MESSAGE IN THE DARK

Page 1

MESSAGE IN THE DARK

MESSAGE IN THE DARK



สวัสดี

Message in the dark


CONTENT

6 38

บทเรียนที่ ๅ

The story of dialogue in the dark

บทเรียนที่ 2

The Quote


บทเรียนที่ 3

The Blind & Lifestyle

บทเรียนที่ 4

The Message

46 54


บทเรียนที่


The story of Dialogue in the dark


เกี่ยวกับนิทรรศการ “Dialogue in the Dark”

ในความเป็นจริงแล้ว เรานัน้ มองไม่เห็นอะไรเลยภายใน ความมืด แต่เราจะเห็นได้ด้วยจินตนาการของตัวเอง เพราะมนุษย์มศี กั ยภาพในการทดแทนสิง่ ทีข่ าดหายไป ซึ่งมันจะท�ำให้ประสาทรับรู้ด้านอื่นชัดเจนขึ้น คุณจะ เห็นได้ด้วยมือ ด้วยจมูก ด้วยร่างกายทั้งหมด โดยที่ จะมองเห็นได้ทีละเล็กทีละน้อยจนเห็นโลกได้ทั้งโลก เป็นการมองเห็นด้วยจินตนาการและประสาทสัมผัส ที่ ไ ม่ ใ ช่ ด วงตา “นิ ท รรศการบทเรี ย นในความมื ด (Dialogue in the dark)” จะท�ำให้คุณรู้ว่าในโลก ที่ไร้แสงนั้น เราจ�ำเป็นต้องมีความกล้ามากขึ้น ต้องมี ความอดทนมากขึ้น ต้องใจเย็นมากขึ้น แต่เหนือกว่า สิ่งอื่นใด ทั้งหมดนี้จะท�ำให้คุณเข้าใจถึงการใช้ชีวิต ของคนตาบอดและผู้พิการมากขึ้น ว่าความจริงแล้ว ผู้พิการไม่ได้ผิดปกติ เพียงแค่เขามีวัฒนธรรมอีกแบบ ที่แตกต่างกับเราเท่านั้นเอง


เรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจ จะได้สอนคนตาดีในความมืด นิทรรศการ “Dialogue in the Dark” ของ ดร. แอนเดรียส ไฮเนกี้ ที่ท�ำให้เกิด เพื่อที่จะค้นพบสิ่งที่มองไม่เห็นในตัวเราและ เป็นนิทรรศการที่ถือก�ำเนิดขึ้นจากมีแนวความคิดของ นิทรรศการนี้ขึ้นก็คือ เมื่อครั้งที่เขายังเป็น รอบข้าง จากประสบการณ์ในการฝึกอบรม ดร. แอนเดรียส ไฮเนกี้ (Dr. Andreas Heinecke) นักหนังสือพิมพ์ เขาเคยได้มีโอกาสร่วมงาน และท�ำงานร่วมกับคนกลุ่มนี้ ท�ำให้เขาได้รับรู้ ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน ที่ได้พัฒนาสร้างขึ้นเป็นนิทรรศการทั้งแบบ กับคนตาบอด ซึ่งเป็นสิ่งที่เขารู้สึกว่าเป็นเรื่อง ถึงทักษะพิเศษและความสามารถของ ชั่วคราวและถาวร โดยมีการจัดแสดงมาแล้วกว่า 160 เมือง ใน ยากที่จะอยู่ร่วมกับคนตาบอด จนวันหนึ่งได้เกิด ผู้พิการทางสายตาที่แตกต่างจากคนทั่วไป 22 ประเทศทั่วโลก โดยนิทรรศการนี้เป็นนิทรรศการกระตุ้นให้ผู้ชม เหตุการณ์ไฟดับ และเพื่อนคนตาบอดสอนให้เขา จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะน�ำความรู้และ ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของประสาทสัมผัสในร่างกายของเรา รู้จักสิ่งรอบข้างในความมืด และจากเหตุการณ์ ประสบการณ์มาเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับรู้ ว่ามีความส�ำคัญยิ่งนัก ซึ่งภายในนิทรรศการได้ถูกจัดแสดง ในครั้งนี้เองที่ได้จุดประกายแนวความคิดเป็น แอนเดรียสเชื่อว่า“บทเรียนในความมืด”จะสร้าง “นิทรรศการ Dialogue in the Dark” เพื่อ ทัศนคติที่ดีต่อผู้พิการทางสายตา ส่งเสริมให้ บนพื้นที่ที่มืดสนิท ประมาณ 600 ตารางเมตร และอาศัย ผู้บรรยายที่เป็นผู้พิการทางสายตามาน�ำชมนิทรรศการ เป็นการสื่อสารให้คนทั่วไปได้เรียนรู้และเข้าใจ คนส่วนใหญ่ได้ตระหนักถึงสิทธิของสมาชิก ซึ่งถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสังคม คนตาบอดมากขึ้น โดยคนตาดีจะได้เรียนรู้ ในสังคมผู้มีความแตกต่าง และสามารถอยู่ แห่งวิทยาศาสตร์ที่ไร้พรมแดน ที่จะอยู่กับคนตาบอด และคนตาบอด ร่วมกันอย่างเท่าเทียมและสันติ


ที่ญี่ปุ่น แอนเดรียสแนะน�ำให้นักวิจัย ด้านประสาทรู้จักกับเพื่อนร่วมงานที่เป็น ผู้พิการทางสายตา ขณะนั่งคุยกันนักวิจัยได้ ท�ำเหรียญหล่นบนพื้น และผู้พิการบอกได้ว่า “10 เยน” นักวิจัยรู้สึกทึ่ง จึงทดสอบด้วย เหรียญชนิดต่างๆ ซึ่งผู้พิการสามารถ บอกราคาได้ถูกต้องทั้งหมด

ที่เยอรมัน นักศึกษาไทย คนหนึ่งรู้สึกตื่นเต้นประทับใจกับ นิทรรศการบทเรียนในความมืด ซึ่งจัด แสดงที่เมืองฮัมบรูกมาก จึงพยายามประสาน กับหน่วยงานราชการให้เชิญแอนเดรียส มาจัดนิทรรศการในเมืองไทย เวลาผ่านไป หลายปี ในที่สุด อวพช. จึงเป็นเจ้าภาพใน การจัดนิทรรศการนี้ขึ้นที่ประเทศไทย มาจนถึงทุกวันนี้ 10

ll MESSAGE IN THE DARK ll

3 เรื่องเล่าจาก ดร. แอนเดรียส ไฮเนกี้

ที่ญี่ปุ่น แอนเดรียสร่วมงานกับ ซาซูซ่าหญิงผู้พิการทางสายตา ที่ไม่กล้า แสดงออกและพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เขาจึงต้องหา ล่ามมาช่วย ซึ่งก็ได้ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของโกลด์ แมนแซ็คสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาอาสาเป็น ล่ามให้ เธอช่วยให้แอนเดรียสสามารถสื่อสารกับซาซูซ่าและ พัฒนานิทรรศการที่ญี่ปุ่นได้ส�ำเร็จ หลังจากผู้บริหารหญิงคนนี้ ได้เรียนรู้สิ่งที่แอนเดรียสสัมผัส จนเกิดทัศนคติที่ดีต่อ ผู้พิการทางสายตาและเห็นคุณค่าของงานที่อาสามาท�ำ จึงตัดสินใจลาออกจากงานที่มีรายได้สูงมาก มาร่วมงานกับแอนเดรียสและซาซูซ่า ด้วยความสุขและภาคภูมิใจ


