เอกสารประกอบการบรรยาย moodle 2.6.2
กฤษณพงศ์ เลิศบํารุงชัย (ผู้บรรยาย)
บทนํา ปัจจุบันบทเรียนออนไลน์ได้รับความนิยมจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้เป็นอย่างดี การเรียนรู้ของผู้เรียน จึง ไม่จําเป็นต้องมีผู้สอนและผู้เรียนเพียงแค่ในห้องเรียน แต่สามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีข้อจํากัดด้าน เวลา และสถานที่ ในบทนี้ผู้เขียนจึงขอกล่าวเป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ e-Learning เพื่อให้เกิด ความเข้าใจและพัฒนาเป็นระบบบทเรียนออนไลน์ การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ปั จ จุ บั น เป็ น ยุ ค สั ง คมแห่ ง ปั ญ ญาและการเรี ย นรู้ ด้ ว ยตนเอง เทคโนโลยี ต่ า งๆ เปลี่ ย นแปลงและพั ฒ นาอย่ า งต่ อ เนื่ อง จึ ง มี ก ารนํ า เทคโนโลยี ต่า งๆ มาประยุ ก ต์ ใช้ ในการจั ด การศึกษา ทําให้เกิดวิธีการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่มีความเหมาะสมกับยุคสมัย ผู้เรียนจําเป็นต้องมีความรู้ และทั ก ษะเพี ย งพอที่ จ ะใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศในการแสวงหาความรู้ ด้ ว ยตนเอง มี ก าร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และสามารถเข้าถึงเนื้อหาแหล่งความรู้ได้ทุกที่ทุก เวลา (ศยามน อินสะอาด, 2552) การจัดการศึกษาในรูปแบบ e-Learning สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในการ สร้างความรู้ด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนที่แสวงหาความรู้ด้วยตัวเองจะเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง กว่าการเรียนรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากผู้สอน แต่ปัญหาของการใช้ e-Learning เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบสนองการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้เต็มที่ จึงได้จัดการเรียนการสอน แบบผสมผสาน (Blended Learning) เพื่อผสมผสานวิธีที่หลากหลายเพื่อใช้ในการจัดการเรียน การสอน โดยใช้การเรียนการสอนในชั้นเรียนประกอบกับการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย สําหรับ การจั ด การเรี ย นการสอนผ่ า นเครื อ ข่ า ยนั้ น สามารถใช้ ร ะบบบริ ห ารจั ด การเรี ย นการสอน (Learning Management System: LMS) แ ล ะ ร ะ บ บ ก า ร จั ด ก า ร เ นื้ อ ห า (Content Management System: CMS) เพื่อทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (ศยามน อิน สะอาด, 2552) 1
เอกสารประกอบการบรรยาย moodle 2.6.2 (ฉบับ review)
การเลือกใช้ระบบในการจัดการเรียนการสอน ผู้ เ ขี ย นมั ก จะใช้ ร ะบบการจั ด การเนื้ อ หา (Content Management System: CMS) และระบบบริหารจัดการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ควบคู่กันไป เนื่องจากแต่ละระบบมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ผู้เขียนจึงใช้ระบบ CMS ในการอัพเดต ข่าวสารทั่วไป และใช้เป็นหน้าเว็บหลักในการเข้าถึงส่วนต่างๆ ของเนื้อหา ส่วนระบบ LMS ผู้เขียน จะใช้เป็นส่วนย่อยของระบบ CMS ซึ่งใช้สร้างระบบการเรียนการสอนโดยเฉพาะ ระบบ CMS ในปั จ จุ บั น มี ใ ห้ เ ลื อ กใช้ ง านมากมาย แล้ ว แต่ ค วามจํ า เป็ น และความ เหมาะสมในการใช้ ง าน เช่ น Joomla, Wordpress และ Drupal ที่ ใ ช้ ส ร้ า งเว็ บ ไซต์ ที่ มี ก าร แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ส่วนระบบ LMS ให้มองถึงความสามารถของระบบ มีทั้งระบบที่ คิดค่าใช้จ่ายและระบบที่เป็น Open source หากมีงบประมาณก็อาจจะเลือกใช้ Blackboard และ Education Spear หากต้องการใช้ระบบ Open source ก็อาจจะเลือกใช้ Moodle และ Atuter เป็นต้น ซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงระบบของ Moodle เนื่องจากเป็นระบบ Open source ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) ปั จ จุ บั น เทคโนโลยี ไ ม่ ไ ด้ จํ า กั ด อยู่ ใ นคอมพิ ว เตอร์ อุ ป กรณ์ มื อ ถื อ ต่ า งๆ เช่ น Smartphone, Tablet, Smart watch ฯลฯ เข้ามามีบทบาทในแวดวงการศึกษาเป็นอย่างมาก พร้อมกับความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบการสื่อสาร เครือข่าย สังคมออนไลน์ ทําให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลขนาดใหญ่ ความคิดเห็นต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทํา ให้ นํ า สิ่ ง ต่ า งๆ เหล่ า นี้ ม าพั ฒนาและประยุ ก ต์ ใช้ กั บแวดวงการศึ ก ษา โดยใช้ อินเทอร์ เน็ ตเป็ น ตัวกลางที่ใช้สนับสนุนการเรียนการสอน เช่น การสืบค้นข้อมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความ คิ ด เห็ น ผ่ า น Facebook และการเรี ย นการสอนผ่ า นเว็ บ ไซต์ เป็ น ต้ น ผู้ ส อนสามารถใช้ ความสามารถเหล่านี้ผนวกกับระบบ LMS ให้ผู้เรียนได้มีการปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหา บทเรียน และ ผู้สอน เหมือนกับว่าอยู่ในห้องเรียนจริง จึงเกิดเป็นห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) โดย 2
กฤษณพงศ์ เลิศบํารุงชัย (ผู้บรรยาย)
ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหา อภิปรายกลุ่ม ตั้งกระทู้ สนทนาออนไลน์ ผ่าน Smart Device ต่างๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียน (Client) และเซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่มีการใช้ระบบ LMS เพื่อให้มีการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนหรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน โดยเนื้อหาจะอยู่ในรูปแบบของ สื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ และเสียง รวมถึงกิจกรรม ต่างๆ เช่น การสนทนาในห้องสนทนา การตั้งกระทู้ และการมอบหมายการบ้าน อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) และระบบ LMS อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางใน การเข้าถึงเนื้อหา ร่วมกับระบบบริหารจัดการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ซึ่งเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอนหรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน การนําระบบ LMS มาใช้จะช่วยลดขีดจํากัดในการเรียนการสอนในด้านต่างๆ เช่น ระยะทาง เวลา และสถานที่ เป็นต้น ระบบ LMS เป็นระบบที่ใช้ร่วมกันระหว่างผู้ดูแล ผู้สอน และผู้เรียน โดยผู้ดูแลจะเป็น ผู้ส ร้ างระบบขึ้ น มาเพื่ อให้ ผู้สอนสร้ า งหลั ก สู ตร เนื้ อหา การบ้ า น ข้ อสอบ และกิ จกรรมต่ า งๆ รวมถึงการติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผลของผู้เรียน สามารถบันทึกข้อมูลของผู้เรียน ได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านห้องสนทนา และเครื่องมือต่างๆ ในระบบ ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน (CAI) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี พัฒนาขึ้นโดย รศ.