ป้ายรถเมล์ Special

Page 1

ป้ายรถเมล์ | 1



ป้ายรถเมล์ | 3


อ.พิษณุรักษ์ ปิตาทะสังข์ • อ.สุนทรี อมรเพชรสถาพร • อ.สุรีวัลย์ บุตรชานนท์ • ผศ.ชญานุช วีรสาร กฤษณรักษ์ แลศิลา • กลางใจ อาลากุล • จีรดา จันทคาม • จุลดิศ อ่อนละมุน • ชลันดา มีทองหลาง • ณัฐกานต์ ตำ�สำ�สู • ณัฐวัฒน์ ลักขษร • ถิรวัฒน์ อรจันทร์ • ทรงภพ สมหวังชัย • นิติยา บุญมั่น • นํ้าหวาน ฉิมหลวง • บุญญาพร บุตตะพรม • พจมาน สุขฤทธิ์ • พงษ์ศักดิ์ พงษ์สนิท • พิชญ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร • พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ� • พัชราภรณ์ ศรีภักดี • แพรวพรรณ สุริวงศ์ • ภัทรพรรณ ประพาฬ • รัฐพล แก้วใส • รศานนท์ ปังตระกูล • วิชุดา คงอยู่ • วนิดา แสงเพชร • วิภาวี จิ๋วเจริญ • วรนารถ คุ้มพวก • สันติสกุล คุณล้าน • สุภชัย จันทร์ศิริ • สาธิต ใหม่คามิ • ธุวานนท์ เสวตร • อภิวัฒน์ สุ่มมาตย์

ป้ายรถเมล์ | 4


ครั้งหนึ่งในระหว่างการประชุม ประเด็นข่าว ณ ห้องๆ หนึ่งในคณะ ห้องที่ พวกเรา หนุ่มสาววารสารศาสตร์ รหัส 54 ต่างพร้อมใจเรียกมันว่า “ห้องวารสาร” ผมได้ เผลอเอาปากกาเคมีไปเขียนบนกระดานไวท์ บอร์ด เพียงเพราะความไม่รู้ว่าปากกาเคมี กับปากกาไวท์บอร์ดมันแตกต่างกัน (เพราะ หน้าตามันโคตรจะเหมือนกัน) ซึ่งความโง่ เง่าในครั้งนั้น ทำ�ให้รอยวงกลมขนาดใหญ่ ถูกฝังไว้เป็นอนุสรณ์เล็กๆ บนกระดานมาจน ปัจจุบัน

จากรุ่นสู่รุ่น ห้องนี้ถูกเก็บความทรงจำ�และ ถูกจำ�ลองเป็นห้องทำ�งานในช่วงชีวิตมหาลัย ของพวกเรา ไม่ใช่แค่เรื่องวิชาความรู้ในการ เรียนเท่านั้นหรอก ที่เราเข้ามาตักตวงไปจาก ห้องๆ นี้ แต่ชีวิตของพวกเราก่อนจะออกไป สู่โลกนอกมหา’ลัย ก็ยังถูกสอนกันภายใน ห้องนี้ ภาพการทำ�งานหามรุ่งหามคํ่า ภาพ การเถียงกัน ทะเลาะกัน การหยอกล้อ ไม่ว่า เราจะหัวเราะหรือร้องไห้กับชีวิต ห้องๆ นี้ ก็ ยังเป็นสถานที่ที่รองรับพวกเรากว่า 30 ชีวิต เสมอมา

บ่อยครั้ง ไม่ใช่สิ แทบจะบอกได้เลยว่าทุก ครั้ง ห้องๆ นี้ มันเปรียบเสมือนแหล่งชุมนุม ของหนุ่มสาววารสารฯ ในการประชุม ใน การเรียน ในการทำ�งาน ในการมางีบหลับ และในบางครั้งมันก็แอบกลายเป็นห้องทาน ส้มตำ�ติดแอร์ ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นของ ปลาร้าอันหอมกรุ่น

จนกระทั่งพวกเราทั้งหมดออกไปฝึกงาน ห้องๆ นี้ก็กลายเป็นความทรงจำ�ไปโดย ปริยาย โลกแห่งการเรียนรู้ของพวกเรา เปลี่ยนจากห้องวารสารฯ เป็น ห้องที่กว้าง ใหญ่กว่าเดิม มันคือโลกแห่งความเป็นจริงที่ เกิดขึ้นกับเราทุกคน ต่างคนต่างออกไปเจอ บทเรียนภาคบังคับที่ไม่เหมือนกัน วงประชุม ในชีวิตมหาลัยที่เคยอบอุ่น อาจจะโดนกดดัน ในโลกแห่งความเป็นจริงของแต่ละหน่วย

งาน แต่ถึงกระนั้น เมื่อช่วงเวลา 3 เดือนผ่าน ไป พวกเราก็ได้กลับมานั่งอยู่ตรงนี้อีกครั้ง ป้ายรถเมล์ SPECIAL คืองานชิ้นสุดท้ายของ พวกเรา จริงๆ มันคือหนังสืออนุสรณ์รุ่น หรือ บางทีมันก็อาจจะเป็นเฟรนด์ชิปเล่มสุดท้าย ในชีวิตการเรียนของเราทั้ง 30 คน แต่ไม่ สำ�คัญ ว่าจะเรียกมันว่าอะไร สิ่งที่สำ�คัญ คือหนังสือเล่มนี้มันคือบทบันทึกความทรง จำ� และบทเรียนบทสุดท้ายในงานเขียนของ แต่ละคน ใช่ มันคืองานเขียนในนามของเด็ก ที่เรียกตัวเองว่า “JR “ ผมเหลือบมองไปเห็นร่องรอยวงกลมจาก ปากกาเคมีบนกระดาน วันนี้มันกลับเลือน ลางลงตามเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่ยังหลงเหลือ เป็นอนุสรณ์สถานเก็บไว้ในห้องนี้ คือ ความ ทรงจำ�ของพวกเราทุกคน ณัฐกานต์ ตำ�สำ�สู บรรณาธิการ


1. เป็นรุ่นที่มีจำ�นวนแรกเข้าเยอะสุด ตั้งแต่แยกสาขา และเหลือ รอดอยู่เยอะสุดเช่นกัน 2. เป็นรุ่นที่นิสิตชายเท่าๆ กับนิสิตหญิง กระเทย-ไม่มีเลย ทอม, เลสเบี้ยน – มีประปราย เกย์-เคยมีแต่ไปหากินที่อื่นแล้ว ไบ-ผลุบๆ โผล่ๆ ระบุเพศไม่ได้-ไม่แน่ใจ 3. เป็นรุ่นที่มีเซเลปในวงการต่างๆ มารวมกัน เช่น วงการคนทำ�หนัง สั้น นักร้อง-เน็ตไอดอล เดือนคณะ นักเต้นบีบอย นักบอล นักสะสม ของเก่า แม่ค้าหอยครก แม่ค้าขนมจีน เจ้าของร้านกาแฟ ลูกสาว เจ้าของสวนอ้อย ลูกชายร้านแหนมปลาส้ม ฯลฯ

4. เป็นรุ่นที่ได้เดินทางไปนอกสถานที่บ่อยครั้ง ไปแต่ละที่จะมี วีรกรรมเพี้ยนๆ เช่น เจอผีเจ้าที่รบกวน แอบกินเหล้าในเต็นท์ ตื่น สายตกรถ นอนลืมตื่นต้องไปปลุกที่หอพัก ฯลฯ 5. เป็นรุ่นที่คุยเก่งมาก จนไม่รู้จะสรรหาคำ�ไหนมาด่า จนต้องด่า ออกไปว่า “ทำ�ตัวอย่างนี้....ไม่น่ารักเลยนะ” จึงเงียบ และทำ�หน้า ตาสลด 6. เป็นรุ่นที่ Chill ตัวแม่ตัวพ่อมารวมกัน ว่างไม่ได้ต้องอัพรูปตาม ร้านกาแฟ ร้านลาบ ร้านส้มตำ� เรียกร้องความสนใจ และนั่งมโนว่า อกหัก รักคุด ละมุดเน่า


วารสารศาสตร์

รหัส 54 ที่ควรรู้จัก อาจารย์พิษณุรักษ์ ปิตาทะสังข์

10. เป็นรุ่นที่มีความเป็นก๊กเป็นเหล่าอยู่บ้าง แต่เมื่อมารวมกันก็ พร้อมจะสลายขั้ว และสุมหัวกันทำ�งานกันอย่างเอาเป็นเอาตายได้ อาจจะต้องจํ้าจี้จํ้าไชกันอยู่เป็นระยะ และเอาส้มตำ�มาล่อ 11. เป็นรุ่นที่ถนัดการย่างเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู วัว ปลา หรือเนื้อ อื่นๆ ที่เป็นพืช จะฤดูกาลไหนก็ย่างกันได้ตล๊อดตลอด จนต้องไป ตรวจมะเร็งกันบ้าง

7. เป็นรุ่นที่ช่วยกันเรื่องเรียนได้ดีพอสมควร ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น จับกลุ่มก็จะรีบจับคนเก่งๆ กระจายกันไปได้ดี หรือ เวลาทำ�ข้อสอบ ถ้าอาจารย์เผลอก็จะแอบเอากระดาษขึ้นมาดู 8. เป็นรุ่นที่ถือว่ามี ‘ของ’ กันหลายคน ทั้งเชิงข่าว สารคดี ถ่ายภาพ กราฟิค บ้างก็ไปถูกทาง แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้จักใช้ให้ถูกทาง หรือไม่กล้าใช้ ต้องลองให้ทำ�งานหลากหลาย จะเริ่มค้นพบตัวเอง แต่บางคนยังล่องลอยอยู่ ถือเป็นเรื่องปกติ 9. เป็นรุ่นที่ทำ�ให้เห็นว่า JR สามารถนำ�ไปต่อยอดกับทักษะด้าน อื่นๆ ได้ เช่น ด้านดนตรี ด้านทำ�อาหาร ถ่ายภาพ หนังสั้น

12. เป็นรุ่นที่คบหาดูใจกันเองในรุ่นหลายคู่ ที่เห็นๆ 3 คู่ ที่แอบๆ ซ่อนๆ และเคยผิดหวังต่อกันมาแล้ว ก็มีไม่น้อย ถึงขนาดนัดดูตัว จากที่เห็นในเฟซบุ๊ก เมื่อมาเจอตัวจริง...ตัวใครตัวมัน !!! 13. เป็นรุ่นที่อาจารย์บางท่านเกรงใจ อาจจะด้วยกลุ่มก้อนความคิด ที่ค่อนข้างชัดเจน มีความแข็งแกร่ง แต่อีกเหตุผลหนึ่งคือ หน้าตา บางคนน่าเกรงขามมาก ...เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงการปะทะ 14. ความหลากหลายของรุ่น ทำ�ให้ JR 54 มีสีสันไม่น้อย เป็นรุ่นที่ ไม่ไปสุดทางใดทางหนึ่งมากนัก พยายามจะมาเจอกันตรงกึ่งกลาง ความทุลักทุเลหาจุดกึ่งกลางนี่เอง เป็นเสน่ห์ของรุ่น เป็นการเดิน ทางของความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่แค่เรียนแล้วกลับบ้าน ไม่ใช่แค่เรียน แล้วสอบแข่งขัน แย่งกันเด่นดัง เป็นดาวประดับสาขา แต่พยายาม ประคับประคองให้ทุกคนไปถึงเส้นชัยพร้อมกัน



ต่อรถป้ายหน้าเลยน้อง อาจารย์สุนทรี อมรเพชรสถาพร

รหัสประจำ�ตัวนักศึกษาของอาจารย์ ห่างจากนิสิต 14 รุ่น หมายความว่าในวันที่เราสอนนิสิตรุ่นนี้ครั้งแรก เราคืออาจารย์อายุ 14 ปี ที่มีลูกศิษย์เป็นทารกแรกเกิด หากแต่ 14 ปีของคนที่เลือกเดิน ทางบนเส้นทางสายวารสารศาสตร์นี้มาก่อน เราคงเป็นได้แค่พี่เลี้ยง มากกว่าอาจารย์ มีหลายเหตุการณ์ที่เรากับ JR รุ่นนี้ได้ประสบพบเจอมาด้วยกัน แต่คงไม่มีเหตุการณ์ไหนชัดเจนไปกว่าวันที่มีโอกาสได้สัมภาษณ์ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี เพื่อใช้ลงนิตยสารป้ายรถเมล์อีกแล้ว ความ กดดันมากมายจากการต้องสัมภาษณ์โดยไม่มีเวลาเตรียมตัวล่วง หน้า ในสถานการณ์ที่เรากับนิสิต JR ณ ตอนนั้น ต่างยังไม่รู้จักกัน ดีพอ ท่ามกลางวงล้อมของไทยมุงที่เข้ามาช่วยกดดันทีมสัมภาษณ์ อาจารย์ถวัลย์ เรายืนมองอยู่ห่างๆ เฝ้าดูกระบวนการสัมภาษณ์ที่ถูก คิดและตัดสินใจด้วยตัวนิสิตเอง เราเริ่มมั่นใจว่าเด็กรุ่นนี้มีแสงสว่าง ในตัวเอง ในใจแอบคิด “งานพี่เลี้ยงเด็กรุ่นนี้น่าจะง่าย” แต่หารู้ไม่ว่า บททดสอบที่แท้จริงกำ�ลังก่อตัวต่างหาก การทำ�งานของนิตยสารป้ายรถเมล์ จะมีปัญหาไหนชวนปวดหัวไป กว่ากองบรรณาธิการไม่ชอบขี้หน้ากันอีกมั้ย ในวัยที่ต้องการการ ยอมรับ ในวัยที่อยากมีตัวตน อยากครองโลก แต่ก็อยากสบายแบบ สุดๆ ด้วย คนหนึ่งนั่งทำ�งาน อีกคนนั่งกินเหล้า เราในฐานะพี่เลี้ยง

เด็กต้องสวมวิญญาณเป็นกรรมการห้ามทัพทุกครั้ง ก่อนที่เด็กพวกนี้ จะเอานิ้วจิ้มตากัน สงครามเย็นสงบลงโดยปราศจากความสูญเสีย เมื่อทุกคนควบคุม อารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง และปรับระดับการเปล่งแสงสว่างของ ตัวเองได้ดีพอ ก็มีเวลาทำ�ความเข้าใจและใส่ใจคนอื่นมากขึ้น ที่ น่ายินดีอย่างที่สุดคือการเติบโตทางความคิด ทำ�ให้เราได้เห็นแสง ที่เปล่งประกายขึ้นเรื่อยๆ ของนิสิต JR โดยเฉพาะในสายงานข่าว หนังสือพิมพ์ ไม่ใช่ความเก่งกล้าสามารถในเชิงข่าว แต่เป็นความ เชื่อมั่นในศักดิ์ศรี และจรรยาบรรณสื่อ ที่ทำ�ให้การเดินทางมาด้วย กันตลอดระยะเวลา 4 ปีมีค่ามากจริงๆ ถึงเวลาต้องเดินทางต่อไปด้วยตัวเองแล้วนะ ป้ายรถเมล์ป้ายหน้า จะเป็นยังไงก็ยังไม่รู้ มีใครตกรถ หรือยังไม่รู้ว่าจะไปทางไหนรึเปล่า เลือกจุดหมายในชีวิตให้เจอ ถือตั๋วโดยสารให้แน่นๆ ขึ้นรถแล้วอย่า มัวนั่งเหม่อหรือหลับจนนั่งเลยป้ายล่ะ ส่งแค่นี้นะ

ป้ายรถเมล์ | 9


MY BELOVED JR ’12

อาจารย์สุรีวัลย์ บุตรชานนท์

หากการเรียนรู้ในห้องเรียนประกอบไปด้วย “ตำ�รา” การ เรียนรู้ในพื้นที่ของสนามจริงคงประกอบไปด้วย “ประสบการณ์” อัน ทรงคุณค่า เชื่อว่าหลายคนตระหนักถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ได้ดี เมื่อผ่าน “สนามจริง” ของการฝึกงานมาแล้ว สนามจริงที่ทำ�ให้เราได้ลอง “ของ” สนามจริงที่ทำ�ให้เราเรียนรู้กระบวนการทำ�งาน สนามจริง ที่ทำ�ให้เราเรียนรู้การทำ�งานร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ใช่เพื่อนร่วมชั้น และ สนามจริงที่อาจจะทำ�ให้เราค้นพบตัวเอง ประสบการณ์จากการทำ�นิตยสารฝึกปฏิบัติ “ป้ายรถเมล์” และ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ “สื่อมวลชน” ของนิสิตวารสารศาสตร์ รุ่น 12 อาจจะจำ�กัดอยู่ที่บริเวณรอบมหาวิทยาลัย และจังหวัดใกล้ เคียง แหล่งข่าวหรือแหล่งข้อมูลก็มักจะเป็นชาวบ้าน ผู้ประกอบการ เอกชนในพื้นที่ หน่วยงานราชการ หรือนักวิชาการ ซึ่งเทียบไม่ได้เลย กับประสบการณ์ตรงที่พวกเราไปสัมผัสมา แหล่งข่าวตัว “ใหญ่” ขึ้น พื้นที่ทำ�ข่าวขยายวงกว้างขึ้น และที่สำ�คัญโลกกว้างขึ้นด้วย การฝึกงานอาจจะเป็นเพียงด่านแรกที่บอกว่าเราพร้อมที่จะออกไป สู่โลกของความเป็นจริงหรือยัง โลกที่เรียนรู้เท่าไหร่ก็ไม่มีวันสิ้นสุด โลกที่บอกว่ายังมีทั้งถนนที่โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ และถนนที่เต็ม

ไปด้วยขวากหนามรออยู่ แต่สิ่งสำ�คัญที่สุดคือขอให้พวกเราเดินไป ถูกทาง และดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้อย่างเต็มที่ บางคนอาจจะถนัดคิดประเด็นและเขียนข่าว บางคนถนัดที่จะเล่า เรื่องด้วยถ้อยคำ�ที่สวยงาม บางคนถนัดที่จะเก็บความทรงจำ�ด้วย ภาพ และบางคนถนัดที่จะดีไซน์เนื้อหากับภาพให้งดงามและดึงดูด สายตา ไม่ว่าพวกเราจะถนัดอะไร ขอให้ทำ�มันออกมาให้ดีที่สุด เพราะ “วันนี้” คือเวลาที่มีค่ามาก และชีวิตเป็นของพวกเราทุกคน จงเดินตามถนนสายที่เราได้เลือกเอง หา “คำ�ตอบ” ให้ได้ว่าอะไรคือ สิ่งที่ดีที่สุดสำ�หรับตัวเรา ซึ่งนิตยสารป้ายรถเมล์ฉบับนี้คงจะสะท้อน ให้เห็นสิ่งที่พวกเรา “เลือก” ที่จะ “ทำ�” มันได้ สุดท้ายนี้ สำ�หรับเราแล้ว ในช่วงชีวิตปีแรกของการสวมบทบาท เป็นอาจารย์ คงไม่มีอะไรจะพิเศษไปกว่าการที่เราได้รู้จักกัน เป็น “อาจารย์” และ “ลูกศิษย์” ขอบคุณ JR ‘12 ที่ทำ�ให้เรารู้ว่าการเป็น อาจารย์มันมีความสุขเพียงใด เวลาที่ได้เห็นลูกศิษย์เติบโตและออก ไปยืนอยู่บนโลกกว้างได้อย่างมั่นคง โปรดจำ�คำ�นี้ให้ดี “My beloved JR#12” มันมีความหมายยิ่งใหญ่ตามคำ�แปล “เจอาร์ 12 ผู้เป็นที่รักของอาจารย์” และเรารู้สึกตามคำ�นี้จริงๆ

ป้ายรถเมล์ | 10



ป้ายรถเมล์ | 12


“เพื่อจะได้คิดถึงกัน” ผศ.ชญานุช วีรสาร

เราได้รู้จักกันในยุคที่อาจารย์ JR ขาดแคลน ครูจึงจำ�เป็น ต้องเป็นอาจารย์ประจำ� JR ไปพลางๆ ก่อน และในปี 2555 ก็ได้ เข้าไปช่วยสอนในรายวิชาการสื่อข่าวเกษตรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น วิชาเลือกของรุ่นนี้ เรียนได้ไม่ถึงครึ่งเทอม กลับเหลือผู้รอดชีวิตอยู่ เพียง 20 คน จาก 30 กว่าคน เออ...นี่เราคงสอนดีมากสินะ! แถมยังเกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายหลังจากสอบปลายภาค ที่ทำ�เอา ช็อควงการ MC ไปชั่วข้ามคืน จนเฟซบุ๊คแทบแตก คนอื่นๆ หลาย คนที่ได้อ่านข้อความในวันนั้นโกรธและเป็นห่วงความรู้สึกของครู มาก แต่โชคดีที่ครูไม่ได้อ่านเลย สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าพวก คุณรักพวกพ้องกันมากแค่ไหน เพียงแต่ผิดที่ผิดทางไปเท่านั้น เอง ไอ้เราก็คิดว่าควรจะขอโทษเด็กดีมั้ย ที่ทำ�ให้พวกเขาโกรธมาก เนื่องจากออกข้อสอบไม่ตรงกับคำ�ตอบ กระทั่งพวกเขาขึ้นปี 3 มีเสื้อช็อปวารสารศาสตร์ตัวแรกของเอกถูก วางอยู่ที่โต๊ะ ราคาก็ไม่ใช่น้อยๆ คำ�ถามแรกที่เห็นเสื้อ “อ้าว! ทำ�ให้ เราด้วยเหรอ” บอกตรงๆ ว่าครูแอบดีใจอยู่นะ แสดงว่าคงหายโกรธ เราแล้วสิท่า และยอมรับที่จะให้เราเป็นส่วนหนึ่งของ JR แล้ว ใช่มั้ย