เพื่อสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการสังเกตผ่านประสาทสัมผัส การรับรู้ของร่างกายในส่วนอื่น นอกเหนือจากดวงตา

วัตถุประสงค์ของการ จัดนิทรรศการในประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ของการจัด รู้ไหมว่าจุดประสงค์ที่ท�ำให้เกิดการจัดแสดงนิทรรศการ นิทรรศการใน บทเรียนในความมืด (Dialogue in the dark) ขึ้นในประเทศไทย มีอะไรกันบ้าง ประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้ที่มีความพิการทางสายตา ซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคม ได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่อย่างเป็น ประโยชน์และมีคุณค่าท�ำให้เกิด การยอมรับในสังคม

เพื่อให้ผู้ชมรับรู้ถึง ความส�ำคัญและกลไกการ ท�ำงาน และการปรับตัวของ ประสาทการรับรู้ด้านต่างๆ ของมนุษย์

ll MESSAGE IN THE DARK ll

11


เริ่มต้นกันที่ห้องรับรองแบบสบายๆ เพื่อให้ผู้เข้าชม ได้ปรับตัวให้เข้ากับความมืดเสียก่อน แล้วจึงจะเข้าสู่ ในส่วนของสวนสาธารณะ ที่ภายในเต็มไปด้วยต้นไม้ สายน�้ำ และเสียงนกร้อง ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและ เป็นการกระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัสต่างๆ

ส�ำรวจ...นิทรรศการ (Inside DID)

การเข้าชมนิทรรศการนั้น จะมีการจัดเป็นรอบๆ ไป ในแต่ละรอบจะให้มีผู้เข้าชมไม่เกิน 8 คน และมี ผู้น�ำชมเป็นผู้พิการทางสายตา รวมทั้งจะมีการ บรรยายถึงลักษณะและบรรยากาศภายในแต่ละห้อง ให้ผู้เข้าชมฟังอีกด้วย เพื่อให้เข้าถึงบรรยากาศต่างๆ ผ่านทางประสาทการรับรู้อื่นๆ อย่าง เสียง อุณหภูมิ การสัมผัส การดมกลิ่น และชิมรส ซึ่งแบ่งเป็น สถานการณ์จ�ำลองภายในห้องต่างๆ รวม 7 ห้อง


หลังจากนัน้ ไกด์น�ำทางจะพาผู้เข้าชมสู่ย่านชุมชน และตลาด ที่จ�ำลองสถานการณ์ได้เสมือนจริง มีทั้งเสียงแตรรถ ความสับสนวุ่นวายในพื้นที่ ซึ่งให้ความรู้สึกเช่นเดียวกับคนตาบอดที่ต้อง ประสบพบเจอเหตุการณ์เหล่านี้จริงๆ ในชีวิตประจ�ำวัน ตามต่อด้วยการเดินทาง ในรูปแบบต่างๆ ทั้งการขึ้นรถประจ�ำทาง ลงเรือ และระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ถือเป็นการ ผจญภัยอันน่าตื่นเต้นไม่รู้ลืม

หลังจากเดินทางกันมาอย่างเหน็ดเหนื่อยแล้ว จึงเข้าสู่พื้นที่ผ่อนคลายอารมณ์ที่ห้องฟังเพลง ซึ่งเป็นสถานที่สร้างความบันเทิงให้กับร่างกาย ทุกส่วน ก่อนจะไปสนุกสนานกันที่ห้องสุดท้าย นั่นก็คือห้องคาเฟ่ ที่ผู้เข้าชมสามารถสั่งเครื่องดื่ม หรือขนมขบเคี้ยวต่างๆ มาดื่ม กินกันได้ แก้ความหิว กระหาย แต่อย่าลืมเตรียมเงิน ติดเข้าไปให้พร้อมด้วยนะ

ภายในนิทรรศการบทเรียนในความมืดนี้ ประกอบไปด้วยห้องต่างๆ ที่ตกแต่งบรรยากาศ โดยจ�ำลองสถานการณ์ และการด�ำเนินกิจกรรม ต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวันตามวิถีชีวิตของผู้คนใน แต่ละท้องถิ่นของแต่ละประเทศที่นิทรรศการนี้ ตั้งอยู่ เช่น บรรยากาศในสวนสาธารณะ สภาพแวดล้อมบนทางเดินเท้า การเดินทาง และ การรับประทานอาหาร เป็นต้น และแน่นอนว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นกิจกรรมที่อยู่ในห้อง อันมืดสนิท ต่อให้ลืมตาเดินก็ยังมองไม่เห็นอยู่ดี แต่ในความมืดมิดกว่าหนึ่งชั่วโมงนั้น ล้วนเต็มไป ด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่อันเวิ้งว้าง โดย มี “ผู้พิการทางสายตา” เป็นผู้น�ำชม พร้อมด้วย อุปกรณ์ข้างกายชิ้นส�ำคัญอย่าง ไม้เท้าน�ำทาง ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมที่ส�ำคัญมากที่สุด ในการเดินทางภายในโลกแห่งความมืดมิดนี้

ll MESSAGE IN THE DARK ll

13


ห้องรับรอง (Lounge)

จุดเริ่มต้นให้ได้ปรับตัวเข้ากับความมืด และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้น�ำชม กับผู้เข้าชม

สวน (Garden)

ส่วนที่สองช่วยเปิดประสาทสัมผัส พร้อมทั้งเป็นการกระตุ้นการรับรู้ ให้กับผู้เข้าชม

การเดินทาง (Transport)

เสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการมองเห็น ให้เกิดความเคยชิน

ห้องฟังเพลง (Music Room)

เปิดประสาทสัมผัสในการได้ยิน

ll MESSAGE IN THE DARK ll

ช่วยสร้างสัมผัสการรับรู้และการจดจ�ำ เพื่อสร้างประสบการณ์ ในการด�ำเนินชีวิต

ตลาด (Market)

สร้างประสบการณ์การผจญภัย ในชีวิตประจ�ำวันกับการเดินทาง ในรูปแบบต่างๆ

14

ย่านชุมชน (Community)

คาเฟ่ (Cafe)

ฝึกใช้ประสาทสัมผัสในการรับรสพร้อม สร้างบทสนทนาที่เป็นบทสรุป ของนิทรรศการ


ทางเข้า (IN) ห้องรับรอง (Lounge)

ทางออก (OUT)

สวน (Garden)

ย่านชุมชน (Community)

การเดินทาง (Transport)

ตลาด (Market)

ห้องฟังเพลง (Music Room)

คาเฟ่ (Cafe)


The


ชนิดา ศิริทรัพย์ (พี่เบล) อุดม อ่อนนาเวน (พี่จู) ขวัญ เสาสูง (พี่ขวัญ)

Interview


1


ชนิดา สิริทรัพย์ (พี่เบล) นักวิชาการผู้รับผิดชอบนิทรรศการ บทเรียนในความมืด

พี่เบล ไม่ ได้เป็นคน ตาบอด แต่เป็นคนปกติที่ ใช้ชีวิต การทำ�งานร่วมกับทั้งคนตาบอดและ คนตาดี เพราะมีหน้าที่ ในการแบ่งรอบการ ทำ�งานของไกด์แต่ละคน ดูแลความเป็นอยู่ และอำ�นวยความสะดวกให้กับไกด์คนตาบอด ขณะอยู่ ในที่ทำ�งาน รวมทั้งเป็นผู้ ให้ ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับนิทรรศการ แก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย


Dialogue in the dark นิทรรศการระดับโลก?

