาในคัมภีร์
13
ตำนานเทพนพเคราะห์
โบราณนั้นว่า พระอังคารเกิด ณ เมืองอวันติ เป็นกษัตริยพ์ ระองค์หนึง่ ในวงศ์ภารทวาชโคตา หรือ วาสิฏฐโคตร พระองค์ทรงมีกายสูงใหญ่ วรรณะดำแดง ทรงพัสตราภรณ์สีแดง ดังนี้ สีแดงจึงเป็นสีของพระอังคาร (ทีจ่ ริงสีอนั เหมาะ กับดาวอังคารคือสีม่วงแดงหรือชมพูอันเป็น สีแดงเจือกับทับทิม พระองค์ทรงทัดดอกไม้สี ม่วงแดง ทรงศัสตราวุธประจำกายได้แก่หอก กระบอง และศูล (อาวุธเหมือนดาบแต่ปลาย แหลมคม) ส่วนพาหนะของพระอังคารนั้น ใน สมัยเมื่ออวตารปราบยักษ์ทาระกะ ทรงนกยูง บ้างก็ว่าแกะ แต่ในที่แห่งหนึ่งมีว่าทรงกระบือ คัมภีร์เฉลิมไตรภพได้กล่าวว่าพระอังคารนั้น เกิดจากกระบือ ๘ ตัว ร่ายเวทให้ป่น แล้วห่ อผ้าสีชมพูแล้วจึงพรมด้วยน้ำอมฤต หลังจาก พระอิศวรพรมด้วยน้ำอมฤตแล้ว ก็เกิดเป็น เทพบุตรร่างล่ำสันเข้มแข็ง สีกายเป็นสีแก้ว (เพทาย บ้างก็ว่าสีลูกหว้า) ทรงอาภรณ์แก้ว โกเมน (คือสีแดงสลัว) ทรงมีวิมานสีทับทิม พระอิศวรทรงจัดให้พระอังคารมีหน้าที่รักษา เขาพระสุเมรุด้านทิศอาคเนย์ อินเดียเรียกพระอังคารว่า “มังคลา” ถึงอย่างไรก็ยังคงถือว่าทรงเป็นมูลเหตุให้เกิด สงคราม จึงมีภาวะเช่นเดียวกันกับกรรติเกยะ พระองค์เป็นพระโอรสของพระศิวะและแม่ธรณี เหตุที่เป็นโอรสของนางธรณีพระองค์จึงทรง พระนามทีเ่ รียกว่าอังการคะ เภาวมะ ภูมบี ตุ ร มหิสตุ และพระองค์ยงั ถูกเรียกว่าศิวะฆะรมาจา (อันเกิดมาจากรสหวานของศิวะ) กากะนลมุข (คบไฟแห่งสวรรค์ ด้วยดาวอังคารมีสีแดงก่ำ เห็นได้ชัดบนท้องฟ้า สีแดงเหมือนไฟ), โลหิตา (สีแดง), นวฤดี (ผูม้ รี งั สีทง้ั เก้า), จร (ผูส้ อดแนม), ฤฌานตา-กา (ผู้หมดสิ้นซึ่งหนี้สินคุ้มครองผู้
14
เป็นหนี้), กรรติเกยะ (เทพเจ้าแห่งสงคราม) เทพเจ้ากรรติเกยะอันมีอีกชื่อหนึ่งว่า สกันทะ นักรบผู้มีชื่ออันโด่งดังในมหาภารตะยุทธ และ รามายณะ บ้างก็ว่าคือองค์เดียวกับพระอังคาร ลักษณะของพระอังคาร มีผู้พรรณนาไปหลาก หลายความ อีกทั้งยังกล่าวกำกวมๆกันไปก็มี ดังเช่นที่กล่าวว่า ทรงเหมือนพระอัคนี (ไฟ), คงคา (แม่คงคา) และบรรพตี (พระชายาแห่ง พระอิศวร) อย่างไรก็ดี ตำนานของพระอังคาร อีกหลายแห่งยืนยันว่า พระนางบรรพตี คือ พระมารดาของพระองค์ โดยแท้ ส่วนใหญ่การอุบัติขึ้นมาของเทพเจ้า ตามคติฮินดูก็มักจะมีเหตุนำ อย่างเช่น การ อวตารของพระวิ ษ ณุ แ ต่ ล ะครั้ ง ก็ มี เ หตุ ถ้าไม่มีเหตุก็ ไม่มีผล คัมภีร์ท่านได้รจนาไว้ว่า พระอั ง คารอุ บั ติ ขึ้ น มาก็ เพื่ อ จะทำลายยั ก ษ์ ทาระกะ ยักษ์ทาระกะนีเ้ ป็นไดทะ ยักษ์ทนี่ า่ กลัว มักก่อสงครามสงครามต่อสู้กับเหล่าทวยเทพ เสมอมา กล่าวกันว่า ยักษ์พวกนี้เกิดจากคิติ ซึ่งถูกชักจูงมาโดยกัศยป เป็นสภาวะยักษ์มาร คล้ายความชั่วร้ายที่ต้องเกิดมาคู่กับเทวดา ฝ่ายธรรมะ พวกนี้การที่รบกับเทวดาได้ ก็ย่อม มีฤทธิ์อันน่าเกรงขาม และมีใบหน้าอันบึ้งตึง โหดเหี้ยมมาก ทางสวรรค์จึงจำเป็นจะต้องมี นักรบผู้มีฝีมือกล้าอย่างพระอังคารอุบัติข้นึ มา เพือ่ ปราบยักษ์ ปางที่เสด็จจุติมาปราบยักษ์นี้ พระอังคารทรงเสด็จไปโดยนกยูง อันมีนามว่า ปาราวันนี พระหัตถ์ทรงง้างคันศร พร้อมที่จะ ปล่อยออกจากแล่ง ณ เชิงเขาหิมาลัย มีทางสายหนึ่ง เป็นทางราบเรียบ เกิดจากการแผลงศรจาก ภูเขาไกรลาสมาทางทิศใต้ มีมูลเหตุเรื่องราว
ที่จะยกมาอ้างถึงคือ พระอินทร์ กับ กรรติเกยะ (พระอังคาร) ก็ต่างถือตัวว่ามีฤทธิ์มีกำลังด้วย กันทั้งคู่ จึงตกลงจะประลองกำลังกันโดยการ วิง่ แข่งรอบภูเขาหิมาลัย พอพากันมาถึงเชิงเขา ต่างก็ไม่พอใจ ด้วยความที่ทางไม่สะดวก ดังนี้ กรรติเกยะ จึงพุ่งหอกไปยังภูเขา ทำให้เป็น ทางยาว หอกคูม่ อื ของพระอังคารนีถ้ กู พุง่ ไปยัง สัตว์รา้ ยมหิงสา และยังได้นำมาใช้ตอ่ สูก้ บั พวก ยักษ์ทาระกะ อันเป็นศัตรูของเหล่าเทวดาซึ่ง กรรติเกยะประสบชัยชนะในการต่อสู้ทุกครั้ง
พระพุธ ผู้ครองสติ
