RAYONG
ชี วิ ต ติ ด เกาะ เรื่องเล่าชี วิตจริงจากบุุ คคลที่อาศัยอยู ่บนเกาะ
Phangan
samui สวนมะพร้าวบ้านยาย
กมลชนก ศรีสวัสดิ์
2
3
4
5
ชี วิ ต ติ ด เกาะ เรื่องเล่าชี วิตจริงจากบุุ คคลที่อาศัยอยู ่บนเกาะ
ก่อนออกเดินทาง เมื่อเริ่มอ่านชื่อหนังสือ “ชีวิตติดเกาะ” หลายคนคงสงสัยว่า หนังสือเล่มนีค้ อื อะไร เกีย่ วกับอะไร จะไปในทิศทางไหน บางคนสงสัย คงหยิบมาอ่านต่อ แต่บางคนคงอาจเก็บไว้ที่เดิม… ฉะนั้นจะต้องขออธิบายเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้เสียหน่อยว่า หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กเล่มนี้ เป็นงานเขียนประเภทสารคดีบุคคล โดย บุคคลเหล่านี้ประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตอยู่บนเกาะจริงๆ ท�ำให้ชีวิต พวกเขามีเสน่ห์และความน่าสนใจ “ชีวิตติดเกาะ” อาจเป็นเพียงแค่ชื่อเท่ๆ ที่ฉันอยากจะตั้ง ขึ้นมาให้รู้สึกน่าสนใจในทีแรก แต่พอได้ลองเข้าไปพูดคุยกับคนเหล่า นี้จริงๆ เชื่อหรือไม่ว่า ฉันคิดว่าทุกอาชีพที่ฉันได้ไปสัมผัสมา ไม่ว่าจะ เป็น นักควงกระบองไฟ ครูสอนลิง หรือคนคุมลิงขึน้ มะพร้าว และชาว ประมงเรือเล็กนัน้ ทุกอาชีพ และเรือ่ งราวชีวติ ส่วนตัวของทุกคนช่างมี เสน่ห์อย่างไม่น่าเชื่อ
จากตอนแรกทุกอย่างเริ่มต้นจาก ชื่อหนังสือ บวกกับความ ชอบในการเดินทาง และผสมกับที่โดยส่วนตัวฉันเป็นคนช่างพูดช่าง คุย ท�ำให้รวู้ า่ ทุกสถานทีท่ เี่ ดินทางไปเทีย่ วนอกจากความสวยงามแล้ว เรือ่ งราวต่างๆ ทีม่ แี ต่คนพืน้ ทีเ่ ท่านัน้ ทีร่ กู้ เ็ ป็นเรือ่ งทีช่ า่ งน่าสนใจอยูไ่ ม่ น้อย และกว่าจะได้ออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้นั้น ทุกอาชีพและบุคคล ทุกคนทีน่ ำ� เรือ่ งราวของเขามาเรียบเรียง ล้วนแล้วแต่ผา่ นการคัดกรอง มาอย่างดี นอกจากเกร็ดความรู้ทางด้านอาชีพและวิถีชีวิตของคนบน เกาะที่เป็นเรื่องไกลตัวหนุ่มสาวชาวเมืองอย่างพวกเราแล้ว สิ่งส�ำคัญ อีกอย่างหนึง่ ทีฉ่ นั มีความตัง้ ใจอยากถ่ายทอดออกมาคือ แนวความคิด การใช้ชวี ติ ของบุคคลเหล่านีอ้ าจเติมเชือ้ ไฟในการใช้ชวี ติ ให้ใครหลายๆ คนได้ ไม่มากก็น้อย กมลชนก ศรีสวัสดิ์
9
ชีวิตติดเกาะ เรื่อง กมลชนก ศรีสวัสดิ์ ที่ปรึกษา อาจารย์ อารีย์ พีรพรวิพุธ คณะที่ปรึกษา อาจารย์มันทนา เจริญวงศ์ รศ.ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย อาจารย์สมเกียรติ จันทรสีมา อาจารย์กองทรัพย์ ชาตินาเสียว ภาพประกอบ กมลชนก ศรีสวัสดิ์ หนังสือเล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้ามลอกเลียนแบบ ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่ารูปแบบหรือวิธีการ ใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต
สารบัญ Q-A?
13
ตั้งคำ�ถาม และ หาคำ�ตอบ Dare To Do
21
หวาดเสียว แต่ ปลอดภัย BEST FRIENDs
43
เพื่อน... ผู้ให้ mAriner
83
ลูกทะเล Home Town
กลับบ้าน
109
12
Q-A?
ตั้งคำ�ถาม และ หาคำ�ตอบ
บทที่
1
ก่อนออกเดินทาง แสงหน้าจอคอมพิวเตอร์สว่างขึน้ ฉันใส่คำ� ทีต่ อ้ งค้นหาลงไป ในกรอบสีเ่ หลีย่ ม และเลือ่ นลูกศรไปกด ทีค่ ำ� ว่า “ค้นหา” เพียงไม่นาน ก็มีรายการต่างๆ ขึ้นมาเต็มไปหมด ก่อนหน้าที่จะค้นข้อมูลทาง อินเตอร์เน็ตฉันมีก�ำหนดการอยู่แล้วว่า จะลงพื้นที่ไปทางด้านฝั่งอ่าว ไทย เพราะดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีส�ำหรับช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม แม้อาจมีฝนบ้าง แต่ก็ดีกว่าทางฝั่งอันดามันที่ฝนจะตกชุกในช่วงนี้ ของปี ฉันค่อยๆ นัง่ ดูทลี ะหัวข้อทีป่ รากฏขึน้ มาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จนแน่ใจว่าหัวข้อไหนเป็นอันที่ต้องการจึงจะกดเข้าไปอ่าน ค�ำแรกที่ท�ำการค้นหานั้นคือ “นักควงกระบองไฟ” ฉันไม่รู้ จักใครเป็นพิเศษส�ำหรับคนที่ประกอบอาชีพนี้ แต่เคยอ่านบทความ 14
ในนิตยสารผู้ชายมาบ้างที่ว่า หนุ่มๆ นักควงกระบองไฟนั้นจะเปลี่ยน สาวไม่ซ�้ำหน้าในแต่ละคืน ท�ำให้ฉันรู้สึกว่าจะเป็นการตีความแค่เรื่อง ประเภทนัน้ อย่างเดียวไปหน่อยไหม เลยอยากลองท�ำความรูจ้ กั กับคน ที่ประกอบอาชีพนี้ในมุมอื่นๆ บ้าง เพราะคงไม่มีใครท�ำงานที่เสี่ยง อันตรายเพื่อหวังเรื่องประเภทนั้นอย่างเดียว แต่การค้นหาหนุ่มๆ นักควงกระบองไฟพวกนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เลย ค่อนข้างเป็นไปด้วยความล�ำบากเพราะไม่รวู้ า่ จะติดต่อพวกเขาได้ อย่างไร ในเมื่อไม่มีแม้กระทั่งเบอร์โทรศัพท์หรือที่อยู่ที่สามารถติดต่อ ได้ลงไว้ ตอนแรกคิดว่าต้องตัดใจเสียแล้ว จนกระทัง่ ได้พดู คุยกับเพือ่ น สาวคนหนึง่ เธอแนะน�ำให้ไปทีเ่ กาะเสม็ด ร้านพลอยทะเล เพราะทีน่ นั่ มีการแสดงควงกระบองไฟทุกคืน ฟังอย่างนั้นแล้วดูเหมือนจะพอมี ความหวังขึ้นบ้าง หลังจากการค้นหาข้อมูลเบื้องต้นทางอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับ เกาะเสม็ด และการควงกระบองไฟ ทีร่ า้ นพลอยทะเล ความมัน่ ใจของ ฉันในการตัดสินใจทีจ่ ะไปทีน่ นั่ ก็มากขึน้ เพราะนอกจากเกาะเสม็ดจะ ไม่ไกลจากรุงเทพฯ แล้วยังอยู่ฝั่งทะเลอ่าวไทยซึ่งตรงกับแผนการที่ได้ วางเอาไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเพื่อนทุกคน และอาจารย์ก็เห็นด้วยว่าควร ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลสักครั้งก่อน และเมื่อตกลงอย่างนั้น การเดินทาง ไปหาค�ำตอบ ที่มาของอาชีพคนควงกระบองไฟจึงเริ่มต้นขึ้น 15
ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ด้วยค�ำสัญญาที่ให้ไว้กับคณะ กรรมการ และความตัง้ ใจของฉันเองว่า จะเขียนเรือ่ งราวของบุคคล จาก 3 อาชีพ หลังจากที่ได้อาชีพแรกแล้ว คือนักควงกระบองไฟ อาชีพต่อไปที่ตั้งใจจะลงใต้ไปท�ำความรู้จักคือ อาชีพครูฝึกสอนลิง ในตอนแรกทีน่ ำ� เสนอทุกคนต่างดูสนใจในเรือ่ งนีเ้ ป็นพิเศษ ส่วนตัวฉันเองก็คิดว่าน่าสนใจดีแต่ยังไม่ดึงดูดใจเท่าไรนัก ได้เริ่ม กระบวนการเดิมอีกครั้งหนึ่งคือหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต พิมพ์ลง ไปในช่องค้นหาว่า “โรงเรียนฝึกสอนลิง” ท�ำการค้นหาอยูน่ าน ปรับ เปลี่ยนค�ำไปเรื่อยถึงได้ข้อมูลมา ครั้งนี้ดูจะง่ายกว่าตอนค้นหานัก ควงกระบองไฟ เพราะมีเบอร์โทรศัพท์ติดต่อไว้ให้แล้วในแต่ละที่ แต่เนื่องด้วยขอบเขตที่วางไว้ว่าบุคคลและอาชีพนั้น ต้อง อยู่บนเกาะท�ำให้มันยิ่งยากขึ้นไปอีก จนฉันได้ไปเจอกับบทความ หนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับศูนย์ฝึกสอนลิงบนเกาะสมุย ในนั้นมีเลขหมายโทรศัพท์ของอาจารย์ผู้ฝึกสอนเขียนไว้ ด้วย จึงได้ท�ำการต่อสายไปยังเลขหมายดังกล่าว แต่กลับมีเสียง สัญญาณตอบว่าเลขหมายยังไม่ถกู เปิดให้บริการ ตอนนัน้ คิดว่าต้อง ลงพื้นที่ และค้นหาโรงเรียนแห่งนี้โดยไร้การนัดหมายเสียแล้ว
16
ยิ่ ง ท� ำ ให้ ต ้ อ งท� ำ การบ้ า นหนั ก กว่ า ครั้ ง เก่ า จนไปเจอกั บ เบอร์ โทรศัพท์ที่ยังสามารถใช้การได้อยู่ ท�ำให้การนัดหมายระหว่างฉัน กับครูฝกึ สอนลิงบนเกาะสมุยถูกนัดหมายขึน้ แต่ครัน้ จะเดินทางไป แค่เพื่อสัมภาษณ์อาชีพครูฝึกลิงเพียงอย่างเดียวก็กลัวว่าจะไม่พอ หลังจากจัดแจงเตรียมวางแผนวันที่การเดินทาง มีเพื่อน สาวอีกคนหนึ่งน�ำเลขหมายโทรศัพท์ของคนที่เธอรู้จักมาให้ เล่าว่า เลขหมายที่เธอให้มานั้นเป็นของคุณป้าที่เธอพอจะรู้จัก และสามี ของคุณป้าก็ท�ำอาชีพคุมลิงขึ้นมะพร้าว ใจฉันพอทราบอย่างนั้นก็ ไม่รอช้ารีบกดเลขหมายเพือ่ ติดต่อไปขอนัดพบคุณลุงและคุณป้าใน ทันที อาชีพคนคุมลิงขึ้นมะพร้าว ไม่ได้อยู่ในรายการของฉันมา ก่อน แต่ฟังดูน่าสนใจมาก จากการที่ค้นหาข้อมูลเบื้องต้น อาชีพนี้ มี ม านานแล้ ว บนเกาะสมุ ย อย่ า งไรก็ ต ามถึ ง จะมี อ ยู ่ ทั่ ว ไปบน เกาะสมุยแต่คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่อยู่ๆจะเดินไปพูดคุยหรือพบกับ คนคุมลิงขึ้นมะพร้าว และฉันเองก็ไม่ได้มีความรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่อง นีเ้ ลย ได้แต่หวังว่ารายการค�ำถามทีท่ ำ� ขึน้ มานัน้ ไปถึงแล้วจะพอใช้ การได้บ้าง
17
เมื่อร่ายยาวมาถึงตรงนี้ทุกอย่างดูเป็นไปตามแผนการหมด แต่ตดิ อย่างเดียวทีว่ า่ ยังขาดอีกหนึง่ อาชีพ แต่ดว้ ยความมีนำ�้ ใจของคุณ ลุงคุณป้าที่เกาะสมุย ทุกคนพอรู้ว่าฉันต้องการจะถ่ายทอดเรื่องราว ของเขาออกมาก็พากันช่วยเหลือเป็นอย่างดี จนได้พบกับ อาชีพประมง เรือเล็ก ฟังทีแรกฉันก็ว่ามันออกจะดูธรรมดาไปไหม เพราะอาชีพ ประมงใครๆ เขาก็รู้จักกัน แต่ทกุ คนยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า อาชีพประมงไม่ใช่อาชีพ ง่ายๆ คนทุกคนที่ประกอบอาชีพนี้ต้องมีทักษะอย่างมาก ถึงทุกคนจะ พูดอย่างนั้นฉันก็ยังคงคิดว่าอาชีพนี้ไม่น่าสนใจ จนกระทั่งได้ไปพูดคุย กับ คุณลุงอุทร และ คุณลุงอารมณ์ ทั้งสองท�ำอาชีพขับเรือทั้งคู่แต่คน หนึ่งท�ำประมงร่วมกับขับเรือรับนักท่องเที่ยว ระหว่างนั่งเล่นและพูด คุยกันสักพักความคิดฉันถึงกลับเปลีย่ นแปลงไปจากตอนแรกอย่างสิน้ เชิง เพราะเรื่องราวชีวิตของคุณลุงทั้งสองคนมีความน่าสนใจมากกว่า อาชีพที่แกท�ำเสียอีก