ไพโรจน์ ตรีณธนากุล ขั้นตอนทั้งกระบวนการได้แบ่งออกเป็น 16 ขั้นตอน ซึ่งอยู่ในกรอบของ 5 ช่วงตอนหลัก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
3
เอกสารประกอบการบรรยาย moodle 2.6.2 (ฉบับ review)
ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียน สามารถทําการแจกแจงได้ 16 ขั้นตอน ดังนี้ ช่วงการวิเคราะห์เนื้อหา (Analyze) 1. การสร้างแผนภูมิระดมสมอง 2. การสร้างแผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ 3. การสร้างแผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา ช่วงออกแบบหน่วยการเรียน (Design) 4. กําหนดกลวิธีในการนําเสนอ และเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของเนื้อหา 5. การออกแบบแผนภูมิการนําเสนอในแต่ละหน่วยการเรียน ช่วงพัฒนาหน่วยการเรียน (Development) 6. การเขียนรายละเอียดเนื้อหาลงบนกรอบการสอน 7. การจัดทําลําดับกรอบการสอน 8. การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา 9. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ช่วงพัฒนาเนื้อหาลงบนคอมพิวเตอร์ (Implement) 10. การเลือกโปรแกรมที่ใช้นําเสนอบทเรียนสู่โปรแกรม 11. การพัฒนาและจัดเตรียมสื่อที่จะใช้ประกอบบทเรียน 12. การนําเสนอกรอบการสอนลงโปรแกรม ช่วงการประเมินผล (Evaluate) 13. การตรวจสอบคุณภาพมัลติมีเดียของบทเรียนบทเรียน 14. การทดลองกระบวนการทดสอบหาประสิทธิภาพ 15. การทดสอบหาประสิทธิภาพของบทเรียนและประสิทธิผลทางการเรียน 16. จัดทําคู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์
4
กฤษณพงศ์ เลิศบํารุงชัย (ผู้บรรยาย)
มาตรฐาน SCORM SCORM ย่อมาจาก Sharable Content Object Reference Model เป็นมาตรฐานที่ พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เข้ากันของระบบ e-Learning และเนื้อหาวิชาถูกพัฒนาขึ้นจาก ระบบต่างๆ โดย SCORM เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (DOD), รัฐบาล, ภาคเอกชน และภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่เรียกว่า Advanced Distributed Learning: ADL (www.adlnet.org) เมื่ อ ปี ค.ศ. 1997 ต่ อ มาได้ อ อก SCORM 1.0 ในปี ค.ศ. 2000 แต่ เ วอร์ ชั น ที่ เ ป็ น ที่ ยอมรั บ คื อ SCORM 1.2 ในปี 2001 และเวอร์ ชั น ล่ า สุ ด ที่ อ อกมาคื อ SCORM 2004 มาตรฐาน SCORM เหมาะกับระบบ e-Learning ที่ต้องมีการติดตามผลการเรียนรู้ โดย ใช้ ร ะบบบริ ห ารจั ด การเรี ย นการสอน (Learning Management System: LMS) ในระบบ eLearning ที่ไม่ใช้มาตรฐาน SCORM จะไม่สามารถนําบทเรียนไปใช้กับระบบต่างๆ ได้ ไม่สามารถ ติดตามผลการเรียนของผู้เรียนได้ การใช้มาตรฐาน SCORM จะประกอบด้วยส่วน Metadata และ Packaging ที่ถูกห่ อเป็ น .zip (รศ.ดร.สุช าย ธนวเสถี ยร และอ.