DE SIG N MANUAL
คู่มือประกอบการออกแบบ 1
DESIGN MANUAL
คู่มือประกอบการออกแบบ
สบู่หอม นกแก้ว จัดทำ�โดย วรินพร กุลศรี 04540088
2
C ON TEN T
สารบัญ • ที่มาของโครงการ PROJECT BACKGROUND • ข้อมูลพื้นฐาน DESIGN BRIEF • GRAPHIC&PACKAGING - ตราสินค้า TRADEMARK - แพรอทพฤกษา PARROT BOTANICAL - การต่อยอดสินค้า PRODUCT LINE EXTENSION - แพรอท อโรม่า PARROT AROMA
4 5
7 9 12 13
• MEDIA
18
ครีมบำ�รุงผิว (BODY CREAM) น้ำ�มันนวดและแช่อาบ (MOISTURIZING OIL) สครับขัดผิว (SCRUB) ถุงหอมดับกลิ่น (PERFUME SACHET) ไม้กระจายน้ำ�หอม (FRAGRANCE DIFFUSER)
3
PROJEC T BAC KG ROUN D
ที่มาของโครงการ
“นกแก้วเคียงคู่คนไทยเสมอมา และจะคงอยู่ตลอดไป”
คือแนวทางในการทำ�ตลาดตลอดระยะเวลา 55 ปี ของสบู่หอมตรานกแก้ว แม้จะไม่ได้ทำ�การตลาดแบบหวือหวา แต่ด้วยคุณภาพและความเป็นไทย ทำ�ให้สบู่นกแก้วมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และได้สร้างแบรนด์รอยัลตี้ในหมู่ ผู้บริโภคมาจนถึงทุกวันนี้ เอกลักษณ์ของสบู่นกแก้วที่สำ�คัญที่สุดคือกลิ่น หอมของดอกไม้ไทยที่โดดเด่น ติดทนนาน และไม่ฉุนจนเกินไป จึงอยากนำ� เอกลักษณ์เรื่องกลิ่นมาต่อยอดและพัฒนาสร้างแบรนด์ย่อยให้แก่สินค้าใน เครือของสบู่นกแก้ว ซึ่งในปัจจุบันมีทั้ง แพรอทพฤกษา(Parrot Botanicals) แพรอทโกลด์(Parrot Gold) ออกมาในรูปแบบของ แพรอท อโรม่า(Parrot Aroma) ซึ่งจะมุ่งเน้นไปทางกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์นกแก้ว 4
DESIG N BR IEF
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติ (BACKGROUND) การสร้างแบรนด์ของสบู่นกแก้วตั้งแต่เริ่มแรกนั้น ได้มาจากการเห็นวิถีชีวิต คนไทยที่อาศัยการอาบน้ำ�ในแม่น้ำ� ลำ�คลอง ซึ่งสบู่ที่ใช้ จะต้องสอดรับกับ ความสะดวกต่อการใช้เหมาะสำ�หรับการชำ�ระล้างเหงื่อของคนในเมืองร้อน และยังมีกลิ่นหอมติดตัวที่เป็นเอกลักษณ์ โดยผู้ที่คิดค้นสูตรสบู่นกแก้วคือ วอลเตอร์ เลโอ ไมเยอร์ ประธานกรรมการบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ที่มอง คุณค่าของสมุนไพรไทย และคิดที่จะทำ�สบู่สูตรสมุนไพรเพื่อคนไทยขึ้นมา โดยใช้หัวน้ำ�หอมจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งสบู่หอมนกแก้วได้ผลิตขึ้นในนาม ของบริษัทรูเบียอุตสาหกรรม ข้อดี - สบู่นกแก้วเป็นสบู่ที่ได้รับการยอมรับมาเนิ่นนาน - เป็นสินค้าคุณภาพดีที่ผู้คนปัจจุบันได้หลงลืมไป - มีราคาย่อมเยาว์และหาซื้อได้ง่าย - มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือเรื่องกลิ่นที่ไม่เหมือนผลิตภัณฑ์อื่นๆ
5