18
20
Dare To Do
หวาดเสียว แต่ ปลอดภัย
บทที่
2
นักควงกระบองไฟ ณ เวลา 9.00 น. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทางท่ารถฝั่งโรง พยาบาลราชวิถี เป็นเวลาทีร่ ถตูโ้ ดยสาร กรุงเทพ – ระยอง (เกาะเสม็ด) ก�ำลังจะออกจากจุดปล่อยรถ ฉันเองก็เดินทางไปกับรถโดยสารคันนี้ ด้ ว ยและใช้ เวลาเพี ย งไม่ กี่ ชั่ ว โมง ก็ เ ดิ น ทางมาถึ ง ท่ า ข้ า มเรื อ ไป เกาะเสม็ด เกาะเสม็ดเป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาเกาะเสม็ดไม่สามารถน�ำรถไปได้ จ�ำเป็น ต้องข้ามเรือมาซึ่งก็ใช้เวลาเพียงไม่นานเช่นกัน จุ ด มุ ่ ง หมายการเดิ น ทางครั้ ง นี้ อ ยู ่ ที่ “ร้ า นพลอยทะเล” หาดทรายแก้ว ซึ่งไม่ไกลจากจุดลงเรือ สามารถเดินเท้าผ่านประตู อุทยานเข้ามาได้ ทีต่ อ้ งเป็นร้านพลอยทะเลนัน้ ก็เพราะว่า ฉันได้ทำ� การ นัดหมายไว้กับ “ป้าสุ” ผู้เป็นเจ้าของร้าน 22
เมื่อเดินมาจนถึงที่พักก็น�ำกระเป๋าขึ้นไปเก็บ เพราะยังไม่ถึง เวลานัดหมาย อีกทัง้ ต้องเตรียมอุปกรณ์ตา่ งๆ ทีต่ อ้ งใช้ในการสัมภาษณ์ จนกระทัง่ เวลาประมาณ 14.00 น. ซึง่ เป็นเวลาทีไ่ ด้ทำ� การนัดหมายไว้ ฉันก็เดินลงมาบริเวณข้างล่างที่พัก เห็นป้าสุก�ำลังนั่งรออยู่แล้ว ป้าสุพอเห็นเข้า แกเรียกให้เดินตามแกไปนัง่ บริเวณหน้าร้าน และไม่รอช้ารีบเปิดบทสนทนาก่อน แกบอกว่าการแสดงควงกระบอง ไฟจะเริ่มขึ้นเวลา 20.30 น. ดังนั้นตอนนี้จะให้เก็บภาพบรรยากาศ ไปก่อน แต่ไม่นานก็มชี ายหนุม่ รูปร่างไม่สงู นักแต่คอ่ นข้างก�ำย�ำเดินมา ป้าสุได้ท�ำการแนะน�ำให้รู้จักกับ พี่รงค์ บอกว่าพี่รงค์เป็นหัวหน้าทีม ควงกระบองไฟ รุ่นที่ 2 ของที่นี่ พี่รงค์ยิ้มและกล่าวทักทายเล็กน้อย ก่อนเดินจากไป ป้าสุจึงอธิบายต่อว่า อยากให้ดูการแสดงก่อน เมื่อการแสดง คืนนี้จบลงจะให้ท�ำการพูดคุยกับพี่รงค์ ฉันเองก็ยิ้มรับด้วยความยินดี และถือโอกาสท�ำความรู้จักป้าสุไปด้วย ป้าสุเล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า ร้าน พลอยทะเลเปิดมาแล้ว 30 ปีมีการแสดงโชว์ควงกระบองไฟตั้งแต่เริ่ม แรกท�ำให้ทนี่ เี่ ป็นทีร่ จู้ กั และมีชอื่ เสียง เรียกได้วา่ เป็นต้นต�ำรับของการ ควงกระบองไฟแบบทีม เริม่ แรก ทีพ่ ลอยทะเลมีทมี ควงกระบองไฟอยู่ หนึ่งทีมมีทั้งหมด 10 คน และในทีมควงกระบองไฟนี้มีคนไทยอยู่ ทั้งหมด 3 คน นอกนั้นเป็นแรงงานต่างด้าว ป้าสุเล่าว่ากว่าแต่ละคนจะได้เข้าร่วมทีมนักควงกระบองไฟ ได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายต้องผ่านการฝึกซ้อมมาอย่างหนักถึงจะได้เข้าทีม 23
การแสดงควงกระบองไฟ ร้านพลอยทะเล
24
ฉันฟังแล้วเกิดความสงสัยว่าท�ำไมทุกคนถึงอยากเข้าทีมควงกระบอง ไฟเพราะรายได้ดีอย่างนั้นหรือ ป้าสุตอบมาว่ารายได้จะได้รับเป็นรายวัน วันหนึ่งจะอยู่ที่ ประมาณ 300-400 บาท แล้วแต่ต�ำแหน่งซึ่งถือว่าก็เป็นราคาแรงงาน ขัน้ ต�ำ่ ทัว่ ไป หลังจากนัน้ เราก็พดู คุยกันเรือ่ ยเปือ่ ยจนป้าสุแกขอตัวกลับ ไปดูแลแขกทีเ่ ข้าพัก และให้ฉนั ออกไปเดินเก็บภาพบรรยากาศและวิธี การเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงคืนนี้ และให้กลับมาใหม่ในเวลา 20.00 น. เพื่อเตรียมตัวชมการแสดง เมื่อถึงเวลา 20.30 น. การแสดงก็เริ่มต้นขึ้น เริ่มจากการ แนะน�ำตัวแต่ละคนก่อน หลังจากนั้นก็เป็นการแสดงควงขวดที่ติดไฟ เป็นการแสดงเดี่ยว ตามด้วยชุดการแสดงพื้นฐานควงไฟเป็นทีม และ เพิ่มความตื่นเต้นไปตามล�ำดับด้วยการแสดงต่อตัวควงกระบองไฟ การเล่นท่าต่างๆ ต่อตัวสามชัน้ ไปจนถึงชุดการแสดงปิดทีท่ ำ� ลูกไฟกระจายเป็นวงกว้างสวยงามตระการตาเป็นอย่างยิ่ง นักท่อง เทีย่ วต่างพากันตบมือกันเสียงดังหยอดเงินลงกล่องเพือ่ เป็นขวัญก�ำลัง ใจ และบางคนก็ถงึ กับเดินไปขอถ่ายรูปกับผูแ้ สดง ทัง้ หมดรวมแล้วกิน เวลาเกือบ 2 ชั่วโมงเต็ม หลังจากการแสดงจบลงเพียงไม่นาน ฉันก็เดินเข้าไปหาพีร่ งค์ เพือ่ ทีจ่ ะขอพูดคุยด้วย พีร่ งค์ยมิ้ รับเป็นอย่างดีแถมด้วยอาการหอบเล็ก น้อยจากความเหนือ่ ยจากการแสดงและขอพาเพือ่ นมาร่วมวงสนทนา ด้วยอีกหนึ่งคนซึ่งฉันก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง 25
“ท�าอะไรแล้วควร ท�าให้มันดีท่สี ุดไปเลย สักอย่างหนึ่ง”
-รงค์
26
27
หัวหน้าทีมควงกระบองไฟ พีร่ งค์ในชุดเสือ้ กล้ามสีดำ� นัง่ ลงบนเก้าอีไ้ ม้ และด้านข้างเป็น พี่เพชรรองหัวหน้าทีม ฉันยิ้มน้อยๆ ให้ทั้งสองคนด้วยความตื่นเต้น ก่อนจะให้ทงั้ สองคนเล่าเรือ่ งตัวเองให้ฟงั พีร่ งค์เล่าว่า พืน้ เพเดิมพีร่ งค์ เป็นคนจังหวัดตราด พ่อและแม่มีอาชีพท�ำสวนยาง และเริ่มสนใจการ ควงกระบองตั้งแต่เป็นเด็ก เพราะเห็นพี่ชายเล่นให้ดูเลยท�ำตามบ้าง แต่กย็ งั ไม่จริงจังมากเท่าไหร่ จนกระทัง่ ไปท�ำงานบนเกาะช้าง เริม่ จาก ต�ำแหน่งเด็กเสิร์ฟ ไปเป็นคนคุมเตา และก็คนคุมบาร์ หลังจากนั้นได้ มีโอกาสเล่นกระบองไฟ ตอนอายุ 18 ปี “ทีแรกก็ฝกึ เองบ้าง เพือ่ นสอนบ้าง แต่ไม่ได้มคี นมาสอนอย่าง จริงจัง แต่มันมาจากใจรักอย่างเดียว ถ้าไม่รักคงเล่นไม่ได้” พี่รงค์พูด ไปด้วยและยิ้มน้อยๆ ที่มุมปากด้วยความมาดมั่น และเริ่มเล่าย้อนไป ถึงอดีตเมือ่ 3 ปีทแี่ ล้ว “ผมมาแสดงทีเ่ กาะเสม็ดได้เนือ่ งจากมีรนุ่ พีช่ วน มา มาถึงช่วงแรกก็ยงั ท�ำตัวไม่ถกู เพราะไม่เคยเล่นแบบเป็นทีมมาก่อน กลัวตัวเองจะท�ำไม่ได้ แต่เพราะฝึกฝนจึงได้มาเป็นหัวหน้าทีมวันนี้” ในทุกวันจะเริม่ งานประมาณบ่าย 2 โมงครึง่ เริม่ จากกางโต๊ะ ปูเสือ่ หน้าหาดช่วยกันกับคนอืน่ ๆ ท�ำจนกระทัง่ เสร็จ พักประมาณหนึง่
28
ชั่วโมงและเริ่มงานอีกทีตอน 6 โมงเย็น หลังจากนั้นก็จะไปท�ำหน้าที่ ดึงลูกค้าเข้าร้าน พอสองทุ่ม หรือ หนึ่งทุ่มครึ่งจะเข้าไปเตรียมตัวและ อุปกรณ์ในห้องข้างเวที และต้องดูว่าวันนี้จะแสดงชุดไหนบ้าง นอกจากนัน้ หน้าทีห่ ลักของพีร่ งค์จะเป็นพวกตกแต่งร้าน ซึง่ จะคิดออกแบบมาก่อนแล้วถามน้องๆ ในทีมว่าคิดอย่างไร ให้แต่ละคน ออกความคิดเห็น พี่รงค์เริ่มเล่าถึงชีวิตในแต่ละวันให้ฟัง “แล้วเอาเวลาตอนไหนไปฝึกซ้อมล่ะ ?” ฉันถามเพราะดูจาก ตารางงานไม่มีช่วงเวลาของการฝึกเลย “เล่นมา 10 ปีแล้วยังต้องฝึกซ้อมอีกเหรอ” พี่เพชรแทรก ตอบอย่างไวและข�ำเล็กน้อย พี่รงค์ จึงช่วยไขข้อข้องใจว่า “ถ้ามีท่าใหม่เพิ่มมา ก็ฝึกซ้อม บ้าง แต่ปกติทุกคนต้องรู้จักที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว” พี่รงค์ อธิบาย ต่อว่า พัฒนาในทีน่ หี้ มายถึง หัดเรียนรูท้ า่ ใหม่ๆ จากอินเตอร์เน็ต แล้ว น�ำมาฝึกเล่น เมื่อฝึกซ้อมด้วยตัวเองแต่ถ้ามีใครสนใจก็จะสอนต่อให้ เป็นการสอนแบบพีส่ อนน้อง เช่นเดียวกันกับเวลาทีม่ นี อ้ งๆ ในร้านมา ขอร่วมทีม ค�ำถามแรกที่จะถามก็คือ “มั่นใจไหมที่จะเล่น เพราะมัน ร้อนนะ พี่จะสอนให้เริ่มเล่นกระบองเปล่าก่อนมันอาจจะไม่ร้อน แต่
29
พอจุดไฟมันร้อนนะ กล้าพอไหม” ถ้าคนไหนตบปากรับค�ำพี่รงค์ก็จะ สอน แต่ถ้าไม่มั่นใจพี่รงค์ก็จะไม่สอน “ควงไฟแบบนี้ไม่กลัวเจ็บตัวบ้างเหรอ? ” “คนเริ่มเล่นใหม่ๆ ทุกคนได้แผลหมด ถามว่าเจ็บไหม เจ็บ แต่เห็นลูกค้ายิ้มผมก็ดีขึ้นแล้ว อย่างที่เชียร์ลูกค้าอยู่หน้าหาด ก็จะมี ลูกค้ามาถามตลอด ‘ควงไฟกีโ่ มง?’ ได้ยนิ ค�ำถามนีผ้ มก็ดใี จแล้ว เพราะ มีคนมารอดูพวกเราเล่น” พี่รงค์ตอบ ส่วนพี่เพชรก็ตอบว่า “ได้แผลเกือบทุกวัน แต่มันก็สนุกดี” “แล้วอย่างนีค้ วามยากของการควงกระบองไฟมันอยูท่ ไี่ หน?” ฉันถามต่อ พี่รงค์กุมมือเข้าด้วยกัน แล้วท�ำหน้าครุ่นคิดก่อนตอบว่า “ความยากของการควงกระบองไฟมันอยู่ที่ไฟ ถ้าเรากลัวไฟ ก็เล่นไม่ ได้ ถามว่าตอนแรกผมกลัวไหม ผมก็กลัว แต่อาศัยว่าชิน เพราะเล่น ทุกวัน ถึงแม้วา่ จะโดนไฟลวกบ้าง ก็โดนไม่เยอะ เป็นความเจ็บในระดับ ทีว่ า่ ทนได้ แต่ทสี่ ำ� คัญเลยนะพอได้ยนิ เสียงลูกค้าตบมือ ทีเ่ จ็บมาก็หาย ไปหมดเลย” จากที่ตอนแรกพี่รงค์ท�ำถ้าครุ่นคิดแต่ในประโยคสุดท้าย กลับพูดด้วยเสียงที่ฟังแล้วเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข
30
หาดทรายแก้ว เกาะเสม็ด
31
“คนเรามีชีวิตอยู ่ได้แค่ สองหมื่นกว่าวัน ฉะนัน้ จะไปอยู ่ในกฎบังคับ แบบนัน้ ท�ำไม” 32
-เพชร
33
เวลากับชีวิต ชีวิตกับเวลา พอพูดคุยกันได้สกั พัก ฉันเริม่ หันไปสนใจทางพีเ่ พชรบ้าง เพราะเห็นพี่เพชรเงียบอยู่นานและจะแทรกขึ้นมาบ้างเป็นช่วงๆ ฉันเลยเริ่มจากให้พี่เพชรเล่าถึงเรื่องตัวเองให้ฟัง ด้วยจากท่าทาง แล้วพี่เพชรแอบดูเป็นคนตลก ก่อนที่แกจะแนะน�ำตัวเองก็แอบ หัวเราะเล็กน้อย “ชื่อกาลวิน ก่อนผมจะมาเป็นคนควงกระบองไฟนั้น เคยเป็นบาร์เทนเดอร์มาก่อน ชงเหล้านัน่ แหละ เป็นบาร์เทนเดอร์ อยู่สัก 3-4 ปี แล้วพอดีมาเที่ยวที่เกาะเสม็ดบังเอิญมาเจอกลุ่มพี่ ทีมควงกระบองไฟ ผมเกิดติดใจชอบขึ้นมาเลยมาเริ่มเรียนให้พี่ ๆ เขาช่วยสอนและจากตอนนั้นจนถึงตอนนี้ก็เล่นควงกระบองไฟมา 14 ปีแล้ว” พี่เพชรพื้นเพเป็นคนจังหวัดระยองอยู่แล้ว แต่เป็นคน บนฝั่ง ฉันฟังจากที่พี่เพชรเล่ามาพี่เพชรมาเริ่มต้นอาชีพนี้เพราะ ชอบบวกกับพอมีทักษะการควงขวดอยู่บ้าง เลยทดลองน�ำมา ดัดแปลงแล้วมาร่วมทีมกับนักควงกระบองไฟคนอืน่ ๆ ถ้ายังจ�ำกัน ได้ในตอนแรกของการเปิดการแสดงในทุกวัน คือการแสดง ควงขวดไฟ แล้วผู้แสดงเปิดเวทีทุกวัน ก็คือพี่เพชรนั่นเอง พี่ เ พชรเล่ าย้อนกลับ ไป ก่อนที่จ ะย้ายมาอาศัยอยู่ที่ เกาะเสม็ดว่า 34