พระพุ ธ เป็ น โอรสของพระจั น ทร์ เกิดจากนางโรหิณี แต่อีกตำราหนึ่งว่าเกิดจาก นางดารา ชายาของพระพฤหัสบดี ซึง่ พระจันทร์ ไปแย่งตัวมาและเกิดลูกกับพระจันทร์ เป็นเรือ่ ง พิ พ าทถึ ง ขนาดต้ อ งรบราฆ่ า ฟั น กั น ใหญ่ โ ต ในสวรรค์ แต่ผลในที่สุด พระจันทร์ก็ต้องคืน นางดาราให้พระพฤหัสบดีสามีเดิมไป พระพุธ ก็คือโอรสพระจันทร์ที่ติดท้องไปด้วยนั่นเอง ต่ อ มาพระพุ ธ ได้ เ ขาพิ ธี วิ ว าห์ กั บ นางอิลา พระราชธิดาของพระมนู ไววัสวัต จนเกิดโอรสกับนาง มีนามว่า ปุรูราวัส การที่ พระพุธได้นางอิลาซึง่ สืบเชือ้ สายจากพระอาทิตย์ เป็นชายา ทำให้ทั้งสุริยวงศ์และจันทรวงศ์เกิด ขึ้นจากบุคคลคนเดียวกันคือนางอิลา ก็มีผล ให้ทั้งสองตระกูลถือเป็นพี่น้องกัน ทำให้ความ สัมพันธ์ระหว่างพระอาทิตย์กับพระจันทร์ดีข้นึ และเมื่อพระอาทิตย์ซ่งึ มีฐานะเป็นศิษย์รักของ พระพฤหัสเป็นมิตรกับพระจันทร์ เรือ่ งบาดหมาง ระหว่างพระพฤหัสและพระจันทร์ ตลอดไปจน มลทินของพระจันทร์ก็คลี่คลายไปในทางที่ ดีขึ้น อันเป็นเหตุให้พระพฤหัสนัน้ เลือกทีจ่ ะเอา พระจันทร์เป็นพวกในยามที่จะต้องปะทะกับ พระเสาร์ จึงถือได้ว่าพระพุธเทพเป็นเทพที่นำ พาความสันติภาพ และให้คุณกับเรา
17
ตำนานเทพนพเคราะห์
ซึ่งถ้าหากพูดถึงการช่วยมนุษย์และ สรรพสัตว์จากไฟบาปเคราะห์ของพระเสาร์แล้ว อันที่จริง ตัวพระพุธเองนั้น สามารถช่วยเราได้ มากกว่าการที่ท่านเคยช่วยให้พระจันทร์กับ พระพฤหัสดีกัน แล้วหันไปร่วมมือกันเล่นงาน พระเสาร์เสียอีก เพราะพระพุธนั้นมีฐานะเป็น ผู้กำราบพระเสาร์อย่างเด็ดขาดโดยกำเนิดอยู่ แล้ว เนื่องจากพระเสาร์เองมีฐานะเป็นกาลกิณี ของพระพฤหัสและสามารถเล่นงานพระพฤหัส ได้ฉันใด พระพุธเองก็มีฐานะเป็นกาลกิณีของ พระเสาร์และพิฆาตพระเสาร์ ได้ฉันนั้น ดังนั้น บุคคลทีป่ ระสบทุกข์ภยั จากดาวเสาร์จงึ สามารถ ขอความช่วยเหลือจากพระพุธได้อีกทางหนึ่ง
ลักษณะขององค์พระพุธ
พระพุธก็ยังมีคุณลักษณะพิเศษหลายประการ ทีม่ นุษย์ไม่มี ได้แก่ความเป็นอมร (ไม่แก่ไม่ตาย) และการอาศัยอยู่ได้ทุกที่เยี่ยงเทวดาทั่วไป ซึ่ง แม้ แ ต่ ในก้ น ทะเลสาบที่ ม นุ ษ ย์ ไ ม่ อ าจลงไป อาศัยอยูไ่ ด้ พระพุธก็สามารถลงไปจำศีลบำเพ็ญ พรตอยู่ได้เป็นร้อยเป็นพันปี ในบรรดาดาวพระเคราะห์ ทั้ ง ปวง เดิมค้นพบเพียง ๘ ดวง เรียกว่าอัฏฐเคราะห์ ต่อมาจึงค่อยพบอีก จึงเรียกว่านพเคราะห์ และ ทศเคราะห์ตามลำดับ ดาวทัง้ หมดนีน้ น้ั ต่างก็ ครองแบบแผนหรือลักษณะออกไปคนละอย่าง ด้วยเหตุนี้จึงมีการกล่าวคำคล้องจองไว้ว่า “ดูยศศักดิ์อัครฐานให้ดูอาทิตย์ ดูรูปจริตให้ดูจันทร์ ดูกล้าขยันให้ดูอังคาร ดูอ่อนหวานให้ดูพุธ ดูปัญญาบริสุทธิ์ให้ดูพฤหัส ดูโภคสมบัติให้ดูศุกร์ ดูโทษทุกข์ ให้ดูเสาร์ ดูมัวเมาให้ดูราหู”
พระพุธมีกายสีเขียว และทรงถือขอช้าง ประทับบนคอช้างพาหนะ รัศมีของพระองค์ แจ่มใสเป็นปรอท ตามตำราการสร้างเทวดา พระเคราะห์กล่าวว่าพระอิศวรทรงนำพระยา คชสาร ๑๗ ตัวมาป่นแล้วพรมด้วยน้ำอมฤต บังเกิดเป็นเทพบุตร สีกายเป็นแก้วมรกต มี การที่ดาวพุธได้ครองลักษณะเช่นนี้ ช้างเป็นพาหนะ แสดงว่าจะต้องเป็นดาวทีค่ รองสติสมั ปชัญญะทีด่ ี จึงจะรักษาความนุ่มนวลนั้นไว้ ได้ จึงถือได้ว่า พูดถึงตำนานของพระจันทร์ที่เป็นชู้ พระพุธนั้น เป็นเทวดาพระเคราะห์ผู้ครองสติ กับนางดารา จนเป็นเหตุให้เกิดพระพุธขึ้นมา สัมปชัญญะ ทางโหราศาสตร์ถือว่าพุธเป็นดาว ซึ่งพระพุธคือทารกที่ติดท้องนางดาราไปแล้ว เกี่ยวกับมันสมอง บ้างก็ว่าเป็นดาวเกี่ยวกับ ถูกพระพฤหัสถ่ายย้ายจากครรภ์ของนางดารา การเจรจา ถ้าตรองให้ดี ผู้ที่ชื่อว่าสมองดีนั้น ให้ ไปอยู่ในครรภ์นางช้างพังตัวหนึ่งแทน และ ก็ย่อมมีสติที่ดี หรือผู้ที่พูดเก่งเขียนเก่งเองก็ ด้วยเหตุทพ่ี ระพุธมีกำเนิดมาจากสัตว์เดรัจฉาน แสดงว่าสติดีท้งั สิ้นเพราะพระพุธทรงมีปัญญา อันมีกายหยาบ จึงเป็นเหตุให้พระพุธมีกายเนือ้ ทางการรจนาหนังสือและกวีนิพนธ์ อย่างนึง ไปด้วย พระพุธเทพจึงมีลักษณะพิเศษอันแตก คือพระองค์เป็นผู้รจนาบทสวดฤคเวทขึ้นมา ต่างจากเทพนพเคราะห์องค์อื่นตรงที่มีสภาวะ นั่นเอง นอกจากจะครองสมองแล้ว ยังเกี่ยวกับ เป็นกึ่งเทพกึ่งมนุษย์ แต่ถึงจะมีภาวะมนุษย์อยู่ การเจรจา นักพูด นักแต่งหนังสือ นักการทูต
18
นักเทศน์ ปาฐกถา การเดินทาง จะเห็นได้ว่า ดาวพุ ธ หรื อ พระพุ ธ เป็ น ดาวเกี่ ย วกั บ สั ง คม แท้ๆ พุธคือนักปราชญ์ พุธเป็นทุกๆอย่าง คน โบราณจึ ง ยกย่ อ งว่ า ผู้ เ กิ ด วั น พุ ธ มั ก เฉลี ย ว ฉลาด แต่จะต้องคิดพิจารณาให้ดี เพราะรู้มาก รู้ ส รรพสิ่ ง จึ ง ทำให้ บ างครั้ ง ไม่ ก ล้ า ตั ด สิ น ใจ โบราณเรียกว่า “พุธรวนเร” เหตุที่ดาวพุธเข้าไปเกี่ยวข้องกับการ แพทย์นั้น น่าจะเป็นด้วยพุธเป็นดาวที่ครอง เกี่ยวกับพืชทั้งปวง ซึ่งบรรดาพืชนี้ย่อมล้วน เป็นสมุนไพร คือเป็นยาทั้งสิ้น ดาวพุธจึงถูก อุปโลกน์ ให้เป็นดาวเกี่ยวกับการแพทย์ด้วย ประการฉะนี้