นิทรรศการนี้มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ตอนนี้มีจัดแสดงอยู่ 20 ประเทศทั่วโลก มีประมาณ 160 กว่าเมืองที่มีการจัดแสดงมาแล้ว แต่ไม่ใช่นิทรรศการถาวร เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้มีเหลืออยู่เพียง 20 แห่ง ซึ่งในเอเชียมีอยู่ 6 แห่ง และการันตีได้เลย ว่าของเราประเทศไทยใหญ่ที่สุด ถูกที่สุด เพราะว่าเคยมีโอกาสได้ไปที่สิงคโปร์มาแล้ว ค่าเข้าชมอยู่ที่ประมาณ 500 บาท และจ�ำนวนสถานการณ์ก็มีน้อยกว่า ส่วนของฮ่องกง เขาเคยมาเยี่ยมมาดูนิทรรศการของเรา ซึ่งราคาเข้าชมของประเทศเขาอยู่ที่ 700 กว่าบาท และที่ญี่ปุ่น ค่าเข้าชมประมาณ 1400 บาท มีสถานการณ์แค่ 4 สถานการณ์ ซึ่งน้อยกว่าเรา แต่เขาจะมีการเปลี่ยนสถานการณ์ไปตามฤดูกาล และจะมีลูกเล่นน่ารักๆ ในแบบของญี่ปุ่น


เริ่มเข้ามาท�ำงานเป็นผู้รับผิดชอบนิทรรศการตั้งแต่เมื่อไหร่?

ตั้งแต่เริ่มมีนิทรรศการเลยคะ พี่เข้ามาท�ำที่นี่ตอนเดือนมิถุนายน ปี 2553 ซึ่งนิทรรศการจะเพิ่งเริ่มสร้างโครงสร้างตามคอนเซปต์ที่ทาง เยอรมันบอกมา เพราะนิทรรศการนี้เป็นนิทรรศการของประเทศเยอรมัน ที่เราซื้อลิขสิทธิ์มา ตอนที่พี่เริ่มมาท�ำงานที่นี่นิทรรศการยังสร้างไม่เสร็จเลย จนประมาณช่วงเดือนกันยายนจะเป็นช่วงที่รับเจ้าหน้าที่ชุดแรกเข้ามา มีการเทรนโดยให้ชาวต่างชาติมาเทรนให้ ตอนนั้นพี่เป็นคนดูแลก็ต้องคอย เป็นล่าม ในบางวันที่ล่ามที่เราจ้างไม่มา จนเปิดให้บริการวันที่ 24 กันยายน 2553 ตอนนั้นเป็น Soft Opening ค่ะ ส่วน Grand Opening จริงๆ คือวันที่ 15 ตุลาคม 2553


นิทรรศการนี้เริ่มน�ำเข้ามาจัดในประเทศไทยได้ยังไง?

จุดเริ่มต้นมาจากการที่มีนักเรียนคนไทย ได้ไปเยี่ยมชมนิทรรศการนี้ที่เยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศต้นก�ำเนิด แล้วรู้สึกว่าเป็นนิทรรศการที่มีคุณค่า อยากให้มีจัดขึ้น ในประเทศไทยบ้าง และบังเอิญเขารู้จักกับคนในองค์กรนี้เลยเสนอว่าถ้าเป็นไปได้ อยากให้เอานิทรรศการนี้มาจัด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นจริงๆ หลังจากนั้นก็มีการลองจัด ที่ไบเทค ในงาน Science Fair ประมาณ 2 อาทิตย์ ปรากฎว่าได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก จนรู้สึกว่าน่าจะมาท�ำต่อ และได้เกิดเป็นนิทรรศการถาวรขึ้น ที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์แห่งนี้ค่ะ


มีวิธีการรับคนตาบอดมาที่มาเป็นไกด์ ในนิทรรศการบทเรียนในความมืดอย่างไร?

เรามีเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ซึ่งวิธีการนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะ คนที่จะมาเป็น ไกด์ได้ต้องอยู่ในประเภทคนตาบอดสนิท บางคนประสาทตา เพิ่งเสียแล้วมาสมัครเราจะรับไม่ได้ เนื่องจากเขาจะไม่เคยเดินในที่มืด มาก่อนยังเดินได้เหมือนคนปกติ เพราะยังมองเห็นได้เยอะอยู่ ท�ำให้เดินได้ ไม่คล่อง และคนเป็นไกด์ต้องเป็นผู้ดูแลคนที่มองเห็น ซึ่งต้องเข้าไปอยู่ในที่ที่มืด สนิทและมองไม่เห็นเขาจะรู้สึกหวั่นกลัว ไม่มั่นใจ ไกด์จึงต้องท�ำให้เขาผ่อนคลาย จากความรู้สึกเหล่านั้นลง และจะต้องแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในนั้นให้ได้ ฉะนั้น คุณสมบัติของไกด์จึงต้องมีไหวพริบดี และต้องพูดจาฉะฉานด้วย ซึ่งตั้งแต่ปี 2553 ที่เปิดนิทรรศการเรามีไกด์ 18 คน ลาออกไป 3-4 คน แล้วถึงรับเพิ่มมาประมาณ 6 คน แต่ก็มีคนออกไปอีก จนต้องเปิดรับอีกแต่ครั้งนี้เราเปิดรับเอง ส่วน 2 รอบแรก ให้ทางต้นสังกัดช่วยคัด โดยรอบแรกมาเป็นคนสัมภาษณ์ รอบที่สองเราสัมภาษณ์ แต่เขามาช่วยเทรนให้ และมีการเทรนให้พี่จูเป็นมาสเตอร์ไกด์ ซึ่งมาสเตอร์ไกด์ หมายความว่าคุณสามารถเทรนคนใหม่ที่เข้ามาจากการเป็นคนตาบอดธรรมดา ที่ไม่เป็นงานในนิทรรศการให้เป็นงานได้ ให้น�ำทัวร์ได้ ซึ่งตอนนี้เรามีพี่จูเป็น มาสเตอร์ไกด์ ถ้าเราต้องการรับคนใหม่เราสัมภาษณ์เอง เราเทรนเองได้ ทางต้นสังกัดจะไม่ต้องบินมาและเราก็จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพิ่ม เพราะเราต้องเป็นคนรับผิดชอบเองทั้งหมด


2


อุดม อ่อนนาเวน (พี่จู) หัวหน้าไกด์น�ำชมนิทรรศการ

พี่จู เป็นหัวหน้าไกด์ ประจ�ำนิทรรศการ “บทเรียน ในความมืด” ที่มีประสบการณ์การเป็น ไกด์น�ำชมมากว่า 2 ปีตั้งแต่เริ่มมีการจัดแสดง นิทรรศการในประเทศไทย และได้รับการฝึกสอน โดยทีมไกด์ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเยอรมัน จนสามารถก้าวมาเป็นหัวหน้าไกด์ที่ท�ำหน้าที่ เป็นตัวแทนในการคัดเลือกและฝึกสอน ไกด์คนอื่นๆได้


ความรู้สึกจากที่เคยเป็นคนตาดี แล้วต้องกลายมาเป็นคนตาบอด?

ตอนเกิดอุบัติเหตุผมรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้สลบ ผมรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับผม พอลองเอามือจับหน้าตัวเองแล้วลูกตาไม่มี มันหายเข้าไปข้างใน ตอนนั้นรู้แล้วว่า ลูกตาแตก ต้องตาบอดแน่ แต่พอหลังผ่าตัดลองเอามือจับตาอีกครั้งก็ยังมีลูกตาอยู่ เหมือนเดิม ท�ำให้เรารู้สึกมีความหวัง ดีใจว่าเผื่อมีโอกาสกลับมามองเห็นได้อีก แต่พอ ผ่านไปประมาณเดือนนึงแสงที่เราเห็นอยู่มันค่อยๆ หายไป จนเริ่มกังวลว่าจะตาบอดไหม และวันสุดท้ายหมอเรียกเข้าไปพบแล้วบอกว่าคุณต้องไปเรียนได้แล้วนะ เพราะค�ำนี้ท�ำให้รู้ว่า เราตาบอดแล้ว ความรู้สึกแรกที่เข้ามาเลยคือ ไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ เพราะไม่รู้ว่าเราจะมีชีวิต อยู่ต่อไปได้ยังไง ไม่รู้จะอยู่เพื่ออะไร บางคนที่ตาบอดภายหลังเหมือนกับผม เท่าที่เคยคุยด้วยก็จะรู้สึกคล้ายๆ กัน ความจริงทุกประเภทความพิการที่เป็นภายหลัง จะรู้สึกคล้ายๆ กัน เพราะจากที่เป็นคนปกติแล้วต้องกลายมาเป็นคนพิการ ช่วงแรกจะรู้สึกไม่อยากอยู่ ความรู้สึกมันหนักกว่าคนอื่นๆ มาก


ท�ำยังไงให้ความรู้สึกดีขึ้น ท�ำยังไงให้ความรู้สึกดีขึ้น และมี ใจที่จ่จะอยู ะใช้่ตช่อีวมากขึ ิตต่อ้นไป? และมีกก�ำ�ำลัลังงใจที ? แต่ละคนอาจมีไม่เหมือนกัน เพราะทุกคนมีพื้นฐานครอบครัวที่ต่างกัน อย่างตัวผมเคยมีครอบครัวมาก่อน มองเห็นมาก่อน ผมมีลูกชายคนหนึ่ง ตอนที่ผมตาบอดลูกชายอายุ 5 ขวบ ยังตัวเล็กๆ อยู่ เขาเป็นสิ่งแรกที่เป็นก�ำลังใจ ที่ท�ำให้เราอยากจะอยู่ต่อ เขาจะคอยบอกเดี๋ยวพ่อก็หายแล้ว พ่อจะได้พาหนูไปเที่ยว เหมือนเดิม เขาเป็นก�ำลังใจส�ำคัญที่สุดที่ท�ำให้อยากจะอยู่ต่อไป แต่ว่าก็ยังไม่รู้ว่า จะอยู่แบบไหน คิดว่าแค่อยู่รอดูเลี้ยงลูกให้เขาโตเท่านั้น ไม่ได้คิดอะไรมากกว่านี้ เพราะ เราไม่รู้ว่าเราจะท�ำอะไรได้บ้าง อยู่แบบนั้นมาเกือบ 2 ปี จนมีโอกาสได้ดูรายการทีวี รายการหนึ่ง เขาเอาคนตาบอดมาออกรายการ คนตาบอดคนนั้นเป็นผู้หญิง คนตาบอด คนนั้นมีงานท�ำ เดินทางไปท�ำงานได้ด้วยตัวเอง มีเพื่อน พอวันหยุดเขาก็ไปดูหนัง ไปร้องคาราโอเกะ เขาอ่านอักษรเบลล์ได้ ใช้คอมพิวเตอร์ได้ มันท�ำให้เรารู้ว่า คนตาบอดไม่ได้มีเราคนเดียว มันยังมีคนอื่นอีก ท�ำไมเขาใช้ชีวิตได้ ท�ำไมเขา ท�ำงานได้ เขาใช้คอมพิวเตอร์ได้ ท�ำไมชีวิตเขามีความสุข หลังจากวันนั้นมา เราก็พยายามพัฒนาตัวเองขึ้นมาโดยไปหาที่เรียน ที่อบรม เพื่อที่จะท�ำให้ได้อย่างเขา

แต่ก็ไม่ใช่ง่ายๆ เลยช่วงแรกๆ ก็มีอุปสรรคจากคนภายใน ครอบครัว คือช่วงที่ดูรายการผมเรียกแม่ให้มาดูด้วยแล้วบอกว่า แม่คนตาบอดเขามีงานท�ำได้ เดินทางไปท�ำงานได้ อยากจะท�ำอย่างเขา ให้ได้บ้าง อยากจะไปเรียนบ้าง แม่ผมก็บอกว่าจะไปท�ำอย่างเขาได้ยังไง เขาเป็นมาตั้งแต่ก�ำเนิดเขาก็ต้องท�ำได้ แต่เราเพิ่งจะเป็นมันท�ำไม่ได้หรอก จนเรามีปัญหากับแม่ ทะเลาะกันว่าเราจะไปเรียนแต่เขาไม่ให้ไป เพราะตั้งแต่ ตอนแรกที่หมอบอกกับเรา เขาบอกให้เราไปเรียน ต้องไปเรียน แต่ไปได้ แค่ครั้งเดียวแล้วก็ไม่เคยไปอีกเลย อยู่มาเกือบ 2 ปี จนทะเลาะกับแม่ว่า ผมจะไปเรียนจะได้ไปไหนมาไหนได้ ทะเลาะกันอยู่พักนึงกว่าจะหาข้อยุติได้ เนื่องจากผมต้องการจะไปเรียนตอนเช้ากลับบ้านตอนเย็น เพราะที่เรียน อยู่ใกล้บ้าน แต่แม่บอกว่าไม่ได้ถ้าอยากจะไปก็ต้องไปอยู่เลย ไม่ต้องกลับมา เราจึงตัดสินใจเก็บเสื้อผ้าแล้วไปอยู่เดือนนึง


จ�ำผู้หญิงในทีวีคนนั้นได้ไหม?

จ�ำได้ว่าเขาชื่อ คุณนุช เขาเป็น ต้นแบบคนพิการที่มีส่วนช่วยท�ำให้เราอยาก พัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น ผมไม่เคยเจอตัวจริงเขาแต่เขา เป็นจุดแรกที่ท�ำให้ผมได้เห็นว่าไม่ได้มีเราคนเดียวที่ตาบอด จนเมื่อได้มาเรียนก็มีหลายต้นแบบที่เราได้เห็นอีก อย่างเช่น ตอนเรียน ผมได้เจอเพื่อน 2 คน เรียนไม้เท้าพร้อมกัน ตาบอดปีเดียวกัน คนนึงเป็น น�้ำท่วมในสมองแล้วตาบอด เขาเป็นอาจารย์อยู่พระจอมเกล้าพระนครเหนือ สอนวิทยาศาสตร์เคมี อีกคนนึงเป็นเนื้องอกในสมองแล้วตาบอด เป็นลูกชาย เจ้าของโรงสีที่นครสวรรค์ อาจเพราะพื้นฐานเราเป็นคนพิการภายหลังเหมือนกัน บางทีที่คุยปรับทุกข์กันมันท�ำให้เราเข้าใจกัน ตอนเรียนเรียนด้วยกันเราก็ช่วยกัน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ก็ยิ่งท�ำให้เราพัฒนาได้เร็ว ตัวผมเรียนไม้เท้าขาวกับ อักษรเบลล์ ส่วนพี่เจ้าของโรงสีเรียนไม้เท้าขาวกับคอมพิวเตอร์ และพี่ที่เป็น อาจารย์เรียนสามอย่างทั้งไม้เท้าขาว อักษรเบลล์ คอมพิวเตอร์ ผมไม่ได้เรียนคอมพิวเตอร์เขาก็สอนคอมพิวเตอร์ให้ผม หรือ อักษรเบลล์เราใช้เวลาแค่อาทิตย์เดียวก็จ�ำได้หมด เพราะว่าเราถามกันคุยกัน ท�ำให้เราเป็นไว


มาเป็นไกด์ที่นิทรรศการนี้ได้ยังไง?