“ตอนแรกทีย่ งั ไม่มาท�ำอาชีพนี้ ผมท�ำงานอยูบ่ ริษทั ปตท. (การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย) ทีจ่ งั หวัดระยอง แต่ผมไม่ชอบงาน บริษัท ผมว่ามันน่าเบื่อมาก เจอแต่เรื่องเดิม คนเดิม แต่อยู่ที่นี่บน เกาะเสม็ด ท�ำอาชีพนี้ผมได้เจอคนใหม่ๆ ตลอด ผมคิดนะว่า คน เรามีชวี ติ อยูไ่ ด้แค่สองหมืน่ กว่าวัน ฉะนัน้ จะไปอยูใ่ นกฎบังคับแบบ นั้นท�ำไม ผมถึงเลือกมาอยู่ที่นี่” ฟังอย่างนีฉ้ นั เริม่ เชือ่ แล้วว่า พวกเขาท�ำอาชีพนีด้ ว้ ยใจรัก จริงๆ แต่คำ� ถามหนึง่ ทีย่ งั คาใจยังไงก็ตอ้ งถาม แล้วรายได้ละ่ มีสว่ น บ้างไหม “รายได้ก็ส่วนหนึ่ง เหมือนกับเวลาเราหางานท�ำ รายได้ ก็มีส่วนบ้างในการตัดสินใจ แต่ส�ำหรับผม ผมอยากเล่นให้คนดู ประทับใจเรียกลูกค้าเข้าร้าน” พีร่ งค์ตอบแบบไม่ตอ้ งคิดมากพร้อม กับอธิบายเหตุผลส่วนตัวให้ฟัง เพื่อให้บทสนทนาด�ำเนินต่อไป ฉันถามต่อว่าแล้วเคยคิด จะเลิกท�ำอาชีพนี้ไหม “ใจมันไปแล้ว มันเลิกยาก ถามว่าจะท�ำอีกนานไหม ก็คง ไม่นานเพราะผมก็อายุ 32 แล้ว แต่อาจจะฝึกเด็กขึ้นมายังคงจะ สอนอยู่ไม่ทิ้ง ผมมีลูกศิษย์อยู่พอสมควร มีทั้งคนไทยและชาวต่าง ชาติ ” พี่ ร งค์ ต อบ พร้ อ มอธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม ว่ า ชาวต่ า งชาติ 35
การโชว์ควงกระบองไฟแบบทีม หาดทรายแก้ว เกาะเสม็ด
36
ส่วนใหญ่ที่มาขอเป็นลูกศิษย์เป็นนัก ท่องเทีย่ วทีม่ าชมและเกิดชอบเลยขอให้ สอน “แต่วันหนึ่งก็คงต้องกลับ มัน อยู่ที่ว่าเมื่อไรเท่านั้นเอง” พี่รงค์เสริม ด้านพี่เพชรกลับมีความคิดอีกอย่าง “ผมเล่นควงกระบองไฟมา แล้ว 14 ปี แต่เอาจริงเอาจังช่วง 8 ปี หลัง ตอนนี้ผมคิดว่าจะเลิกแล้วเหมือน กันมาเป็นดีเจเต็มตัวแทน” ส่วนเหตุผล อื่นคือ เรื่องของอายุ และสุขภาพที่ไม่ แข็งแรง เวลาก็ลว่ งเลยมาจนดึกดืน่ คง ถึงเวลาทีฉ่ นั ต้องถามค�ำถามสุดท้ายจาก พวกเขาเสียที เพราะตอนนีใ้ บหน้าพีท่ งั้ สองคนก็ดูเหน็ดเหนื่อยกันพอสมควร และพี่เพชรก็ต้องกลับไปท�ำหน้าที่ดีเจ ต่อด้วย ฉันเลยรีบรวบรัดค�ำถาม ด้วย การถามถึงเสน่หข์ องอาชีพควงกระบอง ไฟว่าเป็นอย่างไร ในความรู้สึกพวกเขา “หนึ่งเลย ผมว่ามันเป็นความ
ท้าทาย เหมือนเวลาแสดงต้องแสดงให้เต็มที่เพราะเราต้องเต็มที่กับ งาน” พี่รงค์ตอบและเอนตัวไปด้านหลังพิงพนักเก้าอี้ และอธิบายต่อ “ผมชอบควงกระบองมาตั้งแต่เด็กแล้ว การที่ผมได้มาท�ำ อาชีพนี้ ผมถือว่าเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง ผมเห็นหน้าลูกค้ามีความ สุข ผมก็มีความสุข ผมท�ำมาแล้วหลายหน้าที่หลายอาชีพ แต่ผมมา เลือกอาชีพนี้ อาชีพทีผ่ มชอบทีส่ ดุ เพราะผมคิดว่า เมือ่ เริม่ ท�ำอะไรแล้ว
38
ควรท�ำให้มันดีที่สุดไปเลยสักอย่างหนึ่ง” ส่วนพีเ่ พชรเริม่ ด้วยการยิม้ กว้างให้ฉนั วางมือลงบนโต๊ะและ เริ่มพูด “ผมว่ามันท้าทาย มันดึงดูด มันท�ำให้คนมองเราได้ เราไม่ใช่ คนตัวใหญ่อะไรมากมาย ผมเป็นแค่คนตัวเล็กกลับมีคนมาตบมือให้มา ชื่นชอบ แต่หลักๆเลย ผมชอบ แค่ชอบมันเท่านั้นแหละ”
39
โชว์ปิดการแสดง บนเกาะเสม็ด
รู้หรือไม่ว่า... !? ‘ประเทศไทย’ มีเกาะอยู ่ทัง้ หมด 963 เกาะ เกาะฝั่ งอันดามัน เกาะฝั่ งอ่าวไทย
562 เกาะ 374 เกาะ
(เกาะเสม็ด เป็นหนึ่งในเกาะฝั่ งอ่าวไทย)
42
BEST FRIENDs
เพื่อน... ผู้ให้
44
“ท�ำอะไร ให้มีเป้าหมายอยู ่ข้างหน้า ประสบความส�ำเร็จแน่” -อาจารย์ ประวัติ
45
บทที่
3
ครูฝึกลิง
“ปึก” เสียงประตูรถปิดลง ฉันและเพื่อนยืนอยู่บริเวณด้าน หน้าลานจอดรถ ทีพ่ อมองเข้าไปด้านในจะมีห้องเล็กๆ ทีด่ ูเหมือนเป็น ช่องขายตั๋วการแสดงตั้งอยู่ และในมือแต่ละคนตอนนี้ต่างก็หอบหิ้ว อุปกรณ์การถ่ายภาพลงมาจากรถ ด้วยการเดินทางร่วม 10 กว่าชัว่ โมง รวมเวลาการใช้บริการเรือข้ามฝาก สุราษฎร์ธานี-เกาะสมุย ไม่ได้ทำ� ให้ พวกเรารูส้ กึ เหนือ่ ยเสียเท่าไร โดยเฉพาะฉันทีก่ ลับรูส้ กึ ตืน่ เต้นและดีใจ ที่ทุกอย่างเป็นไปตามตารางงานที่วางไว้ “ศูนย์ฝกึ สอนลิง เกาะสมุย” ทีป่ า้ ยด้านหน้าเขียนไว้อย่างนัน้ ถ้าไม่สงั เกตดีๆ อาจมองเลยไปได้ ฉันเดินมาจนถึงบริเวณด้านหน้าศูนย์ ที่เป็นเหมือนศาลา เพื่อนั่งรออาจารย์ประวัติ ที่เป็นทั้งเจ้าของ และครูฝึกสอนลิงที่นี่ หลังจากเตรียมอุปกรณ์การสัมภาษณ์เสร็จ อาจารย์ประวัติก็เดินทางมาถึงพอดี ฉันกล่าวสวัสดีทักทายอาจารย์ 46
ก่อนเป็นอันดับแรก อาจารย์ก็ได้ท�ำการเชื้อเชิญให้นั่งลง ไม่รอช้าฉันก็สรุปเนือ้ หาให้อาจารย์ฟงั โดยรวม อาจารย์พยัก หน้าตอบรับเป็นอย่างดี บนสนทนาของฉันและอาจารย์เป็นไปอย่าง เรียบง่าย เริ่มจากประวัติส่วนตัว จริงๆ แล้วอาจารย์ประวัติเป็นคน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน ครอบครัวแต่ก่อนท�ำ อาชีพค้าขาย ในสมัยนั้นชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างล�ำบาก เพราะเป็นช่วง คอมมิวนิสต์ ล�ำบากชนิดที่ว่าพ่อโดนจับ ถูกกล่าวหาว่าส่งของให้ ผู้ก่อการร้าย แต่จริงๆ แล้วเนื่องจากที่บ้านเป็นร้านค้าเวลาใครมาซื้อ ของ พ่อก็ขายให้หมดไม่ได้เลือกว่าจะขายใคร ชีวติ จึงต่อสูม้ าตัง้ แต่เด็ก ชีวิตของอาจารย์ประวัติในวัยหนุ่มผ่านเรื่องราวมามากมาย ก่อนจะมาเปิดศูนย์ฝึกแห่งนี้ อาจารย์เคยเดินทางไปอยู่กรุงเทพฯ ท�ำงานอยู่โรงงานกระดาษจนโรงงานปิดตัวลง จึงเดินทางกลับบ้าน และได้ไปช่วยงานผูห้ ลักผูใ้ หญ่ทเี่ กาะยาว จังหวัดพังงา และนัน่ เป็นจุด เริ่มต้นของอาชีพครูฝึกลิงของอาจารย์ในทุกวันนี้ อาจารย์เล่าว่า “ตอนนั้นเมื่อเดินทางไปถึงเกาะยาว เห็นลิง ก�ำลังขึ้นมะพร้าวและมีฝรั่งมาชมเกิดสะดุดใจ พอกลับมาบ้านที่ นครศรีธรรมราช จึงมาลองนึกย้อนดูทำ� งานได้เงินเดือน เดือนละหมืน่ กว่าบาท แต่ถา้ ฝึกลิงได้ ให้ลงิ เก็บมะพร้าวและเรียกเก็บเงินค่าหัวเวลา นักท่องเที่ยวมาชมคนละ 100 บาท ผมมาคิดว่า 10 คน ก็ได้เงินแล้ว 1,000 บาท เห็นตรงนัน้ ก็เกิดอยากได้ ไปหาซือ้ ลิงมาตัวหนึง่ ชือ่ เจ้าไข่ ด�ำ” และตอนที่เปิดศูนย์ฝึกตอนนั้นเขามีอายุเพียงแค่ 17 ปี 47
ลิงกังที่ศูยบ์ฝึกลิงเกาะสมุ ย
ลิงตัวแรกทีอ่ าจารย์ได้มา ได้มนั มาตัง้ แต่ตอนเด็ก ยังเป็นช่วง คอมมิวนิสต์ แม่ของเจ้าไข่ดำ� ถูกยิงตาย และชาวบ้านก็นำ� เอาลูกคือเจ้า ไข่ด�ำมาให้ที่บ้านอาจารย์ เนื่องจากที่บ้านเป็นร้านค้าผู้คนมักรู้จัก กันดี เวลาใครเอาสัตว์เอาอะไรมาให้กเ็ ลยเลีย้ งหมด ความรูส้ กึ รักสัตว์ ชอบสัตว์ มันเลยมีมาตั้งแต่ตอนนั้น ส่วนเรื่องที่ว่ามีใครเป็นคนสอนฝึกลิง อาจารย์ตอบว่า ไม่มี ใครเป็นคนสอน แต่ไปเจอหนังสืออยู่เล่มหนึ่งเป็นหนังสือฝึกสัตว์ ไม่ได้บอกว่าชื่อหนังสืออะไร ขอเก็บเป็นความลับ อาจารย์บอกได้แค่ ไปเจอหนังสือ ประเภทลิงค่าง ช้างป่าฝึกสารพันใจหมาย อาจารย์อา่ น และเชื่อตามค�ำสอนโบราณท�ำตามหนังสือจนสามารถฝึกลิงได้จนทุก วันนี้ ครูทุกคนย่อมมีนแนวคิดเป็นของตัวเอง อาจารย์ประวัติเอง ก็เช่นกัน มีความคิดด้านการใช้ชีวิต ซึ่งวิธีคิดนี้ก็น่าสนใจ เรียบง่าย “อย่างที่บอก ความพยายามอยู่ที่ไหนความส�ำเร็จอยู่ที่นั่น ทุกอย่างเราแค่ต้องพยายาม พยายามฝึก พยายามอยู่กับลิง เราก็จะ ท�ำได้ ฝึกได้ ลิงจะท�ำได้ก็ต่อเมื่อเราสอนจนเขาชิน เขาก็ท�ำได้” อาจารย์ประวัติกล่าวและพูดยกตัวอย่าง “เหมือนสอนให้ ยกมือไหว้ พอลิงยกมือก็จะนับท่องนโม 3 จบ ถ้าท�ำได้ถือว่าผ่าน ให้กินนม สอนเสร็จให้กินนมทุกครั้งเพราะเขาเหนื่อย ส่วนเราก็นั่งกิน 50
กาแฟ ลิงก็นั่งกินนม ต่างคนต่างพักกันไป” เขายิ้มอีกครั้งและฉันก็ยิ้ม กลับและเดินบทสนทนาต่อ “ตอนเริ่มฝึกครั้งแรกมีปัญหาอะไรบ้างไหม?” “แน่นอนล่ะว่ามีปัญหา” เพราะตอนนั้นเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว มีที่เกาะสมุยที่เดียวที่มี การแสดงลิง คือทีศ่ นู ย์ฝกึ ลิงสมุย ปัญหาหนึง่ เลยทีม่ กั พบเจอบ่อยครัง้ คือ โดนหาว่าทรมานสัตว์ เพราะว่าผูกคอลิง แต่ความจริงนั้น ที่ต้อง ผูกคอเพราะว่า เมื่อลิงเริ่มโชว์ได้ ฝึกได้นิดหน่อย ถือว่าพอท�ำได้ แต่ก็ ยังไม่ดี ทีนพี้ อลิงยังแสดงไม่คอ่ ยเก่งก็ตอ้ งช่วยลิง ด้วยการผูกคอ เวลา คนมาเห็น ก็คิดว่าทรมานสัตว์ โดนต่อว่า แต่คนคงลืมไปว่า “ลิงก็คือลิง” เราไม่สามารถรู้ได้ว่ามันจะ ท�ำอะไร จะโกรธขึ้นมาเมื่อไร เลยต้องหาวิธีป้องกัน ระหว่างคนดูและ ลิง นี่คือเหตุผลที่ต้องผูกคอลิง เพราะถ้าปล่อยไว้ คนมาเที่ยวและถูก ลิงกัดก็เสียความรู้สึก ก็คงไม่มีใครอยากมาชมการแสดง ส�ำหรับอาจารย์ลิงทุกตัวที่ฝึกมีความส�ำคัญเท่ากันหมด ฉะนั้นลิงทุกตัวในศูนย์อาจารย์จะเป็นคนฝึกเองทุกตัว ระยะเวลาการ ฝึกตัวหนึง่ จะประมาณ 2 ปี และลิงเองก็มกี ารแบ่งประเภทงานเหมือน กับคน ลิงที่ฝึกแสดงกับฝึกขึ้นมะพร้าว ก็มีความแตกต่างกัน วิธีฝึก ต่างกัน แต่ไม่ได้เยอะมาก ต่างกันแค่เพียงเล็กน้อย ลิงแสดงสามารถ