พระพฤหัสบดี ผู้เป็นใหญ่แห่งสวรรค์
คัมภีรเ์ ฉลิมไตรภพกล่าวว่า พระอิศวร ทรงสร้างพระพฤหัสบดีโดยการเอาฤๅษี ๑๙ ตน มาร่ายเวทป่นให้ละเอียด และเอาผ้ามาห่อผง นั้น แล้วจึงประพรมด้วยน้ำอมฤต ได้บังเกิด เทพเจ้าขึน้ มา นามว่าพระพฤหัสบดี ทรงกวางทอง เป็นพาหนะ รูปเขียนมักเขียนรูปพระพฤหัสบดี เป็น ฤๅษีถือกระดานชนวนขี่กวางทอง ในบรรดาดาราทั้งใหญ่น้อยของห้วง นภากาศ หากปราศจาดวงจันทร์เสียดวงเดียว ก็ยงั มีดาวพฤหัสบดีนบั ว่าเป็นดาวทีส่ กุ สว่างทีส่ ดุ จนได้รับฉายาว่า “ราชาแห่งดวงดาว” พระพฤหัสบดีโดยแท้จริงเป็นเพียงดาวพระเคราะห์ บริวารดวงอาทิตย์แห่งระบบสุริยะของเรา ถ้า เทียบกับดาราใหญ่น้อยบนท้องฟ้า พฤหัสบดี อาจจะเล็กกระจิ๋วหลิว บางดวงเป็นถึงดาวฤกษ์ หรือเป็นกลุ่มจักรวาล แต่เพราะอยู่ไกลจึงเห็น แสงน้อยกว่า บางดวงก็ ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ของเราเป็นร้อยเป็นพันเท่า แต่ถ้ามองบนโลก ก็ต้องนับว่าดาวพฤหัสบดีสว่างที่สุด ย่อมทรง อิทธิพลทางศุภผลอย่างเต็มที่ เป็นเพราะดาว พฤหัสบดีเป็นดาวศุภเคราะห์ จึงเป็นตัวแทน ของฝ่ายธรรมะ และเป็นดาวที่ให้ลาภผล ให้ ความสมบูรณ์พนู สุข แก้ ไขข้อขัดข้องให้หมดไป
21
ตำนานเทพนพเคราะห์
เพราะว่าดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ ที่สุดในบรรดาดาวพระเคราะห์ด้วยกัน อันดาว บาปเคราะห์อื่นที่ว่าร้าย คืออังคาร มฤตยู เสาร์ กับราหู ถ้าพระพฤหัสคุ้มอยู่แล้วก็พอแก้ ไขได้ เทพเจ้ารุ่นเก่าของอินเดีย เปรียบกับ พระพฤหัสบดีนา่ จะคือพระอินทร์ดว้ ยถือสายฟ้า (วชิระ) เป็นอาวุธ ส่วนของกรีกเทพบิดรจูปเิ ตอร์ (ซุส) ผู้สถิตบนยอดเขาโอลิมปัส ทรงสายฟ้า เป็นอาวุธ จูปิเตอร์ก็คือดาวพฤหัสบดี จึงน่าจะ คล้ายกับพระอินทร์ ด้วยพระอินทร์นน้ั ทรงเป็น ใหญ่ในสวรรค์ เทวดาของชาวพุทธนั้นก็ถือว่า พระอินทร์ทรงเป็นหัวหน้าของเทวดาและเป็น เทวดาสัมมาทิษฐิ แต่อินเดียรุ่นหลัง ได้แยก พระพฤหัสบดีออกมาต่างหากเป็นเทวดาอีก องค์หนึ่ง ถือกันไว้ว่า ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวครู หรือเรียกกันว่า คุรุ วันพฤหัสบดีจึงถือว่าเป็น วันครูด้วย ดังได้กล่าวแล้วว่าเทวดารุ่นแรกนั้น พระอินทร์เป็นใหญ่ คติของพุทธว่าทรงเป็นใหญ่ ในสวรรค์ชน้ั ดาวดึงส์ ในรามเกียรติข์ องอินเดีย นั้นแม้พระอินทร์จะมีฤทธิ์ แต่เมื่อรบก็ยังแพ้ อินทรชิตลูกทศกัณฐ์ด้วยซ้ำไป ไม่ยิ่งใหญ่เท่า จูปิเตอร์ของฝรั่ง ในคัมภีร์ฤคเวท ยกย่องกันว่าเป็น เทวดาที่เป็นใหญ่และเป็นที่นับถือเหนือเทวดา ทั้งหลาย กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นผู้อ่อนน้อม เสียสละ เป็นบรรพชิต ทรงเชื่อมระหว่างมนุษย์ และเทพเจ้า ทรงคุ้มครองมนุษยชาติและขจัด ความชั่วร้าย ในสมัยแรก พระพฤหัสบดีทรงปรากฏ ในฐานะนักบวช มีวัตรปฏิบัติแบบพระ ด้วยมี พรรณนาอยู่ในคัมภีร์ปุโรหิตา จนยึดถือเป็น แนวปฏิบัติในสังคมสืบต่อมา พระองค์จึงได้รับ
22
ฉายาว่า “บิดรแห่งเทพเจ้า” ทรงมีพลังอำนาจ และพลังสร้างสรรค์กว้างไพศาลมาก สัญลักษณ์ ของพระองค์คอื “การเปล่งรัศมี” และ “สีทอง” ทรงมีพระสุรเสียงดุจดังฟ้าคำราม พระชายา ของพระองค์ คื อ นางดาราซึ่ ง ถู ก พระจั น ทร์ ช่ ว งชิ ง เอาไปจนเกิ ด สงครามใหญ่ เ รี ย กว่ า ทาระกะมายา มีเทวดาถือหางทัง้ สองข้าง ความ รุนแรงของสงครามเกิดความสะเทือนไปถึง แกนกลางโลก จนพระพรหมต้องมาหย่าศึก แล้วบังคับให้พระจันทร์ต้องคืนนางดาราแก่ พระพฤหัสบดีไป เหตุนี้ทำให้นางดารามีโอรส กับพระจันทร์ติดมาด้วยคือ พระพุธ เทพเจ้าดาวพระเคราะห์ที่เป็นฤๅษีมี เพียงสององค์ คือพระพฤหัสบดีและพระศุกร์ พฤหัสบดีนน้ั เป็นครูของฝ่ายธรรมะ ฝ่ายเทวดา ส่วนศุกร์นั้นเป็นครูของพวกร้าย เช่นแทตย์ ทานพ อสูร เหตุนเ้ี มือ่ พระศุกร์เข้าข้างพระจันทร์ ในคราวสงครามกับพระพฤหัสบดี บรรดาศิษย์ ของพระศุกร์คือพวกอสูร แทตย์ และทานพ ก็เข้าข้างพระจันทร์ดว้ ยในครัง้ “เทวสุรสงคราม” จนโลกสะเทือนเลือนลั่น
พระศุกร์
