หางดง ถิ่นหัตถกรรม เอกสาร โครงการสรางความเขมแข็งทางดานศิลปวัฒนธรรมใหกับชุมชน สำนักสงเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม
จัดพิมพโดย สำนักสงเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม
2 หางดงถิ่นหัตถกรรม
หางดง ถิ่นหัตถกรรม เอกสาร โครงการสรางความเขมแข็งทางดานศิลปวัฒนธรรมใหกับชุมชน สำนักสงเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม
จัดพิมพโดย สำนักสงเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม
สารจากผู้บริหาร สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ส่งเสริม ทำนุบำรุง อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นมรดกที่มีคุณค่าและมี ความสำคัญต่อประเทศชาติ เนื่องจากวัฒนธรรมเป็นผลรวมจากการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคม วัฒนธรรมจึงเป็นพื้นฐานของความเจริญงอกงาม ตลอด จนเป็นเครื่องวัดระดับความเจริญของสังคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มี ความประสงค์ดำเนินการโครงการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับชุมชน : งานศิลป หัตถกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่การศึกษาในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นแหล่งรวมงานศิลปหัตถกรรมที่มีอัตลักษณ์และมีความสำคัญเป็น ที่ประจักษ์ของภาคเหนือ สำนั ก ส่ ง เสริ ม ศิ ล ปวั ฒ นธรรม มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า หนังสือ “หางดงถิ่นหัตถกรรม” เอกสารโครงการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับ ชุมชน : งานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น ในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้จัดพิมพ์ปี พุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้ จะมีส่วนในการสร้างความร่วมมือกับชุมชน และเป็นการเผยแพร่ องค์ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นออกสู่สังคมในวงกว้าง เป็นการดำเนินงานที่ เป็นไปตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย คือ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อความเป็น เอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคเหนือ และประเทศไทยสืบไป ขอขอบพระคุณ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปหัตถกรรมในเขตอำเภอหางดง ที่ได้ กรุณาให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์กับคณะทำงาน และขอขอบคุณหัวหน้าโครงการ กอง บรรณาธิการและผู้เกี่ยวข้องทุกๆ ท่าน ที่ทำหนังสือ “หางดงถิ่นหัตถกรรม” เล่มนี้ สำเร็จ ลุล่วงด้วยดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๑ กันยายน ๒๕๕๔
คำนำ ในฐานะหั ว หน้ า โครงการและบรรณาธิ ก ารจั ด ทำเอกสาร “โครงการสร้ า งความ เข้มแข็งทางวิชาการให้กับชุมชน : งานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นในเขต อำเภอหางดง จังหวัด เชียงใหม่” โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่การศึกษาในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและรวบรวมช่างศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นในเขต อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กับสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไว้เป็น ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นทางด้านวิชาการ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งรวมผลงานด้านศิลปหัตกรรมที่สำคัญของ ภาคเหนือ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นจากช่างฝีมือภายในท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดภูมิปัญญาองค์ความรู้ มาจากบรรพบุรุษ อีกทั้งงานศิลปหัตถกรรมบางประเภทเป็นการสืบทอดองค์ความรู้เฉพาะ ภายในครอบครัวตนเอง มิได้ถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น ซึ่งนับเป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่ายิ่งของ ท้องถิ่น งานศิลปหัตถกรรมของอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มักถูกสร้างสรรค์ขึ้นตาม สภาพสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่น เช่นลักษณะทางภูมิศาสตร์ รวมไปถึงการใช้วัสดุที่หามาได้ใน ท้องถิน่ นอกจากนีส้ ง่ิ ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการสร้างงานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ รวมถึงพิธีกรรมของคนในชุมชนอีกด้วย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ วิถีชีวิตในการ ผลิตผลงานหัตถกรรมของคนหางดงจึงเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้วัสดุที่หาได้เองจากธรรมชาติใน ท้องถิ่นลดลงเปลี่ยนเป็นการซื้อหามากขึ้น ในบางครั้งใช้การซื้อหาวัสดุจากต่างถิ่นส่งผลให้ ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น อีกทั้งงานหัตถกรรมบางประเภทก็กำลังจะสูญหายไปจากท้องถิ่น นายศุภฤกษ์ กุลสุ หัวหน้าโครงการฯ
สารบัญ สารจากผูบริหาร
ผูชวยศาสตราจารยวิลาวัณย เศวตเศรนี ผูอำนวยการสำนักสงเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม คำนำ นายศุภฤกษ กุลสุ หัวหนาโครงการฯ บทกลอน “หางดงถิ่นหัตถกรรม” เอนก เปงมูล
๑
หางดงถิ่นหัตถกรรม เอนก เปงมูล และ วิธวัช ศรีสมุดคำ
๓
งานเครื่องจักสานหางดง
๗
อมรรัตน เหลี่ยมแสง “สานฝาลายอำ” นายบุญศรี เรือนเหล็ก “สานไซหัวหมู” นายอินสอน สายตา “สานเขงลำไย” นายแกว หนอเมฆ “สานเปาะ” นางจันทรา ชัยวุฒิ “สานสาดออน” นางพรรณี อินตะรัตน์ “หวายเครื่องเรือน” นายหมุน สุดดี
๘ ๑๒ ๑๖ ๒๐ ๒๔ ๒๘
สารบัญ งานเครื่องปนดินเผาหางดง ดุษฎี เทพสิริ “หมอตอม” นางมูล กันธิยะ “หมอสาว” นางเหรียญ ธิวงศ “หมอแกง” นางบัวจันทร หนอปุด “หมอน้ำ” นางสาวจรรยา ผลสาด “หมอน้ำ” นายเล็ก แสนใจ “น้ำตน” นางสาวบัวแกว สีจันทร “ผางประทีป” นางบัวไหล บุญเติง
๓๓
งานไมหางดง วิธวัช ศรีสมุดคำ “แกะสลักครุฑ” นายบุญสง รังทะษี “แกะสลักสิงห” นายสมบัติ บุตรเทพ “แกะสลักพระและเทพเจา” นายจรัส สุสามปน “แกะลักลวดลายพรรณพฤกษา” นายอุทิศ อินทรวิน “เคี่ยนไม บานตองกาย” นายอุดม ขุนปง “เคี่ยนไม บานชางคำหลวง” นายมนตรี ทิพยอุน “ปราสาทไม” นายรชต ชาญเชี่ยว
๖๕
ภาคผนวก ทำเนียบผูเชี่ยวชาญ งานศิลปหัตถกรรม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม
๙๖
๓๖ ๔๐ ๔๔ ๔๘ ๕๒ ๕๖ ๖๐
๖๘ ๗๒ ๗๖ ๘๐ ๘๔ ๘๘ ๙๒
“หางดงถิ่นหัตถกรรม” โดย นายอเนก เปงมูล
ณ หางดงเอกอำเภอเลอเลิศถิ่น
หัตถศิลปภูมิปญญาสงาศรี
ทั้งงานปนแกะสลักจักสานมี
เปนมณีรุงเรืองรัฐวัฒนา
เครื่องจักสานการฝมือลือปรากฏ
งานสานขดหลากลวดลายหลายสาขา
เขงสาดไซผลิตภัณฑสรรคราคา
สรางมูลคาเศรษฐกิจวิจิตรเจริญ
งานเครื่องปนงานดินเผาเราโดดเดน
ที่ชัดเจนเชนน้ำตนชนสรรเสริญ
ทั้งหมอน้ำผางประทีปรีบชวนเชิญ
มาเมียงเมิลเอกลักษณศักดิ์หางดง
อีกงานไมแกะสลักบานถวาย
มีมากมายของเครื่องไมตามใจประสงค
งานปราสาทงานกลึงไมลวนบรรจง
แหลงธำรงศิลปสลักประจักษดี
หัตถกรรมนำชุมชนผลสัมฤทธิ์
ผลผลิตนำประโยชนโรจนรังสี
คือคุณงามความเขมแข็งแรงสามัคคี
เพื่อธานีแหงหางดงสงกาวไกล
หางดงถิ่นหัตถกรรม 1
2 หางดงถิ่นหัตถกรรม
หางดงถิ่นหัตถกรรม
โดย นายวิธวัช ศรีสมุดคำ และ นายเอนก เปงมูล
“เศรษฐกิจดี สตรีแสนสวย ร่ำรวยหัตถกรรม วัฒนธรรมมั่นคง หางดงพัฒนา” นี่คือคำขวัญของอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ท้องถิ่นที่มีภูมิประเทศส่วน ใหญ่เป็นภูเขาและปาไม้ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ประกอบ กับมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ส่งผลให้อำเภอหางดงเป็นท้องถิ่นมีความโดดเด่นทางด้าน ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ และมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขาน เลื่องลือทั้งในระดับจังหวัด และระดับชาติ จนเป็นที่รู้จักในนาม “หางดงถิ่นหัตถกรรม” อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอที่ตั้งระหว่างกลาง อำเภอเมือง เชียงใหม่และอำเภอเมืองลำพูน เป็นประตูสู่อำเภอทางสายใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศใต้ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ หรือถนน เชียงใหม่ – ฮอด เป็นระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร มีขนาดโดยประมาณ ๑๘๘,๗๕๐ ไร่ ในอดีตพื้นที่อำเภอหางดงมีสภาพรกร้างว่างเปล่า มีจำนวนหมู่บ้านและราษฎร อาศัยอยู่ไม่มากนัก ด้วยสภาพที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดงไม้สัก มีลำน้ำแม่ท่าช้างไหลผ่าน และเป็นเส้นทางผ่านไปยังแม่ฮ่องสอน ดงนี้จึงเรียกว่า “ดงกรรม” เวลานั้นมีพญามะโน เจ้าน้อยอินทร์ และพญาประจักร์ได้ครอบครองอยู่และขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ครั้นถึง ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ทางราชการได้มีการให้จัดตั้ง “ แขวงแม่ท่าช้าง ” หัวเมืองชั้นในของนครเชียงใหม่ขึ้นในบริเวณนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ทางราชการได้ เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้ตรงกับนามตำบลที่ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่เป็น “อำเภอหางดง” ด้วย อยู่ทางทิศใต้ของดงกรรมดังกล่าว เพราะคำว่า หาง แปลว่า ท้าย คือทางทิศใต้หรือท้าย หางดงถิ่นหัตถกรรม 3
ของดงกรรม ต่อมาวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศ ว่า ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบอำเภอหางดง เป็นกิ่งอำเภอ ขนานนาม ว่า กิ่งอำเภอหางดงและให้ไปขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอเมืองเชียงใหม่ การขึ้นกับ อำเภอเมืองเชียงใหม่ก็เกิดผลกระทบทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากต้อง เดินทางไปติดต่อราชการที่อำเภอเมือง ระยะทางถึง ๑๕ กิโลเมตร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางราชการได้พิจารณาให้ยกกิ่งอำเภอหางดงขึ้นเป็นอำเภอหางดงอีกครั้งหนึ่ง ด้วยสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นภูเขาและปาไม้ ประกอบกับความอุดม สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ทำให้อำเภอหางดงมีความโดดเด่นด้าน งานศิลปหัตถกรรมที่มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ และมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานเลื่องลือ ทั้งในระดับจังหวัด และระดับชาติ จนเป็นที่รู้จักในนาม “ หางดงถิ่นหัตถกรรม ” ตามที่ ได้กล่าวไว้ในข้างต้นแล้ว ในมิติของงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน อำเภอหางดง จังหวัด เชียงใหม่ เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่งานทางด้านศิลปหัตกรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือของ ช่ า งท้ อ งถิ่ น การประดิ ษ ฐ์ ส ร้ า งสรรค์ เ ป็ น ไปตามเทคนิ ค วิ ธี แ ละรู ป แบบที่ ไ ด้ รั บ การ ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ บางชนิดของงานศิลปหัตถกรรมเป็นการเรียนรู้เฉพาะภายใน ครอบครัวของตนเอง จากปู ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ มิได้ถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น ซึ่งนับเป็น องค์ความรู้ที่ทรงคุณค่ายิ่งของท้องถิ่น งานศิลปหัตถกรรมของอำเภอหางดง จังหวัด เชียงใหม่ มักเกิดขึ้นตามสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เช่น ลักษณะภูมิศาสตร์ ลักษณะของ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและวัสดุที่หามาได้ในท้องถิ่น นอกจากนี้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการ สร้างงานศิลปหัตถกรรม คือ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ รวมถึงพิธีกรรมของ คนในชุมชนอีกด้วย ในเวลาที่ผ่านมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ วิถีการผลิต หัตถกรรมของคนหางดงเปลี่ยนแปลงไป วัสดุจากธรรมชาติเพื่อการผลิตลดลง มีการซื้อ หามากขึ้น บางครั้งกลายเป็นวัสดุที่ต้องหาซื้อจากต่างถิ่น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น และงานหัตถกรรมบางประเภทก็กำลังจะสูญหายไปจากท้องถิ่น
4 หางดงถิ่นหัตถกรรม
งานหัตถกรรมที่เป็นที่เลื่องชื่อของอำเภอหางดง อันจะสามารถนำไปสู่การ สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนได้ ได้แก่ ประเภทงานเครื่องจักสาน งานเครื่องปันดินเผา และงานไม้ ๑. ประเภทงานหัตถกรรมเครื่องจักสาน หางดงถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตและจัด จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานที่มีชื่อเสียง ด้วยงานจักสานที่มีความสวยงามละเอียด ประณีต และมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จึงทำให้เป็นแหล่งหัตถกรรมเครื่องจักสานที่มีชื่อ เสี ย ง และเป็ น ที่ รู้ จั ก ของคนในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เ ป็ น อย่ า งดี โดยเฉพาะสองฝั ง ถนน เชียงใหม่-ฮอด บริเวณบ้านท้าวบุญเรือง ตำบลบ้านแหวน ที่มีการผลิตงานเครื่องจักสาน และวางขายเป็นจำนวนมาก ๒. ประเภทงานหัตถกรรมผลิตเครื่องปันดินเผา ที่มีชื่อเสียงคือ บ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย สังเกตง่าย ๆ จากถนนเชียงใหม่-ฮอด จะพบสัญลักษณ์คนโทยักษ์อยู่ ตรงทางเข้าหมู่บ้านเหมืองกุง ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตเครื่องปันดินเผาที่โด่งดัง ของจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ โดยเฉพาะการปั น “น้ ำ ต้ น ” หรื อ คนโทที่ มี ค วามโดดเด่ น เป็ น เอกลักษณ์เฉพาะตน นอกจากนี้อำเภอหางดงยังมีแหล่งหัตถกรรมเครื่องปันดินเผาบ้าน กวน บ้านไร่ บ้านวัวลาย ตำบลหารแก้ว ซึ่งเป็นเครื่องปันดินเผาที่ไม่มีการเคลือบผิว โดย มีรูปแบบและลักษณะที่โดดเด่นสวยงาม และ ๓. งานหัตถกรรมไม้แกะสลัก บ้านถวาย หรือศูนย์หัตถกรรมบ้านถวาย ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตและรวบรวม จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก และสินค้าประดับตกแต่งบ้านที่มีชื่อเสียงของจังหวัด เชียงใหม่และของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีแหล่งแกะสลักไม้อีกหลาย ๆ แหล่งที่มี ความโดดเด่นไม่แพ้บ้านถวาย เช่น งานแกะสลักไม้บ้านปาหมาก บ้านต้นเฮือด บ้านช่าง คำ ตำบลบ้านแหวน รวมถึงงานเคี่ยนไม้หรือกลึงไม้ที่บ้านตองกาย ตำบลหนองควาย และ บ้านช่างคำหลวง ตำบลบ้านแหวนก็มีความประณีตงดงามอย่างยิ่ง ซึ่งรายละเอียด ต่างๆ จะได้กล่าวในบทต่อไป
หางดงถิ่นหัตถกรรม 5
6 หางดงถิ่นหัตถกรรม
งานเครื่องจักสานหางดง โดย นางสาวอมรรัตน เหลี่ยมแสง
อำเภอหางดง เป็นท้องถิ่นที่มีลักษณะศิลปวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเป็นของตนเอง ส่งผล ให้งานศิลปหัตถกรรมเครื่องจักสานในเขตอำเภอหางดงมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น นอกจากสภาพภูมิประเทศ การประกอบอาชีพ และวัสดุที่เอื้ออำนวยในการผลิตเครื่องจักสาน แล้ว ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และศาสนาของภาคเหนือ ก็เป็นองค์ประกอบ สำคัญที่ทำให้เครื่องจักสานภาคเหนือมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง การสร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมเครื่องจักสานของช่างในเขตอำเภอหางดง มีพื้นฐาน มาจากสั ง คมเกษตรกรรม ช่างจักสานมีการประกอบอาชี พ เกษตรกรรมสื บ ต่ อ กั น มาตั้ ง แต่ บรรพบุรุษ เมื่อว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ก็ได้เลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น อย่าง ต้นไผ่มาทำงานหัตถกรรมจักสาน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และตอบสนองความด้าน ประโยชน์ใช้สอย ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจึงจัดได้ว่าเป็นศิลปหัตกรรมพื้นบ้านที่สะท้อนให้เห็น ถึงความสามารถ และภูมิปัญญาของช่างจักสาน สภาพสังคมในปัจจุบันของชาวอำเภอหางดงได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบสังคม เมืองมากขึ้น ส่งผลให้เครื่องจักสานที่ผลิตขึ้นมามีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ใช้สอยไปตามความ ต้องการของลูกค้าผู้ใช้สินค้าเป็นหลัก โดยยังคงมีการสืบทอดลวดลายการสานแบบโบราณแต่ ประยุครูปแบบให้ทนั สมัยเหมาะกับการใช้ตกแต่งบ้านเรือนเป็นในยุคปัจจุบนั เช่น หวายเครือ่ งเรือน ฝาลายอำ อีกทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่เปลี่ยนแปลงได้ส่งผลให้เครื่องจักสานบาง ประเภทที่ผลิตขึ้นเพื่อการใช้สอยในอดีตมีการผลิตน้อยลงจนถึงไม่ได้มีการผลิตเลย แต่ก็ยังพบ การใช้สอยเครื่องจักสานบางประเภทในชีวิตประจำวันบ้าง เครื่องจักสานในเขตอำเภอหางดง ในอดีตเป็นการผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองการใช้สอย ในชีวิตประจำวันแต่ในปัจจุบันผลิตขึ้นเพื่อการค้าเป็นหลัก โดยสามารถทำเป็นธุรกิจหลักของ ครอบครัวได้ ในปัจจุบันชาวอำเภอหางดงได้มีการรวมกลุ่มกันโดยจัดตั้งเป็น “กลุ่มเครื่อง จักสานไม้ไผ่” โดยที่สมาชิกในกลุ่มจะทำการจักสาน ที่บ้านของตนเองในรูปแบบอุตสาหกรรม ในครัวเรือนตามรูปแบบที่ตลาดต้องการ เมื่อทำเสร็จหัวหน้ากลุ่มก็ทำการรวบรวมผลิตภัณฑ์ ของแต่ละบ้านเพื่อให้พ่อค้าคนกลาง หรือจำหน่ายที่ร้านค้าบริเวณหน้าชุมชน โดยจะแบ่งราย ได้กันเป็นครั้งๆ ตามการสั่งจ้าง โดยดูความยากง่ายของการสาน และจำนวนที่แต่ละคนผลิตได้ อย่างไรก็ตามคุณค่าของงานศิลปหัตถกรรมจะคงอยู่อย่างยั่งยืนได้หากมีการส่งเสริม เยาวชนคนรุ่นใหม่ในชุมชนและประชาชนทั่วไปให้หันมาให้ความสนใจเล็งเห็นคุณค่าและรักใน งานศิลปหัตถกรรมเครื่องจักสาน เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาองค์ความรู้ของบรรพบุรุษสืบไป หางดงถิ่นหัตถกรรม 7