51
ลิงกังที่ศูยบ์ฝึกลิงเกาะสมุ ย
ขึน้ มะพร้าวได้เหมือนลิงตัวอืน่ ๆ แต่อาชีพหลักคือเป็นนักแสดง ซึง่ เป็น อาชีพที่เราเลือกให้ เขาจะแสดงเก็บมะพร้าวได้ แต่ขึ้นมะพร้าวจริงจัง เหมือนลิงขึ้นมะพร้าวไม่ได้ เพราะท�ำไม่ได้เยอะเท่า แค่ไม่กี่ต้น ก็เหนื่อยแล้ว ส่วนลิงอาชีพขึน้ มะพร้าว อาจารย์ประหวัด เปรียบให้เหมือน นักวิ่ง ยกตัวอย่าง คนวิ่ง 10 นาทีก็เหนื่อย ดังนั้นลิงก็เหมือนกัน วัน แรกให้ขึ้น 10 ต้นพอ ลิงก็จะเหนื่อย แต่พอวันต่อไปให้ข้ึน 10 ต้น ก็จะไม่เหนื่อยแล้ว แต่จะขึ้นได้เพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 15 ต้น จะทวีคูณขึ้น “อาจารย์ฝึกลิงมาแล้วกี่ตัว ?” อาจารย์ประวัตทิ ำ� หน้าคิดหนัก และตอบว่าประมาณ 18 ตัว 52
ไม่แน่ใจนัก แต่ถ้าถามถึงลิงตัวที่ประทับใจที่สุดที่ฝึกมา คือ ไข่เล็ก กับ ไข่แดง เพราะสองตัวนี้ฝึกแล้วเชื่อง “ไม่ใช่ลงิ ทุกตัวทีฝ่ กึ ได้” อาจารย์กล่าว ก่อนจะน�ำมาฝึกต้อง ดูลกั ษณะลิงก่อน จะดูการยืน ดูขน และดูหน้าตา เพราะบางทีประเภท “ลิงเอ๋อ” ก็มี ลิงเอ๋อ คือพวกลืมหน้าลืมหลัง ฝึกเสร็จก็ลืม อาจารย์ หัวเราะและพูดแกมข�ำว่า “เหมือนคนนะลิงพอเราอยูก่ บั เขาไปนานๆ” อาจารย์ยกตัวอย่างชนิดของลิงทีศ่ นู ย์ฝกึ แห่งนี้ จะมีลงิ หลาย ชนิด เช่น ลิงกัง ลิงแสม ลิงเสน ลิงนาคบุตร แต่ชนิดที่ฝึกง่ายที่สุดคือ ลิงกัง เพราะร่างกายสมบูรณ์ ทั้งแสดงและเก็บมะพร้าวท�ำได้ทั้งสอง อย่าง แต่ทศี่ นู ย์ฝกึ จ�ำเป็นต้องเลีย้ งไว้หลายชนิด ก็เพือ่ ให้นกั ท่องเทีย่ ว ได้ชม ในศูนย์ฝึกสอนลิง ลิงที่อยู่ที่นี่จะเป็นลิงที่อาจารย์มีอยู่ ส่วน มากจะซื้อมา แต่บางทีก็มีชาวบ้านเอามาให้บ้าง เป็นพวกลิงที่เคยใช้ ขึน้ มะพร้าวแต่เพราะมันแก่ เขาก็เอามาให้ หรือไม่อาจารย์กผ็ สมพันธุ์ ขึ้นมาเองบ้าง มีช่วงหลังๆ ที่ชาวบ้านเอามาจากป่า อาจารย์ก็จะซื้อไว้ ถ้าฝึกไม่ได้เพราะดื้อมาก จะน�ำเข้ากรงไป แต่ก็ยังคงเลี้ยงเหมือนเดิม แค่ไม่เอามาแสดงเพราะดุ แต่ทอี่ าจารย์ยอมรับลิงทีช่ าวบ้านเอามาให้ เพราะลิงหนึง่ ตัวมีอายุไข ประมาน 20-26 ปี พอมันแก่ใช้งานไม่ได้บาง คนก็ยิงทิ้ง หรือถ้าปล่อยไว้ลิงก็อดกิน ถ้ารับเอาไว้เองก็ยังมีให้นักท่อง เที่ยวได้ชม ได้ให้อาหาร 53
ครูสอนคน นอกจากจะเป็นครูฝึกลิงแล้วยังเป็นครูสอนคนอีกด้วย อาจารย์ประวัตเิ ล่าว่าฝึกคนให้สอนลิงมาหลายรุน่ แล้ว แต่ไม่ใช่ทกุ คน ทีส่ ามารถสอนได้ อาจารย์จะดูคนด้วย “คนเลือกยากกว่าเลือกลิงเสีย อีก” อาจารย์ประวัติพูด และเล่าถึงวิธีดูคน อันดับแรกต้องเป็นคน ใจเย็น ที่ส�ำคัญต้องเข้าสังคมได้ เพราะถ้าสอนไปแล้วเข้าสังคมไม่เป็น อยูแ่ ต่กบั ลิงก็คงจะเอาตัวรอดไม่ได้ ไม่สามารถเอาวิชาความรูไ้ ปหากิน ได้ และคนอีกประเภทที่จะไม่สอนให้เลยคือคนเห็นแก่ตัว เพราะ อาจารย์ไม่ได้อยากได้เงินค่าฝึกสอน แต่อยากได้คนทีร่ กั ในอาชีพ และ รักลิงจริงๆ “กว่าจะจบ จะฝึกกันได้ ถอดใจกันไปหลายราย บางคนอยู่ ได้ 4-5 ปี ก็ไปเปิดการแสดงของตัวเอง แล้วล้มเหลวก็มี แต่ผมก็ สนับสนุนทุกคน ใครบินได้ผมก็อยากให้บิน มีหลายคนเลยที่หมดตัว กับลิง เพราะพอไปเปิดการแสดงแล้วไปต่อไม่ได้” เขาเล่าถึงอดีตลูก ศิษย์บางคนในทัง้ หมด 10 รุน่ ว่ามีบางคนไม่คอ่ ยเชือ่ ทีเ่ ขาสอน เอาลิง ไปตีบา้ ง เอาไปกดน�ำ้ ไปทรมานบ้างก็มี เขาบอกว่าวิธเี หล่านัน้ มันไม่ได้ ช่วยให้ฝึกได้ ขั้นตอนการฝึกคน ทั้งคนทั้งลิงต้องฝึกไปพร้อมกัน และ ถ้าคนไหนเชื่อฟังเขา เขาจะบอกเคล็ดวิชาหมดทุกอย่าง แต่ดูเหมือนศูนย์ฝึกลิงจะเงียบเหงาเป็นพิเศษจนอดถามไม่ ได้วา่ ท�ำไมถึงเป็นแบบนี้ เพราะดูจะแตกต่างจากทีอ่ าจารย์ประวัตเิ ล่า ก่อนหน้านี้เสียเหลือเกิน 54
“ตอนย้ายมาอยู่สมุยใหม่ๆ เมื่อ 33 ปีที่แล้ว ตอนนั้นที่สมุย ยังไม่มีอะไรเลย มองทางไหนก็สวยไปหมด แถมเวลานักท่องเที่ยวมา เที่ยวเกาะสมุย ทุกคนต่างพากันมาที่ศูนย์ลิง” อาจารย์เริ่มเล่าย้อนไป ถึงอดีต ช่วงแรกที่เปิดศูนย์ฝึก ได้เงินเยอะมาก ตอนนั้นดีใจมาก แต่ปัจจุบันไม่เหมือนเมื่อก่อน การท่องเที่ยวก็เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะเมื่อก่อน สมุยยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางเท่าไร แต่เดี๋ยวนี้ มีการ แข่งขันสูง ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม กรุงเทพฯ สมุย หรือพัทยา” ส�ำหรับที่นี่ เรียกว่าตอนนี้รายได้น้อยลงกว่าเมื่อก่อนเยอะ ยิ่งช่วง 5-6 ปีหลัง แต่ ถ้าถามว่ายังอยูไ่ ด้ไหม ยังอยูไ่ ด้ แต่ไม่ได้ดเี หมือนแต่กอ่ น เมือ่ ก่อนการ แสดงเต็มทุกรอบ และบ้างครั้งถึงกับต้องทิ้งคนดูไปก็มี บอกว่าให้มา พรุ่งนี้แทน “บางทีผมก็ทอ้ ใจ” อาจารย์ประวัตกิ ล่าวในตามีแววหมองลง รอยยิ้มที่มีมาตลอดการสนทนาเริ่มหายไป “ท้อใจว่าสิ่งที่สร้างมากับ มือ ช่วยเหลือการท่องเที่ยว ไม่ยอมย้ายไปท�ำงานต่างประเทศ แต่พอ มาถึงตอนนี้ค่าตอบแทนกลับน้อยลง ยกตัวอย่าง มีครั้งหนึ่งไปโชว์ที่ พัทยา แขกมาชมเป็นร้อยคน แต่กลับกลายเป็นว่า เจ้าของงานเก็บ ค่าหัวแค่คนละ 100 บาท ผมคิดว่ามันเป็นการลดทอนคุณค่าสิ่งที่ผม สร้างมา ทุกอย่างเสียระบบไปหมดเลย” “การท่องเที่ยวเมืองไทยตอนนี้ถูกละเลย ปล่อยกันมากเกิน ไปจริงๆ ประเทศเราควรท�ำได้ดีกว่านี้ ให้ต่างชาติมาเยอะกว่านี้ แต่ก็ ต้องจับจ่ายเงินเยอะด้วย ไม่ใช่รายได้ลดน้อยลง” อาจารย์ตัดพ้อ 55
ลิงกังที่ศูยบ์ฝึกลิงเกาะสมุ ย
ตอนนี้ที่ศูนย์ฝึกแห่งนี้มีการแสดงเพียงวันละ 3 รอบ หากผู้ ชมก็ไม่ได้เยอะเหมือนเมื่อก่อน แต่ถ้าวันไหนแขกมาเยอะเป็นพิเศษ อาจารย์ประวัติจะเป็นคนท�ำแสดงเอง นอกเหนือจากนั้นวันธรรมดา ทั่วๆ ไป จะเป็นหน้าที่ของลูกๆ ด้วยรายได้ที่น้อยลง บางเดือนก็ถึงกับขาดทุน แต่อาจารย์ก็ ยืนยันทีจ่ ะเปิดศูนย์ฝกึ ต่อไป เพราะเชือ่ ว่าถ้าต่อสูก้ อ็ ยูไ่ ด้ ถ้าไม่สกู้ ต็ อ้ ง หยุดแค่นนั้ เรือ่ งนีข้ นึ้ อยูก่ บั ตัวบุคคลว่าจะสูไ้ หวหรือไม่ไหว และถ้าวัน หนึ่งมันหมดแรงแล้ว จะยกให้ลูก ถ้าเอาก็ให้ไปท�ำต่อ แต่ถ้าไม่เอาก็ คงต้องหยุด เลิกท�ำ ทั้งนี้ท้ังนั้นอาจารย์ก็ต้องถามลูกก่อนด้วยว่า จะสืบต่อหรือไม่ ถึงกระนัน้ ในทุกวันนีอ้ าจารย์กไ็ ม่ได้เป็นคนขึน้ แสดงเป็นหลัก แต่จะเป็นหน้าที่ลูกชาย เพราะอาจารย์ประวัติติดงานอื่น และก�ำลัง 56
วางแผนจะเปิดศูนย์ฝึกอีกแห่งคือ ที่เกาะช้าง ฉันเลยสานต่อบทสนทนาด้วยค�ำถามต่อไปว่า แล้วชีวิตหลัง จากเลิกเป็นครูสอนลิงแล้วอาจารย์ประวัตจิ ะท�ำอย่างไร อาจารย์เงียบ ไปสักพักพร้อมกับยิม้ อีกครัง้ “คงกลับไปบ้านทีจ่ งั หวันครศรีธรรมราช” มีสวนยางอยูท่ นี่ นั่ แต่ไม่ชอบอาชีพชาวสวนเสียเท่าไหร่ แต่ทำ� ได้หมด ทุกขั้นตอนกระบวนการกรีดยาง มีบางช่วงทีเ่ ราพูดคุยกันถึงงานอืน่ ทีท่ ำ� นอกเหนือจากทีศ่ นู ย์ ฝึก จนฉันทราบว่าอาจารย์ชอบท�ำงานช่วยเหลือและพัฒนาการท่อง เที่ ย วเกาะสมุ ย และมองว่ า รายได้ ไ ม่ ไ ด้ ส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ อาจารย์ การท�ำความดีต่างหากที่ส�ำคัญ ฉันรู้สึกนับถืออาจารย์เป็นอย่างมาก ในเรื่องนี้ “ทางไหนก็ได้ทสี่ ามารถช่วยเหลือสังคม ผมอยูไ่ ด้หมด เพราะ 57
ชีวิตคนเราที่มีเหลือเฟือคือความดี” อาจารย์กล่าว ส�ำหรับอาชีพการเป็นครูฝึกลิง เป็นความภูมิใจและประทับ ใจเป็นอย่างมาก เพราะย้อนกลับไป ชีวิตของอาจารย์เป็นเพียง คนบ้านนอก อยูใ่ นป่าในเขาเรียกว่ากว่าจะมาจุดนีไ้ ด้มนั เกินคาด “ดีใจ มากที่ได้มายืนตรงนี้ ท�ำอาชีพนี้ จากคนไม่มีอะไรเลย อยากจะฝากถึง เด็กๆ ในปัจจุบันว่า ท�ำอะไรให้มีเป้าหมาย เดินก็ให้มีเป้าหมายอยู่ข้าง หน้ารับรองประสบความส�ำเร็จแน่” อาจารย์ก�ำชับ เงินที่ได้อาจเพียงเล็กน้อย แต่ได้พาครอบครัวไปเที่ยวด้วย เวลาไปแสดงที่ต่างๆ ดังนั้นอาจารย์ไม่ต้องการเงินเยอะๆ แค่เลี้ยง ครอบครัวพออยู่ได้ก็พอใจแล้ว และได้ช่วยเหลือการท่องเที่ยว ได้อยู่ กับลิง ได้รับการยอมรับและสามารถอยู่ในสังคมนี้ได้ก็พอ แสงแดดเริม่ อ่อนตัวเมือ่ ฉันมองออกไปข้างนอก และหันกลับ มามองนาฬิกา เวลาการแสดงรอบต่อไปก็ใกล้เข้ามาเต็มที วันนี้ อาจารย์ประวัตจิ ะขึน้ แสดงคูก่ บั ลูกชายให้ได้ชม และฉันไม่อยากปล่อย เวลาระหว่างรอนี้ให้ผ่านไป เลยถามถึงความเปลี่ยนแปลงของสมุยใน ปัจจุบัน เพราะเห็นว่าอาจารย์ท�ำกิจกรรมบนเกาะสมุยมาหลายอย่าง และอยู่ที่นี่มา 33 ปีแล้ว “ถ้าไม่รักษาไว้ สักวันหนึ่งสมุยคงเหลือแต่ชื่อ” อาจารย์เล่า ว่าเมื่อก่อน ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่สมุย นักท่องเที่ยวเต็ม 100% แต่
58