จอมโลกีย์แห่งสวรรค์ ดาวศุกร์เป็นดาวอันกระจ่างบนท้องฟ้า จะส่องประกายเจิดจ้าให้เห็นกันในยามเย็น ซึ่ง ชาวบ้านมันเรียกกันว่าดาวประจำเมือง แต่ถ้า ปรากฏในยามเช้าตรู่ก่อนอรุโณทัยจะเรียกกัน ว่าดาวประกายพรึก เพราะเหตุด้วยดาวศุกร์ มี ป กติ โ คจรมั ก ติ ด สอยห้ อ ยตามอาทิ ต ย์ ไป ตลอด บางฤดูกาลอยู่หน้าดวงอาทิตย์ บาง ฤดูกาลก็อยู่หลัง ดาวพระศุกร์เป็นพระเคราะห์ ดวงเดี ย วที่ ย กย่ อ งกั น ว่ า ทรงความแจ่ ม ใส ความรืน่ เริงชืน่ บาน เป็นดาวทีอ่ ำนวยความสุข ทางโลกียแ์ ก่มนุษย์ เป็นวันทีไ่ ม่ควรเอาไปเผาผี จะเกิดการลักเพศ เดือดร้อนต่างๆนานาดังคำ คล้องจองนั้นเป็นดังนี้ “เผาผีวันศุกร์ ให้ทุกข์คนยัง” แบบเดี ย วกั บ วั น พฤหั ส บดี อัน เป็ น วันครู ท่านห้ามมิให้เอาไปใช้แต่งงาน เพราะการ แต่งงานเป็นเรือ่ งของโลกียจ์ ะทำให้ดาวพฤหัสบดี มัวหมอง ในทัศนะของชาวอินเดียถือว่าศุกร์ เป็ น ดาวอำนวยความสำเร็ จ แก่ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ พระศุกร์ของเขามีฤทธิ์มีเดช เป็นเพศชาย และ เป็นอาจารย์ของฝ่ายตรงข้ามเทวดา คือพวก ยักษ์และอสูรเป็นต้น
25
ตำนานเทพนพเคราะห์
พระศุกร์ยังทรงปัญญาและชาญฉลาดทรงคือ องค์เดียวกับอุสานะ ผู้แต่งบทบัญญัติทางใน กฎหมายหริวงศ์พรรณนาไว้ว่า พระองค์เสด็จ ไปหาพระศิวะเพือ่ ขอให้พระศิวะทรงช่วยคุม้ ครอง พวกอสุราในการต่อสูก้ บั เทวดา เพราะพระศุกร์ เป็นอาจารย์ของยักษ์และพวกฝ่ายตรงข้ามกับ เทวดา เพื่อที่จะให้ทรงมีฤทธานุภาพยิ่งๆขึ้น พระศุกร์ ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติ ทำทุกรกิริยา เอาหัวห้อยลงแล้วยังสูดควันของกองฟางเป็น เวลานับพันปี
พระนามที่เรียกขานกันต่างๆดังนี้ กาวี หรือ กาวยะ, กวี เป็นดาวพระเคราะห์ ที่มีนามว่า อปูชิต, มฆภาวะ (บุตรของมฆะ), โสรสานสู (ผู้มีรังสี ๑๙ รังสี) และเศวต (ขาว)
เทวดาพระเคราะห์ศุกร์นั้น มักจะมี ผู้ทำรูปพระองค์เป็นเทวดาเพศชายมี ๒ กร (บ้างก็ว่ามี ๔ กร ที่มีสี่กรนั้นถือแจกัน ไม้เท้า ลูกประคำหรือคทา บางทีก็มีรูปพระศุกร์เสด็จ ประทับยืน บนรถเทียมม้า ๘ หรือ ๑๐ ตัว สีกายของพระองค์ทน่ี ยิ มทำในอินเดียมักจะทำ เมื่ อ เกิ ด สงความเทวาสุ ร สงคราม เป็นสีขาว แต่ทางในไทยนั้นถือว่าพระศุกร์ต้อง (คราวพระจันทร์แย่งนางดารา ผู้เป็นชายาของ สีฟ้าหรือน้ำเงิน) พระพฤหัสบดีไป เกิดสงครามใหญ่บนสวรรค์) ในขณะพระศุกร์ ไปช่วยยักษ์รบกับเทวดานั้น ดาวศุกร์ ถ้าสัมพันธ์กบั ลัคนาแล้วโหร พระวิษณุได้ประหารมารดาของพระองค์เสีย ฝ่ายฮินดูนับถือกันนักว่า มักรู้ ในอดีต ปัจจุบัน พระศุกร์จึงสาปพระวิษณุให้ต้องมาเกิด ๗ ครั้ง และอนาคต และว่ามักจะมีความสุขกับคู่ครอง บนโลกมนุษย์ และผลคำสาปของพระศุกร์นั้น พระศุกร์ท่านรู้เวทมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์อาจชุบ ศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นผลให้พระนารายณ์ต้อง คนตายแล้วให้ฟนื้ คืนได้ ดาวศุกร์หรือพระศุกร์ อวตารลงมาเกิ ด บนมนุ ษ ยโลกเพื่ อ ปราบ ในทัศนะของชาวอินเดียถือว่ามีฤทธิ์เดชมาก ยุคเข็ญถึง ๗ ครั้งเป็นไปตามคำสาป จากนั้น บางทีดาวศุกร์จะเป็นตัวโลกีย์ฌานละกระมัง ก็ทำพิธีชุบมารดาขึ้นมาใหม่ ฝ่ายเทวดาต้อง เพราะพระเถระที่เก่งในทางอิทธิฤทธิ์ ส่วนใหญ่ คอยขัดขวาง เพือ่ มิให้พธิ นี น้ั ประสบความสำเร็จ มักจะมีดาวศุกร์สัมพันธ์กับดวงชะตาทั้งสิ้น มิฉะนั้นพระศุกร์จะมีฤทธิ์มากขึ้น พระอินทร์ จึงส่งพระธิดาของพระองค์ผมู้ นี ามชยันติ ให้ ไป พระศุกร์ ในคัมภีร์เฉลิมไตรภพรจนา ล่อลวงทำลายตบะพระศุกร์เสีย แต่นางชยันติ ไว้ว่า “พระอิศวรทรงนำวัว ๒๑ ตัว เอามาร่าย ชะรอยจะรักพระศุกร์ จึงไปรอเวลาจนพระศุกร์ พระเวทจนป่นละเอียดจากนั้นก็พรมด้วยน้ำ สำเร็จการประกอบพิธี แล้วจึงบอกความจริง อมฤต กลายเป็นพระศุกร์ มีวิมานเป็นสีทอง ให้ทราบ ในภายหลังพระศุกร์ ได้นางมาเป็น ทรงพระโคอุสุภราชเป็นพาหนะ แล้วจึงมอบให้ พระชายา เป็นผู้รักษาเขาสุเมรุทางทิศอุดร” พระศุกร์เป็นอาจารย์มชี อ่ื เสียง ผูน้ บั ถือ พระศุกร์เป็นปุโรหิตของท้าวพลีและ พระศุกร์จึงเรียกพระองค์ว่า ภควา บ้างก็เรียก พวกแทตย์ คราวยกทัพขึน้ ไปรุกรานพระอินทร์ พระองค์ว่า ภิกขุ แต่ที่จริงนั้นพระองค์ทรงมี พระสวรรค์พฤหัสบดีซง่ึ เป็นอาจารย์ของเทวดา