พร้อมนํ้าตา ไม่ต่างจากครูที่นํ้าตาคลอรอไว้ก่อนแล้ว จากวันนั้นถึง วันนี้ ครูขอยํ้าประโยคเดิมว่า ครูไม่เคยนึกโกรธพวกคุณเลย ยังคงมี ความปรารถนาดีให้เสมอ และยินดีทุกครั้งที่ได้ยินเรื่องราวดีๆ จาก พวกคุณ จวบจนล่วงเข้าสู่ซัมเมอร์สุดท้ายก่อนเปิดเทอมอาเซียน พวกคุณ ถูกบังคับให้เรียนกับครูอีกครั้ง ด้วยเต็มใจหรือไม่ก็ตาม แต่หมด สิทธิ์เลือกแล้ว เราเจอกันในวิชาการวิเคราะห์ข่าวและสถานการณ์ ปัจจุบัน ครูพยายามเคี่ยวเข็ญให้ทุกคนพร้อมที่สุด ก่อนจะไปเผชิญ โลกความจริงในการฝึกงาน ซึ่งล้วนแต่ต้องเจอภาวะกดดันในการ ส่งงานเช่นกัน ถึงตรงนี้คงเข้าใจครูแล้วนะ ว่าทำ�ไมครูถึงทำ�แบบนั้น วันนี้พวกคุณกลับมาจากฝึกงานกันแล้ว จงเก็บเรื่องราวที่ผ่านมา ไว้เป็นประสบการณ์ เหนือสิ่งอื่นใดคือการได้กลับมาทำ�งานร่วมกัน ครั้งสุดท้าย ในผลงาน “ป้ายรถเมล์” ฉบับนี้ หวังว่าภาพแห่งมิตรที่ เรียกว่ามิตรภาพนี้จะยั่งยืน และบันทึกเป็นความทรงจำ�ของทุกคน ไปชั่วชีวิต ครูเองก็มีแต่ร่วงโรยไปตามกาลเวลา อาจจะหลงลืมชื่อ เสียงเรียงนามกันไปบ้างก็อย่าได้ถือสา แต่ในสำ�นึกของครูยังมีลูก ศิษย์ทุกคนตลอดไป

วันไหว้ครูในปีนั้น พวกคุณโตและมีวุฒิภาวะมากขึ้น หลายคนจึง คลานเข่าเข้ามากราบบนตัก แล้วเอ่ยคำ�ว่า “ขอโทษค่ะ/ขอโทษครับ”

ป้ายรถเมล์ | 13


ป้ายรถเมล์ | 14


หนุ่มสาว กองไฟ เหมันต์ และความทรงจำ�บนยอดดอย โค้งแล้วโค้งเล่า บนขุนเขาของดินแดนภาคเหนือใน ประเทศไทย รถตู้ 3 คันได้บรรทุกหนุ่มสาวปัญญาชน มาจากดิน แดนที่ราบสูง จุดหมายปลายทางของพวกเขาคือจังหวัดเชียงใหม่ หลายสิบชีวิตไม่เคยแม้จะคุยกัน หลายสิบชีวิตเป็นเพื่อนสนิท กัน แต่พวกเขาต้องมาดำ�เนินชีวิตอยู่ร่วมกัน สิ่งหนึ่งที่พวกเขาเป็น เหมือนกันคือ “วารสารศาสตร์” เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง กิจกรรมหลายอย่างที่พวกเขาได้ทำ�การ ละลายพฤติกรรม เพื่อที่ทุกคนจะได้ปลดปล่อยพันธะที่ต่างคนต่าง ยึดถือเอาไว้ พวกเขาสามารถดำ�เนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้ แม้หลายคน จะอายุต่างกัน แต่สิ่งเหล่านั้นไม่สามารถปิดกั้นความสัมพันธ์ของ พวกเขาได้ ทุกคนล้วนอยู่ด้วยกัน เคารพซึ่งกันและกัน กลับกลาย เป็นมิตรภาพของเพื่อนฝูงที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในอีก 4 ปี ข้าง หน้า ทุกคนสามารถพูดคุยปรึกษากัน มันกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่ อยู่ในใจของพวกเขา มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายตลอด 5 วันในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่สิ่งที่หลายคนจดจำ�คือ หนุ่มสาวหลายคนได้แลกเปลี่ยนเรื่อง ราวของตนเอง ผ่านเปลวไฟที่ลุกโชนบนยอดดอยอ่างขาง เครื่อง ดื่มหลายขนานได้ถูกปรุงแต่งในแก้วของแต่ละคน เมื่อมีรสชาติ

เรื่อง : พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ�, อภิวัฒน์ สุ่มมาตย์ ภาพ : ณัฐกานต์ ตำ�สำ�สู

ของแอลกอฮอล์เข้าไปผสมในเส้นเลือด หนุ่มสาวหลายคนก็เข้าสู่ สภาวะของอาการกรึ่มในรสเมรัย บรรยากาศการสนทนาท่ามกลางลมหนาว บนยอดขุนเขาแห่งนี้ ได้เริ่มต้นขึ้น ความครื้นเครงเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อมีกิจกรรม “หมุนขวด” โดยมีนัยยะแอบแฝง เป็นการเปิดใจผ่านการสุ่มจาก ปากขวด เพื่อนหลายคนได้เล่าเรื่องราวของตนเอง เพื่อนทุกคน ล้วนอยากฟังเรื่องราวของเพื่อนแต่ละคน เรื่องราวหลายอย่างพรั่ง พรูออกมาจากปากของหนุ่มสาววารสารศาสตร์ บ้างก็เป็นเรื่องราว สนุกสนาน บ้างก็มีดราม่าเรียกนํ้าตา แต่ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ ทำ�ให้พวกเขาได้รู้จักกันอย่างสนิทใจ ความทรงจำ�ที่เชียงใหม่มันทำ�ให้รู้ว่าพวกเราคือเพื่อนกัน ที่สามารถ พยุงกันไปให้ถึงฝันได้ ถึงแม้ว่าอาจจะมีเพื่อนบางคนที่ไม่สมหวังกับ การเรียน แต่ถึงอย่างไรพวกเราก็จะไม่มีวันทิ้งกัน พวกเราไม่มีวันที่ จะลืมความทรงจำ�ที่เราได้ใช้ชีวิตร่วมกันมาตลอดทั้ง 4 ปี มันอาจ จะลำ�บากใจที่ทุกคนต้องพลัดพรากจากกันไป ซึ่งทุกคนล้วนมีปลาย ทางไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เราจะไม่ลืมกันไปตลอดชีวิตคือคำ�ว่า “เพื่อน”

ป้ายรถเมล์ | 15


ครั้งหนึ่ง“สะหวันนะเขต”กับเธอที่คิดถึง เรื่อง : นํ้าหวาน ฉิมหลวง ภาพ : ณัฐกานต์ ตำ�สำ�สู

การเดินทางออกผจญภัยในต่างประเทศครั้งแรกของหนุ่ม สาวเกือบ 30 ชีวิตจากแดนฝุ่น สู่เมืองสะหวันนะเขต ประเทศลาว กลายเป็นเรื่องราวที่สอนชีวิต และเปิดมุมมองมากมายในช่วงเวลา สั้นๆ เช้าวันที่ 6 สิงหาคม หลายคนเตรียมเป้พร้อมกล้องคู่ใจ บางคนก็วุ่น กับการเดินเรื่องทำ�หนังสือผ่านแดนชั่วคราว เพื่อข้ามไปยังอีกฟาก ฝั่ง โดยการใช้บริการเรือข้ามแดนที่มีคนจุราวกว่า 40 คน พร้อม ของใช้จากฝั่งไทย ที่ลำ�เลียงไปจนเรือแน่น การแล่นเรือข้ามฝั่งลำ�นํ้า โขงต้องฝ่ากระแสนํ้าที่ไหลพัดผ่านเชี่ยวกราด เหมือนคนที่นี่ก็ไม่ได้ สนใจหรือตื่นเต้นอะไรนัก แต่สำ�หรับผู้มาเยือนอย่างเรา อาจบอก

ตรงๆ ได้เลยว่า ความหวาดเสียวนั้นมากองอยู่ตรงหน้าในทันที ชนิด ที่ว่า แค่เอื้อมมือก็ลงไปแตะนํ้าโขงอันเชี่ยวกราดได้แล้ว พื้นที่ของสะหวันนะเขตนั้น มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของ สปป.ลาว รองจากเมืองหลวงอย่างนครเวียงจันทน์ เมื่อข้ามฝั่งมาถึงเราก็มุ่ง หน้าไปยังตลาดสิงคโปร์ ด้วยการนั่งรถสกายแลป ยังไม่ทันที่จะได้ ชมความงามของสะหวันนะเขต รถก็พามาถึงที่หมายอย่างรวดเร็ว แถมถูกเรียกเก็บค่าบริการแสนแพง ซึ่งมารู้ทีหลังว่าแพงกว่าปกติ ทั่วไป และความจริงอีกอย่างที่เราค้นพบคือ ถ้าเราเดินจากด่านข้าม ฟากมาถึงตลาดสิงคโปร์ มันแค่กิโลเดียวเอง.. ค่ะ

ป้ายรถเมล์ | 16


ตลาดสิงคโปร์ที่นี่มีของกินของใช้มากมาย สิ่งหนึ่งที่รับรู้ได้จากการ ไปเยือนแบบนักท่องเที่ยว คือการที่พ่อค้าแม่ค้าเต็มใจลดราคาให้ จนน่าใจหาย ชนิดที่ว่าแค่ให้ลองถามราคาสินค้าสักชิ้นแล้วทำ�ท่า เดินไปร้านอื่น ราคาสินค้าก็จะถูกลดวูบครึ่งต่อครึ่งให้ราคาถูกลง ทันที โดยเราไม่ต้องเสียเวลาต่อรอง แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องระวัง เมื่อเดิน ทางไปสะหวันนะเขต ไม่ว่าที่ใดก็ตามมักจะมีเด็กตัวเล็กๆ อายุราว 7 - 8 ขวบ แต่งตัวมอมแมม เดินตามเราต้อยๆ จุดประสงค์เพียงเพื่อ “ขอตังค์” ซึ่งไม่ว่าเราจะทำ�เป็นไม่สนใจขนาดไหน เด็กเหล่านี้ก็เดิน ตามอย่างไม่ลดละ วิธีเดียวคือต้องใจแข็ง การนั่งรถหรือเดินเท้าชมตัวเมืองสะหวันนะเขตนั้น กล้องถ่ายภาพ สามารถเก็บภาพถ่ายสวยๆ ไว้มากมาย การใช้ชีวิตของผู้คนที่นี่ก็ ไม่ได้แตกต่างไปจากฝั่งไทยหรืออีสานบ้านเราเท่าใดนัก อย่างน้อย สำ�หรับที่นี่ เรื่องของภาษาแทบไม่ต้องกลัว เพราะเราเองสามารถใช้ ภาษาอีสานแท้ๆ สื่อสารกันกับคนลาวได้อย่างสนิทใจและรู้เรื่อง

จนเวลาล่วงเลยมาบ่ายแก่ๆ เป็นสัญญาณบอกว่าถึงเวลาที่จะต้อง รวมพลมิตรสหายก่อนกลับข้ามฝั่งพร้อมกัน ทำ�ให้เรือเกือบครึ่ง เต็มไปด้วยกลุ่มหนุ่มสาววารสารฯ ที่มาเยือนสะหวันนะเขตเกือบ ทั้งหมด ความตื่นเต้นจากการนั่งเรือข้ามฟากกลางลำ�นํ้าโขงกลับ มาอีกครั้ง แต่แปลกที่คราวนี้กลับรู้สึกสนุก อาจเพราะมีกลุ่มมิตร สหายอยู่ข้างกาย เลยไม่รู้สึกกลัวเท่าใดนัก เสียงลั่นชัตเตอร์กล้อง รัวๆ มากมาย สลับกันดังขึ้นเมื่อมาถึงกลางลำ�นํ้าโขง ทุกคนกำ�ลัง เก็บภาพเรือที่กำ�ลังแล่นออกจากฝั่งสะหวันนะเขตช้าๆ เพราะต่างรู้ กันว่า เมื่อขึ้นฝั่งไปกลับสู่ที่เดิมแล้ว เราก็จะเดินทางกลับกันสู่ถิ่น สู่ มหาวิทยาลัยที่พวกเราจากมา และไปใช้ชีวิตนิสิตที่พวกเราเป็นเช่น เดิมอีกครั้ง การเดินทางในครั้งนี้หลายคนค่อนข้างตื่นเต้น หลายคน พูดคุยกันเยอะขึ้น รวมไปถึงเม้าท์มอยกันเสียงดังสนั่นหวั่นไหวเมื่อ ขึ้นรถบัส รอยยิ้มและเสียงหัวเราะมากมายดังมาเป็นระลอก เป็น ภาพความทรงจำ�จางๆ ที่ครั้งหนึ่งพวกเราได้เคยไปเยือนและใช้ชีวิต ผจญภัยข้ามลำ�นํ้าโขงร่วมกัน

ป้ายรถเมล์ | 17


ความอบอุ่นในวสันตฤดู เรื่อง : พิชญ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร ภาพ : ณัฐกานต์ ตำ�สำ�สู เช้าตรู่ของฤดูฝนในปี 2556 ภาพของเด็กวารสารศาสตร์ มหาสารคาม กำ�ลังวุ่นวายอยู่กับการเตรียมตัวเพื่อที่จะออกเดินทาง ไปยัง “สวนลุงโชค” อำ�เภอวังนํ้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา ยังคง เป็นภาพบรรยากาศที่หลายคนในรุ่นเราพอจะจำ�มันได้ เนื่องจากรถ คันที่เรานั่งโดยสารไปเป็นรถ 6 ล้อ สไตล์สองแถว อารมณ์คล้ายรถ โดยสารในยุค 80’s พ่วงด้วยรถยนต์ของปุ๊ป๊ะ เพื่อนในเอก ที่มีผม นอนเป็นผู้โดยสารอยู่ด้านหลังกระบะ เพราะอาการเมาค้างและการ นอนน้อยของคํ่าคืนที่ผ่านมา ล้อหมุนออกจากมหาสารคามไปยังวังนํ้าเขียวใช้เวลานานพอ สมควร รถของลุงเล่นเอาซะแต่ละคนขวัญหนีดีฝ่อกันเลยทีเดียว เนื่องด้วยคุณลุงผู้ขับรถ ได้กระชากจังหวะดริฟท์อันน่าหวาดเสียว ตลอดเส้นทาง จนทำ�ให้รถกระบะอีกคันที่ตามมาต้องชะลอตามไป ด้วย แถมทางเข้าสวนลุงโชค ยังอยู่ลึกเข้าไปในอำ�เภอวังนํ้าเขียว มากพอสมควร อาหารมื้อแรกที่ได้รับประทานหลังจากเดินทางถึงสวนลุงโชค เป็น แกงหน่อไม้สุดคลาสสิค ฝีมือการปรุงแบบวิถีป่าๆ จากเพื่อนกลุ่ม

แรกที่อาจารย์บั๊มพ์ได้แบ่งกลุ่มการทำ�งาน และการทำ�อาหารให้ อย่างลงตัว อาหารมื้อนั้นเต็มไปด้วยความเอร็ดอร่อย และไอ้เม่น ผู้ ที่ทานผักไม่ได้เลยสักประเภท จนกลายเป็นสิ่งที่ทำ�ให้เจ้แคท รุ่น พี่ร่วมรุ่นผู้น่ารัก ต้องลำ�บากไปทำ�การทอดไข่เจียวให้กินแทน เพื่อ ประทังความหิวกันไป การลงพื้นที่ในวันถัดมา เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ทุกคน มุ่งมั่นเต็มที่ เพราะได้ลงพื้นที่ในการทำ�งานแบบถึงลูกถึงคน ได้ ปลูกต้นไม้ ส่องสัตว์ป่า หาสมุนไพร ที่สำ�คัญกว่านั้น สิ่งที่ทำ�ให้เรา ตื่นเต้นเป็นพิเศษ คือการได้เห็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่างกระทิง ตัวเป็นๆ ในเวลานั้นนอกจากที่เราได้เห็นกระทิงและได้รับอากาศ ที่แสนจะบริสุทธิ์จากผืนป่าเขาใหญ่แล้ว กลางหุบเขาแห่งนั้น พวก เราทุกคนต่างยืนชื่นชมพระอาทิตย์ตกดินกันพร้อมหน้า ซึ่งเป็นภาพ ที่ดูอภิรมย์อย่างยิ่ง ทุกคนต่างพากันเก็บภาพความประทับใจนั้น ไว้ในความทรงจำ� หากจะหาโอกาสที่พวกเราชาววารสารศาสตร์ จะได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขแบบนี้อีก คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ผมยังจำ�ได้ ดี บรรยากาศตอนนั้นมันแสนจะอบอุ่น ถึงแม้จะมีสายลมหนาวมา กระทบกายก็ตาม

ป้ายรถเมล์ | 18


เสร็จจากการเฝ้าดูกระทิง ยํ่าคํ่าเราก็นั่งรถข้ามเขากลับมายังสวน ลุงโชค เหตุการณ์ของคืนนั้นที่ทุกคนต้องพูดถึงกันอยู่ตลอดตาม วงเสวนาคือการถูกผีหลอก!! จากเรื่องเล่าของเม่นคนเดิมที่ไม่กิน ผัก เล่าว่า หลังจากที่อาบนํ้าเสร็จสรรพ กะว่าจะหยอกล้อมอลสัก หน่อย เลยเดินไปในเต็นท์ของมอลที่มีแสงไฟเลือนลาง ซึ่งเม่นคิดว่า มอลอยู่ในนั้น ทันใดนั้น เม่นเลยเอ่ยถามถึงคนในเต็นท์ด้วยถ้อยคำ� สบถ แต่กลับไม่มีเสียงตอบรับ เม่นจึงตัดสินใจเปิดเข้าไป แต่สิ่งที่ พบกลับเป็นความว่างเปล่า ทำ�ให้เม่น มอล ท็อป และนะโม ผู้ร่วม เต็นท์ ต่างนอนไม่หลับกันทั้งคืน

นั่นเป็นแค่ร่องรอยจากเรื่องเล่าและความทรงจำ�ในค่ายสวนลุงโชค บางส่วน แต่แล้ว ก่อนเดินทางกลับ 1 คืน กิจกรรมเปิดใจได้สร้าง มิตรภาพขึ้นมาให้เพื่อนทุกคนได้จดจำ�กันอีกครา จากเรื่องดราม่า เล็กๆ น้อยๆ ของกิจกรรมนี้ ทำ�ให้เราทุกคนกลับแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ระหว่างเดินทางกลับ รถ 6 ล้อคันเดิมแล่นผ่านทุ่งหญ้าบนเนินเขา แห่งหนึ่ง ทุกคนมองหน้ากัน พลันที่สายตากำ�ลังยื่นออกไปรับลม และมองภาพทุ่งหญ้าที่อยู่ตรงหน้า ใครคนหนึ่งบอกให้รถหยุด และ พวกเราทั้งหมดก็ก้าวลงจากรถ วิ่งกรูไปยังเนินหญ้าอันโล่งเตียน แห่งนั้น และกล้องถ่ายรูปก็บันทึกความทรงจำ�ของพวกเราเอาไว้

ป้ายรถเมล์ | 19


“ละครเมืองคาม” สามัคคีชุมนุม เรื่อง : ชลันดา มีทองหลาง

ขึ้นชื่อว่าเป็นนิสิตที่เรียนวารสารศาสตร์ แค่ได้ยินชื่อใคร ก็ต้องนึกภาพออกว่าวันๆ ต้องมีแต่เขียน เขียน และก็เขียน คงจะ ไม่มีเวลาไปทำ�อย่างอื่นแน่นอน แต่แล้ววันหนึ่งเราก็ได้รับโอกาสให้ จัดงานอีเว้นท์ “ละครเมืองคาม” ขึ้น โดยพวกเราต้องออกแบบทำ� อุปกรณ์ตกแต่งภายในงานเองทุกอย่าง ซึ่งนั่นก็เป็นโอกาสที่ดีที่ให้ พวกเราได้โชว์ฝีมือในด้านอื่นนอกจากงานเขียนดูบ้างนั่นเอง การทำ�งานของพวกเรานั้นเริ่มจากการประชุมแบ่งฝ่ายว่าใครอยาก จะทำ�อะไร อยากตกแต่งอะไร ป้ายงานจะออกแบบมาเป็นอย่างไร ซึ่งพอประชุมเสร็จ ทุกคนก็ลงมือทำ�อย่างเอาเป็นเอาตาย ฝ่ายศิลป์ ต้องยกให้พวกกลุ่มชายฉกรรจ์แห่งวารสารฯ ที่ลงแรงทำ�มดยักษ์ กันอย่างสุดแรงเกิด ฝ่ายตกแต่งสถานที่ก็ทำ�งานกันอย่างหามรุ่ง หามคํ่า ทั้งโคมไฟที่ประดับภายในงานและตามทางเดิน ส่วนฝ่าย สวัสดิการก็ทำ�งานกันอย่างยอดเยี่ยม อย่างกับยกครัว 5 ดาว มา วางไว้หน้าคณะ (ถึงแม้อาหารในงานวันนั้นจะทำ�เอาเส้นผมของ พวกเราร่วงกันเกือบหมดก็ตาม)

ทุกคนมาช่วยกันในหลายๆ ฝ่าย เป็นเรื่องที่ฉันเองก็คิดไม่ถึงว่าจะ ได้เห็น ได้สัมผัสกับคำ�ว่าเรี่ยวแรงและความสามัคคีที่ต่างช่วยกัน ทำ�งานมันเป็นยังไง ในวันงานจริง เพื่อนๆ ทั้งสามเอก ยังได้มาช่วย กันต้อนรับแขกที่มาร่วมงานกันอย่างอบอุ่น ช่วยกันคนละไม้คนมือ พูดแล้วก็แอบคิดถึงงานในวันนั้น ที่แสนจะมีความสุข สนุก และเป็น กันเอง ใบหน้าของทุกคนล้วนมีแต่รอยยิ้ม และช่วยกันจนงานเลิก มันเป็นงานแรกที่เพื่อนๆ ในเอกทั้งหมดได้ช่วยกันทำ�ขึ้นมาอย่าง จริงจังที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา สุดท้ายนี้หลังจากที่พวกเราเรียนจบ ทุกคนจำ�เป็นที่จะต้องแยกย้าย กันไปตามทางของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนก็ไปตามฝันที่ตัวเองวาง ไว้ ไม่รู้จะมีโอกาสอีกสักครั้งไหม ที่เพื่อนๆ จะได้ร่วมกันทำ�กิจกรรม แบบนี้อีก จะกลับมาชุมนุมกันแบบนี้ อย่างน้อยก็ดีใจที่เราได้เป็น หนึ่งในเอกวารสารศาสตร์ รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำ�งานและดีใจที่ได้ เป็นเพื่อนกับทุกคน