นายบุญศรี เรือนเหล็ก
ประเภทงานเครื่องจักสาน : สานฝาลายอำ ปัจจุบันความนิยมในการทำสานฝาลายอำ แบบเดิมเอง กลับไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากความเชื่อในเรื่องของ ความหมาย ของคำว่ า “อำ” ที่ มี ค วามหมายว่ า กั้ น ทำให้กีดกั้น การทำมาหากินและกั้นสิ่งมงคลเข้าตัว จึง ไม่ นิ ย มสานฝาลายอำอี ก ต่ อ ไป แต่ ก ลั บ มี วิ ธี ก ารสาน ลายสอง และลายสาม มาแทนและเป็ น ที่ นิ ย มใน ท้องตลาดทั่ว ๆ ไป อีกทั้งยังง่ายต่อการสานอีกด้วย
8 หางดงถิ่นหัตถกรรม
เครื่องจักสานฝาลายอำ ใช้สำหรับเป็นฝาบ้าน ปัจจุบันมีการดัดแปลงนำมาใช้ กับงานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ในการศึกษาครั้งนี้ได้มีการเก็บข้อมูลที่บ้านร้อยจันทร์ เนื่องจาก เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการสานฝาลายอำมาช้านาน และจากการเก็บข้อมูลพบว่า บุคคลแรกของงานสานฝาลายอำ คือ พ่ออุ้ยปา สิงห์ทอน ต่อมาได้มีการสืบทอดงาน สานโดยพ่อตา มาลา และปัจจุบันบุคคลที่สืบทอดเจตนารมณ์งานจักสานฝาลายอำ คือ นายบุญศรี เรือนเหล็ก หรือลุงศรี ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลในครั้งนี้ ลุงศรี เกิดเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๗ ปัจจุบันอายุ ๕๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๔ หมู่ที่ ๖ บ้าน ร้อยจันทร์ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์สานฝาลาย อำมากว่า ๓๖ ปี วัตถุดิบที่ใช้ในการสานคือ ไม้ไผ่เหียะนำวัตถุดิบมาจาก จังหวัดแพร่และจังหวัด พะเยา โดยมีอุปกรณ์ในการทำ คือ มีด ขวาน เขียง ค้อน และไม้รองสานหรือภาษา ท้องถิ่นที่นี้เรียกว่า “ไม้รองก่าย” ขั้นตอนการเตรียมการผลิต ใช้ไม้ไผ่เหียะแก่ เพราะมีความทนทานจากนั้นนำ ไผ่เหียะมาเลาะเอาตาไม้ออกให้หมด ผ่าครึ่งและนำมาวางบนเขียงเอาขวานสับให้แตก จักแยกส่วนผิวและส่วนเนื้อหรือเรียกว่า “เติ๊ง” ออกจากกัน ตัดส่วนหัวและส่วนท้าย ให้ ได้ขนาดตามที่ต้องการ จากนั้นนำไปตากแดดและนำมาสาน เมื่อสานเสร็จแล้วเป็นผืน ใหญ่ก็จะนำมาม้วนเก็บ และเมื่อนำมาเปรียบเทียบความคงทนระหว่างส่วนผิวและส่วน เนื้อ ช่างจักสานยังกล่าวอีกว่า ความคงทนของส่วนผิวจะมีมากกว่าส่วนเนื้อ เนื่องจาก ส่วนผิว มอด แมลงจะไม่มากินเหมือนส่วนเนื้อ
หางดงถิ่นหัตถกรรม 9
ขั้นตอนการผลิต เอาไม้ไผ่ที่เตรียมมาวางกับพื้น เตรียมไม้ก่ายไว้รองสาน และ ระหว่างการสานในแต่ละลายจะใช้มีดในการช่วยตอกตีให้เส้นตอกแต่ละเส้นเรียงชิดกัน อย่างสวยงาม การทำลายการสานมีดังนี้
สานแบบลายสอง ยก ๒ ขาม ๒ เสน
สานแบบลายสาม ยก ๓ ขาม ๓ เสน
สานแบบลายอำ ยก ๔ ขาม ๓ ยก ๒ ขาม ๓ เสน (ไมคอยนิยมเพราะเปนคำที่ไมเปนมงคล) 10 หางดงถิ่นหัตถกรรม
จากนั้ น สานให้ ไ ด้ ต ามขนาด ตามต้ อ งการ การม้ ว นเก็ บ และนำส่งขาย ปั จ จุ บั น ความนิ ย ม ในการทำสานฝาลายอำ แบบ เดิ ม เอง กลั บ ไม่ ไ ด้ รั บ ความ นิ ย ม เนื่ อ งจากความเชื่ อ ใน เรื่องของความหมาย ของคำ ว่ า “อำ” ที่ มี ค วามหมายว่ า กั้ น ทำให้ กี ด กั้ น การทำมา หากิ น และกั้ น สิ่ ง มงคลเข้ า ตั ว จึงไม่นิยมสานฝาลายอำอีกต่อ ไป แต่ ก ลั บ มี วิ ธี ก ารสาน ลายสอง และลายสาม มา แ ท น แ ล ะ เ ป็ น ที่ นิ ย ม ใ น ท้ อ งตลาดทั่ ว ๆ ไป อี ก ทั้ ง ยั ง ง่ายต่อการสานอีกด้วย เห็นได้ว่านี้ก็เป็นอีก หนึ่งวิธีการแก้ไขของผู้ผลิตเอง ที่ ต้ อ งการให้ ผู้ ใช้ หั น มาใช้ ฝ า ลายอำอยู่ แม้ ว้ า จะไม่ ใช่ วิ ธี การสานลายอำแบบดั้ ง เดิ ม ก็ตาม
สืบเนื่องจากความต้องการของท้องตลาด ที่มีกลุ่มเปาหมายลูกค้าอย่างจำกัด อาทิ เช่น กลุ่มรีสอร์ท กลุ่มคนอำเภอปาย อำเภอแม่ริม หรือปางช้างเป็นต้น จึงเป็น ลั ก ษณะการขายแบบเป ด หน้ า ร้ า นเอง หรื อ มี ค นมารั บ ซื้ อ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น การขายแบบการ กระจายสินค้ามากนัก โดยมีการตั้งราคาฝาลายอำ โดยราคาขึ้นอยู่กับการใช้ตอกส่วนผิว หรือตอกส่วนเนื้อ ในการสาน และขึ้นอยู่กับขนาดของการสานอีกด้วย ราคาตอกผิว ขนาดเล็กราคา ๒๐ บาทขนาดกลาง ๓๕ บาทขนาดใหญ่ ๔๕ บาท ส่วนราคาตอกส่วน เนื้อราคา ๑๒ บาทต่อตารางเมตร ด้านการถ่ายทอดความรู้ ทางกลุ่มผู้จักสานฝาลายอำเองได้มีการถ่ายทอดองค์ ความรู้ให้กับเยาวชนในท้องถิ่นบ้านร้อยจันทร์ ที่ว่างเว้นจากการเรียน กลุ่มผู้สูงอายุ นักเรียน นักศึกษา บริษัท เคหะแห่งชาติและกลุ่มผู้สนใจในการสานฝาลายอำ จึงทำให้ผู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญานี้ นายบุญศรี เรือนเหล็ก ได้รับรางวัลครูภูมิปัญญาท้องถิ่น จาก โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อีกทั้งยังได้รับการช่วยเหลือส่งเสริมทางด้านงานศิลปหัตถกรรม จาก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองควาย ให้การสนับสนุนทุนกู้ยืมเงินกลุ่มจักสาน โดยระหว่ า งการผลิ ต ทางผู้ จั ก สานได้ พ บปั ญ หา และอุ ป สรรคสนการทำคื อ ไผ่ เ หี ย ะ ขาดตลาดในช่วงฤดูฝน สถาพภูมิอากาศไม่อำนวย เกิดฝนตกทำให้ไผ่เหียะขึ้นราได้ง่าย ส่งผลให้ผลผลิตลดลง และขณะที่ทำการจักสานอยู่นั้น ไผ่เหียะเป็นผิวไม้ที่มีความคม อาจทำให้เกิดการบาดระหว่างการทำงานได้ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มทางด้านการสานฝาลายอำในอนาคต ทางกลุ่มผู้จักสาน เองได้เล็งเห็นว่าทางด้านเชิงธุรกิจ จะดีขึ้น เพราะความต้องการฝาลายอำในท้องตลาด จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสนิยม การกลับมาใช้วัสดุธรรมชาติแบบพื้นเมือง ทางด้าน เชิงปริมาณ จะลดลง เพราะผู้ผลิตมีจำนวนน้อย สินค้าอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของลูกค้าในอนาคตได้ ทางด้านความต้องการของผู้ผลิตเองต้องการอยากให้หน่วยงาน ราชการ ช่วยส่งเสริมการปลูกไม้ไผ่เหียะในท้องถิ่น สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน และอยาก ให้วิทยากร หรือนักวิชาการมาให้ความรู้การปองกันงานจักสานขึ้นรา และอยากให้ทาง ด้านเยาวชนสนใจมาเรียนรู้และสืบทอดงานสานฝาลายอำ เพื่อจะได้เป็นวิชาชีพเลี้ยง ตนเองได้
หางดงถิ่นหัตถกรรม 11
นายอินสอน สายตา
ประเภทงานเครื่องจักสาน : สานไซหัวหมู แนวโน้มการสานไซหัวหมูในอนาคตทางด้านเชิงธุรกิจ ราคาเครื่องจักสานจะสูงขึ้นแต่เชิงปริมาณเครื่องจักสาน จะลดลง และเชิงคุณภาพต้องการมีผู้สืบทอดต่อไปด้วย เหตุ นี้ ท างกลุ่ ม ผู้ จั ก สานต้ อ งการอยากให้ รั ฐ บาลช่ ว ย ส่งเสริมการจักสานไม้ไผ่ให้ขยายต่อไปและอยากให้เด็ก เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจ และสืบทอดงานจักสาน
12 หางดงถิ่นหัตถกรรม
เครื่องจักสานไซหัวหมู เป็นเครื่องจักสานที่ใช้สำหรับดัดจับสัตว์น้ำ การวางไซ ต้องนำไปวางตามทิศทางการไหลของน้ำ ซึ่งถ้าต้องการดักปลาที่ว่ายทวนขึ้นก็หันด้าน ปากงาตามน้ำและถ้าดักปลาที่ว่ายลงก็หันด้านปากงาให้ทวนน้ำ ส่วนมากจะนิยมดักใน ช่วงฤดูฝน งานจักสานไซหัวหมู่ในครั้งนี้ได้ทำการเก็บข้อมูลจากนายอินสอน สายตา ซึ่ง ได้รบั การสืบทอดจากพ่อหนานคำ ใบแห้ง ลุงอินสอน เกิดเมือ่ วันที ่ ๔ มิถนุ ายน พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปัจจุบันอายุ ๖๖ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๘๔ หมู่ที่ ๑๓ บ้านท้าวบุญเรือง (ศรีสัน) มี ประสบการณ์ในการสานมานานกว่า ๔๐ ปี วัตถุดิบที่ใช้ในการสาน คือ ไม้ไผ่ซางและไม้ไผ่สีสุกโดยซื้อจากในท้องถิ่นและ รับซื้อจากจังหวัดลำปาง อุปกรณการสาน คือ เลื่อย มัดจัก มัดเหลา ปลอกนิ้ว ขั้นตอนการเตรียมการผลิต ก่อนอื่นนำเลื่อยตัดไม้ไผ่เป็นท่อนๆ จากนั้นใช้มีด จัก จักไม้เป็นส่วนๆ และใช้มีดเหลา เหลาไม้ให้บางทำเป็น “ตอก” ขณะทำกันนิ้วโดน บาดโดยการใส่ปลอกนิ้ว ก่อนนำไปใช้ในการสานถ้าเป็นไม้ไผ่ใหม่ ไม่ต้องแช่ แต่ถ้าเป็น ไม้ไผ่เก่า ต้องนำไปแช่น้ำ ๒-๓ คืน
หางดงถิ่นหัตถกรรม 13
ขั้นตอนการผลิต กอไซ เริ่มก่อก้นด้วยลายคั่นเส้นเดียว (ลายเดียว ยก ๑ ข่ม ๑) สานตัวขึ้นรูป เป็นทรงกระบอกและสาน “เม้นปาก” แล้วบิดเส้นข้างเก็บให้เรียบร้อย กองา นำตอกมาขัดเป็นลักษณะตาราง นำปลายตาราง ๒ ด้าน มาม้วนประกบ กันให้เป็นรูปทรงกระบอก และนำเส้นตอกมาสานขัดให้เป็นลักษณะกรวยคงที่ เม้นปาก บิดกลัดเก็บปลายตอกให้เรียบร้อย จากนั้นนำมาประกอบ ๒ ส่วนเข้าด้วยกันโดยมัดด้วย ตอก ๔ จุด
14 หางดงถิ่นหัตถกรรม
การเก็บรักษา ควรเก็บไว้ในที่ร่ม และมักจะรมควันก่อนจะนำไปใช้เพื่อกันมอด และแมลง การจำหน่ายไซหัวหมูของกลุ่มเครื่องจักสานที่นี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นการขายที่ ร้ า นค้ า หน้ า หมู่ บ้ า น และมี ก ารถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู้ ใ นการสานไซหั ว หมู ใ ห้ กั บ คนใน ท้องถิ่นบ้านท้าวบุญเรือง บ้านศรีจุม บ้านศรีสรร ต. บ้านแหวน โดยส่วนใหญ่จะเป็น วัยกลางคนที่ว่างงานและ กลุ่มนักเรียน เยาวชนที่ให้ความสนใจ ซึ่งทางกลุ่มผู้จักสานเอง ได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุโดยมีนายอินทร์สอน เป็นประธานผู้สูงอายุในการถ่ายทอดองค์ ความรู้ และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมโดยเทศบาลตำบลบ้านแหวน แต่เนื่องจากสภาพภูมิอากาศแปรปวนทำให้ฝนตก แดดไม่ออก ทำให้ไผ่ซางและไผ่สีสุก มักขาดตลาด แนวโน้มการสานไซหัวหมูในอนาคตทางด้านเชิงธุรกิจ ราคาเครื่องจักสานจะ สูงขึ้นแต่เชิงปริมาณเครื่องจักสานจะลดลง และเชิงคุณภาพต้องการมีผู้สืบทอดต่อไปด้วย เหตุนี้ทางกลุ่มผู้จักสานต้องการอยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมการจักสานไม้ไผ่ให้ขยายต่อ ไปและอยากให้เด็กเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจ และสืบทอดงานจักสาน
หางดงถิ่นหัตถกรรม 15
นายแก้ว หนอเมฆ
ประเภทงานเครื่องจักสาน : สานเขงลำไย แนวโน้มที่คาดว่าในอนาคตทางด้านเชิงธุรกิจ ผู้ประกอบ การเองเล็งเห็นว่าไม่น่าที่จะเป็นที่นิยมของตลาดอีกต่อ ไป ทำให้การสานเข่งลำไยลดลงและอาจจะไม่มีการผลิต ในท้องถิ่นอีกต่อไป เนื่องจาก ณ ขณะนี้บ้านนายแก้ว หน่ อ เมฆ เป็ น บ้ า นหลั ง สุ ด ท้ า ยในท้ อ งถิ่ น ที่ ยั ง สานเข่ ง ลำไยอยู่
16 หางดงถิ่นหัตถกรรม
เครื่องจักสานเข่งลำไย เป็น เครื่ อ งจั ก สานที่ ใช้ ใ นการเก็ บ ผลผลิ ต ทางการเกษตร ผูใ้ ห้ขอ้ มูลเครือ่ งจักสาน คือ นายแก้ว หน่อเมฆ หรือลุงแก้ว ซึ่ง ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ เมื่อ ครั้นอดีตการสานเข่งลำไยเป็นที่นิยม มาก ทำการจักสานเข่งลำไยกันแทบ ทุกหลังคาเรือน แต่ปัจจุบันความนิยม ในการประกอบอาชี พ มี ท างเลื อ ก มากมาย จึงทำให้การสานเข่งลำไยได้ รับความนิยมน้อยลง ซึง่ ทัง้ หมูบ่ า้ นเหลือ บ้านลุงแก้วสานเข่งลำไยอยู่หลังเดียว ลุ ง แก้ ว เกิ ด เมื่ อ วั น ที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๑ ปัจจุบันอายุ ๖๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๙/๑ หมู่ที่ ๑๓ บ้าน ท้าวบุญเรือง (ศรีจุม) ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ มี ประสบการณ์สานมากว่า ๔๐ ปี วั ต ถุ ดิ บ ที่ ใช้ ใ นการทำ คื อ ไม้ ไ ผ่ ซ าง นำมาจากจั ง หวั ด ลำปาง อุ ป กรณ์ ที่ ใช้ ใ นการสานมี ดั ง นี้ มี ด ผ่ า มีดจัก ปลอกนิ้ว แบบพิมพ์ เป็นต้น ขั้นตอนการเตรียมการผลิต เลื่ อ ยไม้ ไ ผ่ ซ างให้ มี ข นาดความยาว ประมาณ ๑.๕ เมตรแล้วนำมาจักเป็น ตอกซ้าง (ตอกเส้นตั้ง) ๑.๕ เมตร ตอก เกี้ยว (ตอกเส้นนอน) ๑.๕ เมตรและ ตอกผิวไผ่เพื่อทำเป็นขอบปากขนาด ๑ เซนติเมตร ยาว ๑.๕ เซนติเมตร จาก นั้นนำตอกแห้งไปแช่น้ำ ๒ วัน ๒ คืน แต่เป็นไม้ไผ่อ่อนไม่ต้องแช่น้ำ หางดงถิ่นหัตถกรรม 17
ขั้นตอนการผลิต อันดับแรกเริ่มจากการก่อก้นก่อนโดยใช้ตอกซ้าง (ตอกเส้น ตั้ง) ก่อขัดกันไปมาเป็นลายหนึ่ง (ยก ๑ ข่ม ๑) จากนั้นนำมาวางทาบบนแบบพิมพ์และ สานก่อตัวขึ้นไปจำนวน ๑๑ ชั้น โดยสานเป็นลายขัดกันธรรมดาใช้ตอกเกี้ยว (ตอกเส้น นอน) ขัดกันขึ้นลงกับเส้นซ้างจนเสร็จ เม้นปากเก็บปลายตอกให้เรียบร้อยและใช้ตอก กลมเส้นเล็กมัดยึดที่ปากเข่ง ๓ จุด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการใช้งาน การเก็บรักษาหลังการใช้งาน ห้ามโดนน้ำ เก็บในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทสะดวก จะทำให้ช่วยยึดอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น โดยราคาเข่งลำไยอยู่ที่ใบละ ๒๓ บาท มีการ ขายอยู่ที่ร้านค้าหน้าชุมชน และมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ แต่ระหว่างการจักสานเข่งลำไย พบว่าได้เกิดอุปสรรคและปัญหาในการทำ คือ ไม้ซางขาดตลาดในช่วงฤดูฝนและเข่งลำไย ขึ้นราง่าย เมื่อเจออากาศชื้น ส่งผลให้ราคาแข่งลำไยตกลง แนวโน้มที่คาดว่าในอนาคตทางด้านเชิงธุรกิจ ผู้ประกอบการเองเล็งเห็นว่าไม่ น่าที่จะเป็นที่นิยมของตลาดอีกต่อไป ทำให้การสานเข่งลำไยลดลงและอาจจะไม่มีการ
18 หางดงถิ่นหัตถกรรม
ผลิตในท้องถิ่นอีกต่อไป เนื่องจาก ณ ขณะนี้บ้านนายแก้ว หน่อเมฆ เป็นบ้านหลังสุดท้าย ในท้องถิ่นที่ยังสานเข่งลำไยอยู่ จากบทความข้างต้นช่างจักสานยังกล่าวเจตนารมณ์ ที่ ต้ อ งการว่ า อยากให้ มี เยาวชนคนรุ่นใหม่ หรือผู้ที่ว่างเว้นจากการทำงาน กลุ่มการเกษตร หรือกลุ่มทางภาครัฐ และเอกชนให้ความสนใจและให้การสนับสนุนงานจักสานอีกด้วย
หางดงถิ่นหัตถกรรม 19
นางจันทรา ชัยวุฒิ
ประเภทงานเครื่องจักสาน : สานเปาะ แนวโน้มในอนาคต ด้านเชิงธุรกิจ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น มี ร ายได้ สู ง ขึ้ น เนื่ อ งจากเครื่ อ งจั ก สานเป า ะเอง สามารถนำไปตกแต่งได้ทำให้เกิดความหลากหลาย ความน่ า สนใจในการนำไปใช้ ง าน จึ ง ทำให้ ไ ม่ เพียงพอต่อการส่งเข้าตลาด
20 หางดงถิ่นหัตถกรรม
เครื่องจักสานเปาะหรือตะกร้า เป็นงานหัตถกรรมจักสานที่ใช้สำหรับเก็บใส่ ของต่างๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานนั้นๆ ของผู้ใช้ ในที่นี้ได้ทราบข้อมูลจากนางจันทรา ชัยวุฒิ หรือที่รู้จักกันในนาม “ปาทาบ้านดู่” ซึ่งกล่าวว่าการสานเปาะ ไม่ได้ศึกษามาจากแหล่ง ไหน แต่ฝกหัดด้วยตนเอง และได้ดูจากของที่อื่น เช่น บ้านปาบง อำเภอสารภี เป็นต้น ประกอบเคยทำงานตกแต่งเครื่องจักสานอื่น ๆ มาก่อนจึงสนใจเรียนรู้ ปาทา เกิดเมื่อวัน ที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปัจจุบันอายุ ๖๖ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๓๕/๓ หมู่ที่ ๑๑ บ้านดู่ ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ในการสาน มากว่า ๑๐ วั ต ถุ ดิ บ ที่ ใช้ ใ นการสาน คือ ไม่ ไ ผ่ป า ง หรือไม้ข้าวหลามที่รู้จักกัน โดยนำมาจากจังหวัด ลำปาง อุ ป กรณ ใ นการใช้ คื อ เลื่ อ ย มี ด เหลา มีดอีโต้ สานพานพลาสติกแบน ไม้บรรทัดในที่นี้ ช่ า งจั ก สานเรี ย กว่ า “ไม้ ม อก” กรรไกรและ แบบพิมพ์ ขั้นตอนการเตรียมการผลิต ก่อนอื่นเลื่อย ท่ อ นไม้ ไ ผ่ ป า ง ความยาวประมาณ ๙๐ – ๑๐๐ เซนติเมตร ในกรณีที่เป็นไม้ไผ่แห้ง ก่อนนำมาจักให้ นำไปแช่น้ำก่อนอย่างน้อย ๒ คืน แต่ถ้าเปียกอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องแช่น้ำอีกจากนั้นผ่าท่อนไม้ไผ่ออกเป็นครึ่งซีก จั ก เป็ น เส้ น และผ่ า ซี ก ไม้ ไ ผ่ อ อกเป็ น กลี บ ๑ กลี บ สามารถจักเป็นเส้นได้ประมาณ ๔ – ๕ เส้น ซึ่งการ เรียกเส้นตอกแต่ละเส้นจะไม่เหมือนกัน เช่น ตอก ตั ว ยื น เรี ย กกั น ว่ า “ตอกซ้ า ง” (จะมี ข นาดใหญ่ ประมาณครึ่งนิ้ว) ตอกสานตามขวางเรียกว่า “ตอก เกี้ยว” (จะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นซ้าง) เส้น ตอกปาน (จะมีขนาดเดียวกับเส้นเกี้ยว) เส้นตอกตำ (จะมีขนาดเส้นเล็กสุดประมาณ ๐.๕ - ๑ เซนติเมตร) เมื่อจักตอกเสร็จนำไปตากแดดให้แห้ง หางดงถิ่นหัตถกรรม 21