26
ได้แนะกลศึกให้กับพระอินทร์ พระอินทร์จึง ไปเฝ้าพระกัศยปเทพบิดร ขอให้พระนารายณ์ อวตารเป็นพราหมณ์หนุ่มผู้มีนามว่า วามน พระวามนพราหมณ์หนุ่มได้ ไปขอดินแดนต่อ ท้าวพลีชั่ว ๓ ย่าง ท้าวพลีก็อำนวยให้ โดย ออกปากยกให้ แม้พระศุกร์ผู้เป็นอาจารย์รู้ทัน จะคอยท้วงห้ามปรามมิให้ทา้ วพลีรบั คำ ท้าวพลี มีกรรมบังตากลับไม่ฟังเสียง พระศุกร์ผู้เป็น อาจารย์ จึ ง แปลงกายเข้ า ไปอยู่ ในพระเต้ า เมื่อท้าวพลีรินน้ำจะอุทิศให้ น้ำจะไม่ไหลออก พระวามนรู้ทันจึงเอายอดหญ้าคาตำลงไปใน รูน้ำเต้าถูกตาของพระศุกร์เจ็บปวด เลยมิอาจ กั้นน้ำไว้ ได้ ท้าวพลีจึงหลั่งน้ำอุทิศให้สำเร็จ ตามประเพณีโบราณ สำหรับการพรรณนาพระศุกร์ออก เป็นรูปปั้นรูปเขียน ก็จะต้องอาศัยความที่ท่าน พรรณนาไว้ กล่าวคือ พระศุกร์ทา่ นเป็นอาจารย์ ของอสูรและแทตย์ ดังนี้ว่าถึงหน้าตาของท่าน ก็ควรเป็นแบบแทตย์ (ลักษณะกึ่งอสูร กึ่งคน) การแต่งเนื้อแต่งตัวก็ต้องให้มีม่นุ ชฎาแบบฤๅษี สีผา้ เป็นสีจำปา ด้วยเป็นสีคล้ายหนังเสือ ทรงขี่ โคอุสุภราช ดังลักษณะที่กล่าวไว้แต่ต้น
พระเสาร์
ประธานแห่งบาปเคราะห์ อันดาวพระเคราะห์แห่งสุริยระบบนี้ ท่านได้แยกประเภทออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายดี เรียกศุภเคราะห์ เช่น จันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ ส่วนฝ่ายร้ายนั้นเรียกบาปเคราะห์ คือ อาทิตย์ อังคาร และเสาร์ แต่เมื่อได้ค้นพบดาว พระเคราะห์ ใหม่ก็ได้เพิม่ ฝ่ายบาปเคราะห์ลงไป อีก คือ มฤตยู (ยูเรนัส) และเนปจูน ส่วนฝ่าย ศุภเคราะห์ก็ได้เติมดาวแบคคัส(โสม)ลงไปด้วย แล้วยกอาทิตย์กับพลูโตมาเป็นฝ่ายกลาง โบราณาจารย์ท่านให้ดาวพฤหัสบดี เป็นประธานศุภเคราะห์ ด้วยทีว่ า่ ดาวพฤหัสบดี ดวงเดี ย วเป็ น ดาวที่ ส ว่ า งที่ สุ ด บนท้ อ งฟ้ า (เว้นจากจันทร์) เหตุนี้ดาวพฤหัสบดีจึงได้รับ การยกย่องว่าเป็นราชาแห่งดาวพระเคราะห์ ทั้งหลาย ด้วยประการนี้ฝ่ายโหราจารย์กรีกกับ โรมันโบราณจึงให้ดาวพฤหัสบดีเป็นเทพบิดร ปกครองสวรรค์ทั้งมวล ดาวพฤหัสบดีเป็นดาว ฝ่ายบวก ให้คุณทางมั่งคั่ง ความอุดมสมบูรณ์ ของมวลพืชและชีวิตสัตว์ทั้งปวง ส่วนเสาร์เป็น ดาวพระเคราะห์ฝ่ายบาป เรียกว่าบาปเคราะห์ เป็นฝ่ายให้ โทษ เป็นฝ่ายลบ พฤหัสบดีนั้นให้ คุณมากเท่าไหร่เสาร์ก็ ให้ โทษในทางกลับกัน ในทางโหรไทยนั้น ยกย่องให้เสาร์เป็นประธาน ฝ่ายบาปเคราะห์
29
ตำนานเทพนพเคราะห์
พระเคราะห์เสาร์เป็นดาวทีใ่ ห้ โทษร้ายแรงมาก เมื่ อ โคจรไปทั บ ลั ค นาในดวงชะตาใครแล้ ว ก็จะเกิดโทษถึงวิบัติ บ้างก็ฉิบหาย เจ็บป่วย ล้มตาย สูญเสียผู้เป็นที่รักบ้าง สูญเสียทรัพย์ สมบัติที่สะสมไว้บ้าง มีความระทมทุกข์ ขมขื่น บ้างก็ติดคุกติดตะราง บางทีออกจากงาน สมัย โบราณอาจโดนเกณฑ์ ท หารหรื อ ถู ก จั บ ไป เป็นทาส ส่วนดาวพระเคราะห์องั คารนัน้ ให้ โทษ ทางอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท การเจ็บป่วย กะทันหัน การตายโดยฉับพลันทันที สรุปแล้ว อังคารให้ผลโดยฉับพลัน ส่วนเสาร์นั้นให้ โทษ แบบอิดอาดล่าช้า ใครโดนเสาร์ ให้ โทษก็จะได้ รับโทษอย่างเชื่องช้าและทารุณมาก บางคน ก็ตอ้ งทุกข์ทรมานมาก ด้วยเหตุนค้ี นโบราณจึง กลัวพระเคราะห์เสาร์กันมาก ด้วยว่าดาวเสาร์ เป็นดาวประธานของทางฝ่ายบาปเคราะห์ ที่มี มหิทธานุภาพทีใ่ ห้ โทษหนักหน่วง คนไทยทัว่ ไป ซึ่ ง คล่ อ งในคั ม ภี ร์ ทั ก ษาปกรณ์ จ ะรู้ ดี ว่ า ดาว พระเสาร์เสวยอายุในช่วง ๑๐ ปี อันเป็นกำลัง ของพระเสาร์นน้ั ให้โทษยิง่ นัก เรียกกันว่าดวงตก อยู่ในระยะเคราะห์ร้ายเลยทีเดียว หรือหากถ้า พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก ก็ให้ผลร้ายแรง อย่างน่ากลัว ด้วยพระเคราะห์สองดวงนีเ้ ป็นศัตรู เป็นชาติเวรกัน ว่าโดยความชำนาญและผลปรากฏที่ บรรดาโหรตรวจสอบลักษณะดาวพระเคราะห์ เป็นทีร่ วู้ า่ ดาวพระเสาร์เข้าลักษณะบุคคลประเภท ผิวดำ มือยาว เท้ายาว ตัวยาว หากว่าเป็น ปัจจุบนั กาลก็สวมชุดดำ พระเสาร์เป็นบุตรของ พระสุริยเทพกับนางฉายา แต่ในคัมภีร์อื่นว่า ทรงเป็นโอรสของบาลารามะกับนางเรวดี ด้วย การคุ้มครอง การครอบงำของเสาร์ อิทธิพลข องเทพเจ้าดวงนี้ให้ โทษร้ายแรง ยังมีชื่ออื่นอีก
30