ป้ายรถเมล์ | 20


ป้ายรถเมล์ | 21


ป้ายรถเมล์ | 22


ป้ายรถเมล์ | 23


ป้ายรถเมล์ | 24


เมืองหลวง / แท็กซี่ / และวิชาชีวิต พิชญ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ การเดินทางออกจากบ้านไปใช้ชีวิตในต่างจังหวัด เห็นจะ ไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไรสำ�หรับเด็กหนุ่มจากสกลนครอย่างผม ที่เคย ดั้นด้นออกจากบ้านมาเรียนต่อในเมืองมหาสารคามเมื่อปี 2553 แต่ การที่ต้องเดินทางและไปใช้ชีวิต ณ เมืองที่ทุกคนเรียกว่าเมืองหลวง หรือเมือง(ห)ลวง ที่ถูกหมายความไว้ในในอุดมคติของผม ระยะ เวลาเกือบ 4 เดือนนี้มันดูเหมือนจะยาวนานมาก เมื่อเปรียบเทียบ กับการที่เคยเรียนอยู่มหาสารคามมาตั้ง 5 ปี ภาพการเอารัดเอาเปรียบเห็นจะเป็นสิ่งเดียวที่ไม่ต้องเตรียมพร้อม สำ�หรับการเดินทางมากรุงเทพฯ ในคราวนี้ สิ่งเหล่านั้นมันอาจจะ เป็นธรรมชาติสำ�หรับบางคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแห่งนี้มาอย่าง ยาวนาน หรือไม่ผมก็คงคิดเอาเองจากความฟุ้งซ่านที่เกิดในหัว สมอง นอกจากภาพเหล่านั้นแล้ว ผมก็ไม่ได้มีความพร้อมอะไรเลย ในการที่เข้ามาฝึกวิชาชีพ การเดินทางมาในครั้งนี้จึงถือเป็นเรื่องที่ หนักหนาสาหัสเอาการสำ�หรับเด็กบ้านนอกคนหนึ่ง เพราะผมไม่รู้ อะไรเลยเกี่ยวกับที่นี่ ทั้งการเดินทางไปทำ�งาน การกิน การอยู่ ผม ต้องใช้ชีวิตอย่างไร ให้ตัวเองสามารถมีชีวิตรอดอย่างมีความสุขกับ การเดินทางออกจากบ้านมาในครั้งนี้ หลังจากที่เริ่มฝึกวิชาชีพด้านการสื่อสารมวลชนในระยะแรก ก็ทำ�ให้ ผมถึงกับนํ้าตาตก เมื่อต้องพบกับโจทย์หินอย่างหนึ่ง นั่นก็คือการ ทำ�ข่าวการเมือง ที่ในหัวสมองของผมมีพื้นฐานอยู่เพียงน้อยนิด แต่ หลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไป โจทย์ต่างๆ ที่ได้รับจากพี่เลี้ยง ฝึกงาน เห็นจะไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตกอันใดกับการฝึกงานในครานี้อีก ต่อไป

“มนุษย์ในกรุงเทพฯ เหมือนปลวกนะ ตอนเช้าออกไปทำ�งาน ตอน เย็นกลับเข้ารัง ดูสิตึกใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ เหมือนจอมปลวกไหม ถ้า เลือกเกิดได้ผมจะไปอยู่บ้านนอก ไม่มาอยู่ในสังคมของปลวกแบบ นี้หรอก” ชายชราผู้ขับแท็กซี่ได้เอ่ยกับผม ขณะที่นั่งรถกลับจากสนามข่าว คำ� เหล่านั้นได้กระแทกเข้ามาในความคิดผมอย่างจัง เพราะประโยค นั้นเป็นสิ่งที่ถูกเอ่ยมาจากคนกรุงเทพฯ แท้ๆ และเมื่อผมมองไป รอบๆ ประกอบกับภาพจำ�ที่มีในหัว ทำ�ให้ผมยิ่งอยากกลับไปอยู่ที่ บ้านเกิดเต็มที ประโยคที่เอื้อนเอ่ยจากชายผู้นั้น ตอกยํ้าให้ผมยิ่งคิด หนักเข้าไปใหญ่ เพราะการเรียนจบระดับมหาวิทยาลัยมันใกล้เข้า มาถึงตัวเองทุกที นั่นก็หมายความว่าผมต้องหางานทำ� ซึ่งงานนัก ข่าวที่ผมถนัดนั้นจำ�เป็นต้องเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ก็พลันยิ่งทำ�ให้ ผมวิตกกังวลเข้าไปใหญ่ ว่าอาชีพในอนาคตผมจะเอาอย่างไรกับ มันดี การฝึกงานที่โพสต์ทูเดย์ นอกจากความรู้ที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มอบ ให้ผมแล้ว การใช้ชีวิตให้รอดในกรุงเทพฯ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่โพสต์ทู เดย์มอบให้กับผม ให้ผมได้เรียนรู้ชีวิตจากสิ่งรอบตัว นอกเหนือจาก ข่าวบนหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ เวลา 103 วัน หรือ 2,472 ชั่วโมง ในการใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จึงเป็นประสบการณ์ ที่น่าจดจำ� มันมีทั้งความสุข ความเศร้า ที่มีครบทุกรสชาติให้ได้พบเจอ ขอบ คุณพี่ๆ นักข่าวภาคสนาม ขอบคุณอาจารย์ทุกท่าน และคนขับรถ แท็กซี่คนนั้น ที่ทำ�ให้ผมได้รับพลังอะไรบางอย่าง กับการมาใช้ชีวิต อยู่ที่เมือง(ห)ลวงแห่งนี้ในช่วงห้วงเวลาหนึ่งของชีวิต

ป้ายรถเมล์ | 25


ป้ายรถเมล์ | 26


จุดเกิดเหตุ สุภชัย จันทร์ศิริ หนังสือพิมพ์มติชน “ทุกคนสามารถเขียนข่าวได้หมด แต่จะมีสักกี่คนที่เขียน ข่าวให้ผู้อ่านเข้าใจในภาษาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้”

ที่นุ่มลึกว่า อ่านให้หมดทุกข่าว ศึกษาไว้ทุกข่าว ด้วยเหตุคือ เพื่อ ศึกษา “สไตล์บุ๊ค” ของหนังสือพิมพ์

ฉัน.. จากคนที่เขียนข่าวไม่เป็นมาก่อน ประเด็นในหัวไม่มี ภาษาการ เขียนใช้ไม่ได้ กระทั่งการได้มาฝึกงานในสายข่าวอาชญากรรมเป็น เวลา 3 เดือน กับงานเขียนข่าวกว่า 86 ชิ้น เหล่านี้ทั้งหมดล้วนเป็น เครื่องพิสูจน์ตัวเอง

60 กว่าวัน กับการนั่งรถตระเวนข่าว รถเก๋งคันสีบรอนด์ ที่ติดเสา รับสัญญาณวิทยุตำ�รวจ เพื่อฟังเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใน กรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเสียงวิทยุดังขึ้น แจ้งเหตุ 141 “ปล้นทรัพย์ร้าน ทอง บริเวณธนาคารออมสิน สาขาหัวลำ�โพง พบชายต้องสงสัย ขับรถหลบหนี ขอทุกหน่วยสกัดจับ” หลังจากสิ้นสุดเสียงวอ ทีม ข่าวเร่งเครื่องยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว พร้อมลงสัมภาษณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ ในทันที ครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์ที่สนุกและ ตื่นเต้นมากสำ�หรับชีวิตฉัน เพราะได้เห็นสถานการณ์จริง และฉันได้ ลงลุยข่าวคนเดียวภายในเวลาที่แสนจำ�กัด

ความท้าทายใหม่ในชีวิตเริ่มต้นขึ้น หลังจากที่ผ่านมาฉันเขียนแต่ ข่าวเชิงสิ่งแวดล้อม ฉันพยายามตั้งคำ�ถามกับตัวเองตลอดเวลา ว่าต้องการเปลี่ยนแนวการเขียนบ้างหรือเปล่า ต้องการเขียนให้ รวดเร็วขึ้น ต้องการจับประเด็นให้ได้มากขึ้น ต้องการเห็นสิ่งแปลก ใหม่ในชีวิตบ้าง คำ�ตอบที่ผุดอยู่ในหัวฉันตลอดเวลาคือสายข่าว อาชญากรรม อาจเป็นเพราะฉันที่อยากรู้อยากเห็นถึงการกระทำ�ผิดในสังคม เห็นการทำ�งานข่าวด้านสืบสวน และที่ขาดไม่ได้ ฉันอยากเห็นการ ทำ�งานของตำ�รวจไทย ในยุคที่ถูกตีตราว่ากินบ้านกินเมืองรังแกผู้คน ก้าวแรกที่เท้าเหยียบกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน ทุกอย่าง เป็นสิ่งแปลกใหม่สำ�หรับฉัน โต๊ะทำ�งานแบ่งออกเป็นระเบียบ คน มากกว่า 100 คน นั่งนิ่งทำ�งานบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ใช่แล้วครับ ที่นี่คือกองบรรณาธิการข่าวของหนังสือพิมพ์มติชน คำ�ถามเกิดขึ้น มากมายภายในใจอีกครั้ง เราจะเขียนข่าวได้จริงเหรอ เราไม่เคยทำ� ข่าวอาชญากรรมมาก่อน มันเกิดความสับสนมากเหลือเกินภายใน หัวสมองในตอนนั้น หลังจากที่ตั้งสติได้ ก็มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับ มากองท่วมหัวอยู่ตรงหน้า หญิงวัยกลางคนพูดกับฉันด้วยนํ้าเสียง

สำ�หรับสายอาชญากรรม สิ่งที่สนุกยิ่งกว่าการทำ�ข่าวแล้วได้ตีพิมพ์ คือการ “ตีหัว” คำ�ว่า ตีหัว หมายถึงประเด็นข่าวหรือเนื้อข่าวที่ฉบับ เรามี แต่ฉบับอื่นๆ ไม่มี นั่นเป็นหัวใจหลักอีกอย่างหนึ่งของคนทำ� ข่าวอาชญากรรม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ณ จุดเกิดเหตุ มันคือแรงผลักดัน ให้ฉันได้พัฒนาตัวเอง พยายามศึกษาข่าวเก่าๆ เรียนรู้วิธีการเขียน เรียนรู้การสืบสวน เรียนรู้การตั้งคำ�ถาม เรียนรู้การสัมภาษณ์แหล่ง ข่าวระดับสูง ประสบการณ์การทำ�งานจริงในเวลา 3 เดือน มันสั่งสม ให้ฉันเรียนรู้ และกลั่นกรองในการเขียนข่าวมากขึ้น ในบางครั้งได้ เจอคดีอะไรใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเขียน นี่แหละ ยิ่งเป็นความท้าทายใน สายอาชีพนักข่าวอาชญากรรม

ป้ายรถเมล์ | 27


ป้ายรถเมล์ | 28


นกพิราบสีดำ� ที่ถูกจองจำ�ในกรงสีเขียว พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ� ประชาไท ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย การเมืองไทยถูกแบ่งเป็น 2 ขั้ว จนนำ�ไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ สื่อหลายแขนงได้ถูกระงับการออกอากาศ และถูกคุกคามจากเจ้า หน้าที่รัฐ เนื่องจากมีกฎหมายบางฉบับคํ้าคอสื่ออยู่ จึงเกิดคำ�ถาม ว่า สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในยุคนี้มีจริงหรือ การรายงานข่าว เป็นประเด็นสำ�คัญอย่างยิ่งสำ�หรับยุคนี้ การเข้าหา แหล่งข่าวเป็นเรื่องยากมาก สำ�หรับฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับผู้มีอำ�นาจ สื่อบางสำ�นักจึงงัดกลยุทธ์วิธีต่างๆ เพื่อจะได้เข้าถึงตัวของแหล่งข่าว ที่ต้องการได้ เพราะบางกรณีแหล่งข่าวไม่สามารถเปิดเผยตัวได้ ว่า พำ�นักอยู่ที่ใด จึงมีการติดต่อกันหลายวิธี อาทิ ทางโทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่การสัมภาษณ์ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีการเปิดกล้องแลก เปลี่ยนคุยกัน เพื่อที่จะให้แหล่งข่าวไว้วางใจซึ่งกันและกัน สื่อทางเลือกเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่ผู้รับสารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ง่าย โดยเนื้อหาที่ถูกนำ�เสนอจะมีความแปลกใหม่จากสื่อกระแส หลัก หลายครั้งที่สื่อกระแสหลักประโคมข่าวอีกประเด็นหนึ่ง แต่ กลับพบว่ามีบางสื่อที่นำ�เสนอไปในอีกแง่มุม ซึ่งเป็นที่น่าสนใจ

มากว่า อนาคตข้างหน้าสื่อทางเลือกจะมีบทบาทต่อสังคมมากน้อย เพียงใด การไม่ยอมก้มหัวให้ทหาร และมีการท้าทายอำ�นาจรัฐ ถือว่าช่วง เวลานั้น มีความสุ่มเสี่ยงเป็นอย่างมาก ที่จะมีใครซักคนโดนเชิญไป “ปรับทัศนคติ” แต่เหตุการณ์ที่หลายคนหวาดวิตกก็ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่ง ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ทุกคนก็ยังไม่มีใครไว้ใจกับเรื่องนี้ เพราะยังอยู่ ภายใต้ “กฎอัยการศึก” เพราะเหตุการณ์บางอย่างไม่มีใครสามารถ คาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตามเราคิดว่ามันดีมากนะ ที่ได้มาฝึกงานในช่วงที่มีกฎ อัยการศึก เพราะทำ�ให้เราได้นำ�เสนอประเด็นข่าวใหม่ๆ ที่ไม่ถูก นำ�เสนอจากสื่อกระแสหลัก เราว่าบางทีสิ่งที่น่ากลัว มันอาจมี คุณค่าให้ไขว่คว้าก็ได้ เฉกเช่น การรัฐประหารครั้งนี้ ก็ทำ�ให้รู้ว่าการ ท้าทายกลุ่มคนที่มีอำ�นาจ มันมีความน่ากลัวและความสนุกอยู่ใน ตัวของมัน ขอบคุณพี่ๆ ที่ประชาไททุกคน ที่มอบโอกาสให้ ขอบคุณ อาจารย์ทุกคน และเพื่อน วารสารศาสตร์ รหัส 54 โชคดีและมี เสรีภาพครับเพื่อน

ป้ายรถเมล์ | 29


ป้ายรถเมล์ | 30


บททดสอบของนักข่าวอาชญากรรม ธุวานนท์ เสวตร หนังสือพิมพ์บ้านเมือง กลับมาสู่การบันทึกเรื่องราวที่ได้ไปใช้ชีวิตฝึกงานใน “หนังสือพิมพ์บ้านเมือง” ซึ่งเป็นบ้านหลังที่สองของการทำ�งานนอก รั้วมหา’ ลัย บันทึกนี้ขอเล่าถึงการทำ�งานในสายข่าวอาชญากรรม โดยตรง ซึ่งเป็นข่าวที่สะท้อนความผิดปกติของสังคม นักข่าวอาชญากรรมมีบทบาทเป็นยามรักษาการณ์เตือนภัยให้ผู้ อ่านได้ระมัดระวังตัว ภาษาที่ใช้มักจะเป็นภาษาที่รุนแรง เห็นภาพ และก่อให้เกิดอารมณ์ร่วม นอกจากนี้ข่าวอาชญากรรมยังส่งผล ให้เกิดการเลียนแบบตามมาได้ หากนำ�เสนอรายละเอียดขั้นตอน ประกอบอาชญากรรมมากจนเกินไป ตระเวนข่าวของหนังสือพิมพ์บ้านเมือง จะนั่งรถเพื่อหาข่าวในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถจะออกจากบริษัทเวลาประมาณ 09.00 น. จนถึงเวลาประมาณ 15.00 น. รถจะกลับเข้าบริษัท แต่ นั่นไม่ใช่เวลาปกติที่รถตระเวนข่าวจะได้พักเครื่องยนต์ เนื่องจาก เหตุการณ์ผิดปกติในสังคมสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะ เป็น ไฟไหม้ นักเรียนตีกัน คนตกตึก ศพลอยนํ้า คนผูกคอตาย และ อีกหลายร้อยปัญหาตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ซึ่งนั่นก็หมายถึง

การทำ�งานในสายข่าวอาชญากรรมจะไม่มีเวลาเลิกงานที่แน่นอน เราต้องเตรียมพร้อม และรับมือกับปัญหาต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อ ที่จะได้ข่าวมานำ�เสนอให้สังคมได้รับรู้ถึงความจริงที่เกิดขึ้น ศพแรกที่ได้เจอ กลายเป็นบททดสอบความแข็งแกร่งของหัวใจนัก ข่าวอาชญากรรมสมัครเล่นอย่างเรา “ข่าวพบศพถูกฆ่ามัดมือมัด เท้าใส่ถุงปุ๋ยลอยติดสถานีสูบนํ้าคลองเตย” เหตุเกิดเมื่อวันนี้ 28 ส.ค.57 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าตำ�รวจ สน.คลองตัน รับแจ้งเหตุ พบศพ ลอยมาติดอยู่ที่สถานนีสูบนํ้าคลองเตย บริเวณตะแกรงกั้นขยะของ สถานีสูบนํ้าคลองเตย นี่เป็นบททดสอบแรกที่ทำ�ให้เราก้าวเข้าสู่ วงการข่าวอาชญากรรมอย่างแท้จริง หลังจากฝึกงานไปแล้ว เราก็จะได้รู้ว่า งานที่เราไปฝึกนั้น เราจะชอบ หรือไม่ชอบ มันจะเป็นตัวเราหรือไม่ใช่เรา แม้จะลำ�บาก ต้องตื่น เช้า ต้องกลับดึก แต่ในที่สุดมันก็ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ว่า งานนั้นเหมาะ กับเราหรือไม่ บททดสอบจากสภาพศพที่เราได้พบเจอ คงจะตอบ คำ�ถามให้แก่เราได้เป็นอย่างดี

ป้ายรถเมล์ | 31


ป้ายรถเมล์ | 32


ถนนค้นฝัน แพรวพรรณ สุริวงศ์ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ระยะทางเพียงแค่ 50 กิโลเมตร ห่างจากอุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน กับการเดินทางด้วยรถโฟร์วิลด์ ที่กินเวลาถึง 3 ชั่วโมง ข้ามเขากี่ลูกนั้นฉันนับไม่ได้ เพราะตลอดระยะทาง ฉันคอยแต่ดู ความอุดมสมบูรณ์ของภูเขารอบข้าง ที่ทอดยาวสลับกันไม่ขาดสาย ลำ�ธารเล็กๆ ที่ตัดผ่านถนน ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคของการเดินทาง แม้แต่น้อย และมีบ้างที่เพื่อนร่วมทริปต้องคอยจอดรถอาเจียนตาม รายทางเป็นระยะ เพราะความคดเคี้ยวของเส้นทางที่หนักหนาพอ สมควร การเดินทางเช่นนี้เป็นสิ่งที่ฉันปารถนามาตลอดทั้งชีวิตว่าต้องได้ สัมผัสสักครั้ง ผู้สื่อข่าวบวกกับทีมงานกว่า 30 ชีวิต ที่กำ�ลังเดิน ทางไปยังหมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำ�เภอแก่งกระจาน จังหวัด เพชรบุรี เพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของกะเหรี่ยงในพื้นที่ จากเหตุการณ์การหายตัวไปของ บิลลี่ นายพรระจี รักจงเจริญ เพื่อ เป็นการเรียกขวัญของเขากลับบ้าน จุดหมายของการเดินทางกว่า 3 ชั่วโมง ไม่ทำ�ให้ผิดหวัง รถโฟร์วิลด์ จอดเรียงกันเป็นระเบียบกว่า 10 คัน ในโรงเรียน ตชด.บ้านโป่งลึก ที่มีแต่ภูเขาล้อมรอบ วิถีชีวิตที่นี่ช่างแตกต่างจากที่ฉันเคยเห็น พวกเขายังคงอาบนํ้าจากลำ�ห้วย ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีห้องนํ้า ไม่มี

สัญญาณโทรศัพท์ และไม่มีที่ดินทำ�กินที่เพียงพอสำ�หรับพวก เขา ซึ่งเป็น “ชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศไทย” และถึงแม้สายฝน โปรยปรายตลอดระยะเวลาประกอบพิธีตามความเชื่อ แต่ก็ไม่มีใคร หนีหาย เพราะพวกเขาเชื่อว่า “บิลลี่จะกลับมา” พวกเราเองก็คิด เช่นนั้น เจ้าบ้านต้อนรับผู้มาเยือนด้วยกับข้าวแบบบ้านๆ ข้าวแข็งๆ ที่อยู่ใน ถังสี สำ�หรับใครหลายคนอาจจะกินไม่ได้ แต่ฉันเชื่อว่านี่อาจเป็น กับข้าวที่ดีที่สุดที่เขาสามารถหาให้เรากินได้ พร้อมด้วยเทียน 1 เล่ม ที่แขกผู้มาเยือนจะได้รับ เพื่อใช้เป็นแสงสว่างในการเดินทางยาม คํ่าคืน ความสนุกของการเดินทางในการลงพื้นที่ทำ�ข่าวแต่ละครั้ง เราไม่ สามารถรู้ได้เลยว่าทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เช่นเดียวกับความ ฝันที่ต้องเดินทางค้นหาเอง และถึงแม้ปลายทางจะไม่เป็นดั่งเป้า หมายที่ตั้งไว้ แต่ระหว่างทางก็เป็นส่วนประกอบที่ทำ�ให้ความฝันเรา สมบูรณ์ขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดการทำ�งานสายข่าวไม่เพียงจะมีแต่ความ สนุกในการเดินทางบนถนนสายนี้เท่านั้น แต่จรรยาบรรณที่พึงมี และเนื้อข่าวที่จะนำ�เสนออย่างไรให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์สูงสุดจาก สิ่งที่เราเขียน