เดีย๋ วนี้ นอกฤดูกาลท่องเทีย่ ว นักท่องเทีย่ วลดลงแทบเกือบ 0% ย้อน กลับไปแค่ 10 ปีก่อน ถึงแม้ไม่ใช่ฤดูกาลท่องเที่ยว แค่หาดเฉวงก็มีนัก ท่องเที่ยวประมาณ 40% แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แบบนั้นแล้ว พร้อมเล่าต่อว่า ต้นมะพร้าวเมือ่ ก่อนมีเยอะกว่านีม้ าก แต่คนท�ำลายไปสร้างทีพ่ กั หรือ บ้านจัดสรรเสียเยอะ ตัวคนไทยไม่เท่าไหร่ แต่พวกเจ้าของโครงการ ชาวต่างชาติ พวกนัน้ จะตัดออกทัง้ หมดเลย และถ้าย้อนกลับไป 30-40 ปีที่ผ่านมา คนที่เคยมาสมุย จะรู้เลยว่าสมุยไม่เหมือนเดิม ตอนนั้นมี ต้นมะพร้าวเต็มไปหมดดูสวยงาม น่าเที่ยว แต่ตอนนี้ ทั้งแมลง ทั้งคน ท�ำลาย มะพร้าวแทบหายไปหมด จะปลูกทดแทนก็เกรงจะไม่ทัน เพราะต้นมะพร้าวหนึ่งต้นกว่าจะโตได้ก็หลายปี ความเงียบกลับมาอีกครัง้ อาจารย์ขอตัวไปเตรียมตัวขึน้ แสดง ฉันหันมองไปรอบตัวเพื่อส�ำรวจดูต้นมะพร้าวบริเวณนี้อีกรอบ และ ความคิดหนึง่ ก็แทรกขึน้ มา น่าเสียดายนักทีเ่ ด็กรุน่ ฉันเกิดมาไม่ทนั เห็น ตอนที่สมุยยังสวยงามกว่านี้
59
60
“ถ้าไม่กัด... จะเลี้ยงไปจนตาย”
61
-ลุงขาว
คนคุมลิงขึ้นมะพร้าว ฉันออกจากที่พักตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อที่จะรีบไปให้ทันเวลานัด หมายกับ “ป้าริน” และ “ลุงขาว” แถวหาดตลิ่งงามเกาะสมุย เนื่องจากที่พักของฉันอยู่ไกลพอสมควรจากจุดนัดหมาย แต่กระนั้นก็ ยังมาถึงได้ทันเวลา ที่นัดหมายของเราคือ สวนมะพร้าวที่อยู่ข้างในวัด ระหว่างทางที่ขับรถผ่านจะเห็นกองมะพร้าวเต็มไปหมด รวมถึงพวก เปลือกมะพร้าวที่อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมวางเรียงกันอยู่ ระหว่างทีก่ ำ� ลังรอลุงขาวอยูน่ นั้ ก็ทำ� การเดินส�ำรวจเก็บภาพ บรรยากาศไปเรื่อย แต่เพียงไม่นานนักก็มีรถกระบะสีเงินยกสูง และ แต่ ง ท้ า ยนิ ด หน่ อ ยส� ำ หรั บ บรรทุ ก แล่ น เข้ า มา ชายสู ง วั ย ท่ า ทาง กระฉับกระเฉงเดินลงมาจากรถ ฉันพอเดาได้ทนั ทีวา่ นัน่ คือ “ลุงขาว” 62
“ลุงขาว” เป็นคนสมุยโดยพืน้ เพ เติบโตมาบนเกาะสมุยตัง้ แต่ เกิด เดิมครอบครัวท�ำอาชีพประมง ออกทะเลอยู่เป็นประจ�ำ หาปลา บ้าง ปูบ้าง อยู่ที่ต�ำบลตลิ่งงาม แต่ด้วยความไม่แน่นอนของอาชีพ ประมง ท�ำให้ตดั สินใจเลิกท�ำอาชีพประมงอย่างถาวร แล้วแปรเปลีย่ น ความคิดก้าวย่างสู่อาชีพใหม่ คือ การรับจ้างปีนขึ้นต้นมะพร้าว “บางวันก็ได้เยอะ บางวันก็ขาดทุนค่าน�ำ้ มัน แต่อาชีพรับจ้าง ขึ้นมะพร้าวนั้นรายได้แน่นอนกว่าเยอะ สามารถรับประกันได้ว่าจะ เลี้ยงครอบครัว และส่งลูกเรียนหนังสือได้ ไม่ขัดข้องเรื่องเงินทอง แค่ เอาลิงขึ้นรถ วันนั้นก็ได้เงินแล้วแน่ๆ” ลุงขาวกล่าว กว่าจะมาลงหลักมั่นใจว่าจะตายอยู่ที่สมุย ลุงขาวเคยไปอยู่ มาแล้วหลายที่ แต่กระนัน้ ไม่วา่ จะไปอยูท่ ไี่ หน มันก็ไม่เหมือนบ้านของ เราเอง เพราะโดนคนอื่นดูถูกเหยียดหยามอยู่เสมอ “มีช่วงหนึ่งลุงไปอยู่ อ.ละแม จ.ชุมพร มา 5 ปี ไปท�ำสวน กาแฟ มีแต่คนฆ่ากันขัดแย้งเรื่องที่ดิน ผลประโยชน์ สมัยนั้นมันยังไม่ เจริญคนฆ่ากันไม่ติดคุก ลุงถึงกับต้องหนีกลับมาสมุย” แววตาที่ฉาย ไปด้วยความกังวลเป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนภาพความทรงจ�ำอันเลวร้ายออกมา อย่างเห็นได้ชัด แม้เหตุผลในตอนแรกของการหันเหอาชีพมารับจ้างขึ้น มะพร้าว จะเป็นเพราะความอยู่รอดในการด�ำรงชีวิต และความมั่นคง ในหน้าที่การงาน แต่กระนั้นภาพแห่งความจ�ำสมัยเด็กๆ ก็เป็นอีกสิ่ง หนึ่งที่หล่อหลอมให้ตัดสินใจก้าวเข้ามาสู่อาชีพนี้ 63
ลุงขาวเล่าว่า สมัยเด็กๆ ชอบไปดูคนเอาลิงขึ้นมะพร้าวอยู่ บ่อยๆ การได้ไปเห็นลิงขึ้นมะพร้าวอยู่บ่อยครั้ง เป็นสิ่งที่ท�ำให้รู้สึกถึง ความพิเศษบางอย่างในอาชีพนี้ นอกจากนี้ ลิง เป็นสัตว์ที่น่ารัก ลุงขาวจึงรู้สึกชอบลิงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พอมีโอกาสเหมาะสม ตอน อายุ 14-15 ปี ลาออกจากโรงเรียนมาก็ซื้อลิงมาเลี้ยงเลย ส�ำหรับลุงขาวแล้ว อาจกล่าวได้ว่า สิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งที่เรา รู้จักในนามว่า “ลิง” เป็นสิ่งมีชีวิตที่รู้สึกชื่นชอบและผูกพันมาตั้งแต่ เด็ก ลุงขาวเล่าถึงลิงตัวแรกที่ซื้อหลังจากออกจากโรงเรียนให้ฟังว่า ตอนนั้นซื้อลิงมาในราคา 3,000 บาท ซึ่งสมัยนั้นเรียกได้ว่า เป็นราคา
64 สวนมะพร้าวบ้านยาย
ทีแ่ พงมาก แต่ในขณะเดียวกันช่วงวินาทีนนั้ จ�ำนวนเงินกลับไม่ใช่ปญ ั หา แม้แต่น้อย เมื่อต้องแลกมาด้วยความเก่งกาจของลิงตัวนั้น “เจ้าลิงตัวนั้นมันก็เก่งมากๆ ด้วย” ลุงขาวอธิบายลักษณะ ของมัน “ตัวมันเล็กนิดเดียวขนาดพกใส่กระเป๋าเสื้อได้ น�้ำหนัก 3-4 กิโลกรัมเท่านั้น และตั้งชื่อให้มันว่า ทรัพย์” ลุงขาวยิ้ม “อยู่กับลิงสนุกไหมและเคยเบื่อหรือเปล่า” ฉันถามลุงขาว กลับไปด้วยความสงสัย “ตัวไหนเก่งๆ ก็สนุก ไม่เบื่อ เราก็เก็บไปได้เรื่อยๆ ไม่ต้องไป
65
กดดันให้ลิงท�ำอะไรมากมาย มันก็เก็บของมันไป พอต้นไหนหมดแล้ว มันหยุด และเดินออกมาจากทะลายเอง ให้เรารู้ว่าต้นนี้มันหมดแล้ว” ลุงขาวไม่เคยโดนลิงกัดเลยสักครัง้ ทีไ่ ม่โดนเพราะเลีย้ งแบบนิม่ ๆ ความ หมายของค�ำว่า “นิม่ ” ในทีน่ คี้ อื เลีย้ งเขาดีๆ ลิงพวกนีเ้ ขาก็รจู้ กั บุญคุณ คน และที่ บ ้ า นนอกจากลุ ง ขาวแล้ ว คนอื่ น ก็ เ ข้ า ใกล้ เ จ้ า ลิ ง พวกนี้ไม่ได้ ลิงตัวหนึ่งก�ำลังนั่งอยู่กับที่ของมัน ตาโตสีด�ำ ขนสีน�้ำตาล การเคลื่อนไหวที่ซุกซนเป็นสิ่งที่ท�ำให้ชวนมอง ตัวลุงขาวเองมีลิงขึ้น มะพร้าวทั้งหมด 3 ตัว แต่วันนี้พามาด้วยแค่ตัวเดียว ลุงขาวเริ่มเล่าถึงการท�ำงานกับลิงให้ฉันฟังว่า การหาซื้อลิง ในแต่ละครั้ง ลุงขาวไม่ได้เป็นคนฝึกลิงเอง แต่ซื้อมาอีกที เป็นลิงที่ถูก ฝึกมาแล้ว เพราะไม่ใช่ทกุ คนทีฝ่ กึ ลิงได้ ต้องเป็นคนทีม่ วี ชิ าฝึกลิงถึงจะ ฝึกลิงพวกนีไ้ ด้ ลิงของลุงขาวเป็นลิงทีฝ่ กึ มาขึน้ มะพร้าวโดยเฉพาะ จะ ไม่สามารถแสดงโชว์ได้ หรือเป็นมิตรมากนักกับคนแปลกหน้า เรียกว่า ดุก็ว่าได้ จะไม่กัดก็แค่เจ้าของ และที่ประจ�ำที่ลุงขาวไปซื้อลิง จะอยู่ที่ อ.สวี่ และ อ.กาญจนดิษฐ์ จังหวัด ชุมพร “ลิงตัวหนึ่งท�ำงานขึ้นต้นมะพร้าวได้กี่ต้น ท�ำงานได้กี่ปี ? ” ฉันถามขณะที่ก�ำลังเดินไปที่ท้ายรถของลุงขาว “ลิงตัวหนึ่งขึ้นมะพร้าว ได้ทั้งวันเป็น 1,000 ลูกต่อวัน ถ้ายิ่ง
66
เป็นหน้ามะพร้าวด้วยแล้วราคามะพร้าวแพง ค่าขึ้นลูกละ 2-3 บาท วันหนึง่ ก็ได้แล้ว 2,000-3,000 บาท นีเ่ ป็นแค่ราคาค่าแรงลิงอย่างเดียว เวลาขึน้ มะพร้าวจะใช้ลงิ ขึน้ อย่างเดียวไม่ใช้คน เพราะคนท�ำงานได้นอ้ ย แค่หนึง่ ต้นบางทีก็เหนือ่ ยเสียแล้ว ไม่เหมือนกับลิง ลิงตัวหนึง่ ขึน้ ได้ทงั้ วัน โดยเฉาะถ้าตัวไหนท�ำงานเก่งๆ ก็ยงิ่ มีราคาสูง และลิงหนึง่ ตัวยังใช้ งานได้ 20 กว่าปีเลยทีเดียว” อย่างลิงของลุงขาวตัวนี้ “เจ้าตัก๊ แตน” ราคาอยูท่ สี่ หี่ มืน่ กว่า บาท เป็นลิงเพศผู้ อายุประมาณ 2 เดือน ซึ่งลุงขาวเพิ่งได้มาไม่นานนี้ ลุงขาวบอกด้วยว่า จะไม่ใช้ลิงตัวเมียขึ้นมะพร้าวกัน เพราะลิงตัวเมีย มันสกปรก ลิงตัวเมียจะมีช่วงที่มีฤดู และที่ส�ำคัญท�ำงานได้น้อย ไม่ค่อยแข็งแรง “เรียกได้วา่ ลิงตัวหนึง่ กับราคาเท่านี้ ถือว่าคุม้ มากส�ำหรับลุง ยิ่งถ้าเราเลี้ยงเขาดีๆ ก็จะอยู่กับเราไปได้อีกนาน แต่ก็มีบางคนไปซื้อ ลิงตัวไม่เก่งมา พอมันเจอมดเข้าหน่อยก็วงิ่ หนี บางทีเขาก็เลยต้องตีมนั ก็มี และถ้าโดนตีหนักๆ เข้าอายุมันก็จะสั้นลง การจากไปของลิงตัวแรก” ลิงตัวแรกที่ซื้อมาตอนอายุ 15 ในราคา 3,000 บาท ลุงขาว ขายเจ้าทรัพย์ไปในราคา 5,000 บาท เพือ่ ไปท�ำสวนกาแฟ และลุงขาว เชื่อว่าเพราะเรื่องนี้ถึงท�ำให้ต้องหมดตัวเสียเงินเก็บไปถึง 300,000 เพราะผิดค�ำพูดที่ให้ไว้กับลิงตัวนั้น ค�ำพูดที่ว่า “ถ้าไม่กัด ให้ตายก็จะ
67
ไม่ขาย” เงินที่หามาด้วยกันจึงต้องหมดไป ลุ ง ขาวเชื่ อ ว่ า มั น มี อ าถรรพ์ ถ้ า เราปฏิ บั ติ กั บ ลิ ง ไม่ ดี “เจ้าทรัพย์” ลิงทีไ่ ด้ขายไปตอนจะไปท�ำสวนกาแฟ เป็นลิงทีฉ่ ลาดมาก หลังจากหมดตัวและเดินทางกลับมาสมุยแล้ว ตั้งใจว่าจะมา ซื้อลิงกลับไป แต่มาทราบข่าวว่า เจ้าของสวนที่ซื้อเจ้าทรัพย์ไปนั้นยิง เจ้าทรัพย์ทงิ้ แล้ว ด้วยความฉลาดของมัน ตอนนัน้ มันคงหิวเลยแก้เชือก เองแล้วไปขโมยของชาวบ้านกิน ชาวบ้านจับได้เลยมาต่อว่าท�ำให้ เจ้าของที่ซื้อเจ้าทรัพย์ไปโกรธบวกกับมีอาการมึนเมา จึงตัดสินใจยิง มันทิ้ง และเอามาแกงกิน ลุงขาวเล่าว่าตอนนั้นที่รู้ ถึงกับน�้ำตาไหลเสียใจที่กลับมา ไม่ทัน แต่ที่ท�ำให้เรื่องนี้น่าเศร้ากว่าเก่าคือ หลังจากเจ้าทรัพย์จากไป บ้านนั้นก็เสียลูกชายทั้ง 2 คน และภรรยาก็กลายเป็นบ้า ส่วนเจ้าของ ที่ยิงก็โดนยิงเสียชีวิตเหมือนกัน เพือ่ เป็นการสานต่อบทสนทนาฉันเลยถามถึงเรือ่ งราคาลิงตัว ที่แพงที่สุดที่ลุงเคยซื้อมา “ส่วนใหญ่ลุงจะใช้ลิงเบอร์ 1 หมดเลย คือพวกลิงตัวเก่ง เพราะลุงเป็นคนค่อนข้างใจร้อน ขี้โมโห ถ้าไม่เก่งจะไม่อยากใช้ และ ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณสามหมื่นถึงห้าหมื่นบาท นี่คือราคาที่ลุงขาว จะซื้อ แต่ลิงที่ราคาสูงกว่านั้นก็ยังมี แพงที่สุดที่ลุงขาวเคยได้ยินมา คือราคา 75,000 บาท แต่ถ้าตัวไหนเพิ่งจะฝึกเสร็จยังไม่เก่งมากราคา 68