ทีเ่ รียกพระองค์คอื ครูราทีส ครูราโลจน (ผูม้ ตี า อันชั่วร้าย) พระองค์ก็คือมันทะ “ผู้เชื่องช้า” บันกู และ”ผู้ขาพิการ” ที่เรียกว่าผู้ขาพิการนี้ ก็แปลกคือ ประวัติของพระเสาร์มีกล่าวไว้ว่า พระองค์ขาเสียข้างหนึ่ง ว่าถึงในดวงชะตา ผู้ ใด ถ้าเสาร์กุมลัคนามักจะขาพิการ มิฉะนั้น ก็เดิน ขาพันกันเหมือนกับงู บางตำราก็ว่าเสาร์คืองู การเดิ น จึ ง แปลกไปเพราะงู ใ ช้ อ าการเลื้ อ ย ส่วนที่เรียกว่า “ผู้เชื่องช้า” ก็เพราะว่าดาวเสาร์ เป็นดาวใหญ่ มักมีผลทำให้กิจการงานต่างๆที่ ดำเนินอยู่ต้องเชื่องช้าออกไปเพราะเสาร์ทำให้ มีอุปสรรคเกิดขึ้น พระเสาร์แม้จะเป็นดาวให้ โทษ แต่ใน ฝ่ายให้คุณก็มีอยู่ กล่าวว่า ถ้าเสาร์ ให้คุณแล้ว ชีวิตบุคคลผู้อยู่ภายใต้ดาวพระเคราะห์หรือ เทวดาพระเคราะห์องค์นจ้ี ะไปได้ไกลมาก ดังเช่น มีเกณฑ์หนึ่งในโหราศาสตร์ฮินดู ที่เรียกกันว่า “ปัญจมหาบุรุษโยค” ซึ่งเป็นโยคอันส่งผลให้ ดวงชะตามีอำนาจวาสนา ได้จำแนกดวงดาวไว้ ๕ ดวง และมีดาวเสาร์เป็น ๑ ใน ๕ ประเภทนัน้ จากตำนานโหราศาสตร์ เ ล่ า ไว้ ว่ า พระอิศวรผู้เป็นเจ้าได้เอาเสือ ๑๐ ตัว ตามกำลัง ดาวเสาร์ โดยร่ายเวทให้เสือป่นแล้วห่อด้วยผ้า สีดำ (สีของดาวเสาร์) แล้วพรมด้วยน้ำอมฤต บั ง เกิ ด เป็ น เทพบุ ต รนามว่ า พระเสาร์ มี สี ด ำ อสิต (บ้างก็ว่าสีเขียวแก่คล้ำ) อสิตแปลว่าดำ สีของราตรี ทรงอาภรณ์สีดำ ขาพิการ มีรัศมี ๗ แฉก วิมานสีมรกต ทรงเสือเป็นพาหนะ ในปกรณ์ อี ก แห่ ง หนึ่ ง กล่ า วว่ า พระเสาร์ เป็นคนชาติศูทร อีกตำราหนึ่ง กัศยปโคตร ว่าเสาร์มีเพศเป็นกะเทย รูปร่างก็เช่นเดียวกับ ลักษณะดาวเสาร์ คือนัยน์ตาสีน้ำผึ้ง มีแววดุ
ร่างผอมสูงผิวดำจัด ฟันใหญ่ ผมหยาบเหมือน ขนลา พัสตราภรณ์สีดำ มีอาวุธเป็นศูลและธนู ใช้นกแร้งเป็นพาหนะหรืออีกา ดาวพระเคราะห์ เ สาร์ จึ ง เป็ น ดาว พระเคราะห์แห่งกาลเวลาที่คอยเก็บเกี่ยวชีวิต มนุษย์ ให้ล่วงพ้นไปด้วยความชราและเจ็บไข้ โบราณจึงถือว่าดาวพระเสาร์เป็นดาวทุกขโหร ด้วยประการฉะนี้ กาลเวลาได้กลืนหมดทุกสิ่ง ทุกอย่าง จากปัจจุบันกลายเป็นอดีต ไม่มีสิ่งใด ที่จะล่วงพ้นกฎเกณฑ์นี้ไปได้ ดาวเสาร์มีสีดำ ด้วยสีดำเป็นสีของความตาย ความเสื่อมสลาย ของสรรพสิง่ ต่างๆ ทุกสิง่ อย่างมิอาจพ้นอำนาจ ของอนิจจังไปได้
พระราหู
ราชาแห่งอสูรทัั้งปวง
ราหูเป็นอสูรหรือแทตย์ ทีใ่ ห้ โทษ ร้าย แรงพอๆกับพระเสาร์ ราหูมิใช่ดาวพระเคราะห์ เป็นจุดคำนวณเพื่อใช้ตรวจการเกิดสุริยุปราคา และจันทรุปราคา ปกติเดินโคจรบนเส้นทาง ศู น ย์ สู ต รฟ้ า เช่ น เดี ย วกั บ ดาวพระเคราะห์ แต่ว่าเดินถอยหลังเป็นวิสมคติกาล อันว่าดาว พระเคราะห์อน่ื เมือ่ เดินโคจรวิปริต คือถอยหลัง ท่านก็ว่าให้ โทษอยู่แล้ว ยิ่งราหูถอยหลังเป็น ปกติก็ยิ่งให้ โทษยิ่งขึ้น ในคัมภีร์เฉลิมไตรภพได้กล่าวไว้ว่า พระอิศวรเอาผีโขมด ๑๒ ตัว เท่ากำลังราหู มาร่ายเวทป่นให้ละเอียดแล้วประพรมด้วยน้ำ อมฤตชุบราหูขึ้น และตำนานดาวพระเคราะห์ กล่าวไว้ว่าเปรียบเทียบดาวพระเคราะห์ทุกดวง คือส่วนต่างๆของต้นไม้ทั้งต้น เช่นว่าอาทิตย์ คือรากแก้ว จันทร์คือกลางลำต้น อังคารคือใบ กิ่งก้านสาขา ศุกร์คือดอก ฯลฯ แต่ราหูคือด้วง และแมลงกัดกินต้นไม้ทั้งต้น อย่างไรก็ดี ยังมีผถู้ อื ราหูวา่ เป็นดวงดาว เป็นเจ้าแห่งลูกอุกกาบาต พระองค์คอื ผูค้ มุ้ ครอง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในเทวนิยายนั้น ท่านจัดราหูเป็นอสูรหรือไดทะยะ หรือคือยักษ์ พวกหนึ่ง ซึ่งคอยจับพระอาทิตย์และพระจันทร์
33
ตำนานเทพนพเคราะห์
กลืนกิน แต่ละครั้งก็จะมีคราสเกิดขึ้น ซึ่งที่จริง นั้นทางวิทยาศาสตร์คราสเกิดจากเงาโลกบัง ดวงจันทร์และดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์น่นั เอง จุดคำนวณที่ทำให้ราหูเดินถอยหลังถ้ามาถึง จุดเดิมตัดกับเส้นทางเดินของจันทร์ก็จะเกิด คราสอีก ด้วยการคราสแต่ละสมัยจะมีอนุกรม จุดราหูจึงเป็นจุดสังเกตคราสได้แม่นยำมาก