ป้ายรถเมล์ | 33


ป้ายรถเมล์ | 34


จุดหมายปลายทางในบทบันทึก “เฉพาะกิจ” นํ้าหวาน ฉิมหลวง หนังสือพิมพ์มติชน

การทำ�งานที่ต้องเตรียมพร้อมให้รับมือต่อการลงพื้นที่ ตลอดเวลา และพร้อมที่จะวิ่งงานอย่างทันท่วงทีเป็นความท้าทาย อย่างหนึ่งที่ต้องใช้ความฝึกฝน และรวดเร็วค่อนข้างมาก สำ�หรับ การทำ�งานที่เรียกว่า “โต๊ะข่าวเฉพาะกิจ” สายงานข่าวเฉพาะกิจ เป็นการทำ�งานที่เป็นส่วนสำ�คัญในบทบาท หน้าหนังสือพิมพ์อีกโต๊ะหนึ่ง เป็นเสมือนคนที่คอยเติมเต็มประเด็น เรื่องราวในหนังสือพิมพ์หรือข่าวสารให้มีความสมบูรณ์ ในรูปแบบ การทำ�งานที่ค่อนข้างหลากหลายร่วมกับสายงานทุกกองข่าว การ ได้รับมอบหมายงานที่ค่อนข้างลงรายละเอียด การสืบสวนสอบสวน หรือเป็นข่าวหนักที่ค่อนข้างซับซ้อนในเรื่องต่างๆ ค่อนข้างเชิงลึก หรือเรื่องราวที่น่าสนใจที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนวงกว้าง “โต๊ะเฉพาะ กิจ” จะถูกนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ ของกองบรรณาธิการเสมอ “เรื่องนี้ลองไปคิดประเด็นดูนะ ว่ามันน่าสนใจตรงไหน” บทสนทนาสั้นๆ จากพี่หัวหน้าโต๊ะที่ทำ�ให้เด็กฝึกงานอย่างฉันถึง กับต้องรีบคิดทันที ว่าจะต้องหาประเด็นที่ยังไม่ถูกหยิบยกออกมา เล่า ตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องคำ�นึงถึงลำ�ดับแรกในการเขียนงานข่าวสาย เฉพาะกิจ ที่ต้องหาประเด็นเรื่องราวที่มีความน่าสนใจ แปลกใหม่ แต่ยังมีเนื้อหาสาระและข้อเท็จจริงอยู่ออกมาเสนอ

ทั้งหมดไม่มีในห้องเรียน แต่มีอยู่ในชีวิตการทำ�งาน ที่ต้องเรียนรู้ การทำ�งานเอง ต้องกำ�หนดประเด็นข่าว เริ่มตั้งแต่ตั้งประเด็นหัวข้อ ที่สนใจ วางแผนการทำ�งานว่าจะต้องทำ�งานออกมาให้ได้แบบ ไหน เก็บข้อมูลในพื้นที่ และสัมภาษณ์บุคคล ก็ต้องมั่นใจกับผู้ให้ สัมภาษณ์ว่ามีข้อมูลตามประเด็นที่ต้องการหรือไม่ แล้วมาเรียบ เรียงข้อมูลที่ได้ออกมาเป็นสำ�นวนข้อความ ปิดท้ายด้วยการสรุป เนื้อหาที่ต้องมีสาระ ประโยชน์แก่ผู้อ่าน ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง แน่นอนครั้งแล้วครั้งเล่า รายละเอียดหยิบย่อย ทุกอย่างล้วนถูกลิสต์ ไว้เป็นขั้นๆ ตามระบวนการทำ�งานจริง แต่การทำ�งานที่ผ่านการเรียนรู้ในช่วงระยะที่เรียกว่า “เรียนรู้ ประสบการณ์จริง” มาโดยตรงนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการ เรียนรู้ในห้องเรียนตลอดเวลา 4 ปี สำ�หรับฉัน การทำ�งานเช่นนี้ คือ การทำ�งานที่ท้าทายตัวเองในทุกด้าน เพื่อตอบโจทย์ความกระหาย ที่สังคมต้องการรู้ข้อเท็จจริง หรือเอามาพูดขึ้นเพื่อชูประเด็นใน สังคมให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ หากเปรียบการดำ�เนินเรื่องราวแบบ เฉพาะกิจ ก็เหมือนการดำ�เนินชีวิตที่ไม่มีเส้นทาง แต่ต้องรู้จุดหมาย แน่นอน เราก็เช่นกัน แม้จะต้องเดินไปในทางที่หลากหลาย แต่สิ่ง หนึ่งที่ยังต้องจำ�ไว้คือ “จุดหมาย” ที่เราต้องมี

ป้ายรถเมล์ | 35


ป้ายรถเมล์ | 36


ป้ายรถเมล์ | 37


ป้ายรถเมล์ | 38


VOICE OF LIFE.mp3 บทสัมภาษณ์แห่งชีวิต ณัฐกานต์ ตำ�สำ�สู WAY Magazine.

เบื้องหน้าผมคือชายหาดปากบาราริมฝั่งทะเลอันดามัน เครื่องบันทึกเสียงเตรียม Record สายตาของ “ก๊ะลีน่า” ชาวบ้าน ที่นี่จ้องมองมาที่ผม ในระหว่างที่บทสนทนาของผมและเธอกำ�ลัง ดำ�เนินไปตามโครงเรื่องบนหน้ากระดาษ ซึ่งมันได้ถูกกำ�หนดมาจาก ออฟฟิศของ WAY Magazine เพื่อนำ�มาสัมภาษณ์เก็บข้อมูลของ คนในพื้นที่แห่งนี้ไปเขียนเป็นสารคดี 1. “ผมขอทำ�เรื่องนี้นะครับพี่ ผมอยากทำ�มาก” ผมเอ่ยขึ้นในวงประชุม ของกองบรรณาธิการ WAY ในบ่ายวันนั้น ด้วยความตั้งใจแรกที่ อยากจะเข้ามาฝึกงานที่นี่ เหตุผลหลักๆ คงไม่มีอะไรมากไปกว่า การได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในบ้านเกิดของตัวเอง ออกมาสู่ สาธารณะ ถัดมาอีก 2 วัน กระเป๋าสะพายใบใหญ่ก็ถูกจัดแจงไว้ เรียบร้อย และผมก็มายืนอยู่คนเดียวโดดๆ ที่ขนส่งสายใต้ ครับ.. ผมกำ�ลังจะลงไปปากบารา 2. ผมไม่แน่ใจว่าประเด็นสารคดีที่เสนอไป มันผ่านเพราะประเด็นดี หรือเพราะผมดื้อรั้นอยากจะทำ�กันแน่ แต่ผมก็รู้ตัวว่า งานใหญ่ชิ้น นี้มันคงเหนื่อยเอาการ แถมบวกกับการที่ต้องลงไปทำ�คนเดียว ทั้ง ยังต้องเก็บข้อมูล เก็บภาพ เก็บวิดีโอ หาแหล่งข่าว ติดต่อคนใน พื้นที่ รวมไปถึงการเข้าไป “ใช้ชีวิต” อยู่กับพวกเขาเหล่านั้น สำ�หรับ เด็กฝึกงานอ่อนประสบการณ์ การลงพื้นที่สัมภาษณ์ในครั้งนี้ มันคง ไม่ใช่เรื่องขี้หมู ขี้หมา แน่ๆ

3. หากจะว่าไป นี่ก็ไม่ใช่งานสัมภาษณ์ครั้งแรกของผม ที่กองฯ WAY ผมได้ทำ�งานสัมภาษณ์มากมาย เจอผู้คนหลากหลายแทบจะทุก รูปแบบ ตั้งแต่เด็กช่าง ชาวบ้าน นักวิชาการ ยันศิลปิน แน่นอน การสัมภาษณ์บุคคลไม่ใช่แค่การไปนั่งคุย ถาม-ตอบ แล้วจบ แยก ย้ายกลับบ้าน แต่ผมมองว่าการสัมภาษณ์คนๆ หนึ่ง เพื่อจะเอา กลับมากลั่นกรองเป็นงานเขียนสักชิ้น กลับต้องใช้ “วิชามาร” พอ สมควร วิชามารที่ว่าไม่ใช่เล่ห์เหลี่ยมแบบในหนังจีนกำ�ลังภายใน หากแต่เป็นชั้นเชิง ลูกเล่น เทคนิค และวิธีการพูดคุย รวมไปถึงการ เข้าไปทำ�ความรู้จักและอาศัยอยู่ในโลกของเค้า นั่นต่างหาก คือการ ทำ�งานสัมภาษณ์ ในระหว่างที่พูดคุย เครื่องบันทึกเสียงของผมก็ดันถ่านหมด บท สนทนายังไม่จบหรอกครับ แต่มันก็ไม่ได้เสียหายอะไรเลยนี่ ที่เครื่อง บันทึกเสียงสัมภาษณ์จะถ่านหมดหรือจะเจ๊งขึ้นมาตอนนี้ เพราะสิ่ง ที่สำ�คัญกว่าไฟล์เสียงนามสกุล .mp3 มันคือเสียงพูดกับแววตาของ เธอ ที่กำ�ลังได้ยินและได้มองอยู่ต่อหน้า ตอนนี้เรากำ�ลังใช้ชีวิตอยู่ ด้วยกัน พูดคุยด้วยกัน เรียนรู้อากัปกิริยาด้วยกันผ่านภาพแห่งความ จริง จนกระทั่งสัมภาษณ์เสร็จ เธอก็หยิบจานข้าว และแกงส้มปลา นิลมาให้ ผมและครอบครัวของเธอนั่งทานข้าวด้วยกันต่อในคํ่าคืน นั้น อ้อ.. ลืมบอกไปเลยครับ บทสัมภาษณ์ยังคงดำ�เนินต่อไป แม้จะ ไร้เครื่องบันทึกเสียงก็ตาม ก็อย่างที่ผมบอกแหละครับ การใช้ชีวิต ของคนๆ หนึ่ง คือบทสัมภาษณ์ที่ดีที่สุด

ป้ายรถเมล์ | 39


ป้ายรถเมล์ | 40


WRITER OF MOTOR สันติสกุล คุณล้าน Grand Prix Magazine.

ผมมีโอกาสได้ฝึกงานที่นิตยสารรถยนต์ ที่มีชื่อว่า “กรังด์ปรีซ์” เป็นนิตยสารที่ผมติดตามมาตั้งแต่เด็ก เพราะที่บ้านทำ� ธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ ตัวผมเองจึงชื่นชอบและสนใจเรื่องราวของ รถยนต์มาตั้งแต่จำ�ความได้

มีโอกาสเขียนรีวิวด้วยตัวเอง ผมรู้สึกดีใจที่ได้พิสูจน์ความสามารถ ของตัวเอง อย่างน้อยก็เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจสำ�หรับคนรักรถ ทั่วไป ที่ได้มีชื่อผลงานตัวเองในหนังสือรถยนต์ที่ได้รับความนิยม เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ

วันแรกของการฝึกงาน เต็มไปด้วยความลุ้น ลุ้นกับสถานที่ฝึกงาน ลุ้นกับสมาชิกที่เราจะอยู่ด้วย 3 เดือน หลังจากอยู่ไปได้ซักระยะ ก็ เริ่มปรับตัวกับสถานที่ใหม่ได้ เริ่มรู้จักผู้คนแถวนั้น มีร้านอาหาร ประจำ� ทุกอย่างเริ่มคุ้นเคย โอกาสก็เพิ่มขึ้นมา เริ่มได้ออกนอกพื้นที่ ไปกับพี่ในกอง บ.ก. ตามใบสั่งที่ถูกเชิญไปในนามนักข่าว เมื่อมี รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ยี่ห้อต่างๆ หรือกิจกรรมเกี่ยวกับรถรุ่นใหม่ๆ ก็ได้มี โอกาสนำ�มาเขียนลงในคอลัมน์

ท้ายที่สุดแล้ว สำ�หรับอนาคตของตัวผมเอง ผมยังต้องการที่จะ คลุกคลีในวงการรถกับธุรกิจทางบ้านต่อ และมีความประสงค์ที่จะ ใช้ความรู้วิชาชีพด้านงานเขียน ในการเขียนเรื่องราวของรถยนต์ให้ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการเขียนในรูปแบบนักเขียนนอกสำ�นักงาน และ การเป็นออร์แกไนซ์ในการจัดงานคาราวานรถยนต์ที่ผมเคยมีโอกาส ได้เป็นหนึ่งในสต๊าฟ ถึงอย่างไรผมยังต้องการทำ�ในสิ่งที่ใฝ่ฝันมา ตั้งแต่เด็ก คือการขายรถยนต์มือสองสานต่อธุรกิจครอบครัว ท้าย ที่สุดไม่ว่าจะเป็นงานเขียนหรืองานต่างๆ ด้านรถยนต์ ผมก็จะยืน หยัดอยู่ในเส้นทางนี้ เหมือนกับการที่ผมเลือกจะไปฝึกงานเกี่ยวกับ นิตยสารรถยนต์ เพราะสิ่งนี้คือเส้นทางของผม

นอกจากงานที่เกี่ยวกับนิตยสารกรังด์ปรีซ์ ผมยังได้มีโอกาสทำ�งาน นอกนิตยสารร่วมกับพี่ๆ ในกอง เนื่องจากบริษัทกรังด์ปรีซ์ รับจัด กิจกรรมเกี่ยวกับรถยนต์นอกสถานที่บ้างเป็นครั้งคราว ไม่ว่าจะเป็น งาน Motor Show งาน Car of the years หรืองานแข่งรถ รวมไปถึง งานคาราวานต่างๆ ที่จัดขึ้น แต่สิ่งที่กลับทำ�ให้ผมปลาบปลื้มและแฮปปี้ที่สุด คือการที่ตัวผมเอง ได้มีโอกาสทดลองขับรถยนต์รุ่นใหม่ เพื่อนำ�มาเขียนรีวิวในคอลัมน์ Test Drive ของนิตยสารกรังด์ปรีซ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมรู้สึกดีกับมันมากๆ กับงานที่ได้รับมอบหมายชิ้นนี้ เพราะการเขียนรีวิวรถเป็นสิ่งที่อยาก ทำ�มาก่อนอยู่แล้ว เมื่อก่อนเคยอ่านแต่รีวิวที่คนอื่นเขียน แต่ครั้งนี้

ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่มีโอกาสเป็นเด็กเมืองกรุง ผมมีความสุข ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ฝึกงาน พี่ๆ ในกองที่ดูแลผมเป็นอย่าง ดี แต่สิ่งที่ผมยังติดขัดอยู่คือวิถีชีวิตในเมืองกรุงที่มีข้อจำ�กัดเรื่อง เวลา แต่ก็ถือเป็นการฝึกตัวเราให้มีวินัยเพิ่มขึ้นในการตรงต่อเวลา สำ�หรับผมตอนนี้หลังจากฝึกงานเสร็จแล้ว ผมคิดว่าผมเลือกถูกแล้ว ที่ไปตามสิ่งที่ตัวเองถนัด สิ่งที่ตัวเองชอบ ไม่ฝืนตัวเอง เมื่อได้อยู่กับ สิ่งที่ตัวเองชอบแล้ว เรื่องยากๆ ก็จะเป็นเรื่องง่ายไปในทันที ขอเพียง เราชอบในสิ่งนั้นจริงๆ

ป้ายรถเมล์ | 41


ป้ายรถเมล์ | 42


ท่ามกลางศิลปิน ณัฐวัฒน์ ลักขษร Overdrive Guitar Magazine.

สวัสดี ผมก่ายเอง ตัวเล็กๆ อ้วนๆ แก้มเยอะ ชอบเล่น กีต้าร์ ตอนนั้นผมคิดว่ามันต้องเท่มากแน่ๆ ถ้ามีโอกาสได้ร่วมงาน กับองค์กรที่เราติดตามผลงานมาโดยตลอดอย่าง “ปราชญ์ มิวสิค กรุ๊ป” องค์กรเกี่ยวกับดนตรีอันดับต้นๆ ของเอเชีย และผม นิสิต ฝึกงานในตำ�แหน่ง “กองบรรณาธิการนิตยสาร OVERDRIVE” นิตยสารดนตรีอันดับหนึ่งของประเทศไทย ที่ทางองค์กรได้จัดทำ�อยู่ วันแรกที่เริ่มงาน จำ�ได้ว่าไม่รู้ต้องนั่งรถเมล์สายไหนไปทำ�งาน เลย ต้องนั่งแท็กซี่ไป ซึ่งเปลืองตังค์มาก แต่เมื่อมาถึง ออฟฟิศยังไม่เปิด ซะงั้น แต่สักพักพี่ๆ เขาก็เริ่มมา ผมแนะนำ�ตัวเองไปตามระเบียบ ซึ่งวันแรกก็ไม่ได้ทำ�อะไร นั่งเล่นกีต้าร์ไปเรื่อยๆ ชิลๆ จนกำ�ลังจะ กลับ ดันมาเจอ บก.หน้าออฟฟิศพอดี เขาถามผมว่าตอนเรียนตก วิชาอะไรบ้าง ผมตอบกลับไปว่า ตกอังกฤษครับ “งั้นทำ�หน้าที่เแปล ภาษานะจะได้ฝึก” ครับ.. ชิบหายแล้วครับ แต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว มันไม่มีอะไรเกินความสามารถเราหรอก ซึ่งมัน ก็จริงครับ หากเราได้ทำ�ในสิ่งที่เราชอบ จะอุปสรรคหรืออะไรก็ตาม มันหยุดเราไม่ได้หรอก ผมจึงได้ทำ�ทั้งแปลบทความจากสื่อต่างประเทศ หาข้อมูลและแปล ข่าวสาร ซึ่งเป็นข่าวสารที่เกี่ยวกับแวดวงดนตรีต่างประเทศ

เขียนข่าวการประชาสัมพันธ์ขององค์กรแทบจะทั้งหมด และยังได้ ทำ�หน้าที่ต้อนรับศิลปินทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมันเป็นงานที่ยาก พอสมควร ครั้งหนึ่งมีวงดนตรีจากอเมริกาเป็นวงฝรั่งวัยรุ่นมาขอยืมคีย์บอร์ด จากองค์กรไป ซึ่งทางเราก็จัดหาให้ตามลิสต์ที่สั่ง แต่พอเขาเดินทาง ถึงไทยแล้วมาตรวจสอบเครื่องดนตรี เขาดันบอกไม่เอา เราก็จัดหา ให้เรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจ จนสุดท้ายเขาก็ยอม แต่เมื่อเอาไปใช้จน จบคอนเสิร์ต เขากลับไม่เอาขาตั้งคีย์บอร์ดมาคืน จนผมต้องเหมา แท็กซี่ไปตามหากลับมาคืน แต่ศิลปินต่างประเทศหลายๆ คน ก็น่า รักดี อย่างมือกีต้าร์ระดับโลกคนหนึ่งที่มาจัดคอนเสิร์ตในไทย ผมได้ เข้าไปพูดคุยด้วยเล็กน้อย เขาเป็นคนที่น่ารักมากๆ อัธยาศัยดีสุดๆ ฝึกงานที่นี่บอกตรงๆ ว่ามีความสุขมากๆ แถมยังเป็นงานที่เกี่ยวกับ ดนตรี ซึ่งเราได้ผสมผสานกับการเป็นสื่อมวลชนที่ได้เรียนมา ทำ�ให้ ได้ฝึกฝนตัวเองทั้งในด้านของวินัยและความรู้ เข้าใจเบื้องหลัง การทำ�งานอย่างมืออาชีพโดยแท้จริง แถมยังได้ร่วมงานกับศิลปิน ระดับโลกที่เราชื่นชอบอีกด้วย สำ�หรับเรา สิ่งเหล่านี้มันมีค่าพอๆ กับ ประสบการณ์เลยทีเดียว

ป้ายรถเมล์ | 43


ป้ายรถเมล์ | 44


ประโยคอำ�ลาบนถนนมิตรภาพ บุญญาพร บุตตะพรม นิตยสาร หนีกรุง ไปปรุงฝัน “ โชคดีนะครับ ชีวิตยังอีกไกล อะไรที่ไม่พอใจในวันนี้ ทั้ง จากคนอื่นหรือตัวเอง ก็เก็บมาคิดแล้วพัฒนาตัวเองด้วยนะ มีอะไร ให้พวกพี่ช่วยบอกได้เลยนะแป๋ม ... ” ประโยคอวยพรที่แฝงความหวังดีของพี่เลี้ยงฝึกงานหนุ่มร่างกำ�ยำ� ส่งมาทางข้อความ แน่นอนว่าทำ�ให้คนที่ได้รับข้อความอย่างฉัน แทบยิ้มไม่หุบตลอดเส้นทางกลับบ้าน พลอยให้นึกถึงความโชค ดีของตัวเองที่ได้พบและเจอะเจอคนที่พร้อมจะให้เราได้เรียนรู้ ประสบการณ์ในการทำ�งาน ย้อนกลับไปวันแรกที่ฝึกงาน คำ�ถามจากพี่ๆ ในกองบรรณาธิการ ถามฉันด้วยความอยากรู้ว่า “ทำ�ไมถึงเลือกมาฝึกงานที่นิตยสารหนี กรุง” ฉันตอบกลับไปด้วยความรู้สึกแรกที่ได้อ่านนิตยสารเล่มนี้ “มาฝึกเพราะชอบบทบรรณาธิการค่ะ” ใช่... เพียงแค่บท บก. ก็ทำ�ให้ฉันอยากมาฝึกงานที่นี่ อยากมาเรียน รู้วิธีการเขียน และอยากรู้แนวคิดในการนำ�เสนอ ว่าเขาทำ�อย่างไร ถึงเขียนได้ใจผู้อ่านขนาดนี้ 3 เดือนที่จะได้เรียนรู้ 3 เดือนที่จะได้เปิด โลก 3 เดือนที่จะได้ออกไปเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ แค่คิดก็โคตรมี ความสุข!! แต่ภาพที่คิดไว้ก็ค่อยๆ เลือนลางหายไป เนื่องจากทริปแรกที่จะต้อง ไปลงพื้นที่ ที่จังหวัดกระบี่ ครอบครัวเรากลับไม่อนุญาตให้ไป ด้วย เพราะความเป็นห่วงลูกสาว และเห็นว่าทีมที่จะไปมีแต่ผู้ชายล้วน เราจะไปเป็นหญิงสาวผู้เลอโฉมในกลุ่มชายฉกรรจ์ไม่ได้เด็ดขาด!! ต้องนั่งหงอยหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวให้พี่เลี้ยงอยู่ในออฟฟิศ นั่งดู รูปที่พวกพี่ๆ ส่งมาให้ดูถึงความสวยงามของจังหวัดกระบี่ให้เจ็บชํ้า ใจเล่นๆ คิดแล้วก็อยากแปลงเพศเป็นผู้ชายให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย (ก็ได้แค่คิดน่ะแหละ)