ได้ข่าวจากเพื่อนๆ ว่าเขามีการเปิดรับคนเข้าท�ำงาน ตอนแรก ไม่รู้หรอกว่าอะไร แต่เพื่อนเขามาบอกว่าเป็นนิทรรศการจากเยอรมันมา เปิดปีนึง อย่างน้อยก็มีงานท�ำปีนึงน่าจะไปลองสมัครดู ผมไม่ได้สนใจอะไรนัก แต่เพื่อนที่จะมาสมัครเขาชวนมาเป็นเพื่อน ผมเลยมาสมัครกับเขาด้วย พอสอบสัมภาษณ์แล้วเขาไม่ติดแต่ผมติด หลังจากนั้นก็ลองไปเสิร์ชหาในอินเตอร์เน็ต แล้วดูว่ารูปแบบนิทรรศการเป็นยังไงก็มีความสนใจอยู่ว่าน่าจะดี มีโอกาสได้บอกได้พูด ได้คุยกับคนที่ไม่ได้พิการ แรกๆ ก็ไม่อยากมาเพราะบ้านไกล ผมอยู่พุทธมณฑลสาย 6 และไม่รู้เส้นทางเลย ไม่ชินกับวิธีการเดินทาง แรกๆ ผมขึ้นแต่แท็กซี่ ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่าย สูงมาก ก็คิดว่าจะไหวรึเปล่า จะมาดีไหม แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจมาท�ำ แล้วได้ลองสอบถาม ข้อมูลจากคนอื่นบ้าง หาในอินเตอร์เน็ตบ้าง ว่ามีเส้นทางไหนที่สะดวกกับเรามากที่สุด เพราะเลิกงานตอน 2 ทุ่มกว่าจะถึงบ้านก็ดึก รถแถวบ้าน แถวนครปฐมเที่ยวสุดท้าย ทุ่มครึ่งก็หมดแล้ว จนสุดท้ายได้มาเจอรถตู้ที่หน้าเซ็นทรัล เป็นรถตู้นครชัยศรีฯ วิ่งผ่านหน้าบ้านพอดี ประหยัดกว่าต้องนั่งแท็กซี่มาก จนทุกวันนี้ก็ 2 ปีแล้ว


หรือบางทีร้านขายผลไม้ ตอนหยิบมาให้เราจับเป็นของดีๆ แต่พอชั่งใส่ถุง กลายเป็นของที่มันช�้ำแล้ว เสียแล้ว หรือบางคนที่ป้ายรถเมล์ สนุกครับ ได้เจอคนเยอะ ได้เจอคนทุกวัยทั้งเด็กๆ นักศึกษา แค่เดินไปถามเขา เขากลับเดินหนีเรา ไม่คุยกับเรา หรือแม้แต่ นักเรียน วัยท�ำงาน ผู้สูงอายุ แต่ผมชอบเด็กๆ เพราะว่าเขาเป็น การลุกให้นั่งบนรถเมล์บางทีก็เป็นเด็กที่ลุกให้เรานั่ง ด้วยความที่เราเป็นผู้ชาย อนาคตของชาติ เหมือนอย่างค�ำที่ว่า ”ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” ถึงจะตาบอดแต่แขนขายังดีอยู่ ยังยืนได้ บางครั้งก็ไม่อยากจะนั่งแต่ถ้าไม่นั่งมันจะมี เป็นวัยที่เราสามารถจะป้อนให้เขาได้เข้าใจคนพิการบ้าง เพราะถ้าคนเรา ค�ำว่าที่ตามมา อาจไม่ได้มาจากคนที่ลุกให้เรานั่ง แต่เป็นคนที่อยู่รอบข้างเขาจะว่าเราว่า มีพื้นฐานความเข้าใจตั้งแต่เล็กๆ จะยิ่งดี เพราะเราไม่รู้ว่าในอนาคตเขา ”ตาบอดแล้วยังจะหยิ่งอีก ให้นั่งก็ไม่นั่ง” แต่ถ้าเขาเข้าใจว่าผู้ชายในรถมีตั้งเยอะกลับไม่มี ต่อไปจะได้เป็นอะไร ถ้าเขาเข้าใจคนพิการตั้งแต่ตอนนี้มันจะกลายเป็น การปลูกฝังให้เขาไปจนโต และในอนาคตจะท�ำให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตใน ใครลุกเลย มีแค่เด็กผู้หญิงที่ลุกให้ ถ้าไม่นั่งก็ไม่ได้ อยากให้เข้าใจกันว่าคนพิการบางครั้งถ้ามี โอกาสได้เป็นผู้ให้บ้างมันก็รู้สึกดี มีครั้งหนึ่งบนรถไฟฟ้าผมเคยนั่งมาจากแบริ่ง มีเด็กเล็กๆ สังคมได้ง่ายขึ้น เพราะมีคนเข้าใจมากขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ เคยมีร้าน ขายกระเป๋ามาขายอยู่ตรงบันไดเลื่อน ด้วยความที่ไกด์ที่นี่หลายคนอยากจะ วิ่งเข้ามากับแม่ มาอยู่ตรงหน้าเราพอดี ก็รีบลุก แม่เขาบอกไม่ต้องหรอก แต่เราลุกแล้ว เด็ก 2 คนเขาก็วิ่งไปนั่งตรงที่เราลุกให้ พอลงรถเราลงสถานีเดียวกัน เด็กวิ่งมาเลยบอก ได้กระเป๋า ก็ลงไปข้างล่างไปเลือก ไปจับ ไปเปิด เพื่อดูว่ารูปทรงมัน ขอบคุณขอให้พระเจ้าคุ้มครองเพราะเขานับถือคริสต์ มันรู้สึกดีมากนะ ท�ำให้เรายิ้มได้ เป็นยังไง มีกี่ซิป กว้างไหม ชอบไหม แต่คนขายก็เดินมาว่าซึ่งถ้าเขา ทั้งวันและมีความสุขกับการที่เราได้เป็นผู้ให้บ้าง แต่ก็เคยมีที่เป็นเด็กมากับพ่อ เข้าใจว่าจริงๆ แล้วเราเป็นคนตาบอด จะให้เรายืนเฉยๆ เราลุกให้เขานั่ง แต่เด็กไม่นั่งพ่อเขาคงจะดึงไว้ บอกไม่เป็นไรไม่ต้องเดี๋ยว ก็ไม่รู้ว่าของที่จะซื้อตรงกับความต้องการไหม เพราะ ไปนั่งที่อื่น เราก็ต้องกลับไปนั่งเพราะคนเราคิดไม่เหมือนกัน และเพราะ เราต้องใช้การสัมผัส แต่เขาไม่เข้าใจ รถไฟฟ้าเป็นอะไรที่ง่าย สะดวกกับเราที่จะยืน จะเดิน แต่ถ้าเป็นรถเมล์จะขับเร็ว ยืนได้แต่ไม่ค่อยมั่นคง

ท�ท�ำำงานที ไหม? งานที่นี่สสนุนุกกไหม?


รู้สึกอย่างไรที่ได้เป็นคนตาบอด ที่มีหน้าที่คอยให้ความรู้กับคนตาดีที่มาเข้าชม นิทรรศการบทเรียนในความมืด?

