ง31204 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
หลักการออกแบบ สิ่งพิมพ์ที่พบเห็นโดยทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบสาคัญหลายอย่าง ได้แก่ ตัวอักษรหรือข้อความ ภาพประกอบ เนื้อที่ว่าง และส่วนประกอบอื่น การออกแบบสิ่งพิมพ์ต้องคานึงถึงการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันโดยใช้ หลักการดังนี้ ทิศทางการและการเคลื่อนไหว (Direction & Movement) เมื่อผู้รับสารมองดูสื่อสิ่งพิมพ์ การรับรู้เกิดขึ้นเป็นลาดับตามการมองเห็น กล่าวคือเกิดขึ้นตาม การกวาดสายตาจาก องค์ประกอบหนึ่งไปยังอีกองค์ประกอบหนึ่ง จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการดาเนิน การวางแผน กาหนดและชักจูง สายตาของผู้รับสารให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ถูกต้อง ตามลาดับ ขององค์ ประกอบที่ต้องการให้รับรู้ก่อนหลัง โดยทั่วไปหาก ไม่มีการสร้างจุ ดเด่นขึ้น มา สายตาของผู้รับสารจะมองดูหน้า กระดาษที่เป็นสื่ อพิมพ์ในทิศทางของตัวอั กษรซี (Z) ใน ภาษาอังกฤษ คือ จะเริ่มมองที่มุมบนด้านขวา แล้วไล่ลงมายัง มุมล่างด้านซ้าย ไปจบที่มุมล่างด้านขวาตามลาดับ การจัด องค์ประกอบที่สอดคล้องกับธรรมชาติของการมองนี้ เป็นส่วนช่วยให้เกิดการรับรู้ตามลาดับที่ต้องการ
1. เอกภาพและความกลมกลืน (Unity & Harmony) เอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งในการจัดทาเลย์เอาต์ (Layout) หมายถึง การนาเอาองค์ประกอบที่แตกต่างกันมาวางไว้ในพื้นที่หน้ากระดาษเดียวกันได้อย่างกลมกลืน โดยทา หน้าที่สอดคล้องและส่งเสริมกันและกันในการสื่อสารความคิดรวบยอดและบุคลิกภาพของสื่อ สิ่งพิมพ์ นั้นๆ การสร้างเอกภาพนี้สามารถทาได้หลายวิธี อาทิ - การเลือกใช้องค์ประกอบอย่างสม่าเสมอ เช่น การเลือกใช้แบบตัวอักษรเดียวกัน การ เลือกใช้ภาพขาว ดาทั้งหมด เป็นต้น - การสร้างความต่อเนืองกันให้องค์ประกอบ องค์ประกอบ เช่น การจัดให้พาดหัววางทับ ลงบนภาพ การใช้ตัวอักษรที่เป็นข้อความ ล้อตามทรวดทรง ของภาพ เป็นต้น - การเว้นพื้นทีว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด ซึ่งจะทาให้พื้นที่ว่างนั้นทาหน้าที่เหมือน กรอบสี ข าวล้ อ มรอบองค์ ป ระกอบทั้ ง หมดไว้ ภ ายในช่ ว ยให้ อ งค์ ประกอบทั้ ง หมดดู เหมือนว่าอยู่กันอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน
Page 2
ง31204 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
2. ความสมดุล (Balance) หลักการเรื่องความสมดุลนี้เป็นการตอบสนองธรรมชาติของผู้รับสารในเรื่องของแรงโน้มถ่วง โดยการจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษ จะต้องไม่ขัดกับความรู้สึกนี้ คือจะต้องไม่ดู เอนเอียงหรือหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยไม่มีองค์ประกอบมาถ่วงในอีกด้าน การจัดองค์ประกอบให้ เกิดความสมดุลแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ - สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยให้ องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวา ของพื้นที่หน้ากระดาษมีลักษณะเหมือนกันทั้งสอง ข้ า ง ซึ่ ง องค์ ป ระกอบ ที่ เ หมื อ นกั น ใน แต่ ล ะด้ า นนี้ จ ะถ่ ว งน้ าหนั ก กั น และกั น ให้ เ กิ ด ความรู้สึกสมดุล
สมดุลแบบอสมมาตร
สมดุลแบบสมมาตร
- สมดุลแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยให้ องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวาของ พื้นที่หน้ากระดาษมีลักษณะไม่เหมือนกันทั้ง สองข้าง แม้องค์ประกอบ จะไม่เหมือนกันในแต่ละด้าน แต่ก็จะถ่วงน้าหนักกันและกันให้ เกิดความสมดุล - สมดุลแบบรัศมี (Radial Balance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบ โดยให้องค์ประกอบแผ่ ไปทุกทิศทุกทางจากจุดศูนย์กลาง Page 3
ง31204 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
ตัวอย่างความสมดุลแบบอสมมาตร
ตัวอย่างความสมดุลแบบรัศมี