ถึงไม่ได้ออกไปเที่ยว แต่เราก็ต้องทำ�ตัวให้มีประโยชน์ เราเริ่มจาก ของานพี่ๆ ในออฟฟิศ ทั้งถามงานจากพี่เลี้ยง ของานจากพี่ๆ ฝ่าย พีอาร์ ช่วยคุณป้าแม่บ้านแพ็คนิตยสารส่งสมาชิก และอีกสารพัดที่ จะช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ได้ แต่กระนั้นก็ยังรู้สึกว่าตัวเองยังไม่มี ประโยชน์พอ และที่สำ�คัญในเมื่อมันว่างเสียจนน่าเบื่อ ทำ�ไมเราถึง ไม่ลองเขียนงานส่งให้กอง บก. ได้อ่านดูล่ะ เผื่อจะได้ตีพิมพ์กับเขา บ้าง หลังจากนั้นเราจึงเริ่มเขียนเรื่องสั้นเล็กๆ น้อยๆ รวมถึงเขียน บทความเกี่ยวกับอาหารและสถานที่ท่องเที่ยว เขียนเท่าที่นักศึกษา ฝึกงานคนหนึ่งจะเขียนได้ และหลังจากนั้นก็ส่งให้พี่ๆ ในกอง บก. ได้ชื่นชมผลงาน แต่ก็เหมือนจะรู้ผลลัพธ์อยู่แล้ว งานเขียนก็ต้องมี ผิดพลาด มีแก้ไข มีโดนติ แต่เราก็น้อมรับคำ�แนะนำ�เหล่านั้นมาเพื่อ ปรับปรุงงานเขียนของเรา เพื่อหวังว่าสักวันหนึ่งงานเขียนเหล่านี้จะ ได้ทำ�หน้าที่ของมันได้อย่างสมบูรณ์ และดูเหมือนสวรรค์จะเป็นใจ หลังจากที่ทนว่างงานมาหนึ่ง อาทิตย์เต็มๆ เราก็มีหมายแรกได้ออกจากออฟฟิศเสียที ทริปนี้เรา ต้องไปจังหวัดสมุทราปราการ เพื่อทำ�สกู๊ปโปรโมทการท่องเที่ยว และถ่ายภาพประกอบ เราคิดแค่ว่างานนี้เราต้องเต็มที่ เราต้องทำ� ให้พี่ๆ ในกองเห็นว่าเรามีความสามารถและพร้อมที่จะลุยกับทุก งาน และเราก็ไม่ทำ�ให้พวกพี่ๆ ผิดหวัง งานของเราได้ตีพิมพ์ลง นิตยสารหนีกรุงฯ และยังได้ลงหนังสือพิมพ์ประชาชาติอีกด้วย ถือ เป็นความภาคภูมิใจของนักศึกษาฝึกงานตัวเล็กๆ ที่ครั้งหนึ่งได้มีผล งานตีพิมพ์กับเขา และหลังจากนั้นเราก็ได้รับหน้าที่เขียนสกู๊ปเกี่ยว กับการท่องเที่ยว รวมถึงคอลัมน์ที่อยู่ในนิตยสาร โอกาสแบบนี้ต้อง รีบคว้าไว้เพราะไม่รู้ว่าจะมีโอกาสอีกหรือเปล่า รถกระบะสีดำ�คันโตยังคงแล่นบนถนนมิตรภาพ ประโยคอวยพรที่ แฝงความหวังดียังคงค้างที่หน้าจอโทรศัพท์มือถือ ราวกับว่ามันได้ ถูกสตาฟไว้ให้เราได้มีความสุขกับช่วงเวลานั้น

ป้ายรถเมล์ | 45


ป้ายรถเมล์ | 46


โอกาส โชคชะตา ท้าความกลัว พจมาน สุขฤทธิ์ Look Around Magazine.

สิ่งที่มักเป็นปัญหาของนักศึกษาฝึกงานหลายคน คือ การ ไม่กล้าออกไปทำ�งานคนเดียว อย่างน้อยๆ ขอให้มีเพื่อนสักคนไป ด้วยก็ยังดี แต่สำ�หรับการทำ�งานเราไม่สามารถกำ�หนดอะไรได้ และ ไม่มีหลักเกณฑ์ข้อใดที่รับประกันว่า เพื่อนจะได้ที่ฝึกงานที่เดียวกับ เรา มีหลายๆ คน เมื่อเพื่อนรักไม่ได้ฝึกงาน ก็ตัดสินใจว่า จะไม่ทำ� เหมือนกัน นี่เป็นการตัดโอกาสของตัวเอง เชื่อว่านิสิตหลายๆ คนคงได้ไปฝึกงานตามที่ต่างๆ เพื่อให้ทราบ ว่าตนชอบงานนั้นๆ หรือไม่ ตั้งแต่วันแรกที่เป็นการเริ่มต้นของการ ฝึกงาน สิ่งแรกที่ต้องทำ�คือการปรับตัว เป็นสิ่งที่จะต้องเจอแน่นอน ทั้งด้านความอดทนที่เราทุกคนจะต้องมีมากขึ้น และเป็นช่วงเวลา ที่เราจะต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น เคยกลัวว่าเมื่อเราไปอยู่ในที่แห่ง นั้นเราจะต้องทำ�ตัวอย่างไร แต่โชคดีที่พี่ๆ ที่ออฟฟิศทุกคนใจดี เรา อยู่กันเหมือนครอบครัว ทำ�ให้เราไม่เกรงและไม่รู้สึกกลัว สิ่งที่ต้อง ทำ�ก็คือการศึกษาโครงสร้างของนิตยสารที่เราจะต้องฝึก และศึกษา นิตยสารคู่แข่งเพื่อเรียนรู้และเป็นแนวทางในการปรับปรุงนิตยสาร ของเรา ช่วงที่ไปในระยะแรกยังไม่ค่อยเข้าใจระบบการทำ�งานมากนัก เพราะสิ่งที่เรากลัวก็คือ เราจะทำ�ได้ไหม เราจะมาเป็นภาระให้กับ

ที่ทำ�งานหรือเปล่า และจะทำ�ให้งานล่มหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้เป็น อุปสรรคในการฝึกงานเป็นอย่างมาก การทำ�งานของเราส่วนมากจะ อยู่ในออฟฟิศ จะมีแค่คอลัมน์อาหารที่ต้องออกพื้นที่ในการถ่ายรูป และสัมภาษณ์ และนั่นก็เป็นสิ่งที่ตื่นเต้นมาก เพราะต้องตระเวนหา ร้านอาหารอร่อยๆ ทำ�ให้ไปพบเจออะไรใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเห็น เราเคยเชื่อมาตลอดว่านิตยสารฟรีก็อปปี้เป็นนิตยสารที่ทำ�ง่าย ก็แค่ หาข้อมูลมาวางและจัดคอลัมน์ให้น่าอ่าน แค่นั้นก็คงเพียงพอแล้ว แต่เมื่อได้ไปทำ�งานจริงๆ ความเชื่อเหล่านั้นมันหายไปหมด เราเห็น การทำ�งานที่ดูจริงจัง และต้องใช้ความรับผิดชอบ ความรอบคอบ เหมือนกับการทำ�งานอื่นๆ ทุกครั้งที่เราเขียนแต่ละคอลัมน์ มัน เหมือนกับเป็นการเดินทางที่พิเศษ เพราะการเขียนแต่ละคอลัมน์ ก็เหมือนกับเราได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ แล้วนำ�มาร้อยเรียงเป็นตัว หนังสือ ท้ายที่สุดแล้ว เราคิดว่าเราโชคดีที่เลือกฝึกงานที่นิตยสาร Look Around เพราะที่แห่งนี้สอนให้เรามีทั้งความอดทน ความพยายาม และรู้จักที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขอบคุณพี่ๆ Look Around ทุก คน ที่ให้โอกาส ประสบการณ์ และคำ�แนะนำ�ดีๆ เพราะสิ่งเหล่านี้ ทำ�ให้รู้ว่า ถ้าเราไม่มีความกล้า เราก็จะเอาชนะความกลัวไม่ได้

ป้ายรถเมล์ | 47


ป้ายรถเมล์ | 48


ประสบ+กาล พัชราภรณ์ ศรีภักดี Anywhere Magazine.

1. ตลอดระยะเวลาฝึกงาน 3 เดือน ที่ไปใช้ชีวิตคนเดียวในเมือง กรุง และสัญจรด้วยรถไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ หน้าที่หลักคือกอง บรรณาธิการในนิตยสาร anywhere ซึ่งเราต่างจากคนอื่นที่ไม่มี พี่เลี้ยงคอยดูแลเลย ฉะนั้นช่วงแรกจึงต้องพยายามปรับตัวเป็น อย่างมาก ทั้งยังต้องเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจสไตล์การเขียนของ นิตยสาร เนื่องจากเนื้อหาในเล่มมักใช้คำ�พรรณนา หลายครั้งที่ไม่ เข้าใจก็จำ�เป็นจะต้องถามพี่ในกอง งานที่ยากหน่อยเห็นจะเป็นข่าว แปลภาษาอังกฤษ แล้วนำ�มาเขียนเรียบเรียงลงคอลัมน์ ถึงแม้เรียน มาแต่อนุบาล แต่ความรู้ที่มีนั้นกลับเท่าหางอึ่ง ครั้งหนึ่ง บก. มอบ งานให้ถอดเทป ปัญหาอยู่ตรงที่เป็นภาษาอังกฤษนี่สิ ตบตีกันอยู่ นานพอสมควร งานนี้ต้องขอบคุณ Google translate ที่อยู่เคียงข้าง กันมา แม้จะแปลเพี้ยนไปมากก็ตามที 2. ฝึกนิตยสารท่องเที่ยวแน่นอนว่าต้องได้เที่ยว (กระโดดโลดเต้นทุก ครั้งที่ได้ไปเที่ยว) ทริปใหญ่ๆ ที่ไปมีอยู่สองทริปซึ่งถูกเชิญไปคือ สืบสายไททรงดำ�ในภาคกลางและลงใต้ไปล่องคลองสู่ท้องอันดามัน โดยการเที่ยวในทั้งสองทริปนั้นเป็นสถานที่ที่เราไม่เคยไปมาก่อน เลย และเราคิดว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาเปิดโลกทัศน์เรามากทีเดียว ทั้งได้พบเจอผู้คนหลากหลาย ที่มาพร้อมคำ�แนะนำ�ดีๆ ซึ่งมันช่วย ให้เราเขียนงานออกมาได้ดี มากกว่าการนั่งอุดอู้อยู่แต่ในออฟฟิศ สี่เหลี่ยมเดิมๆ

3. สิ่งที่เรากังวลมากที่สุดก่อนการเดินทางท่องเที่ยวในแต่ละครั้งคือ เราจะเข้ากับพี่ๆ จากสื่ออื่นได้ไหม เพราะทุกทริปที่ไปเราต้องเดิน ทางคนเดียว ความคิดมันจึงฟุ้งซ่านไปหมด จะพูดยังไงดี ชวนพี่เขา กินขนมดีไหม แต่สิ่งที่เรากลัวที่สุดก็เกิดขึ้น เมื่อมีพี่สื่อคนหนึ่งพูด ขึ้นว่า “พี่ไม่คบเด็กฝึกงาน” หูยยย.. ความรู้สึกเหมือนมีคนเอาเข็ม มาตอกกลางกบาล นิ่งเป็นหิน ทำ�ตัวไม่ถูกอยู่หลายนาที ในใจก็คิด เด็กฝึกงานไม่ใช่คนเหรอวะ ไม่อยากคบก็ไม่เห็นต้องพูดมันออกมา อายุก็พอควรอยู่ จนกลุ่มเขาหัวเราะและพูดว่าพี่ล้อเล่น ด้วยสายตา ที่ดูจะไม่ล้อเล่นเท่าไรนัก 4. ในการฝึกงานครั้งแรก และครั้งเดียวของเรา แม้จะมีอุปสรรคบ้าง แต่มันก็คือประสบการณ์และความท้าทายที่ให้เราก้าวผ่าน เป็น เกราะความพร้อม ก่อนจะพาเราก้าวเข้าไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ใน อนาคตอันใกล้นี้ 5. วารสารศาสตร์เป็นครอบครัวสำ�หรับเรา ด้วยรักและเคารพยิ่ง

ป้ายรถเมล์ | 49


ป้ายรถเมล์ | 50


ปรุงงานเขียนด้วยรสที่หลากหลาย วิชุดา คงอยู่ นิตยสารแม่บ้าน “ไอ้เม เอางานไปแก้” เป็นคำ�พูดสุดคลาสสิคของพี่ต้อง บก.นิตยสารแม่บ้าน ที่มักเครียดทุกครั้งที่ฉันส่งงาน ด้วยเนื้อหา ที่ไม่แน่น ข้อมูลไม่ครบถ้วน และแอบเแฝงไปด้วยภาษาพูด เรียก ได้ว่าแต่ละงานแก้ไม่ตํ่ากว่า 3 รอบ แต่กลับทำ�ให้ฉันรู้สึกดีกับมัน มากๆ เพราะมันทำ�ให้เรารู้ว่า จุดบกพร่องของตัวเองคืออะไร อ๋อ.. เป็นคนที่ไม่แน่นเรื่องข้อมูล เน้นความไวเป็นหลัก บอกให้ส่งสัปดาห์ หน้า พรุ่งนี้ฉันส่ง ไม่รู้จะรีบไปไหน หลังๆ มา เลยส่งช้า ได้แก้น้อย กว่าเดิมนิดหน่อย น้องๆ คนไหนที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ อยากบอกว่า ตั้งใจเรียนหน่อยนะ ทฤษฎีแน่นไว้ก่อน จะเป็นประโยชน์ตอนที่เรา มาปฏิบัติงานจริงเลยทีเดียว ในการทำ�นิตยสาร มีส่วนประกอบสำ�คัญอย่างหนึ่ง ที่เปรียบเสมือน วัตถุดิบหลักในงานเขียนก็ว่าได้ วัตถุดิบที่ว่านั้นคือการสัมภาษณ์ บุคคล ซึ่งการลงพื้นที่สัมภาษณ์นั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เป็นเหมือนภาพ จำ�ในหัวเราเลย ก็คือต้องสัมภาษณ์บุคคลโดยที่ยังไม่ได้เตรียมตัว เนื่องด้วยตอนแรกไปงานแถลงข่าวเรื่องข้าว ฟังสัมนาเสร็จก็ต้อง กลับออฟฟิศเหมือนทุกครั้ง แต่พอดีพี่ยุ้ย บก.นิตยสารเกษตรกร ก้าวหน้า เจออาจารย์ที่ติดต่อได้ยากพอสมควร พอแถลงข่าว เรื่องข้าวช่วงเช้าเสร็จ ก็ไปสัมภาษณ์ในช่วงบ่ายที่มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ต่อ ซึ่งยังไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ไม่ได้ตั้งคำ�ถาม ไม่ได้ ศึกษาประวัติของบุคคลที่จะสัมภาษณ์ จะทำ�ยังไงดี ตื่นเต้นอยู่พัก ใหญ่ แต่แล้วอาการบ้าคลั่งกลัวผู้ที่จะสัมภาษณ์ก็ลดน้อยลง เมื่อ หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาสืบค้นประวัติ ดร.สิริชัย ส่งเสริมพงศ์ อาจารย์ ผู้คิดค้นขนมจีนนํ้ายาอบแห้ง พร้อมรับประทานใน 3 นาที และตั้ง คำ�ถามแบบสดๆ กันเลย ซึ่งพอถึงเวลานัดหมาย บ่ายโมงตรง ทุก อย่างก็เป็นไปได้ด้วยดี สัมภาษณ์ไป ชิมขนมจีนไป อิ่มหน่ำ�สำ�ราญ กับการสัมภาษณ์ที่เรียกความตื่นเต้นแบบ 3D เลยทีเดียว สุดท้ายแล้ว ทำ�ให้ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา การเป็นเด็ก ฝึกงานที่สำ�นักพิมพ์แม่บ้าน มันเลยได้อะไรหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการเขียนที่เต็มปากเต็มคำ� ข้อมูลเนื้อหาที่ต้องแน่นไปด้วย คุณภาพ เพราะถือว่าเป็นส่วนผสมหลักของงานเขียนที่ดี ทั้งหมด นี้ต้องขอขอบคุณ พี่ต้อง บก.นิตยสารแม่บ้าน พี่ปู พี่เลี้ยงฝึกงาน พี่แข พี่จูน พี่ยุ้ย พี่อุ้ม พี่แก้ว กองบรรณาธิการ Weekend กอง บรรณาธิการเกษตรกรก้าวหน้า และทุกๆ คน ของสำ�นักพิมพ์ ที่มี ส่วนช่วยสั่งสอนประสบการณ์ดีๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องเคียงหลัก ของการฝึกงานในครั้งนี้ ให้อร่อยไม่รู้ลืมกับรสชาติแห่งความทรงจำ�

ป้ายรถเมล์ | 51


ป้ายรถเมล์ | 52


ชีวิตหลักหน่วยของมนุษย์เงินเดือน วิภาวี จิ๋วเจริญ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หลักการไต่เต้าในการทำ�งาน ทุกคนล้วนเริ่มต้นจากหลัก หน่วย นั่นคือการเป็นมนุษย์เงินเดือน ประสบการณ์ครั้งนี้เริ่มต้นขึ้น เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เราฝึกงานที่สมาคมถ่ายภาพ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่นี่ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ ได้พบ เจอและรู้จักผู้คนมากมาย มีจุดหนึ่งที่เราได้สัมผัสและเรียนรู้แบบ เต็มๆ ใช่แล้ว มันคือการเป็นมนุษย์เงินเดือน ขึ้นชื่อว่า กรุงเทพมหานคร แน่นอนว่าเลื่องชื่อในเรื่องค่าครอง ชีพ สำ�หรับเราที่ยังเป็นเพียงนิสิตนักศึกษา เรื่องเงินทองจึงไม่ค่อย ประสบปัญหาอะไรมาก เงินหมด ขอใหม่ ยอมโดนพ่อแม่ด่านิด หน่อย ซึ่งต่างจากชีวิตของคนวัยทำ�งานที่มีวงเงินจำ�กัด อีกทั้งภาระ ค่าใช้จ่ายต่างๆ นานา “เราเป็นต้นไม้ที่เติบโตมาจากต่างจังหวัด พอมาเติบโตในกรุงเทพ มันโตได้ไม่นาน มันก็อยากกลับไปโตในที่ที่มันโตมา ตอนพี่จบมา ใหม่ๆ พี่คิดถึงแต่เรื่องตัวเลข ด้วยความจบใหม่ไฟแรง หนักเบาไม่ เกี่ยง แต่พออายุเราเริ่มเยอะเข้า สุขภาพร่างกายเรามันก็เริ่มจะไม่ ไหว ตอนนี้พี่ก็ยื่นใบลาออกไว้แล้วล่ะ” เราได้ยินประโยคนี้จากพนักงานออฟฟิศคนหนึ่ง มันทำ�ให้เราลอง นึกภาพตาม แล้วอุทานในใจ เออว่ะ มันก็จริง แต่ทว่า หากเราได้ ลองสังเกตดูดีๆ คนส่วนใหญ่ที่คิดเรื่องลาออกนั้น อายุประมาณ

30-40 ปี จนเราเองก็เริ่มแปลกใจ ว่าทำ�ไมหลายคนต่างคิดถึงเรื่อง ลาออกกันเร็วจัง พี่เลี้ยงฝึกงานเราเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่กำ�ลังคิดเรื่องลาออก แต่ ก็ไม่ได้ออกสักที เราเห็นพี่เขามีความสุขอยู่ 4 เวลา นั่นคือ เวลาอยู่ กับครอบครัว เวลาพูดเรื่องหมา เวลาช็อปปิ้ง และเวลาได้กินของ อร่อยๆ ถ้าเอามาตีเป็นเปอร์เซ็นต์ ช่วงความสุขก็จะมีอยู่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก 60 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นความเครียดในการ ทำ�งานล้วนๆ พี่เลี้ยงเราจะสอนเราเสมอว่า “แกเห็นไหม ชีวิตมันไม่ได้ยากแค่การ ทำ�งาน การใช้ชีวิตในการทำ�งานมันก็ยาก มันมีค่าเข้าสังคม ค่านู่น นี่นั่น เยอะแยะไปหมด” เราก็ได้แต่คิดตามแล้วอุทานในใจแบบเดิม เออว่ะ มันก็จริง จนตอนนี้ เรามายืนอยู่ในสถานะนิสิตใกล้เรียนจบ หากเรียนจบเราก็ จะขยับสถานะไปเป็น นิสิตจบใหม่ไฟแรงที่กำ�ลังหางาน และถ้าหา งานได้ เราก็จะย้ายไปอยู่สถานะมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง คราวนี้คง ต้องเป็นตัวเราเองที่ต้องกลับไปคิดต่อว่า จะใช้ชีวิตมนุษย์เงินเดือน อย่างไรให้ลงตัว

ป้ายรถเมล์ | 53


ป้ายรถเมล์ | 54


ที่ทำ�งานและบ้านหลังที่สอง นิติยา บุญมั่น Walk Magazine.