ชู เกี ยรติ ศั กดิ์ จิรพาพงษ์ , 2549) ก่อนลงมือสร้างเนื้อหาในระบบ e-Learning ก่อนลงมือสร้างเนื้อหาในระบบ e-Learning ควรจะต้องทําความเข้าใจในบริหารจัดการ เรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ที่ต้องการใช้เสียก่อน เมื่อเข้าใจระบบ แล้วสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมคือข้อมูลเนื้อหา กิจกรรม แบบทดสอบ และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่ง ที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเข้าสู่ช่วงพัฒนาเนื้อหาลงบนคอมพิวเตอร์จาก ADDIE Model ในทาง ปฏิบัติผู้สร้างระบบ LMS กับผู้เตรียมเนื้อหาจะเป็นคนละคนกัน โดยผู้สร้างระบบ LMS จะเป็น ผู้ดูแลจัดการระบบซึ่งมีเพียง 1 คนก็เพียงพอแล้ว ที่เหลือจะเป็นผู้สอนที่มีมากมาย มาร่วมสร้าง เนื้อหารายวิชา ซึ่งมีหน้าที่เตรียมเนื้อหาให้พร้อมและเพิ่มเนื้อหาที่เตรียมไว้เข้าไปในระบบ LMS
5
เอกสารประกอบการบรรยาย moodle 2.6.2 (ฉบับ review)
Moodle คืออะไร Moodle ย่อมาจาก Modular Object Oriented Dynamic Learning Environment เป็นซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ใน รูปแบบ Open source ที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถนําไปบริหาร จัดการเรียนการสอนในระบบการเรียน แบบออนไลน์ ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้โดยปราศจากอุปสรรคในด้านการเดินทาง ระยะเวลา และสถานที่ ซึ่ ง Moodle ถู ก พั ฒ นาโดย Dr. Martin Dougiamas ชาวออสเตรเลี ย ปั จ จุ บั น Moodle ได้รับความนิยมไปทั่วโลกกว่า 75 ภาษา ใน 193 ประเทศ รวมถึงภาษาไทยด้วย โดยผู้ แปลเป็นภาษาไทยคือ ดร.วิมลลักษณ์ สิงหนาท
Moodle เป็นซอฟต์แวร์ฟรีที่ใช้จัดการเรียนการสอนผ่านเว็บเบราว์เซอร์ มีระบบการ จัดการเว็บไซต์โดยประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ ผู้สอน และผู้เรียน มีเครื่องมือที่ ช่วยในการสร้างเนื้อหา แหล่งความรู้ และกิจกรรมในการเรียนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบของ Moodle มีพื้นฐานมาจากภาษา PHP และ MySQL 6
กฤษณพงศ์ เลิศบํารุงชัย (ผู้บรรยาย)
ข้อดีและข้อเสียของ Moodle ดังที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นแล้วว่าปัจจุบันมีผู้ที่นํา Moodle ไปใช้ในสถาบันการศึกษาและ องค์กรต่างๆ ทั่วโลก ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างข้อดีและข้อเสียของ Moodle ดังต่อไปนี้ ข้อดี 1. เป็นซอฟต์แวร์แบบ Open source ซึ่งใช้งานได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย 2. มีระบบการจัดการที่ดี ส่งเสริมให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. ใช้งานง่าย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของผู้ดูแลระบบ ผู้สอน และผู้เรียน 4. มีเครื่องมือสร้างเนื้อหา แหล่งความรู้ และกิจกรรมต่างๆ อย่างครบถ้วน 5. สามารถติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลผู้เรียนได้ 6. ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่สามารถพูดคุย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันได้ 7. มีมาตรฐาน e-Learning และรองรับมาตรฐาน SCORM 8. สามารถใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ได้ 9. มีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง ข้อเสีย 1. ไม่เหมาะกับในพื้นที่ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากเป็น การเรียนรู้ผ่านเว็บแบบออนไลน์ 2. ไม่สามารถสัมผัสถึงอารมณ์ ความรู้สึก และปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