ขั้นตอนการผลิต ก่อก้น โดยการนำเอาตอกซ้างมาขัดติดกัน เป็นลายเดียวลาย หนึ่ง มีเส้นตอกปานช่วยปดรอยต่อ เป็นการยึดให้แน่น ไม่เกิดช่องว่าง พอก่อก้นเสร็จ ได้ ขนาดตามต้องการก็ใช้ตอกตำยึดทั้ง ๔ ด้าน ให้ก้นมั่นคง ใช้ไม้มอกหักตอก เพื่อขึ้นรูป เป็นทรงกระบอก นำเอาแบบพิมพ์มาทาบ และเอาเส้นเกี้ยวมาสานขัดกับเส้นซ้าง เป็น ลวดลายเดียว สานจนได้ขนาดตามต้องการ จากนั้นตัดส่วนเกินของปลายเส้นตอกซ้างทิ้ง เอาไม้ปานมาใส่ปากขอบ โดยไม้ปานที่ทำเป็นขอบจะมีความหนาเป็นพิเศษ เพื่อความ คงทนของตะกร้า โดยการทำวงขอบปากด้านในก่อนและทำทำขอบปากเปาะด้านนอก จากนั้นสายพานพลาสติกแบนมาคาดพัน เป็นจำนวน ๔ จุด ตรงขอบปากเพื่อความ คงทนแข็งแรงต่อสภาพการใช้งาน ปัจจุบันสมัยใหม่อาจพบเห็นการใช้แม็คช่วยเย็บ เพื่อ ความเรียบเนียนของพื้นผิวขอบปาก
22 หางดงถิ่นหัตถกรรม
การประดั บ ตกแต ง นำเอาขี้ เ ลื่ อ ยผสม กาวลาเท็กซ์ ผสมดินสอพอง มาโป หรือทาให้ทั่ว ใช้ ที่เกลี่ยชุบน้ำปาดให้ผิวเรียบกลืนกัน และให้ฟองน้ำ ชุบน้ำลูบผิวอีกที โดยเน้นที่ด้านนอกและนำไปตาก แดดให้แห้ง จากนั้นเอาดินสอพองสีขาวมาทาทับอีก ชั้น ตากให้แห้ง ทาสีที่พื้นผิวและติดเส้นมุก ตกแต่ง สีตามต้องการ ตากแดดให้แห้ง นำมาติดกระจกให้ สวยงาม ทางด้ า นทางการตลาด ปาได้กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ และตน จะนำส่งให้ลูกหลานทำการตกแต่ง โดยราคาของ เป า ะที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ต กแต่ ง จะขึ้ น อยู่ กั บ ขนาด ขนาด ใหญ่ ๓๐ บาทขนาดกลาง ๒๐ บาท ขนาดเล็ก ๑๕ บาท แต่ถ้าเป็นชุด ๑ ชุด มี ๓ ใบ (ขนาดเล็ก ขนาด กลาง ขนาดใหญ่) ราคาชุดละ ๖๐ บาท ทางด้าน การสืบทอดการสาน ก็ได้มีลูกหลานรับของบิดา – มารดา ไปตกแต่ง และขายต่ออีกที ปญหาและอุปสรรค ที่พบค่อนข้างน้อย เพราะถึ ง แม้ ส ภาพดิ น ฟ า อากาศ ฝนตก ทำให้ ตอกไม้ไผ่ปางขึ้นรา แต่เนื่องด้วยเป็นเปาะที่มีการ นำไปตกแต่งอยู่แล้วจึงทำให้เมื่อเกิดราก็ไม่เป็นไร เพราะต้องลงเคลือบแวกซ์ในการตกแต่งอยู่แล้ว แนวโน้มในอนาคต ด้านเชิงธุรกิจ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีรายได้สูงขึ้นเนื่องจาก เครื่องจักสานเปาะเองสามารถนำไปตกแต่งได้ทำให้เกิดความหลากหลาย ความน่าสนใจ ในการนำไปใช้งาน จึงทำให้ไม่เพียงพอต่อการส่งเข้าตลาด ทางด้านเชิงปริมาณ มีผู้จัก สานเปาะน้อยลง ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ และคนว่างงาน และด้านเชิงคุณภาพ ซึ่งจะมี การสืบทอดต่อไปได้ซักอีกระยะหนึ่ง เพราะภาครัฐส่งเสริมให้หมู่บ้านดู่ หมู่ ๑๑ ตำบล บ้านแหวน เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หางดงถิ่นหัตถกรรม 23
นางพรรณี อินตะรัตน
ประเภทงานเครื่องจักสาน : สานสาดออน แนวโน้มในอนาคต ด้านเชิงธุรกิจ ราคาไม่ดีขึ้นเท่า เดิม ด้านเชิงปริมาณ มีคนอายุตั้งแต่ ๕๐ ปี ขึ้นไป จะ มารวมกลุ่มกันเพิ่มขึ้น และมีผู้ผลิตแข่งขันกันทำมาก ขึ้น ส่งผลให้ทางด้านเชิงคุณภาพ มีการพัฒนางาน พัฒนาฝีมือ ปรับเปลี่ยนใปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด
24 หางดงถิ่นหัตถกรรม
เครื่องจักสานสาดอ่อนหรือเสื่ออ่อน ใช้สำหรับปูลาดสำหรับรองนั่งหรือนอน โดยมีความเชื่อดั้งเดิมในสมัยโบราณว่า สาดอ่อนใช้ปูนั่งหรือนอนเมื่อผู้ใช้ตายก็จะนำสาด ที่ผู้ตายใช้อยู่นั้นห่อศพไปด้วย โดยผู้ให้ข้อมูลคือนางพรรณี อินตะรัตน์ หรือ ปาตุ้ย ซึ่งได้ รั บ การสื บ ทอดจาก พ่ อ คำ - แม่ จั น ทร์ โนภี ร ะ และผ่ า นการฝ ก อบรมจากศู น ย์ อุตสาหกรรมภาคเหนือ ทุ่งโฮเตล เรื่องการย้อมสีและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปาตุ้ย เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑ ปัจจุบันอายุ ๕๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๖/ ๑ หมู่ที่ ๙ บ้านสันทรายพัฒนา ตำบลหนองแกว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มี ประสบการณ์ด้านการจักสานมานาน ๓๐ ปี วัตถุดิบที่ใช้ในการสาน คือ ต้นสาด (ผิวกก) เดิมหาได้จากบริเวณหมู่บ้าน ปัจจุบันต้องสั่งซื้อจาก จังหวัดเชียงราย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วัสดุอุปกรณ มีดขูด อ่างแช่ ไม้รอง ขั้นตอนการเตรียมการผลิต นำต้นสาดที่ซื้อมา นำมาตัดหัวท้ายให้เท่ากัน แล้ว นำมาแช่น้ำในอ่างน้ำทิ้งไว้ ๑ คืน (ถ้าต้นสาดที่ซื้อมายังไม่แห้งต้องนำตากแดดให้แห้ง ก่อน) เอาเส้นสาดออกจากอ่างแช่น้ำ นำมาขูดเอาเนื้อข้องในออก ให้เหลือแต่ผิวหน้าของ เส้นสาด นำเส้นสาดที่ขุดผิวออกนำมาขดเส้นวงกลม แล้วมัดไว้ ใช้เส้นสาดประมาณ ๑๕ – ๒๐ เส้น ต่อ ๑ ขด เมื่อขดเสร็จแล้วนำมาตากแดดให้แห้งสนิท นำเส่นสาดที่แห้งสนิท แล้ว มาฉีกแบ่งครึ่งตามความยาวเป็นเส้นเล็กๆ (ประมาณ ๒ เส้นเล็ก) นำเส้นสาดที่ฉีก แบ่งเก็บส้นเล็กเสร็จแล้วนำมาสานเป็นผืน ผืนหนึ่งยาวประมาณ ๓ เมตร กว้าง ๘๐ – ๙๐ เซนติเมตร นำสาดที่สานเป็นผืนเสร็จแบ้วนำมาทำผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ กระบวนการจักสานเสื่อออน นำต้นสาดมาตากแดดให้แห้งสนิท ประมาณ ๓ – ๕ วัน นำมาตัดหัวท้ายให้เท่ากัน แล้วนำมาแช่น้ำในอ่างน้ำทิ้งไว้ ๑ คืน เอาเส้นสาด ออกจากอ่างแช่น้ำ นามาขูดผิวเอาเนื้อข้างในออกให้หมด เหลือแต่ผิวหน้าของเส้นสาด (ผิวหน้าของเส้นสาดที่มีลักษณะมันวาว และมีลวดลาย) นำเส้นสาดที่ขูดผิวออก แล้วนำ มาม้วนเป็นเส้นวงกลมแล้วมัดไว้ (ขด สาดให้เส้นสาดประมาณ ๑๕ – ๒๐ เส้น ต่อ ๑ ขด) เมื่อม้วนเสร็จแล้วนำ มาตากแดดห้แห้งสนิท (สาเหตุที่ขด เส้นสาดให้เป็นวงกลมเพราะ ๑. เพือ่ ปองกันการหดตัวของเส้นสาด ๒. เพื่อสะดวกในการเก็บรักษา) หางดงถิ่นหัตถกรรม 25
นำเส้นสาดที่แห้งสนิทแล้วมาฉีกแบ่งเป็นเส้นเล็กเสร็จ แล้วนำมาสานเป็นผืน ผืนหนึ่งยาวประมาณ ๓ เมตร กว้าง ๘๐ – ๙๐ เซนติเมตร หรือ นำสาดที่สานเป็นผืน เสร็จแล้วนำมาทำผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ กระบวนการตากสาด นำสาดมาตากแดด ให้แห้งสนิท ประมาณ ๓ – ๕ วัน แล้วนำมาตัดหัว ท้ายให้เท่ากัน กระบวนการแชสาด นำเส่นสาดมาแช่น้ำใน อ่างน้ำทิ้งไว้ ๑ คืน แล้วเอาเส้นสาดออกจากอ่างแช่ สาด กระบวนการขูดสาด ขูดผิวเอาเนื้อข้างใน ออกให้หมดเหลือแต่ผิวหน้าของเส้นสาด (ผิวหน้าของ เส้นสาดที่มีลักษณะมันวาวและมีลวดลาย) กระบวนการขดสาด นำเส้ น สาดที่ ขู ด ผิ ว ออกแล้วนำมาม้วนเป็นวงกลมแล้วมัดไว้ (๑ ขดใช้เส้น สาดประมาณ ๑๕ – ๒๐ เส้น ต่อ ๑ ขด) เมื่อม้วน เสร็จแล้วนำมาตากแดดให้แห้งสนิท สาเหตุที่ขดเส้น สาดให้เป็นวงกลมเพราะ เพื่อปองกันการหดตัวของ เส้นสาด และเพื่อสะดวกในการเก็บรักษา กระบวนการฉีกสาด นำเส้นสาดที่แห้งสนิท แล้วมาฉีกแบ่งครึ่งตามความยาวเป็นเส้นเล็กๆ ขนาด เท่ า กั น (ประมาณ ๑ เส้ น เล็ ก หรื อ ประมาณครึ่ ง เซนติ เ มตร) เส้ น สาดที่ ฉี ด เสร็ จ แล้ ว นำมามั ด หั ว กลาง ท้าย เก็บไว้เพื่อรอการสาน กระบวนการสานสาด นำสาดที่ฉีกแบ่งเป็น เส้ น เล็ ก เสร็ จ แล้ ว นำมาสานเป็ น ผื น ผื น หนึ่ ง ยาว ประมาณ ๓ เมตร กว้ า ง ๘๐ – ๙๐ เซนติ เ มตร หลังจากสานสาดได้ประมาณ ๑๐ เส้น จัดเส้นสาดให้ แน่น ทำอย่างนี้สลับต่อก้นไปจนเสร็จเป็นผืน สาดที่ เสร็จเป็นผืน เรียกว่า “สาดผืน” 26 หางดงถิ่นหัตถกรรม
ด้ า นการตลาด รั บ ทำตามแบบสั่ ง ทำส่ ง โรงงานเฟอร์ นิ เจอร์ และมี พ่ อ ค้ า คนกลางมารับซื้อโดยคิดราคา ตารางเมตรละ ๑๒๐ บาท ส่วนใหญ่แล้วผู้สืบทอดในการ สานจะเป็นผู้คนในท้องถิ่นวัยทำงานตั้งแต่ ๕๐ ปีขึ้นไป นอกจากนี้ทางกลุ่มผู้สานสาดอ่อนได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มผู้สูงอายุจากต่างถิ่นที่มาดูงาน ทัวร์ต่างชาติ ภาครัฐและเอกชน จึงทำให้ กลุ่มผู้สานสาดอ่อนได้รับรางวัล OTOP ๔ ดาวในปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ และOTOP ๓ ดาวในปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ ด้านการช่วยเหลือส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรม ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบล หนองแกว ให้กู้ยืมเงินหมุนเวียน ให้ความรู้อบรมการตลาด และออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ รับการส่งเสริมจากสำนักงานเกษตรอำเภอ ให้ความรู้เรื่องรัฐวิสาหกิจ มีการอบรม พัฒนาชุมชน เรื่องการตลาด และผลิตภัณฑ์ อีกทั้งได้รับการส่งเสริมจากการศึกษานอก โรงเรียนหางดง ด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ ปัญหา และอุปสรรคที่พบในการสาน ทางด้านสุขภาพ เมื่อนั่งสานใช้เวลา นาน ปวดหลัง ปวดขาส่งผลต่อสุภาพ สาดอ่อน มีการขาดตลาดในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมและสภาพภูมิอากาศฝนตก ทำให้ล้าช้าในการสาน และทำให้สาดอ่อนแห้งช้า แนวโน้มในอนาคต ด้านเชิงธุรกิจ ราคาไม่ดีขึ้นเท่าเดิม ด้านเชิงปริมาณ มีคน อายุตั้งแต่ ๕๐ ปี ขึ้นไป จะมารวมกลุ่มกันเพิ่มขึ้น และมีผู้ผลิตแข่งขันกันทำมากขึ้น ส่ง ผลให้ทางด้านเชิงคุณภาพ มีการพัฒนางาน พัฒนาฝีมือ ปรับเปลี่ยนใปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด
หางดงถิ่นหัตถกรรม 27
นายหมุน สุดดี
ประเภทงานเครื่องจักสาน : หวายเครื่องเรือน ปั จ จุ บั น งานสานหวายได้ ล ดลง เพราะต้ อ งใช้ ค วาม อดทนในการสาน อยากให้มีผู้สนใจมาศึกษางานหวาย เครื่องเรือนเพราะรายได้ดี และเป็นการอนุรักษ์ศิลป หัตถกรรมอีกด้วย
28 หางดงถิ่นหัตถกรรม
หวายเครื่องเรือน เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ในหมู่บ้านท้าวคำวัง ตำบลหางดง เป็นงานที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับเศรษฐกิจและความต้องการของใช้ โดยผู้นำ ความรู้ใหม่เข้ามาในหมู่บ้านคือ นายหมุน สุดดี หรือลุงหมุน ซึ่งได้รับการสืบทอดจาก เถ้ า แก่ ค นจี น ที่ ก รุ งเทพฯ ลุงหมุน เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๐๓ ปัจจุบันอายุ ๕๑ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๗๗/๕ หมู่ที่ ๑ บ้านท้าวคำวัง ตำบลหางดง อำเภอ หางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ในการทำหวายเครื่องเรือนมานานกว่า ๓๕ ปี วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการสาน คือ หวายน้ำผึ้ง ซื้อมาจากประเทศพม่า ประเทศ อินโดนีเซียและประเทศลาว นอกจากนี้ ยังได้ใช้หวายแดง โดยซื้อมาจากประเทศพม่า ทดแทนในบางครั้ง อุปกรณที่ใช้ในการทำ คือ ไม้ดัดหวาย คีม ค้อน ตะปู มีด เลื่อย ตะไบ ไม้บรรทัด ตลับเมตร ปนลม แกส เตาอบ กระดาษทราย และอุปกรณ์ทำสี ขั้ น ตอนเตรี ย มการสาน ก่ อ นอื่ น ต้ อ งออกแบบเฟอร์ นิ เจอร์ แ ละทำโครง เฟอร์นิเจอร์ให้เสร็จก่อน จากนั้นนำหวายเนื้อหนามาวัดขนาดตามแบบ เพื่อทำเป็นโครง เฟอร์นิเจอร์ นำหวายไปอบไอน้ำให้นิ่ม และเอาหวายมาดัดเป็นโครง ให้อยู่ตัวขึ้นให้เป็น รูปทรง นำตะปูมาตอกโครงหวายที่ดัดไว้ประกอบเข้าด้วยกัน เตรียมพร้อมที่จะสานหวาย อ่อนต่อไป ขั้นตอนการสาน ใช้แม็กยิงหวายอ่อนติดกับโครงหวายสานและสานเป็นลาย ต่างๆ เมื่อสานเสร็จทำการเก็บหวายอ่อนส่วนที่เหลือโดยการใช้แม็กยิงและตัดส่วนเกิน ออก
หางดงถิ่นหัตถกรรม 29
ตัวอยางลายสาน
ลายมังกร
ลายโซจำป
ลายดอกพิกุล
ลายธรรมดา (ลายหนึ่ง ลายสอง ลายสาม)
ลายยกดอก
30 หางดงถิ่นหัตถกรรม
การตกแตง ใช้แกสเปาไฟเผาบนผิวหวายอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการลบเสี้ยน หวายออกจากเครื่องเรือน นำกระดาษทรายมาขัดเก็บรายละเอียด ทำการลงสีและทา แชลคเคลือบ
ปญหาและอุปสรรคที่พบ เนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูง ส่งผลให้เฟอร์นิเจอร์ ขายออกยาก และทำให้แนวโน้มในอนาคตมีผู้สานหวายน้อยลง ผลผลิตการทำลดลงไป ด้วย ทางด้านความเห็นของช่างจักสานคาดว่างานสานหวายคงอยู่ได้ไปเรื่อยๆ แบบทรงๆ ตัว งานหวายจะมีเพิ่มมากขึ้นถ้าผู้ผลิตได้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ออกมาในรูปแบบใหม่ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ผู้สานหวายได้กล่าวในตอนท้ายอีกว่า ปัจจุบันงานสานหวายได้ลดลง เพราะ ต้องใช้ความอดทนในการสาน อยากให้มีผู้สนใจมาศึกษางานหวายเครื่องเรือนเพราะราย ได้ดี และเป็นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมอีกด้วย
หางดงถิ่นหัตถกรรม 31
32 หางดงถิ่นหัตถกรรม
งานเครื่องปนดินเผา หางดง โดย นายดุษฎี เทพสิริ
เชี ย งใหม่ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ดิ น แดนที่ อุ ด มไปด้ ว ยมรดกทางศิ ล ปวั ฒ นธรรม โดย เฉพาะงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของตนเอง โดยมีพัฒนาการที่สัมพันธ์ กับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ในยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ที่พญากาวิละได้กอบกู้ ฟนฟูเมืองเชียงใหม่ภายหลังจากการเกิดศึกสงครามกับพม่า ด้วยการกวาดต้อนเชลยศึก จากรั ฐ ไทตอนบนมารวมอยู่ ณ เมื อ งเชี ย งใหม่ ส่ ง ผลเกิ ด ความหลากหลายของกลุ่ ม ชาติพันธุ์ ทั้งไพร่บ้านและช่างฝีมือเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มักปรากฏการตั้งถิ่นฐาน ที่อยู่อาศัยบริเวณรอบๆ ตัวเมืองเชียงใหม่ ส่งผลให้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองในลักษณะร่วมกันทางวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้จึงก่อให้เกิด รูปแบบวิถีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของกลุ่มชนต่างๆ ที่ได้เกิดการแลกรับปรับ เปลี่ยนระหว่างกันจนกลายเป็นเมืองแห่งศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นกระจายอยู่ในตัวเมือง และอำเภอรอบนอกอย่างอำเภอหางดง อำเภอหางดง ตั้ ง อยู่ ท างทิ ศ ใต้ ข องตั ว เมื อ งเชี ย งใหม่ เป็ น สถานที่ ผ ลิ ต และ จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมงานช่างพื้นบ้านแหล่งสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ อันมีชื่อเสียง ในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เครื่องปันดินเผาของอำเภอหางดงเป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านประเภทหนึ่ง ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้งานศิลปหัตถกรรมประเภทอื่นๆ ที่ผลิตในเขตอำเภอหางดง ใน เขต บ้านไร่ บ้านกวน บ้านวัวลาย ตำบลหารแก้ว ส่วนมากจะผลิตเครื่องปันดินเผา จำพวกภาชนะสำหรับหุงต้ม อาทิ หม้อต่อม หม้อสาว หม้อแกง และหม้อน้ำ โดยมี กรรมวิธีการผลิตที่โดดเด่นจากการใช้ดินเหนียวดำ บรรจงปันด้วยมือแบบเทคนิคดั้งเดิม บนแท่ น ปั น ที่ ไ ม่ ส ามารถหมุนได้ แล้วใช้การเผาไฟแบบโบราณให้ เ กิ ด ความแข็ ง แกร่ ง สถานที่ผลิตภาชนะเครื่องปันดินเผา ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านเหมืองกุง ตำบล หนองควาย มีการทำหัตถกรรมพื้นบ้านสำหรับบรรจุน้ำดื่มที่โดดเด่นได้แก่น้ำต้น หม้อน้ำ รวมไปถึ ง ผางประที ป นั บ เป็ น มรดกทางภู มิ ปั ญ ญาพื้ น บ้ า นที่ มี ชื่ อ เสี ย งของอำเภอ หางดงถิ่นหัตถกรรม 33