สวนมะพร้าวบ้านยาย
จะอยู่ที่ สองหมื่น ถึงสามหมื่นบาท และหน้าตาจะแยกราคามา อีกต่างหาก ถ้าตัวไหนหน้าตารูปลักษณ์ดกี จ็ ะแพงขึน้ เพราะเชือ่ กันว่า จะท�ำงานเก่ง ท�ำงานดี และถ้าเห็นตัวใหญ่ๆ ก้นแดงๆ เขีย้ วยาวๆ อย่า คิดว่าแพง นั่นเรียกลิงแก่ ราคาจะถูกเพราะท�ำงานได้น้อย ยิ่งถ้าตัว ไหนเก่งๆ ฝึกมาดีแล้วเวลาขึ้นมะพร้าวไปเราแทบจะไม่ต้องท�ำอะไร เลย ลิงจะเลือกเองว่าลูกไหนใช้ได้แล้ว ลูกไหนสุกแล้วจะรู้หมดเลย” “แต่ลุงชอบนะ ชอบลิง คนอื่นไม่กล้าซื้อ ลุงซื้อ ลุงก็รู้นะว่า มันราคาแพง แต่ลุงก็ซื้อ” ลุงขาวตอบและยิ้มกว้าง ด้านวิธดี แู ลลุงขาวจะเลีย้ งลิงเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว ให้ กิ น ข้ า ว กิ น นม กิ น ผลไม้ หนึ่ ง อาทิ ต ย์ อ าบน�้ ำ ให้ ห นึ่ ง ครั้ ง 69
โรงปอกมะพร้าว
พาไปอาบในคลอง เวลาท�ำงานลิงจะมีหน้าทีแ่ ค่เก็บมะพร้าว และหลัง จากนั้น ลุงกับป้ารินจะเป็นคนที่เก็บมะพร้าวขึ้นรถ น�ำมาส่งที่โรงงาน มะพร้าวเพื่อปอก และน�้ำขึ้นรถบรรทุกสิบล้อข้ามฝั่งไปสู่แหล่งต่างๆ ซึง่ ปัจจุบนั ลุงขาวก็มลี งิ คูใ่ จอยูห่ นึง่ ตัวก่อนหน้าเจ้าแตนจะมา เป็นสมาชิกลิงตัวที่ 3 ในครอบครัว ลุงขาวมีลิงคู่ใจอีก 2 ตัวอยู่ที่บ้าน ตัวแรก “เจ้าใบเงิน” ลุงขาวเลีย้ งมา 10 กว่าปีแล้ว เรียกว่าเป็นสมาชิก ในครอบครัวคนส�ำคัญเลยก็ว่าได้ เพราะใบเงิน ลุงขาวถึงส่งลูกสาวทั้ง 3 คนเรียนจบ แยกย้ายไปท�ำงานและมีครอบครัว เคยให้สัญญากันไว้ ว่า “ถ้าไม่กัดจะอยู่เลี้ยงจนตาย” ค�ำสัญญา “ถ้าไม่กัด นิสัยดี จะอยู่เลี้ยงจนตาย” ลุงขาวมักจะพูดอยู่ บ่อยๆ ระหว่างบทสนทนา “ลุงสัญญากับเจ้าลิงตัวโปรดที่บ้านไว้ ตั้งแต่ตอนที่ไปเอามา ใหม่ๆ จากโรงเรียนสอนลิงที่สวี เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว สมัยนั้นราคาอยู่ ที่ 30,000 บาทแบบไม่ลด คนทีไ่ ปดูใบเงิน พร้อมลุงชอบทุกคนแต่ไม่มี ใครกล้าสู้ราคา แต่ลุงกล้า ลุงจะเอา และหลังจากเอามาแค่ 29 วัน
72
ก็ได้ทุนคืนมา 30,000 บาท เพราะใบเงินมันเก่งจริงๆ แต่ทุกวันนี้ไม่ ค่อยใช้มันขึ้นมะพร้าวเท่าไร เพราะมันก็แก่แล้วเหมือนกัน นานทีจะ เอามาใช้บ้าง” เขาเล่าว่า เวลาใบเงินมันขึน้ มะพร้าว เขาแทบไม่ตอ้ งท�ำอะไร เลยนอกจากนั่งอยู่เฉยๆ เจ้าใบเงินท�ำเรียบร้อยหมด มันฉลาด ดังนั้น พอตอนนี้มันแก่ เขาก็จะเลี้ยงมันเหมือนเพื่อน ให้กินเหมือนที่เขากิน หมดทุกอย่าง เพราะมันก็ทำ� เงินให้เยอะ เขาก็จะเลีย้ งมันไปจนมันตาย “บางคนใจด�ำ” ลุงขาวพูดขึ้นมาลอยๆ และเริ่มอธิบายต่อ ลิงที่ใช้ขึ้นมะพร้าว พอมันเริ่มแก่และ ท�ำงานได้น้อยลง บางคนก็ทิ้ง ไปปล่อยป่าให้มันหากินเอาเอง ลุงขาว คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ใจด�ำมาก คนพวกนั้นกลัวจะสิ้นเปลือง และบาง คนแย่ยิ่งกว่าปล่อยป่า คือยิงทิ้งเลยก็มี เพราะกลัวว่าถ้าปล่อยไปแล้ว จะไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นก็ตัดสินใจยิงทิ้งเสียดีกว่า แต่ส�ำหรับลุงขาว คิดว่ากว่ามันจะแก่มันก็ท�ำงานให้เรามา หนักแล้ว พอมันแก่เราก็ต้องเลี้ยงดูมัน เหมือนคน ถ้าเราแก่ลูกทอด ทิ้งเรา เราก็เสียใจ ลุงเชื่อเรื่องเวรกรรม การทอดทิ้งสัตว์
73
เจ้าตัก๊ แตน ลิงขึ้นมะพร้าว
74
เรื่องเล่า เกี่ยวกับลิง มีครั้งหนึ่งลุงขาวเคยไปท�ำงานเป็นช่างก่อสร้าง บังกะโลที่ ต.ท้ายเรือ เกาะสมุย เจ้าของบังกะโลซึง่ เป็นชาวต่างชาติ มีลกู ชายอายุ ได้ไม่กข่ี วบปี พาลูกไปดูชะนีทอี่ ยูใ่ นบังกะโล เพียงแค่พริบตาเดียว ชะนี คว้าตัวเด็กไปกัด เกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โต เจ้าของชาวต่างชาติถึงกับ จะยกเลิกโครงการ 40 ห้อง ถ้าไม่ยอมเอาชะนีตัวนั้นไปทิ้ง เจ้าของ ชะนีถึงกับต้องตัดใจพาเจ้าชะนีตัวนั้นไปสุราษฎร์ธานี จากวันนั้นจวบจนวันนี้ เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วกับอาชีพ รับจ้างขึ้นมะพร้าว ตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ เรือ่ งง่าย ลุงขาวต้องผ่านเรือ่ งราวและอุปสรรคต่างๆ มาอย่างมากมาย แต่เดิมเคยมีสวนของตัวเอง แต่มันก็ไม่พอเลยต้องมารับจ้างขึ้นให้คน อื่นด้วย และส่วนมากเจ้าของสวนเขาก็จะจ้างเอา เพราะมันอันตราย คนที่ไม่เข้าใจลิง ลิงก็จะกัดเอาเสียด้วย ปัจจุบัน และอนาคต ด้านรายได้ของการประกอบอาชีพบนเกาะสมุยแห่งนี้ ลุงขาว บอกว่า ลุงท�ำอาชีพนี้ช่วยกันกับป้าริน (ภรรยาของลุงขาว) แค่เพียง 2 คน ถ้าท�ำครึ่งวันก็จะได้ ประมาณ 1,000 กว่าบาท ฟังดูน้อย แต่อย่า ลืมว่าลุงไม่ได้ขนึ้ มะพร้าวให้แค่สวนเดียว อย่างวันนีม้ าท�ำทีส่ วนของวัด วันถัดมาก็ไปท�ำที่สวนอื่น ก็จะกะงานให้ลงตัวพอดี 45 วัน “ลุงจะไม่คอ่ ยนับเป็นสวนว่าท�ำให้ทงั้ หมดกีส่ วนหรือกีแ่ ปลง แต่จะใช้การนับเป็นลูกเอา เดือนหนึ่ง หรือรอบหนึ่ง จะอยู่ที่ประมาณ 75
10,000 ลูก ถ้าช่วงไหนราคามะพร้าวดี เต็มคันรถ กระบะของลุงขาว ประมาณ 1,000 ลูก จะได้เงิน 3,000 บาท ส่วนการจะไปขึน้ ให้สวนไหนขึน้ อยูก่ บั ความ พอใจของเจ้าของสวนว่าจะจ้างใครเก็บให้ แต่ส่วน ใหญ่แล้วก็จะใช้คนเดิมตลอดจะไม่เปลี่ยน นอกเสีย จากเจ้ า ของสวนจะเปลี่ ย นคน อย่ า งปั จ จุ บั น ลุ ง ก็ รับจ้างขึ้นให้อยู่สัก 10 เจ้าได้” เนื่องจากลุงขาวไม่ได้มีสวนเป็นของตัวเอง แต่มหี น้าทีเ่ ก็บให้พวกเจ้าของสวนอีกทีหนึง่ อย่างสวน ที่ ลุ ง ขาวพามาวั น นี้ ก็ เ ป็ น ของวั ด ซึ่ ง ลุ ง ขาวจะขึ้ น มะพร้าวให้ทุกๆ 45 วัน ที่ 45 วันก็เพราะ มะพร้าวมัน จะออกเป็นรอบ หลังจากสุกแล้วต้องรอ 45 วันถึงจะ ขึ้นเก็บครั้งต่อไป ลุงขาวอธิบายต่อว่า ส�ำหรับตัวเองมีลิงและ มีรถ การไปรับจ้างขึน้ มะพร้าวให้คนทีม่ สี วนอีกทีหนึง่ พอเก็บเสร็จก็จะน�ำมะพร้าวมาส่งให้เจ้าของสวนที่ บ้ าน ตั วเจ้ า ของสวนไม่ต้องท�ำอะไรเลยแค่รอรับ มะพร้าวอย่างเดียว ส่วนเรื่องราคาค่าแรง ลุงขาวยก ตัวอย่างให้เข้าใจว่า สมมติว่าราคามะพร้าวอยู่ที่ 8 บาท เจ้าของสวนก็จะได้ 4 บาท ส่วนอีก 4 บาทก็จะ เป็นราคาค่าแรงของลุง 76
รายได้อันน้อยนิด หากแต่ต้องแลกมาด้วยความยากล�ำบาก เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งเผชิญ แม้กระทัง่ ในความล�ำบากย่อมมีกลเม็ดเคล็ดลับอัน เฉพาะตัวแฝงอยูเ่ สมอ ซึง่ เทคนิคพิเศษนีอ้ าจถือเป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้อยูร่ อด ในเส้นทางอาชีพนี้ โรงปอกมะพร้าว
77
“บนเกาะสมุยมีคนท�ำอาชีพรับจ้างขึ้นมะพร้าวอยู่เยอะ แต่ ส่วนมากจะไม่ใช่คนสมุย แต่จะเป็นคนภาคอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาท�ำ มาหากินบนเกาะสมุย แถมบางคนยังท�ำรายได้จากอาชีพนี้ น�ำเงินกลับ บ้านไปได้เป็นล้านยังมี” เขาพูด “บางคนโกงเจ้าของสวนก็มี วิธีการคือ สมมติถ้าขึ้นมะพร้าว ได้ 1,000 ลูก ก็จะเอาไปส่งเจ้าของสวนแค่ 600-700 ลูก แล้วที่เหลือ 300 ลูก ก็จะเอาไปขายเอง ซึ่งจะได้เงินเต็มจ�ำนวนไม่ต้องแบ่งกับ เจ้าของสวนครึ่งหนึ่ง” “คนท�ำอาชีพนี้เพิ่ม แต่มะพร้าวก�ำลังลดลง” คนถิ่นอื่นที่มาท�ำรับจ้างขึ้นมะพร้าวอยู่ที่สมุยส่วนใหญ่ จะมี ความอดทนและขยันกว่าคนพืน้ ทีอ่ ย่างลุงขาว ส่วนใหญ่ตอนมาใหม่ๆ ก็จะมาเรียนรู้จากการเป็นลูกจ้าง ลูกมือก่อน เรียนรู้วิธีการดูมะพร้าว ว่าทะลายมะพร้าวอันไหนสุกไม่สกุ และลิงนีแ่ หละจะเป็นตัวช่วยสอน ต้องยอมรับว่ามะพร้าวในอดีตกับมะพร้าวในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป มะพร้าวไม่เหมือนเมือ่ ก่อน ลูกมะพร้าวไม่ใหญ่ และต้นมะพร้าวก็เป็น โรค คือโรคใบแดง และ โดนด้วงกินหัวเหลือแต่ชว่ งล�ำต้นเรียกว่ายืนต้น ตายเหลือแต่ตอ แต่กม็ คี วามพยายามช่วยกันปลูกทดแทนต้นทีเ่ สียไป แต่มะพร้าวต้นหนึ่ง กว่าจะโตก็ใช้ระยะเวลา 6-10 ปี ลุงขาวเล่าถึงช่วงที่อายุสัก 23 ปีว่า เขาส่งลูกสาวคนโตไป เรียนทีต่ วั เมืองสุราษฎร์ธานี สมัยนัน้ มะพร้าวดกมากมองไปทางไหนก็
78
มีแต่มะพร้าวเต็มไปหมด มะพร้าวดกมากๆ แต่ราคามะพร้าวแค่ ลูกละ 1 บาทเท่านั้น “สมุยเดี๋ยวนี้มันไม่เหมือนเมื่อก่อน” เมื่อเราถามถึงอนาคตในอาชีพนี้ ลุงขาวบอกว่า คิดว่าคงท�ำ อีกไม่นานแล้ว จะเกษียณตัวเองเร็วๆ นี้ เพราะปัจจุบันอายุ 57 แล้ว ลูกก็เรียนจบกันไปหมดแล้ว ที่บ้านก็มีครบทุกอย่างแล้ว ตอนนี้ก็ เหมือนท�ำเล่นๆ เสียมากกว่า ไม่ได้สมบุกสมบันเหมือนแต่ก่อน เรียก ว่าตอนนี้ท�ำแค่พอเลี้ยงตัวเองให้อยู่ได้ เพราะถ้าจะให้อยู่เฉยๆ มันก็ เครียด ยิ่งอายุมากจะให้ไปท�ำอาชีพอื่นก็ยากคงไม่มีใครรับ แรงคงสู้ หนุ่มๆ ไม่ได้ วันเวลาผ่านไป ไม่เพียงแต่สมุยเท่านัน้ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ผูค้ น มากหน้าหลายตาก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา กอบโกยอะไรหลาย อย่างจากธรรมชาติของที่นี่ จนไม่เหมือนวันก่อนๆ
79
รู้หรือไม่ว่า... !?