7
เอกสารประกอบการบรรยาย moodle 2.6.2 (ฉบับ review)
คุณลักษณะการใช้งานของ Moodle Moodle มีระบบการจัดการที่เข้ามาเป็นสื่อหลักหรือสื่อเสริมในการจัดการเรียนการ สอน ให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยตัวระบบของ Moodle ถูกออกแบบระบบมาดังนี้ 1. ระบบจัดการผู้ใช้ เป็นระบบที่จัดการข้อมูลของผู้ใช้งาน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ ผู้สอน และผู้เรียน โดยผู้ดูแลระบบสามารถกําหนดสิทธิ์การเข้า ใช้ระบบของสมาชิกแต่ละคนได้ โดยมีการบันทึกข้อมูลผู้เรียนและผู้เข้าใช้ระบบ บอกวัน เวลา จํานวนครั้ง และกิจกรรมที่ผู้เรียนทําในแต่ละครั้ง เป็นต้น 2. ระบบจัดการการเรียนการสอน เป็นระบบในส่วนของการจัดการข้อมูล เนื้อหา สื่อ หรือกิจกรรมต่างๆ ในการเรียน เช่น การสร้างรายวิชา สร้างบทเรียน Moodle การกําหนดระยะเวลาในการเรียน กําหนดวิธีการเรียน การสั่งการบ้านและการส่ง การบ้าน การวัดและประเมินผล และแบบทดสอบ 3. ระบบจั ดการการสื่ อสาร เป็ น ระบบที่ ช่วยในการปฏิ สั มพั น ธ์ ระหว่ างผู้ เรียนกั บ ผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้สอนกับผู้สอน เสมือนอยู่ในห้องเรียนจริง มีการ สนทนา การตั้ ง กระทู้ โดยใช้ เ พื่ อ แลกเปลี่ ย นเรี ยนรู้ แลกเปลี่ ยนความคิ ด เห็ น ประกาศข่าวสาร อภิปรายในประเด็นต่างๆ และใช้เป็นเครื่องมือในการถามตอบ เป็นต้น เครื่องมือที่องค์กรควรมีในการใช้ Moodle 1. มีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2. มี เ ว็ บ เบราว์ เ ซอร์ ซึ่ ง ใช้ ติ ด ต่ อ กั บ Moodle เช่ น Internet Explorer, Google Chrome, Firefox หรือ Safari เป็นต้น 3. มีผู้ดูแลระบบ ควรทําโดยใช้สํานักคอมพิวเตอร์ โดยใช้ผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ การติดตั้ง และการบํารุงรักษา 8
กฤษณพงศ์ เลิศบํารุงชัย (ผู้บรรยาย)
4. มีบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน และผู้บริหาร ที่มีพื้นฐานการใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถเรียนรู้การทํางานของ Moodle ได้ 5. มีเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ PHP และ MySQL บทบาทการใช้งานของผู้ใช้ Moodle ระบบ Moodle ที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยผู้ใช้หลักๆ 4 บทบาท ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ ผู้สอน ผู้เรียน และผู้เยี่ยมชมซึ่งแต่ละบทบาทมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1. ผู้แลระบบ (Administrator) เรียกสั้นๆ ว่าแอดมิน มีหน้าที่ติดตั้งระบบ บํารุงรักษา กําหนดรูปแบบของเว็บไซต์ กําหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ กําหนดคอร์สเรียน กําหนด สิทธิ์ให้กับการเป็นผู้สอน 2. ผู้สอน (Teacher) มี หน้ าที่ส ร้างเนื้ อหาตามรายวิ ชาที่ ตนสอน