จนทำให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ครื่ อ งปั น ดิ น เผา ในเขตอำเภอหางดง กลายเป็ น ที่ รู้ จั ก ในหมู่ นั ก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมซื้อเป็นสินค้าที่ระลึก จากคำพูดของคนโบราณที่กล่าว “ตำข้าวสารกรอกหม้อไปวันๆ” แสดงออก ถึงลักษณะการกินที่มีข้าวเป็นอาหารหลัก ทุกครัวเรือนก่อนการกินย่อมต้องมีการปรุง เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับหุงหาอาหารมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เครื่องปันดินเผา คื อ ความพยายามอย่ า งหนึ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ผู้ เ ป็ น เจ้ า ของได้ เ ลื อ กสรรมา ในตำบลหารแก้ ว เครื่องปันดินเผาผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับกิจกรรมสำหรับการปรุงอาหารในครัวเรือน จึง ทำให้มีลักษณะรูปทรงที่เตี้ยเพื่อให้ง่ายต่อการปรุง หน้ากว้างพอประมาณเพื่อกระจาย ความร้อน รวมไปถึงให้ง่ายต่อการตัก การเท วัตถุดิบหรือดินที่ใช้จะเป็นดินเหนียวดำ มี วิธีการหมักดินด้วยการนำมาตากให้แห้งแล้วตำให้ละเอียดจากนั้นจึงนำมาผสมกับทราย โดยใช้น้ำเปล่าเป็นตัวประสานให้เข้ากันโดยการใช้เท้าเดินย่ำ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขึ้นรูปมี แหล่งที่มาจากธรรมชาติรอบๆ ตัว เช่น ไม้ไห่ ไม้หวี ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับปรับแต่งรูป ทรงต่างมีที่มาจากธรรมชาติ การขึ้นรูปเริ่มจากส่วนก้นด้วยการตบเป็นแผ่นเรียบแล้วก่อ ผนังโดยรอบจากผู้ปันจะเดินวนรอบแท่นปันที่ไม่สามารถหมุนได้ รวมไปถึงการปรับแต่ง รูปทรงใช้วิธีตบด้านข้างจากอุปกรณ์ปรับแต่งร่วมกับก้อนหินแม่น้ำให้ได้รูปทรงที่โค้งมน แล้วทาผิวสีด้วยสีแดงที่ได้จากดินลูกรังนำมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำก่อนนำไปทา การ เผาไฟให้ทนทานถาวรถือเป็นจุดเด่น โดยช่างปันยังคงยึดวิธีการเผาแบบดั้งเดิมด้วยการ เผาในที่กลางแจ้งใช้ขี้เถ้าสุมด้วยฟน ๔ ด้าน แล้วปดด้วยฟาง ฉะนั้นงานเครื่องปันดินเผา ที่ตำบลหารแก้วถือเป็นความชาญฉลาดทางภูมิปัญญาในด้านหัตถกรรม อันทรงคุณค่าที่ ยังคงยึดแบบแผนดั้งเดิมจวบจนปัจจุบัน เครื่องปันดินเผาบ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย มีหน้าที่ใช้สอยหลักเพื่อเป็น ภาชนะบรรจุของเหลวที่ต้องการความเย็น ดินที่ใช้ปันเป็นดินเหนียวเหลืองปนทราย ขึ้น รูปด้วยแท่นหมุนหรือที่เรียกว่า “จ้าก” และบางแห่งมีการใช้แท่นหมุนระบบมอเตอร์ ไฟฟา ซึ่งการใช้แปนหมุนทำให้ต้องมีอุปกรณ์อีกหลากหลายชนิดเพื่อใช้สำหรับปรับแต่ง รู ป ทรงของดิ น เหนี ย ว เช่ น การเกลี่ ย ผนั ง ดิ น เหนี ย วด้ า นในจะใช้ อุ ป กรณ์ ที่ เรี ย กว่ า “ไม้กวง” เพื่อปรับแต่งรูปทรงให้พื้นผิวเนียนเรียบเป็นเนื้อเดียวกัน รวมไปถึงการใช้ไม้ เหลี้ยม คือไม้ปลายแหลมปากแบน เพื่อเจียรูปทรงของหม้อให้ได้รูป ในขณะเดียวกัน แผ่นไพ่พลาสติกก็ได้กลายเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของกระบวนการการฉาบพื้นผิวให้เนียน 34 หางดงถิ่นหัตถกรรม
เรียบ ส่วนการลงสีจะใช้น้ำสีที่ได้จากการนำดินแดงมาบด (ดินลูกรัง) แล้วนำมาผสมกับ น้ำเปล่าและน้ำมันโซล่าเพื่อนำไปทาผิวของเครื่องปันดินเผา หลังจากทาน้ำสีแล้วทิ้งไว้ให้ แห้งจึงนำไปขัดผิวด้วยหินแม่น้ำผลลัพธ์ที่ได้คือผิวของเครื่องปันดินเผาจะปรากฏความ มันเงาขึ้นมาอย่างสวยงาม ก่อนนำไปเผาที่เตาเผาอิฐ ในปัจจุบันการผลิตยังคงอ้างอิง กรรมวิธีตามแบบแผนดั้งเดิม แต่ได้ลดทอนขั้นตอนกรรมวิธีบางประการโดยหันไปใช้ อุปกรณ์สังเคราะห์มาแทนที่ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการผลิตให้ทันต่อความ ต้องการของตลาด เครื่องปันดินเผาในเขตอำเภอหางดง มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เป็นจุด ขาย หากได้ รั บ โอกาสการสนั บ สนุ น จากภาครั ฐ ในด้ า นการส่ ง เสริ ม การตลาด การ ประชาสัมพันธ์ การอบรมความรู้แก่บุคลากร เพื่อปัจจัยแห่งความสำเร็จให้ชุมชนมีรายได้ ส่งผลให้เกิดการสืบทอดภูมิปัญญาองค์ความรู้ทางด้านศิลปหัตถกรรมเครื่องปันดินเผาให้ คงอยู่ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตราบที่ “คนเมือง” ยังมีลมหายใจ
หางดงถิ่นหัตถกรรม 35
นางมูล กันธิยะ
ประเภทงานเครื่องปนดินเผา : หม้อตอม ถึงแม้บรรยากาศโดยรอบเริม่ มีความเจริญทางเทคโนโลยี หลั่งไหลเข้ามา องค์ความรู้ซึ่งได้รับจาก ผู้เป็นมารดา สั่งสมเป็นประสบการณ์ที่ชำนิชำนาญมากกว่า ๖๕ ปี กลับมิได้เปลี่ยนแปลงไป มีเพียงแต่เรี่ยวแรงลดถอยลง ไปบ้าง
36 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นางมูล กันธิยะ หรือ แม่อุยมูล ช่างปันหม้อต่อมแห่งบ้านไร่ ปัจจุบันอายุ ๗๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๙๐ บ้านไร่ หมู่ที่ ๕ ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับพ่ออุยเป็ง กันธิยะ มีบุตร ๒ คน ภายหลังจากที่แม่อุยมูลสำเร็จการศึกษาระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนบ้านกวน ได้มีความสนใจในงานเครื่องปันดินเผาซึ่ง เป็นอาชีพหลักของครอบครัว จึงได้เรียนรู้และสืบทอดฝีไม้ลายมือจากแม่หม่อนผาญ ระฤทธิ์ ผู้เป็นมารดา นับจุดเริ่มต้นชีวิตของการเป็นช่างปันหม้อต่อมด้วยวัยเพียง ๑๒ ปี และประกอบอาชีพการปันหม้อต่อมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า ๖๕ ปีแล้ว หม้อตอม คือ หม้อดินเผาที่ใช้สำหรับประกอบอาหารและต้มยาสมุนไพร ใน อดีตเป็นที่นิยมใช้ทุกครัวเรือน ลักษณะรูปทรงของหม้อต่อม จะเป็นหม้อที่มีก้นนูน ตัว ของหม้อนูนทรงโค้ง และไม่มีหูหิ้วคล้ายกับบาตรของพระสงฆ์เพียงแต่มีส่วนปากที่ยกสูง ขึ้นมาแล้วผายออกเท่านั้น ปัจจุบันหม้อต่อมไม่ได้มีหน้าที่ใช้สำหรับประกอบอาหารและ ต้มยาสมุนไพรอีกต่อไป เป็นเพียงหม้อที่ใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น เช่น หม้อเงินหม้อทอง ในพิธีขึ้นบ้านใหม่ และหม้อไฟในงานศพ วั ส ดุ ที่ ใ ช้ ใ นการป น หม้ อ ต อ ม ประกอบด้ ว ยดิ น เหนี ย วดำ ทราย และ ดินแดง ดินเหนียวดำในอดีตสามารถขุดได้ จากท้องไร่ท้องนาในท้องถิ่น แต่เมื่อหน้า ดินในท้องถิ่นเริ่มหมด จึงหันมาใช้ดินที่รับ ซื้อจากพ่อค้าคนกลาง ซึ่งดินเหนียวดำส่วนใหญ่มีแหล่งอยู่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และบางพื้นที่ของจังหวัดลำพูน ขั้ น ตอนแรกของการป น หม้ อ ต อ ม เริ่ ม จาก การเตรียมดิน โดยนำดินเหนียวดำใส่ตะกร้าไปแช่น้ำทิ้งไว้ ๑ คื น รุ่ ง เช้ า ก็ ย กตะกร้ า ดิ น ขึ้ น มาผึ่ ง ลมให้ พ อหมาดน้ ำ แล้ ว นำมาผสมกั บ ทรายละเอี ย ดคลุ ก เคล้ า ให้ เ ป็ น เนื้ อ เดียวกัน จากนั้นเริ่มกระบวนการผลิตด้วยการขึ้นรูปจาก ส่ ว นก้ น เป็ น อั น ดั บ แรก โดยการนำดิ น มาตบเป็ น แผ่ น วงกลม แล้วใช้ดินอีกก้อนปันเป็นเส้นโปะลงไปรอบๆ แผ่น วงกลม จากนั้นก่อรูปขึ้นให้เป็นทรงกระบอก ในขณะปัน ผู้ปันจะเดินวนรอบๆ แท่นปัน ซึ่งแท่นที่ถาวรไม่สามารถ หางดงถิ่นหัตถกรรม 37
38 หางดงถิ่นหัตถกรรม
หมุนได้ ผู้ปันจะต้องเป็นผู้เดินหมุนรอบแท่น เมื่อก่อขึ้นรูปเสร็จจะเป็นขั้นตอนการตีข้าง ให้ด้านข้างหม้อโค้งมนโดยใช้ไม้ไห่ คือไม้ที่สำหรับใช้ตีขึ้นรูป ร่วมกับก้อนหินแม่น้ำที่กลม เกลี้ยง มือซ้ายจะถือก้อนหินไว้ด้านในหม้อ มือขวาจะถือไม้ไห่ แล้วค่อยๆ ตบขึ้นรูปจาก ด้านนอก จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเกลี่ยโดยรอบให้เนียนเรียบเสมอกัน ในส่วนของปากหม้อ ปันดินเหนียวเป็นเส้นมาโปะลงเป็นแนวเดียวกับตัวหม้อ ใช้ไม้หวี หรือไม้ที่ใช้ในการเกลี่ย ทรงของปากหม้อให้ปาก ผายออก ใช้ผ้าชุบน้ำลูบปากให้เรียบ แล้วนำไปตากไว้ที่ร่ม ขั้น ตอนต่อมา คือการตีก้นหม้อ โดยการใช้ไม้ไห่และหินตีให้ก้นโค้งมน แล้วนำไปตากให้แห้ง ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการทาสีน้ำดินแดง โดยใช้ผงดินแดงผสมน้ำทาให้รอบหม้อ ยกเว้นด้านใน แล้วนำไปตากไว้ในที่ร่ม ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำไปเผาไฟด้วยกรรมวิธี การเผาแบบดั้งเดิมคือการเผาแบบสุมกองฟน ๔ ด้าน ทับด้วยฟางโปะด้วยขี้เถ้า หลังจาก นั้นก็จะได้หม้อต่อที่เสร็จสมบูรณ์ ถึงแม้บรรยากาศโดยรอบเริ่มมีความเจริญทางเทคโนโลยีหลั่งไหลเข้ามา องค์ ความรู้ซึ่งได้รับจากผู้เป็นมารดาสั่งสมเป็นประสบการณ์ที่ชำนิชำนาญมากกว่า ๖๕ ปี กลับมิได้เปลี่ยนแปลงไป มีเพียงแต่เรี่ยวแรงลดถอยลงไปบ้าง อย่างไรก็ดียังคงมีเยาวชนผู้ ตื่นตัวในการอนุรักษ์ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา รวมไปถึงชาวต่างชาติทั้งญี่ปุน ยุโรป และอเมริกา ต่างก็แวะเวียนมาเรียนรู้ทักษะกระบวนการ ขั้นตอน และกรรมวิธีการ ผลิต ซึ่งแม่อุยมูลก็ยินดีให้ความร่วมมือและพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้โดยไม่หวังสิ่ง ตอบแทน แม้ว่าโลกจะกำลังเผชิญกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลง แต่วิถีชีวิตของแม่อุยมูล ช่าง ปันหม้อต่อมแห่งบ้านไร่ จะยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่เปลี่ยนแปลง หางดงถิ่นหัตถกรรม 39
นางเหรียญ ธิวงศ
ประเภทงานเครื่องปนดินเผา : หม้อสาว คุณค่าสั่งสมผ่านกาลเวลาด้วยประสบการณ์ที่ประกอบ อาชีพมากกว่า ๔๕ ปี นอกเหนือจาก ความมุมานะใน การประกอบอาชีพปันหม้อสาวแล้ว ปาเหรียญยังคงได้ รับเกียรติให้เป็นวิทยากรพิเศษ เพื่อถ่ายทอดความรู้ เกี่ ย วกั บ ภู มิ ปั ญ ญาศิ ล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ้ า นให้ แ ก่ เยาวชนภายในท้องถิ่น
40 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นางเหรียญ ธิวงศ์ หรือปาเหรียญ ช่างปันหม้อสาว “หม้อแกงขนาดใหญ่” เกิด เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๗ ปัจจุบันอายุ ๕๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๑๒ หมู่ ที่ ๕ บ้านไร่ ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนบ้าน กวน ตำบลหารแก้ว ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียง สมรสกับนายสิงห์คำ ธิวงศ์ มีบุตร ๒ คน ภายหลังสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านกวน ปาเหรียญได้ สนใจงานเครื่องปันดินเผาซึ่งเป็นอาชีพหลักของครอบครัว จึงได้เรียนรู้การปันหม้อจาก แม่เขียว ระฤทธิ์ ผู้เป็นมารดา ตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี และประกอบอาชีพการปันหม้อสาวเรื่อย มาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า ๔๕ ปีแล้ว หม้ อ สาว คื อ หม้ อ แกงขนาดใหญ่ ที่ เ หมาะสำหรั บ การประกอบอาหารใน ปริมาณมากๆ เพื่อสำหรับเลี้ยงคนจำนวนที่มากในงานประเพณีต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้าน ใหม่ ปอยหลวง และงานศพ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับประทานกันเองในครัวเรือน หม้อ สาวจึงเป็นเครื่องปันดินเผาที่รองรับวัฒนธรรมการบริโภคสำหรับคนหมู่มากมาแต่ช้านาน ในปัจจุบันมักพบการใช้หม้อสาวในร้านขนมจีน ร้านลาบ และร้านข้าวราดแกงบางแห่ง เท่านั้น ลักษณะรูปทรงภายนอกของหม้อสาวค่อนคล้ายหม้อต่อมและหม้อแกง แต่มี ขนาดใหญ่กว่ามาก และมีลวดลายตกแต่งเพื่อไม่ให้หม้อหลุดมือได้ง่าย วัสดุที่ใช้ในการปนหม้อสาว ประกอบด้วยดินเหนียวดำ ทราย และดินแดง ใน อดีตสามารถขุดหาตามพื้นที่ใกล้เคียงจากท้องไร่ท้องนาในท้องถิ่น แต่เมื่อหน้าดินใน ท้องถิ่นเริ่มหมด จึงหันมาใช้ดินที่รับซื้อจากพ่อค้าคนกลาง ซึ่งดินเหนียวดำส่วนใหญ่มี แหล่งอยู่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และบางพื้นที่ของจังหวัดลำพูน
หางดงถิ่นหัตถกรรม 41
42 หางดงถิ่นหัตถกรรม
ขั้นตอนแรกของการปนหม้อสาว เริ่มจากการเตรียมดิน นำดินเหนียวดำมา หมักผสมกับทรายและน้ำ ทิ้งไว้ ๑ คืน แล้วนำมาคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน จะได้ดิน เหนียวที่มีคุณภาพดีเหมาะแก่การปัน ขึ้นรูปจากก้นหม้อ นำดินเหนียวเป็นแผ่นวงกลม เรียบแบนมาวางลงบนแปนหรือไม้แผ่น จากนั้นปันดินเหนียวเป็นเส้นยาว ตบให้แบน เรียบ นำไปโปะเข้ากับส่วนก้นให้ผนังด้านข้างที่ก่อตัวขึ้นมา ใช้ไม้หวีช่วยปรับพื้นผิวด้าน นอกให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำผ้าชุบน้ำปาดรอบๆ ปากหม้อ ใช้ไม้หวีดัดส่วนปากให้ผาย ออก แล้วนำไปตากในที่ร่ม ขั้นตอนต่อมา คือ การไหหม้อ หรือวิธีการดันรูปทรงให้โค้ง มนพองออกมาด้วยไม้ไห่ ร่วมกับก้อนหินแม่น้ำก่อให้เกิดแนวทแยงผิวขรุขระซ้ำกันไปบน ตัวหม้อ พื้นผิวด้านในใช้เศษ “เกิบ” หรือเศษรองทองเท้าแตะเป็นอุปกรณ์การฉาบผิวให้ เรียบเนียน นำไปพึ่งแดดประมาณ ๒ ชั่วโมง แล้วนำมาไห่ก้น ตบกันให้ได้รูปทรงที่โค้งมน รับกับส่วนตัวหม้อ และก็ตบด้วยไม้ไห่ลายทแยงซ้ำลงไปอีกหนึ่ง นำไปผึ่งในที่ร่ม ๓ – ๔ วั น แล้ ว ทาสี แ ดงที่ได้จากดินลูกรังบดผสมน้ำลงไปยกเว้ น ด้ า นใน ขั้ น ตอนสุ ด ท้ า ยคื อ เปลี่ยนสภาพวัตถุให้มีความแข็งแรงด้วยการโดยนำไปเผาบนลานกลางแจ้งสุมด้วยฟนทั้ง ๔ ด้าน ปดด้วยขี้เถ้าและกองฟาง คุ ณ ค่ า สั่ ง สมผ่ า นกาลเวลา ด้ ว ยประสบการณ์ ที่ ป ระกอบอาชี พ มากกว่า ๔๕ ปี นอกเหนือจาก ความ มุมานะในการประกอบอาชีพปันหม้อ สาวแล้ว ปาเหรียญยังคงได้รับเกียรติ ให้ เ ป็ น วิ ท ยากรพิ เ ศษ เพื่ อ ถ่ า ยทอด ค ว า ม รู้ เ กี่ ย ว กั บ ภู มิ ปั ญ ญ า ศิ ล ป หั ต ถกรรมพื้ น บ้ า นให้ แ ก่ เ ยาวชน ภายในท้องถิ่น รวมไปถึงการให้ความ รู้ข้อมูลแก่นักศึกษา และชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนเข้ามาดูงาน โดยหวังเพียง ว่ า เพื่ อ มิ ใ ห้ ม รดกทางวั ฒ นธรรมอั น ทรงคุ ณ ค่ า แก่ ก ารอนุ รั ก ษ์ รั ก ษาสู ญ สลายไปพร้อมๆ กาลเวลา
หางดงถิ่นหัตถกรรม 43
นางบัวจันทร หนอปุด
ประเภทงานเครื่องปนดินเผา : หม้อแกง
ความต้ อ งการของตลาดดู เ หมื อ นจะไม่ หดหาย ได้รับความนิยมอย่างสูงไม่ว่าจะเป็นในหมู่นัก ท่องเที่ยวที่ชอบซื้อไปเป็นของฝากหรือนำไปตกแต่ง บ้ า น อาจรวมไปถึ ง ร้ า นอาหารต่ า งๆ ที่ มั ก จะนำไป จัดตั้งวางไว้บนโตะรับประทานอาหารเพื่อให้ได้ความ รู้สึกแบบท้องถิ่น
44 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นางบัวจันทร์ หน่อปุด หรือปาจันทร์ ช่างปันหม้อแกงแห่งบ้านวัวลาย เกิดเมื่อ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑ ปัจจุบันอายุ ๕๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๘ หมู่ที่ ๗ บ้านวัวลาย ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับนายพล หน่อปุด มี บุตร ๑ คน หลังจากปาจันทร์สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จาก โรงเรียนบ้านกวน ได้ออกมาทำการเกษตรกับครอบครัว ช่วงเวลาว่างจากการเกษตรก็จะ ปันหม้อแกง ประกอบเป็นอาชีพเสริม ซึ่งภูมิปัญญาความรู้ในการปันหม้อแกงได้รับการ สืบทอดจาก พ่อจี๋ - แม่มอย ผู้เป็นบิดา มารดา หม้อแกง คือเครื่องปันดินเผาขนาดกลางชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายกับหม้อ สาว หรือหม้อแกงขนาดใหญ่ เพียงแต่ ลักษณะของพื้นผิวด้านนอกจะเรียบเนียนกว่า และมีขนาดที่เล็กกว่า เหมาะสำหรับหุงต้ม อาหารในขนาดย่อม ที่สำหรับรับประทาน กันเองในครัวเรือน รูปทรงจะที่ก้นจะนูนโค้งไปจนถึงส่วนท้อง ความสูงไม่มากเท่ากับ หม้อสาว บริเวณปากผายออก มีทั้งที่มีหูหิ้วและไม่มีหูหิ้ว ขั้นตอนกรรมวิธีการผลิต แรกเริ่มจากขั้นตอนในการเตรียมดินยังคงยึดวิธี ปฏิบัติเช่นเดียวกับ ช่างปันแบบโบราณ โดยนำดินเหนียวดำมาผสมเข้ากับทรายละเอียด และน้ำ แล้วนวดคลุกเคล้าให้เข้ากัน เมื่อได้ดินเหนียวที่ผ่านการหมักการนวดเป็นก้อน
หางดงถิ่นหัตถกรรม 45
46 หางดงถิ่นหัตถกรรม