ข้อเสีย - เนื่องด้วยลวดลายบนซองไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลานาน ทำ�ให้สบู่นกแก้วไม่เป็นที่ยอมรับของคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน - ภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้นดูเชย สูงอายุ และล้าสมัย ปัญหาการออกแบบ (PROBLEM) - ภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้นดูเชย สูงอายุ และล้าสมัย ผู้คนมีทัศนคติต่อ แบรนด์ในทางสูงอายุ และความรู้สึกเก่า ทำ�ให้กลุ่มลูกค้าปัจจุบันจึงมีแต่ คนสูงอายุเป็นส่วนมากและกลุ่มลูกค้าเริ่มที่จะลดน้อยลง เพราะผู้บริโภค รุ่นใหม่อาจจะรู้สึกอายหรือไม่กล้าใช้สินค้า ไม่ใช่เพราะจากคุณภาพแต่ เนื่องด้วยภาพลักษณ์ของตัวสินค้า วัตถุประสงค์ของการออกแบบ (OBJECTIVE) - ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ทันสมัยมากขึ้น - ดึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์และนำ�มาต่อยอดผลิตภัณฑ์สินค้า ออกแบบให้เข้ากับค่านิยมในปัจจุบัน โดยยังคงความเป็นสบู่นกแก้วอยู่ กลุ่มเป้าหมาย (TARGET) - กลุ่มวัยรุ่นถึงผู้สูงอายุ / เพศหญิง แนวทางการพัฒนา พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนในปัจจุบันมากขึ้น แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์และกลิ่นอายของแบรนด์เอาไว้ 6
TR A DEM A R K
ตราสินค้า ชื่อยี่ห้อ “นกแก้ว” มาจากว่า สมัยหนุ่มๆ นายไมเยอร์เป็นคนชอบ ท่องป่ามาก ได้พบเห็นนกหลากหลายชนิด และติดใจกับความสวยงามของ นกแก้ว ด้วยเหตุจึงใช้ชื่อนกชนิดนี้เป็นชื่อแบรนด์ สบู่นกแก้วนั้นถูกบรรจุลง ในกล่องกระดาษสีเขียว มีรูปนกแก้ว 3 ตัว สีเขียวสดใสอยู่หน้ากล่อง เพราะฉะนั้นตราสินค้าของผลิตภัณฑ์นกแก้วจึงเป็นรูปนกแก้วนั่นเอง การปรับปรุงตราสินค้า ตราสัญลักษณ์ของสบู่นกแก้วนั้น ไม่เคยเปลี่ยนภาพลักษณ์จากเดิมมากว่า 50 ปีแล้ว จะมีเพียงแค่การปรับเล็กๆน้อยๆเท่านั้น ทำ�ให้ตรานั้นดูเชย จึง มีการออกแบบขึ้นใหม่ให้ดูทันสมัย ให้มีความอ่อนหวานและน่าสนใจ เพื่อ เป็นการ refresh ตัวสินค้า โดยอิงโครงสร้างและองค์ประกอบนกแก้วจาก ตราสัญลักษณ์เดิม เพื่อให้ผู้บริโภคยังสามารถจดจำ�ได้อยู่ เทคนิก (TECHNIQUE) - ภาพประกอบสีน้ำ�และปรับแต่งเพิ่มเติมโดยโปรแกรม photoshop
7
ตราสินค้าถูกออกแบบขึ้นตามลักษณะของความเหมาะสมและ พื้นที่ในการใช้งาน ทั้งแบบภาพประกอบเต็มชิ้นและแบบตัดทอนเพียงนก แก้วหนึ่งตัว โดยที่สามารถเลือกใช้ได้ตามจุดประสงค์ที่ต่างกัน ตราสินค้าแบบตัดทอน
ตราสินค้าแบบเต็ม
8
PAR ROT B OTA N IC A L
แพรอทพฤกษา สีเขียว กลิ่นพฤกษาธรรมชาติ 14cm
17cm
สีส้ม กลิ่นจำ�ปี 14cm
17cm
9
สีชมพู กลิ่นมะลิ 14cm
17cm
สีฟ้า กลิ่นยูคาลิปตัส 14cm
17cm
10
11
PRODUC T L IN E EXTEN SION