3 เดือนของการฝึกงาน ที่ตัวเรายังไม่แน่ใจว่าจะทำ�ได้หรือไม่ ในวันแรกกับการรับตำ�แหน่งกองบรรณาธิการ Walk Magazine ซึ่ง เป็นนิตยสารแจกฟรี ในจังหวัดชลบุรี ที่มีอะไรหลายอย่างเกิดขึ้นใน การฝึกงานของเราครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์การทำ�งาน การ เรียนรู้ การอยู่รอดในสังคม การทำ�งาน มิตรภาพและความรักความ ผูกพัน มันเหมือนการเริ่มใหม่ของชีวิตการเรียน เพราะตอนเรียนเราไม่ เก่งเลยในเรื่องการทำ�นิตยสาร แต่พอได้มาฝึกงาน มี บก.และพี่ๆ สอนให้เราใหม่ เริ่มตั้งแต่การลงพื้นที่เก็บข้อมูล การจัดหน้า การใช้ โปรแกรมต่างๆ การออกจากบ้านมาไกลกว่าหกร้อยกิโลเมตรใน ครั้งนี้ มันสอนอะไรเราหลายอย่าง การที่เราเข้ามาอยู่ในจุดของการ ทำ�งานมันสำ�คัญมาก เราได้ความเป็นผู้ใหญ่ การรักษาเวลา เพื่อ ที่จะไม่ทำ�ให้องค์กรเสียชื่อ ได้ออกไปนอกพื้นที่ เจอสิ่งที่ไม่เคยเห็น ไปในที่ที่ไม่เคยไป ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในคนหมู่มากว่าควรปรับ ตัวอย่างไรที่จะอยู่ในสังคมการทำ�งานได้ หากในวันนี้ไม่ได้ออกมา เรียนรู้ในโลกด้านนอกเราคงไม่รู้ว่า การทำ�งานจริง การรับมือกับ ปัญหาและการอยู่ร่วมกันเป็นยังไง เราคงติดอยู่กับความเป็นเด็กที่

ไม่ยอมฟังใคร ยึดตัวเองเป็นใหญ่อยู่เหมือนเดิม และคงน่าเสียดาย มากถ้าการเรียนจบได้ใบเบิกทางของชีวิตด้วยปริญญาใบนี้ จบไป แบบเปล่าๆ ไม่ได้วิชาเลย ทุกคนทำ�ให้เด็กบ้านนอกที่ทำ�อะไรไม่ เป็นคนนี้ ได้วิชาความรู้ติดตัวแบบไม่เสียเปล่า รวมถึงเรียนรู้ชีวิต การอยู่ในสังคม คุ้มมากกับการบินไกลครั้งแรกกว่าหกร้อยกิโลเมตร สิ่งที่เราประทับใจอย่างมากคือ การที่ บก. และ บก.บห. ลงมาดูแล และสนิทกับเด็กฝึกงานได้ถึงขนาดที่ว่าทำ�กับข้าวให้กิน คอยดูแล และเอาใจใส่ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอุปสรรคใดๆ ที่มี บก.บห. และบก. ที่ดีที่เป็นกันเอง ดูแลเราแบบเพื่อน แบบพี่น้อง และแบบลูก ซึ่งทำ�ให้เรารู้สึกว่าการที่เราออกมาทำ�งานหรือฝึกงาน ที่นี่ เราอบอุ่นเหมือนอยู่บ้านของเราเอง เวลาที่ไม่สบายจะคอยหา ยามาให้ พาไปหาหมอ เวลาที่เราอยากกินอะไรอร่อยๆ พี่ๆ ก็จะพา ไปทันที แบบไม่มีข้อแม้ เราจึงรู้สึกว่าที่นี่คือที่ทำ�งานก็จริง แต่มัน กลายเป็นบ้านอีกหลังของเราไปแล้ว เพราะครอบครัว Walk Magazine ของเรามีทั้ง พ่อ แม่ และน้องสาวตัวอ้วนดำ�ที่อยู่ด้วยกันแบบ อบอุ่น คอยดูแลกันอยู่เสมอ จนถึงวันนี้และวันต่อๆ ไป 3 เดือนนี้จึง เป็นประสบการณ์ของชีวิตที่ประทับใจและไม่มีวันลืม

ป้ายรถเมล์ | 55


ป้ายรถเมล์ | 56


สร้างเสริมประสบการณ์มีมิตร ภัทรพรรณ ประพาฬ Walk Magazine.

1. ใครหลายๆ คน อาจจะคิดว่าแค่ 3 เดือน คงไม่ได้ความรู้อะไรมาก อย่างมากก็แค่ถ่ายเอกสาร ตัดกระดาษ แต่สำ�หรับเราแล้ว การ ฝึกงานได้อะไรมากกว่านั้น ในช่วงเวลาแห่งการฝึกงานก็เปรียบ เสมือนการทำ�งานจริงๆ เป็นช่วงเวลาแห่งการกอบโกยความรู้ และ ประสบการณ์ ด้วยความที่เราต้องไกลบ้านไกลเมือง ยิ่งจะต้องปรับ เปลี่ยนการใช้ชีวิต จากที่เคยนอนดึกตื่นสาย ก็เปลี่ยนเป็นนอนเร็ว ตื่นเช้า ต้องรู้จักเผื่อเวลา ต้องตรงต่อเวลาในการทำ�งานทุกวัน 2. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หน้าที่หลักของเราคือการหาข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลที่จะนำ�มาเสนอต้องแปลกใหม่ และ สามารถดึงดูดให้ลูกค้าสนใจ จนติดตามหนังสือของบริษัทไปนานๆ ข้อมูลที่หาได้จะต้องเอามาเสนอให้พี่ในกอง บก. เลือก ว่าข้อมูล ไหนน่าสนใจหรือไม่น่าสนใจ ซึ่งหากเป็นหลายๆ คน คงจะรู้สึก หงุดหงิด ถ้าหาข้อมูลต่างๆ มาเสนอแล้วได้ยินคำ�ว่า “อันนี้ไม่เอา อันนี้พี่ไม่ชอบ อันนี้พี่เคยทำ�แล้ว” ครั้งแรกที่ได้ยินแบบนี้ เรารู้สึกหงุดหงิดมาก อะไรๆ ก็ไม่เอา ไอ้นั่น ก็ไม่ดี ไอ้นี่ก็ไม่เอา อยากได้อะไร ทำ�ไมไม่หาเอง แต่ด้วยความที่เรา เลือกที่จะมาฝึกงานที่นี่แล้วก็ต้องยอมรับในจุดๆ นี้ให้ได้ เมื่อเวลา ผ่านไป ทุกอย่างก็เริ่มดีขึ้น ทำ�งานคล่องขึ้น เมื่อหาข้อมูลได้แล้ว ทางบริษัทก็จะให้ลงมือออกแบบในคอลัมน์นั้นๆ ซึ่งตัวเราเองไม่ได้

มีความรู้เรื่องด้านโปรแกรมเลย แต่ก็ด้วยความใจดีของพี่ๆ ในกอง บก. ได้สอนและแนะนำ�การใช้งาน ทำ�ให้เข้าใจ และผลิตงานออก มาจนสำ�เร็จในที่สุด 3. มันไม่ใช่แค่การนั่งในบริษัทเท่านั้น แต่มันยังได้ทำ�งานนอกสถาน ที่ ซึ่งเราเองก็ได้มีโอกาสไปถ่ายรูปที่ร้านกาแฟและเบเกอรี่ต่างๆ ใน ชลบุรี ยอมรับว่าการถ่ายรูปของเรานั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร แต่ ด้วยการที่เราต้องฝึกหัดทำ�ในสิ่งที่ไม่ถนัด ผลที่ออกมาของงานครั้ง แรกก็เลยถือว่าพอใช้ได้ อาจจะโดนติติงบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นการ สร้างแรงผลักดันให้พัฒนาในงานต่อๆ ไป 4. การฝึกงานในครั้งนี้ นอกจากจะได้ความรู้เรื่องในการทำ�งานใน ออฟฟิศแล้ว เรายังจะต้องรู้จักการคบคน การเข้าหาผู้คน การสร้าง มิตร รู้จักแยกแยะ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว พร้อมทั้งได้มากกว่า คำ�ว่าประสบการณ์ เพราะทำ�ให้เราได้เห็นชีวิตของผู้คน ได้เห็นการ แข่งขันในเรื่องเวลา และที่สำ�คัญเราจะได้เห็นคนที่ดีและคนที่เห็น แก่ตัวในเวลาเดียว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวเราว่าจะ สามารถอยู่ในสังคมแบบนี้ได้หรือไม่ และเรามีความอดทนมากน้อย แค่ไหน เพราะในช่วงชีวิตของการทำ�งาน ไม่มีใครช่วยเหลือเราได้ นอกจากตัวเราเอง

ป้ายรถเมล์ | 57


ป้ายรถเมล์ | 58


การทดลองของนักออกแบบ วรนารถ คุ้มพวก Look Around Magazine.

ไม่ว่าคุณจะมาฝึกงานในตำ�แหน่งอะไรก็ตาม คุณควรจะ ขอทำ�งานหลากหลายชิ้น เพราะว่าจะได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับตนเอง และมองหาสิ่งที่เราถนัดที่สุด เราฝึกงานกับนิตยสารแจกฟรีที่ชื่อ Look Around ในจังหวัด ระยอง ไปทำ�งานวันแรกเราไม่รู้อะไรมากนัก สิ่งแรกที่ทำ�คือ ศึกษา หาข้อมูลเกี่ยวกับนิตยสาร และนิตยสารคู่แข่งฉบับอื่น เพื่อเป็น แนวทางในการศึกษาทางด้านการตลาด ด้านเศรษฐกิจ ด้านองค์กร และโครงสร้างองค์กร และขอคำ�แนะนำ�กับพี่ที่ทำ�งาน อันไหนที่ไม่ เข้าใจก็ถามพี่เขา เพื่อจะได้คำ�แนะนำ�มาใช้ในการฝึกงาน หลังจาก ได้พูดคุยกับพี่ๆ ที่ออฟฟิศ เราจึงคิดได้ว่าควรจะเริ่มศึกษาคอลัมน์ และแบ่งการทำ�งานในคอลัมน์นั้นๆ กับทุกคนที่ฝึกงานด้วย งานในนิตยสาร Look Around ที่เราได้ทำ�เป็นส่วนใหญ่ คือ การจัด วางเลย์เอ้าท์​์และออกแบบกราฟิกในคอลัมน์นั้นๆ ที่ต้องใช้ทักษะ ทางการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการทำ�งาน เน้นให้ คนเข้าใจคือ ใส่เนื้อหากระชับ และเข้าใจง่าย ตีโจทย์ในหัวข้อให้ได้ แล้วจึงผลิต คล้ายกับการตกแต่งห้องนั่งเล่น ถ้าจะให้สวยงามและ ดูดี เราต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความสบายตา งานเราจะได้ ออกมาดูดี

จากการทำ�งานนิตยสาร พี่ๆ ในองค์กรต่างชื่นชมการทำ�งานของเรา โดยเฉพาะคอลัมน์ที่ใช้กราฟิกในการสื่อสารออกไป ครั้งหนึ่งพี่เขา บอกว่า พัฒนาการเรียนรู้เร็วมาก ขนาดไม่ได้สอนอะไรมากมายยัง ทำ�ได้ขนาดนี้ และทำ�งานออกมาได้ดี ยอมรับว่าเราดีใจสุดๆ ที่ได้ รับคำ�ชม ซึ่งแค่นี้ก็มีกำ�ลังใจในการทำ�งานแล้ว เราก็เริ่มที่จะเข้าใจ และสนุกกับการทำ�งานมากขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่บุคลากร ในออฟฟิศมีไม่มาก เราควรขอพี่เขาทำ�หลายๆ คอลัมน์ เพื่อจะได้ มีผลงานเป็นของตนเอง และจะได้แบ่งเบาภาระของพี่ๆ ได้ และอีก อย่างพี่ๆ ที่ออฟฟิศเขาทำ�งานกันแบบครอบครัว มีอะไรก็บอกและ ช่วยเหลือกันได้ จากการแชร์ประสบการณ์การฝึกงานครั้งนี้ คงจะช่วยอะไรได้มาก เพราะตัวเราก็ไม่เก่งหรือเชี่ยวชาญอะไร แค่ได้ใช้ความถนัดและสิ่ง ที่เรารัก ผลิตงานออกมาให้คนอื่นได้เข้าใจ ได้รับรู้ถึงสิ่งที่ตอบสนอง ต่อผู้รับสาร นั่นคือสิ่งที่เราอยากจะบอก ไม่ว่าคุณจะเจอปัญหา และอุปสรรคใดๆ ท้อได้แต่อย่าถอย เพราะนอกจากจะทำ�ให้คุณไม่ มั่นใจในตัวเองแล้ว มันยังจะดึงดันทำ�ให้สิ่งที่เราชอบกลับกลายเป็น สิ่งที่เรากลัว กลัวว่าจะทำ�ได้ไม่ดี กลัวว่าจะทำ�งานไม่ได้ แต่ก็นั่น แหละ หากเราไม่ลอง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร

ป้ายรถเมล์ | 59



ป้ายรถเมล์ | 61


ป้ายรถเมล์ | 62


a point of view(finder) จุลดิศ อ่อนละมุน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ “ช่างภาพหนังสือพิมพ์” คำ�นี้ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็ก รู้แค่ ว่าหน้าที่ของมันก็คือ การหาภาพมาลงในหน้าหนังสือพิมพ์ ณ ตอน นั้นคิดว่า ทำ�ไมเขาถ่ายได้ ทำ�ไมเขาได้ภาพพวกนั้นมา ผมเหมารวม ทุกๆ ฉบับ เป็นหนึ่งฉบับ คิดซะด้วยซํ้าว่าเขาทำ�งานคนเดียวได้ยังไง เขาเอาเวลาไหนไปถ่าย (คงจะหายตัวได้มั้ง) ตัดภาพมาตอนฝึกงานเลยนะ ... การได้มาฝึกงานเป็นช่างภาพ ทำ�ให้เรารู้อะไรหลายๆ อย่าง เกี่ยว กับวิชาชีพด้านนี้มากขึ้น รู้แม้กระทั่งว่า กว่าจะได้ภาพสัก 1 ภาพ มันลำ�บากขนาดไหน เช่น การได้รับมอบหมายให้ถ่ายงานแถลง ข่าวต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่มีความท้าทายมาก เพราะในงานแถลงข่าว แต่ละงาน จะมีสื่อมวลชนจำ�นวนมาก ในฐานะที่เราเป็นช่างภาพ หน้าใหม่ และด้อยประสบการณ์ อาจทำ�ให้เกิดความเกรงใจช่าง ภาพรุ่นใหญ่ และยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเข้าไปถ่ายภาพ ฉะนั้น สิ่ง เดียวที่จะทำ�ให้เราได้ภาพก็คือการอ่อนน้อมถ่อมตนกับรุ่นพี่ และ ผลักความกลัวออกไป รวมถึงเพิ่มความกล้าให้กับตัวเองมากขึ้น สิ่งที่ชอบมากที่สุดในการลงพื้นที่ถ่ายภาพคือ การได้ถ่ายภาพนายก รัฐมนตรี เพราะเราต้องใช้ทักษะในหลายๆ ด้าน ทั้งต้องกล้า ต้อง ช่างสังเกต ต้องมีความไวในการหามุมภาพ เพราะบางครั้งเราอาจ พลาดวินาทีที่สำ�คัญได้ รวมถึงอาจเกิดปัญหาหน้างาน เช่น บางที ก็มีการเบียดกันเองของช่างภาพ หรือมีคนยืนบังมุมที่เราต้องการ

ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะถ่ายรูปออกมาให้ดีได้ ฉะนั้น ต้องอาศัย จังหวะ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ประสบการณ์ และชั่วโมงบินที่ ค่อนข้างจัดเจน เพื่อให้เราได้ภาพที่เราต้องการ “กูต้องได้ภาพ กูต้องได้ภาพ” เป็นคำ�พูดที่วนอยู่ในหัวตลอดเวลา เปรียบเสมือนคำ�ที่คอยผลักดัน ให้ผมต้องกระตือรือร้น และทำ�งาน ที่ได้รับมอบหมายให้ประสบความสำ�เร็จ และเพราะการตั้งใจ ทำ�งานของผม ทำ�ให้หัวหน้าช่างภาพถึงกับเอ่ยว่า “ไอ้ต๊ะ ทำ�ไมเอ็ง เข้าใกล้นายกได้ขนาดนี้วะ” ผมก็ตอบแบบภูมิใจไปว่า “ผมสังเกต มุมกล้องจากช่างภาพคนอื่นเอาครับพี่” (พร้อมกับยักคิ้ว 1 ที) ผมมีความประทับใจทุกครั้งที่ได้ลงพื้นที่ถ่ายภาพ ภาพหลายภาพ ที่เกิดจากความตั้งใจของผม ได้ลงในหน้าหนังสือพิมพ์และในเว็บ ออนไลน์ ผมได้สื่อสารให้ผู้รับสารได้รู้ว่าในสถานการณ์นั้นๆ มันมี เหตุการณ์อะไรบ้าง ที่ผ่านวิวไฟน์เดอร์มากระทบสู่สายตาของเรา การเป็นช่างภาพข่าว ทำ�ให้ผมรู้สึกมีพลังในการทำ�งานมากขึ้น ได้ เรียนรู้จากการทำ�งานในฐานะช่างภาพหลายๆ ด้าน ช่วยทำ�ให้เรา ได้เพิ่มทักษะในการถ่ายภาพ ได้อยู่ในเหตุการณ์สำ�คัญๆ ได้ทำ�ใน สิ่งที่ไม่เคยทำ� เป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน วันหนึ่ง ช่าง ภาพรุ่นพี่ที่สนิทกันเดินมาพูดกับผมว่า “ถ้าเราทำ�งานดี งานที่ดีมัน จะดูแลเราเอง”

ป้ายรถเมล์ | 63


ป้ายรถเมล์ | 64


ความผิดพลาดไม่มีไทม์แมชชีน ถิรวัฒน์ อรจันทร์ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ‘ฐานเศรษฐกิจ’ บางคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อมากนัก แต่ที่ จริงแล้ว ที่นี่ก็มีประวัติมานานมากเหมือนกันนะครับ หลังจากที่ผม ต้องแบกกระเป๋าเสื้อผ้า กล้อง และสเก็ตบอร์ดคู่ใจเข้ามากรุงเทพฯ บอกเลยครับ วันแรกถึงกับมึน เด็กบ้านนอกอย่างผมที่เข้ามาใน เมืองกรุง “ปาก” เป็นเรื่องที่สำ�คัญมาก เพราะผมต้องคอยถามทาง ทั้งวินมอเตอร์ไซค์ กระเป๋ารถเมล์ ว่าใกล้ถึงสถานที่ที่ผมจะไปหรือ ยัง มันเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมาก กับการที่เราต้องไปสถานที่ที่เรา ไม่รู้จัก มันรู้สึกตื่นเต้นว่าเราจะเจอกับอะไรบ้าง ทุกวันก็เหมือนการแข่งกับเวลา ต้องรีบตื่นขึ้นมาเพื่อขึ้นรถเมล์ ที่ โคตรจะแออัดไปด้วยผู้คนที่ต้องตื่นมาทำ�งานในอาการเบลอๆ ผม ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่ต้องเบียดเสียดเอาตัวเข้าไปในรถ เพื่อที่จะเข้า งานตามหมายที่กำ�หนด แน่นอนว่าถ้าหากคุณได้เริ่มการใช้ชีวิตเป็น พนักงานแล้วนั้น จงจำ�ไว้เลยว่า การตรงต่อเวลาเป็นเรื่องที่โคตรจะ สำ�คัญเลย ถ้าคุณมาสายแค่นาทีเดียว คุณค่าที่ทุกคนมองคุณก็จะ เปลี่ยนไปในทันที คุณอาจจะกลายเป็นคนไม่ตรงต่อเวลา ไม่เอา ไหน ขาดความรับผิดชอบ และอีกมากมายที่จะสามารถด่าออกมา เป็นคำ�พูดที่ดูสุภาพได้ วันๆ ของผมก็ไม่มีอะไรมาก แค่รอหมายงานที่ต้องลง ผมลืมบอก ไปครับ ว่าตำ�แหน่งงานที่ผมทำ�คือช่างภาพ ทุกคนอาจจะคิดว่ามัน ง่าย ก็แค่การยกกล้องขึ้นมาถ่ายรูป แต่คุณอาจจะไม่รู้ว่าการถ่าย ภาพให้สวย ให้ดูแปลกตา แตกต่างและน่าสนใจ มันโคตรจะยาก เลยล่ะ การที่คุณคิดว่าทำ�ออกมาได้ดีแล้ว มันอาจจะไม่ดีอย่างที่ คุณคิดก็ได้ แต่เมื่อสิ่งที่คุณทำ�ออกมาเป็นที่ยอมรับ เช่น ภาพที่คุณ ถ่ายออกมาได้รับเลือกลงหนังสือพิมพ์ หรือได้เผยแพร่ต่อสาธารณะ