แล้ว ถัดมาคือการขึ้นรูปเริ่มจากก้นโดยการนำก้อนดินเหนียวมาตบให้เป็นแผ่นทรงกลม แบนเรียบ หลังจากนั้นจึงนำดินเหนียวอีกก้อนมาปันให้เป็นเส้นเรียวยาวขนาดใหญ่แล้ว จะตบให้เป็นแผ่นแบนเรียบ จากนั้นจึงนำแผ่นดินเหนียวไปโปะกับส่วนก้นที่เตรียมไว้ ตั้งแต่แรก เดินวนรอบแท่นปันถาวรที่ไม่สามารถหมุนได้ โปะดินก่อผนังขึ้นเป็นรูปทรง กระบอกขึ้นมาตามลำดับ เมื่อได้ความสูงพอประมาณ (๑๐ นิ้ว) จึงนำผ้าชุบน้ำปาด บริเวณปากหม้อใช้มือดุนให้ทรงขอบปากให้ผายออกแล้วจึงใช้ไม้หวี เกลี่ยไปโดยรอบเพื่อ ให้พื้นผิวเรียบเนียนเสมอกัน หลังจากนั้นจึงใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดอีกหนก่อนจะนำไปตากแดด เมื่อแห้งพอประมาณมาถึงขั้นตอนของการไห่ หรือการปรับสภาพด้านข้างหม้อให้มีส่วน โค้งที่สมดุลกันด้วยไม้ไห่ คือ แท่งไม้มีด้ามจับที่ส่วนปลายจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมหนา ใช้ร่วม กับก้อนหินแม่น้ำในการตบผนังหม้อด้านนอกให้โค้งมนไปในทางเดียวกัน โดยมือหนึ่งข้าง ถือก้อนหินแม่น้ำสอดเข้าไปในหม้อ แล้วมืออีกข้างจับไม้ไห่ทำหน้าที่ตบจากด้านนอก ทำให้ได้รูปทรงหม้อที่โค้งมน ขั้นตอนสุดท้ายของการขึ้นรูปจะเป็นการไห่ซ้ำลงไปอีก รอบด้วยไม้ไห่ที่มีนาดใหญ่ขึ้นแต่บางลง ซึ่งจะช่วยให้พื้นผิวของหม้อเรียบเนียนมากยิ่งขึ้น เป็นอันเสร็จขั้นตอนสุดท้าย ขั้นตอนต่อมาคือการย้อมสีของหม้อด้วยการนำเอาสีแดงซึ่ง เป็นสีที่ได้จากดินแดง (ดินลูกรัง) ในธรรมชาติมาบดให้ละเอียดแล้วร่อนให้เป็นผงนำมา ผสมกับน้ำให้เข้ากันแล้วจึงนำมาทาสีเฉพาะด้านนอกเท่านั้น ตากให้แห้งแล้วจึงนำไปเผา โดยการเผาแบบดั้งเดิมที่เป็นกรรมวิธีการเผาแบบสุมฟนกลางแจ้ง ประกอบไปด้วยขี้เถ้า นำมาโรยลงบนพื้น นำหม้อลงไปวางเรียงกันแล้วนำฟางวางปดทับ ก่อกองไฟโดยใช้ฟน สุมทั้ง ๔ ด้าน ทิ้งไว้ประมาณ ๓ – ๔ ชั่วโมง จึงจะได้หม้อแกงดินเผาสีส้มที่สมบูรณ์ ความต้องการของตลาดดูเหมือนจะไม่หดหาย ได้รับความนิยมอย่างสูงไม่ว่าจะ เป็นในหมู่นักท่องเที่ยวที่ชอบซื้อไปเป็นของฝากหรือนำไปตกแต่งบ้าน อาจรวมไปถึงร้าน อาหารต่างๆ ที่มักจะนำไปจัดตั้งวางไว้บนโตะรับประทานอาหารเพื่อให้ได้ความรู้สึกแบบ ท้องถิ่น จะเห็นได้ว่าการใช้สอยหม้อแกงยังคงมีการใช้อยู่โดยทั่วไป แต่ลักษณะของการ ใช้สอยเริ่มมีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคม มากกว่านั้นเข้าไปสอดรับ กับการท่องเที่ยว การบริการ การประดับตกแต่งเป็นส่วนมาก ความเป็นท้องถิ่นแบบ ดั้งเดิมกำลังกลืนจางหายด้วยความที่มีจิตสำนึกหวงแหนในภูมิปัญญาที่ตนได้รับสืบทอด มา ปาบัวจันทร์ ช่างปัน หม้อแกง แห่งบ้านวัวลาย ตำบลหารแก้ว จึงพร้อมที่จะถ่ายองค์ ความรู้ให้แก่สถาบันการศึกษาต่างๆแม้กระทั่งชาวต่างชาติ อย่างเป็นประจำ โดยหวัง เพียงว่าองค์ความรู้ดังกล่าวนั้นจะไม่สูญสลายไปพร้อมๆ กับกาลเวลา หางดงถิ่นหัตถกรรม 47
นางสาวจรรยา ผลสาด
ประเภทงานเครื่องปนดินเผา : หม้อน้ำ หน่วยงานท้องถิ่นก็ได้ให้ความสำคัญด้วย การจัดซื้อหม้อน้ำของปายา เพื่อนำไปตกแต่งตาม หน่วยงานและสถานที่ของทางราชการ เพื่อให้เกิด เป็นแนวคิดในการจัดวางที่อิงแบบแผนมาจากอดีต สอดคล้องกับการกระจายความรู้สู่เยาวชน
48 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นาวสาวจรรยา ผลสาด หรือปายา ช่างปันหม้อน้ำแห่งบ้านกวน เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ ปัจจุบันอายุ ๕๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๙๒ หมู่ที่ ๖ บ้าน กวน ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปายามีชีวิตในวัยเด็กที่คลุกคลีกับ งานปันหม้อน้ำ เพราะเป็นหัตถกรรมในครัวเรือน ภายหลังสำเร็จการศึกษาในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านกวน ได้ออกมาช่วยงานแม่อุยดี ผลสาด ผู้เป็น มารดาปันหม้อน้ำ ด้วยวัยเพียง ๑๑ ปี และประกอบอาชีพการปันหม้อน้ำเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน เป็นเวลากว่า ๔๐ ปีแล้ว ในอดีตเทคโนโลยีของการบรรจุภัณฑ์น้ำอาจไม่เทียบเท่ากับขวดพลาสติกเช่น ในปัจจุบัน มนุษย์ย่อมอยู่ไม่ได้หากร่างกายขาดน้ำ ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นปัจจัยหลัก อันก่อให้เกิด “หม้อน้ำ” ภาชนะใส่น้ำสำหรับดื่มกิน ในอดีตหม้อน้ำจะถูกตั้งไว้ที่รั้วหน้า บ้าน ให้ผู้ที่สัญจรไปมาได้แวะดื่มกินคลายร้อนนอกจากนี้บนชานบ้านก็ยังมี “ฮ้านน้ำ” หรือที่ตั้งหม้อน้ำไว้สำหรับดื่มกินในครอบครัว ลักษณะเฉพาะของหม้อน้ำที่ตำบลหาร แก้วเป็นหม้อทำขึ้นด้วยดินเหนียวสีดำ ไม่เคลือบผิว ทรงอ้วน ส่วนฐานยกสูงขึ้นจากพื้น ท้องหม้อโค้งมนสำหรับบรรจุน้ำดื่มไว้ด้านใน
หางดงถิ่นหัตถกรรม 49
50 หางดงถิ่นหัตถกรรม
การปันหม้อน้ำจะขึ้นรูปจากก้นหม้อ ด้วยการนำดินไปกดบนแท่นปันให้แบน ซึ่งเป็นแท่นที่ไม่สามารถหมุนได้ นำดินแท่งยาวมาตบเป็นแผ่นให้แบน ไปขึ้นรูปผนังด้าน ข้างทรงกระบอก แล้วใช้ไม้หวี ทำปากของหม้อของหม้อให้เรียบ และหลังจากนั้นจึงใช้ เศษของเกิบหรือชิ้นส่วนของรองเท้าแตะ ฉาบผนังของหม้อด้านในให้เรียบเนียนเสมอกัน และประทับลายไปรอบปากให้สวยงาม แล้วนำไปตากแดดที่จัด ทิ้งไว้ประมาน ๔ – ๕ นาที แล้วจึงปรับแต่งรูปทรงด้านข้างให้กลมด้วยไม้ไห่ คือแท่งไม้ที่ส่วนปลายแบนหนามี ด้ า มจั บ ใช้ ใ นการตบ หรื อ ดุ น พื้ น ผิ ว ร่ ว มกั บ เศษก้ อ นหิ น แม่ น้ ำ ที่ มี ค วามกลม ปรับแต่งเรียวเล็กลงด้วยไม้หวี ส่วนฐานจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปันด้วยการยก ระดับเหนือขึ้นมาจากพื้นเพื่อกักเก็บอุณภูมิความเย็น นำไปผึ่งให้แห้งจนสนิท แล้วนำมา ทาสีแดงที่ได้จากดินลูกรังบดละเอียดยกเว้นด้านใน ขั้นตอนการเผาไฟเพื่อให้เกิดความ ทนทาน จะใช้วิธีการเผาในที่โล่งด้วยฟนสุมกองไฟ เพื่อกระจายอุณหภูมิเฉลี่ยกันไปทั้งสี่ ด้านปูพื้นด้วยผงขี้เถ้านำเศษฟางมาวางทับ แล้วนำหม้อลงไปเผา ประมาณ ๘ ชั่วโมง จึง จะได้หม้อน้ำที่สมบูรณ์ หน่วยงานท้องถิ่นก็ได้ให้ความสำคัญด้วยการจัดซื้อหม้อน้ำของปายา เพื่อนำไป ตกแต่งตาม หน่วยงานและสถานที่ของทางราชการ เพื่อให้เกิดเป็นแนวคิดในการจัดวาง ที่อิงแบบแผนมาจากอดีต สอดคล้องกับการกระจายความรู้สู่เยาวชน นักศึกษาต่างก็ พลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาศึกษาหาความรู้ปาจรรยา ก็มิได้หวงแหนที่จะถ่ายความรู้แต่ อย่างใด ความหวงแหนที่มีคือรักที่จะดำเนินต่อไปและพร้อมจะให้ความรู้ ด้วยความหวัง ว่าคุณค่าของงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่าให้อยู่เคียงคู่ชั่วลูกชั่วหลานสืบไป
หางดงถิ่นหัตถกรรม 51
นายเล็ก แสนใจ
ประเภทงานเครื่องปนดินเผา : หม้อน้ำ หม้อน้ำดินเหนียวเหลืองปนทรายทำด้วย แท่นหมุนที่งดงามและทรงคุณค่ามากแห่งหนึ่งใน ล้ า นนา ลั ก ษณะอั น เป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะของ หม้อน้ำลุงเล็ก แห่งบ้านเหมืองกุงนั้น จะมีจุดเด่น ในด้านกรรมวิธีการผลิตที่ยังคงยึดแบบแผนในการ ผลิตแบบดั้งเดิม
52 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นายเล็ก แสนใจ หรือลุงเล็ก ช่างปันหม้อน้ำแห่งบ้านเหมืองกุง เกิดเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓ ปัจจุบันอายุ ๗๑ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๗ บ้าน เหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับนางบัวเขียว แสน ใจ มีบุตร ๒ คน สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนบ้านต้นเกวน เริ่มก้าวเข้าสู่สายอาชีพช่างปันดินเผาเมื่อตอนอายุได้ ๑๗ ปี โดยได้รับการถ่ายทอดวิชา ความรู้ทางภูมิปัญญาจากนายคำ ฟักทอง ผู้เป็นพี่เขย ผลงานระยะเริ่มแรกเป็นงาน เครื่องปันดินเผาชนิดอื่นๆ ภายหลังได้มีความสนใจในงานปันหม้อน้ำเป็นพิเศษ จึงปัน หม้อน้ำเป็นงานหลักมาเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี ด้วยขั้นตอนในการปันที่พิถีพิถันประณีตบรรจงเอาใจใส่ในลายละเอียดลงไป บนเนื้องาน ตามที่ได้รับการสืบทอดมา มิได้ถูกลดทอนขั้นตอนการผลิตลงไปแต่อย่างใด จึงทำให้เป็นหม้อน้ำดินเหนียวเหลืองปนทรายทำด้วยแท่นหมุนที่งดงามและทรงคุณค่า มากแห่งหนึ่งในล้านนา ลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหม้อน้ำลุงเล็ก แห่งบ้าน เหมืองกุงนั้น จะมีจุดเด่นในด้านกรรมวิธีการผลิตที่ยังคงยึดแบบแผนในการผลิตแบบ ดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ และลักษณะการปันจะค่อยๆ บรรจงก่อขึ้นไปเป็นชั้นๆอย่าง ไม่รีบเร่ง ก้นแคบ ท้องกว้าง ปากกลม คล้ายกับผลของฝักทอง ผสานกับสีส้มที่เงางาม สะดุ ด ตา ประดั บ ประดาด้ ว ยลวดลายดอกสามเหลี่ ย มล้ อ มรอบขอบปากอย่ า งเป็ น ระเบียบ วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการขึ้นรูป คือ ดินเหนียวเหลืองปนทราย มีแหล่งที่มาจาก จังหวัดลำพูน การปันหม้อน้ำเริ่มต้นจากการนำก้อนดินเหนียวมานวดให้อ่อนตัวแล้วนำ ไปวางลงบนจ้ากหรือแท่นหมุน หลังจากนั้นจึงกดดินส่วนกลางให้เป็นหลุมกว้างๆแล้วก่อ ขึ้นเป็นก้น แล้วค่อยๆ ไล่ระดับขึ้นไป จึงใช้ไม้กวง ปาดเอาดินส่วนก้นที่ไม่ต้องการออก เพื่อให้รูปทรงบริเวณก้นแคบลง หลังจากนั้นจึงเพิ่มความสูงขึ้นไปอีกโดยวัดจากการใช้ดิน จำนวนสามเส้นโปะลงไป แล้วจึงใช้ไม้กวงหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับขูดเพื่อดันเป็นรูปทรง จากด้านในทำให้ตัวท้องของหม้อน้ำเริ่มผายออก หลังจากนั้นจึงใช้ไม้เหลี้ยม คือไม้ที่มี ลักษณะการใช้งานคล้ายกับเกียง เกลี่ยพื้นผิวจากด้านนอกให้ได้ส่วนเรียบ หลังจากนั้นจึง น้ำผ้าชุบน้ำปาดลงไปบริเวณปากหม้อแล้วทิ้งไว้ประมาณ ๑ คืนจึงจะสามารถปันต่อได้ เป็นอันเสร็จขั้นตอนของการขึ้นรูปบริเวณก้น และตัวหม้อ ขั้นตอนต่อมาคือการปันแปะ บริ เ วณคอซึ่ ง จะต้ อ งทำให้ อ งศาของคอเริ่ ม แคบเข้ า มา สลั บ กั บ การใช้ ไ ม้ ก วงเพื่ อ หางดงถิ่นหัตถกรรม 53
ดันทรงด้านในให้ได้รูป หลังจากนั้นจึงใช้ไม้ขูด ปาดเอาดินด้านนอกที่เป็นส่วนเกินออกไป แล้วจึงใช้ ไม้เหลี้ยม มาเกลี่ยพื้นผิวด้านนอกให้เรียบเนียน แล้วจึงใช้แผ่นพลาสติกบาง ณ ที่นี้ลุกเล็กใช้ไพ่ เพื่อเพิ่มความเว้าโค้งรับกันเป็นจังหวะสลับกับการหมุนแท่นบังคับด้วย มือไปอย่างชำนิชำนาญ ต่อมาก็สร้างลวดลายขึ้นด้วยการใช้ไม้เตกกีบ หรือการกดทับ ด้วยไม้ซึ่งก่อให้เกิดเป็นกลีบเป็นร่อง ไปในทางทแยงแนวตั้งลงไปบริเวณตัวหม้อนำไป ตากทิ้งไว้ให้แห้ง ๓๐ นาทีโดยประมาณ ต่อมาเป็นขั้นตอนการก่อปากให้สูงขึ้นมาด้วย การปันดินเป็นเส้นแล้วนำมาแปะลงบนส่วนที่เป็นช่องวงกลมอันจะทำให้เป็นขอบปาก ก่อยกขึ้นมาให้ได้ความสูงตามระดับแล้วจึงใช้ไม้เหลี้ยมปาดเอาดินส่วนที่ไม่ต้องการออก เพื่อให้องศาของปากหม้อเริ่มผายออกเพียงเล็กน้อย จึงใช้ผ้าชุบน้ำปาดลงไปบริเวณขอบ ปากใช้นิ้วดุน แล้วหมุนแท่นให้ขอบปากนูนมนเป็นสัน หลังจากนั้นก็เป็นขั้นตอนของการ ตกแต่งรายละเอียดด้วยการเพิ่มชั้นเชิงเป็นเส้นเป็นขั้นเข้าไปจำนวนสองเส้นบริเวณคอ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจเข้าไป แล้วนำสีดินแดง (ดินลูกรัง) ผสมกับน้ำเปล่าและน้ำมันโซล่า มาทาลงไปบนตัวหม้อ แล้วจึงนำไปตาก พอแห้งได้ที่ก็นำหม้อมาขัดด้วยถุงพลาสติกที่มี ความหนาและแข็ ง จะก่ อ ให้ เ กิ ด ความเงาปรากฏขึ้ น มา ขั้ น ตอนต่ อ มาคื อ การตกแต่ ง ลวดลายด้วยการใช้ฝาภาชนะน้ำดื่มพลาสติกกดทบลงไปบนเส้นที่หนึ่งบริเวณคอหม้อที่ ได้เตรียมไว้จะปรากฏเป็นร่องรอยหยักขึ้นมา เส้นที่สองจะสร้างลวดลายด้วยวิธีการกด ลายสามเหลี่ยมรูปหัวใจลงไป แล้วจึงเซาะร่องเอาส่วนที่สลับเป็นฟันปลาออกไป เพื่อให้ ลวดลายสามเหลี่ยมทรงหัวใจปรากฏเด่นชัดขึ้นมา จากนั้นใช้หินแม่น้ำขัดมันให้เงางาม แล้วนำไปเผา เป็นอันเสร็จขั้นตอนการปันหม้อน้ำ ส่วนฝาหม้อน้ำเป็นขั้นตอนที่ต้องแยก ทำต่างหาก ฝาหม้อน้ำ จะขึ้นรูปด้วยก้อนดินบนแท่นหมุนปรับดินให้เป็นลักษณะวงล้อซึ่งมี รูอยู่ตรงกลางใช้มือบีบดินก่อเป็นทรงกระบอกขึ้นมาใช้ไม้เหลี้ยม ปาดทั้งด้านนอกและ ด้านในให้เรียบเนียน แล้วจึงใช้ไม้ปมขี้คลั่ง หรืออุปกรณ์ในการสร้างความเว้าจากด้านใน โดยใช้ดันจากด้านในให้เว้าซึ่งจะทำให้ทรงของดินด้านนอกนูนออกมา หลังจากนั้นใช้ผ้า ชุบน้ำบีบส่วนที่นูนออกมาให้กลายเป็นอกไก่คือส่วนที่นูนออกมาเป็นชั้น แล้วจึงนำเส้น ดินมาต่อกันขึ้นไปให้เป็นยอดแหลมสลับกับการใช้ไม้เหลี้ยมดันองศาของยอดให้มีลักษณะ คล้ายดอกบัวตูม แล้วจึงนำเอาผ้าชุบน้ำบีบที่ส่วนโคนของดอกบัวให้ได้ชั้นเชิงโค้งเว้าที่รับ กัน แล้วตามด้วยการกลิ้งลายจากไม้กลิ้งลายซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นลอยหยัก หลังจากนั้น จึงนำไปตากแดดและลงสี เมื่อสีแห้งตัวก็นำไปขัดมันให้เงางาม และเผาต่อไป 54 หางดงถิ่นหัตถกรรม
หางดงถิ่นหัตถกรรม 55
นางสาวบัวแก้ว สีจันทร
ประเภทงานเครื่องปนดินเผา : น้ำต้น การปั น เครื่ อ งปั น ดิ น เผาแม้ ว่ า จะมี ทิ ศ ทางไป เป็นมอเตอร์ไฟฟา รูปแบบการผลิตจะเป็นโรงงาน ถึง กระนั้นก็จริง ปาต้อยกับยังคงยึดมั่นที่จะทำแบบดั้งเดิมที่ ได้รับการสืบทอดมาต่อไป โดยหวังเพียงแต่ผู้ที่จะมาสาน ต่อองค์ความรู้ทางศิลปหัตถกรรมน้ำต้นให้คงอยู่สืบๆ ไป
56 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นางสาวบัวแก้ว สีจันทร์ หรือปาต้อย ช่างปันน้ำต้นแห่งบ้านเหมืองกุง เกิดเมื่อ วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ปัจจุบันอายุ ๖๑ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๙ หมู่ที่ ๗ บ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนสันปาสัก ปาต้อยเป็นผู้มากไว้ด้วยประสบการณ์ใน การปันน้ำต้นมากกว่า ๕๓ ปี ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจาก พ่ออุยจา สีจันทร์ ผู้เป็น บิดา น้ำต้น หรือคนโท คือภาชนะที่ใช้ใส่บรรจุน้ำดื่มชนิดหนึ่ง นอกจากนี้น้ำต้นยังเป็น ภาชนะสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ในการบ่งบอก ถึงยศถาบรรดาศักดิ์ของเจ้านาย ในล้านนาอีกด้วย น้ำต้นมีลักษณะรูปทรงที่อ้วนบริเวณ ที่ลำตัวแล้วบริเวณคอจะสูงขึ้นไป หากแต่น้ำต้นซึ่งมีแหล่งผลิตจากสถานที่แห่งอื่นจะมี ลวดลายที่ต่างไปจากน้ำต้นที่บ้านเหมืองกุง กล่าวคือจะมีลวดลายที่ใช้การสแตมปประทับ ลงไปเป็นลวดลายแบบเรียบๆ บวกกับสีสันพื้นผิวที่เรียบง่าย ถือเป็นมนต์เสน่ห์อีกอย่าง หนึ่งของน้ำต้น แห่งบ้านเหมืองกุงแห่งนี้
การปันน้ำต้นเริ่มจากกรรมวิธีการเตรียมดิน ซึ่งดินที่ใช้นั้นจะเป็นดินที่รับซื้อ มากจากเขตจังหวัดลำพูน เป็นดินเหนียวชนิดเหลืองปนทราย เมื่อนำมาตากให้แห้งแล้ว จึงนำมาตำให้ละเอียดแล้วร่อนเป็นผง ขั้นตอนต่อมาคือนำดินมาผสมน้ำ นวดดินให้เข้า กันทิ้งไว้ ๑ คืน จึงสามารถนำมาปันได้ กรรมวิธีขึ้นรูปเริ่มจากปันดินเป็นก้อนลงบนจ้าก หรือแท่นปันที่หมุนด้วยมือ ก่อขึ้นมาใช้นิ้วมือนวดดินเป็นวงกลม ที่มีช่องว่างอยู่ตรงกลาง แล้วดันขึ้นเป็นทรงกระบอก แล้วจึงใช้ไม้กวงปรับรูปทรงด้านในให้มีพื้นผิวที่เนียนเรียบ เสมอกัน เมื่อกวงให้เนื้อผิวไม่ว่าจะเป็นด้านนอกและด้านในเรียบเนียนเสมอกันเสร็จแล้ว หางดงถิ่นหัตถกรรม 57
จึงใช้แท่งไม้กดทับลงไปในแนวเฉียงให้ขึ้นเป็นลายบนส่วนท้องของน้ำต้น การต่อในส่วน คอ เริ่มจากนำแผ่นดินเหนียวมาโปะลงไปบริเวณส่วนท้องของน้ำต้นที่มีรูวงกลมหลังจาก ขึ้นรูปเป็นทรงกระบอกแล้วใช้ไม้กวง รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูบรรจงเกลี่ยหมุนไปด้วยมือ ให้ส่วนคอเริ่มเรียวขึ้น หลังจากนั้นจึงนำไปตากแห้ง เพื่อทิ้งช่วงให้เนื้อดินเริ่มแห้งตัว ด้วย ลักษณะของดินที่อ่อนนุ่มถ้าขึ้นรูปส่วนคอไปจนถึงส่วนปากในคราวเดียวกันอาจจะทรุด ตัวได้ ตามมาด้วยการเก็บรายละเอียดในส่วนท้องซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างคอให้ได้ความ นูนกลมเกลี้ยงด้วยไม้กวง ถัดมาใช้ไม้ก่อมหรือไม้ที่มีความเว้าคล้ายกับเสียมปากเล็ก ขูด ลงไปในส่วนก้นให้ได้ความนูนออกมาจากส่วนฐานอย่างสวยงาม หลังจากนั้นจึงใช้ไม้สุ ซึ่งมีลักษณะการใช้งานคล้าย ๆ กับเกียงขูดเอาดินส่วนเกินที่ไม่จำเป็นบริเวณก้นออก นำกรวยพลาสติกมาปดคอไว้แล้วนำไปตากแดด ทิ้งไว้ประมาณ ๑ ชั่วโมงครึ่ง ขั้นตอน ต่อมาคือการก่อขึ้นรูปจากส่วนคอไปจนถึงส่วนปากด้วยการใช้ดินเหนียวอีกหนึ่งก้อนต่อ เพิ่มเติมจากส่วนคอแล้วจึงใช้ไม้กวงขนาดเล็กดันให้คอน้ำต้นแคบแล้วส่วนปากผายคล้าย กับปากแจกัน เพิ่มชั้นเชิงกลอนด้วยการโปะเส้นดินเหนียวขนาดเล็กลงไปบริเวณท้องของ น้ ำ ต้ น ส่ ว นบน หลั ง จากนั้ น จึ ง นำเอาลู ก กลิ้ ง ที่ ท ำมาจากฝาของขวดภาชนะสมั ย ใหม่ แสตมปลงไปจะปรากฏเป็นร่องรอยหยักขึ้นมาก็เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการขึ้นรูป แล้ว นำไปทาสีที่ได้จากจากดินแดง (ลูกรัง) บดละเอียดผสมด้วยน้ำมันโซล่า ทาลงไปบนตัว น้ำต้น ก่อนนำไปตากแห้ง แล้วนำมาขัดให้เงาสวยงามด้วยหินแม่น้ำ แล้วจึงนำไปเข้าเตา เผา ด้วยอุปนิสัยส่วนตัวของปาต้อยเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีกับรอยยิ้มที่มีเสน่ห์ พูดจาน่ารักสนุกสนานทำให้ปาต้อยมักจะเต็มใจให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกได้ รับเกียรติให้เป็นวิทยากรพิเศษบรรยายความรู้เพื่อถ่ายทอดแก่นักศึกษา รวมไปถึงการ ต้อนรับขับสู้ชาวต่างชาติที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมอย่าง มิขาดสาย ความเป็นได้ในอนาคต เชิ ง อุ ต สาหกรรมยั ง คงมี แ นวโน้ ม ที่ จ ะพั ฒ นาหรื อ เปลี่ ย นแปลงไปเรื่ อ ยๆ การปั น เครื่องปันดินเผาแม้ว่าจะมีทิศทางไปเป็นมอเตอร์ไฟฟา รูปแบบการผลิตจะเป็นโรงงาน ถึงกระนั้นก็จริง ปาต้อยก็ยังคงยึดมั่นที่จะทำตามแบบดั้งเดิมที่ได้รับการสืบทอดมาต่อไป โดยหวังเพียงว่าจะมีผู้ที่จะมาสานต่อองค์ความรู้ทางศิลปหัตถกรรมน้ำต้นให้คงอยู่สืบไป
