Presentation Final Project

Page 1


คํานํา

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการออกแบบพัฒนา สินค้าและบรรจุภัณฑ์ OTOP ซึ่งครอบคลุมถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ และให้ความรูค้ วามเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งมีการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อพัฒนา บรรจุภัณฑ์รูปแบบเดิม รวมถึงภาพประกอบขั้นตอนการทํางานเพื่อเป็นข้อมูลความรูส้ ําหรับผู้ที่สนใจ ศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

นางสาว วราภรณ์ เจริญพันธ์ กันยายน 2555


R . 1 Research : การสืบค้น บรรจุภัณฑ์OTOP วัตถุปรุงแต่งรสอาหารตรา ยอดรส

ที่มาของภาพ : วราภรณ์ เจริญพันธ์ (2555) ผลิตภัณฑ์วัตถุปรุงแต่งรสอาหารตรา ยอดรส จังหวัดกาญจนบุรี OTOP 1. ศึกษาวิเคราะห์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวสินค้า ชื่อสถานประกอบการ/บริษทั : กลุ่มอาชีพผลิตเครื่องปรุงแต่รสอาหาร ตรา “ยอดรส” ผลิตภัณฑ์/ตราสินค้า : เครื่องปรุงรส ตรา “ยอดรส” รูปแบบธุรกิจ : กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชื่อผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ : คุณสาวสุดใจ สีคต (ประธานกลุ่ม) ชื่อผู้ติดต่อ/ประสานงาน : คุณสาวสุดใจ สีคต (ประธานกลุ่ม) โทรศัพท์: 081-4597-335 แฟกซ์034-520-120


สถานที่ตั้งสานักงาน/โรงงาน : เลขที่ 15 หมู่ 4 ต.แก่งเสีย้ น อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เริ่มดําเนินกิจการเมื่อ : ปีพ.ศ. 2548 วัตถุดิบและส่วนประกอบ -เกลือ 47% -น้ําตาล 35% -กระเทียม 8% -เนื้อหมู 5% - ปริมาณการใช้วัตถุดิบหลัก/ต่อปี :แหล่งวัตถุดิบ ต่างจังหวัด 100 % ปัญหาด้านการผลิต 1. ไม่มีต้นทุนในการผลิตมากหนัก ข้อมูลด้านการตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ แม่บ้าน ร้านอาหาร ราคาที่จัดจําหน่าย ราคามีตั้งแต่ 20 บาท 50 บาท 75 บาทและ 85 บาท ช่องทางการจําหน่าย ผลิตขายที่ในบริเวณเมืองกาญจนบุรีและรับผลิตตาม Order ขนส่งทางไปรษณีย์ส่งที่อําเภอ สามพรานร้านค้าสหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และผลิตตามฤดูกาล


ปัญหาด้านการตลาด 1. ลูกค้าจดจําสินค้าจากบรรจุภัณฑ์ตัวเก่าที่ออกแบบครั้งแรก 2.

ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่แต่เกิดความไม่แน่ใจในการช่วยส่งเสริม การขายได้หรือไม่

3.

logo บนบรรจุภัณฑ์ไม่นิ่ง คือ มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆเพียงเล็กน้อย

4.

ภาพประกอบยังไม่ชัดเจน และไม่สื่อถึงสินค้า

การบริหาร ด้านการจัดการองค์กร 1. ไม่มกี ารใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร 2. ไม่มแี ผนการพัฒนาหรือเป้าหมายองค์กร การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) STRENGTHS – จุดแข็ง 1. ผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นเวลานาน 2. ผู้นํากลุม่ มีความชํานาญ ในการผลิตสินค้า WEAKNESS – จุดอ่อน 1. ไม่มีต้นทุนการผลิตมากนัก 2. คู่แข่งมีกําลังในการผลิตมากกว่า


OPPORTUNITIES – โอกาส 1. มีโอกาสในการขยายการตลาดหรือการส่งเสริมการขายที่ดีกว่านี้ THREATS – อุปสรรค 1. ขาดบุคลากรรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาช่วยทางด้านการตลาดหรือด้านอื่นๆ ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 1. เครือ่ งปรุงรส รสไก่ 2. เครือ่ งปรุงรส เห็ดหอม 3. เครือ่ งปรุงรสหมู “โดยต้องมีรูปหัวใจติดปีก “หัวใจของความอร่อย” เนื้อหาบนบรรจุภัณฑ์ที่ต้องแก้ไข 1. หมายเลข อย.7120054920001 (รสไก่ยังไม่ได้รบั อย.) 2. แก้สว่ นประกอบของรสหมู เนื้อหมู 7% 3. แก้ไขส่วนประกอบของรสเห็ดหอม เห็ดหอม 15% 4. แก้ไขส่วนประกอบของของรสไก่ ไก่15% ประวัติความเป็นมา ประวัติความเป็นมาของกลุม่ อาชีพผลิตเครื่องปรุงแต่งรสอาหาร ตรา “ยอดรส” กลุ่มอาชีพผลิตเครื่องปรุงแต่งรสอาหาร ตรา ยอดรส จัดตั้งขึ้นในเดือน มกราคม 2548 เพื่อ ดําเนินงานตามนโยบาย “หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” (OTOP) จาหน่าย ซุปผงปรุงแต่งรสอาหาร เป็น ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพผนวกกับกระบวนการผลิตที่ทันสมัย และมาตรฐาน โรงงาน GMP ระดับสากลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ มาตรฐานสูง สะอาด และปลอดภัยตามนโยบายของกลุ่มฯ “ยอดรส” ที่ว่า “อาหารคุณภาพเพื่อชีวิต”