การต่อยอดสินค้า เนื่องจากเอกลักษณ์ของสบู่นกแก้วคือกลิ่น ที่มีความหอมอย่างไทย โดยนกแก้วมีกลิ่นพฤกษาไทยวางจำ�หน่ายในตลาดมากถึง 5 กลิ่นด้วยกัน ทั้งกลิ่นพฤกษาธรรมชาติ มะลิ จำ�ปี ยูคาลิปตัส และลีลาวดี และในปัจจุบัน คนไทยมีค่านิยมการใช้ผลิตภัณฑ์อโรม่ามากขึ้นเป็น เท่าตัว ทั้งน้ำ�มันหอมระเหย มีการวิจัยออกมาว่าที่ผลิตภัณฑ์อโรมาเธอรา ปีได้รับความนิยมขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะกลิ่นจากน้ำ�มันหอมระเหยที่ผ่าน การสลัดนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจของเรา เมื่อร่างกายเราได้รับ สารสำ�คัญจากน้ำ�มันหอมระเหย จะมีผลต่อระบบการทำ�งานในร่างกายที่ ควบคุมระบบประสาทและการหลั่งฮอร์โมน โดยกลิ่นที่เราได้รับเข้าไปนั้น จะไปกระตุ้นสมองส่วนที่มีผลต่ออารมณ์ ทำ�ให้เราสามารถนำ�มาจัดการกับ อารมณ์ได้ตามคุณสมบัติของกลิ่นนั้นๆ เช่น กลิ่นยูคาลิปตัส ช่วยให้หายใจ โล่ง ปลอดโปร่ง มีสมาธิ บรรเทาอาการอ่อนล้า กลิ่นมะลิ ช่วยให้เกิดความ มั่นใจ มองโลกในแง่ดี ช่วยผ่อนคลายและกระตุ้นอารมณ์รัก กลิ่นลีลาวดี ช่วยให้นอนหลับง่าย ปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุล จิตใจสงบ เป็นต้น จึงต้องการออกแบบและต่อยอดสินค้าเป็นไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย เน้น”กลื่น”มาเป็นจุดขาย และทำ�ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอโรมาเธอราปี ภายใต้ชื่อไลน์ว่า “PARROT AROMA” (แพรอท อโรม่า) 12
PA R ROT A ROMA
แพรอทอโรม่า แพรอทอโรม่าได้ดึงตราสัญลักษณ์นกแก้วมาใช้ประกอบในฉลากและใน บรรจุภัณฑ์สินค้า มีการตัดทอนและออกแบบกราฟฟิกให้ดูทันสมัยและดู มีระดับน่าเชื่อถือ แต่ยังมีความอ่อนหวานและเป็นผู้หญิงในตัวเอง
13
มีผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ดังนี้ • ครีมบำ�รุงผิว (BODY CREAM) • น้ำ�มันนวดและแช่อาบ (MOISTURIZING OIL) • สครับขัดผิว (SCRUB) • ถุงหอมดับกลิ่น (PERFUME SACHET) • ไม้กระจายน้ำ�หอม (FRAGRANCE DIFFUSER)
14
ฉลากด้านข้าง
ครีมบำ�รุงผิว (BODY CREAM)
5cm 10cm
ฉลากด้านข้าง
น้ำ�มันนวดและแช่อาบ (MOISTURIZING OIL)
5cm 10cm
ฉลากด้านบน
สครับขัดผิว (SCRUB)
ฉลากด้านข้าง
7cm
20.5cm
15
ถุงหอมดับกลิ่น (PERFUME SACHET) ถุงหอมดับกลิ่นนกแก้ว ช่วยปรับบรรยากาศให้หอมสดชื่น ด้วยกลิ่นหอมของธรรมชาติ ช่วยดูดความชื้นและยังช่วยไล่มด ไล่แมลงได้อีกด้วย ใช้ใส่ในรถ ตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ� หรือแม้แต่กระเป๋า 13cm
11cm
f ront
b a ck 16
ไม้กระจายน้ำ�หอม (FRAGRANCE DIFFUSER)
pattern และ design กล่อง
11.5cm
5.5cm
17
MEDIA
สื่อประชาสัมพันธ์ สื่อประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ทถือว่าเป็นสื่อที่มีความรวดเร็ว และสา มารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างชัดเจนและเป็นวงกว้าง จึงเลือกวิธีประชา สัมพันธ์ไลน์สินค้าใหม่ๆ ทางสื่อโซเชียวเน็ทเวิร์คที่กำ�ลังเป็นที่นิยม เช่น facebook และ instagram
18