บอกได้เลยว่าผมรู้สึกดี ผมชอบที่จะท�ำ เพราะบางทีนักศึกษา ปริญญาโท หรือระดับอาจารย์เข้ามาแล้วเรามีโอกาสได้พูดได้คุย เพราะถ้าเราเป็นคนตาบอดธรรมดาที่ไม่ได้อยู่ในนิทรรศการนี้ เราไปยืนพูด ยืนคุยกับเขา เขาไม่ฟังหรอกครับ แต่อยู่ที่นี่มันมีโอกาสได้คุย เขายินดีเขาเต็มใจ ที่จะฟังในเรื่องของทัศนคติของเรา สิ่งที่เราอยากจะบอกกับเขา ว่าเราต้องการ จะสื่ออะไร มันรู้สึกดี ตอนที่ผมยังมองเห็นผมมองคนตาบอดว่าท�ำได้แค่ 3 อย่าง คือ ร้องเพลง ขอทาน ขายล๊อตเตอรี่ เพราะตอนเด็กเคยไปยืนมองคนตาบอด เล่นดนตรี แดดร้อนมาก ยืนเหงื่อตก แต่ยิ้มถือกล่องเพลง ผมคิดว่าเขาบ้ารึเปล่า แดดร้อนจะตายท�ำไมยังยืนยิ้มอยู่ได้ แต่พอเรามาตาบอดเองเราถึงได้รู้ว่า คนตาบอดท�ำอะไรได้อีกตั้งเยอะ อยู่ที่ว่าใครจะได้โอกาสจากสังคมมากกว่า เท่านั้นเอง คนตาบอดเรียนจบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกก็มี แต่ก็ขึ้นอยู่ที่โอกาสของแต่ละคนว่าใครจะได้รับมากน้อยกว่ากัน


3


ขวัญ เสาสูง (พี่ขวัญ) ไกด์นำ�ชมนิทรรศการ

พี่ขวัญ เป็นหนึ่ง ในบรรดาพี่ ไกด์ตาบอดประจำ� นิทรรศการ เป็นขวัญใจของผู้ที่มาชม นิทรรศการหลายๆคน พี่ขวัญเป็นผู้พิการ ทางสายตาที่เป็นมาตั้งแต่กำ�เนิด ถึงแม้ว่า จะตาบอด แต่ ใจพี่ขวัญไม่เคยบอดและเปลี่ยน ส่วนด้อยให้กลายมาเป็นพลังใจผลักดันชีวิต ให้ดำ�เนินต่อไป จนได้กลายมาเป็น หนึ่งกำ�ลังประจำ�นิทรรศการ


มาเป็นสมัครเป็นไกด์ประจ�ำนิทรรศการ บทเรียนในความมืดนี้ได้ยังไง แล้วสนุกกับงานนี้ไหม?

สนุกดีครับ ก่อนหน้านี้ผมเรียนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต คณะครุศาสตร์ พอเรียนจบก็ว่างงานไปปีนึง จนได้ทราบข่าวการรับสมัครงานของที่นี่ ครั้งแรกได้ยินข่าวมาจากเพื่อนๆ ว่าเขาเปิดรับสมัครเลยมาสมัครบ้าง ซึ่งตอนที่มาสมัคร ผมสมัครผ่านสมาคมคนตาบอดครับ แล้วถึงได้มาสัมภาษณ์จนผ่านจึงได้มาเทรนเป็นไกด์ ผมเป็นไกด์มาตั้งแต่เปิดนิทรรศการเลยครับ นิทรรศการนี้มีมาประมาณสองปีกว่าแล้ว หลังจากที่เขาเปิดรับสมัครและได้มาท�ำจนถึงทุกวันนี้ก็รู้สึกว่าเป็นงานที่สนุกดีครับ


มีคนสนใจคนมาชมนิทรรศการเยอะไหม?

ในแต่ละวันจ�ำนวนคนที่มามักไม่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลา ถ้าเป็นช่วงปิดเทอมหรือช่วงวันเสาร์ อาทิตย์คนจะเยอะ เพราะเป็นวันหยุด และจะเป็นช่วงหยุดเรียนที่มีเด็กๆ มาชมกันเยอะ และที่ผมได้เจอมา เด็กอายุน้อยที่สุดที่เคยมาชมคือประมาณ 4-5 ขวบครับ เวลาเดินเข้าไปข้างใน จะต้องให้ผู้ปกครองคอยช่วยหรืออุ้มไว้ และไกด์เองจะมีช่วยบ้างครับ ส่วนคนแก่ที่มาชมก็มีอายุมากที่สุดประมาณ 70-80 ปีครับ


ช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับไกด์น�ำทางและ คนประจ�ำจุดต่างๆ ภายในนิทรรศการนี้ให้หน่อย ว่าท�ำไมถึงท�ำอะไรได้อย่างกับมองเห็น ทั้งๆ ที่อยู่ในความมืด?

ไกด์ที่นี่เป็นคนตาบอดทั้งหมดเลยครับ และก่อนที่จะมาเป็นไกด์น�ำชมได้ พวกเราต้องเรียนรู้ก่อนว่าสิ่งของข้างในแต่ละจุดคืออะไร มีอะไรบ้าง เราต้อง จ�ำให้ได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน อย่างตัวผมเองได้มีโอกาสได้เทรนกับมาสเตอร์ไกด์ที่มาจาก ต่างประเทศ เขาจะเคร่งครัดมากเทรนให้เรารู้คอนเซ็ปว่าเราต้องเป็นคนน�ำทาง ส่วนเรื่อง การแบ่งหน้าที่กันของไกด์ บาร์เทนเดอร์ และคนขับรถในนิทรรศการนี้จะวนสลับกันไป ในแต่ละวัน บางวันมาอาจจะเจอผมเป็นบาร์เทนเดอร์ หรือเป็นคนขับรถก็ได้ ซึ่งไกด์ แต่ละคนจะมีวิธีการน�ำชมไม่เหมือนกัน และจะมีสไตล์ที่เป็นของตัวเอง ส�ำหรับใครที่เคยมา หลายครั้งแล้ว จะพบว่าในแต่ละครั้งที่มาก็จะได้เจอกับพี่ไกด์ที่แตกต่างกันไป หรืออาจจะ ได้เจอพี่ไกด์ที่เคยน�ำชมไปเป็นบาร์เทนเดอร์หรือคนขับรถแทนก็ได้


พี่ขออนุญาตปิดบทเรียนเลยนะครับ พี่ชื่อพี่ขวัญเป็นไกด์ พี่สิเป็นบาร์เทนเดอร์ และพี่หนึ่งเป็นคนขับสามล้อ ขอบคุณครับที่มาชมนิทรรศการ และหวังว่าโอกาสหน้าคงจะมีโอกาส ได้ต้อนรับอีก ขอบคุณมากครับ.