รถกระบะบรรทุกของ 1 คัน สามารถใส่มะพร้าวได้ จ�ำนวน 1,000 ลูกพอดี
รถสิบล้อ 1 คัน ใส่มะพร้าวได้ 12,000 ลูก ไม่สามารถใส่ได้เกินกว่านัน้
82
mariner
ลูกทะเล
“อยู ่กับทะเลแล้ว ...มันสบายใจ” -อารมณ์
84
85
บทที่
4
ชาวประมง กับคนขับเรือ ลมอ่อนๆ โชยเข้ามาปะทะทีใ่ บหน้าผมพันกันยุง่ เหยิง จนฉัน ต้องหยิบยางขึ้นมามัด ตอนนี้ฉันเดินทางมาที่ศาลาริมทะเลแห่งหนึ่ง ในศาลามีหนุม่ ใหญ่นงั่ กันอยู่ 4-5 คน ป้ายด้านหน้าเขียนไว้วา่ เป็นศาลา ของชาวประมง ต.ตลิ่งงาม พอเดินเข้าไปบนศาลา หนุ่มใหญ่ผมขาว ผิวสีเข้มก็แตกฮือกันหมด เหลือเพียงแค่ “ลุงอารมณ์” นั่งอยู่ แกดูมี ท่าทีเขินอาย ฉันกล่าวทักทาย แกตอบรับเสียงแผ่วเบาในล�ำคอ จนฉัน ถามย�ำ้ หลายครัง้ เข้า แกเลยตอบมาว่า แกรูส้ กึ เขินทีพ่ ดู กลางไม่ชดั ฉัน ถึงกลับหลุดหัวเราะออกมา และพูดเพือ่ ให้แกผ่อนคลายว่าฉันเองก็พดู ใต้ไม่เป็นเหมือนกัน 86
ลุง “อารมณ์” มีอาชีพหลักเป็นชาวประมง และอาชีพเสริม เป็นคนขับเรือน�ำนักท่องเทีย่ วเทีย่ วตามเกาะต่างๆ อยูบ่ นเกาะสมุย ใน พืน้ ทีต่ ำ� บลตลิง่ งาม แต่พนื้ เพเดิมจริงแล้วนัน้ เป็นคน เกาะแตน ทีบ่ า้ น แต่เดิมท�ำสวนมะพร้าว ชีวิตเกือบเปลี่ยน ทุกคนที่เห็นลุงอารมณ์ในตอนแรกคงคิดว่าแกอายุมากแล้ว เพราะร่างกายทีด่ จู ะผอมบาง และผิวทีก่ ร้านแดดจึงท�ำให้เป็นแบบนัน้ แท้จริงแล้วมีอายุเพียงแค่ 48 ปี แต่เรือ่ งราวชีวติ ก็นา่ แปลกใจไม่แพ้ไป กว่าเรือ่ งของอายุ ครัง้ หนึง่ เกือบเคยชีวติ เปลีย่ น อาจไม่ตอ้ งมาท�ำอาชีพ ประมงเหมือนทุกวันนี้ เพราะในวัยเด็กช่วงอายุ 13 ปีเคยไปใช้ชวี ติ อยู่ ที่กรุงเทพฯ โดยที่บ้านส่งไปเรียนหนังสือ ตอนนั้นจ�ำได้ว่าอาศัยอยู่กับญาติ แถวถนนสุทธิสาร ไปช่วง แรกๆ ก็เขินไม่กล้าคุยกับใคร เพราะพูดกลางไม่ชัด แต่ไปอยู่ได้เพียง ไม่ถึงปีดี และเริ่มปรับตัวได้ ก็มีเหตุจ�ำเป็นต้องกลับมาบ้าน เพราะพ่อ เสีย พอกลับมาก็เรียนหนังสือได้อกี แค่ 2 ปี ก็เริม่ ท�ำงานเลยในวัยเพียง 15 ปี ช่วงชีวติ วัยรุน่ ท�ำมาหลายอาชีพมาก เคยแม้กระทัง่ ไปท�ำสวน กาแฟอยูเ่ ขาทะลุ แล้วก็ยา้ ยกลับไปกลับมาจนมาลงตัวท�ำอาชีพประมง ปัจจุบันลุงอารมณ์มีลูกทั้งหมด 5 คน และเป็นเสาหลักของ ครอบครัว เป็นคนหาเงินเข้าบ้านแต่เพียงคนเดียว ด้วยการท�ำอาชีพ 87
ประมงเรือเล็ก คู่กับท�ำอาชีพขับเรือพานักท่องเที่ยวเที่ยวมาแล้วร่วม 10 ปีได้ แต่ถ้าท�ำประมงกับท�ำสวนนั้นท�ำสลับกันไปมา ก็ท�ำมาได้ 20 กว่าปีแล้ว ทีห่ นั มาท�ำประมงกับขับเรือบริการนักท่องเทีย่ วควบคูก่ นั ได้ เพราะว่าเห็นลู่ทาง จากการที่เกาะสมุยก�ำลังเป็นที่นิยมของนักท่อง เที่ยวมากเมื่อตอน 10 ปีที่แล้ว เลยมาตัดสินใจรวมกลุ่มกันท�ำท่าพัก เรือบริเวณตลิ่งงาม เพื่อให้นักท่องเที่ยวมาติดต่อได้ที่บริเวณท่าเรือ เลย หรือบางครัง้ ก็รบั งานจากทัวร์ ซึง่ จะคิดราคาเหมาและแบ่งกัน 60 : 40 แต่หลักๆ ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวรู้กัน เป็นการบอกแบบปากต่อ ปากเสียมากกว่า เรานั่งกันอยู่ในศาลาที่มีโต๊ะหินวางอยู่ตรงกลาง มีบางช่วง เวลาที่การสนทนาเงียบลงมีเพียงเสียงคลื่น และลมทะเลพัดผ่าน
88
ฉันหันไปมองหน้าของลุงอารมณ์ ทีก่ ำ� ลังมองไปยังทะเล ลุงไม่ได้ลมื ว่า ฉันนั่งอยู่ตรงนี้ แต่เพียงแค่ก�ำลังคิดอะไรสักอย่างหนึ่ง ก่อนจะหัน กลับมา เมือ่ ก่อน ก่อนจะมาท�ำอาชีพนี้ เคยเป็นชาวสวน เคยท�ำอาชีพ รับจ้างเก็บมะพร้าวมาเหมือนกัน ลุงเสริมว่าจริงๆ แล้วเก็บมะพร้าวยัง ได้รายได้ดกี ว่าท�ำประมงออกเรือเสียด้วยซ�ำ ้ แต่ออกเรือจะได้เงินดีเป็น ช่วงๆ ก็ไม่ถึงกับได้เงินน้อยตลอด จะแย่ที่สุดก็เฉพาะตอนฤดูฝนที่ คลื่นลมแรงๆ แต่เหตุที่เลือกท�ำอาชีพนี้หลักก็เพราะชอบทะเล “อยู่กับทะเลแล้วมันสบายใจ” ลุงว่าอย่างนั้น ที่พูดแบบนั้นได้ก็เพราะว่าเคยท�ำมาหลายอาชีพแล้ว อาชีพ ทั้งหมดที่เคยท�ำมาชอบอาชีพประมงมากที่สุด ชอบความรู้สึกตอนได้ ขับเรือ และนัง่ เรือออกไปกลางทะเล ตอนทีเ่ ริม่ ขับเรือเป็นครัง้ แรกไม่มี
89
ลุงอุ ทร และ ลุงอารมณ์
คนสอน แต่อาศัยลักจ�ำเอา เวลาใครเขาออก เรือ ก็จะขอติดเรือไปด้วย แล้วใช้วธิ สี งั เกต ฝึก เอง ส่วนเรือ่ งจับปลาก็เช่นกัน ถ้าเห็นใครก�ำลัง จะออกเรือไปหาปลาก็จะไปขอช่วย เพราะที่ บ้านดัง้ เดิมไม่ได้ทำ� อาชีพประมงเลยไม่มคี วาม รู้เรื่องนี้ ก็มีแค่อาชีพรับจ้างขึ้นมะพร้าว และ ก็เป็นชาวสวนอาศัยอยู่บนเกาะแตน ประเภทเรือประมงของลุงอารมณ์ คือประมงเรือเล็ก ประมงเรือเล็กจะต่างจาก เรือใหญ่พอสมควร ทัง้ ขนาดเรือและวิธกี ารจับ รวมถึงอุปกรณ์ “เพชรดาวรุ ่ ง ” คื อ ชื่ อ เรื อ ของลุ ง อารมณ์ ลุงชี้ไปที่เรือล�ำที่จอดอยู่เกือบริมสุด “เรือผมล�ำทีเ่ ล็กๆ นัน่ ” พูดน�ำ้ เสียงฟังดูขบขัน แกมเสียดสีตัวเองอยู่ในที ลุงอุทรเล่ารายละเอียดปลีกย่อย ใน การจับปลาของประมงเรือเล็กให้ฟังว่า เวลา ออกเรื อ หาปลาท� ำ ประมง จะอยู ่ ที่ เ วลา ประมาณ 17.00 น. หรือ17.30 น. เวลาออก เรือจะไม่ออกเพียงคนเดียว จะไป 2-3 คน แต่
92
ลุงอารมณ์ ก�ำลังเตรียมอุ ปกรณ์หาปลา
93
ถ้าคนไหน ร่างกายยังแข็งแรงอยู่ ก็ออกคนเดียวฉายเดีย่ วได้ นอก นั้นช่วงเวลากลางวันก็รับนักท่องเที่ยวเป็นอาชีพเสริม ชนิดปลาที่จับได้จะมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ลุง อารมณ์บอกว่ามันขึน้ อยูก่ บั แต่ละน่านน�ำ ้ แต่ละบริเวณด้วย ปลา ฝัง่ อ่าวไทยจะตัวเล็กกว่าปลาฝัง่ ทะเลอันดามัน และถ้าเป็นฤดูที่ ปลาหมึกขึ้นก็จะจับหมึกร่วมด้วยเช่นกัน ด้านอุปกรณ์อวนที่ใช้จับปลาบนประมงเรือเล็กจะมี ความลึกประมาณ 50 เมตร วิธีการจับคือจะวิ่งเรือและปล่อย อวนลงไปในน�้ำ และเก็บที่หลัง จะไม่ใช่วิธีลากอวนเพราะจะ ท�ำลายธรรมชาติ และพอได้ปลามาก็จะขายอยู่ด้านหน้าท่าเรือ ไม่จ�ำเป็นต้องน�ำไปส่งให้แพปลา เพราะไม่ทันถึง 10 โมงดี ปลาที่จับมาได้ก็หมดเกลี้ยงแล้ว ลุงอารมณ์เล่าไป และเดินกลับมานัง่ ทีศ่ าลาเหมือนเดิม แกยังคงพูดเสียงแผ่วเบาในล�ำคอ มือล้วงเข้าไปในกระเป๋าเสื้อ หยิบซองยาสูบกับกระดาษห่อออกมา ก่อนที่ลุงอารมณ์จะ ท�ำการม้วนยาสูบเสร็จ ฉันก็ถามต่อว่า แล้วเวลาออกเรือเคยรูส้ กึ กลัวบ้างไหม
94
ลุงเริ่มต้นตอบด้วยหลักการว่า คนที่ออกเรือหาปลา จ�ำเป็นต้องอาศัยความเคยชินดูลม ดูทิศเป็น และยอมรับว่า ก็มีกลัวบ้าง มีครั้งหนึ่งเคยเจอคลื่นหนักๆ ตอนนั้นจะเรียกว่ากลัว ได้ไหมก็ไม่เชิง เสียวเสียมากกว่า แกพูดและหลุดยิ้มกว้างออก มาเป็นครั้งแรก จะดูว่าวันไหนออกเรือได้ไม่ได้ก็จะดูที่คลื่นลม ตอนกลางวัน วันไหนลมแรงมากก็จะไม่ออก ทีไ่ ม่กล้าออกเพราะ อันตราย “ถ้าคิดว่ามันอันตรายท�ำไมถึงยังท�ำอาชีพหาปลา และ ออกเรืออยู่? ” ฉันย้อน “ถ้าไปท�ำอาชีพอื่นคิดว่าเขาคงไม่รับแล้ว อายุก็เยอะ แล้ว” ลุงตอบด้วยน�้ำเสียงธรรมดาไม่ได้จริงจังอะไร ระหว่างทีฉ่ นั และลุงอารมณ์กำ� ลังจะเข้าเรือ่ งการขับเรือ รับนักเที่ยวไปเที่ยวและด�ำน�้ำตามเกาะต่างๆ ก็มีคนเดินเข้ามา ในศาลา หนุม่ ใหญ่คนนีด้ ู หนุม่ มากกว่าลุงอารมณ์ แต่มผี วิ สีเข้ม พอๆ กัน เขาแนะน�ำตัวว่าชื่ออุทร
95
96
“ถ้าเลือกได้ ระหว่าง ปั จจุ บัน กับเมื่อก่อน ขอเลือกเมื่อก่อน” -อุทร
97
ชีวิตนี้มีเรื่องเสียดายมากมาย ลุง “อุทร” ท�ำอาชีพขับเรือบริการพานักท่องเทีย่ วเทีย่ วเป็น อาชีพหลัก และไม่ได้มีงานอื่นเสริม ด้วยอายุ 51 ปี มีลูก 2 คน ฉันถึง กับตกใจเล็กน้อยเพราะดูภายนอกยังดูแข็งแรงและหนุ่มแน่นกว่าลุง อารมณ์พอสมควร จนต้องพูดออกมาว่าไม่น่าเชื่อ ทั้งสองคนเพียงแค่ ข�ำ และพูดคุยกันเองเป็นภาษาใต้ ลักษณะภายนอกนอกจากจะดูแข็ง แรงแล้ว ลุงอุทรยังดูมคี วามมัน่ ใจมากกว่าลุงอารมณ์ดว้ ย แกพูดภาษา กลางค่อนข้างชัด และน�้ำเสียงดังฟังชัดตามรูปแบบคนใต้
98
ด้านชีวิตครอบครัว ทั้งลุงอุทรและภรรยาท�ำงานหาเงินเข้า บ้านทั้งคู่ ท�ำให้รายได้ถือว่าพอเลี้ยงครอบครัวได้ พื้ น เพเดิ ม เป็ น ชาวเกาะแตนตั้ ง แต่ ก� ำ เนิ ด ตอนยั ง อยู ่ บนเกาะแตนที่บ้านท�ำสวนมะพร้าว กับประมง แต่ปัจจุบันย้ายมาอยู่ เกาะสมุย เพราะลูกๆ เรียนอยู่ที่เกาะสมุย ก่อนเราจะเริ่มพูดคุยกันอีกรอบ ลุงอุทรชี้ให้ดูเรือของลุงที่ใช้ มาแล้ว 26 ปี เรือของลุงอุทรมีขนาดใหญ่กว่าเรือของลุงอารมณ์พอ สมควร เพราะใช้รับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ลุงอุ ทร บริเวณศาลาพักเรือ
99
ลุงอุทรมีความชอบ และหลงใหล ในเรือเหมือนไต้ก๋งคนอื่นๆ เปรียบเรือเหมือนกับรถ ต้องเอาไปซ่อมบ�ำรุงอยู่ทุก ปี ต้องดูแลรักษา ตีคานใหม่ ในแววตาตอนที่แกพูดถึงเรือนั้น ดูมีความสุขมาก แกเล่าว่าเวลาซ่อมเรือครั้งหนึ่งราคาจะอยู่ที่ ประมาณ 40,000 – 50,000 บาท แต่ถ้าซื้อใหม่เรือล�ำหนึ่ง ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดเรือเล็ก หรือใหญ่ หลังจากได้รับความรู้เรื่องเรือมาพอสมควร ฉันเลย ถามลุงทั้งสองคนว่า ขับเรือพานักท่องเที่ยวเที่ยวนั้นจ�ำเป็น ต้องท�ำอะไรบ้าง ลุงอารมณ์ตอบว่า เนื่องจากเรือพวกเขาเป็น เรือเล็ก และบริเวณทีจ่ ะขับเรือพานักท่องเทีย่ วไปก็อยูร่ ะหว่าง เกาะสมุย เกาะแตน และเกาะเล็กเกาะน้อยทีอ่ ยูไ่ ม่ได้ไกลมาก จากเกาะสมุย จึงเป็นการด�ำน�ำ้ ดูปะการังน�ำ้ ตืน้ แต่กม็ บี า้ งบาง ช่วงทีน่ ำ�้ ลึกก็มกี จิ กรรมดูปลา และให้อาหารปลา และบนเรือก็ จะมีอปุ กรณ์ดำ� น�ำ้ พืน้ ฐานให้ คือ หน้ากากด�ำน�ำ้ แบบบนผิวน�ำ ้
100