วินาทีนั้นผมนี่ถึงกับตัวลอยเลย มันรู้สึกมีกำ�ลังใจมากเป็นพิเศษ สิ่งที่ทำ�มา ที่พยายามมาทั้งหมดประสบผลสำ�เร็จ แค่นี้ก็พอใจ มากมายแล้วครับ เวลาแค่สามเดือนนี้มันก็ผ่านไปเร็วเหมือนกันนะครับ การเข้า ฝึกงานที่ฐานเศรษฐกิจ ถือเป็นการเปิดโลกของผม ต้องเจอผู้คน มากมาย เจอผู้หลักผู้ใหญ่ นักการเมือง ผู้นำ�ประเทศ บางครั้งก็ กดดันจนมือลั่นกดชัตเตอร์แทบจะไม่ถูกเลยครับ แต่ก็ถือเป็นเรื่อง ราวดีๆ จากที่ผมทำ�งานมา ผมได้ลงพื้นที่ในหลายจังหวัด มันก็ เหมือนกับการไปเที่ยวนั่นแหละครับ ผมไปตั้งแต่เหนือจนเกือบสุด อีสานตอนล่าง ทั้งเหนื่อยทั้งสนุก ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะเห็นว่าผมดูมีความสุขดีกับงานที่ทำ� ดู ไม่น่าจะมีข้อผิดพลาดอะไร ผมบอกเลย “ไม่จริง” ผมเคยหลับยาว จนไปเข้างานไม่ทัน วินาทีนั้นผมคิดอย่างเดียว คือ อยากจะมีเพื่อน เป็นโดราเอมอน เพื่อจะนั่งไทม์แมนชีนย้อนเวลา แต่นั่นล่ะครับ ก็ได้แต่คิด เราต้องยอมรับชะตากรรมต่อไป ความผิดพลาดมันไม่ สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้ ยอมรับต่อพี่ที่ทำ�งานว่าไปไม่ทัน แต่ยังดี ที่เรากลับได้บทเรียน คิดซะว่าเป็นข้อผิดพลาดที่ทำ�ให้เรา เอามาปรับปรุงตัว พี่ๆ ที่ฐานเศษฐกิจทุกคนเห็นผมเป็นเหมือนน้องชายในบริษัท ก่อน ผมจะกลับ พี่ๆ ก็เลี้ยงส่งผม ให้คำ�แนะนำ�ต่างๆ มากมาย ทุกคน เป็นกันเอง เวลาเล่นคือเล่น พอเวลางานทุกคนก็เต็มที่มาก จนผม ก็ไม่คิดว่าจะได้รับอะไรมากมายแบบนี้ได้ที่ไหนอีกแล้ว ถือเป็น ประสบการณ์ที่ประทับใจอีกอย่างหนึ่งในชีวิตของผมเลย

ป้ายรถเมล์ | 65


ป้ายรถเมล์ | 66


1 2 3 แชะ แชะ สาธิต ใหม่คามิ นิตยสารมอเตอร์ไซค์

ส่วนตัวผมเป็นคนชอบถ่ายรูปเล่นอยู่แล้ว แต่ก็ไม่คิดไม่ ฝันว่าโตขึ้น ผมจะได้มาเรียนสายวารสารศาสตร์ ซึ่งต่างจากสมัย มัธยมผมเรียนสายช่างมาก่อน พอเข้ามามหา’ลัย ผมได้จับกล้อง DSLR แล้วเกิดชอบ จึงอยากเรียนและอยากเป็นช่างภาพ ผมคิดไว้ ในตอนนั้นว่าอยากเป็นช่างภาพข่าวสายบันเทิง ฝึกงานเหรอ ? ในระยะการฝึกงานครั้งแรกของผมนั้น ผมได้นั่งเล่นเฟซบุ๊คอยู่ที่ ออฟฟิศราวๆ สองอาทิตย์ เพราะไม่มีงานให้ทำ�เลย ผมถึงกับเครียด เพราะเห็นเพื่อนๆ คนอื่นเขามีงานทำ�กันหมด ได้ออกนอกพื้นที่กัน ทุกวัน ส่วนผมนั่งสบายใจอยู่ที่ฝึกงาน ผมคิดว่าจะขอที่ฝึกงานออก ไปบ้าง แต่คิดไปคิดมาคงยุ่งยาก จึงได้ทำ�ใจ แล้วเริ่มหาอะไรทำ� เริ่มจากช่วยงานเอกสารให้แผนก ผมดีใจมากๆ เมื่อมีหมายงานเข้ามางานแรก โดนกดดันอย่างมาก ว่าต้องได้ภาพที่ดีกลับมา หลังจากที่ผมได้ไปถ่ายงานแรก พี่ๆ บอก

ทำ�ได้ดี แล้วก็เริ่มมีใบงานมาบ้างเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นงานแถลงข่าว เกี่ยวกับรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ซึ่งผมก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องรถ มาก่อนเลย จึงจำ�เป็นต้องศึกษาเรื่องรถและวิธีการถ่ายภาพรถต่างๆ ให้ออกมาดี เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ผมได้เรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ผมเป็นนิสิตฝึกงานซึ่งประสบการณ์ไม่มาก แต่ได้ มีโอกาสมาฝึกงานในช่วงนี้ก็ถือว่าโชคดี เพราะอยู่ในช่วงที่งาน มอเตอร์โชว์ไม่ค่อยมี แต่ผมได้เรียนรู้การถ่ายภาพแนวใหม่ๆ และ ลงทำ�งานปฎิบัติจริง ที่ส่วนใหญ่ผมถนัดถ่ายแต่ภาพบุคคล ภาพ นิ่ง ผมว่าบางทีสิ่งที่ผมคิดว่าทำ�ไม่ได้ พอตั้งใจทำ�จริงๆ มันก็ออกมา ดีนะ เช่น การถ่ายภาพแนวแอ็คชั่นต่างๆ งานรถแข่ง มันสนุกและ เฟี้ยวดี ขอบคุณพี่ที่ฝึกงานที่จี้ยํ้าผมทุกจ๊อบงานได้ไปถ่ายภาพ ทำ�ให้ผมไม่ เกิดความประมาทในการทำ�งาน ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่สอนผม ในห้องเรียน และเพื่อน วารสารศาสตร์ #12 ทุกคน ยินดีที่รู้จักตลอด ระยะเวลา 4 ปี โชคดีการงาน มั่นคง สวัสดี

ป้ายรถเมล์ | 67


ป้ายรถเมล์ | 68


Sanamluang last memory ทรงภพ สมหวังชัย Sanamluang Music.

วันนี้อาจจะเป็นวันที่แย่ที่สุดของค่ายเพลงที่มีชื่อว่า “สนามหลวงมิวสิค” เลยก็ได้ ผมเข้ามาออฟฟิศตอนบ่ายๆ อย่างเช่นเคย ทุกๆ คน ก็ต่างมาทำ�งาน กันสนุกสนาน พูดคุยกัน แกล้งกันไปกันมา ลงไปกินข้าวกัน มันน่า จะเป็นวันที่แสนสดใส จนกระทั่ง 6 โมงเย็น ก็ได้มีการเรียกพนักงานทุกคนเข้าไปประชุม โดยที่ตอนนั้นทุกคนไม่รู้เลยว่า การเรียกไปประชุมในครั้งนี้เป็นเรื่อง อะไร จะมีก็แต่ผมกับพี่ตากล้องฟรีแลนซ์ประจำ�ค่ายที่ไม่ได้ร่วม ประชุมด้วย เพราะไม่ใช่พนักงานประจำ�ทั้งคู่ เราก็เลยนั่งคุยเล่นกัน ไปเรื่อยๆ “เขาประชุมอะไรกันนานๆ ไม่ใช่เรื่องปิดค่ายสนามหลวงนะ” คำ� พูดของพี่ตากล้องเอ่ยออกมาในขณะนั้น ซึ่งเอาเข้าจริง พวกพี่ๆ เขา ก็ได้ยินข่าวลือมานานแล้ว แต่ไม่คิดว่าจะจริง “อ่าวจริงหรอพี่ บ้า! ค่ายเราออกจะใหญ่ใครจะมาปิด” ผมย้อนถาม “เออนั่นดิ ถ้าปิดแม่งบ้าแน่ๆ แล้วถ้าปิดจริง กูนี่แหละ โดนออกคน แรกเลย” (ฮา)

พอผ่านไปสักพัก มีเสียงหัวเราะในห้องประชุมดังขึ้น ผมกับพี่ตา กล้องก็พูดกันว่าคงไม่มีอะไรหรอก เพราะเขายังหัวเราะกันอยู่เลย ก็หัวเราะตามเขาไป แต่หลังจากนั้นอีกไม่ถึง 3 นาที ทุกคนก็ออก มาจากห้องประชุม แต่สีหน้าของพี่อาร์ตไดฯ สีหน้าของพี่เลี้ยงผม และพี่คนอื่นๆ กลับไม่ค่อยดีเท่าไร พี่อาร์ตไดฯ เดินมาบอกว่า ค่าย สนามหลวงจะปิดวันที่ 15 กันยายน นี้แล้วนะ ผมกับพี่ตากล้องถึง กับงงกันไปตามๆ กัน แล้วพี่ๆ ก็ชวนกันออกไปสูบบุหรี่ ทุกคนต่าง บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ทำ�ไมมันเร็วแบบนี้วะ มันจริงเหรอ ทำ�ไม ต้องปิดค่ายเรา สีหน้าของพี่ๆ ทุกคนบ่งบอกได้ถึงความผิดหวัง ความเสียดาย วันนั้นเป็นวันที่แย่มากสำ�หรับทุกคน ทุกคนเสียใจ มากที่ได้ยินข่าวนี้ มีประโยคหนึ่งที่พี่อาร์ตไดฯ พูดขึ้นมาว่า “สนาม หลวงมันกำ�ลังจะดีขึ้นมาอย่างมาก แต่ตอนนี้พวกเขามาเตะปลั๊ก ของพวกเรา เสียดายที่พวกเขาไม่ให้โอกาสเราเดินต่อไป” ผมเข้าไปอยู่ได้แค่เดือน สองเดือน ผมคงไม่อินกับความเป็นสนาม หลวงได้เท่าพวกพี่ๆ ที่นี่ แต่สิ่งที่ผมสัมผัสได้ มันคือมิตรภาพที่พี่ๆ เขามีให้กันและกัน พวกเขาคือครอบครัวหนึ่ง ที่ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน มานาน และพวกเขานิยามสนามหลวงแห่งนี้ว่าเป็นบ้านหลังที่สอง ถึงแม้บ้านหลังนี้จะพังลงไป แต่ความทรงจำ�ก็ยังอยู่ พี่เลี้ยงบอกผมว่า “ที่มาทำ�งานที่นี่ไม่ใช่เพราะเงิน แต่เพราะ มิตรภาพจากพี่ๆ ทุกคน สนามหลวงมันคือบ้าน”

ป้ายรถเมล์ | 69


ป้ายรถเมล์ | 70


บทบันทึกจากยอดดอย รัฐพล แก้วใส รายการ กบนอกกะลา

หลังจากการฝึกงานผ่านไปประมาณเดือนกว่าๆ ผมได้ถูก เรียกตัวให้ไปช่วยงานกองถ่ายของกบนอกกะลา ณ สถานที่เกือบ เหนือสุดของประเทศอย่างจังหวัดเชียงใหม่ ผมต้องเดินทางแต่เช้า มืดเพื่อไปถ่ายรายการ ตอน ตามรอยถุงพระราชทาน ซึ่งการเดิน ทางในครั้งนี้เราจะเดินทางไปพร้อมกับกลุ่ม 22 นอ Off-Road เป็น กลุ่มองครักษ์ในพระราชวัง ที่ไปสำ�รวจเส้นทางก่อนที่ สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปพระราชทานถุง ยังชีพในช่วงเดือนพฤศจิกายน การเดินทางสำ�รวจเส้นทางวันแรก เป็นการเดินทางเข้าหมู่บ้าน สบโขง เพื่อที่จะค้นหาหลายๆ เส้นทางที่จะไปอมก๋อย เพื่อป้องกัน ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในวันที่ท่านเสด็จ การเดินทางครั้งนี้ใช้เวลาหลาย ชั่วโมง ต้องเผชิญกับอากาศหนาว เส้นทางต้องเจอกับเหว เป็นอะไร ที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตมาก การลงพื้นที่ในครั้งนั้นเต็มไปด้วยความยากลำ�บาก แต่บรรยากาศ รอบข้างเป็นบรรยากาศที่สวยงามมาก ภูเขาที่มีทุ่งถั่วเหลืองเป็น ภาพที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ทันทีที่เราถึงโรงเรียนที่จะนำ�ถุง พระราชทานมามอบให้ เสียงต้อนรับจากเด็กน้อยชาวดอยได้เอ่ยขึ้น มาทักทายพวกเรา เด็กทุกคนน่ารักมาก เห็นเด็กๆ แล้วหายเหนื่อย ทันที หลังจากที่กลับมาถึงที่พัก ผมรู้สึกตกใจมาก เมื่อองครักษ์ รักษาพระองค์เล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้ว ครูที่โรงเรียนที่เราไปได้มีการ

จัดฉากให้กับเด็กๆ เพียงเพื่อไม่ให้เด็กเหล่านั้นดูเหมือนยากไร้จน เกินไป จริงๆ แล้ว ธรรมชาติของเด็กที่นี่ บะหมี่กึ่งสำ�เร็จรูปหนึ่งถ้วย เด็กเหล่านั้นแทบจะกินกันทั้งครอบครัว คุณครูไม่อยากให้พวกเรา เห็นภาพนี้ เลยจำ�เป็นต้องให้เด็กนั่งกินกันที่โรงอาหาร ทันทีที่ได้ฟังจบ ผมไม่เคยคิดเลยว่าเรื่องแบบนี้จะมีอยู่ใน ประเทศไทย เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตของตัวเองที่ ผ่านมา แววตาและสีหน้าของเด็ก มองดูแล้วเหมือนมีความหวัง อะไรสักอย่าง เมื่อเขาได้เห็นขนมหนึ่งห่อที่ผมหยิบยื่นให้ ครับ ความ รู้สึกของผม เหมือนเขาไม่เคยได้เห็นขนมมาก่อน ความรู้สึกขณะ นั้นมันเหมือนกับผมได้อยู่ในสถานที่แห่งการถูกทอดทิ้งจากโลก ภายนอก มันต่างจากการใช้ชีวิตของผมที่สิ้นเปลืองมากๆ ไม่เคย เห็นแม้แต่คุณค่าอะไรเลย จนได้มาสัมผัสกับเหตุการณ์นี้โดยตรง การเดินทางมาฝึกงานในครั้งนี้ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีและสนุก ได้ เจอกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้เจอกับสิ่งที่ไม่เคยได้เจอ มันได้หล่อหลอม ให้ผมได้รู้จักความจริงของการใช้ชีวิตมากขึ้น ผมมองว่าเหตุการณ์ ทุกอย่างมันมีเรื่องเล่าในตัวของมัน เหตุการณ์เล็กๆ เหตุการณ์นี้ ใน ช่วงเวลาการฝึกงาน 3 เดือน กลับสอนอะไรบางอย่าง และมีความ หมายแก่ผมจนยากจะลืม เช่นกัน .. ทุกเรื่องเล่าอาจจะเปลี่ยนชีวิต ของใครหลายคน

ป้ายรถเมล์ | 71



ป้ายรถเมล์ | 73


ป้ายรถเมล์ | 74


HANDMASS DESIGN พงษ์ศักดิ์ พงษ์สนิท Idea avenue. มุ่งสู่ประตูบานยักษ์ที่กำ�หนดทิศทางของอาชีพในอนาคต ของตัวเรา ในขณะที่กำ�ลังทำ�งานนั้น ภายในหัวได้เกิดคำ�ถามขึ้น มากมายว่า ตัวเราเดินตามเส้นทางที่ตัวเองวางแผนไว้มากน้อย เพียงใด สิ่งใดคือสิ่งที่ตัวเราต้องการ การทำ�งานในสายอาชีพนี้เรา จะสามารถทำ�ได้หรือไม่ วันแรกของการทำ�งานได้เริ่มขึ้น คำ�ตอบของคำ�ถามเริ่มชัดเจนขึ้น มากกว่าเดิม ตัวเรานั้นไม่เหมาะกับงานประเภทโฆษณาแน่นอน คำ�นี้ดังก้องอยู่ภายในใจ เพราะการทำ�งานที่ต้องอาศัยความรู้ใน หลากหลายด้าน บวกกับภาษาที่ไม่มีการฝึกฝน จึงได้เริ่มเก็บเกี่ยว ประสบการณ์ที่คิดว่าสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้กับตัวเราให้ได้มาก ที่สุด เเละเมื่อโชคชะตาเข้าข้างตัวเรา วันนั้นเราจึงได้เป็นส่วนหนึ่ง ของทีมกราฟิกมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ยาวนานในวงการสื่อ โฆษณาถึง 10 ปี เราได้รับเทคนิคและมุมมองต่างๆ จากการทำ�งาน โดยมีมืออาชีพ คอยแก้ไขและให้คำ�แนะนำ� ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์อย่างมากจากการ ถูกวิจารณ์ผลงาน ทำ�ให้เราได้รู้ว่าฝีมือและการทำ�งานของตนเอง นั้นด้อยเพียงใด จากนั้นจึงเริ่มแก้ไขความคิดในการออกแบบของ ตน แน่นอนครับ มันรวมไปถึงการออกแบบชีวิต เมื่อเกิดความคิดนี้ขึ้น จุดเปลี่ยนของชีวิตก็เริ่มชัดเจน และได้เร่งความคิดบวกฝีมือในการ

ออกแบบในทางที่ถนัดทันที นั่นคืองานสัก (tattoos) และนำ�ความ รู้ที่ได้มาใช้กับงานที่เรารัก การออกแบบงานและชีวิตของตนเอง จึงได้ดำ�เนินไปทุกๆ วัน งานแทททูนั้นไม่ควรเกิดความผิดพลาด ขึ้น มันคือความท้าทายในการทำ�งาน ซึ่งต่างกับงานอาร์ตที่ทำ�ใน คอมพิวเตอร์ หรือวาดลงสมุด ซึ่งเมื่อพลาดเราก็แค่ลบทำ�ใหม่ สิ่งที่ ต่างกันนี้ทำ�ให้ตัวเราต้องฝึกฝนอย่างหนัก และต้องใช้สมาธิในการ ทำ�งานสูงในการลงมือทำ�งานในแต่ละครั้ง หากตัวเราไม่มั่นใจใน ฝีมือ เราจะไม่สามารถทำ�งานชิ้นนั้นให้ออกมาดีได้เลย พูดถึงความมั่นใจแล้ว สิ่งไหนเป็นตัวชี้วัดความมั่นใจสำ�หรับลูกค้า และตัวเรา นั่นคือผลงานที่เราได้ลงมือทำ�ให้คนรอบข้างเห็น ครั้ง แรกที่เริ่มงานแทททูก็เริ่มจากตัวเราเอง ซึ่งต้องสักตัวเองให้คนอื่น เห็นงาน ขณะที่ลงมือก็ได้แต่บอกตัวเองว่า “ไม่มีใครช่วยเราสร้าง ความสำ�เร็จได้ นอกจากตัวเรา” งานแทททูที่เราทำ�ต้องเป็นงานที่เรา วาดและออกแบบขึ้นเอง มันทำ�ให้คนรอบตัวสนใจในผลงานและ เรียกตัวเราว่า ช่างสัก หรือ แทททูอาร์ตติส เมื่อทำ�งานมากขึ้น เราก็ยิ่งได้รับฟังความคิดของคนอื่นมากขึ้นไป ด้วย และปรับใช้กับงานออกแบบของตนตามที่ลูกค้ากำ�หนดโจทย์ เราคิดว่าตัวเรามีทั้งฝีมือและโชคชะตา ทำ�ให้เราได้เดินบนเส้น ทางการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านของงานอาร์ตเวิร์ค หรืองานด้าน สตรีทอาร์ต สุดท้ายการทำ�งานมันจะเริ่มสนุก เมื่อมีคนมีเห็นฝีมือ และความสำ�คัญ

ป้ายรถเมล์ | 75


ป้ายรถเมล์ | 76


แผนงาน / แผนที่ / แผนชีวิต กฤษณรักษ์ แลศิลา COSMODE Thailand. ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของผมดำ�เนินมาจนจะสุดสาย ปลายทางแล้ว แต่ก่อนที่ผมจะจบไป ผมและเพื่อนๆ ต้องผ่านวิชา ฝึกงานกันก่อน นี่แหละครับ คือจุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ เมื่อผมรู้แล้วว่าตัวเองจะต้องไปฝึกงาน สิ่งแรกที่คิดคือ เราชอบทำ� อะไรและอยากทำ�อะไร ผมก็มานั่งลิสต์สิ่งที่ผมอยากทำ�หรือสิ่งที่ผม ชอบ ผมเป็นคนชอบเล่นเกมส์มากเป็นชีวิตจิตใจ ผมชอบดูการ์ตูน และฝันมานานว่าอยากแต่งคอสเพลย์ดูสักครั้ง และด้วยเหตุนี้เอง จึงทำ�ให้ผมได้มาฝึกงานที่นิตยสาร COSMODE THAILAND ซึ่ง เป็นนิตยสารเกี่ยวกับแฟชั่น และการแต่งตัวคอสเพลย์เล่มเดียวใน เมืองไทย สัปดาห์แรกๆ ผมยังไม่ค่อยได้ทำ�อะไรมากมายนัก เพราะนิตยสาร ปิดเล่มพอดี ผมเลยไปเป็นเด็กเก็บการ์ด เวลามันก็ผ่านไปเรื่อยๆ ผมก็เริ่มมีบทบาทในบริษัทเพิ่มมากขึ้น งานแรกก็ท้าทายผมเลย ผม ได้ลงไปถ่ายงานคอสเพลย์เป็นครั้งแรกในชีวิต ได้เห็นในสิ่งที่อยาก เห็น และได้ทำ�ในสิ่งที่อยากทำ� แต่ติดที่ว่าเราจะเดินทางไปยังงาน คอสเพลย์ได้ยังไง เพราะผมไม่รู้เลยว่ารถเมล์สายไหนจะวิ่งไปไหน สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อเลยว่าจะช่วยชีวิตนิสิตฝึกงานจากต่างจังหวัดหลาย คนได้ดีคือ แผนที่ของ Google ผมจึงค้นหาจุดที่ผมอยู่และจุดหมาย ปลายทาง มันก็จะบอกหมดเลยครับ ว่านั่งรถเมล์สายอะไรไปได้ บ้าง นั่งกี่ชั่วโมง เอาล่ะครับ สบายเลยงานนี้ เมื่อผมเดินทางไปถึง งาน ปัญหาที่ตามมาคือ สถานที่ตั้งใหญ่โต แล้วงานมันตั้งอยู่ตรง ไหนกันวะ ด้วยความที่ผมเป็นคนช่างคิดช่างสังเกต แน่นอน งาน

คอสเพลย์ต้องเป็นงานเด็ก เพราะส่วนมากคนที่แต่งคอสเพลย์ต้อง เป็นเด็ก พอผมคิดได้เช่นนั้น ก็เดินตามเด็กกลุ่มหนึ่งไปจนมาถึงหน้า งาน สิ่งที่เห็นมันเป็นอะไรที่วิเศษมากสำ�หรับผม ตัวละครในโลก การ์ตูนสองมิติ ออกมามีชีวิตชีวาในโลกแห่งความจริง วันนั้นผมเก็บภาพคอสเพลย์ไว้เยอะมาก พอได้ภาพคอสเพลย์มา แล้ว ต่อมาคืองานหิน ยํ้าอีกครั้งว่าหินมากๆ เพราะมันคือการได คัทรูปคอสเพลย์ที่ถ่ายมา โอ้.. พระเจ้า รูปคอสเพลย์ที่มาร่วมงาน ไม่ตํ่ากว่า 200 คน ผมก็ต้องมานั่งไดคัทจนนิ้วโป้งขวาผมบุบลงไป ระยะเวลาสามเดือนที่ฝึกงานผมไดคัทภาพไปไม่รู้กี่รูป สุดท้ายผมก็ ทำ�งานสุดความสามารถ จน บก. ไว้วางใจให้ผมลงพื้นที่ทำ�ข่าวงาน TGS 2014 ซึ่งงานนี้เป็นงานที่ผมฝันอยากจะมาตั้งนานแล้ว ก่อนที่ ผมจะลงพื้นที่ ผมได้ร่างโครงของคอลัมน์ที่ผมจะเขียน และเนื้อหา ที่ต้องการเสร็จแล้ว การที่เราทำ�แบบนี้มันจะง่ายต่อการทำ�งานมาก ขึ้น พอเราลงพื้นที่ เราก็ไล่เก็บรูปงานพร้อมกับการหาข้อมูลที่เรา ต้องการ ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงก็เสร็จ เพราะว่าเรามีการวางแผนงาน ก่อนลงมือทำ� การฝึกงานในครั้งนี้มันทำ�ให้ผมได้เรียนรู้อะไรมากมาย ได้เรียนรู้ ชีวิตของการทำ�งานจริง ต้องตื่นตั้งแต่หกโมงเช้า ต้องเข้านอนตอน ห้าทุ่ม ต้องตรงเวลา เพราะการทำ�งานของแต่ละที่มันมีกฎของมัน ผมได้ออกไปศึกษาสิ่งที่สนใจ ได้รู้ว่าคอสเพลย์มันคืออะไร ได้เข้าใจ ในสิ่งที่หลายคนยังไม่รู้ สุดท้ายแล้วความรู้มันอยู่รอบตัวเรา ไม่ได้ อยู่แค่ในห้องเรียน เพียงแค่เรากล้า... กล้าที่จะออกมา...