ซึ่ งการที่ จะสร้า ง รายวิชาใน Moodle ได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกของระบบและได้รับสิทธิ์เป็นผู้สอน ที่มีสิ ทธิ์เป็นผู้ สร้างรายวิช า โดยผู้ ดูแลระบบจะเป็น ผู้กํา หนด เมื่ อผู้สอนได้เป็ น สมาชิกแล้ว จะได้รับ Username กับ Password เพื่อเข้าสู่ระบบไปจัดการเนื้อหา สร้างกิจกรรมต่างๆ ให้คะแนน ตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียน 3. ผู้ เ รี ย น (Student) มี ห น้ า ที่ เ ข้ า ไปเรี ย นรู้ แ ละทํ า กิ จ กรรมต่ า งๆ ตามที่ ผู้ ส อนได้ ออกแบบไว้ ซึ่ง การที่ ผู้ เรี ยนจะสามารถเข้า เรียนในรายวิ ชาใน Moodle ได้ นั้ น จะต้องได้รับสิทธิ์เป็นผู้เรียน โดยผู้ดูแลระบบหรือผู้สอนเป็นผู้กําหนด เมื่อผู้เรียน เป็นสมาชิกแล้ว จะได้รับ Username กับ Password เพื่อเข้าสู่ระบบและสามารถ เข้าไปเรียนในรายวิชาได้ 4. ผู้เยี่ยมชม (Guest) มีหน้าที่คล้ายคลึงกับผู้เรียน แต่จะถูกจํากัดสิทธิ์ให้เข้าเรียนได้ เฉพาะวิชาที่อนุญาต และถูกจํากัดสิทธิ์ในการทํากิจกรรมต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปผูเยี่ยม ชมสามารถสมัครสมาชิกและเข้าเรียนตามรายวิชาที่อนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าเรียน ได้ โดยไม่ต้องรอการอนุมัติจากผู้ดูแลระบบหรือผู้สอน
9
เอกสารประกอบการบรรยาย moodle 2.6.2 (ฉบับ review)
การใช้งานระบบ Moodle บนเซิร์ฟเวอร์จริง สําหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญแล้ว สามารถจดโดเมนเนม และเข่าเซิร์ฟเวอร์ เพื่อลงมือ สร้างระบบที่ใช้งานได้จริงเลย โดยผู้ที่สร้างระบบนั้นจะอยู่ในฐานะผู้ดูแล หลังจากสร้างระบบขึ้น มาแล้ว จึงสร้างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อกําหนดบทบาทในการใช้งานในระบบ Moodle ในการปฏิบัติงานจริง ผู้ดูแลควรเป็นสํานักคอมพิวเตอร์ในองค์กรนั้นๆ และมีผู้เชี่ยวชาญ คอยดู แ ลและบํ า รุ ง รั ก ษาระบบ เมื่ อ สร้ า งระบบขึ้ น มาแล้ ว หน้ า ที่ ข องผู้ ดู แ ลก็ คื อ เชื่ อ มต่ อ ประสานงานระหว่างผู้ดูแลกับผู้สอน เพื่อกําหนดรายวิชา และแนวทางในการสร้างระบบอีเลิร์นนิ่ง ผู้ดูแลจะต้องกําหนดสิทธิ์ให้ผู้สอนมีสิทธิ์ในการสร้างรายวิชาและเนื้อหา หลังจากนั้นผู้สอนจึง สามารถสร้ า งเนื้ อหา และกิ จ กรรมต่ า งๆ ได้ โดยสามารถทํ า ได้ ทุก ที่ ทุ ก เวลา ผ่ า นเครื อข่ า ย อินเทอร์เน็ต โดยการทํางานของ Moodle สามารถทําผ่านเว็บเบราว์เซอร์ การใช้งานระบบ Moodle บนเซิร์ฟเวอร์จําลอง สําหรับผู้ที่กําลังศึกษาระบบการทํางานของ Moodle ไม่จําเป็นต้องลงทุนจดชื่อโดเมน และเช่าโฮสต์ เนื่องจากจะต้องเสียค่าบริการเป็นรายเดือนหรือรายปี ดังนั้นผู้เขียนแนะนําให้ศึกษา บนเซิร์ฟเวอร์จําลอง ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่จําเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทําให้การศึกษา ระบบ Moodle เป็นไปได้อย่างราบรื่น เนื่องจากไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต ความเร็วของอินเทอร์เน็ต จึงไม่มีผล และใช้เวลาในการติดตั้งน้อยกว่า แต่ก็มีข้อจํากัดอยู่บ้างในการรับส่งอีเมล ซึ่งบางคําสั่ง สามารถใช้ได้บนเซิร์ฟเวอร์จริงเท่านั้น
10
กฤษณพงศ์ เลิศบํารุงชัย (ผู้บรรยาย)