พระยาครุฑ คอยรักษาเขตเขาสัตนาปริพันธ์ พระพฤหัสบดีเป็นพระอินทร์รกั ษาเขาพระสุเมรุ ความวิ ป ริ ต ได้ บั ง เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ พระยาครุ ฑ ใคร่จะกินพระยานาค จึงบินตรงปรีเ่ ข้าไปจับตัว พระยานาคสู้ไม่ได้จงึ หนีไปหาพระราหู พระราหู ก็ตกลงช่วยขับไล่พระยาครุฑให้จนกระเจิงไป พระยาครุฑหนีไปหาพระอินทร์พระราหูตดิ ตาม ไปมีความกระหายน้ำจึงตรงไปดื่มน้ำอมฤต ตำนานว่าราหูคือบุตรท้าวเวปจิตติ พระอินทร์เห็นเข้าก็โกรธจึงขว้างจักรถูกราหูขาด เกิดจากนางสิงหิกาเพราะว่ามีร่างกายใหญ่ เป็นสองท่อน แต่ไม่ตายเพราะได้ดื่มน้ำอมฤต มโหฬาร ราหูนน้ั จึงถูกเรียกว่า “ไสยนหิเกยะ” มี ๔ แขน ส่วนล่างใต้สะดือลงไปหางเป็นเหมือนงู ราหูเป็นอสูรมีฤทธิ์มีกล่าวถึงในคัมภีร์ อัตถกถาต่างๆของชาวพุทธ ดังมีมีปรากฏอยู่ ราหู เป็ น อสู ร ที่ บั น ดาลให้ เ กิ ด การ ในทิมนิกาย สังยุตตนิกายที่ได้พรรณนาขนาด อาฆาตมาดร้าย สมัยเมื่อเทวดาทำพิธีกวนน้ำ ของราหูไว้ว่า อมฤต ราหูได้ปลอมตัวและปะปนไปกันกับหมู่ เทวดาแอบกินน้ำอมฤตนั้นด้วย พระอาทิตย์ “สูง ๔๘๐๐ โยชน์ อกกว้าง ๑๒๐๐ โยชน์ พระจันทร์ ผู้คุ้มครองพิธีเห็นเข้าจึงรายงานให้ หน้าผากกว้าง ๕๐ โยชน์ จมูกยาว ๓๐๐ โยชน์” พระวิษณุทราบ พระวิษณุจึงขว้างจักรตัดหัว และแขนสองข้าง แต่ราหูก็ไม่ตาย ด้วยได้กิน ในตำราของท่านผู้หนึ่ง มีรจนาไว้ว่า น้ำอมฤตไปแล้ว ร่างของราหูไปปรากฏในกลุม่ ถ้าเขียนรูปราหูควรเขียนหน้าให้ดูคล้ายยักษ์ ดาวฤกษ์ ตรงหัวคือส่วนหัวมังกร ส่วนหางที่ เพราะเป็นแทตย์ มีหางเป็นนาค อาศัยอยู่ใน ขาดไปคือหางมังกร เรียกว่าเกตุ อากาศนั่งอยู่เหนือเมฆหมอก กายเป็นสีทอง สัมฤทธิ์ ในคัมภีร์ทางศาสนาพุทธเรียกราหู เพราะว่ า อาทิ ต ย์ กั บ จั น ทร์ ไปฟ้ อ ง ว่า อสุรินทรราหู เป็นราชาแห่งอสูรทั้งปวง พระนารายณ์ ราหูจึงมีความโกรธเคืองต่อสอง มีกล่าวถึงในสุมังคลวิลาสินีว่า การที่ราหูไม่ได้ เทวดานี้มาก พบกันจังๆเมื่อไร อาทิตย์กับ เข้าเฝ้าพระพุทธองค์นั้นเนื่องจากคิดว่าตนมี จันทร์จะถูกกลืนเสมอ ในวิษณุปรุ าณะพรรณนา ร่างกายที่สูงใหญ่เกินไป ทำให้อาจมองไม่เห็น ถึงอสูรราหูไว้ว่า “ขี่ม้าดำ ๘ ตัว ลากรถทรง พระพุทธองค์ ได้ แต่ด้วยพุทธานุภาพ เมื่อราหู ของราหูซึ่งเป็นสีดำแดงหรือสีหมอก” เข้าเฝ้านัน้ กลายเป็นว่า ราหูจะเห็นพระพุทธองค์ ได้ต้องแหงนคอตั้งบ่าเพื่อจะดูพระพุทธเจ้า ยังมีนิทานเกี่ยวกับราหูอีกตอนหนึ่ง ให้ถนัด แม้วา่ ในขณะนัน้ พระพุทธองค์จะประทับ เล่าว่า ณ กาลสมัยหนึ่ง พระเสาร์เกิดเป็น ในลักษณะกึง่ ไสยา เพราะความเขลาและได้เห็น พระยานาครักษาสมุทร ส่วนพระอาทิตย์เป็น ฤทธิ์เช่นนี้ ราหูจึงนับถือพระพุทธเจ้าเป็นครู
34
เรื่องการเป็นปรปักษ์กับพระอาทิตย์ และพระจันทร์ ซึ่งราหูจะกลั่นแกล้งได้หลาย ประการ บางครั้งก็จะไปนั่งที่เขายุคนธร เพื่อจะ เบียดเบียนเทพทั้งสองนั้น บางทีก็อ้าปากอม เอาพระอาทิตย์และพระจันทร์เข้าไปไว้ ในปาก “ลางคาบเอานิ้วมือบังไว้ ลางคาบไว้ ใต้คาง ลางคาบเอาไว้ ใต้รักแร้ และกระทำดังเมื่อกระทำดังไซร้ อันว่ารัศมีพระอาทิตย์ก็ดี พระจันทร์ก็ดี เศร้าหมองบ่มิงามได้เลย และคนทั้งหลายว่ามีสุริยคราสแล”
พระเกตุ
เทพเจ้าแห่งปาฏิหาริย์ พระเกตุ ตามคติฮนิ ดูคอื ส่วนหางของ ราหู เรียกว่าหางมังกรถูกตัดขาดจากลำตัวราหู แต่เพราะราหูลักลอบกินน้ำอมฤตคราวเทวดา กวนเกษียรสมุทรราหูจึงไม่ตาย กายท่อนบน ยั งคงลอยไปกลางนภากาศคอยจั บ อาทิ ต ย์ กับจันทร์อม ราหูเป็นเทวดาพระเคราะห์ แต่ โดยธรรมชาติของราหูกับเกตุเป็นจุดคำนวณ สุริยุปราคา มีปกติเดินถอยหลังเป็นนิจ เมื่อ ถอยไปเป็นเวลา ๑๘ หนึ่งส่วนสามปี ถ้าตรงกับ จุดโนด คือจุดตัดระหว่างเส้นทางเดินดาวเคราะห์ กับเส้นทางของราหู ก็จะเกิดอุปราคาขึ้นตาม อนุกรมของอุปราคาชุดนั้นๆ เกตุมผี วิ กายสีทองแดงหรือสีของควัน เป็นหมอกมัว มีม้าทรง ๘ ตัวเช่นเดียวกับราหู มีกายแบบบุคลาธิษฐาน เป็นเทวดาหรืออสูร บางทีก็ถือว่าเกตุคือดาวหาง ลูกอุกกาบาตและ ดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ ของสุริยระบบ (ที่จริง นั้นดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๘ คือ ยูเรนัส ดวงที่ ๙ คือเนปจูนเจ้าสมุทร ดวงที่ ๑๐ คือพลูโต) กล่าวว่าพระองค์เป็นธนาว และเป็น บุตรของสิงหิกากับท้าวเวปจิตติ พระเกตุจึงถูก เรียกกันว่า อกะชะ (ไม่มีขน) อเลศะ ภาวะ (ถูกตัดออก) มุนธะ
37
ตำนานเทพนพเคราะห์