58 หางดงถิ่นหัตถกรรม
หางดงถิ่นหัตถกรรม 59
นางบัวไหล บุญเติง
ประเภทงานเครื่องปนดินเผา : ผางประทีป จุ ด เด่ น ของผางประที ป ที่ บ้ า นเหมื อ งกุ ง นั้ น รูปทรงอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น คือ ฐานยกขึ้นสูงจาก พื้ น ตั ว ผางหรื อ ส่ ว นที่ กั ก เก็ บ น้ ำ มั น จะมี ลั ก ษณะกว้ า ง มีแกนอยู่ตรงกลางไว้สำหรับด้ายชนวนเข้าไป
60 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นางบั วไหล บุญเติง หรือปาไหล เกิดเมื่อ วันที่ ๓ เมษายน พุ ทธศั กราช ๒๔๙๗ ปัจจุบันอายุ ๕๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๓๔ หมู่ที่ ๗ บ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับนายศรีวัย บุญเติง มีบุตร ๒ คน สำเร็จการ ศึ ก ษาระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ ๓ จากศู น ย์ ก ารศึ ก ษานอกโรงเรี ย นหางดง ป า ไหล ประกอบอาชีพหลักด้วยการปันเครื่องปันดินเผาที่สั่งสมประสบการณ์มากกว่า ๔๕ ปี สร้างสรรค์ผลงานเครื่องปันดินเผาต่างๆ มากมาย อาทิ แจกัน หม้อน้ำ โคมไฟ และผาง ประทีป ผางประที ป หรื อ ผางน้ ำ มั น คื อ วั ต ถุ ช นิ ด หนึ่ ง ที่ มี ไว้ ส ำหรั บ ใส่ น้ ำ มั น และ ไส้เพื่อให้เกิดความสว่างเมื่อจุดด้วยไฟ มีลักษณะของการใช้งานคล้ายกับตะเกียงเพียงแต่ จะไม่มีกระจก หรือที่ครอบกันลม จุดเด่นของผางประทีปที่บ้านเหมืองกุงนั้น นอกจาก กรรมวิ ธี ก ารผลิ ต ณ ปั จ จุ บั น ได้ ป รั บ เปลี่ ย นจากจ้ า กหรื อ แท่ น ปั น ที่ ห มุ น ด้ ว ยมื อ มา เป็นการปันโดยใช้สายพานมอเตอร์ไฟฟา รูปทรงอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น คือ ฐานยก ขึ้นสูงจากพื้น ตัวผางหรือส่วนที่กักเก็บน้ำมันจะมีลักษณะกว้าง มีแกนอยู่ตรงกลางไว้ สำหรับด้ายชนวนเข้าไป
หางดงถิ่นหัตถกรรม 61
ขั้นตอนในการผลิต เริ่มจากการเตรียมดิน ซึ่งดินที่นำมาใช้นั้นเป็นดินเหนียว ปนทรายที่ รั บ ซื้ อ มาจากเขตรอยต่ อ ระหว่ า งจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ แ ละจั ง หวั ด ลำพู น จะมี ลักษณะเป็นดินเหนียวสีเหลืองและมีความละเอียดสูง ดินที่ได้จากการตากแห้ง จะถูกนำ ไปบดให้ละเอียด (ปัจจุบันใช้เครื่องตำไฟฟา เครื่องร่อนผงไฟฟา) จึงนำมาหมักเข้ากับ ทรายและน้ำ โดยการนวดให้เข้ากัน และปัจจุบันก็หันมาใช้เครื่องนวดไฟฟาเพื่อความ สะดวกรวดเร็วของการผลิตให้ทันต่อความต้องการในท้องตลาด เมื่อนวดประสานจนเป็น เนื้อเดียวกันแล้วจึงสามารถนำมาปันได้ ขั้นตอนต่อมาการผลิตผางประทีป ด้วยการขึ้น รูปจาก จากหรือแท่นหมุน (ไฟฟา) ปันดินเป็นก้อนนำมาวางลงบนแท่นก่อขึ้นรูปเป็นทรง กระบอก หลังจากนั้นจึงใช้นิ้วมือดันเอาส่วนกลางให้นูนขึ้นมาเป็นเส้นแกนแล้วจึงใช้ช้อน ตัดเอาบริเวณโคนด้านข้างของเส้นแกนออกเพื่อไว้สำหรับเป็นรู หรือช่องไว้ใส่ไส้ประทีป แล้วนำไปตากให้แห้งพอประมาณ การยกฐานให้สูงขึ้นจากพื้น หรือการทำคอ เพื่อให้ทั้ง ๒ ส่วนเชื่อมเข้าหากัน ด้วยการนำเอาตัวประทีปมาคว่ำหน้าลงไปบนแท่นหมุนหลังจาก นั้นจึงก่อเป็นผนังวงกลมทรงกระบอกขึ้นมาใช้แผ่นพลาสติกบางๆเป็นตัวเกลี่ยให้พื้นผิว เรียบเนียนเสมอกัน ต่อมาจึงนำเอาสีแดงที่ได้จากดินแดง (ดินลูกรัง) ที่ผสมน้ำมันโซล่า ไว้ก่อนแล้วมาลงบนตัวผางประทีป จึงนำไปตากแห้ง หลังจากนั้นจึงนำไปขัดด้วยหิน แม่น้ำให้ความมันเงา ขั้นตอนสุดท้ายคือนำไปเผาในเตาอิฐมอญ 62 หางดงถิ่นหัตถกรรม
มู ล เหตุ แ ละปั จ จั ย ในการสร้ า งสรรค์ ผ ลงานทางศิ ล ปหั ต ถกรรมผางประที ป ของป า ไหล แห่ ง หมู่ บ้ า นเหมื อ งกุ ง นั้ น ดำเนิ น ไปอย่ า งราบรื่ น คงเป็ น ผลสอดรั บ กั บ ระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่ ที่มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาปริมาณ ความต้องการของตลาดผลตอบรับค่อนข้างดีไม่ว่าจะเป็นสถานบริการต่างๆ สำหรับ นักท่องเที่ยวต่างก็ตื่นตัวที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางมาเป็นการบริหารการจัดการในแบบ วั ฒ นธรรมซึ่ ง ถื อ เป็นจุดขายให้กับเมืองเชียงใหม่ การทำผางประที ป จึ ง ต้ อ งตั ด ทอน กรรมวิธีการผลิตในแบบดั้งเดิมลงไปบางขั้นตอน เพื่อให้ทันต่อความต้องการในท้องตลาด อย่างไรก็ดีองค์ความรู้ที่สั่งสมมาก็มิได้จางหายไปยังคงมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ในการผลิตให้แก่ นักศึกษา ชาวต่างชาติ ตลอดจนผู้ให้ความสนใจอย่างเปดกว้างมิได้หวง ในวิชาความรู้แต่อย่างใด ยินดีที่จะเผยแพร่ให้ตัวงานมีการสืบทอดต่อไป ที่ผ่านมาหน่วย งานส่วนกลางต่างก็ให้ความร่วมมือและสนับสนุนเป็นอย่างดี สุดท้ายปาไหล หวังเพียงว่า จะยังคงมีผู้สืบทอดต่อไป พร้อมกับเปรยคำส่งท้ายขึ้นมาว่า “มีการสั่งซื้อจากลูกค้าอยู่ ตลอด” นั่นเป็นคำพูดที่กล่าวออกมาจากรอยยิ้ม หางดงถิ่นหัตถกรรม 63
64 หางดงถิ่นหัตถกรรม
งานไมหางดง
โดย นายวิธวัช ศรีสมุดคำ
อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นปาไม้ และ ภูเขา ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ทำให้พื้นที่มี พรรณไม้เนื้อแข็งชนิดต่าง ๆ มากมาย อาทิ ไม้สัก ไม้ฉำฉา ไม้มะม่วง ไม้ขนุน และ ไม้ กระท้อน ซึ่งเหมาะสำหรับการรังสรรค์ผลงานหัตกรรมประเภทงานไม้ ได้แก่ งานไม้ แกะสลัก งานเคี่ยนไม้หรือกลึงไม้ และงานปราสาทไม้ ที่มีความโดดเด่นสวยงาม มี เอกลักษณ์ และมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานเลื่องลือทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ งานไม้ ที่ ส ร้ า งชื่ อ เสี ย งให้ กั บ อำเภอหางดงและจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ คื อ งานไม้ แกะสลักบ้านถวาย หรือศูนย์หัตถกรรมบ้านถวาย ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลขุนคง อำเภอ หางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตและรวบรวมจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก และสินค้าประดับตกแต่งบ้านที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ และของประเทศไทย แต่ เดิมชาวบ้านถวายประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ทำนาตามวิถีชีวิตของชาวชนบท แต่ เมื่อขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร ชาวบ้านถวายจึงแรมรอนหางานทำในตัวเมือง เชียงใหม่ เช่น รับจ้าง ก่อสร้าง และค้าขาย ต่อมาเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ พ่อครูใจมา อิ่นแก้ว, พ่อครูเฮือน พันธุศาสตร์ และพ่อหนานแดง พันธุสา ได้ไปรับจ้างที่ ร้านน้อมศิลป ย่านถนนวัวลาย ซึ่งทางร้านจำหน่ายงานไม้แกะสลักที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในจังหวัดเชียงใหม่ขณะนั้น พ่อครูทั้งสามท่านเกิดความสนใจใฝรู้ใฝเรียนงานไม้แกะสลัก ทางร้านน้อมศิลปจึงให้โอกาสทำงานรับจ้างแกะสลักไม้ที่ร้านตั้งแต่นั้นมา และเมื่อมีงาน มากขึ้นทั้งสามท่านจึงได้นำกลับมาทำต่อที่บ้าน และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอด งานไม้แกะสลักให้แก่ลูกหลาน ญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านโดยไม่รู้ตัว ผลงานในระยะ แรก ๆ เป็นลวดลายสัตว์ในวรรณคดี เรื่องราวในวรรณคดี และตุกตาต่างๆ ต่อมาได้รับ ซ่อมตกแต่งของเก่าประเภทงานไม้ และเริ่มเลียนแบบของเก่าที่มีผู้นำมาซ่อม พร้อมทั้ง ออกแบบงานที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านถวายเอง บ้านถวายจึงกลายเป็นแหล่งซื้อหางาน หางดงถิ่นหัตถกรรม 65
ไม้แกะสลักที่มีชื่อเสียง ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ บ้านถวายก็ได้พัฒนาหมู่บ้านให้ เป็นศูนย์อุตสาหกรรม ตั้งแต่นั้นมาแต่ละบ้านเริ่มจะปรับบริเวณบ้านของตนเอง โดยใช้ บริเวณหน้าบ้านเป็นร้านค้า ส่วนหลังบ้านก็ทำงานไม้แกะสลัก จนปัจจุบันได้รับรางวัล หมู่บ้านหัตถกรรม OTOP ระดับ ๕ ดาว นอกจากหมู่บ้านถวายแล้ว ยังมีหมู่บ้านอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงที่ทำงานไม้ แกะสลักเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น บ้านต้นแก้ว ตำบลขุนคง บ้านปาหมาก บ้านต้นเฮือด บ้านช่างคำหลวง ตำบลบ้านแหวน ซึ่งงานไม้แกะสลักดังกล่าวก็คลี่คลาย มาจากงานไม้แกะสลักบ้านถวายนั่นเอง ปัจจุบันงานไม้แกะสลักบ้านถวายและหมู่บ้าน ใกล้เคียง มีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ จนเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนภายในชุมชน และคนชุมชนใกล้เคียงได้ เป็นอย่างดี งานเคี่ยนไม้หรือกลึงไม้ เป็นงานไม้อีกประเภทหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอ หางดงมามากกว่า ๑๐๐ ปี โดยเฉพาะที่บ้านตองกาย บ้านต้นเกวน ตำบลหนองควาย ซึ่ง ถือเป็นแหล่งผลิตงานเคี่ยนไม้มากที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ และนอกจากบ้านตองกาย ตำบลหนองควาย ยังมีอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ทำงานเคี่ยนไม้เช่นกัน คือ บ้านช่างคำหลวง ตำบลบ้านแหวน งานเคี่ยนไม้ที่บ้านช่างคำหลวง ได้รับรูปแบบมาจากบ้านตองกาย โดย ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ พ่อเรือน ทิพย์อุ่น ได้ซื้อกางเคี่ยนมาจากบ้านตองกาย และถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ลูกหลานและคนในชุมชน จนผลงานเคี่ยนไม้บ้านช่างคำหลวง เป็นที่เลื่องชื่อในระดับจังหวัดและระดับประเทศ การเคี่ยนไม้ คือการนำเอาไม้มาหมุน โดยมีแกนยึดสองข้าง ให้หมุนรอบตัว ด้วยความเร็วแล้วใช้เหล็กเคี่ยนเป็นตัวเคี่ยน เพื่อให้เกิดรูปทรงและขนาดตามที่ต้องการ การเคี่ยนนิยมเคี่ยนอยู่สองแบบ คือ เคี่ยนตามความยาวของเนื้อไม้ และเคี่ยนตัดขวาง เนื้อไม้ ในอดีตการเคี่ยนจะใช้ล้อเกี่ยวมาเป็นกลไกลหมุน แต่ปัจจุบันใช้นิยมใช้มอเตอร์ เพื่อความสะดวดรวดเร็ว ผลงานเคี่ยนไม้หรือกลึงไม้ เป็นงานไม้ลักษณะทรงกลม เช่น เครื่องสูง ลูกกรงซี่บันได ขาโตะ ขาเตียง ขาเก้าอี้ ขันดอก ขันโอ ขันโตก ขันหมาก แอบ หมาก ด้ามมีด ด้ามพร้า ด้ามพัด ด้ามตาลปัด ดุมล้อเกวียน ลูกแอก กลอง เครื่องดนตรี ลูกประคำ เป็นต้น 66 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นอกจากงานไม้แกะสลัก และงานเคี่ยนไม้แล้ว ยังมีงานไม้อีกประเภทหนึ่ง ที่ สร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอหางดง คือ งานปราสาทไม้ งานปราสาทไม้ในปัจจุบันเหลือช่าง เพียงท่านเดียว คือ นายรชต ชาญเชี่ยว บ้านสันปูเลย ตำบลหนองแกว ซึ่งได้รับการ ถ่ายทอดความรู้มาจากพระครูปยธรรมนุสิทธิ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายมูล ซึ่งท่านเป็น ศิษย์สายตรงรุ่นที่ ๑๐ ของพญาแสนหลวง เสนาบดีในสมัยพระนางวิสุทธิเทวี ปกครอง เมืองเชียงใหม่ งานปราสาทไม้ในระยะเริ่มแรก เป็นงานไม้เนื้อเบา ติดกระดาษ ทำ สำหรับพระราชทานเพลิงศพพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ต่อมาจึงพัฒนารูปแบบเป็นงาน ปราสาทไม้เนื้อแข็งที่คงทนถาวร สำหรับถวายวัดหรือใช้ในขบวนแห่ทางวัฒนธรรมต่างๆ ในเวลาที่ผ่านมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ วิถีการผลิต หัตถกรรมของคนหางดงเปลี่ยนแปลงไป วัสดุจากธรรมชาติเพื่อการผลิตลดลง มีการซื้อ หามากขึ้น บางครั้งกลายเป็นวัสดุที่ต้องหาซื้อจากต่างถิ่น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ไม้เนื้อแข็งบางชนิดขาดตลาด บางชนิดต้องหาซื้อจากกำแพงเพชร ลำพูน แม่ฮ่องสอน และมีข้อจำกัดเรื่องของกฎหมาย จึงเป็นอุปสรรคทำให้งานไม้ต้องหยุดชะงักไปในบาง ช่วง แต่กระนั้นงานไม้ของอำเภอหางดง ก็ยังเป็นที่นิยมของท้องตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้ มั่นคงอย่างยั่งยืนต่อไปได้
หางดงถิ่นหัตถกรรม 67
นายบุญสง รังทะษี
ประเภทงานไม้ : แกะสลักครุฑ ช่างแกะลักครุฑมีจำนวนที่น้อยลง ในขณะที่ งานกำลังเป็นที่ต้องการของท้องตลาดและมีราคาสูงขึ้น หากเยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่สืบทอดต่อ งานแกะสลักครุฑ อาจสู ญ หายไปจากท้ อ งถิ่ น เหลื อ เพี ย งชื่ อ ที่ ฝ ากไว้ แ ต่ เพียงว่าครั้งนั้นเคยมีงานแกะสลักครุฑที่บ้านถวาย
68 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นายบุ ญ ส่ ง รั ง ทะษี หรื อ ที่ รู้ จั ก กั น ในนาม “ช่ า งแดง” มื อ แกะสลั ก ครุ ฑ อันดับ ๑ ของบ้านถวาย เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ ปัจจุบันอายุ ๔๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๒๖/๒ หมู่ที่ ๒ บ้านถวาย ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ ๓ ใน ๔ คน ของพ่อสิงห์แก้ว และแม่บัวจิ๋น รังทะษี สมรสกับนางลัดดา รังทะษี มีบุตร ๑ คน บุญส่ง รังทะษี หรือช่างแดง สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปี ที ่ ๖ จากโรงเรียนบ้านต้นแก้ว ภายหลังได้มคี วามสนใจงานแกะสลักไม้ ซึง่ เป็นงานหัตถกรรม ในท้องถิ่นบ้านถวาย จึงได้ไปเรียนรู้กับพ่อครูหลายๆ ท่าน รวมทั้งเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ ลองผิดลองถูกจนเกิดความชำนาญ และเริ่มทำการแกะสลักไม้เป็นอาชีพตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี ผลงานการแกะสลักไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของบุญส่ง รังทะษี คือ การแกะสลักครุฑ ซึ่ง ถือได้ว่า บุญส่ง รังทะษี เป็นมือแกะสลักครุฑอันดับ ๑ ของบ้านถวายตามที่ได้กล่าวมาใน ข้างต้นนี้ก็ว่าได้ งานแกะสลักครุฑมีข้อจำกัดในเรื่องของเนื้อไม้ ซึ่งไม้ที่นำมาแกะสลักได้ก็มี เพียงไม้ฉำฉา และไม้สักเท่านั้น เพราะไม้อื่น ๆ อาจแข็งหรืออ่อนเกินไปไม่เหมาะกับการ แกะสลักครุฑ ไม้ฉำฉาในปัจจุบันมีแหล่งอยู่ที่จังหวัดลำพูน ส่วนไม้สักมักเป็นไม้สักเก่าที่ ชาวบ้านนำมาขายให้ ซึ่งจะไม่นิยมใช้ไม้สักใหม่ เพราะแตกง่าย ในบางช่วงไม้ฉำฉาและ ไม้ สั ก ขาดตลาดจึ ง เป็ น อุ ป สรรคทำให้ ง านต้ อ งหยุ ด ชะงั ก ไป ส่ ว นอุ ป กรณ์ ที่ ใช้ ใ นการ แกะสลักครุฑมีค่อนข้างมากและหลากหลายขนาด ได้แก่ สิ่วขนาดต่าง ๆ เลื่อย สว่าน วงกบ มีด ค้อน กระดาษทราย ขี้เลื่อย และกาวลาเท็กซ์ ขั้ น ตอนการแกะสลั ก ครุ ฑ เริ่ ม จาก การเตรียมไม้ โดยเมื่อได้ไม้ที่เหมาะสมกับการ แกะสลัก ก็จะนำไม้มาประกอบโครงหลัก เขียน แบบคร่าวๆ บนผิวไม้ จากนั้นใช้สิ่วแบนใหญ่ และสิ่วว้องใหญ่เซาะผิวไม้ออกให้เป็นรูปทรง ครุฑ หากเนื้อไม้ส่วนใดส่วนหนึ่งขาด จะต้อง ต่อไม้เพิ่ม โดยใช้สว่านยึดนอตและทากาวลา เท็กซ์ให้ไม้เชื่อมติดกัน ขั้ น ตอนการแกะสลั ก ครุ ฑ เป็ น ขั้ น ตอนที่ ต้ อ งอาศั ยทักษะและความชำนาญ ของช่ า งในการแกะสลั ก เพื่ อ ให้ ไ ด้ ผ ลงานที่ สวยงามและมีคุณภาพ กล่าวคือ หลังจากที่ เตรียมโครงหลักเสร็จแล้ว หางดงถิ่นหัตถกรรม 69
ช่างก็จะเขียนแบบคร่าวๆ บนเนื้อไม้อีกครั้ง จากนั้นก็ใช้เหล็กฮายลงร่องตาม เส้นแบบที่ร่างไว้ ใช้สิ่วขนาดต่างๆ ประกอบด้วย สิ่วแบนใหญ่ สิ่วแบนกลาง สิ่วแบนเล็ก สิ่วว้องใหญ่ สิ่วว้องกลาง และสิ่วว้องเล็ก ตอกลงเนื้อไม้ปรับแต่งให้ได้รูปทรงครุฑ ขั้น ตอนต่อมาเป็นขั้นตอนการเก็บลวดลาย ใช้เหล็กฮายขนาดเล็กเซาะร่องทำลวดลาย เก็บ ลายระเอียดงานด้วยสิ่วแบนเล็กและสิ่วว้องเล็ก ขั้นตอนสุดท้ายคือขัดด้วยกระดาษทราย ให้เรียบเนียน หากพบรอยแตกของไม้ใช้ขี้เลื่อยผสมกาวลาเท็กซ์โปบริเวณนั้น ลักษณะเด่นของงานแกะสลักครุฑ คือไม่มีการทาสี หรือทาแชลค เป็นงานโชว์ ให้เห็นเนื้อไม้ ลักษณะงานเป็นงานตั้งพื้น ตัวครุฑเสียบเหล็กตั้งไว้บนฐานไม้ขนาดใหญ่ ไม่ นิ ย มแขวนติ ด ผนั ง เพราะงานไม้ มี น้ ำ หนั ก มาก ผลงานการแกะสลั ก ครุ ฑ จะทำตาม ออเดอร์ท่ีลูกค้าสั่งเท่านั้น ไม่ได้แกะสลักขายหน้าร้านเอง ผลงานราคาค่อนข้างสูง แล้วแต่ การตกลงราคาระหว่ า งช่ า งและลู ก ค้ า ตั้ ง แต่ ห ลั ก พั น ถึ ง หลั ก หมื่ น บาท ลู ก ค้ า ส่วนใหญ่เป็นส่วนราชการ บริษัทเอกชน หรือเศรษฐีที่ค่อนข้างมีฐานะ ที่จะนำไปตกแต่ง อาคาร บ้านเรือน หรือบริษัท 70 หางดงถิ่นหัตถกรรม
บุญส่ง รังทะษี กล่าวถึงแนวโน้มใน อนาคตว่า ช่างแกะลักครุฑมีจำนวนที่น้อยลง ใ น ข ณ ะ ที่ งานกำลั ง เป็ น ที่ ต้ อ งการของ ท้องตลาดและมีราคาสูงขึ้น หากเยาวชนคน รุ่นใหม่ไม่สืบทอดต่อ งานแกะสลักครุฑอาจ สูญหายไปจากท้องถิ่น เหลือเพียงชื่อที่ฝากไว้ แต่ เ พี ย งว่ า ครั้ ง นั้ น เคยมี ง านแกะสลั ก ครุ ฑ ที่ บ้านถวาย ซึ่งคงไม่มีใครปรารถนาอยากจะให้ เป็นเช่นนั้น