ปัจจุบันกลุ่มผลิตซุปผงปรุงแต่งรสอาหารอยู่ 6 รส ภายใต้ตรา “ยอดรส” คือ 1. รสหมู 2. รสไก่ 3. รสเนื้อ 4. รสเห็ดหอม 5. รสสาหร่าย 6. รสต้มยํา ทางกลุ่มยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงแต่งรสอาหารอยางต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย ทางกลุม่ ฯมีความเติบโตอย่างต่อเนื่องและได้รับความไว้วางใจ จาก ลูกค้าเพิ่มขึ้นตามลําดับ กลุ่มฯ ขอยืนยันด้วยความมุ่งมั่น ที่จะผลิตและเลือกสรรแต่สินค้าคุณภาพ “เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้บริโภคในประเทศไทยต่อไป” จุดเด่น/เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ลักษณะพิเศษของผลิตภัณฑ์จะมีความหอมจากสมุนไพรไทย เมือ่ นํามาปรุงอาหารจะให้ รสชาติที่กลมกล่อม เช่น ทําการหมักเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ สามารถดับกลิ่นคาว ของเนื้อสัตว์นั้นๆ ได้ ทันที และจะทาให้เนื้อสัตว์นุ่มขึ้น เมื่อนามาปรุงอาหารเวลารับประทาน จะไม่ทาให้เกิดอาการคอแห้ง หรือหิวกระหายน้ํา เหมือนกับผงชูรสทั่วๆ ไป ที่สําคัญสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เพราะซุป ผงยอดรสใช้แทน น้าปลา ผงชูรส หรือซอส และเครื่องทําอาหารชนิดต่างๆ ในครัวเรือนได้ มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ 1. ได้รบั มาตรฐานโรงงาน GMP ระดับสากล 2. ได้รบั อย. ที่มา : report 1OTOP Kanjanaburi final


การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยการมอง(Product Visual analysis) ชื่อผลิตภัณฑ์ วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ตรายอดรส

ภาพแสดงโครงสร้าง และส่วนประกอบทางกราฟิกของผลิตภัณฑ์สินค้าวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ตรายอดรส ทีม่ า : วราภรณ์ เจริญพันธ์ ,2555 URL.https: https://drive.google.com/?tab=wo&authuser=0#my-drive ผลการวิเคราะห์ ก.โครงสร้างของตัวบรรจุภณ ั ฑ์ที่ใช้ปัจจุบัน หมายเลข 1. คือ ซองบรรจุภัณฑ์ 1.1 บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ เป็นพลาสติกเคลือบอะลูมเิ นียม ชื่อทางวัสดุศาสตร์ คือ โพลีเอธิลีน (Polyethylene, PE) 1.2 รูปแบบถุงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1.3 ขนาด กว้าง 13 cm. ยาว 18 cm. หนา1.5 cm. 1.4 ราคา 20 บาท


หมายเลข 2. คือ ชื่อผลิตภัณฑ์ ยอดรส หมายเลข 3. คือ ชื่อผลิตภัณฑ์เป็นภาษาอังกฤษ หมายเลข 4. คือ ประเภทของผลิตภัณฑ์ หมายเลข 5. คือ รูปภาพประกอบ 5.1 กราฟิกรูปหัวใจติดปีก 5.2 รูปหัวใจสีเหลือง ปีกสีขาวมีเส้นขอบสีเหลือง หมายเลข 6. คือ ข้อความบรรยายจุดเด่นของสินค้า หมายเลข 7. คือ ประเภท/ชนิดของสินค้า หมายเลข 8. คือ ภาพประกอบ แปลความหมายได้ ข.กราฟิกทีป่ รากฏบนตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ปจั จุบัน หมายเลข 1. คือ graphic background หมายเลข 2. คือ ข้อความแสดงส่วนประกอบที่สําคัญในการผลิตสินค้า หมายเลข 3. คือ ข้อความแสดงส่วนประกอบที่สําคัญในการผลิตสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ หมายเลข 4. คือ ที่อยู่ของผู้ผลิตสินค้า หมายเลข 5. คือ ภาพประกอบวิธีการใช้สินค้า หมายเลข 6. คือ ข้อความบอกวิธีการใช้สินค้า หมายเลข 7. คือ ข้อความบอกวิธีการใช้สินค้าเป็นภาษาอังกฤษ หมายเลข 8. คือ ข้อความบอกวิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ หมายเลข 9. คือ องค์ประกอบที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์