ป้ายรถเมล์ | 77


ป้ายรถเมล์ | 78


That’s sound nice เพลงเพราะกว่าที่เคย จีรดา จันทคาม Mastereign Enrichment Thailand. การได้ฝึกงานในตำ�แหน่งออกแบบ เหมือนฟังเพลงที่เคย ฟังแต่ยังร้องไม่เป็น เพราะในเวลาเรียน เรางอแง แทบจะไม่อยาก เปิดโปรแกรมออกแบบ แต่เมื่อได้ก้าวไปสู่การทำ�งานจริง ไม่มีหรอก พื้นที่ของคนที่ยอมแพ้ ทำ�ไม่ได้ก็ต้องได้ ตอนทีเ่ ข้าไปฝึกงานในช่วงเดือนแรกในบริษทั การศึกษาแห่งหนึง่ เรา ต้องกอดรัดฟัดเหวีย่ งกับโปรแกรมใน ADOBE จนเกือบจะได้เสียเป็น ผัวเมีย ทั้งๆ ที่ตอนเรียนแทบจะไม่รู้จักกันเลย วันๆ ในที่ทำ�งานได้แต่ นัง่ ออกแบบโปสเตอร์ ออกแบบปกหนังสือ หรือออกแบบซองเอกสาร เหล่านีล้ ว้ นเป็นงานทีแ่ ทบจะทำ�ให้อกแตกตาย ท�ำ ไมคิดไม่ออก ทำ�ไม ทำ�ไม่ได้ นงั่ ขลุกอยูแ่ ค่ในออฟฟิศทัง้ วันตัง้ แต่เช้ายันเย็น ท้อแท้ถงึ ขัน้ เบือ่ โลกไปเลย แถมต้องมานัง่ ฟังการสัง่ งาน คอมเม้นต์งานเป็นภาษา อังกฤษ ซึง่ เคยมัน่ หน้ามาก่อนว่าระดับภาษาของเราพอไปวัดไปวาได้ แต่เอาเข้าจริงฟังแทบไม่รู้เรื่อง กดดัน กลับห้องมาร้องไห้ ไว้อาลัยให้ กับประโยคทีแ่ ปลไม่ออก และพ่วงด้วยความเงียบทีเ่ กิดจากความไม่ เข้าใจ ..ผมนี่ท่องคำ�ศัพท์เลย ถามตัวเองอยูเ่ หมือนกัน ว่าเรามาทำ�อะไรทีน่ ี่ ในขณะทีเ่ พือ่ นคนอืน่ ๆ ได้ไปเที่ยว เพื่อเขียนคอลัมน์ลงนิตยสาร หรือบางคนได้ลงพื้นที่เพื่อ

เขียนข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่แล้วจุดพีคของเรือ่ งก็มาถึง ดงั่ เสียง จากสรวงสวรรค์ ผูจ้ ดั การเริม่ พูดประโยคชักชวนในสิง่ ทีต่ งั้ ใจไว้ตงั้ แต่ แรก ว่าถ้ามาฝึกงานทีน่ จี่ ะต้องทำ�งานอาสาให้ได้ หลังจากตอบตกลง อย่างไม่รรี อ งานก็เข้ามาอย่างไม่รอรีเช่นกัน ผูจ้ ดั การตอบสนองความ อยากด้วยการจัดให้ชุดใหญ่ มีงานอาสาเข้ามาไม่หยุดหย่อน ตั้งแต่ สอนเด็กถ่ายรูป ลงชุมชนไปคุยกับชาวบ้านยันเป็นล่ามแปลภาษา นี่ นึกว่าตัวเองมาฝึกตำ�แหน่งนางงามเสียอีก ช่วงเวลาสามสี่บรรทัดข้างบน ได้ช่วยเยียวยาสภาวะเบื่อโลกให้กลับ มามีชีวิตชีวาอีกครั้ง อยู่ดีๆ ก็รู้คำ�ตอบแล้วว่าเรามาทำ�อะไรที่นี่ บางเรื่องราวอยากทำ�ให้เรามีชีวิตต่อ เหมือนกับการได้ทำ�งานอาสา ทำ�ให้มีกำ�ลังใจกลับไปนั่งออกแบบ เพลงที่เคยได้ฟัง จากที่ยังร้องไม่เป็น ตอนนี้ฮัมไปตามเพลงได้แล้ว อยูท่ วี่ า่ จะเลือกฟังมันจนจบ หรือจะกดปุม่ PAUSE หยุดพักเอาไว้ จะ กลับไปฟังเพลงก่อนหน้านี้ หรือจะฟังเพลงถัดไป จะเลือกแบบไหน ก็ไม่สำ�คัญ เพราะในระหว่างที่ฟัง เพลงนั้นมันได้เข้าไปดังก้องอยู่ใน หัวใจ และเพราะกว่าทุกครั้งที่เคยฟังมาจริงๆ

ป้ายรถเมล์ | 79


ป้ายรถเมล์ | 80


ปลดปล่อยจินตนาการที่ SOOK Magazine กลางใจ อาลากุล SOOK Magazine.

การฝึกงานของเราดำ�เนินไปได้ด้วยดี มีตะกุกตะกักบ้าง เล็กน้อย เพราะนิตยสารสุขภาพไม่ใช่สไตล์เราเลย จริงๆ แล้วเรา ชอบดนตรีมาก และอยากฝึกกับนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับดนตรี อารมณ์ก็เลยเหมือนอกหักจากคนนึง แล้วมาพักใจกับคนใหม่ อะไร ประมาณนี้ นิตยสาร SOOK Magazine ตำ�แหน่งที่เราสมัครไปคือนักเขียน แต่ ตอนที่ได้ทำ�งานจริงๆ เรากลับได้ทำ�กราฟิก วาดภาพประกอบ จัด เลย์เอ้าท์ เพราะงานเขียนของเราถือว่ามีน้อยมากๆ อย่างที่บอก ตอนนั้นเรารู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ฝึกนิตยสารดนตรีเหมือนที่คาดหวังไว้ จนในที่สุดเราต้องกลับมาตั้งสติดีๆ ว่า ในเมื่อเราได้มีโอกาสฝึกงาน แล้ว ยังไงเราก็ต้องทำ�ให้เต็มที่ เราได้ทำ�กราฟิกแบบจริงจัง ได้วาด รูป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เรายังมีความชอบอยู่บ้าง แถมยังโชคดี ที่พี่ในออฟฟิศดูแลเราอย่างดี ทำ�ให้การทำ�งานของเราเต็มไปด้วย ความสุข เวลาได้ทำ�กราฟิก รุ่นพี่จะเลือกมาให้เราทำ�ก่อน ทำ�ได้ไม่ ได้ค่อยว่ากัน โชคดีที่เรายังพอมีพื้นฐานโปรแกรมพวก InDesign, llluslator และ Photoshop จะขาดก็แต่ความคิดสร้างสรรค์และ จินตนาการ

หน้ากระดาษสีขาว ในโปรแกรมสำ�หรับจัดหน้าสร้างความกดดัน ให้เราไม่น้อย เราจะสร้างสรรค์ยังไงให้มันโดนใจผู้อ่าน เพราะกลุ่ม เป้าหมายของนิตยสาร SOOK คือทุกคนในครอบครัว มีความน่ารัก สดใส โจทย์พวกนี้วนเวียนอยู่ในความคิดเราตลอดระยะเวลาช่วง แรกที่ฝึกงาน อย่างที่ได้บอกไปตอนแรกว่านิตยสารสุขภาพไม่ใช่ สไตล์เราเลย เราใช้เวลาปรับความคิดและทัศนคตินานพอสมควร ในการปรับสไตล์ความน่ารักให้เข้ากับสไตล์ของเรา เราเลยคิดว่า เราจะเอาสิ่งที่เราอัดอั้นจากความผิดหวัง ในการพลาดการฝึกงานที่ นิตยสารดนตรี มาระบายลงไปในหน้าคอลัมน์ที่เราได้รับมอบหมาย และเรากลับมาคิดอีกอย่างคือ ไม่ว่าที่ไหน เราก็สามารถสร้าง ผลงานและเป็นตัวเองได้ เราสร้างสรรค์ผลงานได้โดยการหาแรง บันดาลใจจากงานคนอื่น เราควรเสพผลงานให้รอบด้าน เพื่อที่จะ พัฒนาความคิดและศักยภาพของตัวเอง ไม่ให้จมอยู่ในกรอบความ คิดที่ตัวเองสร้างขึ้นมาเป็นกำ�แพงในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ นอกเหนือจากนั้น เราคิดว่ามันต้องเกิดมาจากการขวนขวายด้วย ตัวเอง อย่ามัวแต่รอให้ใครช่วยเหลือ เพราะในชีวิตจริง สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีใครช่วยเราได้ นอกจากเราจะช่วยตัวเอง สุดท้ายของสุดท้าย เพื่อนเราที่ฝึกนิตยสารดนตรีบอกว่า จริงๆ แล้ว The Guitar Mag อยากรับนักศึกษาฝึกงานมาก แต่กลัวเราไม่มีที่นั่งในออฟฟิศ...

ป้ายรถเมล์ | 81


ป้ายรถเมล์ | 82


ป้ายรถเมล์ | 83


ป้ายรถเมล์ | 84


ความฝันเสมือนจริงของนักข่าวสายกีฬา รศานนท์ ปังตระกูล สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำ�กัด (มหาชน)

ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ในเวลาที่ใกล้จะต้องออกไป ฝึกงาน ฝ่ายบุคคลของสยามกีฬาโทรมาบอกว่า “น้องจะได้ฝึก ในตำ�แหน่งผู้สื่อข่าวของช่องสยามสปอร์ตนิวส์นะคะ” ความรู้สึก มันเหมือนกับว่า เรายกภูเขาออกจากอก ทุกอย่างมันโล่งไปหมด เพราะเราจะได้มีที่ฝึกงานเหมือนกับเพื่อนๆ สักที หลังจากที่ปฐมนิเทศเสร็จสรรพ วันแรกของการฝึกงาน เราก็ถูกจัด ให้มาอยู่ในตำ�แหน่งผู้สื่อข่าวในประเทศ ของช่องสยามสปอร์ตนิวส์ ซึ่งจะได้ทำ�ข่าวกีฬาทุกชนิดในประเทศ ตามหมายงานที่เราจะได้รับ มอบหมายให้ไปในแต่ละวัน หลังจากที่รู้ว่าเราได้มาทำ�งานในสาย โทรทัศน์ ก็อดคิดไม่ได้ว่า การทำ�งานข้ามสายที่เรียนมานั้น จะเป็น ยังไง เราจะทำ�ได้ไหม เพราะเรียนวารสารศาสตร์มา ไม่ได้เรียนสาย วิทยุโทรทัศน์ บรรยากาศในออฟฟิศช่องสยามสปอร์ตนิวส์ เป็นอะไรที่เฮฮาขบขัน มีเรื่องสนุกๆ มาให้พูดกันไม่เว้นแต่ละวัน จนบางครั้งเราก็อดคิดไม่ ได้ว่า “นี่เราอยู่ในออฟฟิศของซิทคอมเรื่องเป็นต่อ เหรอวะ” แถมเรา ดันมาเพิ่มให้บรรยากาศในออฟฟิศมีสีสันมากขึ้น ด้วยความที่เรา เป็นคนตลก กวนๆ พี่ๆ ในนี้จึงพร้อมใจกันตั้งฉายา และเรียกเราว่า “ไอ้บัวขาว” ซึ่งเป็นชื่อประจำ�ของเราไปทันที ทั้งๆ ที่หน้าตาเราออก

จะคล้ายกับ เนย์มาร์ ซุปเปอร์สตาร์ของทีมชาติบราซิลต่างหาก ตลอดระยะเวลา 3 เดือน หลังจากที่ได้ทำ�งานจริงๆ เรากลับทำ�ได้ และรู้สึกสนุกกับงานที่เราทำ�แบบไม่น่าเชื่อ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เรา อยากมาทำ�ในสายข่าวกีฬาฟุตบอลมากกว่า เราได้รับความรู้ใหม่ๆ จากการไปลงพื้นที่ทำ�ข่าวกีฬาชนิดอื่นๆ ที่เราไม่เคยดูมาก่อน ทั้ง เบสท์บอล กาบัดดี้ หรือวินเซิร์ฟ มันทำ�ให้เราได้ฝึกทำ�การบ้าน ก่อนที่จะไปลงพื้นที่จริง ได้รับคำ�แนะนำ�จากพี่ๆ ที่ประจำ�การอยู่ใน สมาคมกีฬาพวกนี้โดยตรง ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ และ แน่นอนว่ามันหาซื้อที่ไหนไม่ได้ เราได้แนวคิดใหม่ที่ว่า ในบางครั้ง ความฝันมันไม่จำ�เป็นต้องตรง ตามที่เราคิดไว้ทุกอย่าง แต่ถ้ามันคล้ายกัน และเราสามารถไปกับ มันได้ แค่นี้เราก็มีความสุขกับสิ่งที่ทำ�แล้ว กับการที่เราได้เข้าไป ทำ�ความรู้จัก คลุกคลี และได้ใกล้ชิดกับนักกีฬาทีมชาติ ซึ่งไม่เฉพาะ แค่นักฟุตบอลที่เรารู้จักและชื่นชอบเท่านั้น แต่เรายังได้เข้าไป พบปะพูดคุยกับนักกีฬาทีมชาติในกีฬาชนิดอื่นๆ และการที่ได้เห็น ทัศนคติของเขาเกี่ยวกับการรับใช้ชาติ มันทำ�ให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากตัวเขาโดยตรง ซึ่งมันไม่ใช่ความฝันในตอนเด็ก ที่เราทำ�ได้แค่ คอยมองพวกเขาผ่านหน้าจอทีวีเท่านั้น แต่ตอนนี้ พวกเขาทั้งหมด เคยอยู่ต่อหน้าผมแบบตัวเป็นๆ มาแล้ว

ป้ายรถเมล์ | 85


ป้ายรถเมล์ | 86


“นักข่าว”คนนี้ จะกล่อมน้องพี่และแฟนเพลง วนิดา แสงเพชร Nine Entertain

“ไนน์เอ็นเตอร์เทน” รายการข่าวบันเทิงอันดับต้นๆ ของ ไทย ไม่ใช่ตัวเลือกแรก แต่ก็เป็นตัวเลือกเดียว “คิดทำ�การใหญ่ใจ ต้องกล้า” คำ�นี้ ทำ�ให้เลือกที่จะส่งใบขอฝึกงานมาที่เดียวโดดๆ ถ้า เขาไม่รับก็ถือว่าพลาด แต่ไม่รู้เพราะโชคชะตาหรือว่าฟ้าประทานพร วนิดาก็มีที่ฝึกงานเหมือนเพื่อนๆ จนได้ พิมพ์มาถึงตรงนี้ นํ้าตาแทบ ไหลกันเลยทีเดียว (ฮา) วันแรกของการฝึกงาน หนูนั่งรอเข้างานเกือบเที่ยง เพราะฝ่าย บุคคลดันมาป่วยกะทันหัน แล้วก็ไม่มีใครแจ้ง ปล่อยให้หนูนั่งจิ้ม โทรศัพท์สบายใจ จนเกือบบ่ายโมงถึงมีคนพาไปออฟฟิศของไนน์ เอ็นเตอร์เทน จังหวะที่เปิดประตู ทุกคนต่างมองมาแบบแปลกๆ แล้วก็มีคนพูดขึ้นว่า “ศิลปินมาโปรโมทเพลง เตรียมกล้องหน่อย” หนูก็มองซ้ายมองขวา ศิลปินที่ไหนอีกวะ จนต้องบอกว่า “พี่คะ หนู มาฝึกงานค่ะ” เสียงที่ตามมาคือ “น้องเปาวลีนั่นไง” ทุกอย่างแจ่ม แจ้งแถลงไข ทุกคนเข้าใจผิดคิดว่าหนูคือเปาวลี พรพิมล นักร้อง ลูกทุ่งที่แสดงภาพยนตร์เรื่องพุ่มพวง ก็คงได้แต่ยิ้มแห้งๆ แล้วบอก ไปว่า “แป้งค่ะ ไม่ใช่เปา” ทุกคนเฮลั่นทั้งออฟฟิศ จากนั้นเป็นต้น มาท่อนเพลงนี้ “จะกล่อมน้องพี่และแฟนเพลง” ก็ดังกึกก้องทุกครั้ง ที่เจอหน้ากันไม่ว่าจะนอกหรือในสถานที่ก็ตาม แต่ก็ถือเป็นการ ต้อนรับที่อบอุ่นที่สุด ชื่อนี้ถูกเรียกตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดจนถึงคุณป้า แม่บ้าน จนตอนนี้เริ่มไม่แน่ใจว่าชื่อแป้งหรือเปากันแน่ เป็นนักข่าว

ที่กล่อมคนฟังไม่ต่างจากนักร้องกันเลยทีเดียว จนตอนนี้ก็กลายเป็น “เปาวลีแห่งไนน์เอ็นเตอร์เทน” ไปโดยปริยาย ไนน์เอ็นเตอร์เทนอยู่กันแบบครอบครัว เราจึงสนิทกันเร็วมากใน เวลาแค่ไม่กี่วัน การทำ�งานก็เป็นไปแบบพี่สอนน้อง คือ เริ่มจาก อธิบายว่าการทำ�งานขององค์กรนี้เป็นแบบไหน แล้วก็นั่งเปื่อยอยู่ ออฟฟิศเป็นอาทิตย์ เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำ�งานก่อนลงพื้นที่จริง เริ่มจากดูหมายงานว่าวันนี้มีงานอะไรที่ไหน ดาราคนไหน นักข่าว คนไหนคู่กับตากล้องคนไหน ไปตอนกี่โมง พอรู้ก็เริ่มหาประเด็นจาก เป้าหมาย นั่นก็คือดาราหรือศิลปินคนนั้นๆ ทุกคนก็คงได้แต่พูดว่า น่าอิจฉาได้ทำ�งานใกล้ชิดคนดัง ตอนแรกก็คิดแบบนี้แต่พอทำ�งาน นานๆ ไป ศิลปินหรือดาราบางคนก็นิสัยไม่ได้น่ารักอย่างที่คิด แต่ โดยภาพรวมคนของประชาชนก็ต้องทำ�หน้าที่นอกจอในจอให้ดูดีอยู่ เสมอ ข้อนี้ก็ต้องเข้าใจ พอถึงเวลาก็ออกไปสัมภาษณ์ แล้วก็เขียน ส่งให้คนรีไรท์ข่าว เพื่อเขียนข่าวก่อนผ่านกระบวนการลงเสียง ตัด ต่อ พร้อมออกอากาศ หน้าที่ของเด็กฝึกงานไม่ใช่แค่นี้ แต่เราช่วยงานทุกอย่าง ตั้งแต่ถ่าย เอกสาร วางสคริปต์รายการ เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว ทำ�กับข้าว ทุก อย่างกลับกลายเป็นมิตรภาพ ที่แทรกซึมเข้ามาอยู่ในห้วงแห่งความ ทรงจำ�ยากที่จะลืมเลือน

ป้ายรถเมล์ | 87


PHOTOGRAPHER BY VARIYA GRAJAM


ป้ายรถเมล์ | 89


ป้ายรถเมล์ | 90


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.