หางดงถิ่นหัตถกรรม 71
นายสมบัติ บุตรเทพ
ประเภทงานไม้ : แกะสลักสิงห ลั ก ษณะเด่ น ของงานแกะสลั ก สิ ง ห์ คื อ เป็นงานโชว์ให้เห็นเนื้อไม้ และเป็นงานที่มีชิ้นเดียว ในโลก ผลงานการแกะสลักสิงห์จะทำตามออเดอร์ ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ไม่ได้แกะสลักขายหน้าร้านเอง
72 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นายสมบั ติ บุ ต รเทพ หรื อ ที่ รู้ จั ก กั น ในนาม “ช่ า งน้ อ ง” มื อ แกะสลั ก สิ ง ห์ อันดับ ๑ ของบ้านถวาย เกิดเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ ปัจจุบันอายุ ๖๒ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๑๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตร ของพ่อบุญยืน และแม่ตาคำ บุตรเทพ สมรสกับนางจันทร์สม บุตรเทพ มีบุตร ๑ คน สมบัติ บุตรเทพ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านต้นแก้ว ภายหลังสำเร็จการศึกษาได้ติดตามพ่อบุญยืน รับจ้างปันปูนสิงห์และแกะสลักสิงห์ตามวัด ต่าง ๆ จึงเรียนรู้ทักษะการปันปูนสิงห์และแกะสลักสิงห์จากบิดาเรื่อยมา จนเกิดความ ชำนาญการปันปูนสิงห์และแกะสลักสิงห์ สมบัติ บุตรเทพ ในวัยชราไม่ได้ปันปูนสิงห์อีก ต่อไปแล้ว เพียงเหลือแต่แกะสลักสิงห์ตามกำลังที่ยังพอมีอยู่ ซึ่งถือได้ว่าสมบัติ บุตรเทพ เป็นมือแกะสลักสิงห์อันดับ ๑ ของบ้านถวายตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้นก็ว่าได้ วั ส ดุ ที่ ใช้ ใ นการแกะสลั ก สิ ง ห์ เป็นไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ฉำฉา ไม้ขนุน และไม้ สั ก ส่ ว นไม้ อื่ น ๆ ไม่ นิ ย มนำมา แกะโดยเฉพาะไม้แดง ซึ่งเป็นที่มีเนื้อแข็ง มากและยากต่อการแกะสลัก ไม้ฉำฉาใน ปั จ จุ บั น มี แ หล่ ง อยู่ ที่ จั ง หวั ด ลำพู น ไม้ ข นุ น หาได้ ง่ า ยในท้ อ งถิ่ น หางดงและ ใกล้เคียง ส่วนไม้สัก เป็นไม้ถูกกฎหมายที่ประมูลมาจากกรมปาไม้ ในบางช่วงไม้ฉำฉา ไม้ขนุนและไม้สักขาดตลาดจึงเป็นอุปสรรคทำให้งานต้องหยุดชะงักไปในบางช่วง ส่วน อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักสิงห์ มีค่อนข้างมากและหลากหลายขนาด ได้แก่ สิ่วขนาด ต่างๆ เลื่อยมือ เลื่อยวงเวียน สว่าน วงกบ มีด ค้อน เครื่องขัดกระดาษทราย ขี้เลื่อย และ กาวลาเท็กซ์ การแกะสลักสิงห์มีขั้นตอนโดยเริ่มจากการเตรียมไม้ เมื่อได้ไม้ที่เหมาะสมกับ การแกะสลัก ก็จะนำไม้มาคำนวณแบบร่าง ไม้ ๑ ท่อน ก็จะได้สิงห์ที่แตกต่างกันไปตาม ขนาดและโครงสร้าง ทั้งสิงห์เดี่ยว สิงห์คู่ และสิงห์หมู่ ดังนั้นงานแกะสลักสิงห์จึงเป็นงาน ที่มีชิ้นเดียวในโลก ขึ้นอยู่กับการคำนวณแบบร่างเป็นสำคัญ หลังจากที่ช่างคำนวณแบบร่างเรียบร้อยแล้ว ช่างก็จะร่างแบบคร่าวๆ บนผิวไม้ แล้วใช้สิ่วขนาดใหญ่เซาะผิวไม้ออก ให้รูปทรงคร่าว ๆ ของสิงห์ หางดงถิ่นหัตถกรรม 73
ขั้นตอนการแกะสลักสิงห์ ต้องอาศัยทักษะและความ ชำนาญของช่างในการแกะสลักไม้ เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงามและ มีคุณภาพ กล่าวคือ หลังจากที่เตรียมไม้เสร็จแล้ว ช่างก็จะเขียน แบบคร่าวๆ บนเนื้อไม้อีกครั้ง จากนั้นก็ใช้เหล็กฮายลงร่องตาม เส้นดินสอที่ร่างไว้ แล้วใช้สิ่วหอบและสิ่วแบนขนาดต่างๆ เซาะ เก็บรายละเอียดตามร่องเหล็กฮายที่นำร่องไว้ก่อนหน้า ตอกสิ่วลง เนื้อไม้ปรับแต่งให้ได้รูปทรงสิงห์ ขั้นตอนต่อมาเป็นขั้นตอนการ เก็ บ ลวดลายผลงาน โดยใช้ เ หล็ ก ฮายขนาดเล็ ก เซาะร่ อ งทำ ลวดลายเรียกว่า การเปดช่องไฟ เก็บรายละเอียดของลวดลาย
74 หางดงถิ่นหัตถกรรม
ด้วยสิ่วเล็บ จากนั้นจึงทำการลบคมสิ่ว โดยการใช่สิ่วหอบและสิ่วแบนเก็บรายละเอียด ของงาน ขั้นตอนสุดท้ายคือขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบเนียน หากพบรอยแตกของไม้ก็ จะใช้ขี้เลื่อยผสมกาวลาเท็กซ์โปบริเวณนั้น ลักษณะเด่นของงานแกะสลักสิงห์ คือเป็นงานโชว์ให้เห็นเนื้อไม้ และเป็นงานที่ มีชิ้นเดียวในโลก ผลงานการแกะสลักสิงห์จะทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ไม่ได้ แกะสลักขายหน้าร้านเอง เพราะขายงานได้ยากมาก ส่วนราคาผลงานแล้วแต่การตกลง ระหว่างลูกค้าและช่าง ตามขนาดของผลงาน ตั้งหลักพันถึงหลักแสนบาท ลูกค้าส่วนใหญ่ เป็นพระสงฆ์ หรือศรัทธาตามวัดต่าง ๆ ที่นำไปตกแต่งตามหัววัด ที่ผ่านมาสมบัติ บุตรเทพ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ในการ ส่ ง เสริ ม งานแกะสลักสิงห์ ส่วนตัวได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ ใ นการแกะสลั ก สิ ง ห์ ใ ห้ บุ ต ร หลาน เพื่ อ นบ้ า น และผู้ ส นใจ แต่ น้ อ ยคนนั ก ที่ จ ะอดทนแกะสลั ก สิ ง ห์ ต่ อ จนสำเร็ จ เพราะเป็นงานที่ค่อนข้างใช้เวลามาก ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ของสมบัติ บุตรเทพ มักหันเหไป ต่อยอดงานแกะสลักอื่น ๆ มีเพียงบุตรชายคือ นายอดุลย์ บุตรเทพ ที่สนใจการแกะสลัก สิงห์อย่างจริงจัง แต่น่าเสียดายที่บุตรชายประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ จึงทำให้ขาดผู้สานต่อการแกะสลักสิงห์ลงไป สมบัติ บุตรเทพ กล่าวถึงแนวโน้มในอนาคตว่า งานแกะสลักบ้านถวาย เป็น งานหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ผลงานจึงเป็นที่นิยมอยู่เรื่อยๆ นานวันวัสดุที่ นำมาแกะสลักเริ่มที่จะหายากขึ้น ช่างแกะสลักเริ่มลดจำนวนน้อยลง ราคาของผลงานก็ สูงเพิม่ ขึน้ จนไม่มใี ครกล้าซือ้ หากไม่มกี ารปลูกต้นไม้ทดแทน อนาคตคงไม่มไี ม้ให้แกะสลัก และหากลูกหลานเยาวชนคนรุ่นไม่ไม่สืบทอดต่อ งานแกะสลักอาจสูญหายไปจากท้องถิ่น เป็นแน่
หางดงถิ่นหัตถกรรม 75
นายจรัส สุสามปน
ประเภทงานไม้ : แกะสลักพระและเทพเจ้า ลักษณะเด่นของงานแกะสลักพระและเทพเจ้า คือความสง่างามขององค์พระหรือองค์เทพ เป็นงานโชว์ ให้เห็นเนื้อไม้ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ผลงานการแกะสลัก พระและเทพเจ้า จะทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ไม่ ได้แกะสลักขายหน้าร้านเอง
76 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นายจรัส สุสามปัน หรือที่รู้จักกันในนาม “ช่างติ๊บ” เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๓ ปัจจุบันอายุ ๔๑ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๑๐ หมู่ที่ ๗ บ้านปาหมาก ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านใหม่สวรรค์ ตำบล ดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับนางมาลินี สุสามปัน มีบุตรสาว ๑ คน จรัส สุสามปัน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนบ้านใหม่สวรรค์ เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ได้มาอาศัยอยู่กับช่างทัศน์ ผู้เป็นน้าชาย ที่บ้านถวาย ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และได้มีความสนใจงานแกะสลักไม้ ซึ่งเป็นงานหัตถกรรม ในท้องถิ่นบ้านถวาย จึงได้เรียนรู้จากเทคนิคการแกะสลักไม้จากช่างทัศน์ และฝกฝนด้วย ตนเองจนเกิดความชำนาญ ต่อมาจึงย้ายออกไปสร้างครอบครัวที่บ้านปาหมาก ซึ่งอยู่ บริเวณใกล้เคียงกับบ้านถวาย ผลงานการแกะสลักไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของจรัส สุสามปัน คืองานแกะสลักพระพุทธรูป พระสงฆ์ เทพเจ้าจีน เทพเจ้าฮินดู พระเยซูตรึงไม้กางเขน เทพเจ้ากรีกและโรมัน ล้วนแต่เป็นงานรองรับศาสนาทั้งสิ้น นอกจากนี้ก็ยังแกะสลักตุกตา ดนตรี ตุกตาพื้นเมือง ตุกตาพม่าด้วยตามแต่ผู้ว่าจ้าง วัสดุที่ใช้ในการแกะสลักพระและเทพเจ้า เป็นไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ขนุนและ ไม้สกั สำหรับไม้อน่ื ๆ อาจแข็งหรืออ่อน เกิ น ไปไม่ เ หมาะกั บ การแกะสลั ก ไม้ขนุนหาได้ง่ายในท้องถิ่นหางดงและ ใกล้ เ คี ย ง ส่ ว นไม้ สั ก เป็ น ไม้ เ ก่ า ที่ ชาวบ้านนำมาขายให้ ซึ่งมีแหล่งอยู่ที่ ลำพูนและลำปาง โดยจะไม่นิยมใช้ไม้ สั ก ใหม่ เพราะแตกง่ า ย ในบางช่ ว ง ไม้ ข นุ น และไม้ สั ก ขาดตลาดจึ ง เป็ น อุ ป สรรคทำให้ ง านต้ อ งหยุ ด ชะงั ก ไป ในบางช่วง ภายหลังมีวัสดุใหม่นำมา ปรั บ ประยุ ก ต์ ใช้ แ ทนไม้ คื อ แผ่ น กระดาษอัด แต่มีข้อจำกัด คือลักษณะ งานจะเป็นงานแกะสลักนูนต่ำเท่านั้น ไม่สามารถเป็นงานแกะสลักนูนสูงและ งานแกะสลั ก ลอยตั ว ได้ ตามข้ อ จำกัดความหนาของแผ่นกระดาษอัด หางดงถิ่นหัตถกรรม 77
ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักพระและเทพเจ้ามีค่อนข้างมากและหลากหลายขนาด ได้แก่ สิ่วขนาดต่างๆ ปากกาจับชิ้นงาน เลื่อยมือ เลื่อยจิ๊กซอว์ สว่าน วงกบ มีด กระดาษ ทราย ขี้เลื่อย กาวร้อน และกาวลาเท็กซ์ การแกะสลักพระและเทพเจ้า มีขั้นตอนโดยเริ่มจากการเตรียมไม้ เมื่อได้ไม้ที่ เหมาะสมกับการแกะสลัก ก็จะนำไม้มาประกอบโครงหลัก วัดขนาด เขียนแบบคร่าว ๆ บนผิวไม้ จากนั้นใช้สิ่วเซาะผิวไม้ออกให้เป็นรูปทรงคร่าวๆ สำหรับการแกะสลักพระเยซู ตรึงไม้กางเขน จะต้องต่อไม้เพิ่มในส่วนแขนและไม้กางเขน โดยทากาวร้อนหรือกาวลา เท็กซ์ให้ไม้เชื่อมติดกัน ขั้นตอนการแกะสลักพระและเทพ ต้องอาศัย ทักษะและความชำนาญของช่างในการแกะสลักไม้ เพื่อ ให้ได้ผลงานที่สวยงามและมีคุณภาพ กล่าวคือ หลังจากที่ เตรี ย มไม้ เ สร็ จ แล้ ว ช่ า งก็ ล งสิ่ ว ขนาดต่ า ง ๆ ตกแต่ ง ลวดลายไปเรื่อย ๆ จนเป็นชิ้นงาน หากไม้เคลื่อนตัวตาม น้ำหนักค้อนที่ตอกสิ่ว ก็จะใช้ปากกาจับไม้ช่วยยึดให้ไม้ คงที่ หลังจากที่ได้เป็นชิ้นงานแล้ว ก็จะตกแต่งเก็บลาย ละเอียดลบคมสิว ขั้นตอนสุดท้ายคือขัดด้วยกระดาษทราย 78 หางดงถิ่นหัตถกรรม
ให้เรียบเนียน หากพบรอยแตกของไม้ก็จะใช้ขี้เลื่อยผสมกาวลาเท็กซ์โปบริเวณนั้น และ เคลือบแชลคให้เงางาม ลักษณะเด่นของงานแกะสลักพระและเทพเจ้า คือความสง่างามขององค์พระ หรือองค์เทพ เป็นงานโชว์ให้เห็นเนื้อไม้ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ผลงานการแกะสลักพระ และเทพเจ้า จะทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ไม่ได้แกะสลักขายหน้าร้านเอง ส่วน ราคาผลงานแล้วแต่การตกลงระหว่างลูกค้าและช่าง ตามขนาดของผลงาน ตั้งหลักร้อย ถึงหลักหมื่นบาท ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ผู้ประกอบกอบการธุรกิจแถวบ้านถวายที่นำไปขาย ต่อเป็นทอดๆ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นพระสงฆ์ มิชชันนารี หรือศรัทธาตามวัด ศาลเจ้า และโบสถ์ บ้างก็นำไปบูชาเองที่บ้านหรือสำนักงาน บ้างก็ถวายวัด ศาลเจ้า และ โบสถ์ต่างๆ จรัส สุสามปัน กล่าวถึงแนวโน้มในอนาคตว่า ช่างแกะสลักไม้มีจำนวนที่น้อยลง การรังสรรค์ผลงานก็จะน้อยลง หากเยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่สนใจสืบทอด งานแกะสลักอาจ สูญหายไปจากท้องถิ่น จึงอยากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เอาเวลาว่างจากการเรียนมาฝกหัด การแกะสลัก สานต่อองค์ความรู้ให้อยู่กับชุมชนตลอดไป
หางดงถิ่นหัตถกรรม 79
นายอุทิศ อินทรวิน
ประเภทงานไม้ : แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา และแกะสลักสวนประกอบสถาปตยกรรมทางศาสนา ลักษณะเด่นของงานแกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา และ ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมทางศาสนา คือ ความอ่อนช้อย ของเส้น ที่ช่างได้ละเมียดละไมใส่ใจเก็บทุกรายละเอียด และ การลงรักปดทอง ประดับตกแต่งด้วยแก้วกระจกจืนตามแบบ เบ้าโบราณ
80 หางดงถิ่นหัตถกรรม
อุทิศ อินทร์วิน หรือที่รู้จักในนาม “หนานทิศ” ช่างแกะสลักลวดลายพรรณ พฤกษา และแกะสลักส่วนประกอบสถาปัตยกรรมทางศาสนา รวมถึงงานลงรักปดทอง ติดแก้วกระจกจืน หนึ่งเดียวแห่งบ้านร้อยจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ปัจจุบันอายุ ๕๖ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๓ หมู่ที่ ๖ บ้านร้อยจันทร์ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ สมรสกั บ นางสมหมาย เมื อ งชมภู หลั ง จากที่ อุ ทิ ศ อินทร์วิน สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ก็เริ่มทำงานเป็นลูกมือช่างไม้อยู่หลายปี ต่อมาจึงได้ทำงานรับจ้างอยู่ที่ร้านบานเย็น ร้านขายงานไม้แกะสลักที่มีชื่อเสียงในตัวเมือง เชียงใหม่ จึงได้ฝกหัดแกะสลักไม้จนเกิดความชำนาญ และฝกฝนการเขียนลายออกแบบ งานไม้แกะสลัก โดยศึกษาจากงานศิลปะของดั้งเดิมทางศาสนา เช่น หน้าบัน หูช้าง ทวารบาล ตามวัดต่างๆ ในภาคเหนือ และหาซื้อหนังสือมาศึกษาเอง ด้วยความชื่นชอบ และมีใจรักในงานศิลปะ ภายหลังที่ร้านบานเย็นปดตัวลง อุทิศ อินทร์วินและภรรยาจึง ออกมาทำกิจการไม้แกะสลักเล็กๆ ที่บ้าน ผลงานการแกะสลักไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของ อุทิศ อินทร์วิน คือ การแกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา และแกะสลักส่วนประกอบ สถาปัตยกรรมทางศาสนา เช่น ช่อฟา หน้าบัน หูช้าง ทวารบาล เป็นต้น รวมถึงงานลงรัก ปดทอง ติดแก้วกระจกจืน จนผลงานได้รับการคัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ ๔ ดาว ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ งานแกะสลั ก ลวดลายพรรณพฤกษา และส่ ว นประกอบสถาปั ต ยกรรมทาง ศาสนา ใช้ไม้สักเก่าเป็นวัสดุสำคัญในการแกะสลัก โดยมีแหล่งที่มาสำคัญคือ อำเภอบ้าน ธิ จังหวัดลำพูน และบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันปาตอง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ใน การแกะสลัก มีค่อนข้างมากและหลากหลายขนาด ได้แก่ สิ่วขนาดต่างๆ ค้อน วงกบ
หางดงถิ่นหัตถกรรม 81
สว่าน เลื่อยมือ เลื่อยจิ๊กซอว์ เครื่องเราเตอร์ เครื่องขัดกระดาษทราย แปรง กาวร้อน กาวลาเท็กซ์ และขี้เลื่อย การแกะสลั ก ลวดลายพรรณพฤกษา และส่ ว นประกอบสถาปั ต ยกรรมทาง ศาสนา มี ขั้ น ตอนโดยเริ่ ม จากการเขี ย นแบบบนกระดาษร่ า งและการเตรี ย มแผ่ น ไม้ ปรับพื้นผิวแผ่นไม้สักเก่าให้เรียบเนียน จากนั้นนำแผ่นไม้มาประกอบตามลักษณะงาน ใช้กระดาษกอปปีกดลายลงบนแผ่นไม้ และใช้เครื่องเราเตอร์ล้างพื้นตามลักษณะงานเพื่อ เตรียมการแกะสลัก ขั้นตอนการแกะสลักต้องอาศัยทักษะและความชำนาญของช่างในการแกะสลัก ไม้ เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงามและมีคุณภาพ กล่าวคือ หลังจากที่เตรียมไม้เสร็จแล้ว ก็จะ ใช้สิ่วขนาดต่างๆ ทำการแกะสลัก โดยขนาดของสิ่วและน้ำหนักของการลงค้อนจะมี ความสัมพันธ์กับลวดลาย จากนั้นก็เก็บรายละเอียดผลงาน และใช้เครื่องขัดกระดาษ ทรายขั ด ให้ เรี ย บเนี ย น ขั้ น ตอนสุ ด ท้ า ยเป็ น การลงสี หากต้ อ งการให้ ผ ลงานมี สี แ บบ 82 หางดงถิ่นหัตถกรรม
โบราณก็จะทาด้วยน้ำมะเกลือ หรือจะลงรักปดทอง ติดแก้วกระจกจืนก็ได้ ตามความ ต้องการของลูกค้า ลั ก ษณะเด่ น ของงานแกะสลั ก ลวดลายพรรณพฤกษา และส่ ว นประกอบ สถาปัตยกรรมทางศาสนา คือ ความอ่อนช้อยของเส้น ที่ช่างได้ละเมียดละไมใส่ใจเก็บทุก รายละเอี ย ด และการลงรั ก ป ด ทอง ประดั บ ตกแต่ ง ด้ ว ยแก้ ว กระจกจื น ตามแบบเบ้ า โบราณ ผลงานการแกะสลัก จะทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ไม่ได้แกะสลักขายหน้า ร้านเอง ซึ่งราคาของผลงานแล้วแต่การตกลงระหว่างลูกค้าและช่าง ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ มีฐานะ ที่นำไปประดับตกแต่งบ้าน สำนักงาน โรงแรม และรีสอร์ท อุทิศ อินทร์วิน กล่าวถึงแนวโน้มในอนาคตว่า งานแกะสลักของตนคงย่ำอยู่กับ ที่ ด้วยเพราะเป็นงานเลียนแบบของเก่า และขาดบุคลากรในการทำงาน จำเป็นที่จะต้อง สร้างช่างรุ่นใหม่ ๆ และพัฒนาผลงานการแกะสลักให้เป็นธุรกิจแบบ SME เพื่อให้ผลงาน ได้ ก้ า วต่ อ ไป ทั้ ง นี้ จ ะประสบความสำเร็ จ ได้ ถ้ า หน่ ว ยงานทางราชการให้ ค วามรู้ แ ละ ส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจ และการให้ความรู้เกี่ยวกับลวดลายต่าง ๆ เพราะตน และภรรยา ศึกษาลวดลายเองจากงานของเก่าและซื้อหนังสือมาอ่าน ยังไม่เคยศึกษา ทฤษฏีตามแบบแผน จะได้นำความรู้ไปต่อยอดและสร้างสรรค์ผลงานต่อไป
หางดงถิ่นหัตถกรรม 83
นายอุดม ขุนปง
ประเภทงานไม้ : เคี่ยนไม้ บ้านตองกาย งานเคี่ยนไม้สามารถพัฒนาได้เรื่อยๆ เพราะเป็นที่ต้องการ ของตลาด อี ก ทั้ ง ชุ ม ชนยั ง มี บุ ค ลากรและวั ส ดุ เ พี ย งพอ สามารถผลิตงานตามความต้องการของลูกค้าได้