หมายเลข10.คือ ข้อความบรรยายข้อมูลของสินค้า ปัญหาที่พบคือ(จากความรูข้ องฐานะนักออกแบบบรรจุภัณฑ์) 1.จุดบอดทางการมองเห็น-การสื่อสาร ได้แก่ 1.1 ด้านหลังของผลิตภัณฑ์ ไม่สามารถมองเห็นโลโก้และรูปภาพต่างๆเเบบด้านหน้าได้ 1.2 ไม่สามารถมองเห็นตัวผลิตภัณฑ์ได้ว่าข้างในอย่างไร สีอะไร 1.3 การออกแบบโลโก้ สีและกราฟิกต่างๆยังไม่เป็นจุดสนใจมากพอที่จะดึงดูดลูกค้าได้ การออกแบบเพื่อพัฒนา 1. การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กบั ผลิตภัณฑ์ 2. การกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ความต้องการของเจ้าของสินค้า ต้องการให้ออกแบบเป็นรูปทรงเดิม แต่เปลี่ยนแปลงสีของกราฟิกและภาพประกอบให้ดู มีสีสันสดใสเพือ่ ดึงดูดและเป็นจุดสนใจให้ผบู้ ริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า แต่โลโก้ของสินค้า ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง R . 2 Resume : สมมติฐาน ข้อเสียของบรรจุภัณฑ์เดิม 1.รูปแบบบรรจุภัณฑ์แบบเดิมเป็นซองที่มีขนาดใหญ่ซึ่งจะสามารถเก็บไว้ใช้ปรุงได้ในหลายๆครั้ง แต่ ถ้าเก็บรักษาไม่ดีจะทําให้อากาศเข้าไปในซองทําให้เสียหายได้ 2.ภาพประกอบของรสหมูดูแล้วไม่บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นรสหมู


การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ 1.ภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์ เปลี่ยนจากภาพที่มีปลาหมึกเป็นภาพต้มซุปหมูซึ่งจะดูเห็นชัดเจนว่าเป็นรสหมู และรูปหัวใจ ที่เป็นตราสัญลักษณ์ หัวใจของความอร่อย และเพิ่มลวดลายกราฟิกลายไทยเพื่อแสดงถึงความ เป็นไทย

ที่มา : วราภรณ์ เจริญพันธ์ (2555), แบบ sketch packing ออกแบบโดย : นางสาวราภรณ์ เจริญพันธ์


2.บรรจุภัณฑ์ฑ

ที่มา: วราภรณ ณ์ เจริญพันธ์ (2555), ออกแบบบรรจุภัภณ ั ฑ์โดยใช้โปรแกรม sketcch up ออกแบบโดย : นางสาววราภรณ์ เจริริญพันธ์


R . 3 Result : สรุป การออกแบบตราสัญลักษณ์ ยอดรส


ฉลากสินค้าสําหรับบรรจุภัณฑ์ชิ้นที่ 1

บรรจุภัณฑ์ด้านหน้า

บรรจุภัณฑ์ด้านหลัง


ฉลากสินค้าสําหรับบรรจุภัณฑ์ชิ้นที่ 2


ปัญหาที่พบ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ทําจากกระดาษ ในการขนส่งควรจะระมัดระวังเพราะอาจทําให้กล่องบุบ หรือเสียหายได้ และต้องมีการเก็บรักษาในที่ที่เหมาะสมเพราะหากโดนน้ําก็จะเสียหายได้เช่นกัน สรุปผลการทํางาน การทํางานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงบทสรุปก็พบปัญหาและอุปสรรคมากมายในหลายๆด้าน ทั้ง เรื่องของหลักการออกแบบ การใช้โปรแกรมต่างๆในการออกแบบ แต่ก็ได้รับคําแนะนําจาก ผศ. ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ผู้สอน มาโดยตลอด ทั้งช่วยแนะนําเรื่องของการใช้สี การหา ภาพประกอบ การจัดวาง จึงขอขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยแนะนําจนทําให้การทํางานทุกอย่างผ่านไปได้ ด้วยดี สิ่งที่ได้พัฒนา 1. บรรจุภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบกล่องขึ้นมา เป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเพื่อรองรับบรรจุ ภัณฑ์แบบซอง เพื่อความสวยงามและดึงดูดผู้บริโภค 2. ภาพประกอบ เพิ่มภาพประกอบที่เป็นเครื่องเทศขึ้นมาเพื่อให้ดูสวยงาม เปลี่ยนรูปหัวใจตรา สัญลักษณ์ที่เป็นสโลแกน หัวใจของความอร่อย และเพิ่มกราฟิกลายไทย 3. สีของบรรจุภัณฑ์ ออกแบบเปลี่ยนสีใหม่ให้ดูสวยงาม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.