บทเรียนที่


{

The Quote

}


{ } นิทรรศการนี้เป็นบทเรียนให้ได้รู้ว่า เรามีประสาทสัมผัสอะไรบ้างที่สามารถพัฒนา ให้เป็นประโยชน์ได้ นอกจากดวงตา ท�ำให้เข้าใจผู้พิการทางสายตามากขึ้น เปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้ระหว่างผู้พิการทางสายตาและ ผู้มีสายตาปกติที่จะยอมรับและอยู่ร่วมกัน ในสังคม

- ดร.พิชัย สนแจ้ง ผู้อำ�นวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

40

ll MESSAGE IN THE DARK ll


{ } บทเรียนในความมืดช่วยให้คนในสังคมเข้าใจ ผู้พิการทางสายตา รับรู้ว่าพวกเขาสามารถ ท�ำงานและใช้ชีวิตในความมืดได้ เป็นอย่างดี และยังช่วยขจัดความกลัว จากสิ่งที่ไม่เคยสัมผัส ส่งเสริมให้คนในสังคม แสวงหาความรู้ สร้างสรรค์จินตนาการ

- มณเฑียร บุญตัน นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย

ll MESSAGE IN THE DARK ll

41


{ } เมื่อคุณอยู่ในโลกที่กลับด้าน เป็นคุณเอง ที่ตาบอด มุมมอง ความคิด ทัศนคติ ที่คุณมีต่อคนตาบอดจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร และคุณจะเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ ครั้งนี้ ในนิทรรศการ Dialogue in the Dark บทเรียนในความมืด น่าจะให้ค�ำตอบแก่คุณได้

- พสุภา ชินวรโสภาค ผู้สัมภาษณ์คัดเลือกไกด์ให้กับนิทรรศการ Dialogue in the Dark

42

ll MESSAGE IN THE DARK ll


{ } เมื่อมองไม่เห็น หนูก็ยอมรับความจริง ว่าตัวเราเปลี่ยนไป เรามองตัวเราก็เห็นว่า ความสามารถน้อยลง แต่ก็ยังมีอยู่ ยังไม่หมดไป เมื่อเรายอมรับมันได้ เวลาก็ช่วยท�ำให้เราดีขึ้น รวมถึง ยา หมอ และพ่อแม่ ครอบครัวของหนูด้วย

- สิ ผู้พิการทางสายตา

ll MESSAGE IN THE DARK ll

43


{ } ผมมองว่าการที่คนตาบอดมีคนตาดี ช่วยในบางกรณี มันคือความเป็นเพื่อนมนุษย์ ผมยังรู้สึกว่าโชคดีที่โลกมีทั้งคนตาบอด และคนตาดีอยู่ร่วมกัน เพราะเราต้องพึ่งพา ช่วยเหลือกัน

- อาจารย์วีระแมน นิยมพล หัวหน้าแขนงหลักสูตรปริญญาโทด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

44

ll MESSAGE IN THE DARK ll


{ } คนตาบอดเอนจอยกับการท่องเที่ยวได้หมด ทั้งอายตนะ 6 บางทีคนตาดีอาจเห็นแต่ตา ลืมสังเกต ลืมฟังเสียงนก ลืมกลิ่นทะเลไป

- วิมล อ่องอำ�พร ครูโรงเรียนสอนคนตาบอด

ll MESSAGE IN THE DARK ll

45


บทเรียนที่


The Blind & Lifestyle

การรับรู้

การเดินทาง

การใช้ชีวิต


การใช้ชีวิต

L

I

F

E

S

T

Y

L

E


คนตาบอดก็ กลัวผีเป็น!

คนตาบอดก็ แยกแบงก์ออก!

ถึงแม้ว่าจะมองไม่เห็น ถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้ดูหนังผี แต่คนตาบอดก็กลัวผีเหมือนคนปกตินะ เพราะเรา ต่างก็โตกันมาบนประสบการณ์ ninety shock เหมือนกัน และคนตาบอดเองก็มีผี ในจินตนาการของเขาด้วยเหมือนกัน

ดูได้จากความยาวของแบงก์ ซึ่งแต่ละใบก็มีขนาด ที่ไม่เท่ากัน หรือท�ำได้โดยการพับครึ่งแบงก์ แล้วพับ ลงอีกครั้งให้เป็นสามเหลี่ยม และดูส่วนที่เกินออก มา ยิ่งมีส่วนที่เกินยื่นออกมามาก แบงก์จะยิ่ง มีราคาเพิ่มสูงขึ้นไปตามล�ำดับ

คนตาบอดก็ใช้ โทรศัพท์มือถือ!

ถึงจะมองไม่เห็นปุ่มกด แต่ฟังเสียงเอาก็ได้ เพราะปุ่มกด บนโทรศัพท์มีเสียงที่แตกต่างกันอยู่แล้ว หรืออาจจะตั้งเป็น ระบบใช้เสียงก็ท�ำได้ แต่มีเฉพาะมือถือบางยี่ห้อเท่านั้น คนตาบอดชอบ หรือเครือข่ายระบบโทรศัพท์มือถือหลายๆ ค่ายเอง ก็มีโปรโมชันส�ำหรับคนตาบอดด้วยเหมือนกัน ร้านไหนถูกปาก ถูกใจ ร้องเกะมาก! ทั้งโปรโมชันคุยกันในเครือข่าย หรือโปรโมชัน ไม่พลาดต้องบอกต่อ! ฟังหนังสือเสียงฟรีก็มีให้ได้เลือกกัน คาราโอเกะนับว่าเป็นแหล่งบันเทิงชั้นเยี่ยมส�ำหรับคน ตาบอด เพราะถึงแม้ตาจะมองไม่เห็นแต่ก็สามารถที่จะ ถ้าได้เจอร้านอาหารที่ถูกใจ ทั้งอร่อย บรรยากาศดี สนุกไปกับการร้อง เล่น เต้น เฮฮาได้อย่างเต็มที่ภายใน บริการเลิศ คนตาบอดจะมีความสุขมาก และแน่นอน ห้องคาราโอเกะแห่งนี้ แต่อาจจะต้องเลือกร้าน ว่าจะต้องมีการแนะน�ำต่อๆ กันให้เพื่อนในวงการ ที่คุ้นเคยกันเสียหน่อย เพื่อที่จะสนุกกันได้ คนตาบอดมาใช้บริการกันบ่อยๆ อย่างเต็มที่ ไม่มีกั๊ก


การเดินทาง

T

R

A

V

E

L


ง่าย

รถไฟฟ้า เป็นพาหนะที่สะดวกสบายมากที่สุด ส�ำหรับคนตาบอด เพราะนอกจาก จะมีเสียงบอกเมื่อถึงที่หมายแล้ว ยังมีบริการพิเศษส�ำหรับคนพิการ อีกด้วย เช่น มีลิฟต์ให้บริการเวลา ที่ต้องขึ้นลงสถานี มีเจ้าหน้าที่คอย อ�ำนวยความสะดวกจนกว่า คนตาบอดจะสามารถไป ต่อเองได้ เป็นต้น

สะดวก

ยาก

ลำ�บาก

แท็กซี่

รถเมล์

เรือ

เป็นอีกหนึ่งพาหนะที่ค่อนข้าง สะดวกส�ำหรับคนตาบอด เพียงแค่ พาตัวเองไปอยู่ในที่ที่มีคนเยอะๆ แล้วให้คนตาดีช่วยเรียกรถให้เท่านั้น แม้จะสะดวกกายแต่ก็อาจไม่ค่อย สบายใจ เพราะแท็กซี่บางคันก็มี โก่งราคาบ้าง ไม่รับคนพิการบ้าง แต่ถ้าเป็นเส้นทางที่ใช้บ่อยๆ ก็จะ ไม่เป็นปัญหามากนัก เพราะมีราคา ประจ�ำตายตัวอยู่แล้ว

การใช้เส้นทางเดิมบ่อยๆ จนชิน เป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้คนตาบอด สามารถจ�ำป้ายที่ขึ้นลงรถเมล์ได้ จากการสังเกต การถามไถ่ และการ รับรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ถึงขนาดว่าคนตาบอดบางคน แค่ฟังเสียงเครื่องยนต์ของรถเมล์ ก็สามารถบอกได้เลยว่ารถเมล์ สายนี้คือสายอะไร แต่ก็ไม่ใช่ว่า คนตาบอดทุกคนจะท�ำได้ ต้องเป็น คนตาบอดขั้นเทพตัวจริง ถึงจะสามารถบอกได้นะ