กับ เสื้อชูชีพ บริการให้นักท่องเที่ยว แต่นักท่องเที่ยวบางคนก็ น�ำเอามาเอง ตอบเสร็จลุงอารมณ์ก็น�ำม้วนยาสูบที่ท�ำไว้สักพัก มา คาบไว้ที่ปาก และหยิบไฟขึ้นมาจุด เราเงียบกันไปอีกพักหนึ่ง จนฉันคิดขึ้นมาได้ว่ายังไม่ทราบถึงเรื่องรายได้ว่าเพียงพอไหม กับอาชีพที่ท�ำอยู่ “รายได้ถือว่าได้เรื่อยๆ ไม่ได้ดีมาก” เพราะราคาค่า เรือจะคิดแบบเหมาทั้งวัน 4-5 ชั่วโมง แต่ถ้าเกินเวลาที่ตกลงก็ ต้องขอเพิ่ม ราคาต่อครั้งจะอยู่ที่ 1,500 บาท แต่ก็ขึ้นอยู่กับ จ�ำนวนคนด้วยทีจ่ ะคิดเพิม่ หรือลด และถ้าเป็นช่วงฤดูกาลท่อง เที่ยวก็จะคิดที่ 2,000 หนึ่งวันก็จะรับผู้โดยสารได้ประมาณ 2 ชุด ซึ่งถือว่าดีหน่อย ได้วันหนึ่งก็ตก 3,000 – 4,000 บาท” ลุงอุทรเสริมต่ออีกว่า อย่างช่วงฤดูฝนหรือช่วงหลังๆ มารายได้ไม่ค่อยดีเสียเท่าไร นักท่องเที่ยวมีจ�ำนวนลดน้อยลง โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ฉันเดินทางมาซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน ช่วงนี้ก็
101
ถือเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว ด้านลุงอารมณ์ หาปลาคืนหนึ่งจะได้มากหรือน้อยนั้นขึ้น อยู่กับน�้ำหนัก มากที่สุดที่เคยได้ คือ 10 กว่ากิโลกรัม ซึ่ง ก็ตกอยู่ที่ 20,000 บาทโดยประมาณ “แล้วอย่างนี้คิดว่าจะออกเรือหาปลารับนักท่องเที่ยวไปถึง เมื่อไหร่? ” ลุ ง อารมณ์ เ อายาสู บ ออกมาคี บ ไว้ ใ นมื อ เพื่ อ ที่ จ ะพู ด ได้ถนัด“ก็จะยังท�ำไปเรื่อยจนกว่าจะไม่ไหว ไม่เคยจ�ำกัดอายุตัว เองว่าจะหยุดท�ำเมื่อไร เพราะตอนนี้รายได้ก็ถือว่ายังไม่พอเลี้ยง ครอบครัวได้” แต่นา่ แปลกใจนักท�ำงานมาตัง้ หลายปี ตัง้ แต่หนุม่ ยังไม่เคยมี เงินเก็บเลยสักบาท ลุงเล่าว่ามันเป็นเพราะความขีเ้ กียจของตัวเองด้วย ออกเรือหาปลา ถ้าไม่ขเี้ กียจก็จะท�ำเงินได้เยอะ เพราะสามารถออกได้
102
ทุกวันยกเว้นวันที่มีพายุหนัก แกตอบและก็หัวเราะให้กับตัวเอง “แต่ยงั ดีเมือ่ ก่อนหาปลาอย่างเดียว เดีย๋ วนีม้ าขับเรือรับท่อง เทีย่ วด้วยก็ดี ถือว่าเป็นการท�ำงานเสริม แต่จบั ปลาบางคืนก็ได้เงินเป็น หมื่น ก็ยังเยอะกว่าขับเรือรับนักท่องเที่ยว เรียกได้ว่าเงินจากการออก ปลาดีกว่า เพราะออกปลาถ้าได้ปลา 6-7 กิโลกรัม ก็ได้แล้วหมื่นกว่า บาท แต่รับนักท่องเที่ยวได้วันละ 1,200 บาท และบางวันก็ไม่ได้” ลุงเสริม ฉันนึกได้ว่าทั้งสองคนเป็นคนเกาะแตน เลยอยากรู้เรื่องราว เกี่ยวกับเกาะแตนเสียหน่อยไว้เป็นความรู้ และลุงอุทรเป็นคนอาสาที่ จะเล่าให้ฟัง “เกาะแตน” เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ติดกับเกาะสมุย สมัยที่ ทัง้ สองคนยังเด็กอยูน่ นั้ บนเกาะก็มโี รงเรียนเกาะแตน แต่ปจั จุบนั ไม่มี ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว รวมถึงชาวบ้านบนเกาะแตนก็แทบไม่เหลือแล้ว
103
จะมีก็พวกที่พัก ประเภทบังกะโล และร้านอาหาร อาชีพหลักของคน บนเกาะแตนก็เหมือนคนสมุยคือท�ำประมงเรือเล็ก กับท�ำสวนมะพร้าว เหมือนดังเช่นที่บ้านของทั้งสองคน และบนเกาะแตนไม่มีสุนัขเลย สักตัว เพราะเจ้าทีเ่ จ้าทางไม่ชอบสุนขั ถ้ามีสนุ ขั ไปอยูก่ จ็ ะตายเอง หรือ บางตัวก็ไหว้น�้ำหนีออกมาเอง ฉันฟังถึงกับท�ำหน้าสงสัยไม่อยากเชื่อ แต่ลุงอุทรก็ย�้ำว่าเรื่องจริง “ที่ผ่านมาสมุยเปลี่ยนไปเยอะ”ลุงอุทรกล่าว ถ้าเลือกได้ ระหว่างปัจจุบนั กับเมือ่ ก่อน อยากให้เหมือนเมือ่ ก่อนเพราะดีกว่าเยอะ ในหลายๆ เรื่องและมีหลายเรื่องที่ทุกวันนี้ยังนึกเสียดายอยู่ ลุงพูดและพยักหน้าซ�้ำฉันเห็นถึงความเสียดายในแววตานั้นจริงๆ “คิดแล้วก็เสียดายอยากเก็บไว้” เพราะก่อนหน้าที่จะย้าย มาอยู่ที่สมุย ลุงขายที่บนเกาะแตนให้กับนายทุนใหญ่หมดแล้ว ตอน นั้นขายไปในราคาที่ถูกมาก ได้แค่ไม่กี่แสนบาท แต่ปัจจุบันราคาพุ่ง ขึ้นไปถึงแสนต่อตารางเมตร เพียงแค่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฉันได้แต่เพียง แค่รับฟังไม่รู้จะพูดอย่างไร ใช้เพียงความเงียบให้ท�ำหน้าที่ของมัน
104
“วันนี้อากาศดีจริง ท้องฟ้าโปร่งเชียว” ฉันตัดสินใจท�ำลาย ความเงียบ “ไม่นะวันนี้อากาศไม่ดี ดูน�้ำสิขุ่นเชียว และลมก็แรงเกินไป” ลุงอารมณ์ทฉี่ นั คิดเขาว่าก�ำลังหลุดอยูใ่ นห้วงความคิดของตัวเอง กลับ แทรกขึ้นมา ฉันไม่ได้โต้แย้งอะไรเพียงแค่คิดในใจว่านี่เหรอเรียกอากาศ ไม่ดี แต่พอการสนทนาปัญหาชีวิตของฉันกับเหล่าไต้ก๋งเรือเล็กจบ ลง ท้องฟ้าก็ครึ้ม เมฆก้อนใหญ่ลอยมา และเพียงแค่ไม่ถึงอึดใจฝนก็ โปรยปรายลงมา... แล้วค�ำพูดของทุกคนที่ได้พบได้พูดคุยก็ย้อนเข้ามา “เป็น กะลาสีไม่ได้เป็นกันง่ายๆ ต้องใช้ทักษะหลายอย่าง ต้องรู้จักน�้ำต้อง รู้จักลม”
105
รู้หรือไม่ว่า... !?
“ปลา” ในฝั่ งอ่าวไทยมีขนาด ใหญ่กว่า ทะลอันดามัน
และมีรสชาติท่ดี ีกว่า* เพราะ อ่าวไทยมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ
มีความลึกโดยเฉลี่ย 45 เมตร ตรงกลางอ่าวจุ ดลึกสุด 85 เมตร 85 ม.
ท�ำให้การแลกเปลี่ยนน�้ำจืด กับ น�้ำเค็ม เป็นไปอย่างเชื่ องช้า และมีความเค็ม โดยเฉลี่ยนค่อนข้างต�่ำกว่า
เพราะ ความอุ ดมสมบู รณ์ของธาตุอาหาร
แม่น้ำ� ที่ไหลลงสู่อ่าวไทยมี 5 สาย คือ -แม่น้�ำเจ้าพระยา -แม่น้�ำท่าจีน -แม่น้�ำแม่กลอง -แม่น้�ำบางประกง ท�ำให้อ่าวไทย -แม่น้�ำตาปี มีธาตุอาหารในน�้ำมาก เพราะได้มาจากการชะล้าง หน้าดิน และสิ่งปฏิกูลต่างๆ *รสชาติขึ้นอยู ่กับแต่ละบุุ คคล
108
Home Town
กลับบ้าน
บทที่
5
เก็บของกลับบ้าน ระหว่างทางที่ก�ำลังนั่งรถกลับบ้าน ความคิดของฉันตกผลึก มากมาย จากการที่ฉันได้เข้าไปท�ำความรู้จักทั้ง 3 อาชีพอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็น นักควงกระบองไฟ ครูสอนลิงหรือคนฝึกลิง และ คนขับ เรือ ฉันได้สัมผัสถึงตัวตน และค้นพบแรงบันดาลใจมากมาย “ทุกอาชีพ” ทีพ่ วกเขาท�ำ เขาท�ำมันด้วยความรัก รักในอาชีพ รักที่จะอยู่กับมัน แน่นอนว่าการค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบส�ำหรับคนที่ยังไม่รู้มัน อาจจะยากเสียหน่อย และการลองท�ำหลายๆ อย่างมันไม่ใช่เรื่องที่ เสียหาย เพียงแค่เราต้องท�ำมันด้วยความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ ไม่มีใครที่ ล้มเหลวจากการลงแรงไปแล้ว 110
อาจไม่ มี ข ้ อ พิ สู จ น์ อ ะไรจากผู ้ เชี่ ย วชาญมายื น ยั น หรื อ ให้ความหมาย แต่ทงั้ 6 คนท�ำให้มองเห็นความหมายของความส�ำเร็จ ที่แตกต่างไป ความส�ำเร็จไม่ได้อยู่ที่เงินทอง หรือฐานะทางการเงินใน สังคม เงินอาจจะเป็นส่วนหนึง่ เพราะทุกคนท�ำงานก็เพือ่ เงิน แต่ความ สุขที่เราได้ท�ำในสิ่งที่เรารักมีค่าเสียยิ่งกว่า นอกเหนือจากข้อคิดในการด�ำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ แล้วทุกคนยังสะท้อนเรื่องราวทางด้านวิถีชีวิตของพวกเขาออกมาให้ เห็นอย่างชัดเจน แม้วา่ ต้องปรับตัวรับมือกับสภาพสังคมทีเ่ ปลีย่ นแปลง ไป ต้องปรับเปลี่ยนอาชีพเดิมเพราะเห็นลู่ทางการท�ำรายได้ที่ดีกว่า ก็ยังคงรู้สึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากที่สุดคือเรื่องความเปลี่ยนแปลงทาง ธรรมชาติของ “สมุย” สมุย ในวันนี้ ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว วิถีชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากช่วงหนึ่ง จนเกิดการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว การเข้ามาของนักธุรกิจ การที่ ธรรมชาติถูกคุกคามโดยแมลง และโรคทางธรรมชาติ ที่ยังคงหาทาง แก้ไม่ได้ ฉันพอจะสรุปได้ว่า บางทีเราอาจจะไม่ได้รับมือกับเรื่องนี้ ได้ดีพออย่างที่เราคิด การกระท�ำหลายอย่าง เราอาจย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้แล้ว แต่ทุกคนก็พยายามท�ำให้ดีที่สุดกับปัจจุบัน อย่างน้อยเพื่อให้พวกเขา ยังมีอนาคตที่สดใส ทุกคนในครอบครัวกินอิ่มนอนหลับ 111
พี่หลง และพี่วินอาจเป็นเพียงแค่คนหนุ่มสองคนในหนังสือ เล่มนี้ แต่เขาทั้งสอง เป็นตัวแทนของการท�ำตามความฝันได้เป็นอย่าง ดี ส่วนอาจารย์ประวัติ ก็ทำ� ให้ฉนั เห็นว่าการใช้ชวี ติ นัน้ สุดท้ายคนเราก็ อยู่เพียงเพื่อท�ำความดี ด้านลุงขาว เป็นคนที่มีจิตใจเมตตาและมีความซื่อสัตย์กับ ค�ำพูดของแกมาก ก่อนจะเดินทางกลับ ฉันได้มีโอกาสแวะเวียนไป ที่บ้านลุงขาวอีกครั้งหนึ่ง ได้พบกับเจ้าใบเงิน มันดูสมบูรณ์แข็งแรง ตัวโตเหมือนที่ ลุงขาวได้พูดไว้ตอนเราเจอกันครั้งแรก และสองท่าน สุดท้าย ลุงอารมณ์ และลุงอุทร ถึงตอนนี้ชีวิตทั้งสองคนจะไม่ได้สุข สบายเหมือนคนอื่นๆ ยังมีลูกเล็กให้ต้องเลี้ยงดูกันอีกหลายชีวิต แต่ ส�ำหรับฉันเขาทั้งสองคน ก็เป็นตัวอย่างของคนสู้ชีวิต
112
เมื่อสุดท้ายปลายทางของชีวิตเดินทางมาถึง ทุกคนก็ตอบ เหมือนกันว่าจะเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดของตน ไปใช้ชีวิตและตาย ทีน่ นั่ และถึงแม้ ลุงอุทร กับ ลุงอารมณ์ คงไม่มโี อกาสได้กลับไปใช้ชวี ติ อยู่บนเกาะแตนอีกครั้ง แต่จุดที่พวกเขาจอดเรืออยู่ทุกวัน มองไปก็ยัง เห็นเกาะแตนที่เป็นบ้านเกิด ขณะทอดสายตาไปตามถนน มองพระอาทิตย์ที่ก�ำลังลด ตัวลงต�่ำ ฉันรู้เลยว่า คนเราไม่สามารถละทิ้งถิ่นเกิดได้จริงๆ แม้ว่าที่ ใหม่จะมอบความสุข ความสบายมากเพียงใด สุดท้ายทุกคนก็ต้อง เดินทางกลับบ้าน
113
ขอขอบคุณ - คุณแม่และคุณพ่อ ที่สนับสนุนค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง และเป็นแรงผลักดัน - อาจารย์ยิ้ว และคณะกรรมการ ที่ปรึกษาโครงการ - MIE ‘n MEW เพื่อนร่วมเดินทาง - KWAN DREAM ที่ช่วยติดต่อสถานที่ - PORD TURK MO ที่ขับรถพาไปสมุย - ร้ายพลอยทะเล เกาะเสม็ด - ขอบคุณเจ้าของเรื่องราวชีวิตและอาชีพ ทุกคนในหนังสือเล่มนี้... นักควงกระบองไฟ - พี่รงค์ (ศักดิ์ชัย มิรันทกร) - พี่วิน (กาลวิน ค�ำนึง) ครูฝึกสอนลิง - อ.ประวัติ รักด้วง คนคุมลิงขึ้นมะพร้าว - ลุงขาว (ประจวบ ใจซื่อ) - ป้าริน (ไพริน ดอกผึ้ง) ชาวประมง คนขับเรือ - ลุงอารมณ์ (อารมณ์ คงสุวรรณ) - ลุงอุทร (อุทรณ์ ศรีไสย)
116
117
118
119
RAYONG
Phangan
samui