84 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นายอุดม ขุนปง หรือที่รู้จักในนาม “ช่างดม” ช่างเคี่ยนไม้แห่งบ้านตองกาย เกิดวันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ ปัจจุบันอายุ ๔๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๙๑ หมู่ที่ ๑ บ้านตองกาย ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ภูมิลำเนาเดิมอยู่ บ้านทุ่งโปง ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับนางประนอม ขุนปง มีบุตร ๑ คน จุดเริ่มต้นการเคี่ยนไม้ของช่างดม เริ่มจากมาอาศัยกับพ่ออุยลอง ขุนปง ผู้เป็นปู ซึ่งเป็นช่างเคี่ยนไม้ท่ีบ้านตองกาย ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ปีที่ ๓ จากโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ ได้มีความสนใจในงานเคี่ยนไม้ จึงได้เรียนรู้ งานเคี่ยนไม้จากพ่ออุยลอง จนเกิดความชำนาญ งานเคี่ ย นไม้ ห รื อ กลึ ง ไม้ คื อ การนำเอาไม้ ม าหมุ น โดยมี แ กนยึ ด สองข้ า ง ให้หมุนรอบตัวด้วยความเร็วแล้วใช้เหล็กเคี่ยนเป็นตัวเคี่ยน เพื่อให้เกิดรูปทรงและขนาด ตามที่ต้องการ ในอดีตการเคี่ยนจะใช้ล้อเกี่ยวมาเป็นกลไกลหมุน แต่ปัจจุบันใช้นิยมใช้ มอเตอร์ เ พื่ อ ความสะดวดรวดเร็ ว ผลงานเคี่ ย นไม้ ที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องช่ า งดม คื อ งานเคี่ยนขันโตก ขันดอก อูบ และหัวบัว โดยเฉพาะขันโตก เป็นผลงานหลักทีได้รับ ความนิยมและมีลูกค้าสั่งทำมากที่สุด วัสดุที่ใช้ในการเคี่ยน เป็นไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้มะม่วง และไม้ ฉ ำฉา สำหรั บ ไม้ อื่ น ๆ ไม่เหมาะกับการเคีย่ น ไม้มะม่วง ปัจจุบันมีแหล่งที่มาจากจังหวัด กำแพงเพชร เพราะในท้องถิ่น หายาก ส่วนไม้ฉำฉามีแหล่งที่ มาจากจั ง หวั ด ลำพู น และใน ท้ อ งถิ่ น บ้ า ง แต่ ใ นบางครั้ ง ไม้ มะม่วงและไม้ฉำฉาก็ขาดตลาด ทำให้งานเคียนไม้ต้องหยุดชะงัก ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เคี่ยนไม้ ได้แก่ เลื่อย เครื่องปันเปลือกไม้ ฐานเคี่ยน เหล็กเคี่ยน เหล็กตัด เหล็กปัด เหล็กควัก บ่ออบไม้ ตลับเมตร กระดาษทราย และปนลม ขั้นตอนการเคี่ยนไม้ เริ่มจากการนำไม้มาเลื่อยตัดเป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ แล้วตอกเหล็กหัวเคี่ยนตรงกลางท่อนไม้เพื่อเป็นตัวยึด จากนั้นนำท่อนไม้ไปปันเครื่องเพื่อ เอาเปลือกไม้ออกและปรับแต่งผิวไม้ให้เรียบเนียน เมื่อปรับแต่งผิวไม้เสร็จแล้วจึงนำท่อน หางดงถิ่นหัตถกรรม 85
ไม้ที่เตรียมไว้ขึ้นฐานเคี่ยน หมุนล้อเคี่ยน และใช้เหล็กเคี่ยน เหล็กตัด เหล็กปัด และเหล็ก ควัก ทำการเคี่ยนและตกแต่งให้เกิดรูปทรงและขนาดตามที่ต้องการ เมื่อได้ผลงานเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว จึงนำไปอบให้แห้ง และขั้นตอนสุดท้ายคือการประกอบโครงสร้างพร้อมส่ง ลูกค้า งานเคี่ยนไม้ของช่างดม เป็นงานเคี่ยนไม้ประกอบโครงสร้าง หรืองานเคี่ยนไม้ เปลือย ไม่ได้ทาสีและประดับตกแต่ง เช่นเดียวกับช่างคนอื่นๆในหมู่บ้าน งานของช่างดม เป็นงานตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ไม่ได้เคี่ยนขายหน้าร้านเอง ลูกค้าส่วนใหญ่เป็น กลุ่มพ่อค้าคนกลางที่รับไปตกแต่งและขายเอง 86 หางดงถิ่นหัตถกรรม
ที่ผ่านมามีกลุ่มต่างๆ เข้ามาเรียน รู้งานเคี่ยนไม้ทั้งคนในท้องถิ่นและต่างถิ่น จึ ง ใ ห้ โ อ ก า ส ใ น ก า ร ท ำ ง า น แ ล ะ ฝ ก ประสบการณ์ รวมถึ ง เป็ น วิ ท ยากรให้ ความรู้เกี่ยวกับงานเคี่ยนไม้ในโอกาสต่างๆ สุ ด ท้ า ยช่ า งดม และภรรยา ได้ ก ล่ า วถึ ง แนวโน้มในอนาคตว่า งานเคี่ยนไม้สามารถ พัฒนาได้เรื่อยๆ เพราะเป็นที่ต้องการของ ตลาด อีกทั้งชุมชนยังมีบุคลากรและวัสดุ เพี ย งพอ สามารถผลิ ต งานตามความ ต้องการของลูกค้าได้ อันจะเป็นประโยชน์ ต่อระบบเศรษฐกิจในชุมชน และสามารถ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้
หางดงถิ่นหัตถกรรม 87
นายมนตรี ทิพยอุน
ประเภทงานไม้ : เคี่ยนไม้ บ้านชางคำหลวง งานเคี่ ย นไม้ ส ามารถพั ฒ นาได้ เรื่ อ ยๆ เพราะเป็ น ที่ ต้องการของตลาด อีกทั้งชุมชนยังมีบุคลากรและวัสดุ เพี ย งพอ สามารถผลิ ต งานตามความต้ อ งการของ ลูกค้าได้
88 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นายมนตรี ทิ พ ย์ อุ่ น หรื อ ที่ รู้ จั ก ในนาม “ช่ า งตรี ” ช่ า งเคี่ ย นไม้ มื อ ๑ แห่ ง บ้านช่างคำหลวง เกิดวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ ปัจจุบันอายุ ๔๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๐๗ หมู่ที่ ๕ บ้านช่างคำหลวง ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัด เชียงใหม่ สมรสกับนางปยะธิดา ทิพย์อ่นุ มีบตร ๑ คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ จากโรงเรียนผู้ใหญ่ยุพราช ตั้งแต่เด็กช่างตรีใช้ชีวิตคลุกคลีกับงานเคี่ยนไม้มาโดย ตลอด เพราะพ่อเรือน ทิพย์อ่นุ ผู้เป็นบิดาเป็นผู้บุกเบิกงานเคี่ยนไม้เป็นเจ้าแรกในหมู่บ้าน โดยเริ่มต้นจากซื้อกางเคี่ยนหรือแท่นเคี่ยนมาจากบ้านตองกาย และได้ถ่ายทอดวิชาความ รู้ให้ลูกหลาน ช่างตรีจึงสืบทอดงานเคี่ยนไม้จากบิดาสืบมา ผลงานเคี่ยนไม้ท่เี ป็นเอกลักษณ์ ของช่างตรี คือ ลูกกรงซี่บันได ขาโตะ ขาเตียง ขาเก้าอี้ ขันดอก ขันโอ ขันโตก ขันหมาก ด้ามมีด ด้ามพร้า ด้ามพัด ด้ามตาลปัด กลอง เครื่องดนตรี และลูกประคำ เป็นต้น วั ส ดุ ที่ ใช้ ใ นการเคี่ ย น เป็ น ไม้ เ นื้ อ แข็ ง ได้ แ ก่ ไม้ ฉ ำฉา ไม้ ก ระก้ อ น ไม้ ข นุ น สำหรับไม้อื่นๆ อาจแข็งหรืออ่อนเกินไปไม่เหมาะกับการเคี่ยน ไม้ฉำฉามีแหล่งที่มาจาก อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ไม้กระท้อนและไม้ขนุนหาได้ง่ายในท้องถิ่นหางดง ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคี่ยนไม้มีค่อนข้างมากและหลากหลายขนาด ได้แก่ เลื่อย แท่น เคี่ยน เหล็กโขก เหล็กตัด เหล็กปัด เหล็กคมมน ค้อน ตะปู ตลับเมตร กระดาษทราย กาวร้อน กาวลาเท็กซ์ และอุปกรณ์ทำสี
หางดงถิ่นหัตถกรรม 89
ขั้นตอนการเคี่ยนไม้เริ่มจาก การนำไม้มาเลื่อยตัดเป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ แล้วตอกเหล็กหัวเคี่ยนตรงกลางท่อนไม้เพื่อเป็นตัวยึดกับแท่นเคี่ยน จากนั้นนำท่อนไม้ที่ เตรียมไว้ขึ้นแท่นเคี่ยน หมุนล้อเคี่ยน ใช้เหล็กโขกเซาะเอาเปลือกไม้ออกปรับแต่งผิวไม้ให้ เรียบเนียน จากนั้นใช้เหล็กโขก เหล็กตัด เหล็กปัด และเหล็กคมมน ทำการเคี่ยนและ ตกแต่งให้เกิดรูปทรงและขนาดตามที่ต้องการ เมื่อได้ผลงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงนำไป อบให้แห้ง ประกอบโครงสร้าง และขั้นตอนสุดท้ายคือการตกแต่งทาสีพร้อมส่งลูกค้า งานเคี่ยนไม้ของช่างตรี บ้านช่างคำหลวง มีความแตกต่างอย่างมากกับช่าง กลุ่มบ้านตองกาย เพราะเป็นงานเคี่ยนไม้สำเร็จรูป พิถีพิถันใส่ใจทุกรายละเอียด รวมถึง ตกแต่ ง ทาสี เ สร็ จ สรรพในคราวเดียวกัน ในขณะที่กลุ่มบ้ า นตองกายเป็ น งานเคี่ ย นไม้ เปลือยเพื่อส่งต่ออีกทอดหนึ่ง งานของช่างตรีเป็นงานตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น
90 หางดงถิ่นหัตถกรรม
ไม่ได้เคี่ยนขายหน้าร้านเอง ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มศรัทธาหัววัด หรือกลุ่มธุรกิจบริษัทอี เวนท์ ออร์แกไนซ์ ที่นำไปใช้ในงานตกแต่งดอกไม้และงานทางวัฒนธรรม ตลอดระยะเวลากว่า ๒๐ ปีที่ผ่านมา ช่างตรีได้วิริยะ อุสาหะ ทุ่มเทให้กับ งานเคี่ยนไม้มาโดยตลอด ฝกฝนฝีมือและพัฒนารูปแบบใหม่ๆ จนมีผลงานเป็นที่โดดเด่น ได้รับการกล่าวขานปากต่อปากทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด มีกลุ่มต่างๆ เข้ามา เรียนรู้งานเคี่ยนไม้ทั้งกลุ่มเยาวชนในท้องถิ่นและนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่สนใจ เรียนรู้ จึงให้โอกาสในการทำงานและฝกประสบการณ์ รวมถึงเป็นวิทยากรให้ความรู้ เกี่ยวกับงานเคี่ยนไม้ในโอกาสต่างๆ ทั้งนี้ช่างตรีก็อยากให้เยาวชนรุ่นใหม่ช่วยกันอนุรักษ์ และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวงานงานเคี่ยนไม้ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมในท้องถิ่นให้ดำรง ต่อไป
หางดงถิ่นหัตถกรรม 91
นายรชต ชาญเชี่ยว
ประเภทงานไม้ : ปราสาทไม้ ผลงานปราสาทไม้ เ ป็ น งานตายตั ว ที่ อ ยู่ ไ ด้ เรื่ อ ยๆ ตราบใดที่ประเพณีและความเชื่อของคนในท้องถิ่น ยังไม่สูญสลาย และเยาวชนคนรุ่นใหม่ยังสนใจศึกษา งานปราสาทไม้ก็จะอยู่คู่กับท้องถิ่นตลอดไป
92 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นายรชต ชาญเชี่ยว หรือที่รู้จักในนาม “หนานคำ” สล่าปราสาทไม้ที่มีชื่อเสียง ของหางดง เกิดเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ปัจจุบันอายุ ๒๙ ปี บ้านเลขที่ ๒๓๕ หมู่ที่ ๒ บ้านสันปูเลย ตำบลหนองแกว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนวัดศรีสุพรรณ์ ภายหลังได้มี ความสนใจในงานปราสาทไม้ จึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระครูปยธรรมนุสิทธิ์ อดีต เจ้าอาวาสวัดทรายมูล ศิษย์สายตรงรุ่นที่ ๑๐ ของพระญาแสนหลวง เสนาบดี ในสมัย พระนางวิสุทธิเทวี ปกครองเมืองเชียงใหม่ ผู้เป็นครูเกางานปราสาท ผลงานที่ เป็นเอกลักษณ์ของหนานคำคือ งานปราสาทไม้ งานปราสาทไม้ ในระยะเริ่มแรก เป็นงานไม้เนื้อเบา ติดกระดาษ ทำสำหรับพระราชทานเพลิงศพพระสงฆ์ ชั้นผู้ใหญ่ ต่อมาจึงพัฒนารูปแบบเป็นงานปราสาทไม้เนื้อแข็งที่คงทนถาวร สำหรับถวาย วัดหรือใช้ในขบวนแห่ทางวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะเสนอการทำปราสาทไม้ถาวร วั ส ดุ ส ำ คั ญ ที่ ใช้ ใ น การทำปราสาทไม้ ถ าวร คื อ ไม้ สั ก เก่ า เพราะมี คุ ณ สมบั ติ พิเศษเป็นไม้เนื้อแข็ง และทนต่อ การถู ก แมลงรบกวน ส่ ว น อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปราสาท ไม้ถาวร มีค่อนข้างมาก ได้แก่ ตะปู ค้อน มีด วงกบ เลื่อยมือ เลื่ อ ยจิ๊ ก ซอว์ สว่ า น ป น ลม กระดาษทราย ขี้เลื่อย กาวร้อน กาวลาเท็กซ์ และอุปกรณ์ทาสี การทำปราสาทไม้ มี องค์ประกอบสำคัญอยู่ ๓ ส่วน ใหญ่ๆ ได้แก่ ส่วนฐาน ส่วนยอด และส่วนเสา มีขั้นตอนการทำ โ ด ย เริ่ ม จ า ก ก า ร เ ต รี ย ม ไ ม้ หางดงถิ่นหัตถกรรม 93
เมื่อได้ไม้ที่เหมาะสมกับการต่อปราสาท จึงนำไม้มาผ่าให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ จากนั้น เขียนแบบคร่าวๆ บนเนื้อไม้ด้วยความชำนาญ และตัดไม้ตามลวดลายที่ร่างไว้ เมื่อได้ชิ้น ส่วนประกอบไม้ จึงมาประกอบเข้ากัน ส่วนฐาน - เริ่มจากตีนฐาน ตาอ้อย บัวคว่ำ เอวหรือซี่ บัวหงาย ตาอ้อย และ ปากฐาน ส่วนยอด – เริ่มจากเพดาน เทิง ปากกระบาน และต่อยอด และส่ ว นเสา – เป็ น ขั้ น ตอนสุ ด ท้ า ยในการผลิ ต เสาที่ ใช้ ส่ ว นใหญ่ ได้ แ ก่ เสาลูกกรง เสากีบ เสาแตบแปบ และเสาขอมปากแล เมื่อนำชิ้นส่วนไม้มาต่อองค์ประกอบหลัก ๓ ส่วนเสร็จแล้ว ก็นำมาตกแต่งทาสี เขียนลายให้สวยงาม ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการนำองค์ประกอบหลักทั้ง ๓ มาต่อกันเริ่มจาก ฐาน เสา และยอด ผลงานการต่อปราสาทไม้ของหนานคำ จะทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น เพราะเป็นงานไม้ขนาดใหญ่ ราคาค่อนข้างสูง ไม่ได้เปดร้านขายเอง ลูกค้าส่วนใหญ่เป็น ศรัทธาตามวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือตอนบน และบริษัทออร์แกไนซ์ ที่นำไปตกแต่งสถานที่ และใช้แห่ตามงานประเพณีต่างๆ รชต ชาญเชี่ยว หรือ หนานคำ กล่าวถึงแนวโน้มในอนาคตว่า ผลงานปราสาท ไม้เป็นงานตายตัวที่อยู่ได้เรื่อยๆ ตราบใดที่ประเพณีและความเชื่อของคนในท้องถิ่นยังไม่ สูญสลาย และเยาวชนคนรุ่นใหม่ยังสนใจศึกษา งานปราสาทไม้ก็จะอยู่คู่กับท้องถิ่นตลอด ไป แต่หากลูกหลานเยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่สนใจมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสืบกันมา หลายชั่วอายุคน งานปราสาทไม้คงจะสูญหายไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
94 หางดงถิ่นหัตถกรรม
หางดงถิ่นหัตถกรรม 95
ภาคผนวก
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญงานศิลปหัตถกรรม ในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม งานเครื่องจักสาน
นายบุญศรี เรือนเหล็ก : สานฝาลายอำ ๑๔ หมู่ที่ ๖ บ้านร้อยจันทร์ ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายอินสอน สายตา : สานไซหัวหมู ๑๘๔ หมู่ที่ ๑๓ บ้านท้าวบุญเรือง ต.บ้านแหวน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายแก้ว หน่อเมฆ : สานเข่งลำไย ๒๙/๑ หมู่ที่ ๑๓ บ้านท้าวบุญเรือง ต.บ้านแหวน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นางทา ไชยวุฒิ : สานเปาะ ๓๕/๓ หมู่ที่ ๑๑ บ้านดู่ ต.บ้านแหวน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นางพรรณี อินตะรัตน์ : สานสาดอ่อน ๒๖/๑ หมู่ที่ ๙ บ้านสันทราย ต.หนองแกว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายหมุน สุดดี : หวายเครื่องเรือน ๗๗/๕ หมู่ที่ ๑ บ้านท้าวคำวัง ต.หางดง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
งานเครื่องปนดินเผา
นางมูล กันธิยะ : หม้อต่อม ๙๐ หมู่ที่ ๕ บ้านไร่ ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นางเหรียญ ธิวงศ์ : หม้อสาว ๑๒๒ หมู่ที่ ๕ บ้านไร่ ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นางบัวจันทร์ หน่อปุด : หม้อแกง ๑๓๘ หมู่ที่ ๗ บ้านวัวลาย ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 96 หางดงถิ่นหัตถกรรม
นางสาวจรรยา ผลสาด : หม้อน้ำ ๙๒ หมู่ที่ ๖ บ้านกวน ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายเล็ก แสนใจ : หม้อน้ำ ๑๑ หมู่ที่ ๗ บ้านเหมืองกุง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นางสาวบัวแก้ว สีจันทร์ : น้ำต้น ๒๙ หมู่ที่ ๗ บ้านเหมืองกุง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นางบัวไหล บุญเติง : ทุกชนิด ๓๔ หมู่ที่ ๗ บ้านเหมืองกุง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่
งานไม้
นายบุญส่ง รังทะษี : แกะสลักครุฑ ๑๒๖/๒ หมู่ที่ ๒ บ้านถวาย ต.ขุนคง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายสมบัติ บุตรเทพ : แกะสลักสิงห์ ๑๑๒ หมู่ที่ ๒ บ้านถวาย ต.ขุนคง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายจรัส สุสามปัน : แกะสลักพระและเทพเจ้า ๑๑๐ หมู่ที่ ๗ บ้านปาหมาก ต.บ้านแหวน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นาอุทิศ อินทร์วิน : แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา ๑๓ หมู่ที่ ๖ บ้านร้อยจันทร์ ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายอุดม ขุนปง : เคี่ยนไม้ ๒๙๑ หมู่ที่ ๑ บ้านตองกาย ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายมนตรี ทิพย์อุ่น : เคี่ยนไม้ ๑๐๗ หมู่ที่ ๕ บ้านช่างคำหลวง ต.บ้านแหวน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายรชต ชาญเชี่ยว : ปราสาท ๒๓๕ หมู่ที่ ๒ บ้านสันปูเลย ต.หนองแกว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ หางดงถิ่นหัตถกรรม 97
หางดงถิ่นหัตถกรรม คณะที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บรรณาธิการ พิสูจน์อักษร กองบรรณาธิการ
ศุภฤกษ์ กุลสุ ต่อพงษ์ เสมอใจ วิธวัช ศรีสมุดคำ ดิษวรรณ สุทัศน์สันติ ดุษฎี เทพสิริ อมรรัตน์ เหลี่ยมแสง อเนก เป็งมูล อนุชา ศรีอรุณ สนั่น ธรรมธิ สันต์ทัศน์ เพ็ญจันทร์ รพีพรรณ ศรีทะ พิชัย แสงบุญ วนิดา เชื้อคำฟู เสาวณีย์ คำวงค์ วาสนา มาวงค์ ฐาปนีย์ เครือระยา ชุติมา พรหมวัฒน์
ศิลปกรรมสิ่งพิมพ์ FLUKE Graphic & Design Email: fluke.th@gmail.com โทรศัพท์. 080 496 9946 ISBN พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวนพิมพ์ พิมพ์ที่
978-974-672-671-9 ธันวาคม ๒๕๕๔ ๕๐๐ เล่ม บริษัท โชตนาพริ้นท์ จำกัด 69 ซ.7 ถ.ช้างเผือก ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
เจ้าของลิขสิทธิ์
เอกสาร โครงการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับชุมชน : งานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น ในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๓๙ ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐๕๓ ๙๔๓๖๒๔ โทรสาร ๐๕๓ ๒๒๒๖๘๐
98 หางดงถิ่นหัตถกรรม
100 หางดงถิ่นหัตถกรรม