เกตุนั้นมีอยู่สองชนิด คือเกตุฮินดู และเกตุราหู เกตุฮินดูนั้นถือว่าเป็นส่วนหางที่ถูกตัดขาด จากตัวราหูจึงโคจรอยูร่ าศีตรงข้ามกับราหูเสมอ และมีสัมผัสที่เท่ากัน ส่วนเกตุไทยนั้นคำนวณ ขึน้ ใช้ ในวงการโหราศาสตร์สมัยรัชกาลที่ ๔ และ กรรมวิธีก็ ไม่เหมือนเกตุฮินดู แต่เป็นกรรมวิธี แบบดาราศาสตร์ ดังได้กล่าวมาแต่ต้นแล้วว่า จุดคราสคือ สุริยคราสนั้นมีอนุกรมเป็นชุดๆ แต่ละอนุกรมเมื่อโคจรครบรอบจักรราศีแล้ว จะตรงกับ ๑๘ ปีครึ่งเสมอ โดยปกติจะมีการ ถอยหลังเป็นนิจศีล ทีนี้เกตุไทยก็ถือเอาจาก ราหูนนั้ เอง โดยโคจรในปีหนึง่ อาทิตย์จะตัดกับ ราหู ห รื อ พบกั บ ราหู ใ นราศี เ ดี ย วกั น และ มีสัมผัสที่สนิทกัน ระยะเวลาที่จะพบกันสนิท แต่ ล ะครั้ ง เอาเวลาช่ ว งนั้ น มาคำนวณหา เกตุขึ้น จึงเกิดเป็นคราสน้อย เกตุจึงถือว่าเป็น บาปเคราะห์และเป็นไฟแดง เมื่อโคจรสู่ราศีใด จะให้ โทษเสมอ ราหู เ ป็ น อสู ร หรื อ แทตย์ ที่ ใ ห้ โ ทษ เมือ่ ราหูเกิดจากอสูร เกตุซง่ึ เกิดจากราหูจงึ ต้อง เป็นอสูรหรือแทตย์ด้วย เนื่องด้วยเรื่องราว ครั้นกวนเกษียรสมุทร ที่ราหูได้แปลงกายเป็น เทวดาไปร่วมดื่มน้ำอมฤตกับเหล่าเทวดาด้วย เมื่อถูกพระอาทิตย์และพระจันทร์พบเห็นและ ไปฟ้องพระนารายณ์ จนเป็นเหตุให้พระนารายณ์ ขว้างจักรไปยังราหู ตัดร่างของราหูออกเป็น สองส่วน ท่อนหัวคือราหู ท่อนล่างก็คือเกตุ พระราหูและเกตุจงึ มีความแค้นเคืองพระอาทิตย์ กับพระจันทร์มาก ในฐานะที่ว่าเป็นคนแจ้งให้ พระนารายณ์รู้ตัว แม้จะถูกสาปให้หมุนจรไป ในเวหา ก็ยังหาทางแก้แค้นเอากายอันใหญ่ และเงาเข้ า บั ง พระอาทิ ต ย์ กั บ พระจั น ทร์ เสีย เลยเป็นธรรมเนียมบนโลกว่า เมื่อราหู
38
บังอาทิตย์และจันทร์ คนบนโลกก็จะสวดมนต์ และตีเกราะ เคาะระฆัง ฆ้อง ให้เสียงดังประโคม เต็มที่ เพื่อให้ราหูและเกตุตกใจ และจะได้คาย พระอาทิตย์และพระจันทร์ออกจากปากเสีย พระเกตุซง่ึ กำเนิดใหม่มาในโอกาสนัน้ ก็ ได้เข้าร่วมเป็น ๑ ในเทพนพเคราะห์ คอย คุม้ ครองผูค้ นทัง้ หลาย และคอยมอบปาฏิหาริย์ อันไม่คาดฝันให้แก่ผคู้ นเหล่านัน้ ท่านเป็นเทพ นพเคราะห์องค์เดียวที่ไม่มีวันสถิต แต่มนุษย์ จะถือเอาวันทีม่ ดี าวหางมาเป็นวันของพระองค์ อันเป็นเหตุให้พระองค์เป็นเทพแห่งดาวหาง และคอยคุ้มครองผู้คน ที่เกิดในช่วงเวลาที่มี ดาวหางมา (ถือกันว่าหางของดาวหางเปรียบ เสมือนสัญลักษณ์หรือตัวแทนของพระเกตุ เพราะเดิมทีพระองค์คือร่างกายส่วนหางของ พระราหู เพราะพระราหูมีลำตัวท่อนล่างเป็น กายของพญางูใหญ่) ท่าน เป็นเทพนพเคราะห์ ทีม่ พี ลังแห่งปาฏิหาริย์ จึงสามารถคุม้ ครองคน ได้หมดทุกคนโดยไม่สนใจว่าคนๆนัน้ จะเกิดวัน อะไร ซึง่ พระองค์จะคอยรับหน้าทีใ่ นการคุม้ ครอง ผู้คนที่มีชะตาโคจรมาตกในภูมิกลาง (อันไม่มี เทพองค์อื่นคุ้มครอง) ด้วยพลังแห่งปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่ ของท่าน ทำให้ท่านมีพลังอันยิ่งใหญ่เหนือกว่า เทพนพเคราะห์อันเป็นดาวเคราะห์ทั้งหลาย หรื อ พู ด ง่ า ยๆก็ คื อ ท่ า นจะด้ อ ยกว่ า เพี ย งแค่ พระอาทิตย์เท่านั้น หากในทางกลับกันท่าน ก็ ไม่มีจุดอ่อนแบบพระอาทิตย์ คือไม่แพ้ ให้กับ พระราหูประการหนึง่ และไม่มเี งือ่ นไขการสถิต รักษาในตัวคนอันเกิดขึ้นได้ยากยิ่งอย่างพระ อาทิตย์ อีกประการหนึ่ง
ตำนานเทพนพเคราะห์
รวมภาพ
เทวดานพเคราะห์
40
45
ตำนานเทพนพเคราะห์
ข้อมูลผู้จัดทำ
นายเจษฎา จึงธีรพานิช เกิดวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖
การศึกษา ระดับชั้นประถม มัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ ๔ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
facebook : j.jungthirapanich facebook page : 20th
บรรณานุกรม
๑.
สำนักพิมพ์เมืองโบราณ. เทวโลก พลูหลวง. พิมพ์ครั้งที่๒. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๓๘.
๒.
Akravator. นิยายเทพนพเคราะห์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://writer.dek-d.com/ Hyakkimaru/story/view. php?id=๖๖๓๒๒๗. (วันทีค่ น้ ข้อมูล : ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗).
โทรศัพท์ : ๐๘๑-๔๕๘๕๘๕๔
46
หนังสือภาพประกอบ เรื่อง
เทวดานพเคราะห์ รายวิชา โครงการพิเศษด้านวิชาชีพ ๓๖๒๒๐๗ - ๔๘
จัดทำโดย นายเจษฎา จึงธีรพานิช รหัสประจำตัว ๐๔๕๔๐๐๕๖ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา ๒๕๔๗