เป็นพาหนะที่เดินทางได้ล�ำบาก มากที่สุดส�ำหรับคนตาบอด ซึ่งคนตาบอดหลายคนพยายาม เลี่ยงที่จะใช้เส้นทางนี้ถ้าไม่จ�ำเป็น เนื่องจากเรือเป็นพาหนะที่ค่อนข้าง จะขึ้นลงได้ยาก และเมื่ออยู่ในเรือ แล้วก็ให้ความรู้สึกโคลงเคลง ไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัยนัก แต่ส�ำหรับ คนตาบอดที่เดินทางด้วยเรือเป็น ประจ�ำจะคุ้นเคยจนชินและสามารถ ปรับตัวได้เอง โดยอาจมีผู้ร่วมทาง ที่เป็นคนตาดีคอยช่วยเหลือบ้าง ll MESSAGE IN THE DARK ll

51


การรับรู้

S

E

N

S

E


อวัยวะส�ำคัญของที่ใช้ฟังและสังเกตเสียงต่างๆ รอบตัว ทั้งช่วย ในการใช้ชีวิตประจ�ำวัน การท�ำงาน และเสพสิ่งบันเทิงต่างๆ

ใช้ในการพูด ถามคนอื่นๆ รอบตัว เวลาตกอยู่ในความล�ำบาก เช่น หลงทาง และใช้รับรู้รสชาติของอาหารที่ทานเข้าไป

การสัมผัสเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นอย่างมากในชีวิตประจ�ำวัน ทั้งเวลาเลือกซื้อของ ใช้แยกขนาด แยกรูปร่าง

ใช้ดมกลิ่น ช่วยบอกทิศทาง ต�ำแหน่งของสถานที่และสิ่งของ ต่างๆ ได้ แล้วยังช่วยแยกแยะชนิด ประเภทของอาหารได้อีกด้วย


บทเรียนที่


THE MESSAGE


TO .

YOU

FROM . THE BLIND


THE BLIND : หลายครั้งที่ได้เห็นข่าวนักศึกษาผิดหวัง

คุณเคยรู้ไหมว่าคนตาบอดอยากจะบอกอะไร ให้กับคนตาดีอย่างเราได้รับรู้บ้าง

จากความรัก กระโดดตึกฆ่าตัวตายก็นึกเสียดายโอกาสที่ พวกเขามีอยู่ ทัง้ ร่างกายทีค่ รบถ้วน เงินทอง หรือครอบครัว ทีม่ พี ร้อมอยูแ่ ล้ว แต่กลับทิง้ โอกาสของตัวเองไปเสียง่ายๆ ผิดกับพวกเราคนพิการหลายๆ คน ร่างกายไม่ได้พร้อม โอกาสก็ไม่ค่อยมี พ่อแม่ก็ไม่ได้ส่งอะไรให้ แต่ต้องท�ำงาน ต้องเรียนด้วยตัวเอง ถ้าคนทั่วๆไปมองเห็นว่า คนพิการ ต้องใช้ความพยายามแค่ไหน แล้วลองเอามาเปรียบเทียบ กับตัวเองดู ปัญหาหรืออุปสรรคของคุณมันจะกลายเป็น เรื่องเล็ก ถ้าได้เทียบกับปัญหาและอุปสรรคของคนพิการ ทั้งปัญหาในการใช้ชีวิต การเรียน ทุกอย่างเลยจริงๆ

ll MESSAGE IN THE DARK ll

57


TO .

YOU

FROM . US


แปลจากอักษรเบลล์ : ขอบคุณที่ท�ำให้รู้ว่าตัวเรา

โชคดีมากที่เกิดมามองเห็นทุกอย่างบนโลกที่มีแสงสว่าง ขอบคุณทีท่ ำ� ให้รวู้ า่ ตัวเราโชคดีขนาดไหนทีเ่ กิดมาครบ 32 ขอบคุณที่ท�ำให้เราได้รู้ว่าโลกนี้ยังมีคนที่ต้องการก�ำลัง ใจจากคนปกติอย่างเรา และคุณต้องสู้ต่อไป ในเมื่อต้อง มาเป็นคนตาบอดแล้ว คุณต้องด�ำเนินชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้ อย่าท้อ พัฒนาตัวเองให้ทำ� ในสิง่ ทีค่ นปกติทำ� ได้ และต้อง ท�ำให้ดีกว่า เท่านี้ทุกสิ่งที่คุณท�ำมันจะเป็นพลังและก�ำลัง ใจให้กับคนปกติได้อีกมากมาย

ll MESSAGE IN THE DARK ll

59


TO . THE BLIND

FROM . THE BLIND


แปลจากอักษรเบลล์ : ไม่มีอะไรที่เกินความสามารถ

ถ้าเราพยายามที่จะท�ำมันเราท�ำได้แน่นอน ความส�ำเร็จ ของคนพิการอย่างเราไม่ใช่จะได้มาอย่างง่ายๆ ถ้าเรา ไม่พยายามตั้งแต่วันนี้ ก็ไม่มีโอกาสได้เห็นว่าความส�ำเร็จ เป็นอย่างไร ถ้าเทียบกับคนทั่วไปที่เขาใช้ความพยายาม หนึ่งเท่าตัวแล้วประสบความส�ำเร็จ แต่ถ้าเป็นคนตาบอด ต้องใช้ความพยายามมากกว่าถึงสอง สาม สี่ หรือห้าเท่าตัว ถึงจะมีโอกาสเห็นความส�ำเร็จนั้น ถ้าเราใช้ความพยายาม เท่าคนทั่วๆ ไปมันไม่มีโอกาสประสบความส�ำเร็จแน่นอน ทุกคนเรียนรู้และพัฒนาได้โดยเฉพาะคนพิการ แต่อยู่ที่ว่า ใครจะได้โอกาสมากน้อยกว่ากันและใครมีความเข้มแข็ง มากกว่ากัน


ขอบคุณ ข้อมูลประกอบหนังสือจากทุกท่านและทุกที่ นิทรรศการบทเรียนในความมืด (Dialogue in the dark) ประสบการณ์ดีๆ จากพี่ ไกด์ตาบอดประจำ�นิทรรศการทุกท่าน พี่เบลล์ และพี่ๆ ทีมงาน อพวช. สำ�หรับการดูแลและต้อนรับอย่างดี สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยและสหกรณ์คนตาบอด หนังสือ The black book of colors และนิตยสาร a day ฉบับที่ 93 อาจารย์ต้น - อาจารย์ยอดขวัญ สวัสดี อาจารย์ที่ปรึกษาผู้ผลักดันให้เกิดผลงานชิ้นนี้ และเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจคนสำ�คัญ เม รุ่ง เพื่อนบัดดี้ีอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน คณะกรรมการตรวจจุลนิพนธ์ทุกท่าน กำ�ลังกายและกำ�ลังใจจากเพื่อนๆ ทั้งหลาย ครอบครัว ยินดีที่ ได้รู้จักเพื่อนร่วมเดินทางในความมืดทุกคน และที่ขาดไม่ ได้ “ผู้พิการทางสายตาทุกคน” จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาตรีนิเทศศาตรบัณฑิต สาขาวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2555 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร


วาดโดย : พี่จู - อุดม อ่อนนาเวน



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.