3. สัดส่วน (Proportion) การก าหนดสั ด ส่ ว นนี้ เ ป็ น การก าหนดความสั ม พั น ธ์ ใ นเรื่ อ งของขนาด ซึ่ ง มี ค วามส าคั ญ โดยเฉพาะในหน้ากระดาษของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการให้มีจุดเด่ น เช่น หน้าปกหนังสือ เป็นต้น เพราะ องค์ประกอบที่มีสัดส่วนแตกต่างกันจะดึงดูดสายตาได้ดีกว่าการใช้ องค์ประกอบทั้งหมดในสัดส่วนที่ ใกล้ เคีย งกัน ในการกาหนดสั ดส่ วนจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษไป พร้อมๆกัน ว่าควรจะเพิ่มหรือลด องค์ประกอบใด ไม่ใช่ค่อยๆ ทาไปทีละองค์ประกอบ
Page 4
ง31204 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
4. ความแตกต่าง (Contrast) เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการเพิ่ ม ขนาดให้ใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่นๆ โดยรอบ เช่น พาดหัวขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดู จะเลือกมองดูองค์ประกอบที่ใหญ่กว่าก่อน ความแตกต่างโดยขนาด เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด การเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง เด่นขึ้นมาด้วยการใช้รูปร่างที่แตกต่างออกไป จาก องค์ประกอบอื่นในหน้ากระดาษ ความแตกต่างโดยความเข้ม เป็นวิธีการที่เน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมา ด้วยการใช้เพิ่มหรือลดความเข้มหรือ น้าหนักขององค์ประกอบนั้นให้เข้มหรืออ่อนกว่าองค์ประกอบอื่น ที่อยู่ร่วมกันในหน้ากระดาษ เช่น การใช้ตัวอักษรที่เป็นตัวหนาในย่อหน้าที่ต้องการเน้นเพียงย่อหน้า เดียวในหน้ากระดาษ เป็นต้น ความแตกต่างโดยทิศทาง ทิศทาง เป็นวิธีการที่เน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่น ขึ้นมาด้วยการวางองค์ ประกอบที่ ต้องการจะเน้นนั้นให้อยู่ในทิศทางที่แตกต่างจากองค์ประกอบอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกัน ในหน้ากระดาษเช่น การวางภาพเอียง 45 องศา ในหน้ากระดาษที่เต็มไปด้วยตัวอักษรที่ เรียง เป็นแนวนอน เป็นต้น
Page 5
ง31204 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
5. จังหวะ ลีลา และการซ้่า (Rhythm & Repetition) การจัดวางองค์ประกอบหลาย ๆ ชิ้นโดยกาหนดตาแหน่งให้เกิดมีช่องว่างเป็นช่วงๆ ตอนๆ อย่างมีการวางแผนล่วงหน้า จะทาให้เกิดจังหวะและลีลาขึ้น และหากว่าองค์ประกอบหลายๆ ชิ้นนั้นมี ลักษณะซ้ากันหรือใกล้เคียงกัน ก็จะยิ่งเป็นการเน้นให้เกิดจังหวะและลีลา ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลักษณะ ตรงกันข้ามกับแบบแรก จังหวะและลีลาลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความรู้สึก ที่ตื่นเต้น ดูเคลื่อนไหวและมี พลัง
แหล่งที่มา : http://phaegraphicdesign.blogspot.com/2009/12/blog-post_6445.html Page 6
ง31204 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
เทคนิคการเลือกใช้สี ส่าหรับการออกแบบ
การสร้างงานออกแบบ Presentation หรืองานกราฟิกใดๆให้มีความเจ๋งนั้น เราต้องพึ่งหลัก คือ ทา ให้ผู้ที่ได้รับชมเกิดความรู้สึกสนใจ ดังนั้นเทคนิคที่จะทาให้งาน Presentation หรืองานกราฟิกดีขึ้นได้ คือ การเลือกใช้สี เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ดังนี้
Page 7
ง31204 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- การใช้สีที่มีเฉดต่างกัน เช่น แม่สี นั่นคือ สีแดง สีเหลืองและสีน้าเงิน - การเลือกใช้สีคู่ตรงข้าม - การเลือกใช้สโี ทนเดียวกัน หากไม่มั่นใจในการเลือกใช้สีต่างๆ ให้ไปเลือกสีได้ใน color.adobe.com เพราะจะมีการจัดทา Palette สีเอาไว้ให้แล้ว
สาหรับสีตัวอักษรในงานออกแบบนั้น ต้องเลือกสีให้เข้า Background กล่าวคือ - ถ้าตัวอักษรสีเข้ม Background ควรเป็นสีอ่อน - ถ้าตัวอักษรสีอ่อน Background ควรเป็นสีเข้ม
Page 8
ง31204 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
แหล่งที่มา : http://infographic.in.th/infographic/เทคนิคการใช้สีแบบเบสิค
Page 9